การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
พุทธศาสนาและบริบทแวดล้อม
1. เทพดั้งเดิมที่อารยันลุ่มน้ําสินธุบูชาคือ
(1) ศิวลึงค์
(2) พระราม
(3) พระวิษณุ
(4) พระแม่ธรณี
(5) พระอาทิตย์
ตอบ 5 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) ดั้งเดิมพวกอารยันนับถือธรรมชาติ เช่น ฟ้า ตะวัน เดือน เป็นเทวะ หรือเทพ ซึ่งต่อมาอารยันลุ่มน้ําสินธุได้พัฒนาเทวะออกเป็น 3 พวก ได้แก่ พวกที่อยู่ในสวรรค์ เช่น วรุณหรือพิรุณ สูรยะหรือสุริยะ (พระอาทิตย์) ฯลฯ พวกที่อยู่ในฟ้า เช่น วาตะ อินทระ ฯลฯ และพวกที่อยู่บนพื้นโลก เช่น อัคนี ยม เป็นต้น
2. บทสวดที่เป็นมนต์ป้องกันและเสกเป่าความชั่วร้ายไปให้ศัตรูคือ
(1) ฤคเวท
(2) ยชุรเวท
(3) สามเวท
(4) ไสยเวท
(5) อถรรพเวท
ตอบ 5 หน้า 96, (คําบรรยาย) ในสมัยพราหมณะ (พราหมณ์) ได้เกิดคัมภีร์พระเวทเล่มที่ 4 ขึ้น เรียกว่า อถรรพเวท ซึ่งมีข้อความจากพระเวทเดิมปะปนอยู่บ้าง โดยเรื่องราวของอถรรพเวท ส่วนมากเป็นมนต์ป้องกันและเสกเป่าเพื่อแก้เสนียดและนําความชั่วร้ายไปให้ศัตรู การสักยันต์
เป็นตัวเลข หรือคาถาเพื่อปกป้องตัวเองหรือให้มีโชคลาภ
3.การนับถือพระพรหม ศิวะ นารายณ์ สอดคล้องกับข้อใด
(1) สรรพเทวนิยม
(2) พหุเทวนิยม
(3) อติเทวนิยม
(4) อเทวนิยม
(5) เอกเทวนิยม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าหรือเทพเจ้า แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1. เอกเทวนิยม (Monotheism) เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว หรือมีเทพองค์หนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เทพทั้งหลาย ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์
2. พหุเทวนิยม (Polytheism) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และเทพทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู การนับถือพระพรหม ศิวะ นารายณ์
3. อติเทวนิยม (Herotheism) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ แต่จะยกย่องให้เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ให้ยิ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ
4. อเทวนิยม (Atheism) เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของเทพเจ้า ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพุทธ
4.แนวคิดฮินดูถือว่าชีวิตทั้งหลายมีต้นกําเนิดมาจากที่ใด
(1) เกิดขึ้นเอง
(2) พรหม
(3) กรรม
(4) ฤๅษี
(5) การกินง้วนดิน
ตอบ 2 หน้า 97 (คําบรรยาย) แนวคิดฮินดู เชื่อว่า พรหมเป็นศูนย์รวม และวิญญาณต่าง ๆ ทั้งหลาย มีต้นกําเนิดมาจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) สิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนถือกําเนิดจากพรหม วิญญาณ ที่แยกออกไปจากพรหม อาจเข้าสถิตในร่างกายมนุษย์ สัตว์ พืช หรือแม้แต่เทวดาก็ได้ ทุกครั้ง ที่ร่างเดิมแตกดับ วิญญาณก็จะเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรม ที่ได้กระทําไว้ จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดเข้าสู่พรหมเช่นเดิม
5.ลัทธิอวตารในศาสนาฮินดูสัมพันธ์กับ
(1) การอดอาหาร
(2) การบูชาศิวลึงค์
(3) การแบ่งภาคมาเกิด
(4) การบูชาพระวิษณุ
(5) การบูชาพระแม่กาลี
ตอบ 3 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 – 1078) เกิดคัมภีร์ปุราณะ กล่าวถึงกําเนิดโลก เทวดา และสิ่งอื่น ๆ การแข่งขันแต่ละนิกายมีมากขึ้น โดยอ้างว่าเทพของตน เป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่ง (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) เช่น ฮินดูนิกายไศวะถือพระศิวะเป็นใหญ่ ฮินดูนิกายไวษณพถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นใหญ่ มีลัทธิอวตารหรือการแบ่งภาคมาเกิด เป็นปางต่าง ๆ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์
6. หลักธรรมใดสัมพันธ์กับศาสนาเชนมากที่สุด
(1) ศรัทธา
(2) เมตตา
(3) ขันติ
(4) ทาน
(5) การเห็นชอบ
ตอบ 5 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนาอเทวนิยม (Atheism) คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญ ก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุ “โมกษะ” เพื่อที่จะ ได้ไม่กลับมาเกิดอีก ซึ่งมีหลักธรรมที่เป็นหนทางอันนําไปสู่การบรรลุโมกษะ ได้แก่ การเห็นชอบ ความรู้ชอบ และประพฤติชอบ
7.หลักอาศรม 4 วัยแห่งการศึกษาหาความรู้คือ
(1) วานปรัสถ์
(2) สันยาสี
(3) พรหมจารี
(4) คฤหัสถ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักอาศรม 4 ในศาสนาฮินดู แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามวัย ได้แก่
1. พรหมจารี (อัตถะ) เป็นวัยแห่งการศึกษาหาความรู้
2. คฤหัสถ์ (กามะ) เป็นวัยแห่งการครองเรือน
3. วานปรัสถ์ (ธรรมะ) เป็นวัยแห่งการแสวงหาความวิเวก ปลีกตัวออกจากสังคมไปอยู่ป่าหรือออกจาริก เพื่อฝึกจิตของตน
4. สันยาสี (โมกษะ) เป็นวัยแห่งการสละชีวิตคฤหัสถ์ของผู้ครองเรือน ละทิ้งทางโลก
8. ในโพธิราชกุมารสูตร มีการเปรียบมนุษย์เหมือนบัวที่เหล่า
(1) 1 เหล่า
(2) 2 เหล่า
(3) 3 เหล่า
(4) 4 เหล่า
(5) 5 เหล่า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในโพธิราชกุมารสูตร พระพุทธเจ้าทรงเปรียบมนุษย์เหมือนบัว 3 เหล่า คือ บัว เกิดในน้ำบัวเสมอน้ำ และบัวพ้นน้ำ โดยกล่าวว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อยก็มี มีธุลี ในดวงตามากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้า ที่มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลก และโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว ในกออุบล บัวขาบ) ในกอปทุม (บัวหลวง) หรือในกอบุณฑริก (บัวขาว) ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ
9. พระอาทิพุทธในศาสนาพุทธนิกายมหายานมีที่มาจาก
(1) มนุษย์ธรรมดา
(2) พระโพธิสัตว์
(3) เทวดา
(4) พรหม
(5) เกิดขึ้นเอง
ตอบ 5 หน้า 103 ศาสนาพุทธนิกายมหายาน เชื่อว่า พระอาทิพุทธคือพระศาสดาเจ้าที่ยิ่งใหญ่ และ เป็นพระพุทธเจ้าที่แท้จริง ซึ่งตรัสรู้พระสัมโพธิญาณมาช้านานจนนับไม่ได้ ยังไม่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และจะดํารงอยู่ไม่ดับขันธ์ปรินิพพานอีกยาวนานจนไม่อาจกําหนดเวลาได้ โดยเป็น พระสวยัมภูเกิดขึ้นเอง
10. วรรณะต่าง ๆ ตามแนวคิดของศาสนาพุทธนั้นถือว่ามีที่มาจาก
(1) กฎหมาย
(2) อํานาจ
(3) พรหม
(4) พระเจ้า
(5) การทํางานที่ต่างกัน
ตอบ 5 หน้า 115, (คําบรรยาย) ตามแนวคิดของศาสนาพุทธ เห็นว่า “ระบบวรรณะ” หรือวรรณะ ต่าง ๆ นั้นมีที่มาจากการทํางานที่ต่างกัน กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีทําหน้าที่คอยควบคุม การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ส่วนพราหมณ์เกิดจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่มี ขึ้นในหมู่สัตว์คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย และมีวิถีชีวิตคือการไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ขออาหารเป็นมื้อ ๆ จากชาวบ้าน รวมทั้งแพศย์ และศูทรเองก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่การทํางานกัน ดังคํากล่าวที่ว่า “ สัตว์เหล่านั้นยึดมั่น เมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการงาน…..”
