การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ชนชาติใดที่ไม่ได้ใช้ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน
(1) กรีก
(2) อินเดีย
(3) อิหร่าน
(4) เยอรมัน
(5) ตุรกี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ประกอบด้วยกลุ่มย่อยต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ (รัสเซีย เซอร์เบีย เช็ก โปแลนด์) กลุ่มภาษาเยอรมัน (อังกฤษ เยอรมัน ดัตช์ เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์) กลุ่มภาษาโรแมนซ์ (อิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส) กลุ่มภาษาอินเดีย-อิหร่าน กลุ่มภาษาแอลเบเนีย กลุ่มภาษาอาร์มีเนีย และกลุ่มภาษาอื่น ๆ เช่น กรีก สกอตแลนด์ เวลส์ เป็นต้น

Advertisement

2.แนวคิดที่ถือว่ามีเทพองค์หนึ่งยิ่งใหญ่กว่าเทพทั้งหลายเรียกว่า
(1) Pantheism
(2) Polytheism
(3) Atheism
(4) Monotheism
(5) Henotheism
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าหรือเทพเจ้า แบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
1. Monotheism (เอกเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว หรือมีเทพองค์หนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เทพทั้งหลาย ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์
2. Polytheism (พหุเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และเทพทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
3. Henotheism (อติเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ แต่จะยกย่องให้เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ให้ยิ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ
4. Atheism (อเทวนิยม) เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของเทพเจ้า ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพุทธ

3.คัมภีร์ที่เป็นบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าของพราหมณ์คือ
(1) ยชุรเวท
(2) ฤคเวท
(3) สามเวท
(4) ไสยเวท
(5) อถรรพเวท
ตอบ 2 หน้า 95, (คําบรรยาย) ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้าของพราหมณ์ หรือเป็น บทสวดบูชาเทวะที่พวกพราหมณ์ได้รวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ ซึ่งฤคเวทถือเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวที่สามารถนํามาใช้ศึกษาอารยธรรมในยุคไตรเพทได้

4. ในสมัยฮินดูแท้ถือว่าวิญญาณต่าง ๆ มีต้นกําเนิดมาจากที่ใด
(1) นารายณ์
(2) ศิวะ
(3) พรหม
(4) ราม
(5) เกิดขึ้นเอง
ตอบ 3 หน้า 97 (คําบรรยาย) ในสมัยฮินดูแท้มีความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด โดยเชื่อว่า วิญญาณต่าง ๆ ทั้งหลายมีต้นกําเนิดมาจากพรหม (ปฐมวิญญาณ) และจะเวียนว่ายตายเกิด ในสังสาระหรือภพชาติต่าง ๆ ตามแต่กรรมที่ได้กระทําไว้ จนกว่าจะพบความหลุดพ้น (โมกษะ) จากการเกิดเข้าสู่พรหมเช่นเดิม

5. แนวคิดบูชาสตรีของฮินดูเรียกว่า
(1) อวตาร
(2) สันยาสี
(3) ศักติ
(4) ปุราณะ
(5) อติเทวะ
ตอบ 3 หน้า 97 – 98, (คําบรรยาย) ลัทธิศักติของฮินดู คือ ลัทธิที่บูชาและนับถือชายาของเทพ (สตรี) เป็นลัทธิที่เกิดจากชนพื้นเมืองเดิมทางตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เบงกอล และอัสสัม มีคัมภีร์ ที่เรียกว่า “ตันตระ” ซึ่งลัทธิศักตินี้จะมีการบูชาพระนางลักษมี เจ้าแม่อุมาเทวี และเจ้าแม่กาลี โดยมีการบูชายัญด้วยโลหิต ผู้หญิงเปลือยกายเต้นรํา ดื่มสุรา และเสพเมถุน

6.ข้อใดไม่ใช่หลักมหาพรต 5 ของศาสนาเชน
(1) ไม่เบียดเบียน
(2) พูดความจริง
(3) ไม่ลักขโมย
(4) นับถือพระชิน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักมหาพรต 5 ของศาสนาเชน ได้แก่
1. อหิงสา หมายถึง การไม่เบียดเบียน
2. สัตยะ หมายถึง การพูดความจริง
3. อัสเตยะ หมายถึง การไม่ลักขโมย
4. พรหมจริยะ หมายถึง การไม่ประพฤติผิดทางกาม
5. อปริครหะ หมายถึง การไม่โลภ

7. นิกายของนักบวชที่นุ่งขาวห่มขาวเรียกว่า
(1) ไศวนิกาย
(2) สุขาวดี
(3) โมกษะ
(4) เศวตัมพร
(5) ทิคัมพร
ตอบ 4 หน้า 98 ศาสนาเป็น แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ
1. เศวตัมพร (พวกนุ่งขาวห่มขาว)
2. ทิคัมพร (พวกนั่งทิศ ไม่นุ่งผ้า) ซึ่งปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมไปมากแล้ว

8. ข้อใดไม่ใช่นิกายในศาสนาพุทธที่เกิดขึ้นหลังการสังคายนาครั้งที่ 2
(1) สถวีระ
(2) เถรวาท
(3) อาจริยวาท
(4) มหายาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 100 – 101, (คําบรรยาย) การสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน ได้ 100 ปี ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี ได้ปรับปรุงแก้ไขพระวินัยรวม 10 ประการ และแยกไป ทําการสังคายนาฝ่ายของตนขึ้นเรียกว่า มหาสังคีติ โดยพระยศเถระได้ประชุมพระเถระผู้ใหญ่ วินิจฉัยเพื่อคัดค้านการแก้ไขพระวินัย แต่ก็ไม่เป็นผลสําเร็จ จนนําไปสู่การแตกแยกนิกายของ ซึ่งได้แก่ เถรวาท (สถวีระ นิกายเก่าแก่) อาจริยวาท (มหาสังฆิกะ) เป็นต้น

9. ระบบวรรณะในแนวคิดของศาสนาพุทธมีที่มาจาก
(1) พระเจ้ากําหนด
(2) พราหมณ์กําหนด
(3) การแบ่งงานกันทํา
(4) ธรรมเนียมประเพณี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 115, (คําบรรยาย) ตามแนวคิดของศาสนาพุทธ เห็นว่า “ระบบวรรณะ” นั้นมีที่มาจาก การแบ่งงานกันทํา กล่าวคือ กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีทําหน้าที่คอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของ มนุษย์ สําหรับพราหมณ์เกิดจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่มีขึ้นในหมู่สัตว์คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย และมีวิถีชีวิตคือ การไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ขออาหารเป็นมื้อ ๆ จากชาวบ้าน รวมไปถึงแพศย์และศูทรเอง ก็เกิดจากการแบ่งหน้าที่การทํางานกัน ดังคํากล่าวที่ว่า “สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการงาน…”

10. นิกายที่มุ่งบําเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า มีความสอดคล้องกับ
(1) เถรวาท
(2) มหานิกาย
(3) มหายาน
(4) ธรรมยุติ
(5) นิกายฝ่ายใต้
ตอบ 3 หน้า 103, (คําบรรยาย) พุทธนิกายมหายาน เป็นนิกายที่มุ่งบําเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า มีพระโพธิสัตว์มากมายจนนับไม่ได้ ซึ่งเป็นผู้รู้แจ้งจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้แต่ยังไม่ยอมเป็น ทั้งนี้เพราะต้องการอยู่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์และไปเป็นพุทธด้วยกัน เช่น พระอวโลกิเตศวร กวนซีอิมหรือกวนอิม) พระมัญชุศรี พระศรีอารยเมตไตร เป็นต้น

11. ผู้ปกครองตามหลักการของศาสนาพุทธมีต้นกําเนิดจาก
(1) กฎหมาย
(2) แนวคิดแบบพราหมณ์
(3) เทพกําาหนด
(4) ปัญหาสังคม
(5) ข้อ1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 115, (คําบรรยาย) ตามหลักการของศาสนาพุทธ กษัตริย์หรือผู้ปกครองนั้นมีต้นกําเนิด จากปัญหาสังคม โดยเห็นว่าผู้ปกครองจะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มีหรือแต่งตั้งขึ้น เรียกว่า มหาสมมุติ เพื่อทําหน้าที่คอยควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ มิให้มีการละเมิดซึ่งกันและกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะให้ค่าตอบแทนแก่มหาสมมุตินั้นด้วย

12. การละคําเท็จ คําหยาบคาย คําส่อเสียด และคําเพ้อเจ้อ อยู่ในคุณธรรมข้อใดของผู้ปกครอง
(1) สังคหวัตถุ
(2) อคติ 4
(3) พรหมวิหาร
(4) อปริหานิยธรรม
(5) กุศลกรรมบถ
ตอบ 5 หน้า 117 – 118, (คําบรรยาย) คุณธรรมของผู้ปกครองในเรื่องของกุศลกรรมบถ 10 มีดังนี้
1. การประพฤติเรียบร้อยทางกาย 3 คือ ละการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการละเมิดประเวณี
2. การประพฤติเรียบร้อยทางวาจา 4 คือ ละการกล่าวเท็จ คําส่อเสียด คําหยาบ และคําเพ้อเจ้อ
3. การประพฤติเรียบร้อยทางใจ 3 คือ ไม่เพ่งเอาทรัพย์ผู้อื่น ไม่มีจิตพยาบาท และมีความเห็น ถูกต้อง

13. ข้อใดเป็นอบายมุขตามหลักการของพุทธศาสนา
(1) เที่ยวกลางคืน
(2) เที่ยวดูมหรสพ
(3) เกียจคร้าน
(4) คบคนชั่วเป็นมิตร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) “อบายมุข” ตามหลักการของพุทธศาสนา ได้แก่ ดื่มน้ําเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูมหรสพ (การละเล่น) เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านการทํางาน

