การสอบไลาไค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา PHI 1003 ปรัชญาเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1 “ความรักความรู้” เป็นความหมายตามศัพท์ของคําใด
(1) ปรัชญา
(2) อภิปรัชญา
(3) Philosophy
(4) Metaphysics
ตอบ 3 หน้า 1 คําว่า “Philosophy” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณที่ประกอบด้วยคําว่า“Philos” ซึ่งหมายถึง ผู้รัก และคําว่า “Sophia” ซึ่งหมายถึง ความปราดเปรื่อง โดยคําทั้งสองนี้ เมื่อรวมกันแล้วจะหมายถึง ผู้รักความปราดเปรื่องหรือผู้รักในความรู้ ผู้ปรารถนาจะเป็นปราชญ์หรือผู้ปรารถนาจะฉลาด หรือผู้ที่ยังไม่รู้และปรารถนาจะรู้มากขึ้น
2 ปรัชญาเกิดขึ้นเพราะกิจกรรมใดของมนุษย์
(1) ความสงสัยใคร่รู้
(2) ความสอดรู้สอดเห็น
(3) ความต้องการพ้นทุกข์
(4) ความพยายามแก้ปัญหา
ตอบ 1 หน้า 1 – 2, (คําบรรยาย) คุณสมบัติสําคัญที่ทําให้มนุษย์คิดค้นกิจกรรมทางปรัชญา คือ การที่มนุษย์ไม่ยอมรับสิ่งใด ๆ โดยง่ายดาย แต่จะเป็นคนช่างสงสัยใคร่รู้ในปัญหาต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และจะใช้ความสามารถในการไตร่ตรองหรือใช้ปัญญาขบคิด เพื่อแสวงหา คําตอบหรือความเชื่อที่เป็นไปได้ในสิ่งที่ตนยังสงสัย รวมทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อในสิ่งที่ตนยังคิดว่าเป็นปัญหาอยู่อย่างมีเหตุผลด้วย
3 ลัทธิประสบการณ์นิยม หมายถึงอะไร
(1) นักปรัชญาตะวันตกยุคใหม่
(2) ผู้นิยมวิธีแสวงหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์
(3) นักปรัชญา 3 คน คือ Locke, Berkeley, Hume
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 8, 112 – 113, 130 ลัทธิประจักษนิยมหรือลัทธิประสบการณ์นิยม เป็นลัทธิที่จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญาตะวันตกยุคใหม่ ซึ่งเชื่อว่า วิธีคิดที่ถูกต้องที่สุดคือการยึดมั่นในประสบการณ์ และการใช้ความรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัส โดยแนวคิดนี้มีลักษณะคล้ายกับการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างของนักปรัชญากลุ่มนี้ ได้แก่ Locke, Hume และ Berkeley
4 ข้อใดคือปัญหาปรัชญาบริสุทธิ์
(1) อะไรคือความเป็นจริง
(2) เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร
(3) เราจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 – 18 ปรัชญาบริสุทธิ์ หมายถึง ปัญหาหรือขอบเขตของปรัชญาที่เป็นเรื่องของปรัชญาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีการศึกษาถึงปัญหาสําคัญ 3 ปัญหาคือ
1 ปัญหาทางอภิปรัชญา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความเป็นจริง เช่น ความเป็นจริงคืออะไร ฯลฯ
2 ปัญหาทางญาณวิทยา ซึ่งจะศึกษาเรื่องความรู้ เช่น เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร ฯลฯ
3 ปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งจะศึก เรื่องความดี เช่น เราควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ฯลฯ
5 ปัญหาที่นักปรัชญากรีกโบราณยุดเริ่มต้นสนใจ สามารถจัดเป็นปัญหาปรัชญาสาขาใด
(1) อภิปรัชญา
(2)
(3) จริยศาสตร์
(4) ปรัชญาประยุกต์
ตอบ 1 หน้า 7, 11, 21 – 22 ทาเลส (Thales) เป็นนักปรัชญาชาวตะวันตกคนแรกที่ริเริ่มปรัชญากรีกโบราณยุคเริ่มต้นไว้ โดยเขาเชื่อว่า มนุษย์สามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยไม่ต้อง อ้างเทพเจ้า เพราะเอกภพมีกฎเกณฑ์ตายตัว และปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความเป็นระเบียบ ถ้ามนุษย์สามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถควบคุมธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนักปรัชญากรีกในยุคนี้จัดว่าเป็นปัญหาปรัชญาภาคอภิปรัชญา
6 ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชื่อลัทธิกับปัญหาได้ถูกต้อง
(1) สสารนิยม – บ่อเกิดของความรู้
(2) สัจนิยม – บ่อเกิดของความรู้
(3) สุขนิยม – บ่อเกิดของความรู้
(4) ประสบการณ์นิยม – บ่อเกิดของความรู้
ตอบ 4 หน้า 14 – 16, 103, 127 ปัญหาทางญาณวิทยาหรือปัญหาเรื่องทฤษฎีของความรู้ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1 ปัญหาเรื่องบ่อเกิดของความรู้ มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ทฤษฎีเหตุผลนิยม และทฤษฎีประจักษนิยม (ประสบการณ์นิยม)
2 ปัญหาธรรมชาติของความรู้มีแนวคําตอบอยู่ 2 แนว คือ ทฤษฎีสัจนิยม และทฤษฎีจิตนิยมแบบอัตนัย
7 “Metaphysics” มีความหมายตรงกับศัพท์ภาษาไทยคําใด
(1) ปรัชญา
(2) อภิปรัชญา
(3) ญาณวิทยา
(4) อตินทรีย์วิทยา
ตอบ 4 หน้า 21 – 22 Metaphysics แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังวัตถุ หรือวิชาที่ว่าด้วยสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่รู้สึกทางประสาทสัมผัส จะมีความหมายตรงกับคําว่า “อตินทรีย์วิทยา” ซึ่งแปลว่า ล่วงเลยอินทรีย์หรือประสาทสัมผัส แต่คําว่าอตินทรีย์วิทยานี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน โดยคําที่นิยมใช้ก็คือ “อภิปรัชญา” ซึ่งแปลว่า ความรู้อันประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ อันมีความหมายเท่ากับ “ปรมัตถ์” หรือ “ความรู้ขั้นปรมัตถ์” ซึ่งแปลว่า ความรู้ที่มีเนื้อหาลึกซึ้งอย่างยิ่ง
8 อสสารมีลักษณะอย่างไร
(1) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่มีอายุขัย
(2) มีรูปร่าง สัมผัสได้ แต่ไร้อายุขัย
(3) มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัย
(4) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ และไร้อายุขัย
ตอบ 4 หน้า 25 – 27 จิตนิยม เห็นว่า สสาร วัตถุ หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริง แต่ยังมีสิ่งที่จริงกว่าวัตถุและสสาร กล่าวคือ ยังมี “ของจริง” อีกอย่างหนึ่งที่จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ มองเห็นไม่ได้ ไม่มีตัวตน (ไร้รูปร่าง) มีอยู่เป็นนิรันดรหรือมีสภาวะเป็นอมตะ (ไร้อายุขัย) และ ไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลา ซึ่งมีลักษณะเป็นอสสาร (Immaterial) สิ่งนั้นคือ “จิต” เช่น แบบ วิญญาณ และพระเจ้า ฯลฯ อันเป็นต้นกําเนิดหรือต้นแบบของวัตถุ ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มองเห็นอยู่บนโลกนี้ จึงเป็นเพียงสภาพที่ปรากฏของสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น
9 สสารมีลักษณะอย่างไร
(1) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ แต่มีอายุขัย
(2) มีรูปร่าง สัมผัสได้ แต่ไร้อายุขัย
(3) มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัย
(4) ไร้รูปร่าง สัมผัสไม่ได้ และไร้อายุขัย
ตอบ 3 หน้า 31 ลัทธิสสารนิยม เชื่อว่า สสารเป็นสิ่งที่ครองเวลา จะต้องมีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะมีอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ ซึ่งสสารหรือวัตถุทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่รู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เท่านั้นที่จะรู้จักสสารได้ โดยสสารเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง สัมผัสได้ และมีอายุขัยเพียงชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
10 สาเหตุที่ทําให้วัตถุประเภทเดียวกันมีลักษณะอย่างเดียวกัน คืออะไรในทัศนะของเพลโต
(1) วัตถุนั้นจําลองมาจากแม่แบบเดียวกัน
(2) วัตถุนั้นมีโครงสร้างของอะตอมเหมือนกัน
(3) วัตถุนั้นถูกพระเจ้าเนรมิตขึ้นจากแบบเดียวกัน
(4) ความเหมือนเป็นเพียงข้อสังเกตของมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 26 – 27 เพลโต อธิบายว่า โลกของแบบเท่านั้นที่เป็นจริง เป็นสิ่งเที่ยงแท้และเป็นต้นแบบของโลกแห่งประสาทสัมผัส ซึ่งแบบเป็นอสสารที่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ และเป็นหลักสําคัญให้โลกวัตถุมีอยู่ได้ เช่น ทอง ขมิ้น และดอกดาวเรือง ฯลฯ แม้วัตถุทั้งหมดนี้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็จําลองมาจากแบบเดียวกัน คือ “เหลือง”และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล
11 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแบบของเพลโต
(1) มีจริง และมนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส
(2) มีจริง และมนุษย์รับรู้ด้วยเหตุผล
(3) ไม่มีจริง แต่มนุษย์สร้างภาพด้วยประสาทสัมผัส
(4) ไม่มีจริง แต่มนุษย์สร้างภาพด้วยเหตุผล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ
12 “ทอง ขมิ้น ดอกดาวเรือง” มีความสัมพันธ์กันอย่างไรในทัศนะของเพลโต (1) มีลักษณะร่วมกัน คือ “เหลือง”
(2) มีลักษณะร่วมกัน คือเป็นวัตถุในโลกมนุษย์
(3) มีลักษณะร่วมกัน คือเป็นแบบให้กับวัตถุสีเหลือง
(4) ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10 ประกอบ
13 นักจิตนิยมมีทัศนะต่อโลกมนุษย์อย่างไร
(1) มนุษย์ต้องเรียนรู้ให้มากเพื่อใช้ชีวิตในโลกอย่างมีความสุขสบาย
(2) มนุษย์ต้องใช้ชีวิตในโลกอย่างสุขสบาย ก่อนไปใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง
(3) การมีชีวิตในโลกเป็นเพียงสะพานไปสู่ความจริง
(4) โลกมนุษย์มีความเป็นจริงของมันเอง
ตอบ 3 หน้า 35, (คําบรรยาย) จิตนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกาย โดยจิตหรือวิญญาณสําคัญกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ และมีสภาวะ เป็นอมตะ เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับมาเกิดใหม่ ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้จึงต้องกระทําความดีเพื่อเป็นสะพานที่จะมุ่งไปสู่ความจริงในโลกหน้า
14 จักรกลนิยม สืบเนื่องมาจากอภิปรัชญาลัทธิใด
(1) สสารนิยม
(2) จิตนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม
(4) เทวนิยม
ตอบ 1 หน้า 32 จักรกลนิยมเป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากลัทธิสสารนิยม ซึ่งเชื่อว่า การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมิได้เป็นไปเพื่อจุดหมายอะไร นอกจากเป็นไปอย่างจักรกล เช่น รถยนต์วิ่งได้เพราะล้อหมุน ล้อหมุนเพราะเพลาของรถยนต์หมุน ฯลฯ
15 ข้อใดเป็นแนวคิดแบบสสารนิยม
(1) มีความคิดเรื่องโลกแบบเอกนิยม
(2) มีความเชื่อในทฤษฎีการทอนลง
(3) มีความเชื่อว่าคุณค่าเป็นสิ่งสมมติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 31 – 32 แนวคิดแบบสสารนิยม มีดังนี้
1 มีความคิดเรื่องโลกแบบเอกนิยม
2 มีความเชื่อในทฤษฎีหน่วยย่อย
3 มีความเชื่อในทฤษฎีการทอนลง
4 มีความเชื่อว่าคุณค่าเป็นสิ่งสมมติ
5 มีความเชื่อว่าจักรวาลอยู่ในระบบจักรกล
16 ข้อใดคือความหมายของ “ทฤษฎีทอนลง”
(1) วัตถุมีอายุสั้นลงทุกปี
(2) ปริมาณของวัตถุจะค่อย ๆ ลดลง
(3) สามารถสืบค้นเวลาถอยหลังจนถึงจุดที่วัตถุกําเนิดขึ้น
(4) วัตถุสามารถแยกย่อยจนถึงหน่วยย่อยสุดท้าย
ตอบ 4 หน้า 32 สสารนิยมยอมรับแนวคิดเรื่องการทอนลง โดยเชื่อว่าสิ่ง ๆ หนึ่งสามารถแยกได้เป็นหน่วยย่อยจนถึงอนุภาคที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า อะตอม โดยอะตอมจะไม่มีองค์ประกอบจึงไม่อาจแบ่งย่อยได้ จะสลายก็ไม่ได้ และเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่ได้
17 ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของธรรมชาตินิยม
(1) สสารเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบอวกาศ-เวลาอย่างหนึ่ง
(2) สิ่งที่มีอยู่ในระบบอวกาศ-เวลา คือสสารเท่านั้น
(3) สสารไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในระบบอวกาศ-เวลา
(4) สสารบางชนิดอยู่ในระบบอวกาศ-เวลา
ตอบ 1 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า สิ่งธรรมชาติ เช่น หิน พืช สัตว์ มนุษย์ ฯลฯ เป็นสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของสาเหตุธรรมชาติ มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตามวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน โดยสิ่งธรรมชาติทุกสิ่งจะดํารงอยู่ในระบบของอวกาศ-เวลา แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกสิ่งที่อยู่ในระบบของอวกาศ-เวลาจะต้องเป็นสสารเท่านั้น
18 ข้อใดเป็นแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม
(1) มีความคิดเรื่องโลกแบบพหุนิยม
(2) มีความเชื่อในเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการ
(3) มีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทําให้เกิดสิ่งใหม่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 33 – 34 ธรรมชาตินิยมเป็นพหุนิยมที่เชื่อเรื่องความมากมายหลายหลากว่าในจักรวาลมีสิ่งที่เป็นจริงมากมายหลายสิ่ง และในกระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลนั้น ได้มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะมีคุณสมบัติใหม่ และคุณภาพใหม่ที่ไม่สามารถทอนลงเป็นอะตอมกับการเคลื่อนไหวของอะตอมได้เลย
19 นักจิตนิยมมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิต-กาย อย่างไร
(1) จิต คือ กาย
(2) จิตสําคัญคู่กาย
(3) จิตสําคัญกว่ากาย
(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ
20 ใครมีความเชื่อเรื่องธรรมชาติของมนุษย์แบบลัทธิจิตนิยม
(1) โต้งเชื่อว่าเป็นมนุษย์ได้ต้องใจสูง
(2) เตยเชื่อว่ามนุษย์สามารถเวียนว่ายตายเกิด
(3) ตาเชื่อว่ามนุษย์ต้องสามารถตัดสินใจเลือกการกระทําของตนได้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 13 ประกอบ
21 แพทย์ผู้พยายามอุทิศความสุขส่วนตัวเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นคนค้นพบยารักษาโรคเอดส์เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต
(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น
(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น
(3) คนมีจิตภาคปัญญาเด่น
(4) คนมีจิตภาคน้ำใจและปัญญาเด่นร่วมกัน
ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 245 246 จิตในทัศนะของเพลโต แบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้
1 ภาคตัณหา คือ ความต้องการความสุขทางกาย โดยจะพยายามทําทุกอย่างเพื่อแสวงหาเงินมาสนองความสุขทางโลก จึงเป็นบุคคลที่ลุ่มหลงในโลกียสุข 2 ภาคน้ำใจ คือ ความรู้สึกทางใจ ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การยึดถือเกียรติและสัจจะเป็นสําคัญ โดยพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากทุกเมื่อ
3 ภาคเหตุผลหรือภาคปัญญา เป็นจิตภาคที่พัฒนาขึ้นมาสูงสุดแล้ว คือ มีความใฝ่ในสัจจะ โดยอาจยอมเสียสละทั้งเงินและเกียรติเพื่อแสวงหาความรู้ ความจริง ความดี ความงามและความยุติธรรม ซึ่งจิตภาคนี้เท่านั้นที่จะทําให้มนุษย์เข้าสู่โลกของแบบได้
22 คนที่ทํางานเต็มที่ตามกําหนดเวลาทํางาน เมื่อเลิกงานก็ไปดูหนังฟังเพลงเพื่อจะไปทํางานตามกําหนดเวลาจนตลอดชีวิต เป็นคนมีจิตแบบใดในทัศนะของเพลโต
(1) คนมีจิตภาคตัณหาเด่น
(2) คนมีจิตภาคน้ำใจเด่น
(3) คนมีจิตภาคตัณหากับน้ำใจเด่นร่วมกัน
(4) คนมีจิตภาคปัญญาเด่นพอสมควร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21 ประกอบ
23 ข้อใดตรงกับแนวความคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ของสสารนิยม
(1) ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น
(2) ลูกไม้หล่นใต้ต้น
(3) เข้าฝูงกาก็เป็นกา เข้าฝูงหงส์ก็เป็นหงส์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลัทธิสสารนิยม เห็นว่า มนุษย์ไม่มีตัวตนของจิต สิ่งที่เรียกว่าพฤติกรรมของจิตคือ อารมณ์หรือความคิดต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากสสารส่วนที่เป็นก้อนสมองเท่านั้น ถ้าก้อนสมองตายสภาพทางจิตก็จะหายไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมของจิตนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละช่วงเวลา
24 ทัศนะใดถือว่า จิตเกิดจากกาย และต่างจากกาย
(1) จิต คือ กาย
(2) จิตสําคัญคู่กาย
(3) จิตสําคัญกว่ากาย
(4) จิตมีอยู่ตราบเท่าที่มีกาย
