การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1101 การเมืองและการปกครองไทย
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 5. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ
(1) เสรีนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) เผด็จการเบ็ดเสร็จ
(4) อํานาจนิยม
(5) ชาตินิยม
1 ลัทธิที่ให้เสรีภาพเฉพาะด้านเศรษฐกิจสังคม แต่จํากัดเสรีภาพทางการเมือง
ตอบ 4 หน้า 6 – 7 อํานาจนิยม (Authoritarianism) คือ การที่รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร โดยเฉพาะเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่จะจํากัดเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้อํานาจของรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร เช่น รัฐบาลทหารของไทยการปกครองในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ
2 ยึดมั่นในแนวคิดเรื่อง “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย”
ตอบ 3 หน้า 6, 66 (S) เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) คือ การที่รัฐบาลหรือผู้ปกครองใช้อํานาจควบคุมประชาชนอย่างเคร่งครัดแทบจะสิ้นเชิงในทุกด้าน ทั้งเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นระบบของ การใช้อํานาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม เช่น ระบบฟาสซิสต์ของ อิตาลี ระบบนาซีของเยอรมัน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบราชาธิปไตย และ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ใช้อํานาจเด็ดขาดโดยยึดมั่นในแนวคิด “ผู้นําถูกต้องเสมอ”ดังคําขวัญ “เขื่อผู้นําชาติพ้นภัย” เพื่อปลุกใจราษฎรให้เชื่อมั่นรัฐบาล ฯลฯ
3 ความเป็นอยู่ของประชาชนด้านเศรษฐกิจสังคมมีรัฐเป็นผู้ดูแล
ตอบ 2 หน้า 8, 8(S) สังคมนิยม (Socialism) คือ ลัทธิทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมและกํากับดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจหลักของประเทศ อันเป็นลัทธิเศรษฐกิจ ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่ารัฐต้องเข้ามาควบคุมและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สําคัญของสังคม แต่จะยินยอมให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนเองได้บ้าง และเป็นลัทธิเศรษฐกิจที่ยึดหลัก แห่งความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันมากกว่าหลักเสรีภาพ เช่น ระบบหรือแนวคิดเรื่องรัฐวิสาหกิจ ระบบเศรษฐกิจของสังคมเวียดนามเละจีนยุคปัจจุบัน ฯลฯ
4 แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในเรื่อง “ไร้พรมแดน”
ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) ชาตินิยม (Nationalism) คือ ลัทธิหรืออุดมการณ์ที่ให้ความสําคัญและเน้นในเรื่องความมั่นคงและความเป็นเอกภาพของชาติ เชื่อและศรัทธาในพวกพ้องและดินแดน เดียวกัน เน้นเรื่องความรักความผูกพันและความสมานฉันท์ต่อกันของคนในชาติ เชื่อว่าคนเรา ที่เกิดมาต่างก็เป็นหนีต่อบ้านเมืองของเราเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในเรื่อง “ไร้พรมแดน” และสากลนิยมที่ให้ความสําคัญในเรื่องผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติมากกว่า ผลประโยชน์ของชาติใดชาติหนึ่ง นอกจากนี้ลัทธิชาตินิยมยังเชื่อว่ารัฐกับมนุษย์ไม่แตกต่างกัน เพราะถ้าไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีรัฐ และรัฐจะอยู่ไม่ได้ถ้ามนุษย์ในรัฐไม่ช่วยกันปกป้องรักษารัฐของตน ดังนั้นลัทธิชาตินิยมจึงต้องการให้สมาชิกทุกคนเชื่อฟังคําสั่งของรัฐโดยปราศจากเงื่อนไข
5 รัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองน้อยที่สุด
ตอบ 1 หน้า 6, 7 – 8 (S) เสรีนิยม (Liberalism) เป็นระบอบเศรษฐกิจการเมืองที่เน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีลักษณะการใช้อํานาจแบบอิสระนิยม อันเป็นต้นแบบของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยมองว่ารัฐที่ดีคือรัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองและกํากับดูแลน้อยที่สุดทั้งนี้รัฐบาลจะเข้าควบคุมหรือรักษากฎเกณฑ์เฉพาะส่วนที่จําเป็นเท่านั้น
6 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นส่วนราชการเช่นเดียวกับ
(1) ทบวง
(2) กรม
(3) กระทรวง
(4) สํานักงานเลขานุการกรม
(5) กอง
ตอบ 2 หน้า 389 390 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงการคลัง
7 การจัดตั้งทบวงต้องตราเป็นกฎหมายอะไร
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
(4) พระราชกําหนด
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 371 สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล (อาจเป็นโจทก์ จําเลย และทํานิติกรรมต่าง ๆ ได้)โดยการจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการเหล่านี้ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
8 ข้าราชการประจํา หมายถึง
(1) รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย
(2) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(3) เป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 364, (คําบรรยาย) ข้าราชการประจํา หมายถึง บุคคลที่รับราชการในตําแหน่งต่าง ๆซึ่งรับผิดชอบงานประจําของกระทรวง ทบวง กรม โดยจะเป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติหรือ ดําเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และข้าราชการประจําจะรับราชการเป็นอาชีพ ต่อเนื่องกันไป (ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง) ซึ่งโดยปกติแล้วจะออกจากราชการเมื่อครบเกษียณอายุราชการคือ 60 ปี
9 ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งของกํานัน
(1) 4 ปี
(2) 5 ปี
(3) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 55 ปี
(4) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี
(5) อยู่ในตําแหน่งตลอดชีวิต
ตอบ 4 หน้า 417 ตําแหน่งกํานันในปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในตําบลนั้น โดยกํานันต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย และจะอยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี
10 ข้าราชการประจําที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของแต่ละกระทรวงคือตําแหน่งใด
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) ปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(4) ผู้ตรวจการกระทรวง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 379 ปลัดกระทรวงเป็นตําแหน่งข้าราชการประจําที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของแต่ละกระทรวง(ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 11 หรือซี 11)
11 ข้อใดต่อไปนี้ปกติไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
(1) นายกเมืองพัทยา
(2) ผู้ใหญ่บ้าน
(3) ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
(4) สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 404 ผู้ว่าราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นข้าราชการประจําสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย (ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ)
12 ข้อใดต่อไปนี้คือข้าราชการประจําในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
(1) ปลัดอําเภอ
(2) ปลัดจังหวัด
(3) สัสดีจังหวัด
(4) ปลัดเทศบาล
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 439, 444, 453, 472, 483, 487 ปัจจุบันรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล, กรุงเทพมหานคร (กทม.), องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) และเมืองพัทยา (โดย กทม. และเมืองพัทยาเป็นรูปแบบ การปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ) ดังนั้น ปลัด อบจ., ปลัด อบต., ปลัด กทม., ปลัดเทศบาลและปลัดเมืองพัทยา จึงเป็นข้าราชการประจําในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