14. รัฐที่ประมุขฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรเป็นคนเดียวกันในศาสนาพุทธคือ
(1) กบิลพัสดุ์
(2) มองโกล
(3) ทิเบต
(4) ทวารวดี
(5) สุโขทัย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ทิเบต เป็นรัฐที่มีประมุขฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรเป็นคนเดียวกัน ซึ่งก็คือ “องค์ดาไล ลามะ” โดยชาวพุทธมหายานในทิเบตเชื่อมั่นว่าองค์ดาไล ลามะ เป็นพระโพธิสัตว์ ลงมาเกิดในร่างมนุษย์เพื่อโปรดสรรพสัตว์ เมื่อองค์ดาไล ลามะ สิ้นชีวิต ดวงจิตวิญญาณจะกลับมา เกิดในร่างใหม่ และสาวกก็จะติดตามไปจนได้พบเด็กที่เป็นร่างใหม่ขององค์ดาไล ลามะ แล้วนํามา เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้การศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน จนแตกฉาน แล้วให้ดํารงตําแหน่ง ดาไล ลามะ องค์ต่อไป วนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดมา

15. พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรกเกิดขึ้นในสมัยใด
(1) ร.1
(2) ร.4
(3) ร.5
(4) ร.7
(5) ร.9
ตอบ 3 (คําบรรยาย) มหาเถรสมาคม เป็นองค์กรบริหารกิจการพระพุทธศาสนาสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งคําว่า “มหาเถรสมาคม” ได้เริ่มต้นใช้เป็นครั้งแรก เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 5

16. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Political Theory
(1) ช่วยทํานายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
(2) ประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีที่สุดใช่หรือไม่
(3) ช่วยให้มนุษย์วิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเป็นระบบ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) คือ ชุดของคําอธิบายที่มีต่อระบอบการเมือง หรือคําอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองภายใต้หลัก ของเหตุผลที่ผ่านการพิสูจน์หรือทดลองมาแล้ว ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถวิเคราะห์และอธิบาย ปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างเป็นระบบ

17. ข้อใดเกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์ (Ethics) มากที่สุด
(1) การโกหกผิดหรือไม่
(2) ความงามคืออะไร
(3) เรารู้ได้อย่างไร
(4) พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่
(5) ความจริงคืออะไร
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่ มุ่งศึกษาถึงสิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะ ศึกษาว่าอะไรคือสิ่งที่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ผิด อะไรคือสิ่งที่ถูก ตัวอย่างเช่น การโกหกเป็นสิ่งที่ผิดหรือไม่ ฯลฯ

18. ลักษณะสําคัญของ Empirical Political Theory
(1) เป็นการศึกษาระบอบการเมืองที่ดีที่สุด
(2) เกี่ยวกับการตัดสินเชิงคุณค่า
(3) มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองแบบเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) เป็นการใช้วิธีการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของ นักรัฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า การศึกษาแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งมีฐานคิด อยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เน้นทํานายปรากฏการณ์ทางการเมือง อาศัยการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ โดยนักทฤษฎีสําคัญที่ใช้แนวทางนี้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ David Easton

19. ทฤษฎีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่มีรากฐานมาจาก
(1) รัฐศาสตร์
(2) ปรัชญา
(3) ประวัติศาสตร์
(4) สังคมศาสตร์
(5) พฤติกรรมศาสตร์
ตอบ 2 หน้า 13 – 14 ในข้อเขียนของ ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ นั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการของ วิชาทฤษฎีการเมือง โดยเขาเชื่อว่าทฤษฎีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่มีรากฐานมาจากวิชาปรัชญาหรือความคิดทางการเมือง

20. การศึกษาถึงแนวคิดของนักคิดทางการเมืองอย่างกว้าง ๆ คือ
(1) Political Philosophy
(2) Political Ideology
(3) Political Thought
(4) Political Institution
(5) Political Concept
ตอบ 3 หน้า 1 – 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) คือ ความคิดความเข้าใจเรื่องการเมืองของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนที่แสดงออกมาเพื่อทําความ เข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ในทางการเมืองนั้นคืออะไร และควรเป็นไปอย่างไร หรือเป็นความคิดที่ เกี่ยวกับเรื่องการเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยมีแนวโน้มหนักไปในทางด้านการพรรณนาและความคิด เชิงประวัติศาสตร์

21. การออกไปร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) Political Philosophy
(2) Political Ideology
(3) Political Thought
(4) Political Institution
(5) Political Concept
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9, 16), (คําบรรยาย) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) คือ ระเบียบแบบแผนหรือรูปแบบทางความคิดอันเกี่ยวข้องกับการเมืองของคนใด คนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่งในสังคม ซึ่งรูปแบบทางความคิดนี้จะส่งผลต่อการแสดงออกหรือพฤติกรรม ของคนนั้น ๆ หรือกลุ่มด้วย ตัวอย่างเช่น แดงเป็นคนที่มีความใส่ใจทางการเมืองสูงและมักออกไป ร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น

22. นักทฤษฎีสําคัญที่ใช้แนวการศึกษาทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ คือ
(1) Machiavelli
(2) John Locke
(3) Aristotle
(4) Kart Marx
(5) David Easton
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

23. ข้อใดผิดเกี่ยวกับแนวคิดของสํานัก Materialism
(1) สถาบันการเมืองเกิดจากสภาพแวดล้อม
(2) นามธรรมเกิดมาจากรูปธรรม
(3) จิตสําคัญกว่าวัตถุ
(4) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสสารวาท
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 9 – 11, (คําบรรยาย) สํานักวัตถุนิยม (Materialism) หรือเรียกอีกอย่างว่า สสารวาท ซึ่งสํานักนี้เห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐานของความคิดมนุษย์ หรืออาจกล่าว ได้ว่านามธรรมนั้นเกิดมาจากรูปธรรม และเชื่อว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ เศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ของชนทั้งหลายคือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ

24. ข้อสรุประหว่างแนวคิดของสํานัก Materialism และ Idealism คือ
(1) Materialism กำหนดIdealism
(2) Idealism กำหนด Materialism
(3) พบกันคนละครึ่งทาง
(4) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) จากข้อบกพร่องในการอรรถาธิบายของสํานักวัตถุนิยม (Materialism) กับสํานักจิตนิยม (Idealism) สรุปได้ว่า แนวคิดของสํานัก Materialism ที่ถือว่าสถาบันการเมือง มาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้นยังไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของความคิดที่มีต่อ สถาบัน ขณะเดียวกันแนวคิดของสํานัก Idealism ที่ถือว่าสถาบันการเมืองมาจากแนวความคิด ของมนุษย์นั้นก็ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของสถาบันที่มีต่อความคิด ซึ่งความสัมพันธ์ ของทั้งสองฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน และยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

25. การล่มสลายของอาณาจักรโรมันทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญคือ
(1) ระบบฟิวดัล
(2) ศาสนจักรมีอิทธิพลสูงขึ้น
(3) สภาวะอนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101 – 104), (คําบรรยาย) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมันก็ได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าตัวตัน (Teutons) ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือยุคมืด (Dark Age) หรือที่คนในยุคนั้นมองว่าเป็นยุคใหม่ (Modern) กล่าวคือ ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปต้องดูแลตนเองปกครองกันเอง มีการอพยพจากเมืองสู่ชนบท เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ขาดศูนย์รวม อํานาจ การปกครองในยุคนี้จึงเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนาง จะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ศาสนจักรเรืองอํานาจและมีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงและคอยให้กําลังใจแก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น

26. ข้อใดไม่ใช่นครรัฐกรีก
(1) Corinth
(2) Athens
(3) Sparta
(4) Thales
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) ในยุคโบราณจะเรียกนครรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ บริเวณทะเลอีเจียน ทะเลครีต และทะเลไอโอเนียนว่า กรีก โดยนครรัฐกรีกที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ เอเธนส์ (Athens), สปาร์ต้า (Sparta), โครินทร์ (Corinth), เดลไฟ (Delphi), โรดส์ (Rhodes), โอลิมเปีย (Olympia) เป็นต้น

27. ข้อใดผิดเกี่ยวกับนครรัฐกรีก
(1) เป็นพันธมิตรกัน
(2) เคยทําสงครามกัน
(3) เป็นจักรวรรดิกรีก
(4) เคยมีระบอบการปกครองเหมือนกัน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 17, (คําบรรยาย) นครรัฐกรีกในช่วงศตวรรษที่ 9 และ 8 ก่อนคริสตกาล ประกอบด้วย นครรัฐต่าง ๆ ที่ตั้งกระจัดกระจายตามหุบเขากรีกและดินแดนแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยบรรดานครรัฐเหล่านี้มีขนบธรรมเนียม ระบบสังคม และลัทธิศาสนาคล้ายคลึงกัน ซึ่งในสมัย แรก ๆ ของบรรดานครรัฐกรีกเหล่านี้มีระบอบการปกครองเหมือนกันคือ กษัตริยาธิปไตยหรือราชาธิปไตย (Monarchy) ส่วนทางด้านการเมืองต่างก็เป็นอิสระต่อกันและมีอธิปไตยเป็นของ ตนเอง และร่วมกันอยู่แบบพันธมิตร แม้ว่านครรัฐใหญ่ ๆ บางนครรัฐพยายามที่จะครอบงํากัน หรือต่อสู้กันและทําสงครามกันเพื่อเป็นรัฐนําของบรรดานครรัฐเล็ก ๆ อื่น ๆ ก็ตาม

28. นครรัฐสปาร์ต้ามีรูปแบบการปกครองแบบใด
(1) Tyranny
(2) Aristocracy
(3) Democracy
(4) Oligarchy
(5) Military City-State
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของนครรัฐสปาร์ต้า (Sparta) ได้แก่
1. เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ล้อมรอบด้วยภูเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตก
2. เป็นนครรัฐที่มีความสามารถทางการทหาร โดยมีรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการทหารนิยม (Military City-State)
3. มีพลเมืองส่วนใหญ่ของนครรัฐเป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า พวกเฮลอท (Helot) หรือพวกทาส (Slave)
4. มีกษัตริย์ 2 พระองค์จากต่างราชวงศ์เป็นแม่ทัพในการรบและเป็นผู้นําทางศาสนา เป็นต้น

