การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1101 การเมืองและการปกครองไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การปกครองในสมัยอยุธยามีการปกครองในลักษณะเดียวกับในสมัยสุโขทัย ยกเว้นเรื่องใด

(1) ระบบขุนนางเจ้าขุนมูลนาย

(2) การค้าระหว่างประเทศ

(3) การกระจายอํานาจ

(4) การสืบทอดราชสมบัติ

(5) การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

ตอบ 5 หน้า 25, 28 – 29 ระบบการปกครองในสมัยอยุธยามีลักษณะเช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัยคือ เป็นระบบราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่กษัตริย์เพียง พระองค์เดียว แต่ที่ต่างกันคือ กษัตริย์สุโขทัยปกครองประชาชนในลักษณะพ่อปกครองลูก ส่วนกษัตริย์อยุธยามีลักษณะการปกครองแบบนายปกครองบ่าวหรือเจ้าปกครองข้า

2 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ทางด้านการค้านอกจากนั้นยังมีการค้าขาย ติดต่อกับ “ต่างประเทศ ประเทศใด

(1) มลายู

(2) อินเดีย

3 ศรีลังกา

(4) เปอร์เซีย

(5) อิสราเอล

ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยกรุงสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า

3 “การปกครองแบบหัวเมือง” ในสมัยสุโขทัยมีความหมายตรงกับชื่อใด

(1) การปกครองส่วนกลาง

(2) การปกครองส่วนภูมิภาค

(3) การปกครองส่วนท้องถิ่น

(4) การปกครองแบบอิสระ

(5) การปกครองแบบกระจายอํานาจ

ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 หัวเมืองชั้นใน

2 หัวเมืองชั้นนอก

3 หัวเมืองประเทศราช

 

4 “ราชวงศ์อู่ทอง” มีความสําคัญในฐานะผู้ปกครองของไทยในสมัยใด

(1) อาณาจักรทวาราวดี

(2) อาณาจักรสุโขทัย

(3) อาณาจักรศรีอยุธยา

(4) อาณาจักรธนบุรี

(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อาณาจักรศรีอยุธยามราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปกครอง 5 ราชวงศ์

1ราชวงศ์อู่ทอง

2 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

3 ราชวงศ์สุโขทัย

4 ราชวงศ์ปราสาททอง

5 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

5 การปกครองหัวเมืองในสมัยสุโขทัย ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ใด

(1) เมืองเอก

(2) เมืองหลวง

(3) เมืองชั้นใน

(4) เมืองชั้นนอก

(5) เมืองประเทศราช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 การถวายฎีกาหรือร้องทุกข์ของราษฎรโดยตรงกับพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ของไทยในสมัยใด

(1) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(2) สมัยกรุงธนบุรี

(3) สมัยกรุงศรีอยุธยา

(4) สมัยสุโขทัย

(5) ก่อนสุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการถวายฎีกาก็ไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้

7 กษัตริย์ที่ทรงกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ 1 ตรงกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใด

(1) พระมหินทราธิราชย์

(2) พระนารายณ์มหาราช

(3) พระนเรศวรมหาราช

(4) พระมหาธรรมราชา

(5) พระเจ้าตากสิน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไทยเสียกรุงให้กับพม่า 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปี พ.ศ. 2127 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปีเดียวกัน

8 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้มีการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่งคือ

(1) สมุหกลาโหมและสมุหทัย

(2) สมุหทัยและสมุหกระทรวงกลาโหม

(3) สมุห์บัญชีและสมุหมาตรา

(4) สมุหนายกและสมุหกลาโหม

(5) สมุหเสนาบดีและสมุหนายก

ตอบ 4 หน้า 33 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองด้วยการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการ ออกเป็น 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์,ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล, ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร ฯลฯ

9 เมืองทดลองประชาธิปไตยที่มีการเรียกว่า “ดุสิตธานี” เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 4

(3) รัชกาลที่ 6

(4) รัชกาลที่ 8

(5) ทุกรัชกาล

ตอบ 3 หน้า 43, 49 – 50 (S) รัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งเมืองสมมติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไทเพื่อจําลองรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มี พรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

10 สงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและได้ยุติลงตรงกับสมัยรัชกาลที่เท่าใด ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

(1) สมัยรัชกาลที่ 1

(2) สมัยรัชกาลที่ 2

(3) สมัยรัชกาลที่ 3

(4) สมัยรัชกาลที่ 4

(5) สมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างไทย (สยาม) กับพม่าในอดีตนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านสงคราม โดยไทยกับพม่าทําสงครามกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ แต่สงครามได้ยุติหรือสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากพม่าแพ้สงครามและตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษ

11 “คณะราษฎร” ผู้ก่อตั้งเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มใดต่อไปนี้

(1) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์, ร.ท.แปลก ชีตตะสังคะ, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(2) นายปรีดี พนมยงค์, ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ, พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์, จอมพลถนอม กิตติขจร

(3) นายแนบ พหลโยธิน, นายควง อภัยวงศ์, นายทวี บุณยเกตุ, นายปรีดี พนมยงค์, จอมพลถนอม กิตติขจร

(4) ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก ชีตตะสังคะ, นายปรีดี พนมยงค์, ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี,นายตั้ว ลพานุกรม, นายจรูญ สิงหเสนี

(5) ร.ท.แปลก ชีตตะสังคะ, นายชวน หลีกภัย, นายแนบ พหลโยธิน, นายธานินทร์ กรัยวิเชียร,นายควง อภัยวงศ์,

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ก่อตั้ง “คณะราษฎร” ซึ่งมีการจัดประชุมครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2469 มีทั้งหมด 7 คน ได้แก่ ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (จอมพล ป. พิบูลสงคราม), ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี, ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี, นายปรีดี พนมยงค์, นายตัว ลพานุกรม นายจรูญ สิงหเสนี และนายแนบ พหลโยธิน

12 “กบฎผู้มีบุญ” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคใดของไทย

(1) ภาคเหนือ

(2) ภาคอีสาน

(3) ภาคใต้

(4) ภาคกลาง

(5) ภาคตะวันออก

ตอบ 2 (คําบรรยาย) กบฏที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453) ได้แก่

1 กบฏ ร.ศ. 102 (พ.ศ. 2426)

2 กบฎผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญ (ทางภาคอีสาน) พ.ศ. 2444

