การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่

(1) ความรู้ในงาน

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 2, 3 และ 4

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เห็นว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมดังนั้นการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานควรพิจารณา คุณลักษณะเฉพาะของบุคคล ได้แก่ พฤติกรรม บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ ความต้องการแรงจูงใจ ฯลฯ ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

2 ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ในงาน

(2) แรงจูงใจ

(3) บุคลิกภาพ

(4) ความต้องการ

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 1 (คําบรรยาย), นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System)โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

3 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ

(1) บุคลิกภาพ

(2) คุณวุฒิ

(3) ประสบการณ์

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

4 ตัว “S” ใน “POSDCORS” เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งใด

(1) โครงสร้างองค์การ

(2) หน้าที่นักบริหาร

(3) แนวคิดทางการบริหาร

(4) สิ่งจูงใจ

(5) ทรัพยากรมนุษย์

ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 61, (คําบรรยาย) Luther Gulick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model โดย S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน) หมายถึง การสรรหา การคัดเลือก และการบรรจุ แต่งตั้งบุคคสทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

5 Rational System Model เป็นวิธีการศึกษาของ

(1) Scientific Management

(2) Bureaucratic Model

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model)และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2 นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎี กลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

6 สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่

(1) การควบคุมงาน

(2) การประเมินผลงาน

(3) การวางแผน

(4) การกําหนดอํานาจหน้าที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) หมายถึง แนวทางเบื้องต้นที่จะใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่) เป็นอํานาจที่มาจากตําแหน่งที่กําหนดไว้ในองค์การ

7 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ“The Functions of the Executive” ดังนี้

1 องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ

2 อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของ ความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3 นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ และการบริหารองค์การ

4 บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้น ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายามในการทํางานอย่างเต็มที่

5 ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ ฯลฯ

8 ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง

(1) Fayol

(2) Weber

(3) Barnard

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุด ในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

9 ใครที่เสนอเรื่อง “การใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยามาคัดเลือกคนเข้าทํางาน”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Weber

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิกที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที่ บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

10 ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น

(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ

(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง

(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ

(4) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

(5) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี

ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่

1 ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ

2 ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม

3 ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี

4 ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

11 “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับ สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น ” เรียกว่า

(1) Turbulent Field

(2) Placid Clustered Environment

(3) Placid Randomized Environment

(4) Disturbed-Reactive Environment

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ

1 Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับสังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2 Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3 Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของการติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4 Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

12 “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับ สภาพแวดล้อมของชาวเขาเร่ร่อน ” เรียกว่า

(1) Turbulent Field

(2) Placid Clustered Environment

(3) Placid Randomized Environment

(4) Disturbed-Reactive Environment

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ

13 ในระบบคุณธรรม (Merit System) “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) การเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน

(3) บุคลิกภาพ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ

14 จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่

(1) Commanding Controlling Correcting

(2) Controlling Correcting Coordinating

(3) Coordinating Concepting Correcting

(4) Commanding Coordinating Controlling

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 0 = Organizing (การจัดรูปงาน)

3 C = Commanding (การสั่งการ)

4 C = Coordinating (การประสานงาน)

5 C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

15 “POSDCORB” เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งใด

(1) โครงสร้างองค์การ

(2) หน้าที่นักบริหาร

(3) แนวคิดทางการบริหาร

(4) สิ่งจูงใจ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

16 ประเภทขององค์การที่พิจารณาจาก “กําเนิด” ได้แก่

(1) Formal Organization

(2) Primary Organization

(3) Public Organization

(4) Profit Organization

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 8 ประเภทขององค์การซึ่งพิจารณาจาก “กําเนิด” ขององค์การ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization)

2 องค์การถาวรหรือองค์การทุติยภูมิ (Secondary Organization)

17 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่

(1) ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

(2) ประสิทธิภาพสูงสุด

(3) การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 25 – 29, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด ได้แก่

1 เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต

2 การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน

3 การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ

4 การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด

5 การกําหนดมาตรฐานของงาน

6 ความเชื่อในหลัก One Best Way

7 การใช้หลักเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ

18 ผลการศึกษาจาก “Hawthorne Experiments” ได้แก่

(1) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (2) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนำเข้า

