การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2300 การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
ตั้งแต่ข้อ 1. – 3. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Regulative Policy
(2) Distributive Policy
(3) Re-Distributive Policy
(4) Capitalization Policy
(5) Ethical Policy
1 โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เป็นนโยบายประเภทใด
ตอบ 5 หน้า 76 นโยบายเพื่อจริยธรรม (Ethical Policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีการบังคับให้ปฏิบัติตาม เพียงแต่สนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้สึกสํานึก มีจิตสํานึกในทางที่ถูกต้อง เช่น โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ลดละเลิกอบายมุข เป็นต้น
2 นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นนโยบายประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 76 นโยบายเพื่อการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม (Re-Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อประชาชนบางอาชีพ ผู้ประกอบการบางสาขาการผลิต พื้นที่บางพื้นที่ ตามความจําเป็น หรือนโยบายเพื่อดึงทรัพยากรจากประชาชนกลุ่มหนึ่งไปเป็นประโยชน์ให้ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ด้อยโอกาส เช่น นโยบายภาษี นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น
3 การสร้างโรงพยาบาลให้ครบทุกอําเภอ เป็นนโยบายประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 76 นโยบายการกระจายบริการของรัฐ (Distributive Policy) เป็นนโยบายที่กําหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยส่วนรวมมีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่เป็นของรัฐบาลอย่างทั่วถึงและพอเพียง เช่น การสร้างโรงพยาบาลประจําอําเภอ เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 4. – 6. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การก่อตัวของนโยบาย
(2) การเตรียมและเสนอนโยบาย
(3) การอนุมัติและประกาศนโยบาย
(4) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(5) การประเมินนโยบาย
4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 1 หน้า 87 ขั้นตอนการก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) ประกอบด้วย
1 การพิจารณาปัญหาหรือความต้องการของประชาชน
2 การพิจารณาเวลาที่เกิดปัญหา
3 ปัญหาที่รัฐบาลสนใจ
4 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา
5 การตีความหรือแปลงนโยบาย อยู่ในขั้นตอนใด
ตอบ 4 หน้า 89 ขั้นตอนการนํานโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ประกอบด้วย
1 การส่งต่อนโยบาย
2 การตีความหรือแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ
3 การชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย
4 การดําเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ
5 การจัดระบบสนับสนุน
6 การติดตามและควบคุมผลการปฏิบัติงาน
6 การกําหนดเกณฑ์วัด อยู่ในขั้นตอนใด ๆ
ตอบ 5 หน้า 90 ขั้นตอนการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ประกอบด้วย
1 การกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
2 การกําหนดเกณฑ์วัด และวิธีการตรวจสอบสิ่งที่ต้องการประเมิน
3 การกําหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล และวิธีการรายงาน
4 การนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
7 การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนําไปสู่การลดหนี้ อยู่ในนโยบายเรื่องใด
(1) นโยบายด้านสาธารณสุข
(2) นโยบายสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(3) นโยบายแรงงาน
(4) นโยบายการศึกษา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 95 – 96 ตัวอย่างนโยบายสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน การปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชายหญิง เป็นต้น
8 การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักกีฬา อยู่ในนโยบายด้านใด
(1) นโยบายด้านสาธารณสุข
(2) นโยบายสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(3) นโยบายแรงงาน
(4) นโยบายการศึกษา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 97 ตัวอย่างนโยบายการกีฬาและนันทนาการ ได้แก่ เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกําลังกายและเล่นกีฬา พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมกีฬาไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการกีฬา ปรับปรุงกฎหมายการกีฬาและที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 9 – 12 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Hardware
(2) Software
(3) E-Government
(4) Telecommunication
(5) Information Technology
9 เครื่องคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 297 – 301 ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนสําคัญ 3 ส่วน คือ
1 เครื่องจักร (Hardware) คือ ส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถแตะต้องหรือสัมผัสได้ เช่น หน้าจอหรือจอภาพ แป้นพิมพ์ เม้าส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
2 โปรแกรมหรือคําสั่งงาน (Software) คือ ชุดของคําสั่งงานที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 3 บุคลากร (Peopleware/Brainware/Personnel) คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล เป็นต้น
10 หน่วยงานภาครัฐนําเอาเรื่องใดมาใช้เพื่อปรับกระบวนการทํางานให้มีประสิทธิภาพสูง
ตอบ 3 หน้า 305, (คําบรรยาย) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) คือ การนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและ ระบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การใช้บัตรประจําตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดในการติดต่อราชการ การชําระภาษี การเสียค่าปรับ การร้องเรียน การทําหนังสือเดินทางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
11 การใช้บัตรประจําตัวประชาชนเพียงใบเดียวเพื่อเข้าไปติดต่อระบบราชการในเรื่องต่าง ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ถือว่าเป็นระบบใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ
12 ข้อใดคือคําสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ
13 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ
(1) E-Commerce
(2) E-Government
(3) E-Service
(4) E-Education
(5) E-Industry
ตอบ 3 หน้า 305 306 ตามแผนยุทธศาสตร์ ICT แห่งชาติ จะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้าน ดังนี้
1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
2 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
3 การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education)
4 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Industry)
5 สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)
14 อาจารย์มาสอนถึงบ้านโดยผ่านเครือข่าย Internet และนักเรียนสามารถตอบโต้อาจารย์ได้เหมือนอยู่ใน ห้องเรียนจริง เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) E-Commerce
(2) E-Government
(3) E-Service
(4) E-Education
(5) E-Industry
ตอบ 4 หน้า 306, (คําบรรยาย) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Education) คือ การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ผ่านทางไกลโดยไม่จําเป็นต้องเดินทางมาศึกษาในส่วนกลางได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ Online ของมหาวิทยาลัย การสอบผ่านระบบ E-Testing ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นต้น
15 ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ E-Government
(1) G2C
(2) G2B
(3) G2G
(4) G2E
(5) G2F
ตอบ 4 หน้า 308 309 การให้บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1 G2C (Government to Citizen) คือ การให้บริการของภาครัฐสู่ประชาชนโดยตรง
2 G2B (Government to Business) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อภาคธุรกิจเอกชน
