การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2104 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 มีพรรคการเมืองใดถูกยุบหรือไม่

(1) ไม่มีพรรคไหนโดนยุบพรรค

(2) พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ

(3) หัวหน้าพรรคเพื่อไทยโดนจับ

(4) พรรคเพื่อไทยถูกยุบ

(5) พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 เป็นการรัฐประหารรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งการรัฐประหาร ในครั้งนี้เป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประวัติศาสตร์ไทย และนับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ หนึ่งทศวรรษ (หรือในรอบ 10 ปี ต่อจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549) โดยการรัฐประหาร ได้มีผลทําให้รัฐธรรมนูญฯ 2550 สิ้นสุดลง และทําให้คณะรัฐมนตรีรักษาการและวุฒิสภา สิ้นสุดลงด้วย แต่ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 เช่น คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนพรรคการเมืองนั้นยังคงดํารงอยู่ แต่ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมใด ๆ ทางการเมืองได้

2 ผลจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับผลกระทบ คือ

(1) คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่โดนยุบ

(2) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนปลด ฐานจัดการเลือกตั้งล้มเหลว

(3) กกต. ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งโดนเรียกไปปรับทัศนคติ

(4) ประธาน กกต. ถูกปลด

(5) กกต. ถูกส่งไปศึกษางานต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

3 แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) อธิบายว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพได้ในเงื่อนไขใด

(1) ในรัฐสังคมนิยม

(2) ในรัฐสวัสดิการ

(3) ในรัฐแบบใดก็ได้

(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้นบรรลุถึงเสรีภาพได้ ภายใต้เงื่อนไขการออก กฎหมายมาบังคับตัวเอง กล่าวคือ การที่เคารพกฎหมายที่ตัวเรามีส่วนร่วมในการบัญญัตินั้น เราย่อมไม่รู้สึกว่ากฎหมายนั้นกดขี่เราและทําให้เราไม่มีเสรีภาพ เพราะโดยทั่วไปแล้วคงไม่มีใครเสียสติพอที่จะบัญญัติกฎหมายออกมาเพื่อกดขี่บีบคั้นตัวเองให้เจ็บปวด

4 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 5 หน้า 234, (คําบรรยาย) การเมืองแบบพหุนิยม เป็นแนวคิดของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่นคงอยู่ได้ก็ด้วยการมีกลุ่ม กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง สมาคม ชมรม สันนิบาต องค์การ หรือสหพันธ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายภายในรัฐโดยเสรีและสมัครใจ มิได้มีการบังคับ เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็น เรื่องปกติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์อนุรักษนิยม คอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และ นาซีที่ไม่สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม เพราะเชื่อว่าความแตกต่างทางความคิดและกลุ่มการเมืองที่หลากหลายเป็นเรื่องผิดปกติ

5 ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ คือ

(1) วิจารณ์สังคม ให้ภาพอนาคต เสนอแนวทางเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(2) ให้ภาพอดีต วิจารณ์สังคม เสนอวิธีเข้าสู่สังคมที่ดีกว่า

(3) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ภาพอนาคต เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(4) วิจารณ์ปัจจุบัน ให้ศรัทธาผู้นํา เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบัน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ส่วนผสมของอุดมการณ์ทางการเมืองที่สําคัญ มี 3 ประการ คือ

1 การวิจารณ์สังคมหรือระเบียบในปัจจุบัน

2 การให้ภาพสังคมหรือระเบียบในอนาคต

3 การเสนอทฤษฎีหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมหรือระเบียบใหม่ เช่น เสนอวิธีล้มล้างระบอบปัจจุบันหรือเสนอแนวทางเข้าสู่สังคมใหม่ที่ดีกว่า เป็นต้น

6 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2016 ผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดใช้เงินในการหาเสียง เลือกตั้งมากที่สุด

(1) พรรคเดโมแครต

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคกรีน

(4) พรรคแรงงาน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (ข่าว) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016ผู้สมัครที่ใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด คือ นางฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) จากพรรคเดโมแครต (ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์) ส่วนนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งประมาณ 200 ล้านดอลลาร์

7 Donald Trump เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรคการเมืองใด

(1) พรรคกรีน

(2) พรรครีพับลิกัน

(3) พรรคคองเกรส

(4) พรรคเดโมแครต

(5) เป็นรัฐบาลผสม

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6 ประกอบ

8 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุน นักธุรกิจ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ผิดหลักการประชาธิปไตยทั่วไปหรือไม่

(1) ผิด เพราะพรรคการเมืองที่มีนายทุนมากย่อมได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก (2) ผิด เพราะก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์

(3) ผิด เพราะก่อให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง

(4) ไม่ผิด เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุน รวมถึงประชาชนบางกลุ่มทั้งในระดับสาขาอาชีพ – เชื้อชาติ ศาสนา สนับสนุนพรรคการเมืองนั้น ๆ

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้งโดยได้รับการบริจาคหรือเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนนักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ถือว่าไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย ทั่วไป เพราะสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของกลุ่มทุนและประชาชนในสาขาอาชีพ เชื้อชาติ และศาสนาต่าง ๆ ที่สนับสนุนนโยบายหรือแนวความคิดของบุคคลหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ

9 ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) พรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดยการ

(1) มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

(2) เลือกบุคคลจากสกุลดังให้มาเป็นสมาชิกพรรค

(3) มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามนามสกุลและเงินบริจาค

(4) มีนักธุรกิจมาเป็นสมาชิกพรรคมาก ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามแนวคิดเรื่องการพัฒนาการเมือง (Political Development) นั้นพรรคการเมืองจะต้องพัฒนาความเป็นสถาบันการเมืองโดย

1 มีหัวหน้าพรรคที่เข้มแข็งเด็ดขาด

2 มีการแบ่งงานกันทําภายในพรรคตามความถนัด

3 มีการคัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ ฯลฯ

10 ตามคํานิยามของเอ็ดมันด์ เบอร์ก พรรคการเมืองจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อ

(1) ส่งเสริมสาธารณกุศล

(2) ป้องกันการแตกสามัคคีของคนในชาติ

(3) สร้างความสามัคคีของหมู่คณะ

(4) ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ

(5) ส่งเสริมประโยชน์แก่สมาชิกพรรค

ตอบ 4 หน้า 4 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) ได้ให้คํานิยามของพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองได้แก่ “คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันตามแนวหลักการบางอย่าง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติ”

11 อุดมการณ์ใดที่นิยมระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดียว

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4. 5 หน้า 135, 139, (คําบรรยาย) ระบบพรรคเดียว หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว และระบบนี้ยอมให้มีเฉพาะพรรคที่ครองอํานาจอยู่เท่านั้น ไม่ยอมให้มีพรรคอื่นเข้ามาแข่งขันหรือกีดกัน ซึ่งจะพบระบบนี้ได้ในประเทศที่มีการปกครอง ระบอบเผด็จการหรือมีอุดมการณ์แบบซ้ายสุดโต่ง (คอมมิวนิสต์) หรือขวาสุดโต่ง (ฟาสซิสต์และนาซี) เช่น จีน ลาวเวียดนาม คิวบา เกาหลีเหนือ เป็นต้น

12 อุดมการณ์หรือแนวคิดใดไม่ต้องการให้มีรัฐ

(1) ฟาสซิสต์

(2) อนาธิปัตย์

(3) ประชาธิปัตย์

(4) ประชาธิปไตย

(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อนาธิปัตย์ หรืออนาคิสม์ (Anarchism) เป็นอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐ โดยถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมืองหรือการมีรัฐบาลนั้นเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบอเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ

13 ปัจจุบันประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ

(1) สมชัย ศรีสุทธิยากร

(2) ศุภชัย สมเจริญ

(3) ประวิช รัตนเพียร

(4) ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์

(5) อมรา พงศาพิชญ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. และกรรมการอีก 4 คน ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร, นายประวิช รัตนเพียร, นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ และนายบุญส่ง น้อยโสภณ (กกต. ชุดนี้จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า กกต. ชุดใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560จะเข้ารับหน้าที่)

14 ในปัจจุบันพรรคการเมืองแบบชนชั้นหมายถึงพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้นในเรื่อง.ของสมาชิก (1) ลัทธิความเชื่อ

(2) ศาสนา

(3) อายุ

(4) คุณภาพ

(5) ความรู้ภาษาอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) พรรคชนชั้นหรือพรรคดั้งเดิม เป็นพรรคการเมืองที่ยังคงรักษาโครงสร้างของคําว่า “ชนชั้นนํา” (Elite) อยู่ กล่าวคือ เป็นพรรคที่มิได้เน้นในเรื่องจํานวนของ สมาชิกพรรคหรือจํานวนของผู้เข้าร่วมในพรรคเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่กลับเน้น ในเรื่องคุณภาพของสมาชิกพรรค เพราะพรรคต้องการเฉพาะกลุ่มคนหรือบุคคลที่ครอบครอง ปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือมีฐานะดีพอที่จะสามารถสนับสนุนพรรคในด้านการเงินได้ หรืออาจจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆก็คือ เป็นพรรคการเมืองที่เน้นในเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณของสมาชิก

15 พรรคแห่งชนชั้นกลาง หรือ Party Bourgeois นั้น มีทิศทางการบริหารประเทศที่เน้นด้าน

(1) ส่งเสริมเกษตรพอเพียง

(2) ไม่ขอบความรุนแรง

(3) นวัตกรรมทางการค้า

(4) นิยมรัฐสวัสดิการ

(5) ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ตอบ 5 หน้า 41 พรรคแห่งชนชั้นกลาง (Party Bourgeois) เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศแบบอนุรักษนิยมที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง โดยสมาชิกของพรรค จะประกอบด้วยบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทกลางของสังคม เป็นผู้ที่มีทรัพย์สิน มีความสนใจฝักใฝ่ในทางวัตถุนิยม และมีผลประโยชน์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

16 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้อาศัยข้ออ้างใดในการมีระบบพรรคเดียว

(1) เพื่อความเป็นเอกราชและความมั่นคงของชาติ

(2) ประเทศมีชนชั้นเดียว ต้องมีพรรคเดียว

(3) เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นประชาธิปไตย

(4) เพื่อให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองโดยไม่มีคู่แข่ง

(5) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความรวดเร็วในการปกครอง

ตอบ 5 หน้า 136 ในยุคที่พรรคนาซีมีอํานาจได้ให้เหตุผลในการมีระบบพรรคเดียวว่า เยอรมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกไม่ได้ พรรคก็ต้องมีพรรคเดียว เพราะการมีหลายพรรคจะเป็นการแบ่งแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประเทศไม่เจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วเท่าที่ควร

17 ในทัศนะของนักปรัชญาการเมืองคนใดที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง เพราะเป็นการทําลาย สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เสรี

(1) โทมัส ฮอบส์

(2) คาร์ล มาร์กซ์

(3) เอ็ดมันด์ เบอร์ก

(4) แม็กซ์ เวเบอร์

(5) รุสโซ

ตอบ 3 หน้า 33 เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) เป็นนักปรัชญาการเมืองชาวอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการมีพรรคการเมือง โดยเห็นว่า การแบ่งกันเป็นพรรคการเมืองเป็นการทําลายสภาสามัญ (สภาผู้แทนราษฎร) และรัฐบาลที่เสรี

18 พรรคการเมืองที่แท้จริงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

(1) ยึดตัวผู้นําพรรคเป็นหลัก

(2) แสดงบทบาทเฉพาะช่วงเลือกตั้ง

(3) ไม่ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) มีสาขาพรรคกระจายทั่วทุกภูมิภาค

ตอบ 5 หน้า 9 – 11 ลักษณะของพรรคการเมืองที่แท้จริง มี 4 ประการ คือ

1 ต้องมีความยั่งยืนโดยไม่ขึ้นอยู่กับชีวิตหรืออํานาจของผู้นําพรรคการเมือง แต่ยึดหลักการหรืออุดมการณ์เป็นหลัก

2 ต้องมีองค์การหรือสาขาพรรคมาก ๆ กระจายทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายติดต่อกันระหว่าง สํานักงานใหญ่กับสาขาพรรคในท้องถิ่น

3 ผู้นําพรรคต้องมีความมุ่งหมายที่จะเป็นรัฐบาล โดยอาจจัดตั้งรัฐบาลโดยลําพังพรรคเดียวหรือจัดตั้งรัฐบาลผสมก็ได้

4 ต้องพยายามหาคะแนนเสียงเมื่อมีการเลือกตั้ง และหาความสนับสนุนจากมหาชนทั่วไปเมื่อไม่มีการเลือกตั้ง

19 พรรคการเมืองในประเทศเผด็จการมีบทบาทอย่างไร

(1) ยึดหลักประชาชนเป็นใหญ่

(2) เป็นตัวแทนอุดมการณ์ของกลุ่มคนต่าง ๆ

(3) ร่วมกับพรรคอื่นตั้งรัฐบาล

(4) จํากัดจํานวนสมาชิกที่ดีเท่านั้น

(5) สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ

ตอบ 5 หน้า 24 ประเทศเผด็จการจะใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือของบุคคลในรัฐบาลเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ และบงการการดําเนินงานของรัฐให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ถูกกํากับไว้

20 พรรคการเมืองมีการฟังความคิดเห็นของสมาชิกเป็นขบวนการที่เรียกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ใช้กับพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์

(1) เสรีนิยม

(2) อนุรักษนิยม

(3) สังคมนิยม

(4) คอมมิวนิสต์

(5) ฟาสซิสต์

ตอบ 4 หน้า 76, 137 ประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) เป็นลักษณะการใช้อํานาจหรือการดําเนินงานภายในพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขบวนการ คือ ในระยะแรก ให้สมาชิกในหน่วยพื้นฐานเสนอความคิดเห็นในนโยบายของพรรคแล้วเสนอไปยังเบื้องบนหรือ ศูนย์กลางของพรรคเพื่อรับทราบ ส่วนในระยะต่อมาเป็นการตัดสินใจจากเบื้องบน โดยมติที่ได้จะต้องบังคับใช้กับองค์การทุกระดับของพรรคอย่างเข้มงวด

21 ปัจจุบันประเทศไทยมีพันธะที่จะปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่

(1) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาเศรษฐกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(2) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาประเพณี – เสาการเมืองและความมั่นคง

(3) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาระหว่างประเทศ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(4) เสาความมั่นคงและวัฒนธรรม – เสาธุรกิจ – เสาการเมืองและความมั่นคง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ถือกําเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2546 จากการที่ผู้นําอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” โดยประกอบด้วยประเทศสมาชิกจํานวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่ง ประเทศเหล่านี้มีพันธะที่จะต้องปรับโครงสร้างต่าง ๆ ให้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในสามเสา ได้แก่ เสาสังคมและวัฒนธรรม เสาเศรษฐกิจ และเสาการเมืองและความมั่นคง

22 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรคได้แก่อะไร

(1) การมีการปกครองระบอบรัฐสภา

(2) วิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมือง

(3) การใช้ระบบสภาคู่

(4) การมีสถาบันกษัตริย์

(5) การใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากรอบเดียว

ตอบ 2 หน้า 151 – 152 ปัจจัยที่ทําให้อังกฤษมีระบบพรรคการเมืองสองพรรค ได้แก่ การมีวิวัฒนาการอันยาวนานของพรรคการเมืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งในระยะแรกจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับความแตกแยกทางความคิดเห็น ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา และ จากสมัยกลางมาสู่สมัยใหม่ความคิดเห็นก็ได้แตกแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1 พวก Cavaliers หรือพวก Tories เป็นรากฐานของพรรคคอนเซอร์เวทีฟ

2 พวก Roundhead หรือพวก Whigs เป็นรากฐานของพรรคริเบอร์รัล

23 พรรคการเมืองที่แท้จริงต้องมีลักษณะสําคัญ คือ

(1) ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

(2) บอยคอตต์การเลือกตั้ง

(3) มีสาขาพรรคมาก ๆ

(4) ตั้งสภาประชาชนจากการสรรหา

(5) เป้าหมายต้องการเป็นรัฐบาล

ตอบ 3, 5 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

24 การเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเรียกว่า

(1) Hong Kong Spring

(2) Yellow Ribbon Revolution

(3) Yellow Mask Movement

(4) Umbrella Revolution

(5) Hong Kong United Youth Front

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การชุมนุมในฮ่องกงเมื่อเดือนกันยายน 2557 เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิการเลือกตั้งเสรีจากรัฐบาลจีน ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้ร่มในการป้องกันแก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทยจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ จึงทําให้ร่มกลายเป็นสัญลักษณ์สําคัญของการชุมนุมประท้วง และมีการเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า “การปฏิวัติร่ม” (Umbrella Revolution)

25 ประเทศมาเลเซียมีการเลือกตั้งตามกําหนดเวลาทุกครั้งนับตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2500การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2561 นี้ถือเป็นครั้งที่

(1) ครั้งที่ 10

(2) ครั้งที่ 11

(3) ครั้งที่ 12

(4) ครั้งที่ 13

(5) ครั้งที่ 14

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) การเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 14 นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2500 โดยผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่า กลุ่มพรรคพันธมิตรฝ่ายค้าน “ปากาตัน ฮาราปัน” (Pakatan Harapan) ชนะการเลือกตั้ง และดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย

26 โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) กฎกระทรวง

(4) พระราชกฤษฎีกา

(5) ประกาศของ กกต.

ตอบ 4 (คําบรรยาย) โดยปกติแล้วการประกาศกําหนดวันเลือกตั้งต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 102 – 103)

27 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ผลของการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มีสถานะเป็น

(1) การเลือกตั้งที่ขอบด้วยกฎหมาย แต่ถูกขัดขวางจึงเป็นโมฆะ

(2) การเลือกตั้งที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศ จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(3) การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวทั่วประเทศการเลือกตั้งจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

(4) การเลือกตั้งเป็นโมฆะตั้งแต่แรก เสมือนไม่เคยมีการเลือกตั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 (ข่าว) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีมติเสียงข้างมาก 6 : 3 ว่า การที่ พ.ร.ฎ. ยุบสภาผู้แทนราษฎร 2556 กําหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และมีการดําเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้ว แต่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งสําหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัคร รับเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร เป็นผลให้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 108 วรรค 2

28 ในทางทฤษฎีการรัฐประหาร (Coup d’etat) ต่างจากการปฏิวัติ (Revolution) อย่างไร

(1) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใด ๆ

(2) การปฏิวัติเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่

(3) การปฏิวัติเป็นการรื้อปรับโครงสร้างอํานาจ ส่วนรัฐประหารแคล้มรัฐบาล

(4) รัฐประหารเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่เพื่อปฏิรูปโครงสร้างสังคม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในทางทฤษฎีนั้นการรัฐประหาร (Coup detat) จะมีความแตกต่างจากการปฏิวัติ(Revolution) คือ รัฐประหารจะเป็นการยึดอํานาจจากรัฐบาล แล้วตั้งผู้นําคนใหม่ (ประมุขแห่งรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาล) อย่างฉับพลัน โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (Regime) หรือ โครงสร้างใด ๆ ในทางสังคมการเมือง แต่การปฏิวัติจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือโครงสร้างของรัฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการรัฐประหาร โดยในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีการปฏิวัติเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือ การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร

29 เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านผู้ใดได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส”

(1) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

(2) พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

(3) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(4) พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ในฐานะผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้รับโปรดเกล้าฯ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ให้ดํารงตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” เนื่องจากเป็นผู้นําในการกอบกู้บ้านเมืองในช่วงสงครามโลก รวมทั้งได้ทํางานที่เป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติหลายประการทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การต่างประเทศ การเศรษฐกิจ และการศึกษา โดยนายปรีดีถือเป็นรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทย

30 ตําแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” ของบุคคลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์

(2) ขบวนการเสรีไทย

(3) ขบวนการพูโล

(4) พรรคเสรีมนังคศิลา

(5) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของพรรคการเมือง

(1) เป็นการรวมตัวของปัจเจกบุคคล

(2) มีแนวคิด อุดมการณ์

(3) แสวงหาอํานาจรัฐ

(4) นําเสนอนโยบายในการเลือกตั้ง

(5) ประกอบธุรกิจการค้า

ตอบ 5 หน้า 6 ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง มีดังนี้

1เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ คือ เป็นการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลเป็นองค์การ

2 เป็นการรวมตัวกันตามแนวความคิด อุดมการณ์ หรือหลักการบางอย่างที่เห็นพ้องต้องกัน

3 มีการกําหนดประเด็นปัญหาและนโยบาย

4.มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

5 มีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าไปควบคุมการดําเนินงานและนโยบายของรัฐบาล หรือแสวงหาอํานาจรัฐ

32 พรรคการเมืองเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด

(1) ศตวรรษที่ 16

(2) ศตวรรษที่ 17

(3) ศตวรรษที่ 18

(4) ศตวรรษที่ 19

(5) ศตวรรษที่ 20

ตอบ 4 หน้า 33 พรรคการเมืองในรูปแบบสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มต้นในประเทศยุโรปโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ก่อนแล้วขยายไปสหรัฐอเมริกา พรรคการเมืองใน ระยะเริ่มต้นนี้เป็นเพียงการรวมกลุ่มของพรรคสมาชิกสภาผู้แทนที่มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ คล้ายคลึงกัน เช่น พวาเสรีนิยม พวกอนุรักษนิยม พวกสาธารณรัฐนิยม พวกประชาธิปไตยนิยม พวกนิยมกษัตริย์ เป็นต้น

33 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(2) ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคม

(3) เสนอนโยบาย

(4) เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

(5) จัดตั้งรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 15 – 19 หน้าที่ของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 เลือกสรรบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

2 เสนอนโยบาย ชี้ประเด็นปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข

3 เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับองค์การของรัฐ

4 จัดตั้งรัฐบาล

5 ปลุกระดมมวลชนให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

34 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดี

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ

(3) รักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน

(4) ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 19 – 23 บทบาทของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ

2 ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและ สอดคล้องต้องกัน

3 ช่วยผดุงรักษาอํานาจในการปกครองให้สืบต่อเนื่องกัน และการถ่ายทอด อํานาจเป็นไปอย่างถูกต้องตามครรลอง

4 ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

5 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

6 ช่วยพัฒนาการเมือง

35 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 177 – 180 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค (ตั้งแต่ 2 พรรคขึ้นไป) เข้าแข่งขันกันใน การเลือกตั้ง แต่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่มีเสียงข้างมากในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เพียงลําพังติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในปัจจุบัน เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น

36 ประเทศใดที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค

(1) ไทย

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ญี่ปุ่น

(4) อิตาลี

(5) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 145 – 148, (คําบรรยาย) ระบบสองพรรค หมายถึง การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสเป็นรัฐบาล โดยเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งจะทําให้มีการผลัดกันเป็นรัฐบาล แล้วแต่ว่าพรรคใดจะได้คะแนนนิยมสูงสุด ซึ่งในระบบพรรคการเมืองแบบนี้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นส่วนมากจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ตัวอย่าง ของประเทศที่มีระบบสองพรรคในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร (อังกฤษ)นิวซีแลนด์ ฟิจิ อุรุกวัย จาไมกา โดมินิกัน เป็นต้น

37 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบสองพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 ในประเทศที่ระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยส่วนมากจะเป็นแบบใด

(1) รัฐบาลพรรคเดียว

(2) รัฐบาลผสม

(3) รัฐบาลแห่งชาติ

(4) รัฐบาลเสียงข้างน้อย

(5) ไม่แน่นอน

ตอบ 2 หน้า 163 – 165 ระบบหลายพรรค เป็นระบบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีพรรคการเมืองเป็นจํานวนมาก (ตั้งแต่ 3 พรรคขึ้นไป) แต่ละพรรคจะมีความสําคัญและ ได้รับความนิยมจากประชาชนไม่แตกต่างกัน จึงทําให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สําพัง เพียงพรรคเดียว ตัวอย่างของประเทศที่มีระบบหลายพรรคในปัจจุบัน เช่น ไทย ฝรั่งเศสเยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

39 พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ความคิดแบบใดที่ถูกจัดว่าเป็นพรรคเคร่งวินัย

(1) คอมมิวนิสต์

(2) เสรีนิยม

(3) อนุรักษนิยม

(4) ธรรมชาตินิยม

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 34 พรรคคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่เคร่งวินัยและยึดถือความซื่อสัตย์ของสมาชิกพรรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทํางานและปฏิบัติกิจกรรมตามกฎข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด

40 พรรคการเมืองเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) อิตาลี

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

 

41 ข้อใดคือความหมายของพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม

(1) บริหารงานโดยผู้นําพรรคจํานวนน้อย

(2) บริหารงานโดยผู้แทนสาขาพรรค

(3) พรรคที่มีสมาชิกจํานวนน้อย

(4) ไม่รับสมาชิกโดยตรงแต่มีสมาชิกเป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 47, 50 – 52 พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม หมายถึง พรรคการเมืองที่ไม่มีการรับสมาชิกโดยตรง แต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การ สมาคม ชมรม ซึ่งคณะกรรมการระดับต่าง ๆ ของพรรคนี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจากองค์การ ดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคและจัดการเรื่องทุนที่จะ ใช้หาเสียง พรรคการเมืองโดยทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ พรรคสังคมนิยม พรรคคาทอลิกและพรรคชาวไร่ชาวนา

42 ข้อใดไม่ถูกจัดว่าเป็นพรรคการเมืองโดยอ้อม

(1) พรรคสังคมนิยม

(2) พรรคกรีน

(3) พรรคคาทอลิก

(4) พรรคชาวไร่ชาวนา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ

43 พรรคการเมืองใดที่จัดโครงสร้างแบบมิลิเซีย

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

(2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(3) พรรคแรงงานอังกฤษ

(4) พรรครีพับลิกัน

(5) พรรคฟาสซิสต์

ตอบ 5 หน้า 68 – 70 การจัดองค์การเบื้องต้นแบบทหารหรือแบบมิลิเซีย (Militia) บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกองทัพส่วนตัว จะประกอบด้วยพลเรือนติดอาวุธสําหรับกู้สถานการณ์ของประเทศยามฉุกเฉิน โดยสมาชิกทุกคนจะได้รับการฝึกฝนเช่นเดียวกันกับทหารอาชีพ มีเครื่องแบบ เหรียญตรา กองดุริยางค์ ธงประจําหน่วย และถนัดการใช้อาวุธ ซึ่งการจัดองค์การเบื้องต้นแบบนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

44 ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองประเภทใดมีบทบาทแข็งขันมากที่สุด

(1) Militant

(2) Member

(3) Supporter

(4) Voter

(5) Sympathizer

ตอบ 1 หน้า 83 – 87 บทบาทของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองมีแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากสุดไปหาน้อยสุดได้ดังนี้

1 ผู้ดําเนินงานพรรค (Nititant)

2 สมาชิกพรรค (Member)

3 ผู้สนับสนุน (Supporter or Sympathizer)

  1. ผู้เลือกตั้ง (Elector or Voter)

45 พรรคการเมืองที่มีชื่อย่อว่า CDบ เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศใด

(1) สหรัฐอเมริกา

(2) สหราชอาณาจักร

(3) ฝรั่งเศส

(4) รัสเซีย

(5) เยอรมนี

ตอบ 5 หน้า 166 พรรคการเมืองที่มีบทบาทสําคัญในประเทศเยอรมนี มี 3 พรรค คือ

1 พรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU)

2 พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD)

3 พรรคฟรีเดโมแครตหรือเสรีประชาธิปไตย (FDP)

46 การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะส่งผลให้

(1) พรรคการเมืองขนาดเล็กเข้มเเข็ง

(2) พรรคการเมืองใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น

(3) พรรคการเมืองขนาดเล็กมีอํานาจต่อรอง

(4) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางอาจจะได้เปรียบ

(5) พรรคการเมืองที่มีฐานคนชั้นกลางมีคะแนนเสียงลดลง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปรับสัดส่วน ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อตามที่ปรากฏในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ. 2554 นั้น คาดว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้มี ส.ส. สัดส่วนมากขึ้น ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ ส.ส. น้อยลง รวมทั้งจะทําให้เกิดปัญหา ยุ่งยากในการกําหนดตัวผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย เนื่องจากจะต้องมีการจัดเขตเลือกตั้งใหม่ตามจํานวน ส.ส. ที่ลดลง

47 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนหนังสือหลายเล่ม หนึ่งในนั้น คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย

(3) รัฐ

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) ปากไก่และใบเรือ

ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) หนังสือ “ปากไก่และใบเรือ” ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นงานเขียนด้านประวัติศาสตร์ที่ใช้พัฒนาการของวรรณกรรมในการเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านประวัติศาสตร์จากปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์

48 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทของกลุ่มอุดมการณ์ที่มีจํากัดชนชั้น ภาษา ได้แก่กลุ่ม (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 1 หน้า 240, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ในทางอุดมการณ์ คือ กลุ่มที่มีเป้าหมายโดยไม่ได้เน้นเฉพาะที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังมุ่งรักษาผลประโยชน์ให้แก่ทุกคน ทุกชนชั้น ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ และทุกวัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรีนพีซที่ต่อต้าน การทดลองนิวเคลียร์และการล่าวาฬในมหาสมุทร กลุ่มต่อต้านความรุนแรง กลุ่มทางวัฒนธรรมประเพณี กลุ่มส่งเสริมในเรื่องนานาชาตินิยม (Internationalism) เป็นต้น

49 ไลออนส์สากล โรตารี ปอเต็กตึ๊ง ฮากกา จัดอยู่ในประเภทกลุ่มผลประโยชน์ด้าน (1) อุดมการณ์

(2) อาชีพ

(3) อาสาสมัคร

(4) มาตุภูมิ

(5) ผลักดัน

ตอบ 3 หน้า 315 316 กลุ่มอุดมการณ์ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต่างอาชีพต่างวัย ต่างความรู้ แต่มีเป้าหมายทางอุดมการณ์เหมือนกัน ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเพื่อทํางาน ให้แก่ชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งได้แก่

1 กลุ่มอาสาสมัคร เช่น สโมสรไลออนส์สากล (ไลออนส์นานาชาติ) สโมสรโรตารีสากลสมาคมฮากกา (สมาคมหัวเฉียว) มูลนิธิปอเต็กตึง ยุวสมาคม (เจ.ซี.) ชมรมค่ายอาสา ฯลฯ

2 กลุ่มสมาคมทางการเมือง เช่น กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ

3 กลุ่มศาสนา เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ฯลฯ

4 กลุ่มปกป้องคุ้มครอง เช่น ขบวนการเสรีไทย ขบวนการจีนโพ้นทะเล กลุ่มอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

50 องค์การนิรโทษกรรมสากลถือเป็นกลุ่มผลักดันประเภท

(1) กลุ่มผลักดันจริง

(2) กลุ่มผลักดันเฉพาะกรณี

(3) กลุ่มผลักดันบางส่วน

(4) กลุ่มผลักดันมวลชน

(5) กลุ่มผลักดันแฝง

ตอบ 4 หน้า 253 – 255 กลุ่มผลักดันมวลชน (Mass Pressure Groups) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลต่างอาชีพ ต่างวัย ต่างชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนา ซึ่งมีเป้าหมายหรือมีอุดมการณ์ เหมือนกัน คือ ต้องการสันติภาพและต่อต้านวิธีแก้ปัญหาของมนุษย์ด้วยวิธีรุนแรง เช่น องค์การนิรโทษกรรมสากล ขบวนการต่อต้านการแบ่งแยกผิวในสหรัฐอเมริกาและแอฟริกา เป็นต้น

 

51 ชนชั้นนํา (Elite) คือ

(1) คนที่มีรสนิยมสูง

(2) คนที่เป็นแนวหน้าในการสร้างประชาธิปไตย

(3) คนที่เกิดมาเป็นผู้นํา

(4) คนที่มีอํานาจสูงสุด

(5) กลุ่มคนที่ครอบครองปัจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

52 ขบวนการจีนโพ้นทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อต้านญี่ปุ่น จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1. 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

53 ขบวนการเสรีไทย จัดอยู่ในประเภทของกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ 1, 5 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

54 จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งสื่อมวลชนคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้น ก็เพื่อธุรกิจการค้าแต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชน เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มผลักดัน

(1) นอมินี

(2) เอกชน

(3) อาจารย์

(4) แฝง

(5) เฉพาะเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 252 การก่อตั้งสื่อสารมวลชน คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และวิทยุโทรทัศน์นั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อธุรกิจการค้า แต่ก็มีผลสะท้อนในการสร้างแรงกดดันต่อมวลชนหรือบีบบังคับในทางการเมือง เพื่อจะได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า“กลุ่มผลักดันแฝง”

55 หอการค้าสยาม (Siamese Charmber of Commerce) ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 เพื่อจุดประสงค์ใดเป็นสําคัญ

(1) เพื่อเป็นตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทยทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก (2) เพื่อการต่อรองทางการค้าของคณะราษฎร

(3) เพื่อปูทางทางการเมืองให้แก่นักการเมือง

(4) เพื่อปูทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่ประชาชน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 313 หอการค้าสยาม (Siamese Chamber of Commerce) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกันทํานุบํารุงการค้าขายให้เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก และเป็น ตัวแทนให้แก่พ่อค้าไทย ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476 และได้ยุติบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2486

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกลุ่มเพื่อความสามัคคีและชื่อเสียง คือกลุ่ม

(1) อุดมการณ์

(2) กลุ่มผลักดัน

(3) กลุ่มอิทธิพลมืด

(4) กลุ่มอาชีพ

(5) กลุ่มอุดมการณ์

ตอบ ไม่มีข้อถูก หน้า 312 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทในทางการเมืองเลย เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ก็เพื่อจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความ สามัคคีและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มเท่านั้น เช่น สมาคมชาวเหนือ สมาคมชาวปักษ์ใต้สมาคมนักเรียนเก่าเป็นต้น

57 หลักการของทฤษฎีที่ว่า “ประชาธิปไตยจะมีขึ้นได้และมั่นคงตลอดไปโดยการมีกลุ่ม สมาคม ชมรมต่าง ๆภายในรัฐ การเกิดขึ้นโดยสมัครใจมิได้มีการบังคับ” คือทฤษฎี

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) พหุนิยม

(3) อัตตาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

58 ศ.ดร.เฟรดริกส์ เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศ.ดร.เฟรด ดับบลิว. ริกส์ (Fred W. Riggs) เป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องอํานาจการเมืองในภาคราชการ และเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น “ระบอบ อํามาตยาธิปไตย” (Bureaucratic Polity) ซึ่งเป็นระบบการเมืองที่ถูกครอบงําโดยภาคราชการนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

59 ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยว่าเป็น

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคมโครงสร้างหลวม

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้อธิบายถึงปัญหาการรัฐประหารซ้ําซากของการเมืองไทยว่ามีลักษณะเป็น “วงจรอุบาทว์” ซึ่งก็คือ การวนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร แล้วตามด้วยการ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้ง แล้วก็วนไปที่การรัฐประหารอีกไม่รู้จบสิ้น โดยสาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่เข้มแข็งพอ

60 แนวคิดที่นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสัดส่วน คือ

(1) ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์

(2) ระบอบอํามาตยาธิปไตย

(3) วงจรอุบาทว์

(4) สองนคราประชาธิปไตย

(5) สังคม โครงสร้างหลวม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากแนวคิดสองนคราประชาธิปไตยที่ว่า “คนจนในชนบทเลือกรัฐบาล คนชั้นกลางในเมืองล้มรัฐบาล” ได้นําไปสู่การออกแบบระบอบการเมืองไทยในรัฐธรรมนูญฯ 2540 ให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทสัดส่วนหรือแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ทั้งคนจนในชนบทและคนชั้นกลางในเมืองเป็นได้ทั้งผู้ตั้งรัฐบาลและผู้ล้มรัฐบาล

 

61 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups) จะมีความแตกต่างกันในแง่ใด

(1) เป้าหมาย

(2) กิจกรรม

(3) หลักบริหารกลุ่ม

(4) ไม่แตกต่าง

(5) สมาชิก

ตอบ 1 หน้า 236 237 กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กับกลุ่มผลักดัน (Pressure Groups)จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเป้าหมาย กล่าวคือ เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์มีเป้าหมายที่ จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาลแล้ว กลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นกลุ่มผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลทันที

62 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

63 หากนักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ นักการเมืองผู้นั้นต้องห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมืองและ ตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองเป็นเวลาอย่างน้อยก็ปี

(1) 5 ปี

(2) 7 ปี

(3) 10 ปี

(4) 15 ปี

(5) 20 ปี

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 263 บัญญัติว่า ในกรณีที่นักการเมืองคนใดถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยว่ามีความผิดฐานจงใจไม่ยืน บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริง ให้นักการเมืองผู้นั้น พ้นจากตําแหน่ง และต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือตําแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกาฯ วินิจฉัย

64 การแจกใบเหลืองใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการทําหน้าที่ (1) กึ่งฝ่ายบริหาร

(2) กึ่งศาล

(3) กรรมการ

(4) เป็นผู้ปกป้องรัฐบาล

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นการทําหน้าที่กึ่งศาล เช่น การมีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การพิจารณาแจกใบเหลืองและใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่กระทําการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบหรือประกาศของ กกต.การรับรองหรือไม่รับรองผลการเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ส. เป็นต้น

65 พฤติการณ์ในข้อใดไม่เกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(1) การเลื่อนการเลือกตั้ง

(2) การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) การกําหนดเขตเลือกตั้ง

(4) การทําบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

(5) การตรวจสอบคุณสมบัติของนักการเมือง

ตอบ 1 หน้า 329, 406, (ความรู้ทั่วไป) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 มาตรา 10 กําหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

1การตรวจสอบคุณสมบัติ ของนักการเมือง

2 การจัดทําและตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

3 การกําหนดเขตเลือกตั้ง

4 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

5 การประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ ลฯ

66 การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานมักมีอุปสรรคสําคัญคือขาดการสนับสนุนของ

(1) รัฐบาล

(2) นายจ้าง

(3) กรรมกร

(4) โรงงาน

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309 310, (คําบรรยาย) การเกิดของกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเท่าที่เป็นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงานนั้นเป็นผลมาจากการริเริ่มของกรรมกร แต่การรวมตัวกันก่อตั้ง เป็นสหภาพแรงงานมักจะมีอุปสรรคสําคัญคือ ขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้ที่ปกครอง ประเทศอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานโดยกลุ่มคนงานรถรางในสมัยรัชกาลที่ 5ถูกมองว่ามีลักษณะสังคมนิยม จึงไม่ได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งเป็นสหภาพ

67 ผู้นําแรงงานที่หายตัวไปหลังการรัฐประหาร กุมภาพันธ์ 2534 คือ

(1) นายอิศรา อมันตกุล

(2) นายทนง โพธิ์อ่าน

(3) นายถวัติ ฤทธิเดช

(4) นายสมชาย นีละไพจิตร

(5) นายจิตร ภูมิศักดิ์

ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) นายทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งขณะนั้นนายทนงเป็นผู้นําระดับสูงของขบวนการแรงงานที่มีบทบาทในการต่อต้านคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนที่สุด

68 ดร.ซุน ยัด เซ็น ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) เป็นผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่ชื่อลัทธิ

