LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง สอบซ่อม 1/2550

การสอบซ่อมภาค  1  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงหลักการของการปกครองในระบบรัฐสภา  ระบบประธานาธิบดี  และระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี  มาตามที่เข้าใจ  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

รูปการปกครองในระบบรัฐสภาเป็นรูปการปกครองที่การจัดตั้งองค์กรในการใช้อำนาจรัฐ มีมาตรการในการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้องค์กรดังกล่าวสามารถมีปฏิสัมพันธ์และสามารถใช้มาตรการในการล้มล้างซึ่งกันและกัน ดังเช่น การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติและการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยฝ่ายบริหาร

ตัวอย่างการปกครองในระบบรัฐสภาที่เห็นได้ชัดเจน  คือ ระบบการปกครองของประเทศอังกฤษ และระบบการปกครองของไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพุทธศักราช 2540

–       รูปการปกครองในระบบประธานาธิบดีจะมีการกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจออกจากกันให้เป็นอิสระมากที่สุด เป็นการแบ่งแยกอำนาจแบบค่อนข้างเด็ดขาด ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่างก็ไม่มีอำนาจล้มล้างซึ่งกันและกัน ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการขอเปิดอภิปรายฝ่ายบริหารและทางฝ่ายบริหารก็ไม่มีอำนาจในการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังเช่น รูปการปกครองของสหรัฐอเมริกา

–       ส่วนรูปการปกครองในระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี เป็นรูปการปกครองที่นำเอาหลักการของระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีมาใช้ร่วมกัน มีการนำเอามาตรการในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารมาใช้ในส่วนของคณะรัฐมนตรี แต่สภาผู้แทนไม่สามารถเปิดอภิปรายตัวประธานาธิบดีเหมือนกับระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีในระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี จะมีอำนาจในการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังเช่น ตัวอย่างของประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

 

ข้อ  2  ขอให้ท่านอธิบายถึงขั้นตอนการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  ตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกามาโดยสังเขป

ธงคำตอบ

การปกครองในระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  ในส่วนของฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุด  ซึ่งมีความเป็นอิสระจากรัฐมนตรีทั้งปวง  ซึ่งเรียกว่า  “Secretaries”  โดยประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐ  และเป็นหัวหน้าของรัฐบาลด้วย

ในสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่ๆ  อยู่เพียง  2  พรรค  คือ  พรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต  ที่มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่บริหารประเทศ  โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม  กล่าวคือ  ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  (Big  Elector)  เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี  ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

การเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับเลือกมาพร้อมกันในรูปแบบของ  “Ticket”  เดียวกันโดยได้รับเลือกจากประชาชน  มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่  1 

พรรคการเมืองทั้ง  2  พรรคดังกล่าว  จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละพรรคในแต่ละมลรัฐ  ซึ่งมีทั้งหมด  50  มลรัฐ  เพื่อส่งเข้าประชุมร่วมกันในระดับชาติ หรือเรียกกันว่าเป็นการประชุมระดับ  Convention  เพื่อให้คนที่มาประชุมร่วมกันของแต่ละพรรคนั้นทำการคัดเลือกบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะส่งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อได้ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้ว  ผู้ที่ได้รับเลือกมีสิทธิเลือกบุคคลที่จะลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย

ขั้นตอนที่  2 

กำหนดให้ประชาชนชาวอเมริกันในแต่ละมลรัฐไปทำการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคามบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่  ซึ่งบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่นี้ในแต่ละมลรัฐจะแตกต่างกันในเรื่องของจำนวน  ทั้งนี้จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ที่จะมีได้ในแต่ละมลรัฐนั้นจะมีลักษณะเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  อย่างเช่น  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย  สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 30  คน  และสมาชิกวุฒิสภาอีก  2  คน  ดังนั้นรวมแล้วได้  32  คน  ดังนั้นทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตซึ่งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะทำบัญชีรายชื่อคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของตนในมลรัฐนี้ขึ้นพรรคละ  32  รายชื่อ  เพื่อเสนอต่อประชาชนในมลรัฐให้เลือกเข้ามา  ฉะนั้นหากประชาชนนิยมผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคใด  ก็จะลงคะแนนให้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น  และจะต้องเลือกทั้ง  32  คนของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น  เมื่อลงคะแนนเสร็จก็จะได้สรุปว่าพรรคใดจะได้รับเลือกให้ทำหน้าที่คณะผู้เลือกตั้งใหญ่

สำหรับ  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  นั้นมีทั้งหมด  538  คน  ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  (435 + 3 + 100 )  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ข้างมากและเด็ดขาด  คือ  จะต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป

ดังนั้นจะเห็นว่า  หลังจากการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้งใหญ่เสร็จลงแล้วรวมคะแนนจาก  50  มลรัฐของแต่ละพรรค  ถ้าปรากฏว่าพรรคใดได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ถึง  270  เสียง  คือ  เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด  (กึ่งหนึ่ง  269)  ก็จะทำให้ทราบทันทีว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคดังกล่าวย่อมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

ขั้นตอนที่  3

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะผู้เลือกตั้งใหญ่ทั้งหมดจำนวน  538  คนไปออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  ซึ่งก็แน่นอนว่าคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของแต่ละพรรคก็จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรคตน  ดังนั้นสมมุติว่าพรรคเดโมแครตได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป  ก็หมายความว่า  ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคแดโมแครตย่อมจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

โดยที่ประชุมของสภาคองเกรส  จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าใครเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  และหลังจากนั้นก็จะมีพิธีการอย่างเป็นทางการในการเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขฝ่ายบริหาร

วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ก็คือ  4  ปี  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีเกิดว่างลงหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยสิ้นเชิง  รองประธานาธิบดีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่  และมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับประธานาธิบดี

 

ข้อ  3  จงอธิบายที่มาของอำนาจนิติบัญญัติ  ที่มาของอำนาจบริหาร  ที่มาของอำนาจตุลาการ  ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ธงคำตอบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  (ฉบับปัจจุบัน) ได้บัญญัติที่มาขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้

1       รัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ

–                    รัฐสภาประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และสมาชิกวุฒิสภา  (มาตรา 88)

–                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  มี  480  คน  มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต  400  คน  และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  80  คน  (มาตรา 93)

–                    สมาชิกวุฒิสภามี  150  คน  มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ  1  คน รวม  76  คน  และมาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการการสรรหา  74  คน  (มาตรา  111)

2       คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร

–                    คณะรัฐมนตรีประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรี  1  คน  ต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น  และคณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน  35  คน  ซึ่งจะมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้  แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ  (มาตรา  171  และมาตรา  174)

–                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาเป็นคณะรัฐมนตรียังคงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย

3       ศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ

–                    ศาลมี  4  ศาล  คือ  ศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลปกครอง  ศาลทหาร  และศาลยุติธรรม  (หมวด 10)

–                    การจัดตั้งศาลให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ (มาตรา  198)

–                    ดังนั้นที่มาของศาลมาตามบทบัญญัติของกฎหมาย  ที่มาของศาลหรือผู้พิพากษาจึงแตกต่างกัน  ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายจัดตั้งศาลแต่ละศาลนั้นๆ

 

ข้อ  4  จงอธิบายถึงความมุ่งหมายที่สำคัญของรัฐธรรมนูญในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  และในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพโดยอาศัยเหตุผลเพื่อคุ้มครอง  สิทธิของบุคคลอื่น  (Inhalt  der  Rechteanderer)  เกิดขึ้นได้ในกรณีใดบ้างหรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

ความมุ่งหมายที่สำคัญในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

1       เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลอื่น

2       เพื่อการดำรงอยู่และเพื่อความสามารถในการทำภาระหน้าที่ของรัฐ  และ

3       เพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นๆ

ตัวอย่างของการจำกัดสิทธิและเสรีภาพโดยเหตุผลเพื่อคุ้มครอง  สิทธิของบุคคลอื่น

–                    เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด  การเขียน  การพิมพ์  การโฆษณา  การจำกัดเสรีภาพในกรณีดังกล่าวจะกระทำมิได้  เว้นแต่อาศัยอำนาจตามกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองสิทธิ  เสรีภาพเกียรติยศ  ชื่อเสียง  สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น

–                    สิทธิของบุคคลในการได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือราชการส่วนท้องถิ่น  เว้นแต่การเปิดเผยนั้นจะกระทบต่อส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น  เป็นต้น

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 2/2550

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  4  ข้อ

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงโครงสร้างของประเทศ  ระบบการปกครอง  และหลักการสำคัญของระบบ  พร้อมทั้งอธิบายถึงที่มาของประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในทุกขั้นตอนมาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

ประเทศสหรัฐอเมริกา  ถือว่าเป็นแม่แบบของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  โดยเป็นประเทศที่มีโครงสร้างแบบรัฐรวมในลักษณะของการรวมตัวแบบเหนียวแน่น  ที่เรียกว่า  สหพันธรัฐ  หรือเรียกสั้นๆว่า  สหรัฐ  ซึ่งเป็นการรวมตัวกันโดยใช้เกณฑ์แห่งความเสมอภาคระหว่างรัฐใหญ่กับรัฐเล็กที่เป็นสมาชิก  รัฐสมาชิกดังกล่าวยินยอมที่จะสูญเสียอำนาจบางประการให้กับศูนย์กลางแห่งอำนาจ  ยอมให้มีการกำหนดเกณฑ์ในการใช้อำนาจปกครองร่วมกัน  โดยมีการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นที่เรียกว่า  รัฐธรรมนูญใหม่  หรือ  รัฐธรรมนูญกลาง

ลักษณะสำคัญของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  มี  2  ประการ  คือ

1       ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

2       มีการแบ่งแยกอำนาจกันค่อนข้างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  กล่าวคือ  เป็นอิสระจากกัน  ไม่มีมาตรการล้มล้างซึ่งกันและกัน  ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร  และในทางกลับกันฝ่ายบริหารก็ไม่มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร  สังเกตว่าในข้อนี้จะแตกต่างจากการปกครองในระบบรัฐสภาอย่างชัดเจน

การจัดตั้งสถาบันการปกครองของสหรัฐอเมริกา  มีดังนี้

ก.      สถาบันนิติบัญญัติ  (สภาคองเกรส)

รัฐสภาอเมริกัน  เรียกว่า  สภาคองเกรส (Zcongress)  ประกอบด้วย  2  สภา คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากกการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  แบบเสียงข้างมากรอบเดียว  มีวาระในการดำลงตำแหน่ง  2  ปี  มีจำนวนทั้งสิ้น  435  คน  รวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศูนย์กลางแห่งอำนาจหรือที่เรียกว่า  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิเศษของวอชิงตัน  ดี.ซี.  อีก  3  คน  ฉะนั้นจึงมีจำนวนทั้งหมด  438 คน

คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  คือ  ต้องมีอายุ  25  ปีขึ้นไป  และมีสัญชาติอเมริกันมาแล้วอย่างน้อย  7  ปี

2       สภาสูงหรือวุฒิสภา  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  2  คนต่อ  1  มลรัฐ  รวมทั้งสิ้นจำนวน  100 คน  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  แต่สมาชิก  1  ใน  3  ของทั้งหมดจะต้องจับถูกสลากออกไปสมัครเข้ารับการเลือกตั้งใหม่ทุกๆ  2  ปี  ในระหว่างที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา คือ  ต้องมีอายุตั้งแต่  30  ปีขึ้นไปและได้สัญชาติอเมริกันมาแล้ว  9  ปีขึ้นไป

สมาชิกของสภาคองเกรสได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองเช่นเดียวกับสมาชิกของสภาทั่วๆไปในรัฐสมัยใหม่  นอกจากนี้ยังได้รับการยกเว้นภาษี  ค่าใช้จ่ายของเลขานุการ  เงื่อนไขในการทำงานของสมาชิกสภาคองเกรสยังดีกว่าสมาชิกของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะทางด้านข้อมูลข่าวสาร

อำนาจหน้าที่ของสภาเกรส

1       อำนาจในการตรากฎหมายและการตรากฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณ  ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่างมีอำนาจในเรื่องนี้อย่างเท่าเทียมกัน  ยกเว้นในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีอากรจะต้องริเริ่มโดยสภาผู้แทนราษฎร

2       อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  การริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีได้ทั้งจากสภาคองเกรส  หรือจากสภานิติบัญญัติของมลรัฐต่างๆ

3       อำนาจในการเลือกตั้งแทน  เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี  และรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  ถ้าปรากฏว่าผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงเท่ากัน  กรณีนี้สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกประธานาธิบดีส่วนวุฒิสภาก็จะใช้สิทธิเลือกรองประธานาธิบดี

4       อำนาจอื่นๆของสภาคองเกรส  เช่น  ดูแลการบริหารของหน่วยงานบริการสาธารณสุขตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา

อำนาจหน้าที่เฉพาะของสภาสูงหรือวุฒิสภาของอเมริกา

1       ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของสหพันธรัฐ

2       ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  โดยต้องได้รับการให้สัตยาบันจากสภาสูงด้วยคะแนนเสียง  2  ใน  3

ข.      สถาบันบริหารของสหรัฐอเมริกา

ฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุด  ซึ่งมีความเป็นอิสระจากรัฐมนตรีทั้งปวง  โดยประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้ารัฐบาล

ในสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่ๆ  อยู่เพียง  2  พรรค  คือ  พรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต  ที่มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่บริหารประเทศ  โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม  กล่าวคือ  ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  (Big  Elector)  เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี  ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

การเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับเลือกมาพร้อมกันในรูปแบบของ  “Ticket”  เดียวกันโดยได้รับเลือกจากประชาชน  มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่  1 

พรรคการเมืองทั้ง  2  พรรคดังกล่าว  จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละพรรคในแต่ละมลรัฐ  ซึ่งมีทั้งหมด  50  มลรัฐ  เพื่อส่งเข้าประชุมร่วมกันในระดับชาติ หรือเรียกกันว่าเป็นการประชุมระดับ  Convention  เพื่อให้คนที่มาประชุมร่วมกันของแต่ละพรรคนั้นทำการคัดเลือกบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะส่งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อได้ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้ว  ผู้ที่ได้รับเลือกมีสิทธิเลือกบุคคลที่จะลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย

ขั้นตอนที่  2 

กำหนดให้ประชาชนชาวอเมริกันในแต่ละมลรัฐไปทำการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคามบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่  ซึ่งบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่นี้ในแต่ละมลรัฐจะแตกต่างกันในเรื่องของจำนวน  ทั้งนี้จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ที่จะมีได้ในแต่ละมลรัฐนั้นจะมีลักษณะเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  อย่างเช่น  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย  สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้  30  คน  และสมาชิกวุฒิสภาอีก  2  คน  ดังนั้นรวมแล้วได้  32  คน  ดังนั้นทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตซึ่งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะทำบัญชีรายชื่อคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของตนในมลรัฐนี้ขึ้นพรรคละ  32  รายชื่อ  เพื่อเสนอต่อประชาชนในมลรัฐให้เลือกเข้ามา  ฉะนั้นหากประชาชนนิยมผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคใด  ก็จะลงคะแนนให้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น  และจะต้องเลือกทั้ง  32  คนของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น  เมื่อลงคะแนนเสร็จก็จะได้สรุปว่าพรรคใดจะได้รับเลือกให้ทำหน้าที่คณะผู้เลือกตั้งใหญ่

สำหรับ  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  นั้นมีทั้งหมด  538  คน  ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  (435 + 3 + 100 )  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ข้างมากและเด็ดขาด  คือ  จะต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป

ดังนั้นจะเห็นว่า  หลังจากการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้งใหญ่เสร็จลงแล้วรวมคะแนนจาก  50  มลรัฐของแต่ละพรรค  ถ้าปรากฏว่าพรรคใดได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ถึง  270  เสียง  คือ  เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด  (กึ่งหนึ่ง  269)  ก็จะทำให้ทราบทันทีว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคดังกล่าวย่อมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

ขั้นตอนที่  3

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะผู้เลือกตั้งใหญ่ทั้งหมดจำนวน  538  คนไปออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  ซึ่งก็แน่นอนว่าคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของแต่ละพรรคก็จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรคตน  ดังนั้นสมมุติว่าพรรคเดโมแครตได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป  ก็หมายความว่า  ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคแดโมแครตย่อมจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

โดยที่ประชุมของสภาคองเกรส  จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าใครเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  และหลังจากนั้นก็จะมีพิธีการอย่างเป็นทางการในการเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขฝ่ายบริหาร

วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ก็คือ  4  ปี  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีเกิดว่างลงหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยสิ้นเชิง  รองประธานาธิบดีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่  และมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับประธานาธิบดี

ค.      สถาบันตุลาการ  (ศาลยุติธรรมสูงสุด)

ศาลสูงสุดของอเมริกา  ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงโดยหน้าที่หลักๆของศาลสูงสุดของอเมริกา  ได้แก่

1       ควบคุมดูแลมิให้กฎหมายอื่นใดมาขัด  หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญกลาง

2       พิจารณาพิพากษาในกรณีมีการกล่าวหาทูต  กงสุล  รัฐมนตรี  หรือรัฐสมาชิก

 

ข้อ  2  ก . ในฐานะที่ท่านเป็นนักศึกษากฎหมายท่านทราบหรือไม่ว่า  กฎหมายที่ท่านเรียนอยู่แต่ละวิชานั้นมีขั้นตอนในการบัญญัติอย่างไร ดังนั้นจงอธิบายขั้นตอนการตราพระราชบัญญัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันพอสังเขป

        ข .  ในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง  ท่านทราบหรือไม่ว่าหน้าที่ของท่านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ธงคำตอบ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  ได้บัญญัติวิธีการและขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติซึ่งสามารถกระทำได้  4  ทาง  ได้แก่

1       โดยคณะรัฐมนตรี

2       โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จำนวนไม่น้อยกว่า  20  คน

3       ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ  เสนอได้เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับหน่วยงานของตน

4       โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า  10,000  คน  เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาออกกฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด  3  สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยและหมวด  5  แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม  2.3. และ 4.  เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี  (มาตรา 142)

ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ  คือ  รัฐสภาที่เป็นองค์การที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ

ขั้นตอนพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ  มี  2  ขั้นตอน  คือ  ส่งร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร  เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วถ้าสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ  ก็จะส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติออกเป็น  3  วาระ  คือ

วาระที่  1  เรียกว่า  วาระรับหลักการ  เมื่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นแล้ว  จะลงมติว่า  จะรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งพระราชบัญญัตินั้น  ถ้าหากสภาผู้แทนราษฎรไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินั้นก็ตกไป  แต่หากสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการ  ก็จะส่งร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่  2  ต่อไป  การพิจารณาวาระที่  1  นี้  สภาผู้แทนราษฎรจะตั้งคณะกรรมการไปพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือปัญหาใดๆก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะมีมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการก็ได้

วาระที่  2  เป็นการพิจารณาในรายละเอียด  ปกติจะพิจารณาโดยกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งขึ้น  สภาผู้แทนราษฎรคนใดเห็นว่าข้อความหรือถ้อยคำใดในร่างพระราชบัญญัตินั้นควรแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้เสนอขอคำแปรญัตติต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในเวลาที่กำหนดไว้  เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเรียงลำดับมาตราจะมีการอภิปรายได้เฉพาะที่มีการแก้ไขหรือที่มีการสงวนคำแปรญัตติ  หรือสงวนความเห็นไว้เท่านั้น  ในวาระนี้จะไม่มีการลงมติ  เมื่อพิจารณาแล้วก็จะส่งเข้าสู่วาระที่  3 

ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติใดที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอและในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  แต่คณะกรรมาธิการหรือสภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขเพิ่มเติม  และประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งระงับการพิจารณาไว้ก่อน  และส่งให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะวินิจฉัยภายใน  15  วันนับแต่ที่มีกรณีดังกล่าว  ถ้าที่ประชุมร่วมกันวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นมีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้นายกรัฐมนตรีรับรอง  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้คำรับรอง  ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการแก้ไขเพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน  (มาตรา 144)

วาระที่  3  เรียกว่า  วาระให้ความเห็นชอบ  เมื่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาวาระที่  2  เสร็จแล้ว  สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติในวาระที่  3  ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้นโดยไม่มีการอภิปรายอีก  หากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ  ร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เป็นอันตกไป  แต่หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบก็ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป

การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยวุฒิสภา

วุฒิสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรส่งมาให้  3 วาระ

วาระที่  1  การพิจารณาวาระนี้เป็นการพิจารณาและลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งพระราชบัญญัตินั้นหรือไม่

การพิจารณาในวาระนี้  วุฒิสภามีอำนาจตั้งกรรมาธิการไปพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือปัญหาใดๆก่อนที่วุฒิสภาจะมีมติเห็นชอบด้วยกับหลักการหรือไม่ก็ได้

ในกรณีที่วุฒิสภามีมติเห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งพระราชบัญญัติให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปเป็นวาระที่สอง

วาระที่  2  วุฒิสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือกรรมการเต็มสภา  ซึ่งมีขั้นตอนการพิจารณาและการแปรญัตติเช่นเดียวกับการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

วาระที่  3  การพิจารณาในวาระนี้จะเป็นการพิจารณาเพื่อลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ในกรณีที่ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติก็จะเป็นการลงมติยืนยันว่าวุฒิสภาเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว  ถ้าในวาระที่สองมีการแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม  การพิจารณาในวาระนี้จะไม่มีการอภิปราย

ผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา

ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร  ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว  และดำเนินการเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป  หากไม่เห็นชอบด้วยก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน  และส่งพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร  ทั้งนี้สภาผู้แทนราษฎรจะยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ได้ต่อเมื่อครบ  180  วันนับแต่วันที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรแล้ว  แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน  สภาผู้แทนราษฎรสามารถยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที  และถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

ในกรณีที่วุฒิสภามีมติแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ความเห็นชอบแล้ว  ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติตามที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาผู้แทนราษฎร  ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสาระสำคัญ  และเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นก็ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา  แต่ถ้าเป็นกรณีอื่นให้แต่ละสภาตั้งบุคคลที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นๆมีจำนวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนดประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นแล้วให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง

กรณีที่สภาหนึ่งสภาใดไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้วก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อน  สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อครบระยะเวลา  180  วันนับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ  ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน  สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที  และถ้าสภาผู้แทนราษฎรมีมติยืนยันร่างเดิม  หรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว  ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายภายใน  20 วัน  นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา  เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  แล้วให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้  (มาตรา  150)

ถ้าร่างพระราชบัญญัติใดพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย  และพระราชทานคืนมายังรัฐสภาหรือเมื่อพ้น  90  วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา  รัฐสภา  จะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่  หากรัฐสภาลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าถวายอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยคืนมาภายใน  30  วัน  ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว  (มาตรา  151)

ข .  ในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง  ท่านทราบหรือไม่ว่าหน้าที่ของท่านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ธงคำตอบ

1       หน้าที่ที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (มาตรา 70)

2       หน้าที่ป้องกันประเทศ  รักษาผลประโยชน์ของชาติ  และปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา71)

3       หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  (มาตรา 72)

4       หน้าที่รับราชการทหาร  เสียภาษี  ช่วยเหลือราชการ  รับการศึกษาอบรม  พิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา  73)

 

ข้อ  3  ขอให้ท่านอธิบายถึงกระบวนการและขั้นตอนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามาโดยสังเขป

ธงคำตอบ

การปกครองในระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  ในส่วนของฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุด  ซึ่งมีความเป็นอิสระจากรัฐมนตรีทั้งปวง  ซึ่งเรียกว่า  “Secretaries”  โดยประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐ  และเป็นหัวหน้าของรัฐบาลด้วย

ในสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่ๆ  อยู่เพียง  2  พรรค  คือ  พรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต  ที่มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่บริหารประเทศ  โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม  กล่าวคือ  ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  (Big  Elector)  เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี  ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

การเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับเลือกมาพร้อมกันในรูปแบบของ  “Ticket”  เดียวกันโดยได้รับเลือกจากประชาชน  มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่  1 

พรรคการเมืองทั้ง  2  พรรคดังกล่าว  จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละพรรคในแต่ละมลรัฐ  ซึ่งมีทั้งหมด  50  มลรัฐ  เพื่อส่งเข้าประชุมร่วมกันในระดับชาติ หรือเรียกกันว่าเป็นการประชุมระดับ  Convention  เพื่อให้คนที่มาประชุมร่วมกันของแต่ละพรรคนั้นทำการคัดเลือกบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะส่งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อได้ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้ว  ผู้ที่ได้รับเลือกมีสิทธิเลือกบุคคลที่จะลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย

ขั้นตอนที่  2 

กำหนดให้ประชาชนชาวอเมริกันในแต่ละมลรัฐไปทำการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคามบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่  ซึ่งบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่นี้ในแต่ละมลรัฐจะแตกต่างกันในเรื่องของจำนวน  ทั้งนี้จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ที่จะมีได้ในแต่ละมลรัฐนั้นจะมีลักษณะเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  อย่างเช่น  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย  สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 30  คน  และสมาชิกวุฒิสภาอีก  2  คน  ดังนั้นรวมแล้วได้  32  คน  ดังนั้นทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตซึ่งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะทำบัญชีรายชื่อคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของตนในมลรัฐนี้ขึ้นพรรคละ  32  รายชื่อ  เพื่อเสนอต่อประชาชนในมลรัฐให้เลือกเข้ามา  ฉะนั้นหากประชาชนนิยมผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคใด  ก็จะลงคะแนนให้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น  และจะต้องเลือกทั้ง  32  คนของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น  เมื่อลงคะแนนเสร็จก็จะได้สรุปว่าพรรคใดจะได้รับเลือกให้ทำหน้าที่คณะผู้เลือกตั้งใหญ่

สำหรับ  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  นั้นมีทั้งหมด  538  คน  ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  (435 + 3 + 100 )  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ข้างมากและเด็ดขาด  คือ  จะต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป

ดังนั้นจะเห็นว่า  หลังจากการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้งใหญ่เสร็จลงแล้วรวมคะแนนจาก  50  มลรัฐของแต่ละพรรค  ถ้าปรากฏว่าพรรคใดได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ถึง  270  เสียง  คือ  เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด  (กึ่งหนึ่ง  269)  ก็จะทำให้ทราบทันทีว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคดังกล่าวย่อมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

ขั้นตอนที่  3

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะผู้เลือกตั้งใหญ่ทั้งหมดจำนวน  538  คนไปออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  ซึ่งก็แน่นอนว่าคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของแต่ละพรรคก็จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรคตน  ดังนั้นสมมุติว่าพรรคเดโมแครตได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป  ก็หมายความว่า  ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคแดโมแครตย่อมจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

โดยที่ประชุมของสภาคองเกรส  จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าใครเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  และหลังจากนั้นก็จะมีพิธีการอย่างเป็นทางการในการเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขฝ่ายบริหาร

วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ก็คือ  4  ปี  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีเกิดว่างลงหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยสิ้นเชิง  รองประธานาธิบดีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่  และมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับประธานาธิบดี

 

ข้อ  4  นายเอกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ได้ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลอาญาในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น  ต่อมาในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ  อัยการสูงสุดได้ฟ้องนายเอกเป็นจำเลยในคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ฐานทุจริตต่อหน้าที่หลังจากนั้นศาลอาญาและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้นัดพิจารณาคดีในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติดังกล่าว  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550  ศาลอาญาและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะดำเนินการพิจารณาคดีในกรณีนี้ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  131  วรรคสาม  ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา  ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม  ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกหรือเป็นคดีอันเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง  หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  แต่การพิจารณาคดีต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา

มาตรา  277  วรรคสาม  บทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา  131  มิให้นำมาใช้บังคับกับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  ต้องแยกพิจารณาเป็น  2  ประเด็นคือ 

1       ศาลอาญาจะดำเนินการพิจารณาคดีที่นายเอกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นได้หรือไม่  และ

2       ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะดำเนินคดีที่นายเอกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ได้หรือไม่

ประเด็นที่  1  ตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.  2550  มาตรา 131  วรรคสาม  ศาลอาญาจะพิจารณาคดีนี้ในระหว่างสมัยประชุมมิได้  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกหรือเป็นคดีอันเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร  และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

ประเด็นที่  2  ตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550  มาตรา  277  วรรคสาม  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  สามารถพิจารณาคดีนี้ในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้

ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา  131  นั้น  มิให้นำมาใช้บังคับกับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง ภาคฤดูร้อน/2550

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2550

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  4  ข้อ

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงโครงสร้าง  รูปการปกครอง  และการจัดตั้งสถาบันการปกครองหลักของประเทศสหรัฐอเมริกามาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

ประเทศสหรัฐอเมริกา  ถือว่าเป็นแม่แบบของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  โดยเป็นประเทศที่มีโครงสร้างแบบรัฐรวมในลักษณะของการรวมตัวแบบเหนียวแน่น  ที่เรียกว่า  สหพันธรัฐ  หรือเรียกสั้นๆว่า  สหรัฐ  ซึ่งเป็นการรวมตัวกันโดยใช้เกณฑ์แห่งความเสมอภาคระหว่างรัฐใหญ่กับรัฐเล็กที่เป็นสมาชิก  รัฐสมาชิกดังกล่าวยินยอมที่จะสูญเสียอำนาจบางประการให้กับศูนย์กลางแห่งอำนาจ  ยอมให้มีการกำหนดเกณฑ์ในการใช้อำนาจปกครองร่วมกัน  โดยมีการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นที่เรียกว่า  รัฐธรรมนูญใหม่  หรือ  รัฐธรรมนูญกลาง

ลักษณะสำคัญของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  มี  2  ประการ  คือ

1       ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

2       มีการแบ่งแยกอำนาจกันค่อนข้างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  กล่าวคือ  เป็นอิสระจากกัน  ไม่มีมาตรการล้มล้างซึ่งกันและกัน  ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร  และในทางกลับกันฝ่ายบริหารก็ไม่มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร  สังเกตว่าในข้อนี้จะแตกต่างจากการปกครองในระบบรัฐสภาอย่างชัดเจน

การจัดตั้งสถาบันการปกครองของสหรัฐอเมริกา  มีดังนี้

ก.      สถาบันนิติบัญญัติ  (สภาคองเกรส)

รัฐสภาอเมริกัน  เรียกว่า  สภาคองเกรส (Zcongress)  ประกอบด้วย  2  สภา คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากกการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  แบบเสียงข้างมากรอบเดียว  มีวาระในการดำลงตำแหน่ง  2  ปี  มีจำนวนทั้งสิ้น  435  คน  รวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศูนย์กลางแห่งอำนาจหรือที่เรียกว่า  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิเศษของวอชิงตัน  ดี.ซี.  อีก  3  คน  ฉะนั้นจึงมีจำนวนทั้งหมด  438 คน

คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  คือ  ต้องมีอายุ  25  ปีขึ้นไป  และมีสัญชาติอเมริกันมาแล้วอย่างน้อย  7  ปี

2       สภาสูงหรือวุฒิสภา  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  2  คนต่อ  1  มลรัฐ  รวมทั้งสิ้นจำนวน  100 คน  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  แต่สมาชิก  1  ใน  3  ของทั้งหมดจะต้องจับถูกสลากออกไปสมัครเข้ารับการเลือกตั้งใหม่ทุกๆ  2  ปี  ในระหว่างที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา คือ  ต้องมีอายุตั้งแต่  30  ปีขึ้นไปและได้สัญชาติอเมริกันมาแล้ว  9  ปีขึ้นไป

สมาชิกของสภาคองเกรสได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองเช่นเดียวกับสมาชิกของสภาทั่วๆไปในรัฐสมัยใหม่  นอกจากนี้ยังได้รับการยกเว้นภาษี  ค่าใช้จ่ายของเลขานุการ  เงื่อนไขในการทำงานของสมาชิกสภาคองเกรสยังดีกว่าสมาชิกของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะทางด้านข้อมูลข่าวสาร

อำนาจหน้าที่ของสภาเกรส

1       อำนาจในการตรากฎหมายและการตรากฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณ  ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่างมีอำนาจในเรื่องนี้อย่างเท่าเทียมกัน  ยกเว้นในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีอากรจะต้องริเริ่มโดยสภาผู้แทนราษฎร

2       อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  การริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีได้ทั้งจากสภาคองเกรส  หรือจากสภานิติบัญญัติของมลรัฐต่างๆ

3       อำนาจในการเลือกตั้งแทน  เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี  และรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  ถ้าปรากฏว่าผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงเท่ากัน  กรณีนี้สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกประธานาธิบดีส่วนวุฒิสภาก็จะใช้สิทธิเลือกรองประธานาธิบดี

4       อำนาจอื่นๆของสภาคองเกรส  เช่น  ดูแลการบริหารของหน่วยงานบริการสาธารณสุขตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา

อำนาจหน้าที่เฉพาะของสภาสูงหรือวุฒิสภาของอเมริกา

1       ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของสหพันธรัฐ

2       ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  โดยต้องได้รับการให้สัตยาบันจากสภาสูงด้วยคะแนนเสียง  2  ใน  3

ข.      สถาบันบริหารของสหรัฐอเมริกา

ฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุด  ซึ่งมีความเป็นอิสระจากรัฐมนตรีทั้งปวง  โดยประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้ารัฐบาล

ในสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่ๆ  อยู่เพียง  2  พรรค  คือ  พรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต  ที่มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่บริหารประเทศ  โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม  กล่าวคือ  ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  (Big  Elector)  เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี  ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

การเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับเลือกมาพร้อมกันในรูปแบบของ  “Ticket”  เดียวกันโดยได้รับเลือกจากประชาชน  มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่  1 

พรรคการเมืองทั้ง  2  พรรคดังกล่าว  จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละพรรคในแต่ละมลรัฐ  ซึ่งมีทั้งหมด  50  มลรัฐ  เพื่อส่งเข้าประชุมร่วมกันในระดับชาติ หรือเรียกกันว่าเป็นการประชุมระดับ  Convention  เพื่อให้คนที่มาประชุมร่วมกันของแต่ละพรรคนั้นทำการคัดเลือกบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะส่งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อได้ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้ว  ผู้ที่ได้รับเลือกมีสิทธิเลือกบุคคลที่จะลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย

ขั้นตอนที่  2 

กำหนดให้ประชาชนชาวอเมริกันในแต่ละมลรัฐไปทำการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคามบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่  ซึ่งบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่นี้ในแต่ละมลรัฐจะแตกต่างกันในเรื่องของจำนวน  ทั้งนี้จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ที่จะมีได้ในแต่ละมลรัฐนั้นจะมีลักษณะเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  อย่างเช่น  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย  สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 30  คน  และสมาชิกวุฒิสภาอีก  2  คน  ดังนั้นรวมแล้วได้  32  คน  ดังนั้นทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตซึ่งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะทำบัญชีรายชื่อคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของตนในมลรัฐนี้ขึ้นพรรคละ  32  รายชื่อ  เพื่อเสนอต่อประชาชนในมลรัฐให้เลือกเข้ามา  ฉะนั้นหากประชาชนนิยมผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคใด  ก็จะลงคะแนนให้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น  และจะต้องเลือกทั้ง  32  คนของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น  เมื่อลงคะแนนเสร็จก็จะได้สรุปว่าพรรคใดจะได้รับเลือกให้ทำหน้าที่คณะผู้เลือกตั้งใหญ่

สำหรับ  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  นั้นมีทั้งหมด  538  คน  ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  (435 + 3 + 100 )  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ข้างมากและเด็ดขาด  คือ  จะต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป

ดังนั้นจะเห็นว่า  หลังจากการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้งใหญ่เสร็จลงแล้วรวมคะแนนจาก  50  มลรัฐของแต่ละพรรค  ถ้าปรากฏว่าพรรคใดได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ถึง  270  เสียง  คือ  เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด  (กึ่งหนึ่ง  269)  ก็จะทำให้ทราบทันทีว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคดังกล่าวย่อมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

ขั้นตอนที่  3

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะผู้เลือกตั้งใหญ่ทั้งหมดจำนวน  538  คนไปออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  ซึ่งก็แน่นอนว่าคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของแต่ละพรรคก็จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรคตน  ดังนั้นสมมุติว่าพรรคเดโมแครตได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป  ก็หมายความว่า  ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคแดโมแครตย่อมจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

โดยที่ประชุมของสภาคองเกรส  จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าใครเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  และหลังจากนั้นก็จะมีพิธีการอย่างเป็นทางการในการเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขฝ่ายบริหาร

วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ก็คือ  4  ปี  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีเกิดว่างลงหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยสิ้นเชิง  รองประธานาธิบดีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่  และมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับประธานาธิบดี

ค.      สถาบันตุลาการ  (ศาลยุติธรรมสูงสุด)

ศาลสูงสุดของอเมริกา  ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงโดยหน้าที่หลักๆของศาลสูงสุดของอเมริกา  ได้แก่

1       ควบคุมดูแลมิให้กฎหมายอื่นใดมาขัด  หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญกลาง

2       พิจารณาพิพากษาในกรณีมีการกล่าวหาทูต  กงสุล  รัฐมนตรี  หรือรัฐสมาชิก

 

ข้อ  2  ให้อธิบายถึงรูปการปกครองของประเทศไทย  และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งของสถาบันนิติบัญญัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน  (พ.ศ.2550) มาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ 

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  (ฉบับปัจจุบัน)   กำหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การปกครองในระบบรัฐสภา  เป็นระบบการปกครองที่องค์กรซึ่งใช้อำนาจในทางการเมืองทั้ง  2  องค์กร  คือ  ฝ่ายนิติบัญญัติ  และฝ่ายบริหาร  มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกันในการปฏิบัติหน้าที่  รวมทั้งมีมาตรการในการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันด้วย

การปกครองในระบบรัฐสภานั้นมีหลักการที่สำคัญคือ  ฝ่ายบริหารต้องมีความรับผิดชอบในทางการเมืองต่อฝ่ายนิติบัญญัติ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  ฝ่ายบริหารมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินก็โดยอาศัยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อใดที่ฝ่ายนิติบัญญัติแสดงออกถึงความไม่ไว้วางใจ  เมื่อนั้นถือได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องการถอดถอนฝ่ายบริหาร

การรับผิดชอบในทางการเมืองของฝ่ายบริหารนั้นจำกัดเฉพาะคณะรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการอย่างแท้จริงเท่านั้น  องค์ประมุขของรัฐไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมืองแต่อย่างใด

การแสดงออกถึงความไม่ไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัตินี้  อาจจะเป็นการกระทำโดยตรงซึ่งได้แก่  การที่สภานิติบัญญัติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อฝ่ายบริหารหรืออาจจะเป็นการกระทำทางอ้อม  ซึ่งได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายสำคัญที่ฝ่ายบริหารเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาอนุมัติ  เช่น  ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  เป็นต้น  นอกจากนี้ฝ่ายนิติบัญญัติยังมีอำนาจตั้งกระทู้ถามต่อฝ่ายบริหารได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามการปกครองในระบบรัฐสภานั้น  ถึงแม้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะมีอำนาจถอดถอนฝ่ายบริหารด้วยการแสดงออกซึ่งความไม่ไว้วางใจ  ในทำนองเดียวกันฝ่ายบริหารก็มีมาตรการโต้ตอบฝ่ายนิติบัญญัติ  ในกรณีที่ฝ่ายบริหารเชื่อมั่นว่าฝ่ายบริหารกระทำการด้วยความถูกต้องตรงกับเจตนารมณ์ของประชาชน  กล่าวคือ  ฝ่ายบริหารมีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับฝ่ายนิติบัญญัติ  (รัฐสภา)  ของไทยนั้น  ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  ซึ่งมีที่มาหรือวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งดังนี้คือ

ก.      สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)

1       สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)  ประกอบด้วยสมาชิก  480  คน  โดยเป็นสมาชิก

–                    มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  400 คน

–                    มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  80  คน  (มาตรา 93)

2       การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

–  การคำนวณจำนวนสมาชิกฯ  ให้นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศในปีก่อนปีที่มีการเลือกตั้งหารด้วย  400  จะได้เกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  เช่น  จังหวัด   ก.   มีราษฎร  472,500  คน  ดังนั้นสามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตได้  3  คน  เป็นต้น

– จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน  3  คน  ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน  3  คน  ให้แบ่งเขตจังหวัดออดเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  3  คน (มาตรา  94)

3       การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

 

–                    ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น  โดยพรรคการเมืองหนึ่งจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกเขตเลือกตั้งหรือจะส่งเพียงบางเขตเลือกตั้งก็ได้  ทั้งนี้รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต  และต้องคำนึงถึงโอกาสสัดส่วนที่เหมาะสม  และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิงด้วย  (มาตรา 95 , 97 )

–                    เขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน  ให้แบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น  8  กลุ่มจังหวัด  โดยจัดจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มจังหวัดเดียวกัน  และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  แต่ละเขตเลือกตั้งให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้  10  คน  (มาตรา 96)

–                    ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับในเขตเลือกตั้งนั้นมารวมกัน  แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง  เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น  คะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ  และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนในเขตเลือกตั้งนั้น  (มาตรา  98)

ข.      วุฒิสภา  (ส.ว.)

1       วุฒิสภา (ส.ว.)  ประกอบด้วยสมาชิก  150  คน  ซึ่งมาจาก

–                    การเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด  จังหวัดละ  1  คน  รวม  76  คน

–                    การสรรหา  รวม  74  คน (มาตรา  111)

2       การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 

ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา (มาตรา 112)

3       การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย

(1) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

(2) ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(3) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ประธานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(5) ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(6) ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย 1 คน

(7) ตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย 1 คน (มาตรา 113)

 

ข้อ  3  นายบาบู  ซึ่งถือศาสนาฮินดูและเป็นเจ้าของร้านอาหาร  อินเดียเลิศรส  ไม่พอใจที่มีกลุ่มชาวพุทธส่วนหนึ่งเคยไปเรียกร้องให้มีการบัญญัติ  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ  ไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550  จึงได้นำป้ายมาปิดประกาศหน้าร้านอาหารของตน  

ห้ามบุคคลซึ่งถือศาสนาพุทธเข้ามาทานอาหารภายในร้าน  ต่อมานายเอกบุคคลสัญชาติไทยและนายหม่องบุคคลสัญชาติพม่าซึ่งต่างก็ถือศาสนาพุทธได้มาทานอาหารที่ร้านของนายบาบู  แต่ถูกนายบาบูห้ามเข้ามาในร้านและชี้ให้ดูป้ายที่ตนได้ปิดประกาศไว้  ดังนั้นให้ท่านวินิจฉัยว่า

กรณีดังกล่าวนี้เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2550  ของนายเอกและนายหม่องหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  28  วรรคสอง  บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้  สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

มาตรา  37  บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา  นิกายของศาสนา  หรือลัทธินิยมในทางศาสนา  และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม  ศาสนบัญญัติ  หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อของตน  เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง  บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆอันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้  เพราะเหตุที่ถือศาสนา  นิกายของศาสนา  ลัทธินิยมในทางศาสนาหรือปฏิบัติตามศาสนธรรม  ศาสนบัญญัติ  หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อ  แตกต่างจากบุคคลอื่น

วินิจฉัย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  วางหลักในมาตรา  37  ให้บุคคลทุกคนมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา  นิกายของศาสนา  หรือลัทธินิยมในทางศาสนา  โดยกำหนดให้เป็น  เสรีภาพบริบูรณ์  หมายถึง  เสรีภาพอันไม่มีข้อจำกัดหรือไม่อาจมีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้เลย  แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าการใช้เสรีภาพในการนับถือศาสนาดังกล่าว  จะใช้ได้เท่าที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือรัฐธรรมนูญ  ละไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

เมื่อใดก็ตามที่บุคคลรู้ว่าถูกละเมิดเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้  เช่น  เสรีภาพในการนับถือศาสนา  ก็สามารถยกบทบัญญัติมาตรา  28  วรรคสอง  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550 มาใช้  สิทธิทางศาลหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ทันที

อย่างไรก็ดีการจะยกบทบัญญัติดังกล่าว  เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้  จะต้องปรากฏว่าเป็นการกระทำระหว่างรัฐ  หน่วยงานของรัฐ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน  เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายมหาชน

กรณีตามอุทาหรณ์  ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา  ตามมาตรา  37  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  เพราะเหตุว่าการที่นายบาบูนำป้ายมาปิดประกาศหน้าร้านอาหารของตน  ห้ามบุคคลซึ่งนับถือศาสนาพุทธเข้ามาทานอาหารภายในร้าน  เป็นสิทธิของผู้ขายตามกฎหมายเอกชนซึ่งสามารถกระทำได้  ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญาผูกนิติสัมพันธ์  คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อนิติสัมพันธ์โดยฝ่ายนั้นไม่สมัครใจยินยอมไม่ได้  ดังนั้นผู้ขายจึงสามารถเลือกปฏิบัติต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้  เช่น  การที่ไม่ขายสินค้าให้คนผิวดำ  แต่ขายเฉพาะให้กับคนผิวขาว  หรือขายให้กับเพศชาย  แต่ปฏิเสธเพศหญิง  เช่นนี้เอกชนย่อมมีสิทธิทำได้  ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ  เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช้บังคับโดยตรงในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน

เมื่อไม่เป็นการละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนาตามรัฐธรรมนูญ  นายเอกและนายหม่องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้  ตามมาตรา  28  วรรคสอง

สรุป  กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  28  วรรคสอง  และมาตรา  37  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550

 

ข้อ  4  ในการพิจารณาคดีของศาลอาญา  นายแดงจำเลยในคดีได้โต้แย้งต่อศาลว่า  มาตรา  15  พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ. 2522 ซึ่งศาลอาญาจะนำมาตัดสินกับคดีของตน  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550  มาตรา  30 เรื่องความเสมอภาคของบุคคลในกฎหมาย ขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย  ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นว่ากรณีมิได้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามที่นายแดงได้กล่าวอ้างแต่อย่างใด  แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตรวจพบว่า  กระบวนการตรา  พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ดังนี้  ศาลรัฐธรรมนูญ  มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นนี้ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

มาตรา  211  ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  6  และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น  ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย  ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้  แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว  จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า  คำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง  ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย  ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง  แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว

มาตรา  6  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

วินิจฉัย

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  มาตรา  211  ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่คู่ความหรือศาลอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา  6

กรณีตามอุทาหรณ์มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า  ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยว่ากระบวนการตรา  พ.ร.บ.  ยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ. 2522  ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่  เห็นว่า

การตรากฎหมายเป็นกระบวนการทางนิติบัญญัติ  และการควบคุมมิให้การตรากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนั้น  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย  พ.ศ.2550  กำหนดไว้เป็นพิเศษแล้วในมาตรา  154  โดยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภาและนายกรัฐมนตรี  มีอำนาจส่งเรื่องดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

นอกจากนี้ตัวบทมาตรา  211  ยังกล่าวถึงเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ซึ่งหมายถึงถ้อยคำในกฎหมายเท่านั้น  คู่ความในคดีจึงขอให้ศาลส่งข้อโต้แย้งว่า  การตรากฎหมาย  ซึ่งหมายถึงกระบวนการในการตรากฎหมายและรูปแบบของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ได้  และแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นเองก็ไม่มีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัย

ดังนั้นเมื่อมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา  6  ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจในประเด็นที่จะพิจารณาวินิจฉัยถึงกระบวนการตรา  พ.ร.บ.  ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522  ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่  ตามมาตรา  211

สรุป  ตามมาตรา  211  ประกอบมาตรา  6  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2500  ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยกรณีดังกล่าว

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 1/2551

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 

กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ 1.      ให้อธิบายถึงหลักการสำคัญของรูปการปกครองในระบบรัฐสภา  ระบบประธานาธิบดี  และระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี  มาตามที่เข้าใจ

แนวคำตอบ

รูปการปกครองในระบบรัฐสภาเป็นรูปการปกครองที่การจัดตั้งองค์กรในการใช้อำนาจรัฐ มีมาตรการในการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้องค์กรดังกล่าวสามารถมีปฏิสัมพันธ์และสามารถใช้มาตรการในการล้มล้างซึ่งกันและกัน ดังเช่น การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติและการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยฝ่ายบริหาร ดังเช่น ระบบการปกครองของประเทศอังกฤษ และระบบการปกครองของไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพุทธศักราช 2540

–      รูปการปกครองในระบบประธานาธิบดีจะมีการกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจออกจากกันให้เป็นอิสระมากที่สุด เป็นการแบ่งแยกอำนาจแบบค่อนข้างเด็ดขาด ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่างก็ไม่มีอำนาจล้มล้างซึ่งกันและกัน ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการขอเปิดอภิปรายฝ่ายบริหารและทางฝ่ายบริหารก็ไม่มีอำนาจในการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังเช่น รูปการปกครองของสหรัฐอเมริกา

–      ส่วนรูปการปกครองในระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี เป็นรูปการปกครองที่นำเอาหลักการของระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีมาใช้ร่วมกัน มีการนำเอามาตรการในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารมาใช้ในส่วนของคณะรัฐมนตรี แต่สภาผู้แทนไม่สามารถเปิดอภิปรายตัวประธานาธิบดีเหมือนกับระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีในระบบกึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี จะมีอำนาจในการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ดังเช่น ตัวอย่างของประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

 


ข้อ 2
.      ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ     มีความหมายอย่างไร  และมีผลในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร ขอให้อธิบาย

แนวคำตอบ

1.  ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนตามแนวความคิดของ Rousseau นั้น หมายความว่า ราษฎรแต่ละคนต่างเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย Rousseau กล่าวว่าสมมติว่าในรัฐ ๆ หนึ่งมีประชากรอยู่หนึ่งหมื่นคน ดังนั้นประชากรแต่ละคนต่างเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเท่ากับหนึ่งในหนึ่งหมื่นส่วน และราษฎรแต่ละคนต่างควรได้รับประโยชน์จากความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามส่วนของตนไม่มีใครจะมาพรากไปจากเขาได้

ส่วนผลทางกฎหมาย คือ

1)  การเลือกตั้งถือเป็นการใช้สิทธิและการเลือกตั้งต้องเป็นอย่างทั่วถึง (Universal suffrage)

2)  ผู้ได้รับเลือกตั้งถือว่าเป็นผู้อยู่ในอาณัฐของผู้เลือกตั้ง

                2.  ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ หมายความถึงแนวคิดของ Seyés (ซีแอส) ที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคน แต่เมื่อราษฎรมารวมตัวกันเป็นชาติก็เท่ากับว่าได้ยกอำนาจอธิปไตยตามส่วนของตนให้กับสังคม และสังคมที่ว่านี้ก็คือชาตินั่นเอง ชาตินั้นเป็นนิติบุคคลที่มีความต่อเนื่องของสังคมทุกยุค   ทุกสมัย ผลของการที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติคือ

1) การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ เพราะชาติอาจมอบหมายให้ราษฎรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเลือกผู้แทนให้แก่ชาติ และการเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องเป็นแบบทั่วถึง

2)  ผู้ได้รับเลือกตั้งถือว่าเป็นตัวแทนของชาติไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนของประชากรที่เลือกเขาเท่านั้น

 

ข้อ 3.      ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาพิพากษาคดีของอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร  สุนทรเวช เกี่ยวกับการจัดรายการโทรทัศน์  ชิมไปบ่นไป  และ  ยกโขยงหกโมงเช้า   ว่าผิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550  จนทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ซึ่งคำตัดสินคดีดังกล่าว  นักกฎหมายมีความเห็นแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้และองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการ…. สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ  ว่าท่านมีที่มาอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ความเหมาะสมเชื่อถือได้หรือไม่

ให้นักศึกษาอธิบายว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีจำนวนเท่าใด  และตุลาการดังกล่าวมีที่มาอย่างไร

