การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 1100 รัฐศาสตร์ทั่วไป
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 นักปราชญ์กรีกผู้ศึกษารัฐธรรมนูญเปรียบเทียบเกินกว่า 120 ฉบับ ได้แก่
(1) Archimedes
(2) Socrates
(3) Plato
(4) Euclid
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 30 – 31, 205 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์กรีกผู้ศึกษารัฐธรรมนูญเปรียบเทียบได้แบ่งการปกรองออกเป็น 6 รูปแบบ โดยอาศัยรัฐธรรมนูญของนครรัฐและแว่นแคว้นต่าง ๆมาเปรียบเทียบกันถึง 158 ฉบับ ซึ่งได้มาจากลูกศิษย์ คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
2 ก่อนได้รับเอกราช สหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้
(1) เยอรมนี
(2) รัสเซีย
(3) อังกฤษ
(4) ฝรั่งเศส
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 117 – 118, 131, 315 สหรัฐอเมริกาถือว่าวันที่ได้รับเอกราชนั้นมีความสําคัญอย่างยิ่งและถือว่าเป็นวันชาติ (National Day) แต่ใช้ศัพท์แทนว่า The Fourth of July ซึ่งหมายถึง วันที่ได้รับอิสรภาพจากอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 (พ.ศ. 2319) หรือประมาณ 244 ปีมาแล้ว หรือประมาณ 6 ปีก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325)คือตรงกับยุคของกรุงธนบุรีหรือยุคสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310 – 2325)
3 ประเทศในประชาคม ASEAN ที่มีเกาะมากที่สุด ได้แก่
(1) ฟิลิปปินส์
(2) ออสเตรเลีย
(3) อินโดนีเซีย
(4) มาเลเซีย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 124, (คําบรรยาย) ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน (ASEAN) ที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะจํานวนมาก มี 2 ประเทศ ได้แก่
1 อินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆมากกว่า 12,000 เกาะ
2 ฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มากกว่า 8,000 เกาะ
4 ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของรัฐสมัยใหม่
(1) อาณาเขตที่แน่นอน
(2) อธิปไตย
(3) รัฐบาล
(4) เพลงชาติ
(5) ประชากร/พลเมือง
ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐ (สมัยใหม่) มี 4 ประการ คือ 1 พลเมือง(ประชากร)
2 อาณาเขต (มีอาณาเขตที่แน่นอน)
3 รัฐบาล
4 อธิปไตย
5 ทฤษฎีกําเนิดของรัฐที่กล่าวว่า “แรงธรรมชาติผลักดันมนุษย์ให้สร้างรัฐขึ้นมา” ได้แก่ทฤษฎี
(1) อภิปรัชญา
(2) สัญญาประชาคม
(3) สัญชาตญาณ
(4) ชีววิทยา
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 154 ทฤษฎีสัญชาตญาณ (Instinct Theory) กล่าวว่า “มีแรงธรรมชาติที่ผลักดันให้มนุษย์รวมตัวกันให้เป็นรัฐหรือให้เป็นองค์การทางการเมืองขึ้นมา” โดยแรงธรรมชาติ ก็คือสิ่งที่อุบัติขึ้นเองเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
6 สหรัฐอเมริกาได้เอกราชประมาณช่วงปี
(1) ค.ศ. 1776
(2) ยุคสมเด็จพระเจ้าตากสิน
(3) ยุคโคลัมบัสค้นพบอเมริกา
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ
7 “Demos” ใน Democracy แปลตามรากศัพท์เดิม คือ
(1) พิเศษมนุษย์
(2) มุขบุรุษ
(3) พลเมือง
(4) ภูมิประเทศ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 275 276 ศัพท์ Democracy (ประชาธิปไตย) ในภาษาอังกฤษนั้น มีรากศัพท์เดิม ในภาษากรีกว่า Demokratia ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างคําว่า Demos แปลว่า ประชาชน (พลเมือง) กับคําว่า Kratos หรือ Cratos หมายถึง การปกครอง และเมื่อนําคําทั้ง 2 คํานี้ มารวมกันแล้ว จึงสื่อความหมายว่า เป็นการปกครองของประชาชน
8 หนึ่งใน 3 ปราชญ์ด้านสังคมศาสตร์ยุคกรีกโบราณ ได้แก่
(1) Socrates
(2) Vitvas
(3) Aesop
(4) Euclid
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 30 – 32, 99 รัฐศาสตร์ในโลกตะวันตกได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางปรัชญาโดยเฉพาะปรัชญาทางการเมืองของ 3 มหาปราชญ์หรือไตรเมธีหรือผู้เลิศทางปัญญาด้าน สังคมศาสตร์แห่งยุคกรีกโบราณ ซึ่งมีฐานะเป็นอาจารย์กับลูกศิษย์กัน ดังนี้
1 ซอคระตีส (Socrates) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญา” มีเพลโตเป็นศิษย์เอก
2 เพลโต (Plato) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งปรัชญาการเมือง” มีอริสโตเติลเป็นศิษย์เอก
3 อริสโตเติล (Aristotle) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐศาสตร์” หรือบิดาผู้สถาปนา/ผู้ก่อตั้งวิชารัฐศาสตร์ (Founding Father) มีพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นศิษย์เอก
9 รัฐช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่สมบูรณ์ เป็นทัศนะของ
(1) มาเคียเวลลี
(2) อริสโตเติล
(3) ลิปแมน
(4) เฮเกล
(5) คาร์ล มาร์กซ์
ตอบ 2 หน้า 160 – 161 อริสโตเติล บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ “การเมือง”ว่า “จุดประสงค์ของรัฐไม่ใช่เพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ แต่จะต้องเป็นไปเพื่อชีวิตซึ่งมีคุณภาพดี โดยเขาเห็นว่า การมีรัฐช่วยให้มีชีวิตที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง การมีคุณภาพชีวิต อันได้แก่สภาวะชีวิตที่ดีถูกต้องตามครรลองแห่งเหตุผล
10 อธิบไตยในแนวพุทธศาสนาที่ใกล้เคียงกับประชาธิปไตย ได้แก่
(1) โลกาธิปไตย
(2) อัตตาธิปไตย
(3) ธรรมาธิปไตย
(4) นานาธิปไตย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 286, 313 314 ในแนวพุทธศาสนาได้มีการกล่าวถึงอธิปไตย 3 ประเภท ได้แก่
1 โลกาธิปไตย เป็นการปกครองที่ใกล้เคียงกับลัทธิหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตย เพราะ มีความหมายว่า ยกให้พลเมืองเป็นส่วนใหญ่ (การปกครองโดยคนส่วนใหญ่)
2 อัตตาธิปไตย เป็นการให้อํานาจไว้กับคน ๆ เดียว เช่น ราชาธิปไตย ฯลฯ
3 ธรรมาธิปไตย เป็นการปกครองที่ดีเลิศ คือ การยกย่องธรรมะให้เป็นใหญ่
11 ทฤษฎีเทวสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการเมืองเฟื่องฟูในช่วง
(1) มาเลเซียขณะนี้
(2) อียิปต์ปัจจุบัน
(3) อียิปต์ยุคก่อน
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) อังกฤษยุคปัจจุบัน
ตอบ 3 หน้า 149 – 154 (คําบรรยาย) ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ถือว่า รัฐเกิดขึ้นมาจากสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์ คือ เทพยดาหรือผู้อยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเมือง หรือการมีผู้ปกครองรัฐที่เคยมีหรือเคยใช้และได้รับการยอมรับมากในยุคโบราณหรือยุคเก่าก่อนของอารยธรรมต่าง ๆ เช่น กรีก อียิปต์ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อังกฤษ ฯลฯ