3 กบฏเงี่ยวเมืองแพร่ (ทางภาคเหนือ) พ.ศ. 2445

4 กบฏแขก (ทางภาคใต้) พ.ศ. 2445

13 เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีฐานะเท่าเทียมกัน และเมื่อมีการประชุมร่วมกัน เรียกว่าอย่างไร

(1) เสนาบดีกระทรวง

(2) เสนาบดีทบวง

(3) เสนาบดีสภา

(4) เสนาบดีรัฐสภา

(5) เสนาบดีกระทรวงรัฐสภา

ตอบ 3 หน้า 33, (ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ) เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีฐานะเท่าเทียมกันและประชุมร่วมกันเป็น “เสนาบดีสภา” (Council of State) ทําหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่กษัตริย์มอบหมาย เพราะอํานาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของกษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

14 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มีความสําคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

(1) วันประกาศเลิกทาส

(2) วันที่ประเทศไทยได้เอกราช

(3) วันประกาศใช้กฎอัยการศึก

(4) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกที่ไม่มีคําว่า “ชั่วคราว”

(5) วันประกาศให้มีนายกรัฐมนตรี

ตอบ 4 หน้า 84 วันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกที่ไม่มีคําว่า “ชั่วคราว” นั่นคือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 (ฉบับที่ 2)

15 การให้สมญานามว่า “มีดโกนอาบน้ำผึ้ง” ควรตรงกับนายกรัฐมนตรีท่านใด

(1) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายควง อภัยวงศ์

(4) นายทวี บุณยเกตุ

(5) นายอานันท์ ปันยารชุน

ตอบ 2 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในแต่ละยุคมักจะถูกตั้งฉายาตามบุคลิกหรือตามผลงานของผู้นําแต่ละคน เช่น จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” หมายถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, “ฤษีเลี้ยงลิง” หมายถึง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, “มีดโกนอาบน้ําผึ้ง” หมายถึง นายชวน หลีกภัย “รัฐบาลหอย” หมายถึง รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” หมายถึง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน, “รัฐบาลยิ่งแก่” หมายถึง รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, “ดีแต่พูด” หมายถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฯลฯ

16 คําใดในภาษาอังกฤษต่อไปนี้ที่ตรงกับความหมายของ “การปฏิวัติ”

(1) Reform

(2) Revolution

(3) Reconstruction

(4) Retire

(5) Relative

ตอบ 2 หน้า 62, 45 (S) คําว่า “กบฏ ปฏิวัติ และรัฐประหาร” จะมีความหมายเหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กําลังอาวุธโดยทหารยึดอํานาจทางการเมือง แต่จะมีความหมายแตกต่างกันในด้านผล ของการใช้กําลังความรุนแรงนั้น กล่าวคือ หากทําการไม่สําเร็จจะเรียกว่า “กบฏ” (Rebellion), หากทําการสําเร็จและเป็นแต่เพียงการเปลี่ยนรัฐบาล (เปลี่ยนผู้ถืออํานาจรัฐหรือผู้คุมอํานาจ ทางการเมือง) จะเรียกว่า “รัฐประหาร” (Coup d’etat) แต่หากรัฐบาลใหม่ได้ทําการเปลี่ยนแปลง

โครงสร้างมูลฐานของระบอบการปกครองก็จะเรียกว่า “ปฏิวัติ” (Revolution)

17 แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 เกี่ยวข้องโดยตรงกับปี พ.ศ. ใด และบุคคลใดต่อไปนี้

(1) พ.ศ. 2502, นายปรีดี พนมยงค์

(2) พ.ศ. 2502, นายชวน หลีกภัย

(3) พ.ศ. 2504, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(4) พ.ศ. 2504, จอมพลถนอม กิตติขจร

(5) พ.ศ. 2506, นายทวี บุณยเกตุ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

18 สมาคมคณะราษฎร มีหลักการหรือแนวทางตรงกับข้อใดต่อไปนี้

(1) กลุ่มผลประโยชน์

(2) พรรคการเมือง

(3) ศาสนา

(4) องค์กรอิสระ

(5) สถานเริงรมย์

ตอบ 2 หน้า 288 พรรคการเมืองไทยพรรคแรกทางพฤตินัย คือ “สมาคมคณะราษฎร” ที่จัดตั้งขึ้นโดย“คณะราษฎร” คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แม้จะไม่ระบุว่าเป็นพรรคการเมือง แต่ก็มี เจตจํานง/มีหลักการหรือแนวทางเช่นเดียวกับพรรคการเมืองโดยทั่วไป คือ ประสงค์จะเข้ารับผิดชอบ ในการบริหารประเทศ ดังนั้นคณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ส่วนพรรคการเมืองไทยพรรคแรกตามนิตินัย คือ “พรรคก้าวหน้า” ซึ่งริเริ่มจัดตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

19 การขอตั้ง “คณะชาติ” เพื่อทํากิจกรรมทางการเมืองเกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) พระยาพหลพลพยุหเสนา

(2) นายปรีดี พนมยงค์

(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) หลวงวิจิตรวาทการ

(5) หลวงอดลเดชจรัส

ตอบ 4 (คําบรรยาย) การขอตั้งสมาคม “คณะชาติ” เมื่อต้นปี พ.ศ. 2476 เพื่อทํากิจกรรมทางการเมืองนั้นมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นเลขาสมาคมฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคานอํานาจสมาคมคณะราษฎร

20 รัฐประหาร พ.ศ. 2501 เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิตติขจร, จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พลเอกเผ่า ศรียานนท์

(2) หลวงวิจิตรวาทการ, นายอานันท์ ปันยารชุน, พ.อ.สุนทร คงสมพงษ์

(3) นายพจน์ สารสิน, นายชวน หลีกภัย, นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

(4) นายปรีดี พนมยงค์, นายแนบ พหลโยธิน, พระยาพหลพลพยุหเสนา

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 หน้า 69, (คําบรรยาย) รัฐประหาร พ.ศ. 2501 เกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (หัวหน้าคณะรัฐประหาร) และจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดที่ได้รับการสนับสนุนจากจอมพลสฤษดิ์) ฯลฯ

