การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ประเทศไทยมีคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดคือใคร
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) จีน
(3) รัสเซีย
(4) ลาว
(5) กัมพูชา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ จีน ซึ่งครองอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2013 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
2. จากประโยคที่ว่า “ผู้ใดควบคุมริมขอบทวีปผู้นั้นครองดินแดนยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมดินแดนยูเรเซียผู้นั้น กุมชะตากรรมของโลก” ประโยคดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman) ซึ่งเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมริมขอบทวีปผู้นั้นครอง ดินแดนยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมดินแดนยูเรเซียผู้นั้นกุมชะตากรรมของโลก”
3.Human Rights Watch มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศใด
(1) จีน
(2) ญี่ปุ่น
(3) สิงคโปร์
(4) ไทย
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 5 หน้า 22 (คําบรรยาย) องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1978 โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
4 กฎหมายว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตตามที่ปรากฏในอนุสัญญาแห่งกรุงเวียนนาถือว่าเป็นขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใด
(1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
(5) ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 4 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการ สร้างความสงบและความเป็นระเบียบแบบแผนให้กับสังคมโลก เช่น การกําหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่แต่ละประเทศจึงยึดถือและปฏิบัติตาม โดยกฎเกณฑ์หรือระเบียบดังกล่าว อาจปรากฏในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา (Treaty) อนุสัญญา (Convention) ความตกลง (Agreement) กติกาสัญญา (Pact) หรืออาจปรากฏในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี (Customary) ตัวอย่างของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายว่าด้วย เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์แบบเบ็ดเสร็จ เป็นต้น
5.ข้อใดต่อไปนี้คือตัวย่อของ “ศาลโลก” หรือ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ”
(1) ICC
(2) IC
(3) ICRC
(4) World Court
(5) UNHCR
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติ โดยคําตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ทั้งนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่การตั้งองค์การสันนิบาตชาติในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการตั้งขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
6. ข้อใดต่อไปนี้คือขอบข่ายของกฎหมายตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
(1) กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ
(2) ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ
(3) กฎบัตรสหประชาชาติ
(4) กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(5) กฎหมายว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ตอบ 3 หน้า 14, 129, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่บัญญัติ ขึ้นมาเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต กฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล เป็นต้น
7. ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศล่าอาณานิคม
(1) ไทย
(2) จีน
(3) ญี่ปุ่น
(4) มาเลเซีย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้นจึงถือว่า วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย
8.ข้อใดไม่ใช่แหล่งมรดกโลก
(1) ป่าแก่งกระจาน
(2) เขาใหญ่
(3) เขาพนมรุ้ง
(4) ปราสาทเขาพระวิหาร
(5) ห้วยขาแข้ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งมรดกโลก คือ พื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกจาก UNESCO เพราะมีลักษณะสําคัญ ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามสนธิสัญญา โดยแหล่งมรดกโลกที่สําคัญ ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ป่าแก่งกระจาน เขาใหญ่ ห้วยขาแข้งในประเทศไทย ประสาทเขาพระวิหารในประเทศกัมพูชา เมืองหลวงพระบางในประเทศลาว กําแพงเมืองจีนในประเทศจีน เป็นต้น
9.ข้อต่อไปนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามมาจากวลีที่ว่า “An Absent of Supreme Power” ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) Serfdom
(2) Self-Esteem
(3) Self-Help
(4) Leviathan
(5) Social Contract
ตอบ 3 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่าง ประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลาง อํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดง ต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง
10.Pacta Sunt Servanda ของสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ
(1) การปฏิญาณต่อหน้าพระเจ้า
(2) พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
(3) การทําสงครามบังคับใช้
(4) การประณามเชิงศีลธรรม
(5) การนิ่งเฉย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กติกาเกี่ยวกับการรักษาสัญญาตามหลัก Pacta Sunt Servanda ของ สังคมระหว่างประเทศ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งคริสตจักร คือ การปฏิญาณต่อหน้าพระเจ้า
2. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งยุโรป คือ การทําข้อตกลงร่วมและสงครามบังคับใช้
3. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งโลก คือ พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
4. สังคมระหว่างประเทศยุคโลกาภิวัตน์ (ปัจจุบัน) คือ พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(1) ตั้งอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
(2) เน้นความร่วมมือด้านการทหารเป็นหลัก
(3) มีหน้าที่จัดการเรื่องทุจริต
(4) คําตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ
12. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่มีสํานักงานใหญ่ในประเทศไทย
(1) United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR)
(2) World Health Organization (WHO)
(3) Organization for Security and Co-Operation in Europe (OSCE)
(4) United Nations Environment Programme (UNEP)
(5) Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP)
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ESCAP) เป็น 1 ใน 5 คณะกรรมาธิการ ส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 ปัจจุบันมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
13. ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มควอด
(1) ลาว
(2) ญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อินเดีย
(5) ออสเตรเลีย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กลุ่มควอด (Quadrilateral Security Dialogue : Quad) เป็นกลุ่มความร่วมมือ ด้านความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดียและออสเตรเลีย
14. ข้อใดคือ Jus ad Bellum ในปัจจุบัน
