การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับขอบข่ายของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น
(2) เศรษฐกิจระหว่างประเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(3) ปัจเจกบุคคลไม่ถือเป็นขอบข่ายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องของสงครามมากกว่าสันติภาพ
(5) สังคมระหว่างประเทศไม่อยู่ในขอบข่ายเพราะเป็นเรื่องสมมติมากกว่าเรื่องจริง
ตอบ 2 หน้า 13 – 15, (คําบรรยาย) ขอบข่ายของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การเมืองระหว่างประเทศ
2. เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. สังคมระหว่างประเทศ
4. กฎหมายระหว่างประเทศ
5. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.คําว่า “อนาธิปไตย” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) สภาวะความวุ่นวายและไร้ระเบียบตลอดเวลา
(2) สภาวะของการปราศจากการใช้กฎหมาย
(3) สภาวะของการไร้ซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
(4) สภาวะของการพัฒนาทางอารยธรรม
(5) สภาวะของการปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด
ตอบ 5 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) อนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่างประเทศ ปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้ง ดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง
3.คําว่า “Anarchy” เป็นคําที่ตรงข้ามกับคําใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Anarchism
(2) Hierarchy
(3) Supreme Power
(4) Superpower
(5) Unipolarity
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “Anarchy” หรือ “อนาธิปไตย” คือ การปราศจากอํานาจสูงสุด เป็นคํา ที่ตรงข้ามกับคําว่า “Supreme Power” หรือ “การมีอํานาจสูงสุด”
4.สภาวะของความเป็น “รัฐชาติสมัยใหม่” (Modern Nation-State) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศถูกอนุมานว่าเริ่มต้นขึ้นในช่วงใดมากที่สุด
(1) ยุคกรีก-โรมันโบราณ
(2) ยุคอาณาจักรไบแซนไทน์
(3) ยุคหลังสงครามสามสิบปี
(4) ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
(5) ยุคสงครามเย็น
ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ (Modern Nation-State) ถูกอนุมานว่าเริ่มต้นขึ้น ในยุคหลังสงครามสามสิบปี โดยเริ่มต้นขึ้นภายหลังจากการทําสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวทําให้สงครามศาสนา 30 ปีสิ้นสุดลง และก่อให้เกิดรัฐชาติสมัยใหม่ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)
5. สนธิสัญญาในข้อใดที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็น “รัฐชาติสมัยใหม่”
(1) Treaty of Perpetual Peace
(2) Treaty of Westminster
(3) Treaty of Versailles
(4) Treaty of Westphalia
(5) Treaty of Windsor :
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
6. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะที่สําคัญของ “รัฐชาติสมัยใหม่”
(1) สันปันน้ำ
(2) ร่องน้ำลึก
(3) ดินแดนร่วมกัน
(4) การปักปันเขตแดน
(5) ทุกข้อเป็นคุณลักษณะสําคัญของรัฐชาติสมัยใหม่
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของ “รัฐชาติสมัยใหม่” คือ มีการแบ่งเขตแดนหรือ ปักปันเขตแดนระหว่างรัฐที่ชัดเจนโดยใช้สันปันน้ำ ร่องน้ำลึก หรือสภาพธรรมชาติอื่น ๆ เป็นแนวเส้นเขตแดน ทําให้แต่ละรัฐมีดินแดนที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจาก “รัฐโบราณ” ที่มีดินแดนร่วมกัน (Common Land) หรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างรัฐ ทําให้แต่ละรัฐ ไม่มีดินแดนที่แน่นอน
7.“ฮ่องกง” ถือเป็นรัฐชาติสมัยใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) เป็น เพราะฮ่องกงมีดินแดนและประชากรเชิงประจักษ์
(2) เป็น เพราะฮ่องกงมีการเลือกตั้งผู้นําประเทศ
(3) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีรัฐบาลเป็นของตนเอง
(4) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
(5) ไม่มีข้อใดให้เหตุผลถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 20 – 21 (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่น ทั้งนี้การที่จะเรียกว่าเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดน (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty) ดังนั้น “ฮ่องกง” ไม่ถือว่าเป็น รัฐชาติสมัยใหม่ เพราะฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่มีอํานาจอธิปไตย เป็นของตนเอง
8. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors)
(1) Vatican
(2) WIPO
(3) United Nations
(4) International Monetary Fund
(5) League of Nations
ตอบ 1 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actors) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ เช่น นครรัฐวาติกัน (Vatican City) สวิตเซอร์แลนด์ อิรัก อิหร่าน ยูเครน ยูกันดา มาดากัสการ์ ฟิจิ มัลดีฟส์ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล รัฐมนตรี ต่างประเทศ ทูต เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต) กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น
2. ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN) สหประชาชาติ (United Nations : UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UN Children’s Fund : UNICEF) องค์การ ทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO) อาเซียน (ASEAN), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) องค์การออกแฟม (Oxfam), บรรษัทข้ามชาติ (MNCs) เช่น บริษัท Unilever บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม Al Qaeda กลุ่ม Jihad กลุ่ม PLC, ปัจเจกบุคคล เช่น นางอองซาน ซูจี เป็นต้น
9.ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นตัวแสดงประเภท Multi-National Corporation
(1) Oxfam
(2) Jihad
(3) PLO
(4) Testa
(5) UNICEF
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporation : MNCs) เป็นองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ หรือให้บริการในประเทศต่าง ๆ เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Testa, Tata, Samsung, Alibaba, McDonald, Nestle, Red Bulls, Coca Cola, Pepsi, Unilever เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ)
10. นักวิชาการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใดที่เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”
(1) Hans Morgenthau
(2) E. H. Carr
(3) Karl Polanyi
(4) Karl Popper
(5) Robert Gilpin
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต ศิลปิน (Robert Gilpin) นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาวอเมริกัน เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ
11. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ปัจจัยพื้นฐาน” ที่นําไปสู่ความแตกต่างระหว่างการเมืองภายในประเทศและ การเมืองระหว่างประเทศได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) การเมืองภายในประเทศเป็นสภาวะที่ปราศจากอํานาจสูงสุด
(2) การเมืองภายในประเทศเป็นสภาวะอนาธิปไตย
(3) ตัวแสดงในการเมืองระหว่างประเทศไม่จําเป็นต้องดูแลปกป้องตนเอง
(4) การเมืองระหว่างประเทศเป็นสภาวะที่ปราศจากกลไกอํานาจกลาง
(5) ไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจนเพราะการเมืองทั้งสองระดับเป็นเรื่องเดียวกัน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics) เป็นสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่ปราศจากกลไกอํานาจกลางหรือปราศจากอํานาจสูงสุด ทําให้รัฐ หรือตัวแสดงต่าง ๆ จําเป็นต้องดูแลปกป้องตนเอง ซึ่งแตกต่างจากการเมืองภายในประเทศ (Domestic Politics) ที่มีกลไกอํานาจกลางและอํานาจสูงสุดในการดูแลปกป้องประชาชน
12. ข้อใดต่อไปนี้เป็น “เงื่อนไข” ที่ก่อให้เกิดสภาวะ “การแข่งขันที่ไม่สิ้นสุด” ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) Supreme Power
(2) Endless Competition
(3) Anarchy
(4) Domestic Politics
(5) Problems in IR
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ถือเป็น “เงื่อนไข” ที่ก่อให้เกิดสภาวะ “การแข่งขัน ที่ไม่สิ้นสุด” (Endless Competition) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
13. ตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสําคัญที่สุดสําหรับ “การดูแลปกป้องตนเอง” ในความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ
(1) Natural Resources
(2) Power
(3) Wealth
(4) International Trade
(5) Competition