21 รัฐธรรมนูญคือ

(1) กฎหมายที่กําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการปกครอง

(2) กฎหมายที่ว่าด้วยการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

(3) กฎหมายที่กําหนดถึงการรักษาความสงบเรียบร้อย

(4) กฎหมายที่กําหนดถึงความเป็นประชาธิปไตย

(5) กฎหมายที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 81 รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกําหนดรูปแบบและหลักการในการจัดการปกครองประเทศ การใช้อํานาจของผู้ปกครองหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆการสืบต่ออํานาจ ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

22 รัฐธรรมนูญจะประกาศใช้ใน

(1) ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น

(2) ประเทศที่เป็นเผด็จการ

(3) ใช้ได้ทั้งประเทศประชาธิปไตยและประเทศเผด็จการ

(4) ประเทศที่มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(5) ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองของประเทศนั้น ๆ

ตอบ 3 หน้า 82 ตามทฤษฎีแล้ว รัฐอธิปไตยทุกรัฐจะมีรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักหรือกติกาที่กําหนดแนวทางสําหรับการที่รัฐจะใช้อํานาจปกครองราษฎร ดังนั้นการมีรัฐธรรมนูญ จึงมิได้หมายความว่ารัฐนั้นเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการก็มีรัฐธรรมนูญเช่นกัน

23 “สาระ” ของรัฐธรรมนูญคือ

(1) จะกล่าวถึงสิทธิโดยธรรมชาติของประชาชนในรัฐทุก ๆ รัฐ

(2) จะกล่าวถึงสัญชาตญาณของประชาชนในรัฐ

(3) จะกล่าวถึงการทําสัญญากันระหว่างรัฐกับประชาชน

(4) จะกล่าวถึงการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล

(5) จะกล่าวถึงการกําหนดขั้นตอนและวิธีการแก้ไขกฎหมายธรรมดาต่าง ๆ

ตอบ 5 หน้า 175 (S) ในรายละเอียดและเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะมีบทบัญญัติที่กล่าวถึงกระบวนการหรือขั้นตอนและวิธีการออกหรือตราและแก้ไขกฎหมายเอาไว้ ซึ่งในการยกร่างกฎหมาย แต่ละฉบับจะต้องอ้างอิงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับอํานาจของการออกกฎหมายไว้เสมอ เพราะการออกกฎหมายของรัฐแต่ละฉบับจะกระทําโดยละเมิดรัฐธรรมนูญไม่ได้

24 รัฐธรรมนูญของไทยฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อ

(1) 3 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(2) 4 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(3) 5 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(4) 6 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

(5) 7 วัน หลังจากเกิดการปฏิวัติ 2475

ตอบ 1 หน้า 83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย (พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ดังนั้นจึงเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เพียง 3 วันเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียว เรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน 70 คน

25 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่ระบุว่าให้มี “สภาเดียว” เป็นฉบับแรก

(1) ฉบับชั่วคราว ปี 2475

(2) ฉบับถาวร ปี 2475

(3) ฉบับถาวร ปี 2489

(4) ฉบับถาวร ปี 2540

(5) ฉบับชั่วคราว ปี 2549

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24 ประกอบ

26 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ปี พ.ศ. 2489 จะเป็นฉบับแรกที่

(1) มีการระบุถึงการมีสภาเดียว

(2) มีการระบุถึงสมาชิกสภาประเภท 1 ว่าต้องมาจากประชาชนเลือกตั้งเข้ามา

(3) มีการระบุให้แยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง

(4) มีอายุการใช้ยาวนานถึง 14 ปี

(5) มีฉายาว่า “รัฐธรรมนูญใต้ทุ่ม”

ตอบ 3 หน้า 86 – 87 รัฐธรรมนูญฯ 2489 (ฉบับที่ 3) มีลักษณะสําคัญคือ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติแยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ “รัฐสภา” จากสภาเดียว (ตามรัฐธรรมนูญฯ 2475) ไปเป็นสภาคู่ (2 สภา) ได้แก่

1 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรง

2 พฤฒิสภา (วุฒิสภา) ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยอ้อม

27 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่กําหนดอํานาจหน้าที่ให้ฝ่ายบริหารคือ คณะรัฐมนตรีมีอํานาจกว้างขวางสามารถใช้อํานาจได้ทั้งอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ใน ม.17

(1) ฉบับที่ 4 ปี พ.ศ. 2490

(2) ฉบับที่ 5 ปี พ.ศ. 2492

(3) ฉบับที่ 6 ปี พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495

(4) ฉบับที่ 7 ปี พ.ศ. 2502

(5) ฉบับที่ 17 ปี พ.ศ. 2549

ตอบ 4 หน้า 92 93, 71 (S) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (ธรรมนูญการปกครองฯ 2502) ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการมากที่สุดของไทย เพราะมีการให้อํานาจอย่างกว้างขวางมากแก่ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี ที่นอกจากจะมีอํานาจบริหารแล้วยังสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการ ในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ในมาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งการหรือกระทําการใด ๆ ได้ดังนั้นจึงถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ

28 “ประธานคณะกรรมการราษฎร” หมายถึง

(1) ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) ประธานสมาชิกพฤฒิสภา

(3) ประธานสมาชิกวุฒิสภา

(4) คณะรัฐมนตรี

(5) นายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 83 – 85, 159 – 160 ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 ได้เรียกตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารว่า“ประธานคณะกรรมการราษฎร” และเรียกคณะบริหารว่า “คณะกรรมการราษฎร” แต่ต่อมา นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกตําแหน่งดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ตามลําดับ

29 พระมหากษัตริย์ในสมัยใดที่มีบทบาทเป็น “พ่อ” ของราษฎร

(1) สมัยก่อนสุโขทัย

(2) สมัยสุโขทัย

(3) สมัยอยุธยา

(4) สมัยกรุงธนบุรี

(5) สมัยปัจจุบัน

ตอบ 2 หน้า 147, 156, (คําบรรยาย) บทบาทของพระมหากษัตริย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยในสมัยสุโขทัยพระมหากษัตริย์วางพระองค์อยู่ในฐานะเปรียบเสมือนบิดาปกครองบุตร นั่นคือ มีบทบาทเป็น “พ่อ” ของราษฎร ส่วนในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ บทบาทของ พระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงมาอยู่ในฐานะเป็น “เจ้าชีวิต” ของราษฎร และต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน บทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เปลี่ยนแปลง ไปเป็นกษัตริย์ที่มีอํานาจจํากัด (Limited Monarchy) กล่าวคือ ทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศมากกว่าที่จะทรงมีพระราชอํานาจในด้านการบริหารโดยตรง

