การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2101 ทฤษฎีและจริยธรรมทางการเมือง 1
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. กฎหมายใดที่เป็นการผสมผสานระหว่างกฎหมายโรมันกับกฎหมายชาติอื่น เช่น บาบิโลเนีย ฟินิเซียนและกรีก
(1) Jus Civile
(2) Jus Maxium
(3) Jus Natural
(4) Jus Gentium
(5) Justinian Code
ตอบ 4หน้า 62, (คําบรรยาย) กฎหมายทั่วไป (Jus Gentium) ของอาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่ บัญญัติขึ้นโดยการดัดแปลงมาจากกฎหมายภายในดั้งเดิมของโรมันผสมผสานหลักกฎหมายของบาบิโลเนีย ฟินิเซียน และกรีก โดยกฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับชาวต่างชาติทุกคนที่อาศัยอยู่ใน อาณาจักรโรมัน เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรมเป็นจุดประสงค์
2.ระบอบการปกครองที่อิพิคิวเรียนสนับสนุนมากที่สุดคือ
(1) คณาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) อภิชนาธิปไตย
(4) อะไรก็ได้ ดูที่ผลลัพธ์
(5) ระบบผสม
ตอบ 4 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicureanism) ยอมรับในรูปการปกครองใดก็ได้ ที่สามารถรักษาสันติภาพและส่งเสริมให้คนพบกับความสําราญ ดังนั้นจะเห็นว่าระบอบการ ปกครองที่อิพิคิวเรียนสนับสนุนมากที่สุดคือ อะไรก็ได้ ดูที่ผลลัพธ์เท่านั้นก็พอ อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าพวกอิพิคิวเรียนจะนิยมการปกครองแบบอํานาจนิยม (Authoritarianism) เพราะเชื่อว่าอํานาจเท่านั้นที่สามารถบังคับจิตใจชั่วของคนได้
3. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับมิตรเทียม
(1) มิตรปอกลอก
(2) มิตรดีแต่พูด
(3) มิตรหัวประจบ (ดีก็ร่วม ชั่วก็ร่วม)
(4) มิตรชักชวนในทางฉิบหาย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 119 ลักษณะมิตรเทียม มีดังนี้
1. ปอกลอก
2. ดีแต่พูด
3. หัวประจบ (ดีก็ร่วม ชั่วก็ร่วม แต่นินทาสบหลัง)
4. ชักชวนในทางฉิบหาย
4.นิกายมหายานพัฒนามาจากคําสอนของลัทธิใด
(1) อาจริยวาท
(2) เถรวาท
(3) วัชรยาน
(4) สถวีระ
(5) ตันตระ
ตอบ 1 หน้า 101 – 102, (บรรยาย) พุทธศาสนานิกายมหายานพัฒนามาจาก “ลัทธิอาจริยวาท” ซึ่งปัจจุบันได้เกิดขึ้นและแพร่หลายอยู่ในประเทศทิเบต เรียกว่า ลัทธิลามะ
5. การคุมขังแห่งบาบิโลน เป็นชื่อของเหตุการณ์ใด
(1) จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกสันตะปาปาคุมขังไว้หลังท้าทายอํานาจศาสนจักร
(2) สันตะปาปาได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ฝรั่งเศสโดยมีสํานักอยู่ที่เมืองอาวิญอง
(3) กษัตริย์แห่งฝรั่งเศสถูกสันตะปาปาคุมขังไว้ที่เมืองอาวิญองหลังท้าทายอํานาจศาสนจักร
(4) กองทัพครูเสดถูกกองทัพมุสลิมล้อมที่เมืองบาบิโลน
(5) กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกกองทัพออตโตมันล้อม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 127), (คําบรรยาย) “การคุมขังแห่งบาบิโลน” หรือการคุมขัง แห่งอาวิญอง (Babylonian Captivity/Avignon Captivity) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ซึ่งเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสได้ประกาศปลดตําแหน่งสันตะปาปาและส่งทหารบุก จับตัวสันตะปาปา เนื่องจากเหตุขัดแย้งเรื่องการที่สันตะปาปาออกกฏว่าห้ามกษัตริย์นั้นเก็บเงินจากที่ดินและทรัพย์สินของศาสนจักร จากนั้นได้แต่งตั้งพระชาวฝรั่งเศสให้เป็นสันตะปาปาองค์ ต่อ ๆ มาถึง 7 พระองค์ และให้ย้ายที่ประทับจากนครวาติกันในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญองใน ฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1309 – 1377 ส่งผลให้สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป
6. ในรัฐธรรมนูญของโรมัน คอนซูล (Consul) สะท้อนรูปแบบการปกครองใดในทัศนะของโพลิเบียส
(1) Monarchy
(2) Aristocracy
(3) Democracy
(4) ผสมระหว่าง 1 และ 2
(5) ผสมระหว่าง 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญของโรมันนั้น คอนซูล (Consult) เป็น ลักษณะของราชาธิปไตย (Monarchy), สภาซีเนต (Senate) เป็นลักษณะของอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) และสภาประชาชน (Popular Assembly) เป็นลักษณะของประชาธิปไตย (Democracy) สถาบันทั้งสามนี้ได้กระทําการถ่วงดุลแห่งอํานาจซึ่งกันและกัน ไม่มีสถาบันใดที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปราศจากการยินยอมของสถาบันอีกสองสถาบัน
7. ในงานเขียนเรื่อง “รัฐบุรุษ” เพลโตใช้เกณฑ์ใดในการแยกรูปแบบการปกครอง
(1) จํานวนผู้ปกครอง
(2) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(3) กฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 43, (คําบรรยาย) ในหนังสือ The Statesman นั้น เพลโตได้กําหนดคํานิยาม ประเภทหรือรูปแบบการปกครองแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1. จํานวนผู้ปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คนส่วนน้อย และคนส่วนมาก
2. กฎหมาย ประกอบด้วย รัฐที่มีกฎหมาย และรัฐที่ไม่มีกฎหมาย
8. การศึกษาในเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การศึกษาเพื่อตอบคําถามอมตะทางการเมือง
(2) การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง
(3) การศึกษาความคิดของนักปรัชญาการเมือง
(4) การศึกษาความคิดที่ส่งผลต่อการกระทําทางการเมือง
(5) การศึกษาความหมายของมโนทัศน์ทางการเมือง
ตอบ 3 หน้า 2, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11, 14) อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) มักใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก ซึ่งอาจจะมีที่มาจาก ความคิดของนักปรัชญาการเมืองคนหนึ่งหรือหลาย ๆ คนก็ได้ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง แบบเสรีนิยม (Liberalism), อนุรักษนิยม (Conservatism), สังคมนิยม (Socialism), ชาตินิยม (Nationalism), อนาธิปัตย์นิยม (Anarchism) ฯลฯ โดยคําว่า “Ideology” นั้นเป็น คําใหม่ที่เกิดขึ้นจากนักคิดชื่อ อองตวน เดอสท เดอ ทราซี (Antoine Destutt de Tracy) และจากการนํามาใช้ของนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) หากเปรียบเทียบ ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น อุดมการณ์ทางการเมืองก็เปรียบเสมือนกับศาสนาการเมืองนั่นเอง
9. นักปรัชญาที่เป็นต้นคิดคําอธิบายทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords) คือ
(1) John of Salisbury
(2) Gelasius I
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) Boniface XIII
ตอบ 2 หน้า 85, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองดาบ (Theory of Two Swords) ของสันตะปาปาเจลาเซียส ที่ 1 (Gelasius I) มีหลักการว่า พระเจ้าจะแบ่งอํานาจการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจ ปกครองทางโลกกับทางธรรม และมอบให้สถาบันศาสนา (ศาสนจักร) และสถาบันการปกครอง (อาณาจักร) เป็นผู้ใช้อํานาจนี้ โดยกําหนดว่า อํานาจปกครองฝ่ายทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจ เหนือจักรพรรดิในเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ ส่วนอํานาจปกครองฝ่ายทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจ เหนือสันตะปาปาในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับทางโลก แต่เนื่องจากอํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า ดังนั้นควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า
10. ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) มีการตัดสินเชิงคุณค่า
(2) บรรทัดฐาน
(3) วิทยาศาสตร์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก (5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7, 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงประจักษ์ (Empirical Political Theory) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีฐานคิดอยู่บนหลักการแบบ วิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และเน้นทํานาย ปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งการศึกษาการเมืองในลักษณะดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากรัฐศาสตร์ กระแสหลักแบบอเมริกัน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
11. ข้อแตกต่างระหว่างพุทธนิกายมหายานกับพุทธนิกายหินยานคือ
(1) ไม่มีพระโพธิสัตว์
(2) มีพระโพธิสัตว์แต่นิพพานแล้ว
(3) ไม่เคยมีพระพุทธเจ้า
(4) พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว
(5) พระพุทธเจ้ายังไม่นิพพาน
ตอบ 5 หน้า 102 – 103 ข้อแตกต่างประการหนึ่งระหว่างพุทธนิกายมหายานกับพุทธนิกายหินยาน คือ พุทธนิกายมหายาน เชื่อว่า พระอาทิพุทธคือพระศาสดาเจ้าที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพระพุทธเจ้า ที่แท้จริง ซึ่งตรัสรู้พระสัมโพธิญาณมาช้านานจนนับไม่ได้ ยังไม่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และ จะดํารงอยู่ไม่ดับขันธ์ปรินิพพานอีกยาวนานจนไม่อาจกําหนดเวลาได้ ส่วนพุทธนิกายหินยาน เชื่อว่า มีพระพุทธเจ้าก่อนพระสมณโคดมมาแล้วหลายพระองค์ แต่ละองค์จะตรัสรู้ สั่งสอน และดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วในยุคนั้น ๆ
