การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2110 ทฤษฎีและจริยธรรมการเมืองตะวันออก

Advertisement

คําสั่ง ข้อสอบเป็นอัตนัยมีทั้งหมด 2 ข้อ

1 จงอธิบายความหมายดังต่อไปนี้

1.1 คุณสมบัติของพระจักรพรรดิ / ผู้ปกครองประเทศ

แนวคําตอบ

พระจักรพรรดิหรือผู้ปกครองประเทศในลัทธิชินโตนั้น จะต้องมีคุณสมบัติและคุณธรรมที่สําคัญ คือ มีศีลธรรม ปัญญา ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความนอบน้อม ความอ่อนโยน และการบําเพ็ญประโยชน์

1.2 ทัศนะของลัทธิเต๋า ในเรื่องของรัฐบาล 3 แบบ

แนวคําตอบ

ตามทัศนะของลัทธิเต๋ (เหลาจื้อ) นั้น รัฐบาลมี 3 แบบ คือ

1 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยไม่ก้าวก่ายชีวิตประชาชน ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกปกครองเพราะใช้การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครอง

2 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยการสร้างความดีให้ประชาชนเห็น เพื่อให้ประชาชนรักซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่ดีรองลงมาจากแบบที่ 1

3 รัฐบาลที่ปกครองประชาชนโดยใช้อํานาจกดขี่และยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ส่วนตัวของประชาชน จนทําให้ประชาชนไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการปกครองที่เลวที่สุด

1.3 แนวคิดของขงจื้อ ลัทธิเซียวคัง

แนวคําตอบ

ลัทธิขงจื้อ มีแนวคิดที่สําคัญดังนี้

1 ชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และอุดมคติทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง ต่างก็มีจุดศูนย์กลางที่ศีลธรรมเช่นเดียวกัน

2 ต่อต้านการปกครองที่กดขี่ทารุณ โดยกล่าวว่า “รัฐบาลที่กดขี่ทารุณนั้นร้ายยิ่งกว่าเสือเสียอีก”

3 กองทัพไม่สามารถสู้รบอย่างมีประสิทธิผลได้ถ้าทหารไม่รู้ว่าพวกเขาจะสู้ไปทําไม โดยกล่าวว่า “การนําประชาชนที่ไม่ได้รับการศึกษาไปสู่สงคราม ก็เท่ากับว่านําพวกเขาไปทิ้ง”

4 ให้ความสําคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก

5 การปกครองนั้นควรมีจุดมุ่งหมายในการนําสวัสดิการและความสุขมาสู่ประชาชนทั้งมวล โดยต้องมีผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารซึ่งไม่ใช่มาจากชาติกําเนิด ความร่ำรวยหรือตําแหน่ง แต่มาจากการได้รับการศึกษาที่เหมาะสม

6 การปกครองที่ดีคือการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และจะต้องมีลักษณะ “คุ้มครองมากกว่าปกครอง”

7 การใช้อํานาจนั้นจะต้องคํานึงถึงคุณธรรม โดยกล่าวว่า “เมื่อผู้ปกครองเองทําถูกต้อง เขาย่อมมีอํานาจเหนือประชาชนโดยมิต้องออกคําสั่ง แต่เมื่อผู้ปกครองเองไม่ทําสิ่งที่ถูกต้อง คําสั่งทั้งปวงของเขาก็ใช้ไม่ได้เลย”

8 รากฐานของอาณาจักรคือรัฐ รากฐานของรัฐคือครอบครัว รากฐานของครอบครัวคือตัวเอง

ลัทธิเซียวคัง เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน โดยเสนอว่าถ้ายังไม่สามารถสร้างรัฐบาลโลกได้ ก็ให้มีรัฐบาลของแต่ละชาติ แต่ละประเทศ แต่ละรัฐไปพลาง ๆ ก่อน จุดสําคัญก็คือกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต้องทําหน้าที่ดุจพ่อเมืองอย่างแท้จริง และปกครองแบบพ่อปกครองลูกรัฐบาลต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทําให้เกิดความสงบสุขในแต่ละแว่นแคว้นได้ ซึ่งสันติสุขที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ในวงแคบเฉพาะชาติเฉพาะรัฐ เรียกว่า “จุลสันติสุข” (เซ็งเพ้ง)

1.4 การปกครองแบบพ่อป

แนวคําตอบ

การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นแนวทางการปกครองที่มีพื้นฐานมาจากการปกครองแบบครอบครัว โดยมีลักษณะสําคัญคือ กษัตริย์กับประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน และประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้โดยตรงต่อกษัตริย์ เป็นลักษณะการปกครองที่ปรากฏในชุมชนที่ยังไม่มีระบบราชการที่เป็นแบบแผน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์นั้นเปรียบเสมือนพ่อ ส่วนราษฎรในปกครองเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัว ตัวอย่างเช่น ในอาณาจักรสุโขทัยและล้านนา เป็นต้น

1.5 นิกายสุหนี่มีความแตกต่างจากนิกายชีอะฮ์ อย่างไร ?

