LAW2006 กฎหมายอาญา1 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2006 กฎหมายอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ดํานั่งดื่มกาแฟคนละโต๊ะกับขาวที่ร้านกาแฟหน้าหมู่บ้าน ขณะที่ร้านกาแฟเปิดทีวีถ่ายทอดสด รายการฟุตบอลให้ลูกค้าชม ดําเชียร์ฟุตบอลเสียงดัง ขาวคุยกับเพื่อนไม่ได้ยินจึงพูดกับคําว่าช่วยเชียร์ ฟุตบอลเสียงเบา ๆ หน่อย เพราะคนอื่นคุยกันแล้วไม่ได้ยิน ดําไม่พอใจลุกขึ้นเดินเข้ามาหาขาวแล้ว เงื้อมือจะตบหน้าขาวในระยะประชิดตัว ขาวผลักดําครั้งเดียว ดําหกล้มสะดุดขาตัวเองหกล้มขาหัก ดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดในทางอาญาฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทํา โดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

การกระทําที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะมีผลทําให้ผู้กระทําไม่มีความผิด
และไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

(2) ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

(3) ผู้กระทําจําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น

(4) ต้องได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ขาวผลักดําทําให้ดําล้มสะดุดขาตัวเองหกล้มขาหักนั้น ถือว่าขาวได้กระทํา ต่อดําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการกระทํา และในขณะเดียวกัน ขาวก็ได้ประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น ซึ่งโดยหลักแล้วขาวจะต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ขาวได้ผลักดํานั้นเป็นเพราะดําได้เดินเข้ามาหาขาวแล้วเงื้อมือจะตบหน้าขาว ในระยะประชิดตัว ซึ่งลักษณะการกระทําของดํานั้น ย่อมถือได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิด ต่อกฎหมายเกิดขึ้นกับขาว และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ขาวจึงต้องกระทําคือการผลักดําเพื่อป้องกันสิทธิของตน

อีกทั้งการที่ขาวได้ผลักดําเพียงครั้งเดียวย่อมถือว่าขาวได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ ดังนั้น การกระทําของขาว จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ของการกระทําอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา68 ขาวจึงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดทางอาญา

สรุป ขาวไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 2 ม่วงกับส้มขัดใจกันเรื่องผลประโยชน์ธุรกิจที่ทําร่วมกัน วันเกิดเหตุม่วงพบส้มที่ตลาด ขณะส้ม กําลังยืนซื้อของ ม่วงเดินมาข้างหลังส้มแล้วหยิบขวดแอลกอฮอล์ (จุดไฟติด) เทราดส้มตั้งแต่ศีรษะ ลงมาถึงเท้า แล้วใช้ไฟแช็คจุดไฟที่ต้นคอส้ม ไฟไหม้ตามตัวส้มร้อยละ 90 ชาวบ้านเห็นเหตุการณ์ เข้าห้ามและช่วยนําตัวส้มส่งโรงพยาบาล ส้มบาดเจ็บ

ดังนี้ ม่วงจะต้องรับผิดในทางอาญาใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทํา โดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ม่วงกับส้มขัดใจกันเรื่องผลประโยชน์ธุรกิจที่ทําร่วมกัน เมื่อม่วงพบส้มที่ ตลาดขณะส้มกําลังซื้อของ ม่วงเดินเข้ามาข้างหลังส้มแล้วหยิบขวดแอลกอฮอล์ (จุดไฟติด) เทราดส้มตั้งแต่ศีรษะ ลงมาถึงเท้า แล้วใช้ไฟแช็คจุดไฟที่ต้นคอส้ม ทําให้ไฟไหม้ตามตัวส้มร้อยละ 90 นั้น การกระทําของม่วงเป็น การกระทําโดยเจตนาประสงค์ต่อผลตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น คือความตายของส้ม ดังนั้นม่วงจึงต้องรับผิดทางอาญา ต่อส้มตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา…….”

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าส้มไม่ตายตามความประสงค์ของม่วง เนื่องจากชาวบ้าน ได้เห็นเหตุการณ์เข้าห้ามและนําส้มส่งโรงพยาบาล ส้มจึงเพียงแต่บาดเจ็บ จึงเป็นกรณีที่ม่วงได้ลงมือกระทํา

ความผิด ซึ่งได้กระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ม่วงจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าส้มโดยเจตนา ตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

สรุป ม่วงจะต้องรับผิดทางอาญาฐานพยายามฆ่าส้มโดยเจตนา

ข้อ 3 นายโก๋เคยมีเรื่องโกรธเคืองกับนายดํามาก่อน เห็นนายดําเดินมาจึงเข้าไปชกต่อยจนนายดําล้มลง แล้วตามเข้าไปจะเตะซ้ําอีก นายขาวเห็นเหตุการณ์เข้าห้ามไม่ให้นายโก๋ทําร้ายนายดํา นายโก๋ไม่พอใจจึงชักมีดแทงนายขาวได้รับบาดเจ็บล้มลง แล้วนายโก๋ใช้มีดจะเข้าไปทําร้ายนายดําอีก นายขาวจึงคว้าไม้ตีนายโก๋ศีรษะแตกล้มลงและไม้ยังหักกระเด็นไปถูกนายดําได้รับบาดเจ็บอีกด้วย ดังนี้ นายขาวจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทํา โดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น……..”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายขาวจะต้องรับผิดทางอาญาอย่างไร หรือไม่ วินิจฉัยได้ดังนี้

การที่นายโก๋เคยมีเรื่องโกรธเคืองกับนายดํามาก่อน เมื่อเห็นนายดําเดินมาจึงเข้าไปชกต่อยจนนายดําล้มลงแล้วตามเข้าไปจะเตะซ้ําอีก นายขาวเห็นเหตุการณ์เข้าไปห้ามไม่ให้นายโก๋ทําร้ายนายดํา ทําให้นายโก๋ไม่พอใจจึงชักมีดแทงนายขาวได้รับบาดเจ็บล้มลง แล้วนายโก๋ใช้มีดจะเข้าไปทําร้ายนายดําอีก นายขาวจึงคว้าไม้ตีนายโก๋ศีรษะแตกล้มลงนั้น การกระทําของนายขาวเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทํา ประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของนายขาวจึงเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ซึ่งโดยหลักแล้วนายขาวจะต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การกระทําของนายขาวถือได้ว่าเป็นการกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของนายดํา ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อีกทั้งนายขาว
ได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทําของนายขาวจึงเป็นการกระทําที่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายขาวจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อนายโก๋ตามมาตรา 68

และเมื่อการที่นายขาวได้ใช้ไม้ตีนายโก๋จนศีรษะแตกล้มลง และไม้ยังหักกระเด็นไปถูกนายดํา
ได้รับบาดเจ็บอีกด้วยนั้น การกระทําของนายขาวต่อนายดํานั้นถือว่าเป็นการกระทําโดยเจตนาโดยพลาดไปตาม มาตรา 60 แต่เมื่อเจตนาตอนแรกของนายขาวเป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นผลที่เกิดขึ้น โดยพลาด จึงเป็นผลที่เกิดจากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยตามมาตรา 60 ประกอบมาตรา 68 นายขาวจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อนายดําเช่นกัน

สรุป นายขาวไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อนายโก๋และนายดํา เพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 4 หนึ่งกับสองร่วมกันวางแผนขโมยวัว ในตอนกลางคืน หนึ่งเข้าไปจูงวัวจากคอกของนายช้างไปส่ง ให้สองซึ่งรออยู่ชายทุ่ง ห่างจากคอกนายช้างประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อหนึ่งขโมยวัวมาส่งให้สอง แล้วหนึ่งก็กลับบ้านไป สองจูงวัวไปขายให้กับสาม สามรู้ว่าเป็นวัวที่ถูกขโมยมาแต่เห็นว่าราคาถูก ก็รับซื้อไว้

ดังนี้ สองและสามจะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดที่หนึ่งขโมยวัวจากคอกของนายช้างในฐาน เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทําของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วม กระทําความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทําความผิด

ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ”

มาตรา 86 “ผู้ใดกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่น กระทําความผิดก่อน หรือขณะกระทําความผิด แม้ผู้กระทําความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดที่สนับสนุนนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ สองและสามจะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดที่หนึ่งขโมยวัวจากคอกของ นายช้างในฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนหรือไม่ อย่างไร แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของสอง

แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า สองได้ร่วมกับหนึ่งวางแผนขโมยวัวในตอนกลางคืนจากคอกของนายช้าง
ในตอนแรกก็ตาม แต่ตอนที่หนึ่งเข้าไปขโมยวัวจากคอกของนายช้างนั้น สองไม่ได้อยู่ร่วมกระทําความผิดด้วย เนื่องจากสองได้รออยู่ชายทุ่งห่างประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งไม่สามารถมองเห็นหรือช่วยเหลือได้ สองจึงมิใช่ตัวการ ที่จะต้องร่วมรับผิดกับหนึ่งตามาตรา 83 เพื่อนําไปขายให้กับนายสามนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อหนึ่งได้เข้าไปขโมยวัวจากคอกของนายช้างแล้ว ได้จูงวัวไปส่งให้นายสอง การร่วมกันวางแผนขโมยวัวและการไปรอรับวัวอยู่ที่ชายทุ่งของสอง ย่อมถือว่า เป็นการกระทําอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนการกระทําความผิดแล้ว เมื่อหนึ่งได้ลงมือกระทํา ความผิดสําเร็จ สองจึงต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86

กรณีของสาม

แม้สามจะได้รับซื้อวัวไว้และรู้ว่าเป็นวัวที่ถูกขโมยมา สามก็ไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83 หรือเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84 แต่อย่างใด เพราะสามไม่ได้ร่วมกันกระทําความผิดกับหนึ่ง หรือเป็นผู้ “ก่อ” ให้หนึ่ง กระทําความผิด และสามก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 เพราะสามไม่ได้กระทําการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่หนึ่งกระทําความผิดก่อนหรือขณะกระทําความผิดแต่อย่างใด แต่การกระทําดังกล่าวของสามย่อมเป็นความผิดฐานใหม่คือ ความผิดฐานรับของโจร

สรุป สองมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามาตรา 86 ส่วนสามไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือสนับสนุนแต่อย่างใด แต่สามจะมีความผิดฐานใหม่ คือความผิดฐานรับของโจร

LAW2006 กฎหมายอาญา1 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2006 กฎหมายอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 ดําไม่พอใจท่าเดินกวนประสาทของขาวขณะเดินซื้อของที่ตลาด เมื่อขาวเดินมาใกล้ ดําตบและชก หน้าขาว ขาวล้มลง ดํากระชากคอเสื้อขาวจะชกซ้ำ ขาวผวาเข้ากอดดํากัดหูดําแหว่ง ดําทนเจ็บไม่ไหว ปล่อยขาว ดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดชอบอาญาอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

การกระทําที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะมีผลทําให้ผู้กระทําไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

(2) ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

(3) ผู้กระทําจําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น (4) ต้องได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ขาวกัดหูดําแหว่งนั้น ถือว่าขาวได้กระทําต่อดําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึกในการกระทํา และในขณะเดียวกันขาวก็ได้ประสงค์ต่อผลของการ กระทํานั้น ซึ่งโดยหลักแล้วขาวจะต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเหตุที่ขาวผวาเข้ากอดดําและกัดดําหูแหว่งนั้น เป็นเพราะ ดําตบและชกหน้าขาว เมื่อขาวล้มลง ดํากระชากคอเสื้อขาวและจะชกช้ํา ซึ่งการกระทําของดํานั้น ย่อมถือได้ว่า มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้นกับขาว และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ทําให้ขาวต้องกระทําคือการผวาเข้ากอดดําและกัดหูดําเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากการถูกทําร้ายเนื่องจากขาวไม่มีทางเลือกอื่นใด และเมื่อการกระทําของขาวเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ ดังนั้น การกระทําของขาว ดังกล่าวจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68 ขาวจึงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษทางอาญา

สรุป ขาวไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 2 หนึ่งกับสองเป็นวัยรุ่นชอบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ซิ่ง หนึ่งยืนดูช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ของตน ที่อู่ประจําเห็นสองนํารถมอเตอร์ไซค์ 100 ซีซี เข้ามาให้ช่างซ่อม ขณะที่สองนั่งคุยกับช่างซ่อม หนึ่งเดินเข้ามาหาแล้วพูดว่า อู่นี้ไม่รับซ่อมรถกระจอก 100 ซีซี เสียเวลาช่าง ไม่มีเงินซื้อบิ๊กไบค์ ก็อย่ามาซ่อมทุเรศและเอาเท้าลูบศีรษะสอง สองลุกขึ้นมาชกหน้าหนึ่ง หนึ่งคิ้วแตก ดังนี้ สองต้อง รับโทษอาญาอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 72 “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทําความผิด ต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

วินิจฉัย

การกระทําความผิดที่ผู้กระทําสามารถอ้างเหตุ “บันดาลโทสะ” เพื่อให้ศาลลดหย่อนผ่อนโทษ ตามมาตรา 72 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

1 ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

2 การข่มเหงเช่นนั้นเป็นเหตุให้ผู้กระทําผิดบันดาลโทสะ

3 ผู้กระทําได้กระทําความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่หนึ่งพูดกับสองว่าอู่นี้ไม่รับซ่อมรถกระจอก 100 ซีซี เสียเวลาช่าง ไม่มีเงิน ซื้อบิ๊กไบค์ก็อย่ามาซ่อมทุเรศนั้น คําพูดดังกล่าวของหนึ่งที่พูดแซวเสียดสีสองเป็นเพียงคําพูดที่ไม่เหมาะสมยังไม่ถือว่า เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรง แต่การที่หนึ่งเอาเท้าลูบศีรษะสองนั้นถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามความรู้สึกของคนธรรมดาทั่วไปในสภาพภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับสองแล้ว ดังนั้น การที่สองลุกขึ้นมาชกหน้าหนึ่งบาดเจ็บนั้น แม้จะถือว่าสองได้กระทําโดยเจตนาต่อหนึ่งตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะสองได้กระทําไปโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันสองก็ได้ประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น ซึ่งทําให้สองต้องรับผิดตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อสองได้กระทําไป เพราะบันดาลโทสะและได้กระทําต่อหนึ่งผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น สองย่อมสามารถอ้างได้ว่าตนได้กระทําความผิดเพราะบันดาลโทสะ เพื่อให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ตามมาตรา 72