13 รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการประจําสังกัดหน่วยงานใด
(1) สํานักนายกรัฐมนตรี
(2) กระทรวงมหาดไทย
(3) กระทรวงศึกษาธิการ
(4) กรมการปกครอง
(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11 ประกอบ
14 การกําหนดโครงสร้างเทศบาลของไทยในปัจจุบันมีลักษณะและรูปแบบใด
(1) รัฐสภา
(2) ประธานาธิบดี
(3) แบบผสมรัฐสภาและประธานาธิบดี
(4) แบบมีสภา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 448, 450, 462 การกําหนดโครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเทศบาลของไทยในปัจจุบัน มีลักษณะและรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิบดี (Presidential System) คือ มีนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยใช้หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation) ตามแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
15 ขณะนี้จํานวนสมาชิกสภาเขต กฎหมายกําหนดให้มีได้ไม่เกินกี่คน
(1) ไม่จํากัดจํานวน
(2) 8 คน
(3) 9 คน
(4) 10 คน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 473 สภาเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในเขต โดยมีจํานวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 1 แสนคน ให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนต่อจํานวนราษฎรทุก 1 แสนคน เศษของ 1 แสนคน ถ้าถึง 5 หมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 แสน (กฎหมายไม่ได้จํากัดจํานวนไว้ว่าให้มีได้ไม่เกินกี่คน)
16 รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร แต่งตั้งได้จํานวนไม่เกินกี่คน
(1) 5 คน
(2) 4 คน
(3) 3 คน
(4) 2 คน
(5) 1 คน
ตอบ 2 หน้า 448, 453 นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ตามจํานวนดังต่อไปนี้
1 เทศบาลตําบล (เทศบาลขนาดเล็ก) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน
2 เทศบาลเมือง (เทศบาลขนาดกลาง) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน
3 เทศบาลนคร (เทศบาลขนาดใหญ่) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน
17 ผู้บริหารสูงสุดของเมืองพัทยาใช้ชื่อว่าอะไร และมีที่มาอย่างไร
(1) นายกเมืองพัทยา
(2) ผู้ว่าเมืองพัทยา
(3) นายกเทศมนตรีเมืองพัทยา
(4) ปลัดเมืองพัทยา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 478, 483 โครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเมืองพัทยา แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
1 ฝ่ายนิติบัญญัติ มีประธานสภาเมืองพัทยาเป็นผู้บริหารสูงสุด (มาจากการเลือกตั้ง) 2 ฝ่ายบริหาร มีนายกเมืองพัทยาเป็นผู้รับผิดชอบหรือผู้บริหารสูงสุด (มาจากการเลือกตั้ง)
18 การปกครองโดยคน ๆ เดียว และมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อผู้ปกครอง เป็นการปกครองในแบบที่ Aristotle เรียกว่าอะไร
(1) ราชาธิปไตย
(2) อภิชนาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตย
(4) คณาธิปไตย
(5) ทุชนาธิปไตย
ตอบ 5 หน้า 2 เพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ปรมาจารย์ทางทฤษฎีการเมืองชาวกรีกได้วางหลักการพิจารณารูปแบบการปกครองโดยจําแนกตามจํานวนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย และจุดมุ่งหมายในการใช้อํานาจการปกครอง
19 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กําหนดให้มีสมาชิก วุฒิสภาในระยะแรกจํานวนกี่คน
(1) 150 คน
(2) 200 คน
(3) 250 คน
(4) 300 คน
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (ขาว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคําแนะนํา (มาตรา 107 : วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน)
20 พรรคการเมืองพรรคแรกทางพฤตินัยของไทย คือ
(1) คณะราษฎร
(2) สหชีพ
(3) กิจสังคม
(4) ก้าวหน้า
(5) ประชาธิปัตย์
ตอบ 1 หน้า 288 พรรคการเมืองไทยพรรคแรกทางพฤตินัย คือ “สมาคมคณะราษฎร” ที่จัดตั้งขึ้นโดย“คณะราษฎร” คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แม้จะไม่ระบุว่าเป็นพรรคการเมือง แต่ก็มี เจตจํานง/มีหลักการหรือแนวทางเช่นเดียวกับพรรคการเมืองโดยทั่วไป คือ ประสงค์จะเข้ารับผิดชอบ ในการบริหารประเทศ ดังนั้นคณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ส่วนพรรคการเมืองไทยพรรคแรกตามนิตินัย คือ “พรรคก้าวหน้า” ซึ่งริเริ่มจัดตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
21 จังหวัดที่มีสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) จํานวน 48 คน คือ
(1) สงขลา
(2) เชียงใหม่
(3) นครราชสีมา
(4) อุบลราชธานี
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 358, 440 สมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) ซึ่งในปัจจุบันก็คือ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) มีทั้งหมด 76 จังหวัด (ยกเว้น กทม.) มีจํานวนมากน้อยตามตัวเลือกดังนี้
1 นครราชสีมา (มีราษฎรเกิน 2 ล้านคน) มี ส.อบจ. ได้ 48 คน
2 เชียงใหม่, อุบลราชธานี (มีราษฎรเกิน 1.5 ล้านคน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน) มี ส.อบจ. ได้ 42 คน
3 สงขลา (มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านคน) มี ส.อบจ. ได้ 36 คน
22 สํานักนายกรัฐมนตรี
(1) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(2) จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
(3) นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสํานักนายกรัฐมนตรี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 372 373, (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ) สํานักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวงแต่มีลักษณะพิเศษกว่ากระทรวงอื่น ๆ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
23 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการใดในการจัดการปกครอง
(1) แบ่งแยกอํานาจ
(2) ดุลอํานาจ
(3) รวมอํานาจ
(4) แบ่งปันอํานาจ
(5) กระจายอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 359 360, 371, 401, 433 ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอํานาจปกครอง
2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครอง
3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง
24 การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็น
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย
(4) พระราชกําหนด
(5) กฎกระทรวงมหาดไทย
ตอบ 1 หน้า 402, 409 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้
1 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
2 การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
25 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกําหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเป็น ส.ว.(สมาชิกวุฒิสภา) ต้องมีอายุไม่ต่ํากว่ากี่ปีบริบูรณ์
(1) 18 ปี
(2) 20 ปี
(3) 25 ปี
(4) 35 ปี
(5) 40 ปี
ตอบ 5 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 108 กําหนดให้ สมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2 มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก (เลือกกันเอง) ฯลฯ
26 ข้าราชการการเมือง
(1) ไม่มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(3) เป็นฝ่ายทํานโยบาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 364 365 ข้าราชการการเมือง คือ บุคคลซึ่งรับราชการในตําแหน่งที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย เป็นฝ่ายกําหนดหรือทํานโยบายในการบริหารประเทศหรือนโยบายสาธารณะ และจะ คอยควบคุมฝ่ายข้าราชการประจําให้ปฏิบัติตามนโยบายที่วางเอาไว้ โดยข้าราชการการเมือง จะเข้าดํารงตําแหน่งตามวิถีทางของการเมืองหรือเหตุผลทางการเมือง และออกจากตําแหน่งตามวาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่ง (มีเพียง ส.ส.เท่านั้นที่ต้องสังกัดพรรคการเมือง)
