LAW2113 (LAW2013) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2113 (LAW 2013) ป.พ.พ.ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 ให้นักศึกษาตอบคําถามต่อไปนี้พร้อมหลักกฎหมายประกอบ

(ก) ผู้ทรงที่รับโอนตั๋วแลกเงินมาโดยสลักหลังลอย สามารถโอนตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้ให้กับ เจ้าหนี้ของตนได้อย่างไรบ้าง

(ข) มีนา สั่งเมษา จ่ายตั๋วแลกเงินให้พฤษภา ขีดฆ่าหรือผู้ถือออก หลังจากนั้นต่อมา พฤษภาได้ลง ลายมือชื่อด้านหลังตั๋วแลกเงินโดยไม่ได้ระบุข้อความใด ๆ และส่งมอบชําระหนี้ให้แก่มิถุนา ในมูลหนี้กู้ยืม ก่อนถึงวันกําหนดใช้เงินตามตัว มิถุนานําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ส่งมอบชําระหนี้ ให้แก่กรกฎา โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อและไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ เลย

ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า มิถุนาโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ถูกต้องตามวิธีการกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินหรือไม่

ธงคําตอบ

(ก) “การสลักหลังลอย” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้ทรง) ตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ ได้โอนตั๋วแลกเงินนั้น ต่อไปโดยการลงลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงิน โดยไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับ ประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 919 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้ง มิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทําอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลัง ตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า สลักหลังลอย”

ผู้ทรงที่ได้รับโอนตั๋วแลกเงินมาโดยการสลักหลังลอย สามารถโอนตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้ให้กับ เจ้าหนี้ของตนได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 920 วรรคสอง ดังนี้คือ

(1) กรอกชื่อของตนเองหรือชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงไปในที่ว่าง

(2) สลักหลังตั๋วเงินนั้นต่อไปอีก จะเป็นสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอย หรือ

(3) โอนตั๋วเงินนั้นให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่กรอกชื่อของบุคคลอื่นลงในที่ว่าง หรือโดยไม่สลักหลัง แต่อย่างใดก็ได้ (กล่าวคือ สามารถโอนตั๋วเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียว)

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”

มาตรา 919 วรรคสอง “การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทําอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟัง เป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”

มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้ คือ

(1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

(3) โอนตั๋วเงินนั้นไปให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่มีนาสั่งเมษาจ่ายตั๋วแลกเงินให้พฤษภา และขีดฆ่าหรือผู้ถือออกนั้นถือว่า ตั๋วแลกเงินฉบับนี้เป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ ต่อมาการที่พฤษภาได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินโดย ไม่ได้ระบุข้อความใด ๆ และส่งมอบชําระหนี้ให้แก่มิถุนาในมูลหนี้กู้ยืมนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่พฤษภาได้สลักหลังลอย และส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่มิถุนา การโอนตั๋วแลกเงินระหว่างพฤษภาและมิถุนาจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 917 วรรคหนึ่ง และมาตรา 919 วรรคสอง และให้ถือว่ามิถุนาเป็นผู้ทรงที่ได้รับตั๋วแลกเงินฉบับนี้ มาจากการสลักหลังลอยของพฤษภา และสามารถที่จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบ หรือจะโอนตั๋วแลกเงินต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่กรอกข้อความใด ๆ และไม่สลักหลังใด ๆ ก็ได้ตามมาตรา 920 วรรคสอง

ดังนั้น การที่มิถุนาได้นําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ส่งมอบชําระหนี้ให้แก่กรกฎาโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อและไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ เลยนั้น มิถุนาย่อมสามารถกระทําได้ตามมาตรา 920 วรรคสอง (3) การโอนตั๋วแลกเงิน ฉบับนี้ของมิถุนาจึงถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้

สรุป การโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ของมิถุนาถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน

ข้อ 2 (ก) การอาวัลตั๋วแลกเงินจะต้องทําอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย และผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน จะอาวัลตั๋วได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

(ข) บางเขนเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินที่มีบางบัวทองเป็นผู้จ่าย บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายและขีดฆ่า คําว่า “หรือผู้ถือ” บางเขนจะสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้หลักสี่ แต่หลักสี่ให้บางเขนนําตั๋วไปให้บางบัวทองรับรองก่อน บางเขนจึงเอาตัวไปให้บางบัวทองเขียนข้อความว่า “ยินดีเป็นประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อไว้ด้านหน้าของตั๋ว หลักสี่จึงยอมรับชําระหนี้ ด้วยการสลักหลังและส่งมอบตัวจากบางเขน เมื่อถึงกําหนดใช้เงินหลักสี่ได้นําตัวไปให้บางบัวทองใช้เงิน แต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงินเนื่องจากเห็นว่าตนได้ชําระหนี้บางขวางผู้สั่งจ่ายไปแล้ว

อนึ่งหลักสี่ได้ทําคําคัดค้านไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าหลักสี่ผู้ทรงจะฟ้อง บางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ก) “การอาวัลหรือการรับอาวัลตั๋วแลกเงิน” คือ การที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้ว ในตั๋วแลกเงินนั้นได้เข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินต่อผู้เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งตั๋วแลกเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลได้หลายคน และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด ถ้าไม่ระบุไว้ ให้ถือว่าเป็นการรับประกันผู้สั่งจ่าย (ป.พ.พ. มาตรา 938 และมาตรา 939 วรรคสี่)

การอาวัลตั๋วแลกเงินจะถูกต้องตามกฎหมายจะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ ดังนี้คือ

1 ผู้รับอาวัลเขียนข้อความลงบนตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวน อื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกันนั้น เช่น “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลซึ่งการ อาวัลในกรณีนี้จะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วแลกเงินก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 939 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่)

2 ผู้รับอาวัลลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ ไว้ ก็ให้ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคสาม)

สําหรับผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้น สามารถที่จะอาวัลตั๋วแลกเงินได้ แต่ผู้จ่ายจะต้องเขียนข้อความว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกันนั้นลงไว้ในตั๋วแลกเงิน และต้องระบุไว้ด้วยว่า
อาวัลผู้ใดจะลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงินเพียงอย่างเดียวไม่ได้ (มาตรา 939)

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 938 “ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ําประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจํานวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล

อ้นอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้”

มาตรา 939 “อันการรับอาวัลย่อมทําให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจําต่อ

ในการนี้จึงใช้ถ้อยคําสํานวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดทํานองเดียวกันนั้นและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคํารับอาวัลแล้ว
เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคำรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ตั๋วแลกเงินที่บางขวางเป็นผู้สั่งจ่ายสั่งให้บางบัวทองเป็นผู้จ่ายเงินแก่บางเขน และขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” นั้น เป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ เมื่อบางเขนสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่หลักสี่ มีบางบัวทองผู้จ่ายเขียนข้อความว่า “ยินดีเป็นประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้า ของตั๋วแลกเงินนั้น ข้อความดังกล่าวถือเป็นข้อความที่มีความหมายทํานองเดียวกันกับคําว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่บางบัวทองได้เข้ามาอาวัลตั๋วแลกเงินนั้นแล้ว และเป็นการอาวัลบางขวางผู้สั่งจ่าย ตาม มาตรา 938 และมาตรา 939 ดังนั้น เมื่อถึงกําหนดใช้เงินหลักสีได้นําตั๋วแลกเงินนั้นไปยื่นให้บางบัวทองใช้เงิน แต่บางบัวทองปฏิเสธการใช้เงิน หลักสี่ซึ่งเป็นผู้ทรงย่อมสามารถฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับ ดังกล่าวได้ในฐานะผู้รับอาวัลบางขวางผู้สั่งจ่าย ตามมาตรา 900 และมาตรา 940 วรรคหนึ่ง

สรุป หลักสี่ผู้ทรงสามารถฟ้องบางบัวทองให้รับผิดในตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ในฐานะผู้รับ อาวัลบางขวางผู้สั่งจ่าย

ข้อ 3 มานีออกตั๋วแลกเงินสั่งมานะจ่ายเงินให้แก่ปิติหรือตามคําสั่ง ปิติสลักหลังลอยโอนให้วีระ ซึ่งวีระก็ได้ทําการสลักหลังลอยไว้ แต่ยังไม่ทันได้โอนก็ถูกเพชรขโมยตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวไปโดยที่ วีระไม่ทันรู้ตัว และเพชรได้ทําการโอนตั๋วให้ชูใจ โดยการส่งมอบ ชูใจก็ได้สลักหลังชําระหนี้ให้แก่ จันทร ในมูลหนี้ซื้อขายสวนทุเรียน ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่าหากวีระเรียกตั๋วแลกเงินจากจันทรคืน จันทรจะต้องคืนตั๋วเงินหรือไม่ และจันทรเป็นผู้ทรงโดยชอบในตั๋วเงินดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด จงวินิจฉัยตามหลักกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย

อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียและห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ ของตนในตัวตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้น มิได้มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิง อาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตัวนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงิน เอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึง ถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่มานีออกตั๋วแลกเงินสั่งมานะให้จ่ายเงินแก่ปีติหรือตามคําสั่ง ปิติสลักหลังลอย ให้แก่วีระ และวีระสลักหลังลอยไว้ แต่ยังไม่ได้โอนตัวนั้นให้ใครนั้น เมื่อเพชรได้ขโมยตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวไป และได้โอนโดยการส่งมอบให้แก่ชูใจ และชูใจได้สลักหลังชําระหนี้ให้แก่จันทร ย่อมถือว่าชูใจซึ่งเป็นผู้สลักหลัง และลงลายมือชื่อรายที่สุดเป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินจากการสลักหลังลอยของวีระ (และถือว่าวีระได้ไปซึ่งตั๋วเงินจาก การสลักหลังลอยของปิติ) ตามมาตรา 905 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจันทรได้รับตั๋วเงินนั้นมาจากการสลักหลังของชูใจ

จันทรย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 905 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นบุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง จากการสลักหลังที่ไม่ขาดสาย อีกทั้งถึงแม้ว่าบทบัญญัติมาตรา 905 จะอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 ก็ตาม แต่บทบัญญัติมาตรา 1008 จะใช้บังคับกับตั๋วเงินที่มีการลงลายมือชื่อปลอม หรือลายมือชื่อที่ลงโดย ปราศจากอํานาจเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ไม่ปรากฏว่ามีการลงลายมือชื่อปลอม หรือเป็นลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจแต่อย่างใด

เมื่อจันทรเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้รับตั๋วเงินนั้นไว้ในครอบครอง และแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังที่ไม่ขาดสาย อีกทั้งไม่ปรากฏว่าจันทรได้ตั๋วเงินนั้นมาโดยทุจริต หรือได้มาด้วย ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้น จันทรจึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 905 วรรคสอง กล่าวคือ เมื่อวีระเรียกตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวคืนจากจันทร จันทรจึงไม่จําเป็นต้องคืนตั๋วเงินนั้นให้แก่วีระ

สรุป จันทรเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อวีระเรียกตั๋วเงินนั้นคืน จันทรไม่ต้องคืนตั๋วเงินนั้นให้แก่วีระ

LAW2113 (LAW2013) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2113 (LAW 2013) ป.พ.พ.ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 (ก) การโอนตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องทําอย่างไรจึงจะชอบด้วยกฎหมายตั๋วเงิน

(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารอ่างทอง ชําระหนี้โทโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและขีดฆ่า คําว่าหรือผู้ถือออก โทสลักหลังชําระหนี้ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาตรีสลักหลังลอยและส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา ต่อมาจัตวาได้นําเช็คไปส่งมอบชําระหนี้ให้กับ บ้านไร่ เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค บ้านไร่นําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารไม่ยอมจ่ายเงิน โดยอ้างว่าบ้านไร่ได้รับโยนเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้ออ้างของ ธนาคารอ่างทองถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

(ก) อธิบาย

ในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น การโอนจะชอบด้วยกฎหมายตั๋วเงิน ผู้โอนจะต้องทําให้ถูกต้องตามวิธีการ
ที่กฎหมายลักษณะตั๋วเงินได้กําหนดไว้ ดังนี้คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ
การโอนสามารถกระทําได้โดยการสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่
ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ใน ตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 919)

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับ ประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น (ป.พ.พ.
มาตรา 919 วรรคสอง)

อนึ่ง ในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลังระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรงจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะสลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น เป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วแลกเงินนั้น มาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอน ตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 920)

2 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ

การโอนตั๋วเงินชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการส่งมอบเพียงอย่างเดียวไม่ต้องมีการสลักหลังตาม
ป.พ.พ.มาตรา 918 ซึ่งบัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทํา อะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การ สลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”

มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้ คือ

(3) โอนตั๋วเงินนั้นไปให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923…

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่เอกออกเช็คชําระหนี้แก่โท โดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและได้ขีดฆ่าคําว่า หรือผู้ถือออกนั้น ถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ดังนั้นถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนจะถูกต้องตาม กฎหมายก็จะต้องมีการสลักหลังและส่งมอบ โดยอาจจะเป็นการสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง และมาตรา 919 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ดังนั้นเมื่อโทสลักหลังโดยระบุชื่อตรี เป็นผู้รับประโยชน์ และตรีได้สลักหลังลอยและส่งมอบให้แก่จัตวา การโอนเช็คระหว่างโทกับตรี และระหว่างตรีกับจัตวาย่อมเป็นการโอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

และเมื่อเช็คนั้นได้ตกอยู่ในความครอบครองของจัตวา ซึ่งเป็นผู้ทรงที่ได้รับเช็คมาจากการสลักหลังลอย ของตรี จัตวาย่อมมีสิทธิตามมาตรา 920 (3) ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง คือสามารถโอนเช็คนั้นต่อไปได้โดย ไม่ต้องสลักหลังแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้นเมื่อจัตวาส่งมอบเช็คให้แก่บ้านไร่ การโอนเช็คของจัตวาให้แก่บ้านไร่ จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และถือว่าบ้านไร่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้รับโอนเช็คมาโดย ถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายได้กําหนดไว้ และบ้านไร่ย่อมมีสิทธินําเช็คไปยื่นให้ธนาคารอ่างทองจ่ายเงินได้เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค การที่ธนาคารอ่างทองไม่ยอมจ่ายเงินโดยอ้างว่าบ้านไร่ได้รับโอนเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นข้ออ้างของธนาคารอ่างทองจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของธนาคารอ่างทองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

ข้อ 2 นายหนึ่งออกตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้าให้กับนายสามจํานวน 100,000 บาท โดยสั่งให้ นายสองจ่ายเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่นายสามหรือผู้ถือ เมื่อนายสามได้รับตั๋วมา นายสามได้ไปติดต่อ ขอซื้อนาฬิกากับนายสี่ โดยบอกว่าตนจะขอชําระหนี้ค่านาฬิกาด้วยตั๋วแลกเงิน นายสี่บอกจะยอมรับ หากนายสามไปหาคนมาค้ำประกัน นายสามจึงไปหานายเอมาค้ําประกันตัวแลกเงิน ซึ่งนายเอ ได้เขียนข้อความว่า “ค่ําประกันนายสาม 50,000 บาท” พร้อมทั้งลงชื่อนายเอไว้ที่ด้านหน้าของ ตั๋วแลกเงินนั้น นายสี่จึงยอมรับตั๋วแลกเงินนั้น โดยนายสามได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่นายสี่ ต่อมาเมื่อตัวนั้นถึงกําหนดใช้เงิน นายสี่นําตัวไปยื่นให้นายสองผู้จ่ายจ่ายเงิน แต่นายสอง ปฏิเสธ ให้ท่านวินิจฉัยว่านายสีจะเรียกให้ใครรับผิดได้บ้างในฐานะอะไร และรับผิดอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ ใช้เงินตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 938 “ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ําประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจํานวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล

อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้”

มาตรา 939 “อันการรับอาวัลย่อมทําให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจําต่อ

ในการนี้จึงใช้ถ้อยคําสํานวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดทํานองเดียวกันนั้นและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคํารับอาวัลแล้ว
เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคํารับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งออกตั๋วแลกเงินโดยสั่งให้นายสองจ่ายเงินจํานวน 100,000 บาท ให้แก่นายสามหรือผู้ถือนั้น ย่อมถือว่าตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น เมื่อนายสาม จะโอนตัวฉบับดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่นายสี่ นายสามย่อมสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่นายสี่ โดยไม่ต้องสลักหลังตามมาตรา 918 แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายสามได้สลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น

ให้แก่นายสี่ การสลักหลังของนายสี่ให้ถือว่าเป็นเพียงการประกันหรือการอาวัลนายหนึ่งผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 ดังนั้น เมื่อนายสีนําตัวไปยื่นให้นายสองจ่ายเงินเมื่อตั๋วแลกเงินนั้นถึงกําหนด แต่นายสองปฏิเสธการจ่ายเงิน นายสี่ ซึ่งเป็นผู้ทรงย่อมมีสิทธิเรียกให้นายหนึ่งรับผิดตามตัวนั้นได้ เพราะนายหนึ่งได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงิน จึงต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 914
และนายสี่สามารถ เรียกให้นายสามรับผิดตามตั๋วแลกเงินได้ในฐานะผู้รับอาวัลนายหนึ่งผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 921 โดยนายสามจะต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับนายหนึ่งบุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง คือ ต้องรับผิดในจํานวนเงิน 100,000 บาท เช่นเดียวกับนายหนึ่ง

สําหรับนายเอซึ่งได้เขียนข้อความว่า “ค้ำประกันนายสาม 50,000 บาท” พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ นายเอไว้ที่ด้านหน้าของตั๋วแลกเงินนั้น ถือได้ว่านายเอได้เข้ามาผูกพันกับตั๋วแลกเงินนั้นในฐานะเป็นผู้รับอาวัล
นายสาม และเป็นการรับอาวัลแต่เพียงบางส่วน คือ รับอาวัลเพียง 50,000 บาท ตามมาตรา 938 และมาตรา 939 ดังนั้น นายสี่จึงสามารถเรียกให้นายเอรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลนายสามได้ในจํานวนเงิน 50,000 บาท ส่วนนายสอง ไม่ต้องรับผิดต่อนายสี่ เพราะนายสองไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วแลกเงินแต่อย่างใด
สรุป นายสามารถเรียกให้นายหนึ่งผู้สั่งจ่ายและนายสามผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายรับผิดในจํานวนเงิน ตามตั๋วแลกเงิน คือ 100,000 บาท และเรียกให้นายเอรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลนายสามได้ในจํานวน 50,000 บาท แต่จะเรียกให้นายสองรับผิดไม่ได้

ข้อ 3 ฐิติสั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมทั่วไป สั่งจ่ายเช็คธนาคารมหารวย จ่ายเงินจํานวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) ระบุวัฒธาเป็นผู้รับเงิน ขีดฆ่า “หรือผู้ถือ” ออก เพื่อชําระหนี้ในการทําสัญญา ซื้อขายที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สํานักงานที่ดินกรุงเทพมหานครสาขาบึงกุ่ม ก่อนถึงกําหนดใช้เงินตามเช็ค วัฒธาทําเช็คตกหายไม่รู้ตัว ณภณาเก็บได้จึงปลอมลายมือชื่อวัฒธา สลักหลังโอนเช็คนั้นให้แก่ปาเนียซึ่งรับโอนเช็คไว้โดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายคอนโดย่านสุขุมวิท ปาณีย์ได้นําเช็คนั้นไปเรียกเก็บเงินที่ ธนาคารมหารวย เพื่อฝากเข้าบัญชีของตน แต่ทางธนาคารปฏิเสธการจ่าย เพราะได้มีคําบอกกล่าวว่า เช็คนั้นหายให้ติดต่อฐิติผู้สั่งจ่าย และเมื่อวัฒธาทราบจึงขอเช็คคืน ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า ปาณีย์ ต้องคืนเช็คให้วัฒธาหรือไม่ และบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาตามเช็คตนใดได้บ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่า เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคล ผู้มีลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสีย และห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ
ของตนในตัวตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตัวนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตัวเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้ มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย แสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่ คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ฐิติสั่งจ่ายเช็คขัดซ่อมทั่วไป สั่งธนาคารมหารวย จ่ายเงินจํานวน 10,000,0000 บาท ระบุวัฒธาเป็นผู้รับเงิน และขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออกนั้น ถือว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คชนิด สั่งจ่ายระบุชื่อ การที่วัฒธาทําเช็คตกหาย และณภณาเก็บได้จึงปลอมลายมือชื่อวัฒธา สลักหลังโอนเช็คให้แก่ ปาณีย์ไปนั้น ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าลายมือชื่อปลอมของวัฒธาเป็นอันใช้ไม่ได้ ถือเสมือนหนึ่งว่า วัฒธาไม่เคยสลักหลังเช็คดังกล่าว ดังนั้น แม้ว่าปาณีย์จะได้รับโอนเช็คไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงก็ตาม ก็ไม่ถือว่าปาณีย์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 905 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด เพราะ ปาณีย์ได้รับเช็คมาจากการสลักหลังที่ขาดสาย และเมื่อปาณีย์มิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ปาณีย์จะ อ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงเช็คไว้ย่อมไม่อาจทําได้เป็นอันขาด เมื่อวัฒธาขอเช็คคืน ปาณีย์จึงต้องคืนเช็คให้แก่วัฒธาตามมาตรา 905 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง

และเมื่อปาณีย์ได้นําเช็คไปเรียกเก็บเงินที่ธนาคารฯ แต่ธนาคารฯ ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ ปาณีย์ จะบังคับการใช้เงินเอาแก่ฐิติซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ได้ ต้องห้ามตามาตรา 1008 วรรคหนึ่ง แต่ปาณีย์สามารถบังคับ การใช้เงินเอาจากณาณาผู้ที่ลงลายมือของตนไว้ในเช็คในฐานะเป็นผู้สลักหลังได้ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 914

