การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ตั้งแต่ข้อ 1. – 5. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) “การบริหารนั้นคือการทํางานให้ลุล่วงสําเร็จไปโดยใช้ให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทํา”

(2) “คนสองคนช่วยกันเป็นก้อนหินซึ่งคนเพียงคนเดียวทําให้ขยับเขยื้อนไม่ได้”

(3) “การบริหารรัฐกิจประกอบไปด้วยการปฏิบัติทั้งปวงซึ่งกระทําโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสําเร็จ”

(4) “กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สําคัญคือไม่รวมเอางานของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย”

(5) “เป็นการดําเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อํานาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา คือ อํานาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างอํานาจทั้งสามนั้น”

1 คํานิยามในข้อใดเป็นข้อเสนอของ Herbert A. Simon

ตอบ 4 หน้า 6 Herbert A. Simon ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารรัฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทั้งปวงของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นการปกครองส่วนกลาง การปกครองมลรัฐ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สําคัญคือไม่รวมเอางานของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการเข้าไว้ด้วย”

2 คํานิยามในข้อใดมาจากคํากล่าวของ Felix A. Nigro

ตอบ 5 หน้า 5 Felix A. Nigro ได้ให้คํานิยามของคําว่า “การบริหารรัฐกิจ” ไว้ดังนี้

1 เป็นพลังของกลุ่มที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันในหน่วยงานราชการ

2 เป็นการดําเนินงานที่ครอบคลุมการใช้อํานาจอธิปไตยทั้ง 3 สาขา คือ อํานาจบริหาร อํานาจ นิติบัญญัติ และอํานาจตุลาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างอํานาจทั้งสามนั้น

3 มีบทบาทสําคัญในการกําหนดนโยบายของรัฐ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง

4 มีความแตกต่างในลักษณะที่สําคัญหลายประการจากการบริหารงานธุรกิจของเอกชน

5 มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มธุรกิจเอกชนและบุคคลต่าง ๆ ในการจัดทําบริการในด้านต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน

3 คํานิยามในข้อใดมาจากข้อสังเกตของ Leonard D. White

ตอบ 3 หน้า 6 Leonard D. White ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารรัฐกิจประกอบไปด้วยการปฏิบัติทั้งปวงซึ่งกระทําโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสําเร็จหรือนํามาบังคับใช้ได้ผล

4 คํานิยามในข้อใดมาจากข้อเสนอของ Ernest Date

ตอบ 1 หน้า 4 Ernest Dale ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหารนั้นคือการทํางานให้ลุล่วงสําเร็จไปโดยใช้ให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทํา” (Management is getting things done through other people)

5 ข้อใดเป็นข้อสังเกตของ Simon ต่อการบริหาร

ตอบ 2 หน้า 4 Herbert A. Simon ได้ให้คํานิยามว่า “การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน” โดยได้ตั้งข้อสังเกต ไว้ว่า “การบริหารเปรียบเสมือนคนสองคนช่วยกันเป็นก้อนหินขึ้นภูเขา ซึ่งคนเพียงคนเดียวทําให้ขยับเขยื้อนไม่ได้”

6 ลักษณะของการศึกษาบริหารรัฐกิจมีลักษณะสอดคล้องกับข้อใด

(1) มีความเป็นศาสตร์

(2) มีความเป็นศิลป์

(3) มีความเป็นศาสตร์และศิลป์

(4) ไม่มีความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 6 – 7, 36, 38 – 39 การศึกษาการบริหารรัฐกิจ (การบริหารราชการ) มีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ

1 ในฐานะที่มีความเป็นศาสตร์ (Science) คือ การมองในด้านของการเป็นสาขาวิชาการหรือองค์ความรู้ ซึ่งหมายถึงเฉพาะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) อันเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีการบริหารงานในภาครัฐ เป็น วิชาการที่มีการรวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนํามาถ่ายทอดให้ความรู้กันได้

2 ในฐานะที่มีความเป็นศิลป์ (Art) คือ การมองในด้านการปฏิบัติงาน เรียกว่า การบริหารรัฐกิจ (public administration) ซึ่งเป็นการศึกษากิจกรรมของการบริหารงานในภาครัฐ ได้แก่ การใช้ศิลปะในการอํานวยการ การร่วมมือประสานงานกัน การควบคุมคนจํานวนมาก การมีความคิดสร้างสรรค์ การนําทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร ตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะของนักบริหารแต่ละคนเข้ามาเป็นเครื่องช่วย

7 ข้อใดแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของความเป็นศาสตร์ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

(1) มีการรวบรวมเป็นระบบ

(2) มีหลักการภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

(3) มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้

(4) นํามาถ่ายทอดต่อสาธารณะ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 ข้อใดแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนของความเป็นศิลป์ในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

(1) เป็นเรื่องของการอํานวยการ

(2) มีการร่วมมือประสานงานกัน

(3) นําเอาทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร

(4) มีความคิดสร้างสรรค์

(5) ถูกทุกข้อ 1

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

9 ข้อใดต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่างการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับ การบริหารงานของบริษัท การบินไทย

(1) เป็นกระบวนการปฏิบัติงาน

(2) มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน

(3) ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 5 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัท การบินไทย) มีสิ่งที่เหมือน หรือสอดคล้องกัน ดังนี้

1 เป็นกระบวนการบริหารหรือการปฏิบัติงานที่ต้องนําเอาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งต่าง ๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2 ต้องอาศัยพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มในการปฏิบัติงาน

3 มีลักษณะการปฏิบัติงานตามสภาพแวดล้อมขององค์การ เช่น มีความเสี่ยงในการดําเนินงาน

4 ลักษณะการบริหารในแต่ละองค์การจะแตกต่างกันออกไปตามประเภทของงานที่ทํา

10 ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยกับการบริหารงาน ของบริษัท การบินไทย

(1) ขนาดความรับผิดชอบต่างกัน

(2) มีวัตถุประสงค์ต่างกัน

(3) มีกระบวนการทํางานต่างกัน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 หน้า 12 – 13, 37 – 38, (คําบรรยาย) การบริหารรัฐกิจ (เช่น การบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และการบริหารธุรกิจ (เช่น การบริหารงานของบริษัท การบินไทย) มีสิ่งที่แตกต่างกัน ดังนี้

1 วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน

  1. ขนาดความรับผิดชอบ

3 แหล่งที่มาของทุนในการดําเนินงาน

4 การกําหนดราคาสินค้าและบริการ

5 คู่แข่งขันในการดําเนินงาน

6 การคงอยู่

7 การเป็นไปตามกฎหมาย

8 บทบาทของประชาชนในการกํากับดูแล และความพร้อมในการตรวจสอบจากสาธารณะ(ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ)

11 วิชารัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับวิชาบริหารรัฐกิจอย่างไร

(1) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง

(2) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการบริหารงานของภาครัฐ

(3) มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของการทํางาน

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 20 วิชาบริหารรัฐกิจหรือวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีส่วนสัมพันธ์แนบแน่นกับวิชารัฐศาสตร์กล่าวคือ วิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เนื่องจากวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารงานเป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง หรือกล่าวอย่างง่ายก็คือ ต้องมีการใช้หลักวิชาในทางรัฐศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองเสียก่อน รัฐประศาสนศาสตร์จึงจะสานต่อ ๆ ไปได้

 

ตั้งแต่ข้อ 12 – 16 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Frank J. Goodnow

(2) Leonard D. White

(3) W.F. Willoughby

(4) Nicholas Henry

(5) John M. Gaus

12 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าทฤษฎีการบริหารรัฐกิจคือทฤษฎีการเมือง

ตอบ 5 หน้า 52, 65 John M. Gaus ได้เสนอความเห็นไว้ในหนังสือชื่อ “Reflections on Public Administration” (1947) ว่า “ในยุคของเรานี้ทฤษฎีการบริหารรัฐกิจก็คือทฤษฎีการเมืองนั่นอง”

13 ใครเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Politics and Administration (1900) ตอบ 1 หน้า 47, 65 Frank , Goodnow ได้เขียนหนังสือชื่อ “Politics and Administration” (1900)โดยแสดงความเห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ คือ

1 หน้าที่ทางการเมือง ได้แก่ การกําหนดนโยบายหรือการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ

2 หน้าที่ทางการบริหาร ได้แก่ การนํานโยบายหรือเจตนารมณ์ของรัฐไปปฏิบัติ

14 หนังสือของใครที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 2 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของ สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง

15 ใครเป็นผู้วิเคราะห์ว่าพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจมี 5 พาราไดม์

ตอบ 4 หน้า 46 – 48, 56 – 58, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับ เรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้

พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร

พาราไดม์ที่ 3 : การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์

พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร

พาราได้มที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ

16 หนังสือของใครที่มีส่วนอย่างสําคัญในการนําเสนอพาราไดม์หลักของการบริหาร ตอบ 3 หน้า 48, 65, (คําบรรยาย) W.F. Willoughby เป็นนักวิชาการที่มีส่วนสําคัญในการบุกเบิกหรือนําเสนอพาราไดมหลักของการบริหาร เขาได้เขียนตําราการบริหารรัฐกิจที่สมบูรณ์ที่สุดชื่อ “Principles of Public Administration” (1927) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์ เล่มที่สองของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แสดงความเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหาร ที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนนั้นเป็นสิ่งที่สามารถค้นพบได้ ซึ่งทําให้แนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับเป็นพาราไดม์ที่ 2 (พาราไดส์หลักของการบริหาร) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตั้งแต่ข้อ 17 – 22 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) Robert T. Golembiewski

(2) Woodrow Wilson

(3) Herbert A. Simon

(4) Robert A. Dahl

(5) Luther H. Gulick

 

17 ใครเป็นผู้เสนอความเห็นว่าพาราไดส์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจําเป็นสําหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 75 – 76) Robert T. Golembiewski ได้เสนอ ความเห็นว่า พาราไดม์เบ็ดเสร็จไม่ใช่สิ่งจําเป็นสําหรับสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ และวิชาการ บริหารรัฐกิจก็ไม่จําเป็นที่จะต้องกําหนดขึ้นมาในรูปของพาราไดม์เบ็ดเสร็จ แต่ควรจะกําหนด ขึ้นมาในรูปของมินิพาราไดม์หลาย ๆ มินิพาราไดม์จะดีกว่า

18 ใครเป็นผู้วิจารณ์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจเป็นเพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

ตอบ 3 หน้า 52 Herbert A. Sirmon ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Proverbs of Administration” (1946) ว่า หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของการบริหารรัฐกิจที่ได้กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ภาษิตทางการบริหาร

19 ใครเป็นผู้เขียนบทความเสนอว่าการบริหารรัฐธรรมนูญยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย

20 ใครเป็นผู้เสนอว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่สําคัญ 7 ประการ โดยสรุปเป็นคําย่อว่า POSDCORE

ตอบ 5 หน้า 49 – 50, 64 – 65, (คําบรรยาย) Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ได้เสนอว่า หน้าที่สําคัญของหัวหน้าฝ่ายบริหารมี 7 ประการ โดยสรุปเป็นคําย่อว่า POSDXCOB ซึ่งประกอบด้วย

1 P = Planning (การวางแผน)

2 0 = Organizing (การจัดองค์การ)

3 S – Staffing (การจัดบุคคลเข้าทํางาน)

4 D = Directing (การอํานวยการ)

5 Co – Coordinating (การประสานงาน)

6 R = Reporting (การรายงานผลการปฏิบัติงาน)

7 B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

21 ใครเป็นผู้วิเคราะห์ว่าหลักการบริหารรัฐกิจไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนได้

ตอบ 4 หน้า 53, (คําบรรยาย) Robert A. Dahl ได้เสนอความเห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Science of Public Administration : Three Problems” (1947) ว่า การพัฒนาหลักเกณฑ์ที่เป็นสากล ของการบริหารรัฐกิจนั้นมีอุปสรรคขัดขวางที่สําคัญ 3 ประการ คือ ค่านิยมที่แตกต่างกัน ความแตกต่างกันในบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล และกรอบทางสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละ วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์อีกว่า หลักการบริหารรัฐกิจจะไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนได้

22 ใครเป็นต้นกําเนิดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19 ประกอบ

23 Personnel Administration หมายถึงข้อใด

(1) การบริหารรัฐกิจ

(2) การบริหารธุรกิจ

(3) การบริหารงานบุคคล

(4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

(5) การบริหารคน

ตอบ 3 หน้า 148 – 150, 171 172 การบริหารงานบุคคล ในภาษาอังกฤษจะใช้คําว่า “Personnel Administration” หรือ “Personnel Management” ซึ่งหากจะให้มีความหมายว่าเป็น การบริหารงานบุคคลในระบบราชการหรือภาครัฐโดยเฉพาะก็จะใช้คําว่า “Public Personnel Administration” และหากจะให้มีความหมายเฉพาะถึงการบริหารงานบุคคลในภาคธุรกิจเอกชน ก็จะใช้คําว่า “Business Personnel Management” โดยการบริหารงานบุคคลทั้งใน ระบบราชการและภาคธุรกิจเอกชน มีความหมายดังนี้

1 เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ

2 เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล นับตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาปฏิบัติงาน การดูแลและบํารุงรักษา จนกระทั่งพ้นไปจากการปฏิบัติงาน

3 เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารระบบราชการ (Public Administration) ฯลฯ

24 ข้อใดเป็นคําอธิบายความหมายของ Personnel Administration

(1) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

(2) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ

(3) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสรรหา และคัดเลือกบุคคล

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 25, 30, จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) หลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบรายชิ้น

(2) หลักการจ้างงานตลอดชีพ

(3) หลักการตอบสนองความต้องการ 5 ขั้น

(4) หลักการบริหารภายใต้ปทัสถานกลุ่ม

(5) หลักการบริหารของผู้บริหาร 14 ประการ

 

25 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Max Weber

ตอบ 2 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 226), (คําบรรยาย) Max Weber ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1 การแต่งตั้ง พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตําแหน่งบุคคล ในการปฏิบัติงานต้องมีการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบและอยู่บนพื้นฐานแห่งการตกลงกัน

2 การเลือกสรรบุคคลเข้าทํางานจะต้องพิจารณาในด้านความสามารถและหลักการแบ่งงาน ตามความชํานาญเฉพาะอย่าง

3 มีการจ้างงานตลอดชีพ

4 มีการกําหนดค่าตอบแทนในรูปเงินประจําสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ

26 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Frederick Winslow Taylor

ตอบ 1 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 227 – 228) Frederick Winslow Taylor ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคล ดังนี้

1 ต้องมีวิธีการคัดเลือกและพัฒนาคนงานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

2 ต้องมีความประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีในการใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารกับการคัดเลือกและฝึกฝนพนักงาน

3 ต้องมีการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างแบบรายชิ้น (Piece Rate System) มาใช้ในการจูงใจคนงาน ฯลฯ

27 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ Henri Fayol

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 182 183, 230) Henri Fayol ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารควรจะยึดถือหลักเกณฑ์ในการบริหาร 14 ประการ (14 Principles of Management) เช่น การแบ่งงานกันทํา การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา การยึดมั่นในความยุติธรรมและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น รวมทั้งจะต้องมีคุณลักษณะ พร้อมด้วยความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทํางาน และประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วย

28 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ George Elton Mayo ตอบ 4 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 189 – 190, 230 231), (คําบรรยาย) George Elton Mayo เป็นผู้นําแนวคิดหรือทฤษฎีแบบมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) มาเผยแพร่ในการบริหารองค์การ โดยได้ทําการทดลองที่เรียกว่า “Hawthorne Experiments” และพบว่า

1 ขวัญของคนงานเป็นสิ่งสําคัญและจะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน

2 รางวัลทางจิตใจ เช่น รางวัลข้าราชการหรือเกษตรกรดีเด่น การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์รวมถึงกําลังใจและการได้รับการยอมรับ จะให้ความสุขในการปฏิบัติงานและมีผลกระตุ้นในการทํางานมากกว่ารางวัลทางเศรษฐกิจ

3 ปทัสถานะทางสังคมของกลุ่มมีผลต่อประสิทธิภาพและปริมาณของงาน

4 ภาวะผู้นํา (Leadership) จะมีบทบาทสําคัญในการกําหนดบรรทัดฐานของกลุ่มภายในองค์การ ฯลฯ

29 ข้อใดจัดเป็นข้อเสนอในการบริหารงานบุคคลของ A.H, Maslow

ตอบ 3 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 340 341), (คําบรรยาย) A.H. Maslow ได้เสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลว่า ผู้บริหารจะต้องรู้และเข้าใจถึงความต้องการของคน ในองค์การ ซึ่งมีลักษณะเป็นลําดับขั้นจากต่ําสุดไปสูงสุดตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ (Hierarchy’s Needs Theory) ทั้งนี้เมื่อความต้องการในลําดับต้นได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลําดับขั้นที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งความต้องการทั้ง 5 ลําดับขั้น ประกอบด้วย

1 ความต้องการทางกายภาพหรือชีววิทยา (Physiological Needs หรือ Biological Needs)

2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Security Needs หรือ Safety Needs)

3 ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs หรือ Love Needs)

4 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน (Esteem Needs หรือ Ego Needs – หรือ Status Needs)

