POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นํามากที่สุด
(1) The Managerial Grid
(2) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
(3) Great Man Theory
(4) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedter
(5) ทฤษฎีของ Keith Davis ตอบ 1 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรม ของผู้นํา (Leadership Behavior) ได้พิจารณาการศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนาประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือเรียกว่า “ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

2.แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Industrial Humanism
(2) Systems Theory
(3) Scientific Management
(4) Contingency Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

3. นักทฤษฎีการรับรู้เชื่อว่ามี “ตัวกลาง” ในการผลักดันระหว่าง “การกระตุ้น” และ “การตอบสนอง ซึ่ง “ตัวกลาง” นั้นคือ
(1) ผู้ไกล่เกลี่ย
(2) มโนภาพ
(3) อคติ
(4) ทัศนคติ
(5) การเสริมแรง
ตอบ 2 หน้า 233 นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายว่า Image หรือมโนภาพหรือ จินตนาการ ซึ่งเกิดจากผลรวมของประสบการณ์ที่ผ่านมา เป็นตัวกลางในการผลักดันระหว่าง “การกระตุ้น” กับ “การตอบสนอง” และตัวกลางดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการสะท้อนกลับตามลักษณะ Reflex Arc

4.หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้านเกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Departmentation
(2) Line Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Division of Work
(5) Staff Agency
ตอบ 3 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน
ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น
2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

5. นางมยุเรศมองว่า “ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด ต้องพิจารณาที่ความพร้อมของผู้ตามแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับนักวิชาการท่านใด
(1) Keith Davis
(2) Ronald Lippitt & Ralph White
(3) Rensis Likert
(4) Blake & Mouton
(5) Hersey & Blanchard
ตอบ 5 หน้า 287, (คําบรรยาย) Hersey & Blanchard นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Theories) มองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด การเป็นผู้นํา ที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรมผู้นําที่สอดคล้องกับ ความพร้อมของผู้ตามใน 2 ด้าน คือ ความสามารถและความเต็มใจ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด (Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม (Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมอบหมายงาน (Delegating)

6. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การประเมินผลงาน
(2) การควบคุมงาน
(3) การประสานงาน
(4) การจัดทําแผนกลยุทธ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

7. การตัดสินใจในระดับใดที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบปิดมากที่สุด
(1) Operational Level
(2) Coordinative Level และ Strategic Level
(3) International Level
(4) Coordinative Level
(5) Strategic Level
ตอบ 1 หน้า 229 – 230 การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ ตามเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิค ประกอบการตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงาน โดยจัดให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor), หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

8. ในการสนทนาแบบเผชิญหน้า “กล่องเสียงของผู้ส่งสาร” ถือเป็นสิ่งใดในกระบวนการสื่อความเข้าใจ
(1) Information Source
(2) Transmitter
(3) Channel
(4) Destination
(5) Receiver
ตอบ 2 หน้า 245, (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อความเข้าใจนั้น Transmitter คือ เครื่องส่งสัญญาณ ซึ่งจะทําหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นคําพูดหรือสัญญาณธรรมชาติให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยัง ผู้รับสาร ตัวอย่างของ Transmitter เช่น “กล่องเสียงของผู้ส่งสาร” ในการสนทนาแบบเผชิญหน้า “กระบอกพูด” ในการสนทนากันทางโทรศัพท์ เป็นต้น

9.ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) เทคโนโลยีในการสื่อสาร
(4) ปรัชญาของการบริหาร
(5) เทคนิคในการควบคุม
ตอบ 3 หน้า 170 – 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
5. ปรัชญาของการบริหาร
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ 8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

10. การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Centralization
(2) Organization Design
(3) Authority
(4) Formalization
(5) Complexity
ตอบ 4 หน้า 122 ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การได้กําหนด กฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็น พื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

11. “ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Technical
(2) Goals and Values
(3) Structural
(4) Managerial
(5) Psychosocial
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้
1. ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางานต่าง ๆ ที่องค์การต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร หรือปัจจัยนําเข้าให้ออกมาในรูปของผลผลิต
2. ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและ กลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
3. ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น
4. ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถ ในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

12. ข้อใดเป็นการกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี
(1) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(2) การให้ปัจจัยค้ำจุน
(3) วิธีการแข่งขัน
(4) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2หน้า 277 – 278 การจูงใจหรือกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. วิธีการใช้ความดีแบบพ่อกับลูก (Paternalism)
2. วิธีการใช้ความดีแบบการให้ปัจจัยค้ำจุน (Hygienic Management)

13. การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ำกว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Span of Control
(2) Responsibility
(3) Specialization
(4) Hierarchy
(5) Unity of Command
ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

14. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ
(1) เป็นการสนองความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว
(2) มีโอกาสเติบโตและขยายอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) มีโอกาสฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ
ตอบ 4 หน้า 175 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ มีดังนี้
1. ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น
2. เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
และรวดเร็ว
3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
4. มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝน
การตัดสินใจด้วย
5. โอกาสของการเติบโตหรือขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

15. “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล…….”ผู้ริเริ่มได้แก่
(1) Gantt
(2) Gilbreths
(3) Emerson
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษา โดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกล่าวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Way ไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

16.Centralization เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) Power to Command
(2) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(3) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(4) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(5) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
ตอบ 2 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่

17. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Auxiliary Agency
(3) Departmentation
(4) Staff Agency
(5) Line Agency
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

18. ทฤษฎีการจูงใจจากความคาดหวัง (Expectancy Theory Motivation) ได้รับอิทธิพลและพัฒนาต่อเนื่องมาจากทฤษฎีใด
(1) Drive-Reduction Theory
(2) Equity Theory
(3) Reinforcement Theory
(4) Law of Effect Theory
(5) Scientific Management
ตอบ 1 หน้า 272, (คําบรรยาย) รากฐานของแนวความคิดในการศึกษาเรื่องแรงจูงใจ ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากงานของ Clark Hull เกี่ยวกับทฤษฎีการลดแรงขับ (Drive-Reduction Theory) และพัฒนามาเป็นทฤษฎีการจูงใจจากความคาดหวัง (Expectancy Theory Motivation) ของ Victor H. Vroom ในสมัยต่อมา

19. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) คําสั่งลับ
(2) เส้นทางลัดในโครงสร้าง
(3) ปัญหาด้านแรงจูงใจ
(4) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

20. นายพัศชวพลมีลูกน้องที่ไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจในการทํางาน หากเชื่อในทฤษฎีของ Hersey & Blanchard แล้ว นายพัศชวพลควรเป็นผู้นําแบบใด
(1) Pseudo-Leaders
(2) Selling
(3) Participating
(4) Telling
(5) Delegating
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

21. ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น
(1) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร
(2) One Best Way
(3) Contrived
(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต
(5) มีความเจริญเติบโตภายใน
ตอบ 2 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
(Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วน One Best Way เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจาก การศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

22. ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น
(1) ทฤษฎีองค์การ
(2) ขนาดของกิจการ
(3) ผลผลิต
(4) วัตถุประสงค์
(5) การเป็นเจ้าของกิจการ
ตอบ 1(PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ 1. วัตถุประสงค์ 2. การเป็นเจ้าของกิจการ 3. ขนาดของกิจการ 4. ผลผลิต

23. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การขาดการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่
เพื่อทดแทนกับอัตราว่าง” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
(1) Strengths
(2) Threats
(3) Problems.
(4) Opportunities
(5) Weaknesses
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่
S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
– W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ การขาดการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่เพื่อทดแทนกับ อัตราว่าง งบประมาณมีไม่เพียงพอ เป็นต้น
2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่
O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น การที่ลูกค้ามีความรู้และทักษะ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เป็นต้น
– T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น

24.Chester I. Barnard เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดมากที่สุด
(1) Format Position
(2) Format Authority
(3) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ ที่แท้จริงในการบริหารนั้นจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีสิทธิหรือ อํานาจเหนือตน และอํานาจหน้าที่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนํา หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการหรือปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาด้วยความเต็มใจ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ได้แก่ Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon

25. “Activity, Interaction และ Sentiment” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้
ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) การควบคุมองค์การ
(2) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม
(3) การวางแผนองค์การ
(4) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 79 – 80 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม (Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต
3 ประการด้วยกัน คือ
1. การกระทําของเขาในสังคม (Activity)
2. ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)
3. ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

26. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงในการบริหารจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจ เหนือตน เกี่ยวพันกับรูปแบบใดมากที่สุด
(1) Acceptance Theory
(2) Formal Authority Theory
(3) Competence Theory
(4) Acceptance Theory and Leadership
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

27. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(3) ลักษณะงานในองค์การ
(4) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 2, 3 หน้า 184 – 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

28. ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง
(1) Fayol
(2) Weber
(3) Barnard
(4) ทั้ง Fayol และ Weber
(5) ทั้ง Fayol, Weber la Barnard
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” ดังนี้
1. องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจ
ให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ
2. อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็น
การกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง
3. นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การ
และการบริหารองค์การ
4. บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายา
ในการทํางานอย่างเต็มที่
5. ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ
ฯลฯ

29. Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม…ที่หายไปคือ
(1) เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ
(2) การเมืองและเทคโนโลยี
(3) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี
(4) เศรษฐกิจและการเมือง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

30. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ระดับขององค์การ
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(4) ประเภทของกิจกรรม
(5) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

31. การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น
Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า
(1) Labor Standard
(3) Human Standard
(2) Systematic Soldiering
(4) Natural Soldiering
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนีงานโดยอาศัยระบบ (Systematic Soldiering) ตามแนวคิดของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงาน ในองค์การเป็นเครื่องมือเพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตนโดยพยายามทําให้เห็นว่าตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์ หรือมาตรฐานขั้นต่ำของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถ มากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางานเท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิด ระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้ สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

32. กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”
(1) Staffing
(3) Gantt Chart
(2) Organizing
(4) Gang Plank
(5) Piece Rate System
ตอบ 3 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบ วิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและ การทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือ แผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้งการกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้

33. การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ถือเป็นการควบคุมในลักษณะใด
(1) Real Time Control
(2) Pre Control
(3) Before Control
(4) Post Control
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมทีหลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้ เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของ โครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

34. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการรวมอํานาจ
(1) ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
(2) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง
(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครอง
(4) มีลักษณะของการประสานงานกันอย่างดี
(5) เกิดความรวดเร็วสะดวกในการบริหาร
ตอบ 2 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจ มีดังนี้
1. ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร
2. ทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน
3. เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
5. มีลักษณะของการประสานงานกันเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

35. Authority เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(2) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(3) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(4) Power to Command
(5) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
ตอบ 4 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

36. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทําให้ ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวลดลง” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใดสําหรับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(1) Problems
(2) Threats
(3) Strengths
(4) Opportunities
(5) Weaknesses
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

37. จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Responsibility
(2) Hierarchy
(3) Span of Control
(4) Specialization
(5) Unity of Command
ตอบ 3 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้ โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

38. ข้อใดมีลักษณะเป็นนามธรรมมากที่สุด
(1) Policy
(2) Plan
(3) Project
(4) Program
(5) Procedure
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระดับชั้นของแผน สามารถเรียงลําดับจากลักษณะที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ไปหาลักษณะที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ได้ดังนี้
1. นโยบาย (Policy)
2. แผน (Plan)
3. แผนงาน (Program)
4. โครงการ (Project)
5. มาตรการ (Procedure)

39. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ประเภทของกิจการ
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ระดับขององค์การ
(4) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(5) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

40. ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Centralization
(2) Authority
(3) Complexity
(4) Organization Design
(5) Formalization
ตอบ 4 หน้า 122 – 123 การออกแบบองค์การ (Organization Design) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อ การปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

41. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการควบคุมองค์การแบบ Direct Control
(1) การควบคุมล่วงหน้า
(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) การควบคุมสภาพในการปฏิบัติงานจริง
(4) การตระหนักรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทํางาน
(5) การจัดทําระบบงบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 266 267 วิธีการควบคุมองค์การซึ่งแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผู้ใต้บังคับบัญชา มี 2 วิธี คือ
1. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) คือ การควบคุมที่มีการสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม (Indirect Control) คือ ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

42. วิธีการจูงใจใดที่ถูกวิจารณ์ว่า “มีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป”
(1) วิธีการแข่งขัน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการใช้ความดี
(4) วิธีการแบบเด็ดขาด
(5) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
ตอบ 5หน้า 280 การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิด แก่พนักงานโดยให้เขาเห็นความสําคัญของตัวงานที่เขาปฏิบัติอยู่ว่ามีค่ามีความสําคัญมาก เพียงไร ซึ่งจะส่งผลให้เขายินดีพอใจจะปฏิบัติงานสําคัญนั้นอย่างเต็มความสามารถ การสร้าง แรงจูงใจจากภายในนี้นับว่าทําให้เกิดการกระตือรือร้นในการทํางานได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถ นํามาใช้ได้ในทุกสถานการณ์ และอาจทําได้ยากกับงานบางประเภท จนนักวิชาการบางท่าน ได้วิจารณ์ว่า การคิดสร้างแรงจูงใจภายในมีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป

43. เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง
(1) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(2) สายการบังคับบัญชา
(3) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
(4) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

44. วิธีการเปลี่ยนแปลง “ปัจจัยนําเข้า” ให้เป็น “ผลผลิต” หมายถึงข้อใด
(1) ทรัพยากรการบริหาร
(2) วิธีการทํางาน
(3) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(4) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(5) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

45. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การมีบุคลากรที่มีความสามัคคีในการปฏิบัติงานข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
(1) Problems
(2) Strengths
(3) Threats
(4) Weaknesses
(5) Opportunities
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

46. ในเรื่อง “เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ” นั้น สิ่งใดหมายถึง “ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจาก
ความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์”
(1) ความต้องการ
(2) แรงขับ
(3) สิ่งล่อใจ
(4) การไม่มีงานทํา
(5) ความหิว
ตอบ 2 หน้า 271 เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ มี 3 ประการ คือ

1. ความต้องการ (Needs) เกิดจากความขาดแคลนในบางสิ่งบางอย่างของมนุษย์
2. แรงขับ (Drives) หมายถึง ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
3. สิ่งล่อใจ (Incentives) หมายถึง สิ่งของหรือเงื่อนไขภายนอกที่กระตุ้นให้มนุษย์กระทําการ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์

47. TOTE Unit คืออะไร
(1) การวางแผนองค์การ
(2) รูปแบบการแสดงพฤติกรรมการตัดสินใจของมนุษย์ในองค์การ
(3) รูปแบบการจัดองค์การแบบระบบราชการในอุดมคติ
(4) แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์การ
(5) รูปแบบที่ดีที่สุดของภาวะผู้นําในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตอบ 2 หน้า 233 Miller, Galanter และ Pribram ได้สนับสนุนทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theory) และได้เสนอรูปแบบของการแสดงพฤติกรรมในการตัดสินใจของมนุษย์ในองค์การที่เรียกกันว่า TOTE Unit (Test-Operate-Test-Exist) ว่าเป็นทางเลือกของการสะท้อนกลับธรรมดา (Reflex Arc)

48. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด
(1) Specialization
(2) Unity of Command
(3) Hierarchy
(4) Span of Control
(5) Responsibility
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

49. การตัดสินใจในระดับใดที่เกี่ยวข้องกับ “Judgmentat” มากที่สุด
(1) Operational Level
(2) Coordinative Level
(3) Strategic Level
(4) Staff Level
(5) Coordinative Level และ Staff Level
ตอบ 3 หน้า 229, 236 การตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือระดับของการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) จะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการกําหนด ลักษณะของขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด มีการรับเอาอิทธิพลและทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในองค์การมากน้อยเพียงใด จะเลือก รับเอาสิ่งใด และต้องการให้องค์การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะใด การตัดสินใจ ระดับนี้มักเป็นการตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน จําเป็นต้องมีการพิจารณา อย่างรอบคอบ มีเหตุผล และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําอย่างมาก ดังนั้นการตัดสินใจ จึงไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable) ต้องใช้วิจารณญาณและความคิดเห็น ของผู้ทําการตัดสินใจ (Judgmental)

50. วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่
(1) Management Science
(2) Operation Research
(3) Action Theory
(4) Scientific Management
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

51. การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด
(1) Efficiency
(2) Ethic
(3) Ecology
(4) Effectiveness
(5) Equity
ตอบ 1 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

52. ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Formal Position
(3) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Format Position) แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็น หลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

53. ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยก ตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่ แต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Complexity
(3) Formalization
(4) Organization Design
(5) Centralization
ตอบ 2 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การ จะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

54. สําหรับองค์การที่ขายสินค้าออนไลน์ ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น การที่ “ลูกค้ามีความรู้และ ทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น” ถือเป็นสิ่งใด
(1) Strengths
(2) Threats
(3) Problems
(4) Weaknesses
(5) Opportunities
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

55. “การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ” เป็นข้อเสนอของใคร
(1) Gilbreths
(2) Cooke
(3) Gulick
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

56. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน
การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Staff Agency
(2) Auxiliary Agency
(3) Departmentation
(4) Line Agency
(5) Division of Work
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

57. ข้อใดเป็นปัจจัยสถานการณ์ที่ Fred E. Fiedler นํามาใช้ในการพิจารณาถึงความสอดคล้องกับพฤติกรรม
ของผู้นํา
(1) อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา
(2) บุคลิกภาพของผู้นํา
(3) การตัดสินใจของผู้นํา
(4) ข้อมูลข่าวสารขององค์การ
(5) ความพร้อมของผู้ตาม
ตอบ 1 หน้า 295 Fred E. Fiedler เห็นว่า การเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้อง กับสถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่เอื้อต่อภาวะผู้นําเป็นผลมาจากตัวแปร 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นําและสมาชิก (Leader-Member Relationship)
2. โครงสร้างของงาน (Task Structure)
3. อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา (Position Power)

58. แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการกระจายอํานาจ
ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ
(1) เสรีนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) ประจักษนิยม
(4) ประชานิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 แบบ คือ
1. เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคน สามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจ
ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ
2. สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็นผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

59. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory)
(1) McClelland
(2) Vroom
(3) Maslow
(4) Herzberg
(5) McGregor
ตอบ 2 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, Stacy Adams เป็นต้น
2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David McClelland เป็นต้น

60. “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่งๆ…..” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด
(1) Human Relation Theory
(2) Management Science
(3) Administrative Theorists
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้ การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

61. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Departmentation
(2) Auxiliary Agency
(3) Staff Agency
(4) Division of Work
(5) Line Agency
ตอบ 1 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

62. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการตัดสินใจของบุคคล
(2) องค์การจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาและตลอดไป
(3) การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหาร
(4) การตัดสินใจก็คือการบริหาร
(5) การตัดสินใจมีความหมายแตกต่างกับการวินิจฉัยสั่งการ
ตอบ 5 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) มีความหมายเช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยสั่งการ โดยหมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะ ให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึง การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียง โดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

63. ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่
(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด และใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(2) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด
(3) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(4) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐาน ว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมาย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

64. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Rules
(2) Management by Procedure
(3) Management by Objectives
(4) Management by Leadership
(5) Management by Book
ตอบ 3 หน้า 78. (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

65.Barton และ Chappelt เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าเป็น
(1) Global Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) Political Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

66. การตัดสินใจในระดับใดที่มีทั้งลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ด้วย
(1) Operational Level
(2) Coordinative Level
(3) International Level
(4) Strategic Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 229 การตัดสินใจในระดับการประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

67. แนวคิดของบุคคลใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะผู้นํา
(1) น.ส.ลัลนาเห็นว่าผู้นําควรบริหารงานแบบประชาธิปไตย
(2) นายศุภฤกษ์เห็นว่าผู้นําที่ดีควรบริหารงานโดยเน้นคนมากกว่าเน้นงาน
(3) นายปภาณษิณเห็นว่าผู้นําที่ดีต้องพิจารณาความพร้อมของผู้ตาม
(4) นายภควัฒน์เห็นว่าผู้นําที่ดีต้องมีแรงขับทางด้านความสําเร็จ
(5) น.ส.สุธิดาเห็นว่าผู้นําที่ดีย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ตอบ 4 หน้า 289, (คําบรรยาย) แนวคิดของนายภควัฒน์ที่เห็นว่าผู้นําที่ดีต้องมีแรงขับทางด้าน ความสําเร็จนั้น สอดคล้องกับแนวคิดของ Keith Davis นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะ ผู้นํา (Traits of Leaders) ซึ่งได้เสนอลักษณะสําคัญของภาวะผู้นําไว้ 4 ประการ คือ
1. Intelligence คือ มีความเฉลียวฉลาด
2. Social Maturity คือ มีวุฒิภาวะทางสังคม
3. Inner Motivation and Achievement Drives คือ มีการจูงใจภายในและมีแรงขับทางด้าน ความสําเร็จ
4. Human Relation Attitudes คือ มีทัศนคติทางด้านมนุษยสัมพันธ์

68. ข้อใดคือความหมายของ “การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไป
ในอันที่จะให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ”
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Leadership
(4) Decision Making
(5) Evaluating
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

69. ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Hygiene Factors สูงที่สุด
(1) ความรับผิดชอบ
(2) ความก้าวหน้าในงาน
(3) นโยบายและการบริหาร
(4) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(5) ลักษณะของงาน
ตอบ 3 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

70. บุคคลในข้อใดพิจารณาลูกน้องแบบทฤษฎีวาย (Y) ของ Douglas McGregor
(1) นายชลันธรปรับเปลี่ยนการจ้างงานลูกจ้างเป็นแบบปีต่อปี
(2) นายอติวิชญ์จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างสูง ๆ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทํางาน
(3) นายภูวดิษฐ์เห็นว่าแรงจูงใจของมนุษย์มี 5 ขั้น
(4) น.ส.อัสมาเห็นว่าความรักในที่ทํางานระหว่างคนเพศเดียวกันเป็นเรื่องปกติ
(5) นางชีวาชนกเชื่อว่าธรรมชาติของลูกจ้างไม่ใช่คนขี้เกียจ
ตอบ 5 หน้า 77 Douglas McGregor ได้เสนอสมมุติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ ไว้ 2 รูปแบบ คือ
1. ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X เป็นมนุษย์ขี้เกียจ ไม่ชอบทํางาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส
2. ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y เป็นมนุษย์ ที่ชอบทํางาน ไม่ขี้เกียจ ต้องการที่จะทํางานด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบต่องาน

71. “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Technical
(2) Goals and Values
(3) Managerial
(4) Psychosocial
(5) Structural
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

72. บุคคลใดเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับ Operational Level มากที่สุด
(1) น.ส.รติมาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง
(2) นายก๊อฟฟารี่เป็นนักการเมือง
(3) นายฐณเมศร์เป็นประธานบริษัท
(4) น.ส.ศาริตาเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเบียร์
(5) นายณธรรศเป็นหัวหน้าคนงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

73. อํานาจที่เกิดขึ้นจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา เกี่ยวพันกับรูปแบบใดมากที่สุด
(1) Competence Theory
(2) Formal Authority Theory
(3) Acceptance Theory
(4) Acceptance Theory and Leadership
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 149 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “ความสามารถ” (Competence Theory) มีความเชื่อว่า อํานาจหน้าที่นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชาในด้านความรู้และ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือได้ ดังนั้น อํานาจหน้าที่นี้จึงเป็นอํานาจหน้าที่ที่ได้มาจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือจนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย

74.ตามทัศนะของ Taylor “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่
(1) ความต้องการ
(2) ทัศนคติ
(3) บุคลิกภาพ
(4) แรงจูงใจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Frederick W. Taylor, Henri Fayol ได้เสนอหลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือ การกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job ในระบบคุณธรรม (Merit System) โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของ บุคคลเป็นหลัก

75. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชา สามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Format Authority
(2) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(3) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

76. การกําหนดขอบเขตการมอบหมายอํานาจหน้าที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) ความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
(2) การกระจายอํานาจ
(3) โครงสร้างองค์การ
(4) การเมืองในองค์การ
(5) ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
ตอบ 5 หน้า 157 – 159 การกําหนดขอบเขตของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ พิจารณาจากปัจจัย ต่าง ๆ ดังนี้ 1. บรรยากาศขององค์การ
2. ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
3. ตัวผู้บริหารที่จะมอบหมายอํานาจหน้าที่
4. ความเต็มใจที่จะมอบหมายความไว้วางใจ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
5. ความเต็มใจในการที่จะกําหนดให้มีการควบคุมอย่างกว้าง

77. ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่
(1) Taylor
(2) Weber
(3) Urwick
(4) Fayol
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Gutick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)
4. D = Directing (การสั่งการ)
5. Co = Coordinating (การประสานงาน)
6. R = Reporting (การจัดทํารายงาน)
7. B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

78. ทุกข้อเป็นการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบปิด” ยกเว้น
(1) สมดุลเป็นพลวัต
(2) Rational Model
(3) มีแผน
(4) ประสิทธิภาพสูงสุด
(5) One Best Way
ตอบ 1 หน้า 25 – 29, 37, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
1. เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต
2. การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน
3. การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ
4. การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
5. การกําหนดมาตรฐานของงาน
6. การกําหนดแผนงานและเป้าหมายที่แน่นอน
7. ความเชื่อในหลัก One Best Way
8. เป็นรูปแบบที่อิงอยู่กับหลักของเหตุและผล (Rational Model)
9. การใช้หลักเหตุผล และวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ)

79. ในการสนทนากันทางโทรศัพท์ “กระบอกพูด” ถือเป็นสิ่งใดในกระบวนการสื่อความเข้าใจ
(1) Receiver
(2) Destination
(3) Transmitter
(4) Channel
(5) Information Source
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

80. การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Hierarchy
(2) Specialization
(3) Responsibility
(4) Unity of Command
(5) Span of Control
ตอบ 4 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

81. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง “สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริม การเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ” สิ่งนี้ถือเป็น
(1) ตัวชี้วัด
(2) พันธกิจ
(3) เป้าหมายปลายประสงค์
(4) วิสัยทัศน์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น เช่น วิสัยทัศน์ของ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

82. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(2) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(5) การปฏิบัติการตามแผนงานต้องเกิดขึ้นก่อนการควบคุมองค์การเสมอ
ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมองค์การไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการตาม แผนงานเสมอไป การควบคุมองค์การนั้นอาจเกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) หรืออาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมในสภาพการปฏิบัติงานจริง (Real Time Control) หรือเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการ ตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมทีหลัง (Post Control) ก็ได้

83. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการจัดองค์การที่ Edwin B. Flippo เสนอให้มีความสัมพันธ์มูลฐาน (1) ความรับผิดชอบ
(2) อํานาจหน้าที่
(3) ความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
(4) การเป็นศูนย์กลางอํานาจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 123 Edwin B. Flippo กล่าวว่า กระบวนการในการจัดองค์การนั้น จะประกอบด้วย ความสัมพันธ์ขั้นมูลฐาน 3 ประการ คือ ความรับผิดชอบ (Responsibility) อํานาจหน้าที่ (Authority) และความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ (Accountability) ทั้งนี้เพราะว่าในทุกองค์การ ย่อมจะต้องประกอบด้วย คน (People) หน้าที่การงาน (Function) และปัจจัยทางกายภาพ ต่าง ๆ (Physical Factors) ขององค์การ

84. การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Organization Design
(2) Formalization
(3) Authority
(4) Centralization
(5) Complexity
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

85. การตัดสินใจในระดับใดที่อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัดให้มี
การตัดสินใจไว้ล่วงหน้า
(1) Strategic Level
(2) Operational Level
(3) International Level
(4) Coordinative Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

86. ข้อใดเป็น Positive Feedback ขององค์การ
(1) ข้อร้องเรียนจากบุคลากรในองค์การ
(2) คําตําหนิ
(3) ปัญหาของการดําเนินการ
(4) ประสิทธิภาพที่ได้รับ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่อง ประสิทธิภาพที่ได้รับ ความสําเร็จของงาน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน ปัญหาของการดําเนินการ เป็นต้น

87. Organization Design เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ำ รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(2) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(3) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(4) Power to Command
(5) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

88. “อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะของสถาบัน” เกี่ยวพันกับรูปแบบใดมากที่สุด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory and Leadership
(3) Acceptance Theory
(4) Competence Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

89.งานสารบรรณ เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) Division of Work
(2) Auxiliary Agency
(3) Staff Agency
(4) Departmentation
(5) Line Agency
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

90. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร
(2) เมโย – อิทธิพลของกลุ่ม
(3) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก
(4) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ
(5) ฟาโย – องค์การอรูปนัย
ตอบ 5 หน้า 25 – 28, 37 – 39, 42 – 43, 55 – 56, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Management) เป็นกลุ่ม ที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” โดยได้ศึกษาทฤษฎีองค์การที่เป็น ทางการหรือทฤษฎีองค์การรูปนัย (Formal Organization Theory) เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ หรือวิธีการทํางานที่ดีที่สุด ซึ่งนักทฤษฎีกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน เพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นหน้าที่ ของนักบริหารที่จะต้องใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับงาน ตัวอย่างของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Max Weber, Henri Fayol, Henry L. Gantt, Frank และ Lillian Gilbreths, Luther Gulick, Lyndall Urwick เป็นต้น

91. อํานาจหน้าที่ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือ จนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใด
(1) Format Position
(2) Competence Theory
(3) Formal Authority
(4) Acceptance Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

92. การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ระดับชั้นมีจํานวนเท่าใดก็ได้แล้วแต่ความต้องการในการจัดโครงสร้าง
(2) ต้องแสดงให้เห็นว่าใครเป็นผู้มีอํานาจสั่งงานผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ต้องลดภาระของผู้บังคับบัญชาให้มากที่สุด
(5) สามารถจัดให้มีผู้สั่งงานหลายคนได้เพื่อการทํางานจะได้รวดเร็ว
ตอบ 2 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้
1. จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
2. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงาน ผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
3. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

93. นักคิดสมัยโบราณเชื่อว่าหากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับสิ่งใด
(1) ความคาดหวัง
(2) ความพึงพอใจ
(3) ความรัก
(4) อารมณ์
(5) ความต้องการ
ตอบ 5 หน้า 271 นักคิดสมัยโบราณ เชื่อว่า หากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ ของมนุษย์ เพื่อหาสิ่งล่อใจให้ตรงกับความต้องการของเขา

94.ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่
(1) บุคลิกภาพ
(2) ความต้องการ
(3) ทัศนคติ
(4) แรงจูงใจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

95. ผู้นําคนใดเข้าข่ายเป็นผู้นําแบบ “Laissez-Faire Leadership Style” มากที่สุด
(1) นายเชนศร์ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้ตาม
(2) นางชรัญญามอบหมายงานโดยพิจารณาจากความสามารถของลูกน้อง
(3) นายอนุกฤษฎ์บริหารงานโดยใช้ความคิดของตนเองเพียงลําพัง
(4) น.ส.สุนิสาเป็นผู้นําที่ให้ความสําคัญเฉพาะลูกน้องที่ทํางานเก่ง
(5) นายนิติรักษ์เป็นผู้นําที่ไม่สนใจงานชอบโยนงานให้ลูกน้อง
ตอบ 5 หน้า 289, (คําบรรยาย) ผู้นําแบบปล่อยเสรี (Laissez-Faire Leadership Style) คือ ผู้นําที่ปล่อยให้ลูกน้องปฏิบัติงานตามสบายด้วยวิถีทางของเขาเอง ผู้นําจะดูแลห่าง ๆ ไม่ค่อย มีบทบาทควบคุมชี้แนะตัดสินใจให้ ซึ่งผู้นําในลักษณะนี้บางทีอาจเรียกว่า ผู้นําแบบจอมปลอม (Pseudo-Leaders) ตัวอย่างของผู้นําแบบนี้ เช่น นายนิติรักษ์เป็นผู้นําที่ไม่สนใจงานชอบโยนงาน ให้ลูกน้อง เป็นต้น

96. “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Goats and Values
(2) Structural
(3) Managerial
(5) Psychosocial
(4) Technical
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

97. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ความรับผิดชอบ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(5) รูปแบบในการประสานงาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

98. แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น…….แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า
(1) Contingency Theory
(2) Adhocracies
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

99. “……พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและ
ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ…….” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีกลุ่มใด
(1) Contingency Theory
(2) A System Approach
(3) Humanism
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษา องค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model) และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2. นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎี กลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

100. ข้อใดจัดเป็น Internal Information Base
(1) ระบบการเงินขององค์การ
(2) ความต้องการของลูกค้า
(3) นโยบายของรัฐบาล
(4) สภาพสังคม
(5) สภาพเศรษฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ ระบบการขายสินค้าและบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบการเงิน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.แนวความคิดในการดําเนินชีวิตแบบใดที่เป็นผลให้เกิดการบริหารที่มีลักษณะของการรวมอํานาจ
ในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ
(1) เสรีนิยม
(2) สังคมนิยม
(3) ประชานิยม
(4) ประจักษนิยม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 14 – 15) แนวความคิดในการดําเนินชีวิต มี 2 แบบ คือ

1. เสรีนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และเห็นว่ามนุษย์ทุกคน สามารถครอบครองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินได้ จึงยึดหลักการกระจายอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2. สังคมนิยม เป็นแนวคิดที่ยกย่องในความเสมอภาคของปวงชน และเห็นว่ารัฐควรจะเป็น ผู้จัดสรรทรัพย์สินและที่ดินเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงยึดหลักการรวมอํานาจในการจัดสรรทรัพยากรของชาติ

2.การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Complexity
(3) Organization Design
(4) Formalization
(5) Centralization
ตอบ 5 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่

3. ทุกข้อเป็นความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ ยกเว้น
(1) การเป็นเจ้าของกิจการ
(2) ทฤษฎีองค์การ
(3) วัตถุประสงค์
(4) ผลผลิต
(5) ขนาดของกิจการ
ตอบ 2(PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 12 – 14) ความแตกต่างระหว่างการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และการบริหารธุรกิจ (Business Administration) อาจแยกพิจารณาได้จาก 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. วัตถุประสงค์
2. การเป็นเจ้าของกิจการ
3. ขนาดของกิจการ
4. ผลผลิต

4.ข้อใดจัดเป็น Internal Information Base
(1) ความต้องการของลูกค้า
(2) ระบบการเจ้าหน้าที่ขององค์การ
(3) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
(4) นโยบายของรัฐบาล
(5) สภาพสังคม
ตอบ 2 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ขององค์การ ระบบการขายสินค้า และบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบการเงิน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

5. บุคคลในข้อใดมีพฤติกรรมผู้นําแบบ Laissez-Faire Leadership Style
(1) นายสรยุทธ์บริหารงานโดยเน้นความเป็นครอบครัว
(2) นายพุทธบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
(3) นางจิตที่บริหารงานโดยปล่อยให้ลูกน้องปฏิบัติงานด้วยวิถีทางของเขาเอง
(4) นายกรรชัยบริหารงานโดยเน้นการควบคุมดูแลลูกน้องอย่างใกล้ชิด
(5) นางหมวยบริหารงานแบบไม่เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 289 ผู้นําแบบปล่อยเสรี (Laissez-Faire Leadership Style) คือ ผู้นําที่ปล่อยให้ลูกน้อง ปฏิบัติงานตามสบายด้วยวิถีทางของเขาเอง ผู้นําจะดูแลห่าง ๆ ไม่ค่อยมีบทบาทควบคุมชี้แนะ ตัดสินใจให้ ซึ่งผู้นําในลักษณะนี้บางทีอาจเรียกว่า ผู้นําแบบจอมปลอม (Pseudo-Leaders)

6.Hedonism อธิบายว่ามนุษย์ต้องการแสวงหาสิ่งใดเป็นสําคัญ
(1) ความรู้
(2) ความรัก
(3) ความสะดวกสบาย
(4) สังคมกลุ่มเพื่อน
(5) ความเป็นผู้นํา
ตอบ 3 หน้า 271 Hedonism อธิบายว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและ ความรื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกันก็จะเลี่ยงความเจ็บปวด และความไม่สะดวกสบาย ทั้งหลาย”

7.ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยก ตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่น แต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formalization
(2) Complexity
(3) Centralization
(4) Organization Design
(5) Authority
ตอบ 2 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การ จะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

8.สิ่งที่ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การจัดทําแผนกลยุทธ์
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่ P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

9. ข้อใดเป็นตําแหน่งผู้บริหารระดับกลาง
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) ผู้จัดการทั่วไป
(3) รองประธานบริหาร
(4) ผู้อํานวยการกอง
(5) หัวหน้าทีม
ตอบ 4 หน้า 283 ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับต้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับกลางจะรับผิดชอบหน่วยงานหรือแผนกงานสําคัญ ในองค์การ ถ้าเป็นธุรกิจก็จะเป็นผู้จัดการฝ่ายขายหรือหัวหน้าแผนก ถ้าเป็นในองค์การราชการ ก็คือ อธิบดี ผู้อํานวยการกอง หัวหน้ากอง

10. ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น การที่องค์การได้รับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) ถือเป็นข้อใด
(1) Threats
(3) Strengths
(2) Opportunities
(4) Problems
(5) Weaknesses
ตอบ 1 หน้า 220, (คําบรรยาย) ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น Threats คือ ภัยคุกคามที่ มีผลต่อการดําเนินงานของ องค์การ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอกองค์การ เช่น การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) เป็นต้น

11. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) ลักษณะงานในองค์การ
(4) ระดับขององค์การ
(5) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตอบ 1. 3 หน้า 184 – 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

12. ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผน
(1) ต้องเกี่ยวข้องกับอนาคต
(2) ต้องปลอดค่านิยม
(3) ต้องใช้เทคโนโลยี
(4) ต้องมาจากผู้บริหาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 219 การวางแผนมีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1. ต้องเกี่ยวข้องกับอนาคต (Involve The Future)
2. ต้องเกี่ยวข้องกับการที่จะมีการดําเนินการเฉพาะใด ๆ (Involve The Action)
3. ต้องมีผลต่อบุคคลหรือต่อองค์การหรือต่อสังคม (Personal or Organizational Causation)

13. ข้อใดเป็นการกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี
(1) การให้ปัจจัยค้ําจุน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการแข่งขัน
(4) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1หน้า 277 – 278 การจูงใจหรือกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานโดยวิธีการใช้ความดี แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. วิธีการใช้ความดีแบบพ่อกับลูก (Paternalism)
2. วิธีการใช้ความดีแบบ การให้ปัจจัยค้ําจุน (Hygienic Management)

14. ถ้าสมมุติฐานมีว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” วิธีการแก้ไขพฤติกรรมที่บกพร่องของผู้บริหาร ที่ยึดสมมุติฐานนี้ ได้แก่
(1) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด
(2) ใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(3) ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
(4) ใช้ระเบียบวินัยและบทลงโทษที่เข้มงวด และใช้คู่มือกํากับการทํางาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 91) Knowles and Saxberg เสนอว่า ถ้าเรามีสมมุติฐาน ว่า “มนุษย์มีความดีมาโดยกําเนิด” เราสามารถทํานายได้เลยว่าพฤติกรรมที่บกพร่องที่เขาแสดงออกมาย่อมเป็นผลมาจากกระบวนการอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ในอดีตของเขา เช่น ความต้องการภายในไม่ได้รับการบําบัด ขาดเสรีภาพ ขาดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งเราอาจแก้ไขโดยใช้การอบรมและพัฒนา ใช้กลุ่มช่วยแก้ปัญหา หรือใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมก็ได้

15. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การที่งานไปค้างที่จุดใดจุดหนึ่ง
(2) ปัญหาด้านแรงจูงใจ
(3) เส้นทางลัดในโครงสร้าง
(4) ความล่าช้าในการสื่อสาร
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

16. “ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Goals and Values
(2) Managerial
(3) Technical
(4) Structurat
(5) Psychosocial
ตอบ 4 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้
1. ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางาน

2. ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและ กลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

3. ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น

4. ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถ ในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

17. นักวิชาการเหล่านี้จัดเป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด Gantt, Gilbreths, Emerson
(1) Neo-Classical Organization Theory
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 42 – 43 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มีดังนี้ 1. Frederick W. Taylor
2. Henry L. Gantt
3. Frank a Lillian Gilbreths
4. Harrington Emerson
5. Morris t. Cooke ฯลฯ

18. การตัดสินใจในระดับใดที่มีทั้งลักษณะทันทีทันใดและการพิจารณาในระยะยาว
(1) Strategic Level
(2) Operational Level
(3) International Level
(4) National Level
(5) Coordinative Level
ตอบ 5 หน้า 229 การตัดสินใจในระดับการประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

19. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด
(1) Specialization
(2) Unity of Command
(3) Responsibility
(4) Hierarchy
(5) Span of Control
ตอบ 3 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command) เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

20. การกําหนดลําดับขั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ขั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Specialization
(2) Unity of Command
(3) Responsibility
(4) Hierarchy
(5) Span of Control
ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

21. ปัจจัยสถานการณ์ใดที่ Fred E. Fiedtar นําไปใช้ในการพิจารณาความเหมาะสมของพฤติกรรมผู้นํา
(1) สภาพแวดล้อมขององค์การ
(2) อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา
(3) ศักยภาพขององค์การ
(4) ความพร้อมของผู้ตาม
(5) เทคโนโลยีขององค์การ
ตอบ 2 หน้า 295 Fred E. Fiedler เห็นว่า การเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้อง กับสถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่เอื้อต่อภาวะผู้นําเป็นผลมาจากตัวแปร 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นําและสมาชิก (Leader-Member Relationship)
2. โครงสร้างของงาน (Task Structure)
3. อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา (Position Power)

22. นักวิชาการคนใดเสนอ The Managerial Grid
(1) Rensis Likert
(2) Lippitt and White
(3) T. Carlyle
(4) Blake and Mouton
(5) Maslow
ตอบ 4 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ได้พิจารณา
การศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนา ประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือบางครั้งเรียกว่า“ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

23. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน
การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Staff Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 2 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ

1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่กลไกที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์การ
(1) Cybernetics
(2) กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ
(3) State of Mind
(4) กลไกการตอบสนอง
(5) Homeostasis
ตอบ 3 หน้า 259 กลไกที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์การ มีดังนี้
1. กลไกการควบคุมโดยอัตโนมัติ (Homeostasis)
2. กลไกการควบคุมโดยพิจารณาจากทิศทางและความพอเพียงของข้อมูลข่าวสาร (Cybernetics)
3. กลไกการตอบสนองต่อข้อมูลข่าวสาร (Feedback)

25. ทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มทฤษฎีใดที่เชื่อว่า Born-Leader
(1) ผู้นําเชิงปฏิรูป
(2) ผู้นําตามสถานการณ์
(3) พฤติกรรมผู้นํา
(4) คุณลักษณะผู้นํา
(5) ผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 4 หน้า 287 T. Carlyle เป็นนักทฤษฎีภาวะผู้นํา “กลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะผู้นํา” (Traits of Leaders) ได้สร้างทฤษฎี Great Man Theory ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีความเชื่อว่า ผู้นําที่ประสบความสําเร็จยิ่งใหญ่ เป็นเพราะมีลักษณะและคุณสมบัติที่ผสมผสานกันกับคุณสมบัติ ส่วนตัว ซึ่งทําให้เขาเหมาะสมเป็นผู้นํา หรือเรียกว่า Born-Leader คือเกิดมาเป็นผู้นํา

26. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Book
(2) Management by Objectives
(3) Management by Leadership
(4) Management by Rules
(5) Management by Procedure
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

27. การศึกษาภาวะผู้นําที่มหาวิทยาลัยไอโอวา ซึ่งควบคุมโดย Kert Lewin ในปี ค.ศ. 1940 จัดอยู่ใน
กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มใด
(1) กลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะผู้นํา
(2) กลุ่มทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
(3) กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา
(4) กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นําแบบแลกเปลี่ยน
(5) กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง
ตอบ 3 หน้า 287, 289 การศึกษาค้นคว้าเรื่องภาวะผู้นําที่มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa Studies) โดย Ronald Lippitt และ Ralph White ที่ใช้วิธีการแบบ Experimental Approach และควบคุมโดย Kert Lewin ในปี ค.ศ. 1940 เป็นการศึกษาของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) ซึ่งผลจากการศึกษาได้ค้นพบความแตกต่างของผู้นํา 3 แบบ คือ
1. แบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)
2. แบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)
3. แบบปล่อยเสรี (Laisse -Faire Leadership)

28. วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่
(1) Scientific Management
(2) Management Science
(3) Operation Research
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

29. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของภาวะผู้นําที่เสนอโดย Keith Davis
(1) Human Relation Attitudes
(2) Social Maturity
(3) Achievement Drives
(4) Intelligence
(5) Honestly
ตอบ 5 หน้า 289. Keith Davis เสนอว่า ลักษณะสําคัญของภาวะผู้นํามี 4 ประการ คือ
1. Intelligence คือ ฉลาด
2. Social Maturity คือ วุฒิภาวะด้านสังคม เช่น มั่นคงในอารมณ์
3. Inner Motivation and Achievement Drives คือ แรงจูงใจไปสู่ความสําเร็จ
4. Human Relation Attitudes คือ มีทัศนคติและคุณสมบัติด้านมนุษยสัมพันธ์

30. เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง
(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(3) วิธีการทํางาน
(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการควบคุมองค์การแบบ Direct Control
(1) การควบคุมล่วงหน้า
(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) การจัดทําระบบงบประมาณ
(4) การควบคุมสภาพในการปฏิบัติงานจริง
(5) การตระหนักรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทํางาน
ตอบ 2 หน้า 266 – 267 วิธีการควบคุมองค์การซึ่งแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผู้ใต้บังคับบัญชา มี 2 วิธี คือ
1. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) คือ การควบคุมที่มีการสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม (Indirect Control) คือ ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

32.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) Global Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

33. Complexity เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

34. “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ ๆ * เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด
(1) Action Theory
(2) Administrative Theorists
(3) Human Relation Theory
(4) Management Science
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้ การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

35. ผู้เสนอ “POSDCORB” ได้แก่
(1) Fayol
(2) Taylor
(3) Urwick
(4) Weber
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 29, 55 – 56, 60 – 62 Luther Gulick ได้เขียนบทความ “Note on the Theory of Organization” โดยเขาได้เสนอหน้าที่หรือภารกิจหลักในการบริหารงาน (Administrative Functions) ของนักบริหารไว้ 7 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า POSDCORB Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. S = Staffing (การบรรจุบุคคลเข้าทํางาน)
4. D = Directing (การสั่งการ)
5. Co = Coordinating (การประสานงาน)
6. R = Reporting (การจัดทํารายงาน)
7. B = Budgeting (การจัดทํางบประมาณ)

36. “….พยายามที่จะจํากัดขอบเขตของการศึกษาเพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถใช้หลักเหตุผลและระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ……” ที่กล่าวมาเป็นวิธีการของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) A System Approach
(2) Contingency Theory
(3) Quantitative Science
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 33 – 34, 83 – 85 วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการของนักทฤษฎีที่ศึกษา องค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบปิด” ซึ่งประกอบด้วย

1. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory หรือ Classical Theory of Organization) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management), นักทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucratic Model) และนักทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theorists)

2. นักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การและการบริหารในเชิงปริมาณ (Quantitative Science) ได้แก่ นักทฤษฎีกลุ่มวิทยาการบริหาร (Management Science) และนักทฤษฎี กลุ่มการวิจัยดําเนินงาน (Operation Research)

37. ใครพิจารณาว่าการเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์
(1) Herzberg
(2) Frederick W. Taylor
(3) Maslow
(4) Fred Fiedler
(5) Mintzberg
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

38. Formal Position เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Format Position) แต่อํานาจหน้าทีนี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็นหลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

39. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี
(1) ระดับชั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป
(2) แต่ละสายต้องชัดเจน
(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้
1. จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
2. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงาน ผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
3. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

40.ตามทัศนะของ Max Weber “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ให้พิจารณาที่
(1) ความรู้ในงาน
(2) แรงจูงใจ
(3) บุคลิกภาพ
(4) ความต้องการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เช่น Max Weber, Henri Fayol ได้เสนอ หลักการบริหารองค์การในการคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือการกําหนดคนให้เหมาะสม กับงานตามหลัก “Put the Right Man on the Right Job” ในระบบคุณธรรม (Merit System) โดยให้พิจารณาที่คุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก

41. ตามทัศนะของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่
(1) ความรู้ในงาน
(2) แรงจูงใจ
(3) บุคลิกภาพ
(4) ความต้องการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42. ข้อใดเป็นแบบพฤติกรรมผู้นําที่แบ่งโดยมหาวิทยาลัยโอไฮโอ
(1) Laissez-Faire Leadership
(2) Autocratic Leadership
(3) Democratic Leadership
(4) Initiating Structure
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 289 — 290 การศึกษาค้นคว้าที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State Studies) ได้แบ่ง พฤติกรรมของผู้นําออกเป็น 2 มิติ คือ

1. การมุ่งคน เป็นพฤติกรรมของผู้นําที่มุ่งสร้างความไว้วางใจร่วมกัน การติดต่อสื่อสารแบบ สองทาง เคารพต่อความคิดเห็นของผู้อื่น ให้ความสําคัญกับความรู้สึกผู้อื่น

2. การมุ่งงาน เป็นพฤติกรรมของผู้นําที่มุ่งทํางานในความรับผิดชอบให้ลุล่วงไป มีการส่งงาน วางแผน กําหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ สนใจเรื่องรูปแบบในการ ทํางาน วิธีการทํางาน ตารางการทํางานเท่านั้น

43.ความสามารถของผู้ควบคุมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Psychosocial
(2) Managerial
(3) Technical
(4) Goals and Values
(5) Structural
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

44. การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Formalization
(3) Complexity
(4) Centralization
(5) Organization Design
ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การได้กําหนด กฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็น พื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

45.Chester I. Barnard เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดมากที่สุด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ที่แท้จริง มาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจ หน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ (Chester I. Barnard และ Herbert A. Simon

46.การพยายามลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อย เป็นหลักในเรื่องใด
(1) Ethic
(2) Ecology
(3) Effectiveness
(4) Efficiency
(5) Equity
ตอบ 4หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

47. นักจิตวิทยาอธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจโดยพิจารณาจากระบบของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใด
(1) Learning and Response
(2) Perception and Learning
(3) Response and Learning
(4) Stimulus and Response
(5) Stimulus and Learning
ตอบ 4 หน้า 232 นักจิตวิทยาได้อธิบายพฤติกรรมของการตัดสินใจโดยพิจารณาจากระบบของ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระตุ้นและการตอบสนอง (Stimulus and Response) ไว้ว่า พฤติกรรมในการตัดสินใจเป็นผลมาจากการเรียนรู้ในเงื่อนไขใหม่ ๆ และความต้องการที่จะ ตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ ๆ นั้นตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เราอาจเรียกลักษณะ การกระตุ้นและการตอบสนองได้ว่าเป็นลักษณะของ Reflex Arc หรือการสะท้อนกลับ

48. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4หน้า 170 — 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
5. ปรัชญาของการบริหาร
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ
8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

49. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. อํานาจหน้าที่ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือ จนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 149 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “ความสามารถ” (Competence Theory) มีความเชื่อว่า อํานาจหน้าที่นั้นจะเกิดขึ้นได้โดยความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชาในด้านความรู้และ ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่จะทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือได้ ดังนั้น อํานาจหน้าที่นี้จึงเป็นอํานาจหน้าที่ที่ได้มาจากความสามารถพิเศษของผู้บังคับบัญชา ไม่ได้มาจากตําแหน่งเป็นทางการแต่สามารถทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังยอมรับนับถือจนเป็นเสมือนหนึ่งได้อํานาจมาโดยปริยาย

51. แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113. Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

52. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชา สามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

53. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) กิลเบิร์ต – จิตวิทยาในองค์การ
(2) เทย์เลอร์ – สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายนอก
(3) กูลิค – หน้าที่ของผู้บริหาร
(4) ฟาโย – องค์การที่เป็นทางการ
(5) มัสโล – ทฤษฎีความต้องการ
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นนักทฤษฎีองค์การที่ไม่ได้ ให้ความสําคัญกับจิตวิทยาในองค์การเช่นเดียวกับนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกคนอื่น ๆ โดยผลงานที่สําคัญของ Gilbreths คือ การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐานของงาน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

54. ผู้บริหารระดับใดต้องใช้ทักษะด้านเทคนิคมากที่สุด
(1) ผู้บริหารระดับต้น
(2) ผู้บริหารระดับอธิบดี
(3) ผู้บริหารระดับสูง
(4) ผู้บริหารระดับกลาง
(5) ผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่าย
ตอบ 1 หน้า 284 – 285 ทักษะของผู้บริหารมี 3 ประการ คือ ทักษะทางด้านความคิด ทักษะในการ ทํางานร่วมกับมนุษย์ และทักษะทางด้านเทคนิค โดยผู้บริหารแต่ละระดับจะต้องมีทักษะหรือใช้ทักษะดังกล่าวแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของหน้าที่และบทบาทของผู้บริหารแต่ละคน เช่น ผู้บริหารระดับสูงจะต้องใช้ทักษะทางด้านความคิดมากที่สุด ผู้บริหารระดับต้นจะต้องใช้ ทักษะด้านเทคนิคมากที่สุด เป็นต้น

55. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่ม Process Theory
(1) Clayton Alderfer
(2) Douglas McGregor
(3) Abraham Maslow
(4) Stacy Adams
(5) Frederick Herzberg
ตอบ 4 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, Stacy Adams เป็นต้น

2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษาว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้นๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor luйu

56. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Staff Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

57. การตัดสินใจในระดับใดที่มักไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้
(1) ระดับของผู้บริหารระดับกลาง
(2) ระดับของฝ่ายสนับสนุน
(3) ระดับของการกําหนดกลยุทธ์
(4) ระดับของการปฏิบัติการ
(5) ระดับของการปฏิบัติการและระดับของฝ่ายสนับสนุน
ตอบ 3 หน้า 229, 236 การตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือระดับ ของการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) จะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดลักษณะของ ขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด มีการรับเอา อิทธิพลและทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในองค์การมากน้อยเพียงใด จะเลือกรับเอาสิ่งใด และต้องการให้องค์การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะใด การตัดสินใจระดับนี้มักเป็น การตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน จําเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ มีเหตุผล และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําอย่างมาก ดังนั้นการตัดสินใจจึงไม่สามารถ จัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable)

58. Secondary Environment หรือ External Environment ที่ Barton และ Chappell แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ประกอบด้วย สังคม……หายไปคือ
(1) เทคโนโลยีและการศึกษา
(2) เศรษฐกิจและการเมือง
(3) การเมืองและเทคโนโลยี
(4) สื่อมวลชนและเทคโนโลยี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

59. แผนปรับปรุงระบบค่าตอบแทนถือเป็นแผนลักษณะใด
(1) Master Plan
(2) Strategic Plan
(3) Program Structure
(4) Standing Plan
(5) Single-Use Plan
ตอบ 5 หน้า 220 Single-Use Plan เป็นแผนที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะขององค์การ เมื่อบรรลุ เป้าหมายก็เลิกใช้ เช่น แผนการรื้อปรับระบบขององค์การ แผนปรับปรุงสํานักงาน แผนปรับปรุง ระบบค่าตอบแทนเป็นต้น

60. สิ่งใดหมายถึงกิจที่องค์การจะต้องกระทํา
(1) Organization
(2) Goals
(3) Vision
(4) Mission
(5) Program Structure
ตอบ 4 หน้า 220 วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น เป็นการให้ภาพของ องค์การในอนาคต ส่วนพันธกิจ (Mission) หมายถึง กิจที่องค์การจะต้องกระทํา

61. นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายถึง Image ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรระหว่าง“การกระตุ้น” กับ “การตอบสนอง
(1) เป็นภาพอนาคต
(2) เป็นสิ่งท้าทาย
(3) เป็นจุดหมายปลายทาง
(4) เป็นจุดเริ่มต้น
(5) เป็นตัวกลาง
ตอบ 5 หน้า 233 นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายว่า Image หรือมโนภาพหรือ จินตนาการ ซึ่งเกิดจากผลรวมของประสบการณ์ที่ผ่านมา เป็นตัวกลางระหว่าง “การกระตุ้น”กับ “การตอบสนอง” และตัวกลางดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการสะท้อนกลับตามลักษณะ Reflex Arc

62. ตัวอย่างของระบบข้อมูล “งานหลัก” ในองค์การต่าง ๆ ได้แก่
(1) ข้อมูลบุคลากร
(2) ข้อมูลทรัพย์สิน
(3) ข้อมูลการให้บริการ
(4) ข้อมูลบุคลากร และข้อมูลทรัพย์สิน
(5) ข้อมูลทรัพย์สิน และข้อมูลการให้บริการ
ตอบ 5(คําบรรยาย) ระบบข้อมูลงานหลัก เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์หรือ ภารกิจหลักขององค์การ เช่น ข้อมูลทรัพย์สิน ข้อมูลการให้บริการ ข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลของผลการดําเนินงาน เป็นต้น

63. “ความต้องการที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน” ที่กล่าวมาเป็นลักษณะความต้องการแบบใดของ Maslow
(1) Social Needs
(2) Ego Needs
(3) Safety Needs
(4) Physiological Needs
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 75 ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) ตามแนวคิดของ Abraham Maslow เป็นความต้องการขั้นต่ําสุดของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานในการดําเนินชีวิต ของมนุษย์ที่สามารถบรรลุได้ด้วยเวลาอันสั้น และความต้องการในแต่ละด้านต้องเป็นอิสระ ต่อกัน ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังถือเป็นความต้องการที่ขาดไม่ได้ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ความต้องการที่จะได้รับอาหาร การพักผ่อน อากาศ การออกกําลังกาย เป็นต้น

64. “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Technical
(2) Goals and Values
(3) Psychosocial
(4) Structural
(5) Managerial
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

65. “Activity, Interaction และ Sentimient” ทั้งสามประการข้างต้นเป็นหลักที่ Homans เสนอให้ใช้ในการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใด
(1) พฤติกรรมขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
(2) การควบคุมองค์การ
(3) การวางแผนองค์การ
(4) พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 79 – 80 Homans เสนอว่า การศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในกลุ่มสังคม (Social Groups) จะต้องพิจารณาคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลในการดําเนินชีวิต 3 ประการด้วยกัน คือ
1. การกระทําของเขาในสังคม (Activity)
2. ความสัมพันธ์อันเกิดจากการกระทําของเขา (Interaction)
3. ความคิดเห็นส่วนตัวหรือสภาพทางอารมณ์และจิตใจของตัวเอง (Sentiment)

66.Herbert Simon เห็นว่า “การตัดสินใจมีความหมายเช่นเดียวกันกับ…”
(1) การวินิจฉัยสั่งการ
(2) จินตนาการ
(3) จิตสํานึก
(4) ความสําเร็จ
(5) การบริหาร
ตอบ 5 หน้า 231 Herbert Simon กล่าวว่า “การตัดสินใจมีความหมายเช่นเดียวกันกับการบริหาร ถ้าพฤติกรรมทั้งหลายในองค์การเป็นผลเนื่องมาจากการตัดสินใจ และถ้าการบริหารเป็นพฤติกรรมองค์การแบบหนึ่ง เราก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารเป็นการตัดสินใจนั่นเอง”

67. ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง
(1) Fayol
(2) Weber
(3) Barnard
(4) ทั้ง Fayol และ Weber
(5) ทั้ง Fayol, Weber และ Barnard
ตอบ 4 หน้า 37 – 39, 44 – 45, 57 – 60, (คําบรรยาย) นักวิชาการในกลุ่มคลาสสิก เช่น Frederick W. Taylor, Henri Fayol และ Max Weber มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น มีวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพียงวิธีเดียว (One Best Way) ที่จะทําให้การบริหาร เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อํานาจหน้าที่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง ประสิทธิภาพสูงสุดในการทํางานเกิดจากการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น

68. ข้อใดไม่ใช่ระดับของบทบาทการตัดสินใจในองค์การ
(1) ระดับชาติ
(2) ระดับการกําหนดนโยบาย
(3) ระดับการประสานงาน
(4) ระดับการปฏิบัติการ
(5) ระดับการกําหนดเป้าหมาย
ตอบ 1หน้า 229, 232 การตัดสินใจในองค์การ มี 3 ระดับ คือ
1. ระดับการปฏิบัติการ หรือการบริหารระดับต้น มักใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือ ไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decision)
2. ระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือการบริหารระดับสูง มักใช้ การตัดสินใจแบบใช้สํานึกหรือใช้ความคิดตรึกตรอง (Conscious Decision)
3. ระดับการประสานงาน หรือการบริหารระดับกลาง มักใช้การตัดสินใจทั้งแบบใช้สํานึก และแบบไร้สํานึกผสมผสานกัน

69. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สําคัญในการควบคุมองค์การ
(1) การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ
(2) การกําหนดเป้าหมาย
(3) การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน
(4) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ตั้งไว้
(5) การปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
ตอบ 1 หน้า 262 การควบคุมองค์การจะต้องมีองค์ประกอบในการควบคุมที่สําคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2. การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3. การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
4. การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้

70. หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้าน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Division of Work
(2) Line Agency
(3) Auxiliary Agency
(4) Staff Agency
(5) Departmentation
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

71. Authority เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

72. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Auxiliary Agency
(2) Staff Agency
(3) Division of Work
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 5 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

73. Centralization เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้าง และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

74. การตัดสินใจที่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง ใช้สํานึก (Conscious Decision) ได้แก่การตัดสินใจในระดับใด
(1) ระดับปฏิบัติการ
(2) ระดับการกําหนดนโยบาย
(3) ระดับปฏิบัติการ และระดับปฏิบัติงาน
(4) ระดับการประสานงาน
(5) ระดับปฏิบัติงาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

75. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการกําหนดขอบเขตการมอบหมายอํานาจหน้าที่
(1) บรรยากาศองค์การ
(2) การเมืองในองค์การ
(3) ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
(4) ตัวผู้บริหาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 157 – 159 การกําหนดขอบเขตของการมอบหมายอํานาจหน้าที่ พิจารณาจากปัจจัย ต่าง ๆ ดังนี้ 1. บรรยากาศขององค์การ
3. ตัวผู้บริหารที่จะมอบหมายอํานาจหน้าที่ ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ลักษณะของงานที่จะมอบหมาย
4. ความเต็มใจที่จะมอบหมายความไว้วางใจ
5. ความเต็มใจในการที่จะกําหนดให้มีการควบคุมอย่างกว้าง

76. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของแผนโดยแบ่งตามลักษณะของแผน
(1) แผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ
(2) แผนหลักขององค์การ
(3) แผนพัฒนา
(4) แผนปฏิบัติการ
(5) แผนกลยุทธ์
ตอบ 2 หน้า 219 แผนในองค์การอาจแบ่งได้เป็นหลายลักษณะ เช่น แบ่งตามระยะเวลาของแผน เป็นแผนระยะสั้น แผนระยะปานกลาง และแผนระยะยาว หรือแบ่งตามลักษณะของแผน เป็นแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

77. ข้อใดเป็น Negative Feedback ขององค์การ
(1) ปัญหาของการดําเนินการ
(2) ประสิทธิภาพที่ได้รับ
(3) ความสามัคคีของบุคลากร
(4) คําชมของลูกค้า
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่อง ประสิทธิภาพที่ได้รับ ความสําเร็จของงาน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน ปัญหาของการดําเนินการ เป็นต้น

78. Organization Design เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command

ตอบ 2 หน้า 122 – 123 การออกแบบองค์การ (Organization Design) คือ การมุ่งหรือพยายาม ในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อ การปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

79. การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Span of Control
(2) Responsibility
(3) Hierarchy
(4) Unity of Command
(5) Specialization
ตอบ 4 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

80. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ความสามารถของผู้บังคับบัญชา
(2) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(4) ระดับขององค์การ
(5) ประเภทของกิจกรรม
ตอบ 3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

81. กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการทําให้เกิด “การทํางานเป็นกิจวัตร”
(1) Piece Rate System
(2) Gantt Chart
(3) Staffing
(4) Reporting
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) Henry L. Gantt เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มการจัดการแบบ วิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ที่เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและ การทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือ แผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้งการกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้

82. ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Hygiene Factors สูงที่สุด
(1) นโยบายและการบริหาร
(2) ความก้าวหน้าในงาน
(3) ลักษณะของงาน
(4) ความรับผิดชอบ
(5) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ำจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

83. การที่ผู้ปฏิบัติงานทํางานเพียงเท่าเกณฑ์ขั้นต่ําในการทํางาน ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์นั้น Taylor เรียกพฤติกรรมนี้ว่า
(1) การหลีกเลี่ยงงานโดยธรรมชาติ
(2) การค้นหามาตรฐานของงาน
(3) ความล้มเหลวในการบังคับบัญชา
(4) การหลีกเลี่ยงงานโดยอาศัยระบบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 41, (คําบรรยาย) พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงงานหรือหนีงานโดยอาศัยระบบตามแนวคิด ของ Frederick W. Taylor นั้น เป็นพฤติกรรมที่อาศัยระบบของงานในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อปิดบังไม่ให้ผู้บังคับบัญชาล่วงรู้ถึงปริมาณงานที่แท้จริงของตน โดยพยายามทําให้เห็นว่าตนเองมีงานล้นมืออยู่แล้ว หรือพยายามทํางานเพียงให้ได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานขั้นต่ําของงาน โดยไม่ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถมากกว่าเกณฑ์ หรือพยายามทํางาน เท่าที่ระเบียบกําหนด หรือทํางานให้น้อยที่สุดเท่าที่ไม่ผิดระเบียบ ไม่ตกมาตรฐานขององค์การ เช่น การส่งใบลากิจในวันที่องค์การมีภารกิจมาก การใช้สิทธิลาหยุดงานให้ครบวันลาตามสิทธิ เป็นต้น

84. ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Authority
(2) Formalization
(3) Centralization
(4) Complexity
(5) Organization Design
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

85. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ
(1) บุคลิกภาพ
(2) คุณวุฒิ
(3) ประสบการณ์
(4) บุคลิกภาพ และคุณวุฒิ
(5) บุคลิกภาพ คุณวุฒิ และประสบการณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

86.Power to Command เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
(1) Formalization
(2) Centralization
(3) Organization Design
(4) Authority
(5) Complexity
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

87. นักคิดสมัยโบราณเชื่อว่าหากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับสิ่งใด
(1) อารมณ์
(2) ความคาดหวัง
(3) ความพึงพอใจ
(4) ความต้องการ
(5) ความรัก
ตอบ 4 หน้า 271 นักคิดสมัยโบราณ เชื่อว่า หากจะจูงใจมนุษย์ต้องศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ ของมนุษย์ เพื่อหาสิ่งล่อใจให้ตรงกับความต้องการของเขา

88. การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Erudition) ถือเป็นการเรียนรู้โดยการประมวลความรู้ทั้งหลายจากประชาคม ที่อาศัยอยู่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ตัดสินใจเกิดสิ่งใด
(1) ข่าวสาร
(2) การรับรู้
(3) ข้อมูล
(4) ปัญญา
(5) อคติ
ตอบ 4 หน้า 243 การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Erudition) ถือเป็นการเรียนรู้โดยการประมวลความรู้ ทั้งหลายจากประชาคมที่อาศัยอยู่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นผลให้ผู้ตัดสินใจเกิด “ปัญญา” (Wisdom)

89. จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Responsibility
(2) Unity of Command
(3) Span of Control
(4) Specialization
(5) Hierarchy
ตอบ 3 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้ โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

90. “นําเอาหลักการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในองค์การด้านการศึกษาและหน่วยงานรัฐบาล…….” ผู้ริเริ่มได้แก่
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3) Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 43 Morris L. Cooke ได้นําเอาหลักการและความรู้จากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เข้าไปศึกษาการบริหารงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น องค์การทางด้านการศึกษาโดยพบว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์การดังกล่าวได้ และ ในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพให้กับงานนั้น เขาเห็นว่าทุกคนควรช่วยกันค้นหา One Best Way ไม่ควรจํากัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะแต่ผู้ชํานาญหรือผู้บริหารเท่านั้น

91.Formalization เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
(3) ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) Power to Command
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 44. ประกอบ

92. “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ……การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก” ตัวอย่างได้แก่
(1) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา
(2) สังคมคนชรา
(3) สังคมเด็กวัยรุ่น
(4) สังคมชาวเขาเร่ร่อน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น
3. Disturbed-Reactive linvironment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น
4. Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

93. ข้อใดไม่ใช่อุปสรรคของสายการบังคับบัญชา
(1) เกิดความล่าช้าในการทํางาน
(2) มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่พึงประสงค์
(3) ทําให้เกิดพันธะผูกพันในผลงาน
(4) ถูกทั้งข้อ 1, 2, และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 141, (คําบรรยาย) การจัดให้มีสายการบังคับบัญชาในหน่วยงานแม้ว่าจะเป็นหัวใจของ
องค์การขนาดใหญ่ที่ทําให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่อุปสรรคในการมีสายการบังคับบัญชาก็เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ เช่น ทําให้เกิดความล่าช้าในการทํางาน มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น

94. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะขององค์การ
(1) มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง
(2) มีเป้าหมายที่สูงกว่าที่แต่ละบุคคลจะกระทําได้
(3) มีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม
(4) มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา
(5) ลักษณะการมุ่งเน้นให้เกิดการประสานกัน
ตอบ 4หน้า 119 – 120 ลักษณะขององค์การ อาจแบ่งออกได้เป็น 5 ลักษณะ ดังนี้
1. มีลักษณะการมุ่งเน้นให้เกิดการประสานกัน
2. มีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม
3. มีการแบ่งแยกขอบเขตของการเป็นองค์การแต่ละองค์การอย่างชัดแจ้ง
4. มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง
5. มีเป้าหมายที่สูงกว่าที่แต่ละบุคคลจะสามารถกระทําได้โดยลําพัง

95. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) ประเภทของกิจการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

96. แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น … แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า
(1) Adhocracies
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

97. ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น
(1) มีความเจริญเติบโตภายใน
(2) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
(3) มีเสถียรภาพแบบพลวัต
(4) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร
(5) มีการวางแผน
ตอบ 2 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย)
ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
(Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด เป็นลักษณะเฉพาะ ที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

98.งานสารบรรณ เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) Auxiliary Agency
(2) Division of Work
(3) Staff Agency
(4) Line Agency
(5) Departmentation
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

99. แผนที่เป็นรายละเอียดและลงลึกไปถึงวิธีการในการดําเนินงาน เรียกว่าอะไร
(1) แผนแม่บท
(2) แผนพัฒนา
(3) แผนกลยุทธ์
(4) แผนปฏิบัติการ
(5) แผนหลักขององค์การ
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) แผนปฏิบัติการ (Operational Plan) คือ แผนที่เป็นรายละเอียด และลงลึกไปถึงวิธีการในการดําเนินงาน ซึ่งแผนปฏิบัติการนี้มักจะกําหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 1 – 2 ปี ดังนั้นจึงจัดเป็นแผนระยะสั้น

100. ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

 

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. ให้นักศึกษาอธิบายอํานาจร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับความหมาย รูปแบบ พร้อมกับวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ ของประเทศไทยว่าส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใด

แนวคําตอบ

ความหมายของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง อํานาจในการจัดทํารัฐธรรมนูญ อํานาจในการกําหนด หลักการแห่งรัฐธรรมนูญ อํานาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยบัญญัติเป็นหมวด เป็นมาตราต่าง ๆ รวมถึง การลงมติเห็นพ้องกันให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย ตลอดจนครอบคลุมไปถึงการประกาศใช้ หรือกล่าวโดยสรุป อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดทํารัฐธรรมนูญนั่นเอง

รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ ได้แก่

1. อํานาจพิจารณาใหม่ เป็นอํานาจที่มีอยู่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หมายความว่าเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับที่กําลังใช้อยู่ได้วางระเบียบการจัดตั้งอํานาจและกําหนดวิธีการ ดําเนินการไว้ โดยในทางปฏิบัติจะปรากฏในรูปของอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (Amendment) ซึ่งรัฐธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษรจะมีหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ โดยกําหนดว่าญัตติในการเสนอขอแก้ไขเป็น องค์กรใด ผู้มีอํานาจในการพิจารณาแก้ไขคือองค์กรใด และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากในจํานวนเท่าใด นอกจากนี้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นผู้มีอํานาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่กี่มาตราก็ได้หรืออาจแก้ไขทั้งฉบับก็ได้

ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489) เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) หรือรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 (รัฐธรรมนูญ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534) เป็นฉบับที่มีการแก้ไขมากที่สุด โดยใช้อํานาจพิจารณาใหม่แก้ไขเกือบทั้งฉบับ (ยกเว้น หมวดทั่วไปกับหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เท่านั้น ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขที่มีผลทําให้ เปลี่ยนรัฐธรรมนูญในแบบอํามาตยาธิปไตย (Bureaucracy) มาเป็นรัฐธรรมนูญในแบบประชาธิปไตย (Democracy)

2. อํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เป็นอํานาจที่ไม่มีอยู่ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพราะว่าไม่มีรัฐธรรมนูญในขณะนั้น โดยเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

1) การก่อตั้งรัฐใหม่

2) มีการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหาร

ดังนั้น ผู้ก่อตั้งรัฐใหม่หรือผู้ทําการปฏิวัติรัฐประหารจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่า มีอํานาจแรกเริ่ม อิสระ ไม่ผูกพันกับตัวบทกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนใด ๆ ที่มีอยู่ก่อน ทั้งสิ้น เป็นอํานาจอิสระจริง ๆ สามารถกําหนดหลักการแห่งรัฐธรรมนูญอย่างใดก็ได้ โดยไม่จําเป็นต้องไปผูกพันกับ รัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่เคยมีอยู่ในอดีต อีกทั้งยังสามารถยกเลิกหลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) ไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้มาตรา 17 เป็นต้น

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เพราะเกิดจากการทํารัฐประหาร ผู้ทําการรัฐประหารจึงมีอํานาจ “รัฏฐาธิปัตย์” คือ อํานาจปกครองบังคับบัญชาสูงสุด ภายในรัฐ จึงสามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดก็ได้โดยไม่จําเป็นต้องเคารพหรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ที่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับเก่า แต่ต้องยึดอํานาจให้สําเร็จจึงจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมได้ ถ้าแพ้ก็เป็นกบฏ และต้องมีความผิด

อำนาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารนี้ถือว่าเป็นอํานาจที่ไม่มีขอบเขตจํากัด เนื่องจากเป็นผู้ชนะอาจสั่งให้ยกเลิกศาลทั้งหมดก็ทําได้ เพราะตรงตามข้อเท็จจริงทาง หลักรัฐศาสตร์ประการหนึ่งที่ว่า “ผู้แข็งแรงที่สุดเป็นผู้มีอํานาจปกครอง”

อย่างไรก็ตาม ขีดจํากัดของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยวิธีการปฏิวัติหรือรัฐประหารสามารถวิเคราะห์ได้ 2 ประการ คือ

1) จิตใต้สํานึกของผู้มีอํานาจ

2) ความรู้สึกของประชาชน

สําหรับกรณีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการก่อตั้งรัฐใหม่ มีตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1787 ของสหรัฐอเมริกา มี 7 มาตรา (แก้ไข 27 ครั้ง) ซึ่งแต่เดิมนั้นสหรัฐอเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ต่อมาได้มีการปฏิวัติเพื่อกู้เอกราชในปี ค.ศ. 1776 และกระทําสําเร็จ จึงมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม สามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดได้ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นอํานาจแรกเริ่ม เป็นอํานาจอิสระที่แท้จริง หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น การเกิดประเทศบรูไนในปี ค.ศ. 1983 จะร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใดก็ได้ (ราชาธิปไตยหรือระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ประยุกต์)

กรณีประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ การจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยมีทั้ง 2 รูปแบบ คือ ด้วยวิธีการใช้ “อํานาจพิจารณาใหม่” (ดังปรากฏในหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) และวิธีการใช้ “อํานาจ ร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม” แต่ถ้าจะวิเคราะห์แล้วอํานาจร่างรัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ ดั้งเดิม เพราะการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ๆ ของไทยจะเกิดจากผลของการทํารัฐประหาร

กล่าวโดยสรุป อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ คือ อํานาจพิจารณาใหม่ และอํานาจร่าง รัฐธรรมนูญดั้งเดิม โดยการจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่จะเกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม

ข้อ 2. ให้นักศึกษาอธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย
2.1 Sovereignty

แนวคําตอบ

Sovereignty (อํานาจอธิปไตย) หมายถึง อํานาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้นสิ่งอื่นใด จะมีอํานาจยิ่งกว่าหรือจะมาขัดต่ออํานาจอธิปไตยไม่ได้

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย ประชากร ดินแดน และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอํานาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ รัฐนั้น ต้องเป็นรัฐที่สามารถมีอํานาจสูงสุด (อํานาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้

อํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง ประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และ เป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และ อยู่เหนือทุก ๆ อํานาจ

2. มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐ จะไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

3. มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4. แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว จะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2. ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ในสังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการ ควบคุมทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

2.2 Uprising

แนวคําตอบ

Uprising (การจลาจลทางการเมือง) หมายถึง การที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้าน (Standing up against) ผู้ปกครอง/ผู้ใช้อํานาจรัฐ หรือรัฐธรรมนูญในเวลานั้น โดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของอุดมการณ์เท่านั้น ซึ่งจะนําโดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ จากนั้น ประชาชนบางกลุ่มก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในอุดมการณ์นั้น และเมื่อรัฐบาลยอมทําตามอุดมการณ์ที่กลุ่มต้องการแล้วก็จะยุติการจลาจลลง

ตัวอย่างเหตุการณ์การจลาจลทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมี 2 ครั้ง คือ

– เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “วันมหาวิปโยค”

– เหตุการณ์วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในสมัยพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “พฤษภาทมิฬ”

2.3 Revolution

แนวคําตอบ

Revolution (การปฏิวัติ) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมแบบใหม่ สร้าง กฎหมายใหม่ และเพื่อสนองอุดมการณ์แบบใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สั้นที่สุดก็คือ “สิ่งที่เคยถูกต้องและดีงามในอดีต หรือสิ่งที่ถูกต้องในวันนี้ ไม่จําเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นหลักสัจธรรมสําหรับปัจจุบันหรืออนาคต” แต่การปฏิวัติ ที่จะเกิดความชอบธรรม (Legitimacy) จะต้องมีประชาชนเข้าร่วมอยู่ด้วยพร้อมกับผู้นํา

ตัวอย่างของการปฏิวัติใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกที่อาจกล่าวได้ว่ามีความชอบธรรม ได้แก่

– การปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 – การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ. 1917
– การปฏิวัติในจีน ค.ศ. 1949

กรณีประเทศไทย การยึดอํานาจรัฐที่พอจะอนุโลมให้เรียกว่า “การปฏิวัติ” นั้นมีเพียงครั้งเดียว คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่คณะราษฎรได้ทําการ ยึดอํานาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใหม่จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ในระบบรัฐสภา แบบอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วย

สําหรับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นี้ ไม่ใช่การทํารัฐประหาร และก็ไม่ใช่การปฏิวัติ โดยสิ้นเชิง แต่ที่ถูกต้องทางรัฐศาสตร์ควรเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475” ซึ่ง 1 ในคณะราษฎร หรือผู้ก่อการคือ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การอภิวัฒน์การปกครอง พ.ศ. 2475

2.4 Coup d’e’tat

แนวคําตอบ

Coup d’e’tat (การรัฐประหาร) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยน ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนา ผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจ มักเป็นทหาร และภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทาง การเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบ ทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

อนึ่ง ประเทศไทยมีการทํารัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอํานาจรัฐบาลรักษาการของนายนิวัตน์ธํารง บุญทรงไพศาล และประกาศ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550

2.5 Election

แนวคําตอบ

Election (การเลือกตั้ง) เป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตยที่จะมอบความไว้วางใจ
ในตัวแทนของปวงชนให้มาใช้อํานาจแทนตน ดังนั้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยผู้ปกครองหรือผู้บริหาร ประเทศจึงต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และการเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นไปอย่างอิสรเสรี เสมอภาค และ ลงคะแนนลับ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการออกเสียงเลือกตั้งจะเป็นผู้เข้ามาใช้อํานาจรัฐแทนประชาชน ซึ่งใน ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาผู้ที่จะเข้ามาใช้อํานาจรัฐก็คือ นายกรัฐมนตรี ส่วนในระบอบประชาธิปไตยแบบ ประธานาธิบดีผู้ที่จะเข้ามาใช้อํานาจรัฐก็คือ ประธานาธิบดี

กรณีประเทศไทย การเลือกตั้งของไทยนั้นมีทั้งการเลือกตั้งในระดับชาติ คือ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็น “การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของประเทศไทย” คือ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนตําบลก่อน แล้วผู้แทนตําบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง ส่วนการเลือกตั้งในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นการเลือกตั้งทางตรง คือ การให้ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ทําการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงไม่ผ่านตัวแทนอื่นใด

ส่วนสมาชิกวุฒิสภานั้น นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา มีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า พฤฒิสภา เป็นการเลือกตั้ง ทางอ้อม คือ ให้ประชาชนเลือกตั้งตัวแทนเข้ามาทําหน้าที่เลือกสมาชิกวุฒิสภา ส่วนการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภา ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และอีกส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา

สําหรับองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามความบริสุทธิ์ และยุติธรรม หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” นั้น มีครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกจนกระทั่งก่อนการ ประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การควบคุมและบริหารจัดการการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

ข้อ 3. จงอธิบายว่าหลักการในการปกครองระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นอธิบายเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของระบบรัฐสภาและประธานาธิบดี โดยยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System)

ระบบรัฐสภาเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อังกฤษเป็นแม่แบบที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภาคลาสสิก”ซึ่งในการปกครองระบบนี้จะถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรการเมืองที่มีความสําคัญกว่าองค์กรอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าเป็นองค์กรที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ฉะนั้นโดยหลักการแล้วรัฐบาลที่ปกครอง และบริหารประเทศจะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา หรือเป็นรัฐบาลที่บริหารงานด้วยความ รับผิดชอบต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรผู้แทนจากประชาชนนั่นเอง

หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา มีดังนี้

1. อํานาจอธิปไตยแยกตามหน้าที่ กล่าวคือ อํานาจรัฐไม่ได้รวมไว้ในองค์กรเดียว แต่มี การแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อํานาจ ได้แก่ อํานาจบริหารใช้โดยรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี อํานาจนิติบัญญัติ ใช้โดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา และอํานาจตุลาการใช้โดยผู้พิพากษาในศาล

2. การแยกอํานาจไม่แยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ อํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐจะถูกแจกจ่าย ให้องค์กรต่าง ๆ กัน โดยองค์กรเหล่านี้ไม่แยกกันโดยเด็ดขาด

3. อํานาจที่แบ่งแยกนี้จะมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ องค์กรที่ใช้อํานาจรัฐเหล่านี้ มีลักษณะควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สามารถเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ หรือนายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ เป็นต้น