สรุป ปาณีย์จะต้องคืนเช็คให้แก่วัฒธา และสามารถบังคับการใช้เงินเอากับณภณาได้

LAW2113 (LAW2013) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2113 (LAW 2013) ป.พ.พ.ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ
ข้อ 1. (ก) การโอนตั๋วเงินมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่สําคัญอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

(ข) นางสาวสาย ได้สั่งจ่ายเช็คฉบับหนึ่ง โดยระบุชื่อนายจอมเป็นผู้รับเงิน และมิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก และได้ทําการส่งมอบให้แก่นายจอมเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้า ต่อมานายจอมได้นําเช็คฉบับดังกล่าวมาทําการลงลายมือชื่อสลักหลัง และส่งมอบให้แก่นายบางเพื่อชําระหนี้ค่าเช่าอาคาร หากต่อมานายบางต้องการจะทําการสลักหลังและส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวเพื่อชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่นายประวิทย์
ดังนี้ นายบางสามารถกระทําได้โดยชอบตามกฎหมายตั๋วเงินหรือไม่ เพราะเหตุใด อธิบาย มาให้เข้าใจพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบในแต่ละประเด็น

ธงคําตอบ

(ก) ตามกฎหมาย ตัวเงินมี 3 ประเภท ได้แก่ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ซึ่งหลักในการโอน ตั๋วเงินนั้น กฎหมายได้บัญญัติไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วแลกเงินเท่านั้น เพียงแต่ได้กําหนดให้นําหลักในการโอน ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อไปใช้กับการโอนตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คด้วย (ตามมาตรา 985 วรรคหนึ่ง และ
มาตรา 989 วรรคหนึ่ง) และให้นําหลักในการโอนตั๋วแลกเงินชนิดสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือไปใช้กับการโอนเช็คชนิด สั่งจ่ายแก่ผู้ถือด้วย (ตามมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

สําหรับหลักในการโอนตั๋วแลกเงินนั้น กฎหมายได้กําหนดไว้ดังนี้ คือ 1. ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ
การโอนสามารถกระทําได้โดยการสลักหลังและส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 917 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้
ด้วยสลักหลังและส่งมอบ

หมายความว่าตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไปให้แก่
บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วแลกเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 919)

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วแลกเงินด้วย โดยอาจจะกระทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตัวก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น
(ป.พ.พ. มาตรา 919 วรรคสอง)

อนึ่ง ในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้น ในกรณีที่เป็นการสลักหลังเฉพาะ (สลักหลังระบุชื่อ) ถ้าผู้ทรงจะโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปก็สามารถโอนได้แต่จะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น โดยอาจจะ
สลักหลังเฉพาะหรือสลักหลังลอยก็ได้ จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้

แต่ถ้าในการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินนั้นเป็นการสลักหลังลอย ดังนี้ผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วแลกเงินนั้น
มาจากการสลักหลังลอย ย่อมสามารถโอนตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปได้โดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอน ตั๋วแลกเงินนั้นต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 920)

2 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ
การโอนตั๋วเงินชนิดนี้ย่อมสามารถกระทําได้โดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการ
สลักหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 918 ซึ่งบัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียง ด้วยส่งมอบให้กัน”

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สําหรับผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าว ต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910… 914 ถึง
923, 938 ถึง 940”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวสายสั่งจ่ายเช็คเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้าให้แก่นายจอม โดยระบุชื่อ นายจอมเป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก เช็คฉบับนี้ถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบเช็คให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลัง และ ถ้ามีการสลักหลังให้ถือว่าเป็นเพียงการประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย (ป.พ.พ. มาตรา 918 มาตรา 921 ประกอบ มาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

การที่นายจอมนําเช็คฉบับดังกล่าวมาทําการลงลายมือชื่อสลักหลัง และส่งมอบให้แก่นายบางเพื่อชําระหนี้ค่าเช่าอาคารนั้น การโอนเช็คระหว่างนายจอมและนายบางถือเป็นการโอนเช็คที่ชอบด้วยกฎหมาย เพียงแต่การสลักหลังของนายจอมนั้น ให้ถือว่าเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายซึ่งนายจอมจะต้องรับผิดตามเช็คในฐานะ ผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายคือนางสาวสาย

และเมื่อนายบางต้องการจะทําการสลักหลังและส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวเพื่อชําระหนี้ตามสัญญา
กู้ยืมเงินให้แก่นายประวิทย์ นายบางย่อมสามารถทําได้ เพียงแต่การสลักหลังของนายบางย่อมมีผลทําให้นายบาง จะตกเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดตามเช็คนั้นในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายคือนางสาวสายด้วย

สรุป นายบางสามารถทําการสลักหลังและส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายประวิทย์ได้

ข้อ 2. (ก) การอาวัลตั๋วเงินเกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้าง

(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารอ่างทอง ชําระหนี้ให้แก่โทโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและ มิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออก โทสลักหลังชําระหนี้ให้แก่ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมาตรีสลักหลังลอย และส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา จัตวาส่งมอบเช็คชําระหนี้ ให้กับบางนา เมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค บางนานําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารอ่างทอง แต่ธนาคาร ไม่ยอมจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่าว่าเงินในบัญชีของเอกมีไม่พอจ่าย ดังนี้ บุคคลใดที่จะต้องรับผิดต่อบางนาในฐานะผู้รับอาวัลเช็คฉบับดังกล่าว

ธงคําตอบ

(ก) การอาวัลตั๋วเงินนั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี ได้แก่ การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนาและ อาวัลโดยผลของกฎหมาย

1 การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา ทําได้โดย

1.1 ผู้รับอาวัลเขียนข้อความลงบนตั๋วเงิน (ซึ่งอาจเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค) หรือใบประจําต่อว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกันนั้น เช่น “เป็นอาวัล ประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วเงินก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 939 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่)

1.2 ผู้รับอาวัลลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าตั๋วเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ ไว้ ก็ให้ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคสาม)

2 การอาวัลโดยผลของกฎหมาย เกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการสลักหลังโอนตั๋วเงินชนิดสั่งจ่าย แก่ผู้ถือ (ซึ่งอาจเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็ค) ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้น เป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล)
สําหรับผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910.., 914 ถึง 923,
938 ถึง 940”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอกสั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ออกนั้น เช็คนั้นย่อมถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์ โดยการส่งมอบเช็คให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลัง (มาตรา 918 ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จากการโอนเช็คฉบับนี้ให้แก่ตรี จัตวา และบางนาตามลําดับนั้น โทและตรี ได้ทําการสลักหลังเช็คฉบับนี้ด้วย ดังนี้ตามกฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังของโทและตรีนั้นเป็นเพียงการรับอาวัล เอกผู้สั่งจ่ายเท่านั้น (มาตรา 921 ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ซึ่งโทและตรีก็จะต้องรับผิดเป็นอย่าง เดียวกันกับเอกผู้สั่งจ่าย (มาตรา 900 วรรคหนึ่งและมาตรา 940 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ที่ลงในเช็ค บางนานําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารแต่ธนาคารไม่ยอมจ่ายเงิน บุคคลที่จะต้องรับผิดต่อบางนาในฐานะผู้รับอาวัลเช็คฉบับดังกล่าว คือ โท และตรี

สรุป บุคคลที่จะต้องรับผิดต่อบางนาในฐานะผู้รับอาวัลเช็คฉบับดังกล่าวได้แก่ โท และตรี

ข้อ 3 หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่สําคัญในตั๋วเงิน จะเกิดผลอย่างไรกับตั๋วเงินและคู่สัญญา ทั้งหลายบ้าง จงอธิบายหลักกฎหมาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1007 “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคํารับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงใน ข้อสําคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และ ตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรอง
มิได้ยินยอมด้วย”

การแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในตั๋วเงินจะมีผลทางกฎหมายนั้น จะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อความในข้อสําคัญ (มาตรา 1007) คือจะต้องเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความซึ่งเป็นสาระสําคัญ ซึ่งเมื่อมี การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วจะทําให้ผลของตั๋วเงิน สิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในข้อสําคัญ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงิน
อันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความ ระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย (มาตรา 1007 วรรคสาม) ตาม ป.พ.พ. ได้บัญญัติผลตาม กฎหมายไว้ 2 กรณีคือ

1 กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นได้ประจักษ์ กล่าวคือ การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขไม่แนบเนียน หรือเห็นได้ประจักษ์นั่นเอง โดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาทุกคนในตั๋วเงินนั้น ย่อมเป็นผลให้ตั๋วเงินนั้นเสียไป แต่ยังคงใช้ได้กับคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือผู้ที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และหรือ ผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น (มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง)

ตัวอย่าง เอกออกเช็คฉบับหนึ่งสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินให้โท 50,000 บาท โดยขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คนั้นออก โทสลักหลังโอนให้ตรี ต่อมาตรีได้แก้ไขจํานวนเงินเป็น 150,000 บาท แล้วสลักหลัง โอนให้แก่จัตวา และจัตวาได้สลักหลังโอนชําระหนี้ให้แก่พิเศษ โดยการแก้ไขจํานวนเงินดังกล่าวนั้นไม่แนบเนียน
มองด้วยตาเปล่าก็เห็นได้ถึงการแก้ไขนั้น

กรณีดังกล่าว เมื่อการแก้ไขจํานวนเงินซึ่งถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญ และ การแก้ไขนั้นเห็นได้ประจักษ์ จึงมีผลตามมาตรา 1007 วรรคหนึ่ง คือ ให้ถือว่าตั๋วเงิน (เช็ค) นั้นเป็นอันเสียไป ดังนั้นถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พิเศษย่อมไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาเงินจากเอกผู้สั่งจ่ายและโทผู้สลักหลัง ซึ่ง มิได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น (เว้นแต่เอกหรือโทจะได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น)
แต่พิเศษสามารถไล่เบี้ยเรียกเอาเงินจากตรีซึ่งเป็นผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลง และจัตวาผู้สลักหลังภายหลังการแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ ในจํานวนเงิน 150,000 บาท

2 กรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นไม่ประจักษ์ กล่าวคือ การแก้ไขนั้นมีการแก้ไขได้อย่าง แนบเนียน หรือไม่เห็นเป็นประจักษ์ถือว่าตั๋วเงินนั้นไม่เสียไป และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมาย กรณีย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นสามารถจะถือเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้น เสมือนว่า ตั๋วเงินนั้นมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้ และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตัวนั้นก็ได้ (มาตรา
1007 วรรคสอง)

ตามตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าตรีได้แก้ไขจํานวนเงินได้อย่างแนบเนียน และการแก้ไขเห็นไม่ประจักษ์ พิเศษซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิถือเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้น เสมือนมิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้ กล่าวคือ ถ้าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พิเศษก็สามารถไล่เบี้ยเอาเงิน ตามเช็คจากตรีและจัตวาได้ตามจํานวนเงินที่ได้มีการแก้ไขแล้ว คือ 150,000 บาท และสามารถบังคับการใช้เงิน ตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วเงิน คือสามารถไล่เบี้ยเอาจากเอกผู้สั่งจ่าย และโทผู้สลักหลังได้ ในจํานวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งเป็นจํานวนเงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วเงินนั้น

LAW2113 (LAW2013) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 มีนาสั่งเมษาจ่ายตั๋วแลกเงินให้พฤษภา และขีดฆ่าหรือผู้ถือออก หลังจากนั้นต่อมาพฤษภาได้ ลงลายมือชื่อด้านหลังตั๋วแลกเงินโดยไม่ได้ระบุข้อความใด ๆ และส่งมอบชําระหนี้ให้แก่มิถุนาใน มูลหนี้กู้ยืม ก่อนถึงวันกําหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน มิถุนานําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ส่งมอบชําระหนี้ ให้แก่กรกฎา โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อและไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ เลย

ดังนี้ ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่ามิถุนาโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”

มาตรา 919 วรรคสอง “การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทําอะไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟัง เป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”

มาตรา 920 วรรคสอง “ถ้าสลักหลังลอย ผู้ทรงจะปฏิบัติดังกล่าวต่อไปนี้ประการหนึ่งประการใดก็ได้ คือ

(1) กรอกความลงในที่ว่างด้วยเขียนชื่อของตนเอง หรือชื่อบุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

(2) สลักหลังตั๋วเงินต่อไปอีกเป็นสลักหลังลอย หรือสลักหลังให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดผู้หนึ่ง

(3) โอนตั๋วเงินนั้นไปให้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกความลงในที่ว่าง และไม่สลักหลังอย่างหนึ่งอย่างใด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่มีนาสั่งเมษาจ่ายตั๋วแลกเงินให้พฤษภา และขีดฆ่าหรือผู้ถือออกนั้นถือว่า ตั๋วแลกเงินฉบับนี้เป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ ต่อมาการที่พฤษภาได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินโดย ไม่ได้ระบุข้อความใด ๆ และส่งมอบชําระหนี้ให้แก่มิถุนาในมูลหนี้กู้ยืมนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่พฤษภาได้สลักหลังลอย และส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่มิถุนา การโอนตั๋วแลกเงินระหว่างพฤษภาและมิถุนาจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 917 วรรคหนึ่ง และมาตรา 919 วรรคสอง และให้ถือว่ามิถุนาเป็นผู้ทรงที่ได้รับตั๋วแลกเงินฉบับนี้ มาจากการสลักหลังลอยของพฤษภา และสามารถที่จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบ หรือจะโอนตั๋วแลกเงินต่อไปโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่กรอกข้อความใด ๆ และไม่สลักหลังใด ๆ ก็ได้ตามมาตรา 920 วรรคสอง

ดังนั้น การที่มิถุนาได้นําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ส่งมอบชําระหนี้ให้แก่กรกฎาโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อและ ไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ เลยนั้น มิถุนาย่อมสามารถกระทําได้ตามมาตรา 920 วรรคสอง (3) การโอนตั๋วแลกเงิน ฉบับนี้ของมิถุนาจึงถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้

สรุป การโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ของมิถุนาถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมาย

ข้อ 2 นายเก่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้นายอ่อนใช้เงินให้กับนายฟ้า 50,000 บาท และมิได้ขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก และได้ส่งมอบให้กับนายฟ้าเพื่อชําระหนี้ต่อมานายฟ้าสลักหลัง ระบุชื่อนายตรีเป็นผู้รับประโยชน์และส่งมอบตัวชําระหนี้ให้กับนายตรี ต่อมานายตรีสลักหลังลอยและส่งมอบตัวชําระหนี้ให้แก่นายจัตวา หลังจากนั้นนายจัตวาส่งมอบตัวชําระหนี้ให้กับนางสี เมื่อถึงกําหนดเวลาใช้เงิน นางสีนําตัวไปยื่นให้นายอ่อนจ่ายเงินให้กับตนเอง แต่นายอ่อนปฏิเสธ ไม่ยอมจ่ายเงิน

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายฟ้า นายตรี นายจัตวาจะต้องรับผิดอย่างไรหรือไม่ต่อนางสีเจ้าหนี้ตาม ตั๋วแลกเงิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเก่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้นายอ่อนใช้เงินให้กับนายฟ้า 50,000 บาท และมิได้ขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออกนั้น ถือเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ถ้าจะมีการโอน ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตั๋วให้แก่กันโดยไม่ต้องมีการสลักหลัง (มาตรา 918)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จากที่มีการโอนตั๋วฉบับนี้ให้แก่นายตรี นายจัตวา และนางสีตามลําดับนั้น นายฟ้าและนายตรีได้ทําการสลักหลังตั๋วเงินฉบับนี้ด้วย (ไม่ว่าจะเป็นการสลักหลังระบุชื่อหรือสลักหลังลอย)
ตามกฎหมายให้ถือว่าการลงลายมือชื่อสลักหลังของนายฟ้าและนายตรีนั้นเป็นเพียงการรับอาวัลนายเก่ง
ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น (มาตรา 921) นายฟ้าและนายตรีจึงต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับนายเก่งผู้สั่งจ่าย (มาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 940 วรรคหนึ่ง)

ดังนั้น เมื่อถึงกําหนดเวลาใช้เงิน นางสีนําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ไปยื่นให้นายอ่อนจ่ายเงินให้กับตนเอง แต่นายอ่อนปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงิน ดังนี้ นายฟ้าและนายตรีจึงต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นให้แก่นางสีในฐานะเป็น ผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง และมาตรา 921 ส่วนนายจัตวาเมื่อไม่ได้ลงลายมือชื่อของตน ในตั๋วแลกเงินนั้น จึงไม่ต้องรับผิดต่อนางสี (มาตรา 900 วรรคหนึ่ง)

สรุป นายฟ้าและนายตรีต้องรับผิดต่อนางสีในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย
ส่วนนายจัตวาไม่ต้องรับผิดต่อนางสี

ข้อ 3 ลัคนาสั่งจ่ายเช็คชําระหนี้ 800000 (แปดแสนบาท) ให้ทักษาผู้ทรงเช็ค ก่อนถึงวันที่ลงในเช็ค ทักษาผู้ทรงเช็คได้ทําการแก้ไขจํานวนเงินจากน้อยไปมากได้อย่างแนบเนียน โดยการเติมเลข 0 (ศูนย์) ต่อท้ายกลายเป็น 8000000 (แปดล้านบาท) และนําเช็คไปเรียกเก็บเงินกับธนาคารผู้จ่าย

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยโดยอ้างอิงหลักกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินว่าธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากกระแส รายวันของลัคนาผู้สั่งจ่ายได้เพียงใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1007 “ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด หรือในคํารับรองตั๋วเงินรายใด มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงใน ข้อสําคัญโดยที่คู่สัญญาทั้งปวงผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินมิได้ยินยอมด้วยหมดทุกคนไซร้ ท่านว่าตั๋วเงินนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทําการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น หรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังในภายหลัง

แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสําคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และ ตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงคนนั้นจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้

กล่าวโดยเฉพาะ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในข้อสําคัญ คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างใด ๆ แก่วันที่ลง จํานวนเงินอันจะพึงใช้ เวลาใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน กับทั้งเมื่อตั๋วเงินเขารับรองไว้ทั่วไปไม่เจาะจงสถานที่ใช้เงิน ไปเติมความระบุสถานที่ใช้เงินเข้าโดยที่ผู้รับรอง
มิได้ยินยอมด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ลัคนาสั่งจ่ายเช็คชําระหนี้ 800,000 บาท ให้ทักษาผู้ทรงเช็ค ก่อนถึงวันที่ ลงในเช็ค ทักษาผู้ทรงเช็คได้ทําการแก้ไขจํานวนเงินจากน้อยไปมากได้อย่างแนบเนียน โดยการเติมเลข 0 (ศูนย์) ต่อท้ายกลายเป็น 8,000,000 บาท และได้นําเช็คไปเรียกเก็บเงินกับธนาคารผู้จ่ายนั้น โดยหลักแล้วเมื่อการแก้ไข จํานวนเงินดังกล่าวนั้น เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเห็นไม่ประจักษ์เช็คนั้นย่อมไม่เสียไป และถ้าเช็คนั้นได้ตกไปอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นผลให้ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถจะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้น เสมือนว่าเช็คนั้นไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้ และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้นก็ได้(มาตรา 1007 วรรคสองและวรรคสาม)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเช็คพิพาทที่มีการแก้ไขจํานวนเงินดังกล่าวนั้น ผู้ที่ทําการแก้ไขคือทักษา ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คดังกล่าว ดังนั้นแม้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นจะเห็นไม่ประจักษ์ก็ตามก็ถือว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทําให้ทักษาเป็นผู้ทรงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย ทักษาจึงไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจํานวนเงินในเช็คนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นจํานวนที่แก้ไขใหม่หรือจํานวนเงินเดิมก่อนการแก้ไขตามมาตรา 1007 วรรคสอง ดังนั้น ธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลัคนาผู้สั่งจ่ายไม่ได้แม้ตามเนื้อความเดิมก็ไม่ได้เช่นกัน
เนื่องจากทักษาเป็นผู้ทรงเช็คที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง

สรุป ธนาคารจะหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลัคนาผู้สั่งจ่ายไม่ได้

 

LAW2113 (LAW2013) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายหนึ่งออกตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งสั่งให้นายสองจ่ายเงินให้แก่นายสามแบบระบุชื่อให้ใช้เงินแก่ นายสามหรือผู้ถือ ต่อมานายสามสลักหลังเฉพาะระบุชื่อนายสี่แล้วส่งมอบตั๋วแลกเงินเพื่อชําระหนี้
ให้แก่นายสี่ จากนั้นนายสี่ได้นําตั๋วแลกเงินฉบับนี้ไปสลักหลังลอยและส่งมอบให้แก่นายห้า ซึ่งต่อมานายห้าก็ได้ทําการส่งมอบตั๋วแลกเงินฉบับนี้เพื่อชําระหนี้ให้แก่นายหก

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น นายหกจะมีฐานะเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งออกตั๋วแลกเงินสั่งให้นายสองจ่ายเงินโดยระบุชื่อให้ใช้เงินแก่นายสามหรือผู้ถือนั้น ถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้นในการโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบตั๋วให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าการโอนตัวนี้ต่อไปได้มีการสลักหลังใน ตัวนี้ด้วย กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงการรับอาวัลผู้สั่งจ่ายเท่านั้น (ตามมาตรา 918 และมาตรา 921)

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ เมื่อมีการโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปนั้น นายสามสลักหลังระบุชื่อและส่งมอบให้แก่นายสี่ นายสี่สลักหลังลอยและส่งมอบแก่นายห้า และนายห้าส่งมอบตัวต่อไปให้แก่นายหก จะเห็นได้ว่า การโอนตั๋วทุกครั้งมีการส่งมอบตัวนั้นให้แก่กัน ดังนั้นการโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวจึงถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ นายหกเป็นบุคคลผู้มีตั๋วเงินอยู่ในความครอบครอง และได้รับการโอนตั๋วมาโดยชอบด้วยกฎหมาย นายหกจึงเป็น ผู้ทรงตั๋วแลกเงินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 ส่วนการที่นายสามและนายสี่ได้ลงลายมือชื่อ สลักหลังตั๋วเงินไว้นั้นให้ถือว่าเป็นเพียงผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย (ตามมาตรา 921)