12 ทฤษฎีบริเวณขอบนอกเกี่ยวกับอะไรโดยตรง
(1) วิศวกรรมศาสตร์
(2) ภูมิรัฐศาสตร์
(3) ประวัติศาสตร์การเมือง
(4) ภูมิศาสตร์การเมือง
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 77 รภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้รับฉายาจากนักวิชาการผู้หนึ่งว่าเป็น “บุตรทางปัญญานอกกฎหมายของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองกับรัฐศาสตร์” ซึ่งมี 3 ทฤษฎีสําคัญ ได้แก่ ทฤษฎีดินแดนหัวใจ (Heartland Theory), ทฤษฎีบริเวณขอบนอก (Rimland Theory)และทฤษฎีอํานาจทางทะเล (Sea Power Theory)
13 การบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์ในภาษาอังกฤษ คือ
(1) Public Administration
(2) Public Nom Nation
(3) Political Communication
(4) Political Doctrine
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 471 รัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องกระบวนการบริหาร นโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ
14 “นครชากังราว” เดิม ปัจจุบันคือจังหวัด
(1) แพร่
(2) นครสวรรค์
(3) กําแพงเพชร
(4) ศรีสะเกษ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 111 – 113 ตัวอย่างของนครรัฐ (Polis) หรือ city-state ในอดีต ได้แก่
1 นครรัฐของอินเดียในสมัยพุทธกาล เช่น กรุงกบิลพัสดุ, กรุงราชคฤห์ ฯลฯ
2 นครรัฐของกรีกโบราณสมัย 2,400 ปีมาแล้ว เช่น เอเธนส์, สปาร์ตา, โอลิมเปีย ฯลฯ
- นครรัฐทางภาคเหนือของไทยในอดีต เช่น เวียงพิงค์ (เชียงใหม่), เขลางค์นคร (ลําปาง),หริภุญชัย (ลําพูน), เวียงโกศัย (แพร่), ชากังราว (กําแพงเพชร) ฯลฯ
15 สาระสําคัญของรัฐศาสตร์ที่ว่าด้วย P- Public หมายถึงอะไร
(1) การปฏิบัติ
(2) นโยบาย
(3) การขยาย
(4) มหาชน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 12 – 14, 409 สาระสําคัญของรัฐศาสตร์และการเมืองเกี่ยวโยงกับ 7 P’s และ 1E ได้แก่ Public (สาธารณะ/มหาชน), Power (อํานาจ), Person (บุคคล), Policy (นโยบาย), Participation (การมีส่วนร่วม), Party (พรรคการเมือง), Practice (การปฏิบัติ) และ Events(เหตุการณ์ต่าง ๆ)
16 สํานักงานใหญ่ ASEAN ตั้งอยู่ที่
(1) กัวลาลัมเปอร์
(2) จาการ์ตา
(3) เนปิดอว์
(4) มะนิลา
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 114, (คําบรรยาย) สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN)จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (1984) เวียดนาม (1995) ลาวและพม่า (1997) กัมพูชา (1999) รวมมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ โดยมีสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
17 หลักทศพิธราชธรรมมีข้อใดบ้างดังต่อไปนี้
(1) ทาน
(2) บริจาค
(3) รักษาศีล
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 22 – 23, 514 – 515 ทศพิธราชธรรม หมายถึง กิจวัตรหรือจริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจําพระองค์หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง 10 ประการ ดังนี้
1 ทาน (การให้)
2 ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย)
3 บริจาค (ความเสียสละ)
4 อาชชวะ (ความซื่อตรง)
5 มัททวะ (ความอ่อนโยน)
6 ตบะ (การข่มกิเลส)
7 อักโกธะ (ความไม่โกรธ)
8 อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
9 ขันติ (ความอดทน)
10 อวิโรธนะ (ความไม่คลาดจากธรรม)
18 ประเทศที่มีรัฐสภาประกอบด้วยสภาเดียว
(1) อินโดนีเซีย
(2) สิงคโปร์
(3) มาเลเซีย
(4) เมียนมาร์
(5) ฟิลิปปินส์
ตอบ 2 หน้า 337 – 341, (คําบรรยาย) โครงสร้างของรัฐสภา อาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1 สภาคู่หรือทวิสภา (Bicameral) คือ ประกอบด้วย 2 สภา (สภาสูงและสภาล่าง) เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
2 สภาเดี่ยวหรือเอกสภา (Unicameral) คือ มีสภาเดียว เช่น สิงคโปร์ สวีเดน นอร์เวย์ ฯลฯ
19 นายกรัฐมนตรีอังกฤษซึ่งมีความเป็นผู้นําสูงมากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ (1) เธชเชอร์
(2) วินสตัน เชอร์ชิลล์
(3) แมคโดนัลด์
(4) ลอร์ด แอ็คตัน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 432 วินสตัน เซอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษซึ่งมีความเป็นผู้นําสูงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเขาสามารถปลุกและเร้าใจให้คนอังกฤษ มีขวัญและกําลังใจในการต่อสู้ ด้วยการกล่าววาทศิลป์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเป็นเสมือนมนต์ขลัง โดยเฉพาะในตอนที่ว่า “ทั้งชีวิตข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะอุทิศให้พี่น้องร่วมชาติมากไปกว่าหยาดโลหิตสปิริตแรงกล้า น้ําอัสสุชลคลอเบ้าตา และเหงื่ออาสาชโลมกาย”
20 Green Politics สนใจเรื่องอะไร
(1) การเพาะปลูก
(2) มองโลกในแง่ร้าย
(3) ไม่ชอบการพลิกผัน
(4) ประเด็นที่ว่าด้วยนิเวศวิทยา
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 381, (คําบรรยาย) Green Politics (การเมืองสีเขียว) เป็นแนวคิดนิเวศวิทยาการเมืองของพรรคการเมืองสีเขียว (Green Party) ที่ไม่ได้เน้นเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่จะเน้น เรื่องความเป็นอยู่แบบใหม่ของประชาชนที่จะไม่เอาเปรียบธรรมชาติ โดยให้ความสนใจในเรื่องการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และการแสดงออกในประเด็นที่ว่าด้วยนิเวศวิทยา
21 การกีดกัน กลั่นแกล้ง และข่มเหงคนยิวที่เคยมีอยู่ในเยอรมนี ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทําโดยผู้นําชื่อ
(1) ฮิตเลอร์
(2) โคโรซอน
(3) พาราซิต
(4) โววิกส์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 257 ภายหลังการเรืองอํานาจของฮิตเลอร์ คนยิวในเยอรมนีและประเทศอื่นก็ถูกกีดกันข่มเหง และกําจัดอยู่เสมอ เพราะความเชื่อในลัทธิเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์นิยมของฮิตเลอร์ คือ เห็นว่าคนผิวด้อยกว่าคนเยอรมันเชื้อสายอื่น ๆ จึงเกิดลัทธิต่อต้านยิว (Antisemitism) ขึ้นมา
22 ตัวอย่างของการแสดงออกซึ่งจิตวิญญาณสาธารณะ (Public Spirit) ได้แก่ (1) การทําตามคําขวัญข้อหนึ่งในคําขวัญ 4 ข้อ ของ ม.ร.