5 ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองตั้งไว้ (Self-Actualization Needs หรือ Self-Realization Needs)

30 ข้อใดคือหลักการในการจูงใจคนงานของ Frederick Winslow Taylor

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ

31 การจัดเรื่องแรงงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด

(1) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคนในองค์การ

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การจัดการเรื่องสหภาพแรงงาน

(4) การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 172, (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 249), (คําบรรยาย) แรงงานสัมพันธ์(Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรือ อุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการกับ คนงานหรือสหภาพแรงงานที่เกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ในการทํางาน เช่น การเจรจาต่อรอง ร่วมกัน การบริหารแรงงานให้เป็นไปตามสัญญาการว่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

32 ข้อใดไม่จัดว่าเป็นบทบาทและหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล

(1) คิดค้นวิธีการในการระบุตําแหน่ง

(2) ระบุความต้องการของตลาดเกี่ยวกับสินค้า

(3) กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 172, (หนังสือ FOL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 246) บทบาทและหน้าที่ของนักบริหารงานบุคคล มีดังนี้

1 คิดค้นวิธีการในการกําหนดหรือระบุตําแหน่งในองค์การ

2 เป็นผู้กําหนดวิธีการในการดึงดูดความสนใจในการสมัครงาน การคัดเลือก และการบรรจุ พนักงาน

3 เป็นผู้นําในการพัฒนาวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างและเพิ่มสัมพันธภาพอันดีระหว่าง พนักงานและองค์การ

4 ให้คําปรึกษา เสนอแนะ และช่วยเหลือฝ่ายบริหารในด้านของการวิเคราะห์ความต้องการ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม และด้านวิชาการต่าง ๆ ในองค์การ

33 ข้อใดไม่จัดเป็นภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล

(1) การกําหนดนโยบาย

(2) การวางแผนกําลังคน

(3) การวัดประเมิน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (หนังสือ FOL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 247 248) ภาระหน้าที่ของการจัดการบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1 การกําหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์

2 การวางแผนกําลังคนหรือทรัพยากรมนุษย์

3 โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานบุคคล

4 การวัดและประเมินระบบการจัดการบุคคล

34 ข้อใดเป็นสาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 12 ก.ย. 57

(1) จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ

(2) เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลายเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(3) การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา

(4) ปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส

(5) ถูกต้องทั้งหมด

ตอบ 5 (คําบรรยาย) สาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 มีดังนี้

1 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ เช่น การเร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

2 การลดความเหลื่อมล้ําของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เช่น การจัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลายเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3 การศึกษาและเรียนรู้ การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา การปรับปรุงและบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาส แก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส ฯลฯ

35 กิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะ (Public Finance Administration) ครอบคลุมด้านใด

(1) การหารายได้ของรัฐ

(2) การบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน

(3) การบริหารหนี้สาธารณะ

(4) การบริหารนโยบายการเงิน

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 5 (หนังสือ POL 2300 เลขพิมพ์ 52135 หน้า 260 263), (คําบรรยาย) การศึกษาวิชาการบริหารงานคลังสาธารณะ (Public Finance Administration) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ขอบเขตหน้าที่และกิจกรรมในการบริหารงานคลังสาธารณะของรัฐบาล ดังนี้

1 ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการบริหารการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล

2 ศึกษาการตัดสินใจด้านการคลังและการใช้จ่ายของรัฐบาล

3 ศึกษาอํานาจหน้าที่ในการหารายได้หรือการจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของรัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษีอากร การบริหารหรือก่อหนี้สาธารณะ เป็นต้น

4 ศึกษาการบริหารหรือการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของรัฐบาลให้มีความเหมาะสมตามสถานการณ์

36 ขอบเขตหน้าที่ของการบริหารงานคลังสาธารณะครอบคลุมประเด็นอะไรบ้าง

(1) บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล

(2) การจัดหาทรัพยากรเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ของรัฐ

(3) การดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจการคลังให้เหมาะสม

(4) การตัดสินใจในด้านการคลังและการใช้จ่าย

(5) ถูกต้องทั้งหมด

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

37 ข้อใดไม่ใช่หลักการและแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือทฤษฎี Classical Economics

(1) ทรัพยากรมีล้นเหลือ

(2) ประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายหลัก

(3) ข้อมูลข่าวสารที่จํากัดและเป็นต้นทุนที่สําคัญ

(4) ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัด

(5) การสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการและแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือทฤษฎี Classical Economics มีดังนี้

1 ความต้องการของมนุษย์มีไม่จํากัดและไม่สิ้นสุด ขณะที่ทรัพยากร เช่น ข้อมูลข่าวสารนั้นมีจํากัดและถือเป็นต้นทุนที่สําคัญ

2 การมุ่งสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจ

3 เน้นประสิทธิภาพในการผลิตเป็นเป้าหมายหลักในการจัดการเศรษฐกิจ

4 ความเชื่อในเรื่องการแข่งขันโดยกลไกตลาด ฯลฯ

38 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1) จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ

(2) อากร คือ ค่าธรรมเนียมจากสิ่งธรรมชาติหรือที่สร้างขึ้น

(3) ส่วย คือ เงินที่ข้าราชการเรียกเก็บจากชาวบ้านอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

(4) ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร

(5) ไม่มีข้อใดที่ไม่ถูกต้อง

ตอบ 3 หน้า 214, (คําบรรยาย การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ส่วยสาอากร” แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1 จังกอบ คือ ภาษีชนิดหนึ่ง เช่น ภาษีปากเรือ

2 อากร คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่สร้างขึ้น เช่นอากรรังนกนางแอ่น อากรมหรสพ

3 ส่วย คือ ของที่เรียกเก็บจากท้องถิ่นพื้นเมืองเพื่อเป็นค่าภาคหลวง เช่น เงินช่วยเหลือราชการ

4 ฤชา คือ เงินทดแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่ที่ผู้ครอบครองไพร่ทดแทนให้หลวง

39 ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ใน พ.ศ. 2416

(1) เจ้าภาษีนายอากรมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

(2) อํานาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน

(3) ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ

(4) เกิดวิกฤติเงินแผ่นดิน

(5) การค้าขายเจริญรุ่งเรือง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ในปี พ.ศ. 2416 ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ

1 เจ้าภาษีนายอากรพฤติกรรมไม่เหมาะสม

2 อํานาจในการจัดเก็บภาษีอากรอยู่ในอัตวิสัยของเจ้านายบางคน

3 ระบบบัญชีของกรมพระยาคลังไม่เป็นระบบระเบียบ

4 เกิดวิกฤติเงินแผ่นดินไม่พอใช้ในราชการ

40 ข้อใดที่มิใช่เงื่อนไขสําคัญของภาษีอากร

(1) เป็นการบังคับจัดเก็บจากรัฐ

(2) เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ

(3) การที่รัฐต้องตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ชําระภาษี

(4) เพื่อนําเงินไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะ

(5) ยังสรุปไม่ได้

ตอบ 3 หน้า 216 ภาษีอากร เป็นเครื่องมือหลักในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งรัฐบังคับจัดเก็บจากบุคคลผู้มีรายได้เพื่อใช้ในการบริหารประเทศและกิจการสาธารณะ โดยผู้ชําระภาษีจะได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนทางอ้อม เพราะว่ารัฐนําเงินภาษีไปใช้จ่ายในการทํานุบํารุงประเทศอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศ

41 การบริหารงานคลังมีสาระครอบคลุมเรื่องใดบ้าง

(1) นโยบายการเงิน

(2) นโยบายการคลัง

(3) นโยบายหนี้สาธารณะ

(4) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

(5) ถูกหมดทุกข้อ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

42 หน่วยงานหลักที่มีอํานาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้านนโยบายการคลัง

(1) กระทรวงการคลัง

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(4) สํานักงบประมาณ

(5) สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่และดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลัง มีดังนี้

1 กระทรวงการคลัง ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน “นโยบายการคลัง” และการบริหารงานคลัง “ภาครายรับ” เช่น การบริหารการจัดเก็บภาษีอากร การกํากับดูแล รายได้จากการนําเข้าและส่งออก การบริหารหนี้สาธารณะ

2 ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลังด้าน “นโยบายการเงิน”

3 สํานักงบประมาณ (ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานคลัง “ภาครายจ่าย” คือ การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน

43 หน่วยงานที่กํากับดูแลรายได้จากการนําเข้าและส่งออก

(1) กระทรวงการคลัง

(2) ธนาคารแห่งประเทศไทย

(3) สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(4) สํานักงบประมาณ

(5) สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

44 ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญขององค์การ

(1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

(2) มีลักษณะคงที่

(3) มีลักษณะชั่วคราว

(4) มีผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ

(5) ลักษณะงานมีความแตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ

1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้

3 มีการพัฒนาโครงสร้างให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ

45 ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างองค์การแบบเดิมและองค์การแบบใหม่