(1) การป้องกันเชิงรุก (Preemptive Strike)
(2) การประณาม (Denounce)
(3) การป้องปราม (Deterrence)
(4) การคว่ำบาตร (Sanction)
(5) การป้องกันตัวเอง (Self-Defense)
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Jus ad Bellum (กติกาที่ว่าด้วยการเริ่มสงคราม) ในปัจจุบัน มี 2 ประการ คือ
1. การอ้างสิทธิในการป้องกันตัวเอง (Self-Defense)
2. การประกาศสงครามโดยองค์การสหประชาชาติภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
15. องค์การระหว่างประเทศที่รัฐเป็นสมาชิกได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
(1) สหประชาชาติ
(2) อาเซียน
(3) สหภาพยุโรป
(4) องค์การนานารัฐอเมริกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นรัฐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เช่น สันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), สหภาพยุโรป (EU), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), กองทุนสงเคราะห์ เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), การประชุมสหประชาชาติว่าด้วย การค้าและการพัฒนา (UNCTAD), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น
16. หากมีผู้กล่าวว่า “เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันได้…” คํากล่าวนี้สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Path Dependence
(2) Scope of International Relations
(3) Current Affairs
(4) International Relations
(5) Diplomacy
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คํากล่าวที่ว่า “เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้…” เป็นคํากล่าวที่สะท้อนให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้น ส่งผลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือเรียกว่า Path Dependence
17. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “League of Nations” จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Non-Governmental Organizations
(3) Multi-National Corporation
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) บนเวทีระหว่างประเทศหรือเวทีโลก มีดังนี้
1. องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN), สหประชาชาติ (United Nations : UN), สหภาพยุโรป (European Union : EU), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น
2. องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organizations : NGOs) เป็นองค์การระหว่างประเทศของภาคประชาสังคม เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น
3. บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporation : MNCs) เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Unilever เป็นต้น
4. ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorists) เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS, กลุ่ม Al Qaeda, กลุ่ม Abu Sayyaf เป็นต้น
5. ปัจเจกบุคคล (Individual) เช่น นางอองซาน ซูจี, นายอังตอนี มานูแวล กูแตช เลขาธิการ สหประชาชาติ เป็นต้น
18. ข้อใดไม่ใช่สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี
19. ข้อใดกล่าวถึงบริบทด้านนโยบายต่างประเทศอย่างถูกต้อง
(1) นโยบายต่างประเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้เฉพาะด้านการทหาร
(2) นโยบายต่างประเทศคือนโยบายภายในของรัฐ
(3) นโยบายต่างประเทศเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ปฏิบัติต่อรัฐฝ่ายตรงข้าม
(4) รัฐชาติไม่ได้มีความจําเป็นต้องมีเป้าหมายทางด้านการต่างประเทศมากนัก (5) ผลประโยชน์ของชาติเกี่ยวข้องกับนโยบายภายในประเทศมากกว่า
ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) นโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy) หมายถึง กลุ่มของมาตรการ หรือยุทธศาสตร์ที่รัฐก้าหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติต่อรัฐอื่นหรือรัฐฝ่ายตรงข้ามในอันที่จะให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ที่ต้องการ โดยจุดประสงค์ของการดําเนินนโยบายต่างประเทศก็คือ การรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ
20. คําว่า “Apartheid” หมายถึงอะไร
(1) นโยบายส่งเสริมผลประโยชน์ของคนในชาติ
(2) ขบวนการติดอาวุธประเทศฟิลิปปินส์
(3) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(4) ขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์
(5) นโยบายการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Apartheid หมายถึง นโยบายการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นนโยบายของ รัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1948 โดยมีการแบ่งแยกคนผิวดําออกจากคนผิวขาว กีดกันคนผิวดําออกจากสถานะความเป็นพลเมือง ไม่สามารถอาศัยในพื้นที่เดียวกันกับคนผิวขาว รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การพยาบาล และบริการสาธารณะแบบเดียวกับคนผิวขาวได้ ทั้งนี้นโยบาย Apartheid ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1994 เมื่อเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) ซึ่งเป็นแกนนําในการต่อสู้กับระบบ Apartheid ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
21. เลขาธิการสหประชาชาติที่มาจากทวีปเอเชียคนแรก คือ
(1) อู ถั่น
(2) บัน คี-มูน
(3) โคฟี แอนนัน
(4) ทรีฟ ลี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 167 – 168, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชา ตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ทั้งนี้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่มาจากทวีปเอเชียมี 2 คน โดยคนแรกคือ นายอู ถั่น (U Thant) ชาวพม่า และคนที่ 2 คือ นายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ ส่วนเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรีซ (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017
22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR)
(1) สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก
(2) ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
(3) สิทธิในการเข้าถึง Internet
(4) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก
(5) มีสิทธิในการทํางาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน
ตอบ 3 หน้า 165 – 166 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ระบุไว้ว่า “สิทธิมนุษยชน เป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก” ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ ไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ภาษา เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ความร่ํารวยหรือทรัพย์สิน มีอิสรภาพจากการตกเป็นทาส จากการถูกทรมาน ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน มีอิสรภาพและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก สิทธิที่จะได้รับการศึกษา มีมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ รวมทั้งการมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่อาศัยและอาหาร เพียงพอ มีสิทธิในการทํางาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน
23. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก
(1) WHO
