การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2108 หลักปฏิบัติทางการปกครองและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.ข้อใดไม่ใช่หลักการของธรรมาภิบาล
(1) โปร่งใส
(2) คุ้มค่า
(3) มีส่วนร่วม
(4) ประชาธิปไตย
(5) นิติธรรม
ตอบ 4 หน้า 169 – 170 หลักการของธรรมาภิบาลหรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance) ประกอบด้วยหลักการสําคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความโปร่งใส
4. หลักการมีส่วนร่วม
5. หลักความสํานึกรับผิดชอบ
6. หลักความคุ้มค่า
2.“วิกฤตต้มยํากุ้ง” หมายถึงข้อใด
(1) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540
(2) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2550
(3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในไทย พ.ศ. 2550
(4) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในเอเชีย พ.ศ. 2540
(5) ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ด้านอาหารไทย พ.ศ. 2550
ตอบ 1 หน้า 15, 169, (คําบรรยาย) ปัญหาเศรษฐกิจการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือเรียกอีกอย่างว่า “วิกฤตต้มยํากุ้ง” เป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจการเงินที่ส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย จากวิกฤตดังกล่าวได้ส่งผลให้ประเทศไทยต้องขอรับความช่วยเหลือ ทางด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการกู้เงินดังกล่าว
3.ข้อใดคือหลักการของความคุ้มค่า
(1) รับผิดชอบต่อสังคม
(2) ให้ข้อมูลกับประชาชน
(3) ตรวจสอบได้
(4) กติกาต้องถูกต้องเป็นธรรม
(5) จัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตอบ 5 หน้า 169 หลักความคุ้มค่า คือ การจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะทรัพยากร ในแต่ละประเทศมีจํากัด และเป็นของส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ต้องคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด ในระยะยาวต่อสังคมและประเทศชาติ
4. ข้อใดคือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) WB
(2) IMF
(3) ICC
(4) WHO
(5) UN
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ
5.สิทธิในข้อใดที่เป็นสิทธิในหลักธรรมาภิบาล
(1) สิทธิมนุษยชน
(2) สิทธิในการเลือกตั้ง
(3) สิทธิทางวัฒนธรรม
(4) สิทธิการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ธนาคารโลกมีการกําหนดว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็น ทางการเมืองของประเทศผู้รับทุน ข้อห้ามนี้ทําให้ธนาคารโลกไม่พิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่จะพิจารณาสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจในการให้ ความช่วยเหลือของธนาคารโลก
6.อะไรคือความหมายของ “กลไกมือที่มองไม่เห็น”
(1) ตัวแสดงที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน
(2) ตัวแสดงทางเศรษฐกิจ
(3) กลไกตลาดที่ดําเนินด้วยอุปสงค์และอุปทาน
(4) กลไกปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย
(5) กลไกทางวัฒนธรรมของราชการ
ตอบ 3 หน้า 184 กลไกจัดการโดยตลาดและการสนับสนุนแรงจูงใจ อาศัย “กลไกมือที่มองไม่เห็น” ซึ่งก็คือ “กลไกของตลาด” ที่จะผลักดันผ่านการแข่งขันกันทั้งในแง่การบริหารและการสร้าง นวัตกรรมมาเสนอ รัฐจะเก็บบทบาทการจัดสรรไว้แต่ไม่รับผิดชอบในกระบวนการผลิตสินค้า และบริการสาธารณะ รัฐใช้การเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดแล้วใช้การกํากับดูแลติดตามผลการทํางาน ในเงื่อนไขนี้มีประเด็นสําคัญคือ รัฐต้องสร้างเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมงานสาธารณะให้เข้าสู่เงื่อนไขการตลาดอย่างแท้จริง
ตั้งแต่ข้อ 7. – 11. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจเกิดปัญหาความร่วมมือ
(2) ศักยภาพของรัฐไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมได้
(3) การแสวงหาตัวแสดงจากหลายภาคส่วนให้มาร่วมมือกับรัฐ
(4) เป้าหมายไม่ชัดเจนเมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไม่เป็นผู้กําหนดเป้าหมาย
(5) ไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
7. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างสายบังคับบัญชาคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 172 โครงสร้างแบบสายบังคับบัญชา เป็นโครงสร้างที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญ ในการบริหารปกครอง โดยภาครัฐและเอกชนจะแยกบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจน รัฐจะ เป็นศูนย์กลางของการดูแลผลประโยชน์สาธารณะและกําหนดให้เอกชนดําเนินการตามบทบาทที่กําหนดโดยรัฐ ในโครงสร้างแบบนี้รัฐอาจลดบทบาทในการควบคุมกิจกรรมทาง เศรษฐกิจเพื่อให้เอกชนเข้ามาดําเนินการเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าภายใต้การควบคุมของรัฐ แต่รัฐก็อ่อนแอกว่าภาคเอกชนทําให้ขาดประสิทธิภาพในการควบคุม ดังนั้นปัญหาสําคัญของโครงสร้างแบบนี้ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความต้องการที่หลากหลายของ คนในรัฐ รวมทั้งศักยภาพของรัฐทําให้รัฐไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รัฐจึงไม่สามารถบรรลุความสําเร็จในการพัฒนารัฐได้
8.ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบการถือหางเสือคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 174, (คําบรรยาย) การบริหารปกครองแบบการถือหางเสือ เชื่อว่า รัฐมีความสามารถ ที่จะกําหนดทิศทางและถือหางเสือในกิจการสาธารณะในสังคมได้ ในแง่นี้รัฐยังคงมีบทบาทสําคัญ ในการบริหารปกครองแต่มีอํานาจควบคุมน้อยลง การบริหารปกครองนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง อํานาจหน้าที่และอํานาจควบคุมจากกฎหมายของรัฐ ปัญหาสําคัญของการบริหารปกครอง แบบนี้ก็คือ เมื่อรัฐเปลี่ยนบทบาทไปทําหน้าที่เพียงการถือหางเสือ ไม่ได้เป็นผู้กําหนดเป้าหมายอาจทําให้เป้าหมายไม่ชัดเจน
9. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบชุมชนคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 173 โครงสร้างแบบชุมชน มีแนวคิดมาจากฐานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของตัวเองและ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของชุมชนได้โดยให้รัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด ดังนั้น การบริหารปกครองในโครงสร้างแบบนี้จึงอยู่ในแนวคิดของการไม่ต้องการให้รัฐมาเกี่ยวข้องแต่ต้องให้รัฐเปิดพื้นที่ให้เกิด
10. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างเครือข่ายคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 172 – 173 โครงสร้างแบบเครือข่าย เป็นโครงสร้างที่มีการเชื่อมโยงชุมชน (ตัวแสดง)
นโยบายโดยเชื่อว่าจะสามารถเอื้อต่อการจัดสรรผลประโยชน์ของสาธารณะและผลประโยชน์ ส่วนบุคคลได้ ในโครงสร้างแบบนี้นโยบายจะถูกพิจารณาจากหลายภาคส่วนร่วมกันจึงจัดสรร ผลประโยชน์ส่วนรวมได้ดีกว่า อีกทั้งมีการแยกการควบคุมและความรับผิดชอบในนโยบาย ออกจากกัน โดยเครือข่ายจะควบคุมการริเริ่มนโยบายที่ส่งมาจากทุกฝ่ายและฝ่ายรัฐจะเป็น ผู้รับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภาคส่วน ทําให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างรัฐกับเครือข่าย อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐยังคงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่าง ๆ ภายในรัฐ การท้าทายผลประโยชน์ของรัฐจากเครือข่ายจึงเป็นไปได้ยาก และประเด็นท้าทายคือรัฐจะ สามารถหาตัวแสดงจากภาคส่วนในสังคมมาร่วมมือในเครือข่ายได้อย่างไร
11. ปัญหาสําคัญของรูปแบบการบริหารปกครองรูปแบบโครงสร้างแบบตลาดคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 172, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบตลาด เป็นโครงสร้างที่มีตัวแสดงหลักเป็นตัวแสดงทางเศรษฐกิจ โดยปัญหาในการพัฒนานั้นเกิดขึ้นจากธรรมชาติของตัวแสดงและตลาดซึ่งมีพลังขับเคลื่อนคือผลประโยชน์ส่วนตัว การมีกลไกให้ตัวแสดงทางเศรษฐกิจสามารถประสานความร่วมมือเพื่อจัดการปัญหาจึงเป็นลักษณะเด่นของโครงสร้างนี้ แต่ปัญหาสําคัญของโครงสร้างนี้ คือ กลไกตลาดกับกลไกรัฐมีพลังขับเคลื่อนต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาความร่วมมือ
12. การบริหารเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวแสดงในเครือข่าย โดยที่รัฐยังเป็นตัวกลางประสานงานคือกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบใด
(1) แบบทฤษฎีเกม
(2) แบบโครงสร้างเครือข่าย
(3) แบบปกครองตัวเอง
(4) แบบการมีส่วนร่วม
(5) แบบใช้เรื่องเล่า
ตอบ 1 หน้า 187 กลยุทธ์การจัดการเครือข่ายแบบทฤษฎีเกม ใช้ในการบริหารเครือข่ายที่มีอยู่เดิม โดยไม่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนเครือข่ายหรือตัวแสดงใด ๆ ในเครือข่าย วิธีการสําคัญคือ การเสนอ นโยบายที่ต้องการให้เกิดขึ้นและรวบรวมตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเข้ามาตัดสินใจร่วม กรณีนี้รัฐ ยังเป็นตัวกลางในการประสานสร้างการประนีประนอมให้ทุกตัวแสดงบรรลุผลประโยชน์ของตัวเองโดยที่เป้าหมายนโยบายยังคงอยู่ รัฐต้องเรียกร้องให้ทุกตัวแสดงยอมรับเงื่อนไขใหม่ของการบริหารปกครองและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากร
13. องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ข้อใด
(1) การต่อรอง
(2) ส่วนรวม
(3) ผลประโยชน์หลากหลาย
(4) มีระบบที่เป็นทางการ
(5) ตัวแสดงหลากหลาย
ตอบ 4 หน้า 174 – 175, (คําบรรยาย) องค์ประกอบสําคัญของการบริหารปกครองแบบตัดสินใจ ร่วมกัน มีดังนี้ 1. ตัวแสดงหลากหลาย 2. ผลประโยชน์หลากหลาย 3. เน้นความเป็น ส่วนรวม 4. ไม่ต้องการระบบที่เป็นทางการ 5. เน้นการเจรจาต่อรอง ฯลฯ
14. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(2) ทักษะการควบคุมวง
(3) ทักษะการเจรจา
(4) ทักษะการบังคับบัญชา
(5) ทักษะการบูรณาการ
ตอบ 4 หน้า 188 ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย มีดังนี้
1. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
2. ทักษะการควบคุมวง ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด การเจรจา การต่อรองเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
3. ทักษะการบูรณาการ
15. ข้อใดคือความหมายของตัวการ (Principle) ในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน
(1) หัวหน้าผู้มอบหมายงาน
(2) เจ้าของกิจการ
(3) คณะกรรมการบริหาร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 189, 210, (คําบรรยาย) ตัวแสดงในทฤษฎีการมอบหมายตัวแทน (Theories of Delegation) ประกอบด้วย
1. ตัวการ (Principle) คือ คนที่เป็นเจ้าของกิจการ เป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอํานาจจริงในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
2. ตัวแทน (Agent) คือ คนที่ได้รับมอบอํานาจให้เป็นผู้ดําเนินการแทนผู้มีอํานาจจริง เช่น ผู้จัดการ เป็นต้น
16. การที่ตัวแสดงที่หลากหลายได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการ ไว้แล้ว จะอยู่ในพื้นที่การบริหารปกครองแบบใด
(1) พื้นที่แบบปิด
(2) พื้นที่รับเชิญ
(3) พื้นที่สร้างสรรค์
(4) พื้นที่ประชุม
(5) พื้นที่ของทางราชการ
ตอบ 2 หน้า 201, (คําบรรยาย) พื้นที่รับเชิญ (Invited Spaces) คือ พื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลาย ได้เข้าไปมีส่วนในการดําเนินกิจกรรมตามขอบเขตกระบวนการที่มีการจัดการไว้แล้ว พื้นที่ ลักษณะนี้ให้ความสําคัญกับกระบวนการที่ต้องมีผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อยืนยันว่าการริเริ่ม หรือดําเนินการนั้น ๆ อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมหรือริเริ่มโดยประชาชน
17. หลักการทางเลือกที่มีเหตุผล คือข้อใด
(1) ทุกคนมีเหตุผลภายใต้การเข้าใจและการให้ความหมายสิ่งรอบตัว
(2) ทุกคนไม่มีอิสระแท้จริงในการเลือก
(3) การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผลคือคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
(4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงมีผลต่อการตัดสินใจร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 หน้า 190 ทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนหลักทางเลือกที่มีเหตุผล (Rational Choice) กล่าวคือ บุคคลมีเป้าหมายส่วนตัวที่จะเป็นเงื่อนไขผลักดันให้บุคคลตัดสินใจ ซึ่งจะต้องเลือกผลประโยชน์สูงสุด แต่ทฤษฎีนี้ได้ขยายความการเลือกอย่างมีเหตุผลดังกล่าวว่าบุคคลจะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงผลประโยชน์สูงสุดแต่อยู่บนฐานข้อจํากัดในการประมวล ข้อมูลข่าวสาร การทําความเข้าใจสถานการณ์และการคิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งเป็นผลจากศักยภาพ ของมนุษย์ ดังนั้นกระบวนการตัดสินใจของบุคคลจึงมีความซับซ้อนเพราะการคิดถึงเรื่องประโยชน์สูงสุดวางอยู่ภายใต้การประมวลข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์
18. บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นองค์กรประเภทใด
(1) บรรษัทภิบาล
(2) บรรษัทนิยม
(3) การบริหารงานภาครัฐ
(4) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(5) รัฐวิสาหกิจ
ตอบ 4 หน้า 207 บริษัทประชารัฐรักสามัคคี ได้รับการอธิบายว่าเป็นการดําเนินการในรูปวิสาหกิจ
เพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)
19. อะไรคือแรงผลักดันสําคัญในทฤษฎีการยึดมั่นในหลักเหตุผล
(1) ผลประโยชน์สูงสุด
(2) ข้อมูลข่าวสาร
(3) กฎเกณฑ์ของสังคม
(4) ความเชื่อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
20. โครงสร้างการบริหารปกครองแบบใดที่ใช้กฎหมายเป็นหลักสําคัญในการบริหารปกครอง
(1) แบบตลาด
(2) แบบสายบังคับบัญชา
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบถือหางเสือ
(5) แบบชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ
21. หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่เพราะอะไร
(1) ได้ เพราะมีหลักการของการมีส่วนร่วมและหลักการนิติธรรม
(2) ได้ เพราะมีหลักการของการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการปกครอง
(4) ไม่ได้ เพราะทําให้รัฐอ่อนแอลง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาลสามารถเกื้อหนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ ทั้งนี้เพราะหลักธรรมาภิบาลมีหลักการที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น หลักการมีส่วนร่วม หลักการนิติธรรม หลักความโปร่งใส เป็นต้น
22. อะไรคือเหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้
(1) ทุกประเทศเห็นความสําคัญ
(2) เพราะเป็นเงื่อนไขการได้รับเงินช่วยเหลือ
(3) เป็นระเบียบปฏิบัติระหว่างประเทศ
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 171, (คําบรรยาย) เหตุผลที่ทําให้หลักธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับจากประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็วเมื่อธนาคารโลกประกาศใช้ เพราะหลักธรรมาภิบาลเป็นเงื่อนไขการได้รับเงิน ช่วยเหลือจากธนาคารโลก โดยเหตุผลที่ทําให้ธนาคารโลกต้องกําหนดหลักธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขให้ประเทศต่าง ๆ ที่ขอรับการช่วยเหลือต้องปฏิบัติตามนั้น ก็เพื่อช่วยเหลือให้ประเทศ เหล่านั้นผ่านพ้นกับดักการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจได้
23. การสร้างนโยบายบนฐานทฤษฎีการจัดการเครือข่าย ตัวแสดงใดเป็นตัวแสดงนําสําคัญ
(1) รัฐ
(2) นักวิชาการ
(3) ภาคอุตสาหกรรม
(4) บรรษัท
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 หน้า 186 – 187, (คําบรรยาย) ในทฤษฎีการจัดการเครือข่ายนั้น เครือข่ายจะเป็นตัวแสดงนํา สําคัญในการดําเนินการตั้งแต่ระดับการสร้างนโยบาย การตัดสินใจและการนํานโยบายไปปฏิบัติส่วนภาครัฐจะเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสําคัญในกําหนดกรอบเครือข่ายและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงต่าง ๆ
24. บริบทการบริหารปกครองข้อใดที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลกในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ
(1) พัฒนาศักยภาพรัฐบาล
(2) การก่อรูปและปฏิบัตินโยบาย
(3) รูปแบบการปกครอง
(4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(5) กระบวนการในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 180, (คําบรรยาย) บริบทการบริหารปกครองที่เป็นข้อห้ามสําหรับธนาคารโลก ในการปฏิบัติงานกับประเทศต่าง ๆ ก็คือ เรื่องของรูปแบบการปกครอง เพราะธนาคารโลก ได้มีข้อกําหนดที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองของประเทศผู้ขอรับทุนหรือขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารโลก
25. พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครองคือข้อใด
(1) การแยกแยะตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
(2) สร้างระบบให้เกิดการเจรจาระหว่างตัวแสดง
(3) วิเคราะห์เงื่อนไขของการสร้างนโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 184, (คําบรรยาย) พลวัตการเปลี่ยนแปลงจากการปกครองเดิมสู่การบริหารปกครอง สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. ต้องมีการแยกแยะมิติต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ เครื่องมือ และเงื่อนไขของการสร้าง นโยบายและการนํานโยบายไปปฏิบัติ
2. แยกแยะความหลากหลายของตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างระบบการส่งผ่านและสะท้อนกลับของระบบการแปลงเปลี่ยนซึ่งกันและกันขององค์กรและตัวแสดงเพื่อให้เกิดการเจรจาต่อกันในการสร้างนโยบาย
26. ลักษณะของการบริหารปกครองแบบถือหางเสือ ไม่ใช่ข้อใด
(1) รัฐมีอํานาจควบคุมมาก
(2) รัฐกําหนดทิศทางในกิจการสาธารณะได้
(3) ต้องออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงอํานาจหน้าที่
(4) ไม่มีข้อถูก
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 27. – 31. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ปัจเจกเป็นหน่วยอิสระ กําหนดวิถีชีวิตตัวเองได้ ยอมรับการเลือกตั้ง
(2) เชื่อในศีลธรรมที่อยู่ในตัวของปัจเจก
(3) ต้องการปลดปล่อยประชาชนให้ประชาชนมีอํานาจผ่านการตระหนักรู้
(4) เชื่อมโยงปัจเจกกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(5) ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
27. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองชุมชนนิยม เชื่อว่า ชุมชนมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปที่จะปกครอง และไม่เล็กเกินไปที่จะสร้างวิถีชีวิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนเอง ในแง่นี้การมีส่วนร่วม ของประชาชนในชุมชนจึงเป็นไปได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน ทุกคนในชุมชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและตัดสินใจร่วมกันได้โดยตรงอันเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยทางตรงซึ่งอาศัยฉันทามติของคนในชุมชน แนวคิดนี้จึงเชื่อในการเชื่อมโยงปัจเจกกับบริบทสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ทําให้พวกเขารวมเป็นชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกัน
28. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยม ตระหนักในการมีส่วนร่วมของคนสามัญธรรมดา
แนวคิดนี้เชื่อในศีลธรรมที่ฝังอยู่ในตัวของปัจเจกชนคนทั่วไปซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมและเชื่อในประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนเหล่านั้น การมีส่วนร่วมในมุมมองประชานิยมผูกพันกับ รูปแบบเฉพาะทางการเมือง อํานาจหน้าที่ โครงสร้างและอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถ สร้าง “ความนิยมร่วมกัน” ทั้งในแง่เจตจํานงและประเด็นทั่ว ๆ ไปในสังคม
29. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากคือข้อใด
ตอบ 3 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากวางอยู่บนฐานคิดของ “การปลดปล่อยประชาชน” โดยการเพิ่มอํานาจให้ประชาชนผ่านเครื่องมือสําคัญคือการศึกษาแนวคิดนี้เชื่อว่าเมื่อประชาชนมีการศึกษาจะมีอํานาจท้าทายโครงสร้างทางอํานาจเดิมที่ครอบงํา สังคมอยู่ ทําให้เรียนรู้ที่จะสร้างสังคมใหม่ กล่าวคือ การทําให้สังคมเกิด “การตระหนักรู้”
30. แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรงคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 196 แนวคิดหลักของประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนมีสถานะเป็นพลเมืองสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรงด้วยตนเอง
31. แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตยคือข้อใด
ตอบ 1 หน้า 197 การมีส่วนร่วมในมุมมองเสรีนิยมประชาธิปไตย เชื่อในปัจเจกในฐานะหน่วยที่เป็น อิสระที่สามารถกําหนดวิถีชีวิตและความหมายในการมีชีวิตของตัวเองได้ การมีส่วนร่วมในมุมมองนี้จึงยอมรับการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกําหนดรัฐธรรมนูญ และการทําหน้าที่ของรัฐบาล
32. ข้อใดไม่ใช่ตัวชี้วัดบทบาทของรัฐที่มีการปกครองที่ดี
(1) ความโปร่งใส
(2) ความรับผิดชอบ
(3) การมีส่วนร่วม
(4) ความมีประสิทธิภาพ
(5) ความมีอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 176 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ได้เสนอตัวชี้วัดในการพัฒนาบทบาทของรัฐที่มีลักษณะการปกครองที่ดี 8 ประการ
ได้แก่
1. การมีส่วนร่วม
2. การปกครองตามหลักกฎหมาย
3. ความโปร่งใส
4. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. การตอบสนอง
6. ความรับผิดชอบ
7. การดึงเป็นแนวร่วมอย่างเท่าเทียม
8. ฉันทามติ
ตั้งแต่ข้อ 33 – 35. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ติดตามดูรายการนายกพบประชาชน
(2) ประชามติ
(3) เข้าร่วมต้อนรับคณะรัฐมนตรีที่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ตามคําขอของหน่วยงาน
(4) ประชาพิจารณ์
(5) รับแจกบัตรคนจน
33. การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชนคือข้อใด
ตอบ 2 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับที่อํานาจเป็นของประชาชน (Degree of Citizen Power) เป็นระดับอํานาจการตัดสินใจเป็นของประชาชน แต่มีลักษณะการใช้อํานาจแตกต่างกัน กล่าวคือ ในขั้นที่ 6 จะเป็นการเจรจาต่อรองของอํานาจระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะหุ้นส่วน ในงานนั้น ๆ ในขั้นที่ 7 ประชาชนได้มอบอํานาจให้ผู้แทนไปตัดสินใจแทน ส่วนในขั้นที่ 8 ประชาชน
สามารถควบคุมกระบวนการตัดสินใจได้ ในระดับนี้ประชาชนมีอํานาจในการตัดสินใจ สามารถ เจรจาผลได้ผลเสียกับผู้มีอํานาจเดิมได้ จึงถือเป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การลงประชามติ การออกเสียงเลือกตั้ง การยื่นถอดถอน ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง เป็นต้น
34. การมีส่วนร่วมเทียมขั้นถูกจัดกระทําคือข้อใด
ตอบ 5 หน้า 199 – 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมขั้นถูกจัดกระทํา เป็นระดับการมีส่วนร่วมเทียม หรือไม่มีส่วนร่วม (Pseudo-Participation or Non-Participation) ซึ่งประชาชนจะยังไม่มี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีกลุ่มบุคคลจํานวนน้อยที่มีอํานาจตัดสินใจ ไม่มีการกล่าวถึงเนื้อหาหรือ วิธีการตัดสินใจ ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมนี้ เช่น การรับแจกบัตรคนจน เป็นต้น
35. การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมคือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 200, (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมระดับพิธีกรรมหรือการมีส่วนร่วมบางส่วน (Degree of Tokenism or Partial Participation) ผู้มีอํานาจจะมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มากขึ้น โดยในขั้นที่ 3 (รับฟังข่าวสาร) และขั้นที่ 4 (ปรึกษาหารือ) เมื่อรับฟังแล้วจะเอาใจใส่ นําไปพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการตัดสินใจหรือไม่ก็ได้ ส่วนในขั้นที่ 5 (ปลอบใจ) ประชาชน สามารถให้คําแนะนําแก่ผู้มีอํานาจได้ แต่ในระดับนี้อํานาจการตัดสินใจยังอยู่ที่ผู้มีอํานาจ เช่นเดิม ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมระดับนี้ เช่น การประชาพิจารณ์ เป็นต้น
36.CSR ย่อมาจากข้อใด
(1) Community Social Responsibility
(2) Corporate Social Responsibility
(3) Community Standard Rate
(4) Corporate Standard Rate
(5) Cultural Sociology Revolution
ตอบ 2 หน้า 209 CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ ของบริษัทหรือองค์การภาคเอกชนที่จะมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม
37. ข้อใดไม่ใช่หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล
(1) มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต
(3) สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
(4) ส่งเสริมประชาธิปไตย
(5) มีคุณธรรมจริยธรรม
ตอบ 4 หน้า 212 หลักการสําคัญของบรรษัทภิบาล มี 6 ประการ คือ
1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ 2. มีคุณธรรมจริยธรรม 3. มีความซื่อสัตย์สุจริต 4. มีความโปร่งใส
5. มีความรับผิดชอบ 6. สร้างคุณค่าผลตอบแทนระยะยาว
38. รูปแบบการบริหารเครือข่ายที่รัฐควบคุมผลลัพธ์การทํางานของเครือข่ายผ่านเรื่องเล่ามีลักษณะอย่างไร
(1) เครือข่ายกําหนดภาระหน้าที่และกลไกการทํางานของตัวเอง
(2) รัฐสร้างการรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการให้ตัวแสดงในเครือข่าย
(3) ตัวแสดงในเครือข่ายมีอิสระตามกรอบที่รัฐกําหนด
(4) รัฐกําหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 188, (คําบรรยาย) การบริหารเครือข่ายผ่านเรื่องเล่า เป็นวิธีการที่รัฐสร้างเรื่องเล่า ให้ตัวแสดงในเครือข่ายรับรู้เรื่องมิตร ศัตรูหรือภาพอนาคตที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีเหตุผลของตัวแสดงอิสระในเครือข่าย ในกรณีนี้เมื่อรัฐดํารงสถานะ
ผู้ให้แนวทางจึงยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ทางนโยบายของรัฐได้โดยตรง วิธีการที่รัฐสามารถ นํามาชี้นําการตัดสินใจคือ การบอกเล่าเรื่องราว โดยวิธีการนี้รัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ กระบวนการนโยบายโดยตรง แต่ส่งผ่านการรับรู้ การพิจารณาและการตัดสินใจของ ตัวแสดงในเครือข่ายที่เชื่อว่าตัวเองมีอิสระมากพอที่จะตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
39. ข้อใดอธิบาย “การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชน” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) ชาวกาฬสินธุ์ไปออกเสียงลงประชามติให้สร้างโรงพยาบาลแทนสวนสาธารณะ
(2) ประชาชนติดตามรับฟังข่าวสารจากทางราชการสม่ําเสมอ
(3) ประชาชนไปลงชื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อย
(4) เกษตรกรเข้าอบรมโครงการฟื้นฟูสถานะหนี้สินจาก ธ.ก.ส.
(5) นักศึกษาแสดงออกเรื่องการเมืองในงานกีฬา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ
40. ข้อใดไม่ใช่ทักษะสําคัญของผู้บริหารเครือข่าย
(1) ทักษะการบูรณาการ
(2) ทักษะการบังคับบัญชา
(3) ทักษะการสร้างแรงจูงใจ
(4) ทักษะการควบคุมวง
(5) ทักษะการเจรจา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ
41. ข้อใดคือลักษณะของ “บรรษัทนิยม”
(1) รัฐยังคงบทบาทเป็นผู้ควบคุม
(2) รัฐให้สิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจ
(3) องค์กรเอกชนและเครือข่ายนโยบายร่วมรับผิดชอบโครงการ