(2) การไปลงคะแนนเสียง
(3) การรู้จักประหยัดทรัพยากร
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 319 สาธารณประโยชน์จิตหรือจิตวิญญาณสาธารณะ (Public Spirit) คือ การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อมเกิดจากความสํานึกว่าเป็นหนี้บุญคุณ ของสังคม ดังนั้นจึงมีหน้าที่ต้องทําประโยชน์ให้เป็นการตอบแทนหรือเป็นการสนองคุณชาติ (คําขวัญข้อหนึ่ง ใน 4 ข้อ ของ ม.ร. คือ รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณซาติ) ได้แก่ การทําหน้าที่พลเมืองดีในด้านต่าง ๆ เช่น การรู้จักประหยัดพลังงานหรือประหยัดทรัพยากรการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
23 โลกาธิปไตย หมายถึง
(1) อํานาจอยู่ที่พลังงานของโลก
(2) การปกครองโดยคนส่วนใหญ่
(3) องค์การสหประชาชาติ
(4) การปกครองโดยผู้นําคนเดียว
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ
24 ผู้ริเริ่มและเผยแพร่อหิงสาธรรมหรือสัตยาเคราะห์ ได้แก่
(1) มหาตมะ คานธี
(2) ยอร์จ วอชิงตัน
(3) อองซาน
(4) มาร์กาเรท แธชเชอร์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 86 – 87, 403, 445 มหาตมะ คานธี เป็นผู้ริเริ่มและเผยแพร่อหิงสาธรรม (อวิหิงสา)หรือสัตยาเค ราะห์/ลัตยาคฤห์ (Satyagraha) ในช่วงแห่งการกู้ชาติของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็น วิธีการต่อสู้โดยสันติวิธีหรือไม่ใช้กําลังรุนแรงและไม่เบียดเบียนหรือไม่ทําร้ายผู้อื่น และอาจจะเรียกวิธีการต่อสู้นี้ว่า อารยะขัดขืน (Non-violent Resistance หรือ Civil Disobedience)
25 กล่าวถึงผู้เคยมีอํานาจมากเป็นระดับเจ้าเมืองในยุคโบราณของญี่ปุ่น เรียกว่า
(1) ขุนพลซามูไร
(2) โชกุน
(3) โกโบริ
(4) โตโจ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 117 ผู้มีอํานาจควบคุมพื้นที่มากในสมัยศักดินาของญี่ปุ่น ได้แก่ บรรดาขุนพลหรือเจ้าเมืองที่เรียกว่า โชกุน (Shogun) ส่วนองค์จักรพรรดิจะมีอํานาจแต่เพียงในนามเท่านั้น
26 Thesis, Antithesis เป็นศัพท์ที่เกี่ยวกับอุดมการณ์อะไร
(1) คอมมิวนิสต์
(2) นิกายโยเร
(3) เหลาจื้อ
(4) นาซี
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 243 – 244, (คําบรรยาย) ลัทธิคอมมิวนิสต์ (ทฤษฎีมาร์กซิสม์) โดยคาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) ผู้ตั้งทฤษฎีนี้จะเน้นวัตถุนิยมเชิงวิภาษ (Dialectical) และใช้ศัพท์วิภาษวิธี (Dialectic) ตามการเช้ของเฮเกล (Hegel) เพื่อมาอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยกระบวนการ 3 อย่าง คือ Thesis (จุดยืน), Antithesis (จุดแย้ง) และ Synthesis (จุดยุบ)
27 บทที่ 1 ระบุถึง “โขน” ว่าเกี่ยวพันกับความเชื่อในทฤษฎีอะไร
(1) สัญญาประชาคม
(2) เทวสิทธิ์
(3) สัญชาตญาณ
(4) อเนกนิกรสโมสรสมบัติ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 20 สําหรับมหากาพย์เรื่องรามเกียรติ์เกี่ยวกับพระราม พระลักษมณ์ นางสีดา หนุมาน ทศกัณฐ์ และตัวละครอื่น ๆ อันเป็นการละเล่นที่เรียกว่า “โขน” นั้น จะมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อตามแนวคิดทฤษฎีแบบเทวสิทธิ์ (Divine Kingship) โดยมีพระรามเป็นองค์อวตาร
28 สํานักงานใหญ่ของ UN องค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ ณ
(1) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
(2) นิวยอร์ก
(3) ซิดนีย์
(4) ลอนดอน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 466 องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ถือกําเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
29 องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งประธานาธิบดี Trump มุ่งลดบทบาทลง มีชื่อย่อว่า
(1) NARAD
(2) NATO
(3) NOMO
(4) NORO
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO : North Atlantic Treaty Organization) เป็นองค์การระหว่างประเทศด้านความมั่นคงทางทหารในระดับภูมิภาคใน พื้นที่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ คือ กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือโดยมีสํานักงานใหญ่หรือสํานักเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
30 ขุนนางและปราชญ์ชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 ชื่อนิคโคโล มาเคียเวลลี (Machiavelli) เขียนหนังสือชื่อ
(1) The Princess
(2) Lord of the Rings
(3) The Prince
(4) The Queen
(5) ผิดทั้งหมด 1
ตอบ 3 หน้า 39 รัฐศาสตร์ยุคใหม่เริ่มจากข้อเขียนของนิคโคโล มาเคียเวลลี (Machiavelli) นักคิดและนักการเมืองชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 ในหนังสือชื่อ The Prince (เจ้าหรือผู้ครองนคร) ซึ่งถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ในทางรัฐศาสตร์ที่มีการแยกการเมืองออกจากศีลธรรม
31 ลักษณะสําคัญของรัฐประชาชาติ คือ
(1) ประวัติศาสตร์ร่วม
(2) เอกลักษณ์ร่วม
(3) เป็นอิสระ
(4) ถูกทั้งหมด
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 137 – 141 ลักษณะสําคัญของชาติหรือรัฐประชาชาติ มี 5 ประการ คือ
1 การมีความผูกพันต่อถิ่นที่อยู่
2 การมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน
3 การมีภาษาและวรรณคดีร่วมกัน
4 การมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ร่วมกัน
5 การมีความต้องการอยู่อย่างอิสระ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาติอื่นใด)
32 ผู้ปกครองของบรูไน (Brunei) เรียกว่า
(1) ราชา
(2) กษัตริย์
(3) Sultan
(4) King
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ผู้ปกครองของบรูไนหรือบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) เรียกว่า สุลต่าน (Sultan) โดยบรูไนปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปัจจุบันมีสุลต่านโบลเกียห์ (Sultan Bolkiah) เป็นทั้งกษัตริย์และนายกรัฐมนตรีปกครองประเทศ
33 ประชาธิปไตยแบบที่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมออกกฎหมายโดยตนเองเรียกว่า
(1) Direct Democracy
(2) เสรีประชาธิปไตย
(3) ประชาธิปไตยแบบเบ็ดเสร็จ
(4) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 287 การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1 ประชาธิปไตยแบบโดยตรง (Direct Democracy) หรือบางครั้งเรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) คือ การที่ให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมออากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายได้ด้วยตนเอง
2 ประชาธิปไตยแบบโดยอ้อม (Indirect Democracy) หรือบางครั้งเรียกว่าประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Democracy)
34 หลักวิธีการศึกษาแบบ “พฤติกรรมศาสตร์” เน้นในเรื่องใด
(1) ประวัติความเป็นมา
(2) ปรัชญาที่ลึกซึ้ง
(3) สถิติ ตัวเลข
(4) สภาพภูมิศาสตร์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 32 – 34 หลักวิธีการศึกษาแบบ “พฤติกรรมศาสตร์” จะมุ่งหาเกณฑ์ทั่วไป ใช้วิธีการเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นสถิติ ตัวเลข ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ โดยไม่สนใจประวัติความเป็นมาหรือปรัชญาที่ลึกซึ้ง ปฏิเสธการคิดเชิงคุณค่า และบูรณาการกับนานาวิทยาการ
35 “แมวอ้วน” (Fat Cats) ในการเมืองอเมริกัน หมายถึง
