การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ความหมายของทฤษฎีที่สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์มากที่สุดคือ
(1) ความถูกต้อง
(2) ข้อเสนอ
(3) การตัดสินคุณค่าระบอบการเมือง
(4) การศึกษาระบอบการเมืองที่ดีที่สุด
(5) การอธิบายปรากฏการณ์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง รวมทั้งมีการแยกค่านิยมออกจากสิ่งที่ศึกษา (Value-Free) และ จะเน้นการใช้วิธีการเชิงปริมาณ ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจาก รัฐศาสตร์กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

Advertisement

2.Ethos มีความหมายถึง
(1) ความชอบธรรม
(2) ความดี
(3) ความงาม
(4) ความเห็น
(5) นิสัย
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) คําว่า “ศีลธรรม” (Morality) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คําว่า “Moralitas” ซึ่งแปลว่า พฤติกรรมอันเหมาะสม (Proper Behavior) ซึ่งในขณะเดียวกัน คําว่า Ethics ก็มาจากภาษากรีกคําว่า “Ethos” ที่แปลว่า นิสัย (Habit)

3.ธรรม มีความหมายถึง
(1) ความจริง
(2) กฎ
(3) ความถูกต้อง
(4) ความดีงาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คําว่า “ธรรม” หรือ “ธรรมะ” หมายถึง คุณความดี ความดีงาม คําสั่งสอนใน ศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความถูกต้อง กฎหรือกฎเกณฑ์ เป็นต้น

4.วิชาทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1 (POL 2101) มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน
(2) การแยกค่านิยมออกจากการศึกษา
(3) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์
(4) วิทยาศาสตร์
(5) การศึกษาเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือ ความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย ซึ่งจะไม่มีการแยกคุณค่าออก จากสิ่งที่ศึกษา โดยคําอธิบายนั้นสามารถเข้าใจหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล และไม่จําเป็น ต้องทดลองให้เห็นในเชิงประจักษ์ ดังนั้นวิชา “ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1” หรือวิชา POL 2101 จึงมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน โดยเนื้อหาในการศึกษาวิชานี้จะบรรจุทัศนะทางการเมืองของเมธีผู้มีชื่อเสียงที่สําคัญ ๆ นับแต่สมัยคลาสสิค/โบราณจนกระทั่งถึงสมัยกลางตอนต้น

5.การศึกษาที่เน้นการใช้วิธีการเชิงปริมาณ มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Empirical Political Theory
(2) Value-Free
(3) Normative Political Theory
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6.Political Thought มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การศึกษาความคิดที่เกี่ยวข้องกับการกระทําทางการเมือง
(2) การศึกษาถึงการตอบคําถามอมตะทางปรัชญาทางการเมือง
(3) การศึกษาถึงแนวคิดของนักคิดทางการเมืองอย่างกว้าง ๆ
(4) การศึกษาถึงความหมายของคําศัพท์ทางการเมืองต่าง ๆ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 1-2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความเข้าใจ ว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่เกี่ยวกับเรื่อง การเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิดเชิงประวัติศาสตร์

7. แดงเป็นคนที่มีความใส่ใจทางการเมืองสูงและมักไปร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มการเมืองที่เขาชอบเป็นประจํา สัมพันธ์กับข้อใด
(1) Political Concept
(2) Political Ideology
(3) Political Philosophy
(4) Political Ism
(5) Political Thought
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9, 16), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) คือ ระเบียบแบบแผนหรือรูปแบบทางความคิดอันเกี่ยวข้องกับการเมืองของคนใด คนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งในสังคม ซึ่งรูปแบบทางความคิดนี้จะส่งผลต่อการแสดงออกหรือพฤติกรรม ของคนนั้น ๆ หรือกลุ่มด้วย ตัวอย่างเช่น แดงเป็นคนที่มีความใส่ใจทางการเมืองสูงและมักไป ร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มการเมืองที่ชอบเป็นประจํา เป็นต้น

8. ข้อใดจัดว่าเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
(1) คอมมิวนิสต์
(2) เสรีนิยม
(3) อนุรักษนิยม
(4) นิเวศน์นิยม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก ซึ่งอาจจะมีที่มาจากความคิดของ นักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งหรือหลาย ๆ คนก็ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism), อนุรักษนิยม (Conservatism), สังคมนิยม (Socialism), ชาตินิยม (Nationalism), คอมมิวนิสต์ (Communism), อนาธิปัตย์นิยม (Anarchism), นิเวศน์นิยม (Ecologism) ฯลฯ

9.ข้อใดมีความสัมพันธ์กัน
(1) วิตรรกวาท, เหตุผลนิยม
(2) วัตถุนิยม, สสารวาท
(3) เหตุผลนิยม, สสารวาท
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 8 – 11, (คําบรรยาย) กลุ่มวิตรรกวาทหรือกลุ่มเหตุผลนิยม เชื่อว่า บรรดาสถาบันทาง การเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากแนวความคิดของมนุษย์ คนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็น ผู้ที่มีเหตุผล และสถาบันการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน สําหรับกลุ่มสสารวาทหรือกลุ่มวัตถุนิยมนั้นเห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐานของ ความคิดมนุษย์ โดยเชื่อว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจาก สภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ ของชนทั้งหลายก็คือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัตินั่นเอง

10.แนวคิดใดถือว่าสถาบันทางการเมืองเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
(1) วิตรรกวาท
(2) เหตุผลนิยม
(3) สสารวาท
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. ขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาของวิชานี้คือ
(1) สมัยคลาสสิค/โบราณ
(2) สมัยกลาง
(3) สมัยใหม่
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

12.Greek แตกต่างจาก Greece ในข้อใดมากที่สุด
(1) ภาษา
(2) วัฒนธรรม
(3) สถานะความเป็นรัฐ
(4) เชื้อชาติ
(5) ไม่แตกต่างกัน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19) กรีก (Greek/Helenes) หมายถึง อารยธรรม ภาษา ชนชาติ ส่วนคําว่า กรีซ (Greece) นั้นหมายถึง ประเทศ

13. ชนชั้นใดในเอเธนส์ที่มีจํานวนมากที่สุด
(1) ผู้อพยพ
(2) ทาส
(3) พลเมือง
(4) ต่างด้าว
(5) พ่อค้า
ตอบ 2 หน้า 19 – 20 (คําบรรยาย) ชนชั้นในสังคมของนครรัฐเอเธนส์ ประกอบด้วย 3 ชนชั้น ได้แก่
1. พลเมือง (Citizen) โดยฐานะของการเป็นพลเมืองได้มาโดยกําเนิด ซึ่งชนชั้นพลเมืองโดยเฉพาะ พลเมืองชายเท่านั้นจะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง ชนชั้นต่างด้าว และ ชนชั้นทาสไม่มีสิทธิทางการเมืองการปกครองของรัฐแต่อย่างใด
2. ชนต่างด้าว (Metics) ได้แก่ เสรีชนทั้งหลายที่บิดามารดาไม่ได้เป็นชาวเอเธนส์ ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่บรรดาพ่อค้าวานิชทั้งหลาย ขนต่างด้าวนี้มีจํานวน 1/6 ของจํานวนประชากรทั้งหมด 3. ทาส (Slaves) เป็นชนชั้นที่มีจํานวนมากที่สุด หน้าที่ของทาสก็คือปฏิบัติภารกิจแทนนาย ช่วยให้นายมีเวลามากขึ้นในการที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ ส่วนกฎหมายของนครรัฐ เอเธนส์นั้นไม่ได้บังคับใช้เฉพาะกับพลเมืองเท่านั้น แต่มีผลบังคับใช้กับขนต่างด้าวและทาสด้วย

14.Ostracism หมายถึง
(1) การเลือกตั้งคณะสืบนายพล
(2) กลไกการตัดสินคดีในศาล
(3) การร้องทุกข์ต่อศาล
(4) กลไกการเนรเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21) กลไกทางการเมืองที่สําคัญประการหนึ่งของการปกครอง แบบประชาธิปไตยเอเธนส์ คือ การเนรเทศคนที่ประชาชนคิดว่าเป็นศัตรูต่อการปกครองแบบ ประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า “Ostracism” โดยพลเมืองทุกคนจะเขียนชื่อของคนที่คิดว่าเป็น ศัตรูต่อประชาธิปไตยลงบนเปลือกหอยแล้วเอาไปวางที่ศูนย์กลางของเมืองหรือตลาด

15. ข้อใดผิดเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์
(1) ผู้หญิงไม่มีสิทธิทางการเมือง
(2) มีทาส
(3) สภาประชาชนเป็นโดยคุณสมบัติ
(4) คณะมนตรีห้าร้อยมาจากการเลือกตั้ง
(5) คณะสิบนายพลมาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 4 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่มีคุณสมบัติ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ โดยจะทําหน้าที่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจํา ปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม
3. ศาล (Court) ประกอบด้วย พลเมืองชายที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน ซึ่งคัดเลือก โดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ําอีก โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพล ต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ)