(1) แผนภูมิแสดงโครงสร้างองค์การ

(2) ความยืดหยุ่นในการทํางาน

(3) การจัดแผนกงาน

(4) ระบบย่อยในองค์การ

(5) จํานวนคนในองค์การ

ตอบ 2  หน้า 114 115 องค์การแบบเดิมและองค์การแบบใหม่ มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

องค์การแบบเดิม

– มีลักษณะคงที่

– ไม่มีความยืดหยุ่นในการทํางาน

– ให้ความสําคัญต่องาน

– งานถูกกําหนดจากตําแหน่ง

– เน้นบุคคล

– ความมั่นคงของงาน

– เน้นการออกคําสั่ง

– ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจ

– เน้นกฎระเบียบ

– ปฏิบัติงานในองค์การตลอดชั่วโมงการทํางาน

 

องค์การแบบใหม่

– มีลักษณะเปลี่ยนแปลง

– มีความยืดหยุ่นในการทํางาน

– ให้ความสําคัญต่อทักษะในการปฏิบัติงาน

– งานกําหนดจากสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

– เน้นทีมงาน

– งานมีลักษณะชั่วคราว

– เน้นการมีส่วนร่วม

– ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

– ให้ความสําคัญต่อลูกค้า/ผู้รับบริการ

– ไม่มีการกําหนดชั่วโมงการทํางานต่อวัน

 

46 องค์การแบบมีชีวิตมีลักษณะอย่างไร

(1) ช่วงการควบคุมแคบ

(2) รวมอํานาจในการบริหาร

(3) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

(4) ระดับชั้นการบังคับบัญชามาก

(5) ความเป็นทางการสูง

ตอบ 3 หน้า 133, 140 141 องค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้

1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

2 ช่วงการควบคุมกว้าง

3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย

4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวนอน แนวทแยง และแบบเครือข่าย

5 มีรายละเอียดของหน้าที่ ความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติงานน้อย

6 มีความเป็นทางการน้อย

7 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ

47 องค์การแบบผสมมีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นองค์การแบบอาสาสมัคร

(2) มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอกเข้ามาปฏิบัติงาน

(3) มีความคล่องตัวในการตัดสินใจและการปฏิบัติงาน

(4) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกัน

(5) เน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานตามแนวดิ่ง

ตอบ 4 หน้า 125, 141 องค์การแบบผสม (Hybrid Organization) เป็นองค์การที่มีการใช้โครงสร้างองค์การหลาย ๆ รูปแบบผสมกัน เพื่อตอบสนองการปฏิบัติงานที่มีความสลับซับซ้อน โดยใช้ประโยชน์จากลักษณะเด่นของรูปแบบโครงสร้างองค์การแต่ละแบบ

48 องค์การแห่งการเรียนรู้ควรมีวินัยอะไรบ้าง

(1) การคิดอย่างเป็นระบบ

(2) การมีภาวะผู้นําที่โดดเด่น

(3) การปฏิบัติงานที่ไม่มีขอบเขต

(4) วัฒนธรรมการทํางานแบบแข่งขัน

(5) ไม่เน้นการทํางานเป็นทีม

ตอบ 1 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization)จะต้องประกอบด้วย วินัย 5 ประการ คือ

1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)

2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)

3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)

4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)

49 สายการบังคับบัญชา คืออะไร

(1) การกําหนดจํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา

(2) การกําหนดอํานาจการตัดสินใจในองค์การ

(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่ลดหลั่นจากระดับสูงมายังระดับล่าง

(4) การจัดแบ่งงานในองค์การ

(5) ความมีมาตรฐานของงาน

ตอบ 3 หน้า 120 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) หมายถึง สายการกําหนดอํานาจหน้าที่ที่ลดหลั่นกันลงมาจากระดับสูงลงมายังระดับล่าง และกําหนดการรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยสายการบังคับบัญชาจะชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะขึ้นตรงต่อใคร หรือจะต้องรายงาน ต่อใคร การจัดสายการบังคับบัญชาจึงมีความเกี่ยวข้องกับอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนในองค์การ รวมถึงเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)

50 ข้อใดเป็นประเภทขององค์การแบบเครือข่าย

(1) เครือข่ายแบบวัฒนธรรม

(2) เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

(3) เครือข่ายแบบแมทริกซ์

(4) เครือข่ายแบบโครงการ

(5) เครือข่ายแบบเรียบง่าย

ตอบ 2 หน้า 126 – 127 ประเภทขององค์การแบบเครือข่าย มี 6 ประเภท คือ

1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ

2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน

3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ

4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ

5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ

6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน

51 เรื่องราวที่อยู่ในความสนใจของประชาชนในขณะนี้เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากนักธุรกิจสีเทาจํานวน 300 ล้านบาทของอดีต ผบ.ตร. ท่านหนึ่ง กําลังถูกตรวจสอบจากหน่วยงานใด

(1) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

(2) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(3) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

(4) ผู้ตรวจการแผ่นดิน

(5) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กําลังถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในกรณีการกู้ยืมเงินจากนักธุรกิจสีเทา (ธุรกิจอาบอบนวด) จํานวน 300 ล้านบาท

52 นักธุรกิจใหญ่ที่เข้าไปล่าเสือดําในป่าทุ่งใหญ่กําลังถูกตรวจสอบความผิดอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น การรุกป่าที่จังหวัดเลยโดยหน่วยงานใด

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(2) กรมที่ดิน

(3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

(4) กรมอุทยานแห่งชาติ

(5) กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) กรณีนักธุรกิจใหญ่รุกป่าที่อําเภอภูเรือ จังหวัดเลย กําลังถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่กรมที่ดินเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ตํารวจ และทหาร

53 หน่วยงานที่เชิญรองนายกฯ ที่มีข่าวนาฬิกาหรูไปสอบถาม คือ

(1) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

(2) กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ

(3) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เชิญพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าไปสอบถามเกี่ยวกับกรณีนาฬิกาหรูราคาแพงจํานวนมาก (ประมาณ 25 เรือน)

54 กรณีลอตเตอรี่มูลค่า 30 ล้านหาย หน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบคดีและการทํางานของตํารวจและนําไปสู่ การสรุปคดีได้ คือ

(1) กองบัญชาการตํารวจภูธรภาค 7

(2) กองบังคับการปราบปราม

(3) หนังสือพิมพ์

(4) สภาทนายความ

(5) กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) กองบังคับการปราบปราม ได้รับมอบหมายจาก พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ให้เข้ามาตรวจสอบคดีและการทํางานของตํารวจภูธรภาค 7 ในกรณีลอตเตอรีมูลค่า 30 ล้านบาทหาย จนนําไปสู่การสรุปคดีได้

55 การขุดคุ้ยการทุจริตการระบายข้าวสมัยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จนนําไปสู่การดําเนินคดีนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้องเริ่มจากการตรวจสอบของใคร

(1) สภาผู้แทนราษฎรโดยพรรคประชาธิปัตย์

(2) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

(3) ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(4) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

(5) NGOs

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ผู้ที่เริ่มขุดคุ้ยการทุจริตการระบายข้าวเป็นครั้งแรก คือ นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ โดยได้ยื่นให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบการทุจริตการระบายข้าวแบบ จีทูจี (รัฐต่อรัฐ) เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2555 ซึ่งนําไปสู่การดําเนินคดีกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการระบายข้าว จนถูกศาล ตัดสินพิพากษาไปเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2560 ที่ผ่านมา

56 ข้อใดเป็นกลไกการตรวจสอบและควบคุมจากภายนอกที่ตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลและนักการเมือง

(1) หนังสือพิมพ์

(2) Social Media

(3) NGOs

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 176 – 178, 183, 203, (คําบรรยาย) กลไกการตรวจสอบและควบคุมจากภายนอกที่ตรวจสอบการทํางานของหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาล และนักการเมือง ได้แก่ การตรวจสอบ ควบคุมโดยหน่วยงานกลางในการบริหารราชการ (เช่น สํานักงบประมาณ สํานักงานตรวจเงิน แผ่นดิน) การตรวจสอบควบคุมที่เกิดจากกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับ หน่วยราชการนั้น ๆ รวมทั้งการตรวจสอบควบคุมจากภาคประชาชน หนังสือพิมพ์ Social Mediaและ NGOs ซึ่งถือเป็นกลไกการตรวจสอบที่มีบทบาทสําคัญมากในปัจจุบัน

57 ถ้าข้าราชการถูกกลั่นแกล้งจากผู้บังคับบัญชาและถูกลงโทษทางวินัยโดยไม่เป็นธรรม หน่วยงานที่ข้าราชการร้องขอให้มีการตรวจสอบกรณีดังกล่าว คือ

(1) ศาลอุทธรณ์

(2) คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์

(3) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

(4) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมในระบบราชการพลเรือนสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหน้าที่ สําคัญในการพิจารณาวินิจฉัยการอุทธรณ์หรือการร้องทุกข์ของข้าราชการในกรณีที่ข้าราชการถูกกลั่นแกล้งจากผู้บังคับบัญชาและถูกลงโทษทางวินัยโดยไม่เป็นธรรม

58 กฎหมายฉบับใดที่ประชาชนใช้ตรวจสอบการทํางานของข้าราชการและหน่วยงานของรัฐได้

(1) พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ

(2) พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม

(3) พ.ร.บ. องค์การมหาชน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินการต่าง ๆ ของรัฐ จึงทําให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทํางานของข้าราชการและหน่วยงานของรัฐได้

59 บางครั้งกลไกในรัฐสภาก็ไม่อาจตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพจนต้องมีการเมืองภาคประชาชนเข้ามาร่วมตรวจสอบควบคุม เช่น กรณีใด

(1) กรณีการล่าเสือดําในป่าทุ่งใหญ่โดยนักธุรกิจขาใหญ่

(2) กรณี “หวย 30 ล้าน” หาย

(3) กรณี “นาฬิกาข้อมือราคาแพง-ยืมเพื่อนใส่”

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 3 หน้า 187, (คําบรรยาย) กลไกของรัฐสภาในการตรวจสอบและควบคุมการทํางานของรัฐบาลมีหลายวิธี เช่น การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปี การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นต้น แต่ในบางครั้งกลไกดังกล่าวก็ไม่อาจควบคุมตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องอาศัยการเมืองภาคประชาชนเข้ามาร่วมตรวจสอบควบคุม เช่น กรณี “นาฬิกาข้อมือ ราคาแพง-ยืมเพื่อนใส่” ซึ่งถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ากลไกในรัฐสภาไม่สามารถ ควบคุมตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้

60 ตัวอย่างการตรวจสอบและควบคุมโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่กรณีใด

(1) กรณีอดีตนายตํารวจใหญ่ยืมเงินนักธุรกิจสีเทา 300 ล้านบาท

(2) กรณีหวย 30 ล้านหาย

(3) กรณีการล่าเสือดําในป่าทุ่งใหญ่โดยนักธุรกิจขาใหญ่

(4) กรณีนาฬิกาหรู ยืมเพื่อนใส่

(5) กรณียกเลิกการคัดเลือก 7 กกต.

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) กรณียกเลิกการคัดเลือก 7 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการตรวจสอบและควบคุมโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตามกฎหมายได้กําหนดให้ สนช. มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกเป็น กกต. โดยต้องมี คะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แต่หาก สนช.ไม่ให้ความเห็นชอบจะต้องมีการสรรหาหรือคัดเลือกใหม่

61 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ทางการคลังของรัฐ

(1) การให้สัมปทานคลื่นความถี่ในการสื่อสาร

(2) การให้เงินอุดหนุนแก่ธุรกิจรายใหญ่

(3) การรักษาระดับเงินเฟ้อ

(4) การจัดสรรที่ทํากินแก่เกษตรกรผู้ยากไร้

(5) การส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจโดยการยกเว้นภาษีบางอย่าง

ตอบ 2 หน้า 213, (คําบรรยาย) หน้าที่ของรัฐบาลในการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจการคลัง มีดังนี้

1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) เช่น การให้สัมปทานคลื่นความถี่ในการสื่อสาร

2 การกระจายทรัพยากรหรือรายได้ (Distribution Function) เช่น การจัดสรรที่ทํากินแก่เกษตรกรผู้ยากไร้

3 การส่งเสริมการเจริญเติบโตหรือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (Promotion Function) เช่น การส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจโดยการยกเว้นภาษีบางอย่าง

4 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (Stabilization Function) เช่น การรักษาระดับเงินเฟ้อ เงินฝืด และการมีงานทําของประชากร

62 ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็น “ส่วยสาอากร” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

(1) ส่วย อากร จังกอบ ภาษี

(2) ส่วย อากร จังกอบ ฤชา

(3) อากร จังกอบ ฤชา เบี้ยปรับ

(4) ส่วย อากร ฤชา ปี

(5) ส่วย จังกอบ ฤชา ค่าธรรมเนียม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

63 การเปลี่ยนด้านการจัดเก็บภาษีกับพ่อค้าต่างชาติที่สําคัญคือสนธิสัญญาใด

(1) สนธิสัญญากับลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ในสมัยพระนารายณ์

(2) สนธิสัญญากับเซอร์เจมส์ บรุค ชาวอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 2

(3) สนธิสัญญากับจอห์น อดัมส์ ชาวอเมริกัน ในสมัยรัชกาลที่ 3

(4) สนธิสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ชาวอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4

(5) สนธิสัญญากับมิสเตอร์หลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ในสมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 หน้า 214 สนธิสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ชาวอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเป็นการเปลี่ยนด้านการจัดเก็บภาษีกับพ่อค้าต่างชาติที่สําคัญ โดยสนธิสัญญาได้ระบุให้ไทยยกเลิกภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือที่เก็บตามสัญญาฉบับปี พ.ศ. 2369 และให้เก็บภาษีขาเข้าแทนในอัตราเพียง ร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ซึ่งผลของสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ทําให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก

64 หอรัษฎากรพิพัฒน์ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 4

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 7

(5) รัชกาลปัจจุบัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 39 ประกอบ

65 ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสําคัญกับการใช้จ่ายของภาครัฐว่าก่อให้เกิดพลวัตทางเศรษฐกิจอย่างมาก และช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คือ

(1) ทฤษฎีของอดัม สมิธ ว่าด้วยความมั่งคั่งของชาติ

(2) ทฤษฎีเคนส์

(3) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สํานักนีโอคลาสสิก

(4) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิก

(5) ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สํานักนีโอคลาสสิกใหม่

ตอบ 2 หน้า 221 ทฤษฎีเคนส์ (Keynesian Economics) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความสําคัญกับการใช้จ่ายของภาครัฐว่าก่อให้เกิดพลวัตทางเศรษฐกิจอย่างมากและช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ

66 ทฤษฎีลูกสบสามตัวของ ด.ร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ประกอบด้วยลูกสูบสามตัวคือ

(1) ลูกสูบทางการคลัง ลูกสูบการเงินระหว่างประเทศ ลูกสูบการเงินในประเทศ

(2) ลูกสูบภาครัฐ ลูกสูบภาครัฐวิสาหกิจ ลูกสูบภาคเอกชน

(3) ลูกสูบภาครัฐ ลูกสูบภาคเอกชนในประเทศ ลูกสูบภาคเอกชนต่างประเทศ

(4) ลูกสูบภาครัฐ ลูกสูบองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ลูกสูบบรรษัทข้ามชาติ

(5) ลูกสูบภาครัฐ ลูกสูบภาคประชาชน ลูกสูบภาคเอกชน

ตอบ 1 หน้า 222 223 ทฤษฎีลูกสูบสามตัวของ ด.ร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ประกอบด้วย

1 ลูกสูบทางการคลัง คือ การเก็บภาษีอากรและการใช้จ่ายของรัฐบาล

2 ลูกสูบการเงินระหว่างประเทศ คือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกระหว่างประเทศ

3 ลูกสูบการเงินในประเทศ คือ การขยายเครดิตและลดเครดิตในระบบการเงิน

67 ระบบงบประมาณในปัจจุบันเป็นแบบใด

(1) ระบบงบประมาณแบบแสดงรายการ

(2) ระบบงบประมาณแบบแผนงาน

(3) ระบบงบประมาณแบบฐานศูนย์

(4) ระบบงบประมาณแบบแสดงผลงาน

(5) ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

ตอบ 5 หน้า 241,249 – 250 กระบวนการงบประมาณของไทยในปัจจุบันใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance-Based Budget : SPBB) ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพิจารณาจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และสามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดสัมฤทธิผล ซึ่งจะนําไปสู่เป้าประสงค์ทางการเงินได้

68 ภาษีบาป หมายถึงภาษีชนิดใด

(1) ภาษีสรรพสามิต

(2) รายได้จากค่าปรับพวกที่กระทําความผิด

(3) ภาษีศุลกากร

(4) เงินและทรัพย์ที่รับมาจากนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่น

(5) ภาษีมรดก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาษีบาป (Sin Tax) หมายถึง ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าที่รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนบริโภคหรือให้ประชาชนลดการบริโภคลง เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ เป็นต้น