สรุป นายหกมีฐานะเป็นผู้ทรงตัวแลกเงินฉบับดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 2 (ก) ตั๋วเงินชนิดผู้ถือ หากมีการสลักหลังโอน จะมีผลอย่างไรต่อผู้สลักหลังนั้น จงอธิบายพร้อมหลักกฎหมายประกอบ

(ข) พลูด่างสั่งจ่ายเช็คชนิดผู้ถือ 300,000 บาท ชําระหนี้ให้แก่กิ่งไผ่ เมื่อกิ่งไผ่ได้รับเช็คฉบับดังกล่าว ก็ได้นําเช็คไปชําระหนี้ค่าแหวนเพชรให้แก่ใบพลู หากแต่ใบพลูไม่เชื่อถือกิ่งไผ่เพราะเคย ผิดนัดชําระหนี้ตนมาก่อน ใบพลูจึงได้บอกขอให้กิ่งไผ่หาบุคคลมาค้ำประกันเช็คฉบับนี้ 2 คน มิเช่นนั้นตนจะไม่ยอมขายแหวนเพชรวงนี้ให้ในราคาดังกล่าว กิ่งไผ่จึงนําเช็คไปหาลูกสน ลูกสนทราบเรื่องดังกล่าวก็ได้เขียนข้อความว่า “อาวัลกิ่งไผ่ จํานวน 150,000 บาท” พร้อม ลงลายมือชื่อลูกสนไว้ด้านหน้าเช็คและกิ่งไผ่ก็ได้ลงลายมือชื่อของตนโดยไม่ได้เขียนข้อความ ใดเลยไว้ด้านหน้าเช็ค และนําไปชําระหนี้ค่าแหวนเพชรให้แก่ใบพลู เมื่อถึงวันที่ลงในเช็ค หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ให้นักศึกษาจงวินิจฉัยว่า บุคคลใดบ้างต้องรับผิดและรับผิด อย่างไรต่อใบพลูผู้ทรงเช็ค

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

ตามมาตรา 918 ได้กําหนดไว้ว่า ตั๋วเงินชนิดผู้ถือนั้นย่อมสามารถโอนให้แก่กันได้โดยการส่งมอบ ตั๋วเงินนั้นให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น หากมีการโอนตั๋วเงินชนิดผู้ถือให้แก่กันโดยมีการสลักหลัง ตั๋วเงินนั้นด้วย กฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังตั๋วเงินดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการประกันหรือการอาวัลผู้สั่งจ่ายและ จะต้องผูกพันรับผิดเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 921 ประกอบมาตรา 940 วรรคหนึ่ง

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 914 “บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นํายื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรองและใช้เงินตามเนื้อความแห่งตัว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมรับรองก็ดี หรือไม่ยอมจ่ายเงินก็ดี ผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หรือแก่ผู้สลักหลังคนหลังซึ่งต้องถูกบังคับให้ใช้เงิน ตามตัวนั้น ถ้าหากว่าได้ทําถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรองหรือไม่จ่ายเงินนั้นแล้ว”

มาตรา 938 “ตั๋วแลกเงินจะมีผู้ค้ําประกันรับประกันการใช้เงินทั้งจํานวนหรือแต่บางส่วนก็ได้ ซึ่งท่านเรียกว่า “อาวัล”

อันอาวัลนั้นบุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้รับ หรือแม้คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้รับก็ได้”

มาตรา 939 “อันการรับอาวัลย่อมทําให้กันด้วยเขียนลงในตั๋วเงินนั้นเอง หรือที่ใบประจําต่อ
ในการนี้จึงใช้ถ้อยคําสํานวนว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือสํานวนอื่นใดทํานองเดียวกันนั้นและลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล

อนึ่งเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัลในด้านหน้าแห่งตั๋วเงิน ท่านก็จัดว่าเป็นคํารับอาวัลแล้ว

เว้นแต่ในกรณีที่เป็นลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย

ในคํารับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากมิได้ระบุ ท่านให้ถือว่ารับประกันผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910… 914 ถึง 923,
938 ถึง 940”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พลูด่างสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ 300,000 บาท ชําระหนี้ให้แก่กิ่งไผ่ และเมื่อกิ่งไผ่ ได้นําเช็คไปชําระหนี้ค่าแหวนเพชรให้แก่ใบพลูนั้น ลูกสนได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ด้านหน้าเช็คและเขียนข้อความว่า “อาวัลกิ่งไผ่ จํานวน 150,000 บาท” และกิ่งไผ่ได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ด้านหน้าเช็คโดยไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ ไว้เลยนั้น เมื่อถึงวันที่ลงในเช็คหากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บุคคลที่จะต้องรับผิดต่อใบพลูผู้ทรงเช็คจึงได้แก่ พลูด่าง กิ่งไผ่ และลูกสน เพราะทั้งสามได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ในตั๋วเงิน (เช็ค) จึงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน (เช็ค) นั้น ตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง โดยจะต้องรับผิดในฐานะและจํานวนเงินดังนี้

1 พลูด่าง จะต้องรับผิดเพราะได้ลงลายมือชื่อไว้ในเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง โดยจะต้องรับผิดตามจํานวนเงินที่ระบุไว้ในเช็คนั้น

2 กิ่งไผ่ การที่กิ่งไผ่ได้แสดงเจตนาเข้ามารับอาวัลเช็คในฐานะผู้เป็นคู่สัญญาในเช็ค โดยการ ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าเช็คโดยไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ ไว้เลยและไม่ได้ระบุไว้ว่ารับอาวัลผู้ใดนั้น กฎหมายให้ ถือว่าเป็นการรับอาวัลผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 938 วรรคสอง และมาตรา 939 วรรคสามและวรรคสี่ ประกอบ มาตรา 989 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กิ่งไผ่จึงต้องรับผิดตามเช็คในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่ายคือพลูด่าง และต้องรับผิด เป็นอย่างเดียวกันกับพลูด่างตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง

3 ลูกสน การที่ลูกสนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาเข้ามารับอาวัลกิ่งไผ่ โดยการ ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าเช็ค และระบุว่ารับอาวัลกิ่งไผ่แต่เพียงบางส่วนคือจํานวน 150,000 บาทนั้น ลูกสน ย่อมสามารถทําได้ตามมาตรา 938 และมาตรา 939 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ลูกสนจึงต้องรับผิดตามเช็คในฐานะผู้รับอาวัลกิ่งไผ่ตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง เพียงแต่จะต้องรับผิดในจํานวน 150,000 บาท เท่าที่ตนได้อาวัลไว้เท่านั้น

สรุป บุคคลที่จะต้องรับผิดต่อใบพลูผู้ทรงเช็คคือ พลูด่างในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค กิ่งไผ่ในฐานะผู้รับ อาวัลพลูด่างผู้สั่งจ่าย และลูกสนในฐานะผู้รับอาวัลกิ่งไผ่โดยลูกสนจะต้องรับผิดเพียง 150,000 บาท ตามที่ตนได้
อาวัลไว้

ข้อ 3 (ก) การมีลายมือชื่อปลอมปรากฏอยู่ในตั๋วเงินมีผลในทางกฎหมายต่อตั๋วเงินนั้นอย่างไร จงอธิบาย

(ข) นายปลาบุตรชายของนายนกได้แอบนําเอาสมุดเช็คของนายนกมา แล้วนายปลาได้นําเช็ค ฉบับหนึ่งจากสมุดเช็คนั้นมาทําการปลอมลายมือชื่อของนายนกเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค และระบุคําว่า “จ่ายสด” ในช่องที่ให้ระบุชื่อผู้รับเงินโดยไม่ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก แล้วนําเอาเช็คฉบับดังกล่าวนั้นไปทําการส่งมอบให้นายปูเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้าที่นายปลามีอยู่กับนายปู นายปูซึ่งมีความรู้จักคุ้นเคยกับนายนกเกิดความสงสัยว่าเช็คฉบับนี้นายนกได้เป็นผู้สั่งจ่ายมาจริงหรือไม่ จึงสอบถามไปยังนายนก นายนกได้ทําการตรวจสอบและพบว่านายปลาบุตรชาย เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของตนเพื่อสั่งจ่ายเช็คไป แต่เกรงว่านายปลาจะมีความผิด นายนกจึงแจ้ง กับนายปูไปว่าตนเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับนั้นจริง ต่อมาเช็คฉบับนี้ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายปูจึงนําเอาเช็คฉบับนี้มาเรียกให้นายนกชดใช้เงินตามเช็คให้ แต่นายนกปฏิเสธโดยอ้างว่า ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม ตนจึงไม่ต้องรับผิดชอบใช้เงินตามเช็คให้แก่นายปูแต่อย่างใด

ดังนี้ ข้ออ้างของนายนกฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1008 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อในตัวเงิน เป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอํานาจให้ลงก็ดี

ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่ง อย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตัวนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตัวนั้น คนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วงหรือถูกบังคับใช้เงินนั้น จะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ข้อความใด ๆ อันกล่าวมาในมาตรานี้ ท่านมิให้กระทบกระทั่งถึงการให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อ ซึ่งลงโดยปราศจากอํานาจแต่หากไม่ถึงแก่เป็นลายมือปลอม”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่มีลายมือชื่อปลอม หรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจ
ปรากฏอยู่ในตั๋วเงินนั้น จะมีผลทางกฎหมายดังนี้ คือ

1 ผลต่อเจ้าของลายมือชื่อ ลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอํานาจนั้นย่อม ไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของลายมือชื่อ กล่าวคือ เจ้าของลายมือชื่อไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ทั้งนี้เพราะ เจ้าของลายมือชื่อที่ถูกปลอมมิได้เป็นผู้เขียนลายมือชื่อนั้นลงไว้ในตั๋วเงิน หรือมิได้มอบอํานาจให้บุคคลใดลงลายมือชื่อ ในตั๋วเงินในกรณีที่มีการลงลายมือชื่อโดยปราศจากอํานาจ เว้นแต่กรณีที่เป็นตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อที่ลงไว้โดยปราศจาก อํานาจนั้นอาจมีผลผูกพันเจ้าของลายมือชื่อได้ หากเจ้าของลายมือชื่อได้ให้สัตยาบันตามมาตรา 1008 วรรคท้าย

2 ผลต่อคู่สัญญาคนอื่น ๆ ในตั๋วเงิน ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อปลอม ย่อมไม่มีผลกระทบ ถึงความรับผิดของคู่สัญญาคนอื่น ๆ ที่ลงไว้ในตั๋วเงินโดยถูกต้อง ทั้งนี้เป็นเพราะความรับผิดของลูกหนี้แต่ละคนที่ได้ ลงลายมือชื่อไว้ในตั๋วเงิน และต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินตามมาตรา 900 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัว ของลูกหนี้แต่ละคนนั่นเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1006 ที่บัญญัติไว้ว่า

“การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตัวเงินเป็นลายมือปลอมย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์
แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”

3 ผลต่อผู้ที่ได้ตั๋วเงินไว้ในความครอบครองและบุคคลอื่น ๆ ในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีการลง ลายมือชื่อปลอม หรือมีการลงลายมือโดยปราศจากอํานาจจะมีผลตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง คือ ให้ถือว่าลายมือชื่อ ปลอมหรือลงโดยปราศจากอํานาจนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย และผู้ใดจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อ

(1) จะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้มิได้ เว้นแต่ ผู้ที่จะพึ่งถูกยึดหน่วง อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอํานาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

(2) จะทําให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยการใช้เงินมิได้ เว้นแต่ ได้ใช้เงินไปในกรณีที่ตั๋วเงินนั้นมีลายมือชื่อผู้สลักหลังเป็นลายมือชื่อปลอม (ตามมาตรา 1009)

(3) จะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นคนใดคนหนึ่งมิได้ เว้นแต่ คู่สัญญา ผู้ที่จะพึงถูกบังคับให้ใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบท มิให้ยกลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใด ลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอํานาจให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัย แสวงสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตัวนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่ คู่สัญญาแห่งตัวนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งจะพึงถูกยึดหน่วง หรือถูกบังคับใช้เงินนั้นจะอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอม หรือข้อลงลายมือชื่อปราศจากอ้านาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปลาบุตรชายของนายนกได้แอบนําเอาสมุดเช็คของนายนกมา แล้วนายปลาได้นําเช็คฉบับหนึ่งจากสมุดเช็คนั้นมาทําการปลอมลายมือชื่อของนายนกเป็นผู้สั่งจ่าย แล้วนําเช็คฉบับ ดังกล่าวไปทําการส่งมอบให้นายปูเพื่อชําระหนี้ค่าสินค้าที่นายปลามีอยู่กับนายปูนั้น โดยหลักแล้ว ลายมือชื่อ ปลอมของนายนกนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย กล่าวคือนายนกไม่ต้องรับผิดต่อนายปูเพราะนายนกมิได้ลงลายมือชื่อของ ตนในเช็คฉบับนั้นแต่อย่างใดตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่า เมื่อนายปูได้รับเช็คมาเกิดความสงสัยว่าเช็คฉบับนี้นายนกได้เป็นผู้สั่งจ่ายมาจริงหรือไม่ จึงได้สอบถามไปยังนายนก และเมื่อนายนกได้ทําการตรวจสอบและพบว่านายปลาบุตรชาย เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของตนเพื่อสั่งจ่ายเช็คไป แต่เกรงว่านายปลาจะมีความผิดจึงแจ้งกับนายปูไปว่าตนเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับนั้นจริง ดังนี้ย่อมถือได้ว่านายนกเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมนั้น ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนั้น เมื่อเช็คฉบับนี้ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และนายปูได้นําเช็คฉบับนี้มาเรียกให้นายน ชดใช้เงินตามเช็ค นายนกจะปฏิเสธโดยอ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมไม่ได้ นายนกจะต้อง รับผิดชอบโดยการใช้เงินตามเช็คให้แก่นายปูตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่งตอนท้าย

สรุป ข้ออ้างของนายนกที่ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม ตนจึงไม่ต้องรับผิดชอบ ใช้เงินตามเช็คให้แก่นายปูนั้นฟังไม่ขึ้น

LAW2113 (LAW2013) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 (ก) การอาวัลตั๋วแลกเงินคืออะไร เกิดขึ้นได้กรณีใดบ้าง

(ข) เอกลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คธนาคารอ่างทองชําระหนี้โท โดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและ
มิได้ขีดฆ่าคําว่าหรือผู้ถือออก โทสลักหลังชําระหนี้ตรีระบุชื่อตรีเป็นผู้รับโอนและส่งมอบเช็คให้กับตรี ต่อมาตรีสลักหลังลอยและส่งมอบเช็คดังกล่าวชําระหนี้ให้แก่จัตวา จัตวาส่งมอบเช็ค ชําระหนี้บัวขาว เมื่อถึงวันที่ลงในเช็คบัวขาวนําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารแต่ธนาคารไม่ยอม จ่ายเงิน โดยอ้างว่าเงินในบัญชีของเอกมีไม่พอจ่าย ดังนี้บัวขาวจะไล่เบี้ยโท ตรี จัตวา ให้รับผิด ได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

(ก) “การอาวัลหรือการรับอาวัลตั๋วแลกเงิน” คือการที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้ว ในตั๋วแลกเงินนั้น ได้เข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินต่อผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่ง ตั๋วแลกเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลได้หลายคน และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด ถ้าไม่ระบุไว้ ให้ถือว่าเป็นการรับประกันผู้สั่งจ่าย (ป.พ.พ. มาตรา 938 และมาตรา 939 วรรคสี่)

การอาวัลตั๋วแลกเงินนั้น เกิดขึ้นได้ 2 กรณี ได้แก่ การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนาและ
อาวัลโดยผลของกฎหมาย

1. การอาวัลตามแบบหรือโดยการแสดงเจตนา ทําได้โดย

1.1 ผู้รับอาวัลเขียนข้อความลงบนตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือ สํานวนอื่นใดที่มีความหมายทํานองเดียวกันนั้น เช่น “เป็นอาวัลประกันผู้สั่งจ่าย” และลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล ซึ่งการอาวัลในกรณีนี้จะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วแลกเงินก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 939 วรรคหนึ่ง วรรคสอง
และวรรคสี่)

1.2 ผู้รับอาวัลลงแต่ลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ต้องเขียนข้อความใด ๆ ไว้ ก็ให้ถือว่าเป็นการอาวัลแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย (มาตรา 939 วรรคสาม)

2. การอาวัลโดยผลของกฎหมาย เกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่าย แก่ผู้ถือ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ได้บัญญัติให้บุคคลที่เข้ามาสลักหลังนั้นเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่ายและต้องรับผิด เช่นเดียวกันกับผู้สั่งจ่าย

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”
มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910…, 914 ถึง 923,
938 ถึง 940”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอกสั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อโทเป็นผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคําว่า “หรือผู้ถือ ออกนั้น เช็คนั้นย่อมถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์ โดยการส่งมอบเช็คให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลัง (มาตรา 918 ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จากการโอนเช็คฉบับนี้ให้แก่ตรี จัตวา และบัวขาวตามลําดับนั้น โทและตรี ได้ทําการสลักหลังเช็คฉบับนี้ด้วย ดังนี้ตามกฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังของโทและตรีนั้นเป็นเพียงการรับอาวัล เอกผู้สั่งจ่ายเท่านั้น (มาตรา 921 ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ซึ่งโทและตรีก็จะต้องรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน กับเอกผู้สั่งจ่าย (มาตรา 900 วรรคหนึ่งและมาตรา 940 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ลงในเช็ค บัวขาวนําเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารแต่ธนาคารไม่ยอมจ่ายเงิน โดย อ้างว่าเงินในบัญชีของเอกมีไม่พอจ่าย บัวขาวย่อมสามารถไล่เบี้ยโทและตรีให้รับผิดตามเช็คได้ในฐานะผู้รับอาวัลเอก แต่จะไล่เบี้ยจัตวาซึ่งไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คไม่ได้

สรุป บัวขาวไล่เบี้ยโทและตรีได้ แต่จะไล่เบี้ยจัตวาไม่ได้

ข้อ 2 นายบุญชูสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าระบุให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือเป็นเงินจํานวน 500,000 บาท ชําระหนี้ ค่าอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่นายมารวย ต่อมาก่อนที่เช็คฉบับดังกล่าวจะถึงกําหนดชําระ มีข่าวลือว่า ธุรกิจต่าง ๆ ของนายบุญชูกําลังประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักทําให้นายมารวยเกรงว่าตนจะ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวได้ เพราะไม่สามารถติดต่อนายบุญชูได้เลย จึงมาปรึกษานายกระทิงซึ่งเป็นพี่ชายของนายบุญชู นายกระทิงจึงทําการเขียนคําว่า “กระทิงทอง” ซึ่งเป็น ชื่อร้านอาหารที่นายกระทิงเป็นเจ้าของอยู่นั้นลงในด้านหลังเช็คฉบับดังกล่าวให้กับนายมารวยไป

ต่อมาเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายมารวยจึงมาเรียกให้นายกระทิงชําระเงิน
ตามเช็คให้ตน กรณีนี้นายกระทิงมีหน้าที่ที่จะต้องชําระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายมารวย หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”
มาตรา 940 วรรคหนึ่ง “ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน”

มาตรา 967 วรรคหนึ่ง “ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาผู้สั่งจ่ายก็ดี รับรองก็ดี สลักหลังก็ดี หรือ รับประกันด้วยอาวัลก็ดี ย่อมต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910…, 914 ถึง 923,
938 ถึง 940…, 967, 971”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายบุญชูสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าระบุให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือเป็นเงิน 500,000 บาท ชําระหนี้ให้แก่นายมารวย และต่อมาก่อนเช็คฉบับดังกล่าวจะถึงกําหนดชําระ นายกระทิงซึ่งเป็นพี่ชายของนายบุญชูได้ทําการเขียนคําว่า “กระทิงทอง” ซึ่งเป็นชื่อร้านอาหารที่นายกระทิงเป็นเจ้าของอยู่นั้นลงใน ด้านหลังเช็คฉบับดังกล่าวให้กับนายมารวยนั้น ถือว่านายกระทิงเป็นผู้ลงลายมือชื่อของตนในเช็คฉบับดังกล่าวแล้ว ในฐานะของการสลักหลังเช็คผู้ถือ ซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าการสลักหลังของนายกระทิงเป็นเพียงการประกัน (อาวัล) นายบุญชูผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 900 วรรคหนึ่ง มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นายกระทิงจึงอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับนายบุญชูบุคคลซึ่งตนประกัน และต้อง ร่วมกันรับผิดกับนายบุญชูในการใช้เงินตามเช็คให้กับนายมารวยตามมาตรา 940 วรรคหนึ่ง มาตรา 967 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายกระทิงจึงมีหน้าที่ที่จะต้องชําระเงิน ตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายมารวย

สรุป นายกระทิงมีหน้าที่ที่จะต้องชําระเงินตามเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่นายมารวย

ข้อ 3 ตุลาได้รับเช็คผู้ถือธรรมดาสั่งจ่ายล่วงหน้าซึ่งกันยาคือผู้ทรงคนเดิมได้ขีดคร่อมทั่วไปและลงข้อความ “A/C Payee only” ไว้แล้วแต่ได้ทําเช็คใบนี้ตกหายไปโดยไม่รู้ตัว พฤศจิกาเก็บเช็คใบดังกล่าวได้ จึงนําไปส่งมอบชําระหนี้ตุลาซึ่งรับโอนเช็คไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่อย่างใด เมื่อถึงวันที่ลงในเช็คตุลานําเช็คไปเรียกเบิกเงินแต่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า พฤศจิกาและตุลามีสิทธิในเช็คฉบับนี้เพียงใดตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”

มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่า เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคล ผู้มีลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสีย และห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิ ของตนในตัวตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจําต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มา ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย”

