การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 ลักษณะของปัญหาในข้อใด มีคําตอบได้หลายคําตอบ
(1) กรสงสัยว่าปัญญาคือสิ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์หรือไม่
(2) ไกรสงสัยว่าฮอร์โมนในสัตว์กับมนุษย์เหมือนกันหรือไม่
(3) เกรียงสงสัยว่ามนุษย์คือสัตว์ที่กลัวการลงโทษใช่หรือไม่
(4) ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 1, 9 – 10, (คําบรรยาย) ปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นผู้มีปัญญาซึ่งลักษณะสําคัญประการหนึ่งของปรัชญาก็คือ แม้แต่คําตอบต่อปัญหาอันเดียวกันนั้นก็อาจ มีคําตอบที่เป็นไปได้หลายคําตอบ โดยยังไม่มีการกําหนดหรือยอมรับกันลงไปว่าคําตอบใด เป็นคําตอบที่ถูกต้องที่สุด วิชาปรัชญาถือว่าคําตอบทุกคําตอบเป็นไปได้ทั้งสิ้น ดังนั้นปรัชญา จึงช่วยแก้ปัญหาให้แก่มนุษย์ด้วยการใช้ปัญญาแสวงหาคําตอบที่เป็นไปได้ (ส่วนตัวเลือกข้อ 2 เป็นปัญหาทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคําตอบที่แน่นอนพอสมควร)
2 ความเชื่อในเรื่องบูชาพระราหูเป็นแนวปฏิบัติตนของคนไทยที่สอดคล้องกับแนวคิดของมนุษย์ยุคใดใน ประวัติปรัชญา
(1) ยุคดึกดําบรรพ์
(2) ยุคโบราณ
(3) ยุคกลาง
(4) ยุคใหม่
ตอบ 1 หน้า 2 ปัญหาปรัชญาในยุคดึกดําบรรพ์ คือ ปัญหาที่ว่าภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแก้ไขอย่างไร โดยมนุษย์ในยุคนั้นเชื่อกันว่า โลกหรือจักรวาลมีกฎเกณฑ์ที่ไม่แน่นอนตายตัว ยุ่งเหยิง และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่มีระเบียบ ภัยธรรมชาติเกิดจากเทพเจ้า หรือเทพเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดภัยธรรมชาติขึ้น ดังนั้นมนุษย์จะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติได้ก็ต้องเอาใจเทพเจ้า คือ ทําให้เทพเจ้าพึงพอใจด้วยการถวายของบูชาเทพเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ
3 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้รับฉายาว่า สาวใช้ของศาสนา
(1) ยุคดึกดําบรรพ์
(2) ยุคโบราณ
(3) ยุคกลาง
(4) ยุคใหม่
ตอบ 3 หน้า 8, 249 ปรัชญาตะวันตกยุคกลาง เป็นช่วงสมัยที่ศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับนับถือกันทั่วไป ดังนั้นปรัชญาตะวันตกยุคกลางจึงได้รับฉายาว่า “สาวใช้ของศาสนา” เนื่องจากปรัชญา ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสําหรับอธิบายและส่งเสริมคําสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุมีผลยิ่งขึ้นถือเป็นการประนีประนอมระหว่างปรัชญากรีกกับคริสต์ศาสนา
4 ปรัชญาตะวันตกยุคใดที่ได้ชื่อว่า ได้รับอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(1) ยุคดึกดําบรรพ์
(2) ยุคโบราณ
(3) ยุคกลาง
(4) ยุคใหม่
ตอบ 4 หน้า 8, 251 – 255, (คําบรรยาย) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ หมายถึง ปรัชญาตะวันตกที่นับตั้งแต่ปรัชญาตะวันตกสมัยกลางสิ้นสุดลง (ประมาณศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา) ซึ่งปรัชญาในยุคนั้น จะได้รับอิทธิพลจากวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยมีนักปรัชญาที่สําคัญ ได้ เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซ่า (Spinoza), ไลบ์นิตซ์ (Leibnitz), จอห์น ล็อค (John Locke เดวิด ฮูม (David Hume), โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เป็นต้น
5 “ปรัชญาบริสุทธิ์” คืออะไร
(1) ความเป็นจริง
(2) การรู้ความเป็นจริง
(3) การปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 – 17 ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy) หมายถึง ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับข้อสรุปของวิชาอื่น ๆ ที่แยกตัวออกไปจาก วิชาปรัชญาแล้ว ซึ่งปรัชญาบริสุทธิ์จะศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงในประเด็นปัญหา 3 ประการ ดังนี้คือ
1 ความเป็นจริงคืออะไร
2 เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร
3 เราพึงปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง
6 นักปรัชญากรีกโบราณคนใดที่สนใจศึกษาเรื่องปฐมธาตุ
(1) ทาเลส
(2) เพลโต
(3) โซฟิสต์
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 7, 28 ทาเลส (Thales) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณสมัยเริ่มต้นที่เชื่อว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหลายวิวัฒนาการมาจากสิ่ง ๆ เดียวหรือมาจากสารเบื้องต้นเดียวกันคือ น้ำ ซึ่งเป็นปฐมธาตุ (สรรพสิ่ง) ของโลก และเป็นหน่วยแห่งความจริงขั้นมูลฐานหรือแก่นแท้ของจักรวาล
7 นักปรัชญากรีกโบราณคนใดที่สนใจศึกษาเรื่องสมรรถภาพในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์เป็นพิเศษ
(1) ทาเลส
(2) เพลโต
(3) โซฟิสต์
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 นักปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยรุ่งเรือง สนใจศึกษาปัญหาเรื่องสมรรถภาพหรือความสามารถของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ หรือมนุษย์มีความสามารถพอที่จะรู้ความจริงได้หรือไม่ ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญในยุคสมัยนี้ ได้แก่ โซฟิสต์ โซเครตีส เพลโต และอริสโตเติล
8 ลัทธิใดมีความสัมพันธ์กับปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้มากที่สุด
(1) สัจนิยม
(2) มนุษยนิยม
(3) ประโยชน์นิยม
(4) ประสบการณ์นิยม
ตอบ 4 หน้า 14 – 16, 103, 127 ปัญหาทางญาณวิทยาหรือปัญหาเรื่องทฤษฎีของความรู้ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1 ปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้ มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ลัทธิเหตุผลนิยม และลัทธิประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม)
2 ปัญหาธรรมชาติของความรู้มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ลัทธิสัจนิยม และลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัย
9 ลัทธิเอปิคิวรุส (Epicureanism) จะเสนอวิธีการดําเนินชีวิตอย่างไรในยุคเศรษฐกิจถดถอย
(1) แสวงหาความสุขให้มากก่อนอดตาย
(2) อดทนทํางานทุกอย่างเพื่อรอเวลาเศรษฐกิจฟื้นตัว
(3) ยอมรับสภาพและทําใจจนไม่มีความรู้สึกทุกข์
(4) ปลดปล่อยตัวเองจากหน้าที่ทั้งปวงและใช้ชีวิตอย่างสุนัข
ตอบ 1 หน้า 8 ปรัชญากรีกยุคโบราณสมัยเสื่อม หมายถึง ปรัชญากรีกยุคหลังอริสโตเติลและเป็นเวลาในช่วงสมัยของการขยายตัวของอาณาจักรโรมัน ซึ่งแนวคิดของนักปรัชญาในยุคนี้ จะสนใจเรื่องการแสวงหาความสุขของชีวิตเป็นพิเศษ (แสวงหาความสุขให้มากก่อนอดตาย)โดยลัทธิปรัชญาที่สําคัญในยุคนี้ ได้แก่ ลัทธิเอปิคิวรุส ลัทธิสโตอิก และลัทธิซีนิก เป็นต้น
10 ลัทธิสโตอิก (Stoicism) จะเสนอวิธีการดําเนินชีวิตอย่างไรในยุคเศรษฐกิจถดถอย
(1) แสวงหาความสุขให้มากก่อนอดตาย
(2) อดทนทํางานทุกอย่างเพื่อรอเวลาเศรษฐกิจฟื้นตัว
(3) ยอมรับสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเข้าใจจนไม่มีความรู้สึกทุกข์
(4) ปลดปล่อยตัวเองจากหน้าที่ทั้งปวงและใช้ชีวิตอย่างสุนัข
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9 ประกอบ
11 “Metaphysics” มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยคําใด
(1) จริยศาสตร์
(2) อภิปรัชญา
(3) ญาณวิทยา
(4) อตินทรีย์วิทยา