27 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกําหนดอายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกําหนดคราวละก็ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 3 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 99 กําหนดให้ อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกําหนดคราวละ4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
28 การเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาเคยมีการลงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วกี่ครั้งในรอบสิบปี
(1) 1 ครั้ง
(2) 2 ครั้ง
(3) 3 ครั้ง
(4) 4 ครั้ง
(5) 5 ครั้ง
ตอบ 2 (ข่าว) การเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาเคยมีการลงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว2 ครั้งในรอบสิบปี คือ ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฯ 2550 และร่างรัฐธรรมนูญฯ 2560
29 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกําหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย
(1) สภาผู้แทนราษฎร
(2) วุฒิสภา
(3) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 79 กําหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยมาตรา 80 กําหนดให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธาน วุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา, มาตรา 83 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก จํานวน 500 คน และมาตรา 107 กําหนดให้ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน
30 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกําหนดให้ใครเป็นประธานรัฐสภา
(1) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(2) ประธานวุฒิสภา
(3) ประธานร่างรัฐธรรมนูญ
(4) ประธานศาลฎีกา
(5) ประธานศาลปกครองสูงสุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ
31 ตําแหน่งนายอําเภอในการปกครองส่วนภูมิภาค
(1) สังกัดกรมการปกครอง
(2) มีฐานะในทางบริหารสูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ในอําเภอนั้น
(3) เป็นตําแหน่งในการบังคับบัญชาต่ํากว่าปลัดจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 409 อําเภอเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค โดยขึ้นอยู่กับสายงานของจังหวัดนายอําเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอําเภอ โดยมีปลัดอําเภอและหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในอําเภอนั้นเป็นผู้ช่วยเหลือนายอําเภอ
32 กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรประเภทใดไม่อาจตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส. เป็นกรรมาธิการได้
(1) กรรมาธิการสามัญ
(2) กรรมาธิการเต็มสภา
(3) กรรมาธิการวิสามัญ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 198 – 199, (คําบรรยาย) กรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นกรรมาธิการถาวรประจําสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยบุคคลที่เป็น ส.ส. เท่านั้น ไม่สามารถตั้งบุคคลภายนอก เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการได้ โดยจะต้องตั้งให้มีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับสัดส่วนจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนประธานของแต่ละคณะก็จะมีจํานวนตามสัดส่วนจํานวน ส.ส. ของแต่ละพรรคทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
33 หน่วยการปกครองใด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(1) เทศบาลนครเชียงใหม่
(2) เมืองพัทยา
(3) จังหวัดชลบุรี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 402 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ 2 ระดับ คือ จังหวัด และอําเภอ (ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ)
34 พรรคการเมืองส่วนใหญ่ของการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาตั้งขึ้นโดย
(1) การสนับสนุนจากกลุ่มต่าง ๆ
(2) มีอุดมการณ์เป็นหลัก
(3) รวมบุคคลเพื่อหวังชนะเลือกตั้ง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 293, 299, (คําบรรยาย) พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่คัดเลือกและรวบรวมสมาชิกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งโดยเพ่งเล็งโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งมากกว่าเพ่งเล็งอุดมการณ์ โดยนักการเมืองไทยส่วนใหญ่จะไม่ยึดนโยบายพรรคในการหาเสียง มักจะวางตนเป็นอิสระ ไม่รักษาวินัยพรรค และมองการย้ายพรรคเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ซึ่งจะเห็นได้จากการเปลี่ยนพรรคหรือย้ายพรรคมักเป็นไปอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง
35 รัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ.
(1) 2549
(2) 2550
(3) 2557
(4) 2558
(5) 2559
ตอบ 3 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
36 “สมาคมศิษย์เก่า” อาจถือได้ว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์ประเภท
(1) อาสาสมัคร
(2) นายทุน
(3) แรงงาน
(4) ลูกจ้าง
(5) มาตุภูมิ
ตอบ 5 หน้า 314 315, (คําบรรยาย) กลุ่มผลประโยชน์ของไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 กลุ่มมาตุภูมิ เป็นกลุ่มที่มาจากถิ่นหรือสถาบันเดียวกัน เช่น สมาคมศิษย์เก่า ฯลฯ
2 กลุ่มอาสาสมัคร เป็นกลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น เอ็นจีโอ ฯลฯ
3 กลุ่มอาชีพ เป็นกลุ่มที่มีผลกระทบต่อสาธารณะมาก เช่น นายทุน ลูกจ้างแรงงาน ฯลฯ
37 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่เท่าใด
(1) 26
(2) 27
(3) 28
(4) 29
(5) 30
ตอบ 3 (ข่าว) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย ซึ่งถูกรัฐประหารยึดอํานาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะ และต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29
38 การรับบุคคลเข้ารับราชการในระบบราชการไทย ยึดหลักการในการบริหารบุคคลตามระบบใด
(1) ระบบชั้น-ยศ
(2) ระบบคุณธรรม
(3) ระบบอุปถัมภ์
(4) ระบบธรรมาภิบาล
(5) ระบบจารีตประเพณี
ตอบ 2 หน้า 363, (คําบรรยาย) การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการจะยึดหลักการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม (Merit System) คือ ยึดถือความรู้ความสามารถ โดยกําหนดเงินเดือน ตามความสามารถและความรับผิดชอบ แต่ในทางปฏิบัติ การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ หรือการให้ความดีความชอบนั้น ยังมีไม่น้อยที่เป็นไปตามระบบอุปถัมภ์ (Patronage:System) คือ ยังมีการเล่นพรรคเล่นพวกกันอยู่ แต่อาจกล่าวอ้างได้ว่ายึดถือหลักการความไว้วางใจ
39 แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ “ฉบับแรก” ของไทยเกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้
(1) นายปรีดี พนมยงค์
(2) นายชวน หลีกภัย
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) นายทวี บุณยเกตุ
(5) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับแรก”เมื่อปี พ.ศ. 2504 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี”
40 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกําหนดให้ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง
(1) ประธาน
(2) ประธานรัฐสภา
(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(4) ประธานร่างรัฐธรรมนูญ
(5) ประธานศาลปกครองสูงสุด
ตอบ 2 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 11 วรรคสอง กําหนดให้ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง
41 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกําหนดให้ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
(1) ประธานศาลฎีกา
(2) ประธานวุฒิสภา
(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(4) ประธานศาลปกครองสูงสุด