แนวคําตอบ

นิกายสุหนี่ เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมที่เคร่งครัดเป็นอย่างมากในคําสอนตามพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คัมภีร์มิสคาต (จารีต) ที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยถือว่าผู้ที่สืบทอดตําแหน่งประมุขทางศาสนาและการปกครอง แทนพระนบีมุฮัมหมัด ซึ่งเรียกว่า คอลีฟะฮ์หรือกาหลิบ

กายสุหนี่ เห็นว่าศาสนาอิสลามมีฐานะ 2 อย่าง คือ เป็นศาสนาที่พระอัลลอฮ์ทรงประทานให้ และเป็นการเมืองกับกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์และเจตนารมณ์ในเรื่องผลประโยชน์สาธารณะของชุมชน โดยส่วนรวม ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และแอฟริกา

นิกายชีอะฮ์ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความเป็นคอลีฟะฮ์ของอาบูบัคร์ โอมาร์ และโอธมาน โดยเห็นว่าผู้ที่สมควรได้รับตําแหน่งประมุขต่อจากพระนบีมุฮัมหมัด คือ อาลี เพราะได้รับการแต่งตั้งจากพระนบีมุฮัมหมัด หลังจากไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะครั้งสุดท้าย อาลีจึงเป็นอิหม่ามคนแรก ซึ่งอิหม่ามก็คือผู้นําในการสวดของชาวมุสลิม มีบทบาทเป็นผู้นําทางจิตวิญญาณ และเป็นผู้แทนของพระอัลลอฮ์ จึงปลอดจากบาป

นิกายชีอะฮ์ เห็นว่าภาวะผู้นําทางการเมืองของชุมชนมุสลิมเป็นหน้าที่พื้นฐานทางศาสนา ความชอบธรรมทางการเมืองมาจากความชอบธรรมทางศาสนา ซึ่งมาจากพระอัลลอฮ์และสื่อผ่านทางศาสดาพยากรณ์ อํานาจทางการเมืองมาจากภาวะผู้นําทางจิตวิญญาณ คอลีฟะฮ์เป็นเพียงผู้ปกครอง แต่อิหม่ามจะเป็นผู้นํา

ผู้ที่นับถือนิกายนี้จะสวมหมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นับถือกันมากในประเทศอิหร่าน อิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย และอินเดีย นิกายชีอะฮ์นี้ได้แตกแยกออกไปอีกหลายนิกายที่สําคัญคือ นิกายเจ้าเซนหรือมะหงุ่น

 

ข้อ 2 ให้นักศึกษาทําข้อสอบทั้งข้อ ก. และ ข.

ก อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู มีผลต่อการเมืองการปกครองในประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก อย่างไร ?

แนวคําตอบ

อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ที่มีผลต่อการเมืองการปกครองในประเทศแถบตะวันออก จะเห็นได้จากแนวคิดของนักการเมืองอินเดียที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างเช่น มหาตมะ คานธี

แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของมหาตมะ คานธี

1 การศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า คานธี เห็นว่า ศาสนาต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และการเมืองต้องใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่เป็นนักการเมืองต้องมีศีลธรรม

2 การมีอุดมการณ์ คานธี เน้นว่าการกระทําของมนุษย์ควรมีอุดมการณ์ เพราะเป็นเป้าหมายในการดําเนินชีวิต คนที่ไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือที่ไม่มีหางเสือ ซึ่งเรือที่ไม่มีหางเสือหรือไม่มีเข็มทิศ ย่อมเดินทางไปโดยไม่มีจุดหมาย เหมือนกับการทํางานที่ไม่มีเป้าหมายหรืออุดมการณ์ก็ย่อมปราศจากประโยชน์

3 ศาสนากับการพัฒนาตนเองและสังคม คานธี เห็นว่า การพัฒนาสังคมและประเทศชาติจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนมีการพัฒนาตนเองก่อน และการที่จะพัฒนาตนเองได้ก็ต้องมีศาสนา