ตอบ 4 หน้า 21 – 22 Metaphysics แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส จะมีความหมายตรงกับคําว่า “อตินทรีย์วิทยา” ซึ่งแปลว่า ล่วงเลยอินทรีย์หรือประสาทสัมผัส แต่คําว่าอตินทรีย์วิทยานี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันโดยคําที่นิยมใช้ก็คือ “อภิปรัชญา” ซึ่งแปลว่า ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่
12 ข้อใดเป็นลักษณะของนักสสารนิยม
(1) คนที่เชื่อว่าวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง
(2) คนที่เชื่อว่ามนุษย์แสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น
(3) คนที่ปฏิเสธเรื่องชีวิตหลังการตาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 25, (คําบรรยาย) สสารนิยม เชื่อว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางกายเท่านั้น และปฏิเสธชีวิตหลังการตาย (ซึ่งจะตรงข้ามกับจิตนิยม ที่เชื่อว่าอสสารหรือจิตเท่านั้นที่เป็นจริง โดยมนุษย์จะแสวงหาความสุขทางใจเท่านั้น และไม่ปฏิเสธชีวิตหลังการตาย)
13 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร
(1) จิตคือกาย
(2) จิตสําคัญคู่กาย
(3) จิตสําคัญกว่ากาย
(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย โดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาวะเป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดีเพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า เพราะโลกเป็นเพียงแค่ทางผ่านไปสู่สัจธรรม
14 นักสสารนิยมมีทัศนะเรื่องการดับของจิตอย่างไร
(1) จิตดับเมื่อร่างกายตาย
(2) ไม่มีจิต มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองเท่านั้น
(3) จิตไม่ดับแม้ร่างกายตาย
(2) จิตดับเมื่อหมดกิเลส
ตอบ 2 หน้า 35, (คําบรรยาย) สสารนิยม ถือว่า ไม่มีจิตวิญญาณ มีแต่ผลจากการทํางานอันซับซ้อนของสมองและระบบประสาท ซึ่งสมองนั้นเป็นสสาร คือ เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วก็จะออกมา เป็นโมเลกุล และเมื่อแยกต่อไปก็จะเป็นอะตอม อิเล็กตรอน โปรตอน และอื่น ๆ ต่อไป ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ จะมีก็แต่การรวมตัวและการแยกตัวของสิ่งอันเป็นหน่วยเดิมเท่านั้น
15 “สสารเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง และไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ ได้อย่างสมบูรณ์” เป็นแนวคิดของนักปรัชญาลัทธิใด
(1) ธรรมชาตินิยม
(2) จักรกลนิยม
(3) สสารนิยม
(4) จิตนิยม
ตอบ 1 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม ได้ให้คํานิยามไว้ว่า สิ่งธรรมชาติ (สสาร) คือสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ โดยสิ่งธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง และไม่สามารถใช้อธิบายความเป็นจริงของโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์
16 “ถ้าพอมีเงินซื้อรถยนต์ก็ควรซื้อเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะจะช่วยไม่ให้เหนื่อยล้าจากการเดินทาง และลดความเครียดที่เกิดจากปัญหาการจราจรได้” น่าจะเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับปรัชญาลัทธิใด
(1) จิตนิยม
(2) สสารนิยม
(3) ปัญญานิยม
(4) ธรรมชาตินิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12 ประกอบ
17 “โลกเป็นเพียงแค่ทางผ่านไปสู่สัจธรรม” เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความสําคัญของโลกของนักปรัชญาลัทธิใด
(1) จิตนิยม
(2) สสารนิยม
(3) จักรกลนิยม
(4) ธรรมชาตินิยม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ
18 เกียรติยศชื่อเสียงและความเสียสละ เป็นเป้าหมายของบุคคลประเภทใดในทัศนะของเพลโต
(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น
(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น
(3) คนมีจิตภาคเหตุผลเด่น
(4) คนที่มีจิต 3 ภาคสมดุลกัน
ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข
2 ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ เกียรติยศชื่อเสียง และการได้รับการยกย่อง โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ
3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะโดยอาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงามและความยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทําให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้
19 การได้รับยกย่องเป็นเจ้าสัว น่าจะเป็นเป้าหมายของบุคคลประเภทใดในทัศนะของเพลโต
(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น
(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น
(3) คนมีจิตภาคเหตุผลเด่น
(4) คนที่มีจิต 3 ภาคสมดุลกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ
20 ศาสนาคริสต์เชื่อในพระเจ้าแบบลัทธิใด
(1) Monotheism
(2) Polytheism
(3) Henotheism
(4) Atheism
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบ่งออกเป็น 4 แบบดังนี้
1 Monotheism เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว และเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์
2 Polytheism เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
3 Henotheism เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ แต่ยกให้องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่
4 Atheism เชื่อว่า พระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า
21 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์พิสูจน์การมีอยู่จริงของพระเจ้าจากสิ่งใด
(1) ลักษณะความจํากัดของโลก
(2) ลักษณะความเป็นระเบียบของโลก
(3) ความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้า
(4) มโนธรรมของมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์ ถือว่า โลกนี้มีเอกภาพ มีระเบียบ มีความกลมกลืนกัน เช่น มีที่ราบ ภูเขา ทะเล มีพืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับระเบียบที่กําหนดไว้แล้ว ในธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่าโลกนี้ต้องมีผู้ออกแบบที่ชาญฉลาดสร้างขึ้นมา และมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นเช่นนั้น โดยผู้ออกแบบสร้างโลกนี้ก็คือพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่
22 ทฤษฎีเชิงภววิทยาพิสูจน์การมีอยู่จริงของพระเจ้าจากสิ่งใด
(1) ลักษณะความจํากัดของโลก
(2) ลักษณะความเป็นระเบียบของโลก
(3) ความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับพระเจ้า
(4) มโนธรรมของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงภววิทยา ถือว่า พระเจ้าเป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจํากัดส่วนมนุษย์เป็นสิ่งสัมพัทธ์และเป็นสิ่งจํากัด ซึ่งการที่มนุษย์มีความคิดในเรื่องพระเจ้าได้นั้น เกิดจากพระเจ้าเป็นต้นเหตุให้มนุษย์คิดถึงสิ่งที่ไร้ขอบเขตนี้ขึ้นมาได้ ดังนั้นพระเจ้าจึงมีอยู่
23 ข้อใดเป็นลักษณะของอะตอมของกรีก
(1) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น
(2) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น
(3) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
(4) อะตอมของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ตอบ 1 หน้า 57 ปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณู (อะตอม) ของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเฉพาะด้านจํานวนหรือปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนลัทธิไวเศษกะถือว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
24 ข้อใดเป็นลักษณะของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ
(1) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น