30 พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย

(1) ทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ

(2) มีพระราชอํานาจในการบริหารประเทศโดยตรง

(3) มีพระราชอํานาจในการออกกฎหมายโดยตรง

(4) มีพระราชอํานาจในการสั่งการด้านตุลาการโดยตรง

(5) ทรงมีทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

31 ตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” เริ่มมีครั้งแรกในรัชสมัย

(1) รัชกาลที่ 2

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 4

(4) รัชกาลที่ 5

(5) รัชกาลที่ 6

ตอบ 4 หน้า 151 ในปี พ.ศ. 2435 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นตําแหน่งรัชทายาทที่จะได้ทรงสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป

32 ประเทศไทยถวายสิทธิของพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนี้

(1) สิทธิที่จะเลือกพระราชธิดาขึ้นสืบสันตติวงศ์โดยพระองค์เอง

(2) สิทธิที่จะเลือกผู้รับสนองพระบรมราชโองการโดยพระองค์เอง

(3) สิทธิที่จะรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ

(4) สิทธิที่จะกระทําการสิ่งใดก็ได้ในประเทศ

(5) สิทธิที่จะใช้สิทธิทางการเมืองในด้านต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 151 – 152 สิทธิของพระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

1 สิทธิที่จะให้คําเตือน

2 สิทธิที่จะได้รับทราบเรื่องราวต่าง ๆ

3 สิทธิที่จะพระราชทานคําปรึกษาหารือ

4 สิทธิที่จะสนับสนุน

33 พระมหากษัตริย์ไทยทรง

(1) มีอํานาจไม่จํากัด (Unlimited Monarchy)

(2) มีอํานาจจํากัด (Limited Monarchy)

(3) ไม่มีอํานาจเลย

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ

34 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489

(2) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(3) ฉบับที่ 9 ปี 2515

(4) ฉบับที่ 12 ปี 2521

(5) ฉบับที่ 16 ปี 2540

ตอบ 5 หน้า 100, 114 รัฐธรรมนูญฯ 2540 (ฉบับที่ 16) เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความคิดเห็นมากที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 และถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

35 ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงตั้งไว้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในปัจจุบันเรียกว่า

(1) คณะที่ปรึกษาส่วนพระองค์

(2) คณะองคมนตรี

(3) คณะอภิรัฐมนตรี

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 155 คณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงตั้งไว้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในปัจจุบันเรียกว่า “คณะองคมนตรี” (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 10)

36 พรรคการเมืองได้รับการกล่าวถึงอย่างเปิดเผยและถูกต้องตามรัฐธรรมนูญฉบับปีใด

(1) 2475

(2) 2489

(3) 2490

(4) 2492

(5) 2502

ตอบ 2 หน้า 287 288 พรรคการเมืองได้รับการกล่าวถึงอย่างเปิดเผยและถูกต้องในทางนิตินัยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฯ 2489 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการตั้งคณะพรรคการเมืองทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย”

37 พรรคการเมืองของไทยในอดีตคือ

(1) ระบบพรรคเด่นพรรคเดียว

(2) ระบบ 2 พรรค

(3) ระบบหลายพรรค

(4) ระบบรัฐบาลผสม

(5) ระบบรัฐบาลเสียงข้างมาก

ตอบ 1 หน้า 292 ในอดีตนั้นระบบพรรคการเมืองไทยเรียกได้ว่าเป็นระบบพรรคเด่นพรรคเดียว(One Dominant Party) เพราะมีกลุ่มการเมืองเพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มข้าราชการประจํา โดยเฉพาะทหารที่แม้จะไม่ได้จัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยเปิดเผย แต่สามารถเข้าครอบงํา และควบคุมอํานาจทางการเมืองได้ จึงทําให้มีการวิเคราะห์กันว่าเมืองไทยมีการปกครองแบบ อํามาตยาธิปไตย (Bureaucratic Oligarchy) คือ ข้าราชการเป็นผู้คุมอํานาจทางการเมือง

38 หน้าที่สําคัญของพรรคการเมืองไทยคือ

(1) ดําเนินการในการเลือกตั้งเพื่อเข้าเป็นรัฐบาล

(2) รวบรวมค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน

(3) สนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของบุคคลหรือคณะบุคคล

(4) สนับสนุนเรื่องเงินค่าใช้จ่ายแก่สมาชิกพรรค

(5) รวบรวมหรือดึงตัวอดีต ส.ส. ที่มีชื่อเสียงให้เข้ามาสังกัดในพรรคตนเอง

ตอบ 3 หน้า 291 หน้าที่สําคัญของพรรคการเมืองไทย คือ การสนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น การก่อตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาก็เพื่อที่จะสนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม และคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ฯลฯ

39 พรรคการเมืองไทยมีลักษณะโครงสร้าง

(1) มีฐานรองรับจากประชาชนจํานวนมาก

(2) สมาชิกสามารถเปลี่ยนพรรคได้ตามอัธยาศัย

(3) นักการเมืองมีอุดมการณ์มากกว่าเรื่องผลประโยชน์

(4) ขาดการมีฐานรองรับจากประชาชนจํานวนมาก

(5) สมาชิกมีระเบียบวินัยมาก

ตอบ 4 หน้า 292 ลักษณะโครงสร้างของพรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ คือ ขาดฐานรองรับจากประชาชนการจัดโครงสร้างพรรคการเมืองจะเน้นเฉพาะในเมืองหลวง มีพรรคการเมืองน้อยพรรคมาก ที่มีสาขาแผ่ขยายอยู่ในภูมิภาค ดังนั้นปัญหาหลักของระบบพรรคการเมืองไทยที่ผ่านมา คือขาดฐานสนับสนุนอย่างแท้จริงจากประชาชนในท้องถิ่น

40 พรรคการเมืองไทยพรรคใดที่ถือกันว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ถูกต้องตามนิตินัย

(1) พรรคสหชีพ

(2) พรรคก้าวหน้า

(3) สมาคมคณะราษฎร

(4) พรรคประชาธิปัตย์

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

41 ตําแหน่ง “วิป” ในสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่เคยมีมา หมายถึง