(3) พบผลทางลบที่เกิดเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

(4) พบอิทธิพลของภาวะผู้นําที่มีต่อผลิตภาพการทํางาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดู ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึง ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

19 Operation Research หมายถึง

(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม

(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน (3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

1 วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่“วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน

2 การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

20 Hawthorne Effect หมายถึง

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

(2) ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากกลุ่มต่างไม่ยอมแพ้กัน

(3) ผลทางลบที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

(4) ปัญหาจากการทดลองที่ Western Electric Company

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

21 ตัวอย่างของกฎหมายปกครอง ได้แก่

(1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

(2) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

(3) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 23 – 24 กฎหมายปกครอง (Administrative Law) เป็นกฎหมายที่กําหนดขึ้นเพื่อให้องค์การสาธารณะทั้งหลายใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457, พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496, พ.ร.บ. สภาตําบลและ อบต, พ.ศ. 2537 เป็นต้น

22 การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน”จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด

(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

(2) กําเนิดขององค์การ

(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร

(4) ความเป็นเจ้าของ

(5) ความเป็นทางการ

ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การเป็นการพิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1 องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Format Organization)

2 องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

23 “การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน” ต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป จะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้ เป็นข้อเสนอของนักวิชาการใด

(1) Taylor

(2) Gilbreths

(3) Cooke

(4) Weber

(5) Gantt

ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและ การทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือ แผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้งการกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงานโดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้

24 การยึดหลัก “เอกภาพในการบังคับบัญชา” มีข้อเสียอะไร

(1) สิ้นเปลืองบุคลากร

(2) เกิดความขัดแย้ง

(3) ประสิทธิภาพต่ำ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อ ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ทางการบรหารที่ต้อง ระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรง ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงานซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยาก ในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

25 แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด (1) โครงสร้าง

(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์

(3) เทคโนโลยี

(4) สังคมจิตวิทยา

(5) ทักษะการบริหาร

ตอบ 1 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การ จึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถ สร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

26 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Objectives

(3) Mechanistic Organization

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X (มนุษย์ไม่ชอบทํางานและพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังต่อไปนี้เพื่อแก้ไข พฤติกรรมที่บกพร่อง

1 การบริหารแบบเผด็จการ

2 การบริหารโดยยึดกฎระเบียบ (Management by Rules) คือ การใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด หรือใช้กฎระเบียบ ที่ได้มาตรฐาน

3 การบริหารโดยยึดกระบวนการ (Management by Procedure)

4 การบริหารแบบองค์การแบบเครื่องจักรกล (Mechanistic Organization)

5 การบริหารงานในลักษณะของพวกคลาสสิก เช่น ตัวแบบระบบราชการ (Bureaucracy หรือ Bureaucratic Model) การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ฯลฯ

27 ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด

(1) Management by Rules

(2) Management by Objectives

(3) Mechanistic Organization

(4) ทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้

1 การบริหารแบบประชาธิปไตย

2 การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)

3 การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)

4 การทํางานเป็นทีม (Teamwork)

5 การบริหารแบบโครงการ (Project Management) ฯลฯ

28 การที่ผู้ปฏิบัติงานตั้งใจส่งใบลาในวันที่หน่วยงานมีภารกิจมาก Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า

(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ

(2) การขาดสามัญสํานึก

(3) การขาดวินัยการทํางาน

(4) การเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 41, (คําบรรยาย พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนึ่งานโดยอาศัยระบบตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่า ตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ําของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่นการส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

29 ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง “ประสิทธิภาพ” ในการทํางาน

(1) ผลผลิต

(2) ทรัพยากรที่ใช้

(3) แผนที่วางไว้

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

30 Herzberg จัดเป็นนักวิชาการที่อยู่ในกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Situational Approach

(3) A Systems Approach

(4) Humanism

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้

1 ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด

2 ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน

3 เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ

4 เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5 พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ

6 นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo, Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor blay Frederick Herzberg ฯลฯ

31 ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง

(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ (2) Mechanistic Organization – Formal Organization