3 G2G (Government to Government) คือ การให้บริการระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ
4 G2F (Government to Officer) คือ การให้บริการของภาครัฐต่อข้าราชการและพนักงานของภาครัฐ
16 ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการ E-Government
(1) Information
(2) Interaction
(3) Intervening
(4) Integration
(5) Intelligence
ตอบ 3 หน้า 309 – 310, 319 ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) มี 5 ระดับ ดังนี้
1 การให้ข้อมูล (Information)
2 การโต้ตอบ (Interaction)
3 การทําธุรกรรม (Interchange Transaction)
4 การบูรณาการ (Integration)
5 ระดับอัจฉริยะ (Intelligence)
ตั้งแต่ข้อ 17. – 21. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Alexander Hamilton
(2) Thomas Jefferson
(3) Leonard D. White
(4) Woodrow Wilson
(5) Owen E. Hughes
17 ใครคือผู้เสนอ Public Management
ตอบ 5 หน้า 329 – 330 Owen E. Hughes เป็นผู้เสนอแนวคิดการจัดการภาครัฐ (Public Management) โดยอธิบายว่า การจัดการภาครัฐแตกต่างจากการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และไม่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โดยการจัดการภาครัฐเกี่ยวข้องกับ ยุทธศาสตร์ สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์การ ดังนั้น การจัดการภาครัฐจึงเป็นเรื่องที่กว้างกว่าการบริหารงานภายในองค์การ ซึ่งจุดมุ่งหมาย ของการจัดการภาครัฐจะเน้นที่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ การปรับปรุงทักษะ และการปรับปรุงความรับผิดหรือการให้ตรวจสอบได้
18 ใครเน้นคุณค่ากับการมีรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งโดยให้อํานาจอย่างมากกับฝ่ายบริหาร
ตอบ 1 หน้า 326 Alexander Hamilton เป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจไว้ในหนังสือ The Federalist Papers ซึ่งเขาเน้นถึงคุณค่ากับการมีรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งโดยให้อํานาจอย่างมากกับฝ่ายบริหาร
19 ใครเน้นว่ารัฐบาลต้องกระจายอํานาจให้แก่ประชาชนเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการบริหารภาครัฐ
ตอบ 2 หน้า 326 – 327 Thomas Jefferson ได้ให้ความสําคัญกับประชาธิปไตย (Democracy) โดยต้องการให้รัฐบาลกระจายอํานาจให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐและต้องการจํากัดอํานาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด
20 ใครสนับสนุนให้มีโครงสร้างระบบราชการแบบรวมศูนย์อํานาจ
ตอบ 4 หน้า 327 Woodrow Wilson สนับสนุนให้มีโครงสร้างระบบราชการแบบรวมศูนย์อํานาจเพื่อให้สามารถจับตาได้ง่ายอันจะทําให้เกิดความไว้วางใจได้ และประกันความมีประสิทธิภาพ
21 ใครอธิบายจุดยืนของกลุ่ม Federalists วาพวกชนชั้นนําไม่ไว้ใจประชาชน เพราะนโยบายที่ดีต้องมาจากคนที่มีการศึกษาดี
ตอบ 3 หน้า 326 Leonard D. White อธิบายจุดยืนของกลุ่ม Federalists ว่าเป็นพวกชนชั้นนําที่ไม่ไว้ใจประชาชน เพราะเชื่อว่านโยบายที่ดีจะมาจากคนที่มีการศึกษาดี ได้รับการอบรมมาดีและมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางอย่างเช่นพวกคนชั้นสูงเท่านั้น
22 เรื่องใดที่การจัดการภาครัฐแนวใหม่ไม่สนใจ
(1) ประสิทธิภาพ
(2) ความเสมอภาค
(3) การตรวจสอบ
(4) การบรรลุเป้าหมาย
(5) เทคนิคและการจัดการ
ตอบ 2 หน้า 329 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ จะให้ความสนใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1 ประสิทธิภาพ
2 การตรวจสอบ
3 การบรรลุเป้าหมาย
4 เทคนิคและการจัดการ
23 ข้อใดเป็นแนวคิดของ Owen E. Hughes
(1) การจัดการภาครัฐเป็นเรื่องที่กว้างกว่าการบริหารงานภายในองค์การ
(2) จุดมุ่งหมายของการจัดการภาครัฐคือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์
(3) การจัดการภาครัฐเน้นคุณค่าการกระจายอํานาจสู่ประชาชน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 17 ประกอบ
24 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เป็นแนวทางหลักในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มที่ประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) ญี่ปุ่น
(4) จีน
(5) นิวซีแลนด์
ตอบ 2 หน้า 330 331, 356, 360 361 การจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดเชิงอุดมการณ์มาจากแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) โดยแนวคิดการจัดการ ภาครัฐแนวใหม่ถือเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ซึ่งประเทศแรกที่ริเริ่มนําแนวคิดนี้มาใช้ คือ ประเทศอังกฤษ (England) ในสมัยนางมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้ถูกนําไปใช้ในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
25 อุดมการณ์การจัดการนิยม (Managerialism) เกี่ยวข้องกับความคิดของใคร
(1) Alexander Hamilton
(2) Thomas Jefferson
(3) Christopher Pollitt
(4) Woodrow Wilson
(5) Owen E. Hughes
ตอบ 3 หน้า 336 Christopher Pollitt เป็นผู้เสนอความเชื่อหลัก 5 ประการของอุดมการณ์ การจัดการนิยม (Managerialism) ไว้ดังนี้
1 สังคมจะก้าวหน้าได้ต่อเมื่อมีการเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
2 การเพิ่มผลิตภาพจะต้องเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
3 การนําเทคโนโลยีมาใช้ให้บรรลุผลต้องเกิดจากบุคลากรที่มีอุดมการณ์ในการเพิ่มผลิตภาพ
4 การจัดการเป็นหน้าที่หนึ่งในองค์การที่แยกออกจากหน้าที่อื่น ๆ
5 ผู้จัดการจะต้องมีอํานาจและสิทธิในการจัดการ
ตั้งแต่ข้อ 26. – 28, “จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กรุงศรีอยุธยา
(2) รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์
(3) รัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์
(4) รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์
(5) รัชกาลที่ 6 กรุงรัตนโกสินทร์
26 การจัดตั้งศาลประเภทต่าง ๆ มีขึ้นในสมัยใด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจัดกระจายตามกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาไว้ในกระทรวงยุติธรรมและจัดวางรูปแบบศาลและกําหนดวิธีการพิจารณาคดีขึ้นใหม่
27 การนําระบบศาลมาไว้ภายใต้กระทรวงยุติธรรม มีขึ้นในสมัยใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26 ประกอบ
28 การแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมออกเป็นฝ่ายธุรการส่วนหนึ่ง ฝ่ายตุลาการส่วนหนึ่ง มีขึ้นในสมัยใด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่ โดยแยกหน้าที่ราชการกระทรวงยุติธรรมเป็น ธุรการส่วนหนึ่ง และฝ่ายตุลาการอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างเรียบร้อย
29 การระงับข้อพิพาทโดยไม่ใช้ศาลเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) กระบวนการยุติธรรม
(2) ยุติธรรมทางเลือก
(3) กฎหมายอาญา
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กระบวนการยุติธรรม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1 กระบวนการยุติธรรมหลัก เป็นการใช้กระบวนการระงับข้อพิพาททางศาลเป็นหลัก
2 กระบวนการยุติธรรมทางเลือก เป็นการหันเหข้อพิพาทให้ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ เช่น การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาท ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การพักการลงโทษเป็นต้น
30 “สภาพแวดล้อมที่…การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก มีลักษณะไม่คงที่แน่นอน…” ที่กล่าวมาเป็นสภาพแวดล้อมแบบใด
(1) Turbulent Field
(2) Disturbed Reaction Environment
(3) Placid Clustered Environment
(4) Placid Randomized Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 257 Placid Randomized Environment หมายถึง สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบการติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมมีน้อยมาก มีลักษณะไม่คงที่แน่นอน และถือเป็น การสุ่ม (Randomized) มากกว่า เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาที่ร่อนเร่และสภาพแวดล้อมของทารกในครรภ์ ซึ่งไม่ค่อยมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอก
31 สภาพแวดล้อมเฉพาะ ได้แก่
(1) ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้