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ภายใต้สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) รัฐต่าง ๆ จะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เพราะในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่มีองค์รัฏฐาธิปัตย์หรือผู้มีอํานาจสูงสุด มาทําหน้าที่ดูแลคุ้มครอง โดยสิ่งที่รัฐต่าง ๆ ใช้ในการดูแลปกป้องตนเองนั้นมี 2 ประการ คือ ความมั่นคง (Power) และความมั่งคั่ง (Wealth) โดยความมั่นคง (Power) ถือว่ามีความสําคัญ ที่สุด เพราะเป็นสิ่งประกันความอยู่รอดปลอดภัยของรัฐ
14. สภาวะที่การสร้างความมั่นคงของประเทศหนึ่งได้ส่งผลให้อีกประเทศหนึ่งเกิดความไม่มั่นคงเป็นสภาวะ
ที่มีชื่อเรียกว่าอะไร
(1) Self-Help
(2) Security Dilemma
(3) Interdependence
(4) Spiral Effect
(5) Wealth
ตอบ 2
(คําบรรยาย) ความลักลั่นทางความมั่นคง (Security Dilemma) คือ สภาวะที่การสร้าง ความมั่นคงของประเทศหนึ่งได้ส่งผลให้อีกประเทศหนึ่งเกิดความไม่มั่นคง เช่น การที่ประเทศ A ได้สร้างความมั่นคงให้กับตนเองโดยการซื้อเครื่องบินรบได้ส่งผลให้ประเทศ B ซึ่งไม่มีเครื่องบินรบ
เกิดความไม่มั่นคง เป็นต้น
15. “การที่ประเทศไทยซื้อเรือดําน้ําอันเนื่องมาจากว่าประเทศอื่นในอาเซียนมีเรือดําน้ำส่งผลให้กองทัพไทย เกิดความไม่มั่นคง” สภาวะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
(1) Self-Help
(2) Security Dilemma
(3) Interdependence
(4) Spiral Effect
(5) Power
ตอบ 3(คําบรรยาย) สภาวะลูกโซ่ทางความมั่นคง (Interdependence) คือ สภาวะที่การสร้างความ มั่นคงของประเทศหนึ่งได้ส่งผลให้อีกประเทศหนึ่งเกิดความไม่มั่นคง และเมื่ออีกประเทศหนึ่ง ได้สร้างความมั่นคงให้กับประเทศตนเองแล้วกลับส่งผลให้ประเทศที่เหลืออื่น ๆ เกิดความรู้สึก ไม่มั่นคง ประเทศเหล่านั้นจึงจําเป็นต้องสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง ซึ่งสภาวะลูกโซ่ทางความ มั่นคงนี้เป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ตนเองเป็นทอด ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ เช่น การที่ประเทศไทย ซื้อเรือดําน้ำอันเนื่องมาจากว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนมีเรือดําน้ําส่งผลให้กองทัพไทยเกิดความ ไม่มั่นคง เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 16. – 21. ให้นักศึกษาใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Liberalism
(2) Realism
(3) Neo-Realism
(4) Neoliberal Institutionalism
(5) English School
16. นักวิชาการที่ชื่อว่า Robert Kechane สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Robert Keohane ผู้สร้างทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบัน (Neoliberal Institutionalism) เห็นว่า รัฐต่าง ๆ ควรสร้างสถาบันกลางหรือองค์การระหว่างประเทศขึ้น โดยองค์การระหว่างประเทศนี้จะทําหน้าที่ในฐานะศูนย์รวมของหลักการ กฎระเบียบ ข้อห้าม และกระบวนการตัดสินใจที่เอื้อให้รัฐต่าง ๆ เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันและมีผลลัพธ์ของ ปฏิสัมพันธ์ออกมาลงตัวสําหรับทุกฝ่ายมากที่สุด หรือที่เรียกว่า Optimal Choice
17. “แนวคิดในเรื่อง Lust for Power” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด (คําบรรยาย) ทฤษฎีสัจนิยม (Realism) มีแนวคิดดังนี้
ตอบ 2
1. เชื่อว่า มนุษย์เป็นตัวแสดงที่ชั่วร้ายและกระหายสงครามตลอดเวลา
2. ปฏิเสธหลักการประสานประโยชน์ที่ลงตัว (Harmony of Interest) ดังนั้นเมื่อมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจะนําไปสู่สงครามเสมอ ดังนั้นทุกประเทศต้องแสวงหาอํานาจให้มากที่สุด (Lust for Power) ฯลฯ
18. “แนวคิดดุลยภาพแห่งอํานาจ (Balance of Power)” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Kenneth Waltz ผู้สร้างทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (Neo-Realism) เห็นว่า โครงสร้าง และระบบระหว่างประเทศได้ก่อให้เกิด “ประเทศมหาอํานาจ VS ประเทศเล็ก” ซึ่งเป็นผลพวง ที่เกิดขึ้นจากการกระจายขีดความสามารถที่ต่างกัน (Distribution of Capabilities) ดังนั้นประเทศเล็กจึงจําเป็นต้องหาทางคานอํานาจกับประเทศมหาอํานาจโดยการรวมกลุ่มกัน เพื่อถ่วงดุลและสร้างดุลยภาพแห่งอํานาจ (Balance of Power) ให้เกิดขึ้น
19. นักปรัชญาที่ชื่อว่า Immanuel Kant สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Immanuel Kant นักปรัชญาสํานักเสรีนิยม (Liberalism) ได้เสนอแนวคิด “สันติภาพที่ถาวร” (Perpetual Peace) ซึ่งแนวคิดของ Kant นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อ แนวความคิดของ Woodrow Wilson ในการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
20.จากวลีที่ว่า “สันติภาพที่ถาวร” เป็นสภาวะที่สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ
21. ข้อเสนอที่ว่า “มนุษย์เป็นตัวแสดงที่ชั่วร้ายและกระหายสงครามตลอดเวลา” สอดคล้องกับตัวเลือก ในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
22.“The strong do what they can, the weak suffer what they must” สอดคล้องกับสงคราม ในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Cyberwarfare
(2) Vietnam War
(3) Peloponnesian War
(4) The Cold War
(5) The Great War
ตอบ 3 (คําบรรยาย) “The Strong do what they can, the weak suffer what they must หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “ผู้ที่แข็งแรงย่อมทําอะไรก็ได้ตามอํานาจที่เขามี ส่วนผู้ที่อ่อนแอ ก็ต้องยอมรับตามที่เขาจําต้องยอมรับ” เป็นวลีของธูซิดิดิส (Thucydides) ซึ่งใช้อธิบาย สงครามเพโลพอนนี้เซียน (Peloponnesian War)
23. ตามข้อเสนอของนักคิดในตระกูลเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบัน ข้อใดต่อไปนี้คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดํารงอยู่ขององค์การระหว่างประเทศ
(1) Balance of Power
(2) Optimal Choice
(3) Perpetual Peace
(4) Mutual Understanding
(5) War
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
24. สําหรับ Kenneth Waltz โครงสร้างและระบบระหว่างประเทศที่ก่อให้เกิด “ประเทศมหาอํานาจ VS ประเทศเล็ก” นั้น เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) การกระจายขีดความสามารถที่ต่างกัน
(2) ความล้มเหลวของกลไกป้องกันสงคราม
(3) การเกิดขึ้นของตุลยภาพแห่งอํานาจ
(4) ความล้มเหลวของกติกากลาง
(5) สภาวะที่ตายตัวของสงครามและสันติภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ
25. คําว่า “National Self-Determination” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) กองทัพอิสราเอลยิงจรวดขีปนาวุธข้ามฝั่งไปยังดินแดนปาเลสไตน์
(2) สงครามตัวแทนในยุคสงครามเย็น
(3) ชาวคาตาลันทําประชามติเชิงสัญลักษณ์เพื่อแยกตัวออกจากสเปน
(4) การลงคะแนนเสียงของประเทศสมาชิกในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
(5) กองทัพรัสเซียเคลื่อนกําลังข้ามฝั่งไปยังดินแดนของยูเครน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการกําหนดใจตนเองแห่งชาติ (National Self-Determination) คือ หลักการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตัดสินใจทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างที่สอดคล้องกับหลักการนี้ เช่น ชาวคาตาลันทําประชามติเชิงสัญลักษณ์เพื่อแยกตัวออกจากสเปน เป็นต้น
26. สงครามเพโลพอนนี้เซียน (Peloponnesian) เป็นผลงานของใคร
(1) Plato
(2) Thucydides
(3) Aristotle
(4) Socrates
(5) Hobbes
ตอบ 2 หน้า 76 – 77 ซูซิดิดิส (Thucydides) ได้อธิบายถึงสงครามเพโลพอนนี้เซียน (Peloponnesian) ซึ่งเกิดขึ้นในยุคกรีกโบราณระหว่างปี 431 – 404 ก่อนคริสตกาล เป็นสงครามระหว่างนครรัฐกรีก ด้วยกัน คือ เอเธนส์ซึ่งมีอิทธิพลทางทะเล และสปาร์ตาซึ่งมีอิทธิพลทางบก โดยสาเหตุของ สงครามเกิดจากความไม่สมดุลของอํานาจระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา ซึ่งสปาร์ตาหวาดระแวงว่า
ในระยะยาวเอเธนส์จะมีอํานาจเหนือกว่าตน และมีความเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีและทําให้ สปาร์ตาพ่ายแพ้ ดังนั้นสปาร์ตาจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้น สปาร์ตาจึงต้องโจมตีเอเธนส์ก่อน การอธิบายนี้ได้สร้างทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศที่มีผลถึงทุกวันนี้
27. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศใดและเริ่มต้นจากสิ่งประดิษฐ์ประเภทใด
(1) อังกฤษ – รถจักรไอน้ำ
(2) อังกฤษ – เครื่องปั่นด้าย
(3) ฝรั่งเศส – เข็มหมุด
(4) ฝรั่งเศส – รถจักรไอน้ำ
(5) สหรัฐอเมริกา – รถจักรไอน้ำ
ตอบ 2 หน้า 79 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากเครื่องปั่นด้ายที่ชื่อว่า Spinning Jenny ของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves)
28.“หลัก 14 ประการ” ที่ถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพและจัดระเบียบโลกในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สัมพันธ์กับผู้นําคนใดต่อไปนี้