(1) มาเฟียผู้มีอิทธิพล
(2) ผู้ไม่ไปลงคะแนนเสียง
(3) ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือรายใหญ่
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 386 “แมวอ้วน” (Fat Cats) ในการเมืองอเมริกัน หมายถึง ผู้สนับสนุนรายใหญ่หรือผู้บริจาคเงินช่วยเหลือรายใหญ่ให้ผู้สมัครหรือให้พรรคการเมืองคราวละมาก ๆ
36 ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน คือ
(1) มี 2 พรรคใหญ่
(2) มีการเลือกตั้งหัวหน้ารัฐบาลทุก 5 ปีเป็นประจํา
(3) มีพรรคใหญ่ ๆ 5 พรรค
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 379 – 381 ระบบพรรคการเมืองในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีลักษณะเหม่อนกันหรือคล้ายกันมาก คือ เป็นระบบ 2 พรรค มีพรรคการเมืองใหญ่เพียง 2 พรรคที่มีโอกาสมงลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกันเป็นรัฐบาล โดย 2 พรรคนี้จะมีเสียงสนับสนุนใกล้เคียงกัน ขณะที่พรรคอื่น ๆ จะ เป็นเพียงพรรคเล็ก ๆ เท่านั้น (การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาจะมีในทุก 4 ปี ส่วนอังกฤษมีการเลือกตั้งทุก 5 ปี แต่การเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นก่อนกําหนด (ถ้ามีการยุบสภาฯ)
37 นายก ร.ม.ต. ผู้ก่อตั้งหรือสถาปนาสิงคโปร์ (Founding Prime Minister) ได้แก่
(1) Lee Kuan Yew
(2) Goh Chok Tong
(3) Rajaratnam
(4) Maka
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 65 นายกรัฐมนตรีผู้ก่อตั้งหรือสถาปนาประเทศสิงคโปร์ (Founding Prime Minister) ยุคใหม่ ได้แก่ ลี กวน ยิว (Lee Kuan Yew) ผู้นําพรรคกิจประชา (People’s Action Party : PAP) โดยได้ครองตําแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึงเกือบ 30 ปี จึงได้มอบหมายให้โก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 และนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 (คนปัจจุบัน) คือลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) บุตรชายของลี กวน ยิว
38 “ความขาดแคลนหรือความยากจนทําให้ลัทธิการเมืองหนึ่งแพร่หลาย” เป็นการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ในเชิง หรือแนวทางศาสตร์ใด
(1) ประวัติศาสตร์
(2) เศรษฐศาสตร์
(3) ภูมิศาสตร์
(4) อภิปรัชญา
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 73, (คําบรรยาย) ผู้ที่นําวิธีการวิเคราะห์รัฐศาสตร์ในเชิงหรือแนวทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐวิธี (Economic Approach) มาใช้ในทางการเมืองและการปกครอง คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) ผู้เป็นต้นตํารับของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมาร์กซ์ถือว่า “วิถีแห่งการผลิต” อันเป็น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจมีบทบาทหรือมีผลกระทบต่อเรื่องราวทางการเมือง การปกครอง และ วิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ฯลฯ จนสามารถกล่าวได้ว่า “ความขาดแคลนหรือความยากจนทําให้ลัทธิการเมืองหนึ่ง (คอมมิวนิสต์) แพร่หลาย”
39 ลัทธิประชาธิปไตยส่งเสริมบุคลิกภาพที่เรียกกันว่า พลังอัตตา หมายถึง
(1) ความไว้เนื้อเชื่อใจในเพื่อนมนุษย์
(2) การทําอะไรได้ตามใจชอบ
(3) ความรู้สึกว่าตนเองมีพละกําลัง สามารถทําอะไรให้สัมฤทธิ์ผลได้
(4) ถูกทั้ง 3 ข้อแรก
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 322 อุปนิสัยที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย (Democratic Character) ได้แก่
1 การมีอัตตาตัวตนที่เปิดเผย (Open Ego) คือ เป็นผู้มีความไว้เนื้อเชื่อใจในเพื่อนมนุษย์
2 การมีศรัทธาในผู้อื่น
3 การมีพลังอัตตาและมีความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ โดยพลังอัตตา (Ego Strength) คือ ความรู้สึกหรือเชื่อว่าตนเองมีพละกําลัง สามารถทําอะไรให้สัมฤทธิ์ผลได้สามารถกําหนดวิถีชีวิตตนเองได้ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
40 สํานักศึกษาของเพลโต คือ
(1) อะคาเดมี
(2) โรม
(3) เวนิส
(4) ลีเซียม
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 30, (คําบรรยาย) สํานักศึกษาของเพลโต คือ อะคาเดมี (Academy) หมายถึง ละเมาะ หรือพุ่มพฤกษ์ (ร่มไม้) อันเกิดจากสภาพของสถาบันการศึกษาในขณะนั้นคือ เป็นป่าเล็ก ๆอยู่ในที่ร่มรื่นและมีต้นไม้นานาพันธุ์ ส่วนสํานักศึกษาของอริสโตเติล คือ ลีเซียม (Lyceum)
41 อุดมการณ์ทางการเมืองที่จัดเป็นฝ่ายขวาหรือค่อนไปทางฝ่ายขวา
(1) คอมมิวนิสต์
(2) อรัฐนิยม
(3) เสรีนิยม
(4) อํานาจนิยม
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 238, (คําบรรยาย) อุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง อาจแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
1 ฝ่ายซ้าย ได้แก่ คอมมิวนิสต์ อรัฐนิยม สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย (ค่อนไปทางฝ่ายเป็นกลาง)และพวกรุนแรงทั่ว ๆ ไป
2 ฝ่ายเป็นกลาง ได้แก่ เสรีนิยม (ค่อนไปทางฝ่ายซ้าย) และอนุรักษนิยม (ค่อนไปทางฝ่ายขวา)
3 ฝ่ายขวา ได้แก่ อํานาจนิยม และพวกรุนแรงทั่ว ๆ ไป (เช่น เผด็จการ ฟาสซิสต์)
42 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) มีสาระดังนี้
(1) มีการมอบอํานาจการปกครองให้ผู้ใดผู้หนึ่งหรือชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ปกครอง
(2) การทําสัญญาประชาคมเป็นเหตุการณ์ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
(3) การทําสัญญาดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3 ตอน 1 หน้า 155 – 158 ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) มีสาระสําคัญ คือ มีการมอบสิทธิหรือมอบอํานาจการปกครองให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้นําหรือเป็นผู้ปกครองของชุมชนนั้น ซึ่งการทําสัญญานี้เป็นเพียงข้อสมมติเท่านั้น ทั้งนี้เพราะย่อมไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์เมื่อสมัยเป็นหมื่น ๆ หรือนับเป็นแสนปีมาแล้ว
43 รัฐหรือรัฐบาลเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้าย เป็นคําอธิบายของ
(1) อนุรักษนิยม
(2) ฟาสซิสต์
(3) อรัฐนิยม
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 247 อรัฐนิยม (Anarchism) เป็นแนวคิดทางการเมืองที่ต่อต้านการมีรัฐบาลหรือการมีรัฐซึ่งตามแนวคิดนี้ถือว่ารัฐหรือการรวมตัวเป็นประเทศ เป็นชาติ เป็นบ้านเมือง หรือการมีรัฐบาลเป็นของไม่จําเป็น และเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายนานาประการ
44 “ราชยสภา” ของอินเดีย หมายถึง
(1) วุฒิสภา
(2) สภาสูง
(3) สภาล่าง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 314 รัฐสภาของอินเดีย ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1 โลกสภา หมายถึง สภาประชาชนหรือสภาล่าง (สภาผู้แทนราษฎร)
2 ราชยสภา หมายถึง สภาสูง (วุฒิสภา)
45 ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวหรือระบบพรรคครึ่ง มีตัวอย่างในประเทศ
(1) ฟิลิปปินส์
(2) ญี่ปุ่น
(3) อินเดีย
(4) สิงคโปร์
(5) เมียนมาร์