(2) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น
(3) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
(4) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ
25 ข้อใดเป็นทัศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ
(1) คุณสมบัติของปรมาณูมีความเที่ยงแท้เช่นเดียวกับปรมาณู
(2) ปรมาณูเคลื่อนไหวตามการชี้นําของพระเจ้า
(3) ปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิและทุติยภูมิ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 57 58 ทัศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ ได้แก่ ปรมาณูแต่ละปรมาณูเป็นสิ่งเที่ยงแท้และไม่แตกดับเช่นเดียวกับคุณสมบัติของปรมาณูแต่ละอย่าง ปรมาณูมีทั้งคุณสมบัติปฐมภูมิและคุณสมบัติทุติยภูมิ ปกติปรมาณูจะอยู่ในภาวะที่หยุดนิ่ง แต่จะเคลื่อนไหวตามการชี้นําหรือตามเจตจํานงของพระเจ้า
26 สิ่งที่ผัสสะของมนุษย์สามารถสัมผัสได้นั้น ต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูจํานวนเท่าใดเป็นอย่างน้อย ตามทัศนะของลัทธิไวเศษกะ
(1) จํานวน 1 – 2 ปรมาณู
(2) จํานวน 3 ปรมาณูขึ้นไป
(3) จํานวน 4 ปรมาณูขึ้นไป
(4) จํานวน 5 ปรมาณูขึ้นไป
ตอบ 2 หน้า 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า วัตถุจะต้องเกิดจากการรวมตัวกันของปรมาณูอย่างน้อย 2 ปรมาณู ส่วนวัตถุที่เราพอจะรู้ด้วยประสาทสัมผัสหรือสิ่งที่ผัสสะของมนุษย์สามารถสัมผัสได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นจากการรวมตัวของปรมาณูจํานวนตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป
27 ตามทัศนะของไวเศจิกะ วิญญาณของมนุษย์คืออะไร
(1) ชีวาตมัน
(2) ปรมาณูพิเศษ
(3) ปรมาณูธรรมดา
(4) มนุษย์ไม่มีวิญญาณ
ตอบ 1 หน้า 58 ปรัชญากรีก ถือว่า วิญญาณของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู แต่เป็นปรมาณูหรืออะตอมพิเศษ ส่วนปรัชญาไวเศษกะ ถือว่า วิญญาณหรืออาตมันหรือชีวาตมันนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นพิเศษต่างหากจากปรมาณู ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของปรมาณูของธาตุใด ๆ แต่เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้นิรันดรควบคู่ไปกับปรมาณู และมีลักษณะพิเศษของตนเองโดยเฉพาะ
28 พระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญาด้วยวิธีการใด
(1) ทรงตอบตรงคําถาม
(2) ทรงตอบโดยวิธีแยกแยะ
(3) ทรงตอบโดยวิธีย้อนถาม
(4) ทรงตอบโดยวิธีสงบนิ่ง
ตอบ 4 หน้า 77 – 78 วิธีการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าจะทรงใช้ทั้ง 4 วิธีตามตัวเลือก แต่ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญาพระพุทธองค์จะทรงใช้วิธีสงบนิ่ง (ดุษณีภาพ) ซึ่งสาเหตุสําคัญที่ทรงใช้วิธีการนี้เพราะทรงเห็นว่าถ้าตอบไปก็อาจทําให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้
29 สาเหตุสําคัญที่ทรงใช้วิธีตามข้อ 28 คืออะไร
(1) ทรงเห็นว่าอาจทําให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้
(2) ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลควรสรุปเอง
(3) ทรงเห็นว่าเป็นปัญหาซับซ้อน
(4) ทรงเห็นว่าถ้าตอบไปก็ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28 ประกอบ
30 คําสอนที่แสดงเหตุในอริยสัจ 4 คืออะไร
(1) ทุกข์และสมุทัย
(2) นิโรธและมรรค
(3) ทุกข์และนิโรธ
(4) สมุทัยและมรรค
ตอบ 4 หน้า 79 คําสอนของพระพุทธองค์ในอริยสัจ 4 แสดงเหตุและผลโดยลําดับ ดังนี้
1 แสดงเหตุ 2 ประการ ได้แก่ สมุทัย (แสดงเหตุแห่งทุกข์) และมรรค (แสดงเหตุคือ
การปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
2 แสดงผล 2 ประการ ได้แก่ ทุกข์ (แสดงผลคือทุกข์) และนิโรธ (แสดงผลคือความดับทุกข์)
31 คําสอนที่แสดงผลในอริยสัจ 4 คืออะไร
(1) ทุกข์และสมุทัย
(2) นิโรธและมรรค
(3) ทุกข์และนิโรธ
(4) สมุทัยและมรรค
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30 ประกอบ
32 สัตว์ที่ยังสามารถเวียนว่ายตายเกิดได้ คืออะไรตามคําสอนของพุทธศาสนา
(1) มนุษย์
(2) เทดา
(3) พรหม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 83 (คําบรรยาย) สัตว์ที่ยังสามารถเวียนว่ายตายเกิดได้ตามคําสอนของพุทธศาสนา คือ มนุษย์ และสัตว์นรกที่เรียกว่าอุปปาติกะ (ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม) ได้แก่ เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย ดังนั้นสัตว์ที่ยังสามารถเวียนว่ายตายเกิดเหล่านี้จึงไม่ใช่จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา เพราะยังไม่พ้นไปจากทุกข์ได้
33 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นกามตัณหาตามหลักอริยสัจ 4
(1) อยากฟังเสียงนุ่มนวลของนักร้องคนโปรด
(2) อยากเป็นนักร้อง
(3) ไม่อยากพ้นจากตําแหน่งนักร้องยอดนิยม
(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม
ตอบ 1 หน้า 84 85 ตัณหามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1 กามตัณหา คือ ความอยากเห็น อยากฟัง อยากสูดกลิ่น อยากลิ้มรส และอยากสัมผัสในสิ่งที่ตนถูกใจ
2 ภวตัณหา คือ ความอยาก เป็นเจ้าของ ความอยากมีหรืออยากเป็นสิ่งอื่น ๆ
3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่ให้สิ่งที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่เสื่อมสิ้นไป ความอยากไม่มีดังที่ตนมีอยู่หรือไม่อยากเป็นดังที่ตนเป็นอยู่
34 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นภวตัณหาตามหลักอริยสัจ 4
(1) อยากฟังเสียงนุ่มนวลของนักร้องคนโปรด
(2) อยากเป็นนักร้อง
(3) ไม่อยากพ้นจากตําแหน่งนักร้องยอดนิยม
(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33 ประกอบ
35 มรรค 8 คือ วิถีปฏิบัติเพื่ออบรมสิ่งใดตามหลักอริยสัจ 4
(1) อบรมกายกับวาจา
(2) อบรมใจ
(3) อบรมความเห็น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ 4 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ
1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” มี 3 ข้อ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” มี 3 ข้อ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา” มี 2 ข้อ คือ สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ
36 “เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ” เป็นความรู้แบบใดในทัศนะของพวกเหตุผลนิยม
(1) เป็นความรู้ที่จําต้องเป็น
(2) เป็นความรู้ที่รู้โดยอัชฌัตติกญาณ
(3) เป็นความรู้ก่อนประสบการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 104 105, 115 116 ความรู้ที่แท้จริงในทัศนะของนักปรัชญาลัทธิเหตุผลนิยมที่สําคัญ เช่น เดส์การ์ต (Descartes), สปิโนซา (Spinoza) และไลบ์นิตซ์ (Leibnitz) คือ ความรู้ก่อนประสบการณ์ซึ่งเป็นความจริงที่แน่นอนตายตัวโดยไม่เปลี่ยนแปลง หรือความจริง ชนิดที่จําต้องเป็น (Necessary Truth) คือ ต้องจริงในทุกที่ทุกเวลา เป็นความจริงที่ไม่มีวัน ผิดพลาดได้ เป็นข้อความที่ต้องจริงตลอดไปโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ เป็นสิ่งที่รู้ได้โดยไม่ต้องมี ประสบการณ์มายืนยัน และจิตของมนุษย์ก็สามารถรู้ความจริงชนิดนี้ได้โดย “อัชฌัตติกญาณ” (Intuition) คือ การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจหรือด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผลหรือแสงสว่างแห่ง ปัญญาแบบทันทีทันใดโดยไม่ต้องอาศัยสื่อใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ข้อความที่ว่า “สิ่งหนึ่งไม่อาจจะ อยู่ในสถานที่สองแห่งในเวลาเดียวกันได้”, “เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ”, “เส้นตรงที่ขนานกันจะไม่มีวันมาบรรจบกันได้” ฯลฯ