11. ที่มาของผู้ปกครองของศาสนาพุทธในอัคคัญญสูตรสอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) การแต่งตั้ง
(2) การเลือกตั้ง
(3) สงคราม
(4) การสอบคัดเลือก
(5) สืบทายาท
ตอบ 1 หน้า 115, (คําบรรยาย) สมมุติฐานการเกิดผู้ปกครองตามคติความเชื่อในอัคคัญญสูตรของ ศาสนาพุทธนั้น กษัตริย์หรือผู้ปกครองจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มีหรือแต่งตั้งขึ้น เรียกว่า “มหาสมมุติ” เพื่อคอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มี การละเมิดซึ่งกันและกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะให้ค่าตอบแทนแก่มหาสมมุตินั้นด้วย
12. ข้อใดคือความเชื่อของศาสนาพุทธ
(1) Pantheism
(2) Polytheism
(3) Atheism
(4) Monotheism
(5) Henotheism
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ
13. ข้อใดไม่จัดอยู่ในอบายมุข 6
(1) คบคนชั่วเป็นมิตร
(2) เที่ยวกลางคืน
(3) เกียจคร้าน
(4) เล่นการพนัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อบายมุข 6 คือ วิถีชีวิต 6 อย่างแห่งตัณหาความอยาก ความโลภหลงมัวเมาที่ ทําให้เกิดความเสื่อม ความฉิบหายของชีวิต ประกอบด้วย
1. ดื่มน้ำเมา
2. เที่ยวกลางคืน
3. เที่ยวดูการละเล่น
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านการทํางาน
14. คําสอนที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองต่อพลเมืองด้วยกันคือ
(1) ศีล 5
(2) กรรมบถ
(3) ธรรมราชา
(4) ทิศ 6
(5) ทศพิธราชธรรม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทิศ 6 คือ คําสอนที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองต่อพลเมืองด้วยกัน
ซึ่งประกอบด้วยบุคคล 6 ส่วน แบ่งเป็นทิศต่าง ๆ รอบตัว ดังนี้
1. ปรัตถ์มทิส หมายถึง ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
2. ทักขิณทิส หมายถึง ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูบาอาจารย์
3. ปัจฉิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามี ภรรยา
4. อุตตรทิส หมายถึง ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
5. เหฏฐิมทิส หมายถึง ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้าง คนรับใช้
6. อุปริมทิส หมายถึง ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
15. ที่ใดที่ถือว่าประมุขของศาสนจักรเป็นประมุขของฝ่ายอาณาจักรด้วย
(1) พม่า
(2) ญี่ปุ่น
(3) มองโกเลีย
(4) จีน
(5) ทิเบต
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ทิเบต เป็นรัฐที่มีประมุขฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรเป็นคนเดียวกัน ซึ่งก็คือ “องค์ดาไล ลามะ” โดยชาวพุทธมหายานในทิเบตเชื่อมั่นว่าองค์ดาไล ลามะ เป็นพระโพธิสัตว์ ลงมาเกิดในร่างมนุษย์เพื่อโปรดสรรพสัตว์ เมื่อองค์ดาไล ลามะ สิ้นชีวิต ดวงจิตวิญญาณจะกลับมา เกิดในร่างใหม่ และสาวกก็จะติดตามไปจนได้พบเด็กที่เป็นร่างใหม่ขององค์ดาไล ลามะ แล้วนํามา เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้การศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน จนแตกฉาน แล้วให้ดํารงตําแหน่ง ดาไล ลามะ องค์ต่อไป วนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดมา
ความหมายของทฤษฎีการเมือง
ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 16. – 20.
(1) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์
(2) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน
(3) สสารวาท
(4) เหตุผลนิยม
(5) ทฤษฎีการเมืองร่วมสมัย
16. ถือว่าคนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 8, คําบรรยาย) กลุ่มวิตรรกวาทหรือกลุ่มเหตุผลนิยม เชื่อว่า บรรดาสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากแนวความคิดของมนุษย์ คนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล และสถาบันการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน
17. ใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือ ความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย ซึ่งจะไม่มีการแยกคุณค่าออก จากสิ่งที่ศึกษา โดยคําอธิบายนั้นสามารถเข้าใจหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล และไม่จําเป็น ต้องทดลองให้เห็นในเชิงประจักษ์ ดังนั้นวิชา “ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1” หรือวิชา POL 2101 จึงมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน โดยเนื้อหาในการศึกษาวิชานี้จะ บรรจุทัศนะทางการเมืองของเมธีผู้มีชื่อเสียงที่สําคัญ ๆ นับแต่สมัยคลาสสิค/โบราณ จนกระทั่ง ถึงสมัยกลางตอนต้น หรือครอบคลุมความคิดทางการเมืองสมัยกรีก (Greek) และโรมัน (Roman) รวมถึงยุคกลางแห่งอาณาจักรไบเทนไทน์ (Byzantine)
18. มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากรัฐศาสตร์ กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
19. ถือว่าความคิดทางการเมืองเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่
ตอบ 3 หน้า 9 – 11, (คําบรรยาย) สํานักวัตถุนิยม (Materialism) หรือเรียกอีกอย่างว่า สสารวาท ซึ่งสํานักนี้เห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐานของความคิดมนุษย์ หรืออาจกล่าว ได้ว่านามธรรมนั้นเกิดมาจากรูปธรรม และถือว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ หรือความคิดทางการเมืองล้วนแต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ หรือบทบาทของ ผลประโยชน์ทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ของชนทั้งหลายคือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ
20. เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ
21.จริยธรรม เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) กฎธรรมชาติ
(2) หลักตัดสินพฤติกรรมมนุษย์
(3) ทวินิยม
(4) หลักการใช้กฎหมาย
(5) หลักการปกครองมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 3, (คําบรรยาย) คํานิยามของทฤษฎีการเมืองในทรรศนะของ Edward C. Smith และ Arnold J. Zurcher นั้น เห็นว่าลักษณะแบบจริยธรรม (Ethical) ได้แก่ ส่วนของทฤษฎีการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดควรทําหรือไม่ควรทํา ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องในกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมัก ใช้เป็นหลักตัดสินพฤติกรรมมนุษย์
22. ทฤษฎี มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) ความถูกต้อง
(2) ความชอบธรรม
(3) สัจจะ
(4) ความเห็น
(5) ความซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “ทฤษฎี” ในภาษาไทย มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตคือ ทฤษฎี (ภาษาบาลีใช้ ทิฏฐิ) ซึ่งหมายถึง ความเห็น ข้อเสนอ ทิฐิ
ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 23 – 25
(1) ปรัชญาการเมือง
(2) อุดมการณ์ทางการเมือง
(3) ความคิดทางการเมือง
(4) สถาบันทางการเมือง
(5) มโนทัศน์ทางการเมือง
23. การศึกษาเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคล
ตอบ 3 หน้า 1 – 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจ ว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับเรื่อง การเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์
24. มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก โดยไม่จําเป็นต้องเป็น สิ่งที่ถูกต้องหรือยึดหลักศีลธรรมหรือคุณธรรมทางการเมือง แต่จะเป็นความคิดหรือความเชื่อ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกล่อมเกลาสมาชิกที่ยึดถือ และมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์