แนวคำตอบ  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีจำนวน 9 ท่าน คือ ประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน มีที่มาดังนี้

1.  ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวน 3 คน

2.  ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวน 2 คน

3.  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริงและได้รับเลือกจากคณะกรรมการสรรหาจำนวน 2 คน

4.  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกจากคณะกรรมการสรรหาจำนวน  2 คน

 

ข้อ 4.      ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง หลังจากมีการประกาศผลการเลือกตั้งโดยนายแดงสมาชิกพรรคธรรมไทย และนายสมใจซึ่งเป็นสมาชิกพรรคทุนเสรี ต่างเป็นบุคคลผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทองด้วยกันทั้งสองคน  นายสมใจซึ่งได้ซื้อเสียงในการเลือกตั้งได้กลั่นแกล้งนายแดงโดยได้ไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการเลือกตั้งว่า นายแดงได้ทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง  ทั้งนี้โดยนายสมใจได้นำพยานเท็จคือ นายทองและนายเงินมายืนยันในการได้รับเงินจากนายสมใจด้วย  ระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการเลือกตั้ง  ต่อมาได้มีการประชุมรัฐสภาโดยมีการถ่ายทอดวิทยุและโทรทัศน์        นายสมใจติดภารกิจราชการต้องเดินทางไปต่างประเทศจึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม  นายแดงได้อภิปรายและกล่าวในที่ประชุมโดยกล่าวหาว่าที่นายสมใจได้รับการเลือกตั้งนั้นเพราะนายสมใจได้ทุจริตซื้อเสียงแต่กลั่นแกล้งตนโดยไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการเลือกตั้งว่าตนซื้อเสียงในการเลือกตั้ง  เมื่อนายสมใจกลับจากต่างประเทศได้ทราบเรื่องเห็นว่ากรณีดังกล่าวนี้ทำให้ตนเสียหายต่อชื่อเสียง จึงประสงค์ที่จะฟ้องนายแดงเป็นคดีอาญาต่อศาล ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่านายสมใจสามารถใช้สิทธิในทางศาลในกรณีนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวคำตอบ  หลักกฎหมาย 

มาตรา  130  ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ที่ประชุมวุฒิสภา  หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา  สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำในทางแถลงข้อเท็จจริง  แสดงความคิดเห็น  หรือออกเสียงลงคะแนน  ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด  ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้

เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์  หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา  และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา  หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น

วินิจฉัย

บทบัญญัติมาตรา  130  นี้  ถือเป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  และสมาชิกรัฐสภา  ที่ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดๆ  มิได้  ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา

แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้นเอกสิทธิ์เด็ดขาดที่จะไม่คุ้มครองสมาชิกสภาฯ  ในมาตรา  130  วรรคสอง  โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้  คือ

1                 เป็นการกล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา

2                 ถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่ง

3                 ต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ  นายสมใจสามารถใช้สิทธิในทางศาลในกรณีนี้ได้หรือไม่  เห็นว่า  การที่นายแดงได้อภิปรายและกล่าวในที่ประชุมโดยกล่าวหาว่านายสมใจได้รับเลือกตั้งเพราะทุจริตซื้อเสียงนั้น  เป็นถ้อยคำที่มีลักษณะเป็นความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาททำให้เสียหายต่อชื่อเสียง  ซึ่งได้กล่าวในที่ประชุมรัฐสภาที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุและโทรทัศน์  แต่เมื่อนายสมใจเป็นสมาชิกแห่งรัฐสภานั้น  มิใช่บุคคลภายนอกอื่นๆ  แม้จะไม่อยู่ในที่ประชุมในขณะที่นายแดงกล่าวถ้อยคำนั้นก็ตาม  กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา  130  วรรคสอง  ดังนั้นนายสมใจจึงไม่สามารถฟ้องนายแดงเป็นคดีอาญาในความผิดฐานหมิ่นประมาททำให้ตนเสียหายต่อชื่อเสียงในกรณีได้  ตามมาตรา 130  วรรคแรกและวรรคสอง

สรุป  นายสมใจไม่สามารถฟ้องนายแดงเป็นคดีอาญาในความผิดฐานหมิ่นประมาททำให้ตนเสียหายต่อชื่อเสียงในกรณีนี้ได้

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง ภาค 1/2552

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงรูปแบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน  พร้อมทั้งอธิบายถึงวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดี  คณะรัฐมนตรี  และสมาชิกรัฐสภาของประเทศดังกล่าวมาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

รูปแบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส  ปัจจุบันมีลักษณะเป็นรูปแบบการปกครองแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี  เนื่องจากมีการนำเอารูปแบบการปกครองทั้งสองระบบมาผสมผสานกัน

หลักการที่ลอกเลียนมาจากระบบรัฐสภา  ได้แก่  หลักการที่ฝ่ายบริหารแยกเป็น  2  องค์กร  คือ  องค์กรประมุขแห่งรัฐ  และองค์กร คณะรัฐมนตรี  ที่มีบรรดารัฐมนตรีทั้งหลายร่วมกันบริหารรัฐกิจ  แล้วแสดงออกในนามของรัฐมนตรี

นอกจากนี้ยังมีหลักการที่ว่า  คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในทางการเมืองต่อฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ  ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจถอดถอนคณะรัฐมนตรี  โดยการแสดงออกซึ่งความไม่ไว้วางใจในการบริหารรัฐกิจของคณะรัฐมนตรี  แต่ไม่มีอำนาจถอดถอนประธานาธิบดี  ตรงกันข้ามประธานาธิบดีเองก็มีอำนาจยุบสภา

หลักการที่ลอกเลียนมาจากระบบประธานาธิบดี  ได้แก่  ความเป็นอิสระของประธานาธิบดีที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติ  ประธานาธิบดีจึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา  ไม่อาจถูกถอดถอนโดยสภา  จึงสามารถบริหารงานอยู่ได้จนครบวาระนั่นเอง

สถาบันการปกครองของฝรั่งเศส

1       สถาบันบริหาร  แบ่งออกเป็น

1)    ประธานาธิบดี  มาจากการเลือกตั้งโยตรงจากประชาชนทั่วประเทศ  ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งแรกจะใช้การนับคะแนนแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด  นั่นคือ  ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่น  มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง  20  ล้านคน  ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่จะได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องได้คะแนนเสียง  สิบล้าน + 1 คะแนนขึ้นไป  (สิบล้านหนึ่งคน)  เป็นต้น  โดยในการเลือกตั้งครั้งแรกนี้  ถ้ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้คะแนนเสียเกินกึ่งหนึ่งแล้วก็ไม่ต้องมีการเลือกตั้งครั้งที่สอง

แต่ถ้าในการเลือกตั้งครั้งแรก  ไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง  ก็จะทำการเลือกตั้งในครั้งที่สอง  โดยจะให้ผู้ที่ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งลำดับที่  1  และลำดับที่  2  ในครั้งแรกเท่านั้นที่จะมีสิทธิลงสมัครในการเลือกตั้งครั้งที่สองนี้ได้  ซึ่งในการนับคะแนนในครั้งที่สองนี้จะใช้การนับคะแนนแบบเสียงข้างมากธรรมดา  นั่นคือ  หนึ่งในสองคนนี้  ใครได้คะแนนมากกว่าก็ได้รับเลือกเข้าเป็นประธานาธิบดีเลย

ประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศส  มีวาระในการดำรงตำแหน่ง  5  ปี  ทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขของประเทศ  และในขณะเดียวกันก็เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย  (เหมือนกับประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา)

อำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ

ประเภทแรก  อำนาจของประธานาธิบดีที่มีต่อองค์กรต่างๆ  ภายในรัฐ  เช่น  อำนาจในการแต่งตั้งนายกฯ  และคณะรัฐมนตรี  อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหรือทูต  หรืออำนาจในการออกกฎหมายของฝ่ายบริหาร ฯลฯ

ประเภทที่สอง  อำนาจของประธานาธิบดีที่มีต่อรัฐสภา  เช่น  ลงนามในกฎหมายต่างๆ  หรือให้รัฐสภานำร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของสภาแล้วกัลป์ไปพิจารณาใหม่  อำนาจในการยุบสภาอำนาจในการที่จะสั่งให้มีการหยั่งเสียงประชามติ  และที่สำคัญที่สุดคือ ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญที่สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้อย่างเต็มที่เมื่อเกิดภาวะจำเป็นขึ้น  โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้ปรึกษากับสภาตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว

2)  คณะรัฐมนตรี  ประกอบด้วย  นายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีทั้งหลาย  ซึ่งประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งแล้วมอบให้ไปจัดตั้งคณะรัฐบาล  ซึ่งต้องไปแถลง

นโยบายขอความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร  ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่  พึงสังเกตว่านายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส  มิได้มีอำนาจเท่าเทียมกับอำนาจของนายกรัฐมนตรีในระบบการปกครองแบบรัฐสภาทั้งนี้เพราะผู้ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของฝรั่งเศสที่แท้จริงได้แก่ประธานาธิบดี  ที่ไม่จำต้องรับผิดชอบต่อสภา  แต่คณะรัฐมนตรีรวมทั้งนายกรัฐมนตรี  ต้องรับผิดชอบต่อสภาและอาจถูกสภาลงมติไม่ไว้วางใจได้

2       สภานิติบัญญัติ  แบ่งออกเป็น  2  สภา  ได้แก่

1)    สภาผู้แทนราษฎร  มีจำนวนสมาชิก  577  คน  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  5  ปี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนด้วยเกณฑ์ของการนับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด  ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ  ซึ่งมีทั้งหมด  577  เขต  (ระบบแบ่งเขต  เขตละ  1  คน)  ในเขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้ได้รับคะแนนตามเกณฑ์ดังกล่าว  ก็จะต้องให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดในอันดับที่  1  และอันดับที่  2  มาแข่งกันใหม่ในรอบที่สองด้วยเกณฑ์ของการนับคะแนนเสียงข้างมากธรรมดา

2)    วุฒิสภา  มีจำนวนสมาชิก  321  คน  มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  9  ปี  แต่จำนวนวุฒิสมาชิก  1  ใน  3  จะต้องออกจากตำแหน่งทุก  3  ปี

อำนาจของทั้งสองสภาเท่าเทียมกัน  เว้นแต่ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินจะต้องให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อน  และที่สำคัญคือ  อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรที่จะลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาล

3       สถาบันอื่นๆ  เช่น

1)    สภาตุลาการรัฐธรรมนูญ  ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายอื่นใดมาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ  (คล้ายกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทย)

2)    สภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลหรือสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจและสังคม

3)    ศาลยุติธรรมสูงสุด  ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการทรยศต่อประเทศ

 

ข้อ  2  จงอธิบายที่มาของอำนาจ  การใช้อำนาจ  การควบคุมตรวจสอบอำนาจ  ของอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  อำนาจตุลาการ  ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ธงคำตอบ

ก.  อำนาจนิติบัญญัติ

ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา  ซึ่งประกอบด้วย  2  สภา  ดังนี้

1       สภาผู้แทนราษฎร  มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)  ทั้งหมด  480  คน  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มี  2  ประเภทคือ  มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  400  คนและมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  80  คน  วาระการดำรงตำแหน่งมีกำหนดคราวละ  4  ปี  นับแต่วันเลือกตั้ง

2       วุฒิสภา  มีสมาชิกวุฒิสภา  (ส.ว.)  ประกอบด้วยสมาชิก  150  คน  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด  จังหวัดละ  1  คน  รวม  76  คนและมาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการการสรรหา  รวม  74  คน

อำนาจหน้าที่รัฐสภาไทย  มี  3  ประการหลัก  ได้แก่

1       อำนาจในการตรา  การแก้ไขเพิ่มเติม  หรือการยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติทั่วไป

2       อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร  เช่น  การตั้งกระทู้ถาม  การขอเปิดอภิปรายทั่วไป

3       อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆ  เช่น  แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  การประกาศสงคราม  การทำสัญญาสำคัญบางประเภทฯลฯ

ข.      อำนาจบริหาร

อำนาจบริหารที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ  ได้แก่  คณะรัฐมนตรี  ซึ่งประกอบด้วย

1       นายกรัฐมนตรี  จำนวน  1  คน  เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี

2       รัฐมนตรี  จำนวนไม่เกิน  35  คน  ซึ่งมีตำแหน่งหลากหลาย  เช่น  รองนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีว่าการฯ  รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ

นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)  เท่านั้น  ส่วนรัฐมนตรีนั้น  นากยกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้  แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ  แต่อย่างไรก็ตาม  คณะรัฐมนตรีจะเป็น  ส.ว.  ในขณะที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ไม่ได้

รัฐธรรมนูญฯ  กำหนดหลักการเข้าสู่ตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีไว้ว่า  เมื่อมีการเลือกตั้ง  ส.ส.  เสร็จแล้ว  ให้สภา  เรียกประชุมสภาภายใน  30  วัน  นับแต่วันเลือกตั้ง  ส.ส.  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน  30 วัน  นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก

การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว  ต้องมี  ส.ส.  ไม่น้อยกว่า  1  ใน  5  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง  และมติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหาร  มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นปามนโยบายและกฎหมาย  ซึ่งกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารก็คือ  กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั่นเอง

ค.      อำนาจตุลาการ

รัฐธรรมนูญฯ  มีการจัดระบบศาล  แบ่งเป็น  4  ศาล  ได้แก่  ศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  ศาลทหาร  ซึ่งที่มาของศาลต่างๆเหล่านี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่จัดตั้งศาลนั้นๆ  ขึ้นมา  เช่น  ศาลปกครอง  ก็เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ.2542  เป็นต้น

อำนาจหน้าที่ขององค์กรตุลาการ

ตุลาการหรือศาลมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชน

ส่วนการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรทั้งสามนั้น  อธิบายได้ดังนี้

การใช้อำนาจขององค์กรทั้งสามจะมีการถ่วงดุลตรวจสอบซึ่งกันและกัน  ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจซึ่งก็คือ

การควบคุมตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  เช่น  การตั้งกระทู้ถาม  การเสนอญัตติ  การขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล  ตลอดจนการพิจารณาไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่างๆ 

การควบคุมตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติโดยฝ่ายบริหาร  ได้แก่  ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการยุบสภาได้  ด้วยการถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์ให้ทรงยุบสภาผู้แทนราษฎร  เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

ส่วนอำนาจตุลาการนั้น  รัฐธรรมนูญให้ความเป็นอิสระมากที่สุด  อำนาจนิติบัญญัติหรือบริหารจะเข้ามาก้าวก่ายการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีไม่ได้  แต่ในขณะเดียวกัน  ฝ่ายตุลาการก็มีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ  เช่น  ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ   และพระราชบัญญัติ  (ศาลรัฐธรรมนูญ)  ตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ  คำสั่งทางปกครองหรือการกระทำใดๆ  ของฝ่ายบริหาร  (ศาลปกครอง)  รวมทั้งการตรวจสอบการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  (ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) ด้วย

 

ข้อ  3  จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้

ก.      รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นจากปัญหาและสาเหตุใด  มีหลักการสำคัญว่าอย่างไร

ข.      จงนำแนวคิดทฤษฎีและหลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาอธิบายรัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบัน

ธงคำตอบ

ก.      รัฐธรรมนูญเกิดจากปัญหาการใช้อำนาจทางปกครองของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ที่อำนาจอยู่ที่ผู้นำเพียงผู้เดียว  ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง  และการใช้อำนาจในการปกครองไม่สามารถควบคุมตรวจสอบให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้  ทำให้ประชาชนถูกรบกวนสิทธิเสรีภาพจากการใช้อำนาจทางปกครองอย่างไม่เป็นธรรม

ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดหลักการแบ่งแยกอำนาจทางปกครองเป็น  3  อำนาจ  คือ  อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ

จากหลักการแบ่งแยกอำนาจทางปกครอง  ทำให้เกิดระบอบประชาธิปไตยอันเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐธรรมนูญ  โดยมีหลักการสำคัญ  คือ

1       ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน  เสมอภาคกัน

2       ผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ใช้อำนาจในทางปกครอง  จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ  ทำให้เกิดกระบวนการเลือกตั้ง

3       เมื่อได้อำนาจในการปกครองประเทศแล้ว  ต้องใช้อำนาจนั้นเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชน

4       การใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าวจะต้องสามารถควบคุมและตรวจสอบให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้

ข.      ทฤษฎีหรือหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย  คือ

1       หลักการแบ่งแยกอำนาจทางปกครอง

2       หลักความเสมอภาคและเท่าเทียม

3       หลักการมีส่วนร่วมในการปกครอง

4       หลักการใช้อำนาจทางปกครอง

5       หลักการตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง

นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีหรือหลักการสำคัญดังกล่าวมาอธิบายรัฐธรรมนูญ  ฉบับปัจจุบันเกี่ยวกับอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการได้อย่างเสรี  แต่จะต้องอ้างอิงหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวข้างต้น  กล่าวคือ  รัฐธรรมนูญฯฉบับปัจจุบัน (รวมทั้งในฉบับอื่นๆ)  ได้นำเอาหลักการแบ่งแยกอำนาจมาใช้  โดยแบ่งอำนาจอธิปไตย  (อำนาจทางปกครอง)  ออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจทั้งสามอำนาจไม่ให้อำนาจหนึ่งอำนาจใดใช้ได้อย่างอิสระ  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ  การรักษาเสรีภาพและประโยชน์ของประชาชนจากการใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ

อนึ่ง  หลักความเสมอภาคและเท่าเทียมของประชาชนภายในรัฐ  มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ  ทั้งนี้มีต้นเหตุสืบเนื่องจากหลักการสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์  ปัญหาข้อเท็จจริงและการเรียกร้องในเรื่องการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องต่างๆ  เช่น เพศ  อายุ  ภาษา  เชื้อชาติ  ความพิการ  ฯลฯ  ซึ่งเกิดขึ้นจริงในอดีตจนนำไปสู่การบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร

นอกจากนี้ในเรื่องหลักการใช้อำนาจที่ต้องใช้เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน  ก็มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย  อาทิเช่น  ในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมหรือนิติรัฐ  (The  Rule  of  Law)  ส่วนการตรวจสอบการใช้อำนาจ  เช่น  การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน  การตรวจสอบทรัพย์สิน การกระทำที่เป็นการขัดแห่งผลประโยชน์  การถอดถอนจากตำแหน่ง  การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  รวมทั้งในเรื่องการเสนอร่างพระราชบัญญัติโดยประชาชน  การออกเสียงประชามติ  การปกครองส่วนท้องถิ่น  เราก็นำหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและหลักการมีส่วนร่วมในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาเป็นพื้นฐานในการบัญญัติรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน   

 

ข้อ  4  นายแดงผู้ประกอบกิจการค้านมกล่อง  ได้มอบเงิน  10  ล้านบาท  ให้แก่นายดำรัฐมนตรี  เพื่อขอให้ดำเนินการช่วยเหลือให้ตนชนะการประมูลในการประกวดราคาเสนอขายนมกล่องให้แก่ทางราชการ  เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐ  ต่อมามีผู้กล่าวหาว่านายดำได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ  เพื่อให้นายแดงมอบให้ซึ่งเงิน  10  ล้านบาท  ระหว่างการตรวจสอบสำนวนของอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาล  นายดำรัฐมนตรีได้ถึงแก่ความตายด้วยโรคมะเร็ง  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่า  อัยการสูงสุดจะฟ้องนายแดงผู้ประกอบกิจการค้านมกล่องเป็นคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีนี้ได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550

มาตรา  219  วรรคสี่และวรรคห้า  ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา…

อำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

มาตรา  275  วรรคแรกและวรรคสอง  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือข้าราชการการเมืองอื่น  ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ  กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น  ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ  ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน  รวมทั้งผู้ให้  หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง  เพื่อจูงใจให้กระทำการ  ไม่กระทำการ  หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  แม้นายแดงจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้านมกล่อง  มิใช่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550 มาตรา  275  วรรคแรก  กล่าวคือ  มิใช่นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือข้าราชการการเมืองอื่น  แต่การที่นายแดงได้มอบเงิน  (ให้สินบน)  แก่นายดำรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  เพื่อขอให้ดำเนินการช่วยเหลือให้ตนชนะการประมูลในการประกวดราคาเสนอขายนมกล่องให้แก่ทางราชการเพื่อนำไปแจกจ่ายแก่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐนั้น  ลักษณะของการกระทำเป็นการก่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกระทำผิด  นายแดงจึงเป็นผู้ใช้หรือผู้ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่รัฐมนตรี  ซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา  275  วรรคแรก  ในการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  เพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่  กรณีเช่นนี้นอกจากอัยการสูงสุดจะมีอำนาจฟ้องนายดำต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา  275  วรรคแรกแล้ว อัยการสูงสุดยังมีอำนาจฟ้องนายแดงต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา  275  วรรคสองได้ด้วย  อนึ่ง  แม้นายดำจะถึงแก่ความตายก่อนที่อัยการสูงสุดจะยื่นฟ้อง  ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องนายแดงของอัยการสูงสุดเสียไปแต่อย่างใด  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  มาตรา  219  วรรคสี่และวรรคห้า

สรุป  อัยการสูงสุดสามารถฟ้องนายแดงเป็นคดีอาญาต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้

หมายเหตุ  เดิมรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2540  มาตรา  308  วรรคสอง  บัญญัติให้นำวรรคแรกมาใช้เฉพาะกับตัวการ  ผู้ใช้และผู้สนับสนุนเท่านั้น ทำให้มีปัญหาว่าผู้ให้สินบนจะถูกฟ้องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯได้หรือไม่  ดังนั้นรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  จึงเพิ่มคำว่า  ผู้ให้  ผู้ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง  เพื่อจูงใจให้กระทำการ  ไม่กระทำการ  หรือประวิงเวลาการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่  เข้ามา  ซึ่งส่วนที่เพิ่มเป็นถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา  144  เพื่อให้ชัดเจนว่าผู้ให้  ผู้ขอให้หรือรับว่าจะให้สินบนแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องถูกฟ้องที่ศาลนี้ด้วย

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 2/2552

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  กฎเกณฑ์หรือวิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งของฝ่ายบริหาร  (ประธานาธิบดีและบรรดารัฐมนตรี)  ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส  มีข้อแตกต่างกันหรือไม่  อย่างไร  ให้อธิบาย

ธงคำตอบ

กฎเกณฑ์หรือวิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งของฝ่ายบริหาร  (ประธานาธิบดีและบรรดารัฐมนตรี)  ในประเทศสหรัฐอเมริกา  และประเทศฝรั่งเศส  มีข้อแตกต่างกัน  ดังนี้คือ

ในประเทศสหรัฐอเมริกา  ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม  โดยประชาชนชาวอเมริกันทั้ง  50  รัฐ  จะเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนเลือกคณะผู้เลือกตั้งใหญ่มีจำนวนทั้งสิ้น  538  คน  โดยจะเลือกจากบุคคลที่ถูกพรรคการเมืองทั้งสองพรรคคือ  พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน  เสนอเป็นบัญชีรายชื่อเพื่อให้ประชาชนในแต่ละมลรัฐเลือก  และเมื่อรวมคะแนนทั่วทั้ง  50  รัฐแล้ว  พรรคใดได้คะแนนคือได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่เกินกึ่งหนึ่ง  พรรคนั้นก็จะได้ผู้ลงสมัครของพรรคนั้นเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  จากนั้นประธานาธิบดีก็จะทำการแต่งตั้งรัฐมนตรีจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยบริหารงานของประเทศ  โดยความเห็นชอบของวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  จะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง  4  ปี  และสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน  2  วาระ

ในประเทศฝรั่งเศส  ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส  จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้ที่จะได้รับเลือก ต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด  ถ้าไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงตามเกณฑ์ดังกล่าว  ก็จะต้องให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด  2  อันดับแรกมาแข่งขันกันใหม่ในรอบที่  2  และผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากในรอบที่  2  ก็จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี  แล้วประธานาธิบดีก็จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีไปจัดตั้งคณะรัฐมนตรี  ซึ่งจะต้องไปแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร  เพื่อขอความไว้วางใจก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามหลักของระบบรัฐสภา

ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง  5  ปี  โดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะดำรงตำแหน่งได้กี่วาระ 

 

ข้อ  2  แนวคิดทฤษฎีของรุสโซ  (Rousseau)  ที่ว่า  “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”  หมายถึงอะไร  และมีผลตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร  การปฏิวัติรัฐประหารโดยคณะทหารกลุ่มหนึ่งโดยอ้างว่าเพื่อประชาธิปไตยนั้น  จะขัดต่อทฤษฎีดังกล่าวหรือไม่  เพราะเหตุใด  ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

ตามทฤษฎีของรุสโซ  (Rousseau)  ที่ว่า  “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน”  นั้น  หมายถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนแต่ละคนที่รวมกันอยู่ในรัฐ  ประชาชนหรือราษฎรแต่ละคนจึงมีส่วนในการมอบอำนาจในลักษณะที่ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  เป็นผู้เลือกผู้แทนขึ้น  และก่อให้เกิดผลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ดังนี้คือ

 1       ราษฎรแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครองทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงออก  ซึ่งส่วนแห่งอำนาจอธิปไตยของตนอันนำมาซึ่งหลักที่เรารู้จักกันดีคือ  การเลือกตั้งอย่างทั่วถึง  (Universal  Suffrage)  เพราะถือว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของทุกคน  มิใช่เป็นหน้าที่จึงไม่อาจจำกัดสิทธิได้ดังที่รุสโซกล่าวว่า  สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิที่ไม่มีอะไรมาพรากไปจากประชาชนได้

2       การมอบอำนาจของราษฎรให้ผู้แทนนั้นเป็นการมอบอำนาจในลักษณะที่ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้อาณัติของราษฎรผู้เลือกตั้ง 

ดังนั้น  การปฏิวัติรัฐประหารโดยคณะทหารกลุ่มหนึ่งโดยอ้างว่าเพื่อประชาธิปไตยนั้น  จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อทฤษฎีของรุสโซดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ  3  ในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยและเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ  และเมื่อท่านสำเร็จการศึกษาแล้วจะไปเป็นผู้นำของคนในสังคม

จงอธิบายอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาของอำนาจ  การใช้อำนาจ  การควบคุมตรวจสอบอำนาจ  ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ

ธงคำตอบ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  ได้กำหนดเกี่ยวกับที่มาของอำนาจ  การใช้อำนาจ  การควบคุมตรวจสอบอำนาจ  ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ  ไว้ดังนี้  คือ

ที่มาของอำนาจ

1       อำนาจนิติบัญญัติ  มี  “รัฐสภา”  เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ  ซึ่งรัฐสภาจะประกอบไปด้วย  สภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา

“สภาผู้แทนราษฎร”  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  480  คน  โดยเป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน  400  คน  และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน  80  คน

“วุฒิสภา”  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  150  คน  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด  จังหวัดละหนึ่งคน  และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้น  หักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง

2       อำนาจบริหาร  มี  “คณะรัฐมนตรี”  เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร  ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะประกอบไปด้วย  นายกรัฐมนตรีหนึ่งคน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน  35  คน  โดยนายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

3       อำนาจตุลาการ  มี  “ศาล”  เป็นองค์กรที่ชิอำนาจตุลาการ  ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฯ  ได้บัญญัติไว้ในหมวด  10  ว่า  ศาลมี  4  ศาล  ได้แก่

(1)    ศาลรัฐธรรมนูญ  ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคน  และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก  8  คน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

(2)   ศาลยุติธรรม  ซึ่งมีสามชั้น  ได้แก่  ศาลชั้นต้น  ศาลอุทธรณ์  และศาลฎีกา

(3)   ศาลปกครอง  และ

(4)   ศาลทหาร

การใช้อำนาจ

1       อำนาจนิติบัญญัติ  ฝ่ายนิติบัญญัติ  คือ  รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง  กฎหมายอาญา  กฎหมายปกครอง  หรือกฎหมายอื่นๆ  มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบ  เช่น  ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม  ให้ความเห็นชอบในการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ  เป็นต้น  มีอำนาจในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล  เช่น  การตั้งกระทู้ถาม  การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ  เป็นต้น

2       อำนาจบริหาร  ฝ่ายบริหาร  คือ  รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี  มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  กฎหมาย  และนโยบายที่ได้แถลงไว้

3       อำนาจตุลาการ  ฝ่ายตุลาการ  คือ  ศาล  มีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  และตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งแต่ละศาลจะมีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายแตกต่างกัน

การควบคุมตรวจสอบ

1       อำนาจนิติบัญญัติ  อาจถูกควบคุมตรวจสอบได้โดยฝ่ายตุลาการ  เช่น  ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นฝ่ายบัญญัติกฎหมาย  ถ้ามีการบัญญัติกฎหมายออกมาแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ก็จะต้องมีการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ  คือ  ศาลรัฐธรรมนูญ  และอาจจะถูกควบคุมโดยฝ่ายบริหาร  เช่น  การที่ฝ่ายบริหารไม่เสนอกฎหมายให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณา  หรือเสนอกฎหมายไปแล้วแต่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ความเห็นชอบ  ฝ่ายบริหารก็สามารถยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ได้

2       อำนาจบริหาร  อาจถูกควบคุมตรวจสอบได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ  เช่น  การไม่ให้ความเห็นชอบต่อกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณา  การควบคุมตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร  เช่น  การตั้งกระทู้ถาม  การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร  เป็นต้น

3       อำนาจตุลาการ  การใช้อำนาจตุลาการนั้น  อาจถูกควบคุมหรือถ่วงดุลได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ  เช่น  ฝ่ายนิติบัญญัติ  ได้บัญญัติกฎหมายให้ฝ่ายตุลาการหรือศาลใช้อำนาจตามกฎหมายได้เพียงเท่าที่กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติได้บัญญัติไว้เท่านั้น  และในบางกรณีกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติก็เป็นกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร  ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ถือว่าฝ่ายบริหารได้เข้ามาควบคุมถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการนั่นเอง  แต่อย่างไรก็ตาม  ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะไม่มีอำนาจในการตรวจสอบอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของฝ่ายตุลาการ

 

ข้อ  4  ในการพิจารณาคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง  ระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติของรัฐสภา  ของศาลจังหวัดชลบุรี  ซึ่งมีนายเอก  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำเลยในคดี  โดยนายเอกได้ยื่นคำร้องโต้แย้งต่อศาลจังหวัดชลบุรีเพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า  นายเอกเป็นผู้บริโภคตามมาตรา  61  รัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550  หรือไม่  และการพิจารณาคดีในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติของศาลจังหวัดชลบุรีชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่  ดังนี้  หากท่านเป็นศาลซึ่งพิจารณาคดีนี้  จะดำเนินการในกรณีนี้อย่างไร

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550

มาตรา  6  “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

มาตรา  131  วรรคสาม  “ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา  ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม  ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก”

มาตรา  211  วรรคหนึ่ง  “ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  6  และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น  ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย  ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้  แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว  จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ”

วินิจฉัย

ประเด็นที่  1  การที่นายเอกได้ยื่นคำร้องโต้แย้งต่อศาลจังหวัดชลบุรี  เพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่า  นายเอกเป็นผู้บริโภคตามมาตรา  61  แห่งรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  หรือไม่นั้น  ไม่ใช่การโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา  211  ดังนั้นศาลจังหวัดชลบุรีจึงไม่ต้องส่งคำร้องโต้แย้งของนายเอกไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามที่นายเอกร้องขอ

ประเด็นที่  2  ตามมาตรา  131  วรรคสาม  ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมสภามิได้นั้น  ใช้บังคับเฉพาะในกรณีการพิจารณาคดีอาญาเท่านั้น  ไม่ใช้บังคับกับการพิจารณาคดีแพ่ง  ดังนั้นเมื่อตามอุทาหรณ์  เป็นการพิจารณาคดีแพ่ง  จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา  131  วรรคสาม  แต่อย่างใด  ศาลจังหวัดชลบุรีสามารถดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปได้

สรุป  ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล  ข้าพเจ้าจะไม่ส่งคำร้องโต้แย้งของนายเอกไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามที่นายเอกร้องขอ  และจะดำเนินการพิจารณาคดีนั้นต่อไป 

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง S/2552

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2552

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงระบบการปกครอง  และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดี  คณะรัฐมนตรี  และสมาชิกรัฐสภาของประเทศฝรั่งเศส

ธงคำตอบ

ระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส  เป็นการปกครองในระบบกึ่งรัฐสภา  กึ่งประธานาธิบดี  เนื่องจากมีการนำเอาหลักการของระบบการปกครองทั้งระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ  และระบบประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกามาผสมผสานใช้ร่วมกัน  เช่น  หลักที่ประมุขของประเทศ  คือ  ประธานาธิบดีไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร  แต่มีอำนาจในการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร  ในขณะที่คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร  ดังเช่นในระบบรัฐสภา

วิธีการเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสนั้น  ประธานาธิบดีจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง  (โดยมีวาระ  5  ปี)  ด้วยเกณฑ์ของการนับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด  (คือเกินกึ่งหนึ่ง)  ถ้าไม่มีผู้ใดได้คะแนนตามเกณฑ์ดังกล่าว  ก็จะให้ผู้ที่ได้คะแนนในอันดับที่  1  และ  2  มาแข่งกันใหม่ในรอบที่สอง  ด้วยเกณฑ์ของคะแนนเสียงข้างมากธรรมดา  เมื่อได้ตัวประธานาธิบดีแล้ว  ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  จากหัวหน้าพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง  แล้วมอบให้นายกรัฐมนตรีไปจัดตั้งคณะรัฐมนตรี  และคณะรัฐมนตรีจะต้องไปแถลงนโยบายขอความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่

สำหรับสมาชิกรัฐสภาของประเทศฝรั่งเศสนั้น  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีจำนวน  577  คน  มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรงด้วยเกณฑ์ของคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด  ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ  ซึ่งมีทั้งหมด  577  เขต  (ซึ่งเป็นการเลือกตั้งระบบแบ่งเขต  เขตละหนึ่งคน)  ถ้าในเขตเลือกตั้งใดไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด  ก็จะต้องให้ผู้ที่ได้คะแนนเสียงอันดับที่  1  และที่  2  มาแข่งกันใหม่ในรอบที่สองด้วยเกณฑ์ของคะแนนเสียงข้างมากธรรมดา  และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง  5  ปี

ส่วนสมาชิกวุฒิสภานั้นจะมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม  โดยคณะบุคคลที่ทำการเลือก  ได้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหลาย  โดยมีจำนวนทั้งสิ้น  321  คน  และมีวาระในการดำรงตำแหน่ง  9  ปี  และทุกๆ  3  ปี  จะมีการจับสลากออก  1  ใน  3  เพื่อเลือกตั้งใหม่ 

