การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2105 ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

มาเคียเวลลี่

1 “สิ่งที่ประชาชนปรารถนาจากผู้ปกครอง”

(1) เสรีภาพ

(2) ความเสมอภาค

(3) ความยุติธรรม

(4) ความรัก

(5) การกินดีอยู่ดี

ตอบ 1 หน้า 3, 8 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า เสรีภาพเป็นสิ่งสําคัญที่ระบบการปกครองที่ดีที่สุดต้องรักษาไว้ เนื่องจากประชาชนต้องการเสรีภาพ อันเป็นอิสรภาพจากการกดขี่ข่มเหงของพวกขุนนางที่ มักจะมุ่งแข่งอํานาจกับผู้ปกครองอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ปกครองจําต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก เพราะความมั่นคงของผู้ปกครองนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนมากกว่ากลุ่มขุนนางหรือข้าราชการ

2 มุขบุรุษต้องมีคุณสมบัติของสุนัขจิ้งจอก เพราะ

(1) ต้องมีพรรคพวก

(2) ต้องมีความเฉลียวฉลาด

(3) ต้องมีความเย่อหยิ่ง

(4) ต้องรักษาสัจจะ

(5) ต้องทําร้ายผู้อื่นลับหลัง

ตอบ 2 หน้า 7 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษควรมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์รวมเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจดังสุนัขจิ้งจอก และมีความเข้มแข็งอย่างราชสีห์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองได้นั่นเอง

3 “ความยุ่งเหยิงทางการเมือง”

(1) ประชาธิปไตย

(2) อภิชนาธิปไตย

(3) ราชาธิปไตย

(4) ทรราช

(5) แบบผสม

ตอบ 1 หน้า 8 มาเคียเวลลี่พอใจในรูปการปกครองแบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย โดยเขาเห็นว่ารูปการปกครองแบบประชาธิปไตยจะก่อให้เกิด ความยุ่งเหยิงวุ่นวายทางการเมืองได้ เพราะถ้าให้ประชาชนทั่วไปเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพแล้วพวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรือปฏิวัติขึ้นได้

4 ในทัศนะของมาเคียเวลลี่ มุขบุรุษต้องเล่นการเมืองเพื่อ

(1) รักษาไว้ซึ่งอํานาจของตนเอง

(2) เพื่อสร้างความชอบธรรม

(3) เพื่อขยายฐานอํานาจ

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 9 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องของอํานาจ นักการเมืองปรารถนาที่จะได้มาหรือผดุงรักษาไว้ซึ่งอํานาจ ดังนั้นจุดประสงค์ที่ผู้ปกครองหรือมุขบุรุษต้องเข้ามาเล่นการเมืองก็เพื่อการรักษาไว้ซึ่งอํานาจของตนหรือเพื่อการเพิ่มขยายฐานอํานาจทางการเมืองโดยเฉพาะ

5 ผลงานส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี ผลิตในช่วง

(1) ที่เขาเรืองอํานาจ

(2) ตกอับหมดอํานาจ

(3) ประจําการอยู่ในกองทัพ

(4) อยู่ต่างประเทศ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 1 – 2 มาเคียเวลลี่ เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในประเทศอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1469 โดยเขาได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มทั้งในด้านการเมืองและบทละคร ได้แก่ ผู้ปกครองหรือมุขชน (The Prince), บทสนทนา (The Discourses) เป็นต้น ซึ่งงานเขียนส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลีนั้นเป็นผลิตผลในช่วงที่เขาตกอับหมดอํานาจวาสนาทางการเมือง

6 ความรักของผู้ใต้ปกครองในที่สุดแล้วมักจะนําไปสู่สิ่งใด

(1) ความยําเกรง

(2) ความไม่ยําเกรง

(3) ความสามัคคี

(4) ความร่วมมือ

(5) ความมั่นคงของผู้ปกครองเอง

ตอบ 2 หน้า 6, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระหว่างความรักและความยําเกรงของประชาชนนั้น หากผู้ปกครองเลือก “ความรัก” ประชาชนจะไม่ยําเกรง แต่ถ้าเลือก “ความยําเกรง” ประชาชนจะไม่รัก ซึ่งถ้าจําเป็นแล้วผู้ปกครองจะต้องเลือกเอาความยําเกรงมากกว่าความรัก เพราะความยําเกรงนั้นจะทําให้ผู้ใต้ปกครองเกิดความเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง

7 มาเคียเวลลี่ ผลิตงานชิ้นสําคัญ คือ

(1) Modern Machine

(2) The Fox

(3) The Prince

(4) Magna Carta

(5) The Element of Law

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8 “กฎหมาย”

(1) เมตตาธรรม

(2) ขนบธรรมเนียมประเพณี

(3) เสรีภาพของผู้ปกครอง

(4) เสรีภาพของรัฐบาล

(5) สาธารณรัฐ

ตอบ 4 หน้า 9, (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี่ เห็นว่า การปกครองด้วยกฎหมายจะสร้างเสถียรภาพหรือเสรีภาพของรัฐบาลและเป็นสิ่งที่จะควบคุมผู้ปกครองไม่ให้ใช้อํานาจเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนเพียงกลุ่มเดียว

9 “ธรรมชาติของมนุษย์”

(1) ความเมตตา

(2) ชอบท้าทายอํานาจ

(3) ความเห็นแก่ตัว

(4) อยากอยู่ร่วมกัน

(5) เกรงกลัวต่ออํานาจ

ตอบ 3 หน้า 2 – 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว แสวงหาพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตราย และโลภในผลกําไร จึงทําให้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรน และแข่งขันกันเองอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้คนยังปล่อยจิตให้ตกอยู่ภายใต้การครอบงําของ กิเลสตัณหา ดังนั้นจึงเกิดสังคมหรือรัฐขึ้นมาเพื่อทําให้ละเลิกกิเลสและควบคุมความเห็นแก่ตัวอันเป็นธรรมชาติที่ชั่วร้ายของคนโดยการใช้อํานาจบังคับ

10 มาเคียเวลลี่ สอนว่าคนรอบข้างผู้ปกครองมักชอบ

(1) นินทาผู้ปกครอง

(2) เพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยิน

(3) แสดงความจงรักภักดีจนเกินเลย

(4) แสวงหาอามิสสินจ้าง

(5) มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย

ตอบ 2 หน้า 5 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า คนรอบข้างผู้ปกครอง (มุขบุรุษหรือมุขชน) ทั้งพวกขุนนางหรือข้าราชการมักชอบประจบสอพลอ ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองชอบได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง หรือชอบปิดกั้นความจริงที่ผู้ปกครองควรจะทราบ ซึ่งหากผู้ปกครองค้นพบคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ในตัวข้าราชการผู้ใด ก็ควรที่จะลงโทษหรือกําจัดโดยเร็ว เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นผู้ทําลาย เสถียรภาพของผู้ปกครอง

11 มาเคียเวลลี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขียนงานของตนเองเพื่อประจบ

(1) ผู้นําตระกูลเมดิซี

(2) กษัตริย์ของอิตาลี

(3) ผู้นําเมืองฟลอเรนซ์

(4) ผู้นํากรุงโรม

(5) ทรราช

ตอบ 1 หน้า 7 ในงานเขียนเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองนั้น มาเคียเวลลี่ เห็นว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดสําหรับอิตาลี แต่มิได้หมายความว่าระบบ การปกครองโดยคน ๆ เดียวที่มีอํานาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดซึ่งจาก ทัศนะดังกล่าวนี้ทําให้มาเคียเวลลี่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เขียนงานของตนเองขึ้นมาเพราะต้องการประจบผู้นําตระกูลเมดิซี่ เพื่อขอตําแหน่งทางการเมืองเท่านั้นเอง

12 ความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์เป็นเหตุให้เกิด

(1) สันติภาพ

(2) รัฐ

(3) การใช้กําลังอํานาจ

(4) กลุ่มการเมือง

(5) ความรู้รักสามัคคี

ตอบ 2 หน้า 2 – 3 มาเคียเวลลี่ เห็นว่า รัฐหรือสังคมการเมืองนั้นมิได้เกิดจากธรรมชาติหรือการบันดาลของพระเจ้า แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของมนุษย์ที่ไม่สามารถพิทักษ์ตนเองให้พ้นจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่นได้ต่างหาก

13 มาเคียเวลลี่เชื่อว่าปัญหาของรูปแบบการปกครองเฉพาะ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย หรือ ประชาธิปไตย

(1) การไร้เมตตาธรรม

(2) การไม่มีนโยบายที่ชัดเจน

(3) การสนับสนุนตัวบุคคล

(4) การขาดเสถียรภาพ

(5) การเน้นแต่เพียงประสิทธิภาพ

ตอบ 4 หน้า 8 มาเคียเวลลี่ เชื่อว่า ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย และประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี แต่ระบบการปกครองเฉพาะแบบนี้ก็มีข้อบกพร่องที่สําคัญ คือการขาดเสถียรภาพ และความดีของระบบก็มักจะถูกทําลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก

 

– ล็อค

14 ล็อคถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กําเนิดแนวความคิด

(1) อนุรักษนิยม

(2) ประชานิยม

(3) ประชาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) วัตถุนิยมวิภาษวิธี

ตอบ 3 หน้า 31 – 32, (คําบรรยาย) ล็อค เป็นนักปราชญ์ทางการเมืองชาวอังกฤษที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศฮอลแลนด์ และถูกขนานนามว่าเป็นผู้ให้กําเนิดแนวความคิด ประชาธิปไตย นอกจากนี้แนวความคิดของเขายังมีอิทธิพลและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในหมู่นักคิดทั้งมองเตสกิเออ, รุสโซ, เดอ ทอคเกอร์วิลล์ และนักคิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสก็ได้ใช้ทฤษฎีของล็อคในการวิเคราะห์ระบบเก่าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