ตอบ 2 หน้า 33 – 34, (คําบรรยาย) ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า มนุษย์เป็นสิ่งใหม่ เป็นผลผลิตขั้นสุดยอดของวิวัฒนาการ กล่าวคือ มนุษย์จะประกอบด้วยร่างกายและจิตใจซึ่งมีความสําคัญเท่าเทียมกัน โดยจิตใจของมนุษย์จะแตกต่างจากกายเพราะเกิดจากวิวัฒนาการที่ยาวนาน จนทําให้มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ
25 ลัทธิใดเชื่อว่าสิ่งที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งทั้งหลาย คือ จิต
(1) จิตนิยม
(2) สสารนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม
(4) จิตนิยมและธรรมชาตินิยม
ตอบ 1 หน้า 25 – 27, 35 พวกจิตนิยม เห็นว่า มนุษย์นั้นมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิตกับร่างกายแต่จิตสําคัญกว่า เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริง มีอยู่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ ทําให้มนุษย์มีความแตกต่างจากสิ่งทั้งหลาย ส่วนร่างกายนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงเกิดดับได้ ดังนั้นวิถีชีวิตของแต่ละคนย่อมเป็นไปตามการบังคับบัญชาของจิต โดยร่างกายจะเป็นเพียง การสนองตอบเจตจํานงของจิตเท่านั้น มนุษย์จึงไม่มีอิสระ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตและความทะยานอยาก ถ้าไม่หิวก็อาจจะกินได้ ฯลฯ
26 ลัทธิใดเชื่อว่าการตายเป็นการสิ้นสุดของมนุษย์
(1) จิตนิยม
(2) สสารนิยม
(3) ธรรมชาตินิยม
(4) สสารนิยมและธรรมชาตินิยม
ตอบ 4 หน้า 28 – 31, 33 สสารนิยม เชื่อว่า การเกิดและการดับสลายของสิ่งต่าง ๆ เป็นเพียงการเข้ามารวมตัวและแยกออกจากกันของอะตอมทั้งหลาย และการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเพียงการสับที่ ของอะตอม โดยอะตอมนั้นมิได้เกิดดับหรือเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ส่วนธรรมชาตินิยมนั้น เชื่อว่าสิ่งธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน มนุษย์ กบ ล้วนเป็นสิ่งที่มีขึ้นและดับลงตามปฏิบัติการของ สาเหตุธรรมชาติ ดังนั้นทั้งสองแนวคิดนี้จึงเชื่อว่าการตายเป็นการสิ้นสุดของมนุษย์คนนั้น
27 ศาสนาคริสต์เชื่อในพระเจ้าแบบลัทธิใด
(1) Atheism
(2) Monotheism
(3) Polytheism
(4) Henotheism
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบ่งออกเป็น 4 แบบดังนี้
1 Monotheism เชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียวและเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งความเชื่อในลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาคริสต์
2 Polytheism เชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์ และทุกพระองค์ล้วนยิ่งใหญ่ ซึ่งความเชื่อลักษณะนี้เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู
3 Henotheism เชื่อว่าพระเจ้ามีหลายองค์ แต่ยกให้องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่
4 Atheism เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง หรือปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า
28 “Atheism” หมายถึงความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าแบบใด
(1) พระเจ้ามีองค์เดียว และยิ่งใหญ่ที่สุด
(2) พระเจ้ามีหลายองค์ และทุกองค์ล้วนยิ่งใหญ่
(3) พระเจ้ามีหลายองค์ แต่ยกให้องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่
(4) ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27 ประกอบ
29 ลัทธิใดเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลกแล้วก็ทรงอยู่เหนือโลกโดยเด็ดขาด
(1) Deism
(2) Theism
(3) Pantheism
(4) Panentheism
ตอบ 1 หน้า 45 ลัทธิเทวนิยม (Deism) เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเป็นมหาเทพสูงสุดเพียงพระองค์เดียวซึ่งอยู่นอกโลก โดยพระองค์สร้างโลกขึ้นมาจากความว่างเปล่า แล้วทรงมอบพลังต่าง ๆ ให้แก่โลก และให้พลังเหล่านั้นควบคุมโลกให้ดําเนินไป แต่เมื่อโลกมีแนวโน้มเสื่อมลง พระองค์ก็จะอวตารมาช่วยแก้ไขโลกให้ดําเนินไปตามปกติ พระเจ้าจึงทรงอยู่เหนือโลกและเหนือวิญญาณมนุษย์
30 ทฤษฎีพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าที่สังเกตจากความมีระเบียบของโลก คือทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีเชิงเอกภพ
(2) ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์
(3) ทฤษฎีเชิงภววิทยา
(4) ทฤษฎีเชิงจริยธรรม
ตอบ 2 หน้า 43 ทฤษฎีเชิงวัตถุประสงค์ ถือว่า โลกนี้มีเอกภาพ มีระเบียบ มีความกลมกลืนกัน เช่น มีที่ราบ ภูเขา ทะเล มีพืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับระเบียบที่กําหนดไว้แล้ว ในธรรมชาติ ซึ่งแสดงว่าโลกนี้ต้องมีผู้ออกแบบที่ชาญฉลาดสร้างขึ้นมา และมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นเช่นนั้น โดยผู้ออกแบบสร้างโลกนี้ก็คือพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงมีอยู่
31 ข้อใดเป็นลักษณะของอะตอมของกรีก
(1) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น
(2) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น
(3) อะตอมของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
(4) อะตอมของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ตอบ 1 หน้า 57 ปรัชญากรีก ถือว่า ปรมาณู (อะตอม) ของ ตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันเฉพาะด้านจํานวนหรือปริมาณเท่านั้น แต่ในด้านคุณภาพมีรษณะเหมือนกัน ส่วนลัทธิไวเศษกะ ถือว่า ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
32 ข้อใดเป็นลักษณะของปรมาณูของลัทธิไวเศษกะ
(1) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านปริมาณเท่านั้น
(2) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทางด้านคุณภาพเท่านั้น
(3) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ แตกต่างกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
(4) ปรมาณูของธาตุต่าง ๆ เหมือนกันทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ
33 สิ่งที่ผัสสะของมนุษย์สามารถสัมผัสได้นั้น ต้องเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูจํานวนเท่าใดเป็นอย่างน้อยตามลัทธิไวเศษกะ
(1) จํานวน 1 – 2 ปรมาณู
(2) จํานวน 3 ปรมาณูขึ้นไป
(3) จํานวน 4 ปรมาณูขึ้นไป
(4) จํานวน 5 ปรมาณูขึ้นไป
ตอบ 2 หน้า 59 ลัทธิไวเศษกะ ถือว่า วัตถุจะต้องเกิดจากการรวมตัวกันของปรมาณูอย่างน้อย 2 ปรมาณู เข้าด้วยกัน ส่วนวัตถุที่ผัสสะของมนุษย์พอจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้นจะต้องเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของปรมาณจํานวนตั้งแต่ 3 ปรมาณูขึ้นไป
34 พระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาเกี่ยวกับอภิปรัชญาด้วยวิธีการใด
(1) ทรงตอบตรงคําถาม
(2) ทรงตอบโดยวิธีแยกแยะ
(3) ทรงตอบโดยวิธีย้อนถาม
(4) ทรงตอบโดยการนิ่ง
ตอบ 4 หน้า 77 – 78 พระพุทธเจ้า ทรงประสงค์จะหลีกเลี่ยงปัญหาทางอภิปรัชญาต่าง ๆ โดยจะไม่ทรงตอบหรือปฏิเสธ แต่จะใช้วิธีการนึ่ง ซึ่งพระองค์ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า การรู้คําตอบปฏิเสธ หรือยืนยันต่อปัญหาทางอภิปรัชญา มิได้นําไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข มิได้ก่อให้เกิดชีวิตที่ประเสริฐรวมทั้งความมีสันติสุขและความรู้แจ้งเห็นประจักษ์ในความจริงของชีวิตแต่อย่างใดเลย
35 คําสอนที่แสดงผลในอริยสัจ 4 คืออะไร
(1) ทุกข์และสมุทัย
(2) นิโรธและมรรค
(3) ทุกข์และนิโรธ
(4) สมุทัยและมรรค
ตอบ 3 หน้า 79 คําสอนของพระพุทธองค์ในอริยสัจ 4 แสดงเหตุและผลโดยลําดับ ดังนี้
1 แสดงเหตุ 2 ประการ ได้แก่ สมุทัย (แสดงเหตุแห่งทุกข์) และมรรค (แสดงเหตุคือ การปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
2 แสดงผล 2 ประการ ได้แก่ ทุกข์ (แสดงผลคือทุกข์) และนิโรธ (แสดงผลคือความดับทุกข์)
36 คําสอนที่แสดงเหตุในอริยสัจ 4 คืออะไร
(1) ทุกข์และสมุทัย
(2) นิโรธและมรรค
(3) ทุกข์และนิโรธ
(4) สมุทัยและมรรค
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35 ประกอบ