(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง

(4) Fluid Structure – Adhocracy

(5) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตที่ใช้แรงงานฝีมือ

ตอบ 5 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1 Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้นโครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2 Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานานความสัมพันธ์ ดามเนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure สวนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการหรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ organic Structure

32 Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) Outer Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ

1 สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

33 ตัว W ใน SWOT Analysis หมายถึง

(1) ความเข้มแข็งขององค์การ

(2) โอกาสขององค์การ

(3) ภัยจากปัจจัยภายนอก

(4) ระบบงานขององค์การ

(5) จุดอ่อนขององค์การ

ตอบ 5 หน้า 220 การวิเคราะห์หรือศึกษาศักยภาพขององค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จะประกอบด้วย

1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่ S = Strengths คือ จุดแข็งขององค์การ และ W = Weaknesses คือ จุดอ่อนขององค์การ

2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่ O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ และ T = Threats คือ ภัยหรือภาวะคุกคามที่มีต่อองค์การ

34 ใครที่เสนอเรื่อง “Hierarchy of Needs”

(1) Herzberg

(2) Cooke

(3) Munsterberg

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้

1 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน

2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)

3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)

4 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)

5 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้

(Self-Realization’ Needs)

35 ข้อใดที่จัดเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่ Barton และ Chappell นําเสนอไว้

(1) การเมือง

(2) สังคม

(3) สื่อมวลชน

(4) สาธารณชนทั่วไป

(5) ฝ่ายนิติบัญญัติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

36 “Herbert Kaufman พิจารณากิจกรรมในการบริหาร 4 ประการ ได้แก่

(1) การเป็นตัวแทนขององค์การ

(2) การจูงใจ

(3) ……………. และ (4) ” ทั้งสองประการที่ขาดหายไป ได้แก่

(1) การตัดสินใจ และการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร

(2) การติดตามประเมินผล และการพัฒนาองค์การ

(3) การรับและกรองข้อมูลข่าวสาร และการพัฒนาองค์การ

(4) การตัดสินใจ และการจัดรูปงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 14 Herbert Kaufman ได้ศึกษาบทบาทของผู้บริหาร และชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารมีกิจกรรมที่สําคัญอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1 การวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ (Decision Making)

2 การรับและกรองข้อมูลข่าวสารหรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคม

3 การเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ

4 การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

37 ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้

(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม

(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม

(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า

(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า

(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

38 ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study”

(1) Taylor

(2) Cooke

(3) Munsterberg

(4) Gantt

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lilian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

39 “……ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell

(1) Political Environment

(2) Primary Environment

(3) External Environment

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ)

40 แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”

(1) Scientific Management

(2) Contingency Theory

(3) Industrial Humanism

(4) A System Approach

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

41 “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด (1) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) นักบริหารเชิงปริมาณ

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

42 ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง

(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน

(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์

(3) Hygiene Factors – ถ้าไม่ได้รับจะไม่ยอมทํางาน

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 81 – 82, (Ps 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถ ในการทํางานขององค์การ รวมทั้งทําให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange) ส่วนปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงาน ในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน (ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ)

  1. แนวคิดของ Henri Fayol ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด (1) โครงสร้าง

(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์

(3) เทคโนโลยี

(4) สังคมจิตวิทยา

(5) สิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

44 กลุ่มนักวิชาการใดต่อไปนี้ที่ให้ความสําคัญในเรื่อง “การเมืองในองค์การ”

(1) A Systems Approach

(2) Administrative Theorists

(3) Scientific Management,

(4) Behavioral Science

(5) ไม่มีข้อใดถูก

 

 

ตอบ 5 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

45 ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น

(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน

(2) หลักความสามารถ

(3) แยกการเมืองออกจากการบริหาร

(4) สายการบังคับบัญชา

(5) การกระจายอํานาจ

ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย

1 การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)

  1. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)

3 การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)

4 การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ

5 การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)

6 การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

7 การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on Selection and Promotion)

8 การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

46 ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น (1) เงินเดือน

(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน

(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน

(4) ลักษณะของงาน

(5) ความรับผิดชอบ

ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1 ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2 ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือนความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

47 ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง

(1) การคั่งค้างของงาน

(2) ประสิทธิภาพของงาน

(3) หัวหน้างาน

(4) โครงสร้างหน่วยงาน

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอน 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชาที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