ตอบ 4 หน้า 377 378 ระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเด่นพรรคเดียว (One Dominant Party)หรือระบบพรรคครึ่ง/พรรคอิทธิพลสูง เป็นระบบที่มีพรรคใหญ่อยู่หนึ่งพรรคได้จัดตั้งรัฐบาล แต่เพียงพรรคเดียวติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน และพรรคเล็กอื่น ๆ ทั้งหมดมีคะแนนเสียง รวมกันเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของพรรคใหญ่เท่านั้น โดยระบบนี้จะมีในระบบประชาธิปไตย และมักเกิดขึ้นเนื่องจากสภาวการณ์บางอย่าง เช่น การมีบทบาทในสมัยกู้ชาติหรือสมัยต่อสู้เพื่อเอกราช) แต่ในปัจจุบันมีตัวอย่างในบางประเทศเท่านั้น เช่น สิงคโปร์ และกัมพูชา ฯลฯ
46 Tagalog เป็นภาษาหลักในประเทศ
(1) อินโดนีเซีย
(2) Syria
(3) Chile
(4) ฟิลิปปินส์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 (PS 103 เลขพิมพ์ 46077 หน้า 115) ตากาล็อก (Tagalog) เป็นภาษาประจําชาติและเป็นภาษาหลักในประเทศฟิลิปปินส์
47 ในหลัก POSDCORB ตัว 8 ให้ความสําคัญกับอะไร
(1) การเก็บภาษี
(2) การวางแผน
(3) การจัดองค์การ
(4) การจัดหางบประมาณ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 474 475 Gulick และ Urwick ได้เสนอหลักการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพว่าจะต้องประกอบด้วยหลัก POSDCORB ซึ่งย่อมาจาก
1 P = Planning (การวางแผน)
2 0 = Organizing (การจัดองค์การ)
3 S = Staffing (คณะผู้ร่วมงาน)
4 D = Directing (การสั่งการ)
5 Co = Coordinating (การประสานงาน)
6 R = Reporting (การทํารายงาน)
7 B = Budgeting (การทํางบประมาณ)
48 ผู้นําในการกอบกู้เอกราชของพม่า คือ
(1) นายพลออง ซาน
(2) Rajaratnam
(3) Burengnong
(4) U Thant
(5) ผิดทั้งหมด ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้นําในการกอบกู้เอกราชของพม่า/เมียนมาร์จากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คือ นายพลออง ซาน (Aung San) ซึ่งเป็นบิดาของนางออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Gyi) ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่เป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน
49 สาระสําคัญของรัฐศาสตร์ที่ว่าด้วย P-Person หมายถึงอะไร
(1) การปฏิบัติ
(2) นโยบาย
(3) วิธีคิด
(4) บุคคล
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ
50 ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซียหลังได้รับเอกราช ได้แก่
(1) ซูการ์โน
(2) เนห์รู
(3) อินทิรา
(4) เทวราช
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 302, 443 ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซียผู้กอบกู้เอกราชและบิดาผู้สถาปนาหรือผู้ก่อตั้ง (Founding President) ประเทศอินโดนีเซียยุคใหม่ (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) คือ ซูการ์โน (บิดาของนางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอินโดนีเซีย)
51 “เวียงพิงค์” หมายถึงจังหวัดใดในปัจจุบัน
(1) แพร่
(2) น่าน
(3) ลําปาง
(4) ลําพูน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ
52 เสน่วยงานของ “สหประชาชาติ” ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัลมรดกโลก ได้แก่
(1) NATO
(2) UNESCO
(3) IMF
(4) WHO
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ทบวงชํานัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระดับโลก คือ UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และยังเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัลมรดกโลก (World Heritage)
53 ทฤษฎีพหุนิยม (Pluralism) กับความเป็นประชาธิปไตยเน้นการปฏิสัมพันธ์หลายคนแบบอะไร
(1) กลุ่มหลากหลาย
(2) กลุ่มลูกหลาน
(3) กลุ่มล่อแหลม
(4) กลุ่มเหลาะแหละ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 295 296 ทฤษฎีพหุนิยม (Pluralism) กับความเป็นประชาธิปไตย จะเน้นหรือให้มาคัญกับกลุ่มหลากหลาย (กลุ่มหลากประเภท/กลุ่มหลายชนิด) โดยเชื่อกันว่า ความหลากหลายของการรวมกลุ่มภายในสังคมจะเป็นปัจจัยที่สําคัญยิ่งในการทําให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพและมั่นคง
54 คํากล่าวที่ว่า “นักการเมืองคิดถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป รัฐบุรุษคิดถึงประชาชนคนรุ่นต่อไป” มุ่งเน้นอะไร
(1) ประโยชน์ส่วนรวม
(2) การเสียสละ
(3) คํานึงถึง Public
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 313, (คําบรรยาย) ข้อแตกต่างระหว่างนักการเมือง (Politician) กับรัฐบุรุษ (Statesman)มีในภาษิตรัฐศาสตร์ข้อหนึ่งของ James Freeman Clarke ซึ่งมีความว่า “นักการเมืองคิดถึง การเลือกตั้งครั้งต่อไป (Next Election) แต่รัฐบุรุษคิดถึงคนรุ่นต่อไป (Next Generation)” ซึ่งรัฐบุรุษเป็นผู้เห็นการณ์ไกล มักใช้วิจารณญาณเลือกกระทําการที่มุ่งเน้นต่อประโยชน์ส่วนรวม คํานึงถึงสาธารณะ (Public) รวมทั้งมีความเสียสละ มีจริยธรรม มีจิตสํานึก และมีวิสัยทัศน์
55 รางวัลแมกไซไซ (Magsaysay) ถือกําเนิดในประเทศ
(1) ฟิลิปปินส์
(2) อินโดนีเซีย
(3) บอร์เนียว
(4) มาเลเซีย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รางวัลแมกไซไซ เป็นรางวัลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตประธานาธิบดีรามอน แม็กไซไซ (Ramon Magsaysay) ของฟิลิปปินส์ โดยคนไทยที่เคยได้รับรางวัลนี้มีอยู่กว่า 20 คน เช่น ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์, น.พ.ประเวศ วะสี เป็นต้น
56 ลัทธิอะไรที่เน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น
(1) อนุรักษนิยม
(2) เสรีนิยม
(3) ฟาสซิสต์
(4) คอมมิวนิสต์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 245 ลัทธิคอมมิวนิสต์ ถือว่า การเมือง คือ การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ซึ่งได้แก่
1 ในระบบทาส มีการต่อสู้ระหว่างนายกับทาส
2 ในระบบศักดินา มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าขุนมูลนายกับไพร่
3 ในระบบทุนนิยม มีการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ
57 ฉายา Bollywood แห่งการผลิตสื่อบันเทิงประเภทภาพยนตร์แบบ Hollywood อยู่ในประเทศ
(1) อิสราเอล
(2) Nicaragua
(3) อินเดีย
(4) Iraq
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Bollywood เป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ตั้งอยู่ที่เมืองมุมไบ (Mumbai) ประเทศอินเดีย โดยมุมไบเป็นชื่ออินเดียแทนชื่อเก่าที่อังกฤษใช้เรียกเมืองบอมเบย์ (Bombay) ในอดีต ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอินเดีย เป็นเมืองท่าทางการพาณิชย์แถบอินเดียตอนใต้ที่ได้สมญานามว่า ลอนดอนแห่งอินเดีย
58 ผู้ร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
(1) เดวิด อิสตัน
(2) เจมส์ แมดดิสัน
(3) จอห์น ล็อค
(4) ลินคอล์น
(5) วูดโรว์ วิลสัน
ตอบ 2 หน้า 176 – 177, (คําบรรยาย) ผู้มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฉบับถาวร(Framer) เมื่อปี ค.ศ.1787 (เมื่อ 230 ปีเศษมาแล้ว) และยังคงเป็นฉบับที่ใช้สืบเนื่องกันมา เป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนานจนถึงปัจจุบัน (ถือเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรที่ มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก) ประกอบด้วยผู้รู้ ผู้สามารถ จํานวน 3 คน ได้แก่
1 เจมส์ แมดดิสัน (James Madison)
2 อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton)
3 เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านการเป็นนักประพันธ์นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ และเป็นผู้คงแก่เรียน