37 ข้อใดเป็นความรู้ที่ได้จากวิธีนิรนัย
(1) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน
(2) อุ๊ย นั่นเส้นขนานของรางรถไฟ
(3) อ้อ เห็นมามากแล้ว รางรถไฟไม่มีวันพบกันหรอก
(4) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน รางรถไฟเป็นเส้นขนาน ดังนั้น รางรถไฟไม่มีวันพบกัน
ตอบ 4 หน้า 105 การแสวงหาความรู้โดยวิธีนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อใด ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาว จากความรู้นั้นไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยที่ข้อสรุปต้องได้มาจากข้ออ้าง ถ้าหากข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และพีชคณิตก็ใช้วิธีการคิดหาเหตุผลแบบนิรนัยนี้ในการแสวงหาความจริงโดยไม่อาศัยการพิสูจน์หรือยืนยันจากประสบการณ์ด้วย
38 ข้อใดเป็นความรู้ที่ได้จากอัชญัตติกญาณแบบประสบการณ์นิยม
(1) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน
(2) อุ้ย!! นั่นรางรถไฟเป็นเส้นขนาน
(3) รางรถไฟมีลักษณะเป็นเส้นขนาน
(4) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน รางรถไฟเป็นเส้นขนาน ดังนั้น รางรถไฟไม่มีวันพบกัน
ตอบ 2 หน้า 116 ความรู้ที่ได้จากอัชฌัตติกญาณในแบบประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) หมายถึง การมีความรู้และความเข้าใจโดยตรงในความจริงที่ง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ที่สุดของประสบการณ์ ทางประสาทสัมผัส เช่น อุ้ย!! นั่นรางรถไฟเป็นเส้นขนาน, สิ่งที่ฉันมองเห็นในขณะนี้มีสีแดง, มือได้สัมผัสความเย็นของน้ําแข็ง, ลิ้นได้ลิ้มรสหวานของน้ำตาล เป็นต้น
39 “Tabula Rasa” สัมพันธ์กับนักปรัชญาคนใด
(1) Descartes
(2) Locke
(3) Berkley
(4) Hume
ตอบ 2 หน้า 117, (คําบรรยาย) ล็อค (Locke) ถือว่า สภาพจิตของมนุษย์ในตอนเริ่มแรกนั้นมีแต่ความว่างเปล่าเหมือนกระดาษขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความคิดและความรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเรียกว่า “Tabula Rasa” ที่หมายถึง สมุดบันทึกที่ว่างเปล่าปราศจากข้อความใด ๆ ทั้งสิ้น
40 ส่วนของวัตถุที่มนุษย์ไม่มีวันสัมผัสได้ด้วยผัสสะ คืออะไรในทัศนะของล็อค
(1) คุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ
(2) คุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุ
(3) สารรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัตถุ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 118 – 119, (คําบรรยาย) ในทัศนะของล็อค ถือว่า คุณสมบัติปฐมภูมิเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัววัตถุจริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มีอยู่ในโลกภายนอก แต่เป็นอํานาจที่ คุณสมบัติปฐมภูมิสร้างผัสสะให้เกิดกับเรา ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีวันสัมผัสคุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุได้ด้วยผัสสะ
41 “อ๋อ นี่คือดอกมะลิ” เป็นความรู้ที่หมายถึงสิ่งใดในทัศนะของล็อค
(1) ตัวดอกมะลิ
(2) ตัวคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ
(3) ภาพแทนคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ
(4) ภาพรวมของคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ
ตอบ 3 หน้า 119 ทฤษฎีความรู้ของล็อค เรียกว่า “ทฤษฎีตัวแทน” โดยวัตถุจริงกับวัตถุในฐานะเป็นสิ่งที่เรารับรู้นั้นจะเป็นคนละสิ่งกัน วัตถุที่เรารับรู้จึงนับเป็นตัวแทนของวัตถุจริง ดังนั้น สิ่งที่มีอยู่จริงภายนอกตัวเรา ก็คือ ก้อนที่ปราศจากคุณสมบัติทุติยภูมิใด ๆ ที่เรียกว่า “สาร” ซึ่งรองรับคุณสมบัติปฐมภูมิอยู่
42 ส่วนใดของวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ในทัศนะของล็อค
(1) คุณสมบัติปฐมภูมิ
(2) คุณสมบัติทุติยภูมิ
(3) สารรองรับคุณสมบัติของวัตถุ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 119 ล็อค เชื่อว่า สารเป็นสิ่งแท้จริงที่อยู่ภายในตัววัตถุ แต่มนุษย์ไม่อาจจะรู้จักสารได้เพราะไม่อาจเป็นประสบการณ์ของใคร จึงเป็นสิ่งที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกสิ่งต้องมีสาร เพราะสารเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุซึ่งก่อให้เกิดความคิดเชิงเดี่ยว
43 จอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาที่เป็นเจ้าของทฤษฎีใด
(1) สัจนิยมโดยตรง
(2) สัจนิยมแบบตัวแทน
(3) สัจนิยมวิจารณ์
(4) จิตนิยมแบบอัตนัย
ตอบ 2 หน้า 138 – 139 สักนิยมแบบตัวแทน เห็นว่า วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนเป็นสสารที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ (ขนาด รูปร่าง น้ำหนัก) และคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้นที่มีอยู่อย่างแท้จริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมิ (สี กลิ่น รส อุณหภูมิ) นั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัววัตถุเพราะมันเป็นสิ่งที่จิตของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งนักปรัชญาที่สําคัญของทฤษฎีนี้ก็คือ จอห์น ล็อค
44 เดส์การ์ตต้องการแสดงอะไรเมื่อสรุปว่า “ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่”
(1) ต้องการพิสูจน์ว่าตัวเองไม่ได้ฝันไป
(2) ต้องการสรุปความจริงพื้นฐานที่สงสัยไม่ได้
(3) ต้องการสรุปว่าตนเองมีปัญหา
(4) ต้องการพิสูจน์ว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่คิดได้
ตอบ 2 หน้า 108 เดส์การ์ต เห็นว่า การสงสัยเป็นการคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งการคิดนั้นก็จะต้องมีผู้คิด ดังนั้น เราจึงไม่อาจสงสัยการมีอยู่ของตัวเองในฐานะที่เป็นผู้คิดได้ จากเหตุผลดังกล่าวทําให้เดส์การ์ต พบว่าสิ่งที่เป็นความจริงอย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง ก็คือ “ฉันคิด ดังนั้น ฉันจึงมีอยู่”
45 “อัชญัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใดในทัศนะของเดส์การ์ต
(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล
(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะทั้ง 5 ของมนุษย์
(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์
(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ
46 “อัชญัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใดในทัศนะของนักประจักษนิยม
(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล
(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะทั้ง 5 ของมนุษย์
(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์
(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ
47 “ตึก KTB กับตึก DRB เหมือนกันจังเลย” เป็นความรู้ที่มีบ่อเกิดจากสิ่งใดในทัศนะของเดวิด ฮูม
(1) ผัสสะ
(2) ความจํา
(3) จินตนาการ
(4) การคาดเดา
ตอบ 3 หน้า 122 123 เดวิด ฮูม (David Hume) เห็นว่า มนุษย์มีความสามารถอยู่ 2 ประการคือ ความจํากับจินตนาการ โดยความจําเป็นการที่เราเก็บรวบรวมความคิดทั้งหลายไว้เป็น ลําดับต่อเนื่องกัน ส่วนจินตนาการเป็นการที่เราจัดระเบียบความคิดต่าง ๆ ตามแบบแผนที่ เราต้องการ เช่น การที่เราเห็นว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่งก็เป็นเพียงผลจากจินตนาการของเราเอง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลที่เกิดจากส่วนของจินตนาการของมนุษย์