48 Unity of Command หมายถึง

(1) หลักการที่ให้องค์การหนึ่ง ๆ ต้องมีวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว

(2) หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียว

(3) หลักการที่ทุกแผนกงานต้องมีการสร้างทีมงาน

(4) หลักการที่กําหนดให้ทุก ๆ คนต้องมีหัวหน้าเพียงคนเดียว

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2, 4 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

49 ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของ Maslow “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน” เรียกว่า

(1) Self-Realization Needs

(2) Ego Needs

(3) Social Needs

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

50 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Theory of Management) เสนอให้ใช้

(1) ระบบการบริหารที่เรียกว่า Paternalism

(2) ระบบการบริหารที่ใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือในการสร้างประสิทธิภาพ

(3) ระบบการบริหารที่เน้นการทํางานเป็นกิจวัตร

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 25 – 28, 37 – 39, 42 – 43, 55 – 56, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก(Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Management) เป็นกลุ่ม ที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” โดยได้ศึกษาทฤษฎีองค์การที่เป็น ทางการหรือทฤษฎีองค์การรูปนัย (Format Organization Theory) เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ หรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด ซึ่งนักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน เพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นหน้าที่ ของนักบริหารที่จะต้องใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการค้นหา หรือสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับงาน ตัวอย่างของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Max Weber, Henri Fayol, Henry L. Gantt, Frank และ Lillian Gilbreths, Luther Gulick, Lyndall Urwick เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 23 และ 30 ประกอบ)

51 ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg

(1) เทคนิคและการควบคุมงาน

(2) สภาพการทํางาน

(3) ความก้าวหน้าในการงาน

(4) นโยบายและการบริหาร

(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

52 “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด

(1) Industrial Humanism

(2) Contingency Theory

(3) Action Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์(Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

53 นักวิชาการกลุ่มใดที่มองการบริหารว่า “เป็นสิ่งไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน”

(1) A Systems Approach

(2) Industrial Humanism

(3) Action Theory

(4) Quantitative Science

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

54 การบริหารงานที่ให้ความสําคัญเรื่อง “ความสุขของสมาชิกในองค์การ” เป็นการบริหารตามแนวคิด ของนักวิชาการกลุ่มใด

(1) Scientific Management

(2) Administrative Theorists

(3) Neo-Classical Organization Theory

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ

55 ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management (1) การตัดสินใจ

(2) การหาข่าวสาร

(3) การจูงใจ

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับภารกิจ 2 ลักษณะ คือ

1 Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้าน การจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2 External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลาทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

56 การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด

(1) ระดับที่ 4

(2) ระดับที่ 5

(3) ระดับที่ 6

(4) ระดับที่ 7

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kenneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

57 ใครเสนอว่า “องค์การเป็นระบบของการร่วมมือของปัจเจกบุคคลอย่างมีสํานึก”

(1) Barnard

(2) Simon

(3) Bennis

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 71 Chester I. Barnard เสนอว่า “องค์การเป็นระบบที่มีการประสานกิจกรรมต่าง ๆหรือมีการร่วมมือระหว่างปัจเจกบุคคลต่าง ๆ อย่างมีสํานึก”

58 Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น

(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยึดหยุ่น

(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน

(3) เน้นการใช้ความรู้มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy”(ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้

1 มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ

2 เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย

3 มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

4 เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)

5 เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

59 ทุกข้อเป็นรายละเอียดของทฤษฎีองค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber ยกเว้น

(1) หลักเอกภาพการบังคับบัญชา

(2) การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน

(3) การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่

(4) การจูงใจโดยใช้ปัจจัยภายใน

(5) การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

60 นักวิชาการใดต่อไปนี้ที่ถือกําเนิดก่อนกลุ่มอื่น

(1) The Action Approach

(2) Scientific Management

(3) Quantitative Science

(4) Behavioral Science

(5) A Systems Approach

ตอบ 2

หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) Stephen P. Robbins ได้เสนอพัฒนาการของทฤษฎีองค์การ ไว้ 4 ช่วงเวลา