(5) ประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ตอบ 3 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 158 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน… ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
42 ข้อใดต่อไปนี้ตรงกับการให้สมญานามของรัฐบาล “ลืมเปลือกหอย”
(1) นายอานันท์ ปันยารชุน
(2) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(3) นายชวน หลีกภัย
(4) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
(5) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในแต่ละยุคมักจะถูกตั้งฉายาตามบุคลิกหรือตามผลงานของผู้นําแต่ละคน เช่น จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” หมายถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, “รัฐบาลหอย” หมายถึง รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” หมายถึง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน, “มีดโกนอาบน้ําผึ้ง” หมายถึง นายชวน หลีกภัย, “รัฐบาลขิงแก่” หมายถึง รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, “ดีแต่พูด” หมายถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฯลฯ
43 พระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่ทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมกับประเทศตะวันตก
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
(5) รัชกาลที่ 8
ตอบ 2 หน้า 33, (คําบรรยาย) รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูประบบการปกครองของประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมกับประเทศตะวันตกด้วยการยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการออกเป็น 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์, ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล, ยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการทหาร ฯลฯ
44 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลใดที่ทรงบัญญัติกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกที่วางลําดับสิทธิในการสืบราชสมบัติของกษัตริย์
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
(5) รัชกาลที่ 8
ตอบ 3 หน้า 35, 150 – 151 รัชกาลที่ 6 ได้ทรงบัญญัติกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นใช้ นับเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ได้วางลําดับสิทธิในการสืบราชสมบัติของกษัตริย์ ซึ่งแต่เดิมนั้นมักจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นในกรณีที่กษัตริย์ไม่มีโอรสหรือมิได้แสดงพระประสงค์ ว่าจะมอบให้ผู้ใดเป็นรัชทายาท โดยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นส่วนใหญ่วิธีการคัดเลือกเพื่อหา พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะใช้วิธีการแบบ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ การประชุมของบรรดาพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสนาบดี และพระเถระชั้นราชาคณะ
45 ยุคสมัยของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดได้มีการเซ็นสัญญาเบาว์ริง เพื่อการค้าขายกับอังกฤษ
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
(5) รัชกาลที่ 8
ตอบ 1 หน้า 36, 38 (S), (คําบรรยาย) สมัยรัตนโกสินทร์ ไทยได้ทําสนธิสัญญากับอังกฤษเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นี้ (Burney Treaty) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทําสนธิสัญญากับอังกฤษเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty)
46 การเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามเกิดขึ้นในรัชกาลใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
(5) รัชกาลที่ 8
ตอบ 5 หน้า 41, 45 (S) ประวัติศาสตร์การเมืองไทย (สยาม) ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิวัติเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยมีการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาโดยตลอด ดังนั้นการปฏิวัติ 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ครั้งสําคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะเป็นการล้มเลิกระบอบการปกครองแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย
47 การทดลองประชาธิปไตย “ดุสิตธานี” เกิดขึ้นตรงกับสมัยพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
(5) รัชกาลที่ 8
ตอบ 3 หน้า 43, 49 – 50 (S) รัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไทมีจุดประสงค์เพื่อทดลองรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มีพรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย
48 “เค้าโครงเศรษฐกิจ” มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้
(1) นายปรีดี พนมยงค์
(2) นายชวน หลีกภัย
(3) นายพจน์ สารสิน
(4) นายทวี บุณยเกตุ
(5) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ตอบ 1 หน้า 46, 59 – 60 (S) คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)จัดทําเค้าโครงเศรษฐกิจซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สมุดปกเหลือง” เพื่อดําเนินการด้านเศรษฐกิจของชาติให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่คณะราษฎรประกาศไว้ในวันยึดอํานาจ
49 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นการรวมตัวกันเพื่อต่อต้านทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากกลุ่มใดต่อไปนี้
(1) ประชาชน
(2) ทหารบก
(3) นิสิตนักศึกษา ประชาชน
(4) กลุ่มพันธมิตรฯ (เสื้อเหลือง)
(5) กลุ่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (เสื้อแดง)
ตอบ 3 หน้า 70, 72 (S), (คําบรรยาย) นิสิตนักศึกษา ประชาชน คือ กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทสําคัญและเป็นแกนนําในการเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านขับไล่รัฐบาล เผด็จการที่ได้อํานาจมาจากการรัฐประหาร จนก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม 2516 เพราะรัฐบาลใช้กําลังทหารปราบปรามประชาชน และจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีที่ถูกเรียกว่าเป็น “ทรราช” ต้องจําใจลาออกและลี้ภัยทางการเมืองออกนอกประเทศ
50 ประชาธิปไตยครึ่งใบอยู่ในช่วงการเมืองของรัฐบาลใดต่อไปนี้
(1) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร / พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ / จอมพล ป. พิบูลสงคราม (2) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ / นายทวี บุณยเกตุ / จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ / นายทวี บุณยเกตุ / จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร / พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ / พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
(5) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ / นายอานันท์ ปันยารชุน / จอมพลถนอม กิตติขจร ตอบ 4 หน้า 97, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยครึ่งใบ (Quasi Democracy) หมายถึง รัฐบาลชุดที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นช่วงที่ใช้รัฐธรรมนูญฯ 2521 ซึ่งให้อํานาจ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งมีส่วนร่วมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งในการกําหนด ผู้ที่จะเป็นรัฐบาล โดยการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบนี้เกิดขึ้นเพราะการประนีประนอมทางอํานาจระหว่างกลุ่มข้าราชการ (โดยเฉพาะทหาร) กับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
51 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบใด
(1) เผด็จการพลเรือน
(2) เผด็จการทหาร
(3) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(4) สาธารณรัฐ
(5) ราชาธิปไตย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ
52 กบฎ ร.ศ. 130 ตรงกับรัชกาลที่เท่าใดของไทย
(1) รัชกาลที่ 2
(2) รัชกาลที่ 3
(3) รัชกาลที่ 4
(4) รัชกาลที่ 5
(5) รัชกาลที่ 6