มาตรา 995 (1) “เช็คไม่มีขีดคร่อม ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ทรงคนใดคนหนึ่งจะขีดคร่อมเสียก็ได้และจะทําเป็นขีดคร่อมทั่วไปหรือขีดคร่อมเฉพาะก็ได้

(3) เช็คขีดคร่อมทั่วไปก็ดี ขีดคร่อมเฉพาะก็ดี ผู้ทรงจะเติมคําลงว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ก็ได้”

มาตรา 999 “บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคําว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ท่านว่าบุคคลนั้น ไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้วบุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในความครอบครอง ถ้าเป็นตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และบุคคลนั้น ได้ตั๋วเงินมาโดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา 904 ประกอบมาตรา 905 เว้นแต่ในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมและมีข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” หรือ ข้อความอย่างอื่น เช่น “AC Payee only” อยู่ในระหว่างรอยขีดคร่อม บุคคลผู้ได้เช็คนั้นมาย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนั้น ยิ่งไปกว่าและไม่สามารถให้สิทธิในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา (มาตรา 999) กล่าวคือ ถ้าผู้โอนเช็คนั้นไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับโอนก็จะไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ตุลาได้รับเช็คผู้ถือธรรมดาสั่งจ่ายล่วงหน้าซึ่งกันยาผู้ทรงคนเดิม ได้ขีดคร่อมทั่วไปและลงข้อความ “A/C Payee only” ไว้แล้ว ซึ่งกันยาในฐานะผู้ทรงมีสิทธิที่จะกระทําได้ ตามมาตรา 995 (1) และ (3) แต่ตุลาได้ทําเช็คใบนี้ตกหายไปและพฤศจิกาเก็บได้นั้น พฤศจิกาย่อมไม่ใช่ผู้ทรง โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 และ 905 เพราะพฤศจิกาได้เช็คนั้นมาอยู่ในความครอบครองโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่มีสิทธิโอนเช็คนั้นต่อไป ดังนั้น เมื่อพฤศจิกานําเช็คนั้นไปส่งมอบชําระหนี้ให้แก่ตุลา แม้ว่าตุลา จะได้รับโอนเช็คนั้นไว้โดยสุจริตและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ตุลาก็ไม่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะตุลาซึ่งได้รับโอนเช็คนั้นมาจากพฤศจิกาย่อมไม่มีสิทธิในเช็คนั้นยิ่งไปกว่าพฤศจิกา (มาตรา 999) และเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตุลาก็จะไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายไม่ได้

สรุป ทั้งพฤศจิกาและตุลาไม่มีสิทธิใด ๆ ในเช็คฉบับนี้ เพราะทั้งสองคนไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วย กฎหมาย และตุลาจะไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับนี้ไม่ได้

cdm2403 (mcs3151) การสื่อสารเพื่อจัดการความสัมพันธ์ 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 3151 (MCS 3100) การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 ข้อใดคือความหมายของมนุษยสัมพันธ์
(1) ทักษะการพัฒนาตนเอง
(2) ทักษะการปฏิสัมพันธ์
(3) ทักษะการติดต่อสื่อสาร
(4) ทักษะการแสดงตนในสังคม
ตอบ 2 หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) ไว้มากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

2 ข้อใดแสดงถึงลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์
(1) ยิ้มแย้มแจ่มใส
(2) พูดจาสุภาพอ่อนหวาน
(3) แสดงออกตามกาลเทศะ
(4) เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ตอบ 3 หน้า 1, (คําบรรยาย) คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์นั้นย่อมจะเข้าใจในเรื่อง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมีทักษะในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่เหมาะสมกับบุคคลและ สอดคล้องกับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องรู้จักกาลเทศะและปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

3 สาเหตุใดที่ทําให้มนุษย์เริ่มมีการรวมตัวเป็นกลุ่มสังคม
(1) มนุษย์ต้องการเพื่อน
(2) มนุษย์ต้องการการยอมรับ
(3) มนุษย์ต้องการอํานาจ
(4) มนุษย์ต้องการความปลอดภัย
ตอบ 4. หน้า 9 ปัจจัยสําคัญที่ทําให้มนุษย์เริ่มต้นรวมตัวเพื่ออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคม มีสาเหตุมาจากความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) และเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันโดยมีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้น สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ทําให้ ความสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอภาค มีการเอารัดเอาเปรียบกัน

4 ปัจจัยใดทําให้มนุษย์มีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) ปฏิกิริยาโต้ตอบจากบุคคลอื่น
(2) พันธุกรรม
(3) พรสวรรค์
(4) ความต้องการของมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่
1 สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว หรือความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ฯลฯ
2 การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือข้อแนะนําเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออก ที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ
3 ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ ปฏิกิริยาป้อนกลับ หรือปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จากคู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่สื่อสาร และคําวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลอื่น

5 ความเชื่อของบุคคล เป็นสาเหตุใดที่เป็นอุปสรรคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
(1) ความแตกต่างด้านประสบการณ์
(2) ความแตกต่างด้านภูมิหลัง
(3) ความแตกต่างด้านความคิดเห็น
(4) ความแตกต่างด้านผลประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 16, 79, (คําบรรยาย) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ได้แก่
1 ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
2 ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของบุคคล ในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งถ้าหาก ไม่ยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก
3 ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทําให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ยอมเสียเปรียบผู้อื่น

6 ข้อใดไม่ใช่ผลจากการศึกษาฮอธอร์น
(1) ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น และลดลงตามความเข้มของแสงสว่าง
(2) คนงานมีทัศนคติที่ดีกับผู้บริหารที่ให้อิสระในการทํางาน
(3) มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของคนงาน
(4) ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักและไม่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานไม่แตกต่างกัน
ตอบ 1 หน้า 13 – 14, (คําบรรยาย) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะที่ศึกษากรณีฮอธอร์น (Hawthorne Studies) คือ การศึกษาปัจจัยแห่งประสิทธิภาพของการ ทํางานในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลา หยุดพักและแสงสว่างหรืออุณหภูมิ รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติของคนงาน ซึ่งพบว่า
1 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสงสว่าง แต่จะไม่ลดลงเมื่อความเข้มของแสงสว่างลดลง
2 ผลผลิตของคนงานที่ได้หยุดพักระหว่างการทํางานกับที่ไม่ได้หยุดพักไม่แตกต่างกัน
3 คนงานจะมีทัศนคติที่ดีต่อนายจ้างหรือผู้บริหารที่ให้อิสระในการทํางาน
4 มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของคนงาน ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากต่อการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทํางาน
5 กลุ่มคนงานที่รวมตัวอย่างไม่เป็นทางการมีความขัดแย้งกับกลุ่มที่เป็นทางการ ฯลฯ

ข้อ 7. – 9.ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) โรเบิร์ต โอเวน
(2) เอลตัน เมโย
(3) แอนดรู ยูรี
(4) เฮ็นรี่ แกนต์

7 ใครคือนายจ้างที่ริเริ่มสนับสนุนการทํางานเป็นทีมโดยใช้เงินรางวัลเป็นสิ่งจูงใจ
ตอบ 4 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1912 เฮ็นรี่ แอล. แกนต์ (Henry L. Gantt) เป็นวิศวกรหนุ่มที่ได้ คิดหาวิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของ เฟเดอริก ดับบลิว, เทย์เลอร์ (Federick W. Taylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิดการทํางานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของคนงาน ด้วยการให้เงินโบนัสหรือเงินรางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทํางานเสร็จก่อนเวลาที่กําหนด

8 นายจ้างคนใดริเริ่มสวัสดิการการรักษาพยาบาลแก่คนงาน
ตอบ 3 หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความที่ให้ความสําคัญแก่ “มนุษย์” และเป็น ผู้ริเริ่มการให้สวัสดิการแก่คนงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเขาได้ เสนอให้ปรับปรุงการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้
1 จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทํางาน
2 ปรับสถานที่ทํางานให้ถูกสุขลักษณะ
3 เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย
4 ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกําลังกายแก่คนงาน

9 นายจ้างคนใดได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล
ตอบ 1 หน้า 11 – 12, (คําบรรยาย) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์ คนแรกตามประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มในการเอาใจใส่ความเป็นอยู่ ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสําคัญกับจิตใจและความต้องการของลูกจ้างคนงาน ซึ่งเขาได้พยายามปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทํางานและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทํางานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้าน การใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้จุดประกายและเริ่มต้นแนวคิดการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล

ข้อ 10. – 12. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Communication
(2) Self Acceptance
(3) Trust
(4) Motivation

10 องค์ประกอบใดแสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตอบ 1 หน้า 17 การติดต่อสื่อสาร (Communication) มีความสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ จนมีผู้เปรียบว่าการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของมนุษยสัมพันธ์ เพราะการสื่อสาร คือ สิ่งที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Communication is the human connection) เป็นเครื่องมือที่ ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่น ต้องกระทําผ่านการติดต่อสื่อสาร

11 การทําให้สมาชิกในสังคมมีทัศนคติตรงกัน ต้องอาศัยองค์ประกอบใด
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) การจูงใจ (Motivation) ถือเป็นคุณสมบัติที่นักมนุษยสัมพันธ์จึงสร้าง ให้เกิดขึ้นกับ กับตนเอง เพราะมีส่วนสําคัญมากในการกระตุ้นให้แต่ละบุคคลมีความกระตือรือร้น และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้การจูงใจยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และมีผลต่อความสําเร็จขององค์กร ดังนั้นสมาชิกในสังคมจึงจําเป็นต้องสร้างแรงจูงใจซึ่งกันและกัน เพื่อกระตุ้นให้มีทัศนคติตรงกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน มีระเบียบ และมีความรับผิดชอบ

12 องค์ประกอบใดทําให้คู่สื่อสารกล้าแสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริง
ตอบ 3 หน้า 18, 217, (คําบรรยาย) ความไว้วางใจ (Trust) ถือเป็นพื้นฐานสําคัญในการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ เพราะเป็นสิ่งที่ทําให้คู่สื่อสารมีความเชื่อใจกันและกล้าที่จะเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure) ต่อกัน หรือกล้าแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกที่แท้จริง และความคิดเห็น ต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทําให้คู่สื่อสารแต่ละฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างอิสรเสรี จนสามารถรับรู้และเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้อง เช่น ความรู้สึกเชื่อมั่นและไว้วางใจกัน ในขณะเล่นตุ๊กตาล้มลุก เป็นต้น

13 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์
(1) มีความอิจฉาริษยา
(2) ชอบการเปลี่ยนแปลง
(3) ชอบการทําลายล้าง
(4) ชอบความสะดวกสบาย
ตอบ 2 หน้า 23 – 24 ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้
1 อิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตน
2 มีสัญชาตญาณแห่งการทําลายล้าง
3 ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
4 มีความต้องการทางเพศ
5 หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ
6 กลัวความเจ็บปวด
7 โหดร้าย ชอบซ้ำเติม
8 ชอบความสะดวกสบาย มักง่าย ไม่ชอบระเบียบและการถูกบังคับ
9 ชอบความตื่นเต้น ชอบการผจญภัย ฯลฯ

14 แนวคิดท่านใดที่เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตนเอง
(1) ขงจื๊อ
(2) มาสโลว์
(3) โทมัส ฮอบส์
(4) ท่านพุทธทาสภิกขุ
ตอบ 4 หน้า 26 – 27 ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของคนหรือมนุษย์ ซึ่งเป็น แนวคิดทางด้านพุทธศาสนาไว้ว่า มนุษย์ทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อด้อยอยู่ในตนเอง ดังคติเตือนใจ ของท่านที่ว่า “เขามีส่วนเลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี ให้คุณจริง”

15 ตามแนวคิดของเม่งจื้อ ข้อใดคือคุณลักษณะที่แสดงว่ามนุษย์มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
(1) ความอ่อนน้อมถ่อมตน
(2) ความเมตตากรุณา
(3) ความละอายต่อบาป
(4) ความสามารถในการแยกแยะ
ตอบ 1 หน้า 26, (คําบรรยาย) เม่งจื้อ เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนมีความดีติดตัวมาโดยกําเนิด ซึ่งได้แก่
1 มีความรู้สึกเมตตากรุณา หมายถึง ความมีมนุษยธรรม
2 มีความรู้สึกละอายและรังเกียจต่อบาป หมายถึง การยึดมั่นในหลักศีลธรรมความดีงาม
3 มีความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การปฏิบัติตนอันเหมาะสม ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะ ที่แสดงถึงการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง
4 มีความรู้สึกในสิ่งที่ถูกและผิด หมายถึง ความมีสติปัญญารู้จักแยกแยะผิดถูก ไม่เห็นกงจักร เป็นดอกบัว

ข้อ 16 – 17 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) กลุ่มปัญญานิยม
(2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(3) กลุ่มมนุษยนิยม
(4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

16 ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของเก้าอื้อ สอดคล้องกับนักจิตวิทยากลุ่มใด
ตอบ 2 หน้า 26, 28, (คําบรรยาย) เก้าอื้อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว เปรียบเหมือนกับกระแสน้ำที่รวนเร (ไม่รู้จักทิศทาง) โดยถ้าเปิดทางทิศตะวันออกน้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าเปิดทางทิศตะวันตกน้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันตก ซึ่งจะสอดคล้องกับความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีและไม่เลว เมื่อเกิดมาแล้วจะดีหรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม

17 นักจิตวิทยากลุ่มใดเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความเลวมาแต่กําเนิด
ตอบ 4 หน้า 29 กลุ่มจิตวิเคราะห์ ได้แก่ ฟรอยด์ (Freud) และฟรอม (Fromm) มีความเชื่อในเรื่อง ของจิตและพฤติกรรมภายใน โดยเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาแต่กําเนิดและ พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดมาจากสัญชาตญาณภายในของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยจิต (จิตไร้สํานึก จิตใต้สํานึก และจิตในสํานึก) และแรงขับพื้นฐาน (แรงขับที่จะดํารงชีวิต แรงขับที่จะทําลาย และแรงขับทางเพศ) โดยเมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา

ข้อ 18. – 19. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) บุคคลย่อมมีความแตกต่าง
(3) พฤติกรรมของบุคคลต้องมีสาเหตุ
(2) การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม
(4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

18 แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ข้อใด
ตอบ 4 หน้า 2, 29 – 30, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งมนุษย์ควรติดต่อสัมพันธ์กัน ด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงควรเคารพในความเสมอภาคระหว่างบุคคล โดยไม่ แบ่งแยกฐานะชนชั้น แต่ควรยกย่องให้เกียรติและยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน

19 การยอมรับตัวตนของบุคคลอื่น เป็นผลมาจากธรรมชาติของมนุษย์ข้อใด
ตอบ 1 หน้า 29, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ บุคคลย่อมมีความแตกต่าง (Individual Difference) ซึ่งบุคคลแต่ละคน ล้วนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นให้ต้องคิดหรือทําทุกอย่าง เหมือนตนเอง แต่ควรยอมรับตัวตนของบุคคลอื่น รู้จักเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล หรือ ยอมรับธรรมชาติของแต่ละบุคคล (ทั้งของตนเองและผู้อื่น) โดยแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับ ขงจื้อที่เน้นการยอมรับที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไขตนเองดีกว่าไปปรับเปลี่ยนผู้อื่น

ข้อ 20 – 21 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

20 นายจ้างควรให้รางวัลแก่บุคลากรที่มีพฤติกรรมการทํางานตามแนวคิดข้อใด
ตอบ 2 หน้า 30 – 31, (คําบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y มีลักษณะทั่วไป คือ
1 การออกแรงกายและการใช้สมองในการทํางาน เป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือ การพักผ่อน ซึ่งจะทําให้มนุษย์มีทัศนคติที่ดี เกิดความรักในงาน พึงพอใจและมีความสุขในการทํางาน
2 บุคคลจะทํางานในหน้าที่ด้วยการสั่งงานและควบคุมตนเอง
3 ควรใช้แรงเสริมทางบวกเป็นสิ่งตอบแทนเพื่อจูงใจให้บุคคลทํางาน คือ การยกย่องชมเชย การให้รางวัลเพื่อเป็นกําลังใจกับผลสําเร็จของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีโอกาส แสดงผลงานและความสามารถในการทํางานตามที่เขาต้องการ ฯลฯ

21 แนวคิดใดเชื่อว่ามนุษย์มีเหตุผลของแต่ละบุคคลเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
ตอบ 3 หน้า 31 ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z ของเรดดิน เชื่อว่า มนุษย์มีความซับซ้อน แต่จะมีลักษณะทั่วไป คือ
1 ตั้งใจทํางานที่ตนรับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
2 มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผลของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการทํางาน
3 ยอมรับพฤติกรรมความดีและไม่ดี อันเกิดจากการกระทําของตนเอง สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม
4 มนุษย์ต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

ข้อ 22 – 24 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Wants
(2) Survival Needs
(3) Primary Needs
(4) Secondary Needs.

22 การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด
ตอบ 1
หน้า 34, (คําบรรยาย) ความปรารถนา (Wants) เป็นความต้องการที่ไม่ใช่ความจําเป็นขั้นต้น สําหรับมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะมี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย จึงเป็นสิ่งที่ทําให้มนุษย์เกิด กิเลสตัณหา และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เช่น ซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าสวย ๆ หรือบ้านสวย ๆ ฯลฯ แต่ความปรารถนาก็เป็นแรงจูงใจสําคัญที่ทําให้บุคคลทํางาน และอาจจะทํางานหนักกว่าคนอื่นเพราะความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากมนุษย์ใช้ชีวิตตามแนวคิดความพอเพียง ก็จะช่วยลดความต้องการขั้นนี้ได้

23 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ แสดงถึงความต้องการของมนุษย์ข้อใด
ตอบ 4 หน้า 34 – 35, 41, (คําบรรยาย) ความต้องการด้านจิตวิทยาหรือสังคม (Psychological or Social Needs) หรือความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) เป็นความต้องการทางด้าน จิตและวิญญาณ ซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาทางด้านจิตใจจนถึงวุฒิภาวะระดับหนึ่ง เช่น ต้องการ ชื่อเสียงเกียรติยศ, ต้องการการยอมรับจากสังคม, ต้องการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้อยู่ร่วมกับ บุคคลอื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น ฯลฯ

24 แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลทํางานเพื่อความอยู่รอด เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 34 การอยู่รอด (Survival Needs) เป็นแรงจูงใจสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้บุคคลทํางาน ซึ่งการอยู่รอดมิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ทําเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง โดยแท้จริงแล้วบุคคลบางคนไม่ได้ต้องการปลูกผัก และพืชสวนครัว แต่เนื่องจากว่าเงินที่หามาได้จากการทํางานอย่างอื่นไม่เพียงพอที่จะหาซื้อ ก็เลยต้องทําเพื่อการอยู่รอด เพราะถ้าไม่ทําก็อาจไม่มีจะกิน

25 ข้อใดเป็นลักษณะของ Seconday Needs
(1) เกิดจากประสบการณ์ของบุคคล
(2) มีลักษณะที่ชัดเจน
(3) มีการแสดงออกอย่างเปิดเผย
(4) ตอบสนองทางด้านร่างกาย
ตอบ 1 หน้า 35, (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ) ลักษณะของความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) สรุปได้ดังนี้
1 มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
2 แต่ละบุคคลจะมีความต้องการและความเข้มข้นไม่เท่ากัน
3 เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน
4 มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว

5 บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นความต้องการในขั้นนี้ไว้
6 บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน ไม่เหมือนความต้องการด้านร่างกาย
7 มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

ข้อ 26. – 28. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Esteem and Status Needs
(2) Belonging and Social Activity Needs
(3) Safety and Security Needs
(4) Physiological Needs

26 ความต้องการทางวัตถุในหลักศาสนาพุทธ สอดคล้องกับความต้องการข้อใด
ตอบ 4 หน้า 34 – 35, 38 ความต้องการทางด้านสรีระหรือร่างกาย (Physiological Needs) หรือ บางทีเรียกว่า ความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) เป็นความต้องการที่จําเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางกายหรือทางวัตถุตามแนวคิดของศาสนาพุทธ คือ ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนั้นความต้องการในขั้นนี้ยังรวมถึงความต้องการทางเพศเพื่อการดํารงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์สืบต่อไป การขับถ่าย และการนอนหลับพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยด้วย

27 การเคารพกฎหมายของบุคคล เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 2 หน้า 38 – 39, (คําบรรยาย) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคม หรือการมี พฤติกรรมตามที่สังคมกําหนด ได้แก่ การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตประเพณี และ ค่านิยม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและให้สังคมยอมรับเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นหมู่เป็นพวก เดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งนี้การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลก็เป็นการตอบสนองความต้องการในลําดับขั้นนี้

28 การทําประกันภัยรถยนต์ เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองความต้องการข้อใด
ตอบ 3 หน้า 38, (คําบรรยาย) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1 ด้านอาชีพการงาน ได้แก่ นโยบายการปรับเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท นโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการเท่าเอกชน ฯลฯ
2 ด้านร่างกาย โดยไม่ถูกทําร้ายหรือถูกคุกคาม ได้แก่ การทําประกันชีวิต การรณรงค์เรื่อง โทรไม่ขับ เมาไม่ขับ การให้ความคุ้มครองประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ
3 ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการฝากบ้านไว้กับตํารวจ โครงการหอพักติดดาว/เพื่อนบ้าน เตือนภัย การเตรียมกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้าน การติดตั้งกล้องวงจรปิด ฯลฯ
4 ด้านชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ได้แก่ การทําประกันภัยรถยนต์ นโยบายเพิ่มรายได้ ให้ประชาชน นโยบายแก้หนี้นอกระบบ นโยบายเรียนฟรี 15 ปี นโยบายประชานิยมของ พรรคการเมืองต่าง ๆ ฯลฯ