61 “ระบบราชการประกอบไปด้วยระบบของอํานาจและอิทธิพล ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้อํานาจและอิทธิพลนั้นไปอย่างไร” เป็นปัญหาของตัวแบบราชการด้านใด

(1) Formal Relationship

(2) Promotion

(3) Unity of Command

(4) Self-Perpetuation

(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4

ตอบ 4 หน้า 51 Bendix ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของตัวแบบระบบราชการที่ต้องการจะขยายตัวและสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง (Self-Perpetuation) ไว้ว่า “ระบบราชการประกอบไปด้วย ระบบของอํานาจและอิทธิพล ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้อํานาจและอิทธิพลนั้นไปอย่างไร”

  1. “…ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคล ” ที่กล่าวมาเป็นความหมายของ

(1) Perception

(2) Attitude

(3) Needs

(4) Personality

(5) Image

ตอบ 2 หน้า 75 ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกทางใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความนึกคิด และความเชื่อของแต่ละบุคคล ความรู้สึกทางใจของ แต่ละบุคคลในเรื่องราวต่าง ๆ จะมีระดับที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ระดับที่เป็นความชอบ หรือไม่ขอบ ระดับที่เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการไตร่ตรอง จนถึงระดับที่เป็นการนําไปปฏิบัติ ทัศนคติของบุคคลจึงเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดความคิดและพฤติกรรมไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

63 ใครที่เสนอให้องค์การมีโครงสร้างที่กระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย ยืดหยุ่น ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ”

(1) Barnard

(2) Simon

(3) Bennis

(4) McGregor

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ

64 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”

(1) Flexible Boundaries

(2) Negative Entropy

(3) Maximized Efficiency

(4) Dynamic Equilibrium

(5) Growth Through Internal Elaboration

ตอบ 3 หน้า 98 – 106 ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่

1 การวางแผนและจัดการ (Contrived)

2 ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)

3 การอยู่รอด (Negative Entropy)

4 การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

5 กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)

6 กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)

7 การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration) ฯลฯ

(ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

65 ข้อใดเป็นทรัพยากรในการบริหาร

(1) Man

(2) Moral

(3) Material

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 3 – 5 ทรัพยากรในการบริหาร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท หรือที่เรียกว่า 4 M ได้แก่

1 ทรัพยากรมนุษย์ (Man)

2 เงินทุน (Money)

3 วัสดุสิ่งของ (Material)

4 ความรู้ในการจัดการ (Management)

66 นักวิชาการใดต่อไปนี้ที่มียุทธวิธีในการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด”

(1) The Action Approach

(2) Scientific Management

(3) Quantitative Science

(4) ทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5 ประกอบ

67 “ระบบค่าจ้างต่อชิ้น” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด

(1) นักบริหารเชิงปริมาณ

(2) นักทฤษฎีการบริหาร

(3) นักทฤษฎีระบบราชการ

(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก

(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้

1 เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

2 ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่ คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก

3 เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้ มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น

4 เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen)เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

68 ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้

(1) ระดับขององค์การ

(2) ประเภทของกิจการ

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา

(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 5 หน้า 184 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้

1 การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา

2 เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่

3 การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม

4 ลักษณะของงานในองค์การ

5 เทคนิคในการควบคุม

6 เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

7ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

69 ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ระดับขององค์การ

(2) ลักษณะงานในองค์การ

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา

(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 13 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้

1 ระดับขององค์การ

2 ประเภทของกิจกรรม

3 ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

4 ลักษณะขององค์การ

5 ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

70 ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ

(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ

(2) ขนาดขององค์การ

(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 170 – 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจและการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้

1 ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ

2 ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบายหรือความเป็นเอกภาพในการบริหาร

3 ขนาดขององค์การ

4 ประวัติความเป็นมาของกิจการ

5 ปรัชญาของการบริหาร

6 ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน

7 จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ

8 เทคนิคในการควบคุม

9 การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป

10 การเปลี่ยนแปลงขององค์การ

11 อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

 

ตั้งแต่ข้อ 71 – 78 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Division of Work

(2) Departmentation

(3) Line Agency

(4) Staff Agency

(5) Auxiliary Agency

 