(1) เลขาธิการพรรค

(2) รองประธานพรรค

(3) โฆษกพรรค

(4) ผู้ประสานงานพรรค

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 200 วิป (Whip) หรือผู้ประสานงานพรรค เป็นตําแหน่งที่มิได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด แต่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติที่ยอมรับนับถือกันมานาน โดยทําหน้าที่ประสานงานของ แต่ละพรรคการเมืองในสภา เช่น ควบคุมเสียงของพรรคในเวลาลงมติในสภา การจัดวางผู้ที่จะ ทําการอภิปรายของพรรค รักษาวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบรรดาสมาชิกพรรคติดต่อกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เพื่อปรึกษาหารือหรือทําความตกลงกันในบางเรื่อง ฯลฯ

42 การจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอให้ตราเป็น

(1) กฎกระทรวง

(2) พระราชบัญญัติ

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ประกาศกระทรวง

(5) พระราชกําหนด

ตอบ 3 หน้า 402, 409 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้

1 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

2 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

43 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด

(1) ฉบับที่ 17

(2) ฉบับที่ 18 มีนาคม

(3) ฉบับที่ 19 มกราคม

(4) ฉบับที่ 20

(5) ฉบับที่ 21

ตอบ 4 (คําบรรยาย) นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วรวมทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยเป็นรัฐธรรมนูญที่ตั้งใจประกาศใช้เป็นการถาวร 12 ฉบับ และตั้งใจประกาศใช้เป็นการชั่วคราว 8 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2560 ประกาศใช้ 6 เมษายน 2560)

44 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่เท่าใด

(2) 28

(3) 29

(4) 30

(5) 31

ตอบ 3 (ข่าว) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย โดยเริ่มเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน

45 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ทําหน้าที่

(1) รัฐสภา

(2) สภาผู้แทนราษฎร

(3) วุฒิสภา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 6 กําหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และมีอายุไม่ต่ํากว่า 40 ปี ตามที่ คสช. ถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

46 ปัญหาสําคัญของการเลือกตั้งในการเมืองไทยที่ผ่านมา

(1) ประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป

(2) มีความไม่สะดวกในการใช้สิทธิ

(3) มีผู้สมัครมากเกินไปเลือกยาก

(4) มีความสับสนวุ่นวาย

(5) มีการซื้อสิทธิขายเสียง

ตอบ 5 หน้า 334, (คําบรรยาย) ปัญหาสําคัญของการเลือกตั้งทุกระดับที่ผ่านมาของไทย คือ การซื้อสิทธิขายเสียง การใส่ร้ายป้ายสีคู่แข่งขัน การใช้อิทธิพลและอํานาจมืดในการจํากัดโอกาสของผู้สมัครรับเลือกตั้งบางคนหรือบางพรรคการเมือง รวมทั้งการใช้กลโกงต่าง ๆ

47 สํานักนายกรัฐมนตรี

(1) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ

(2) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(3) นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 371, 373 สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งการจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการเหล่านี้ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยสํานักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาฯ

48 บทบาทและพฤติกรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักเป็นดังนี้

(1) จะต่อรองด้านผลประโยชน์หรือตําแหน่งมากกว่านโยบาย

(2) เป็นที่รวมของบุคคลซึ่งมุ่งสนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

(3) ส่วนมากพรรคมีลักษณะสอดคล้องกับหลักสากลของความเป็นพรรคการเมือง (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 291 บทบาทและพฤติกรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในบรรยากาศการเมืองไทยอาจสรุปได้ว่า “เป็นที่รวมของบุคคลซึ่งมุ่งจะสนับสนุนอํานาจหรืออิทธิพลทางการเมืองของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง” ซึ่งจะเห็นได้จากการรวมตัวกันเป็นรัฐบาลของพรรคการเมืองต่าง ๆมักจะต่อรองกันทางด้านผลประโยชน์หรือตําแหน่งมากกว่านโยบาย ๆ

49 ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนใดใช้หลักแบ่งอํานาจปกครอง

(1) ส่วนกลาง

(2) ส่วนท้องถิ่น

(3) ส่วนภูมิภาค

(4) ส่วนท้องที่

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 359 360, 371, 401, 433 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอํานาจปกครอง

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครอง

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง

50 การแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมกระทําโดยการพิจารณาของ

(1) นายกรัฐมนตรี

(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

(3) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

(4) ปลัดกระทรวงยุติธรรม

(5) คณะกรรมการตุลาการ (กต.)

ตอบ 5 หน้า 259 260 หลักประกันสําหรับผู้พิพากษาที่จะสามารถมีอิสระในการวินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลของฝ่ายอื่นที่จะเข้ามาแทรกแซงบีบบังคับเปลี่ยนคําพิพากษา คือ การกําหนดให้มีคณะกรรมการตุลาการ (กต.) เป็นองค์กรอิสระดําเนินการให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตําแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนผู้พิพากษา ดังนั้นการให้คุณให้โทษกับผู้พิพากษาจึงขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตุลาการ

51 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2557 ต้อง

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

(3) อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

52 ระบบหลายพรรคในบรรยากาศการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาทําให้

(1) เกิดรัฐบาลผสม

(2) รัฐบาลขาดเสถียรภาพ

(3) แต่ละพรรคมุ่งดําเนินบทบาทเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสําคัญ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 299 ระบบหลายพรรคในบรรยากาศทางการเมืองไทยที่ผ่านมาทําให้

1 เกิดรัฐบาลผสม เพราะไม่มีพรรคใดมีเสียงข้างมากเด็ดขาดพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว

2 แต่ละพรรคมุ่งดําเนินบทบาทเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นสําคัญมากกว่าส่วนรวม

3 รัฐบาลขาดเสถียรภาพและต้องล้มบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้นระหว่างสมาชิกของพรรคต่าง ๆ ที่ร่วมรัฐบาล

 

53 ตําแหน่งปลัดจังหวัด

(1) สังกัดกรมการปกครอง

(2) มีฐานะสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในจังหวัดนั้น

(3) จังหวัดหนึ่งอาจมีหลายคนก็ได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 405 ปลัดจังหวัด เป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกการปกครองของจังหวัด มีฐานะเท่าเทียมกับหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆในจังหวัดนั้นทุกประการ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในงานของกรมการปกครองในจังหวัดนั้น

54 การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งล่าสุด กําหนดให้มีกี่กระทรวง

(1) 30 กระทรวง

(2) 25 กระทรวง

(3) 20 กระทรวง

(4) 18 กระทรวง

(5) 15 กระทรวง

ตอบ 3 หน้า 387 – 388 การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ครั้งล่าสุดเป็นไปตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยมาตรา 5 ได้กําหนดให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงจํานวน 20 กระทรวง

