การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 มาเคียเวลลี่ จัดเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนวสมัย เพราะ
(1) เป็นผู้บุกเบิกวิชาปรัชญาการเมือง
(2) เป็นผู้ประศาสน์ศาสตร์และศิลป์แห่งการปกครอง
(3) เป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
(4) เป็นผู้ให้คําจํากัดความจริยศาสตร์
(5) เป็นผู้อบรมซีซาร์ บอร์เจีย
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคนวสมัย (Modern Time)” โดยเขาเป็นเมธีคนแรกที่บุกเบิกการศึกษาวิชาปรัชญาการเมือง และได้เสนอ ทัศนะที่มีลักษณะผิดแผกไปจากลักษณะความคิดทางการเมือง (เชิงอุดมคติ) ในสมัยกลางอย่าง ชัดเจน ซึ่งจะศึกษาและถ่ายทอดความคิดทางการเมืองในเชิงปรัชญาตามสภาพที่เป็นจริง นอกจากนี้งานเขียนทางการเมืองของเขาส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเป็นพิเศษสําหรับผู้ปกครองในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหาวิธีการ (Means) ที่สามารถปฏิบัติในการที่จะได้มาซึ่งอํานาจ
2 สาเหตุที่นิคโคโล มาเคียเวลลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่สําคัญที่สุดของยุคนวสมัยเพราะเป็นผู้
(1) ศึกษาการเมืองอย่างมีอุดมการณ์
(2) ใฝ่ความเป็นประชาธิปไตย
(3) ศึกษาการเมืองตามสภาพที่เป็นจริง
(4) ฝักใฝ่ความทันสมัย
(5) ใช้สถิติประกอบการศึกษา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3 มาเคียเวลลี ถูกจัดให้เป็นนักปราชญ์คนแรกของยุค
(1) ยุคโบราณ
(2) ยุคกลาง
(3) ยุคนวสมัย
(4) ยุคปฏิรูป
(5) ยุคสงครามกลางเมือง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
4 ผลงานส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่ ผลิตในช่วง
(1) ที่เขาเรืองอํานาจ
(2) ตกอับหมดอํานาจ
(3) ประจําการอยู่ในกองทัพ
(4) อยู่ต่างประเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 1 – 2 มาเคียเวลลี่ เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1469 โดยเขาได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มทั้งในด้านการเมืองและบทละคร ได้แก่ ผู้ปกครองหรือมุขชน (The Prince), บทสนทนา (The Discourses) เป็นต้น ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่นั้นเป็นผลิตผลในช่วงที่เขาตกอับหมดอํานาจวาสนาทางการเมือง
5 มาเคียเวลลี่ ผลิตงานชิ้นสําคัญคือ
(1) Modern Machine
(2) The Fox
(3) The Prince
(4) Magna Carta
(5) The Element of Law
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
6 “ธรรมชาติของมนุษย์”
(1) ความเมตตา
(2) ชอบท้าทายอํานาจ
(3) ความเห็นแก่ตัว
(4) อยากอยู่ร่วมกัน
(5) เกรงกลัวต่ออํานาจ
ตอบ 3 หน้า 2 – 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหา พยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกําไร จึงทําให้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้คนยังปล่อยจิตให้ตกอยู่ภายใต้การครอบงําของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรือรัฐขึ้นมาเพื่อทําให้ละเลิกกิเลสและควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของคนโดยการใช้อํานาจบังคับ
7 มาเคียเวลลี่ เชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้ว
(1) เป็นคนที่เต็มไปด้วยเมตตาธรรม แต่สังคมทําให้เห็นแก่ตัว
(2) เป็นคนเห็นแก่ตัว แต่สังคมทําให้ละเลิกกิเลส
(3) เป็นคนที่เต็มไปด้วยวิจารณญาณ มีคุณธรรม
(4) เป็นคนอ่อนไหวตามสถานการณ์
(5) เป็นคนมุทะลุดุดันเยี่ยงสุนัขจิ้งจอก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ
8 ในผลงานเรื่อง The Prince ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นว่า
(1) การจูงใจมวลชนเป็นภารกิจที่ยากที่สุด
(2) การรักษาไว้ซึ่งอํานาจยากเสียยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอํานาจ
(3) เมตตาธรรมของผู้ปกครองเท่านั้นที่จะครองโลก
(4) ภูมิปัญญาของผู้นําเปรียบเสมือนเข็มทิศของสังคม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 9, (คําบรรยาย) ในหนังสือเรื่อง The Prince นั้น มาเคียเวลลี่เห็นว่าเป้าหมายของการเมืองก็คือ การรักษาหรือเพิ่มอํานาจการเมืองโดยเฉพาะ ซึ่งในการที่จะทําให้บรรลุเป้าหมายนี้ มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่มาเคียเวลลี่ สนใจมากที่สุดก็คือ ทําอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอํานาจไว้ได้ ทั้งนี้เพราะการรักษาไว้ซึ่งอํานาจเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าการได้มาซึ่งอํานาจเสียอีก
9 สาระสําคัญของงานเขียนทางการเมืองมุ่งเน้นในเรื่องใดเป็นพิเศษ
(1) รัฐในอุดมคติ
(2) วิธีการ (Means)
(3) จุดหมายปลายทาง (Ends)
(4) การใช้เล่ห์เหลี่ยม
(5) เสรีภาพของผู้ปกครอง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ
10 ในทัศนะมาเคียเวลลี่ ผู้ปกครองควรมีขันติเพื่อ
(1) ทบทวนท่าทีของศัตรู
(2) ข่มความรู้สึกที่แท้จริง
(3) รับฟังคําวิจารณ์โดยสุจริตใจ
(4) ให้เกิดความยําเกรง
(5) แสดงความเป็นราชสีห์
ตอบ 3 หน้า 5 ในทัศนะของมาเคียเวลลี่นั้น ผู้ปกครองควรมีขันติเพื่อยอมรับฟังคําวิพากษ์วิจารณ์ โดยสุจริตใจของเหล่าขุนนาง เพราะจะทําให้ได้ทราบถึงความเป็นไปที่แท้จริงของสถานการณ์ต่าง ๆ
11 ในทัศนะของมาเคียเวลลี “รัฐ” กําเนิดจาก
(1) การใช้กําลังอํานาจในการบีบบังคับ
(2) ความชาญฉลาดของผู้ปกครอง
(3) การรู้จักสามัคคีของผู้คนในสังคม
(4) ความผูกพันทางภาษาและวัฒนธรรม
(5) ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพในการพิทักษ์ตนเอง
ตอบ 5 หน้า 2 – 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า “รัฐ” หรือสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรือการบันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทักษ์ตนเองให้พ้นจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้ต่างหาก
12 ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิด
(1) สันติภาพ
(2) ความรู้รักสามัคคี
(3) รัฐ
(4) การใช้กําลังอํานาจ
(5) กลุ่มการเมือง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ
13 มาเคียเวลลี่เป็นชาวเมือง
(1) ปารีส
(2) เวนิช
(3) ฟลอเรนซ์
(4) โรม
(5) ปอมเปอี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ
14 มาเคียเวลลี่ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขียนงานของตนเองเพื่อประจบ
(1) ผู้นําตระกูลเมดิซี่
(2) กษัตริย์ของอิตาลี
(3) ผู้นําเมืองฟลอเรนซ์
(4) ผู้นํากรุงโรม
(5) ทรราช
ตอบ 1 หน้า 7 ในงานเขียนเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองนั้น มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดสําหรับอิตาลี แต่มิได้หมายความว่าระบบ การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่มีอํานาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด ซึ่งจากทัศนะดังกล่าวนี้ทําให้มาเคียเวลลี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เขียนงานของตนเองขึ้นมาเพราะต้องการประจบผู้นําตระกูลเมดิซี เพื่อขอตําแหน่งทางการเมืองเท่านั้นเอง
15 คําถามใดเป็นคําถามที่มาเคียเวลลี่สนใจมากที่สุด
(1) เหตุใดอาณาจักรโรมันจึงล่มสลาย
(2) ทําอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถขยายอํานาจได้
(3) ความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร
(4) ทําอย่างไรผู้ปกครองจึงจะสามารถรักษาอํานาจไว้ได้
(5) อะไรคือคุณธรรมที่สําคัญที่สุดสําหรับผู้ปกครอง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ
16 หากการปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่มีแนวโน้มต่อต้านคือ
(1) ทหาร
(2) ขุนนางอํามาตย์
(3) ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า
(4) ปัญญาชน
(5) เครือญาติ