71 หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด ๆ

ตอบ 3 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1 หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและหน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2 หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3 หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (Housekeeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

72 หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

73 หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้านเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

74 งานสารบรรณ เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

75 การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถ ของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

76 การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติตามเป้าหมาย ที่องค์การได้วางไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้

77 กองวิชาการในกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานประเภทใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

78 กองทัพบก เป็นหน่วยงานประเภทใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71 ประกอบ

79 ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) การที่องค์การได้กําหนดกฏเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ได้แก่ Formalization

(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ได้แก่ Formalization

(3) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Centralization

(4) Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chain of Command

(5) ไม่ถูกต้องทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 122 – 123 การออกแบบองค์การ (Organization Design) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

80 ข้อใดถูกต้อง

(1) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Chain of Command

(2) ในความเป็นจริง อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการขาดหายไปเมื่อได้สั่งการให้ปฏิบัติจริงซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority

(3) การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา – เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority

(4) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Limits of Authority

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ (Delegation of Authority) หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชามักจะมอบหมายอํานาจหน้าที่แก่หัวหน้างานระดับรองลงไปการมอบอํานาจหน้าที่นี้อาจจะมอบแก่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

 

ตั้งแต่ข้อ 81 – 85 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Complexity

(2) Formalization

(3) Centralization

(4) Organization Design

(5) Authority

 

81 การที่องค์การได้กําหนดกฏเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการ (Formalization) ขององค์การนั้น พิจารณาจากการที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

82 ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79 ประกอบ

83 ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ำ รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่น แต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การจะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาสูต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

84 การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่

85 Power of Command เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและมีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

 

ตั้งแต่ข้อ 86 – 90 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Span of Control

(2) Unity of Command

(3) Responsibility

(4) Hierarchy

(5) Specialization

 

86 การกําหนดลําดับขั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

87 ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด

ตอบ 3 คําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

88 จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 1 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

89 การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

90 การแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถ เรียกว่าอะไร

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

 

ตั้งแต่ข้อ 91 – 95 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Chain of Command

(2) Delegation of Authority

(3) Power to Command

(4) Limits of Authority

(5) Decentralization of Authority

 

91 Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 86 ประกอบ

92 การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ

93 การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ

94 ในความเป็นจริงอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการขาดหายไปเมื่อได้สั่งการให้ปฏิบัติจริง ซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 4 หน้า 149 – 150 ในความเป็นจริงอํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการของผู้บังคับบัญชามักจะขาดหายไปเมื่อได้มีการสั่งการให้ปฏิบัติจริง เพราะมีสาเหตุมาจากข้อจํากัดของอํานาจหน้าที่ (Limits of Authority) ในด้านต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณีและ ศีลธรรมในสังคม สภาพทางภูมิศาสตร์ หลักชีววิทยา ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ กฎหมายนโยบาย ความด้อยความสามารถของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น

95 ความพยายามที่จะให้ผู้บริหารระดับล่างมีอํานาจในการตัดสินใจและอํานาจเหล่านั้นได้ถูกมอบหมายไปยังผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ตอบ 5 หน้า 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization of Authority) หมายถึง ความพยายามที่จะให้ผู้บริหารระดับล่างมีอํานาจในการตัดสินใจและอํานาจเหล่านั้นได้ถูกมอบหมายไปยัง ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ยกเว้นอํานาจหน้าที่บางอย่างซึ่งจําเป็นจะต้องสงวนไว้ที่ส่วนกลาง

96 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี

(1) ระดับชั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป

(2) แต่ละสายต้องชัดเจน

(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก ,

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้

1 จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

2 สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงานผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ

3 สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

97 ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Formal Authority

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Formal Position )

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory)มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Format Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ แต่อํานาจ หน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจ ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่ อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

98 อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) Formal Authority

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Formal Position

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon

99 Chester I, Barnard เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดมากที่สุด

(1) Formal Authority

(2) Acceptance Theory

(3) Competence Theory

(4) Formal Position

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ

100 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา

(1) ระดับขององค์การ

(2) ประเภทของกิจกรรม

(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา

(4) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

Advertisement