29. “Isogoria” มีความหมายถึง
(1) พลเมืองทุกคนเท่ากัน
(2) พลเมืองอยู่ใต้กฎหมายเหมือนกัน
(3) พลเมืองมีสิทธิในการพูดเสมอกัน
(4) พลเมืองรับสวัสดิการแห่งรัฐเสมอกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21 – 22) การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) ของนครรัฐเอเธนส์ มีหลักการพื้นฐานอยู่ 2 ประการ คือ
1. Isonomia คือ หลักการที่ว่าทุกคนเสมอเท่าเทียมกันต่อหน้าของกฎหมาย คนทําผิดแบบ เดียวกันก็ต้องได้รับโทษแบบเดียวกัน
2. Isogoria คือ หลักการที่ว่าทุกคนมีสิทธิในการพูดเสมอกัน ด้วยหลักการทั้ง 2 ประการนี้ ทําให้พลเมืองจะต้องทําอะไรด้วยตนเองในทางสาธารณะ เช่น เมื่อพลเมืองถูกฟ้องจะ ไม่มีทนายเป็นตัวแทนแก้ต่างให้ พลเมืองที่ถูกฟ้องจะต้องขึ้นศาลและแก้ต่างด้วยตนเองนอกจากนี้พลเมืองยังต้องทําหน้าที่เป็นลูกขุนในการตัดสินคดีเองอีกด้วย

30. สถาบันการปกครองใดของนครรัฐเอเธนส์ที่กําหนดคุณสมบัติโดยวัยวุฒิ
(1) สภาประชาชน
(2) คณะมนตรีความมั่นคง
(3) ศาล
(4) คณะสิบนายพล
(5) คณะรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 20 – 22, (คําบรรยาย) สถาบันการเมืองการปกครองของนครรัฐเอเธนส์ มี 4 องค์กร ได้แก่
1. สภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วย พลเมืองชายทุกคนที่กําหนดคุณสมบัติ โดยวัยวุฒิ คือ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นสถาบันที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของเอเธนส์ ซึ่งจะทําหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
2. คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) ประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน เป็นองค์การปกครองประจํา ๆ ปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม
3. ศาล (Court) จะพิจารณาตัดสินคดีโดยคณะลูกขุน (Jury) ซึ่งประกอบด้วย พลเมืองชายที่มี อายุ 30 ปีขึ้นไปจํานวน 6,000 คน จะคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจากแต่ละเผ่า ๆ ละ 600 คน ทําหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งคําตัดสินจะถือเป็นเด็ดขาด ไม่มีอุทธรณ์ ทั้งโจทก์และจําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยตนเอง ไม่มีทนายความ
4. คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นตําแหน่งที่ขึ้นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสามารถ จะครองตําแหน่งต่อไปได้อีกเมื่อหมดวาระแล้วหากได้รับเลือกซ้ําอีก ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอํานาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติ โดยองค์กรนี้จะมีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายและทางการเมืองมาก

31. ข้อใดผิดเกี่ยวกับคณะสิบนายพล
(1) มีอํานาจที่แท้จริงในทางปฏิบัติ
(2) เพริคลีสเป็นหัวหน้าคณะสิบนายพล
(3) มาจากการเลือกตั้ง
(4) ไม่มีวาระ
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เพริดลิส ถือเป็นผู้นํานครรัฐเอเธนส์ของกรีกในยุคกรีกตอนต้น โดยเขาได้รับ การเลือกให้ดํารงตําแหน่งเป็นหัวหน้าคณะสิบนายพลหลายครั้งหลายหน นอกจากนี้เขายังเป็นนักพูด นักเขียน นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และเป็นรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของชาวเอเธนส์อีกด้วย (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ)

32. ข้อใดผิดเกี่ยวกับศาลเอเธนส์
(1) มาจากการจับสลาก
(2) มีการอุทธรณ์ได้หนึ่งครั้ง
(3) โจทก์และจําเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเอง
(4) มีคณะลูกขุน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

33. เหตุการณ์สําคัญที่ส่งผลให้นครรัฐเอเธนส์ล่มสลายคือ
(1) การทุจริตคอร์รัปชั่นภายใน
(2) การพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์
(3) การพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรโรมัน
(4) สงครามเพโลโพนิเซียน
(5) การประหารชีวิต ซอคราตีส
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76), (คําบรรยาย) ยุคกรีกตอนปลายหรือในช่วง 300 ปี ก่อนคริสตกาล นครรัฐเอเธนส์ก็ได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงจากการพ่ายแพ้สงครามต่อมาเซโดเนีย จากการบุกของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย (Alexander The Great) เมื่อกรีกตกอยู่ ภายใต้อํานาจของจักรวรรดิมาเซโดเนีย ความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาการเมืองของกรีกของ เพลโตและอริสโตเติลก็ได้เสื่อมความนิยมลง ตลอดจนความคิดทางการเมืองแบบโซฟิสต์ที่ทรงอิทธิพลก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากนครรัฐกรีกสูญเสียเอกราช และขาดอิสระในการปกครอง ของนครรัฐตนเอง

34. ข้อใดผิดเกี่ยวกับโซฟิสต์
(1) ความจริงแท้สามารถเข้าถึงได้
(2) อัตวิสัย
(3) มนุษย์เห็นแก่ตัวโดยธรรมชาติ
(4) ข้อ 1 และ 2 ผิด
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 26), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) มีความเชื่อ ที่สําคัญดังนี้
1. ในโลกนี้ไม่มีความจริงแท้ แต่ความจริงคือสิ่งที่มนุษย์เป็นคนกําหนดขึ้น
2. ความเห็นกับความจริงแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับ “อัตวิสัย” ของบุคคล
3. โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เห็นแก่ตัว และไม่ชอบการรวมกันเป็นสังคม
4. ความรู้ทางการเมือง (Political Wisdom) เป็นสิ่งที่สามารถสอนกันได้ เป็นต้น

35. “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” สอดคล้องกับคําอธิบายของ
(1) Gorgias
(2) Thrasymachus
(3) Hippias
(4) Prodicus
(5) Protagoras
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าคนแต่ละคน มีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล

36. “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” เป็นคําอธิบายของ
(1) Gorgias
(2) Thrasymachus
(3) Hippias
(4) Prodicus
(5) Protagoras
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 – 26), (คําบรรยาย) ธราซิมาคัส (Thrasymachus) เชื่อว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger) ตัวอย่างข้อความที่สอดคล้องกับคําอธิบายนี้ เช่น “การรัฐประหารของ คสช. เป็นสิ่งที่ชอบธรรม” เป็นต้น

37. “การรัฐประหารของ คสช. เป็นสิ่งที่ชอบธรรม” สอดคล้องกับคําอธิบายของใครมากที่สุด
(1) Gorgias
(2) Thrasymachus
(3) Hippias
(4) Prodicus
(5) Protagoras
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสุนทรพจน์ของเพริคลีส
(1) เชิดชูการปกครองแบบคณาธิปไตย
(2) กล่าวในเหตุการณ์หาเสียงเลือกตั้งคณะสิบนายพล
(3) เชิดชูนครรัฐสปาร์ต้า
(4) เชิดชูการพลีชีพเพื่อรัฐ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 27 – 29, (คําบรรยาย) จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles’s Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์ ทําให้ทราบว่าสภาพบรรยากาศทางสังคมและการเมืองของกรีกยุคนครรัฐเอเธนส์มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ให้ความสําคัญกับรัฐ
2. เชิดชูทหารหาญผู้พลีชีพเพื่อรัฐ
3. เชิดชูคุณธรรมความดี
4. ไม่มีนโยบายรุกรานเพื่อนบ้าน
5. ใช้หลักความยุติธรรมเป็นที่ตั้ง
6. มีความเมตตากรุณา
7. ยึดมั่นในความกตัญญู
8. รู้จักการตอบแทนบุญคุณคน มีเมตตาธรรม และไม่เห็นแก่ตัว
9. ดําเนินชีวิตด้วยความกระเหม็ดกระแหม่ ไม่ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย
10. สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ฯลฯ

39. ผลของสงครามระหว่างเอเธนส์กับมีเลี่ยนคือ
(1) เอเธนส์ได้รับความพ่ายแพ้
(2) สปาร์ต้ายกทัพเข้ามาช่วย
(3) มีลอสยอมเป็นพันธมิตรกับเอเธนส์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27 – 28), (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามเพโลโพนีเชียนนั้น เอเธนส์ได้ส่งกําลังจะไปบุกสปาร์ต้า แต่ด้วยยุทธศาสตร์เอเธนส์ต้องยึดเมืองมีเลี่ยนให้ได้เพราะ เป็นเกาะใกล้กับสปาร์ต้า ดังนั้นเอเธนส์จึงส่งทูตไปเจรจาให้เมืองมีเลี่ยนยอมแพ้จะได้ไม่ต้องทําสงคราม แต่มีเลี่ยนเลือกที่จะทําสงครามกับเอเธนส์จนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ซึ่งใน “บทสนทนาแห่ง มีเลี่ยน” (Melian Dialogue) นั้นชาวเอเธนส์ได้อ้างถึงความยุติธรรมในการโจมตีชาวเกาะมีลอส (Melos) หรือมีเลียน (Melian) โดยกล่าวว่า “ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่าย่อมทําในสิ่งที่พวกเขา สามารถทําได้ ส่วนฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสมควรแล้วที่จะเป็นฝ่ายรับความทุกข์ยาก”