37 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นกามตัณหาตามหลักอริยสัจ 4
(1) อยากฟังเสียงที่นุ่มนวลของนักร้องคนโปรด
(2) อยากเป็นนักร้องที่โด่งดัง
(3) ไม่อยากพ้นจากตําแหน่งนักร้องยอดเยี่ยมแห่งปี
(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม
ตอบ 1 หน้า 84 85 ตัณหา (ทุกข์อันเกิดจากความต้องการหรือความอยาก) มี 3 ประเภท ดังนี้
1 กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณ มีรูป รส กลิ่น เสียง
2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากอยู่ในสภาพนั้นจนไม่อยากจากไป
3 วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่มี อยากไม่เป็น ดังที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่นั้นเสื่อมสิ้นไป
38 ความอยากหรือตัณหาตามข้อใดเป็นวิภวตัณหาตามหลักอริยสัจ 4
(1) อยากฟังเสียงที่นุ่มนวลของนักร้องคนโปรด
(2) อยากเป็นนักร้องที่โด่งดัง
(3) อยากได้ตําแหน่งนักร้องยอดเยี่ยมแห่งปี
(4) ไม่อยากเป็นนักร้องที่ถูกลืม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37 ประกอบ
39 มรรค 8 คือวิถีปฏิบัติเพื่ออบรมสิ่งใดตามหลักอริยสัจ 4
(1) อบรมกายกับวาจา
(2) อบรมใจ
(3) อบรมความเห็น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 86 – 89, (คําบรรยาย) มรรค 8 คือ ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ
1 ส่วนที่อบรมกายกับวาจา เรียกว่า “ศีล” ประกอบด้วย สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ
2 ส่วนที่อบรมจิต เรียกว่า “สมาธิ” ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
3 ส่วนที่อบรมทิฐิและความเห็น เรียกว่า “ปัญญา” ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ
40 “เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ต้องมีสาเหตุ” เป็นความรู้แบบใดในทัศนะของพวกเหตุผลนิยม
(1) เป็นความรู้ที่จําต้องเป็น
(2) เป็นความรู้ที่รู้โดยวิธีอัชฌัตติกญาณ
(3) เป็นความรู้ก่อนประสบการณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 104 105 เหตุผลนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้ความจริงทั้งหลายในจักรวาลได้โดยไม่ต้องมีประสบการณ์มายืนยัน หรือที่เรียกว่า “ความรู้ก่อนประสบการณ์” ซึ่งเป็นความจริงที่จําต้องเป็นหรือเป็นหลักการทั่วไป และสามารถรู้ได้โดยใช้ “อัชมัตติกญาณ” คือ การหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจ หรือแสงสว่างแห่งเหตุผล เช่น เส้นขนานย่อมไม่มีวันมาบรรจบกัน เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุ ฯลฯ
41 ข้อใดเป็นความรู้ที่ได้จากวิธีนิรนัย
(1) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน
(2) อุ๊ย นั่นเส้นขนานของรางรถไฟ
(3) อ้อ เห็นมามากแล้ว รางรถไฟไม่มีวันพบกันหรอก
(4) เส้นขนานไม่มีวันพบกัน รางรถไฟเป็นเส้นขนาน ดังนั้นรางรถไฟไม่มีวันพบกัน
ตอบ 4 หน้า 105 วิธีการนิรนัย (Deduction) คือ การพิสูจน์ความเชื่อถือใด ๆ โดยอาศัยความจริงพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหรือที่ยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นหลัก แล้วก็ใช้ความคิดสืบสาวจากความรู้นั้น ไปเพื่อที่จะรู้ในสิ่งอื่น โดยข้อสรุปต้องได้จากข้ออ้าง ถ้าข้ออ้างเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย ซึ่งข้อสรุปที่ได้นี้จะเป็นข้อสรุปเฉพาะของแต่ละเหตุการณ์ ส่วนใหญ่วิธีคิดแบบนี้มักจะใช้กับหลักการด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต
42 “อ๋อ นี่คือดอกมะลิ” เป็นความรู้ที่หมายถึงสิ่งใดในทัศนะของล็อค
(1) ตัวดอกมะลิ
(2) ตัวคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ
(3) ภาพแทนคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ
(4) ภาพรวมของคุณสมบัติต่าง ๆ ของดอกมะลิ
ตอบ 3 หน้า 119 ทฤษฎีความรู้ของล็อค เรียกว่า “ทฤษฎีตัวแทน” โดยวัตถุจริงกับวัตถุในฐานะเป็นสิ่งที่เรารับรู้นั้นจะเป็นคนละสิ่งกัน วัตถุที่เรารับรู้จึงนับเป็นตัวแทนของวัตถุจริง ดังนั้น สิ่งที่มีอยู่จริงภายนอกตัวเรา ก็คือ ก้อนที่ปราศจากคุณสมบัติทุติยภูมิใด ๆ ที่เรียกว่า “สาร” ซึ่งรองรับคุณสมบัติปฐมภูมิอยู่
43 ส่วนของวัตถุที่มนุษย์ไม่มีวันสัมผัสได้ด้วยผัสสะ คืออะไรในทัศนะของล็อค
(1) คุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ
(2) คุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุ
(3) สารรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัตถุ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 118 – 119, (คําบรรยาย) ในทัศนะของล็อค ถือว่า คุณสมบัติปฐมภูมิเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัววัตถุจริง ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มีอยู่ในโลกภายนอก แต่เป็นอํานาจที่ คุณสมบัติปฐมภูมิสร้างผัสสะให้เกิดกับเรา ดังนั้นมนุษย์จึงไม่มีวันสัมผัสคุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุได้ด้วยผัสสะ
44 “อัตลัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใด ในทัศนะของเดส์การ์ต
(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล
(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะของมนุษย์
(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์
(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า
ตอบ 1 หน้า 104, 116, 120 “อัตลัตติกญาณ” ในทัศนะของเหตุผลนิยม (เช่น เดส์การ์ต ฯลฯ)หมายถึง วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยการหยั่งรู้โดยตรงด้วยจิตใจหรือด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล ส่วนในทัศนะของประสบการณ์นิยม (ประจักษนิยม) หมายถึง วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยการสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะของมนุษย์
45 “อัตลัตติกญาณ” หมายถึงวิธีการแสวงหาความรู้แบบใด ในทัศนะของประสบการณ์นิยม
(1) การหยั่งรู้โดยตรงด้วยแสงสว่างแห่งเหตุผล
(2) การสัมผัสโดยตรงด้วยผัสสะของมนุษย์
(3) การเจริญสมาธิจนเกิดตาทิพย์
(4) การหยั่งรู้โดยอาศัยการชี้นําของพระเจ้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 44 ประกอบ
46 “พระเจ้าต้องมีอยู่ เพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด
(1) เพลโต
(2) เดส์การ์ต
(3) ล็อค
(4) เดวิด ฮูม
ตอบ 2 หน้า 110 เดส์การ์ต (Descartes) เป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมที่เชื่อว่า พระเจ้าต้องมีอยู่จริงเพราะมนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า โดยพระเจ้าเองเป็นผู้ประทานความคิดเกี่ยวกับพระองค์เองให้กับมนุษย์
47 “เราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าไม่มีจริง” เป็นข้อสรุปของนักปรัชญาคนใด
(1) เพลโต
(2) เดส์การ์ต
(3) ล็อค
(4) เดวิด ฮูม
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) เดวิด ฮูม (David Hume) เป็นนักประจักษนิยมที่เชื่อว่า ตัวคนเราเป็นเพียงการมารวมกันของผัสสะและความคิด ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ และเมื่อคนเราไม่เคยมีข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับพระเจ้า ดังนั้นพระเจ้าจึงไม่มีอยู่จริง
48 เบอร์คเลย์ยอมรับความคิดใด
(1) ความรู้ของมนุษย์ เป็นการรู้จักตัววัตถุโดยตรง
(2) ความรู้ของมนุษย์ เป็นเพียงตัวแทนของวัตถุ
(3) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความคิดของจิตมนุษย์
(4) ความรู้ของมนุษย์ เป็นความรู้ที่ผ่านตัวกลาง
ตอบ 3 หน้า 128, 131 เบอร์คเลย์เป็นนักปรัชญาจิตนิยมแบบอัตนัยที่มีแนวความคิดว่า ความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงความคิดของจิตมนุษย์เท่านั้น เนื่องจากวัตถุทั้งหลายพร้อมทั้งคุณสมบัติทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปฐมภูมิและทุติยภูมิล้วนขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตทั้งสิ้น ดังนั้นวัตถุจึงไม่ได้มีความ เป็นจริงในตัวเอง
49 ชาวลัทธิปัญญานิยมอย่าง Socrates มีความเห็นอย่างไรกับความสุขทางกาย