(1) ไตรราษฎร์

(2) เสรีจีน

(3) บ็อกเซอร์

(4) มาตุภูมิ

(5) ไทผิง

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ดร.ซุนยัด เซ็น เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมแห่งประเทศจีนหรือที่รู้จักกันในนามพรรค “ก๊กมินตั๋ง” (KMT) ภายหลังจากการโคนล้มระบอบราชาธิปไตยในประเทศจีน รวมทั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศจีน และเป็นผู้กําหนดลัทธิการเมืองที่เรียกว่าลัทธิ“ไตรราษฎร์” หรือหลัก 3 ประการแห่งประชาชน (Three Principle of the People)

69 ตามแนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Democratization) คนกลุ่มใดจะเป็นแนวหน้าต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย

(1) รากหญ้า

(2) เสื้อแดง

(3) อํามาตย์

(4) ทหาร

(5) คนชั้นกลาง

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย (Lemocratization) คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในภาคประชาชนเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้ง ซึ่งจะสนับสนุนให้คนชั้นกลางเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่กลุ่มทหารจะดํารงตนเป็นทหารอาชีพ ซึ่งไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ การเมือง ขณะเดียวกันก็มักพบว่ามีกลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมพยายามออกมาต่อต้านประชาธิปไตยดังกล่าว

70 ลักษณะที่ผู้นําพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษมีอํานาจมากถูกเรียกว่าอะไร

(1) โลกาธิปไตย

(2) เอกาธิปไตย

(3) ธรรมาธิปไตย

(4) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 100 ผู้นําหรือหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้าร่วมเป็นคณะรัฐบาลและเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง จะอยู่ในตําแหน่งตราบเท่าที่สามารถควบคุม หรือมีอิทธิพลเหนือสมาชิกคนสําคัญ ๆ ของพรรค ดังนั้นหัวหน้าพรรคจึงมีอํานาจมากจนถูกเรียกว่าเป็นลักษณะ “เอกาธิปไตย”

71 ข้อใดคือที่มาของหัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษ

(1) เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่พรรค

(2) แต่งตั้งโดยหัวหน้าพรรคคนก่อนหน้า

(3) การหยั่งสียงของผู้สนับสนุนพรรค

(4) เลือกตั้งโดยสมาชิกสภาสามัญที่สังกัดพรรค

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 หน้า 100 หัวหน้าพรรคแรงงานของอังกฤษในระยะที่เป็นพรรคฝ่ายค้านจะต้องมีการเลือกตั้งทุก ๆ ปีจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนจากสหพันธ์แรงงานที่สังกัดพรรคแรงงาน

72 พรรคการเมืองใดมีลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย

(1) พรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

(2) พรรคเดโมแครต

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรคนาซี

ตอบ 5 หน้า 106 107 อัตตาธิปไตยแบบเปิดเผย หมายถึง การที่หัวหน้าพรรคมีอํานาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาสําคัญ ๆ ของพรรค และเป็นผู้กําหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานบริหาร ระดับสูงของพรรคแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งลักษณะอัตตาธิปไตยแบบเปิดเผยนี้จะพบได้ในพรรคฟาสซิสต์และพรรคนาซี

73 พรรคการเมืองใดมีการจัดองค์การเบื้องต้นแบบ Nititia

(1) พรรคคอมมิวนิสต์

(2) พรรคฟาสซิสต์

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคแรงงานของอังกฤษ

(5) พรรครีพับลิกัน

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ

74 ประเทศใดมีระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(1) จีน

(2) อังกฤษ

(3) ฝรั่งเศส

(4) ญี่ปุ่น

(5) ไทย

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ

75 พรรคการเมืองในประเทศใดไม่ใช่ระบบสองพรรค

(1) อังกฤษ

(2) ฝรั่งเศส

(3) นิวซีแลนด์

(4) สหรัฐอเมริกา

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

76 พรรคการเมืองรูปแบบใดที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

(1) พรรคชนชั้น

(2) พรรคมวลชน

(3) พรรคแบบผสม

(4) พรรคแนวร่วม

(5) พรรคจัดตั้ง

ตอบ 1 หน้า 40, (คําบรรยาย) ค.มอริส ดูแวร์เช่ (Maurice Duverger) ได้แบ่งพรรคการเมืองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1พรรคชนชั้น (พรรคดั้งเดิม) เป็นพรรคการเมืองที่มีความเป็นมายาวนานที่สุด

2 พรรคมวลชน

3 พรรคแบบผสม (พรรคถึงมวลชนถึงชนชั้น)

77 ข้อใดคือความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม

(1) ชนะการเลือกตั้ง

(2) รวบรวมสมาชิกให้ได้มากที่สุด

(3) เผยแพร่ความรู้

(4) ระดมทุน

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 ความมุ่งหมายของพรรคมวลชนแบบสังคมนิยม คือ รวบรวมและแสวงหาสมาชิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ โดยพรรคสังคมนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสําคัญแก่มวลชนมากการรับสมัครสมาชิกจะกระทําโดยตรงและเปิดสู่สาธารณะในลักษณะที่ถาวร

78 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบเซลล์เป็นลักษณะจําเพาะของพรรคใด

(1) พรรคแรงงาน

(2) พรรคเสรีนิยม

(3) พรรคคอมมิวนิสต์

(4) พรรคอนุรักษนิยม

(5) พรรคกรีน

ตอบ 3 หน้า 65 การจัดองค์การพรรคการเมืองแบบหน่วยหรือเซลล์ (Cel) นั้น ถือว่าเป็นลักษณะจําเพาะของพรรคคอมมิวนิสต์

79 ข้อใดไม่ใช่องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง

(1) Caucus

(2) Branche

(3) Celle

(4) Militia

(5) Sect

ตอบ 5 หน้า 56, 62, 65, 68 องค์การเบื้องต้นของพรรคการเมือง มี 4 แบบ คือ

1 แบบคณะกรรมการ (Caucus)

2 แบบสาขา (Branch)

3 แบบหน่วยหรือเซลล์ (Cell)

4 แบบทหาร (Mistia)

80 แนวคิดเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายสอดคล้องกับแนวคิดใด

(1) ปัจเจกชนนิยม

(2) ประชาธิปไตย

(3) คณาธิปไตย

(4) สังคมนิยม

(5) อนาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4 ประกอบ

 

81 สาเหตุที่เกิดการรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทย เพราะ

(1) รัฐประหารสามารถแก้ปัญหาสังคมต่าง ๆ ได้

(2) เพราะนักการเมืองทุจริต

(3) เพราะระบบการเมืองไร้ประสิทธิภาพ

(4) เพราะประชาชนสนับสนุน

(5) ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

82 ข้อใดคือหนึ่งในหลักการบริหารบ้านเมืองหกประการของคณะราษฎร

(1) จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษา

(2) ส่งเสริมให้ราษฎรมีเสรีภาพ

(3) ราษฎรสามารถตั้งพรรคการเมืองได้

(4) เปิดเสรีทางการค้า

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อเป็นนโยบายในการบริหารและปกครองประเทศ มีดังนี้

1 จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย

2 จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 3 จะต้องบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในทางเศรษฐกิจ

4 จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

5 จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ

6 จะต้องให้ราษฎรได้มีโอกาสในการศึกษาอย่างเต็มที่

83 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หัวหน้าพรรคการเมืองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง ทายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของ พรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุ

(1) ไม่ต่ํากว่า 40 ปี

(2) ไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) ไม่ต่ำกว่า 30 ปี

(4) ไม่ต่ำกว่า 25 ปี

(5) ไม่ต่ำกว่า 20 ปี

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 16 กําหนดให้ หัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง ทายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมืองต้องเป็นสมาชิกที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีวาระการดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดในข้อบังคับแต่ต้องไม่เกินคราวละ 4 ปี

84 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละกี่ครั้ง

(1) 1 ครั้ง

(2) 2 ครั้ง

(3) 3 ครั้ง

(4) 4 ครั้ง

(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 37 กําหนดให้ พรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

85 ในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ต้องมี จํานวนกี่คนจึงอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองได้

(1) 100 คน

(2) 200 คน

(3) 300 คน

(4) 400 คน

(5) ไม่น้อยกว่า 500 คน

ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 9 กําหนดให้ บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามจํานวนไม่น้อยกว่า 500 คนอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองได้

86 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่สําคัญของพรรคการเมือง

(1) เป็นคณะบุคคลที่รวบรวมกันเป็นองค์การ

(2) มีการกําหนดประเด็นปัญหาเละนโยบาย

(3) มีการคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

(4) ดําเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งแสวงหากําไร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

87 ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพรรคการเมือง

(1) เสนอนโยบาย

(2) ชี้ขาดข้อพิพาท

(3) จัดตั้งรัฐบาล

(4) ปลุกระดมมวลชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ

88 ข้อใดไม่ใช่บทบาทของพรรคการเมือง

(1) พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

(2) ช่วยให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

(3) ช่วยให้กลไกทางการเมืองดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(4) ช่วยประสานประโยชน์ของกลุ่มชนในสังคม

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ

89 ข้อใดไม่ใช่ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง

(1) ทฤษฎีจิตวิทยา

(2) ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

(3) ทฤษฎีอุดมการณ์

(4) ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

(5) ทฤษฎีระบบ

ตอบ 5 หน้า 27 – 32 ทฤษฎีที่กล่าวถึงกําเนิดของพรรคการเมือง มีดังนี้

1 ทฤษฎีจิตวิทยา

2 ทฤษฎีทางเศรษฐกิจและสังคม

3 ทฤษฎีอุดมการณ์หรือหลักการ

4 ทฤษฎีทางการจัดองค์การ

5 ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน

6 ทฤษฎีว่าด้วยพัฒนาการ

7 ทฤษฎีว่าด้วยประวัติศาสตร์และสถานการณ์

90 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงในช่วงเวลาใด

(1) หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(2) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

(3) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(4) หลังปี 1980

(5) หลังปี 2000

ตอบ 3 หน้า 35 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อุดมการณ์เริ่มมีความสําคัญต่อพรรคการเมืองน้อยลงพรรคการเมืองได้กลายเป็นพรรคปฏิบัติการมากกว่าอุดมการณ์ โดยการปรับปรุงอุดมการณ์ ให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น เพื่อหวังจะได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด

 

ตั้งแต่ข้อ 91. – 100 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม

(1) ถูก

(2) ผิด

91 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 8 และ 15 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคําแนะนําของวุฒิสภา โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

92 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 เลขาธิการสํานักงานต้องเป็นผู้มีความเป็นกลาง ทางการเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลาสิบปีก่อนได้รับแต่งตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 50, 54 และ 55 กําหนดให้ สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเลขาธิการเป็น ผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสํานักงาน ซึ่งเลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทาง การเมือง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในระยะเวลา 10 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง มีความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 60 ปีในวันที่ได้รับแต่งตั้งและมีอายุไม่เกิน 65 ปี ในขณะดํารงตําแหน่งเลขาธิการ

93 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ

94 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมาจากผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 กําหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

1 เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด

2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา

3 เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

4 เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือองค์กรที่ดําเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด

5 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

95 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหนวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาของ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94 ประกอบ

96 พรรคการเมืองขอโบว์แดงในดุสิตธานีมีหัวหน้าพรรคคือ เจ้าพระยารามราฆพ ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไท เพื่อทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง มีการเลือกตั้ง นคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี มีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย และมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคโบว์น้ําเงิน ซึ่งมีนายราม ณ กรุงเทพ (รัชกาลที่ 6) เป็นหัวหน้าพรรค และพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค

97 นโยบายของพรรคการเมืองมีความสําคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภานั้น พรรคการเมืองต่าง ๆจะต้องแข่งขันกันเพื่อเป็นรัฐบาลโดยการนํานโยบายมาหาเสียงในการเลือกตั้ง ซึ่งความแตกต่าง ของนโยบายแต่ละพรรคการเมืองจะมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน ในการเลือกตั้ง หากสมาชิกของพรรคใดได้รับเลือกตั้งจากประชาชนให้เข้ามามีเสียงข้างมากในสภา แสดงว่าประชาชนต้องการให้นโยบายของพรรคนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล และเมื่อรัฐบาล เข้ามาบริหารประเทศ จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและนํานโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุผล การนํานโยบายมาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นถือเป็นกระบวนการตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

98 “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบคณาธิปไตย” เช่น พรรคการเมืองส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตยเป็นความคิดของ Vilfredo Parero

ตอบ 2 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต มิเชลส์ (Robert Michels) นักทฤษฎีชนชั้นนําได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย (Iron Law of Oligarchy) โดยกล่าวว่า “ที่ใดมีองค์กร ที่นั้นมีระบบ คณาธิปไตย” หรือมีคนเพียงส่วนน้อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในองค์กร เช่น พรรคการเมือง ส่งเสริมให้เกิดระบบคณาธิปไตย เนื่องจากมีเพียงหัวหน้าพรรคและผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรครายใหญ่เท่านั้นที่มีอํานาจในการตัดสินใจในพรรค

99 การนํานโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาไปปฏิบัติ อาทิ นโยบายจํานําข้าว รถคันแรก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 97 ประกอบ

100 ตาม พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจําจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบในเขตเลือกตั้งนั้น

ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 47 กําหนดให้ พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดที่มีเขตพื้นที่รับผิดชอบใน เขตเลือกตั้งนั้น

Advertisement