ตอบ 3 หน้า 3 มาเคียเวลลี่ กล่าวว่า ผู้ที่ทําการปฏิรูปจะสร้างศัตรูหรือมีแนวโน้มถูกต่อต้านจากผู้ที่เคยได้รับผลประโยชน์จากแบบแผนเก่า ๆ ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จากระเบียบใหม่ ๆ นั้นอาจจะ สนับสนุนผู้ปกครองคนใหม่ แต่การสนับสนุนนั้นยังหาความมั่นคงไม่ได้ อาจเป็นการสนับสนุนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมั่นคงของสิ่งใหม่รวมทั้งผู้ปกครองใหม่มากนัก
17 ตามทัศนะของมาเคียเวลลี่ ศัตรูโดยธรรมชาติสําหรับนักปฏิรูปคือ
(1) ทหารในระบอบเก่า
(2) เหล่าอํามาตย์ขุนนาง
(3) ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแบบแผนเก่า
(4) ปัญญาชนประเภทอนุรักษนิยม
(5) อาณาจักรข้างเคียง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ
18 มาเคียเวลลี่ สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ
(1) นินทาผู้ปกครอง
(2) เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน
(3) แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย
(4) แสวงหาอามิสสินจ้าง
(5) มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย
ตอบ 2 หน้า 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือกําจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทําลายเสถียรภาพของผู้ปกครอง
19 มาเคียเวลลี่เชื่อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย
(1) การไร้เมตตาธรรม
(2) การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน
(3) การสนับสนุนตัวบุคคล
(4) การขาดเสถียรภาพ
(5) การเน้นแต่เพียงประสิทธิภาพ
ตอบ 4 หน้า 8 มาเคียเวลลี เชื่อว่า ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี แต่ระบบการปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องที่สําคัญ คือการขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็มักจะถูกทําลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก
20 คําพูดใดเป็นแนวความคิดของมาเคียเวลลี
(1) ไม่มีผู้ใดใหญ่ค้ำฟ้า
(2) มนุษย์ย่อมรู้จักความพอเหมาะพอดี
(3) ธรรมชาติสร้างให้คนคิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจแสวงหาได้
(4) ความรักชาติเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญต่อแผ่นดิน
(5) มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่ไม่อาจปฏิเสธชุมชนการเมืองได้
ตอบ 3 หน้า 2 มาเคียเวลลี่ กล่าวว่า ความกระหายของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่รู้จักอิ่ม คนถูกสร้างมาโดยธรรมชาติให้คิดว่าไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจแสวงหาได้ แต่โดยโชคชะตาแล้วคนจะสมปรารถนาในบางสิ่งเท่านั้น ดังนั้นจิตของคนจึงมีความไม่พอใจชั่วนิรันดร์
21 วาทะสําคัญของมาเคียเวลลี่ คือ
(1) การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน
(2) ทหารแก่ไม่เคยตาย เพียงแต่เลือนหายไปจากความทรงจํา
(3) อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมยืนนานกว่าอนุสาวรีย์แห่งอํานาจ
(4) อย่าถามว่าประเทศชาติจะทําอะไรให้ท่าน แต่ควรถามว่าท่านจะทําอะไรให้แก่ประเทศชาติ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) วาทะของบุคคลสําคัญ ๆ มีดังนี้
1 รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อับราฮัม ลินคอล์น
2 ทหารแก่ไม่เคยตาย เพียงแต่เลือนหายไปจากความทรงจํา – ดักลาส แมคอาร์เธอร์
3 อนุสาวรีย์แห่งปรีชาชาญย่อมยืนนานกว่าอนุสาวรีย์แห่งอํานาจ – ฟรานซิส เบคอน
4 อย่าถามว่าประเทศชาติจะทําอะไรให้ท่าน แต่ควรถามว่าท่านจะทําอะไรให้แก่ประเทศชาติ -จอห์น เอฟ. เคนเนดี
22 แนวความคิดที่สําคัญของมาเคียเวลลี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
(1) ภาวะความเป็นผู้นํา
(2) เงื่อนไขระบอบประชาธิปไตย
(3) เผด็จการที่มีคุณธรรม
(4) ยุทธวิธีในการขยายดินแดน
(5) เป้าหมายแห่งรัฐ
ตอบ 1 หน้า 9 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คุณค่าของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผู้นําที่เข้มแข็ง โดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็นผู้วางรูปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยู่ภายใต้การนําของผู้นําที่เข้มแข็ง เสถียรภาพและความไพบูลย์ แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้นได้ ดังนั้นแนวความคิดที่สําคัญของเขาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาวะความเป็นผู้นํานั้นเอง
23 มาเคียเวลลี่ เห็นว่าผู้ที่ได้อํานาจมา ด้วยการสืบสันตติวงศ์ย่อม
(1) ปกครองอย่างเป็นธรรม
(2) มีแนวโน้มจะขยายอาณาจักรได้ง่ายกว่าผู้อื่น
(3) มีศักยภาพในการบําบัดทุกข์บํารุงสุข
(4) มีขนบธรรมเนียมประเพณีรองรับความชอบธรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง คือ การรักษา แบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้ อย่าพยายามเสียงเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมของเดิมเสียใหม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมนั้นสนับสนุนการครองอํานาจอันชอบธรรมของผู้ปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
24 ตามทัศนะของมาเคียเวลลี หนทางในการรักษาไว้ซึ่งอํานาจสําหรับผู้ที่ขึ้นสู่อํานาจด้วยการสืบสันตติวงศ์ คือ
(1) ใช้กําลังเข้าจัดการกับผู้แข็งข้อ
(2) การใช้เมตตาธรรมกับทุกฝ่ายอย่างเสมอหน้ากัน
(3) การใช้นโยบายที่ถูกต้องในการปกครองประเทศ
(4) มีการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย
(5) การดําเนินรอยตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิม
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
25 มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ
(1) ต้องมีพรรคพวก
(2) ต้องมีความเฉลียวฉลาด
(3) ต้องมีความเย่อหยิ่ง
(4) ต้องรักษาสัจจะ
(5) ต้องทําร้ายผู้อื่นลับหลัง
ตอบ 2 หน้า 7 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษควรมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์รวมเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่างราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้นั่นเอง
26 ฮอบส์เป็นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ
(1) ประชาธิปไตย
(2) ธนาธิปไตย
(3) อํามาตยาธิปไตย
(4) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(5) สังคมนิยม
ตอบ 4 หน้า 13, 25, 27 แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือ แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จก็ตาม แต่องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้นจะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อํานาจมาจากการทําสัญญาระหว่างประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรือ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอํานาจให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
27 ฮอบส์ เชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้น 2 ประการ คือ
(1) กิเลสและตัณหา
(2) ความอยากและความไม่อยาก
(3) การเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่ง
(4) ความรุนแรงและความสงบ
(5) โลกียธรรมและโลกุตรธรรม
ตอบ 2 หน้า 16 ฮอบส์ เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นภายใน 2 ประเภท คือ
1 ความอยากหรือความต้องการ (Appetite/Desire)
2 ความไม่อยากหรือความไม่ต้องการ (Aversion)
นอกจากนี้ความรักหรือความเกลียดความดีหรือความชั่ว ก็เป็นความรู้สึกที่เกิดจากแรงกระตุ้นทั้ง 2 ประเภทนี้เช่นเดียวกัน
28 ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง
(1) ในด้านกําลังกาย
(2) ในด้านอวัยวะ
(3) ในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน
(4) ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน
(5) ในด้านการใช้อาวุธ
ตอบ 3 หน้า 16 ฮอบส์ เห็นว่า ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขาอธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกําลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัยเหตุผลแห่งความแตกต่างนี้เป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป ทั้งนี้เพราะว่าแม้คนที่อ่อนแอที่สุดก็มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะกําจัดคนที่แข็งแรงที่สุดได้ ซึ่งถ้าไม่กระทําการด้วยเล่ห์ก็โดยการร่วมมือกับผู้อื่น
29 ในสภาวะธรรมชาติ ฮอบส์เชื่อว่าสังคมการเมือง
(1) ยังไม่เกิดขึ้น
(2) มีแต่การแก่งแย่งชิงดี
(3) ปราศจากกฎหมาย
(4) เต็มไปด้วยนักเลงการเมือง
(5) ขาดความเข้มแข็ง
ตอบ 1 หน้า 17 – 20 สภาวะธรรมชาติในทัศนะของฮอบส์ หมายถึง สภาวะที่ปราศจากรัฐบาลซึ่งอาจจะเป็นสภาวะก่อนที่จะเกิดสังคมการเมือง หรือเป็นสภาวะที่ยังไม่มีผู้ปกครองที่มีอํานาจที่แท้จริงในบ้านเมือง โดยในสภาวะธรรมชาตินั้นทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพ และมีอิสรภาพที่จะทําอะไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตน แต่เมื่อมีความต้องการในสิ่งเดียวกัน ปัญหาการแบ่งปันจึงเกิดขึ้น ทําให้มนุษย์ต้องแข่งขันกันแสวงหาอํานาจเหนือคนอื่นอยู่ร่ำไปจนนําไปสู่ “สภาวะสงคราม” ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด
30 สัญญาประชาคมเป็นสิ่งจําเป็น เพราะ
(1) มนุษย์ขาดวินัย
(2) ความอ่อนแอของพลังศาสนจักร
(3) มนุษย์รักและเคารพกติกา
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบทําร้ายซึ่งกันและกัน
(5) มนุษย์ต้องการความหลุดพ้น
ตอบ 4 หน้า 21, 24 ฮอบส์ เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมถือเป็นข้อตกลงระหว่างมนุษย์ที่จะยุติการกระทําอันตรายต่อกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การทําสัญญาประชาคม ก็คือ การสละสิทธิ์ ตามธรรมชาติในส่วนที่จะทําร้ายผู้อื่นเพื่อปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย ดังนั้นการบอกเลิกสัญญาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่พึงกระทํา เพราะจะขัดแย้งกับกฎธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์จะไม่ทําอะไรที่เป็นการทําร้ายตัวเอง
31 ฮอบส์เชื่อว่ามนุษย์เราสมัครใจมอบอํานาจให้แก่ผู้อื่น เพราะ
(1) เป็นธรรมชาติของการเมือง
(2) ต้องการป้องกันตนเองจากภัยภายนอก
(3) เพื่อพิทักษ์เสรีภาพ
(4) เพื่อยุติความทะเยอทะยานของผู้มีอํานาจ
(5) เป็นความประสงค์ของพระเจ้า
ตอบ 2 หน้า 21 ฮอบส์ เชื่อว่า การที่มนุษย์สมัครใจยอมมอบอํานาจให้แก่ผู้อื่นนั้น เป็นเพราะว่ามนุษย์ต้องการป้องกันตนเองจากการรุกรานจากภายนอก และต้องการป้องกันไม่ให้มนุษย์ ทําอันตรายต่อกันและกัน
32 ฮอบส์เชื่อว่าสภาวะแห่งพันธะสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อองค์อธิปัตย์
(1) ถูกโค่นล้มโดยปวงชน
(2) ไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน
(3) ตกลงกับปวงชนที่จะยกเลิกสัญญา
(4) ถูกโค่นล้มโดยขุนนางอํามาตย์
(5) ถูกรัฐอื่นรุกราน
ตอบ 2 หน้า 24 ฮอบส์ เห็นว่า ในกรณีที่องค์อธิปัตย์ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนได้ หรือไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้ ก็หมายความว่า เขาได้สูญเสียอํานาจและหมดสภาพความเป็นองค์อธิปัตย์ไปแล้วโดยปริยาย สภาวะแห่งพันธะสัญญาก็จะสิ้นสุดลง แต่ละคนก็จะตกอยู่ในสภาวะธรรมชาติตามเดิม
33 ผลอะไรจะเกิดขึ้นตามมา หากผู้ปกครองถึงแก่กรรมลงภายหลังที่สัญญาประชาคมได้กระทําไปแล้ว
(1) สิ้นสุดสัญญา สังคม และรัฐ
(2) สัญญายังคงผูกมัดคู่สัญญา
(3) สัญญาที่ผูกมัดก็หมดโดยปริยาย
(4) เสียงข้างมากสามารถแก้ไขสัญญาเดิมได้
(5) เลือกตั้งผู้ปกครองใหม่แทนคนเก่า
ตอบ 1 หน้า 22 – 24 ฮอบส์ เห็นว่า การจัดตั้งรัฐเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคม ซึ่งองค์อธิปัตย์จะมีฐานะเป็นคนธรรมดา (Natural Person) และเป็นคนสมมุติ (Artificial Person) โดยฮอบส์ ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกัน ดังนั้นถ้าไม่มีคนธรรมดา (ผู้ปกครองหรือองค์อธิปัตย์) ที่มีอํานาจบังคับใช้เจตนารมณ์แล้ว ก็ย่อมจะเป็นการสิ้นสุดสัญญาสังคม และรัฐ มนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติเหมือนเดิม
34 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น “องค์อธิปัตย์ไม่มีวันที่จะกระทําผิด” ข้อความที่ขีดเส้นใต้อธิบายได้ จากเหตุผลใด
(1) การผูกมัดจากสัญญา
(2) การไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา
(3) การปฏิบัติไปตามตัวบทกฎหมาย
(4) การเป็นตัวแทนเจตจํานงทั่วไป
(5) การเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 24 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์จะทําหน้าที่เป็นเพียงผู้รับมอบอํานาจตามที่คู่สัญญา หรือประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพัน ใด ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามหรือรับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็นผู้ที่อยู่นอกเหนือสัญญาแล้ว ก็จะไม่มีการกระทําใด ๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์จะทําอะไรก็ไม่มีความผิดนั่นเอง
35 คําว่า “ความยุติธรรม และ อยุติธรรม” ใช้เกณฑ์อะไรเป็นเครื่องตัดสิน
(1) กฎหมาย
(2) ผลประโยชน์ส่วนรวม
(3) สัญญา
(4) ความสามัคคี
(5) ความชอบธรรม
ตอบ 3 หน้า 26 ในทัศนะของฮอบส์นั้น ความยุติธรรมหรืออยุติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการทําสัญญาประชาคมแล้ว กล่าวคือ เมื่อได้ทําสัญญากันแล้ว ผู้ละเมิดสัญญาหรือการไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็คือความอยุติธรรม ส่วนความยุติธรรมก็คือสิ่งที่ไม่อยุติธรรมหรือการปฏิบัติตามสัญญานั้นเอง
36 เพราะเหตุใดผู้ใต้ปกครองถึงไม่บอกเลิกสัญญาประชาคม
(1) การบอกเลิกสัญญาเป็นการทําร้ายตัวเอง
(2) การบอกเลิกสัญญาเป็นการปฏิวัติ
(3) การบอกเลิกก่อความวุ่นวายทางการเมือง
(4) การบอกเลิกก่อให้เกิดรัฐบาลทรราช
(5) เงื่อนไขสัญญากําหนดไว้แล้วว่าบอกเลิกไม่ได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
37 “สภาวะสงคราม” เกิดขึ้น ณ ที่ใด
(1) สภาพธรรมชาติ
(2) สังคมการเมือง
(3) สังคมบุพกาล
(4) สังคมสมัยใหม่
(5) สังคมเกิดจากสัญญา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
38 เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทําแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่
(1) รัฐ
(2) รัฐบาล
(3) สังคม
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 22, 38, (คําบรรยาย) ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทําขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็นการกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติตามเดิม เนื่องจากฮอบส์ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกันนั่นเอง
39 เมื่อทําสัญญาประชาคมแล้ว ผู้ใต้ปกครองสามารถทําอะไรได้บ้าง
(1) เปลี่ยนตัวผู้ปกครอง
(2) การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งคราว
(3) การไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นบางครั้ง
(4) การถอดถอนองค์อธิปัตย์
(5) การบอกเลิกสัญญาที่ทําไปแล้ว
ตอบ 5 หน้า 24, (คําบรรยาย) ฮอบส์ อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงหรือถอดถอนองค์อธิปัตย์นั้นแม้จะกระทํามิได้ แต่ประชาชนในฐานะผู้ใต้ปกครองก็มีสิทธิขัดขืนต่อองค์อธิปัตย์ได้ นั่นคือ เมื่อประชาชนตกอยู่ในสภาวะอันตรายเนื่องด้วยองค์อธิปัตย์จะทําลายชีวิตของตนเองแล้ว การใช้สิทธิ ตามธรรมชาติเพื่อการคุ้มครองตนเองของมนุษย์ย่อมกระทําได้ ทั้งนี้โดยการร่วมกันบอกเลิกสัญญาที่ทําไปแล้วเพื่อเริ่มต้นทําสัญญากันใหม่