 

ข้อ  2  จงอธิบายถึงสาระสำคัญของ  “หลักการคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ”  (Vorrang  der  Verfassung) 

ธงคำตอบ

รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  ที่ได้บัญญัติกฎเกณฑ์การปกครองประเทศไว้  เช่น  การบัญญัติเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ  การทำหน้าที่นิติบัญญัติ  หน้าที่บริหาร  หน้าที่ตุลาการ ฯลฯ  และเป็นกฎหมายที่ได้จัดทำขึ้นตามวิธีการที่กำหนดเป็นพิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  มีบทบัญญัติที่เป็นสาระสำคัญและถือว่าเป็นหลักการคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้หลายมาตรา  เช่น

มาตรา  3  ได้บัญญัติว่า  อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุด  ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ  เป็นของปวงชนชาวไทย  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  และศาล  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

มาตรา  6  ได้บัญญัติว่า  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

มาตรา  69  ได้บัญญัติว่า  บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ  ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา  211  ได้บัญญัติว่า  ในกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเอง  หรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา  6  (ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ)  และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น  ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

มาตรา  245(1)  ได้บัญญัติไว้ว่า  ถ้าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่อง  พร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า

มาตรา  291  ซึ่งได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้  ทำให้เห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายที่แก้ไขได้ยาก  เช่น  ถ้าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(1)    ญัตติขอแก้ไขต้องมาจากคณะรัฐมนตรี  หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา  มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  หรือของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้วแต่กรณี  หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน  และถ้าญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ  ก็จะเสนอมิได้

(2)    ญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข  และให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ  คือ  วาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ  วาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา  และวาระที่สามเป็นการลงคะแนนให้ความเห็นชอบ  ซึ่งต้องได้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(3)   เมื่อได้ลงมติให้ความเห็นชอบแล้ว  ก็จะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

 

ข้อ  3   นางทองและพวกรวม  20  คน  ได้ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อขอจัดตั้ง  “พรรคมิตรสตรี”  โดยมีนโยบายหลักของพรรคคือการเรียกร้องและสนับสนุนให้มีการคุ้มครองสิทธิสตรีมากกว่าชาย  ปรากฏว่านายทะเบียนพรรคการเมืองได้ปฏิเสธการรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรค

โดยแจ้งเป็นหนังสือแก่นางทองและพวกว่าเนื่องจากนโยบายของพรรคมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  และไม่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  เพราะก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของบุคคล  ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  มาตรา  30  นั้นบัญญัติให้  “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย  ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน”

ดังนี้  ท่านเห็นว่าการปฏิเสธของนายทะเบียนพรรคการเมืองชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่  และหากนางทองและพวกเห็นว่าการปฏิเสธดังกล่าวของนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  นางทองและพวกจะใช้สิทธิในทางศาลต่อศาลใดได้บ้างหรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550

มาตรา  28  วรรคสอง  บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง  หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว  ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา  65  วรรคหนึ่งและวรรคสอง  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง  เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น  ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

การจัดองค์กรภายใน  การดำเนินกิจการ  และข้อบังคับของพรรคการเมือง  ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  พ.ศ.2550  มาตรา  13  วรรคท้าย  ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองของนายทะเบียน  อาจยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งตามวรรคสามต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์  เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงประกอบกับหลักกฎหมายดังกล่าวแล้ว  วินิจฉัยได้  ดังนี้  คือ

ประเด็นที่  1  การที่นางทองและพวกได้ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้ง  “พรรคมิตรสตรี”  นั้น  ย่อมสามารถที่จะกระทำได้ตามมาตรา  65  วรรคหนึ่ง  ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง

และในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองของนางทองและพวกโดยมีนโยบายหลักของพรรคคือ  การเรียกร้องและสนับสนุนให้มีการคุ้มครองสิทธิสตรีมากกว่าชายนั้น  การใช้เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคมิตรสตรีของนางทองและพวก  รวมทั้งนโยบายของพรรคในกรณีดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญฯตามมาตรา  28  วรรคแรก  และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่อย่างใด  เป็นเพียงการเสนอแนวคิดความเห็นเชิงนโยบายของพรรคเท่านั้น  ดังนั้นการที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ปฏิเสธการรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคของนางทองและพวกจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่  2  เมื่อการกระทำของนายทะเบียนพรรคการเมืองเป็นการละเมิดต่อเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองของนางทองและพวกตามมาตรา  65  วรรคหนึ่ง  นางทองและพวกจึงสามารถใช้สิทธิในทางศาลได้ตามมาตรา  28  วรรคสอง  ประกอบด้วย  พ.ร.บ.  ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ  มาตรา  13  วรรคท้าย  โดยให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน  30  วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าวจากนายทะเบียนพรรคการเมือง

สรุป  การปฏิเสธของนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  และนางทองและพวกสามารถใช้สิทธิในทางศาลต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ 

 

ข้อ  4  ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย  ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการปรากฏว่า  นายสมใจเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง  ต่อมามีบุคคลได้ร้องเรียนว่า  นายสมใจได้ทุจริตซื้อเสียงโดยได้จ่ายเงินจำนวน  1  แสนบาท  ให้แก่นายแดงกำนันตำบลห้วยใสเพื่อไปซื้อเสียงกับประชาชนในตำบล  ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ทำการสอบสวนและได้ตัดพยานบุคคลที่นายสมใจอ้างมาทั้งหมด  โดยวินิจฉัยว่า  นายสมใจได้ทุจริตในการเลือกตั้งจริง  จึงให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่  นายสมใจเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะได้ตัดพยานของตนออกไปทั้งหมด  และยังไม่ได้เรียกนายแดงพยานสำคัญมาสอบสวนแต่อย่างใด  ซึ่งเป็นพยานที่มีผลต่อการวินิจฉัยในเรื่องนี้  ดังนั้นหากนายสมใจประสงค์ที่จะใช้สิทธิในทางศาล  เพื่อที่จะขอให้ศาลสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสอบสวนในเรื่องนี้ใหม่  และให้เรียกนายแดงพยานสำคัญเข้ามาทำการสอบสวนด้วย  ดังนี้  นายสมใจจะใช้สิทธิในทางศาลในกรณีนี้ได้หรือไม่  และศาลใดจะมีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณา

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550

มาตรา  239  วรรคหนึ่งและวรรคท้าย  ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด

ให้นำความในวรรคหนึ่ง  วรรคสอง  และวรรคสาม  มาใช้บังคับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นด้วยโดยอนุโลม

วินิจฉัย

เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์  และหลักกฎหมายมาตรา  239  แห่งรัฐธรรมนูญฯดังกล่าวข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนการประกาศผลเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น  ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด

ดังนั้น  การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ทำการสอบสวนนายสมใจ  กรณีที่นายสมใจได้กระทำการทุจริตในการเลือกตั้ง  และได้วินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายสมใจ  และให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น  คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมเป็นที่สุด  นายสมใจไม่อาจฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้

สรุป  คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด  นายสมใจจะใช้สิทธิในทางศาลใดๆไม่ได้

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 1/2553

การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงโครงสร้างของรัฐ  ระบบการปกครอง  และการจัดตั้งสถาบันการปกครองหลักของประเทศสหรัฐอเมริกา  มาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

ประเทศสหรัฐอเมริกา  ถือว่าเป็นแม่แบบของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  โดยเป็นประเทศที่มีโครงสร้างแบบรัฐรวมในลักษณะของการรวมตัวแบบเหนียวแน่น  ที่เรียกว่า  สหพันธรัฐ  หรือเรียกสั้นๆว่า  สหรัฐ  ซึ่งเป็นการรวมตัวกันโดยใช้เกณฑ์แห่งความเสมอภาคระหว่างรัฐใหญ่กับรัฐเล็กที่เป็นสมาชิก  รัฐสมาชิกดังกล่าวยินยอมที่จะสูญเสียอำนาจบางประการให้กับศูนย์กลางแห่งอำนาจ  ยอมให้มีการกำหนดเกณฑ์ในการใช้อำนาจปกครองร่วมกัน  โดยมีการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นที่เรียกว่า  รัฐธรรมนูญใหม่  หรือ  รัฐธรรมนูญกลาง

ลักษณะสำคัญของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  มี  2  ประการ  คือ

1       ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

2       มีการแบ่งแยกอำนาจกันค่อนข้างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  กล่าวคือ  เป็นอิสระจากกัน  ไม่มีมาตรการล้มล้างซึ่งกันและกัน  ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร  และในทางกลับกันฝ่ายบริหารก็ไม่มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร  สังเกตว่าในข้อนี้จะแตกต่างจากการปกครองในระบบรัฐสภาอย่างชัดเจน

การจัดตั้งสถาบันการปกครองของสหรัฐอเมริกา  มีดังนี้

ก.      สถาบันนิติบัญญัติ  (สภาคองเกรส)

รัฐสภาอเมริกัน  เรียกว่า  สภาคองเกรส (Zcongress)  ประกอบด้วย  2  สภา คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  แบบเสียงข้างมากรอบเดียว  มีวาระในการดำรงตำแหน่ง  2  ปี  มีจำนวนทั้งสิ้น  435  คน  รวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศูนย์กลางแห่งอำนาจหรือที่เรียกว่า  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิเศษของวอชิงตัน  ดี.ซี.  อีก  3  คน  ฉะนั้นจึงมีจำนวนทั้งหมด  438 คน

คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  คือ  ต้องมีอายุ  25  ปีขึ้นไป  และมีสัญชาติอเมริกันมาแล้วอย่างน้อย  7  ปี

2       สภาสูงหรือวุฒิสภา  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  2  คนต่อ  1  มลรัฐ  รวมทั้งสิ้นจำนวน  100 คน  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  แต่สมาชิก  1  ใน  3  ของทั้งหมดจะต้องถูกจับสลากออกไปสมัครเข้ารับการเลือกตั้งใหม่ทุกๆ  2  ปี  ในระหว่างที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา คือ  ต้องมีอายุตั้งแต่  30  ปีขึ้นไปและได้สัญชาติอเมริกันมาแล้ว  9  ปีขึ้นไป

สมาชิกของสภาคองเกรสได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองเช่นเดียวกับสมาชิกของสภาทั่วๆไปในรัฐสมัยใหม่  นอกจากนี้ยังได้รับการยกเว้นภาษี  ค่าใช้จ่ายของเลขานุการ  เงื่อนไขในการทำงานของสมาชิกสภาคองเกรสยังดีกว่าสมาชิกของประเทศอื่นๆโดยเฉพาะทางด้านข้อมูลข่าวสาร

อำนาจหน้าที่ของสภาคองเกรส

1       อำนาจในการตรากฎหมายและการตรากฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณ  ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่างมีอำนาจในเรื่องนี้อย่างเท่าเทียมกัน  ยกเว้นในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีอากรจะต้องริเริ่มโดยสภาผู้แทนราษฎร

2       อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  การริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีได้ทั้งจากสภาคองเกรส  หรือจากสภานิติบัญญัติของมลรัฐต่างๆ

3       อำนาจในการเลือกตั้งแทน  เมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี  และรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา  ถ้าปรากฏว่าผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงเท่ากัน  กรณีนี้สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกประธานาธิบดีส่วนวุฒิสภาก็จะใช้สิทธิเลือกรองประธานาธิบดี

4       อำนาจอื่นๆของสภาคองเกรส  เช่น  ดูแลการบริหารของหน่วยงานบริการสาธารณสุขตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา

อำนาจหน้าที่เฉพาะของสภาสูงหรือวุฒิสภาของอเมริกา

1       ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของสหพันธรัฐ

2       ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  โดยต้องได้รับการให้สัตยาบันจากสภาสูงด้วยคะแนนเสียง  2  ใน  3

ข.      สถาบันบริหารของสหรัฐอเมริกา

ฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุด  ซึ่งมีความเป็นอิสระจากรัฐมนตรีทั้งปวง  โดยประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้ารัฐบาล

ในสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่ๆ  อยู่เพียง  2  พรรค  คือ  พรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต  ที่มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่บริหารประเทศ  โดยการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม  กล่าวคือ  ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  (Big  Elector)  เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี  ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

การเข้าสู่ตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับเลือกมาพร้อมกันในรูปแบบของ  “Ticket”  เดียวกันโดยได้รับเลือกจากประชาชน  มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่  1 

พรรคการเมืองทั้ง  2  พรรคดังกล่าว  จะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละพรรคในแต่ละมลรัฐ  ซึ่งมีทั้งหมด  50  มลรัฐ  เพื่อส่งเข้าประชุมร่วมกันในระดับชาติ หรือเรียกกันว่าเป็นการประชุมระดับ  Convention  เพื่อให้คนที่มาประชุมร่วมกันของแต่ละพรรคนั้นทำการคัดเลือกบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะส่งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี  เมื่อได้ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแล้ว  ผู้ที่ได้รับเลือกมีสิทธิเลือกบุคคลที่จะลงชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีด้วย

ขั้นตอนที่  2 

กำหนดให้ประชาชนชาวอเมริกันในแต่ละมลรัฐไปทำการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่  ซึ่งบัญชีรายชื่อของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่นี้ในแต่ละมลรัฐจะแตกต่างกันในเรื่องของจำนวน  ทั้งนี้จำนวนสมาชิกของคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ที่จะมีได้ในแต่ละมลรัฐนั้นจะมีลักษณะเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  อย่างเช่น  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย  สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 30  คน  และสมาชิกวุฒิสภาอีก  2  คน  ดังนั้นรวมแล้วได้  32  คน  ดังนั้นทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตซึ่งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะทำบัญชีรายชื่อคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของตนในมลรัฐนี้ขึ้นพรรคละ  32  รายชื่อ  เพื่อเสนอต่อประชาชนในมลรัฐให้เลือกเข้ามา  ฉะนั้นหากประชาชนนิยมผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคใด  ก็จะลงคะแนนให้แก่บุคคลตามบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น  และจะต้องเลือกทั้ง  32  คนของพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น  เมื่อลงคะแนนเสร็จก็จะได้สรุปว่าพรรคใดจะได้รับเลือกให้ทำหน้าที่คณะผู้เลือกตั้งใหญ่

สำหรับ  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  นั้นมีทั้งหมด  538  คน  ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  (435 + 3 + 100 )  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ข้างมากและเด็ดขาด  คือ  จะต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป

ดังนั้นจะเห็นว่า  หลังจากการเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้งใหญ่เสร็จลงแล้วรวมคะแนนจาก  50  มลรัฐของแต่ละพรรค  ถ้าปรากฏว่าพรรคใดได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ถึง  270  เสียง  คือ  เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด  (กึ่งหนึ่ง  269)  ก็จะทำให้ทราบทันทีว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคดังกล่าวย่อมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

ขั้นตอนที่  3

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะผู้เลือกตั้งใหญ่ทั้งหมดจำนวน  538  คนไปออกเสียงลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  ซึ่งก็แน่นอนว่าคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ของแต่ละพรรคก็จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรคตน  ดังนั้นสมมุติว่าพรรคเดโมแครตได้จำนวนคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป  ก็หมายความว่า  ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเดโมแครตย่อมจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

โดยที่ประชุมของสภาคองเกรส  จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าใครเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  และหลังจากนั้นก็จะมีพิธีการอย่างเป็นทางการในการเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขฝ่ายบริหาร

วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ก็คือ  4  ปี  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีเกิดว่างลงหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยสิ้นเชิง  รองประธานาธิบดีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่  และมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับประธานาธิบดี

ค.      สถาบันตุลาการ  (ศาลยุติธรรมสูงสุด)

ศาลสูงสุดของอเมริกา  ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงโดยหน้าที่หลักๆของศาลสูงสุดของอเมริกา  ได้แก่

1       ควบคุมดูแลมิให้กฎหมายอื่นใดมาขัด  หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญกลาง

2       พิจารณาพิพากษาในกรณีมีการกล่าวหาทูต  กงสุล  รัฐมนตรี  หรือรัฐสมาชิก

 

ข้อ  2  การยุบสภาคืออะไร  และตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบสภาไว้อย่างไร  ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

ความหมายของ  “การยุบสภา”  นั้น  ในทางทฤษฎี  หมายถึง  มาตรการของฝ่ายบริหารในการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ  อันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดมีอันสิ้นสุดลง

อำนาจในการยุบสภานี้  ถือว่าเป็นสาระสำคัญของระบอบปกครองแบบรัฐสภา  ซึ่งมีการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ  กล่าวคือ  ฝ่ายบริหารสามารถยุบสภาได้  และฝ่ายนิติบัญญัติสามารถลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร  (ฝ่ายรัฐบาล)  ได้

การยุบสภานั้น  อาจเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญ  ดังนี้  คือ

1       ในกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้  จึงจำเป็นต้องยุบสภา  เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกต้อง

2       ในกรณีที่รัฐบาลเห็นว่า  ในขณะที่จะยุบสภานั้น  คะแนนนิยมของรัฐบาลกำลังดี  และหากมีการเลือกตั้งใหม่ในขณะนั้น  ฝ่ายรัฐบาลจะมีโอกาสได้รับชัยชนะ  ได้ที่นั่งในสภามากมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาลอีก  จึงทำการยุบสภาเสีย

สำหรับการยุบสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550นั้น  มีบัญญัติไว้ในมาตรา  108  ว่า

“พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่

การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร  และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน”

จากบทบัญญัติดังกล่าว  การยุบสภานั้น  จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้  คือ

1       การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์  และจะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ  ขอพระบรมราชานุญาตเท่านั้น

2       การยุบสภาผู้แทนราษฎร  ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา  และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ย่อมมีผลเป็นการยุบสภาทันที

3       ในการยุบสภาตามข้อ  2  ต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่  เป็นการเลือกตั้งทั่วไป  ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า  45  วัน  แต่ไม่เกิน  60  วัน  นับแต่วันยุบสภา  และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

4       การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน  กล่าวคือ  ถ้าหากจะมีการยุบสภาอีกครั้ง  จะอ้างเหตุผลหรือเหตุการณ์ที่ใช้ในการยุบสภาครั้งก่อนไม่ได้

5       การยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่จะกระทำลงก่อนครบกำหนดวาระของสภาผู้แทนราษฎร  กล่าวคือ  จะกระทำในเวลาใดก็ได้ในช่วงก่อนสภาผู้แทนราษฎรมีวาระครบ  4  ปี

6       ในกรณีที่ได้มีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี  โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้  (มาตรา  158  วรรคแรก)

 

ข้อ  3  จงอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับที่มาของอำนาจนิติบัญญัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ธงคำตอบ

อำนาจนิติบัญญัติ  มีรัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ  ซึ่งรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  ฉบับปัจจุบัน  ได้บัญญัติเกี่ยวกับที่มาของอำนาจนิติบัญญัติไว้ดังนี้  คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)

สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)  ประกอบด้วยสมาชิก  480  คน  โดยเป็นสมาชิก

–                     มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  400  คน

–                    มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  80  คน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การคำนวณจำนวนสมาชิกฯ  ให้นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศในปีก่อนปีที่มีการเลือกตั้งหารด้วย  400  จะได้เกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน  3  คน  ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน  3  คน  ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  3  คน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

–                     ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น

–                    เขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน  ให้แบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น  8  กลุ่มจังหวัด  โดยจัดจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน  และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  แต่ละเขตเลือกตั้งให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้  10  คน

2       วุฒิสภา  (ส.ว.)

