POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลของการเข้าร่วมทางการเมือง
(1) แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ที่ตนเองชื่นชอบ
(2) คํานึงถึงประโยชน์สูงสุด
(3) เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เกิด
(4) โกรธและตอบโต้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการเข้าร่วมทางการเมือง ได้แก่
1. ต้องเคารพบรรทัดฐานของระบอบประชาธิปไตย
2. เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เกิด
3. แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ที่ตนเองชื่นชอบ
4. การคํานึงถึงประโยชน์สูงสุด

2.คุณสมบัติของการมีส่วนร่วมคือข้อใด
(1) เข้าร่วมในกิจกรรมของสาธารณะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(2) ต้องสามารถตัดสินใจในการดําเนินกิจกรรมนั้นได้เท่านั้น
(3) มีสิ่งตอบแทนจากการเข้าร่วมในทางใดทางหนึ่ง
(4) ต้องรวมกลุ่มให้มีจํานวนเหมาะสม
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณสมบัติของการมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. เข้าร่วมในกิจกรรมของสาธารณะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2. เข้าร่วมในฐานะปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนหรือองค์กรประชาชน
3. กิจกรรมที่ถือเป็นการมีส่วนร่วม อาจเป็นไปได้ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมตัดสินใจ
4. เป็นการอาสา สมัครใจ เป็นต้น

3. ข้อใดคือจุดอ่อนของประชาธิปไตยแบบตัวแทน
(1) ผลประโยชน์ของตัวแทนไม่สอดคล้องกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
(2) ตัวแทนอาจไม่มีเจตจํานงเดียวกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
(3) ประชาชนไม่จําเป็นต้องติดตามเรื่องต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จุดอ่อนของประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) คือ
1. ผลประโยชน์ของตัวแทนไม่สอดคล้องกับประชาชนเจ้าของอํานาจ
2. ตัวแทนอาจไม่มีเจตจํานงเดียวกับประชาชนเจ้าของอํานาจ

4. กฎหมายคืออะไร
(1) เครื่องมือสร้างระเบียบการอยู่ร่วมกันของสังคม
(2) เครื่องมือลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตาม
(3) เครื่องมือแก้ปัญหาของสังคมโดยมีเจตนาเฉพาะ
(4) เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 2, (คําบรรยาย กฎหมาย คือ เครื่องมือในการสร้างระเบียบในการอยู่ร่วมกันของสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สังคมแต่ละสังคมสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมโดยมีเจตนา เฉพาะ และมีการบังคับใช้กับประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคกัน กฎหมายจึงควรคํานึงถึงผู้ที่จะ ถูกบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อรัฐหรือผู้ปกครองออกกฎหมายใด ๆ มาแล้ว การจับกุมลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามจะเป็นที่ยอมรับในเบื้องต้นของคนในสังคม ทั้งนี้เพราะกฎหมาย เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตาม

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตรากฎหมาย
(1) มาจากเจ้าของอํานาจอธิปไตยเท่านั้น
(2) ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนทุกคนเท่านั้น
(3) เป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
(4) ผ่านความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้แก่
1. การตรากฎหมาย
2. การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน (การตั้งกระทู้ถาม, การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ)
3. การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ (การประกาศสงคราม, การทําสัญญาระหว่างประเทศ)
4. การให้การรับรองตําแหน่งสําคัญ ฯลฯ

6. ขั้นตอนใดของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณารายละเอียดสาระของ
ร่างพระราชบัญญัติ
(1) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(2) เมื่อที่ประชุมเห็นชอบเนื้อหาแต่ละมาตราของพระราชบัญญัติแล้ว
(3) เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรรับร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้ว
(4) เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 2 ใน 3 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว
(5) เมื่อมีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเรียบร้อยแล้ว
ตอบ 1 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1
เป็นการพิจารณาหลักการทั่วไปของร่างพระราชบัญญัติว่าสมควรจะลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าที่ประชุมเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 คือการพิจารณาในรายละเอียดสาระของร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา แต่ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบหลักการ ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป

7.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จ
(1) ควบคุมกิจกรรมของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ ทุกกิจกรรม
(2) อ้างความชอบธรรมการใช้อํานาจผ่านเรื่องความมั่นคงของรัฐ
(3) ประชาชนต้องทําตามและแสดงความภักดีต่อรัฐ
(4) ให้อิสระกับสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของเผด็จการเบ็ดเสร็จ ได้แก่
1. ควบคุมกิจกรรมของประชาชนและสถาบันต่าง ๆ ทุกกิจกรรม
2. อ้างความชอบธรรมการใช้อํานาจผ่านเรื่องความมั่นคงของรัฐ
3. ประชาชนต้องทําตามและแสดงความภักดีต่อรัฐ
4. ควบคุมทุกสถาบัน รัฐกําหนดแนวปฏิบัติ เป็นต้น

8.ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์วัดความเป็นประชาธิปไตยของ Freedom House
(1) ความรับผิดชอบทางการเมือง
(2) การแข่งขันทางการเมือง
(3) ความมีเสรีภาพทางการเมือง
(5) ไม่มีข้อถูก
(4) ความเท่าเทียมทางการเมือง
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์ในการวัดความเป็นประชาธิปไตยของ Freedom House ได้แก่
1. ความรับผิดชอบทางการเมือง
2. การแข่งขันทางการเมือง
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง
4. ความเท่าเทียมทางการเมือง

9. ข้อใดคือเกณฑ์ที่ Freedom House ใช้การกําหนดระดับความเป็น Establish Democracy
(1) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 10 ปี ขึ้นไป
(2) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 20 ปี ขึ้นไป
(3) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 30 ปี ขึ้นไป
(4) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 40 ปี ขึ้นไป
(5) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 50 ปี ขึ้นไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เกณฑ์ที่ Freedom House ใช้การกําหนดระดับความเป็นประชาธิปไตยตั้งมั่น(Establish Democracy) คือ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต่อเนื่อง 40 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ของประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยตั้งมั่น ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น

10. ข้อใดไม่ใช่อํานาจของรัฐบาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา
(1) การศึกษา
(2) การสาธารณสุข
(3) การป้องกันประเทศ
(4) การดูแลเรื่องอาชญากรรม
(5) การสาธารณูปโภค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อํานาจของรัฐบาลมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การดูแลเรื่องการศึกษา
การสาธารณสุข อาชญากรรม การสาธารณูปโภค เป็นต้น

11. ข้อใดคือการถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของประเทศสหรัฐอเมริกา
(1) ศาลสูงตั้งโดยประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
(2) รัฐสภาสามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้
(3) ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งกฎหมายที่ผ่านจากฝ่ายนิติบัญญัติได้
(4) ศาลสูงสามารถตีความกฎหมายที่ผ่านสภาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การถ่วงดุลอํานาจระหว่างอํานาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการของประเทศ สหรัฐอเมริกา มีดังนี้
1. ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย ประธานาธิบดีสามารถยับยั้งกฎหมายได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ สามารถยืนยันด้วยเสียง 2 ใน 3 ของทั้งสองสภาเพื่อให้กฎหมายผ่าน
2. ศาลสูงสามารถตีความกฎหมายที่ผ่านสภาและได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีว่า
ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
3. ศาลสูงมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยความเห็นชอบของวุฒิสภา
4. รัฐสภาสามารถถอดถอนประธานาธิบดีได้ เป็นต้น

12. ข้อใดผิดเกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา
(1) มาจากการเลือกตั้งระดับมลรัฐ
(2) วาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปี
(3) มีการเลือกตั้งทุก 2 ปี
(4) การสิ้นสุดสถานภาพของวุฒิสมาชิกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ครั้งละ 1/3 ของจํานวนทั้งหมด
(5) ไม่มีข้อผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งระดับมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี แต่จะมีการเลือกตั้งทุก 2 ปี ดังนั้นการสิ้นสุดสถานภาพของวุฒิสมาชิกจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ จะมีสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดอายุทุก ๆ 2 ปี ครั้งละ 1/3 ของ จํานวนทั้งหมด

13. ความเชื่อมโยงของรัฐสภาสกอตแลนด์กับรัฐสภาอังกฤษคือข้อใด
(1) รัฐสภาอังกฤษสามารถเพิกถอน พ.ร.บ. ที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
(2) รัฐสภาสกอตแลนด์สามารถเพิกถอน พ.ร.บ. ที่ตราโดยรัฐสภาอังกฤษได้
(3) กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาอังกฤษสามารถไม่บังคับใช้ที่สกอตแลนด์ได้ด้วย
(4) กฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์สามารถบังคับใช้ที่อังกฤษได้ด้วย
(5) ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองรัฐสภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความเชื่อมโยงของรัฐสภาสกอตแลนด์กับรัฐสภาอังกฤษ จะเห็นได้จากกรณี ที่รัฐสภาอังกฤษสามารถเพิกถอนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ตราโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ได้ ถ้าเห็นว่าขัดกับกฎหมายของอังกฤษ

14. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับรัฐสภาอังกฤษ
(1) การเสนอ พ.ร.บ. ของรัฐสภาอังกฤษในขั้นแรกต้องเสนอที่สภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) เท่านั้น
(2) การเสนอ พ.ร.บ. ทุกชนิดต่อรัฐสภาอังกฤษสามารถเสนอได้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและสภาขุนนาง
(3) สภาขุนนางอังกฤษสามารถยับยั้งกฎหมายได้ไม่เกิน 2 ปี
(4) การเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อน
(5) พ.ร.บ. ใด ๆ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาสามัญแล้วถือเป็นที่สุด เพราะมาจากการเลือกตั้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ของรัฐสภาอังกฤษ อาจมีการเสนอใน สภาใดก็ได้ แต่ พ.ร.บ. ที่มีความสําคัญมักเสนอในสภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงินต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อน เนื่องจาก รัฐสภาให้อํานาจสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร ทําให้ร่างพระราชบัญญัติบางประเภทสามารถนําขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาขุนนาง ซึ่งเป็นผลทําให้สภาขุนนางไม่มีสิทธิยับยั้งกฎหมายได้ มีเพียงหน้าที่ให้ความเห็นชอบยืนตามสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

15. ข้อใดไม่ใช่สถาบันทางการเมืองของจีน
(1) สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ
(2) พรรคคอมมิวนิสต์
(3) คณะที่ปรึกษาประชาชน
(4) คณะรัฐบาล
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สถาบันทางการเมืองของจีน ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party : CCP) สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ ประธานาธิบดี คณะรัฐบาล (นายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐบาล)

16. ข้อใดคือลักษณะของรัฐสภาอิหร่าน
(1) สมาชิกรัฐสภามาจากการแต่งตั้งจากประมุขสูงสุด
(2) มีอํานาจในการเลือกสรรประธานาธิบดี
(3) เป็นระบบสภาเดียว
(4) สามารถตรวจสอบและควบคุมสื่อต่าง ๆ
(5) สายการบังคับบัญชาขึ้นตรงกับประมุขสูงสุด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของรัฐสภาอิหร่าน คือ มีสภานิติบัญญัติ (Majlis) เป็นระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 290 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการ ดํารงตําแหน่ง 4 ปี ซึ่งจะทําหน้าที่เสนอและพิจารณากฎหมาย นอกจากนี้ยังมีประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่อยู่ในการควบคุมของสภาผู้พิทักษ์ โดยสภาผู้พิทักษ์ นี้จะมาจากการแต่งตั้งจากประมุขสูงสุดนั่นเอง

17. ICC ที่รัฐบาลสหรัฐก่อตั้งขึ้นในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ ย่อมาจาก
(1) Interstate Commerce Commission
(2) Interstate Commission Committee
(3) International Commerce Commission
(4) International Commission Committee
(5) Internal Commerce Committee
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) การจัดตั้งองค์กรอิสระนั้นเป็นแนวคิดที่เกิดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น ช่วงเวลาของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยสภาคองเกรสได้อนุมัติการก่อตั้ง Interstate Commerce Commission หรือ ICC ขึ้นในปี ค.ศ. 1887 โดยเป็นคณะทํางานที่แยกออกจากคณะทํางาน ของประธานาธิบดี เพื่อป้องกันการแทรกแซงของประธานาธิบดี รวมทั้งเพื่อลดขั้นตอนที่ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพของสํานักงานเลขาของประธานาธิบดี

18. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ
(1) อิสระในเรื่องการกําหนดนโยบาย
(2) อิสระในเรื่องการเข้าสู่อํานาจของผู้มาทําหน้าที่
(3) อิสระในเรื่องงบประมาณ
(4) อิสระในการถูกตรวจสอบจากรัฐบาล
(5) มีสํานักงานที่เป็นอิสระ
ตอบ 4 หน้า 32 – 33, (คําบรรยาย) ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ มีลักษณะดังนี้
1. อิสระในเรื่องที่มาและการเข้าสู่อํานาจของผู้มาทําหน้าที่
2. อิสระในเรื่องการกําหนดนโยบายและการดําเนินงานขององค์กร
3. อิสระในเรื่องงบประมาณ
4. มีหน่วยธุรการหรือสํานักงานที่เป็นอิสระ

19. ความเป็นกลางขององค์กรอิสระ คือข้อใด
(1) คณะกรรมการฯ ได้ยืนยันในความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
(2) ประชาชนและสาธารณะยอมรับในความเป็นกลาง
(3) การมีคุณสมบัติครบตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด
(4) การไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 33, (คําบรรยาย) ความเป็นกลางขององค์กรอิสระ ได้แก่
1. ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง เช่น การไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ เป็นต้น
2. ปราศจากอคติ ไม่ลําเอียงเพราะรัก โกรธ หลง กลัว

20. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
(2) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกกันเองขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(3) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของรัฐสภา
(4) เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตาม
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
2. เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
3. เป็นกรรมการที่มาจากการคัดเลือกกันเองขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

21. สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษประเภทใดที่ได้รับเงินเดือน
(1) แบบสืบเชื้อสายจากตระกูลเก่า
(2) ขุนนางที่ได้รับแต่งตั้ง
(3) พระสังฆาธิราช
(4) หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิต
และมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บีชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นขุนนางฝ่ายกฎหมาย ซึ่งจะดํารงตําแหน่งตลอดชีพและ ได้รับเงินเดือน เช่น หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆจะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

22. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(2) แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
(3) คัดเลือกผู้พิพากษาศาลสูงสุด
(4) บริหารระบบภัยพิบัติของมลรัฐที่ประสบภัย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

23. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
(1) การบริหารราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
(2) คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(3) อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
(4) ข้อ 2 และ 3
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. ระยะเวลาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3. สิทธิและหน้าที่พลเมือง
4. ขอบเขตและขีดจํากัดของอํานาจรัฐบาล
5. อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
6. แนวทางการจัดตั้งรัฐบาล การเข้าสู่และพ้นตําแหน่ง
7. บทบาทและอํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย
(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง
(2) ทุกพรรคการเมืองมีอิสระในการหาเสียงเลือกตั้ง
(3) ประชาชนสามารถจัดชุมนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
(4) การลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย มีดังนี้
1. ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)

2. การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition) โดยทุกพรรคการเมืองมีอิสระ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom) ประชาชนสามารถจัดชุมนุม แสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
4. ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) ซึ่งจะเห็นได้จากการลงคะแนนเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียงเท่ากัน

25. Majority Rule and Minority Rights หมายความว่า
(1) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน
(2) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงของชนชั้นนําในสังคม
(3) ตัดสินใจทางการเมืองด้วยเสียงส่วนใหญ่ได้ทุกเรื่อง
(4) ตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อย
(5) ตัดสินใจด้วยการใช้กําลังบีบบังคับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

26. ประเทศใดมีระบบรัฐสภาเดี่ยว
(1) อังกฤษ
(2) อเมริกา
(3) อินโดนีเซีย
(4) จีน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) อินโดนีเซีย (Indonesia) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีระบบรัฐสภาเดี่ยว คือ “สภาผู้แทนราษฎร”

27. อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แสดงออกผ่านรัฐธรรมนูญอย่างไร
(1) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(2) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกกันเองของสภาวิชาชีพมากที่สุด
(3) สัดส่วนของตัวแทนในรัฐสภามาจากการสรรหามากที่สุด
(4) จํานวนประชาชนที่สามารถเสนอกฎหมายมีจํานวนมาก
(5) ข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนมากขึ้น (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนน้อยลง) เป็นต้น

28. ข้อใดมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ
(1) Magna Carta
(2) Erasmus Mundus
(3) Jurassic Rex
(4) Bill of Rights
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่เป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในอังกฤษ คือ
1. Magna Carta ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐธรรมนูญอังกฤษ และเป็นกุญแจสําคัญในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างถึงสิทธิทางการเมืองทั่ว ๆ ไป สิทธิของเสรีชน ช่วยให้อํานาจค่อย ๆ เปลี่ยนมือจากกษัตริย์มาสู่ตัวแทนของประชาชน
2. Bill of Rights หรือ “บัตรแห่งสิทธิ” คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เป็นการเปิดประตู แห่งความเป็นประชาธิปไตยในอังกฤษให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งพลเมืองจะมีสิทธิต่าง ๆ ติดตัวในฐานะเป็นประชาชนคนธรรมดา

29. การที่มีข้อบัญญัติรับรองว่า กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควร เพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป ได้กลายมาเป็นหลักการใดในโลกสมัยใหม่
(1) การให้สิทธิเดินทางฟรี
(2) การได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต
(3) เอกสิทธิ์คุ้มครอง
(4) สวัสดิการสมาชิกสภา
(5) กฎหมายการคุ้มครองพยาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการเอกสิทธิ์คุ้มครอง เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ อันเป็นผลมาจากการมี ข้อบัญญัติรับรองว่า “กษัตริย์จะไม่จับกุมผู้แทนราษฎรระหว่างการประชุมโดยไม่มีเหตุอันควรเพื่อป้องกันไม่ให้กษัตริย์ใช้อํานาจมากเกินไป” ซึ่งได้กลายมาเป็นหลักการสําคัญในโลกสมัยใหม่ (ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 125)

30. ลักษณะสําคัญของการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารคือ
(1) สมาชิกวุฒิสภาสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดํารงตําแหน่งราชการประจําได้
(3) นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(4) นายกรัฐมนตรีต้องไม่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงอํานาจ (Fusion of Powers) หรือการใช้อํานาจร่วมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยจะให้ สถาบันนิติบัญญัติ (รัฐสภา) เป็นสถาบันหลัก มีอํานาจควบคุมฝ่ายบริหาร และฝ่ายบริหารจะต้องมา จากฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น กรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

31. หากจะยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติภายหลังการรัฐประหาร จะต้องตราพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกสภาพบังคับเพราะประกาศคณะปฏิวัติเป็น
(1) พระบรมราชโองการ
(2) คําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์
(3) คําสั่งในทางปกครอง
(4) คําสั่งของเผด็จการ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประกาศของคณะปฏิวัติถือว่าเป็นคําสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอํานาจสูงสุดในการ ปกครองประเทศ) และมีฐานะเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีสภาพบังคับเทียบเท่ารัฐธรรมนูญหรือ พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการจะยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัตินั้นจะต้อง ดําเนินการเช่นเดียวกับการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายธรรมดาทั่วไป คือ ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติออกมายกเลิก

32. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย มีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) วาระ 2 ปี
(2) วาระ 3 ปี
(3) วาระ 4 ปี
(4) วาระ 5 ปี
(5) ตลอดชีพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 83 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ของไทย ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวน 400 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จํานวน 100 คน รวมทั้งสิ้นจํานวน 500 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 4 ปี

33. พระราชกําหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับ
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระบรมราชโองการ
(3) พระราชกฤษฎีกา
(4) ข้อบัญญัติท้องถิ่น
(5) เทศบัญญัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนําและ ยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อประกาศใช้แล้ว จะต้องเสนอให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป ดังนั้นจึงมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบพระราชกําหนดนั้นก็จะ สิ้นสุดสภาพการบังคับใช้

34. หากวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรไม่ทันภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะเกิดผลเช่นไร
(1) วุฒิสภาจะถูกตัดเงินเดือน
(2) ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
(3) ร่างพระราชบัญญัตินั้นต้องถูกนําเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
(4) ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นเสมือนว่าผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว
(5) ร่างพระราชบัญญัตินั้นจะต้องถูกนํามาพิจารณาในการประชุมวุฒิสภาสมัยถัดไป
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่าน การพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

35. ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม ผู้ตั้งกระทู้สามารถกําหนดวิธีให้ผู้ถูกถาม
ตอบกระทู้ได้ดังนี้
(1) ตอบด้วยวาจาในสภาผู้แทนราษฎร
(2) ตอบด้วยวาจาในที่ประชุมกรรมาธิการ
(3) ตอบในราชกิจจานุเบกษา
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ในการควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ถาม สมาชิกผู้ตั้งกระทู้ จะเป็นผู้กําหนดว่าต้องการให้ผู้ถูกถามตอบกระทู้ด้วยวาจาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือตอบในราชกิจจานุเบกษาเป็นลายลักษณ์อักษร

36. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสมระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

37. รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด
(1) จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง
(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. จํากัดอํานาจและการกระทําของผู้ปกครอง
2. แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
3. สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล
4. อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
5. สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

38. การประชุมลับของสภาผู้แทนราษฎรจะดําเนินการได้ด้วยเงื่อนไขอะไร
(1) คณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 1 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ
(3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ
(4) ไม่สามารถประชุมลับได้เพราะเป็นสิทธิของประชาชนที่จะติดตามการประชุม
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 127 กําหนดให้ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่ กําหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละสภา แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีร้องขอให้ประชุมลับ หรือ สมาชิกของแต่ละสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ ทั้งสองสภา แล้วแต่กรณี ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

39. การเสนอญัตติที่สภาต้องการให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเข้าประชุม จะต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรอง
ไม่น้อยกว่ากี่คน
(1) 10
(2) 15
(3) 20
(4) 25
(5) 30
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ญัตติที่ต้องมีสมาชิกลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ได้แก่
1. ญัตติขอให้สภามีมติให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดในที่ประชุม
2. ญัตติขอให้สภามีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภา ตามมาตรา 210 (2) ของรัฐธรรมนูญ
3. ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการสามัญคณะใดคณะหนึ่ง กระทํากิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในหน้าที่และอํานาจ ของสภา ตามมาตรา 129 ของรัฐธรรมนูญ

40. ข้อใดเป็นเงื่อนไขสําคัญอันเป็นเหตุผลที่คณะรัฐมนตรีสามารถเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกําหนดได้
(1) เพื่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ
(2) เพื่อความปลอดภัยของสาธารณะ
(3) เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
(4) เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 57 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 172 วรรค 2 กําหนดให้ การตราพระราชกําหนดให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

41. หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถรวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา รวมกันเป็นจํานวน….ของทั้งสองสภารวมกัน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
(4) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

42. การเข้าชื่อเพื่อเสนอยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีต้องใช้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
(2) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(4) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 6
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 151 วรรค 1 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิ เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ

43. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านรัฐสภาแล้ว รัฐสภาจะต้องทําอย่างไร
(1) ปรึกษากัน แล้วแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ทรงมีพระราชกระแส
(2) ปรึกษากัน หากยืนยันตามร่างเดิมต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา
(3) ไม่นําขึ้นพิจารณาอีก เพราะกระทําไม่ได้
(4) ตั้งร่าง พ.ร.บ. ขึ้นมาพิจารณาใหม่
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

44. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมากขึ้น แสดงนัยยะสําคัญอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

45. ข้อใดคือเกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทยหลังจากวุฒิสภาชุดแรกหมดวาระ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) การเลือกตั้ง
(2) การเลือกจากบัญชีรายชื่อ
(3) การเลือกตั้งตามกลุ่มอาชีพ
(4) การเลือกโดยคณะกรรมการสรรหา
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เกณฑ์การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกของไทยหลังจากวุฒิสภาชุดแรกหมดวาระตาม รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 107 และ 109 กําหนดให้ วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา แบบเลือกตั้งโดยอ้อม (เลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือผลประโยชน์ร่วมกัน) จํานวน 200 คน ซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่ง 5 ปี

46. ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่องค์กรใด
(1) สภาปฏิรูปแห่งชาติ
(2) รัฐสภา
(3) หัวหน้า คสช.
(4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(5) ข้อ 3 และ 4
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557 อํานาจนิติบัญญัติอยู่ที่สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นสําคัญ โดยมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราว รับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน และมีกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญทําหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

47. ข้อใดเป็นความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ
(1) ประชามติเป็นการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
(2) ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
(3) ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ
(4) ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ มีดังนี้
1. ประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนประชามติ จะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน
2. ประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ
3. ประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพันและไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม ส่วนประชามติกําหนดให้รัฐ ต้องผูกพันปฏิบัติตามผลการออกเสียงประชามติ
4. ประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้ง จากการตัดสินใจของรัฐ ส่วนประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ

48. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการทําประชาพิจารณ์
(1) มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม
(2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(3) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(4) หน่วยงานรัฐต้องหยุดดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่จะทําประชาพิจารณ์ทั้งหมด
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
2. มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับที่ประชุม
4. การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย
5. ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

49. ข้อใดเป็นอํานาจหน้าที่ของรัฐสภา
(1) การตรากฎหมาย
(2) การควบคุมบริหารราชการแผ่นดิน
(3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสําคัญ
(4) เฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เรียกว่าอะไร
(1) พระราชกําหนด
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) พระราชานุญาต
(4) พระราชดําริ
(5) พระราชบัญญัติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ หมายถึง กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคําแนะนํา และยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

51. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 14 ตุลาคม 2475
(2) 6 ตุลาคม 2475
(3) 10 ธันวาคม 2475
(4) 24 ธันวาคม 2475
(5) 24 มิถุนายน 2475
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

52. พรรคการเมืองใดจงใจไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
(1) พรรคกิจสังคม
(2) พรรคประชาธิปัตย์
(3) พรรคอนาธิปัตย์
(4) พรรคเพื่อไทย
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 นั้น พบว่ามีพรรคการเมืองที่ ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 53 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อไทย พรรคพลังชล พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย ฯลฯ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้นถือเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ประกาศไม่ลงสมัครแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้

53. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การยอมรับระบบเหตุผล
(2) ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิด
(3) อิทธิพลของพุทธศาสนา
(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 4
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเสื่อมถอยของทฤษฎีครองอํานาจแบบลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) เกิดจากการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมให้มีการยอมรับระบบเหตุผล มากกว่าการใช้หลักจารีต ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า ทําให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อ ความคิด รวมไปถึงส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้จักกันในนามยุคเรืองปัญญา หรือยุคแห่งการรู้แจ้ง (Enlightenment)

54. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ซอง จากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคมดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

55. เจตจํานงทั่วไป (General Will) ในทางทฤษฎี หมายถึง
(1) การมีส่วนร่วมทางการเมือง
(2) การเข้าไปใช้อํานาจการเมือง
(3) การยอมรับตัวแทนทางการเมือง
(4) การมีส่วนร่วมและกําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด
(5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองและยอมรับผู้นําการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงทั่วไป (General Will) ในทางทฤษฎี หมายถึง การมีส่วนร่วมและ กําหนดทิศทางของชุมชนที่สังกัด ซึ่งเป็นเรื่องของความเห็นพ้องต้องกันหรือมติเอกฉันท์ ของทุกคนในสังคม หรือบางครั้งอาจเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากก็ถือว่าเป็นการเพียงพอ แต่ต้องเป็นเสียงข้างมากที่มุ่งผลประโยชน์ของคนทุกคนหรือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

56. ข้อใดไม่เป็นพื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere)
(1) การคลุมฮิญาบ
(2) E-mail
(3) รสนิยม
(4) ห้องทํางานส่วนตัวในมหาวิทยาลัย
(5) งานอดิเรก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พื้นที่ในพรมแดนส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะแบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยาก เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน E-mail ฯลฯ

57. รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง
(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ
(2) รัฐที่เอาหลักศาสนามาปกครอง
(3) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์การปกครอง
(4) รัฐที่นําเอานักบวชมาปกครอง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์การปกครองหรือกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักร ออกจากฝ่ายอาณาจักรในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมี แนวทางบริหารประเทศโดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้าน ความเชื่อหรือจํากัดศาสนาใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

58. ข้อใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550
(1) เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
(2) เข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(3) พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(4) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 ได้แก่
1. การออกเสียงเลือกตั้ง
2. การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง พ.ร.บ. ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และ หมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)
3. การเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
4. การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
5. การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับเด็ก สตรี เยาชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
6. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ เช่น กลุ่มอาชีพ เป็นต้น

59. กระบวนการที่ประชาชนของประเทศอังกฤษออกเสียงสนับสนุนให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิก
สหภาพยุโรป เรียกว่า
(1) ประชาพิจารณ์
(2) มหาชนสมมุติ
(3) ประชามติ
(4) เลือกตั้ง
(5) ประชาสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 อังกฤษและกลุ่มประเทศในสหราชอาณาจักร ได้มีการลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนที่ต้องการออกจากอียูคิดเป็นร้อยละ 51.89 ส่วนคะแนนที่ต้องการอยู่กับอียูคิดเป็นร้อยละ 48.11

60. การที่ประชาชนชาวยูเครนร่วมมือกับรัฐบาลยูเครนในการต่อสู้การรุกรานเพื่อยึดครองของรัสเซียเป็นการ
แสดงออกซึ่งการยืนยันในอํานาจอะไร
(1) อํานาจอธิปไตย
(2) อํานาจรัฐบาล
(3) อํานาจอียูและสหรัฐ
(4) อํานาจทางการทหาร
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การแสดงออกซึ่งอํานาจอธิปไตย โดยประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจ ซึ่งจะต้องได้รับการยินยอม ประชาชนสามารถใช้อํานาจของตนโดยตรงหรือโดยอ้อม ตัวอย่างของ การแสดงออกซึ่งเป็นการยืนยันในอํานาจอธิปไตย เช่น กรณีที่ประชาชนชาวยูเครนร่วมมือกับ รัฐบาลยูเครนในการต่อสู้การรุกรานเพื่อยึดครองของรัสเซีย เป็นต้น

61. ต้องใช้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนเท่าใดของจํานวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ จึงจะสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้
(1) จํานวน 1 ใน 3
(2) จํานวน 1 ใน 4
(3) จํานวน 1 ใน 10
(4) กึ่งหนึ่ง
(5) มากกว่ากึ่งหนึ่ง
ตอบ 3(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 152 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จะเข้าชื่อกัน เพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติก็ได้

62. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) กกต.
(2) ป.ป.ช.
(3) คตง.
(4) สตง.
(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตอบ 4 หน้า 35 – 39 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย 5 องค์กร ได้แก่
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

63. การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด
(1) พ.ศ. 2540
(2) พ.ศ. 2550
(3) พ.ศ. 2557
(4) พ.ศ. 2560
(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและด้านอื่นๆ

64. รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร
(1) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย
(2) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด
(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 หน้า 6 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้
1. กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

65. ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
(1) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ
(2) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด
(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย
(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

66. การปกครองระบบรัฐสภามีหลักการสําคัญคือการดุลอํานาจ หมายความว่าอย่างไร
(1) มีการแยกอํานาจการออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย
(2) มีการแยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายข้าราชการออกจากกัน
(3) มีการแยกกรรมาธิการเป็นหลายคณะเพื่อแบ่งความรับผิดชอบ
(4) มีการแยกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออกจากกัน
(5) มีการแยกการปกครองออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาคออกจากกัน
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา ได้แก่
1. หลักการดุลอํานาจ หมายถึง เมื่อมีการแยกอํานาจออกเป็น 3 อํานาจ นั่นคือ อํานาจ การออกกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย และการลงโทษตามกฎหมาย แต่ละอํานาจ จะมีอิสระในตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับอํานาจอื่นตามหลักแห่งการดุลอํานาจ
2. หลักแห่งความรับผิดชอบทางการเมือง หมายถึง การที่บุคคลที่ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สามารถยืนยันผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง หากไม่สามารถยืนยันได้ย่อมไม่ชอบธรรม
ที่จะบริหารประเทศต่อไป

67. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้น จะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐ ต่อปัจเจก แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

68. ใครเป็นผู้มีสิทธิในการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกสภาฯ ที่มีอยู่
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกสองสภาที่มีอยู่
(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อ
เสนอกฎหมาย

69. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนเท่าใดที่จะสามารถเข้าซื้อกล่าวหา ป.ป.ช. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ได้
(1) 10,000 ชื่อ
(2) 20,000 ชื่อ
(3) 30,000 ชื่อ
(4) 40,000 ชื่อ
(5) 50,000 ชื่อ
ตอบ 2(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 236 วรรค 1 กําหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน สามารถเข้าซื้อกล่าวหา ป.ป.ช. เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอํานาจและหน้าที่ได้

70. องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร
(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ
(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน
(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

ข้อ 71 – 87. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการ ให้นักศึกษาพิจารณา 2 ข้อความ และเลือกตอบคําถาม ดังนี้
(1) ข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ

71. (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภา ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ… กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

72.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย….