ข้อ 29 – 30. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) โครงสร้างแบบหลวม ๆ
(2) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
(3) โครงสร้างแบบสังคมเกษตร
(4) โครงสร้างที่มีการแบ่งชนชั้น

29 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับโครงสร้างสังคมไทยข้อใด
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างสังคมเกษตร คือ มีลักษณะการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในเรื่องเวลาหรือไม่ให้ความสําคัญกับเวลาที่นัดหมาย ไม่เร่งรีบหรือมีพิธีรีตอง ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่หักหาญน้ําใจกัน และไม่ให้ความสําคัญกับวัตถุ โดยถือว่าไม่มีเงินก็อยู่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง

30 การ “ทําอะไรตามอําเภอใจ” เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของสังคมไทย
ตอบ 1 หน้า 47, (คําบรรยาย) โครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ บุคคลที่อยู่ในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเองพอใจได้ โดยไม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบมากนัก ทําให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว และชอบประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอม รอมชอม อะลุ้มอล่วยต่อกัน แต่ข้อเสียคือ ขาดระเบียบวินัย ในการดําเนินชีวิต ไม่เคารพกฎกติกา และมักทําอะไรตามอําเภอใจ เช่น ทําอะไรตามใจคือไทยแท้ ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ฯลฯ

ข้อ 31. – 33. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) นับถือศาสนาพุทธ
(2) ชอบยศศักดิ์
(3) กตัญญู
(4) เคารพผู้อาวุโส

31 คําพังเพยที่ว่า “ตักน้ำจากบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” สอดคล้องกับค่านิยมใดของสังคมไทย
ตอบ 3 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) ค่านิยมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีอยู่มากมาย ได้แก่
1 นับถือศาสนาพุทธ คือ ยึดถือหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในบาปบุญคุณโทษ และยอมรับ ในกฎแห่งกรรม เช่น ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว, คิดดี ทําดี, เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, เวรกรรมมีจริง ฯลฯ
2 ชอบยศศักดิ์ คือ ชอบคนมียศและตําแหน่ง จึงนิยมให้ลูกหลานเข้ารับราชการ
3 เคารพผู้อาวุโส คือ การปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี เชื่อฟังคําสั่งสอน ยกย่องและให้เกียรติ ผู้อาวุโส เช่น การจัดงานมุทิตาจิตแก่ผู้เกษียณอายุ ฯลฯ
4 กตัญญู คือ ความเป็นผู้รู้คุณที่บุคคล สังคม หรือประเทศชาติได้ทําให้แก่ตน ดังสํานวนที่ว่า “ตักน้ำจากบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” ฯลฯ

32 คนไทยนิยมให้ลูกหลานรับราชการ เป็นผลมาจากค่านิยมใดของสังคมไทย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

33 คนไทยเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นผลมาจากค่านิยมใดของสังคมไทย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31 ประกอบ

34 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของคนไทย
(1) ชอบเสี่ยงโชค
(2) ลืมง่าย
(3) กระตือรือร้น
(4) ชอบความสนุกสนาน
ตอบ 3 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) ลักษณะตามธรรมชาติของคนไทย สามารถพิจารณาได้จาก ค่านิยมของสังคมไทย เช่น คนไทยส่วนใหญ่มักชอบเสี่ยงโชค ลืมง่าย ขาดความกระตือรือร้น ขาดระเบียบวินัย ไม่อดทน แต่จะมีความเมตตา และชอบความสนุกสนาน ซึ่งในด้านทัศนะ ทางการเมืองพบว่า คนไทยส่วนใหญ่จะยึดถือในตัวของบุคคลมากกว่าอุดมการณ์ นอกจากนี้ คนไทยไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตน

35 คนไทยชอบยุ่งเรื่องคนอื่น เป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักพรหมวิหารสี่ข้อใด
(1) เมตตา
(2) กรุณา
(3) มุทิตา
(4) อุเบกขา
ตอบ 4 หน้า 23 – 24, 49, (คําบรรยาย) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวถึงธรรมชาติของคนไทยที่สอดคล้องกับหลักพรหมวิหารสี่ว่า คนไทยมีความเมตตา คือ มีความรักและเอ็นดู ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความกรุณา คือ มีความสงสารหวั่นไหว หรือเอาใจช่วยเหลือเมื่อเห็น ผู้อื่นได้รับความทุกข์ แต่ขาดมุทิตา คือ ขาดความมีจิตยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญของผู้อื่น หรือ มีความอิจฉาริษยา ไม่ชอบเห็นใครดีกว่าตนเอง และขาดอุเบกขา คือ ขาดความมีใจเป็นกลาง ขาดความวางเฉย เพราะคนไทยหากไม่ยินดีก็ยินร้ายในเรื่องของคนอื่น

ข้อ 36 – 37. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) To Know
(2) To Understand
(3) To Accept
(4) To Develop

36 เป้าหมายในการศึกษาตนเองตามแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ คือข้อใด
ตอบ 4 หน้า 53 – 54, 78, (คําบรรยาย) การศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้
1 การรู้จักตนเอง (To Know) คือ การสํารวจตัวเองในด้านต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร
2 การเข้าใจตนเอง (To Understand) คือ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุว่าทําไมเราจึงมี ลักษณะเช่นนั้น ซึ่งจะนําไปสู่ขั้นตอนการยอมรับตนเอง
3 การยอมรับตนเอง (To Accept) คือ การยอมรับหรือรับรู้ศักยภาพและข้อดีข้อด้อยของตนเอง ซึ่งเมื่อยอมรับได้แล้วก็จะนําไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง
4 การพัฒนาตนเอง (To Develop) คือ การแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย จุดอ่อน และข้อบกพร่อง ของตัวเอง ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและประโยชน์ของการศึกษาตนเอง

37 การรู้จักวิเคราะห์ตนเอง แสดงถึงขั้นตอนใดในการศึกษาตนเอง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

ข้อ 38 – 39. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การรู้ตนเอง
(2) การยอมรับตนเอง
(3) การรู้จักตนเอง
(4) การเปิดเผยตนเอง

38 ปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสาร นําไปสู่ Self Concept ข้อใด
ตอบ 1 หน้า 17, 53 – 54 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้ตนเอง (Self Awareness) คือ การรู้ตนเองว่าเป็นใคร มีลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดจาก ประสบการณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือการได้รับปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสาร แต่มี ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรมองตนเองสูงหรือต่ํากว่าความเป็นจริง เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพ ของการสื่อสาร ออกสู่การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับตนเองและการรู้ตนเองนี้จึงเป็นพื้นฐานในการเปิดตนเอง

39 บุคคลที่เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง เป็นผลมาจาก Self Concept ข้อใด
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คําบรรยาย) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้จักตนเอง (Self Actualization) จะมีลักษณะสําคัญ 3 ประการ ดังนี้

1 เต็มใจที่จะยืนหยัดอยู่ด้วยตนเอง
2 ไว้วางใจตนเองหรือเชื่อมั่นในตนเอง คือ เชื่อในการตัดสินใจของตนเอง
3 เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เมื่อพบว่าการตัดสินใจของตนเป็นสิ่งที่ผิด

ข้อ 40 – 41.ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Labeling
(2) Social Comparison
(3) Interpersonal Relationships
(4) Significant Others

40 แนวคิดใดที่แสดงว่าความรู้สึกของบุคคลที่ใกล้ชิด สามารถกําหนดพฤติกรรมของตนได้

ตอบ 4 หน้า 60 การยอมรับของบุคคลที่มีความสําคัญต่อเรา (Significant Others) คือ การเรียนรู้ตนเอง จากการยอมรับหรือไม่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนเอง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ฯลฯ ซึ่งมีความสําคัญมาก เพราะการที่เราให้ความสําคัญกับบุคคลที่ใกล้ชิด จะทําให้เรามีความรู้สึก พึงพอใจหรือเจ็บปวดมากหากได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบจากบุคคลใกล้ชิดเหล่านี้ ดังนั้นการกระทํา ต่าง ๆ ของบุคคลใกล้ชิดจึงสามารถกําหนดพฤติกรรมของเราได้

41 การใส่เสื้อผ้าสีดําเมื่อไปงานศพ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 59, (คําบรรยาย) การกําหนดของสังคม (Labeling) คือ การปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรม ตามบรรทัดฐานของสังคม ได้แก่ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกามารยาทต่าง ๆ รวมทั้งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ค่านิยมของสังคม ฯลฯ โดยกําหนดตัวเองจากการกระทําของเราว่าเข้ากับ ข้อกําหนดของสังคมในรูปแบบใด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1 สิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การคดโกง ความก้าวร้าว การทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ
2 สิ่งที่สังคมยอมรับ เช่น การเคารพกฎหมาย การแต่งกายที่สุภาพเหมาะกับกาลเทศะ การประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ฯลฯ

ข้อ 42 – 43. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Inferior
(2) Superior
(3) Equal
(4) Introvert

42 ความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง นําไปสู่การยอมรับตนเองข้อใด
ตอบ 2 หน้า 60, (คําบรรยาย) Superior คือ การยอมรับว่าตนเองดีกว่าผู้อื่น ซึ่งจะทําให้มีความมั่นใจ ในตนเองสูง และมีคุณค่าของตนเองสูงกว่าผู้อื่นด้วย เพราะเชื่อว่าตนเองเก่งกว่า มีสถานภาพ สูงกว่า และมีศักยภาพหรือมีความรู้ความสามารถเหนือกว่า ดังนั้นจึงมักชอบดูหมิ่นและ วางอ้านาจเหนือคู่สื่อสาร รวมทั้งชอบออกคําสั่งให้ผู้อื่นเชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไขหรือไม่มีข้อโต้แย้ง

43 คู่สื่อสารที่แสดงออกได้อย่างอิสระ เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 60, (คําบรรยาย) Equal คือ การมีความคิดและยอมรับตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชนว่า เราเท่าเทียมหรือเสมอภาคเท่ากับผู้อื่น โดยจะมีความเป็นเพื่อนกัน มีความคล้ายคลึงหรือมีอะไร ที่ใกล้เคียงกัน ทําให้มีความสบายใจในการแสดงออก กล้าพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งส่งผลให้ คู่สื่อสารสามารถเปิดเผยตนเอง สามารถสื่อสารและแสดงออกตามความรู้สึกที่แท้จริงได้อย่างอิสระ จึงเป็นการยอมรับตนเองของคู่สื่อสารที่นําไปสู่สัมพันธภาพที่ดี และสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพูดคุยอย่างสนิทสนมในหมู่เพื่อนฝูง เป็นต้น

ข้อ 44. – 45 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ศึกษาและประเมินตนเอง
(2) ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง
(3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง
(4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง

44 การมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงตนเองทีละลักษณะ เป็นขั้นตอนใดของการพัฒนาตนเอง
ตอบ 4 หน้า 64 การวางแผนในการปรับปรุงตนเอง คือ การตั้งเป้าหมายก่อนว่าจะปรับปรุงอะไร อย่างไร โดยมีหลักสําคัญในการปรับปรุงบุคลิกภาพ ดังนี้
1 ปรับปรุงลักษณะที่บกพร่องที่ละลักษณะ
2 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ
3 วางแผนในการปรับปรุงตนเอง

45 บุคคลที่ทํางานอย่างตั้งใจและมีความรับผิดชอบ เป็นผลมาจากขั้นตอนใดของการพัฒนาตนเอง
ตอบ 3 หน้า 64, (คําบรรยาย) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการ ส่วนบุคคลของตนเอง ดังนี้
1 ความต้องการมีบุคลิกภาพที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม ทําให้บุคคลต้องการปรับปรุง ตนเองในระดับสูง เช่น การดูแลรูปร่างผิวพรรณให้มีเสน่ห์ ฯลฯ
2 ความต้องการเป็นที่ชื่นชมหรือได้รับการยกย่องจากสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รัก ที่ชื่นชม
และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม
3 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม ทําให้บุคคลต้องปรับปรุงตนเองด้าน การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน ความตั้งใจ และมีความรับผิดชอบในการทํางาน
4 ความต้องการอํานาจ เพื่อให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายําเกรง

46 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องในการสนทนา
(1) พูดคุยเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
(2) พูดคุยเรื่องส่วนตัวของผู้ฟังเพื่อสร้างความสนิทสนม
(3) พูดคุยเรื่องสนุกสนานเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี
(4) ไม่อธิบายรายละเอียดของแต่ละเรื่องมากเกินไป
ตอบ 2 หน้า 66 – 68 แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูดหรือสนทนา มีดังนี้
1 พูดจาด้วยถ้อยคํา สุภาพ
2 มีน้ำเสียงนุ่มนวล
3 ฝึกการใช้คําถามให้เหมาะสม
4 พูดในเรื่องที่ผู้ฟังชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตนเองถนัด ชอบและสนใจ
5 เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด
6 รู้จักวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์
7 ใช้ศิลปะในการสนทนา เช่น ไม่อธิบายรายละเอียดของแต่ละเรื่องมากเกินไป, ไม่ควรขัดคอ หรือโต้แย้งความคิดของคู่สนทนาทันที, หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น, รู้จักสรรหา เรื่องที่สนุกสนานมาพูดคุยกันในวงสนทนา, ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนา ฯลฯ

47 ข้อใดเป็นคําถามที่ควรใช้ในการสนทนา
(1) อ้าว ทําไมเพิ่งมาคะ เขาเปิดงานไปแล้ว
(2) แล้วคู่นี้เมื่อไหร่จะแต่งคะ เห็นควงกันมาหลายปีแล้ว
(3) โชคดีจังเลย ได้ทํางานที่นี่ เขาสตาร์ทเงินเดือนเท่าไหร่คะ
(4) แหม ไม่ได้เจอกันตั้งนาน สบายดีนะคะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46 ประกอบ

48 พะแพงเป็นคนมองโลกในแง่ดีและไม่ยึดกฎเกณฑ์มากเกินไป เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
(2) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(3) ฝึกการให้อภัยผู้อื่น
(4) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
ตอบ 1 หน้า 71 ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน คือ การลดความโกรธและความไม่พอใจให้น้อยลงโดยการฝึกมองโลกในแง่ดี มีความหวังดี มีความพึงพอใจผู้อื่น ไม่เคร่งเครียดหรือยึดกฎเกณฑ์ มากเกินไป หมั่นคบคนที่มีอารมณ์ดี อารมณ์ขัน และฝึกให้พอใจกับสภาพที่ตนเองเป็นอยู่

49 การขจัดความคิดที่ว่าคนอื่นมักจะทําสิ่งเลวร้ายให้เราเสียหาย จะนําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกความอดทนอดกลั้นและเข้าใจผู้อื่น
(3) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกการสร้างความประทับใจแก่ผู้อื่น
(4) ฝึกจัดการกับความโกรธและความเกลียด
ตอบ 4 หน้า 70 ข้อเสนอแนะเพื่อฝึกจัดการกับความโกรธและความเกลียด มีดังนี้
1 ขจัดความเชื่อหรือความคิดที่ว่าคนอื่นมักจะทําสิ่งเลวร้ายให้เราเสียหาย
2 ยอมรับว่าตนเองโกรธ
3 พยายามถ่วงเวลาก่อนตัดสินใจในขณะที่มีอารมณ์โกรธ
4 พยายามตรวจสอบข้อเท็จจริง
5 ปรับความเข้าใจกัน ฯลฯ

50 มิวสิกรู้จักมองเห็นคุณค่าของตนเอง เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(2) ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่
(3) ฝึกเปลี่ยนแปลงตนเองดีกว่าเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
(4) ฝึกให้มีความมั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 69, (คําบรรยาย) ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่ คือ การฝึกให้รู้จักรักตนเอง รู้จัก ให้คุณค่า รู้จักพึงพอใจในตนเองและสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ดังคํากล่าวที่ว่า “จงพอใจในสิ่งที่ตนเอง มีอยู่เป็นอยู่” โดยพยายามพัฒนาตนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น แล้วจะทําให้เรารู้จักรักและพอใจผู้อื่น ชื่นชมยินดี และเห็นคุณค่าผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักให้คุณค่าแก่ตนเองด้วยการมองภาพพจน์ ของตนเองในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

51 การยอมรับว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้กับทุกคน นําไปสู่การพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(2) ฝึกเป็นคนอารมณ์ดีและเบิกบาน
(3) ฝึกการให้อภัยผู้อื่น
(4) ฝึกใช้อํานาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง
ตอบ 3 หน้า 73 ฝึกการให้อภัยผู้อื่นและตนเอง คือ การไม่ลงโทษผู้อื่นและตนเองเมื่อกระทําผิดพลาด เพราะการไม่ให้อภัยผู้อื่นและตนเองย่อมทําให้เกิดความทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นบุคคลจึงควรพิจารณา ตนเองว่าการกระทําของตนเองเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ และเมื่อกระทําอะไรลงไปแล้ว ผู้อื่นพอใจหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วก็ควรยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นและพยายามลืม โดยถือว่าความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน

52 คนที่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง
(2) ฝึกการตั้งเป้าหมายในชีวิต
(3) ฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม
(4) ฝึกมิให้เป็นคนเก็บตัว
ตอบ 1 หน้า 69 – 70 ฝึกการเอาชนะตนเอง คือ ความสามารถในการควบคุมตนเองในเรื่องของอารมณ์ และความอยาก เนื่องจากปกติแล้วคนเรามักชอบตามใจตนเอง เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจ โลภมาก และสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งในทางจิตวิทยาถือว่าการเอาชนะตนเองจะทําให้บุคคลกลายเป็นคนที่มีเหตุผล มากขึ้น เพราะเป็นการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกของตนเองให้ทําสิ่งต่าง ๆ ไปตามเป้าหมาย ในทางที่ถูกต้อง ดีงาม และเหมาะสม

53 การทําความรู้จักคุ้นเคยกับบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจําวัน เป็นผลมาจากการพัฒนาตนเองข้อใด
(1) ฝึกให้มีความมั่นใจในตนเอง
(2) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น
(3) ฝึกการสร้างความประทับใจ
(4) ฝึกมิให้เป็นคนเก็บตัว
ตอบ 4 หน้า 72 ฝึกมิให้เป็นคนเก็บตัวมากเกินไป คือ การเปิดโอกาสให้ตัวเองเข้าสังคมมากขึ้น พบปะเพื่อนฝูงเพื่อเข้าร่วมสังสรรค์ในงานพิธีต่าง ๆ และการพยายามทําความคุ้นเคยกับ บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจําวัน

54 การศึกษาบุคคลเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยแนวคิดใด
(1) ความต้องการของบุคคล
(2) ความแตกต่างของบุคคล
(3) ความเสมอภาคของบุคคล
(4) ความคล้ายคลึงของบุคคล
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สําคัญในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ การยอมรับตัวตนตามลักษณะที่เป็นจริงหรือตามธรรมชาติของบุคคลอื่น โดยต้องตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสําคัญที่ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเรายอมรับในเรื่องความแตกต่างของบุคคลได้แล้ว ก็จะทําให้การสร้างความสัมพันธ์นั้นดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังทําให้ตัวเราปรับตัวเข้ากับบุคคลนั้น ๆ ได้อีกด้วย

ข้อ 55 – 56. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ทัศนคติ
(2) ความเชื่อ
(3) ค่านิยม
(4) การรับรู้

55 คนไทยเคารพผู้อาวุโส เป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด

ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

56 ผลสํารวจจากโพลต่าง ๆ แสดงถึงสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด
ตอบ 1 หน้า 43, 79 – 81, (คําบรรยาย) ทัศนคติ (Attitude) เป็นท่าทีหรือความรู้สึกที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงออกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางบวกหรือลบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจหรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่มีการประเมินว่าถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อเรามีทัศนคติในทิศทางใดก็จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับทิศทางนั้น เช่น ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนจากโพลต่าง ๆ เป็นต้น
57 การพิจารณาเจตนารมณ์ของการกระทํา แสดงถึงแนวคิดการศึกษาบุคคลข้อใด
(1) ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่
(2) วิธีธรรมชาติ
(3) ทฤษฎีบุคลิกภาพ
(4) ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์
ตอบ 2 หน้า 82 – 83 บารอน (Baron) และบรายน์ (Bryne) ได้เสนอการศึกษาบุคคลด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง วิธีการสังเกตพฤติกรรมภายนอกโดยทั่ว ๆ ไป อันได้แก่
1 พิจารณาใบหน้าของบุคคล คือ การสังเกตดูว่ามีการแสดงออกทางสีหน้าอย่างไร
2 สังเกตแววตาหรือดวงตา ดังคํากล่าวที่ว่า “ดวงตา คือ หน้าต่างของหัวใจ”
3 สังเกตกิริยาท่าทาง การพูดจา และบุคลิกภาพโดยรวม
4 พิจารณาเจตนารมณ์ในการกระทําของบุคคล

ข้อ 58 – 62. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) Open Area
(2) Blind Area
(3) Hidden Area
(4) Unknown Area

58 การแสดงพฤติกรรมกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริง แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 84 บริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) หมายถึง บริเวณที่เป็นพฤติกรรมลึกลับ หรือเป็นความรู้สึกนึกคิดหรือความลับบางอย่างที่บุคคลเก็บกดซ่อนไว้ในใจ ไม่เปิดเผยหรือไม่แสดงออกให้ผู้อื่นรู้ แต่ตนเองเท่านั้นที่จะรู้ ซึ่งพฤติกรรมนี้มักจะเป็นพฤติกรรมภายในของบุคคล เช่น ความจํา ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ ทั้งนี้บุคคลจะไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกไปเพราะต้องการ ปิดบัง และอาจแสดงพฤติกรรมอย่างอื่นกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริง เช่น บางคนอาจจะมี ความรู้สึกหมั่นไส้ อิจฉา และไม่พอใจผู้อื่น แต่ก็เสแสร้งยิ้มและพูดโกหกแสดงความยินดี ฯลฯ