(1) เป็นสิ่งที่ดีที่มนุษย์ควรแสวงหา
(2) เป็นสิ่งดีเพราะมันช่วยให้มนุษย์สามารถใช้ปัญญาแสวงหาความจริง
(3) เป็นสิ่งไม่ดีเพราะมันขัดขวางการใช้ปัญญาแสวงหาความจริง
(4) เป็นสิ่งที่ไม่ถึงกับดี แต่ก็ไม่ถึงกับเลวเสียทีเดียว
ตอบ 3 หน้า 158, (คําบรรยาย) โซเครติส (Socrates) เป็นนักปรัชญาในลัทธิปัญญานิยมหรือเหตุผลนิยมที่เชื่อว่า มนุษย์จะมีความแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานก็เพราะมนุษย์รู้จักใช้เหตุผลในการไตร่ตรอง เรื่องราวต่าง ๆ โดยความสุขทางกายของมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีเพราะไปขัดขวางการใช้ปัญญาแสวงหาความจริง ดังนั้นมนุษย์จึงไม่ควรยึดติดกับความสุขทางกายมากนัก
50 ชาวลัทธิปัญญานิยมเห็นว่าธรรมชาติที่ทําให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ คืออะไร
(1) การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์
(2) อารมณ์และความรู้สึก
(3) การรู้จักไตร่ตรองด้วยเหตุผล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49 ประกอบ
51 ลัทธิสุขนิยมมีพื้นฐานจากการเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์แบบลัทธิอภิปรัชญาใด
(1) สสารนิยม
(2) จิตนิยม
(3) เทวนิยม
(4) ธรรมชาตินิยม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลัทธิสุขนิยมมีพื้นฐานความเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกับลัทธิสสารนียมที่เชื่อว่า เมื่อมนุษย์มีชีวิตอยู่ก็ควรแสวงหาความสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แม้จะมีหนี้สินก็ไม่เป็นไร ซึ่งความสุขทางประสาทสัมผัสนี้ถือเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต
52 ลัทธิมนุษยนิยมมีพื้นฐานจากการเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์แบบลัทธิอภิปรัชญาใด
(1) สสารนิยม
(2) จิตนิยม
(3) เทวนิยม
(4) ธรรมชาตินิยม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มนุษยนิยม เห็นว่า มนุษย์มีบางอย่างคล้ายสัตว์จึงต้องการความสุขเป็นพื้นฐานทั้งทางกายและจิตใจ เช่น ความสุขจากการได้รับการตอบสนองทางกาย, ความอิ่มเอิบใจที่ได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์, การได้ชื่นชมความงามทั้งในศิลปะและธรรมชาติ เป็นต้น โดย จุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ ก็คือ การได้รับความสุขจากสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้ลุ่มหลง ไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งพื้นฐานความเชื่อลักษณะนี้จะสอดคล้องกับลัทธิธรรมชาตินิยมที่เห็นว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิต โดยจิตเป็นกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ทําให้มนุษย์รู้จักคิดหาเหตุผล
53 ข้อใดถูกต้องตามความคิดของมนุษยนิยม
(1) มนุษย์ไม่ต้องการความสุขทางกายแบบสัตว์
(2) มนุษย์ไม่ต้องการแสวงหาสัจธรรม
(3) มนุษย์ไม่ต้องการความสุขจากงานศิลปะ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ
54 ข้อใดถูกต้องตามความคิดของมนุษยนิยม
(1) มนุษย์ไม่ใช่สัตว์
(2) มนุษย์ไม่ใช่นักบุญ
(3) มนุษย์คือมนุษย์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 164, (คําบรรยาย) มนุษยนิยม เชื่อว่า มนุษย์มีทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงควรประนีประนอมระหว่างความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจให้สมดุลหรือให้กลมกลืนกัน ดังนั้น การเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดก็คือ การประนีประนอมผสมผสานระหว่างความสุขความสงบและความรู้สึก
55 ข้อใดคือสิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหาในทัศนะของ Mill
(1) ความสุขสูงสุด
(2) การเข้าถึงสัจธรรม
(3) การปราศจากกิเลส
(4) ความสุขแบบพอเพียง
ตอบ 1 หน้า 165, (คําบรรยาย) มิลล์ (Mill) เป็นนักปรัชญาประโยชน์นิยมที่มีทัศนะว่า สิ่งที่มนุษย์ควรแสวงหา คือ ความสุขสูงสุด เพราะความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์ การกระทําใดก็ตามที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนจํานวนมากที่สุดเป็นการกระทําที่ดี นั่นคือ การคํานึงถึงผลที่จะได้รับ
56 แพทย์พูดความจริงกับคนไข้ คนไข้เสียใจและอาการทรุดลง การพูดความจริงของแพทย์มีคุณค่าทาง จริยธรรมแบบใด
(1) ถูกต้องตามแนวคิดของ Kant
(2) ถูกต้องตามแนวคิดของ Mill
(3) ผิดตามแนวคิดของ Mill
(4) ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 169, (ดูคําอธิบายข้อ 55 ประกอบ) คานท์ (Kant) เป็นนักปรัชญาหน้าที่นิยมที่เห็นว่าศีลธรรมต้องเป็นเรื่องแน่นอนตายตัวโดยปราศจากข้อแม้ สิ่งใดดีย่อมเป็นลักษณะประจําของ สิ่งนั้นเสมอ เช่น การพูดความจริงย่อมเป็นการกระทําที่ถูกต้องเสมอ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการพูดความจริงนี้ไม่ได้ทําให้ความจริงกลายเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมหรือเป็นสิ่งเลว
57 ข้อใดถูกต้องตามแนวคิดของ Kant
(1) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิดเสมอ
(2) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิด ถ้าตนเองเดือดร้อน
(3) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิด ถ้าทําให้คนอื่นเดือดร้อน
(4) การโกหกเป็นการกระทําที่ผิด ถ้าทําให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 56 ประกอบ
58 อาจารย์ที่เข้าสอนและเลิกตรงเวลาเป็นคนมีหลักธรรมใด
(1) ขันติ
(2) โสรัจจะ
(3) สัจจะ
(4) อิทธิบาท 4
ตอบ 3 หน้า 194 195 สัจจะ หมายถึง ความจริงใจซึ่งเป็นลักษณะของความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาทั้งต่อบุคคล ต่อกาลเวลา และต่อหน้าที่การงาน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
59 ใครมีหลักธรรม “ขันติ”
(1) ยุทธ์ อดตาหลับขับตานอน เพื่อทํารายงานที่สมบูรณ์ส่งอาจารย์
(2) กบ ยอมรับการฉีดยาและให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาลเป็นอย่างดี
(3) จํา สามารถรับมือกับวาจาและท่าทีของโบว์ด้วยความสงบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 189 – 191 ขันติ หมายถึง ความอดทนซึ่งเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจสามารถทนทานต่อเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ และสามารถบังคับกายกับวาจาให้อยู่ในอํานาจได้ด้วย เช่น ความอดทนต่อความทุกข์เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข, ความอดทนต่อความลําบากเพื่อให้ได้มาซึ่งความสบาย ความอดทนต่อสิ่งที่กวนใจเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นคนดี เป็นต้น
60 ใครมีหลักธรรม “สัจจะ”
(1) ครูบ้านจริงจังกับการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าภาควิชาปรัชญา
(2) ครูศรีเข้าสอนและเลิกสอนตรงเวลาเสมอ
(3) ครูพิศจริงใจกับเพื่อนเสมอ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ
61 คนที่มีลักษณะตรงกับสุภาษิตว่า “ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ” เป็นคนลักษณะใด
(1) มีโสรัจจะ แต่ขาดสัจจะ
(2) มีโสรัจจะ แต่ขาดขันติ
(3) ขาดทั้งโสรัจจะและสัจจะ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 192 193, (ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ) โสรัจจะ หมายถึง ความสงบเสงี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นความมีปกติอันดีของกาย วาจา และใจ ไม่แสดงอาการไม่ดี หรือไม่งามผิดปกติ เมื่อได้รับความตรากตรําลําบากหรือเมื่อได้รับความเจ็บใจ โดยโสรัจจะเป็นธรรมคู่กับขันติ (ความอดทน) ซึ่งบุคคลที่ยึดธรรมทั้งสองนี้เป็นแนวปฏิบัติจะถือได้ว่าเป็นคนมีมารยาทงาม(ปากปราศรัยใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย)
62 “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” เป็นคนขาดหลักสัปปุริสธรรมข้อใด
(1) ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
(2) ความเป็นผู้รู้จักผล