(2) การศึกษาของประชาชน
(3) ประเพณี
(4) อัตราเงินเฟ้อ
(5) การเมือง
ตอบ 1 หน้า 260 – 280, (คําบรรยาย) สภาพแวดล้อมขององค์การบริหารภาครัฐเป็นสิ่งที่ควบคุมได้น้อยมากและมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1 สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารขององค์การของรัฐทุก ๆ องค์การ ได้แก่ การศึกษา ชนชั้นทางสังคม วัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมของประชาชน เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี กฎหมาย และทรัพยากรธรรมชาติ
2 สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมภายในองค์การ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบการบริหารขององค์การ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่จําเป็นในการดําเนินงาน สําหรับองค์การหนึ่ง ๆ แต่อาจจะไม่มีความจําเป็นสําหรับองค์การอื่น ๆ เลยก็ได้ เช่น ลูกค้า ผู้รับบริการ คู่แข่งขัน แรงงาน/บุคลากร วัตถุดิบ กฎระเบียบขององค์การ เทคโนโลยีการบริหารความรู้และข้อมูล ทรัพยากรที่หน่วยงานต้องใช้ เป็นต้น
32 ข้อใดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนให้คงอยู่ได้ในระยะยาว
(1) ป่าไม้
(2) ก๊าซธรรมชาติ
(3) แร่ธาตุ
(4) อากาศ
(5) แสงอาทิตย์
ตอบ 1 หน้า 274 275 ทรัพยากรธรรมชาติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Non-Exhausting Natural Resources) เช่น แสงอาทิตย์ อากาศ ดิน น้ำ เป็นต้น
2 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Exhausting Natural Resources) เช่น แร่ธาตุ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านลิกไนต์ เป็นต้น
3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดขึ้นทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (Renewable Natural Resources) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณ กําลังงานของมนุษย์ เป็นต้น
33 “การแห่นางแมว” จัดเป็นประเพณีประเภทใด
(1) จารีตประเพณี
(2) กฎศีลธรรม
(3) ขนบประเพณี
(4) ธรรมเนียมประเพณี
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 268 269 ประเพณี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เป็นประเพณีที่มีศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย เช่น การสมรสแบบตัวเดียวเมียเดียว เป็นต้น
2 ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่มีการกําหนดระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ เช่น การไหว้ครู การแห่นางแมว การจุดบ้องไฟของภาคอีสาน เป็นต้น
3 ธรรมเนียมประเพณี เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาหรือเป็นบรรทัดฐานที่ปฏิบัติจนเป็นประเพณี เช่น การสวมรองเท้า การดื่มน้ําจากแก้ว การทักทายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝรั่งจับมือ จีนและญี่ปุ่นโค้งคํานับ คนไทยไหว้ เป็นต้น
34 “การสมรสแบบผัวเดียวเมียเดียว” จัดเป็นประเพณีประเภทใด
(1) จารีตประเพณี
(2) กฎศีลธรรม
(3) ขนบประเพณี
(4) ธรรมเนียมประเพณี
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ
35 “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ในสุญญากาศ” ใครเป็นผู้กล่าว
(1) Stephen P. Robbins
(2) Dwight Waldo
(3) Fred W. Riggs
(4) Richard L. Daft
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 255 Dwight \Waldo กล่าวว่า “การบริหารงานสาธารณะไม่สามารถดําเนินอยู่ได้ในสุญญากาศจําเป็นต้องเกี่ยวพันติดต่อกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ”
36 ใครพิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การเป็น 10 ส่วน ถือเป็น Task Environment ขององค์การเอกชน
(1) Stephen P. Robbins
(2) Dwight Waldo
(3) Fred W. Riggs
(4) Richard L. Daft
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 255 256 Richard L. Daft พิจารณาสภาพแวดล้อมขององค์การว่าประกอบด้วยปัจจัยหรือส่วนต่าง ๆ 10 ส่วน ดังนี้
1 ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม
2 ปัจจัยด้านการผลิต
3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์
4 ปัจจัยด้านการเงิน
5 ปัจจัยด้านการตลาด
6 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
7 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
8 ปัจจัยด้านการควบคุม
9 ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
10 ปัจจัยจากต่างประเทศ
37 หน่วยงานกลางที่ทําหน้าที่ควบคุม “มาตรฐานการบริหารงานบุคคลของรัฐ”
(1) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(2) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
(3) สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(4) สํานักงบประมาณ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 159, (คําบรรยาย) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สํานักงาน ก.พ.) เป็นองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน โดยทําหน้าที่ควบคุมมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทํางานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหาร กําลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
38 ข้อใดจัดเป็น “วัฒนธรรม”
(1) ศีลธรรม
(2) กฎหมาย
(3) ประเพณี
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) วัฒนธรรม เป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อนประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย จารีตประเพณี ความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม รวมทั้งเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
39 หน่วยงานที่มีการบริหารงานเป็นอิสระจากระบบบริหารราชการส่วนกลาง
(1) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(2) รัฐวิสาหกิจ
(3) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบบริหารราชการส่วนกลาง ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร
40 “กลไกภายใน” ที่ใช้ในการควบคุม ได้แก่
(1) แผนดําเนินงานขององค์การ
(2) กฎ ระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(3) การตรวจสอบโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 181 182 กลไกการควบคุมภายในหน่วยงานราชการ ประกอบด้วย นโยบาย แผนงานโครงการ วิธีปฏิบัติงาน คําสั่งและรายงาน ระบบการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน คู่มือ กฎ ระเบียบ วินัยและบทลงโทษ ระบบการติดตามประเมินผล ความสามารถของผู้บริหาร/ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน ระบบการประกันคุณภาพ เทคโนโลยีขององค์กร เป็นต้น
41 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้แก่
(1) บทบาทของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(2) บทบาทของสํานักงบประมาณ
(3) บทบาทของกรมบัญชีกลาง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 176, 185 – 190 กลไกการควบคุมเพื่ออํานวยความยุติธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมีดังนี้
1 แนวนโยบายแห่งรัฐในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 บทบาทของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
3 การตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร
4 บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา
5 บทบาทของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
6 บทบาทของศาลในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ
42 ที่กล่าวว่า “ งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการควบคุม” เพราะว่า
(1) เป็นกฎหมายที่หน่วยราชการต้องปฏิบัติตาม
(2) เป็นการแสดงรายได้ของส่วนราชการ
(3) เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 184, 205 206, (คําบรรยาย) งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุม เนื่องจาก
1 งบประมาณเป็นกฎหมาย และการใช้จ่ายเงินของรัฐหรือหน่วยราชการต้องมีกฎหมายรองรับและเป็นไปตามกฎหมายงบประมาณ
2 งบประมาณเป็นแผนการบริหารที่แสดงโครงการในการดําเนินงาน แสดงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ แสดงจํานวนเงินที่ต้องการใช้ ตลอดจนแสดงจํานวนบุคลากรและทรัพยากรในการสนับสนุนการดําเนินงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ
3 งบประมาณเป็นทรัพยากรในการบริหาร ซึ่งจะต้องมีการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
4 งบประมาณเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร
43 แนวคิดในการควบคุมต่อไปนี้แบบใดเกิดก่อนแบบอื่น ๆ
(1) การควบคุมผลลัพธ์
(2) การควบคุมด้านนโยบาย
(3) การควบคุมด้านผลผลิต
(4) การใช้ผู้บริโภคในการควบคุม
(5) การใช้กฎหมายเป็นตัวควบคุม
ตอบ 5 หน้า 177, 205 206 (คําบรรยาย) แนวคิดในการควบคุมตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
ยุคที่ 1 ให้ความสําคัญกับการควบคุมปัจจัยนําเข้า โดยพิจารณาที่ความถูกต้องของการจัดสรรทรัพยากรขององค์การให้ตรงตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่กําหนด
ยุคที่ 2 ให้ความสําคัญกับการควบคุมกระบวนการทํางาน โดยพิจารณาความสําเร็จไปที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน
ยุคที่ 3 (ยุคปัจจุบัน) ใช้วิธีการตามยุคที่ 1 และ 2 และให้ความสําคัญกับการควบคุมขลผลิตและผลลัพธ์ รวมทั้งให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมตรวจสอบ
44 องค์กรใดทําหน้าที่ “รับเรื่องราวร้องทุกข์” จากการกระทําของรัฐบาล
(1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
(2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
(3) ศาลปกครอง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 189, 206 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เป็นองค์การที่ทําหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์โดยพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคําร้องเรียนในกรณีที่ภาครัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม
45 ข้อใดเป็น “การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ”
(1) การกําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน
(2) การให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(3) การตรวจสอบบัญชีหน่วยงานภาครัฐ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 186 รัฐธรรมนูญได้วางแนวทางการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ด้วยการกําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งยังกําหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีอํานาจพิจารณาพิพากษานักการเมืองที่กระทําผิดและผู้เกี่ยวข้องด้วย
46 “นโยบายการบริหารจัดการ” ที่มีผลต่อการควบคุม
(1) การเลือกระบบงบประมาณ
(2) การพัฒนาบุคลากร
(3) บทบาทของรัฐสภา
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 184 185, (คําบรรยาย) นโยบายการบริหารจัดการภาครัฐที่มีผลต่อการควบคุมตรวจสอบมีดังนี้
1 การพัฒนาระบบงบประมาณ
2 การพัฒนาบุคลากร
3 การจัดวางระบบการติดตามประเมินผล
4 ระบบประกันคุณภาพขององค์การ
47 “วัฒนธรรมองค์การ” มีผลต่อการควบคุมอย่างไร
(1) เป็นกลไกภายนอกที่กํากับการทํางานขององค์การ
(2) เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตในองค์การ
(3) เป็นวิธีปฏิบัติงานขององค์การ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 202 วัฒนธรรมองค์การ คือ สภาพทางสังคมภายในองค์การที่เกิดจากการใช้ชีวิตร่วมกันภายในองค์การทําให้เกิดแบบแผนการใช้ชีวิต เช่น งานอดิเรก พฤติกรรมการบริโภค กลุ่มเพื่อนการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
48 ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการกําหนดโครงสร้าง และกฎ ระเบียบในการควบคุมการทํางาน
(1) วิธีปฏิบัติงาน
(2) งบประมาณ
(3) การประสานงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิธีปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการกําหนดโครงสร้าง และกฎ ระเบียบในการควบคุมการทํางาน ทําให้การปฏิบัติงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเกิดการปฏิบัติงานด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
49 ข้อใดเป็นการควบคุมโดย “รัฐสภา”
(1) บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน
(2) บทบาทของศาลปกครอง
(3) การออกกฎหมาย
(4) การตรวจเงินแผ่นดิน
(5) ทั้งข้อ 1 และ 4
ตอบ 3 หน้า 187 188 การควบคุมตรวจสอบโดย “รัฐสภา” ได้แก่
1 การพิจารณาออกกฎหมายประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2 การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจําปีของส่วนราชการต่าง ๆ ตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด
3 การตั้งกระทู้และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
4 การตั้งคณะกรรมาธิการติดตามการปฏิบัติงาน
50 ขั้นตอนสุดท้ายของการควบคุม ได้แก่
(1) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน
(2) การปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
(3) การกําหนดวิธีการในการวัดความสําเร็จ
(4) การกําหนดมาตรฐานในการทํางาน
(5) การรับเรื่องราวร้องทุกข์
ตอบ 2 หน้า 181 กระบวนการในการควบคุมตรวจสอบ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2 การกําหนดวิธีการในการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3 การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ได้ตั้งเอาไว้
4 การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
51 ข้อใดจัดเป็นระบบการประกันคุณภาพขององค์การ
(1) มาตรฐาน ISO
(2) เกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กําหนด
(3) มาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 202 ระบบการประกันคุณภาพขององค์การ เกิดจากแนวคิดในการพัฒนาองค์การที่ให้ความสําคัญต่อลูกค้าขององค์การ การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค การบริหารจัดการ ที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ การคํานึงถึงความเป็นสถาบันขององค์การในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทําให้องค์การมีการจัดตั้งฝ่ายประกันคุณภาพขึ้นเป็นแผนกหนึ่งขององค์การ และมีการนําระบบการประกันคุณภาพเข้ามาใช้ เช่น มาตรฐาน ISO มาตรฐาน HA (กรณี โรงพยาบาล) มาตรฐาน สมศ. (กรณีสถาบันการศึกษา) นอกจากนี้องค์การของรัฐทั้งหลาย ยังต้องรับข้อกําหนดต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นําเสนอรวมถึงข้อกําหนดตามกฎหมาย เช่น พ.ร.บ. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นต้น
52 ข้อใดเป็นคุณสมบัติของ “คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน”
(1) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
(2) เป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริต
(3) ทําหน้าที่เบิกจ่ายเงินให้กับส่วนราชการ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 186, 206 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา ทําหน้าที่ในการตรวจสอบบัญชี หน่วยงานภาครัฐ ติดตามประเมินผลการดําเนินงาน กํากับตรวจสอบการใช้จ่ายเงินตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมทั้งเป็นต้นเรื่องในการตรวจสอบคดีทุจริตการใช้จ่ายเงิน
53 อัตราเงินเฟ้อ เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่อง
(1) Allocation Function
(2) Distribution Function
(3) Stabilization Function
(4) Management Function
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐ มีดังนี้
1 การจัดสรรทรัพยากร (Allocation Function) วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
2 การกระจายทรัพยากร (Distribution Function) วัดจากรายได้เปรียบเทียบอัตราการใช้จ่าย อัตราการออม
3 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization Function) วัดจากอัตราเงินฝืดและอัตราเงินเฟ้อ
4 การบริหารจัดการ (Management Function) วัดจากประสิทธิภาพการผลิต
54 GDP เป็นตัวชี้วัดหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐในเรื่อง
(1) Allocation Function
(2) Distribution Function
(3) Stabilization Function
(4) Management Function
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 53 ประกอบ
55 “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากเงินได้” (Income Base) ได้แก่
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีโรงเรือน
(3) ภาษีสุรา