73.(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

74. (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่องหรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาท คล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

75. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น
จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพล ต่อกระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ํา

76.(1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน มักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง
(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ
การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมี คณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ)

77.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

78.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

79.(1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)
เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ
คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

80.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญคณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

81. (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ
แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

82. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล
หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

83. (1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธาน
คณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

84. (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ ด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
ตอบ 1
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

85. (1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี
(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาอยู่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

86. (1)ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจาก บุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

87.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือ มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

ข้อ 88. – 95. จงพิจารณาประเภทของคณะกรรมาธิการรัฐสภาไทย แล้วเลือกตอบคําถามที่มี ความสัมพันธ์กับประเภทดังกล่าวให้ถูกต้อง ดังนี้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว

88. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

89. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

90. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

91. คณะกรรมาธิการ ตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

93. คณะกรรมาธิการ….แต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง

ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

95. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขของวุฒิสภา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

ข้อ 96. – 100. เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติในฝ่ายนิติบัญญัติ : การตราพระราชบัญญัติ ให้นักศึกษาพิจารณาข้อความดังต่อไปนี้
(1) ถ้าข้อความนี้ ถูก
(2) ถ้าข้อความนี้ ผิด
(3) ถ้าข้อความนี้ ไม่เกี่ยวกับวิชานี้

96. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
ตอบ 2 หน้า 54 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
คือ
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

97. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณา
3. ขั้นแปรบัญญัติ
4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
ตอบ 2 หน้า 54 – 55 กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
โดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะพิจารณาเป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาหรือขั้นแปรญัตติ
3. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา

98. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

99. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

100. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการร่วม
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้ง ขึ้นจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

2. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 หน้า 54, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติ ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอพระราชบัญญัติได้ เฉพาะหมวดสิทธิและเสรีภาพปวงชนชาวไทยและหมวดหน้าที่ของรัฐ
4. ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

3. สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี
(1) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
(2) ตามระยะเวลาการบวช
(3) 4 ปี
(4) ตลอดชีพ
(5) 6 ปี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิต และมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการ ศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือน ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆ จะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

4.กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน
เรียกว่า
(1) พระราชบัญญัติ
(2) พระราชดําริ
(3) พระราชกฤษฎีกา
(4) พระราชานุญาต
(5) พระราชกําหนด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน ได้แก่ กรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนในอัน ที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา

5.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

6. การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด
(1) พ.ศ. 2560
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2557
(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ

7.(1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)
เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา 5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความ สลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)
เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

8.“พฤฒิสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด
(1) องคมนตรี
(2) สนช.
(3) วุฒิสภา
(4) ศาลรัฐธรรมนูญ
(5) สภาพัฒนาการเมือง
ตอบ 3 หน้า 23 วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒิสภา” ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่ เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้น รัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

9. คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่อง เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํา กําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

10. รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติ ลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และ รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

11. โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

12. “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับ พื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูก ขุดขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและ หายไปในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

13.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย…

14. (1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมา เพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาท คล้ายกับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)

15. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน
(1) 350 คน
(2) 300 คน
(3) 250 คน
(4) 400 คน
(5) 200 คน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนํา โดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

16. รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด
(1) ฉบับที่ 3
(2) ฉบับที่ 1
(3) ฉบับที่ 8
(4) ฉบับที่ 7
(5) ฉบับที่ 16
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลา 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

17.(1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธาน
คณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

18.“The End of History” เป็นแนวคิดของใคร
(1) รุสโซ
(2) โทมัส ฮอบส์
(3) จอห์น ล็อค
(4) ฟรานซิส ฟูกุยามา
(5) มองเตสกิเออ
ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) ฟรานซิส ฟูกูยามา (Francis Fukuyama) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การ สิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย โดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีกต่อไป เพราะเราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของ กําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

19. การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด
(1) Social Contract
(2) Majority Rule and Minority Rights
(3) Secular State
(4) Parliamentary System
(5) Human Rights
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Majority Rule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

20. รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด
(1) จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง
(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 – 5 (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. จํากัดอํานาจและการกระทําของผู้ปกครอง
2. แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
3. สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล
4. อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
5. สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

21. ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
(1) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
(2) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน
(3) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
(4) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ
(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้
1. สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
2. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
3. สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

22.Brexit คืออะไร
(1) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
(2) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(3) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ
(4) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ
(5) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Brexit (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชน ชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

23. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณา
3. ขั้นแปรบัญญัติ
4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 หน้า 50, 54 – 55 กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องพิจารณา เป็น 3 วาระ คือ
1. ขั้นรับหลักการ
2. ขั้นพิจารณาในรายละเอียดของร่างกฎหมาย (การ พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ, การพิจารณารายมาตรา) 3. ขั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบ

24. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว

มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

25. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

26. ข้อใดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
(1) พระราชกําหนด
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) พระราชบัญญัติ
(4) พระราชอัธยาศัย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 41, 51, (คําบรรยาย) พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ต้องผ่านการพิจารณาได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก่อน จากนั้นจึงนําขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงจะมี ผลบังคับใช้เป็นกฎหมายอย่างสมบูรณ์

27. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่าน การพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

28. ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “สี” แทนกลุ่มผู้ชุมนุม กลุ่มต่าง ๆ คําว่า “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด
(1) พธม.
(2) กปปส.
(3) กปปส. และ นปช. รวมกัน
(4) ประชาชนพิทักษ์ชาติ
(5) นปช.
ตอบ 4 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดย การนําของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหว ของกลุ่มฯ ได้สร้างปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง /พรรคเพื่อไทยว่า คนเสื้อหลากสี ก็คือ เสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่าทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่แตกต่างกับ เสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของคนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิ่ม ด้วยเหตุผลที่ว่า สลิ่ม (ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสัน และเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลาย ของกลุ่มเสื้อหลากสีนั่นเอง

29.(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

30. หลักการประชาพิจารณ์ ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้
(1) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
(2) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน
(3) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
2. มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน
4. การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย
5. ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

31. ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง
(1) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) การสรรหาวุฒิสภา
(3) การไปลงประชามติ
(4) การรับฟังข่าวสาร
(5) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครองโดยที่ พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือ ๆผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย เป็นต้น

32. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(1) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)
(2) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)
(3) นายพรเพชร วิชิตชลชัย (ประธาน สนช.)
(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)
(5) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร(รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

33. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
(1) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(2) คณะกรรมาธิการสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(4) คณะกรรมาธิการร่วม
(5) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

34. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
(1) คณะกรรมาธิการร่วม
(2) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(3) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(4) คณะกรรมาธิการสามัญ
(5) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

35.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการ
จะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือ มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

36. ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
(1) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
(2) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ
(3) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด
(4) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย
(5) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

37. องค์กรท้องถิ่นใดที่หายไปในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) เทศบาล
(2) สภาท้องถิ่น
(3) องค์การบริหารส่วนตําบล
(4) กํานัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่
1. ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน สภาท้องถิ่น
2. ระดับตําบล เช่น กํานัน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)
3. ระดับอําเภอ เช่น เทศบาล เมืองพัทยา
4. ระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น

38. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทาน คืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร
(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ
(2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน
นายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(5) ข้อ 2 และ 4
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

39. ข้อใดเป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(2) แต่งตั้งผู้ว่าการมลรัฐ
(3) จัดการศึกษาให้ทุกมลรัฐ
(4) ยับยั้งกฎหมายของมลรัฐที่เห็นว่าไม่ชอบ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

40. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

41. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
(1) ส.ส. ทุกคน
(2) ส.ว. ทุกคน
(3) ปลัดกระทรวง
(4) อธิการบดี
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวงอธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

42. ข้อใดคือความหมายของหลักนิติรัฐ
(1) เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถต่อสู้ป้องกันสิทธิของตนเท่าที่ผู้ปกครองกําหนด
(2) ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด
(3) กระบวนการพิจารณาไต่สวนคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
(4) กฎหมายต้องมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากพอที่ประชาชนจะเข้าใจได้
(5) องค์กรเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบควรมีอํานาจเด็ดขาดทั้งบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ
ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักนิติรัฐ หมายถึง การปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่อ ประชาชนในรัฐอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคในคนทุกกลุ่ม โดยรัฐทุกรัฐมุ่งหวังให้ประชาชน ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ภายในรัฐ ซึ่งในความหมายอย่างแคบนั้นจะไม่คํานึงถึงที่มา กฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นจากผู้ปกครองโดยเคร่งครัด

43.(1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี
(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

44. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
(1) 10 ธันวาคม 2560
(2) 24 มิถุนายน 2460
(3) 5 พ.ค. 2560
(4) 10 มิถุนายน 2460
(5) 6 เมษายน 2560
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

45. ข้อใดถูกต้อง
(1) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
(2) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(3) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(4) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย)
ข้อเลือก 1 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทาง คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)
ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ข้อเลือก 3 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

46. แนวคิดเรื่องของสัญญาประชาคมเชื่อว่าการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบใด
(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(2) ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
(3) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(4) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(5) ในรัฐแบบใดก็ได้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ของ ซากส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) เห็นว่า สังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน แห่งสัญญาประชาคม (Social Contract) สามารถทําให้บุคคลในฐานะสมาชิกของสังคมนั้น บรรลุถึงเสรีภาพได้ สัญญาประชาคมจึงเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญที่ต้องอยู่เพื่อทุกส่วนในสังคม ดังนั้นการบรรลุเสรีภาพจะเกิดขึ้นในเงื่อนไขการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น

47. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อ กระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

48. การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ
(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจาก การปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ
(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ
2. สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
3. บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ
4. รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นใน
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

49. คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง
(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(4) คณะกรรมาธิการร่วม
(5) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 1 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

50. การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
(1) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ
(2) กระทรวงการคลัง
(3) นายกรัฐมนตรี
(4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(5) ป.ป.ช.
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

51. การออกเสียงประชามติ ไม่ใช่ข้อใด
(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
(2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจ
(3) แสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วม
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การออกเสียงประชามติ (Referendum) คือ การนําร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สําคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินใจเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจและแสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วมต่อแนวทางการปกครองประเทศ

52. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
(1) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(2) คณะกรรมาธิการสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(4) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(5) คณะกรรมาธิการร่วม
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

53. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(3) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(4) คณะกรรมาธิการร่วม
(5) คณะกรรมาธิการสามัญ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

54. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ
(1) วาระที่ 3
(2) วาระที่ 1
(3) วาระที่ 4
(4) วาระที่ 2
(5) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

55. ผู้มีสิทธิเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือข้อใด
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คนขึ้นไป
(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 10,000 ชื่อขึ้นไป
(4) องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

56. ข้อใดไม่ใช่ข้อบกพร่องของสภาพธรรมชาติตามแนวคิดของจอห์น ล็อค
(1) มนุษย์ทําตามความอยาก หิวและตัณหา
(2) มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน
(3) มนุษย์อาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม
(4) ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ผู้เสียประโยชน์ตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้
(5) อาจใช้อารมณ์ในการตัดสินกันเองได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค เห็นว่า สภาพธรรมชาติมีข้อบกพร่องใน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน และอาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติ ให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม
2. ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ฝ่ายผู้เสียประโยชน์ออกมาตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้
3. การที่มนุษย์ตัดสินกันเอง อาจใช้อารมณ์และเกิดการแก้แค้นกันเองได้

57. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย
(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
2. รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์
3. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
4. ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
5. ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
6. ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

58. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยงกับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก แต่อย่างไร ก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

59. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
(1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(4) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

60. ใครมีสิทธิเลือกตั้ง
(1) นักโทษ
(2) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
(3) จิตฟั่นเฟือน
(4) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ
(5) ภิกษุ
ตอบ 2
(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)
4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

61.คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีจํานวนกี่คน
(1) 7 คน
(2) 11 คน
(3) 15 คน
(4) 3 คน
(5) 9 คน
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีจํานวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย
1. ประธานศาลฎีกา
2. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
3. ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
4. ประธานศาลปกครองสูงสุด
5. บุคคลซึ่งแต่งตั้ง โดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหาอีก 5 คน

62.(1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ…. กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

63. รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร
(1) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
(2) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย
(3) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด
(4) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 หน้า 6 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้
1. กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

64. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

65. พื้นที่สาธารณะหมายถึงข้อใด
(1) บาทวิถีหน้าบ้าน
(2) เฟซบุ๊ค
(3) สวนรถไฟ
(4) ห้อง Study ในห้องสมุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) เป็นการใช้พื้นที่ทํากิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ได้จํากัด
การมีส่วนร่วมหรือการเข้าในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่เปิดที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือตัดสินใจ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถนน ทางเดิน ทางเท้า (บาทวิถีหน้าบ้าน) สนาม สวนสาธารณะ (สวนรถไฟ) ห้อง Study ในห้องสมุด สื่อสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ค, ไลน์กลุ่ม) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

66. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 24, (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการ
2. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
3. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับ เลือกตั้ง ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้นที่สมาชิกวุฒิสภาสามารถเป็นข้าราชการ/ ดํารงตําแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตําแหน่ง สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นได้

67. การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของ วุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนใน วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

68. ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้
(1) อังกฤษ
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) สวีเดน
(4) ฝรั่งเศส
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญ กฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

69.(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และ คณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

70. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

71. บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
5. มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

72. จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

73. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกถอดถอนออกจากตําแหน่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ด้วยข้อหา เรื่องทุจริตโครงการรับจํานําข้าว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตําแหน่ง กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เนื่องจากใช้สถานะหรือตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้าไปแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น

74. หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557… นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

75. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีทั้งหมดกี่คน
(1) 150 คน
(2) 100 คน
(3) ตามจํานวนจังหวัด
(4) ไม่มี ส.ส. แบบนี้
(5) 200 คน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้
1. สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน
2. สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

76. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 7 ปี
(2) 6 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 2 ปี
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี
2. วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

77. ข้อใดคือพื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere)
(1) ไลน์กลุ่ม
(2) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย
(3) การคลุมฮิญาบ
(4) การโพสต์บนเฟซบุ๊ค
(5) ห้อง Study ในห้องสมุด

ตอบ 3 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะ แบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความ เป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน อีเมล (E-mail) ฯลฯ

78. วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน
(1) 45 วัน
(2) 15 วัน
(3) 30 วัน
(4) 60 วัน
(5) 90 วัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

79. ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย
(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง
(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน
(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่
1. ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)
2. การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)
4. ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

80. เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง
(1) ประชามติ
(2) ประชาพิจารณ์
(3) การเลือกตั้ง
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้น สามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ การออกจากสมาชิก EU) และการเลือกตั้ง (ส.ส. ส.ว.)

81. แนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม (Social Contract) บอกว่าเราสามารถบรรลุถึงเสรีภาพในเงื่อนไขใด
(1) ในรัฐสังคมนิยมเท่านั้น
(2) ในรัฐสวัสดิการเท่านั้น
(3) ในรัฐแบบใดก็ได้
(4) ในรัฐประชาธิปไตยเท่านั้น
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

82. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กรณีร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของ สภาผู้แทนราษฎรและมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี อาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาได้โดยต้องดําเนินการอย่างใดจึงจะสามารถนําไปใช้เป็นกฎหมายได้
(1) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(2) ร้องขอให้วุฒิสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(3) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(4) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(5) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 145 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรี ระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตามมาตรา 176 ว่าจําเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ และคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึง กึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อให้รัฐสภาลงมติ ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบโดยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็ให้นําไปใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้

83.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล
หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

84. “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2514
(2) พ.ศ. 2557
(3) พ.ศ. 2516
(4) พ.ศ. 2534
(5) พ.ศ. 2540
ตอบ 4 (คําบรรยาย) “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี พ.ศ. 2534 – 2535 เนื่องจากพบว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง นักธุรกิจหรือบุคคลในวัยทํางาน และได้มีการนําโทรศัพท์มือถือมาใช้เป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อสื่อสารในระหว่างการชุมนุมครั้งนี้

85.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ 1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

86. การปฏิวัติครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นเมื่อใด
(1) พ.ศ. 2494
(2) พ.ศ. 2476
(3) พ.ศ. 2475
(4) พ.ศ. 2490
(5) พ.ศ. 2500
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร (หรือการปฏิวัติที่เรามักจะเรียกกันจนติดปาก) ในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้
1. การรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 โดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
2. การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ
3. การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

4. การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
5. การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

87. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด
(2) การยอมรับระบบเหตุผล
(3) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร
(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทาง วัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและการเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจ ในการปกครองของศาสนจักรนั่นเอง

88. ประเทศใดที่ลงประชามติให้ผู้ปกครองมีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา
(1) จีน
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) อเมริกา
(5) รัสเซีย
ตอบ 5 (คําบรรยาย) บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว ภายหลังรัฐสภาขณะนั้นพยายามถอดเขาออกจากตําแหน่ง โดยเยลต์ซินได้ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อให้ประธานาธิบดี มีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา และมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบร้อยละ 58.5

89. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) กกต.
(2) สตง.
(3) ป.ป.ช.
(4) คตง.
(5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตอบ 2 หน้า 35 – 39, (คําบรรยาย) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

90. คณะกรรมาธิการ…จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการสามัญ
(4) คณะกรรมาธิการร่วม
(3) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(5) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

91. องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร
(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ
(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน
(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
(5) ไม่มีข้อถูก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

92. (1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ ด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
(คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
ตอบ 1
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

93. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน และความเหมาะสมระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

94. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
(1) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
(2) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
(3) อายุไม่เกิน 70 ปี
(4) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน
(5) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

95. คณะกรรมาธิการตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
(1) คณะกรรมาธิการร่วม
(2) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(3) คณะกรรมาธิการสามัญ
(4) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
(5) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

96. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ
(1) ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ กับประชาชน
(2) ความผูกพันปฏิบัติของรัฐตามผลการออกเสียงของประชาชน
(3) การสร้างกระบวนการให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง
(4) การไม่ตัดสินใจต่อผลในเรื่องนั้น ๆ ล่วงหน้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชามติกับประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. ประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน ส่วนประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน
2. ประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติส่วนประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันการตัดสินใจและดําเนินการตามผลที่ออกมา ส่วนประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพัน เป็นเพียงข้อเสนอแนะ และไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม
4. ประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ส่วนประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ

97. หลักนิติธรรมคือข้อใด
(1) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน
(2) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน
(4) กฎหมายต้องมีความมั่นคงพอสมควร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้
1. กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน
2. กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
3. กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน
4. กฎหมายต้องมีความมั่นคงและต่อเนื่อง
5. ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

98. รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง
(1) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ
(2) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม
(3) รัฐที่ระบุให้ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ
(4) รัฐที่เอานักปรัชญามาปกครอง
(5) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากอํานาจในการปกครอง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอา ศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนา ใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

99. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 24 ธันวาคม 2475
(2) 6 ตุลาคม 2475
(3) 14 ตุลาคม 2475
(4) 24 มิถุนายน 2475
(5) 10 ธันวาคม 2475
ตอบ 5 หน้า 67, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

100. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
(2) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ
ความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ
(3) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้
(4) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้
(5) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถ พิจารณาได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
2. จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพ มากขึ้น
3. ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการ ครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ, ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

POL3100 กระบวนการนิติบัญญัติ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 3100 กระบวนการนิติบัญญัติ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.การเสนอพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินต้องได้รับความเห็นชอบจากใครก่อนจึงจะสามารถเสนอเข้าสู่
การพิจารณาของรัฐสภาได้
(1) เมื่อผู้เสนอ พ.ร.บ. นั้นเป็นผู้มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่จําเป็นต้องมีผู้เห็นชอบ
(2) ป.ป.ช.
(4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(3) นายกรัฐมนตรี
(5) กระทรวงการคลัง
ตอบ 3 หน้า 54, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 133 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติ ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถเข้าชื่อเสนอพระราชบัญญัติได้ เฉพาะหมวดสิทธิและเสรีภาพปวงชนชาวไทยและหมวดหน้าที่ของรัฐ
4. ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม 2. หรือ 3. เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคํารับรองของนายกรัฐมนตรี

2.ประเทศใดที่สามารถนํา “ตํารากฎหมายที่สําคัญ” มาเป็นหลักในการพิจารณาคดีได้
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) สวีเดน
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ที่มาของหลักในการพิจารณาคดีของอังกฤษ ได้แก่ ตํารากฎหมายที่สําคัญ
กฎหมายจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมหรือหลักปฏิบัติ เป็นต้น

3. รัฐธรรมนูญ มีนัยยะสําคัญในเรื่องใด
(1) จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง
(2) แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
(3) สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) เฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 – 5 (คําบรรยาย) นัยยะสําคัญของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. จํากัดอํานาจและการกระทําของผู้ปกครอง
2. แสดงความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชน
3. สร้างความชอบธรรมในการใช้อํานาจของรัฐบาล
4. อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
5. สถานะสูงสุดที่ไม่มีกฎหมายอื่นใดขัดหรือแย้ง ฯลฯ

4.พื้นที่สาธารณะหมายถึงข้อใด
(1) บาทวิถีหน้าบ้าน
(2) เฟซบุ๊ค
(3) สวนรถไฟ
(4) ห้อง Study ในห้องสมุด
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) เป็นการใช้พื้นที่ทํากิจกรรมร่วมกัน โดยไม่ได้จํากัดการมีส่วนร่วมหรือการเข้าในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมักเป็นพื้นที่เปิดที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือตัดสินใจสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถนน ทางเดิน ทางเท้า (บาทวิถีหน้าบ้าน) สนามสวนสาธารณะ (สวนรถไฟ) ห้อง Study ในห้องสมุด สื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค, ไลน์กลุ่ม) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

5.การออกเสียงประชามติ ไม่ใช่ข้อใด
(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
(2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจ
(3) แสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วม
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การออกเสียงประชามติ (Referendum) คือ การนําร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สําคัญของประเทศไปผ่านการตัดสินใจเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจอธิปไตย ซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับตัดสินใจและแสดงออกซึ่งเจตจํานงร่วมต่อแนวทางการปกครองประเทศ

6.การขัดกันแห่งผลประโยชน์คือข้อใด
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการใด ๆ
(2) สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
(3) บุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการที่นอกเหนือไปจาก การปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจการงานปกติ
(4) รัฐมนตรีแจ้ง ป.ป.ช. ว่า โอนหุ้นของบริษัทให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ผู้อื่นถือแทน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างการขัดกันแห่งผลประโยชน์ มีดังนี้
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังดํารงตําแหน่งในหน่วยราชการ
2. สมาชิกสภานิติบัญญัติยังดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวง
3. บุตรของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานได้รับสัมปทานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ
4. รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่ได้แจ้ง ป.ป.ช. ว่าโอนหุ้นใน
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นถือแทน (รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 187 วรรค 2) ฯลฯ

7. ข้อใดเป็นเกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย
(1) ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง
(2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชน
(3) ความสามารถในการตรวจสอบนักการเมืองของ ป.ป.ช.
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เกณฑ์การวัดความเป็นประชาธิปไตย ได้แก่
1. ความพร้อมรับผิดชอบทางการเมือง (Political Accountability)
2. การแข่งขันทางการเมือง (Political Competition)
3. ความมีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom)
4. ความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality)

8.(1) การแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา ได้แบ่งตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ เช่น
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างกฎหมาย หรือการพิจารณาร่างกฎหมาย
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตรา และสอดคล้องการปฏิบัติงานรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการในรัฐสภา อาจมีการแต่งตั้งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ

(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 หน้า 27, 31 คณะกรรมาธิการในรัฐสภามี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และ คณะกรรมาธิการวิสามัญ นอกจากนี้เราอาจจะแบ่งประเภทของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาได้ ตามกิจกรรมที่ถือปฏิบัติอยู่ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติ หรือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานคลัง
3. คณะกรรมาธิการที่มีหน้าที่ในการสอบสวน ตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติงานของรัฐบาล เป็นต้น

9. ข้อใดแสดงว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
(1) การประกาศตัวเป็นองค์อธิปัตย์ของแกนนํากลุ่มผู้ชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจํานวนมาก
(2) จํานวนประชากรที่ลงชื่อเสนอกฎหมายได้ต้องใช้จํานวนมากที่สุด
(3) ประชาชนออกเสียงประชามติแล้วให้รัฐแก้ไขได้เล็กน้อย
(4) ตัวแทนจากวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งกันเองของสภาวิชาชีพ
(5) ตัวแทนในรัฐสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
ตอบ 5 (คําบรรยาย) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) สามารถแสดงออก ผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ในหลายลักษณะ เช่น
1. กําหนดสัดส่วนของตัวแทนประชาชนในรัฐสภาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงมากที่สุด
2. กําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีจํานวนน้อยลง (แสดงนัยยะสําคัญ ว่าอํานาจของประชาชนมากขึ้น) เป็นต้น

10. ผู้มีสิทธิเสนอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือข้อใด
(1) คณะรัฐมนตรี
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน 10 คนขึ้นไป
(3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 10,000 ชื่อขึ้นไป
(4) องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 131 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดย
1. คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

11. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา กรณีเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั่วไปต้องพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 136 กําหนดให้ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอมาโดยสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้เสร็จภายใน 60 วัน แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็น
กรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน หากวุฒิสภายังพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้น หรือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ผ่าน การพิจารณาของวุฒิสภาแล้วนั่นเอง

12. ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ก็ทรงมีอํานาจยับยั้งได้ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติ นั้นคืนมายังรัฐสภา หรือเก็บร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้โดยไม่ทรงพระราชทานคืนมายังรัฐสภา จนล่วงพ้นเวลา 90 วันไปแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 146 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ ไม่ทรงเห็นชอบและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีก ครั้งหนึ่ง และหากมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติ นั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

13. หากประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 148 (1) ระบุไว้ว่า หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่ กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

14. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 133 บัญญัติว่า ร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน และจะเสนอได้ก็แต่โดย 1. คณะรัฐมนตรี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน และต้องเป็นไปตามมาตรา 77 ด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

15. กระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา กรณีการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรได้กําหนดขั้นตอนเป็น 4 วาระ คือ 1. ขั้นรับหลักการ 2. ขั้นพิจารณา 3. ขั้นแปรบัญญัติ 4. ขั้นลงมติเห็นชอบให้ส่งต่อไปยังวุฒิสภา
(1) ถูก
(2) ผิด
(3) ไม่เกี่ยวกับวิชานี้
ตอบ 2 หน้า 50, 54 – 55 กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องพิจารณา เป็น 3 วาระ คือ 1. ขั้นรับหลักการ 2. ขั้นพิจารณาในรายละเอียดของร่างกฎหมาย (การ พิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ, การพิจารณารายมาตรา) 3. ขั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบ

16. (1) ในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา คณะกรรมาธิการมักมีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง
โดยเฉพาะความสามารถในการทํางานอย่างรวดเร็ว
(2) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการ เนื่องจากการทํางานของรัฐสภาตามความเป็นจริงนั้น
จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับหลักความต้องการของนักการเมือง
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เหตุผลของการที่ต้องมีคณะกรรมาธิการมีอยู่ 4 ประการ คือ
1. เพื่อการแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
2. จําเป็นต้องผสมผสานหลักทางเทคนิคกับความต้องการของราษฎร
3. เป็นการละลายความเป็นพรรคการเมือง
4. การสอบสวนข้อเท็จจริงและรับเรื่องราวร้องทุกข์ (ถือเป็น “หน้าที่พิเศษ” ของคณะกรรมาธิการ ในประเทศไทย) ซึ่งในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนานั้นพบว่า คณะกรรมาธิการมักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อ กระบวนการนิติบัญญัติมากนัก เนื่องจากความสามารถในการทํางานค่อนข้างต่ำ

17.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ และคณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม
(2) คณะกรรมาธิการสามัญของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่รัฐบาล หรือสภาร้องขอให้พิจารณา
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของฝรั่งเศส มี 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่องหลัก ๆ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบร่างกฎหมายตามที่ รัฐบาลหรือสภาร้องขอให้พิจารณา
3. คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุม เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อสภา ซึ่งมักเข้าไป เกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงานเดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันที ที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการพิจารณาอยู่

18. รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดมีลักษณะอย่างไร
(1) ลําดับชั้นของกฎหมายไม่มีความจําเป็น
(2) เป็นไปตามเจตจํานงของผู้ปกครองสูงสุด
(3) การแก้กฎหมายทําได้ง่าย
(4) กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4 หน้า 6 รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุด มีลักษณะดังนี้
1. กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทําได้ยาก

19. ใครเป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
(1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)
(2) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี)
(3) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.)
(4) นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ประธานศาลฎีกา)
(5) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน คกก. ร่างรัฐธรรมนูญ)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของ ประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10) ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

20. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 1 หน้า 27 – 28 คณะกรรมาธิการสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจาณาสอบสวน หรือ ศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา

21. ข้อใดคือพื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere)
(1) ไลน์กลุ่ม
(2) การโพสต์บนเฟซบุ๊ค
(3) ห้อง Study ในห้องสมุด
(4) ห้องทํางานในมหาวิทยาลัย
(5) การคลุมฮิญาบ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พื้นที่ส่วนตัว (Private Sphere) เป็นพื้นที่ที่ถูกใช้โดยคนหนึ่งคนใด และมีลักษณะ แบ่งแยกกันเด็ดขาด มักเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล เข้าถึงได้ยากเพราะต้องการความ เป็นส่วนตัว เช่น ศาสนา (การคลุมฮิญาบ) ชีวิตครอบครัว รสนิยม งานอดิเรก ห้องนอน อีเมล (E-mail) ฯลฯ

22. การปฏิวัติครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นเมื่อใด
(1) พ.ศ. 2494
(2) พ.ศ. 2475
(3) พ.ศ. 2476
(4) พ.ศ. 2500
(5) พ.ศ. 2490
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรัฐประหาร (หรือการปฏิวัติที่เรามักจะเรียกกันจนติดปาก) ในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้
1. การรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 โดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
2. การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ
3. การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
4. การรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
5. การรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฯลฯ

23. ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อใด
(1) 24 มิถุนายน 2475
(2) 14 ตุลาคม 2475
(3) 10 ธันวาคม 2475
(4) 24 ธันวาคม 2475
(5) 6 ตุลาคม 2475
ตอบ 3 หน้า 67, (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

24. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีทั้งหมดกี่คน
(1) ไม่มี ส.ส. แบบนี้
(2) 100 คน
(3) 200 คน
(4) 150 คน
(5) ตามจํานวนจังหวัด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 83 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้
1. สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน
2. สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน

25. คณะกรรมาธิการแต่งตั้งเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นญัตติขอให้ตั้ง
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 2 หน้า 31 คณะกรรมาธิการวิสามัญ หมายถึง คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็น หรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ หรือคณะบุคคลที่วุฒิสภาแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้ เป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ โดยจะแต่งตั้งขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยื่นญัตติขอให้ตั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะและจะสลายตัวเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ

26. คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการ โดยประธานในที่ประชุมจะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายถึง คณะกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการโดยประธานในที่ประชุม จะทําหน้าที่ประธานคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว

27. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กรณีพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหรือมิได้พระราชทาน คืนให้กับรัฐสภา จะสามารถประกาศเป็นกฎหมายได้หรือไม่ อย่างไร
(1) ไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชบัญญัติ
(2) ได้ เมื่อรัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
(3) ไม่ได้ เพราะต้องมีพระปรมาภิไธยเท่านั้นจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(4) ได้ เมื่อนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าอีกครั้ง และหากมิได้ลงพระปรมาภิไธยใน 30 วัน
นายกรัฐมนตรีสามารถนําพระราชบัญญัตินั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้
(5) ข้อ 2 และ 4
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

28. คณะกรรมาธิการจะเกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการร่วม หมายถึง กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่งตั้งขึ้นจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาก็ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะ กรณีที่วุฒิสภามีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามิใช่เป็นการแก้ไขเล็กน้อยจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา

29. “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนเมื่อปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2540
(2) พ.ศ. 2535
(3) พ.ศ. 2514
(4) พ.ศ. 2557
(5) พ.ศ. 2516
ตอบ 2 (คําบรรยาย) “ม็อบมือถือ” เป็นชื่อเรียกการชุมนุมของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทั้งนี้เพราะพบว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง นักธุรกิจหรือบุคคลในวัยทํางาน และได้มีการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อ สื่อสารในการชุมนุมครั้งนี้

30. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
(1) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) เคยเป็น ส.ส. เมื่อ 12 ปีก่อน
(3) อายุไม่เกิน 70 ปี
(4) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
(5) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
ตอบ 4(คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 201, 202 และ 216 กําหนดให้ ผู้ดํารงตําแหน่ง ในองค์กรอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปดังต่อไปนี้
1. มีอายุไม่ต่ํากว่า 45 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
5. มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นหรือเคยเป็น ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในระยะ 10 ปีก่อนเข้ารับการคัดเลือกหรือสรรหา เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ฯลฯ

31. (1) ในระบบรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา หากเป็นร่างรัฐบัญญัติธรรมดาเข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจะสามารถทําการจัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session)
เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา จะประกอบด้วยคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา และคณะกรรมาธิการเต็มสภา
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกา มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
3. คณะกรรมาธิการร่วม
4. คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
5. คณะกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งในระบบรัฐสภาของสหรัฐฯ หากเป็นร่างรัฐบัญญัติที่มีความสลับซับซ้อน (เรื่องใหญ่ เรื่องที่ ประชาชนสนใจมาก) เข้าสู่คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องแล้วคณะกรรมาธิการจะสามารถทําการ จัดประชุมที่เรียกว่า การประชุมลับ (Executive Session) เพื่อที่จะกําหนดระเบียบวาระได้

32. หลักการประชาพิจารณ์ ไม่ใช่ข้อใดต่อไปนี้
(1) รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการแล้วจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
(2) รัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามความคิดเห็นของประชาชน
(3) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 4(คําบรรยาย) หลักการของการทําประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. จะต้องกระทําก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
2. มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ที่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อมูลกับประชาชน
4. การดําเนินการประชาพิจารณ์ต้องเป็นไปโดยเที่ยงตรงและเปิดเผย
5. ข้อสรุปจากการทําประชาพิจารณ์เป็นเพียงข้อเสนอแนะ หน่วยงานของรัฐไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม

33. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ที่ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
(1) ส.ส. ทุกคน
(2) ส.ว. ทุกคน
(3) อธิการบดี
(4) ปลัดกระทรวง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปลัดกระทรวง อธิการบดี รองอธิการบดี ฯลฯ

34. (1) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 129 บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีอํานาจเลือกสมาชิก ของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 บัญญัติให้กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละ
พรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 129 วรรค 1 และ 8 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภามีอํานาจเลือกสมาชิกแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ…กรรมาธิการสามัญ ซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจํานวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

35.Brexitคืออะไร
(1) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีการรับผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลาง
(2) โครงการรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
(3) กระบวนการประชามติของประชาชนชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(4) โครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสร้างมัสยิดในอังกฤษ
(5) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเรื่องการออกจากสหภาพยุโรปของประชาชนชาวอังกฤษ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Brexit (มาจากคําว่า British + Exit) คือ กระบวนการประชามติของประชาชน ชาวอังกฤษต่อกรณีแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU)

36. เจตจํานงของประชาชนสามารถแสดงออกได้ทางใดบ้าง
(1) ประชามติ
(2) ประชาพิจารณ์
(3) การเลือกตั้ง
(4) ข้อ 1 และ 3
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เจตจํานงของประชาชนถือเป็นที่มามูลฐานแห่งอํานาจของรัฐบาล ซึ่งประชาชนนั้น สามารถแสดงออกได้โดยการลงประชามติ (การรับร่างรัฐธรรมนูญ การออกจากสมาชิก EU) และการเลือกตั้ง (ส.ส. ส.ว.)