59 การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเผชิญหน้า นําไปสู่พฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 83 – 85, (คําบรรยาย) บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรม ภายนอกที่บุคคลตั้งใจหรือเจตนาแสดงออกอย่างเปิดเผย ส่วนมากจะเกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเผชิญหน้า ซึ่งจะทําให้คู่สื่อสารสามารถรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของ แต่ละฝ่ายได้ ทั้งนี้เมื่อคู่สื่อสารเริ่มรู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกัน บริเวณเปิดเผยจะลดลงเพราะ ยังสงวนท่าทีกันอยู่ แต่หากคู่สื่อสารมีความสนิทสนมคุ้นเคยและจริงใจต่อกัน บริเวณเปิดเผย ก็จะเปิดกว้างมากขึ้น โดยพฤติกรรมส่วนนี้จะเป็นประโยชน์และมีความจําเป็นต่อการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ เพราะทําให้คู่สื่อสารมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกัน มีการเปิดเผยตนเอง และจริงใจ ต่อกันมากขึ้น ดังคํากล่าวที่ว่า “มองตาก็รู้ใจ”

60 พฤติกรรมข้อใดจะเกิดขึ้นต้องมีเหตุการณ์บางอย่างมากระตุ้น
ตอบ 4 หน้า 84, (คําบรรยาย) บริเวณมืดมน (Unknown Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมลึกลับ หรือความรู้สึกฝังลึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ซึ่งตนเองและบุคคลอื่นก็ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเข้าใจมาก่อน จึงเป็นพฤติกรรมที่ทําให้บุคคลไม่รู้จักตนเองมากที่สุด และคนอื่นก็ไม่รู้จัก ตัวเราด้วย เพราะอาจจะเป็นทักษะความสามารถพิเศษ หรือพรสวรรค์ในด้านต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง และยังค้นไม่พบ จนกว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คับขันบางอย่างมากระตุ้นให้เกิด พฤติกรรมนี้ เช่น พรสวรรค์ทางด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา ฯลฯ

61 บุคคลที่โง่เขลาจะมีพฤติกรรมข้อใดมากที่สุด
ตอบ 4 หน้า 83, 87 บุคคลประเภทโง่เขลา คือ บุคคลที่รับฟังข้อวิจารณ์น้อย และไม่รู้จักวิจารณ์ผู้อื่น (ฟังน้อยและพูดน้อย) จะมีพฤติกรรมบริเวณมืดมน (Unknown Area) หรืออวิชชามากที่สุด แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณเปิดเผย (Open Area) น้อยที่สุด

62 บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก และรับข้อติชมน้อย จะมีพฤติกรรมข้อใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 87, (คําบรรยาย) บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมจากผู้อื่นน้อย (พูดมากกว่าฟัง) คือ บุคคลที่ไม่ยอมรับฟังคําวิจารณ์ของผู้อื่น แต่ชอบพูดวิจารณ์ผู้อื่นมากกว่า (ชอบประเมินคนอื่น โดยไม่สนใจที่จะประเมินตนเอง) จะมีพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) มากที่สุด แต่จะ มีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) น้อยที่สุด

ข้อ 63. – 68. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) พฤติกรรมแบบพ่อแม่
(2) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่
(3) พฤติกรรมแบบเด็ก
(4) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ

63 บุคคลที่สนใจแต่ความสุขของตนเอง เป็นผลมาจากพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) มักแสดงออกใน ลักษณะที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีอารมณ์สุนทรีย์หรืออารมณ์ศิลปิน สดชื่น มีชีวิตชีวา และกล้าหาญ ซึ่งจะทําให้โลกนี้มีสิ่งแปลกใหม่ มีสิ่งประดิษฐ์ที่งดงามแปลกตา มีนักเขียน นักกลอน มีผลงานด้านศิลปะต่าง ๆ และทําให้โลกมีชีวิตชีวาด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงหัวเราะ การแสดงท่าขบขัน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความดื้อรั้น สนใจแต่ความสุข ของตนเอง เอาแต่ใจ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ควบคุมตนเอง แต่คําพูดที่แสดงออกนั้น จะเปิดเผย อิสระ และตรงไปตรงมา

64 การพูดจาในลักษณะดุด่าว่ากล่าวบุคคลอื่น แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คําบรรยาย) พฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะแสดงออก ในลักษณะของพฤติกรรมทางบวก เช่น ความรักใคร่ อบรมสั่งสอน ห่วงใย หวังดี ให้กําลังใจ ปลอบประโลม ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีลักษณะของพฤติกรรมทางลบด้วย เช่น เกรี้ยวกราด ดุด่าว่ากล่าว ใช้อํานาจสั่งการเหนือผู้อื่น ตําหนิติเตียน ประชดประชัน เยาะเย้ย เจ้ากี้เจ้าการ ชอบควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการยึดถือระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี และเชื่อถือคติโบราณ จึงมักทําให้มีบุคลิกภาพแบบหัวโบราณ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของ สังคม แต่จะมีความเมตตากรุณา

65 บุคคลที่แสดงออกโดยยึดเหตุผลและข้อเท็จจริง แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 2 หน้า 89 – 90 พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออก ในลักษณะตรงไปตรงมา มีเหตุผล ยึดข้อเท็จจริง ไม่ใช้อารมณ์หรือความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งเมื่อ พูดถึงสิ่งใดก็จะใช้ข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นเครื่องตัดสิน ดังนั้นจึงมักเปรียบเทียบบุคลิกภาพแบบนี้ว่ามีลักษณะคล้ายหุ่นยนต์ ไม่มีความรู้สึกส่วนตัว เห็นทุกสิ่งเป็นไปตามผลกรรม

66 ผู้บริหารที่ชอบให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 89, 91 – 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะมีลักษณะดังนี้
1 ถือว่าลูกน้องเหมือนลูกหลานที่จะอบรมสั่งสอนได้
2 เอาใจใส่ดูแลการทํางานของลูกน้อง อย่างใกล้ชิด
3 เป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน
4 เห็นอกเห็นใจ เป็นห่วงลูกน้อง และ มักจะให้ความช่วยเหลือ
5 ร่วมคิด ร่วมปรึกษากับลูกน้องที่มีพฤติกรรมแบบเด็กเท่านั้น
6 ถือว่างานต้องมาก่อนความสนุกสนานบันเทิง
7 ต้องการให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ
8 มักชอบใช้อํานาจเหนือลูกน้องจนกลายเป็นเผด็จการ

67 การรู้จัก “ไปลามาไหว้” แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 4 หน้า 93, (คําบรรยาย) พฤติกรรมที่เป็นพิธีการ คือ การกระทําเพื่อมารยาท หรือการกระทํา ตามกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น การรู้จักไปลามาไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัยหรือกล่าว คําว่า “สวัสดี” เมื่อเจอกัน การกล่าวต้อนรับ การเลี้ยงต้อนรับ การจัดงานเลี้ยงผู้เกษียณอายุ การปรบมือให้กําลังใจผู้พูด การกล่าวอวยพรเมื่อไปร่วมงานวันเกิดหรืองานเทศกาลปีใหม่ การรดน้ําขอพรจากผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ และการจัดงานในเทศกาลสําคัญ ๆ ฯลฯ

68 จินตนาการของบุคคล แสดงถึงพฤติกรรมข้อใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63 ประกอบ

ข้อ 69 – 70. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) I’m not OK., You’re OK.
(2) I’m OK., You’re not OK.
(3) I’m not OK., You’re not OK.
(4) I’m OK., You’re OK.

69 บุคคลที่ไม่รู้จักรักใครแม้แต่ตัวเอง เป็นผลมาจากการรับรู้ข้อใด
ตอบ 3 หน้า 93 – 94, (คําบรรยาย) ฉันเลวคุณก็เลวด้วย (I’m not OK, You’re not OK. เป็นทัศนคตกแต่งเทเห็นว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ผู้อื่นก็ไม่มีคุณค่า ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่รู้จักรักใคร แม้แต่ตัวเอง มองโลกในแง่ร้าย หมดหวังในชีวิต ไม่มีจุดหมายในชีวิต จึงจัดอยู่ในประเภทผู้ป่วย โรคประสาทหรือโรคจิต

70 บุคคลที่ชอบยกตนข่มท่าน เป็นผลมาจากการรับรู้ข้อใด
ตอบ 2 หน้า 93, (คําบรรยาย) ฉันดีแต่คุณเลว (I’m OK., You’re not OK.) เป็นทัศนคติที่แสดง ให้เห็นว่าบุคคลประเมินตนเองว่าดี มีคุณค่า แต่มองคนอื่นว่าเลว ไม่มีคุณค่า จึงเป็นคนที่ชอบ ตําหนิผู้อื่น ชอบโทษผู้อื่น และชอบยกตนข่มท่าน เช่น นักการเมืองฝ่ายค้านตําหนินโยบายของ รัฐบาลว่าสู้ของตนไม่ได้ เป็นต้น

71 ตามแนวคิดของเชลดัน บุคคลที่ชอบอยู่ตามลําพังจะมีรูปร่างอย่างไร
(1) ผอม
(2) อ้วน
(3) ล่ำสัน
(4) สมส่วน
ตอบ 1 หน้า 95 เชลตัน (Sheldon) ได้จัดแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1 รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มักชอบสนุกสนานร่าเริง และโกรธง่ายหายเร็ว ฯลฯ
2 รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีเพื่อนมาก และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ
3 รูปร่างผอม (Ectomorphy) มักเคร่งขรึม เอาการเอางาน ใจน้อย ชอบวิตกกังวล ไม่ชอบการต่อสู้ และชอบอยู่ตามลําพัง ฯลฯ

72 ตามแนวคิดของจุง บุคลิกภาพแบบ Extrovert จะมีลักษณะอย่างไร
(1) ปรับตัวเก่ง
(2) ยึดตัวเองเป็นใหญ่
(3) ขี้อาย
(4) สังคมเก่ง
ตอบ 4 หน้า 95, (คําบรรยาย) คาร์ล จี. จุง (Cart G. Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ
1 ชอบเก็บตัว (Introvert) เป็นพวกเชื่อมั่นในตนเอง ยึดตัวเองเป็นใหญ่ ขี้อาย เก็บความรู้สึก ชอบอยู่ตามลําพัง ปรับตัวยาก เห็นแก่ตัว ฯลฯ
2 ชอบแสดงตัว (Extrovert) เป็นพวกไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เปิดเผย เข้าสังคมเก่ง อารมณ์ดี ชอบทํากิจกรรม ฯลฯ
3 ประเภทกลาง ๆ (Ambivert) เป็นพวกไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป ปรับตัวเก่งหรือ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และมักจะมีนิสัยเรียนรู้การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ข้อ 73 – 76. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เต่า
(2) ตุ๊กตาหมี
(3) ฉลาม
(4) นกฮูก

73 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่ชอบใช้อํานาจกับลูกน้อง
ตอบ 3 หน้า 96 – 97 ผู้บริหารประเภทชอบใช้อํานาจ (Authoritarian Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “ฉลาม” คือ เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ดุร้าย ชอบใช้อํานาจเหนือลูกน้องในการแก้ปัญหา โดยไม่คํานึงถึงความรู้สึกของคนอื่น เน้นความต้องการของตนเอง และมักจะแก้ปัญหาด้วยการ กล้าเผชิญหน้า กล้าที่จะฟาดฟันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และช่วงชิงผลประโยชน์ของ ผู้อื่น จึงมักนําไปสู่การต่อสู้และทําร้าย

74 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่รู้จักควบคุมอารมณ์และรับฟังลูกน้อง
ตอบ 4 หน้า 97, (คําบรรยาย) ผู้บริหารประเภทใจเย็น (Team Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “นกฮูก” คือ เป็นบุคคลที่พยายามศึกษาความต้องการของตนเองและผู้อื่น แล้วแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการควบคุมอารมณ์ รับฟังลูกน้องด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ และแสดงความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง จึงถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพและ แนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทํางาน ทําให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้องได้ดีที่สุด

75. สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่ชอบโยนความผิดให้ลูกน้อง
ตอบ 1 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทไม่เอาไหน (Impoverished Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “เต่า” เพราะไม่กล้าเผชิญปัญหา และเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่นหรือโยนความผิดให้ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่นด้วยความขุ่นเคืองใจ มองผู้อื่นในแง่ร้าย โดยจะ บริหารงานแบบสบาย ๆ ไม่สนใจลูกน้องและงาน ชอบอยู่เฉย ๆ ใครจะทําอะไรก็ทําไป และ เมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด

76 สัญลักษณ์ใดแสดงถึงผู้บริหารที่สนใจคนมากกว่าสนใจงาน
ตอบ 2 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทย่อมตาม (Country Club Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น “ตุ๊กตาหมี” คือ เป็นบุคคลที่ยอมผู้อื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจโดยไม่ปริปากบ่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความเสียสละ มักยอมให้คนอื่นทําสิ่งต่าง ๆ ก่อนเสมอ มองคนในแง่ดี สนใจคนมากกว่างาน เอาอกเอาใจและกลัวลูกน้อง ชอบสร้างบารมีให้ลูกน้องรัก เพราะขาด ความสามารถในการทํางาน โดยมักมีวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้ง คือ ยอมตามใจลูกน้องเสมอ

ข้อ 77 – 79 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม

(1) การรับรู้ทางสังคมโดยความรู้สึกประทับใจ
(2) การรับรู้ทางสังคมโดยการประเมินบุคคลอื่น
(3) อิทธิพลทางสังคม
(4) ความสัมพันธ์ทางสังคม

77 การคล้อยตามผู้อื่น เป็นพฤติกรรมตามแนวคิดจิตวิทยาสังคมข้อใด
ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (คําบรรยาย) อิทธิพลทางสังคม จะเน้นพฤติกรรมของบุคคลที่เปลี่ยนไป ในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลง เนื่องจากการกระทําของบุคคลอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 การส่งเสริมโดยสังคม (Social Facilitation) ได้แก่ การอยู่ในสายตาของผู้อื่นจะทําให้ การทํางานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2 การคล้อยตามผู้อื่น หรือการถูกโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม ได้แก่ การคล้อยตามบุคคลที่ เราเชื่อถือหรือสนิทสนม การคล้อยตามบรรทัดฐาน และการคล้อยตามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

78 ความใกล้ชิดทางกายภาพของคู่สื่อสาร นําไปสู่พฤติกรรมตามแนวคิดจิตวิทยาสังคมข้อใด
ตอบ 4หน้า 133, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงดึงดูดใจทางสังคมของคู่สื่อสาร จนนําไปสู่ แนวคิดความสัมพันธ์ทางสังคม มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1 ความใกล้ชิดทางกายภาพของคู่สื่อสาร คือ ความใกล้ชิดกันทางด้านสถานที่ เช่น ในห้องเรียน หรือเพื่อนร่วมงานในที่ทํางานเดียวกัน
2 ทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน คือ มีความสนใจร่วมกัน หรือมีทัศนคติหลาย ๆ อย่างตรงกันมาก่อน
3 รูปร่างหน้าตา หรือบุคลิกภาพที่ดี นับเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากขึ้นในปัจจุบัน

79 ประสบการณ์ครั้งแรกของคู่สื่อสาร นําไปสู่พฤติกรรมตามแนวคิดจิตวิทยาสังคมข้อใด
ตอบ 1 หน้า 127 – 129, 155, (คําบรรยาย) การรับรู้ทางสังคมโดยความรู้สึกประทับใจ มักเกิดจาก ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1 ความประทับใจครั้งแรก ประสบการณ์ครั้งแรก หรือปรากฏการณ์ครั้งแรกของคู่สื่อสาร คือ การรับรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบบุคคลที่เราพบเห็นเป็นครั้งแรก
2 ปรากฏการณ์ภายนอก คือ บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา
3 การสื่อสารเชิงอวัจนะหรือพฤติกรรมการแสดงออกทางอวัจนภาษา (ภาษากาย) คือ การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้คําพูด เช่น สีหน้า สายตา ท่าทางและการสัมผัส น้ำเสียง ฯลฯ

ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม ข้อ 80. – 82.
(1) การสร้างความประทับใจ
(2) การทําให้คนอื่นรักใคร่
(3) การป้องกันตนเอง
(4) การลดความขัดแย้งของคู่สื่อสาร

80 การรู้จักยกย่องบุคคลอื่น นําไปสู่แนวคิดข้อใด
ตอบ 2 หน้า 136 วิธีการทําให้คนอื่นรักใคร่ มีดังนี้
1 การรู้จักยกย่องบุคคลอื่น
2 การคล้อยตามความคิดเห็นและพฤติกรรม
3 การแนะนําตนเอง
4 การแสดงความชอบตอบ

81 การหาทางออกเพื่อลดความวิตกกังวลในตนเอง แสดงถึงแนวคิดข้อใด
ตอบ 3 หน้า 137, 141 การป้องกันตนเอง (Self Defence) หมายถึง พฤติกรรมที่มนุษย์พยายาม หาทางออกเพื่อลดความวิตกกังวลในตนเอง และหาทางกลบเกลื่อนความผิดหวังเสียใจด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันตนเองส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ตั้งใจ และมักจะเกิดในลักษณะปกติธรรมดาเพื่อทําให้เรารู้สึกดีขึ้นเท่านั้น

82 การสร้างภาพลักษณ์ของตนเองตามความคาดหวังของคู่สื่อสาร แสดงถึงแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 134 หลักของการสร้างความประทับใจ คือ การพยายามสร้างภาพลักษณ์ของตนเอง
ตามความนึกคิดหรือตามความคาดหวังของคู่สื่อสารหรือผู้ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย โดยคนเรา จะแสดงพฤติกรรมที่คล้ายกับผู้ที่เราปฏิสัมพันธ์หรืออาจมีพฤติกรรมคล้ายกับสิ่งที่เราคิดว่าบุคคลอื่นคาดหวังให้เรามีพฤติกรรมเช่นนั้น

ข้อ 83 – 85. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) อ้างความด้อยของตนเอง
(2) อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม
(3) การสวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
(4) การสวมบทบาทตามเพศ

83 แม่พลอยจากนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน นับเป็นแบบอย่างของสตรีไทย กรณีนี้แสดงถึงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 4 หน้า 135 การสวมบทบาทตามเพศตามความคาดหวังของผู้อื่น เช่น ถ้าบุคคลอื่นคาดหวังให้ เพศหญิงต้องอ่อนหวานนุ่มนวลเหมือนกับ “แม่พลอย” จากนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน นางสาว ก ย่อมทําตนให้อ่อนหวาน ละมุนละไม จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ เป็นต้น

84 นักการเมืองที่ให้สัมภาษณ์ว่าที่ไม่ได้รับเลือกตั้งเพราะคู่แข่งซื้อเสียง กรณีนี้แสดงถึงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 1 หน้า 135 อ้างความด้อยของตนเอง คือ คนเราเมื่อประสบความล้มเหลวและต้องการการ ยอมรับจากผู้อื่น มักอ้างเหตุของความล้มเหลวว่าเกิดจากสิ่งแวดล้อมมิใช่การกระทําของตนโดยยกความด้อยอันมิได้เกิดจากความสามารถของตนเป็นข้ออ้าง เช่น นักการเมืองที่ให้ สัมภาษณ์ว่าที่ไม่ได้รับเลือกตั้งเพราะคู่แข่งซื้อเสียง เป็นต้น

85 ชาวไทยภาคภูมิใจกับนักเรียนไทยที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการ กรณีนี้แสดงถึงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดข้อใด
ตอบ 2 หน้า 135 อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม คือ การทําให้ผู้อื่นยอมรับตนเองโดยบุคคลอาจอ้างชื่อเสียง ของกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ และเป็นกลุ่มที่ประสบความสําเร็จ เช่น อ้างกลุ่มโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภูมิลําเนา เชื้อชาติไทย ฯลฯ เพื่อทําให้ผู้อื่นยอมรับตนเองหรือเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจ

ข้อ 86 – 89. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) การเก็บกด
(2) การทดเทิด
(3) การกล่าวโทษสิ่งอื่น
(4) การกลบเกลื่อน

86 พฤติกรรมแบบ “หน้าเนื้อใจเสือ” สอดคล้องกับการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 4 หน้า 137 – 138, (คําบรรยาย) ปฏิกิริยากลบเกลื่อน (Reaction-Formation) คือ กลไกที่แสดง ปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกที่แท้จริง เพื่อให้ตัวเองสบายใจขึ้นและเพื่อป้องกัน
ความรู้สึกผิด หรือการที่บุคคลมีความคิดเห็นที่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นที่ปรารถนาต่อบุคคลอื่น ซึ่งเป็นลักษณะการแสดงออกแบบ “หน้าเนื้อใจเสือ” หรือ “ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ เช่น อยู่ต่อหน้าเพื่อนบ้านคุยด้วยกันอย่างมีมิตรภาพ แต่ลับหลังกลับมีพฤติกรรมจ้องทําลาย

87 การพยายามลืมเหตุการณ์ที่ทําให้ตนสะเทือนใจ เป็นวิธีการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 1 หน้า 137 การเก็บกด (Repression) คือ กลไกที่บุคคลพยายามจะขจัดความคับข้องใจที่ไม่มีทางแก้ไขได้ หรือสภาพการณ์ที่ทําให้เขาไม่ได้รับการยอมรับ สภาพการณ์ที่ทําให้เขาสะเทือนใจ ไม่สบายใจ เสียใจ หรือทรมานใจ โดยเขาจะพยายามลืมเหตุการณ์หรือเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ หากการเก็บกดเพิ่มปริมาณมากขึ้นก็จะทําให้บุคคลนั้นลืมเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสนิท จนไม่สามารถจะระลึกได้ เช่น หญิงที่ถูกข่มขืนจะจํารายละเอียดของเรื่องราวไม่ได้ เป็นต้น

88 บุคคลที่เปลี่ยนความก้าวร้าวเป็นความสามารถในด้านกีฬาเพื่อหวังให้สังคมยอมรับ กรณีนี้เป็นการป้องกัน
ตนเองข้อใด
ตอบ 2 หน้า 139 – 140, (คําบรรยาย) การทดเทิด (Sublimation) คือ กลไกเปลี่ยนความปรารถนา ที่ตนชอบแต่สังคมไม่ยอมรับ มาเป็นความปรารถนาที่ตนชอบและสังคมยอมรับ โดยการแสดง