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 217, (คําบรรยาย) การจําแนกประเภทภาษีอากรตามลักษณะของฐานภาษีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Income Base) เป็นการนําเอารายได้มาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
2 ภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย (Consumption Base) เป็นการนําเอาค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการใช้จ่ายภาษีสรรพสามิต (เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ) ภาษีศุลกากร เป็นต้น
3 ภาษีที่เก็บจากทรัพย์สิน (Wealth Base) เป็นการนําเอาทรัพย์สินมาใช้เป็นฐานในการประเมินภาษี เช่น ภาษีมรดก ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน เป็นต้น
56 “ตัวอย่างของภาษีที่เก็บจากการช้จ่าย” (Consumption Base) ได้แก่
(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ภาษีโรงเรือน
(3) ภาษีสุรา
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ
57 “การแบ่งรายจ่ายออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย” เป็นลักษณะของงบประมาณระบบใด
(1) Line-Item Budget
(2) Tradition Budget
(3) Performance Budget
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 228, 237 งบประมาณแบบแสดงรายการหรืองบประมาณแบบดั้งเดิม (Line-Item Budget or Tradition Budget) เป็นระบบงบประมาณที่เน้นการควบคุมการใช้จ่ายหรือการใช้ ทรัพยากร การจัดเตรียมงบประมาณจึงมีลักษณะที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะมีการแบ่งรายจ่าย ออกเป็นหมวดและมีการกําหนดรายการค่าใช้จ่าย จึงทําให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถนําเงินงบประมาณไปใช้จ่ายในรายการอื่นได้
58 “การใช้โครงสร้างแผนึ่งานเป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์…กับกิจกรรมที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์” เป็นลักษณะของระบบงบประมาณแบบใด
(1) Line-Item Budget
(2) Tradition Budget
(3) Performance Budget
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 230 231, 237 งบประมาณแบบแสดงแผนงาน (Planning or Programming Budget) เป็นระบบงบประมาณที่มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณ เข้ากับระบบการวางแผน จึงมีการจัดทําแผนงาน (Programming) โดยใช้โครงสร้างแผนงาน เป็นเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุในรอบปีงบประมาณ หนึ่ง ๆ กับกิจกรรมที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ เพื่อเป็นกรอบการตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณ
59 ภาษีทรัพย์สิน ได้แก่
(1) ภาษีศุลกากร
(2) ภาษีที่ดิน
(3) ภาษีเงินได้
(4) ภาษีสรรพากร
(5) ทั้งข้อ 1, 2, 3 และ 4
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ
60 ภาวะเงินฝืด คนว่างงาน รัฐบาลควรมีนโยบายงบประมาณและนโยบายการเงินอย่างไร
(1) เกินดุล ดอกเบี้ยสูง
(2) ขาดดุล ดอกเบี้ยต่ำ
(3) ขาดดุล ดอกเบี้ยสูง
(4) เกินดุล ดอกเบี้ยต่ำ
(5) สมดุล ดอกเบี้ยสูง
ตอบ 2 หน้า 236, (คําบรรยาย) งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) คือ การจัดทํางบประมาณที่รัฐบาลจัดเก็บรายได้น้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน ซึ่งการจัดทํางบประมาณขาดดุลนี้จะใช้ร่วมกับ นโยบายการเงินแบบดอกเบี้ยต่ําในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีภาวะการเงินผิดหรือตึงตัวและมีการจ้างงานน้อย
61 “การวิเคราะห์เฉพาะในส่วนที่เพิ่ม” เป็นข้อเสนอของใคร
(1) Richard L. Daft
(2) Fred W. Riggs
(3) Dwight Waldo
(4) Charles E. Linblom
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 238 Charles E. Linblom เป็นผู้เสนอแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์เฉพาะในส่วนที่เพิ่ม (Incremental Model) โดยยึดถือแนวทางนโยบายเดิมในการจัดทํางบประมาณ และใช้การวิเคราะห์ในส่วนที่เพิ่มในการวิเคราะห์งบประมาณที่เกิดขึ้นใหม่เท่านั้น
62 ใครเขียนหนังสือชื่อ “Public Budgeting System
(1) Lee and Johnson
(2) Fred W. Riggs
(3). Richard A. Musgrave
(4) Charles E. Linblom
(5) ไม่มีข้อใดถูก ตอบ 1 หน้า 238, 252 Robert D. Lee and Ronald w. Johnson เป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ“Public Budgeting System” โดยเชื่อว่า การตัดสินใจทางการเมืองจะเกี่ยวข้องกับหลักการที่ขัดกันของผลประโยชน์บนพื้นฐานของข้อมูลของแต่ละฝ่าย
63 “สภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยสถาบันทางสังคม การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมเริ่มมีความยุ่งยาก ผลการติดต่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพขึ้นได้ ” ที่กล่าวมาเป็น สภาพแวดล้อมแบบใด
(1) Turbulent Field
(2) Disturbed-Reactive Environment
(3) Placid Clustered Environment
(4) Placid Randomized Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 258 Disturbed-Reactive Environment ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยสถาบันทางสังคม การติดต่อระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมเริ่มมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ยุ่งเหยิง ผลของการติดต่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อม ของเด็กวัยรุ่นที่เริ่มเผชิญกับสังคมภายนอก เริ่มประสบปัญหาในการแยกแยะความเหมาะสมของการเข้าไปสัมผัส
64 ข้อใดไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมทางเลือก
(1) การระงับข้อพิพาท
(2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
(3) การพักการลงโทษ
(4) ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
(5) เป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ
65 บุคคลใดที่นําแนวคิดเรื่อง พาราไดม์ (Paradigm) มาศึกษาอย่างจริงจังและจัดแบ่งเป็นยุคต่าง ๆ
(1) Robert T. Golembiewski
(2) Thomas S. Kuhn
(3) Lawrence C. Mayer
(4) Woodrow Wilson
(5) Nicholas Henry
ตอบ 5 หน้า 46 – 58, (คําบรรยาย) Nicholas Henry เป็นผู้ที่นําแนวคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm)มาใช้ในการศึกษาพัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้ว่า พัฒนาการของวิชาการบริหารรัฐกิจนับตั้งแต่ทศวรรษ 1900 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (1970 – ?) นั้น อาจจําแนกพาราไดม์ของสาขาวิชาการบริหารรัฐกิจออกได้เป็น 5 พาราไดม์ที่คาบเกี่ยวกัน ดังนี้
พาราไดม์ที่ 1 : การบริหารรัฐกิจคือการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน
พาราไดม์ที่ 2 : การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร พาราไดม์ที่ 3: การบริหารรัฐกิจคือรัฐศาสตร์
พาราไดม์ที่ 4 : การบริหารรัฐกิจคือวิทยาการบริหาร
พาราไดม์ที่ 5 : การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ
66 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพาราไดม์ (Paradigm)
(1) Robert T. Golembiewski
(2) Thomas S. Kuhn
(3) Lawrence C. Mayer
(4) Woodrow Wilson
(5) Martin Landau
ตอบ 2 หน้า 43 – 44, 64 – 65 Thomas S. Kuhn เป็นปรมาจารย์ผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับพาราไดม์ (Paradigm) จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งพาราไดม์” เขาได้อธิบายไว้ว่า พาราไดม์ หมายถึง ผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติสําคัญ 2 ประการ คือ
1 เป็นสิ่งใหม่ที่สามารถจูงใจกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้หันเหจากกิจกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆที่มีลักษณะแข่งขันกัน โดยหันมายอมรับร่วมกันว่าผลสําเร็จในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นพื้นฐานสําหรับการปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
2 เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องรุ่นใหม่ ๆ ได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ กันต่อไป
67 บุคคลใดที่กล่าวว่าพาราไดส์ (Paradigm) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ข้อ
(1) Robert T. Golembiewski
(2) Thomas S. Kuhn
(3) Lawrence C. Mayer.