15 ล็อคได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ในประเทศ

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) อิตาลี

(3) ฝรั่งเศส

(4) เยอรมนี

(5) ฮอลแลนด์

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

16 ผู้ใดที่ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลทางความคิดของล็อค

(1) มองเตสกิเออ

(2) รุสโซ

(3) เดอ ทอคเกอร์วิลล์

(4) เฮเกล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

17 ล็อคเห็นว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลเกิดจาก

(1) การถ่ายโอนเป็นมรดกตกทอด

(2) การประกาศความเป็นเจ้าของ

(3) การยอมรับความเป็นเจ้าของของผู้ใดผู้หนึ่งโดยผู้อื่น

(4) การใช้แรงงานต่อสิ่งของนั้น ๆ

(5) การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมาย

ตอบ 4 หน้า 34 ล็อค เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมชาติในโลกนี้ทั้งหมดเป็นของทุกคน (ชาวโลกทั้งมวล) หรือทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน โดยแต่ละคนสามารถมีกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนบุคคล (Private Property) ได้ ก็ต่อเมื่อเขาได้ใช้แรงงานจากร่างกาย เคลื่อนย้ายหรือเก็บเกี่ยวของสิ่งนั้น รวมทั้งในการสะสมทรัพย์สินก็จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย

18 ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะสูงสุดหรือ Supreme Power นั้นตรงกับข้อใด

(1) เป็นองค์อธิปัตย์

(2) เป็นที่มาของฝ่ายบริหาร

(3) เป็นองค์กรที่ใช้สิทธิพิเศษ

(4) เป็นองค์กรที่แสดงเจตจํานงของรัฐ

(5) เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน

ตอบ 5 หน้า 39 – 40 ในทัศนะของล็อคนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจสูงสุดภายในรัฐเหนืออํานาจอื่นทั้งหมด (Supreme Power) ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ออกกฎหมายควบคุมประชาชน เท่านั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้เป็นองค์กรที่ใช้อํานาจอธิปไตยหรือเป็นองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจสูงสุดภายในรัฐแต่อย่างใด

19 ระบบการเมืองตามทฤษฎีสัญญาประชาคมสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบใดมากที่สุด

(1) รัฐสภา

(2) ประธานาธิบดี

(3) ถึงประธานาธิบดี

(4) กึ่งรัฐสภา

(5) แบบผสมระหว่าง 1 กับ 2

ตอบ 1 หน้า 38 – 41, (คําบรรยาย) ตามหลักสัญญาประชาคมของล็อคนั้น เมื่อมนุษย์ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมการเมืองแล้ว สิ่งแรกที่จําเป็นต้องดําเนินการคือ การสถาปนาองค์กรที่ ใช้อํานาจนิติบัญญัติขึ้นมาเพื่อวางแนวทางในการดําเนินงานหรือกําหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหาร นําไปปฏิบัติ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอิสระที่จะทําอะไรตามเจตจํานงของตน ทั้งนี้เพราะการ ใช้อํานาจของฝ่ายบริหารนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติกําหนดขึ้น ซึ่งจากหลักการดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบรัฐสภามากที่สุด

20 เมื่อสัญญาได้กระทํากันแล้ว สิทธิในทรัพย์สินถูกเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร

(1) มีความมั่นคงกว่าเดิม

(2) มีความมั่นคงน้อยกว่าเดิม

(3) เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

(4) กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลกลายเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม

(5) กลายเป็นที่มาแห่งสิทธิในทรัพย์สิน

ตอบ 1 หน้า 36 ล็อค เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมเพื่อการดํารงอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือประชาคมเดียวกันนั้น จะเป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความยินยอมของทุกคน โดยทุกคนมุ่งหวังที่จะดํารงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัย และมีความสงบสุขในการใช้ทรัพย์สินของตนอย่างมั่นคง และเป็นความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ไม่เข้าร่วม

21 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่ถือได้ว่าเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง

(1) ประชาชนทั้งหมด

(2) ประชาชนส่วนใหญ่

(3) ผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

(4) ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรัฐบาล

(5) ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 40 ล็อค เห็นว่า ประชาชนทั้งมวล (ประชาชนทั้งหมด) จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์แห่งรัฐที่แท้จริง แต่สามารถใช้อํานาจอธิปไตยได้เป็นครั้งคราวในกรณีที่รัฐบาลถูกยุบเท่านั้น

22 หลักการใดที่ถือว่าเป็นรากฐานของสังคมและรัฐบาล

(1) ความยินยอม

(2) ความกินดีอยู่ดี

(3) เสรีภาพ

(4) ความเสมอภาค

(5) ความเป็นระเบียบ

ตอบ 1 หน้า 36 – 38 ตามหลักการแห่งสัญญาประชาคมนั้น ล็อค อธิบายว่า การสถาปนารัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องของการให้ความยินยอมเช่นเดียวกับการสถาปนาสังคมการเมืองหรือรัฐ กล่าวคือ การสถาปนารัฐจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเอกฉันท์ ส่วนการสถาปนา รัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) นั้นจะเป็นไปในลักษณะของการให้ความยินยอมโดยเสียงข้างมากของประชาชน

 

– รุสโซ

23 รุสโซ เชื่อว่าแม้ว่าสภาพธรรมชาติจะเป็นสภาพที่น่าอยู่ แต่สังคมการเมืองเกิดขึ้นเพราะ

(1) มนุษย์เราเป็นสัตว์การเมือง

(2) มนุษย์เราชอบทดลองสังคมรูปแบบใหม่

(3) มนุษย์เราต้องการความสมบูรณ์โดยการอยู่อาศัยร่วมกัน

(4) มนุษย์เราต้องการหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่ป่าเถื่อน

(5) มนุษย์เราไม่มีทางเลือกอื่น

ตอบ 3 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การเกิดสังคมการเมืองเป็นผลมาจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ต้องการความสมบูรณ์โดยการอาศัยอยู่ร่วมกัน แม้ว่าจะมีส่วนทําลายความบริสุทธิ์ และความดีงามของมนุษย์ก็ตาม แต่สิ่งที่มนุษย์ได้รับการทดแทนจากการสูญเสียความบริสุทธิ์และความดีงามในสังคมการเมืองสมัยใหม่นั้นก็คือ ความสมบูรณ์ทางจิตใจ 24 “สิ่งที่มนุษย์ได้รับการทดแทนจากการเสียความบริสุทธิ์ในสังคมสมัยใหม่”

(1) ความเสมอภาคทางการเมือง

(2) ความเสมอภาคในกรรมสิทธิ์

(3) ความสมบูรณ์ในการดํารงชีพ

(4) ความปลอดภัยในชีวิต

(5) ความสมบูรณ์ทางจิตใจ

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

25 ผู้เป็นเจ้าของหรือทรงไว้ซึ่งอํานาจอธิปไตยจะมีโอกาสใช้อํานาจนี้ของตนเมื่อใด

(1) เป็นรัฐบาล

(2) บัญญัติกฎหมาย

(3) ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

(4) เปลี่ยนแปลงรัฐบาล

(5) ทําสัญญาประชาคม

ตอบ 2 หน้า 78 รุสโซ เห็นว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทั้งหมด (ประชาชนทั้งมวล) และประชาชนสามารถใช้อํานาจอธิปไตยนี้ได้โดยการทําหน้าที่บัญญัติกฎหมาย เพราะว่าในการบัญญัติกฎหมายนั้นประชาชนมีอํานาจเต็มที่ไม่ต้องเชื่อฟังใคร

26 “มนุษย์เกิดมาอย่างเสรี แต่ต้องตกอยู่ภายใต้พันธนาการทุกแห่งหน” คําว่า “พันธนาการ” หมายถึง

(1) การบีบบังคับโดยผู้ปกครอง

(2) การตกเป็นทาสแห่งอารมณ์ของตนเอง

(3) สภาวะแห่งความเป็นทาส

(4) ความเชื่อในศาสนา

(5) ขนบธรรมเนียมประเพณีและข้อบังคับต่าง ๆ

ตอบ 5 หน้า 67, 71 – 72 จากคํากล่าวข้างต้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมสมัยใหม่ซึ่งความเป็นอิสระหรือภาวะที่เป็นเสรีนั้นได้ถูกทําลายลงโดยสถาบันการปกครองและอารยธรรม ของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการหรือโซ่ตรวนบั่นทอนเสรีภาพของมนุษย์ในลักษณะที่แฝงมาในรูปอื่น เช่น กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ปทัสถานของสังคม ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นต้น

27 “มนุษย์ในสังคมอารยะเป็นทาสที่ถูกจองจําอยู่ในจักรวรรดิแห่งความคิด (The Empire of Opinion)ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง” ข้อความที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงอะไร

(1) ผลประโยชน์ส่วนรวม

(2) การคํานึงถึงผลประโยชน์ผู้อื่น

(3) การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

(4) การไม่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

(5) พฤติกรรมของเราถูกกําหนดโดยบุคคลอื่น

ตอบ 3 หน้า 72 ในทัศนะเกี่ยวกับความเป็นทาสนั้น รุสโซ เห็นว่า ทั้งผู้กดขี่และถูกกดขี่ต่างก็อยู่ในเครื่องพันธนาการเช่นกัน ซึ่งพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และต่างก็ตกอยู่ในหลุมพราง ของกันและกัน นั่นคือ มนุษย์ในสังคมอารยะเป็นทาสที่ถูกจองจําอยู่ในจักรวรรดิแห่งความคิด (The Empire of Opinion) ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