(2) IMF
(3) UN
(4) WTO
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 135 – 136, 158, 160 องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), คณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ฯลฯ
2. องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ฯลฯ
24. องค์การระหว่างประเทศ (IGOs) ในข้อใดที่ปฏิบัติหน้าที่ในระดับโลก
(1) ASEAN Community
(2) African Union
(3) Organization of American States
(4) Gulf Cooperation Council
(5) Intergovernmental Panel on Climate Change
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระดับโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1988 โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เพื่อทําหน้าที่ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ทั่วโลกได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ แนวโน้มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม (ดูคําอธิบายข้อ 23, ประกอบ)
25. ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศใดมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก
(1) รัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อินเดีย
(4) อังกฤษ
(5) จีน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น อังกฤษถือเป็นประเทศมหาอํานาจทางด้าน เศรษฐกิจและการเมืองอันดับหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากอังกฤษมีสถานีการค้าและอาณานิคม อยู่ทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา จนทําให้ได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์ไม่ตกดิน
26. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความท้าทายของยุคโควิด
(1) กระแสชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้น
(2) การเมืองโลกผันผวน
(3) เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
(4) เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความท้าทายของยุคโควิด มีดังนี้
1. กระแสชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้น
2. การเมืองโลกผันผวน
3. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
4. เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฯลฯ
27.ผลงานที่มีชื่อว่า “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace” เป็นผลงาน
ของใครและถูกจัดกลุ่มอยู่ในทฤษฎีกลุ่มใด
(1) Hans Morgenthau – Realism
(2) Hans Morgenthau – Neo-Realism
(3) Robert Keohane – Liberalism
(4) Robert Keohane – Neo-Liberal Institutionalism
(5) K. J. Holsti – Neo-Realism
ตอบ 1 หน้า 11 ฮันส์ เจ. มอร์เกนซอ (Hans J. Morgenthau) นักทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของสํานัก สัจนิยม (Realism) เป็นผู้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace”
28. ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์การระหว่างประเทศที่เกิดจากการผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ผ่านการให้เงินกู้และความสนับสนุนด้านเทคนิคต่าง ๆ
29. ความร่วมมือและความขัดแย้งในสังคมระหว่างประเทศสามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมระหว่างประเทศ
มักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
(1) สันติภาพ
(2) เสรีภาพ
(3) เหตุผล
(4) อํานาจ
(5) ผลประโยชน์แห่งชาติ
ตอบ 5 หน้า 192 ในสังคมหรือการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่รัฐหรือประเทศ มีต่อกันจะมี 2 ประเภท คือ ความร่วมมือ (Cooperation) และความขัดแย้ง (Conflict) ทั้งนี้สภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ๆ จะปรากฏออกมาในลักษณะใดมักจะขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) เป็นสําคัญ
30. สงครามประเภทใดจําเป็นต้องอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์
(1) สงครามตัวแทน
(2) สงครามกลางเมือง
(3) สงครามการทําลายล้างสูง
(4) สงครามกองโจร
(5) สงครามปิดล้อมทางทะเล
ตอบ 4 หน้า 22,104, 215 สงครามนอกรูปแบบหรือสงครามกองโจร คือ การสู้รบโดยการซุ่มโจมตี ฝ่ายตรงข้ามโดยอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ และพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างซึ่งหน้าการทําสงครามแบบนี้ไม่สามารถกําหนดสมรภูมิได้อย่างชัดเจน ผู้ปฏิบัติการในสงครามจะไม่ใส่เครื่องแบบทหาร แต่จะอําพรางตัวเพื่อการก่อวินาศกรรมต่อชีวิตและทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามโดยจุดมุ่งหมายในการทําลายมิได้จํากัดเฉพาะเป้าหมายที่มีความสําคัญทางการทหาร แต่อาจรวมถึงประชาชนของฝ่ายตรงข้ามด้วย ซึ่งวิธีการทําสงครามแบบนี้มักเป็นที่นิยมใช้กันใน ฝ่ายคอมมิวนิสต์ รวมทั้งขบวนการก่อการร้าย (Terrorists) ต่าง ๆ
31. วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใดไม่ได้มีแหล่งที่มาจากบรรดานครรัฐอิตาลี
(1) การถ่วงดุลอํานาจ
(2) การมีสถานทูตประจําการ
(3) หลักเหตุผลแห่งรัฐ
(4) กฎหมายระหว่างประเทศ
(5) บริษัทมหาชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีแหล่งที่มาจากบรรดานครรัฐ อิตาลี ได้แก่ ระบบธนาคาร การถ่วงดุลอํานาจ การมีสถานทูตประจําการ หลักเหตุผลแห่งรัฐ บริษัทมหาชน เป็นต้น
32. สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกจํานวน
(1) 190
(2) 191
(3) 192
(4) 193
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกทั้งหมด 193 รัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต เกาหลีเหนือ ซีเรีย ยูเครน อิหร่าน มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็น สมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
33. เหตุการณ์ใดสะท้อนถึงแนวคิด Raison d’état ได้ดีที่สุด
(1) นิกายโปรเตสแตนต์และคาลแวงต่อต้านการผูกขาดอํานาจของพระสันตะปาปา
(2) ขุนนางโบฮีเมียที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ทําการปลดแฟร์ดีนันท์ที่ 2 ที่นับถือนิกายคาทอลิก ออกจากการเป็นกษัตริย์โบฮีเมีย และมอบมงกุฎให้กับฟรีดริชที่ 5 ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์
(3) ฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือฝ่ายโปรเตสแตนต์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงครามสามสิบปี
(4) อังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้มีผลผลิตมากขึ้น
(5) การประกาศหลักสิทธิพลเมืองและการปฏิวัติฝรั่งเศส
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ที่สะท้อนถึงแนวคิดหลักเหตุผลแห่งรัฐ (Raison d’état) คือ เหตุการณ์ ที่ฝรั่งเศสภายใต้การนําของคาร์ดินัลริเชอริเออร์ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13) ให้ความช่วยเหลือ ฝ่ายโปรเตสแตนต์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงครามสามสิบปี โดยมีเป้าหมายเพื่อทําให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีความอ่อนแอและจะได้ไม่กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อฝรั่งเศสในภายภาคหน้า
34. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) นโยบายต่างประเทศมีลักษณะคล้ายนโยบายภายในของรัฐ
(2) กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
(3) นโยบายต่างประเทศเปรียบเสมือนเครื่องมือทางสันติและการใช้กําลัง