59 Nihon หมายถึงหรือเกี่ยวกับ
(1) จีน
(2) ญี่ปุ่น
(3) เกาหลี
(4) อินเดีย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศญี่ปุ่นมีชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Nippon (นิปปง) หรือ Nihon (นิฮง) ซึ่งหมายถึง ถิ่นกําเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทําให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับฉายาว่า ดินแดนอาทิตย์อุทัย (โดยในปัจจุบันคําว่า Nippon มักใช้ในกรณีที่เป็นทางการ แต่ถ้าหากเป็นเวลาปกติก็จะใช้คําว่า Nihon)
60 ต่อไปนี้เป็นชื่อของอดีตผู้นําของประเทศที่นิยมคอมมิวนิสต์
(1) นายพลฟรังโก
(2) เลนิน
(3) ฮิตเลอร์
(4) มุสโสลินี
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อดีตผู้นําของประเทศที่นิยมคอมมิวนิสต์ ได้แก่ เลนิน สตาลิน กอร์บาชอฟ ฯลฯ ของสหภาพโซเวียต และเหมาเจ๋อตง เติ้งเสี่ยวผิง ฯลฯ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น (ส่วนอดีตผู้นําของประเทศที่นิยมเผด็จการ ได้แก่ ฮิตเลอร์ มุสโสลินี ฟรังโก และโตโจ ฯลฯ)
61 CIA เป็นชื่อเกี่ยวกับข่าวกรองสืบราชการลับในประเทศอะไร
(1) ญี่ปุ่น
(2) สเปน
(3) อังกฤษ
(4) กรีก
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) CIA (ซีไอเอ) หรือสํานักงานข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี ทําหน้าที่สืบราชการลับและปฏิบัติการจารกรรมตามคําสั่งของสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSC)
62 ประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบ “กึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภา”
(1) ฝรั่งเศส
(2) ยูโกสลาเวีย
(3) เกาหลีเหนือ
(4) สิงคโปร์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 187 รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1 ระบบรัฐสภา มีในประเทศอังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย ฯลฯ
2 ระบบประธานาธิบดี มีในประเทศสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
3 ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี หรือกึ่งประธานาธิบดีถึงรัฐสภา (ระบบคณะรัฐมนตรีแบบฝรั่งเศส) มีในประเทศฝรั่งเศส ศรีลังกา ฯลฯ
63 เลขาธิการของสหประชาชาติที่เพิ่งได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งปัจจุบันเป็นชาว
(1) เกาหลี
(2) สวีเดน
(3) เดนมาร์ก
(4) โปรตุเกส
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 (ข่าว) เลขาธิการของสหประชาชาติ (UN) ที่เพิ่งได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 คือ นายกูแตรีส (Guterres) เป็นชาวโปรตุเกส (มีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี)
64 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่กําลังใช้ขณะนี้ (2562) คือ แผนที่
(1) 5
(2) 7
(3) 9
(4) 10
(5) 12
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ขณะนี้ (พ.ศ. 2562) ประเทศไทยกําลังใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ทั้งนี้ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาฯ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505
65 ประเทศสหรัฐอเมริกามีกี่รัฐ (States)
(1) 45
(2) 48
(3) 50
(4) 52
(5) 54
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกาประกอบด้วยรัฐทั้งหมด 50 รัฐ โดยเป็นรัฐที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกัน 48 รัฐ และเป็นรัฐที่อยู่แยกออกไป 2 รัฐ คือ อะลังกา และฮาวาย
66 นายกรัฐมนตรีอินเดียคนแรกของสาธารณรัฐอินเดียหลังได้รับเอกราช ได้แก่
(1) กฤษณะ มูระ
(2) เยาวหลาล เนห์รู
(3) วิโนษฐ
(4) ปักษาราช
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 หน้า 65 – 66, 403, (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสาธารณรัฐอินเดียซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งประเทศยุคใหม่หลังการได้รับเอกราชจากการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษหรือภายหลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 คือ เยาวหลาล เนห์รู (Jawaharat Nehru) โดยดํารงตําแหน่ง 16 ปีเศษและยังเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในอินเดีย (พรรคคองเกรส) หลังการได้รับเอกราชใหม่ ๆ
67 กล่าวถึงจิตวิทยาการเมือง ศึกษาประเด็น
(1) การจูงใจให้เชื่อ
(2) บุคลิกภาพแบบอํานาจนิยม
(3) อุปนิสัยแบบประชาธิปไตย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 82 – 83 จิตวิทยาการเมือง (Political Psychology) เป็นวิชาที่ศึกษาในประเด็นต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการออกเสียงลงคะแนน, การโฆษณาชวนเชื่อ (การจูงใจให้เชื่อ), วิถีชีวิตของ นักการเมืองระดับผู้นํา, บุคลิกภาพแบบอํานาจนิยม และอุปนิสัยแบบประชาธิปไตย
68 ยุคเอโดะ (Edo) เกี่ยวพันโดยตรงกับประเทศ
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) ไต้หวัน
(4) ฮ่องกง
(5) ผิดทั้งหมด 1
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลัทธิเทวสิทธิ์ในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว และสิ้นสุดลงในยุคโชวะ(ค.ศ. 1947) ภายหลังจากญี่ปุ่นปราชัยในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยุคสมัยของญี่ปุ่นแบ่งออก ได้ดังนี้ ยุคโจมอน (10,000 – 300 ก่อน ค.ศ.), ยุคยะโยะอิ (300 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 300), ยุคโคฟุน (ค.ศ. 300 – 710), ยุคนารา (ค.ศ. 710 – 1185), ยุคคามะคุระ (ค.ศ. 1185 – 1333), ยุคมุโระมะนิ (ค.ศ. 1333 – 1576), ยุคโมะโมะยะมะ (ค.ศ. 1576 – 1600), ยุคเอโดะ (ค.ศ. 1600 – 1867), ยุคเมจิ (ค.ศ. 1867 – 1912), ยุคไทโช (ค.ศ. 1912 – 1926), ยุคโชวะ (ค.ศ. 1926 – 1989), ยุคเฮเซ (ค.ศ. 1989 – 2019) และปัจจุบัน คือ ยุคเรวะ
69 ผู้เป็นเสมือนบิดาแห่งรัฐประศาสนศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ได้แก่
(1) เคนเนดี
(2) ทรูแมน
(3) วูดโรว์ วิลสัน
(4) แฟรงคลิน รูสเวลท์
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 473 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา (USA) เป็นผู้เริ่มต้นเสนอแนวความคิดอันเป็นแนวกรอบเค้าโครงความคิด (กระบวนทัศน์ : Paradigm) เรื่องการแยกการบริหารออกจากการเมือง ทําให้เกิดแนวความคิดในการศึกษาด้านการบริหารขึ้นเป็นการแพร่หลาย ดังนั้นเขาจึงได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งรัฐประศาสนศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
70 ข้อแนะนําในการอ่านหนังสือรัฐศาสตร์ทั่วไปคือการยึดหลักกาลามสูตร ซึ่งหมายความว่า
(1) ยึดเป็นตําราที่สมบูรณ์
(2) ต้องใช้เหตุผลพิจารณา
(3) เน้นการ “รู้จํา” มากกว่า “รู้แจ้ง”
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 หน้า 314 พุทธศาสนามีคําสอนในกาลามสูตร ซึ่งสนับสนุนให้บุคคลใช้เหตุผลใช้วิจารณญาณและความคิดอิสระในการตัดสินปัญหาและข้อสงสัยต่าง ๆ โดยเน้นความเข้าใจ ไม่ให้เชื่ออะไร หรือเชื่อใครง่าย ๆ เช่น ไม่ให้เชื่อโดยฟังตามกันมา โดยนําสืบกันมา โดยตื่นข่าวลือ โดยอ้างตํารา โดยนึกเดา โดยคาดคะเน โดยตรึกตรองตามอาการ โดยพอใจว่าเหมาะกับความเห็นของตนโดยเห็นว่าผู้พูดเป็นครู ฯลฯ แต่ให้มีการพิจารณาไตร่ตรองและสืบสวนค้นคว้าเสียก่อนจึงเชื่อ