ตอบ 5 หน้า 43 พ.ศ. 2454 ได้มีการจับกุมผู้คิดกบฏครั้งสําคัญในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ กบฏ ร.ศ. 130 โดยมีกบฏชั้นหัวหน้า ได้แก่ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์), ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง, ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ และนายทหารหนุ่ม ๆ แห่งกองทัพบก โดยกบฏกลุ่มนี้ได้เตรียมการมาตั้งแต่พ.ศ. 2452 (สมัยรัชกาลที่ 5) แต่ยังไม่ทันลงมือปฏิบัติการก็ถูกจับกุมเสียก่อน
53 หน่วยงานใดไม่ใช่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
(1) กรุงเทพมหานคร
(2) อบต.ลําลูกกา
(3) จังหวัดนนทบุรี
(4) เทศบาลเมืองปทุมธานี
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ
54 รัฐประหาร พ.ศ. 2490 เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้
(1) นายพจน์ สารสิน
(2) นายชวน หลีกภัย
(3) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
(4) พลโทผิน ชุณหะวัณ
(5) พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ตอบ 4 หน้า 64, 178, 69 (S), (คําบรรยาย) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารบกที่นําโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม, พลโทผิน ชุณหะวัณ, พันตรีเผ่า ศรียานนท์ ฯลฯ ได้ทําการรัฐประหาร โดยอ้างเหตุผลว่าการดําเนินงานของรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธํารงฯ)และรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2489 แก้ไขภาวะวิกฤติของบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ได้
55 การทํารัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นการยึดอํานาจ จากรัฐบาลใด
(1) รัฐบาลชวน หลีกภัย
(2) รัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ
(3) รัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ
(4) รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 75 รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถูกกล่าวหาว่ารัฐมนตรีหลายคนปฏิบัติหน้าที่ไม่สุจริตส่อคอร์รัปชั่นจนมีการตั้งสมญานามว่า “บุฟเฟต์คาบิเนต” (Buffet Cabinet) อันเป็น เหตุให้คณะรัฐประหารที่นําโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมทั้ง ผู้บัญชาการทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ในนามของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)นํามาเป็นข้ออ้างเพื่อเข้ายึดอํานาจเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
56 นายกรัฐมนตรีที่ได้มาภายหลังจากเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ 2535”
(1) นายอานันท์ ปันยารชุน
(2) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(3) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
(4) นายชวน หลีกภัย
(5) พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ตอบ 1 หน้า 76, 180, (คําบรรยาย) ในเดือนพฤษภาคม 2535 ประชาชนโดยเฉพาะ “ชนชั้นกลาง”ทางสังคมที่เรียกว่า “ม็อบมือถือ” ได้คัดค้านการเข้ารับอํานาจของพลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก่อให้เกิดการประท้วง และรัฐบาลต้องใช้กําลังเข้า ปราบปรามอย่างรุนเเรงจนกลายเป็นวิกฤติการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ทําให้พลเอกสุจินดาต้องลาออกจากตําแหน่ง ต่อมาวันที่ 10 มิ.ย.2535 นายอานันท์ ปันยารชุน ก็เป็นนายกรัฐมนตรี
57 รัฐบาลของไทยที่ได้รับสมญานามว่าว่า “บุฟเฟต์คาบิเนต”
(1) รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
(2) รัฐบาลชวน หลีกภัย
(3) รัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ
(4) รัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ
(5) รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ
58 “คณะราษฎร” ประกอบด้วยบุคคลกลุ่มใด
(1) ทหารบก ทหารเรือ พลเรือน
(2) ทหารอากาศ ทหารบก ทหารเรือ
(3) ตํารวจ ทหาร พลเรือน
(4) ตํารวจ ทหารบก ทหารเรือ พลเรือน
(5) นิสิตนักศึกษา ประชาชน
ตอบ 1 หน้า 41, 43 – 44, 62, 45 – 46 (S), 55 (S) คณะราษฎร อันประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน ภายใต้การนําของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ร่วมกันลงมือทําการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เพื่อยึดอํานาจการปกครองจากรัชกาลที่ 7 ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงเพียงครั้งเดียวในประเทศไทย (ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ)
59 เหตุการณ์ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้
(1) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
(2) พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
(3) พล.อ.สุจินดา คราประยูร
(4) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นการยึดอํานาจการปกครองโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่มีกําลังพลจากทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ และตํารวจ ภายใต้การนําของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปต่างประเทศโดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา, พล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร (แม่ทัพภาค 1, 3) เป็นกําลังสําคัญ
60 สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ําโขงในช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศใด
(1) สเปน อังกฤษ
(2) อิตาลี สเปน
(3) ญี่ปุ่น สหรัฐฯ
(4) อังกฤษ ฝรั่งเศส
(5) อังกฤษ โปรตุเกส
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ในช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสนั้น ถึงแม้ว่าประเทศไทย (สยาม) จะไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นหรืออาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศเหมือนกับ ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ล้อมรอบ แต่สยามก็ต้องยอมเสียดินแดนส่วนหนึ่งบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านให้กับเจ้าอาณานิคมทั้ง 2 ประเทศ เพื่อแลกกับการไม่เสียเอกราช
61 ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ไทยมีรัฐธรรมนูญจํานวนทั้งหมดที่ฉบับ
(1) 18 ฉบับ
(2) 19 ฉบับ
(3) 20 ฉบับ
(4) 21 ฉบับ
(5) 22 ฉบับ
ตอบ 3 หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมานั้น ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งหมดจํานวน 20 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญฯ 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20
62 ประมุขของประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทย คือตําแหน่งใด
(1) พระมหากษัตริย์
(2) ประธานาธิบดี
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) ประธานศาลฎีกา
(5) ประธานศาลปกครองสูงสุด
ตอบ 1 หน้า 147, 189, (คําบรรยาย) พระมหากษัตริย์ไทยทรงอยู่ในฐานะองค์ประมุขของประเทศโดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 2 กําหนดให้ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายถึง ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ถือได้ว่าประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครอง ในระบบรัฐสภาติดต่อกันมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าประชาธิปไตยของไทยจะขาดช่วงขาดตอนไปบ้าง จากการถูกทหารก่อรัฐประหารยึดอํานาจการปกครองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่พอได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาก็ยังเป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอยู่เหมือนเดิม
63 ระบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สมัยพระเจ้าตากสิน
(2) สมัยสุโขทัย
(3) สมัยกรุงธนบุรี
(4) สมัยกรุงศรีอยุธยา
(5) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตอบ 2 หน้า 25 สุโขทัยมีรูปการปกครองแบบราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) อํานาจอธิปไตยหรืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศอยู่ที่กษัตริย์หรือพ่อขุน แต่เพียงพระองค์เดียว แต่กษัตริย์สุโขทัยปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก (Paternalism) คือถือตนเป็นพ่อของราษฎร
64 การปกครองแบบระบบจตุสดมภ์เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
(1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
(3) สมเด็จพระไชยราชาธิราช
(4) สมเด็จพระเอกาทศรถ
(5) สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 1 หน้า 28 – 29 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบ “จตุสดมภ์” ขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบ ของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อํานวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดําเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ เมือง วัง คลัง และนา
65 “ระบบกินเมือง” ถูกยกเลิกในสมัยรัชกาลที่เท่าใด
(1) รัชกาลที่ 3
(2) รัชกาลที่ 4
(3) รัชกาลที่ 5
(4) รัชกาลที่ 6
(5) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 34, (คําบรรยาย) รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค/การปกครองหัวเมืองด้วยการออก พ.ร.บ. ปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) ซึ่งเป็นผลทําให้มีการจัดตั้งมณฑล เมือง (จังหวัด) อําเภอ และหมู่บ้าน จึงทําให้ “การปกครองระบบกินเมือง” ที่มีเจ้าเมืองเป็น ผู้ปกครองถูกยกเลิก และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ระบบว่าราชการเมือง” โดยการแต่งตั้งข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทยที่กรุงเทพฯ มาเป็นผู้ปกครอง
66 ระบบ “พ่อขุนอุปถัมภ์” เกี่ยวข้องกับลักษณะการปกครองของบุคคลใดต่อไปนี้
(1) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
(2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(3) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(4) จอมพลถนอม กิตติขจร
(5) จอมพลประภาส จารุเสถียร
ตอบ 3 หน้า 69, 92, (คําบรรยาย) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ร่วมกันกับจอมพลถนอม กิตติขจรทําการรัฐประหารในนาม “คณะปฏิวัติ” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 แล้วล้มรัฐธรรมนูญ ล้มสภาผู้แทนราษฎร ใช้การปกครองแบบให้ความเป็นเอกแก่ฝ่ายบริหาร ด้วยการประกาศใช้ ธรรมนูญฯ 2502 ซึ่งถือเป็นรูปการปกครองแบบ “เผด็จการ” ที่มีลักษณะการใช้อํานาจแบบ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างพ่อขุนอุปถัมภ์ นั่นคือ นายกรัฐมนตรี (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) มีอํานาจอย่างไม่จํากัดทั้งทางด้านการบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
67 นายกรัฐมนตรีของไทยคนใดที่ปกครองประเทศติดต่อกันยาวนานที่สุด
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
(3) พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
(4) นายชวน หลีกภัย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 177 – 181 นายกรัฐมนตรีของไทยที่ปกครองประเทศติดต่อกันยาวนานที่สุด คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 ช่วง โดยในช่วงที่ 2 ปกครองประเทศ ติดต่อกันยาวนานที่สุดถึง 9 ปี 5 เดือน (8 เม.ย. 2491 – 16 ก.ย. 2500) และในช่วงแรก 5 ปี 7 เดือน (16 ธ.ค. 2481 – 24 ก.ค. 2487) รวม 15 ปี ส่วนอันดับ 2 คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปกครองประเทศติดต่อกัน 8 ปี 1 เดือน (3 มี.ค. 2523 – 29 เม.ย. 2531)
68 การบริหารประเทศของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกมองว่าเป็นการใช้นโยบายแบบใด
(1) นวัตวิถี
(2) นวัตกรรม
(3) ประชาวิถี
(4) ประชารัฐ
(5) ประชานิยม
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การบริหารประเทศของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544 – 2549) ถูกมองว่าเป็นการใช้นโยบาย “ประชานิยม” ทําให้ได้รับความนิยมจากประชาชนจนสามารถ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียวในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคที่ถือว่าประสบผลสําเร็จมากที่สุด
69 “การปกครองแบบหัวเมือง” มีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอย่างไร
(1) การปกครองส่วนกลาง
(2) การปกครองส่วนภูมิภาค
(3) การปกครองส่วนท้องถิ่น
(4) การปกครองแบบศูนย์กลาง
(5) การปกครองแบบถึงระบบรัฐสภา
ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 หัวเมืองชั้นใน
2 หัวเมืองชั้นนอก
3 หัวเมืองประเทศราช
70 เมืองทดลองประชาธิปไตยหมายถึงแนวคิดของรัชกาลที่เท่าใด
(1) รัชกาลที่ 3
(2) รัชกาลที่ 4
(3) รัชกาลที่ 5
(4) รัชกาลที่ 6
(5) รัชกาลที่ 7
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ
71 ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 บุคคลใดต่อไปนี้ถูกเรียกว่าเป็น “ทรราช”
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิตติขจร
(4) จอมพลผิน ชุณหะวัณ
(5) จอมพลประภาส จารุเสถียร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ
72 รัฐธรรมนูญ คืออะไร
(1) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(2) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล
(3) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิของพระมหากษัตริย์
(4) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(5) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับทหาร
ตอบ 1 หน้า 81 รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกําหนดรูปแบบ กฏเกณฑ์ และหลักการในการปกครองประเทศ ขอบเขตของรัฐ การใช้อํานาจของผู้ปกครองหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆ การสืบต่ออํานาจ ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
73 “คณะกรรมการราษฎร” หมายถึง
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) สมาชิกวุฒิสภา
(3) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(4) คณะองคมนตรี
(5) คณะรัฐมนตรี
ตอบ 5 หน้า 83 – 85, 159 160 ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 ได้เรียกตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารว่า“ประธานคณะกรรมการราษฎร” และเรียกคณะบริหารว่า “คณะกรรมการราษฎร” แต่ต่อมา นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกตําแหน่งดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ตามลําดับ
74 รัฐบาลตามรัฐธรรมนูญมีกี่รูปแบบ
(1) 1 รูปแบบ
(2) 2 รูปแบบ
(3) 3 รูปแบบ
(4) 4 รูปแบบ
(5) 5 รูปแบบ
ตอบ 4 หน้า 104 – 106 รูปแบบรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1 แบบสภาอย่างสมบูรณ์
2 แบบรัฐสภา
3 แบบฝ่ายบริหาร
4 แบบกึ่งรัฐสภา
75 บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยใดที่ทรงเป็นเสมือน “เจ้าชีวิต” ของราษฎรอย่างชัดเจน
(1) สมัยอยุธยา
(2) สมัยธนบุรี
(3) สมัยรัตนโกสินทร์
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 29, 147, (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยจากการเป็น“พ่อขุน” มาอยู่ในฐานะเป็น “เจ้าชีวิต” ของราษฎรนั้น จะเห็นได้อย่างชัดเจนในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นกษัตริย์ตามแบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ที่ทรงมีพระราชอํานาจเด็ดขาดสูงสุดล้นพ้น สามารถที่จะกําหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้ปกครองได้ (ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ถึงปัจจุบัน บทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นกษัตริย์ที่มีอํานาจจํากัด (Limited Monarchy) ที่เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศมากกว่าที่จะมีอํานาจในด้านการบริหารโดยตรง)
76 จํานวนผู้แทนราษฎรชั่วคราวในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1
(1) จํานวน 60 นาย
(2) จํานวน 70 นาย
(3) จํานวน 80 นาย
(4) จํานวน 90 นาย
(5) จํานวน 100 นาย
ตอบ 2 หน้า 83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย (พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ดังนั้นจึงเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เพียง 3 วันเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียว เรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน 70 นาย
77 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ของไทยประกาศใช้เมื่อ
(1) 24 มิถุนายน 2475
(2) 27 มิถุนายน 2475
(3) 3 ตุลาคม 2475
(4) 8 พฤศจิกายน 2475
(5) 10 ธันวาคม 2475
ตอบ 5 หน้า 84 – 85 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญฯ 2475) เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2482 ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย”
78 การแก้ไขนามประเทศจาก “สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” เกิดขึ้นเมื่อ
(1) พ.ศ. 2475
(2) พ.ศ. 2478
(3) พ.ศ. 2482
(4) พ.ศ. 2489
(5) พ.ศ. 2490
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 77 ประกอบ
79 ระบบสภาคู่ เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ
(1) พ.ศ. 2475
(2) พ.ศ. 2478
(3) พ.ศ. 2482
(4) พ.ศ. 2489
(5) พ.ศ. 2490
ตอบ 4 หน้า 86 – 87 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489 มีลักษณะสําคัญคือ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติแยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ “รัฐสภา” จากสภาเดียว (ตามรัฐธรรมนูญฯ 2475) ไปเป็นสภาคู่ (2 สภา) ได้แก่
1 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรง
2 พฤฒิสภา (วุฒิสภา) ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยอ้อม
80 อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ คือ
(1) คณะบุคคลที่มีภารกิจคอยบริหารประเทศ
(2) คณะบุคคลที่มีภารกิจคอยถวายรายงานแก่กษัตริย์
(3) คณะบุคคลที่มีภารกิจคอยถวายคําปรึกษาแก่กษัตริย์
(4) คณะบุคคลที่มีภารกิจเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ให้กษัตริย์
(5) คณะบุคคลที่มีภารกิจพิจารณาเพื่อให้ได้มาซึ่งกษัตริย์องค์ใหม่
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ
81 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยประกาศใช้เมื่อ
(1) 24 มิถุนายน 2475
(2) 25 มิถุนายน 2475
(3) 26 มิถุนายน 2475
(4) 27 มิถุนายน 2475
(5) 28 มิถุนายน 2475
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ
82 รัฐธรรมนูญฉบับใดต่อไปนี้ที่มีมาตราพิเศษบางมาตราเป็นฉบับแรกของประเทศไทย
(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489
(2) ฉบับที่ 4 ปี 2490
(3) ฉบับที่ 5 ปี 2492
(4) ฉบับที่ 7 ปี 2502
(5) ฉบับที่ 8 ปี 2511
ตอบ 4 หน้า 92 – 96, 71 (S), (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (ธรรมนูญการปกครองฯ 2502)ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการมากที่สุดของไทย เพราะมีการให้อํานาจอย่างกว้างขวางมาก แก่ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี ที่นอกจากจะมีอํานาจบริหารแล้วยังสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติ และอํานาจตุลาการในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ในมาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งการ หรือกระทําการใด ๆ ได้ ดังนั้นจึงถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญแบบ เผด็จการ (รัฐธรรมนูญฉบับต่อมาที่มีมาตราพิเศษเช่นเดียวกัน คือ มาตรา 17 ในรัฐธรรมนูญฯ 2515, มาตรา 21 ในรัฐธรรมนูญฯ 2519, มาตรา 27 ในรัฐธรรมนูญฯ 2520, มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 และมาตรา 265 ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฯ 2560)
83 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่กําหนดว่าทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(1) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489
(2) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2492
(3) ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2517
(4) ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540
(5) ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2560
ตอบ 4 หน้า 100 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความคิดเห็นมากที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 และถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้ รัฐสภาเป็นสภาคู่ ประกอบด้วย
1 สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จํานวน 500 คนซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
2 วุฒิสภา สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จํานวน 200 คน
84 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติของพระมหากษัตริย์ คือ
(1) ครั้งแรก 70 วัน และครั้งที่สอง 30 วัน
(2) ครั้งแรก 80 วัน และครั้งที่สอง 30 วัน
(3) ครั้งแรก 90 วัน และครั้งที่สอง 30 วัน
(4) ครั้งแรก 100 วัน และครั้งที่สอง 30 วัน
(5) ครั้งแรก 110 วัน และครั้งที่สอง 30 วัน
ตอบ 3 หน้า 152 – 153 พระราชอํานาจในการยับยั้งร่าง พ.ร.บ. พระมหากษัตริย์ทรงกระทําได้ 2 วิธี คือ
1 พระราชทานคืนมาให้สภาพิจารณาใหม่ภายในเวลาที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ ปกติรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่กําหนดไว้ 90 วัน (ครั้งแรก) ถ้าสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ให้นายกฯ นําร่าง พ.ร.บ.นั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อพระองค์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน (ครั้งที่ 2) ให้นายกฯ นํา พ.ร.บ.นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระองค์ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146)
2 เก็บไว้เฉย ๆ จนครบกําหนดซึ่งเท่ากับว่าทรงไม่เห็นชอบด้วย
85 ตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” สถาปนาขึ้นในสมัยใด
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
(6) รัชกาลที่ 8
ตอบ 2 หน้า 151 ในปี พ.ศ. 2435 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นตําแหน่งรัชทายาทที่จะได้ทรงสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป
86 “สิทธิ” และ “พระราชอํานาจ” ของพระมหากษัตริย์แตกต่างกันตรงข้อใด
(1) สิทธิกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่พระราชอํานาจไม่ได้กําหนดไว้
(2) พระราชอํานาจกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่สิทธิไม่ได้กําหนดไว้
(3) ทั้งสิทธิและพระราชอํานาจต่างถูกกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
(4) ทั้งสิทธิและพระราชอํานาจต่างไม่ได้ถูกกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
(5) ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ
ตอบ 2 หน้า 152 – 153 แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้กําหนดสิทธิของพระมหากษัตริย์ไว้ แต่ก็ยอมรับและยึดถือกันว่าพระมหากษัตริย์มีสิทธิบางประการที่จะทรงกระทําได้ ส่วนพระราชอํานาจนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอํานาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ
87 นายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่ประเทศไทยใช้อยู่นั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560) ระบุไว้ว่า
(1) ต้องเป็นผู้ที่ทําการยึดอํานาจมา
(2) ต้องเป็นผู้ที่เคยเป็นผู้บัญชาการทหารบก
(3) ต้องเป็นผู้ที่สมาชิกรัฐสภาเสนอชื่อ
(4) ต้องเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากในรัฐสภา
(5) ต้องเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างน้อยในรัฐสภา