(4) กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้มีที่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 212 – 216 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ แบ่งออกกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เครื่องมือทางสันติหรือเครื่องมือทางการทูต
2. เครื่องมือทางการใช้กําลังหรือเครื่องมือทางการทหาร
35. ข้อใดต่อไปนี้คือรูปแบบของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปรากฏชัดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2
(1) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีคิดเชิงสถาบันนิยมมากยิ่งขึ้น
(2) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
(3) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการทางปรัชญาการเมืองมากยิ่งขึ้น
(4) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการแบบอัตวิสัยเหนือกว่าวัตถุวิสัย
(5) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่หลีกเลี่ยงการตั้งสมมติฐานไว้ล่วงหน้าแต่อาศัยเหตุการณ์ในอดีตเป็นจุดตั้งต้นสําคัญ
ตอบ 2 หน้า 4 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้พยายามใช้ ระเบียบวิธีวิจัยแบบใหม่ที่มีลักษณะวัตถุวิสัย (Objective) คือ การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นกลางโดยไม่ใช้ความรู้สึกนึกคิดหรือค่านิยมของตนเองมาวิเคราะห์ หากแต่ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยที่สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ ได้แก่ การตั้งสมมติฐาน และการทดลองตัวแปรต่าง ๆ ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นความพยายามวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศโดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
36. เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) สิงคโปร์
(4) โปรตุเกส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
37. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายความหมายของคําว่า “สังคมระหว่างประเทศ” ได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสงครามและความขัดแย้ง
(2) เป็นพื้นที่ของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ
(3) เป็นพื้นที่ของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
(4) เป็นพื้นที่ของกติกากลางที่นําไปสู่ความเข้าใจร่วมกันระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ
(5) เป็นพื้นที่ของตัวแสดงที่เป็นรัฐเท่านั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สังคมระหว่างประเทศ เป็นพื้นที่ของกติกากลางที่นําไปสู่ความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ ทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
38. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สภาวะอนาธิปไตย” ไม่ถูกต้อง
(1) เป็นคําที่ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Anarchy
(2) เป็นคําที่ใช้แบ่งการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศออกจากกันได้
(3) เป็นสภาวะของการที่มีตัวแสดงหนึ่งทําหน้าที่ในการดูแลปกป้องตัวแสดงอื่น
(4) เป็นสภาวะของการปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด
(5) เป็นสภาวะพื้นฐานของการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
39. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
(1) โรคระบาด
(2) สงคราม
(3) ภัยพิบัติ
(4) การทําสงคราม
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น
40. สันนิบาตชาติ (League of Nations) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) ค.ศ. 1919
(2) ค.ศ. 1921
(3) ค.ศ. 1945
(4) ค.ศ. 1949
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ตามแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและสร้างสันติภาพของโลกบนพื้นฐานของ ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security)
41.ข้อใดเป็น Constitutive Norms ทั้งหมด
(1) Ius Gentium, Ius Naturale, Jus ad Bellum
(2) Divined Sovereignty, Popular Sovereignty, Dynastic Sovereignty
(3) Pacta Sunt Servanda, Clausula Rebus Sic Stantibus, Jus Cogens
(4) Animus Dominandi, Homo-Economicus, Sui Generis
(5) Cuius Regio, Eius Religio, Reservatum Ecclesiasticum, Declaratio Ferdinandei
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Constitutive Norms หรือเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกของสังคมที่ชอบธรรม มีดังนี้
1. Divined Sovereignty หรือการได้รับอาณัติมาจากพระเจ้า
2. Dynastic Sovereignty หรือการสืบสายเลือด
3. Popular Sovereignty หรือการได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน
42. กฎหมายระหว่างประเทศ คือ
(1) เครื่องมือในการธํารงไว้ซึ่งการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
(2) เครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
(3) ตัวบทกฎหมายภายในที่นําไปบังคับใช้กับรัฐภายนอก
(4) ตัวบทกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 128 กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศที่จะเป็นตัวกําหนดควบคุมอํานาจอธิปไตยของรัฐ หรือเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐทั้งนี้กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่เหมือนกับกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ (National Laws) เพราะว่าการได้มาของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติหรือ อํานาจส่วนกลางใด ๆ แต่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ได้ลงนามเห็นชอบ โดยแต่ละรัฐ
43. สงครามที่มีชื่อเรียกว่า “สงครามสามสิบปี” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Treaty of Vienna
(2) Plaza Accord
(3) Treaty of Westminster
(4) Treaty of Versailles
(5) Treaty of Westphalia
ตอบ 5 หน้า 79 สงครามสามสิบปี เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)
44. รัฐประเภทใดถือครองทรัพยากรในสัดส่วนที่มากที่สุด
(1) มหาอํานาจขนาดใหญ่
(2) มหาอํานาจขนาดกลาง
(3) รัฐอาณานิคม
(4) รัฐอิสระ
(5) รัฐเล็ก
ตอบ 1 หน้า 199 – 200 ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance) ได้แบ่งประเภทของรัฐ ตามความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากร โดยเห็นว่า ลักษณะของการเมืองระหว่างประเทศ จะมีการกระจายพื้นฐานแห่งอํานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน และไม่ได้สัดส่วนระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก ดังนี้
1. รัฐมหาอํานาจ (ขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยที่สุดเพียง 5% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 75% ซึ่งมากที่สุดในโลก
2. รัฐขนาดกลางมี 15% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 20%
3. รัฐขนาดเล็กมี 80% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร น้อยที่สุดเพียง 5% เท่านั้น
45. ประเทศใดเป็นพันธมิตรกับจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) เกาหลีใต้
(3) ญี่ปุ่น
(4) ไต้หวัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Attied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
46. ประเทศใดที่มีพันธมิตรมากที่สุดในภูมิภาค