สรุป สองต้องรับโทษทางอาญาฐานทําร้ายร่างกายหนึ่ง แต่สองอ้างได้ว่ากระทําเพราะบันดาลโทสะ เพื่อให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ข้อ 3 นายเสือกับนายสิงห์มีปัญหาขัดแย้งกันในเรื่องธุรกิจผิดกฎหมาย นายเสือจึงต้องการฆ่านายสิงห์ วันเกิดเหตุนายเสือไปดักรอนายสิงห์ที่หน้าบ้าน เมื่อนายสิงห์มาจอดรถและกําลังไปเปิดประตูรั้วบ้าน นายเสือได้ใช้ปืนจ้องเล็งไปที่นายสิงห์ นายสิงห์ซึ่งคอยระวังตัวอยู่ก่อนแล้วได้ใช้ปืนยิงไปที่นายเสือกระสุนปืนไม่ถูกนายเสือแต่ถูกเสารั้วแล้วแฉลบไปถูกนางนกซึ่งกําลังยืนรดน้ําต้นไม้อยู่บ้านตรงข้ามถึงแก่ความตาย ดังนี้ กรณีนางนกซึ่งถึงความตาย นายสิงห์จะอ้างว่ากระทําเพื่อป้องกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น….”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสิงห์ได้ใช้ปืนยิงไปที่นายเสือ กระสุนปืนไม่ถูกนายเสือแต่ถูกเสารั้ว แล้วแฉลบไปถูกนางนกซึ่งกําลังยืนรดน้ําต้นไม้อยู่บ้านตรงข้ามถึงแก่ความตายนั้น การกระทําของนายสิงห์เป็น การกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทํา ของนายสิงห์จึงเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ซึ่งโดยหลักแล้วนายสิงห์จะต้องรับผิดทางอาญามาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายสิงห์ใช้ปืนยิงไปที่นายเสือนั้น เป็นเพราะนายเสือได้ใช้ปืนจ้องเล็งไปที่ นายสิงห์ด้วยเจตนาจะฆ่านายสิงห์ก่อน การที่นายสิงห์ใช้ปืนยิงไปที่นายเสือจึงถือเป็นการกระทําเพื่อป้องกันชีวิต
ของตนให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
อีกทั้งเป็นการกระทําที่พอสมควรแก่เหตุ การกระทําของนายสิงห์จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา 68 ดังนั้น นายสิงห์จึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อนายเสือ

และเมื่อการที่นายสิงห์ใช้ปืนยิงไปที่นายเสือ แต่กระสุนไม่ถูกนายเสือแต่ถูกเสารั้วแล้วแฉลบไปถูก นางนกถึงแก่ความตายนั้น การกระทําของนายสิงห์ต่อนางนกนั้น ถือเป็นการกระทําโดยเจตนาโดยพลาดไปตาม มาตรา 60 ซึ่งเมื่อเจตนาตอนแรกของนายสิงห์เป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้น โดยพลาดไปจึงถือเป็นผลที่เกิดจากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยตามมาตรา 60 ประกอบมาตรา 68 นายสิงห์จึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อนางนกด้วยเช่นกัน

สรุป กรณีนางนกถึงแก่ความตาย นายสิงห์สามารถอ้างได้ว่าเป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมายได้

ข้อ 4 นายดําต้องการฆ่านางสมศรีเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ วันเกิดเหตุขณะที่นางสมศรีกําลังเดินทวงหนี้
แม่ค้าในตลาด นายดําได้มอบปืนให้นายแดงโดยหลอกว่าเป็นปืนปลอมให้ไปยิงล้อเล่นนางสมศรี ให้ตกใจ นายแดงหลงเชื่อว่าเป็นปืนปลอมตามที่ถูกหลอกลวงจึงใช้ปืนยิงไปที่นางสมศรี นางสมศรี ถูกกระสุนปืนและถึงแก่ความตาย ดังนี้ อยากทราบว่าการกระทําของนายดําเป็นความผิดฐานเป็น ผู้ใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อ ได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดย ประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

ถ้าผู้กระทํามิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทําประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้”

มาตรา 84 “ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน หรือยุยง ส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทําความผิด

ถ้าความผิดมิได้กระทําลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทํา ยังไม่ได้กระทําหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น

ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําต้องการฆ่านางสมศรี และขณะที่นางสมศรีกําลังเดินทวงหนี้แม่ค้า ในตลาด นายดําได้มอบปืนให้นายแดงโดยหลอกว่าเป็นปืนปลอมให้ไปยิงล้อเล่นนางสมศรีให้ตกใจ นายแดงหลงเชื่อว่า เป็นปืนปลอมตามที่ถูกหลอกลวงจึงใช้ปืนยิงไปที่นางสมศรี นางสมศรีถูกกระสุนปืนและถึงแก่ความตายนั้น กรณี ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า นายแดงผู้ถูกใช้ไม่มีเจตนาที่จะฆ่านางสมศรี เพราะนายแดงไม่รู้ว่าปืนที่นายดํามอบให้ เป็นปืนจริงที่มีอานุภาพทําให้ผู้ถูกยิงถึงแก่ความตายได้ จึงถือว่านายแดงไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และจะถือว่านายแดงผู้กระทําประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้ตามมาตรา 59 วรรคสาม นายแดงจึงไม่มีความผิดฐานเจตนาฆ่านางสมศรีตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อมามีว่า การกระทําของนายดําเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้หรือไม่ กรณีนี้เห็นว่า ความผิดฐานเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ใช้และผู้อื่นที่ถูกใช้นั้นมีเจตนาที่จะกระทํา ความผิดด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายแดงผู้ถูกใช้ไม่มีเจตนาที่จะกระทําความผิด ดังนั้น นายดําจึงไม่มีความผิด ฐานเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84 แต่ถือว่านายดํามีความผิดฐานเจตนาฆ่านางสมศรี โดยเป็นการกระทําโดยอ้อมของ นายดํา คือเป็นการกระทําของนายดําโดยอาศัยนายแดงเป็นเครื่องมือนั่นเอง

สรุป การกระทําของนายดําไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ แต่เป็นการกระทําโดยอ้อมของนายดํา

LAW2006 กฎหมายอาญา1 s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2006 กฎหมายอาญา 1

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นายโมหะกลับบ้านตอนดึกได้ทราบข่าวจากนางโมรีที่เป็นภริยาว่า มอคค่าหมาที่เลี้ยงไว้กัด เด็กหญิงโมจิลูกสาวได้รับบาดเจ็บที่ขาขวา นายโมหะโมโหมอคค่ามาก ตั้งใจว่าจะไม่อยู่ร่วมโลกกับ มอคค่าอีกต่อไป จึงยืนดักรอมอคค่ากลับมาบ้าน ผ่านไปครู่ใหญ่มีหมาตัวหนึ่งลอดประตูรั้วเข้าบ้าน มาคุ้ยเขี่ยเศษอาหารกินด้วยความหิวโหย นายโมหะจึงเดินไปที่รถหยิบไม้กอล์ฟในรถมาฟาดไปที่ ศีรษะหมาตัวนั้นจนตายด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม แต่ในความเป็นจริงแล้วตัวที่ตายเป็นเอสเปรสโซ่ หมาของนายโทโสเพื่อนบ้าน จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายโมหะ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทํา โดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

ถ้าผู้กระทํามิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทําประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้

กระทําโดยประมาท ได้แก่กระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทําโดยปราศจากความระมัดระวัง
ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”

มาตรา 62 วรรคสอง “ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรคสามแห่งมาตรา 59 หรือ ความสําคัญผิดว่ามีอยู่จริงตามความในวรรคแรก ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาทของผู้กระทําความผิด ให้ผู้กระทํา รับผิดฐานกระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า การกระทํานั้นผู้กระทําจะต้องรับโทษ แม้กระทําโดยประมาท”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้วบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทํา โดยประมาทในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือในกรณีที่กฎหมายได้บัญญัติไว้
โดยชัดแจ้งให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา (มาตรา 59 วรรคหนึ่ง)

การกระทําโดยเจตนา ได้แก่การกระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทํา ประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้กระทํามิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็น องค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทําประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้นมิได้ คือจะถือว่า ผู้กระทําได้กระทําโดยเจตนาไม่ได้นั่นเอง (มาตรา 59 วรรคสอง และมาตรา 62 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายโมหะได้ใช้ไม้กอล์ฟฟาดไปที่ศีรษะหมา คือ เอสเปรสโซ่ตายนั้น เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สํานึกจึงถือว่าเป็นการกระทําทางอาญาแล้ว แต่การกระทําดังกล่าวของ
นายโมหะจะถือว่าเป็นการกระทําโดยเจตนาหาได้ไม่ เพราะนายโมหะได้กระทําโดยมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็น องค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 59 วรรคสาม คือไม่รู้ว่าหมาที่ตนใช้ไม้กอล์ฟฟาดจนตายนั้นเป็นทรัพย์ ของผู้อื่นไม่ใช่มอคค่าหมาของตนเอง ดังนั้นนายโมหะจึงไม่มีความรับผิดทางอาญาฐานทําให้เสียทรัพย์
(องค์ประกอบของความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 358 คือ

1 ทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้ เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์

2 ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

3 โดยเจตนา)

และแม้ว่าการไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดนั้น ได้เกิดขึ้นด้วยความประมาท ของนายโมหะ เนื่องจากนายโมหะได้ฟาด เอสเปรสโซ่ซึ่งเป็นหมาของนายโทโสตายนั้น ได้กระทําโดยไม่ทันดูให้ดีว่า ไม่ใช่มอคค่าหมาของตน แต่นายโมหะก็ไม่ต้องรับผิดฐานประมาททําให้เสียทรัพย์ทั้งนี้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ การกระทําโดยประมาททําให้เสียทรัพย์นั้นเป็นความผิดแต่อย่างใดตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบกับ มาตรา 62 วรรคสอง ดังนั้นนายโมหะจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญา

สรุป นายโมหะไม่มีความรับผิดทางอาญา

ข้อ 2 นางสาวลิ้นจี่ต้องการฆ่านายแคนตาลูป เมื่อเห็นนายองุ่นเต้นแอโรบิคอยู่จึงเข้าใจว่าเป็นนายแคนตาลูป นางสาวลิ้นจีจึงใช้อาวุธปืนยิงไปที่นายองุ่น ทําให้นายองุ่นได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย และกระสุนยังไปถูกนางสาวสุ่มได้รับบาดเจ็บที่ขาขวาจนเสียหลักล้มลงไปทับลูกหมาของนางแตงโมด้วย จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนางสาวลิ้นจี่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทํา โดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท
หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา
กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น

กระทําโดยประมาท ได้แก่ กระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้
แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น แต่ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทํากับบุคคลที่ได้รับผลร้าย
มิให้นํากฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทําให้หนักขึ้น”

มาตรา 61 “ผู้ใดเจตนาจะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทําต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสําคัญผิด ผู้นั้น จะยกเอาความสําคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดยเจตนาหาได้ไม่”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวลิ้นจี่ต้องการฆ่านายแคนตาลูป เมื่อเห็นนายองุ่นเต้นแอโรบิคอยู่ จึงเข้าใจว่าเป็นนายแคนตาลูปจึงใช้อาวุธปืนยิงไปที่นายองุ่น ทําให้นายองุ่นได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้ายนั้น การกระทํา ของนางสาวลิ้นจี่เป็นการกระทําโดยเจตนาประสงค์ต่อผลตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดย รู้สํานึกในการที่กระทําและในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น เมื่อกระสุนปืนถูกที่ขาซ้ายของนายองุ่นทําให้นายองุ่นไม่ตายจึงเป็นกรณีที่นางสาวลิ้นจี่ได้ลงมือกระทําความผิดซึ่งได้กระทําไปตลอดแล้ว แต่การกระทํานั้นไม่บรรลุผล คือนายองุ่นไม่ตายตามที่นางสาวลิ้นจี่ต้องการ นางสาวลิ้นจี่จึงมีความผิดฐาน พยายามฆ่านายองุ่นโดยสําคัญผิดในตัวบุคคลตามมาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 61 และมาตรา 80 วรรคหนึ่ง นางสาวลิ้นจี่จะอ้างว่าได้กระทําเพราะเหตุสําคัญผิดว่านายองุ่นเป็นนายแคนตาลูปเพื่อเป็นข้อแก้ตัวมิได้กระทําโดยเจตนาหาได้ไม่

และการที่กระสุนปืนยังเลยไปถูกนางสาวส้มได้รับบาดเจ็บที่ขาขวาด้วยนั้น เป็นกรณีที่นางสาวลิ้นจี่ ได้กระทําโดยเจตนาต่อนายองุ่นแต่ผลของการกระทําเกิดแก่นางสาวส้มโดยพลาดไป ให้ถือว่านางสาวลิ้นจี่ได้กระทํา โดยเจตนาต่อนางสาวสมบุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทําด้วยตามมาตรา 60 และเมื่อนางสาวส้มไม่ตาย เพียงแต่ได้รับบาดเจ็บ นางสาวลิ้นจี่จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่านางสาวส้มโดยพลาดไปตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 60 และมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

ส่วนการที่กระสุนปืนไปถูกนางสาวส้มได้รับบาดเจ็บที่ขาขวาจนเสียหลักล้มลงไปทับลูกหมาของ
นางแตงโมด้วยนั้น นางสาวลิ้นจี่ไม่ต้องรับผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ เพราะมิใช่การกระทําโดยพลาดตามมาตรา 60 นี้เพราะผลร้ายที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลประเภทเดียวกับที่เจตนากระทํา กล่าวคือ เมื่อเป็นการกระทําโดยเจตนาต่อ บุคคล แต่ผลร้ายเกิดขึ้นกับทรัพย์จึงไม่อยู่ในความหมายของคําว่าพลาด แต่อย่างไรก็ดีการกระทําของนางสาวลิ้นจี่ เป็นการกระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทํา อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ จึงถือว่าเป็นการกระทําโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ แต่แม้จะเป็นการกระทําโดยประมาท นางสาวลิ้นจี่ก็ไม่มีความผิด เพราะการทําให้เสียทรัพย์โดยประมาทนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดแต่อย่างใด

สรุป นางสาวลิ้นจี่ต้องรับผิดทางอาญาฐานพยายามฆ่านายองุ่นและฐานพยายามฆ่านางสาวส้ม
โดยพลาด แต่ไม่ต้องรับผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ของนางแตงโม

ข้อ 3 นายโยธินเป็นคู่อริกับนายนาวิน นายโยธินจึงลอบเข้าไปในบ้านของนายนาวินและเล็งปืนไปยัง นายนาวิน ขณะเดียวกันนายนาวินได้หยิบปืนขึ้นมาทําความสะอาดอยู่พอดี เห็นนายโยธินกําลัง เล็งปืนมาที่ตน นายนาวินเลยใช้ปืนกระบอกนั้นยิงไปที่นายโยธิน นายโยธินถึงแก่ความตายทันที

จงวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาของนายนาวิน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาทหรือเว้นแต่
ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 68 “ผู้ใดจําต้องกระทําการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทําพอสมควรแก่เหตุ การกระทํานั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”

วินิจฉัย

การกระทําที่จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะมีผลทําให้ผู้กระทําไม่มีความผิด
และไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 68 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ

(1) มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

(2) ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

(3) ผู้กระทําจําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น

(4) ต้องได้กระทําไปพอสมควรแก่เหตุ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนาวินใช้ปืนยิงไปที่นายโยธินจนนายโยธินถึงแก่ความตายทันทีนั้น ถือว่านายนาวินได้กระทําต่อนายโยธินโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง เพราะเป็นการกระทําโดยรู้สํานึก ในการกระทํา และในขณะเดียวกันนายนาวินก็ได้ประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น ซึ่งโดยหลักแล้วนายนาวิน
จะต้องรับผิดทางอาญาฐานฆ่านายโยธินตายโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายนาวินใช้ปืนยิงนายโยธินนั้น เป็นเพราะนายโยธินได้ลอบเข้าไปในบ้าน ของนายนาวินและเล็งปืนไปยังนายนาวิน ซึ่งลักษณะการกระทําของนายโยธินนั้นย่อมถือได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจาก การประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายเกิดขึ้นกับนายนาวินแล้ว และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง นายนาวินจึงต้อง กระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตนคือการใช้ปืนยิงไปที่นายโยธิน และเมื่อเป็นการกระทําไปพอสมควรแก่เหตุ การกระทํา ดังกล่าวของนายนาวินจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ของการกระทําอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68