40 “อํานาจอธิปไตย” อันเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคมเป็นของใครโดยเฉพาะ
(1) ประชาชน
(2) สภาผู้แทนราษฎร
(3) คณะรัฐมนตรี
(4) คู่สัญญา
(5) บุคคลที่สาม
ตอบ 5 หน้า 21 – 22, 24 ฮอบส์ เห็นว่า อํานาจร่วม (Common Power) หรือการก่อตั้งรัฏฐาธิปัตย์นั้นเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคมระหว่างคนทุกคนที่เป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกัน ที่จะมอบอํานาจและสละสิทธิตามธรรมชาติของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญา แต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อํานาจร่วมหรืออํานาจอธิปไตยโดยอํานาจอธิปไตยนี้ถือเป็นอํานาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์
41 ล็อคถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กําเนิดแนวความคิด
(1) อนุรักษนิยม
(2) ประชานิยม
(3) เสรีนิยม
(4) สังคมนิยม
(5) วัตถุนิยมวิภาษวิธี
ตอบ 3 หน้า 31 – 32 ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กําเนิดแนวความคิดเสรีนิยม นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักคิด ทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
42 นอกจากความมีเหตุผลแล้ว ล็อคเชื่อว่ามนุษย์ยังมี
(1) ความเมตตาและการใฝ่สันติ
(2) ความดุร้ายและการแก่งแย่งชิงดี
(3) ความเฉลียวฉลาดและการชิงไหวชิงพริบ
(4) ความซื่อสัตย์และความตรงไปตรงมา
(5) ความฝันและจินตนาการอันสูงส่ง
ตอบ 1 หน้า 33 ล็อค เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีคุณสมบัติประจําตัว คือ ความมีเหตุผลอันเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้แก่มนุษย์ทุกคน ซึ่งนอกจากความมีเหตุผลแล้ว มนุษย์ยังมีความเมตตาธรรม ใฝ่สันติ และสุขุมรอบคอบอีกด้วย
43 ล็อคได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแหงวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อิตาลี
(3) ฝรั่งเศส
(4) ฮอลแลนด์
(5) เยอรมนี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
44 ความมีเหตุผลของมนุษย์ ล็อคเชื่อว่าเกิดจาก
(1) พระผู้เป็นเจ้า
(2) การเอาตัวรอด
(3) การมีปัญญา
(4) ประสบการณ์
(5) พรสวรรค์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ
45 ผู้ใดที่ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางความคิดของล็อค
(1) มองเตสกิเออ
(2) รุสโซ
(3) เดอ ทอคเกอร์วิลล์
(4) เฮเกล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ
46 ข้อใดเป็นแนวความคิดของล็อค
(1) คนคือสัตว์การเมือง
(2) มนุษย์เกิดมาพร้อมความป่าเถื่อน
(3) มนุษย์มีเหตุผลและมีเมตตาธรรม
(4) ไม่มีสังคมใดที่มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์
(5) ความเสมอภาคได้มาด้วยการต่อสู้
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ
47 ล็อคเห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดจาก
(1) การถ่ายโอนเป็นมรดกตกทอด
(2) การประกาศความเป็นเจ้าของ
(3) การยอมรับความเป็นเจ้าของของผู้ใดผู้หนึ่งโดยผู้อื่น
(4) การใช้แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ
(5) การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย
ตอบ 4 หน้า 34 ล็อค เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมดเป็นของทุกคน (ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจากร่างกาย เคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสมทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย
48 ล็อคเห็นว่าสัญญาประชาคมเกิดขึ้นโดย
(1) ผู้ที่เข้มแข็งกว่าหยิบยื่นให้
(2) การตกลงทําสัญญาสันติภาพ
(3) อัตโนมัติตามสภาวะธรรมชาติ
(4) ความเกรงกลัวต่อภัยคุกคามจากภายนอก
(5) การยินยอมสมัครใจเพื่อการดํารงอยู่ร่วมกัน
ตอบ 5 หน้า 36 ล็อค เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดํารงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะ ดํารงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง และเป็นความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วมหรือมีความมั่นคงกว่าเดิม
49 “สภาวะสงคราม” ในทัศนะของล็อค หมายถึง
(1) ความขัดแย้งทําลายเสรีภาพ
(2) สงครามระหว่างรัฐ
(3) การใช้กําลังเข้ายึดอํานาจ
(4) สภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ
(5) ความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง
ตอบ 1 หน้า 35 ล็อค เห็นว่า ข้อบกพร่องของสภาวะธรรมชาติเป็นสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกระทั่งนําไปสู่ “สภาวะสงคราม” ซึ่งจะทําลายเสรีภาพของมนุษย์ในที่สุด
50 ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะสูงสุดหรือ Supreme Power นั้นตรงกับข้อใด
(1) เป็นองค์อธิปัตย์
(2) เป็นที่มาของฝ่ายบริหาร
(3) เป็นองค์กรที่ใช้สิทธิพิเศษ
(4) เป็นองค์กรที่แสดงเจตจํานงของรัฐ
(5) เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน
ตอบ 5 หน้า 39 – 40 ในทัศนะของล็อคนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออํานาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power) ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน เท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้เป็นองค์กรที่ใช้อํานาจอธิปไตยหรือเป็นองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจสูงสุดภายในรัฐแต่อย่างใด
51 ระบบการเมืองตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด
(1) รัฐสภา
(2) ประธานาธิบดี
(3) ถึงประธานาธิบดี
(4) กิ่งรัฐสภา
(5) แบบผสมระหว่าง 1 กับ 2
ตอบ 1 หน้า 38 – 41, (คําบรรยาย) ตามหลักสัญญาประชาคมของล็อคนั้น เมื่อมนุษย์ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมการเมืองแล้ว สิ่งแรกที่จําเป็นต้องดําเนินการคือ การสถาปนาองค์กรที่ ใช้อํานาจนิติบัญญัติขึ้นมาเพื่อวางแนวทางในการดําเนินงานหรือกําหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหาร นําไปปฏิบัติ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอิสระที่จะทําอะไรตามเจตจํานงของตน ทั้งนี้เพราะการใช้อํานาจของฝ่ายบริหารนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติกําหนดขึ้น ซึ่งจากหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด
52 เมื่อสัญญาได้กระทํากันแล้ว สิทธิในทรัพย์สินถูกเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร
(1) มีความมั่นคงกว่าเดิม
(2) มีความมั่นคงน้อยกว่าเดิม
(3) เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
(4) กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม
(5) กลายเป็นที่มาแห่งสิทธิในทรัพย์สิน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ
53 หากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนจะต้องทําอะไรในอันดับต่อไป
(1) ทําสัญญาก่อตั้งสังคมใหม่
(2) เลือกตั้งรัฐบาลใหม่
(3) ดูแลความปลอดภัยให้แก่ตนเอง
(4) ใช้สิทธิพิเศษ
(5) ใช้อํานาจสหพันธ์
ตอบ 2 หน้า 38, 43, คําบรรยาย) ล็อค กล่าวว่า รัฐบาลกับสังคมไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสามารถกระทําได้โดยไม่กระทบต่อสังคม ดังนั้นหากรัฐบาลถูกยุบ ประชาชนต้องทําการเลือกตั้งหรือสถาปนารัฐบาลขึ้นใหม่ ที่เรียกว่าเปลี่ยนความยินยอม ซึ่งต้องเป็นไปตามเสียงข้างมากเท่านั้น
54 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่ถือได้ว่าเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง
(1) ประชาชนทั้งหมด
(2) ประชาชนส่วนใหญ่
(3) ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