วิธีการของการปกครองระบบรัฐสภา มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะแยกกัน เช่น ประมุขของรัฐเรียกว่าพระมหากษัตริย์ อย่างเช่น อังกฤษ ไทย หรือเรียกว่า พระจักรพรรดิ อย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือเรียกว่าประธานาธิบดี อย่างเช่น อินเดีย สิงคโปร์ เยอรมนี ส่วนตําแหน่ง ประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาลจะเรียกว่านายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2. ประมุขของรัฐมีสถานะเป็นกลางทางการเมือง หรือไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง (The King can do no wrong) ซึ่งแสดงออกโดยการที่ประมุขของรัฐไม่อาจถูกถอดถอนออกจากตําแหน่ง จากการที่ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองนี้เองที่ทําให้กิจกรรมใด ๆ ของประมุขของรัฐต้องมีการลงนามกํากับหรือ ๆ ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของทุกกิจกรรมเสมอ เพื่อให้ผู้ลงนามรับรองเป็นผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆต่อสภาผู้แทนราษฎร

3. ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลก่อนจะเข้าบริหารงานปกครองประเทศนั้น จะต้องเสนอนโยบาย เพื่อขอความไว้วางใจหรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จึงจะบริหารงานได้

4. ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาทําหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารโดย
1) การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
2) การตั้งกระทู้ถาม
3) การอนุมัติงบประมาณประจําปี
4) การตั้งคณะกรรมาธิการ
5. ฝ่ายบริหารมีอํานาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้
6. ฝ่ายบริหารมีสิทธิเสนอกฎหมายเช่นเดียวกับฝ่ายนิติบัญญัติ
7. ฝ่ายบริหารมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกับฝ่ายนิติบัญญัติ
8. ฝ่ายตุลาการ (ศาล) และผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี

การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System)

ระบบประธานาธิบดีเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบที่เรียกว่า “ระบบประธานาธิบดีคลาสสิก” ซึ่งเกิดมาจากความคิดของผู้เริ่มก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการจะกําหนดรูปแบบการปกครองของประเทศให้เหมาะสมกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญในสมัยแรกเริ่มก่อตั้งประเทศ

หลักการสําคัญของการปกครองระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1. อํานาจอธิปไตยหรืออํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐถูกมอบหมายให้แต่ละองค์กรนําไปปฏิบัติ โดยไม่รวมอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเพียงองค์กรเดียว กล่าวคือ อํานาจบริหารจะใช้โดยฝ่ายบริหารที่เรียกว่าประธานาธิบดีหรือคณะรัฐบาล อํานาจนิติบัญญัติจะใช้โดยฝ่ายรัฐสภา และอํานาจตุลาการจะใช้โดยฝ่ายศาล

2. การแยกอํานาจแยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ องค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอํานาจหน้าที่ ของรัฐไปปฏิบัติจะเป็นอิสระต่อกันโดยเด็ดขาด แต่ละองค์กรจะทําหน้าที่ของแต่ละฝ่ายโดยไม่ก้าวก่ายตรวจสอบ หรือควบคุมซึ่งกันและกัน

3. ฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่จะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ เช่น ประธานาธิบดีมีวาระ 4 ปี ก็จะอยู่จนครบ 4 ปี หรือฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็จะอยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

วิธีการของการปกครองระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะเป็นบุคคลเดียวกัน และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยตําแหน่งดังกล่าวนี้เรียกว่าประธานาธิบดี
2. ประธานาธิบดีตั้งรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
3. สภาผู้แทนราษฎรจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีไม่ได้
4. ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอํานาจติเตียนฝ่ายบริหารหรือตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหาร
5. ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจริเริ่มเสนอกฎหมาย การเสนอกฎหมายเป็นอํานาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
6. ฝ่ายบริหารหรือประธานาธิบดีไม่มีอํานาจยุบสภา
7. ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจเรียกประชุมรัฐสภา
8. ฝ่ายตุลาการมีหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
9. ทุกฝ่ายจะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ประธานาธิบดี มีวาระ 4 ปี ก็อยู่จนครบ 4 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็อยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

การปกครองระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

ระบบรัฐสภา

-การแยกอํานาจไม่แยกโดยเด็ดขาด
– ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารแยกจากกัน
– ฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– ฝ่ายนิติบัญญัติมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม
– ฝ่ายบริหารมีอํานาจยุบสภา
– ฝ่ายบริหารมีสิทธิเสนอกฎหมายได้
– ไม่มีหลักประกันการปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระ

ระบบประธานาธิบดี

-การแยกอํานาจแยกโดยเด็ดขาด
– ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารเป็นบุคคลเดียวกัน
– ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีสิทธิตั้งกระทู้ถาม
– ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจยุบสภา
-ฝ่ายบริหารไม่มีสิทธิเสนอกฎหมาย
– ทุกฝ่ายอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ

ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของระบบรัฐสภาและประธานาธิบดี

ระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีการแยกอํานาจกันแบบไม่เด็ดขาด โดยการใช้ อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า “การเชื่อมโยงอํานาจ” (Fusion of Power) เนื่องจากฝ่ายรัฐบาลมีที่มาจากฝ่ายรัฐสภา การทํางานจึงต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ในเบื้องต้นหลังจาก เข้ารับตําแหน่งจะต้องมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อทํางานไปแล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถตรวจสอบถ่วงดุลโดยการตั้งกระทู้ถามหรือยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายคนได้ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็มีอํานาจในการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้หากมีเหตุผลอันควรโดยเฉพาะเกิดความ ขัดแย้งขึ้นในฝ่ายรัฐบาลด้วยกันเองหรือเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายรัฐสภาจนไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ ซึ่งการยุบสภาก็จะส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดสิ้นสุดลงไปด้วย

ระบบประธานาธิบดี ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีการแยกอํานาจกันเด็ดขาดบนหลักการ แบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติจึงแยกอิสระจากกัน แต่ละฝ่ายไม่ก้าวก่าย ตรวจสอบหรือควบคุมซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจในการยุบสภา ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ไม่มีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร เป็นต้น

ในระบบประธานาธิบดี แม้ในหลักการจะไม่ก้าวก่ายและตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกันแต่ในทางปฏิบัติก็อาจมีการผ่อนคลายบ้างในกรณีเกิดปัญหาวิกฤติในการเมืองการปกครอง เช่น การให้ประธานาธิบดี มีอํานาจยับยั้งกฎหมาย (Veto) ที่ออกมาจากฝ่ายรัฐสภา หรือการให้อํานาจฝ่ายนิติบัญญัติทําหน้าที่กล่าวหา ประธานาธิบดีในกรณีที่มีการกระทําที่ไม่เหมาะสมที่จะนําไปสู่ความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของประเทศหรือเสื่อมเสียกับตําแหน่งประธานาธิบดีที่เรียกว่า Impeachment

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” นั้น นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “อํานาจ อธิปไตย” (Sovereignty) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

แนวคําตอบ

อํานาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อํานาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้นสิ่งอื่นใดจะมี อํานาจยิ่งกว่าหรือจะมาขัดต่ออํานาจอธิปไตยไม่ได้

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย ประชากร ดินแดน และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอํานาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ รัฐนั้น ต้องเป็นรัฐที่สามารถมีอํานาจสูงสุด (อํานาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้

อํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง ประเทศ โดยผ่านตัวแทนคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และ เป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และอยู่เหนือ ทุก ๆ อํานาจ

2. มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐ จะ ไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

3. มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4. แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว จะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2. ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมใน สังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการควบคุม ทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” จากบทบัญญัตินี้หมายความว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐทรงใช้อํานาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล กล่าวคือ

1. ทรงใช้อํานาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจในการ ออกกฎหมายตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เมื่อรัฐสภาร่างกฎหมายขึ้นแล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรง ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ

2. ทรงใช้อํานาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่ง นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีดําเนินการไปนั้นถือว่ากระทําไปในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ เพราะบรรดาพระราชบัญญัติ พระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอัน เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบทั้งสิ้น โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องกราบบังคมทูล
และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชอํานาจทางด้านบริหารของพระมหากษัตริย์ดังกล่าว ได้แก่ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดต่อกฎหมาย การประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงครามเมื่อ ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา การทําสนธิสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก หรือสนธิสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ และการพระราชทานอภัยโทษ

3. ทรงใช้อํานาจตุลาการทางศาล หมายถึง ศาลเป็นผู้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมาหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจใน การแต่งตั้งและการพ้นจากตําแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการจะต้อง
ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์

ข้อ 2. ให้นักศึกษาอธิบายเรื่องอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

1. ความหมายของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

2. รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

พร้อมกับวิเคราะห์รัฐธรรมนูญของประเทศไทยว่าส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใด

แนวคําตอบ

1. ความหมายของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง อํานาจในการจัดทํารัฐธรรมนูญ อํานาจในการกําหนดหลักการ แห่งรัฐธรรมนูญ อํานาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยบัญญัติเป็นหมวด เป็นมาตราต่าง ๆ รวมถึงการลงมติ เห็นพ้องกันให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย ตลอดจนครอบคลุมไปถึงการประกาศใช้ หรือกล่าวโดยสรุปอํานาจร่าง รัฐธรรมนูญ หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดทํารัฐธรรมนูญนั่นเอง

2. รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ

รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ ได้แก่

1. อํานาจพิจารณาใหม่ เป็นอํานาจที่มีอยู่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หมายความว่าเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับที่กําลังใช้อยู่ได้วางระเบียบการจัดตั้งอํานาจและกําหนดวิธีการ ดําเนินการไว้ โดยในทางปฏิบัติจะปรากฏในรูปของอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (Amendment) ซึ่งรัฐธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษรจะมีหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ โดยกําหนดว่าญัตติในการเสนอขอแก้ไขเป็น องค์กรใด ผู้มีอํานาจในการพิจารณาแก้ไขคือองค์กรใด และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากในจํานวนเท่าใด นอกจากนี้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นผู้มีอํานาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่กี่มาตราก็ได้หรืออาจแก้ไขทั้งฉบับก็ได้

ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489) เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) หรือรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 (รัฐธรรมนูญ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534) เป็นฉบับที่มีการแก้ไขมากที่สุด โดยใช้อํานาจพิจารณาใหม่แก้ไขเกือบทั้งฉบับ (ยกเว้น หมวดทั่วไปกับหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เท่านั้น) ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขที่มีผลทําให้ เปลี่ยนรัฐธรรมนูญในแบบอํามาตยาธิปไตย (Bureaucracy) มาเป็นรัฐธรรมนูญในแบบประชาธิปไตย (Democracy)

2. อํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เป็นอํานาจที่ไม่มีอยู่ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพราะว่าไม่มีรัฐธรรมนูญในขณะนั้น โดยเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

1) การก่อตั้งรัฐใหม่

2) มีการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหาร

ดังนั้น ผู้ก่อตั้งรัฐใหม่หรือผู้ทําการปฏิวัติรัฐประหารจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่า มีอํานาจแรกเริ่ม อิสระ ไม่ผูกพันกับตัวบทกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนใด ๆ ที่มีอยู่ก่อน ทั้งสิ้น เป็นอํานาจอิสระจริง ๆ สามารถกําหนดหลักการแห่งรัฐธรรมนูญอย่างใดก็ได้ โดยไม่จําเป็นต้องไปผูกพันกับ รัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่เคยมีอยู่ในอดีต อีกทั้งยังสามารถยกเลิกหลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) ไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้มาตรา 17 เป็นต้น

รัฐธรรมนูญของประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เพราะ เกิดจากการทํารัฐประหาร ผู้ทําการรัฐประหารจึงมีอํานาจ “รัฏฐาธิปัตย์” คือ อํานาจปกครองบังคับบัญชาสูงสุด ภายในรัฐ จึงสามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดก็ได้โดยไม่จําเป็นต้องเคารพหรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน ที่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับเก่า แต่ต้องยึดอํานาจให้สําเร็จจึงจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมได้ ถ้าแพ้ก็เป็นกบฏและต้องมีความผิด

อํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหารนี้ถือว่าเป็นอํานาจที่ไม่มีขอบเขตจํากัด เนื่องจากเป็นผู้ชนะอาจสั่งให้ยกเลิกศาลทั้งหมดก็ทําได้ เพราะตรงตามข้อเท็จจริงทาง หลักรัฐศาสตร์ประการหนึ่งที่ว่า “ผู้แข็งแรงที่สุดเป็นผู้มีอํานาจปกครอง”

อย่างไรก็ตาม ขีดจํากัดของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยวิธีการปฏิวัติหรือรัฐประหารสามารถวิเคราะห์ได้ 2 ประการ คือ

1) จิตใต้สํานึกของผู้มีอํานาจ
2) ความรู้สึกของประชาชน

สําหรับกรณีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการก่อตั้งรัฐใหม่ มีตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1787 ของสหรัฐอเมริกา มี 7 มาตรา (แก้ไข 27 ครั้ง) ซึ่งแต่เดิมนั้นสหรัฐอเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ต่อมาได้มีการปฏิวัติเพื่อกู้เอกราชในปี ค.ศ. 1776 และกระทําสําเร็จ จึงมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม สามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดได้ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นอํานาจแรกเริ่ม เป็นอํานาจอิสระที่แท้จริง หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น การเกิดประเทศบรูไนในปี ค.ศ. 1983 จะร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใดก็ได้ (ราชาธิปไตยหรือระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ประยุกต์)

กรณีประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ การจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยมีทั้ง 2 รูปแบบ คือ ด้วยวิธีการใช้ “อํานาจพิจารณาใหม่” (ดังปรากฏในหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) และวิธีการใช้ “อํานาจ ร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม” แต่ถ้าจะวิเคราะห์แล้วอํานาจร่างรัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญ ดั้งเดิม เพราะการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ๆ ของไทยจะเกิดจากผลของการทํารัฐประหาร
กล่าวโดยสรุป อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ คือ อํานาจพิจารณาใหม่ และอํานาจร่าง รัฐธรรมนูญดั้งเดิม โดยการจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่จะเกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม

ข้อ 3. สถาบันทางการเมืองสําคัญในระบอบประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง แต่ละสถาบันมีอํานาจหน้าที่หลัก อะไร และให้นักศึกษายกสถาบันทางการเมืองสถาบันใดสถาบันหนึ่งขึ้นมาวิเคราะห์ถึงปัญหา ความอ่อนแอของสถาบันดังกล่าว โดยให้ระบุสาเหตุของปัญหา ตลอดจนอภิปรายถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย และแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

แนวคําตอบ

สถาบันทางการเมือง (Political Institution) หมายถึง แบบแผนของพฤติกรรมหรือการกระทํา ทางการเมือง หรือพฤติกรรมทางการเมืองที่ดําเนินเรื่อยมาจนเกิดเป็นแบบแผนที่แน่นอน มีการกําหนดโครงสร้าง ระเบียบ กฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและกระบวนการต่าง ๆ ตลอดจนองค์การทางการเมืองและวิธีการในการปฏิบัติ ในทางการเมืองของสังคม

สถาบันทางการเมืองสําคัญในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่

1. สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งก็คือ รัฐสภา มีอํานาจหน้าที่หลักดังนี้

1) การบัญญัติและแก้ไขกฎหมาย

2) การตรวจสอบ ควบคุม และถ่วงดุลสถาบันบริหารหรือรัฐบาล ให้ทําหน้าที่ โดยชอบผ่านการตั้งกระทู้ถาม การยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การควบคุม ผ่านการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี

3) การเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งและประชาชนทั้งประเทศ โดยการรับฟังปัญหา ของประชาชน รวบรวมข้อมูล ข้อเรียกร้องนําไปเสนอให้รัฐบาล

2. สถาบันบริหาร ซึ่งก็คือ รัฐบาล มีอํานาจหน้าที่หลักดังนี้

1) การกําหนดและดําเนินนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน
2) การควบคุมสั่งการระบบราชการ

3) การนําเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และกฎหมายอื่น ๆเข้าสู่การพิจารณาของสภา

4) อํานาจหน้าที่อื่น ๆ เช่น อํานาจในการบังคับใช้กําลังทหาร การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

3. สถาบันตุลาการ ซึ่งก็คือ ศาล มีหน้าที่หลักในการตีความกฎหมาย และการพิจารณา พิพากษาคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม การทําหน้าที่ดังกล่าวนี้ส่งผลให้ฝ่ายตุลาการมีฐานะเป็นผู้ผดุงความ ยุติธรรมในสังคม จึงจําเป็นต้องมีความเป็นกลาง มีอิสระจากอํานาจของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเพื่อ
ไม่ให้เกิดความลําเอียงในการพิจารณาคดีความ

4. กลุ่มผลประโยชน์ เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อกดดันหรือเรียกร้องความต้องการจากระบบการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มดังนั้นกลุ่มผลประโยชน์จึงเป็นสถาบันที่มีความสําคัญในระบอบประชาธิปไตยในฐานะสถาบันที่ส่งป้อนข้อมูลความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงไปสู่ระบบการเมืองให้รับรู้ถึง ความต้องการอันจะนําไปสู่การเจรจาต่อรองหรือการแข่งขันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมทั้งยังเป็นกลไก สําคัญที่ทําให้เกิดการถ่วงดุลอํานาจของรัฐบาลไม่ให้ผลประโยชน์ตกไปอยู่ในกํามือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

5. พรรคการเมือง มีหน้าที่หลักดังนี้

1) สรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตําแหน่งทางการเมือง หรือส่งตัวแทนเข้าสมัคร รับเลือกตั้ง
2) รวบรวมผลประโยชน์หรือความต้องการของประชาชน
3) นําเสนอนโยบายในการบริหารประเทศ
4) ให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน
5) สร้างความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง หรือเชื่อมโยงรัฐบาลกับประชาชนและ สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
6) กระตุ้น ปลุกเร้าความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
7) กล่อมเกลาทางการเมือง
8) ควบคุมรัฐบาล
9) จัดตั้งรัฐบาล

6. การเลือกตั้ง มีความสําคัญต่อระบอบประชาธิปไตยดังนี้

1) เป็นกลไกในการเลือกสรรตัวแทนทางการเมือง
2) เป็นกระบวนการที่จะนําไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล
3) เป็นกลไกที่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ
4) เป็นช่องทางให้ประชาชนได้เรียนรู้ทางการเมือง
5) เป็นช่องทางในการสร้างความชอบธรรมแก่ผู้ปกครอง

ปัญหาความอ่อนแอของสถาบันทางการเมือง

สถาบันทางการเมืองของไทยยังมีความอ่อนแอหรือยังมีความเป็นสถาบันในระดับต่ํา หรือ จะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบันทางการเมืองของไทยที่สร้างขึ้นมายังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง คือ ยังไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ความต้องการ ตลอดจนการประนีประนอมอํานาจและผลประโยชน์ ของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมไทยได้ทั้งในระดับของชนชั้นนําและระดับของประชาชนโดยทั่วไป สถาบันทางการเมือง
จึงถูกล้มลงและสร้างขึ้นใหม่บ่อยครั้งในระบบการเมืองไทย

ตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองไทย เป็นสถาบันทางการเมืองที่มักมีปัญหาในเรื่องความเป็นสถาบัน หรือก็คือความสามารถของพรรคการเมืองในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การมีความคงทน การมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน การแยกตัวบุคคลออกจากการครองอํานาจของใครคนใดคนหนึ่ง ภายในพรรค เป็นต้น

บูฆอรี ยีหมะ เห็นว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดของความอ่อนแอในเชิงสถาบันของพรรคการเมืองในประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น เกิดขึ้นจากต้นเหตุสําคัญคือการยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป หรือก็คือการที่พรรคถูกครอบงําจากผู้นําภายในพรรคนั่นเอง จนทําให้พรรคดํารงอยู่ได้ด้วยอํานาจของบุคคลไม่ใช่เพราะความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และง่ายต่อการล่มสลายหากผู้นําพรรคหลุดพ้นจากอํานาจทางการเมือง

นอกจากนี้ ปัญหาความอ่อนแอหรือความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยยังมีสาเหตุมาจาก

1. ความขัดแย้งทางอุดมคติเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมือง ปัญหานี้เกิดขึ้น เนื่องจากแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมืองไปขัดแย้งกับอุดมคติดั้งเดิมซึ่งเน้นความเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน จึงปฏิเสธการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ภายในรัฐ ดังนั้นอุดมคตินี้จึงมักถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายอํานาจในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด

2. ลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการทํางานร่วมกัน และเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

3. ระบบอาวุโสทําให้สมาชิกมีความผูกพันต่อพรรคในระดับต่ํา ทั้งนี้เนื่องจากผู้อาวุโส ในพรรคมีบทบาทอํานาจในพรรคมาก ทําให้ผู้น้อยไม่อาจเข้าไปมีบทบาทในพรรคได้มากนัก จึงทําให้สมาชิกส่วนใหญ่ ของพรรคไม่รู้สึกถึงความผูกพันต่อพรรคการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

4. โครงสร้างทางสังคมของไทยเป็นโครงสร้างแบบหลวม ๆ ส่งผลให้การรวมกลุ่มต่าง ๆไม่มีความเข้มแข็ง รวมถึงการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง

5. ความคิดเจ้าผู้ปกครองเป็นเจ้าเหนือแผ่นดินและทรัพย์สินทั้งปวง ทําให้ประชาชน ไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของประเทศ ส่งผลให้การรวมกลุ่มทางการเมืองขาดความเข้มแข็ง

6. การตั้งพรรคการเมืองของไทยเริ่มต้นมาจากฐานความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ คือ การตั้งพรรคการเมืองเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้มีอํานาจตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อให้เป็นฐานอํานาจทางการเมือง ของกลุ่มตน แต่เมื่อผู้นําพรรคหมดอํานาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มักสลายตามไปด้วย ซึ่งทําให้พรรคการเมือง ของไทยขาดความเป็นสถาบัน เพราะยึดติดกับตัวผู้นําหรือหัวหน้าพรรคมากเกินไป

ผลกระทบของปัญหาความอ่อนแอหรือความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

1. พรรคการเมืองไม่สามารถแสดงบทบาทและทําหน้าที่ที่ควรจะเป็นตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

2. พรรคการเมืองมิได้เป็นสถาบันของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นพรรคการเมืองของกลุ่มผู้มีอํานาจหรือชนชั้นนําซึ่งต้องการที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองโดยใช้ชื่อประชาชนมากล่าวอ้าง
เพื่อความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

3. การจัดตั้งพรรคการเมืองมิได้อยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมืองหรือการเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์และตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนจึงไม่ตระหนักในการเป็นสมาชิกและมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง การบริหารและนโยบายของพรรคการเมืองจึงไม่สะท้อนผลประโยชน์ที่แท้จริง ของประเทศชาติและประชาชน

4. การรวมศูนย์อํานาจการตัดสินใจภายในพรรคการเมืองไว้ที่ผู้นําหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล ในพรรคการเมือง ทําให้สมาชิกพรรคไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจในการดําเนินการต่าง ๆ ของ พรรคการเมืองได้ เช่น การคัดสรรบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและดํารงตําแหน่งสําคัญทางการเมือง เป็นต้น

5. การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เท่านั้น มิได้ให้ความสําคัญกับการตั้งสาขาพรรคให้กระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้สาขาพรรคเป็นกลไก ในการเชื่อมโยงพรรคกับประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

แนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสําคัญในระบอบประชาธิปไตย ความเข้มแข็ง ในเชิงสถาบันของพรรคการเมืองถือว่ามีความสําคัญต่อการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย ในกรณีของประเทศไทย
มีความพยายามแก้ไขปรับปรุงระบบพรรคการเมืองในเชิงโครงสร้างหรือในเชิงกฎหมายมาโดยตลอดทั้งในส่วนของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อนําไปสู่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ของไทย แต่ความพยายามดังกล่าวเป็นเหมือนการทดลอง เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายไปแล้วก็พบว่าก่อให้เกิดปัญหา ในเชิงปฏิบัติ ก็หันกลับไปใช้วิธีการหรือแก้ไขปัญหาในเชิงปฏิกิริยา (การแก้ไขปัญหาต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า มากกว่าการแก้ไขปัญหาเพื่อเดินหน้าสู่อนาคต) ซึ่งก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ ต่อไปในอนาคต เพราะปัญหาของความเป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจาก ปัจจัยด้านโครงสร้างแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลด้วย ดังนั้นการสร้างความเป็นสถาบัน ทางการเมืองของพรรคการเมืองเพื่อนําไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยจึงต้องอาศัยวัฒนธรรมทางการเมืองของนักการเมืองและประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย มองประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และยึดถือ อุดมการณ์ในการรวมตัวเป็นพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล

 

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL2102 (PS 202) หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับได้มีบทบัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาตลอดนั้น ให้นักศึกษาอธิบายถึงการปกครอง ประชาธิปไตยดังกล่าวว่ามีหลักการสําคัญอะไรบ้างอย่างน้อย 5 ประการมาให้เข้าใจ โดยยกตัวอย่าง
ประกอบคําอธิบาย

แนวคําตอบ

หลักการสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้

1. หลักอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตย (อํานาจสูงสุด) เป็นของประชาชน การปกครอง ที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องตั้งอยู่บนหลักการหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่ถือว่า อํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตย เป็นของประชาชน โดยผ่านการเลือกตั้ง (Election) ลักษณะดังกล่าวนี้จะมีวิธีการปกครองที่แสดงออกให้เห็นว่า ประชาชนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ สามารถควบคุมและตรวจสอบการทํางานของรัฐบาลได้ ตลอดจนสามารถ เปลี่ยนแปลงและถอดถอนรัฐบาลได้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประชาชนสามารถเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือ เปลี่ยนแปลงประธานาธิบดีได้ทุก 4 ปี หรือประชาชนญี่ปุ่นที่สามารถเลือกผู้แทนราษฎรเพื่อไปจัดตั้งรัฐบาลใน เวลาไม่เกิน 4 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าในหลักการอํานาจสูงสุดเป็นของประชาชนนี้ประชาชนต้องมี “อํานาจการตัดสินใจ ขั้นสุดท้าย” คือ ประชาชนอาจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางนิติบัญญัติและบริหารของรัฐ และการตัดสินใจของ ประชาชนถือว่าเป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาด

2. หลักสิทธิ (Right) หน้าที่ (Duty) เสรีภาพ (Liberty) และความเสมอภาค (Equality) ของประชาชน เป็นหลักการที่ถือว่ามนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพมาตั้งแต่เกิด และต่อมาถูกจํากัดโดยกฎหมายหรือ กฎเกณฑ์ของสังคมภายหลัง ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงได้มีกฎหมายเป็น หลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ เช่น การบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าจะเป็น ด้านความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์โฆษณา การรวมกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และการใช้สิทธิ ทางการเมือง ซึ่งในกรณีของสิทธิเสรีภาพนี้มีข้อสังเกตก็คือ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยนั้นมิใช่เป็นเสรีภาพ ที่จะทําอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีขอบเขต แต่เป็นเสรีภาพที่มีขอบเขตภายใต้กฎหมายที่บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพ ของตนนั้นจะต้องไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นการจลาจล ซึ่งในหลักประกัน สิทธิเสรีภาพต่าง ๆ นี้จะรวมทั้งความเสมอภาคทางการเมือง เพราะเสรีภาพที่ประชาชนมีเท่า ๆ กันก็จะก่อให้เกิด ความเสมอภาคทางการเมือง คือ การที่แต่ละคนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเท่า ๆ กัน โดยในระบอบประชาธิปไตยถือว่าแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้ปกครอง หรือผู้แทนประชาชน เท่ากันตามหลัก One Man Cine Vote และสําหรับหลักการนี้ยังจะต้องประกอบด้วย การที่ประชาชนจะต้องรู้จัก หน้าที่ของพลเมืองในการดําเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยด้วย เช่น การมีหน้าที่ในการ เสียภาษีในอัตราที่เท่าเทียมกับคนอื่นซึ่งอยู่ในเกณฑ์รายได้และสถานภาพอื่นพอ ๆ กัน

3. หลักกฎหมายสูงสุด หรือหลักการปกครองโดยกฎหมาย หรือหลักนิติรัฐ หรือหลัก นิติธรรม (Rule of Law) การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองที่ไม่ยึดตัวบุคคล แต่ยึดหลักการเป็นสิ่งสําคัญ
ซึ่งหลักการอย่างหนึ่งของการปกครองระบอบนี้ก็คือ การยึดถือกฎหมายเป็นหลักสูงสุดในการปกครอง ที่ถือว่าประชาชนเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน หรือเรียกว่าเป็นการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติรัฐหรือ
หลักนิติธรรมที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ซึ่งหลักการสูงสุดของกฎหมายนี้ ยังรวมไปถึงการที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรมมีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีต่าง ๆ อันแสดงให้เห็นถึงว่า ศาลสามารถจะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับประชาชน หรือเป็นที่พึ่งของประชาชนภายในประเทศได้ นั่นคือ ในการตัดสินลงโทษจะใช้กระบวนการยุติธรรม มิใช่ตัดสินโดยบุคคลใดหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ตลอดจนรวมถึงการ มีหลักกฎหมายที่มีการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วย โดยองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัด ต่อรัฐธรรมนูญนี้อาจจะเป็นองค์กรการเมือง ศาลยุติธรรมธรรมดาหรือศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้สุดแล้วแต่แนวความคิดเห็นและประเพณีนิยมทางการเมืองของแต่ละประเทศเพื่อให้ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญซึ่งวางหลักแห่งกฎหมายและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการปฏิบัติและเกิดผลอย่างจริงจัง

4. หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) โดยคํานึงถึงเสียงข้างน้อย (Minority Right) หมายความว่า พรรคเสียงข้างมากทําหน้าที่เป็นผู้ปกครองหรือรัฐบาล และพรรคเสียงข้างน้อยทําหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ในระบอบประชาธิปไตยถือว่าฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านมีความสําคัญเท่ากัน เพราะต่างก็เป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนเช่นเดียวกัน และกลุ่มฝ่ายค้านก็สามารถเป็นรัฐบาลได้ในวันข้างหน้า นอกจากนี้คําว่าหลักเสียงข้างมาก ยังเป็นข้อยุติในปัญหาต่างๆ สําหรับระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย ดังนั้นการตัดสินใจทั้งหลายของรัฐบาลในระบอบ ประชาธิปไตยจึงต้องใช้หลักการเสียงข้างมาก เพราะถือว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลอยู่ในตัว และเสียงการตัดสินใจ โดยคนหมู่มากนั้นย่อมถูกต้องกว่าการตัดสินใจโดยคน ๆ เดียว แต่ในขณะเดียวกันการใช้เสียงข้างมากก็จะคํานึงถึง เสียงข้างน้อยด้วย โดยการเคารพและไม่ละเมิดสิทธิของเสียงข้างน้อย รวมทั้งยังยอมรับให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการของตนด้วย

5. หลักสันติวิธี เป็นหลักการที่เชื่อว่าพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยรู้จักใช้เหตุผล ไม่ทํา อะไรตามอารมณ์และความรู้สึก และไม่ทําอะไรเอาแต่ใจตนเองโดยไม่คํานึงถึงคนอื่น นอกจากนี้ยังยอมรับว่าคนเรา จะเหมือนกันไม่ได้ อาจมีการขัดแย้ง ต้องมีการเจรจา และประนีประนอม ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ยึดถือการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยจึงดําเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ โดยสันติวิธีด้วยการไม่ใช้กําลังความรุนแรง เช่น การเจรจา การประนีประนอม การใช้กลไกการเลือกตั้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุก ๆ กลุ่ม ป้องกันการสูญเสียเลือดเนื้อและบาดเจ็บล้มตาย

 

ข้อ 2. ให้นักศึกษาอธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

2.1 Rebellion

แนวคําตอบ

Rebellion (กบฏ) หมายถึง การยึดอํานาจที่ไม่สําเร็จ จึงเป็นผู้แพ้ มีความผิดตามที่ผู้ชนะ (รัฐบาลเวลานั้น) จะสั่งการด้วยวิธีใดก็ย่อมทําได้ เช่น จับติดคุก ประหารชีวิต เนรเทศออกนอกประเทศ เป็นต้น กบฏถือเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายไทย

ตัวอย่างเหตุการณ์กบฏในประเทศไทย เช่น

ในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา เกิดกบฏ 3 ครั้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการต้องการกลับไปใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีก ได้แก่

1. “กบฏบวรเดช” นําโดยพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช เกิดขึ้นวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476

2. “กบฏนายสิบ” นําโดยสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด เกิดขึ้นวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478

3. “กบฏพระยาทรงสุรเดช” นําโดยพันเอกพระยาทรงสุรเดช เกิดขึ้นวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2481

ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดกบฏ 2 ครั้ง คือ

1. “กบฏเมษาฮาวาย” หรือ “กบฏยังเตอร์ก” นําโดยพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา และ กลุ่มทหารยังเตอร์ก เกิดขึ้นวันที่ 1 – 3 เมษายน พ.ศ. 2524

2. “กบฏไอ้โม่ง นัดแล้วใยไม่มา” นําโดยพันเอกมนูญ รูปขจร เกิดขึ้นวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528

2.2 Recall

แนวคําตอบ

Recall (การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐ) หมายถึง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการถอดถอน ผู้ใช้อํานาจรัฐ โดยจะมีรายละเอียดกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าจะต้องมีเสียงอย่างต่ําที่เสียง

กรณีประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติเรื่อง การถอดถอนผู้ใช้อํานาจรัฐไว้โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้กําหนดจํานวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ 50,000 คน ส่วนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้กําหนดจํานวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อ ประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลผู้ใช้อํานาจรัฐซึ่งได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือ ตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต อันมีพฤติการณ์ร่ํารวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่ง

หน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ออกจากตําแหน่งได้

2.3 Election

แนวคําตอบ

Election (การเลือกตั้ง) เป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจรัฐหรืออํานาจอธิปไตยที่จะมอบความไว้วางใจ
ในตัวแทนของปวงชนให้มาใช้อํานาจแทนตน ดังนั้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยผู้ปกครองหรือผู้บริหาร ประเทศจึงต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และการเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นไปอย่างอิสรเสรี เสมอภาค และ ลงคะแนนลับ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการออกเสียงเลือกตั้งจะเป็นผู้เข้ามาใช้อํานาจรัฐแทนประชาชน ซึ่งใน ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาผู้ที่จะเข้ามาใช้อํานาจรัฐก็คือ นายกรัฐมนตรี ส่วนในระบอบประชาธิปไตยแบบ ประธานาธิบดีผู้ที่จะเข้ามาใช้อํานาจรัฐก็คือ ประธานาธิบดี

กรณีประเทศไทย การเลือกตั้งของไทยนั้นมีทั้งการเลือกตั้งในระดับชาติ คือ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็น “การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของประเทศไทย” คือ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนตําบลก่อน แล้วผู้แทนตําบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง ส่วนการเลือกตั้งในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นการเลือกตั้งทางตรง คือ การให้ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ทําการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงไม่ผ่านตัวแทนอื่นใด

ส่วนสมาชิกวุฒิสภานั้น นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา มีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า พฤฒิสภา เป็นการเลือกตั้ง ทางอ้อม คือ ให้ประชาชนเลือกตั้งตัวแทนเข้ามาทําหน้าที่เลือกสมาชิกวุฒิสภา ส่วนการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กําหนดให้สมาชิกวุฒิสภา ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และอีกส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา

สําหรับองค์กรที่ทําหน้าที่ควบคุมและบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามความบริสุทธิ์ และยุติธรรม หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” นั้น มีครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้นนับตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกจนกระทั่งก่อนการ ประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การควบคุมและบริหารจัดการการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

2.4 Uprising

แนวคําตอบ

Uprising (การจลาจลทางการเมือง) หมายถึง การที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้าน (Standing up against) ผู้ปกครอง/ผู้ใช้อํานาจรัฐ หรือรัฐธรรมนูญในเวลานั้น โดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของอุดมการณ์เท่านั้น ซึ่งจะนําโดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ จากนั้น ประชาชนบางกลุ่มก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในอุดมการณ์นั้น และเมื่อรัฐบาลยอมทําตามอุดมการณ์ที่กลุ่มต้องการแล้วก็จะยุติการจลาจลลง

ตัวอย่างเหตุการณ์การจลาจลทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมี 2 ครั้ง คือ

– เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “วันมหาวิปโยค

– เหตุการณ์วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในสมัยพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “พฤษภาทมิฬ”

2.5 Kingdomn

แนวคําตอบ

Kingdom (ราชอาณาจักร) หมายถึง ประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น พระราชินี หรือเป็นพระจักรพรรดิ เช่น ไทย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวีเดน เป็นต้น ซึ่งในอดีตการเกิด เป็นประเทศที่เรียกว่า ราชอาณาจักร เกิดจากแม่ทัพในขณะนั้นปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ คือ แม่ทัพไปรบกับรัฐอื่น ๆ จนได้รับชัยชนะแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสถาปนาตนเองขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ปราบดาภิเษก ต่อมาเมื่อกษัตริย์พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ พระโอรสก็จะต้องขึ้น ครองราชย์แทน การที่พระโอรสขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระบิดาที่สิ้นพระชนม์ เรียกว่า ราชาภิเษก

ข้อ 3. ความเข้มแข็งของสถาบันการเมือง หรือ “ความเป็นสถาบัน” ของสถาบันทางการเมืองเป็นปัจจัย สําคัญของการพัฒนาทางการเมือง ในทางตรงกันข้ามความไม่เป็นสถาบันของสถาบันทางการเมือง
ก็ส่งผลสําคัญต่อความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองหรือกระทั่งการล้มลงของระบบการเมือง จากคํากล่าวข้างต้นให้นักศึกษาวิเคราะห์สาเหตุของความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทยว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด โดยให้ยกตัวอย่างสถาบันทางการเมืองสถาบันใด สถาบันหนึ่งขึ้นมาอธิบายเป็นตัวอย่างประกอบ

แนวคําตอบ

สาเหตุของความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย

สถาบันทางการเมืองของไทยยังขาดความเป็นสถาบัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบัน ทางการเมืองที่สร้างขึ้นมายังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง คือ ยังไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ความต้องการ ตลอดจนการประนีประนอมอํานาจและผลประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมไทยได้ทั้งในระดับ ของชนชั้นนําและระดับของประชาชนโดยทั่วไป สถาบันทางการเมืองไทยจึงถูกล้มลงและสร้างขึ้นใหม่บ่อยครั้ง
ในระบบการเมืองไทย

ตัวอย่างเช่น พรรคการเมืองไทย มักมีปัญหาในเรื่องความเป็นสถาบัน หรือก็คือความสามารถ ของพรรคการเมืองในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การมีความคงทน การมีโครงสร้าง ที่สลับซับซ้อน การแยกตัวบุคคลออกจากการครองอํานาจของใครคนใดคนหนึ่งภายในพรรค เป็นต้น

บูฆอรี ยีหมะ เห็นว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดของความอ่อนแอในเชิงสถาบันของพรรคการเมือง ในประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น เกิดขึ้นจากต้นเหตุสําคัญคือการยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป หรือก็คือการที่พรรคถูกครอบงําจากผู้นําภายในพรรคนั่นเอง จนทําให้พรรคดํารงอยู่ได้ด้วยอํานาจของบุคคล
ไม่ใช่เพราะความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และง่ายต่อการล่มสลายหากผู้นําพรรคหลุดพ้นจากอํานาจทางการเมือง

นอกจากนี้ ความไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยยังมีสาเหตุมาจาก

1. ความขัดแย้งทางอุดมคติเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมือง ปัญหานี้เกิดขึ้น เนื่องจากแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมืองไปขัดแย้งกับอุดมคติดั้งเดิมซึ่งเน้นความเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน จึงปฏิเสธการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ภายในรัฐ ดังนั้นอุดมคตินี้จึงมักถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายอํานาจในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด

2. ลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง ทําให้เป็นอุปสรรคต่อ การทํางานร่วมกัน และเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

3. ระบบอาวุโสทําให้สมาชิกมีความผูกพันต่อพรรคในระดับต่ํา ทั้งนี้เนื่องจากผู้อาวุโส ในพรรคมีบทบาทอํานาจในพรรคมาก ทําให้ผู้น้อยไม่อาจเข้าไปมีบทบาทในพรรคได้มากนัก จึงทําให้สมาชิกส่วนใหญ่ ของพรรคไม่รู้สึกถึงความผูกพันต่อพรรคการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

4. โครงสร้างทางสังคมของไทยเป็นโครงสร้างแบบหลวม ๆ ส่งผลให้การรวมกลุ่มต่าง ๆไม่มีความเข้มแข็ง รวมถึงการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง

5. ความคิดเจ้าผู้ปกครองเป็นเจ้าเหนือแผ่นดินและทรัพย์สินทั้งปวง ทําให้ประชาชน ไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของประเทศ ส่งผลให้การรวมกลุ่มทางการเมืองขาดความเข้มแข็ง

6. การตั้งพรรคการเมืองของไทยเริ่มต้นมาจากฐานความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ คือ การตั้งพรรคการเมืองเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้มีอํานาจตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อให้เป็นฐานอํานาจทางการเมือง ของกลุ่มตน แต่เมื่อผู้นําพรรคหมดอํานาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มักสลายตามไปด้วย ซึ่งก็เป็นปัญหาเดียวกัน กับกรณีพรรคการเมืองของไทยมักยึดติดกับตัวผู้นําหรือหัวหน้าพรรคมากเกินไป จึงทําให้พรรคการเมืองของไทย
ขาดความเป็นสถาบัน

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมี 2 ข้อ ให้นักศึกษาทําทุกข้อ