12. ใครเป็นผู้สอนว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า”
(1) โปรทากอรัส
(2) แอนติฟอน
(3) ซีโน
(4) ธราซิมาคัส
(5) กอร์กิอัส
ตอบ 4 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25 — 26) ธราซิมาคัส (Thrasymachus) เชื่อว่า “ความยุติธรรมคือการกําหนดของผู้ที่แข็งแรงกว่า” (Justice is nothing but the advantage of the stronger)
13. เป้าหมายการใช้ชีวิตในแนวทางโซฟิสต์คือ
(1) มีเงิน
(2) มีอํานาจ
(3) มีเกียรติ
(4) มียศถาบรรดาศักดิ์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) พวกโซฟิสต์ (Sophist) เชื่อว่าคนที่สมควร ได้รับการยกย่องสรรเสริญนั้นก็คือ คนที่รู้จักพูด รู้จักโน้มน้าวใจคน รู้จักหลบหลีก รู้จักฉวยโอกาส รู้จักปลิ้นปล้อนโกหก ซึ่งจะไม่ใช่คนที่ยึดมั่นในคุณธรรมในการดําเนินชีวิต สําหรับโซฟิสต์แล้ว คุณธรรมคือคุณสมบัติที่ทําให้คนประสบความสําเร็จ มีอํานาจ มีเกียรติ มียศถาบรรดาศักดิ์ มีเงิน หรือความร่ํารวยในชีวิต เพราะความสุขคือสิ่งที่ทําให้เราพอใจ ส่วนความดีความชั่วไม่มีอะไร เป็นจริง
14. ในอัคคัญญสูตรที่อธิบายการกําเนิดรัฐถือว่าผู้ปกครองมีที่มาจากอะไร
(1) กรรมกําหนด
(2) เทพกําหนด
(3) อํานาจ
(4) เป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด
(5) คนทั้งหลายสถาปนาขึ้น
ตอบ 5 หน้า 114 – 115, (คําบรรยาย) ตามอัคคัญญสูตรของศาสนาพุทธนั้น ได้อธิบายเกี่ยวกับ จุดกําเนิดผู้ปกครองของรัฐไว้ว่า “…อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือสัตว์ผู้หนึ่งซึ่งจะว่ากล่าว ผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแบ่ง แห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น….” สัตว์ทั้งนั้นจึงได้เข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า มาทําหน้าที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมุติ ดังนั้นกษัตริย์หรือผู้ปกครองจึงเป็น เพียงบุคคลธรรมดาที่คนทั้งหลายเห็นพ้องต้องกันสถาปนาขึ้นหรือร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อคอย ควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์มิให้มีการละเมิดซึ่งกันและกัน
15. ธรรมชาติมนุษย์ในทัศนะของโซฟิสต์คือ
(1) เป็นสัตว์สังคม
(2) ไม่ใช่สัตว์สังคม
(3) เห็นแก่ตัว
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 24 – 25 พวกโซฟิสต์ มีความเชื่อมั่นในลัทธิปัจเจกชนนิยมหรือเอกบุคคลนิยม (Individualism) โดยเชื่อว่าคนเป็นเครื่องวัดของทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ละคนมีความสามารถที่จะ วัดว่าสิ่งใดผิดตามความเชื่อและความปรารถนาของเขา คนไม่ใช่สัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้ว คนเห็นแก่ตัว ไม่ชอบการรวมกันเป็นสังคม และไม่มีความเท่าเทียมกันในเรื่องกําลัง
16. อริสโตเติลใช้เกณฑ์ใดในการจําแนกรูปแบบการปกครอง
(1) จํานวนผู้ปกครอง
(2) จุดมุ่งหมายในการปกครอง
(3) กฎหมาย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 59 – 61) ในหนังสือ Politics นั้น อริสโตเติลได้จําแนก รูปแบบการปกครองออกเป็นแบบต่าง ๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ปัจจัย คือ
1. จํานวนผู้ใช้อํานาจในการปกครอง ประกอบด้วย คนเดียว คณะบุคคล และมหาชน
2. จุดมุ่งหมายในการปกครอง ประกอบด้วย เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อประโยชน์ส่วนตน
17. ชีวิตที่ดีในทัศนะของลัทธิชินนิคส์คือ
(1) มีเกียรติ
(2) มีอํานาจ
(3) อยู่ในรัฐ
(4) มีการศึกษา
(5) ไม่มีอะไร
ตอบ 5 หน้า 60, (คําบรรยาย) ลัทธิชินนิคส์ เชื่อว่า ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ (Simplicity) ไม่มีอะไร หรือชีวิตแบบสมถะเรียบง่ายเท่านั้นที่จะเป็นกุญแจทองที่แท้จริงที่สามารถนําคนไปสู่ชีวิตที่ดีได้
18. กฎหมายที่พระเจ้าบัญญัติไว้ในพระคัมภีร์เก่าและพระคัมภีร์ใหม่ตามทัศนะของอไควนัสคือ
(1) กฎหมายมนุษย์
(2) กฎหมายพระคัมภีร์
(3) กฎหมายธรรมชาติ
(4) กฎหมายสถาพร
(5) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 5 หน้า 90 ตามความเห็นของอไควนัส (Aquinas) นั้น “กฎหมายศักดิ์สิทธิ์” (Divine Law) คือ กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้าบัญญัติขึ้นไว้ในคัมภีร์เก่าและคัมภีร์ใหม่ โดยพระประสงค์ที่จะให้เป็นสิ่งปกครองประชาชนของพระองค์ แม้ว่ากฎหมายนี้จะได้รับการเผยแพร่และไม่ขัดกับหลักเหตุผล แต่มนุษย์ก็ไม่อาจค้นพบหรือรู้จักได้ทุกคนไป
19. ความคิดทางการเมืองในยุคกรีกตอนปลายอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมใด
(1) เอเธนส์เป็นรัฐมหาอํานาจ
(2) การแพร่หลายของแนวคิดของเพลโต
(3) โรคระบาดใหญ่
(4) การถูกปกครองโดยจักรวรรดิมาเซโดเนีย
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 76) ยุคกรีกตอนปลายหรือในช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาล นครรัฐเอเธนส์ก็ได้ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงจากการพ่ายแพ้สงครามต่อมาเซโดเนียจากการบุก ของกษัตริย์อเล็กซานเดอร์แห่งมาเซโดเนีย (Alexander The Great) เมื่อกรีกตกอยู่ภายใต้ อํานาจของจักรวรรดิมาเซโดเนีย ความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาการเมืองของกรีกของเพล โตและอริสโตเติล ตลอดจนความคิดทางการเมืองแบบโซฟิสต์ที่ทรงอิทธิพลก็ได้จบสิ้นลง เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากขาดอิสระในการปกครองของนครรัฐตนเอง
20. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์
(1) มีกระบวนการเนรเทศพลเมืองที่เป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย
(2) พลเมืองชายทุกคนที่มีอายุถึงกําหนดต้องทําหน้าที่ในสภาประชาชน
(3) ทาสไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง
(4) ศาลเอเธนส์อนุญาตให้มีทนายความหรือไม่ก็ได้
(5) คนต่างด้าวและผู้หญิงไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง
ตอบ 4 หน้า 19 – 21, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 21), (คําบรรยาย) กลไกทางการเมืองที่สําคัญ ของระบอบประชาธิปไตยเอเธนส์ (Athens) มีดังนี้คือ
1. มีกระบวนการเนรเทศพลเมืองที่เป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตย เรียกว่า “Ostracism”
2. มีสภาประชาชน (Assembly of Ecclesia) ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพลเมืองชายทุกคนที่ มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ทําหน้าที่นิติบัญญัติ ควบคุมนโยบายต่างประเทศ และควบคุมฝ่ายบริหาร
3. มี “คณะลูกขุน” ของศาลทําหน้าที่พิพากษาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งคําตัดสินจะถือเป็น เด็ดขาดไม่มีอุทธรณ์ ทั้งโจทก์และจําเลยต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยตนเอง ไม่มีทนายความ
4. มีหลักการ Isonomia (หลักการที่ว่าทุกคนมีความเสมอภาคทางกฎหมาย) และหลักการ Isogoria (หลักการที่ว่าทุกคนมีความเสมอภาคทางการพูด)
5. ฐานะของการเป็นพลเมือง (Citizen) จะได้มาโดยกําเนิด พลเมืองชายที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิทางการเมืองการปกครอง ส่วนเด็ก ผู้หญิง ชนต่างด้าว บรรดาพ่อค้าวานิช และทาส จะไม่มีส่วนร่วมในการปกครองแต่อย่างใด เป็นต้น
21. “Cosmopolitan” เป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด
(1) คุณธรรมของผู้ปกครอง
(2) คุณธรรมของผู้ใต้ปกครอง
(3) พลเมืองแห่งรัฐ
(4) พลเมืองของจักรวาล
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 82), (คําบรรยาย) แนวคิดพลเมืองโลก (Cosmopolitanism หรือ Kosmopolites) เกิดขึ้นมาและเฟื่องฟูมากในช่วงต้นยุคโรมัน ภายหลังนครรัฐกรีกได้ล่มสลายลง ซึ่งการที่โรมันได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางจนเกือบทุกดินแดน จนอาจจะกล่าวได้ว่า “ทุกคนคือพลเมืองโรมัน” ทําให้ถูกมองว่ามนุษย์ไม่ควรจะเป็นพลเมืองของชาติหรือรัฐใด รัฐหนึ่ง แต่มนุษย์ทุกคนควรจะเป็นพลเมืองของโลกหรือพลเมืองของจักรวาลนี้นั่นเอง
22. สถาบันทางการเมืองใดในเอเธนส์ที่ทําหน้าที่เป็นองค์กรปกครองประจํา
(1) Ten Generals
(2) Council of Five Hundred
(3) Court
(4) Council of Representative
(5) Assembly of Ecclesia
ตอบ 2 หน้า 20, (คําบรรยาย) คณะมนตรีห้าร้อย (Council of Five Hundred) เป็นองค์กรปกครอง ประจํา ซึ่งปฏิบัติงานในระหว่างสมัยประชุมของสภาและอํานวยงานของสภาในวาระประชุม โดยสมาชิกคณะมนตรีจะประกอบด้วย พลเมืองชาย 500 คน ซึ่งคัดเลือกโดยใช้วิธีจับสลากจาก แต่ละเผ่า ๆ ละ 50 คน (เอเธนส์มี 10 เผ่า) สมาชิกแต่ละคนมีอายุประจําการครั้งละ 1 ปี และห้ามไม่ให้ดํารงตําแหน่ง 2 ปีติดต่อกัน
23. บิดาของอริสโตเติ้ลประกอบอาชีพใด
(1) ช่างทําหิน
(2) อาจารย์
(3) แพทย์
(4) ทาส
(5) นักการเมือง
ตอบ 3 หน้า 45 อริสโตเติล (Aristotle) เกิดเมื่อ 384 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากิรัส ทางชายฝั่งของ มาเซโดเนีย (Macedonia) บิดาของเขาเป็นแพทย์ประจําราชสํานักมาเซโดเนีย และเป็นศิษย์ ของเพลโต ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการศึกษาที่เมืองเรสบอส เขาได้ทํางานเป็นที่ปรึกษาอย่าง ไม่เป็นทางการของเฮอร์เมียส (Hermias) เจ้าเมืองอาตาร์เนอุส และได้แต่งงานกับหลานสาว ของเฮอร์เมียสด้วย
24. เพริคลิสกล่าวสุนทรพจน์สําคัญที่ทําให้นักวิชาการในภายหลังศึกษาความคิดในยุคดังกล่าวได้เนื่องในโอกาสใด
(1) ปลุกใจทหารก่อนไปรบในสงครามกับเปอร์เซีย
(2) หาเสียงในการลงสมัครเลือกตั้งคณะสิบนายพล
(3) แสดงเหตุผลต่อชาวมีเลี่ยนที่ต้องเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเอเธนส์
(4) ไว้อาลัยต่อทหารที่เสียชีวิตในสนามรบ
(5) เปิดสมัยประชุมสภาประชาชน
ตอบ 4 หน้า 27 (คําบรรยาย) เพริดลิส ได้กล่าวสุนทรพจน์สําคัญที่ทําให้นักวิชาการในภายหลังศึกษา ความคิดในยุคดังกล่าวได้ เนื่องในโอกาสพิธีฝังศพและเซ่นสรวงที่หลุมศพเพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อทหารหาญชาวเอเธนส์ที่เสียชีวิตในสนามรบในระหว่างสงครามเพโลโพนีเซียน โดยสุนทรพจน์ ของเขานั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศทางสังคมและการเมืองของนครรัฐเอเธนส์ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
25. นักคิดคนสําคัญของซินนิคส์คือ
(1) ไดโอจีนีส
(2) ไดโอนิซุส
(3) เดโมคริตุส
(4) ทาเลส
(5) เอลซีไบเดส
ตอบ 1 หน้า 60 ปรัชญาเมธีคนสําคัญแห่งลัทธิชินนิคส์ (Cynics) ได้แก่ แอนทิสซิเนส (Antisthenes), ไดโอจีนิส (Diogenes) และเครทิส (Crates)
26. กฎหมายที่เป็นกฎเกณฑ์และตัวแทนส่วนหนึ่งของกฎหมายสถาพรตามทัศนะของอไควนัสคือ
(1) กฎหมายมนุษย์
(2) กฎหมายพระคัมภีร์
(3) กฎหมายธรรมชาติ
(4) กฎหมายสถาพร
(5) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
ตอบ 3 หน้า 90 ตามความเห็นของอไควนัสนั้น “กฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law) เป็นกฎเกณฑ์ และตัวแทนส่วนหนึ่งของกฎหมายสถาพร โดยมนุษย์ทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติ ได้ด้วยเหตุผลของเขาเอง ดังนั้นแม้ว่าผู้ที่ไม่ใช่คริสตชนก็รู้จักกฎหมายธรรมชาติได้ ตราบเท่าที่เขามีเหตุผล
27. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์
(1) สสารวาท
(2) จิตนิยม
(3) วัตถุนิยม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 9 – 11, (คําบรรยาย) กลุ่มสสารวาทหรือกลุ่มวัตถุนิยม เห็นว่า สถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมเป็นรากฐานของความคิดมนุษย์ โดยเชื่อว่าสถาบันการเมืองและทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือบทบาทของผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ เศรษฐกิจ ซึ่งผลประโยชน์ของชนทั้งหลายคือ สถานภาพทางสังคม รายได้ และทรัพย์สมบัติ
28. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับทฤษฎีสองดาบ
(1) ควรใช้อํานาจทั้งสองด้วยความสมานฉันท์เพื่อรับใช้พระเจ้า
(2) อํานาจปกครองทางโลก จักรพรรดิมีอํานาจเหนือสันตะปาปา
(3) อํานาจทั้งสองฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน
(4) อํานาจปกครองทางธรรม สันตะปาปามีอํานาจเหนือจักรพรรดิ
(5) อํานาจทั้งสองฝ่ายมาจากพระเจ้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
29. แนวคิดใดที่ถือว่าเป็นแนวคิดหลักในช่วงต้นของยุคอาณาจักรโรมัน
(1) Capitalism
(2) Communitarianism
(3) Communism
(4) Confucianism
(5) Cosmopolitanism
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ
30. สถาบันทางการเมืองใดในเอเธนส์ที่ทําหน้าที่คล้ายคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน
(1) Ten Generals
(2) Council of Five Hundred
(3) Court
(4) Council of Representative
(5) Assembly of Ecclesia
ตอบ 1 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) คณะสิบนายพล (Ten Generals) เป็นสถาบันการปกครองหนึ่ง ในนครรัฐเอเธนส์ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ซึ่งในทางทฤษฎีนั้นคณะสิบนายพลเป็นตําแหน่งทางการทหาร แต่ในทางปฏิบัติแล้วบรรดานายพลเหล่านี้มีอิทธิพลในทางการเมืองเป็นอย่างมากโดยฐานะของกลุ่มนายพลจะคล้ายคลึงกับคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน และหัวหน้าคณะสิบนายพลเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรี
31. เพราะเหตุใดอริสโตเติลจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์
(1) ความคิดของเขาถูกนําไปปฏิบัติ
(2) เขียนตําราทางการเมืองคนแรกของโลก
(3) ใช้วิธีการตรวจสอบและการสังเกตการณ์
(4) เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันรัฐศาสตร์แห่งแรกของโลก
(5) ให้ความสนใจเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 46, (คําบรรยาย) อริสโตเติล ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์หรือนักรัฐศาสตร์คนแรก เนื่องจากเขาใช้และสนับสนุนวิธีการศึกษาแบบศาสตร์ คือ การตรวจสอบ (Investigation) และ การสังเกตการณ์ (Observation) เมื่อจะศึกษาสิ่งใดก่อนอื่นจําเป็นต้องย้อนไปตรวจสอบ ความเป็นมาของสิ่งนั้นเสียก่อน
32. ธรรมชาติมนุษย์ของอิพิคิวเรียนคือ
(1) มีเหตุผล
(2) เป็นคนดี
(3) เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
(4) ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม
(5) เป็นคนชั่วร้าย
ตอบ 5 หน้า 59, (คําบรรยาย) ลัทธิอิพิคิวเรียน เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้วคนทุกคนเห็นแก่ตัวและ เป็นคนชั่วร้าย ซึ่งสิ่งนี้เองที่นําไปสู่การขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะความสุขของบุคคลหนึ่งอาจจะเป็นความทุกข์ของบุคคลอื่นได้
33. ในทัศนะของออกัสติน เมื่อผู้ปกครองเป็นทรราชจะต้องทําอย่างไร
(1) ไม่ยอมรับผู้ปกครอง
(2) สนับสนุนอํานาจศาสนจักรโค่นล้ม
(3) ยอมรับ
(4) ออกไปจากรัฐนั้น
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) ออกัสติน (Augustine) เชื่อว่า สภาพธรรมชาติของคนถูกทําลายลง ด้วยบาป พระเจ้าจึงได้ประทานผู้ปกครองหรือสถาบันการปกครองให้แก่มนุษย์ แม้ว่าในบางครั้ง คนอาจจะถูกปกครองโดยกษัตริย์ทรราชซึ่งขาดธรรมะ แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ และ จะต้องยอมรับ ไม่มีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะบรรดาผู้ปกครองทุกคนคือ ผู้แทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง
34. ใครเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง “สงครามเพโลโพนเซียน”
(1) ธูซิดิดิส
(2) เพลโต
(3) ธราซิมาคัส
(4) โปรทากอรัส
(5) อริสโตเติล
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 27), (คําบรรยาย) ซูซิดิดิส (Thucydides) เป็นผู้บันทึกเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเลี่ยน” (Melian Dialogue) ซึ่งเป็นบทหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์สงคราม เพโลโพนิเซียน (Peloponesian War) โดยจะมีสนทนาระหว่างพวกมีเลี่ยน (Melian) กับ เอเธนส์ (Athens) ในช่วงของสงครามดังกล่าว
35.Politika เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) การเมือง
(2) การตํารวจ
(3) การต่อสู้
(4) การอยู่ร่วมกัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 5) คําว่า “การเมือง” ในภาษากรีกก็คือ Politika ซึ่งหมายถึง เรื่องราวหรือกิจการของ Polis สําหรับคําว่า Polis นี้บางคนอาจแปลว่า นครรัฐ หรือ รัฐ หรือ บางคนก็บอกว่าแปลเป็นไทยไม่ได้ เพราะแปลแล้วจะผิดความหมายดั้งเดิมของคําไป ควรจะใช้ ทับศัพท์แบบกรีกโบราณไปเลย แต่อย่างไรก็ตาม คําว่า Polis ตามความเข้าใจของผู้เขียน ก็คือ ชุมชนทางการเมือง หรือนครรัฐของกรีกโบราณนั่นเอง
36. อริสโตเติลเกิดที่เมืองใด
(1) เลสบอส
(2) เอเธนส์
(3) สตากิรัส
(4) สปาร์ตา
(5) แอสซุส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ
37. ความไม่เสมอภาคทางสังคมของซินนิคส์เกิดมาจากปัจจัยใด
(1) ระบบกรรมสิทธิ์
(2) ระบบการเมือง
(3) วัฒนธรรม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ปรัชญาชินนิคส์ต่อต้านรัฐ คือ ไม่ต้องการให้มีรัฐ ตลอดจนสถาบัน ต่าง ๆ ทางปกครองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบกรรมสิทธิ์ ระบบการเมือง การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา รวมไปถึงระบบชนชั้นด้วย โดยกล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นทําให้คนไม่สามารถบรรลุถึงศีลธรรม ความฉลาด ความสมบูรณ์ในตัวเอง และความเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ทําให้คนมีสถานะ แตกต่างกันเป็นคนจน คนรวย ทาส ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว คนเราไม่ว่าเจ้าฟ้ายาจกมี ความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งนั้น
38. Sophist มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) ปัญญา
(2) ผู้มีปัญญา
(3) ผู้รักปัญญา
(4) ความรู้
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 24, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22), (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์หรือซอฟฟิสต์ (Sophist) เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาพํานักในกรุงเอเธนส์ในยุคกรีกตอนต้นในช่วงสมัยเพริคลิส ไม่ใช่พลเมืองชาวเอเธนส์ ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นครู คือการสัญจรรับจ้างสอนบรรดาผู้กระหาย ความรู้ทั้งหลาย โดยสิ่งที่พวกเขาสอนจะทําให้ผู้รับการศึกษาได้มีความรู้ในการพูด หรือสอน ให้คนมีวาทศิลป์ (Rhetoric) การหักล้างโต้แย้ง และวิธีการพูดในที่สาธารณะ โดยคําว่า “Sophist” นั้นหมายถึง ผู้มีความรู้ ผู้มีปัญญา หรือผู้ฉลาดรอบรู้
39.“Potis” สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) ประเทศ
(2) นครรัฐ
(3) รัฐชาติ
(4) ชาติ
(5) ชุมชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ
40. ข้อเสนอทางทฤษฎีของจอห์นแห่งซัลส์เบอรี่คือ
(1) ทฤษฎีองค์อินทรีย์
(2) ประชาชนไม่มีสิทธิโค่นล้มกษัตริย์
(3) ประชาชนปลงพระชนม์กษัตริย์ที่เป็นทรราชได้
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 86 – 87 จอห์นแห่งซัลส์เบอรี่ (John of Salisbury) เป็นนักทฤษฎีการเมืองยุคกลาง คนแรกที่ใช้ “ทฤษฎีองค์อินทรีย์” (Organic Analogy) อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของรัฐ หรือประชาคมการเมือง โดยเขาเห็นว่า กษัตริย์ที่ไม่เป็นทรราชจะเคารพกฎหมายและปกครอง ประชาชนโดยถือกฎหมายเป็นหลัก และถือตัวเองเป็นเพียงผู้รับใช้ประชาชน ส่วนกษัตริย์ที่เป็น ทรราชนั้นจะไม่ยึดถือกฎหมาย ประชาชนก็ไม่มีพันธะที่จะเคารพเชื่อฟัง และมีสิทธิที่จะถอด ถอนออกจากตําแหน่ง หรือหากจําเป็นจะปลงพระชนม์เสียก็ได้
41. สรรพสิ่งทั้งหลายในทัศนะของสโตอิกส์ดําเนินไปในลักษณะใด
(1) บังเอิญ
(2) เปลี่ยนแปลง
(3) เป็นไปตามกฎธรรมชาติ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ลูก
ตอบ 3 หน้า 67, (คําบรรยาย) ลัทธิสโตอิกส์ เชื่อถือและให้ความสําคัญในเรื่องธรรมชาติมากที่สุด โดยเปรียบธรรมชาติเป็นเสมือนพระเจ้า ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลเกิดขึ้น ตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ โดยมีกฎหมายธรรมชาติเป็นกฎสากล ทําหน้าที่ปกครองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และกําหนดวิถีความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ซึ่งมีรากฐานมาจากเหตุผล ดังนั้นจึงทําให้กฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่แน่นอนและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
42. อํานาจในการปกครองในอาณาจักรโรมันมีที่มาจาก
(1) จักรพรรดิ
(2) ประชาชน
(3) เทพเจ้า
(4) วุฒิสภา
(5) กฎธรรมชาติ
ตอบ 2 หน้า 63 หลักการสําคัญของกฎหมายโรมันประการหนึ่งก็คือ อํานาจของผู้ปกครองมาจาก ประชาชน และเหตุที่เจตนารมณ์ของจักรพรรดิมีอํานาจบังคับของกฎหมาย ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนได้ยินยอมมอบอํานาจทั้งหมดให้แก่จักรพรรดิ นั่นแสดงให้เห็นว่าอํานาจในการ ปกครองในอาณาจักรโรมันต้องมาจากประชาชน
43. ประยุกตรัฐของเพลโตเป็นการผสมผสานระหว่างการปกครองระบอบใด
(1) ราชาธิปไตย
(2) คณาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 40, (คําบรรยาย) เพลโต เห็นว่า โครงสร้างการปกครองของประยุกตรัฐนั้นมีแนวโน้ม เป็นการผสมผสานระหว่างคณาธิปไตย (Oligarchy) กับประชาธิปไตย (Democracy) หรือระหว่างความเฉลียวฉลาดกับจํานวน
44. ผู้ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์คือ
(1) ธราซิมาคัส
(2) โปรทากอรัส
(3) ซีโน
(4) เอนติฟอน
(5) กอร์กิอัส
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส (Protagoras) มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 490 – 420 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ที่ก่อตั้งกลุ่มโซฟิสต์ขึ้นมาในกรุงเอเธนส์ และเป็นโซฟิสต์ คนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการคิดแบบปัจเจกบุคคล และสัมพัทธนิยม (Relativism) ที่ว่าคนแต่ละคน มีอิสระที่จะทําตามสิ่งที่ตนเองคิด ในแต่ละสังคมก็มีความจริงกันคนละอย่างเพราะความจริงเป็น เรื่องของการให้คุณค่าของแต่ละคน กล่าวคือ “ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน” ดังนั้นความเห็นกับความจริงจึงมีความแตกต่างกัน เพราะความเห็นขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของบุคคล
45. การมีชีวิตที่ดีตามแนวคิดของสโตอิกส์สัมพันธ์กับข้อใด
(1) การเมืองมีเสถียรภาพ
(2) สอดคล้องกับธรรมชาติ
(3) มีผู้นําที่ดี
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 2 หน้า 68, 73 ลัทธิสโตอิกส์ เห็นว่า ชีวิตที่ดีคือการดําเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ การพยายามทําตนให้เข้ากับความต้องการของธรรมชาติ เป็นสิ่งซึ่งจะสร้างผลดีให้กับชีวิต เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งสูงสุดและมีความดีที่แท้จริงแฝงอยู่
46. ตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งของประยุกตรัฐของเพลโตคือ
(1) คณะรัฐมนตรี 360
(2) รัฐมนตรีมหาดไทย
(3) รัฐมนตรีศึกษาธิการ
(4) คณะมนตรีรัตติกาล
(5) นายกรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 ในประยุกตรัฐนั้น เพลโตกําหนดให้มี “คณะมนตรี 360” ขึ้น โดยแบ่งจํานวน ผู้แทนออกเป็น 4 ชนชั้น ตามมูลค่าทรัพย์สินที่แต่ละคนมี ชนชั้นละเท่า ๆ กัน คือ 90 คน ซึ่ง แต่ละชนชั้นจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ที่เป็นชนชั้นเดียวกับตนเข้าไปนั่งในคณะมนตรี 360
47. ผลงานชิ้นสําคัญของจักรพรรดิมาร์คัส เออเรลิอุส คือ
(1) Meditations
(2) Republic
(3) The Law
(4) On War
(5) Moral Essays
ตอบ 1 หน้า 67, 72, (คําบรรยาย) มาร์คัส เออเรลิอุส (Marcus Aurelius) เป็นปรัชญาเมธีของลัทธิสโตอิกส์ที่เคยเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการทําสงคราม ทําลายล้างปัจจามิตร ซึ่งวรรณกรรมชิ้นสําคัญของเขาคือ Meditations หรือสมาธินั่นเอง
48.“Isonomia” มีความหมายถึง
(1) ความเสมอภาคทางการพูด
(2) ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
(3) ความเสมอภาคทางกฎหมาย
(4) ความเสมอภาคทางการเมือง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ
49. ทฤษฎีสองนครของนักบุญออกัสติน ตั้งอยู่ที่ใด
(1) สวรรค์และนรก
(2) นครที่นับถือคริสต์และไม่นับถือ
(3) วัดกับรัฐ
(4) จิตใจมนุษย์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 80, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสองนครของนักบุญออกัสตินนั้น อธิบายว่า “นครทั้งสองนี้ ไม่ใช่สรวงสวรรค์กับพื้นพิภพ ไม่ใช่วัดกับรัฐ แต่เป็นพลังของความดีและพลังของความชั่ว ซึ่งได้ต่อสู้กันเพื่อที่จะแย่งกันเป็นเจ้าของดวงจิตหรือจิตใจของมนุษย์มานานแล้ว”
50.“ความจริงแบบสากลไม่มี แต่ละสังคมแตกต่างกัน”
(1) Thrasymachus
(2) Protagoras
(3) Melian
(4) Pericles
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ
51. งานที่อธิบายเรื่องราวซอคราตีสแก้คดีในศาลเอเธนส์คือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 22, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 40 – 41) เพลโต ได้เล่าเรื่องของซอคราตีสไว้ใน หนังสือที่ชื่อว่า “ยูไธโฟร” (Euthiphro) โดยเล่าถึงสาเหตุที่ซอคราตีสโดนฟ้องต่อศาลเอเธนส์ ในข้อหาสร้างลัทธิศาสนาของตนเอง และชักจูงเยาวชนไปในทางที่ผิด ส่วนในหนังสือเรื่อง “อโพโลจี” (Apology) เป็นเล่มที่เล่าเรื่องต่อมาจากการที่ซอคราตีสโดนฟ้อง ซึ่งเนื้อหาในเล่มนี้ จะเกี่ยวกับการพยายามแก้ข้อกล่าวหาในศาลด้วยตัวของซอคราตีสเอง และสุดท้ายศาลก็ได้ตัดสินพิพากษาประหารชีวิตให้เขากินยาพิษ
52. มนต์เสกเป่าเพื่อแก้เสนียดและนําความชั่วร้ายไปให้แก่ศัตรูคือ
(1) สามเวท
(2) ฤคเวท
(3) ไสยเวท
(4) อถรรพเวท
(5) ยชุรเวท
ตอบ 4 หน้า 96, (คําบรรยาย) ในสมัยพราหมณะ (พราหมณ์) ได้เกิดคัมภีร์พระเวทเล่มที่ 4 ขึ้น เรียกว่า อถรรพเวท ซึ่งมีข้อความจากพระเวทเดิมปะปนอยู่บ้าง โดยเรื่องราวของอถรรพเวท ส่วนมากเป็นมนต์เสกเป่าเพื่อแก้เสนียดและนําความชั่วร้ายไปให้ศัตรู การสักยันต์เป็นตัวเลขหรือคาถาเพื่อปกป้องตัวเองหรือให้มีโชคลาภ
53. หากผู้ปกครองเป็นทรราช สิ่งที่สามารถทําได้ตามแนวคิดของนักบุญอไควนัสคือ
(1) โค่นล้มผู้ปกครอง
(2) ถอดถอนตามกฎหมาย
(3) สวดภาวนาต่อพระเจ้า
(4) หนีออกไปจากรัฐ
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 หน้า 89 อไควนัส เห็นว่า หากผู้ปกครองใช้อํานาจไม่เป็นธรรมจนกลายเป็นทรราช ผู้ปกครอง ก็ควรจะต้องถูกถอดถอน แต่การถอดถอนนั้นจะต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามกระบวนการแห่ง กฎหมาย และหากว่าไม่สามารถถอดถอนหรือควบคุมทรราชได้โดยกระบวนการทางกฎหมายประชาชนควรหันไปสู่การสวดภาวนาต่อพระเจ้า เพราะพระองค์อาจจะบันดาลให้จิตใจทรราชเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรืออาจลงโทษทรราชผู้นั้นด้วยพระองค์เอง
54. “โพลิตี้” (Polity) หรือ ประชาธิปไตยสายกลาง (Moderated Democracy) คือระบอบการปกครองรูปแบบใด
(1) ราชาธิปไตย
(2) คณาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) ผสมระหว่างข้อ 1 และ 2
(5) ผสมระหว่างข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 52, (คําบรรยาย) ในประยุกตรัฐนั้น อริสโตเติลได้กําหนดรูปการปกครองบนรากฐาน ของหลักการผสมระหว่างประชาธิปไตย (Democracy) กับคณาธิปไตย (Oligarchy) หรือ ที่เรียกว่า ระบบมัชฌิมวิถีอธิปไตย หรือ “โพลิตี้” (Polity) หรือประชาธิปไตยแบบสายกลาง (Moderated Democracy) ซึ่งหมายถึง การปกครองโดยมหาชนที่ดี
55. จักรพรรดิโรมันพระองค์ใดที่ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาต้องห้ามในอาณาจักรโรมัน
(1) คอนสแตนติน
(2) มาร์คัส เออเรลิอุส
(3) เธโอดอเสียส
(4) เนโร
(5) กาลิเรียส
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 90 – 91), (คําบรรยาย) ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถูกปราบปราม และกลายมาเป็นศาสนาต้องห้ามสําหรับชาวโรมตั้งแต่ในยุคของจักรพรรดิเนโร (Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus) โดยในปี ค.ศ. 64 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงโรม จักรพรรดิ เนโรได้ใส่ร้ายชาวคริสต์ว่าเป็นคนเผากรุงโรมและจับมาประหารชีวิตด้วยวิธีการโหดร้ายทารุณรวมทั้งประกาศห้ามไม่ให้ผู้ใดในอาณาจักรนับถือศาสนาคริสต์ แต่กระนั้นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ก็ได้ ประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ให้ศาสนาคริสต์ไม่ใช่ศาสนาต้องห้าม ของโรมอีกต่อไป และในช่วงปี ค.ศ. 379 – 395 จักรพรรดิเธโอดอเสียส (Theodosius) ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําชาติของโรม ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทําให้ผู้คน ในยุโรปต่างเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
56. จริยศาสตร์ (Ethics) เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องใด
(1) ความจริง
(2) ความงดงาม
(3) ความรู้
(4) ความรัก
(5) ความดี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3 – 4) จริยศาสตร์ (Ethics) คือ องค์ความรู้ที่มุ่งศึกษาถึง สิ่งที่ควรจะเป็น ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ที่ควรจะเป็น กล่าวคือ สาขานี้จะศึกษาว่าอะไร คือสิ่งที่ควรกระทําหรือไม่ควรกระทํา อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด หรือความดีความชั่วคืออะไร
57. นักปราชญ์ผู้ใดที่เสนอว่า “พระหรือบาทหลวงมีสิทธิโต้แย้งเมื่อจักรพรรดิประพฤติมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาชนเป็นกบฏ”
(1) St. Ambrose
(2) St. Augustine
(3) John of Salisbury
(4) Gelasius I
(5) Marsiglio of Padua
ตอบ 1 หน้า 78, (คําบรรยาย) เซ็นต์ แอมโบรส (St. Ambrose) บิชอปแห่งเมืองมิลาน ได้อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการปกครอง (สถาบันกษัตริย์) และสถาบันศาสนาไว้ว่า ในเรื่อง ทางโลกนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส (กษัตริย์) พระไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย พระมีสิทธิติเตียนหรือ โต้แย้งกษัตริย์ได้ในกรณีที่เห็นว่ากษัตริย์ทําผิด แต่ไม่มีสิทธิยุยงให้ประชาราษฎร์กบฏหรือ ต่อต้านคําสั่งของกษัตริย์ โดยทั้งสองสถาบันควรร่วมมือกันในการสนับสนุนคนให้มีชีวิตที่ดี เพื่อจะได้เข้าสู่ประตูสวรรค์ในโลกหน้า
58.“ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ทําให้การชําระล้างดวงวิญญาณให้เป็นไปได้” ข้อความดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) John of Salisbury
(2) Gelasius I
(3) St. Aquinas
(4) Marsiglio of Padua
(5) Boniface Xlll
ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) เซ็นต์ ธอมัส อไควนัส (St. Thomas Aquinas) เชื่อว่า รัฐมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ทําให้การชําระล้างดวงวิญญาณให้เป็นไปได้ ดังนั้นมนุษย์ จะมีชีวิตที่ถูกต้องได้ต้องอาศัยอยู่ในสังคมที่มีสถาบันศาสนา ซึ่งศาสนาคริสต์เป็นสถาบันเดียว ที่สามารถชี้ทางไปสู่การชําระล้างวิญญาณ และนําประชาชนเข้าสู่ประตูสวรรค์ได้
59.(อดีต) พระมหาสมปอง ตาลปุตโต และพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และเป็น พส. (พระสงฆ์) สังกัดนิกายใด
(1) สามนิ้วยาน
(2) แครอทยาน
(3) หินยาน
(4) มหายาน
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อดีต พระมหาสมปอง ตาลปุตโต หรือ สมปอง นครไธสง เป็นพิธีกรและนักเขียน ก่อนหน้านั้นเคยเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง และจําพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะลาสิกขาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ส่วนอดีต พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ หรือ ไพรวัลย์ วรรณบุตร นั้นมีชื่อเสียงขึ้นมาในปี 2564 เนื่องจากธรรมเทศนาที่มีผู้ติดตามบนสื่อสังคม มากมาย ก่อนหน้านั้นจําพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะลาสิกขาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยทั้งอดีตพระมหาสมปอง ตาลปุตโต และพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ เป็น พส. (พระสงฆ์) สังกัดนิกายหินยาน (เถรวาท)
60. การล่มสลายของอาณาจักรโรมันทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดขึ้น
(1) ระบบฟิวดัล
(2) ศาสนจักรมีอิทธิพลสูงขึ้น
(3) สภาวะอนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 101 – 104) ในช่วงศตวรรษที่ 5 (ค.ศ. 476) อาณาจักรโรมันก็ได้ล่มสลายลงจากการโจมตีของพวกอนารยชน (Barbarians) หรือชนเผ่าติวตัน (Teutons)ทําให้ยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (Middle Age/Medieval Period) หรือยุคมืด (Dark Age) หรือที่คน ในยุคนั้นมองว่าเป็นยุคใหม่ (Modern) ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปต้องดูแลตนเอง ปกครองกันเอง เกิดสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ซึ่งการปกครองในยุคนี้จะเป็นระบบศักดินาสวามิภักดิ์หรือ ระบบฟิวดัล (Feudal) ที่ขุนนางจะมีอํานาจมากกว่ากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ศาสนจักร มีอิทธิพลสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่พึ่งพิงอย่างหนึ่งหลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลายลง นั่นก็คือ สถาบันศาสนาคริสต์ หรือศาสนจักรที่มีผู้นําคือ สันตะปาปา (Pope) เป็นผู้ที่จะคอยให้กําลังใจ แก่ประชาชน ผู้ปกครอง หรือนักรบท้องถิ่น
61. “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไปที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไป อาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าวก็ได้…แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือก ที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคนจะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” ปรากฏอยู่ ในผลงานชิ้นใด
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 41 – 43) ในบทสนทนาไครโต (Crito) นั้น ซอคราตีส ได้กล่าวไว้ว่า “ทุก ๆ คนมีอิสระในการที่จะหนีออกจากรัฐไปโดยจะเอาสมบัติของตนเองไป ที่ไหนก็ได้ทั้งสิ้น จะไปอาณานิคมของเอเธนส์ หรือต่างประเทศที่เขาจะไปอยู่อย่างคนต่างด้าว ก็ได้ แต่เมื่อท่านตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในรัฐ เมื่อนั้นเองมันก็คือ ข้อตกลงที่ว่า ประชาชนทุกคน จะปฏิบัติตามคําสั่งของรัฐ” โดยเขาพยายามอธิบายว่า เราและตัวเขาเองควรเชื่อฟังรัฐ เนื่องจาก รัฐเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เด็ก จริงอยู่ว่าพ่อแม่ก็คือ คนที่เลี้ยงเรา แต่รัฐต่างหากที่ออกกฎหมายให้ พ่อแม่เราเลี้ยงดูเราหรือไม่เอาเราไปทิ้งถังขยะ ตลอดจนออกกฎหมายและสั่งให้พ่อแม่เราส่งเราไปเรียนหนังสือ
62. นครรัฐเอเธนส์มีระบอบการปกครองที่สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ประชาธิปไตยโดยอ้อม
(2) ประชาธิปไตยทางตรง
(3) ประชาธิปไตยรวมศูนย์
(4) ประชาธิปไตยตัวแทน
(5) ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแรกเริ่มของบรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีก เช่น นครรัฐเอเธนส์ สปาร์ตา เดลไฟ โรดส์ โอลิมเปีย เป็นต้น จะเป็นระบอบกษัตริยาธิปไตยหรือ ราชาธิปไตย(Monarchy) ต่อมาในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ระบอบการปกครองก็เปลี่ยนเป็น ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) จากนั้นในระยะต่อมาระบอบทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) จึงเข้ามาแทนที่ และสิ้นสุดลงเมื่อบรรดาประชาชนผู้ถูกทรราชกดขี่ได้ร่วมมือกับเหล่าขุนนางและผู้ทรงความรู้ทั้งหลายทําการปฏิวัติกวาดล้างทรราช จนกระทั่งในราวศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนคริสตกาล บรรดานครรัฐต่าง ๆ ของกรีกรวมทั้งนครรัฐเอเธนส์ก็ได้เปลี่ยนรูปการปกครอง มาเป็นระบอบ “ประชาธิปไตยทางตรง” (Direct Democracy) ยกเว้นนครรัฐสปาร์ตาที่เปลี่ยน รูปการปกครองมาเป็นแบบเผด็จการทหารนิยม (Military City State)
63. ทักษะที่โซฟิสต์ยกย่องคือ
(1) การแสวงหาสัจธรรม
(2) การรู้จักความดีชั่ว
(3) การไม่เบียดเบียน
(4) การเป็นผู้มีคุณธรรม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ
64.สัตว์ที่ชักชวนอีฟให้กินผลไม้ต้องห้ามในสวนเอเดนคือ
(1) ค้างคาว
(2) เสือดํา
(3) แมว
(4) เสือดาว
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในสวนเอเดนนั้น พระเจ้าได้บอกกับอดัมและอีฟไว้ว่า “เจ้าสามารถกินผลของ ต้นไม้ได้ทุกต้น ยกเว้นต้นแห่งความสํานึกในความดี และความชั่วนั้นห้ามกิน หากเจ้ากินเจ้าจะ ต้องตายแน่” แต่ในสวนเอเดน พระเจ้าทรงประทานให้สัตว์ทั้งปวงนั้นฉลาดน้อยกว่า “งู” และ นั่นทําให้มนุษย์สองคนที่ใสซื่อบริสุทธิ์โดนล่อลวง ในวันหนึ่งงูได้ถามอีฟว่า “พระเจ้าอนุญาตให้ เจ้ากินทุกอย่างได้หมดเลยหรอ” อีฟจึงบอกว่า “มีแค่ต้นตรงกลางสวนเท่านั้นที่ไม่สามารถกินได้ เพราะถ้ากินจะต้องตาย” งูจึงบอกอีฟว่า “เจ้าจะไม่ตายจริงหรอก เพราะพระเจ้าทราบอยู่แล้ว ว่า หากเจ้ากินผลไม้นั้นในวันใด ตาของเจ้าจะสว่างขึ้น” อีฟจึงเชื่อและหยิบผลของต้นนั้นมากิน และแบ่งให้อดัมกินด้วย
65. แนวคิดของนักบุญอไควนัสได้รับอิทธิพลทางทฤษฎีมาจากนักปรัชญากรีกท่านใด
(1) Aristotle
(2) Socrates
(3) Diogenes
(4) Plato
(5) Protagoras
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 113) แนวความคิดทางการเมืองของอไควนัส (Aquinas) นั้น ได้พยายามเอาความคิดของอริสโตเติล (Aristotle) มาใช้และอธิบายสร้างความชอบธรรมให้กับ ศาสนาคริสต์ที่เป็นกระแสหลักของยุค
66. ชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนข้อใดของพระเยซู
(1) เป็นพระเมสซิยาห์
(2) เป็นตัวแทนของพระเจ้า
(3) จงรักศัตรูของท่าน
(4) เป็นพระบุตรของพระเจ้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 89), (คําบรรยาย) เยซูหรือจีซัส (Jesus) เป็นชาวยิว และเคย เป็นช่างไม้มาก่อน มาจากเมืองนาซาเร็ท (Nazareth) ในอิสราเอล เยซูได้เริ่มออกเทศนาสั่งสอน คนเมื่ออายุ 30 ปี โดยอ้างว่าตนเป็น “พระบุตรของพระเจ้า” (Son of God) แต่ภายหลังจาก เยซูเผยแผ่คําสอนได้ 3 ปี ก็ถูกนักพรตชาวยิวปฏิเสธคําสั่งสอนและกล่าวหาว่าหมิ่นศาสนาและ ไปฟ้องต่อโรมัน ซึ่งในท้ายที่สุดเยซูก็ถูกจับตรึงกางเขนจนเสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี
67. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับรัฐในอุดมคติของเพลโต
(1) จะเกิดสัมมาร่วม
(2) ผู้ที่มีความรู้ได้เป็นผู้ปกครอง
(3) ปกครองโดยราชาปราชญ์
(4) พลเมืองทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
(5) ไม่มีข้อใดผิด
หน้า 35, 37 – 39, (คําบรรยาย) รัฐในอุดมคติ (Ideal State) ของเพลโต มีลักษณะดังนี้คือ
1. ความยุติธรรมคือสิ่งที่เป็นส้มมาร่วม (Commnon Good) ที่จะนําความสุขมาสู่รัฐได้
2. ราชาปราชญ์ (Philosopher King) หรือผู้ที่มีความรอบรู้และเกลียวฉลาดเป็นผู้ปกครอง
3. ชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นนักรบจะต้องไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวและห้ามการมีครอบครัว
4. ไม่มีกฎหมายในรัฐในอุดมคติ เพราะหากกําหนดตัวบทกฎหมายขึ้นก็เท่ากับเป็นการวาง กฎเกณฑ์ให้ราชาปราชญ์ปฏิบัติตาม ประโยชน์ที่จะได้รับจากความเฉลียวฉลาดของ ราชาปราชญ์ย่อมหมดไป และถ้าเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ ก็อาจจะเป็นผู้ปกครองได้ในเมื่อ มีกฎหมายเป็นเครื่องกําหนดวิถีปฏิบัติไว้แล้ว เป็นต้น
68. นักปราชญ์คนใดที่เสนอว่า ดาบในการปกครองเป็นของพระเจ้า และพระเจ้ามอบอํานาจให้ฝ่ายศาสนจักร ในการมอบหมายให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นผู้ปกครองอีกทีหนึ่ง อํานาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับฝ่ายศาสนจักร
(1) Gelasius I
(2) Boniface VII
(3) Marsiglio of Padua
(4) John of Salisbury
(5) St. Aquinas
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 109), (คําบรรยาย) สันตะปาปาโบนิเฟสที่ 8 (Boniface Vill) เสนอว่า “ดาบในการปกครองเป็นของพระเจ้า และพระเจ้ามอบอํานาจให้ฝ่ายศาสนจักรในการมอบหมายให้ฝ่ายอาณาจักรเป็นผู้ปกครองอีกทีหนึ่ง อํานาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับฝ่ายศาสนจักร โดยอธิบายว่า อํานาจในโลกนี้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ อํานาจของศาสนจักร (สันตะปาปา) และ อํานาจของอาณาจักร (กษัตริย์) โดยเปรียบเทียบอํานาจทั้งสองนี้เหมือนกับดาบ แต่เดิมอํานาจ ทั้งหมดเป็นของพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงมอบอํานาจหรือดาบให้กับสันตะปาปาทั้งสองเล่ม และภายหลังสันตะปาปาถือดาบแห่งจิตวิญญาณไว้ และมอบดาบที่ใช้ปกครองทางโลกให้กับกษัตริย์ แต่อํานาจดังกล่าวที่มอบให้กษัตริย์ก็ยังคงเป็นของสันตะปาปาอยู่ การมอบดาบนี้เป็นเพียงการมอบหมายหน้าที่ให้กษัตริย์เท่านั้น อํานาจกษัตริย์จึงไม่มีทางใหญ่กว่าอํานาจสันตะปาปาที่เป็น เจ้าของดาบที่แท้จริง เพราะได้รับอํานาจนั้นมาจากพระเจ้าโดยตรง
69. ลัทธิศักติสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การดื่มสุรา และการบูชายัญด้วยโลหิต
(2) การบูชาชายาของเทพ
(3) การทรมานตนเองอย่างยิ่งยวด
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 97 – 98 ลัทธิศักติในศาสนาฮินดู คือ ลัทธิที่บูชาและนับถือชายาของเทพ เป็นลัทธิที่เกิด จากชนพื้นเมืองเดิมทางตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เบงกอล และอัสสัม มีคัมภีร์เรียกว่า ตันตระ ซึ่งลัทธิศักดิ์นี้จะมีการบูชาพระนางลักษมี เจ้าแม่อุมาเทวี และเจ้าแม่กาลี โดยมีการบูชายัญ ด้วยโลหิต ผู้หญิงเปลือยกายเต้นรำ ดื่มสุรา และเสพเมถุน
70. Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ในทัศนะของอริสโตเติลคือ
(1) การมีความสุข
(2) การมีชีวิตที่ดี
(3) การมีคุณธรรม
(4) การมีพฤติกรรมที่ดี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 56 – 58), (คําบรรยาย) ในทัศนะของอริสโตเติลนั้น เห็นว่า Telos หรือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ก็คือ “การมีชีวิตที่ดี” โดยอธิบายว่ามนุษย์ตามธรรมชาตินั้น เป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพของตนได้เลย ถ้าเขาอยู่คนเดียว ทั้งนี้ เนื่องจากมนุษย์จําเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์ในด้านการเมือง และการที่จะมีชีวิตที่ดี หรือบรรลุ Telos ได้นั้น มนุษย์จะต้องลงมือทํา หรือลงไปมีส่วนร่วม ทางการเมืองนั่นเอง
71. สถาบันการปกครองใดในประยุกตรัฐที่ทําหน้าที่คอยควบคุมสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ และนํารัฐไปสู่
ความยุติธรรม
(1) สภาประชาชน
(2) คณะวุฒิสมาชิก 250
(3) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(4) คณะมนตรีรัตติกาล
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) เพลโต ได้กําหนดให้ประยุกตรัฐมีคณะผู้ปกครองพิเศษขึ้นมาอีก คณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่คอยควบคุมสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ และตําแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคณะผู้ปกครองพิเศษนี้เรียกว่า “คณะมนตรีรัตติกาล” (Nocturnal Council) โดยเพลโตนั้น มีความประสงค์จะให้คณะมนตรีรัตติกาลนี้เองเป็นองค์อธิปัตย์ของรัฐ เพราะเชื่อว่าเป็นสถาบันที่จะนํารัฐไปสู่ความยุติธรรมได้
72. “Anacyclosis” มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การแสวงหารูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด
(2) การใช้เหตุผลเข้าใจกฎธรรมชาติ
(3) การหมุนวนของระบอบการปกครอง
(4) สาเหตุที่ทําให้มนุษย์เข้ามาอยู่รวมกันภายในรัฐ
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) โพลิเบียส (Polybius) เห็นว่า รูปการปกครองของกรีกนั้นมีการ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า วงจรของการปฏิวัตินิรันดร์ (The cycle of eternal revolutions หรือ Anacyclosis) โดยเริ่มต้นจากรูปการปกครองแบบราชาธิปไตย (Monarchy) ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นทุชนาธิปไตย (Tyranny) หรือทรราช อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy) ประชาธิปไตย (Democracy) ฝูงชนบ้าคลั่ง (Mob Rule) และสุดท้าย ก็จะกลับมาสู่ระบอบราชาธิปไตยอีกไม่มีที่สิ้นสุด