ดังนั้น นายนาวินจึงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดทางอาญา

สรุป นายนาวินไม่ต้องรับผิดทางอาญาเพราะเป็นการกระทําเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 4 นายมาเฟียเป็นศัตรูกับนายเจ้าพ่อ นายมาเฟียจ้างนายมือปืนไปฆ่านายเจ้าพ่อ นายมือปืนได้ สมคบกันกับนายลูกปืนจะไปฆ่านายเจ้าพ่อ โดยให้นายมือปืนเป็นผู้ยิง นายลูกปืนจะช่วยดูต้นทางให้ ระหว่างที่รอนายเจ้าพ่อ นายระเบิดเดินผ่านมาทางนี้พอดี นายลูกปืนสนิทกับนายระเบิดจึงเล่าเรื่อง ให้นายระเบิดฟัง และให้ช่วยดูต้นทางอีกคน นายระเบิดตกลงกับนายลูกปืนสองคน ระหว่างรอนั้น มีคนจะเดินไปทางที่นายมือปืนซุ่มรอนายเจ้าพ่อพอดี นายระเบิดจึงเดินไปบอกคนนั้นให้เดินไป ทางอื่นเพราะถนนไม่ดี เมื่อนายเจ้าพ่อมาถึงจุดดักยิง นายมือปืนจึงยิงนายเจ้าพ่อสําเร็จ นายเจ้าพ่อ ถึงแก่ความตายทันทีในที่เกิดเหตุ

จงวินิจฉัยความรับผิดของนายมาเฟีย นายลูกปืน และนายระเบิด พร้อมอัตราโทษตามกฎหมาย สําหรับการเป็นผู้ร่วมกระทําความผิดด้วย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทําโดย เจตนา เว้นแต่จะได้กระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทําโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทําโดยไม่มีเจตนา

กระทําโดยเจตนา ได้แก่ กระทําโดยรู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทํานั้น”

มาตรา 83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทําของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ ร่วมกระทําความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทําความผิด ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ…”

มาตรา 86 “ผู้ใดกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ ผู้อื่นกระทําความผิดก่อน หรือขณะกระทําความผิด แม้ผู้กระทําความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กําหนดไว้ สําหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมือปืนยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายนั้น ถือเป็นการกระทําโดย รู้สํานึกในการที่กระทํา และในขณะเดียวกันผู้กระทําประสงค์ต่อผลของการกระทํานั้น การกระทําของนายมือปืน จึงเป็นการกระทําโดยเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ดังนั้น นายมือปืนจึงต้องรับผิดทางอาญาตามมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

สําหรับ นายมาเฟีย นายลูกปืน และนายระเบิด จะต้องรับผิดทางอาญาในความผิดที่นายมือปืน ยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายอย่างไรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายมาเฟีย

การที่นายมาเฟียจ้างนายมือปืนให้ไปฆ่านายเจ้าพ่อนั้น ถือเป็นการ “ก่อ” ให้ผู้อื่นกระทําความผิดแล้ว
ตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง นายมาเฟียจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ และเมื่อนายมือปืนได้ลงมือกระทําความผิดนั้น จนเป็นผลสําเร็จตามที่ถูกใช้แล้ว นายมาเฟียจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84 วรรคสาม

กรณีของนายลูกปืน

การที่นายลูกปืนได้สมคบกันกับนายมือปืนเพื่อไปฆ่านายเจ้าพ่อ โดยให้นายมือปืนเป็นผู้ยิงและ นายลูกปืนจะช่วยดูต้นทางให้นั้น ถือว่านายลูกปืนและนายมือปืนได้ร่วมกันเพื่อกระทําความผิดตั้งแต่แรกจนถึง ขั้นลงมือกระทําความผิดแล้วโดยเป็นการแบ่งหน้าที่กันทํา ดังนั้น เมื่อนายมือปืนยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตาย นายลูกปืนจึงต้องรับผิดทางอาญาร่วมกับนายมือปืนในฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83 ในความผิดฐานฆ่าคนตาย
โดยเจตนา

กรณีของนายระเบิด

การที่นายระเบิดเดินผ่านมาในทางที่นายลูกปืนและนายมือปืนดักยิงนายเจ้าพ่อ นายลูกปืนซึ่งสนิทกับ นายระเบิดจึงเล่าเรื่องให้นายระเบิดฟังและให้นายระเบิดช่วยดูต้นทางให้อีกคนนั้น แม้นายระเบิดจะได้ตกลงกับ นายลูกปืนสองคน โดยนายมือปืนผู้ลงมือกระทําความผิดจะไม่รู้ถึงเจตนาของนายระเบิดก็ตาม แต่เนื่องจากนายระเบิด มีเจตนาร่วมกับนายลูกปืนและมีการกระทําร่วมกับนายลูกปืน โดยนายระเบิดจะคอยบอกให้คนที่จะเดินทาง ไปในทางที่นายมือปืนซุ่มรอนายเจ้าพ่อให้เดินไปทางอื่น และเมื่อนายเจ้าพ่อเดินมาถึงจุดดักยิงนายมือปืนจึงยิงนายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายสําเร็จนั้น การกระทําของนายระเบิดมิใช่เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก

ในการที่ผู้อื่นกระทําความผิดก่อนหรือขณะกระทําความผิดอันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 แต่ถือว่านายระเบิดมีเจตนาร่วมกันกับนายลูกปืนและมีการกระทําร่วมกันกับนายลูกปืนแล้ว และเมื่อนายมือปืนยิง นายเจ้าพ่อถึงแก่ความตายสําเร็จ จึงถือว่านายระเบิด นายลูกปืน และนายมือปืนได้ร่วมกันเพื่อกระทําความผิด ตั้งแต่แรกจนถึงขั้นลงมือกระทําความผิดโดยเป็นการแบ่งหน้าที่กันทํา ดังนั้น นายระเบิดจึงเป็นตัวการร่วมกัน กับนายลูกปืนและนายมือปืนในการกระทําความผิดฐานฆ่านายเจ้าพ่อตายโดยเจตนาตามมาตรา 83

สรุป นายมาเฟียต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นผู้ใช้และต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตามมาตรา 84
วรรคหนึ่งและวรรคสาม

นายลูกปืนและนายระเบิดต้องรับผิดทางอาญาฐานเป็นตัวการตามมาตรา 83 และต้องรับโทษ
ตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาเช่นเดียวกับนายมือปืน

LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2109 (LAW 2009) ป.พ.พ.ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายเกดและนางปลาเป็นคู่รักกัน นายเกตเห็นว่านางปลาต้องไปทํางานนอกสถานที่หลายวัน จึงให้ยืมโน้ตบุ๊กและรถยนต์เพื่อใช้ไปทํางานนอกสถานที่ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 นายเกต จึงส่งมอบโน้ตบุ๊กและรถยนต์ให้นางปลาเรียบร้อยแล้ว ในช่วงค่ําของวันเดียวกัน นายกู๊ดเพื่อนบ้าน ของนายเกดโน้ตบุ๊กเสียกะทันหัน จึงโทรศัพท์มาขอยืมโน้ตบุ๊กเพื่อจะใช้ส่งงานให้บริษัท ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(ก) นายเกดจะเรียกคืนโน้ตบุ๊กจากนางปลาเพื่อเอาไปให้นายกู๊ดเพื่อนบ้านยืมได้หรือไม่ เพราะ เหตุใด

(ข) ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 นางปลาเอารถยนต์ที่ยืมมาไปจอดไว้ในลานจอดรถใกล้สถานที่ ที่ตนทํางานนอกสถานที่ โดยปิดกระจกล็อกกุญแจและตรวจสอบความเรียบร้อยของรถยนต์ เป็นอย่างดี เมื่อทํางานเสร็จกลับมาจึงพบว่ารถถูกทุบกระจก จึงรีบแจ้งความทันที กรณีนี้ นายเกดสามารถเรียกค่าเสียหายจากนางปลาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่
ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

มาตรา 644 “ผู้ยืมจําต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง”

มาตรา 646 “ถ้ามิได้กําหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้น เสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว

ถ้าเวลามิได้กําหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียก
ของคืนเมื่อไหร่ก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายเกดให้นางปลายืมโน้ตบุ๊กและรถยนต์เพื่อใช้ไปทํางานนอกสถานที่ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 และเมื่อนายเกดได้ส่งมอบโน้ตบุ๊กและรถยนต์ให้นางปลาเรียบร้อยแล้ว สัญญายืมระหว่าง นายเกดและนางปลาเป็นสัญญายืมใช้คงรูปตามมาตรา 640 และมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 641 และเป็นสัญญา ยืมใช้คงรูปที่ไม่ได้กําหนดระยะเวลาในการยืมไว้ ซึ่งตามมาตรา 646 กําหนดว่า ถ้ามิได้กําหนดระยะเวลายืมกันไว้ ให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นจนเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา ดังนั้น เมื่อนางปลา
ต้องทํางานนอกสถานที่หลายวัน นายเกดจะมาเรียกคืนโน้ตบุ๊กตั้งแต่คืนแรกที่นางปลายืมไปเพื่อเอาไปให้นายกู๊ด เพื่อนบ้านยืมไม่ได้

(ข) การที่นางปลานํารถยนต์ที่ยืมไปจอดไว้ในลานจอดรถใกล้สถานที่ที่ตนทํางานนอกสถานที่ โดย
ปิดกระจกล็อกกุญแจและตรวจสอบความเรียบร้อยของรถยนต์เป็นอย่างดี อีกทั้งเมื่อพบว่ารถยนต์ถูกทุบกระจกก็ได้แจ้งความทันที จึงเป็นกรณีที่นางปลาได้ใช้ความระมัดระวังในการสงวนรถที่ยืมเหมือนเช่นวิญญูชนตามมาตรา 644 แล้ว นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่านางปลาได้ใช้ทรัพย์สินที่ยืมผิดหน้าที่ของผู้ยืมตาม มาตรา 643 แต่อย่างใด ดังนั้น นายเกดจึงไม่สามารถเรียกค่าเสียหายจากนางปลาได้

สรุป

(ก) นายเกดจะเรียกคืนโน้ตบุ๊กจากนางปลาเพื่อเอาไปให้นายกู๊ดเพื่อนบ้านยืมไม่ได้

(ข) นายเกดจะเรียกค่าเสียหายจากนางปลาไม่ได้

ข้อ 2 นางสวยซื้อแหวนเพชรจากนายรวย แต่ไม่มีเงินจ่ายค่าแหวนจํานวน 500,000 บาท จึงตกลง ทําหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้นายรวยไว้แทน นางสวยพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยมีพยานได้แก่นายหนึ่งอายุ 18 ปี ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนางสวยในขณะนั้น เป็นภาษาเกาหลี และนายสองซึ่งเป็นใบ้อายุ 25 ปี โดยลงลายมือชื่อรับรองภายหลังจากทํา สัญญาหนึ่งเดือน หนังสือสัญญากู้มีกําหนดเวลาสามปีและตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดย มีข้อตกลงว่าเมื่อครบกําหนดทุกหนึ่งปี ให้นําเอาดอกเบี้ยที่ค้างชําระทบเข้ากับเงินต้นได้ เมื่อครบ กําหนดระยะเวลา นางสวยไม่สามารถชําระหนี้ให้นายรวยได้ นายรวยจึงนําหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ดังกล่าวมาฟ้องบังคับให้นางสวยชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดตามสัญญา นางสวยขอให้ศาลยกฟ้อง โดยให้การต่อสู้ว่า

(ก) นางสวยไม่เคยได้รับเงินกู้จํานวน 500,000 บาท จากนายรวย

(ข) หนังสือสัญญากู้ยืมเงินใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ได้ เพราะพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(ค) ข้อตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการตกลงล่วงหน้าว่า
ดอกเบี้ยค้างชําระครบหนึ่งปี

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะตัดสินคดีนี้อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับทําให้เป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทําหนังสือไม่ จําเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทํานองเช่นว่านั้น ที่ทําลงในเอกสาร แทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้ว ให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ”

มาตรา 650 “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไป สิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 655 วรรคหนึ่ง “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชําระ แต่ทว่าเมื่อดอกเบี้ย ค้างชําระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ย ในจํานวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทําเป็นหนังสือ”

วินิจฉัย

จากข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ เมื่อนายรวยได้นําหนังสือสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องบังคับให้นางสวย ชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดตามสัญญา แต่นางสวยขอให้ศาลยกฟ้องโดยให้การต่อสู้ดังกล่าวนั้น ข้อต่อสู่ ทั้ง 3 ข้อของนางสวย ย่อมฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้เพราะ

(ก) การที่นางสวยซื้อแหวนเพชรจากนายรวยแต่ไม่มีเงินจ่ายค่าแหวนเพชรจํานวน 500,000 บาท จึงตกลงทําหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้นายรวยไว้แทนนั้น ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ คือ เปลี่ยนจากมูลหนี้ซื้อขาย เป็นมูลหนี้กู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงินจึงสมบูรณ์ ดังนั้น การที่นางสวยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยได้รับเงินกู้จํานวน 500,000 บาท จากนายรวย ข้อต่อสู้ของนางสวยกรณีนี้จึงฟังไม่ขึ้น

(ข) การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น เมื่อนายรวยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม คือ นางสวย นายรวยจึงสามารถฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนได้ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่นางสวยพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโดยมีพยานได้แก่นายหนึ่งอายุ 18 ปี ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ของนางสวยในขณะนั้นเป็นภาษาเกาหลีนั้น แม้นายหนึ่งจะยังไม่บรรลุนิติภาวะและลงลายมือชื่อเป็นภาษาเกาหลี ก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น การลงลายมือชื่อของนายหนึ่งดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 9

ส่วนพยานอีกคนหนึ่งคือนายสองนั้น แม้นายสองจะได้ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ในภายหลังก็ตามก็สามารถทําได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การลงลายมือชื่อรับรองในฐานะ พยานของนายสองในภายหลังย่อมมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 9 เช่นเดียวกัน

และเมื่อสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 500,000 บาทดังกล่าวนั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือ และมี ลายมือชื่อผู้ยืม แม้ผู้ยืมจะพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแทนการลงลายมือชื่อก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการ ลงลายมือชื่อ เพราะมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้ว จึงใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง

(ค) ข้อตกลงให้นายรวยนําเอาดอกเบี้ยที่ค้างชําระทบเข้ากับเงินต้นนั้น เมื่อได้ทําข้อตกลงกันไว้ เป็นหนังสือ และดอกเบี้ยที่ค้างชําระนั้นไม่น้อยกว่า 1 ปี ข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 655 วรรคหนึ่ง อีกทั้งการที่มีการทําข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ก็ไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องทําเมื่อดอกเบี้ยค้างชําระครบ 1 ปีแล้วแต่อย่างใด ถึงสามารถทําข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าได้