พฤติกรรมที่ดีแทนพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การเปลี่ยนแรงขับทางเพศให้เป็นผลงาน ด้านศิลปะหรือฝึกเป็นนักเขียน การเปลี่ยนความก้าวร้าวให้เป็นพลังทางด้านกีฬา ฯลฯ

89 คําพังเพยที่ว่า “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” สอดคล้องกับวิธีการป้องกันตนเองข้อใด
ตอบ 3 หน้า 138, (คําบรรยาย) การกล่าวโทษบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น (Projection) คือ การกล่าว โยนความผิดให้กับคนอื่นหรือสิ่งอื่นเพื่อให้ตนเองพ้นผิด และสบายใจที่ไม่ต้องรับผิดชอบกับการกระทําของตน หรือเป็นกลวิธีที่บุคคลปัดความรับผิดชอบโดยการกล่าวโทษผู้อื่นและสังคม ในความผิดที่ตนเองเป็นผู้กระทํา เพื่อให้ความรู้สึกผิดของตนน้อยลง ซึ่งตรงกับสุภาษิตที่กล่าว ไว้ว่า “รําไม่ดีโทษปี่โทษกลอง”

90 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคล
(1) เป็นการสื่อสารแบบสองทาง
(2) คู่สื่อสารมีการแสดงปฏิสัมพันธ์
(3) เป็นการสื่อสารที่ผ่านสื่อทั่วไป
(4) เป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 3 หน้า 148 – 149, (คําบรรยาย) ลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) มีดังนี้
1 เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างคู่สื่อสารอย่างน้อย 2 คน หรือเป็นการสื่อสาร ระหว่างบุคคลในกลุ่มเล็ก ๆ ก็ได้
2 เป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face to Face Communication)
3 เป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ที่คู่สื่อสารแสดงปฏิสัมพันธ์ หรือมีปฏิกิริยาป้อนกลับต่อกันได้
4 เป็นการสื่อสารแบบผ่านสื่อ (Interpose Communication) ที่รับ-ส่งข่าวสารได้ครั้งละ 2 คน หรือไม่เกินครั้งละ 2 คน เช่น การพูดคุยทางโทรศัพท์ ฯลฯ

ข้อ 91 – 92. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) เพื่อค้นพบตัวเอง
(2) เพื่อค้นพบโลกภายนอก
(3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมาย
(4) เพื่อการโน้มน้าวใจ

91 การสร้างมนุษยสัมพันธ์ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อใดของการสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 3 หน้า 151 – 152, (คําบรรยาย) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายให้เกิดขึ้น (Establishing Meaningful Relationships) คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลสามารถนํามาใช้เป็นเครื่องประสาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารได้อย่างดียิ่ง เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการที่จะรัก ผู้อื่นและได้รับความรักจากผู้อื่น จึงทําให้มนุษย์ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทสนม ให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้การสื่อสารระหว่างบุคคลสามารถนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี

92 การสื่อสารระหว่างบุคคลทําให้คนเรารู้จักปรับตัวเข้ากับสังคม กรณีนี้แสดงถึงวัตถุประสงค์ข้อใด
ตอบ 1หน้า 151 เพื่อค้นพบตัวเอง (Personal Discovery) คือ การได้มีโอกาสสื่อสารกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า จะทําให้เราได้รู้จักตนเองด้วยการสังเกตจากปฏิกิริยา ป้อนกลับของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้ได้รู้ความคิดของตนเองว่าแตกต่างจากผู้อื่นในสังคมอย่างไร ดังนั้นการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสังคมรวมทั้งได้พิจารณาข้อบกพร่องและข้อได้เปรียบของตน

93 ข้อใดแสดงถึง Verbal Communication
(1) ภาษาระยะทาง
(2) ภาษากาย
(3) ภาษาวัตถุ
(4) ภาษาพูด
ตอบ 4 หน้า 152 วัจนสาร (Verbal Communication) หมายถึง การสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นถ้อยคํา เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งในการสื่อสารระหว่างบุคคลนั้น วัจนสารจะหมายถึง คําพูด หรือภาษาพูดที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และความเห็นต่าง ๆ ระหว่างคู่สื่อสาร

94 ข้อใดไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องในการสื่อสารเชิงอวัจนะ
(1) การสื่อสารเชิงอวัจนะทําให้การสื่อสารชัดเจนขึ้น
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะสามารถแสดงออกได้อย่างกว้างขวาง
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของผู้ส่งสาร
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ตอบ 3 หน้า 153 – 154 แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะหรือการใช้อวัจนสาร (Nonverbal Communication) มีดังนี้
1 แสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
2 มีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสารที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะแสดงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
3 มีความครอบคลุมกว้างขวางแทบจะไม่มีขอบเขตจํากัด (ไร้ขอบเขต) ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางด้านน้ําเสียง ท่าทาง หรือสีหน้า
4 มีหน้าที่ในการสื่อสาร ทําให้การสื่อสารชัดเจนถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
5 อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ทําให้ขาดการควบคุมและแสดงออกอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
6 สามารถส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อผู้รับสารมากกว่าวจนสารถึง 5 เท่า ฯลฯ

95 ข้อใดเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องในการสบตาของคู่สื่อสาร
(1) คู่สื่อสารที่เป็นเพศชายจะมีการสบตามากกว่าเพศหญิง
(2) ผู้ฟังจะสบตากับผู้พูดมากกว่าผู้พูดสบตากับผู้ฟัง
(3) การสบตาของคู่สื่อสารจะน้อยลงเมื่อสนทนาเรื่องส่วนตัว
(4) คู่สื่อสารที่เป็นมิตรจะสบตากันมากกว่าคู่สื่อสารที่เป็นปฏิปักษ์
ตอบ 1 หน้า 156 แนวคิดที่ถูกต้องในการประสานสายตาหรือการสบตา (Eye Contact) ของคู่สื่อสาร มีดังนี้ 1 ผู้ฟังจะประสานสายตากับผู้พูดมากกว่าผู้พูดประสานสายตากับผู้ฟัง
2 การประสานสายตาจะมีน้อยลงเมื่อสนทนาเรื่องส่วนตัว
3 เพศหญิงจะประสานสายตามากกว่าเพศชาย และในบางวัฒนธรรมจะห้ามการประสานสายตา เช่น เด็กจะไม่ค่อยกล้าจ้องหน้าประสานสายตากับผู้ใหญ่
4 คู่สนทนาที่เป็นมิตรจะประสานสายตากันมากกว่าคู่สนทนาที่เป็นศัตรูหรือเป็นปฏิปักษ์กัน
5 ผู้พูดควรประสานสายตากับผู้ฟังประมาณ 60 – 70% ของช่วงเวลาที่มีการสนทนากัน

ข้อ 96. – 98. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสาร
(2) ความใกล้ชิดของคู่สื่อสาร
(3) ความคล้ายคลึงของคู่สื่อสาร
(4) การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร
96 บุคลากรที่ทํางานในองค์กรเดียวกัน ได้รับปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 2 หน้า 158 – 160 ความใกล้ชิดของคู่สื่อสาร (Proximity) คือ มนุษย์มีธรรมชาติที่จะสื่อสาร กับคนที่ใกล้ชิด เมื่อใกล้ชิดสิ่งใดก็มักจะเอาความรู้สึกของตนเข้าไปผูกพัน และมีทัศนคติที่ดีกับคนที่ตนใกล้ชิดด้วย ซึ่งความใกล้ชิดมี 2 ประเภท ได้แก่
1 ความใกล้ชิดที่เกิดจากระยะทาง เช่น เรียนอยู่ในห้องเดียวกัน บ้านพักอาศัยใกล้กัน การทํางานในองค์กรเดียวกัน ฯลฯ
2 ความใกล้ชิดที่เกิดจากการมีโอกาสมีส่วนร่วมแสดงปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันบ่อยครั้ง เช่น
การทํากิจกรรมหรือทํางานร่วมกัน ฯลฯ

97 บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล เป็นปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 1 หน้า 158 – 159 ลักษณะดึงดูดใจของคู่สื่อสาร (Attractiveness) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1 ลักษณะดึงดูดใจในรูปร่างหน้าตา คือ คนเรามักเลือกที่จะสื่อสารพูดคุยกับคนที่ตนเห็นว่า สวยงาม หน้าตาดี มากกว่าคนที่ขี้ริ้วขี้เหร่ ซึ่งเป็นการตัดสินกันเพียงแค่ภายนอก
2 ลักษณะดึงดูดใจในบุคลิกภาพ คือ คุณลักษณะรวมทั้งหมดที่ประกอบกันขึ้นเป็นบุคคลคนนั้น ซึ่งหมายความรวมทั้งบุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน โดยคนเราก็มักเลือกที่จะสื่อสารกับคนที่ตนเห็นว่ามีบุคลิกภาพที่มีเสน่ห์และน่าพอใจมากกว่าคนที่ตนไม่ชอบเช่นกัน

98 การรู้จักพูดจาไพเราะ เป็นปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างบุคคล
ตอบ 4 หน้า 158, 160 การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร (Reinforcement) คือ คนเรามีแนวโน้มจะสื่อสาร กับคนที่ให้สิ่งที่ตนพอใจหรือคนที่ให้แรงเสริมแก่ตน โดยแรงเสริมนั้นอาจเป็นวัตถุสิ่งของหรือ ตัวเสริมแรงทางสังคม ได้แก่ การพูดจาไพเราะ การยกย่องชมเชย และการให้เกียรติกัน ซึ่งจะต้องมีลักษณะของความจริงใจ ไม่เสแสร้ง และไม่แอบแฝงผลประโยชน์ เช่น คนเรามักไม่อยาก สนทนากับเพื่อนที่ชอบขัดคอหรือโต้แย้ง แต่มักชอบพูดคุยกับเพื่อนที่ยินดีและแสดงความนับถือ ยกย่องในความสําเร็จของเรา เป็นต้น

ข้อ 99 – 100, ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สําหรับตอบคําถาม
(1) พฤติกรรมความซื่อสัตย์
(2) พฤติกรรมความเห็นอกเห็นใจ
(3) พฤติกรรมความเสมอภาค
(4) พฤติกรรมได้รับการสนับสนุน

99 คู่สื่อสารที่รู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน แสดงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารระหว่างบุคคลข้อใด ตอบ 3 หน้า 162, (คําบรรยาย) พฤติกรรมความเสมอภาค (Equality) หมายถึง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรรู้จักให้เกียรติและยอมรับในความเสมอภาคซึ่งกันและกัน ไม่ดูหมิ่นหรือปฏิบัติต่ออีกฝ่ายในลักษณะที่ด้อยกว่าตน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และ เป็นแนวทางหนึ่งที่ทําให้การสื่อสารนําไปสู่ความพึงพอใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

100 ความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารระหว่างบุคคลข้อใด
ตอบ 2 หน้า 161 – 162 พฤติกรรมความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) หรือความสามารถในการเอาใจเขา มาใส่ใจเรา หมายถึง ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความสามารถในการรับรู้และเข้าใจถึง ความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้เสมือนเป็นคน ๆ นั้น ซึ่งจะช่วยให้ คู่สื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสื่อสารของตนให้เป็นที่พอใจซึ่งกันและกันได้

 

 

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2105 (LAW 2005) ป.พ.พ.ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายเอกจองซื้อบ้านพร้อมที่ดินแปลงหมายเลข 1234 จากนายโท 1 แปลง ใบจองข้อ 1 ระบุราคาขายบ้านพร้อมที่ดินจํานวน 1,000,000 บาท ข้อ 2. ระบุว่านายเอกวางเงินจองไว้เป็นจํานวน 50,000 บาท และให้เงินจํานวนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาบ้านพร้อมที่ดินตามสัญญา และข้อ 3. ระบุค่าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้นายโทเป็นผู้ชําระ อยากทราบว่าใบจองซื้อบ้าน พร้อมที่ดินเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด หากนายเอกผิดนัดไม่ชําระราคาบ้านพร้อมที่ดิน นายโทจะอาศัยความผูกพันที่มีผลตามสัญญาซื้อขายฟ้องร้องต่อศาลขอให้นายเอกปฏิบัติตามสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพแลสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขาย ที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้ตกลงที่จะชําระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงว่าในขณะที่ ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชําระราคากันแล้วหรือไม่

“สัญญาจะซื้อจะขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทําตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือเมื่อ ได้ไปทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

และสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 455 ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินดังกล่าวนั้นกฎหมายมิได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใดเพียงแต่ได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่จะมีการฟ้องร้องบังคับคดีกัน จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

1 จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ

2 มีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือ

3 มีการชําระหนี้บางส่วน

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายเอกจองซื้อบ้านพร้อมที่ดินแปลงหมายเลข 1234 จากนายโท 1 แปลง โดยในใบจอง ระบุราคาขายบ้านพร้อมที่ดินจํานวน 1,000,000 บาท และระบุว่านายเอกวางเงินจองไว้เป็นจํานวน 50,000 บาท โดยระบุไว้ว่าให้เงินจํานวนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาบ้านพร้อมที่ดินตามสัญญาฯ และระบุว่าค่าจทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ให้นายโทเป็นผู้ชําระนั้น ใบจองซื้อบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นสัญญาซื้อขาย และเป็น สัญญาซื้อขายประเภทสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งนี้เพราะเป็นสัญญาซื้ออสังหาริมทรัพย์ซึ่งคู่กรณียังมิได้มีเจตนาที่ จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย (ขณะจอง) แต่มีข้อตกลงที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด คือ มีการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันแล้วในภายหน้า

2 เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี กล่าวคือ เมื่อสัญญาซื้อขาย (ตามใบจอง) นั้น ได้ระบุว่านายเอกได้วางเงินจองไว้เป็นจํานวน 50,000 บาท และให้เงินจํานวนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการชําระราคาบ้านพร้อมที่ดินตามสัญญา จึงถือเป็นการชําระหนี้ค่าบ้านพร้อมที่ดินบางส่วน ดังนั้น เมื่อนายเอกผิดนัดไม่ชําระราคาบ้านพร้อมที่ดิน นายโทย่อมสามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้นายเอกปฏิบัติ ตามสัญญาได้ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

สรุป ใบจองซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย และนายโทสามารถฟ้องร้องต่อศาล ขอให้นายเอกปฏิบัติตามสัญญาได้

ข้อ 2 นายหนึ่งสั่งซื้อเครื่องผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะจากนายสองในราคา 100,000 บาท นายหนึ่งได้ ชําระเงินให้แก่นายสองในวันทําสัญญาจํานวน 40,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชําระเป็นสองงวด เมื่อเครื่องผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะที่นายสองส่งมอบให้แก่นายหนึ่งเกิดขัดข้องในการใช้งานอันเป็น ผลมาจากกระบวนการผลิตรวมถึงการเซ็ตระบบเครื่องให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของประเทศไทยจากโรงงานของนายสอง อยากทราบว่า ในระหว่างที่นายสองดําเนินการแก้ไขความชํารุดบกพร่อง ของเครื่องผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะตามคําเรียกร้องของนายหนึ่ง นายสองจะมีสิทธิเรียกนายหนึ่งให้ใช้ราคาที่ยังไม่ได้ชําระหรือไม่ ท่านในฐานะทนายความจะให้คําปรึกษาแก่นายสองเช่นไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดีท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่”

มาตรา 488 “ถ้าผู้ซื้อพบเห็นความชํารุดบกพร่องในทรัพย์สินซึ่งตนได้รับซื้อ ผู้ซื้อชอบที่จะ ยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชําระไว้ได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เว้นแต่ผู้ขายจะหาประกันที่สมควรให้ได้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งสั่งซื้อเครื่องผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะจากนายสองในราคา 100,000 บาท โดยนายหนึ่งได้ชําระเงินให้แก่นายสองในวันทําสัญญาจํานวน 40,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชําระเป็นสองงวด เมื่อปรากฏว่าเครื่องผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะที่นายสองส่งมอบให้แก่นายหนึ่งเกิดขัดข้องในการใช้งานอันเป็นผล มาจากกระบวนการผลิตรวมถึงการเซ็ตระบบเครื่องให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของประเทศไทยจากโรงงานของ นายสอง ย่อมถือว่าทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอันเป็นเหตุให้เลื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมาย โดยสัญญา ดังนั้น ผู้ขายคือนายสองจึงต้องรับผิดต่อนายหนึ่งผู้ซื้อตามมาตรา 472

และเมื่อนายหนึ่งได้พบเห็นความชํารุดบกพร่องดังกล่าว นายหนึ่งย่อมมีสิทธิตามมาตรา 488
กล่าวคือ นายหนึ่งย่อมมีสิทธิที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชําระไว้ได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ดังนั้น ในระหว่างที่ นายสองดําเนินการแก้ไขความชํารุดบกพร่องของเครื่องผลิตไอศกรีมเกล็ดหิมะตามคําเรียกร้องของนายหนึ่ง นายสองจึงไม่มีสิทธิเรียกให้นายหนึ่งใช้ราคาที่ยังไม่ได้ชําระให้แก่ตนได้ เว้นแต่นายสองจะได้แก้ไขตามความชํารุดบกพร่องนั้น ให้สิ้นไป หรือหาประกันที่สมควรให้แก่นายหนึ่งได้ตามมาตรา 488

สรุป นายสองไม่มีสิทธิเรียกให้นายหนึ่งใช้ราคาที่ยังไม่ได้ชําระให้แก่นายสอง จนกว่านายสองจะ ได้แก้ไขความชํารุดบกพร่องนั้นให้หมดสิ้นไป หรือหาประกันที่สมควรให้แก่นายหนึ่งได้

ข้อ 3 นายเอทําสัญญาขายฝากทองรูปพรรณไว้กับนายบีในราคา 19,999 บาท กําหนดเวลาไถ่ทองรูปพรรณ กลับคืนภายใน 1 ปี เมื่อเวลาผ่านไป 11 เดือน นายเอได้โทรศัพท์ไปเจรจากับนายบีเพื่อขอขยาย กําหนดเวลาไถ่ออกไปอีก 6 เดือน นายบีตอบตกลงโดยไม่ว่ากล่าวอะไร เนื่องจากเมื่อขยายกําหนด เวลาไถ่ออกไปแล้วก็ยังคงอยู่ภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน นับแต่วันที่ ตกลงขยายกําหนดเวลาไถ่ นายเอนําเงินจํานวน 19,999 บาท ไปขอไถ่ทองรูปพรรณคืนจากนายปี แต่นายบีกลับปฏิเสธการไถ่อ้างว่าล่วงเลยกําหนดเวลาไถ่แล้ว เพราะการขยายกําหนดเวลาไม่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกําหนด หรือหากนายเอประสงค์จะไถ่ทองรูปพรรณ กลับคืนจริง ก็สามารถไถ่ได้ในราคา 31,000 บาท ต่อหนึ่งบาททองคําตามกําหนดราคาทองคํา ที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคําประจําวันที่ 11 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ขอไถ่ถอน ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้อกล่าวอ้างของนายบีรับฟังได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้

(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย”

มาตรา 496 “กําหนดเวลาไถ่นั้น อาจทําสัญญาขยายกําหนดเวลาไม่ได้ แต่กําหนดเวลาไถ่รวมกัน ทั้งหมด ถ้าเกินกําหนดเวลาตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกําหนดเวลาตามมาตรา 494

การขยายกําหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่…”

มาตรา 499 วรรคหนึ่ง “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้อกล่าวอ้างของนายที่รับฟังได้หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายเอทําสัญญาขายฝากทองรูปพรรณไว้กับนายปี กําหนดเวลาไถ่กลับคืนภายใน 1 ปี เมื่อเวลาผ่านไป 11 เดือน นายเอได้โทรศัพท์ไปเจรจากับนายปีเพื่อขอขยายกําหนดเวลาไม่ออกไปอีก 6 เดือน และนายบีตอบตกลงโดยไม่ว่าอะไรนั้น การขยายระยะเวลาการไถ่ออกไปอีก 6 เดือน เมื่อรวมกับกําหนดเวลาไถ่ ทั้งหมดแล้วไม่เกินกําหนดเวลาตามมาตรา 494 คือ ไม่เกิน 3 ปี การขยายระยะเวลาการไถ่จึงสามารถทําได้ตาม มาตรา 496 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการขยายเวลาการไถ่ดังกล่าวนั้นไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้รับไถ่คือนายบีตามมาตรา 496 วรรคสอง การขยายเวลาการไถ่นั้นจึงใช้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน นับแต่วันที่ตกลงขยายกําหนดเวลาไถ่ นายเอได้นําเงินไปขอไถ่ทองรูปพรรณคืนจากนายบี แต่นายปีกลับปฏิเสธ การไถ่โดยอ้างว่าล่วงเลยกําหนดเวลาไถ่แล้ว เพราะการขยายกําหนดเวลาไม่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตาม วิธีการที่กฎหมายกําหนดนั้น ข้อกล่าวอ้างกรณีนี้ของนายบีจึงรับฟังได้

2 การที่นายเอทําสัญญาขายฝากทองรูปพรรณไว้กับนายปีในราคา 19,999 บาท โดยไม่ได้ กําหนดจํานวนสินไถ่ไว้นั้น นายเอย่อมสามารถไถ่ทองรูปพรรณคืนในกําหนดเวลาได้โดยต้องนําเงินจํานวน 19,999 บาท ซึ่งเท่ากับราคาที่ขายฝากมาไถ่คืนจึงจะถือว่านายเอได้ใช้สิทธิโดยชอบตามมาตรา 499 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่นายที่อ้างว่าหากนายเอประสงค์จะไถ่ทองรูปพรรณกลับคืนจริงก็สามารถไถ่ได้ในราคา 31,000 บาท ต่อหนึ่งบาททองคําตามกําหนดราคาทองคําที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคํา ประจําวันที่ 11 มิถุนายน 2555 ซึ่ง เป็นวันที่ขอไถ่ถอนนั้น ข้อกล่าวอ้างกรณีนี้ของนายบีจึงไม่อาจรับฟังได้

สรุป
ข้อกล่าวอ้างของนายปีในส่วนของการขยายกําหนดเวลาไถ่รับฟังได้ แต่ข้อกล่าวอ้างของ นายปีในส่วนที่เกี่ยวกับสินไถ่นั้นรับฟังไม่ได้

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2105 (LAW 2005) ป.พ.พ.ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายแดงตกลงซื้อขายที่ดินจากนายดําในราคา 1 ล้านบาท โดยในวันที่ตกลงซื้อขายกัน นายแดง ได้ชําระเงินไว้ 2 แสนบาท และทั้งคู่ตกลงกันว่าค่าธรรมเนียมโอนให้ออกคนละครึ่ง หลังจากนั้น นายดําขายที่ดินให้นายขาวในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท โดยไปจดทะเบียนโอนให้ทันที กรณีดังกล่าว สัญญาซื้อขายระหว่างนายแดงกับนายดําเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และสัญญาซื้อขายระหว่าง นายดํากับนายขาวเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด มีผลทางกฎหมายอย่างไร และระหว่างนายแดง กับนายขาว ใครมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากัน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 453 “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่ง ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

มาตรา 456 “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อหรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐาน เป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้
บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกัน เป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย”

มาตรา 457 “ค่าฤชาธรรมเนียมทําสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายจึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย”

มาตรา 458 “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทําสัญญาซื้อขายกัน”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 456 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ จะต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ

แต่ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง หรือเป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าจะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือมีการวางประจํา (มัดจํา) ไว้ หรือได้มีการชําระหนี้กันบางส่วนแล้ว (มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 สัญญาซื้อขายระหว่างนายแดงกับนายดํา

การที่นายแดงได้ตกลงซื้อขายที่ดินจากนายดําในราคา 1 ล้านบาท โดยทั้งคู่ตกลงกันว่าค่าธรรมเนียมโอนให้ออกคนละครึ่งนั้น ถือว่านายแดงและนายดําได้แสดงเจตนาทําสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่ง เป็นอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 453 และการที่ทั้งสองได้มีข้อตกลงกันว่าค่าธรรมเนียมโอนให้ออกคนละครึ่ง ตามมาตรา 457 นั้น แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญายังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะ ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่
กฎหมายกําหนดไว้ให้เสร็จสิ้นอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายแดงและนายดําจึงเป็นสัญญา จะซื้อจะขายตามมาตรา 456 วรรคสอง และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแม้ทั้งสองจะมิได้ทําสัญญากันเป็นหนังสือ และสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างนายแดงและนายดํานั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่มีหลักฐานในการฟ้องร้อง บังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง เพราะการที่นายแดงได้ชําระเงินไว้ 2 แสนบาทนั้นถือเป็นการชําระหนี้บางส่วน

2 สัญญาซื้อขายระหว่างนายดํากับนายขาว

การที่นายดําได้ขายที่ดินให้นายขาวในราคา 1 ล้าน 5 แสนบาท และได้ไปจดทะเบียนโอนกัน ทันทีนั้น ถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และเมื่อทั้งสองได้ทําสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยการทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย มาตรา 456 วรรคหนึ่ง และจะมีผลทําให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันคือที่ดินได้โอนไปเป็นของนายขาว ตั้งแต่ที่ได้ทําสัญญาซื้อขายกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 458

ดังนั้น ระหว่างนายแดงกับนายขาว นายขาวจึงมีสิทธิในที่ดินดีกว่านายแดง เพราะเป็นผู้รับ โอนสิทธิในที่ดินถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกําหนด ส่วนนายแดงมีสิทธิแต่เพียงการฟ้องให้นายดําผู้ขายคืนเงิน ให้แก่ตนพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าปรับตามสัญญา (ถ้ามี) ได้เท่านั้น

สรุป

สัญญาซื้อขายระหว่างนายแดงกับนายดําเป็นสัญญาจะซื้อจะขายและมีผลสมบูรณ์ ส่วนสัญญาซื้อขายระหว่างนายดํากับนายขาวเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและมีผลสมบูรณ์เช่นเดียวกัน
และนายขาวจะมีสิทธิในที่ดินดีกว่านายแดง

ข้อ 2 นายเอกนํารถยนต์ของตนออกขายทอดตลาดโดยมีนายสองเป็นผู้ซื้อ หลังจากนายสองได้รถยนต์มา
ก็นําไปขายต่อให้กับนางสวย โดยนายสองรู้อยู่แล้วว่ารถยนต์ที่ตนซื้อมานั้นระบบเบรกมีปัญหาโดยในการขายนายสองทําข้อตกลงกับนางสวยว่าตนจะไม่ขอรับผิดหากมีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้น หลังจากนางสวยได้รถไปก็พบว่าระบบเบรกมีปัญหา จึงไปเรียกให้นายสองผู้ขายรับผิดใน ความชํารุดบกพร่องดังกล่าว นายสองต่อสู้ว่าทรัพย์นี้ตนซื้อมาจากการขายทอดตลาดประกอบกับ มีข้อตกลงว่าจะไม่ต้องรับผิด คนจึงไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องดังกล่าว

ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายสองฟังขึ้นหรือไม่ แล้วนายสองจะฟ้องนายเอกให้รับผิดในความ ชํารุดบกพร่องได้หรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้เสื่อม ราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า
ผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่”

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

มาตรา 483 “คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องหรือ เพื่อการรอนสิทธิก็ได้”

มาตรา 485 “ข้อสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลของการ อันผู้ขายได้กระทําไปเอง หรือผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสีย”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์
อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ หรือประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกนํารถยนต์ของตนออกขายทอดตลาดโดยมีนายสองเป็นผู้ซื้อ ต่อมานายสองได้นํารถยนต์คันดังกล่าวขายต่อให้นางสวย โดยนายสองรู้อยู่แล้วว่าระบบเบรกของรถที่ตนซื้อมานั้นมีปัญหา แต่ปกปิดไม่บอกให้นางสวยทราบ ซึ่งหลังจากนางสวยได้รถไปแล้วก็พบว่าระบบเบรกมีปัญหา การที่ระบบเบรก มีปัญหาถือเป็นกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นมีความชํารุดบกพร่องอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ ดังนั้น นายสองผู้ขายจึงต้องรับผิดต่อนางสวยผู้ซื้อตามมาตรา 472 โดยนายสองจะต่อสู้ว่า ทรัพย์นี้ตนซื้อมาจากการขายทอดตลาดอันจะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 473 (3) ไม่ได้ เพราะในการ ซื้อขายระหว่างนายสองและนางสวยนั้นไม่ใช่การซื้อขายจากการขายทอดตลาดแต่อย่างใด เป็นเพียงการซื้อขายปกติเท่านั้น และนายสองจะต่อสู้ว่าตนได้ทําข้อตกลงกับนางสวยว่าตนจะไม่ต้องรับผิดหากมีความชํารุดบกพร่อง เกิดขึ้นตามมาตรา 483 ก็ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากข้อตกลงว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชํารุดบกพร่องนั้น ไม่อาจคุ้มความรับผิดของผู้ขายในผลแห่งข้อความจริงอันผู้ขายได้รู้อยู่แล้วและปกปิดเสียตามมาตรา 485 ดังนั้น นายสองจึงต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นต่อนางสวย และข้อต่อสู้ทั้ง 2 กรณีของนายสองฟังไม่ขึ้น
ส่วนการที่นายสองได้ซื้อรถยนต์จากนายเอกนั้น เมื่อเป็นการซื้อขายจากการขายทอดตลาด ดังนั้นแม้จะมีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้น นายเอกผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิดต่อนายสองเพราะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 (3) นายสองจึงฟ้องให้นายเอกรับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องนั้นไม่ได้

สรุป

ข้อต่อสู้ของนายสองทั้ง 2 กรณีฟังไม่ขึ้น และนายสองจะฟ้องนายเอกให้รับผิดในความชํารุดบกพร่องไม่ได้

ข้อ 3 จําเลยทําสัญญาเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงหนึ่งของจําเลยไว้กับโจทก์ ในราคา 500,000 บาท ไม่ได้กําหนดค่าสินไถ่ กําหนดเวลาไถ่คืน 4 ปี ขายฝากที่ดินไปได้ 2 ปี จําเลยกับ โจทก์ได้ทําบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งโจทก์และจําเลยว่าโจทก์ยินยอมให้จําเลยไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาแล้ว แต่ไม่ได้กําหนดเวลาขยายต่อไปอีกกี่ปี เมื่อขายฝากไปได้ 5 ปี จําเลยได้นําเงินสดจํานวน 500,000 บาท มาขอไถ่ที่ดินแปลงนั้นคืนจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมให้จําเลยไถ่ที่ดินแปลงนั้นคืน โดยอ้างว่าเลยกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญา 4 ปีแล้ว และการตกลงให้ขยายกําหนดเวลาไถ่ก็ไม่ได้กําหนดเวลาขยายไว้ว่ากี่ปี การขยายกําหนดเวลาไถ่ จึงใช้บังคับโจทก์ไม่ได้ และค่าสินไถ่ก็ไม่ครบถ้วน ยังขาดดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจากราคาขายฝาก

ให้ท่านวินิจฉัยว่า จําเลยได้ใช้สิทธิไถ่ที่ดินแปลงนั้นคืนแล้วหรือยัง ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าการขยาย เวลาไม่ใช้บังคับไม่ได้ จํานวนสินไถ่ไม่ถูกต้อง ใช้ได้หรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมี ข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 492 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด หรือผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสํานักงานวางทรัพย์ภายในกําหนดเวลาไถ่
โดยสละสิทธิ์ถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไม่ได้ชําระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ แล้วแต่กรณี”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 496 “กําหนดเวลาไถ่นั้น อาจทําสัญญาขยายกําหนดเวลาไม่ได้ แต่กําหนดเวลาไถ่รวมกัน ทั้งหมด ถ้าเกินกําหนดเวลาตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกําหนดเวลาตามมาตรา 494

การขยายกําหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่…”

มาตรา 498 “สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินนั้นจะพึงใช้ได้เฉพาะต่อบุคคลเหล่านั้น คือ

(1) ผู้ขายเดิมหรือทายาทของผู้ขายเดิม….”

มาตรา 499 วรรคหนึ่ง “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่จําเลยทําสัญญาเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากที่ดินแปลงหนึ่งของจําเลย ไว้กับโจทก์ในราคา 500,000 บาท แต่ไม่ได้กําหนดค่าสินไถ่ไว้ โดยกําหนดเวลาไถ่คืน 4 ปีนั้น สัญญาขายฝาก ดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง และกําหนดเวลาไถ่คืน ก็ไม่เกินจากที่กฎหมายได้กําหนดไว้ตามมาตรา 494 (1)

หลังจากขายฝากที่ดินไปได้ 2 ปี การที่จําเลยกับโจทก์ได้ทําบันทึกข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
ทั้งโจทก์และจําเลยว่าโจทก์ยินยอมให้จําเลยไถ่ที่ดินที่ขายฝากหลังจากครบกําหนดเวลาไถ่ตามสัญญาแล้วนั้น ถือได้ว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาขยายกําหนดเวลาไถ่ แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผล บังคับให้ผูกพันโจทก์ผู้มีหน้าที่รับไถ่ตามมาตรา 498 (1) ซึ่งได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวตามมาตรา 496 วรรคสองที่ต้องปฏิบัติตาม และเมื่อสัญญาขยายกําหนดเวลาไถ่มิได้กําหนดเวลาไว้จึงต้องบังคับตามมาตรา 494 (1) กล่าวคือ จําเลยย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากได้ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันทําสัญญาขายฝาก เมื่อขายฝาก ไปได้ 5 ปี จําเลยนําเงินสดจํานวน 500,000 บาท มาขอไถ่ที่ดินแปลงนี้คืนจากโจทก์ การใช้สิทธิไถ่ที่ดินแปลงนี้ ของจําเลยจึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อถือว่าจําเลยได้ไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กฎหมายกําหนด กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้จึงโอนกลับมาเป็นของจําเลยแล้วตามมาตรา 492 วรรคหนึ่ง ส่วนจํานวนเงินสินไถ่ เมื่อไม่ได้กําหนดจํานวนไว้ว่าเท่าใด จําเลยจึงสามารถไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากคือ 500,000 บาท ตามมาตรา 499 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าการขยายเวลาไม่ใช้บังคับไม่ได้ และจํานวนสินไถ่ไม่ถูกต้องนั้นจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าการขยายเวลาไม่ใช้บังคับไม่ได้ จํานวนสินไถ่ไม่ถูกต้อง จึงใช้ไม่ได้

LAW2105 (LAW2005) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2105 (LAW 2005) ป.พ.พ.ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ไม่มีเงินสดครบจํานวน นายไก่และนายไข่จึงตกลงกันว่า ให้นายไข่ผ่อนชําระเดือนละ 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อชําระครบนายไก่ต้องไปโอนบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ โดยทําสัญญาด้วยวาจา นายไก่ส่งมอบ บ้านและที่ดินให้แก่นายไข่เมื่อนายไข่ชําระเงินงวดแรกคือ 1 แสนบาท หลังจากนั้นนายไข่ก็ไม่ยอมผ่อนชําระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้

(1) สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด
(2) นายไก่จะฟ้องนายไข่ว่าผิดสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคํามั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มี หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสําคัญ หรือได้วางประจําไว้ หรือได้ชําระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

วินิจฉัย

“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสําเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขาย ที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อได้ตกลงที่จะชําระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ชายแล้ว โดยไม่ต้องคํานึงว่าในขณะที่ ตกลงทําสัญญาซื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชําระราคากันแล้วหรือไม่

“สัญญาจะซื้อขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทําตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กําหนดไว้ในภายหน้า คือ เมื่อได้ไป ทําสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไก่ตกลงขายบ้านและที่ดินให้นายไข่ในราคา 1 ล้านบาท แต่นายไข่ ไม่มีเงินสดครบจํานวน นายไก่และนายไข่จึงตกลงกันว่าให้นายไข่ผ่อนชําระเดือนละ 1 แสนบาท เป็นเวลา 10 เดือน เมื่อชําระครบนายไก่ต้องไปโอนบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่ โดยทําสัญญากันด้วยวาจา และนายไก่ส่งมอบบ้าน และที่ดินให้แก่นายไข่เมื่อนายไข่ได้ชําระเงินงวดแรกคือ 1 แสนบาทแล้วนั้น สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดิน ระหว่างนายไก่และนายไข่เป็นสัญญาจะซื้อขาย (จะซื้อจะขาย) อสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาที่คู่กรณียัง มิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะทําสัญญาซื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันเมื่อได้ไปกระทําตามแบบที่กฎหมายกําหนดในภายหน้า และสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว

แม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์ เพราะสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายไม่ได้กําหนดแบบไว้แต่อย่างใด

สัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายไก่และนายไข่นั้น แม้จะไม่ได้ทําสัญญากันเป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาจะซื้อขาย ระหว่างนายไก่และนายไข่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 456 วรรคสอง คือได้มีการชําระหนี้ บางส่วนกันแล้ว โดยนายไก่ได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่นายไข่แล้ว และนายไข่ก็ได้ชําระหนี้ให้แก่นายไก่ ไปแล้วบางส่วนคือ 1 แสนบาท ดังนั้น เมื่อนายไข่ไม่ยอมผ่อนชําระเงินตามที่ตกลงกันไว้ นายไก่ย่อมสามารถฟ้อง นายไข่ว่าผิดสัญญาได้ เพราะมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีคือการชําระหนี้บางส่วน

สรุป

(1) สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างนายไก่และนายไข่ เป็นสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

(2) นายไก่สามารถฟ้องนายไข่ว่าผิดสัญญาได้

ข้อ 2 นายโจ้เป็นพ่อค้าขายรถสปอร์ตหรูใช้แล้วนําเข้าจากต่างประเทศ แต่วิธีการขายจะเป็นการขาย แบบขายทอดตลาดทุกครั้ง ครั้งละ 5 คัน นายหนึ่งประมูลได้ไปหนึ่งคันในราคา 10 ล้านบาท หลังจากชําระราคาส่งมอบรถกันเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายหนึ่งใช้รถที่ประมูลซื้อมาได้ประมาณ หนึ่งเดือน เครื่องยนต์ขัดข้องอยู่บ่อยครั้งไม่สมราคา 10 ล้านบาท แจ้งให้นายโจ้แก้ไขความชํารุด บกพร่องที่เกิดขึ้น นายโจ้ปฏิเสธ นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่ เกิดขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด

ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง
และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473
เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งได้ประมูลรถสปอร์ตหรูใช้แล้วนําเข้าจากต่างประเทศจากการ ขายทอดตลาดของนายโจ้ซึ่งเป็นพ่อค้าไปหนึ่งคันในราคา 10 ล้านบาท หลังจากชําระราคาและส่งมอบรถกัน

เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านายหนึ่งใช้รถที่ประมูลซื้อมาได้ประมาณหนึ่งเดือน เครื่องยนต์ขัดข้องอยู่บ่อยครั้งไม่สมราคา 10 ล้านบาทนั้น ย่อมถือว่ามีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่นายหนึ่งได้ซื้อมาจากนายโจอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันจะมุ่งใช้เป็นปกติ ซึ่งโดยหลักแล้วนายโจ้ผู้ขายจะต้องรับผิด ในความชํารุดบกพร่องนั้น ไม่ว่านายโจ้ผู้ขายจะได้รู้ถึงความชํารุดบกพร่องนั้นหรือไม่ก็ตาม ตามมาตรา 472

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อรถสปอร์ตหรูคันดังกล่าวที่นายหนึ่งได้ซื้อมาจากนายโจ้นั้น เป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายโจ้ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น การที่นายหนึ่งได้แจ้งให้นายโจ้แก้ไขความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้น แต่นายโจ้ปฏิเสธ นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

สรุป นายหนึ่งจะฟ้องให้นายโจ้รับผิดชอบในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้

ข้อ 3 นายสองนําควายไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากไว้กับนายสามจํานวน 10 ตัว ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท ไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปี ในราคาตัวละ 3 หมื่นบาท เมื่อรับซื้อฝากไว้เพียงเดือนเดียว ควายที่รับซื้อฝากไว้ถูกฟ้าผ่าตายไป 5 ตัว ก่อนครบ 1 ปี นายสองมาขอใช้สิทธิในการไถ่ควายคืน จากนายสามพร้อมเงินสินไถ่ตัวละ 3 หมื่นบาท นายสามปฏิเสธไม่ให้ไม่โดยอ้างว่า ยังไม่ครบ 1 ปี สินไถ่ต้องตัวละ 5 หมื่นบาทจึงจะให้ไถ่ คําปฏิเสธของนายสามรับฟังได้หรือไม่ และนายสองจะ ฟ้องเรียกค่าเสียหายควายถูกฟ้าผ่าตายจากนายสามตัวละ 5 พันบาทได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าต้นขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมี ข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย (2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไม่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

มาตรา 501 “ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้น ท่านว่าต้องส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาไถ่ แต่ถ้าหากว่า ทรัพย์สินนั้นถูกทําลายหรือทําให้เสื่อมเสียไปเพราะความผิดของผู้ซื้อไซร้ ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้น คืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่นายสองนําควายซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝาก ไว้กับนายสามจํานวน 10 ตัว ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท ตกลงไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปีนั้น สัญญาขายฝากดังกล่าว ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง และกําหนดเวลาไถ่คืนก็ไม่เกิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 494 (2)

2 ก่อนครบกําหนด 1 ปี การที่นายสองมาขอใช้สิทธิในการไถ่ควายคืนจากนายสามนั้น นายสองย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายสองผู้ขายฝากแต่เพียงฝ่ายเดียวที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายใน กําหนด 1 ปี ตามมาตรา 491 และมาตรา 494. ดังนั้น การที่นายสามปฏิเสธไม่ให้ไถ่โดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปีนั้น คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังไม่ได้

3 การที่นายสองขายฝากควายไว้ในราคาตัวละ 5 หมื่นบาท และตกลงว่าจะไม่คืนในราคาตัวละ 3 หมื่นบาทนั้น จะเห็นได้ว่าสินไถ่ที่กําหนดไว้นั้นแม้จะต่ํากว่าราคาที่รับซื้อฝากก็ตาม แต่คู่กรณีย่อมสามารถที่จะ ตกลงกันได้ตามมาตรา 499 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อนายสองจะใช้สิทธิไถ่ควายคืนในราคาตัวละ 3 หมื่นบาท ตามที่ ตกลง นายสามจะปฏิเสธไม่ให้ไถ่โดยอ้างว่านายสองจะต้องใช้สินไถ่ตัวละ 5 หมื่นบาทนั้น คําปฏิเสธของนายสามจึงรับฟังไม่ได้

4 การที่นายสองนําควายไปขายฝากไว้กับนายสาม 10 ตัว หลังจากนั้นอีก 1 เดือน ควายที่ นายสามรับซื้อฝากไว้นั้นถูกฟ้าผ่าตายไป 5 ตัว การที่ควายตายไป 5 ตัวนั้น ถือเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก ภัยธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของนายสามผู้ซื้อฝากแต่อย่างใด ดังนั้น นายสองจะฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากการที่ควายถูกฟ้าผ่าตายจากนายสามตัวละ 5 พันบาท ตามมาตรา 501 ไม่ได้

สรุป การที่นายสามปฏิเสธไม่ให้นายสองไถ่ควายคืนโดยอ้างว่ายังไม่ครบ 1 ปี และสินไถ่ต้อง ตัวละ 5 หมื่นบาทนั้น รับฟังไม่ได้ และนายสองจะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ควายถูกฟ้าผ่าตาย 5 ตัว จากนายสาม ตัวละ 5 พันบาทไม่ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!