(4) ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐบาล
(5) ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 40 ล็อค เห็นว่า ประชาชนทั้งมวล (ประชาชนทั้งหมด) จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง แต่สามารถใช้อํานาจอธิปไตยได้เป็นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาลถูกยุบเท่านั้น
55 ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเสียงข้างมากของประชาชนตามหลักแห่งสัญญาประชาคม คือผู้ใด
(1) นิติบัญญัติ
(2) บริหาร
(3) ตุลาการ
(4) ทรัสตรี
(5) องค์อธิปัตย์
ตอบ 2 หน้า 36 – 38 ตามหลักการแห่งสัญญาประชาคมนั้น ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนาสังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการสถาปนารัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของประชาชน
56 รุสโซ เชื่อว่าแม้ว่าสภาพธรรมชาติจะเป็นสภาพที่น่าอยู่ แต่สังคมการเมืองเกิดขึ้นเพราะ
(1) มนุษย์เราเป็นสัตว์การเมือง
(2) มนุษย์เราชอบทดลองสังคมรูปแบบใหม่
(3) มนุษย์เราต้องการความสมบูรณ์โดยการอยู่อาศัยร่วมกัน
(4) มนุษย์เราต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่ป่าเถื่อน
(5) มนุษย์เราไม่มีทางเลือกอื่น
ตอบ 3 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การเกิดสังคมการเมืองเป็นผลมาจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ต้องการความสมบูรณ์โดยการอาศัยอยู่ร่วมกัน แม้ว่าจะมีส่วนทําลายความบริสุทธิ์ และความดีงามของมนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งที่มนุษย์ได้รับการทดแทนจากการสูญเสียความบริสุทธิ์และความดีงามในสังคมการเมืองสมัยใหม่นั้นก็คือ ความสมบูรณ์ทางจิตใจ
57 สิ่งที่มนุษย์ได้มาทดแทนกับการสูญเสียความบริสุทธิ์และความดีงามในสังคมการเมืองนั้นคืออะไร
(1) ความเสมอภาค
(2) สันติภาพ
(3) เสรีภาพทางการเมือง
(4) ความปลอดภัย
(5) ความสมบูรณ์ทางจิตใจ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ
58 การที่มนุษย์ห่างไกลธรรมชาติ สิ่งที่เขาได้รับนั้นคืออะไร
(1) ความเจริญก้าวหน้า
(2) ความอุดมสมบูรณ์
(3) การสูญเสียความบริสุทธิ์
(4) ความมีเหตุผล
(5) ความยุติธรรม
ตอบ 3 หน้า 66 รุสโซ ได้ชี้ให้เห็นถึงความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทํานองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทําให้คนหนีไกลออกไปจากธรรมชาติ และถ้ามนุษย์ยิ่งห่างไกล ธรรมชาติมากเท่าใด ก็ยิ่งทําให้ความบริสุทธิ์และคุณงามความดีซึ่งเป็นคุณสมบัติประจําตัวของมนุษย์ลดน้อยลงมากเท่านั้น
59 “สิ่งที่มนุษย์ได้รับการทดแทนจากการเสียความบริสุทธิ์ในสังคมสมัยใหม่”
(1) ความเสมอภาคทางการเมือง
(2) ความเสมอภาคในกรรมสิทธิ์
(3) ความสมบูรณ์ในการดํารงชีพ
(4) ความปลอดภัยในชีวิต
(5) ความสมบูรณ์ทางจิตใจ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ
60 “การเสียความบริสุทธิ์ของมนุษย์
(1) สังคมธรรมชาติ
(2) สังคมการเมือง
(3) สังคมเมือง
(4) สังคมที่พัฒนาแล้ว
(5) สังคมบุพกาล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ
61 สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความไม่เท่าเทียมกันในสภาวะธรรมชาติ”
(1) ร่างกาย
(2) เสรีภาพ
(3) ทรัพย์สิน
(4) ความเสมอภาค
(5) ความปลอดภัยในชีวิต
ตอบ 1 หน้า 69, 75 รุสโซ เชื่อว่า สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีแต่สันติภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาคอย่างบริบูรณ์เท่าเทียมกัน แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีความไม่เท่าเทียมกันโดย ธรรมชาติอยู่บ้างบางประการ เช่น ความแข็งแรงของร่างกาย ความมากน้อยของอายุ เพศ พละกําลัง ความสามารถของสติปัญญา เป็นต้น
62 “ผลอันเกิดจากที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์”
(1) สภาวะสงคราม
(2) ความอิจฉาริษยา
(3) ความขยันขันแข็ง
(4) การร่วมมือกับผู้อื่น
(5) ความสุขในอนาคต
ตอบ 4 หน้า 69 รุสโซ อธิบายว่า การมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมธรรมชาติย่อมจะหาความสมบูรณ์ได้ยาก เพราะว่าความสมบูรณ์นั้นมนุษย์หาได้จากการร่วมมือหรือการพึ่งพิงบุคคลอื่น เท่านั้น ดังนั้นผลอันเกิดจากการสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่มนุษย์ต้องการความสมบูรณ์ก็คือการร่วมมือระหว่างกันหรือการร่วมมือกับผู้อื่นนั่นเอง
63 “ความไม่สมบูรณ์
(1) สังคมธรรมชาติ
(2) สังคมการเมือง
(3) สังคมเมือง
(4) สังคมอุตสาหกรรม
(5) สังคมบุพกาล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ
64 มนุษย์สามารถสนองตอบต่อสัญชาตญาณที่ต้องการความสมบูรณ์ได้โดยวิธีใด
(1) การแข่งขันระหว่างกัน
(2) การร่วมมือระหว่างกัน
(3) การดํารงชีพแบบต่างคนต่างอยู่
(4) การทําสัญญาประชาคม
(5) การทําอะไรตามใจปรารถนา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ
65 “รัฐบาล” ตามแนวคิดสัญญาประชาคม หมายถึงบุคคลหรือสถาบันใด
(1) นิติบัญญัติ
(2) บริหาร
(3) ตุลาการ
(4) องค์อธิปัตย์
(5) ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 79 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคม รุสโซ อธิบายว่า “รัฐบาล” หมายถึงผู้ที่ใช้อํานาจบริหารซึ่งมีฐานะเป็นเพียงแค่องค์กรที่รับมอบอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชนเท่านั้น อีกทั้งรัฐบาล เป็นเพียงคณะบุคคลที่นําเอาเจตจํานงทั่วไปมาปฏิบัติ รัฐบาลไม่ใช่องค์อธิปัตย์ เนื่องจากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นผลมาจากกฎหมายมิใช่เป็นการทําสัญญา
66 “ผลที่ตามมาจากการทําสัญญาประชาคม
(1) ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่โดยกฎหมาย
(2) ความรู้สึกที่ไม่ถูกกดขี่จากองค์อธิปัตย์
(3) การมีอิสรภาพทางการเมือง
(4) การมีหลักประกันความปลอดภัย
(5) การมีหลักประกันการใช้ทรัพย์สิน
ตอบ 1 หน้า 73 – 76 รุสโซ เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาประชาคมมี 2 ประการ ได้แก่
1 เสรีภาพ (แบบใหม่) อันเกิดจากการออกกฎหมายมาใช้บังคับตนเอง ซึ่งทําให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าไม่ถูกกดขี่จากกฎหมาย
2 ความเสมอภาค เป็นภาวะที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตยหรือเจตจํานงทั่วไป และการเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย
67 แนวความคิดใดที่ไม่ใช่แนวคิดของรุสโซ
(1) สัญญาประชาคม
(2) เสรีภาพและความเสมอภาค
(3) เจตจํานงทั่วไป
(4) สุนัขจิ้งจอกกับราชสีห์
(5) ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 69 – 77, (คําบรรยาย) แนวความคิดที่สําคัญของรุสโซ ได้แก่
1 การเกิดระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว จะนําไปสู่ความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์
2 มนุษย์เราเกิดมาย่อมใฝ่หาเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
3 การปฏิเสธเสรีภาพ คือ การปฏิเสธในการแยกแยะสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก
4 มนุษย์เราเกิดมาถูกจองจําในอาณาจักรแห่งความคิด
5 คนจะยินดีอยู่ในรัฐมากขึ้นเมื่อมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายมากขึ้น
6 การทําสัญญาประชาคมจะก่อให้เกิดเสรีภาพ (แบบใหม่) และความเสมอภาคขึ้น
7 เจตจํานงทั่วไปคือเจตจํานงของคนทุกคน
8 ความเน่าเฟะของวิทยาศาสตร์ในทํานองว่าความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะและวิทยาศาสตร์จะทําให้คนหนีไกลออกไปจากธรรมชาติ เป็นต้น
68 รุสโซ เชื่อว่ามนุษย์เราจะปราศจากเสรีภาพหากปราศจาก
(1) กฎหมายที่เป็นธรรม
(2) ผู้นําที่ทรงคุณธรรม
(3) ระบบการตรวจสอบที่ดี
(4) ความเสมอภาค
(5) หลักประกันทางกฎหมาย