37.(1) การทํางานในขั้น “คณะกรรมาธิการ” ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางานในคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน มักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง
(2) “หน้าที่พิเศษ” ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ประจําตามปกติธรรมดาของคณะกรรมาธิการในประเทศไทย คือ
การแสวงหาข้อมูลและกลั่นกรองเรื่องให้สภา
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่
2 ผิด (2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การละลายความเป็นพรรคการเมือง” หนึ่งในเหตุผลของการที่ต้องมี คณะกรรมาธิการนั้นพบว่า การทํางานในขั้นคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ แม้จะเป็นสมาชิกสภาต่างจากพรรคการเมืองก็ตาม เมื่อต้องมาทํางาน ในกรรมาธิการชุดเดียวกันมักจะมีบรรยากาศของความปรองดอง (ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ)

38. ข้อใดเป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
(1) แต่งตั้งผู้ว่าการมลรัฐ
(2) ยับยั้งกฎหมายของมลรัฐที่เห็นว่าไม่ชอบ
(3) จัดการศึกษาให้ทุกมลรัฐ
(4) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 4(คําบรรยาย) หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
2. คัดเลือกและแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ
3. แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
4. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
5. ยับยั้งร่างกฎหมาย
6. ทําสนธิสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น

39.(1) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลกมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยรัฐสภา
(2) การปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการ ไม่ถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ที่ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใดมิได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมาธิการทั่วโลก มีอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
1. แต่งตั้งโดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับบัญชาของรัฐสภา
2. แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการพิเศษที่มีอํานาจในการคัดเลือก
3. แต่งตั้งโดยรัฐสภา ซึ่งการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการนั้นถือว่าเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้

40. ข้อใดคือความแตกต่างระหว่างประชาพิจารณ์กับประชามติ
(1) ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ กับประชาชน
(2) ความผูกพันปฏิบัติของรัฐตามผลการออกเสียงของประชาชน
(3) การสร้างกระบวนการให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้อย่างทั่วถึง
(4) การไม่ตัดสินใจต่อผลในเรื่องนั้น ๆ ล่วงหน้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความแตกต่างระหว่างประชามติกับประชาพิจารณ์ มีดังนี้
1. ประชามติจะตั้งอยู่บนฐานคติของการแสดงอํานาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน ส่วนประชาพิจารณ์ตั้งอยู่บนฐานคติของการรักษาผลประโยชน์แก่ประชาชน ประชามติจะเป็นกระบวนการที่รัฐขอปรึกษาหารือประชาชน เพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติ
2. ส่วนประชาพิจารณ์เป็นแนวทางที่รัฐใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. ประชามติกําหนดให้รัฐต้องผูกพันการตัดสินใจและดําเนินการตามผลที่ออกมา ส่วนประชาพิจารณ์นั้นรัฐจะไม่ผูกพัน เป็นเพียงข้อเสนอแนะ และไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตาม
4. ประชามตินั้นต้องการมติของประชาชนว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ ส่วนประชาพิจารณ์ต้องการความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องนั้น ๆ เพื่อลดความขัดแย้งจากการตัดสินใจของรัฐ

41. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 กําหนดให้มีวุฒิสภาในวาระแรกจํานวนกี่คน
(1) 400 คน
(2) 350 คน
(3) 250 คน
(4) 200 คน
(5) 300 คน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 บทเฉพาะกาล มาตรา 269 กําหนดให้ ในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคําแนะนํา โดยอายุของวุฒิสภาตามมาตรานี้มีกําหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

42. องค์กรท้องถิ่นใดที่หายไปในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) เทศบาล
(2) สภาท้องถิ่น
(3) องค์การบริหารส่วนตําบล
(4) กํานัน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์กรท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่
1. ระดับหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน สภาท้องถิ่น
2. ระดับตําบล เช่น กํานัน องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)
3. ระดับอําเภอ เช่น เทศบาล เมืองพัทยา
4. ระดับจังหวัด เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น

43. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของยุครู้แจ้ง (Enlightenment)
(1) การยอมรับระบบเหตุผล
(2) ปฏิเสธอํานาจในการปกครองของศาสนจักร
(3) การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุด
(4) การมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ยุครู้แจ้ง (Enlightenment) หรือ “ยุคเรืองปัญญา” คือ ยุคที่มีการเคลื่อนไหวทาง
วัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคม ส่งเสริมการมีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้มีการยอมรับระบบเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต การเชื่อในบารมีของผู้นําสูงสุดและการเปิดเผยจากพระเจ้า ซึ่งส่งผลให้ศาสนจักรไม่มีอิทธิพลต่อความคิดและถือเป็นการปฏิเสธอํานาจ ในการปกครองของศาสนจักรนั่นเอง

44. การกําหนดจํานวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายน้อยลง แสดงนัยยะอะไร
(1) อํานาจของประชาชนมากขึ้น
(2) อํานาจของประชาชนน้อยลง
(3) โอกาสการเข้ามีส่วนร่วมในการปกครองน้อยลง
(4) ไม่มีนัยยะสําคัญ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

45. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

46. การปฏิรูปประเทศ เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใด
(1) พ.ศ. 2560
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2557
(4) พ.ศ. 2550
(5) ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “การปฏิรูปประเทศ” เป็นหมวด 16 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งการปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องการดําเนินการในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลดังนี้ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ และด้านอื่น ๆ

47. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 6 ปี
(3) 4 ปี
(4) 3 ปี
(5) 7 ปี
ตอบ 5 หน้า 37 รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 232 และ 233 กําหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา โดยมี วาระการดํารงตําแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้
เพียงวาระเดียว

48.(1) การดําเนินการของคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภาผู้แทนราษฎร ต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง
(2) กรณีคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ จะต้องดําเนินการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 128 วรรคสอง ด้วย
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 128 วรรค 1 และ 2 กําหนดให้ สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภามีอํานาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด…. ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภา ผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือ ทุพพลภาพ ต้องกําหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทํางานเกี่ยวกับ บุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย….

49.“พฤฒิสภา” ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เปรียบเทียบได้กับองค์กรใด
(1) ศาลรัฐธรรมนูญ
(2) สนช.
(3) องคมนตรี
(4) วุฒิสภา
(5) สภาพัฒนาการเมือง
ตอบ 4 หน้า 23 วุฒิสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในชื่อ “พฤฒิสภา” ซึ่งกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2489 และต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ 2490 จึงเปลี่ยนเป็น “วุฒิสภา” โดยพบว่าที่มาของ ส.ว. ตั้งแต่ เริ่มปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนั้นรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะกําหนดให้มาจากการแต่งตั้ง ยกเว้น รัฐธรรมนูญฯ 2540 (มาจากการเลือกตั้ง) รัฐธรรมนูญฯ 2550 (มาจากการเลือกตั้งและสรรหา) และรัฐธรรมนูญฯ 2560 (มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม)

50. ใครมีสิทธิเลือกตั้ง
(1) นักโทษ
(2) อยู่ระหว่างสู้คดีถูกเพิกถอนสิทธิ
(3) จิตฟั่นเฟือน
(4) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
(5) ภิกษุ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 95 กําหนดให้ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง และมาตรา 96 กําหนดให้ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้าม
มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (เป็นนักโทษ)
4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

51. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รัฐไทยไม่สามารถถอนสัญชาติแต่สามารถเนรเทศได้
(2) รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
(3) ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้
(4) รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
(5) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครองของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับ
ความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความสัมพันธ์ของรัฐกับประชาชนในสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญ สามารถพิจารณา ได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐมีอํานาจมาก ประชาชนจะมีอํานาจน้อยลง
2. จํากัดอํานาจรัฐต่อประชาชนอย่างไร เช่น รัฐถูกจํากัดอํานาจมาก ประชาชนจะมีเสรีภาพมากขึ้น
3. ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับรัฐได้อย่างไร เช่น ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการครอบครอง ของรัฐได้โดยสะดวกถ้ามิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับตามกฎหมายบัญญัติประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานรัฐเมื่อถูกบุคลากรของรัฐละเมิดได้ เป็นต้น

52. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
(1) คตง.
(2) กกต.
(3) สตง.
(4) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(5) ป.ป.ช.
ตอบ 3 หน้า 35 – 39, (คําบรรยาย) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 ได้แก่
1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
3. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

53. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
(1) 6 เมษายน 2560
(2) 5 พ.ค. 2560
(3) 24 มิถุนายน 2460
(4) 10 ธันวาคม 2560
(5) 24 เมษายน 2560
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

54. คณะกรรมาธิการตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา เพื่อการทํากิจการหรือเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของรัฐสภาแล้วรายงานต่อสภา
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

55.(1) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส เป็นคณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อที่สภาจะสามารถ ดําเนินการสอบสวนหรือรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และเสนอข้อสรุปต่อประธานาธิบดี
(2) คณะกรรมาธิการสอบสวนและควบคุมของฝรั่งเศส มักเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีที่สําคัญและดําเนินงาน เดียวกับกระทรวงการยุติธรรม และจะถูกยุบทันทีที่ศาลได้ดําเนินคดีในข้อเท็จจริงที่คณะกรรมาธิการ พิจารณาอยู่
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

56.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมของสภา จะต้อง
คํานึงถึงหลักการกระจายอํานาจเป็นหลัก
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 119 วรรคสาม บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยนั้นมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับ การประชุมของสภา ซึ่งจะต้องคํานึงถึงหลักแบ่งงานกันทําเป็นหลัก โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 3 บัญญัติเรื่องการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอํานาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทําการแทนมิได้

57. การตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องเสียงส่วนน้อย คือข้อใด
(1) Secular State
(2) Parliamentary System
(3) Social Contract
(4) Human Rights
(5) Majority Rule and Minority Rights
ตอบ 5 (คําบรรยาย) Majority Pule and Minority Rights หมายถึง หลักการปกครองโดยเสียง ข้างมากโดยเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการตัดสินใจด้วย เสียงส่วนใหญ่แต่ปกป้องสิทธิของเสียงส่วนน้อยนั่นเอง

58.(1) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(2) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาญี่ปุ่นจะมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการ
ด้วยกันและในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น มี 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสามัญ
2. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
โดยประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญนั้นจะมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในคณะกรรมาธิการด้วยกัน และในทางปฏิบัติจะได้รับการคัดเลือกโดยญัตติขอให้รับรองในคณะกรรมาธิการ

59.(1) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อสอดคล้องกับงานหลายฝ่าย ของรัฐบาล
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภามีบทบาทเท่ากับเป็นรัฐสภาขนาดเล็ก (Little Legislature)
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่สําคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในรูปรัฐสภาประการหนึ่งคือ การแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการ (Committee) เพื่อพิจารณาปัญหากฎหมายเฉพาะเรื่อง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อ สอดคล้องกับงานหลายฝ่ายของรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้นจะมีบทบาทคล้าย กับรัฐสภาขนาดเล็ก (Little: Legislature)

60. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย
(1) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
(2) จัดทําประชาพิจารณ์ก่อนการตัดสินใจดําเนินโครงการ
(3) ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
(4) ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัญหาของการทําประชาพิจารณ์ในประเทศไทย ได้แก่
1. การคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้เสีย
2. รัฐตัดสินใจดําเนินโครงการก่อนจัดทําประชาพิจารณ์
3. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาชี้แจงให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
4. ผู้มาร่วมบางส่วนไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการได้
5. ความไม่เป็นกลางของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
6. ปัญหาในเรื่องงบประมาณ เป็นต้น

61.(1) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติรายได้ และร่างพระราชบัญญัติ ที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน
(2) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นอาจขอให้รัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธาน
คณะกรรมาธิการขอมาก็ได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่น สามารถเปิดให้มีการซักถามในที่ประชุม คณะกรรมาธิการ (Public Hearing) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติ รายได้ และร่างพระราชบัญญัติที่สําคัญเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งอาจขอให้รัฐมนตรี หรือผู้แทนรัฐบาลชี้แจงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ ขณะเดียวกันรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลก็อาจจะขอเข้าพูดที่ประชุมคณะกรรมาธิการก่อนที่ประธานคณะกรรมาธิการขอมาก็ได้

62. การกําหนดความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชนในฐานะปัจเจก” มักยึดหลักความได้สัดส่วน
และความเหมาะสม ระหว่างข้อใด
(1) ความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
(2) ประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ
(3) อํานาจของรัฐสภากับอํานาจองค์กรอิสระ
(4) ข้อ 1 และ 3 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 2 ถูก
ตอบ 5 หน้า 13, (คําบรรยาย) การกําหนดพื้นฐานความสัมพันธ์ของ “ผู้ใช้อํานาจรัฐ” กับ “ประชาชน ในฐานะปัจเจก” นั้นมักยึดหลักแห่งความได้สัดส่วนและหลักแห่งความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อ
1. เป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและการใช้อํานาจรัฐ
2. สร้างดุลยภาพระหว่างประโยชน์ของปัจเจกและประโยชน์ของสาธารณะ

63. กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน
เรียกว่า
(1) พระราชกําหนด
(2) พระราชานุญาต
(3) พระราชกฤษฎีกา
(4) พระราชบัญญัติ
(5) พระราชดําริ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พระราชกําหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วน ได้แก่ กรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนในอัน ที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษี อากรหรือเงินตรา

64. คํากล่าวที่ว่า “เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน” คือข้อใด
(1) ประชาธิปไตยผูกโยงกับจํานวนประชาชน
(2) เสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก
(3) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่ไม่สามารถไปด้วยกัน
(4) ประชาธิปไตยไม่สามารถทําให้เกิดเผด็จการรัฐสภาได้
(5) ข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เสรีนิยมกับประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นจะผูกโยง กับจํานวนประชาชน (เน้นส่วนใหญ่) ส่วนเสรีนิยมคือการจํากัดอํานาจของรัฐต่อปัจเจก แต่อย่างไร ก็ตามทั้งสองด้านจะเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกัน

65. ข้อใดถูกต้อง
(1) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(2) นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(3) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
(4) นายกรัฐมนตรีของรัสเซียมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 5 (คําบรรยาย)
ข้อเลือก 1 ผิด นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้นมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในสภาโดยการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ข้อเลือก 2 ผิด นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
ข้อเลือก 3 ผิด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทาง คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)
ข้อเลือก 4 ผิด นายกรัฐมนตรีรัสเซียนั้นมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี

66. ในความขัดแย้งทางการเมืองไทยตั้งแต่ช่วง 2540 จนถึงปัจจุบันมีการใช้สัญลักษณ์ทาง “สี” แทนกลุ่มผู้ชุมนุม กลุ่มต่าง ๆ คําว่า “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นจากผู้ชุมนุมกลุ่มใด
(1) กปปส. และ นปช. รวมกัน
(2) นปช.
(3) พธม.
(4) กปปส.
(5) ประชาชนพิทักษ์ชาติ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) “สลิ่ม” มีจุดเริ่มต้นมาจากผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนพิทักษ์ชาติ (ไม่แบ่งสี) โดยการนํา ของ นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มเสื้อหลากสี” การเคลื่อนไหวของกลุ่มได้สร้าง ปฏิกิริยาโต้ตอบจากคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทยว่าคนเสื้อหลากสีก็คือเสื้อเหลืองจําแลง เพราะเห็นว่า ทั้งอุดมการณ์ การกระทํา และการแสดงออกไม่ต่างกับเสื้อเหลือง การดูแคลนคนเสื้อหลากสีของ คนเสื้อแดงจึงแทนด้วยคําว่า สลิ่ม ด้วยเหตุผลที่ว่าสลิ่ม ซาหริ่ม) เป็นขนมที่มีเส้นหลากหลายสีสัน และเป็นการล้อไปกับสภาพเสื้อที่หลากหลายของกลุ่มเสื้อหลากสีนั่นเอง

67. สภาขุนนางอังกฤษประเภทนักบวช มีวาระการดํารงกี่ปี
(1) 6 ปี
(2) ตลอดชีพ
(3) ตามระยะเวลาการบวช
(4) ตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
(5) 4 ปี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สภาขุนนางของอังกฤษ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขุนนางสืบเชื้อสาย (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตําแหน่งทางสายโลหิต และมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ
2. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และสามารถดํารง ตําแหน่งได้ตลอดชีวิต แต่สืบทอดให้ทายาทไม่ได้
3. ขุนนางโดยตําแหน่งที่เป็นนักบวช (Spiritual Peers) มาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่าง ๆ โดยจะมีวาระตามระยะเวลาที่อยู่ในตําแหน่งที่กําหนด
4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมายและทําหน้าที่เป็นตุลาการ ศาลสูงสุด โดยจะมีวาระการดํารงตําแหน่งตลอดชีพ และถือเป็นขุนนางประเภทเดียวเท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือน ในขณะที่ขุนนางประเภทอื่น ๆ จะได้รับเพียงสวัสดิการเท่านั้น

68. หลักนิติธรรมคือข้อใด
(1) กฎหมายต้องบังคับเป็นการทั่วไปใช้กับทุกคนเสมอกัน
(2) กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
(3) กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน
(4) กฎหมายต้องมีความมั่นคงพอสมควร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรมมีลักษณะสําคัญ ดังนี้
1. กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไปและใช้กับทุกคนเสมอภาคกัน
2. กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
3. กฎหมายที่ประกาศใช้แล้วต้องได้รับการบังคับให้สอดคล้องต้องกัน
4. กฎหมายต้องมีความมั่นคงและต่อเนื่อง
5. ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทําในอนาคต เป็นต้น

69. กรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแต่งตั้งขึ้น จากผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาก็ได้
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

70. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกามีวาระการดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 7 ปี
(2) 4 ปี
(3) 6 ปี
(4) 2 ปี
(5) 5 ปี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รัฐสภาหรือสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎรที่มีสมาชิกจํานวน 435 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี
2. วุฒิสภาที่มีสมาชิกจํานวน 100 คน มีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปี

71. นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกถอดถอนออกจากตําแหน่งเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ด้วยข้อหา เรื่องทุจริตโครงการรับจํานําข้าว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคําวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตําแหน่ง กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เนื่องจากใช้สถานะหรือตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้าไปแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น

72. บุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท สามารถไปสมัครเป็นผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระได้ทุกคน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

73.จอห์น ล็อค และโทมัส ฮอบส์ เห็นว่าสภาพธรรมชาติ (State of Nature) เป็นสภาวะสงคราม
(1) ลูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ เห็นว่า ภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นภาวะสงคราม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าภาวะธรรมชาติของมนุษย์เป็นภาวะที่มนุษย์มีความสมบูรณ์และมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการโดยคนอื่นไม่สามารถเข้ามารุกล้ำได้

74. การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะกระทําไม่ได้ถ้ามีวุฒิสมาชิกเห็นชอบจํานวนน้อยกว่า 1 ใน 3 ของ วุฒิสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 256 (3) กําหนดให้ การออกเสียงลงคะแนนใน วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียง เห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (วุฒิสมาชิก) เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

75. คณะกู้บ้านกู้เมืองและกบฏบวรเดช คือกลุ่มเดียวกัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กบฏบวรเดช หรือ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในรัฐไทยสมัยใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้า โครงการเศรษฐกิจแห่งชาติของนายปรีดี พนมยงค์ และชนวนสําคัญที่สุดคือ ข้อโต้แย้งในเรื่อง พระเกียรติยศและพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ซึ่งเป็นผลนําไปสู่การนํา กําลังทหารก่อกบฏโดยมี พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นแม่ทัพ

76. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ข้าราชการไม่สามารถดํารงตําแหน่งวุฒิสภาได้ ยกเว้นเฉพาะในวาระแรกเท่านั้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 24, (คําบรรยาย) ลักษณะต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการ
2. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
3. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4. เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ฯลฯ

77. “หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร” ไม่เคยถูกขุดขึ้นมาก่อน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หมุดก่อกําเนิดรัฐธรรมนูญหรือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับ พื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ซึ่งภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนและเคยถูกขุด ขึ้นมาหลายครั้ง เช่น มีการนําสีดํามาราดทับ ถูกขีดจนเป็นรอยจํานวนมาก เคยถูกขุดและหายไป ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกนํากลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น

78.โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าเมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 9, (คําบรรยาย) องค์ อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค นั้นแตกต่างกันในประเด็นเรื่อง “การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ” โดยโทมัส ฮอบส์ เห็นว่า เมื่อประชาชนมอบอํานาจให้องค์อธิปัตย์แล้วไม่สามารถเพิกถอนได้ ไม่ว่าเขาจะควบคุมชีวิตเรา มากแค่ไหนก็ตาม แต่สําหรับ จอห์น ล็อค กลับเห็นว่าอํานาจดังกล่าวสามารถเพิกถอนได้ เมื่อเห็นว่าองค์อธิปัตย์ไม่อาจดูแลปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนได้

79. รัฐสภาของอังกฤษไม่สามารถยกเลิกกฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐสภาสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) สามารถยกเลิกกฎหมายของสถาบันนิติบัญญัติ ลําดับรองได้ ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติลําดับรองได้แก่ รัฐสภาสกอตแลนด์ รัฐสภาแห่งเวลส์ และ รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือ

80. หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 อํานาจของนายกรัฐมนตรีมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้ยุติลง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 265 วรรค 2 กําหนดให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) 2557… นั่นแสดงว่า หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ 2560 อํานาจของ นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ยังคงอยู่

81.คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีจํานวนกี่คน
(1) 7 คน
(2) 9 คน
(3) 11 คน
(4) 3 คน
(5) 5 คน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีจํานวนทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย
1. ประธานศาลฎีกา
2. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
3. ผู้นําฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
4. ประธานศาลปกครองสูงสุด
5. บุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มิใช่องค์กรอิสระที่ต้องมีการสรรหาอีก 5 คน

82. ประเทศใดที่ลงประชามติให้ผู้ปกครองมีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา
(1) รัสเซีย
(2) จีน
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
(5) อเมริกา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว ภายหลังรัฐสภาขณะนั้นพยายามถอดเขาออกจากตําแหน่ง โดยเยลต์ซินได้ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อให้ประธานาธิบดี มีอํานาจเหนือกว่ารัฐสภา และมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบร้อยละ 58.5

83. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ
(1) การบริหารราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
(2) อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
(3) คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
(4) ข้อ 1 และ 2
(5) ข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
1. ระยะเวลาที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง
2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3. สิทธิและหน้าที่พลเมือง
4. ขอบเขตและขีดจํากัดของอํานาจรัฐบาล
5. อํานาจของฝ่ายยุติธรรม
6. แนวทางการจัดตั้งรัฐบาล การเข้าสู่และพ้นตําแหน่ง
7. บทบาทและอํานาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น

84. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร วาระใดเป็นการพิจารณารับหลักการ
(1) วาระที่ 2
(3) วาระที่ 3
(2) วาระที่ 4
(4) วาระการนําเสนอของกรรมาธิการ
(5) วาระที่ 1
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

85. ข้อใดคือประชาธิปไตยทางตรง
(1) การสรรหาวุฒิสภา
(2) การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(3) การรับฟังความคิดเห็นจากประธานชุมชน
(4) การไปลงประชามติ
(5) การรับฟังข่าวสาร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นรูปแบบการปกครอง โดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง หรือผู้ทําหน้าที่แทนตน เช่น การไปลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย เป็นต้น

86. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หากร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่ามีหลักการขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถ
รวมตัวกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา โดยใช้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา
หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันเป็นจํานวน….ของทั้งสองสภารวมกัน
(1) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
(2) ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5
(3) ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
(4) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
(5) ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

87. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กรณีร่างพระราชบัญญัติที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของ สภาผู้แทนราษฎรและมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี อาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาได้โดยต้องดําเนินการอย่างใดจึงจะสามารถนําไปใช้เป็นกฎหมายได้
(1) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(2) ร้องขอให้วุฒิสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(3) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นเพื่อให้ รัฐสภาลงมติ โดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(4) ร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยคะแนนเสียงต้องมากกว่ากึ่งหนึ่ง
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 145 กําหนดให้ ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรี ระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาตามมาตรา 176 ว่าจําเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ให้ความเห็นชอบ และคะแนนเสียงที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึง กึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาโดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็น เพื่อให้รัฐสภาลงมติ ถ้ารัฐสภามีมติเห็นชอบโดยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็ให้นําไปใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้

88. องค์อธิปัตย์ตามแนวคิดสัญญาประชาคมของโทมัส ฮอบส์ และจอห์น ล็อค ต่างกันอย่างไร
(1) การเพิกถอนอํานาจของผู้ให้อํานาจ
(2) ความเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน
(3) การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

89. รัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง
(1) รัฐที่ระบุให้ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นการเฉพาะ
(2) รัฐที่เอานักปรัชญามาปกครอง
(3) รัฐที่แยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากพื้นที่สาธารณะ
(4) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากอํานาจในการปกครอง
(5) รัฐที่แยกเอาศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกาวิสัย (Secular State) หมายถึง รัฐหรือประเทศที่แยกเอา ศาสนาออกจากกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการแยกศาสนจักรออกจากฝ่ายอาณาจักร ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะกรณีของอังกฤษ) โดยทั่วไปรัฐฆราวาสจะมีแนวทางบริหารประเทศ โดยใช้หลักทั่วไปทางโลกมาเป็นรากฐานของการปกครอง ไม่ต่อต้านความเชื่อหรือจํากัดศาสนา ใด ๆ ตัวอย่างของรัฐดังกล่าวนี้ ได้แก่ ไทย เนปาล ฯลฯ

90.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการเต็มสภา คณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการร่วม และคณะกรรมาธิการร่วมพระราชบัญญัติมหาชน
(2) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการสามัญ สกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการของรัฐสภาอังกฤษ มี 5 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการเต็มสภา
2. คณะกรรมาธิการสามัญ
3. คณะกรรมาธิการวิสามัญ
4. คณะกรรมาธิการร่วม
5. คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติเอกชน
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมาธิการชุดพิเศษชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมาธิการสามัญสกอต (Scottish Standing Committee) ซึ่งมีกรรมาธิการทุกคนเป็นชาวสกอต และทําหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสกอตแลนด์เท่านั้น

91. คณะกรรมาธิการ….จะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีสภาได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 แล้ว
(1) คณะกรรมาธิการสามัญ
(2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
(3) คณะกรรมาธิการร่วม
(4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
(5) คณะกรรมาธิการชั่วคราว
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

92.(1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็นผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้
(2) กรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรส
จะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ ความมีอาวุโสเป็นหลัก
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เปิดโอกาสให้มีการใช้ “ตําแหน่งสมาชิกคณะกรรมาธิการ” เป็นรางวัลตอบแทนแก่สมาชิกสภาอยู่แทนทําหน้าที่เป็น ผลประโยชน์แก่พรรคการเมืองได้ ส่วนคณะกรรมาธิการแต่ละคณะในสภาคองเกรสนั้นจะได้รับเลือกเข้าดํารงตําแหน่งกรรมาธิการคณะใดคณะหนึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของสมาชิก ความเหมาะสมต่อหน้าที่ และความมีอาวุโสเป็นหลัก

93.“The End of History” เป็นแนวคิดของใคร
(1) โทมัส ฮอบส์
(2) รุสโซ
(3) ฟรานซิส ฟูกูยามา
(4) มองเตสกิเออ
(5) จอห์น ล็อค
ตอบ 3 หน้า 14, (คําบรรยาย) พรานซิส ฟูกูยามา (Francis Fukuyama) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การ สิ้นสุดของประวัติศาสตร์” (The End of History) เพื่อสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย โดยเขาเชื่อว่า โลกทุกวันนี้ไม่ต้องศึกษาเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอีกต่อไป เพราะเราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการแข่งขันทางอุดมการณ์แล้ว นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลงหลังการพังทลายของกําแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1990

94. ข้อใดไม่ใช่ข้อบกพร่องของสภาพธรรมชาติตามแนวคิดของจอห์น ล็อค
(1) มนุษย์อาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม
(2) อาจใช้อารมณ์ในการตัดสินกันเองได้
(3) มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน
(4) ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ผู้เสียประโยชน์ตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้
(5) มนุษย์ทําตามความอยาก หิวและตัณหา
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค เห็นว่า สภาพธรรมชาติมีข้อบกพร่องใน 3 ประการ คือ
1. มนุษย์แต่ละคนอาจมองข้อบังคับต่างกัน และอาจถือเหตุผลประโยชน์ของตนเป็นกฎธรรมชาติ ให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม
2. ความไม่ยุติธรรมอาจทําให้ฝ่ายผู้เสียประโยชน์ออกมาตอบโต้โดยไม่คํานึงถึงหลักการได้
3. การที่มนุษย์ตัดสินกันเอง อาจใช้อารมณ์และเกิดการแก้แค้นกันเองได้

95. ข้อใดต่อไปนี้คือสิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
(1) สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน
(2) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
(3) สิทธิคัดค้านการสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
(4) สิทธิในการยื่นเสนอกฎหมายเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ
(5) สิทธิในการไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิทธิที่เสียไปเมื่อไม่ไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ 2550 มาตรา 72 และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. 2550 มาตรา 26 มีดังต่อไปนี้
1. สิทธิยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
2. สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ส. ส.ว.
สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
3. สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

96. (1) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ)
(2) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 119 วรรคสี่ บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสารจาก บุคคลใด หรือเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทํา หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ระบบคณะกรรมาธิการของรัฐสภาไทยเป็นแบบผสม คือมีทั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ประจําสภา (ระบบสหรัฐอเมริกา) และคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งขึ้นชั่วคราว (ระบบอังกฤษ) โดยรัฐธรรมนูญฯ 2560 มาตรา 129 วรรค 4 บัญญัติให้อํานาจคณะกรรมาธิการ เรียกเอกสาร จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทําหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ

97. วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินให้เสร็จภายในกี่วัน
(1) 45 วัน
(2) 15 วัน
(3) 60 วัน
(4) 30 วัน
(5) 90 วัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

98. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
(1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(2) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(3) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(4) ประชาชนเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ เสนอขอแก้ไข
(5) ไม่มีข้อถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฯ 2560 มีดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี
2. ส.ส. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3. ส.ส. และ ส.ว. จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

99. (1) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว

(2) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ จะเป็นคณะกรรมาธิการที่ได้รับแต่งตั้ง มาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง
(1) ถ้าข้อความที่ 1 ถูก และข้อความที่ 2 ผิด
(2) ถ้าข้อความที่ 1 ผิด และข้อความที่ 2 ถูก
(3) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ถูกทั้งสองข้อ
(4) ถ้าข้อความที่ 1 และข้อความที่ 2 ผิดทั้งสองข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการวิสามัญ (Select Committee) ของรัฐสภาอังกฤษ สามารถ แบ่งย่อยได้ 3 ประเภท คือ
1. คณะกรรมาธิการสมัยประชุม
2. คณะกรรมาธิการชั่วคราว
3. คณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ส่วนคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Committee) ของรัฐสภาอังกฤษนั้นจะเป็นคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแต่งตั้งมาจากสภาสามัญและสภาขุนนาง เพื่อร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

100. รัฐธรรมนูญฉบับใดใช้ระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญนานที่สุด
(1) ฉบับที่ 1
(2) ฉบับที่ 3
(3) ฉบับที่ 7
(4) ฉบับที่ 16
(5) ฉบับที่ 8
ตอบ 5 (คําบรรยาย) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 และถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการร่างนานที่สุด โดยเริ่มร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2502 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2511 ใช้เวลา 9 ปีเศษ และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511

 

POL2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใดจะพิจารณาจากเรื่องใด
(1) ลักษณะของงานในตําแหน่งนั้น และดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสูงสุด
(2) การใช้ทักษะและความชํานาญเพื่อจัดการปัญหาของข้าราชการผู้นั้น
(3) ระบบคุณธรรม เหตุผลความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นั้น

(4) ระบบอุปถัมภ์ภายในหน่วยงาน และความเหมาะสมกับตําแหน่งนั้น
(5) ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นกลางทางการเมือง และพฤติกรรมที่ดีงามของผู้นั้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งใด ให้พิจารณาโดยคํานึงถึงระบบคุณธรรม ลักษณะของงานในตําแหน่งนั้น ผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพขององค์กร รวมทั้งเหตุผลความจําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตลอดจน ศักยภาพ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นั้น

2. ปัจจุบันการย้าย การโอน การเลื่อนตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นไปตามกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550
(5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการย้าย การโอน หรือการเลื่อนตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. 2564

3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการย้ายตําแหน่ง
(1) การย้ายไม่จําเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้
(2) การย้ายสามารถย้ายภายในกรมเดียวกัน ประเภทเดียวกัน และสายงานเดียวกัน แต่ไม่สามารถย้าย
ต่างประเภทกัน และต่างสายงานกันได้
(3) การย้ายเป็นกรณีที่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.พ. กําหนดก่อน แล้วผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจึงจะดําเนินการย้ายได้
(4) การย้ายใน “ระดับที่ต่ํากว่าเดิม” จําเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้ แต่ไม่จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะย้าย
(5) การย้ายอาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่ในส่วนภูมิภาคก็ได้ แต่ต้องเป็นตําแหน่งประเภทเดียวกัน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การย้าย หมายถึง การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในกรมเดียวกันหรือ กรมเดิม แต่อาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่ในจังหวัดหรือ อําเภอในส่วนภูมิภาคก็ได้
ซึ่งจะเป็นตําแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
โดยหลักเกณฑ์ในการย้ายตําแหน่ง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้
2. กรณีที่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.พ. กําหนดก่อน แล้วผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจึงจะดําเนินการย้ายได้

4.การย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม จากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกย้ายหรือโอนนั้น เป็นไปตามกฎ ก.พ. ในข้อใด
(1) ข้อ 5
(2) ข้อ 6
(3) ข้อ 7
(4) ข้อ 8
(5) ข้อ 9
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎ ก.พ. ข้อ 6 กําหนดให้การย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับ ที่ต่ำกว่าเดิม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกย้าย หรือโอนนั้น

5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) การเลื่อนระดับให้เลื่อนได้ไม่เกิน 2 ระดับ
(2) การโอนให้ไปดํารงตําแหน่งใหม่ อาจอยู่ในกระทรวงเดิมหรือกระทรวงใหม่ก็ได้
(3) ผู้บังคับบัญชามีอํานาจสั่งให้ข้าราชการสับเปลี่ยนหน้าที่หรือย้ายโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่นได้
(4) การเลื่อนระดับ คือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม
(5) ข้าราชการสามารถข้ามประเภทตําแหน่งจากระดับปฏิบัติงานไประดับปฏิบัติการได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับ คือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่ง ประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม โดยเลื่อนได้ไม่เกิน 1 ระดับ ดังนั้นในแต่ละประเภท ตําแหน่งจึงสามารถเลื่อนระดับได้ดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น – ระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น ระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ – ระดับชํานาญการ – ระดับชํานาญการพิเศษ – ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ระดับทักษะพิเศษ – ระดับชํานาญงาน -ระดับอาวุโส

6.การเลื่อนระดับของประเภทตําแหน่งอํานวยการ ตําแหน่งที่ต่อจาก “ระดับต้น” คือตําแหน่งใด
(1) ระดับกลาง
(2) ระดับปลาย
(3) ระดับสูง
(4) ระดับพิเศษ
(5) ระดับชํานาญ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. การเลื่อนระดับของประเภทตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งที่ต่อจาก “ระดับปฏิบัติงาน” คือตําแหน่งใด
(1) ระดับเชี่ยวชาญ
(2) ระดับต้น
(3) ระดับชํานาญการ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับชํานาญงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8.ข้อใดคือหลักเกณฑ์ในการประเมินการเลื่อนเงินเดือน
(1) ยึดหลักความถูกต้องและเป็นธรรม
(2) ต้องเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่ ก.พ. กําหนด
(3) ใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานเป็นหลัก
(4) ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานจะเป็นผู้ประเมินผล
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การประเมินการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ เป็นการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ในแต่ละระดับที่ตนสังกัดอยู่ โดยปกติการประเมินการเลื่อนเงินเดือนจะกระทําตามเกณฑ์ โดยยึดหลักความถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่ ก.พ. กําหนด

9. การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญในครั้งที่ 1 หรือการเลื่อนในครึ่งปีแรก คือช่วงเวลาใด
(1) 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน
(2) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม
(3) 1 พฤศจิกายน ถึง 30 เมษายน
(4) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน
(5) 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม
ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติจะเลื่อน ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เป็นการเลื่อนเงินเดือนสําหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
ครั้งที่ 2 เป็นการเลื่อนเงินเดือนสําหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีถัดไป

10. ข้อใดไม่ใช่หลักการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจ
(1) หน่วยงานดําเนินการให้ข้าราชการมีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(2) ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม
(3) ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้บําเหน็จ คําชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล
(4) การให้ข้าราชการไปฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ
(5) การให้ข้าราชการยืมใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานนอกเวลาราชการเมื่อมีเหตุจําเป็น
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 72 – 77), (คําบรรยาย)
หลักการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ มีดังนี้
1. หน่วยงานราชการต้องดําเนินการให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
2. ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม และเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดํารงตนเป็นข้าราชการที่ดี
3. หากข้าราชการประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัย และปฏิบัติราชการอย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้บําเหน็จ คําชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล
4. ให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ฯลฯ

11. ข้อใดกล่าวถึงหลักการ “Put the right man on the right job” ได้อย่างถูกต้องที่สุด
(1) การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้ถูกที่ถูกเวลา
(2) การสรรหาบุคคลที่มีทักษะความสามารถเข้ามาทํางานด้วยระบบคุณธรรม
(3) การปรับภารกิจของหน่วยงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล
(4) การได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะเหมาะสมกับความต้องการของตําแหน่ง
(5) การได้มาซึ่งบุคลากรที่มีทักษะความรู้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บังคับบัญชา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เป้าหมายของการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ มีดังนี้
1. ส่วนราชการได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะเหมาะสมกับ ความต้องการของตําแหน่ง (Put the right man on the right job at the right time)
2. ส่วนราชการสามารถสรรหาและเลือกสรรบุคคลได้อย่างมีมาตรฐานและคล่องตัว

12. ข้อใดคือคุณสมบัติในการแต่งตั้งข้าราชการใน “สายงานปิด”
(1) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง
(2) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาโดยระบุชื่อสาขาวิชาไว้หลายสาขาวิชา
(3) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาทุกสาขาวิชาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สายงานปิด คือ สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง เช่น ตําแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการ กําหนดให้มีคุณวุฒิ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
– ได้รับปริญญาตรี/โท/เอก /คุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
– ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

13. คุณสมบัติของตําแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการ มักอยู่ในสายงานประเภทใด
(1) สายงานเปิด
(2) สายงานกึ่งปิด
(3) สายงานปิด
(4) สายงานปิดและสายงานเปิด
(5) สายงานกึ่งปิดกึ่งเปิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14. ข้อใดไม่ใช่ความเคลื่อนไหว (Movement) ด้านจริยธรรมสําหรับการบริหารงานภาครัฐในปลายศตวรรษที่ 19
(1) มุ่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
(2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินงานจาก “สายการบังคับบัญชา” (Hierarchy) สู่ “ข้อตกลง” (Agreement) หรือ “สัญญา” (Contract)
(3) การปฏิรูประบบข้าราชการพลเรือนไปสู่การสร้างระบบการคัดเลือก
(4) การเปลี่ยนจาก “Spoils System” สู่ “Merit System
(5) การกําหนดมาตรฐานในการประเมินผลงาน และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาทํางาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเคลื่อนไหว (Movement) ด้านจริยธรรมสําหรับการบริหารงานภาครัฐ ในปลายศตวรรษที่ 19 มีดังนี้
1. การมุ่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
2. การบริหารภาครัฐที่ขาดประสิทธิภาพนําไปสู่ข้อเสนอคุณค่าการบริหาร 3E’s
3. จุดเริ่มต้นของจริยธรรมทางการบริหารและการควบคุม
4. การปฏิรูประบบข้าราชการพลเรือนไปสู่การสร้างระบบการคัดเลือก โดยเปลี่ยนจาก ระบบอุปถัมภ์ (Spoils System) ไปสู่ระบบคุณธรรม (Merit System)
5. การกําหนดมาตรฐานในการประเมินผลงาน และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาทํางาน

15. ข้อใดคือชุดคุณค่าของกรอบแนวคิดจริยธรรมของข้าราชการ
(1) การใช้ทรัพยากรสาธารณะในการควบคุมการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
(2) การปรับบทบาทของรัฐจากระบบอุปถัมภ์เป็นการทํากิจกรรมสาธารณะ
(3) การสร้างความชอบธรรมของข้าราชการด้วยการออกแบบสถาบันในการกํากับควบคุม
(4) การกําหนดมาตรฐานในการคัดสรรคนและประเมินผลงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ชุดคุณค่าของกรอบแนวคิดจริยธรรมและการควบคุมวินัยของข้าราชการ มีดังนี้
1. การใช้ทรัพยากรสาธารณะในการควบคุมการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
2. บริบทสังคมที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อบทบาทของรัฐในกิจการสาธารณะ
3. การสร้างหลักประกันในการดําเนินการของรัฐด้วยการออกแบบสถาบันในการกํากับควบคุม

16. องค์กรใดเป็นผู้ริเริ่มใช้คําว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance)
(1) World Bank
(2) IMF
(3) OECD
(4) UN
(5) ASEAN
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ธนาคารโลก (World Bank) เป็นองค์กรแรกที่ริเริ่มใช้คําว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) ในปี ค.ศ. 1989 เพื่ออธิบายถึงการบริหารจัดการที่จะเป็นมาตรฐานในการกําหนดเงื่อนไขการรับการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศจากหน่วยงานระหว่างประเทศต่าง ๆ

17. หลักการธรรมาภิบาลในด้าน “Rule of Law” หมายความว่าอย่างไร
(1) ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) ภาคประชาสังคมตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วม
(3) ระบบกฎหมายที่ยุติธรรม ชัดเจน และน่าเชื่อถือ
(4) การดําเนินงานด้วยความโปร่งใส
(5) การมีความพร้อมรับผิดชอบ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ประกอบด้วย
1. ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficient and Effective Public Sector)
2. ระบบกฎหมายที่ยุติธรรม ชัดเจน และน่าเชื่อถือ (Rule of Law)
3. ภาคประชาสังคมตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วม (Active Civil Society and Public Participation)
4. การดําเนินงานด้วยความโปร่งใส (Transparency)
5. การมีความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)

18. หลักธรรมาภิบาลในด้าน “ความโปร่งใส” หมายความว่าอย่างไร
(1) การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับของสังคม
(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักประกอบวิชาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ
(3) ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้
(4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจ
(5) การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคน ในสังคมองค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

19. การปฏิบัติตามวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในหมวดใด
(1) หมวด 4 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
(2) หมวด 5 การรักษาจรรยาข้าราชการ
(3) หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตามวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในหมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย

20. ข้อใดคือความผิดทางวินัย
(1) ข้าราชการไม่เข้าอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพราะเข้าใจกฎระเบียบดีแล้ว
(2) ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงานเร่งด่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม
(3) ข้าราชการให้บริการประชาชนล่าช้า เพราะบุคลากรในหน้าที่เดียวกันลาป่วย จึงมีคนไม่เพียงพอ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างความประพฤติของข้าราชการที่ถือว่าเป็นความผิดทางวินัย มีดังนี้
1. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงาน เร่งด่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม ไม่ลงชื่อมาทํางานและไม่ไปพบผู้อํานวยการ สํานักตามคําสั่งโดยไม่มีเหตุผล ชักสีหน้าและพูดจาไม่สุภาพกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ กล่าวถ้อยคําหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานในบ้านพัก ข้าราชการ เป็นต้น
2. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เช่น ปลอมใบเสร็จ/ใบสําคัญรับเงิน เพื่อเบิกเงินกับหน่วยงาน ต้นสังกัด เป็นต้น

21.ข้อใดคือการลงโทษกรณีวินัยไม่ร้ายแรง
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดเงินเดือน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96 และมาตรา 97), (คําบรรยาย) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้มีอํานาจ พิจารณาความผิด กําหนดโทษ และสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดทางวินัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
2. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่ง กรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ํากว่าปลดออก

22. การให้พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ คือการลงโทษทางวินัยประเภทใด
(1) ปลดออก
(2) ไล่ออก
(3) พักงาน
(4) ลดตําแหน่ง
(5) ภาคทัณฑ์
ตอบ 1 หน้า 267, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการเหมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่ง ลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ

23. หลักการในข้อใดแสดงถึงการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณากําหนดโทษอย่างถูกต้อง
(1) การตัดสินด้วยเหตุผลที่รับฟังได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
(2) ในหน่วยงานเดียวกันต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
(3) การใช้ดุลพินิจต้องอยู่ภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณากําหนดโทษ มีหลักการดังนี้
1. การใช้ดุลพินิจต้องอยู่ภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
2. การใช้ดุลพินิจจะต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
3. ในหน่วยงานเดียวกันต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

24. ข้อใดเรียงลําดับขั้นตอนการกําหนดโทษและการลงโทษได้อย่างถูกต้อง
A. การสอบสวนทางวินัยได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ
B. การพิจารณาความผิดว่าผิดหรือไม่ และผิดมาตราใด
C. การพิจารณากําหนดโทษว่าควรให้โทษสถานใด
D. การสั่งลงโทษ

(1) A. – B. – C. – D.
(2) B. – C. – A.- D.
(3) B. – C. – D.- A.
(4) A. – D. – B. – C.
(5) D. – A. – B. – C.
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดโทษและการลงโทษ มีลําดับขั้นตอนดังนี้
1. การสอบสวนทางวินัยได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ
2. การพิจารณาความผิดว่าผิดหรือไม่ และผิดมาตราใด
3. การพิจารณากําหนดโทษว่าควรให้โทษสถานใด 4. การสั่งลงโทษ

25. ความประพฤติของข้าราชการในข้อใดถือว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1) ชักสีหน้าและพูดจาไม่สุภาพกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
(2) ไม่ลงชื่อมาทํางานและไม่ไปพบผู้อํานวยการสํานักตามคําสั่ง
(3) กล่าวถ้อยคําหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา
(4) ทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานในบ้านพักข้าราชการ
(5) ปลอมใบเสร็จ/ใบสําคัญรับเงิน เพื่อเบิกเงินกับหน่วยงานต้นสังกัด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

26. ข้อใดคือข้อกําหนดในด้านวินัยต่อประชาชน
(1) ต้องไม่อาศัยอํานาจหน้าที่ราชการในการหาผลประโยชน์ส่วนตน
(2) ต้องไม่กระทําการล่วงละเมิด/คุกคามทางเพศในที่ทํางาน
(3) ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
(4) ต้องให้ความเป็นธรรม เต็มใจช่วยเหลือแก่ผู้มาติดต่อราชการ
(5) ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาในหน้าที่ราชการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อกําหนดในด้านวินัยต่อประชาชน มีดังนี้
1. ต้องต้อนรับ ให้ความเป็นธรรม เต็มใจช่วยเหลือ และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้มาติดต่อราชการ
2. ต้องไม่ชักสีหน้า ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
3. ต้องอํานวยความสะดวกให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีผู้ใดต้องถูกกลั่นแกล้ง รังแก
4. ต้องบริการด้วยมาตรฐาน ไม่ล่าช้า จงใจถ่วงเรื่อง ละเลย หรือไม่ชัดเจน

27. ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องมีผลการประเมิน
ผลการปฏิบัติราชการในระดับใด
(1) ไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 60
(2) ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง หรือร้อยละ 60
(3) ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง หรือร้อยละ 70
(4) ไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 70
(5) ไม่ต่ำกว่าระดับดี หรือร้อยละ 80
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. การเลื่อนเงินเดือนให้เลื่อนปีละ 2 ครั้ง
2. การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแต่ละคนในแต่ละครั้งให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคํานวณ และไม่เกินเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กําหนด
3. ข้าราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องมีผลการประเมิน ผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 60
4. ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการทั้งกรณีบรรจุใหม่และบรรจุกลับต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ ในรอบครึ่งปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน

28. การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานราชการใช้วิธีตามหลักการใด
(1) ระบบคุณธรรม
(2) ระบบอุปถัมภ์
(3) ระบบจริยธรรม
(4) ระบบความเป็นกลาง
(5) ระบบผลสัมฤทธิ์
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 52), (คําบรรยาย) การสรรหาและคัดเลือกบุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคํานึงถึงความรู้ความสามารถ พฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม

29. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของวินัยราชการ
(1) การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) การสร้างความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
(3) การสร้างความผาสุกของประชาชน
(4) การสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ
(5) การสร้างความมั่งคั่งในอาชีพข้าราชการ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของวินัยราชการ มีดังนี้
1. การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
2. การสร้างความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
3. การสร้างความผาสุกของประชาชน
4. การสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ

30. เหตุใดจึงต้องมีระบบการประเมินเงินเดือนข้าราชการที่ถูกต้องและเป็นธรรม
(1) เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดโอกาสผิดพลาดในการดําเนินการพิจารณา
(2) เพื่อให้เกิดการคํานวณจัดสรรเงินเดือนแก่ข้าราชการในแต่ละรอบอย่างรวดเร็ว
(3) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ
(4) เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ข้าราชการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เหตุที่ต้องมีระบบการประเมินเงินเดือนข้าราชการที่ถูกต้องและเป็นธรรม มีดังนี้
1. เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดโอกาสผิดพลาดในการดําเนินการพิจารณา
2. เพื่อให้เกิดการคํานวณจัดสรรเงินเดือนแก่ข้าราชการในแต่ละรอบอย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ
4. เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ข้าราชการสร้างผลลัพธ์ของงานและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดียิ่งขึ้น

31. ข้อใดไม่ใช่ข้อกําหนดวินัยต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(1) ข้าราชการต้องรักษาความลับของทางราชการ
(2) ข้าราชการต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง
(3) ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) ข้าราชการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
(5) ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของทางราชการ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อกําหนดวินัยต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ มีดังนี้
1. ข้าราชการต้องซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
2. ข้าราชการต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์
ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
3. ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
4. ข้าราชการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
5. ข้าราชการต้องรักษาความลับของทางราชการ
6. ข้าราชการต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง
7. ข้าราชการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ ฯลฯ

32. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องโทษวินัยปลดออกมีผลตามข้อใด
(1) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับบําเหน็จ
(2) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับบํานาญ
(3) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับเงินชดเชย
(4) พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จ บํานาญ
(5) พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จ แต่ไม่ได้รับบํานาญ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

33. ใครคือผู้มีอํานาจพิจารณาความผิดและกําหนดโทษของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดทางวินัย
(1) ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
(2) นายกรัฐมนตรี
(3) ผู้พิพากษาศาลปกครอง
(4) สภาผู้แทนราษฎร
(5) เจ้าหน้าที่ตํารวจ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

34. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหารได้แก่ตําแหน่ง
(1) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(3) รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด,อัครราชทูต เป็นต้น
2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต เป็นต้น

35. การสอบแข่งขันเกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้โดยตรง
(1) คุณสมบัติทั่วไป
(2) การโอน
(3) การย้าย
(4) การบรรจุและแต่งตั้ง
(5) คุณสมบัติเฉพาะ
ตอบ 4 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนโดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศ ทั้งนี้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจาก ผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

36. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของตัวข้าราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

37. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) ก.พ.
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) ก.พ.ร.
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงาน
เดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

38. ระดับใดต่อไปนี้ไม่ใช่ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับเชี่ยวชาญ
(2) ระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ระดับทักษะพิเศษ
(4) ระดับชํานาญการ
(5) ระดับปฏิบัติการ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

39. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรมและตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น 4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

40. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบันใช้บังคับโดยตรงกับ
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งหมายถึง กระทรวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความ รวมถึงคณะกรรมการด้วย

41. กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําาแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

42. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 5 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย)หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณพ.ศ. 2526 แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

43. ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) สํานักงาน ก.พ.
(2) สํานักนายกรัฐมนตรี
(3) การกําหนดตําแหน่ง
(4) การจัดส่วนราชการ
(5) การบริหารงานบุคคลภาครัฐ
ตอบ 5 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม เป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

44. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม แต่มีตําแหน่งในการบังคับบัญชาเท่าปลัดกระทรวง
(1) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ปลัดกรุงเทพมหานคร
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

45. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) หนังสือประทับตรา
(3) หนังสือภายนอก
(4) รายงานการประชุม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และคําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

46. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามที่ได้มีการจัดสอบแข่งขันนั้น ให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 1 ปี
(2) 2 ปี
(3) 3 ปี
(4) 4 ปี
(5) 5 ปี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

47. ระดับเชี่ยวชาญ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหารระดับสูง
(2) อํานวยการระดับสูง
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) บริหารระดับต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

48. ปัจจุบันกรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็น
กรรมการและเลขานุการ
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

49. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

50. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงยุติธรรม
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

51. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น

1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

52. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) อธิบดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น 1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด 2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

53. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) คุณธรรม
(2) ชนยศ ชั้นยศ
(3) อุปถัมภ์
(4) จําแนกตําแหน่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

54. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) 8 คน
(5) 9 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

55. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) อธิบดี
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 3(เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

56. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของทางราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

57. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับทรงคุณวุฒิเป็นตําแหน่งประเภท
(1) บริหารระดับสูง
(2) วิชาการระดับสูง
(3) วิชาการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
(4) อ่านวยการระดับสูง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

58. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า
(1) ก.พ.
(2) ก.พ.ธ.
(3) ก.ก.พ.
(4) ก.ก.ธ.
(5) ก.พ.ค.
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

59. คําขึ้นต้นของหนังสือราชการถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้ว่า
(1) กราบเรียน
(2) เรียน ฯพณฯ
(3) เรียน
(4) กราบเรียน ฯพณฯ
(5) ขอประทานกราบเรียน
ตอบ 3 หน้า 479 – 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการ สําหรับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ

1. สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “กราบเรียน” และใช้ คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”

2. บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดง ความนับถือ”

60. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ํากว่า 18 ปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ํากว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ตั้งแต่ข้อ 61. – 100. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2

61. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยได้มีการพัฒนามาตามลําดับ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาจาก
ระบบชั้นยศไปสู่ระบบคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 25 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

62. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

63. บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ และเป็นผู้มีสิทธิได้รับตาม กฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายเป็นรายเดือน
ตอบ 1 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจาก หน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

64. วินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ
ตอบ 1 หน้า 258 ศาสตราจารย์ Joseph B. Kingsbury และศาสตราจารย์ Robert F. Wilcox ได้กล่าวถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ โดยวินัยประเภทที่เหมาะกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญก็คือ วินัยประเภทปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-discipline)

65. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําอาชีวศึกษาตอนปลาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

67. ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งที่สําคัญคือ ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น 2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

68. หลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับ ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้
ตอบ 1 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะ เข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ราชการต้องการหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล

69. บําเหน็จดํารงชีพเป็นเงินที่ผู้รับบํานาญมีสิทธิได้รับ ปัจจุบันจะมีสิทธิได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีในปีที่เกษียณ อายุราชการ และเมื่ออายุครบ 65 ปีอีกครั้งหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพ พ.ศ. 2562 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท

70. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันด้วย
ตอบ 2 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองได้รับแต่งตั้งเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทาง การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมือง ถือว่าเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมืองโดยตรง

71. วินัยของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่ง คือ ห้ามมิให้เป็น กรรมการบริหารของพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง 4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

72. ระดับชํานาญการพิเศษเป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

73. คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึง ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

74. ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาของข้าราชการพลเรือนสามัญ ถ้าไม่ใช่ความผิดวินัยข้าราชการ ผู้บังคับบัญชา อาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นได้รับการพัฒนา หรืออาจตักเตือน หรืออาจนําไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็ได้
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 79) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็น ความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นําไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา

75. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้ามสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนบางประการต้องได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้น ให้เป็นการทั่วไปก็ได้

76. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งลงโทษ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

77. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการไม่ถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

78. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด เป็นตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กรม กําหนด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงาน,ด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

79. บําเหน็จตกทอดเป็นเงินที่กฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการกําหนดให้จ่ายแก่ทายาทของ
ข้าราชการผู้รับบํานาญ เมื่อผู้รับบํานาญถึงแก่กรรม
ตอบ 1 หน้า 69 – 72, (คําบรรยาย) บําเหน็จบํานาญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. บําเหน็จบํานาญปกติ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่มีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญปกติ
2. บําเหน็จบํานาญพิเศษ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่ประสบอันตรายเพราะเหตุปฏิบัติ ราชการหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทําการตามหน้าที่จนพิการทุพพลภาพ รับราชการต่อไปไม่ได้ ถ้าจนถึงตายทายาทมีสิทธิรับบํานาญพิเศษ
3. บําเหน็จตกทอด คือ เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการผู้รับบํานาญเมื่อผู้รับบํานาญ ถึงแก่กรรม ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว

80. กรรมการในคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

81. การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กําหนดเรื่องการออกจากราชการไว้เป็นกิจจะลักษณะ
นับได้ว่าเป็นมาตรการที่เป็นไปตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
ตอบ 1 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจาก
ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล มิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

82. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมปกติได้แก่ อธิบดี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร มีระดับ ตําแหน่งเช่นเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

83. การลาออกจากราชการกรณีเพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผู้บังคับบัญชาอาจยับยั้ง การสั่งอนุญาตการลาออกนั้นได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันขอลาออก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

84. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

85. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

86. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราว ปีเศษให้หลัง

87. ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) อาจโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ (เช่น ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) ข้าราชการอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น) และเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กําหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทําได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ ของทางราชการเป็นหลัก

88. ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

89. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา และอยู่ในตําแหน่งได้จนครบวาระตามที่ กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

90. ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
และเป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

91. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของข้าราชการตามระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการมีการควบคุม ขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของข้าราชการตามระบบ ราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการและ ควบคุมการกระทําของเขาตามลําดับ โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงโดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

92. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

93. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนแต่อย่างใด

94. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขัน เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

95. ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 38 วรรคสอง) ข้าราชการพลเรือน อาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

96. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับเข้ารับราชการที่กระทรวง ทบวง กรมเดิม และ
จะต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งเดิมด้วย
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไป โดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัด ก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม

97. โทษทางวินัยข้าราชการขั้นปลดออกจากราชการ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีสิทธิ ขอรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

98. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใด มาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรม ให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

99. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือสอบเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ระเบียบฯ
บัญญัติว่าทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

100. กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ. อีกก็ได้
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่) (คําบรรยาย) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่

POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของตัวข้าราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

2. ผู้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเป็นไปตาม
ระเบียบข้าราชการพลเรือน คือ
(1) มีคุณสมบัติทั่วไป
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการพลเรือน
(3) ก.พ. ต้องรับรอง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 54), (คําบรรยาย) ผู้มีสิทธิ สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนั้น ต้องมีคุณสมบัติ
2 ประการ คือ
1. มีคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนและไม่มีลักษณะต้องห้ามของ ข้าราชการพลเรือนตามที่กําหนดไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36
2. มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งสําหรับตําแหน่งที่รับสมัครสอบ

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของระบบราชการ
(1) ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ
(2) มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
(3) มีการกําหนดนโยบายสาธารณะเป็นระยะ ๆ
(4) มีการกําหนดโครงสร้างของงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 1 – 7 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1 – 2) ระบบราชการมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการค้นหาความสมเหตุสมผล
2. มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
3. มีการกําหนดโครงสร้างของงานที่สมเหตุสมผล
4. มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน
5. เป็นการทํางานภายในกรอบของกฎหมาย
6. เป็นระบบค่านิยมอย่างหนึ่ง
7. ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ ฯลฯ

4.กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) 2 ปี
(2) 4 ปี
(3) 5 ปี
(4) 6 ปี
(5) 7 ปี
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

5. ผู้ว่าราชการจังหวัด
(1) เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
(2) เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(3) เป็นตําแหน่งที่มีระดับเดียวกับปลัดกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น
2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต เป็นต้น

6. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) ปลัดกระทรวง
(3) อธิบดี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3(เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภท บริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

7. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญอย่างไม่ร้ายแรง
(1) ว่ากล่าวตักเตือน
(2) ทําทัณฑ์บน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

8. เกี่ยวกับระบบชั้นยศในการกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนที่เคยมีมา
(1) เป็นวิธีการบริหารงานบุคคลระบบหนึ่ง
(2) เป็นระบบที่ตรงข้ามกับระบบธรรมาภิบาล
(3) ถือเอาความสําคัญของบุคคลเป็นหลัก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 78 – 80, (คําบรรยาย) ระบบชั้นยศ (Rank Classification) ในการกําหนดตําแหน่ง ข้าราชการพลเรือน มีลักษณะสําคัญดังนี้
1. เป็นวิธีการกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนระบบหนึ่ง
2. เป็นการกําหนดตําแหน่งโดยคํานึงถึงโครงสร้างตามสายการบังคับบัญชาหรือระดับ
การบังคับบัญชาเพียงประการเดียว
3. เป็นการกําหนดตําแหน่งโดยถือเอาความสําคัญของบุคคลเป็นหลัก
4. เป็นระบบที่ตรงข้ามกับระบบจําแนกตําแหน่งที่กําหนดตําแหน่งโดยคํานึงถึงสายงาน หรือประเภทอาชีพและระดับความยากง่ายและความรับผิดชอบของงานเป็นหลัก
5. เป็นระบบที่ขัดแย้งกับหลักธรรมาภิบาลและระบบคุณธรรม เนื่องจากการบริหารบุคคล ในระบบนี้จะยึดถือตัวบุคคลเป็นหลัก อาจทําให้การบริหารงานไม่ได้ดําเนินการด้วย ความยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ และยังอาจก่อให้เกิดระบบอุปถัมภ์มากขึ้นในวงราชการ

9.ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

10. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน
(1) ก.พ.
(2) อ.ก.พ. กระทรวง
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) ก.พ.ค.
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 44) นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ.กระทรวง อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ.ทราบด้วย

11. ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การรักษาความยุติธรรมในสังคม
(2) การจัดทําประกันสังคม
(3) การจัดทําบริการสาธารณะ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 1, (คําบรรยาย, ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การรักษาความยุติธรรมในสังคม การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การจัดทําประกันสังคม เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ บําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน ซึ่งการกําหนดนโยบายในการจัดทําบริการสาธารณะนั้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมีข้าราชการประจําเป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมือง และจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

12. ระดับทักษะพิเศษเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) พิเศษ
(2) บริหาร
(3) วิชาการ
(4) อํานวยการ
(5) ทั่วไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

13. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้บรรจุบุคคลเข้ารับราชการให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

14. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นรองประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(2) ปลัดกระทรวง
(3) รองปลัดกระทรวง
(4) อธิบดี
(5) รองอธิบดี
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย

1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

15. ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญอย่างไร
(1) มีความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจํา
(2) มีหน้าที่เสนอแนะแนวปฏิบัติตามนโยบายของฝ่ายการเมือง
(3) มีการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 8 (คําบรรยาย) ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ คือ การมี ความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจําหรือระบบราชการ นั่นคือ มีการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และมีหน้าที่ต้องรายงานและเสนอแนะนโยบาย สาธารณะต่อฝ่ายข้าราชการการเมือง รวมทั้งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง และเสนอแนวปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง ในส่วนข้าราชการ การเมืองนั้นจะมีหน้าที่รับผิดชอบตามกลไกของรัฐธรรมนูญ

16. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีวิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ
โดยใช้ระบบ
(1) ชั้นยศ
(2) อุปถัมภ์
(3) คุณธรรม
(4) จําแนกตําแหน่ง
(5) ธรรมาภิบาล
ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

17. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
(3) ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

18. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(3) นายกเทศมนตรี
(4) นายก อ.บ.ต.
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1(เอกสารประกอบการสอน หน้า 13) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีการกําหนดตําแหน่ง ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานัก ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น

19. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ได้แก่
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น 2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

20. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
มีกี่ระดับ
(1) 2 ระดับ
(2) 4 ระดับ
(3) 5 ระดับ
(4) 6 ระดับ
(5) 11 ระดับ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

21. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

22. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่ง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดกระทรวงการคลัง
(3) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(4) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(5) เลขาธิการ ก.พ.
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย

1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

23. กรรมการ ก.พ. ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านใด
(1) การบริหารและการจัดการ
(2) กฎหมาย
(3) รัฐศาสตร์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันตราขึ้นโดยอาศัยหลักการบริหารงานบุคคลตามระบบ
(1) อุปถัมภ์
(2) ชั้นยศ
(3) จําแนกตําแหน่ง
(4) คุณธรรม
(5) ธรรมาภิบาล
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม เป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

25. ตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันแบ่งเป็นประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น

4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

26. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(3) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

27. ข้อใดเป็นหลักการของระบบคุณธรรม
(1) หลักความรู้ความสามารถ
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความมั่นคง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 5 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

28. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
(1) ก.พ.ศ
(2) ก.พ.ร.
(3) ก.พ.
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) อ.ก.พ. กรม
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

29. การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์ในส่วนที่เกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดํารงตําแหน่ง
ทางราชการเป็นวิธีที่ดําเนินการโดยคํานึงถึง
(1) ความไว้วางใจ
(2) ความจงรักภักดี
(3) ความเป็นพวกพ้อง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 19, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 2) ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) เป็นวิธี การบริหารงานบุคคลที่มุ่งบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดํารงตําแหน่งทางราชการโดยมิได้คํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลว่าเหมาะสมกับตําแหน่งหรือไม่ แต่จะคํานึงถึงเฉพาะเหตุผล และวิธีการอื่น ๆ อันเป็นการนอกเหนือจากระบบคุณธรรม เช่น ความจงรักภักดี ความไว้วางใจ ความเป็นพวกพ้อง ความเป็นญาติพี่น้อง ความเป็นเพื่อนหรือเป็นที่ชื่นชอบ รวมถึงความผูกพันอื่น ๆ ด้วย

30. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

31. เรื่องใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ศาลปกครอง
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ
(3) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือนไว้หลายเรื่อง เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การสับเปลี่ยนหน้าที่ การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม ฯลฯ ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลปกครอง ศาลทหาร ข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษ รัฐพาณิชย์ เป็นเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ใน ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

32. ปัจจุบันกรรมการ ก.พ. ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

33. ข้อใดไม่ใช่โทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ตัดเงินเดือน
(2) ลดเงินเดือน
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

34. การแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) เป็นขั้นตอนก่อนบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ
(2) เป็นระยะเวลาที่ผู้ทดลองฯ ยังไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
(3) ต้องทดลองฯ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดว่า การแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น เป็นระยะเวลาที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนับตั้งแต่วันที่ได้รับการบรรจุให้เข้ารับราชการ แต่ทั้งนี้ ต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.

35. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การพิจารณาความดีความชอบต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจาก
(1) ความประพฤติ
(2) ผลงาน ศักยภาพ
(3) ความคิดเห็นทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (3)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตําแหน่ง และการให้ ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ แต่จะนําความคิดเห็นทางการเมืองหรือการสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบ การพิจารณามิได้

36. ข้อใดเป็นหนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) ระเบียบ
(2) คําสั่ง
(3) แถลงการณ์
(4) ข้อบังคับ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

37. ข้อใดเป็นลักษณะบางประการของข้าราชการการเมือง
(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(3) ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 391, (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)
2. มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง
3. การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ)
4. การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือ
เป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง
5. ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ

38. ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของ ก.พ. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน
ฉบับปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ
(1) ในพระองค์
(2) พลเรือนวิสามัญ
(3) พลเรือนสามัญ
(4) ครู
(5) ส่วนท้องถิ่น
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35),
(คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของ ก.พ. มี 2 ประเภท คือ

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

39. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ระดับสูง
(2) ระดับต้น
(3) ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

40. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งประเภทบริหารตามระเบียบข้าราชการ
พลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รองปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

41. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกคําสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการมีผลดังนี้
(1) ทําให้ขาดสิทธิขอรับบําเหน็จ
(2) ทําให้ขาดสิทธิขอรับบํานาญ
(3) ทําให้ขาดสิทธิในการขออุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 267, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23 – 25), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่ และมาตรา 114), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยไม่ว่าจะเป็นโทษทางวินัยสถานใดมีสิทธิขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ พิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่ง ในกรณี ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยถือเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการจะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

42. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับของตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร
(1) ระดับเชี่ยวชาญ
(2) ระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ระดับอาวุโส
(4) ระดับทักษะพิเศษ
(5) ระดับต้น
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

43. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภทอํานวยการ
ได้แก่ตําแหน่ง
(1) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(3) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

44. ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) ก.พ.
(2) การบริหารงานบุคคลในส่วนราชการ
(3) การจัดส่วนราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

45. ระดับทักษะพิเศษเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหาร
(2) วิชาการ
(3) พิเศษ
(4) อํานวยการ
(5) ทั่วไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

46. ปกติการยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการ ระเบียบฯ กําหนดว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นจะต้องยื่น ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่ากี่วัน
(1) 15 วัน
(2) 30 วัน
(3) 60 วัน
(4) 75 วัน
(5) 90 วัน
ตอบ 2(เอกสารประกอบการสอน หน้า 23 – 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 (ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต ให้ลาออก) เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออก หรือไม่ได้ยับยั้ง การอนุญาตให้ลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.พ. กําหนด

47. การสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น โดยปกติกําหนดสําหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทใด และเป็นกรณีปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบกี่ปี
(1) บริหารระดับสูงเป็นเวลาครบ 4 ปี
(2) อํานวยการระดับสูงเป็นเวลาครบ 4 ปี
(3) อํานวยการระดับต้น เป็นเวลาครบ 4 ปี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร (ระดับสูงและระดับต้น) ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบ 4 ปี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตาม มาตรา 57 ดําเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความ จําเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไป เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด

48. ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในกรณีใดที่ต้องให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(1) กรณีจากผู้สอบแข่งขันได้
(2) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด
(3) กรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่ง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง, มาตรา 55 และมาตรา 59), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการบรรจุ ในกรณีต่อไปนี้ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กําหนดในกฎก.พ. ได้แก่
1. ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากการสอบแข่งขันได้
2. ผู้ที่ได้รับการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด

49. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับทรงคุณวุฒิเป็นตําแหน่งประเภท
(1) บริหารระดับต้น
(2) บริหารระดับสูง
(3) วิชาการระดับสูง
(5) วิชาการ
(4) อํานวยการระดับสูง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

50. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

51. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4. ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

52. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ระยะเวลาของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ที่ได้รับ การบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามปกติกําหนด
(1) 6 เดือน
(2) ไม่เกิน 6 เดือน
(3) ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี
(4) 1 ปี
(5) 1 ปี 6 เดือน

ตอบ 3 หน้า 100 – 101, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18) ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บุคคลเมื่อได้รับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการแล้ว ในทางปฏิบัติมักจะได้รับการแต่งตั้ง ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อน เพื่อทดสอบความเหมาะสมกับงานในตําแหน่งหน้าที่ก่อน การแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการประจําโดยสมบูรณ์ต่อไป ซึ่งระยะเวลาของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญนั้นตามปกติกําหนด ไว้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ.ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติ หน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2553

53. ระดับใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ
(1) ปฏิบัติการ
(2) ชํานาญการ
(3) เชี่ยวชาญ
(4) ทรงคุณวุฒิ
(5) ทักษะพิเศษ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

54. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

55. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

56. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความมั่นคง
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

57.พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือฉบับ พ.ศ.
(1) 2551
(2) 2535
(3) 2475
(4) 2472
(5) 2471
ตอบ 5 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราวปีเศษให้หลัง

58.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งมีจํานวนกี่คน
(1) 2 คน
(2) 3 คน
(3) 4 คน
(4) 5 คน
(5) 6 คน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

59. การมอบหมายให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับผิดชอบทําเป็นกิจจะลักษณะในทางราชการ เรียกว่า
(1) การกําหนดตําแหน่ง
(2) การจําแนกตําแหน่ง
(3) การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง
(4) การบรรจุตําแหน่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 77 เมื่อบุคคลใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนแล้วจะต้องถูกจัดเข้าไป ในตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่งเสมอ จะอยู่ลอย ๆ มิได้ และการที่จะให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ทํางานตามระเบียบของทางราชการนั้น ก็จะต้องมีการมอบหมายงานให้ทําเป็นกิจจะลักษณะซึ่งการมอบหมายให้ข้าราชการพลเรือนสามัญรับผิดชอบทําเป็นกิจจะลักษณะในทางราชการเรียกว่า “การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง”

60. การขอลาออกจากราชการกรณีใดที่ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาตการลาออกไม่อาจยับยั้งการขอ
ลาออกนั้นได้
(1) ลาออกไปเป็นกรรมการการเลือกตั้งตามที่กําหนดในรัฐธรรมนูญ
(2) ลาออกไปเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) ลาออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ) หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

ตั้งแต่ข้อ 61. – 100. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2

61. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการหรือเอกสารที่บุคคลภายนอกมีถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้ ตามระเบียบฯ ราชการแล้วถือว่าเป็นหนังสือราชการ
ตอบ 1 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐาน ในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

62. “บํานาญ” หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เมื่อพ้นจากหน้าที่ราชการซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว
ตอบ 2 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากหน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

63. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

64. การแต่งตั้งตําแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแต่งตั้ง
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จึงต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

65. ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จําเป็นต้องดําเนินการสอบแข่งขันนั้น ระเบียบฯ
กําหนดว่าไม่ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ ก.พ.
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

66. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

67. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกได้มุ่งวางหลักการสําคัญประการหนึ่งคือ การให้ข้าราชการประจํา
วางตนเป็นกลางทางการเมือง
ตอบ 2 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1. เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2. เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการและผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
3. เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ
4. เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ
ทั้งนี้ในขณะที่ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกนั้นยังไม่มีการแบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจํา จึงไม่ได้กําหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งวางหลักการ ให้ข้าราชการประจําวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง

68. โดยปกติการบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องผ่านการสอบแข่งขัน
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

69. การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจํากระทรวง ประจํากรม หรือประจําจังหวัด ทําให้ขาดจาก
อัตราเงินเดือนเดิม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 69), (คําบรรยาย) การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจําส่วนราชการ (ประจํา กระทรวง ประจํากรม ประจํากอง หรือประจําจังหวัด) ซึ่งเป็นการสั่งให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิม เป็นการชั่วคราว จะไม่ทําให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม ยังคงรับเงินเดือนในอัตราเดิมอยู่ จึงไม่ทําให้อัตราเงินเดือนว่าง ฉะนั้นการที่จะแต่งตั้งผู้อื่นให้มาดํารงตําแหน่งแทนจะกระทําไม่ได้คงทําได้แต่เพียงสั่งให้ผู้อื่นรักษาการในตําแหน่งได้เท่านั้น

70.ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12)
ตอบ 1 ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้ง วิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.