28 สิ่งที่ถือว่าเป็นสาระสําคัญที่สุดของเจตจํานงทั่วไปนั้นคืออะไร

(1) เสียงข้างมาก

(2) เสียงเอกฉันท์

(3) ผลประโยชน์ของทุกคน

(4) ผลประโยชน์ของคนแต่ละคน

(5) ความสมบูรณ์ทางจิตใจ

ตอบ 3 หน้า 75, 77, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า เจตจํานงทั่วไปหรือเจตจํานงร่วมกัน (General Wit) เป็นเจตจํานงที่แสดงออกเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือผลประโยชน์ของคนทุกคนเป็นหลัก ส่วนเจตจํานงเฉพาะส่วนหรือเจตจํานงจากทุกคนหรือเจตจํานงของทั้งหมด (Wit of ALL) เป็นเจตจํานงที่แสดงออกที่มุ่งไปสู่ผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก

29 รุสโซเห็นว่า “อํานาจอธิปไตย” เป็นของ

(1) ประชาชนที่มีการศึกษาเท่านั้น

(2) ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

(3) ประชาคมทั้งมวล

(4) ประชาชนทั้งหมด

(5) ผู้แทนที่ใช้อํานาจนั้น ๆ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

30 “ผู้ทรงอํานาจอธิปไตย”

(1) ประชาชนส่วนใหญ่

(2) ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

(3) ประชาชนทั้งมวล

(4) สภาผู้แทนราษฎร

(5) รัฐบาล

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25 ประกอบ

31 “เจตจํานงของทั้งหมด” (Wit of AL)

(1) ผลประโยชน์ส่วนตัว

(2) ผลประโยชน์ส่วนรวม

(3) ผลประโยชน์ของคู่สัญญา

(4) ผลประโยชน์ของกลุ่ม

(5) ผลประโยชน์ขององค์อธิปัตย์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ

 

เฮเกล

32 “จิต” (Idea)

(1) อสสาร

(2) มนุษย์

(3) ความขัดแย้ง

(4) การเปลี่ยนแปลง

(5) ความไม่เปลี่ยนแปลง

ตอบ 1 หน้า 110 111 ในทัศนะของเฮเกลนั้น จิตหรือความคิด (Idea) คือ ส่วนที่มีลักษณะเป็น อสสาร ซึ่งจะมีบทบาทในการกําหนดส่วนที่เป็นสสาร กล่าวคือ จิตจะทําหน้าที่เป็นประธาน ส่วนวัตถุหรือสรรพสิ่งทั้งหลายจะเป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทํา

 

33 ปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาประเทศได้แก่ข้อใด

(1) สงครามระหว่างรัฐ

(2) ความสงบภายใน

(3) แผนพัฒนาประเทศ

(4) การระดมทุนภายในประเทศ

(5) การระดมทุนภายนอกประเทศ

ตอบ 1 หน้า 130 เฮเกล เห็นว่า สงครามระหว่างรัฐคือปัจจัยที่ทําให้เกิดการพัฒนาประเทศ เนื่องจากเป็นเสมือนตัวเร่งไปสู่สภาวะใหม่ที่ดีกว่า โดยช่วยขจัดฝ่ายที่เก่าแก่และล้าสมัยให้หมดสิ้นไป แล้วเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เข้มแข็งกว่าเข้ามาแทนที่ นอกจากนี้การทําสงครามยังเป็นวิธีการที่สามารถแก้ไขความเสื่อมทราม (Corruption) อันเป็นผลจากการมีสันติภาพอันถาวรอีกด้วย

34 แนวความคิดเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐ” มีอิทธิพลต่อลัทธิใด

(1) ประชาธิปไตย

(2) สังคมนิยม

(3) คอมมิวนิสต์

(4) ฟาสซิสต์

(5) เลเซแฟร์

ตอบ 4 หน้า 121, 132 แนวความคิดของเฮเกลที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐในลักษณะที่รัฐเป็นสถาบันที่มีอํานาจสูงสุดเหนือเอกชนหรือบุคคล และบุคคลจะต้องเคารพบูชารัฐนั้น ได้มีอิทธิพลต่อลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี และลัทธินาซีในเยอรมนีในเวลาต่อมา โดยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์โลกอย่างยิ่งใหญ่และกว้างขวาง

35 ตามแนวความคิดเรื่องจิตนิยม (Idealism) เฮเกลแบ่งความเป็นจริงออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง

(1) 2 ส่วน – สสารกับอสสาร

(2) 2 ส่วน – จิตกับกาย

(3) 2 ส่วน – จิตกับวัตถุ

(4) 2 ส่วน – ตัวตนและไม่ใช่ตัวตน

(5) 2 ส่วน – กายภาพกับชีวภาพ

ตอบ 1 หน้า 110 ในเรื่องจิตนิยม (Idealism) นั้น เฮเกล เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงจะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

1 สสาร คือ เป็นวัตถุ มองเห็น และจับต้องได้

2 อสสาร คือ ไม่เป็นวัตถุ มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้

36 ข้อใดเป็นการอธิบาย “การเปลี่ยนแปลง (Becoming)” ในทัศนะของเฮเกล

(1) ทุกสิ่งมีสภาวะที่เป็นอยู่ (Being) กับสภาวะที่ยังไม่ได้เป็น (Not Being) อยู่ในตัวของมันเอง

(2) ทุกสิ่งมีสภาวะที่ “ปฏิเสธ” (Negative) กับสภาวะธรรมชาติ

(3) ทุกสิ่งเป็น “สภาวะขัดแย้ง” กับประวัติศาสตร์

(4) ทุกสิ่งมีเหตุผล แต่ขัดแย้งกันเองเสมอ

(5) ทุกสิ่งเป็นพลวัตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ตอบ 1 หน้า 111 เฮเกล อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลง (Becoming) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพหรือสถานภาพของสรรพสิ่งทั้งหลายจากที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพอื่น ซึ่งแตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือ เขาเห็นว่าทุกสิ่งจะมีสภาวะที่เป็นอยู่ (Being) กับสภาวะที่ยังไม่ได้เป็น (Not Being) อยู่ภายในตัวของมันเองในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงทําให้เกิดการขัดแย้งระหว่างลักษณะทั้งสองขึ้นซึ่งการขัดแย้งนี้ก็จะนําไปสู่การผสมผสานเกิดเป็นสิ่งใหม่หรือสภาวะใหม่ที่ดีกว่าของเดิม

37 แนวความคิดใดของเฮเกลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการศึกษาเรื่องอํานาจทางการเมืองการปกครอง

(1) รัฐ

(2) ครอบครัว

(3) พระเจ้า

(4) องค์อธิปัตย์

(5) สังคมเข้มแข็ง

ตอบ 1 หน้า 116, 121 ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ “รัฐ” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของปรัชญาการเมืองของเฮเกล โดยเขาเห็นว่ารัฐควรเป็นสถาบันที่มีอํานาจสูงสุดในสังคม ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ที่ ทําให้ความคิดทางจริยธรรมและเสรีภาพของพลเมืองปรากฏเป็นจริงขึ้นมาในสังคม

38 อะไรเป็นตัวแทนอํานาจของ “รัฐ” ในทัศนะของเฮเกส

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) สิทธิประชาชน

(3) ครอบครัว

(4) กฎหมาย

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 120 เฮเกล เห็นว่า ตัวแทนอํานาจของ “รัฐ” ได้แก่

1 รัฐธรรมนูญหรือการบริหารภายในของแต่ละรัฐ

2 กฎหมายระหว่างประเทศ

3 ประวัติศาสตร์โลก

 

ฟาสซิสต์

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 39, 40,

(1) Irrationalism

(2) Nationalism

(3) Internationalism

(4) Social Darwinism

(5) Elitism

39 ลักษณะใดที่ไม่ปรากฏในลัทธิฟาสซิสต์

ตอบ 3 หน้า 301 – 302, (คําบรรยาย) หลักการพื้นฐานที่สําคัญของลัทธิฟาสซิสต์ มีดังนี้

1 หลักความไม่มีเหตุผล (Irrationalism) โดยมีความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลเป็นแรงผลักให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อส่วนรวม

2 หลักชาตินิยมหรือความรักชาติ (Nationalism) โดยสนับสนุนให้ประชาชนสร้างความรู้สึก รักชาติอย่างไม่มีเหตุผล

3 หลักทฤษฎีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของ Charles Darwin ซึ่งเรียกว่า Social Darwinism

4 หลักว่าด้วยรัฐ (State)

5 หลักว่าด้วยเรื่องผู้นํา (Elitism)

6 หลักว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ (Economic)

40 ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่มีเหตุผลเป็นแรงผลักให้ดําเนินการใด ๆ เพื่อส่วนรวม

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

 

ฮอบส์

41 ฮอบส์เป็นนักคิดที่สนับสนุนระบอบ

(1) ประชาธิปไตย

(2) ธนาธิปไตย

(3) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(4) อํามาตยาธิปไตย

(5) สังคมนิยม

ตอบ 3 หน้า 13, 25, 27 แม้ว่าฮอบส์จะสนับสนุนให้องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์หรือผู้ปกครองเป็นผู้ใช้อํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวตามหลักการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือ แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จก็ตาม แต่องค์อธิปัตย์ของฮอบส์นั้นจะเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ที่ได้อํานาจมาจากการทําสัญญาระหว่างประชาชน โดยที่ทุกคนตกลงยินยอมพร้อมใจหรือ เห็นพ้องต้องกันด้วยเสียงข้างมากที่จะมอบอํานาจให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย

42 ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง

(1) ในด้านกําลังกาย

(2) ในด้านอวัยวะ

(3) ในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน

(4) ในด้านความอ่อนแอเหมือน ๆ กัน

(5) ในด้านการใช้อาวุธ

ตอบ 3 หน้า 16 ฮอบส์ เห็นว่า ความเท่าเทียมกันทางร่างกาย หมายถึง ความเท่าเทียมกันในด้านการต่อสู้ความคิดอ่าน โดยเขาอธิบายว่า แม้คนเราจะมีความแตกต่างกันในด้านกําลังกายและความคิดอ่านก็ตาม แต่เขาไม่อาจจะอาศัยเหตุผลแห่งความแตกต่างนี้เป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ ของตนเหนือคนอื่นได้ตลอดไป ทั้งนี้เพราะว่าแม้คนที่อ่อนแอที่สุดก็มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะกําจัดคนที่แข็งแรงที่สุดได้ ซึ่งถ้าไม่กระทําการด้วยเล่ห์ก็โดยการร่วมมือกับผู้อื่น

43 สัญญาประชาคมเป็นสิ่งจําเป็น เพราะ

(1) มนุษย์ขาดวินัย

(2) ความอ่อนแอของพลังศาสนจักร

(3) มนุษย์รักและเคารพกติกา

(4) มนุษย์ต้องการความหลุดพ้น

(5) ธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบทําร้ายซึ่งกันและกัน

ตอบ 5 หน้า 21, 24 ฮอบส์ เห็นว่า การทําสัญญาประชาคมถือเป็นข้อตกลงระหว่างมนุษย์ที่จะยุติการกระทําอันตรายต่อกันและกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การทําสัญญาประชาคม ก็คือ การสละสิทธิตามธรรมชาติในส่วนที่จะทําร้ายผู้อื่นเพื่อปกป้องและรักษาตนเองให้ปลอดภัย ดังนั้นการบอกเลิกสัญญาจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่พึงกระทํา เพราะจะขัดแย้งกับกฎธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่ามนุษย์จะไม่ทําอะไรที่เป็นการทําร้ายตัวเอง

44 ฮอบส์เชื่อว่าสภาวะแห่งพันธะสัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อองค์อธิปัตย์

(1) ถูกโค่นล้มโดยปวงชน

(2) ถูกรัฐอื่นรุกราน

(3) ตกลงกับปวงชนที่จะยกเลิกสัญญา

(4) ถูกโค่นล้มโดยขุนนางอํามาตย์

(5) ไม่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน

ตอบ 5 หน้า 24 ฮอบส์ เห็นว่า ในกรณีที่องค์อธิปัตย์ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชนได้ หรือไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้ ก็หมายความว่า เขาได้สูญเสียอํานาจและหมดสภาพความเป็นองค์อธิปัตย์ไปแล้วโดยปริยาย สภาวะแห่งพันธะสัญญาก็จะสิ้นสุดลง แต่ละคนก็จะตกอยู่ในสภาวะธรรมชาติตามเดิม

45 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมนั้น “องค์อธิปัตย์ไม่มีวันที่จะกระทําผิด” ข้อความที่ขีดเส้นใต้อธิบายได้ จากเหตุผลใด

(1) การผูกมัดจากสัญญา

(2) การไม่ถูกผูกมัดโดยสัญญา

(3) การปฏิบัติไปตามตัวบทกฎหมาย

(4) การเป็นตัวแทนเจตจํานงทั่วไป

(5) การเป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย

ตอบ 2 หน้า 24 ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์จะทําหน้าที่เป็นเพียงผู้รับมอบอํานาจตามที่คู่สัญญาหรือประชาชนทั้งหลายได้ตกลงกันไว้ ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีข้อผูกพัน ใด ๆ ที่จะต้องปฏิบัติตามหรือรับผิดชอบต่อคู่สัญญา ซึ่งในเมื่อเป็นผู้ที่อยู่นอกเหนือสัญญาแล้ว ก็จะไม่มีการกระทําใด ๆ ขององค์อธิปัตย์ที่จะถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าองค์อธิปัตย์ จะทําอะไรก็ไม่มีความผิดนั่นเอง

46 เพราะเหตุใดผู้ใต้ปกครองถึงไม่บอกเลิกสัญญาประชาคม

(1) การบอกเลิกสัญญาเป็นการปฏิวัติ

(2) การบอกเลิกสัญญาเป็นการทําร้ายตัวเอง

(3) การบอกเลิกก่อให้เกิดรัฐบาลกรราช

(4) การบอกเลิกก่อความวุ่นวายทางการเมือง

(5) เงื่อนไขสัญญากําหนดไว้แล้วว่าบอกเลิกไม่ได้

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

47 เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทําแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่

(1) รัฐ

(2) รัฐบาล

(3) สังคม

(4) ข้อ 2 และ 3

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 22, 38, (คําบรรยาย) ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อสัญญาประชาคมได้กระทําขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียว สังคม รัฐ และรัฐบาลก็จะเกิดขึ้นตามมาทันที เพราะสังคม รัฐ และรัฐบาลเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นการล้มล้างรัฐบาลจึงเป็นการกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติตามเดิม เนื่องจากฮอบส์ไม่ได้แยก ความแตกต่างระหว่างสังคม รัฐ และรัฐบาลออกจากกันนั่นเอง

48 “อํานาจอธิปไตย” อันเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคมเป็นของใครโดยเฉพาะ

(1) ประชาชน

(2) สภาผู้แทนราษฎร

(3) คณะรัฐมนตรี

(4) คู่สัญญา

(5) บุคคลที่สาม

ตอบ 5 หน้า 21 – 22, 24 ฮอบส์ เห็นว่า อํานาจร่วม (Common Power) หรือการก่อตั้งรัฏฐาธิปัตย์นั้นเป็นผลมาจากการทําสัญญาประชาคมระหว่างคนทุกคนที่เป็นคู่สัญญากัน โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะมอบอํานาจและสละสิทธิตามธรรมชาติของตนให้แก่บุคคลที่สาม ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญา แต่จะอยู่ในฐานะเป็นองค์อธิปัตย์หรือรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้อํานาจร่วมหรืออํานาจอธิปไตยโดยอํานาจอธิปไตยนี้ถือเป็นอํานาจเด็ดขาดขององค์อธิปัตย์

49 “องค์อธิปัตย์” คือใคร

(1) พระมหากษัตริย์

(2) ผู้แทนราษฎร

(3) เลวิเอทัน

(4) ประชาชน

(5) เจตจํานงทั่วไป

ตอบ 1 หน้า 22, 24 – 25, 27 ในทัศนะของฮอบส์นั้น องค์อธิปัตย์หรือกษัตริย์จะทําหน้าที่เป็นผู้บริหารประเทศ โดยการใช้อํานาจทางการเมืองพิเศษที่เด็ดขาดและสูงสุด เพื่อควบคุมผู้ใต้ปกครองในสังคมมิให้ละเมิดสัญญา แต่ลักษณะการใช้อํานาจขององค์อธิปัตย์ก็มีขอบเขตหรือเงื่อนไขที่จะไม่ทําอันตรายต่อชีวิตของผู้ใต้ปกครอง

50 การใช้อํานาจขององค์อธิปัตย์สอดคล้องกับหลักการของแนวความคิดหรือทฤษฎีใด

(1) รัฐธรรมนูญ

(2) การกระจายอํานาจ

(3) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(4) ประชาธิปไตย

(5) นิติธรรม

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

 

สํานักอนุรักษนิยม (Conservative)

51 สํานักอนุรักษนิยมยึดถือหลักการใด

(1) หลักเสรีภาพ

(2) หลักกฎหมาย

(3) หลักแห่งเสรีภาพ

(4) หลักแห่งความเสมอภาค

(5) หลักประสบการณ์และหลักเชิงประจักษ์

ตอบ 5 หน้า 85 – 86 หลักการสําคัญของนักคิดในสํานักอนุรักษนิยม (Hume และ Burke) ก็คือ การปฏิเสธที่จะยอมรับและเชื่อถือในหลักเหตุผลนิยม โดยหันมาให้ความสําคัญและสนับสนุน ลัทธิประจักษนิยม (Empiricism of Empirical Study) อันหมายถึง การยึดถือหลักประสบการณ์และหลักเชิงประจักษ์ การสังเกต) เป็นสําคัญ

52 สิ่งที่กําหนดคุณค่าการกระทําของมนุษย์ในทัศนะของ David Hume

(1) ผลของการกระทํา

(2) อารมณ์

(3) ความรู้สึก

(4) ประสบการณ์ ที่มีอาการ

(5) เหตุผลและการรับรู้

ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) Hume เห็นว่า สิ่งที่เป็นตัวบอกหรือกําหนดคุณค่าการกระทําของมนุษย์ว่ามีคุณค่าแค่ไหน ดีหรือไม่ดีอย่างไร ก็คือความรู้สึก ซึ่งแม้ว่าในบางครั้งเหตุผลอาจช่วย นําการกระทําให้บรรลุผลแห่งคุณค่าได้เช่นกัน แต่บทบาทของเหตุผลยังเป็นรองความรู้สึกเพราะ “เหตุผลเป็นทาสของอารมณ์” นั่นเอง

53 รัฐที่ดีในทัศนะของ Hume

(1) รัฐประชาธิปไตย

(2) รัฐที่มีความเข้มแข็งมาก ๆ

(3) รัฐเผด็จการที่เมตตาธรรม

(4) รัฐคณาธิปไตย

(5) รัฐที่สร้างความยุติธรรมและสันติภาพ

ตอบ 5 หน้า 91 รัฐที่ดีในทัศนะของ Hume คือ รัฐที่มีหน้าที่ในการสร้างความยุติธรรมและสันติภาพกับความเป็นระเบียบในสังคมให้เกิดขึ้นได้

