การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” นั้น นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “อํานาจ อธิปไตย” (Sovereignty) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

Advertisement

แนวคําตอบ

อํานาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อํานาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้นสิ่งอื่นใดจะมี อํานาจยิ่งกว่าหรือจะมาขัดต่ออํานาจอธิปไตยไม่ได้

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย ประชากร ดินแดน และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอํานาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ รัฐนั้น ต้องเป็นรัฐที่สามารถมีอํานาจสูงสุด (อํานาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้

อํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง ประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และ เป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และอยู่เหนือ ทุก ๆ อํานาจ

2. มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐ จะ ไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

3. มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4. แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว จะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2. ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมใน สังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการควบคุม ทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” จากบทบัญญัตินี้หมายความว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐทรงใช้อํานาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล กล่าวคือ

1. ทรงใช้อํานาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจในการ ออกกฎหมายตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เมื่อรัฐสภาร่างกฎหมายขึ้นแล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรง ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ

2. ทรงใช้อํานาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่ง นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีดําเนินการไปนั้นถือว่ากระทําไปในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ เพราะบรรดาพระราชบัญญัติ พระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอัน เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบทั้งสิ้น โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องกราบบังคมทูล
และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชอํานาจทางด้านบริหารของพระมหากษัตริย์ดังกล่าว ได้แก่ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดต่อกฎหมาย การประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงครามเมื่อ ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา การทําสนธิสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก หรือสนธิสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ และการพระราชทานอภัยโทษ

3. ทรงใช้อํานาจตุลาการทางศาล หมายถึง ศาลเป็นผู้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมาหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจใน การแต่งตั้งและการพ้นจากตําแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการจะต้อง
ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์

ข้อ 2. ให้นักศึกษาอธิบายเรื่องอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

1. ความหมายของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

2. รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

พร้อมกับวิเคราะห์รัฐธรรมนูญของประเทศไทยว่าส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใด

แนวคําตอบ

1. ความหมายของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง อํานาจในการจัดทํารัฐธรรมนูญ อํานาจในการกําหนดหลักการ แห่งรัฐธรรมนูญ อํานาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยบัญญัติเป็นหมวด เป็นมาตราต่าง ๆ รวมถึงการลงมติ เห็นพ้องกันให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย ตลอดจนครอบคลุมไปถึงการประกาศใช้ หรือกล่าวโดยสรุปอํานาจร่าง รัฐธรรมนูญ หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดทํารัฐธรรมนูญนั่นเอง

2. รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ ได้แก่

1. อํานาจพิจารณาใหม่ เป็นอํานาจที่มีอยู่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หมายความว่าเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับที่กําลังใช้อยู่ได้วางระเบียบการจัดตั้งอํานาจและกําหนดวิธีการ ดําเนินการไว้ โดยในทางปฏิบัติจะปรากฏในรูปของอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (Amendment) ซึ่งรัฐธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษรจะมีหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ โดยกําหนดว่าญัตติในการเสนอขอแก้ไขเป็น องค์กรใด ผู้มีอํานาจในการพิจารณาแก้ไขคือองค์กรใด และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากในจํานวนเท่าใด นอกจากนี้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นผู้มีอํานาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่กี่มาตราก็ได้หรืออาจแก้ไขทั้งฉบับก็ได้

ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489) เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) หรือรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 (รัฐธรรมนูญ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534) เป็นฉบับที่มีการแก้ไขมากที่สุด โดยใช้อํานาจพิจารณาใหม่แก้ไขเกือบทั้งฉบับ (ยกเว้น หมวดทั่วไปกับหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เท่านั้น) ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขที่มีผลทําให้ เปลี่ยนรัฐธรรมนูญในแบบอํามาตยาธิปไตย (Bureaucracy) มาเป็นรัฐธรรมนูญในแบบประชาธิปไตย (Democracy)

2. อํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เป็นอํานาจที่ไม่มีอยู่ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพราะว่าไม่มีรัฐธรรมนูญในขณะนั้น โดยเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

1) การก่อตั้งรัฐใหม่

2) มีการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหาร

ดังนั้น ผู้ก่อตั้งรัฐใหม่หรือผู้ทําการปฏิวัติรัฐประหารจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่า มีอํานาจแรกเริ่ม อิสระ ไม่ผูกพันกับตัวบทกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนใด ๆ ที่มีอยู่ก่อน ทั้งสิ้น เป็นอํานาจอิสระจริง ๆ สามารถกําหนดหลักการแห่งรัฐธรรมนูญอย่างใดก็ได้ โดยไม่จําเป็นต้องไปผูกพันกับ รัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่เคยมีอยู่ในอดีต อีกทั้งยังสามารถยกเลิกหลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) ไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้มาตรา 17 เป็นต้น

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เพราะ เกิดจากการทํารัฐประหาร ผู้ทําการรัฐประหารจึงมีอํานาจ “รัฏฐาธิปัตย์” คือ อํานาจปกครองบังคับบัญชาสูงสุด ภายในรัฐ จึงสามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดก็ได้โดยไม่จําเป็นต้องเคารพหรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ที่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับเก่า แต่ต้องยึดอํานาจให้สําเร็จจึงจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมได้ ถ้าแพ้ก็เป็นกบฏและต้องมีความผิด

อํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารนี้ถือว่าเป็นอํานาจที่ไม่มีขอบเขตจํากัด เนื่องจากเป็นผู้ชนะอาจสั่งให้ยกเลิกศาลทั้งหมดก็ทําได้ เพราะตรงตามข้อเท็จจริงทาง หลักรัฐศาสตร์ประการหนึ่งที่ว่า “ผู้แข็งแรงที่สุดเป็นผู้มีอํานาจปกครอง”

อย่างไรก็ตาม ขีดจํากัดของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยวิธีการปฏิวัติหรือรัฐประหารสามารถวิเคราะห์ได้ 2 ประการ คือ

1) จิตใต้สํานึกของผู้มีอํานาจ
2) ความรู้สึกของประชาชน

สําหรับกรณีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการก่อตั้งรัฐใหม่ มีตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1787 ของสหรัฐอเมริกา มี 7 มาตรา (แก้ไข 27 ครั้ง) ซึ่งแต่เดิมนั้นสหรัฐอเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ต่อมาได้มีการปฏิวัติเพื่อกู้เอกราชในปี ค.ศ. 1776 และกระทําสําเร็จ จึงมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม สามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดได้ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นอํานาจแรกเริ่ม เป็นอํานาจอิสระที่แท้จริง หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น การเกิดประเทศบรูไนในปี ค.ศ. 1983 จะร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใดก็ได้ (ราชาธิปไตยหรือระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ประยุกต์)

กรณีประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ การจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยมีทั้ง 2 รูปแบบ คือ ด้วยวิธีการใช้ “อํานาจพิจารณาใหม่” (ดังปรากฏในหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) และวิธีการใช้ “อํานาจ ร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม” แต่ถ้าจะวิเคราะห์แล้วอํานาจร่างรัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ ดั้งเดิม เพราะการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ๆ ของไทยจะเกิดจากผลของการทํารัฐประหาร
กล่าวโดยสรุป อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ คือ อํานาจพิจารณาใหม่ และอํานาจร่าง รัฐธรรมนูญดั้งเดิม โดยการจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่จะเกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม

ข้อ 3. สถาบันทางการเมืองสําคัญในระบอบประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง แต่ละสถาบันมีอํานาจหน้าที่หลัก อะไร และให้นักศึกษายกสถาบันทางการเมืองสถาบันใดสถาบันหนึ่งขึ้นมาวิเคราะห์ถึงปัญหา ความอ่อนแอของสถาบันดังกล่าว โดยให้ระบุสาเหตุของปัญหา ตลอดจนอภิปรายถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย และแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

แนวคําตอบ

สถาบันทางการเมือง (Political Institution) หมายถึง แบบแผนของพฤติกรรมหรือการกระทํา ทางการเมือง หรือพฤติกรรมทางการเมืองที่ดําเนินเรื่อยมาจนเกิดเป็นแบบแผนที่แน่นอน มีการกําหนดโครงสร้าง ระเบียบ กฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและกระบวนการต่าง ๆ ตลอดจนองค์การทางการเมืองและวิธีการในการปฏิบัติ ในทางการเมืองของสังคม

สถาบันทางการเมืองสําคัญในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

1. สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งก็คือ รัฐสภา มีอํานาจหน้าที่หลักดังนี้

1) การบัญญัติและแก้ไขกฎหมาย

2) การตรวจสอบ ควบคุม และถ่วงดุลสถาบันบริหารหรือรัฐบาล ให้ทําหน้าที่ โดยชอบผ่านการตั้งกระทู้ถาม การยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การควบคุม ผ่านการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

3) การเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งและประชาชนทั้งประเทศ โดยการรับฟังปัญหา ของประชาชน รวบรวมข้อมูล ข้อเรียกร้องนําไปเสนอให้รัฐบาล

2. สถาบันบริหาร ซึ่งก็คือ รัฐบาล มีอํานาจหน้าที่หลักดังนี้

1) การกําหนดและดําเนินนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน
2) การควบคุมสั่งการระบบราชการ

3) การนําเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และกฎหมายอื่น ๆเข้าสู่การพิจารณาของสภา

4) อํานาจหน้าที่อื่น ๆ เช่น อํานาจในการบังคับใช้กําลังทหาร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

3. สถาบันตุลาการ ซึ่งก็คือ ศาล มีหน้าที่หลักในการตีความกฎหมาย และการพิจารณา พิพากษาคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การทําหน้าที่ดังกล่าวนี้ส่งผลให้ฝ่ายตุลาการมีฐานะเป็นผู้ผดุงความ ยุติธรรมในสังคม จึงจําเป็นต้องมีความเป็นกลาง มีอิสระจากอํานาจของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเพื่อ
ไม่ให้เกิดความลําเอียงในการพิจารณาคดีความ

4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อกดดันหรือเรียกร้องความต้องการจากระบบการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มดังนั้นกลุ่มผลประโยชน์จึงเป็นสถาบันที่มีความสําคัญในระบอบประชาธิปไตยในฐานะสถาบันที่ส่งป้อนข้อมูลความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงไปสู่ระบบการเมืองให้รับรู้ถึง ความต้องการอันจะนําไปสู่การเจรจาต่อรองหรือการแข่งขันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นกลไก สําคัญที่ทําให้เกิดการถ่วงดุลอํานาจของรัฐบาลไม่ให้ผลประโยชน์ตกไปอยู่ในกํามือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

5. พรรคการเมือง มีหน้าที่หลักดังนี้

1) สรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตําแหน่งทางการเมือง หรือส่งตัวแทนเข้าสมัคร รับเลือกตั้ง
2) รวบรวมผลประโยชน์หรือความต้องการของประชาชน
3) นําเสนอนโยบายในการบริหารประเทศ
4) ให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน
5) สร้างความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง หรือเชื่อมโยงรัฐบาลกับประชาชนและ สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
6) กระตุ้น ปลุกเร้าความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
7) กล่อมเกลาทางการเมือง
8) ควบคุมรัฐบาล
9) จัดตั้งรัฐบาล

6. การเลือกตั้ง มีความสําคัญต่อระบอบประชาธิปไตยดังนี้

1) เป็นกลไกในการเลือกสรรตัวแทนทางการเมือง
2) เป็นกระบวนการที่จะนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล
3) เป็นกลไกที่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ
4) เป็นช่องทางให้ประชาชนได้เรียนรู้ทางการเมือง
5) เป็นช่องทางในการสร้างความชอบธรรมแก่ผู้ปกครอง

ปัญหาความอ่อนแอของสถาบันทางการเมือง

สถาบันทางการเมืองของไทยยังมีความอ่อนแอหรือยังมีความเป็นสถาบันในระดับต่ํา หรือ จะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบันทางการเมืองของไทยที่สร้างขึ้นมายังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง คือ ยังไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ความต้องการ ตลอดจนการประนีประนอมอํานาจและผลประโยชน์ ของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมไทยได้ทั้งในระดับของชนชั้นนําและระดับของประชาชนโดยทั่วไป สถาบันทางการเมือง
จึงถูกล้มลงและสร้างขึ้นใหม่บ่อยครั้งในระบบการเมืองไทย

ตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองไทย เป็นสถาบันทางการเมืองที่มักมีปัญหาในเรื่องความเป็นสถาบัน หรือก็คือความสามารถของพรรคการเมืองในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การมีความคงทน การมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน การแยกตัวบุคคลออกจากการครองอํานาจของใครคนใดคนหนึ่ง ภายในพรรค เป็นต้น

บูฆอรี ยีหมะ เห็นว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดของความอ่อนแอในเชิงสถาบันของพรรคการเมืองในประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น เกิดขึ้นจากต้นเหตุสําคัญคือการยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป หรือก็คือการที่พรรคถูกครอบงําจากผู้นําภายในพรรคนั่นเอง จนทําให้พรรคดํารงอยู่ได้ด้วยอํานาจของบุคคลไม่ใช่เพราะความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และง่ายต่อการล่มสลายหากผู้นําพรรคหลุดพ้นจากอํานาจทางการเมือง

นอกจากนี้ ปัญหาความอ่อนแอหรือความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยยังมีสาเหตุมาจาก

1. ความขัดแย้งทางอุดมคติเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมือง ปัญหานี้เกิดขึ้น เนื่องจากแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมืองไปขัดแย้งกับอุดมคติดั้งเดิมซึ่งเน้นความเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน จึงปฏิเสธการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ภายในรัฐ ดังนั้นอุดมคตินี้จึงมักถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายอํานาจในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด

2. ลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการทํางานร่วมกัน และเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

3. ระบบอาวุโสทําให้สมาชิกมีความผูกพันต่อพรรคในระดับต่ํา ทั้งนี้เนื่องจากผู้อาวุโส ในพรรคมีบทบาทอํานาจในพรรคมาก ทําให้ผู้น้อยไม่อาจเข้าไปมีบทบาทในพรรคได้มากนัก จึงทําให้สมาชิกส่วนใหญ่ ของพรรคไม่รู้สึกถึงความผูกพันต่อพรรคการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

4. โครงสร้างทางสังคมของไทยเป็นโครงสร้างแบบหลวม ๆ ส่งผลให้การรวมกลุ่มต่าง ๆไม่มีความเข้มแข็ง รวมถึงการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง

5. ความคิดเจ้าผู้ปกครองเป็นเจ้าเหนือแผ่นดินและทรัพย์สินทั้งปวง ทําให้ประชาชน ไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของประเทศ ส่งผลให้การรวมกลุ่มทางการเมืองขาดความเข้มแข็ง

6. การตั้งพรรคการเมืองของไทยเริ่มต้นมาจากฐานความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ คือ การตั้งพรรคการเมืองเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้มีอํานาจตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อให้เป็นฐานอํานาจทางการเมือง ของกลุ่มตน แต่เมื่อผู้นําพรรคหมดอํานาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มักสลายตามไปด้วย ซึ่งทําให้พรรคการเมือง ของไทยขาดความเป็นสถาบัน เพราะยึดติดกับตัวผู้นําหรือหัวหน้าพรรคมากเกินไป

ผลกระทบของปัญหาความอ่อนแอหรือความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

1. พรรคการเมืองไม่สามารถแสดงบทบาทและทําหน้าที่ที่ควรจะเป็นตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

2. พรรคการเมืองมิได้เป็นสถาบันของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นพรรคการเมืองของกลุ่มผู้มีอํานาจหรือชนชั้นนําซึ่งต้องการที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองโดยใช้ชื่อประชาชนมากล่าวอ้าง
เพื่อความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

3. การจัดตั้งพรรคการเมืองมิได้อยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมืองหรือการเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์และตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนจึงไม่ตระหนักในการเป็นสมาชิกและมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง การบริหารและนโยบายของพรรคการเมืองจึงไม่สะท้อนผลประโยชน์ที่แท้จริง ของประเทศชาติและประชาชน

4. การรวมศูนย์อํานาจการตัดสินใจภายในพรรคการเมืองไว้ที่ผู้นําหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล ในพรรคการเมือง ทําให้สมาชิกพรรคไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจในการดําเนินการต่าง ๆ ของ พรรคการเมืองได้ เช่น การคัดสรรบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและดํารงตําแหน่งสําคัญทางการเมือง เป็นต้น

5. การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เท่านั้น มิได้ให้ความสําคัญกับการตั้งสาขาพรรคให้กระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้สาขาพรรคเป็นกลไก ในการเชื่อมโยงพรรคกับประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

แนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสําคัญในระบอบประชาธิปไตย ความเข้มแข็ง ในเชิงสถาบันของพรรคการเมืองถือว่ามีความสําคัญต่อการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย ในกรณีของประเทศไทย
มีความพยายามแก้ไขปรับปรุงระบบพรรคการเมืองในเชิงโครงสร้างหรือในเชิงกฎหมายมาโดยตลอดทั้งในส่วนของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อนําไปสู่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ของไทย แต่ความพยายามดังกล่าวเป็นเหมือนการทดลอง เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายไปแล้วก็พบว่าก่อให้เกิดปัญหา ในเชิงปฏิบัติ ก็หันกลับไปใช้วิธีการหรือแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิกิริยา (การแก้ไขปัญหาต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า มากกว่าการแก้ไขปัญหาเพื่อเดินหน้าสู่อนาคต) ซึ่งก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ ต่อไปในอนาคต เพราะปัญหาของความเป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจาก ปัจจัยด้านโครงสร้างแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลด้วย ดังนั้นการสร้างความเป็นสถาบัน ทางการเมืองของพรรคการเมืองเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยจึงต้องอาศัยวัฒนธรรมทางการเมืองของนักการเมืองและประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย มองประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และยึดถือ อุดมการณ์ในการรวมตัวเป็นพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล

 

Advertisement