ดังนั้น เมื่อข้อต่อสู้ทั้ง 3 ข้อของนางสวยฟังไม่ขึ้น หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะตัดสินให้นางสวยชําระเงิน ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี รวมถึงดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ยืมเงิน
ให้แก่นายรวย

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะตัดสินให้นางสวยชําระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 500,000 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ยืมให้แก่นายรวย

ข้อ 3 นายสงัดเข้าพักที่โรงแรมเย็นสงบเป็นเวลา 3 คืน โดยได้สิทธิพิเศษจากทางโรงแรมให้จ่ายค่าที่พัก แค่คืนแรกคืนเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าในคืนที่สองนายสงัดได้เข้าไปใช้บริการร้านนวดผ่อนคลาย ของโรงแรม และได้ทําการเก็บแหวนเพชรราคา 250,000 บาท และแว่นตากรอบทองคําราคา 80,000 บาท ไว้ในตู้เซฟที่ทางโรงแรมตั้งไว้เพื่อให้บริการ โดยบอกกล่าวแก่นายเทพพนักงานของ โรงแรมให้ช่วยเฝ้าตู้เซฟดังกล่าวให้เป็นอย่างดี เพราะของในตู้เซฟเป็นของราคาแพง ปรากฏว่า มีคนร้ายมาลักเอาแหวนเพชรราคา 250,000 บาท และแว่นตากรอบทองคําราคา 80,000 บาท ของนายสงัดไป เมื่อทราบถึงการสูญหายดังกล่าว นายสงัดจึงรีบแจ้งแก่ผู้จัดการของโรงแรมเย็นสงบ ในทันที แต่ทางโรงแรมเย็นสงบปฏิเสธความรับผิดต่อนายสงัดโดยอ้างว่าอยู่ในช่วงที่นายสงัด เข้าพักฟรี จึงไม่อยู่ในระบบเวลาที่โรงแรมจะต้องรับผิด

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า โรงแรมเย็นสงบมีความรับผิดต่อนายสงัดหรือไม่ และหากจะต้องรับผิด จะต้องรับผิดเป็นจํานวนเท่าใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิด เพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือ บุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย เจ้าสํานักโรงแรมหรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น ต้องรับผิดในความสูญหายหรือ บุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยซึ่งได้นํามาด้วย แม้ความสูญหายหรือบุบสลายนั้น จะเกิดขึ้นเพราะคนที่ไปมาเข้าออก ณ โรงแรมหรือสถานที่เช่นนั้นตาม ที่เช่นนั้นตามมาตรา 674 ประกอบมาตรา 675

และในกรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายนั้น เป็นของมีค่า เช่น เงินตรา แหวนเพชร หรือ พระเครื่อง ฯลฯ กฎหมายกําหนดให้เจ้าสํานักรับผิดเพียงห้าพันบาท เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะนําไปฝากไว้แก่เจ้าสํานักและบอกราคาแห่งของนั้นโดยชัดแจ้ง (มาตรา 675 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสงัดเข้าพักที่โรงแรมเย็นสงบเป็นเวลา 3 คืนนั้น แม้จะได้สิทธิพิเศษ จากทางโรงแรมให้จ่ายค่าที่พักแค่คืนแรกคืนเดียวเท่านั้น ก็ถือว่านายสงัดเป็นแขกอาศัยหรือคนเดินทางตาม
มาตรา 674 การที่นายสงัดได้เข้าไปใช้บริการร้านนวดผ่อนคลายของโรงแรม และได้ทําการเก็บแหวนเพชรราคา 250,000 บาท และแว่นตากรอบทองคําราคา 80,000 บาท ไว้ในตู้เซฟที่ทางโรงแรมตั้งไว้เพื่อให้บริการ ย่อมเป็น กรณีที่แขกอาศัยหรือคนเดินทางได้นําของมีค่าตามมาตรา 675 เข้ามาในโรงแรมแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การที่ นายสงัดได้เก็บของไว้ในตู้เซฟและบอกกล่าวแก่นายเทพพนักงานโรงแรมให้ช่วยเฝ้าตู้เซฟดังกล่าวให้เป็นอย่างดี เพราะของในตู้เซฟเป็นของราคาแพงนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นกรณีที่นายสงัดได้นําของมีค่านั้นฝากไว้แก่เจ้าสํานักโรงแรมพร้อมบอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้งตามมาตรา 675 วรรคสอง

ดังนั้น เมื่อมีคนร้ายมาลักเอาแหวนเพชรราคา 250,000 บาท และแว่นตากรอบทองคําราคา 80,000 บาท ของนายสงัดไป ทางโรงแรมเย็นสงบจึงต้องรับผิดต่อนายสงัด โดยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าแหวนเพชร และแว่นตากรอบทองคํารวมเป็นเงิน 5,000 บาท ตามมาตรา 674 และมาตรา 675

สรุป โรงแรมเย็นสงบต้องรับผิดต่อนายสงัด โดยจะต้องรับผิดรวมเป็นเงิน 5,000 บาท

LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2109 (LAW 2009) ป.พ.พ.ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 นายฟักทองได้ยืมรถบ้านเป็นเวลา 3 เดือน จากนายเห็ดหอม เพื่อนําไปใช้เป็นที่พักภายในรีสอร์ทของนายฟักทองที่จังหวัดราชบุรี ปรากฏว่าเมื่อใกล้วันปีใหม่ รีสอร์ทอีกแห่งหนึ่งของนายฟักทองที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีผู้จองเข้าพักจํานวนมาก นายฟักทองจึงนํา รถบ้านที่ยืมมาไปจอดเพื่อใช้เป็นที่พักที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาในวันที่ 4 มกราคม 2565 รถบ้านที่อยู่ในรีสอร์ทจังหวัดเพชรบูรณ์ถูกนายไข่ต้มซึ่งเมาแล้วขับรถจักรยานยนต์มาชนทําให้รถบ้านเสียหาย

ดังนี้ หากวันที่ 15 มกราคม 2555 นายเห็ดหอมทราบเหตุดังกล่าวจะบอกเลิกสัญญาแล้วเรียก ให้นายฟักทองคืนรถบ้านก่อนครบกําหนดระยะเวลายืมได้หรือไม่ และนายเห็ดหอมจะเรียกให้ นายฟักทองจ่ายค่าเสียหายจํานวน 10,000 บาท ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากต้องการฟ้องร้อง จะฟ้องร้องภายในอายุความกี่เดือน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

มาตรา 645 “ในกรณีทั้งหลายดังกล่าวในมาตรา 643 นั้นก็ดี หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความ ในมาตรา 644 ก็ดี ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้”

มาตรา 649 “ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายฟักทองได้ยืมรถบ้านจากนายเห็ดหอม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อนําไปใช้เป็นที่พักภายในรีสอร์ทของนายฟักทองที่จังหวัดราชบุรีนั้น ถือเป็นสัญญายืมใช้คงรูป ตามมาตรา 640 และมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 641 และเป็นสัญญายืมที่มีกําหนดระยะเวลาการยืม ซึ่งนายฟักทอง มีสิทธิครอบครองและใช้สอยรถบ้านได้ตามสิทธิของผู้ยืมตามกฎหมาย แต่จะต้องสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม รวมทั้ง จะต้องไม่ประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายฟักทองได้ประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมโดย เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันปรากฏในสัญญา กล่าวคือ นายฟักทองได้เอารถบ้านที่ยืมนั้น ไปจอดเพื่อใช้เป็นที่พักที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นการประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมตามาตรา 643 ดังนั้น เมื่อนายเห็ดหอมได้ทราบเหตุดังกล่าวในวันที่ 15 มกราคม 2565 นายเห็ดหอมผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แล้วเรียกให้นายฟักทองคืนรถบ้านก่อนครบกําหนดระยะเวลายืมได้ตามมาตรา 645

ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถบ้านเนื่องจากนายไข่ต้มซึ่งเมาแล้วขับรถจักรบานยนต์มาชนทําให้
รถบ้านเสียหายนั้น แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุที่เกิดจากบุคคลภายนอกก็ตาม นายฟักทองก็ต้องรับผิดชอบ ตามมาตรา 643 ดังนั้น นายเห็ดหอมสามารถเรียกให้นายฟักทองจ่ายค่าเสียหายจํานวน 10,000 บาทได้ และ หากนายเห็ดหอมต้องการฟ้องร้องจะต้องฟ้องร้องภายในอายุความ 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามมาตรา 649

สรุป นายเห็ดหอมสามารถบอกเลิกสัญญาแล้วเรียกให้นายฟักทองคืนรถบ้านก่อนครบกําหนดระยะเวลายืมได้ และสามารถเรียกให้นายฟักทองจ่ายค่าเสียหายจํานวน 10,000 บาทได้ และถ้าจะฟ้องร้อง ก็จะต้องฟ้องร้องภายในอายุความ 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา

ข้อ 2 นายแดงได้กู้ยืมเงินจากนายดําจํานวน 100,000 บาท โดยทําหลักฐานการกู้ยืมเงินตามกฎหมาย และได้นําเอาพระเครื่องเลี่ยมทองคํามาจํานําเป็นประกันการกู้แก่นายดําไว้ด้วย สัญญากู้มีกําหนด เวลาหนึ่งปี และตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ นายแดงโอนเงินเข้าบัญชี นายดําจํานวน 115,000 บาท เพื่อชําระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมด นายดําจึงคืนพระเครื่อง เลี่ยมทองคําให้นายแดง แต่ยังคงเก็บหลักฐานการกู้ไว้กับตน ภายหลังนายแดงทะเลาะกับนายดํา อย่างรุนแรง นายดําจึงนําเอาหลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวมาฟ้องให้นายแดงชําระเงินที่กู้ยืมอีก

นายแดงให้การต่อสู้ว่าได้ชําระหนี้ทั้งหมดให้นายดําแล้ว และขอนําสืบถึงการชําระหนี้ดังกล่าวต่อศาล ดังนี้ หากท่านเป็นศาล ท่านจะอนุญาตให้นายแดงนําสืบว่าได้ชําระหนี้ทั้งหมดแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 321 วรรคหนึ่ง “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชําระหนี้อย่างอื่นแทนการชําระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป”

มาตรา 650 “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไป สิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนําสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือ
ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงได้กู้ยืมเงินจากนายดําจํานวน 100,000 บาท โดยทําหลักฐาน การกู้ยืมเงินตามกฎหมาย และได้นําเอาพระเครื่องเลี่ยมทองคํามาจํานําเป็นประกันการกู้ยืมแก่นายดําไว้ด้วย สัญญากู้มีกําหนด 1 ปี และตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี การกู้ยืมเงินระหว่างนายแดงและนายดําย่อมมีผล สมบูรณ์ และสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 650 และมาตรา 653 วรรคหนึ่ง

และตามมาตรา 653 วรรคสองนั้น ในกรณีที่การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ ในการนําสืบว่า มีการใช้เงินแล้วจะสามารถนําสืบได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง
หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ นายแดงได้ชําระเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นเงิน 115,000 บาท และนายดําได้คืนพระเครื่องเลี่ยมทองคําที่นายแดงนํามาวางเป็นหลักประกันการกู้ แต่ไม่ได้คืนหลักฐานการกู้ยืมให้นายแดง จึงไม่ถือว่าเป็นการเวนคืนหลักฐานการกู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสอง
แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายแดงได้ชําระเงินคืนให้แก่นายดํานั้น นายแดงได้โอนเงินเข้าบัญชีของนายดําซึ่งถือเป็น การชําระหนี้อย่างอื่นต นตามมาตรา 321 มิได้ชําระด้วยเงินตรา จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรคสอง ที่จะต้อง นําสืบว่ามีการใช้เงินด้วยหลักฐานเป็นหนังสือ

ดังนั้น นายแดงจึงสามารถนําสืบถึงการชําระหนี้ดังกล่าวได้ และถ้า ข้าพเจ้าเป็นศาล จะอนุญาตให้นายแดงนําสืบพยานหลักฐานแสดงถึงการชําระหนี้ทั้งหมดได้

สรุป หากข้าพเจ้าเป็นศาล จะอนุญาตให้นายแดงนําสืบพยานหลักฐานแสดงถึงการชําระหนี้ทั้งหมด

ข้อ 3 นายสุขเข้าพักที่โรงแรมนอนสงบ โดยนํารถยนต์ของตนเข้าจอดในลานจอดรถของโรงแรมหลับสนิท ซึ่งทางโรงแรมนอนสงบขอเช่าเป็นพื้นที่จอดรถเอาไว้ และในขณะลงทะเบียนเข้าพัก นายสุขมิได้ระบุเลขทะเบียนรถยนต์ของตนลงในแบบคําขอเข้าพักของโรงแรมนอนสงบ ต่อมา ปรากฏข้อเท็จจริงว่ารถยนต์ของนายสุขถูกคนร้ายลักเอาไปจากลานจอดรถของโรงแรมหลับสนิท ในเวลา 03.00 น. แต่นายสุขมาพบว่ารถยนต์ของตนหายไปในเวลา 07.00 น. และเดินหาอยู่เป็น เวลา 20 นาที จึงทําการแจ้งให้ผู้จัดการของโรงแรมนอนสงบทราบ แต่ทางโรงแรมนอนสงบปฏิเสธ ความรับผิด โดยให้เหตุผลว่า รถยนต์ของนายสุขมิได้อยู่ในพื้นที่ของทางโรงแรม และนายสุขก็มิได้ แจ้งต่อโรงแรมว่าตนได้นํารถยนต์เข้ามา ทั้งเมื่อรถยนต์หายนายสุขมิได้แจ้งในทันที

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า การปฏิเสธความรับผิดของโรงแรมนอนสงบทั้งสามประการฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อ ความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัย หากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือ บุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่ง
ทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

มาตรา 676 “ทรัพย์สินซึ่งมิได้นําฝากบอกราคาชัดแจ้งนั้น เมื่อพบเห็นว่าสูญหายหรือบุบสลายขึ้น คนเดินทางหรือแขกอาศัยต้องแจ้งความนั้นต่อเจ้าสํานักโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นทันที มิฉะนั้นท่านว่า เจ้าสํานักย่อมพ้นจากความรับผิดดังบัญญัติไว้ในมาตรา 674 และ 675

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย เจ้าสํานักโรงแรมหรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น ต้องรับผิดในความสูญหายหรือ บุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยซึ่งได้นํามาด้วย แม้ความสูญหายหรือบุบสลายนั้น จะเกิดขึ้นเพราะคนที่ไปมาเข้าออก ณ โรงแรมหรือสถานที่เช่นนั้นตามมาตรา 674 ประกอบมาตรา 675

และในกรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายนั้น เป็นของมีค่า เช่น เงินตรา แหวนเพชร หรือ พระเครื่อง ฯลฯ กฎหมายกําหนดให้เจ้าสํานักรับผิดเพียงห้าพันบาท เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะนําไป
ฝากไว้แก่เจ้าสํานักและบอกราคาแห่งของนั้นโดยชัดแจ้ง (มาตรา 675 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสุขเข้าพักที่โรงแรมนอนสงบ โดยนํารถยนต์ของตนเข้าจอดใน ลานจอดรถของโรมแรมหลับสนิทซึ่งทางโรมแรมนอนสงบขอเช่าเป็นพื้นที่จอดรถเอาไว้นั้น ย่อมถือว่านายสุขเป็น แขกอาศัยที่ได้นํารถยนต์อันเป็นทรัพย์สินเข้ามาในอาญาบริเวณของโรงแรมนอนสงบแล้ว แม้ว่ารถยนต์คันดังกล่าว
จะจอดอยู่ที่โรงแรมหลับสนิทก็ตาม และเมื่อปรากฏว่ารถยนต์ของนายสุขถูกคนร้ายลักเอาไปจากลานจอดรถของ โรงแรมหลับสนิทในเวลา 03.00 น. แต่นายสุขมาพบว่ารถยนต์ของตนหายไปในเวลา 07.00 น. และเดินหาอยู่ เป็นเวลา 20 นาที จึงได้ทําการแจ้งให้ผู้จัดการของโรงแรมนานสงบทราบนั้น ย่อมถือว่าเป็นการแจ้งทันทีที่ทราบว่า ทรัพย์สินของตนสูญหายตามมาตรา 676 อีกทั้งรถยนต์นั้นมิใช่เป็นของมีค่าตามนัยของมาตรา 675 วรรคสอง นายสุขจึงไม่จําต้องฝากไว้แก่ทางโรงแรมและบอกราคารถยนต์นั้นแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อรถยนต์ของนายสุข แขกอาศัยหายไป ทางโรงแรมนอนสงบจึงต้องรับผิดต่อนายสุขตามมาตรา 474 และมาตรา 475 จะปฏิเสธ ความรับผิดโดยให้เหตุผลว่ารถยนต์ของนายสุขมิได้อยู่ในพื้นที่ของทางโรงแรม และนายสุขมิได้แจ้งต่อโรงแรมว่า ตนได้นํารถยนต์เข้ามา ทั้งเมื่อรถยนต์หายนายสุขมิได้แจ้งในทันทีนั้นหาได้ไม่

สรุป การปฏิเสธความรับผิดของโรงแรมนอนสงบทั้ง 3 ประการฟังไม่ขึ้น โรงแรมนอนสงบต้องรับผิดชอบต่อนายสุข

 

LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายบรรเลงยืมชุดเครื่องเสียงจากนายบันเทิง เพื่อมาจัดงานเลี้ยงวันเกิดของนายบรรเลงที่บ้าน เนื่องจากชุดเครื่องเสียงของตนชํารุด อยู่ระหว่างการส่งซ่อม โดยนายบันเทิงเป็นคนใจดีและรักเพื่อน
จึงไม่ได้ถามว่าจะเอาไปใช้นานเท่าใด และนายบันเทิงก็เห็นว่าบ้านนายบรรเลงมียามคอยรักษาความปลอดภัยที่ประตูรั้วน่าจะไม่มีปัญหาอะไร ขณะที่นายบรรเลงใช้เครื่องเสียงอยู่นั้น ปรากฏว่า นายบันลือแขกในงานเลี้ยงวันเกิดได้มาขโมยลําโพงไป 1 ตัว เป็นเงิน 15,000 บาท เช้าวันรุ่งขึ้น นายบันเทิงทราบจากเพื่อนบ้านของนายบรรเลงว่า ลําโพงของนายบันเทิงที่นายบรรเลงยืมมามีคนขโมยไป 1 ตัว

ดังนี้ นายบันเทิงจะสามารถเรียกให้นายบรรเลงนําชุดเครื่องเสียที่เหลือมาคืนในเช้าวันรุ่งขึ้นที่ตนทราบเรื่องลําโพงที่หายไปได้หรือไม่ และนายบันเทิงจะเรียกให้นายบรรเลงชดใช้ราคาลําโพงที่ หายไปให้กับตนได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”
ของตนเอง”

มาตรา 644 “ผู้ยืมจําต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สิน

มาตรา 646 “ถ้ามิได้กําหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้น เสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลามิได้กําหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อไหร่ก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายบรรเลงยืมชุดเครื่องเสียงจากนายบันเทิงเพื่อมาจัดเลี้ยงวันเกิดของนายบรรเลงที่บ้านนั้น สัญญายืมชุดเครื่องเสียงดังกล่าวเป็นสัญญายืมใช้คงรูปตามมาตรา 640 และเมื่อนายบันเทิง ได้ส่งมอบชุดเครื่องเสียงให้นายบรรเลงแล้ว สัญญายืมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 641 และเมื่อสัญญา

ยืมชุดเครื่องเสียงนั้นมิได้กําหนดระยะเวลากันไว้ เพียงแต่รู้ว่ายืมไปใช้เพื่อการใด คือรู้ว่ายืมไปใช้ในงานวันเกิด ของนายบรรเลง ดังนั้น นายบันเทิงผู้ให้ยืมย่อมสามารถเรียกคืนทรัพย์สินที่ให้ยืมได้หลังจากพ้นงานวันเกิดของ นายบรรเลงไปแล้วตามมาตรา 646 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นเวลาที่พอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมนั้น เสร็จแล้ว และข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ นายบันเทิงย่อมสามารถเรียกชุดเครื่องเสียงคืนจากนายบรรเลงได้ในเช้า วันรุ่งขึ้นที่ตนทราบเรื่องลําโพงที่หายไปได้ เพราะเป็นวันที่นายบรรเลงได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเสร็จแล้ว

ส่วนกรณีที่ลําโพง 1 ตัว ราคา 15,000 บาท ที่ถูกคนขโมยไปนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่านายบรรเลงผู้ยืม ได้นําไปใช้ไม่ถูกต้องตามมาตรา 643 กล่าวคือ ไม่ได้เอาไปใช้เพื่อการอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา ไม่ได้เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย และไม่ได้เอาไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ รวมทั้งไม่ปรากฏว่านายบรรเลงมิได้สงวนทรัพย์สินที่ยืมตามมาตรา 644 แต่อย่างใด เพราะงานเลี้ยงวันเกิดก็จัด ในบ้านของนายบรรเลงที่มียามรักษาความปลอดภัย ดังนั้น นายบันเทิงจะเรียกให้นายบรรเลงชดใช้ราคาลําโพง 15,000 บาท ไม่ได้

สรุป นายบันเทิงสามารถเรียกให้นายบรรเลงนําชุดเครื่องเสียงที่เหลือมาคืนในเช้าวันรุ่งขึ้นที่ตน ทราบเรื่องลําโพงที่หายไปได้ แต่จะเรียกให้นายบรรเลงชดใช้ราคาลําโพงที่หายไปให้ตนไม่ได้

ข้อ 2 นายจอนนี่ได้ขอยืมเงินจากนายสก็อตเพื่อนบ้านเป็นจํานวน 5,000 บาท โดยทําหลักฐานเป็นหนังสือ เอาไว้ ซึ่งมีนายปีเตอร์เป็นผู้เขียนหลักฐานการกู้ให้ เนื่องจากนายจอนนี่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ เพราะประสบอุบัติเหตุเมื่อครั้งยังเด็ก และทําให้จําเป็นต้องพิมพ์ลายนิ้วมือลงในหลักฐานการกู้ยืม ดังกล่าวในฐานะผู้กู้ ที่มีนายปีเตอร์และนางสาวแอนนาลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองในการพิมพ์ ลายนิ้วมือของนายจอนนี่ด้วย

ดังนี้ หากนายสก็อตจะฟ้องนายจอนนี่เพื่อเรียกเงินจํานวน 5,000 บาทคืน นายจอนนี่ต้องรับผิด ตามหลักฐานการกู้ดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทําเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทําหนังสือไม่จําเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น

ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทํานองเช่นว่านั้น ที่ทําลงในเอกสารแทน
การลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ”

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่งได้กําหนดไว้ว่า การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 ขึ้นไป จะฟ้องร้องบังคับ คดีกันได้จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ ซึ่งการทํา หลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือนั้น ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่งได้กําหนดไว้ว่า บุคคลผู้จะต้องทําหนังสือนั้นไม่จําเป็น ต้องเขียงเอง จะเขียนหรือพิมพ์โดยผู้ใดก็ได้ แต่ที่สําคัญต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 9 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่ผู้กู้ยืมไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ก็สามารถพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทํานองเช่นว่านั้นที่ทําลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อได้ หากมีพยาน ลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้ว ให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อตามมาตรา 9 วรรคสอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจอนนี่กู้ยืมเงินจากนายสก็อตเป็นเงิน 5,000 บาท โดยได้ทําหลักฐาน เป็นหนังสือโดยให้นายปีเตอร์เป็นผู้เขียนหลักฐานการกู้ให้ เนื่องจากนายจอนนี่ไม่สามารถเขียนหนังสือได้ และทําให้ จําเป็นต้องพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือลงในหลักฐานการกู้ยืมดังกล่าวในฐานะผู้กู้ และเมื่อปรากฏว่ามีพยาน 2 คน คือ นายปีเตอร์และนางสาวแอนนา ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานรับรองในการพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือของนายจอนนี่ด้วย จึงถือว่าเอกสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินของนายจอนนี่ได้ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 9 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึงทําให้นายจอนนี่ต้องรับผิดตามหลักฐานการกู้เงินดังกล่าว ดังนั้น นายสก็อตจึงสามารถฟ้องนายจอนนี่เพื่อเรียกเงินกู้ยืมจํานวน 5,000 บาทคืนได้

สรุป หากนายสก็อตจะฟ้องนายจอนนี่เพื่อเรียกเงินกู้ยืมจํานวน 5,000 บาทคืน นายจอนนี่ต้อง รับผิดตามหลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าว

ข้อ 3 นายสงัดเข้าพักที่โรงแรมเย็นสงบเป็นเวลา 3 คืน โดยได้สิทธิพิเศษจากทางโรงแรมให้จ่ายค่าที่พัก คืนแรกคืนเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าในคืนที่สองนายสงัดได้เข้าไปใช้บริการร้านนวดผ่อนคลายของโรงแรมและได้ทําการเก็บสร้อยคอทองคําราคา 50,000 บาท และแหวนเพชรราคา 80,000 บาท ไว้ในตู้ล็อคเกอร์ของร้านนวดดังกล่าว โดยบอกกล่าวแก่นายชื่นพนักงานของร้านนวดให้ช่วยดูแลให้ เป็นอย่างดีเพราะเป็นของราคาแพง ปรากฏว่ามีคนร้ายมาลักเอาสร้อยคอทองคําราคา 50,000 บาท และแหวนเพชรราคา 80,000 บาท ของนายสงัดไป เมื่อทราบถึงการสูญหายดังกล่าว นายสงัดจึง รีบแจ้งแก่ผู้จัดการของโรงแรมเย็นสงบในทันที แต่ทางโรงแรมเย็นสงบปฏิเสธความรับผิดต่อ นายสงัด โดยอ้างว่าอยู่ในช่วงที่นายสงัดเข้าพักฟรี จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่โรงแรมจะต้องรับผิด ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า โรงแรมเย็นสงบมีความรับผิดต่อนายสงัดหรือไม่ และหากจะต้องรับผิด จะต้องรับผิดเป็นจํานวนเท่าใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิด เพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือ บุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้น ก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่ง ทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทาง หรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย เจ้าสํานักโรงแรมหรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดในความสูญหาย หรือบุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยซึ่งได้นํามาด้วย หากทรัพย์สินนั้นได้สูญหายหรือบุบสลายภายในบริเวณโรงแรม และรวมถึงสถานที่ที่ทางโรงแรมได้ใช้เพื่อประโยชน์ของแขกอาศัยหรือ คนเดินทางด้วยตามมาตรา 674

และในกรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายนั้นเป็นของมีค่า เช่น เงินตรา ทองคํา แหวนเพชร หรือพระเครื่อง ฯลฯ กฎหมายกําหนดให้เจ้าสํานักรับผิดเพียงห้าพันบาท เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะนําไปฝากไว้แก่เจ้าสํานักและบอกราคาแห่งของนั้นโดยชัดแจ้ง (มาตรา 675 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสงัดเข้าพักที่โรงแรมเย็นสงบเป็นเวลา 3 คืน โดยได้สิทธิพิเศษจาก ทางโรงแรมให้จ่ายค่าที่พักแค่คืนแรกคืนเดียวเท่านั้น และในคืนที่สองนายสงัดได้เข้าไปใช้บริการร้านนวดผ่อนคลาย ของโรงแรม และได้ทําการเก็บสร้อยคอทองคําราคา 50,000 บาท และแหวนเพชรราคา 80,000 บาท ไว้ใน ตู้ล็อคเกอร์ของร้านนวดดังกล่าว เมื่อปรากฏว่ามีคนร้ายมาลักเอาสร้อยคอทองคําและแหวนเพชรของนายสงัดไปย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของนายสงัดคนเดินทางได้สูญหายไปในอาณาบริเวณของโรงแรม ดังนั้น ทางโรงแรมจึงต้องรับผิดต่อนายสงัดตามมาตรา 674 โดยไม่ต้องคํานึงว่าคนเดินทางได้สิทธิเข้าพักฟรีหรือไม่

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทรัพย์สินของนายสงัดที่สูญหายไปนั้น คือ สร้อยคอทองคําและแหวนเพชร ซึ่งถือเป็นของมีค่า เมื่อนายสงัดมิได้มีการนําฝากและบอกราคาของนั้นอย่างชัดแจ้งแก่ทางโรงแรม นายสงัดเพียงแต่
บอกกล่าวแก่นายชื่นพนักงานของร้านนวดให้ช่วยดูแลให้เท่านั้น ดังนั้น ทางโรงแรมเย็นสงบจึงมีความรับผิดต่อ นายสงัดเป็นจํานวนเงิน 5,000 บาทเท่านั้น ตามมาตรา 675 วรรคสอง

สรุป โรงแรมเย็นสงบต้องรับผิดต่อนายสงัดคนเดินทาง แต่รับผิดเพียง 5,000 บาท

LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ตาแป๋วตกลงให้มันม่วงยืมรถยนต์โดยตกลงกันด้วยวาจา เมื่อมันม่วงได้รับมอบรถจากตาแป๋วแล้ว วันหนึ่งมันม่วงต้องไปทําธุระที่สถานีตํารวจ จึงนํารถยนต์ของตาแป๋วไปจอดไว้ใกล้ ๆ สถานีตํารวจ ซึ่งบริเวณนั้นมีรถยนต์ของบุคคลอื่นที่มาติดต่อจอดอยู่เช่นกัน โดยปิดกระจกล็อคกุญแจและตรวจสอบความเรียบร้อยของรถเป็นอย่างดี เมื่อทําธุระเสร็จกลับมาพบว่ารถของตาแป๋วหายไป จึงรีบแจ้งความ และติดตามหารถคืนในทันที แต่สุดท้ายก็ไม่อาจติดตามเอารถคืนมาได้ เมื่อตาแป๋วทราบว่ารถของตน หายไป จึงเรียกให้มันม่วงรับผิดในความสูญหายของรถ มันม่วงอ้างว่าไม่ได้กระทําผิดสัญญายืมและกรณีนี้ไม่ได้ทําสัญญายืมเป็นลายลักษณ์อักษรจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถ

ดังนี้ ข้อต่อสู้ของมันม่วงฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

มาตรา 644 “ผู้ยืมจําต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ตาแป๋วตกลงให้มันม่วงยืมรถยนต์โดยตกลงกันด้วยวาจา และได้ส่งมอบ รถยนต์ให้มันม่วงแล้วนั้น สัญญายืมระหว่างตาแป๋วกับมันม่วงถือเป็นสัญญายืมใช้คงรูปและมีผลสมบูรณ์ตาม กฎหมายตามมาตรา 640 และมาตรา 641 ทั้งนี้เพราะสัญญายืมใช้คงรูปนั้นเป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้กําหนดแบบ ไว้แต่อย่างใด ดังนั้นจึงอาจตกลงกันทําสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือจะตกลงกันด้วยวาจาก็ได้ เพียงแต่มาตรา 641 ได้กําหนดไว้ว่า สัญญายืมใช้คงรูปนั้น ย่อมบริบูรณ์เมื่อได้มีการส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม
การที่มันม่วงไปทําธุระที่สถานีตํารวจ จึงนํารถยนต์ไปจอดไว้ใกล้ ๆ สถานีตํารวจ ซึ่งบริเวณนั้น มีรถยนต์ของบุคคลอื่นจอดอยู่ด้วย โดยปิดกระจกล็อคกุญแจ และตรวจสอบความเรียบร้อยของรถเป็นอย่างดี อีกทั้งเมื่อพบว่ารถของตาแป๋วหายไปก็รีบแจ้งความและรีบติดตามหารถคืนในทันที จึงเป็นกรณีที่ถือว่ามันม่วงได้ใช้ ความระมัดระวังในการสงวนรถยนต์ที่ยืมเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา 644 แล้ว

และนอกจากนั้น จากข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่ามันม่วงได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมมาฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของผู้ยืมตาม มาตรา 643 แต่อย่างใด ดังนั้น กรณีที่รถยนต์ของตาแป๋วหายไปนั้น มันม่วงจึงอ้างได้ว่าตนไม่ได้กระทําผิดสัญญายืม จึงไม่ต้องรับผิด แต่จะอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิด เพราะไม่ได้ทําสัญญายืมเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นไม่ได้

สรุป ข้อต่อสู้ของมันม่วงที่ว่าตนไม่ได้กระทําผิดสัญญายืม จึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของ รถยนต์นั้นฟังขึ้น ส่วนกรณีที่อ้างว่าสัญญายืมไม่ได้ทําเป็นลายลักษณ์อักษรตนจึงไม่ต้องรับผิดนั้นฟังไม่ขึ้น

ข้อ 2 นายเอกทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายโท 1,000,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี กําหนด ชําระหนี้ 1 ปี และมีข้อตกลงในสัญญากู้ยืมด้วยว่า หากถึงกําหนดชําระหนี้นายเอกไม่มีเงินคืน ยินยอมโอนรถยนต์โบราณของตนให้นายโทแทน ต่อมาเมื่อถึงกําหนดชําระหนี้ นายเอกไม่มีเงิน ชําระหนี้จึงได้ทําการโอนรถยนต์โบราณของตนให้นายโทจนเสร็จเรียบร้อย โดยมีราคาตาม ท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบเท่ากับ 1,150,000 บาท ซึ่งเป็นจํานวนพอดีกับต้นเงินและ ดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม สองเดือนต่อมานายโทได้นําสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวที่มีลายมือชื่อของนาย เอกไปฟ้องศาลเรียกเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดด้วย แต่นายเอกไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงการชําระหนี้คืนมานําสืบให้ศาลเห็นแต่ประการใด ดังนี้ นายเอกจึงมาปรึกษาท่านซึ่งเป็นทนายความว่าควรทําเช่นใด และนายเอกจะต้องชําระหนี้ เงินกู้ยืมดังกล่าวอีกครั้งหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 650 “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไป สิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนําสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว
หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

มาตรา 656 “ถ้าทําสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทน จํานวนเงินนั้นไซร้ ท่านให้คิดเป็นหนี้เงินค้างชําระโดยจํานวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ

ถ้าทําสัญญากู้ยืมเงินกันและผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชําระหนี้แทน
เงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชําระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจํานวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือ ทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายโท 1,000,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี กําหนดชําระหนี้ 1 ปี และมีข้อตกลงในสัญญากู้ยืมด้วยว่า หากถึงกําหนดชําระหนี้นายเอกไม่มี เงินคืน ยินยอมโอนรถยนต์โบราณของตนให้นายโทแทนนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างนายเอกและนายโทถือเป็นการทํา สัญญากู้ยืมเงินที่ผู้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจํานวนเงินตามาตรา 656 วรรคหนึ่ง และ สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมีผลสมบูรณ์และสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามมาตรา 650 และมาตรา 653 วรรคหนึ่ง

และตามมาตรา 653 วรรคสอง นั้น ในกรณีที่การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ ในการนําสืบว่า มีการใช้เงินแล้วจะสามารถนําสืบได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง
หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

เมื่อถึงกําหนดชําระหนี้ การที่นายเอกไม่มีเงินชําระหนี้จึงได้ทําการโอนรถยนต์โบราณของตนให้นายโทจนเสร็จเรียบร้อยโดยมีราคาตามท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบเท่ากับ 1,150,000 บาท ซึ่งเป็น จํานวนพอดีกับต้นเงินและดอกเบี้ยนั้น ถือเป็นการชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจํานวนเงิน และเมื่อนายโท ผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว หนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวย่อมระงับไปตามมาตรา 656 นายโทจะให้นายเอก ชําระหนี้ใหม่ไม่ได้ แม้ว่าการชําระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นของนายเอกจะไม่มีหลักฐานการคืนอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 653 วรรคสองก็ตาม เพราะการชําระหนี้ด้วยสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจํานวนเงินตาม มาตรา 656 นั้น ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรคสอง แต่อย่างใด

ดังนั้น เมื่อนายโทได้นําสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไปฟ้องศาลเรียกเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา และเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดด้วยนั้น นายเอกจึงไม่ต้องชําระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวอีกครั้ง โดยนายเอกสามารถ นําพยานหลักฐานอย่างอื่นมานําสืบได้ว่าตนได้ชําระหนี้ด้วยรถยนต์โบราณของตนไปแล้ว หนี้จึงระงับลง

สรุป นายเอกสามารถนําพยานหลักฐานอย่างอื่นมานําสืบได้ว่าตนได้ชําระหนี้ด้วยรถยนต์โบราณ ของตนให้แก่นายโทแล้ว ทําให้หนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวระงับลง และนายเอกไม่ต้องชําระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวอีกครั้ง

ข้อ 3 นายอาทิตย์เข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านถนนสุขุมวิท โดยมีนายจันทร์เข้าพักอยู่ด้วยในห้อง เดียวกัน ในการเข้าพักครั้งนี้นายอาทิตย์เป็นผู้ลงชื่อในใบลงทะเบียนเข้าพักเพียงคนเดียว หลังจากนํากระเป๋าเดินทางเข้าไปเก็บในห้องพักแล้ว ทั้งคู่ได้ออกไปเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้าและเมื่อ กลับเข้ามาที่ห้องอีกครั้งก็พบว่ากระเป๋าเดินทางถูกรื้อค้น มีของที่ถูกขโมยไปคือรองเท้ากีฬา ของนายจันทร์ 1 คู่ ราคา 7,000 บาท นายอาทิตย์และนายจันทร์รีบแจ้งต่อนายสมศักดิ์ซึ่งเป็น ผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมให้ทราบทันที แต่นายสมศักดิ์ต่อสู้ว่านายจันทร์ไม่ใช่เป็นผู้ที่มีชื่อปรากฏ ในการลงทะเบียนเข้าพัก เจ้าสํานักจึงไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินของนายจันทร์

ในท่านวินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของนายสมศักดิ์รับฟังได้หรือไม่ เจ้าสํานักโรงแรมจะต้องรับผิดหรือไม่ เป็นจํานวนเท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อ ความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัย หากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือ บุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่ง
ทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

มาตรา 676 “ทรัพย์สินซึ่งมิได้นําฝากบอกราคาชัดแจ้งนั้น เมื่อพบเห็นว่าสูญหายหรือบุบสลายขึ้น คนเดินทางหรือแขกอาศัยต้องแจ้งความนั้นต่อเจ้าสํานักโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นทันที มิฉะนั้นท่านว่า เจ้าสํานักย่อมพ้นจากความรับผิดดังบัญญัติไว้ในมาตรา 674 และ 675”

วินิจฉัย

ตามมาตรา 674 และ 675 ได้กําหนดให้เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ลจะต้องรับผิดชอบในความสูญหาย หรือเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยนั้น ให้หมายความรวมถึงบุคคลที่เข้าพักอาศัย
ร่วมกับผู้เดินทางด้วย ความรับผิดของเจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ลไม่ได้จํากัดเฉพาะทรัพย์สินของผู้ที่ลงทะเบียน เข้าพักแรมเท่านั้น ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์เมื่อทรัพย์สินของนายจันทร์หายไป นายสมศักดิ์ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไป ของโรงแรมจึงต้องรับผิดชอบ จะต่อสู้ว่านายจันทร์ไม่ใช่เป็นผู้ที่มีชื่อปรากฏในการลงทะเบียนเข้าพักไม่ได้

และเมื่อทรัพย์สินที่สูญหายไป คือ รองเท้ากีฬาของนายจันทร์ 1 คู่ ราคา 7,000 บาท นั้น เป็น ทรัพย์ทั่ว ๆ ไปตามมาตรา 675 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีค่าตามมาตรา 675 วรรคสอง ดังนั้น แม้ว่าจะ ไม่ได้มีการฝากทรัพย์นั้นไว้แก่เจ้าสํานัก เจ้าสํานักโรงแรมก็ต้องรับผิดชอบเต็มจํานวน และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อนายจันทร์พบเห็นว่าทรัพย์สินนั้นสูญหาย นายจันทร์ได้แจ้งความนั้นต่อนายสมศักดิ์เจ้าสํานักโรงแรมทันที ตามมาตรา 676 ดังนั้นกรณีนี้นายสมศักดิ์จึงต้องรับผิดต่อนายจันทร์เป็นจํานวนเงิน 7,000 บาท

สรุป ข้อต่อสู้ของนายสมศักดิ์ที่ว่านายจันทร์ไม่ใช่เป็นผู้ที่มีชื่อปรากฏในการลงทะเบียนเข้าพักเจ้าสํานักจึงไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินของนายจันทร์นั้นรับฟังไม่ได้ เจ้าสํานักโรงแรมจะต้องรับผิดต่อนายจันทร์เป็นจํานวนเงิน 7,000 บาท

 

LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายพิซซ่าและนายผักสลัดเป็นเพื่อนบ้านกัน ในเดือนเมษายน 2563 นายพิซซ่าต้องออกจากงาน เพราะบริษัทที่ตนทํางานอยู่ปิดกิจการลง นายพิซซ่าจึงมาขอยืมรถจักรยานยนต์ของนายผักสลัด เพื่อเอาไปขับรับจ้างส่งอาหาร นายผักสลัดเห็นว่านายพิซซ่าเป็นเพื่อนบ้านที่ดีจึงให้ยืม โดยกําหนด ระยะเวลายืม 3 เดือน วันหนึ่งนายสเต็กเพื่อนเก่าของนายพิซซ่าผ่านมาและพูดจาหว่านล้อมต่าง ๆ นานา เพื่อขอยืมรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวทดลองที่ 1 วัน นายพิซซ่าจึงใจอ่อนให้ยืม อย่างไรก็ตาม นายสเต็กขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวนี้ไปและไม่กลับมาอีกเลย

ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายพิซซ่ามีความรับผิดหรือไม่ และหากนายพิซซ่าอ้างว่าไม่ใช่ความผิดของตน แต่เป็นเหตุสุดวิสัยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพิซซ่ายืมรถจักรยานยนต์ของนายผักสลัดเพื่อเอาไปขับรับจ้าง ส่งอาหารนั้น ถือเป็นสัญญายืมใช้คงรูปตามมาตรา 640 และเมื่อนายผักสลัดได้ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ นายพิซซ่าแล้ว สัญญายืมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 641 และผู้ยืมย่อมมีสิทธิครอบครองและใช้สอย รถจักรยานยนต์ได้ตามสิทธิของผู้ยืมตามกฎหมาย แต่จะต้องสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม รวมทั้งไม่ประพฤติผิดหน้าที่ ของผู้ยืมด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายพิซซ่าได้เอารถจักรยานยนต์ที่ยืมนั้นให้นายสเต็กยืมไปใช้ต่อ ถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ยืมเอาทรัพย์สินที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย จึงเป็นการประพฤติผิดหน้าที่ของผู้ยืมตาม มาตรา 643 ซึ่งจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใดถึงแม้ว่าจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ดังนั้น การที่นายสเต็กได้ขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวไปและไม่กลับมาอีกเลย นายพิซซ่า จึงต้องรับผิดต่อนายผักสลัดผู้ให้ยืมในเหตุที่ทรัพย์สินนั้นสูญหาย และกรณีดังกล่าวนายพิชซ่าจะอ้างว่าไม่ใช่ความผิดของตนแต่เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ เพราะไม่ใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
สรุป นายพิชซ่าจะต้องรับผิดต่อนายผักสลัดผู้ให้ยืมในเหตุที่ทรัพย์สินที่ยืมนั้นสูญหาย และจะ อ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้

ข้อ 2 นายโทตกลงด้วยวาจาให้นายเอกกู้ยืมเงินจํานวน 50,000 บาท และคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี โดยส่งมอบเงินให้นายเอกเรียบร้อย ต่อมาหากนายเอกผิดนัดชําระหนี้ นายโทสามารถ ฟ้องให้นายเอกชําระหนี้ได้หรือไม่ และข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยมีผลเป็นเช่นไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 650 “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไป สิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 654 “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากําหนดดอกเบี้ย เกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี”

วินิจฉัย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองประเภทหนึ่ง และจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้ให้กู้ได้ส่งมอบเงิน ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมตามมาตรา 650 เพียงแต่ตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่าถ้าเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้จะต้องมีหลักฐานประกอบการฟ้องร้องบังคับคดี คือ

1 มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ

2 ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายโทตกลงให้นายเอกกู้ยืมเงินด้วยวาจาจํานวน 50,000 บาทนั้น เมื่อ นายโทได้ส่งมอบเงินให้นายเอกเรียบร้อยแล้ว การกู้ยืมเงินดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 650 แต่อย่างไร ก็ตาม เมื่อการกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท แต่ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใด อย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ ดังนั้น เมื่อต่อมานายเอกผิดนัดชําระหนี้ นายโทจึงไม่สามารถฟ้องให้นายเอก ชําระหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ เพราะขาดหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง

สําหรับข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยซึ่งมีการตกลงคิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีนั้น ถือว่า เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นการขัดต่อมาตรา 654 ซึ่งได้กําหนดว่าห้ามมิให้คิดดอกเบี้ย เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา พ.ศ. 2560 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150

สรุป นายโทไม่สามารถฟ้องให้นายเอกชําระหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ ส่วนข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 20 ต่อปีนั้นตกเป็นโมฆะ