69 ไทยแลนด์ 4.0 ให้ความสําคัญกับปัจจัยแวดล้อมข้อใดมากที่สุด

(1) การเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) สังคม

(4) เทคโนโลยีดิจิตอล

(5) สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ไทยแลนด์ 4.0 เป็นนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการนําเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4 องค์ประกอบสําคัญ คือ

1 เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming)

2 เปลี่ยนจาก Traditional SMEs ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Start ups ที่มีศักยภาพสูง

3 เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ High Value Services

4 เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ําไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

70 ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของไทยที่จัดเก็บในปัจจุบันมีกี่ระดับ

(1) 4 ระดับ

(2) 5 ระดับ

(3) 6 ระดับ

(4) 7 ระดับ

(5) 8 ระดับ

ตอบ 4

71 เพดานภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของไทยปัจจุบันอยู่ที่

(1) 20%

(2) 25%

(3) 30%

(4) 35%

(5} 37%

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ

72 โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อําเภอเทพา จังหวัดสงขลา ถูกเลื่อนออกไป เพราะภาคประชาชนเรียกร้องให้มีการทําการประเมินข้อใดอีกครั้ง

(1) EHIA (Environment and Health Impact Assessment)

(2) PSIA (Power and System Impact Assessment)

(3) CCIA (Community Cultural Impact Assessment)

(4) PESIA (Political, Economic and Social Impact Assessment)

(5) ATIA (Alternative Technology Impact Assessment)

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 รัฐบาลได้เลื่อนโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อําเภอเทพา จังหวัดสงขลาออกไป เพราะภาคประชาชนได้เรียกร้องให้กระทรวงพลังงานจัดทํา รายงานการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environment and Health Impact Assessment : EHIA) ใหม่อีกครั้งโดยคนกลางที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน

73 ตัวอย่างของการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่

(1) การเรียนหลักสูตร กศน.

(2) การศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิด

(3) การเรียน Pre-degree

(4) การศึกษาแบบ Home School

(5) การเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ประสบการณ์ ฯลฯ

ตอบ 5 หน้า 261 262, (คําบรรยาย) การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาสจากประสบการณ์ การทํางาน/การประกอบอาชีพ บุคคล ครอบครัว ชุมชน แหล่งความรู้ ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สําคัญ คือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จํากัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการสอน ไม่มี การรับประกาศนียบัตร ไม่มีสถานที่เรียนที่แน่นอน และไม่จํากัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต

74 ข้อใดที่ท้าทายอํานาจรัฐมากที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อมในเดือนกุมภาพันธ์ 2561

(1) กรณีการปฏิเสธไม่ให้หน่วยงานของรัฐเข้าค้นวัดพระธรรมกาย

(2) กรณีการล่าเสือดําในป่าทุ่งใหญ่โดยนักธุรกิจขาใหญ่

(3) กรณีหวย 30 ล้านบาทหาย

(4) กรณีการก่อการร้ายสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

(5) กรณีป้าทุบรถที่จอดขวางหน้าบ้านหมู่บ้านเสรีวิลล่า

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สิ่งที่ท้าทายอํานาจรัฐมากที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อมในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ได้แก่ กรณีการล่าเสือดําของนักธุรกิจใหญ่ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบอาวุธและซากสัตว์ป่าหลายรายการ ซึ่งหนึ่งในจํานวนนั้นก็คือ ซากเสือดํา

75 สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่กดดันรัฐบาลมากที่สุดในช่วงต้นปี 2561 ได้แก่

(1) กรณีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจนถึงปี 2562

(2) กรณี Iบบ (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) เกี่ยวกับการประมงผิดกฎหมายของไทย

(3) กรณี ICAO (International Civil Aviation Organization) เกี่ยวกับการจัดการการบินของกรมการบินพลเรือนที่ไม่ได้มาตรฐาน

(4) กรณีการค้ามนุษย์ (ชาวโรฮิงญา)

(5) นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Trump, สหรัฐอเมริกา

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่กดดันรัฐบาลมากที่สุดในช่วงต้นปี 2561 ได้แก่ กรณี IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) เกี่ยวกับการประมงผิดกฎหมาย ของไทย ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลายด้านที่สหภาพยุโรปต้องการ เช่น การ ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และการจัดการด้านการประมงของไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ประเทศไทยมีสิทธิเจอใบแดงและถูกสั่งห้ามนําเข้าสินค้าอาหารทะเลไทยเข้าไปจําหน่ายในสหภาพยุโรป

76 กระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดมากที่สุด

(1) เทคโนโลยีอวกาศ

(2) เทคโนโลยีสารสนเทศและคมนาคม

(3) การค้าระหว่างประเทศโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปพร้อมกับการล่าอาณานิคม

(5) การแข่งขันทางอุดมการณ์ของโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการโลกาภิวัตน์ (Globalization) เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคมนาคม ซึ่งทําให้เกิดระบบการติดต่อสื่อสารแบบไร้พรมแดน ทําให้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก ประหยัด โดยไม่จํากัดเวลา สถานที่ ระยะทาง เพศ และวัย

77 ข้อใดต่อไปนี้ผิด

(1) วัฒนธรรมของคนในชาติมีอิทธิพลต่อแนวทางในการบริหารและบรรยากาศขององค์การ

(2) วัฒนธรรมแสดงออกถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ จารีตประเพณี ศิลปะ และไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

(3) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การบริหารงานของภาครัฐจึงต้องปรับเปลี่ยนตาม

(4) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดแม้จะไม่ใช่สิ่งที่ดี เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการ

(5) ระบบศักดินาของไทยในอดีตยังส่งผลต่อการบริหารราชการของไทย เช่น ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ

ตอบ 2 หน้า 266, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม เป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อนประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย จารีตประเพณี ความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม รวมทั้งเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

78 ปัญหาสิ่งแวดล้อมทางด้านประชากรของไทยที่อาจส่งผลต่อการบริหารงบประมาณภาครัฐ คือ

(1) อัตราการว่างงานสูง

(2) อัตราการเพิ่มของประชากรลดต่ำลง

(3) สังคมผู้สูงวัย

(4) สัดส่วนของประชากรหญิงมากกว่าชาย

(5) แรงงานต่างด้าวอพยพเข้ามาแย่งงานคนไทย

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สังคมผู้สูงวัย เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางด้านประชากรของประเทศไทยที่อาจส่งผลต่อการบริหารงบประมาณภาครัฐ โดยมีการคาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2558 ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทั้งงบประมาณและมาตรการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย

79 “แม่น้ำ 5 สาย” ที่จัดเป็นสิ่งแวดล้อมสําคัญในการบริหารราชการของไทย ได้แก่

(1) ปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก

(2) เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง แม่โขง

(3) สนช. ครม. สปท. กรธ. คสช.

(4) ก.พ. ก.พ.ค. ก.พ.ร. ก.ต. ก.ต.ต.

(5) ป.ป.ท. ปปง. ป.ป.ช. ป.ป.ส. สตง.

ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) “แม่น้ำ 5 สาย” หมายถึง องค์กรทางการเมือง 5 องค์กร ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เป็นองค์กรที่มีบทบาทสําคัญในการปฏิรูปประเทศ และบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย

1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

2 คณะรัฐมนตรี (ครม.)

3 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

4 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

5 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

80 กฎหมายที่ขณะนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างมากในการตีความและอาจนําไปสู่ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ

(1) กฎหมายแรงงานต่างด้าว

(2) กฎหมายว่าด้วยการเลือก ส.ส. และ ส.ว.