(4) Martin Landau
(5) Robert T. Holt and John M. Richardson
ตอบ 5 หน้า 44 – 45, 64 – 65 Robet T. Holt และ John M. Richardson กล่าวว่าพาราไดม์ (Paradigm) ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 5 ประการ คือ
1 แนวความคิด
2 ทฤษฎี
3 กฎของการแปลความหมาย
4 ปัญหา
5 การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง
68 ในองค์ประกอบ 5 ข้อของแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) ในข้อที่ 3 ดังกล่าวข้างต้นมีข้อใดต่อไปนี้ ที่ไม่ใช่องค์ประกอบของพาราไดม์
(1) แนวความคิด ทฤษฎี
(2) กฎของการแปลความหมาย
(3) ปัญหา
(4) การชี้แนะสิ่งที่มีอยู่หรือน่าจะมีอยู่จริง
(5) การศึกษาค้นคว้าแบบเป็นขั้นเป็นตอน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ
69 บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) คือ
(1) Nicholas Henry
(2) Woodrow Wilson
(3) Thomas S. Kuhn
(4) Martin Landau
(5) Lawrence C. Mayer
ตอบ 2 หน้า 31, 46, 64 – 65, (คําบรรยาย) Woodrow Wilson บิดาของวิชาการบริหารรัฐกิจเป็นผู้ให้กําเนิดคําว่า “Public Administration” และเป็น “ต้นกําเนิดของแนวความคิด เกี่ยวกับเรื่องการแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน” ได้เขียนบทความเรื่อง “The Study of Administration” (1887) และเสนอความเห็นว่า การบริหารรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องยากยิ่งกว่าการบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งบทความดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจากนักวิชาการว่าเป็น “สูติบัตร” ของวิชาการบริหารรัฐกิจอีกด้วย
70 Nicholas Henry ได้ศึกษาแนวคิดเรื่องพาราไดม์ (Paradigm) ของวิชาการบริหารรัฐกิจ และได้แบ่งการศึกษาเรื่องพาราไดม์ออกเป็น
(1) 3 ยุค 4 พาราไดม์
(2) 3 ยุค 5 พาราไดม์
(3) 4 ยุค 5 พาราไดม์
(4) 4 พาราไดม์
(5) 5 พาราไดม์
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ
71 บุคคลใดที่ได้เป็นผู้ริเริ่มการศึกษาวิชาการบริหารรัฐกิจจนเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมา
(1) Nicholas Henry
(2) Woodrow Wilson
(3) Thomas S. Kuhn
(4) Martin Landau
(5) Lawrence C. Mayer
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
72 บทความทางบริหารรัฐกิจเรื่อง The Study of Administration เขียนโดย
(1) Woodrow Wilson
(2) Nicholas Henry
(3) Thomas S. Kuhn
(4) Lawrence C. Mayer
(5) Martin Landau
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
73 ใครเป็นผู้เสนอว่า การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกันเป็นสองส่วน
(1) Nicholas Henry
(2) Woodrow Wilson
(3) Thomas S. Kuhn
(4) Robert T. Golembiewski
(5) Lawrence C. Mayer
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ
74 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เขียนตําราเรียนเล่มแรกของวิชาการบริหารรัฐกิจ
(1) Woodrow Wilson
(2) Thomas S. Kuhn
(3) Frank J. Goodnow
(4) Leonard D. White
(5) Lawrence C. Mayer
ตอบ 4 หน้า 47, 65 Leonard D. White ได้เขียนหนังสือชื่อ “Introduction to the Study of Public Administration” (1926) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นตําราเรียนที่สมบูรณ์เล่มแรกของ สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจ โดยเขาเสนอความเห็นว่า การเมืองไม่ควรจะเข้ามาแทรกแซงการบริหาร เพราะการบริหารได้นําตัวเองไปสู่การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ และวิชาการบริหารรัฐกิจสามารถจะก้าวไปสู่ความเป็นศาสตร์ที่ปลอดจากค่านิยมได้ด้วยความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง
75 พาราไดม์ (Paradigm) ที่เท่าใดของวิชาการบริหารรัฐกิจที่กล่าวว่า การบริหารรัฐกิจคือหลักของการบริหาร
(1) พาราไดม์ที่ 1
(2) พาราไดม์ที่ 2
(3) พาราไดม์ที่ 3
(4) พาราไดม์ที่ 4
(5) พาราไดม์ที่ 5
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65 ประกอบ
76 ผลงานในหนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งเสนอหลักการทํางานของคนงานระดับล่างขององค์การเป็นแนวคิดของใคร
(1) Mary Parker Follet
(2) Henri Fayol
(3) Frederick W. Taylor
(4) James D. Mooney
(5) Alan C. Reiley
ตอบ 3 หน้า 48 – 49 Frederick W. Taylor เป็นผู้แต่งหนังสือเรื่องการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์(Scientific Management) ซึ่งจะเน้นในเรื่องการทํางานในโรงงานอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลในระดับล่างขององค์การ
77 ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 เป็นผลงานของใคร
(1) Lillian Gilbreth
(2) Frederick W. Taylor
(3) Henri Fayol
(4) James D. Mooney and Alan C. Reiley
(5) Gulick and Lyndall Urwick
ตอบ 5 หน้า 49 ในช่วงพาราไดม์ที่ 2 : หลักของการบริหารนั้น ได้มีผลงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็น “จุดสูงสุดแห่งการได้รับความยอมรับนับถือ” ของวิชาการบริหารรัฐกิจ นั้นก็คือหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration (1937) ของ Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เสนอหลักการบริหารที่เรียกว่า POSDCORB
78 ในหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของวิชาการบริหารรัฐกิจในปี ค.ศ. 1937 ได้เสนอผลงานอะไร
(1) หลักของการบริหาร
(2) หลักการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
(3) หลักการของนักบริหารที่ดี
(4) หลักการบริหาร POSDCORB
(5) หลักการบริหารรัฐกิจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ
79 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1938 1947 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
(1) การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้
(2) การโจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
(3) การบริหารที่ปลอดจากค่านิยม แต่ความจริงเป็นการเมืองเต็มไปด้วยค่านิยมต่างหาก
(4) โจมตีว่าหลักการต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้นใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เป็นได้แค่สุภาษิตทางการบริหาร (Proverbs)
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 51 52 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่างค.ศ. 1938 – 1947 แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง ดังนี้
1 การคัดค้านว่าการบริหารกับการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยผู้คัดค้านเชื่อว่าการบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเมืองที่บรรจุไว้ด้วยค่านิยมต่างหาก
2 การโจมตีว่าหลักต่าง ๆ ของการบริหารมีความไม่สอดคล้องลงรอยกันตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ โดยฝ่ายโจมตีเห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารที่กําหนดขึ้นมานั้น ใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ จะเป็นได้แค่เพียงสุภาษิตทางการบริหาร
80 การเกิดวิกฤติทางความคิดครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1947 1950 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
(1) การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร
(2) ชี้หลักต่าง ๆ ของการบริหารไม่มีความหมายถึงความเป็นศาสตร์ (Science)
(3) การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารควรมีพื้นฐานทางจิตวิทยาสังคม
(4) การศึกษาศาสตร์ของการบริหารไม่สามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 54 55 การเกิดวิกฤติทางความคิดเกี่ยวกับวิชาการบริหารรัฐกิจระหว่างค.ศ. 1947 – 1950 มีดังนี้
1 การเรียกร้องเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์บริสุทธิ์ของการบริหาร