48 “พระเจ้าต้องมีอยู่ เพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด
(1) เพลโต
(2) เดส์การ์ต
(3) ล็อค
(4) เดวิด ฮูม
ตอบ 2 หน้า 110 เดส์การ์ต (Descartes) เป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมที่เชื่อว่า พระเจ้าต้องมีอยู่จริงเพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า (เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะเป็นผู้ก่อความคิดนี้ขึ้นมาเอง) โดยพระเจ้าเองเป็นผู้ประทานความคิดเกี่ยวกับพระองค์เองให้กับมนุษย์
49 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด
(1) เพลโต
(2) เดส์การ์ด
(3) ล็อค
(4) เดวิด ซูม
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) เดวิด ฮูม (David Hume) เป็นนักประจักษนิยมที่เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง
50 สัจนิยมโดยตรงยอมรับความคิดใด
(1) ความรู้ของมนุษย์เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง
(2) ความรู้ของมนุษย์เป็นความคิดของจิตมนุษย์
(3) ความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงตัวแทนของวัตถุ
(4) ความรู้ของมนุษย์เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง
ตอบ 4 หน้า 134 สักนิยมแบบโดยตรง มีทัศนะว่า การรับรู้หรือการประจักษ์เป็นการรู้จักโดยตรงคือ เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมากับวัตถุภายนอก ซึ่งการรับรู้ของคนมิได้มีการ เพิ่มเติมหรือลดทอนคุณสมบัติอะไรบางอย่างให้กับวัตถุเลย วัตถุมีธรรมชาติหรือลักษณะที่แท้จริงอย่างไร เมื่อมาปรากฏต่อจิตของคนก็คงเป็นอย่างนั้น
51 จอห์น ล็อค ยอมรับความคิดใด
(1) ความรู้ของมนุษย์เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง
(2) ความรู้ของมนุษย์เป็นการรู้ภาพตัวแทนของวัตถุ
(3) ความรู้ของมนุษย์เป็นความคิดของจิตมนุษย์
(4) ความรู้ของมนุษย์เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41 ประกอบ
52 ข้อใดเป็นความคิดของเบอร์คเลย์
(1) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกทุกประการ
(2) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกเฉพาะคุณสมบัติปฐมภูมิ
(3) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการสร้างของจิตทั้งหมด
(4) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการเลือกรับรู้ของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 129, 131 เบอร์คเลย์ เป็นนักปรัชญาลัทธิจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีทัศนะว่า วัตถุทั้งหลายหรือโลกภายนอกเป็นเพียงภาพสะท้อนของจิตมนุษย์ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นหรือรู้นั้นก็คือความคิด ของจิตของเรานั่นเอง เพราะว่าสิ่งที่เรารู้หรือความรู้ของเรา ได้แก่ วัตถุและสิ่งทั้งหลายภายในโลก สิ่งเหล่านี้มีแก่นแท้คือการรับรู้ด้วยจิตของมนุษย์ ดังนั้นการมีอยู่ของมันจึงเป็นอิสระจากจิตไม่ได้
53 ข้อใดเป็นความคิดของจอห์น ล็อค
(1) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกทุกประการ
(2) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ ตรงกับวัตถุภายนอกเฉพาะคุณสมบัติปฐมภูมิ
(3) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการสร้างของจิตทั้งหมด
(4) ลักษณะของวัตถุที่มนุษย์รู้ เป็นการเลือกรับรู้ของมนุษย์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40 และ 43 ประกอบ
54 แนวความคิดเรื่องใดของนักปรัชญาที่สืบเนื่องมาจากทัศนะทางอภิปรัชญาของเขา
(1) ศาสนา
(2) ประเพณี
(3) เป้าหมายของชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวความคิดของนักปรัชญาที่สืบเนื่องมาจากทัศนะทางอภิปรัชญาของเขา คือ เป้าหมายของชีวิต (จุดหมายหรืออุดมคติของชีวิต) หรือสิ่งที่มีค่าสูงสุดหรือสิ่งที่ดีที่สุด (Highest Good) ของมนุษย์ เช่น นักปรัชญาลัทธิสสารนิยมจะเน้นว่าความสุขทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด ของมนุษย์, นักปรัชญาลัทธิธรรมชาตินิยมจะเน้นว่าความสุขทางกายและความสุขทางใจล้วนเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดสําหรับมนุษย์ เป็นต้น
55 นักปรัชญาลัทธิใดที่เน้นว่าความสุขทางกายเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดของมนุษย์
(1) จิตนิยม
(2) สสารนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม
(4) ซีนิก (Cynicism)
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ
56 นักปรัชญาลัทธิใดที่เน้นว่าความสุขทางกายและทางใจล้วนเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดสําหรับมนุษย์
(1) จิตนิยม
(2) สสารนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม
(4) ซีนิก (Cynicism)
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 54 ประกอบ
57 ประโยชน์นิยมมีความเห็นอย่างไรกับการพูดโกหก
(1) เป็นการกระทําที่ผิดเสมอ
(2) เป็นการกระทําที่ถูกถ้าให้ผลดีแก่คนส่วนใหญ่
(3) เป็นการกระทําที่อาจถูกหรือผิดแล้วแต่ค่านิยมของสังคม
(4) เป็นการกระทําเพื่อป้องกันตนเองตามธรรมชาติของมนุษย์
ตอบ 2 หน้า 165, 168 มิลล์ (Mill) เป็นนักประโยชน์นิยมที่ถือว่าศีลธรรมกับความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน ความสุขของมหาชนเป็นสิ่งสําคัญที่สุด การละเมิดหลักศีลธรรม/ประเพณีหรือ กฎหมายย่อมสามารถทําได้ถ้าเราคํานวณแล้วพบว่าการกระทํานั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุข มากกว่า เช่น หมออาจโกหกคนไข้ได้ เพื่อไม่ให้คนไข้ตกใจจนหัวใจวายตาย ฯลฯ
58 ผู้ที่เชื่อว่าความดีเป็นปรนัย ถือว่าความดีมีลักษณะอย่างไร
(1) ความดีขึ้นอยู่กับความคิดของคนอื่น
(2) ความดีเป็นความดีในตัวเองไม่ขึ้นกับความคิดของใคร
(3) ความดีขึ้นอยู่กับความคิดของตนเอง
(4) ความดีเป็นความดีในตัวเองที่ตรงกับความคิดของตนเอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผู้ที่เชื่อว่าความดีเป็นปรนัยถือว่าความดีมีลักษณะเป็นความดีในตัวเองไม่ขึ้นกับความคิดของใคร เช่น การพูดความจริงเป็นสิ่งดี ฯลฯ ส่วนผู้ที่เชื่อว่าความดีเป็นอัตนัยถือว่าความดีขึ้นอยู่กับความคิดของตนเอง เช่น ฉันชอบพูดความจริง ดังนั้นการพูดความจริงจึงเป็นสิ่งดี ฯลฯ
59 “การพูดความจริงเป็นสิ่งดี เพราะฉันชอบพูดความจริง” เป็นลักษณะที่เชื่อว่าความดีมีสถานภาพอย่างไร
(1) ความดีเป็นปรนัย
(2) ความดีเป็นอัตนัย
(3) ความดีเป็นปรนัยและอัตนัย
(4) ความดีต้องไม่สับสนตามกระแส
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ
60 นักศึกษาที่เข้าห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ และไม่เคยแสดงกิริยาไม่พอใจ ทั้ง ๆ ที่ห้องเรียนร้อนและแออัด เป็นคนมีหลักธรรมข้อใด
(1) มีขันติ
(2) มีโสรัจจะ
(3) มีสัจจะ
(4) มีขันติและโสรัจจะ
ตอบ 4 หน้า 189 – 192 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจ สามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจ ได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบาก เพื่อให้ได้มาซึ่งความสบาย, ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น ส่วนโสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นความมีปกติอันดีของกาย วาจา และใจ ไม่แสดงอาการไม่ดีหรือไม่งามผิดปกติเมื่อได้รับความตรากตรำลําบากหรือได้รับความเจ็บใจ
61 นักศึกษาที่เดินออกจากห้องเรียนก่อนเวลาเลิกเรียนที่กําหนด เพราะเบื่อฟังการบรรยาย เป็นคนขาด หลักธรรมข้อใด
(1) มีขันติแต่ขาดสัจจะ
(2) ขาดขันติ
(3) ขาดสัจจะ