16. สถาบันการปกครองใดของนครรัฐเอเธนส์ทําหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
(1) Court
(3) Cabinet
(2) Council of Five Hundred
(4) Assembly of Ecclesia
(5) Ten Generals
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Thucydides
(1) เขียนเรื่อง The Peloponnesian War
(2) เขียนเรื่อง Metian Dialogue
(3) เขียนเรื่อง Pericles’s Funeral Oration
(4) เคยเป็นแม่ทัพเอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ซูซิดิดีส (Thucydides) เป็นผู้เขียนเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเลี่ยน” (Melian Dialogue) ซึ่งเป็นบทหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์สงคราม เพโลโพนิเชียน (The Petoponesian War) โดยจะมีสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับ เอเธนส์ (Athens) ในช่วงของสงครามดังกล่าว ซึ่งตัวธูซิดิดิสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงคราม ดังกล่าวนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนําทัพเอเธนส์ไปรบต่างแดน หลายครั้ง แต่ประสบความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส (Amphipolis) ทําให้ถูกเนรเทศ ออกจากเอเธนส์

18. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Pericles’s Funeral Oration
(1) การให้ความสําคัญกับรัฐ
(2) การต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
(3) การเชิดชูคุณธรรมความดีงาม
(4) ยึดมั่นในความกตัญญู
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 27 – 29, (คําบรรยาย) จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles’s Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์ ทําให้ทราบว่าสภาพบรรยากาศทางสังคมและ การเมืองของกรีกยุคนครรัฐเอเธนส์มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ให้ความสําคัญกับรัฐ
2. มีการเชิดชูคุณธรรมความดี
4. ใช้หลักความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
3. ไม่มีนโยบายรุกรานเพื่อนบ้าน
5. มีความเมตตากรุณา
6. ยึดมั่นในความกตัญญู
7. รู้จักการตอบแทนบุญคุณคน มีเมตตาธรรม และไม่เห็นแก่ตัว
8. ดําเนินชีวิตด้วยความกระเหม็ดกระแหม่ ไม่ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย
9. สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ฯลฯ

19. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ Metian Dialogue
(1) ซูชิ ดีสเป็นคนเขียนขึ้น
(2) เกี่ยวกับสงครามของเอเธนส์และชาวเกาะมีลอส
(3) ฝ่ายเอเธนส์เป็นผู้ชนะสงคราม
(4) สอดรับกับหลักความยุติธรรมของโซฟิสต์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 5หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 28) ในช่วงสงครามเพโลโพนีเชียนนั้น เอเธนส์ ได้ส่งกําลังจะไปบุกสปาร์ต้า แต่ด้วยยุทธศาสตร์เอเธนส์ต้องยึดเมืองมีเลี่ยนให้ได้เพราะเป็นเกาะ ใกล้กับสปาร์ต้า ดังนั้นเอเธนส์จึงส่งทูตไปเจรจาให้เมืองมีเลี่ยนยอมแพ้จะได้ไม่ต้องทําสงคราม แต่มีเลี่ยนเลือกที่จะทําสงครามกับเอเธนส์จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ซึ่งใน “Melian Dialogue” นั้น
ชาวเอเธนส์ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาวเกาะมีลอส (Melos) หรือมีเลี่ยน (Melian) โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก” โดยแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ชาวเอเธนส์ นํามาอ้างนั้นสอดรับกับหลักความยุติธรรมของกลุ่มโซฟิสต์ คือ ธราซิมาคัส (Thrasymachus) ที่กล่าวไว้ว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ)

20.Melian Dialogue สัมพันธ์กับแนวคิดใครมากที่สุด
(1) Thrasymachus
(2) Plato
(3) Socrates
(4) Aristotte
(5) Diogenes
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21. Sophist มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) ปัญญา
(2) ผู้มีปัญญา
(3) ผู้รักปัญญา
(4) ผู้รักในความรู้
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) คําว่า “Sophist” หมายถึง ผู้มีความรู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้

22. หากนักศึกษาต้องการโต้เถียงให้ชนะในช่องทางต่าง ๆ นักศึกษาควรจะต้องไปศึกษาจาก
(1) Diogenes
(2) Protagoras
(3) Aristotle
(4) Plato
(5) Epicurus
ตอบ 2 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์หรือซอฟฟิสต์ (Sophist) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาพํานักในกรุงเอเธนส์ในยุคกรีกตอนต้นในช่วงสมัยเพริคลิส ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นครู คือการสัญจรรับจ้างสอนบรรดาผู้กระหายความรู้ทั้งหลาย โดยสิ่งที่ พวกเขาสอนจะทําให้ผู้รับการศึกษาได้มีความรู้ในการพูด หรือสอนให้คนมีวาทศิลป์ (Rhetoric) การหักล้างโต้แย้ง และสอนวิธีการพูดโต้เถียงให้ชนะในช่องทางต่าง ๆ โดยโซฟิสต์คนสําคัญที่มี ชื่อเสียงในสังคมกรีก ได้แก่ โปรทากอรัส (Protagoras), จอเจียส (Gorgias), โปรดิคัส (Prodicus), ฮิปเปียส (Hippias) และธราซิมาคัส (Thrasymachus)

23. ข้อใดผิดเกี่ยวกับหลักสัมพัทธนิยม (Relativism)
(1) ความเห็นขึ้นอยู่กับวัตถุวิสัย
(2) ปัจเจกบุคคลนิยม
(3) สังคมมีความจริงแตกต่างกัน
(4) ความจริงเป็นการให้คุณค่าของแต่ละคน
(5) มนุษย์มีอิสระ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าคนแต่ละคน มีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล

24. วิธีการเผยแพร่ความรู้ของซอคราตีสคือ
(1) งานเขียน
(2) ตั้งสํานักงานสอน
(3) รับจ้างสอน
(4) สนทนา
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) ซอคราตีส เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่นิยมเผยแพร่ความรู้และทัศนะ ด้วยการสนทนาอภิปราย โดยกิจวัตรประจําวันของเขาคือการเสาะแสวงหาคู่สนทนาปัญหา การเมือง และเริ่มต้นการสนทนาด้วยการตั้งปัญหา (ตั้งคําถาม) และนําหัวข้อมาอภิปราย จนกระทั่งพบข้อสรุป ซึ่งวิธีการแบบนี้เรียกว่า “Dialogue”

25. โซฟิสต์ยกย่องคนแบบใด
(1) คนกล้าหาญ
(2) คนมีเหตุผล
(3) คนมีคุณธรรม
(4) คนกลับกลอก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) พวกโซฟิสต์ (Sophist) เชื่อว่าคนที่สมควร ได้รับการยกย่องสรรเสริญนั้นก็คือ คนที่รู้จักพูด รู้จักโน้มน้าวใจคน รู้จักหลบหลีก รู้จักฉวยโอกาส เป็นคนกลับกลอก รู้จักปลิ้นปล้อนโกหก ซึ่งจะไม่ใช่คนที่ยึดมั่นในคุณธรรมในการดําเนินชีวิต สําหรับโซฟิสต์แล้วคุณธรรมคือคุณสมบัติที่ทําให้คนประสบความสําเร็จ มียศถาบรรดาศักดิ์ มีเกียรติ มีอํานาจ มีความมั่งคั่งหรือความร่ำรวยในชีวิต เพราะความสุขคือสิ่งที่ทําให้เราพอใจ ส่วนความดีความชั่วไม่มีอะไรเป็นจริง

26. เป้าหมายชีวิตของกลุ่มโซฟิสต์คือ
(1) มีชีวิตที่สมถะ
(2) มีเหตุผล
(3) มีอํานาจ
(4) มีความมั่งคั่ง
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. งานที่อธิบายเรื่องราวซอคราตีสแก้คดีในศาลคือ
(1) The Republic
(2) Politics
(3) Apology
(4) Crito
(5) Euthyphro
ตอบ 3 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโต ได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า “ยูไธโฟร” (Euthyphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือที่ชื่อว่า “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง ซึ่งเนื้อหาในเล่ม นี้จะเกี่ยวกับการพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวของซอคราตีสเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษ

28. “แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ” ปรากฏอยู่ในบทสนทนาเรื่องใด
(1) Politics
(2) Crito
(3) Euthyphro
(4) The Republic
(5) Apology
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 43) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น ซอคราตีส ได้กล่าวไว้ว่า “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไป ที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไปอาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าว ก็ได้…แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคน จะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า เราและตัวเขาเองควรเชื่อฟังรัฐ เนื่องจาก รัฐเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จริงอยู่ว่าพ่อแม่ก็คือ คนที่เลี้ยงเรา แต่รัฐต่างหากที่ออกกฎหมายให้ พ่อแม่เราเลี้ยงดูเราหรือไม่เอาเราไปทิ้งถังขยะ ตลอดจนออกกฎหมายและสั่งให้พ่อแม่เราส่งเราไปเรียนหนังสือ