73. เพลโตถูกพระเจ้าไดโอนิซุสจับลงโทษเป็นทาสในข้อหาใด
(1) สนับสนุนกลุ่มอํานาจเก่าให้ก่อการรัฐประหารภายในแต่ไม่สําเร็จ
(2) การใช้เหตุผลเข้าใจกฎธรรมชาติ
(3) ยุยงชาวเมืองให้กระด้างกระเดื่อง (ลงถนน)
(4) เสนอข้อแนะนําทางการเมือง
(5) ลอบส่งข้อมูลลับของเมืองให้กับเอเธนส์
ตอบ 4 หน้า 33, (คําบรรยาย) ภายหลังที่ซอคราตีสถูกศาลพิพากษาให้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เพลโต ก็ได้ใช้ชีวิตท่องเที่ยวไปในดินแดนต่าง ๆ แถบอิตาลี อียิปต์ และบางส่วนของแอฟริกา ซึ่งเขา ได้ประสบโชคร้ายถูกลงโทษให้เป็นทาสที่เมืองไซราคิวส์ (Syracuse) เพราะสร้างความขุ่นเคือง ให้กับพระเจ้าไดโอนิซุสที่ 1 ด้วยการก้าวก่ายแนะนําพระองค์ในเรื่องการเมืองการปกครอง แต่ภายหลังบรรดามิตรสหายช่วยไถ่ตัวเป็นไทได้
74. คําว่า “Ideology” มีความหมายถึง
(1) การมองเห็น
(2) ความคิดเห็น
(3) ข้อเสนอแนะ
(4) ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11) เดอ ทราซี (de Tracy) เป็นผู้บัญญัติคําว่า “Ideology” ขึ้นมาเป็นคนแรก โดยเกิดจากศัพท์ภาษากรีก 2 คํา คือ คําว่า “Eidos” หรือ “Idea” ใน ภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความคิด และคําว่า “Logos” หรือ “Logy, Science” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า ความรู้ และเมื่อนํามารวมกันคําว่า ideology จะหมายถึง “ความรู้อันเกี่ยวข้องกับความคิด” หรือ “Science of Idea”
75. จุดมุ่งหมายของศาสนาเชนคือ
(1) บรรลุโมกษะ
(2) ไม่กลับมาเกิดอีก
(3) ไปรวมกับพรหม
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 98, (คําบรรยาย) ศาสนาเชน เป็นศาสนา อเทวนิยม (Atheism) คือ ไม่มีเทพหรือพระเจ้า และไม่นับถือเทพหรือพระเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด เป็นศาสนาแห่งเหตุผล โดยมีหลักความเชื่อที่สําคัญก็คือ ต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสาระไปสู่การบรรลุโมกษะ เพื่อที่จะได้ไม่กลับมาเกิดอีก
76. ข้อใด “ผิด” เกี่ยวกับหลักสัมพัทธนิยม (Relativism)
(1) ความเห็นขึ้นอยู่กับวัตถุวิสัย
(2) ปัจเจกบุคคลนิยม
(3) สังคมมีความจริงแตกต่างกัน
(4) ความจริงเป็นการให้คุณค่าของแต่ละคน
(5) มนุษย์มีอิสระ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ
77. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ Edict of Caracalla
(1) บัญญัติขึ้นโดย Cicero แต่บังคับอยู่เพียง 19 ปี
(2) เป็นกฎหมายที่กําหนดให้ทุกคนที่อยู่ภายใต้อํานาจโรมเป็นพลเมืองแห่งโรม
(3) กฎหมายที่ Polybius นําออกมาใช้จนแพร่หลายไปทั่วอาณาจักรโรมัน
(4) เป็นหลักกฎหมายที่อนุญาตให้มีทาสได้ ซึ่งกฎหมายนี้ยกเลิกไปในตอนปลายยุคโรมัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 62 ในปี ค.ศ. 212 จักรพรรดิคาราคัลล่า (Caracalla) แห่งอาณาจักรโรมัน ได้ออกประกาศ ฉบับหนึ่งชื่อ “Edict of Caracalla” ซึ่งมีผลให้คนทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร โรมัน (โรม) เป็นพลเมืองโรมันเหมือนกันหมดและใช้กฎหมายภายในฉบับเดียวกัน
78. เมื่อเกิดบ้านเมืองเป็นทุรยศหรือเกิดความเดือดร้อน นักคิดในสํานักใดจะไม่เข้าร่วม (ชาวโรมันเฉย)
(1) Epicurean
(2) Cynics
(3) Stoics
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 58, (คําบรรยาย) อิพิคิวเรียน (Epicurean) สอนว่า คนฉลาดควรหลีกหนีจากการเมือง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นสิ่งที่นําความยุ่งยากมาให้ และเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ไม่สามารถจะค้นพบ จุดหมายปลายทางของชีวิตนั่นคือความสุขสําราญ ดังนั้นจึงเห็นว่าเมื่อเกิดบ้านเมืองเป็นทุรยศ หรือเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายขึ้น นักคิดในสํานักนี้จะไม่เข้าร่วม หรือมักเรียกว่าชาวโรมันเฉย
79. พันธะหน้าที่ของมนุษย์ในมุมมองของซอคราตีสคือ
(1) มโนสํานึกของตัวเอง
(2) เป็นพันธะของทุกคน
(3) ความจริง
(4) การแสวงหาคุณธรรม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 23, (คําบรรยาย) ซอคราตีส เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีพันธะหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ 3 ประการ คือ พันธะต่อมโนสํานึกของตัวเขาเอง พันธะต่อความจริง และพันธะต่อการแสวงหาคุณธรรม
80. ผลงานชิ้นสําคัญของซอคราตีสคือ
(1) Euthyphro
(2) Apology
(3) Crito
(4) The Republic
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 39) ซอคราตีส (Socrates) เป็นนักคิดชาวเอเธนส์ และเป็น อาจารย์ของเพลโต ซึ่งมีชีวิตอยู่ประมาณ 469 – 399 ปีก่อนคริสตกาล โดยซอคราตีสไม่เคย เขียนหนังสือทิ้งไว้ให้ได้ศึกษาเลย แต่คนรุ่นหลังสามารถทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของเขาได้ผ่านทางงานเขียนของเพลโต
81. ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) มีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การวางแผนในการศึกษา
(2) การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการศึกษา
(3) การตัดสินเชิงคุณค่า
(4) การนําผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(5) การแยกค่านิยมออกจากการศึกษา
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8 – 9), (คําบรรยาย) ทฤษฎีการเมืองเชิงปทัสถาน (Normative Political Theory) คือสิ่งเดียวกับปรัชญาการเมือง ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้การตัดสินเชิงคุณค่า คือ ความรู้สึก ค่านิยม หรือประสบการณ์ของตัวนักคิดมาอธิบาย ซึ่งจะไม่มีการแยกคุณค่าออก จากสิ่งที่ศึกษา โดยคําอธิบายนั้นสามารถเข้าใจหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยเหตุผล และไม่จําเป็นต้องทดลองให้เห็นในเชิงประจักษ์
82. ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน สัมพันธ์กับข้อใด
(1) แต่ละคนได้รับทุกสิ่งอย่างเสมอหน้ากัน
(2) การกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรม
(3) การแบ่งหน้าที่กันทําตามความสามารถ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 48 ความยุติธรรมในการแบ่งสรรปันส่วน หมายถึง คนเราอาจถูกกําหนดให้ทําหน้าที่ต่าง ๆ กันได้ สุดแล้วแต่คุณค่า (Merits) ของแต่ละคน เช่น การที่คน ๆ หนึ่งได้เป็นผู้ปกครอง เพราะ เขามีคุณสมบัติแห่งความเป็นผู้ปกครอง แต่ในขณะที่คนอีกคนหนึ่งกลับเหมาะที่จะเป็นช่างฝีมือ เพราะเขาไม่มีคุณสมบัติแห่งความเป็นผู้ปกครอง แต่มีความสามารถทางด้านช่างฝีมือ เป็นต้น
83. ข้อใดเกี่ยวข้องกับหลักการของอิพิคิวเรียนมากที่สุด
(1) ใส่ใจกิจการของรัฐ
(2) ประพฤติอย่างมีคุณธรรมโดยอาศัยหลักของเหตุผล
(3) มีชีวิตอย่างไม่เบียดเบียนใคร
(4) ต่อต้านสถาบันทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม
(5) มีความกล้าหาญในการปกป้องรัฐเมื่อถูกรุกราน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 77 – 78) ลัทธิอิพิคิวเรียน (Epicureanism) มีต้นกําเนิดมาจากแนวคิดของ Epicurus นักคิดชาวกรีก ซึ่งมีคําขวัญประจําตัวก็คือ “จงมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย” ซึ่งจากคําขวัญนี้เองทําให้การดํารงชีวิตของเขานั้นไม่เบียดเบียนใครเลย ดังสะท้อนออกมาจาก การที่เขาไม่แต่งงาน มีชีวิตสันโดษ กินแต่น้ําเปล่ากับขนมปัง
84. ความเสมอภาคของพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) การบรรลุธรรม
(2) การกระทํา
(3) สติปัญญา
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 113 ความเสมอภาคของพุทธศาสนา หมายถึง ความเสมอภาคในการประพฤติธรรม ไม่ใช่ความเสมอภาคในความสามารถ สติปัญญา หรือหน้าที่ โดยทุกคนเสมอภาคในการที่จะประพฤติธรรม การบรรลุธรรม และเข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นที่สุดของวัฏสงสาร
85. จิตใจของมนุษย์ในทัศนะของเพลโตประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานที่ประการ
(1) 3 ประการ ความอยาก ความโกรธ ความไม่รู้
(2) 3 ประการ ความอยาก ความพอประมาณ เหตุผล
(3) 4 ประการ ความอยาก ความสงสัยใคร่รู้ ความรู้ ความกล้าหาญ
(4) 4 ประการ ความอยาก คุณธรรม ความรู้ ความกล้าหาญ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 36 เพลโต เห็นว่า จิตใจของมนุษย์นั้นประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) ความกล้าหาญ และตรรกะหรือเหตุผล
86. สถาบันทางการเมืองเอเธนส์ใดที่มาจากการเลือกตั้ง
(1) Council of Five Hundred
(2) Ten Generals
(3) Council of Representative
(4) Assembly of Ecclesia
(5) Court
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ
87. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับแนวคิดเหตุผลนิยมทางทฤษฎีการเมือง
(1) วิตรรกวาท
(2) สถาบันการเมืองมาจากแนวความคิดของมนุษย์