40. ข้อใดผิดเกี่ยวกับหลักคิดแบบสัมพัทธนิยม
(1) ความเห็นขึ้นอยู่กับวัตถุวิสัย
(2) ปัจเจกบุคคลนิยม
(3) มนุษย์มีอิสระ
(4) สังคมมีความจริงแตกต่างกัน
(5) ความจริงเป็นการให้คุณค่าของแต่ละคน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

41. บทสนทนาที่เกี่ยวกับซอคราตีสกําลังรอเวลาประหารชีวิตคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 42) ในบทสนทนา “ไครโต” (Crito) ของเพลโตนั้น เป็นส่วนที่จะนํามาอธิบายในการตอบปัญหาที่ว่าทําไมเราถึงต้องเชื่อฟังกฎหมาย โดยเล่มนี้ เป็นตอนที่ซอคราตีสโดนพิพากษาจากศาลแล้วกําลังรอเวลาประหารชีวิตอยู่ ซึ่งในเวลานั้น ไครโต ผู้เป็นเพื่อนสนิทก็ได้มาหาและพยายามหาทางหว่านล้อมให้ซอคราตีสหนี แต่ไม่ว่าจะ หว่านล้อมแค่ไหน ซอคราตีสก็ไม่ยอมหนีไป

42. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับซอคราตีส
(1) เป็นอาจารย์ของเพลโต
(2) ผลงานสําคัญคือ Apology
(3) ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ
(4) สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 22 – 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) ซอคราตีส โจมตีระบอบประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์เป็นอย่างมาก แต่เป็นผู้ที่สนับสนุนรูปการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยนอกจากนี้เขายังเป็นอาจารย์ของเพลโตที่ต้องจบชีวิตลงด้วยคําพิพากษาของศาลเอเธนส์ลงโทษให้ดื่มยาพิษสังหารชีวิตตนเอง ซึ่งในหนังสือของเพลโตที่ชื่อว่า “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง โดยเนื้อหาในเล่มนี้จะเกี่ยวกับการพยายาม แก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวของเขาเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษดังกล่าว

43. งานที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่ซอคราตีสเดินทางไปแก้คดีที่ศาลเอเธนส์คือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) Politics
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. “เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตาม คําสั่งของรัฐ” ปรากฏอยู่ในงานเขียนเรื่องใด
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 43) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น ซอคราตีส ได้กล่าวไว้ว่า “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไปที่ ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไปอาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าวก็ได้ เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะ ปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า เราและตัวเขาเองควรเชื่อฟังรัฐ เนื่องจาก รัฐเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จริงอยู่ว่าพ่อแม่ก็คือ คนที่เลี้ยงเรา แต่รัฐต่างหากที่ออกกฎหมายให้ พ่อแม่เราเลี้ยงดูเราหรือไม่เอาเราไปทิ้งถังขยะ ตลอดจนออกกฎหมายและสั่งให้พ่อแม่เราส่งเราไปเรียนหนังสือ

45. พันธะหน้าที่ของมนุษย์ตามทัศนะของซอคราตีสคือ
(1) เป็นพันธะของทุกคน
(2) มโนสํานึกของตัวเอง
(3) แสวงหาคุณธรรม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 23, (คําบรรยาย) ซอคราตีส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพันธะหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ คือ พันธะต่อมโนสํานึกของตัวเขาเอง พันธะต่อความจริง และพันธะต่อการแสวงหาคุณธรรม

46. ข้อใดผิดเกี่ยวกับเพลโต
(1) เติบโตในช่วงสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ต้า
(2) เคยถูกจับเป็นทาส
(3) มีผลงานที่เป็นบทสนทนา
(4) ถูกลงโทษประหารชีวิตในบั้นปลาย
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 33, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41) เพลโต เกิดเมื่อปี 427 ก่อนคริสตกาล ในครอบครัวชนชั้นสูงของนครเอเธนส์ เติบโตในช่วง “สงครามเพโลโพนีเชียน” ระหว่าง เอเธนส์กับสปาร์ต้า เพลโตได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา ซึ่งเขาประสบโชคร้ายถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ ต่อมาในปี 387 ก่อนคริสตกาล เพลโตได้กลับมานครเอเธนส์และก่อตั้งสํานัก Academy ส่วนในเรื่องผลงานนั้นเพลโตมีผลงานมากมาย ซึ่งหนังสือของเขามักมีซอคราตีสเป็นตัวเอก เช่น ในบทสนทนาที่ชื่อว่า ไครโต (Crito) เป็นต้น

47. ในบทสนทนาเรื่อง The Republic เพลโตใช้คําอุปมาเปรียบเทียบรัฐกับอะไร
(1) ครอบครัว
(2) เรือ
(3) รถม้า
(4) อากาศยาน
(5) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 45 – 46) หนังสือ The Republic ของเพลโตได้อุปมา เปรียบเทียบรัฐว่าเหมือนกับเรือ โดยการเดินเรือหรือการนํารัฐให้เดินหน้าหรือไปในทิศทางที่ต้องการนั้น จะต้องมีผู้ควบคุมเรือหรือผู้ควบคุมรัฐที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม

48.ความ……ช่วยให้เรายืนหยัดที่จะกระทําสิ่งที่ฉลาดและกระทําไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
(1) รักในความรู้
(2) มุ่งมั่น
(3) กล้าหาญ
(4) มีเหตุผล
(5) จริงใจ
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า คุณความดีที่สําคัญมี 4 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดรอบรู้ประการเดียวทําให้การกระทําเป็นไปตามธรรมชาติ
2. ความยุติธรรมทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการแท้จริง
3. ความกล้าหาญช่วยให้เรายืนหยัดที่จะกระทําสิ่งที่ฉลาดและกระทําไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ
4. ความรู้จักประมาณช่วยประสานจิตใจต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับเหตุผล

49.สัมมาร่วม (Common Good) มีความหมายถึง
(1) ความยุติธรรม
(2) ประโยชน์ส่วนรวม
(3) ความมีเหตุผล
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 35 “ความยุติธรรม” ตามหนังสือ The Republic ของเพลโต ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ ว่าความเที่ยงธรรมหรือการไม่ลําเอียงตามความเข้าใจทั่วไปเมื่อเอ่ยถึงคําว่ายุติธรรม แต่หมายถึง สิ่งที่เป็น “สัมมาร่วม” (Common Good) ที่จะบันดาลความสุขให้กับคนและรัฐ

50. บุคคลที่มีตัณหาหรือความทะยานอยาก (Appetite) มาก ควรทําหน้าที่ใดในรัฐอุดมคติ
(1) ผู้ปกครอง
(2) ทหาร
(3) ทาส
(4) ผู้ผลิต
(5) นักบวช
ตอบ 4 หน้า 36, 38, (คําบรรยาย) เพลโต อธิบายว่า จิตของคนนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ตัณหา (Appetite) ความกล้าหาญ (Courage) และตรรกะหรือเหตุผล (Reason) แต่ในดวงจิตแต่ละดวงจะถูกครอบงําโดยคุณธรรมอย่างหนึ่งมากกว่าอีกสองอย่างเสมอ กล่าวคือ ถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยตัณหาหรือความทะยานอยากก็ควรจะทําหน้าที่เป็นผู้ผลิต (ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ) ส่วนจิตของผู้ใดที่ถูกครอบงําโดยความกล้าหาญ หน้าที่ของเขาก็ควรจะเป็น ทหาร และถ้าจิตของผู้ใดถูกครอบงําด้วยเหตุผล เขาผู้นั้นก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครอง

51. รัฐอุดมคติของเพลโต ถ้าสอบผ่านการศึกษาขั้นกลางจะต้องไปทําหน้าที่อะไรต่อ
(1) ผู้ผลิต
(2) ผู้ปกครอง
(3) ทหาร
(4) ผู้บริหาร
(5) นักบวช
ตอบ 4หน้า 37 – 38 (คําบรรยาย) เพลโต ได้วางหลักสูตรการศึกษาในรัฐอุดมคติไว้เป็น 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นต้น เป็นการให้การศึกษาแก่ทุกคนในแบบบังคับจนถึงอายุ 18 ปี และต่อด้วยการฝึกอบรม ทางทหารอีก 2 ปี (รวมเป็น 20 ปี) หากผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกไปเป็นผู้ผลิต

2. ขั้นที่สอง (ขั้นกลาง) กําหนดไว้สําหรับผู้ที่ผ่านการศึกษาขั้นแรกมาแล้ว ซึ่งกําหนดระยะเวลา ไว้ 15 ปี ถ้าผู้ใดสอบไม่ผ่านก็จะต้องออกจากการศึกษาไปรับใช้รัฐในฐานะผู้พิทักษ์ คือเป็น ทหารหรือผู้ป้องกันรัฐ ส่วนผู้ที่สอบผ่านจะใช้เวลา 5 ปีสุดท้ายศึกษาวิชาปรัชญา เมื่อสําเร็จ ตามหลักสูตรจะถูกกําหนดให้ทํางานในตําแหน่งผู้บริหารทางพลเรือนและทหาร

3. เมื่อสําเร็จการศึกษาทั้งสองขั้นแล้ว อายุของผู้เรียนก็จะครบ 35 ปี ในระยะนี้จะเป็นการทํางาน อีก 15 ปี (รวมเป็น 50 ปี) ผู้ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงด้วยการปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยมก็จะได้เป็นสมาชิกของคณะราชาปราชญ์ซึ่งทําหน้าที่บริหารรัฐต่อไป