(3) กฎหมายว่าด้วยการค้ามนุษย์

(4) กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ 2558

(5) การลงมติให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ เครื่องดื่มชูกําลัง นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง น้ำผลไม้

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) กฎหมายแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 เป็นพระราชกําหนดที่ตราขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ในการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าวและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ อย่างเรงด่วน แต่เนื่องจากขาดการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงทําให้เกิดประเด็นถกเถียงกันอย่างมากในการตีความและอาจนําไปสู่ปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

81 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หมายถึง

(1) Desktop

(2) Personal Computer

(3) Digital Computer

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 318 319, (คําบรรยาย) ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข (Digital Computer) ที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และ สามารถวางบนโต๊ะทํางานได้ จึงเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ว่า คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop Computer) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer)

82 ข้อมูล (Data) หมายถึง

(1) ข่าวกีฬา

(2) แบบสอบถาม

(3) ตําราที่เรียน

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 296, 318 319, (คําบรรยาย) ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อจริงหรือความจริงต่าง ๆที่เกี่ยวกับบุคคล วัตถุ สสาร สิ่งของ สถาบัน องค์การ การดําเนินงาน การปฏิบัติการ การจัดการ และอื่น ๆ ที่อาจอยู่ในลักษณะของสัญลักษณ์ ข้อความ ตัวเลข รูปภาพ และอื่น ๆ ทั้งนี้ข้อมูล จะอยู่ในรูปแบบที่ยังไม่มีการประเมินหรือตีความหมาย ซึ่งนับเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เช่น แบบสอบถาม เป็นต้น ส่วนข่าวสาร (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ หรือเป็นข้อมูลบั้นปลายที่มีการเปลี่ยนรูปแล้วให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย เข้าใจได้ง่าย และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ตําราที่เรียน ภาพยนตร์ ข่าวกีฬา รายงานข่าวรายงานการประชุมประจําปี หนังสือพิมพ์ วารสารข่าวรามคําแหง เป็นต้น

83 ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง

(1) เครื่องจักรและอุปกรณ์

(2) โปรแกรม

(3) บุคลากร

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 297 – 301, 313 – 319, (คําบรรยาย) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง กลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันในการทํางานของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ หรือส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ส่วน คือ

1 เครื่องจักรและอุปกรณ์ (Hardware)

2 โปรแกรมหรือคําสั่งงาน (Software)

3 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personnel)

84 คอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข (Digital) คือ คอมพิวเตอร์ที่

(1) ทํางานได้ทุกประเภท

(2) ทํางานโดยใช้หลักการวัดและราคาถูก

(3) แสดงข้อมูลในรูปเสียง แสง และภาพ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 4 หน้า 318 319, (คําบรรยาย) คอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข (Digital Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่ทํางานโดยใช้หลักการนับ ซึ่งจะรับข้อมูลในลักษณะของตัวเลขที่ต้องอาศัยสื่อในการรับหรือบันทึกข้อมูล มีความคล่องตัวในการทํางานสูง และสามารถปรับให้ทํางานได้ ทุกประเภท เช่น การคํานวณ การบัญชี การดนตรี รวมทั้งการแสดงข้อมูลในรูปเสียง แสง สี และภาพ โดยตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

85 คอมพิวเตอร์ประเภทปริมาณ คือ คอมพิวเตอร์ที่

(1) ทํางานได้ทุกประเภท

(2) ทํางานโดยใช้หลักการวัดและราคาถูก

(3) แสดงข้อมูลในรูปเสียง แสง และภาพ

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 2 หน้า 318 – 319, (คําบรรยาย) คอมพิวเตอร์ประเภทปริมาณ (Analog Computer) คือ คอมพิวเตอร์ที่ทํางานโดยใช้หลักการวัด ซึ่งจะรับข้อมูลในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง จากแหล่งกําเนิดข้อมูลโดยตรง ไม่สามารถทํางานได้ทุกอย่างเหมือนคอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลขแต่มีความเร็วสูงกว่าและมีราคาถูกกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทตัวเลข

ตั้งแต่ข้อ 86 – 87 จะมีข้อความให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ ให้นักศึกษาพิจารณาและระบายลงในกระดาษคําตอบ ดังนี้

(1) หากข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด ให้ระบายในข้อ 1

(2) หากข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก ให้ระบายในข้อ 2

(3) หากข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้ง 2 ข้อ ให้ระบายในข้อ 3

(4) หากข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้ง 2 ข้อ ให้ระบายในข้อ 4

 

86 (1) เทคโนโลยี หมายถึง ความประณีต

(2) เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการ

ตอบ 2 หน้า 290, 319 เทคโนโลยี หมายถึง

1 ความรู้ทั้งหลาย (ALL Knowledge) คือ ความรู้ที่มาจากทฤษฎีและนํามาปฏิบัติให้เกิดผล

2 ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ (Products) คือ ผลที่ได้จากการนําเทคโนโลยีมาใช้

3 กระบวนการ (Processes) คือ ขั้นตอนของการนําเทคโนโลยีมาใช้

4 เครื่องมือ (Tools) คือ อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องจักรในการใช้หรือที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี

5 วิธีการ (Methods) คือ กรรมวิธีหรือเทคนิคที่ใช้สําหรับเทคโนโลยี

6 ระบบ (Systems) คือ กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการคิดค้นในการสร้างสินค้าหรือการบริการ

87 (1) บุคลากรระดับวิชาการ หมายถึง พนักงานควบคุมเครื่อง

(2) บุคลากรระดับวิชาการ หมายถึง พนักงานบันทึกข้อมูล

ตอบ 4 หน้า 301, 319 บุคลากร(Peopleware/Brainware/Personnel) คือ บุคคลหรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1 บุคลากรระดับบริหาร

2 บุคลากรระดับวิชาการ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ และนักบรรณารักษ์กลาง

3 บุคลากรระดับปฏิบัติงาน ได้แก่ พนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ และพนักงานบันทึกข้อมูล

88 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในการบริหารประเทศ คือ

(1) ประสิทธิภาพ VS. ประสิทธิผล

(2) ประสิทธิภาพ VS. ประหยัด

(3) ประสิทธิภาพ VS. ประชาธิปไตย

(4) ประสิทธิผล VS. ประชาธิปไตย

(5) ประหยัด VS. ประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 323, 326 – 329, 355 คุณค่าหลัก 2 ประการที่แย้งกันในทัศนะของนักรัฐศาสตร์ในการบริหารประเทศ มีดังนี้

1 คุณค่าที่เน้นประสิทธิภาพของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นความเป็นประชาธิปไตยซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton)ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)

2 คุณค่าที่เน้นการขยายบทบาทของภาครัฐ VS. คุณค่าที่เน้นการลดบทบาทของภาครัฐซึ่งคุณค่าอย่างแรกตรงกับแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เซียนหรือเศรษฐศาสตร์ แบบเคนส์ (Keynesian School) ส่วนคุณค่าอย่างหลังตรงกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ แบบนี้โอลิเบอรัลลิสม์ (Neo-Liberalism) และเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก(Neo-Classical School)

89 แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สํานักเคนส์เชียน (Keynesian School) สนับสนุนแนวทางการบริหารรัฐกิจแบบใด

(1) การขยายบทบาทของภาครัฐ

(2) การลดบทบาทและขนาดของภาครัฐ

(3) การรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง

(4) การจัดการแบบภาคเอกชน

(5) การประหยัดทรัพยากรการบริหารเพราะประเทศประสบวิกฤติเศรษฐกิจ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ

90 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง คือ

(1) การจัดการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered Management)

(2) การบริหารจัดการบ้านเมืองอย่างเป็นประชาธิปไตย (Democratic Governance)

(3) การจัดการบนพื้นฐานของการแข่งขันในตลาด (Market-Based Management)

(4) การบริการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Service)

(5) การจัดการแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)

ตอบ 3 หน้า 340, (คําบรรยาย) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)มีชื่อเรียกหลายอย่าง ดังนี้

1 การจัดการนิยมใหม่ (Neo-Managerialism)

2 การจัดการบนพื้นฐานของการแข่งขันในตลาด (Market-Based Management)

3 การบริหารรัฐกิจบนพื้นฐานของการแข่งขันในระบบตลาด (Market Based Public Administration)

4 รัฐบาลเถ้าแก่หรือรัฐบาลแบบวิสาหกิจ (Entrepreneurial Government)

91 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) เน้นคุณค่าหลัก 4 ประการ คือ

(1) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด ประชาธิปไตย

(2) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด ประชาชน

(3) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด คุณภาพ

(4) ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประชาธิปไตย คุณภาพ

(5) ประสิทธิผล ประหยัด ประชาธิปไตย คุณภาพ

ตอบ 3 หน้า 330 การจัดการภาครัฐแนวใหม่เน้นคุณค่าหลัก 4 ประการ คือ

1 ประสิทธิผล (Effectiveness หรือ Result)

2 ประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่า (Efficiency)

3 ประหยัด (Economy)

4 ความเป็นเลิศหรือคุณภาพ (Excellence หรือ Quality)

92 ค่านิยมที่ถูกเน้นย้ำมากในการปฏิบัติราชการยุคนี้ คือ Integrity ซึ่งหมายถึง

(1) การทํางานอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ก้มหัวให้กับความไม่ถูกต้องชอบธรรม

(2) ความเสียสละและอุทิศเวลาเพื่อประชาชน

(3) ความขยันหมั่นเพียรในการทําราชการ

(4) ความรับผิดชอบต่อผลงานและให้ตรวจสอบได้

(5) การปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ตอบ 1 หน้า 352 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กําหนดค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ประกอบด้วย I = Integrity (ทํางานอย่างมีศักดิ์ศรี), A = Activeness (ขยัน ตั้งใจ ทํางานในเชิงรุก), M = Morality (มีศีลธรรม คุณธรรม), R = Relevancy (รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก), E = Efficiency (มุ่งเน้นประสิทธิภาพ), A = Accountability (มีความสํานึกรับผิดชอบต่อผลงานและสังคม), D = Democracy (มีใจและการกระทําที่เป็นประชาธิปไตย), Y = Yield (มุ่งเน้นผลงาน)