ข้อ 3 นายหนึ่งเข้าพัก ณ โรงแรมทะเลสีคราม ในจังหวัดตราด โดยนํารถยนต์จอดไว้ที่บริเวณลานจอดรถ ของโรงแรม ในตอนดึกระหว่างที่นายหนึ่งนอนหลับอยู่ในห้องพัก ปรากฏว่ามีคนมาทุบรถยนต์ นายหนึ่งแล้วขโมยกระเป๋าทํางาน ซึ่งภายในมีคอมพิวเตอร์ราคา 100,000 บาท โทรศัพท์มือถือ ราคา 20,000 บาท และเงินสด 8,000 บาท เมื่อนายหนึ่งตื่นมาพบจึงรีบแจ้งให้ทางโรงแรมทราบ ทางโรงแรมอ้างว่าเป็นความประมาทของนายหนึ่งเองที่นําของมีค่าทิ้งไว้ในรถ จึงปฏิเสธความรับผิด ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของทางโรงแรมฟังขึ้นหรือไม่ และทางโรงแรมจะต้องรับผิดแก่นายหนึ่ง หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อ ความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัย หากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือ บุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

มาตรา 676 “ทรัพย์สินซึ่งมิได้นําฝากบอกราคาชัดแจ้งนั้น เมื่อพบเห็นว่าสูญหายหรือบุบสลายขึ้น คนเดินทางหรือแขกอาศัยต้องแจ้งความนั้นต่อเจ้าสํานักโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นทันที มิฉะนั้นท่านว่า เจ้าสํานักย่อมพ้นจากความรับผิดดังบัญญัติไว้ในมาตรา 674 และ 675

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย เจ้าสํานักโรงแรมหรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น ต้องรับผิดในความสูญหายหรือ บุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยซึ่งได้นํามาด้วย แม้ความสูญหายหรือบุบสลายนั้น จะเกิดขึ้นเพราะคนที่ไปมาเข้าออก ณ โรงแรมหรือสถานที่เช่นนั้นตามมาตรา 674 ประกอบมาตรา 675

และในกรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายนั้น เป็นของมีค่า เช่น เงินตรา แหวนเพชร หรือ
พระเครื่อง ฯลฯ กฎหมายกําหนดให้เจ้าสํานักรับผิดเพียงห้าพันบาท เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะนําไปฝากไว้แก่เจ้าสํานักและบอกราคาแห่งของนั้นโดยชัดแจ้ง (มาตรา 675 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งเข้าพัก ณ โรงแรมทะเลสีครามในจังหวัดตราด โดยนํารถยนต์ จอดไว้ที่บริเวณลานจอดรถของโรงแรมนั้น ทางโรงแรมย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัย
เมื่อทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือบุบสลายทางโรงแรมจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่ทรัพย์สินของนายหนึ่งซึ่งอยู่ในรถที่จอดไว้ที่บริเวณลานจอดรถของโรงแรมสูญหาย ทางโรงแรมจึงต้องรับผิดชอบ ตามมาตรา 674 ประกอบมาตรา 675 จะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นความประมาทของนายหนึ่งเองที่นํา ของมีค่าทิ้งไว้ในรถไม่ได้

และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อนายหนึ่งตื่นมาและพบความสูญหายจึงได้แจ้งแก่ทางโรงแรมทันที
ตามมาตรา 676 ดังนั้น ทางโรงแรมจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด โดยจะต้องรับผิดต่อนายหนึ่งดังนี้ คือ

1 กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ราคา 100,000 บาท และโทรศัพท์มือถือราคา 20,000 บาทนั้น เป็นทรัพย์สินทั่วไป ทางโรงแรมจึงต้องรับผิดเต็มจํานวนรวม 120,000 บาท ตามมาตรา 675 วรรคหนึ่ง

2 กรณีเงินสดจํานวน 8,000 บาทนั้น ถือเป็นของมีค่า เมื่อนายหนึ่งไม่ได้ฝากไว้แก่ทางโรงแรม ดังนั้นทางโรงแรมจึงรับผิดเพียง 5,000 บาท ตามมาตรา 675 วรรคสอง

สรุป ข้ออ้างของทางโรงแรมฟังไม่ขึ้น และทางโรงแรมจะต้องรับผิดต่อนายหนึ่งในความสูญหาย ของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเงิน 100,000 บาท โทรศัพท์มือถือเป็นเงิน 20,000 บาท และกรณีเงินสดจํานวน 5,000 บาท

 

LAW2109 (LAW2009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายหนึ่งและนายสองเป็นเพื่อนเรียนคณะนิติศาสตร์ด้วยกัน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 นายสอง มาขอยืมหนังสือ LAW 2009 จากนายหนึ่งเพื่อไปอ่านเตรียมสอบเทอม 1/62 นายหนึ่งเห็นว่า ตนสอบผ่าน LAW 2009 มานานแล้ว จึงตกลงให้นายสองยืมพร้อมทั้งส่งมอบหนังสือให้เรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 ตุลาคม 2562 นายสามซึ่งเป็นน้องชายของนายหนึ่งได้มาขอยืมหนังสือ LAW 2009 จากนายหนึ่งเช่นเดียวกัน ให้ท่านวินิจฉัยว่า

ก นายหนึ่งจะเรียกหนังสือคืนจากนายสองเพื่อเอาไปให้นายสามน้องชายของตนได้หรือไม่ เพราะ เหตุใด
ข หากนายสองสอบเสร็จแล้วไม่นําหนังสือ LAW 2009 ไปคืนนายหนึ่งแล้วต่อมาเกิดความเสียหายขึ้น กับหนังสือ ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 640 “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”

มาตรา 641 “การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม”

มาตรา 643 “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไปไว้นานกว่าที่ควร จะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็น เพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

มาตรา 646 “ถ้ามิได้กําหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้น เสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว

ถ้าเวลามิได้กําหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียก
ของคืนเมื่อไหร่ก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ก การที่นายหนึ่งตกลงให้นายสองยืมหนังสือ LAW 2009 เพื่อไปอ่านเตรียมสอบเทอม 1/62 และ ได้ส่งมอบหนังสือให้เรียบร้อยแล้วนั้น สัญญายืมระหว่างนายหนึ่งและนายสองเป็นสัญญายืมใช้คงรูปและมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 640 และมาตรา 641 และเป็นสัญญายืมใช้คงรูปที่ไม่ได้กําหนดระยะเวลาในการยืมไว้ซึ่งตามมาตรา 646 ได้กําหนดไว้ว่าให้ผู้ยืมคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา

ดังนั้น เมื่อนายสองยังสอบไม่เสร็จ นายหนึ่งจะเรียกหนังสือคืนจากนายสองเพื่อเอาไปให้นายสามน้องชายของตนไม่ได้

ข ตามมาตรา 643 ได้กําหนดหน้าที่ของผู้ยืมไว้ว่า ผู้ยืมจะต้องไม่เอาทรัพย์สินที่ยืมไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติของทรัพย์นั้นหรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา ต้องไม่เอาทรัพย์สินที่ยืมไปให้ บุคคลภายนอกใช้สอย และต้องไม่เอาทรัพย์สินที่ยืมไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ ซึ่งถ้าผู้ยืมกระทําผิดหน้าที่ของ ผู้ยืมดังกล่าว ผู้ยืมจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายของทรัพย์สินที่ยืม แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม ดังนั้น การที่นายสองสอบเสร็จแล้วไม่นําหนังสือ LAW 2009 ไปคืนนายหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นการเอาทรัพย์ที่ยืมไว้ นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ ต่อมาเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับหนังสือ ผู้ยืมคือนายสองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบใน ความเสียหายนั้น

สรุป
ก. นายหนึ่งจะเรียกหนังสือคืนจากนายสองในขณะที่นายสองยังสอบไม่เสร็จไม่ได้
ข. หากนายสองสอบเสร็จแล้วไม่นําหนังสือ LAW 2009 ไปคืนนายหนึ่งแล้วต่อมาเกิดความ เสียหายขึ้นกับหนังสือ นายสองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ข้อ 2 นางสาวใบเตยยืมเงินเสี่ยท็อปเป็นเงิน 20,000 บาท โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมาย ทั้งคู่ ตกลงคิดดอกเบี้ยในการกู้ยืมครั้งนี้ 3,000 บาท ต่อมานางสาวใบเตยชําระหนี้งวดแรกเป็นค่าดอกเบี้ย โดยการเอาโทรศัพท์มาตีใช้หนี้จํานวน 3,000 บาท ครั้งที่สองชําระหนี้เงินต้นด้วยเช็คจํานวน 20,000 บาท แต่ถึงกําหนดเช็คไม่มีเงินจึงถูกเสี่ยท็อปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในข้อหา ไม่มีการใช้เงินตามเช็ค นางสาวใบเตยจึงได้นําเงินจํานวน 20,000 บาท มามอบให้พนักงานสอบสวน เพื่อมอบให้แก่เสี่ยท็อป พนักงานสอบสวนจึงได้บันทึกและให้เสี่ยท็อปลงชื่อรับเงินไว้ในบันทึก ดังกล่าว ดังนี้ หากเสี่ยท็อปจะฟ้องร้องให้นางสาวใบเตยคืนเงินที่ยืมทั้งหมดใหม่ นางสาวใบเตยจะนําสืบว่าตนชําระหนี้ดังกล่าวทั้งหมดแล้วได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 321 วรรคหนึ่ง “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชําระหนี้อย่างอื่นแทนการชําระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป”

มาตรา 650 “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไป สิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกําหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ เช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนําสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือ ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวใบเตยยืมเงินเสี่ยท็อปเป็นเงิน 20,000 บาท โดยมีหลักฐานเป็น หนังสือตามกฎหมายนั้น การกู้ยืมเงินระหว่างนางสาวใบเตยและเสี่ยท็อปย่อมมีผลสมบูรณ์ และสามารถฟ้องร้อง บังคับคดีกันได้ตามมาตรา 650 และมาตรา 653 วรรคหนึ่ง

และตามมาตรา 653 วรรคสองนั้น ในกรณีที่การกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ ในการนําสืบว่า
มีการใช้เงินแล้วจะสามารถนําสืบได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

การที่นางสาวใบเตยได้ชําระหนี้งวดแรกเป็นค่าดอกเบี้ยโดยการเอาโทรศัพท์มาตีใช้หนี้จํานวน
3,000 บาทนั้น ถือเป็นการชําระหนี้อย่างอื่นแทนการชําระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ และเมื่อเสี่ยท็อปเจ้าหนี้ยอมรับหนี้ ในส่วนดอกเบี้ยจํานวน 3,000 บาท ย่อมระงับไปตามมาตรา 321 วรรคหนึ่ง เสี่ยท็อปจะฟ้องร้องให้นางสาวใบเตย ชําระหนี้ใหม่ไม่ได้ แม้ว่าการชําระหนี้ด้วยการเอาโทรศัพท์มาตีใช้หนี้ของนางสาวใบเตยจะไม่มีหลักฐานอย่างใด อย่างหนึ่งตามมาตรา 653 วรรคสองก็ตาม เพราะการชําระหนี้ด้วยสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นแทนจํานวนเงิน ตามมาตรา 321 ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรคสองที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น นางสาวใบเตย จึงสามารถนําพยานบุคคลมาสืบถึงการชําระหนี้ (ดอกเบี้ย) ได้

ส่วนในงวดที่สองซึ่งนางสาวใบเตยได้ชําระหนี้เงินต้นจํานวน 20,000 บาท โดยได้นําเงิน 20,000 บาท มามอบให้พนักงานสอบสวนเพื่อมอบให้แก่เสี่ยท็อป และพนักงานสอบสวนได้ทําบันทึกและให้เสี่ยท็อปลงชื่อรับเงินไว้ในบันทึกดังกล่าวนั้น บันทึกของพนักงานสอบสวนดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้ให้ยืมตามมาตรา 653 วรรคสองแล้ว นางสาวใบเตยจึงสามารถใช้บันทึกฉบับนี้นําสืบต่อศาลถึงการชําระหนี้เงินต้น จํานวน 20,000 บาทได้ว่าตนได้ชําระหนี้ดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ดังนั้น เสี่ยท็อปจึงไม่อาจฟ้องร้องให้นางสาวใบเตย คืนเงินที่ยืมทั้งหมดใหม่ได้

สรุป เสี่ยท็อปจะฟ้องร้องให้นางสาวใบเตยคืนเงินที่ยืมทั้งหมดใหม่ไม่ได้ และนางสาวใบเตยสามารถ นําสืบว่าตนชําระหนี้ดังกล่าวทั้งหมดแล้วได้

ข้อ 3 อาทิตย์เข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยได้รับบัตรเชิญให้มาพักฟรีในคืนแรก แต่ถ้าอาทิตย์ต้องการพักในคืนต่อ ๆ ไป โรงแรมจะคิดค่าที่พักแค่ 50% ของค่าห้องปกติ อาทิตย์ จึงตกลงเข้าพักแค่คืนเดียวจึงเป็นการได้เข้าพักฟรี ในระหว่างที่อาทิตย์ลงไปรับประทานอาหาร ที่ห้องอาหารของโรงแรมได้หยิบเอาเหล็กไหลมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นมาอวดแขกอื่น ๆ ที่มานั่ง ในห้องอาหารนี้ เมื่อกลับเข้าห้องพักก็หยิบเหล็กไหลกลับเข้าไปในห้องพักด้วย ตกกลางคืนมีคน แอบงัดแงะเข้าไปขโมยของในห้องของอาทิตย์และขโมยเหล็กไหลดังกล่าวไป อาทิตย์จึงแจ้งให้ จันทร์ผู้เป็นเจ้าของสํานักโรงแรมรับผิดชอบชดใช้ราคาเหล็กไหลจํานวน 10 ล้านบาทแก่อาทิตย์ แต่จันทร์ต่อสู้ว่าอาทิตย์ได้พักที่โรงแรมนี้โดยไม่เสียค่าที่พักจันทร์จึงไม่ต้องรับผิด ไม่อาจถือว่า อาทิตย์เป็น “แขกอาศัย” ตามความหมายของเรื่องเจ้าสํานักโรงแรม ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจันทร์ถูกต้องหรือไม่ จันทร์ต้องรับผิดชดใช้ต่อทรัพย์สิน ของอาทิตย์ที่สูญหายหรือไม่ เพียงไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 674 “เจ้าสํานักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อ ความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัย หากได้พามา”

มาตรา 675 “เจ้าสํานักต้องรับผิดในการที่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยสูญหายหรือ บุบสลายไปอย่างใด ๆ แม้ถึงว่าความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเกิดขึ้นเพราะผู้คนไปมาเข้าออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นก็คงต้องรับผิด

ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จํากัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสํานักและได้บอก ราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง

แต่เจ้าสํานักไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือแต่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น หรือแต่ความผิดของคนเดินทางหรือแขกอาศัยผู้นั้นเอง หรือบริวารของเขา หรือบุคคลซึ่งเขาได้ต้อนรับ”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย เจ้าสํานักโรงแรมหรือสถานที่อื่นทํานองเช่นว่านั้น ต้องรับผิดในความสูญหาย หรือบุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของคนเดินทางหรือแขกอาศัยซึ่งได้นํามาด้วย แม้ความสูญหายหรือบุบสลายนั้น จะเกิดขึ้นเพราะคนที่ไปมาเข้าออก ณ โรงแรมหรือสถานที่เช่นนั้นตามมาตรา 674 ประกอบมาตรา 675

และในกรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายหรือบุบสลายนั้นเป็นของมีค่า เช่น เงินตรา แหวนเพชร หรือ พระเครื่อง ฯลฯ กฎหมายกําหนดให้เจ้าสํานักรับผิดเพียง 5,000 บาท เว้นแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยจะนําไป ฝากไว้แก่เจ้าสํานักและบอกราคาแห่งของนั้นโดยชัดแจ้ง (มาตรา 675 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่อาทิตย์เข้าพักที่โรงแรมซึ่งมีจันทร์เป็นเจ้าสํานักโรงแรมนั้น แม้การที่อาทิตย์ เข้าพักจะเป็นการพักฟรีเพราะได้รับบัตรเชิญก็ตาม ก็ถือว่าอาทิตย์อยู่ในฐานะของคนเดินทางหรือแขกอาศัยตามนัย ของมาตรา 474 แล้ว ดังนั้น จันทร์ซึ่งเป็นเจ้าสํานักโรงแรมจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในความสูญหายหรือบุบสลาย อย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของอาทิตย์ซึ่งเป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยที่ได้พามา

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีคนแอบงัดแงะเข้าไปขโมยของในห้องของอาทิตย์และได้ขโมยเหล็กไหล ซึ่งมีราคา 10 ล้านบาทของอาทิตย์ไป จันทร์จึงต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์สินที่สูญหายของอาทิตย์ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทรัพย์ที่ถูกขโมยไปนั้นคือเหล็กไหลซึ่งมีมูลค่า 10 ล้านบาท และเหล็กไหลเป็นทรัพย์ที่อยู่ในความหมายของ คําว่าของมีค่าอื่น ๆ ตามมาตรา 675 วรรคสอง แต่อาทิตย์ไม่ได้ฝากของมีค่าดังกล่าวไว้กับเจ้าสํานัก ดังนั้น จันทร์ เจ้าของสํานักโรงแรมจึงต้องรับผิดต่ออาทิตย์เพียง 5,000 บาทเท่านั้นตามมาตรา 675 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

สรุป ข้อต่อสู้ของจันทร์ที่ว่าอาทิตย์ไม่ใช่แขกอาศัยนั้นไม่ถูกต้อง จันทร์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ต่อกรณีที่ทรัพย์สินของอาทิตย์สูญหาย แต่จันทร์ต้องรับผิดเพียง 5,000 บาทเท่านั้น

 

LAW2110 (LAW2010) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน จํานอง จํานํา s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2110 (LAW 2010) ป.พ.พ.ว่าด้วยค้ําประกัน จํานอง จํานํา

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นางสาวกิ่งแก้วกู้เงินนายสมัครใจ 1,000,000 บาท มีหลักฐานการกู้ถูกต้อง โดยนางสาวกิ่งแก้ว ได้นําเครื่องเพชรหนึ่งชุดประกอบไปด้วยแหวน สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ ราคารวมทั้งสิ้น 500,000 บาท มาส่งมอบให้นายสมัครใจเป็นประกันการชําระหนี้ ต่อมานายสมัครใจเห็นว่า ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ควรมีหลักประกันเพิ่ม นางสาวกิ่งแก้วจึงขอให้นายปกป้องช่วยค้ําประกัน หนี้เงินกู้ให้ นายปกป้องตกลง และได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ําประกันเพื่อประกันหนี้ที่นางสาวกิ่งแก้ว กู้เงินนายสมัครใจทั้งหมด และได้ส่งหนังสือสัญญาฉบับนั้นให้นายสมัครใจทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ และนายสมัครใจได้รับสัญญาค้ําประกันแล้ว ต่อมานายสมัครใจได้ตกลงคบหากับนางสาวกิ่งแก้ว จึงได้นําเครื่องเพชรชุดนั้นไปให้นางสาวกิ่งแก้วใช้ใส่ออกงาน ปรากฏว่านางสาวกิ่งแก้วทําต่างหู 1 ข้าง ราคา 40,000 บาท หายไป เมื่อนายสมัครใจทราบจึงโกรธ และบอกเลิกนางสาวกิ่งแก้ว พร้อมทั้ง นําเครื่องเพชรส่วนที่เหลือกลับไปด้วย หลังจากเกิดเหตุได้สามเดือน หนี้ถึงกําหนดชําระ แต่ นางสาวกิ่งแก้วไม่สามารถชําระหนี้ได้ นายสมัครใจจึงเรียกให้นายปกป้องรับผิดในฐานะผู้ค้ําประกัน ดังนี้ นายปกป้องต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ําประกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย
ประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 680 “อันว่าค้ําประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ําประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น

อนึ่งสัญญาค้ําประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ําประกัน
เป็นสําคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา 697 “ถ้าเพราะการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้เอง เป็นเหตุให้ผู้ค้ําประกันไม่อาจ เข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสิทธิก็ดี จํานองก็ดี จํานําก็ดี และบุริมสิทธิอันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้แต่ก่อน หรือในขณะทําสัญญาค้ําประกันเพื่อชําระหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ําประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตน
ต้องเสียหายเพราะการนั้น”

มาตรา 769 “อันจํานําย่อมระงับสิ้นไป

(1) เมื่อหนี้ซึ่งจํานําเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ

(2) เมื่อผู้รับจํานํายอมให้ทรัพย์สินจํานํากลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จํานํา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวกิ่งแก้วกู้เงินนายสมัครใจ 1,000,000 บาท มีหลักฐานการกู้ถูกต้อง โดยนางสาวกิ่งแก้วได้นําเครื่องเพชรหนึ่งชุดประกอบไปด้วยแหวน สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ ราคารวมทั้งสิ้น 500,000 บาท มาส่งมอบให้นายสมัครใจเป็นประกันการชําระหนี้ และต่อมามีนายปกป้องเข้ามาค้ําประกันเงินกู้ให้

โดยการลงลายมือชื่อในสัญญาค้ําประกันเพื่อประกันหนี้ที่นางสาวกิ่งแก้วกู้เงินนายสมัครใจทั้งหมด และได้ส่ง
หนังสือสัญญาฉบับนั้นให้นายสมัครใจทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ และนายสมัครใจได้รับสัญญาค้ำประกันแล้วนั้น ย่อมถือว่านายปกป้องเข้าเป็นผู้ค้ําประกันแล้ว และต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ําประกันตามมาตรา 680
การที่นายสมัครใจได้ตกลงคบหากับนางสาวกิ่งแก้ว และได้นําเครื่องเพชรชุดนั้นไปให้นางสาวกิ่งแก้ว
ใช้ใส่ออกงานนั้น ถือเป็นกรณีที่ผู้รับจํานํายอมให้ทรัพย์สินจํานํากลับคืนไปอยู่ในความครอบครองของนางสาวกิ่งแก้ว ซึ่งเป็นผู้จํานํา ย่อมทําให้สัญญาจํานําในส่วนของเครื่องเพชนนั้นระงับไปตามมาตรา 769 (2) และถือเป็นการ กระทําของนายสมัครใจเจ้าหนี้เองเป็นเหตุให้ผู้ค้ําประกันคือนายปกป้องไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิในเครื่องเพชรที่ จํานําซึ่งได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ก่อนเข้าทําสัญญาค้ําประกันตามมาตรา 697 ดังนั้น นายปกป้องผู้ค้ําประกันย่อมหลุดพ้น จากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหายเพื่อการนั้น คือจะหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้จํานวน 500,000 บาท ตามราคาเครื่องเพชรชุดนั้น และต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ําประกันในหนี้ที่เหลือจํานวน 500,000 บาท

สรุป นายปกป้องต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ําประกันในหนี้ที่เหลือจํานวน 500,000 บาท

ข้อ 2 นายทวีปทําสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารออมทรัพย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 โดยมีนายทรงศักดิ์ นําโฉนดที่ดินของตนจํานวน 5 ไร่ ราคาประเมิน 5 ล้านบาท มาจดทะเบียนจํานองหนี้รายนี้ โดย มีกําหนดระยะเวลาในการชําระหนี้ 5 ปี และในสัญญาจํานองระบุว่า “…หากลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ สามารถยึดที่ดินที่จํานองเองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวและไม่ต้องฟ้องเพื่อบังคับคดี…” เมื่อครั้นครบกําหนดเวลาชําระหนี้ นายทวีปผิดนัดชําระหนี้ ธนาคารออมทรัพย์จึงให้เจ้าหน้าที่ของธนาคาร ขับไล่นายทรงศักดิ์ออกจากที่ดิน และยึดที่ดินมาเป็นของธนาคารทันที โดยอ้างข้อตกลงในสัญญา ดังกล่าว นายทรงศักดิ์จึงมาปรึกษานักศึกษาซึ่งเรียนวิชาสัญญาจํานองไปแล้วว่า กรณีดังกล่าว ธนาคารออมทรัพย์สามารถอ้างข้อตกลงในสัญญาทําการขับไล่ และยึดที่ดินของนายทรงศักดิ์ ได้หรือไม่ และนักศึกษาจะให้คําแนะนําแก่นายทางศักดิ์อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 702 “อันว่าจํานองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้ แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจํานอง เป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจํานอง ผู้รับจํานองชอบที่จะได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินที่จํานองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่

มาตรา 714 “อันสัญญาจํานองนั้น ท่านว่าต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” มาตรา 714/1 “บรรดาข้อตกลงเกี่ยวกับการจํานองที่แตกต่างไปจากมาตรา 128 มาตรา 729 และมาตรา 735 เป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทวีปทําสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารออมทรัพย์ โดยมีนายทรงศักดิ์ นําโฉนดที่ดินของตนจํานวน 5 ไร่ ราคาประเมิน 5 ล้านบาท มาจดทะเบียนจํานองหนี้รายนี้ โดยมีกําหนดระยะเวลา ในการชําระหนี้ 5 ปีนั้น สัญญาจํานองที่ดินระหว่างนายทรงศักดิ์และธนาคารออมทรัพย์ย่อมมีผลสมบูรณ์ ตามกฎหมายตามมาตรา 702 ประกอบมาตรา 714 แต่อย่างไรก็ตามในสัญญาจํานองซึ่งมีข้อตกลงกันว่า “…หากลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้สามารถยึดที่ดินที่จํานองเองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวและไม่ต้องฟ้องร้องบังคับคดี….” นั้น ข้อตกลงดังกล่าว เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการจํานองที่แตกต่างไปจากมาตรา 728 และมาตรา 729 ซึ่งได้กําหนด ให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับจํานอง หรือฟ้องคดีเพื่อเรียกเอาทรัพย์จํานองหลุดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด แต่คู่สัญญา ได้ทําข้อตกลงกันเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทําตามมาตรา 728 และมาตรา 729 ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นโมฆะ ใช้บังคับกันไม่ได้ตามมาตรา 714/1

ดังนั้น เมื่อครบกําหนดเวลาชําระหนี้ นายทวีปผิดนัดชําระหนี้ การที่ธนาคารออมทรัพย์ได้ให้ เจ้าหน้าที่ของธนาคารขับไล่นายทรงศักดิ์ออกจากที่ดิน และยึดที่ดินมาเป็นของธนาคารทันที โดยอ้างข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวซึ่งเป็นโมฆะนั้นย่อมเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ธนาคารออมทรัพย์จะอ้างข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวเพื่อทําการขับไล่นายทรงศักดิ์ออกจาก ที่ดินและยึดที่ดินของนายทรงศักดิ์ไม่ได้

ข้อ 3 นายขาว นายดํา และนายเขียวเป็นเพื่อนรักกัน นายขาวกู้ยืมเงินนายดํา 2 ล้านบาท นายเขียวเอา สร้อยเพชรของตนส่งมอบให้นายดําเพื่อประกันการชําระหนี้เงินกู้ของนาวขาว หากว่า

(ก) ต่อมาถึงกําหนดชําระหนี้ นายขาวไม่ชําระหนี้นายดํา นายดําได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 764 และนําสร้อยเพชรขายทอดตลาดได้ราคาขาดอยู่ 300,000 บาท ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายดําจะเรียกเงินส่วนที่ขาดได้จากใคร

(ข) หากปรากฏว่าก่อนถึงกําหนดชําระหนี้ นายเขียวมีความจําเป็นต้องเอาเครื่องเพชรไปใส่ออกงาน ด้วยความสนิทไว้เนื้อเชื่อใจ นายดําจึงยอมให้นายเขียวเอาสร้อยเพชรไปใช้ 1 สัปดาห์ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ผลทางกฎหมายของสัญญาจํานําเป็นอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 747 “อันว่าจํานํานั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จํานํา ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจํานํา เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้

มาตรา 767 “เมื่อบังคับจํานําได้เงินจํานวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจํานําต้องจัดสรรชําระหนี้และ อุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จํานํา หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น ถ้าได้เงินน้อยกว่าจํานวนค้างชําระ ท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น”

มาตรา 769 “อันจํานําย่อมระงับสิ้นไป

(1) เมื่อหนี้ซึ่งจํานําเป็นประกันอยู่นั้นระงับสิ้นไปเพราะเหตุประการอื่นมิใช่เพราะอายุความ หรือ

(2) เมื่อผู้รับจํานํายอมให้ทรัพย์สินจํานํากลับคืนไปสู่ครอบครองของผู้จํานํา”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวกู้ยืมเงินนายดํา 2 ล้านบาท โดยมีนายเขียวบุคคลภายนอกได้ ส่งมอบสร้อยเพชรของตนเองให้นายดําเพื่อประกันการชําระหนี้เงินกู้ของนายขาวนั้น สัญญาจํานําซึ่งเป็นสัญญา อุปกรณ์ย่อมเกิดขึ้น และมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 747

(ก) ต่อมาเมื่อถึงกําหนดชําระหนี้ นายขาวลูกหนี้ไม่ชําระหนี้เงินกู้ยืมจํานวน 2 ล้านบาท ให้แก่ นายดําเจ้าหนี้ เมื่อนายดําเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 764 และนําสร้อยเพชรออกขายทอดตลาดได้ราคา ขาดอยู่ 300,000 บาท ดังนี้ นายดําเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้นายขาวลูกหนี้รับใช้ในส่วนที่ขาด 300,000 บาท ได้ตามมาตรา 767 แต่ไม่มีสิทธิเรียกเอาส่วนที่ขาดจากนายเขียวผู้จํานํา

(ข) หากปรากฏว่าก่อนถึงกําหนดชําระหนี้ นายเขียวผู้จํานํามีความจําเป็นต้องเอาเครื่องเพชร ไปใส่ออกงาน ด้วยความสนิทไว้เนื้อเชื่อใจ นายดําผู้รับจํานําได้ยอมให้นายเขียวเอาสร้อยเพชรไปใช้ 1 สัปดาห์ ย่อมมีผลทําให้สัญญาจํานําดังกล่าวระงับไปตามมาตรา 769 (2) เพราะนายดําผู้รับจํานํายอมให้ทรัพย์สินจํานํา กลับคืนไปสู่ครอบครองของนายเขียวผู้จํานํา

สรุป
(ก) นายดําสามารถเรียกเงินส่วนที่ขาดได้จากนายขาวลูกหนี้ แต่จะเรียกเอาจากนายเขียว ผู้จํานําไม่ได้
(ข) การที่นายดํายอมให้นายเขียวเอาสร้อยเพชรไปใช้ 1 สัปดาห์ มีผลทําให้สัญญาจํานําดังกล่าวระงับสิ้นไป

WordPress Ads
error: Content is protected !!