54 ทัศนะของ Burke ที่คล้ายกันกับ Aristotle คือ

(1) มนุษย์สมบูรณ์ได้ด้วยสติปัญญา

(2) มนุษย์สมบูรณ์ได้ด้วยการเรียนรู้

(3) มนุษย์สมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสังคมการเมือง

(4) มนุษย์สมบูรณ์ได้ด้วยกฎหมาย

(5) มนุษย์สมบูรณ์ได้ด้วยการพัฒนาตนเอง

ตอบ 3 หน้า 97 Burke มีทัศนะที่คล้ายกันกับ Aristotle บิดาทางรัฐศาสตร์ในเรื่องของมนุษย์กับสังคมการเมืองที่ว่า มนุษย์จะสมบูรณ์อยู่ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสังคมการเมืองหรืออยู่ใน Polis เท่านั้น

55 ในทัศนะของ David Hume “รากเหง้าความเป็นมาของรัฐ” มีที่มาจากอะไร

(1) สัญญาประชาคม

(2) ประโยชน์ของมนุษย์

(3) ความสามารถของมนุษย์ในการคิด

(4) สัญชาตญาณของมนุษย์

(5) ความต้องการทางสังคม

ตอบ 2 หน้า 89 – 90 ในทัศนะของ Hume นั้น สังคมการเมืองหรือรัฐมีรากเหง้าความเป็นมาจาก

1 “ความจําเป็น” ของมนุษย์ที่จะต้องชํารงรักษาสังคมให้มีอยู่เพื่อความยุติธรรม

2 “ความโน้มเอียงตามธรรมชาติ” ที่จะแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์

3 “นิสัย” ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยทําให้เกิดความเคยชินต่อการเคารพเชื่อฟัง

56 Burke ปรารถนาให้มีผู้ปกครองแบบใด

(1) ผู้ที่มาจากกติกาประชาธิปไตย

(2) ผู้ที่มีความสามารถ

(3) คนส่วนน้อยที่มีการศึกษาและมีทรัพย์เพียงพอ

(4) ราชาปราชญ์

(5) เผด็จการที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

ตอบ 3 หน้า 100, 102 Burke ยกย่องเฉพาะชนชั้นสูงให้เป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้ปกครอง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความสามารถโดยกําเนิด หรือคนส่วนน้อยที่มีการศึกษา มีทรัพย์เพียงพอหรือมีความมั่งคั่ง มียศถาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นจริงนั้นไม่มีคุณภาพที่จะปกครองตนเองได้

57 ข้อใดเป็นข้อสรุปของ “หน้าที่อันสําคัญยิ่งของรัฐสภา” ในทัศนะของ Burke

(1) ออกกฎหมาย

(2) ควบคุมรัฐบาล

(3) ตั้งและถอดถอนรัฐบาล

(4) ตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

(5) เป็นตัวแทนผลประโยชน์และความดีทั่ว ๆ ไปของชาติ

ตอบ 5 หน้า 101 ในทัศนะของ Burke นั้น สมาชิกรัฐสภา (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับสมาชิกวุฒิสภา)แต่ละคนไม่ใช่เป็นผู้แทนของเขตเลือกตั้ง แต่ถือว่าเป็นตัวแทนของชาติและผลประโยชน์ของชาติ ดังนั้นรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา) จึงต้องทําหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาติโดยส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อท้องถิ่นแต่เพื่อความดีทั่ว ๆ ไปของชาติ

58 ข้อใดไม่ใช่ทัศนะของ Burke

(1) กลุ่มชนชั้นสูงจะผูกขาดอํานาจ

(2) ต่อต้านการปฏิวัติในฝรั่งเศส

(3) สนับสนุนการปฏิวัติอันเรื่องเกียรติในอังกฤษ

(4) สนับสนุนการล้มล้างรัฐบาลหากรัฐบาลใช้อํานาจไปในทางที่ผิด

(5) การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้แต่ต้องห่วงดุลยภาพของสังคม

ตอบ 1 หน้า 94 – 97, 100, (คําบรรยาย) ทัศนะของ Burke นอกเหนือจากตัวเลือกข้อ 1, 2, 3 และ 5 แล้ว Burke ยังมีความเชื่ออีกว่า ชนชั้นสูงจะเป็นผู้พิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ และช่วยปกป้องสังคม ให้ปราศจากการผูกขาดอํานาจจากระบบเผด็จการอํานาจนิยม (Authoritarianism) หรือเผด็จการแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นคือ กลุ่มชนชั้นสูงจะไม่ผูกขาดอํานาจนั่นเอง

 

สํานักประโยชน์นิยม (The Utilitarians)

59 สํานักประโยชน์นิยมยึดหลักคิดแบบใดเป็นหลัก

(1) หลักมาตรฐานทางศีลธรรม

(2) หลักการปกครองตนเอง

(3) หลักแห่งความเสมอภาค เสรีภาพ

(4) หลักความสุขของคนหมู่มาก

(5) หลักประสบการณ์

ตอบ 4 หน้า 138, 142, (คําบรรยาย) หลักคิดที่สําคัญของสํานักประโยชน์นิยมที่ได้นํามาใช้ในการกําหนดนโยบายของรัฐ คือ “หลักการคํานึงถึงความสุขของคนหมู่มาก” หรือ“หลักประโยชน์สูงสุดของคนจํานวนมากที่สุด”

60 รูปแบบของ “รัฐ” ที่ดีในทัศนะของ Bentham

(1) แบบอํามาตยาธิปไตย

(2) รัฐประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

(3) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(4) รัฐบาลสายกลาง

(5) รูปแบบใดก็ได้ที่ประชาชนอยู่มีความสุข

ตอบ 3 หน้า 144 145 Bentham เห็นว่า รัฐที่ดีนั้นควรปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเพราะเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน อีกทั้งยังต้องประกอบด้วยกฎหมายที่ดีและตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งหลักประโยชน์นิยมด้วย

61 ข้อเสนอของ Bentham ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) ให้เลือกตั้งทุกปี

(2) ให้เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเบอร์เดียว

(3) เลือกแบบแบ่งเขต ผสมแบบสัดส่วน

(4) ให้มีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี

(5) ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจํานวนหนึ่งในสามทุก ๆ 2 ปี

ตอบ 1 หน้า 143 – 145, 152 Bentham ได้เสนอให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรโดยต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกปี ซึ่งประชากรเพศชายเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง และจัดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรปีละครั้ง เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีเวลาพอเพียงที่จะไปพบราษฎรในท้องถิ่นของตน ส่วนสภาซีเนตหรือวุฒิสภานั้นเขาเห็นว่าไม่มีความจําเป็นและควรยกเลิกไปเสีย

62 ข้อใดเป็นทัศนะของ James Mill ต่อธรรมชาติของมนุษย์

(1) มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

(2) มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพเท่ากัน

(3) มนุษย์ทุกคนมีเหตุผลเท่ากัน

(4) มนุษย์หวังประโยชน์สูงสุด

(5) มนุษย์มีเสรีภาพอันสมบูรณ์ถ่ายโอนมิได้

ตอบ 4 หน้า 150 – 151 ในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์นั้น James Mill เห็นว่า มนุษย์ทุกคนจะมุ่งแสวงหาความสุขให้มากที่สุดในชีวิต แต่มนุษย์ยังไม่สามารถปกครองตนเองได้ และในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ไม่ไว้วางใจการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือโดยกลุ่มคน เพราะกลัวเสียผลประโยชน์

63 สํานักประโยชน์นิยมเชื่อว่า สาเหตุที่ประชาชน “เชื่อฟังผู้ปกครอง ” เพราะอะไร

(1) เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกรัฐบาล

(2) เพราะเชื่อมั่นในกฎหมาย

(3) เพราะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของตน

(4) เพราะเกรงกลัวต่อความผิด

(5) เพราะการกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization) ที่ได้ผล

ตอบ 3 หน้า 138 นักคิดสํานักประโยชน์นิยมนั้นมีทัศนะตรงกับ Thomas Hobbes ที่ว่า “คนเราเชื่อฟังผู้ปกครองไม่ใช่เป็นเพราะพันธะข้อผูกพันทางกฎหมายหรือทางศีลธรรม หากเป็นเพราะว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ของตน”

64 “การห้ามแสดงความคิดเห็น ถือว่าเป็นการปล้นมนุษย์” เป็นทัศนะของใคร

(1) Jeremy Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) Karl Marx

(5) T.H. Green

ตอบ 3 หน้า 152, 157 – 159, 162 163 แนวความคิดที่สําคัญของ John Stuart Mill ได้แก่

1 เสนอให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้เท่าเทียมกับบุรุษ

2 บุคคลที่ทรยศต่อเพื่อนที่ไว้วางใจเขาย่อมมีโทษผิด

3 ประโยชน์เป็นเครื่องวัดความดีความชั่วของการกระทํา

4 ให้ความสําคัญในเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างมาก โดยเชื่อว่า “การห้ามแสดงความคิดเห็นถือว่าเป็นการปล้นมนุษย์”

5 การปกครองควรมี 2 ขั้นตอน คือ การปกครองโดยผ่านผู้แทน และการปกครองโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ

6 ให้ความสําคัญกับสิทธิของคนกลุ่มน้อย (Minority Right) โดยเสนอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

7 ผลของการกระทําเป็นเครื่องตัดสินว่าการกระทํานั้นถูกหรือผิด ฯลฯ

(ส่วนทัศนะของ Emmanuel Kant นั้น ถือว่า ตัวชี้ขาดของ “ผลของการกระทํา” อยู่ที่เจตนา)

65 ผู้ที่เสนอว่า การปกครองควรมี 2 ขั้นตอน คือ การปกครองโดยผ่านผู้แทน และการปกครองโดยผู้ที่เชี่ยวชาญ คือใคร

(1) Jeremy Bentham

(2) James Mill

(3) John Stuart Mill

(4) john Locke

(5) Thomas Hobbes

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 ข้อใดไม่ใช่ทัศนะของ John Stuart Mill

(1) ให้ความสําคัญในสิทธิของคนกลุ่มน้อย

(2) เสนอให้สตรีมีสิทธิในการเลือกตั้ง

(3) ตัวชี้ขาดของ “ผลของการกระทํา” อยู่ที่เจตนา

(4) บุคคลที่ทรยศต่อเพื่อนที่ไว้วางใจเขาย่อมมีโทษผิด

(5) ประโยชน์เป็นเครื่องวัดความดีความชั่วของการกระทํา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

 

– มองเตสกิเออ (Montesquieu)

67 “สงคราม” เกิดขึ้นเพราะอะไรในทัศนะของมองเตสกิเออ (Montesquieu)

(1) เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์

(2) เป็นภาวะสงครามของทุก ๆ คน ต่อทุก ๆ คน

(3) เป็นเพราะมนุษย์สะสมอํานาจ

(4) มนุษย์โดยสัญชาตญาณชอบทําร้ายกัน

(5) เกิดขึ้นภายหลังเมื่อมนุษย์มีสังคมการเมืองแล้ว และมนุษย์ลืมความกลัว

ตอบ 5 หน้า 50 – 51 มองเตสกิเออ กล่าวถึงสภาวะสงครามว่าเกิดขึ้นหลังจากที่มนุษย์ได้เข้าสู่สังคมการเมืองหรือดํารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นแล้ว ทําให้มนุษย์ลืมธรรมชาติของตนเสีย กล่าวคือ มนุษย์ได้ลิ้มความอ่อนแอ ความขี้ขลาด และความหวาดกลัวซึ่งเป็นสิ่งที่เคยมีอยู่ก่อน ดังนั้น สังคมจึงได้กลายเป็นเครื่องมือในการใช้กําลังของมนุษย์

68 ทัศนะของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ต่อมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ

(1) ขี้ขลาดและหวาดกลัว

(2) ทําร้ายซึ่งกันและกัน

(3) มีความสงบสันติ มีเหตุมีผล

(4) มีความเสมอภาค

(5) มนุษย์คิดว่าตนเองเหนือกว่าบุคคลอื่น

ตอบ 1 หน้า 49 มองเตสกิเออ เห็นว่า มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์โลกที่มีความอ่อนแอ ขี้ขลาดและหวาดกลัวเป็นคุณสมบัติประจําตัว ดังนั้นจึงทําให้ไม่มีใครกล้าที่จะรุกรานซึ่งกันและกัน เพราะต่างคนต่างก็หวาดกลัวซึ่งกันและกัน โดยก่อนหน้าที่สังคมจะเกิดขึ้นนั้น แต่ละคนจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวและคิดว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น

69 ข้อใดเป็นกฎเกณฑ์ที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง

(1) State Law

(2) Civil Law

(3) Rule of Law

(4) Political Law

(5) International Law

ตอบ 4 หน้า 51 มองเตสกิเออ ได้จําแนกกฎหมายที่มนุษย์สร้างหรือบัญญัติขึ้นออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) คือ กฏเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ

2 กฎหมายการเมือง (Political Law) คือ กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง (ประชาชน)

3 กฎหมายเอกชน (Civil Law) คือ กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน

70 ข้อใดเป็นผลดีอันเกิดจากการแยกอํานาจ (Separation of Power)

(1) การแบ่งงานกันทํา

(2) ประชาชนมีส่วนร่วม

(3) เกิดประสิทธิภาพการบริหาร

(4) การผ่อนปรนการใช้อํานาจ

(5) ประเทศมีเสถียรภาพและมันคงมากขึ้น

ตอบ 4 หน้า 58, 62, (คําบรรยาย) มองเตสกิเออ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลสายกลางเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีหลักประกันในอิสรภาพทางการเมือง โดยจัดให้มีระบบการแบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) และระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจขององค์กรทั้ง 3 ฝ่าย อันได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ซึ่งทัศนะดังกล่าวนี้จะเป็นผลดีในด้านการผ่อนปรนการใช้อํานาจปกครอง และยังถือเป็นรากฐานของระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีและระบบกึ่งประธานาธิบดี-ถึงรัฐสภาในปัจจุบัน

71 ความคิด “การแยกอํานาจ” ของมองเตสกิเออได้มาจากการศึกษาระบบการเมืองของประเทศใด

(1) ฝรั่งเศส

(2) อังกฤษ

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) อิตาลี

(5) สวิตเซอร์แลนด์

ตอบ 2 หน้า 48 ความคิดทางการเมืองในเรื่องการแยกอํานาจที่มองเตสกิเออเสนอนั้น เป็นผลมาจากการศึกษาระบบการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งมองเตสกิเออเข้าใจว่าเป็นระบบการแบ่งแยกอํานาจ แต่ในความเป็นจริงปรากฏว่ามองเตสกิเออเข้าใจผิดในเรื่องนี้

72 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจ (Check and Balance) ปัจจุบันใช้ในประเทศใด (เลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียง 1 ข้อ)

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) เยอรมนี

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตอบ 4 หน้า 62 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลแห่งอํานาจ (Check and Balance) ที่มองเตสกิเออเสนอนั้น นับว่าเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบประธานาธิบดี (Presidential System) ที่มีใช้ อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

73 การตรวจสอบภายในอํานาจตุลาการของ “รัฐบาลสายกลาง” สามารถกระทําได้โดยวิธีใด

(1) การแต่งตั้ง

(2) การคัดเลือก

(3) การเลือกตั้งในหมู่ตุลาการ

(4) การสอบแข่งขัน

(5) การตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

ตอบ 3 หน้า 60 มองเตสกิเออ เห็นว่า การตรวจสอบภายในอํานาจตุลาการของรัฐบาลสายกลางนั้นสามารถกระทําได้โดยการเลือกตั้งผู้ทําหน้าที่ตุลาการและการให้ทําหน้าที่เป็นคราว ๆ ไปซึ่งถือว่าเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้อีกทางหนึ่ง

74 รัฐบาลแบบใดที่มีแต่ความเสื่อมในตัวของมันเอง ตามทัศนะ Montesquieu

(1) แบบคณาธิปไตย (Oligarchy

(2) แบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy)

(3) แบบเผด็จการ (Despotism)

(4) แบบประชาธิปไตยเกินขอบเขต

(5) แบบสังคมนิยม (Socialism)

ตอบ 3 หน้า 57 มองเตสกิเออ อธิบายว่า รัฐบาลแบบเผด็จการ (Despotism) นั้นเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่มีความเสื่อมทรามอยู่ในตัวของมันเอง ซึ่งโดยปกติแล้วรัฐบาลแบบนี้จะมีเสถียรภาพ ตลอดไปก็ต่อเมื่อสภาพของสังคมไม่เปลี่ยนแปลงหรือความเฉลียวฉลาดของประชาชนอยู่คงที่ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

75 ผู้ที่เหมาะสมในการใช้อํานาจบริหาร ในทัศนะของมองเตสกิเออ

(1) ผู้ที่ประชาชนเลือกมา

(2) กษัตริย์โดยความช่วยเหลือของชนชั้นสูง

(3) ประชาชนโดยรวม

(4) ชนชั้นสูงที่มีการศึกษาดี มีอายุและมีทรัพย์

(5) ขุนนาง (Aristocrats)

ตอบ 2 หน้า 59 – 60 มองเตสกิเออ ได้แบ่งผู้ใช้อํานาจของรัฐบาลสายกลางออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 อํานาจนิติบัญญัติ เป็นอํานาจที่ใช้โดยสภา 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและสภาสูง

2 อํานาจบริหาร เป็นอํานาจที่ใช้โดยกษัตริย์ด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มขุนนางหรือชนชั้นสูง

3 อํานาจตุลาการ เป็นอํานาจที่ใช้โดยองค์กรที่ไม่ถาวร หรือตุลาการ

 

– มาร์กซ์, เลนิน และเมา เซ ตุง

76 ตามแนวคิดของ Marx การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้เมื่อ

(1) ระบบทาสได้พัฒนาถึงขั้นที่เจริญสูงสุด

(2) ระบบศักดินาได้พัฒนาถึงขั้นที่เจริญสูงสุด

(3) ระบบทุนนิยมได้พัฒนาถึงขั้นที่เจริญสูงสุด

(4) ระบบคอมมิวนิสต์ได้พัฒนาถึงขั้นที่เจริญสูงสุด

(5) ระบบการเมืองได้พัฒนาถึงขั้นที่เจริญสูงสุด

ตอบ 3 หน้า 190 Max ได้ทํานายอย่างมั่นใจถึงอนาคตของสังคมว่า สังคมทุนนิยมนั้นเมื่อพัฒนาเต็มที่ถึงขั้นที่เจริญสูงสุด จะถูกปฏิวัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) และสังคมจะพัฒนาไปเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ในท้ายที่สุด 77 การขยายตัวของระบบใดต่อไปนี้ที่ทําให้เกิด “ชนชั้นกลาง” ขึ้นในทัศนะของ Marx

(1) ระบบการเมือง

(2) ระบบเศรษฐกิจ

(3) ระบบสังคม

(4) ระบบอุตสาหกรรม

(5) ระบบเกษตรกรรม

ตอบ 4 หน้า 172 ในช่วงปี ค.ศ. 1815 – 1848 นั้น เยอรมนีกําลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คือ สังคมกําลังพัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ผลจากการขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมได้ทําให้มีชนชั้นกลางเกิดขึ้น ซึ่งชนชั้นกลางนี้ก็คือ พวกพ่อค้านั้นเอง

78 “ชนชั้นกลาง” ก่อนปี ค.ศ. 1848 เป็นพวกที่มีแนวคิดในลักษณะ

(1) นิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(2) นิยมเผด็จการ

(3) นิยมอนุรักษนิยม

(4) นิยมเสรีนิยม

(5) นิยมทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 4 หน้า 172 173 สถานการณ์ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1848 ระบบการเมืองพัฒนาล้าหลังกว่าระบบเศรษฐกิจ จะเห็นได้จากระบบเศรษฐกิจจะมีลักษณะเป็นเศรษฐกิจแบบตลาด โดยที่ระบบการเมืองและกฎหมายจะยังคงเป็นแนวคิดแบบศักดินาอยู่ กล่าวคือ ยังไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีรัฐธรรมนูญ และคนมีความคิดทางการเมืองแตกต่างกันออกไป โดยชนชั้นฟิวดัล (ศักดินา) จะมีแนวความคิดอนุรักษนิยม ส่วนชนชั้นกลางจะมีแนวความคิดเสรีนิยม

79 “การให้ความสนใจต่อชนชั้นที่ยากจน” ของ Marx ได้รับอิทธิพลมาจาก

(1) นักปราชญ์ชาวเยอรมัน

(2) นักปราชญ์ชาวอังกฤษ

(3) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส

(4) นักปราชญ์ชาวกรีก

(5) เกิดในตัวของ Marx เอง ตอบ 3 หน้า 173 คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Max) ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ซัง ซิมองต์ (Saint Simon) ซึ่งมีผลต่อการกําหนดทัศนะในการมองโลกของ Marx ตั้งแต่เด็กคือการให้ความสนใจต่อชนชั้นที่ยากจนในสังคมนั่นเอง

80 แนวคิดที่ว่า “คนเป็นผู้สร้างศาสนา ศาสนามิได้สร้างคน” นําไปสู่หลักคิดที่ว่า

(1) ศาสนา คือ เครื่องมือในการสร้างความสุขของสังคม

(2) ศาสนา คือ ความเจริญทางจิตวิญญาณ

(3) ศาสนา คือ ความร่วมมือร่วมใจของประชาชน

(4) ศาสนา คือ เครื่องมือในการสร้างชาติ

(5) ศาสนา คือ เครื่องมือในการมอมเมาประชาชน

ตอบ 5 หน้า 174 175, (คําบรรยาย) Marx กล่าวว่า “คนเป็นผู้สร้างศาสนา ศาสนามิได้สร้างคน” ซึ่งเขามองว่า ศาสนาเป็นวิธีที่คนที่ถูกกดขี่แสดงความรู้สึกออกมา เมื่อหมดหวังที่จะมีความเป็นอยู่ ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นคนที่กดขี่จึงใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการมอมเมาประชาชนหรือเกลี้ยกล่อมให้ทุกคนยอมรับสภาพของตนเอง โดย Marx จะเรียกศาสนาว่าเป็น “ฝิ่นของประชาชน”

81 “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” ได้รับอิทธิพลมาจากความวุ่นวายทางการเมืองของประเทศ

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) อเมริกา

(4) สเปน

(5) เบลเยียม

ตอบ 2 หน้า 175 ในช่วงที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศสหลายครั้งนั้น Marx และ Engels ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง คําประกาศคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) ขึ้น โดย Marx ได้ใช้ความวุ่นวาย ทางการเมืองในช่วงนั้นส่งเสริม “ทฤษฎีการต่อสู้ทางชนชั้น” จนเขาถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเนรเทศออกจากกรุงบรัสเซล

82 Mark เชื่อว่าสิ่งที่ทําให้สังคมมีความก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ คือ

(1) การเมือง

(2) ความขัดแย้ง

(3) เศรษฐกิจ

(4) ความร่วมมือ

(5) ความปรองดอง

ตอบ 2 หน้า 178 Max ได้รับอิทธิพลทางความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสังคมมาจาก “กระบวนการวิภาษวิธี”หรือความเป็นปฏิปักษ์ขัดแย้งของ Friedrich Hegel โดยเขาเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีความขัดแย้งกันในตัวมันเอง และความขัดแย้งนี้จะช่วยพัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์ให้ ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ

83 “ทุนนิยม” เป็นระบบที่เน้นหนักในเรื่องของ

(1) กําไร

(2) การอยู่รอดของสังคม

(3) ความก้าวหน้าทางวิทยาการ

(4) การเกื้อกูลกันของมนุษย์

(5) คุณธรรม

ตอบ 1 หน้า 183, (คําบรรยาย) Marx อธิบายว่า สิ่งที่เป็นหัวใจของระบบทุนนิยมหรือสิ่งที่นายทุนคํานึงถึงคือ กําไรหรือผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น โดยนายทุนจะพยายามเพิ่มทุนคงที่หรือเครื่องจักร ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กําไรลดลง ในขณะเดียวกันก็พยายามรักษาอัตราค่าจ้างให้เพียงพอต่อการประทังชีวิต นั่นคือ ทุนที่เปลี่ยนแปลงจะต่ำอยู่เสมอเพื่อให้ได้กําไรเพิ่มขึ้นนั่นเอง

84 “มูลค่าส่วนเกิน” (Surplus Value) หมายถึง

(1) สิ่งที่กรรมกรไม่ควรได้

(2) สิ่งที่กรรมกรควรได้ตามสิทธิ

(3) สิ่งที่กรรมกรควรได้ แต่นายทุนฉกไป

(4) สิ่งที่นายทุนควรได้ตามสิทธิ์

(5) สิ่งที่นายทุนควรได้ แต่กรรมกรฉกไป

ตอบ 3 หน้า 183 มูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) คือ ส่วนของผลตอบแทนหรือค่าแรงที่เกิดจากเวลาส่วนเกินที่กรรมกรควรจะได้รับแต่นายทุนฉกไปหรือโกงไป เช่น ในการผลิตสินค้า นายทุน จะให้ค่าจ้างกรรมกร โดยให้ทํางาน 16 ชั่วโมง แต่เวลาที่กรรมกรต้องใช้ตามค่าจ้างจริง ๆ เพียง 9 ชั่วโมง ดังนั้นเวลาที่เหลืออีก 7 ชั่วโมง จึงเป็นเวลาส่วนเกินหรือมูลค่าส่วนเกินที่นายทุนเอาไปเป็นกําไรของตัวเอง

85 ในสังคมใดที่มนุษย์ในระดับล่าง เช่น กรรมกรจะเกิดความรู้สึกแปลกแยกกับการดํารงชีวิตมากที่สุด

(1) สังคมดึกดําบรรพ์

(2) สังคมทาส

(3) สังคมศักดินา

(4) สังคมทุนนิยม

(5) สังคมคอมมิวนิสต์

ตอบ 4 หน้า 180 – 188, (คําบรรยาย) Marx อธิบายว่า สังคมจะมีการพัฒนาเป็นยุค ๆ ทั้งหมด 5 ยุค ตามรูปแบบการผลิต ได้แก่

1 ยุคสังคมดึกดําบรรพ์ (สังคมบุพกาล) เป็นสังคมที่ไม่มีเครื่องมือการผลิต

  1. ยุคสังคมทาส เป็นสังคมที่มนุษย์เริ่มมีเครื่องมือการผลิต มีการสะสมผลผลิต มีทรัพย์สินส่วนตัวและเริ่มมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนายทาสที่เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตและชนชั้นทาสที่ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต การ

3 ยุคสังคมศักดินาหรือฟิวดัล เป็นสังคมที่มีเครื่องมือการผลิตที่ก้าวหน้า มีการใช้เครื่องจักร

4 ยุคสังคมทุนนิยม เป็นสังคมที่กดขี่ทางชนชั้นและลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกรรมกรซึ่งทําให้แรงงานกลายเป็นสินค้า และเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้กรรมกรมีความรู้สึกแปลกแยก กับการดํารงชีวิตมากที่สุด ในขณะที่ทํางานตามความสามารถและพอใจที่จะรับค่าตอบแทนตามความต้องการหรือความสามารถของแต่ละคน

5 ยุคสังคมคอมมิวนิสต์ เป็นสังคมที่ไร้ชนชั้นหรือไม่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น เพราะสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทุกคนทํางานเต็มที่ตามความสามารถและพอใจที่จะรับค่าตอบแทนตามความจําเป็นของตนเอง

86 ในสังคมใดที่ “คนจะได้รับค่าตอบแทนตามความต้องการจากการที่ทํางานเต็มความสามารถ

(1) สังคมคอมมิวนิสต์

(2) สังคมทุนนิยม

(3) สังคมศักดินา

(4) สังคมทาส

(5) สังคมดึกดําบรรพ์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

87 พลังในการปฏิวัติ เพื่อเปลี่ยนสังคมจาก “ทุนนิยม” ไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ Marx ระบุว่าต้องเป็นพลังของ ชนชั้นใด

(1) ชาวนาชาวไร่

(2) กรรมกร

(3) กรรมกรและชาวนาชาวไร่

(4) นายทุน ขุนศึก

(5) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

88 การปฏิวัติในประเทศรัสเซีย เกิดขึ้นใน

(1) ปี ค.ศ. 1789

(2) ปี ค.ศ. 1848

(3) ปี ค.ศ. 1917

(4) ปี ค.ศ. 1932

(5) ปี ค.ศ. 1949

ตอบ 3 หน้า 199 ในปี ค.ศ. 1917 นิโคไล เลนิน (Nicolai Lenin) ได้อ้างว่า รัสเซียมีการปฏิวัติซึ่งเป็นการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพที่เกิดขึ้นตามคําทํานายของมาร์กซ์

89 การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติในประเทศรัสเซีย มีผลกระทบมาจาก

(1) การเมือง

(2) เศรษฐกิจ

(3) สังคม

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 202 การปฏิวัติในประเทศรัสเซียเกิดขึ้นจากสาเหตุสําคัญทางการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นธรรม คือความขัดแย้งจากการปกครองของสถาบันกษัตริย์ (กษัตริย์ซาร์) ทําให้รัสเซีย เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองประเทศจากระบบกษัตริย์มาเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ในที่สุด

90 การลุกขึ้นมาทําการปฏิวัติในประเทศรัสเซีย Lenin ระบุว่า พลังในการปฏิวัติ คือ

(1) กรรมกร

(2) ชาวนาชาวไร่

(3) กรรมกรบวกชาวนาชาวไร่

(4) นายทุนและขุนศึก

(5) กรรมกรและขุนศึก

ตอบ 3 หน้า 186, 200 Lenin เห็นว่า พลังในการที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัติสังคมเพื่อขจัดระบบทุนนิยมก็คือ ชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร) และชาวนาชาวไร่เข้าร่วมด้วย ส่วน Mark มองว่าพลังในการที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัติสังคมนั้นจะต้องเป็นชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้น

91 คุณสมบัติของ “นักปฏิวัติอาชีพ” ตามทัศนะ Lenin

(1) เป็นชนชั้นกรรมาชีพที่มีจํานวนน้อยและมีจิตสํานึกทางการเมือง

(2) ต้องมีวินัยสูง

(3) เป็นชนชั้นใดก็ได้ที่มีจํานวนน้อยและมีจิตสํานึกทางการเมือง

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 203 ในทัศนะของ Lenin นั้น นักปฏิวัติอาชีพหรือชนชั้นปัญญาชนก็คือ ผู้ที่จะมาทําหน้าที่เป็นแกนกลางหรือผู้นําในการปฏิวัติและปลุกจิตสํานึกทางการเมือง ซึ่งนักปฏิวัติอาชีพนี้ไม่จําเป็น ต้องมาจากชนชั้นกรรมาชีพ แต่จะมาจากชนชั้นใดก็ได้ที่มีจิตสํานึกทางการเมือง มุ่งแสวงหาความรู้ในการปฏิวัติ และที่สําคัญคือ จะต้องมีจํานวนน้อยและต้องมีวินัยสูง

92 ในสังคมยุคใดที่ Lenin ระบุว่า สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

(1) ยุคคอมมิวนิสต์

(2) ยุคทุนนิยม

(3) ยุคศักดินา

(4) ยุคทาส

(5) ยุคดึกดําบรรพ์

ตอบ 2 หน้า 205 Lenin เชื่อว่า หากสังคมอยู่ในยุคทุนนิยม สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสงครามเป็นผลมาจากการมีเครื่องมือการผลิตไว้ในครอบครอง นั่นคือ การพัฒนาที่ไม่เท่ากัน ของระบบทุนนิยมจะทําให้เกิดสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

93 การปฏิวัติในทัศนะของ Lenin แตกต่างไปจาก Marx ในข้อใด

(1) ต้องเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศพร้อม ๆ กัน

(2) ต้องมีเงื่อนไขมาจากเศรษฐกิจ

(3) ต้องเกิดขึ้นทีละประเทศ

(4) เป็นการปฏิวัติที่เกิดขึ้น

(5) เน้นพลังจากกรรมกร

ตอบ 3 หน้า 206 207 การปฏิวัติในทัศนะของ Lenin แตกต่างไปจาก Marx และ Engels คือ การปฏิวัติสามารถเกิดขึ้นในประเทศเดียว (ที่ละประเทศ) ก็ได้ ไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน ในหลายประเทศ ภายใต้เงื่อนไขทางการเมือง ไม่จําเป็นต้องมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และการปฏิวัติจะสําเร็จเมื่อมีการใช้ความรุนแรงและใช้กําลังอาวุธอย่างสูงสุด

94 พัฒนาการขั้นตอนสุดท้ายของทุนนิยม ตามทัศนะของ Lenin คือ

(1) ระบบจักรวรรดินิยม

(2) ระบบคอมมิวนิสต์

(3) ระบบศักดินา

(4) ระบบเสรีนิยม

(5) ระบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 210 211 ทฤษฎีจักรวรรดินิยม เป็นแนวคิดของ Lenin ที่ถูกนํามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาโครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันของระบบเศรษฐกิจและการเมือง โดย Lenin อธิบายว่า ทําไมจึงไม่มีการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในประเทศทุนนิยมที่เจริญเต็มที่ ซึ่งคําตอบก็คือ ในระบบทุนนิยมนั้นจะมีการสร้างวิธีการลดความรุนแรงของความขัดแย้งในสังคมทุนนิยมลง โดยการส่งความขัดแย้งไปยังอาณานิคมทั่วโลก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาขั้นสุดท้ายของระบบทุนนิยมก็คือระบบจักรวรรดินิยมนั่นเอง

95 “การทําลัทธิ Marx ให้เป็นแบบจีนนั้น” หมายถึง

(1) นําเอาลัทธิ Marx ไปตกแต่งให้เป็นภาษาจีน

(2) นําเอาลัทธิ Marx ไปปรับให้ใช้ได้กับสถานการณ์ในจีนที่เกิดขึ้นจริง

(3) นําเอาลัทธิ Marx มาร่างขึ้นใหม่โดยใช้แนวคิดของ Mao ซึ่งเป็นคนจีน

(4) นําเอาลัทธิ Marx ไปปะปนกับปรัชญาการเมืองของนักปรัชญาจีน เช่น ขงจื้อ เป็นต้น

(5) นําเอาลัทธิ Marx ไปให้คนจีนทั้งประเทศช่วยกันแปลงแก้ไข เพื่อให้เป็นแบบจีนจริง ๆ

ตอบ 2 หน้า 223 “การทําสัทธิ Marx ให้เป็นแบบจีน” ในแนวคิดของเมา เซ ตุง (Mao Tse Tung) หมายถึง การนําเอาลัทธิ Marx ไปปรับให้ใช้ได้กับสถานการณ์ในจีนที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง หรือการศึกษาลัทธิ Max โดยไม่ละเลยเงื่อนไขประวัติศาสตร์และสังคมของจีน มิใช่นําลัทธิ Max ที่เป็นรูปธรรมที่มองไม่เห็นมาใช้ แต่เป็นลัทธิ Marx แบบจีน ๆ ที่คนธรรมดาสามารถเข้าใจได้

96 Mao เชื่อว่า “ประวัติศาสตร์” เป็นเรื่องของ

(1) การต่อสู้ของปรัชญาในแต่ละบุค

(2) การต่อสู้ของชนชั้น

(3) การต่อสู้ของจิตนิยมกับวัตถุนิยม

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 224 Ma๐ เชื่อว่า ประวัติศาสตร์เป็นการแสดงออกถึงการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นผู้กดขี่กับชนชั้นผู้ถูกกดขี่ และยังเป็นการแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างจิตนิยมกับวัตถุนิยมอีกด้วย โดยชนชั้นผู้กดขี่จะยึดหลักการจิตนิยม ส่วนชนชั้นผู้ถูกกดขี่จะยึดหลักการวัตถุนิยม และทั้ง 2 ฝ่ายต้องพัฒนาหลักการของตนเองมาใช้เป็นอาวุธต่อสู้กันด้วย

97 ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุน แก้ไขได้โดย

(1) การปฏิวัติประชาธิปไตย

(2) การปฏิวัติสังคมนิยม

(3) การปฏิวัติประชาชาติ

(4) แก้ไขโดยการแปรเกษตรกรรมให้เป็นแบบรวมหมู่

(5) แก้ไขโดยอาศัยให้แต่ละชนชั้นวิจารณ์ตนเอง

ตอบ 2 หน้า 227 Ma๐ กล่าวว่า ความขัดแย้งที่มีคุณภาพแตกต่างกัน ก็ต้องแก้ด้วยวิธีการที่มีคุณภาพแตกต่างกัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุนแก้ด้วยการปฏิวัติ สังคมนิยม, ความขัดแย้งระหว่างมวลประชาชนกับระบอบศักดินาแก้ด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย,ความขัดแย้งระหว่างเมืองขึ้นกับจักรวรรดินิยมแก้ด้วยการปฏิวัติประชาชาติ เป็นต้น

98 การปฏิวัติในจีนตามทัศนะของเมา เซ ตุง มีเป้าหมายอยู่ที่

(1) ล้มล้างนายทุน

(2) ล้มล้างการปกครองของจักรวรรดินิยมต่างชาติ

(3) ล้มล้างพวกปฏิกิริยา

(4) ข้อ 1 และ 2

(5) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 229 Mao อธิบายว่า เป้าหมายของการปฏิวัติจีน คือ การล้มล้างการปกครองของจักรวรรดินิยมต่างชาติและพวกปฏิกิริยา แต่มิได้ทําลายส่วนหนึ่งของลัทธิทุนนิยม ซึ่งสามารถใช้ต่อต้านจักรวรรดินิยมและระบบฟิวดัล

99 Mao ระบุว่า “สงคราม”

(1) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

(2) เป็นรูปแบบสูงสุดของการต่อสู้

(3) เป็นสิ่งที่แก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ ตอบ 4 หน้า 232 “ทฤษฎีอํานาจมาจากปากกระบอกปืน” ของเมา เซ ตุง นั้นเป็นทฤษฎีที่เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิวัติจีนระหว่างปี ค.ศ. 1930 – 1940 ซึ่งเห็นว่าสงคราม เป็นรูปแบบสูงสุดของการต่อสู้ และสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสงครามเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้

100 ทฤษฎีที่เมา เซ ตุง เรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิวัติในจีนระหว่างปี ค.ศ. 1930 – 1910 คือ

(1) การปฏิวัติโลก

(2) ประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์

(3) สงครามกองโจร

(4) อํานาจมาจากปากกระบอกปืน

(5) เผด็จการประชาธิปไตยของประชาชน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ

Advertisement