71. “บําเหน็จดํารงชีพ” คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ และมีสิทธิได้รับ ตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ ซึ่งจะได้รับเป็นรายเดือน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพ
พ.ศ. 2562 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท (ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ)

72.ตําแหน่ง “ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด” เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 38, (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนทั่วไปที่ปฏิบัติ ราชการประจําอยู่ตามกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน หรือจังหวัด และอําเภอในราชการส่วนภูมิภาค เช่น ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ปลัดอําเภอ ฯลฯ (ส่วนปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ, ปลัดองค์การ บริหารส่วนตําบล (ปลัด อบต.) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ปลัด อบจ.) ปลัดเทศบาล (นคร-เมือง-ตําบล) เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น)

73. การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดีประการหนึ่งคือ ช่วยส่งเสริมการวัดผลโดยการสอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตอบ 1 หน้า 19 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดี คือ
1. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลดําเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ช่วยเสริมการวัดผลโดยการสอบตามระบบคุณธรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที

74. บันทึกข้อความเป็นหนังสือราชการภายในที่ไม่ต้องมีคําลงท้าย แต่มีคําขึ้นต้นเช่นเดียวกับหนังสือราชการ
ภายนอก
ตอบ 1 หน้า 410 – 412, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง กรม หรือจังหวัด เดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ ซึ่งหนังสือภายในนี้จะต้องมีคําขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ ตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และคําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2 โดยคําขึ้นต้น มีลักษณะการใช้เช่นเดียวกับหนังสือราชการที่เรียกว่าหนังสือภายนอก แต่ไม่ต้องมีคําลงท้าย

75. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทําให้ขาด
คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59
วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนแต่อย่างใด

76. โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งเป็นขั้นตอนการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ เมื่อมีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการก็ต้องแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาเสมอ
ตอบ 1 หน้า 91, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญเป็นขั้นตอนของการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อมีการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการก็จะต้องมีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาเสมอ ซึ่งการบรรจุ หมายถึง การรับบุคคลเข้าเป็นข้าราชการ ส่วนการแต่งตั้ง หมายถึง การมอบหมายให้ทําหน้าที่ใน ตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง โดยอาจเกิดขึ้นพร้อมกับเมื่อมีการบรรจุ หรือต่างวาระกันก็ได้

77. ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันกําหนดให้หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการ
ระดับกรมขึ้นไป
ตอบ 1 หน้า 413 – 414, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตรา แทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกํากับตรา ซึ่งหนังสือประทับตรานี้ไม่ต้องมีคําลงท้าย

78. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อนอาจยื่นเรื่องราวขอกลับเข้ารับราชการได้เฉพาะกระทรวง ทบวง กรม สังกัดเดิม
ตอบ 2 หน้า 99 (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัด ก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม

79. เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปดํารงตําแหน่งทางการเมือง ส่วนราชการเจ้าสังกัด
ของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นจะต้องสงวนตําแหน่งและอัตราไว้สําหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
ในโอกาสต่อไป
ตอบ 2 หน้า 98 – 99, 113, 119, (คําบรรยาย) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดลาออกจากราชการ ไปดํารงตําแหน่งทางการเมือง หรือดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแล้ว ส่วนราชการเจ้าสังกัดไม่ต้องสงวนตําแหน่งในระดับเดียวกันไว้สําหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ แต่ถ้า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี หรือ ออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ส่วนราชการเจ้าสังกัดต้องสงวนตําแหน่งในระดับเดียวกันไว้สําหรับบรรจุผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในเวลาที่กําหนด

80. ลักษณะสําคัญบางประการของระบบราชการประการคือ การทํางานภายในกรอบของกฎหมาย และเป็น
ระบบค่านิยมอย่างหนึ่ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

81. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันตราขึ้นโดยอาศัยหลักการบริหารงานบุคคลตามระบบจําแนกตําแหน่งโดยเป็นสําคัญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

82. ข้าราชการการเมืองได้รับแต่งตั้งเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบ
ข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองได้รับแต่งตั้งเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทาง การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมือง ถือว่าเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมืองโดยตรง

83. ระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันกําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ตอบ 1 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทําคําอธิบายกับให้มีหน้าที่ดําเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ

84. ข้าราชการตุลาการอาจโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในระเบียบข้าราชการตุลาการ
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ (เช่น ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) ข้าราชการอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น) และเจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กําหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทําได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ ของทางราชการเป็นหลัก

85. กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.
อีกก็ได้
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่), (คําบรรยาย) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่

86. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยพัฒนาจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม
ตอบ 1 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

87. ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 38 วรรคสอง) ข้าราชการพลเรือน อาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

88. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้บัญญัติเรื่องการสอบสวนทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญไว้
นับว่าเป็นการสอดคล้องกับหลักการความมั่นคงตามระบบคุณธรรม
ตอบ 1 หน้า 18 (คําบรรยาย) หลักความมั่นคง (Security) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล หมายถึง การให้หลักประกันแก่ข้าราชการที่มีผลงานและความประพฤติดีจะต้องไม่ถูกให้ออกจากงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติ เรื่องที่สอดคล้องกับหลักการนี้ไว้หลายเรื่อง เช่น การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ การสอบสวนและการดําเนินการทางวินัย เป็นต้น

89. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการทําให้ขาดคุณสมบัติเฉพาะในการสมัครเข้ารับราชการ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

90. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นที่เกี่ยวกับข้อห้ามบางประการของการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องได้คะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติให้กระทําโดยลับ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้น ให้เป็นการทั่วไปก็ได้

91. การกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปแล้วมีวิธีการกําหนดตําแหน่ง 2 ระบบ คือ
ระบบคุณธรรมกับระบบอุปถัมภ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

92. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมไม่เคยปรากฏในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อนเพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นคณะกรรมการที่ไม่เคยปรากฏใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อนเพิ่งบัญญัติ ไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรม ให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

93.การขอลาออกจากราชการนั้น ถ้าผู้มีอํานาจสั่งอนุญาตไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออกหรือไม่ได้ยับยั้งการอนุญาต ให้ลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

94. กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และ ความชํานาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 56) กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภท วิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด

95. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง เช่นเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

96. ปลัดเทศบาลนครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการระดับสูงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

97. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันไม่มีข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษแล้ว
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

98. หลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับ ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ราชการต้องการ
ตอบ 1 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ราชการต้องการหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพ ทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล

99. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องการสอบแข่งขันไว้นับได้ว่าเป็นการสอดคล้องกับ
หลักความเป็นกลางในทางการเมืองตามระบบคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรม หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้น หรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ และการทดลอง ปฏิบัติงาน

100. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดก่อน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

POL2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

2. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น

1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน
และลดเงินเดือน

2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

3.คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน หมายความรวมถึง ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2
(เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

4. ผู้ที่ได้รับการบรรจุกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จําเป็นต้องดําเนินการสอบแข่งขันนั้น ระเบียบฯ กําหนดว่าไม่ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง, มาตรา 55 และมาตรา 59), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับการบรรจุ ในกรณีต่อไปนี้ต้องแต่งตั้งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ได้แก่
1. ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากการสอบแข่งขันได้
2. ผู้ที่ได้รับการบรรจุในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขันตามที่ ก.พ. กําหนด

5. การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการส่วนใหญ่ ใช้กรณีบรรจุคนใหม่ที่ไม่เคยรับราชการ
มาก่อน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน โดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งใช้กรณีบรรจุคนใหม่ที่ไม่เคยรับราชการมาก่อนถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศ ทั้งนี้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

6. ปัจจุบันตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง
(1) ประเภทบริหาร
(2) ประเภทอํานวยการ
(3) ประเภทวิชาการทุกระดับ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตําแหน่งข้าราชการ
พลเรือนสามัญประเภทที่ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นและระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้นและระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ

7.รองประธาน อ.ก.พ. กระทรวง ได้แก่
(1) รองปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(5) ปลัดกระทรวง
ตอบ 5(เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15) (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย

1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

8.ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) การกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือน
(2) สํานักนายกรัฐมนตรี
(3) สํานักงาน ก.พ.
(4) การบริหารงานบุคคล
(5) การจัดส่วนราชการ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

9. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้อง
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

10. ประธานคณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คือ ประธานศาลปกครองสูงสุด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 12), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 26) คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจาก ประธานศาลฎีกา 1 คน กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คนซึ่งได้รับเลือกโดย ก.พ. และให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

11. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกลงโทษปลดออกจากราชการ ให้มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 267, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษ ทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิ ได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการด้วย ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออก จากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

12. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ

4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

13. คําขึ้นต้นของหนังสือราชการถึงรองนายกรัฐมนตรีใช้ว่าอย่างไร
(1) กราบเรียน
(2) กราบเรียนฯ พณฯ
(3) เรียน
(4) ขอประทานกราบเรียน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 479 – 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการ สําหรับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ 1. สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “กราบเรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง” 2. บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดง ความนับถือ”

14. การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ เป็นอํานาจของปลัดกระทรวง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (7)) การบรรจุและแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ และให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

15. การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ระเบียบฯ กําหนดว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการจะต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทันที”
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 99 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการไว้ว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการไม่จําเป็นต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทันที” นั่นคือ ส่วนราชการไม่ถูกผูกพันให้ต้องบรรจุเหมือนกับกรณีผู้ออกจากราชการเพราะไปรับ ราชการทหาร หรือไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปล่อยให้ส่วนราชการสามารถ ใช้ดุลยพินิจที่จะเลือกบรรจุหรือไม่ก็ได้

16. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด

สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะ
ไม่มีอ้านาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

17. โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นขั้นตอนการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อมีการแต่งตั้งจะต้องมีการบรรจุตามมาเสมอ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 91, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15) โดยปกติการบรรจุกับการแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญเป็นขั้นตอนของการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อมีการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการก็จะต้องมีการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามมาเสมอ ซึ่งการบรรจุ หมายถึง การรับบุคคลเข้าเป็นข้าราชการ ส่วนการแต่งตั้ง หมายถึง การมอบหมายให้ทําหน้าที่ใน ตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง โดยอาจเกิดขึ้นพร้อมกับเมื่อมีการบรรจุ หรือต่างวาระกันก็ได้

18. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คําว่า “คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง” หมายถึงการกําหนดเกี่ยวกับ
(1) หลักการบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
(2) หลักการของระบบอุปถัมภ์
(3) หลักการจําแนกตําแหน่ง
(4) หลักการของระบบคุณธรรม
(5) ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์
ตอบ 5 หน้า 94, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16) คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง หมายถึง คุณสมบัติที่กําหนดไว้โดยเฉพาะสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ในการรับราชการ โดยคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไรจะมีกําหนดไว้ล่วงหน้าในมาตรฐานกําหนด ตําแหน่งของแต่ละประเภทตําแหน่งที่ ก.พ. จัดทําขึ้น

19. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่ประเภท
(1) ประเภทเดียว
(2) 2 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 4 ประเภท
(5) 5 ประเภท
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น

4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

20. บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับตาม กฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายเป็นรายเดือน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจาก หน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

21. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

22. ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ
(1) ข่าวราชการเป็นหนังสือภายใน
(2) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก
(3) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก
(4) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายนอก
(5) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23. ระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหาร
(2) วิชาการ
(3) พิเศษ
(4) ทั่วไป
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

24. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยได้มีการพัฒนามาตามลําดับ อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นการพัฒนาจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

25. ระดับทรงคุณวุฒิเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) อํานวยการระดับสูง
(2) บริหารระดับสูง
(3) ทั่วไป
(4) บริหารระดับต้น
(5) วิชาการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

26. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน
(3) เพื่อความสมบูรณ์พูนสุข
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1. เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2. เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการและผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
3. เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ
4. เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ในขณะที่ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกนั้น
ยังไม่มีการแบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจํา จึงไม่ได้ กําหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งวางหลักการให้ข้าราชการประจําวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง

27. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
(2) ตีค่าคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
(3) ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน
(4) รับเรื่องราวร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมาย ระเบียบข้าราชการพลเรือน

2. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
รวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา

3. กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน

4. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

28. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้กําหนดเรื่องการออกจากราชการไว้ อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการกําหนดหลักการให้สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

29. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
(1) อ.ก.พ. จังหวัด
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) ก.พ.ร.
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) ก.พ.
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

30. การได้รับพระราชทานเหรียญตราหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานนับว่าเป็น สิ่งตอบแทนส่วนหนึ่งของชีวิตการเป็นข้าราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 171 ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติราชการดี การได้รับพระราชทานเหรียญตรา หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน นับว่าเป็นสิ่งตอบแทนส่วนหนึ่ง ของชีวิตการเป็นข้าราชการ นอกจากนี้สิ่งตอบแทนที่เป็นแก่นสารของชีวิตการเป็นข้าราชการ ด้วยก็คือ การได้เลื่อนตําแหน่ง เลื่อนเงินเดือน และได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ

31. ข้อใดเป็นประเภทของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ประเภทขาดแคลน
(2) ประเภทพิเศษ
(3) ประเภททั่วไป
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

32. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีจํานวนกี่คน
(1) ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
(2) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
(3) 3 คน
(4) 4 คน
(5) 5 คน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย

1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

33. การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดีบางประการ คือ
(1) ช่วยให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการ
(2) ช่วยให้ข้าราชการก้าวหน้าเร็วยิ่งขึ้น
(3) ช่วยเสริมการวัดผลโดยการสอบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
(4) ช่วยขจัดผู้ไม่เหมาะสมออกจากวงราชการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 19 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดี คือ
1. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลดําเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ช่วยเสริมการวัดผลโดยการสอบตามระบบคุณธรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที

34.ก.พ.ค. คือ
(1) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
(2) คณะกรรมการทักษะพิเศษตามระบบคุณธรรม
(3) คณะกรรมการพัฒนาระบบคุณธรรม
(4) คณะกรรมการวิชาการพลเรือน
(5) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามระบบคุณธรรม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

35. วินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 258 ศาสตราจารย์ Joseph B. Kingsbury และศาสตราจารย์ Robert F. Wilcox ได้กล่าวถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ โดยวินัยประเภทที่เหมาะกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญก็คือ วินัยประเภทปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-discipline)

36. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา 4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

37. ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การสร้างความสมานฉันท์ความสามัคคีในสังคม
(2) การประสานงานกับภาคเอกชนในการให้บริการต่าง ๆ
(3) การจัดทําบริการสาธารณะต่าง ๆ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 1, (คําบรรยาย) ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การจัดทําประกันสังคม เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน ซึ่งการ กําหนดนโยบายในการจัดทําบริการสาธารณะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมีข้าราชการประจํา เป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมืองและจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

38. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคลใดต่อไปนี้อาจกําหนด ตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหาร นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน
(1) อ.ก.พ. จังหวัด
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) ก.พ.
(4) อ.ก.พ. วิสามัญ
(5) อ.ก.พ. กระทรวง
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 44) นอกจากตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว อ.ก.พ. กระทรวง อาจกําหนดตําแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วย

39. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง 4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

40. ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในกรณีใดที่ต้องให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(1) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน
(2) กรณีผู้สอบแข่งขันได้
(3) กรณีที่มีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่ง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

41. ประธานศาลฎีกาเป็นกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมโดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิต
ตอน 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

42. โดยปกติผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ระเบียบฯ กําหนดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่น้อยกว่าหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 100 – 101, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามปกติกําหนดให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ ราชการและการพัฒนาข้าราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2553

43. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นคณะกรรมการที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นคณะกรรมการที่ไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครอง ความเป็นธรรมให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

44. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความมั่นคง
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

45. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) รายงานการประชุม
(3) หนังสือประทับตรา
(4) หนังสือภายนอก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

46. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) อ.ก.พ. จังหวัด
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) อ.ก.พ. กรม
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น

1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด

2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

47. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการมีการควบคุมตามลําดับ และขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของข้าราชการตามระบบ ราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการและ ควบคุมการกระทําของเขาตามลําดับ โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงโดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

48. ข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน มีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ ต้อง
(1) ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
(2) ไม่กระทบความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ
(3) ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 43) ข้าราชการพลเรือนสามัญ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพ ในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ และต้องไม่มี วัตถุประสงค์ทางการเมือง ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรวมกลุ่มให้เป็นไปตาม ที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

49. การสอบแข่งขันตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้
โดยตรง
(1) คุณสมบัติทั่วไป
(2) การบรรจุและแต่งตั้ง
(3) คุณสมบัติเฉพาะ
(4) การย้าย
(5) การโอน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 9 คน
(2) 8 คน
(3) 7 คน
(4) 6 คน
(5) 5 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

51. เกี่ยวกับบัญชีเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญปัจจุบัน
(1) กําหนดเป็นระดับ
(2) กําหนดเป็นอันดับและขั้น
(3) กําหนดเป็นระดับและขั้น
(4) กําหนดเป็นขั้น
(5) กําหนดเป็นขั้นต่ําและขั้นสูง
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตําแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กําหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ําขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ท้าย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งจะกําหนดเป็นขั้นต่ําและขั้นสูงของ แต่ละระดับของแต่ละประเภทตําแหน่ง โดยไม่มีอันดับและขั้นเป็นอัตรา ดังนั้นจึงไม่เรียกว่า “บัญชีอัตราเงินเดือน” แต่เรียกว่า “บัญชีเงินเดือน

52. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

53. การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ กรณีโอนผู้สอบแข่งขันได้ ระเบียบฯ
กําหนดว่าไม่ต้องทําความตกลงยินยอมจากเจ้าสังกัดเดิม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 155, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดว่าการโอน ข้าราชการพลเรือนสามัญมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ กรณีโอนผู้สอบแข่งขันได้ ผู้ที่สอบได้ ไม่จําเป็นต้องทําความตกลงยินยอมจากเจ้าสังกัดเดิม เพราะถือว่าเป็นความสามารถของข้าราชการที่สอบได้ ส่วนการโอนข้าราชการพลเรือนกรณีได้รับการคัดเลือกนั้น จะต้องทําความตกลงยินยอมกับเจ้าสังกัดเดิมเสียก่อนจึงจะโอนได้

54. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม โดยตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(3) ปลัดกระทรวง
(4) อธิบดี
(5) รองปลัดกระทรวง
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวน
ไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

55. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้ใช้วิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) ชันยศ
(2) จําแนกตําแหน่ง
(3) คุณธรรม
(4) อุปถัมภ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

56. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบข้าราชการการเมืองฉบับปัจจุบันด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง หรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมืองถือว่าเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบันได้มีการ แยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการ การเมืองโดยตรง

57. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องใดต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับหลักความรู้ความสามารถตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(1) การออกจากราชการ
(2) การร้องทุกข์
(3) การอุทธรณ์
(4) การสอบแข่งขัน
(5) การสอบสวนทางวินัย
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรม ในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นหรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ และการทดลองปฏิบัติงาน

58. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

59.ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งอนุกรรมการ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. วิสามัญ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ” เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้ง วิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.

60. ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(1) เป็นข้าราชการการเมือง
(2) มีฐานะเท่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(3) อาจมีหลายคนก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 387, 393 ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งกําหนดให้มีตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จํานวนเพียง 1 อัตรา (ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ)

61. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภทอํานวยการ ได้แก่ (1) หัวหน้าส่วนราชการต่ํากว่ากระทรวงแต่สูงกว่าระดับกรม
(2) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม
(3) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(4) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

62. “การคัดเลือก” ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้กระทรวง กรม เจ้าสังกัดเป็นผู้ดําเนินการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กําหนดให้กระทรวง กรมเจ้าสังกัด เป็นผู้ดําเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งได้โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

63. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีขึ้นไปตามที่ ก.พ. กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

64. ผู้เคยถูกลงโทษปลดออกจากราชการซึ่งถือว่าเป็นกรณีต้องห้ามสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งอาจขอให้ ก.พ. พิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ ถ้าผู้นั้นออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน มี 2 กรณี ดังนี้

1. เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และเป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
2. เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่

65. ตําแหน่งผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ ระดับสูง เช่นเดียวกับตําแหน่งนายอําเภอ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

66.การลาออกจากราชการนั้น ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออกหรือไม่ได้ยับยั้งการอนุญาต ให้ลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 (ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต ให้ลาออก) เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ถ้าผู้มีอํานาจสั่งบรรจุฯ ไม่ได้สั่งอนุญาตให้ลาออก หรือไม่ได้ยับยั้ง การอนุญาตให้ลาออก การลาออกจะมีผลโดยอัตโนมัตินับตั้งแต่วันขอลาออก ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กําหนด

67.กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกก็ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

68. ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไประดับอาวุโส อาจได้รับเงินเดือนและเงินประจําตําแหน่งด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

69. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบันใช้บังคับโดยตรงกับหน่วยงานราชการใด
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งหมายถึง กระทรวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความ รวมถึงคณะกรรมการด้วย

70. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก (ฉบับ พ.ศ. 2471) ได้มุ่งวางหลักสําคัญประการหนึ่งคือ หลักการ แยกข้าราชการประจําออกจากข้าราชการการเมือง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

71. การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือก อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็น
การพิจารณาจากปัจจัยด้านใด
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) อาวุโส
(3) จริยธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือกและวิธีการคัดเลือกเป็นการพิจารณาจากปัจจัยด้านความรู้ความสามารถความประพฤติ (คุณธรรมและจริยธรรม) และประวัติการรับราชการ (อาวุโส) ซึ่งจะต้อง เป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว

72. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ มีหลักเกณฑ์ที่สําคัญอย่างไร
(1) โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขัน
(2) ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการบรรจุและแต่งตั้ง
(3) บรรจุกรณีพิเศษก็ได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

73. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) เป็นบุคคลล้มละลาย
(3) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

74. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 4 ชนิด
(2) 5 ชนิด
(3) 6 ชนิด
(4) 7 ชนิด
(5) 8 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

75. การย้ายตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน หมายถึง
(1) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในกรมเดียวกัน
(2) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในสังกัดเดียวกัน แต่อาจต่างท้องที่กันก็ได้
(3) การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในต่างกรม แต่อยู่ในกระทรวงเดียวกัน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (คําบรรยาย) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญ หมายถึง การย้ายหรือการเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่น ในกรมเดียวกัน และต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับเดียวกัน กล่าวคือ สังกัดกรมเดิม แต่อาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการภายในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่จังหวัดหรืออําเภอในส่วนภูมิภาค ก็ได้ ส่วนการโอน หมายถึง การเปลี่ยนไปดํารงตําแหน่งอื่นในต่างกรม กล่าวคือ สังกัดกรมใหม่ แต่อาจจะอยู่ในกระทรวงเดียวกัน หรือกระทรวงใหม่ก็ได้

76. การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจํากระทรวง ประจํากรม หรือประจําจังหวัด ไม่ทําให้ขาดจาก
อัตราเงินเดือนเดิม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 19), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 69), (คําบรรยาย) การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปประจําส่วนราชการ (ประจํา กระทรวง ประจํากรม ประจํากอง หรือประจําจังหวัด) ซึ่งเป็นการสั่งให้พ้นจากตําแหน่งหน้าที่เดิม เป็นการชั่วคราว จะไม่ทําให้ขาดจากอัตราเงินเดือนเดิม ยังคงรับเงินเดือนในอัตราเดิมอยู่ จึงไม่ทําให้อัตราเงินเดือนว่าง ฉะนั้นการที่จะแต่งตั้งผู้อื่นให้มาดํารงตําแหน่งแทนจะกระทําไม่ได้ คงทําได้แต่เพียงสั่งให้ผู้อื่นรักษาการในตําแหน่งได้เท่านั้น

77. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการตามระเบียบข้าราชการ
พลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ระดับอาวุโส
(2) ระดับชํานาญงาน
(3) ระดับทักษะพิเศษ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

78. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้อง
(1) มีคุณสมบัติทั่วไป
(2) ไม่มีลักษณะต้องห้าม
(3) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36),
(คําบรรยาย) ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
2. ไม่มีลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือน
3. ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามบางประการได้

79. ปัจจุบันข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนแบ่งเป็นประเภท
(1) 5 ประเภท
(2) 4 ประเภท
(3) 3 ประเภท
(4) 2 ประเภท
(5) ประเภทเดียว
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือน มี 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรียนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

80. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

81. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับใดที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่

1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

82. การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน ให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุ
และแต่งตั้งดําเนินการได้โดยวิธี
(1) คัดเลือก
(2) สอบคัดเลือก
(3) คัดเลือกหรือสอบคัดเลือก
(4) อาจใช้วิธีเดียวกันกับการสอบแข่งขันก็ได้
(5) วิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

83. ตําแหน่งใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(1) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง
(4) รองอธิบดีกรมการปกครอง
(5) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น
2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต เป็นต้น

84. ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบันมีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติไว้ เป็นการแน่นอน และมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายฉบับด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 15 ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติกําหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการแน่นอน และมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ดังกล่าวหลายฉบับด้วยกัน เช่น ระเบียบข้าราชการพลเรือน ระเบียบข้าราชการตุลาการ ระเบียบข้าราชการอัยการ เป็นต้น

85. การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

86. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระดํารงตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

87. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ
(1) ระดับทักษะพิเศษ
(2) ระดับเชี่ยวชาญ
(3) ระดับชํานาญการพิเศษ
(4) ระดับสูง
(5) ระดับอาวุโส
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

88. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 กําหนดให้ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง
รักษาการไปสู่ระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทําคําอธิบายกับให้มีหน้าที่ดําเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ

89. ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาลจะบรรลุผลสําเร็จ
มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ
(1) ข้าราชการการเมือง
(2) ตัวบทกฎหมาย
(3) ข้าราชการในพื้นที่
(4) ประชาชนโดยส่วนรวม
(5) ระบบราชการ
ตอบ 5 หน้า 1, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินการจัดทําบริการสาธารณะตามนโยบายของรัฐบาลจะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใดหรือผลจะปรากฏออกมา ดีชั่วประการใด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคน การจัดองค์การ และวิธีการทํางาน หรือกล่าวอย่างรวบรัด ก็คือ ขึ้นอยู่กับระบบราชการว่ามีลักษณะอย่างใดเป็นสําคัญ

90. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐาน ในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

91. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นคุณสมบัติบางประการที่เป็นข้อห้ามของการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องได้ คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้

92. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
มีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

93. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด เป็นตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47)
ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

94. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก มีผลใช้บังคับทันทีนับตั้งแต่วันประกาศเป็นกฎหมายในปี พ.ศ. 2471
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราว ปีเศษให้หลัง

95. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ได้แก่
(1) ระเบียบ
(2) ข้อบังคับ
(3) คําสั่ง
(4) แถลงการณ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

96. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2518
(2) 2535
(3) 2551
(4) 2540
(5) 2557
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

97. เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคํานวณ
บําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 55 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 50 วรรคห้า) เงินประจําตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ ในการคํานวณบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

98. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รองนายกรัฐมนตรี
(4) ปลัดกระทรวง
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

99. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

100. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภทอํานวยการ
ได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) นายอําเภอ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3(คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทอํานวยการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1. อํานวยการระดับต้น ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการกอง/ ศูนย์, เลขานุการกรม), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับต้น), นายอําเภอ (ระดับต้น) เป็นต้น

2. อํานวยการระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม (ผู้อํานวยการสํานัก/ ศูนย์/สถาบัน), หัวหน้าสํานักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด (ระดับสูง), ปลัดจังหวัด, นายอําเภอ (ระดับสูง), ผู้ตรวจราชการกรม เป็นต้น

POL2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ตําแหน่งที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
(1) ปลัดอําเภอ
(2) ปลัด อบต.
(3) นายก อบต.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1(เอกสารประกอบการสอน หน้า 13) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีการกําหนดตําแหน่ง ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานัก ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น

2. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภททั่วไปมีกี่ระดับ
(1) 11 ระดับ
(2) 5 ระดับ
(3) 2 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 3 ระดับ
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

3. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของข้าราชการตามระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการมีการควบคุม
ขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของข้าราชการตาม ระบบราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการ และควบคุมการกระทําของเขา โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบ ของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวง
โดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

4. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่
ในพรรคการเมือง
4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

5. กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีวาระดํารงตําแหน่งกี่ปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

6. การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กําหนดเรื่องการออกจากราชการไว้เป็นกิจจะลักษณะ
นับได้ว่าเป็นมาตรการที่เป็นไปตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

7. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 3 ชนิด
(3) 2 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 4 ชนิด
ตอบ 2 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไข เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

8. การสอบแข่งขันเกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้โดยตรง
(1) คุณสมบัติเฉพาะ
(2) การย้าย
(3) การบรรจุและแต่งตั้ง
(4) คุณสมบัติทั่วไป
(5) การโอน
ตอบ 3 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน โดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศทั้งนี้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจาก ผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

9.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า
(1) ก.พ.ธ.
(2) ก.พ.ค.
(3) ก.พ.
(4) ก.ก.พ.
(5) ก.ก.ธ.
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10. ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) การบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(2) การกําหนดตําแหน่ง
(3) การจัดส่วนราชการ
(4) สํานักงาน ก.พ.
(5) สํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมเป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

11. คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึง ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

12. บําเหน็จดํารงชีพเป็นเงินที่ผู้รับบํานาญมีสิทธิได้รับ ปัจจุบันจะมีสิทธิได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีในปีที่เกษียณ อายุราชการ และเมื่ออายุครบ 65 ปีอีกครั้งหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพพ.ศ. 2562 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท

13. ระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบันประเภทใด
(1) พิเศษ
(2) บริหาร
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

14. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) ไม่น้อยกว่า 5 คน
(5) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย

1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็น
กรรมการและเลขานุการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

15. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ
(1) ระดับสูง
(2) ระดับต้น
(3) ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

16. กรรมการในคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระจะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เป็นกรรมการอีกไม่ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

17. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือสอบเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ระเบียบฯ บัญญัติว่า ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

18. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถของบุคคล
(2) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของทางราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

19. คําขึ้นต้นในหนังสือราชการถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้ว่า
(1) กราบเรียน ฯพณฯ
(3) เรียน
(2) ขอประทานกราบเรียน
(4) กราบเรียน
(5) เรียน ฯพณฯ
ตอบ 3 หน้า 479 – 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการ สําหรับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ

1. สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “กราบเรียน” และใช้ คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”

2. บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ”

20. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภททั่วไปมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

21. ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจาก
ผู้สอบแข่งขันได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

22. เรื่องใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ศาลปกครอง
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ศาลทหาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือนไว้หลายเรื่อง เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การสับเปลี่ยนหน้าที่ การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม ฯลฯ ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลปกครอง ศาลทหาร ข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษ รัฐพาณิชย์ เป็นเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

23. ระดับเชี่ยวชาญ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหารระดับสูง
(2) อํานวยการระดับสูง
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) บริหารระดับต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

24. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63
วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

25. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) รองปลัดกระทรวง
(5) อธิบดี
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย

1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภท
บริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

26. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหารได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) ปลัดจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด,อัครราชทูต เป็นต้น

2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด
เอกอัครราชทูต เป็นต้น

27. ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) อาจโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 POL 2302 (PA 220) (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย) การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ (เช่น ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) ข้าราชการอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น) และเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กําหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทําได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ ของทางราชการเป็นหลัก

28. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมปกติได้แก่ อธิบดี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร มีระดับ ตําแหน่งเช่นเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

29. ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การจัดทําบริการสาธารณะ
(2) หน้าที่ของรัฐบาล
(3) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุข
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 1, (คําบรรยาย) ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การจัดทําประกันสังคม เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน ซึ่งการ กําหนดนโยบายในการจัดทําบริการสาธารณะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมีข้าราชการประจํา เป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมืองและจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

30. ปัจจุบันกรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

31. การยื่นอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญให้ยื่นต่อองค์กรใด
(1) ก.พ.
(2) ก.พ.ศ.
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 25), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 114), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะเป็นโทษทางวินัยสถานใด หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (3) ของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่ง

32. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ใช้บังคับโดยตรงกับ
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 POL 2302 (PA 220) หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งหมายถึง กระทรวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความ รวมถึงคณะกรรมการด้วย

33. ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญอย่างไร
(1) มีการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา
(2) มีความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจํา
(3) มีหน้าที่เกี่ยวกับการกําหนดนโยบายของข้าราชการการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 8, คําบรรยาย) ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ คือ การมี ความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจําหรือระบบราชการ นั่นคือ มีการควบคุม การปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และมีหน้าที่ต้องรายงานและเสนอแนะนโยบาย สาธารณะต่อฝ่ายข้าราชการการเมือง รวมทั้งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง และเสนอแนวปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง ในส่วนข้าราชการ การเมืองนั้นจะมีหน้าที่รับผิดชอบตามกลไกของรัฐธรรมนูญ

34. ข้อใดเป็นลักษณะของข้าราชการการเมือง
(1) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(2) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(3) เน้นเรื่องความรู้ความสามารถ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 391 (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)
2. มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง
3. การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ)
4. การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระ หรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง
5. ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ

35. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหาร ได้แก่
(1) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(3) รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรมและตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด (ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ)

36. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน
(3) เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1. เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2. เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการและผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
3. เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ ทั้งนี้ในขณะที่ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกนั้น ยังไม่มีการแบ่งข้าราชการพลเรือน ออกเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจํา จึงไม่ได้กําหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งวางหลักการให้ข้าราชการประจําวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง
4. เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ

37. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

38. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับทรงคุณวุฒิเป็นตําแหน่งประเภท
(1) บริหารระดับสูง
(2) วิชาการระดับสูง
(3) วิชาการ
(4) อํานวยการระดับสูง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

39. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้ามสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนบางประการต้องได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้

40. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา และอยู่ในตําแหน่งได้จนครบวาระตามที่ กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

41. ระดับใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับชํานาญงาน
(2) ระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับเชี่ยวชาญ
(4) ระดับชํานาญการพิเศษ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

42. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

43. ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งที่สําคัญคือ ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคม ทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่า
ราชการจังหวัด เป็นต้น
2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

44. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือน แต่อย่างใด

45. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็น
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) กรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

46. องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(1) ก.พ.
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. จังหวัด
(4) อ.ก.พ. กระทรวง
(5) ก.พ.ร.
ตอบ 1
(เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่งให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

47. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงยุติธรรม
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

48. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) หนังสือประทับตรา
(3) หนังสือภายนอก
(4) รายงานการประชุม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

49 กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ.อีกก็ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่), (คําบรรยาย)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่

50. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการไม่ถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่

1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

51. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบ
งานสารบรรณ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52.ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งอนุกรรมการ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. สามัญ
(4) อ.ก.พ. วิสามัญ
(5) อ.ก.พ. จังหวัด
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ กําหนดในกฎ ก.พ.

53. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามที่ได้มีการจัดสอบแข่งขันนั้น ให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 1 ปี
(2) 2 ปี
(3) 3 ปี
(4) 4 ปี
(5) 5 ปี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

54. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2535
(2) 2551
(3) 2518
(4) 2557
(5) 2550
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

55. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีจํานวนกี่ตําแหน่ง
(1) 2 ตําแหน่ง
(2) 3 ตําแหน่ง
(3) 4 ตําแหน่ง
(4) 5 ตําแหน่ง
(5) 6 ตําแหน่ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

56. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของระบบราชการ
(1) ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ
(2) มีการกําหนดโครงสร้างของงาน
(3) มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
(4) มีการกําหนดนโยบายสาธารณะเป็นระยะ ๆ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 1 – 7 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1 – 2) ระบบราชการมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการค้นหาความสมเหตุสมผล
2. มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
3. มีการกําหนดโครงสร้างของงานที่สมเหตุสมผล
4. มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน
5. เป็นการทํางานภายในกรอบของกฎหมาย
6. เป็นระบบค่านิยมอย่างหนึ่ง
7. ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ ฯลฯ

57. บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ และเป็นผู้มีสิทธิได้รับตาม กฎหมายบําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายครั้งเดียว
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจาก หน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

58. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีข้าราชการพลเรือนกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือน มี 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

59. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

60. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) 8 คน
(5) 9 คน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

61. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
(1) ปลัดกระทรวง
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) อธิบดี
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวน ไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน 4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

62. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
แต่มีตําแหน่งในการบังคับบัญชาเท่าปลัดกระทรวง
(1) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ปลัดกรุงเทพมหานคร
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 คําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

63. หลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับ ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่ทางราชการกําหนดหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขัน เข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทาง เศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล

64. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการมีกี่ระดับ
(1) 6 ระดับ
(2) 5 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 3 ระดับ
(5) 2 ระดับ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

65. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งลงโทษ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96 และมาตรา 97), (คําบรรยาย) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้มีอํานาจ สั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดวินัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่ง กรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

66. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 52)
การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ ดํารงตําแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคํานึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ

67. ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 33 วรรคสอง) ข้าราชการพลเรือน อาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

68. วินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ
(1.) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 258 ศาสตราจารย์ Joseph B. Kingsbury และศาสตราจารย์ Robert F. Wilcox ได้กล่าวถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ โดยวินัยประเภทที่เหมาะกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญก็คือ วินัยประเภทปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-discipline)

69. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับ “ก่อน” ฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2470
(2) 2471
(3) 2475
(4) 2518
(5) 2535
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนฉบับ พ.ศ. 2551 (ฉบับปัจจุบัน) คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2535 และเริ่มมีผลบังคับใช้หลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

70. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) คุณธรรม
(2) ชั้นยศ
(3) อุปถัมภ์
(4) จําแนกตําแหน่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

71. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําอาชีวศึกษาตอนปลาย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

72. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน
และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

73. ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาของข้าราชการพลเรือนสามัญ ถ้าไม่ใช่ความผิดวินัยข้าราชการ ผู้บังคับบัญชา อาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นได้รับการพัฒนา หรืออาจตักเตือน หรืออาจนําไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็ได้
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 79) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็น ความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นําไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา

74. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภทอํานวยการระดับสูง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

75. ระดับใดต่อไปนี้ “ไม่ใช่” ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับทรงคุณวุฒิ
(2) ระดับทักษะพิเศษ
(3) ระดับเชี่ยวชาญ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับชํานาญการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

76. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญสถานเบาที่สุด
(1) ว่ากล่าว
(2) ตักเตือน
(3) ว่ากล่าวตักเตือน
(4) ทําทัณฑ์บน
(5) ภาคทัณฑ์
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

77. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด เป็นตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กรม กําหนด
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47)
ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

78. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยได้มีการพัฒนามาตามลําดับ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาจาก
ระบบขั้นยศไปสู่ระบบคุณธรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

79. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

80. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขัน เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับ บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิและกําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษาและความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

81. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบข้าราชการการเมืองปัจจุบันด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง หรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมืองถือว่าเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบันได้มีการ แยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน
และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการ การเมืองโดยตรง

82. กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบ ข้าราชการพลเรือน กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิ
(1) อุทธรณ์
(2) ร้องทุกข์
(3) ฟ้องศาลปกครอง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

83. ระดับชํานาญการพิเศษ เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

84. ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก
(2) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายใน
(3) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
(4) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก
(5) ข่าวราชการเป็นหนังสือภายใน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

85. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) อธิบดี
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น 1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด 2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

86. โทษทางวินัยข้าราชการขั้นปลดออกจากราชการ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีสิทธิ ขอรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 267, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยถือเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมาย ว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

87. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

88. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องใดต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับหลักความสามารถ
ตามระบบคุณธรรม
(1) การร้องทุกข์
(2) การอุทธรณ์
(3) การออกจากราชการ
(4) การสอบแข่งขันเข้ารับราชการ
(5) การสอบสวนทางวินัย
ตอบ 4 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรม ในการบริหารงานบุคคล หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นหรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ และ การทดลองปฏิบัติงาน

89. การลาออกจากราชการกรณีเพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผู้บังคับบัญชาอาจยับยั้งการสั่งอนุญาตการลาออกนั้นได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันขอลาออก
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ) หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

90. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับเข้ารับราชการที่กระทรวง ทบวง กรมเดิม และ
จะต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งเดิมด้วย
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไป โดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัด ๆ ก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม

91. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คําว่า “คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง” หมายถึงการกําหนดเกี่ยวกับ
(1) ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์
(2) การบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
(3) การกําหนดตําแหน่ง
(4) หลักการของระบบอาวุโส
(5) การบรรจุกรณีที่มีเหตุพิเศษ
ตอบ 1 หน้า 94, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16) คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง หมายถึง คุณสมบัติที่กําหนดไว้โดยเฉพาะสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ในการรับราชการ โดยคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไรจะมีกําหนดไว้ล่วงหน้าในมาตรฐานกําหนด ตําแหน่งของแต่ละประเภทตําแหน่งที่ ก.พ. จัดทําขึ้น

92. วินัยของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ เป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

93. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในหนังสือพิมพ์
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราวปีเศษให้หลัง

94. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อขอความเห็นชอบหรือพิจารณาอนุมัติ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

95. การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือก อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็น
การพิจารณาจากปัจจัยด้านใด
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) อาวุโส
(3) คุณธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธี สอบคัดเลือกและวิธีการคัดเลือก เป็นการพิจารณาจากปัจจัยตามความเหมาะสม ซึ่งได้แก่ ความรู้ความสามารถ ความประพฤติ (คุณธรรมและจริยธรรม) และประวัติการรับราชการ (อาวุโส) ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว

96. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

97. ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
และเป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

98. บําเหน็จตกทอดเป็นเงินที่กฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการกําหนดให้จ่ายแก่ทายาทของ ข้าราชการผู้รับบํานาญ เมื่อผู้รับบํานาญถึงแก่กรรม
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 หน้า 69 – 72, (คําบรรยาย) บําเหน็จบํานาญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. บําเหน็จบํานาญปกติ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่มีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญปกติ

2. บําเหน็จบํานาญพิเศษ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่ประสบอันตรายเพราะเหตุปฏิบัติ ราชการหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทําการตามหน้าที่จนพิการทุพพลภาพ รับราชการต่อไปไม่ได้ ถ้าจนถึงตายทายาทมีสิทธิรับบํานาญพิเศษ

3. บําเหน็จตกทอด คือ เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการผู้รับบํานาญเมื่อผู้รับบํานาญ ถึงแก่กรรม ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว

99. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใด มาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ถูก
(2) ผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรม ให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความเป็นกลางทางการเมือง
(3) หลักอาวุโส
(4) หลักความมั่นคง
(5) หลักความรู้ความสามารถ
ตอบ 3 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล
หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

 

POL2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดเป็นคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) มีสัญชาติไทย
(2) อายุไม่ต่ํากว่า 18 ปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักการสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
(1) หลักความเสมอภาค
(2) หลักความเป็นกลางทางการเมือง
(3) หลักอาวุโส
(4) หลักความมั่นคง
(5) หลักความรู้ความสามารถ
ตอบ 3หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

3.ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นข้าราชการการเมือง
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

4.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของระบบราชการ
(1) ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ
(2) มีการกําหนดโครงสร้างของงาน
(3) มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
(4) มีการกําหนดนโยบายสาธารณะเป็นระยะ ๆ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 1 – 7 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1 – 2) ระบบราชการมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการค้นหาความสมเหตุสมผล
2. มีลําดับขั้นการบังคับบัญชา
3. มีการกําหนดโครงสร้างของงานที่สมเหตุสมผล
4. มีการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน
5. เป็นการทํางานภายในกรอบของกฎหมาย
6. เป็นระบบค่านิยมอย่างหนึ่ง
7. ฝ่ายจัดการไม่ใช่เจ้าของกิจการ ฯลฯ

5. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 2หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณพ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

6. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับทรงคุณวุฒิเป็นตําแหน่งประเภท
(1) บริหารระดับสูง
(2) วิชาการระดับสูง
(3) วิชาการ
(4) อํานวยการระดับสูง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

7.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้ใช้วิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) จําแนกตําแหน่ง
(2) ชั้นยศ
(3) คุณธรรม
(4) อุปถัมภ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 77 – 78, (คําบรรยาย) วิธีการกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนโดยทั่วไปมี 2 ระบบ คือ ระบบชั้นยศ (R.C.) และระบบจําแนกตําแหน่ง (P.C.) ซึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 จะมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบจําแนกตําแหน่งแบบแบ่งเป็น ประเภทตําแหน่งตามลักษณะงาน 4 ประเภท คือ ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภท อํานวยการ ตําแหน่งประเภทวิชาการ และตําแหน่งประเภททั่วไป

8.ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คําว่า “คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง” หมายถึง
การกําหนดเกี่ยวกับ
(1) การกําหนดตําแหน่ง
(2) การบรรจุกรณีที่มีเหตุพิเศษ
(3) การบรรจุผู้ทรงคุณวุฒิ
(4) หลักการของระบบอาวุโส
(5) ความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์
ตอบ 5 หน้า 94, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 16) คุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง หมายถึง คุณสมบัติที่กําหนดไว้โดยเฉพาะสําหรับตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ในการรับราชการ โดยคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งมีอย่างไรจะมีกําหนดไว้ล่วงหน้าในมาตรฐานกําหนด ตําแหน่งของแต่ละประเภทตําแหน่งที่ ก.พ. จัดทําขึ้น

9.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันประกอบด้วยกรรมการ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจํานวนกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) 8 คน
(5) 9 คน
ตอบ 3
(เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

10. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก
(1) เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรม
(2) เพื่อความเป็นมาตรฐาน
(3) เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4หน้า 30 – 31, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 (ฉบับแรก) มีดังนี้
1. เพื่อความเป็นระเบียบและมาตรฐาน
2. เพื่อความเสมอภาคและยุติธรรมแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการและผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
3. เพื่อให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการ
4. เพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้ในขณะที่ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกนั้น
ยังไม่มีการแบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็นข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจํา จึงไม่ได้ กําหนดวัตถุประสงค์ที่มุ่งวางหลักการให้ข้าราชการประจําวางตัวเป็นกลางในทางการเมือง

11. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) ไม่น้อยกว่า 5 คน
(5) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า
“ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

12. ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
(1) สํานักงาน ก.พ.
(2) สํานักนายกรัฐมนตรี
(3) การกําหนดตําแหน่ง
(4) การบริหารงานบุคคลภาครัฐ
(5) การจัดส่วนราชการ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) ระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารงานบุคคลหรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ โดยระเบียบข้าราชการพลเรือนแต่ละฉบับจะตราขึ้นโดยอาศัยหลักวิชาการในทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม เป็นเกณฑ์ ดังนั้นการที่จะศึกษาทําความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือนจึงจําเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาของการบริหารงานบุคคลเป็นพื้นฐานที่สําคัญ

13. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ต้องมีคําลงท้าย
(1) หนังสือภายใน
(2) หนังสือประทับตรา
(3) หนังสือภายนอก
(4) รายงานการประชุม
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

14. ข้อใดถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
(1) ข้อบังคับเป็นหนังสือภายใน
(2) บันทึกข้อความเป็นหนังสือภายนอก
(3) ข่าวราชการเป็นหนังสือภายใน
(4) หนังสือรับรองเป็นหนังสือภายนอก
(5) ระเบียบเป็นหนังสือสั่งการ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

15. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหาร ได้แก่
(1) หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง
(2) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(3) รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย)ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงาน ได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร

2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น

3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น

4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

16. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2518
(2) 2535
(3) 2550
(4) 2551
(5) 2557
ตอบ 4(เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (คําบรรยาย) ปัจจุบันกฎหมายที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

17. ปัจจุบันกรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละกี่ปี
(1) 5 ปี
(2) 4 ปี
(3) 3 ปี
(4) 2 ปี
(5) 1 ปี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

18. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน ใช้บังคับโดยตรงกับ
(1) ราชการบริหารส่วนกลาง
(2) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5หน้า 400, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26), (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งหมายถึง กระทรวง กรม สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย

19. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องใดต่อไปนี้ที่สอดคล้องกับหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม
(1) การอุทธรณ์
(2) การร้องทุกข์
(3) การออกจากราชการ
(4) การสอบสวนทางวินัย
(5) การสอบแข่งขันเข้ารับราชการ
ตอบ 5 หน้า 17, (คําบรรยาย) หลักความรู้ความสามารถ (Competence) ตามระบบคุณธรรม ในการบริหารงานบุคคล หมายถึง การเลือกสรรบุคคลเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสูงขึ้นหรือการพิจารณาเลื่อนระดับตําแหน่งจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานเป็นสําคัญ ซึ่งส่วนมากจะกระทําโดยการสอบแข่งขัน สอบสัมภาษณ์ และ การทดลองปฏิบัติงาน

20. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภทอํานวยการระดับสูง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่

1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น
2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

21. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถของบุคคล
(2) ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของทางราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

22. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมีกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

23. หนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 2 ชนิด
(2) 3 ชนิด
(3) 4 ชนิด
(4) 5 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

24. ปัจจุบันบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามที่ได้มีการจัดสอบแข่งขันนั้น ให้ใช้ได้ไม่เกินกี่ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี
(1) 1 ปี
(2) 2 ปี
(3) 3 ปี
(4) 4 ปี
(5) 5 ปี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบัน ก.พ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เพื่อใช้ในการบรรจุ บุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญว่าให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันขึ้นบัญชี

25. กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีวาระดํารงตําแหน่งปี
(1) 2 ปี
(2) 3 ปี
(3) 4 ปี
(4) 5 ปี
(5) 6 ปี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

26. การสอบแข่งขันเกี่ยวข้องกับเรื่องใดต่อไปนี้โดยตรง
(1) การโอน
(2) คุณสมบัติทั่วไป
(3) การย้าย
(4) การบรรจุและแต่งตั้ง
(5) คุณสมบัติเฉพาะ
ตอบ 4 หน้า 92, (คําบรรยาย) การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน โดยบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของการบรรจุและแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญในทุกประเทศ ทั้งนี้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน

27. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีข้าราชการพลเรือนกี่ประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยตรงของ ก.พ. มี 2 ประเภท คือ

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

28. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับก่อนฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับ พ.ศ.
(1) 2470
(2) 2471
(3) 2475
(4) 2518
(5) 2535
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนก่อนฉบับ พ.ศ. 2551 (ฉบับปัจจุบัน) คือ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2535 และเริ่มมีผลบังคับใช้หลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

29. ระดับใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับปฏิบัติการ
(2) ระดับชํานาญงาน
(3) ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ระดับชํานาญการพิเศษ
(5) ระดับเชี่ยวชาญ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

30. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญและเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
แต่มีตําแหน่งในการบังคับบัญชาเท่าปลัดกระทรวง
(1) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(2) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(3) ปลัดกรุงเทพมหานคร
(4) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ
(5) โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ

1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น

2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต เป็นต้น

31. ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญอย่างไร
(1) มีการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา
(2) มีความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจํา
(3) มีหน้าที่เกี่ยวกับการกําหนดนโยบายของข้าราชการการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 8, คําบรรยาย) ข้าราชการประจํามีขอบเขตแห่งอํานาจหน้าที่ที่สําคัญ คือ การมี ความรับผิดชอบตามกลไกของระบบงานประจําหรือระบบราชการ นั่นคือ มีการควบคุม การปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และมีหน้าที่ต้องรายงานและเสนอแนะนโยบาย สาธารณะต่อฝ่ายข้าราชการการเมือง รวมทั้งมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง และเสนอแนวปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการการเมือง ในส่วนข้าราชการ การเมืองนั้นจะมีหน้าที่รับผิดชอบตามกลไกของรัฐธรรมนูญ

ตั้งแต่ข้อ 32, – 55. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2

32. มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้ามสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนบางประการต้องได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้น ให้เป็นการทั่วไปก็ได้

33. คําว่า “ปลัดกระทรวง” ตามคํานิยามของระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึง ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า “ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

34. บําเหน็จตกทอดเป็นเงินที่กฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการกําหนดให้จ่ายแก่ทายาทของ
ข้าราชการผู้รับบํานาญ เมื่อผู้รับบํานาญถึงแก่กรรม
ตอบ 1 หน้า 69 – 72, (คําบรรยาย) บําเหน็จบํานาญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. บําเหน็จบํานาญปกติ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่มีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญปกติ

2. บําเหน็จบํานาญพิเศษ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการที่ประสบอันตรายเพราะเหตุปฏิบัติ ราชการหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทําการตามหน้าที่จนพิการทุพพลภาพ รับราชการต่อไปไม่ได้ ถ้าจนถึงตายทายาทมีสิทธิรับบํานาญพิเศษ

3. บําเหน็จตกทอด คือ เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการผู้รับบํานาญเมื่อผู้รับบํานาญ ถึงแก่กรรม ซึ่งจ่ายให้ครั้งเดียว

35. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด เป็นตําแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กรม กําหนด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

36. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของข้าราชการตามระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการมีการควบคุม
ขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของข้าราชการตาม ระบบราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการ และควบคุมการกระทําของเขา โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงโดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

37. การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนได้กําหนดเรื่องการออกจากราชการไว้เป็นกิจจะลักษณะ
นับได้ว่าเป็นมาตรการที่เป็นไปตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล
ตอบ 1 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจาก
ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

38. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องเป็นไปตาม อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 52) การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ ดํารงตําแหน่ง ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคํานึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ดังกล่าว ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ

39. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อขอความเห็นชอบหรือพิจารณาอนุมัติ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

40. ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

41. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากต่างประเทศเข้ารับราชการ โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขัน เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับ บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิและกําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษาและความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

42. ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 38 วรรคสอง) ข้าราชการพลเรือน อาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด

43. การลาออกจากราชการกรณีเพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ผู้บังคับบัญชาอาจยับยั้ง การสั่งอนุญาตการลาออกนั้นได้ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันขอลาออก
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ) หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

44. กรรมการในคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

45. ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันและเป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตําแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร, ผู้อํานวยการเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร และบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554

46. โทษทางวินัยข้าราชการขั้นปลดออกจากราชการ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้มีสิทธิ ขอรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ เสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ตอบ 1 หน้า 267, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยถือเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมาย ว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

47. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใด มาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) เป็นองค์กรที่ไม่เคยบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใดมาก่อน เพิ่งบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรพิทักษ์คุ้มครองความเป็นธรรม ให้บรรดาข้าราชการพลเรือน และพิทักษ์ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

48. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการถือว่าเป็นหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 หน้า 403, (คําบรรยาย) ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 กําหนดว่า หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่

1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทําขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
6. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

49. ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) อาจโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง), (คําบรรยาย)การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ (เช่น ข้าราชการตํารวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการตุลาการ (ผู้พิพากษา) ข้าราชการอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น) และเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ. กําหนด มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทําได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กําหนด ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ ของทางราชการเป็นหลัก

50. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศเป็นกฎหมาย โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราวปีเศษให้หลัง

51. ข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งที่สําคัญคือ ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

52. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

53. หลักความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับ ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับ
ราชการได้
ตอบ 1 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่ทางราชการกําหนดหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขัน เข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทาง เศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล

54. บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจากราชการ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ บํานาญจ่ายเป็นรายเดือน
ตอบ 1 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) บํานาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาเมื่อพ้นจาก หน้าที่ราชการแล้ว ซึ่งผู้ที่จะได้รับบํานาญนี้จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ โดยบํานาญจ่ายให้เป็นรายเดือน

55. ระดับชํานาญการพิเศษ เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือน ฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

56. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกีชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

57. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันกําหนดให้ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) อธิบดี
(2) อ.ก.พ. กรม
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) ปลัดกระทรวง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1(พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง
ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น
1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด
2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

58. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(3) ปลัดกระทรวงยุติธรรม
(4) ปลัดกระทรวงการคลัง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

59. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีวิธีการกําหนดตําแหน่งโดยใช้ระบบ
(1) คุณธรรม
(2) ชั้นยศ
(3) อุปถัมภ์
(4) จําแนกตําแหน่ง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

60. ราชการคืองานที่เกี่ยวกับ
(1) การจัดทําบริการสาธารณะ
(2) หน้าที่ของรัฐบาล
(3) มีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุข
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 1, (คําบรรยาย) ราชการ คือ การงานของประเทศที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ประเภทต่าง ๆ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดสวัสดิการ การจัดทําประกันสังคม เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขของประชาชน ซึ่งการ กําหนดนโยบายในการจัดทําบริการสาธารณะนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล โดยมีข้าราชการประจําเป็นเครื่องมือหรือผู้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กําหนดของฝ่ายการเมืองและจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

61. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการมีกี่ระดับ
(1) 2 ระดับ
(2) 3 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 5 ระดับ
(5) 6 ระดับ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

62. เรื่องใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ศาลปกครอง
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ
(3) ศาลทหาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการพลเรือนไว้หลายเรื่อง เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การสับเปลี่ยนหน้าที่ การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ ระบบคุณธรรม ฯลฯ ส่วนเรื่องศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลปกครอง ศาลทหาร ข้าราชการประจําต่างประเทศพิเศษ รัฐพาณิชย์ เป็นเรื่องที่ไม่ได้บัญญัติไว้ใน ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน

ตั้งแต่ข้อ 63 – 77. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2

63. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยได้มีการพัฒนามาตามลําดับ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาจาก
ระบบชั้นยศไปสู่ระบบคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

64. วินัยของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ เป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
มาตรา 36) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
2. เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
3. เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ ในพรรคการเมือง 4. เป็นบุคคลล้มละลาย ฯลฯ

65. ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาของข้าราชการพลเรือนสามัญ ถ้าไม่ใช่ความผิดวินัยข้าราชการ ผู้บังคับบัญชา อาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นได้รับการพัฒนา หรืออาจตักเตือน หรืออาจนําไปประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็ได้
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 79) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็น ความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นําไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา

66. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือ
ต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําอาชีวศึกษาตอนปลาย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

67. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและระเบียบข้าราชการการเมืองปัจจุบันด้วย
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง หรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมืองถือว่าเป็น ข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบันได้มีการ แยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการ การเมืองโดยตรง

68. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งลงโทษ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96
และมาตรา 97), (คําบรรยาย) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้มีอํานาจ สั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดวินัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
2. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษ ปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ํากว่าปลดออก

69. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา และอยู่ในตําแหน่งได้จนครบวาระตามที่ กําหนดไว้ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

70.กรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการ ก.พ. อีกก็ได้
ตอบ 1 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสาม และวรรคสี่), (คําบรรยาย) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ แต่ถ้าเมื่อพ้นจากตําแหน่งแล้วยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่

71. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้ว
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

72. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนแต่อย่างใด

73. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือสอบเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ระเบียบฯ บัญญัติว่า ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของการเป็นข้าราชการพลเรือน

ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

74. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมปกติได้แก่ อธิบดี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร มีระดับ ตําแหน่งเช่นเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

75. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไปโดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับเข้ารับราชการที่กระทรวง ทบวง กรมเดิม และ
จะต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในตําแหน่งเดิมด้วย
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อน และลาออกจากราชการไป โดยไม่มีความผิดวินัยแต่ประการใด ถ้าประสงค์ขอกลับเข้ารับราชการอาจยื่นเรื่องราวขอกลับ เข้ารับราชการในกระทรวง กรมใด ๆ ก็ได้ โดยไม่ได้จํากัดเฉพาะกระทรวง กรมเดิมที่เคยสังกัด ก่อนออกจากราชการ และอาจได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับและเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม

76. บําเหน็จดํารงชีพเป็นเงินที่ผู้รับบํานาญมีสิทธิได้รับ ปัจจุบันจะมีสิทธิได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปีในปีที่เกษียณ อายุราชการ และเมื่ออายุครบ 65 ปีอีกครั้งหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพ
ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพ
พ.ศ. 2562 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท

77. วินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ
ตอบ 1 หน้า 258 ศาสตราจารย์ Joseph B. Kingsbury และศาสตราจารย์ Robert F. Wilcox ได้กล่าวถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลเป็นสําคัญที่จะเป็นสิ่งจูงใจให้ข้าราชการพลเรือนสามัญปฏิบัติโดยไม่ต้องอาศัยการบังคับ โดยวินัยประเภทที่เหมาะกับ ข้าราชการพลเรือนสามัญก็คือ วินัยประเภทปฏิบัติด้วยตนเอง (Self-discipline)

78. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ประเภทบริหารได้แก่ตําแหน่ง
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) ปลัดจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

79. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
(1) ปลัดกระทรวง
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) อธิบดี
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวน ไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

80. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้จํานวนไม่เกิน 6 คน
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) เป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 64. ประกอบ

81. คําขึ้นต้นในหนังสือราชการถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้ว่า
(1) กราบเรียน
(2) เรียน ฯพณฯ
(3) เรียน
(4) กราบเรียน ฯพณฯ
(5) ขอประทานกราบเรียน
ตอบ 3 หน้า 479 – 480, (คําบรรยาย) การใช้คําขึ้นต้นตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ในหนังสือราชการ สําหรับผู้รับหนังสือที่เป็นบุคคลธรรมดานั้น มี 2 แบบ คือ

1. สําหรับประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “กราบเรียน” และใช้ คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”

2. บุคคลธรรมดานอกจากข้อ 1. ให้ใช้คําขึ้นต้นว่า “เรียน” และใช้คําลงท้ายว่า “ขอแสดงความนับถือ”

82. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่กําหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
(1) ปลัดอําเภอ
(2) ปลัด อบต.
(3) นายก อบต.
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีการกําหนดตําแหน่ง ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี รองอธิบดี ผู้อํานวยการกอง ผู้อํานวยการสํานัก ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอําเภอ ปลัดอําเภอ เป็นต้น

83. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(2) ปลัดกระทรวง
(3) อธิบดี
(4) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(5) รองปลัดกระทรวง
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15),
(คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน

2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน

3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน

4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

84. ระดับใดต่อไปนี้เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ
(1) ระดับสูง
(2) ระดับต้น
(3) ระดับทรงคุณวุฒิ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3

ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

85. การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธีสอบคัดเลือก อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นการพิจารณาจากปัจจัยด้านใด
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) อาวุโส
(3) คุณธรรม
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 220, (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยวิธี สอบคัดเลือกและวิธีการคัดเลือก เป็นการพิจารณาจากปัจจัยตามความเหมาะสม ซึ่งได้แก่ ความรู้ความสามารถ ความประพฤติ (คุณธรรมและจริยธรรม) และประวัติการรับราชการ (อาวุโส) ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว

86.ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภททั่วไปมีกี่ระดับ
(1) ระดับเดียว
(2) 2 ระดับ
(3) 3 ระดับ
(4) 4 ระดับ
(5) 5 ระดับ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

87. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า
(1) ก.พ.
(2) ก.พ.ธ.
(3) ก.ก.พ.
(4) ก.ก.ธ.
(5) ก.พ.ค.
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

88. ระดับทักษะพิเศษ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือน
ฉบับปัจจุบันประเภทใด
(1) พิเศษ
(2) บริหาร
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

89. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็น
(1) ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(2) กรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(3) ผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

90. ข้อใดเป็นลักษณะของข้าราชการการเมือง
(1) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(2) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(3) เน้นเรื่องความรู้ความสามารถ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 391, (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)
2. มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง
3. การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทาง
การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ)
4. การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระ หรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง
5. ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ

91. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีจํานวนที่ตําแหน่ง
(1) 2 ตําแหน่ง
(2) 3 ตําแหน่ง
(3) 4 ตําแหน่ง
(4) 5 ตําแหน่ง
(5) 6 ตําแหน่ง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

92. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

93. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประเภททั่วไปมีกี่ระดับ
(1) 11 ระดับ
(2) 5 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 3 ระดับ
(5) 2 ระดับ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

94. กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบ ข้าราชการพลเรือน กําหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิ
(1) อุทธรณ์
(2) ร้องทุกข์
(3) ฟ้องศาลปกครอง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24 – 25), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 114), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะเป็นโทษทางวินัยสถานใด หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่ง

95.ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งอนุกรรมการ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ คือ
(1) อ.ก.พ. สามัญ
(2) อ.ก.พ. กระทรวง
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) อ.ก.พ. วิสามัญ
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 12) ก.พ. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.พ. วิสามัญ เพื่อทําการใด ๆ แทนได้ โดยจํานวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ รวมตลอดทั้งวิธีการได้มา วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่ กําหนดในกฎ ก.พ.