ข้อ 1. อธิบายเรื่องรูปแบบการปกครองของรัฐมาให้เข้าใจดังต่อไปนี้

ระบบรัฐสภา
ระบบประธานาธิบดี
ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา

แนวคําตอบ

รูปแบบการปกครองของรัฐในระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1. ระบบรัฐสภา (Parliamentary System)
2. ระบบประธานาธิบดี (Presidential System)
3. ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (Semi-Presidential and Semi-Parliamentary
System)

1. ระบบรัฐสภา (Parliamentary System)
ระบบรัฐสภาเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อังกฤษเป็นแม่แบบที่เรียกว่า ซึ่งในการปกครองระบบนี้จะถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรการเมืองที่มีความสําคัญกว่า“ระบบรัฐสภาคลาสสิก”
องค์กรอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าเป็นองค์กรที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ฉะนั้นโดยหลักการแล้วรัฐบาลที่ปกครอง และบริหารประเทศจะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา หรือเป็นรัฐบาลที่บริหารงานด้วยความ รับผิดชอบต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรผู้แทนจากประชาชนนั่นเอง

ขั้นตอนกระบวนการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีดังนี้
1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. สภาผู้แทนราษฎรประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี
3. นายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐมนตรี
4. คณะรัฐมนตรีเสนอนโยบายรัฐบาลให้รัฐสภาเห็นชอบ
5. ครบวาระเลือกตั้งใหม่ หรือยุบสภาผู้แทนราษฎรเลือกตั้งใหม่

หลักการสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีดังนี้

1. อํานาจอธิปไตยแยกตามหน้าที่ กล่าวคือ อํานาจรัฐไม่ได้รวมไว้ในองค์กรเดียว แต่มี การแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อํานาจ ได้แก่ อํานาจบริหารใช้โดยรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี อํานาจนิติบัญญัติ ใช้โดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา และอํานาจตุลาการใช้โดยผู้พิพากษาในศาล

2. การแยกอํานาจไม่แยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ อํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐจะถูกแจกจ่าย ให้องค์กรต่าง ๆ กัน โดยองค์กรเหล่านี้ไม่แยกกันโดยเด็ดขาด

3. อํานาจที่แบ่งแยกนี้จะมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ องค์กรที่ใช้อํานาจรัฐเหล่านี้ มีลักษณะควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สามารถเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ หรือนายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ เป็นต้น

วิธีการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะแยกกัน เช่น ประมุขของรัฐเรียกว่าพระมหากษัตริย์ อย่างเช่น อังกฤษ ไทย หรือเรียกว่า พระจักรพรรดิ อย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือเรียกว่าประธานาธิบดี อย่างเช่น อินเดีย สิงคโปร์ เยอรมนี ส่วนตําแหน่ง ประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาลจะเรียกว่านายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2. ประมุขของรัฐมีลักษณะสําคัญคือ มีสถานะเป็นกลางทางการเมือง หรือไม่ต้องรับผิดชอบ ทางการเมือง (The King can do no wrong) ซึ่งแสดงออกโดยการที่ประมุขของรัฐไม่อาจถูกถอดถอนออกจาก ตําแหน่ง จากการที่ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองนี้เองที่ทําให้กิจกรรมใด ๆ ของประมุขของรัฐต้องมีการลงนาม กํากับหรือลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของทุกกิจกรรมเสมอ เพื่อให้ผู้ลงนามรับรองเป็นผู้รับผิดชอบ ในกิจกรรมนั้น ๆ ต่อสภาผู้แทนราษฎร

3. ฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) หรือรัฐบาลก่อนจะเข้าบริหารงานปกครองประเทศนั้น จะต้องเสนอนโยบายเพื่อขอความไว้วางใจหรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จึงจะบริหารงานได้

4. รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจทําให้ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลต้องออกจากตําแหน่งได้ โดยการเปิดอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ หรืออภิปรายไม่ไว้วางใจเฉพาะนายกรัฐมนตรีก็ได้

5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตั้งกระทู้ถามเพื่อควบคุมการบริหารงานของรัฐบาลของรัฐบาล หรือรัฐบาล กับฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้แทนราษฎร

6. ฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจอนุมัติเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน

7. ฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบการกระทําของฝ่ายบริหาร

8. ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีอํานาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งเป็นมาตรการในการถ่วงดุล

9. ฝ่ายบริหารมีอํานาจเสนอกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติได้เช่นเดียวกันกับสมาชิกสภา

10. ฝ่ายบริหารมีอํานาจเข้าร่วมประชุมกับฝ่ายนิติบัญญัติ

11. ศาลและผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี

การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาดังกล่าวนี้จะมีเสถียรภาพและดําเนินไปได้ด้วยดีก็ขึ้นอยู่กับการมีระบบพรรคการเมืองใหญ่และเป็นระบบ 2 พรรค จึงจะทําให้การเมืองของประเทศมีเสถียรภาพ และรัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้ครบวาระสมัย

ตัวอย่างประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ได้แก่ อังกฤษ เบลเยียม
เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี สเปน กรีซ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย กัมพูชา ไทย เป็นต้น

2. ระบบประธานาธิบดี (Presidential System)

ระบบประธานาธิบดีเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบที่เรียกว่า “ระบบประธานาธิบดีคลาสสิก” ซึ่งเกิดมาจากความคิดของผู้เริ่มก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการจะกําหนดรูปแบบการปกครองของประเทศให้เหมาะสมกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญในสมัยแรกเริ่มก่อตั้งประเทศ

ขั้นตอน กระบวนการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี มีดังนี้
1. การเลือกตั้งประธานาธิบดี
2. การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
3. ครบวาระเลือกตั้งใหม่

หลักการสําคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1. อํานาจอธิปไตยหรืออํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐถูกมอบหมายให้แต่ละองค์กรนําไปปฏิบัติ โดยไม่รวมอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเพียงองค์กรเดียว กล่าวคือ อํานาจบริหารจะใช้โดยฝ่ายบริหารที่เรียกว่า ประธานาธิบดีหรือคณะรัฐบาล อํานาจนิติบัญญัติจะใช้โดยฝ่ายรัฐสภา และอํานาจตุลาการจะใช้โดยฝ่ายศาล

2. การแยกอํานาจแยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ องค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอํานาจหน้าที่ ของรัฐไปปฏิบัติจะเป็นอิสระต่อกันโดยเด็ดขาด แต่ละองค์กรจะทําหน้าที่ของแต่ละฝ่ายโดยไม่ก้าวก่ายตรวจสอบ หรือควบคุมซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจในการยุบสภา ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่มีอํานาจ ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร เป็นต้น และแต่ละฝ่ายก็จะมีที่มาเป็นอิสระต่อกัน เช่น ประธานาธิบดี หรือสมาชิกรัฐสภาก็จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแยกแต่ละฝ่ายกัน

3. ฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่จะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ เช่น ประธานาธิบดีมีวาระ 4 ปี ก็จะอยู่จนครบ 4 ปี หรือฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็จะอยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

วิธีการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะเป็นบุคคลเดียวกัน และมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมก็ได้ โดยไม่ผ่านทางรัฐสภา ซึ่งตําแหน่งดังกล่าวนี้เรียกว่า ประธานาธิบดี

2. ประมุขฝ่ายบริหารสามารถตั้งรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ ประธานาธิบดีสามารถเลือกรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
แต่กรณีของสหรัฐอเมริกาต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน

3. ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอํานาจในเรื่องการไม่ให้ความไว้วางใจแก่ฝ่ายบริหาร กล่าวคือ สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีและรัฐมนตรีไม่ได้

4. ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจริเริ่มเสนอกฎหมาย การเสนอกฎหมายเป็นอํานาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

5. ฝ่ายบริหารหรือประธานาธิบดีไม่มีอํานาจยุบสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ

6. ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจเรียกประชุมรัฐสภา กล่าวคือ ประธานาธิบดีไม่มีอํานาจเรียก ประชุมสภา การประชุมสภาเป็นอํานาจหรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสภา

7. ประธานาธิบดีสามารถเสนอนโยบาย โดยสภาผู้แทนราษฎรทําหน้าที่อนุมัติงบประมาณ

8. ประธานาธิบดีเป็นผู้แทนประเทศในการทําสนธิสัญญากับต่างชาติ โดยวุฒิสภาทําหน้าที่ให้สัตยาบัน

9. ทุกฝ่ายจะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ประธานาธิบดี มีวาระ 4 ปี ก็อยู่จนครบ 4 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็อยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

10. ฝ่ายตุลาการมีหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา เพื่อมิต้องตกอยู่ภายใต้อํานาจ ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมีกฎหมายเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม แม้ในหลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดีจะไม่ก้าวก่ายและตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกัน แต่ในทางปฏิบัติก็อาจมีการผ่อนคลายบ้างในกรณีที่เกิดปัญหา วิกฤติในการเมืองการปกครอง เช่น การให้ประธานาธิบดีมีอํานาจยับยั้งกฎหมายที่ผ่านรัฐสภาตามกลไกทาง การเมืองที่เรียกว่า Veto หรือการให้อํานาจฝ่ายนิติบัญญัติทําหน้าที่กล่าวหาประธานาธิบดีในกรณีที่มีการกระทํา
ที่ไม่เหมาะสมที่จะนําไปสู่ความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของประเทศหรือเสื่อมเสียกับตําแหน่งตามกลไกทางการเมืองที่เรียกว่า Impeachment

การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดีจะมีเสถียรภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระบบพรรคการเมืองที่ไม่เคร่งครัดในระเบียบวินัยของพรรค เพราะถ้าประธานาธิบดีอยู่ตรงกันข้ามกับเสียงข้างมาก
ในสภาจะได้ไม่มีปัญหา และการมีนักการเมืองที่มีวุฒิภาวะที่เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติเป็นส่วนรวมด้วย
จึงจะทําให้การปกครองระบบประธานาธิบดีนี้ดําเนินไปได้ด้วยดี

ตัวอย่างประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา ชิลี อุรุกวัย เอกวาดอร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น

3. ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (Semi-Presidential and Semi-Parliamentary System)

ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ฝรั่งเศสเป็นแม่แบบ ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยอดีตประธานาธิบดีชาลส์ เดอ โกลล์ (Charles de Gaulle) โดยการนําเอาหลักการ สําคัญของระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดีมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้อํานาจฝ่ายบริหารมีเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งเป็นการเน้นด้านเสถียรภาพของรัฐบาล

ขั้นตอนกระบวนการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีดังนี้

1. การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชน
2. การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
3. ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
4. คณะรัฐมนตรีบริหารด้วยความไว้วางใจต่อรัฐสภา 5. ครบวาระเลือกตั้งใหม่

วิธีการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐคือประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยไม่ผ่านทางรัฐสภา โดยประธานาธิบดีจะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ
2. ประธานาธิบดีมีอํานาจในการยุบสภา
3. ประธานาธิบดีมีอํานาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
4. ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะบริหารงานต้องแถลงนโยบายขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
5. สภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
6. รัฐสภาไม่มีอํานาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี
7. ศาลหรือผู้พิพากษามีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี

อนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสมีอํานาจมากกว่าประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพราะประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาไม่มีอํานาจในการยุบสภา แต่ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสมีอํานาจในการยุบสภา ในขณะที่สภาฝรั่งเศสไม่มีอํานาจเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี

ตัวอย่างประเทศที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาได้แก่ ฝรั่งเศส รัสเซีย ติมอร์ตะวันออก อียิปต์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน เป็นต้น

ข้อ 2. จงอธิบายถึงความสําคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบันมาโดยละเอียด

แนวคําตอบ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นับเป็นจุดเริ่มต้นระบอบประชาธิปไตยของไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงความสําคัญทางอํานาจจากเดิมให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้พระราชอํานาจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรงมาเป็นรัฐบาลที่รัฐสภาเป็นผู้จัดตั้งขึ้น มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมี
กําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพ
การให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

ดังนั้นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยจะต้องพิจารณาโครงสร้างทางการเมืองการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย พัฒนาให้สังคมปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้งต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงทัศนะและได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อเป็นการช่วยให้รัฐบาลมีความรอบคอบในการบริหาร ประเทศ และสอดคล้องตรงกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการควบคุมการบริหารประเทศ อีกทางหนึ่งด้วย

ความสําคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย

1. การพัฒนาระบบเศรษฐกิจ จะเห็นว่าการพัฒนาทางการเมืองจะบรรลุผลสําเร็จได้ มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการพัฒนาทางเศรษฐกิจก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนา ทางการเมืองด้วยเช่นเดียวกัน นั่นคือ หากรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจทั้งชนบทและเมืองให้มีความแตกต่างกัน น้อยลง ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ก็จะส่งผลให้ประชาชนมีฐานะทางด้านเศรษฐกิจที่ดี มีกินมีใช้ ไม่มีหนี้สินประชาชน ก็จะให้ความสนใจทางการเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

การพัฒนาระบบเศรษฐกิจสามารถกระทําได้ดังนี้

1) การกระจายความเจริญไปสู่ชนบทและภูมิภาคต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
2) การส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่ประชาชนในชุมชนและเกษตรกรให้เป็นรูปธรรม เช่น เกษตรแบบพึ่งตนเอง เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจแบบพอเพียง เป็นต้น

3) การพัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรในชนบท เพื่อสนับสนุนอาชีพของเกษตรกร เช่น ที่ดินทํากิน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า ถนน เป็นต้น

4) การสร้างงานในชนบท เพื่อป้องกันปัญหาการอพยพไปขายแรงงานในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ และปัญหาการอพยพย้ายถิ่นอันทําให้เกิดปัญหาสังคมอื่น ๆ ตามมา

2. การพัฒนาระบบการศึกษา เนื่องจากระบบการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้มี ความรู้ความเข้าใจและกล่อมเกลาทางการเมืองได้ดีที่สุด ทั้งรูปแบบการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการศึกษาในระบบโรงเรียนในทางทฤษฎีนั้นเป็นการศึกษาเรียนรู้เรื่องปรัชญา หลักการ รูปแบบประชาธิปไตย ฯลฯ ในขณะเดียวกันในทางปฏิบัติต้องมีการฝึกปฏิบัติวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย โดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนเสริมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อหล่อหลอมให้นักเรียนนักศึกษาได้ซึมซับคุณค่าของประชาธิปไตยโดยตรง ส่วนการศึกษา นอกระบบโรงเรียนนั้นสามารถให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยผ่านทางสื่อมวลชนต่าง ๆ รวมทั้งครอบครัวต้องสามารถ ให้การเรียนรู้ประชาธิปไตยที่เป็นวิถีชีวิตกับสมาชิกในครอบครัวได้

3. การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย นั่นคือ การปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสํานึก มีความรู้ ความเข้าใจ คุณค่าของ ระบอบประชาธิปไตย และหวงแหนระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านระบอบเผด็จการ แต่การเสริมสร้างวัฒนธรรม
ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ใช้ความ พยายาม ความอดทน และต้องมีความตั้งใจจริงจากผู้นําทางการเมือง โดยต้องกระทําอย่างต่อเนื่อง

4. การปฏิรูปทางการเมือง ได้แก่ การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย การพัฒนาระบบรัฐสภา การพัฒนาระบบพรรคการเมือง การพัฒนาระบบการเลือกตั้ง การตรวจสอบทาง การเมือง การป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง เป็นต้น

5. การพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดขนาดของ ระบบราชการให้เล็กลง แต่สามารถทํางานให้มีประสิทธิภาพ หน่วยงานใดมีลักษณะงานที่ซ้ําซ้อนควรยุบรวมกัน มีการปฏิรูประบบราชการให้มีโครงสร้างหรือสายการบังคับบัญชาที่สั้นกะทัดรัด บริหารและบริการสะดวก หรือที่เรียกว่า “การปฏิรูประบบราชการ” หรือ “การออกแบบระบบราชการเสียใหม่” (Reengineering) ซึ่ง ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงใหม่ ระบบบริหารจัดการ ระบบงบประมาณ ตลอดจนระบบการบริหารงานบุคคล ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาของระบบราชการไทย

6. การพัฒนาด้านสังคม โดยพยายามยกระดับคนในสังคมให้เป็นชนชั้นกลางมากขึ้น ทั้งนี้เพราะในอดีตประเทศไทยนั้นพบว่ามีชนชั้นกลางน้อย แต่มีชนชั้นล่างมาก ดังนั้นการจะยกระดับชนชั้นใด ในสังคมให้เป็นชนชั้นกลางมากขึ้นนั้น จําเป็นต้องยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นถึงระดับปริญญาตรี และยกฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนให้สูงขึ้นด้วยเพื่อให้มีความเป็นอยู่พอกินพอใช้มากยิ่งขึ้น

7. การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อระบอบประชาธิปไตยให้ความสําคัญกับประชาชน ในฐานะที่เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย บทบาทของประชาชนในทางการเมืองและการใช้อํานาจที่ผ่านทางองค์กร ทางการเมืองต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของตนเองจึงมีความสําคัญอย่างมาก เพราะประชาธิปไตยนั้นถือว่าประชาชน คือเสียงสวรรค์ เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมดําเนินการเพื่อสร้างสรรค์สังคมของตนเอง โดยกิจกรรม การเข้าร่วมทางการเมืองของประชาชนอาจเป็นทางอ้อมโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเข้าไปทํา หน้าที่แทน หรือโดยทางตรง ได้แก่ การประท้วง การเรียกร้องในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลรับทราบถึงปัญหาเป็นต้น

8. การยอมรับความแตกต่าง เมื่อระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนจึงมีเสรีภาพ ระบอบประชาธิปไตยจึงให้เสรีภาพและยอมรับความ หลากหลายของประชาชน ประชาชนจึงแตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกอาชีพ วิถีชีวิต ความเชื่อ ทางศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นเพื่อมิให้ความแตกต่างนํามาซึ่งความแตกแยกทางสังคม พลเมือง ในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องยอมรับและเคารพความแตกต่างของกันและกัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ถึงแม้จะแตกต่างกันก็จะต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่เห็นแตกต่างไปจากตนเอง แม้จะไม่เห็นด้วยก็จะต้อง ยอมรับว่าคนอื่นมีสิทธิที่จะแตกต่างหรือมีความคิดเห็นที่ต่างไปจากเราได้ และต้องยอมรับโดยไม่จําเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าทําไมเขาถึงเชื่อหรือเห็นแตกต่างไปจากเรา สามารถที่จะคุยเรื่องการเมืองกันได้แม้จะเลือกพรรคการเมือง คนละพรรคหรือสนับสนุนคนละฝ่าย

9. การรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อระบอบประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการปกครองตามอําเภอใจ หรือมิใช่ใครจะทําอะไรได้โดยไม่คํานึงถึงส่วนรวม พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยยังจะต้องใช้สิทธิเสรีภาพของตน โดยรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะสังคมหรือประเทศชาติมิได้ดีขึ้นหรือแย่ลงโดยตัวเอง แต่สังคมจะดีขึ้นได้ หรือแย่ลงไปก็ด้วยการกระทําของคนในสังคม ดังนั้นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยจะส่งผลโดยตรงต่อประชาชน ผู้ซึ่งมีสํานึกของความเป็นเจ้าของประเทศและเป็นเจ้าของสังคม มิให้เป็นที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามอําเภอใจแล้วทําให้ สังคมเสื่อมลงไป หากแต่เป็นผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพโดยรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม เป็นผู้มีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาและช่วยกันทําให้สังคมดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา เป็นต้น

ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยจะสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องส่งเสริม ให้มีการพัฒนาทั้งระบบในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้มีเสถียรภาพ รวมทั้งต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนให้มีบทบาทมากยิ่งขึ้น ด้านการเมืองต้องเสริมสร้างระบบการเมือง รัฐบาลต้องมีนโยบาย การบริหารและการพัฒนาให้ครอบคลุมถึงความต้องการของประชาชนอย่างรอบด้าน โดยสามารถนําไปปฏิบัติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสํานึก มีความรู้ และเห็นคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ส่วนในด้านเศรษฐกิจนั้นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลต้อง บริหารให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น มีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจ มีเสถียรภาพทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และในด้านสังคมต้องให้การศึกษาระดับพื้นฐานแก่ ประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชน ร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมดําเนินการทุก ๆ เรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และ นําความคิดเห็นความต้องการของประชาชนไปประกอบการพิจารณาเพื่อกําหนดนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เพื่อเป็น การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 2/2562

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทําเพียง 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. ให้นักศึกษาอธิบายอํานาจร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับความหมาย รูปแบบ พร้อมกับวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ ของประเทศไทยว่าส่วนใหญ่เกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญรูปแบบใด

แนวคําตอบ

อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง อํานาจในการจัดทํารัฐธรรมนูญ อํานาจในการกําหนด หลักการแห่งรัฐธรรมนูญ อํานาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยบัญญัติเป็นหมวด เป็นมาตราต่าง ๆ รวมถึง การลงมติเห็นพ้องกันให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย ตลอดจนครอบคลุมไปถึงการประกาศใช้ หรือกล่าวโดยสรุป อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดทํารัฐธรรมนูญนั่นเอง รูปแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1. อํานาจพิจารณาใหม่ เป็นอํานาจที่มีอยู่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หมายความว่าเป็นอานาจร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับที่กําลังใช้อยู่ได้วางระเบียบการจัดตั้งอํานาจและกําหนดวิธีการ ดําเนินการไว้ โดยในทางปฏิบัติจะปรากฏในรูปของอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (Amendment) ซึ่งรัฐธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษรจะมีหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ โดยกําหนดว่าญัตติในการเสนอขอแก้ไขเป็น องค์กรใด ผู้มีอํานาจในการพิจารณาแก้ไขคือองค์กรใด และต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากในจํานวนเท่าใด นอกจากนี้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นผู้มีอํานาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่กี่มาตราก็ได้หรืออาจแก้ไขทั้งฉบับก็ได้

ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 3 (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489) เกิดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) หรือรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 (รัฐธรรมนูญ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534) เป็นฉบับที่มีการแก้ไขมากที่สุด โดยใช้อํานาจพิจารณาใหม่แก้ไขเกือบทั้งฉบับ (ยกเว้น หมวดทั่วไปกับหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์เท่านั้น) ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนี้ เป็นการแก้ไขที่มีผลทําให้ เปลี่ยนรัฐธรรมนูญในแบบอํามาตยาธิปไตย (Bureaucracy) มาเป็นรัฐธรรมนูญในแบบประชาธิปไตย (Democracy)

2. อํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เป็นอํานาจที่ไม่มีอยู่ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพราะว่าไม่มีรัฐธรรมนูญในขณะนั้น โดยเป็นอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

1) การก่อตั้งรัฐใหม่
2) มีการปฏิวัติหรือการทํารัฐประหาร

ดังนั้น ผู้ก่อตั้งรัฐใหม่หรือผู้ทําการปฏิวัติรัฐประหารจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม ซึ่งหมายความว่า มีอํานาจแรกเริ่ม อิสระ ไม่ผูกพันกับตัวบทกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนใด ๆ ที่มีอยู่ก่อน ทั้งสิ้น เป็นอํานาจอิสระจริง ๆ สามารถกําหนดหลักการแห่งรัฐธรรมนูญอย่างใดก็ได้ โดยไม่จําเป็นต้องไปผูกพันกับ รัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่เคยมีอยู่ในอดีต อีกทั้งยังสามารถยกเลิกหลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) ไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้มาตรา 17 เป็นต้น

รัฐธรรมนูญไทยเกือบทุกฉบับเกิดจากอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เพราะเกิดจาก การทํารัฐประหารถือว่ามีอํานาจ “รัฏฐาธิปัตย์” คือ อํานาจปกครองบังคับบัญชาสูงสุดภายในรัฐ จึงสามารถ ร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดก็ได้ โดยไม่จําเป็นต้องเคารพหรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่เคยมีในรัฐธรรมนูญ ฉบับเก่า แต่ต้องยึดอํานาจให้สําเร็จจึงจะมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมได้ ถ้าแพ้ก็เป็นกบฏ และต้องมีความผิด

กรณีอําานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการก่อตั้งรัฐใหม่ ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1787 ของสหรัฐอเมริกา มี 7 มาตรา (แก้ไข 27 ครั้ง) ซึ่งแต่เดิมนั้นสหรัฐอเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ต่อมาได้มีการปฏิวัติเพื่อกู้เอกราชในปี ค.ศ. 1776 และกระทําสําเร็จ จึงมีอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม สามารถร่างรัฐธรรมนูญในแบบใดได้ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นอํานาจแรกเริ่ม เป็นอํานาจอิสระที่แท้จริง หรืออีกตัวอย่างaหนึ่ง เช่น การเกิดประเทศบรูไนในปี ค.ศ. 1983 จะร่างรัฐธรรมนูญในรูปแบบใดก็ได้ (ราชาธิปไตยหรือระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ประยุกต์)

สําหรับอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิมที่เกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ถือว่าเป็นอํานาจที่ไม่มีขอบเขตจํากัด เนื่องจากเป็นผู้ชนะอาจสั่งให้ยกเลิกศาลทั้งหมดก็ทําได้ เพราะตรงตามข้อเท็จจริงทาง หลักรัฐศาสตร์ประการหนึ่งที่ว่า “ผู้แข็งแรงที่สุดเป็นผู้มีอํานาจปกครอง”

อย่างไรก็ตาม ขีดจํากัดของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยวิธีการปฏิวัติหรือรัฐประหาร
สามารถวิเคราะห์ได้ 2 ประการ คือ

1) จิตใต้สํานึกของผู้มีอํานาจ
2) ความรู้สึกของประชาชน

กรณีประเทศไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ การจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยมีทั้ง 2 รูปแบบ คือ ด้วยวิธีการใช้ “อํานาจพิจารณาใหม่” (ดังปรากฏในหมวดว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) และวิธีการใช้ “อํานาจ ร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม” แต่ถ้าจะวิเคราะห์แล้วอํานาจร่างรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ของไทยจะเป็นในแบบอํานาจ ร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม เพราะการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ๆ ของไทยจะเกิดจากผลของการทํารัฐประหาร

กล่าวโดยสรุป อํานาจร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 รูปแบบ คือ อํานาจพิจารณาใหม่ และอํานาจร่าง รัฐธรรมนูญดั้งเดิม โดยการจัดทํารัฐธรรมนูญของไทยส่วนใหญ่จะมีลักษณะในแบบของอํานาจร่างรัฐธรรมนูญดั้งเดิม

ข้อ 2. ให้นักศึกษาอธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ดังต่อไปนี้

2.1 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

แนวคําตอบ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (Amendment) หมายถึง เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้ใช้บังคับไปใน ระยะเวลานานพอสมควรแล้ว ก็ควรจะมีการแก้ไข หมายความว่า อาจจะยกเลิกบางมาตรา หรือใส่เพิ่มเติมเข้าไป ในมาตราที่ไม่เคยมีก็ได้ โดยหลักการทั่วไปมีอยู่ว่าอาจแก้ไขบางส่วน หรือแก้ไขทั้งฉบับก็ย่อมทําได้ นั่นคือ สามารถ แก้ไขมาตราก็ได้ ภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่กําหนด ทั้งนี้เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพ ความเป็นจริงของบ้านเมือง หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศและของโลกในเวลานั้น

การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณีไม่แตกต่างจากการแก้ไขกฎหมายธรรมดา คือ กฎข้อบังคับต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของรัฐธรรมนูญ หากสภาออกกฎหมายยกเลิกก็เท่ากับเป็นการแก้ไข รัฐธรรมนูญ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษรจะแก้ไขได้ยากกว่า เพราะต้องมีกระบวนการ มีขั้นตอน เริ่มจากองค์กรที่มีอํานาจในการเสนอญัตติขอแก้ไข องค์กรที่มีอํานาจในการพิจารณาในแต่ละวาระ และต้องใช้
คะแนนเสียงข้างมากด้วย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญของไทยจะมีการจํากัดอํานาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังจะเห็น ได้จากรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับที่ห้ามแก้ไขในเรื่องรูปแบบรัฐซึ่งเป็นแบบรัฐเดี่ยว (Unitary State) และรูปแบบ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยเด็ดขาด

สําหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทยในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจาก ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยญัตติ ขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็น 3 วาระ ดังนี้

วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา เห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

วาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตรา การออกเสียงในวาระนี้ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณแต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้เสนอความคิดเห็นด้วย

วาระที่ 3 ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

เมื่อมีการลงมติเห็นชอบแล้วให้รอไว้ 15 วัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย

สําหรับกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม ของผู้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออํานาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือ เรื่องที่ทําให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออํานาจได้ ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติก่อน
ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจึงนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

2.2 Authority

แนวคําตอบ

Authority หมายถึง อํานาจหน้าที่ ซึ่งเป็นอํานาจที่ใช้โดยฝ่ายตุลาการ (Judicial) หรือศาล การที่อํานาจของศาลเป็นอํานาจหน้าที่นั้น ก็เพราะว่าผู้พิพากษาจะตัดสินคดีต่าง ๆ ไปตามตัวบทกฎหมายที่เขียนไว้แล้วนั่นเอง

2.3 การปฏิวัติ

แนวคําตอบ

การปฏิวัติ (Revolution) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมแบบใหม่ สร้าง กฎหมายใหม่ และเพื่อสนองอุดมการณ์แบบใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สั้นที่สุดก็คือ “สิ่งที่เคยถูกต้องและดีงามในอดีต หรือสิ่งที่ถูกต้องในวันนี้ ไม่จําเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นหลักสัจธรรมสําหรับปัจจุบันหรืออนาคต” แต่การปฏิวัติ ที่จะเกิดความชอบธรรม (Legitimacy) จะต้องมีประชาชนเข้าร่วมอยู่ด้วยพร้อมกับผู้นํา

ตัวอย่างของการปฏิวัติใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกที่อาจกล่าวได้ว่ามีความชอบธรรม ได้แก่
การปฏิวัติในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
– การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ. 1917
– การปฏิวัติในจีน ค.ศ. 1949

กรณีประเทศไทย การยึดอํานาจรัฐที่พอจะอนุโลมให้เรียกว่า “การปฏิวัติ” นั้นมีเพียงครั้งเดียว คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่คณะราษฎรได้ทําการ ยึดอํานาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองใหม่จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ในระบบรัฐสภา แบบอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้มีประชาชนเข้าร่วมด้วย

สําหรับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นี้ ไม่ใช่การทํารัฐประหาร และก็ไม่ใช่การปฏิวัติ โดยสิ้นเชิง แต่ที่ถูกต้องทางรัฐศาสตร์ควรเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475” ซึ่ง 1 ในคณะราษฎร หรือผู้ก่อการคือ นายปรีดี พนมยงค์ เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การอภิวัฒน์การปกครอง พ.ศ. 2475”

2.4 การรัฐประหาร

แนวคําตอบ

การรัฐประหาร (Coup d’e tat) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยน ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนา ผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจ มักเป็นทหาร และภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทาง การเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบ ทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

อนึ่ง ประเทศไทยมีการทํารัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอํานาจรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล และประกาศ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550

2.5 ราชอาณาจักร

แนวคําตอบ

ราชอาณาจักร (Kingdom) หมายถึง ประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น พระราชินี หรือเป็นพระจักรพรรดิ เช่น ไทย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวีเดน เป็นต้น ซึ่งในอดีตการเกิด เป็นประเทศที่เรียกว่า ราชอาณาจักร เกิดจากแม่ทัพในขณะนั้นปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ คือ แม่ทัพไปรบกับรัฐอื่น ๆ จนได้รับชัยชนะแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสถาปนาตนเองขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ปราบดาภิเษก ต่อมาเมื่อกษัตริย์พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ พระโอรสก็จะต้องขึ้น ครองราชย์แทน การที่พระโอรสขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระบิดาที่สิ้นพระชนม์ เรียกว่า ราชาภิเษก

ข้อ 3. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาความเข้มแข็งของสถาบันทางการเมืองของไทย โดยให้ยกสถาบัน
ทางการเมืองสถาบันใดสถาบันหนึ่งก็ได้มาวิเคราะห์ โดยให้ระบุลักษณะและสาเหตุของปัญหา
ตลอดจนอภิปรายถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และให้เสนอแนะ
แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามกรอบของรัฐธรรมนูญ

แนวคําตอบ

ปัญหาความเข้มแข็งของสถาบันทางการเมืองของไทย

สถาบันทางการเมืองของไทยยังขาดความเข้มแข็งหรือยังมีความเป็นสถาบันในระดับต่ํา หรือ จะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบันทางการเมืองของไทยที่สร้างขึ้นมายังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง คือ ยังไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง ความต้องการ ตลอดจนการประนีประนอมอํานาจและผลประโยชน์ ของฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมไทยได้ทั้งในระดับของชนชั้นนําและระดับของประชาชนโดยทั่วไป สถาบันทางการเมืองจึงถูกล้มลงและสร้างขึ้นใหม่บ่อยครั้งในระบบการเมืองไทย

ตัวอย่างสถาบันทางการเมืองของไทย เช่น พรรคการเมือง มักมีปัญหาในเรื่องความเข้มแข็ง หรือความเป็นสถาบัน หรือก็คือความสามารถของพรรคการเมืองในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป การมีความคงทน การมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน การแยกตัวบุคคลออกจากการครองอํานาจของ ใครคนใดคนหนึ่งภายในพรรค เป็นต้น

บูฆอรี ยีหมะ เห็นว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดของความอ่อนแอในเชิงสถาบันของพรรคการเมือง ในประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น เกิดขึ้นจากต้นเหตุสําคัญคือการยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป หรือก็คือการที่พรรคถูกครอบงําจากผู้นําภายในพรรคนั่นเอง จนทําให้พรรคดํารงอยู่ได้ด้วยอํานาจของบุคคลไม่ใช่เพราะความเป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และง่ายต่อการล่มสลายหากผู้นําพรรคหลุดพ้นจากอํานาจทางการเมือง

สาเหตุสําคัญของการยึดติดกับตัวบุคคลจนส่งผลให้พรรคการเมืองไม่มีความเป็นสถาบันเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของโครงสร้างทางอํานาจที่กระจุกตัวแทนที่จะกระจายตัวออกไป ซึ่งเป็นปัญหา ที่เกิดจากโครงสร้างของพรรคนั่นเอง ส่วนสาเหตุของความไม่เท่าเทียมกันของอํานาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่

1. ความรู้ความสามารถที่ไม่เท่าเทียมกันของสมาชิกพรรค
2. ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ความต้องการของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. การควบคุมการไหลเวียนของข่าวสารที่ไม่เท่าเทียมกันของสมาชิกพรรค
4. การตีความกฎระเบียบ อํานาจในการตีความของผู้นํา
5. เงินทุน
6. การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมในพรรค อํานาจในการเลือกผู้เข้าร่วมพรรคอยู่ที่ผู้นําพรรค
บางคน

นอกจากนี้ ปัญหาความไม่เข้มแข็งหรือความไม่เป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทยยังมีสาเหตุมาจาก

1. ความขัดแย้งทางอุดมคติเกี่ยวกับแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมือง ปัญหานี้เกิดขึ้น เนื่องจากแนวคิดการจัดตั้งพรรคการเมืองไปขัดแย้งกับอุดมคติดั้งเดิมซึ่งเน้นความเป็นรัฐที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงปฏิเสธการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ภายในรัฐ ดังนั้นอุดมคตินี้จึงมักถูกใช้เป็นข้ออ้างของฝ่ายอํานาจในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามมาโดยตลอด

2. ลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูง ทําให้เป็นอุปสรรคต่อการทํางานร่วมกัน และเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

3. ระบบอาวุโสทําให้สมาชิกมีความผูกพันต่อพรรคในระดับต่ํา ทั้งนี้เนื่องจากผู้อาวุโส ในพรรคมีบทบาทอํานาจในพรรคมาก ทําให้ผู้น้อยไม่อาจเข้าไปมีบทบาทในพรรคได้มากนัก จึงทําให้สมาชิกส่วนใหญ่ ของพรรคไม่รู้สึกถึงความผูกพันต่อพรรคการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองไทย

4. โครงสร้างทางสังคมของไทยเป็นโครงสร้างแบบหลวม ๆ ส่งผลให้การรวมกลุ่มต่าง ๆไม่มีความเข้มแข็ง รวมถึงการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง

5. ความคิดเจ้าผู้ปกครองเป็นเจ้าเหนือแผ่นดินและทรัพย์สินทั้งปวง ทําให้ประชาชน ไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของประเทศ ส่งผลให้การรวมกลุ่มทางการเมืองขาดความเข้มแข็ง

6. การตั้งพรรคการเมืองของไทยเริ่มต้นมาจากฐานความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ คือ การตั้งพรรคการเมืองเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้มีอํานาจตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อให้เป็นฐานอํานาจทางการเมือง ของกลุ่มตน แต่เมื่อผู้นําพรรคหมดอํานาจ พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็มักสลายตามไปด้วย ซึ่งทําให้พรรคการเมือง ของไทยขาดความเป็นสถาบัน เพราะยึดติดกับตัวผู้นําหรือหัวหน้าพรรคมากเกินไป

ผลกระทบของปัญหาความไม่เข้มแข็งหรือความไม่เป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทย
ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

1. พรรคการเมืองไม่สามารถแสดงบทบาทและทําหน้าที่ที่ควรจะเป็นตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

2. พรรคการเมืองมิได้เป็นสถาบันของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นพรรคการเมืองของ กลุ่มผู้มีอํานาจหรือชนชั้นนําซึ่งต้องการที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองโดยใช้ชื่อประชาชนมากล่าวอ้างเพื่อความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย

3. การจัดตั้งพรรคการเมืองมิได้อยู่บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมืองหรือการเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์และตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนจึงไม่ตระหนักในการเป็นสมาชิกและมีส่วนร่วมในพรรคการเมือง การบริหารและนโยบายของพรรคการเมืองจึงไม่สะท้อนผลประโยชน์ที่แท้จริง ของประเทศชาติและประชาชน

4. การรวมศูนย์อํานาจการตัดสินใจภายในพรรคการเมืองไว้ที่ผู้นําหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพล ในพรรคการเมือง ทําให้สมาชิกพรรคไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจในการดําเนินการต่าง ๆ ของ พรรคการเมืองได้ เช่น การคัดสรรบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและดํารงตําแหน่งสําคัญทางการเมือง เป็นต้น

5. การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เท่านั้น มิได้ให้ความสําคัญกับการตั้งสาขาพรรคให้กระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เพื่อให้สาขาพรรคเป็นกลไก ในการเชื่อมโยงพรรคกับประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ

แนวทางแก้ไขปัญหาความไม่เข้มแข็งหรือความไม่เป็นสถาบันของพรรคการเมืองไทยตามกรอบของรัฐธรรมนูญเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับพรรคการเมืองภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งหรือมีความเป็นสถาบัน เป็นพรรคการเมืองของมวลชน

มีสาขาพรรคกระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงเพื่อให้สาขาพรรคเป็นกลไกในการเชื่อมโยงพรรคกับประชาชนและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงทําให้พรรคการเมืองมีอิสระในการตัดสินใจไม่ถูกแทรกแซงหรือครอบงําโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีดังนี้

1. การจัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยผู้ร่วมกันจัดตั้ง ทุกคนต้องร่วมกันจ่ายเงินเพื่อเป็นทุนประเดิมคนละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ก่อนยื่นคําขอ จดทะเบียนจัดตั้งพรรคผู้ร่วมกันจัดตั้งต้องประชุมร่วมกันโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 250 คน

2. รายได้ของพรรคการเมืองต้องมาจากอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคการเมือง ซึ่งต้องเรียกเก็บจากสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละ 100 บาท และพรรคการเมืองอาจกําหนดให้เรียกเก็บค่าบํารุง พรรคการเมืองจากสมาชิกแบบตลอดชีพตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 2,000 บาท

3. การจัดตั้งพรรคการเมืองต้องดําเนินการให้มีจํานวนสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน และต้องเพิ่มจํานวนสมาชิกให้มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ภายใน 4 ปี

4. ต้องจัดให้มีสาขาพรรคในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่ กกต. กําหนด อย่างน้อยภาคละ 1 สาขา โดยสาขาพรรคการเมืองแต่ละสาขาต้องมีสมาชิกที่มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ของสาขานั้นตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

5. ต้องจัดให้มี “คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เพื่อทําหน้าที่สรรหาผู้สมัคร รับเลือกตั้งของพรรค และการเลือกผู้สมัคร ส.ส. ต้องรับฟังความเห็นตัวแทนพรรคประจําจังหวัดประกอบด้วย
รายละเอียดดังต่อไปนี้

6. กําหนดให้การโฆษณานโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องใช้จ่ายเงินต้องมีการแสดง

1) วงเงินที่ต้องใช้และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดําเนินการ
2) ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดําเนินนโยบาย
3) ผลกระทบและความเสี่ยงในการดําเนินนโยบาย

7. การยุบพรรคการเมือง กําหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทําผิด โดยให้ กกต. ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีจํานวนสมาชิกกี่ประเทศ
(1) 189 ประเทศ
(2) 190 ประเทศ
(3) 191 ประเทศ
(4) 192 ประเทศ
(5) 193 ประเทศ
ตอบ 5 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2022 อายุ 77 ปี) ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต เกาหลีเหนือ ซีเรีย ยูเครน อิหร่าน มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีสาธารณรัฐซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

2.ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติประเทศล่าสุดคือประเทศใด
(1) สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสค์
(2) สาธารณรัฐประชาชนลูฮานสค์
(3) สาธารณรัฐประชาชนใครเมีย
(4) สาธารณรัฐซูดานใต้
(5) สาธารณรัฐเซาท์ออสซีเชีย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียและการผนวกสาธารณรัฐไครเมียของรัสเซียเกิดขึ้น
ในปี ค.ศ. ใด
(2) ค.ศ. 2010
(1) ค.ศ. 2008
(3) ค.ศ. 2012
(4) ค.ศ. 2014
(5) ค.ศ. 2016
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของใครเมียเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งผลการลงประชามติพบว่าคนส่วนใหญ่เห็นชอบที่จะแยกดินแดนออกจาก ยูเครนเพื่อผนวกดินแดนกับรัสเซีย แต่การลงประชามติดังกล่าวถูกคัดค้านและประณาม จากกลุ่มประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของความชอบธรรม

4.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. ใด
(1) ค.ศ. 2025
(2) ค.ศ. 2030
(3) ค.ศ. 2035
(4) ค.ศ. 2040
(5) ค.ศ. 2045
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ในปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นที่สํานักงานใหญ่ สหประชาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการประชุมเพื่อกําหนด เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาของโลกในการบรรลุการพัฒนา ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาตามเป้าหมายจะเริ่มในปี ค.ศ. 2015 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายทั้งสิ้น 17 ข้อ เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษา ที่มีคุณภาพ การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ การจัดการน้ําและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน เป็นต้น

5.การประชุมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นที่ใด
(1) นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
(2) ลอนดอน สหราชอาณาจักร
(3) ปารีส ฝรั่งเศส
(4) อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
(5) มาดริด สเปน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติมีเป้าหมายทั้งสิ้นกี่ข้อ
(1) 8 ข้อ
(2) 10 ข้อ
(3) 12 ข้อ
(4) 15 ข้อ
(5) 17 ข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7.ก่อนการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย ประเทศพันธมิตรตะวันตกได้นําวิธีการการลงประชามติ
มาใช้กับดินแดนใดก่อน
(1) โคโซโว
(2) บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา
(3) นอร์ทมาซิโดเนีย
(4) นากอร์โน คาราบัค
(5) อาร์ทซัค
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ก่อนการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย ประเทศพันธมิตรตะวันตก
ได้นําวิธีการลงประชามติมาใช้กับโคโซโว เพื่อแยกดินแดนโคโซโวออกจากเซอร์เบีย

8.สงคราม 5 วันที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เป็นสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวรัสเซียในแคว้นเซาท์ออสเซเทีย เกิดขึ้นในประเทศใด
(1) ยูเครน
(2) จอร์เจีย
(3) อาร์เมเนีย
(4) อาเซอร์ไบจาน
(5) คาซัคสถาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สงคราม 5 วัน เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศจอร์เจีย เป็นสงครามเพื่อปลดปล่อยชาวรัสเซียในแคว้นเซาท์ออสเซเทีย โดยคู่สงครามประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายของจอร์เจียกับฝ่ายของเซาท์ออสเซเทียและรัสเซีย

9. สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค เป็นสงครามระหว่างชาติใด
(1) รัสเซีย-จอร์เจีย
(2) อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน
(3) รัสเซีย-อาร์เมเนีย
(4) รัสเซีย-อาเซอร์ไบจาน
(5) จอร์เจีย-อาเซอร์ไบจาน
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สงครามแย่งชิงภูมิภาคนากอร์โน คาราบัค เป็นสงครามระหว่างอาร์เมเนีย กับอาเซอร์ไบจาน สองอดีตสาธารณรัฐสมาชิกสหภาพโซเวียตในภูมิภาคคอเคซัส โดยทั้งสองประเทศทําสงครามนองเลือดกันมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980

10. ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครนเริ่มขึ้นเมื่อใด
(1) 14 มกราคม ค.ศ. 2022
(2) 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
(3) 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022
(4) 14 มีนาคม ค.ศ. 2022
(5) 18 มีนาคม ค.ศ. 2022
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียต่อยูเครนเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เมื่อวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้แถลงผ่านโทรทัศน์ประกาศ เริ่มปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ดอนบาสหรือภูมิภาคตะวันออกของยูเครน โดยอ้างว่า มีจุดประสงค์เพื่อขจัดนาซี ปกป้องพลเรือน และรับมือภัยคุกคามที่มาจากยูเครน ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติความขัดแย้งที่ยิ่งใหญ่และรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

11. คํากล่าวเกี่ยวกับความเป็นจริงในการเมืองระหว่างประเทศข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) ในทางปฏิบัติทุกประเทศมีความเท่าเทียมกัน
(2) สัดส่วนการครอบครองทรัพยากรของแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน
(3) รัฐขนาดเล็กมักตกเป็นตัวเบี้ยของรัฐมหาอ่านาจ
(4) รัฐมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมีไม่เกิน 6 รัฐ
(5) รัฐมหาอํานาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมีเพียงร้อยละ 5 ของจํานวนรัฐทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 199 รัฐต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศในทางปฏิบัติไม่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอํานาจของชาติโดยตรง

12. การจัดลําดับรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศโดยอาศัยความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ
เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สบิกเนียฟ เบรเซนส
(5) อเล็กซานเดอร์ ดูกิน
ตอบ 3 หน้า 199 – 200 ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance) ได้จัดลําดับรัฐในเวทีการเมือง ระหว่างประเทศโดยอาศัยความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ โดยเห็นว่า ลักษณะ ของการเมืองระหว่างประเทศจะมีการกระจายพื้นฐานแห่งอํานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน และ ไม่ได้สัดส่วนระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก ดังนี้
1. รัฐมหาอํานาจ (ขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยที่สุดเพียง 5% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 75% ซึ่งมากที่สุดในโลก
2. รัฐขนาดกลางมี 15% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 20%
3. รัฐขนาดเล็กมี 80% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร น้อยที่สุดเพียง 5% เท่านั้น

13. มาตรฐานการแบ่งรัฐตามความสามารถในการสร้างพันธะกับรัฐอื่น เป็นแนวคิดของนักวิชาการท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สปีกเนียฟ เบรเซนสกี
(5) อเล็กซานเดอร์ ดูกิน
ตอบ 2 หน้า 200 เค. เจ. โฮลสติ (K. J. Holsti) เห็นว่า มาตรฐานของการจัดแบ่งรัฐเป็นประเภท ต่าง ๆ ที่สําคัญก็คือ ความสามารถของรัฐต่าง ๆ ที่จะสร้างพันธะกับรัฐอื่น ๆ ว่ามีขอบเขต แค่ไหน และรัฐนั้น ๆ สามารถจะปฏิบัติตามพันธะนั้น ๆ ได้แค่ไหน อย่างไร ความแตกต่าง ระหว่างรัฐมหาอํานาจกับรัฐเล็กพิจารณาได้จากการประเมินหรือคาดคิดเอาอย่างกว้าง ๆถึงปัจจัยทั้งที่มองเห็นได้ชัดและที่ไม่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า ความสามารถหรือสมรรถภาพของรัฐ

14. โจเซฟ สตาลิน ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐในด้านใด
(1) กําลังทหาร
(2) อํานาจอธิปไตย
(3) นิติรัฐ นิติธรรม
(4) อํานาจนิติบัญญัติ
(5) อํานาจตุลาการ
ตอบ 1 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร (กําลังทหาร) ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นํา สหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

15. ขั้นตอนการพัฒนาทางอุตสาหกรรมตามแนวคิดของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี แบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน
(1) 2 ขั้นตอน
(2) 3 ขั้นตอน
(3) 4 ขั้นตอน
(4) 5 ขั้นตอน
(5) 6 ขั้นตอน
ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอนการพัฒนาทางอุตสาหกรรม 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

16. นโยบายต่างประเทศของรัฐเป็นการเชื่อมโยงระหว่างอํานาจของชาติกับอะไร
(1) การทูต
(2) นโยบายภายในประเทศ
(3) นโยบายต่างประเทศ
(4) ผลประโยชน์ของประเทศ
(5) ทรัพยากรของชาติ
ตอบ 4 หน้า 207 นโยบายต่างประเทศของรัฐ หมายถึง หลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกําหนด และควบคุมการกระทําของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่นโยบาย ต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติโดยมาตรการต่าง ๆ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ความสามารถของแต่ละรัฐ ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของรัฐจึงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างอํานาจของชาติกับผลประโยชน์ของชาติ

17. คําว่า “ชาติขนาดกลาง” ตามแนวคิดของศาสตราจารย์ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือข้อใด
(1) ชาติที่มีประชากรจํานวนระหว่าง 5 – 10 ล้านคน
(2) ชาติที่มีสัดส่วนในการครอบครองทรัพยากรของโลกทั้งหมดเพียงแค่ร้อยละ 20
(3) ชาติที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 10 ล้านตารางกิโลเมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50 ล้านตารางกิโลเมตร
(4) ชาติที่ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 ศาสตราจารย์ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่ง ประเภทของรัฐตามระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม
2. ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่ได้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
3. ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่ หรือมีพัฒนาการ ในอุตสาหกรรมชั้นสูง

18. โครงสร้างอํานาจในการเมืองระหว่างประเทศในช่วงท้ายของสงครามเย็นมีลักษณะเช่นไร
(1) การมีศูนย์อํานาจแห่งเดียว
(2) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจโดยเคร่งครัด
(3) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจโดยไม่เคร่งครัด
(4) การมีศูนย์แห่งอํานาจหลายศูนย์
(5) การมีสองศูนย์แห่งอํานาจและหลายศูนย์แห่งอํานาจผสมกัน
ตอบ 5 หน้า 205 การมีสองศูนย์แห่งอํานาจและหลายศูนย์แห่งอํานาจผสมกัน (Bi-Multipolar Structure) คือ สภาพการเมืองระหว่างประเทศที่มีการผสมกันระหว่างการมีสองศูนย์แห่งอํานาจและการมีหลายศูนย์แห่งอํานาจในระบบการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศในช่วงท้ายของสงครามเย็น เป็นต้น

19. นักวิชาการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มองว่านโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศไม่สามารถแยกจากกันได้คือท่านใด
(1) เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี
(2) เค. เจ. โฮลสติ
(3) ริชาร์ด โรสแครนซ์
(4) สปีกเนียฟ เบรเซนส
(5) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
ตอบ 5 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) มองว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสําคัญด้วย

20. ขั้นตอนแรกในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ คือ
(1) การกําหนดนโยบาย
(2) การประเมินนโยบาย
(3) การนํานโยบายไปปฏิบัติ
(4) การวางแผน
(5) การสรุปผลการนํานโยบายไปปฏิบัติ
ตอบ 1 หน้า 209 กระบวนการในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ ประกอบด้วยขั้นตอนอย่างน้อย
2 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดหรือการวางนโยบาย
2. การนํานโยบายไปปฏิบัติ

21. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ความอยู่รอด
(2) ความมั่นคง
(3) ความมั่งคั่ง
(4) เกียรติภูมิและศักดิ์ศรี
(5) ระเบียบวินัย
ตอบ 5 หน้า 25 – 30, (คําบรรยาย) เป้าหมายในการกําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศ

22. ข้อใดคือปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ
(1) สถานที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของประเทศ
(2) ทรัพยากรทางธรรมชาติ
(3) ทรัพยากรมนุษย์
(4) องค์ความรู้และเทคโนโลยี
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ปัจจัยพื้นฐานที่ใช้ในการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ได้แก่
1. สถานที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของประเทศ
2. ทรัพยากรทางธรรมชาติ
3. ทรัพยากรมนุษย์
4. องค์ความรู้และเทคโนโลยี

23. ข้อใดถือว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติปฐมภูมิ
(1) การเน้นการส่งออกมากกว่านําเข้า
(2) การรักษาดินแดนและอํานาจอธิปไตย
(3) การสร้างงานให้ประชาชนในรัฐ
(4) การพัฒนาการศึกษาและเทคโนโลยี
(5) การรักษาสนธิสัญญาที่รัฐให้สัตยาบัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์แห่งชาติปฐมภูมิ เป็นผลประโยชน์แห่งชาติที่มีลักษณะไม่สามารถ ประนีประนอมได้ หากถูกละเมิดหรือถูกทําให้เสียหายรัฐพร้อมตอบโต้ด้วยทุกเครื่องมือและ สรรพกําลังทั้งหมดที่มี เช่น การรักษาดินแดนและอํานาจอธิปไตย เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือ
(1) ต้นทุน
(2) ความเสี่ยง
(3) ประสิทธิผล
(4) บุคลิกภาพของผู้นํารัฐ
(5) ช่วงเวลาในการเลือกใช้เครื่องมือ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือในการดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ได้แก่ 1. ต้นทุน 2. ความเสี่ยง 3. ประสิทธิผล 4. ช่วงเวลา

25. เครื่องมือประเภทใดที่รัฐควรเลือกใช้เป็นสิ่งสุดท้าย
(1) การเจรจา
(2) มาตรการเชิงลบในการค้าระหว่างประเทศ
(3) เครื่องมือทางการทหาร
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การทูตเชิงวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 43, (คําบรรยาย) เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ เครื่องมือนี้รัฐควรเลือกใช้เป็นสิ่งสุดท้ายเมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือ ทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยาไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

26. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางการเมือง
(1) สหรัฐฯ ไม่พอใจที่รัฐบาลจีนแทรกแซงค่าเงินหยวน
(2) ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา
(3) เกาหลีใต้ใช้มาตรการคว่ําบาตรญี่ปุ่นทําให้ยอดส่งออกเบียร์ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 90
(4) จีนประกาศงดการนําเข้าข้าวบาร์เลย์จากออสเตรเลีย
(5) สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าวจากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บ มะพร้าว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางการเมือง เป็นความ ขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นปัญหาด้านดินแดนและอาณาเขต อุดมการณ์ หรือผู้นําทางการเมือง เช่น ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ซึ่งนําไปสู่ สงครามเย็นในช่วง ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นต้น

27. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) การลดค่าเงินเยนของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980
(2) การทําสงครามทางทะเลอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ ในช่วง ค.ศ. 1652 – 1654
(3) สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย

(4) สงครามเย็น
(5) การยึดถืออุดมการณ์ฟาสซิสต์ของเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ 1930 อันนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เช่น ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997 เป็นต้น
2. ความแตกต่างทางด้านศาสนาและความเชื่อ เช่น สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วง ทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย เป็นต้น
3. ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าวจากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บมะพร้าว เป็นต้น

28. ประเทศใดที่สมัครเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022
(1) สวีเดนและเดนมาร์ก
(2) นอร์เวย์และเดนมาร์ก
(3) สเปนและนอร์เวย์
(4) ฟินแลนด์และสวิตเซอร์แลนด์
(5) สวีเดนและฟินแลนด์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) สวีเดนและฟินแลนด์ได้สมัครเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นการตัดสินใจ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัสเซียรุกรานยูเครน โดยทั้งสองประเทศหวังว่าการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ จะสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับชาติของตน

29. เหตุการณ์ใดไม่ถือว่าเป็นการก่อการร้าย
(1) เหตุการณ์ 9/11
(2) การลอบสังหารมกุฎราชกุมารออสเตรียในปี ค.ศ. 1914
(3) เหตุการณ์ระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2005
(4) ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดาระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997
(5) เหตุการณ์ระเบิดในงานบอสตันมาราธอนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2013
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) การก่อการร้าย (Terrorism) หมายถึง การใช้ความรุนแรงที่ผิดปกติ โดยมีเป้าหมายที่จะทําให้เกิดความหวาดกลัวด้วยการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อบีบบังคับหรือข่มขู่ หรือการทําลายล้างผลาญ หรือการข่มขู่ว่าจะสังหารหรือการสังหาร ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ถือว่า เป็นการก่อการร้าย เช่น เหตุการณ์ 9/11 การลอบสังหารมกุฎราชกุมารออสเตรียในปี ค.ศ. 1914 เหตุการณ์ระเบิดรถไฟใต้ดินกลางกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 2005 เหตุการณ์ระเบิดในงานบอสตัน มาราธอนเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2013 เป็นต้น

30. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของความร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) รัฐสมัครใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
(2) ความร่วมมือระหว่างประเทศสร้างข้อผูกพันระหว่างรัฐภายใต้กรอบความร่วมมือ
(3) ความร่วมมือระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะรัฐเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน
(4) ความร่วมมือระหว่างประเทศถูกจํากัดด้วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
(5) ความร่วมมือระหว่างประเทศช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความร่วมมือระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. รัฐสมัครใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกัน
2. เป็นการสร้างข้อผูกพันระหว่างกันภายใต้กรอบความร่วมมือ
3. เกิดขึ้นเพราะเล็งเห็นผลประโยชน์ร่วมกัน
4. เป็นการลดข้อจํากัดด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
5. ช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ

31. ข้อใดกล่าวถึงการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธีได้ไม่ถูกต้อง
(1) การทูต คือ การใช้การเจรจาต่อรองระหว่างคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย
(2) การใช้คนกลาง คือ การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่อํานวยความสะดวกเพื่อให้ ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากัน แต่ประเทศที่สามไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในการเจรจา
(3) การไกล่เกลี่ย คือ การที่ประเทศที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจากับคู่กรณี
(4) การใช้อนุญาโตตุลาการ คือ การที่คู่กรณีนําข้อพิพาทให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหาข้อยุติ
(5) การใช้องค์การสหประชาชาติ คือ การที่คู่กรณีนําข้อพิพาทขึ้นสู่คณะมนตรีความมั่นคงเพื่อให้ตัดสิน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้อนุญาโตตุลาการ คือ การตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทําหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้มาจากคู่กรณีเพื่อหาข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งโดยใช้หลักการของกฎหมาย มิใช่วิธีการที่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหาข้อยุติของปัญหาความขัดแย้งให้

32. ข้อใดเรียงลําดับพัฒนาการของความสัมพันธ์จากปกติไปสู่สงครามได้ถูกต้อง
(1) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์สงคราม
(2) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์สงคราม
(3) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์ ความขัดแย้ง-สงคราม
(4) ความสัมพันธ์แบบปกติ-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-สงคราม
(5) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-สงคราม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัฒนาการของความสัมพันธ์ของรัฐจากปกติไปสู่สงคราม สามารถเรียงลําดับ ได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์แบบปกติ
2. ความขัดแย้ง
3. ความตึงเครียด
4. วิกฤติการณ์
5. สงคราม

33. “เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ด้วยรถบรรทุกระเบิด โดยนายทิโมธี แมคเวย์ ชาวอเมริกันอดีตทหารผ่านศึก” ถือเป็นการ ก่อการร้ายประเภทใด
(1) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism)
(2) การก่อการร้ายเพื่อล้มอํานาจ (Insurrectionary Terrorism)
(3) การก่อการร้ายชาตินิยม (Nationalist Terrorism)
(4) การก่อการร้ายระดับโลก (Global Terrorism)
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism) เป็นการก่อการร้ายที่มีผู้ก่อการ เพียงคนเดียว ซึ่งเป้าหมายของการก่อการร้ายอาจจะเป็นการต่อต้านประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทางการเมืองก็ได้ เช่น เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1995 ด้วยรถบรรทุกระเบิด โดยนายทิโมธี แมคเวย์ ชาวอเมริกันอดีตทหารผ่านศึก เป็นต้น

34. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบหลักของระบอบระหว่างประเทศ
(1) กติกาหรือบรรทัดฐาน
(2) หลักการ
(3) สถานที่ตั้ง
(4) กฎเกณฑ์
(5) กระบวนการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 122, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่าย ทั้งที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เป็นต้น

35. ข้อใดจัดว่าเป็นความร่วมมือที่เกิดจากการผลักดันของประเทศมหาอํานาจ
(1) การจัดทําสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
(2) การจัดตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
(3) ความร่วมมือทางการทูตเรื่องความปลอดภัยของนักการทูต
(4) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(5) ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การจัดทําสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 เป็นความร่วมมือที่เกิดจากการผลักดันของประเทศ มหาอํานาจ คือ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธ นิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ และส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ

36. สถาบันใดที่นับว่ามีลักษณะเป็นระบอบระหว่างประเทศ
(1) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GAT)
(2) องค์การการค้าโลก (WTO)
(3) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
(4) องค์การสหประชาชาติ (UN)
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

37. ข้อใดจัดว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศ
(1) บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC)
(2) แกนแห่งความชั่วร้าย (Axis of Evil)
(3) ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)
(4) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 125, (คําบรรยาย) กลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศ (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสาน ของรัฐที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการก่อตั้ง มีสนธิสัญญาเป็นกรอบชัดเจนที่จะผูกมัดประเทศสมาชิกทุกประเทศ และมีการก่อตั้งในรูปขององค์การระหว่างประเทศ มีสถาบันบริหาร ระเบียบกระบวนการบริหาร และแนวทางการทํางานรวมทั้งโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน กลุ่มพันธมิตรนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งหรือ มีแนวโน้มว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้น เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นต้น

38. ข้อใดกล่าวถึง “ความเท่าเทียมกัน” ในสังคมระหว่างประเทศได้ถูกต้อง
(1) รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความเท่าเทียมกันในการครอบครองทรัพยากร
(2) รัฐในคณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) มีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎขององค์การสหประชาชาติ
(3) อํานาจอธิปไตยของรัฐทําให้รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย
(4) รัฐในสังคมระหว่างประเทศมีความสามารถเท่าเทียมกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตยที่ทําให้แต่ละรัฐในสังคมระหว่าง ประเทศมีความเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริงกลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

39. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะ “อนาธิปไตย” ในสังคมระหว่างประเทศได้ถูกต้อง
(1) สังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ
(2) รัฐมหาอํานาจในแต่ละยุคสมัยเป็นผู้กําหนดกฎเกณฑ์สากลให้สังคมระหว่างประเทศ
(3) สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นลําดับชั้นระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก
(4) ศูนย์กลางทางอํานาจของสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบันอยู่ที่องค์การสหประชาชาติ
(5) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นผู้มีอํานาจตุลาการสูงสุดในสังคมระหว่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) ลักษณะ “อนาธิปไตย” (Anarchy) ในสังคมระหว่างประเทศ คือ การที่สังคมระหว่างประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่าง ประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง

40. ข้อใดกล่าวถึงการขึ้นต่อกัน (Interdependence) ระหว่างรัฐในสังคมระหว่างประเทศได้ไม่ถูกต้อง
(1) ข้อจํากัดและความแตกต่างของการถือครองทรัพยากรธรรมชาติทําให้รัฐต้องพึ่งพาอาศัยกัน
(2) รัฐเล็กต้องพึ่งพารัฐใหญ่เสมอ
(3) การกระจายตัวของทรัพยากรทําให้เกิดระบบการแบ่งงานกันทําระหว่างประเทศ
(4) ปัญหาที่สังคมระหว่างประเทศต้องเผชิญ เช่น ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทําให้รัฐ ต้องขึ้นต่อกันมากขึ้น
(5) การขึ้นต่อกันระหว่างรัฐเป็นผลมาจากการผลิตตามความถนัดของแต่ละรัฐ
ตอบ 2 หน้า 193 – 195 ในสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะของการขึ้นต่อกันและการต้องพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน (Interdependence) ในบรรดารัฐต่าง ๆ ทั้งรัฐเล็กและรัฐใหญ่อยู่เสมอ ไม่เฉพาะ รัฐเล็กเท่านั้นที่มีความจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยรัฐใหญ่ แต่รัฐใหญ่ก็มีความจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยรัฐเล็กเช่นกัน เพราะรัฐใหญ่ต้องอาศัยการสนับสนุนหรือความร่วมมือจากรัฐเล็กต่าง ๆ ในการดําเนินนโยบายต่างประเทศของตน

41. เหตุการณ์ใดที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มจํานวนของรัฐในสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน
(1) การแยกตัวของปากีสถานออกจากอินเดียในปี ค.ศ. 1947
(2) การแยกตัวของยูโกสลาเวีย
(3) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(4) แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เยือนไต้หวันในปี ค.ศ. 2022
(5) การแยกตัวของสิงคโปร์จากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965
ตอบ 4 หน้า 189 – 190, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ หรือจํานวนรัฐในโลกของเราเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม เช่น ปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียในปี ค.ศ. 1947 บังกลาเทศแยกตัวออกจากปากีสถานในปี ค.ศ. 1973 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ในปี ค.ศ. 1965 เป็นต้น
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนด การปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิออตโตมาน

42. สันนิบาตชาติกําเนิดขึ้นจากข้อเสนอของ…………การจัดระเบียบระหว่างประเทศ
(1) จิมมี่ คาร์เตอร์
(2) เอมมานูเอล คานท์
(3) เดวิด โจนส์
(4) วูดโรว์ วิลสัน
(5) แซงต์ ปีแยร์
ตอบ 4 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โดยเกิดจากข้อเสนอของ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ในการจัดระเบียบระหว่างประเทศ

43. สหประชาชาติมีอายุกี่ปีในปี ค.ศ. 2022
(1) 76
(2) 77
(3) 78
(4) 75
(5) 79
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

44. เลขาธิการขององค์การสหประชาชาติในปัจจุบันคือใคร
(1) นายบัน คี-มูน
(2) นายอังตอนี มานูแวล กูแตรึช
(3) นายเดวิด มัลพาสส์
(4) นายโรเบิร์ต ซิลแคล
(5) นายโคฟี แอนนั้น
ตอบ 2 หน้า 167, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชาตาม
คําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 5 ปี ซึ่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรึช (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส เริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

45. กฎบัตรสหประชาชาติมีวิวัฒนาการมาจาก
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) กฎบัตรฮาวานา
(3) กฎบัตรสันนิบาตชาติ
(4) กฎบัตรซานฟรานซิสโก
(5) กฎบัตรเจนีวา
ตอบ 1หน้า 150, 227 – 246, (คําบรรยาย) กฎบัตรสหประชาชาติ มีวิวัฒนาการมาจากกฎบัตร แอตแลนติก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 19 หมวด 111 มาตรา เช่น หมวดที่ 5 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ องค์ประกอบและอํานาจหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง, หมวดที่ 6 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ การมอบอํานาจให้สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการ ระงับข้อขัดแย้งที่ไม่รุนแรง, หมวดที่ 7 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับการคุกคาม ต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทําการรุกราน การดําเนินการของคณะมนตรี ความมั่นคงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่อสันติภาพ, หมวดที่ 9 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับ ความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

46. สหประชาชาติมีองค์กรสําคัญ…….องค์กร
(1) 8
(2) 9
(3) 7
(4) 5
(5) 6
ตอบ 5 หน้า 143, 166 สหประชาชาติประกอบด้วยองค์กรสําคัญ 6 องค์กร คือ
1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
2. คณะมนตรีความมั่นคง
3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี
5. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
6. สํานักงานเลขาธิการสหประชาชาติ

47. การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติจัดทุกปีที่
(1) ปารีส
(2) เจนีวา
(3) นิวยอร์ก
(4) ลอนดอน
(5) บรัสเซลล์
ตอบ 3 หน้า 144, (คําบรรยาย) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 193 ประเทศ โดยแต่ละประเทศมีเสียง 1 เสียง ซึ่งสมัชชาจะจัดประชุมสมัยสามัญปีละ 1 ครั้ง ระหว่าง เดือนกันยายน – ธันวาคม ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะมีผู้นําหรือรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสมาชิกเข้าร่วมประชุม

48. คณะกรรมการที่ 6 ในสมัชชาสหประชาชาติรับผิดชอบปัญหา
(1) กฎหมาย
(2) เศรษฐกิจ
(3) การเมือง
(4) สังคม
(5) การบริหาร
ตอบ 1 หน้า 144 สมัชชาสหประชาชาติมีองค์กรย่อยที่เรียกว่า “คณะกรรมการ” ทําหน้าที่ช่วยดําเนินงานตามประเด็นปัญหา ประกอบด้วย 6 คณะกรรมการ ดังนี้
1. คณะกรรมการที่ 1 รับผิดชอบปัญหาการเมือง และปัญหาที่คุกคามความมั่นคงและสันติภาพของโลก
2. คณะกรรมการที่ 2 รับผิดชอบปัญหาเศรษฐกิจและการคลัง
3. คณะกรรมการที่ 3 รับผิดชอบปัญหาสังคมและมนุษยธรรม
4.คณะกรรมการที่ 4 รับผิดชอบปัญหาดินแดนในภาวะทรัสตีและดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง
5.คณะกรรมการที่ 5 รับผิดชอบปัญหาการบริหารงานภายในองค์การระหว่างประเทศและงบประมาณ
6. คณะกรรมการที่ 6 รับผิดชอบปัญหากฎหมาย

49. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 14
(2) 18
(3) 16
(4) 15
(5) 13
ตอบ 4 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

50. คณะมนตรีความมั่นคงดําเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงต่อสันติภาพตามกฎบัตรสหประชาชาติ
ในหมวด…….
(1) 6
(2) 8
(3) 7
(4) 5
(5) 9
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

51. ในปัจจุบันองค์กรที่มีบทบาทในการส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจ คือ
(1) เลขาธิการสหประชาชาติ
(2) สมัชชาสหประชาชาติ
(3) ศาลโลก
(4) คณะมนตรีภาวะทรัสตี
(5) คณะมนตรีความมั่นคง
ตอบ 5 หน้า 150 กองกําลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นตามหลักการความมั่นคงร่วม เป็นกองกําลังทหารที่รัฐสมาชิกส่งไปช่วยเหลือในภารกิจขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็น หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการตัดสินใจส่งกองกําลังรักษาสันติภาพไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสันติภาพตามที่รัฐสมาชิกร้องขอ ส่วนใหญ่แล้วจะให้ ปฏิบัติภารกิจในระยะ 6 เดือน และอาจต่อเวลาออกไปอีกได้เป็นกรณี ๆ ไป

52. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิก…….ประเทศ
(1) 30
(2) 35
(3) 40
(4) 45
(5) 54
ตอบ 5 หน้า 154 – 155 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ ซึ่งเลือก โดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี และทุก ๆ ปี 1 ใน 3 ของ สมาชิกจะต้องจับสลากออก แต่อาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่ได้

53. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับลาตินอเมริกามีที่ตั้งอยู่ที่
(1) กรุงเทพ
(2) ซานติเอโก
(3) เบรุต
(4) เจนีวา
(5) กาตาร์
ตอบ 2 หน้า 154 – 155, (คําบรรยาย) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมมีคณะกรรมาธิการส่วนภูมิภาค ทั้งหมด 5 คณะกรรมาธิการ คือ
1. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับยุโรป มีสํานักงานอยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
2. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับลาตินอเมริกา มีสํานักงานอยู่ที่ซานติเอโก ประเทศชิลี
3. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับเอเชียและแปซิฟิก มีสํานักงานอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
4. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับเอเชียตะวันตก มีสํานักงานอยู่ที่เบรุต ประเทศเลบานอน
5. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสําหรับแอฟริกา มีสํานักงานอยู่ที่แอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย

54. ศาลโลกประกอบด้วยผู้พิพากษา…….คน
(1) 10
(2) 20
(3) 14
(4) 15
(5) 16
ตอบ 4 หน้า 41 – 42, 167, (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกของ องค์การสหประชาชาติ โดยมีองค์คณะผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกของสมัชชาและคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจํานวน 15 คน ปัจจุบันศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

55. องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลด้าน
(1) เศรษฐกิจ การเมือง
(2) การทหาร
(3) การทหาร เศรษฐกิจ การเมือง
(4) เศรษฐกิจ
(5) อวกาศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization : SCO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลด้านการทหาร เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีสํานักเลขาธิการถาวรตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้มีสมาชิก 9 ประเทศ ได้แก่ จีน รัสเซีย อินเดีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ปากีสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และอิหร่าน

56. SAARC คือสมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคใด
(1) แอฟริกา
(2) เอเชีย
(3) เอเชียเหนือ
(4) เอเชียใต้
(5) แอฟริกาตะวันออก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation : SAARC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 เป็นองค์กรความร่วมมือองค์กรแรก ในภูมิภาคเอเชียใต้ ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล

57.BIMSTEC เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุทวีป มีสมาชิก…….ประเทศ
(1) 5
(2) 8
(3) 4
(4) 6
(5) 7
ตอบ 5 หน้า 223 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ และเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจในอ่าวเบงกอล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย

58. สํานักเลขาธิการถาวรองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ที่……
(1) เทียนสิน
(2) เซี่ยงไฮ้
(3) ปักกิ่ง
(4) ซีอาน
(5) หางโจว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

59.RCEP หรือพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคพัฒนามาจาก
(1) อาเซียน + 6
(2) อาเซียน + 3
(3) อาเซียน + 8
(4) อาเซียน + 7
(5) อาเซียน + 5
ตอบ 1 (คําบรรยาย) RCEP หรือพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) เป็นการพัฒนามาจากแนวคิดอาเซียน + 6 ถือเป็นความร่วมมือ ข้ามภูมิภาคระหว่างองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก ทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา และประเทศ คู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

60. อาเซียนใน ค.ศ. 2022 มีอายุ…..ปี
(1) 45 ตอบ 5
(2) 56
(3) 46
(4) 64
(5) 55
หน้า 180, (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 (ปัจจุบัน ค.ศ. 2022 อายุ 55 ปี) โดยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ดังนั้นจึงถือว่าวันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันอาเซียน (ASEAN Day)

61. ความร่วมมือข้ามภูมิภาคระหว่างองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคกับเศรษฐกิจโลก คือ
(1) RCEP
(2) ASEAN
(3) SCO
(4) ADB
(5) SAARC
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

62. ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือข้อใด
(1) Dialogue
(2) Negotiation
(3) Treaty
(4) Document
(5) Declaration
ตอบ 3, 5 หน้า 6 (คําบรรยาย) ความตกลงระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), ข้อตกลง (Agreement), กติกาสัญญา (Pact), กฎบัตร (Charter), ปฏิญญา (Declaration), สัตยาบัน (Ratification), บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เป็นต้น

63. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับศตวรรษที่ 20
(1) เกิดสงครามสามสิบปีในยุโรป
(2) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) เกิดสงครามเย็น
(5) อเมริกาทําสงครามที่เวียดนาม
ตอบ 1 หน้า 79 สงครามสามสิบปี เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง
ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

64. กฎหมายระหว่างประเทศ เป็น
(1) กฎหมายสูงสุดของทุกรัฐ
(2) กฎหมายที่ทุกรัฐเกรงใจ
(3) กฎหมายที่ทุกรัฐต้องปฏิบัติตาม
(4) กฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ
(5) กฎหมายที่ให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศ

ตอบ 4 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา

65. สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้แก่
(1) สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และจีน
(2) สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน
(3) สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และญี่ปุ่น
(4) สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย และญี่ปุ่น
(5) สหรัฐฯ อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

66. ข้อใดจัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา
(1) การกําหนดโควตา
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การขึ้นภาษีนําเข้า
ตอบ 4 หน้า 109 การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) จัดเป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาที่สําคัญ โดยเป้าหมายของรัฐที่ใช้การโฆษณาชวนเชื่อในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็คือ ต้องการที่จะสร้างอิทธิพลต่อทัศนคติหรือต่อการกระทําทางการเมืองของกลุ่มที่เป็นเป้าหมาย หรือของรัฐอื่น ๆ และบีบบังคับหรือโน้มน้าวจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ดําเนินนโยบายตามที่รัฐตนต้องการ

67. อนุสัญญาใดที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต
(1) Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961
(2) Westphalia Convention on Diplomatic Relations 1961
(3) Paris Convention on Diplomatic Relations 1961
(4) Geneva Convention on Diplomatic Relations 1961
(5) Havana Convention on Diplomatic Relations 1961
ตอบ 1 หน้า 131 อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 (Vienna Convention on Diplomatic Relations 1961) เป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักปฏิบัติของนักการทูต ในการทําหน้าที่ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และให้หลักประกันแก่นักการทูตในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอิทธิพลหรือการคุกคามของประเทศที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือประเทศผู้รับ

68. ประเทศใดที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม
(1) บรูไน
(2) อินเดีย
(3) ญี่ปุ่น
(4) อียิปต์
(5) ชิลี
ตอบ 3 หน้า 81, (คําบรรยาย) ในยุคล่าอาณานิคมมีหลายประเทศทั้งในเอเชียและแอฟริกาที่ตกเป็น เมืองขึ้นของชาติตะวันตก เช่น อินเดีย บรูไน พม่า มาเลเซีย อียิปต์ เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซิลี ฟิลิปปินส์ เป็นเมืองขึ้นของสเปน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส สําหรับ ญี่ปุ่นและไทยนั้นเป็นประเทศในเอเชียที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกเลย

69. สหรัฐอเมริกาทําสงครามการค้ากับจีนโดยใช้วิธีใด
(1) การกําหนดโควตา
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(4) การโฆษณาชวนเชื่อ
(5) การขึ้นภาษีนําเข้า
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ในสมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาได้ทําสงครามการค้ากับจีน โดยการขึ้นภาษีนําเข้าสินค้าจากจีน รวมทั้งสั่งให้บริษัทสหรัฐอเมริกาที่มีฐานผลิตในจีนถอนตัวออกจากจีนและกลับมาผลิตสินค้าในสหรัฐอเมริกาแทน

70. กษัตริย์องค์ปัจจุบันของสหราชอาณาจักร คือ
(1) Queen Elizabeth II
(2) King George I
(3) King Charles III
(4) Queen Mary I
(5) King James II
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 (King Charles III) เป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบันของ สหราชอาณาจักร พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) พระมารดา ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022

71. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่าเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone)
(1) นานาชาติเดินเรือได้อย่างเสรี
(2) มีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
(3) รัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและนําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้
(4) รัฐชายฝั่งเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้ท้องทะเล
(5) นานาชาติมีสิทธิหาปลาบริเวณนั้นได้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone) เป็นพื้นที่ทะเล ซึ่งมีความยาวถัดจากอาณาเขตของรัฐบนฝั่ง 200 ไมล์ทะเล ซึ่งรัฐชายฝั่งมีสิทธิขุดเจาะและ นําทรัพยากรใต้ท้องทะเลมาใช้ได้ ส่วนรัฐนานาชาติสามารถเดินเรือได้อย่างเสรี แต่ไม่สามารถ ทํากิจกรรมเพื่อหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ขุดเจาะหาทรัพยากรใต้ท้องทะเล หรือทําประมง จับปลาในบริเวณ 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่งได้ เพราะถือเป็นสิทธิของรัฐชายฝั่งแต่เพียงผู้เดียว

72. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 2
(2) การล่าอาณานิคม
(4) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
(3) สงครามครูเสด
(5) สงครามเย็น
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบและ วิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและทําให้อังกฤษเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลกซึ่งผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิด
1. การปฏิวัติการค้า มีการขยายการค้านอกยุโรปและมีบรรษัทข้ามชาติ
2. ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคม
3. การแข่งขันของมหาอํานาจในยุโรปทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร

73. สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 1 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย

74. วันอาเซียน (ASEAN Day) คือวัน เดือน อะไรของทุกปี
(1) 1 ตุลาคม
(2) 8 สิงหาคม
(3) 4 กรกฎาคม
(4) 24 ตุลาคม
(5) 1 มกราคม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

75. สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

76. สงครามเย็นเกิดขึ้นและสิ้นสุดเมื่อได
(1) ค.ศ. 1914 – 1918
(2) ค.ศ. 1939 – 1945
(3) ค.ศ. 1947 – 1991
(4) ค.ศ. 1618 – 1648
(5) ค.ศ. 1921 – 1927
ตอบ 3 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

77. เวียดนามบุกกัมพูชาในปี ค.ศ. 1978 ด้วยการสนับสนุนของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) จีน
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 5 หน้า 89, (คําบรรยาย) เวียดนามบุกกัมพูชาในปี ค.ศ. 1978 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต ซึ่งการบุกกัมพูชาของเวียดนามนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้สงครามเย็น ที่ผ่อนคลายความตึงเครียดลงในช่วงทศวรรษที่ 1970 กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง

78. รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญกับภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในยุคใด
(1) สงครามสามสิบปี
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1
(3) สงครามโลกครั้งที่ 2
(4) สงครามเย็น
(5) หลังสงครามเย็น
ตอบ 5 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ พายุ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรม ทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

79. สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) 1988
(2) 1989
(3) 1990
(4) 2001
(5) 2003
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สงครามอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกองกําลังผสมจาก 34 ชาตินําโดย สหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรัก โดยสงครามนี้อาจเรียกสั้น ๆ ว่า “สงครามอ่าว” (Gulf War)

80. ข้อใดคือภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่
(1) อาวุธเคมี
(2) พายุไต้ฝุ่นโนรู
(3) อาวุธนิวเคลียร์
(4) คอมมิวนิสต์
(5) การโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. ใครคือผู้นําของสหภาพโซเวียตที่ดําเนินนโยบาย “Glasnost and Perestroika” และได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022
(1) Nikita Khrushchev
(2) Leonid Brezhnev
(3) Yuri Andropov
(4) Mikhail Gorbachev
(5) Boris Yeltsin
ตอบ 4 หน้า 90, (คําบรรยาย) มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) เป็นผู้นําสหภาพโซเวียต ที่ดําเนินนโยบายกลาสนอสต์ (Glasnost) และนโยบายเปเรสตรอยก้า (Perestroika) และได้รับ การยกย่องว่าเป็นผู้ยุติสงครามเย็น ซึ่งท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2022

82.Kamala Harris คือใคร
(1) รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คนปัจจุบัน
(5) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจําประเทศไทยคนปัจจุบัน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) นางกมลา แฮร์ริส (Kamata Harris) เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนปัจจุบันภายใต้การนําของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021

83. ผู้นําประเทศหรืออดีตผู้นําประเทศท่านใดไม่ได้ถูกสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม
(1) ชินโซ อาเบะ / ญี่ปุ่น
(2) อับราฮัม ลินคอล์น / สหรัฐอเมริกา
(3) กษัตริย์พิเรนทรา / เนปาล
(4) ยิตส์ฮัก ราบิน / อิสราเอล
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ผู้นําประเทศหรืออดีตผู้นําประเทศที่ถูกสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม ได้แก่
1. อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ถูกลอบสังหารโดยจอห์น วิลค์ส บูธ นักแสดงในโรงละครเมื่อปี ค.ศ. 1865
2. ยิตส์ฮัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ถูกลอบสังหารโดยเกล แอไมร์ นักศึกษาชาวยิว ฝ่ายขวาออร์ธอด็อกซ์เมื่อปี ค.ศ. 1955
3. กษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์เนปาล ถูกสังหารโดยพระราชโอรสเมื่อปี ค.ศ. 2001
4. ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ถูกลอบสังหารโดยอดีตเจ้าหน้าที่กองกําลังป้องกันตนเองทางทะเลเมื่อปี ค.ศ. 2022

84. การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รอบประชุมสุดยอดผู้นํา (Summit) ค.ศ. 2022 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม
(1) จีน
(2) ไทย
(3) สิงคโปร์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) รอบประชุม สุดยอดผู้นํา (Summit) ปี ค.ศ. 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

85. ข้อตกลงใดที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State)
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) สนธิสัญญาโรม
(3) สนธิสัญญาปารีส
(4) ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 79 ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1648 เป็นข้อตกลงที่ทําให้เกิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร(Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย(Sovereignty)

86. ข้อตกลงที่ใช้เป็นข้อตกลงเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
คือข้อตกลงใด
(1) Japan Alliance Treaty
(2) Paris Peace Treaty
(4) Treaty of Peace with Japan
(3) World War II Peace Treaty
(5) Treaty of Peace for World War II
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น (Treaty of Peace with Japan) เป็นข้อตกลง เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งจัดทําขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951

87. ข้อใดไม่เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม
(2) แนวพฤติกรรม
(3) แนวระบบ
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวผู้นํา
ตอบ 5 หน้า 8 – 13 วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 8 แนวทาง คือ
1. แนวนโยบาย
2. แนวประวัติศาสตร์
3. แนวภูมิรัฐศาสตร์
4. แนวอํานาจ
5. แนวดุลแห่งอํานาจ
6. แนวจิตวิทยาและวัฒนธรรม
7. แนวพฤติกรรม
8. แนวระบบ

88. ข้อใดไม่เป็นการศึกษาในแนวพฤติกรรม
(1) การสังเกต
(2) การตั้งปัญหาและสมมติฐาน
(3) การวัด
(4) การทดลอง
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เช่น การวัด การทดลอง การสร้างทฤษฎี การสร้างแบบจําลอง เป็นต้น

89. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันได้แก่ผู้ใด
(1) Henry Kissinger
(2) Hillary Clinton
(3) John Kerry
(4) Antony Blinken
(5) Mike Pompeo
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน คือ นายแอนโทนี บลิงเคน (Antony Blinken) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2021

90. หนังสือที่เขียนขึ้นโดยการศึกษาตามแนวทางอํานาจได้แก่เรื่องใด
(1) Politics Among Nations
(2) Wealth of Nations
(3) Communist Manifesto
(4) The Geography of the Peace
(5) Das Kapital
ตอบ 1 หน้า 11 หนังสือที่เขียนโดยใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางอํานาจ (Power Approach) ได้แก่
1. หนังสือเรื่อง “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace” ของ ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau)
2. หนังสือเรื่อง “Power and International Relations” ของไอนิส แอล, เคลาด์ จูเนียร์
(Inis L. Cloude, JR.)

91. การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เกิดขึ้นในช่วงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใด
(1) Harry Truman
(2) Ronald Reagan
(3) Woodrow Wilson
(4) John F. Kennedy
(5) Richard Nixon
ตอบ 5 หน้า 89, (คําบรรยาย) การทูตแบบปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสานความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนในช่วงสงครามเย็น ซึ่งตรงกับสมัยริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียตเป็นภัยคุกคาม ที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

92. นักวิชาการคนใดเป็นนักวิชาการที่ใช้วิธีการศึกษาทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวประวัติศาสตร์
(1) Raymond Aron
(2) Sir Halford Mackinder
(3) Nicholas Spykman
(4) K. J. Holsti
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 8 – 9 นักวิชาการที่ใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแนวประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ได้แก่
1. เรมอนด์ อารอน (Raymond Aron)
2. ชาร์ล เอ. แมคเคลแลนด์ (Charles A. McClelland)
3. ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance)
4. ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau)

93. องค์การสหประชาชาติมอบหน้าที่ให้หน่วยงานใดที่จะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษประเทศ
ที่ทําการฝ่าฝืนกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ
(1) คณะมนตรีสังคมและเศรษฐกิจ
(2) ที่ประชุมสมัชชาใหญ่
(3) คณะทรัสตี
(4) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(5) คณะมนตรีความมั่นคง
ตอบ 5 หน้า 51 องค์การสหประชาชาติมอบหน้าที่ในการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อลงโทษประเทศที่ทําการฝ่าฝืนกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติให้กับคณะมนตรีความมั่นคง

94. ใครเป็นคนกล่าวคําที่ว่า “ไม่ใช่เพราะพลังทางด้านการทหารแต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ได้ชัยชนะก็เพราะ วิถีทางเศรษฐกิจด้วย ถ้าปราศจากวิถีทางเศรษฐกิจแล้วสงครามจะดําเนินต่อไปอีกเป็นเวลายาวนาน…”
(1) Margaret Thatcher
(2) George W. Bush
(3) Boris Johnson
(4) Woodrow Wilson
(5) George Washington
ตอบ 4 หน้า 52 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า “การที่สามารถได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ไม่ใช่เพราะพลังทางด้านการทหาร แต่เพียงอย่างเดียว แต่การที่ได้ชัยชนะก็เพราะวิถีทางทางด้านเศรษฐกิจด้วย ถ้าปราศจากวิถีทางทางด้านเศรษฐกิจแล้วสงครามจะดําเนินต่อไปอีกเป็นเวลายาวนาน…”

95. การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจยามสันติแบบหนึ่ง คือ การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ เกิดขึ้นกับ
การดําเนินการของหน่วยงานระหว่างประเทศใด
(1) WTO
(2) IMF
(3) OPEC
(4) AIIB
(5) ADB
ตอบ 3 หน้า 56 การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ คือ การรวมตัวกันของธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะควบคุมการแข่งขันของธุรกิจประเภทนั้น ๆ และให้กลุ่มของตนมีอิทธิพล สูงสุดในตลาดระหว่างประเทศของธุรกิจประเภทนั้นด้วย เช่น การรวมตัวกันขององค์การ ประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก (OPEC) เป็นต้น

96. ปีหน้า ค.ศ. 2023 เป็นปีที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับประเทศใดครบ 190 ปี
(1) จีน
(2) ฝรั่งเศส
(3) สิงคโปร์
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1833 โดยการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ดังนั้นในปี ค.ศ. 2023 จึงเป็นปีที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับ ประเทศสหรัฐอเมริกาครบ 190 ปี

97.สหภาพแอฟริกา (African Union) ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
(1) 49
(2) 51
(3) 53
(4) 55
(5) 59
ตอบ 4 หน้า 136, (คําบรรยาย) สหภาพแอฟริกา (African Union : AU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002 โดยปรับปรุงโครงสร้างมาจาก องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity : OAU) ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 55 ประเทศ

98. กฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ (UN Charter) ในมาตรา 51 กล่าวถึงการใช้กําลังทหารที่ถูกต้อง
และได้รับการยอมรับจากนานาชาติในลักษณะใด
(1) ป้องกันตนเอง
(2) ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ
(3) มีมติเห็นชอบจากศูนย์อํานวยการความมั่นคงนานาชาติ
(4) มีมติเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 99, (คําบรรยาย) ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาตินั้น การใช้กําลังทหารอย่างถูกต้อง และได้รับการยอมรับจากนานาชาติจะต้องดําเนินการตามมาตรา 51 ที่กําหนดให้รัฐสมาชิก สามารถใช้กําลังป้องกันตนเองได้หากมีการโจมตีด้วยกําลังอาวุธจากประเทศผู้รุกราน และจะต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทราบ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่งคงมีมติตามมาตรา 42 ในการใช้กองกําลังรักษาสันติภาพเข้าช่วยเหลือประเทศที่ถูกรุกราน

99. กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งต่อไป ค.ศ. 2024 จัดขึ้นที่ประเทศใด
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) จีน
(5) ฝรั่งเศส
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี ค.ศ. 2024 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม ค.ศ. 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

100. การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-สหรัฐอเมริกาที่จัดขึ้นในปีนี้ จัดขึ้นที่เมืองใด
(1) กรุงพนมเปญ
(2) กรุงเทพฯ
(3) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
(4) กรุงฮานอย
(5) กรุงมะนิลา
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) การประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ (ASEAN-US Special Summit) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครบ 45 ปี และหารือแนวทางกระชับความสัมพันธ์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ความร่วมมือทางทะเล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและ การส่งเสริมนวัตกรรม เป็นต้น

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ประเทศไทยมีคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดคือใคร
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) จีน
(3) รัสเซีย
(4) ลาว
(5) กัมพูชา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ จีน ซึ่งครองอันดับหนึ่งมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2013 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน

2. จากประโยคที่ว่า “ผู้ใดควบคุมริมขอบทวีปผู้นั้นครองดินแดนยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมดินแดนยูเรเซียผู้นั้น กุมชะตากรรมของโลก” ประโยคดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ นิโคลัส สปิคแมน (Nicholas Spykman) ซึ่งเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมริมขอบทวีปผู้นั้นครอง ดินแดนยูเรเซีย ผู้ใดควบคุมดินแดนยูเรเซียผู้นั้นกุมชะตากรรมของโลก”

3.Human Rights Watch มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศใด
(1) จีน
(2) ญี่ปุ่น
(3) สิงคโปร์
(4) ไทย
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 5 หน้า 22 (คําบรรยาย) องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1978 โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

4 กฎหมายว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตตามที่ปรากฏในอนุสัญญาแห่งกรุงเวียนนาถือว่าเป็นขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใด
(1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
(5) ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 4 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการ สร้างความสงบและความเป็นระเบียบแบบแผนให้กับสังคมโลก เช่น การกําหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือธรรมเนียมปฏิบัติที่แต่ละประเทศจึงยึดถือและปฏิบัติตาม โดยกฎเกณฑ์หรือระเบียบดังกล่าว อาจปรากฏในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา (Treaty) อนุสัญญา (Convention) ความตกลง (Agreement) กติกาสัญญา (Pact) หรืออาจปรากฏในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี (Customary) ตัวอย่างของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายว่าด้วย เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์แบบเบ็ดเสร็จ เป็นต้น

5.ข้อใดต่อไปนี้คือตัวย่อของ “ศาลโลก” หรือ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ”
(1) ICC
(2) IC
(3) ICRC
(4) World Court
(5) UNHCR
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice : ICJ) หรือศาลโลก เป็นศาลที่ทําหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติ โดยคําตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ทั้งนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่การตั้งองค์การสันนิบาตชาติในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการตั้งขึ้นอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

6. ข้อใดต่อไปนี้คือขอบข่ายของกฎหมายตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
(1) กฎหมายว่าด้วยการโอนสัญชาติ
(2) ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศ
(3) กฎบัตรสหประชาชาติ
(4) กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(5) กฎหมายว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
ตอบ 3 หน้า 14, 129, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่บัญญัติ ขึ้นมาเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต กฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายทะเล เป็นต้น

7. ประเทศใดที่ได้รับอิสรภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศล่าอาณานิคม
(1) ไทย
(2) จีน
(3) ญี่ปุ่น
(4) มาเลเซีย
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มาเลเซีย ได้รับอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ดังนั้นจึงถือว่า วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติมาเลเซีย

8.ข้อใดไม่ใช่แหล่งมรดกโลก
(1) ป่าแก่งกระจาน
(2) เขาใหญ่
(3) เขาพนมรุ้ง
(4) ปราสาทเขาพระวิหาร
(5) ห้วยขาแข้ง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งมรดกโลก คือ พื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกจาก UNESCO เพราะมีลักษณะสําคัญ ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามสนธิสัญญา โดยแหล่งมรดกโลกที่สําคัญ ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ป่าแก่งกระจาน เขาใหญ่ ห้วยขาแข้งในประเทศไทย ประสาทเขาพระวิหารในประเทศกัมพูชา เมืองหลวงพระบางในประเทศลาว กําแพงเมืองจีนในประเทศจีน เป็นต้น

9.ข้อต่อไปนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามมาจากวลีที่ว่า “An Absent of Supreme Power” ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) Serfdom
(2) Self-Esteem
(3) Self-Help
(4) Leviathan
(5) Social Contract
ตอบ 3 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่าง ประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลาง อํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดง ต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง

10.Pacta Sunt Servanda ของสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ
(1) การปฏิญาณต่อหน้าพระเจ้า
(2) พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
(3) การทําสงครามบังคับใช้
(4) การประณามเชิงศีลธรรม
(5) การนิ่งเฉย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กติกาเกี่ยวกับการรักษาสัญญาตามหลัก Pacta Sunt Servanda ของ สังคมระหว่างประเทศ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งคริสตจักร คือ การปฏิญาณต่อหน้าพระเจ้า
2. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งยุโรป คือ การทําข้อตกลงร่วมและสงครามบังคับใช้
3. ยุคสังคมระหว่างประเทศแห่งโลก คือ พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ
4. สังคมระหว่างประเทศยุคโลกาภิวัตน์ (ปัจจุบัน) คือ พหุภาคีนิยมและองค์การระหว่างประเทศ

11. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
(1) ตั้งอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
(2) เน้นความร่วมมือด้านการทหารเป็นหลัก
(3) มีหน้าที่จัดการเรื่องทุจริต
(4) คําตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

12. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่มีสํานักงานใหญ่ในประเทศไทย
(1) United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR)
(2) World Health Organization (WHO)
(3) Organization for Security and Co-Operation in Europe (OSCE)
(4) United Nations Environment Programme (UNEP)
(5) Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP)
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสําหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ESCAP) เป็น 1 ใน 5 คณะกรรมาธิการ ส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 ปัจจุบันมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

13. ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มควอด
(1) ลาว
(2) ญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อินเดีย
(5) ออสเตรเลีย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กลุ่มควอด (Quadrilateral Security Dialogue : Quad) เป็นกลุ่มความร่วมมือ ด้านความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดียและออสเตรเลีย

14. ข้อใดคือ Jus ad Bellum ในปัจจุบัน
(1) การป้องกันเชิงรุก (Preemptive Strike)
(2) การประณาม (Denounce)
(3) การป้องปราม (Deterrence)
(4) การคว่ำบาตร (Sanction)
(5) การป้องกันตัวเอง (Self-Defense)
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Jus ad Bellum (กติกาที่ว่าด้วยการเริ่มสงคราม) ในปัจจุบัน มี 2 ประการ คือ
1. การอ้างสิทธิในการป้องกันตัวเอง (Self-Defense)
2. การประกาศสงครามโดยองค์การสหประชาชาติภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

15. องค์การระหว่างประเทศที่รัฐเป็นสมาชิกได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
(1) สหประชาชาติ
(2) อาเซียน
(3) สหภาพยุโรป
(4) องค์การนานารัฐอเมริกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 21 – 22, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกที่เป็นรัฐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เช่น สันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), สหภาพยุโรป (EU), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), ธนาคารโลก (World Bank), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), กองทุนสงเคราะห์ เด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), การประชุมสหประชาชาติว่าด้วย การค้าและการพัฒนา (UNCTAD), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

16. หากมีผู้กล่าวว่า “เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันได้…” คํากล่าวนี้สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Path Dependence
(2) Scope of International Relations
(3) Current Affairs
(4) International Relations
(5) Diplomacy
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คํากล่าวที่ว่า “เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้…” เป็นคํากล่าวที่สะท้อนให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้น ส่งผลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือเรียกว่า Path Dependence

17. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “League of Nations” จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Non-Governmental Organizations
(3) Multi-National Corporation
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 1 หน้า 19 – 23 (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) บนเวทีระหว่างประเทศหรือเวทีโลก มีดังนี้
1. องค์การระหว่างประเทศ (International Organization) ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN), สหประชาชาติ (United Nations : UN), สหภาพยุโรป (European Union : EU), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

2. องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organizations : NGOs) เป็นองค์การระหว่างประเทศของภาคประชาสังคม เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหา การละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น

3. บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporation : MNCs) เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Unilever เป็นต้น

4. ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorists) เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS, กลุ่ม Al Qaeda, กลุ่ม Abu Sayyaf เป็นต้น

5. ปัจเจกบุคคล (Individual) เช่น นางอองซาน ซูจี, นายอังตอนี มานูแวล กูแตช เลขาธิการ สหประชาชาติ เป็นต้น

18. ข้อใดไม่ใช่สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) เยอรมนี
(4) ฝรั่งเศส
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

19. ข้อใดกล่าวถึงบริบทด้านนโยบายต่างประเทศอย่างถูกต้อง
(1) นโยบายต่างประเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้เฉพาะด้านการทหาร
(2) นโยบายต่างประเทศคือนโยบายภายในของรัฐ
(3) นโยบายต่างประเทศเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ปฏิบัติต่อรัฐฝ่ายตรงข้าม
(4) รัฐชาติไม่ได้มีความจําเป็นต้องมีเป้าหมายทางด้านการต่างประเทศมากนัก (5) ผลประโยชน์ของชาติเกี่ยวข้องกับนโยบายภายในประเทศมากกว่า
ตอบ 3 หน้า 207, (คําบรรยาย) นโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy) หมายถึง กลุ่มของมาตรการ หรือยุทธศาสตร์ที่รัฐก้าหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือปฏิบัติต่อรัฐอื่นหรือรัฐฝ่ายตรงข้ามในอันที่จะให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ที่ต้องการ โดยจุดประสงค์ของการดําเนินนโยบายต่างประเทศก็คือ การรักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ

20. คําว่า “Apartheid” หมายถึงอะไร
(1) นโยบายส่งเสริมผลประโยชน์ของคนในชาติ
(2) ขบวนการติดอาวุธประเทศฟิลิปปินส์
(3) กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(4) ขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์
(5) นโยบายการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Apartheid หมายถึง นโยบายการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นนโยบายของ รัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1948 โดยมีการแบ่งแยกคนผิวดําออกจากคนผิวขาว กีดกันคนผิวดําออกจากสถานะความเป็นพลเมือง ไม่สามารถอาศัยในพื้นที่เดียวกันกับคนผิวขาว รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การพยาบาล และบริการสาธารณะแบบเดียวกับคนผิวขาวได้ ทั้งนี้นโยบาย Apartheid ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1994 เมื่อเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) ซึ่งเป็นแกนนําในการต่อสู้กับระบบ Apartheid ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

21. เลขาธิการสหประชาชาติที่มาจากทวีปเอเชียคนแรก คือ
(1) อู ถั่น
(2) บัน คี-มูน
(3) โคฟี แอนนัน
(4) ทรีฟ ลี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 167 – 168, (คําบรรยาย) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้รับการแต่งตั้งจากสมัชชา ตามคําแนะนําของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง คราวละ 5 ปี ทั้งนี้เลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่มาจากทวีปเอเชียมี 2 คน โดยคนแรกคือ นายอู ถั่น (U Thant) ชาวพม่า และคนที่ 2 คือ นายบัน คี-มูน (Ban Ki-Moon) ชาวเกาหลีใต้ ส่วนเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน คือ นายอังตอนี มานูแวล กูแตรีซ (Antonio Manuel Guterres) ชาวโปรตุเกส ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017

22. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR)
(1) สิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก
(2) ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
(3) สิทธิในการเข้าถึง Internet
(4) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก
(5) มีสิทธิในการทํางาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน
ตอบ 3 หน้า 165 – 166 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ระบุไว้ว่า “สิทธิมนุษยชน เป็นพื้นฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก” ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ ไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ภาษา เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ความร่ํารวยหรือทรัพย์สิน มีอิสรภาพจากการตกเป็นทาส จากการถูกทรมาน ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน มีอิสรภาพและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีในศาลอย่างยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา และการแสดงออก สิทธิที่จะได้รับการศึกษา มีมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ รวมทั้งการมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีที่อยู่อาศัยและอาหาร เพียงพอ มีสิทธิในการทํางาน จัดตั้ง และเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน

23. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับโลก
(1) WHO
(2) IMF
(3) UN
(4) WTO
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 135 – 136, 158, 160 องค์การระหว่างประเทศซึ่งจําแนกตามภูมิศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. องค์การระหว่างประเทศระดับโลกหรือระดับสากล (Global Organization) เช่น สันนิบาตชาติ (LN), สหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การการค้าโลก (WTO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตร (FAO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), คณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ฯลฯ

2. องค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาค (Regional Organization) เช่น สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN), องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS), สหภาพแอฟริกา (AU), องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (NATO), กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC), องค์การ สันนิบาตอาหรับ (Arab League), องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ฯลฯ

24. องค์การระหว่างประเทศ (IGOs) ในข้อใดที่ปฏิบัติหน้าที่ในระดับโลก
(1) ASEAN Community
(2) African Union
(3) Organization of American States
(4) Gulf Cooperation Council
(5) Intergovernmental Panel on Climate Change
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ระดับโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1988 โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เพื่อทําหน้าที่ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ทั่วโลกได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ แนวโน้มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม (ดูคําอธิบายข้อ 23, ประกอบ)

25. ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศใดมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก
(1) รัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อินเดีย
(4) อังกฤษ
(5) จีน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น อังกฤษถือเป็นประเทศมหาอํานาจทางด้าน เศรษฐกิจและการเมืองอันดับหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากอังกฤษมีสถานีการค้าและอาณานิคม อยู่ทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา จนทําให้ได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์ไม่ตกดิน

26. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความท้าทายของยุคโควิด
(1) กระแสชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้น
(2) การเมืองโลกผันผวน
(3) เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
(4) เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความท้าทายของยุคโควิด มีดังนี้
1. กระแสชาตินิยมเพิ่มสูงขึ้น
2. การเมืองโลกผันผวน
3. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
4. เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฯลฯ

27.ผลงานที่มีชื่อว่า “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace” เป็นผลงาน
ของใครและถูกจัดกลุ่มอยู่ในทฤษฎีกลุ่มใด
(1) Hans Morgenthau – Realism
(2) Hans Morgenthau – Neo-Realism
(3) Robert Keohane – Liberalism
(4) Robert Keohane – Neo-Liberal Institutionalism
(5) K. J. Holsti – Neo-Realism
ตอบ 1 หน้า 11 ฮันส์ เจ. มอร์เกนซอ (Hans J. Morgenthau) นักทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของสํานัก สัจนิยม (Realism) เป็นผู้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า “Politics Among Nations : The Struggle for Power and Peace”

28. ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์การระหว่างประเทศที่เกิดจากการผลักดันโดยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ผ่านการให้เงินกู้และความสนับสนุนด้านเทคนิคต่าง ๆ

29. ความร่วมมือและความขัดแย้งในสังคมระหว่างประเทศสามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมระหว่างประเทศ
มักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
(1) สันติภาพ
(2) เสรีภาพ
(3) เหตุผล
(4) อํานาจ
(5) ผลประโยชน์แห่งชาติ
ตอบ 5 หน้า 192 ในสังคมหรือการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่รัฐหรือประเทศ มีต่อกันจะมี 2 ประเภท คือ ความร่วมมือ (Cooperation) และความขัดแย้ง (Conflict) ทั้งนี้สภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ๆ จะปรากฏออกมาในลักษณะใดมักจะขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) เป็นสําคัญ

30. สงครามประเภทใดจําเป็นต้องอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์
(1) สงครามตัวแทน
(2) สงครามกลางเมือง
(3) สงครามการทําลายล้างสูง
(4) สงครามกองโจร
(5) สงครามปิดล้อมทางทะเล
ตอบ 4 หน้า 22,104, 215 สงครามนอกรูปแบบหรือสงครามกองโจร คือ การสู้รบโดยการซุ่มโจมตี ฝ่ายตรงข้ามโดยอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ และพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะอย่างซึ่งหน้าการทําสงครามแบบนี้ไม่สามารถกําหนดสมรภูมิได้อย่างชัดเจน ผู้ปฏิบัติการในสงครามจะไม่ใส่เครื่องแบบทหาร แต่จะอําพรางตัวเพื่อการก่อวินาศกรรมต่อชีวิตและทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามโดยจุดมุ่งหมายในการทําลายมิได้จํากัดเฉพาะเป้าหมายที่มีความสําคัญทางการทหาร แต่อาจรวมถึงประชาชนของฝ่ายตรงข้ามด้วย ซึ่งวิธีการทําสงครามแบบนี้มักเป็นที่นิยมใช้กันใน ฝ่ายคอมมิวนิสต์ รวมทั้งขบวนการก่อการร้าย (Terrorists) ต่าง ๆ

31. วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใดไม่ได้มีแหล่งที่มาจากบรรดานครรัฐอิตาลี
(1) การถ่วงดุลอํานาจ
(2) การมีสถานทูตประจําการ
(3) หลักเหตุผลแห่งรัฐ
(4) กฎหมายระหว่างประเทศ
(5) บริษัทมหาชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีแหล่งที่มาจากบรรดานครรัฐ อิตาลี ได้แก่ ระบบธนาคาร การถ่วงดุลอํานาจ การมีสถานทูตประจําการ หลักเหตุผลแห่งรัฐ บริษัทมหาชน เป็นต้น

32. สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกจํานวน
(1) 190
(2) 191
(3) 192
(4) 193
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) สหประชาชาติมีรัฐสมาชิกทั้งหมด 193 รัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต เกาหลีเหนือ ซีเรีย ยูเครน อิหร่าน มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมีประเทศซูดานใต้หรือเซาท์ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็น สมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

33. เหตุการณ์ใดสะท้อนถึงแนวคิด Raison d’état ได้ดีที่สุด
(1) นิกายโปรเตสแตนต์และคาลแวงต่อต้านการผูกขาดอํานาจของพระสันตะปาปา
(2) ขุนนางโบฮีเมียที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ทําการปลดแฟร์ดีนันท์ที่ 2 ที่นับถือนิกายคาทอลิก ออกจากการเป็นกษัตริย์โบฮีเมีย และมอบมงกุฎให้กับฟรีดริชที่ 5 ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์
(3) ฝรั่งเศสให้ความช่วยเหลือฝ่ายโปรเตสแตนต์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงครามสามสิบปี
(4) อังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้มีผลผลิตมากขึ้น
(5) การประกาศหลักสิทธิพลเมืองและการปฏิวัติฝรั่งเศส
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เหตุการณ์ที่สะท้อนถึงแนวคิดหลักเหตุผลแห่งรัฐ (Raison d’état) คือ เหตุการณ์ ที่ฝรั่งเศสภายใต้การนําของคาร์ดินัลริเชอริเออร์ (สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13) ให้ความช่วยเหลือ ฝ่ายโปรเตสแตนต์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงสงครามสามสิบปี โดยมีเป้าหมายเพื่อทําให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มีความอ่อนแอและจะได้ไม่กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อฝรั่งเศสในภายภาคหน้า

34. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) นโยบายต่างประเทศมีลักษณะคล้ายนโยบายภายในของรัฐ
(2) กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
(3) นโยบายต่างประเทศเปรียบเสมือนเครื่องมือทางสันติและการใช้กําลัง
(4) กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้มีที่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 212 – 216 เครื่องมือในการดําเนินนโยบายต่างประเทศ แบ่งออกกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เครื่องมือทางสันติหรือเครื่องมือทางการทูต
2. เครื่องมือทางการใช้กําลังหรือเครื่องมือทางการทหาร

35. ข้อใดต่อไปนี้คือรูปแบบของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปรากฏชัดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2

(1) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีคิดเชิงสถาบันนิยมมากยิ่งขึ้น
(2) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
(3) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการทางปรัชญาการเมืองมากยิ่งขึ้น
(4) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่อาศัยวิธีการแบบอัตวิสัยเหนือกว่าวัตถุวิสัย
(5) ความพยายามในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศที่หลีกเลี่ยงการตั้งสมมติฐานไว้ล่วงหน้าแต่อาศัยเหตุการณ์ในอดีตเป็นจุดตั้งต้นสําคัญ
ตอบ 2 หน้า 4 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้พยายามใช้ ระเบียบวิธีวิจัยแบบใหม่ที่มีลักษณะวัตถุวิสัย (Objective) คือ การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นกลางโดยไม่ใช้ความรู้สึกนึกคิดหรือค่านิยมของตนเองมาวิเคราะห์ หากแต่ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยที่สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ ได้แก่ การตั้งสมมติฐาน และการทดลองตัวแปรต่าง ๆ ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นความพยายามวิเคราะห์ปรากฏการณ์ระหว่างประเทศโดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

36. เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันเป็นชาว
(1) เกาหลีใต้
(2) ญี่ปุ่น
(3) สิงคโปร์
(4) โปรตุเกส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

37. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายความหมายของคําว่า “สังคมระหว่างประเทศ” ได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสงครามและความขัดแย้ง
(2) เป็นพื้นที่ของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ
(3) เป็นพื้นที่ของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ
(4) เป็นพื้นที่ของกติกากลางที่นําไปสู่ความเข้าใจร่วมกันระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ
(5) เป็นพื้นที่ของตัวแสดงที่เป็นรัฐเท่านั้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สังคมระหว่างประเทศ เป็นพื้นที่ของกติกากลางที่นําไปสู่ความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ ทั้งตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ

38. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สภาวะอนาธิปไตย” ไม่ถูกต้อง
(1) เป็นคําที่ในภาษาอังกฤษใช้คําว่า “Anarchy
(2) เป็นคําที่ใช้แบ่งการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศออกจากกันได้
(3) เป็นสภาวะของการที่มีตัวแสดงหนึ่งทําหน้าที่ในการดูแลปกป้องตัวแสดงอื่น
(4) เป็นสภาวะของการปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด
(5) เป็นสภาวะพื้นฐานของการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

39. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงภัยคุกคามในรูปแบบใหม่
(1) โรคระบาด
(2) สงคราม
(3) ภัยพิบัติ
(4) การทําสงคราม
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 91 – 92, (คําบรรยาย) ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น
เป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้กระทําโดยรัฐและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและรัฐนั้น ๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่รัฐต่าง ๆ ให้ความสําคัญ และหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหามากขึ้น รูปแบบของภัยคุกคามดังกล่าว ได้แก่
1. การก่อการร้ายระหว่างประเทศ
2. โรคระบาด เช่น โคโรนาไวรัส (COVID-19) โรคเอดส์ ซาร์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น
3. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ เป็นต้น
4. อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ ปัญหาโจรสลัด เป็นต้น

40. สันนิบาตชาติ (League of Nations) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) ค.ศ. 1919
(2) ค.ศ. 1921
(3) ค.ศ. 1945
(4) ค.ศ. 1949
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 138 – 139 องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ตามแนวคิดของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เพื่อทําหน้าที่เป็นกลไกในการรักษาความมั่นคงและสร้างสันติภาพของโลกบนพื้นฐานของ ระบบความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security)

41.ข้อใดเป็น Constitutive Norms ทั้งหมด
(1) Ius Gentium, Ius Naturale, Jus ad Bellum
(2) Divined Sovereignty, Popular Sovereignty, Dynastic Sovereignty
(3) Pacta Sunt Servanda, Clausula Rebus Sic Stantibus, Jus Cogens
(4) Animus Dominandi, Homo-Economicus, Sui Generis
(5) Cuius Regio, Eius Religio, Reservatum Ecclesiasticum, Declaratio Ferdinandei
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Constitutive Norms หรือเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกของสังคมที่ชอบธรรม มีดังนี้
1. Divined Sovereignty หรือการได้รับอาณัติมาจากพระเจ้า
2. Dynastic Sovereignty หรือการสืบสายเลือด
3. Popular Sovereignty หรือการได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน

42. กฎหมายระหว่างประเทศ คือ
(1) เครื่องมือในการธํารงไว้ซึ่งการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
(2) เครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
(3) ตัวบทกฎหมายภายในที่นําไปบังคับใช้กับรัฐภายนอก
(4) ตัวบทกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 128 กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลักปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศที่จะเป็นตัวกําหนดควบคุมอํานาจอธิปไตยของรัฐ หรือเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของรัฐทั้งนี้กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่เหมือนกับกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ (National Laws) เพราะว่าการได้มาของกฎหมายระหว่างประเทศนั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติหรือ อํานาจส่วนกลางใด ๆ แต่มาจากจารีตประเพณีปฏิบัติและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ได้ลงนามเห็นชอบ โดยแต่ละรัฐ

43. สงครามที่มีชื่อเรียกว่า “สงครามสามสิบปี” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Treaty of Vienna
(2) Plaza Accord
(3) Treaty of Westminster
(4) Treaty of Versailles
(5) Treaty of Westphalia
ตอบ 5 หน้า 79 สงครามสามสิบปี เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้ง ทางด้านศาสนาจนลุกลามกลายเป็นสงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อในยุโรปยาวนานถึงสามสิบปี (ระหว่างปี ค.ศ. 1618 – ค.ศ. 1648) โดยสงครามได้สิ้นสุดลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญา เวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia)

44. รัฐประเภทใดถือครองทรัพยากรในสัดส่วนที่มากที่สุด
(1) มหาอํานาจขนาดใหญ่
(2) มหาอํานาจขนาดกลาง
(3) รัฐอาณานิคม
(4) รัฐอิสระ
(5) รัฐเล็ก
ตอบ 1 หน้า 199 – 200 ริชาร์ด โรสแครนซ์ (Richard Rosecrance) ได้แบ่งประเภทของรัฐ ตามความแตกต่างในการเข้าถึงทรัพยากร โดยเห็นว่า ลักษณะของการเมืองระหว่างประเทศ จะมีการกระจายพื้นฐานแห่งอํานาจอย่างไม่เท่าเทียมกัน และไม่ได้สัดส่วนระหว่างรัฐมหาอํานาจ รัฐขนาดกลาง และรัฐขนาดเล็ก ดังนี้
1. รัฐมหาอํานาจ (ขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยที่สุดเพียง 5% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 75% ซึ่งมากที่สุดในโลก
2. รัฐขนาดกลางมี 15% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร 20%
3. รัฐขนาดเล็กมี 80% ของจํานวนรัฐทั้งหมดในโลก แต่มีสัดส่วนการครอบครองทรัพยากร น้อยที่สุดเพียง 5% เท่านั้น

45. ประเทศใดเป็นพันธมิตรกับจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) เกาหลีใต้
(3) ญี่ปุ่น
(4) ไต้หวัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Attied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

46. ประเทศใดที่มีพันธมิตรมากที่สุดในภูมิภาค
(1) ลาว
(2) จีน
(3) ไทย
(4) กัมพูชา
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศมหาอํานาจและเป็นประเทศที่มีพันธมิตรมากที่สุด
ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

47. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของสงครามเย็น (Cold War)
(1) การสู้กันทางเศรษฐกิจ
(2) การใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน
(3) สงครามตัวแทน
(4) การให้ความช่วยเหลือประเทศที่ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มตะวันตกนําโดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และกลุ่มตะวันออกนําโดยสหภาพโซเวียต
ซึ่งมีระบบการเมืองแบบคอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยลักษณะสงคราม ไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้กัน แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

48. การอาศัยหลักการที่เรียกว่า “ดินแดนร่วม” (Common Land) เป็นคุณลักษณะสําคัญของรัฐแบบใด
(1) รัฐมหาอํานาจ
(2) รัฐชาติ
(3) รัฐชาติสมัยใหม่
(4) รัฐโบราณ
(5) รัฐอารยะ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของ “รัฐโบราณ” คือ การมีดินแดนร่วม (Common Land) หรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างรัฐ ซึ่งแตกต่างจากรัฐในสมัยปัจจุบันหรือรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีการ แบ่งเขตแดนหรือปักปันเขตแดนระหว่างรัฐที่ชัดเจน ทําให้แต่ละรัฐมีดินแดนที่แน่นอน

49. องค์การอนามัยโลก มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) WHO
(2) ICAO
(3) FAO
(4) WTO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

50. สงครามประเภทใดใช้อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction)
(1) สงครามเคมี
(2) สงครามเย็น
(3) สงครามตัวแทน
(4) สงครามโจมตีก่อน
(5) สงครามป้องกันตัวเอง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction) คือ อาวุธ ที่สามารถสังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจํานวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลก อย่างมหาศาล โดยสงครามที่ใช้อาวุธประเภทนี้ ได้แก่ สงครามนิวเคลียร์ สงครามเคมี และสงครามชีวภาพ

51. ประเทศใดมีปัญหาข้อพิพาทกับจีน
(1) ญี่ปุ่น
(2) ฟิลิปปินส์
(3) บรูไน
(4) เวียดนาม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ประเทศที่มีปัญหาข้อพิพาทกับจีน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และบรูไน กรณีหมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) ในทะเลจีนใต้ และญี่ปุ่นกรณีหมู่เกาะเซนกากุหรือหมู่เกาะเตียวหยู

52. จากนิยามที่ว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทําทั้งหลายของรัฐ

ที่มีต่อกันโดยปราศจากการควบคุมอย่างเพียงพอ” เป็นนิยามของนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใด
(1) Karl W. Deutsch
(2) K. J. Holsti
(3) Michael G. Roskin and Nicholas O. Berry
(4) Charles W. Kegley, Jr. and Gregory
(5) จุฑาทิพ คล้ายทับทิม
ตอบ 1 หน้า 2 คาร์ล ดับเบิลยู คอยซ์ (Kart W. Deutsch) ได้ให้นิยามว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทําทั้งหลายของรัฐที่มีต่อกันโดยปราศจากการควบคุมอย่างเพียงพอ”

53.Belt and Road Initiative (BRI) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกเ มทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง
เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ประสบความสําเร็จสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศ ต่าง ๆ เพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

54. ตามตรรกะในยุคสงครามเย็น ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัดชัยชนะในการทําสงครามนิวเคลียร์
(1) ความสามารถในการโจมตีระลอกที่สองของฝ่ายตนเอง
(2) การทําลายคลังอาวุธนิวเคลียร์ของศัตรู
(3) การถล่มประเทศของศัตรูให้ราบคาบ
(4) การครอบครองพื้นที่ที่ได้เปรียบของฝ่ายตนเอง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ตามตรรกะในยุคสงครามเย็น ตัวชี้วัดชัยชนะในการทําสงครามนิวเคลียร์ คือ ความสามารถในการโจมตีระลอกที่สองของฝ่ายตนเอง (Second Strike Capability)ไม่ใช่การทําลายคลังอาวุธนิวเคลียร์ของศัตรูหรือการถล่มประเทศของศัตรูให้ราบคาบอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกัน

55. ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) ประเทศโลกที่ 2 หมายถึงสิ่งใด
(1) ประชาธิปไตยทุนนิยม
(2) ประเทศผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Allied Movement)
(3) ยูเครน
(4) สหรัฐอเมริกา
(5) ประเทศกําลังพัฒนา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามเย็น (Cold War) แบ่งประเทศต่าง ๆ ในโลกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ประเทศโลกที่ 1 หมายถึง สหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก ซึ่งมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

2. ประเทศโลกที่ 2 หมายถึง สหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ซึ่งมีการปกครองระบอบ คอมมิวนิสต์และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เช่น โปแลนด์ ฮังการี ยูเครน เป็นต้น

3. ประเทศโลกที่ 3 หมายถึง ประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งไม่มีระบอบการปกครอง และระบบเศรษฐกิจเป็นของตนเอง แต่พยายามนําระบอบการปกครองและระบบเศรษฐกิจ ของประเทศโลกที่ 1 และประเทศโลกที่ 2 มาปรับใช้ เช่น ไทย กัมพูชา อินเดีย เป็นต้น

56. นักวิชาการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใดที่เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”
(1) Hans Morgenthau
(2) E. H. Carr
(3) Karl Polanyi
(4) Karl Popper
(5) Robert Gilpin
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต ศิลปิน (Robert Gitpin) นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาวอเมริกัน เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”

57. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) มีสมาชิกจํานวนเท่าไหร่
(1) 5 ประเทศ
(2) 7 ประเทศ
(3) 13 ประเทศ
(4) 10 ประเทศ
(5) 15 ประเทศ
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) คือ ความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่

ที่สุดในโลก ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และ กัมพูชา และประเทศคู่เจรจา 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

58. หมู่เกาะใดที่มีปัญหาในทะเลจีนใต้
(1) หมู่เกาะสแปรทลีย์
(2) หมู่เกาะพาราเซล
(3) หมู่เกาะฮาวาย
(4) หมู่เกาะสุรินทร์
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ทะเลจีนใต้ เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ํามัน และก๊าซธรรมชาติจํานวน มหาศาล รวมทั้งเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สําคัญ ซึ่งถูกล้อมรอบโดย 8 ประเทศชายฝั่ง คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะอ้างสิทธิส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้จนทําให้เกิดปัญหาข้อพิพาทหรือความขัดแย้งกับประเทศที่อยู่ล้อมรอบ โดยหมู่เกาะที่รัฐพิพาทมักอ้างสิทธิในการครอบครอง มี 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะสแปรทลีย์ (Spratly Islands) และหมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands)