(3) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
(4) ความเป็นผู้รู้จักบุคคล
ตอบ 3 หน้า 198 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักกําหนดคาดคะเนได้อย่างเหมาะสมพอเหมาะพอควรพอดีในทุกเรื่อง ซึ่งผู้ที่ขาดหลักธรรมข้อนี้จะมีลักษณะตามสุภาษิตที่ว่า “เสียงเท่าฟ้า หน้าเท่ากลอง” (เสียงดังมาก)
63 ถ้านักศึกษาต้องการพัฒนาปัญญาให้งอกงาม ควรปฏิบัติตามหลักธรรมใด
(1) ขันติ
(2) อิทธิบาท 4
(3) วุฒิธรรม
(4) สมชีวิธรรม
ตอบ 3 หน้า 207 หลักวุฒิธรรม คือ หลักการสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา ซึ่งมีข้อพึงปฏิบัติอยู่ 4 ประการดังนี้
1 หมั่นเสวนาคบหากับท่านผู้รู้ ผู้มีภูมิธรรม
2 เอาใจใส่สดับตรับฟัง แสวงหาความรู้จริง
3 ได้รู้ได้เห็นได้ฟังสิ่งใดแล้ว รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง
4 นําสิ่งที่ได้เล่าเรียน รับฟัง และตริตรองแล้วไปปฏิบัติด้วยตนเอง
64 ชาวกรีกโบราณมีทัศนะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับรัฐอย่างไร
(1) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐโดยธรรมชาติ
(2) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐก็ต่อเมื่อให้ความยินยอม
(3) มนุษย์เป็นสมาชิกของรัฐเพราะมนุษย์มีบาป
(4) มนุษย์จําเป็นต้องมีรัฐเพราะกิจกรรมการผลิต
ตอบ 1 หน้า 244, 247 นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ เห็นว่า รัฐเป็นสิ่งจําเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์เพราะความยุติธรรมสําหรับมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคมเพื่อมีชีวิตที่ดีสามารถรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติและสามารถสร้างงานศิลปะของมนุษย์
65 นักปรัชญาคนใดถือว่าระบบเศรษฐกิจเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมของคนในรัฐ
(1) เพลโต
(2) เซนต์ ออกัสติน
(3) คาร์ล มาร์กซ์
(4) จอห์น ล็อค
ตอบ 3 หน้า 259 คาร์ล มาร์กซ์ ถือว่า ระบบเศรษฐกิจเป็นมาตรการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมของคนในรัฐออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และฝ่ายผู้ใช้แรงงานการผลิตแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
66 นักปรัชญาคนใดถือว่าการตัดสินใจรักพระเจ้าหรือไม่ เป็นมาตรการแบ่งแยกคนในรัฐ
(1) เพลโต
(2) เซนต์ ออกัสติน
(3) คาร์ล มาร์กซ์
(4) จอห์น ล็อค
ตอบ 2 หน้า 250 เซนต์ ออกัสติน ถือว่าการตัดสินใจรักหรือไม่รักพระเจ้าเป็นมาตรการแบ่งแยกคนในรัฐออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รักพระเจ้า และกลุ่มที่ปฏิเสธพระเจ้า โดยกลุ่มที่รักพระเจ้า จะเป็นพลเมืองของนครแห่งพระเจ้า ส่วนรัฐที่ไม่นับถือพระเจ้าก็ไม่ต่างอะไรจากซ่องโจร และ ถือเป็นบาปติดตัวของผู้ที่เกิดในรัฐนั้นมาแต่แรกเกิด ดังนั้นรัฐที่ดีและสามารถให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนได้ต้องเป็นรัฐที่นับถือพระเจ้า และอยู่ในความดูแลควบคุมของศาสนจักร
67 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถให้ความปลอดภัย และเสถียรภาพแก่คนในรัฐ
(1) จอห์น ล็อค
(2) โธมัส ฮอบส์
(3) รุสโซ
(4) คาร์ล มาร์กซ์
ตอบ 2 หน้า 253 โธมัส ฮอบส์ มีทัศนะว่า โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์ไม่มีสังคมไม่มีรัฐ แต่เมื่อต้องเผชิญกับการต่อสู้กับสภาพที่เลวร้ายและความหวาดกลัว จึงต้องตกลงกันระหว่างมนุษย์ เพื่อจัดตั้งรัฐและสังคมขึ้นเพื่อผลประโยชน์ คือ เสถียรภาพและไม่ต้องหวาดกลัวอีกต่อไป ดังนั้นรัฐที่ดีจะต้องสามารถให้ความปลอดภัยและเสถียรภาพแก่คนในรัฐได้
68 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้มนุษย์สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) เซนต์ ออกัสติน
(4) มาเคียเวลลี่
ตอบ 2 หน้า 248 249 อริสโตเติล มีทัศนะว่า สังคมและรัฐที่ดี คือ สังคมและรัฐที่สามารถทําให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
1 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม สามารถดําเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล
2 ชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา สามารถดําเนินชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะ
69 นักปรัชญาคนใดมีทัศนะว่ารัฐที่ดีต้องสามารถทําให้บุคคลทํางานเหมาะสมกับธรรมชาติของตน
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) เซนต์ ออกัสติน
(4) มาเคียเวลลี่
ตอบ 1 หน้า 246 – 247 เพลโต มีทัศนะว่า มนุษย์ในสังคมมี 3 ประเภท คือ ราชาปราชญ์ ทหารและคนงาน ถ้าคนทั้ง 3 ประเภทของสังคมสามารถทําหน้าที่ที่เหมาะสมที่สุดสําหรับเขา เมื่อนั้น ความยุติธรรมก็จะปรากฏขึ้นในสังคมนั้น และสังคมดังกล่าวย่อมเป็นสังคมที่ดีที่สุดสําหรับชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์ ดังนั้นรัฐที่ดีจะต้องสามารถทําให้บุคคลทํางานเหมาะสมกับธรรมชาติของตน
70 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของรุสโซ
(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง
(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว
(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 256 รุสโซ เห็นว่า วิถีชีวิตมนุษย์สมัยดึกดําบรรพ์แม้จะเป็นชีวิตที่ค่อนข้างลําบากแต่ก็เป็นชีวิตที่มีความสุข เพราะเป็นชีวิตที่อิสระ มีความเรียบง่าย และมนุษย์ได้กระทําตาม ความปรารถนาของตน รวมทั้งมนุษย์ยังมีคุณธรรมพื้นฐานง่าย ๆ คือ การไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับเพื่อนมนุษย์หรือการไม่ทําให้ผู้อื่นเดือดร้อน
71 ชีวิตมนุษย์ก่อนอยู่ในรัฐเป็นอย่างไรในทัศนะของฮอบส์
(1) มีความสุขสบายดีทุกอย่าง
(2) ต้องเผชิญกับการต่อสู้และความหวาดกลัว
(3) มีสิทธิตามธรรมชาติ
(4) มีความเรียบง่ายและเป็นอิสระ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 67 ประกอบ
72 ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาของเพลโต
(1) ทุกคนสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ
(2) ผู้ใช้แรงงานสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ
(3) ทหารสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ
(4) ผู้ปกครองประเทศสามารถเข้าถึงความจริงในโลกของแบบ
ตอบ 4 หน้า 270 271 ทฤษฎีการศึกษาของเพลโตเป็นแบบจิตนิยม เพราะมุ่งเน้นหนักการรู้ความจริงเชิงนามธรรม คือความจริงในโลกแห่งแบบมากกว่าการรับรู้ในเรื่องวัตถุและปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยบุคคลที่จะเป็นราชาปราชญ์ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองประเทศเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงความจริงในโลกแห่งแบบได้ เพราะเป็นบุคคลที่มีปัญญาอย่างยิ่ง
73 วิชาใดจัดว่าเป็นวิชาสูงสุดที่สามารถวัดได้ว่าผู้สามารถเรียนได้เป็นคนมีจิตภาคเหตุผลเด่น
(1) พลศึกษา
(2) ดนตรี
(3) คณิตศาสตร์
(4) อภิปรัชญา
ตอบ 4 หน้า 270 เพลโต เห็นว่ารูปแบบการศึกษาจะต้องเริ่มต้นด้วยการคัดเลือกเด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์มาฝึกกีฬา ต่อมาจึงเรียนการอ่านเขียนและเรียนคณิตศาสตร์ พออายุประมาณ 20 ปี ผู้ที่เหมาะสม จะได้เรียนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และจวบจนอายุ 30 ปี ผู้ที่เหมาะสมจะได้เรียนอภิปรัชญาซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีจิตภาคเหตุผลเด่นและเหมาะสมที่จะเป็นราชาปราชญ์
74 ในตอนเริ่มการศึกษาควรให้เด็กอ่านหนังสือเล่มใดในทัศนะของรุสโซ
(1) หนังสือเกี่ยวกับพลศึกษา
(2) คัมภีร์ไบเบิล
(3) หนังสือปรัชญา
(4) การผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ
ตอบ 4 หน้า 275 276 รุสโซ เห็นว่า การศึกษาที่ถูกต้องควรเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเป็นอิสระและปลอดอิทธิพลทางความคิดจากสังคม ดังนั้นการศึกษาในขั้นเริ่มแรกสําหรับเด็กก็คือ การเปิดโอกาส ให้เด็กมีประสบการณ์หรือให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก มิใช่การเรียนรู้โดยการอ่านหนังสือ ยกเว้นการอ่านหนังสือเรื่องการผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ
75 ในตอนเริ่มการศึกษาควรให้เด็กอ่านหนังสือเล่มใดในทัศนะของ เซนต์ ออกัสติน
(1) หนังสือเกี่ยวกับพลศึกษา
(2) คัมภีร์ไบเบิล
(3) หนังสือปรัชญา
(4) การผจญภัยของโรบินสัน ครูโซ
ตอบ 2 หน้า 273 เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine) ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ
1 ระดับเริ่มแรก เป็นการศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มงวดและบังคับให้เชื่อโดยยังไม่ใช้เหตุผล เช่น การอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก
2 ระดับก้าวหน้า เป็นการศึกษา 2 วิชาสําคัญ คือ เทววิทยาและปรัชญา ซึ่งเป็นการศึกษาแบบใช้เหตุผลและการพิสูจน์ให้เห็นจริงด้วยตนเองว่าทําไมความเชื่อและศรัทธาในขั้นเริ่มแรกจึงถูกต้อง
76 การจัดการศึกษาควรให้หน่วยงานใดรับผิดชอบ ในทัศนะของเซนต์ ออกัสติน
(1) รัฐ
(2) องค์กรเอกชน
(3) องค์กรการกุศล
(4) วัด
ตอบ 4 หน้า 272 273 เป้าหมายการศึกษาของเซนต์ ออกัสติน นั้นจะสัมพันธ์กับทัศนะทางศาสนาของเขา กล่าวคือ เขาเห็นว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษา ก็คือ การกลับใจ (Conversion) ไปรัก พระเจ้า และการสํานึบาป (Repentance) ของตนเองที่หันเหไปจากพระเจ้า ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ จะทําให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริง ดังนั้นหน่วยงานที่จะช่วยให้มนุษย์บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ก็คือ วัดหรือศาสนจักรนั่นเอง
77 วิธีการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามปรัชญาปฏิบัตินิยม คือวิธีใด
(1) เรียนโดยลงมือปฏิบัติจริง
(2) เรียนโดยใช้เหตุผลพิสูจน์ความเชื่อ
(3) เรียนเพื่อเข้าใจตนเอง
(4) เรียนเพื่อสํานึกถึงสิทธิของตนเอง
ตอบ 1 หน้า 277 – 278 ลัทธิปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาที่ยึดถือในประสิทธิภาพทางการปฏิบัติหรือผลทางการปฏิบัติเป็นมาตรฐานสําหรับวัดความถูกต้อง ซึ่งเป้าหมายของการศึกษา คือ การมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้พร้อมจะแก้ปัญหาของตนด้วยตนเอง ดังนั้นความรู้ที่แท้จริงต้อง เกิดจากการทดลองปฏิบัติหรือการลงมือปฏิบัติจริง มิใช่มุ่งที่การเรียนรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น
78 ลัทธิปฏิบัตินิยมปรารถนาจะเห็นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง
(2) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง
(3) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม
(4) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา
ตอบ 4 หน้า 277, 283 ปรัชญาการศึกษาของลัทธิปฏิบัตินิยม คือ การสร้างให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา ดังนั้นการศึกษาต้องมุ่งให้เกิดผลที่ปฏิบัติได้ ไม่ใช่มุ่งการเรียนรู้แต่ทฤษฎีเท่านั้น
79 บุคคลใดมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองในทัศนะของเพลโต
(1) คนมีพละกําลังมาก
(2) คนมีความกล้าหาญมาก
(3) คนมีความศรัทธาในพระเจ้าอย่างยิ่ง
(4) คนมีปัญญาอย่างยิ่ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 72 ประกอบ
80 ในทัศนะของจอห์น สจ๊วต มิลล์ การกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือการกระทําชนิดใด
(1) การกระทําส่วนตัวแต่มีผลกระทบต่อคนอื่น
(2) การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อคนอื่น
(3) การกระทําที่มีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ
(4) ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 หน้า 258, 321 จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mil) สนับสนุนการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเต็มที่ โดยการกระทําที่รัฐไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ คือ การกระทําส่วนตัวที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ส่วนการกระทําที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นนั้นรัฐสามารถเข้าไปก้าวก่ายควบคุมได้
81 ข้อใดถูกต้องตามทัศนะของ “William Godwin”
(1) สังคมที่ดีคือสังคมที่เกิดจากการรวมตัวด้วยความรักและความเข้าใจ
(2) สังคมที่ดีคือสังคมที่สมาชิกอุทิศตนเพื่อรัฐ
(3) สังคมที่ดีคือสังคมที่สมาชิกมอบให้คณะบุคคลทําหน้าที่บริหาร
(4) ไม่ควรมีสังคม
ตอบ 4 หน้า 259 260 วิลเลียม ก๊อดวิน (William Godwin) เป็นนักคิดในกลุ่มอนาธิปไตย (Anarchism)ที่มีทัศนะว่า องค์กรทุกรูปแบบโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งสิ้น สังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐและได้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น
82 “General Will” ของรุสโซมีจุดมุ่งหมายเพื่อสิ่งใด
(1) ผลประโยชน์ของบุคคล
(2) ผลประโยชน์ของบุคคลและเพื่อนพ้อง
(3) ผลประโยชน์ของคนทั้งสังคม
(4) ผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ
ตอบ 3 หน้า 256 257 ในทัศนะของรุสโซนั้น อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนเพราะสังคมเกิดจากเจตจํานงร่วม (General Will) ของมนุษย์ ดังนั้นผู้ปกครองกับพลเมืองก็คือ คน ๆ เดียวกัน แต่มองคนละด้านเท่านั้น เมื่อสังคมเกิดเป็นองค์กรร่วมหรือเป็นเอกภาพ เจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่มต้องหมดไป เหลือแต่เจตจํานงร่วมอันเป็นเจตจํานงเพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติหรือเพื่อคนทั้งสังคม
83 ปัญหาปรัชญาการศึกษาของตะวันตกเริ่มจากนักปรัชญาคนใด
(1) Thales
(2) Sophists
(3) Plato
(4) Epicurus
ตอบ 1 หน้า 267 ปัญหาปรัชญาการศึกษาของตะวันตกเริ่มต้นจากทาเลส (Thales) นักปรัชญาคนแรกของกรีก ถึงแม้จะไม่ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษา แต่ก็ได้ทําหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม
84 จุดหมายของการศึกษาของ Sophists คืออะไร
(1) ผลประโยชน์และความสําเร็จ
(2) การเข้าถึงสัจธรรม
(3) การสํานึกบาป
(4) การแก้ปัญหาเป็น
ตอบ 1 หน้า 268 โซฟิสต์ (Sophists) ถือเป็นนักปรัชญากลุ่มแรกที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึษามิใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดวัฒนธรรมเท่านั้น แต่การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความสําเร็จในชีวิต และสามารถได้รับผลประโยชน์ตอบแทน โดยวิชาที่กลุ่มโซฟิสต์ส่งเสริมให้เรียน ก็คือ ศิลปะการพูดในที่ชุมชน
85 จุดหมายของการศึกษาของ Socrates คืออะไร
(1) ผลประโยชน์และความสําเร็จ
(2) การเข้าถึงสัจธรรม
(3) การสํานึกบาป
(4) การแก้ปัญหาเป็น
ตอบ 2 หน้า 268 269 โซเครตีส (Socrates) มีทัศนะว่า การศึกษามิใช่กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์และความสําเร็จเฉพาะตนเท่านั้น แต่การศึกษาจะต้องมี จุดมุ่งหมายเพื่อการค้นพบสัจธรรมหรือความจริงเกี่ยวกับคุณธรรม โดยวิธีการศึกษาที่จะนําไปสู่การค้นพบดังกล่าวได้ก็คือ การสนทนาถกเถียง และการซักถาม
86 ในการจัดการศึกษาในระดับก้าวหน้าของเซนต์ ออกัสติน ต้องจัดการศึกษาแบบใด
(1) ใช้วิธีสอนแบบเข้มงวด และบังคับให้ผู้เรียนเชื่อ
(2) เน้นให้ผู้เรียนใช้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ศรัทธา
(3) บังคับให้ผู้เรียนเชื่อด้วยเหตุผล
(4) เน้นให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 75 ประกอบ
87 ตามทัศนะของรุสโซการให้การศึกษาแก่เด็กเล็กควรทําอย่างไร
(1) สังคมต้องดูแลอย่างเข้มงวด
(2) ให้เด็กมีโอกาสอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม
(3) ให้เรียนรู้ระบบต่าง ๆ ของสังคม
(4) ให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองให้มาก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 74 ประกอบ
88 รุสโซปรารถนาจะเน้นผู้เรียนมีลักษณะอย่างไรในระดับการศึกษาสูงสุด