(4) บรรษัททําหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 212 บรรษัทนิยม (Corporatism) เป็นรูปแบบการปกครองที่รัฐมีความใกล้ชิดกับองค์กร ทางธุรกิจและแรงงาน ให้ความสําคัญและสิทธิพิเศษกับองค์กรธุรกิจและแรงงานในเครือข่ายนโยบายให้ร่วมรับผิดชอบการริเริ่มและนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยรัฐยังควบคุมความต้องการ รวมทั้งอาจควบคุมองค์การเหล่านั้น ทั้งนี้สํานักราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า บรรษัทนิยม คือ แนวคิดในการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ โดยกําหนดให้บรรษัทซึ่งถือว่าเป็น องค์การตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ มีบทบาทในการร่วมกําหนดนโยบายสาธารณะ ตลอดจน นํานโยบายไปปฏิบัติ
42. ประชาสังคมในแนวคิดการบริหารปกครองมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นหน่วยทางการปกครองของรัฐ
(2) เป็นพื้นที่ที่มีตัวแสดงที่หลากหลายมารวมตัวกัน
(3) สถานที่ประชุมร่วมกันของหมู่บ้าน
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 201 ประชาสังคมเป็นเงื่อนไขสําคัญอันหนึ่งของธรรมาภิบาลที่จะต้องเติบโตในฐานะ “พื้นที่เพื่อการบริหารปกครอง” ซึ่งจะอํานวยความสะดวกให้กับตัวแสดงใหม่ ๆ เข้ามาร่วมใน การพิจารณาและแก้ปัญหาของพื้นที่ตนเองแบบปราศจากลําดับการบังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็น NGOs หรือการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ ซึ่งการที่จะดําเนินการเช่นนี้จําเป็นต้องมีกลไก การมีส่วนร่วมใหม่ ๆ และวิธีดําเนินการใหม่มาเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน
43. ความชอบธรรมในอํานาจการปกครองสามารถพิจารณาได้ดังนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระบอบการปกครอง
(2) ที่มาของอํานาจในการปกครอง
(3) การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
(4) การมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5(คําบรรยาย) ความชอบธรรมในอํานาจการปกครอง สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ระบอบการปกครอง
2. อํานาจอธิปไตย
3. ที่มาของอํานาจในการปกครอง
4. การมอบหมายอํานาจในการปกครอง
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ
44. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย
(1) ผลกําไรต้องแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
(2) ดําเนินการอย่างโปร่งใส
(3) มีเป้าหมายทางสังคม
(4) ตระหนักในความสําคัญของสิ่งแวดล้อม
(5) กลุ่มผู้ผลิตของวิสาหกิจนั้น ๆ ได้รับการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 215 คุณลักษณะของวิสาหกิจเพื่อชุมชนไทย มีดังนี้
1. มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. มีรูปแบบการดําเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน
3. เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
5. ดําเนินการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล
4. มีผลกําไรกลับสู่สังคมและเป้าหมายที่กําหนดไว้
ตั้งแต่ข้อ 45 – 49. ให้นักศึกษาจับคู่คําตอบต่อไปนี้ให้ตรงกับความหมายหรือความเกี่ยวข้องกับ
ข้อความที่ให้มา
(1) สถานประกอบการภาคเอกชน
(2) วิสาหกิจเพื่อสังคม
(3) สถานประกอบการสาธารณะ
(4) การบริหารงานภาครัฐ
(5) รัฐวิสาหกิจ
45. รัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) คือ องค์การ หน่วยงาน หรือบริษัทที่รัฐ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีการดําเนินงานในเชิงธุรกิจซึ่งเกี่ยวโยงกับกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ หรือสาธารณูปการที่มีความสําคัญ หรือจําเป็นต่อการดํารงชีพของประชาชน ดังนั้นการดําเนินงานของรัฐวิสาหกิจจึงมีลักษณะที่มุ่งแสวงหากําไรและนําผลกําไรมาแบ่งปันให้ผู้ถือหุ้นเช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจเอกชน
46. รัฐเป็นเจ้าของมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของสังคม
ตอบ 4 หน้า 214 ลักษณะขององค์กรซึ่งแบ่งตามลักษณะความเป็นเจ้าของและเป้าหมายการสร้างกําไร มีดังนี้
47. สาธารณะเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
49. เอกชนเป็นเจ้าของมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
50. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทมากในการชี้นําในโครงสร้างการบริหารปกครองแบบใด
(1) แบบชุมชน
(2) แบบตลาด
(3) แบบเครือข่าย
(4) แบบสายบังคับบัญชา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ
51. ข้อใดถูกต้อง
(1) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกําหนด
(2) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(3) ศาลปกครองสูงสุดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของกฎที่ออกโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 94 ศาลปกครองสูงสุด มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังนี้
1. คดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกําหนด
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
4. คดีที่กฎหมายกําหนดให้อยู่ในอํานาจศาลปกครองสูงสุด
52. ข้อใดถูกต้อง
(1) ลักษณะของ “กฏโดยสภาพ” เป็นการวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันถ้าเกิดมีขึ้น
(2) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น
(3) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในปัจจุบันถ้าเกิดมีขึ้น
(4) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น
(5) ลักษณะของ “กฎโดยสภาพ” เป็นการวางหลักเฉพาะและใช้บังคับกับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังก็ได้
ตอบ 2 หน้า 95 กฎ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏโดยสภาพ เป็นหลักเกณฑ์ที่กําหนดว่าถ้ามีข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นตรงตามที่กําหนดแล้วก็จะมีผลทางกฎหมายเกิดขึ้นตามที่กฏได้กําหนดไว้ ดังนั้นลักษณะของกฏโดยสภาพจึงเป็น การวางหลักทั่วไปและใช้บังคับกับเหตุการณ์ในอนาคตถ้าเกิดมีขึ้น แต่หากไม่มีเหตุใดเกิดขึ้นกฎนั่นก็ไม่อาจสร้างผลให้เกิดขึ้นได้เลย
2. กฏโดยสมมติ โดยสภาพไม่เป็นกฎตามทฤษฎี แต่ถือว่าเป็นกฎเพื่อให้เกิดผลในกฎหมาย ที่ให้องค์กรทางปกครองตามที่กําหนดสามารถออกกฎได้ กฎโดยสมมติจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก โดยอาจใช้กับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังลงไปก็ได้
53. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎโดยสมมติจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก
(2) กฎโดยสภาพจะมีการบังคับผลในทันทีที่กฎออก
(3) กฎโดยสมมติอาจใช้กับข้อเท็จจริงในปัจจุบันหรือย้อนหลังลงไปก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ
54. ข้อใดเป็นกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี
(1) กฎ ก.พ.
(2) พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนําไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการ ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2527
(3) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 96 – 98 รูปแบบของกฎทางปกครอง มีดังนี้
1. กฎที่เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอํานาจของรัฐธรรมนูญประกอบกับพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนําไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2527
2. กฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี เช่น กฎ ก.พ.
3. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ออกโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง
4. กฎที่เป็นระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่น เช่น ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 ฯลฯ
55. ข้อใดเป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
(1) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(2) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ
ตั้งแต่ข้อ 56. – 60. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักกฎหมายทั่วไป
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง
(3) หลักนิติธรรม
(4) หลักนิติรัฐ
(5) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
56. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กร ของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 4 หน้า 43 – 44 สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มี 3 ประการ ดังนี้
1. บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
2. บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
3. การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ
57. การใช้กฎหมายจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิ
หรือจํากัดสิทธิของประชาชนจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชน สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจหลักอะไร
ตอบ 5 หน้า 44 หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หรือเรียกว่า หลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองนั้น ตามหลักนิติรัฐ หลักในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงหลักความผูกพันต่อกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองเข้ากับ หลักประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน กล่าวคือ การใช้กฎหมายของฝ่ายตุลาการก็ดี หรือฝ่ายปกครอง ก็ดีจะต้องผูกพันต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติอันเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานมาจากตัวแทนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นการกระทบต่อสิทธิหรือจํากัดสิทธิของประชาชนนั้นจะกระทําได้เฉพาะภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านความเห็นชอบจากตัวแทนของประชาชนก่อน
58. หลักการที่สําคัญ คือ ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขา กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครอง จะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมายฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นนั้นหรือไม่ สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 2 หน้า 47 – 48 หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครอง หมายความว่า ฝ่ายปกครองจะกระทําการใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเอกชนคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อํานาจและเฉพาะแต่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นตามหลักการดังกล่าวจึงมีหลักการที่สําคัญอยู่ว่า ก่อนที่จะจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนคนใดคนหนึ่งด้วยการบังคับให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือห้ามมิให้เขากระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ฝ่ายปกครองจะต้องถามตนเองเสมอว่ามีกฎหมาย ฉบับใด มาตราใดให้อํานาจกระทําการเช่นว่านั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีกฎหมายให้อํานาจ ฝ่ายปกครอง จะต้องละความตั้งใจที่จะกระทําเช่นว่านั้น
59. แนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือเจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจาก กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมี การนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น สอดคล้องกับ หลักการควบคุมตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 หลักกฎหมายทั่วไป เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า มีหลักกฎหมายบางอย่างที่อยู่นอกเหนือ เจตนาของผู้บัญญัติกฎหมาย และนอกเหนือจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีอยู่ มีกฎเกณฑ์ บางอย่างที่อยู่ภายนอกและอยู่เหนือเจตนาของศาล จึงอาจมีการนําหลัก เช่น หลักความเสมอภาค หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมาใช้ เป็นต้น
60. ศาลเป็นผู้นําหลักอันเป็นนามธรรม มาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับหลักการควบคุมตรวจสอบ การใช้อําานาจรัฐหลักอะไร
ตอบ 1 หน้า 56 – 57 หลักกฎหมายทั่วไปเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อเป็นหลักประกันหรือพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนจากการใช้อํานาจตามอําเภอใจของฝ่ายปกครอง โดยหลักกฎหมาย ทั่วไปนั้นมิได้เกิดขึ้นตามอําเภอใจของศาล ศาลมิได้สร้างกฎหมายขึ้นมาใช้เอง แต่การยอมรับ หลักกฎหมายทั่วไปของศาลเป็นการนําเอาความเชื่อ ความเห็นของส่วนรวมอันเป็นหลักการ พื้นฐานของระบบการเมืองการปกครองและรากฐานของระบบกฎหมายในสังคมนั้น ๆ มาพัฒนา เป็นหลักกฎหมายทั่วไปเพื่อใช้บังคับกับคดีที่เกิดขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลเป็นผู้นํา หลักอันเป็นนามธรรมมาใช้เป็นหลักที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง
61. ข้อใดเป็นรูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ไม่สุจริต
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 110 – 112 รูปแบบของการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
2. การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญที่กําหนดไว้ สําหรับการนั้น
3. การกระทําที่ไม่สุจริต
4. การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
5. การกระทําที่เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชน เกินสมควร
6. การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
62. กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์ เป็นการกระทํา ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การไม่สุจริต
(2) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(3) เป็นการไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 2 หน้า 112 การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เป็นกรณีของการปฏิบัติที่ขัดต่อ หลักความเสมอภาค มีความลําเอียง มีอคติหรือใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา เพศ สภาพร่างกาย หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน เช่น
– กรณีการเลือกรับเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ โดยอาศัยจํานวนเงินบริจาคเป็นเกณฑ์
– กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
63. กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการต้องแต่งกายสุภาพ ด้วยการใส่สูทและผูกเนคไท เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในรูปแบบใด
(1) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(2) เป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
(3) เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการนอกเหนืออํานาจ
(5) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้
ตอบ 2 หน้า 112 กรณีที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการในสถานที่ราชการ ต้องแต่งกายสุภาพนั้น ไม่ถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐ ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการดังกล่าวต้องใส่สูทและผูกเนคไทด้วย ระเบียบดังกล่าว ย่อมเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นหรือการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควรซึ่งถือเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
64. ข้อใดเป็นการกระทําที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(1) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(2) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องภาษา เพศ สภาพร่างกายมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(3) การปฏิบัติที่ใช้ความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติที่แตกต่างกันแก่บุคคลในฐานะและข้อเท็จจริงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ
65. การที่หน่วยงานของรัฐออกระเบียบกําหนดให้ผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการต้องแต่งกายสุภาพ เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(1) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จําเป็นให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(2) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควร
(3) เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ไม่เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ
66. กรณีการลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นรูปแบบการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด
(1) เป็นการกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) เป็นการกระทําที่ไม่สุจริต
(3) เป็นการกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
(4) เป็นการกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) เป็นการกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
ตอบ 3 หน้า 112 – 113 การกระทําที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ อาจเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐมีอํานาจดุลพินิจ (Discretionary Power) ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้ อํานาจตุลพินิจนั้นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร เช่น กรณีการลงโทษ ทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการ ซึ่งผู้บังคับบัญชาสามารถเลือกได้ว่าจะลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน แต่ผู้บังคับบัญชากลับเลือกโทษที่สูงที่สุด เพราะมีอคติต่อ ข้าราชการผู้นั้น เป็นต้น
ตั้งแต่ข้อ 67 – 71. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หลักความได้สัดส่วน
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลาง
(4) หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง
(5) หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
67. “บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด”
ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 1 หน้า 117 หลักความได้สัดส่วน เป็นหลักการที่บังคับให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกําหนดมาตรการที่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อํานาจได้จริงในการปฏิบัติแต่ในขณะเดียวกันก็ก่อความเสียหายแก่ประชาชนน้อยที่สุด และห้ามมิให้ฝ่ายปกครองออกมาตรการใด ๆ ซึ่งหากได้ลงมือบังคับใช้แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาชนน้อยมาก ไม่คุ้มกับความเสียหายที่จะตกแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม
68.“เป็นอํานาจพิเศษของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ”ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 5 หน้า 127 หลักเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง เป็นเครื่องมือทางกฎหมายมหาชนที่กําหนดให้
นิติบุคคลซึ่งจัดทําหรือกํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะมีอํานาจพิเศษที่แตกต่างไปจาก วิธีการทางกฎหมายเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง หรือเอกสิทธิ์ของ ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นอํานาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองที่มีเหนือเอกชน ใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดทําบริการสาธารณะ
69. “ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการพิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่น ในกระบวนการพิจารณาและวินิจฉัยทางปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตาม
หลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 3 หน้า 122 – 123 หลักความเป็นกลาง หรือความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้มีอํานาจทําการ พิจารณาเพื่อออกคําสั่งทางปกครองหรือลงมติใด ๆ เป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมีเหตุผลรองรับความเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาและ วินิจฉัยทางปกครอง
70. “บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือการไม่เลือกปฏิบัตินั่นเอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทาง ปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 2 หน้า 118 เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ อธิบายว่า ในระบบกฎหมายของฝรั่งเศส หลักความ เสมอภาคปรากฏเป็นที่ยอมรับและผูกพันองค์กรของรัฐในอันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กล่าวโดยเฉพาะในเรื่องความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณะแล้ว ย่อมหมายความว่า บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะเท่าเทียมกันที่จะได้รับหรือได้ใช้บริการสาธารณะ อย่างหนึ่งอย่างใดแล้วจะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือน ๆ กัน หรือ “การไม่เลือกปฏิบัติ” นั่นเอง
71. “เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง” ข้อความนี้ตรงกับการวางแนวทางปฏิบัติราชการตามหลักกฎหมายทั่วไปหลักใด
ตอบ 4 หน้า 123 หลักการฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นหลักการที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่จะปกป้องนิติฐานะของตนจากการใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยผลบังคับของหลักการนี้มีอยู่ว่า ก่อนที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะตัดสินใจใช้อํานาจออกคําวินิจฉัยสั่งการที่อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือประโยชน์อันชอบธรรมของบุคคลใด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่ตนจะใช้เป็นเหตุผลในการออกคําวินิจฉัยสั่งการให้บุคคลนั้นทราบและ ให้เขามีโอกาสโต้แย้งข้อเท็จจริงนั้นและแสดงพยานหลักฐานสนับสนุนข้อโค้งแย้งของตน
72. “เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 152 – 153 หลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะ เป็นหลักเกณฑ์ที่ช่วยให้ การจัดทําบริการสาธารณะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายปกครองหรือมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขและอยู่ดีกินดี ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย
1. หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
2. หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
3. หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
4. หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
5. หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
73. “ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็น ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก มีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้” ข้อความนี้ตรงกับหลักเกณฑ์สําคัญในการจัดทําบริการสาธารณะหลักใด
(1) หลักความเป็นกลางของบริการสาธารณะ
(2) หลักการให้เปล่าของบริการสาธารณะ
(3) หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ
(4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) หลักเฉพาะที่แท้จริงของกฎหมายเกี่ยวกับบริการสาธารณะ
ตอบ 3 หน้า 153 หลักความโปร่งใสของบริการสาธารณะ หมายถึง ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงาน ที่จัดทําบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดบริการสาธารณะประเภทใด จําเป็นต้องมีการ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบได้
74. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ
(1) มาตรการทางกฎหมาย
(2) อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
(3) บุคลากรของรัฐ
(4) ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 40 ฝ่ายปกครองมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทําบริการสาธารณะ 4 ประการ คือ
1. มาตรการทางกฎหมาย
2. บุคลากรของรัฐ
3. ทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะ
4. อํานาจพิเศษของฝ่ายปกครอง
75. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง
(1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
(2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีการยึด
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยการโอนกิจการเป็นของรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5 หน้า 40 การได้มาซึ่งทรัพย์สินในการดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองมี 2 วิธี คือ
1. การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่ง
2. การได้มาซึ่งทรัพย์สินด้วยวิธีพิเศษ ซึ่งมี 3 กรณี คือ การเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ การโอนกิจการเป็นของรัฐ และด้วยวิธีการยึด
76. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักนิติรัฐ
(1) นิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย
(2) การกระทําทั้งหลายขององค์กรรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
(3) กฎหมายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) การกล่าวว่านิติรัฐเป็นรัฐที่ปกครองโดยกฎหมายอาจจะนําไปสู่ ความเข้าใจผิดได้เพราะเป็นการมองแบบแคบ ๆ โดยในทางเนื้อหานั้น คือ เป็นนิติรัฐที่เป็น เสรีนิยม คํานึงถึงความยุติธรรม ส่วนรัฐที่สนใจแต่เพียงกฎหมายในทางรูปแบบ ฝ่ายปกครอง จะผูกพันตนต่อกฎหมาย ไม่สนใจว่ากฎหมายนั้นจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่ (ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ)
77. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
(2) กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจ
หรือความยินยอมจากเอกชน
(3) กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหาร ใช้หลักการกระจายอํานาจ โดยกําหนด ให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65 ชาญชัย แสวงศักดิ์ อธิบายว่า กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐและบุคลากรของรัฐในทาง บริหาร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารงาน บุคคลภาครัฐ เช่น กฎหมายปกครองที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐในทางบริหารโดยใช้ หลักการรวมอํานาจ โดยกําหนดให้มีองค์กรในรูปแบบส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
2. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้ โดยไม่จําเป็นต้องอาศัยความสมัครใจหรือความยินยอมจากเอกชน
3. กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ
78. ข้อใดเป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่รัฐมีมาตรการต่าง ๆ มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่ง ต้องปฏิบัติตาม
(2) การที่รัฐให้ทุนการศึกษา ซึ่งถือเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชน
(3) การที่รัฐตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 กมลชัย รัตนสกาววงศ์ อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง คือ
1. การกระทําที่รัฐเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน เช่น มีมาตรการต่าง มีคําสั่งหรือวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคม ทําให้ประชาชนผู้รับคําสั่งนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตาม
2. มีการกระทําบางอย่างที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การให้เงินช่วยเหลือผู้ประสบ อุบัติเหตุ ให้ทุนการศึกษา หรือให้เงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น