93 แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์ใด

(1) อุดมการณ์เสรีนิยมแบบคลาสสิก (Classical Liberalism)

(2) อุดมการณ์เสรีนิยมแบบเคนส์เซียน (Keynesian Liberalism)

(3) อุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism)

(4) อุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic Socialism)

(5) อุดมการณ์ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Nationalism)

ตอบ 3 หน้า 330 331, 356, 360 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรก ที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทซเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

94 แนวคิดนักบริหารแบบซีอีโอ (CEO) ที่ให้อํานาจผู้บริหารมากตรงกับแนวคิดของใคร

(1) Thomas Jefferson

(2) Alexander Hamilton

(3) John Maynard Keynes

(4) Max Weber

(5) Woodrow Wilson

ตอบ 2 หน้า 326, 330, 355 อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) เป็นนักวิชาการที่ให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารรัฐกิจ เขาได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การบริหารรัฐกิจไว้ในเอกสาร “The Federalist Papers” โดยเห็นว่า หลักการบริหารที่ดีคือ การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา และการมีศูนย์อํานาจเพียงหนึ่งเดียวที่รวมศูนย์ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดินระดับชาติที่ต้องการฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง เช่น นายกรัฐมนตรีเป็น Super CEO เป็นต้น ซึ่งแนวคิดของแฮมิลตันนี้ตรงกับแนวคิดนักบริหาร แบบซีอีโอ (CEO) ที่เน้นให้ผู้บริหารมีอํานาจมาก

95 ทฤษฎีตัวการตัวแทน (Principal-Agent Theory) ในภาครัฐ ตัวการสําคัญที่สุดคือใคร

(1) ประชาชน

(2) ผู้แทนราษฎร

(3) คณะรัฐมนตรี

(4) ข้าราชการ

(5) นักธุรกิจ

ตอบ 1 หน้า 332 333, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีตัวการตัวแทน (Principal-Agent Theory) นั้นตัวการ (Principal) คือ เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น ส่วนตัวแทน (Agent) คือ ผู้บริหารมืออาชีพหรือ ผู้จัดการ ซึ่งจะทําหน้าที่ตัดสินใจแทนตัวการในการทําในสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ ของตัวการ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับองค์การภาครัฐ ตัวการที่สําคัญที่สุดในภาครัฐก็คือ ประชาชน ซึ่งถือเป็นเจ้าของประเทศ ส่วนตัวแทนก็คือ ผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทําหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนในการเลือกคณะรัฐมนตรีมาบริหารประเทศให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน

96 องค์การระหว่างประเทศใดที่มีอิทธิพลให้เกิดการปฏิรูปภาครัฐในหลายประเทศ (1) UN

(2) World Bank

(3) IMF

(4) OECD

(5) ASEAN

ตอบ 3 หน้า 325, 331, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลให้เกิดการปฏิรูปภาครัฐในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งได้รับคําแนะนํา เชิงบังคับจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศให้ปฏิรูปภาครัฐเมื่อคราวที่เจอวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี

97 สาระสําคัญข้อหนึ่งของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะต่อการปฏิรูปภาครัฐ คือ

(1) รัฐควรให้บริการสวัสดิการสังคมแก่ชนทุกหมู่เหล่าอย่างเท่าเทียมกัน

(2) ต้องให้ภาคเอกชนหรือพลังตลาดหรือการแข่งขันมีบทบาทมากที่สุด

(3) ภาครัฐควรผูกขาดการให้บริการประชาชน เพื่อป้องกันการขูดรีดและเอาเปรียบจากภาคเอกชน

(4) ภาครัฐมีกลไกที่ดีกว่าในการตรวจสอบเมื่อเทียบกับภาคเอกชน

(5) ภาครัฐไม่ควรเก็บค่าบริการจากประชาชน เช่น รถไฟ/รถเมล์ฟรี

ตอบ 2 หน้า 332 สาระสําคัญของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะต่อการปฏิรูปภาครัฐ มีดังนี้

1 เพื่อลดหรือจํากัดการใช้บริการของประชาชน ภาครัฐสามารถเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชนผู้ใช้บริการ หรือสงวนไว้สําหรับผู้มีรายได้สูง

2 ต้องให้ภาคเอกชนหรือพลังตลาดหรือการแข่งขันมีบทบาทมากที่สุด และให้ภาครัฐมีบทบาทน้อยที่สุด

3 ภาคเอกชนมีกลไกที่ดีกว่าในการตรวจสอบเมื่อเทียบกับภาครัฐ ฯลฯ

98 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ให้ความสําคัญกับข้อใด

(1) เน้นการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณ (Input Control)

(2) เน้นการออกกฎระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดิน (Regulating)

(3) เน้นการสนองนโยบายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (Policy Implementation)

(4) เน้นผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Management)

(5) เน้นการเพิ่มสวัสดิการทางสังคม (Social Welfare) ให้ประชาชนมากขึ้น

ตอบ 4 หน้า 329 – 348, 356 357 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM) มีแนวทางแตกต่างจากการบริการสาธารณะแนวใหม่/การบริการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Service : NPS) หรือการร่วมบริหารกิจการบ้านเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Governance Management) ซึ่งแต่ละแนวทางมีจุดเน้นที่ให้ความสําคัญ ดังนี้

1 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพของราชการ การลดขั้นตอนการทํางาน การบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result-Based Management) การจัดการ ที่เน้นการแข่งขันแบบภาคธุรกิจ (Market-Based Management) การให้ความสําคัญกับ เทคโนโลยีการบริหารใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศ (Neo-Managerialism) การให้อํานาจกับ ผู้บริหารเหมือนเป็นผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของกิจการเองหรือเรียกว่า การจัดการแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurial Management) หรือแบบ CEO (CEO Management) เป็นต้น

2 การบริการสาธารณะแนวใหม่ ให้ความสําคัญกับความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม การสร้างเครือข่ายทางสังคม ประชาสังคม และชุมชน เป็นต้น

99 แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) ให้ความสําคัญข้อใด

(1) ประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นของระบบราชการ

(2) มองประชาชนว่าเป็น “พลเมือง” ที่ควรได้รับการแบ่งปันอํานาจหน้าที่และควรมีความไว้ใจในการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับพลเมือง

(3) ประชาชนคือลูกค้า (Customer) หรือผู้มาขอรับบริการ (Client)

(4) เน้นการควบคุมบังคับบัญชาตามลําดับขั้น

(5) เน้นการบริหารแบบเถ้าแก่ (Entrepreneurship)

ตอบ 2 หน้า 342 แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ให้ความสําคัญกับความเป็นพลเมืองโดยมองประชาชนว่าเป็น “พลเมือง” ไม่ใช่เป็นเพียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือลูกค้า (Customer) หรือผู้มาขอรับบริการ (Client) ดังนั้นนักบริหารจึงควรแบ่งปันอํานาจหน้าที่ของตนให้กับพลเมืองและควรมีความไว้ใจในการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับพลเมือง (ดูคําอธิบายข้อ 98 ประกอบ)

100 ข้าราชการในแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) คือข้อใด

(1) ข้าราชการคือผู้ควบคุม/ชี้นําสังคมไปในทิศทางใหม่ ๆ

(2) ข้าราชการคือผู้ให้บริการประชาชนเท่านั้น

(3) ข้าราชการต้องช่วยให้ประชาชนได้แสดงความต้องการร่วมกันของเขาออกมา และช่วยให้เขาได้บรรลุความต้องการเหล่านั้น

(4) ข้าราชการต้องถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดจากผู้บริหาร

(5) ข้าราชการต้องสนองนโยบายรัฐบาลเป็นสําคัญ

ตอบ 3 หน้า 343 แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ มองว่า ข้าราชการต้องช่วยให้ประชาชนได้แสดงความต้องการร่วมกันของเขาออกมา และช่วยให้เขาได้บรรลุความต้องการเหล่านั้น มากกว่าที่จะเป็นผู้ควบคุมหรือชักนําสังคมไปในทิศทางใหม่ ๆ ตามที่รัฐต้องการ นอกจากนี้ บทบาทของข้าราชการต้องไม่ใช่แค่ให้บริการประชาชนเท่านั้น แต่ข้าราชการต้องฝึกฝน ทักษะใหม่ ๆ เช่น การเจรจาไกล่เกลี่ย การระงับข้อพิพาทและความขัดแย้ง เป็นต้น

Advertisement