(4) มีขันติแต่ขาดโสรัจจะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ
62 นักศึกษาที่เข้าสอบด้วยท่าทางหงุดหงิดกับอากาศร้อนของห้องสอบ เป็นคนขาดหลักธรรมข้อใด
(1) มีขันติแต่ขาดสัจจะ
(2) มีขันติแต่ขาดโสรัจจะ
(3) ขาดขันติและขาดสัจจะ
(4) ขาดขันติและขาดโสรัจจะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ
63 ภรรยาน้อยที่ถูกภรรยาหลวงต่อว่าก็ไม่ตอบโต้ กลับมีท่าที่สงบเสงี่ยม เรียกว่ามีคุณธรรมข้อใด
(1) ขันติ
(2) โสรัจจะ
(3) สัจจะ
(4) ขันติและโสรัจจะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 60 ประกอบ
64 คนที่มีวิมังสาจะมีลักษณะอย่างไร
(1) พอใจในงานของตน
(2) มีความพยายามที่จะทํางานของตน
(3) ศึกษาจนเข้าใจรายละเอียดของงานของตน
(4) หมั่นพิจารณาข้อบกพร่องในการทํางานของตนเอง
ตอบ 4 หน้า 201 – 203 อิทธิบาท 4 คือ คุณธรรมที่นําไปสู่ความสําเร็จ 4 ประการ ดังนี้
1 ฉันทะ (ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) ทําให้ไม่เบื่องาน ไม่รู้สึกท้อแท้ในการทํางาน
2 วิริยะ (ความเพียรพยายามในสิ่งนั้น) ทําให้มุ่งมั่นในการทํางานของตนให้สําเร็จ
3 จิตตะ (ความเอาใจใส่ในสิ่งนั้น) ทําให้หมั่นตรวจตราเอาใจจดจ่อในงานที่ตนทํา
4 วิมังสา (ความหมั่นตริตรองพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้น) ช่วยให้ทํางานไม่ผิดพลาด
65 คนที่มีฉันทะจะมีลักษณะอย่างไร
(1) พอใจในงานของตน
(2) มีความพยายามที่จะทํางานของตน
(3) ศึกษาจนเข้าใจรายละเอียดของงานของตน
(4) หมั่นพิจารณาข้อบกพร่องในการทํางานของตนเอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ
66 ต่ายสมัครมาเป็นครูในสามจังหวัดภาคใต้ แม้จะต้องใช้ความเพียรพยายามมากกว่าครูในภูมิภาคอื่น ๆ เพราะต่ายพอใจในอาชีพครู แสดงว่าต่ายมีหลักธรรมข้อใดในหลักอิทธิบาท 4
(1) ฉันทะกับวิริยะ
(2) จิตตะกับวิมังสา
(3) ฉันทะกับจิตตะ
(4) วิริยะกับวิมังสา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ
67 ถ้านักศึกษาต้องการพัฒนาปัญญาให้งอกงาม ควรปฏิบัติตามหลักธรรมใด
(1) ขันติ
(2) วุฒิธรรม
(3) อิทธิบาท 4
(4) สมชีวิธรรม
ตอบ 2 หน้า 207 หลักวุฒิธรรม คือ หลักการสร้างหรือพัฒนาความเจริญงอกงามแห่งปัญญาซึ่งมีข้อพึงปฏิบัติอยู่ 4 ประการดังนี้
1 หมั่นเสวนาคบหากับท่านผู้รู้ ผู้มีภูมิธรรม
2 เอาใจใส่สดับตรับฟังแสวงหาความรู้จริง
3 ได้รู้ได้เห็นได้ฟังสิ่งใดแล้ว รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง
4 นําสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟัง และตริตรองเห็นชัดแล้วไปใช้หรือปฏิบัติด้วยตนเอง
68 “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด
(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
(2) ความเป็นผู้รู้จักผล
(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล
ตอบ 3 หน้า 198 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักกําหนดคาดคะเนได้อย่างเหมาะสมพอเหมาะพอควรและพอดีในทุกเรื่อง ซึ่งผู้ที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า“เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” หมายถึง เสียงดังมาก (ดังเกินไป ไม่พอดี)
69 “ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด
(1) ความเป็นผู้รู้จักตน
(2) ความเป็นผู้รู้จักผล
(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล
ตอบ 1 หน้า 197 – 198 ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึง ความพิจารณาตนเองให้เข้าใจว่าตนเป็นจุดกําเนิดของทุกข์ สุข ความเสื่อม และความเจริญ ซึ่งการรู้จักตนเองนั้นต้องรู้ถึงชาติตระกูล วัย ฐานะ ตําแหน่ง สมบัติ บริวาร หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง
70 “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด
(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล
(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล
(4) ความเป็นผู้รู้จักผล
ตอบ 2 หน้า 199 – 200 ความเป็นผู้รู้จักชุมชน หมายถึง การรู้จักปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคมหรือชุมชนต่าง ๆ และวางตนให้เหมาะสมกับสังคมนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะสอดคล้องกับ สุภาษิตที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” ส่วนคนที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตาม สุภาษิตที่ว่า “ไม่ดูตาม้าตาเรือ” หรือ “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง”
71 “ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด
(1) ความเป็นผู้รู้จักกาล
(2) ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
(3) ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล
(4) ความเป็นผู้รู้จักผล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70 ประกอบ
72 เพลโตมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐอย่างไร
(1) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐโดยธรรมชาติ
(2) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐต่อเมื่อให้ความยินยอม
(3) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐเพราะมีบาป
(4) มนุษย์จําเป็นต้องมีรัฐเพราะกิจกรรมการผลิต
ตอบ 1 หน้า 244 245 โซ.ครตีสและเพลโตนักปรัชญากรีกโบราณ มีทัศนะว่า รัฐเป็นสิ่งจําเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์ เพราะความยุติธรรมสําหรับมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมเพื่อมีชีวิตที่ดี สามารถรักษาเผ่าพันธุ์และสามารถสร้างงานศิลปะของมนุษยชาติ
73 นักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่มีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐอย่างไร
(1) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐโดยธรรมชาติ
(2) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐต่อเมื่อให้ความยินยอม
(3) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐเพราะมีบาป
(4) มนุษย์จําเป็นต้องมีรัฐเพราะกิจกรรมการผลิต
ตอบ 2 หน้า 251 – 255 ฮอบส์และล็อคนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ มีทัศนะทางการเมืองที่ตรงกันในเรื่องทฤษฎีสัญญาประชาคม โดยทั้ง 2 คน มีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐ เหมือนกันในแง่ที่ว่า รัฐไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมชาติสําหรับมนุษย์ แต่รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดตั้งขึ้นมาด้วยความจําเป็นและตกลงยินยอมร่วมกัน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิก
74 นักปรัชญาคนใดถือว่าการศึกษาเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคม
(1) เพลโต
(2) จอห์น ล็อค
(3) คาร์ล มาร์กซ์
(4) เซนต์ ออกัสติน
ตอบ 1 หน้า 269 – 271, 283 เพลโต เป็นนักปรัชญาคนแรกที่กล่าวถึงเป้าหมายของการศึกษาที่ชัดเจน โดยเขาได้แบ่งบุคคลในสังคมออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับความรู้ในความจริงขั้นปรมัตถ์ ดังนั้นเขาจึงเป็นนักปรัชญาที่ถือว่าการศึกษาเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคม
75 นักปรัชญาคนใดถือว่าการตัดสินใจรักพระเจ้าหรือไม่เป็นมาตรการแบ่งแยกค่ายของคนในรัฐ
(1) เพลโต
(2) จอห์น ล็อค
(3) คาร์ล มาร์กซ์
(4) เซนต์ ออกัสติน
ตอบ 4 หน้า 249 – 250 เซนต์ ออกัสติน เป็นนักปรัชญาที่ถือว่าการตัดสินใจรักพระเจ้าหรือไม่เป็นมาตรการแบ่งแยกค่ายของคนในรัฐ โดยเขาได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 ค่าย คือ กลุ่มหรือค่าย ที่ตัดสินใจรักพระเจ้า กับกลุ่มหรือค่ายที่ตัดสินใจปฏิเสธพระเจ้าและรักตัวเองและรักโลกแทนทั้งนี้เขายังมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องเป็นรัฐที่นับถือพระเจ้าและสามารถทําให้มนุษย์พ้นจากบาปได้
76 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐ
(1) รุสโซ
(2) จอห์น ล็อค
(3) โธมัส ฮอบส์
(4) คาร์ล มาร์กซ์
ตอบ 3 หน้า 252 254 โธมัส ฮอบส์ เป็นนักปรัชญาที่มีทัศนะว่า โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์ไม่มีสังคมไม่มีรัฐ แต่เมื่อเผชิญกับการต่อสู้และความกลัวกับสภาพที่เลวร้าย จึงต้องตกลงกันระหว่างมนุษย์ เพื่อจัดตั้งรัฐและสังคมขึ้นเพื่อผลประโยชน์ คือ เสถียรภาพและขจัดความหวาดกลัวของมนุษย์อย่างได้ผล ดังนั้นรัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐ
77 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้มนุษย์สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) มาเคียเวลลี่
(4) เซนต์ ออกัสติน
ตอบ 2 หน้า 248 249 อริสโตเติล มีทัศนะว่า สังคมและรัฐที่ดีคือ สังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
1 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล
2 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา สามารถดําเนินชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะ
78 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้มนุษย์สามารถพ้นบาป
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) มาเคียเวลลี่
(4) เซนต์ ออกัสติน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ
79 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของรุสโซ
(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง
(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว
(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 256 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลําบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระ มีความเรียบง่าย และมนุษย์ได้กระทําตาม ความปรารถนาของตน รวมทั้งมนุษย์ยังมีคุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน
80 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของฮอบส์
(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง
(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว
(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ
81 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของรุสโซ
(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง
(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว
(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 256 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลําบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระ มีความเรียบง่าย และมนุษย์ได้กระทําตาม ความปรารถนาของตน รวมทั้งมนุษย์ยังมีคุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน
82 สังคมในอุดมคติของคาร์ล มาร์กซ์ มีลักษณะอย่างไร
(1) ปราศจากรัฐ
(2) ปราศจากชนชั้นทางสังคม
(3) ทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
(4) ถูกทุกข้า
ตอบ 4 หน้า 259 สังคมในอุดมคติของคาร์ล มาร์กซ์ คือ สังคมที่ปราศจากรัฐ ปราศจากชนชั้นทางสังคมไม่มีการกดขี่ขูดรีด เพราะพื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมุน กล่าวคือ ทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัย การผลิตหรือปัจจัยการผลิตเป็นของส่วนรวมเท่านั้น และรัฐเป็นสิ่งที่ไม่จําเป็นเลยสําหรับสังคมเพราะสมาชิกของสังคมสามารถปกครองดูแลตนเองและควบคุมความประพฤติของตนเองได้
83 บุคคลใดมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโต
(1) คนมีพละกําลังมาก
(2) คนมีความกล้าหาญมาก
(3) คนมีศรัทธาในพระเจ้าอย่างยิ่ง
(4) คนมีปัญญาอย่างยิ่ง
ตอบ 4 หน้า 246, 270 บุคคลที่มีความเหมาะสมและดีที่สุดที่จะเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโตคือ ราชาปราชญ์ (คนที่มีปัญญาอย่างยิ่ง) และควรจะเรียนวิชาอภิปรัชญาจนสําเร็จ
84 ในทัศนะของจอห์น สจ๊วต มิลล์ การกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือการกระทําชนิดใด
(1) การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อคนอื่น
(2) การกระทําส่วนตัวแต่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ
(3) การกระทําที่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 258, 321 จอห์น สจ๊วต มิลล์ สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ โดยการกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือ การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ส่วนการกระทําที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นนั้นรัฐสามารถเข้าไปก้าวก่ายควบคุมได้
85 ข้อใดถูกต้องตามทัศนะของวิลเลียม ก็อดวิน
(1) สังคมที่ดี คือ สังคมที่เกิดจากการรวมตัวด้วยความรักและความเข้าใจ
(2) สังคมที่ดี คือ สังคมที่สมาชิกมอบให้คณะบุคคลทําหน้าที่บริหาร
(3) สังคมที่ดี คือ สังคมที่สมาชิกอุทิศตนเพื่อรัฐ
(4) ไม่ควรมีสังคม
ตอบ 1 หน้า 259 260 วิลเลียม ก๊อดวิน (William Godwin) เป็นนักคิดในกลุ่มอนาธิปไตย (Anarchism) ที่มีทัศนะว่า องค์กรทุกรูปแบบโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งสิ้น สังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐและไร้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งเป็นสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันหรือร่วมมือกันด้วยความรักและความเข้าใจโดยไม่มีการบังคับ
- “General Will” ของรุสโซ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด
(1) ผลประโยชน์ของบุคคล
(2) ผลประโยชน์ของบุคคลและเพื่อนพ้อง
(3) ผลประโยชน์ของคนทั้งสังคม
(4) ผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ
ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น เจตจํานงร่วม (General Wit) หมายถึง เจตจํานงที่มุ่งสู่ความดีสําหรับทุกคน มิใช่การคํานึงถึงผลประโยชน์เฉพาะตนและเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นเจตจํานงร่วมจึงเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติหรือเพื่อคนทั้งสังคม
87 สัทธิประโยชน์นียมของมิลล์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด
(1) ผลประโยชน์ของบุคคล
(2) ผลประโยชน์ของคนจํานวนมากสุด
(3) ผลประโยชน์ของคนทั้งสังคม
(4) ผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57 ประกอบ
88 ข้อใดเป็นปัญหาหลักของปรัชญาการศึกษา
(1) เป้าหมายที่เหมาะสมของผู้เรียน
(2) บุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้
(3) องค์ความรู้ที่ควรนํามาถ่ายทอดแก่ผู้เรียน
(4) ถูกทุกข้อ ตอบ 4 หน้า 265 – 266, 282, (คําบรรยาย) การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้ปัญหาหลักของปรัชญาการศึกษา หลายประการ เช่น เป้าหมายที่เหมาะสมของผู้เรียน องค์ความรู้ที่ควรนํามาถ่ายทอดแก่ผู้เรียนและบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เป็นต้น
89 คําตอบเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาของเพลโตสอดคล้องกับทัศนะใด
(1) ศาสนา
(2) ญาณวิทยา
(3) จริยศาสตร์
(4) การปกครอง