(1) George Washington
(2) Abraham Lincoln
(3) Woodrow Wilson
(4) Harry Truman
(5) Franklin D. Roosevelt
ตอบ 3 หน้า 84 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศ “หลัก 14 ประการ” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพและจัดระเบียบโลก ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสําคัญ เช่น หลักการที่ 1 การเจรจาทางการทูต ต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ หลักการที่ 3 ยกเลิกกําแพงภาษีเพื่อสร้างความเท่าเทียม ให้แก่การค้าระหว่างประเทศ หลักการที่ 14 ให้มีการจัดตั้งสมาคมร่วมกันของรัฐต่าง ๆ เพื่อประกันอิสรภาพทางการเมืองและบูรณภาพแห่งดินแดน เป็นต้น
29. ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนให้แก่ประเทศต่าง ๆ ครอบครอง อย่างไรก็ดี ประเทศใดต่อไปนี้ไม่ได้รับส่วนแบ่ง ในการแบ่งแยกดินแดนครั้งนี้
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อิตาลี
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 4 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงคราม ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนและถูกครอบครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
30. ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การทูตปิงปอง” (Ping Pong Diplomacy) ตรงกับประธานาธิบดีสหรัฐคนใด
(1) Richard Nixon
(2) Dwight Eisenhower
(3) Lyndon B. Johnson
(4) Jimmy Carter
(5) John F. Kennedy
ตอบ 1 หน้า 89, (คําบรรยาย) การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เกิดขึ้นในช่วง 1970s เป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนโดยใช้กีฬาปิงปองหรือเทเบิลเทนนิส เป็นเครื่องมือ ซึ่งในขณะนั้นตรงกับสมัยริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา และโจวเอินไหลเป็นนายกรัฐมนตรีของจีน โดยจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญสหรัฐอเมริกามาร่วมแข่งขันปิงปองซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงปักกิ่ง
31. รัฐใดต่อไปนี้ไม่ได้เกิดจากการแตกตัวออกมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(1) Armenia
(2) Azerbaijan.
(3) Uzbekistan
(4) Latvia
(5) Yugoslavia
ตอบ 5 หน้า 90 รัฐที่เกิดจากการแตกตัวออกมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 มี 15 รัฐ ได้แก่ อาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan), เบลารุส (Belarus), เอสโตเนีย (Estonia), จอร์เจีย (Georgia), คาซัคสถาน (Kazakhstan), คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan), ลัตเวีย (Latvia), ลิทัวเนีย (Lithuania), มอลโดวา (Moldova), รัสเซีย (Russia), ทาจิกิสถาน (Tajikistan), เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan), ยูเครน (Ukraine) และอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
ตั้งแต่ข้อ 32 – 50. ให้นักศึกษาเลือกตัวเลือกที่ผิดหรือไม่สัมพันธ์กับคําหรือวลีในแต่ละข้อ
32.สงคราม Peloponnesian
(1) สงครามระหว่างนครรัฐกรีกกับดินแดนป่าเถื่อน
(2) สงครามระหว่างนครรัฐกรีกด้วยกัน
(3) สงครามระหว่างสองกลุ่มพันธมิตร
(4) เอเธนส์มีอิทธิพลทางทะเล
(5) สปาร์ตามีอิทธิพลทางบก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ
33. ยุคมืดหรือยุคกลาง
(1) ศาสนาคริสต์มีอิทธิพล
(2). ศูนย์กลางศาสนาอยู่ที่กรุงโรม
(3) พระสันตะปาปาเป็นประมุขศาสนา
(4) พระราชาได้อํานาจจากการเลือกของขุนนาง
(5) ขุนนางเป็นเจ้าของที่ดินและมีบริวาร
ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) ยุคมืดหรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นยุคที่ศาสนาคริสต์มีอํานาจ และอิทธิพลเหนือสถาบันทางการเมือง โดยมีศูนย์กลางศาสนาอยู่ที่กรุงโรม และพระสันตะปาปา เป็นประมุขศาสนา ในยุคนี้มีความเชื่อว่าพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมเป็นผู้แทนบนโลกของ พระผู้เป็นเจ้า พระราชาได้รับอํานาจจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านพระสันตะปาปา นอกจากนี้ยุโรป ยังตกอยู่ภายในระบบศักดินานิยมที่อํานาจทางการเมืองอยู่ในมือของขุนนางเจ้านาย (Lord) ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและมีบริวารในสังกัด
34. สงครามครูเสด (Crusade)
(1) ปกป้องดินแดนเยรูซาเล็ม
(2) ต่อสู้กับชาวมุสลิม
(3) ยุโรปชนะและยึดคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ์
(4) ชาวยุโรปเริ่มรู้จักเครื่องเทศ
(5) เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1096 – 1270
ตอบ 3 หน้า 78 สงครามครูเสด (Crusade) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1096 – 1270 เป็นการทําสงคราม ระหว่างพวกเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลามและพวกยุโรปตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยสาเหตุเกิดจากพวกเติร์กต้องการแย่งชิงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์จากพวกยุโรป ตะวันตก ทําให้พวกยุโรปตะวันตกต้องต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนเยรูซาเล็ม ผลคือพวกเติร์กชนะและยึดครองเยรูซาเล็มได้สําเร็จ ส่วนพวกยุโรปตะวันตกต้องยกทัพกลับไปเพราะพ่ายแพ้ผลจากสงครามในครั้งนี้ทําให้ชาวยุโรปรู้จักการใช้เครื่องเทศในการถนอมและปรุงรสอาหารรวมทั้งได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันออกที่แตกต่างจากตน
35. การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation)
(1) ความขัดแย้งศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม
(2) อํานาจของพระสันตะปาปาเสื่อมลง
(3) กลายเป็นสงครามศาสนา
(4) ต้นเหตุสงคราม 30 ปี
(5) เกิดเป็น 2 นิกายหลัก
ตอบ 1 หน้า 79, (คําบรรยาย) การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation) เกิดขึ้นจากอํานาจของพระสันตะปาปาเสื่อมลงและเกิดความขัดแย้งในคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งผลจากการปฏิรูป ทําให้เกิดเป็น 2 นิกายหลัก คือ นิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ และนําไปสู่สงคราม ศาสนาที่ยืดเยื้อในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1618 – 1648 หรือที่เรียกว่า สงคราม 30 ปี
36. การประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna)
(1) ประชุมเมื่อ ค.ศ. 1815
(2) เพื่อต่อต้านการแผ่ขยายอํานาจของฝรั่งเศส
(3) ผู้นําฝรั่งเศสขณะนั้นคือบิสมาร์ก
(4) ประชุมเพื่อสันติภาพ
(5) ผนึกกําลัง 5 รัฐยุโรป
ตอบ 3 หน้า 82 หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสจักรพรรดินโปเลียนซึ่งเป็นผู้นําฝรั่งเศสในขณะนั้นได้ทําสงคราม
ขยายดินแดนไปทั่วยุโรป รัฐในยุโรปจึงร่วมมือกันปราบปรามนโปเลียนได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1815
และจัดระเบียบรักษาสันติภาพในยุโรปด้วยการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ในปี เดียวกัน นําไปสู่การผนึกกําลังระหว่างรัฐมหาอํานาจ 5 รัฐในยุโรป คือ ออสเตรีย อังกฤษ ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งรวมเรียกว่า “วงอํานาจแห่งยุโรป” (Concert of Europe)
37. สงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ออสเตรียประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย
(2) รัสเซียประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส
(3) รัสเซียระดมพลช่วยเหลือเซอร์เบีย
(4) อังกฤษประกาศสงครามต่อเยอรมนี
(5) เยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 82 – 83, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 โดยเริ่มต้นจากออสเตรียประกาศสงครามต่อเซอร์เบียร์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และตามมาด้วยการประกาศสงครามของประเทศพันธมิตรต่าง ๆ อันได้แก่ เยอรมนี ๆ ประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศส และอังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี
38. จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นเป็นผู้นําเยอรมนี
(2) เยอรมนีเข้ายึดครองโปแลนด์
(3) มุโสลินีก้าวขึ้นเป็นผู้นําฝรั่งเศส
(4) อังกฤษยอมให้เยอรมนียึดครองแคว้นสุเดเตน
(5) เยอรมนีเข้ายึดครองแคว้นสุเอเตน
ตอบ 3 หน้า 85 จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นเป็นผู้นําเยอรมนี ส่วนมุโสลินีก้าวขึ้นเป็นผู้นําอิตาลี
2. ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียเข้ากับเยอรมนีและส่งทหารเข้ายึดครองแคว้นสุเดเป็นของ เชโกสโลวาเกีย อังกฤษเจรจากับเยอรมนีโดยยอมให้เยอรมนียึดครองแคว้นสุเอเตน ถ้าเยอรมนีรับรองว่าจะไม่เรียกร้องดินแดนอะไรจากเชโกสโลวาเกียอีก
3. เยอรมนีส่งทหารเข้ายึดครองโปแลนด์ อังกฤษกับฝรั่งเศสตอบโต้โดยยื่นคําขาดให้เยอรมนี ถอนทหารจากโปแลนด์แต่เยอรมนีไม่ปฏิบัติตาม อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงคราม ต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มขึ้น
39. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) เริ่ม ค.ศ. 1939
(2) สิ้นสุด ค.ศ. 1945
(3) คู่ต่อสู้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
(4) อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี
(5) อิตาลีประกาศสงครามต่อเยอรมนี
ตอบ 5 หน้า 85, (ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ) สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1939 และ สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 โดยคู่ต่อสู้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
40. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied)
(1) อิตาลี
(2) สหภาพโซเวียต
(3) จีน
(4) ฝรั่งเศส
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ
41. การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) กองกําลังสหรัฐและอังกฤษขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี
(2) เยอรมนีประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข
(3) สหรัฐอเมริกาทิ้งปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945
(4) สหรัฐอเมริกาทิ้งปรมาณูที่เมืองนางาซากิในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945
(5) ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม
ตอบ 4 หน้า 86 การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
1. สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีในฝรั่งเศสนําไปสู่ชัยชนะในยุโรป โดยเยอรมนียอมแพ้โดยปราศจากเงื่อนไขในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และฮิตเลอร์ยิงตัวตาย
2. สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และทิ้งระเบิด ปรมาณูที่เมืองนางาซากิในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงยุติ
42. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) จัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
(2) เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน
(3) ผู้ครอบครองเยอรมนีคือผู้ชนะสงคราม
(4) มีการลงโทษอาชญากรสงคราม
(5) มีการเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิยุโรป
ตอบ 1 หน้า 86 – 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
1. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อเป็นกลไกสําคัญสําหรับการเจรจาโดยสันติวิธี เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ
2. เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนและถูกครอบครองโดยประเทศผู้ชนะสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
3. มีการลงโทษอาชญากรสงคราม นาซีเยอรมันและญี่ปุ่นหลายคนถูกตัดสินประหารชีวิต
4. มีการเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิยุโรป ทําให้มีประเทศใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า อินโดนีเซีย เป็นต้น
43. สาเหตุของสงครามเย็น
(1) ความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมือง
(2) สหภาพโซเวียตนําฝ่ายคอมมิวนิสต์
(3) ความแตกต่างทางอุดมการณ์เศรษฐกิจ
(4) ทั้งสองฝ่ายทําการสู้รบทางทหารโดยตรง
(5) สหรัฐอเมริกานําฝ่ายเสรีประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเสรี ประชาธิปไตยนําโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายคอมมิวนิสต์นําโดยสหภาพโซเวียต โดยมีสาเหตุ มาจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ โดยลักษณะสงครามไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้รบกันโดยตรง แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน
44.แผนการมาร์แชล (Marshall Plan)
(1) แผนการของสหรัฐอเมริกา
(2) ช่วยเหลือเอเชียโดยเฉพาะ
(3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
(4) เสนอแนะโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจอร์จ ซี. มาร์แซล
(5) เพื่อขัดขวางการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์
ตอบ 2 หน้า 88 แผนการมาร์แชล (Marshall Plan) เสนอแนะโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจอร์จ ซี. มาร์แซล (George C. Marshall) เป็นแผนการของสหรัฐอเมริกาในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่ประเทศยุโรป สร้างเสถียรภาพทางการเมืองและขัดขวางการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์
45. พันธมิตรทางทหารของสหรัฐอเมริกาในยุโรปและเอเชีย
(1) NATO
(2) CENTO
(3) SEATO
(4) Warsaw Pact
(5) ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 88 พันธมิตรทางทหารของสหรัฐอเมริกาในยุโรปและเอเชีย มีดังนี้
1. NATO (The North Atlantic Treaty Organization) ในยุโรป
2. CENTO (The Central Treaty Organization) ในเอเชียตะวันตก
3. SEATO (Southeast Asia Treaty Organization) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
46. วิกฤติการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis)
(1) เกิดจากสหภาพโซเวียตวางแผนส่งขีปนาวุธติดตั้งในคิวบา
(2) สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธไปยังเรือรบของสหภาพโซเวียต
(3) เหตุการณ์เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1962
(4)สหรัฐอเมริกาดําเนินมาตรการปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบา
(5) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นคือ ประธานาธิบดีเคนเนดี้ (John F. Kennedy)
ตอบ 2 หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตวางแผนส่งขีปนาวุธไปติดตั้งในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมี ผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเคนเนดี้ (John F. Kennedy) ของ สหรัฐอเมริกาจึงได้ดําเนินมาตรการปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบาและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียต ถอนขีปนาวุธออกจากคิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้ สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ
47. การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy)
(1) การปรับความสัมพันธ์สหภาพโซเวียตกับจีน
(2) การปรับความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับจีน
(3) การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง
(4) เกิดขึ้นในช่วง 1970s
(5) ใช้กีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
48. นโยบายอยู่ร่วมโดยสันติ (Peaceful Coexistence)
(1) ท่าทีประนีประนอมของจีนต่อสหรัฐอเมริกา
(2) ประธานาธิบดีนิกสัน (Richard M. Nixon) แห่งสหรัฐฯ ตอบรับ
(3) ตัวแทนสหรัฐฯ ผู้เดินทางไปเจรจากับจีนคือ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger)
(4) ประธานาธิบดีนิกสันเดินทางเยือนต่อจากคิสซิงเจอร์
(5) มีการลงนาม “แถลงการณ์ร่วมปักกิ่ง” (Beijing Communique)
ตอบ 5 หน้า 89 ในช่วง 1970s จีนได้แสดงท่าทีประนีประนอมกับสหรัฐอเมริกาด้วยการเสนอ นโยบายอยู่ร่วมโดยสันติ (Peaceful Coexistence) โดยจีนได้เสนอให้สหรัฐอเมริกาส่งผู้แทน ที่มีอํานาจมาเจรจาเกี่ยวกับการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาให้เป็นปกติ ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้สูงที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง ดร.เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) ไปเจรจากับจีนอย่างลับ ๆ ในปี ค.ศ. 1971 ต่อมาจีนได้เชิญประธานาธิบดีนิกสัน (Richard ๆ M. Nixon) ไปเยือนในปี ค.ศ. 1972 และนําไปสู่การลงนามใน “แถลงการณ์ร่วมเซี่ยงไฮ้”
(Shanghai Communique) ซึ่งการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกานั้นถือเป็น จุดเปลี่ยนที่สําคัญในการเมืองโลกในยุคสงครามเย็น
49. การเปลี่ยนแปลงของสหภาพโซเวียตก่อนสิ้นสุดสงครามเย็น
(1) นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
(2) ใช้นโยบายเปิดกว้าง (Glasnost)
(3) ใช้นโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้าง (Perestroika)
(4) นโยบายของกอร์บาชอฟทําให้อํานาจของพรรคคอมมิวนิสต์เบ็ดเสร็จมากขึ้น
(5) การเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ตอบ 4 หน้า 90 การเปลี่ยนแปลงของสหภาพโซเวียตก่อนสิ้นสุดสงครามเย็นที่สําคัญก็คือ การที่ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ขึ้นดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ โดยกอร์บาชอฟตัดสินใจปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียตด้วยนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) คือ เปิดประเทศให้กว้างขึ้น ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยให้ประชาชนมีอิสระ ในการแสดงความคิดเห็นของตน และนโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ (Perestroika) คือ การปรับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตให้คลายจากความชะงักงัน เพื่อยกระดับ มาตรฐานการครองชีพของประชาชนชาวโซเวียตให้ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อํานาจของพรรค คอมมิวนิสต์ที่เคยควบคุมเบ็ดเสร็จลดลง รัฐต่าง ๆ ซึ่งรวมกันเป็นสหภาพโซเวียตได้ตัดสินใจ แยกตัวเป็นอิสระ นําไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991