55 รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่ กําหนดให้ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีคือ

(1) ประธานรัฐสภา

(2) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(3) ประธานศาลฎีกา

(4) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

(5) ประธานองคมนตรี

ตอบ 5 หน้า 155 ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีและประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี

56 กลุ่มผลประโยชน์ประเภทใดที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ

(1) กลุ่มลูกจ้าง

(2) กลุ่มนายจ้าง

(3) กลุ่มมาตุภูมิ

(4) กลุ่มอาสาสมัคร

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 314 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มที่อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาททางการเมืองเลยหรือเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เพราะการรวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่ ก็ด้วยจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมความสามัคคีในหมู่พรรคพวกเดียวกัน เพื่อพบปะและเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่ม

57 สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการ

(1) มีฐานะเป็นกรม

(2) อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

(3) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 376, 398 399 ส่วนราชการไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีดังนี้ สํานักราชเลขาธิการ สํานักพระราชวัง สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ

58 ระบบคุณธรรมในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเป็นผลจากการ

(1) ถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์

(2) เน้นประเพณีวัฒนธรรม

(3) ยึดถือความไว้วางใจ

(4) นิยมรับราชการ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคุณธรรม (Merit System) หมายถึง ระบบที่มีการคัดเลือกบุคคลเข้าทํางาน โดยถือเกณฑ์ความรู้ความสามารถของบุคคล หรือความเหมาะสมระหว่างคุณสมบัติของบุคคลกับลักษณะงานเป็นสิ่งสําคัญ

59 ข้าราชการการเมือง

(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) เป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 364 365 ข้าราชการการเมือง คือ บุคคลซึ่งรับราชการในตําแหน่งที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย เป็นฝ่ายกําหนดนโยบายในการบริหารประเทศหรือนโยบายสาธารณะ และคอยควบคุมฝ่ายข้าราชการประจําให้ปฏิบัติตามนโยบายที่วางไว้ โดยข้าราชการการเมือง เข้าดํารงตําแหน่งตามวิถีทางของการเมืองหรือเหตุผลทางการเมือง และออกจากตําแหน่งตาม วาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่ง ทั้งนี้ข้าราชการการเมืองส่วนใหญ่กฎหมายไม่ได้กําหนด ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง มีเพียงบางตําแหน่งเท่านั้นที่จะต้องสังกัดพรรคการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี (ต้องมาจาก ส.ส. ที่ต้องสังกัดพรรคการเมือง) ฯลฯ

หมายเหตุ รัฐธรรมนูญฯ 2560 ไม่ได้ระบุให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ส.ส.)

60 พรรคการเมืองต่างจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มการเมืองอื่นตรงที่

(1) มีการกําหนดนโยบาย

(2) ต้องมี ส.ส. จํานวนหนึ่งอยู่เสมอ

(3) มีความต้องการเป็นรัฐบาล

(4) ต้องมีบัญชีรายรับ-รายจ่าย

(5) ต้องส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง

ตอบ 3 หน้า 287 ลักษณะสําคัญที่สุดที่ทําให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์หรือชมรมทางการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคการเมืองต้องมีจุดประสงค์ที่จะได้อํานาจทางการเมือง ต้องมีความปรารถนาหรือมีความต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนํานโยบายของพรรคไปปฏิบัติให้เป็นจริง

ข้อ 61, 65. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) Rule by Law

(2) Abraham Lincoln

(3) Compromise

(4) Public Spirit

(5) Indirect Election

 

61 ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐบาล

ตอบ 2 หน้า 16 – 17 Abraham Lincoln อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ให้นิยามไว้ว่า“รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” ทั้งนี้ รัฐบาลของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐบาล, รัฐบาลโดยประชาชน หมายถึง ประชาชนมีสิทธิ์เป็นผู้ปกครอง และรัฐบาลเพื่อประชาชน หมายถึง รัฐบาลต้องมีจุดประสงค์ เพื่อความผาสุกของประชาชน

62 การยอมรับผลการเลือกตั้ง

ตอบ 3 หน้า 20 – 22 วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยมีลักษณะดังนี้

1 เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล

2 การรู้จักประนีประนอม (Compromise) ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้แพ้รู้ชนะ เช่น ยอมรับ ผลการเลือกตั้ง ฯลฯ

3 มีระเบียบวินัย

4 มีความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

(Public Spirit) โดยคนในสังคมมีความรู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของประเทศและประเทศเป็นของคนทุกคน

63 ประเทศเป็นของทุกคน

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

64 การได้มาซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ตอบ 5 (คําบรรยาย) การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจัดเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม(Indirect Election) ด้วยการใช้ระบบการลงคะแนนเป็น 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นแรก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะทําการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) และขั้นต่อมาคณะผู้เลือกตั้งจึงจะทําการเลือกตั้งประธานาธิบดี

65 การปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 16 การปกครองแบบประชาธิปไตย คือ รูปการปกครองที่ยึดถืออํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยประเทศที่เป็นประชาธิปไตยนั้นจําเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เพราะประชาธิปไตยคือการปกครองโดยกฎหมาย (Rule by Law)

ข้อ 66 – 70. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) Politics

(2) Authority

(3) Aristotle

(4) ราชาธิปไตย

(5) ทุชนาธิปไตย

66 การแข่งขันเพื่อแสวงหาอํานาจ

ตอบ 1 หน้า 1 การเมือง (Politics) หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อการแสวงหาอํานาจการใช้อํานาจ และผลประโยชน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม

67 การเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

ตอบ 4 หน้า 3, 3 – 6 (S) ราชาธิปไตย (Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ในสมัยอยุธยา ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่อํานาจอธิปไตยจะอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว อันเป็นรูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 – 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการปกครองแบบราชาปราชญ์ (Philosopher King) ตามแนวคิดของเพลโต

68 อํานาจของข้าราชการ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ (Authority) เป็นอํานาจที่เกิดจากตําแหน่งหน้าที่อย่างเป็นทางการตามสายงานในการบริหาร หรือมีสิทธิตามกฎหมายโดยชอบธรรมที่จะออกคําสั่งและกําหนดให้บุคคลปฏิบัติตาม เช่น อํานาจของข้าราชการตามสายการบังคับบัญชา ฯลฯ