29. ซอคราตีสมีทัศนะเกี่ยวกับรัฐอย่างไร
(1) เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
(2) เป็นสิ่งที่ดีและจําเป็น
(3) เกิดมาจากอํานาจ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 23 ซอคราตีส เชื่อว่า รัฐเป็นสิ่งที่ดีและจําเป็น เพราะเป็นแหล่งที่คนสามารถพบกับ ชีวิตที่ดี และคนจะสามารถเรียนรู้คุณธรรมได้จากเพื่อนร่วมสังคมของเขา ซึ่งถ้าไม่มีรัฐแล้วคนก็จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับคุณธรรมได้เลย

30. ชีวิตที่ดีของซอคราติสคือ
(1) มีอํานาจ
(2) มีเกียรติ
(3) มีความมั่งคั่ง
(4) มีศีลธรรม
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 23 (คําบรรยาย) ขอคราติส เห็นว่า การที่จะมีชีวิตที่ดีได้ต้องมีความรอบรู้ 2 ประการ คือ
1. ความรอบรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับธรรมชาติที่เป็นอยู่
2. ความรอบรู้ที่แท้จริงของค่าแห่งศีลธรรม ซึ่งรัฐที่ดีจะสามารถสร้างศีลธรรมให้กับประชาชนได้

31. ข้อใดผิดเกี่ยวกับเพลโต
(1) หนังสือเขามักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก
(2) เคยถูกจับเป็นทาส
(3) เขียนหนังสือเรื่อง The Republic
(4) เติบโตในช่วงสงครามเพโลโพนีเซียน
(5) เกิดในตระกูลของชนชั้นกลาง
ตอบ 5 หน้า 33 เพลโต เกิดเมื่อปี 427 ก่อนคริสตกาลในครอบครัวชนชั้นสูงของนครเอเธนส์ เติบโต ในช่วงสงครามเพโลโพนีเชียน ภายหลังที่ซอคราตีสถูกศาลพิพากษาให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เพลโตได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา เขาประสบโชคร้ายถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ ต่อมาในปี 387 ก่อนคริสตกาล เพลโตได้กลับมานครเอเธนส์และก่อตั้งสํานัก Academy ส่วนในเรื่องผลงานนั้นเพลโต มีผลงานมากมาย ซึ่งหนังสือของเขานั้นมักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก โดยงานเขียนหนังสือ ที่สําคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมทางการเมืองชิ้นเอก ได้แก่
1. อุตมรัฐ (The Republic)
2. รัฐบุรุษ (The Statesman)
3. กฎหมาย (The Laws)

32. ผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) The Laws
(2) The Statesman
(3) On the Commonwealth
(4) Politics
(5) The Republic
ตอบ 5 หน้า 37 ในหนังสือ The Republic นั้น เพลโตได้เสนอรูปแบบของอุดมรัฐหรือรัฐในอุดมคติ (Ideal State) ที่เขาเห็นว่าดีที่สุดไว้ โดยเชื่อว่ารัฐที่ดีที่สุดคือรัฐที่มีความยุติธรรมสถิตเป็นหลัก ของรัฐ นั่นคือ ชนในรัฐทุกคนทําหน้าที่ตามที่คุณธรรมประจําจิตของตนกําหนดให้โดยไม่ก้าวก่าย หน้าที่ซึ่งกันและกัน

33. สํานัก Academy ของเพลโตถูกปิดลงด้วยข้อหาใด
(1) สนับสนุนศาสนาคริสต์
(2) ยุยงผู้เรียนให้เป็นกบฏ
(3) ไม่จ่ายภาษีให้ชาวโรมัน
(4) เสื่อมความนิยมลงไปเอง
(5) ต่อต้านศาสนาคริสต์
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40) สํานักอเค็ดเดมี่ (Academy) ของเพลโตได้ก่อตั้งขึ้น ในปี 387 ก่อนคริสตกาล และเปิดยาวนานกว่า 900 ปี ก่อนที่จะถูกปิดโดยจักรพรรดิจัสติเนียน ในปี ค.ศ. 529 ด้วยข้อหาว่าต่อต้านศาสนาคริสต์

34. ในทัศนะของเพลโต หากพลเมืองไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของรัฐจะต้องทําอย่างไร
(1) ออกไปจากรัฐ
(2) หาทางแก้ไข
(3) ไม่ต้องเชื่อฟัง
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 34 – 35 เพลโต เห็นว่า คนทุกคนมีพันธะที่จะต้องสนับสนุนและเคารพกฎหมายของรัฐ เพราะรัฐจะยังคงอยู่ได้ก็ด้วยการสนับสนุนของคนในรัฐเท่านั้น ถ้าหากว่าผู้ใดเห็นว่ากฎหมายใด ไม่ถูกต้อง ทางที่ดีที่สุดคือ หาทางแก้ไขปฏิรูปกฎหมายนั้นเสียใหม่ หรือหลีกหนีไปเสียจากรัฐนั้น ห้ามไม่ให้โต้แย้งหรือฝ่าฝืนกฎหมายเป็นอันขาด

35. จงเติมคําในช่องว่างต่อไปนี้………..ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ”
(1) ขันติธรรม
(2) ความยุติธรรม
(3) ความฉลาดรอบรู้
(4) ความกล้าหาญ
(5) ความทะยานอยาก
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดรอบรู้ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ
2. ความยุติธรรมทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการแท้จริง
3. ความกล้าหาญทําให้เรายืนหยัดที่จะกระทําสิ่งที่ฉลาดและกระทําไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
4. ความรู้จักประมาณช่วยประสานจิตใจต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล

36. รัฐในอุดมคติของเพลโต ถ้าสอบไม่ผ่านการศึกษาขั้นกลาง จะต้องไปทําหน้าที่ในตําแหน่งใด
(1) ผู้ผลิต
(2) ทาส
(3) ผู้ปกครอง
(4) ผู้พิทักษ์
(5) นักบวช
ตอบ 4 หน้า 37 – 38 เพลโต ได้วางหลักสูตรการศึกษาของรัฐในอุดมคติไว้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นต้น เป็นการให้การศึกษาแก่ทุกคนในแบบบังคับจนถึงอายุ 18 ปี และต่อด้วยการ ฝึกอบรมทางทหารอีก 2 ปี (รวมเป็น 20 ปี) หากผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกไปเป็นผู้ผลิต
2. ขั้นที่สอง (ขั้นกลาง) กําหนดไว้สําหรับผู้ที่ผ่านการศึกษาขั้นแรกมาแล้ว ซึ่งกําหนดระยะเวลา ไว้ 15 ปี ถ้าผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกจากการศึกษาไปรับใช้รัฐในฐานะผู้พิทักษ์ คือ เป็น ทหารหรือผู้ป้องกันรัฐ
3. เมื่อสําเร็จการศึกษาทั้งสองขั้นแล้ว อายุของผู้เรียนก็จะครบ 35 ปี ในระยะนี้จะเป็นการทํางาน อีก 15 ปี (รวมเป็น 50 ปี) ผู้ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงด้วยการ ปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยม ก็จะได้เป็นสมาชิกของคณะราชาปราชญ์ซึ่งทําหน้าที่บริหารรัฐต่อไป

37. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับคณะผู้ปกครองในรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) มีความสัมพันธ์ส่วนตัวได้
(2) การประเวณีจะมีเป็นครั้งคราว
(3) มีครอบครัวได้
(4) ต้องเลี้ยงดูบุตรเอง
(5) มีทรัพย์สินส่วนตัวได้
ตอบ 2 หน้า 38 – 39 ในรัฐในอุดมคตินั้น เพลโตได้วางกฎเกณฑ์ไว้ว่า ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบ จะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว การประเวณีจะมีได้เป็นครั้งคราว เพื่อที่จะ ได้มาซึ่งพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่านั้น ซึ่งเด็กที่เกิดมาจากการผสมพันธุ์ภายใต้การควบคุมนี้จะอยู่ในความ เลี้ยงดูของรัฐ และไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวในฐานะพ่อ แม่ ลูก ทั้งนี้เพราะภาวะครอบครัวจะทําให้ชนชั้นผู้ปกครองเสื่อมความใส่ใจในกิจการของรัฐและการแสวงหาความรู้

38. วิธีการสร้างความสมานฉันท์ในประยุกตรัฐของเพลโตคือ
(1) ให้มีทรัพย์สินเท่ากัน
(2) ให้มีสิทธิทางการเมืองเท่ากัน
(3) ไม่ให้มีทรัพย์สินส่วนตัว
(4) ลงโทษทางการเมืองเท่ากัน
(5) กําหนดด้วยวิธีการแต่งงาน
ตอบ 5 หน้า 41 ในประยุกตรัฐนั้น เพลโตเสนอแนะว่าเพื่อความสมานฉันท์ (Harmony) ภายในรัฐ การแต่งงานควรทําไปในรูปของการผสมผสาน เช่น คนรวยควรแต่งงานกับคนจน คนแข็งแรง ควรแต่งงานกับคนอ่อนแอ คนฉุนเฉียวกับคนใจเย็น เป็นต้น ซึ่งการแต่งงานแบบผสมผสานนี้ จะไม่ใช่การบังคับ แต่ก็เป็นสิ่งที่อาจจะจําเป็นในการปกครองของประยุกตรัฐได้เช่นกัน

39. ในมุมมองของเพลโต รัฐที่ไม่มีกฎหมายที่เลวน้อยที่สุดคือ
(1) วีรชนาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ราชาธิปไตย
(4) คณาธิปไตย
(5) ประชาธิปไตย

ตอบ 5 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman เพลโตให้ความเห็นว่า ในประเภทรัฐ ที่ไม่มีกฎหมายนั้น ทุชนาธิปไตยหรือทรราช (Tyranny) เป็นระบบที่เลวที่สุด คณาธิปไตย (Oligarchy) เลวรองลงมา และประชาธิปไตย (Democracy) เลวน้อยที่สุด

40. ในประยุกตรัฐศาสตร์ใดที่เพลโตเชื่อว่าจะทําให้ผู้ปกครองสามารถสร้างความสมานฉันท์ภายในรัฐได้
(1) เศรษฐศาสตร์
(2) โหราศาสตร์
(3) คณิตศาสตร์
(4) ดาราศาสตร์
(5) รัฐศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น เพลโต ได้เสนอแนวความคิดเรื่องการปกครอง โดยคน (Rule of Men) โดยกําหนดให้มีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่ ควบคุมตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะผู้ปกครองพิเศษนี้เรียกว่า “คณะมนตรีรัตติกาล” (Nocturnal Council) ทั้งนี้สมาชิกของคณะมนตรีรัตติกาลจะต้องศึกษาวิชาดาราศาสตร์เพราะเชื่อว่าเป็นศาสตร์ที่จะนําคนเข้าใกล้และเข้าใจในพระเจ้า ทําให้ผู้ปกครองสามารถที่จะ รักษาความดีและสร้างความสมานฉันท์ของรัฐไว้ได้

41. ผลงานของอริสโตเติลเป็นลักษณะใด
(1) งานเขียน
(2) บทสนทนา
(3) บทละคร
(4) เอกสารรวมคําบรรยาย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 45 ผลงานของอริสโตเติล (Aristotle) ส่วนใหญ่มิได้รับการรวมเล่มหรือจัดพิมพ์ด้วยตัว เขาเอง วรรณกรรมของเขาเป็นเพียงงานเขียนที่ใช้สําหรับการสอนที่สํานักศึกษาของเขา แม้ว่าบางเรื่องอาจจะเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะเปิดสํานักศึกษาลีเซียม โดยหนังสือและผลงานของเขาที่ ได้รับการจัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุง เอเธนส์ (The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

42. เพราะเหตุใดอริสโตเติลจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์
(1) ความคิดของเขาถูกนําไปปฏิบัติ
(2) เขียนตําราทางการเมืองคนแรกของโลก
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐศาสตร์แห่งแรกของโลก
(5) ให้ความสนใจเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และ การสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบความ เป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

43. มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองในทัศนะของอริสโตเติล มีความหมายถึง
(1) ธรรมชาติมนุษย์เห็นแก่ตัว
(2) ธรรมชาติมนุษย์แสวงหาอํานาจ
(3) ธรรมชาติมนุษย์อยู่ร่วมกันถึงมีชีวิตที่ดี
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจาก มนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง ซึ่งการที่ จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นคําอธิบายแนวคิดที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” จึงหมายถึง ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันถึงจะมีชีวิตที่ดีนั่นเอง

44. ผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติลคือ
(1) The Statesman
(2) The Laws
(3) The Constitution of Athens
(4) The Republic
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 45 – 46, (คําบรรยาย) หนังสือรัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ (The Constitution of Athens) เป็นผลงานชิ้นสําคัญของอริสโตเติล ที่ถือว่าเป็นรากฐานหลายอย่างในวงการรัฐศาสตร์ รวมทั้ง เป็นรากฐานของวิชารัฐศาสตร์เปรียบเทียบอีกด้วย

45.Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ในทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) การมีคุณธรรม
(4) การมีพฤติกรรมที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46. ข้อใดผิดเกี่ยวกับโครงสร้างของรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล
(1) ขนาดของรัฐต้องไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป
(2) พลเมืองมีที่ดินคนละหนึ่งแปลง
(3) อยู่บริเวณหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล
(4) การแต่งงานรัฐเป็นผู้กําหนด
(5) ต้องจัดระบบการศึกษาให้พลเมือง
ตอบ 2 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) โครงสร้างของรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล มีลักษณะดังนี้
1. ต้องเป็นรัฐที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป
2. ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล
3. พลเมืองควรมีที่ดินคนละ 2 แปลง โดยแปลงหนึ่งอยู่ในเมืองและอีกแปลงหนึ่งอยู่นอกเมือง
4. การแต่งงานรัฐเป็นผู้กําหนด โดยจะกําหนดอายุที่เหมาะสมในการสมรส
5. รัฐมีหน้าที่จัดระบบการศึกษาให้พลเมือง เป็นต้น

47. ในทัศนะของอริสโตเติล ระบอบการปกครองรูปแบบใดดีน้อยที่สุด
(1) Polity
(2) Oligarchy
(3) Democracy
(4) Aristocracy
(5) Monarchy
ตอบ 1 หน้า 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า ระบอบการปกครองแบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity)
เป็นระบบที่ดีน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่ดีทั้งหลาย แต่นับว่าดีกว่าระบอบการปกครองอื่น ๆ ที่ปกครองเพื่อผลประโยชน์ของผู้ปกครอง

48. คุณสมบัติของผู้ปกครองในระบอบ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated Democracy) วัดจากอะไร
(1) การศึกษา
(2) สายเลือด
(3) อาชีพ
(4) ความรอบรู้
(5) ทรัพย์สิน
ตอบ 5 หน้า 53, 55, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า ระบอบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) นั้นเป็นการปกครอง เพื่อประชาชน ผู้ปกครองจะใช้อํานาจเพื่อผลประโยชน์ร่วม ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้ปกครอง แต่ผู้ที่จะเสนอตัวเข้าเลือกต้องมีคุณสมบัติบางอย่าง คือ ต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สมบัติหรือทรัพย์สิน จํานวนหนึ่ง และประชาชนทุกคนในรัฐไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดก็จะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้ปกครองได้

49. ชนชั้นใดที่มีสิทธิเลือกผู้ปกครองในระบอบ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated
Democracy)
(1) ชนชั้นสูง
(2) ชนชั้นกลาง
(3) ชนชั้นล่าง
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. ประชาธิปไตยตามความหมายของอริสโตเติลคือ
(1) การปกครองของประชาชนทุกคน
(2) การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
(3) การปกครองของกลุ่มคนรวยจํานวนน้อยที่หลอกลวงคนจํานวนมาก
(4) การปกครองของพวกคนจน
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) คําว่า “ประชาธิปไตย” (Democracy) ในความหมายของอริสโตเติล นั้นมิได้หมายถึงระบบการปกครองโดยคนหมู่มาก แต่เป็นการปกครองโดยคนจน

51. ความคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมใด
(1) เอเธนส์เป็นรัฐมหาอํานาจ
(2) การแพร่หลายของแนวคิดของเพลโต
(3) การถูกปกครองโดยจักรวรรดิมาเซโดเนีย
(4) โรคระบาดใหญ่
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76), (คําบรรยาย) ยุคกรีกตอนปลายหรือในช่วง 300 ปี ก่อนคริสตกาล นครรัฐเอเธนส์ก็ได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงจากการพ่ายแพ้สงครามต่อมาเซโดเนีย จากการบุกของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย (Alexander The Great) เมื่อกรีกตกอยู่ ภายใต้อํานาจของจักรวรรดิมาเซโดเนีย ความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาการเมืองของกรีกของ เพลโตและอริสโตเติลก็ได้เสื่อมความนิยมลง ตลอดจนความคิดทางการเมืองแบบโซฟิสต์ที่ทรง อิทธิพลก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากนครรัฐกรีกสูญเสียเอกราช และขาดอิสระในการปกครอง ของนครรัฐตนเอง

52. ปัจจัยที่ทําให้แนวคิดแบบเพลโตและอริสโตเติลเสื่อมความนิยมคือ
(1) ไม่มีผู้สืบทอดแนวคิดต่อ
(2) กรีกถูกปกครองโดยเปอร์เซีย
(3) นครรัฐกรีกสูญเสียเอกราช
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. อาชีพที่เหมาะสมกับผู้ถือแนวคิดซินนิคส์คือ
(1) นักธุรกิจ
(2) ทหาร
(3) ชาวนา
(4) ปลัดอําาเภอ
(5) ขอทาน
ตอบ 5 หน้า 60, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 81), (คําบรรยาย) ลัทธิชินนิคส์ (Cynics) เชื่อว่า ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ (Simplicity) ไม่มีอะไร หรือชีวิตแบบสมถะเรียบง่ายเท่านั้นที่จะเป็น กุญแจทองที่แท้จริงที่สามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ดีได้ มนุษย์ควรอยู่อย่างสุนัข หิวก็หากิน ง่วงก็นอน ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องคํานึงถึงว่าที่นอนนั้นจะเป็นอย่างไร มนุษย์ไม่จําเป็นต้องใช้เงิน หรือแสวงหา ความร่ํารวยใด ๆ เพราะฉะนั้นอาชีพที่เหมาะสมกับผู้ถือแนวคิดซินนิคส์ก็คือ ขอทานนั่นเอง

54. บุคคลสําคัญของลัทธิชินนิคส์คือ
(1) Democritus
(2) Diogenes
(3) Cicero
(4) Dionysus
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 60 ปรัชญาเมธีคนสําคัญของลัทธิชินนิคส์ ได้แก่ แอนทิสสิเนส (Antisthenes), ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

55. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับซินนิคส์
(1) จักรวาลมีระเบียบ
(2) ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
(3) นิยมแนวคิดพลเมืองโลก
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 81 – 82) ลัทธิชินนิคส์ เชื่อว่า ชีวิตที่มีความสุขนั้นคือชีวิตที่มี ความเป็นอยู่เรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด ไม่มีพิธีรีตอง ดังนั้นพวกซินนิคส์จึงมี มุมมองทางการเมืองที่ปฏิเสธรัฐ และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลกนี้ แต่ไม่ควรที่จะเป็นพลเมืองของชาติ หรือรัฐใดรัฐหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดแบบพลเมืองโลก (Cosmopolitan) หรือเป็นแนวคิดที่ต่อต้านหรือตรงกันข้ามกับแนวคิดสนับสนุนนครรัฐ (Antipolis) ของอริสโตเติล

56. หลักการสําคัญของอิพิคิวเรียนคือ
(1) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
(2) จงรับใช้รัฐดังที่รัฐเลี้ยงดูท่านมา
(3) จงใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
(4) จงมีชีวิตเรียบง่ายแบบในยุคดึกดําบรรพ์
(5) จงแสวงหาเกียรติยศและอํานาจ
ตอบ 1 หน้า 58 ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicurean) ยึดถือคติชีวิตว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร และเชื่อว่า จุดหมายปลายทางของชีวิตคนแต่ละคนคือความสุขเฉพาะตัว และชีวิตที่ดีก็คือ ชีวิตที่เพลิดเพลินกับความสําราญต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกแห่งความสงบและความสุขที่ เกิดขึ้นภายหลังจากความต้องการได้รับการตอบสนองแล้ว

57. ทัศนะเกี่ยวกับพระเจ้าของอิพิคิวเรียนคือ
(1) ไม่มีจริง เป็นสิ่งที่มนุษย์จินตนาการขึ้น
(2) มีจริง และเป็นผู้กําหนดความเป็นไปของทุกสิ่ง
(3) มีจริง และคอยปกป้องมนุษย์ที่ทําความดีและลงโทษคนชั่ว
(4) มีจริง แต่ไม่ยุ่งกับมนุษย์
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 58 ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า บรรดาพระเจ้าทั้งหลายแม้จะมีจริง แต่ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของ มนุษย์ สถิตอยู่ในความว่างเปล่าระหว่างโลกที่แตกต่างกัน มนุษย์ไม่ควรจะเกรงกลัวหรือศรัทธา ในบรรดาพระเจ้า เพราะเรื่องของมนุษย์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพระผู้เป็นเจ้าเลย

58. ทัศนะเกี่ยวกับรัฐของอิพิคิวเรียนคือ
(1) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(2) เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
(3) เป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์เอารัดเอาเปรียบกัน
(4) เป็นสิ่งที่ดีที่ทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี
(5) เป็นสิ่งที่เกิดมาจากการทําสัญญา
ตอบ 2 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า รัฐหรือสถาบันการปกครองเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ จําเป็น แม้ว่าจะเป็นสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม

59. หลักการสําคัญของแนวคิดสโตอิกส์คือ
(1) จงใช้เหตุผลควบคุมอารมณ์
(2) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
(3) จงแสวงหาเกียรติยศและอํานาจ
(4) จงรับใช้รัฐดังที่รัฐเลี้ยงดูท่านมา
(5) จงมีชีวิตเรียบง่ายแบบในยุคดึกดําบรรพ์
ตอบ 1 หน้า 67 – 68, 73, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ (Stoics) เชื่อว่า คุณธรรมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ซึ่งสามารถหาได้จากเหตุผล เมื่อมีเหตุผลก็สามารถเข้าใจกฎธรรมชาติ ดังนั้นคุณธรรมจึงมี รากฐานมาจากธรรมชาติ มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลเป็นหลักในการนําทางชีวิตและอยู่ร่วมกัน

60. ผลงานชิ้นสําคัญของโพลิเบียสคือ
(1) On Duties
(2) The Punic War
(3) On the Commonwealth
(4) Letters from a Stoic
(5) Universal History
ตอบ 5 หน้า 63, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เป็นบุตรของรัฐบุรุษคนสําคัญแห่งเมืองอาร์คาเดีย และใช้ชีวิตทางการเมืองเช่นเดียวกับบิดา ซึ่งตัวเขาได้เป็นสมาชิกคนสําคัญของสันนิบาตเอเชเอียน (Achaean League) ซึ่งผลงานชิ้นสําคัญของเขาคือ Universal History โดยผลงานดังกล่าวนั้น ได้อธิบายถึงสาเหตุหรือปัจจัยการรุ่งเรืองของอาณาจักรโรมัน ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ใน ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ช่วง 220 – 146 ปีก่อนคริสตกาล

61. ผลงานชิ้นสําคัญของโพลิเบียสดังกล่าวนั้นมีแก่นแนวคิดเกี่ยวกับอะไร
(1) อธิบายการบริหารจัดการอาณานิคมของอาณาจักรโรมัน
(2) บันทึกความคิดเห็นของเขาที่มีต่อยุทธศาสตร์การรุกรานของเผ่าอนารยชน
(3) บรรยายความโหดร้ายของสงครามระหว่างอาณาจักรโรมันกับอาณาจักรอื่น ๆ
(4) อธิบายสาเหตุความรุ่งเรืองของอาณาจักรโรมัน
(5) บันทึกประวัติศาสตร์การปกครองของโรมัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

62. นักคิดสโตอิกส์ที่ปรับแนวคิดให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในอาณาจักรโรมันคือ
(1) Panaetius
(2) Cicero
(3) Zeno
(4) Marcus Aurelius
(5) Seneca
ตอบ 1 หน้า 73, (คําบรรยาย) พาเนเทียส (Panaetius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่ดัดแปลง แนวคิดสโตอิกส์มาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในอาณาจักรโรมัน โดยเขาเน้นว่าคนที่ดีนั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า

63. นักคิดสโตอิกส์ที่สนับสนุนรูปแบบการปกครองแบบ Mixed Constitution คือ
(1) Zeno
(2) Cicero
(3) Seneca
(4) Marcus Aurelius
(5) Panaetius
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 85 – 86), (คําบรรยาย) ซีซีโร (Cicero) เป็นปรัชญาเมธีของ ลัทธิสโตอิกส์ที่สนับสนุนรูปแบบการปกครองแบบผสม (Mixed Constitution) โดยเขาเสนอว่า การที่จะยุติวงจรของการปฏิวัตินิรันดร์นั้น รัฐจะต้องใช้รูปแบบการปกครองแบบผสม โดยนําเอา รูปแบบการปกครองคนเดียว (Monarchy) การปกครองโดยกลุ่ม (Aristocracy) และการปกครอง โดยคนจํานวนมาก (Democracy) มาผสมกัน ซึ่งรูปแบบการปกครองแบบผสมนี้เท่านั้นที่จะ สร้างความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงให้กับรัฐในทางการเมืองได้

64. นักคิดสโตอิกส์คนใดที่มองว่าระบอบประชาธิปไตย (Democracy) มีแนวโน้มที่จะเสื่อมลงเป็นระบอบ การปกครองโดยฝูงชนที่บ้าคลั่ง (Mob Rule)
(1) Cicero
(2) Seneca
(3) Panaetius
(4) Zeno
(5) Marcus Aurelius
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, 69, (คําบรรยาย) ซิซีโร (Cicero) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่มีแนวคิด เช่นเดียวกับโพลิเบียส ในเรื่อง “วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) ที่เห็นว่ารูปการปกครองของกรีกนั้นมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเสื่อมลงไปเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้ายก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มี ที่สิ้นสุด

65. จักรพรรดิโรมันที่สร้างประมวลกฎหมายโรมันที่บังคับใช้ในอาณาจักรต่อมาอีกกว่าพันปีคือ
(1) Nero
(2) Caracalla
(3) Constantine
(4) Theodosius
(5) Justinian
ตอบ 5 หน้า 61 ในระหว่างปี ค.ศ. 483 – 565 จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian) แห่งอาณาจักรโรมันได้ทรงสร้างประมวลกฎหมายโรมันขึ้นมาเรียกว่า “กฎหมายจัสติเนียน” (Code of Justinian) ซึ่งบังคับใช้ในอาณาจักรต่อมาอีกกว่าพันปี

66. ในทัศนะของโพลิเบียส ระบอบการปกครองแบบ Democracy จะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใด
(1) Tyranny
(2) Mob Rule
(3) Monarchy
(4) Aristocracy
(5) Oligarchy
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

67. กฎหมายโรมันประเภทใดที่ใช้บังคับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรโรมัน
(1) Jus Civic
(2) Jus of the Twelve Tables
(3) Jus Universal
(4) Jus Natural
(5) Jus Gentium
ตอบ 5 หน้า 62, (คําบรรยาย) กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) ของอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่ บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมายภายในดั้งเดิมของโรมันผสมผสานหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก โดยกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ใน อาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมเป็นจุดประสงค์

68. ข้อใดที่สโตอิกส์แตกต่างไปจากแนวคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายด้วยกัน
(1) ให้ความสําคัญกับความสุขของปัจเจก
(2) การใช้ชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติ
(3) ความเป็นพลเมืองโลก
(4) การให้ความสําคัญกับรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 83 – 84), (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อในหลักการ ความเป็นพลเมืองโลก (Cosmopolitanism) ซึ่งจะแตกต่างไปจากแนวคิดทางการเมือง ในยุคกรีกตอนปลายด้วยกัน โดยมักจะอ้างว่าตนเป็นพลเมืองของโลก ไม่ว่ารัฐใดหรือมนุษย์ คนใดก็อยู่ภายใต้กฎเดียวกันนั้นก็คือกฎธรรมชาติ และเมื่อใดก็ตามที่รัฐออกกฎหมายขัดกับ ธรรมชาติ พลเมืองก็มีสิทธิที่จะปฏิวัติหรือก่อกบฏขึ้นมาได้

69. เหตุการณ์ที่อดัมและอีฟกินผลไม้ต้องห้ามและถูกพระเจ้าสาปออกไปจากสวนเอเดนปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลพระคัมภีร์ใด
(1) อพยพ
(2) พงศ์กษัตริย์
(3) ปฐมกาล
(4) มัทธิว
(5) เปาโล
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คัมภีร์ปฐมกาล (Genesis) ในพระคัมภีร์ไบเบิล เริ่มต้นด้วยการทรงสร้างของ พระเจ้า ทั้งการสร้างฟ้าสวรรค์ โลก สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อดัม (Adam) และอีฟ (Eve) มนุษย์คู่แรก รวมทั้งการกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความบาปอันเป็นเหตุให้มนุษย์ถูกขับออกจากสวนเอเดนโดยคัมภีร์ปฐมกาลนั้นจะนําไปสู่เหตุการณ์ที่สําคัญของมนุษยชาติ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ การสร้างหอบาเบล และปรากฏการณ์เรือโนอาห์ในเหตุการณ์น้ำท่วมโลก

70. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) ตามคติของคริสต์ศาสนา มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากบาปไปได้ด้วยความเพียร
(2) ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในยุคกลาง
(3) สันตะปาปาคือคนที่ถือกุญแจสวรรค์ตามความเชื่อของโรมันคาทอลิก
(4) Adam กับ Evan คือชายหญิงคู่แรก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 103), (คําบรรยาย) เซ็นต์ปีเตอร์หรือนักบุญเปโตร (St. Peter) คือสันตะปาปาองค์แรกของคริสต์ศาสนา ซึ่งตามความเชื่อของคริสต์ศาสนาถือว่าสันตะปาปา คือผู้นําคริสตจักรโรมันคาทอลิก และเป็นคนที่ถือกุญแจสวรรค์ที่พระเยซูได้มอบไว้ให้

71. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) จงรักศัตรูของท่าน
(2) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(3) เป็นพระเมสซิยาห์
(4) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอน คนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจาก เยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและ ไปฟ้องต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี

72. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่ประกาศให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาประจําอาณาจักรโรมัน
(1) เนโร
(2) มาร์คัส เออเรลิอุส
(3) เธโอดอเสียส
(4) กาลิเรียส
(5) คอนสแตนติน
ตอบ 3 หน้า 75, (คําบรรยาย) อิทธิพลของอาณาจักรโรมันที่เกี่ยวข้องกับศาสนาคริสต์ คือ ก่อนสิ้น ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนา ประจําอาณาจักรโรมัน ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาศาสนาคริสต์ก็แผ่รัศมีไปทั่วดินแดนและขยายไปทาง ตะวันตกเพราะชาวโรมัน

73. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีเทวสิทธิ์
(1) สิทธิการปกครองมาจากศาสนจักร
(2) ผู้ปกครองคือพระเจ้า
(3) ผู้ปกครองไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใต้ปกครอง
(4) พระเจ้าแบ่งภาคมาเป็นผู้ปกครอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ตามคติคริสต์ศาสนา เชื่อว่า “อํานาจ ทั้งหมดเป็นของพระเจ้า” กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และผู้ปกครองไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใต้ปกครอง นอกจากพระเจ้า โดยพระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

74. นักบุญออกันในเขียนหนังสือเรื่อง City of God ขึ้นจากจุดประสงค์หลักข้อใด
(1) รวมคําสอนให้เป็นหมวดหมู่
(2) ขยายคําอธิบายของทฤษฎีเทวสิทธิ์
(3) เป็นคู่มือในการตัดสินพวกนอกรีต
(4) โต้แย้งเรื่องสาเหตุความเสื่อมของโรมัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) นักบุญออกัสติน (Augustine) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “นครของพระเจ้า” (City of God) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโต้แย้งเรื่องสาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรโรมัน ซึ่งได้ ตีแผ่ประวัติศาสตร์ของโรมและยืนยันว่า บรรดาพระเจ้าทั้งหลายที่ชาวโรมันนับถือนั้นมิได้ช่วย ให้อาณาจักรโรมันพ้นจากความหายนะ แต่เป็นคริสต์ศาสนาต่างหากที่สามารถช่วยคุ้มครองอาณาจักรไว้ได้ หากว่าผู้ปกครองและประชาราษฎร์ทั้งหลายยอมรับนับถืออย่างแท้จริง

75.“Potestas” มีความหมายถึง
(1) อํานาจของธรรมชาติ
(2) อํานาจของประชาชน
(3) อํานาจของจักรพรรดิ
(4) อํานาจของภูตผีวิญญาณ
(5) อํานาจของพระ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 105), (คําบรรยาย) คําว่า “Auctoritas” หรือ “Authority” เป็นอํานาจของพระหรืออํานาจทางฝ่ายศาสนจักรของสันตะปาปา ส่วนคําว่า “Potestas” หรือ “Power” เป็นอํานาจทางฝ่ายอาณาจักรของจักรพรรดิหรือกษัตริย์

76. การล่มสลายของอาณาจักรโรมันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดขึ้น
(1) ฝ่ายอาณาจักรมีอํานาจมากขึ้น
(2) สภาวะอนาธิปไตย
(3) การปกครองแบบรวมศูนย์อํานาจ
(4) ศาสนจักรมีอิทธิพลลดลง
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101 – 104) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมัน ก็ได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าติวตัน (Teutons) ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือยุคมืด (Dark Age) หรือที่คน ในยุคนั้นมองว่าเป็นยุคใหม่ (Modern) ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปต้องดูแลตนเอง ปกครองกันเอง เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ซึ่งการปกครองในยุคนี้จะเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือ ระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ศาสนจักร มีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงอย่างหนึ่งหลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลายลง นั่นก็คือ สถาบันศาสนาคริสต์ หรือศาสนจักรที่มีผู้นําคือ สันตะปาปา (Pope) เป็นผู้ที่จะคอยให้กําลังใจ แก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น

77. รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองที่มาแทนที่การล่มสลายของโรมันคือ
(1) อภิชนาธิปไตย
(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ศักดินาสวามิภักดิ์
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76, ประกอบ

78. ระบอบการปกครองของพวกอนารยชนติวตันในระยะแรกเป็นไปในรูปแบบใด
(1) Mob Rule
(2) Tyranny
(3) Aristocracy
(4) Monarchy
(5) Democracy
ตอบ 5 หน้า 84, (คําบรรยาย) การปกครองในระยะแรกของพวกอนารยชนติวตันเป็นไปในรูปแบบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของการปกครองเพื่อบุคคลมิใช่เพื่อรัฐ แต่การคัดเลือกกษัตริย์ผู้ปกครองนั้นมีแนวโน้มใช้วิธีการสืบทอดทางสายเลือดหรือระบบสืบสันตติวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกษัตริย์ขึ้นครองราชบัลลังก์โดยการปราบดาภิเษก

79. ทฤษฎีสองนคร (Theory of Two Cities) “สองนคร” ของออกัสติน หมายถึงที่ใด
(1) วัดกับอาณาจักร
(2) นครของพระเจ้าและนครของซาตาน
(3) รัฐที่นับถือคริสต์และไม่นับถือคริสต์
(4) จิตใจของมนุษย์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองนคร (Theory of Two Cities) ของนักบุญออกัสตินนั้น อธิบายว่า นครทั้งสองนี้มิใช่สรวงสวรรค์กับพื้นพิภพ ไม่ใช่วัดกับรัฐ แต่เป็นพลังของความดี และพลังของความชั่ว ซึ่งได้ต่อสู้กันเพื่อที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของดวงจิตหรือจิตใจของมนุษย์มา นานแล้ว ซึ่งนครทั้งสองนี้คือ นครของพระเจ้าและนครของซาตาน

80. ในทัศนะของ St. Aquinas กฎหมายที่พระเจ้าเท่านั้นจะเข้าใจ
(1) กฎหมายพระประธาน
(2) กฎหมายธรรมชาติ
(3) กฎหมายมนุษย์
(4) กฎหมายสถาพร
(5) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 4 หน้า 90 ในทัศนะของ St. Aquinas นั้น กฎหมายสถาพร (Eternal Law) เป็นหลักการสําคัญของความเฉลียวฉลาดอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถจะทําความเข้าใจได้ และเป็นกฎเกณฑ์ที่พระเจ้าทรงใช้ในการปกครองจักรวาลทั้งหมด โดยเขากล่าวว่า “กฎหมาย ทั้งหมดที่มีส่วนของสัจจเหตุผลแฝงอยู่มาจากกฎหมายสถาพรทั้งสิ้น”

81.ผลงานของ St. Aquinas คือ
(1) Summa Theologica
(2) Summa Contra Gentiles
(3) Divine Right
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 87 – 88, (คําบรรยาย) เซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) เกิดมาจากครอบครัวขุนนางที่เมือง คาลาเบรียในประเทศอิตาลี โดยเขาได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งเนเปิลส์ (University of Napies) และต่อมาได้เข้าร่วมเป็นนักบวชในสํานักโดมินิกัน ซึ่งผลงานที่สําคัญของเขาได้แก่ Summa Contra Gentiles a≈ Rule of Princes

82. ข้อใดผิดเกี่ยวกับมนุษย์ในมุมมองของ St. Aquinas
(1) เป็นสัตว์การเมือง
(2) มีความเท่าเทียมกันในการใช้เหตุผล
(3) ควรอยู่ในคริสตรัฐ
(4) สมควรอยู่ในรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 88 – 89 St. Aquinas ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะมีความเท่าเทียมกันในเรื่องความสามารถ ในการใช้เหตุผล แม้ว่าทุกคนจะเสมอภาคกันต่อเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าก็ตาม ดังนั้นคนที่มีความสามารถและเฉลียวฉลาดกว่าจึงควรเป็นผู้ปกครอง

83. กษัตริย์คือศีรษะหรือสมอง ศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือน อวัยวะน้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน มีชื่อเรียกทางทฤษฎีว่า
(1) Communist Theory
(2) Welfare State Theory
(3) Divine Right Theory
(4) Organic Analogy Theory
(5) Social Contract Theory
ตอบ 4 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมือง ยุคกลางคนแรกที่ใช้ทฤษฎีองค์อินทรีย์ (Organic Analogy Theory) ในการบรรยายองค์ประกอบ ของประชาคมการเมือง โดยเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ กษัตริย์คือศีรษะ หรือสมอง ฝ่ายศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือนอวัยวะ น้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

84. สันตะปาปาที่อธิบายทฤษฎีดาบสองเล่มโดยถือว่าดาบทั้งสองเล่มพระเจ้าเป็นผู้มอบให้ฝ่ายวัด และฝ่ายวัดมอบให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นการชั่วคราวคือ
(1) Pope Gregory VII
(2) Pope John XXII
(3) Pope Francis
(4) Pope Gelasius I
(5) Pope Boniface VIII
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109 – 110), (คําบรรยาย) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Pope Boniface VIII) ได้อธิบายเกี่ยวกับ “ทฤษฎีดาบสองเล่ม” (Two Swords Theory) ไว้ว่า แต่เดิมอํานาจทั้งหมดเป็นของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมอบอํานาจหรือดาบให้กับสันตะปาปา (ฝ่ายวัด) ทั้งสองเล่ม และภายหลังสันตะปาปาถือดาบแห่งจิตวิญญาณไว้ และมอบดาบที่ใช้ ปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ (ฝ่ายอาณาจักร) เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เนื่องจากอํานาจดังกล่าว ที่มอบให้กษัตริย์ก็ยังคงเป็นของสันตะปาปาอยู่ การมอบดาบนี้เป็นเพียงการมอบหมายหน้าที่ให้กษัตริย์เท่านั้น อํานาจกษัตริย์จึงไม่มีทางใหญ่กว่าอํานาจสันตะปาปาที่เป็นเจ้าของดาบที่ แท้จริง เพราะได้รับอํานาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรง

85. มหาวีระ คือใคร
(1) ผู้นําคําสอนพระเจ้ามาสู่มนุษย์
(2) ลูกของพระเจ้า
(3) พระเจ้า
(4) ผู้ค้นพบพระเจ้า
(5) ผู้ก่อตั้งลัทธิ
ตอบ 5 หน้า 98 ศาสนาเชน มีศาสดาหรือผู้ก่อตั้งลัทธิชื่อ มหาวีระหรือชินวรรธมาน หรือในชื่ออื่น ๆ ที่เรียกเป็นการยกย่อง คือ ชิน (ชนะ) อรหัต สรรพัชญ์ ชิเนศวร ตีรถกร และภควัต (ผู้ควรเคารพ)

86. ชาวอารยันในระยะแรกนับถืออะไร
(1) พระศิวะ
(2) พระตรีมูรติ
(3) พระพรหม
(4) ธรรมชาติ
(5) บรรพบุรุษ
ตอบ 4 หน้า 95 – 96, (คําบรรยาย) ชาวอารยันในระยะแรกนับถือธรรมชาติ เช่น ฟ้า เดือน ตะวัน เป็นเทวะ โดยอารยันลุ่มน้ำสินธุได้พัฒนาเทวะออกเป็น 3 พวก ได้แก่
1. พวกที่อยู่ในสวรรค์ เช่น วรุณ สุริยะ ฯลฯ
2. พวกที่อยู่ในฟ้า เช่น วาตะ อินทระ ฯลฯ
3. พวกที่อยู่บนพื้นโลก เช่น อัคนิ ยม เป็นต้น

87. บทสวดในพิธีบูชาน้ําโสมของพราหมณ์คือ
(1) สามเวท
(2) ฤคเวท
(3) ยชุรเวท
(4) ไสยเวท
(5) อถรรพเวท
ตอบ 1 หน้า 95 – 96 ในสมัยไตรเพทนั้น พวกพราหมณ์ได้มีการจัดหมวดหมู่คัมภีร์ฤคเวทใหม่ โดยคัดบทที่เป็นมนต์สวดขับเพื่อใช้ในการสวดในพิธีพลีบูชาน้ําโสมแก่เทวะ เรียกว่า “สามเวท คัดเอามนต์โศลกและร้อยแก้วที่ว่าด้วยพิธีพลีกรรมออกมา เรียกว่า “ยชุรเวท” แล้วจึงรวมฤคเวท สามเวท และยชุรเวทเข้าด้วยกันเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เรียกว่า ไตรเพท

88.Marsiglio of Padua เสนอว่า อํานาจในการปกครองมีที่มาจากที่ใด
(1) ประชาชน
(2) ผู้ที่มีอํานาจมาก
(3) ศาสนจักร
(4) กษัตริย์
(5) พระเจ้า
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์กลิโอแห่งปาดัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการปกครองมาจากประชาชนและ ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายังสนับสนุนให้กษัตริย์นั้น ยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

89. การแบ่งวรรณะตามความเชื่อของศาสนาฮินดูมีที่มาจาก
(1) กษัตริย์เป็นผู้แบ่ง
(2) พระพรหมเป็นผู้แบ่ง
(3) คนมีอํานาจเป็นผู้แบ่ง
(4) การแบ่งงานกันทํา
(5) เป็นเรื่องตามธรรมชาติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดู เชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้แบ่งชั้นวรรณะของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้อง ยอมรับต่อฐานะแห่งชาติกําเนิดของตนที่พระพรหมกําหนดให้ โดยปฏิบัติตนดํารงชีวิตไปตาม ฐานะวรรณะของตนในสังคม เช่น สถานะทางสังคม คนในวรรณะสูงจะไม่คบหาสมาคม มั่วสุม กับคนวรรณะต่ํา, การงานอาชีพก็ต้องทําจํากัดเฉพาะที่คนวรรณะต่ําควรทํา, การแต่งงานก็ต้อง แต่งงานกับคนที่อยู่ในวรรณะเดียวกัน เป็นต้น

90. หลักธรรมสําคัญของศาสนาเชนคือ
(1) ความเห็นชอบ
(2) ความรู้ชอบ
(3) ประพฤติชอบ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนาอเทวนิยม (Atheism) คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญ ก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุ “โมกษะ” เพื่อที่จะได้ ไม่กลับมาเกิดอีก ซึ่งหนทางที่จะบรรลุโมกษะ ได้แก่ การเห็นชอบ ความรู้ชอบ และประพฤติชอบ

91. เป้าหมายการบรรลุธรรมของศาสนาเชนเรียกว่า
(1) โมกษะ
(2) นิพพาน
(3) สุขาวดี
(4) เศวตัมพร
(5) ทิคัมพร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. ภิกขุหรือภิกษุ มีความหมายถึง
(1) ผู้แสวงหาความหลุดพ้น
(2) ผู้สละ
(3) ผู้อยู่ป่า
(4) ผู้เร่ร่อน
(5) ผู้ขอ
ตอบ 5 หน้า 97, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูในยุคพุทธกาล แนวความคิดเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระยังคงมีอิทธิพลอยู่ จึงมีผู้พยายามแสวงหาความหลุดพ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยหลีกออก จากชีวิตทางโลก เช่น ปริพาชก (ผู้เร่ร่อน) ภิกขุหรือภิกษุ (ผู้ขอ) สันนยาสี (ผู้สละ) เป็นต้น

93. ในศาสนาฮินดู พระพุทธเจ้ามีสถานะใด
(1) บุคคลธรรมดา
(2) นักบวชนอกศาสนา
(3) พระนารายณ์อวตาร
(4) ไม่มีตัวตนอยู่จริง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาฮินดูในสมัยราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863 – 1078) เกิดคัมภีร์ปุราณะ กล่าวถึงกําเนิดโลก เทวดา และสิ่งอื่น ๆ การแข่งขันแต่ละนิกายมีมากขึ้น โดยอ้างว่าเทพของตน เป็นต้นกําเนิดของสรรพสิ่ง (เป็นแนวคิดแบบเทวนิยม) เช่น ฮินดูนิกายไศวะถือพระศิวะเป็นใหญ่ ฮินดูนิกายไวษณพถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นใหญ่ และมีการอวตารเป็นปางต่าง ๆ แม้แต่ พระพุทธเจ้าก็เป็นอวตารหนึ่งของพระนารายณ์

94. ข้อที่เหมือนกันระหว่างศาสนาฮินดู เชน และพุทธ คือ
(1) เชื่อในพระผู้สร้าง
(2) วิธีการบรรลุธรรม
(3) แนวคิดเรื่องการอวตาร
(4) การเวียนว่ายตายเกิด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 97 – 98, 110, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญที่เหมือนกันอย่างหนึ่งของศาสนาฮินดู เช่น และพุทธ คือ ความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด โดยศาสนาฮินดูเชื่อว่า วิญญาณทั้งหลาย ย่อมออกจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้ ส่วนศาสนาเชนนั้นต้องการที่จะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือสังสาระไปสู่การบรรลุโมกษะ และศาสนาพุทธนั้นมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การแสวงหาเหตุ เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เพื่อให้มนุษย์ไม่ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดอย่างไม่รู้จบสิ้น

95. การเริ่มแตกเป็นนิกายของศาสนาพุทธเริ่มเกิดขึ้นในการสังคายนาครั้งใด
(1) ครั้งที่ 1
(2) ครั้งที่ 2
(3) ครั้งที่ 3
(4) ครั้งที่ 4
(5) ครั้งที่ 5
ตอบ 2 หน้า 100, (คําบรรยาย) ในการสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานได้ 100 ปี ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี ได้ปรับปรุงแก้ไขพระวินัยรวม 10 ประการ และแยกไป ทําการสังคายนาฝ่ายของตนขึ้นเรียกว่า มหาสังคีติ ทําให้พระยศเถระต้องเรียกประชุมพระเถระ ผู้ใหญ่วินิจฉัยเพื่อคัดค้านการแก้ไขพระวินัย แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ จนนําไปสู่การแตกแยกนิกาย ของศาสนาพุทธในที่สุด

96. นิกายมหายานอาจเรียกอีกชื่อได้ว่า
(1) นิกายฝ่ายใต้
(2) สถวีระ
(3) นิกายเก่าแก่
(4) นิกายฝ่ายเหนือ
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 101 – 102 คําว่า “มหายาน” เป็นคําเรียกตนเองของสายที่พัฒนามาจากลัทธิอาจริยวาทซึ่งหมายความว่าฝ่ายตนเป็นยานขนาดใหญ่สามารถพาผู้คนข้ามโอฆสงสารได้มากกว่า ฝ่ายมหายาน หรืออุตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ) เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธและแตกเป็นนิกายย่อย ๆ เช่น ๆ เซน สุขาวดี ลามะ พุทธตันตระ ฯลฯ โดยแพร่หลายในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และทิเบต

97. ธรรมชาติของมนุษย์ในศาสนาพุทธคือ
(1) เสมอภาคกันด้านสติปัญญาและร่างกาย
(2) ไม่เสมอภาคด้านสติปัญญาและร่างกาย
(3) บางคนสอนง่าย บางคนสอนยาก
(4) บางคนมีกิเลสมาก บางคนน้อย
(5) ข้อ 2, 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 111 – 112, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ในศาสนาพุทธนั้น พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันในเรื่องสติปัญญาและร่างกาย บางคนมีกิเลสมาก บางคนน้อย บางคน สอนง่าย บางคนสอนยาก โดยพระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มี อาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี…”

98. การแบ่งวรรณะตามหลักการของศาสนาพุทธมีที่มาจาก
(1) การแบ่งงานกันทํา
(2) เป็นเรื่องตามธรรมชาติ
(3) กษัตริย์เป็นผู้แบ่ง
(4) คนมีอํานาจเป็นผู้แบ่ง
(5) พระผู้เป็นเจ้าแบ่ง
ตอบ 1 หน้า 115. (คําบรรยาย) ตามหลักการของศาสนาพุทธนั้น เห็นว่าการแบ่งวรรณะมีที่มาจาก การแบ่งงานกันทํา กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีทําหน้าที่คอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของ มนุษย์ สําหรับพราหมณ์เกิดจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่มีขึ้นในหมู่สัตว์คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย จึงมีวิถีชีวิตคือ การไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ขออาหารเป็นมื้อ ๆ จากชาวบ้าน รวมไปถึงแพศย์และศูทรเอง ก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่การทํางานกันนั่นเอง

99. ผู้ปกครองของศาสนาพุทธมีที่มาจาก
(1) แบ่งภาคลงมาเกิด
(2) เทวดาบันดาล
(3) การใช้กําลัง
(4) การแต่งตั้ง
(5) การเลือกตั้ง
ตอบ 4 หน้า 115, (คําบรรยาย) สมมุติฐานการเกิดผู้ปกครองตามคติความเชื่อในอัคคัญญสูตรของ ศาสนาพุทธนั้น กษัตริย์หรือผู้ปกครองจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มีหรือแต่งตั้งขึ้น เรียกว่า “มหาสมมุติ” เพื่อคอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มี การละเมิดซึ่งกันและกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะให้ค่าตอบแทนแก่มหาสมมุตินั้นด้วย

100. ข้อที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อสมณพราหมณ์คือ
(1) จะทําสิ่งใดก็ทําด้วยเมตตา
(2) จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
(3) จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยเมตตา
(4) ถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 121 – 122, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อสมณพราหมณ์ คือ จะทําสิ่งใด ก็ทําด้วยเมตตา จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา จะคิดสิ่งใดก็คิดด้วยเมตตา และเปิดประตูต้อนรับ สมณพราหมณ์หรือถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ

Advertisement