4 การใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ คานธี เห็นว่า นักประชาธิปไตยที่แท้จริงคือผู้ที่ใช้วิธีการของอหิงสาเข้ามาปกป้องอิสรภาพของตนเอง ของประเทศชาติ และของมนุษยชาติทั้งมวล ซึ่งการรักษาสัจจะและยึดหลักอหิงสานั้นจะต้องมีความกล้าด้วย คือ ถ้าผู้ปกครองกระทําผิด ผู้ใต้ปกครองจะต้องกล้าแสดงความเห็นและให้คําแนะนําแก่ผู้ปกครองนั้น พร้อมกับเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นด้วย

5 การเสียสละ คานธี เห็นว่า ผู้ปกครองที่ดีนอกจากจะต้องมีอหิงสธรรมแล้วต้องมีความเสียสละ และต้องเป็นความเสียสละอย่างมีความสุขด้วย ความเสียสละที่แท้จริงจะต้องให้ความปีติแก่ผู้เสียสละ เพราะการเสียสละเป็นการกระทําที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวผู้เสียสละโดยหวังที่จะให้ผู้อื่นเห็นใจในการเสียสละของตน เป็นบุคคลที่น่าสงสารที่สุด

6 ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สืบเนื่องมาจากระบบวรรณะและการถูกกดขี่ทางเพศในสังคมอินเดีย โดยคานธีได้เสนอแนวคิดที่ส่งเสริมความเสมอภาคขึ้นมา และกล่าวถึงการดูถูกเหยียดหยามในหมู่มนุษย์ว่า การกระทําสองประการของมนุษย์ในขณะเดียวกันย่อมไปด้วยกันไม่ได้ กล่าวคือ บูชาพระเป็นเจ้า แต่ก็เหยียดหยามเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และพยายามชี้ให้เห็นว่าการให้ความเป็นธรรมแก่มนุษย์นั้นต้องให้ทั้งคนดีและคนชั่ว

7 วิธีการทํางานและการตัดสินใจ คานธี ชี้ให้เห็นในเรื่องของการทํางานว่า ถ้ามัวแต่คิดถึงความมากมายใหญ่โตของการงาน เราจะเกิดความสับสนและทําอะไรไม่ได้เลย ตรงข้าม หากเราจับงานขึ้นมาทําทันที เราจะพบว่าแม้ใหญ่เท่าภูเขางานก็จะค่อยลดน้อยลง ทุกวัน ๆ แล้วในที่สุดก็จะสําเร็จลงได้ ส่วนในเรื่องของการตัดสินใจนั้น ถ้าหากว่ามีความจําเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจด้วยความรอบคอบเป็นที่สุดแล้วปฏิบัติตนไปตามนั้นโดยไม่มีการท้อถอย

8 การมีระเบียบวินัย คานธี เน้นว่าในการกระทําใด ๆ ก็ตาม สิ่งสําคัญที่จะต้องยึดก็คือระเบียบวินัย เพราะระเบียบวินัยจะทําให้เราควบคุมตนเองได้ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักปกครองรับใช้ประชาชนจึงจําเป็นต้องมีระเบียบวินัยเพื่อควบคุมตนเองและผู้ใต้ปกครอง

สําหรับกรณีประเทศไทยนั้น ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการเมือง การปกครองของไทย โดยปรากฏออกมาในรูปพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระราชา แม้ว่าคนไทยจะนับถือพุทธศาสนา แต่ก็เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เชื่อในวรรณะกษัตริย์เช่นเดียวกับ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งจะเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยมีพราหมณ์ปุโรหิตประจําราชสํานัก อีกทั้งยังเชื่อว่ากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นอวตารของพระนารายณ์ โดยจะเห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์ไทย บางพระองค์มีคําว่า “ราม” หรือ “นารายณ์” เช่น พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระรามาธิบดี พระราเมศวร พระนารายณ์มหาราช และพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์แม้จะมีพระนามเฉพาะแล้วก็ยังเรียกกันว่า พระรามที่ 1 จนถึงพระรามที่ 9 นอกจากนี้ ตราแผ่นดินของไทยก็ยังใช้ตรา “ครุฑ” ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

 

ข พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออก อย่างไร ?