69 ปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีก

ตอบ 3 หน้า 2, 17 (S) อริสโตเติล (Aristotle) เป็นปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีก และถือเป็นบิดาวิชาการปกครองเปรียบเทียบ ได้ใช้เกณฑ์ในการแบ่งประเภทรูปแบบการปกครอง คือ จํานวนผู้มีอํานาจ (ผู้ปกครอง) และจุดมุ่งหมายในการปกครอง

70 ทรราช

ตอบ 5 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) ทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่คน ๆ เดียว โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อผู้ปกครองหรือเพื่อหา ผลประโยชน์ให้กับตนเอง ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการที่ฉ้อฉลหรือกดขี่ข่มเหงประชาชน อันเป็นการปกครองแบบ “ ทํานาบนหลังคน” หรือ “ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน”

ข้อ 71. – 75. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) สิทธิ

(2) เสรีภาพ

(3) ความเสมอภาค

(4) หลักเหตุผลนิยม

(5) Public Spirit

 

71 ความสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ

72 เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้ที่สามารถพูดจากันรู้เรื่อง

ตอบ 4 หน้า 20 – 21, 23 (S), (คําบรรยาย) หลักการแห่งเหตุผล/หลักเหตุผลนิยม (Rationalism)คือ การยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็มีเหตุผลของการกระทําใด ๆ เพราะประชาธิปไตยเชื่อว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลสามารถพูดจากันรู้เรื่อง โดยประชาธิปไตยจะดําเนินไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ มีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกต้องที่แท้จริง เช่น การยอมรับในข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายของสมาชิก เป็นต้น

73 ความสามารถที่จะกระทําการใด ๆ ได้ดั่งใจโดยไม่ละเมิดกฎหมาย

ตอบ 2 หน้า 12 เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระในการกระทําการใด ๆ ได้ตามความปรารถนาแต่มีขอบเขตจํากัดว่าการกระทํานั้น ๆ ต้องไม่ละเมิดกฎหมายหรือไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

74 การบังคับใช้กฎหมาย Double Standard จะต้องไม่มี

ตอบ 3 หน้า 14 – 15, (คําบรรยาย) ความเสมอภาค (Equality) คือ การได้รับการปฏิบัติจากรัฐและกฎหมายโดยปราศจากความลําเอียงหรือเลือกปฏิบัติ โดยในระบอบประชาธิปไตยมีหลัก แห่งความเสมอภาค 5 ประการ คือ ความเสมอภาคทางการเมือง ความเสมอภาคทางกฎหมาย (คือ เมื่อกระทําผิดจะต้องใช้กฎหมายและการลงโทษอย่างเดียวกัน จะต้องไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายแบบ 2 มาตรฐานหรือ Double Standard) ความเสมอภาคในโอกาส ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ และความเสมอภาคทางสังคม

75 เป็นอํานาจอันชอบธรรมในการกระทําใด ๆ ของสมาชิกของสังคม

ตอบ 1 หน้า 12 – 13 สิทธิ (Right) คือ อํานาจอันชอบธรรมหรือความสามารถหรือโอกาสที่จะกระทําหรือไม่กระทําการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม สิทธิของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ โดยธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมาย ดังนั้นอํานาจอื่นหรือแม้กระทั่งอํานาจของรัฐจะก้าวก่ายสิทธิของบุคคลไม่ได้

ข้อ 76. – 80. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) อํานาจนิยม

(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) คอมมิวนิสต์

(4) สังคมนิยม

(5) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

 

76 ลงโทษรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน

ตอบ 5 หน้า 6 (คําบรรยาย) เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) คือ การที่รัฐบาลใช้อํานาจควบคุมประชาชนอย่างเคร่งครัดและสิ้นเชิงในทุกด้าน แทบจะไม่มีเสรีภาพใด ๆ เลยในการกระทําตามใจปรารถนา โดยจะลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน

77 เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์

ตอบ 2 หน้า 3, 25 สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยหรืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว

78 ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ รัฐแบ่งให้ประชาชนทุกคนกินและใช้เท่า ๆ กัน

ตอบ 3 หน้า 8, (คําบรรยาย) คอมมิวนิสต์ (Communism) คือ ลัทธิที่ต้องการให้รัฐเข้าถือกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือการผลิตทั้งหมด รวมทั้งการจัดระเบียบในการดําเนินชีวิตให้กับประชาชนโดยทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ รัฐแบ่งให้ประชาชนทุกคนกินและใช้เท่า ๆ กัน

79 ให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนบ้าง

ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) สังคมนิยม (Socialism) คือ ลัทธิที่รัฐจะเข้าควบคุมด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่จะยินยอมให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนได้บ้าง

80 รัฐคุมด้านการเมืองเป็นหลัก

ตอบ 1 หน้า 6, (คําบรรยาย) อํานาจนิยม (Authoritarianism) คือ การที่รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร โดยเฉพาะเสรีภาพทางด้านสังคมและการใช้ชีวิตความเป็นอยู่แต่รัฐจะเข้าควบคุมด้านการเมืองเป็นหลัก

81 สํานักนายกรัฐมนตรี

(1) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(2) จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ

(3) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 47ประกอบ

82 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2557 ทําหน้าที่

(1) รัฐสภา

(2) สภาผู้แทนราษฎร

(3) วุฒิสภา

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 45 ประกอบ

83 ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนปัจจุบันนี้คือ

(1) นายเทียนฉาย กระตินันทน์

(2) นายอลงกรณ์ พลบุตร

(3) นายพีระศักดิ์ พอจิต

(4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(5) ร้อยเอกทินพันธ์ นาคะตะ

ตอบ 5 (ข่าว) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน โดยมีร้อยเอกทินพันธ์ นาคะตะ เป็นประธาน มีนายอลงกรณ์ พลบุตร และนางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณเป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2

84 ใครเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560

(1) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(2) นายชาติชาย ณ เชียงใหม่

(3) นายพีระศักดิ์ พอจิต

(4) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

(5) นายมีชัย ฤชุพันธุ์

ตอบ 5 (ข่าว) ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้ประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์