52. ข้อใดผิดเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) ผู้ปกครองไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว
(2) มีความสัมพันธ์ส่วนตัวได้
(3) การประเวณีจะมีเป็นครั้งคราว
(4) ปกครองโดยคณะราชาปราชญ์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย), รัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้
1. รัฐอาจจะปกครองในระบบราชาธิปไตยหรืออภิชนาธิปไตยก็ได้
2. ถ้าปกครองโดยราชาปราชญ์เพียงคนเดียวก็เป็นราชาธิปไตย (Monarchy) หากปกครองโดยคณะราชาปราชญ์ก็จะกลายเป็นอภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
3. ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว
4. การประเวณีจะมีได้เป็นครั้งคราว เพื่อที่จะได้มาซึ่งพันธุ์ที่ดีที่สุดเท่านั้น
5. เด็กที่เกิดมาจากการผสมพันธุ์ภายใต้การควบคุมนี้จะอยู่ในความเลี้ยงดูของรัฐ
6. ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวในฐานะพ่อ แม่ ลูก เพราะภาวะครอบครัวจะทําให้ชนชั้นผู้ปกครอง เสื่อมความใส่ใจในกิจการของรัฐและการแสวงหาความรู้ เป็นต้น

53. ในทัศนะของเพลโต ระบอบประชาธิปไตยจะเสื่อมลงเป็นการปกครองรูปแบบใด
(1) Oligarchy
(2) Timocracy
(3) Anarchy
(4) Tyranny
(5) Communism
ตอบ 4 หน้า 42, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองใน The Republic นั้น เพลโตได้เรียกชื่อตาม วิธีการปกครอง โดยเขาเห็นว่ารัฐสมบูรณ์แบบหรือรัฐในอุดมคติที่ปกครองโดยราชาปราชญ์นั้น หากก้าวไปสู่ความเสื่อมแล้วก็จะเสื่อมลงเป็นขั้น ๆ โดยในขั้นแรกจะเสื่อมลงไปเป็นระบอบ วีรชนาธิปไตย (Timccracy) หรือการปกครองโดยทหาร ต่อมาจะเสื่อมเป็นระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) ที่ผู้ปกครองที่เคยเป็นทหารหันไปปกครองเพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตน ชนชั้น ที่ยากจนก็จะรวมตัวกันเป็นพลังทําการปฏิวัติไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นาน เนื่องจากมีนักการเมืองบางคนฉวยโอกาสหากําลังสนับสนุนจากประชาชนสถาปนา ตนเองเป็นผู้ปกครอง และเมื่อใดที่ได้รับการต่อต้านก็จะกลายเป็นทรราชปกครองในระบอบ ทุชนาธิปไตย (Tyranny) ในท้ายที่สุด

54. ข้อใดผิดเกี่ยวกับประยุกตรัฐของเพลโต
(1) ต้องอยู่ห่างจากชายฝั่ง
(2) เป็นสังคมกสิกรรม
(3) ผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยและประชาธิปไตย
(4) พลเมืองทุกคนมีทรัพย์สินเท่ากัน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 40, (คําบรรยาย) ประยุกตรัฐ (Practical State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้
1. อาณาบริเวณของประยุกตรัฐควรอยู่ห่างจากชายทะเลพอสมควร
2. เพลโตประสงค์ที่จะให้มีประชาคมเป็นสังคมกสิกรรม
3. มีแนวโน้มเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย
4. รัฐจะแบ่งที่ดินของรัฐให้กับพลเมืองทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ ทุกคนอาจมีไม่เท่ากันได้ เป็นต้น

55. ตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งของประยุกตรัฐของเพลโตคือ
(1) คณะมนตรี 360
(2) คณะมนตรีรัตติกาล
(3) รัฐมนตรีกลาโหม
(4) ประธานาธิบดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ในประยุกตรัฐนั้น เพลโตกําหนดให้มี “คณะมนตรี 360” ขึ้น โดยแบ่งจํานวน ผู้แทนออกเป็น 4 ชนชั้น ตามมูลค่าทรัพย์สินที่แต่ละคนมี ชนชั้นละเท่า ๆ กัน คือ 90 คน ซึ่ง แต่ละชนชั้นจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ที่เป็นชนชั้นเดียวกับตนเข้าไปนั่งในคณะมนตรี 360

56. ข้อใดผิดเกี่ยวกับอริสโตเติล
(1) เกิดที่เมืองสตาภิรัส
(2) เชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยา
(3) เคยศึกษาในสํานักอเค็ดเด
(4) เสียชีวิตที่เอเธนส์
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 หน้า 45, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตาภิรัส ทางชายฝั่ง ของมาเซโดเนีย ซึ่งเมื่ออริสโตเติลมีอายุได้ 18 ปี ก็ได้เดินทางมาศึกษาที่สํานักอเค็ดเดมี่ของ เพลโตที่กรุงเอเธนส์ โดยเขาเป็นศิษย์ของเพลโตอยู่นานถึง 20 ปี จากนั้นได้ย้ายไปศึกษาเพิ่มเติม ที่เมืองแอสสส (Assus) และได้ศึกษาวิชาชีววิทยาทางทะเลที่เมืองเรสบอส (Resbos) ซึ่งทําให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยา นอกจากนี้อริสโตเติลยังได้เปิดสํานักศึกษาของตนเองขึ้นมา ณ กรุงเอเธนส์ โดยใช้ชื่อว่า ลีเซียม (Lyceum) แต่ภายหลังได้เกิดจลาจลในเมืองเอเธนส์ขึ้น จึงต้องลี้ภัยไปยังเมืองซาลซิส (Chalcis) และถึงแก่กรรมที่เมืองนี้

57. เหตุที่อริสโตเติลได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์คือ
(1) เป็นการตัดสินเชิงคุณค่า
(2) เป็นศิษย์คนสําคัญของเพลโต
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) ใช้วิธีการบรรยายในการเขียนหนังสือ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และ การสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบความ เป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน

58. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของอริสโตเติล
(1) Politics
(2) The Constitution of Athens
(3) The Statesman
(4) Comparative Politics
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 45 ผลงานของอริสโตเติล ส่วนใหญ่มิได้รับการรวมเล่มหรือจัดพิมพ์ด้วยตัวเขาเองวรรณกรรมของเขาเป็นเพียงงานเขียนที่ใช้สําหรับการสอนที่สํานักศึกษาของเขา แม้ว่าบางเรื่องอาจจะเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะเปิดสํานักศึกษาลีเซียม โดยหนังสือและผลงานของเขาที่ได้รับการ จัดพิมพ์ขึ้นภายหลังที่เขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 400 ปี คือ รัฐธรรมนูญของกรุงเอเธนส์ (The Constitution of Athens) และการเมือง (Politics)

59. เป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ตามทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) มีพฤติกรรมที่ดีงาม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว เนื่องจากมนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง ซึ่งการที่ จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นคําอธิบายแนวคิดที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” จึงหมายถึง ธรรมชาติ มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันถึงจะมีชีวิตที่ดีนั่นเอง

60.Lawfulness มีความหมายถึง
(1) ความชอบด้วยกฎหมาย
(2) หลักการเขียนกฎหมาย
(3) ข้อปฏิบัติของกฎหมาย
(4) วิธีเขียนกฎหมาย
(5) หลักการบังคับใช้กฎหมาย
ตอบ 1 หน้า 49 ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น ความยุติธรรมมีอยู่ 2 ความหมาย คือ
1. ความชอบด้วยกฎหมาย (Lawfulness) หมายถึง การปกครองด้วยกฎหมาย หรือ กระทําการใด ๆ ในขอบเขตแห่งกฎหมาย หรือปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ ไม่มีใครมีอํานาจโดยไม่มีกฎหมาย

2. Fairness หมายถึง ใครควรจะได้รับสิ่งใดก็ให้เขาได้รับสิ่งนั้น

61. อริสโตเติลใช้ระบบใดในการพัฒนาคุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์ในรัฐอุดมคติ
(1) การศึกษาของรัฐ
(2) การมีระเบียบ
(3) การมีเหตุผล
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 50 อริสโตเติ้ล เห็นว่า พลเมืองของรัฐมีเครื่องมือในการค้นพบความดีอยู่ 3 ประการ คือ
1. คุณสมบัติตามธรรมชาติ
2. อุปนิสัยอันเหมาะสม
3. หลักการแห่งเหตุผล โดยในข้อแรกนั้นรัฐไม่สามารถจะช่วยเหลือได้ เพราะมนุษย์ทุกคนที่ เกิดมาจะได้รับมอบความสามารถและคุณสมบัติจากธรรมชาติมาขีดหนึ่งซึ่งไม่สามารถเพิ่มพูน หรือเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในสองประการหลังอาจเพิ่มพูนหรือเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการศึกษา

62. ข้อใดผิดเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล
(1) อยู่ในหุบเขา
(2) มีทางติดต่อกับทะเล
(3) พลเมืองมีที่ดินคนละหนึ่งแปลง
(4) ใช้ธรรมชาติป้องกันภัย
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 50 – 51, (คําบรรยาย) โครงสร้างของรัฐในอุดมคติของอริสโตเติล มีลักษณะดังนี้
1. ต้องเป็นรัฐที่มีขนาดไม่เล็กหรือไม่ใหญ่จนเกินไป
2. ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นหุบเขาและมีทางติดต่อกับทะเล เพราะจะได้ใช้ธรรมชาติป้องกันภัย
3. พลเมืองควรมีที่ดินคนละ 2 แปลง โดยแปลงหนึ่งอยู่ในเมืองและอีกแปลงหนึ่งอยู่นอกเมือง
4. การแต่งงานรัฐเป็นผู้กําหนด โดยจะกําหนดอายุที่เหมาะสมในการสมรส
5. รัฐมีหน้าที่จัดระบบการศึกษาให้พลเมือง เป็นต้น

63. การปกครองที่ดีในอุดมคติของอริสโตเติล
(1) ราชาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 51, (คําบรรยาย) อริสโตเติล เห็นว่า ระบบราชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด ในทางทฤษฎี หากว่าสามารถที่จะหากษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดเลิศมนุษย์ได้ แต่เมื่ออริสโตเติลหวนมา สังเกตและตรวจสอบระบบราชาธิปไตยที่มีอยู่ในหลายนครในเวลานั้น ก็พบว่าไม่ถูกต้องตามอุดมคติของเขาเลย