25. การตอบคําถามอมตะทางการเมือง เช่น ระบอบการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (คําบรรยาย) ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) จะมุ่งเน้นเรื่องการตั้งคําถามอมตะ (Philosophia Perennis) เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้ อันแท้จริงและไม่เปลี่ยนแปลงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด เช่น ระบอบการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นต้น
บริบทความคิดทางการเมืองในยุคกรีกและโซฟิสต์
26. ขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาของวิชานี้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาที่เกิดรัฐใดบ้าง
(1) Greek
(2) Roman
(3) Byzantine
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ
27. สงครามเพโลโพนีเชียน เป็นสงครามระหว่าง
(1) เอเธนส์กับเปอร์เซีย
(2) เอเธนส์รบกันเอง
(3) สปาร์ตากับเปอร์เซีย
(4) สปาร์ตากับเอเธนส์
(5) กรีกกับโรมัน
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) สงครามเพโลโพนีเซียน (Peloponesian War) เป็นสงครามระหว่าง นครรัฐสปาร์ตา (Sparta) และเอเธนส์ (Athens) แต่ในทางปฏิบัติแล้วบรรดานครรัฐกรีกอื่น ๆ ทุกนครรัฐถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วมในสงครามระหว่างพวกเดียวกัน จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ที่สร้างความระส่ําระสายไปทั่วรัฐกรีกในขณะนั้น ซึ่งจบลงโดยชัยชนะของสปาร์ตา
28. ผลของสงครามเพโลโพนเซียนคือ
(1) ชัยชนะของเปอร์เซีย
(2) ชัยชนะของเอเธนส์
(3) ชัยชนะของสปาร์ตา
(4) ชัยชนะของโรมัน
(5) ไม่มีผลแพ้ชนะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ
29. ประชาธิปไตยเอเธนส์มีลักษณะที่สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ประชาธิปไตยรวมศูนย์
(2) ประชาธิปไตยปรึกษาหารือ
(3) ประชาธิปไตยประชาชน
(4) ประชาธิปไตยทางตรง
(5) ประชาธิปไตยตัวแทน
ตอบ 4 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแรกเริ่มของบรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีก เช่น นครรัฐเอเธนส์ สปาร์ตา เดลไฟ โรดส์ โอลิมเปีย เป็นต้น จะเป็นระบอบกษัตริยาธิปไตยหรือ ราชาธิปไตย(Monarchy) ต่อมาในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ระบอบการปกครองก็เปลี่ยนเป็น ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) จากนั้นในระยะต่อมาระบอบทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) จึงเข้ามาแทนที่ และสิ้นสุดลงเมื่อบรรดาประชาชนผู้ถูกทรราชกดขี่ได้ร่วมมือกับเหล่าขุนนางและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายทําการปฏิวัติกวาดล้างทรราช จนกระทั่งในราวศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนคริสตกาล บรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีกรวมทั้งนครรัฐเอเธนส์ก็ได้เปลี่ยนรูปการปกครอง มาเป็นระบอบ “ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) ยกเว้นนครรัฐสปาร์ตาที่เปลี่ยน รูปการปกครองมาเป็นแบบเผด็จการทหารนิยม (Military City-State)
ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 30. – 35.
(1) สภาประชาชน
(2) ศาล
(3) คณะสิบนายพล
(4) คณะมนตรีห้าร้อย
(5) การเนรเทศ
30. มาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 3 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่กําหนดคุณสมบัติ โดยวัยวุฒิ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของประชาชน คือทําหน้าที่ทางนิติบัญญัติสูงสุด ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน และเป็นองค์กรปกครองประจํา ทําหน้าที่คล้ายรัฐบาล
3. ศาล (Court) จะพิจารณาตัดสินคดีโดยคณะลูกขุน (Jury) ซึ่งประกอบด้วย พลเมืองชายที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน จะคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งคําตัดสินจะถือเป็นเด็ดขาด ไม่มีอุทธรณ์ ทั้งโจทก์และจําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยตนเอง ไม่มีทนายความ
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ําอีก ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอํานาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติ และเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอิทธิพลสูงที่สุดในเอเธนส์
31. มาจากพลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
32. เป็นองค์กรปกครองประจําทําหน้าที่คล้ายรัฐบาล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
33. เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอิทธิพลสูงที่สุดในเอเธนส์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
34. ทําหน้าที่ทางนิติบัญญัติสูงสุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
35. ใช้แผ่นกระเบื้องดินเผาในการลงมติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเนรเทศ (Ostracism) มีกระบวนการเริ่มต้นจากการริเริ่มของสภาประชาชน ว่าจะให้มีการลงคะแนนเพื่อเนรเทศหรือไม่ จากนั้นอีก 2 เดือนต่อมาจึงจัดให้มีการลงคะแนน โดยเขียนชื่อคนที่ต้องการให้เนรเทศในจานหรือเศษแผ่นกระเบื้องดินเผาในการลงมติ โดยใช้ เสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีองค์ประชุมอย่างน้อย 6,000 คน หากผู้ใดโดนเนรเทศให้ออกไปจากเมือง เอเธนส์ภายใน 10 วัน และห้ามกลับเข้ามาเอเธนส์อีกจนกว่าจะครบ 10 ปี
36. “Sophist” มีความหมายตรงกับ
(1) ความรัก
(2) ความรู้
(3) ผู้ถ่อมตน
(4) ผู้รู้
(5) ผู้รักในความรู้
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) คําว่า “Sophist” หมายถึง ผู้มีความรู้ ผู้รู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้
37. แนวคิดของกลุ่มโซฟิสต์สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) สตรีนิยม
(2) สัมพัทธนิยม
(3) สัมบูรณ์นิยม
(4) อนุรักษนิยม
(5) วัตถุนิยม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ ในช่วงปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็น โซฟิสต์คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่า คนแต่ละคนมีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่าง เพราะความจริงเป็นเรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็น ขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล
38. เขียนบันทึกเรื่องบทสนทนาแห่งชาวมีเลียน
(1) กอร์กอัส
(2) ธราชิมาคัส
(3) ยูซิดิดีส
(4) โปรทากอรัส
(5) เดโมเครตุส
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ซูซิดิดีส (Thucydides) เป็นผู้เขียนเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเสี่ยน” (Metian Dialogue) ซึ่งเป็นบทหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์สงคราม เพโลโพนิเชียน (The Peloponesian War) โดยจะมีสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับ เอเธนส์ (Athens) ในช่วงของสงครามดังกล่าว ซึ่งตัวธูซิดิดิสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงคราม ดังกล่าวนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนําทัพเอเธนส์ไปรบต่างแดน หลายครั้ง แต่ประสบความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส (Amphipolis) ทําให้ถูกเนรเทศออกจากเอเธนส์
39. อธิบายว่ามนุษย์คือแกนกลางในการตัดสินคุณค่าในเรื่องต่าง ๆ
(1) กอร์กิอัส
(2) ธราชิมาคัส
(3) ซูซิดิดีส
(4) โปรทากอรัส
(5) เดโมเครตุส