ตอบ 4 หน้า 269 เพลโต) เห็นว่า การศึกษาเป็นวิธีที่จะนําไปสู่ความยุติธรรม คือการที่รัฐสามารถจัดให้คนในรัฐได้ทําหน้าที่ตามความเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ดังนั้นเป้าหมาย การศึกษาของเพลโตจึงสอดคล้องและสัมพันธ์กับทัศนะทางการเมืองการปกครองมากที่สุด
90 นักปรัชญาคนใดเน้นว่า การศึกษาที่ดี คือ ทําให้ผู้เรียนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (1) เพลโต
(2) โซฟิสต์
(3) โซเครตีส
(4) เซนต์ ออกัสติน
ตอบ 2 หน้า 268 โซฟิสต์ (Sophists) ถือเป็นนักปรัชญากลุ่มแรกที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษามิใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมาย อยู่ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสําเร็จในชีวิต และสามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดยวิชาที่กลุ่มโซฟิสต์ส่งเสริมให้เรียน ก็คือ ศิลปะการพูดในที่ชุมชนหรือวาทศิลป์
91 ข้อใดเป็นทัศนะของโซเครตีสเกี่ยวกับการศึกษา
(1) มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้ความจริงแท้ได้
(2) มนุษย์ต้องตัดอคติและทัศนคติที่ได้รับจากสังคมเพื่อเข้าถึงความจริงแท้
(3) มนุษย์ควรใช้วิธีสนทนาถกเถียงเพื่อเข้าถึงความจริงสูงสุด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 268 โซเครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้/สัมผัสความจริงแท้ได้และการรู้จักความจริงดังกล่าวสามารถทําได้โดยตัดอคติส่วนตัวและทัศนคติต่อความเชื่อที่ ได้รับจากสังคมออกไปเสียก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความสับสน และวิธีการที่จะขจัดความสับสนก็คือ การพยายามทําให้ทัศนะต่าง ๆ แจ่มชัดด้วยวิธีการสนทนาถกเถียง
92 เพลโตต้องการให้รัฐจัดการศึกษาแบบใด
(1) จัดเฉพาะคนที่มีความฉลาดได้ศึกษา
(2) จัดเฉพาะลูกหลานของขุนนางได้ศึกษา
(3) จัดเฉพาะคนที่อยากเล่าเรียนได้เรียน
(4) จัดแบบบังคับอย่างทั่วถึงสําหรับทุกคนเรียน
ตอบ 4 หน้า 270, (คําบรรยาย) เพลโต (Plato) เห็นว่า การศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมด้วยการปฏิรูปคนและการปฏิรูปรัฐ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง กล่าวคือ เป็นการศึกษาที่สามารถให้กับทุกคนในสังคมและเป็นการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้ เด็กทุกคนมีโอกาสศึกษาเพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง ก่อนที่เขาจะไปปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสมของตนให้กับรัฐและสังคม ถือเป็นการคัดคนไปทํางานเพื่อรัฐ
93 อะไรคือจุดหมายที่เพลโตต้องการในการจัดการศึกษา
(1) คัดคนที่มีปัญญาเป็นเลิศเท่านั้น
(2) คัดคนไปทํางานเพื่อรัฐ
(3) สร้างนักวิชาการ
(4) จัดแบบบังคับอย่างทั่วถึงสําหรับทุกคนเรียน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92 ประกอบ
94 ในระบบการศึกษาของเพลโตนั้น การศึกษาในขั้นเริ่มต้นควรจัดให้ผู้เรียนเรียนเรื่องอะไร
(1) พลศึกษา
(2) อภิปรัชญา
(3) คณิตศาสตร์
(4) การอ่านออกเขียนได้
ตอบ 1 หน้า 270 เพลโต เห็นว่า รูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการจัดให้ผู้เรียนเรียนพลศึกษาโดยการคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา ต่อมาก็เรียนการอ่านออกเขียนได้และเรียน คณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญา ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์
95 ในการจัดการศึกษาในระดับก้าวหน้าของเซนต์ ออกัสติน ต้องจัดการศึกษาแบบใด
(1) บังคับให้ผู้เรียนเชื่อด้วยเหตุผล
(2) ใช้วิธีสอนแบบเข้มงวดและบังคับให้ผู้เรียนเชื่อ
(3) เน้นให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา
(4) เน้นให้ผู้เรียนใช้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ศรัทธา
ตอบ 4 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ
1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อ โดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก
2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบใช้เหตุผลและการพิสูจน์เพื่อให้เห็นจริงว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง
96 ตามทัศนะของรุสโซ การให้การศึกษาแก่เด็กเล็กควรทําอย่างไร
(1) สังคมต้องดูแลอย่างเข้มงวด
(2) ให้เด็กมีโอกาสอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม
(3) ให้เรียนรู้ระบบต่าง ๆ ของสังคม
(4) ให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก
ตอบ 4 หน้า 275 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กเล็ก ๆ คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง หรือให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก มิใช่ การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นหนังสืออย่างเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ ซึ่งเป็นหนังสือที่เน้นถึงประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองของโรบินสัน ครูโซ
97 รุสโซปรารถนาจะเห็นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไรในระดับการศึกษาสูงสุด
(1) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง
(2) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง
(3) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา
(4) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม
ตอบ 2 หน้า 275, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การสอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเองตั้งแต่เริ่มแรกย่อมเป็นผลดี เพราะเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้สึกพอใจในตนเอง ดังนั้นในระดับการศึกษาขั้นสูงสุด รุสโซจึงปรารถนาจะเน้นให้ผู้เรียนมีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตนเอง
98 ลัทธิปฏิบัตินิยมปรารถนาจะเห็นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร
(1) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง
(2) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง
(3) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา
(4) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม
ตอบ 3 หน้า 277, 283 ปรัชญาการศึกษาของลัทธิปฏิบัตินิยม คือ การสร้างให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา ดังนั้นการศึกษาต้องมุ่งให้เกิดผลที่ปฏิบัติได้ ไม่ใช่มุ่งการเรียนรู้แต่ทฤษฎีเท่านั้น
99 สิ่งที่สําคัญที่สุดในระบบการศึกษาของลัทธิปฏิบัตินิยม คืออะไร
(1) ผู้สอน
(2) ผู้เรียน
(3) ผู้บริหาร
(4) องค์ความรู้
ตอบ 2 หน้า 278 ลัทธิปฏิบัตินิยม เชื่อว่า ผู้สอนมิใช่บุคคลสําคัญที่สุดในระบบการศึกษา แต่ผู้เรียนคือศูนย์กลางของการศึกษา โดยผู้เรียนแต่ละคนคือบุคคลสําคัญที่ต้องเรียนรู้และทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเองว่าวิธีใดควรจะเป็นวิธีที่เหมาะสมสําหรับแก้ปัญหา ไม่ใช่คอยฟังแต่คําตอบของผู้สอน
100 นักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม เรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจสิ่งใด
(1) ตัวเอง
(2) สังคม
(3) รัฐ
(4) ศาสนา
ตอบ 1 หน้า 279, 234, (คําบรรยาย) อัตถิภาวนิยมเป็นปรัชญาที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคลและเชื่อว่าเป้าหมายของการศึกษา คือ การเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นอิสระ และประสบการณ์ ที่แท้จริงของผู้เรียน ทั้งนั้นนักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยมจึงเรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจตัวเอง