การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา PCL 1101 การเมืองและการปกครองไทย

Advertisement

คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 การปกครองในสมัยอยุธยามีการปกครองในลักษณะเดียวกับในสมัยสุโขทัย ยกเว้นเรื่องใด

(1) ระบบขุนนาง เจ้าขุนมูลนาย

(2) การค้าระหว่างประเทศ

(3) การกระจายอํานาจ

(4) การสืบทอดราชสมบัติ

(5) การปกครองแบบพ่อปกครองลูก

ตอบ 5 หน้า 25, 28 – 29 ระบบการปกครองในสมัยอยุธยามีลักษณะเช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัยคือ เป็นระบบราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่กษัตริย์เพียง พระองค์เดียว แต่ที่ต่างกันคือ กษัตริย์สุโขทัยปกครองประชาชนในลักษณะพ่อปกครองลูกส่วนกษัตริย์อยุธยามีลักษณะการปกครองแบบนายปกครองบ่าวหรือเจ้าปกครองข้า

2 สมัยสุโขทัยมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ทางด้านการค้านอกจากนั้นยังมีการค้าขาย ติดต่อกับ “ต่างประเทศ ประเทศใด

(1) มลายู

(2) อินเดีย

(3) ศรีลังกา

(4) เปอร์เซีย

(5) อิสราเอล

ตอบ 1 หน้า 28 ในสมัยสุโขทัยนอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือแล้วก็ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน มลายู ลังกา และมอญ โดยมีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี “จกอบ” หรือภาษีศุลกากร เพื่อต้องการให้พ่อค้ามีความสนใจในการทําการค้า

3 “การปกครองแบบหัวเมือง” ในสมัยสุโขทัย มีความหมายตรงกับชื่อใด

(1) การปกครองส่วนกลาง

(2) การปกครองส่วนภูมิภาค

(3) การปกครองส่วนท้องถิ่น

(4) การปกครองแบบอิสระ

(5) การปกครองแบบกระจายอํานาจ

ตอบ 2 หน้า 26 การปกครองแบบหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยนั้น ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง และแบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ

1 หัวเมืองชั้นใน 2 หัวเมืองชั้นนอก 3 หัวเมืองประเทศราช

 

4 “ราชวงศ์อู่ทอง” มีความสําคัญในฐานะผู้ปกครองของไทยในสมัยใด

(1) อาณาจักรทราวดี

(2) อาณาจักรสุโขทัย

(3) อาณาจักรศรีอยุธยา

(4) อาณาจักรธนบุรี

(5) อาณาจักรรัตนโกสินทร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) อาณาจักรศรีอยุธยามราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปกครอง 5 ราชวงศ์ ดังนี้คือ

1 ราชวงศ์อู่ทอง

2 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

3 ราชวงศ์สุโขทัย

4 ราชวงศ์ปราสาททอง

5 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

5 การปกครองหัวเมืองในสมัยสุโขทัย  ศูนย์กลางของอํานาจในการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่ใด

(1) เมืองเอก

(2) เมืองหลวง

(3) เมืองชั้นใน

(4) เมืองชั้นนอก

(5) เมืองประเทศราช

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3 ประกอบ

6 การถวายฎีกาหรือร้องทุกข์ของราษฎรโดยตรงกับพระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ ของไทยในสมัยใด

(1) สมัยก่อนสุโขทัย

(2) สมัยสุโขทัย

(3) สมัยกรุงศรีอยุธยา

(4) สมัยกรุงธนบุรี

(5) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 27 ราษฎรในสมัยสุโขทัยมีสิทธิถวายฎีกาหรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุน โดยในสมัยพ่อขุนรามคําแหงได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าใครต้องการถวายฎีกา ก็ไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์ก็จะออกมาไต่สวนและชําระความให้ ซึ่งโทษสําหรับผู้กระทําผิดในสมัยสุโขทัย ได้แก่ การเฆี่ยนตี กักขัง และปรับ โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีโทษประหารชีวิต

7 พระมหากษัตริย์ที่ทรงกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่ 1 ตรงกับพระมหากษัตริย์ พระองค์ใด

(1) พระมหินทราธิราช

(2) พระนารายณ์มหาราช

(3) พระนเรศวรมหาราช

(4) พระมหาธรรมราชา

(5) พระเจ้าตากสิน

ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ไทยเสียกรุงให้กับพม่า 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112ในสมัยพระมหินทราธิราช โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปี พ.ศ. 2127 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปีเดียวกัน

8 การยกเลิกตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม ตรงกับสมัยรัชกาลที่เท่าใด

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 5

(3) รัชกาลที่ 7

(4) รัชกาลที่ 9

(5) สมัยกรุงธนบุรี

ตอบ 2 หน้า 32 33 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังคงใช้รูปการปกครองแบบกรุงศรีอยุธยาอยู่เพิ่งจะมีการปฏิรูประบบราชการในทุก ๆ ด้านเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงยกเลิก จตุสดมภ์และตําแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตําแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยแบ่งการ บริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละ กระทรวง ซึ่งเสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกันและประชุมร่วมกันเป็น “เสนาบดีสภา” กระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง เช่น เมืองหรือนครบาล จัดการเกี่ยวกับเรื่องตํารวจและราชทัณฑ์, ยุติธรรม จัดการเรื่องชําระคดีและการศาล ฯลฯ

9 “ดุสิตธานี” ถูกกําหนดให้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วยจุดประสงค์ใด

(1) ศูนย์กลางของอํานาจ

(2) เมืองท่องเที่ยว

(3) ตํานานแห่งราชวงศ์

(4) ทดลองประชาธิปไตย

(5) ต้นแบบของโรงแรมไทยในปัจจุบัน

ตอบ 4 หน้า 43, 49 – 50 (S) รัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งเมืองสมมุติ “ดุสิตธานี” ขึ้นในบริเวณวังพญาไทมีจุดประสงค์เพื่อทดลองรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดให้มี “ธรรมนูญการปกครองแบบนคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง กําหนดให้มีพรรคการเมือง 2 พรรค มีการเลือกตั้งนคราภิบาลหรือนายกเทศมนตรี และมีสภาการเมืองแบบประเทศประชาธิปไตย

10 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน ได้แก่

(1) นายอําพล กิตติอําพล

(2) นายวิษณุ เครืองาม

(3) นายพรเพชร วิชิตชลชัย

(4) นายพีรศักดิ์ พอจิต

(5) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

ตอบ 3 (ข่าว) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย และนายพีรศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธานฯ คนที่ 1 และ 2

11 “คณะราษฎร” เป็นคณะที่มีความสําคัญของไทยเนื่องจาก

(1) เป็นคณะกู้ชาติภายหลังการรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2549

(2) คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย พ.ศ. 2475

(3) คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พ.ศ. 2534

(4) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

(5) คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2553

ตอบ 2 หน้า 43 – 44 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มทหารและพลเรือนซึ่งเรียกชื่อกลุ่มว่า“คณะราษฎร” (คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ภายใต้การนําของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ก่อการปฏิวัติยึดอํานาจการปกครองจากรัชกาลที่ 7 แล้วทําการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

12 “กบฏเลี้ยวเมืองแพร่” เป็นกบฏที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่เท่าใดของไทย

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 2

(3) รัชกาลที่ 3

(4) รัชกาลที่ 4

(5) รัชกาลที่ 5

ตอบ 5 (คําบรรยาย) กบฏที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453) ได้แก่

1 กบฎ ร.ศ. 102 (พ.ศ. 2426)

2 กบฎผีบุญหรือกบฏผู้มีบุญ (ทางภาคอีสาน) พ.ศ. 2444

3 กบฏเงี่ยวเมืองแพร่ (ทางภาคเหนือ) พ.ศ. 2445

4 กบฏแขก (ทางภาคใต้) พ.ศ. 2445

13 เสนาบดีกระทรวงทุกกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีฐานะเท่าเทียมกัน และเมื่อมีการประชุมร่วมกันเรียกว่า

(1) เสนาบดีกระทรวง

(2) เสนาบดีทบวง

(3) เสนาบดีสภา

(4) เสนาบดีรัฐสภา

(5) เสนาบดีกระทรวงรัฐสภา

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8 ประกอบ

14 วันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีความสําคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

(1) วันประกาศเลิกทาส

(2) วันที่ประเทศไทยได้เอกราช

(3) วันประกาศยกเลิกระบบเทศาภิบาล

(4) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

(5) วันที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งแรก

ตอบ 4 หน้า 83 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย (พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ดังนั้นจึงเกิดขึ้นหลังจากเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 เพียง 3 วันเท่านั้น โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้กําหนดให้รัฐสภามีสภาเดียวเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้แทนราษฎรชั่วคราวที่มาจากการแต่งตั้งจํานวน 70 คน

15 การให้สมญานามว่า “รัฐบาลหอย” ควรตรงกับนายกรัฐมนตรีท่านใด

(1) นายควง อภัยวงศ์

(2) นายชวน หลีกภัย

(3) นายบรรหาร ศิลปอาชา

(4) นายทวี บุณยเกตุ

(5) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ตอบ 5 (คําบรรยาย) นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในแต่ละยุคมักจะถูกตั้งฉายาตามบุคลิกหรือตามผลงานของผู้นําแต่ละคน เช่น จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” หมายถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, “รัฐบาลหอย” หมายถึง รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร, “รัฐบาลลืมเปลือกหอย” หมายถึง รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน, “มีดโกนอาบน้ําผึ้ง” หมายถึง นายชวน หลีกภัย, “รัฐบาลขิงแก่” หมายถึง รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, “ดีแต่พูด” หมายถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฯลฯ

16 คําใดในภาษาอังกฤษต่อไปนี้ที่ตรงกับความหมายของ “การปฏิรูป”

(1) Reform

(2) Revolution

(3) Reconstruction

(4) Retire

(5) Rebellion

ตอบ 1 หน้า 12 (S), (คําบรรยาย) Reform หมายถึง การปฏิรูป (การเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป) เช่น การปฏิรูปการเมือง (Political Reform), การปฏิรูปสังคม(Social Reform), การปฏิรูปที่ดิน (Land Reform) เป็นต้น

17 บุคคลใดต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเค้าโครงเศรษฐกิจ “สมุดปกเหลือง”

(1) นายปรีดี พนมยงค์

(2) ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) จอมพลถนอม กิตติขจร

(5) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

ตอบ 1 หน้า 46, 59 – 60 (S) คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)จัดทําเค้าโครงเศรษฐกิจซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สมุดปกเหลือง” เพื่อดําเนินการด้านเศรษฐกิจของชาติให้เป็นไปตามอุดมการณ์ที่คณะราษฎรประกาศไว้ในวันยึดอํานาจ

18 สมาคมคณะราษฎร มีหลักการหรือแนวทางเพื่อจุดมุ่งหมายใด

(1) พรรคการเมือง

(2) กลุ่มผลประโยชน์

(3) องค์กรประชาชน

(4) ต่อต้านมวลชน

(5) รวบรวมความต้องการของสื่อมวลชน

ตอบ 1 หน้า 288 พรรคการเมืองไทยพรรคแรกทางพฤตินัย คือ “สมาคมคณะราษฎร” ที่จัดตั้งขึ้นโดย“คณะราษฎร” คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แม้จะไม่ระบุว่าเป็นพรรคการเมือง แต่ก็มี เจตจํานง/มีหลักการหรือแนวทางเช่นเดียวกับพรรคการเมืองโดยทั่วไป คือ ประสงค์จะเข้ารับผิดชอบ ในการบริหารประเทศ ดังนั้นคณะราษฎรจึงมีลักษณะเป็นพรรคการเมือง ส่วนพรรคการเมืองไทยพรรคแรกตามนิตินัย คือ “พรรคก้าวหน้า” ซึ่งริเริ่มจัดตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

19 พรรคการเมืองมีส่วนสําคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะ

(1) สร้างพลังให้กับอุดมการณ์

(2) ทําให้คนต่างถิ่นสามารถร่วมมือทางการเมืองได้

(3) อาจค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 287 พรรคการเมืองมีส่วนสําคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นที่สร้างพลังให้กับอุดมการณ์ เป็นที่ ๆ อาจค้นหาเสียงส่วนใหญ่ของมหาชน และเป็นสถาบันที่ทําให้ประชาชนต่างท้องถิ่นสามารถร่วมมือกันทางการเมืองได้

20 รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ และพลเอกสุจินดา คราประยูร

(2) นายพจน์ สารสิน, นายชวน หลีกภัย และนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

(3) นายปรีดี พนมยงค์, นายแนบ พหลโยธิน และจอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) นายชวน หลีกภัย และนายทวี บุณยเกตุ

(5) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ตอบ 1 หน้า 75 – 76 คณะรัฐประหารที่นําโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพร้อมผู้บัญชาการทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ (โดยเฉพาะพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการ ทหารบก) ในนามของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้เข้ายึดอํานาจจาก รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

21 แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใดต่อไปนี้

(1) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) จอมพลผิน ชุณหะวัณ

(4) พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

(5) จอมพลประภาส จารุเสถียร

ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

22 รัฐประหารปี พ.ศ. 2490 เป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มทหารใดต่อไปนี้

(1) ทหารบก

2) ทหารเรือ

(3) ทหารบกและทหารเรือ

(4) ทหารอากาศ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 64 รัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2490 นับเป็นความพยายามของทหารบกที่ต้องการเข้ามามีอํานาจทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งหลังจากหมดอํานาจลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็น ระยะที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพวกถูกจับในข้อหาอาชญากรสงคราม โดยระบบรัฐสภาเฟื่องฟูถึงขีดสุด และรัฐบาลเข้าออกตามวิถีทางรัฐสภา

23 รัฐบาลใดต่อไปนี้มีลักษณะของอํานาจการปกครองแบบ “พ่อขุนอุปถัมภ์”

(1) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(2) นายปรีดี พนมยงค์

(3) ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

(4) ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

(5) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 1 หน้า 69, 92, (คําบรรยาย) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ร่วมกันกับจอมพลถนอม กิตติขจร ทําการรัฐประหารในนาม “คณะปฏิวัติ” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 แล้วล้มรัฐธรรมนูญ ล้มสภาผู้แทนราษฎร ช้การปกครองแบบให้ความเป็นเอกแก่ฝ่ายบริหาร ด้วยการประกาศใช้ ธรรมนูญฯ 2502 ซึ่งถือเป็นรูปการปกครองแบบ “เผด็จการ” ที่มีลักษณะการใช้อํานาจแบบ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างพอขุนอุปถัมภ์ นั่นคือ นายกรัฐมนตรีมีอํานาจอย่างไม่จํากัดทั้งทางด้านการบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

24 จอมพล “ผ้าขาวม้าแดง” เป็นสมญานามของบุคคลใดต่อไปนี้

(1) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(2) จอมพลผิน ชุณหะวัณ

(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(4) พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

(5) พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15 ประกอบ

25 ระบบรัฐสภาครั้งแรกของไทยแบ่งออกเป็น

(1) สภาเดียว

(2) สภาคู่

(3) สภาคู่และสภาเดียว

(4) สภาสามัญ

(5) สภาเดียวและสภาสามัญ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

26 รัฐประหารวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองไทยที่เกี่ยวข้องกับบุคคลใดต่อไปนี้

(1) การร่วมกันระหว่างจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร

(2) การร่วมกันระหว่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) การร่วมกันระหว่างพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (4) การร่วมกันระหว่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพลเอกอาทิตย์ กําลังเอก

(5) การร่วมกันระหว่างพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ

27 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทางด้านการเมืองการปกครอง กล่าวได้ว่าเป็นช่วงของข้อใดต่อไปนี้

(1) ยุคทหารเบ่งบาน

(2) ยุคเผด็จการเบ่งบาน

(3) ยุคชาวสวนยางเบ่งบาน

(4) ยุคชาวนาเบ่งบาน

(5) ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน

ตอบ 5 หน้า 69 – 71, (คําบรรยาย) ยุคประชาธิปไตยเบ่งบานหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทางด้านการเมืองการปกครองนั้น พรรคการเมือง พลังนิสิตนักศึกษาและกลุ่มหลากหลายต่าง ๆ ตลอดจนสื่อมวลชนต่างก็มีเสรีภาพในการแสดงออกได้อย่างเต็มที่

28 คณะ รสช. ในปี พ.ศ. 2534 หมายถึงคณะใดต่อไปนี้

(1) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

(2) คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

(3) คณะรักษาความเรียบร้อยแห่งชาติ

(4) คณะรักษาความสงบความมั่นคงแห่งชาติ

(5) คณะรักษาชาติ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

29 สมาคมคณะราษฎร มีความหมายทียบกับสถาบันใดต่อไปนี้

(1) คณะรัฐมนตรี

(2) รัฐสภา

(3) รัฐธรรมนูญ

(4) พรรคการเมือง

(5) กลุ่มผลประโยชน์

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 18 ประกอบ

30 ข้อใดต่อไปนี้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันที่สุดระหว่างสมัยสุโขทัยกับสมัยอยุธยา (1) ระบบไพร่-ทาส

(2) ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) ระบบจตุสดมภ์

(4) ศาสนา

(5) การค้า

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1 ประกอบ

31 กฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศ ขอบเขตของรัฐ จะปรากฏอยู่ใน

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ประกาศกระทรวง

(5) รัฐธรรมนูญ

ตอบ 5 หน้า 81 รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกําหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ และหลักการในการปกครองประเทศ ขอบเขตของรัฐ การใช้อํานาจของผู้ปกครองหรือสถาบันการเมืองต่าง ๆ การสืบต่ออํานาจ ตลอดจนขอบเขตหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

32 10 ธันวาคม 2475 คือ

(1) วันปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง

(2) การรัฐประหารครั้งแรกของไทย

(3) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทย

(4) วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก

(5) วันสําคัญของการประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศ

ตอบ 4 หน้า 84 85 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญฯ 2475) เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2482 ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย”

33 ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 จะระบุไว้ว่า

(1) พระมหากษัตริย์จะทรงมีอํานาจสูงสุด

(2) พระมหากษัตริย์จะทรงเป็น Head of Government

(3) รัฐสภาจะเป็นรูปแบบสภาเดียว

(4) รัฐสภาจะเป็นรูปแบบสภาคู่

(5) คณะราษฎรจะเป็นผู้ที่มีอํานาจสูงสุดในการร่างรัฐธรรมนูญ

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

34 จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขุดแรกของไทย

(1) 70 คน

(2) 80 คน

(3) 90 คน

(4) 100 คน

(5) 500 คน

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14 ประกอบ

35 “คณะกรรมการราษฎร” หมายถึง

(1) สมาชิกรัฐสภา (ส.ส.)

(2) วุฒิสมาชิก (ส.ว.)

(3) คณะองคมนตรี 1

(4) นายกรัฐมนตรี

(5) คณะรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 83 – 85, 159 – 160 ธรรมนูญการปกครองฯ 2475 ได้เรียกตําแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารว่า“ประธานคณะกรรมการราษฎร” และเรียกคณะบริหารว่า “คณะกรรมการราษฎร” แต่ต่อมา นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯ 2475 เป็นต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปลี่ยนมาเรียกตําแหน่งดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรี” และ “คณะรัฐมนตรี” ตามลําดับ

36 การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก “สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” เกิดขึ้นเมื่อ

(1) 27 มิถุนายน 2475

(2) 10 ธันวาคม 2475

(3) 1 ตุลาคม 2483

(4) 3 ตุลาคม 2482

(5) 3 ธันวาคม 2485

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32 ประกอบ

37 รัฐธรรมนูญฉบับใดต่อไปนี้ที่เริ่มมีการใช้ระบบสภาคู่

(1) ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2475

(2) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475

(3) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489

(4) ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2490

(5) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2492

ตอบ 3 หน้า 86 87 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489 มีลักษณะสําคัญคือ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติแยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ “รัฐสภา” จากสภาเดียว (ตามรัฐธรรมนูญฯ 2475) ไปเป็นสภาคู่ (2 สภา) ได้แก่

1 สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยตรง

2 พฤฒิสภา (วุฒิสภา) ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมาโดยอ้อม

38 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่มีฉายาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุม”

(1) ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2490

(2) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2492

(3) ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2502

(4) ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2511

(5) ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495

ตอบ 1 หน้า 87 88 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 พ.ศ. 2490 มีฉายาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ทุ่ม” มีลักษณะพิเศษ คือ มี 2 สภาเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489 แต่ต่างกันที่สภาที่ 2 ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ 2489 เรียกว่า “พฤฒสภา” และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม แต่รัฐธรรมนูญฯ 2490 ได้เปลี่ยนมาเรียกว่า “วุฒิสภา” และสมาชิกมาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี

39 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่มีการระบุถึง “พฤฒสภา”

(1) ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475

(2) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489

(3) ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2590

(4) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2592

(5) ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38 ประกอบ

40 สภาปฏิรูปแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบันทําหน้าที่

(1) รัฐสภา

(2) วุฒิสภา

(3) สภาผู้แทนราษฎร

(4) ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 รัฐธรรมนูญฉบับก่อนฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 27 และ 31 กําหนดให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําแนวทางและ ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ

41 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่มีลักษณะของการให้อํานาจแก่ฝ่ายบริหารอย่างกว้างขวางมาก

(1) ฉบับที่ 3 ปี 2489

(2) ฉบับที่ 4 ปี 2490

(3) ฉบับที่ 5 ปี 2492

(4) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(5) ฉบับที่ 8 ปี 2511

ตอบ 4 หน้า 92 – 93, 71 (S) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (ธรรมนูญการปกครองฯ 2502) ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการมากที่สุดของไทย เพราะมีการให้อํานาจอย่างกว้างขวางมากแก่ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี ที่นอกจากจะมีอํานาจบริหารแล้วยังสามารถใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจตุลาการ ในบางกรณีได้ โดยระบุไว้ในมาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจสั่งการหรือกระทําการใด ๆ ได้ดังนั้นจึงถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ

42 รัฐธรรมนูญฉบับใดที่เรียกกันว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

(1) ฉบับที่ 1 ปี 2475

(2) ฉบับที่ 7 ปี 2502

(3) ฉบับที่ 10 ปี 2517

(4) ฉบับที่ 14 ปี 2534

(5) ฉบับที่ 16 ปี 2540

ตอบ 5 หน้า 100 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างและแสดงความคิดเห็นมากที่สุด จนได้รับสมญาว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 และถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

43 “ปิตุราชาธิปไตย” เป็นลักษณะการปกครองในสมัยใด

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) ธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์ สมัย ร.1 – 4

(5) รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัย ร.5 เป็นต้นมา

ตอบ 1 หน้า 41 (S), (คําบรรยาย) ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย คือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบ “ปิตุราชาธิปไตย” (บิดาปกครองบุตร) และธรรมราชา

44 “เทวราชา” คือรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) สุโขทัย

(2) อยุธยา

(3) ธนบุรี

(4) รัตนโกสินทร์ สมัย ร.1 – 4

(5) รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัย ร.5 เป็นต้นมา

ตอบ 2 หน้า 41 (S), (คําบรรยาย) สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบ “เทวราชา” (เทวาธิปไตย/เทวสิทธิ์) คือ รูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา

45 ข้อใดถูก

(1) พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชขึ้นไป โดยกําเนิดหรือแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดํารงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง

(2) พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป โดยกําเนิดหรือแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดํารงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง

(3) พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมราชวงศ์ขึ้นไป โดยกําเนิดหรือแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดํารงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง

(4) พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมหลวงขึ้นไป โดยกําเนิดหรือแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดํารงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 หน้า 148 149 รัฐธรรมนูญฯ 2475 บัญญัติว่า “พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกําเนิดหรือแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดํารงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง” หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ ไม่มีสิทธิทางการเมืองที่จะเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้งและดํารงตําแหน่งทางการเมือง

46 “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ

(1) การประชุมกันเพื่อพิจารณาว่า พระราชวงศ์พระองค์ใดสมควรที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป

(2) การประชุมกันเพื่อพิจารณาว่า ผู้ใดควรขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

(3) การประชุมกันเพื่อพิจารณาว่า ผู้ใดควรขึ้นเป็นรัฐมนตรี

(4) การประชุมกันเพื่อพิจารณาว่า ผู้ใดควรขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช

(5) การประชุมกันเพื่อพิจารณาว่า ผู้ใดควรขึ้นเป็นประธานองคมนตรี ๆ

ตอบ 1 หน้า 35, 150 151 รัชกาลที่ 6 ได้ทรงบัญญัติกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พ.ศ. 2467 ขึ้นใช้ นับเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ได้วางลําดับสิทธิในการสืบราชสมบัติของกษัตริย์ ซึ่งแต่เดิมนั้นมักจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นในกรณีที่กษัตริย์ไม่มีโอรสหรือมิได้แสดงพระประสงค์ ว่าจะมอบให้ผู้ใดเป็นรัชทายาท โดยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นส่วนใหญ่วิธีการคัดเลือกเพื่อหา พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะใช้วิธีการแบบ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ การประชุมของบรรดาพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสนาบดี และพระเถระชั้นราชาคณะ

47 “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” มีการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 3

(3) รัชกาลที่ 5

(4) รัชกาลที่ 7

(5) รัชกาลที่ 9

ตอบ 3 หน้า 151 ในปี พ.ศ. 2435 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาตําแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งถือเป็นตําแหน่งรัชทายาทที่จะได้ทรงสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป

48 การปกครองไทยในสมัยปัจจุบันนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์จะถือว่าเป็น

(1) Limited Monarchy

(2) Unlimited Monarchy

(3) Absolute Monarchy

(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 1 หน้า 147, 156, (คําบรรยาย) บทบาทของพระมหากษัตริย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยโดยในสมัยสุโขทัยพระมหากษัตริย์วางพระองค์อยู่ในฐานะเปรียบเสมือนบิดาปกครองบุตร นั่นคือ มีบทบาทเป็น “พ่อ” ของราษฎร ส่วนในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ บทบาทของ พระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงมาอยู่ในฐานะเป็น “เจ้าชีวิต” ของราษฎร และต่อมาภายหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน บทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เปลี่ยนแปลง ไปเป็นกษัตริย์ที่มีอํานาจจํากัด (Limited Monarchy) กล่าวคือ ทรงเป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศมากกว่าที่จะทรงมีพระราชอํานาจในด้านการบริหารโดยตรง

49 สิ่งที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กรณีพระมหากษัตริย์

(1) สิทธิของพระมหากษัตริย์

(2) พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์

(3) ลําดับชั้นของพระบรมวงศานุวงศ์

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 151 – 153, (คําบรรยาย) สิทธิและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์ การพระราชทานและเรียกคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง การแต่งตั้งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ การยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ฯลฯ

50 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย คือข้อใด

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

(3) ด้านบริหารประเทศ

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 154 พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ อาจจําแนกออกได้เป็น 3 ด้าน คือ

1 พิธีการ โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีการสําคัญต่าง ๆ ของชาติ เช่น งานรัฐพิธี เป็นผู้แทนทางการทูตในการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศและต้อนรับแขกเมือง ฯลฯ

2 สังคมสงเคราะห์ โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือกิจการสาธารณกุศล

3 การปกครอง โดยการเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดเพื่อให้มีขวัญและกําลังใจดี

51 จํานวนของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ปี 2560

(1) 1 + 18

(2) 1 + 24

(3) 1 + 35

(4) 1 + 36

(5) 1 + 48

ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 พ.ศ. 2560 มาตรา 158 กําหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกันให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

52 การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องทําเป็น

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) พระบรมราชโองการ

(5) ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51 ประกอบ

53 สาเหตุของการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร

(1) รัฐบาลพลเรือนไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน

(2) ทหารเป็นกลุ่มพลังที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

(3) ประชาชนชื่นชมทหารมากกว่ารัฐบาลพลเรือน

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 4 หน้า 172 173 สาเหตุของการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร มีดังนี้

1 รัฐบาลประชาธิปไตยหรือรัฐบาลพลเรือนไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน

2 มักมีสภาพของการขาดความมั่นคง เช่น มีการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง ฯลฯ ราย3 ทหารเป็นกลุ่มพลังที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้กําลังเข้ายึดอํานาจรัฐได้ ฯลฯ

54 ข้อใดคือลักษณะของรัฐสภาไทยในปี 2561

(1) เป็นสภาเดียวที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด

(2) เป็นสภาเดียวที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง

(3) เป็นสภาคู่ที่สมาชิกทั้งสองสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมด

(4) เป็นสภาคู่ที่สมาชิกทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

(5) เป็นสภาคู่ที่สมาชิกทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งและการสรรหาฯ

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐสภาไทยในปี พ.ศ. 2561 เป็นรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 6 ที่กําหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจํานวนไม่เกิน 220 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ํากว่า 40 ปี ตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคําแนะนําให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

55 ตามรัฐธรรมนูญฉบับใดต่อไปนี้ที่สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

(1) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489

(2) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2492

(3) ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2517

(4) ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540

(5) ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2560

ตอบ 4 หน้า 140 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540 กําหนดให้รัฐสภาเป็นสภาคู่ ประกอบด้วย

1 สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จํานวน 500 คนซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

2 วุฒิสภา สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จํานวน 200 คน

56 “การยุบสภา” เป็นเครื่องมือของ

(1) ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ต่อฝ่ายบริหาร

(2) ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ต่อฝ่ายตุลาการ

(3) ฝ่ายบริหารใช้ต่อฝ่ายนิติบัญญัติ

(4) ฝ่ายบริหารใช้ต่อฝ่ายตุลาการ

(5) ฝ่ายตุลาการใช้ต่อฝ่ายบริหาร

ตอบ 3 หน้า 249 เครื่องมือของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลที่นํามาใช้ในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎร คือ “การยุบสภา” และในขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติก็มีเครื่องมือที่ นํามาใช้ในการควบคุมฝ่ายบริหารเพื่อเป็นการถ่วงดุลอํานาจกัน คือ “การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ”

57 องค์กรที่แสดงถึงเจตจํานงสูงสุดของประชาชน คือ

(1) รัฐสภา

(2) คณะรัฐมนตรี

(3) ผู้พิพากษาในสายตุลาการ

(4) องคมนตรี

(5) องค์กรอิสระต่าง ๆ เช่น กกต. ปปช.

ตอบ 1 หน้า 149 รัฐสภาเป็นองค์กรที่แสดงถึงเจตจํานงสูงสุดของประชาชน โดยทําหน้าที่พิจารณาบัญญัติหรือออกกฎหมายเพื่อใช้ในการปกครองหรือบริหารประเทศ และควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารด้วยการเปิดอภิปรายซักฟอกนโยบายของรัฐบาล หรือตั้งกระทู้ถามเพื่อให้รัฐบาลชี้แจงข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ

58 กฎหมายในหัวข้อใดต่อไปนี้ที่จะต้องใช้เวลาในการตราขึ้นเพื่อบังคับใช้

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ประมวลกฎหมาย

(5) กฎกระทรวง

ตอบ 1 หน้า 243 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือ กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อบังคับใช้โดยผ่านการพิจารณาและอนุมัติโดยรัฐสภาหรือองค์กรที่ทําหน้าที่นิติบัญญัติ นอกจาก พ.ร.บ. แล้วยังมีกฎหมายอีก หลายประเภท เช่น พระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา ประมวลกฎหมาย กฎกระทรวง ฯลฯ แต่กฎหมายอื่น ๆ นั้นอาจถือได้ว่าเป็นกฎหมายรองที่มีขั้นตอนในการบัญญัติไม่สลับซับซ้อนและไม่ต้องใช้เวลานานเหมือนพระราชบัญญัติ

59 กระบวนการพิจารณากฎหมายในรัฐสภามีกี่วาระ

(1) 1 วาระ

(2) 2 วาระ

(3) 3 วาระ

(4) 4 วาระ

(5) 5 วาระ

ตอบ 3 หน้า 235 236 กระบวนการพิจารณากฎหมายในรัฐสภา (ทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา)ประกอบด้วยขั้นตอน 3 วาระด้วยกัน คือ วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ, วาระที่ 2 ขั้นกรรมาธิการ วาระที่ 8 ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างกฎหมายทั้งฉบับ

60 กฎหมายในข้อใดเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร

(1) พระราชบัญญัติ

(2) พระราชกําหนด

(3) พระราชกฤษฎีกา

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

(5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 5 หน้า 239 240 ทั้งพระราชกําหนดและพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ออกหรือบัญญัติหรือตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี (ดูคําอธิบายข้อ 58 ประกอบ)

ข้อ 61, – 65 ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) ราชาธิปไตย

(2) ทุชนาธิปไตย

(3) อภิชนาธิปไตย

(4) คณาธิปไตย

(5) ประชาธิปไตย

 

61 รูปแบบการปกครองของไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์

ตอบ 4 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) คณาธิปไตย (Oligarchy) คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลซึ่งผู้ปกครองเป็นกลุ่มเผด็จการที่ทําเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวกเป็นสําคัญ เป็นรูปแบบการปกครองที่มักจะเกิดจากรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอํานาจ เช่น รูปแบบการปกครองของไทยภายใต้คณะผู้นําทหารในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม-ประภาส และจอมพล ป.(แปลก) พิบูลสงคราม ฯลฯ

62 รูปแบบการปกครองที่ผู้นําเผด็จการปกครองขูดรีดประชาชน

ตอบ 2 หน้า 2 – 3, 3 – 4 (S) ทรราชหรือทุชนาธิปไตย (Tyranny) คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอธิปไตยอยู่ที่คน ๆ เดียว โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อผู้ปกครองหรือเพื่อหา ผลประโยชน์ให้กับตนเอง ดังนั้นจึงเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการที่ฉ้อฉลหรือกดขี่ข่มเหงประชาชน อันเป็นการปกครองแบบ “ทํานาบนหลังคน” หรือ “ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน”

63 รูปแบบการปกครองที่คณะผู้นําทําเพื่อประโยชน์ของทวยราษฎร์

ตอบ 3 หน้า 2 – 4, 3 – 4 (S) อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คือ ระบอบการปกครองโดยคณะบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษหรือมีคุณภาพเหนือกว่าชนส่วนใหญ่ เช่น กลุ่มขุนนาง พวกเชื้อสายราชวงศ์ หรือชนชั้นสูง กลุ่มปัญญาชนคนมีความรู้ หรือกลุ่มชนที่ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชน ฯลฯ โดยมีจุดมุ่งหมายในการปกครองเพื่อประชาชน ดังนั้นจึงเป็นลัทธิการเมืองที่ให้ความสําคัญกับ ชนชั้นสูงของสังคมและเป็นรูปแบบการปกครองที่คณะผู้ปกครองทําเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนหรือทวยราษฎร์ ถือเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดโดยคณะผู้ปกครอง

64 รูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 3, 3 – 6 (S) ราชาธิปไตย (Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเทวสิทธิ์ (Divine Right) ในสมัยอยุธยา ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นการปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ที่อํานาจอธิปไตยจะอยู่ที่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว อันเป็นรูปแบบการปกครองของไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 – 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการปกครองแบบราชาปราชญ์ (Philosopher King) ตามแนวคิดของเพลโต

65 รูปแบบการปกครองของไทยยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ตอบ 5 หน้า 11 – 12, 16, 79, (คําบรรยาย) ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ยึดหลักว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรืออํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชนหรือเป็นการปกครองโดยประชาชน (การปกครองที่คนหมู่มากเป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตย) โดยรัฐบาลจะใช้อํานาจปกครองน้อยที่สุดเฉพาะเรื่องที่จําเป็นเท่านั้น ดังนั้นประชาธิปไตย จึงมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ให้ความสําคัญกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เชื่อในหลักการ แห่งกฎหมายและหลักการแห่งความเสมอภาค รวมทั้งคํานึงถึงหลักศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หรือหลักสิทธิมนุษยชน (ยึดถือสิทธิในการปกครองตนเอง) เช่น ระบอบการเมืองการปกครอง ของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมทั้งระบอบการเมือง ที่เป็นผลมาจากการปฏิวัติ 2475 ของไทย และระบอบการเมืองการปกครองของประเทศไทย ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

66 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นส่วนราชการเช่นเดียวกับ

(1) ทบวง

(2) กรม

(3) กระทรวง

(4) สํานักงานเลขานุการกรม

(5) กอง

ตอบ 2 หน้า 392 สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

67 การปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง

(1) การจัดสรรอํานาจ

(2) การรวมอํานาจ

(3) การแบ่งอํานาจ

(4) การมอบอํานาจ

(5) การกระจายอํานาจ

ตอบ 5 หน้า 359 – 360, 371, 401, 433 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ

1 ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอํานาจปกครอง

2 ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอํานาจปกครอง

3 ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอํานาจปกครอง

68 ขณะนี้ประเทศไทย จัดให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดจํานวนเท่าใด

(1) 74 จังหวัด

(2) 75 จังหวัด

(3) 76 จังหวัด

(4)77 จังหวัด

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 439, (คําบรรยาย) องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดตั้งขึ้นทุกจังหวัด ๆ ละ 1 แห่ง โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 77 จังหวัด (บึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77) แต่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดจํานวน 76 จังหวัด (ยกเว้น กทม.ที่เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ)

69 “การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

(1) นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้ง

(2) นายกรัฐมนตรีมาจากการเห็นชอบของสภา

(3) นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง

(4) มีทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนในขณะเดียวกัน

(5) ไม่มีข้อใดถูก ตอบ 2 หน้า 15 การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) นายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือ มาจากการเห็นชอบของสภาผู้แทนฯ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากสภาผู้แทนฯ ซึ่งจะ มีความแตกต่างจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี (Presidential Democracy) ที่ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้ดํารงตําแหน่ง

70 การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี

(1) ประธานาธิบดีมาจากการแต่งตั้ง

(2) นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร

(3) มีสภาเดียวหรือสองสภาก็ได้

(4) นายกรัฐมนตรีเป็นทั้งประมุขของฝ่ายบริหารและประมุขของรัฐ

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59 ประกอบ

ข้อ 71 – 75. ข้อเลือกต่อไปนี้ให้ใช้เป็นคําตอบ

(1) เสรีนิยม

(2) สังคมนิยม

(3) เผด็จการเบ็ดเสร็จ

(4) อํานาจนิยม

(5) ชาตินิยม

 

71 ลัทธิที่ให้เสรีภาพเฉพาะด้านเศรษฐกิจสังคม แต่จํากัดเสรีภาพทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 6-7 อํานาจนิยม (Authoritarianism) คือ การที่รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร โดยเฉพาะเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่จะจํากัดเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งเป็นลักษณะการใช้อํานาจของรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร เช่น รัฐบาลทหารของไทย การปกครองในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

72 ยึดมั่นในแนวคิดเรื่อง “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย”

ตอบ 3 หน้า 6, 66 (S) เผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) คือ การที่รัฐบาลหรือผู้ปกครองใช้อํานาจควบคุมประชาชนอย่างเคร่งครัดแทบจะสิ้นเชิงในทุกด้าน ทั้งเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะลงโทษอย่างรุนแรงหากประชาชนฝ่าฝืน ดังนั้นจึงเป็นระบบของ การใช้อํานาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม เช่น ระบบฟาสซิสต์ของ อิตาลี ระบบนาซีของเยอรมัน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบราชาธิปไตย และ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ใช้อํานาจเด็ดขาดโดยยึดมั่นในแนวคิด “ผู้นําถูกต้องเสมอ”ดังคําขวัญ “เชื่อผู้นําชาติพ้นภัย” เพื่อปลุกใจราษฎรให้เชื่อมั่นรัฐบาล ฯลฯ

73 ความเป็นอยู่ของประชาชนด้านเศรษฐกิจสังคมมีรัฐเป็นผู้ดูแล

ตอบ 2 หน้า 8, 8 (S) สังคมนิยม (Socialism) คือ ลัทธิทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะเข้ามาควบคุมและกํากับดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านเศรษฐกิจหลักของประเทศ อันเป็นลัทธิเศรษฐกิจ ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่ารัฐต้องเข้ามาควบคุมและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่สําคัญของสังคม แต่จะยินยอมให้ประชาชนมีทรัพย์สินเป็นของตนเองได้บ้าง และเป็นลัทธิเศรษฐกิจที่ยึดหลัก แห่งความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันมากกว่าหลักเสรีภาพ เช่น ระบบหรือแนวคิดเรื่องรัฐวิสาหกิจ ระบบเศรษฐกิจของสังคมเวียดนามและจีนยุคปัจจุบัน ฯลฯ

74 แนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อในเรื่อง “ไร้พรมแดน”

ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) คือ ลัทธิหรืออุดมการณ์ที่เน้นหรือให้ความสําคัญกับเรื่องของความมั่นคงและความเป็นเอกภาพของชาติ เชื่อและศรัทธาในพวกพ้อง และดินแดนเดียวกัน เน้นเรื่องความรักความผูกพันและความสมานฉันท์ต่อกันของคนในชาติ เชื่อว่าคนเราเกิดมาต่างก็เป็นหนี้ต่อบ้านเมืองของเราเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อ ในเรื่องสากลนิยม/ไร้พรมแดนที่ให้ความสําคัญในเรื่องผลประโยชน์ของมวลมนุษยชาติมากกว่า ผลประโยชน์ของชาติใดชาติหนึ่ง นอกจากนี้ลัทธิชาตินิยมยังเชื่อว่ารัฐกับมนุษย์ไม่แตกต่างกัน เพราะถ้าไม่มีมนุษย์ก็ไม่มีรัฐ และรัฐจะอยู่ไม่ได้ถ้ามนุษย์ในรัฐไม่ช่วยกันปกป้องรักษารัฐของตน ดังนั้นลัทธิชาตินิยมจึงต้องการให้สมาชิกทุกคนเชื่อฟังคําสั่งของรัฐโดยปราศจากเงื่อนไข

75 รัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองน้อยที่สุด

ตอบ 1 หน้า 6, 7 – 8 (S) เสรีนิยม (Liberalism) เป็นระบอบเศรษฐกิจการเมืองที่เน้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีลักษณะการใช้อํานาจแบบอิสระนิยม อันเป็นต้นแบบของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย โดยมองว่ารัฐที่ดีคือรัฐที่ใช้อํานาจในการปกครองและกํากับดูแลน้อยที่สุดทั้งนี้รัฐบาลจะเข้าควบคุมหรือรักษากฎเกณฑ์เฉพาะส่วนที่จําเป็นเท่านั้น

76 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นส่วนราชการเช่นเดียวกับ

(1) กระทรวง

(2) ทบวง

(3) กรม

(4) กอง

(5) สํานักงานเลขานุการกรม

ตอบ 3 หน้า 389 390 สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงการคลัง

77 การจัดตั้งจังหวัดต้องตราเป็นกฎหมายอะไร

(1) พระราชกฤษฎีกา

(2) พระราชบัญญัติ

(3) ประกาศกระทรวงมหาดไทย

(4) พระราชกําหนด

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 402 409 กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้

1 การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

2 การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอําเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

78 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารเป็นข้าราชการ

(1) ข้าราชการประจํา

(2) ข้าราชการพิเศษ

(3) ข้าราชการฝ่ายการเมือง

(4) ข้าราชการกรณีพิเศษ

(5) ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ

ตอบ 1 หน้า 364 -366 ข้าราชการประจํา ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน (เช่น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ฯลฯ) ข้าราชการทหาร และข้าราชการของหน่วยการปกครองท้องถิ่น (ส่วนข้าราชการการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ฯลฯ)

79 ข้าราชการการเมือง หมายถึง

(1) รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย

(2) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง

(3) เป็นฝ่ายนํานโยบายไปปฏิบัติ

(4) ถูกทุกข้อ

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 364 365 ข้าราชการการเมือง คือ บุคคลซึ่งรับราชการในตําแหน่งที่รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบาย เป็นฝ่ายกําหนดนโยบายในการบริหารประเทศหรือนโยบายสาธารณะ และคอยควบคุม ฝ่ายข้าราชการประจําให้ปฏิบัติตามนโยบายที่วางไว้ โดยข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่ง ตามวิถีทางของการเมืองหรือเหตุผลทางการเมือง และออกจากตําแหน่งตามวาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่ง

80 ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งของกํานัน

(1) 4 ปี

(2) 5 ปี

(3) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 55 ปี

(4) อยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี

(5) อยู่ในตําแหน่งตลอดชีวิต

ตอบ 4 หน้า 41 ตําแหน่งกํานั้นในปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในตําบลนั้น โดยกํานันต้องเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย และจะอยู่ในตําแหน่งจนถึงอายุครบ 60 ปี

81 ข้าราชการประจําที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของแต่ละกระทรวงคือตําแหน่งใด

(1) ผู้ตรวจการกระทรวง

(2) รัฐมนตรีตรวจการ

(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

(4) ปลัดกระทรวง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 37 ปลัดกระทรวงเป็นตําแหน่งข้าราชการประจําที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของแต่ละกระทรวง(ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 11 หรือซี 11)

82 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการประจําสังกัดหน่วยงานใด

(1) สํานักนายกรัฐมนตรี

(2) กระทรวงมหาดไทย

(3) กระทรวงศึกษาธิการ

(4) กรมการปกครอง

(5) ไม่สังกัดหน่วยงานใด

ตอบ 2 หน้า 4d4 ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นข้าราชการประจําสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดนั้น

83 ข้อใดต่อไปนี้คือข้าราชการประจําในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

(1) ปลัดอําเภอ

(2) ปลัดจังหวัด

(3) สัสดีจังหวัด

(4) ปลัดเทศบาล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 444, 453, 472, 483, 487 ข้าราชการประจําในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ปลัด อบจ., ปลัดเทศบาล, ปลัด กทม., ปลัดเมืองพัทยา, ปลัด อบต. เป็นต้น

84 การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจาก

(1) เสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภา

(2) เสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร

(3) เสียงส่วนใหญ่ของวุฒิสภา

(4) เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนโดยการลงประชามติ

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69 ประกอบ

85 ข้อใดต่อไปนี้ปกติไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

(1) ผู้ใหญ่บ้าน

(2) นายกเมืองพัทยา

(3) สมาชิกสภาเขต กทม

(4) ผู้ว่าราชการจังหวัด

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ

86 การกําหนดโครงสร้างเมืองพัทยาของไทยในปัจจุบันมีลักษณะและรูปแบบใด (1) รัฐสภา

(2) แบบมีสภา

(3) ประธานาธิบดี

(4) แบบผสมรัฐสภาและประธานาธิบดี

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 450, 467, 478, (คําบรรยาย) การกําหนดโครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเมืองพัทยาของไทยในปัจจุบันนั้น มีลักษณะและรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิบดี (Presidential System) เหมือนกับโครงสร้างของเทศบาลและกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ มีหัวหน้าฝ่ายบริหาร (นายกเมืองพัทยา นายกเทศมนตรี ผู้ว่าฯ กทม.) และสมาชิกสภา ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยใช้หลักการแบ่งแยกอํานาจ (Separation)ตามแบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

87 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยรูปแบบใดเป็นรูปแบบพิเศษ

(1) อบต

(2) เทศบาล

(3) ภูเก็ต

(4) พัทยา

(5) เกาะสมุย

ตอบ 4 หน้า 439, 465, 477 ปัจจุบันรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย มี 5 รูป ดังนี้

1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ)

2 องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)

3 เทศบาล

4 กรุงเทพมหานคร (กทม.)

5 เมืองพัทยา โดยกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ

88 จํานวนสมาชิกสภาเขต กฎหมายกําหนดให้มีได้ไม่เกินกี่คน

(1) ไม่จํากัดจํานวน

(2) 7 คน

(3) 8 คน

(4) 9 คน

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 473 สภาเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในเขต โดยมีจํานวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 1 แสนคน ให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คนต่อจํานวนราษฎรทุก 1 แสนคน เศษของ 1 แสนคน ถ้าถึง 5 หมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็น 1 แสน (กฎหมายไม่ได้จํากัดจํานวนไว้ว่าให้มีได้ไม่เกินกี่คน)

89 รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง แต่งตั้งได้จํานวนไม่เกินกี่คน

(1) 5 คน

(2) 4 คน

(3) 3 คน

(4) 2 คน

(5) 1 คน

ตอบ 3 หน้า 448, 453 นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ตามจํานวนดังต่อไปนี้

1 เทศบาลตําบล (เทศบาลขนาดเล็ก) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน

2 เทศบาลเมือง (เทศบาลขนาดกลาง) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน

3 เทศบาลนคร (เทศบาลขนาดใหญ่) ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน

90 ผู้บริหารสูงสุดของเทศบาลใช้ชื่อว่าอะไร และมีที่มาอย่างไร

(1) นายกเทศบาลมาจากการเลือกตั้ง

(2) นายกเทศบาลมาจากการแต่งตั้ง

(3) นายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้ง

(4) นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้ง

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 450 454, 461 โครงสร้างการจัดองค์การและการบริหารเทศบาล แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ

1 ฝ่ายนิติบัญญัติ มีประธานสภาเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบหรือผู้บริหารสูงสุด (มาจากการเลือกตั้ง)

2 ฝ่ายบริหาร มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบหรือผู้บริหารสูงสุด (มาจากการเลือกตั้ง)

91 หน่วยการปกครองใด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

(1) เมืองพัทยา

(2) จังหวัดนนทบุรี

(3) เทศบาลนครเชียงใหม่

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2

(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 2 หน้า 402) กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กําหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้ 2 ระดับ คือ จังหวัด และอําเภอ

92 หน้าที่หลักของเมืองพัทยาที่แตกต่างไปจากเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบล คืออะไร

(1) การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

(2) การประสานงานกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่นอื่น

(3) สร้างถนน สะพาน

(4) การจัดการท่องเที่ยว

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 5 (คําบรรยาย) หน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างกัน โดยอาจจะแตกต่างกันบ้างในหน้าที่รองหรือในรายละเอียดปลีกย่อย ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 250 กําหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่และอํานาจดูแลและจัดทํา บริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

93 รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบล กฎหมายกําหนดให้แต่งตั้งได้ไม่เกินกี่คน

(1) 2 คน

(2) 3 คน

(3) 4 คน

(4) 5 คน

(5) 6 คน

ตอบ 1 หน้า 489 นายกองค์การบริหารส่วนตําบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของ องค์การบริหารส่วนตําบลตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตําบลมอบหมายได้ไม่เกิน 2 คน(พ.ร.บ. สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2547 มาตรา 58/3)

94 ขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต สังกัดพรรคการเมืองใด

(1) เพื่อไทย

(2) ประชาธิปัตย์

(3) ชาติไทยพัฒนา

(4) ไม่สังกัดพรรค

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) เป็นข้าราชการประจําดังนั้นจึงไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองใด (ดูคําอธิบายข้อ 82 ประกอบ)

95 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี

(1) 2 ปี

(2) 3 ปี

(3) 4 ปี

(4) 5 ปี

(5) 6 ปี

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญฯ 2560 (ประกาศใช้ 6 เมษายน 2560) มาตรา 99 กําหนดให้ อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกําหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง และมาตรา 100 กําหนดให้ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง

96 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน คือ

(1) นายวิษณุ เครืองาม

(2) นายมีชัย ฤชุพันธ์

(3) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน

(4) พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา

(5) น.พ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

ตอบ 5 (ข่าว) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน คือ น.พ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559

97 รัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ. 2560 ประกาศใช้ตั้งแต่

(1) 6 เมษายน 2560

(2) 6 พฤษภาคม 2560

(3) 6 มิถุนายน 2560

(4) ยังไม่ประกาศใช้

(5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

98 นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ. 2560 เมื่อใด

(1) ปี 2561

(2) ปี 2562

(3) ปี 2563

(4) ปี 2564

(5) ยังไม่แน่นอน

ตอบ 2 (ข่าว) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ภายในต้นปี พ.ศ. 2562 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์)

(***เลื่อนมาจากครั้งที่แล้วที่เคยประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในปี พ.ศ. 2561)

99 หลักการทั่วไปในการกระจายอํานาจข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ต้องมีชุมชน

(2) เป็นนิติบุคคล

(3) Autonomy

(4) ผู้บริหารมาจากการแต่งตั้ง

(5) ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง

ตอบ 4 หน้า 433 – 435, (คําบรรยาย) การปกครองท้องถิ่นโดยทั่วไปมีลักษณะหรือหลักการสําคัญคือ ใช้หลักการทั่วไปในการกระจายอํานาจ ดังนี้

1 เป็นการปกครองชุมชนหรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศ

2 มีองค์การหรือหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกไปต่างหากจากรัฐบาลกลาง โดยมีรายได้เป็นของตนเอง และมีอํานาจในการจัดเก็บภาษี 4 ประเภท คือ ภาษีอากรฆ่าสัตว์ ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่

3 มีการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ดําเนินงาน (ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ)

4 มีอิสระในการดําเนินกิจการของท้องถิ่น (Autonomy) ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดและอยู่ในกํากับดูแลหรือการควบคุมของรัฐบาลกลาง

100 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับระบบราชการไทย

(1) นําแนวคิดของ Max Weber มาใช้

(2) นําแบบอย่างมาจากยุโรป

(3) ในสมัยสุโขทัยมีตําแหน่งลูกขุน

(4) เวียง วัง คลัง นา ประกาศใช้ครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

(5) ผิดทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 4 หน้า 29, 363, (คําบรรยาย) ระบบราชการไทยนําแนวคิดของ Max Weber มาใช้ และนำแบบอย่างมาจากยุโรป โดยในสมัยสุโขทัยมีตําแหน่งลูกขุน ส่วนจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ประกาศใช้ครั้งแรกในสมัยอยุธยาตอนต้น (สมัยพระเจ้าอู่ทอง)

 

Advertisement