แนวคําตอบ

พุทธศาสนา ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คําสอนทางพุทธศาสนาก็ได้เผยแผ่ ไปยังประเทศต่าง ๆ และมีอิทธิพลต่อแนวคิด วิถีชีวิต และระบบสังคมในประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบตะวันออกหลายประเทศ เช่น อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา จีน เกาหลี เป็นต้น

พุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 นิกายที่สําคัญ คือ

1 นิกายหินยานหรือเถรวาทเป็นนิกายที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศฝ่ายใต้ ได้แก่ อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา เป็นต้น

2 นิกายมหายานหรืออาจริยวาท เป็นนิกายที่มีอิทธิพลอยู่ในประเทศฝ่ายเหนือ ได้แก่ การจัดการอาหาร จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

กรณีประเทศอินเดีย

พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองอย่างเห็นได้ชัดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงยึดธรรมาธิปไตยเป็นหลักในการปกครองประเทศ และทรงส่งเสริมการเมืองแบบพุทธ คืออยู่เหนือ ลัทธิที่เต็มไปด้วยความโลภ (ลัทธิทุนนิยม) ความเกลียดชัง (ลัทธิคอมมิวนิสต์) และความหลง (ลัทธิเผด็จการ) โดยทรงมีพระราชกรณียกิจซึ่งมีลักษณะเด่นดังต่อไปนี้

1 เน้นการปกครองแบบบิดากับบุตร โดยมีข้าราชการเป็นพี่เลี้ยงประชาชน

2 เน้นการถือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหน้าที่สําคัญที่สุด

3 เน้นความยุติธรรมและความฉับไวในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

4 เน้นการจัดให้มีเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งสอนธรรม คอยดูแลแนะนําประชาชนเกี่ยวกับความประพฤติและการดํารงชีวิตอย่างทั่วถึง ตลอดจนวางระบบข้าราชการควบคุมเป็นชั้น ๆ

5 มีการตั้งธรรมมหาอํามาตย์เพื่อตรวจสอบความประพฤติของข้าราชการ และชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม เป็นต้น

กรณีประเทศศรีลังกา

พุทธศาสนาได้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลเมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระสหายพระเจ้าอโศก มหาราช ทรงรับเป็นพุทธมามกะ โดยนิกายที่เข้าไปตอนนั้นเป็นนิกายเถรวาท ซึ่งรับถ่ายทอดมาจากอินเดีย โดยการนํามาเผยแผ่ของพระมหินทเถระและพระนางสังฆมิตตาเถรี ซึ่งเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของ พระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนาจึงเข้าไปมีอิทธิพลต่อแนวคิดและการตัดสินใจของกษัตริย์ลังกาตั้งแต่นั้นมา โดยในสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช ได้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วย เช่น พม่า ไทย ลาว เป็นต้น

กรณีประเทศไทย

พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงยึดแนวทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครอง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ธรรมิกราช” หรือ “ธรรมราชา” ซึ่งหมายถึงพระราชาผู้มีความชาญฉลาดในการปกครองทางธรรม อันได้แก่ พระเจ้าเม็งรายมหาราช พระเจ้ากือนา พระเจ้าติโลกราช พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพระร่วง พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระเจ้ามหาธรรมราชาลิไท พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ รัชกาลที่ 4, 5 และ 9 เป็นต้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ทรงประกาศอย่างชัดเจนว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน

กรณีประเทศจีน

พุทธศาสนาได้แผ่เข้าไปมีบทบาทต่อการเมืองการปกครองของประเทศจีนอย่างชัดเจนมากที่สุด ในรัชสมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ จนได้รับสมญานามว่าเป็น “อโศกของจีน” เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เสวยมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด และทรงออกกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์ทั่วประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ในตอนกลางสมัยราชวงศ์ถัง พระนางบูเช็กเทียนขึ้นครองราชย์ก็ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนามากที่สุด ควบคู่กับการปกครอง ประเทศอย่างดีที่สุด

กรณีประเทศทิเบต

พุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อประชาชนมากจนทําให้ประเทศทิเบตนั้นได้รับการกล่าวขานว่า เป็นเมืองพระ (พุทธนคร) ทั้งนี้เพราะมีพลเมืองหรือประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศเป็นพระ เรียกว่า “ลามะ” ซึ่งรวมถึงรัฐบาลที่เป็นพระ และมีประมุขของประเทศที่เป็นทั้งพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระสังฆราชในองค์เดียวกัน เรียกว่า “องค์ดาไลลามะ” หรือที่ชาวทิเบตเรียกว่า “กยันโปรินโปเช” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แบ่งภาคลงมา เมื่อองค์ดาไลลามะสิ้นพระชนม์ รัฐบาลก็จะมีหน้าที่แสวงหาเด็กศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากดวงพระวิญญาณ ขององค์ดาไลลามะองค์เก่าที่สิ้นพระชนม์มาสถาปนาขึ้นเป็นองค์ดาไลลามะแทน

Advertisement