50. รัฐที่แยกออกมาจากสหภาพโซเวียต
(1) Moldova
(2) Russia
(3) Ukraine
(4) Yugoslavia
(5) Latvia
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ
51. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง
(1) การทูต
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ
(4) พันธมิตร
(5) โฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องมือทางการเมือง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. การทูต 2. องค์การระหว่างประเทศ 3. กฎหมายระหว่างประเทศ 4. พันธมิตร
52.กระแส K-Waveของเกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงความสําเร็จในการใช้เครื่องมือประเภทใดมากที่สุด
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) ข้อมูลข่าวสาร
(4) ทหาร
(5) การเจรจา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทูตสาธารณะ ถือเป็นเครื่องมือด้านข้อมูลข่าวสารประเภทหนึ่ง โดยการทูตสาธารณะเป็นการสื่อสารโดยรัฐที่มุ่งเป้าหมายหลักไปที่ปัจเจกบุคคลและเอกชน เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศของตน โดยสามารถทําได้ผ่านวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่การ ให้ข้อมูล การเผยแพร่วัฒนธรรม และการศึกษา ตัวอย่างของการทูตสาธารณะ เช่น กระแส K-Wave ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีใต้ออกไปทั่วโลก โดยผ่านสื่อบันเทิง เช่น เพลง ภาพยนตร์ เป็นต้น
53. “รัฐ A ส่งออกสินค้าของตนไปยังรัฐ B โดยที่ราคาส่งออกนั้นต่ำกว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกัน ที่จําหน่ายเพื่อการบริโภคภายในรัฐ A” รัฐ A ดําเนินมาตรการทางเศรษฐกิจแบบใด
(1) Tariff
(2) Subsidy
(3) Quota
(4) Dumping
(5) Boycott
ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ํากว่าขายภายในประเทศ หรือขายในราคาต่ํากว่าต้นทุนการผลิต เช่น รัฐ A
ส่งออกสินค้าของตนไปยังรัฐ B โดยที่ราคาส่งออกนั้นต่ํากว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกัน ที่จําหน่ายเพื่อการบริโภคภายในรัฐ A เป็นต้น ทั้งนี้การทุ่มตลาดมีเป้าหมายหลายประการ เช่น ทําให้สินค้าที่ตกค้างอยู่สามารถขายยังต่างประเทศได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศตนเอง แนะนํา สินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จัก ทําให้คู่แข่งขันอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด เป็นต้น
54. ข้อใดกล่าวถึงการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ได้ถูกต้อง
(1) เป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของประเทศกําลังพัฒนา
(2) เป็นสิทธิพิเศษทางศุลกากรแบบต่างตอบแทน
(3) สิทธิ GSP เป็นการให้แบบมีเงื่อนไข
(4) เป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของสมาชิก WTO
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) GSP (Generalized System of Preference) เป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากรของประเทศพัฒนาแล้วแก่ประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยเป็นการลดภาษีสินค้านําเข้าให้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สินค้าจากประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนาสามารถแข่งขันกับ สินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วได้ โดยสิทธิ GSP นี้ถือเป็นการให้ฝ่ายเดียว (Unilateral) กล่าวคือ ประเทศที่ให้สิทธิ GSP นั้นไม่ได้เรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ ตอบแทนจากประเทศผู้รับ แต่การ ให้สิทธิ GSP นี้ก็เป็นการให้แบบมีเงื่อนไข กล่าวคือประเทศผู้รับจะต้องมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไข ต่าง ๆ ตามที่ประเทศผู้ให้สิทธิกําหนด
55. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือทางการทหารในยามสันติ
(1) การดําเนินยุทธวิธี
(2) การซ้อมรบร่วม
(3) การเดินสวนสนาม
(4) การทูตทหาร
(5) การบรรเทาภัยพิบัติ
ตอบ 1(คําบรรยาย) เครื่องมือทางการทหารในยามสันติ ได้แก่
1. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ การแทรกแซงด้านมนุษยธรรม การบรรเทา ภัยพิบัติ การสร้างสันติภาพ และการรักษาสันติภาพ
2. การประจําการและการรับประกันความมั่นคงปลอดภัย เช่น การลาดตระเวน การเดิน สวนสนาม การซ้อมรบภายใน เป็นต้น
3. การทูตทหาร ได้แก่ การให้รับการฝึกซ้อม การซ้อมรบร่วม และการซื้อขายอาวุธ
4. การสนับสนุนเครื่องมือของรัฐอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการทหาร เช่น การใช้เครื่องมือ ด้านการทหารเพื่อข่มขู่หรือสร้างความตกใจให้แก่เป้าหมาย เป็นต้น
56. “การส่งกองกําลังสหประชาชาติเข้าไปดูแลเฝ้าระวังและ/หรือป้องกันสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
เป็นการใช้เครื่องมือทางการทหารในการช่วยเหลือเรื่องใด
(1) Disaster Relief
(2) Peacemaking
(3) Peacekeeping
(4) Peacebuilding
(5) Peace Enforcement
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรักษาสันติภาพ (Peacekeeping) เป็นการส่งกองกําลังสหประชาชาติ เข้าไปดูแลเฝ้าระวังและ/หรือป้องกันสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
57. รัฐต้องคํานึงถึงสิ่งใดบ้างในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเภท
(1) ต้นทุน
(2) ความเสี่ยง
(3) ประสิทธิผล
(4) จังหวะเวลา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเภทในการดําเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ต้นทุน (Cost)
2. ความเสี่ยง (Risk)
3. ประสิทธิผล (Effectiveness)
4. ลําดับในการเลือกใช้เครื่องมือ (Sequence)
5. จังหวะเวลาในการใช้เครื่องมือ (Timing)
58. ข้อใดคือสถานะของประเทศสมาชิก WTO ที่ได้รับอัตราภาษีนําเข้าที่ดีที่สุดจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ
(1) MSN
(2) GSP
(3) MFN
(4) PCT
(5) MMS
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การให้สถานะประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation : MFN) เป็นการให้สถานะแก่ประเทศสมาชิก WTO ในการได้รับอัตราภาษีนําเข้าที่ดีที่สุดจาก ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ของ WTO
59. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) การลดค่าเงินเยนของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980
(2) ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในช่วง 1652 – 1654
(3) สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 1980
(4) ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา
(5) การรุกรานของเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ 1930
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เช่น ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997 เป็นต้น
2. ความแตกต่างทางด้านศาสนาและความเชื่อ เช่น สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วง ทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย เป็นต้น
3. ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าว จากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บมะพร้าว เป็นต้น
60. ข้อใดเรียงลําดับพัฒนาการของความสัมพันธ์จากปกติไปสู่สงครามได้ถูกต้อง
(1) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์สงคราม
(2) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์สงคราม
(3) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์ความขัดแย้ง-สงคราม
(4) ความสัมพันธ์แบบปกติ-วิกฤติการณ์ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-สงคราม
(5) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-สงคราม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัฒนาการของความสัมพันธ์ของรัฐจากปกติไปสู่สงคราม สามารถเรียงลําดับ ได้ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์แบบปกติ 2. ความขัดแย้ง 3. ความตึงเครียด 4. วิกฤติการณ์ 5. สงคราม
61. สงครามครั้งใดเป็นสงครามแบบเบ็ดเสร็จ
(1) สงครามเวียดนาม
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1, 2
(3) สงครามเกาหลี
(4) สงครามอิรัก-อิหร่าน
(5) สงครามเย็น