ตอบ 3 (ข่าว) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 159 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะ จากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็น ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร และในบทเฉพาะกาลมาตรา 272 กําหนดให้ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรก ตามรัฐธรรมนูญนี้ การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใด ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้ง 2 สภา (ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง 500 คน + ส.ว. ที่มาจากการคัดเลือกของ คสช. 250 คน = 750 คน (ดูรายละเอียดในมาตรา 269) ดังนั้นกึ่งหนึ่งจึง = 375 คน)
88 จํานวนของคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560)
(1) 10 – 18 คน
(2) 18 – 24 คน
(3) 25 – 30 คน
(4) 1 + 35 คน
(5) นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุจํานวนไว้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ
89 การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องทําเป็น
(1) พระราชกฤษฎีกา
(2) พระราชบัญญัติ
(3) พระราชกําหนด
(4) พระราชโองการ
(5) ประกาศคณะปฏิวัติ
ตอบ 4 หน้า 163 ตามปกติแล้ว การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องทําเป็นพระราชโองการฯ (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ)
90 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์
(1) สังคมสงเคราะห์
(2) การปกครอง
(3) บริหารประเทศ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 154 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ อาจจําแนกออกได้เป็น 3 ด้าน คือ
1 พิธีการ โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีการสําคัญต่าง ๆ ของชาติ เช่น งานรัฐพิธี เป็นผู้แทนทางการทูตในการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศและต้อนรับแขกเมือง ฯลฯ
2 สังคมสงเคราะห์ โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศล
3 การปกครอง โดยการเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดเพื่อให้มีขวัญและกําลังใจดี
91 อํานาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี
(1) วางนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน
(2) เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภา
(3) รับผิดชอบต่อการอันเชิญพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 1 หน้า 159 “รัฐบาล” (คณะรัฐมนตรี) เป็นองค์กรที่ถูกกําหนดให้เป็นผู้ใช้อํานาจบริหารหรือเป็นองค์กรที่ทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในนามประชาชน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ)
92 สาเหตุใหญ่ของการแทรกแซงทางการเมืองของทหารในประเทศไทย
(1) รัฐบาลพลเรือนและพรรคการเมืองไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน
(2) สถานการณ์เอื้ออํานวย เช่น เกิดความสับสนวุ่นวาย
(3) มีกลุ่มพลังอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพมาถ่วงดุลทางการเมืองได้
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 หน้า 172 173 สาเหตุของการแทรกแซงทางการเมืองของทหารในประเทศไทย มีดังนี้
1 รัฐบาลประชาธิปไตยหรือรัฐบาลพลเรือนและพรรคการเมืองไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน
2 สถานการณ์เอื้ออํานวย เช่น เกิดความสับสนวุ่นวาย มีการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง ฯลฯ
3 ขาดกลุ่มพลังที่มีประสิทธิภาพเพื่อมาถ่วงดุลทางการเมืองหรือคานอํานาจกับทหารได้
4 ทหารเป็นกลุ่มพลังที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้กําลังเข้ายึดอํานาจรัฐได้ ฯลฯ
93 องค์กรใดถือเป็นองค์กรสูงสุดในการแสดงเจตจํานงของคนในชาติ
(1) พระมหากษัตริย์
(2) รัฐสภา
(3) ศาล
(4) คณะรัฐมนตรี
(5) ศาลรัฐธรรมนูญ
ตอบ 2 หน้า 189 รัฐสภาถือเป็นองค์กรที่แสดงเจตจํานงสูงสุดของประชาชนคนในชาติ โดยทําหน้าที่พิจารณาบัญญัติหรือออกกฎหมายเพื่อใช้ในการปกครองหรือบริหารประเทศ และควบคุม การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารด้วยการเปิดอภิปรายซักฟอกนโยบายของรัฐบาล หรือตั้งกระทู้ถามเพื่อให้รัฐบาลชี้แจงข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ
94 การประชุมของสภามีกี่รูปแบบ
(1) 1 รูปแบบ คือ การประชุมสามัญ
(2) 1 รูปแบบ คือ การประชุมวิสามัญ
(3) 2 รูปแบบ คือ การประชุมสามัญและการประชุมวิสามัญ
(4) 2 รูปแบบ คือ การประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการประชุมวุฒิสภา (ส.ว.)
(5) จะขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญที่จะกําหนดไว้ในแต่ละฉบับ
ตอบ 3 หน้า 202, (คําบรรยาย) การประชุมของสภา มี 2 รูปแบบ คือ
1 การประชุมสามัญเป็นการประชุมตามสมัยประชุม
2 การประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมนอกสมัยประชุม (ดูรายละเอียดในรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 121 – 123)
95 รัฐสภา (Parliament) มีกี่รูปแบบ
(1) 1 รูปแบบ
(2) 2 รูปแบบ
(3) 3 รูปแบบ
(4) 4 รูปแบบ
(5) 5 รูปแบบ
ตอบ 5 หน้า 190 – 191 รัฐสภา (Parliament) ของไทยเท่าที่เคยจัดตั้งขึ้นมา มี 5 รูปแบบ ดังนี้
1 สภาเดียวมีสมาชิกแต่งตั้งทั้งหมด (มาจากการรัฐประหาร) ได้แก่ ธรรมนูญฯ 2475, 2502,2515, 2520, 2531, รัฐธรรมนูญฯ 2519, รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2549 และ 2557
2 สภาเดียวมีสมาชิก 2 ประเภททั้งแต่งตั้งและเลือกตั้ง ได้แก่ รัฐธรรมนูญฯ 2475 และ 2495
3 สภาคู่โดยสภาหนึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งและอีกสภาหนึ่งมีสมาชิกมาจากการแต่งตั้งได้แก่ รัฐธรรมนูญฯ 2489, 2490, 2492, 2511, 2517, 2521, 2534 และ 2560
4 สภาคู่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้ง 2 สภา ได้แก่ รัฐธรรมนูญฯ 2540
5 สภาคู่โดยสภาหนึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งและอีกสภาหนึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ได้แก่ รัฐธรรมนูญฯ 2550
96 รัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใดที่มีลักษณะเป็นสภาเดียวมีสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด
(1) ฉบับที่ 1 ปี 2475
(2) ฉบับที่ 7 ปี 2502
(3) ฉบับที่ 20 ปี 2560
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ
97 จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ปี 2560
(1) 360 และ 270
(2) 480 และ 150
(3) 500 และ 200
(4) 500 และ 250
(5) 500 และ 300
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ
98 ผู้ที่ทําหน้าที่ควบคุมการประชุมร่วมของ ส.ส. และ ส.ว. คือ
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ประธานวุฒิสภา
(3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร
(4) ประธานรัฐสภา
(5) ประธานองคมนตรี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ที่ทําหน้าที่ควบคุมการประชุมร่วมของ ส.ส. และ ส.ว. คือ ประธานรัฐสภา (ผู้ที่ทําหน้าที่ควบคุมการประชุมของ ส.ส. คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้ที่ทําหน้าที่ควบคุมการประชุมของ ส.ว. คือ ประธานวุฒิสภา)
99 กระทรวงยุติธรรม ได้มีการจัดตั้งขึ้นในสมัยใด
(1) รัชกาลที่ 5
(2) รัชกาลที่ 6
(3) รัชกาลที่ 7
(4) รัชกาลที่ 8
(5) รัชกาลที่ 9
ตอบ 1 หน้า 33, 255 กระทรวงยุติธรรมได้มีการจัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยทรงปฏิรูประบบการปกครอง ในปี พ.ศ. 2434 (ดูคําอธิบายข้อ 43 ประกอบ)
100 กระบวนการพิจารณากฎหมายในรัฐสภามีกี่วาระ
(1) 1 วาระ
(2) 2 วาระ
(3) 3 วาระ
(4) 4 วาระ
(5) 5 วาระ
ตอบ 3 หน้า 235 236 กระบวนการพิจารณากฎหมายในรัฐสภา (ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา)
ประกอบด้วยขั้นตอน 3 วาระด้วยกัน คือ วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ, วาระที่ 2 ขั้นกรรมาธิการ วาระที่ 3 ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างกฎหมายทั้งฉบับ