(3) สถาบันการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 8. (คําบรรยาย) กลุ่มวิตรรกวาทหรือกลุ่มเหตุผลนิยม เชื่อว่า บรรดาสถาบันทางการเมือง ต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นผลมาจากแนวความคิดของมนุษย์ คนแตกต่างจากสัตว์อื่นคือเป็นผู้ที่มีเหตุผล และสถาบันการเมืองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมด้วยเหตุผลของคน นั่นคือ คนจะใช้หลัก เหตุผลสร้างทฤษฎีการเมืองขึ้นมาเพื่อกําหนดว่า ระบบการเมืองหรือสถาบันการเมืองควรมี ลักษณะอย่างไร มีกี่สถาบัน และแต่ละสถาบันมีอํานาจอะไรบ้าง
88. คุณธรรมที่ทําให้แต่ละคนไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกันของรัฐในอุดมคติของเพลโตคือ
(1) ความรักในความรู้
(2) ความอดทนอดกลั้น
(3) ความรู้
(4) ความกล้าหาญ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 36 เพลโต เห็นว่า ความยุติธรรมจะปรากฏขึ้นหรือมีขึ้นในบุคคลก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น รู้จักขันติหรือความอดทนอดกลั้น (Temperance) ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ทําให้คนยอมรับสภาพ ความสามารถของตน และแสดงบทบาทตามคุณธรรมประจําจิตของตนเท่านั้น โดยเขากล่าว ไว้ว่า “ความยุติธรรมหมายถึงการผูกพันอยู่กับธุรกิจของตน และไม่ก้าวก่ายงานของคนอื่น”
89. ข้อขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 ในเรื่องแต่งตั้งพระสังฆราช ตามมาด้วยเหตุการณ์อะไร
(1) ประกาศบัพพาชนียกรรม (Excommunication) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4
(2) การสั่งปลดพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7
(3) ชัยชนะของจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1, 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 107 – 108) ในปี ค.ศ. 1076 จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 ได้พยายาม ที่จะตั้งสังฆราชด้วยพระองค์เอง โดยขัดกับคําสั่งของสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) ที่ ทรงยกเลิกธรรมเนียมของกษัตริย์ที่จะเข้าแทรกแซงการแต่งตั้งสังฆราช ซึ่งผลสุดท้ายจักรพรรดิ เฮนรี่ที่ 4 ถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (Excommunication) หรือถูกขับออกจากศาสนา และ ประชาชนก่อการจลาจล บรรดานักรบที่เคยสนับสนุนต่างกลัวและถอนตัวจากการเป็นข้ารับใช้จนถึงขั้นที่จะตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นปกครองแทน
90. สงครามเพโลโพนีเซียน (Petoponesian War) เป็นสงครามระหว่างฝ่ายใดกับฝ่ายใด
(1) สปาร์ตากับทรอย
(2) เอเธนส์กับเปอร์เซีย
(3) เอเธนส์กับสปาร์ตา
(4) สปาร์ตากับเปอร์เซีย
(5) เอเธนส์กับมาเซโดเนีย
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) สงครามเพโลโพนีเชียน (Petoponesian War) เป็นสงครามระหว่างนครรัฐเอเธนส์ (Athens) และสปาร์ตา (Sparta) แต่ในทางปฏิบัติแล้วบรรดานครรัฐกรีกอื่นๆทุกนครรัฐถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วมในสงครามระหว่างพวกเดียวกัน จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง ที่สร้างความระส่ําระสายไปทั่วรัฐกรีกในขณะนั้น
91. ความชอบธรรมของรัฐในทัศนะของโซฟิสต์อยู่ที่ปัจจัยใด
(1) กฎหมายที่ยุติธรรม
(2) หลักการที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
(3) ปัจเจกบุคคล
(4) อํานาจ
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 4 หน้า 25 (คําบรรยาย) กลุ่มโซฟิสต์ เชื่อว่า อํานาจสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐได้ แต่กฎหมาย ซึ่งมีรากฐานมาจากอํานาจก็มักจะบีบบังคับให้คนต้องทําอะไรที่ขัดต่อเหตุผลอยู่เสมอ
92. ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากแนวความคิดของมนุษย์กับแนวคิดที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์เป็นไปในลักษณะอย่างไร
(1) ฝ่ายแรกมีอิทธิพลมากกว่า
(2) ฝ่ายหลังมีอิทธิพลมากกว่า
(3) ทั้งสองฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
(4) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
(5) ข้อ 3 และ 4 ถูก
ตอบ 5 หน้า 11, (คําบรรยาย) จากข้อบกพร่องในการอรรถาธิบายของฝ่ายวิตรรกวาท (เหตุผลนิยม) กับฝ่ายสสารวาท (วัตถุนิยม) สรุปได้ว่า แนวคิดของฝ่ายแรกที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจาก แนวความคิดของมนุษย์นั้นยังไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของสถาบันที่มีต่อความคิดขณะเดียวกันแนวคิดของฝ่ายหลังที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองมาจากสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น ก็ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ยอมรับถึงอิทธิพลของความคิดที่มีต่อสถาบัน ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้ง สองฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน และยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่
93. ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ตามคติคริสต์ศาสนาสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด
(1) พระเจ้าเป็นผู้ปกครอง
(2) อํานาจมาจากผู้ใต้ปกครอง
(3) อํานาจในการปกครองมาจากพระเจ้า
(4) อํานาจในการปกครองมาจากศาสนจักร
(5) อํานาจมาจากผู้ปกครอง
ตอบ 3 หน้า 77, (คําบรรยาย) ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right) ตามคติคริสต์ศาสนา เชื่อว่า “อํานาจ ทั้งหมดเป็นของพระเจ้า” กษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองโดยได้รับสิทธิการปกครองมาจากพระเจ้า ดังนั้นกษัตริย์จึงทรงมีอํานาจอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดนอกจากพระเจ้า โดยพระเจ้าจะเลือกกษัตริย์โดยยึดหลักสายโลหิต พฤติกรรมของกษัตริย์ พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสิน ว่าดีหรือไม่ดี ประชาชนหรือองค์การอื่น ๆ ไม่มีสิทธิจะวินิจฉัย
94. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับหน้าที่ที่บุตรพึงปฏิบัติต่อบิดามารดา
(1) เลี้ยงดูท่าน
(2) ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับมรดก
(3) รับทํากิจของท่าน
(4) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญอุทิศให้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 119, (คําบรรยาย) ข้อปฏิบัติที่บุตรจึงมีต่อบิดามารดา คือ เลี้ยงดูท่าน รับทํากิจของท่าน ดํารงวงศ์ตระกูล ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรได้รับทรัพย์มรดก และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญ อุทิศให้ท่าน
95. ซินนิคส์ มีที่มาจากคําในภาษากรีกที่มีความหมายถึงข้อใด
(1) แมว
(2) หมา
(3) ปลา
(4) ไก่
(5) นกอินทรี
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 80), (คําบรรยาย) คําว่า ซินนิคส์ หรือ “Cynics” มาจากคํา ในภาษากรีก หมายถึง สุนัข (หมา) สําหรับชื่อของลัทธินี้ถ้าแปลตรงตัวก็คือ “มีชีวิตเหมือนสุนัข” ซึ่งเหตุผลที่ได้ชื่อนี้ก็เนื่องมาจากค่าสอนของสํานักนี้สอนให้มนุษย์นั้นดํารงชีวิตอย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีรีตองใด จนทําให้บางคนมักเรียกสํานักนี้ว่า พวกที่ดํารงชีวิตเหมือนสุนัข
96. ในทัศนะของโพลิเบียส ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะเสื่อมลงเป็นระบอบการปกครองรูปแบบใด
(1) Tyranny
(2) Aristocracy
(3) Oligarchy
(4) Mob Rule
(5) Polity
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ
97. นักปราชญ์คนใดที่เสนอว่าการปกครองทางโลกฝ่ายอาณาจักรมีอํานาจเหนือศาสนจักร
(1) Boniface XIII
(2) Gelasius I
(3) St. Aquinas
(4) John of Salisbury
(5) Marsiglio of Padua
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ
98. ใครเป็นผู้บันทึกเรื่อง “บทสนทนาแห่งมีเลี่ยน
(1) อริสโตเติล
(2) เพลโต
(3) ธูซิดิดิส
(4) โปรทากอรัส
(5) ธราซิมาคัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34, ประกอบ
99. ข้อใดสัมพันธ์กับอุดมการณ์ทางการเมืองมากที่สุด
(1) เสรีภาพ
(2) เสมอภาค
(3) ภราดรภาพ
(4) อนาธิปัตย์
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ
100. ใครเป็นผู้สอนว่า “มนุษย์เป็นผู้วัดหรือผู้ตัดสินทุกสรรพสิ่ง”
(1) ธราชิมาคัส
(2) กอร์กิอัส
(3) โปรทากอรัส
(4) ซีโน
(5) แอนติฟอน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 25), (คําบรรยาย) โปรทากอรัส เป็นผู้สอนว่า มนุษย์เป็นผู้วัด หรือผู้ตัดสินทุกสรรพสิ่ง โดยได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นผู้กําหนดคุณค่าความหมายของสรรพสิ่ง ต่าง ๆ ทําให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น และทําสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอยู่อย่างที่มันไม่เป็น”
(Man is the measure of all things, of things that are as how they, and of things. that are not as to how they are not)