ตอบ 4 หน้า 81 รุสโซ เชื่อว่า ถ้ามนุษย์ปราศจากเสียซึ่งความเสมอภาค การใช้เสรีภาพของมนุษย์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคน ๆ หนึ่งตกเป็นทาสของอีกคนหนึ่งนั้นหมายถึงว่า เขาได้สูญเสียความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ไปแล้ว เสรีภาพของเขาจึงขึ้นอยู่กับผู้เป็นนายเท่านั้น
69 “เสรีภาพแบบใหม่” อันหมายถึงการเคารพเชื่อฟังเจตจํานงของตนเองนั้นเกิดขึ้นจากอะไร
(1) การเคารพกฎหมายที่ดี
(2) การเชื่อฟังเจตจํานงทั่วไป
(3) การใช้เหตุผลกํากับการกระทํา
(4) การใช้สิทธิเลือกตั้ง
(5) การกระทํานอกเหนือจากที่กฎหมายห้าม
ตอบ 2 หน้า 78 รุสโซ เชื่อว่า เสรีภาพแบบใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีส่วนในการบัญญัติกฎหมายหรือการร่วมกันแสดงเจตจํานงทั่วไป และขณะเดียวกันก็เคารพกฎหมายหรือเชื่อฟังเจตจํานงทั่วไปที่ตนเองเป็นผู้บัญญัติขึ้น
70 ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอํานาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อํานาจของตนเมื่อใด
(1) เป็นรัฐบาล
(2) บัญญัติกฎหมาย
(3) ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
(4) เปลี่ยนแปลงรัฐบาล
(5) ทําสัญญาประชาคม
ตอบ 2 หน้า 78 รุสโซ เห็นว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด (ประชาชนทั้งมวล)และประชาชนสามารถใช้อํานาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทําหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่าในการบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอํานาจเต็มที่ไม่ต้องเชื่อฟังใคร
71 แนวความคิดใดของเฮเกลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่องอํานาจทางการเมืองการปกครอง
(1) รัฐ
(2) ครอบครัว
(3) พระเจ้า
(4) องค์อธิปัตย์
(5) สังคมเข้มแข็ง
ตอบ 1 หน้า 116, 121 ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล โดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็นสถาบันที่มีอํานาจสูงสุดในสังคม ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ทําให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคม
72 เหตุผลใดที่เฮเกลใช้ในการสนับสนุนความคิดที่ว่า รัฐควรเป็นสถาบันที่มีอํานาจสูงสุดในสังคม
(1) รัฐเป็นผู้ทําให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองเป็นจริงขึ้นมา
(2) การเปลี่ยนแปลงสังคมแบบรุนแรงและถอนรากถอนโคน
(3) ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล
(4) รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
(5) รัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
73 ข้อใดเป็นคําอธิบายการเกิดขึ้นของรัฐที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกล
(1) ครอบครัวเป็น Thesis, รัฐเป็น Antithesis, ก่อให้เกิดสังคมพลเรือนซึ่งเป็น Synthesis
(2) รัฐเป็นการผสมผสาน (Synthesis) ระหว่างครอบครัวกับสังคมพลเรือน
(3) ครอบครัวเป็น Antithesis ต่อสังคมพลเรือน ทําให้จําเป็นต้องสถาปนารัฐขึ้นมา
(4) สังคมพลเรือนเป็น Synthesis อันเป็นผลมาจากการปะทะขัดแย้งกันระหว่างรัฐกับครอบครัว
(5) รัฐเป็น Antithesis ทั้งต่อครอบครัวและสังคมพลเรือน
ตอบ 2 หน้า 116 – 117, 121 ตามแนวคิดเรื่องกระบวนการวิภาษวิธีของเฮเกลนั้น รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างครอบครัว (ความรัก) ซึ่งเป็น Thesis กับสังคมพลเรือน (การแข่งขัน) ซึ่งเป็น Antithesis ดังนั้นรัฐจึงถือได้ว่าเป็นภาวะผสมผสาน (Synthesis) ซึ่งมีความสมบูรณ์กว่าคือ มีเหตุมีผลและเสรีภาพมากกว่านั้นเอง
74 ตามแนวความคิดเรื่องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่งความเป็นจริงออกเป็น 2 ส่วน อะไรบ้าง
(1) สสารกับอสสาร
(2) จิตกับกาย
(3) จิตกับวัตถุ
(4) ตัวตนและไม่ใช่ตัวตน
(5) กายภาพกับชีวภาพ
ตอบ 1 หน้า 110 ในเรื่องจิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่
1สสาร คือ เป็นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้
2 อสสาร คือ ไม่เป็นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้
75 อะไรเป็นเหตุที่ทําให้เฮเกลได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาคนสําคัญในสํานัก “จิตนิยม”
(1) เน้นความสําคัญของ “จิต” ว่าเป็นต้นกําเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงในโลก
(2) เน้นสิ่งที่มองเห็นไม่ได้ว่าอยู่เหนือสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา
(3) “อรูป” สําคัญกว่า “รูป”
(4) เน้น “เนื้อหา” มากกว่า “รูปแบบ”
(5) อธิบายเรื่องรัฐว่าเป็นอสสาร
ตอบ 1 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) เฮเกล ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาเมธีคนสําคัญในสํานักจิตนิยม ทั้งนี้เพราะเขาได้ให้ความสําคัญในเรื่องของจิตเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าจิตนั้นเป็นต้นกําเนิดของวัตถุและการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลก
76 ลัทธิมาร์กซ์ เกี่ยวข้องกับอะไร
(1) นักคิดชื่อ Cart Marx
(2) แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์
(3) แนวคิดแบบเสรีนิยม
(4) แนวคิดอรรถประโยชน์นิยม
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 172 173, (คําบรรยาย) ลัทธิมาร์กซ์ ก่อกําเนิดขึ้นโดยนักคิดที่ชื่อว่า คาร์ล มาร์กซ์(Karl Marx) ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าตํารับหรือบิดาแห่งคอมมิวนิสต์ โดยมาร์กซ์นั้นเกิดที่เมืองทรีเออร์ ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. 1818 บิดาเป็นทนายความที่มีชื่อเสียง มาร์กซ์เคยมีสัญชาติยิวแต่เมื่ออายุได้ 6 ขวบ ก็เปลี่ยนเป็นโปรเตสแตนต์
77 ลัทธิมาร์กซ์ เชื่อว่าอย่างไร
(1) เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
(2) นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
(3) ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทําให้เกิดความเท่าเทียม
(4) ระบบทุนนิยมทําให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 182, 186 187, (คําบรรยาย) ความเชื่อของลัทธิมาร์กซ์ มีดังนี้
1 เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักของความขัดแย้ง
2 สังคมทุนนิยมเป็นสังคมที่นายทุนเอาเปรียบกรรมกร
3 ชัยชนะของชนชั้นแรงงานทําให้เกิดความเท่าเทียม คือทุกคนเป็นกรรมกร ไม่มีชนชั้นอื่น
4 ระบบทุนนิยมทําให้เกิดการแบ่งแยกสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน เป็นต้น
78 อะไรคือตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์
(1) การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
(2) การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
(3) การนําระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
(4) การยอมรับและนําระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 171, (คําบรรยาย) ตัวบ่งชี้ความล้มเหลวของลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1 การเสื่อมสลายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในด้านการปฏิบัติ
2 การสลายตัวของระบบสังคมนิยม
3 การนําระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้
- การยอมรับและนําระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้ เป็นต้น
79 จุดอ่อนของลัทธิมาร์กซ์คืออะไร
(1) เห็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง
(2) ไม่มีการแบ่งแยกทางชนชั้น
(3) ทุกคนเท่าเทียมกัน
(4) การมองโลกในด้านเดียว
(5) ผิดทุกข้อ ตอบ 4 หน้า 193 194 (คําบรรยาย) จุดอ่อนของลัทธิมาร์กซ์ คือ การมองโลกในด้านเดียว โดยเชื่อว่าความขัดแย้งในสังคมเกิดจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงนั้น มนุษย์จะดิ้นรนเพื่อเกียรติยศชื่อเสียงด้วย ถึงแม้ว่าจะสูญเสียปัจจัยทางเศรษฐกิจก็ตาม ทั้งนี้เพราะคนมิใช่สัตว์เศรษฐกิจอย่างที่มาร์กซ์เข้าใจ