64. ชนชั้นใดในประยุกตรัฐของอริสโตเติลที่จะเป็นชนชั้นสําคัญในการทําให้เกิดรัฐที่ดีที่สุด
(1) ผู้อาวุโส
(2) ชนชั้นกลาง
(3) ชนชั้นสูง
(4) ชนชั้นล่าง
(5) ชนชั้นนักปราชญ์
ตอบ 2 หน้า 52 อริสโตเติล เชื่อว่า รัฐที่ดีที่สุดที่สามารถสถาปนาขึ้นได้ในความเป็นจริง ต้องเป็นรัฐ ที่มี “ชนชั้นกลาง” มากที่สุด โดยจะต้องมากกว่าชนชั้นสูงและชนชั้นต่ํา และมีรัฐธรรมนูญ ที่กําหนดรูปการปกครองบนรากฐานของหลักการผสมระหว่างคณาธิปไตยกับประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy)

65. ประยุกตรัฐของอริสโตเติลเป็นการปกครองในรูปแบบใด
(1) Democracy
(2) Oligarchy
(3) Tyranny
(4) ข้อ 1 และ 2 ผสมกัน
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ผสมกัน
ตอบ 4 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือที่ เรียกว่า ระบบมัชฌิม วิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี

66. Hellenic มีความหมายถึง
(1) ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรก
(2) ยุควัฒนธรรมโรมัน
(3) ยุคกรีก
(4) ยุคปลายโรมัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคเฮลเลนนิก (Hellenic) หมายถึง ยุคที่กรีกเรืองอํานาจ ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของมาซิโดเนีย ส่วนยุคที่เกิดหลังยุคนี้เรียกว่า ยุคเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) ซึ่งหมายถึง ยุคที่ใช้วัฒนธรรมเหมือนกรีก แต่กรีกไม่ได้เรืองอํานาจอีกต่อไป โดยยุคนี้จะเป็นเพียงแค่สืบวัฒนธรรมมาจากกรีก หรือวัฒนธรรมกรีกมีอิทธิพลเท่านั้น

67. ผู้ก่อตั้งสํานักชินนิคส์คือ
(1) Dionysus
(2) Diogenes
(3) Democritus
(4) Zeno
(5) Antisthenes
ตอบ 5 หน้า 60 ผู้ก่อตั้งสํานักชินนิคส์คือ แอนทิสซิเนส (Antisthenes) และมีปรัชญาเมธีคนสําคัญ ของลัทธินี้ ได้แก่ ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)

68. ชีวิตแบบใดที่สอดคล้องกับแนวคิดซินนิคส์
(1) เดินทางสายกลาง
(2) อยู่ในรัฐ
(3) ใช้ชีวิตแบบยุคหิน
(4) มีความมั่งคั่ง
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 61, (คําบรรยาย) แนวคิดซินนิคส์นั้น ต้องการให้คนกลับไปสู่ยุคดึกดําบรรพ์ ในสมัยที่ สถาบันทางสังคมยังไม่เกิดขึ้น โดยโจมตีว่า “ชีวิตแห่งอารยชนและนักการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่เป็น ธรรมชาติ เพราะเป็นชีวิตที่ละทิ้งความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ แห่งสมัยดึกดําบรรพ์” ดังนั้นจึงอาจ กล่าวได้ว่า กลุ่มซินนิคส์เป็นพวกนิยมอนาธิปไตย (Anarchy) คือประสงค์จะไม่ให้มีรัฐบาลหรือ สถาบันการเมืองใด ๆ ให้คนอยู่กันเองตามสภาพที่ธรรมชาติให้มา หรือการใช้ชีวิตแบบยุคหิน

69. ในทัศนะของซินนิคส์ สิ่งที่ทําให้เกิดความเลวร้ายในสังคมคือ
(1) ผู้ปกครองที่ชั่วร้าย
(2) วัฒนธรรม
(3) สถาบันการศึกษา
(4) กฎหมาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาซินนิคส์ (Cynics) นั้นต่อต้านรัฐ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบกรรมสิทธิ์ การเมือง การศึกษา ผู้ปกครอง วัฒนธรรม กฎหมาย ศาสนา รวมทั้งระบบ รวมทั้งระบบชนชั้นด้วย โดยกล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึง ศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คน มีสถานะแตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความจริงแล้ว คนเราไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจก มีความเท่าเทียมกันทั้งนั้น

70. ข้อใดผิดเกี่ยวกับอิพิคิวเรียน
(1) มีพระเจ้า
(2) พระเจ้ากําหนดชีวิตมนุษย์
(3) ชอบชีวิตสันโดษ
(4) จักรวาลไร้ระเบียบ
(5) จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร
ตอบ 2 หน้า 58, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicurean) มีลักษณะดังนี้
1. พระเจ้าทั้งหลายแม้จะมีจริง แต่ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์
2. มนุษย์ไม่ควรจะเกรงกลัวหรือศรัทธาในบรรดาพระเจ้า เพราะเรื่องของมนุษย์ไม่มีอะไร เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพระผู้เป็นเจ้าเลย
3. ยึดคําขวัญที่ว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย” ดังนั้นจึงทําให้ดํารงชีวิตแบบไม่เบียดเบียนใคร และชอบชีวิตสันโดษ
4. จักรวาลเป็นสิ่งยุ่งเหยิง (ไร้ระเบียบ) และไม่มีกําหนดกฎเกณฑ์ ประกอบขึ้นด้วย ปรมาณู (Atorn) และความว่างเปล่า (Void)
5. ถือคติชีวิตว่า “จงมีชีวิตอยู่อย่างไม่ก้าวร้าวใคร” เป็นต้น

71. สิ่งต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นมาจากสิ่งที่เล็กที่สุด เรียกว่า
(1) อะตอม
(2) ปรมาณู
(3) 201
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 78), (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน เป็นลัทธิที่พัฒนาต่อยอด ความคิดมาจากนักคิดกรีก คือ เดโมเครส และลูซิส ที่เชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นมาจากสิ่งที่เล็ก ที่สุด ที่เรียกว่า “อะตอม” หรือ “ปรมาณู” (Atom) โดยนําแนวคิดนี้มาพัฒนาต่อในการอธิบาย เกี่ยวกับเทพเจ้าต่าง ๆ ของพวกกรีกว่าไม่มีอยู่จริง หรืออาจจะไม่มีอยู่จริง เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้น จากปรมาณูที่เคลื่อนย้ายอย่างไร้ทิศทาง

72. หากมีการต่อต้านผู้ปกครอง ผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอิพิคิวเรียนจะทําสิ่งใด
(1) อยู่แนวหน้า
(2) สนับสนุนเงินทอง
(3) ช่วยเท่าที่ช่วยได้
(4) รออยู่ข้างคนชนะ
(5) ไม่ยุ่ง
ตอบ 5 หน้า 58, (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน (Epicurean) สอนว่า คนฉลาดควรหลีกหนีจากการเมือง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งที่นําความยุ่งยากมาให้ และเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะค้นพบ จุดหมายปลายทางของชีวิตนั่นคือความสุขสําราญ ดังนั้นจะเห็นว่าหากมีการต่อต้านผู้ปกครอง ผู้ที่ใช้ชีวิตตามแนวทางอิพิคิวเรียนนี้จะไม่ยุ่งหรือไม่เข้ารวม

73. รัฐบาลในทัศนะของลัทธิอิพิคิวเรียนคือ
(1) สิ่งชั่วร้ายที่จําเป็น
(2) มีการปกครองโดยกฎหมาย
(3) องค์กรที่สร้างความสุขให้ประชาชน
(4) อยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เชื่อว่า รัฐบาลหรือสถาบันการปกครองเป็นสิ่งชั่วร้าย ที่จําเป็น แม้ว่าจะเป็นสถาบันที่เป็นอุปสรรคต่อความสุขของมนุษย์ แต่ก็ต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม ขจัดความรุนแรงและความอยุติธรรม

74. ความรอบรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของสรรพสิ่งของพวกสโตอิกส์ทําได้โดย
(1) ศึกษาปรัชญาสโตอิกส์
(2) อยู่ในรัฐ
(3) ใช้เหตุผล
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 67, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อถือและให้ความสําคัญในเรื่องธรรมชาติมากที่สุด โดยเปรียบธรรมชาติเป็นเสมือนพระเจ้า ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลเกิดขึ้น ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ โดยมีกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎสากล ทําหน้าที่ปกครองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกําหนดวิถีความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ซึ่งมีรากฐานมาจากเหตุผล ดังนั้นความรอบรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของสรรพสิ่งจึงสามารถทําได้โดยใช้เหตุผล

75. “คนที่ดีนั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า ด้วยการพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันผ่านทางสถาบันแห่งรัฐ นั่นคือการยินดี ที่จะกระทํากิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ นั่นเอง” เป็นคําอธิบายของ
(1) Cicero
(2) Panaetius
(3) Seneca
(4) Marcus Aurelius
(5) Zeno
ตอบ 2 หน้า 73, (คําบรรยาย) พาเนเทียส (Panaetius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่ดัดแปลง แนวคิดสโตอิกส์มาปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในอาณาจักรโรมัน โดยเขาอธิบายว่า “คนที่ดี นั้นจะไม่อุทิศตนเพียงเพื่อบริการตัวเขาเองเท่านั้น หากแต่จะมุ่งกระทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า ด้วยการพยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันผ่านทางสถาบันแห่งรัฐ นั่นคือ การยินดีจะกระทํากิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ นั่นเอง”

76. สิ่งที่สามารถควบคุมความชั่วร้ายได้ตามทัศนะของสโตอิกส์คือ
(1) ร่างกาย
(2) กฎหมาย
(3) ตําแหน่ง
(4) เงินทอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย, ซีนคา (Seneca) เชื่อว่า ครั้งหนึ่งมนุษย์เราอยู่อย่างมีความสุขและมีจิตใจ ที่บริสุทธิ์ในสมัยสังคมดึกดําบรรพ์ แต่ต่อมาเมื่อคนเกิดตัณหา เกิดความละโมบ รู้จักกับคําว่า “ทรัพย์สินส่วนตัว” ความชั่วร้ายก็จะบังเกิดขึ้นจากการแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ผู้ปกครองที่ดี ก็จะกลายเป็นทรราชกดขี่ประชาชน ด้วยเหตุนี้เองความจําเป็นที่จะต้องมีสถาบันการปกครองหรือมีกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการควบคุมและแก้ไขความชั่วร้ายจึงเกิดขึ้น

77. นักคิดสโตอิกส์คนใดที่มองว่าความชั่วร้ายของมนุษย์มาจากแนวคิดเรื่องทรัพย์สินส่วนตัว
(1) Cicero
(2) Panaetius
(3) Seneca
(4) Marcus Aurelius
(5) Zeno
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78. ในทัศนะของ Cicero สิ่งใดที่เป็นมาตรวัดในการตัดสินใจว่าการกระทําใดยุติธรรมหรือไม่
(1) กฎหมาย
(2) ศีลธรรม
(3) เหตุผล
(4) พระเจ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 69 ซิซีโร (Cicero) เชื่อว่า ความยุติธรรมกําเนิดและค้นพบได้ในกฎหมายธรรมชาติโดยคนฉลาดสามารถใช้เหตุผลเป็นมาตรวัดว่าสิ่งใดหรือการกระทําใดยุติธรรมหรืออยุติธรรม ใครก็ตามที่เลื่อมใสและศรัทธาในกฎหมายอื่นอันผิดไปจากกฎหมายธรรมชาตินั้น เรียกได้ว่าเป็นคนที่ปราศจากความยุติธรรม

79. ในทัศนะของโพลิเบียส ระบอบการปกครองใดที่จะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองแบบ Mob Rule
(1) Democracy
(2) Mob Rule
(3) Monarchy
(4) Aristocracy
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 63 – 64, 69, (คําบรรยาย) ซีซีโร (Cicero) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่มีแนวคิด เช่นเดียวกับโพลิเบียส ในเรื่อง “วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์” (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) ที่เห็นว่ารูปการปกครองของกรีกนั้นมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเสื่อมลงไปเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้ายก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มี ทีสิ้นสด

80. ในทัศนะของโพลิเบียส สถาบันการปกครองใดเป็นองค์ประกอบแบบราชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญโรมัน
(1) Senate
(2) Assembly
(3) Tribune
(4) Consul
(5) King
ตอบ 4 หน้า 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญของโรมันนั้น คอนซูล (Consul) เป็น ลักษณะของราชาธิปไตย (Monarchy), สภาซีเนต (Senate) เป็นลักษณะของอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และสภาประชาชน (Popular Assembly) เป็นลักษณะของประชาธิปไตย (Democracy) สถาบันทั้งสามนี้ได้กระทําการถ่วงดุลแห่งอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่มีสถาบันใดที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการยินยอมของสถาบันอีกสองสถาบัน

81. ในอาณาจักรโรมัน ถือว่าอํานาจการปกครองมีที่มาจาก
(1) พระเจ้า
(2) จักรพรรดิ
(3) ธรรมชาติ
(4) เหตุผล
(5) ประชาชน
ตอบ 5 หน้า 63, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของกฎหมายโรมันประการหนึ่งคือ อํานาจของผู้ปกครอง มาจากประชาชน เหตุที่เจตนารมณ์ของจักรพรรดิมีอํานาจบังคับของกฎหมาย ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนได้ยินยอมมอบอํานาจทั้งหมดให้แก่จักรพรรดิ นั่นแสดงให้เห็นว่าอํานาจในการปกครอง ในอาณาจักรโรมันต้องมาจากประชาชน

82. กฎหมายโรมันประเภทใดที่บังคับใช้กับชาวต่างชาติที่อาศัยในอาณาจักรโรมัน
(1) Jus Civic
(2) Jus Gentium
(3) Jus Natural
(4) Jus Universal
(5) Jus of the Twelve Tables
ตอบ 2 หน้า 62, (คําบรรยาย) กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) ของอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมายภายในดั้งเดิมของโรมันผสมผสานหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก โดยกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัย อยู่ในอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมเป็นจุดประสงค์

83. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(2) จงรักศัตรูของท่าน
(3) เป็นพระเมสซียาห์
(4) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอนคน เมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจากเยซู เผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและไปฟ้อง ต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี

84. ข้อใดผิดเกี่ยวกับคําสอนของพระเยซู
(1) จงรักศัตรูของท่านและจงอธิฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน
(2) ถ้าใครตบท่านแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย
(3) พระมีสิทธิโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏ
(4) ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 94), (คําบรรยาย) คําสอนของพระเยซู มีดังนี้
1. จงรักศัตรูของท่านและจงอธิฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน
2. ถ้าใครตบท่านแก้มขวาของท่านก็จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาด้วย
3. ใครก็ตามที่บังคับให้ท่านเดินไป 1 ไมล์ ก็จงเดินไปพร้อมกับเขา 2 ไมล์
4. ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด ฯลฯ

85. ผลงานชิ้นสําคัญของ St. Augustine คือ
(1) Policraticus
(2) City of God
(3) Summa Contra Gentiles
(4) Summa Theologica
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) เซ็นต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “นครของพระเจ้า” (City of God) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโต้แย้งเรื่องสาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรโรมัน ซึ่งได้ ตีแผ่ประวัติศาสตร์ของโรมและยืนยันว่า บรรดาพระเจ้าทั้งหลายที่ชาวโรมันนับถือนั้นมิได้ช่วย ให้อาณาจักรโรมันพ้นจากความหายนะ แต่เป็นคริสต์ศาสนาต่างหากที่สามารถช่วยคุ้มครองอาณาจักรไว้ได้ หากว่าผู้ปกครองและประชาราษฎร์ทั้งหลายยอมรับนับถืออย่างแท้จริง

86“ในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐ ที่นับถือศาสนาคริสต์” เป็นคํากล่าวของ
(1) Aquinas
(2) Augustine
(3) Boniface VIII
(4) Saint Paul
(5) Gelasius I
ตอบ 2 หน้า 80, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 99 – 100) St. Augustine ให้ความสําคัญแก่ สถาบันทางศาสนามากกว่าสถาบันทางการปกครอง โดยกล่าวว่า “พระเจ้าได้ทรงจัดหาตัวแทนเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปได้สําเร็จ และประสบความสําเร็จในการมีชีวิตนิรันดร หลังความตาย ตัวแทนที่ว่านี้ก็คือศาสนจักร (วัด) และรัฐ อย่างไรก็ดี ศาสนจักรมีความสําคัญ มากกว่ารัฐ เพราะในความเป็นจริงบางครั้ง รัฐก็เป็นอุปสรรคต่อการหลุดพ้นจากบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐนั้นไม่ได้เป็นรัฐที่นับถือศาสนาคริสต์”

87. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นพระองค์แรก
(1) Nero
(2) Caracalla
(3) Constantine
(4) Theodosius
(5) Justinian
ตอบ 3 หน้า 75, (คําบรรยาย) ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามามีอิทธิพลเหนืออาณาจักรโรมันเมื่อศตวรรษที่ 4 โดยจักรพรรดิกาลีเรียส (Galerius) ทรงยินยอมให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประกอบพิธีทางศาสนาได้ โดยเสรีในปี ค.ศ. 311 ต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ผู้ซึ่งทรงเลื่อมใสศรัทธาใน ศาสนาคริสต์ก็ได้ประกาศพระองค์เป็นคริสตชนคนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์แรก ที่นับถือศาสนาคริสต์ และก่อนสิ้นศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ก็ได้ ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําอาณาจักรโรมัน

88. นักคิดที่เป็นผู้ประดิษฐ์ทฤษฎีสองดาบคือ
(1) Pope Gelasius I
(2) St. Ambrose
(3) St. Augustine
(4) St. Aquinas
(5) St. Paul
ตอบ 1 หน้า 85, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords) ของสันตะปาปาเจลาเซียส 1 (Pope Gelasius I) มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจปกครองทางโลกกับอํานาจปกครองทางธรรม ซึ่งมอบให้สถาบันศาสนา (ศาสนจักร) และ สถาบันการปกครอง (อาณาจักร) เป็นผู้ใช้อํานาจนี้ โดยกําหนดว่า อํานาจปกครองฝ่ายทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจเหนือจักรพรรดิในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ ส่วนอํานาจปกครองฝ่ายทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจเหนือสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก แต่เนื่องจากอํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า ดังนั้นควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า

89. ข้อใดผิดเกี่ยวกับผลที่ตามมาหลังข้อพิพาทระหว่างสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 กับจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(1) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 สั่งปลดสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7
(2) สันตะปาปาประกาศบัพพาชนียกรรมพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4
(3) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ยอมเดินเท้าเปล่าบนหิมะจึงได้รับการอภัยโทษ
(4) เกิดการจลาจลของประชาชน
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 107 – 109) ในปี ค.ศ. 1076 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ได้พยายาม ที่จะตั้งสังฆราชด้วย พระองค์เอง โดยขัดกับคําสั่งของสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ที่ ทรงยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้าแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช (Bishop) ซึ่งผลสุดท้าย จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (Excommunication) หรือถูกขับออกจาก ศาสนา และเกิดการจลาจลของประชาชน บรรดานักรบที่เคยสนับสนุนต่างกลัวและถอนตัวจาก การเป็นข้ารับใช้ จนถึงขั้นที่จะตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นปกครองแทน ในที่สุดจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ทรงไม่มีทางเลือกจึงยอมเดินเท้าเปล่าบนหิมะ 3 วันโดยไม่สวมมงกุฎเพื่อไปขอขมาสันตะปาปา พระองค์จึงได้รับการอภัยโทษ