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส อธิบายว่า มนุษย์คือแกนกลาง ในการตัดสินคุณค่าในเรื่องต่าง ๆ โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นผู้กําหนดคุณค่าความหมาย ของสรรพสิ่งต่าง ๆ ทําให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น และทําสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอยู่อย่าง ที่มันไม่เป็น” (Man Is the measure of all things, of things that are as how they, and of things that are not as to how they are not)
40. ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มโซฟิสต์
(1) กอร์กิอัส
(2) ธราชิมาคัส
(3) โปรดิคุส
(4) โปรทากอรัส
(5) ไดโอจีนีส
ตอบ 5 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23) นักปรัชญาของกลุ่มโซฟิสต์ ได้แก่ โปรทากอรัส (Protagoras), กอร์กีอัส (Gorgias), โปรดิคุส (Prodicus), ฮิปเปียส (Hippias) และธราซิมาคัส (Thrasymachus)
ซอคราตีส เพลโต อริสโตเติล
41.ซอคราตีสต้องคําตัดสินประหารชีวิตในศาลเอเธนส์ด้วยข้อกล่าวหาใด
(1) ทําให้เยาวชนเสียคน
(2) ลบหลู่เทพเจ้า
(3) พูดความจริง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโต ได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า ยูไธโฟร (Euthyphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาที่ว่า ทําให้เยาวชนเสียคน และลบหลู่เทพเจ้า ส่วนในหนังสือเรื่อง อโพโลจี (Apology) เป็นเล่มที่เล่าว่า ซอคราตีสพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวเอง และสุดท้ายถูกศาลตัดสินพิพากษาประหารชีวิตด้วยการกินยาพิษ
42. ซอคราตีสหาความรู้จาก
(1) ตํารา
(2) สังเกตทดลอง
(3) ใช้เหตุผล
(4) เทพบันดาล
(5) สนทนา
ตอบ 5 หน้า 22 (คําบรรยาย) ซอคราตีส (โสเกรติส) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่นิยมเผยแพร่ทัศนะและหาความรู้จากการสนทนาอภิปราย โดยกิจวัตรประจําวันของเขาคือการเสาะแสวงหา คู่สนทนาปัญหาการเมือง และเริ่มต้นการสนทนาด้วยการตั้งปัญหา (ตั้งคําถาม) และนําหัวข้อ มาอภิปรายจนกระทั่งพบข้อสรุป ซึ่งวิธีการแบบนี้เรียกว่า “Dialogue”
43. งานที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่ซอคราตีสกําลังรอการประหารชีวิตและมีเพื่อนมาช่วยคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 42) ในบทสนทนา “ไครโต” (Crito) ของเพลโตนั้น เป็นส่วนที่จะนํามาอธิบายในการตอบปัญหาที่ว่าทําไมเราถึงต้องเชื่อฟังกฎหมาย โดยเล่มนี้ เป็นตอนที่ซอคราตีสโดนพิพากษาจากศาลแล้วกําลังรอเวลาประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในเวลานั้น ไครโต ผู้เป็นเพื่อนสนิทก็ได้มาช่วยและพยายามหาทางหว่านล้อมให้ซอคราตีสหนี แต่ไม่ว่าจะ หว่านล้อมแค่ไหน ซอคราตีสก็ไม่ยอมหนีไป
44. งานเขียนที่เกี่ยวกับการแก้คดีความในศาลของซอคราตีสคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22 – 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) ซอคราตีส โจมตีระบอบประชาธิปไตย ของนครรัฐเอเธนส์เป็นอย่างมาก แต่เป็นผู้ที่สนับสนุนรูปการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยนอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์ของเพลโตที่ต้องจบชีวิตลงด้วยคําพิพากษาของศาลเอเธนส์ ลงโทษให้ดื่มยาพิษสังหารชีวิตตนเอง ซึ่งในหนังสือของเพลโตที่ชื่อว่า “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง โดยเนื้อหาในเล่มนี้จะเกี่ยวกับการพยายาม แก้คดีความในศาลด้วยตัวของเขาเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษดังกล่าว
45. ข้อใดไม่ใช่พันธะหน้าที่ของมนุษย์ในมุมมองของซอคราตีส
(1) มโนสํานึกของตัวเอง
(2) เป็นพันธะของทุกคน
(3) ความจริง
(4) การแสวงหาอํานาจ
(5) การแสวงหาคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) ซอคราตีส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพันธะหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ คือ พันธะต่อมโนสํานึกของตัวเขาเอง พันธะต่อความจริง และพันธะต่อการแสวงหาคุณธรรม
46. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเพลโต
(1) เป็นคนเชื้อสายมาเซโดเนีย
(2) เป็นศิษย์ของอริสโตเติล
(3) สนับสนุนประชาธิปไตยเอเธนส์
(4) เป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์
(5) เคยถูกจับเป็นทาส
ตอบ 5 หน้า 33, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) เพลโต เกิดเมื่อปี 427 ก่อนคริสตกาลในครอบครัว ชนชั้นสูงของนครเอเธนส์ เติบโตในช่วง “สงครามเพโลโพนีเซียน” ระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา เพลโตได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา ซึ่งเขา ประสบโชคร้ายเคยถูกจับให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ ต่อมาในปี 387 ก่อนคริสตกาล เพลโตได้ กลับมานครเอเธนส์และก่อตั้งสํานัก Academy ส่วนในเรื่องผลงานนั้นเพลโตมีผลงานมากมาย ซึ่งหนังสือของเขามักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก เช่น ในบทสนทนาที่ชื่อว่า ไครโต (Crito) เป็นต้น
47. ข้อใดคือสํานักศึกษาของเพลโต
(1) College
(2) Academy
(3) University
(4) Lyceum
(5) Colloquium
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ
48. ผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) Apology
(2) The Republic
(3) Politics
(4) Euthyphro
(5) Crito
ตอบ 2 หน้า 37 ในหนังสือ The Republic นั้น เพลโตได้เสนอรูปแบบของอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (ideal State) ที่เขาเห็นว่าดีที่สุดไว้ โดยเชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตเป็นหลัก ของรัฐ นั่นคือ ชนในรัฐทุกคนทําหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจําจิตของตนกําหนดให้โดยไม่ก้าวก่าย หน้าที่ซึ่งกันและกัน
49. ผู้ที่เหมาะสมกับหน้าที่ผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตต้องมีคุณธรรมแบบใด
(1) รักความยุติธรรม
(2) มีความกล้าหาญ
(3) มีเหตุผล
(4) รักธรรมชาติ
(5) มีความปรารถนามาก
ตอบ 3 หน้า 36, (คําบรรยาย) เพลโต จําแนกความยุติธรรม (Justice) ของบุคคลในรัฐโดยใช้คุณธรรม ประจําจิต โดยเขาเห็นว่าการที่ผู้ใดควรจะเป็นชนชั้นใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณธรรมประจําจิตของ แต่ละคน ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง ถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็นผู้พิทักษ์หรือทหาร และถ้าจิตของ ผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ)
50. การคัดเลือกผู้ที่ไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ในรัฐอุดมคติของเพลโตทําอย่างไร
(1) จับสลาก
(2) การเลือกตั้ง
(3) ระบบการศึกษา
(4) ผู้มีอํานาจเลือก
(5) สืบตระกูล
ตอบ 3 หน้า 37 ใน The Republic เพลโตได้วางหลักเกี่ยวกับการศึกษาในอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเขา โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมืออบรมและคัดเลือกผู้ที่ไปทําหน้าที่ต่าง ๆ ในรัฐ
51. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) ผู้ปกครองไม่สามารถมีทรัพย์สินส่วนตัวได้
(2) ผู้ชายเท่านั้นที่เป็นผู้ปกครอง
(3) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(4) มีกฎหมายรัฐธรรมนูญกํากับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย) รัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้คือ
1. ปกครองในระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) หรืออภิชนาธิปไตย (Aristocracy) ก็ได้
2. ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว
3. การประเวณีจะมีได้เป็นครั้งคราว เพื่อที่จะได้มาซึ่งพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่านั้น
4. ผู้หญิงมีโอกาสเป็นผู้ปกครองหรือนักรบได้เช่นเดียวกับผู้ชาย