3. การกระทําทางปกครองในลักษณะการวางแผน เช่น การตัดถนน สร้างสนามบิน คลองส่งน้ํา สร้างทางด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งการกระทบสิทธิและให้คุณประโยชน์แก่ประชาชน
79. ข้อใดไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(1) การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
(2) การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
(3) การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 3 ที่ไม่เป็นการกระทําทางปกครอง
(5) ไม่มี เพราะทุกข้อเป็นการกระทําทางปกครอง
ตอบ 5 หน้า 74 – 75 มานิตย์ จุมปา อธิบายว่า การกระทําทางปกครอง หมายถึง
1. การกระทําของรัฐที่ไม่ใช่การกระทําทางนิติบัญญัติ การกระทําทางตุลาการหรือการกระทํา ทางรัฐบาล และ
2. การกระทําของรัฐนั้นมีลักษณะของการกระทําที่กําหนด ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน หรือระงับ ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ตัวอย่างการกระทําทางปกครอง เช่น
-การที่เจ้าหน้าที่มีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําขอ
-การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
-การที่แพทยสภาออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพแพทย์
-การที่สภาทนายความออกคําสั่งเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพว่าความ
80. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะการกระทําทางปกครอง
(1) การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
(2) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
(3) การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 75 นัยนา เกิดวิชัย อธิบายว่า การกระทําทางปกครองมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. การกระทําทางปกครองเป็นการกระทําของรัฐ ไม่ใช่การกระทําของเอกชน
2. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารไม่ใช่องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติหรือองค์กรฝ่ายตุลาการ
3. การกระทําทางปกครองต้องเป็นการกระทําของรัฐที่กระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารประเภทองค์กรฝ่ายปกครอง
4. มีลักษณะเป็นการกําหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน ให้เปลี่ยนแปลงหรือระงับซึ่งสิทธิ
81. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(2) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(3) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(4) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 102 – 104 สิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง มีดังนี้
1. สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2. สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
3. สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
4. สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว และรับแจ้งสิทธิหน้าที่
5. สิทธิได้รับและรับทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
6. สิทธิได้รับทราบถึงแนวทางหรือวิธีการโต้แย้งคําสั่งทางปกครอง
82. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิได้รับและทราบเหตุผลของฝ่ายปกครอง
(3) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยเร็ว
(4) สิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
(5) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิได้รับแจ้ง ผลกระทบต่อสิทธิ แต่ไม่ทุกกรณี กล่าวคือ ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจจะกระทบถึง สิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน แต่มิให้นํามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
2. เมื่อจะมีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
3. เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ)
ตั้งแต่ข้อ 83 – 84. จงใช้คําตอบต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิทุกกรณี
(2) สิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสารแม้ยังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(3) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(4) ผิดเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ผิดเฉพาะข้อ 2 และ 3
83. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
ตอบ 4 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือตรวจดูเอกสารได้ โดยคู่กรณีมีสิทธิตรวจดูเอกสารที่จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีก็ไม่มีสิทธิ ตรวจดูเอกสาร และเจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ (ดูคําอธิบายข้อ 81. และ 82. ประกอบ)
84. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 81. — 83. ประกอบ
85. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณีในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง
(1) คู่กรณีไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงหรือตรวจดูเอกสาร ถ้ายังไม่ได้ทําคําสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(2) เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
(3) คู่กรณีมีสิทธินําทนายหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 ในกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองได้กําหนดให้คู่กรณีมีสิทธิที่จะมีที่ปรึกษาทาง กฎหมายได้ กล่าวคือ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่
คู่กรณีมีสิทธินําทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งการใด ที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทําลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทําของคู่กรณี เว้นแต่ คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น (ดูคําอธิบายข้อ 83. ประกอบ)
86. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังไม่ได้
(2) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(3) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะมีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลังก็ได้ แต่ให้มีผลในอนาคตไม่ได้
(4) หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลัง
หรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 114 หลักในการเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีดังนี้
1. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้
2. การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคําสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กฎหมายกําหนดได้ แต่กฎหมายก็อาจจะต้องไม่เพิกถอนคําสั่งทางปกครองย้อนหลังลบล้างคําสั่งนั้น แต่หากจําเป็นต้องเพิกถอนให้มีผลย้อนหลังก็จะต้องกําหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น
87. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับข้อยกเว้นของผู้รับคําสั่งทางปกครองที่จะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
(1) บุคคลผู้มีพฤติกรรมได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
(2) บุคคลผู้มีพฤติกรรมแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
(3) บุคคลผู้มีพฤติกรรมข่มขู่ หรือชักจูงใจ โดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(4) บุคคลผู้มีพฤติกรรมรู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่ง ทางปกครอง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 115 ในกรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคําสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ และจะต้องรับผิดคืนประโยชน์ที่ได้รับเต็มจํานวน
1. แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
2. ได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสําคัญ
3. รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองในขณะที่ได้รับคําสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
88. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
(2) คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านในสวัสดิการของข้าราชการ
(4) คําสั่งเลื่อนขั้นในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 100 – 101 ฤทัย หงส์ศิริ อธิบายว่า ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า “คําสั่งทางปกครอง” มีตัวอย่างพอสรุปได้ดังนี้
1. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น คําสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ ประกอบกิจการโรงงาน สถานบริการ เป็นต้น
2. คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะ เป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
3. คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
4. คําสั่งรับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
5. คําสั่งทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัว เช่น
-คําสั่งที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ เช่น คําสั่งแต่งตั้ง เลื่อนขั้นตําแหน่ง คําสั่งลงโทษทางวินัย คําสั่งพักราชการในระหว่างสอบสวนทางวินัย เป็นต้น