90. “ในบางครั้งพระเจ้าทรงประทานกษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น” เป็นคํากล่าวของ
(1) St. Ambrose
(2) Boniface VIII
(3) St. Augustine
(4) Jesus
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) St. Augustine กล่าวว่า ในบางครั้งพระเจ้าทรงประทานกษัตริย์ที่ชั่วร้ายมาให้กับประชาชนเพื่อเป็นการลงโทษในบาปของประชาชนเหล่านั้น และไม่ว่าเขาจะใช้อํานาจ ไปในสถานใดผู้ถูกปกครองไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะผู้ปกครองทุกคนคือ ผู้แทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง

91. ข้อใดผิดเกี่ยวกับทฤษฎีเทวสิทธิ์
(1) อํานาจการปกครองเป็นของพระเจ้า
(2) อํานาจการปกครองมาจากพระเจ้า
(3) ผู้ปกครองคือพระเจ้า
(4) ประชาชนไม่มีสิทธิวินิจฉัยผู้ปกครอง
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) พระคัมภีร์ใหม่ของยุโรปในยุคกลาง เชื่อว่ากษัตริย์หรือผู้ปกครอง เป็นรากฐานของลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right) อํานาจการปกครองทั้งหมดเป็นของพระเจ้า กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรง มีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า พระเจ้าจะเลือก กษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย

92. การที่ขุนนางเข้าไปสวามิภักดิ์กับขุนนางที่ใหญ่กว่าในช่วงยุคกลาง ขุนนางที่เข้าไปสวามิภักดิ์นั้นจะถูกเรียกว่าอะไร
(1) Vassal
(2) King
(3) Lord
(4) Serf
(5) Feudalism
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 102 – 103), (คําบรรยาย) ในยุคกลางนั้น รูปแบบการปกครอง ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudal) แบ่งองค์ประกอบที่สําคัญออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ไพร่ (Serf) คือ “ชาวนา ชาวไร่ หรือคนทั่วไปที่ทําอาชีพเกษตรกรรม
2. เจ้านาย (Lord) คือ นักรบ หรือขุนนางที่ประชาชนมายอมสวามิภักดิ์
3. ข้า (Vassal) คือ ขุนนางที่เข้าไปสวามิภักดิ์กับขุนนางที่ใหญ่กว่าหรือนักรบที่มีกําลังมากกว่าตน
4. กษัตริย์ (King) คือ ขุนนางที่ถูกเลือกขึ้นมาจากตระกูลหนึ่งเพื่อให้เป็นผู้นํา แต่ไม่ได้มีอํานาจมาก

93. นักคิดที่เสนอการอธิบายรัฐเสมือนร่างกายของมนุษย์คือ
(1) Gelasius I
(2) St. Paul
(3) St. Ambrose
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salisbury
ตอบ 5 หน้า 86 – 87, (คําบรรยาย) จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมือง ยุคกลางคนแรกที่ใช้ทฤษฎีองค์อินทรีย์ (Organic Analogy Theory) ในการบรรยายองค์ประกอบ ของประชาคมการเมือง โดยเปรียบเทียบว่ารัฐเปรียบเสมือนร่างกายของมนุษย์ กษัตริย์คือศีรษะ หรือสมอง ฝ่ายศาสนาคือดวงวิญญาณ ทหารคือมือ ข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เปรียบเสมือนอวัยวะ ๆ น้อยใหญ่ที่จะต้องทํางานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างองค์อินทรีย์ที่ดีขึ้นมา

94. นักคิดในสมัยคลาสสิคที่ St. Aquinas ได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมากคือ
(1) Socrates.
(2) Plato
(3) Aristotle
(4) Epicurus
(5) Cicero
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113), (คําบรรยาย) ความคิดทางการเมืองของเซ็นต์ อไควนัส (St. Aquinas) นั้นได้พยายามเอาความคิดของนักคิดในสมัยคลาสสิคอย่างอริสโตเติล (Aristotle)
มาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค

95. ในทัศนะของ St. Aquinas หากมีผู้ปกครองที่เป็นทรราช ผู้ใต้ปกครองควรทําอย่างไรก่อน
(1) ก่อกบฏโค่นล้ม
(2) ถอดถอนตามขั้นตอนของกฎหมาย
(3) สวดมนต์ภาวนา
(4) อดทนเพราะเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 89, (คําบรรยาย) St. Aquinas เห็นว่า หากผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็น ทรราช ผู้ปกครองก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไปโดยถูกต้องตาม ขั้นตอนของกฎหมาย หากว่าไม่สามารถถอดถอนหรือควบคุมทรราชได้โดยกระบวนการทางกฎหมาย ประชาชนควรหันไปสู่การสวดภาวนาต่อพระเจ้า เพราะพระองค์อาจจะบันดาลให้จิตใจทรราชเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรืออาจลงโทษทรราชผู้นั้นด้วยพระองค์เอง

96.St. Aquinas เสนอว่ากฎหมายใดศาสดาพยากรณ์ท่านต่าง ๆ นํามาเผยแสดงให้กับมนุษย์
(1) Eternal Law
(2) Divine Law
(3) St. Aquinas
(4) Natural Law
(5) Political Law
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 123), (คําบรรยาย) ตามความเห็นของ St. Aquinas นั้น “กฎหมายศักดิ์สิทธิ์” (Divine Law) คือ กฎเกณฑ์ที่พระเจ้าบัญญัติขึ้นไว้ให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้ที่เชื่อในพระองค์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ศาสดาพยากรณ์ท่านต่าง ๆ นํามาเผยแสดงให้กับ มนุษย์ โดยกฎดังกล่าวพระองค์ได้บัญญัติผ่านพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรและประกาศกฎต่าง ๆ ไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิล ทั้งในพระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่

97. “ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งผู้ปกครอง” เป็นคําอธิบายของ
(1) Benedict XII
(2) Boniface VIII
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salisbury
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 128 – 129) มาร์ซิกลิโอแห่งปาดัว (Marsiglio of Padua) ได้เขียนงานที่มีชื่อว่า “ผู้พิทักษ์สันติภาพ” (Defensor Pacis/The Defender of Peace) ตีพิมพ์ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1324 โดยมีเนื้อหายืนยันว่า อํานาจในการปกครองมาจากประชาชน และประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งผู้ปกครองหรือกษัตริย์ มากไปกว่านั้นเขายัง สนับสนุนให้กษัตริย์นั้นยึดที่ดินทรัพย์สมบัติของศาสนามาเป็นของอาณาจักรด้วย

98. “มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ (Spiritual Sword) และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก (Temporal Sword) ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาสนจักร” เป็นคําอธิบายของ
(1) Benedict XII
(2) Boniface VIII
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) John of Salisbury
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109) สันตะปาปาโบนเฟสที่ 8 (Boniface VIII) กล่าวว่า “พวกเราถูกสั่งสอนโดยถ้อยคําจากพระคัมภีร์ว่า ภายใต้ศาสนจักรนี้และภายใต้การควบคุม ของศาสนจักร มันมีดาบอยู่สองเล่ม คือ ดาบที่ใช้ปกครองจิตวิญญาณ (Spiritual Sword) และดาบที่ใช้ปกครองทางโลก (Temporal Sword) ซึ่งดาบสองเล่มนี้ต่างก็อยู่ภายใต้ การควบคุมของศาสนจักร…กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาบเล่มแรกนั้นถูกใช้โดยมือของนักบวช ส่วนเล่มที่สองถูกใช้ด้วยมือของกษัตริย์และนักรบทั้งหลาย”

99. ข้อใดผิดเกี่ยวกับยุคกลาง
(1) เกิดระบบฟิวดัล
(2) มีการรวมศูนย์อํานาจ
(3) ศาสนจักรเรืองอํานาจ
(4) มีการอพยพจากเมืองสู่ชนบท
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

100. ข้อใดผิดเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากข้อพิพาทระหว่างสันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 กับกษัตริย์ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
(1) พระสันตะปาปาออกพระราชกฤษฎีกาห้ามไม่ให้กษัตริย์เก็บภาษีศาสนสมบัติ
(2) พระสันตะปาปาประกาศบัพพาชนียกรรมกษัตริย์ฟิลิป
(3) กษัตริย์ฟิลิปส่งทหารฝรั่งเศสบุกเข้าไปจับตัวพระสันตะปาปา
(4) กษัตริย์ฟิลิปถูกปลดออกจากตําแหน่งและเดินเท้าไปขอขมาพระสันตะปาปา
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 127), (คําบรรยาย) ผลที่ตามมาจากข้อพิพาทระหว่าง สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 กับกษัตริย์ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส คือ กษัตริย์ฟิลิปได้ส่งทหารบุกเข้าไป จับตัวพระสันตะปาปา เนื่องจากเหตุขัดแย้งเรื่องการที่พระสันตะปาปาออกพระราชกฤษฎีกา ห้ามไม่ให้กษัตริย์เก็บภาษีศาสนสมบัติ โดยสันตะปาปาได้ประกาศบัพพาชนียกรรมกษัตริย์ฟิลิป และผู้สวามิภักดิ์ ซึ่งกษัตริย์ฟิลิปไม่ได้สนใจ แต่กลับประกาศปลดตําแหน่งสันตะปาปากลับและ ส่งทหารเข้าไปจับกุมตัว จากนั้นได้แต่งตั้งพระชาวฝรั่งเศสให้เป็นสันตะปาปาองค์ต่อ ๆ มาถึง 7 พระองค์ และให้ย้ายที่ประทับจากนครวาติกันในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญองในฝรั่งเศสตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1309 – 1377 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า “การคุมขังแห่งบาบิโลน” หรือการคุมขัง แห่งอาวิญอง (Babylonian Captivity/Avignon Captivity)

Advertisement