5. ไม่มีกฎหมายในรัฐในอุดมคติ เพราะหากกําหนดตัวบทกฎหมายขึ้นก็เท่ากับเป็นการวาง กฎเกณฑ์ให้ราชาปราชญ์ปฏิบัติตาม ประโยชน์ที่จะได้รับจากความเฉลียวฉลาดของ ราชาปราชญ์ย่อมหมดไป และถ้าเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ ก็อาจจะเป็นผู้ปกครองได้ในเมื่อ มีกฎหมายเป็นเครื่องกําาหนดวิถีปฏิบัติไว้แล้ว เป็นต้น
52. คุณธรรมที่ทําให้แต่ละคนไม่ก้าวก่ายหน้าที่กันของรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) ความรักในความรู้
(2) ความกล้าหาญ
(3) ความทะเยอทะยาน
(4) ความรู้
(5) ความอดทนอดกลั้น
ตอบ 5 หน้า 36, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า ความยุติธรรมจะปรากฏขึ้นหรือมีขึ้นในบุคคลก็ต่อเมื่อ บุคคลนั้นรู้จักขันติหรือความอดทนอดกลั้น (Temperance) ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทําให้คนยอมรับ สภาพความสามารถของตน และแสดงบทบาทตามคุณธรรมประจําจิตของตนเท่านั้น โดยเขา กล่าวว่า “ความยุติธรรมหมายถึงการผูกพันอยู่กับธุรกิจของตน และไม่ก้าวก่ายงานของคนอื่น”
53.ความ……ให้เรายืนหยัดกระทําในสิ่งที่เป็นความฉลาดรอบรู้ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
(1) รักในความรู้
(2) มุ่งมั่น
(3) กล้าหาญ
(4) มีเหตุผล
(5) จริงใจ
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดรอบรู้ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ
2. ความยุติธรรมทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการแท้จริง
3. ความกล้าหาญช่วยให้เรายืนหยัดกระทําสิ่งที่เป็นความฉลาดรอบรู้ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
4. ความรู้จักประมาณช่วยประสานจิตใจต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล
54. ประยุกตรัฐของเพลโตมีลักษณะเป็นการปกครองรูปแบบใด
(1) Oligarchy
(2) Democracy
(3) Monarchy
(4) Aristocracy
(5) Mixed Constitution
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า โครงสร้างการปกครองของประยุกตรัฐนั้นมีแนวโน้ม เป็นการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution) ระหว่างคณาธิปไตย (Oligarchy) กับ ประชาธิปไตย(Dernocracy) หรือระหว่างความเฉลียวฉลาดกับจํานวน
55. การใช้ทรัพย์สินวัดความสามารถของคนในประยุกตรัฐสะท้อนหลักการใด
(1) ทุชนาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) ราชาธิปไตย
(5) ผสม
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) การใช้ทรัพย์สินวัดความสามารถของคนในประยุกตรัฐของเพลโตนั้น สะท้อนหลักการคณาธิปไตย โดยเขากําหนดให้ชนชั้นที่ร่ํารวยมีสิทธิทางการเมืองมากกว่าคนจนแม้จะมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยที่ให้คนทุกคนมีส่วนในการปกครอง แต่ก็มีลักษณะคณาธิปไตย ผสมอยู่มากเพราะให้สิทธิทางการเมืองคนรวยมากกว่า ซึ่งเพลโตใช้ทรัพย์สินเป็นมาตรการวัด ความสามารถ โดยตั้งสมมุติฐานว่า “ผู้ที่มีความสามารถสร้างทรัพย์สินได้มากกว่าบุคคลอื่น ย่อมมีความสามารถในทางการเมือง (หรืออื่น ๆ) เหนือกว่าบุคคลอื่น”
56. อริสโตเติลมาจากตระกูลที่ประกอบอาชีพใด
(1) นักปราชญ์
(2) นักการเมือง
(3) แพทย์
(4) ช่างทําหิน
(5) เกษตรกรรม
ตอบ 3 หน้า 45, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากิรัส (Stagirus) ทางชายฝั่งของมาเซโดเนีย โดยเขามาจากตระกูลที่ประกอบอาชีพแพทย์ และเป็นศิษย์ของเพลโต ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการศึกษาวิชาชีววิทยาทางทะเลที่เมืองเรสบอส (Resbos) อริสโตเติล ได้ทํางานเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการของเฮอร์เมียส (Hermias) เจ้าเมืองอาตาร์เนอส และได้แต่งงานกับหลานสาวของเฮอร์เมียสด้วย
57. ในทัศนะของอริสโตเติล รัฐเกิดมาจาก
(1) การทําสัญญา
(2) ธรรมชาติ
(3) การร่วมมือ
(4) อํานาจ
(5) พระเจ้า
ตอบ 2 หน้า 46 อริสโตเติล เห็นว่า รัฐเป็นสถาบันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งจําเป็นคนจะสามารถค้นพบจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตที่แท้จริงได้ภายในรัฐเท่านั้น คนจะขาดรัฐไม่ได้ แม้จะอยู่ภายในรัฐที่ปกครองด้วยทรราชก็ยังดีกว่าอยู่ภายนอกรัฐ
58. ผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติลคือ
(1) Ideal State
(2) Politics
(3) Republic
(4) Apology
(5) Crito
ตอบ 2 หน้า 45 ผลงานของอริสโตเติล ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรวมเล่มหรือจัดพิมพ์ด้วยตัวเขาเองวรรณกรรมของเขาเป็นเพียงงานเขียนที่ใช้สําหรับการสอนที่สํานักศึกษาของเขา แม้ว่าบางเรื่องอาจจะเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะเปิดสํานักศึกษาลีเซียม โดยหนังสือและผลงานของเขาที่ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์(The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)
59.Telos ของมนุษย์ตามที่อริสโตเติ้ลเสนอหมายถึง
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) การมีคุณธรรม
(4) การมีพฤติกรรมที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจาก มนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง ซึ่งการที่ จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นคําอธิบายแนวคิดที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” จึงหมายถึง ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันถึงจะมีชีวิตที่ดีนั่นเอง
60. สิ่งที่บ่งชี้ว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์ในทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) มีเหตุผล
(2) มีการศึกษา
(3) อยู่ภายในรัฐ
(4) มีความสูงส่งทางจริยธรรม
(5) มีความเพียร
ตอบ 3 หน้า 46 อริสโตเติล เห็นว่า “สิ่งที่สร้างมนุษย์ให้เป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล ซึ่งแตกต่างจาก สัตว์เดรัจฉานอื่น ๆ คือ ความสามารถในการพูดและการสมาคมกับคนอื่น ๆ ดังนั้นชีวิตที่อยู่ ภายในรัฐเท่านั้นที่จะสร้างให้มนุษย์มีฐานะสูงกว่าสัตว์ป่า และมีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง”
61. อริสโตเติลใช้เกณฑ์ใดจําแนกรูปแบบการปกครองที่ดีและไม่ดีออกจากกัน
(1) กฎหมาย
(2) ทฤษฎี
(3) ความสามารถ
(4) จุดมุ่งหมาย
(5) จํานวน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 60 – 61), (คําบรรยาย) ในหนังสือ Politics นั้น อริสโตเติล ได้ใช้เกณฑ์ “จุดมุ่งหมายของการใช้อํานาจในการปกครอง” เพื่อจําแนกรูปแบบการปกครอง ที่ดีและไม่ดีออกจากกัน กล่าวคือ หากรูปแบบการปกครองใดที่ผู้ปกครองใช้อํานาจไปเพื่อ ผลประโยชน์ของสาธารณะหรือคนทั้งหมดแล้ว จะเรียกรูปแบบการปกครองนั้นว่าเป็นรูปแบบ การปกครองที่ “ดี” แต่หากรูปแบบการปกครองใดที่ผู้ปกครองนั้นใช้อํานาจไปเพื่อผลประโยชน์ ส่วนตัว จะเรียกรูปแบบการปกครองนั้นว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ “เลว” (ไม่ดี)
62. ชนชั้นใดในประยุกตรัฐของอริสโตเติลที่ควรมีจํานวนมากที่สุด
(1) ชนชั้นล่าง
(2) ชนชั้นกลาง
(3) ชนชั้นสูง
(4) ปัญญาชน
(5) นักบวช
ตอบ 2 หน้า 53, (คําบรรยาย) อริสโตเติล กล่าวว่า ประยุกตรัฐจะสมบูรณ์แบบและสร้างสมชีวิตที่ดี ให้กับพลเมือง หากว่าภายในรัฐนั้นมีชนชั้นกลางจํานวนมากที่สุด หรือมากเพียงพอที่จะมีพลัง เหนือกว่าชนชั้นอื่นทั้งสองชนชั้น กล่าวคือ ต้องมากกว่าชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำ
63. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับประยุกตรัฐของอริสโตเติล
(1) ทุชนาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) คณาธิปไตย
(4) ราชาธิปไตย
(5) ผสม
ตอบ 5 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือที่ เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี
64.Demos ที่มาจากคําว่าประชาธิปไตย ในสมัยกรีกหมายถึง
(1) กฎหมาย
(2) ประชาชนทั่วไป
(3) ชนชั้นกลาง
(4) คนจน
(5) คนรวย
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21, 62) ศัพท์คําว่าประชาธิปไตย หรือ Democracy มาจาก ภาษากรีกคําว่า Dermokratia ซึ่งเป็นการผสมกันของรากศัพท์ 2 คํา คือ “Demos” (ชนชั้นต่ํา ชนชั้นล่าง คนจน ฝูงชน) และคําว่า “Kratia” (รูปแบบการปกครอง)
65. เหตุที่อริสโตเติลได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์คือ
(1) เขียนหนังสือการเมืองคนแรก
(2) เป็นศิษย์คนสําคัญของเพลโต
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) ใช้วิธีการบรรยายในการเขียนหนังสือ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และการสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบ ความเป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน
ความคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายและโรมัน
66. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความคิดในยุคเฮลเลนนิสติก
(1) ให้ความสําคัญกับรัฐอย่างเดียว
(2) เกิดหลังการล่มสลายของโรมัน
(3) สนับสนุนรัฐแห่งโลก
(4) ให้ความสําคัญกับปัจเจกชนนิยม
(5) เชื่อเรื่องเหตุผลอย่างเดียว
ตอบ 4 57, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) หมายถึง ยุคที่ใช้ วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรื่องอํานาจอีกต่อไป จะเป็นเพียงแค่สืบวัฒนธรรมมาจากกรีกเท่านั้น และเป็นยุคต่อกับยุคเฮลเลนนิก (Hellenic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่กรีกตอนปลายไปจนถึงยุคโรมัน ก่อนถึงยุคกลาง โดยยุคนี้มีความเชื่อว่าบุคคลกับสังคมสงเคราะห์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลย และ รัฐไม่ใช่สิ่งจําเป็นในการที่จะมีชีวิตที่ดี แต่ให้ความสําคัญกับพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) ลัทธิสากลนิยม (Universalism) และปัจเจกชนนิยม (Individualism)
67. คําว่าซินนิคส์มีความหมายถึง
(1) ผู้ทรงภูมิ
(2) ผู้ผ่านโลกมาก
(3) ผู้ทวนกระแส
(4) มนุษย์ที่แท้
(5) สุนัข
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) คําว่า ซินนิคส์ หรือ “Cynics” มาจากคํา ในภาษากรีก หมายถึง สุนัข (หมา) สําหรับชื่อของลัทธินี้ถ้าแปลตรงตัวก็คือ “มีชีวิตเหมือนสุนัข” ซึ่งเหตุผลที่ได้ชื่อนี้ก็เนื่องมาจากค่าสอนของสํานักนี้สอนให้มนุษย์นั้นดํารงชีวิตอย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีรีตองใด จนทําให้บางคนมักเรียกสํานักนี้ว่า พวกที่ดํารงชีวิตเหมือนสุนัข
68. สิ่งที่สามารถควบคุมความชั่วร้ายได้ตามทัศนะของสโตอิกส์คือ
(1) กฎหมาย
(2) ทรัพย์สิน
(3) ร่างกาย
(4) ชื่อเสียง
(5) ทัศนคติ
ตอบ 1 หน้า 71, (คําบรรยาย) ซีนีคา (Seneca) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่อธิบายว่ารัฐเกิดมา จากปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมนุษย์ โดยเชื่อว่าครั้งหนึ่งมนุษย์เราอยู่อย่างมีความสุข และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ในสมัยสังคมดึกดําบรรพ์ ต่อมาเมื่อคนเกิดตัณหา เกิดความละโมบ และ รู้จักกับคําว่า “ทรัพย์สินส่วนตัว” ความชั่วร้ายก็จะบังเกิดขึ้นจากการแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ผู้ปกครองที่ดีก็จะกลายเป็นทรราชกดขี่ประชาชน ด้วยเหตุนี้เองความจําเป็นที่จะต้องมีสถาบันการปกครองหรือมีกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการควบคุมและแก้ไขความชั่วร้ายจึงเกิดขึ้น
69. บุคคลที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอีพิคิวเรียนคือ
(1) ต่อต้านสถาบันทางการเมือง
(2) มีชีวิตตามแนวทางดึกดําบรรพ์
(3) นิยมเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
(4) ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 58, (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน (Epicurean) สอนว่า คนฉลาดควรหลีกหนีจากการเมือง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งที่นําความยุ่งยากมาให้ และเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะค้นพบ จุดหมายปลายทางของชีวิตนั่นคือความสุขสําราญ ดังนั้นจะเห็นว่าหากมีการต่อต้านผู้ปกครองผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอิพิคิวเรียนนี้จะไม่เข้าร่วมหรือไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง
ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 70 – 75.
(1) ซินนิคส์
(2) สโตอิกส์
(3) อิพิคิวเรียน
(4) โพลิเบียส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
70. Anacyclosis
ตอบ 4 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส (Polybius) เห็นว่า รูปการปกครองของกรีกนั้นมีการ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์ (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเสื่อมลงไปเป็นเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้าย ก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มีที่สิ้นสุด
71. เสนอให้ใช้ชีวิตเหมือนมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 61, (คําบรรยาย) แนวคิดซินนิคส์นั้น ต้องการให้คนกลับไปสู่ยุคดึกดําบรรพ์ ในสมัยที่ สถาบันทางสังคมยังไม่เกิดขึ้น โดยโจมตีว่า “ชีวิตแห่งอารยชนและนักการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่เป็น ธรรมชาติ เพราะเป็นชีวิตที่ละทิ้งความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ แห่งสมัยดึกดําบรรพ์” ดังนั้นจึงอาจ กล่าวได้ว่า กลุ่มซินนิคส์เป็นพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchy) คือประสงค์จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือ สถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา หรือให้ใช้ชีวิตเหมือนมนุษย์ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือใช้ชีวิตแบบยุคหิน
72. เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวโรมันมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 73, (คําบรรยาย) พาเนเทียส (Panaetius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่ปรับแนวคิด ให้เข้ากับบริบทของโรมัน หรือดัดแปลงแนวคิดสโตอิกส์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวโรมันมากที่สุด โดยเขาอธิบายว่า “คนที่ดีนั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่ จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า ด้วยการพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกันผ่านทางสถาบันแห่งรัฐ นั่นคือการยินดีจะกระทํากิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ นั่นเอง”
73. เป็นแนวคิดที่เชื่อว่ารัฐเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
ตอบ 3 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า รัฐหรือสถาบันการปกครองเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ จําเป็น แม้ว่าจะเป็นสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม
74. ใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
ตอบ 2 หน้า 68, 73, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ (Stoics) เชื่อว่า คุณธรรมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ซึ่งสามารถหาได้จากเหตุผล เมื่อมีเหตุผลก็สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติ ดังนั้นคุณธรรมจึงมีรากฐานมาจากธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลเป็นหลักในการนําทางชีวิตและ อยู่ร่วมกัน โดยจะใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
75. เสนอให้ยกเลิกรัฐ
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาซินนิคส์ มุ่งไปในทางต่อต้านรัฐ คือ ไม่ต้องการให้มีรัฐ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบกรรมสิทธิ์ ระบบการเมือง การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา และระบบชนชั้นด้วย โดยกล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถ บรรลุถึงศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็น สิ่งที่ทําให้คนมีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว คนเรา ไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจกมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งนั้น ดังนั้นแนวคิดซินนิคส์จึงเสนอให้ยกเลิกรัฐ
76. นักคิดสโตอิกส์ที่อธิบายว่ารัฐเกิดมาจากปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของมนุษย์
(1) Zeno
(2) Cicero
(3) Marcus Aurelius
(4) Panaetius
(5) Seneca
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ
77. นักคิดสโตอิกส์ที่ปรับแนวคิดให้เข้ากับบริบทของโรมัน
(1) Zeno
(2) Cicero
(3) Marcus Aurelius
(4) Panaetius
(5) Seneca
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ
78. ชีวิตแบบใดที่สอดคล้องกับแนวคิดแบบซินนิคส์
(1) เดินทางสายกลาง
(2) อยู่ในรัฐ
(3) ใช้ชีวิตแบบยุคหิน
(4) มีความมั่งคั่ง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ
79. สถาบันการเมืองใดของโรมันที่สะท้อนลักษณะราชาธิปไตย
(1) Consul
(2) Assemblies
(3) Senate
(4) Tribune
(5) Praetor
ตอบ 1 หน้า 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญของโรมันนั้น คอนซูล (Consul) เป็น ลักษณะของราชาธิปไตย (Monarchy), สภาซีเนต (Senate) เป็นลักษณะของอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และสภาประชาชน (Popular Assembly) เป็นลักษณะของประชาธิปไตย (Democracy) สถาบันทั้งสามนี้ได้กระทําการถ่วงดุลแห่งอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่มีสถาบันใดที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการยินยอมของสถาบันอีกสองสถาบัน
80. อิพิคิวเรียนสนับสนุนการปกครองแบบใด
(1) ราชาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ผสม
(5) อํานาจนิยม
ตอบ 5 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicureanism) ยอมรับในรูปการณ์ปกครองใดก็ได้ ที่สามารถรักษาสันติภาพและส่งเสริมให้คนพบกับความสําราญ แต่มีแนวโน้มว่าพวกอิพิคิวเรียน จะสนับสนุนการปกครองแบบอํานาจนิยม (Authoritarianism) เพราะเชื่อว่าอํานาจเท่านั้น ที่สามารถบังคับจิตใจชั่วของคนได้
81. กฎหมายโรมันประเภทใดที่เป็นต้นกําเนิดของกฎหมายโรมันอื่น ๆ
(1) Jus Civile
(2) Jus Gentium
(3) Jus Natural
(4) Jus Universal
(5) Jus of the Twelve Tables
ตอบ 3 หน้า 61 – 62, (คําบรรยาย) กฎหมายโรมันแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. กฎหมายภายใน (Jus Civite) เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้กับชาวโรมันเท่านั้น
2. กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมาย ภายในดั้งเดิมผสมกับหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก ซึ่งกฎหมายนี้จะมี ผลบังคับใช้กับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ภายใต้อาณาจักรโรมัน
3. กฎหมายธรรมชาติ (Jus Natural) เป็นกฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นสากลและเป็นต้นกําเนิด ของกฎหมายโรมันอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะไม่มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมและไม่ยอมรับ การมีทาส โดยเห็นว่ามนุษย์เกิดมามีความเป็นอิสรเสรีและมีความเสมอภาคกัน
82. ประชาธิปไตยจะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใดในทัศนะของโพลิเบียส
(1) Aristocracy
(2) Mob Rule
(3) Oligarchy
(4) Tyranny
(5) Monarchy
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ
ความคิดทางการเมืองในคริสต์ศาสนา
83.Man’s Fallen Nature เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) อาดัมกับอีฟ
(2) บาปกําเนิด
(3) Original Sin
(4) การล้างบาป
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 123), (คําบรรยาย) Aquinas เชื่อว่า มนุษย์นั้นมีเหตุผล แต่มนุษย์บางคนมีความสามารถในการใช้เหตุผลที่ต่ํา บางคนไม่ยอมใช้เหตุผล ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ มาจากความบกพร่องของเผ่าพันธุ์มนุษย์เองที่มีบาปกําเนิด (Original Sin) นับแต่อดัมกับอีฟ ได้ถือกําเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ แต่มนุษย์คู่แรกก็ได้หลงผิดไปทําบาปด้วยการไม่เชื่อฟังพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงสาปให้มนุษย์ต้องทนทุกข์ทรมานและกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สมบูรณ์อีกต่อไป (Man’s Fallen Nature) และนําไปสู่การล้างบาปในที่สุด
84. สิ่งที่ชักชวนมนุษย์คู่แรกให้กินผลไม้ต้องห้ามคือ
(1) ซาตาน
(2) พญามาร
(3) แวมไพร์
(4) งู
(5) แมว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในสวนเอเดนนั้น พระเจ้าได้บอกกับอดัมและอีฟไว้ว่า “เจ้าสามารถกินผลของ ต้นไม้ได้ทุกต้น ยกเว้นต้นแห่งความสํานึกในความดี และความชั่วนั้นห้ามกิน หากเจ้ากินเจ้าจะ ต้องตายแน่” แต่ในสวนเอเดน พระเจ้าทรงประทานให้สัตว์ทั้งปวงนั้นฉลาดน้อยกว่า “งู” และ นั่นทําให้มนุษย์สองคนที่ใสซื่อบริสุทธิ์โดนล่อลวง ในวันหนึ่งงูได้ถามอีฟว่า “พระเจ้าอนุญาตให้ เจ้ากินทุกอย่างได้หมดเลยหรอ” อีฟจึงบอกว่า “มีแค่ต้นตรงกลางสวนเท่านั้นที่ไม่สามารถกินได้ เพราะถ้ากินจะต้องตาย” งูจึงบอกอีฟว่า “เจ้าจะไม่ตายจริงหรอก เพราะพระเจ้าทราบอยู่แล้ว ว่า หากเจ้ากินผลไม้นั้นในวันใด ตาของเจ้าจะสว่างขึ้น” อีฟจึงเชื่อและหยิบผลของต้นนั้นมากินและแบ่งให้อดัมกินด้วย
85. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(2) จงรักศัตรูของท่าน
(3) เป็นพระเมสซิยาห์
(4) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอน คนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจาก เยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและ ไปฟ้องต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี
86. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาต้องห้าม
(1) Nero
(2) Theodosius
(3) Julius
(4) Galerius
(5) Marcus Aurelius
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 90 – 91), (คําบรรยาย) ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถูกปราบปราม และกลายมาเป็นศาสนาต้องห้ามสําหรับชาวโรมตั้งแต่ในยุคของจักรพรรดิเนโร (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) โดยในปี ค.ศ. 64 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงโรม จักรพรรดิ เนโรได้ใส่ร้ายชาวคริสต์ว่าเป็นคนเผากรุงโรมและจับมาประหารชีวิตด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณรวมทั้งประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใดในอาณาจักรนับถือศาสนาคริสต์ แต่กระนั้นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ก็ได้ ประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ให้ศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาต้องห้าม ของโรมอีกต่อไป และในช่วงปี ค.ศ. 379 – 395 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius)ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําชาติของโรม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทําให้ผู้คน ในยุโรปต่างเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 87. – 91.