80 นักคิดที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ คือ
(1) เหมา เจ๋อ ตุง
(2) เลนิน
(3) ฮิตเลอร์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 171 172 นักคิดที่จัดอยู่ในกลุ่มลัทธิมาร์กซ์ ได้แก่
1 คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx)
2 นิโคไล เลนิน (Nicolai Lenin)
3 เหมา เจ๋อ ตุง หรือ เมา เซ ตุง (Mao Tse Tung)
81 คาร์ล มาร์กซ์ มีความคิดต่อต้านศาสนาเหมือนกับนักคิดคนใด
(1) ซัง ซิมองต์
(2) อดัม สมิธ
(3) ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์ค
(4) จอร์จ วิลเลียม ฟรีดริช เฮเกล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 174, (คําบรรยาย) คาร์ล มาร์กซ์ มีความคิดต่อต้านศาสนาเหมือนกับ ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์คซึ่งเชื่อว่าศาสนามิได้เป็นตัวกําหนดปรากฏการณ์ทุกอย่าง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากวัตถุมากกว่า และคนเป็นผู้กําหนด มิใช่พระเจ้า
82 บทความเรื่อง “ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นข้อเขียนร่วมกันระหว่าง
(1) ฟรีดริช เองเกลส์ + คาร์ล มาร์กซ์
(2) ลุดวิก ฟอยเออร์บาร์ค + คาร์ล มาร์กซ์
(3) อดัม สมิธ + เดวิด ริคาร์โด
(4) คาร์ล มาร์กซ์ + เฮเกล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 175 ผลงานที่ฟรีดริช เองเกลส์ และคาร์ล มาร์กซ์ ได้ร่วมกันเขียนขึ้นมา ได้แก่
1 ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Family)
2 อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
3 คําประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
83 ชื่อหนังสือบทความต่อไปนี้เรื่องใดไม่ได้เขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์
(1) The Holy Family
(2) The German Ideology
(3) Capital
(4) The Communist Manifesto
(5) Socialism Utopian and Scientific
ตอบ 5 หน้า 176 ในช่วงที่ คาร์ล มาร์กซ์ ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงลอนดอนนั้น เขาได้เขียนบทความมากมายที่พยายามอธิบายความทุกข์ยากในสังคมทุนนิยม เช่น วิพากษ์เศรษฐกิจการเมือง (The Critique of Political Economy), ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน (Theories of Surplus Values), ทุน (Capital)เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ)
84 เนื้อหาในวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมืองของคาร์ล มาร์กซ์ มุ่งวิพากษ์
(1) ระบบทุนนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) การคอร์รัปชั่น
(4) การรีดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน
(5) ถูกเฉพะข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 หน้า 182 183, (คําบรรยาย) คาร์ล มาร์กซ์ ได้สร้างทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองขึ้นเพื่ออธิบายว่า ในระบบทุนนิยมนั้นสิ่งที่นายทุนคํานึงคือกําไร นายทุนจะได้เปรียบกรรมกร เพราะว่ามีการรีดส่วนเกินของชนชั้นนายทุนจากชนชั้นแรงงาน หรือที่เรียกว่า “มูลค่าส่วนเกิน” นําเอาไปเป็นกําไรของตัวเอง
85 คุณูปการของคาร์ล มาร์กซ์ ที่สําคัญคืออะไร
(1) แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี Dialectic
(2) แนวคิดวัตถุนิยม
(3) หลักเศรษฐกิจกําหนดการ
(4) หลักอรรถประโยชน์นิยม
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 180, (คําบรรยาย) คุณูปการที่สําคัญของคาร์ล มาร์กซ์ ได้แก่
1 แนวทางวิพากษ์แบบวิภาษวิธี (Dialectic)
2 แนวคิดวัตถุนิยม (Materialism)
3 หลักเศรษฐกิจกําหนด (Economic Determinism)
86 หลักวิภาษวิธี (Dialectic Method) มีสูตรที่เป็นวงจรการปะทะทางความคิดที่ไม่สิ้นสุด มีสูตรดังนี้
(1) ข้อเสนอหลัก + ข้อเสนอรอง = การสังเคราะห์
(2) ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์
(3) ข้อเสนอหลัก + ข้อเสนอรอง = การสังเคราะห์ = ข้อเสนอหลัก (ใหม่)
(4) ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์ = ข้อเสนอยืน (ใหม่)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 178, (คําบรรยาย) หลักวิภาษวิธี (Dialectic Method) มีสูตรที่เป็นวงจรการปะทะทางความคิดที่ไม่สิ้นสุด ดังนี้
ข้อเสนอยืน + ข้อเสนอแย้ง = การสังเคราะห์
หรือ Thesis + Antithesis – Synthesis
87 คําอธิบาย “ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product)” ในลัทธิมาร์กซ์หมายถึง
(1) การที่มนุษย์ใช้เครื่องมือในการผลิต
(2) การที่มนุษย์ขาดเครื่องมือในการผลิต
(3) การที่มนุษย์ซื้อ-ขายเครื่องมือการผลิต
(4) การที่มนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 179 ความสัมพันธ์ทางการผลิต (Relation of Product) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือการผลิต เพื่อดูว่ามนุษย์เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตหรือไม่
88 ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยมได้แบ่งแยกสังคมเป็นกี่ชนชั้น
(1) 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง
(2) 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง
(3) 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนํา ชนชั้นผู้ถูกปกครอง
(4) 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ
89 ข้อใดไม่ใช่ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ
(1) ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน
(2) เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
(3) ยกเลิกสิทธิการรับมรดก
(4) รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่อสารทุกประเภท
(5) มีผู้มีอํานาจเด็ดขาดเพียงคนเดียว
ตอบ 5 หน้า 186, (คําบรรยาย) ข้อเสนอของคาร์ล มาร์กซ์ ในการพัฒนาประเทศ เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะในการปฏิวัติ มีดังนี้
1 ยกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และใช้วิธีการเช่าแทน
2 เก็บภาษีรายได้แบบก้าวหน้าอย่างกวดขัน
3 ยกเลิกสิทธิการรับมรดก
4 รัฐเข้ามาควบคุมการคมนาคมสื่อสารทุกประเภท
5 รัฐเข้ามาควบคุมโรงงาน เครื่องมือการผลิตและการเกษตร เป็นต้น
90 คําทํานายของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยมที่สะท้อนข้อเท็จจริง
(1) สังคมมีเพียงชนชั้นเดียว
(2) สังคมไร้ชนชั้น
(3) สังคมเกิดความขัดแย้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจเท่านั้น
(4) ชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้กับชนชั้นนายทุน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 190, 192 193 คําทํานายของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีต่อสังคมทุนนิยม คือ
1 ต้องมีสองชนชั้นเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงกลับมีชนชั้นใหม่เกิดขึ้น
2 ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องมีความทุกข์ยากมาก แต่ในความเป็นจริงกลับมิได้ทุกข์ยากมากนักเพราะสังคมทุนนิยมมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวหน้า สังคมเจริญขึ้น รวยขึ้น
3 การปฏิวัติจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสูงสุด แต่ในความเป็นจริงกลับเกิดในประเทศที่มีการเกษตรกรรมเป็นหลัก
4 ความขัดแย้งในสังคมเกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงกลับมีปัจจัยทางจิตวิทยาและทางสังคมวิทยาร่วมด้วย
91 “ศาสนาเป็นสิ่งมัวเมาเหมือนยาเสพติด” เป็นต้อตอความคิดของใคร
(1) เหมา เจ๋อ ตุง
(2) นิโคไล เลนิน
(3) สตาลิน
(4) มุสโสลินี
(5) คาร์ล มาร์กซ์