59. หลักการสําคัญของ Peace of Westphalia ค.ศ. 1648 คืออะไร
(1) Ius Gentium
(2) Pacta Sunt Servanda
(3) Clausula Rebus Sic Stantibus
(4) Cuius Regio, Eius Religio
(5) Jus in Bello
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 ได้นําหลักการ Cuius Regio, Eius Religio มาใช้ปฏิบัติได้จริงเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นหลักการ สําคัญที่ทําให้เกิดอธิปไตยของรัฐ หรือการไม่แทรกแซงการเมืองภายในระหว่างกันของรัฐ ทั้งนี้หลักการ Cuius Regio, Eius Religio ได้ถูกนํามาใช้ครั้งแรกภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพ ออกสเบิร์ก (Peace of Augsburg) แต่ไม่สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง

60.ตําแหน่งเลขาธิการแห่งองค์การสหประชาชาติ จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

61. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) FUND
(2) IMF
(3) WTO
(4) AIIB
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 172, 222, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความร่วมมือ ทางการเงินระหว่างประเทศ โดยเริ่มเปิดดําเนินการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 มีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 190 ประเทศ

62. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) UNICEF
(2) UNESCO
(3) UNHCR
(4) UNDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

63. สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีจํานวนกี่ประเทศ
(1) 3 ประเทศ
(2) 4 ประเทศ
(3) 5 ประเทศ
(4) 10 ประเทศ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

64. ตัวแสดงในข้อใดต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับ “สงครามนอกรูปแบบ” (Non-Conventional Warfare)
มากที่สุด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

65. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุของการร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) ต้องประกอบไปด้วยรัฐมากกว่าหนึ่ง
(2) เพื่อเตรียมพร้อมในการทําสงครามครั้งต่อไป
(3) ตระหนักถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากผลประโยชน์ของรัฐ
(4) ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
(5) ตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีกฎเกณฑ์ในการมีความสัมพันธ์ร่วมกัน
ตอบ 2 หน้า 159, (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ซึ่งลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และรัฐเหล่านี้จะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน
2. ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
3. ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น
4. ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. ต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
6. ต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์การเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน

66. ความร่วมมือกันระหว่างองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกากับประเทศรัสเซียในการค้นคว้าวิจัยและสํารวจ อวกาศ ถือว่าเป็นขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใด
(1) ความสัมพันธ์ทางการเมือง
(2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(3) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
(5) ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 5 หน้า 6 ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน การพัฒนาความรู้ การวิจัยค้นคว้า และการสร้างสรรค์ นวัตกรรมสมัยใหม่ เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและอินเดียในการพัฒนาเซลล์ แสงอาทิตย์และพลังงานทดแทน ความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาแห่งสหรัฐอเมริกากับประเทศรัสเซียในการค้นคว้าวิจัยและสํารวจอวกาศ การจัดแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิก การจัดสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เป็นต้น

67. บุคคลที่มีส่วนสําคัญผลักดันให้มีการก่อตั้งสันนิบาตชาติ คือ
(1) ไกเซอร์ วิลเลี่ยม
(2) วูดโรว์ วิลสัน
(3) นโปเลียน
(4) เหมาเจ๋อตุง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

68.องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) FAO
(2) ITU
(3) IMF
(4) ILO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

69. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของขอบเขตในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) ความสัมพันธ์อาจมีความร่วมมือหรือความขัดแย้งก็เป็นได้
(2) ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนรัฐและมีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน
(3) ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นทางการเท่านั้นและไม่นับความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ
(4) การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนับเป็นความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่ง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 4 – 5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ข้ามพรมแดนของรัฐและมีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสําคัญดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

70. “การสร้างเกียรติภูมิของชาติ” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Self-Preservation
(2) Security
(3) Prestige
(4) Well-Being
(5) Power
ตอบ 3หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ
1. การดํารงรักษาความเป็นชาติ (Self-Preservation)
2. ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ (Security)
3. การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ (Well-Being)
4. การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ (Prestige)
5. การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ (Ideology)
6.การแสวงหาอํานาจ (Power)

71. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest)
(1) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นสิ่งที่นําไปสู่ความขัดแย้งเท่านั้น
(2) อุดมการณ์และความเชื่อถือเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์แห่งชาติ
(3) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กําหนดนโยบายการต่างประเทศได้
(4) ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิเป็นผลประโยชน์แห่งชาติ
(5) ผลประโยชน์แห่งชาติมีทั้งส่วนที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติที่แท้จริงและผลประโยชน์แห่งชาติลําดับรอง
ตอบ 1 หน้า 192 ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) เป็นปัจจัยสําคัญที่จะกําหนดลักษณะ ความสัมพันธ์ของรัฐแต่ละรัฐในสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งอาจปรากฏออกมาในลักษณะของ ความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศก็ได้ กล่าวคือ ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐ เข้ากันได้หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐจะปรากฏออกมาในรูปของความร่วมมือกัน แต่ถ้าผลประโยชน์แห่งชาติระหว่างรัฐขัดแย้งกันหรือไม่อาจปรับเข้าหากันได้ลักษณะความสัมพันธ์ของรัฐจะปรากฏออกมาในรูปของความขัดแย้งกัน (ดูคําอธิบายข้อ 29 ประกอบ)

72. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “Royal Dutch Shell” จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

73. จีนมีแผนสร้างทางรถไฟข้ามมาไทยผ่านทางจังหวัดใด
(1) หนองคาย
(2) เชียงราย
(3) เชียงใหม่
(4) นครพนม
(5) อุบลราชธานี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จีนมีแผนสร้างทางรถไฟจากประเทศลาวข้ามมาไทยโดยผ่านทางจังหวัดหนองคาย
ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟสายแพนเอเชีย (The Pan Asia Railway
Network) ของจีนที่มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายทางรถไฟเชื่อมจีนตอนใต้สู่ภูมิภาคอาเซียน

74. ดินแดนที่เรียกว่า “เขตปกครองพิเศษฮ่องกง” ถือว่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) เป็น เนื่องจากฮ่องกงนับเป็นเขตปกครองพิเศษที่มีอิสระในการกําหนดนโยบายของตนเอง
(2) เป็น เพราะฮ่องกงมีรัฐบาลเป็นของตนเอง
(3) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
(4) ไม่เป็น เพราะประชากรของฮ่องกงทุกคนคือคนจีน
(5) ไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนในเรื่องสถานะของฮ่องกง
ตอบ 3 หน้า 20 – 21, (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่น ทั้งนี้การที่จะเรียกว่าเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดน (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty) ดังนั้น “เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง” ไม่ถือว่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ เพราะฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง

75. บุคคลที่เหมาะสมกับการทํางานในองค์การระหว่างประเทศ ควรมีคุณสมบัติข้อใดเป็นสําคัญ
(1) มีทักษะในการทํางานกับคนต่างชาติ
(2) มีความรู้ภาษาต่างประเทศ
(3) มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
(4) มีมุมมองว่าตนเป็นพลเมืองโลก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บุคคลที่เหมาะสมกับการทํางานในองค์การระหว่างประเทศ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีทักษะในการทํางานกับคนต่างชาติ
2. มีความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดี
3. มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
4. มีมุมมองว่าตนเป็นพลเมืองโลก ฯลฯ

76. ในการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่รัฐหรือประเทศมีต่อกันมีกี่ประเภท และแบบไหนบ้าง
(1) 3 ประเภท การเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บริหารรัฐกิจ
(2) 2 ประเภท ความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศ
(3) 2 ประเภท สงครามร้อน สงครามเย็น
(4) 2 ประเภท ทวิภาคี พหุภาคี
(5) 5 ประเภท สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

77. ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เป็นความร่วมมือที่ผลักดันโดยประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ไทย
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3(คําบรรยาย)ธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสนอความช่วยเหลือด้านการเงิน และแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนําไปลงทุนในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

78. เหตุการณ์ใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
(1) สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน
(2) การประกาศยุบสภาในประเทศไทย
(3) การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
(5) การสอบปลายภาค S/63 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ออสเตรเลียได้จัดการเลือกตั้งระดับ
สหพันธรัฐ ซึ่งการเลือกตั้งนี้พรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาจะได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีหัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคแรงงานได้รับชัยชนะมีที่นั่งในสภา มากที่สุดจึงได้จัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายแอนโทนี อัลบานีส (Anthony Albanese) หัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี

79. ข้อใดต่อไปนี้คือผลงานชิ้นสําคัญของธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านไทยศึกษา
(1) Withdrawal Symptom
(2) The Network Monarchy
(3) The Siamese Revolution
(4) Siam Mapped
(5) A History of Thailand
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลงานชิ้นสําคัญของธงชัย วินิจจะกูล คือ Siam Mapped หรือกําเนิดสยาม จากแผนที่ (ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านไทยศึกษา อดีตเป็น ผู้นํานักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปัจจุบันดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ ประจําภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัย วิสคอนซิน แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา)

80. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่จุดประสงค์ของสหประชาชาติ
(1) เตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นเอกราชให้กับอาณานิคม
(2) สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน
(3) ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
(4) พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล
(5) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง
ตอบ 1 หน้า 141 – 142, 165 – 166 จุดประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ มีดังนี้
1. ธํารงไว้เพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. สนับสนุนในการเคารพสิทธิมนุษยชน
3. พัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งมวล
4. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือและการประสานงานของประชาชาติทั้งปวง

81. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามแนวทางของสํานักสัจนิยม หรือสํานักที่เรียกว่า “Political
Realism” ในสหรัฐอเมริกา สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 11 แนวอํานาจ (Power Approach) เป็นวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของสํานักสัจนิยม หรือสํานักที่เรียกว่า “Political Realism” ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาแนวนี้ ให้ความสําคัญกับอํานาจรัฐ ซึ่งหมายถึง ความสามารถของรัฐในการควบคุมพฤติกรรมของ รัฐอื่น โดยมีความเชื่อว่าอํานาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการเมืองระหว่างประเทศก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจของรัฐ ดังนั้นอํานาจจึงมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แห่งชาติ

82. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ
(1) เกาหลีเหนือ
(2) ซีเรีย
(3) ยูเครน
(4) ไต้หวัน
(5) อิหร่าน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

83. เหตุการณ์ใดที่จัดได้ว่าเป็นหมุดหมายสําคัญของการทําให้ความหมายของสงครามเปลี่ยนจากเกียรติยศ
และศักดิ์ศรีกลายเป็นหายนะ
(1) สงครามครูเสด
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1
(3) การล่าอาณานิคม
(4) สงครามโลกครั้งที่ 2
(5) สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นสงครามที่ทําให้ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจํานวนมาก และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างมหาศาล ดังนั้นสงครามนี้จึงจัดได้ว่าเป็นหมุดหมายสําคัญของการทําให้ความหมายของสงครามเปลี่ยนจากเกียรติยศและศักดิ์ศรีกลายเป็นหายนะ ทั้งนี้เพราะผลจากสงครามได้สร้างความพินาศและหายนะ อันใหญ่หลวงแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมสงคราม

84. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศของภาคประชาสังคม
(1) องค์การนิรโทษกรรมสากล
(2) AIIB
(3) ADB
(4) GMS
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

85. การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา มีชื่อย่อภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) WTO
(2) IMF
(3) UNCTAD
(4) UNDP
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

86. ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกจะรับฟังความคิดเห็นขององค์การใด
(1) WHO
(2) ICOMOS
(3) IUCN
(4) IMF
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลกจะรับฟังความคิดเห็นจาก 2 องค์การ คือ
1. สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites : ICOMOS)
2. องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature : IUCN)

87. จักรวรรดิในข้อใดจัดว่าเป็น Ius Gentium ทั้งหมด
(1) จักรวรรดิจีน จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิมองโกล
(2) จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส
(3) จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิสเปน จักรวรรดิโปรตุเกส
(4) จักรวรรดิเปอร์เซีย จักรวรรดิมาซิโดเนีย จักรวรรดิเอเธนส์
(5) ทุกจักรวรรดิล้วนแล้วแต่เป็น Ius Gentium
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Ius Gentium คือ การส่งทหาร ตั้งป้อมปราการ และปกครองดินแดน ที่อยู่ใต้อิทธิพลโดยตรง ซึ่งเป็นลักษณะของจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิอังกฤษ และจักรวรรดิ ฝรั่งเศส ซึ่งแตกต่างจากจักรวรรดิจีนและจักรวรรดิเปอร์เซียที่ดินแดนที่อยู่ใต้อิทธิพลต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เพื่อแสดงถึงความสวามิภักดิ์

88. ตัวแสดงที่มีชื่อว่า “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ” (IMF) จัดเป็นตัวแสดงสําคัญที่ไม่ใช่รัฐแบบใด
(1) International Organization
(2) Multi-National Corporation
(3) Non-Governmental Organizations
(4) Terrorists
(5) Individual
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. และ 17. ประกอบ

89. “สังคมระหว่างประเทศไม่มีศูนย์กลางอํานาจ” เป็นลักษณะสําคัญของสังคมระหว่างประเทศข้อใด
(1) อนาธิปไตย
(2) ความไม่เท่าเทียมกัน
(3) การเป็นพลวัต ไม่หยุดนิ่ง
(4) จํานวนสมาชิกรัฐมีจํานวนตายตัว
(5) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

90. สานักงานใหญ่ขององค์การใดที่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์
(1) WHO
(2) IMF
(3) ILO
(4) WIPO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

91. ฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการใช้กําลังของรัสเซียเพื่อโจมตียูเครน คือ
(1) เหยี่ยว
(2) นกอินทรี
(3) นกเขา
(4) นกพิราบ
(5) นกนางนวล
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กรณีการทําสงครามระหว่างรัฐเซียกับยูเครนนั้น แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายเหยี่ยว (Hawks) เป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้รัสเซียใช้กําลังโจมตียูเครน
2. ฝ่ายนกพิราบ (Doves) เป็นฝ่ายที่สนับสนุนให้ใช้วิธีการทางการทูตในการสงบศึกระหว่าง รัสเซียกับยูเครน

92. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค
(1) ASEAN
(2) BRI
(3) UN
(4) FAO
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

93. ความขัดแย้งหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดปทัสถาน Dynastic Sovereignty คือเรื่องอะไร
(1) มรดก
(2) การผูกขาด
(3) ประชาธิปไตย
(4) การกระทําที่นอกรีต
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชุดปทัสถาน Dynastic Sovereignty คือเรื่องของมรดกและทรัพย์สมบัติ

94. สมมติฐานที่ว่า การปกป้องตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาค สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่า ในระดับสากล เป็นแนวคิดในข้อใด
(1) แนวคิดสากลนิยม
(2) แนวคิดภูมิภาคนิยม
(3) แนวคิดศาสนานิยม
(4) แนวคิดพรรคพวกนิยม
(5) แนวคิดท้องถิ่นนิยม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) ยึดมั่นต่อข้อสมมติฐานที่ว่า การป้องกัน ตนเองและความมั่นคงในระดับภูมิภาคนั้น สะดวกและง่ายต่อการปกป้องรักษากว่าในระดับ สากล ด้วยข้อสมมติฐานนี้เองพวก Regionalism จึงเน้นให้ภูมิภาคต่าง ๆ ควรที่จะจัดระบบ การป้องกันตนเองเป็นสัดเป็นส่วน เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัยเนื่องจากเมื่อเกิดการรุกรานขึ้นประเทศที่อยู่ภายนอกภาคพื้นหรือนอกข่ายจากการรุกรานคงไม่ประสงค์ที่จะช่วยเหลือหรือเข้ามาพัวพันกับวิกฤติการณ์นั้น ๆ

95. คําว่า “เขตเศรษฐกิจจําเพาะ” (Exclusive Economic Zone) มีความสอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใด
ต่อไปนี้มากที่สุด
(1) พื้นดิน
(2) พื้นน้ำ
(3) ห้วงอากาศ
(4) ทิวเขา
(5) รัฐที่ไม่มีชายฝั่งทะเล
ตอบ 2 หน้า 20 – 21 อาณาเขตดินแดน (Territory) ของรัฐ หมายถึง บริเวณซึ่งอยู่ใต้อธิปไตย ของรัฐ ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอนและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ประกอบด้วย
1. พื้นดิน หรือเขตแดนทางบก ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยอาศัยความตกลงกัน โดยอาจใช้ทิวเขา สันปันน้ำ ชะง่อนผา แนวกึ่งกลางแม่น้ำหรือแนวกึ่งกลางร่องน้ำลึก
2. พื้นน้ำ ได้แก่ น่านน้ําภายใน ทะเลอาณาเขต ผิวท้องทะเล สิ่งที่อยู่ใต้ผิวท้องทะเล และเขตเศรษฐกิจจําเพาะ
3. ห้วงอากาศ คือ ท้องฟ้า หรือขอบเขตของท้องฟ้าเหนือพื้นดิน

96. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับการทํานายปรากฏการณ์ การวัด การทดลอง
การสร้างทฤษฎี หรือการสร้างแบบจําลอง การศึกษาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศแบบใดมากที่สุด
(1) แนวนโยบาย
(2) แนวประวัติศาสตร์
(3) แนวภูมิรัฐศาสตร์
(4) แนวอํานาจ
(5) แนวพฤติกรรม
ตอบ 5 หน้า 12 แนวพฤติกรรม (Behavioral Approach) เป็นการศึกษาที่พยายามจะอธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยข้อสรุปที่ได้มาจากการสังเกตสภาพตามความเป็นจริงและ ด้วยทฤษฎี รวมทั้งมีการทํานายพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยพยายามหาทางปรับปรุงคําทํานายหรือการคาดคะเนให้มีความแม่นยําถูกต้องมากขึ้น โดยการศึกษาแนวนี้จะใช้ เทคนิคและวิธีการทางด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตั้งปัญหาและสมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน ผสมผสานกับเทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เช่น การวัด การทดลอง การสร้างทฤษฎี การสร้างแบบจําลอง เป็นต้น

97. ข้อใดต่อไปนี้อยู่ในฐานะทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
(1) ศาลโลก
(2) IMF
(3) UNCTAD
(4) UNDP
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 156, 169 ทบวงการชํานัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ มีดังนี้
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
2. องค์การอนามัยโลก (WHO)
3. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
4. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
5. สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU)
6. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
7. องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ฯลฯ

98. ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐบนเวทีโลก
(1) อิตาลี
(2) องค์การระหว่างประเทศในภาคประชาสังคม
(3) บรรษัทข้ามชาติ
(4) สิงคโปร์
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

99. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงกระบวนการโลกาภิวัตน์
(1) รัฐอธิปไตยถูกท้าทาย
(2) การเพิ่มบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ
(3) การแพร่สะพัดของทุนนิยม
(4) การอยู่อาศัยในหมู่บ้านโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) โลกาภิวัตน์ (Globalization) คือ สภาวะโลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นผลมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทําให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้เสมือนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันหรือที่เรียกว่า“หมู่บ้านโลก” (Global Village)

100. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงเหตุผลในการศึกษา “กฎหมายระหว่างประเทศ” “องค์การระหว่างประเทศ” และ “การทูต” ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
(1) เพราะสามารถใช้ในการทําความเข้าใจสถานการณ์โลกในปัจจุบันได้ดีที่สุด
(2) เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการระงับความขัดแย้งไม่ให้กลายเป็นสงครามได้
(3) เพราะเป็นคุณสมบัติของนักการทูตทุกคน
(4) เพราะเป็นเนื้อหาหลักที่ปรากฏอยู่ในตําราเรียน
(5) เพราะใช้ในการทําความเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) องค์การระหว่าง ประเทศ (International Organization) และการทูต (Diplomacy) ถือว่าเป็นสิ่งสําคัญ ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการศึกษาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการระงับความขัดแย้งไม่ให้กลายเป็นสงครามได้

 

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
(1) เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อป้อมปรามคดีอาญาระหว่างกัน
(2) สนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
(3) การลงโทษผู้กระทําผิดทางอาญาแล้วหลบหนีไปรัฐอื่น
(4) การลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทําความผิดนอกประเทศนั้นได้
(5) กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐหนึ่งตกลงยอมรับการพิจารณาโทษของศาลส่วนอาญาของอีกรัฐ
ตอบ 1 หน้า 14, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา คือ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ รัฐหนึ่งตกลงยอมให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทําความผิดนอกประเทศนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการร่วมกันปราบปรามการกระทําความผิดทางอาญาซึ่งในบางครั้งได้กระทําในต่างแดนหรือผู้กระทําได้หลบหนีไปรัฐอื่น ฉะนั้น เพื่อป้องกันปราบปรามคดีอาญาดังกล่าวรัฐต่าง ๆ จะต้องทําสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อสะดวกในการนําผู้กระทําผิดมาลงโทษตามความผิดนั้น ๆ

2. ในสมัยล่าอาณานิคม การที่สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส นับเป็นการดําเนิน
นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด
(1) นโยบายการรักษาหน้า
(2) นโยบายตีสองหน้า
(3) นโยบายรักษาความเป็นมิตร
(4) นโยบายแห่งการเอาใจ
(5) นโยบายรักษาดุลอํานาจ
ตอบ 4 หน้า 85, 216 – 217 นโยบายแห่งการเอาใจหรือนโยบายผ่อนปรน (Appeasement Policy) เป็นกลยุทธ์การดําเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่รัฐหนึ่งยินยอมให้รัฐที่เป็นเป้าหมาย ของนโยบายดําเนินการอันไม่เป็นผลดีกับผลประโยชน์ของตนบางประการด้วยความหวังว่า รัฐที่เป็นเป้าหมายจะพอใจและยุติการดําเนินการอันจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ ของรัฐนั้น เช่น การที่อังกฤษยอมให้เยอรมนีครอบครองดินแดนซูเดเทนของเซโกสโลวาเกีย ในสมัยของนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ แชมเบอร์เลน การที่สยาม (ไทย) ยอมเสียดินแดนบางส่วน ให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสในสมัยล่าอาณานิคม เป็นต้น

3. ชาติใดไม่ได้อยู่ฝ่ายเดียวกับสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) อิตาลี
(2) ญี่ปุ่น
(3) จีน
(4) ฝรั่งเศส
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 1 2 หน้า 85 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 – ค.ศ. 1945 เป็นความขัดแย้ง ระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

4. หลักบรรทัดฐานของระบอบการค้าระหว่างประเทศคือข้อใด
(1) สัจนิยม
(2) การค้าเป็นธรรม
(3) สังคมนิยม
(4) เศรษฐกิจเสรีนิยม
(5) โครงสร้างนิยม
ตอบ 4 หน้า 123, (คําบรรยาย) หลักบรรทัดฐานสําคัญของระบอบการค้าระหว่างประเทศ คือ เศรษฐกิจเสรีนิยมทางการค้าหรือระบบตลาดเสรี ซึ่งเชื่อว่าการค้าเสรีดีกว่าการค้าแบบควบคุม สามารถสร้างประโยชน์และสวัสดิการสาธารณะให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นอีกด้วย

5.การขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างประเทศมักเกิดได้จาก
(1) ความหวาดระแวง
(2) การไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน
(3) การกีดกันทางการค้า
(4) การเอารัดเอาเปรียบ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 35 – 36, (คําบรรยาย) การขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศ ถือเป็นมูลเหตุสําคัญ ที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสาเหตุที่ทําให้เกิดความขัดแย้ง ในผลประโยชน์อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการข้อตกลงที่ให้ไว้ต่อกัน ความหวาดระแวงกันการเอารัดเอาเปรียบแก่งแย่งผลประโยชน์กัน การกีดกันทางการค้า เป็นต้น

6. ข้อใดไม่ใช่ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
(1) ความเห็นนักนิติศาสตร์
(2) เอกสารระหว่างประเทศ
(3) คําวินิจฉัยของศาล
(4) ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ
(5) ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 128, (คําบรรยาย) แหล่งที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ เอกสารระหว่างประเทศ (ได้แก่ สนธิสัญญาระหว่าง ประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศ) และคําพิพากษาหรือ คําวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก
2. ลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไป และความเห็นของนักนิติศาสตร์

7. ระบอบระหว่างประเทศไม่ครอบคลุมประเด็นเรื่องใด
(1) พฤติกรรม
(2) ความเป็นทางการ
(3) เวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล
(4) บรรทัดฐาน
(5) ลดความหวาดระแวง
ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) ระบอบระหว่างประเทศ (International Regime) คือ หลักการ บรรทัดฐาน กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผน และกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ ความคาดหวังของตัวแสดงต่าง ๆ ในประเด็นด้านใดด้านหนึ่ง โดยสมาชิกตัวแสดงทุกฝ่ายทั้งที่ เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐที่อยู่ในระบอบต้องยอมรับและปฏิบัติตามภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งประโยชน์ของระบอบระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. เป็นเวทีเจรจาและสร้างแบบแผนสําหรับอนาคต
2. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือช่องทางให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของรัฐ ทําให้สามารถคาดการณ์พฤติกรรมของรัฐสมาชิก และช่วยลดความหวาดระแวงได้
4. ช่วยลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ

8.ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างรัฐบาล
(1) จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง
(2) รัฐนั้นจะต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและมีความเสมอภาคกัน
(3) มีการสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
(4) ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
(5) ประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง
ตอบ 1 หน้า 159 – 160 ลักษณะและโครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล มีดังนี้
1. ต้องประกอบไปด้วยรัฐจํานวนหนึ่ง (ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป) และรัฐเหล่านี้จะต้องเป็น หน่วยทางการเมืองที่มีเอกราช อิสระ และมีความเสมอภาคกัน
2. ตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
3. มีองค์กรที่ถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร โดยมีสํานักงานตั้งอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ
4. ขอบเขตของความร่วมมืออาจเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม สังคม วิชาการ กฎหมาย การพัฒนา เป็นต้น
5. รัฐสมาชิกต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
6. รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ
และมุ่งที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
7. รัฐสมาชิกต้องตระหนักถึงความจําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ฯลฯ

9.องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร
(1) สถาบันที่สนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช
(2) เวทีที่รัฐต้องการแสวงหาสันติภาพ และความมั่นคงร่วมกัน
(3) รัฐมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างหลวม ๆ
(4) เวทีสําหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์
(5) สถาบันที่รัฐตั้งแต่สองรัฐจัดตั้งขึ้นมา
ตอบ 5 หน้า 159 ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. องค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (International Governmental Organizations : IGOs) หมายถึง สถาบันที่รัฐต่าง ๆ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นมา เพื่อดําเนินการ ด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ หรือเป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาลต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการถาวร
2. องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (International Non-Governmental Organizations : INGOs) หมายถึง องค์การที่ไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของรัฐบาล แต่เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านใดด้านหนึ่ง

10. ข้อตกลงใดมีสาระสําคัญคือ ประเทศสัมพันธมิตรให้คํามั่นจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อต่อต้าน
การรุกรานจากฝ่ายอักษะ
(1) ปฏิญญาสหประชาชาติ
(2) ข้อตกลงยัลต้า
(3) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร
(4) กฎบัตรแอตแลนติก
(5) ปฏิญญามอสโคว์
ตอบ 3 หน้า 164 ในปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร (Inter-Allied Declaration) ได้กําหนด สาระสําคัญไว้ว่า ประเทศ สัมพันธมิตรให้คํามั่นจะปฏิบัติงานร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อต่อต้าน การรุกรานจากฝ่ายอักษะ และช่วยเหลือกันด้านเศรษฐกิจและสังคม

11. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป
(1) ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป
(2) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส
(4) ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป
(5) วิกฤติการเงินยูโรโซน
ตอบ 3 หน้า 178 – 179, (คําบรรยาย) สหภาพยุโรป (European Union : EU) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดยสนธิสัญญา มาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ซึ่งเป็นการรวม 3 ประชาคม เข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป ประชาคมพลังงานปรมาณูแห่ง ยุโรป และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ส่วน “วิกฤติการณ์ยูโรโซน” นั้น เป็นปัญหาวิกฤติ ทางด้านการเงินและหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นกับสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งได้แก่ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส อิตาลี และสเปน ซึ่งเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อฐานะเศรษฐกิจการคลัง ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเป็นอย่างมาก

12. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ
(1) ความต้องการทรัพยากรที่จํากัด
(2) การส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยมเข้มข้น
(3) การแย่งชิงหมู่เกาะกลางมหาสมุท
(4) ความยึดมั่นในคําสัญญาของมหาอํานาจ
(5) ความต้องการผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์
ตอบ 4หน้า 31, 97, (คําบรรยาย) สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. การแข่งขันเป็นมรดกของรัฐ
2. ความมั่นคงที่สมบูรณ์ไม่มีอยู่จริงในโลก
3. ความต้องการผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งได้แก่ ความต้องการเพิ่มเกียรติยศของรัฐ ความต้องการขยายอํานาจของรัฐ ความต้องการส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐ และ ความต้องการดินแดน ทรัพยากรธรรมชาติ หรือวัตถุดิบของรัฐ
4. ความต้องการผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มทุน

13. เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) ประเทศใดนํามาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) จีน
(2) อิตาลี
(3) ญี่ปุ่น
(4) เยอรมนี
(5) โซเวียต
ตอบ 4 หน้า 65 เครื่องหมายสวัสดิกะ (Swastika) เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิทยาที่เยอรมนีนํามาใช้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทําให้ชาวเยอรมันอุทิศตนเพื่อชาติ เครื่องหมายนี้ปรากฏทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน ในห้องเรียน บนฝาผนัง และในที่สุดได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ ความเชื่อทางศาสนา

14. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นด้านใด
(1) สังคม
(2) กฎหมาย
(3) เศรษฐกิจ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 5 – 6 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

15. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีไม่ได้ถูกยึดครองโดยชาติใด
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐ
(3) สหภาพโซเวียต
(4) ฝรั่งเศส
(5) อิตาลี
ตอบ 5 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนและถูกยึดครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

16. “นิโคโล มาเคียเวลลี” กล่าวถึงพื้นฐานสําคัญของทุกรัฐที่ต้องมีก่อนสิ่งอื่นใด คือ
(1) ระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
(2) พระสงฆ์ผู้ทรงธรรม
(3) กองทัพที่เข้มแข็ง
(4) ระบบรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง
(5) ผู้ปกครองที่มีความสามารถและศีลธรรม
ตอบ 3 หน้า 201 นิโคโล มาเคียเวลลี (Nicoto Machiavelli) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “The Prince” ว่า พื้นฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับทุกรัฐก็คือ การมีกฎหมายที่ดีและกองทัพที่เข้มแข็ง

17. ธนาคารใดจัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (BRI)
(1) BRIB
(2) ADIB
(3) BRDB
(4) AIDB
(5) AIIB
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เป็นยุทธศาสตร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อเชื่อมโยง เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ และเพื่อให้การดําเนินการพัฒนาตามยุทธศาสตร์นี้ประสบความสําเร็จสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดตั้งธนาคารพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและเป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศต่าง ๆเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ

18. เครื่องมือใดในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ควรใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด
(1) เครื่องมือทางการเมือง
(2) เครื่องมือทางการทูต
(3) เครื่องมือทางเศรษฐกิจ
(4) เครื่องมือทางการทหาร
(5) เครื่องมือทางจิตวิทยา
ตอบ 4 หน้า 43 เครื่องมือทางการทหาร เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ โดยทั่วไปมักใช้เมื่อใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เครื่องมือทางการทูต เครื่องมือทางการเมือง เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เครื่องมือทางจิตวิทยาไม่ได้ผล และต้องใช้อย่างระมัดระวังมากที่สุด เพราะถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังและรอบคอบเพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้

19. การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ํามันเพื่อควบคุมการผลิตน้ํามันนับเป็นการนําเครื่องมือทางเศรษฐกิจมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายใด
(1) จุดมุ่งหมายทางการทหาร
(2) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร
(3) จุดมุ่งหมายในการลงโทษ
(4) จุดมุ่งหมายทางการเมือง
(5) จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ
ตอบ 2 หน้า 50 จุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจและการทหาร เป็นจุดมุ่งหมายที่ส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ นั่นคือ การนําเอาเศรษฐกิจมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าควบคุมดินแดนสําคัญที่มีวัตถุดิบที่มีความจําเป็นทางด้านยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจ เช่น การพยายามเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศแถบที่มีบ่อน้ํามันเพื่อควบคุม การผลิตน้ํามัน เป็นต้น

20. ประเทศใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2565
(1) สิงคโปร์
(2) ไทย
(3) นิวซีแลนด์
(4) มาเลเซีย
(5) เวียดนาม
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค: (APEC) ในปี 2565 ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ของประเทศไทย หลังจาก
ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี 2546 โดยหัวข้อหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open, Connect, Balance”

21. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบอยคอต (Boycott)
คือการใช้วิธีการใด
(1) การงดส่งสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทออกไปขาย
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู
(4) การตั้งกําแพงภาษี
(5) การห้ามนําสินค้าบางประเภทหรือทุกประเภทเข้ามาขาย
ตอบ 5 หน้า 53 การกีดกันทางการค้าหรือการบอยคอต (Boycott) คือ การที่รัฐบาลห้ามนําสินค้า บางประเภทหรือทั้งหมดจากประเทศที่รัฐบาลมุ่งตอบโต้หรือต้องการให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางประการเข้าประเทศ แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่ได้ทําการค้าโดยตรงกับประเทศที่ถูกกีดกัน ทางการค้าก็จะบังคับให้เอกชนที่ทําการค้ากับประเทศนั้นต้องขออนุญาตในการนําเข้าสินค้าหากฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ

22. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลตอบแทนต่ํามีนัยถึงข้อใด
(1) ร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ
(2) ไม่มีกรอบข้อตกลง
(3) ร่วมมือกันเพียงเรื่องเดียว
(4) ร่วมมือกันน้อยประเทศ
(5) ต้นทุนต่ำ
ตอบ 5 หน้า 121 ปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่สนับสนุนให้การดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ
ตามกรอบข้อตกลงหรือกติกาของสนธิสัญญาเป็นไปได้ด้วยดีและมีความยั่งยืน คือ ความร่วมมือ ระหว่างประเทศนั้นต้องมีผลตอบแทนต่ำ ทั้งนี้เพราะผลตอบแทนต่ําสะท้อนถึงต้นทุนต่ำ ทําให้แต่ละประเทศสามารถตัดสินใจดําเนินความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบข้อตกลงได้ไม่ยาก

23. นักการทูตที่ไปสืบหาข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ อาจถูกกล่าวหาว่าทําการจารกรรมและจะทําให้นักการทูตผู้นั้นมีสถานะเป็นอะไร
(1) บุคคลที่ไม่ชอบธรรม
(2) บุคคลที่น่าละอาย
(3) บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา
(4) บุคคลที่ควรถูกประจาน
(5) บุคคลผู้เป็นภัยคุกคาม
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 นักการทูตมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ท่าที ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลที่สถานทูตไปตั้งอยู่แล้วรายงานต่อรัฐบาลของตน ซึ่งมีบ่อยครั้ง ที่นักการทูตจะต้องสืบเสาะหาข้อมูลโดยใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องตามครรลองหรือขั้นตอนของกฎหมายในประเทศที่ตนไปประจําการอยู่ จึงทําให้นักการทูตผู้นั้นถูกกล่าวหาว่าทําจารกรรม และต้องกลายเป็น “บุคคลผู้ไม่พึงปรารถนา” (Persona Non Grata)

24. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศมีองค์การใดดูแล
(1) WTO
(2) World Bank
(3) UNDP
(4) IMF
(5) UNESCO
ตอบ 1 หน้า 122, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ มีองค์การที่ดูแลคือ องค์การการค้าโลก (WTO)
2. ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ มีองค์การที่ดูแลคือ องค์การอนามัยโลก (WHO)
3. ระบอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ อยู่ภายใต้สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมีองค์การที่ดูแลคือ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
4. ระบอบด้านการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การประชุมสมัชชาประเทศภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26)

25. รัฐขนาดเล็กขาดอิสระในทางการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากเหตุผลข้อใด
(1) ความเสียเปรียบทางการทหาร
(2) นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ
(3) ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
(4) อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 202, (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้รัฐขนาดกลางและรัฐขนาดเล็กขาดอิสระในการดําเนิน กิจการทางการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างประเทศ
2. นโยบายและพฤติกรรมของรัฐมหาอํานาจ
3. ความเสียเปรียบทางการทหาร (ขนาดของกองทัพ)
4. อิทธิพลของรัฐมหาอํานาจ

26. ข้อใดเป็นผลจากการเกิดการปฏิรูปทางศาสนา (Reformation)
(1) ยุคมืด
(2) ระบบศักดินา
(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม
(4) สงครามครูเสด
(5) มีการแยกนิกายจากคาทอลิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation) เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1517 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และสถาบันสันตะปาปา ซึ่งผลจากการปฏิรูปทําให้เกิดการแยกนิกายจากคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์

27. ชาติใดเป็นพันธมิตรของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) เซอร์เบีย
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) ออตโตมาน
(5) รัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 82 – 84, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอํานาจ 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายพันธมิตรไตรภาคีหรือมหาอํานาจกลาง (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ออตโตมาน (ตุรกี) และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Triple Entente/Allied Powers) ประกอบด้วย รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเซอร์เบีย

28. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน
(1) มีองค์กรที่ถาวรอย่างน้อย 1 องค์กร
(2) มีอํานาจในการสั่งการต่อรัฐสมาชิก
(3) ตั้งขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป
(4) เป็นความร่วมมือในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
(5) รัฐสมาชิกต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่อิสระและเสมอภาคต่อกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

29. ประเทศใดไม่ได้เข้าร่วมในกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC)
(1) ลาว
(2) เวียดนาม
(3) กัมพูชา
(4) มาเลเซีย
(5) พม่า
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang-Mekong Cooperation : LMC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2016 มีสมาชิกทั้งหมด 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา (พม่า) เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา อนุภาคลุ่มน้ําโขงอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ําด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภาค ลุ่มน้ําโขง และระหว่างอนุภาคลุ่มน้ําโขงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนในภาพรวม

30. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก ค.ศ. 1929 – 1933
(2) ควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
(3) Bretton Woods Conference
(4) ป้องกันการลดค่าเงิน
(5) เป็นแหล่งกู้ยืมเงินของประเทศด้อยพัฒนา
ตอบ 5 หน้า 173, (คําบรรยาย) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถือกําเนิดขึ้นมาจากปัญหา ทางเศรษฐกิจและการค้าโลกในช่วงปี ค.ศ. 1920 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่นําไปสู่ภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ําทั่วโลก (Great Depression) ในระหว่างปี ค.ศ. 1929 – 1933 และการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือการประชุมเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods Conference) ที่จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1944 ณ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศประการหนึ่งก็คือ การสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน และป้องกันการลดค่าเงิน

31. หน่วยงานใดไม่ได้อยู่ในระบบพื้นฐานของการทํางานของสหประชาชาติในปัจจุบัน
(1) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
(2) คณะมนตรีความมั่นคง
(3) สํานักเลขาธิการ
(4) สมัชชาใหญ่
(5) คณะมนตรีภาวะทรัสตี
ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) ระบบพื้นฐานของการทํางานของสหประชาชาติในปัจจุบัน ประกอบด้วย สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ และสํานักงานเลขาธิการ ส่วนคณะมนตรีภาวะทรัสตีซึ่งทําหน้าที่ดูแลดินแดน ที่ยังไม่ได้รับเอกราชนั้น ปัจจุบันได้หยุดการปฏิบัติงานแล้วแต่อาจจะมีการพบปะประชุมกัน ตามโอกาสที่เห็นจําเป็น

32. วิกฤติการณ์คิวบาเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต
(2) สหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่น
(3) คิวบากับสหภาพโซเวียต
(4) คิวบากับเม็กซิโก
(5) คิวบากับสหรัฐอเมริกา
ตอบ 1หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้ไปติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบาทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของ สหรัฐอเมริกา จึงปิดล้อมคิวบาทางทะเลและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออกจากคิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

33. การใช้กําลังทหารของสหรัฐอเมริกาไม่อาจทําให้เป็นผู้ชนะในสงครามใด
(1) สงครามโลกครั้งที่ 1
(2) สงครามอ่าวเปอร์เซีย
(3) สงครามเวียดนาม
(4) สงครามโคโซโว
(5) สงครามโลกครั้งที่ 2
ตอบ 3 หน้า 45 – 46 อํานาจทางการทหารเป็นสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ต่างแสวงหาหรือสะสมเพื่อดํารงสถานะของตนไว้ในเวทีระหว่างประเทศ แต่การมีอํานาจทางการทหารมากมิได้หมายความว่าเวลาเกิดสงครามจะสามารถเอาชนะประเทศที่มีอํานาจทางการทหารน้อยกว่าได้เสมอไป เช่น กรณีสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกามีอํานาจทางการทหารมากกว่าเวียดนาม แต่ไม่สามารถ เอาชนะเวียดนามได้ เป็นต้น

34. การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) นํามาใช้ในการสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น
(2) จีนกับสหรัฐอเมริกา
(3) จีนกับสหภาพโซเวียต
(4) จีนกับญี่ปุ่น
(5) สหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา
ตอบ 2 หน้า 89 การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งในขณะนั้นจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในปักกิ่ง

35. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในยามสันติ
(1) การรวมตัวกันทางธุรกิจระหว่างประเทศ
(2) การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า
(3) การกว้านซื้อสินค้า
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) กําแพงภาษี
ตอบ 3 หน้า 53 – 59 เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ใช้ในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสันติ ได้แก่ กําแพงภาษี การกีดกันทางการค้า การงดส่งสินค้าออกไปขาย การให้ความช่วยเหลือ การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด การรวมตัวกัน ทางธุรกิจระหว่างประเทศ การตกลงเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างรัฐบาล การตกลง แลกเปลี่ยนสินค้า การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การจ่ายเงินอุดหนุน การกําหนด ราคาสินค้าโดยรัฐบาล

2. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ในยามสงคราม ได้แก่ การปิดล้อมฝั่ง การจัดทํารายชื่อ ผู้ต้องห้าม การกว้านซื้อสินค้า การควบคุมหรือยึดทรัพย์ของฝ่ายศัตรู

3. เครื่องมือทางเศรษฐกิจที่นํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม ได้แก่ นโยบายทางการค้า การกําหนดโควตาและการออกใบอนุญาต

36. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
(1) ขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน
(2) ตัดสินใจสังหารผู้นําทางทหารของอิหร่าน
(3) สร้างกําแพงชายแดนเพื่อกีดกันแรงงานต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย
(4) ต่อต้านกีดกันไม่คบค้าซื้อขายอาวุธกับชาติอาหรับใด ๆ
(5) กดดันผู้นํายูเครนให้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองแลกความช่วยเหลือ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) บทบาทของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. ขึ้นภาษีนําเข้าเหล็กและถ่านหิน
2. ตัดสินใจสังหารผู้นําทางทหารของอิหร่าน
3. ตัดสินใจขายอาวุธให้กับชาติอาหรับ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจอร์แดน
4. กดดันผู้นํายูเครนให้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองแลกความช่วยเหลือ
5. สร้างกําแพงชายแดนเพื่อกีดกันแรงงานต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย

37. ข้อใดเป็นหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(2) ให้การประกันแก่นักลงทุนต่างชาติ
(3) ป้องกันการลดค่าเงิน
(4) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(5) วางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน
ตอบ 3 หน้า 173, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีดังนี้
1. เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ
2. เพื่ออํานวยความสะดวกให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างสมดุล
3. เพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้ยืมเงินไปแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องของการเงินภายในประเทศ
4. เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกในการปรับปรุงฐานะดุลการชําระเงิน ให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกอื่น ๆ เช่น การตั้งข้อจํากัดทางการค้าและการชําระเงิน
5. เพื่อสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยการควบคุมอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่ให้ผันผวน และป้องกันการลดค่าเงิน
6. เพื่อลดการขาดดุลชําระเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ (ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ)

38. การที่ผลตอบแทนของความร่วมมือระหว่างประเทศต่ำสะท้อนข้อเท็จจริงข้อใด
(1) สมาชิกน้อย
(2) ต้นทุนต่ำ
(3) สมาชิกมาก
(4) ต้นทุนสูง
(5) ผลตอบแทนสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

39. อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ หมายถึงข้อใด
(1) บุคลิกลักษณะของผู้นํา
(2) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(3) ขนาดกองทัพและขีดความสามารถในการรบ
(4) ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุทรัพยากร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 211, (คําบรรยาย) อํานาจของรัฐในทางสังคมระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. อํานาจที่มองเห็นได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางการทหาร ขนาดกองทัพและขีดความสามารถ ในการรบ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น 2. อํานาจที่มองเห็นได้ไม่ชัด เช่น บุคลิกลักษณะของผู้นํา ลักษณะประจําชาติต่าง ๆ ขวัญและ วินัยของประชาชนในชาติ เป็นต้น

40. “รัฐขั้นแรก” ตามแนวทางของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือรัฐประเภทใด
(1) รัฐที่เริ่มมีอุตสาหกรรมพื้นฐาน
(2) รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
(3) รัฐที่ผู้นําไม่มีความรู้ความชํานาญในงาน
(4) รัฐที่เน้นผลิตผลทางเกษตรกรรม
(5) รัฐที่มีอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศอยู่บ้าง
ตอบ 2 หน้า 200 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) เห็นว่า ทุกรัฐในสังคม ระหว่างประเทศจะผ่านขั้นตอน 3 ขั้นในการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ดังนี้
ขั้นแรก คือ รัฐที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
ขั้นที่สอง คือ รัฐที่เริ่มมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมบ้างแล้ว
ขั้นที่สาม คือ รัฐที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับเต็มที่

41. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้
ในยามสงคราม
(1) กําแพงภาษี
(2) การกีดกันทางการค้า
(3) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม
(4) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(5) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

42. ข้อใดไม่สะท้อนถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(1) การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
(2) การเปิดกว้างทางการค้าและการแข่งขันเสรี
(3) การส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างชาติ
(4) การให้เงินอุดหนุน “ชิมช้อปใช้
(5) การสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ตัวอย่างมาตรการและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค การส่งเสริมการท่องเที่ยว จากต่างชาติ การซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน การเปิดกว้างทางการค้าและการแข่งขันเสรี ฯลฯ

43. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ
(1) ควรให้มีรัฐเข้ามาร่วมมือกันให้มากที่สุด
(2) ผลตอบแทนต้องเท่าเทียมกันเสมอ
(3) ผลตอบแทนไม่ต้องสูงก็ได้
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 121, (คําบรรยาย) ความร่วมมือระหว่างประเทศ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. ความร่วมมือที่ดําเนินงานตามกรอบข้อตกลงร่วมกันนั้นจะเป็นไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อ
มีจํานวนประเทศน้อย
2. จํานวนประเทศที่เข้ามาร่วมมือกันนั้นไม่สามารถกําหนดจํานวนได้แน่นอนว่าควรจะเป็น เท่าใด ขึ้นอยู่กับสภาพหรือธรรมชาติของปัญหาของความร่วมมือนั้น
3. หากประเทศที่เข้ามาร่วมมือกันมีจํานวนมาก ความร่วมมือจะยังคงอยู่ต่อไปได้ก็ต่อเมื่อ ผลตอบแทนจากความร่วมมือนั้นต่ำ เพราะผลตอบแทนต่ำสะท้อนถึงต้นทุนที่ต่ำ
4. ความร่วมมือควรนําไปสู่การที่ทุกประเทศได้ผลตอบแทน แต่ไม่จําเป็นว่าทุกประเทศ จะต้องได้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมกันเสมอไป และผลตอบแทนไม่จําเป็นต้องสูง ฯลฯ

44. ในยุคสงครามเย็นสหรัฐกับจีนกระชับความสัมพันธ์กันผ่านการทูตทางกีฬาประเภทใด
(1) บาสเกตบอล
(2) ยิมนาสติก
(3) ปิงปอง
(4) แบดมินตัน
(5) วอลเลย์บอล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

45. การศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเชื่อว่าเป็นการอธิบายกรณีใด
(1) การค้าสําเภา
(2) สงครามระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา
(3) การขยายอํานาจทางทะเลของเอเธนส์
(5) การขยายอํานาจของเปอร์เซีย
(4) ระบบบรรณาการจีน
ตอบ 2 หน้า 76 – 77 การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งแรกเป็นการอธิบายกรณีสงคราม ระหว่างเอเธนส์-สปาร์ตา หรือเรียกว่า สงครามเพโลโพนีเซียน (Peloponesian) ซึ่งเกิดขึ้น ในยุคกรีกโบราณระหว่างปี 431 – 404 ก่อนคริสตกาล โดยชูซิดิดิส (Thucydides) นักปรัชญา กรีกโบราณ ได้อธิบายถึงสาเหตุของสงครามว่าเกิดจากความไม่สมดุลของอํานาจระหว่างเอเธนส์ และสปาตาร์ ซึ่งสปาตาร์หวาดระแวงว่าในระยะยาวเอเธนส์จะมีอํานาจเหนือกว่าตน และเอเธนส์จะเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีและทําให้สปาตาร์พ่ายแพ้ ดังนั้นสปาตาร์จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นสปาตาร์จึงต้องโจมตีเอเธนส์ก่อน

46. ปัจจัยใดมีส่วนทําให้เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
(1) การสังหารผู้นําทหารของอิหร่าน
(2) การถอนกําลังทหารของมหาอํานาจจากภูมิภาค
(3) การขายอาวุธของสหรัฐอเมริกา
(4) การรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 37 – 39, (คําบรรยาย) ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และปัจจุบันก็ยังไม่ยุติ โดยปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมทําให้เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง มีหลายประการ เช่น ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก ความต้องการทรัพยากรน้ํามัน การตั้งถิ่นฐาน ของกลุ่มไซออนส์ การรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกา การถอนกําลังทหารของสหรัฐอเมริกาจาก ภูมิภาค การสังหารผู้นําทหารของอิหร่าน การขายอาวุธของสหรัฐอเมริกาให้กับชาติอาหรับ เป็นต้น

47. ชาติใดที่กลายเป็นมหาอํานาจโลกได้ชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐ
(3) รัสเซีย
(4) ฝรั่งเศส
(5) เยอรมนี
ตอบ 1 หน้า 79, (คําบรรยาย) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นการเปลี่ยนแปลง ระบบและวิธีการผลิตจากการใช้แรงงานคนหรือสัตว์มาใช้เครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อนและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้การผลิตทําได้จํานวนมากภายในระยะเวลาที่สั้น โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกและส่งผลให้อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจโลกเป็นชาติแรกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

48. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของนักการทูต
(1) การมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย
(2) การเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศที่สถานทูตไปตั้งอยู่
(3) การรวบรวมข่าวสารและทํารายงานเสนอรัฐบาล
(4) การให้ความช่วยเหลือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ
(5) การเป็นตัวแทนของประเทศ
ตอบ 2 หน้า 67 – 72 บทบาทและหน้าที่ของนักการทูต มีดังนี้
1. ให้ความช่วยเหลือและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในชาติ
2. เป็นตัวแทนของประเทศ
3. รวบรวมข่าวสารและทํารายงานเสนอรัฐบาล
4. มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย

49. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลาง (Heartland) เป็นการศึกษา
แนวทางใด
(1) พฤติกรรม
(2) นโยบาย
(3) ภูมิรัฐศาสตร์
(4) อํานาจ
(5) จิตวิทยา
ตอบ 3 หน้า 9 – 10 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแนวภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Approach) คือ การศึกษาที่ให้ความสําคัญกับสภาวะแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่ตั้ง พื้นที่ ขนาดของประเทศ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการกระทําของรัฐ รวมทั้ง ฐานะความเป็นมหาอํานาจและการกําหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐ เช่น การศึกษาของ ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ (Halford Mackinder) ที่ให้ความสําคัญกับดินแดนใจกลางทวีป (Heartland) โดยเห็นว่า “ผู้ใดควบคุมยุโรปตะวันออกผู้นั้นครองดินแดนใจกลางทวีป ผู้ใดควบคุมดินแดนใจกลางทวีปผู้นั้นครองเกาะโลก ผู้ใดควบคุมเกาะโลกผู้นั้นครองโลก”

50. แหล่งเงินทุนให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาจากที่ใด
(1) เงินตราต่างประเทศที่ผูกไว้กับทองคํา
(2) กู้ยืมจากประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ
(3) การขายหุ้นในกองทุนต่าง ๆ
(4) กําไรจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
(5) การชําระเงินค่าโควตาของสมาชิก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) แหล่งเงินทุนให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาจากการชําระเงิน ค่าโควตาของประเทศสมาชิก ดังนั้นความสามารถในการให้กู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจึงกําหนดโดยโควตารวมของประเทศสมาชิกเป็นหลัก

51. ข้อตกลงใดลงนามเพื่อรับรู้ความจําเป็นในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศโดยยึดหลักความเสมอภาค
ระหว่างรัฐทั้งมวลที่รักสันติภาพ
(1) กฎบัตรแอตแลนติก
(2) ปฏิญญาระหว่างประเทศสัมพันธมิตร
(3) ปฏิญญามอสโคว์
(4) ข้อตกลงยัลต้า
(5) ปฏิญญาสหประชาชาติ
ตอบ 3 หน้า 164 ปฏิญญามอสโคว์ (Moscow Declaration) เป็นข้อตกลงเพื่อรับรู้ความจําเป็นใน การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศโดยยึดหลักความเสมอภาคระหว่างรัฐทั้งมวลที่รักสันติภาพ ซึ่งในปฏิญญานี้เป็นการลงนามร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ สหภาพโซเวียต อังกฤษ สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหรัฐอเมริกา

52. ประเทศใดเป็นสมาชิกล่าสุดของสหประชาชาติ
(1) ลิทัวเนีย
(2) ซูดานใต้
(3) ชิลี
(4) จอร์แดน
(5) ไนจีเรีย
ตอบ 2 หน้า 163 – 164, (คําบรรยาย) องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ก่อตั้งขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ติมอร์-เลสเต มอนเตเนโกร ฯลฯ โดยมี ประเทศซูดานใต้หรือเซา ซูดาน (South Sudan) เข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2011

53. การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขหรือผู้นําสูงสุดของประเทศเรียกว่าอะไร
(1) Head Diplomacy
(2) Leadership Diplomacy
(3) Ad hoc Diplomacy
(4) State Diplomacy
(5) Summit Diplomacy
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Summit Diplomacy คือ การทูตที่เป็นการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุข หรือผู้นําสูงสุดของประเทศ

54. ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค
(1) บังกลาเทศ
(2) ไต้หวัน
(3) ปาปัวนิวกินี
(4) รัสเซีย
(5) เม็กซิโก
ตอบ 1 หน้า 186, (คําบรรยาย) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มีสมาชิกทั้งหมด 21 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี และเปรู

55. ประเทศใดไม่เคยได้เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
(1) ทาจิกิสถาน
(2) คาซัคสถาน
(3) เติร์กเมนิสถาน
(4) อุซเบกิสถาน
(5) อัฟกานิสถาน
ตอบ 5 หน้า 90 ประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1991) ได้แก่ อาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan), เบลารุส (Belarus), เอสโตเนีย (Estonia), จอร์เจีย (Georgia), คาซัคสถาน (Kazakhstan), คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan), ลัตเวีย (Latvia), ลิทัวเนีย (Lithuania), มอลโดวา (Moldova), รัสเซีย (Russia), ทาจิกิสถาน (Tajikistan), เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan), ยูเครน (Ukraine) และอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)

56. วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีลักษณะเป็นสหวิทยาการแต่ไม่ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านใด
(1) อายุรเวช
(2) ภูมิศาสตร์
(3) เศรษฐศาสตร์
(4) ประวัติศาสตร์
(5) นิติศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) เป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ (Political Science) และมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) คือ มีเนื้อหาสาระกว้างขวางครอบคลุมองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น

57. พลวัตในสังคมระหว่างประเทศมีส่วนทําให้เกิดสภาวะเช่นไรในศตวรรษที่ผ่านมา
(1) ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวร
(2) สันติภาพยาวนาน
(3) อนาธิปไตย
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 195 ความเป็นพลวัตหรือความไม่อยู่นิ่ง (Dynamic) ของสังคมระหว่างประเทศ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และเกิดขึ้นในสังคมระหว่างประเทศนั้นมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามโอกาสและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้สังคมระหว่างประเทศไม่อาจมี “มิตรแท้ และศัตรูถาวร” ได้นาน เช่น กรณีเยอรมนีกับฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นศัตรูกันอย่างรุนแรง ตลอดมาจนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กลับมาเป็นมิตรกันเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้กับยุโรปตะวันตก เป็นต้น

58. ความร่วมมือแบบพันธมิตรต่างจากการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition) ในข้อใด
(1) การป้องปราม
(2) การต่อต้านตัวแสดงอื่น
(3) การร่วมป้องกัน
(4) มีความขัดแย้งกับตัวแสดงอื่น
(5) ความเป็นสถาบัน
ตอบ 5 หน้า 125, (คําบรรยาย) ความร่วมมือแบบพันธมิตร (Alliance) คือ กลุ่มผสมผสานของรัฐ ที่เข้ามาร่วมทํางานประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความร่วมมือแบบ พันธมิตรนั้นจะมีช่วงระยะเวลาที่ยาว มีความเป็นทางการมาก มีความเป็นสถาบัน มีระเบียบ กระบวนการบริหารและแนวทางการทํางาน มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กว้างกว่าความร่วมมือแบบการรวมกลุ่มประเทศ (Coalition)

59. วิกฤติการณ์คิวบาเกิดขึ้นในปีใด
(1) ค.ศ. 1960
(2) ค.ศ. 1961
(3) ค.ศ. 1962
(4) ค.ศ. 1963
(5) ค.ศ. 1964
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

60. ข้อใดเกี่ยวข้องกับระบอบด้านการแก้ไขปัญหาสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง
(1) International Atomic Energy Agency
(2) UNICEF
(3) COP26
(4) Non-Proliferation Treaty
(5) UNESCO
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

61. ผู้นําสหภาพโซเวียตคนใดที่ให้ความสําคัญกับการทหารว่าเป็นส่วนสําคัญในอํานาจของรัฐ
(1) เลนิน
(2) สตาลิน
(3) ปูติน
(4) ครุสชอฟ
(5) กอร์บาชอฟ
ตอบ 2 หน้า 201 นักวิชาการและรัฐบุรุษทางการเมืองระหว่างประเทศที่คํานึงถึงอํานาจของรัฐในรูป ของอํานาจทางการทหาร ได้แก่ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) อดีตผู้นําสหภาพโซเวียต และนิโคโล มาเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli)

62. สนธิสัญญาใดว่าด้วยการยอมแพ้ของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) สนธิสัญญาปารีส
(2) สนธิสัญญาเบอร์ลิน
(3) สนธิสัญญาเวียนนา
(4) สนธิสัญญาแวร์ซายส์
(5) สนธิสัญญาตริอานอง
ตอบ 4 หน้า 85 สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Versailles Treaty) เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการยอมแพ้ของ เยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผลของสนธิสัญญาทําให้เยอรมนีต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นค่าปฏิกรรมสงครามจํานวนมาก และต้องเสียดินแดนหลายแห่ง

63. ข้อเลือกข้อใดเป็นหน้าที่ของธนาคารโลก
(1) ให้สมาชิกกู้ยืมเงินไปพัฒนาประเทศ
(2) ดูแลให้สมาชิกมีระบบแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ
(3) การขายหุ้นในกองทุนต่าง ๆ
(4) มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(5) แก้ไขการตกต่ําของเศรษฐกิจโลก
ตอบ 1. 4 หน้า 170, 222 วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคาร เพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) มีดังนี้
1. เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยให้สมาชิกกู้ยืมเงินเพื่อบูรณะพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ
2. เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทําการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้น การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. เพื่อสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศกําลังพัฒนา รวมทั้ง ยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก
4. เพื่อให้บริการด้านความรู้และคําแนะนําเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและการบริหารการเงิน

64. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้ทั้งในยามสันติและสงคราม
(1) การกําหนดโควตาและออกใบอนุญาต
(2) การงดส่งสินค้าออกไปขาย
(3) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(4) การกําหนดราคาสินค้าโดยรัฐบาล
(5) การกว้านซื้อสินค้า
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

65. ข้อใดถือเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) เป็นทางการ
(2) ไม่เป็นทางการ
(3) ความร่วมมือ
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 4 – 5 ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะความร่วมมือหรือขัดแย้ง
3. ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน

66. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก
(1) กําหนดขอบเขตและมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
(2) การเปิดตลาดด้วยการลดภาษี
(3) ตอบโต้การทุ่มตลาดเพื่อกีดกันการค้าอย่างไม่เป็นธรรม
(4) อนุญาตให้ประเทศสมาชิกตรวจสอบมาตรฐานสินค้าได้ตามต้องการ
(5) ปรับเปลี่ยนการใช้มาตรการภาษีศุลกากร
ตอบ 4 หน้า 175 – 176 ข้อตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกที่สําคัญประการหนึ่งก็คือ ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรฐานการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยอนุญาตให้ประเทศสมาชิกกําหนด
ระดับความปลอดภัยและการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านําเข้าได้ แต่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อป้องกันมิให้แต่ละประเทศกําหนดมาตรฐานตามใจชอบซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้า

67. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) มากที่สุด
(1) ประชาชนเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด
(2) การปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด
(3) การมีรัฏฐาธิปัตย์
(4) อํานาจเป็นของกลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคล
(5) การปราศจากซึ่งสงครามและความขัดแย้ง
ตอบ 2 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่าง ประเทศปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษา กฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งปกป้องสิทธิของสมาชิกในสังคมระหว่าง ประเทศ จึงทําให้สังคมระหว่างประเทศอาจเกิดสภาวะยุ่งเหยิง วุ่นวาย และความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ เพราะแต่ละรัฐจะดําเนินนโยบายตามที่แต่ละรัฐต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์สูงสุดของรัฐนั้น ๆ

68. ข้อเลือกข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
(1) การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(2) สิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน
(3) บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน
(5) การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล
(4) การแต่งงานระหว่างคนต่างชาติ
ตอบ 4 หน้า 14, 129, (คําบรรยาย) กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างรัฐที่ต้องปฏิบัติต่อกัน ในฐานะที่รัฐต่าง ๆ เป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับเขตแดน การปักปันเขตแดนให้ถูกต้องตามหลักสากล การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตหรือทูตระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เป็นต้น

69.Status Quo คือ นโยบายต่างประเทศในลักษณะใด
(1) นโยบายการรักษาสถานะความเป็นกลางของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ
(2) นโยบายการรักษาสถานะความชอบธรรมของรัฐในเวทีระหว่างประเทศ
(3) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการเพิ่มอํานาจให้รัฐตน
(4) นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ
(5) นโยบายการเปลี่ยนสถานะระหว่างประเทศโดยการลดอํานาจของรัฐตน
ตอบ 4 หน้า 211 นโยบายการรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่างประเทศ (Policy of the Status Quo) หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอํานาจและทรัพยากรธรรมชาติในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติของตน โดยประเทศที่มักจะใช้นโยบาย ลักษณะนี้จะเป็นประเทศมหาอํานาจ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เป็นต้น

70. ประเทศใดไม่เคยรบกับจีนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเลย
(1) เกาหลีเหนือ
(2) รัสเซีย
(3) อังกฤษ
(4) ญี่ปุ่น
(5) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเทศที่เคยรุกรานและรบกับจีนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย และญี่ปุ่น

71. ข้อเลือกข้อใดไม่ใช่ระบบ “Bretton Woods”
(1) ผูกระบบเงินตราต่างประเทศไว้กับทองคํา
(2) ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
(3) ใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเชื่อมการขาดดุลชั่วคราว
(4) ใช้แก้ปัญหาในการชําระเงินล่าช้า
(5) ปัจจุบันระบบเบรตตัน วูดส์สิ้นสุดไปแล้วทําให้มีการลอยตัวของเงินสกุลต่าง ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบ Bretton Woods เป็นผลมาจากการประชุมปฏิรูประบบการเงิน ระหว่างประเทศที่เมืองเบรตตัน วูดส์ มลรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ของตัวแทนประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นผู้ชนะสงคราม โดยระบบ Bretton Woods มีลักษณะสําคัญดังนี้ 1. เป็นการใช้นโยบายทางการเงินเพื่อเชื่อมการขาดดุลชั่วคราว 2. ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ 3. ผูกระบบเงินตราต่างประเทศไว้กับทองคํา 4. ปัจจุบันระบบเบรตตัน วูดส์สิ้นสุดไปแล้วทําให้มีการลอยตัวของเงินสกุลต่าง ๆ

72. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มบริคส์ (BRICS)
(1) อินเดีย
(2) รัสเซีย
(3) จีน
(4) บราซิล
(5) สิงคโปร์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัย เศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G-7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

73. การดําเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนเกิดขึ้นในยุคของผู้นําจีนคนใด
(1) สีจิ้นผิง
(2) เติ้งเสี่ยวผิง
(3) เหมาเจ๋อตง
(4) เจียงเจ๋อหมิน
(5) หูจิ่นเทา
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) การดําเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศของจีนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1978 ในยุคของผู้นําเติ้งเสี่ยวผิง โดยแนวคิดสําคัญของการปฏิรูปนี้คือการรื้อถอนเศรษฐกิจจาก ส่วนกลางซึ่งก่อนหน้านี้รัฐเป็นผู้ควบคุมทั้งหมด และหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เปิดให้เกิดการลงทุนของเอกชนภายในประเทศและทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้ จีนกลายเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจจนถึงทุกวันนี้

74. การกระทําของรัฐในข้อใดไม่มีผลประโยชน์ระหว่างประเทศให้แก่รัฐ
(1) การปราบปรามแหล่งผลิตหนังสือเดินทางปลอม
(2) การปกป้องกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศจากการแข่งขันในระดับโลก
(3) การกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง
(4) การเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน
(5) การร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ผลประโยชน์ระหว่างประเทศ (International Interest) เป็นผลประโยชน์ที่ รัฐไม่สามารถบรรลุได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐในการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นการกระทําของรัฐที่ถือว่าเป็นการสร้างเสริมผลประโยชน์ระหว่างประเทศให้แก่รัฐ จึงได้แก่ การเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน การปราบปรามแหล่งผลิตหนังสือเดินทางปลอม การกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง การร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ เป็นต้น

75. ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐไม่รวมถึงข้อใด
(1) อุดมการณ์ของชาติ
(2) ความกินดีอยู่ดี
(3) อํานาจ
(4) เกียรติภูมิ
(5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 19 – 20 ชาร์ล โอ. เลอร์ช และอับดุล เอ. ไซอิด (Charles O. Learche and Abdul A. Said) เสนอว่า ผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐประกอบด้วยปัจจัยสําคัญ 6 ประการ คือ
1. การดํารงรักษาความเป็นชาติ
2. ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
3. การแสวงหาความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ
4. การเสริมสร้างเกียรติภูมิของชาติ
5. การเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ
6. การแสวงหาอํานาจ

76. ปัจจัยใดมีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของชาติน้อยที่สุด
(1) ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ
(2) เครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็ง
(3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อยอด
(4) มาตรฐานความเป็นอยู่และการศึกษา
(5) โครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่เข้มแข็ง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถของชาติ ได้แก่ ระบบการเมือง ที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจและภาคการผลิตที่ เข้มแข็ง มาตรฐานการศึกษาและความเป็นอยู่ของประชาชน ความเปิดกว้างในระบบเศรษฐกิจ และสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อยอด ระบบการขนส่งและท่าเรือน้ําลึก เป็นต้น ส่วนเครือข่ายนายทหารที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมศักยภาพและความสามารถ ของชาติน้อยที่สุดหรืออาจจะไม่มีผลใด ๆ เลย

77. องค์กรใดไม่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศเลย
(1) สหประชาชาติ
(2) อาเซียน
(3) สหภาพยุโรป
(4) องค์การการค้าโลก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 40 – 41, (คําบรรยาย) เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งในผลประโยชน์ระหว่างประเทศขึ้น แนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือ ให้องค์การระหว่างประเทศเข้ามาช่วยลดความขัดแย้ง โดยองค์การระหว่างประเทศที่มีส่วนช่วยลดความขัดแย้งระหว่างประเทศนั้น มีทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เช่น สหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), สหภาพยุโรป (EU), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

78. การทูตเรือปืน หมายถึงการทูตในลักษณะใด
(1) การเจรจาการทูตบนเรือรบ
(2) การเจรจาต่อรองการเป็นมหาอํานาจทางทะเล
(3) การที่ประเทศที่แข็งแรงบีบบังคับประเทศที่อ่อนแอกว่า
(4) การทูตที่ประเทศอ่อนแอใช้ตอบโต้ประเทศที่แข็งแรงกว่า
(5) การแข่งขันทางอํานาจของกองทัพเรือโดยใช้อาวุธ
ตอบ 3 หน้า 219 นโยบายการทูตเรือปืน (Gunboat Diplomacy) เป็นการดําเนินนโยบายต่างประเทศของชาติมหาอํานาจหรือชาติที่เข้มแข็งกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทหาร ในการบีบบังคับ ให้ชาติที่อ่อนแอกว่าทําหรือไม่ทําการใด ๆ ตามความต้องการของตน ซึ่งเป็นวิธีการดําเนิน นโยบายต่างประเทศของชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม หรือในกรณีเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับให้สยามยอมเสียดินแดนบางส่วนในอินโดจีนให้กับฝรั่งเศส เป็นต้น

79. ข้อเลือกข้อใดไม่ได้เป็นสาเหตุให้อังกฤษถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
(1) ไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกภาพอย่างเต็มรูปแบบ
(2) นโยบาย Open-door Policy สําหรับผู้ลี้ภัย
(3) ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
(4) รักสันติภาพและปกป้องประชาชนของสหราชอาณาจักร
(5) ในอดีตอังกฤษมีความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้อังกฤษถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่
1. อังกฤษไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกภาพอย่างเต็มรูปแบบ
2. นโยบาย Open-door Policy สําหรับผู้ลี้ภัย
3. ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
4. ในอดีตอังกฤษมีความขัดแย้งกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในสหภาพยุโรป

80. การเพิ่มจํานวนประเทศในโลกของเราเป็นผลมาจาก
(1) การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(2) การปลดปล่อยอาณานิคม
(3) แนวคิดเรื่องชาตินิยม
(4) การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 189 – 190, (คําบรรยาย) สาเหตุสําคัญที่ทําให้สมาชิกในสังคมระหว่างประเทศ หรือจํานวนประเทศในโลกของเราเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน มีดังนี้
1. การที่รัฐอธิปไตยเดิมถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายรัฐ หรือส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยนั้น แยกตัวเป็นอิสระจากรัฐอธิปไตยเดิม
2. การปลดปล่อยอาณานิคม ซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งของความรู้สึกชาตินิยมของประชาชน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาติอื่น และอุดมการณ์เกี่ยวกับการให้ชาติต่าง ๆ กําหนด การปกครองด้วยตนเอง
3. การล่มสลายของยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต และจักรวรรดิออตโตมาน

81. สหประชาชาติได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ใด
(1) 1918
(2) 1941
(3) 1945
(4) 1980
(5) 2001
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

82. ข้อใดถือว่าเป็นสิ่งที่ทําให้อาเซียนมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
(1) กําหนดสัญลักษณ์ของอาเซียน
(2) มีการเจรจาระหว่างคู่พิพาท
(3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน
(4) ใช้การลงมติในลักษณะฉันทามติ
(5) มีองค์กรสิทธิมนุษยชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่ทําให้อาเซียนมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ การใช้หลักฉันทามติ (Consensus) ในการลงมติหรือตัดสินใจในญัตติต่าง ๆ ของอาเซียน โดยอาศัยความเห็นชอบ ของผู้แทนรัฐสมาชิกทั้งหมดเป็นฉันทานุมัติ

83. “ชาติมหาอํานาจ” ในความหมายของ เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี คือชาติในข้อใด
(1) ชาติที่มีพัฒนาการในอุตสาหกรรมชั้นสูง
(2) ชาติที่มีกองทัพขนาดใหญ่พร้อมอาวุธสมรรถนะสูง
(3) ชาติที่มีประชากรมากกว่า 100 ล้านคน
(4) ชาติทมิ ติที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าประเทศเพื่อนบ้านรวมกัน
(5) ชาติที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ตอบ 1 หน้า 200 – 201 เอ. เอฟ. เค. ออร์แกนสกี (A. F. K. Organski) ได้จัดแบ่งประเภทของรัฐ ตามระดับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ชาติเล็ก คือ ชาติที่ยังไม่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม เป็นชาติเกษตรกรรม
2. ชาติขนาดกลาง คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่
3. ชาติมหาอํานาจ คือ ชาติที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วอย่างเต็มที่ หรือมีพัฒนาการ ในอุตสาหกรรมชั้นสูง

84. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่ม G-20
(1) ซาอุดีอาระเบีย
(2) เม็กซิโก
(3) ตุรกี
(4) อาร์เจนตินา
(5) อียิปต์
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) ประเทศกลุ่ม G-20 ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

85. ข้อใดที่ไม่ใช่ตัวแสดงที่เป็นองค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐ
(1) Amnesty International
(2) Human Rights Watch
(3) Unilever
(4) Greenpeace
(5) Oxfam
ตอบ 3 หน้า 22, 159 องค์การที่ไม่อยู่ในภาครัฐหรือองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เป็นองค์การ ระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรัฐบาล (INGOs) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยข้อตกลงของเอกชนโดยไม่หวัง ผลกําไร และเน้นอุดมการณ์ที่ให้ความสําคัญกับภาคประชาชนเป็นหลัก โดยองค์การประเภทนี้ จะได้รับเงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ มีอาสาสมัครทํางาน มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกําหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณประโยชน์ เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การ นิรโทษกรรมสากล (Amnesty International), องค์การกาชาดสากล (The International Red Cross), องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA), องค์การออกแฟม (Oxfam), กรีนพีซ (Greenpeace) เป็นต้น (ส่วน Unilever เป็นตัวแสดงที่เป็นบรรษัทข้ามชาติ)

86. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ
(1) สิ่งแวดล้อม
(2) ผู้โฆษณาชวนเชื่อ
(3) สัญลักษณ์
(4) สื่อที่ใช้
(5) กลุ่มเป้าหมายที่จะถูกโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 1 หน้า 62 – 63 องค์ประกอบของการโฆษณาชวนเชื่อ มี 4 ประการ คือ
1. ตัวผู้ทําการโฆษณาชวนเชื่อ หรือผู้แทนที่มีความปรารถนาหรือตั้งใจที่จะเปลี่ยน ท่าที ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลอื่น
2. สัญลักษณ์ในการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นการพูด การเขียน หรือพฤติกรรมที่ใช้ โดยตัวผู้ทําการโฆษณาชวนเชื่อ
3. สื่อที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ
4. กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายที่จะถูกโฆษณาชวนเชื่อ

87. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนปัจจุบัน ได้แก่
(1) นายดอน ปรมัตถ์วินัย
(2) นายสิระ เจนจาคะ
(3) นายไพบูลย์ นิติตะวัน
(4) นายจุติ ไกรฤกษ์
(5) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรี, นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายธานี ทองภักดี เป็นปลัดกระทรวง

88. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจในการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เครื่องมือใดนํามาใช้ในยามสันติ
(1) การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา
(2) การกว้านซื้อสินค้า
(3) การปิดล้อมฝั่ง
(4) การจัดทํารายชื่อผู้ต้องห้าม
(5) การยึดทรัพย์ของศัตรู
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

89. ในการตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศ รัฐควรให้ความสําคัญกับผลประโยชน์เรื่องใดมากที่สุด
(1) ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ
(2) ผลประโยชน์ด้านวัฒนธรรม
(3) ผลประโยชน์ด้านการเมือง
(4) ผลประโยชน์ด้านความมั่นคงอยู่รอด
(5) ผลประโยชน์ด้านอุดมการณ์
ตอบ 4 หน้า 207 – 208 การตัดสินใจกําหนดนโยบายต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและ เสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ความมั่นคงอยู่รอด ปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง อุดมการณ์ วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งแต่ละรัฐจะให้ความสําคัญกับ ผลประโยชน์ในแต่ละด้านแตกต่างกันออกไป โดยผลประโยชน์ที่รัฐควรให้ความสําคัญ มากที่สุดก็คือ ความมั่นคงอยู่รอดปลอดภัยของรัฐ

90. เงื่อนไขสําคัญที่ทําให้องค์การสหประชาชาติมีลักษณะความไม่เท่าเทียมกันคือกลไกลในข้อใด
(1) ความเป็นอนาธิปไตยของชาติสมาชิก
(2) การใช้อํานาจในการวีโต้ (Veto)
(3) โครงสร้างการจัดการบริหารองค์กร
(4) มาตรการแทรกแซงทางเศรษฐกิจ
(5) การคัดเลือกประเทศสมาชิกเข้าเป็นกองกําลังรักษาสันติภาพ
ตอบ 2 หน้า 191 – 192 ในสังคมระหว่างประเทศนั้นความเท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กร สมัชชาสหประชาชาติ ซึ่งทุก ๆ รัฐมี 1 เสียงเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้านใด ส่วนความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรัฐจะปรากฏในองค์กรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ เนื่องจากมีเฉพาะสมาชิกถาวรซึ่งเป็นชาติมหาอํานาจ 5 ประเทศเท่านั้นที่มีอํานาจพิเศษใน การออกเสียงยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ไม่มี

91. ข้อใดคือบทบาทหน้าที่ขององค์การการค้าโลก
(1) ปรับปรุงดุลการชําระเงินให้ดีขึ้น
(2) พัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(3) ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
(4) จัดตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศ
(5) เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ตอบ 5 หน้า 175 บทบาทและหน้าที่ขององค์การการค้าโลก มีดังนี้
1. บริหารความตกลงและบันทึกความเข้าใจที่เป็นผลจากการเจรจาในกรอบของ GATT/WTO
ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
2. เป็นเวทีเพื่อเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกําลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อเสนอแนะ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ
ตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ
4. ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อให้นโยบายทางเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น ฯลฯ

92. หลักการใดในสังคมระหว่างประเทศยืนยันว่า “รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกัน”
(1) หลักพฤตินัย
(2) หลักอํานาจ
(3) หลักกฎหมาย
(4) หลักเอกภาพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 191 ในสังคมระหว่างประเทศรัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันอันเป็นผลมาจากหลักการ ทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอํานาจอธิปไตย แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริง กลับไม่มีความเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลที่รัฐต่าง ๆ มีอยู่อย่างแตกต่างกันในอันที่จะ
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมระหว่างประเทศ

93. ข้อเลือกข้อใดเป็นหลักพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
(1) ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
(2) เคารพซึ่งกันและกันในเอกราชอธิปไตย
(3) สามารถแทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
(4) บังคับให้สมาชิกปฏิบัติตามข้อบังคับ
(5) มุ่งเน้นการทําให้เกิดระบบการใช้เงินสกุลเดียวในอาเซียน
ตอบ 1, 2 (คําบรรยาย) หลักพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน มีดังนี้
1. การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดน และเอกลักษณ์ประจําชาติของทุกชาติ
2. การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
3. การระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
4. การยึดหลักฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจและกําหนดนโยบาย ฯลฯ

94. ความร่วมมือแบบระบอบ (Regime) ไม่มีลักษณะเกี่ยวกับข้อใด
(1) เวทีเจรจา
(2) กติกา
(3) กฎเกณฑ์
(4) บรรทัดฐาน
(5) ป้องกันกาฝากได้
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

95. การศึกษาการทํางานของอาเซียนจัดเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสาขาใด
(1) องค์การระหว่างประเทศ
(2) การเมืองระหว่างประเทศ
(3) เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
(4) กฎหมายระหว่างประเทศ
(5) ประวัติศาสตร์การทูต
ตอบ 1 หน้า 14 : การศึกษาองค์การระหว่างประเทศ (International Organization) เป็นการศึกษา ที่เน้นหนักไปที่วิวัฒนาการ โครงสร้าง อํานาจและหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาท สําคัญในเวทีโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN), องค์การการค้าโลก (WTO), ธนาคารโลก (World Bank), สหภาพยุโรป (EU), เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA), อาเซียน (ASEAN) เป็นต้น

96. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
(1) มาจากจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
(3) มาจากสนธิสัญญาต่าง ๆ
(2) ไม่มีสภาพบังคับโทษกับทุกรัฐ
(4) มีสภาพบังคับลงโทษ
(5) ไม่มีการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ
ตอบ 4 หน้า 129 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ไม่พึ่งพาการใช้กําลังให้รัฐอยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมาย หรือกล่าวอีกนัยก็คือ เป็นกฎหมายที่ไม่มีสภาพบังคับลงโทษ (Sanction) จึงทําให้ สังคมระหว่างประเทศมีลักษณะสังคมอนาธิปไตย ซึ่งไม่มีอํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชา (ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ)

97. ในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจโดยการส่งสินค้าออกขายต่างประเทศในราคาถูกมากหรือขายในราคา ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเพื่อทําให้คู่แข่งอ่อนแอลง เรียกว่าวิธีการใด
(1) การตั้งกําแพงภาษีสินค้า
(2) การทุ่มสินค้า
(3) การกําหนดโควตา
(4) การกดดันราคาสินค้า
(5) การกีดกันทางการค้า
ตอบ 2 หน้า 55 การทุ่มสินค้า (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกมาก หรือขายในราคาต่ํากว่าต้นทุนการผลิต โดยมีเป้าหมายหลายประการ เช่น ทําให้สินค้าที่ตกค้างอยู่ สามารถขายยังต่างประเทศได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศตนเอง แนะนําสินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จักทําให้คู่แข่งขันอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด เป็นต้น

98. ประเทศใดในสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร
(1) เอสโตเนีย
(2) ไอร์แลนด์
(3) สวีเดน
(4) อังกฤษ
(5) เดนมาร์ก
ตอบ 1.2 (คําบรรยาย) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022) มี 19 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยียม ฟินแลนด์ สเปน ออสเตรีย ไอร์แลนด์ โปรตุเกส กรีซ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก สโลวีเนีย ไซปรัส มอลตา สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย

99. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ
(1) ประวัติศาสตร์
(2) การขยายอํานาจของประเทศ
(3) เกียรติภูมิของประเทศ
(4) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
(5) ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ
ตอบ 1 หน้า 25 – 30 ปัจจัยที่กําหนดผลประโยชน์แห่งชาติ ได้แก่
1. ความอยู่รอดและความปลอดภัยของประเทศ
2. ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
3. การขยายอํานาจของประเทศ
4. เกียรติภูมิของประเทศ

100. ใครที่กล่าวว่า “ในปัจจุบันไม่สามารถแยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป”
(1) ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ
(2) นิโคลัส สปิคแมน
(3) เรย์มอนด์ เอฟ. ฮอพกินส์
(4) เค. เจ. โฮลสติ
(5) มอร์ตัน เอ. แคปแลน
ตอบ 1 หน้า 209 ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า ในปัจจุบันเราไม่สามารถ แยกนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าการดําเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันมิได้กระทําด้วยเครื่องมือทางการทูตและทางอํานาจทาง ทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบ เป็นส่วนสําคัญด้วย

WordPress Ads
error: Content is protected !!