(1) St. Aquinas
(2) Boniface Vill
(3) St. Augustine
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salsbury
87. เสนอแนวคิดองค์อินทรีย์
ตอบ 5 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury) เป็นนักทฤษฎีการเมือง ยุคกลางคนแรกที่ใช้ทฤษฎีองค์อินทรีย์ (Organic Analogy Theory) ในการบรรยายองค์ประกอบ ของประชาคมการเมือง โดยเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ กษัตริย์คือศีรษะ หรือสมอง ฝ่ายศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือนอวัยวะ น้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา
88. อธิบายการต่อสู้กันระหว่างความดีและความชั่วร้ายภายในจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 80, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองนครของเซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine) นั้น อธิบายว่า นครทั้งสองนี้มิใช่สรวงสวรรค์กับพื้นพิภพ ไม่ใช่วัดกับรัฐ แต่เป็นพลังของความดีและพลังของ ความชั่ว โดยพลังดังกล่าวได้ต่อสู้กันภายในจิตใจเพื่อที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของดวงจิตหรือจิตใจ ของมนุษย์มานานแล้ว ซึ่งนครทั้งสองนี้ก็คือ นครของพระเจ้า และนครของซาตาน
89. ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของอริสโตเติลเป็นอย่างมาก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113), (คําบรรยาย) ความคิดทางการเมืองของเซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของอริสโตเติล (Aristotle) เป็นอย่างมาก โดยเขาพยายามที่จะเอาความคิดของอริสโตเติลมาใช้อธิบายและสร้างความชอบธรรมให้กับศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค
90. เสนอว่าอํานาจการปกครองมีที่มาจากประชาชน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์ซิกลิโอแห่งปาตัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยเสนอว่า อํานาจการปกครองมีที่มาจากประชาชน และ ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งผู้ปกครองหรือกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุน ให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย
91. อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจแห่งจิตวิญญาณ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface VIII) กล่าวว่า “มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณและดาบที่ใช้ปกครองทางโลก ซึ่งดาบ สองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร…กล่าวคือ ดาบเล่มแรกนั้น คือ ดาบแห่ง จิตวิญญาณ มันถูกใช้โดยตรงโดยศาสนจักร ส่วนดาบอีกเล่มหนึ่งคือ ดาบที่ใช้ปกครองทางโลกนั้น มันถูกมอบให้ใช้ในนามของศาสนจักร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย แต่กระนั้นการใช้ดาบเล่มที่สองนี้ มันจะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายและการยินยอมของนักบวช ดาบเล่มที่สองนี้ต้องอยู่ภายใต้ ดาบเล่มแรก หรือกล่าวให้ถูกต้องก็คือ อํานาจทางโลกต้องอยู่ภายใต้อํานาจแห่งจิตวิญญาณ”
92.Teutons เป็นคําที่ชาวโรมันใช้เรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาใด
(1) อังกฤษ
(2) เยอรมัน
(3) ฝรั่งเศส
(4) สก็อต
(5) กรีก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) ในช่วงอาณาจักรโรมันเริ่มเสื่อมความยิ่งใหญ่ ลงมาจนกระทั่งถึงช่วง ค.ศ. 410 ก็สิ้นสุดลงจากการบุกปล้นของพวกอนารยชนหรือชนเผ่าตัวตัน (Teutons) และประวัติศาสตร์ยุโรปได้เข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือ ยุคมืด (Dark Age) ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยคําว่า Teutons นั้นเป็นคําที่ชาวโรมัน ใช้เรียกกลุ่มชนที่พูดภาษาเยอรมัน
93. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับบริบททางการเมืองในปลายยุคโรมันถึงยุคกลาง
(1) ศาสนจักรมีอิทธิพลสูง
(2) ดินแดนต่าง ๆ ปกครองกันเอง
(3) เกิดสภาวะอนาธิปไตย
(4) ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 102 – 104), (คําบรรยาย) บริบททางการเมืองในปลายยุคโรมัน ถึงยุคกลาง พบว่าหลังจากการล่มสลาย อาณาจักรหรือดินแดนต่าง ๆ ก็ขาดที่พึ่ง ตลอดจน ไม่มีอํานาจกลางในการปกครอง รักษาความปลอดภัยหรือจัดระเบียบสังคมอีกต่อไป ดินแดน ต่าง ๆ ต้องดูแลตนเอง ปกครองกันเอง เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ซึ่งการปกครองใน ยุคนี้จะเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่า กษัตริย์ ส่งผลให้ศาสนจักรมีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงอย่างหนึ่งหลังจากที่อาณาจักร โรมันล่มสลายลง กล่าวคือ สถาบันศาสนาคริสต์หรือศาสนจักรที่มีผู้นําคือ สันตะปาปา (Pope) เป็นผู้ที่จะคอยให้กําลังใจแก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น
94. ความสัมพันธ์เชิงอํานาจระหว่างวัดกับรัฐในทฤษฎีสองดาบของ Gelasius I คือ
(1) วัดมีอํานาจเหนือ
(2) รัฐมีอํานาจเหนือ
(3) มีอํานาจไล่เลี่ยกัน
(4) มีอํานาจเท่าเทียมกัน
(5) วัดมีอํานาจเหนือเฉพาะศาสนกิจ
ตอบ 5 หน้า 85, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองดาบของสันตะปาปาเจลาเซียสที่ 1 (Gelasius I) มีหลักการ ว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจปกครองทางโลก กับอํานาจปกครองทางธรรม ซึ่งจะมอบให้สถาบันศาสนา (วัด) และสถาบันการปกครอง (รัฐ) เป็นผู้ใช้ อํานาจนี้ โดยกําหนดว่า อํานาจปกครองฝ่ายทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจเหนือจักรพรรดิ ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ ส่วนอํานาจปกครองฝ่ายทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจเหนือสันตะปาปา ในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก แต่เนื่องจากอํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า ดังนั้นควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า
95. เครื่องมือใดที่ฝ่ายศาสนจักรใช้ในการต่อสู้กับอํานาจของฝ่ายกษัตริย์
(1) การเรียกมาชําระบาป
(2) ทหาร
(3) การขับออกจากศาสนา
(4) ศาลศาสนา
(5) การปลดออกจากตําแหน่ง
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 107), (คําบรรยาย) การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) หมายถึง การขับออกจากศาสนา หรือการไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย ซึ่งเป็นวิธีการที่สันตะปาปาใช้ขับคน ที่มีความคิดหรือพฤติกรรมนอกรีตออกจากศาสนา และห้ามคริสต์ศาสนิกชนคบค้าสมาคมด้วยโดยวิธีการดังกล่าวนี้ถือเป็นเครื่องมือที่ฝ่ายศาสนจักรใช้ในการต่อสู้กับอํานาจของฝ่ายกษัตริย์
ให้นําตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 96. – 100.
(1) St. Ambrose
(2) St. Augustine
(3) John of Salsbury
(4) St. Aquinas
(5) Jesus
96. “กษัตริย์ที่ชั่วร้ายและหฤโหดถูกส่งมาปกครองเพื่อเป็นการลงโทษคนในบาปของเขา”
ตอบ 2 หน้า 79, (คําบรรยาย) เซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine) เชื่อว่า ในบางครั้งพระเจ้าทรงประทาน กษัตริย์ที่ชั่วร้ายและ หฤโหดมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษคนในบาปของเขา และไม่ว่าเขา จะใช้อํานาจไปในสถานใดผู้ถูกปกครองไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้ปกครอง ทุกคนคือผู้แทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง
97. “ประชาชนไม่มีพันธะที่จะต้องเคารพเชื่อฟังกษัตริย์ที่เป็นทรราช”
ตอบ 3 หน้า 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salsbury) เห็นว่า กษัตริย์ที่ ไม่เป็นทรราชจะเคารพกฎหมายและปกครองประชาชนโดยถือกฎหมายเป็นหลัก โดยถือว่า ตัวเองเป็นเพียงผู้รับใช้ประชาชน ส่วนกษัตริย์ที่เป็นทรราชนั้นจะไม่ยึดถือกฎหมาย ประชาชน ไม่มีพันธะที่จะเคารพเชื่อฟังกษัตริย์ที่เป็นทรราช และมีสิทธิที่จะถอดถอนออกจากตําแหน่ง หรือหากจําเป็นจะปลงพระชนม์เสียก็ได้
98. “ของของซีซาร์ก็จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้าก็จงคืนให้พระเจ้า”
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 94), (คําบรรยาย) คําสอนของพระเยซูหรือจีซัส (Jesus) มีดังนี้
1. จงรักศัตรูของท่านและจงอธิฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน
2. ถ้าใครตบท่านแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย
3. ใครก็ตามที่บังคับให้ท่านเดินไป 1 ไมล์ ก็จงเดินไปพร้อมกับเขา 2 ไมล์
4. ของของซีซาร์ก็จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้าก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด ฯลฯ
99.“การยอมทนทรราชบางคนเป็นสิ่งที่ดีกว่าการเสี่ยงที่จะสร้างความแตกแยกในรัฐ”
ตอบ 4 หน้า 89, (คําบรรยาย) เซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) เห็นว่า หากผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรรมอันเป็นลักษณะของทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้น ต้องเป็นไปโดยกระบวนการแห่งกฎหมาย และสิ่งที่เขาหวาดระแวงคือ กลัวว่าการถอดถอน ผู้ปกครองจะกลายเป็นนิสัยและทําลายเอกภาพ เพราะเขาเชื่อว่า การยอมทนทรราชบางคน เป็นสิ่งที่ดีกว่าการเสี่ยงที่จะสร้างความแตกแยกในรัฐ
100. “พระมีสิทธิโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏ”
ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) เซ็นต์ แอมโบรส (St. Ambrose) บิชอปแห่งเมืองมิลาน ได้อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการปกครองและสถาบันศาสนาไว้ว่า ในเรื่องทางโลกนั้นเป็นเรื่อง ของฆราวาส พระไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย พระมีสิทธิจะโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติหรือปกครอง มิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏหรือต่อต้านคําสั่งของจักรพรรดิ โดยทั้งสองสถาบันควรร่วมมือกันในการสนับสนุนคนให้มีชีวิตที่ดี เพื่อจะได้เข้าสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า