ตอบ 2 หน้า 49 สงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) เป็นสงครามที่มีการต่อสู้ในอาณาเขตที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยไม่มีการจํากัดจุดประสงค์ในการต่อสู้ ไม่มีการจํากัดจํานวนทหาร และชนิดหรือจํานวนของอาวุธที่นํามาใช้ในการต่อสู้ รัฐต่าง ๆ ทั่วโลกอาจจะเข้าร่วมใน สงครามชนิดนี้ ยกเว้นรัฐที่เป็นกลางตามกฎหมาย เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ตัวอย่างของสงคราม ชนิดนี้ ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
62. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการทําสงครามข้อมูลข่าวสาร
(1) การติดแฮชแท็ก #GodSaveTheQueen และ #Thanks Friends
(2) การรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตในสงครามน้อยกว่าตัวเลขจริง
(3) การเผยแพร่ภาพอาวุธของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกทําลาย
(4) การนํารายชื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรงข้ามขึ้นบัญชีดํา
(5) การส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าไปทําลายข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การทําสงครามข้อมูลข่าวสาร (Information Warfare) คือ การใช้เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารมาใช้ในการควบคุม บ่อนทําลาย การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยวิธีการล้วงข้อมูล บิดเบือนข้อมูล หรือทําลายข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม เช่น การรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตในสงคราม น้อยกว่าตัวเลขจริง การเผยแพร่ภาพอาวุธของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกทําลาย การนํารายชื่อเจ้าหน้าที่ ฝ่ายตรงข้ามขึ้นบัญชีดํา การส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าไปทําลายข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น
63. การก่อเหตุวินาศกรรมบนสะพานเวสต์มินสเตอร์กลางกรุงลอนดอนในปี 2017 เป็นการก่อการร้ายประเภทใด
(1) Lone Terrorism
(2) Insurrectionary Terrorism
(3) Nationalist Terrorism
(4) Global Terrorism
(5) Cyber Terrorism
ตอบ 1(คําบรรยาย) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism) เป็นการก่อการร้ายที่มีผู้ก่อการเพียงคนเดียว ซึ่งเป้าหมายของการก่อการร้ายอาจจะเป็นการต่อต้านประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทางการเมืองก็ได้ เช่น เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกาในปี 1995 การก่อเหตุวินาศกรรมบนสะพานเวสต์มินสเตอร์กลางกรุงลอนดอน ในปี 2017 เป็นต้น
64. ข้อใดคือ “สํานักข่าวกรองแห่งชาติ” ของไทยที่ทําหน้าที่กําหนดมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
(1) CIA
(2) FBI
(3) SIS
(4) DSI
(5) NIA
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หน่วยข่าวกรอง ซึ่งทําหน้าที่กําหนดมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศ ต่าง ๆ มีดังนี้ 1. สํานักงานข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency : CIA) ของ สหรัฐอเมริกา 2. หน่วยข่าวกรองลับ (Secret Intelligence Service : SIS) ของอังกฤษ 3. สํานักข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Agency : NIA) ของไทย ฯลฯ
65. การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่อํานวยความสะดวกเพื่อให้ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากันและประเทศที่สามเข้าร่วมในการเจรจาด้วย เป็นลักษณะของวิธีการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีแบบใด
(1) Third Party
(2) Mediation
(3) Arbitration
(4) Adjudication
(5) UNSC
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การไกล่เกลี่ย (Mediation) คือ การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่ อํานวยความสะดวกเพื่อให้ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากันและประเทศที่สามเข้าร่วมในการเจรจาด้วย
66. ขบวนการไรซ์สบัวร์เกอร์ (Reichsbuerger) ในเยอรมนีถือว่าเป็นการก่อการร้ายประเภทใด
(1) Lone Terrorism
(2) Insurrectionary Terrorism
(3) Nationalist Terrorism
(4) Global Terrorism
(5) Cyber Terrorism
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การก่อการร้ายเพื่อล้มอํานาจ (Insurrectionary Terrorism) เป็นการก่อการร้าย ของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาลเพื่อโค่นล้มหรือแย่งชิงอํานาจรัฐบาล เช่น ขบวนการไรซ์สบัวร์เกอร์(Reichsbuerger) ในเยอรมนี เป็นต้น
67. “เอกสิทธิ์ทางการทูต” เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากแหล่งกําเนิดใด
(1) Self-Generating Cooperation
(2) Institutions
(3) Hegemonic Power
(4) Interdependence
(5) Integration
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Self-Generating Cooperation เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดจาก ความยินยอมพร้อมใจ เกิดจากการที่ตัวแสดงเห็นว่าหากมาร่วมมือกันจะนํามาซึ่งผลประโยชน์ ร่วมกัน ความร่วมมือในลักษณะนี้อยู่ภายใต้หลักการต่างตอบแทน เช่น การให้เอกสิทธิ์ ทางการทูต เป็นต้น
68. ข้อใดไม่ใช่ระบอบระหว่างประเทศ
(1) ระบอบการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์
(2) ระบอบปิตาธิปไตย
(3) ระบอบการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ
(4) ระบอบอนุรักษ์แอนตาร์กติก
(5) ระบอบอนุรักษ์แม่น้ําไรน์
ตอบ 2 หน้า 122, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ
2. ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ
3. ระบอบการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์
4. ระบอบการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ
5. ระบอบอนุรักษ์แม่น้ําไรน์
6. ระบอบอนุรักษ์แอนตาร์กติก
69. “การรวมตัวทางการเมืองตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปเป็นสหพันธรัฐโดยสนับสนุนการบูรณาการที่มีสถาบันเหนือรัฐ หรือรัฐยอมมอบอํานาจอธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลาง” เป็นข้อเสนอของแนวคิดใด
(1) Federalism
(2) Functionalism
(3) Neo-Functionalism
(4) Transnationalism
(5) Regionalism
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวคิดสหพันธรัฐนิยม (Federalism) คือ การรวมตัวทางการเมืองตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปเป็นสหพันธรัฐ โดยสนับสนุนการบูรณาการที่มีสถาบันเหนือรัฐ หรือรัฐยอมมอบ อํานาจอธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลาง ซึ่งแนวคิดนี้เคยถูกเสนอโดยอัลติเอโร สปีเนลลี (Altiero Spinelli) ในการรวมกลุ่มแบบก้าวกระโดดเพื่อจัดตั้งสหพันธรัฐแห่งยุโรปในช่วงแรก แต่แนวคิดดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม
70. ข้อใดเรียงลําดับการบูรณาการเศรษฐกิจ 5 ขั้นได้ถูกต้อง
(1) เขตการค้าเสรี-ตลาดร่วม-สหภาพศุลกากร-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
(2) สหภาพศุลกากร เขตการค้าเสรี-ตลาดร่วม-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
(3) สหภาพเหนือรัฐ-สหภาพทางเศรษฐกิจ-ตลาดร่วม-สหภาพศุลกากร เขตการค้าเสรี
(4) เขตการค้าเสรี-สหภาพศุลกากร-ตลาดร่วม-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
(5) ตลาดร่วม-เขตการค้าเสรี-สหภาพศุลกากร-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การบูรณาการทางเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (Customs Union)
1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area)
2. สหภาพศุลกากร
3. ตลาดร่วม (Common/Single Market)
4. สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union)
5. สหภาพเหนือรัฐ (Supranational Union)
71. “เน้นความร่วมมือระหว่างรัฐในภารกิจหรือประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกันโดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกลาง เพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” เป็นข้อเสนอของแนวคิดใด
(1) Federalism
(2) Functionalism
(3) Neo-Functionalism
(4) Transnationalism
(5) Regionalism
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดภารกิจนิยมใหม่ (Neo-Functionalism) เป็นแนวคิดที่ปรับปรุงมาจาก แนวคิดภารกิจนิยม (Functionalism) โดยเน้นความร่วมมือระหว่างรัฐในภารกิจหรือประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกันโดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
72. องค์กรใดในสหภาพยุโรปที่ทําหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
(1) คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
(2) สภายุโรป
(3) ศาลยุติธรรมยุโรป
(4) ธนาคารกลางยุโรป
(5) คณะกรรมาธิการยุโรป
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป โดยรับผิดชอบการออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป รวมไปถึงดําเนินกิจการต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย
73. วัตถุประสงค์อันเป็นหลักการในการก่อตั้งองค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) คืออะไร