-คําสั่งเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ เช่น คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษา พยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
89. ข้อใดเป็นคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือให้รื้อถอนอาคารที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสาธารณชนตามกฎหมายควบคุมอาคาร
(2) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่ารักษาพยาบาล
(3) คําสั่งไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ
90. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครองสามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ
(2) เจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทางปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้
(3) ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัยได้ทันที โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 101 โดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยหลักกฎหมายและกําหนดให้เป็นผู้มีอํานาจในการออกคําสั่งทางปกครอง สามารถริเริ่มใช้อํานาจในการออกคําสั่งได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้มาร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกฎหมายกําหนดอํานาจหน้าที่ให้อยู่แล้ว เช่น กรณีผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทําผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการลงโทษทางวินัย ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้ใดมาร้องเรียนกล่าวโทษ แต่ในบางกรณีเจ้าหน้าที่จะริเริ่มออกคําสั่งทาง ปกครองได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนหรือเอกชนมาร้องขอเสียก่อนจึงดําเนินการได้ เช่น ในเรื่องของ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับจดทะเบียน การรับรอง การอนุมัติ การออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ใบอนุญาตจัดตั้งสถานบริการ เป็นต้น
91. คําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องให้มีเหตุผลไว้ด้วย โดยอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบใดเป็นเหตุผลบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 103 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 3 กําหนดว่าคําสั่งทางปกครองที่ทําเป็นหนังสือและยืนยันคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผล
ไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
2. ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
3. ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
92. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) คําสั่งทางปกครองจะต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น
(2) คําสั่งทางปกครองจะทําด้วยวาจาได้
(3) คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ นอกเหนือจากเป็นหนังสือ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 104 คําสั่งทางปกครองจะทําเป็นหนังสือ หรือทําด้วยวาจา หรือโดยรูปแบบอื่นก็ได้ กฎหมายบางฉบับระบุไว้ชัดเจนว่าต้องทําคําสั่งในเรื่องนั้นเป็นหนังสือ แต่ถ้ากฎหมายไม่ระบุไว้ เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิจะเลือกทําคําสั่งในรูปแบบใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจอันเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่นั้นเอง โดยต้องพิจารณาจากความเร่งด่วนและความจําเป็นของ สถานการณ์เป็นสําคัญ
93. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบคําสั่งทางปกครอง
(1) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(2) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะเข้าใจได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 104 – 105 คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทําเป็นหนังสือ ย่อมขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน และคําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย ส่วนคําสั่ง ทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งนั้นร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันสมควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง และคําสั่งทางปกครองที่สื่อความหมายในรูปแบบอื่น ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้
94. ข้อใดผิด
(1) คําสั่งทางปกครองที่สั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคําสั่งร้องขอ และการร้องขอได้กระทําโดยมีเหตุอันควร ต้องกระทําภายใน 7 วันนับแต่วันที่ทําคําสั่ง
(2) คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับทันทีเมื่อเจ้าหน้าที่ออกคําสั่ง
(3) คําสั่งทางปกครองที่กฎหมายกําหนดให้ทําเป็นหนังสือ หากไม่ทํา คําสั่งนั้นย่อมเป็นโมฆะไม่มีผลทางกฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 3 ผิด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 106 คําสั่งทางปกครองเริ่มมีผลบังคับเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งนั้นได้แจ้งคําสั่งทางปกครองนั้นแก่ผู้รับคําสั่งทางปกครองให้ทราบ และมีผลบังคับตราบเท่าที่ยังไม่มีการยกเลิกหรือ เพิกถอน หรือสิ้นผลโดยเงื่อนไขของระยะเวลาหรือโดยเหตุอื่น (ดูคําอธิบายข้อ 93. ประกอบ)
95. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของประโยชน์สาธารณะ
(1) ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
(2) เรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐบาลแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน ของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐบาลได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3) ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 144 – 145 ลักษณะของประโยชน์สาธารณะ สามารถแยกได้เป็น 3 ประการ ดังนี้
1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดําเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ ในสังคม มิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดําเนินการนั้นเอง
2. ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องใดที่ผ่านการพิจารณาและเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนด้วย ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐมีอํานาจดําเนินการในเรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดําเนินการเพื่อตอบสนองความ ต้องการของสังคม จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจเลือกว่าจะกระทําหรือไม่กระทําได้
ตั้งแต่ข้อ 96. – 100. จงเลือกคําตอบที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎหรือคําสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (1)
(1) ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(2) ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้สําหรับการนั้น
(3) ไม่สุจริต
(4) การกระทําที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
(5) การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
96. เกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอํานาจแบบ Discretionary Power ตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อํานาจไว้ แต่ใช้อํานาจ Discretionary Power ไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่มีเหตุอันสมควร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ
97. กรณีของการจัดซื้อจัดจ้าง การที่เจ้าหน้าที่ออกคําสั่งอนุมัติให้ทําสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้เสนอราคารายหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ
98. เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
ตอบ 3 หน้า 111 การกระทําที่ไม่สุจริต เป็นการกระทําที่เป็นการบิดเบือนการใช้อํานาจ (Abuse of Power) โดยมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กฎหมายให้อํานาจ ในเรื่องดังกล่าวไว้ ไม่ว่าจะมีเจตนากลั่นแกล้งผู้อื่น หรือเจตนาทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือของบุคคลอื่น
99. การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาส
บุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 111 การกระทําที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสําคัญกําหนดไว้ สําหรับการนั้น คือ การออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองโดยมิได้ผ่านความเห็นชอบขององค์กรที่ กฎหมายกําหนดให้ต้องให้ความเห็นชอบก่อน หรือการออกคําสั่งลงโทษหรือคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณี โดยไม่ให้โอกาสบุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเท็จจริงและใช้สิทธิโต้แย้งแสดงหลักฐานอย่างเพียงพอ
100. ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทําเช่นนั้นไว้
ตอบ 1 หน้า 110 การกระทําที่ไม่มีอํานาจ หรือนอกเหนืออํานาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้กระทํามิใช่เจ้าหน้าที่ที่กฎหมายให้อํานาจไว้ หรือกฎหมายมิได้ให้อํานาจเจ้าหน้าที่ในการกระทํา เช่นนั้นไว้ตามหลักทั่วไปของกฎหมายปกครองที่ว่า “ไม่มีอํานาจหากไม่มีกฎหมาย”