(1) มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตัวเอง
(2) มีจินตนาการและแรงบันดาลใจสูง
(3) มีจิตใจมุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม
(4) เป็นบุคคลที่พร้อมจะแก้ปัญหา
ตอบ 1 หน้า 275, (คําบรรยาย) รุสโซ เห็นว่า การสอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเองตั้งแต่เริ่มแรกย่อมเป็นผลดี เพราะเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้สึกพอใจในตนเอง ดังนั้นในระดับการศึกษาขั้นสูงสุด รุสโซจึงปรารถนาจะเน้นผู้เรียนให้มีความเป็นตัวของตัวเองและพอใจในตนเอง
89 นักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม เรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจสิ่งใด
(1) ตัวเอง
(2) สังคม
(3) รัฐ
(4) ศาสนา
ตอบ 1 หน้า 279, 284, (คําบรรยาย) ปรัชญาอัตถิภาวนิยมเป็นปรัชญาที่เชื่อในความสําคัญของปัจเจกบุคคล และเชื่อว่าเป้าหมายของการศึกษา คือ การเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นอิสระ และประสบการณ์ที่แท้จริงของผู้เรียน ดังนั้นนักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยมจึงเรียกร้องให้บุคคลหันมาสนใจตัวเอง
90 ข้อใดไม่จัดเป็นปรัชญาสังคม
(1) เสรีภาพมีความหมายอย่างไร
(2) เสรีภาพควรถูกจํากัดหรือไม่
(3) ควรใช้หลักการใดจํากัดเสรีภาพ
(4) สังคมไทยปัจจุบันยอมรับเสรีภาพของบุคคลมากขึ้น
ตอบ 4 หน้า 313 ปรัชญาสังคม สนใจศึกษาปัญหาพื้นฐาน 2 ปัญหา คือ
1 ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและความเข้าใจในศัพท์ทางสังคมที่ใช้กันในทฤษฎีทางสังคม เช่น เสรีภาพ ความยุติธรรม ความเสมอภาค ฯลฯ
2 ปัญหาของการสร้างมาตรการหรือการสร้างหลักการทางสังคม เช่น หลักการจํากัดเสรีภาพของบุคคล หลักการแบ่งปันหรือจัดสรรอย่างยุติธรรม ฯลฯ
91 “เสรีภาพไม่ควรมีขอบเขต” เป็นแนวคิดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Patrick Devlin
(3) John Locke
(4) Anarchists
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80 ประกอบ
92 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์หลักการใด มีความเห็นแตกต่างจากหลักการอื่น ๆ ในเรื่องความเป็นมนุษย์
(1) หลักการแบ่งปันเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์
(2) หลักการแบ่งปันตามความเหมาะสม
(3) หลักการแบ่งปันตามความพยายาม
(4) หลักการแบ่งปันตามแรงงาน
ตอบ 1 หน้า 332 338 หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์มีความเห็นที่แตกต่างจากหลักการอื่น ๆ เพราะการแบ่งปันผลประโยชน์ประเภทนี้จะแบ่งให้กับมนุษย์ ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ อายุ เพศ ความมานะพยายาม หรือความเหมาะสมใด ๆ ทั้งสิ้น
93 “ควรจํากัดเสรีภาพแม้แต่ความประพฤติทางเพศ” เป็นแนวคิดของใคร
(1) John Stuart Mill
(2) Patrick Devlin
(3) John Locke
(4) Anarchists
ตอบ 2 หน้า 324 แพทริค เดฟลิน (Patrick Devlin) เป็นผู้สนับสนุนหลักการควบคุมการประพฤติทางเพศของบุคคล เนื่องจากการประพฤติทางเพศที่ผิดศีลธรรมจัดว่าเป็นสิ่งที่ทําลายสายใยทางศีลธรรม ดังนั้นรัฐจึงต้องมีสิทธิที่จะออกกฎหมายเพื่อควบคุมการประพฤติทางเพศ
94 สาเหตุที่สังคมต้องมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(1) ปกป้องประชาชนให้พ้นภัยจากสิ่งอันตราย
(2) ปกป้องศีลธรรมของประชาชน
(3) ปกป้องทรัพย์สินของประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้รัฐต้องออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คือ การป้องกันประชาชนให้รอดพ้นจากภัยอันตรายของยาเสพติด และช่วยปกป้องทรัพย์สินของผู้บริสุทธิ์ให้รอดพ้นจากผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งช่วยส่งเสริมศีลธรรมอันดีของคนในสังคม
95 “ห้ามรถทุกคันขับเร็วในเขตมหาวิทยาลัยรามคําแหง ยกเว้นรถพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่” เป็นกฎที่มีลักษณะอย่างไร
(1) จุดประสงค์ยุติธรรม
(2) จุดประสงค์ยุติธรรมและบังคับใช้อย่างยุติธรรม
(3) จุดประสงค์ไม่ยุติธรรม แต่บังคับใช้อย่างยุติธรรม
(4) จุดประสงค์ไม่ยุติธรรมและบังคับใช้อย่างไม่ยุติธรรม
ตอบ 2 หน้า 330 331 โดยทั่วไปกฎหมายต้องมีข้อความที่ระบุถึงกลุ่มคนที่กฎหมายนั้นต้องใช้บังคับและระบุถึงกลุ่มคนที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎหมายนั้น เช่น กฎหมายห้ามรถยนต์ใช้ความเร็ว เกิน 30 กม./ชม. ในเขตมหาวิทยาลัย ยกเว้นรถพยาบาลขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งการยกเว้นดังกล่าว ถือว่ามีความยุติธรรม ทั้งนี้เพราะรถพยาบาลมีความแตกต่างจากรถโดยทั่วไปที่จําเป็นต้องเร่งรีบนําคนป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล
96 ถ้าการแบ่งปันผลประโยชน์มีลักษณะเท่าเทียมกันเกินไป จะเกิดผลอย่างไร
(1) ทําให้ขาดการแข่งขัน
(2) ทําให้เกิดการเกียจคร้าน
(3) ถูกข้อ 1 และ 2
(4) ทําให้เกิดความยากจนอย่างเท่าเทียมกัน
ตอบ 3 หน้า 333 – 334 ข้อบกพร่องของหลักการของความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ คือ การขาดการแข่งขันและประชาชนในสังคมเกิดความเกียจคร้าน เนื่องจากทุกคนในสังคมไม่มีความปรารถนา ที่จะสร้างความร่ำรวยให้กับสังคม เพราะในที่สุดความร่ำรวยที่เขาสร้างขึ้นมาก็จะถูกฉกฉวยแบ่งปันไปให้ผู้อื่น
97 ปรัชญาประวัติศาสตร์ศึกษาสิ่งใดโดยตรง
(1) ความหมายของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
(3) วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 285 286 ปรัชญาประวัติศาสตร์ให้ความสําคัญกับการศึกษาใน 3 สิ่งต่อไปนี้
1 ความหมายของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
2 แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
3 วิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์
98 ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ มุ่งศึกษาปัญหาใด
(1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
(3) ความเป็นปรนัยของวิชาประวัติศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 287 – 289 ปรัชญาประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ หมายถึง ปรัชญาประวัติศาสตร์ที่สืบค้นถึงความหมายและแบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งปัญหาของปรัชญา เชิงวิเคราะห์นี้ แบ่งออกเป็น
1 แบบแผนของอดีต
2 ความหมายของประวัติศาสตร์
3 ความจําเป็นของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
99 ประวัติศาสตร์เชิงวิจารณ์ มุ่งศึกษาปัญหาโด
(1) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
(2) แบบแผนของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
(3) ความเป็นปรนัยของวิชาประวัติศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 287, 299 ปรัชญาประวัติศาสตร์เชิงวิจารณ์ หมายถึง ปรัชญาประวัติศาสตร์ที่สืบค้นถึงวิธีการค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์เพื่อตัดสินประเภทวิชาของประวัติศาสตร์ว่าสามารถเป็น วิชาประเภทเดียวกับวิทยาศาสตร์หรือไม่ ซึ่งปัญหาของปรัชญาเชิงวิจารณ์นี้ แบ่งออกได้เป็น
1 ปัญหาเรื่องการอธิบายทางประวัติศาสตร์
2 ปัญหาเรื่องปัจเจกบุคคลของประวัติศาสตร์
3 ปัญหาเรื่องความเป็นปรนัยของประวัติศาสตร์
100 การเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมเป็นผลของสาเหตุใดในทัศนะของมาร์กซ์
(1) ผลของการเปลี่ยนแปลงประเพณี
(2) ผลของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
(3) ผลของการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต
(4) ผลของการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
ตอบ 3 หน้า 293 – 296 มาร์กซ์ เชื่อว่า สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอันเป็นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต โดยยุคเริ่มต้นการผลิตของมนุษย์จะเป็นแบบทาส และพัฒนาเรื่อยมาจนไปสู่จุดหมายการผลิต แบบสังคมคอมมิวนิสต์ที่ปราศจากชนชั้นและไม่มีการขูดรีด