71 Ganges หรือ Ganga ในอินเดียหมายถึงแม่น้ำ
(1) ทวาราวดี
(2) คงคา
(3) อิระวดี
(4) สาละวิน
(6) โขง
ตอบ 2 หน้า 19 – 20 มหากาพย์ของอินเดีย 2 เรื่อง คือ มหาภารตะและรามเกียรติ ได้แสดงให้เห็นถึงการที่พวกอารยันได้ขยายตัวไปทางทิศตะวันออกสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ําคงคา (Ganges) ซึ่งทําให้เกิดอาณาจักรเล็ก ๆ ขึ้นหลายแห่ง และเกิดการผสมกลมกลืนระหว่างอารยันกับดราวิเดียน
72 ตัวอย่างของ Polis ในกรีกโบราณ คือ
(1) เอเธนส์
(2) สปาร์ตา
(3) ฟลอเรนซ์
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ (ฟลอเรนซ์เป็น Polis ในโรมันโบราณ)
73 อดีตเลขาธิการ UN ที่เป็นชาวเอเซีย มาจากประเทศ
(1) อินโดนีเซีย
(2) เกาหลีใต้
(3) เมียนมาร์
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (ข่าว) อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ที่เป็นชาวเอเชียมี 2 คน มาจากประเทศเมียนมาร์ คือ นายอูถัน (U Thant) ที่เคยเป็นเลขาธิการ UN ในปี ค.ศ. 1961 – 1971 (พ.ศ. 2504 – 2514) และมาจากประเทศเกาหลีใต้ คือ นายบันคีมูน (Ban Ki Moon) ที่เคยเป็นเลขาธิการ UN ในปี ค.ศ. 2007 – 2016 (พ.ศ. 2550 – 2559)
74 ประเทศใดที่เคยหรือมีประมุขเป็นสตรี
(1) อินเดีย
(2) ฟิลิปปินส์
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตัวอย่างของประเทศที่เคยหรือมีประมุขเป็นสตรี ได้แก่ อินเดีย อินทิรา คานธี),ฟิลิปปินส์ (อาคิโน และอาโรโย), อินโดนีเซีย (ซูการ์โนบุตรี), อังกฤษ (แทตเชอร์ และ May),เยอรมัน (Merkel), ออสเตรเลีย (กิลลาร์ด) และไทย (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เป็นต้น
75 Brexit หมายถึง
(1) อังกฤษออกจาก EU
(2) การสํารวจอวกาศ
(3) มลพิษ
(4) บริษัทสร้างอาวุธ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 (ข่าว) Brexit มาจากคําว่า Britain + Exit หมายถึง อังกฤษ (Britain : สหราชอาณาจักร)ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (European Union : EU) ซึ่งมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 และล่าสุดอังกฤษออกจาก EU แล้วเมื่อ 27 มกราคม 2563
76 เอกสารหรือตําราที่มีชื่อเสียงของอริสโตเติล
(1) The Lair
(2) The Prince
(3) The Politics
(4) The Republic
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 18 – 19 หนังสือ/เอกสาร/ตําราที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงทางรัฐศาสตร์โดยตรงที่สําคัญของอริสโตเติล (Aristotle) คือ Politics (ไม่ใช่ The Politics) ส่วนหนังสือ/เอกสาร/ตําราที่เป็นผลงานยอดเยี่ยมในทางปรัชญาการเมืองของเพลโต (Plato) คือ The Republic
77 ความเจริญของมนุษยชาติขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ เกี่ยวกับกลไกแห่งการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่
(1) รู้จํา
(2) รู้จับจุด
(3) รู้เจาะจง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทั้งหมด ตอง, 5 (คําบรรยาย) ความเจริญของมนุษยชาติขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ (Huกาan Resources)เพื่อส่งเสริม The best and the brightest (สิ่งที่ดีที่สุดและฉลาดที่สุด) ย่อมอาศัยกลไกแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ รู้จํา, รู้จด, รู้จับจุด, รู้เจาะจง, รู้แจกแจง, รู้เจนจัด และรู้จัดเจง
78 “ดาไล ลามะ” หมายถึง
(1) ผู้นําทิเบตปัจจุบัน
(2) อดีตผู้นําของทิเบต
(3) ผู้นําศาสนา
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 150, 208, (คําบรรยาย) ในอาณาจักรทิเบตแต่เดิม (ก่อนการยึดครองของน) มีการปกครองแบบเทวาธิปไตย (Theocracy) โดยมีความเชื่อตามทฤษฎีเทวสิทธิ์วา องค์ดาไล ลามะ (Dalai Lama) ซึ่งเป็นประมุขทั้งทางจิตวิญญาณ (ผู้นําทางศาสนา) และหัวหน้าด้านบริหารปกครอง (ผู้นําประเทศ) ยุคเก่าก่อน เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระพุทธองค์
79 บท 4 ระบุว่า จุดประสงค์ของรัฐตามแนวคิดของอริสโตเติล คือ
(1) มิใช่เพียงเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว แต่ผลผลิตต้องมีจํานวนมากด้วย (
2) ให้ความสําคัญกับเทคโนโลยี 4.0
(3) เน้นความเจริญทางวัตถุ
(4) มิใช่เพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น แต่ให้มีชีวิตซึ่งมีคุณภาพ
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 160 161 อริสโตเติล บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ “การเมือง”ว่า “จุดประสงค์ของรัฐไม่ใช่เพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ แต่จะต้องเป็นไปเพื่อชีวิตซึ่งมีคุณภาพดี” โดยเขาเห็นว่า การมีรัฐช่วยให้มีชีวิตที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง การมีคุณภาพชีวิต อันได้แก่ สภาวะชีวิตที่ดีถูกต้องตามครรลองแห่งเหตุผล
80 ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรที่ใช้อยู่เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานที่สุดในโลก คือ
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) อินเดีย
(4) ญี่ปุ่น
(5) สหรัฐเมริกา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ
81 Thee Fourth of July หมายถึง
(1) วันชาติฝรั่งเศส
(2) วันชาติอเมริกัน
(3) วันชนะสงครามญี่ปุ่น
(4) วันผดุงวีรชน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2 ประกอบ
82 ศัพท์ราชการหรือค่อนข้างเป็นทางการของ “เศรษฐกิจพอเพียง” คือ
(1) Enough Economics
(2) Enough Economy
(3) Sufficiency Economy
(4) Providing Economy
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 (เอกสารหมายเลข 27 หน้า 16 – 18), คําบรรยาย) ศัพท์ราชการหรือค่อนข้างเป็นทางการของ “เศรษฐกิจพอเพียง” คือ Sufficiency Economy ซึ่งเป็นแนวปรัชญาตามพระราชดํารัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่รัฐบาลนํามาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและ พัฒนาประเทศ โดยยึดทางสายกลางเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์ รวมทั้งสามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้
83 พรรคเดโมแครตในสหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีที่เคยดํารงตําแหน่ง 4 สมัย ได้แก่
(1) เอฟ. ดี. รูสเวลท์
(2) รอห์น เอฟ. เคนเนดี้
(3) ริชาร์ด นิกสัน
(4) เจมส์ ดีน
(5) ผิดทั้งหมจ
ตอบ 1 หน้า 442, (คําบรรยาย) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่เคยดํารงตําแหน่ง 4 สมัยติดต่อกัน เป็นเวลา 12 ปี ในระหว่างปี ค.ศ. 1933 – 1945 คือ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) สังกัดพรรคเดโมแครต (Democrat) (ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 ได้มีบทแก้ไขรัฐธรรมนูญห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งเป็น 2 สมัยติดต่อกัน)
84 การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) มีในประเทศ
(1) สิงคโปร์
(2) ศรีลังกา
(3) อินโดนีเซีย
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ถูกทั้งหมด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 62 ประกอบ
85 แนวคิด “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็จะชนะร้อยครั้ง” เป็นแนวคิดทางการเมืองของ
(1) ขงจื้อ
(2) ซุนหวี่
(3) ขงเบ้ง
(4) เล่าปี่
(5) กวนอู