96. ระดับใดต่อไปนี้ไม่ใช่ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทวิชาการ
(1) ระดับเชี่ยวชาญ
(2) ระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ระดับทักษะพิเศษ
(4) ระดับชํานาญการ
(5) ระดับปฏิบัติการ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

97. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน องค์กรใดต่อไปนี้เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่ง
ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(1) อ.ก.พ. กระทรวง
(2) ก.พ.
(3) อ.ก.พ. กรม
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) ก.พ.ร.
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 48) ก.พ. เป็นผู้จัดทํามาตรฐานกําหนดตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจําแนกตําแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตําแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้โดยคํานึงถึงลักษณะ หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน โดยในมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง ให้ระบุชื่อตําแหน่ง ในสายงาน หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก และคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งไว้ด้วย

98. ระดับเชี่ยวชาญ เป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) บริหารระดับสูง
(2) อํานวยการระดับสูง
(3) ทั่วไป
(4) วิชาการ
(5) บริหารระดับต้น
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

99. การยื่นอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญให้ยื่นต่อองค์กรใด
(1) ก.พ.
(2) ก.พ.ค.
(3) อ.ก.พ. กระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

100. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญสถานเบาที่สุด
(1) ว่ากล่าว
(2) ตักเตือน
(3) ว่ากล่าวตักเตือน
(4) ทําทัณฑ์บน
(5) ภาคทัณฑ์
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

 

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ s/2565

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. การที่บุคคลทุกคนภายในองค์การจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเป็นหลักในเรื่องใด
(1) หลักของกฎและระเบียบ
(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
(3) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน
(4) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม
(5) หลักเอกภาพขององค์การ
ตอบ 2 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ ทางการบริหารที่ต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรงได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงาน ซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยากในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

2.Span of Control คือ
(1) จํานวนระดับการบังคับบัญชา
(2) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน
(3) จํานวนลูกน้องในบังคับบัญชา
(4) หลักเอกภาพขององค์การ
(5) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม
ตอบ 3 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้ โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

3.เหตุผลของการเกิด “องค์การที่ไม่เป็นทางการ” ได้แก่
(1) เพื่อค้นหาข่าวสาร
(2) ใช้เป็นที่ระบายความรู้สึก
(4) เพื่อกําหนดเป้าหมาย
(3) เป็นการแบ่งงานกันทํา
(5) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 10 – 11, (คําบรรยาย) เหตุผลความจําเป็นหรือประโยชน์ของการเกิดองค์การ ที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization) ได้แก่
1. เป็นการตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม เช่น ใช้เป็นที่หางานอดิเรกทํา แสดงออกทางรสนิยม เป็นต้น
2. ช่วยสร้างความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของขึ้น
3. ค้นหาบุคคลที่มีพฤติกรรมคล้ายตน หรือการหาเพื่อน
4. เป็นที่ระบายความรู้สึก
5. เป็นโอกาสในการแสดงอิทธิพล
6. เป็นโอกาสในการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี
7. เพิ่มช่องทางการ หลเวียนของข่าวสาร และเป็นแหล่งในการหาข้อมูลข่าวสารและการติดต่อ

4.เทคโนโลยีขององค์การ หมายถึง
(1) วัตถุประสงค์ขององค์การ
(2) กฎระเบียบและข้อบังคับ
(3) วิธีการทํางาน
(4) ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) ระบบย่อยต่าง ๆ ภายในระบบขององค์การ มีดังนี้
1. ระบบเทคโนโลยีขององค์การ (Technical) หมายถึง ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงเทคนิคและวิธีการทํางานต่าง ๆ ที่องค์การต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร หรือปัจจัยนําเข้าให้ออกมาในรูปของผลผลิต
2. ระบบสังคมจิตวิทยา (Psychosocial) เป็นระบบที่รวมความต้องการของบุคคลและ กลุ่มในองค์การ เช่น ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
3. ระบบโครงสร้างขององค์การ (Structural) เป็นระบบที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์การ เช่น สายการบังคับบัญชา กฎระเบียบและข้อบังคับ ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ แผนกงาน เป็นต้น
4. ระบบของศิลปะและทักษะในการบริหารองค์การ (Managerial) หมายถึง ความสามารถ ในการบริหารจัดการของผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ประสานงาน ฯลฯ

5.“ตําแหน่งและอํานาจหน้าที่” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Goals and Values
(2) Technical
(3) Structural
(4) Psychosocial
(5) Managerial
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6. “ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงาน” จัดอยู่ในระบบย่อยใดของระบบขององค์การ
(1) Goals and Values
(2) Technical
(3) Structural
(4) Psychosocial
(5) Managerial
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7. ทุกข้อเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของระบบ ยกเว้น
(1) มีการวางแผน
(2) มีกลไกให้ข้อมูลข่าวสาร
(3) มีความเจริญเติบโตภายใน
(4) มีเสถียรภาพแบบพลวัต
(5) มุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
ตอบ 5หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา(Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

8. การกระจายอํานาจในการบริหาร หมายถึง
(1) การที่หัวหน้าเข้าช่วยลูกน้องในการตัดสินใจทุกเรื่อง
(2) การที่หัวหน้าลงมากํากับการทํางานด้วยตนเอง
(3) ความไม่เป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 168 – 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization) ในการบริหาร หมายถึงความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจ กระทําโดยผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสใน การตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาท ของผู้บริหารระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

9.Formalization คือ
(1) การ หัวหน้าเข้าช่วยลูกน้องในการตัดสินใจทุกเรื่อง
(2) การที่องค์การเต็มไปด้วยกฎ ระเบียบ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 122, (คําบรรยาย) ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การ ได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ดังนั้นความเป็นทางการจึงแสดงถึง การที่องค์การเต็มไปด้วยกฎ ระเบียบต่าง ๆ

10.Chain of Command คือ
(1) การที่หัวหน้าเข้าช่วยลูกน้องในการตัดสินใจทุกเรื่อง
(2) การที่องค์การเต็มไปด้วยกฎ ระเบียบ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะและทางเดินเป็นอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร โดยสายการบังคับบัญชานี้จะแสดงความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง

11.Line Agency คือ
(1) หน่วยการเจ้าหน้าที่
(2) หน่วยการเงิน
(3) หน่วยประชาสัมพันธ์
(4) หน่วยโยธา
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น
2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

12.Staff Agency คือ
(1) หน่วยการศึกษา
(2) หน่วยประปา
(3) หน่วยสาธารณสุข
(4) หน่วยคอมพิวเตอร์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

13. ตัวอย่างของ Auxiliary Agency
(1) หน่วยรักษาความสะอาด
(2) หน่วยวิจัยสถาบัน
(3) หน่วยสาธารณสุข
(4) หน่วยคอมพิวเตอร์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

14.Departmentation เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
(1) การจัดกลุ่มงาน
(2) การแบ่งหน้าที่
(3) การกําหนดผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
(4) การวิจัยสถาบัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 191, (คําบรรยาย) การจัดแผนกงานหรือการจัดกลุ่มงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

15. Division of Work เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
(1) การจัดกลุ่มงาน
(2) การแบ่งหน้าที่
(3) การกําหนดผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
(4) การวิจัยสถาบัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้ ซึ่งการแบ่งงานกันทํานี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการทํางานซ้ําซ้อนหรือการเหลื่อมล้ำในการทํางานในหน้าที่

16. Specialization คืออะไร
(1) การยึดหลักความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) ความผูกพันในแนวดิ่ง
(3) พันธะหน้าที่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
(4) จํานวนลูกน้องที่ต้องรับผิดชอบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17. Responsibility คืออะไร
(1) การยึดหลักความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) ความผูกพันในแนวดิ่ง
(3) พันธะหน้าที่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
(4) จํานวนลูกน้องที่ต้องรับผิดชอบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 150 ความรับผิดชอบ (Responsibility) มองในแง่ของการบริหารงาน หมายถึงพันธะหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายมาในการปฏิบัติงาน โดยความรับผิดชอบจะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเท่านั้น จะไม่เกิดขึ้นกับสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องจักร หรือสัตว์ ทั้งนี้ ความรับผิดชอบอาจมีลักษณะของพันธะที่ต่อเนื่อง หรือสิ้นสุดลงเป็นครั้งคราวไปหลังจาก ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้

18. Hierarchy คืออะไร
(1) การยึดหลักความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) ความผูกพันในแนวดิ่ง
(3) พันธะหน้าที่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
(4) จํานวนลูกน้องที่ต้องรับผิดชอบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

19. Span of Supervision คืออะไร
(1) การยึดหลักความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) ความผูกพันในแนวดิ่ง
(3) พันธะหน้าที่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
(4) จํานวนลูกน้องที่ต้องรับผิดชอบ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

20. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ
(1) เป็นการสนองความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว
(2) มีโอกาสเติบโตและขยายอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
(4) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่
(5) มีโอกาสฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ
ตอบ 4 หน้า 175 ประโยชน์ของการกระจายอํานาจ มีดังนี้
1. ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น
2. เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และรวดเร็ว
3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
4. มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝน
การตัดสินใจด้วย
5. โอกาสของการเติบโตหรือขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

21. อํานาจหน้าที่ที่แท้จริงมาจากการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บังคับบัญชา สามารถชักจูง แนะนําให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
(1) Formal Authority
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Formal Position
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 148 ทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) อธิบายว่า อํานาจหน้าที่ ที่แท้จริงในการบริการนั้นจะมาจากการที่ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับให้ผู้บังคับบัญชามีสิทธิหรือ อํานาจเหนือตน และอํานาจหน้าที่นี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชาสามารถชักจูง แนะนํา หรือเจรจาโน้มน้าวให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีพฤติกรรมที่ผู้บังคับบัญชาต้องการหรือปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาด้วยความเต็มใจ โดยนักทฤษฎีที่กล่าวถึงอํานาจหน้าที่ในลักษณะนี้ ได้แก่ Chester I. Barnard was Herbert A. Simon

22. แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด
(1) โครงสร้าง
(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์
(3) เทคโนโลยี
(4) สังคมจิตวิทยา
(5) ทักษะการบริหาร
ตอบ 1 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การ จึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

23. โครงสร้างขององค์การมีลักษณะอย่างไร
(1) โครงสร้างขององค์การหมายถึงการสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ
ขององค์การ
(2) หมายถึงการกําหนดโครงสร้างอาคารปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับลักษณะของการปฏิบัติงาน
(3) คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชา
ในระหว่างกลุ่มคน
(4) โครงสร้างขององค์การต้องแยกออกจากเรื่องการจัดหน้าที่การงาน
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 120 – 121 โครงสร้างองค์การ มีลักษณะดังนี้
1. หมายถึง การสร้างแบบ (Pattern) ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ (Components) ต่าง ๆ ขององค์การ
2. เกี่ยวข้องกับการจัดแบ่งทรัพยากรต่าง ๆ และกําหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชา ในระหว่างกลุ่มคน รวมถึงกลไกของระบบการประสานงานที่เป็นทางการและวิธีการที่จะต้องเกี่ยวข้องกันตามแบบแผนที่กําหนดไว้
3. โครงสร้างขององค์การไม่สามารถแยกออกจากเรื่องการจัดหน้าที่การงานได้ แม้ว่าสองอย่างนั้น จะมีลักษณะต่างกัน แต่จะต้องจัดไปด้วยกัน

24. ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การคืออะไร
(1) ทําให้มีโอกาสฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาได้มาก
(2) ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาได้มาก
(3) ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร
(4) เป็นการสนองความต้องการบริการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
(5) ปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ตอบ 3 หน้า 175 ประโยชน์ของการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ก่อให้เกิดเอกภาพในการปกครองและการบริหาร
2. ทําให้ทรัพยากรการบริหารรวมอยู่ในที่เดียวกัน
3. เกิดความรวดเร็วและสะดวกในการบริหาร รวมทั้งประหยัดเวลา
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
5. มีลักษณะของการประสานงานกันเป็นอย่างดี ซึ่งทําให้องค์การบรรลุถึงเป้าหมายได้

25. หน่วยงานอนุกร หรือหน่วยงานแม่บ้านในองค์การ คือหน่วยงานที่เรียกว่าอะไร
(1) Auxiliary Agency
(2) Short-Cut Agency
(3) Staff Agency
(4) Line Agency
(5) Contract Agency
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

26.“การกระจายอํานาจ” คืออะไร
(1) ความพยายามที่จะมอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทํา
โดยผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น
(2) ระบบการบริหารงานที่สงวนหรือรักษาอํานาจไว้ที่ส่วนกลางขององค์การอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ
(3) การจัดโครงสร้างขององค์การในรูปพีระมิดให้ส่วนบนแหลมมาก ๆ และมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยม
(4) คือ สภาวะขององค์การซึ่งระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อ การตัดสินใจส่วนใหญ่จะกระทําจากระดับสูงนั้น
(5) การเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทผู้บังคับบัญชา และลดบทบาทรวมทั้งความสําคัญของผู้ใต้บังคับบัญชา
ในองค์การ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

27.Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น
(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น
(2) เน้นการใช้อํานาจหน้าที่
(3) เน้นเอกภาพในการบังคับบัญชา
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3 2 3
ตอบ 1 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ
2. เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย
3. มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น
4. เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)
5. เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

28. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Rules
(2) Management by Objectives
(3) Adhocracy
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

29. ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง Effectiveness ในการทํางาน
(1) ผลผลิต
(2) ทรัพยากรที่ใช้
(3) แผนที่วางไว้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 22 – 23 (คําบรรยาย) ประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการที่ได้วางเอาไว้ ส่วนประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือ
ผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ ใช้ในการบริหาร ดังนั้นหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหาร ให้น้อยลงได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิภาพ

30. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ
(2) Mechanistic Organization – Formal Organization
(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
(4) Fluid Structure – Bureaucracy
(5) Adhocracy – Long-run Process Production
ตอบ 4 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั่น Burn และ Stalker สรุปว่า
1. Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ
2. Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ (Long-run Process Production) หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้าง แบบ Organic Structure

31.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี 2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

32. ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study
(1) Taylor
(2) Cooke
(3) Munsterberg
(4) Gantt
(5) Gilbreths
ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐาน ของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

33. แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) The Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

34. ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง
(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน
(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์
(3) Hygiene Factors – ถ้าไม่ได้รับจะไม่ยอมทํางาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 42, 81 – 82, (2S 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) Henry L. Gantt ได้เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้ง การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลง ตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้ ส่วนการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยาย ความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ และปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับ การตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน

35. “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักบริหารเชิงปริมาณ
(2) นักทฤษฎีการบริหาร
(3) นักทฤษฎีระบบราชการ
(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก
(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Hunan Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้
1. ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด
2. ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน
3. เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ
4. เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์

5. พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ
6. นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo,
Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ
Frederick Herzberg ฯลฯ

36. เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ”
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3) Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 43 Harrington Emerson ได้เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ” (The Twelve Principles of Efficiency) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ เช่น
1. การสร้างวัตถุประสงค์
2. การใช้สามัญสํานึก
3. การปรึกษาหารือ
4. การมีระเบียบวินัย
5. การจัดการที่เป็นธรรม
6. การปฏิบัติงานตลอดเวลาและเชื่อถือได้
7. การกําหนดสายทางเดินของงาน
8. การกําหนดมาตรฐานและระยะเวลาการทํางาน ฯลฯ

37. ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น
(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) หลักความสามารถ
(3) แยกการเมืองออกจากการบริหาร
(4) สายการบังคับบัญชา
(5) การกระจายอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย
1. การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)
2. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)
3. การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)
4. การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ
5. การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
6. การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
7. การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on
Selection and Promotion)
8. การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ
ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

38. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การคั่งค้างของงาน
(2) การสื่อสารที่ล่าช้า
(3) หัวหน้างาน
(4) โครงสร้างหน่วยงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

39. ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานเรียกว่า
(1) Self-Realization Needs
(2) Safety Needs
(3) Social Needs
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน
2. ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)
3. ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)
4. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)
5. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้ (Self-Realization Needs)

40. ทุกข้อเป็น “Motivator Factor 3” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น
(1) เงินเดือน
(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
(4) ลักษณะของงาน
(5) ความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

41. ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg
(1) เทคนิคและการควบคุมงาน
(2) สภาพการทํางาน
(3) ความก้าวหน้าในการงาน
(4) นโยบายและการบริหาร
(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42.Natural System Model เป็นวิธีการศึกษาของ
(1) Scientific Management
(2) Bureaucratic Model
(3) A Systems Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็นวิธีการศึกษาของกลุ่มนักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่
1. กลุ่ม Behavioral Science
2. กลุ่ม A Systems Approach
3. กลุ่ม Contingency Theory หรือ Situational Approach
4. กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach

43. การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด
(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
(2) ความเป็นทางการ
(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร
(4) ความเป็นเจ้าของ
(5) กําเนิดขององค์การ
ตอบ 2 หน้า 9, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การ เป็นการพิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Formal Organization)
2. องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

44.“การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน” ต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป จะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจ ของผู้บริหารไม่ได้ เป็นข้อเสนอของนักวิชาการใด
(1) Taylor
(2) Gilbreths
(3) Cooke
(4) Weber
(5) Gantt
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

45. การยึดหลัก “เอกภาพในการบังคับบัญชา” มีข้อเสียอะไร
(1) สิ้นเปลืองบุคลากร
(2) เกิดความขัดแย้ง
(3) ประสิทธิภาพต่ำ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

46. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gutick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่
P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

47. ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น
(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ
(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ
(4) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
(5) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว
ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่
1. ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
2. ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม
3. ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
4. ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

48. “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับสภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น……” เรียกว่า
(1) Turbulent Field
(2) Placid Clustered Environment
(3) Placid Randomized Environment
(4) Disturbed-Reactive Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น
3. Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อม
ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น
4. Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

49. ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้
(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม
(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม
(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง
ตอบ 2 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดูทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึงผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

50.”…..ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชน ด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้าง ความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ)

51. ทฤษฎีองค์การในช่วง 1960 – 1975 เป็นยุคของทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) Situational Approach
(2) Contingency Theory
(3) The Action Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4

52. จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่
(1) Commanding Controlling Correcting
(2) Controlling Correcting Coordinating
(3) Coordinating Concepting Correcting
(4) Commanding Coordinating Controlling
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. C = Commanding (การสั่งการ)
4. C = Coordinating (การประสานงาน)
5. C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

53. ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management
(1) การตัดสินใจ
(2) การหาข่าวสาร
(3) การจูงใจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับ ภารกิจ 2 ลักษณะ คือ
1. Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2. External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลา ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

54. การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ
ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด
(1) ระดับที่ 4
(2) ระดับที่ 5
(3) ระดับที่ 6
(4) ระดับที่ 7
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kerineth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือ ระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

55.Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น
(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น
(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน
(3) เน้นการกระจายอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

56. Management Science หมายถึง
(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม
(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

57. ตามทัศนะของ Munsterberg “การกําหนดคนให้เหมาะกับงาน” ต้องให้ความสําคัญที่
(1) ความรู้ความสามารถ
(2) แรงจูงใจ
(3) บุคลิกภาพ
(4) ความต้องการ
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) Hugo Munsterberg เป็นนักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก ที่เสนอให้มีการนําเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาเข้ามาช่วยคัดเลือกคนเข้าทํางานในตําแหน่งต่าง ๆ ขององค์การ โดยเห็นว่า การคัดเลือกคนหรือการกําหนดคนให้เหมาะสมกับงานนั้น ไม่ควรพิจารณาเฉพาะความรู้ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาที่ บุคลิกภาพหรือคุณลักษณะเฉพาะของบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะของงานด้วย จึงจะทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพ

58. นักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เสนอให้พิจารณาปัจจัยด้านใดในการบริหารองค์การ
(1) บุคลิกภาพ
(2) คุณวุฒิ
(3) ประสบการณ์
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มนีโอคลาสสิก เห็นว่า มนุษย์นั้นมีความแตกต่างกัน ในพฤติกรรม ดังนั้นการบริหารองค์การ เช่น การคัดเลือกคนเข้าสู่ตําแหน่งต่าง ๆ หรือ การกําหนดคนให้เหมาะสมกับงาน จึงควรพิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล อันได้แก่ พฤติกรรม บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ ความต้องการ แรงจูงใจ ฯลฯ จึงจะทําให้ การดําเนินงานในองค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

59.Hawthorne Effect หมายถึง
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(2) ผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากการได้รับการดูแลเอาใจใส่
(3) ผลที่ Mayo พบจากการทดลองที่ Western Electric Company
(4) ผลกระทบที่องค์การมีต่อสังคม
(5) อิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อสมาชิกกลุ่ม เมื่อกลุ่มถูกเฝ้าดู
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

60. การที่องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ในการทํางานที่สอดคล้องกัน เป็นหลักในเรื่องใด
(1) หลักของกฎและระเบียบ
(2) หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
(3) หลักเอกภาพขององค์การ
(4) หลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทํางาน
(5) หลักการรวมอํานาจที่เหมาะสม
ตอบ 3 หน้า 58 หลักเอกภาพขององค์การ (Unity of Direction) เป็นหลักการบริหารที่ว่า องค์การจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ร่วมงานทุกคนต่างช่วยกันทํางานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการทํางาน ที่สอดคล้องกัน

61.ตัวอย่างของ “องค์การปฐมภูมิ” ได้แก่
(1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(3) กรมพัฒนาชุมชน
(4) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 8, คําบรรยาย) องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization) มีลักษณะสําคัญ คือ เป็นองค์การที่พึ่งจะกําเนิดขึ้นมา, บุคลากรภายในเป็นคนรุ่นแรกหรือเป็น รุ่นที่ริเริ่มก่อตั้งองค์การ, ผู้ปฏิบัติงานจะมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างดีความสัมพันธ์ภายในมีลักษณะของความสัมพันธ์โดยตรงไม่คํานึงถึงสายการบังคับบัญชา,องค์การอาจล้มเลิกไปเมื่อใดก็ได้หากพัฒนาไปสู่องค์การถาวรไม่สําเร็จ เช่น องค์การบริหาร ส่วนตําบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เป็นต้น

62. “สภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ….. การติดต่อเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก”ตัวอย่างได้แก่
(1) สังคมเด็กวัยประถมศึกษา
(2) สังคมคนชรา
(3) สังคมเด็กวัยรุ่น
(4) สังคมเศรษฐกิจไทย
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

63. ใครที่เชื่อว่า อํานาจหน้าที่ไม่ควรกําหนดตายตัวจากบนลงมาล่าง
(1) Fayol
(2) Weber
(3) Barnard
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 หน้า 71 – 72 Chester I. Barnard ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์การไว้ในหนังสือชื่อ “The Functions cf the Executive” ดังนี้
1. องค์การเป็นระบบของความร่วมมือระหว่างบุคคลที่จะต้องร่วมกันดําเนินภารกิจให้เกิดการทํางานร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ
2. อํานาจหน้าที่ควรกําหนดในรูปของความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่เป็นการกําหนดตายตัวจากบนลงล่าง

3. นําบทบาทขององค์การอรูปนัยหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการเข้ามาใช้ในทฤษฎีองค์การและ
การบริหารองค์การ
4. บทบาทหลักของผู้บริหารคือการสื่อความเข้าใจและกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ความพยายาม
ในการทํางานอย่างเต็มที่
5. ผลตอบแทนทางวัตถุไม่ใช่สิ่ง ๆ เดียวที่สําคัญยิ่งในการจูงใจหรือเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการ

64. แนวคิดที่ต้องการให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ และ
ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น……….แนวคิดดังกล่าวเรียกว่า
(1) Adhocracies
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) Systems Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 112 – 113, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกระทํา (The Action Theory หรือ The Action Approach) เป็นแนวคิดที่เน้นการอธิบายเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามสภาพที่เป็นจริง หรือตามสภาวะทางการเมืองในองค์การ (Political Nature of Organization) โดยแนวคิดนี้ จะเน้นให้ผู้บริหารศึกษาความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ ทําความเข้าใจให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้น และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข

65.Barton และ Chappell จัดสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มใด
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

66. ตามทฤษฎีของ Herzberg ปัจจัยใดต่อไปนี้ที่เป็น Motivator Factors สูงที่สุด
(1) นโยบายและการบริหาร
(2) ความก้าวหน้าในงาน
(4) ความรับผิดชอบ
(3) ลักษณะของงาน
(5) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

67. วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ ได้แก่
(1) Scientific Management
(2) Management Science
(3) Operation Research
(4) Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

68. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผน
(1) ต้องเกี่ยวกับการที่จะมีการดําเนินการใด ๆ เฉพาะ
(2) ต้องมีผลต่อบุคคลหรือต่อองค์การหรือต่อสังคม
(3) ต้องดําเนินการโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม
(4) ต้องเกี่ยวข้องกับอนาคต
(5) ทุกข้อล้วนเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของการวางแผน
ตอบ 3 หน้า 219 การวางแผนมีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ
1. ต้องเกี่ยวข้องกับอนาคต (Involve The Future)
2. ต้องเกี่ยวข้องกับการที่จะมีการดําเนินการใด ๆ เฉพาะ (Involve The Action)
3. ต้องมีผลต่อบุคคลหรือต่อองค์การหรือต่อสังคม (Personal or Organizational Causation)

69. “เป็นภารกิจทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายในอนาคตขององค์การและการตัดสินใจว่า องค์การจะต้องทําอะไร ใช้ทรัพยากรเพื่ออะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้” ข้อความดังกล่าวเป็น
นิยามของสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Staffing
(4) Leading
(5) Commanding
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Richard L. Daft กล่าวว่า การวางแผน (Planning) เป็นภารกิจทางการบริหาร ที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายในอนาคตขององค์การและการตัดสินใจว่าองค์การจะต้อง ทําอะไร ใช้ทรัพยากรเพื่ออะไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ตั้งแต่ข้อ 70 – 76. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Strengths
(2) Weaknesses
(3) Opportunities
(4) Threats
(5) Problems

70. สําหรับองค์การที่ขายสินค้าออนไลน์ ในการวิเคราะห์ SWOT Analysis นั้น การที่ “ลูกค้าขาดความรู้ และทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ต” ถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis นั้น จะประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internat Factor) ได้แก่

S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน การมีการวางแผนในระดับหน่วยงาน อย่างเป็นระบบ เป็นต้น

W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ บุคลากรมีจํานวนน้อยไม่สัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่การงาน งบประมาณมีไม่เพียงพอ มีการจัดทําแผนแต่ขาดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้นทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประเทศไทย เป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วไทย เป็นต้น

T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การที่คู่แข่ง เริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ลูกค้าขาดความรู้ และทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ต รัฐบาลไม่สนับสนุนเงินลงทุน เป็นต้น

71. “องค์การมีข้าราชการและลูกจ้างจํานวนน้อย ไม่สัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่การงาน” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. “บุคลากรในองค์การมีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน มีการวางแผนในระดับหน่วยงานอย่างเป็นระบบข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

73. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ “มีการจัดทําแผนแต่ขาดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ” ข้อความดังกล่าว ถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

74. การบินไทย “ประเทศไทยยังคงเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วไทย” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

75. “องค์การมีการจัดทําแผนแต่ขาดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

76. บริษัทขนส่งจํากัด (บขส.) “รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนเงินลงทุนในการจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็น บริการสาธารณะ” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

77. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) การตัดสินใจก็คือการบริหาร
(2) การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหาร
(3) องค์การจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาและตลอดไป
(4) การตัดสินใจมีความหมายแตกต่างกับการวินิจฉัยสั่งการ
(5) การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการตัดสินใจของบุคคล
ตอบ 4 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) มีความหมายเช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยสั่งการ โดยหมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะ ให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึง การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียง โดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

ตั้งแต่ข้อ 78 – 82. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การตัดสินใจระดับระหว่างองค์การ
(2) การตัดสินใจระดับกําหนดนโยบาย
(3) การตัดสินใจระดับประสานงาน
(4) การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก

78. เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
ตอบ 4 หน้า 229 – 230, (คําบรรยาย) การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการตามเป้าหมาย ขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบ การตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัด ให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor), หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

79. การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบการตัดสินใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. การจัดรูปองค์การเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 229, 231 – 232 การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดรูปองค์การ และการควบคุมองค์การ โดยการวางแผนและ การจัดรูปองค์การจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมาย ขององค์การหรือระดับการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) ส่วนการควบคุมองค์การ จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน (Coordinative Level) และ การปฏิบัติการ (Operational Level)

81. การวางแผนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับใดมากที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82. การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว”
ตอบ 3 หน้า 229 การตัดสินใจระดับประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่ เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

83. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) ระบบของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปด้วยระบบของการตัดสินใจ
(2) หากปราศจากระบบของการตัดสินใจแล้วระบบของสิ่งมีชีวิตจะดํารงอยู่ไม่ได้
(3) ผู้ปฏิบัติงานมีแนวโน้มตัดสินใจโดยใช้ความคิดตรึกตรองใช้สํานึกมากกว่าผู้บริหาร
(4) การควบคุมองค์การเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน
(5) การตัดสินใจมีบทบาทในทุกส่วนของกระบวนการบริหาร
ตอบ 3 หน้า 232 ผู้ปฏิบัติงานมีแนวโน้มตัดสินใจโดยใช้ความคิดตรึกตรองหรือใช้สํานึก (Conscious Decision) น้อยกว่าผู้บริหาร โดยส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานจะใช้การตัดสินใจแบบไร้สํานึกหรือ ไม่ต้องใช้ความคิดตรึกตรอง (Unconscious Decision) ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีการวางแผน ในการตัดสินใจเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว

84. นักทฤษฎีการรับรู้เชื่อว่า ตัวกลางระหว่างการกระตุ้นและการตอบสนอง คือสิ่งใด
(1) Image
(2) Happiness
(3) Information
(4) Stress
(5) Sensation
ตอบ 1 หน้า 233 นักทฤษฎีการรับรู้ (Cognitive Theorists) อธิบายว่า Image หรือมโนภาพหรือ จินตนาการ ซึ่งเกิดจากผลรวมของประสบการณ์ที่ผ่านมา เป็นตัวกลางในการผลักดันระหว่าง “การกระตุ้น” กับ “การตอบสนอง” และตัวกลางดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการสะท้อนกลับตามลักษณะ Reflex Arc

85. “นายศุภกฤตโทรศัพท์หานางสุกฤตาเพื่อแจ้งอาการป่วยของนางสุจิตราผู้เป็นมารดาในขณะที่นายศุภณัฏฐ์ ลูกชายนางสุกฤตากําลังร้องเพลงเสียงดัง” จากข้อความนี้ข้อใดเป็น Information Source
(1) นายศุภกฤต
(2) นางสุกฤตา
(3) นางสุจิตรา
(4) นายศุภณัฏฐ์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 245, (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อความเข้าใจนั้น Information Source คือ ผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มหรือเริ่มต้นในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสาร ดังนั้นจากโจทย์ Information Source หรือผู้ส่งสารก็คือ นายศุภกฤต นั่นเอง

86. ข้อใดเป็น External Information Base ขององค์การ
(1) ระบบการเงิน
(2) ระบบการจัดซื้อ
(3) สภาพการเมือง
(4) ระบบการผลิต
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ ระบบการขายสินค้าและบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อระบบการเงิน เป็นต้น

2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

87. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(2) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(5) การปฏิบัติการตามแผนงานต้องเกิดขึ้นก่อนการควบคุมองค์การเสมอ
ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมองค์การไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการตาม แผนงานเสมอไป การควบคุมองค์การนั้นอาจเกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) หรืออาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมในสภาพการปฏิบัติงานจริง (Real Time Control) หรือเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการ ตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมทีหลัง (Post Control) ก็ได้

88. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สําคัญในการควบคุมองค์การ
(1) การกําหนดเป้าหมาย
(2) การกําหนดวิธีการในการวัด
(3) การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน
(4) การกําหนดบทลงโทษผู้กระทําผิด
(5) ทุกข้อที่กล่าวมาเป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการควบคุมองค์การ
ตอบ 4 หน้า 262 การควบคุมองค์การจะต้องมีองค์ประกอบในการควบคุมที่สําคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การกําหนดเป้าหมาย รายละเอียด และมาตรฐานของการดําเนินงาน
2. การกําหนดวิธีการวัดมาตรฐานในการดําเนินงาน รวมทั้งวิธีการที่จะวัดความสําเร็จของงาน
3. การพิจารณาเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
4. การดําเนินการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้

89.ข้อใดหมายถึง “ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์”
(1) Needs
(2) Drives
(3) Incentives
(4) Goals
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 271 เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ มี 3 ประการ คือ
1. ความต้องการ (Needs) เกิดจากความขาดแคลนในบางสิ่งบางอย่างของมนุษย์
2. แรงขับ (Drives) หมายถึง ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
3. สิ่งล่อใจ (Incentives) หมายถึง สิ่งของหรือเงื่อนไขภายนอกที่กระตุ้นให้มนุษย์กระทําการ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์

90.Hedonism อธิบายว่ามนุษย์ต้องการแสวงหาสิ่งใดเป็นสําคัญ
(1) ความสะดวกสบาย
(2) ความรู้
(3) ความเป็นผู้นํา
(4) สังคมกลุ่มเพื่อน
(5) ความรัก
ตอบ 1 หน้า 271 Hedonism อธิบายว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและ ความรื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกันก็จะเลี่ยงจากความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบาย ทั้งหลาย”

91. แนวคิดที่ว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและความรื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกัน
ก็จะเลี่ยงจากความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบายทั้งหลาย”มีรากฐานมาจากตัวเลือกใด
(1) J. Stacy Adams
(2) Victor H. Vroom
(3) Hedonism
(4) Max Weber
(5) Abraham Maslow
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92. บุคคลในข้อใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจกลุ่มเดียวกับ Maslow
(1) Victor H. Vroom
(2) J. Stacy Adams
(3) Edward Thorndike
(4) B. F. Skinner
(5) Clayton Alderfer
ตอบ 5 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น

2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ Lauri Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David C. McClelland เป็นต้น

93. การสร้างแรงจูงใจลักษณะใดที่ถูกวิจารณ์ว่า “มีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป”
(1) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการใช้ความดี
(4) วิธีการแบบเด็ดขาด
(5) วิธีการแข่งขัน
ตอบ 1 หน้า 280 การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิด แก่พนักงาน โดยให้เขาเห็นความสําคัญของตัวงานที่เขาปฏิบัติอยู่ว่ามีค่ามีความสําคัญมาก เพียงไร ซึ่งจะส่งผลให้เขายินดีพอใจจะปฏิบัติงานสําคัญนั้นอย่างเต็มความสามารถ การสร้าง แรงจูงใจจากภายในนี้นับว่าทําให้เกิดการกระตือรือร้นในการทํางานได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถ นํามาใช้ได้ในทุกสถานการณ์ และอาจทําได้ยากกับงานบางประเภท จนนักวิชาการบางท่าน ได้วิจารณ์ว่า การคิดสร้างแรงจูงใจภายในมีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป

94. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory)
(1) Douglas McGregor
(2) Frederick Herzberg
(3) David C. McClelland
(4) J. Stacy Adams
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 95, 98. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการพิจารณาว่าบุคคลในแต่ละข้อนั้นมีแนวความคิด
ที่สอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มใด
(1) Trait Theories
(2) Behavioral Theories
(3) Contingency Theories
(4) Transformational Leader
(5) Reinforcement Theories

95. ชัชวาลย์เห็นว่าผู้นําที่มีประสิทธิผลต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตอบ 3 หน้า 287, 294, (คําบรรยาย) แนวความคิดของชัชวาลย์นั้นสอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎี ภาวะผู้นําทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อพื้นฐานว่าประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของผู้นําจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมของผู้นําและสถานการณ์เป็นหลัก

96. เชษฐาเห็นว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จได้นั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากคนที่มิได้เป็นผู้นํา
ตอบ 1 หน้า 287 – 289, คําบรรยาย) แนวความคิดของเชษฐานั้นสอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎี คุณลักษณะผู้นํา (Trait Theories) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จ หรือมีประสิทธิภาพได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากคนที่มิได้เป็นผู้นํา เช่น ความเฉลียวฉลาด วุฒิภาวะทางสังคม แรงจูงใจสู่ความสําเร็จ เป็นต้น

97. ศิรารัตน์เห็นว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จควรบริหารงานโดยมุ่งทั้งงานและคน
ตอบ 2 หน้า 287 – 289, 223 – 294, (คําบรรยาย) แนวความคิดของศิรารัตน์นั้นสอดคล้องกับ กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) โดยเฉพาะจากการศึกษาของ Robert R. Blake และ Jane S. Mouton ซึ่งพบว่า ผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุดควรบริหารงานโดยมุ่งทั้งงานและคน

98. ณัฐกมลเชื่อว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จต้องปรับรูปแบบของพฤติกรรมการบริหารของตนได้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้ตาม
ตอบ 3 หน้า 287, (คําบรรยาย) แนวความคิดของณัฐกมลนั้นสอดคล้องกับทฤษฎีภาวะผู้นําทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) โดยเฉพาะแนวความคิด ของ Hersey & Blanchard ซึ่งมองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด การเป็นผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรมผู้นําที่สอดคล้องกับ ความพร้อมของผู้ตาม (ลูกน้อง) ใน 2 ด้าน คือ ความสามารถและความเต็มใจ ซึ่งสามารถ พิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด(Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม
(Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมอบหมายงาน
(Delegating)

99. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นํามากที่สุด
(1) The Managerial Grid
(2) Great Man Theory
(3) ทฤษฎีของ Keith Davis
(4) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedler
(5) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
ตอบ 1 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรม ของผู้นํา (Leadership Behavior) ได้พิจารณาการศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนาประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือเรียกว่า “ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

100. นายณดลมีลูกน้องที่มีความสามารถและมีความเต็มใจในการทํางาน หากนายณดลเชื่อในแนวคิดของ Hersey & Blanchard จะต้องเป็นผู้นําแบบใด
(1) Selling
(2) Consideration
(3) Participating
(4) Delegating
(5) Telling
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

 

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
(1) ความพึงพอใจ
(2) เสถียรภาพคงที่ของระบบ
(3) การมีส่วนร่วมของพนักงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 25 – 29, 37, ( บรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
1. เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต
2. การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน
3. การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ
4. การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
5. การกําหนดมาตรฐานของงาน
6. การกําหนดแผนงานและเป้าหมายที่แน่นอน
7 ความเชื่อในหลัก One Best Way
8. เป็นรูปแบบที่อิงอยู่กับหลักของเหตุและผล (Rational Model)
9. การใช้หลักเหตุผล และวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ

2.แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การน้อยที่สุด
(1) โครงสร้าง
(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์
(3) เทคโนโลยี
(4) สังคมจิตวิทยา
(5) ทักษะการบริหาร
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max ieber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การจึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

3.ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Management by Rules
(2) Management by Objectives
(3) Adhocracy
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี)
จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหาร ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

4. ข้อใดเป็นผลการศึกษาที่สําคัญที่สุดจาก “Hawthorne Experiments
(1) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(2) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนําเข้า
(3) พบผลทางลบที่เกิดเนื่องมาจากความไม่เอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา
(4) พบอิทธิพลของภาวะผู้นําที่มีต่อผลิตภาพการทํางาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 68 — 71 การศึกษาทดลองของ Elton Mayo ที่เมือง Hawthorne หรือเรียกว่า “Hawthorne Experiments” พบผลการศึกษาที่สําคัญดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความเข้มของแสงสว่าง ไม่ได้มีอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับผลิตภาพในการทํางาน
2. ระบบการจูงใจโดยให้ผลตอบแทนต่อชิ้นมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพในการทํางาน ของกลุ่มน้อยกว่าความกดดัน การยอมรับ และสวัสดิการที่กลุ่มจะพึงได้รับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับสมาชิกในกลุ่ม โดยกลุ่มจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลิตภาพ ในการทํางานของสมาชิกในกลุ่ม

5. ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง “ประสิทธิภาพ” ในการทํางาน
(1) ผลผลิต
(2) ทรัพยากรที่ใช้
(3) แผนที่วางไว้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

6. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ
(2) Mechanistic Organization – Formal Organization
(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
(4) Fluid Structure – Mechanistic Organization
(5) Mechanistic Structure – หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 4 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั่น Burn และ Statke สรุปว่า
1. Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2. Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่า หน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้างแบบ Organic Structure

7.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Outer Environment
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี 2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

8. ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study
(1) Taylor
(2) Cooke
(3) Munsterberg
(4) Gantt
(5) Gilbreths
ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐาน ของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

9.แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) The Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113 : Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ”

10. ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง
(1) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์
(2) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน
(3) Hygiene Factors – ถ้าได้รับจะไม่ยอมทํางาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 42, 81 – 82, (FS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) Henry L. Gantt ได้เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน ส่วนการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor
หรือ Specializaticin) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยายความสามารถของมนุษย์ หรือ ช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ และปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้าง ให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน

11. “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําาเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักบริหารเชิงปริมาณ
(2) นักทฤษฎีการบริหาร
(3) นักทฤษฎีระบบราชการ
(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก
(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Thecry) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้
1. ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด
2. ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน
3. เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ
4. เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์
5. พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ
6. นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo,
Warren Benni:, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herz:berg ฯลฯ

12. เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ”
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3. Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 43 Harrington Emerson ได้เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ” (The Twelve Principles of Efficiency) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ เช่น
1. การสร้างวัตถุประสงค์
2. การใช้สามัญสํานึก
3. การปรึกษาหารือ
4. การมีระเบียบวินัย
5. การจัดการที่เป็นธรรม
6. การปฏิบัติงานตลอดเวลาและเชื่อถือได้
7. การกําหนดสายทางเดินของงาน
8. การกําหนดมาตรฐานและระยะเวลาการทํางาน ฯลฯ

13. ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น
(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) แยกการเมืองออกจากการบริหาร
(3) หลักความสามารถ
(4) สายการบังคับบัญชา
(5) การกระจายอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย
1. การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)
2. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)
3. การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)
4. การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor
หรือ Specialization) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ
5. การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
6. การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
7. การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on
Selection and Promotion)
8. การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ

ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

14. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การคั่งค้างของงาน
(2) ประสิทธิภาพของงาน
(3) หัวหน้างาน
(4) โครงสร้างหน่วยงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

15. ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน” เรียกว่า
(1) Self-Realization Needs
(2) Safety Needs
(3) Social Needs
(4) ทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน
2. ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)
3. ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)
4. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)
5. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้ (Self-
Realization Needs)

16. ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น
(1) เงินเดือน
(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
(4) ลักษณะของงาน
(5) ความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

17. ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg
(1) เทคนิคและการควบคุมงาน
(2) สภาพการทํางาน
(3) ความก้าวหน้าในการงาน
(4) นโยบายและการบริหาร
(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

18.Natural System Model เป็นวิธีการศึกษาของ………….
(1) Scientific Management
(2) Bureaucratic Model
(3) A Systems Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็น วิธีการศึกษาของกลุ่มนักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ“ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่
1. กลุ่ม Behavioral Science
2. กลุ่ม A Systems Approach
3. กลุ่ม Contingency Theory หรือ Situational Approach
4. กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach

19. “เป็นทฤษฎีองค์การที่ให้ความสําคัญต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อม และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ …” เรียกว่าเป็นการศึกษาตามแนวใด
(1) Industrial Humanism
(2) Contingency Theory
(3) Action Theory
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 110 – 111, (คําบรรยาย) การศึกษาองค์การและการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory หรือ Situational Approach) เป็นการศึกษาที่ปฏิเสธหลัก One Best Way โดยแนวคิดนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเชิงระบบ ซึ่งจะให้ความสําคัญต่อ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม (เช่น ระบบเทคโนโลยี) และพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมของ องค์การภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ นักวิชาการในกลุ่มนี้จะมองการบริหารว่า เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะ แตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่มีรูปแบบ ที่เหมาะสมสําหรับองค์การทุก ๆ ประเภท วิธีการจัดสรรทรัพยากรที่แตกต่างกันจะทําให้ การจัดรูปโครงสร้างมีความแตกต่างกันด้วย

20. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การกําหนดอํานาจหน้าที่
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 60 – 62 ดร. ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่
P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

21. นักวิชาการกลุ่มใดที่มองการบริหารว่า “เป็นสิ่งไม่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงตามเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
ตัวแปรที่สนใจศึกษาจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของนักทฤษฎีแต่ละคน”
(1) A Systems Approach
(2) Industrial Humanism
(3) Action Theory
(4) Quantitative Science
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

22. การบริหารงานที่ให้ความสําคัญเรื่อง “ความสุขของสมาชิกในองค์การ” เป็นการบริหารตามแนวคิด
ของนักวิชาการกลุ่มใด
(1) Scientific Management
(2) Administrative Theorists
(3) Neo-Classical Organization Theory
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

23. ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น
(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ
(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ
(4) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
(5) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว
ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่
1. ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
2. ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม
3. ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
4. ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

24. ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้
(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม
(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม
(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง
ตอบ 2 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดูทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึงผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

25.”……ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชน ด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell
(1) Political Environment.
(2) Primary Environment
(3) External Environment
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้าง ความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

26. “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับสภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น…….” เรียกว่า
(1) Turbulent Field
(2) Placid Clustered Environment
(3) Placid Randomized Environment
(4) Disturbed-Reactive Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18 (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randorized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น
2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น
3. Disturbed-Rez.ctive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น
4. Turbulent Fielc เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

27. ทฤษฎีองค์การในช่วง 1960 – 1975 เป็นยุคของทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) Situational Approach
(2) Contingency Theory
(3) The Action Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4

28. จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่
(1) Commanding Controlling Correcting
(2) Controlling Correcting Coordinating
(3) Coordinating Concepting Correcting
(4) Commanding Coordinating Controlling
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
3. C = Commanding (การสั่งการ)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
4. C = Coordinating (การประสานงาน)
5. C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

29. ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management
(1) การตัดสินใจ
(2) การหาข่าวสาร
(3) การจูงใจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับ
ภารกิจ 2 ลักษณะ คือ
1. Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่
2. External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลา ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

30. การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด
(1) ระดับที่ 4
(2) ระดับที่ 5
(3) ระดับที่ 6
(4) ระดับที่ 7
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kerneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือ ระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

31. Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น
(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น
(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน
(3) เน้นการรวมอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ
2. เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย
3. มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น
4. เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)
5. เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

32.Management Science หมายถึง
(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม
(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

33. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”
(1) Maximized Efficiency
(2) Negative Entropy
(3) Flexible Boundaries
(4) Dynamic Equilibrium
(5) Growth Through Interral Elaboration
ตอบ 1 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตกายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

34. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบขององค์การ
(1) เป็นหน่วยของสังคม
(2) มีการแบ่งขอบเขตอย่างชัดแจ้ง
(3) เป็นอิสระจากสภาพแวดล้อม
(4) มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง
(5) มีเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 ส่วนประกอบขององค์การ แบ่งออกได้เป็น 5 ลักษณะ ดังนี้
1. มีลักษณะการมุ่งเน้นให้เกิดการประสานกัน
2. มีฐานะเป็นหน่วยทางสังคม
3. มีการแบ่งแยกขอบเขตของการเป็นองค์การแต่ละองค์การอย่างชัดแจ้ง
4. มีความผูกพันที่ต่อเนื่อง 5. มีเป้าหมายที่สูงกว่าที่แต่ละบุคคลจะสามารถกระทําได้โดยลําพัง

35. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) ประเภทของกิจการ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 5หน้า 184 – 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

36. ข้อใดปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ระดับขององค์การ
(2) ลักษณะของงานในองค์การ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 1, 3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

37. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 170 – 174, (ค่าบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
5. ปรัชญาของการบริหาร
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ
8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

ตั้งแต่ข้อ 38 – 42. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Division of Work
(2) Departmentation
(3) Line Agency
(4) Staff Agency
(5) Auxiliary Agency

38. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน
ภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น
2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการหน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

39. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

41. หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้าน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

42. การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติตามเป้าหมาย ที่องค์การได้วางไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน
(Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้ ซึ่งการแบ่งงานกันทํานี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการทํางานซ้ําซ้อนหรือการเหลื่อมล้ํา ในการทํางานในหน้าที่

43. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ในการแบ่งหน้าที่
(1) การยึดถือความถนัด ความสามารถ
(2) การแบ่งงานตามความชํานาญเฉพาะด้าน
(3) การควบคุมการปฏิบัติงาน
(4) การแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนในการทํางาน
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์การสูง
(1) มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง
(2) องค์การมีความซับซ้อนมาก
(3) มีสายการบังคับบัญชาที่ยาว
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 121 – 122, 182 – 184 องค์การสูง (Tallness) เป็นองค์การที่มีความซับซ้อนมากมีช่วงการบังคับบัญชาแคบและสายการบังคับบัญชาที่ยาว ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับ องค์การราบ (Flatriess) ซึ่งเป็นองค์การที่มีความซับซ้อนน้อย มีช่วงการบังคับบัญชากว้าง และสายการบังคับบัญชาที่สั้น

45. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ได้แก่ Formalization
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ได้แก่ Formalization
(3) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Centralization
(4) Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chain of Command
(5) ไม่ถูกต้องทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) การออกแบบองค์การ (Organization Design) หรือการจัด องค์การ (Organizing) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขององค์การ การออกแบบองค์การนี้จะทําให้เกิดแผนภูมิขององค์การ (Organization Charts)

46. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี
(1) ระดับชั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป
(2) แต่ละสายต้องชัดเจน
(3) การดําเนินการต่าง ๆ ต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก
(5) ข้อ 1 และ 3 ถูก
ตอบ 3 หน้า 143 หลักเกณฑ์ในการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี มีดังนี้
1. จํานวนระดับชั้นของสายการบังคับบัญชาควรจัดให้มีพอสมควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
2. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายควรจะต้องชัดเจนว่าใครเป็นผู้ที่มีอํานาจในการสั่งงาน ผ่านไปยังผู้ใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
3. สายการบังคับบัญชาแต่ละสายจะต้องไม่สับสนก้าวก่ายหรือซ้อนกัน

47. ใครที่คิดว่าการแบ่งงานกันทําจะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นและช่วยให้ประสิทธิภาพในการทํางานดีขึ้น
(1) Koontz and O’Donnell
(2) Henri Fayol
(3) Elton Mayo
(4) Adam Smith
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 190 Henri Fayol ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งงานกันทําไว้ในหนังสือชื่อ General and Industrial Administration ว่า “การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญ เฉพาะด้านจะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น รวมทั้งช่วยให้ประสิทธิภาพในการทํางานดีขึ้นด้วย”

ตั้งแต่ข้อ 48 – 52. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Complexity
(2) Formalization
(3) Centralization
(4) Organization Design
(5) Authority

48. การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 122 ความเป็นทางการขององค์การ (Formalization) คือ การที่องค์การได้กําหนด กฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานอันเป็น พื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ

49.Power to Command เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 5 หน้า 146 อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง อํานาจในการสั่งการ (Power to Command)
เพื่อให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจจะเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งไว้ อํานาจหน้าที่นี้จะเป็นอํานาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งได้มาโดยตําแหน่งที่เป็นทางการ ทําให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการได้ แต่ทั้งนี้ จะเป็นผลใช้บังคับได้ก็ต่อเมื่อใช้ภายในขอบเขตของตําแหน่งหน้าที่ด้วย นอกจากนี้อํานาจหน้าที่ ยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรับผิดชอบ (Responsibility) หรืออาจกล่าวได้ว่า อํานาจหน้าที่มีฐานะเป็นตัวกําหนดความรับผิดชอบ เช่น ผู้บริหารระดับสูงมีตําแหน่งสูงและ มีอํานาจหน้าที่มาก จึงต้องมีความรับผิดชอบมากไปด้วย เป็นต้น

50. ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การแบ่งแยกงานซึ่งมีจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รวมทั้งแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ จากสูงลงมาสู่ต่ํา รวมทั้งแบ่งไปยังพื้นที่อื่นแต่ละสาขา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 121 ความซับซ้อนขององค์การ (Complexity) คือ ลักษณะที่องค์การแต่ละองค์การ จะมีการแบ่งแยกงาน (กิจกรรม) ซึ่งมีเป็นจํานวนมากออกเป็นกลุ่ม ๆ หลายกลุ่มงาน มีการ แบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร และมีการแบ่งเป็นระดับ ต่าง ๆ จากสูงลงมาต่ํา รวมทั้งอาจมีการแบ่งไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่ละสาขาด้วย

51. การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 หน้า 168, (คําบรรยาย) การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง การสงวนหรือรักษา อํานาจไว้ที่ส่วนกลางขององค์การ หรือหมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของ สายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ตัดสินใจให้เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างของการรวมอํานาจ เช่น การที่สํานักอธิการบดี รับสมัครอาจารย์เอง แทนที่จะให้ภาควิชาเป็นคนตัดสินใจรับสมัคร เป็นต้น

52. ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 53 – 57. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Span of Control
(2) Unity of Command
(3) Responsibility
(4) Hierarchy
(5) Specialization

53. การกําหนดลําดับชั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดอยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 หน้า 139 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง การกําหนดลําดับขั้นในการบังคับบัญชาเพื่อจะบ่งชี้ว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใด อยู่ในลําดับอํานาจหน้าที่ชั้นใดหรือสูงกว่าหรือต่ํากว่าตําแหน่งใดหรือหน่วยงานใดบ้าง

54. ข้อใดเกี่ยวข้องกับ Authority มากที่สุด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

55. จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบหน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

56. การจัดการที่ไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บริหารมากกว่า 1 คน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 186 เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง การจัดการที่ไม่ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารมากกว่า 1 คน

57. การแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถ เรียกว่าอะไร
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 58 – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Decentralization
(2) Chain of Command
(3) Centralization
(4) Organization Design
(5) Delegation of Authority

58. ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะและทางเดินเป็นอย่างไรมีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร

59. การจัดกลุ่มหน้าที่มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 5 หน้า 153, 160 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ (Delegation of Authority) หมายถึง การจัด กลุ่มหน้าที่มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน หรือหมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย อํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การมอบหมายอํานาจหน้าที่นี้แม้ว่าผู้บังคับบัญชาได้มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงานแล้วก็ตามแต่ความรับผิดชอบก็ยังคงตกอยู่กับผู้บังคับบัญชา

60. ผู้บังคับบัญชาได้มอบทั้งอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 1 หน้า 169, (คําบรรยาย) การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ความพยายามที่ จะมอบหมายหน้าที่ทั้งหมดไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่อยู่รองลงมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ยกเว้นอํานาจหน้าที่บางอย่างซึ่งจําเป็นจะต้องสงวนไว้ที่ส่วนกลาง การกระจายอํานาจนี้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องมอบทั้งอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงาน

61. การสงวนอํานาจหน้าที่ไว้ที่ส่วนกลาง ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจ เรียกว่าอะไร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

62. การปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เทคนิคใดเกี่ยวข้องที่สุด
ตอบ 1 หน้า 175 การกระจายอํานาจ (Decentralization) มีประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหารระดับสูง ทําให้ได้มีเวลาทํางานสําคัญจําเป็นได้มากขึ้น
2. เป็นการสนองการบริหารหรือความต้องการของแต่ละภูมิภาคได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และรวดเร็ว
3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
4. มีโอกาสในการฝึกฝนผู้บังคับบัญชาระดับรองลงมาให้มีความสามารถ ทักษะ และฝึกฝน การตัดสินใจด้วย 5. โอกาสของการเติบโตหรือขยายองค์การมีทางเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

63. แม้ว่าผู้บังคับบัญชาได้มอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติงานแล้วก็ตามแต่ความรับผิดชอบยังคงตกอยู่กับผู้บังคับบัญชาอยู่ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

64.Line of Responsibility เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะของ สายความรับผิดชอบ (Line of Responsibility) หมายความว่า ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะต้องมี พันธะผูกพันในผลงานของตนต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเขาจะต้องมีข้อผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบต่องานที่ผู้บังคับบัญชาสั่งไปนั่นเอง

65. การที่สํานักอธิการบดีรับสมัครอาจารย์เองแทนที่จะให้ภาควิชาเป็นคนตัดสินใจรับสมัคร เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

66. การจัดองค์การให้มีลักษณะความเป็นวิชาชีพ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 หน้า 123, 210 – 14 การออกแบบองค์การ (Organization Design) หรือการจัดองค์การ(Organizing) เป็นการสร้างแบบ ออกแบบ หรือจัดแบบของโครงสร้างองค์การให้มีความเหมาะสม ซึ่งการจัดองค์การนี้จะทําให้เกิดองค์การในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 รูปแบบ คือ
1. องค์การแบบเรียบง่าย
2. องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล
3. องค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ
4. องค์การแบบสาขา
5. องค์การแบบโครงการ

67. ข้อใดที่ทําให้เกิดแผนภูมิขององค์การ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

68. “มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” สิ่งนี้ถือเป็น
(1) วิสัยทัศน์
(2) พันธกิจ
(3) เป้าหมายปลายประสงค์
(4) ตัวชี้วัด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 220, (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น ตัวอย่างเช่น
-วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
-วิสัยทัศน์ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

ตั้งแต่ข้อ 69. – 73. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Strengths
(2) Weaknesses
(3) Opportunities
(4) Threats
(5) Problems

69. ในการวิเคราะห์ SWOT Analyss นั้น การที่ “คู่แข่งเริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบ
ในการแข่งขัน” ถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis นั้น จะประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่

S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน การมีการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่ เพื่อทดแทนกับอัตราว่าง เป็นต้น

W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ งบประมาณมีไม่เพียงพอ ขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่
O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เป็นต้น
– T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การที่คู่แข่ง เริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นต้น

70. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การมีบุคลากรที่มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้น ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใดสําหรับกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

72. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “องค์การมีการวางแผนในการรับบุคลากรใหม่เพื่อทดแทน กับอัตราว่าง” ข้อความดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

73. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การพบว่า “ขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม” ข้อความ
ดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์ใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

74. ข้อใดเป็นนิยามของ “การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียงโดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว”
(1) ความขัดแย้ง
(2) การจัดองค์การ
(3) การตัดสินใจ
(4) การวางแผน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือก ที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึงการตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียงโดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการ พิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

75. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
(1) บัวไม่ไปทํางานเพราะฝนตก
(2) กมลเนตรห่อข้าวไปรับประทานที่ทํางานเพราะต้องการประหยัด
(3) อําพลไม่ดื่มน้ำอัดลมเพราะไม่ดีต่อสุขภาพ
(5) ราชันย์ขากระตุกเพราะลูกชายนําไม้มาเคาะหัวเข่า
(4) นานาไม่ลางานเพราะกลัวไม่ได้โบนัสปลายปี
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 76 – 80. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) International Level
(2) Operational Level
(3) Coordinative Level
(4) Strategic Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก

76. เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
ตอบ 2 หน้า 229 – 230, (คําบรรยาย) การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการตามเป้าหมาย ขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบ การตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัด ให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor),
หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

77. การตัดสินใจระดับนี้มักเป็นการตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน
ตอบ 4 หน้า 229, 236 การตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมายขององค์การ หรือระดับของการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) จะมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการกําหนด ลักษณะของขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด มีการรับเอาอิทธิพล และทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในองค์การมากน้อยเพียงใด จะเลือก รับเอาสิ่งใด และต้องการให้องค์การตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในลักษณะใด การตัดสินใจ ระดับนี้มักเป็นการตัดสินใจในระยะยาวและมีลักษณะที่ไม่แน่นอน จําเป็นต้องมีการพิจารณา อย่างรอบคอบ มีเหตุผล และต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทําอย่างมาก ดังนั้นการตัดสินใจ จึงไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable) ต้องใช้วิจารณญาณและความคิดเห็น ของผู้ทําการตัดสินใจ (Judgmental)

78. การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว”
ตอบ 3 หน้า 229 การตัดสินใจในระดับการประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับ การดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด” และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

79. การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้นมีการใช้เทคนิคประกอบการตัดสินใจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

80. มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการกําหนดขอบเขตขององค์การกับสภาพแวดล้อมว่าจะยอมให้มีความสัมพันธ์กันในระดับใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

81. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) อาจกล่าวได้ว่าการบริหารเป็นการตัดสินใจ
(2) ระบบของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปด้วยระบบของการตัดสินใจ
(3) หากปราศจากระบบของการตัดสินใจแล้วระบบของสิ่งมีชีวิตจะดํารงอยู่ไม่ได้
(4) การควบคุมองค์การเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน
(5) การตัดสินใจมีบทบาทในทุกส่วนของกระบวนการบริหารยกเว้นการวางแผน
ตอบ 5 หน้า 231 – 232 การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหารไม่ว่าจะเป็น การวางแผน การจัดรูปองค์การ และการควบคุมองค์การ โดยการวางแผนและการจัดรูปองค์การ จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการกําหนดยุทธวิธี (Strategic Level) ส่วนการควบคุม องค์การจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน (Coordinative Level) และการปฏิบัติการ (Operational Level)

82. ข้อใดเป็นรูปแบบการตัดสินใจในลักษณะ Non-Programmable
(1) ระบบสัญญาณไฟจราจร
(2) ระบบทางเดินของงานในโรงงานอุตสาหกรรม
(3) ระเบียบปฏิบัติของบุคลากร
(4) ขั้นตอนการให้บริการ
(5) การพัฒนาชนบท
ตอบ 5 หน้า 236 รูปแบบการตัดสินใจ แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การตัดสินใจที่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Programmable) เช่น ระบบสัญญาไฟจราจร ระบบทางเดินของงานในโรงงานอุตสาหกรรม ระบบการขายสินค้าโดยเครื่องอัตโนมัติ ระเบียบปฏิบัติของบุคลากร เป็นต้น
2. การตัดสินใจที่ไม่สามารถจัดทําไว้ล่วงหน้าได้ (Non-Programmable) เช่น การเสนอขาย สินค้าราคาแพง หรือการทํางานที่ต้องเผชิญสถานการณ์ไม่แน่นอน เช่น การพัฒนาชนบท เป็นต้น

83. สําหรับการสนทนาทางโทรศัพท์ “กระบอกฟัง” เป็นสิ่งใดในกระบวนการสื่อความเข้าใจ
(1) Information Source
(2) Transmitter
(3) Channel
(4) Receiver
(5) Noise Source
ตอบ 4 หน้า 245, (คําบรรยาย) ในกระบวนการสื่อความเข้าใจนั้น Receiver คือ เครื่องรับสัญญาณ ซึ่งจะทําหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารมายังผู้รับสาร ตัวอย่างของ Receiver เช่น “กระบอกฟัง” ในการสนทนากันทางโทรศัพท์ เป็นต้น

84. ข้อใดเป็น External Information Base ขององค์การ
(1) ระบบการผลิต
(2) ระบบการจัดซื้อ
(3) ระบบการควบคุม
(4) ระบบการเงิน
(5) การเมือง
ตอบ 5 หน้า 251 – 252 พื้นฐานและที่มาของข้อมูลข่าวสาร มีดังนี้
1. ข้อมูลข่าวสารจากภายในองค์การ (Internal Information Base) ได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และปัจจัยภายในองค์การเอง เช่น ระบบการเจ้าหน้าที่ ระบบการขายสินค้าและบริการ ระบบของคําสั่งและการควบคุม ระบบการผลิต ระบบการควบคุมสินค้า ระบบการจัดซื้อ ระบบการเงิน เป็นต้น
2. ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกองค์การ (External Information Base) ได้มาจากระบบ สภาพแวดล้อมขององค์การ ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการเมือง

85. การตัดสินใจทางการบริหารที่ดี ต้องอาศัยเงื่อนไขประกอบการตัดสินใจข้อใด
(1) Transmitter
(2) Information
(4) Commanding
(5) Organizing
(3) Channel
ตอบ 2 หน้า 255, (คําบรรยาย) การตัดสินใจทางการบริหารที่ดีนั้นจะต้องอาศัยเงื่อนไขประกอบ การตัดสินใจที่สมบูรณ์ นั่นคือ จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (Information) ที่เพียงพอ และเหมาะสม โดยข้อมูลข่าวสารนั้นอาจได้มาจากปัจจัยภายในองค์การเอง หรือได้มาจาก ปัจจัยภายนอกองค์การ ทั้งนี้การสร้างระบบทางเดินของข้อมูลข่าวสารที่ดีจะช่วยให้เงื่อนไข ของการตัดสินใจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

86. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(2) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(5) การปฏิบัติการตามแผนงานต้องเกิดขึ้นก่อนการควบคุมองค์การเสมอ
ตอบ 5 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมองค์การไม่จําเป็นต้องเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการตาม แผนงานเสมอไป การควบคุมองค์การนั้นอาจเกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมล่วงหน้า (Pre Control) หรืออาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติการตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมในสภาพการปฏิบัติงานจริง (Real Time Control) หรือเกิดขึ้นหลังการปฏิบัติการ ตามแผนงาน ซึ่งเรียกว่า การควบคุมทีหลัง (Post Cor-trol) ก็ได้

87. การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน ถือเป็นการควบคุมในลักษณะใด
(1) Pre Control
(2) Real Time Control
(3) Post Control
(4) Before Control
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 266, (คําบรรยาย) การควบคุมที่หลัง (Post Control) เป็นการสร้างเป้าหมายไว้ เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเมื่อเสร็จสิ้นงวดการปฏิบัติงาน เช่น การประเมินผลลัพธ์ ในการดําเนินงาน การตรวจสอบผลกําไรเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน การประเมินผลสรุปของ โครงการ การตรวจงานหรือการประเมินผลการดําเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

88. บุคคลในข้อใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีแรงจูงใจกลุ่มเดียวกับ Mastow
(1) Victor H. Vroorn
(2) J. Stacy Adams
(3) Edward Thorndike
(4) B. F. Skinner
(5) Clayton Alderfer
ตอบ 5 หน้า 272 (คําบรรยาย) ทฤษฎีหลักการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของมนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น
2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ Tun Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David C. McClelland เป็นต้น

89. ข้อใดเป็น Positive Feedback ขององค์การ
(1) ปัญหาของการดําเนินการ
(2) คําตําหนิ
(3) ประสิทธิภาพที่ได้รับ
(4) ข้อร้องเรียนจากบุคลากรในองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 261, (คําบรรยาย) Feedback ในการดําเนินงานขององค์การ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการดําเนินงานขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความพึงพอใจ (Positive Feedback) เช่น คําชมเชยหรือคํายกย่องประสิทธิภาพที่ได้รับ ความสําเร็จของงาน เป็นต้น
2. ข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงความไม่พึงพอใจ (Negative Feedback) เช่น คําตําหนิ บัตรสนเท่ห์ ความล้มเหลวของงาน ปัญหาของการดําเนินการ เป็นต้น

90. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการควบคุมองค์การแบบ Direct Control
(1) การควบคุมล่วงหน้า
(2) การสั่งการจากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
(3) การควบคุมสภาพในการปฏิบัติงานจริง
(4) การตระหนักรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาในการทํางาน
(5) การจัดทําระบบงบประมาณ
ตอบ 2 หน้า 266 – 267 วิธีการควบคุมองค์การซึ่งแบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผู้ใต้บังคับบัญชา มี 2 วิธี คือ
1. การควบคุมโดยตรง (Direct Control) คือ การควบคุมที่มีการสั่งการจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
2. การควบคุมโดยทางอ้อม (Indirect Control) คือ ผู้บังคับบัญชามิได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

91. ข้อใดเป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
(1) Motivation
(2) Output
(3) Stress
(4) Needs
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 271 เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ มี 3 ประการ คือ
1. ความต้องการ (Needs) เกิดจากความขาดแคลนในบางสิ่งบางอย่างของมนุษย์
2. แรงขับ (Drives) หมายถึง ภาวะความเครียดซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์
3. สิ่งล่อใจ (Incentives) หมายถึง สิ่งของหรือเงื่อนไขภายนอกที่กระตุ้นให้มนุษย์กระทําการ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์

92. แนวคิดที่ว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและความรื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกัน
ก็จะเลี่ยงจากความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบายทั้งหลาย” มีรากฐานมาจากตัวเลือกใด
(1) J. Stacy Adams
(2) Victor H. Vroom
(3) Hedonism
(4) Max Weber
(5) Abraham Maslow
ตอบ 3 หน้า 271 Hedon sm อธิบายว่า “มนุษย์ต้องการจะแสวงหาความสะดวกสบายและความ รื่นรมย์เป็นสําคัญ ขณะเดียวกันก็จะเลี่ยงจากความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบายทั้งหลาย”

93. การสร้างแรงจูงใจลักษณะใดที่ถูกวิจารณ์ว่า “มีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป”
(1) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการใช้ความดี
(4) วิธีการแบบเด็ดขาด
(5) วิธีการแข่งขัน
ตอบ 1 หน้า 280 การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิด แก่พนักงานโดยให้เขาเห็นความสําคัญของตัวงานที่เขาปฏิบัติอยู่ว่ามีค่ามีความสําคัญมาก เพียงไร ซึ่งจะส่งผลให้เขายินดีพอใจจะปฏิบัติงานสําคัญนั้นอย่างเต็มความสามารถ การสร้าง แรงจูงใจจากภายในนี้นับว่าทําให้เกิดการกระตือรือร้นในการทํางานได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถ นํามาใช้ได้ในทุกสถานการณ์ และอาจทําได้ยากกับงานบางประเภท จนนักวิชาการบางท่าน ได้วิจารณ์ว่า การคิดสร้างแรงจูงใจภายในมีลักษณะเป็นอุดมคติมากไป

94. ทฤษฎีแรงจูงใจของนักวิชาการท่านใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory)
(1) Douglas McGregor
(2) Frederick Herzberg
(3) David C. McClelland
(4) J. Stacy Adams
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 95 – 98. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ในการพิจารณาว่าบุคคลในแต่ละข้อนั้นมีแนวความคิด ที่สอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํากลุ่มใด
(1) Trait Theories
(2) Behavioral Theories
(3) Contingency Theories
(4) Transformational Leader
(5) Reinforcement Theories

95. มิลลิเห็นว่าผู้นําที่มีประสิทธิผลต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ตอบ 3 หน้า 287, 294, (คําบรรยาย) แนวความคิดของมิลลี่นั้นสอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นํา ทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) ซึ่งเป็นทฤษฎี ที่มีความเชื่อพื้นฐานว่าประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของผู้นําจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมของผู้นําและสถานการณ์เป็นหลัก

96. เจเจเห็นว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จได้นั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากคนที่มิได้เป็นผู้นํา
ตอบ 1 หน้า 287 – 289, (บรรยาย) แนวความคิดของเจเจนั้นสอดคล้องกับกลุ่มทฤษฎีคุณลักษณะ ผู้นํา (Trait Theories) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพ ได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากคนที่มิได้เป็นผู้นํา เช่น ความเฉลียวฉลาด วุฒิภาวะ ทางสังคม แรงจูงใจสู่ความสําเร็จ เป็นต้น

97. แจ็คสันเห็นว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จควรบริหารงานโดยมุ่งทั้งงานและคน
ตอบ 2 หน้า 287 – 289, 293 – 294, (คําบรรยาย) แนวความคิดของแจ็คสันนั้นสอดคล้องกับ กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) โดยเฉพาะจากการศึกษาของ Robert R. Blake และ Jane S. Mouton ซึ่งพบว่า ผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุดควรบริหารงานโดยมุ่งทั้งงานและคน

98. ใบเฟิร์นเชื่อว่าผู้นําที่ประสบความสําเร็จต้องปรับรูปแบบของพฤติกรรมการบริหารของตนได้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้ตาม
ตอบ 3 หน้า 287, (คําบรรยาย) แนวความคิดของใบเฟิร์นนั้นสอดคล้องกับทฤษฎีภาวะผู้นําทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situatiorial Theories) โดยเฉพาะแนวความคิด
ของ Hersey & Blanchard ซึ่งมองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใดที่ดีที่สุด การเป็น ผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรมผู้นําที่สอดคล้องกับ ความพร้อมของผู้ตาม (ลูกน้อง) ใน 2 ด้าน คือ ความสามารถและความเต็มใจ ซึ่งสามารถ พิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด (Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม (Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมอบหมายงาน
(Delegating).

99. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นํามากที่สุด
(1) The Managerial Grid
(2) Great Man Theory
(3) ทฤษฎีของ Keith Davis
(4) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedter
(5) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
ตอบ 1 หน้า 292 Robert R. Blake และ Jane S. Mouton นักวิชาการในกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรม ของผู้นํา (Leadership Behavior) ได้พิจารณาการศึกษาลักษณะผู้นําจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยโอไฮโอและมิชิแกน และนํามาพัฒนาประยุกต์เป็นตารางการบริหารที่เรียกว่า “The Managerial Grid” หรือเรียกว่า “ตารางผู้นํา” และนําไปจดทะเบียนการค้าด้วย

100. นายชัชพลมีลูกน้องที่ขาดความสามารถและขาดความเต็มใจในการทํางาน หากนายชัชพลเชื่อในแนวคิด ของ Hersey & Blanchard จะต้องเป็นผู้นําแบบใด
(1) Selling
(2) Consideration
(3) Participating
(4) Delegating
(5) Telling
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

WordPress Ads
error: Content is protected !!