(1) Collective Defense
(2) Collective Action
(3) Complex Interdependence
(4) Collective Security
(5) Security Dilemma
ตอบ 1 หน้า 222, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความร่วมมือทางทหารของประเทศสองฝั่งแอตแลนติก มีวัตถุประสงค์ เพื่อการป้องกันร่วม (Collective Defense) และถ่วงดุลอํานาจกับประเทศคอมมิวนิสต์ โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
74. อาเซียนใช้ระบบใดในการลงมติ
(1) ระบบเสียงข้างมาก
(2) ระบบเสียง 2 ใน 3
(3) ระบบเสียง 3 ใน 4
(4) ระบบฉันทามติ
(5) ขึ้นอยู่กับรัฐสมาชิกตกลงกันในแต่ละครั้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) ใช้ระบบฉันทามติ (Consensus) ในการลงมติหรือตัดสินใจ ในญัตติต่าง ๆ ของอาเซียน โดยอาศัยความเห็นชอบของผู้แทนรัฐสมาชิกทั้งหมดเป็นฉันทานุมัติ
75. ประเทศใดไม่ใช่ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) มาเลเซีย
(2) เวียดนาม
(3) สิงคโปร์
(4) อินโดนีเซีย
(5) ฟิลิปปินส์
ตอบ 2 หน้า 180 – 181, (ค่าบรรยาย) สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ค.ศ. 2024) อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา
76. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด
(1) UNSC, CSCAP, ISEAS, CSIS
(2) Greenpeace, Human Rights Watch, FIFA, WaterAid
(3) WEF, Amnesty International, Oxfam, UNESCO
(4) YMCA, WTO, Mercy Corps, RAND Corporation
(5) IISS, CSCAP, LMC, Humanists International
ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์กรระหว่างประเทศ หมายถึง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีการ จัดตั้งขึ้นมาโดยสมาชิกไม่ใช่รัฐ แต่สมาชิกอาจเป็นบุคคล เอกชน บริษัท หรือภาคประชาสังคม Greenpeace, Human Rights Watch, World Economic Forum (WEF), Amnesty International, Oxam, IISS, FIFA, WaterAid เป็นต้น
77. องค์การระหว่างประเทศองค์การแรกของโลกที่จัดตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1815 คือ
(1) Congress of Vienna
(2) League of Nations
(3) Schmalkaldic League
(4) Hague Convention
(5) Central Commission for the Navigation of the Rhine
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมการกลางว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ําไรน์ (Central Commission for the Navigation of the Rhine : CCNR) เป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรก ของโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1815 ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม
78. ข้อใดต่อไปนี้เป็น Functionalis: International Organizations ทั้งหมด
(1) GMS, ACMECS, IMT-GT, ACD
(2) ICJ, ICC, PCA, ICTY
(3) ARF, EU, AU, ECOWAS
(4) ICAO, WHO, UPU, WMO
(5) ECSC, EEC, EURATOM, ECJ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเฉพาะหน้าที่ (Functionalist International Organizations) คือ องค์การระหว่างประเทศที่ทําหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น องค์การการบิน พลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO), องค์การอนามัยโลก (WHO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), คณะกรรมการกลางว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ำไรน์ (CCNR) เป็นต้น
ทั้งหมด
79. ข้อใดต่อไปนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) ทั้งหมด
(1) Dialogue Partner System, ASEAN + 3, East Asia Summit, ASEAN Outlook on Indo-Pacific
(2) ASEAN Defense Ministerial Meeting Plus, ASEAN Regional Forum, ASEAN Ministerial Meeting, ASEAN + 6
(3) Regional Comprehensive Economic Partnership, Trans-Pacific Partnership, Greater Mekong Subregion, ASEAN Summit
(4) ASEAN + 1, ASEAN + 8, ASEAN Minus, Asia-Europe Meeting
(5) ASEAN Charter, Treaty cf Amity and Cooperation, ASEAN Troika, Zone of Peace, Freedom and Neutrality
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) มีดังนี้
1. ระบบคู่เจรจา (Dialogue Partner System)
2. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF)
3. การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS)
4. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP)
5. มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo-Pacific : AOIP) 6. อาเซียน + 3 (ASEAN + 3) ฯลฯ
80. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปัจจุบัน
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(3) สหราชอาณาจักร
(4) สาธารณรัฐจีน
(5) สหพันธรัฐรัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี
81. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่ไม่มีการดําเนินการแล้วในปัจจุบัน
(1) United Nations General Assembly
(2) Secretariat
(3) International Court of Justice
(4) Economic and Social Council
(5) Trusteeship Council
ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) แห่ง สหประชาชาติ เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลดินแดนที่ยังไม่ได้รับเอกราชภายใต้ระบบของ สหประชาชาติ แต่ปัจจุบันได้ยุติการดําเนินการลงแล้ว โดยหยุดการดําเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1994 และจะประชุมเฉพาะเรื่องพิเศษในคราวจําเป็นเท่านั้น
82. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดเป็น Atrocity Crimes
(1) Genocide
(2) Ethnic Cleansing
(3) War Crimes
(4) Crimes against Humanity
(5) Crimes of Aggression
ตอบ 5(คําบรรยาย) อาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติ (Atrocity Crimes) มี 4 ประเภท คือ
1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)
2. การชําระล้างชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing)
3. อาชญากรรมสงคราม (War Crimes)
4. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes against Humanity)
83. ข้อใดต่อไปนี้จับคู่หลักการกับกลไกระหว่างประเทศในการจัดการสันติภาพผิด
(1) Cuius Regio, Elus Religic ของ Peace of Westphalia
(2) Balance of Terror ของ Congress of Vienna
(3) Collective Security ของ League of Nations
(4) Collective Responsibility ของ United Nations
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการหรือกลไกระหว่างประเทศในการจัดการสันติภาพ มีดังนี้
1. หลักการ Cuius Regio, Elus Religio ของ Peace of Westphalia
2. หลักการถ่วงดุลอํานาจ (Balance of Power) ของ Congress of Vienna
3. หลักความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security) ของ League of Nations
4. หลักความรับผิดชอบร่วมกัน (Collective Responsibility) ของ United Nations
84.SAARC คือสมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคใด
(1) แอฟริกา
(2) เอเชีย
(3) เอเชียเหนือ
(4) เอเชียใต้
(5) แอฟริกาตะวันออก
ตอบ 4(คําบรรยาย) สมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation : SAARC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 เป็นองค์กรความร่วมมือองค์กรแรก ในภูมิภาคเอเชียใต้ ปัจจุบัน (ค.ศ. 2024) ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
85.BIMSTEC เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุทวีป มีสมาชิก……ประเทศ
(1) 5
(2) 8
(3) 4
(4) 6
(5) 7
ตอบ 5 หน้า 223 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ และเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจในอ่าวเบงกอล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย
86. ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคใดบ้างมีศาลยุติธรรมเป็นของตนเอง
(1) EU และ ASEAN
(2) ASEAN และ SAARC
(3) SAARC และ MERCOSUR
(4) MERCOSUR และ AU
(5) AU และ EU
ตอบ 5 หน้า 178 – 179, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคที่มีศาลยุติธรรม เป็นของตนเอง ได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union : EU) และสหภาพแอฟริกา (African
Union : AU)
87. ประเทศใดต่อไปนี้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในช่วงสงครามเย็นทั้งหมด
(1) ไทย, ลาว, ฟิลิปปินส์
(2) ไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย
(3) อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไนดารุสซาลาม
(4) สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เมียนมา
(5) มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม
ตอบ 3 หน้า 181, (คําบรรยาย) การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. ในช่วงสงครามเย็น (ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ไทย และบรูไนดารุสซาลาม