ตอบ 5 หน้า 196 คาร์ล มาร์กซ์ ปฏิเสธศาสนา เพราะเชื่อว่า “ศาสนาเป็นสิ่งมัวเมาเหมือนยาเสพติด” ที่ทําให้คนอยู่แต่ในโลกจินตนาการ และลืมความเป็นจริงในโลก
92 หนังสือและบทความใดต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อเขียนของนิโคไล เลนิน
(1) จะทําอะไร (What to be dวne)
(2) สังคมนิยมและสงคราม (Socialism and War)
(3) รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
(4) คําประกาศคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 200 ผลงานที่สําคัญของนิโคไล เลนิน ได้แก่
1 จะทําอะไร (What to be done)
2 สังคมนิยมเละสงคราม (Socialism and War)
3 รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution)
4 จักรวรรดินิยม : ขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยม (Imperialism : The Highest Stage of Capitalism) เป็นต้น
93 นักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์มีความคิดที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่ไม่ใช่ประเด็นใดดังต่อไปนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ
(2) ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
(3) ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
(4) มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ
(5) ต้องการให้ปัจเจกบุคคลสามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้โดยเสรี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเด็นสําคัญที่คล้ายกันของนักคิดที่สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่
1 การเปลี่ยนแปลงสังคมใช้วิธีการรุนแรงหรือด้วยการปฏิวัติ
2 ต้องการสังคมที่ทุกคนมีความเสมอภาค
3 ต้องการให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นผู้ชนะการต่อสู้ในสงครามแห่งชนชั้น
4 มองสังคมทุนนิยมเป็นต้นตอของความแปลกแยก เอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น
94 ลัทธิมาร์กซ์มองว่า ระบบทุนนิยมทําลาย ลดทอนความเป็นมนุษย์ เนื่องด้วยเหตุผลใดต่อไปนี้
(1) เพราะแรงงานที่เขาทํางานไม่สามารถทํางานสนองความต้องการของเขา แต่เป็นของนายทุน
(2) นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกําไร
(3) แรงงานที่ทําให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ
(4) เพราะกรรมกรทํางานเพื่อประโยชน์ของนายทุนเท่านั้น
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 182 183, (คําบรรยาย) ลัทธิมาร์กซ์ มองว่า ระบบทุนนิยมจะทําลายและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ เนื่องจาก
1 แรงงานต้องทํางานตามความต้องการของนายทุน ไม่สามารถทํางานสนองความต้องการของเขาเองได้ เป็นแต่เพียงของนายทุน
2 นายจ้างที่เป็นชนชั้นนายทุนใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อผลกําไร
3 แรงงานที่ทําให้กับนายทุนเป็นแรงงานที่ถูกบังคับมากกว่าความเต็มใจ เป็นต้น
95 ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ ไม่ใช่ข้อใดดังต่อไปนี้
(1) การเน้นให้พรรคเป็นผู้นําในการปฏิวัติ
(2) เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึ่งมีการสร้างพันธมิตร
(3) การปฏิวัติสังคมเกิดด้วยความรุนแรงเท่านั้น
(4) เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพต้องเป็นการปกครองเด็ดขาด มีกําลังอาวุธ
(5) การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบสังคมนิยม
ตอบ 5 หน้า 211 ปัจจัยทางการเมืองใหม่ที่เลนินเสนอ มีดังนี้
1 การเน้นให้พรรคเป็นผู้นําในการปฏิวัติ
2 เน้นยุทธวิธีในการปฏิวัติ ซึ่งมีการสร้างพันธมิตร
3 การปฏิวัติสังคมเกิดในประเทศเดียวก็ได้ และเกิดด้วยวิธีรุนแรงเท่านั้น
4 เผด็จการโดยชนชั้นารรมาชีพต้องเป็นการปกครองที่เด็ดขาด มีกําลังอาวุธ ดําเนินการโดยพรรคและมีวินัยอย่างเคร่งครัด
5 การพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมคือ ระบบจักรวรรดินิยม เป็นต้น
96 ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ เหมา เจ๋อ ตุง
(1) เหมาเป็นลูกนายทหาร
(2) เหมาร่วมปฏิวัติราชวงศ์ถังเป็นผลสําเร็จ
(3) เหมาเป็นผู้นําของซุน ยัด เซน
(4) เหมาเขียนบทความชื่อ On New Democracy
(5) เหมาร่วมมือกับชนชั้นกระฎมพี่
ตอบ 4 หน้า 222 ผลงานที่สําคัญของ เหมา เจ๋อ ตุง ได้แก่
1 On Tactics Against Japanese imperialism (1935)
2 On Practice (1937)
3 On Contradiction (1937)
4 On New Democracy (1940) เป็นต้น
97 การปฏิวัติเพื่อสร้างสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่ของ เหมา เจ๋อ ตุง มีลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะใด ดังต่อไปนี้
(1) การปฏิวัติชาติเพื่อกําจัดจักรวรรดินิยม
(2) การปฏิวัติเพื่อกําจัดเจ้าของที่ดิน
(3) การปฏิวัติชาติเพื่อกําจัดพวกปฏิกิริยา
(4) การปฏิวัติเพื่อทําลายลัทธิทุนนิยม
(5) การปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้น
ตอบ 4 หน้า 229, (คําบรรยาย) เหมา เจ๋อ ตุง ได้ประกาศเป้าหมายการปฏิวัติเพื่อประชาชนทุกชนชั้นว่าเป็นการสร้าง “สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบใหม่” โดยมีลักษณะสําคัญคือ การปฏิวัติชาติ เพื่อกําจัดจักรวรรดินิยม และการปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อกําจัดเจ้าของที่ดินใหญ่ ๆ ซึ่งการปฏิวัติ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อล้มล้างการปกครองจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ ทําลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม
98 ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์มีลักษณะใดดังต่อไปนี้
(1) การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
(2) ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
(3) สภาทุกระดับของประชาชนส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
(4) เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาดห้ามโต้แย้ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 231 232, 236 ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1 การรวมศูนย์ความคิดที่ถูกต้อง
2 ประชาชนเบื้องล่างมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล
3 สภาประชาชนทุกระดับจะส่งตัวแทนในการเลือกรัฐบาล
4 เมื่อพรรคและรัฐบาลตัดสินนโยบายแล้ว ถือเป็นเด็ดขาด ผู้ใดจะโต้แย้งหรือขัดคําสั่งมิได้
99 บทความเรื่อง “ระเบียบทางสังคม” เป็นข้อเขียนของใคร
(1) กุหลาบ สายประดิษฐ์
(2) ปรีดี พนมยงค์
(3) เสนีย์ เสาวพงศ์
(4) เปลื้อง วรรณศรี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 261, (คําบรรยาย) นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า “ศรีบูรพา”เป็นผู้เขียนบทความเรื่อง “ระเบียบทางสังคม” ขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยได้เขียนตามแนวความคิดของเองเกลส์ที่เขียนในเรื่อง “The Origin of Family, Private Property and State”
100 ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งไทย เป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากคนกลุ่มใดเป็นสําคัญ
(1) นักปรัชญาการเมือง
(2) ผู้นําทางการเมือง
(3) ข้าราชการ
(4) นักธุรกิจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประวัติการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยนั้น พบว่าเป็นการต่อสู้ที่ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาการเมืองเป็นสําคัญ ไม่ว่าจะเป็น คาร์ล มาร์กซ์, ฟรีดริช เองเกลส์, อดัม สมิธ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลของคาร์ล มาร์กซ์ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการต่อสู้ ของบุคคลสําคัญ ๆ เช่น นิโคไล เลนิน (รัสเซีย), เหมา เจ๋อ ตุง (จีน), นายปรีดี พนมยงค์ (ไทย), นายจิตร ภูมิศักดิ์ (ไทย) เป็นต้น