85 ข้าราชการปฏิบัติงานศาลากลางจังหวัด

(1) เป็นฝ่ายกําหนดนโยบายอย่างเดียว

(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 364, (คําบรรยาย) ข้าราชการประจํา คือ บุคคลที่รับราชการในตําแหน่งต่าง ๆ ซึ่งรับผิดชอบงานประจําของกระทรวง ทบวง กรม โดยจะเป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติหรือ ดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และข้าราชการประจําจะรับราชการเป็นอาชีพ ต่อเนื่องกันไป (ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง) ซึ่งโดยปกติแล้วจะออกจากราชการเมื่อครบเกษียณอายุราชการคือ 60 ปี (ข้าราชการปฏิบัติงานศาลากลางจังหวัดเป็นข้าราชการประจํา)

86 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) กฎกระทรวงมหาดไทย

(5) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42 ประกอบ

87 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการใดในการจัดการปกครอง

(1) รวมอํานาจ

(2) แบ่งอํานาจ

(3) กระจายอํานาจ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ

88 หน่วยการปกครองใดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

(1) กรุงเทพมหานคร

(2) เมืองพัทยา

(3) จังหวัดภูเก็ต

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 3 หน้า 402 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ 2 ระดับ คือ จังหวัด และอําเภอ

89 ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2557 รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจํานวนกี่คน

(1) 1 คน

(2) 2 คน

(3) ไม่เกิน 3 คน

(4) ไม่เกิน 4 คน

(5) ไม่เกิน 5 คน

ตอบ 2 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 10 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน สนช. 1 คน และเป็นรองประธาน สนช. ไม่เกิน 2 คน ตามมติของ สนช.

90 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2557 คือ

(1) ประธานวุฒิสภา

(2) ประธานรัฐสภา

(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(4) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(5) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาตรา 19 วรรค 4 กําหนดให้ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการ

91 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน ได้แก่

(1) นายอําพล กิตติอําพล

(2) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

(3) นายเทียนฉาย กระตินันทน์

(4) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(5) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

ตอบ 4 (ข่าว) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายพรศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานฯ คนที่ 1 และ 2

92 ระบบอุปถัมภ์ในการรับบุคคลเข้าทํางานในวงราชการ อาจกล่าวได้ว่ายึดหลักการที่สําคัญใด

(1) ความรู้ความสามารถ

(2) นิยมรับราชการ

(3) ความไว้วางใจ

(4) ประเพณีวัฒนธรรม

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 363, (คําบรรยาย) ถึงแม้ว่าการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการจะใช้หลักการตามระบบคุณธรรม (Merit System) คือ ยึดถือความรู้ความสามารถ โดยกําหนดเงินเดือนตาม ความสามารถและความรับผิดชอบ แต่ในทางปฏิบัติ การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือ การให้ความดีความชอบนั้น ยังมีไม่น้อยที่เป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) คือ ยังมีการเล่นพรรคเล่นพวกกันอยู่ แต่อาจกล่าวอ้างได้ว่ายึดถือหลักการความไว้วางใจ

93 ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(1) สังกัดกระทรวงมหาดไทย

(2) มีฐานะสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในจังหวัด

(3) เป็นตําแหน่งเท่ากับนายอําเภอ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารกิจการของ อบจ. ตามที่นายก อบจ. มอบหมาย

94 ในระบบรัฐสภาของไทยเท่าที่ผ่านมา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ได้แก่

(1) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(2) ประธานรัฐสภา

(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร

(4) นายกรัฐมนตรี

(5) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตอบ 4 หน้า 163 – 165, (คําบรรยาย) ในระบบรัฐสภาไทยเท่าที่ผ่านมานั้น โดยปกติผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ประธานรัฐสภา (มีรัฐธรรมนูญเพียง 3 ฉบับ หลังสุดเท่านั้นที่กําหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รัฐธรรมนูญฯ 2534, 2540 และ 2550) ส่วนผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี ได้แก่ นายกรัฐมนตรี

95 ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของการปกครองท้องถิ่น

(1) เป็นการปกครองชุมชนหนึ่งชุมชนใดโดยเฉพาะ

(2) มีหน่วยการปกครองมีสถานะเป็นนิติบุคคล

(3) อยู่ในกํากับของรัฐบาลกลาง

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 433 – 435, (คําบรรยาย) การปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปมีลักษณะหรือหลักการสําคัญ ดังนี้

1 เป็นการปกครองชุมชนหรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศ

2 มีองค์การหรือหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกไปต่างหากจากรัฐบาลกลางโดยมีรายได้เป็นของตนเอง และมีอํานาจในการจัดเก็บภาษี 4 ประเภท คือ ภาษีอากรฆ่าสัตว์ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่

3 มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินงาน (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

4 มีอิสระในการดําเนินกิจการของท้องถิ่น (ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนด และอยู่ในกํากับดูแลหรือการควบคุมของรัฐบาลกลาง)

96 รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้แล้วเมื่อใด

(1) มกราคม 2560 )

(2) กุมภาพันธ์ 2560

(3) มีนาคม 2560

(4) เมษายน 2560

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. และ 84 ประกอบ

97 เกี่ยวกับพรรคการเมืองไทย ระบบหลายพรรคที่ผ่านมาทําให้

(1) เกิดรัฐบาลผสม

(2) รัฐบาลมีเสถียรภาพอย่างมาก

(3) แต่ละพรรคมุ่งดําเนินบทบาทเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสําคัญ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ

98 ผู้ใหญ่บ้าน

(1) เป็นข้าราชการภายใต้บังคับบัญชาของนายอําเภอ

(2) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

(3) อายุเกิน 60 ปีก็เป็นได้

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 421 422 ผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ไม่มีฐานะเป็นข้าราชการโดยผู้ใหญ่บ้านมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในหมู่บ้านนั้น ๆ และจะอยู่ในตําแหน่งจนอายุครบ 60 ปี

99 นายกเทศมนตรีเทศบาลตําบล

(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง

(3) เป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 451 454 นายกเทศมนตรี (ทุกเทศบาล) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนั้น ๆ และมีวาระในการดํารงตําแหน่ง 4 ปี โดยมีอํานาจหน้าที่กําหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล

100 จังหวัดสุดท้ายที่ได้ประกาศจัดตั้งตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว

(1) บัวใหญ่

(2) นางรอง

(3) บึงกาฬ

(4) มุกดาหาร

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 (คําบรรยาย) จังหวัดสุดท้ายของไทยที่ได้ประกาศจัดตั้งตามกฎหมายเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 คือ จังหวัดบึงกาฬ (จังหวัดที่ 77)

Advertisement