2. ในช่วงหลังสงครามเย็น (หลัง ค.ศ. 1991) ได้แก่ เวียดนาม ลาว เมียนมา และกัมพูชา
88. ต้นธารความคิดของการจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ASEAN + 3 คือ
(1) SWAP Arrangement
(2) East Asia Economic Group
(3) Asian Monetary Fund
(4) Preferential Trading Arrangement
(5) Free Trade Area
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ASEAN + 3 เกิดจากแนวคิด East Asia Economic Group ในปี ค.ศ. 1991 ของมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดย ASEAN + 3 เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจากเอเชีย ตะวันออกอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
89. ข้อใดคือเป้าหมาย 3 ขั้นของ ASEAN Regional Forum
(1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง, ประชาคมเศรษฐกิจ, ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
(2) มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ, การทูตเชิงป้องกัน, กลไกในการจัดการความขัดแย้ง
(3) ส่งเสริมประชาธิปไตย, ปกป้องสิทธิมนุษยชน, ต่อต้านการคอร์รัปชั่น
(4) สร้างตลาดเดียว, สร้างความสามารถทางการแข่งขัน, เป็นภูมิภาคที่มีพลวัต
(5) ไม่แทรกแซงกิจการภายใน, ฉันทามติ, แก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) เป็นการประชุมเพื่อหารือระหว่างประเทศ สมาชิกในประเด็นทางการเมืองและความมั่นคงที่มีความสนใจและความกังวลร่วมกันเพื่อ เสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการประชุม ARF นี้มีเป้าหมาย 3 ขั้น คือ
1. มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measure)
2. การทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy)
3. กลไกในการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Resolution Mechanism)
90. ข้อใดไม่ใช่หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) ตามฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ค.ศ. 1989
(1) Liberalization
(2) Privatization
(3) Democratization
(4) Deregulation
(5) Stabilization
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) ตามฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ค.ศ. 1989 มี 4 ประการ คือ
1. Liberalization
2. Deregulation
3. Privatization
4. Stabilization
91. สงครามประเภทใดใช้อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction)
(1) สงครามเคมี
(2) สงครามเย็น
(3) สงครามตัวแทน
(4) สงครามโจมตีก่อน
(5) สงครามป้องกันตัวเอง
ตอบ 1(คําบรรยาย) อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction) คือ อาวุธที่สามารถ สังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจํานวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล โดยสงครามที่ใช้อาวุธประเภทนี้ ได้แก่ สงครามนิวเคลียร์ สงครามเคมี และสงครามชีวภาพ
92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
(1) Non-Proliferation Treaty
(2) Nuclear Security Summits
(3) Convention on Nuclear Safety
(4) Strategic Arms Reduction Talk
(5) Strategic Arms Limitation Talk
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กลไกที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ มีดังนี้
1. Nuclear Non-Proliferation Treaty
2. Nuclear Security Summits
3. Intermediate-Range Nuclear Force Treaty
4. Strategic Arms Limitation Talk
5. Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty
6. Anti-Ballistic Missile Treaty
7. Strategic Arms Reduction Talk ฯลฯ
93. ข้อใดเป็นผลของเศรษฐกิจแบบลัทธิเสรีนิยมคลาสสิก
(1) การพัฒนาประชาธิปไตย
(2) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
(3) การปลดแอกจากเจ้าอาณานิคม
(4) ลัทธิชาตินิยม
(5) การล่าอาณานิคม
ตอบ 5(คําบรรยาย) ลัทธิเสรีนิยมคลาสสิก (Classical Liberalism) เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจของ อดัม สมิธ (Adam Smith) ซึ่งเสนอให้ใช้กลไกตลาดเป็นตัวนําในการพัฒนาโดยรัฐเข้าแทรกแซง เศรษฐกิจให้น้อยที่สุด ซึ่งผลของเศรษฐกิจแบบลัทธิเสรีนิยมคลาสสิกนี้จะทําให้เกิดระบอบ ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ นั่นคือ “ระบอบอาณานิคม” ขึ้นมา
94. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับเสรีนิยมฝังราก (Embedded Liberalism)
(1) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(3) มาตรฐานทองคํา
(4) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(5) แนวทางเศรษฐกิจแบบเคนส์เซียน (Keynesian Economy)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีนิยมฝังราก (Embedded Liberalism) คือ แนวทางเศรษฐกิจแบบ เคนส์เซียน (Keynesian Economy) ตามแนวคิดของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ซึ่งผลของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมฝังรากทําให้เกิด
1. ระบบ Bretton Woods
2. มาตรฐานทองคํา
3. ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD)
4. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ
95. กรอบความร่วมมือใดไม่มีจีนเป็นประเทศสมาชิก
(1) RCEP
(2) CPTPP
(3) EAS
(4) SCO
(5) BRICS
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความตกลงแบบครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้น
แปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership : CPTPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างสมาชิก ทั้งในประเด็นคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม และกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาล และนักลงทุนต่างชาติ โดยมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม
96. จากข้อมูลของ Federation of American Scientists (FAS) หัวข้อ “Estimated Global Nuclear Warhead Inventories” ในปี ค.ศ. 2023 ประเทศใดมีขีดความสามารถทางด้านอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด
(1) สหพันธรัฐรัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) สหราชอาณาจักร
(4) สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(5) ไม่สามารถระบุได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากข้อมูลของ Federation of American Scientists (FAS) หัวข้อ “Estimated Global Nuclear Warhead Inventories” ในปี ค.ศ. 2023 ประเทศที่มีขีดความสามารถ ทางด้านอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด คือ สหพันธรัฐรัสเซีย รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร
97. ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในการประชุม COP28 ในปี ค.ศ. 2023
(1) สหราชอาณาจักร
(2) สาธารณรัฐเกาหลี
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(5) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ตอบ 4(คําบรรยาย) การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 (COP28) ในปี ค.ศ. 2023 จัดขึ้นที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งประเด็นไปที่การหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อรักษาไม่ให้อุณหภูมิ พื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5°C พร้อมเรียกร้องข้อตกลงให้ทุกประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นต้นตอสําคัญที่สร้างผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน
98. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มบริคส์ (BRICS)
(1) อินเดีย
(2) รัสเซีย
(3) จีน
(4) บราซิล
(5) สิงคโปร์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัย เศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G-7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)
99. ในปี ค.ศ. 2025 ราชอาณาจักรไทยจะเป็นตัวแทนของอาเซียนในการเจรจากับประเทศคู่เจรจาใด
(1) สาธารณรัฐเกาหลี
(2) ประเทศญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 2025 ราชอาณาจักรไทยจะเป็นตัวแทนของอาเซียนในการเจรจากับ
สาธารณรัฐเกาหลี
100. ข้อใดต่อไปนี้เป็นงานที่จัดขึ้นโดย International Institute for Strategic Studies (IISS)
(1) World Economic Forum
(2) Pacific Forum
(3) Shangri-La Dialogue
(4) Conference of the Parties
(5) East Asia Forum
ตอบ 3(คําบรรยาย) Shangri-La Dialogue จัดขึ้นโดย International Institute for Strategic Studies (IISS) เป็นการประชุมที่รวมรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศมาจากทั่วโลก เพื่อหารือกันถึงความมั่นคงและสันติภาพในเอเชีย โดยการประชุมนี้จัดขึ้นที่สิงคโปร์เป็นประจําตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002