(1) ลาว
(2) จีน
(3) ไทย
(4) กัมพูชา
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศมหาอํานาจและเป็นประเทศที่มีพันธมิตรมากที่สุด
ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
47. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของสงครามเย็น (Cold War)
(1) การสู้กันทางเศรษฐกิจ
(2) การใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน
(3) สงครามตัวแทน
(4) การให้ความช่วยเหลือประเทศที่ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต
ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน
48. การอาศัยหลักการที่เรียกว่า “ดินแดนร่วม” (Common Land) เป็นคุณลักษณะสําคัญของรัฐแบบใด
(1) รัฐมหาอํานาจ
(2) รัฐชาติ
(3) รัฐชาติสมัยใหม่
(4) รัฐโบราณ
(5) รัฐอารยะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของ “รัฐโบราณ” คือ การมีดินแดนร่วม (Common Land) หรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างรัฐ ซึ่งแตกต่างจากรัฐในสมัยปัจจุบันหรือรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีการ แบ่งเขตแดนหรือปักปันเขตแดนระหว่างรัฐที่ชัดเจน ทําให้แต่ละรัฐมีดินแดนที่แน่นอน
49. องค์การอนามัยโลก มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) WHO
(2) ICAO
(3) FAO
(4) WTO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
50. สงครามประเภทใดใช้อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction)
(1) สงครามเคมี
(2) สงครามเย็น
(3) สงครามตัวแทน
(4) สงครามโจมตีก่อน
(5) สงครามป้องกันตัวเอง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction) คือ อาวุธ ที่สามารถสังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจํานวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลก อย่างมหาศาล โดยสงครามที่ใช้อาวุธประเภทนี้ ได้แก่ สงครามนิวเคลียร์ สงครามเคมี และสงครามชีวภาพ
51. ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับจีน
(1) ญี่ปุ่น
(2) ฟิลิปปินส์
(3) บรูไน
(4) เวียดนาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเทศที่มีปัญหาข้อพิพาทกับจีน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และบรูไน กรณีหมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) ในทะเลจีนใต้ และญี่ปุ่นกรณีหมู่เกาะเซนกากุหรือหมู่เกาะเตียวหยู
52. จากนิยามที่ว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทําทั้งหลายของรัฐ
ที่มีต่อกันโดยปราศจากการควบคุมอย่างเพียงพอ” เป็นนิยามของนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใด
(1) Karl W. Deutsch
(2) K. J. Holsti
(3) Michael G. Roskin and Nicholas O. Berry
(4) Charles W. Kegley, Jr. and Gregory
(5) จุฑาทิพ คล้ายทับทิม
ตอบ 1 หน้า 2 คาร์ล ดับเบิลยู คอยซ์ (Kart W. Deutsch) ได้ให้นิยามว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทําทั้งหลายของรัฐที่มีต่อกันโดยปราศจากการควบคุมอย่างเพียงพอ”
53.Belt and Road Initiative (BRI) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกเ มทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง
เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ประสบความสําเร็จสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศ ต่าง ๆ เพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ
54. ตามตรรกะในยุคสงครามเย็น ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัดชัยชนะในการทําสงครามนิวเคลียร์
(1) ความสามารถในการโจมตีระลอกที่สองของฝ่ายตนเอง
(2) การทําลายคลังอาวุธนิวเคลียร์ของศัตรู
(3) การถล่มประเทศของศัตรูให้ราบคาบ
(4) การครอบครองพื้นที่ที่ได้เปรียบของฝ่ายตนเอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามตรรกะในยุคสงครามเย็น ตัวชี้วัดชัยชนะในการทําสงครามนิวเคลียร์ คือ ความสามารถในการโจมตีระลอกที่สองของฝ่ายตนเอง (Second Strike Capability)ไม่ใช่การทําลายคลังอาวุธนิวเคลียร์ของศัตรูหรือการถล่มประเทศของศัตรูให้ราบคาบอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน
55. ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) ประเทศโลกที่ 2 หมายถึงสิ่งใด
(1) ประชาธิปไตยทุนนิยม
(2) ประเทศผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Allied Movement)
(3) ยูเครน
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ประเทศกําลังพัฒนา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) แบ่งประเทศต่าง ๆ ในโลกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ประเทศโลกที่ 1 หมายถึง สหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก ซึ่งมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
2. ประเทศโลกที่ 2 หมายถึง สหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ซึ่งมีการปกครองระบอบ คอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น โปแลนด์ ฮังการี ยูเครน เป็นต้น
3. ประเทศโลกที่ 3 หมายถึง ประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งไม่มีระบอบการปกครอง และระบบเศรษฐกิจเป็นของตนเอง แต่พยายามนําระบอบการปกครองและระบบเศรษฐกิจ ของประเทศโลกที่ 1 และประเทศโลกที่ 2 มาปรับใช้ เช่น ไทย กัมพูชา อินเดีย เป็นต้น
56. นักวิชาการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใดที่เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”
(1) Hans Morgenthau
(2) E. H. Carr
(3) Karl Polanyi
(4) Karl Popper
(5) Robert Gilpin
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต ศิลปิน (Robert Gitpin) นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาวอเมริกัน เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”
57. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) มีสมาชิกจํานวนเท่าไหร่
(1) 5 ประเทศ
(2) 7 ประเทศ
(3) 13 ประเทศ
(4) 10 ประเทศ
(5) 15 ประเทศ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) คือ ความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่
ที่สุดในโลก ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และ กัมพูชา และประเทศคู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
58. หมู่เกาะใดที่มีปัญหาในทะเลจีนใต้
(1) หมู่เกาะสแปรทลีย์
(2) หมู่เกาะพาราเซล
(3) หมู่เกาะฮาวาย
(4) หมู่เกาะสุรินทร์
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติจํานวน มหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาทหรือความขัดแย้งกับประเทศที่อยู่ล้อมรอบ โดยหมู่เกาะที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิในการครอบครอง มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)
59. หลักการสําคัญของ Peace of Westphalia ค.ศ. 1648 คืออะไร
(1) Ius Gentium
(2) Pacta Sunt Servanda
(3) Clausula Rebus Sic Stantibus
(4) Cuius Regio, Eius Religio
(5) Jus in Bello
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 ได้นําหลักการ Cuius Regio, Eius Religio มาใช้ปฏิบัติได้จริงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นหลักการ สําคัญที่ทําให้เกิดอธิปไตยของรัฐ หรือการไม่แทรกแซงการเมืองภายในระหว่างกันของรัฐ ทั้งนี้หลักการ Cuius Regio, Eius Religio ได้ถูกนํามาใช้ครั้งแรกภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพ ออกสเบิร์ก (Peace of Augsburg) แต่ไม่สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง
60.ตําแหน่งเลขาธิการแห่งองค์การสหประชาชาติ จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
61. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) FUND
(2) IMF
(3) WTO
(4) AIIB
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 172, 222, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความร่วมมือ ทางการเงินระหว่างประเทศ โดยเริ่มเปิดดําเนินการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 มีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 190 ประเทศ
62. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) UNICEF
(2) UNESCO
(3) UNHCR
(4) UNDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
63. สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีจํานวนกี่ประเทศ
(1) 3 ประเทศ
(2) 4 ประเทศ
(3) 5 ประเทศ
(4) 10 ประเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ
64. ตัวแสดงในข้อใดต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับ “สงครามนอกรูปแบบ” (Non-Conventional Warfare)
มากที่สุด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
65. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุของการร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) ต้องประกอบไปด้วยรัฐมากกว่าหนึ่ง
(2) เพื่อเตรียมพร้อมในการทําสงครามครั้งต่อไป
(3) ตระหนักถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากผลประโยชน์ของรัฐ
(4) ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
(5) ตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีกฎเกณฑ์ในการมีความสัมพันธ์ร่วมกัน
ตอบ 2 หน้า 159, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ซึ่งลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และรัฐเหล่านี้จะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน
2. ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
3. ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น
4. ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. ต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
6. ต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์การเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
66. ความร่วมมือกันระหว่างองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกากับประเทศรัสเซียในการค้นคว้าวิจัยและสํารวจ อวกาศ ถือว่าเป็นขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใด
(1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
(5) ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 5 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน การพัฒนาความรู้ การวิจัยค้นคว้า และการสร้างสรรค์ นวัตกรรมสมัยใหม่ เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและอินเดียในการพัฒนาเซลล์ แสงอาทิตย์และพลังงานทดแทน ความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกากับประเทศรัสเซียในการค้นคว้าวิจัยและสํารวจอวกาศ การจัดแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก การจัดสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เป็นต้น
67. บุคคลที่มีส่วนสําคัญผลักดันให้มีการก่อตั้งสันนิบาตชาติ คือ
(1) ไกเซอร์ วิลเลี่ยม
(2) วูดโรว์ วิลสัน
(3) นโปเลียน
(4) เหมาเจ๋อตุง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ
68.องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) FAO
(2) ITU
(3) IMF
(4) ILO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
69. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) ความสัมพันธ์อาจมีความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็เป็นได้
(2) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนรัฐและมีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน
(3) ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นทางการเท่านั้นและไม่นับความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ
(4) การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนับเป็นความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 4 – 5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ข้ามพรมแดนของรัฐและมีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสําคัญดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน
70. “การสร้างเกียรติภูมิของชาติ” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Self-Preservation
(2) Security
(3) Prestige
(4) Well-Being
(5) Power
ตอบ 3หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ
1. การดํารงรักษาความเป็นชาติ (Self-Preservation)
2. ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ (Security)
3. การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ (Well-Being)
4. การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ (Prestige)
5. การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ (Ideology)
6.การแสวงหาอํานาจ (Power)
71. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest)
(1) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสิ่งที่นําไปสู่ความขัดแย้งเท่านั้น
(2) อุดมการณ์และความเชื่อถือเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์แห่งชาติ
(3) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กําหนดนโยบายการต่างประเทศได้
(4) ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ
(5) ผลประโยชน์แห่งชาติมีทั้งส่วนที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติที่แท้จริงและผลประโยชน์แห่งชาติลําดับรอง
ตอบ 1 หน้า 192 ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) เป็นปัจจัยสําคัญที่จะกําหนดลักษณะ ความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งอาจปรากฏออกมาในลักษณะของ ความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศก็ได้ กล่าวคือ ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐ เข้ากันได้หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐจะปรากฏออกมาในรูปของความร่วมมือกัน แต่ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐขัดแย้งกันหรือไม่อาจปรับเข้าหากันได้ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐจะปรากฏออกมาในรูปของความขัดแย้งกัน (ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ)
72. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “Royal Dutch Shell” จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
73. จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด
(1) หนองคาย
(2) เชียงราย
(3) เชียงใหม่
(4) นครพนม
(5) อุบลราชธานี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคาย
ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan Asia Railway
Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน
74. ดินแดนที่เรียกว่า “เขตปกครองพิเศษฮ่องกง” ถือว่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) เป็น เนื่องจากฮ่องกงนับเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีอิสระในการกําหนดนโยบายของตนเอง
(2) เป็น เพราะฮ่องกงมีรัฐบาลเป็นของตนเอง
(3) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
(4) ไม่เป็น เพราะประชากรของฮ่องกงทุกคนคือคนจีน
(5) ไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนในเรื่องสถานะของฮ่องกง
ตอบ 3 หน้า 20 – 21, (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่น ทั้งนี้การที่จะเรียกว่าเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดน (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty) ดังนั้น “เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง” ไม่ถือว่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ เพราะฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
75. บุคคลที่เหมาะสมกับการทํางานในองค์การระหว่างประเทศ ควรมีคุณสมบัติข้อใดเป็นสําคัญ
(1) มีทักษะในการทํางานกับคนต่างชาติ
(2) มีความรู้ภาษาต่างประเทศ
(3) มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
(4) มีมุมมองว่าตนเป็นพลเมืองโลก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคคลที่เหมาะสมกับการทํางานในองค์การระหว่างประเทศ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีทักษะในการทํางานกับคนต่างชาติ
2. มีความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดี
3. มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
4. มีมุมมองว่าตนเป็นพลเมืองโลก ฯลฯ
76. ในการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่รัฐหรือประเทศมีต่อกันมีกี่ประเภท และแบบไหนบ้าง
(1) 3 ประเภท การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บริหารรัฐกิจ
(2) 2 ประเภท ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศ
(3) 2 ประเภท สงครามร้อน สงครามเย็น
(4) 2 ประเภท ทวิภาคี พหุภาคี
(5) 5 ประเภท สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
77. ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3(คําบรรยาย)ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสนอความช่วยเหลือด้านการเงิน และแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปลงทุนในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ
78. เหตุการณ์ใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
(1) สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
(2) การประกาศยุบสภาในประเทศไทย
(3) การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
(5) การสอบปลายภาค S/63 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ออสเตรเลียได้จัดการเลือกตั้งระดับ
สหพันธรัฐ ซึ่งการเลือกตั้งนี้พรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาจะได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีหัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคแรงงานได้รับชัยชนะมีที่นั่งในสภา มากที่สุดจึงได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายแอนโทนี อัลบานีส (Anthony Albanese) หัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี
79. ข้อใดต่อไปนี้คือผลงานชิ้นสําคัญของธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านไทยศึกษา
(1) Withdrawal Symptom
(2) The Network Monarchy
(3) The Siamese Revolution
(4) Siam Mapped
(5) A History of Thailand
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลงานชิ้นสําคัญของธงชัย วินิจจะกูล คือ Siam Mapped หรือกําเนิดสยาม จากแผนที่ (ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านไทยศึกษา อดีตเป็น ผู้นํานักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปัจจุบันดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ ประจําภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัย วิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา)
80. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่จุดประสงค์ของสหประชาชาติ
(1) เตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นเอกราชให้กับอาณานิคม
(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
(4) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล
(5) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง
ตอบ 1 หน้า 141 – 142, 165 – 166 จุดประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้
1. ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน
3. พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล
4. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง
81. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางของสํานักสัจนิยม หรือสํานักที่เรียกว่า “Political
Realism” ในสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 11 แนวอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของสํานักสัจนิยม หรือสํานักที่เรียกว่า “Political Realism” ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาแนวนี้ ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ ซึ่งหมายถึง ความสามารถของรัฐในการควบคุมพฤติกรรมของ รัฐอื่น โดยมีความเชื่อว่าอํานาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ
82. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ
(1) เกาหลีเหนือ
(2) ซีเรีย
(3) ยูเครน
(4) ไต้หวัน
(5) อิหร่าน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ
83. เหตุการณ์ใดที่จัดได้ว่าเป็นหมุดหมายสําคัญของการทําให้ความหมายของสงครามเปลี่ยนจากเกียรติยศ
และศักดิ์ศรีกลายเป็นหายนะ
(1) สงครามครูเสด
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1
(3) การล่าอาณานิคม
(4) สงครามโลกครั้งที่ 2
(5) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นสงครามที่ทําให้ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจํานวนมาก และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างมหาศาล ดังนั้นสงครามนี้จึงจัดได้ว่าเป็นหมุดหมายสําคัญของการทําให้ความหมายของสงครามเปลี่ยนจากเกียรติยศและศักดิ์ศรีกลายเป็นหายนะ ทั้งนี้เพราะผลจากสงครามได้สร้างความพินาศและหายนะ อันใหญ่หลวงแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมสงคราม
84. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศของภาคประชาสังคม
(1) องค์การนิรโทษกรรมสากล
(2) AIIB
(3) ADB
(4) GMS
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
85. การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) WTO
(2) IMF
(3) UNCTAD
(4) UNDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ
86. ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกจะรับฟังความคิดเห็นขององค์การใด
(1) WHO
(2) ICOMOS
(3) IUCN
(4) IMF
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกจะรับฟังความคิดเห็นจาก 2 องค์การ คือ
1. สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites : ICOMOS)
2. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature : IUCN)
87. จักรวรรดิในข้อใดจัดว่าเป็น Ius Gentium ทั้งหมด
(1) จักรวรรดิจีน จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิมองโกล
(2) จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส
(3) จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิสเปน จักรวรรดิโปรตุเกส
(4) จักรวรรดิเปอร์เซีย จักรวรรดิมาซิโดเนีย จักรวรรดิเอเธนส์
(5) ทุกจักรวรรดิล้วนแล้วแต่เป็น Ius Gentium
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Ius Gentium คือ การส่งทหาร ตั้งป้อมปราการ และปกครองดินแดน ที่อยู่ใต้อิทธิพลโดยตรง ซึ่งเป็นลักษณะของจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิอังกฤษ และจักรวรรดิ ฝรั่งเศส ซึ่งแตกต่างจากจักรวรรดิจีนและจักรวรรดิเปอร์เซียที่ดินแดนที่อยู่ใต้อิทธิพลต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เพื่อแสดงถึงความสวามิภักดิ์
88. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ” (IMF) จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. และ 17. ประกอบ
89. “สังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางอํานาจ” เป็นลักษณะสําคัญของสังคมระหว่างประเทศข้อใด
(1) อนาธิปไตย
(2) ความไม่เท่าเทียมกัน
(3) การเป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง
(4) จํานวนสมาชิกรัฐมีจํานวนตายตัว
(5) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
90. สานักงานใหญ่ขององค์การใดที่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์
(1) WHO
(2) IMF
(3) ILO
(4) WIPO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ
91. ฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการใช้กําลังของรัสเซียเพื่อโจมตียูเครน คือ
(1) เหยี่ยว
(2) นกอินทรี
(3) นกเขา
(4) นกพิราบ
(5) นกนางนวล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรณีการทําสงครามระหว่างรัฐเซียกับยูเครนนั้น แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายเหยี่ยว (Hawks) เป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้รัสเซียใช้กําลังโจมตียูเครน
2. ฝ่ายนกพิราบ (Doves) เป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการทางการทูตในการสงบศึกระหว่าง รัสเซียกับยูเครน
92. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค
(1) ASEAN
(2) BRI
(3) UN
(4) FAO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
93. ความขัดแย้งหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดปทัสถาน Dynastic Sovereignty คือเรื่องอะไร
(1) มรดก
(2) การผูกขาด
(3) ประชาธิปไตย
(4) การกระทําที่นอกรีต
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดปทัสถาน Dynastic Sovereignty คือเรื่องของมรดกและทรัพย์สมบัติ
94. สมมติฐานที่ว่า การปกป้องตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาค สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่า ในระดับสากล เป็นแนวคิดในข้อใด
(1) แนวคิดสากลนิยม
(2) แนวคิดภูมิภาคนิยม
(3) แนวคิดศาสนานิยม
(4) แนวคิดพรรคพวกนิยม
(5) แนวคิดท้องถิ่นนิยม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) ยึดมั่นต่อข้อสมมติฐานที่ว่า การป้องกัน ตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคนั้น สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับ สากล ด้วยข้อสมมติฐานนี้เองพวก Regionalism จึงเน้นให้ภูมิภาคต่าง ๆ ควรที่จะจัดระบบ การป้องกันตนเองเป็นสัดเป็นส่วน เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัยเนื่องจากเมื่อเกิดการรุกรานขึ้นประเทศที่อยู่ภายนอกภาคพื้นหรือนอกข่ายจากการรุกรานคงไม่ประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือเข้ามาพัวพันกับวิกฤติการณ์นั้น ๆ
95. คําว่า “เขตเศรษฐกิจจําเพาะ” (Exclusive Economic Zone) มีความสอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใด
ต่อไปนี้มากที่สุด
(1) พื้นดิน
(2) พื้นน้ำ
(3) ห้วงอากาศ
(4) ทิวเขา
(5) รัฐที่ไม่มีชายฝั่งทะเล
ตอบ 2 หน้า 20 – 21 อาณาเขตดินแดน (Territory) ของรัฐ หมายถึง บริเวณซึ่งอยู่ใต้อธิปไตย ของรัฐ ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอนและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ประกอบด้วย
1. พื้นดิน หรือเขตแดนทางบก ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยอาศัยความตกลงกัน โดยอาจใช้ทิวเขา สันปันน้ำ ชะง่อนผา แนวกึ่งกลางแม่น้ำหรือแนวกึ่งกลางร่องน้ำลึก
2. พื้นน้ำ ได้แก่ น่านน้ําภายใน ทะเลอาณาเขต ผิวท้องทะเล สิ่งที่อยู่ใต้ผิวท้องทะเล และเขตเศรษฐกิจจําเพาะ
3. ห้วงอากาศ คือ ท้องฟ้า หรือขอบเขตของท้องฟ้าเหนือพื้นดิน
96. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับการทํานายปรากฏการณ์ การวัด การทดลอง
การสร้างทฤษฎี หรือการสร้างแบบจําลอง การศึกษาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศแบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เช่น การวัด การทดลอง การสร้างทฤษฎี การสร้างแบบจําลอง เป็นต้น
97. ข้อใดต่อไปนี้อยู่ในฐานะทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
(1) ศาลโลก
(2) IMF
(3) UNCTAD
(4) UNDP
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 156, 169 ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ มีดังนี้
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
2. องค์การอนามัยโลก (WHO)
3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
4. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
5. สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU)
6. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
7. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ฯลฯ
98. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐบนเวทีโลก
(1) อิตาลี
(2) องค์การระหว่างประเทศในภาคประชาสังคม
(3) บรรษัทข้ามชาติ
(4) สิงคโปร์
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
99. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงกระบวนการโลกาภิวัตน์
(1) รัฐอธิปไตยถูกท้าทาย
(2) การเพิ่มบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ
(3) การแพร่สะพัดของทุนนิยม
(4) การอยู่อาศัยในหมู่บ้านโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ สภาวะโลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นผลมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้เสมือนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันหรือที่เรียกว่า“หมู่บ้านโลก” (Global Village)
100. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงเหตุผลในการศึกษา “กฎหมายระหว่างประเทศ” “องค์การระหว่างประเทศ” และ “การทูต” ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
(1) เพราะสามารถใช้ในการทําความเข้าใจสถานการณ์โลกในปัจจุบันได้ดีที่สุด
(2) เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการระงับความขัดแย้งไม่ให้กลายเป็นสงครามได้
(3) เพราะเป็นคุณสมบัติของนักการทูตทุกคน
(4) เพราะเป็นเนื้อหาหลักที่ปรากฏอยู่ในตําราเรียน
(5) เพราะใช้ในการทําความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) องค์การระหว่าง ประเทศ (International Organization) และการทูต (Diplomacy) ถือว่าเป็นสิ่งสําคัญ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการศึกษาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการระงับความขัดแย้งไม่ให้กลายเป็นสงครามได้