วุฒิสภา  (ส.ว.)  ประกอบด้วยสมาชิก  150  คน  ซึ่งมาจาก

–                     การเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด  จังหวัดละ  1  คน  รวม  76  คน

–                    การสรรหา  รวม  74  คน

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา

การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย

(1)  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

(2) ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(3) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(5) ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(6) ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย  1  คน

(7) ตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย  1  คน

 

ข้อ  4  นายเอกและนายโท  ซึ่งเป็นรัฐมนตรีฯ  ได้ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จำนวน  200  คน  เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่ง  เนื่องจากได้กระทำการเป็นแกนนำในการเสนอร่างพระราชบัญญัติฯที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ  อันเป็นการกระทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ  และจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ  ต่อมาประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.)  พิจารณา   ซึ่งคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  พิจารณาแล้วเห็นว่า  มีประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ  ร่างพระราชบัญญัติฯตามคำร้องขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่  และการกระทำของนายเอกและนายโทในการเสนอร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่  คณะกรรมการ  ป.ป.ช.  เห็นว่ากรณีดังกล่าวมิใช่อำนาจหน้าที่ของตน  แต่กรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ  จึงได้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา  ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า  ตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ. 2550  ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะรับคำร้องของคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  ไว้พิจารณาได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550

 มาตรา  154  ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาเห็นชอบแล้ว  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา  150  หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา  151  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง

(1)    หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า  1  ใน  10  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว  ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

มาตรา  214  ในกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา  คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป  ให้ประธานรัฐสภา  นายกรัฐมนตรี  หรือองค์กรนั้นเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  การที่คณะกรรมการ  ป.ป.ช.  ได้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณา  ซึ่งเรื่องที่ส่งไปนั้นมีปัญหาที่ต้องพิจารณาอยู่  2  ประเด็น  คือ  ประเด็นแรก  ร่างพระราชบัญญัติฯตามคำร้องขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่  และประเด็นที่สอง  คณะกรรมการ  ป.ป.ช.  มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาว่า  การกระทำของนายเอกและนายโทในการเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ  ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่  กรณีดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะรับคำร้องของคณะกรรมการ  ป.ป.ช. ไว้พิจารณาได้หรือไม่  เห็นว่า

ประเด็นแรก  โดยปกติศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติฯ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ตามมาตรา  154(1) แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยได้นั้น  ต้องเป็นกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานรัฐสภาเป็นผู้มีความเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติฯนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  และได้ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  แต่ตามข้อเท็จจริง  ผู้ที่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญคือคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้อำนาจไว้แต่อย่างใด  ดังนั้นกรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องของคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  ไว้พิจารณาไม่ได้

ประเด็นที่สอง  ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ  ตามที่องค์กรนั้นเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา  214  นั้น  จะต้องเป็นกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป  แต่ตามข้อเท็จจริงจะเห็นว่า  เป็นเรื่องที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญเพียงองค์กรเดียวคือ  คณะกรรมการ  ป.ป.ช. เท่านั้นที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่  ซึ่งมิใช่กรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างองค์กรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป  กรณีดังกล่าวจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา  214  ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องของคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  ไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป  ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องของคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  ไว้พิจารณา

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 2/2553

การสอบไล่ภาค  2  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงระบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบัน  พร้อมทั้งอธิบายถึงที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  (พ.ศ.2550)  ในประเด็นดังกล่าวมาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  (ฉบับปัจจุบัน)   กำหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การปกครองในระบบรัฐสภา  เป็นระบบการปกครองที่องค์กรซึ่งใช้อำนาจในทางการเมืองทั้ง  2  องค์กร  คือ  ฝ่ายนิติบัญญัติ  และฝ่ายบริหาร  มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกันในการปฏิบัติหน้าที่  รวมทั้งมีมาตรการในการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันด้วย

การปกครองในระบบรัฐสภานั้นมีหลักการที่สำคัญคือ  ฝ่ายบริหารต้องมีความรับผิดชอบในทางการเมืองต่อฝ่ายนิติบัญญัติ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  ฝ่ายบริหารมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินก็โดยอาศัยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อใดที่ฝ่ายนิติบัญญัติแสดงออกถึงความไม่ไว้วางใจ  เมื่อนั้นถือได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติต้องการถอดถอนฝ่ายบริหาร

การรับผิดชอบในทางการเมืองของฝ่ายบริหารนั้นจำกัดเฉพาะคณะรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการอย่างแท้จริงเท่านั้น  องค์ประมุขของรัฐไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมืองแต่อย่างใด

การแสดงออกถึงความไม่ไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัตินี้  อาจจะเป็นการกระทำโดยตรงซึ่งได้แก่  การที่สภานิติบัญญัติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อฝ่ายบริหารหรืออาจจะเป็นการกระทำทางอ้อม  ซึ่งได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายสำคัญที่ฝ่ายบริหารเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาอนุมัติ  เช่น  ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  เป็นต้น  นอกจากนี้ฝ่ายนิติบัญญัติยังมีอำนาจตั้งกระทู้ถามต่อฝ่ายบริหารได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามการปกครองในระบบรัฐสภานั้น  ถึงแม้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติจะมีอำนาจถอดถอนฝ่ายบริหารด้วยการแสดงออกซึ่งความไม่ไว้วางใจ  ในทำนองเดียวกันฝ่ายบริหารก็มีมาตรการโต้ตอบฝ่ายนิติบัญญัติ  ในกรณีที่ฝ่ายบริหารเชื่อมั่นว่าฝ่ายบริหารกระทำการด้วยความถูกต้องตรงกับเจตนารมณ์ของประชาชน  กล่าวคือ  ฝ่ายบริหารมีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรสำหรับที่มาของ  “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”  ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  (พ.ศ.2550)  ตามที่ได้มีการแก้ไขใหม่นั้น  ได้กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้  500  คน  โดย

(1)  เป็นสมาชิกฯ  ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  375  คน  และ

(2) เป็นสมาชิกฯที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ  125  คน

1       การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละ  1  คน

การคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก  1  คน  ให้คำนวณจากราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ย  (หาร)  ด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  375  คน

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี  ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  ที่คำนวณได้นั้นมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น  ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  ก็ให้มีสมาชิกฯได้  1  คน  จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  ให้มีสมาชิกฯในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีก  1  คน  ทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน

จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกฯได้ไม่เกิน  1  คน  ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกฯได้เกิน  1  คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกฯที่พึงมี  โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกฯ  1  คน  (มาตรา  94)

2       การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น  โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียว  และให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง  (มาตรา 95)

บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา  95  ให้พรรคการเมืองจัดทำขึ้นพรรคการเมืองละหนึ่งบัญชีไม่เกินบัญชีละ  125  คน  และให้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนวันเปิดสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  (มาตรา  96)

การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง  ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น  โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้  เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  (มาตรา  98)

 

ข้อ  2  หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญหมายถึงอะไร  และมีวิธีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญในประเทศต่างๆกี่วิธี  ขอให้อธิบาย  และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร  ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคำตอบ

หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ  สำหรับรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรนั้น  หมายถึงการยอมรับว่า  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดเหนือกฎหมายธรรมดาอื่นๆที่มีอยู่ภายในรัฐ  ดังนั้น  กฎหมายธรรมดาอื่นๆนั้น  จะมีวิธีการจัดทำหรือมีบทบัญญัติมาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้  ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  (พ.ศ.2550)  มาตรา  6  ซึ่งบัญญัติว่า  “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับ  ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้”

วิธีการในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ในประเทศต่างๆนั้นมี  2  วิธี  ได้แก่

1       การควบคุมโดยศาลยุติธรรม  (เป็นการควบคุมโดยการยกเว้น)  กล่าวคือ  จะกำหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ  เช่น  ในประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้กำหนดไว้ว่า  เมื่อมีคดีฟ้องร้องเกิดขึ้นในศาลยุติธรรม แล้วคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอ้างกฎหมายเพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน  เพื่อใช้บังคับกับคู่ความฝ่ายตรงข้าม  แต่คู่ความฝ่ายตรงข้ามยกเป็นประเด็นโต้แย้งว่า  กฎหมายดังกล่าวที่ใช้บังคับกับเขานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ในกรณีเช่นนี้  ศาลซึ่งพิจารณาคดีดังกล่าวนั้นมีอำนาจในการพิจารณาว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นสอดคล้องหรือขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่  หากศาลเห็นว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ศาลก็จะไม่ใช้กฎหมายนั้นบังคับแก่คู่กรณีหรือคู่ความในคดีนั้น  แต่ศาลจะไม่พิจารณาพิพากษาเพิกถอนกฎหมายนั้นแต่อย่างใด  โดยศาลอาจใช้กฎหมายนั้นกับคู่ความในคดีอื่นๆได้

2       การควบคุมโดยองค์กรพิเศษอื่นนอกจากศาลยุติธรรม  (เป็นการควบคุมโดยการฟ้องคดี)  เช่น  ประเทศไทยและเยอรมนี  จะมีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ  กล่าวคือ  ในกรณีที่มีการฟ้องคดีและผู้เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับนั้น  เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ก็ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย  และถ้าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่ากฎหมายหรือบทบัญญัติของกฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ก็ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเพิกถอนกฎหมายหรือบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆได้  และกฎหมายหรือบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกเพิกถอนแล้วนั้น  จะนำไปใช้บังคับกับคู่ความในคดีนั้นหรือคู่ความในคดีอื่นๆอีกไม่ได้

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550  ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ไว้  2  กรณี  คือ

1       ตามมาตรา  6  ซึ่งบัญญัติว่า  “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎ  หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”

2       ตามมาตรา  154  ซึ่งบัญญัติหลักไว้ว่า  ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว  หรือที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา  151  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย  หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกรัฐสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  หรือนายกรัฐมนตรี  เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  ก็ให้ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้น  มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ  และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป

บทบัญญัติตามมาตรา  154  นั้น  ให้นำมาใช้บังคับกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  หรือวุฒิสภา  และร่างข้อบังคับการประชุมสภา  ที่สภาผู้แทนราษฎร  วุฒิสภา  หรือรัฐสภา  แล้วแต่กรณีให้ความเห็นชอบแล้ว  แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยโดยอนุโลม  (มาตรา  155)

 

ข้อ  3  ในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยและได้เรียนกฎหมายรัฐธรรมนูญมาแล้ว  จงอธิบายที่มาของสมาชิกรัฐสภา  ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน(ก่อนมีการแก้ไข)  อย่างละเอียดว่ามีที่มาอย่างไร

ธงคำตอบ

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  (พ.ศ.2550)  ฝ่ายนิติบัญญัติ  (รัฐสภา)  ของไทยนั้น  ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  ซึ่งสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  จะมีจำนวนและที่มาหรือวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง  ดังนี้  คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)

สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)  ประกอบด้วยสมาชิก  480  คน  โดยเป็นสมาชิก

–                     มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  400  คน

–                    มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  80  คน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การคำนวณจำนวนสมาชิกฯ  ให้นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศในปีก่อนปีที่มีการเลือกตั้งหารด้วย  400  จะได้เกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน  3  คน  ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  แต่ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน  3  คน  ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  3  คน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

–                     ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น

–                    เขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน  ให้แบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น  8  กลุ่มจังหวัด  โดยจัดจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน  และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  แต่ละเขตเลือกตั้งให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้  10  คน

2       วุฒิสภา  (ส.ว.)

วุฒิสภา  (ส.ว.)  ประกอบด้วยสมาชิก  150  คน  ซึ่งมาจาก

–                     การเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด  จังหวัดละ  1  คน  รวม  76  คน

–                    การสรรหา  รวม  74  คน

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา

การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย

(1)  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

(2) ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(3) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(5) ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(6) ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย  1  คน

(7) ตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย  1  คน

หมายเหตุ

ปัจจุบันได้มีการแก้ไขจำนวนและที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยกำหนดให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  500  คน  (ขอให้ดูรายละเอียดในธงคำตอบข้อที่ 1) และปัจจุบันประเทศไทยเมื่อนับรวมกรุงเทพมหานครด้วยจะมี  77  จังหวัด  ดังนั้นในการเลือกตั้งและสรรหาวุฒิสภาครั้งต่อไป    จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง  จังหวัดละ  1  คน  จึงมี  77  คน  ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจะมี  73  คน

 

ข้อ  4  ในวันที่  31  ตุลาคม  2553  ได้กำหนดเป็นวันเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  เขต  2  จังหวัดสุรินทร์  วันที่  1  ตุลาคม  2553  คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  นายแดงเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่  3  ต่อมาวันที่  20  ตุลาคม  2553  นายแดงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  เมื่อถึงวันเลือกตั้งในวันที่  31  ตุลาคม  2553  พระภิกษุแดงมิได้มาใช้สิทธิเลือกตั้งฯ และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ  ได้ต่อเจ้าหน้าที่ฯ  ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งฯ  สามเดือนต่อมาพระภิกษุแดงได้ลาสิกขาบท  และได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน  นายอำเภอได้ปฏิเสธเนื่องจากนายแดงไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ส.ส.  ครั้งล่าสุด  นายแดงอุทธรณ์  ต่อมานายอำเภอได้มีหนังสือแจ้งปฏิเสธและให้เหตุผลว่า  เมื่อประกาศรายชื่อว่านายแดงเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งฯแล้ว  นายแดงมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญฯ  มาตรา  72  ที่จะต้องไปทำหน้าที่ในการใช้สิทธิเลือกตั้งฯ  หากไม่ไปก็จะต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิได้  เมื่อนายแดงไม่ได้แจ้งฯ  จึงเสียสิทธิในการรับสมัครรับเลือกตั้งในกรณีนี้  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าการปฏิเสธของนายอำเภอชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  และนายแดงสามารถจะใช้สิทธิในทางศาลในกรณีนี้ได้หรือไม่  อย่างไร

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550

มาตรา  28  วรรคสอง  บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้  สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

มาตรา  72  วรรคแรกและวรรคสอง  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้  ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา  100(1)  บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง  เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(1)  เป็นภิกษุ  สามเณร  นักพรต  หรือนักบวช

มาตรา  223  วรรคแรก  ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน  หรือระหว่างหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน  อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยดังนี้  คือ

ประเด็นที่  1  ตามมาตรา  72  วรรคแรกและวรรคสอง  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้  ย่อมถูกตัดสิทธิทางการเมือง  เช่น  จะเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกลำดับชั้นสำหรับตำแหน่งทางการเมือง  เป็นต้น

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์  ในการประกาศรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้น  นายแดงมีรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ด้วย  แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงวันเลือกตั้งนายแดงซึ่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่อเจ้าหน้าที่ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ดังนี้จะเห็นได้ว่า  เมื่อมาตรา  100(1)  ได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลที่เป็นพระภิกษุไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ดังนั้น  พระภิกษุแดงจึงมิใช่บุคคลที่มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา  72  การที่พระภิกษุแดงไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิดังกล่าวนั้น  ย่อมไม่ทำให้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองแต่อย่างใด  นายแดงจึงยังคงมีสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้  ดังนั้นการที่นายอำเภอปฏิเสธไม่ให้นายแดงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน  โดยให้เหตุผลว่า  นายแดงไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ส.ส.ครั้งล่าสุดนั้น  การปฏิเสธของนายอำเภอจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประเด็นที่  2  การที่นายแดงได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน  แต่ถูกนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิเสธ  ถือว่ามีการโต้แย้งการใช้สิทธิทางการเมืองเกิดขึ้น  ดังนั้นนายแดงซึ่งถูกละเมิดสิทธิสามารถที่จะใช้สิทธิในทางศาลได้  ตามมาตรา  28  วรรคสอง  กล่าวคือนายแดงสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้นั่นเอง

สำหรับศาลใดจะเป็นผู้มีอำนาจในการรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยนั้น  เห็นว่าเมื่อคดีพิพาทดังกล่าวนั้น  เป็นคดีพิพาทระหว่างนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกับนายแดงซึ่งเป็นเอกชนและเป็นคดีพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย  (การปฏิเสธของนายอำเภอ  ถือว่าเป็นการออกคำสั่งทางปกครองและถือว่าเป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย)  ดังนั้นศาลที่มีอำนาจในการรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยคือ  “ศาลปกครอง”  ตามมาตรา  223  วรรคแรกนั่นเอง  ดังนั้นนายแดงสามารถนำข้อพิพาทดังกล่าวฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง  เพื่อขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งปฏิเสธของนายอำเภอได้

สรุป 

1       การปฏิเสธของนายอำเภอไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2       นายแดงสามารถที่จะใช้สิทธิในทางศาลในกรณีนี้ได้  โดยการฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง

LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง S/2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน  มี  4  ข้อ  (คะแนนเต็มข้อละ  25  คะแนน)

ข้อ  1  ให้อธิบายถึงโครงสร้างของประเทศ  ระบบการปกครอง  และการจัดตั้งสถาบันการปกครองหลักของประเทศสหรัฐอเมริกามาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

ประเทศสหรัฐอเมริกา  ถือว่าเป็นแม่แบบของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  โดยเป็นประเทศที่มีโครงสร้างแบบรัฐรวมในลักษณะของการรวมตัวแบบเหนียวแน่น  ที่เรียกว่า  สหพันธรัฐ  หรือเรียกสั้นๆว่า  สหรัฐ  ซึ่งเป็นการรวมตัวกันโดยใช้เกณฑ์แห่งความเสมอภาคระหว่างรัฐใหญ่กับรัฐเล็กที่เป็นสมาชิก  รัฐสมาชิกดังกล่าวยินยอมที่จะสูญเสียอำนาจบางประการให้กับศูนย์กลางแห่งอำนาจ  ยอมให้มีการกำหนดเกณฑ์ในการใช้อำนาจปกครองร่วมกัน  โดยมีการสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นที่เรียกว่า  รัฐธรรมนูญใหม่  หรือ  รัฐธรรมนูญกลาง

ลักษณะสำคัญของการปกครองในระบบประธานาธิบดี  มี  2  ประการ  คือ

1       ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

2       มีการแบ่งแยกอำนาจกันค่อนข้างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร  กล่าวคือ  เป็นอิสระจากกัน  ไม่มีมาตรการล้มล้างซึ่งกันและกัน  ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร  และในทางกลับกันฝ่ายบริหารก็ไม่มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร  สังเกตว่าในข้อนี้จะแตกต่างจากการปกครองในระบบรัฐสภาอย่างชัดเจน

การจัดตั้งสถาบันการปกครองของสหรัฐอเมริกา  มีดังนี้

ก  สถาบันประมุขแห่งรัฐ

สถาบันประมุขแห่งรัฐ  ได้แก่  ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี  มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม  กล่าวคือ  ในสหรัฐอเมริกามีพรรคการเมืองใหญ่ๆ  อยู่เพียง  2  พรรค  คือ  พรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต  ที่มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่บริหารประเทศ   ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกคณะบุคคลขึ้นมาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  (Big Elector)  เพื่อทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี  ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้

สำหรับ  คณะผู้เลือกตั้งใหญ่  นั้นมีทั้งหมด  538  คน  ตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกำหนดให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งใหญ่ข้างมากและเด็ดขาด  คือ  จะต้องได้คะแนนเสียงตั้งแต่  270  เสียงขึ้นไป

วาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี  ก็คือ  4  ปี  และสามารถดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกิน  2  สมัย  ในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีเกิดว่างลงหรือไม่สามารถบริหารประเทศได้โดยสิ้นเชิง  รองประธานาธิบดีจะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่  และมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับประธานาธิบดี

ข.  สถาบันนิติบัญญัติ  (สภาคองเกรส)

รัฐสภาอเมริกัน  เรียกว่า  สภาคองเกรส (congress)  ประกอบด้วย  2  สภา คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  แบบเสียงข้างมากรอบเดียว  มีวาระในการดำรงตำแหน่ง  2  ปี  มีจำนวนทั้งสิ้น  435  คน  รวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศูนย์กลางแห่งอำนาจหรือที่เรียกว่า  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิเศษของวอชิงตัน  ดี.ซี.  อีก  3  คน  ฉะนั้นจึงมีจำนวนทั้งหมด  438 คน  ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจในการยื่นญัตติเพื่ออภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจทั้งตัวประธานาธิบดีและบรรดารัฐมนตรีทั้งหลาย  ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีก็ไม่มีอำนาจยุบสภา

2  สภาสูงหรือวุฒิสภา  ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  2  คนต่อ  1  มลรัฐ  รวมทั้งสิ้นจำนวน  100 คน  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มีวาระการดำรงตำแหน่ง  6  ปี  แต่สมาชิก  1  ใน  3  ของทั้งหมดจะต้องถูกจับสลากออกไปสมัครเข้ารับการเลือกตั้งใหม่ทุกๆ  2  ปี  ในระหว่างที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ค  สถาบันบริหารของสหรัฐอเมริกา

ฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำสูงสุด  ซึ่งมีความเป็นอิสระจากรัฐมนตรีทั้งปวง  โดยประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้ารัฐบาล  และเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งหลายด้วยความเห็นชอบของวุฒิสภา

ง  สถาบันตุลาการ  (ศาลยุติธรรมสูงสุด)

ศาลสูงสุดของอเมริกา  ประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน  9  คน  มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี  แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสูง  (หรือวุฒิสภา)

 

ข้อ  2  ให้อธิบายถึงระบบการปกครองของประเทศอังกฤษ  พร้อมทั้งอธิบายถึงวิธีการจัดตั้งสถาบันบริหารของประเทศดังกล่าวในปัจจุบันมาตามที่เข้าใจ

ธงคำตอบ

1       ระบบการปกครองของประเทศอังกฤษ

รูปแบบการปกครองของประเทศอังกฤษในปัจจุบัน  เป็นรูปแบบการปกครองระบบรัฐสภาแบบสองพรรคการเมือง  (พรรคอนุรักษนิยมและพรรคกรรมกร)  ซึ่งเป็นระบบที่มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ  มีการกำหนดมาตรการในการโต้ตอบ  ล้มล้างซึ่งกันและกัน  เช่น  การขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  และการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยฝ่ายบริหาร  ซึ่งการจัดรูปองค์กรการปกครองของอังกฤษไม่ได้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร  เพราะอังกฤษใช้รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี

2       สถาบันของฝ่ายบริหาร  (รัฐบาล) ของประเทศอังกฤษ

การจัดรูปองค์กรของฝ่ายบริหารของอังกฤษนั้นเป็นแบบฝ่ายบริหารที่แบ่งเป็นสององค์กร  คือ  มีการแยกองค์กรประมุขของรัฐซึ่งก็คือกษัตริย์  กับองค์กรที่เป็นฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล  ซึ่งประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี  มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าออกจากกัน  ในขอบเขตอำนาจฝ่ายบริหารนั้น  รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจเหล่านี้โดยคณะรัฐมนตรีผู้ที่จะรับผิดชอบต่อรัฐสภา  ซึ่งมีทั้งความรับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะและความรับผิดชอบในส่วนของกระทรวง  ทบวง  กรมต่างๆ  แต่ละคนด้วย  แม้ว่ากษัตริย์ทรงมีฐานะอยู่ในส่วนของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติด้วยก็ตาม  แต่ก็จะเป็นเพียงฐานะอย่างเป็นทางการ  ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างแท้จริงด้วยพระองค์เอง

การจัดตั้งฝ่ายบริหารของประเทศอังกฤษนั้น  เริ่มจากการที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยจารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติ  จากหัวหน้าพรรคการเมืองที่พรรคนั้นชนะการเลือกตั้งและมีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง  จากนั้นนายกรัฐมนตรีก็จะจัดตั้งรัฐบาลโดยคัดเลือกจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคเดียวกับตนและบางส่วนจากสมาชิกวุฒิสภา  แล้วนำคณะรัฐบาลไปแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอความไว้วางใจก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่

ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง  ก็มักจะได้แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกจากนายกรัฐมนตรี  แต่วุฒิสภาบางท่านก็อาจได้รับการเชื้อเชิญให้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน  หากว่าวุฒิสมาชิกท่านนั้นมี

ความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง  หรือมีความจำเป็นทางการเมืองที่จะต้องมีวุฒิสมาชิกมาเป็นรัฐมนตรีด้วย

 

ข้อ  3  จงอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

–                     องค์ประกอบของรัฐสภา

–                    ที่มาของอำนาจนิติบัญญัติ

–                    การถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างอำนาจทั้งสาม

ธงคำตอบ

1       องค์ประกอบของรัฐสภา

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  (มาตรา  88)  รัฐสภาประกอบไปด้วยสองสภาคือ  สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

สภาผู้แทนราษฎรจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  500  คน  (มาตรา  93  วรรคแรก)

วุฒิสภาจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวน  150  คน  (มาตรา  111  วรรคแรก)

2       ที่มาของอำนาจนิติบัญญัติ

อำนาจนิติบัญญัติ  มีรัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ  ซึ่งรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสภา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ฉบับปัจจุบัน  ได้บัญญัติเกี่ยวกับที่มาของอำนาจนิติบัญญัติไว้ดังนี้  คือ

1       สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)

สภาผู้แทนราษฎร  (ส.ส.)  ประกอบด้วยสมาชิก  500  คน  โดยเป็นสมาชิก

–                     มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  375  คน

–                    มาจากการเลือกตั้งแบบ บัญชีรายชื่อ  125  คน

(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เขตละ  1  คน

การคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิก  1  คน  ให้คำนวณจากราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง  (หาร)  ด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  375  คน                                              

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี  ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  ที่คำนวณได้นั้นมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น  ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  ก็ให้มีสมาชิกฯได้  1  คน  จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน  ให้มีสมาชิกฯในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีก  1  คน  ทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกฯ  1  คน

จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกฯได้ไม่เกิน  1  คน  ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกฯได้เกิน  1  คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกฯที่พึงมี  โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกฯ  1  คน  (มาตรา  94)

(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น  โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีเดียว  และให้ถือเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง  (มาตรา 95)

บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา  95  ให้พรรคการเมืองจัดทำขึ้นพรรคการเมืองละหนึ่งบัญชีไม่เกินบัญชีละ  125  คน  และให้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนวันเปิดสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  (มาตรา  96)

การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง  ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมืองเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น  โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้  เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา  (มาตรา  98)

2       วุฒิสภา  (ส.ว.)

วุฒิสภา  (ส.ว.)  ประกอบด้วยสมาชิก  150  คน  ซึ่งมาจาก

–                     การเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด  จังหวัดละ  1  คน  รวม  76  คน

–                    การสรรหา  รวม  74  คน

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา

ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง  โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้ก็แต่เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ของวุฒิสภา

การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง  ประกอบด้วย

(1)  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

(2) ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(3) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

(4) ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(5) ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

(6) ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย  1  คน

(7) ตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย  1  คน

หมายเหตุ

ปัจจุบันประเทศไทยเมื่อนับรวมกรุงเทพมหานครด้วยจะมี  77  จังหวัด  ดังนั้นในการเลือกตั้งและสรรหาวุฒิสภาครั้งต่อไป    จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง  จังหวัดละ  1  คน  จึงมี  77  คน  ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจะมี  73  คน

3  การถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างอำนาจทั้งสาม

1       อำนาจนิติบัญญัติ  อาจถูกควบคุมตรวจสอบได้โดยฝ่ายตุลาการ  เช่น  ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นฝ่ายบัญญัติกฎหมาย  ถ้ามีการบัญญัติกฎหมายออกมาแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ก็จะต้องมีการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ  คือ  ศาลรัฐธรรมนูญ  และอาจจะถูกควบคุมโดยฝ่ายบริหาร  เช่น  การที่ฝ่ายบริหารไม่เสนอกฎหมายให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณา  หรือเสนอกฎหมายไปแล้วแต่ฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ความเห็นชอบ  ฝ่ายบริหารก็สามารถยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ได้

2       อำนาจบริหาร  อาจถูกควบคุมตรวจสอบได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ  เช่น  การไม่ให้ความเห็นชอบต่อกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเสนอให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณา  การควบคุมตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร  เช่น  การตั้งกระทู้ถาม  การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร  เป็นต้น

3       อำนาจตุลาการ  การใช้อำนาจตุลาการนั้น  อาจถูกควบคุมหรือถ่วงดุลได้โดยฝ่ายนิติบัญญัติ  เช่น  ฝ่ายนิติบัญญัติ  ได้บัญญัติกฎหมายให้ฝ่ายตุลาการหรือศาลใช้อำนาจตามกฎหมายได้เพียงเท่าที่กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติได้บัญญัติไว้เท่านั้น  และในบางกรณีกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติก็เป็นกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร  ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ถือว่าฝ่ายบริหารได้เข้ามาควบคุมถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการนั่นเอง  แต่อย่างไรก็ตาม  ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะไม่มีอำนาจในการตรวจสอบอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของฝ่ายตุลาการ

 

ข้อ  4  ตามที่รัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  มาตรา  72  บัญญัติให้  “บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง”  แต่ปรากฏว่าในการเลือกตั้ง  ส.ส.  ครั้งที่ผ่านมา  นายแดงหัวหน้าพรรคไทสันติและกรรมการบริหารพรรคฯ  ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งในครั้งนั้น  จึงต่อต้านโดยการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร  พ.ศ.2554  และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่  3  กรกฎาคม  2554  พรรคไทยสันติได้ประกาศนโยบายไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งในครั้งนี้  เพราะแม้มีการเลือกตั้งก็จะได้นักการเมืองกลุ่มเดิมกลับมา ซึ่งไม่ก่อผลเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่อย่างใด  ถือเป็นการหลอกเอาประชาชนเป็นเครื่องมือในทางการเมือง  จึงได้ติดประกาศ  แจกแผ่นปลิว  และให้สมาชิกพรรคฯ  ปราศรัยในที่สาธารณะเรียกร้องให้ประชาชนร่วมสนับสนุนนโยบายของพรรคฯ  โดยการร่วมมือกันไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ  ที่จะถึงนี้  ดังนี้  ให้ท่านวินิจฉัยว่าการกระทำของนายแดงและกรรมการบริหารพรรคฯ  ที่ไม่ได้ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง และการกระทำของพรรคไทสันติที่มีนโยบายและรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนร่วมมือกันไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  หรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  ในกรณีหนึ่งกรณีใด  หรือไม่  เพราะเหตุใด 

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2550

มาตรา  2  ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา  28  วรรคแรก  บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

มาตรา  45  วรรคแรก  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด  การเขียน  การพิมพ์  การโฆษณา  และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

มาตรา  65  วรรคแรกและวรรคสอง  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น  ตามวิถีทางการปกครองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

การจัดองค์กรภายใน  การดำเนินกิจการ  และข้อบังคับของพรรคการเมือง  ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา  72  วรรคแรก  บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์  มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่  2  ประเด็น  คือ

ประเด็นที่  1  การกระทำของนายแดงและกรรมการบริหารพรรคฯ  ที่ไม่ได้ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์  กรณีที่นายแดงหัวหน้าพรรคไทสันติและกรรมการบริหารพรรคฯไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง  ส.ส.  ในครั้งที่ผ่านมาจึงต่อต้านโดยการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่  3  กรกฎาคม  2554  นั้น  จะเห็นได้ว่า  แม้รัฐธรรมนูญฯ  พ.ศ.2550  มาตรา  72  จะบัญญัติให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของบุคคลก็ตาม  การกระทำของนายแดงและกรรมการบริหารพรรคฯ  ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าว  ก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยการใช้สิทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา  28  วรรคแรก  แต่อย่างใด

ประเด็นที่  2  การกระทำของพรรคไทสันติที่มีนโยบายและรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนร่วมมือกันไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

โดยทั่วไปการที่บุคคลได้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  และเผยแพร่ความเห็นอันหนึ่งอันใดของตนต่อสาธารณะย่อมสามารถที่จะกระทำได้  (ตามมาตรา  45  วรรคแรก)  แต่การที่พรรคไทสันติได้กระทำการโดยการติดประกาศ  แจกแผ่นปลิว  และให้สมาชิกพรรคฯ ปราศรัยในที่สาธารณะเรียกร้องให้ประชาชนร่วมสนับสนุนนโยบายของพรรคฯ  โดยการร่วมมือกันไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น  การเรียกร้องมิให้บุคคลไปใช้สิทธิเลือกตั้งของพรรคไทสันติ  ถือว่าเป็นการดำเนินการทางการเมืองของพรรคการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  (ตามมาตรา  2  วรรคแรกประกอบกับมาตรา  65  วรรคแรกและวรรคสอง)  ดังนั้นการกระทำของพรรคไทสันติที่เรียกร้องมิให้บุคคลไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  จึงเป็นการกระทำซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา  28  วรรคแรก

สรุป  การกระทำของนายแดงและกรรมการบริหารพรรคฯ  ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  แต่การกระทำของพรรคไทสันติ  ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ

WordPress Ads
error: Content is protected !!