2 การชี้ให้เห็นว่า หลักต่าง ๆ ของการบริหารไม่มีความหมายถึงความเป็นศาสตร์ (Science)
3 การใช้จิตวิทยาสังคมเป็นพื้นฐานสําหรับทําความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร
4 การศึกษาศาสตร์ของการบริหารไม่สามารถปลอดจากค่านิยม (Value-Free) ได้
81 บุคคลใดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย
(1) สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ
(2) สมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
(3) สมเด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
(4) ปฐม มณีโรจน์
(5) มาลัย หุวะนันท์
ตอบ 1 หน้า 60 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงริเริ่มปลูกฝังและพัฒนาระบบการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ขึ้นในประเทศไทย จึงส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้เป็น “บิดาแห่งการบริหารรัฐกิจสมัยใหม่ของไทย”
82 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การ
(1) วัตถุประสงค์
(2) บุคลากร
(3) โครงสร้างองค์การ
(4) สภาพแวดล้อม
(5) ระยะเวลา
ตอบ 5 หน้า 114 ลักษณะสําคัญขององค์การ มี 3 ประการ คือ
1 มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2 มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
3 มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้สําเร็จ โดยองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ
83 องค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) มีลักษณะอย่างไร
(1) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน
(2) มีกฎระเบียบเป็นทางการและเป็นแบบแผนมาก
(3) ไม่มีการกําหนดระดับการบริหารที่แน่นอนตายตัว มีอิสระในการทํางานได้เอง
(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด
(5) เป็นหน่วยงานอิสระ มีความยืดหยุ่น และไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่
ตอบ 1 หน้า 123 โครงสร้างองค์การแบบเรียบง่าย (Simple Structure) จะมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว สภาพแวดล้อมขององค์การจะไม่ซับซ้อน โดยลักษณะโครงสร้างองค์การนี้ จะเป็นโครงสร้างแนวราบ (Flat Structure) มากกว่าโครงสร้างแนวดิ่ง (Tall Structure)
84 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) มีลักษณะอย่างไร
(1) มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่แน่นอนและมีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก
(2) มีโครงสร้างหลายรูปแบบผสมกันและมีความสลับซับซ้อน
(3) มีความยืดหยุ่นไม่ขึ้นต่อองค์การใหญ่
(4) มีการดําเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาและงบประมาณที่กําหนด
(5) มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว สภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อน
ตอบ 1 หน้า 125 126 องค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) เป็นองค์การที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่มีระดับชั้นการบังคับบัญชาที่แน่นอน เน้นการใช้ความสามารถหลักของ องค์การและรับทรัพยากรจากพันธมิตรภายนอก รวมทั้งใช้การจ้างเหมาบุคคลภายนอกในการปฏิบัติงาน
85 Goldsmith and Eggers ได้แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การรูปแบบอะไร
(1) องค์การแบบเรียบง่าย
(2) องค์การแบบระบบราชการ
(3) องค์การแบบแมทริกซ์
(4) องค์การแบบเครือข่าย
(5) องค์การแบบผสม
ตอบ 4 หน้า 126 – 127 Goldsmith และ Eggers แบ่งรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์การแบบเครือข่ายออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1 เครือข่ายแบบการทําสัญญาในการให้บริการ
2 เครือข่ายแบบห่วงโซ่อุปทาน
3 เครือข่ายแบบเฉพาะกิจ
4 เครือข่ายแบบตัวแทนการให้บริการ
5 เครือข่ายแบบศูนย์เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ
6 เครือข่ายแบบศูนย์ประสานงานประชาชน
86 การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ เป็นแนวคิดของใคร
(1) Stephen P. Robbins
(2) Peter Senge
(3) Herbert Hicks
(4) Handy C.
(5) jones G. R.
ตอบ 2 หน้า 130, 138 Peter Senge เสนอว่า การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) ต้องอาศัยวินัย 5 ประการ คือ
1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)
2 แบบแผนของความคิด (Mental Model)
3 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
4 การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
5 การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
87 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วยอะไร
(1) ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ และการคิดอย่างเป็นระบบ
(2) การให้บริการ เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ การประสานงาน การทํางานเป็นทีม
(3) รูปแบบองค์การ วัฒนธรรมองค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล ภาวะผู้นํา
(4) เป้าหมายขององค์การ ค่านิยม กลยุทธ์ โครงสร้าง และวัฒนธรรม
(5) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
ตอบ 3 หน้า 131 คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ของ Stephen P. Robbins ประกอบด้วย 4 ลักษณะสําคัญ ดังนี้
1 รูปแบบองค์การที่ไม่มีขอบเขต การมีทีมงานที่ดี และการเอื้ออํานาจ
2 วัฒนธรรมองค์การ เน้นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต้องเปิดเผย คํานึงถึงเวลา และถูกต้อง
4 ภาวะผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
88 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะอย่างไร
(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
(2) ช่วงการควบคุมกว้าง
(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน
(4) ความเป็นทางการสูง
(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ
ตอบ 4 หน้า 132 – 134, 138 องค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีระดับชั้นการบังคับบัญชามาก
2 ช่วงการควบคุมแคบ
3 มีระเบียบกฎเกณฑ์มาก
4 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานเป็นแบบแนวดิ่ง
5 มีความเป็นทางการสูง
6 รวมอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
7 มีสภาพแวดล้อมไม่ซับซ้อนและคงที่
8 มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ฯลฯ
89 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การแบบมีชีวิต (Organic Organization)
(1) มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
(2) ช่วงการควบคุมกว้าง
(3) เน้นความคล่องตัวในการทํางาน
(4) ความเป็นทางการสูง
(5) กระจายอํานาจในการตัดสินใจ
ตอบ 4 หน้า 133 134, 14) – 141 องค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) มีลักษณะดังนี้
1 มีความยืดหยุ่น เน้นความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
2 ช่วงการควบคุมกว้าง
3 มีระเบียบกฎเกณฑ์น้อย
4 มีความเป็นทางการน้อย
5 กระจายอํานาจในการบริหารและตัดสินใจ
6 มีสภาพแวดล้อมซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงมาก
7 มุ่งเน้นประสิทธิผล ฯลฯ
90 ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency)
(1) องค์การเป็นระบบเปิด
(2) การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
(3) การจัดองค์การแต่ละรูปแบบมีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
(4) องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
(5) องค์การมีความเป็นทางการสูง
ตอบ 5 หน้า 134 เงื่อนไขของรูปแบบองค์การตามสถานการณ์ (Structure Contingency) มีดังนี้
1 ไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุดในการจัดองค์การ
2 การจัดองค์การแต่ละรูปแบบ มีประสิทธิผลไม่เท่ากัน
3 การจัดองค์การที่ดีที่สุดต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
4 องค์การจะปรับโครงสร้างให้เข้ากับบริบทขององค์การ
5 องค์การเป็นระบบเปิด
6 ผู้ตัดสินใจขององค์การที่แนวโน้มเป็นผู้ที่มีเหตุผล
91 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มอร์แกน (Morgan) นํามาใช้ในการจัดโครงสร้างองค์การตามสถานการณ์
(1) สิ่งแวดล้อม
(2) กลยุทธ์
(3) สายการบังคับบัญชา
(4) เทคโนโลยี
(5) คน/วัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 135 136, 141 มอร์แกน (Morgan) ได้นําทฤษฎีโครงสร้างตามสถานการณ์มาพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและนําไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ซึ่งปัจจัยที่มอร์แกนนํามาพิจารณาในการจัด โครงสร้างองค์การ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรม โครงสร้างองค์การ และการจัดการ โดยองค์การที่มีส่วนประกอบภายในสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมจะสามารถปรับตัว ได้ดีที่สุดและมีผลการดําเนินงานที่ดีที่สุด
92 การบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบตามความหมายของอุทัย เลาหวิเชียร หมายถึง
(1) เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับควบคุมบุคคล
(2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกําหนดนโยบายเกี่ยวกับบุคคล
(3) เป็นเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารระบบราชการ
(4) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
(5) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การ
ตอบ 1 หน้า 151 อุทัย เลาหวิเชียร ได้สรุปสาระสําคัญของการบริหารงานบุคคลในความหมายที่แคบไว้ดังนี้
1 เป็นแนวการศึกษาที่เกี่ยวกับกระบวนการบริหารงาน ซึ่งประกอบด้วย การสรรหา การคัดเลือก การสอบ การเลื่อนขั้น เป็นต้น
2 ให้ความสําคัญกับการบริหารงานบุคคลภายในองค์การ โดยมองข้ามการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
3 เป็นกลไกของฝ่ายบริหารที่มีไว้สําหรับการควบคุมบุคคล
93 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PEST หรือ STEP
(1) สภาพการเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) บุคลากร
(4) สังคมและวัฒนธรรม
(5) เทคโนโลยี
ตอบ 3 หน้า 155 ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือ PEST หรือ STEP ประกอบด้วย
1 สภาพการเมือง (Political)
2 เศรษฐกิจ (Economic)
3 สังคม (Social)
4 เทคโนโลยี (Technological)
94 ปัจจัยทางการบริหารที่ถือว่ามีความสําคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้ว ก็ไม่สามารถทํางานได้คือ
(1) คน (Men)
(2) เงิน (Money)
(3) วัสดุอุปกรณ์ (Material)
(4) การจัดการ (Management)
(5) ขวัญกําลังใจ (Morale)
ตอบ 1 หน้า 154 ปัจจัยทางการบริหารที่เรียกว่า 4 MP3 คือ คน (Men), เงิน (Money), วัสดุอุปกรณ์(Material) และการจัดการ (Management) จะถือว่าปัจจัยเรื่อง คน (Men) มีความสําคัญมากที่สุด และเป็นตัวเชื่อมโยงกับทุกระบบ หากปราศจากแล้วก็จะไม่สามารถทํางานได้
95 กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ที่ใช้ในประเทศไทยคือ
(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472
(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2528
(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545
(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ตอบ 1 หน้า 167 ภาครัฐไทยนําระบบการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่มาใช้ตั้งแต่การออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2472 โดยระบบบริหารงานบุคคล ภาครัฐมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะ และนโยบายการบริหารงานบุคคลก็มี การปรับเปลี่ยนไปตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
96 ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลคือ
(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2545
(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2550
(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2560
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เป็นพระราชบัญญัติฉบับล่าสุดที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคมพ.ศ. 2551
97 องค์กรกลางที่ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารงานบุคคลฝ่ายพลเรือนในระบบราชการคือ
(1) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
(2) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(3) คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง
(5) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
ตอบ 2 หน้า 158 159 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่กําหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งหมด ตั้งแต่การกําหนดตําแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตําแหน่ง การประเมินผล การปฏิบัติงาน วินัย การลงโทษ และการให้บุคลากรพ้นจากราชการ ดังนั้นคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนจึงเป็น “ต้นแบบ” ให้แก่องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายปกครอง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ฯลฯ ในการกําหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล (ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ)
98 นโยบายการบริหารงานบุคคลที่สําคัญคือ การพัฒนาบุคลากร ซึ่งประกอบด้วยเรื่องอะไร
(1) การจัดการศึกษา
(2) การฝึกอบรม
(3) การพัฒนา
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 164, 170 – 172, (คําบรรยาย) การพัฒนาบุคลากร เป็นความพยายามในการเพิ่มพูนทักษะความรู้และความสามารถให้แก่บุคลากร เพื่อที่จะปฏิบัติงานในองค์การได้อย่างมีประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการในการพัฒนาบุคลากรมีหลายวิธี เช่น การส่งบุคลากรไปอบหรือศึกษาต่อการดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสัมมนา การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน เป็นต้น
99 การบริหารงานบุคคลภาครัฐประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญกขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน
(2) 3 ขั้นตอน
(3) 4 ขั้นตอน
(4) 5 ขั้นตอน
(5) 6 ขั้นตอน
ตอบ 5 หน้า 163 164 ระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญดังนี้
1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล
2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้ายและแต่งตั้ง
3 การพัฒนาบุคลากร
4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร
5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
6 การพ้นสภาพการเป็นบุคลากร
100 ข้อใดคือขั้นตอนที่จัดว่าสําคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลในภาครัฐ
(1) ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนทรัพยากรบุคคล
(2) ขั้นตอนที่ 2 การได้มาซึ่งบุคลากร การโอนย้าย และการแต่งตั้ง
(3) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาบุคลากร
(4) ขั้นตอนที่ 4 การใช้ประโยชน์จากบุคลากร
(5) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ 1 หน้า 163, 171 172, (คําบรรยาย) การวางแผนทรัพยากรบุคคล จัดว่าเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่สุดในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ โดยเป็นการวางแผนดําเนินงาน เพื่อเตรียมบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและเวลา รวมทั้งพัฒนากําลังคนให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยมีปัจจัยสําคัญที่ต้องนํามาพิจารณาประกอบ เช่น ปริมาณงาน ปริมาณบุคลากร ตลาดแรงงาน ลักษณะงาน เป็นต้น การวางแผนทรัพยากรบุคคลผิดพลาด จะทําให้องค์การเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การว่างงาน การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน การหมุนเวียน เข้าออกจากงานสูง เป็นต้น