ตอบ 2 หน้า 27 แนวคิด “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง” เป็นแนวคิดทางการเมืองที่แนะนําโดย ซุนหรู (ซุนวู) ในตําราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นคําสอนที่ทราบกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก แต่ในเชิงปฏิบัติทําได้ยากยิ่ง
86 โรงเรียนหรือสถาบันทหารบกของสหรัฐอเมริกาที่เก่าแก่เด่นดัง ได้แก่
(1) West Point
(2) Duntroon
(3) St. Cyre
(4) Varuka
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โรงเรียนหรือสถาบันวิชาการศึกษาทหารบกในระดับชั้นสัญญาบัตร(โรงเรียนนายร้อย) ของสหรัฐอเมริกาที่เก่าแก่โด่งดัง ได้แก่ เวสต์ปอยต์ (West Point) ส่วนประเทศอื่นที่ทหารไทยเคยไปศึกษา คือ ยังกฤษ ได้แก่ แซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst),ฝรั่งเศส ได้แก่ แซงซีร์ (St. Cyre) และออสเตรเลีย ได้แก่ ดันทรูน (Duntroon) ฯลฯ
87 รากศัพท์ “การเมือง” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอะไร
(1) กรีก
(2) เปอร์เซีย
(3) รัสเซีย
(4) โบลิเวีย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 5 ศัพท์คําว่า Politics (การเมืองการปกครอง/รัฐศาสตร์) ในภาษาอังกฤษนั้น มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Polis ซึ่งแปลว่า นครรัฐ อันเป็นการรวมตัวหรือการจัดองค์การทางการเมือง แบบหนึ่งซึ่งใหญ่กว่าระดับครอบครัวหรือชนเผ่า
88 เกี่ยวกับ “รัฐศาสตร์” กับ “การเมือง” ข้อความใดถูกต้องที่สุด
(1) รัฐศาสตร์เน้นหนักทางวิชาการ
(2) รัฐศาสตร์เน้นการลงมือกระทําการอย่างเดียว
(3) การเมืองเป็นเรื่องหนักไปในทางกิจกรรม (Activities)
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 5, (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่าง “รัฐศาสตร์” กับ “การเมือง” ที่ใช้ในภาษาไทย คือ รัฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เน้นหนักทางวิชาการหรือวิทยาการ ส่วนการเมืองเป็นเรื่องที่เน้นหนักไปในทางกิจกรรม (Activities) หรือการลงมือกระทําการเพียงอย่างเดียว
89 การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ใครได้อะไร เมื่อไร อย่างไร” เป็นคําอธิบายของ
(1) ลาสเซลล์
(2) อีสตัน
(3) เพลโต
(4) จิรโชค วีระสย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 6 ลาสเซลล์ (Lasswell) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน กล่าวว่า การเมืองเป็น “เรื่องเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพล” ในหนังสือชื่อ การเมือง : ใครได้อะไร เมื่อไร และอย่างไร
90 หนึ่งในสิทธิอํานาจ 3 ประเภท ของแม็กซ์ เวเบอร์
(1) กําลังบังคับ
(2) เส้นสาย
(3) พลานุภาพ
(4) แบบตรรก-นิตินัย
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 16 สิทธิอํานาจ อํานาจตามหน้าที่หรือโดยชอบธรรม) ของแม็กซ์ เวเบอร์ มี 3 ประเภท คือ
1 แบบประเพณีนําหรือธรรมเนียมบัญชา
2 แบบตรรก-นิตินัย
3 แบบบารมีวิสัย
91 ต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบของจตุสดมภ์
(1) เวียง
(2) นา
(3) ไร่
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จตุสดมภ์ ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง นา ซึ่งเป็นระบบการปกครองส่วนกลางจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในยุคกรุงศรีอยุธยา
92 Hyde Park ซึ่งเป็นสถาบันแห่งการพูดโดยเสรี ตั้งอยู่ ณ ที่ใด
(1) ลอนดอน
(2) ปารีส
(3) เบอร์ลิน
(4) นิวยอร์ก
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 280 สวนไฮด์ (Hyde Park) ในมหานครลอนดอนของอังกฤษ คือ สถานที่อันเลื่องชื่อที่ประชาชนสามารถพูดและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี
93 ทัศนคติที่พึงมีในประชาธิปไตยข้อหนึ่งคือ “ปัจเจกชนนิยม” (Individualism) หมายถึง
(1) รัฐบาลควรวางมาตรฐานแห่งการดําเนินชีวิตให้ประชาชนทุกคน
(2) เอกชนควรปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด
(3) ไม่ยอมให้ใครบังคับให้ลงคะแนนเสียงตามที่กําหนดได้
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 317 – 318 ทัศนคติที่พึงมีในประชาธิปไตยข้อหนึ่งคือ ปัจเจกชนนิยม (Individualism) ซึ่งมี 2 ความหมาย คือ
1 รัฐบาลไม่ควรเข้าควบคุมกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคม
2 เอกชนหรือปัจเจกชนนิยมจะต้องมีสิทธิในการตัดสินใจของตนเองโดยเสรี มิใช่ตามใจผู้อื่นการตัดสินใจโดยเสรี คือ การใช้ความคิดอิสระ ปราศจากการบีบบังคับโดยบุคคลอื่น
94 ข้อใดไม่ใช่ความหมายของพฤติกรรมศาสตร์
(1) วิธีเชิงปริมาณ
(2) มุ่งหาเกณฑ์ทั่วไป
(3) ตรวจสอบได้
(4) มุ่งเสนอเชิงคุณค่า
(5) บูรณาการกับนานาวิทยาการ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34 ประกอบ
95 Public Spirit หมายถึง
(1) จิตวิญญาณสาธารณะ
(2) ทรัพย์สินส่วนกลาง
(3) ความทะเยอทะยาน
(4) อารมณ์ศิลปิน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22 ประกอบ
96 พรรคการเมืองที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สังกัด
(1) เดโมแครต
(2) เสรีนิยม
(3) แรงงาน
(4) ก้าวหน้า
(5) รีพับลิกัน
ตอบ 5 (ข่าว) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา (USA) คือ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) สังกัดพรรครีพับลิกัน โดยเข้าดํารงตําแหน่งเป็นสมัยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560
97 วัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมที่สุดกับประชาธิปไตยของอัลมอนด์กับเวอร์บา
(1) ไพร่ฟ้า
(2) คับแคบ
(3) ไพร่ฟ้า – คับแคบ
(4) Civic Culture
(5) มีส่วนร่วม – ไพร่ฟ้า
ตอบ 5 หน้า 413 – 414 อัลมอนด์และเวอร์บา ได้แบ่งประเภทของประชาชนในการเกี่ยวข้องหรือการมีส่วนร่วมกับการเมืองหรือลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1 ผู้สนใจเพียงน้อยนิด
2 ผู้ดํารงชีวิตเป็นไพร่ฟ้า
3 ประชาชนผู้สนใจ โดยวัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะสมที่สุดกับประชาธิปไตยของอัลมอนด์กับเวอร์บา ก็คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (ไพร่ฟ้า)
98 ความมั่นคงและกําลังอํานาจแห่งชาติเกี่ยวข้องกับ
(1) การได้เอกราช
(2) การอยู่รอด
(3) เป็นปึกแผ่น
(4) ถูกทั้งหมด
(5) ผิดทั้งหมด 1
ตอบ 4 หน้า 429 ความมั่นคงและกําลังอํานาจแห่งชาติเกี่ยวข้อง/เกี่ยวโยงกับมโนทัศน์อื่น ๆ ดังนี้
1 การได้เอกราช
2 การอยู่รอด
3 ความเป็นปึกแผ่น
4 กําลังอํานาจแห่งชาติ
99 นักคิดคนสําคัญของอุดมการณ์อนุรักษนิยม
(1) เอ็ดมันด์ เบอร์ก
(2) รุสโซ
(3) จอห์น ล็อค
(4) เจฟเฟอร์สัน
(5) ผิดทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 259 นักคิดคนสําคัญของอุดมการณ์อนุรักษนิยม คือ เอ็ดมันด์ เบอร์ก (Edmund Burke) โดยเขาเป็นผู้สถาปนาลัทธิอนุรักษนิยมอย่างเป็นระบบ
100 ระบบการปกครองของไทยในปัจจุบัน
(1) เผด็จการอํานาจนิยม
(2) ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
(3) คอมมิวนิสต์
(4) ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี
(5) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบัน ก็คือ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาทั้งนี้รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 2 ระบุว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข