MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน 1/2560

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ภาษาคืออะไร
(1) เป็นช่องทางการสื่อสาร
(2) เป็นบริบทของการสื่อสาร
(3) เป็นการเข้ารหัสสาร
(4) เป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย
ตอบ 4 หน้า 1 ภาษา ประกอบด้วย สัญญาณ (Signs) สัญลักษณ์ (Symbols) และกฎหรือปทัสถาน ทางสังคมที่เป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษาเพื่อใช้ในการ สื่อความหมาย ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย (Meaning) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ ในการสื่อสารระหว่างกัน

2. อะไรคือสิ่งสําคัญที่สุดในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย
(1) เครื่องมือการสื่อสาร
(2) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) การเข้ารหัสและการถอดรหัส
ตอบ 1 หน้า 1, 4 สิ่งสําคัญที่สุดในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย คือ การเข้าใจถึงความสําคัญ ของภาษาในฐานะที่เป็นเครื่องมือการสื่อสาร ซึ่งหากมองภาษาในแง่นี้แล้วจะเห็นได้ว่า ภาษา ทําหน้าที่เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย

3. การใช้ภาษาของผู้ส่งสารแต่ละคนขึ้นอยู่กับอะไร
(1) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(2) สนามแห่งประสบการณ์ของผู้รับสาร
(3) อุปสรรคของการสื่อสาร
(4) สนามแห่งประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
ตอบ 4 หน้า 6) (คําบรรยาย) การใช้ภาษาของผู้ส่งสารจะขึ้นอยู่กับขอบเขตหรือสนามแห่งประสบการณ์ (Fields of Experience) ของผู้ส่งสารแต่ละคน โดยผู้ส่งสารจะเข้ารหัสความหมายและเลือกใช้ สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ภายในสนามแห่งประสบการณ์ของตน ส่วนผู้รับสารจะถอดรหัส ความหมายออกมาอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ของผู้รับสารเช่นกัน

4.ที่กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” หมายความว่าอย่างไร
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ชิงดีชิงเด่นกัน
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การแข่งขัน
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การทําลายล้างกัน
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกัน
ตอบ 4 หน้า 1 คํากล่าวที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” เพราะธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์หรือการกระทํา ระหว่างกัน (Interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของจําเป็นในการดํารงชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ตลอดจนการสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

5.แนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม มองภาษาอย่างไร
(1) ภาษามีโครงสร้างที่ผู้ใช้จําเป็นต้องเข้าใจและนําไปใช้ตามกฎเกณฑ์ของภาษาเพื่อให้การสื่อสาร สัมฤทธิผล
(2) ภาษาไม่ใช่สิ่งหยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(3) ภาษาให้ความสําคัญแก่มนุษย์ในฐานะปัจเจกชน และในฐานะของผู้ที่มีเจตจํานงในการเป็นผู้กระทํา
(4) ภาษาเกิดขึ้นพร้อมกับการให้คุณค่าและความหมายของสิ่งต่าง ๆ ในสังคมที่สังคมนั้น ๆ มองว่า
แตกต่างจากสิ่งอื่น
ตอบ 1 หน้า 2 นักวิชาการแนวโครงสร้างนิยม เช่น โซซูร์ (Saussure) และเลวี สโตรสส์ (Levi Strauss) มองว่า ภาษาเป็นกรอบใหญ่ที่เข้ามากําหนดวิธีคิดของสมาชิกในสังคม โดยภาษาในความหมาย ที่แคบ คือ ภาษาพูดและภาษาเขียน และในความหมายที่กว้างออกไป คือ ระบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาท่าทาง ดนตรี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ซึ่งภาษาดังกล่าวล้วนมีโครงสร้างที่ผู้ใช้ จําเป็นต้องเข้าใจและนําไปใช้ตามกฎเกณฑ์ของภาษาเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิผล

6. “ภาษาเป็นกรอบใหญ่ที่เข้ามากําหนดวิธีคิดของสมาชิกในสังคม ภาษาในความหมายที่แคบ คือ ภาษาพูด และภาษาเขียน และในความหมายที่กว้างออกไป คือ ระบบสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาท่าทาง ดนตรี เครื่องแต่งกาย” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. การตีความสัญญาณ/สัญลักษณ์ หรือทําความเข้าใจความหมายในสังคมต้องอาศัยสิ่งใด
(1) ไวยากรณ์
(2) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(3) การอ่านและฟังอย่างถูกวิธี
(4) ปทัสถานทางสังคมและวัฒนธรรม
ตอบ 4หน้า 4 การทําความเข้าใจความหมายในสังคม หรือการตีความสัญญาณ/สัญลักษณ์บางอย่าง ต้องอาศัยปทัสถานทางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นนอกจากภาษาจะมีบทบาทในฐานะเป็น เครื่องมือที่ใช้แทนความหมายแล้ว บางครั้งภาษายังมีส่วนสร้างความหมายหรือความเป็นจริง ทางสังคม (Social Reality) ด้วย

8. หากมองภาษาในฐานะเครื่องมือการสื่อสาร ภาษาทําหน้าที่อะไร
(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย
(2) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างความหมาย
(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างโลกความจริง
(4) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้สร้างวาทกรรม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

9. ความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) หมายถึงอะไร
(1) ความจริงที่แท้จริง
(2) ความจริงทางกายภาพ
(3) ความเป็นจริงเกี่ยวกับสังคม
(4) ความจริงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์
ตอบ 4หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาหรือขัดเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมหรือความเป็นจริงทางสังคมของมนุษย์ แต่ละคนจึงเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น คํากล่าวที่ว่า “คนซื่อ คือ คนโง่” ไม่ใช่ความจริง ที่เป็นกฎธรรมชาติ แต่เป็นความจริงที่เกิดจากการประกอบสร้างของสังคม

10. “สภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น” เป็นบริบทการสื่อสารมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย, บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหา และรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุม, การจัดแสดงแสง สี เสียง ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามชวนซื้อ เป็นต้น

11. “ปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 2 หน้า 10. (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

12. “ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Concext) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วม สื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

13. “การที่แหล่งสารแปรความคิดของตนให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส
(Senses)” เป็นความหมายของอะไร
(1) สนามแห่งประสบการณ์
(3) การถอดรหัส
(2) การเข้ารหัส
(4) ภาษา
ตอบ 2 หน้า 7 กระบวนการเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปรความคิดของตน ให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เช่น เมื่อแหล่งสาร ต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง สมองของเขาจะทํางานร่วมกับอวัยวะในการเปล่งเสียง เพื่อคิด คําพูดและเปล่งเสียงออกมาเป็นคําพูด ประโยค และบทสนทนา เป็นต้น

14. เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ทําหน้าที่ใดในกระบวนการสื่อสาร
(1) ผู้เข้ารหัส
(2) ผู้ถอดรหัส
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) สาร
ตอบ 2 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสาร ให้เป็นความหมายสําหรับผู้รับสาร หรือการที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา เช่น การที่นักศึกษาฟังและคิดตามเพื่อพยายามทําความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์กําลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ฯลฯ

15. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารถูกแยกกันด้วยเวลาและสถานที่
(1) การถ่ายทอดสดการแข่งขันวอลเลย์บอล
(2) การจัดรายการเพลงทางวิทยุ
(3) การแสดงแสง สี เสียง
(4) ละครโทรทัศน์
ตอบ 4 หน้า 8, (คําบรรยาย) ในการสื่อสารแบบเผชิญหน้าผู้ส่งสารและผู้รับสารจะอยู่ในสถานที่ (Space) และเวลา (T me) เดียวกัน แต่บางสถานการณ์ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจถูกแยกกัน ด้วยเวลาและสถานที่ เช่น การรับชมละครโทรทัศน์ ซึ่งผู้ชมจะรับชมอยู่ที่บ้านตามตารางเวลา ออกอากาศ เป็นต้น

16. การประชุมโต๊ะกลม ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 2 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาใน ระดับกึ่งทางการ (ไม่ถึงกับเป็นทางการ) มักใช้กับการสื่อสารในองค์กร เช่น การปรึกษาหารือ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การพูดคุยในการประชุมโต๊ะกลม การสื่อสารกลุ่มเล็ก ฯลฯ รวมทั้งอาจใช้ในรายการวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุกระจายเสียง

17. ภาษาที่ใช้ในการร่างกฎหมาย เป็นภาษาระดับลีลาใด
(1) เยือกเย็น
(2) ทางการ
(3) ปรึกษาหารือ
(4) ลําลอง
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาเยือกเย็น (Frozen Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่มีแบบแผน ตายตัว มีลักษณะเป็นทางการมากที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงภูมิปัญญา และแสดงถึง ความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง เช่น ภาษาที่ใช้เขียนในร่างกฎหมายต่าง ๆ หรือการกล่าวคําปฏิญาณ ของตัวแทนบัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งจะมีแบบฟอร์มการพูดที่ตายตัว เป็นต้น

18. Cultivation Theory พัฒนาจากงานวิจัยของใคร
(1) ลาสเวลล์
(2) จอร์จ เกิร์บเนอร์
(3) ธีโอดอร์ อดอร์โน
(4) ซูซาน ลางเกอร์
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ในสังคมอเมริกัน โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี และได้ข้อสรุปเบื้องต้นประการหนึ่ง คือ เนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็น ตัวสร้าง “วัฒนธรรมร่วม” ที่ชุมชน/สังคมได้ปลูกฝังให้สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมได้รับข้อเท็จจริง ค่านิยม และความคิดเกี่ยวกับการดํารงอยู่ร่วมกันของมนุษย์

19.Gesture หมายถึงอะไร
(1) กายภาษา
(2) ภาษากาย
(3) การเปล่งเสียง
(4) ภาษาสัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากาย (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

20. ภาษาพูดและภาษาเขียน ช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 4 หน้า 9 – 10, 13, (คําบรรยาย) ภาษาจะประกอบไปด้วยความหมายทั้งในลักษณะที่เป็น ความหมายโดยตรง (Denotation) และความหมายโดยนัย (Connotation) ซึ่งการที่เรา จะรู้ว่าคํา ๆ หนึ่งใช้ในความหมายลักษณะใดนั้น จะต้องพิจารณาจากบริบทของการสื่อสาร (Communication Context) ซึ่งมีอิทธิพลกํากับความหมายที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทําการสื่อ

25. Mass Culture หมายถึงอะไร
(1) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน
หรือเหมือนกัน
(2) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือ เหมือนกัน
(3) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกันหรือ
ไม่เหมือนกัน
(4) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกัน
หรือไม่เหมือนกัน
ตอบ 2 หน้า 32 (คําบรรยาย) คําว่า “วัฒนธรรมประชานิยม” (Popular Culture) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบ ของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน ส่วนใหญ่มัก เกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลงสมัยใหม่ เช่น การนิยมวัฒนธรรม แบบ K-POP และ J-POP ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

26. K-POP เป็นตัวอย่างของอะไร
(1) Public Communication
(2) Propaganda
(3) Population
(4) Popular Culture
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. ข้อใดเป็นตัวอย่างภาษาเขียนระบบ Sign Writing
(1) ภาษาละติน
(2) ภาษากรีกโบราณ
(3) ภาษาอียิปต์โบราณ
(4) ภาษาพราหมี
ตอบ 3 หน้า 19 ภาษาภาพ เป็นการใช้ระบบสัญลักษณ์เขียนเป็นสัญญาณ (Sign Writing) โดยที่ แต่ละสัญลักษณ์มีพื้นฐานมาจากรูปภาพที่เป็นตัวแทนสิ่งของ ซึ่งภาษาในลักษณะนี้ได้รับการ พัฒนาในอาณาจักรสุเมเรียน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล เช่น ภาษาไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphics) ของอียิปต์โบราณ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2 – 3 ร้อยปี ภายหลังชาวสุเมเรียน ส่วนรูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2,000 – 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

28. ข้อใดเป็นต้นกําเนิดอักษรภาษาไทย
(1) ภาษาละติน
(2) ภาษากรีกโบราณ
(3) ภาษาอียิปต์โบราณ
(4) ภาษาพราหม์
ตอบ 2 หน้า 19 กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า “พยัญชนะ” (Alphabet) ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง และนําเสียงมารวมกันเป็นคํา ถือกําเนิดขึ้นโดยชาวฟินิเชียน (The Phoenicians) เป็นชนชาติแรก ที่พัฒนาภาษาลักษณะนี้ หลังจากนั้นจึงพัฒนามาเป็นภาษากรีกโบราณที่มี 24 ตัวอักษร และ กลายเป็นต้นกําเนิดของตัวอักษรภาษาอื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น

29. วิวัฒนาการของภาษาในข้อใดที่ช่วยให้เกิดการสร้างอาณาจักร
(1) การใช้ภาษาท่าทาง
(2) การพูด
(3) การเขียน
(4) การพิมพ์
ตอบ 3 หน้า 20 วิวัฒนาการของภาษาเขียนช่วยให้เกิดการสร้างอาณาจักร โดยเฉพาะการก่อตั้งอาณาจักร ของกรีกและโรมัน นอกจากนี้ภาษาเขียนยังทําให้การปกครองเป็นไปได้ง่ายขึ้น และการรวบรวม บันทึกเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับการคิดคํานวณเพื่อการจัดเก็บภาษี

30. “ลักษณะของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)” หมายความว่า
อย่างไร
(1) เป็นเรื่องราวสําหรับสาธารณชนโดยเฉพาะ
(2) ทุกคนสามารถเข้าถึงสารนั้นได้
(3) เป็นข่าวสารสําหรับองค์กร/สถาบัน
(4) เป็นสารที่ไม่ใช่สําหรับปัจเจกชน
ตอบ 2 หน้า 25 — 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. ลักษณะของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสาธารณะ
ทุกคนสามารถเข้าถึงสารนั้นได้
(Public) คือ
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน (The Masses) หรือผู้รับชม รับฟัง (Audience) จํานวนมาก คือ ผู้รับสารที่มีมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

31. “ผู้รับสาร คือ มวลชน (Mass)” หมายความว่าอย่างไร
(1) ผู้รับสารที่มีจํานวนมากและมีความสนใจในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
(2) ผู้รับสารจํานวนมากที่มีลักษณะร่วมกันบางประการ
(3) กลุ่มผู้รับสารที่มีลักษณะร่วมกันบางประการเป็นลักษณะที่ใช้อ้างอิง
(4) ผู้รับสาร มีมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. การสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เป็นการสื่อสารสองทาง
(2) เป็นการสื่อสารทางเดียว
(3) เป็นการสื่อสารสองจังหวะ
(4) เป็นการสื่อสารเฉพาะเรื่อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

33. การรายงานข่าว เป็นการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนในข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) เป็นผู้มีความหมาย
(3) เชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม
(4) ส่งผ่านค่านิยม
ตอบ 1 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance)
คือ การรายงานข่าวให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทํางาน ของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือน ผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

34. การใช้ภาษาในการโฆษณา ต้องคํานึงถึงอะไรเป็นหลัก
(1) ค่าคะแนนความนิยมรายการ
(2) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
(3) นโยบายของบริษัท
(4) งบประมาณการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคํานึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน
ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษาที่ สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

35. การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) การโน้มน้าวใจ
(2) แจ้งข่าวสาร
(3) การสร้างความเข้าใจ
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

36. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย แนะนําสินค้า เขียนข้อความโฆษณา นําเสนอซ้ำ ๆ
(4) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก เขียนข้อความโฆษณา นําเสนอ
ตอบ 4 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนําเสนอ
แนวคิดดังกล่าวซ้ํา ๆ ไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37. ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรมีสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Personality
(2) Empathy
(3) Public Relations
(4) Stereotyped
ตอบ 2 หน้า 41 คุณสมบัติประการหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรจะมี คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) เพราะการที่นักโฆษณาสามารถเข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ก็จะทําให้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจสําคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และควรสื่อสารอย่างไรที่จะเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านั้นได้

38.“Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานําเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่ คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. เรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ มีส่วนสร้างความเป็นจริงลักษณะใด
(1) ตรงตามสภาพความจริง
(2) เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป
(3) มีลักษณะเป็นแบบฉบับตายตัว
(4) ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว
ตอบ 3 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏใน เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิก
ในสังคม โดยเรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

40. ผู้ส่งสารที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สื่อสาร รู้เรื่องเทคโนโลยี น่าเชื่อถือ
(2) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร เข้าใจผู้รับสาร
(3) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ มุ่งไปสู่เป้าหมาย
(4) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร รู้เรื่องสื่อใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้
1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร
3. ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

41. ข้อใดเป็นการจัดระดับความรู้ได้ถูกต้อง
(1) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น ใช้คําพูดของตนเอง เพิ่มเติมเรื่องราว วิเคราะห์เป็น ประเมินค่า
(2) เพิ่มเติมเรื่องราว บอกเล่าได้ใช้คําพูดของตนเอง ประเมินค่าได้ วิเคราะห์เป็น
(3) ตระหนักรู้ บอกเล่าได้ ประเมินค่า วิเคราะห์ เพิ่มเติมเรื่องราวได้
(4) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น วิเคราะห์เป็น เพิ่มเติมเรื่องราวได้ ประเมินค่า ใช้คําพูดตนเอง
ตอบ 1 หน้า 30 นักวิชาการด้านการศึกษาได้แบ่งระดับความรู้ของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. บอกเล่าเรื่องราวได้ตามที่ได้เห็นหรือได้ยินมา (จัดเป็นความรู้พื้นฐาน)
2. บอกเล่าเรื่องราวตามที่ได้เห็นได้ยินมาโดยใช้คําพูดของตนได้
3. สามารถเพิ่มเติมเรื่องราวจากความรู้ที่มีอยู่จริงได้
4. สามารถวิเคราะห์ได้
5. สามารถประเมินผลในสิ่งที่สื่อสารกันได้

42. การโฆษณาโดยให้ผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด
(1) Vignette
(2) Presenter
(3) Personality Symbol
(4) Testimonial
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนําเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น
การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นําเอาผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันถึงประสบการณ์ที่ได้รับ
หลังจากการใช้สินค้า เป็นต้น

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และ เขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัยทางด้าน
จิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. แนวทางการโฆษณาข้อใดที่เป็นการมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(1) Soft Sell
(2) Hard Sell
(3) Slice of Life
(4) Lifestyle
ตอบ 2 หน้า 45 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนําเสนอสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าโดยตรง ไม่อ้อมค้อม
2. น้ําเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรงแต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45. “สัมผัสนุ่ม เต็มอิ่ม ทุกยามว่าง” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

46. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี
(1) สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
(2) มีใจความสําคัญประเด็นเดียว
(3) มีสัมผัสคล้องจอง
(4) มีความสัมพันธ์กับภาพโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 51 ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี มีดังนี้
1. เป็นวลีหรือประโยคที่สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
2. มีใจความสําคัญเพียงประเด็นเดียว
3. มีสัมผัสคล้องจอง ซึ่งอาจสัมผัสสระ หรือสัมผัสพยัญชนะ
4. มีจังหวะสม่ำเสมอ ง่ายแก่การจดจํา
5. ควรมีชื่อสินค้าอยู่ในคําขวัญ

47. ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
พิจารณาจากอะไร
(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง
(2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง
(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริง ไม่น่าเบื่อ
(4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการ
ประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก
1. เป็นบุคคลสําคัญในองค์กร
2. เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด
3. เป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจในการตัดสินระดับความลับของเรื่องที่พูด
4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
5. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร
6. เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ

48. การทํา Execution ประกอบด้วยการกําหนดกลยุทธ์ในเรื่องใดบ้าง
(1) Source, Message, Channel, Receiver
(2) Style, Tone, Appeal
(3) Credibility, Context, Content, Clarity, Channel, Capability of Audience
(4) Attention, Interest, Desire, Action
ตอบ 2 หน้า 43, (คําบรรยาย) การสร้างความหมายในการโฆษณาจะอาศัยวิธีการนําเสนอ (Execution) ซึ่งประกอบด้วย 1. ลีลา (Style) 2. น้ำเสียง (Tone) 3. สิ่งดึงดูดความสนใจ (Appeal)

49. “รังแค ถ้าปล่อยไว้อาจจะเป็นปัญหาเรื้อรัง” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) การให้คําแนะนํา (Advice) หรือคําสั่ง คือ การเขียนข้อความพาดหัว โฆษณาด้วยการแนะนําให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับ ผลที่ได้รับจากการทําตามคําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจง ลงไปที่การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจ เขียนในรูปของคําสั่งโดยมีคําว่า “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทําหรือสั่งให้ทําก็ได้

50. “รสดีเมนูลาบ สูตรใหม่ ต้องลอง” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 1 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสําคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

51.“เป็นแบรนด์จักรยานชื่อดังที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากมายในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์ ที่โดดเด่น สีสันที่ไม่เหมือนใคร และมีจักรยานให้เลือกหลากหลายประเภทตามความต้องการของผู้บริโภค” ข้อความนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) เหมือนเขียนข่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) บทพูด
(4) มุ่งให้เกิดการกระทํา
ตอบ 1 หน้า 48 – 49 การเขียนแบบเขียนข่าว แต่เน้นการขายสินค้าอย่างตรงไปตรงมา (Direct Selling News Copy) เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องแบบเขียนข่าวลงในพื้นที่โฆษณา
โดยใช้กลยุทธ์การโฆษณาแบบเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงมีเนื้อหาคล้ายกับเนื้อหา ในข่าวหรือสารคดีของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่ก็เสนอข้อเท็จจริงที่ชัดเจนเพียงพอที่จะทําให้ผู้อ่านสนใจ และเกิดความต้องการในสินค้าหรือบริการที่โฆษณา

ข้อ 52 – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight News
(2) Human Interest
(3) Feature Story
(4) Article

52. “พระเอกดังเสียชีวิตอย่างสงบที่ รพ.รามาฯ หมอแถลงระบุสาเหตุเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ร่างกายไม่ สนองตอบการรักษา เผยนาทีสุดท้ายของชีวิตยังมีสติ พยักหน้า ขยิบตา ก่อนค่อย ๆ จากไปโดยไม่ทรมาน ท่ามกลางครอบครัวที่กล่าวลาข้างเตียงอย่างสุดเศร้า” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 84, (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียน เนื้อข่าวที่ใช้การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ โดยภาษา ที่ใช้มักเขียนเพื่อสร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

53. “สํานักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่าเกิดเหตุกลุ่มคนร้ายหัวรุนแรง บุกโจมตีสถานที่สําคัญหลายแห่งพร้อมกันในย่านใจกลางกรุงจาการ์ตา” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 84 การเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา (Straight News) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่บอกข้อเท็จจริง อย่างตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมสีสันลงไปในเนื้อข่าว ดังนั้นลักษณะ การเขียนจึงเป็นการบอกกล่าวกับผู้อ่านว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม และอย่างไร

54.“รางวัลศิลปาธร จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินรุ่นกลางที่มีผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่น มีการริเริ่มสิ่งใหม่ทางศิลปะร่วมสมัย และเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าออกสู่สังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล”
เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 84 การเขียนสารคดีเชิงข่าว (Feature Story) เป็นการเขียนเนื้อข่าวโดยให้ข้อมูลภูมิหลัง และรายละเอียดนอกเหนือจากที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่านเกี่ยวกับ เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

55. ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการบรรยายสดทางโทรทัศน์
(1) บรรยายเหตุการณ์ทั้งหมดตามที่เห็นในภาพ
(2) เขียนบทพูดล่วงหน้าและอ่านตามที่เตรียมบทไว้
(3) บรรยายเรื่องราวที่สัมพันธ์กับภาพ
(4) วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เห็นในภาพ
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) การบรรยายสด (Live) ในขณะที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ผู้บรรยาย จะไม่อ่านจากบทที่เตรียมไว้ แต่จะบรรยายเหตุการณ์ตามภาพที่ปรากฏ หรือบรรยายข้อมูล และเรื่องราวให้สัมพันธ์กับภาพ ซึ่งผู้บรรยายจะต้องเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ ถ่ายทอดสด โดยรู้กําหนดการหรือขั้นตอนของเหตุการณ์นั้น รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบในการ แก้สถานการณ์หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นในขณะที่ทําการถ่ายทอดสด เช่น รายการถ่ายทอดสด พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฯลฯ

56. “บัลแกเรียเขื่อนแตก ยุโรปตาย 420 เช่นภัยหนาว ปินส์ดินไหวดับ 43” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้
ภาษาอย่างไร
(1) ใช้คําย่อ
(2) ตัดคําสั้น
(3) ใช้ฉายาพาดหัว
(4) ละประธานของประโยค
ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคําให้สั้นลงเนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด ทําให้ผู้เขียนพาดหัวข่าวนอกจากจะต้อง เขียนให้ได้ใจความสําคัญแล้ว ยังต้องคํานึงถึงจํานวนตัวอักษรที่ใช้ไม่ให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ บางครั้งจึงจําเป็นต้องตัดคําให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ปินส์ (ฟิลิปปินส์), ดินไหว (แผ่นดินไหว) ฯลฯ

57. ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ใช้สํานวนโวหาร
(2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ
(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

58. คําว่า “Image” ในบทที่ 5 เรื่องภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(3) ภาพโฆษณา
(4) ภาพ
ตอบ 1 หน้า 58 – 59 ในบทที่ 5 เรื่องการใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ ซึ่งเป็นภาพในใจอันเกิดจากการได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือประสบการณ์ เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อตัวเป็นทัศนคติ ความเชื่อ และการให้คุณค่า (Value) ต่อสิ่งนั้น ดังนั้น องค์กรและสถาบันที่มีภาพลักษณ์ดีย่อมมีคุณค่าในสายตาของสาธารณชน ตรงกันข้ามกับองค์กรหรือสถาบันใด ๆ ที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีมักถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

59. คําว่า “Image” ในบทที่ 9 เรื่องภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(3) ภาพโฆษณา
(4) ภาพ
ตอบ 4 หน้า 106, 108 ในบทที่ 9 เรื่องการใช้ภาษาทางวิทยุโทรทัศน์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกัน จนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละซอดมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับ เรื่องราวตามต้องการ

60. คําว่า “Editing” ในบทที่ 6 เรื่องภาษาหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อ
(2) การตัดต่อลําดับภาพ
(3) บรรณาธิการ
(4) การบรรณาธิกรณ์
ตอบ 4 หน้า 76, 79, 106, 111 ในบทที่ 6 เรื่องภาษาหนังสือพิมพ์ คําว่า “Editing” จะหมายถึง การบรรณาธิกรณ์เพื่อปรับปรุงข่าวก่อนส่งพิมพ์ ส่วนในบทที่ 9 เรื่องการใช้ภาษาทางวิทยุ โทรทัศน์นั้น คําว่า “Editing” หมายถึง การตัดต่อลําดับภาพ ซึ่งสามารถทําได้ทั้งรายการที่ บันทึกเทปและรายการที่ออกอากาศ โดยใช้อุปกรณ์ตัดต่อ (Editing Suite)

61. “สํานักข่าวหัวเขียว โดยแม่ลูกจัน” เป็นตัวอย่างเนื้อหาประเภทใดของหนังสือพิมพ์
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) คอลัมน์
ตอบ 4 หน้า 78 คอลัมน์ (Column) เป็นข้อเขียนหรือเนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์ อาจเป็นข้อเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย วิจารณ์กีฬา ภาพยนตร์ ดนตรี ข่าวสังคมซุบซิบ คอลัมน์เด็กและเยาวชน ฯลฯ ซึ่งรับผิดชอบ โดยคอลัมนิสต์ หรือนักเขียนประจําคอลัมน์ที่เป็นผู้กําหนดเนื้อหา เช่น คอลัมน์ที่มีชื่อว่า “สํานักข่าวหัวเขียว โดยแม่ลูกจัน” ในหน้า 2 ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นต้น

62.การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ ใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Straight News
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน
ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อ 63 – 65. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“การปฏิรูปการเมืองที่ถูกต้องไม่ใช่แค่การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือตั้งองค์กรตรวจสอบใหม่
แต่จะต้องปฏิรูปคนควบคู่กันไป และปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ต้องปลูกฝังลัทธิ เสรีนิยมแทนอํานาจนิยม และสร้างกลไกให้การเมืองสามารถแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติและในวิถีรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องพึ่งรัฐประหารไป”

63. บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) เสนอแนะ
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ ดังนี้
1. ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

64. บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 15, 90, 92, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Format Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

65. บทความข้างต้นเป็นบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้เกิดการกระทํา
ตอบ 4 หน้า 92 บทบรรณาธิการประเภทเรียกร้องให้เกิดการกระทํา (Demand Action) จัดเป็น
บทบรรณาธิการที่เรียกร้องให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ลงมือกระทําอย่างใด
อย่างหนึ่งในทันทีทันใด โดยต้องชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาและเหตุผลที่ต้องเรียกร้อง ให้มีการปฏิบัติ ซึ่งกองบรรณาธิการจะต้องให้ข้อมูล หลักฐาน ตัวเลข ตัวอย่างเพียงพอที่จะ สนับสนุนข้อเรียกร้องนั้นได้อย่างเต็มที่ และสามารถทําให้ผู้อ่านคล้อยตาม

ข้อ 66 – 67. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“แต่ถึงจะทําได้หรือทําไม่ได้ก็ตาม นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะต้องรักษาคําสัญญาที่ให้ไว้ ต่อประชาชนในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อสร้างศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ระบบของรัฐสภา
และนักการเมือง”

66. ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้กระทํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

67. บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) วิเคราะห์
(4) ให้คําแนะนํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68. “คนแห่จองเหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ล้นหลาม…”
เป็นความนําประเภทใด
(1) Picture Lead
(2) Contrast Lead
(3) Background Lead
(4) Punch Lead
ตอบ 3 หน้า 84 ความนําแบบให้ภูมิหลัง (Background Lead) คือ การเขียนความนําข่าวที่เหมาะ สําหรับเหตุการณ์ที่เป็นความคืบหน้าของเหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวไปแล้ว เพื่อให้ผู้อ่านที่มิได้ ติดตามข่าวก่อนหน้านั้นได้ทราบภูมิหลังของข่าวก่อนที่จะรายงานความคืบหน้าต่อไป

69. คําว่า “Editing” ในบทที่ 9 เรื่องภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อ
(2) การตัดต่อลําดับภาพ
(3) บรรณาธิการ
(4) การบรรณาธิกรณ์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

70. “เผยคนไทยนักดื่มอันดับ 3 ของเอเชีย” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้คําย่อ
(2) ตัดคําสั้น
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้ฉายาพาดหัว
ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้นด้วย คํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี ไล่ยิงน้ององอาจ เมียลูกรับเคราะห์, เผยคนไทยนักดื่มอันดับ 3 ของเอเชีย ฯลฯ

71. “พริมต้องรีบออกไปทํางานก่อน คุณทานบัตเตอร์เค้กกับกาแฟที่พริมเตรียมไว้ให้ก่อนนะคะ แต่บัตเตอร์เค้ก อาจเหลือน้อยไปนิด ทั้งหอม ทั้งนุ่ม อร่อยขนาดนั้น” เป็นการเขียนข้อความโฆษณาแบบใด
(1) เขียนข่าว
(2) ใช้อารมณ์ขัน
(3) เล่าเรื่อง
(4) บทพูด
ตอบ 4 บทสนทนา หน้า 49 การใช้บทพูดหรือบทสนทนา เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องในลักษณะ บทพูด ซึ่งอาจเป็นบทพูดของคนคนเดียว (Monologue) ที่พูดถึงความรู้สึกของเขาต่อสินค้า หรือบริการ หรือเป็นบทสนทนา (Dialogue) ระหว่างคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่สนทนากันเกี่ยวกับ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงมักใช้กับลีลาการโฆษณา แบบอ้างพยาน (Testimonial) โดยใช้บุคคลที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ

72. รายการสารคดี เป็นรายการประเภทใด
(1) ข่าวสาร
(2) ความรู้
(3) ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 2 หน้า 95, (คําบรรยาย) รายการประเภทความรู้ หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้หรือการศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการ อาชีพ วัฒนธรรม และแนวทางการดําเนินชีวิตที่ดีของประชาชน
เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ รายการศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

73.“4 สาวโคโยตี้วัย 17 โร่แจ้งความดําเนินคดีป่าเกิด ขู่บังคับให้ขายตัว” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 1 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์กรหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

74.“4 สาวโคโยตี้วัย 17 โร่แจ้งความดําเนินคดีป่าเกิด ขู่บังคับให้ขายตัว” มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการ
(2) ใช้คําที่ชวนสงสัย
(3) ใช้คํา Vivid
(4) ใช้ Strong Words
ตอบ 3 หน้า 82 การใช้คํากริยาที่มีชีวิตชีวา ใช้คําที่มีพลังและสร้างสีสัน (Vivid) หรือใช้คําที่ทําให้เกิด ภาพพจน์ในการพาดหัวข่าว ซึ่งบางครั้งคํากริยาที่มีชีวิตชีวานั้นก็เป็นการสร้างสีสันเกินจริง เช่น การใช้คําว่า โวย, วาย, โต้, ปู, ป่วน, เด้ง, ผวา, อุ้ม, เช่น, ฮือ เป็นต้น :

75. “ใช้ภาษาสื่อความหมาย ให้ภาพพจน์” คําว่า “ภาพพจน์” ในที่นี้หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพประทับใจ
(3) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(4) ภาพที่เกิดจากการประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 หน้า 104 ภาษาที่ใช้ทางวิทยุกระจายเสียงต้องเป็นภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน ทําให้ผู้ฟัง เกิดภาพพจน์ (Figure of Speech) ซึ่งในที่นี้หมายถึง ภาพที่เกิดจากคําพูด โดยต้องเป็นภาษา ที่เหมาะสมกับเนื้อหา รูปแบบราชการ และเหมาะสมกับผู้ฟัง เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้อง เป็นภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน

76. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพโดยใช้ภาพจางซ้อน
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Dissolve
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114 ดิสซอลว์ (Dissolve) คือ เทคนิคการตัดต่อลําดับภาพเพื่อทําภาพผสมให้จางซ้อนกัน โดยที่ภาพ ๆ หนึ่งค่อย ๆ จางหายไป ในขณะที่ภาพอีกภาพหนึ่งขึ้นมาแทนที่

77. ความเร็วในการอ่านบทหรือการขุดทางวิทยุกระจายเสียงขึ้นอยู่กับอะไร
(1) เวลา
(2) ระบบการกระจายเสียง
(3) ประเภทและรูปแบบรายการ
(4) ลีลาของผู้ประกาศ
ตอบ 3 หน้า 99 ความเร็วในการอ่านบทหรือการพูดทางวิทยุกระจายเสียงจะขึ้นอยู่กับประเภทและ รูปแบบรายการ ดังนี้
1. การอ่านข่าว ต้องอ่านคล่องแคล่วทันใจ ไม่จําเป็นต้องทอดจังหวะ
2. การอ่านบทความหรือสารคดี ต้องมีจังหวะจะโคน เน้นคํา เน้นความมากกว่าการอ่านข่าว
3. การอ่านคําประกาศและโฆษณา จะต้องอ่านเร็ว มีการเน้นย้ํา ลงน้ำหนักคํา ฯลฯ

78. การเปล่งเสียงเป็นธรรมชาติ หมายถึงอะไร
(1) การพูดโดยไม่มีบท
(2) การพูดตามธรรมชาติของแต่ละคน
(3) การพูดโดยใช้เสียงแท้เปล่งจากช่องท้อง
(4) การพูดเหมือนแสดงละคร
ตอบ 3 หน้า 99 – 100 หลักการพูดหรืออ่านทางวิทยุกระจายเสียงประการหนึ่ง คือ ต้องมีการเปล่งเสียง ที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่
1. เป็นเสียงพูดที่แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก
2. เป็นเสียงที่ฟัง รื่นหู ไม่แข็งกระด้างหรือเน้นเสียงจนเกินไป
3. เป็นเสียงแท้ของผู้อ่าน โดยฝึกการเปล่งเสียง จากช่องท้อง ไม่ควรดัดเสียงหรือบีบเค้นเสียง แต่ควรมีน้ําหนักเสียงสูง-ต่ําตามธรรมชาติ
4. ในกรณีที่เป็นการอ่านบท ผู้อ่านต้องเข้าใจและตีบทให้แตกก่อนอ่าน

79. ข้อใดหมายถึงรายการที่มุ่งให้ความรู้
(1) Documentary
(2) Editoriat
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 1 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) รายการสารคดี (Documentary or Feature Programme) คือ รายการที่มุ่งให้ความรู้ในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง เช่น เรื่องราวในประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ตํานาน หรือเรื่องราวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป โดยใช้ เทคนิคการนําเสนอหลาย ๆ รูปแบบในรายการเดียวกัน

80. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการข่าว ควรเขียนแบบใด
(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ
(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์
(3) ประเภทสมบูรณ์
(4) ประเภทแสดงเค้าโครง
ตอบ 3 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

81. ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ มีหน้าที่อะไร
(1) บอกเล่าเรื่องราว
(2) ถ่ายทอดเนื้อหา
(3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง
(4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก
ตอบ 3 หน้า 116, (คําบรรยาย) เสียงดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นสิ่งสําคัญรองจาก ภาพและคําพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สําคัญ ดังนี้
1. ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ
2. ใช้เพื่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ
3. ใช้เพื่อเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้แสดง
4. ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว
5. ใช้เป็นดนตรีประจํารายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

ข้อ 82 – 84. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Vox-pop
(3) Announcer
(4) Formal Interview

82. ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการสนทนา
ตอบ 1 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนา
อีกครั้งหนึ่ง

83. ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศหรืออ่านข่าว
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชม ผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี

84. ข้อใดหมายถึงการสัมภาษณ์เสียงของประชาชน
ตอบ 2 หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Format Interview)
2. รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informat Interview)
3. การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

85. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MS ตอบ 4
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทํารายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

86. คําสนทนาในบทละครโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Narration
(2) Announcement
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 4 หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียวในลักษณะที่เป็นการสื่อสาร กับผู้ชมรายการโดยตรง
2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

87. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Image
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

88. ข้อใดหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระยะของภาพโดยการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) ซูม (Zoom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความยาว โฟกัสของเลนส์ซูมให้ยาวขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ทําให้ได้ ภาพโตขึ้นตามลําดับ (Zoom In) หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้สั้นเข้า เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูไกลออกไป ทําให้ได้ภาพเล็กลงตามลําดับ (Zoom Out)

89.Knees Shot หมายถึงภาพขนาดใด
(1) MS
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
ตอบ 2หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพระยะนี้ว่า Knees Shot

90. ควรใช้เทคนิคใดหากต้องการใส่ชื่อและตําแหน่งบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์ซ้อนในภาพ
(1) Title
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Sub-title
ตอบ 2 หน้า 106 – 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็น ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว ได้แก่
1. การทําไตเติ้ลรายการ คือ คําบรรยายที่บอกชื่อรายการ ชื่อผู้แสดงหรือผู้ที่ร่วมรายการ ผู้กํากับรายการ ช่างกล้อง ช่างแสง ฯลฯ โดยมักใช้ในตอนเริ่มรายการและตอนจบรายการ
2. Sub-title คือ คําบรรยายสั้น ๆ ที่บอกชื่อและตําแหน่งบุคคลในรายการโทรทัศน์ โดยจะใช้ ตัวอักษรวิ่งสีขาวที่ด้านล่างของจอ หรือใช้ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพ มักใช้ในรายการข่าว สนทนา สัมภาษณ์ อภิปราย หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีคําบรรยายภาษาไทย

91. ขณะที่ถ่ายทําละครนอกสถานที่ แผ่นโฟมที่วางรับแสงอาทิตย์สะท้อนเข้าสู่ผู้แสดง ทําหน้าที่แทนอะไร
(1) แสงไฟหลัก
(2) ไฟลบเงา
(3) ไฟส่องฉากหลัง
(4) แผ่นกรองแสง
ตอบ 2 หน้า 115 ในกรณีที่ถ่ายทําละครนอกสถานที่ หากถ่ายภาพในช่วงเที่ยงตรงแสงจากดวงอาทิตย์ จะส่องเหนือศีรษะผู้แสดง ทําให้ดูนัยน์ตาของผู้แสดงลึกโบ๋ ดังนั้นหากจะถ่ายทําในช่วงเวลา ดังกล่าวจึงควรใช้แผ่นโฟมสะท้อนแสง (Reflex) เพื่อทําหน้าที่แทนแสงไฟลบเงา (Fill Light)ในห้องส่งโทรทัศน์

92. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 112 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครน หรือปั้นจั่นจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ในระดับเดิม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 93 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen

93. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

94. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 114 การคัด (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ
ลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

95. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพการถ่ายทอดฟุตบอลพร้อมกับโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสดฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 96. – 98. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทังค์
(2) บูม
(3) ทิลท์
(4) อาร์ค

96. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งรอบตัวผู้แสดง
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) อาร์ค (Arc) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องอย่างช้าในลักษณะเดียวกับ ดอลลี่ (Dolly) แต่เป็นการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งในลักษณะครึ่งวงกลม ทั้งนี้เพื่อนําเสนอ ภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง

97. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนเครน
ตอบ 2 หน้า 112, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่นหรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ํา

98. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเงยหรือก้มกล้องในแนวตั้ง
ตอบ 3 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ภาพของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

99.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์หรือผู้วิจารณ์ ในรายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

100. Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

 

MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.อะไรเป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษาเพื่อการสื่อความหมาย
(1) คําพูด ถ้อยคําที่ใช้พูดกัน
(2) กฎหรือปทัสถานทางสังคม
(3) เสียงกับความหมาย
(4) สัญญาณ สัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 1 ภาษา ประกอบด้วย สัญญาณ (Signs) สัญลักษณ์ (Symbols) และกฎหรือปทัสถาน ทางสังคมที่เป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษาเพื่อการ สื่อความหมาย ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย (Meaning) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ ในการสื่อสารระหว่างกัน

2.ข้อใดกล่าวถึงภาษาได้ถูกต้องที่สุด
(1) ภาษา คือ ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารได้อย่างเสรี
(2) ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย
(3) ภาษาเป็นเครื่องมือหรือช่องทางการสื่อสาร
(4) ภาษา หมายถึง คําพูดหรือถ้อยคํา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม ต้องอาศัยสิ่งใด
(1) ความเฉลียวฉลาด
(2) การปฏิสัมพันธ์
(3) ชุมชน
(4) ความรู้เรื่องเทคโนโลยี
ตอบ 2 หน้า 1 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งการที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์หรือการกระทําระหว่างกัน(Interaction) เพื่อการแลกเปลี่ยนสิ่งของจําเป็นในการดํารงชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดตลอดจนการสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

4.“การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทําให้สามารถสรุป โครงสร้างของภาษาและทําความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด (1) ภาษากับโครงสร้าง
(2) โครงสร้างนิยม
(3) หลังโครงสร้างนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2หน้า 2 แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อ กันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน ปรากฏเป็นหน่วยย่อยซึ่งสามารถ นํามาวิเคราะห์ได้ตามโครงสร้างของภาษา ได้แก่ พยัญชนะ คํา พยางค์ ฯลฯ เช่น การวิเคราะห์ วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทําให้สามารถสรุป โครงสร้างของภาษาและทําความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสําคัญกับ เรื่องอะไรบ้าง และเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

5.การปรับเปลี่ยนไวยากรณ์ในเรื่องเวลาที่ปรากฏอยู่ในสื่อสมัยใหม่ เช่น โฆษณา ละคร เพลง ฯลฯ
เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงอะไร
(1) มีการเปลี่ยนไปสู่สถานที่แปลกใหม่
(2) มีการเปลี่ยนไปสู่จังหวะที่เร็วขึ้น
(3) มีการเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมย่อยมากขึ้น
(4) มีการใช้เวลามากขึ้น

ตอบ 2 หน้า 2 นักทฤษฎีแนวโครงสร้างนิยม มองว่า การปรับเปลี่ยนไวยากรณ์ในเรื่องเวลาที่ปรากฏ อยู่ในสื่อสมัยใหม่ เช่น โฆษณา ละคร เพลง ฯลฯ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความคิดเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวของเวลาในสังคมไทยว่า มีการเปลี่ยนไปสู่จังหวะใหม่ที่เร็วขึ้น และแบ่งซอย ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด

6.“ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างความจริงทางสังคม” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 4 หน้า 3 แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็นเพียงการกําหนด คุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่รอบตัวเท่านั้น แต่ภาษาเป็นสิ่งที่เกิด จากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างสรรค์ความจริง ทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

7.“ความสุขที่คุณดื่มได้” เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาในความหมายลักษณะใด
(1) ความหมายหลัก
(2) ความหมายรอง
(3) ความหมายโดยนัย
(4) ความหมายเชิงวาทกรรม
ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) ความหมายเชิงวาทกรรม (Discourse Meaning) หมายถึง ความหมาย ที่คิดหรือประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสร้างเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ หรือให้ความสําคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อํานาจ หรือตัวตน เช่น ข้อความที่ว่า “ความสุขที่คุณดื่มได้ แค่ขาวก็ชนะ” เป็นความหมายเชิงวาทกรรมในการโฆษณา เป็นต้น

ข้อ 8. – 10. จงใช้ข่าวต่อไปนี้ตอบคําถาม

ดราม่าหนัก! โฆษณาใหม่ คริส หอวัง เหยียดสีผิว-สร้างค่านิยมผิด ๆ
ดราม่าอีกแล้ว โฆษณาตัวใหม่ คริส หอวัง กับประโยคที่ว่า “แค่ขาวก็ชนะ” จงใจเหยียดสีผิว เกิดเป็นประเด็นดราม่าขึ้นมาทันทีเมื่อคลิปโฆษณากลูต้าไธโอน อาหารเสริมผิวขาวออกมาให้ได้ชมกัน ผ่านทางยูทูป ชื่อคลิปว่า “คริส หอวัง ดับกลางจอ เจอเด็กใหม่ขโมยซีน” โดยมีนักแสดงสาวคริส หอวัง เป็นพรีเซ็นเตอร์ (ที่มา : http://www.posttoday.com/ent/thai/408947)

8.“แค่ขาวก็ชนะ” เป็นการใช้ภาษาในความหมายลักษณะใด
(1) ความหมายหลัก
(2) ความหมายรอง
(3) ความหมายโดยนัย
(4) ความหมายเชิงวาทกรรม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9.ปัญหาของโฆษณานี้เกิดจากอะไร
(1) ข้อความไม่ชัดเจน
(2) ใช้ภาษาไม่ตรงความหมาย
(3) ผู้โฆษณามีเจตนาเหยียดผิว
(4) การเข้ารหัสและการถอดรหัส
ตอบ 1 ปัญหาของโฆษณานี้เกิดจากข้อความที่ไม่ชัดเจน ได้แก่ ประโยคที่ว่า “แค่ขาวก็ชนะ” ซึ่งเป็น
ประโยคที่สื่อความหมายกํากวม และสามารถตีความหมายไปได้หลายทางจนอาจก่อให้เกิด ความเข้าใจผิดขึ้นได้ เพราะที่จริงแล้วโฆษณานี้ต้องการสื่อความหมายว่า ผิวขาวทําให้ดูดีและประสบความสําเร็จ

10. โฆษณานี้ต้องการสื่อความหมายว่าอย่างไร
(1) ผิวขาวทําให้ดูดีและประสบความสําเร็จ
(2) ผิวขาวเป็นคนดีกว่าผิวดํา
(3) คนผิวขาวเหนือกว่าคนผิวดํา
(4) คนผิวดําเป็นผู้ต่ําต้อย
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

11. การจะรู้ว่าภาษาใช้ในความหมายโดยตรงหรือความหมายโดยนัย ต้องพิจารณาจากอะไร
(1) ถ้อยคํา
(2) ผู้ส่งสาร
(3) ผู้รับสาร
(4) บริบทของการสื่อสาร
ตอบ 4 หน้า 9 – 10, 13, (คําบรรยาย) ภาษาจะประกอบไปด้วยความหมายทั้งในลักษณะที่เป็น ความหมายโดยตรง (Denotation) และความหมายโดยนัย (Connotation) ซึ่งการที่จะรู้ว่า ภาษาใช้ในความหมายโดยตรงหรือความหมายโดยนัยต้องพิจารณาจากบริบทของการสื่อสาร(Communication Context) ซึ่งมีอิทธิพลกํากับความหมายที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทําการสื่อสาร

12.“กายภาษา” หมายถึงอะไร
(1) ลักษณะทางกายภาพ
(2) กิริยาอาการ
(3) ภาษาท่าทาง
(4) ภาษาใบ้
ตอบ 1 หน้า 16, (คําบรรยาย ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจาก ลักษณะหรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย เครื่องประดับ เสื้อผ้า ผม ฯลฯ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้

13. ข้อใดกล่าวถึงการรับรู้ได้ถูกต้องที่สุด
(1) รูปแบบของการจัดการกับสิ่งเร้าสําหรับมนุษย์แต่ละคนจะเหมือนกัน
(2) การจัดการต่อสิ่งเร้าจําเป็นต้องเป็นไปตามความจริง
(3) การจัดการสิ่งเร้าต้องเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลหรือเป็นวัตถุวิสัย
(4) บางครั้งมนุษย์ก็จัดการกับสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความไร้เหตุผล หรือความไร้สํานึก
ตอบ 4 หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการของการรับรู้ในขั้นตอนที่ 2 ว่า สิ่งเร้าที่ผ่าน ประสาทสัมผัสถูกจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized) โดยใช้หลักการต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายขึ้นมา ซึ่งรูปแบบของการจัดการกับสิ่งเร้าสําหรับมนุษย์แต่ละคน จะแตกต่างกันไป ไม่จําเป็นว่าการจัดการต่อสิ่งเร้านั้นจะเป็นไปตามความจริง หรือต้องเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลหรือเป็นวัตถุวิสัยเสมอไป บางครั้งมนุษย์ก็จัดการกับสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ความรู้สึก ความไร้เหตุผล หรือแม้แต่ความไร้สํานึก

14. การแสดงคอนเสิร์ต เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารองค์กร
(2) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) หมายถึง การสื่อสาร ไปยังกลุ่มผู้รับฟังจํานวนมากเพื่อให้ข่าวสาร โน้มน้าวใจ และให้ความบันเทิง โดยผู้ส่งสารและ ผู้รับสารสามารถเห็นหน้าซึ่งกันและกันได้ แต่ไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบกันได้โดยตรง ในทันทีทันใด เช่น การพูดในที่ประชุมขนาดใหญ่, การจัดแสดงคอนเสิร์ต, การปราศรัยหาเสียง ทางการเมือง, การจัดอภิปรายหรือสัมมนา ฯลฯ

15. การสื่อสารระหว่างผู้นําจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมผู้นําอาเซียน เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารระหว่างประเทศ
(2) การสื่อสารองค์กร
(3) การสื่อสารมวลชน
(4) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) หมายถึง การสื่อสารระดับชาติที่เป็นทางการมากกว่าการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (ในกรณีที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมาจากประเทศต่างกัน) โดยผู้ที่ทําการสื่อสารจะทําหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศซึ่งมีพันธะหรือความรับผิดชอบต่อชื่อเสียงและผลประโยชน์ของประเทศชาติ เช่น ผู้นําประเทศ นักการทูต ตัวแทนของรัฐบาล ฯลฯ

16. การทําความเข้าใจความหมายของอวัจนภาษา ต้องอาศัยสิ่งใด
(1) การฝึกฝนเรียนรู้
(2) บริบททางสังคมและวัฒนธรรม
(3) ลีลาวัจนภาษา
(4) ความคุ้นเคย
ตอบ 2 หน้า 15 อวัจนภาษา (Nonverbal Language) เป็นภาษาที่ไม่ใช้คําพูดหรือตัวอักษร แต่สามารถ สื่อความเข้าใจกันได้ ซึ่งการทําความเข้าใจความหมายของอวัจนภาษาต้องอาศัยบริบทหรือปทัสถานทางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง ดังนั้นอวัจนภาษาที่ใช้ในวัฒนธรรมหนึ่งอาจมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่เมื่อนําไปใช้ในอีกวัฒนธรรมอาจมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่งก็เป็นได้

17. การพูดของนักจัดรายการวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุ เป็นการใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 2 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาใน ระดับกึ่งทางการ (ไม่ถึงกับเป็นทางการ) มักใช้กับการสื่อสารในองค์กร เช่น การปรึกษาหารือ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การพูดคุยในการประชุมโต๊ะกลม การสื่อสารกลุ่มเล็ก ฯลฯรวมทั้งอาจใช้ในรายการวิเคราะห์ข่าวทางวิทยุกระจายเสียง

18. การพูดของดีเจรายการเพลงป๊อบทางวิทยุกระจายเสียง เป็นการใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 3 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาลําลอง (Casual Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะเป็นการสื่อสารในสถานการณ์ทั่วไป บรรยากาศแบบสบาย ๆ โดยมักใช้พูดกันใน ชีวิตประจําวัน การทํางาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน เช่น การจัดรายการสนทนา รายการเกมโชว์ รายการเพลง และรายการคุยข่าวทางวิทยุกระจายเสียง

19.Gesture หมายถึงอะไร
(1) กายภาษา
(2) ภาษาท่าทาง
(3) การเปล่งเสียง
(4) ภาษาสัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทาง (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

20. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 3 หน้า 18 ภาษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก เพราะ ภาษาช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) และทําให้มนุษย์ สามารถมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังทําให้สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรม และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้

21. หากจะเขียนบทวิเคราะห์ ผู้เขียนต้องมีความรู้ระดับใด
(1) ระดับที่ 1
(2) ระดับที่ 2
(3) ระดับที่ 3
(4) ระดับที่ 4
ตอบ 4 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสําหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
1. หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย) ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน
2. หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3
3. หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4
4. หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทําเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

22. เหตุใดนักสื่อสารมวลชนจึงต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร
(1) เพื่อทําความเข้าใจลักษณะที่เป็นสิ่งกําหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร
(2) เพื่อสามารถประเมินผลระดับความรู้ความเข้าใจของผู้รับสาร
(3) เพื่อสามารถสรุปความคิดเห็นของมวลชนทั้งหมดเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน
(4) เพื่อทําความเข้าใจลักษณะของมวลชนทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อทําความเข้าใจลักษณะร่วมบางประการ
ที่เป็นสิ่งกําหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร เพื่อที่จะสามารถออกแบบสาร ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับสารมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ซึ่งแนวทางวิเคราะห์ผู้รับสาร ที่นิยมใช้กันมากในการสื่อสารมวลชน ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้รับสารตามลักษณะทางทะเบียน ภูมิหลัง และลักษณะทางจิตวิทยา

23. “การสื่อสารระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งบางครั้งเป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่าย และเกมทางการเมือง ความเป็นมิตรหรือไม่เป็นมิตร ความเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ และการที่เรื่อง ที่สื่อสารนั้นเป็นเรื่องจริงจังหรือไม่ จริงจัง” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) ความเป็นมา
(3) วัฒนธรรม
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของ สื่อสาร กฎกติกาและเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การสื่อสารระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและ ฝ่ายค้าน ซึ่งบางครั้งเป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและเกมทางการเมือง เป็นต้น นอกจากนั้นยังรวมถึงแบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมที่ซึ่งการสื่อสารเกิดขึ้น ความเป็นมิตร หรือไม่เป็นมิตร ความเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ และการที่เรื่องที่สื่อสารนั้นเป็นเรื่อง จริงจังหรือไม่จริงจัง

24. การที่คนดูตัดสินว่านักแสดงหญิงแต่งกายโป๊หรือไมโป้ ขึ้นอยู่กับบริบทการสื่อสารในมิติได
(1) เวลา
(2) ความเป็นมา
(3) วัฒนธรรม
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น การที่คนดูจะตัดสินว่านักแสดงหญิงแต่งกายโป๊หรือไม่โป๊ก็ขึ้นอยู่กับ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละประเทศ เป็นต้น

25.K-POP เป็นตัวอย่างของอะไร
(1) ความไร้วัฒนธรรม
(2) ความคลั่งไคล้
(3) วัฒนธรรมประชานิยม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 3หน้า 32, (คําบรรยาย) คําว่า “วัฒนธรรมประชานิยม” (Popular Culture) หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอัน เป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือ เหมือนกัน ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลงสมัยใหม่ เช่น การนิยมวัฒนธรรมแบบ K-POP และ J-POP ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

26. ภาษาไทยอยู่ในกลุ่มใด
(1) Pictograph
(2) Sign Writing
(3) Alphabet
(4) Iconic
ตอบ 3 หน้า 19 ชาวฟินิเชียน (The Phoenicians) เป็นนักค้าขายทางทะเล ถือเป็นชนชาติแรกที่ พัฒนาระบบภาษาเขียนที่มีพื้นฐานมาจากเสียง โดยจะใช้กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า “พยัญชนะ” (Alphabet) เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงและนําเสียงมารวมกันขึ้นเป็นคํา ซึ่งตัวอย่างของตัวอักษร ที่เรียกว่า “พยัญชนะ” (Alphabet) ในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น

27. ข้อใดที่เขียนได้ถูกต้อง
(1) ทางวัดได้จัดให้ประชาชนเข้าสูงน้ําหลวงพ่อ
(2) ทางวัดได้จัดให้ประชาชนเข้ารดน้ําหลวงพ่อ
(3) ทางวัดได้จัดให้ประชาชนหลั่งน้ําหลวงพ่อ
(4) ทางวัดได้จัดให้ประชาชนสรงน้ําหลวงพ่อ
ตอบ 4 ประโยคที่เขียนได้ถูกต้อง คือ ทางวัดได้จัดให้ประชาชนสรงน้ําหลวงพ่อ เพราะคําว่า “สรงน้ํา” หมายถึง อาบน้ำ (ใช้กับบรรพชิตและเจ้านาย)

28.“คลื่นพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศจํานวนมากหลั่งไหลเดินทางมาที่วัดอัมพวัน” ข่าวนี้หากเขียนใหม่
ให้กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ ควรเขียนอย่างไร
(1) คลื่นพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
(2) พุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศจํานวนมากเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
(3) คลื่นพุทธศาสนิกชนจํานวนมากหลั่งไหลเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
(4) พุทธศาสนิกชนจํานวนมากเดินทางมาที่วัดอัมพวัน
ตอบ 4 ประโยคดังกล่าวใช้คําฟุ่มเฟือย จึงควรเขียนใหม่ให้กระชับ ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ โดยใช้ว่า
พุทธศาสนิกชนจํานวนมากเดินทางมาที่วัดอัมพวัน

29.มวลชน หมายถึงอะไร
(1) คนจํานวนมากที่มีลักษณะร่วมกันบางประการ
(2) คนจํานวนมากที่สนใจเรื่องเดียวกัน
(3) คนจํานวนมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
(4) คนจํานวนมากที่อยู่รวมกันเป็นสังคม
ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. เนื้อหาของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน (The Masses) หรือผู้รับชม รับฟัง (Audience) จํานวนมาก คือ คนจํานวนมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

30.รายการกระจกหกด้าน เป็นรายการประเภทใด
(1) สารคดี
(2) บันเทิงคดี
(3) ข่าว
(4) สารคดีเชิงข่าว
ตอบ 1 หน้า 96 – 97, (คําบรรยาย) รายการสารคดี (Documentary or Feature Programme) คือ รายการที่นําเสนอความรู้ในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่ง เช่น เรื่องราวในประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า ตํานาน หรือเรื่องราวจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจของประชาชน ทั่วไป โดยใช้เทคนิคการนําเสนอหลาย ๆ รูปแบบในรายการเดียวกัน

31. หนังสือพิมพ์ทําหน้าที่ตีความ ผ่านเนื้อหาประเภทใด
(1) ข่าว
(2) โฆษณา
(3) สารคดี
(4) บทความ
ตอบ 4 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนําเสนอ เรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการของสื่อมวลชนที่ ไม่ได้นําเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าวในลักษณะของการเล่าเรื่อง ที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลจากมุมมองที่ หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่องต่าง ๆ, การนําเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนํา บทความ และบทวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

ข้อ 32 – 33. จงใช้ข่าวต่อไปนี้ตอบคําถาม
พาดหัว – “น้องไบรท์ขอลาหน้าจออีกคน ป่วยไข้เลือดออกต้องแอดมิท
เนื้อข่าว – นางสาวพิชญทัฬห์ ผู้ประกาศข่าวคู่ขวัญ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวชื่อดัง โพสต์อินสตาแกรม “ขออนุญาตคุณผู้ชมมาพักรักษาอาการไข้เลือดออก และภาวะหัวใจเต้นเร็วจากการ ติดเชื้อซักพักนะคะ จะรีบหายกลับไปทํางานเหมือนเดิมค่ะ”

32. พาดหัวข่าวนี้มีปัญหาอย่างไร
(1) เขียนไม่เต็มประโยค
(2) ทําให้เกิดความเข้าใจผิดว่าจะหยุดปฏิบัติหน้าที่
(3) ใช้คําที่มาจากภาษาต่างประเทศ
(4) ใช้ชื่อเล่นในการเขียนพาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 80 – 82, (คําบรรยาย) พาดหัวข่าวดังกล่าวมีปัญหาในการใช้ภาษา คือ ทําให้ผู้อ่านเกิด ความเข้าใจผิดว่าน้องไบรท์จะหยุดปฏิบัติหน้าที่เหมือนกับคุณสรยุทธไปอีกคน ดังนั้นจึงควรเขียน พาดหัวข่าวใหม่ให้ถูกต้อง โดยใช้ว่า น้องไบรท์ขอลาหน้าจอชั่วคราว ป่วยเป็นไข้เลือดออก

33. ถ้าจะเขียนพาดหัวข่าวนี้ใหม่ให้ถูกต้อง ควรเขียนอย่างไร
(1) ผู้ประกาศข่าวสารช่อง 3 หยุดปฏิบัติหน้าที่อีกคน
(2) น้องไบรท์ขอลาหน้าจอชั่วคราว ป่วยเป็นไข้เลือดออก
(3) น้องไบรท์ขอลาหน้าจออีกคน ป่วยเป็นไข้เลือดออกต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
(4) คู่ขวัญสรยุทธขอลาหน้าจออีกคน ป่วยไข้เลือดออก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. การใช้ภาษาในการโฆษณา ต้องคํานึงถึงอะไรเป็นหลัก
(1) ค่าคะแนนความนิยมรายการ
(2) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
(3) นโยบายของบริษัท
(4) งบประมาณการโฆษณา
ตอบ 2 หน้า 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคํานึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษา ที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้อ สะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

35. การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) การโน้มน้าวใจ
(2) แจ้งข่าวสาร
(3) การสร้างความเข้าใจ
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

36. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสรรค์โฆษณา นําเสนอ
(4) การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า
ตอบ 3 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนําเสนอ
แนวคิดดังกล่าวไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37. โครงสร้างการเขียนข้อความโฆษณาเป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) Innovation Adoption
(2) SMCR
(3) Inverted Pyramid
(4) AIDA
ตอบ 4 หน้า 54 – 55 โครงสร้างของชิ้นงานโฆษณา มักนิยมเขียนข้อความโฆษณาตามกรอบแนวคิด AIDA คือ
1. ข้อความพาดหัว มีหน้าที่สร้างความใส่ใจ (Attention : A)
2. ข้อความโฆษณา (เนื้อเรื่อง) มีหน้าที่สร้างความสนใจ (Interest : I) และต้องการซื้อ
3. ข้อความส่วนท้าย มีหน้าที่กระตุ้นความต้องการหรือความปรารถนา (Desire : D)
4. คําขวัญและชื่อสินค้า มีหน้าที่เน้นให้เกิดการกระทํา (Action : A)

38. “Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง
ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานําเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ
ของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. ข้อใดเป็นลักษณะของการสื่อสารมวลชน
(1) ผู้ส่งสารเป็นสถาบัน
(2) เป็นการสื่อสารสองทาง
(3) ผู้รับสารเป็นตลาด
(4) เนื้อหาเป็นเรื่องอะไรก็ได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

40. ผู้ส่งสารที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สื่อสาร รู้เรื่องเทคโนโลยี น่าเชื่อถือ
(2) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร เข้าใจผู้รับสาร
(3) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ มุ่งไปสู่เป้าหมาย
(4) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร รู้เรื่องสื่อใหม่ ๆ ตอบ 2 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้
1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร
3. ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

41. ข้อใดเป็นลักษณะของผู้รับสารแบบ Passive
(1) มีการแสดงปฏิกิริยาต่อเนื้อหาทางสื่อมวลชน
(2) ไม่คล้อยตามง่าย
(3) มีความคิดเชิงวิพากษ์
(4) ไม่ชอบคิดเอง ชอบให้คนอื่นคิดแทน
ตอบ 4 หน้า 27 ผู้รับสารที่มีลักษณะ Passive คือ ผู้รับสารที่ไม่ชอบคิดเอง ชอบปล่อยให้คนอื่น คิดแทนตน และไม่ยอมคิดพิจารณาไตร่ตรองข้อเท็จจริงต่าง ๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองสุดท้ายก็จะเป็นผู้ที่ถูกครอบงําได้ง่าย

42. ข้อใดคือหลักการเลือกพรีเซ็นเตอร์โฆษณา
(1) เลือกคนที่ได้รับรางวัล Popular Vote จากสื่อต่าง ๆ
(2) เลือกคนที่สร้างภาพเก่ง
(3) เลือกคนที่เป็นข่าวบ่อย ๆ
(4) เลือกคนมีชื่อเสียงที่บุคลิกตรงกับบุคลิกสินค้า
ตอบ 4 หน้า 44, (คําบรรยาย) ลีลาบุคลิกภาพ (Personality Symbol) เป็นการนําเสนอที่ใช้ดารา หรือผู้แสดงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ (Presenter) โฆษณาสินค้า โดยควรเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียง มีบุคลิกภาพเด่นชัดตรงกับบุคลิกสินค้า และเป็นที่ต้องตาต้องใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการใช้ผู้แสดงเหล่านั้นมานําเสนอสินค้าในฐานะตัวแทนของสินค้าก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงบุคลิกตราสินค้า เช่น การโฆษณาแชมพูแพนทีน เป็นต้น

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า
และเขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. แนวทางการโฆษณาข้อใดที่เป็นการมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(1) Soft Sell
(2) Hard Sell
(3) Slice of Life
(4) Lifestyle
ตอบ 2 หน้า 45 น้ําเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนําเสนอสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าโดยตรง ไม่อ้อมค้อม
2. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรงแต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45. “สร้างสรรค์ความสุขได้ทุกวัน ด้วยสีสันแห่งโลกสวย” เป็นตัวอย่างข้อความโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ
(1) เหตุผล
(2) คุณลักษณะของสินค้า
(3) อารมณ์
(4) คุณค่าเชิงอรรถประโยชน์
ตอบ 3 หน้า 45 – 46 สิ่งดึงดูดใจ (Appeat) ที่ปรากฏในสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ด้านเหตุผล เป็นการใช้คุณสมบัติทางกายภาพของสินค้ามาเป็นสิ่งดึงดูดใจ โดยจะกล่าวถึง การใช้ประโยชน์ ลักษณะเด่น คุณสมบัติ คุณภาพของสินค้า ราคาสินค้า ฯลฯ
2. ด้านอารมณ์หรือลักษณะทางจิตวิทยา เป็นการใช้ความต้องการหรือแรงจูงใจของผู้บริโภค มาดึงดูดใจให้ซื้อสินค้า โดยจะกล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้านั้น ๆ เช่น ความพึงพอใจ ความเท่ ความสุข ความเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

46.“คนซื่อ คือ คนโง่” เป็นความจริงลักษณะใด
(1) Fact
(2) Truth
(3) Physical World
(4) Social Reality
ตอบ 4หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาหรือขัดเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้น จากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกัน เช่น คํากล่าวที่ว่า “คนซื่อ คือ คนโง่” ไม่ใช่ความจริงที่เป็นกฎธรรมชาติ แต่เป็นความจริงที่เกิดจากการประกอบสร้างของสังคม

47. ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
พิจารณาจากอะไร
(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง
(2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง
(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริง ไม่น่าเบื่อ
(4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก
1. เป็นบุคคลสําคัญในองค์กร
2. เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด
3. เป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจในการตัดสินระดับความลับของเรื่องที่พูด
4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
5. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร
6. เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ

48. “จุดเด่นของเรา คือ การคืนกําไรสู่สังคมมากกว่าการปันผลกําไรให้แก่สมาชิก ที่อื่นเขาอาจมีเงินมากกว่าเรา บางแห่งมี 40 – 50 ล้านบาท แต่ผลกําไรที่ได้กลับคืนสู่สมาชิกเท่านั้น นั่นคือจุดเด่นที่ทําให้หมู่บ้านของ ข้าพเจ้าได้รับรางวัล ทําให้มีคนมาดูงานจากทั่วประเทศ” ข้อความนี้ขาดองค์ประกอบใด
(1) Credibility
(2) Content
(3) Clarity
(4) Consistency
ตอบ 1 หน้า 74, (คําบรรยาย) ความน่าเชื่อถือ (Credibility) คือ การสื่อสารมีจุดเริ่มต้นจาก บรรยากาศของความน่าเชื่อถือ (Belief) ซึ่งสถาบันหรือหน่วยงานได้สร้างขึ้นจากบุคลิกของผู้พูด เนื้อหาที่มีประโยชน์ และมีการอ้างอิงข้อมูลหลักฐาน เช่น ข้อความข้างต้นขาดการอ้างข้อมูล หลักฐานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการคืนกําไรสู่สังคมว่ามีอะไรบ้าง เป็นต้น

49. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการเขียนบทความที่ดี
(1) ความเด่น ความแปลก สํานวนโวหารที่เร้าใจ
(2) ข้อมูล ข่าวสาร และความคิดเห็น
(3) ตัวผู้เขียน เรื่องที่เขียน ความน่าสนใจ
(4) มีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ
ตอบ 4 หน้า 89 การเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการที่ดี ต้องมีองค์ประกอบสําคัญ 3 อย่าง คือ
1. มีเอกภาพ คือ มุ่งสู่ประเด็นหลักของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่เขียนออกนอกเรื่อง
2. มีสัมพันธภาพ คือ ในแต่ละประเด็นย่อยมีการเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน เพื่อโยงเข้าสู่แกนกลาง ของเรื่องได้อย่างสอดคล้องกัน
3. มีสารัตถภาพ คือ เน้นประเด็นสําคัญให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อให้ผู้รับสารเห็นไปในทิศทางที่ผู้เขียนต้องการ

50. ข้อใดเป็นอวัจนภาษาที่สําคัญที่สุดในโทรทัศน์
(1) สี
(2) การจัดหน้า
(3) ภาพ
(4) พื้นที่ว่าง
ตอบ 3 หน้า 106, 108, 117 ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เราจะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลักและมีความสําคัญที่สุดในโทรทัศน์ ส่วนคําบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษาที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพ อย่างเดียวแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และมุมกล้อง จะเป็นตัวช่วยเสริมเพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

51. “แสดงโชว์ในงานศพคาบาเรต์” พาดหัวข่าวนี้ควรเขียนใหม่ว่าอย่างไร
(1) คาบาเรต์แสดงโชว์ในงานศพ
(2) ในงานศพแสดงโชว์คาบาเรต์
(3) แสดงโชว์คาบาเรต์ในงานศพ
(4) ในงานศพแสดงคาบาเรต์โชว์
ตอบ 3 พาดหัวข่าวดังกล่าวควรเขียนใหม่ โดยเรียงลําดับคําขยายให้ถูกต้องได้ว่า แสดงโชว์
คาบาเรต์ในงานศพ

ข้อ 52. – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight News
(2) Human Interest
(3) Feature Story
(4) Article
52. “เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าวและวิทยุโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง ข้อกล่าวหาสื่อรับเงินบริษัทเอกชนเพื่อปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพ” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 84 การเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา (Straight News) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่บอกข้อเท็จจริง อย่างตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมสีสันลงไปในเนื้อข่าว ดังนั้น ลักษณะการเขียนจึงเป็นการบอกกล่าวกับผู้อ่านว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม และอย่างไร

53. “พนักงานสอบสวน สภ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ไปตรวจสอบเหตุคนถูกท่อตอกเสาเข็มทับเสียชีวิต บริเวณบ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง พบศพคนงานถูกท่อเหล็กตอกเสาเข็มน้ําหนักกว่า 1 ตัน ร่วงลงมา ทับกะโหลกแตกมันสมองกระจาย” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 84, (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียน เนื้อข่าวที่ใช้การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ โดยภาษา ที่ใช้มักเขียนเพื่อสร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

54.“รางวัลศิลปาธร จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินรุ่นกลางที่มีผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่น มีการริเริ่มสิ่งใหม่ทางศิลปะร่วมสมัย และเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าออกสู่สังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 84 การเขียนสารคดีเชิงข่าว (Feature Story) เป็นการเขียนเนื้อข่าวโดยให้ข้อมูลภูมิหลัง และรายละเอียดนอกเหนือจากที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่านเกี่ยวกับ เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

55. ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการบรรยายสดทางโทรทัศน์
(1) อธิบายสิ่งที่ผู้ชมเห็นและเข้าใจได้จากภาพ
(2) อ่านหรือประกาศจากเอกสารข้อมูลโดยใช้ลีลาภาษาพูด
(3) อ่านตามบทที่เรียบเรียงไว้ล่วงหน้า
(4) บรรยายเหตุการณ์ตามภาพที่ปรากฏ
ตอบ 4 หน้า 107, (คําบรรยาย) การบรรยายสด (Live) ในขณะที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ผู้บรรยาย จะไม่อ่านจากบทที่เตรียมไว้ แต่จะบรรยายเหตุการณ์ตามภาพที่ปรากฏ หรือบรรยายข้อมูล และเรื่องราวให้สัมพันธ์กับภาพ ซึ่งผู้บรรยายจะต้องเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ ถ่ายทอดสด โดยรู้กําหนดการหรือขั้นตอนของเหตุการณ์นั้น รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบในการ แก้สถานการณ์หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นในขณะที่ทําการถ่ายทอดสด เช่น รายการถ่ายทอดสดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฯลฯ

56. “บิ๊กตู่ รุ่นโรดแมป” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคเต็มใจความสมบูรณ์
(2) ใช้คําชวนสงสัย
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้ชื่อเล่นหรือฉายา
ตอบ 4 หน้า 81 – 82 พาดหัวข่าวข้างต้นมีลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1. การเรียกชื่อบุคคลโดยใช้ชื่อเล่นหรือฉายา เช่น บิ๊กตู่ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
2. การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด เช่น รุ่น (รุ่นเวลา)
3. ใช้คําภาษาต่างประเทศ เช่น โรดแมป (Road Map)

57. “ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี 4.2 หมื่นราย” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ละประธาน ตัดคําสั้น ใช้ภาษาปาก
(2) ใช้คําที่ชวนสงสัย ใช้สํานวนสร้างความรู้สึก
(3) ละประธานของประโยค ใช้เครื่องหมายวรรคตอน
(4) ละประธานของประโยค ใช้คําย่อ
ตอบ 1 หน้า 81 – 82 พาดหัวข่าวข้างต้นมีลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1. การละประธานของประโยค โดยขึ้นต้นด้วยคํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น เช่น ลงทะเบียน
2. การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด เช่น คึก คึกคัก) ฯลฯ
3. ใช้คําภาษาตลาด หรือภาษาปาก เช่น หวย สลากกินแบ่ง/ลอตเตอรี่) ฯลฯ

58. “อยากได้สิ่งดี ๆ ก็ต้องไม่หยุดค้นหา” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) ให้คําแนะนํา
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) พาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 47, (คําบรรยาย) การให้คําแนะนํา (Advice) หรือคําสั่ง คือ การเขียนข้อความพาดหัว โฆษณาด้วยการแนะนําให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับ ผลที่ได้รับจากการทําตามคําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจง ลงไปที่การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจ เขียนในรูปของคําสั่งโดยมีคําว่า “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทําหรือสั่งให้ทําก็ได้

59. น้ำเสียงที่ใช้ในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) พลิ้วไหวไปตามเนื้อเรื่อง
(2) สื่ออารมณ์ความรู้สึก
(3) จริงจังและจริงใจ
(4) ขึงขังมีพลังเร้าอารมณ์
ตอบ 3 หน้า 69 น้ําเสียง (ปริภาษา) ที่ใช้ในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นอวัจนภาษาที่ควรบ่งบอก ถึงความจริงจังของเรื่องที่พูด อารมณ์ ความรู้สึก และความจริงใจของผู้พูด ซึ่งในบางโอกาสผู้พูด อาจใช้น้ําเสียงที่เป็นจริงเป็นจังประกอบด้วยหลักการและความเป็นเหตุเป็นผล แต่ในบางโอกาสผู้พูดอาจใช้น้ําเสียงที่เป็นกันเอง เพื่อทําให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายและพร้อมที่จะรับฟังเรื่องราวที่พูด

60. การใช้ภาษาในงานประชาสัมพันธ์ต้องคํานึงถึงอะไรบ้าง
(1) สถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางสังคม
(2) กระแสความนิยม
(3) การเรียกร้องของฝ่ายต่าง ๆ
(4) วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย สื่อที่ใช้
ตอบ 4หน้า 62 การใช้ภาษาในงานประชาสัมพันธ์ ต้องคํานึงถึงปัจจัยสําคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
2. กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับสารการประชาสัมพันธ์
3. เครื่องมือการประชาสัมพันธ์ หมายถึง สื่อที่ใช้และกิจกรรมต่าง ๆ ที่นักประชาสัมพันธ์ เลือกใช้ เพื่อนําข่าวสารการประชาสัมพันธ์ไปสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

61. ข้อใดเป็นตัวอย่างของการอ่านเพี้ยนสระ
(1) ศาสตราจารย์ เป็น ศาสดาจารย์
(2) แจ้ง อ่านเป็น เจ้ง
(3) น้ำ อ่านเป็น น้ำ
(4) ได้ค่ะ อ่านเป็น ได้ค่ะ
ตอบ. 2 หน้า 100 ตัวอย่างการอ่านออกเสียงเพี้ยนแปร่ง มีดังนี้
1. เพี้ยนพยัญชนะ เช่น ความ อ่านเป็น ฟาม, ศาสตราจารย์ อ่านเป็น ศาสดาจารย์ ฯลฯ
2. เพี้ยนสระ เช่น แจ้ง อ่านเป็น เจ้ง, ไป อ่านเป็น ปาย, ค่ะ อ่านเป็น ค่า ฯลฯ
3. เพี้ยนวรรณยุกต์ เช่น ได้ อ่านเป็น ได้, น้ํา อ่านเป็น น้ํา ฯลฯ

62. ข้อใดหมายถึงบทความหรือสารคดีที่มุ่งขายสินค้า
(1) Documentary
(2) Editorial
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Advertorial มาจากคําว่า Advertising + Editorial Matter หมายถึง เนื้อหา โฆษณาที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการโน้มน้าวใจ โดยมีลักษณะเป็นโฆษณาแฝงสอดแทรกอยู่ใน บทความหรือสารคดีที่มุ่งขายสินค้า หรือเป็นโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบหนึ่งที่ตั้งใจให้ดูเหมือนเป็นบทความหรือสารคดีมากกว่าโฆษณา

63. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงส่วนเนื้อหา คอลัมน์ซ้ายมือระบุอะไร
(1) เนื้อหาที่จะพูด
(2) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับรายการ
(3) ชื่อรายการ
(4) แหล่งที่มาของเสียง
ตอบ 4 หน้า 103, (คําบรรยาย) ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอก ผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่กําหนดให้ทํา ได้แก่ ใครพูด พูดว่าอะไร พูดอย่างไร ฯลฯ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ คือ
1. คอลัมน์ซ้ายมือ เป็นการระบุแหล่งที่มาของเสียง เช่น เสียงผู้ประกาศ (Announcer/ANNCR) ฯลฯ
2. คอลัมน์ขวามือ เป็นการระบุว่าเสียงจะเข้ามาในลักษณะใด และผู้ประกาศควรพูดว่าอย่างไร โดยใช้ภาษาพูดที่สุภาพ

64. ถ้าต้องการให้เสียงดนตรีคลออยู่ใต้เสียงพูด ใช้คําสั่งว่าอะไร
(1) Fade In
(2) Fade Out
(3) Fade Under
(4) Cross Fade
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิธีการใช้เสียงดนตรีในบทวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้
1. Fade In คือ การปล่อยเสียงดนตรีให้ค่อย ๆ ดังขึ้นจนเข้าสู่ระดับเสียงปกติ
2. Fade Out คือ การหรี่เสียงดนตรีให้เบาลงจนเงียบหายไป
3. Fade Under คือ การหรี่เสียงดนตรีให้เบาลงแล้วคลออยู่ใต้เสียงพูดของผู้ประกาศ
4. Fade Up คือ ในขณะที่เสียงดนตรีกําลังคลออยู่ใต้เสียงพูดของผู้ประกาศ พอพูดจบ ก็ทําให้เสียงดนตรีนั้นดังขึ้นอีกครั้ง ฯลฯ

ข้อ 65 – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Disc Jockey
(3) Announcer
(4) Producer

65. ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการ
ตอบ 1 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

66. ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศ
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชม ผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐาน การศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี (ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ)

67. ข้อใดหมายถึงผู้ผลิตรายการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Producer หมายถึง ผู้ผลิตรายการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตรายการ อํานวยการ และประสานงานกับบุคลากรในการผลิตรายการทุกส่วนตามแผนการผลิตรายการ ที่ได้กําหนดไว้

68.ภาพ Knees Shot หมายถึงภาพขนาดให
(1) MLS
(2) LS
(3) ELS
(4) SLS
ตอบ 1 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพ ระยะนี้ว่า Knees Shot

69. หากต้องการถ่ายฉากงานหมั้นและต้องการให้เห็นภาพเฉพาะมือที่สวมแหวน ควรใช้ภาพขนาดให
(1) MLS
(2) LS
(3) CU
(4) ECU
ตอบ 4 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close Up : ECU) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะใกล้มากเพื่อต้องการเน้นรายละเอียดเฉพาะส่วน เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะมือของ นางเอกที่สวมแหวนหมั้น, การถ่ายอวัยวะเฉพาะส่วนของแมลง ฯลฯ หรือถ้าหากเป็นภาพ บุคคลจะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้าเพื่อต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดง เช่น การเน้น ถ่ายเฉพาะดวงตาขณะผู้แสดงกําลังร้องไห้ ฯลฯ

70. คําว่า “Image” ในภาษาประชาสัมพันธ์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพ
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพประกอบข่าว
(4) ภาพที่เกิดจากคําพูด
ตอบ 2 หน้า 59 ในภาษาประชาสัมพันธ์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ ซึ่งเป็นภาพในใจอันเกิดจากการได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ก่อตัวเป็นทัศนคติ ความเชื่อ และการให้คุณค่า (Value) ต่อสิ่งนั้น ดังนั้นองค์กรและสถาบัน ที่มีภาพลักษณ์ดีย่อมมีคุณค่าในสายตาของสาธารณชน ตรงกันข้ามกับองค์กรหรือสถาบันใด ๆ ที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีมักถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

71. คําว่า “Image” ในภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพ
(2) ภาพลักษณ์
(3) ภาพประกอบข่าว
(4) ภาพที่เกิดจากคําพูด
ตอบ 1 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ซอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละซอด
มาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

72.คําว่า “Editing” ในภาษาหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อลําดับภาพ
(2) การตกแต่งภาพ
(3) การบรรณาธิกรณ์
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 3หน้า 79, 111 ในภาษาหนังสือพิมพ์ คําว่า “Editing” หมายถึง การบรรณาธิกรณ์ เพื่อปรับปรุงข่าวก่อนส่งพิมพ์ ส่วนในภาษาโทรทัศน์นั้น คําว่า “Editing” หมายถึง การตัดต่อ ลําดับภาพ ซึ่งสามารถทําได้ทั้งรายการที่บันทึกเทปและรายการที่ออกอากาศ โดยใช้อุปกรณ์ ตัดต่อ (Editing Suite)

73. คําว่า “Editing” ในภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อลําดับภาพ
(2) การตกแต่งต้นฉบับ
(3) การบรรณาธิกรณ์
(4) บรรณาธิการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74. หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวง น่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร
(1) เหลือง
(2) ฟ้า
(3) ดํา
(4) น้ำเงิน
ตอบ 4 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมักใช้ ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้าน, สีน้ำเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

75. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 112 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครน หรือปั้นจั่นจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ในระดับเดิม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 76. – 78. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen

76. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

77. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 114 การคัด (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ ลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

78. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพการถ่ายทอดฟุตบอลพร้อมกับโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสดฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 79 – 81. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Pan
(2) Tilt
(3) Pedestal
(4) Boom

79. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง
ตอบ 3 หน้า 112 พีเดสตอล (Pedestal) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง
แบบ Studio Pedestal โดยใช้คันบังคับ

80. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่น
ตอบ 4 หน้า 112, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่น หรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ำ
81. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเงยหรือก้มกล้องในแนวตั้ง
ตอบ 2 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ภาพของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

82.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์หรือผู้วิจารณ์ ในรายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

83.Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือ ลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทถึงสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

84. ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ใช้สํานวนโวหาร
(2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ
(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

85. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ
(2) ข่าวหนัก
(3) ข่าวเบา
(4) ข่าวที่มีคุณภาพ
ตอบ 2 หน้า 76 – 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการ (เนื้อข่าวหน้าใน) และกึ่งทางการ (พาดหัวข่าว) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

86. บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด
(1) ร้อยแก้ว
(2) ร้อยกรอง
(3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
(4) สารคดี
ตอบ 1 หน้า 77 – 78, 89 บทบรรณาธิการหรือบทนํา (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว
ดังนั้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน บทบรรณาธิการจึงมีความสําคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในกระแสสังคม

87. บทบรรณาธิการมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น
(2) เป็นการนําเสนอข้อมูลใหม่ ๆ
(3) แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม
(4) แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก
(2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ
(3) ใช้ภาษาปาก
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89. การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ ใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Straight News
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน
ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย
มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อ 90. – 92 จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“ทั้งหมดนี้เป็นภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องรีบทําให้เกิดความชัดเจน และต้องประชาสัมพันธ์ เร่งด่วนเพื่อให้รับรู้ร่วมกัน ต้องมีความชัดเจนก่อนประชาคมอาเซียนจะมีผล ในระเบียบหรือข้อตกลง บางอย่างประชาชนคนไทยต้องรับรู้เป็นแนวทาง เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีหลักปฏิบัติต่าง ๆ”

90. บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) เสนอแนะ
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ ดังนี้
1. ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

91. บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 15, 90, 92, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Formal Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

92. บทความข้างต้นเป็นบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้เกิดการกระทํา
ตอบ 4 หน้า 92 บทบรรณาธิการประเภทเรียกร้องให้เกิดการกระทํา (Demand Action) จัดเป็น
บทบรรณาธิการที่เรียกร้องให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ลงมือกระทําอย่างใด
อย่างหนึ่งในทันทีทันใด โดยต้องชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาและเหตุผลที่ต้องเรียกร้อง ให้มีการปฏิบัติ ซึ่งกองบรรณาธิการจะต้องให้ข้อมูล หลักฐาน ตัวเลข ตัวอย่างเพียงพอที่จะ สนับสนุนข้อเรียกร้องนั้นได้อย่างเต็มที่ และสามารถทําให้ผู้อ่านคล้อยตาม

ข้อ 93 – 94. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“แต่ถึงจะทําได้หรือทําไม่ได้ก็ตาม นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะต้องรักษาคําสัญญาที่ให้ ไว้ต่อประชาชนในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อสร้างศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ระบบของรัฐสภา และนักการเมือง ตามคําเรียกร้องของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าทําไม่ได้จริง ๆ ควรจะยอมรับความจริง ต่อประชาชนย่อมจะได้รับความเห็นใจดีกว่าให้สัญญาแบบลม ๆ แล้ง ๆ”

93. ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้กระทํา
ตอบ 3 หน้า 91 – 92 บทบรรณาธิการประเภทเสนอแนะ (Suggest) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียน
ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กําลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูกต้อง ซึ่งการเสนอแนะหรือแนะนําจะเป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้แก่ผู้อ่านและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาเลือกปฏิบัติ โดยอาจให้กระทํา ไม่กระทํา หรือเลือกกระทําตามแต่กรณี แต่จะไม่ รุนแรงถึงกับเรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น

94. บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) วิเคราะห์
(4) ให้คําแนะนํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

95. “พายุหว่ามก๋อเคลื่อนจากเวียดนามไปลาว ทําไทยฝนตกหนัก” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 4 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์กรหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

96.“จะดีกว่ามั้ย ถ้ากระดาษที่ใช้ช่วยลดโลกร้อนได้” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาวิธีใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

97. “พบกับประสบการณ์การเดินทางเหนือระดับที่โรงแรมและรีสอร์ท ซึ่งครอบคลุมสถานที่ท่องเที่ยวเด่น ในประเทศไทย ผ่อนคลายในห้องสวีทขนาดใหญ่ หรือวิลล่าหลายห้องนอนพร้อมสระน้ำส่วนตัว สนุกกับ กิจกรรมมากมาย เพลิดเพลินกับบรรยากาศสุดหรู” เป็นการเขียนข้อความโฆษณาแบบใด
(1) เขียนข่าว
(2) เล่าเรื่อง
(3) บทสนทนา
(4) เป็นคําสั่ง
ตอบ 2 หน้า 49 การเขียนแบบการเล่าเรื่อง (Narrative Description) เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณา ส่วนเนื้อเรื่องที่บรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ หรือผลที่จะได้รับจากการใช้สินค้าและบริการที่โฆษณา โดยใช้รูปแบบการเขียนอธิบายความแบบเล่าเรื่อง

98. “จากนี้คุณจะดูสวยขึ้นได้ในทุกมุมมอง” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) เป็นคําสั่ง
ตอบ 3 หน้า 47 การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Prospect Selection) คือ การเขียนข้อความพาดหัว โฆษณาที่สื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจว่าข้อความนั้นเจาะจงไปที่คนกลุ่มใด (ในที่นี้คือกลุ่มผู้หญิง) จึงมีการใช้ถ้อยคําที่ทําให้กลุ่มเป้าหมายทราบได้ทันทีว่าข้อความนั้นเจาะจงที่จะ สื่อสารกับตนเองโดยตรง (ในที่นี้คือ คําว่า “สวย”) ไม่ใช่เป็นการสื่อสารกับผู้อ่านทั่ว ๆ ไป

99. ข้อใดเป็นเครื่องมือการประชาสัมพันธ์เพื่อการบอกกล่าวเผยแพร่
(1) สารคดีเพื่อการประชาสัมพันธ์
(2) คําขวัญประชาสัมพันธ์
(3) กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
(4) ข่าวแจก
ตอบ 4 หน้า 59, 71, (คําบรรยาย) ข่าวประชาสัมพันธ์ (News Release) หรือข่าวแจก (Press Release) หมายถึง ข่าวที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์ผลิตและแจกจ่ายไปยังสื่อมวลชน เพื่อให้บรรณาธิการ
ขององค์กรสื่อมวลชนพิจารณาลงเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ของข่าวประชาสัมพันธ์ คือ เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่ โดยจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับความก้าวหน้า นโยบาย หรือผลงานของ สถาบันในด้านบวกเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อสถาบัน และใช้ภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ

100. “ผู้ตายบุกเข้ามาในห้องนอนกลางดึกหวังเข้ามาขโมยของ ดารานักแสดงตัวประกอบรุ่นเก่าใช้ดาบมรณะ แทงคนตาย” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

 

MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ที่กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” หมายความว่าอย่างไร
(1) พฤติกรรมของมนุษย์เป็นไปตามสัญชาตญาณเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ
(2) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การแก่งแย่งและช่วงชิงผลประโยชน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ
(3) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน
(4) ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การทําลายผู้อื่นเพื่อตนจะได้ครองอํานาจและเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว
ตอบ 3 หน้า 1 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน โดยมีการปฏิสัมพันธ์หรือการกระทําระหว่างกัน (Interaction) เพื่อการแลกเปลี่ยนสิ่งของจําเป็น ในการดํารงชีวิต แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ตลอดจนสร้างความเข้าใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

2. มนุษย์ใช้อะไรในการส่งความหมายไปให้อีกฝ่ายรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมาย
ร่วมกันได้
(1) ช่องทางการสื่อสาร
(2) ภาษา
(3) ผู้ส่งสาร
(4) ปทัสถานทางสังคม
ตอบ 2 หน้า 1 ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย และเป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งความหมายออกไป ให้อีกฝ่ายรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายร่วมกันได้ ดังนั้นการสื่อสาร ของมนุษย์จําเป็นต้องใช้ภาษา หากไม่มีภาษามนุษย์ย่อมไม่สามารถสื่อสารกันได้

3.ปทัสถานทางสังคม เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) จิตวิทยาสังคม
(4) เวลา
ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

4. “กระบี่ : จับ 3 หนุ่มตระเวนพาชะนีให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ” คําว่า ชะนี ในที่นี้ใช้ในความหมายแบบใด
(1) Semantic
(2) Denotation
(3) Connotation
(4) Discourse
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ คือ 1. ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพอันเป็นสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้ หรือความหมายที่เจ้าของภาษา รู้และใช้กันทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคําตามที่ปรากฏในพจนานุกรม เช่น คําว่า “ชะนี” หมายถึง ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในวงศ์ Hylobatidae เป็นต้น 2. ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง การให้ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมายโดยตรง เช่น คําว่า “ชะนี” เป็นคําที่ใช้เรียกผู้หญิง ซึ่งเป็นคําสแลงที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

5.ข้อใดเรียงลําดับวิวัฒนาการของภาษาได้ถูกต้อง
(1) ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง
(2) ภาษาภาพ ภาษาพูด ภาษาเขียน
(3) ภาษาลิม ภาษาภาพ ภาษาเขียน
(4) ภาษาท่าทาง ภาษาพูด ภาษาเขียน
ตอบ 4 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทาง (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

6.“การที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา” หมายถึงข้อใด
(1) การใช้สัญชาตญาณ
(2) สัญลักษณ์ และภาษา
(3) การเข้ารหัส
(4) การถอดรหัส
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสารให้เป็น ความหมายสําหรับผู้รับสาร หรือการที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา เช่น การที่นักศึกษาฟังและคิดตามเพื่อพยายามทําความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์กําลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ฯลฯ

7.ข้อใดหมายถึง อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดจากเครื่องมือสื่อสารขัดข้อง
(1) Semantic Noise
(2) Mechanical Noise
(3) Environmental Noise
(4) Ambiguous Noise.
ตอบ 2 หน้า 9, (คําบรรยาย) อุปสรรคทางด้านเทคนิค (Mechanical Noise) หมายถึง อุปสรรค ของการสื่อสารที่เกิดจากเครื่องมือสื่อสารขัดข้อง หรือเกิดปัญหากับอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการ สื่อสาร เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ที่ตั้งสัญญาณรับภาพไม่ถูกต้อง หรือหันเสาอากาศไม่ถูกทิศทาง ทําให้ได้รับสัญญาณภาพและเสียงขัดข้องไม่ชัดเจน, วิทยุที่มีเสียงคลื่นแทรก, ไมโครโฟนไม่ดัง หรือมีการดูดเสียง, ไฟฟ้าดับหรือลัดวงจร เป็นต้น

8. การที่นักศึกษานั่งฟังการบรรยายในห้องที่มีนักศึกษาคนอื่นคุยเสียงดัง แสดงว่าขณะที่ฟังการบรรยายนั้น
มีอุปสรรคการสื่อสารประเภทใด
(1) Semantic Noise
(2) Mechanical Noise
(3) Environmental Noise
(4) Ambiguous Noise
ตอบ 3 หน้า 9 อุปสรรคจากสภาพแวดล้อม (Environmental Noise) หมายถึง แหล่งที่มาของเสียง ที่เกิดขึ้นนอกกระบวนการสื่อสาร แต่เข้ามาแทรกทําให้กระบวนการสื่อสารขัดข้องไม่ชัดเจน หรืออาจจะเป็นสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทําให้การสื่อสารไม่ราบรื่น เช่น การสนทนาในสถานที่ ที่มีเสียงอึกทึก, การรายงานข่าวเหตุการณ์จากสถานที่เกิดเหตุที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย,การฟังการบรรยายในห้องเรียนที่มีอากาศร้อนจัดและมีเสียงดัง เป็นต้น

9.ความหมายของภาษานอกจากพิจารณาจากถ้อยคําแล้ว ยังพิจารณาจากอะไร
(1) บริบทของการสื่อสาร
(2) การสื่อสารกลับ
(3) การเข้ารหัส
(4) ผู้ส่งสาร
ตอบ 1 หน้า 9 – 10, (คําบรรยาย) ความหมายของภาษานอกจากจะพิจารณาจากถ้อยคําแล้ว ยังพิจารณา จากบริบทของการสื่อสาร (Communication Context) ซึ่งหมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพล กํากับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
1. มิติทางกายภาพ 2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา

ข้อ 10. – 12. จงใช้แบบจําลองต่อไปนี้ตอบคําถาม

10. จากแบบจําลองข้างต้น ค คืออะไร
(1) สาร
(2) เครื่องส่ง
(3) สัญญาณ
(4) ช่องทางการสื่อสาร
ตอบ 4 หน้า 5 จากแบบจําลองการสื่อสารข้างต้น ประกอบด้วย
1. ก คือ แหล่งสาร ผู้ส่งสาร
2. ข คือ การเข้ารหัส
3. ค คือ ช่องทางการสื่อสาร
4. ง คือ สาร
5. จ คือ การถอดรหัส
6. ฉ คือ ผู้รับสาร

11. จากแบบจําลองข้างต้น ง คืออะไร
(1) การเข้ารหัส
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) สาร
(4) การถอดรหัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.จากแบบจําลองข้างต้น จ คืออะไร
(1) เครื่องรับ
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) สัญญาณ
(4) การถอดรหัส
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

ข้อ 13. – 15. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) บริบททางกายภาพ (The Physical Context)
(2) บริบททางวัฒนธรรม (The Cultural Context)
(3) บริบททางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context)
(4) บริบทด้านเวลา (The Temporal or Time Context)

13. “ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี” เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
ตอบ 3 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของ ผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพ ของแต่ละฝ่ายและเกมทางการเมือง เป็นต้น

14.“ความเชื่อ ค่านิยม” เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

15. “การรู้จักกาลเทศะ” เป็นบริบทการสื่อสารในมิติใด
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางด้านเวลา (The Temporal or Time Context) หมายถึง บริบทที่ครอบคลุมมิติด้านเวลาตั้งแต่ช่วงเวลาของแต่ละวัน จนกระทั่งถึง ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ขณะที่การสื่อสารนั้นเกิดขึ้น รวมไปถึงการรู้จักกาลเทศะเกี่ยวกับ การประพฤติปฏิบัติตัวในช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น ช่วงเวลาเช้า (8.30 – 9.00 น.) ตอนใกล้พักเที่ยง (11.30 – 13.30 น.) และช่วงเย็นใกล้เวลาเลิกงาน (16.00 น.) อาจไม่ใช่เวลาอันเหมาะสม ที่จะติดต่อราชการ เป็นต้น

16. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการรับรู้สาร
(1) Stimulation
(2) Denotation
(3) Connotation
(4) Conception
ตอบ 1หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการรับรู้สารว่าประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
1. สิ่งเร้ากระทบกับประสาทสัมผัส (Sensory Stimulation)
2. สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดการหรือจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized)
3. สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกตีความและประเมินค่า (Sensory Stimulation is
Interpreted-Evaluated)

17.ภาษาภาพ ภาษาอียิปต์โบราณ ได้แก่ภาษาในระบบใด
(1) Sign Writing
(2) Alphabet
(3) Semiotic
(4) Signified
ตอบ 1 หน้า 19 ภาษาภาพ เป็นการใช้ระบบสัญลักษณ์เขียนเป็นสัญญาณ (Sign Writing) โดยที่ แต่ละสัญลักษณ์มีพื้นฐานมาจากรูปภาพที่เป็นตัวแทนสิ่งของ ซึ่งภาษาในลักษณะนี้ได้รับการพัฒนา ในอาณาจักรสุเมเรียน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล เช่น ภาษาไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphics) ของอียิปต์โบราณ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2 – 3 ร้อยปี ภายหลังชาวสุเมเรียน ส่วนรูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2,000 – 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

18. การที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ําท่วม เป็นการทําหน้าที่ในข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) ตีความหมาย
(3) ส่งผ่านค่านิยม
(4) การโน้มน้าวใจ
ตอบ 1 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance)
คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทํางาน ของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือน ผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

19. Mass Culture หมายถึงอะไร
(1) บริโภคนิยม
(2) วัฒนธรรมสื่อสารมวลชน
(3) วัฒนธรรมมวลชน
(4) วัฒนธรรมท้องถิ่น
ตอบ 3 หน้า 32 เมื่อมีการสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นได้ทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) และวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็น ที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน

20. ตามแนวคิด Cultivation Theory สื่อมวลชนทําหน้าที่อย่างไร
(1) ปลูกฝัง “วัฒนธรรมร่วม” ให้สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคม
(2) ปลูกฝัง “วัฒนธรรมร่วม” ให้สื่อมวลชนโทรทัศน์
(3) ให้ข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้า
ตอบ 1 หน้า 32, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ในสังคมอเมริกัน โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี และได้ข้อสรุปเบื้องต้นประการหนึ่ง คือ เนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็น ตัวสร้าง “วัฒนธรรมร่วม” ที่ชุมชน/สังคมได้ปลูกฝังให้สมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมได้รับข้อเท็จจริง ค่านิยม และความคิดเกี่ยวกับการดํารงอยู่ร่วมกันของมนุษย์

21. ตามแนวคิด Cultivation Theory เนื้อ เนื้อหาของรายการโทรทัศน์มีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) สร้างสรรค์ แปลกใหม่ ดึงดูดใจ
(2) เป็นเรื่องจริง น่าเชื่อถือ สะท้อนความจริง
(3) สะท้อนโลกของความเป็นจริง
(4) เลือกสรรสูง เป็นแบบฉบับตายตัว บิดเบือน
ตอบ 4 หน้า 32 ผลจากการวิจัยตามแนวคิด Cultivation Theory ของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า เนื้อหาของรายการโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรสูง โดยเลือกเพียงบางส่วนเสี้ยวของโลกมานําเสนอ มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบือนไปจากโลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

22. เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมลักษณะใด
(1) วัฒนธรรมชุมชน
(2) วัฒนธรรมย่อย
(3) วัฒนธรรมท้องถิ่น
(4) วัฒนธรรมร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

23. เนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมาก ได้แก่รายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) วาไรตี้
(3) เกมโชว์
(4) ละครโทรทัศน์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

24.รายการ Variety ได้แก่ รายการรูปแบบใด
(1) นิตยสาร
(2) สนทนา
(3) สารคดี
(4) ปกิณกะ
ตอบ 4 หน้า 98 รายการปกิณกะ (Variety) คือ รายการที่มุ่งเน้นความบันเทิงหลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ รูปแบบ ในทํานองเรื่องเบ็ดเตล็ด เบาสมอง ฟังแล้วไม่ต้องคิดอะไรมาก เกิดความสบายใจ ซึ่งบางคนเรียกรายการลักษณะนี้ว่าปกิณกะบันเทิง

25. โลกทางสังคม (Social World) เกิดจากอะไร
(1) เกิดจากการคิดพิจารณาด้วยเหตุผล
(2) เกิดจากการขัดเกลาทางสังคม
(3) เกิดจากการค้นคว้าทดลองและพิสูจน์
(4) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ตอบ 2หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาหรือขัดเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้น จากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกัน เช่น คํากล่าวที่ว่า “โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” ไม่ใช่ความจริงที่เป็น กฎธรรมชาติ แต่เป็นความจริงที่เกิดจากการประกอบสร้างของสังคม

26. “โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” เป็นตัวอย่างของความจริงลักษณะใด
(1) ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(2) ความจริงที่แท้จริง
(3) ความจริงตามโลกกายภาพ
(4) ความจริงที่เกิดจากการสร้างของสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. “การสร้างความหมาย” ในการโฆษณา หมายถึงอะไร
(1) การดึงดูดใจด้วยภาพและคําพูด
(2) การทําให้ใส่ใจ
(3) ทําให้รับรู้และจดจําแนวคิดหลัก
(4) รูปแบบของการโฆษณา
ตอบ 3 หน้า 40 – 43, (คําบรรยาย) การสร้างความหมายในการโฆษณา หมายถึง การทําให้ผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้และจดจําแนวคิดหลักของการโฆษณา โดยมีกระบวนการสร้างความหมาย ดังนี้
1. กําหนดกลุ่มเป้าหมาย
2. กําหนดแนวคิดการโฆษณา (Advertising Concept)
3. ออกแบบโฆษณาโดยอาศัยข้อความ ภาพ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ
4. นําเสนอซ้ํา ๆ เพื่อให้ผู้รับสารจดจําได้

28. การโฆษณาแชมพูแพนทีน ใช้ลีลาการโฆษณาแบบใด
(1) Lifestyle
(2) Slice–of-life
(3) Fantasy
(4) Presenter
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาบุคลิกภาพ (Personality Symbol) เป็นการนําเสนอที่ใช้ดาราหรือผู้แสดง (Presenter) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพเด่นชัดและเป็นที่ต้องตาต้องใจกลุ่มเป้าหมายมาเป็นผู้นําเสนอสินค้าในฐานะตัวแทนของสินค้า ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงบุคลิกตราสินค้า เช่น การโฆษณาแชมพูแพนทีน เป็นต้น

29. การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายข้อใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) ให้ความรู้
(3) ให้ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 4 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

30. “สู้น้ำ สู้แดด” ข้อความพาดหัวโฆษณานี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 4หน้า 47 – 48 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา ด้วยการทําให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาค่าตอบหรือ แก้ข้อสงสัยนั้นด้วยการอ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ จึงเหมาะกับสินค้าที่มีคุณสมบัติ หรือข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจริง ๆ เพราะหากข้อความที่ตามมาไม่ได้เสนอข้อมูลที่มีคุณค่า หรือเสนอคุณประโยชน์ของสินค้าที่สมกับความสนใจใคร่รู้ของผู้อ่านแล้ว อาจทําให้โฆษณานั้นขาดความน่าเชื่อถือได้

31. “กล้าเปลี่ยนสิ่งเดิม ๆ เพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่” ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 3 หน้า 47 การให้คําแนะนํา (Advice) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการแนะนํา ให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการทําตาม คําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจงลงไปที่การป้องกันหรือ แก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่

32. “ใหม่! กระทะนอนสติ๊ก หัวม้าลาย” ช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) ใช้ชื่อสินค้าพาดหัว
ตอบ 2หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสําคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

33. “ครัวความสุขของคนรักอาหาร” ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ชวนให้สนใจใคร่รู้
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 4 หน้า 47 การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Prospect Selection) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา ที่สื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจว่าข้อความนั้นเจาะจงไปที่คนกลุ่มใด จึงมีการใช้ถ้อยคํา ที่ทําให้กลุ่มเป้าหมายทราบได้ทันทีว่าข้อความนั้นเจาะจงที่จะสื่อสารกับตนเองโดยตรง ไม่ใช่เป็นการสื่อสารกับผู้อ่านทั่ว ๆ ไป ๆ

34. “พลังซีเมนต์ ฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุ” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) ประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) พาดหัวข่าว
(3) การให้คําแนะนํา
(4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 1หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

35. “กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมสินค้า บริการ หรือความคิด โดยต้องระบุผู้อุปถัมภ์ และ เสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าเวลาและเนื้อที่ในสื่อ” เป็นความหมายของอะไร
(1) การประชาสัมพันธ์
(2) การโฆษณา
(3) การส่งเสริมการขาย
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 38, (คําบรรยาย) การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมการสื่อสารทางสื่อมวลชน ที่เกิดขึ้นเพื่อนําเสนอ (Presentation) และส่งเสริมใด ๆ (Promotion) ในลักษณะที่ไม่เป็น ๆ ส่วนบุคคลซึ่งความคิด สินค้า และบริการ โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าเวลาและเนื้อที่ในสื่อ และมีการระบุชื่อผู้อุปถัมภ์

36. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ดี
(1) ควรขายสินค้าได้ ไม่ว่าจะอ่านข้อความส่วนที่เหลือหรือไม่
(2) สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า
(3) เชิญชวนให้อ่านข้อความในส่วนอื่น ๆ
(4) เขียนเหมือนพาดหัวข่าว
ตอบ 4 หน้า 48 หลักการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา (Headline) ที่ดี มีดังนี้
1. ควรขายสินค้าได้ ไม่ว่าผู้อ่านจะอ่านข้อความส่วนที่เหลือหรือไม่
2. ดึงดูดใจผู้อ่านด้วยการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
3. สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า
4. ควรระบุชื่อสินค้าไว้ในข้อความพาดหัว
5. ควรเชิญชวนให้อ่านข้อความในส่วนอื่น ๆ ของสิ่งโฆษณา
6. ควรให้ความสําคัญกับการขายสินค้ามากกว่าการเล่นคํา ฯลฯ

37. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนข้อความโฆษณาที่ดี
(1) ดึงดูดความสนใจ
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) แจ้งข่าวสารข้อเท็จจริงทุกด้าน
(4) สร้างความมั่นใจ
ตอบ 3 หน้า 48 – 50, (คําบรรยาย)หลักการเขียนข้อความโฆษณา (Copy) ที่ดี มีดังนี้
1. ดึงดูดความสนใจ
2. กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
3. ทําให้เกิดความต้องการ
4. สร้างความมั่นใจ
5. กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม

38. ส่วนลงท้ายของข้อความโฆษณาทําหน้าที่อะไร
(1) ดึงดูดความสนใจ
(2) สร้างความต้องการ
(3) ยืนยันข้อเท็จจริง
(4) กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
ตอบ 4 หน้า 50, 55 ข้อความโฆษณาในส่วนลงท้าย จะทําหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรม บางอย่างเพื่อตอบสนองความปรารถนาของตน หรือกระตุ้นให้เกิดการกระทํา (Action) ได้แก่ คําขวัญและชื่อสินค้า หรืออาจลงท้ายด้วยข้อความที่นําไปสู่การปฏิบัติ เช่น หาซื้อได้ตาม ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าชั้นนําทั่วไป เป็นต้น

39. “ข้อความสั้น ๆ ที่สื่อถึงความคิดรวบยอด หรือแนวคิดหลักของการโฆษณา” เป็นความหมายของข้อใด (1) ข้อความพาดหัว
(2) ข้อความเนื้อเรื่อง
(3) คําขวัญ
(4) ส่วนลงท้าย
ตอบ 3 หน้า 50, (คําบรรยาย) คําขวัญโฆษณา หมายถึง ข้อความสั้น ๆ ที่บ่งบอกหรือสื่อถึง ความคิดรวบยอดหรือแนวคิดหลัก (Theme) ของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้รับสาร จดจําได้ด้วยการกล่าวซ้ำๆทุกครั้งของการโฆษณา ซึ่งคําขวัญโฆษณาที่ดีนั้นต้องสั้น กระชับ ชัดเจน และจดจําง่าย โดยต้องชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นของสินค้าและบ่งบอกชื่อสินค้า

40. หากวัตถุประสงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อการบอกกล่าวเผยแพร่ ควรใช้กิจกรรมข้อใด
(1) ทําข่าวแจก
(2) จัดประชุมโต๊ะกลม
(3) ทําโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
(4) ใช้คําขวัญประชาสัมพันธ์
ตอบ 1 หน้า 59, 71, (คําบรรยาย) ข่าวประชาสัมพันธ์ (News Release) หรือข่าวแจก (Press Release) หมายถึง ข่าวที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์ผลิตและแจกจ่ายไปยังสื่อมวลชน เพื่อให้บรรณาธิการ
ขององค์การสื่อมวลชนพิจารณาลงเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ของข่าวประชาสัมพันธ์ คือ เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่ โดยจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับความก้าวหน้า นโยบาย หรือผลงานของ สถาบันในด้านบวกเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อสถาบัน และใช้ภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ

41. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์
(1) โน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้า
(2) บอกกล่าวเผยแพร่
(3) ป้องกันความเข้าใจผิด
(4) สนับสนุนกิจกรรมการตลาด
ตอบ 1หน้า 59 – 60 วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. เพื่อการบอกกล่าวเผยแพร่
2. เพื่อให้ประชาชนยอมรับ
3. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
4. เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด
5. เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด
6. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
7. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด

42. “การประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปหรือแนวทางปฏิบัติ” เป็นการพูดแบบใด
(1) Formal Speech
(2) Demonstration
(3) Group Discussion
(4) Workshop
ตอบ 4 หน้า 68, (คําบรรยาย) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นการประชุมของคณะกรรมการ ที่ปฏิบัติการประเภทเดียวกัน เพื่อต้องการความรู้และความเข้าใจที่แท้จริงในสิ่งที่ตนต้องปฏิบัติ
ดังนั้นจึงเป็นการประชุมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปหรือแนวทางปฏิบัติ โดยจะฟังคําบรรยาย
จากวิทยากรหรือผู้รู้ในงานประเภทนั้นออกไปว่าอาจนําาไปปฏิบัติได้จริงแค่ไหนแล้วจึงแยกกลุ่มพิจารณาความรู้ที่ได้รับให้กว้างขวาง

43. ข้อใดไม่ใช่หลัก 7 C ของการสื่อสาร
(1) Context
(2) Content
(3) Clarity
(4) Community
ตอบ 4 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบการใช้ภาษา
ก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลัก 7 C ของการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย
1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
2. บริบท (Context)
3. เนื้อหาสาระ (Content)
4. ความชัดเจน (Clarity)
5. ความต่อเนื่องและความแน่นอน (Continuity & Consistency)
6. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience)

44. วัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ คืออะไร
(1) แจ้งข่าวสาร
(2) ให้ความรู้
(3) ให้ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 4 หน้า 69 – 70, (คําบรรยาย) การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์จะมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ขององค์กรที่ต้องการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ดังนั้นวัตถุประสงค์การสื่อสารจึงไม่มีลักษณะเป็นกลางอย่างแท้จริง และมิใช่มีเป้าหมายเพื่อการแจ้งข่าวสารเพียงประการเดียว แต่ข่าวสารนั้นจะเป็นข่าวสารที่เลือกสรรแล้วว่าจะมีส่วนโน้มน้าวใจให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กร/สถาบัน

45. ผู้นําความคิดเป็นกลุ่มเป้าหมายการประชาสัมพันธ์ข้อใด
(1) การประชาสัมพันธ์ทางการตลาด
(2) การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการเกษตร
(3) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
(4) การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
ตอบ 2 หน้า 61, (คําบรรยาย) กลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการเกษตร คือ กลุ่มผู้นํา ความคิด ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายภายนอก ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มคนที่คําพูดหรือความคิดเห็น ของเขามีอิทธิพลต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม ซึ่งพร้อมที่จะเชื่อและปฏิบัติตามแนวทาง ที่ผู้นําความคิดแนะนํา เช่น พระ ครู กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนํากลุ่มเอ็นจีโอ

46. ข้อใดเป็นหลักการเลือกผู้พูดในการชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด
(1) เลือกผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
(2) เลือกผู้มีชื่อเสียง
(3) เลือกผู้มีวาทศิลป์
(4) เลือกโฆษกประจําตัวผู้บริหาร
ตอบ 1 หน้า 60, 62 – 63 การดําเนินการขององค์การ/สถาบันอาจมีกระแสข่าวลือหรือข่าวสาร ที่ผิดพลาด ทําให้องค์กรต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประชาชนเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ ดังนั้น องค์กรจึงต้องใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงแถลงข้อเท็จจริง แก้ไขความเข้าใจผิด และ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเลือกผู้พูดที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด และสามารถตอบคํา ได้อย่างกระจ่างชัดเจนเมื่อมีผู้ฟังซักถาม

47. ข้อใดไม่ใช่หลักการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) พูดเนื้อหาสาระตรงกับความต้องการของผู้ฟัง
(2) สังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง
(3) มีหลักฐานอ้างอิง
(4) หัวใจสําคัญอยู่ที่ความสามารถเฉพาะตัวของผู้พูด
ตอบ 4 หน้า 64 – 66 หลักการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. การปรับตนเองให้พูด เนื้อหาสาระสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟังและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง
2. การสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง
3. การปรับระดับของภาษาให้เหมาะกับโอกาส สถานการณ์ และผู้รับสาร
4. การใช้ลีลาน้ำเสียงของการสื่อสารอย่างเหมาะสม
5. มีมารยาทและจริยธรรม
6. รับผิดชอบคําพูดทุกคําที่กล่าวออกไป
7. นําเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง มีหลักฐานอ้างอิงน่าเชื่อถือ

48. การอภิปรายกลุ่ม เป็นการพูดรูปแบบใด
(1) Formal Speech
(2) Round Table Conference
(3) Group Discussion
(4) QA Discussion
ตอบ 3 หน้า 66 – 67 รูปแบบการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. การพูดชี้แจงอย่างเป็นทางการ (Formal Speech)
2. การประชุมโต๊ะกลม (Round Table Conference)
3. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
4. การอภิปรายถามตอบปัญหา (Question Answer Discussion) ฯลฯ

49. หากองค์กรจะเปิดให้ประชาชนเยี่ยมชมกิจการ ต้องใช้การพูดรูปแบบใด
(1) สนทนาอย่างไม่เป็นทางการ
(2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ
(3) การประชุม
(4) การบรรยายสรุป
ตอบ 4 หน้า 67 – 68 การประชุมบรรยายสรุป (Brief Session) เป็นการสื่อสารด้วยวาจาในรูปแบบ ของการประชุม เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในสาระสําคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กว้างขวางซับซ้อน ให้แก่ผู้ฟังภายในเวลาอันจํากัด ดังนั้นจึงมักนิยมใช้เมื่อองค์กรเปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม กิจการ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เยี่ยมชม เช่น การบรรยายสรุปของโรงพิมพ์ของ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐให้กับคณะนักศึกษาที่มาเยี่ยมชมกิจการ ฯลฯ

50. ข้อใดหมายถึง ความเรียงประเภทร้อยแก้ว ซึ่งเขียนขึ้นจากเรื่องจริงเพื่อให้ความรู้
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) บันเทิงคดี
ตอบ 3 หน้า 78 สารคดี (Feature) หมายถึง ความเรียงประเภทร้อยแก้ว ซึ่งเขียนขึ้นจากเรื่องจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในประเทศ(Non-fiction)และต่างประเทศ

51. ข้อใดหมายถึง ข้อเขียนที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์
(1) เรื่องเล่า
(2) เรื่องแต่ง
(3) คอลัมน์
(4) บทความ
ตอบ 3หน้า 78 คอลัมน์ (Column) เป็นข้อเขียนหรือเนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์ อาจเป็นข้อเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย วิจารณ์กีฬา ภาพยนตร์ ดนตรี ข่าวสังคมซุบซิบ คอลัมน์เด็กและเยาวชน ฯลฯ ซึ่งรับผิดชอบ โดยคอลัมนิสต์ หรือนักเขียนประจําคอลัมน์ที่เป็นผู้กําหนดเนื้อหา เช่น คอลัมน์ที่มีชื่อว่า “กระดานความคิด” ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นต้น

52. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์ ได้แก่อะไรบ้าง
(1) ขนาดรูปเล่ม กําหนดออก บริบททางสังคม
(2) ประเภทเนื้อหา กําหนดออก การแข่งขัน
(3) การดึงดูดความสนใจและการขายสินค้า
(4) ประเภทเนื้อหา ขนาดรูปเล่ม กําหนดออก
ตอบ 2 หน้า 78 – 79, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ
ซึ่งอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป มีดังนี้
1. ประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์
2. กําหนด ระยะเวลาการออกเผยแพร่
3. คุณภาพเนื้อหาและการแข่งขันกันดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

53.“ประชาชนแห่ลงทะเบียนสมัครขายสลากวันแรก หลังเปิดเสรีทุ่ง 4.2 หมื่นราย” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The What Lead
(2) The Why Lead
(3) The When Lead
(4) The How Lead
ตอบ 1 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์การหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

54. “คู่อริยกพวกพร้อมอาวุธครบมือ บังคับกลุ่มวัยรุ่นเลี้ยงวัวชนเข้าแถวก่อนถาม ชักปืนจ่อหัวดับ 2 วิ่งหนีรอดชีวิต 4 ตํารวจรู้ตัวแล้วคนลงมือ เร่งไล่ล่า” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) Punch Lead
(2) Contrast Lead
(3) Colorful Lead
(4) Background Lead
ตอบ 3 หน้า 83, (คําบรรยาย) ความนําแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือ การเขียนความนําด้วยการแสวงหาถ้อยคํามาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทําให้ผู้อ่านมองเห็น ภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนว่าได้เห็นมาด้วยตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีสีสัน มีความเคลื่อนไหว จึงมักใช้เขียนข่าวประเภท Human Interest ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวการเมืองที่เน้นสีสัน ฯลฯ

55. “กรุงเก่ายังไม่พ้นวิกฤติ ประกาศให้พื้นที่ 13 อําเภอเป็นเขตภัยพิบัติ” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The When Lead
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

56. “พายุหว่ามก๋อเคลื่อนจากเวียดนามไปลาว ทําไทยฝนตกหนัก ศูนย์เตือนภัยพิบัติฯ เตือน 14 จังหวัด เตรียมรับมือน้ําท่วม ดินโคลนถล่ม” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) The What Lead
(2) The Why Lead
(3) The When Lead
(4) The How Lead
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

57. “บิ๊กตู่ รุ่นโรดแมป” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ชื่อเล่นหรือฉายา ใช้คําที่ควรสงสัย
(2) ละประธานของประโยค ตัดคําสั้น ใช้คําสร้างภาพพจน์
(3) ตัดคําสั้น ใช้คําย่อ ใช้คําสร้างภาพพจน์
(4) ใช้ชื่อเล่นหรือฉายา ตัดคําสั้น ใช้คําภาษาต่างประเทศ
ตอบ 4 หน้า 81 – 82 พาดหัวข่าวข้างต้นมีลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
1. การเรียกชื่อบุคคลโดยใช้ชื่อเล่นหรือฉายา เช่น บิ๊กตู่ (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ฯลฯ
2. การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด เช่น รุ่น (รุ่นเวลา) ฯลฯ
3. ใช้คําภาษาต่างประเทศ เช่น โรดแมป (Road Map) ฯลฯ

58.“ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้คําที่ชวนสงสัย
(2) ใช้คําย่อ
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้คําสร้างภาพพจน์
ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้นด้วยคํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ลงทะเบียนวันแรกคึก หวยเสรี ไล่ยิงน้ององอาจ เมียลูกรับเคราะห์ ฯลฯ

59. “จิ๋วเปิดทางโกวิทนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนวินเตือนระวังมีจุดจบเดียวกับสมัคร ด้านแม้วแบ่งรับแบ่งสู้ โกวิทคุมพรรค ปัดเพื่อไทยสาละวันเตี้ยลง” เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) Punch Lead
(2) Contrast Lead
(3) Colorful Lead
(4) Background Lead
ตอบ 2 หน้า 83, (คําบรรยาย) ความนําแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนํา ที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นที่ขัดแย้งกัน แล้วนํามาสรุปเข้าด้วยกันในการเขียนความนํา

60. “หัวหินแตกตื่นสึนามิ น้ําทะเลลดเห็นโขดหิน รองนายกเล็กยันไม่มีรายงาน พร้อมสั่งเช็กข่าวทุก 20 นาที
เป็นการเขียนความนําประเภทใด
(1) Punch Lead
(2) Contrast Lead
(3) Colorful Lead
(4) Background Lead
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61. เนื้อข่าวหน้าในของหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพมักใช้ภาษาระดับใด
(1) ลีลาคุ้นเคย
(2) ภาษาปาก
(3) กึ่งทางการ
(4) ทางการ
ตอบ 4 หน้า 76 – 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการ (เนื้อข่าวหน้าใน) และกึ่งทางการ (พาดหัวข่าว) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

62. “ทั้งหมดนี้ควรมีความชัดเจนก่อนประชาคมอาเซียนจะมีผล ในระเบียบหรือข้อตกลงบางอย่างประชาชน คนไทยต้องรับรู้เป็นแนวทาง เช่น หากมีชาวต่างชาติเข้ามาพักพิงในพื้นที่ไม่ว่าการเช่าที่พัก การซื้ออาคาร บ้านเรือนควรมีข้อสังเกตอย่างไร นี่ยังไม่นับถึงเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีหลักปฏิบัติไปจนถึงเรื่องศาสนา ล้วนต้องมีความชัดเจนด้วย” เป็นการเขียนที่มีวัตถุประสงค์อะไร
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางแก้ไข
ตอบ 4 หน้า 87 – 89, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของการแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ ดังนี้
1. ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา แก่ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

63. “ในด้านการเมืองไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่มีการริเริ่มหรือการรุกทางการเมืองใหม่ ๆ นอกจากการ ทุ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนาเสมือนหนึ่งว่าไม่มีนโยบาย ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน แต่ปล่อยให้ทหาร ตํารวจ และข้าราชการพลเรือนต่างคนต่างทําไปตามที่เห็นดีเห็นงาม” เป็นการแสดงความคิดเห็นระดับใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางแก้ไข
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64. “ภารกิจเช่นนี้เหลือกําลังของฝ่ายรัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ทหารตํารวจแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องการ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากทุกฝ่ายอย่างเต็มกําลัง” เป็นการแสดงความคิดเห็นระดับใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางแก้ไข
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

65.“กระดานความคิด” ข้อความนี้น่าจะเป็นเนื้อหาส่วนใด
(1) เนื้อข่าวหนังสือพิมพ์
(2) ชื่อเรื่องของบทวิเคราะห์
(3) นามปากกาผู้เขียนบทความ
(4) ชื่อคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

66. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของบทความและบทวิเคราะห์
(1) อธิบายความ
(2) วิจารณ์
(3) ให้ข้อเสนอแนะ
(4) แจ้งข้อเท็จจริงใหม่ ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 62. ประกอบ

67. คําว่า “ล็อบบี้ยิสต์” ที่ปรากฏในข่าวหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) ห้องโถงในโรงแรม
(3) นักวิ่งเต้นเจรจานอกรอบ
(2) ทนายหน้าหอ
(4) นักประชาสัมพันธ์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “ล็อบบี้ยิสต์” (Lobbyist) หมายถึง นักวิ่งเต้นเจรจานอกรอบ หรือ
กลุ่มคนที่เชี่ยวชาญในการวิ่งเต้นให้กับบรรดานักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ

68.“มือมืดหยาม คสช. ตัดไฟบ้านมีชัย” พาดหัวข่าวนี้ใช้ภาษาลักษณะใด
(1) ละประธานของประโยค
(2) ใช้คําสร้างภาพพจน์
(3) ใช้คําย่อ
(4) ใช้คํา Vivid
ตอบ 3 หน้า 82 การใช้คําย่อในพาดหัวข่าวมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. คําย่อที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่น คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ฯลฯ (คําย่อในพาดหัวข่าว หนังสือพิมพ์จะจุดลงท้ายตัวอักษรหลังสุดเพียงจุดเดียว ซึ่งจะต่างจากการเขียนคําย่อ ตามแบบแผนที่เขียนโดยใช้จุดคั่น เช่น ค.ส.ช. เป็นต้น)
2. คําย่อที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน แต่เขียนย่อเองเพื่อให้ลงในเนื้อที่ที่กําหนดไว้ เช่น รบ. (รัฐบาล), ล. (ล้าน) เป็นต้น

69. “วงประชุมสภาปฏิรูปฯ ราบรื่นฉลุย เลือก “ทินพันธุ์” นั่งประธาน” เป็นการเขียนความนําแบบใด
(1) Background Lead
(2) Colorful Lead
(3) Punch Lead
(4) Contrast Lead
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

70. บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด
(1) ร้อยแก้ว
(2) ร้อยกรอง
(3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
(4) สารคดี
ตอบ 1 หน้า 77 – 78, 89 บทบรรณาธิการหรือบทนํา (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว
โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสําคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในกระแสสังคม

71. บทบรรณาธิการมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น
(2) เป็นการนําเสนอข้อมูลใหม่ ๆ
(3) แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม
(4) แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 70. ประกอบ

72. หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก
(2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ
(3) ใช้ภาษาปาก
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก
ตอบ 4 หน้า 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่เสนอ ข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะ การใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

73. การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์นิยมใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Article
ตอบ 1 หน้า 80, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

74. หนังสือพิมพ์มีวิธีการบอกลําดับความสําคัญของข่าวอย่างไร
(1) ขนาดตัวอักษร
(2) สีของตัวอักษร
(3) ตําแหน่งการวางพาดหัว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 81, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์มีวิธีการบอกลําดับความสําคัญของข่าวได้ ดังนี้
1. การใช้ขนาดตัวอักษร
2. สีสัน
3. ตําแหน่งการจัดวางพาดหัวข่าว (ข่าวสําคัญจะอยู่ด้านบนของหน้าพิมพ์)
4. ขนาดพื้นที่

75. “โดมขอโทษ ยันไม่เจตนาโพสต์ภาพเบียร์” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ละประธานของประโยค
(2) ตัดคําให้สั้นลง
(3) ใช้คําสแลง
(4) ใช้สํานวนสร้างอารมณ์ความรู้สึก
ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคําให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจํากัด ทําให้ผู้เขียนพาดหัวข่าวนอกจากจะต้อง เขียนให้ได้ใจความสําคัญแล้ว ยังต้องคํานึงถึงจํานวนตัวอักษรที่ใช้ไม่ให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ บางครั้งจึงจําเป็นต้องตัดคําให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ยัน (ยืนยัน),หนุน (สนับสนุน), สน (สนใจ) ฯลฯ

76. “ไล่ยิงน้ององอาจ เมียลูกรับเคราะห์” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ละประธานของประโยค
(2) ตัดคําให้สั้นลง
(3) ใช้คําสแลง
(4) ใช้สํานวนสร้างอารมณ์ความรู้สึก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

77.รายการสารคดี เป็นรายการประเภทใด
(1) ข่าวสาร
(2) ความรู้
(3) ความบันเทิง
(4) โน้มน้าวใจ
ตอบ 2 หน้า 95, (คําบรรยาย) รายการประเภทความรู้ หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้หรือการศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการ อาชีพ วัฒนธรรม และแนวทางการดําเนินชีวิตที่ดีของประชาชน เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ รายการศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

78. ข้อใดหมายถึง ผู้จัดรายการสนทนา
(1) Producer
(2) Director
(3) Host
(4) Announcer
ตอบ 3 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

79.“เวลา 13.45 น.” อ่านอย่างไร
(1) เวลาสิบสามจุดสี่ห้านอ
(2) เวลาบ่ายโมงสี่สิบห้านาที
(3) เวลาสิบสามนาฬิกาสี่สิบห้านาที
(4) เวลาหนึ่งสามจุดสี่ห้านาฬิกา
ตอบ 3 หน้า 100, (คําบรรยาย) ในการอ่านหรือพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้พูดต้องออกเสียง ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาไทย โดยต้องพยายามศึกษาค้นคว้าหลักภาษา และการออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี เช่น เวลา 13.45 น. อ่านว่า เวลาสิบสามนาฬิกาสี่สิบห้านาที เป็นต้น นอกจากนี้คําในภาษาเขียนที่เป็นคําย่อ เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคําเต็มให้ครบและถูกต้อง เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อ่านว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เป็นต้น

80. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ” ในเครื่องหมายคําพูดอ่านอย่างไร
(1) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
(2) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
(3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมขอเดชะ
(4) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงโปรดกระหม่อมขอเดชะ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81. การเขียนบทสําหรับรายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคสั้น ๆ
(2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง
(3) ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ
(4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว
ตอบ 4 หน้า 103 แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการการศึกษา เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ ฯลฯ มีดังนี้
1. เขียนให้เหมือนการพูดแบบตัวต่อตัว
2. ใช้ภาษาที่ทําให้เกิดภาพพจน์
3. อธิบายหรือบรรยายให้เห็นภาพ
4. เขียนให้สัมพันธ์กับ ประเด็นของเรื่อง และเนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลาที่นําเสนอรายการ

82. ส่วนปิดท้ายของบทวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ชื่อรายการ และชื่อเรื่อง
(2) ชื่อสถานีวิทยุ และวันเวลาที่ออกอากาศ
(3) ชื่อผู้แสดงและผู้ที่ทํางานเกี่ยวข้องกับรายการ
(4) สรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน
ตอบ 4 หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนหัว
2. ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจําเป็นที่ใช้ในรายการ
3. ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและ สิ่งที่กําหนดให้ทํา ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ
4. ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

83. การเขียนบทสําหรับรายการข่าวทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคสั้นๆ
(2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง
(3) ขึงขัง เป็นทางการ
(4) บรรยายให้เกิดภาพพจน์
ตอบ 1 หน้า 103, (คําบรรยาย) แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับ รายการข่าว มีดังนี้
1. เขียนประโยคสั้น ๆ แต่ละประโยคมีแนวคิดเดียว
2. ไม่เขียนคําย่อ
3. การยกคําพูดผู้อื่นมากล่าวอ้างต้องเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยอ้างถึง คําพูดของแหล่งข่าวแต่เปลี่ยนคําสรรพนามเป็นบุรุษที่ 3
4. ศัพท์เฉพาะหรือคําอ่านยาก ต้องวงเล็บคําอ่านไว้
5. กรณีที่เป็นตัวเลขจํานวนมากต้องเขียนด้วยตัวหนังสือ

84. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการละคร ควรเขียนแบบใด
(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ
(3) ประเภทสมบูรณ์
(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์
(4) ประเภทแสดงเค้าโครง
ตอบ 3 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือ ลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

85.Back Light หมายถึงอะไร
(1) แสงไฟหลัก
(2) แสงไฟที่ใช้เพิ่มความสว่าง
(3) แสงไฟที่ใช้ลบเงา
(4) แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง
ตอบ 4 หน้า 115 แสงประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ จะต้องประกอบด้วยไฟมาตรฐาน อย่างน้อย 3 ดวง ได้แก่
1. แสงไฟหลัก (Key Light)
2. แสงไฟลบเงา (Fill Light)
3. แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง (Back Light)

86. หากต้องการให้มีคําบรรยายภาพปรากฏในรายการโทรทัศน์ ต้องใช้เทคนิคใด
(1) Freeze Frame
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Fast Motion
ตอบ 2 หน้า 106 – 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็นตัวอักษร ซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว เช่น การทําไตเติ้ลรายการ และ Sub-title เป็นต้น

87. ภาพในลักษณะ Medium Close Up จะมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เป็นภาพระยะใกล้มาก หากเป็นภาพคนจะเห็นเพียงระดับไหล่
(2) ภาพในระยะใกล้ หากเป็นภาพคนจะเห็นใบหน้าและไหล่
(3) ภาพระยะใกล้มาก หากเป็นภาพคนจะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้า
(4) ภาพระยะปานกลางค่อนข้างใกล้ หากเป็นภาพคนจะเห็นในระดับเหนือเอว
ตอบ 4 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะปานกลางค่อนข้างใกล้ (Medium Close Up : MCU) เป็นการถ่ายภาพในระยะปานกลางค่อนข้างใกล้ หากเป็นภาพบุคคลจะเห็นในระดับเหนือเอว (กึ่งกลางระหว่างไหล่กับเอว) มักใช้ในกรณีที่ต้องการถ่ายผู้แสดงขณะสนทนา โดยกล้องจะพยายาม จับภาพของทั้งสองฝ่ายที่อาจอยู่ห่างกันไม่มากนัก หรือหากเป็นการถ่ายภาพผู้แสดงเพียง คนเดียวก็เป็นการนําเสนออากัปกิริยาของผู้แสดง

88.ภาพ Knees Shot ได้แก่ภาพขนาดใด
(1) MS
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
ตอบ 2 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพระยะนี้ว่า Knees Shot

89. หากต้องการนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้ง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนกล้องแบบใด
(1) Tilt Up
(2) Tilt Down
(3) Dolly In
(4) Dolly Out
ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ภาพของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

90. หากถ่ายฉากพระเอกสวมแหวนหมั้นให้นางเอก และต้องการเน้นเฉพาะมือที่สวมแหวนต้องใช้ภาพขนาดใด
(1) CS
(2) CU
(3) ECU
(4) ELS
ตอบ 3 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close Up : ECU) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะใกล้มากเพื่อต้องการเน้นรายละเอียดเฉพาะส่วน เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะมือของนางเอก ที่สวมแหวนหมั้น, การถ่ายอวัยวะเฉพาะส่วนของแมลง ฯลฯ หรือถ้าหากเป็นภาพบุคคลจะเห็น เฉพาะส่วนใบหน้าเพื่อต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดง เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะดวงตา ขณะผู้แสดงกําลังร้องไห้ ฯลฯ

91. คําสนทนาที่มีผู้พูดเพียงคนเดียว เรียกว่าอะไร
(1) Narration
(2) Commentary
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 3 หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียวในลักษณะที่เป็นการสื่อสาร กับผู้ชมรายการโดยตรง
2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

92. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Image
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละชอตมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

93. ข้อใดหมายถึง การเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลงระยะของกล้อง
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 2 หน้า 113, (คําบรรยาย) ดอลลี่ (Dolly) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลง ระยะของกล้อง หากเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่จะทําให้ได้ภาพโตขึ้น (Dolly In)
แต่ถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายจะทําให้ได้ภาพเล็กลง (Dolly Out)

94. Vox-pop หมายถึงอะไร
(1) การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ
(2) การสัมภาษณ์บุคคลสําคัญ (VIP)
(3) การสัมภาษณ์เสียงของประชาชน
(4) สถานีวิทยุทางการของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ตอบ 3หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview)
2. รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informat Interview)
3. การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

95. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ซูม
(4) ทรัค
ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะแนวนอน จากขวามาซ้าย หรือซ้ายมาขวา เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น เช่น การถ่ายภาพ ทิวทัศน์แบบพาโนรามา (Panorama) โดยการหมุนกล้อง เพื่อให้เห็นภาพวิวทิวทัศน์ในมุมกว้าง ได้สมบูรณ์เต็มตา

96. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

97. ข้อใดเป็นวิธีการที่ใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพพร้อม ๆ กัน
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็น ส่วน ๆ เพื่อนําเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสด ฟุตบอลและโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

98. ส่วนประกอบใดในรายการโทรทัศน์ที่ใช้บอกเรื่องราวและสื่อความหมายได้ดีที่สุด
(1) คําพูด
(2) เสียงประกอบ
(3) แสง
(4) ภาพ
ตอบ 4 หน้า 106, 108, 117, (คําบรรยาย) ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์จะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลักและมีความสําคัญที่สุดในโทรทัศน์ เพราะภาพจะช่วย บอกเรื่องราวและสื่อความหมายได้ดีที่สุด ส่วนคําบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษาที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพอย่างเดียวแล้ว ไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และ มุมกล้องจะเป็นตัวช่วยเสริมเพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

99. หากต้องการนําเสนอภาพมุมกว้าง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทิลท์
(4) ทรัค
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

100. คําสนทนาในรายการโทรทัศน์มีหน้าที่อะไร
(1) บอกเล่าเรื่องราว
(2) เน้นจังหวะลีลาตามเนื้อเรื่อง
(3) สร้างบรรยากาศ
(4) เสริมความหมาย
ตอบ 1หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของวัจนภาษาซึ่งผู้ชมคุ้นหู มากที่สุดในบรรดาเสียงที่ปรากฏทางรายการโทรทัศน์ โดยมักเป็นส่วนที่บอกเล่าเรื่องราวเนื้อหา บอกบุคลิกของผู้แสดง บอกช่วงเวลาของเหตุการณ์ และบอกสถานที่ ดังนั้นผู้ผลิตรายการ จึงมักใช้เพื่อให้ความหมายแก่ภาพใน 4 ลักษณะ คือ
1. เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียด
2. เพื่อบอกบุคลิกลักษณะของผู้แสดง
3. เพื่อดําเนินเรื่องหรือเชื่อมฉาก 2 ฉากเข้าด้วยกัน
4. เพื่อแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพ

 

MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.อะไรเป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษา
(1) คําพูด ถ้อยคําที่ใช้พูดกัน
(2) ปทัสถานทางสังคม
(3) เสียงกับความหมาย
(4) สัญญาณ สัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 1 ภาษา ประกอบด้วย สัญญาณ (Signs) สัญลักษณ์ (Symbols) และ กฎหรือปทัสถานทาง สังคมที่กําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษา เพื่อการสื่อความหมาย ดังนั้น ภาษาจึงเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย (Meaning) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน

2. ข้อใดกล่าวถึงการสื่อสารได้ถูกต้องที่สุด
(1) การสื่อสารเป็นการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(2) การสื่อสารเป็นการส่งผ่านความหมายระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(3) การสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(4) การสื่อสารเป็นการส่งสาร
ตอบ 1หน้า 1 การสื่อสารเป็นการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างคน 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่ง คือผู้ส่งสาร อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้รับสาร ซึ่งการส่งและรับความหมายระหว่างกันจําเป็นต้องใช้เครื่องมือ
ส่งความหมายออกไปให้อีกฝ่ายรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสามารถเข้าใจความหมายร่วมกันได้

3.“ภาษา คือ สิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อกันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน ปรากฏเป็น หน่วยย่อยซึ่งสามารถนํามาวิเคราะห์ได้” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) ภาษากับโครงสร้าง
(2) โครงสร้างนิยม
(3) หลังโครงสร้างนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 หน้า 2 แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อ กันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน ปรากฏเป็นหน่วยย่อยซึ่งสามารถ นํามาวิเคราะห์ได้ตามโครงสร้างของภาษา ได้แก่ พยัญชนะ คํา พยางค์ ฯลฯ เช่น การวิเคราะห์ วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทําให้สามารถสรุปโครงสร้าง ของภาษาและทําความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสําคัญกับเรื่องอะไรบ้าง
และเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

4.“การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทําให้สามารถสรุป โครงสร้างของภาษาและทําความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด

(1) ภาษากับโครงสร้าง
(2) โครงสร้างนิยม
(3) หลังโครงสร้างนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5. การปรับเปลี่ยนไวยากรณ์ในเรื่องเวลาที่ปรากฏอยู่ในสื่อสมัยใหม่ เช่น โฆษณา ละคร เพลง ฯลฯ
เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงอะไร
(1) มีการเปลี่ยนไปสู่สถานที่แปลกใหม่
(2) มีการเปลี่ยนไปสู่จังหวะที่เร็วขึ้น
(3) มีการเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมย่อยมากขึ้น
(4) มีการใช้เวลามากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 2 นักทฤษฎีแนวโครงสร้างนิยม มองว่า การปรับเปลี่ยนไวยากรณ์ในเรื่องเวลาที่ปรากฏอยู่ ในสื่อสมัยใหม่ เช่น โฆษณา ละคร เพลง ฯลฯ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความคิดเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวของเวลาในสังคมไทยว่า มีการเปลี่ยนไปสู่จังหวะใหม่ที่เร็วขึ้น และแบ่งซอย ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ อย่างเห็นได้ชัด

6. “ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างความจริงทางสังคม” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 4หน้า 3 แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็นเพียงการกําหนด คุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่รอบตัวเท่านั้น แต่ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจาก การสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึง ภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างสรรค์ความจริงทางสังคม (Sociat Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

7. มนุษย์สร้างคําขึ้นเพื่อเรียกสิ่งต่าง ๆ เพราะเหตุใด
(1) เพราะเรารู้จักสิ่งนั้น
(2) เพราะเราให้ความสําคัญกับสิ่งนั้น
(3) เพราะเราชอบสิ่งนั้น
(4) เพราะเรายังไม่มีชื่อเรียกสิ่งนั้น
ตอบ 2 หน้า 3 โซซูร์ (Saussure) กล่าวว่า ภาษาเป็นตัวจัดแบ่งความเป็นจริง (Reality) ในโลกนี้ และภาษาถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ความหมายกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก ซึ่งมนุษย์ได้สร้างคําขึ้นเพื่อเรียก สิ่งต่าง ๆ ก็เพราะเราให้ความสําคัญกับสิ่งนั้น

8. แบบจําลองที่มองว่าการสื่อสารเป็นการส่งผ่านข้อมูล ได้แก่ข้อใด
(1) แบบจําลองการสื่อสารโน้มน้าวใจ
(2) แบบจําลองการสื่อสารเป็นการแบ่งปันความหมาย
(3) แบบจําลองการสื่อสารชุมชน
(4) แบบจําลองการสื่อสารเชิงเส้นตรง
ตอบ 4หน้า 5 ทฤษฎีการสื่อสารในยุคแรก ๆ มองว่า การสื่อสารเป็นการส่งผ่านข้อมูล โดยแบบจําลอง ที่อธิบายกระบวนการสื่อสารว่ามีลักษณะเป็นเส้นตรงตามทฤษฎียุคแรกนี้ เรียกว่า แบบจําลอง การสื่อสารเชิงเส้นตรง (Linear Model of Communication) ซึ่งมองว่า แหล่งสาร (Source) ส่งสาร (Message) ผ่านช่องทางการสื่อสาร (Channel) ไปถึงผู้รับสาร (Receiver)

9.ข้อใดเป็นองค์ประกอบของการสื่อสารแบบ Two-way Communication
(1) Field of Experience
(2) Context
(3) Feedback
(4) Noise
ตอบ 3 หน้า 6, 8 เมื่อกระบวนการสื่อสารเกิดขึ้น และสารผ่านกระบวนการถอดรหัสของผู้รับสารแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) ขึ้นที่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้รับสารต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล กับผู้ส่งสารก็จะสื่อสารกลับ (Feedback) ไปยังผู้ส่งสาร ทําให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกันไปมา ระหว่าง 2 ฝ่าย หรือที่เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)

10. “สภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 1 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหา และรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุม, การจัดแสดงแสง สี เสียง ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามชวนซื้อ เป็นต้น

11. “ปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

12. “ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วม สื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

13. ข้อใดกล่าวถึงการรับรู้ได้ถูกต้องที่สุด
(1) รูปแบบของการจัดการกับสิ่งเร้าสําหรับมนุษย์แต่ละคนจะเหมือนกัน
(2) การจัดการต่อสิ่งเร้าจําเป็นต้องเป็นไปตามความจริง
(3) การจัดการสิ่งเร้าต้องเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลหรือเป็นวัตถุวิสัย
(4) บางครั้งมนุษย์ก็จัดการกับสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความไร้เหตุผล หรือความไร้สํานึก
ตอบ 4 หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการของการรับรู้ในขั้นตอนที่ 2 ว่า สิ่งเร้าที่ ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized) โดยใช้หลักการ ต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายขึ้นมา ซึ่งรูปแบบของการจัดการกับสิ่งเร้าสําหรับมนุษย์ แต่ละคนจะแตกต่างกันไป ไม่จําเป็นว่าการจัดการต่อสิ่งเร้านั้นจะเป็นไปตามความจริง หรือต้องเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลหรือเป็นวัตถุวิสัยเสมอไป บางครั้งมนุษย์ก็จัดการกับสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ความไร้เหตุผล หรือแม้แต่ความไร้สํานึก

14. การแสดงคอนเสิร์ต เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารองค์การ
(2) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 12, (คําบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) หมายถึง การสื่อสาร ไปยังกลุ่มผู้รับฟังจํานวนมากเพื่อให้ข่าวสาร โน้มน้าวใจ และให้ความบันเทิง โดยผู้ส่งสารและ ผู้รับสารสามารถเห็นหน้าซึ่งกันและกันได้ แต่ไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบกันได้โดยตรง ในทันทีทันใด เช่น การพูดในที่ประชุมขนาดใหญ่, การจัดแสดงคอนเสิร์ต, การปราศรัยหาเสียง ทางการเมือง, การจัดอภิปรายหรือสัมมนา ฯลฯ

15. การสื่อสารระหว่างเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชีย เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารระหว่างประเทศ
(2) การสื่อสารองค์การ
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ตอบ 4หน้า 12, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural Communication) หมายถึง การสื่อสารระหว่างคนที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพื่อการเรียนรู้ สร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ การสร้างอิทธิพลเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง การเล่นหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ฯลฯ เช่น การสื่อสารระหว่างเยาวชนจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชีย

16. การประชุมโต๊ะกลม ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 2 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาใน ระดับกึ่งทางการ (ไม่ถึงกับเป็นทางการ) มักใช้กับการสื่อสารในองค์การ เช่น การปรึกษาหารือ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน การพูดคุยในการประชุมโต๊ะกลม และการสื่อสารกลุ่มเล็ก เป็นต้น

17. การพูดของนักจัดรายการคุยข่าวทางวิทยุ เป็นการใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ทางการ
(2) ปรึกษาหารือ
(3) ลําลอง
(4) คุ้นเคย
ตอบ 3 หน้า 15, (คําบรรยาย) ลีลาลําลอง (Casual Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ไม่เป็นทางการ มักใช้พูดกันโดยทั่วไปในชีวิตประจําวัน การทํางาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน เช่น การจัดรายการสนทนา รายการเกมโชว์ รายการเพลง และรายการคุยข่าวทางวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น

18.Cultivation Theory พัฒนามาจากงานวิจัยของใคร
(1) ลาสเวลล์
(2) จอร์จ เกิร์บเนอร์
(3) ธีโอดอร์ อดอร์โน
(4) ซูซาน ลางเกอร์
ตอบ 2 หน้า 32, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีที่พัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทําหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี เพื่อศึกษาถึง บทบาทด้านวัฒนธรรมในการปลูกฝังสมาชิกในสังคมอเมริกัน

19.Gesture หมายถึงอะไร
(1) กายภาษา
(2) ภาษาท่าทาง
(3) การเปล่งเสียง
(4) ภาษาสัญลักษณ์
ตอบ 2 หน้า 18 – 19, 21 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลําดับได้ดังนี้
1. การใช้ภาษาท่าทาง (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)
2. การใช้ภาษาพูด
3. การใช้ภาษาเขียน
4. การพิมพ์

20. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 3 หน้า 18 ภาษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก
เพราะภาษาช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) และทําให้ มนุษย์สามารถมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังทําให้สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรม และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้

21. หากจะเขียนข่าว ผู้เขียนต้องมีความรู้ระดับใดเป็นอย่างน้อย
(1) ระดับที่ 1
(2) ระดับที่ 2
(3) ระดับที่ 3
(4) ระดับที 4
ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสําหรับ
เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย) ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน
2. หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3
3. หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4
4. หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทําเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

22. เหตุใดนักสื่อสารมวลชนจึงต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร
(1) เพื่อทําความเข้าใจลักษณะที่เป็นสิ่งกําหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร
(2) เพื่อสามารถประเมินผลระดับความรู้ความเข้าใจของผู้รับสาร
(3) เพื่อสามารถสรุปความคิดเห็นของมวลชนทั้งหมดเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน
(4) เพื่อทําความเข้าใจลักษณะของมวลชนทั้งหมด
ตอบ 1 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อทําความเข้าใจลักษณะร่วมบางประการ
ที่เป็นสิ่งกําหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร เพื่อที่จะสามารถออกแบบสาร ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับสารมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ซึ่งแนวทางวิเคราะห์ผู้รับสาร ที่นิยมใช้กันมากในการสื่อสารมวลชน ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้รับสารตามลักษณะทางทะเบียน ภูมิหลัง และลักษณะทางจิตวิทยา

23. แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในยุโรปแผ่ขยายมาจากที่ใด
(1) จีน
(2) เปอร์เซีย
(3) สุวรรณภูมิ
(4) อินเดีย
ตอบ 4 หน้า 21 ในช่วงยุคกลางของยุโรป เมื่อการค้าเจริญเติบโตและความต้องการข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น
ทําให้แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยจากอินเดียและแอฟริกาตอนเหนือแผ่ขยายเข้ามาสู่ยุโรป จนส่งผลให้เกิดมหาวิทยาลัยขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีสในฝรั่งเศส มหาวิทยาลัย อ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ เป็นต้น

24. ข้อใดเป็นลักษณะของการสื่อสารมวลชน
(1) ผู้ส่งสารเป็นใครก็ได้
(2) ช่องทางการสื่อสารอะไรก็ได้
(3) ผู้รับสารเป็นใครก็ได้
(4) ข่าวสารเป็นเรื่องอะไรก็ได้
ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. เนื้อหาของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน หรือผู้รับชมรับฟังจํานวนมากที่เป็นใครก็ได้
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

25. Mass Culture หมายถึงอะไร
(1) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน
หรือเหมือนกัน
(2) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือ
เหมือนกัน
(3) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกันหรือ
ไม่เหมือนกัน
(4) รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกัน
หรือไม่เหมือนกัน
ตอบ 2 หน้า 32 เมื่อมีการสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นได้ทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) และวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) ซึ่งหมายถึง รูปแบบ การดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน

26. หน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างว่าอะไร
(1) Transformation
(2) Globalization
(3) Socialization
(4) Transmission
ตอบ 3 หน้า 28, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่นํา ปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนําเสนอค่านิยม ต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม และจากการที่ประชาชนได้ดู ฟัง และอ่านก็ทําให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การปฏิบัติตนและสิ่งที่สังคมให้ความสําคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน

27. การนําเสนอข่าวสภากาชาดไทยรับบริจาคโลหิตเนื่องจากขาดแคลนเลือด เป็นการทําหน้าที่ของสื่อมวลชนข้อใด
(1) การทําให้สังคมแตกแยก
(3) การประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม
(2) การตีความ
(4) การส่งสัญญาณเตือนภัย
ตอบ 3 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือ การเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่านเวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน) ได้แก่ เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การนําเสนอข่าวสภากาชาดไทยรับบริจาคโลหิตเนื่องจากขาดแคลนเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังทําหน้าที่เชื่อมประสานกลุ่มคนที่มีความสนใจอย่างเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางท่าน ได้เรียกบทบาทหน้าที่ด้านนี้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ของการสร้างกลุ่มสาธารณชน เช่น กลุ่มสมาชิกรายการร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น

28. ใครเป็นผู้กล่าวว่า “ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัฒนธรรมถูกทําให้เป็นสินค้า
(1) เดอวิโต
(2) ธีโอดอร์ อดอร์โน
(3) โซซูร์
(4) เลวี สโตรสส์
ตอบ 2 หน้า 25 – 26 ธีโอดอร์ อดอร์โน (Theodor Adorno) กล่าวไว้ว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัฒนธรรม ถูกทําให้เป็นสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพลงหรืองานวรรณกรรมก็เริ่มถูกนําเสนอด้วยกระบวนการ ทางการตลาดมากขึ้น ทําให้แนวโน้มที่รายการต่าง ๆ จะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงกว่ามวลชน คนรับสารทั่วไปก็มีมากขึ้น เพราะผู้ผลิตหรือเจ้าของรายการทางสื่อมวลชนมองผู้รับสาร ในฐานะตลาด (Market)

29. “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อ่านว่าอย่างไร
(1) สม เด็ด พระ เทบ จะ รัก ราด สุดา สะ หยาม บะ รม มะ ราด กุ มา รี
(2) สม เด็จ พระ เทบ พะ รัด ราด สุดา สะ หยาม บอ รม มะ ราด กุ มา รี
(3) สม เด็จ พระ เทบ พะ รัด ราด สุดา สะ หยาม บอ รม มะ ราด ชะ กุ มา รี
(4) สม เด็จ พระ เทบ พะ รัด ราด ชะ สุ ดา สะ หยาม บอ รม มะ ราด กุ มา รี
ตอบ 3 หน้า 100, (คําบรรยาย) ในการอ่านหรือพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้พูดต้องออกเสียง ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาไทย โดยต้องพยายามศึกษาค้นคว้า หลักภาษา และการออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี เช่น สํานักราชเลขาธิการกําหนดให้พระนามของ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด- ราด-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุมารี เป็นต้น นอกจากนี้คําในภาษาเขียนที่ เป็นคําย่อ เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคําเต็มให้ครบและถูกต้อง เช่น อําเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี อ่านว่า อําเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นต้น

30. “อําเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี” อ่านว่าอย่างไร
(1) อําเภอเมือง อุทัยธานี
(2) อําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
(3) อําเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
(4) อําเภอเมืองไปยาลน้อย จังหวัดอุทัยธานี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. หนังสือพิมพ์ทําหน้าที่ “ตีความ” ผ่านเนื้อหาประเภทใด
(1) ข่าว
(2) โฆษณา
(3) สารคดี
(4) บทความ
ตอบ 4 หน้า 27 (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนําเสนอ เรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นําเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าวในลักษณะของ การเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล จากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าว ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ, การนําเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนํา บทความ และ บทวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

32. ข้อใดถูกที่สุด
(1) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารจะกําหนด
(2) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้รับสารเป็นผู้กําหนด
(3) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(4) ผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับภาษาและเนื้อหา
ตอบ 3 หน้า 31 ความสําคัญของการใช้ภาษา คือ จะใช้ภาษาอย่างไรให้สื่อความหมายได้ตรงกับ เจตนาของผู้ส่งสาร ซึ่งผลของการสื่อสารจะเป็นอย่างไรนั้นมิใช่สิ่งที่ผู้ส่งสารจะกําหนดได้ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับผู้รับสารด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งสารที่ต้องเลือกใช้ภาษา ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย เรื่องราวที่จะสื่อสาร และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะกับ ความสามารถและความพร้อมของผู้รับสารด้วย เพื่อให้สารที่ส่งไปนั้นเกิดความหมายได้ตรงกับสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ

33. โลกทางสังคม (Social World) เกิดจากอะไร
(1) ธรรมชาติ
(3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์
(2) สัญชาตญาณ
(4) ลักษณะเฉพาะของแต่ละคน
ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจาก สิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ทั้งนี้
เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

34. การใช้ภาษาในการโฆษณา ต้องคํานึงถึงอะไรเป็นหลัก
(1) ค่าคะแนนความนิยมรายการ
(2) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
(3) นโยบายของบริษัท
(4) งบประมาณการโฆษณา
ตอบ 2หน้า 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคํานึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษา ที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

35. การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) การโน้มน้าวใจ
(2) แจ้งข่าวสาร
(3) การสร้างความเข้าใจ
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

36. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสรรค์โฆษณา
(4) การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า
ตอบ 3 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนําเสนอ
แนวคิดดังกล่าวไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37. ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรมีสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Personality
(2) Empathy
(3) Public Relations
(4) Positioning
ตอบ 2 หน้า 41 คุณสมบัติประการหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรจะมี คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) เพราะการที่นักโฆษณาสามารถเข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ก็จะทําให้เข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจสําคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และควรสื่อสารอย่างไรที่จะเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านั้นได้

38. “Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานําเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ
ของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่ คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. เรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ มีส่วนสร้างความเป็นจริงลักษณะใด
(1) ตรงตามสภาพความจริง
(2) เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป
(3) มีลักษณะเป็นแบบฉบับตายตัว
(4) ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว
ตอบ 3หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏใน เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิก
ในสังคม โดยเรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

40. ผู้ส่งสารที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สื่อสาร รู้เรื่องเทคโนโลยี น่าเชื่อถือ
(2) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร เข้าใจผู้รับสาร
(3) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ มุ่งไปสู่เป้าหมาย
(4) มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน รู้เรื่องที่จะสื่อสาร รู้เรื่องสื่อใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้
1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร
3. ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

41. ข้อใดเป็นการจัดระดับความรู้ได้ถูกต้อง
(1) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น ใช้คําพูดของตนเอง เพิ่มเติมเรื่องราว วิเคราะห์เป็น ประเมินค่า
(2) เพิ่มเติมเรื่องราว บอกเล่าได้ ใช้คําพูดของตนเอง ประเมินค่าได้ วิเคราะห์เป็น
(3) ตระหนักรู้ บอกเล่าได้ ประเมินค่า วิเคราะห์ เพิ่มเติมเรื่องราวได้
(4) บอกเล่าได้เท่าที่เห็น วิเคราะห์เป็น เพิ่มเติมเรื่องราวได้ ประเมินค่า ใช้คําพูดตนเอง
ตอบ 1 หน้า 30 นักวิชาการด้านการศึกษาได้แบ่งระดับความรู้ของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. บอกเล่าเรื่องราวได้ตามที่ได้เห็นหรือได้ยินมา (จัดเป็นความรู้พื้นฐาน)
2. บอกเล่าเรื่องราวตามที่ได้เห็นได้ยินมาโดยใช้คําพูดของตนได้
3. สามารถเพิ่มเติมเรื่องราวจากความรู้ที่มีอยู่จริงได้
4. สามารถวิเคราะห์ได้
5. สามารถประเมินผลในสิ่งที่สื่อสารกันได้

42. การโฆษณาโดยให้ผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด
(1) Vignette
(2) Presenter
(3) Personality Symbol
(4) Testimonial
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนําเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น
การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นําเอาผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันถึงประสบการณ์ที่ได้รับ
หลังจากการใช้สินค้า เป็นต้น

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และ
เขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัยทางด้าน
จิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. แนวทางการโฆษณาข้อใดที่เป็นการมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(1) Soft Sell
(2) Hard Sell
(3) Slice of Life
(4) Lifestyle
ตอบ 2หน้า 45 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนําเสนอสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าโดยตรง ไม่อ้อมค้อม
2. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนําเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรง แต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45. “ผสาน 4 ขั้นตอนแห่งการบําบัดผิวใน 1 เดียว” เป็นตัวอย่างข้อความโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ (1) เหตุผล
(2) คุณลักษณะของสินค้า
(3) อารมณ์
(4) ผลประโยชน์
ตอบ 1 หน้า 45 – 46 สิ่งดึงดูดใจ (Appeal) ที่ปรากฏในสารโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ด้านเหตุผล เป็นการใช้คุณสมบัติทางกายภาพของสินค้ามาเป็นสิ่งดึงดูดใจ โดยจะกล่าวถึง การใช้ประโยชน์ ลักษณะเด่น คุณสมบัติ คุณภาพของสินค้า ราคาสินค้า ฯลฯ
2. ด้านอารมณ์หรือลักษณะทางจิตวิทยา เป็นการใช้ความต้องการหรือแรงจูงใจของผู้บริโภค มาดึงดูดใจให้ซื้อสินค้า โดยจะกล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้านั้น ๆ
เช่น ความพึงพอใจ ความเท่ ฯลฯ

46.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี
(1) สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
(2) มีใจความสําคัญประเด็นเดียว
(3) มีสัมผัสคล้องจอง
(4) มีความสัมพันธ์กับภาพโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 51 ลักษณะของคําขวัญโฆษณาที่ดี มีดังนี้
1. เป็นวลีหรือประโยคที่สั้น กะทัดรัด ชัดเจน
2. มีใจความสําคัญเพียงประเด็นเดียว
3. มีสัมผัสคล้องจอง ซึ่งอาจสัมผัสสระ หรือสัมผัสพยัญชนะ
4. มีจังหวะสม่ําเสมอ ง่ายแก่การจดจํา 5. ควรมีชื่อสินค้าอยู่ในคําขวัญ

47. ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์การ/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์พิจารณาจากอะไร
(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง
(2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง
(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริงไม่น่าเบื่อ
(4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง
ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์การ/สถาบันในการใช้การพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก
1. เป็นบุคคลสําคัญในองค์การ
2. เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด
3. เป็นผู้มีอํานาจตัดสินใจในการตัดสิน ระดับความลับของเรื่องที่พูด
4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
5. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร
6. เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ

48. การพิจารณาเนื้อหาก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลักอะไรเป็นเกณฑ์การพิจารณา
(1) Source, Message, Channel, Receiver
(2) Cognitive, Affective, Behavior
(3) Credibility, Context, Content, Clarity, Channel, Capability of Audience
(4) Attention, Interest, Desire, Action
ตอบ 3 หน้า 74 – 75, (คําบรรยาย) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบการใช้ภาษา ก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลัก 7 C ของการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย
1. ความน่าเชื่อถือ (Credibility)
2. บริบท (Context)
3. เนื้อหาสาระ (Content)
4. ความชัดเจน (Clarity)
5. ความต่อเนื่องและความแน่นอน (Continuity & Consistency)
6. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience)

49. โครงสร้างของการเขียนบทบรรณาธิการ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) ชื่อเรื่อง คํานํา เนื้อเรื่อง สรุป
(2) ข้อมูล ข่าวสาร และความคิดเห็น
(3) ตัวผู้เขียน เรื่องที่เขียน ความน่าสนใจ
(4) มีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ
ตอบ 1 หน้า 92 – 93, (คําบรรยาย) โครงสร้างของการเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง คือ ชื่อที่เขียนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
2. ความนํา คือ ส่วนแรกของเนื้อหา ซึ่งทําหน้าที่เป็นคํานําหรืออารัมภบท
3. เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่ดําเนินเรื่องราว
4. สรุป คือ ส่วนสุดท้ายหรือย่อหน้าสุดท้าย อาจเป็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อความที่ย้ําถึงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่กล่าวถึง

50. ข้อใดเป็นอวัจนภาษาที่สําคัญที่สุดในโทรทัศน์
(1) สี
(2) การจัดหน้า
(3) ภาพ
(4) พื้นที่ว่าง
ตอบ 3 หน้า 106, 108, 117 ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เราจะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลักและมีความสําคัญที่สุดในโทรทัศน์ ส่วนคําบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษาที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพ อย่างเดียวแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และมุมกล้องจะเป็นตัวช่วยเสริมเพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

51.“เสนอพระเถระสอบอธิกรณ์ ญาติโยมฮือไล่สมภารดัง” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาต่างประเทศในการพาดหัวข่าว
(2) ใช้คํา Vivid เพิ่มสีสัน
(3) ใช้ภาษาทางการ
(4) ใช้สมญานาม

ตอบ 2 หน้า 22 การใช้คํากริยาที่มีชีวิตชีวา ใช้คําที่มีพลังและสร้างสีสัน (Vivid) หรือใช้คําที่ทําให้เกิด ภาพพจน์ในการพาดหัวข่าว ซึ่งบางครั้งคํากริยาที่มีชีวิตชีวานั้นก็เป็นการสร้างสีสันเกินจริง เช่น การใช้คําว่า โวย, ว๊าก, โต้, ปู, ป่วน, เด้ง, ผวา, อุ้ม, เช่น, ฮือ เป็นต้น

ข้อ 52 – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight News
(2) Human Interest
(3) Feature Story
(4) Article

52. “เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าวและวิทยุโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง ข้อกล่าวหาสื่อรับเงินบริษัทเอกชนเพื่อปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพ” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 1 หน้า 84 การเขียนข่าวแบบตรงไปตรงมา (Straight News) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่บอก ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมสีสันลงไปในเนื้อข่าว ดังนั้นลักษณะการเขียนจึงเป็นการบอกกล่าวกับผู้อ่านว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม
และอย่างไร

53.“คนร้ายลอบยิงเจ้าของสวนยางพาราเสียชีวิต ตรวจสอบประวัติผู้ตายพบว่าเป็นเจ้าของสวนยางมีฐานะดี
เป็นคนดีในหมู่บ้าน คาดสาเหตุมาจากเรื่องจุดประทัดไล่วัยรุ่นที่มาขโมยใบกระท่อม โดยผู้ตายจับได้
จุดประทัดยักษ์แล้วโยนไปนอกบ้านเสียงดังสนั่น” เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 2 หน้า 84, (คําบรรยาย) การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียน เนื้อข่าวที่ใช้การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ โดยภาษา ที่ใช้มักเขียนเพื่อสร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

54.“รางวัลศิลปาธร จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินรุ่นกลางที่มีผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่น มีการริเริ่มสิ่งใหม่ทางศิลปะร่วมสมัยและเกิดผลกระทบเชิงบวกแก่สังคม เพื่อเป็นขวัญและ กําลังใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าออกสู่สังคมทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล”
เป็นการเขียนข่าวประเภทใด
ตอบ 3 หน้า 84 การเขียนสารคดีเชิงข่าว (Feature Story) เป็นการเขียนเนื้อข่าวโดยให้ข้อมูล ภูมิหลังและรายละเอียดนอกเหนือจากที่ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ความรู้กับผู้อ่าน เกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

55. ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการอ่านทางโทรทัศน์
(1) อธิบายสิ่งที่ผู้ชมเห็นและเข้าใจได้จากภาพ
(2) อ่านให้เหมือนการบรรยายหรือการสอบ
(3) อ่านให้เหมือนการแสดงละคร
(4) อ่านให้เหมือนการพูดเล่า
ตอบ 4 หน้า 107, (คําบรรยาย) ผู้อ่านหรือผู้ประกาศ (Announcer) ทางโทรทัศน์ควรยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. หากเกิดความไม่แน่ใจต่อคําอ่านว่าออกเสียงอย่างไรก็ควรเปิดพจนานุกรมดู
2. ระลึกอยู่เสมอว่าผู้อ่านกําลัง “พูด” มิใช่ “อ่าน” โดยควรอ่านด้วยลีลาการพูด ซึ่งจะช่วยให้ คําอ่านเป็นธรรมชาติ
3. ทําใจให้เป็นกลาง ไม่อคติกับบุคคลในข่าว
4. ทําตนให้เป็นกันเอง กับผู้ชม คือ ถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารให้ฟังในลักษณะเล่าเรื่อง รวมทั้งพยายามสบตาผู้ชม ทางบ้าน (ผ่านทางกล้อง) ด้วย ไม่ใช่เพ่งความสนใจไปที่คําอ่านตามบทเท่านั้น

56. “ดักถล่มลูกซองเจ้าของสวนยาง” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) เขียนประโยคเต็มใจความสมบูรณ์
(2) ใช้คําชวนสงสัย
(3) ละประธานของประโยค
(4) ใช้ฉายาพาดหัว
ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้นด้วย คํากริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ตักถล่มลูกของเจ้าของสวนยาง ปฏิรูปก่อนกาบัตร ปลัด ยธ.แนะรัฐบาลยุติรักษาการ, พลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มี เจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น
ฯลฯ

57. หากต้องการนําเสนอภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง โดยการเคลื่อนกล้องเป็นแนวครึ่งวงกลม เป็นการใช้ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) อาร์ค
(4) ทรัค
ตอบ 3 หน้า 113, (คําบรรยาย) อาร์ค (Arc) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องอย่างช้าในลักษณะเดียวกับ ดอลลี่ (Dolly) แต่เป็นการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งในลักษณะครึ่งวงกลม ทั้งนี้เพื่อนําเสนอ
ภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง

58. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

59. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพโดยใช้ภาพจางซ้อน
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Dissolve
(4) Split Screen
ตอบ 3 หน้า 114 ดิสซอลว์ (Dissolve) คือ เทคนิคการตัดต่อลําดับภาพเพื่อทําภาพผสมให้จางซ้อนกัน โดยที่ภาพ ๆ หนึ่งค่อย ๆ จางหายไป ในขณะที่ภาพอีกภาพหนึ่งขึ้นมาแทนที่

60. ความเข้มของแสง ทําให้เกิดสิ่งใด
(1) ความร้อน/เย็น
(2) ความนุ่มนวล/แข็งกระด้าง
(3) ความสดใส/ความสลัว
(4) ความทึบ โปร่งแสง
ตอบ 2 หน้า 115 ความเข้มของแสง คือ การจัดแสงในฉากนั้น ๆ ให้มีความมืดหรือความสว่าง มากน้อยเพียงใดในฉากเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีส่วนที่สว่างมากและสว่างน้อยแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ความเข้มของแสงสามารถบอกเรื่องราวและอารมณ์ของเรื่องได้ และยังมีผลต่อการเกิด ความนุ่มนวลหรือความแข็งกระด้างของภาพที่ปรากฏอีกด้วย

61. ส่วนที่เป็นเนื้อหาของบทวิทยุกระจายเสียง จะอยู่ที่ส่วนใด
(1) ส่วนที่ 1
(2) ส่วนที่ 2
(3) ส่วนที่ 3
(4) ส่วนที่ 4
ตอบ 3หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนหัว
2. ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจําเป็นที่ใช้ในรายการ
3. ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่ กําหนดให้ทํา ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ
4. ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

62. ข้อใดหมายถึงเนื้อหาโฆษณาที่ให้ความรู้
(1) Documentary
(2) Editorial
(3) Advertorial
(4) Drama
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Advertorial มาจากคําว่า Advertising + Editorial หมายถึง เนื้อหาโฆษณา ที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการโน้มน้าวใจ โดยมีลักษณะเป็นโฆษณาแฝงสอดแทรกอยู่ในบทความ ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ หรือเป็นโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบหนึ่งที่ตั้งใจ ให้ดูเหมือนเป็นบทความมากกว่าโฆษณา

63. การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสําหรับรายการข่าว ควรเขียนแบบใด
(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ
(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์
(3) ประเภทสมบูรณ์
(4) ประเภทแสดงเค้าโครง
ตอบ 3 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือ ลําดับการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

64. ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ มีหน้าที่อะไร
(1) บอกเล่าเรื่องราว
(2) ถ่ายทอดเนื้อหา
(3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง
(4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก
ตอบ 3 หน้า 116, (คําบรรยาย) เสียงดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นสิ่งสําคัญรองจาก ภาพและคําพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สําคัญ ดังนี้
1. ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ
2. ใช้เพื่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ
3. ใช้เพื่อเน้นอารมณ์ และความรู้สึกของผู้แสดง
4. ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว 5. ใช้เป็นดนตรีประจํารายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

ข้อ 65 – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Disc Jockey
(3) Announcer
(4) Producer

65. ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการ
ตอบ 1 หน้า 96, (คําบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดําเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนําผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

66. ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศ
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชมผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐาน การศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี (ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ)

67. ข้อใดหมายถึงผู้ผลิตรายการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Producer หมายถึง ผู้ผลิตรายการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตรายการ อํานวยการ และประสานงานกับบุคลากรในการผลิตรายการทุกส่วนตามแผนการผลิตรายการ ที่ได้กําหนดไว้

68. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MLS
(2) LS
(3) ELS
(4) SLS
ตอบ 3 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทํารายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

69. คําสนทนาในบทละครโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Narration
(2) Announcement
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 4 หน้า 106, (คําบรรยาย) คําสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียว ในลักษณะที่เป็นการสื่อสารกับผู้ชมรายการโดยตรง 2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

70. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Image
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละชอตมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

71. ข้อใดหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระยะของภาพโดยการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) ซูม (Zoom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความยาว โฟกัสของเลนส์ซูมให้ยาวขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ทําให้ได้ ภาพโตขึ้นตามลําดับ (Zoom In) หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้สั้นเข้า เพื่อเปลี่ยนแปลง ระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูไกลออกไป ทําให้ได้ภาพเล็กลงตามลําดับ (Zoom Out)

72. ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ข้อใด
(1) ผังรายการ
(2) เอกสารคู่มือรายการ
(3) บทวิทยุกระจายเสียง
(4) รายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทํา
ตอบ 3 หน้า 102, (คําบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการ วิทยุกระจายเสียง โดยจะมีหน้าที่บอกลําดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง จบรายการ เพื่อให้รายการดําเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของรายการ ที่วางไว้

73. ควรใช้เทคนิคใดหากต้องการใส่ชื่อและตําแหน่งบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์ซ้อนในภาพ
(1) Title
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Sub-title
ตอบ 2 หน้า 106 — 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็น ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว ได้แก่
1. การทําไตเติ้ลรายการ คือ คําบรรยายที่บอกชื่อรายการ ชื่อผู้แสดงหรือผู้ที่ร่วมรายการ ผู้กํากับรายการ ช่างกล้อง ช่างแสง ฯลฯ โดยมักใช้ในตอนเริ่มรายการและตอนจบรายการ
2. Sub-title คือ คําบรรยายสั้น ๆ ที่บอกชื่อและตําแหน่งบุคคลในรายการโทรทัศน์ โดยจะใช้ ตัวอักษรวิ่งสีขาวที่ด้านล่างของจอ หรือใช้ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพ มักใช้ในรายการข่าว สนทนา สัมภาษณ์ อภิปราย หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีคําบรรยายภาษาไทย

74. หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวง น่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร
(1) เหลือง
(2) ฟ้า
(3) ดํา
(4) น้ําเงิน
ตอบ 4 หน้า 115 – 116, (คําบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมักใช้ ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้าน, สีน้ําเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

75. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บน เครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 112 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครน หรือปั้นจั่นจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ในระดับเดิม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 76. – 78.
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen

76. หากต้องการหยุดภาพโทรทัศน์ให้ผู้ชมเห็นเป็นภาพนิ่ง ต้องใช้เทคนิคใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

77. ปกติการเปลี่ยนภาพโทรทัศน์จากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง ใช้เทคนิคใด
ตอบ 2 หน้า 114 ไวน์ (Wipe) คือ เทคนิคการเปลี่ยนภาพโทรทัศน์จากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง โดยการกวาดภาพเพื่อเปลี่ยนจากฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่ง ซึ่งลักษณะของภาพจะดูคล้ายกับการนําภาพใหม่เข้ามาแทนภาพเดิม หรือนําภาพใหม่มากวาดภาพเดิมให้ตกจากขอบจอโทรทัศน์ไป

78. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพในหน้าจอเดียวกัน
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสดฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 79. – 81. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Pan
(2) Tilt
(3) Pedestal
(4) Boom

79. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์แบบพาโนรามา ต้องเคลื่อนกล้องแบบใด
ตอบ 1 หน้า 112, (คําบรรยาย) แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะแนวนอน จากขวามาซ้าย หรือซ้ายมาขวา เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น เช่น การถ่ายภาพ ทิวทัศน์แบบพาโนรามา (Panorama) โดยการหมุนกล้อง เพื่อให้เห็นภาพวิวทิวทัศน์ในมุมกว้าง ได้สมบูรณ์เต็มตา

80. หากต้องการถ่ายภาพเพื่อแสดงความสูงของตึกในแนวตั้ง ต้องเคลื่อนกล้องแบบใด
ตอบ 2 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยหรือก้มกล้อง ในลักษณะแนวตั้ง ตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ําได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพ ตึกสูงโดยให้ผู้ชมได้เห็นภาพตั้งแต่ด้านล่างของตึกและไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เพื่อแสดงความสูง
ของตึกในแนวตั้ง

81. ใช้เครนยกกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้ง ต้องใช้เทคนิคการเคลื่อนกล้องแบบใด
ตอบ 4 หน้า 112, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่น หรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ํา

82.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์หรือผู้วิจารณ์ ในรายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

83.Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

84. ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ใช้สํานวนโวหาร
(2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ
(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

85. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ
(2) ข่าวหนัก
(3) ข่าวเบา
(4) ข่าวที่มีคุณภาพ
ตอบ 2 หน้า 76 – 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการและกึ่งทางการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

86. บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด
(1) ร้อยแก้ว
(2) ร้อยกรอง
(3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
(4) สารคดี
ตอบ 1 หน้า 77 – 78, 89 บทบรรณาธิการหรือบทนํา (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว
โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสําคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับต่อสถานการณ์ที่กําลังอยู่ในกระแสสังคม

87. บทบรรณาธิการมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น
(2) เป็นการนําเสนอข้อมูลใหม่ ๆ
(3) แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม
(4) แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร
(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก
(2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ
(3) ใช้ภาษาปาก
(4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89. การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ ใช้รูปแบบการเขียนแบบใด
(1) Inverted Pyramid
(2) Upright Pyramid
(3) Combination
(4) Straight News
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อ 90. – 92. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม

“ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าตลอดระยะเวลากว่า 360 วันที่ผ่านมานี้ หน่วยงานของรัฐได้เอาใจใส่ ติดตามการดําเนินงานในเชิงรุก หรือมาตรการป้องกันระยะยาวที่ได้วางไว้หรือไม่เท่านั้น เพราะจะว่าไปแล้วเรื่องใหญ่ขนาดนี้จะต้องบูรณาการแล้วทํางานติดต่อกันไปตลอดทั้งปี”

90. บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) เสนอแนะ
(2) อธิบายความ
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
ตอบ 4หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้
1 ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา
2. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ
3. ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คําแนะนําหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

91. บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 15, 90, 92, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Formal Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

92. บทความข้างต้นเป็นบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) แนะนํา
(4) เรียกร้องให้เกิดการกระทํา
ตอบ 3 หน้า 91 – 92 บทบรรณาธิการประเภทเสนอแนะ (Suggest) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียน
ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กําลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูกต้อง ซึ่งการเสนอแนะหรือแนะนําจะเป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้แก่ผู้อ่านและผู้เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาเลือกปฏิบัติ โดยอาจให้กระทํา ไม่กระทํา หรือเลือกกระทําตามแต่กรณี แต่จะ ไม่รุนแรงถึงกับเรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น

ข้อ 93 – 94. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคําถาม
“จึงเป็นเรื่องที่ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรจะทบทวนหรือมีเงื่อนไขหรือข้อกําหนดพิเศษมา รองรับในกรณีที่ต้องหานายกรัฐมนตรีคนนอก คงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็น
ของทุกคน ซึ่งอาจต้องฝากความหวังไว้กับแม่น้ําที่เหลืออีก 4 สาย”

93. ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด
(1) ให้ข่าวสาร
(2) อธิบายความ
(3) แนะนํา
(4) วิจารณ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด
(1) อธิบายความ
(2) วิพากษ์วิจารณ์
(3) วิเคราะห์
(4) ให้คําแนะนํา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 90. ประกอบ

95. “เลียนแบบเกม โจฟิลิปปินส์วัย 19 ฆ่าปาดคอแม่เฒ่าในหมู่บ้านเชียงใหม่” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 4 หน้า 83 ความนําแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. The Who Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์การหรือสถาบันที่เป็นข่าว
2. The What Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
3. The Where Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ
4. The When Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ
5. The Why Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ
6. The How Lead ได้แก่ ความนําที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ที่เป็นข่าว

96. “3 ขั้นตอนสําคัญสู่ผิวสวย” เป็นข้อความพาดหัวประเภทใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 4 หน้า 47 – 48 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการ ทําให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาคําตอบหรือแก้ข้อสงสัยนั้น ด้วยการอ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ จึงเหมาะกับสินค้าที่มีคุณสมบัติหรือข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจริง ๆ เพราะหากข้อความที่ตามมาไม่ได้เสนอข้อมูลที่มีคุณค่าหรือเสนอคุณประโยชน์ ของสินค้าที่สมกับความสนใจใคร่รู้ของผู้อ่านแล้ว อาจทําให้โฆษณานั้นขาดความน่าเชื่อถือได้

97. “เพื่อผิวชุ่มชื้น ดูอิ่มเอิบตลอด 24 ชั่วโมง” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) เป็นคําสั่ง
ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

98. “เดี๋ยวอึด เดี๋ยวเฟ้อ บรรเทาด้วย ยาแคปซูลขมิ้นชันอ้วยอัน” เป็นการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
(4) เป็นคําแนะนํา
ตอบ 4หน้า 47 การให้คําแนะนํา (Advice) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการแนะนํา ให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการทําตาม คําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจงลงไปที่การป้องกันหรือ แก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่

99. หากบทเขียนว่า “กลั้วกล้ํากลืน” แล้วผู้อ่านอ่านว่า “กลัวกล้ํากลืน” แสดงว่ามีปัญหาการอ่านข้อใด
(1) ตู่คํา
(2) ตกคํา
(3) เพี้ยนวรรณยุกต์
(4) เพี้ยนพยัญชนะ
ตอบ 3 หน้า 100 ตัวอย่างการอ่านออกเสียงเพี้ยนแปร่ง มีดังนี้
1. เพี้ยนพยัญชนะ เช่น ความ อ่านเป็น ฟาม, ศาสตราจารย์ อ่านเป็น ศาสดาจารย์ ฯลฯ
2. เพียนสระ เช่น แจ้ง อ่านเป็น เจ้ง, ไป อ่านเป็น ปาย, ค่ะ อ่านเป็น ค่า ฯลฯ
3. เพี้ยนวรรณยุกต์ เช่น กลั้ว อ่านเป็น กลัว, กล้ํา อ่านเป็น กล่ํา ฯลฯ

100. “รัสเซียคลั่งคว้าเหล็กแป๊บทุบกระจกรถที่จอดในวัด รปภ. เข้าห้ามเจอที่น่วมดับคาที่” เป็นความนําประเภทใด
(1) The Who Lead
(2) The What Lead
(3) The Where Lead
(4) The Why Lead
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

 

CDM2103 (MCS1151) ทฤษฎีการสื่อสาร 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ข้อ 1. – 3. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด

(1) วัจนภาษา (2) อวัจนภาษา

1. การแสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์เกี่ยวกับวัคซีน
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร มี 2 ประเภท ได้แก่
1. วัจนภาษา (Verbal Language) คือ ภาษาที่เป็นคําพูด ได้แก่ ภาษาพูดและภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (Nonverbal Language) คือ ภาษาที่ไม่ใช่คําพูด ได้แก่ สัญลักษณ์ สัญญาณ หรืออากัปกิริยาต่าง ๆ (เช่น การหาว, การโบกมือ, การพยักหน้า, การสวมหน้ากากอนามัย ๆ ออกนอกบ้าน, การเว้นระยะห่างทางสังคม ฯลฯ) รวมไปถึงรหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูด แต่ว่า สามารถสื่อความหมายได้ (เช่น ป้ายจราจร ฯลฯ)

2.การสวมหน้ากากอนามัยออกนอกบ้าน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เวลาเข้าแถวขึ้นรถไฟฟ้า
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

4. สื่อใดไม่ใช่สื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 44, (คําบรรยาย) การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นกิจกรรมด้านการ สื่อสารที่เกี่ยวข้องกับมวลชนจํานวนมากที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างหลากหลาย ซึ่งต้อง อาศัยสื่อมวลชน (Media of Mass Communication/Mass Media) เป็นช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกับ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับคนจํานวนมากที่อยู่กระจัดกระจาย ตามที่ต่าง ๆ ได้พร้อมกัน โดยไม่ถูกจํากัดในเรื่องเวลาและสถานที่ เช่น การดูละครทางโทรทัศน์, การฟังวิทยุ, การอ่านหนังสือพิมพ์, การดูภาพยนตร์ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ ฯลฯ

5. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการสื่อสารแบบเส้นตรง
(1) การโฆษณาชวนเชื่อ
(2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(3) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(4) การปฏิบัติตาม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบเส้นตรง หรือเรียกว่า “การสื่อสารทางเดียว” (One – way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึงการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ (Feedback) จากผู้รับสาร ซึ่งเป็นการสื่อสารที่เหมาะกับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือคําสั่งที่เน้นให้ต้องปฏิบัติ ตามอย่างทันที โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการปฏิบัติตาม เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือ ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ

6. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการสื่อสารแบบสองทาง
(1) การโฆษณาชวนเชื่อ
(2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
(3) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(4) การปฏิบัติตาม
ตอบ 3 หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54, (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบวงกลม หรือเรียกว่า “การสื่อสาร สองทาง” (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่มีความหมายความรวมไปถึง การรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสาร ได้รับสารแล้วตอบโต้กลับ และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสาร (Interaction) โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดการแชร์ความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจับเข่าคุยกัน หรือการพบกันครึ่งทาง (Win – Win)

7. ข้อใดคือการเข้ารหัส (Encoding) ของสื่อมวลชน
(1) การใช้เสียงขนหัวลุกในภาพยนตร์สยองขวัญ
(2) การนําคลิปจากสื่อออนไลน์มานําเสนอ
(3) การแต่งกายของพิธีกร
(4) การตอบคําถามจากผู้ชมทางบ้าน
ตอบ 1 หน้า 55 – 56, 66 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาสาร สื่อ หรือช่องทางการสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือกิริยาท่าทางที่คาดหวังไว้ว่าผู้รับสาร (Receiver) จะเข้าใจสารนั้น

8. สถานการณ์ในข้อใดที่ผู้รับสารมีสถานะตรงกับคุณสมบัติของ “มวลชน” (Mass) มากที่สุด
(1) ม็อบนักศึกษาหน้าเซ็นทรัลเวิลด์
(2) นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน
(3) ผู้ชมภาพยนตร์ช่อง Mono 29 ทางบ้าน
(4) แฟนคลับน้องสายฟ้า – น้องพายุ
ตอบ 3 หน้า 80 คําว่า “มวลชน” หมายถึง กลุ่มผู้ชม – ผู้ฟังโทรทัศน์ (Audience) ภาพยนตร์ วิทยุ และกลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน อาจไม่รู้จักกันเลย และ อาจอยู่กระจัดกระจายจากกัน ดังนั้นกลุ่มผู้ชม ผู้ฟังของสื่อมวลชนเหล่านี้ อาจจะหมายถึง กลุ่มผู้บริโภคสําหรับวงการตลาด หรือผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในวงการเมืองก็ได้

9. ข้อใดที่สะท้อนคุณสมบัติของความเป็น “ดิจิทัล” ได้ชัดเจนที่สุด
(1) การทะเลาะกับเพื่อนในไลน์กลุ่ม
(2) การแย่งรีโมตคอนโทรล
(3) การนัดชุมนุมประท้วงผ่านแอปพลิเคชัน
(4) การดูรายการย้อนหลังในห้องนั่งเล่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สื่อใหม่ หมายถึง สื่อที่มีความเป็นดิจิทัล โดยมีลักษณะการทํางานและมีการ ประมวลผลแบบดิจิทัล ซึ่งมีความหลากหลาย รวดเร็ว และแม่นยํามากกว่าระบบแอนะล็อก ทั้งนี้สิ่งที่สะท้อนคุณสมบัติของความเป็นดิจิทัลได้ชัดเจนที่สุดก็คือ การดูรายการย้อนหลังได้ หรือสามารถแยกดูได้เป็นตอน ๆ

10. รายการที่นําเสนอผ่านสื่อมวลชนควรมีเนื้อหาในรูปแบบใด
(1) เน้นสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ
(2) ออกแบบเนื้อหาจากความต้องการของผู้รับสาร
(3) เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ชม
(4) เน้นนําเสนอสิ่งที่คนส่วนมากเข้าใจง่าย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รายการที่นําเสนอผ่านสื่อมวลชน ควรเน้นนําเสนอสิ่งที่คนส่วนมากเข้าใจง่าย ตามความเชื่อที่ว่า “One Message Fits All” คือ เนื้อหาแบบเดียวสื่อสารกับคนจํานวนมาก ได้ทุกกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่ต้องออกแบบเนื้อหาให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละสื่อ

11. ข้อใดคือการถอดรหัสสาร (Decoding) แบบต่อรองความหมายของผู้รับสาร ตามแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้ารหัส & ถอดรหัสสาร
(1) นายเอยินยอมไปฉีดวัคซีนตามที่ข่าวนําเสนอทันทีโดยไม่เกี่ยงยี่ห้อ
(2) นายปีไม่ยินยอมฉีดวัคซีน เนื่องจากกลัวผลข้างเคียง
(3) นายไม่รู้เรื่องข่าวสารการฉีดวัคซีนเลย
(4) นายดีอยากฉีดวัคซีน แต่ขอรอเลือกยี่ห้อที่ตนเองไว้วางใจ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) รูปแบบการถอดรหัสสาร (Decoding) ของผู้รับสาร ตามแนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้ารหัส & ถอดรหัสสารจะมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้
1. เห็นด้วย/ยอมรับ เช่น นายเอยินยอมไปฉีดวัคซีนตามที่ข่าวนําเสนอทันทีโดยไม่เกี่ยงยี่ห้อ
2. ต่อรอง/ยอมรับเฉพาะบางส่วน เช่น นายดีอยากฉีดวัคซีน แต่จะขอรอเลือกยี่ห้อที่ตนเอง
ไว้วางใจก่อน
3. ไม่เห็นด้วย/ไม่ยอมรับ เช่น นายปีไม่ยินยอมฉีดวัคซีน เนื่องจากกลัวผลข้างเคียง

12.การสื่อสารแบบ “พบกันครึ่งทาง”, “จับเข่าคุยกัน” เป็นเอกลักษณ์ของการสื่อสารรูปแบบใด
(1) การสื่อสารแบบเส้นตรง
(2) การสื่อสารแบบสองทาง
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก
(4) การสื่อสารแบบสั่งการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

13. การสื่อสารแบบใดที่ทั้งสองฝ่ายมีสถานะเป็น “ผู้มีคว
(1) การสื่อสารแบบสั่งการ
(2) การสื่อสารแบบบริการ
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก
(4) การสื่อสารแบบสนทนา
ตอบ 4หน้า 127, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบสนทนา (Conversation) คือ การสื่อสารแบบสนทนา ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. เน้นการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การพูดคุยซีรีส์ที่ตนเองชอบกับเพื่อน เป็นต้น
2. เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
3. เน้นการแสดงออก การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
4. ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีอํานาจในการสื่อสารเท่าเทียมกัน หรือมีสถานะเป็น “ผู้มีความ

14. ข้อใดไม่ใช่อวัจนภาษา
(1) การพยักหน้า
(2) การเว้นระยะห่างทางสังคม
(3) การตอบข้อสอบแบบอัตนัย
(4) ป้ายจราจร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

15. การที่บุคคลนั่งรถมากกว่า 1 คน แล้วไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยจะถูกปรับ 20,000 บาท สอดคล้องกับ
การสื่อสารรูปแบบใด
(1) การสื่อสารแบบเส้นตรง
(2) การสื่อสารแบบสองทาง
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก
(4) การสื่อสารแบบสั่งการ
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) รูปแบบของการสื่อสารแบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่มีความเสมอภาคกัน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. ผู้ส่งสารมีอํานาจเหนือกว่าผู้รับสาร และผู้รับสารต้องปฏิบัติตามอย่างไม่มีทางเลือก
2. เกี่ยวข้องกับการปราศรัยของนักการเมือง การโฆษณาชวนเชื่อ การสื่อสารมวลชน การบังคับ และการครอบงําทางชนชั้น
3. เป็นประโยคคําสั่งจากบุคคลที่มีอํานาจมากกว่า เช่น การบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัยก่อน ออกจากบ้าน, การที่ประชาชนต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เป็นต้น
4. มักเกี่ยวกับเรื่องการบังคับทางกฎหมาย มาตรการด้านการควบคุมโรค จารีตประเพณีและ ขนบธรรมเนียมของแต่ละสังคมที่จะต้องปฏิบัติตาม

ข้อ 16. – 19. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด

(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน

16. การที่นักศึกษาแซ็ตคุยกับเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันเมสเซนเจอร์
ตอบ 1 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถแลกเปลี่ยนสาร สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้โดยตรงและรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือแบบเผชิญหน้า เช่น การพูดคุยปรึกษาหารือกันกับเพื่อน ฯลฯ หรืออาจเป็นการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การสนทนาโต้ตอบกันหรือแช็ตคุยผ่านทาง อินเทอร์เน็ต, การพูดคุยและส่ง SMS ทางโทรศัพท์, การส่ง E-mail ฯลฯ

17. การที่นักศึกษาดูภาพยนตร์เรื่องร่างทรงทางเน็ตฟลิกซ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

18. การที่นักศึกษาไปดูคอนเสิร์ตลิซ่า แบล็คพิงค์
ตอบ 3 หน้า 43, (คําบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) มีลักษณะดังนี้
1. เกิดขึ้นในที่สาธารณะมากกว่าในที่ส่วนบุคคล เช่น ห้องประชุม เวทีคอนเสิร์ต ฯลฯ
2. มีลักษณะการพูดเป็นทางการหรือกึ่งทางการ
3. มีประเด็นในการสื่อสาร มีขั้นตอนและรูปแบบการดําเนินการที่ชัดเจน
4. ผู้รับสารแม้จะมีจํานวนมาก แต่ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน

19. การที่นักศึกษาประชุมงานกลุ่ม ผ่านฟังก์ชันวิดีโอคอล
ตอบ 2 หน้า 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small Group Communication) หมายถึง การสื่อสารกลุ่มเล็กที่มีสมาชิกจํานวน 3 คนขึ้นไป (แต่สมาชิกต้องไม่มากเกินไป สามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง) โดยคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร ส่วนคนอื่น ๆ ก็จะเป็น ผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยตรงแบบตัวต่อตัว แต่จะช้ากว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การที่นักศึกษาประชุมงานกลุ่ม ผ่านทางฟังก์ชัน วิดีโอคอล, การประชุมกลุ่มย่อย ฯลฯ

20. การสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารมวลชนมีความแตกต่างใดที่ชัดเจนที่สุด
(1) มีมวลชนมารวมกันจํานวนมาก
(2) ประเด็นในการสื่อสาร
(3) การมีเป้าหมายชัดเจนของการมารวมตัวร่วมกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. และ 18. ประกอบ

21.การสื่อสารตามแบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล (S-M-C-R) เหมาะกับรูปแบบการสื่อสารแบบใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย
(3) การสื่อสารองค์กร
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 1 หน้า 59 – 61, (คําบรรยาย) แบบจําลองการสื่อสาร S-M-C-R ของเดวิด เค. เบอร์โล เป็นแบบจําลองที่เหมาะกับรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล โดยปัจจัยที่มีความสําคัญ ต่อการสื่อสาร ซึ่งจะมีผลต่อคุณลักษณะของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ได้แก่
1. ทักษะการสื่อสาร
2. ทัศนคติ/เจตคติ
3. ระดับความรู้
4. ประสบการณ์
5. ระบบสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

ข้อ 22 – 24. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับแบบจําลองใด
(1) แบบจําลองของออสกูตและแชรมม
(2) แบบจําลองของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล
(4) แบบจําลองของธีโอดอร์ นิวคอมบ์

22. การที่นักศึกษาปลอบใจตัวเองว่า “ไม่เป็นไรหรอก นาน ๆ กินที” ขณะทานเค้กในช่วงลดน้ำหนัก
ตอบ 4 หน้า 61- 64 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ จัดเป็นแบบจําลอง เชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นมาเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลหรือเกิด ความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารช่วยให้ เกิดการตกลงใจหรือยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อใดที่มีความไม่สมดุล เกิดขึ้น มนุษย์ก็จะแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อขจัดความยุ่งยากหรือ ความเครียดอันเกิดจากความไม่สมดุลนั้น ๆ

23. เนื้อหาสารสามารถเป็นได้ทั้งคําพูด รหัส ภาษาเขียน ภาษาสัญลักษณ์ (วัจนภาษาและอวัจนภาษา)
ตอบ 3 หน้า 60 – 61, 68 แบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล (S-M-C-R) กล่าวว่า สารมีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้
1. รหัสของสาร (Message Code) ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษา ท่าทาง สัญลักษณ์หรือรหัสอื่น ๆ เช่น รหัสสารเชิงวัฒนะ (วัจนภาษา) และรหัสสารเชิงอวัจนะ (อวัจนภาษา)
2. เนื้อหา (Content)
3. การจัดสาร (Treatment)

24. การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีสถานะเท่าเทียมกัน คือ “ผู้ตีความ” (Interpreter)
ตอบ 1 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของออสกูด (Osgood) และ วิลเบอร์ ซแรมม์ (Schramm) ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็น วงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็กระทําหน้าที่เหมือน ๆ กัน 3 ประการใน กระบวนการสื่อสาร คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกัน ก็มักขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

25. การที่ผู้ส่งสารต้องพิจารณาทักษะการสื่อสาร ความรู้ ทัศนคติ สังคมและวัฒนธรรมของทั้งตนเองและ ผู้รับสาร เป็นเป้าหมายของแบบจําลองการสื่อสารใด
(1) แบบจําลองของออสกูดและแซรมม์
(3) แบบจําลองของเดวิด เค. เบอร์โล
(2) แบบจําลองของแซนนั้นและวีเวอร์
(4) แบบจําลองของธีโอดอร์ นิวคอมบ์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

26.แบบจําลองการสื่อสารของลาสเวลล์ เหมาะกับบริบทการสื่อสารแบบใด
(1) การเมืองการปกครอง
(2) สื่อสังคมออนไลน์
(3) โทรคมนาคม
(4) จิตวิทยา
ตอบ 1 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการ สื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่าผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร ซึ่งกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการ ในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสม แก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองการปกครองและการโน้มน้าวใจ แต่ก็ยัง ขาดปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสื่อสาร ซึ่งนั่นก็คือ ผลสะท้อนกลับ หรือปฏิกิริยาตอบกลับ ที่เรียกกันว่า “Feedback

27. แบบจําลองการสื่อสารของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ เหมาะกับบริบทการสื่อสารแบบใด
(1) การเมืองการปกครอง
(2) สื่อสังคมออนไลน์
(3) โทรคมนาคม
(4) จิตวิทยา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 22. ประกอบ

ข้อ 28 – 30. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด
(1) การสื่อสารแบบสั่งการ
(2) การสื่อสารแบบบริการ
(3) การสื่อสารแบบเป็นสมาชิก

28. การที่นักศึกษาจ่ายค่าสมาชิกรายปี เพื่อรับชมภาพยนตร์ผ่านเน็ตฟลิกซ์ (Netflix)
ตอบ 3 หน้า 115, (คําบรรยาย) รูปแบบของการสื่อสารแบบเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบอย่างของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ซึ่งจะ
มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสาร ผู้รับสารเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน
2. เน้นความต้องการของผู้รับสารมากกว่าผู้ส่งสาร
3. ผู้รับสารเลือกเป็นสมาชิกหรือติดตามในสิ่งที่ตนเองสนใจโดยปราศจากการบังคับ
เน้นความสมัครใจและความพึงพอใจของผู้รับสารเป็นหลัก
4. เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมและการปฏิสัมพันธ์ การแบ่งแยกทางสังคม บรรทัดฐานของสื่อ และการเชื่อมโยงระหว่างสื่อกับผู้รับสาร

29. การที่นักศึกษาเกิดความประทับใจในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน
ตอบ 2 หน้า 114, (คําบรรยาย) รูปแบบของการสื่อสารแบบการบริการ (Service Mode) มีดังนี้
1. เน้นความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ส่งสาร-ผู้รับสาร
2. เป็นความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างผู้ส่งสาร-ผู้รับสาร เช่น การเสียเงินดูภาพยนตร์แล้วได้รับ ความบันเทิงกลับมา, การเกิดความประทับใจในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน
3. เกี่ยวข้องกับการโฆษณา พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารการตลาด และสังคมข้อมูลข่าวสาร

30. การที่นักศึกษาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อที่จะได้กลับเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

ข้อ 31 – 34. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับการสื่อสารแบบใด
(1) การสื่อสารแบบ Allocation
(3) การสื่อสารแบบ Conversation
(2) การสื่อสารแบบ Registration
(4) การสื่อสารแบบ Consultation

31. การที่นักศึกษาสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าจึงนัดพูดคุยกับจิตแพทย์
ตอบ 4 หน้า 127, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบการปรึกษาหารือ (Consultation) คือ การให้คําปรึกษา ให้คําแนะนํา จากผู้ที่มีอํานาจมากกว่าไปยังผู้มีอํานาจน้อยกว่า หรือจาก ผู้มีข้อมูลมากกว่าไปยังผู้ที่ไม่มีข้อมูล เช่น แม่-ลูก, ครู-นักเรียน, จิตแพทย์-คนไข้ ฯลฯ ดังนั้น ผู้ส่งสารกับผู้รับสารจึงมีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน แต่มีความผูกพัน

32. การที่นักศึกษาเข้าไปแก้ข้อมูลดาราที่ตนเองเป็นแฟนคลับใน Wikipedia
ตอบ 2 หน้า 128, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบการบันทึกข้อความ (Registration) คือ การบันทึกข้อความที่เป็นเอกสาร เช่น ตํารา หนังสือ จดหมายเหตุ บทความในโลกออนไลน์ วิกิพีเดีย ฯลฯ โดยบันทึกในสิ่งที่ตนสนใจหรือต้องการจะเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารนั้น ๆ ไว้ เพื่อที่จะนําไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป จึงเป็นรูปแบบการไหลของข่าวสารที่มีความเสมอภาคกัน ระหว่างผู้ส่งสารผู้รับสาร

33. การที่นักศึกษาพูดคุยซีรีส์ที่ตนเองชอบกับเพื่อน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

34. การที่นักศึกษาปฏิบัติตามมาตรการการฉีดวัคซีนของมหาวิทยาลัย เมื่อกลับเข้ามาเรียนในชั้นเรียน
ตอบ 1 หน้า 126, (คําบรรยาย) รูปแบบการไหลของข่าวสารแบบการส่งข่าวสารจากผู้นําถึงผู้ตาม (Allocation) คือ การส่งข่าวสารจากผู้ที่มีอํานาจจํานวนน้อยไปถึงผู้รับข่าวสารจํานวนมาก (มวลชน) ซึ่งผู้ส่งสารเป็นผู้ควบคุมข่าวสารและช่องทางการสื่อสาร โดยใช้สื่อมวลชนเป็นหลัก

ข้อ 35 – 37. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบใด
(1) วัฒนธรรมชั้นสูง
(2) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(3) วัฒนธรรมมวลชน

35. การที่นักศึกษาเข้าร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่
ตอบ 2 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน โดยปกติแล้วจะถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับการเหลียวแล แต่ปัจจุบันได้รับการ ปกป้องจากทางการมากขึ้น
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะลอกแบบหรือผลิตขึ้นตามแบบแผนทางประเพณี ออกแบบ ด้วยมือ และไม่เห็นความจําเป็นของการตลาด
3. เนื้อหาและความหมาย อาจจะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ มีลักษณะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือเป็น การตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
4. ผู้รับสาร เป็นสมาชิกของวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ถูกจํากัดด้วยวัฒนธรรม
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความเป็นปึกแผ่นและการรวมตัวกัน

36. การที่นักศึกษารู้สึกดื่มดํากับการเข้าชมพระบรมมหาราชวัง
ตอบ 1 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมชั้นสูง (High Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน มักได้รับการยอมรับ คุ้มครอง และส่งเสริมโดยองค์กรทางสังคม
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อตลาดใดตลาดหนึ่งโดยเฉพาะ
3. มีเนื้อหาและความหมายในลักษณะกํากวม ยุ่งเหยิง แต่เป็นอมตะ
4. ผู้รับสารเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรม
5. มีวัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผลกว้างและลึก เพื่อประสบการณ์ เพื่อประเทือง ปัญญา เพื่อความพอใจและความภาคภูมิใจ

37. การที่นักศึกษาซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน
ตอบ 3 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี
3. เนื้อหาและความหมาย มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

38. การไหลเวียนข่าวสารของทั่วโลกเป็นแบบใด
(1) ไหลเวียนจากประเทศกลุ่มโลกใต้ไปยังกลุ่มโลกเหนือเส้นศูนย์สูตร
(2) ไหลเวียนอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก
(3) ไหลเวียนจากโลกตะวันตกไปยังโลกตะวันออก
(4) ไหลเวียนจากประเทศที่มีข่าวสารมากไปยังประเทศที่มีข่าวสารน้อย
ตอบ 4 หน้า 133, (คําบรรยาย) ลักษณะการไหลเวียนข่าวสารของทั่วโลก มีดังนี้
1. ข่าวสารมักจะไหลเวียนจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกําลังพัฒนา
2. ข่าวสารส่วนมากจะไหลเวียนจากประเทศเหนือเส้นศูนย์สูตร เช่น ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ไปสู่ประเทศใต้เส้นศูนย์สูตร
3. ข่าวสารจะไหลเวียนจากประเทศที่มีข่าวสารมาก (Information Rich) ไปยังประเทศ ที่มีข่าวสารน้อย (Information Poor)
4. การจัดระเบียบข้อมูลข่าวสารใหม่ หรือ NWIO ช่วยแก้ปัญหาการไหลเวียนข่าวสาร ให้มีความสมดุลมากขึ้น

ข้อ 39. – 42. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับสื่อใด
(1) สื่อมวลชน
(2) สื่อเฉพาะกิจ
(3) สื่อกิจกรรม
(4) การบูรณาการสื่อ

39. การที่นักศึกษาดูภาพยนตร์เรื่องร่างทรงผ่านเน็ตฟลิกซ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

40. เสื้อยืดงานวิ่งมินิมาราธอนปี 2565 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ตอบ 2 หน้า 74, (คําบรรยาย) สื่อเฉพาะกิจ มีลักษณะดังนี้
1. แผ่นพับ โบรชัวร์ ป้ายประกาศ ป้ายโปสเตอร์ (Poster Billboard) ที่ใช้ประชาสัมพันธ์ ตราสินค้าที่ติดตามสถานีรถไฟฟ้า หรือป้ายรถประจําทาง และป้ายโฆษณาบนทางเท้า
2. เสื้อที่ใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น เสื้อยืดสําหรับโครงการรณรงค์งดเหล้า, เสื้อยืดงานวิ่ง มินิมาราธอนปี 2565 ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ฯลฯ

41. การที่นักศึกษาติดตามไลฟ์สดของพิมรี่พาย
ตอบ 4 หน้า 74, (คําบรรยาย) สื่อประสม หรือการบูรณาการสื่อ (Hybrid Media) คือ การผสมผสาน สื่อมากกว่า 1 ประเภทขึ้นไปมาใช้ร่วมกัน เช่น การที่นักศึกษาติดตามไลฟ์สดของพิมรี่พาย หรือ การฟังแพทย์หญิงอภิสมัยแถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจําวัน ผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ จะเป็น การใช้ทั้งสื่อบุคคล (พิมรี่พาย, แพทย์หญิงอภิสมัย) และสื่อออนไลน์ (เฟซบุ๊ก, ยูทูบ) ซึ่งส่งสาร ไปยังผู้รับสารจํานวนมากภายในคราวเดียวกัน เป็นต้น

42. การจัดงานเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ลานชั้น 1 ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สื่อกิจกรรม มีลักษณะดังนี้
1. เป็นสื่อที่ใช้มากในงานพัฒนาต่าง ๆ เพราะเป็นสื่อที่เปิดพื้นที่ให้ผู้รับสารเข้ามามีส่วนร่วม ได้อย่างมาก เช่น สื่อค่ายนิทรรศการ กิจกรรมการปลูกป่า และตลาดนัดสุขภาพ เป็นต้น
2. เป็นกลยุทธ์ที่นิยมในการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การจัดโรดโชว์ (Road Show), การเปิดตัว สินค้าใหม่ (Launching Presentation), การเป็นผู้สนับสนุนโครงการหรือรายการต่าง ๆ (Sponsorship) และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Sales Promotion) เช่น การลด แลก แจก แถม, การสาธิตสินค้า, การชิงโชค ฯลฯ
3. การจัดโครงการหรือแคมเปญต่าง ๆ เพื่อการประกวดแข่งขัน, การให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมและ การบริจาคเงินหรือสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือสังคมหรือองค์กรการกุศล

43. ประสบการณ์หรือกรอบอ้างอิง มีความสําคัญกับองค์ประกอบใดในกระบวนการการสื่อสาร
(1) ผู้ส่งสาร
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) ผู้รับสาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

44. การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส การได้เห็น และการได้ลิ้มรส นับว่าเป็น “ช่องทางการสื่อสาร” หรือ “สื่อ” ตามแบบจําลองการสื่อสารของใคร
(1) เดวิด เค. เบอร์โล
(2) ออสกูดและชแรมม
(3) ธีโอดอร์ นิวคอมบ์
(4) ลาสเวลล์
ตอบ 1 หน้า 59, 61, 72 แบบจําลองการสื่อสาร S-M-C-R ของเดวิด เค. เบอร์โล กล่าวว่า ช่องทาง การสื่อสาร (Channel or C) หรือสื่อ ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกของมนุษย์
มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

45. ข้อใดคือสิ่งที่ควรคํานึงในการเข้ารหัสสาร (Encoding)
(1) ประเภทของผู้รับสาร
(2) ประเภทของเนื้อหาสาร
(3) ประเภทของช่องทางการสื่อสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

46. การฟังแพทย์หญิงอภิสมัยแถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจําวัน ผ่านแอปพลิเคชันยูทูบ เป็นรูปแบบการ
ใช้ช่องทางการสื่อสารใด
(1) สื่อใหม่
(2) สื่อมวลชน
(3) สื่อบุคคล
(4) การบูรณาการสื่อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

47. ข้อใดไม่ใช่การถอดรหัสของผู้รับสาร (Decoding)
(1) การเห็นด้วย
(2) การเลียนแบบ
(3) การต่อรอง
(4) การไม่เห็นด้วย
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

ข้อ 48 – 53. ข้อใด “ใช่” (ฝนข้อ 1) หรือ “ไม่ใช่” (ฝนข้อ 2) ในเรื่องคุณลักษณะของสื่อมวลชน และการสื่อสารมวลชน
(1) ใช่
(2) ไม่ใช่

48. ผู้สงสารและผู้รับสารอยู่กันคนละเวลาและสถานที่
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ), (คําบรรยาย) คุณลักษณะของสื่อมวลชนและการสื่อสารมวลชน สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ผู้ส่งสารมีจํานวนน้อย แต่ผู้รับสารมีจํานวนมาก ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
3. ผู้ส่งสาร-ผู้รับสารอยู่คนละเวลาและสถานที่
4. ผู้รับสารอาจเป็นกลุ่มคนที่มีจํานวนมากหรือน้อยแตกต่างกันไป หรืออาจเป็นคนไม่กี่คนก็ได้
5. ผู้รับสารไม่มีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันในการเปิดรับข่าวสาร
6. การผลิตเนื้อหาต้องคํานึงถึงความต้องการของผู้รับสารเป็นตัวตั้ง
7. เนื้อหาสารเข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความมาก เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ไม่เจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเน้นสื่อสารเนื้อหาแบบเดียวไปยังผู้รับสารมวลชนทุกกลุ่ม (One Message Fits All)
8. การมีส่วนร่วมจากผู้รับสารทําได้จํากัด เช่น การตอบกลับทําได้ทางโทรศัพท์, การส่ง SMS, E-mail, เขียนจดหมาย ฯลฯ

49. ผู้ส่งสารมีจํานวนน้อย ผู้รับสารมีจํานวนมาก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50. เน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมจากผู้รับสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

51. การผลิตเนื้อหาต้องคํานึงถึงความต้องการของผู้รับสารเป็นตัวตั้ง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

52. สื่อสารเนื้อหาแบบเดียวไปยังผู้รับสารมวลชน ดังสโลแกนที่ว่า One Message Fits All
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 10. และ 48. ประกอบ

53. ผู้รับสารมีจุดมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการเปิดรับข่าวสาร
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

54. สื่อมวลชนถูกกดดันหรือรับใช้เบื้องบน การนําเสนอข่าวสารจะมีลักษณะแบบใด
(1) เน้นการนําเสนอข่าวสารที่มาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(2) เน้นการนําเสนอนโยบายที่มาจากภาครัฐ
(3) เน้นการสื่อสารสองทางแบบมีส่วนร่วม
(4) เน้นข่าวสารที่มาจากความคิดเห็นของมวลชน
ตอบ 2 หน้า 102 การดําเนินกิจการของสื่อมวลชนที่เป็นการรับใช้เบื้องบนจะมีลักษณะของข่าวสาร ที่มาจากศูนย์กลางเดียว โดยพลังอํานาจต่าง ๆ ชื่อเสียง ลักษณะการเข้าถึง ทิศทาง ตลอดจน มาตรฐาน สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดเอง เช่น เน้นการนําเสนอนโยบายที่มาจากภาครัฐ เป็นต้น ส่วนสื่อมวลชนที่ถูกกดดันหรือรับใช้เบื้องล่างนั้น จะเน้นข่าวสารที่หลากหลายตามความสนใจ หรือความคิดเห็นของมวลชนแต่ละสังคมที่สื่อมวลชนนั้น ๆ ดําเนินกิจการอยู่

55. สื่อมวลชนถูกกดดันหรือรับใช้เบื้องล่าง การนําเสนอข่าวสารจะมีลักษณะแบบใด
(1) เน้นการนําเสนอข่าวสารที่มาจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(2) เน้นการนําเสนอนโยบายที่มาจากภาครัฐ
(3) เน้นการสื่อสารสองทางแบบมีส่วนร่วม
(4) เน้นข่าวสารที่มาจากความคิดเห็นของมวลชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56. ทฤษฎีใดให้ความสําคัญกับการตอบกลับ (Feedback) ผู้รับสาร
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 4 หน้า 214 – 218, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสามัญสํานึก มีลักษณะดังนี้
1. ผู้รับสารตั้งคําถามว่า “รายการนี้นําเสนออะไร เพื่ออะไรหรือให้อะไรกับผู้ชม
2. ผู้รับสารจะเลือกบริโภคสื่อตามความพึงพอใจของตน
3. ให้ความสําคัญกับการตอบกลับ (Feedback) ของผู้รับสาร
4. ตัวอย่างของทฤษฎีสามัญสํานึก ได้แก่ ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่องการแสวงหาข่าวสาร (Information-seeking)

57. สื่อมวลชนได้รับอิทธิพลจากศาสตร์ใด
(1) จิตวิทยา
(2) สังคมวิทยา
(3) โทรคมนาคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 141, (คําบรรยาย) สื่อมวลชน/นิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นทีหลัง ศาสตร์อื่น ๆ จึงได้รับอิทธิพลจากศาสตร์รุ่นพี่ ได้ ได้แก่
1. มนุษยศาสตร์ เช่น ภาษาศาสตร์ สัญวิทยา และการตีความ
2. สังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และจิตวิทยา
3. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ โทรคมนาคม ฯลฯ

58. เหตุการณ์ใดที่เป็นรูปแบบการสื่อสารแบบ Consultation
(1) การไปปรึกษาจิตแพทย์
(2) การใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่นอกบ้าน
(3) การคอมเมนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ
(4) การพูดคุยกับเพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

59. สื่อมวลชนถูกกําหนดให้เป็น “ระบบเปิด” เนื่องจากสาเหตุใด
(1) มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง
(2) มีหลายแผนกข่าวในหน่วยงาน
(3) ต้องประสานงานด้านข่าวสารจากสถาบันอื่น
(4) มีหลายช่องทางสื่อในองค์กรเดียว
ตอบ 3 หน้า 152, (คําบรรยาย) สื่อมวลชนถูกกําหนดให้เป็น “ระบบเปิด” เนื่องจากสื่อมวลชนต้อง ประสานงานด้านข่าวสารจากสถาบันอื่น ๆ ในสังคม เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ ดังนั้นสื่อมวลชนจึงไม่อาจแยกออกจากสังคมหรือสถาบันใด ๆ ได้อย่างชัดเจน

60. เหตุการณ์ใดสะท้อนการเกิด “ช่องว่างทางดิจิทัล”
(1) การที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตบ้านมีปัญหาขัดข้องบ่อย
(2) การที่ผู้สูงอายุใช้งานสมาร์ตโฟนไม่เป็น ทําให้เข้าไม่ถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ
(3) การที่นักศึกษาไม่มีเงินซื้อสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ ทําให้ต้องใช้รุ่นเก่า
(4) การแย่งรีโมตคอนโทรล เพื่อดูรายการโปรดในโทรทัศน์
ตอบ 2 หน้า 172, (คําบรรยาย) การเกิด “ช่องว่างทางดิจิทัล” คือ การที่เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ยังเข้าไม่ถึงทุกคน ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ําทางข้อมูล เกิดการกีดกันการเข้าถึงข่าวสาร และ เกิดช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เช่น การที่ผู้สูงอายุใช้งานสมาร์ตโฟนไม่เป็น ทําให้เข้าไม่ถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นต้น

61. ยุคใดที่ผู้นําทางความคิดมีบทบาทต่อผู้รับสารมากกว่าสื่อมวลชน
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 2หน้า 149, (คําบรรยาย) พัฒนาการของทฤษฎีสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1.ยุคสื่ออันทรงพลัง คือ ยุคที่เชื่อในพลังของสื่อที่สามารถโน้มน้าวใจผู้รับสารจํานวนมาก ให้เชื่อหรือทําตามได้ ดังนั้นสื่อจึงมีอิทธิพลแบบทันทีทันใดต่อผู้รับสาร
2. ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ คือ ยุคที่ผู้นําทางความคิดเห็นมีบทบาทต่อกระบวนการ ตัดสินใจของผู้รับสารมากกว่าสื่อมวลชน
3.ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง คือ ยุคที่สื่อเป็นผู้กําหนดว่า ข่าวสารใดมีความสําคัญ และ ในแต่ละวันผู้รับสารจะต้องให้ความสําคัญกับเรื่องใดบ้าง
4. ยุคสื่อมีผลกระทบในระดับปานกลาง คือ ยุคที่สื่อไม่ได้มีอิทธิพลแบบทันทีทันใด แต่สื่อ จะค่อย ๆ หล่อหลอมให้ผู้รับสารเป็นไปตามที่สื่อนําเสนอ
5. ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล คือ ยุคของการที่ผู้รับสารมีบทบาทในการ สร้างข้อมูลข่าวสารเอง โดยสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาสารและเป็นสื่อได้ด้วยตนเอง เช่น การมีช่องยูทูบเป็นของตนเอง, การรายงานน้ําท่วมผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์, การคอมเมนต์ผ่าน เฟซบุ๊กแฟนเพจสถานีข่าว ฯลฯ

62. ยุคใดที่ผู้รับสารสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาสารและเป็นสื่อได้ด้วยตนเอง
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63. ยุคใดที่สื่อเป็นผู้กําหนดว่า ในแต่ละวันผู้รับสารจะต้องให้ความสําคัญกับเรื่องใดบ้าง
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

64. ยุคใดที่เชื่อในพลังของสื่อที่โน้มน้าวใจผู้รับสารจํานวนมากให้เชื่อหรือทําตามได้
(1) ยุคสื่ออันทรงพลัง
(2) ยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(3) ยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(4) ยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

65. ข้อใดคือตัวอย่างของการที่ผู้รับสารมีบทบาทในการสร้างข้อมูลข่าวสาร
(1) การคอมเมนต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจสถานีข่าว
(2) การมีช่องยูทูบเป็นของตนเอง
(3) การรายงานน้ำท่วมผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

66. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชน
(1) สนับสนุนความเห็นต่างในสังคม
(2) ประสานรอยร้าว/ความขัดแย้งในสังคม
(3) สืบทอดมรดกทางสังคมและวัฒนธรรม
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 หน้า 153, (คําบรรยาย) หน้าที่หรือวัตถุประสงค์หลักของสื่อมวลชน มีดังนี้
1. การรายงานข่าวสารให้ประชาชนรับรู้
3. การสืบทอดมรดกทางสังคมและวัฒนธรรม
2. การประสานรอยร้าว/ความขัดแย้งในสังคม
4. การให้ความบันเทิง ฯลฯ

67. ข้อใดคือตัวอย่างของหน้าที่สื่อมวลชนในการก่อให้เกิดความแจ่มชัดทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) รายการเรื่องเล่าเช้านี้
(2) ละครบุพเพสันนิวาส
(3) ซีรีส์เกาหลี
(4) รายการตลาดสดพระรามสี่
ตอบ 2 (ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ), (คําบรรยาย) หน้าที่การสืบทอดมรดกทางสังคมและ วัฒนธรรม คือ หน้าที่สื่อมวลชนในการก่อให้เกิดความแจ่มชัดทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การใช้สื่อเพื่อความบันเทิงเป็นเครื่องมือให้การศึกษาหรือเผยแพร่วัฒนธรรม เช่น ละครเรื่องบุพเพสันนิวาส, ภาพยนตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวร เป็นต้น

68. การที่สื่อมวลชนนําวิดีโอคลิปที่ตํารวจท่านหนึ่งทําร้ายผู้ต้องสงสัยยาเสพติดจนเสียชีวิตจากสื่อสังคมออนไลน์ มานําเสนอ จนนําไปสู่การติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้ในที่สุด เหตุการณ์ดังกล่าวตรงกับคําจํากัดความใด
(1) การบูรณาการสื่อ
(2) การสื่อสารแบบเส้นตรง
(3) การสื่อสารแบบสองทาง
(4) การหลอมรวมสื่อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) คือ การบรรจบกันของเทคโนโลยี สื่อแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่ หรือการรวมเทคโนโลยีสื่อที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกันในศูนย์เดียว เช่น การที่สื่อมวลชนได้นําวิดีโอคลิปที่ตํารวจท่านหนึ่งทําร้ายผู้ต้องสงสัยยาเสพติดจนเสียชีวิตจาก สื่อสังคมออนไลน์มานําเสนอ จนนําไปสู่การติดตามจับกุมตัวผู้ก่อเหตุได้ในที่สุด เป็นต้น

69. ข้อใดคือตัวอย่างของการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์
(1) การบล็อกไม่ให้แสดงความคิดเห็น
(2) พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
(3) การสั่งปิดเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 170 – 171, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันแม้อํานาจในการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์จะอยู่ ในมือของภาครัฐ แต่ก็ทําได้ยากกว่าสื่อดั้งเดิม ซึ่งตัวอย่างของการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
2. การบล็อกไม่ให้แสดงความคิดเห็น
3. การสั่งปิดเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ

70. ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence)
(1) องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อและเนื้อหาที่หลากหลาย
(2) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(3) กองบรรณาธิการของแต่ละสื่อแยกส่วนกันทํางาน
(4) เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าวของแต่ละสถานีมีความแตกต่างกันมากขึ้น
ตอบ 1 (ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ), (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก การหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) มีดังนี้
1. สื่อดั้งเดิมล้วนพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัล ออนไลน์ และแพลตฟอร์ม
2. เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าว มีความแตกต่างกันน้อยลง
3. พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมีการนําเสนอรูปแบบการสื่อสารใหม่ ๆ
4. องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อ เช่น รูปแบบออนไลน์ ทีวีดิจิทัล ฯลฯ และเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น มีละคร รายการเพลง ท่องเที่ยว ฯลฯ

71. ปัจจัยใดที่ทําให้การทํางานของสื่อมวลชนอาจไม่เป็นกลาง
(1) นโยบายของสถานี
(2) ความต้องการของสปอนเซอร์
(3) ถูกเฉพาะข้อ 1
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้การทํางานของสื่อมวลชนอาจไม่เป็นกลาง ได้แก่
1. นโยบายของสถานี หรือจุดยืนของสถานี
2. ความต้องการของสปอนเซอร์ เช่น โฆษณา, กลุ่มนายทุนที่สนับสนุน ฯลฯ

72. การที่รายการข่าวเข้านําเสนอข่าวแรกของรายการว่า “วันนี้ผู้ชมทุกท่านต้องติดตามการแถลงข่าวค้นพบ สายพันธุ์โอไมครอนในประเทศไทยเป็นครั้งแรก” ตรงกับจุดมุ่งหมายของทฤษฎีใด
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 3 หน้า 195, 198, (คําบรรยาย) ทฤษฎีผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อน ที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งไม่เพียงแต่จะเลือก หรือปฏิเสธข่าวสารต่าง ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น ยังทําหน้าที่จัดสารให้อยู่ในรูปที่ต้องการ ตลอดจน กําหนดการนําเสนอข่าวสาร กําหนดเวลาว่าจะเสนอในช่วงเวลาใด ลดหรือเพิ่มจํานวนข่าวสาร หรือเลือกเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น ฯลฯ

73. ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper) ในยุคปัจจุบันคือใคร
(1) ยูทูบเบอร์
(2) บล็อกเกอร์รีวิว
(3) ผู้ที่คอมเมนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 198, (ดูคําอธิบายข้อ 72. ประกอบ), (คําบรรยาย) วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) ได้กล่าวว่า Gatekeeper เป็นผู้ที่มีสิทธิในการเปิดและปิดประตูข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เช่น นักข่าว/ผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว หัวหน้าฝ่ายข่าว ผู้เขียนข่าว ผู้พิมพ์ ผู้จัดการโฆษณา นักวิจารณ์ ฯลฯ (ส่วนผู้ควบคุมประตูข่าวสาร หรือ Gatekeeper ในสื่อออนไลน์ยุคปัจจุบัน คือ ผู้ที่เลือกถ่ายทอดเนื้อหาหรือคอนเทนต์ต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร เช่น ยูทูบเบอร์, บล็อกเกอร์รีวิว, ผู้ที่คอมเมนต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ฯลฯ)

74. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคสื่ออันทรงพลัง
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181, (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎีในยุค สื่ออันทรงพลัง คือ ทฤษฎีกระสุนปืน/เข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎี การสื่อสารเล็งผลเลิศ) เสนอว่า สื่อมวลชนทั้งหลายมีผลอย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใด ต่อมวลชน กล่าวคือ สื่อมวลชนจะเปรียบเหมือนเข็มฉีดยา ส่วนมวลชนเปรียบเหมือนคนไข้ ดังนั้นข่าวสารจากสื่อมวลชนจะถึงและมีผลต่อประชาชนโดยตรง รวดเร็วทันทีทันใด ไม่มีอะไร กีดขวาง และปราศจากการต่อต้านจากผู้รับสาร ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ผู้สูงอายุควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เร็วที่สุด เป็นต้น

75. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืนเข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 4 หน้า 182 – 183, 194, (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎี ในยุคผลกระทบอันจํากัดของสื่อ คือ ทฤษฎีการสื่อสารแบบสองจังหวะ (Two-step Flow Theory) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. สื่อมวลชนไม่ได้มีอิทธิพลแบบทันทีทันใดต่อผู้รับสาร
2. มีผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) มาคั่นกลางในกระบวนการตัดสินใจของผู้รับสาร
3. ผู้นําทางความคิด คือ ผู้ที่เปิดรับสื่อมวลชนมากกว่าผู้รับสารคนอื่น มีความรู้หรือเป็นกูรู ในเรื่องนั้น ๆ
4. ในยุคปัจจุบัน ผู้นําทางความคิดมาในรูปแบบของยูทูบเบอร์ บล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์
5. ตัวอย่างของการสื่อสารแบบสองจังหวะ เช่น การที่ผู้รับสารเปิดดูช่องยูทูบเบอร์รีวิวสินค้า ก่อนซื้อเครื่องสําอาง เป็นต้น

76. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 195, 200, (ดูคําอธิบายข้อ 61. และ 72. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎี ในยุคสื่อมีพลังอํานาจในตัวเอง ได้แก่
1. ทฤษฎีผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
2. ทฤษฎีการกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)

77. ข้อใดคือทฤษฎีในยุคผู้รับสารเป็นผู้เลือกใช้สื่อ
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 4 หน้า 214 – 215, 222, (ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ), (คําบรรยาย) ตัวอย่างของทฤษฎี ในยุคผู้รับสารเป็นผู้เลือกใช้สื่อ หรือยุคที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข้อมูล คือ ทฤษฎี การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. เน้นเรื่องการแสวงหาข่าวสาร (Information-seeking) หมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสาร สนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสี่
2. เชื่อว่าผู้รับสารมีความกระตือรือร้นในการเลือกเปิดรับสื่อ (Active audience)
3. ผู้รับสารเป็นฝ่ายเลือกใช้สื่อที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองในขณะนั้น น ๆ
4. ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารเลือกเปิดรับสื่อมาจากความต้องการ (Need) ของแต่ละคน

78. ข้อใดคือทฤษฎีในกลุ่มการสื่อสารมวลชนแบบมาร์กซิสม์
(1) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) การศึกษาเชิงวัฒนธรรม
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 3 หน้า 241 – 250, (คําบรรยาย) ทฤษฎีในกลุ่มการสื่อสารมวลชนแบบมาร์กซิสม์ มีดังนี้
1. ทฤษฎีสื่อมวลชนทางเศรษฐกิจการเมือง
2. ทฤษฎีวิพากษ์ของสํานักแฟรงเฟิร์ต
3. ทฤษฎีการครอบงําของสื่อมวลชน
4. ทฤษฎีวัฒนธรรมสังคม หรือแนวทางการศึกษาเชิงวัฒนธรรม

79. ผู้สูงอายุควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เร็วที่สุด สอดคล้องกับทฤษฎีใด
(1) กระสุนปืนเข็มฉีดยา
(2) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(3) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(4) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

80. การที่ผู้รับสารเปิดดูช่องยูทูบเบอร์รีวิวสินค้าก่อนซื้อเครื่องสําอาง สอดคล้องกับทฤษฎีใด
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

81. ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์แจ้งว่า ช่วงนี้ประชาชนต้องให้ความสําคัญกับข่าวการระบาดของโควิด-19 และ
น้ำท่วม สอดคล้องกับทฤษฎีใด
(1) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(2) กระสุนปืน/เข็มฉีดยา
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting) มีแนวคิดว่า สื่อมวลชนเป็นผู้ที่กําหนดหรือวางระเบียบวาระในการรับรู้เหตุการณ์แก่ประชาชน ทั่วไป ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1. สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดว่า ในวันนี้สาธารณชนควรรับรู้ข่าวสารอะไร และต้องให้ความสําคัญ กับประเด็นใดบ้าง เช่น ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์แจ้งว่า ช่วงนี้ประชาชนต้องให้ความสําคัญกับ ข่าวการระบาดของโควิด-19 และน้ำท่วม เป็นต้น
2. สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดว่า ข่าวสารใดควรพาดหัวข่าวหรือรายงานในแต่ละวัน และอะไรคือ “Talk of the town” ของวันนี้
3. การค้นคว้าด้าน Agenda Setting มักทําในการสื่อสารการเมือง เช่น ทัศนคติทางการเมือง, การแบ่งขั้วทางการเมือง เป็นต้น

82. การเกิดความขัดแย้งในครอบครัว เนื่องจากมีความเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน สอดคล้องกับทฤษฎีใด (1) ความโน้มเอียงร่วม (Co-orientation)
(2) ผู้ควบคุมประตูข่าวสาร (Gatekeeper)
(3) การกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร (Agenda Setting)
(4) การสื่อสารแบบสองจังหวะ
ตอบ 1 หน้า 201 – 202 ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม (Co-orientation Theory) ที่ใช้กันแพร่หลาย ในวงการวิจัยสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นโดย Newcomb นักจิตวิทยาสังคม ซึ่งตามแนวคิดของเขา บุคคล 2 คน คือ A และ B ถ้าหาก A ชอบ B แต่พบว่าทั้งคู่มีทัศนคติเกี่ยวกับวัตถุ X ไม่ตรงกัน ดังนั้น A จะต้องทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน ได้แก่
1. A เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองเกี่ยวกับ B หรือ X
2. A พยายามเปลี่ยนความคิดของ B เกี่ยวกับ X
3. A เลิกติดต่อสื่อสารกับ B หรือการสนับสนุนจากบุคคลอื่น
4. A พยายามบิดเบือนความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง

ข้อ 83 – 86. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสารใด
(1) ทฤษฎีวิพากษ์ของสํานักแฟรงเฟิร์ต
(2) ทฤษฎีการศึกษาเชิงวัฒนธรรม
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนทางเศรษฐกิจการเมือง

83. นักร้องลูกทุ่งต้องเปลี่ยนแนวเพลงให้เข้าสมัยและแต่งตัววาบหวิวมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 243 – 244, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนทางเศรษฐกิจการเมือง มีลักษณะดังนี้
1. สถาบันสื่อมวลชนถูกอํานาจทางเศรษฐกิจการเมืองเข้าไปกําหนดการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร
และรูปแบบรายการ
2. ในระบบทุนนิยม ผลงานที่เกิดจากการผลิตของสื่อมวลชนจะต้องได้กําไร เช่น นักร้องลูกทุ่ง ต้องเปลี่ยนแนวเพลงให้เข้าสมัยและแต่งตัววาบหวิวมากขึ้นเพื่อให้ขายได้ ฯลฯ
3. ส่งผลให้สื่อมวลชนมีความอิสระในการผลิตลดน้อยลง เนื่องจากต้องเอาใจผู้สนับสนุนรายการ ผู้ถือหุ้น เจ้าของสถานี และตลาดมวลชน

84. การแต่งกายชุดไทยประยุกต์ของ LISA Black Pink ในการโปรโมตอัลบั้ม LA-LI-SA
ตอบ 2 หน้า 250 – 251, (คําบรรยาย) ทฤษฎีวัฒนธรรมสังคม หรือแนวทางการศึกษาเชิงวัฒนธรรม มีลักษณะดังนี้
1. ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของสํานักเศรษฐศาสตร์การเมืองและสํานักแฟรงเฟิร์ต
2. ให้ความสนใจกับกลุ่มวัฒนธรรมย่อยที่เรียกว่า “วัฒนธรรมร่วมสมัย” (Pop Culture) เช่น การแต่งกายชุดไทยประยุกต์ของ LISA Black Pink ในการโปรโมตอัลบั้ม LA-LI-SA ฯลฯ
3. สนใจการผลิตซ้ำของ “วัฒนธรรมมวลชน” (Mass Culture) เช่น การใส่กางเกงยีนส์, การซื้อหวย, การร้องคาราโอเกะ, การมีช่องยูทูบและติ๊กต็อกเป็นของตนเอง, การเต้น คัฟเวอร์วงไอดอลเกาหลี ฯลฯ
4. ให้ความสําคัญกับกระบวนการสื่อสารแบบสองทางและการถอดรหัสจากผู้รับสาร

85. การฟังเพลงคลาสสิกของโมสาร์ทผ่านแอปพลิเคชั่นยูทูบ
ตอบ 1 หน้า 245 – 247, (คําบรรยาย) ทฤษฎีวิพากษ์ของสํานักแฟรงเฟิร์ต มีลักษณะดังนี้
1. ให้ความสนใจกับการเก็บรักษาวัฒนธรรมชั้นสูง ด้อยค่าวัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture)
2. ระบบทุนนิยมทําให้เกิดการผลิตคราวละมาก ๆ และนําชิ้นงานวัฒนธรรมชั้นสูงไปทําให้เป็น วัฒนธรรมมวลชน เช่น การฟังเพลงคลาสสิกของโมสาร์ทผ่านแอปพลิเคชั่นยูทูบ ฯลฯ
3. ระบบทุนนิยมทําให้มนุษย์ในสังคมขาดความคิดสร้างสรรค์ จนกลายเป็น “มนุษย์มติเดียว” ที่คิดได้แต่สิ่งที่เป็นความต้องการของตลาดมวลชน

86. การที่มีช่องยูทูบและติ๊กต็อกเป็นของตนเอง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ

ข้อ 87. – 90. ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถามว่า สถานการณ์ด้านล่างสอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสารใด
(1) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(2) ทฤษฎีการกําหนดประเด็นวาระข่าวสาร
(3) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(4) ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ

87. ผู้รับสารเป็นฝ่ายเลือกสื่อที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองในขณะนั้น ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 77. ประกอบ

88. กลุ่มที่ไร้ราก ไร้ความสัมพันธ์ ขาดที่ยึดเหนี่ยว โดดเดี่ยว และถูกโน้มน้าวได้ง่าย
ตอบ 3 หน้า 236, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสังคมมวลชน มีลักษณะดังนี้
1. รัฐมองมวลชนว่า เป็นกลุ่มที่ไร้ราก ไร้ความสัมพันธ์ ขาดที่ยึดเหนี่ยว โดดเดี่ยว และมักจะ ถูกโน้มน้าวได้ง่าย
2. การนําเสนอข่าวสารมักนําเสนอในประเด็นที่รัฐคิดว่า มวลชนจําเป็นต้องรู้เพื่อตอบสนอง
ผลประโยชน์ของภาครัฐ
3. เป็นทฤษฎีที่เน้นการสื่อสารแบบทางเดียว เช่น การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ, การสื่อสาร เพื่อการครอบงํา และการโฆษณาชวนเชื่อ

89. ผู้ที่กําหนดว่า ข่าวสารใดควรพาดหัวข่าว/รายงานในแต่ละวัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

90. สังคมเปรียบเหมือนกับร่างกายมนุษย์ และอวัยวะเปรียบเหมือนสถาบันต่าง ๆ
ตอบ 1 หน้า 222 – 223, (คําบรรยาย) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม มีลักษณะดังนี้
1. สังคมเปรียบเหมือนกับร่างกายมนุษย์ และอวัยวะเปรียบเหมือนสถาบันต่าง ๆ
2. ถ้าอวัยวะต่าง ๆ ทําหน้าที่ได้ดี ร่างกายก็แข็งแรง เหมือนกับสถาบันถ้าทําหน้าที่ได้ดี สังคมก็มีเสถียรภาพ
3. เน้นการ “ทําหน้าที่” และ “ไม่ทําหน้าที่” ของสื่อมวลชนต่อสังคม

91. ข้อใดคือสมญานามของสื่อมวลชนเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
(1) ทนายหน้าห้อง
(2) ฐานันดรที่ 4
(3) ผู้ชี้ทางสว่าง
(4) สุนัขเฝ้าบ้าน
ตอบ 4 หน้า 266, (คําบรรยาย) สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่ประการหนึ่ง คือ เป็นสุนัขเฝ้าบ้าน (Watchdog) เพื่อติดตามผลงานของรัฐบาลและดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน

92.“ตลาดเสรีทางความคิด” เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2)ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 256 – 258, 279 ทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม (ทฤษฎีสื่อเสรี) ได้กล่าวถึงเสรีภาพ ของหนังสือพิมพ์ว่ามิได้เป็นแต่เพียงเครื่องมือในการแสดงออกของบุคคลเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้อง กับกระบวนการพิสูจน์ตนเองของสัจจะหรือเป็นเครื่องมือแสวงหาสัจจะของสังคม โดยเปิดหนทาง และโอกาสให้กับทัศนะต่าง ๆ ทั้งผิดและถูกมาประชันแข่งขันกันใน “ตลาดเสรีทางความคิด” (Free Market of Ideas) และให้สาธารณชนเป็นผู้ตัดสิน

93. การที่รัฐบาลใช้การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อชี้นําให้ประชาชนเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก สิ่งถูกเป็น สิ่งผิด เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 267 – 271, (คําบรรยาย) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีสาระสําคัญดังนี้
1. เกิดขึ้นในรัสเซียแล้วจึงขยายตัวไปที่เยอรมันยุคนาซีและประเทศที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์
2. มีรากฐานมาจากปรัชญาอุดมการณ์สุดของมาร์กซิสต์และเลนินนิสต์
3. ใช้เครื่องมือในการปลุกระดมและการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อชี้นําให้ประชาชน เห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก สิ่งถูกเป็นสิ่งผิด
4. ผู้ประกอบกิจการสื่อและการดําเนินงานของสื่อจะมีรัฐ พรรคคอมมิวนิสต์เป็นเจ้าของหรือ
เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
5. ควบคุมสื่อโดยการห้ามวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ ฯลฯ

94. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า รัฐมีสิทธิ์เข้าแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 263 – 267, (คําบรรยาย) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีสาระสําคัญดังนี้
1. เกิดขึ้นในสหรัฐเมริกาเมื่อ “คณะกรรมการที่ทํางานเพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์” ได้จัดทํา รายงาน และสรุปว่า “แม้ว่าเสรีภาพของหนังสือพิมพ์จะเป็นสิ่งที่ต้องมี แต่ก็ต้องสอดแทรก ความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย”
2. สื่อมวลชนต้องสร้างเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชน
3. สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
4. สื่อต้องมีเสรีภาพภายใต้การควบคุมตัวเอง
5. ในบางสถานการณ์ รัฐอาจเข้าแทรกแซงการทํางานของสื่อได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

95. ข้อใดไม่ใช่ “บรรทัดฐาน” ในการทํางานของสื่อมวลชน
(1) จริยธรรมสื่อมวลชน
(2) กฎหมายสื่อมวลชน
(3) ค่านิยมของหน่วยงาน
(4) จรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอบ 3 หน้า 254, (คําบรรยาย) บรรทัดฐาน (Norms) คือ สิ่งที่สังคมแต่ละยุคสมัยคาดหวังให้เรา ปฏิบัติ (แต่จะปฏิบัติหรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง) เช่น สื่อมวลชนจะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพ และจริยธรรมสื่อมวลชน เป็นสิ่งที่คอยเหนี่ยวรั้งมิให้การทํางานของสื่อตกต่ํา หรือเบี่ยงเบน ไปจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อมวลชน การกํากับดูแล และจรรยาบรรณของสื่อ

96. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 94. ประกอบ

97. ปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นในยุคระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบ
(1) เริ่มมีกระบวนการตรวจสอบกันเองขององค์กรสื่อ
ประชาธิปไตย
(2) การเกิดขึ้นของสื่อชุมชนขนาดเล็กที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(3) ยึดหลักเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมในการทํางาน
(4) มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
ตอบ 2 หน้า 276 – 278, (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชน เป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย มีสาระสําคัญดังนี้
1. เกิดขึ้นในยุคสมัยที่สื่อวิทยุและโทรทัศน์ได้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าบรรดาสื่อใหม่เหล่านี้จะสามารถ ทํางาน และปรับตัวไปตามกระแสกดดันทางเศรษฐกิจและการเมืองได้ดีกว่าหนังสือพิมพ์
2. ทฤษฎีนี้ปฏิเสธการสื่อสารแบบรวมศูนย์ที่ถูกควบคุมโดยรัฐ หรือกลุ่มนายทุน
3. เน้นการสื่อสารแบบสองทางมากกว่าการสื่อสารแบบทางเดียว
4. เน้นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และนําเสนอข่าวสารที่มาจากความต้องการของคนในชุมชน
5. พลเมืองทุกคนและทุกชนชั้นมีสิทธิในการเข้าถึงสื่อ และใช้สื่อเพื่อตอบสนองความต้องการ
6. องค์กรสื่อจะต้องไม่ถูกครอบงําจากรัฐ

7. สื่อต้องมีอยู่เพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อกําไรขององค์กรเอง
8. การเกิดขึ้นของสื่อขนาดเล็ก เช่น วิทยุชุมชน สื่อพื้นบ้าน หอกระจายข่าว การประชุมหมู่บ้าน และโทรทัศน์ท้องถิ่น จะมีลักษณะของการสื่อสารแบบสองทาง และเปิดโอกาสให้ผู้รับสาร มีส่วนร่วมมากกว่าสื่อมวลชนขนาดใหญ่ ฯลฯ

98. สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ แต่รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ เกิดขึ้นใน
ยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 254 – 256, (คําบรรยาย) ทฤษฎีอํานาจนิยม มีสาระสําคัญดังนี้
1. ในศตวรรษที่ 16 สังคมยุโรปมีการปกครองด้วยระบบอํานาจนิยม เช่น การมีระบบศักดินา
2. บรรทัดฐานของสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคแรกจะมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนนโยบายของรัฐ และรับใช้
ความมั่นคงของรัฐ
3. ชนชั้นปกครองใช้สื่อหนังสือพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารที่ผู้ปกครองคิดว่า
ประชาชนต้องทราบ
4. การควบคุมหนังสือพิมพ์ด้วยกลไกต่าง ๆ เช่น การออกใบอนุญาตการพิมพ์, การเซ็นเซอร์ และการควบคุมผ่านสมาคมวิชาชีพ เพื่อป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์รัฐ
5. รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ แต่มีการอนุญาตให้เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อได้ (ถือเป็นข้อแตกต่างจากทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ ) ฯลฯ

99. การที่สื่อมวลชนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียง ก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจาก ประเทศตะวันตก เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3หน้า 272 – 276, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และใช้กับประเทศเกิดใหม่หรือเพิ่งประสบกับภาวะสงคราม รวมทั้งประเทศยากจนใน โลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนา ซึ่ง Denis McQuail ได้สรุปสาระสําคัญดังนี้
1. สื่อมวลชนต้องเข้าร่วมการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาสังคม
2. เนื้อหาสื่อต้องให้ความสําคัญกับภาษาและวัฒนธรรมของชาติ
3. ข่าวสารที่นําเสนอต้องให้ความสนใจกับประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียง ก่อนนําเสนอ
ข่าวสารที่มาจากประเทศตะวันตก
4. นักข่าวและสื่อมวลชนต้องมีเสรีภาพควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ
5. รัฐมีสิทธิ์เข้าแทรกแซง เช่น การเซ็นเซอร์, การให้ทุนสนับสนุน และการเข้าควบคุมโดยตรง

100. ทฤษฎีอํานาจนิยมและทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีความแตกต่างกันในประเด็นใด
(1) การควบคุมเนื้อหาสื่อ
(2) เสรีภาพในการนําเสนอข่าวสาร
(3) การอนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของสื่อ
(4) การสนับสนุนนโยบายรัฐบาล
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 93. และ 98. ประกอบ

CDM2103 (MCS1151) ทฤษฎีการสื่อสาร s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.สังคมข้อมูลข่าวสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Information Social
(2) Information Society
(3) Informations Social
(4) Informations Society
ตอบ 2 หน้า 1 ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก และกว้างขวาง ตลอดจนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่อาจกล่าวได้ว่า สังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมข้อมูล ข่าวสาร (Information Society) นั่นคือ ข่าวสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสําคัญหรือมีบทบาท ในการดํารงชีวิตของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ

2. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึง การถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และซูเมคเกอร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) เจอร์เกน รอยซ์ (Jurgen Ruesch) และเกรกอรี เบทสัน (Gregory Bateson) กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึง การถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย ซึ่งคํานิยามการสื่อสารนี้ยึดหลักที่ว่า การกระทําและเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นการสื่อสาร หากมี ผู้เข้าใจการกระทําและเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น การที่เราเห็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่ง และสามารถ ตีความหมายของเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ ก็นับว่ามีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น

3. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู. วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 4 หน้า 4 เอเวอเร็ต เอ็ม. โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) และเอฟ. ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (F. Floyd Shoemaker) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร

4.ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายความเพียงแค่การพูดและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึงดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 3 หน้า 3 วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์ (Warren W. Weaver) ได้ให้คําอธิบายไว้ว่า การสื่อสาร มีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจ ของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงการพูดและเขียนเท่านั้น หากแต่ยัง รวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดงบัลเล่ต์ และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย

5.การสื่อสาร 2 ทาง ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two – way Communication
(2) Two – way Communicate
(3) Two – ways Communication
(4) Two – ways Communicate
ตอบ 1 หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54 การสื่อสารสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่มีความหมายความรวมไปถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสาร แล้วมีการตอบโต้กลับ และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction) ซึ่งปฏิกิริยาที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่อง ของความหมายอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลาย ๆ อย่าง

6. การมีปฏิกิริยาต่อกันที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Interaction
(2) Feedback
(3) Meaning
(4) Effect
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) ความสําคัญต่อการศึกษา
(2) ความสําคัญต่อการเกษตร
(3) ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
(4) ความสําคัญต่อวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

8.การที่หนังสือพิมพ์รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารมีความต้องการบอกกล่าวหรือ ชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดไปยังผู้รับสาร เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจําวันไปให้ประชาชนได้รับทราบ เป็นต้น

9. ปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกัน ตรงกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้
(1) ผลสะท้อนกลับ
(2) อันตรกิริยา
(3) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน
แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(1) Intercultural Communication
(2) International Communication
(3) Development Communication
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2หน้า 45 – 46 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการ สื่อสารระดับชาติระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน (รัฐกับรัฐ) แต่มีความเป็น ทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธรรมในแง่ที่ว่า ผู้ที่ทําการสื่อสารนั้นทําหน้าที่เป็นตัวแทน ของประเทศ ได้แก่ นักการทูต ตัวแทนของรัฐบาล (เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ฯลฯ) และข้าราชการ เป็นต้น

11. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ International Communication เกิดขึ้นภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน
(1) อินเดีย
(2) มาเลเซีย
(3) เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
(4) คนผิวขาวและคนผิวดํา
ตอบ 3 หน้า 47, (ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ) การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการสื่อสารที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน คือ
ในกรณีที่ประชาชนมีขนบประเพณีเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แต่ถูกแบ่งแยกโดยดินแดน หรือแยกกันอยู่คนละประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้, เยอรมนีตะวันตก และตะวันออก เป็นต้น

12. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของแซนนั้น และวีเวอร์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 2 หน้า 48 – 51, (คําบรรยาย) แชนนั้น (C. Shannon) นักคํานวณด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ วีเวอร์ (W. Weaver) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของเขา ได้ร่วมกันสร้างแบบจําลองการสื่อสาร ขั้นพื้นฐานเมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในวงการสื่อสารยุคเริ่มต้น ในชื่อว่า “แบบจําลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์” เพราะได้เอาวิชาการหรือทฤษฎี ทางคณิตศาสตร์มาอธิบายถึงกระบวนการทางการสื่อสาร โดยเน้นเรื่องช่องทางการสื่อสาร ที่สามารถส่งสารจากแหล่งสารสนเทศไปสู่จุดหมายปลายทางได้มากที่สุด และเกิดอุปสรรคระหว่างการสื่อสารน้อยที่สุด

13. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ เกิดขึ้นเมื่อปีใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 1หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการ สื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่าผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร ซึ่งกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการ ในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสม แก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ แต่แบบจําลองนี้ก็ยังขาดปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสื่อสาร ซึ่งนั่นก็คือ ผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับที่ เรียกกันว่า “Feedback”

14. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 3 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของออสกูด (Osgood) และ วิลเบอร์ ซแรมม์ (Schramm) ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็น วงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็กระทําหน้าที่เหมือน ๆ กัน 3 ประการใน กระบวนการสื่อสาร คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกัน ก็มักขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

15.แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเดวิด เค. เบอร์โล เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2491
(2) 2492
(3) 2497
(4) 2503
ตอบ 4 หน้า 57 – 58 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (Berto) ที่เสนอเอาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ได้อธิบายว่า กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย ส่วนประกอบพื้นฐานสําคัญ 6 ประการ คือ
1. ต้นแหล่งสาร (Communication Source)
2. ผู้เข้ารหัส (Encoder)
3. สาร (Message)
4. ช่องทางการสื่อสาร (Channel)
5. ผู้ถอดรหัส (Decoder)
6. ผู้รับสาร (Communication Receiver)

16. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและ
การโน้มน้าวใจ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ซแรมม
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

17. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ขาดปัจจัยสําคัญเรื่องปฏิกิริยาตอบกลับ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ซแรมม์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

18. การเข้ารหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

19. การถอดรหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

20. การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่ วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย นับเป็นการทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การเข้ารหัส
(2) ผู้เข้ารหัส
(3) การถอดรหัส
(4) ผู้ถอดรหัส
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด สื่อหรือช่องทาง การสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย

21. การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมาย ออกมา นับเป็นการทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การเข้ารหัส
(2) ผู้เข้ารหัส
(3) การถอดรหัส
(4) ผู้ถอดรหัส
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษา กลับเป็นสาร (ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสกัดเอาความหมายที่ผู้ส่งสารส่งมา หรือต้องการสื่อความหมายมา

22. การตีความสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Frame of Experience
(2) Frame of Reference
(3) Field of Reference
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

23. การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ในข้อความที่ใช้ในการสื่อสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) รหัสสาร
(2) เนื้อหาสาร
(3) การจัดสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 การจัดสาร (Treatment) ตามความคิดของเบอร์โลนั้น คือ วิธีการที่ผู้ส่งสาร เลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ และศัพท์ในข้อความที่ใช้ ในการสื่อสาร รวมไปถึงคําถาม คําอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสารที่ถูกจัดเตรียมไว้อย่างดี จะทําให้เกิดการรับรู้ความหมายในตัวผู้รับสารได้

24. สื่อมวลชนได้รับความสนใจและศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น เพราะสาเหตุใดต่อไปนี้
(1) สื่อมวลชนเติบโตอย่างรวดเร็ว
(2) สื่อมวลชนเป็นแหล่งผลิตและแพร่กระจายความรู้
(3) สื่อมวลชนเป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคน
(4) การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังเป็นไปโดยสมัครใจ
ตอบ 1 หน้า 90 – 91 สาเหตุที่สื่อมวลชนได้รับความสนใจและมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น อาจเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1. กิจการสื่อสารมวลชน เป็นกิจกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. สื่อมวลชนมีบทบาทควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ
3. สื่อมวลชนเปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสภาพการดํารงชีวิตของคนในสังคม มากขึ้น ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
4. สื่อมวลชนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
5. สื่อมวลชนก่อให้เกิดค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิด และรูปแบบการตัดสินใจของปัจเจกชน

25. โครงสร้างของสื่อมวลชนของสาธารณชน เกิดจากความกดดันด้านใดต่อไปนี้
(1) ความแตกต่างด้านต่าง ๆ ในโครงสร้างสังคม
(2) ความสามารถเข้าถึงแหล่งข่าวที่เหมือนกันของสื่อม
(3) ความสนใจของสาธารณชนที่เหมือนกัน
(4) ความสามารถแยกผลกระทบที่ชัดเจนภายในโครงสร้างสังคม
ตอบ 1 หน้า 100 – 101 ตามบทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะนั้น โครงสร้าง
สื่อมวลชนของสาธารณชนจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นได้จากความกดดันต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสนใจของสาธารณชน เช่น ความสามารถของสื่อมวลชนในการเข้าถึงแหล่งข่าวที่ มีความแตกต่างกัน ทําให้ข่าวสารที่ออกมามีความหลากหลายในรสนิยม การศึกษา และ สถานการณ์ทั่วไป
2. ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าใช้จ่ายของสื่อมวลชนตั้งแต่เริ่มทําข่าวหรือหาข่าวสารข้อมูล จนกระทั่งนําเสนอต่อสาธารณชน
3. ความแตกต่างด้านต่าง ๆ ในโครงสร้างสังคม เช่น ที่อยู่อาศัย ชนชั้น ศาสนา รสนิยม การศึกษา ฐานะการเงิน และสถานภาพทางสังคม

26. จากโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชน สามารถพิจารณาจากหัวข้อใดต่อไปนี้
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่นๆ
(2) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสาธารณชน
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับแหล่งข่าว
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 93 – 94, 98 – 99 การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะเกี่ยวข้องกับ บทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม คือ ลักษณะ
ความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคม
2. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะ คือ ลักษณะ ความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสาธารณชนหรือมวลชนผู้รับสารโดยทั่วไปในสังคม

27. องค์กรหรือหน่วยงานลักษณะใดต่อไปนี้สามารถเรียกว่า “สถาบันสื่อสารมวลชน”
(1) เป็นหน่วยงานที่ต้องพึ่งพาอาศัยสถาบันการเมือง
(2) เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่เชื่อมโยงกลุ่มคนกับคนอื่น ๆ
(3) เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 91 – 92 สถาบันสื่อสารมวลชน (The Mass Media Institution) มีลักษณะดังนี้
1. มีหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร ความคิด และวัฒนธรรม
2. เป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกับคนอื่น ๆ
3. มีบรรยากาศของความเป็นสาธารณะ
4. การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังในสถาบันสื่อเป็นไปโดยสมัครใจ
5. มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและการตลาดในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน 6. ไม่มีอํานาจในตัวเอง แต่มักจะเกี่ยวข้องกับอํานาจรัฐอยู่เสมอ

28. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 94 ความคิด ความเชื่อ และข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น สาธารณชน สามารถรับรู้ได้จากสื่อมวลชนทั้งหลาย แม้ว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมจะมีความคิดและ ความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคล แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้รับข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลหรือสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทําให้ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้

29. ผู้ใดต่อไปนี้ที่มีภาพพจน์ต่อสื่อมวลชนว่า เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือปมปัญหาของ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(1) นักการเมือง
(2) นักข่าว
(3) สาธารณชน
(4) สถาบันสังคม
ตอบ 3 หน้า 94 – 96, (คําบรรยาย) ตามบทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของ สาธารณชนนั้น ผู้รับสารหรือสาธารณชนทั่วไปจะมีภาพพจน์ต่าง ๆ ต่อสื่อมวลชน ดังนี้

1. เป็นหน้าต่างสู่ประสบการณ์ คือ ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์กว้างขึ้น โดยการบอกให้ประชาชน ทราบอย่างปราศจากอคติว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทําไม
2. เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือชี้ปมปัญหาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
3. เป็นเวทีหรือตัวกลางในการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4. เป็นตัวกรองข่าวเพื่อเสนอต่อประชาชน ซึ่งจะต้องกระทําอย่างตั้งใจ โดยคํานึงถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมของสื่อนั้น ๆ ฯลฯ

30. รูปแบบการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะที่สุดกับกระบวนการสื่อสารมวลชน
(1) รูปแบบการสื่อสารแบบการบริการ
(2) รูปแบบการสื่อสารแบบการเป็นสมาชิก
(3) รูปแบบการสื่อสารแบบการสั่งการ
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 1 หน้า 113 – 116 รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. แบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสารไม่มีความเสมอภาคกัน
2. แบบการบริการ (Service Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีสถานภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดกับกระบวนการสื่อสารมวลชน
3. แบบการเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็นแบบอย่าง ของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน

31. อวัจนภาษา ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
(1) เวลา
(2) รูปร่าง
(3) พื้นที่และระยะห่าง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร มี 2 ประเภท ได้แก่
1. วัจนภาษา (Verbal Language) คือ ภาษาที่เป็นคําพูด ได้แก่ ภาษาพูดและภาษาเขียน
2. อวัจนภาษา (Nonverbal Language) คือ ภาษาที่ไม่ใช่คําพูด ได้แก่ สัญลักษณ์ สัญญาณ หรืออากัปกิริยาต่าง ๆ (เช่น การยิ้ม, การหาว, การโบกมือ, การพยักหน้า ฯลฯ) รวมไปถึง รหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูดแต่สื่อความหมายได้ (เช่น เวลา, พื้นที่และระยะห่าง, รูปร่าง ฯลฯ)

32. ข้อใดจัดเป็น Interpersonal Communication
(1) แดงฝันถึงดํา
(2) แดงแชทไลน์กับสมชาย
(3) แดงละเมอว่าพูดกับดํา
(4) แดงแชทไลน์กลุ่มกับเพื่อน ๆ ยี่สิบคน
ตอบ 2 หน้า 41 – 42 (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถแลกเปลี่ยนสาร สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้โดยตรงและรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือแบบเผชิญหน้า เช่น การเล่าความฝันให้เพื่อนฟัง, การพูดคุย ปรึกษาหารือกัน 2 คน, การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแบบตัวต่อตัว ฯลฯ หรืออาจเป็นการสื่อสาร แบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การพูดคุยและส่ง SMS ทางโทรศัพท์, การอ่านจดหมายที่เพื่อนส่งมาให้, การส่ง E-mail, การสนทนาโต้ตอบกันหรือ Chat ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

33. สื่อใดมักจะเป็นสื่อที่ถูกจับตามองโดยผู้มีอํานาจของรัฐ
(1) สื่อใหม่
(2) หนังสือพิมพ์
(3) สื่อวิทยุและโทรทัศน์
(4) สื่อสังคมออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 89 สื่อวิทยุและโทรทัศน์ จัดเป็นสื่อการกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ซึ่งนอกจาก ทําหน้าที่เสนอข่าวสารการเมือง และเรื่องที่คนนิยมหรืออยู่ในความสนใจของประชาชนแล้ว ก็ยังเป็นสื่อที่แพร่กระจายได้กว้างไกล มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นทางการเมือง และการดําเนิน ชีวิตของประชาชนในสังคมเป็นอย่างมาก จึงมักเป็นสื่อที่ถูกจับตามองโดยผู้มีอํานาจของรัฐและมีอิสระในการเสนอความคิดเห็นทางการเมืองได้น้อยกว่าหนังสือพิมพ์

34. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้กล่าวถึงองค์ประกอบของการสื่อสารรวม 6 ตัว ได้แก่ ต้นแหล่งสาร เข้ารหัส สาร ช่องทางการสื่อสาร ผู้ถอดรหัส และผู้รับสาร
(1) เดวิด เค. เบอร์โล
(2) แซนนั้นและวีเวอร์
(3) ฮาร์โรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(4) ออสกูดและวิลเบอร์ ซแรมม์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

35. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่ทําให้ตัวแปรต้นกับตัวแปรผลไม่มีความสัมพันธ์กัน
(1) ตัวแปรกด
(2) ตัวแปรอิสระ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรตาม
ตอบ 1 หน้า 24 – 25 (คําบรรยาย) ตัวแปรในการวิจัย มี 4 ประเภท ดังนี้
1. ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ) หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยกําหนดให้เป็นตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น และมีความคงทนถาวรมากที่สุด
2. ตัวแปรตาม (ตัวแปรผล) หมายถึง ตัวแปรอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของ ตัวแปรอิสระ (โดยทั่วไปตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม)
3. ตัวแปรแทรก หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น)
และตัวแปรตาม (ตัวแปรผล)
4. ตัวแปรกด หมายถึง ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น) และตัวแปรตาม (ตัวแปรผล) ไม่มีความสัมพันธ์กันทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี แต่ถูกตัวแปรกดกดเอาไว้

36. ในศตวรรษใดที่เริ่มมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น โดยในระยะเริ่มแรกจัดทําในลักษณะจดหมายข่าว
(1) ศตวรรษที่ 16
(2) ศตวรรษที่ 17
(3) ศตวรรษที่ 18
(4) ศตวรรษที่ 16 – 17
ตอบ 4 หน้า 81 ราวศตวรรษที่ 16 – 17 เริ่มมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น โดยหนังสือพิมพ์ระยะเริ่มแรกนี้ จะมีลักษณะเป็นจดหมายข่าวมากกว่า ซึ่งจดหมายข่าวเหล่านี้จะเป็นการสื่อข่าวสารเกี่ยวกับ การพาณิชย์และการค้าระหว่างประเทศ โดยส่งถึงผู้รับทางไปรษณีย์ (เจาะจงผู้รับสารมากกว่า สาธารณชนทั่วไป) แต่หลังจากนั้นลักษณะของข่าวสารจึงขยายออกมาสู่สาธารณชนมากขึ้น

37. ทฤษฎีการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่มีรากฐานมาจากคําว่า “มโนภาพในหัว
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 4 หน้า 179, 200 – 201 ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ (Agenda-setting Theory) ถือเป็น ทฤษฎีที่เน้นวิเคราะห์ประสิทธิผลของการสื่อสารมวลชนที่มีต่อประชาชนระยะยาวไม่ใช่ทันทีทันใด โดยนักวิชาการที่สนับสนุนแนวความคิดทฤษฎีนี้ ได้แก่ Walter Lippman ที่คิดคําว่า “Pictures in our heads” (มโนภาพในหัว), Robert Ezra Park และ Cohen แต่หัวเลี้ยว หัวต่อที่ถือเป็นรากฐานของการค้นคว้าวิจัยจริง ๆ จะเริ่มขึ้นเมื่อนักสังคมวิทยา คือ พอล เอฟ ลาซาร์สเฟลด์ (Paul F. Lazarsfeld) และคณะ ได้ทําวิจัยบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1942 และ ค.ศ. 1948

38. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิด คํานิยาม และสมมุติฐานเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(1) เคอร์ลินเกอร์
(2) เคอร์ลิงเกอร์
(3) เคอร์ลิงเจอร์
(4) เคอร์ลินเจอร์
ตอน 4 หน้า 15, 22 เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้กล่าวว่า ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของ แนวความคิด คํานิยาม และสมมุติฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

39. ข้อความใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication)
(1) การคิดคํานวณเลขในใจ
(2) การพูดเตือนตัวเอง
(3) การฝันและการละเมอว่ากําลังคุยกับเพื่อน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัย ระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน ได้แก่ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ) การคิดคํานวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

40. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนสมมุติฐานมีหน้าที่และความสําคัญอย่างไร
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) กําจัดความซับซ้อน
(4) กําจัดความไม่คงที่
ตอบ 2 หน้า 19 – 20 ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท
(Description and Classification)
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ (Analysis)
3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องความหมายและการวัด
(Meaning and Measurement)
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (Plausibility and Testability)
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ โดยองค์ประกอบที่เพิ่มเติม
เข้ามาอีก 2 ประการ คือ
1. การจัดลําดับแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความซ้ําซ้อน
(Elimination of Tautology)
2. การจัดลําดับสมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความไม่คงที่
(Elimination of Inconsistency)

41. ทฤษฎีใดต่อไปนี้กล่าวถึงเรื่องผู้นําความคิดเห็น
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 2 หน้า 180, 182 – 183 ลาซาร์สเฟลด์และคณะ ได้ค้นพบทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two-step Flow Theory) โดยบังเอิญไม่มีการวางแผนการมาก่อน เพราะเดิมทีพวกเขา มุ่งศึกษาวิจัยอิทธิพลของสื่อมวลชนตามทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียวหรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ) แต่กลับพบว่าการกระจายหรือการไหลของข่าวสารใน การสื่อสารมวลชนเกิดขึ้น 2 จังหวะ คือ จากสื่อมวลชนไปถึงผู้นําความคิดเห็น (Opinion Leader) จังหวะหนึ่ง และจากผู้นําความคิดเห็นไปถึงประชาชนทั่วไปอีกจังหวะหนึ่ง

42. ข้อใดไม่ใช่การสื่อสารสาธารณะ
(1) การอภิปรายในหอประชุม
(2) การสัมมนาวิชาการ
(3) การปราศรัยหาเสียง
(4) การประชุมบุคลากร
ตอบ 4 หน้า 42 – 43 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) หรือการสื่อสาร สาธารณะ (Public Communication) จะประกอบไปด้วย ผู้รับสารจํานวนมากมารวมอยู่ ในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารจะอยู่ห่างไกลกัน จึงทําให้โอกาสที่จะ แลกเปลี่ยนข่าวสารกันโดยตรงมีน้อย ได้แก่ การจัดนิทรรศการ, การปาฐกถา, การปราศรัย หาเสียง, การอภิปรายหรือสัมมนาในหอประชุม หรือแม้แต่การเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็น จํานวนมากจนต้องอาศัยสื่อการสอนเข้ามาช่วยในการสอน เช่น การใช้โทรทัศน์วงจรปิด, การใช้ไมโครโฟน ฯลฯ (ส่วนการประชุมบุคลากร เป็นการสื่อสารในองค์การ)

43. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่เน้นว่าสื่อมวลชนมีผลต่อผู้รับสารโดยตรงและรวดเร็ว
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181 ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสาร เล็งผลเลิศ) เสนอว่า สื่อมวลชนทั้งหลายมีผลอย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใดต่อมวลชน กล่าวคือ สื่อมวลชนเป็นเหมือนอาวุธที่มีอํานาจมหาศาลสามารถดลบันดาลให้ประชาชนเป็น อะไรก็ได้ ข่าวสารจากสื่อมวลชนจะถึงและมีผลต่อประชาชนโดยตรงและรวดเร็วทันทีทันใดโดยไม่มีอะไรกีดขวางและปราศจากการต่อต้านจากผู้รับสาร

44. แบบจําลองของใครต่อไปนี้ที่เน้นว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลหรือ ความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ
(1) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(2) วิลเบอร์ ชแรมม
(3) ธีโอดอร์ นิวคอมบ์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 3 หน้า 61-62 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ จัดเป็นแบบจําลอง เชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นมาเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุลหรือเกิด ความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารช่วยให้ เกิดการตกลงใจหรือยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อใดที่มีความไม่สมดุล เกิดขึ้น มนุษย์ก็จะแสวงหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อขจัดความยุ่งยากหรือ ความเครียดอันเกิดจากความไม่สมดุลนั้น ๆ

45. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้นําวิธีการกําหนดสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการอนุมานอย่างมีเหตุผล
(1) Aristotle
(2) Schramm
(3) Francis Bacon
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถ แบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ข้อเท็จจริงหลัก 2. ข้อเท็จจริงรอง 3. ข้อสรุป

46. แบบจําลองใดต่อไปนี้ที่เหมาะสมแก่การใช้วิเคราะห์การโน้มน้าวใจ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

47. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย
(1) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
(2) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(3) วิลเบอร์ ชแรมม
(4) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
ตอบ 1 หน้า 4 ชาร์ลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย

48. บทวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชนนั้น สามารถจัดเป็นสารประเภทใด
(1) สารประเภทความรู้สึก
(2) สารประเภทข้อคิดเห็น
(3) สารประเภทข้อเท็จจริง
(4) ทั้งประเภท 1 และประเภท 2 รวมกัน
ตอบ 2 หน้า 69 – 71 สารประเภทข้อคิดเห็น ได้แก่ สารที่เกิดขึ้นจากการประเมินของผู้ส่งสาร ซึ่งอาจเป็นความรู้สึก แนวความคิด และความเชื่อที่บุคคลมีต่อตนเอง บุคคลอื่น วัตถุ หรือ เหตุการณ์ใดก็ตาม ซึ่งสารประเภทนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ เมื่อไปปรากฏ อยู่ในเนื้อหาของข่าวก็จะทําให้ประชาชนผู้รับสารเกิดความสับสนและไขว้เขวได้ง่าย เช่น บทวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชน เป็นต้น

49. ปฏิกิริยาตอบกลับหรือปฏิกิริยาตอบโต้ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นับว่าเข้าข่ายการสื่อสารแบบใด
(1) Two-ways Communication
(2) One-way Communication
(3) Two-way Communication
(4) Interaction
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

50. ช่องทางติดต่อทั้งห้าของมนุษย์ อยู่ในแบบจําลองการสื่อสารตามทัศนะของผู้ใดต่อไปนี้
(1) ชแรมม์
(2) เบอร์โล
(3) ออสกูด
(4) นิวคอมบ์
ตอบ 2 หน้า 59, 61, 72, (ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ) ตามทัศนะของเบอร์โล ช่องทางติดต่อหรือ ช่องทางการสื่อสาร (Channel or C) ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกของมนุษย์
มี 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

51. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึงการเข้ารหัส การถอดรหัส และการตีความ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

52. จุดมุ่งหมายของการสร้างทฤษฎีเพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งใดต่อไปนี้ในการช่วย ทํานายเหตุการณ์เหล่านั้น
(1) การนิยาม
(2) ตัวแปร
(3) องค์ประกอบหรือปัจจัย
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 2 หน้า 22 จุดมุ่งหมายสําคัญในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาก็เพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิด ๆ อะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ตัวแปรนั่นเอง

53. การตั้งสมมุติฐานโดยวิธีอุปนัย ผู้คิดค้นวิธีนี้คือใครต่อไปนี้
(1) ชาร์ลส์ อี. ออสกุด
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) วิลเบอร์ ชแรมม
(4) อริสโตเติล
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นผู้คิดค้นวิธีตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดย วิธีอุปนัย (Induction) หรือการอุปมานอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยที่ผู้วิจัย หรือผู้สํารวจขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ หรือเรื่องนั้นไม่เคยมีผู้ใดทําการวิจัยมาก่อน ดังนั้น ผู้วิจัยต้องใช้วิธีวิจัยขั้นสํารวจมาช่วย เพื่อให้สามารถสร้างสมมุติฐานขึ้นมาเองได้ จึงถือเป็นวิธี การได้ความรู้โดยการศึกษาคุณลักษณะของข้อมูลทีละหน่วย (Unit) หลาย ๆ หน่วย

54. ผู้ใดต่อไปนี้ให้ความหมายของการสื่อสารว่า “เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”
(1) Cart I. Hoveland
(2) Warren W. Weaver
(3) George A. Miller
(4) Jurgen Ruesch
ตอบ 3 หน้า 3 จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า “การสื่อสาร หมายถึง
การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”

55. สื่อในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามคุณลักษณะของสื่อ
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(3) สื่อเฉพาะกิจ
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 73 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้คุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์ มี 5 ประเภท คือ
1. สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
2. สื่อมนุษย์ ได้แก่ โฆษก ตัวแทนการเจรจาปัญหาต่าง ๆ พ่อสื่อแม่สื่อ ฯลฯ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร ใบประกาศ โปสเตอร์ ฯลฯ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ วิดีโอเทป คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
5. สื่อระคน คือ สื่อที่ทําหน้าที่นําสารได้แต่ไม่อาจจัดไว้สื่อหนึ่งสื่อใดใน 4 ประเภทข้างต้น ได้แก่ หนังสือพิมพ์กําแพง วัตถุจารึก (ศิลาจารึก) สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ

56. ตัวแปรแทรก ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) ตัวแปรที่เปลี่ยนตามตัวแปรอิสระ
(2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น
(3) ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน
(4) ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรผล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

57. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร มีสาระสําคัญที่สอดคล้องกับแนวความคิดของผู้ใดต่อไปนี้
(1) ดี.เอ็ม.ไรท์
(2) ดี.เอ็น.ไวท์
(3) ดี.เอ็ม.ไวท์
(4) ดี.เอ็น.ไรท์
ตอบ 3 หน้า 197 – 198 แบบจําลองหรือทฤษฎีสื่อสารมวลชนของ ดี.เอ็ม.ไวท์ ได้อธิบายอย่างง่าย ๆ ถึงบทบาทของผู้ปิดและเปิดประตูสาร หรือผู้เฝ้าประตูของสื่อมวลชน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนกว่านี้ และข่าวสารจากสื่อมวลชนก็มักจะไหลผ่านผู้เฝ้าประตู หรือผู้ปิดและเปิดประตูสารต่าง ๆ มากมายหลายชั้นทีเดียว

58. ทฤษฎีที่ใช้และอ้างอิงถึงในวงการสื่อสารมวลชนแบ่งเป็นกลุ่มอะไรบ้าง
(1) 3 กลุ่ม คือ ทฤษฎีเข็มฉีดยา ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ และจังหวะเดียว
(2) 2 กลุ่ม คือ ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูข่าวสาร และทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(3) 3 กลุ่ม คือ ทฤษฎีจุลภาค มหภาค และมัชฌิมภาค
(4) 2 กลุ่ม คือ ทฤษฎีจุลภาค และมหภาค
ตอบ 3 หน้า 176 ทฤษฎีที่ใช้และอ้างอิงถึงในการวิจัยของวงการสื่อสารมวลชน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ทฤษฎีมหภาค (ระดับรวมเบ็ดเสร็จ หรือระดับสังคม)
2. ทฤษฎีจุลภาค (ระดับบุคคล)
3. ทฤษฎีมัชฌิมภาค (ระดับกลาง หรือระดับระหว่างบุคคล) ทั้งนี้หนังสือเรียนบางเล่มอาจจําแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ทฤษฎีมหภาค และทฤษฎีจุลภาค ซึ่งเป็นไปเพื่อความสะดวกมากกว่า แต่ไม่ควรถือเป็นข้อยุติเด็ดขาด เพราะระหว่างมหภาคและ จุลภาคนั้นยังมีมัชฌิมภาคอยู่

59. สื่อข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามจํานวนและลักษณะของการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) สื่อมนุษย์
(2) สื่อเฉพาะกิจและสื่อประสม
(3) สื่อธรรมชาติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 73 – 74 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้จํานวนผู้เข้าร่วมในกระบวนการสื่อสาร และลักษณะการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์ มี 4 ประเภท คือ
1. สื่อระหว่างบุคคล ได้แก่ จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ
2. สื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
3. สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ การจัดทํานิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน ฯลฯ
4. สื่อประสม ได้แก่ การนําสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นไปใช้ในการสื่อสาร

60. ท่านใดต่อไปนี้ที่ให้ความหมายว่า “การสื่อสารครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง และรวมไปถึงพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์”
(1) วิลเบอร์ ชแรมม
(2) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
(3) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(4) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

61. การตั้งสมมุติฐาน มักประกอบด้วยตัวแปรใดกับตัวแปรใดต่อไปนี้
(1) ตัวแปรกดกับตัวแปรแทรก
(2) ตัวแปรอิสระกับตัวแปรแทรก
(3) ตัวแปรอิสระกับตัวแปรกด
(4) ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
ตอบ 4 หน้า 20, 24, 26, (คําบรรยาย) สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ข้อความเฉพาะที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือตัวแปรสองตัว (ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม) หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้สมมุติฐานอาจหมายถึง ข้อความที่กําลังจะถูก ทดสอบว่าถูกหรือน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าหากข้อมูลถูกทดสอบจนเป็นที่ยอมรับของทุกคนแล้ว และไม่ต้องถูกทดสอบอีก ข้อความนั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นสมมุติฐานอีกต่อไป

62. สื่อมวลชนจะต้องเป็นผู้นําประชาชนไปสู่โลกทัศน์กว้าง ถือเป็นการแสดงบทบาทหน้าที่ในลักษณะใด
(1) สื่อกลางของสาธารณะ
(2) สื่อกลางความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ
(3) สื่อกลางความสัมพันธ์ของสถาบันที่มีอํานาจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

63. แบบจําลองการสื่อสารตามภาพด้านล่าง เป็นแนวคิดของผู้ใดต่อไปนี้

(1) ออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) เดวิด เค. เบอร์โล
(4) แชนนั้นและวีเวอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

64. ผู้ใดต่อไปนี้อธิบายว่า การสื่อสาร คือ “การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) วิลเบอร์ ชแรมม
(3) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(4) ชาร์ลส์ อี. ออสกัด
ตอบ 2 หน้า 4 วิลเบอร์ ซแรมม์ (Wilbur Schramm) อธิบายว่า “การสื่อสาร คือ การมีความเข้าใจ ร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร (Information Signs)”

65. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงเนื้อหาและความหมายของวัฒนธรรมมวลชนได้ถูกต้อง
(1) มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(2) เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือการตกแต่งเพื่อความสวยงาม
(3) มีลักษณะกํากวม ยุ่งเหยิง เป็นอมตะ
(4) มีลักษณะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ตอบ 1 – หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี

3. เนื้อหาและความหมาย มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

66. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงเนื้อหาและความหมายของวัฒนธรรมพื้นบ้านได้ถูกต้อง
(1) มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(2) เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือการตกแต่งเพื่อความสวยงาม
(3) มีลักษณะกํากวม ยุ่งเหยิง เป็นอมตะ
(4) มีลักษณะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ตอบ 2 , 4 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน โดยปกติแล้วจะถูกเพิกเฉย ไม่ได้รับการเหลียวแล แต่ปัจจุบันได้รับการ ปกป้องจากทางการมากขึ้น
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะลอกแบบหรือผลิตขึ้นตามแบบแผนทางประเพณี ออกแบบ ด้วยมือ และไม่เห็นความจําเป็นของการตลาด
3. เนื้อหาและความหมาย อาจจะชัดเจนหรือไม่ก็ได้ มีลักษณะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม หรือเป็น การตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่เป็นสากล ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
4. ผู้รับสาร เป็นสมาชิกของวัฒนธรรมเดียวกัน แต่ถูกจํากัดด้วยวัฒนธรรม
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความเป็นปึกแผ่นและการรวมตัวกัน

67. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงกับวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อนําไปสู่
การอธิบายคําว่า “วัฒนธรรมมวลชน”
(1) Blume
(2) Bauman
(3) Wilensky
(4) Wilenski
ตอบ 3 หน้า 119 Wilensky ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคํา 2 คํา คือ วัฒนธรรมชั้นสูง (High Culture) กับวัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) เพื่อจะนําไปสู่การอธิบายถึงคําว่า “วัฒนธรรมมวลชน” (Mass Culture)

68.Cohen เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการสื่อสารใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ

69. ทฤษฎีใดเสนอว่าสื่อมวลชนทั้งหลายมีผลอย่างมหาศาลโดยตรงและทันทีทันใดต่อมวลชน
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

70.Baumen ได้อธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชนในลักษณะใดต่อไปนี้
(1) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
(2) เป็นมรดกทางสังคมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
(3) เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิต
(4) เป็นผลผลิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากต้องการก้าวสู่ความเป็นสากล
ตอบ 4 หน้า 120 Baumen ได้อธิบายไว้ว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) เป็นผลผลิตที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของกระบวนการที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลของสังคมสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะความรุ่งโรจน์ของการตลาด การประสบความสําเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ และ ความหลากหลายของเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ได้สร้างให้เกิดผลิตผลทางวัฒนธรรมขึ้นมา

71. การสื่อสารของหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ นโยบาย การจัดองค์การ และการแบ่งงานกันทํา เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย เรียกว่าการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารสาธารณะ
(2) การสื่อสารในองค์การ
(3) การสื่อสารระหว่างองค์การ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 43 การสื่อสารในองค์การ (Organizational Communication) เป็นการสื่อสารระหว่าง ผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานที่เป็นทางการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ นโยบาย การจัดองค์การ และการแบ่งงานกันทํา เพื่อปฏิบัติภารกิจขององค์การหรือหน่วยงานให้บรรลุ เป้าหมายและสอดคล้องกับโครงสร้างขององค์การ เช่น การสื่อสารในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ

72. การสื่อสารที่มีรองนายกรัฐมนตรีเดินทางไปเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดเป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารระหว่างประเทศ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 10. ประกอบ

73. จากข้อ 72. รองนายกรัฐมนตรีจะนับเป็นสื่อใดต่อไปนี้ หากดูถึงคุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่อมนุษย์
(3) สื่อเฉพาะกิจ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

74. แบบจ่าลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานในเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์ เป็นแนวคิดของผู้ใดต่อไปนี้
(1) ลาสเวลล์
(2) แชนนั้นและวีเวอร์
(3) ธีโอดอร์ นิวคอมบ์
(4) ออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

75. การทํานิตยสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน หากดูจากจํานวนผู้เข้าร่วมในกระบวนการสื่อสาร
เป็นเกณฑ์แล้ว นับเป็นสื่อใดต่อไปนี้
(1) สื่อเฉพาะกิจ
(2) สื่อนิตยสาร
(3) สื่อมวลชน.
(4) สื่อสิ่งพิมพ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

76. สมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยการคาดการณ์คําตอบที่คาดหวังจะได้รับจากการวิจัยของผู้ทําการวิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผลและผลการวิจัยที่มีมาก่อน เรียกว่า
(1) สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยวิธีนิรนัย
(2) สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการอุปมานอย่างมีเหตุผล
(3) สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยวิธีอุปนัย
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

77.Cognitive Dissonance Theory เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดสอดคล้องกับแบบจําลองของผู้ใดต่อไปนี้
(1) Walter Lippman
(2) Newcomb
(3) Wilbur Schramm
(4) Osgood
ตอบ 2 หน้า 63 เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าแบบจําลองของนิวคอมบ์ (Newcomb) จนนําไปสู่ การตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) เพื่อที่จะ อธิบายการสื่อสารภายในตัวบุคคลในแง่ที่ว่า การตัดสินใจ ทางเลือก และข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องหรือความไม่เหมือนกันทางความคิดขึ้น

78. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่มีการเน้นถึงเรื่องการแสวงหาข่าวสาร
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 214 – 215, 222 ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับ จากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่อง การแสวงหาข่าวสาร(Information-seeking) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสารหรือ มวลชนสนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสื่อมวลชน อีกทั้งยังมีการเน้นว่า “มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้” (Need for Cognition) อันเป็น ความต้องการที่จะแสวงหาระเบียบและความเข้าใจที่เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของตนเอง โดยความต้องการอยากจะรู้นี้เป็นแรงผลักดันที่มนุษย์เราเรียนรู้มาจากการอยู่ในสังคม

79. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่มีการเน้นว่า มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80. ในช่วงต้นของการค้นพบทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะได้มาจากการศึกษาวิจัยในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(3) ทฤษฎีเล็งผลเลิศ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

81.Walter Lippman เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ

82. การที่นักสื่อสารมวลชนทําหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสนอ
ไปยังผู้รับสาร อยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 2 หน้า 195, 198, (คําบรรยาย) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อน ที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งไม่เพียงแต่จะเลือก หรือปฏิเสธข่าวสารต่าง ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น ยังทําหน้าที่จัดสารให้อยู่ในรูปที่ต้องการ ตลอดจน กําหนดการนําเสนอข่าวสาร กําหนดเวลาว่าจะเสนอในช่วงเวลาใด ลดหรือเพิ่มจํานวนข่าวสาร หรือเลือกเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น ฯลฯ

83. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแบบจําลอง PSI
(1) ไฮเดอร์
(2) นิวคอมบ์
(3) จอร์จ เฮอเบิร์ด มีด
(4) ออสกูด
ตอบ 1 หน้า 37 แบบจําลองการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) ที่นิยม ใช้อย่างแพร่หลาย คือ แบบจําลองการสื่อสาร PSI ของไฮเดอร์ (Heider) ซึ่งอาศัยทฤษฎีหรือ แบบของความคิด (Cognitive Model) จากสาขาจิตวิทยาทางสังคมมาใช้ในการอธิบาย

84.Rewriter ของหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ทําหน้าที่ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) ผู้รายงานข่าว
(2) ผู้เขียนข่าว
(3) ผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ผู้สื่อข่าว
ตอบ 3 หน้า 200 Rewriter (ผู้เรียบเรียงข่าว) จะทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูหรือผู้ปิดและเปิดประตูสาร
อีกต่อหนึ่ง โดยทําหน้าที่ตบแต่งข่าวด้วยการตัดทอนย่อหน้า ตัดบางประโยคและบางคําของข่าว หรืออาจไม่แก้ไขต้นฉบับข่าวที่นักข่าวคนนั้นส่งมาเลยก็ได้ หลังจากนั้นจึงส่งข่าวออกไปตีพิมพ์หรือออกอากาศ

85. การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชั้นสูง และวัฒนธรรมมวลชน สามารถพิจารณาได้จากประเด็นใดต่อไปนี้
(1) เนื้อหาและความหมาย
(2) วัตถุประสงค์ของการใช้
(3) ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4หน้า 120 – 122 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูง วัฒนธรรมพื้นบ้าน และวัฒนธรรมมวลชน จะพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต
3. เนื้อหาและความหมาย
4. ผู้รับสาร
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล

86. การผลิตจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่และใช้เทคโนโลยีอย่างมีแบบแผน จัดอยู่ในวัฒนธรรมใดต่อไปนี้
(1) วัฒนธรรมสื่อมวลชน
(2) วัฒนธรรมมวลชน
(3) วัฒนธรรมสื่อสารมวลชน
(4) วัฒนธรรมชั้นสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

87. วัฒนธรรมใดต่อไปนี้ที่เน้นถึงเรื่องความพอใจอย่างฉับพลัน
(1) วัฒนธรรมสื่อมวลชน
(2) วัฒนธรรมมวลชน
(3) วัฒนธรรมสื่อสารมวลชน
(4) วัฒนธรรมขั้นสูง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

88. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่ไม่จัดเข้าข่ายทฤษฎีสื่อสารมวลชนประเภท Effect Approach
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 178 – 180 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องประสิทธิผลสื่อมวลชน
(Effect Approach) อิทธิพล หรือผลกระทบจากสื่อ มีดังนี้ คือ
1. ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ)
2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
3. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
4. ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
5. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

89. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่จัดเข้าข่ายทฤษฎีสื่อสารมวลชนประเภท Functional Approach
(1) ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(3) ทฤษฎีการใช้และความพึงพอใจจากสื่อ
(4) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
ตอบ 3 หน้า 178, 222 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องการใช้สื่อของมวลชน (Functional Approach) มีดังนี้
1. ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับจากสื่อ หรือทฤษฎี
อรรถประโยชน์ของผู้บริโภค
2. ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
3. ทฤษฎีสังคมมวลชน ฯลฯ

90. ทฤษฎีเข็มฉีดยา จัดเข้าข่ายทฤษฎีสื่อสารมวลชนประเภทใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องผลจากการกระทําของสื่อมวลชน
(2) ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างหน้าที่
(3) ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องการใช้สื่อของมวลชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

91. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่สื่อต้องอยู่ภายใต้การเสนอแนะของรัฐบาล
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(3) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(4) ทฤษฎีสื่อเสรี
ตอบ 3 หน้า 254 ทฤษฎีอํานาจนิยม มักจะใช้กับประเทศที่มีระบบการเมืองการปกครองแบบ เผด็จการ โดยสื่อมวลชนจะไม่มีอิสรภาพและต้องอยู่ภายใต้การชี้นําหรือการเสนอแนะ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล มีการตรวจข่าวและลงโทษผู้ที่เสนอข่าวผิดไปจากแนวนโยบาย ทางการเมืองที่กําหนดมาจากผู้มีอํานาจ

92. ผู้ใดที่มีส่วนในการวางรากฐานทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(1) โจเซฟ พูลิตเซอร์
(2) มิลตัน
(3) เรอเน มาเออ
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 263 จากพฤติกรรมในทางลบของหนังสือพิมพ์ระบบเสรีในสหรัฐฯ ได้ผลักดันให้นักคิด นักวิชาการเข้ามาช่วยนักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์ผู้โฆษณาสร้างจรรยาบรรณสําหรับวิชาชีพนี้ มาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานของทฤษฎีความรับผิดชอบ ทางสังคมเป็นอย่างมาก คือ โจเซฟ พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) ที่ได้พยายามต่อสู้เพื่อตั้ง สถาบันการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์ขึ้น (ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก)

93. ทฤษฎีอํานาจนิยม เสรีนิยม ความรับผิดชอบทางสังคม เบ็ดเสร็จนิยม สื่อสารเพื่อการพัฒนา และทฤษฎี สื่อมวลชนของประชาชน สามารถจัดอยู่ในประเภทของทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีสังคมศาสตร์
(2) ทฤษฎีปทัสถาน
(3) ทฤษฎีแนวปฏิบัติ
(4) ทฤษฎีสามัญสํานึก
ตอบ 2 หน้า 253 – 276, 279 – 281 ทฤษฎีด้านการสื่อสารมวลชนที่จัดอยู่ในประเภทของ
ทฤษฎีปทัสถาน อาจแบ่งได้ดังนี้
1. ทฤษฎีอํานาจนิยม
2. ทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยม
3. ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
4. ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
5. ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
6. ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน

94. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่มักใช้กับประเทศที่เพิ่งประสบกับภาวะสงคราม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 4 หน้า 272 – 274 ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ มักใช้กับประเทศเกิดใหม่หรือเพิ่งประสบกับภาวะสงคราม รวมทั้งประเทศยากจนในโลกที่ 3 หรือประเทศกําลังพัฒนา เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอจึงไม่อาจนําทฤษฎีอื่น ๆ มาใช้ได้เลย นอกจากทฤษฎีนี้

95. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่กล่าวถึงปัญหาว่า ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของสื่อมักมีเสรีภาพมากกว่าบุคคลธรรมดา
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 256, 258 – 262 ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยมมีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1. ไม่อาจกําหนดได้อย่างชัดเจนว่าสุดขอบเขตของเสรีภาพอยู่ที่จุดใด
2. ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของสื่อมักมีเสรีภาพมากกว่าบุคคลธรรมดา
3. เน้นถึงความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่าเรื่องข่าวสารข้อมูลที่มีแง่มุมสลับซับซ้อน ฯลฯ

96. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดต่อไปนี้ที่เป็นทฤษฎียากที่สุดในการทําความเข้าใจ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยม
(3) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน
ตอบ 4 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือความมีส่วนร่วมแบบ ประชาธิปไตย หรือทฤษฎีผู้มีความเป็นประชาธิปไตย จัดเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดากลุ่ม ทฤษฎีปทัสถาน และเป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทําความเข้าใจ เนื่องจากเป็นทฤษฎีลูกผสม ระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นถึง ความสําคัญของทุกคน เน้นการสื่อสารแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและ สังคม จึงเป็นรูปแบบของสื่อมวลชนที่ประชาชนปรารถนาและพึงพอใจมากที่สุด แต่ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในแนวปฏิบัติ

97. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นปัญหาของทฤษฎีเสรีนิยม
(1) สุดขอบเขตของเสรีภาพไม่มีการกําหนดไว้
(2) หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือการแสดงออกของบุคคล
(3) หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือในการแสวงหาสัจจะของสังคม
(4) การเสนอข่าวสารได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98. ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมในระยะเริ่มต้น เกิดขึ้นจากสาเหตุใดต่อไปนี้
(1) พฤติกรรมในทางลบของหนังสือพิมพ์ในระบบเสรี
(2) การสร้างจรรยาบรรณสําหรับวิชาชีพ
(3) การตั้งสถาบันการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

99. ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม ห้ามไม่ให้สื่อมวลชนทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) ห้ามละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่สําคัญของสังคม
(2) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้
(3) ห้ามละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของสังคม
(4) ห้ามใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 2 หน้า 280 ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียตมีบทบาทหน้าที่ต้องทํา และบทบาทหน้าที่ ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. บทบาทหน้าที่ (Functions) คือ สื่อมวลชนถือเป็นอุปกรณ์ของรัฐในการสร้างความสําเร็จ และความสืบเนื่องของระบบสังคมนิยมภายใต้อํานาจเผด็จการของพรรค ซึ่งมาจากชนชั้น กรรมาชีพ โดยจะเน้นเสนอข่าวสาร ความคิดเห็น และการศึกษาภายในกรอบอุดมการณ์ ของสังคมนิยม
2. บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) คือ ห้ามวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรค ที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้

100. ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน ห้ามไม่ให้สื่อมวลชนทําหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) ห้ามละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่สําคัญของสังคม
(2) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้
(3) ห้ามละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของสังคม
(4) ห้ามใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 4 หน้า 281 ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือสื่อมวลชนประชาธิปไตย มีบทบาทหน้าที่ ต้องทํา และบทบาทหน้าที่ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
1. บทบาทหน้าที่ (Functions) คือ ต้องสนับสนุนบทบาทและสิทธิของบุคคล ชุมชนเล็ก และ ชนกลุ่มน้อย มุ่งส่งเสริมประชาธิปไตยจากฐานล่าง โดยให้ข่าวสาร ความคิดเห็น การศึกษา และที่สําคัญคือ ให้สิทธิในการสื่อสารและให้โอกาสกับประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมกับ สื่อมวลชน
2. บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) คือ ห้ามใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

CDM2103 (MCS1151) ทฤษฎีการสื่อสาร s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) สําคัญต่อความเป็นสังคม
(2) สําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
(3) สําคัญต่อสถาบันต่าง ๆ
(4) สําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2.อวัจนภาษา ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

2. ความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
(1) เป็นรหัสของสารประเภทหนึ่ง
(2) เป็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 2, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) หมายถึง การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ใช่คําพูดหรืออวัจนภาษา (Nonverbal Language) เช่น ตํารวจจราจรคอยให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดตามสี่แยก บนท้องถนน, การที่คนสองคนได้พบหน้ากันแล้วต่างก็ยิ้มและพยักหน้าให้แก่กันโดยไม่มีการ กล่าววาจาทักทาย, การที่คู่สื่อสารยืนอยู่คนละฝั่งถนน แล้วฝ่ายหนึ่งพยายามกวักมือเรียก อีกฝ่ายหนึ่งให้เดินข้ามถนนมาหาตน เป็นต้น

3.การสื่อสารเชิงวัจนะ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เป็นรหัสของสารประเภทหนึ่ง
(2) เป็นการสื่อสารประเภทหนึ่ง
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2, 3 หน้า 2 (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งจัดเป็นภาษาที่เป็นคําพูดหรือวัจนภาษา
(Verbal Language) เช่น แดงพูดกับคําว่า “ทําไมมาสาย”, ส้มเขียนจดหมายถึงแฟนที่อยู่
ต่างประเทศ เป็นต้น

4. การสื่อสารเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ภายใน – ภายนอก ตรงกับความสําคัญของการสื่อสาร
ในข้อใดต่อไปนี้
(1) สําคัญต่อสังคมและธุรกิจ
(2) สําคัญต่อชีวิตประจําวันและธุรกิจ
(3) สําคัญต่อการเมืองและธุรกิจ
(4) สําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ คือ วงการอุตสาหกรรมและธุรกิจในปัจจุบันจําเป็นต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถตรวจสอบประชามติ หรือความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีต่อองค์กร โดยใช้วิธีทางการสื่อสารที่เรียกกันว่า “การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์” ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

5. นาย ว นั่งอยู่กับนาง ค แล้วพูดกับนาง ค ว่า ลูกใครร้องไห้เป็นอะไรครับ การสนทนาดังกล่าวจัดเป็นการ สื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(3) การสื่อสารปัจเจกบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 39 – 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) หรืออาจจะเรียกว่า “การสื่อสารปัจเจกบุคคล, การสื่อสารตัวต่อตัว (Person – to – person), การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face – to – face)” หมายถึง กระบวนการของการติดต่อสื่อสาร หรือการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป ซึ่งทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถ แลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยตรงผ่านสื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรืออาจผ่านสื่อที่มนุษย์ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมาก็ได้ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก ฯลฯ

6. การสื่อสารของมนุษย์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งใดต่อไปนี้
(1) หลักความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(2) หลักความสัมพันธ์ระหว่างคู่ของการสื่อสาร
(3) หลักความสัมพันธ์ของการสื่อสาร
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 4 จากคําจํากัดความของ “การสื่อสาร” ทั้งหมด สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งหนึ่งที่ ความหมายเหล่านี้ต่างมีร่วมกัน คือ การสื่อสารของมนุษย์ตั้งอยู่บนหลักของความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างคู่ของการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะมีความเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กัน

7. สัญลักษณ์ หรือท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) รหัสสารเชิงวัจนะ
(2) รหัสสารเชิงอวัจนะ
(3) การสื่อสารเชิงวัฒนะ
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) รหัสสารเชิงอวัจนะ หรือรหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูด (Nonverbal Message Codes) ได้แก่ ระบบสัญลักษณ์ สัญญาณ เครื่องหมาย หรือท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ ในการสื่อสารและไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ถ้อยคํา เช่น การพยักหน้าเพื่อแสดงอาการตอบรับ เห็นด้วย หรือแสดงความเข้าใจ, การให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดเพื่อให้รถหยุด เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบของรหัสสารเชิงอวัจนะ ได้แก่
1. เวลาหรือช่วงเวลา
2. พื้นที่ เนื้อที่ และระยะห่าง
3. สิ่งของ เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า ฯลฯ
4. อากัปกิริยา เช่น ภาษากาย ภาษาใบ้ ฯลฯ
5. ลักษณะทางร่างกาย เช่น รูปร่าง สีหน้า สีผิว ส่วนสูง ฯลฯ
6. ปริภาษา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแนบเนื่องกับภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น การพูดเร็ว/พูดช้า ลายมือบรรจง/ลายมือหวัด ฯลฯ

8.การสื่อสารสองทาง ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Two – way Communicate
(2) Two – step Flow Communicate
(3) Two – way Communication
(4) Two – step Flow Communication
ตอบ 3 หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54 การสื่อสารสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่หมายความรวมถึงการรับสาร ปฏิกิริยา ตอบกลับ (Feedback) หรือผลย้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วตอบโต้กลับไป และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction)

9. จากเหตุการณ์สี่รัฐมนตรีเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทําเนียบรัฐบาล เพื่อส่งหนังสือเชิญให้เป็นแคนดิเดต นายกรัฐมนตรี ในนามของพรรคพลังประชารัฐ เหตุการณ์นี้เป็นการสื่อสารแบบใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(2) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
ตอบ 2หน้า 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารกลุ่มเล็ก (Small Group Communication) หมายถึง การสื่อสารในลักษณะกลุ่มย่อยที่มีสมาชิกจํานวน 3 คนขึ้นไป (แต่สมาชิกต้องไม่มากเกินไป สามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง) โดยคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร ส่วนคนอื่น ๆ ก็จะเป็น ผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยตรงแบบตัวต่อตัวแต่จะช้ากว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล

10.นาย ว ฝันว่าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งสามสิบล้านบาท จัดเป็นการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(3) การสื่อสารเชิงวัฒนะ
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
ตอบ 2 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) คือ กระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยระบบ ประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน ได้แก่ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับ ตัวเอง, การร้องเพลงคนเดียว, การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ), การคิดคํานวณ, การนึก, การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง เป็นต้น และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน, การละเมอ เป็นต้น

11. ตํารวจจราจรคอยให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดตามสี่แยกบนท้องถนน การสื่อสารลักษณะเช่นนี้ตรงกับ
คําตอบข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Message Codes
(4) Nonverbal Message Codes
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

12. จากข้อ 11. พฤติกรรมข้างต้นจัดเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Message Codes
(4) Nonverbal Message Codes
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

13. การสื่อสารทางเดียว ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) การดู ชม ฟัง อ่าน สื่อมวลชน
(2) การเล่นไลน์
(3) การวิดีโอคอล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (MCS 1150 (MCS :100) เลขพิมพ์ 60182 หน้า 26) การสื่อสารทางเดียว (One – way Communication) คือ การสื่อสารที่เกิดจากผู้ส่งสารได้พูดบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสาร ส่งไปยังผู้รับสาร เมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น โดยไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ (Feedback) เช่น การที่ผู้รับสาร ชม ฟัง อ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่ได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร เป็นต้น

14. การสื่อสารที่ไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาจมีสาเหตุมาจาก
สิ่งใดต่อไปนี้
(1) กรอบแห่งการอ้างอิงต่างกัน
(2) กรอบแห่งการอ้างอิงและประสบการณ์ร่วมต่างกัน
(3) การมีประสบการณ์ร่วมเหมือนกัน
(4) การมีประสบการณ์ร่วมต่างกัน
ตอบ 2 หน้า 10, 14, 57, (คําบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารกันอาจมีสิ่งรบกวน (Noise) ที่ทําให้ การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร จนส่งผล ให้เกิดความล้มเหลวในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน, สารที่ใช้ในการสื่อสารไม่ชัดเจน, กรอบแห่งการอ้างอิง และประสบการณ์ร่วมหรือภูมิหลังที่แตกต่างกัน ฯลฯ

15. การที่บุคคลอยากหาซื้อสินค้าแล้วเข้าไปเปิดอ่านโฆษณาจากเพจขายสินค้าในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ถือว่ามีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อการตัดสินใจ
(3) เพื่อความบันเทิง
(4) เพื่อความรู้
ตอบ 2 หน้า 13 – 14 วัตถุประสงค์ของผู้รับสารประการหนึ่ง คือ เพื่อใช้ในการตัดสินใจหรือกระทํา สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Decide or Dispose) หมายถึง ผู้รับสารได้ศึกษาทางเลือกต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจ หรือกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การที่ผู้รับสาร ชม ฟัง อ่านโฆษณาเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้า หรือไม่ซื้อ, การฟังผู้สมัครรับเลือกตั้งปราศรัยหาเสียง ฯลฯ

16. การบอกกล่าวเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไปยังประชาชนผู้รับสาร ตรงกับวัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารในตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อแจ้งให้ทราบ
(2) เพื่อทราบ
(3) เพื่อให้การศึกษา
(4) เพื่อศึกษา
ตอบ 1 หน้า 10 – 11 วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารประการหนึ่ง คือ เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดที่เกิดขึ้น ในสังคมไปยังประชาชนผู้รับสารให้ได้รับทราบหรือเกิดความเข้าใจ เช่น รายการข่าว รายการ วิเคราะห์ข่าว รายการสนทนาเหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ

17. การสื่อสารจะประสบความสําเร็จมักมีองค์ประกอบหลายประการ แต่ยกเว้นข้อใดต่อไปนี้
(1) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
(3) การรับรู้ความหมายร่วมกันได้
(4) ความคุ้นเคยที่มีต่อกัน
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, 14, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่ทําให้การสื่อสารประสบความสําเร็จ มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารสอดคล้องตรงกัน
2. การมีปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback)
3. ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
4. การรับรู้ความหมายร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย
5. กรอบแห่งการอ้างอิงและประสบการณ์ร่วมหรือภูมิหลังที่คล้ายคลึงกัน ฯลฯ

18. การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Communicate
(4) Nonverbal Communicate
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19. การที่คนสองคนได้พบหน้ากันแล้วต่างก็ยิ้มและพยักหน้าให้แก่กันโดยไม่มีการกล่าววาจาทักทาย
การกระทําเช่นนี้ถือเป็นการสื่อสารในรูปแบบใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(3) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

20. การที่ดวงกับเต้ยยืนอยู่คนละฝั่งถนน แล้วดวงพยายามกวักมือเรียกเต้ยให้เดินข้ามถนนมาหาตน พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการสื่อสารในรูปแบบใด
(1) การสื่อสารเชิงวัจนะ
(2) การสื่อสารเชิงวัฒนะและอวัจนะ
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(4) การสื่อสารกึ่งอวัจนะ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

21. การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีภาษาพูดที่แตกต่างกันแล้วมาคุยกัน หากคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นเกณฑ์ นับเป็นการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(4) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ตอบ 4 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (Interracial Communication)
Communication)
2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Cross – Cultural or Intercultural
3. การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication)

22. ซแรมม์ ซีเบอร์ต และปีเตอร์สัน ได้เขียนหนังสือชื่อ Four Theories of the Press ไว้ในปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1953
(3) 1956
(4) 1955
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซีเบอร์ต (Siebert), ปีเตอร์สัน (Peterson) และชแรมม์ (Schramm) ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Four Theories of the Press ซึ่งหนังสือ เล่มนี้ได้บรรยายเปรียบเทียบถึงทฤษฎีหรือแนวคิดในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และ การควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน

23. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้ที่แนะนําวิธีแสวงหาความรู้แบบ “อุปมานอย่างมีเหตุผล”
(1) อริสโตเติล
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) อริสโตเติล เบคอน
(4) ฟรานซิส อริสโตเติล
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นผู้คิดค้นวิธีตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดย วิธีอุปนัย (Induction) หรือการอุปมานอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยที่ผู้วิจัย หรือผู้สํารวจขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ หรือเรื่องนั้นไม่เคยมีผู้ใดทําการวิจัยมาก่อน ดังนั้น ผู้วิจัยต้องใช้วิธีการวิจัยขั้นสํารวจมาช่วยเพื่อให้สามารถสร้างสมมุติฐานขึ้นมาเองได้ จึงถือเป็น วิธีการที่ได้ความรู้โดยการศึกษาคุณลักษณะของข้อมูลทีละหน่วย (Unit) หลาย ๆ หน่วย

24.องค์ประกอบหลัก ๆ ของทฤษฎีมีกี่ประการ
(1) 4 ประการ
(2) 5 ประการ
(3) 6 ประการ
(4) 7 ประการ
ตอบ 1 หน้า 19 – 20 (คําบรรยาย) ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ในการวิจัย วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อใช้เป็น กรอบในการสร้างคําตอบล่วงหน้าหรือกําหนดสมมุติฐานในการวิจัย เป็นต้น

3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องความหมายและการวัด เช่น การกําหนดความหมาย ของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นต้น
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ)

25. จากความหมายของทฤษฎีที่เคอร์ลินเจอร์กล่าวไว้ สามารถแยกเป็นความหมายย่อย ๆ ในข้อใดต่อไปนี้
(1) มีปัญหาที่ต้องพิสูจน์หรือแสดง
(2) มีข้อความสมมุติ
(3) มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) จากคําจํากัดความของทฤษฎีตามที่เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้กล่าวไว้นั้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประการ ดังนี้
1. กลุ่มของข้อความสมมุติหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมมุติฐาน
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเมื่อปฏิบัติลงไปแล้วจะแสดงผลให้เห็นอย่างเป็นระบบถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. มีการบอกทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

26. ในกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี จะต้องเริ่มต้นจากสิ่งใดต่อไปนี้
(1) มีปัญหา
(2) มีแนวคิด ทฤษฎี
(3) มีวัตถุประสงค์
(4) มีสมมุติฐาน
ตอบ 1 หน้า 22 (คําบรรยาย) ในกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี จะต้องเริ่มต้นที่ปัญหาของ การวิจัยที่ต้องการค้นหาคําตอบ แล้วจึงพิสูจน์ทดลอง วิเคราะห์ผล วัดผล จนเริ่มมีแนวคิดที่จะ อธิบายออกมาเป็นทฤษฎี โดยอาศัยการสังเกตค้นคว้าจากแนวการดําเนินงานอย่างมีระบบตาม ระเบียบวิธีวิจัย

27. การสร้างคําตอบล่วงหน้าในการวิจัย สามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการสร้าง
(1) แนวคิดและทฤษฎี
(2) วัตถุประสงค์ในการวิจัย
(3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

28. ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ สิ่งที่ค้นพบจะเป็นที่ยอมรับได้ หรือมีความเป็นวิทยาศาสตร์ จะต้อง
อาศัยสิ่งใดต่อไปนี้
(1) ระเบียบวิธีวิจัย
(2) สถิติ
(3) แนวคิดและทฤษฎี
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ), (คําบรรยาย) ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อนิยามหรือ กําหนดความหมายของตัวแปรแล้ว เราจะวัดตัวแปรเหล่านั้นเพื่อให้สิ่งที่ค้นพบเป็นที่ยอมรับได้ และมีความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology)
2. การใช้สถิติ
3. การสร้างข้อคําถามในการวัด
4. การใช้ข้อความสมมุติ (การตั้งสมมุติฐาน)
5. ใช้การสังเกตและทดลอง

29. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนของความเชื่อม มีความสําคัญต่อสิ่งใดต่อไปนี้
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) เหตุผลและการทดสอบ
(4) ความหมายและการวัด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

30. การกําหนดความหมายของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย นับเป็นองค์ประกอบของทฤษฎีในตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) การจัดลําดับสมมุติฐาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

31. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของแบบจําลอง
(1) หน้าที่ในการจัดระเบียบ
(2) หน้าที่ในการทํานายหรือคาดการณ์
(3) หน้าที่ในการเป็นเครื่องมือที่แสดงภาพรวมทั้งหมด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 30 – 31 หน้าที่ของแบบจําลองมี 4 ประการด้วยกัน คือ
1. จัดระเบียบและเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน
2. ทํานายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
3. เป็นเครื่องมือแสดงภาพรวมทั้งหมดที่สลับซับซ้อนให้เป็นภาพหรือรูปที่ง่ายแก่การเข้าใจ
4. ทําให้ผู้ทํานายกําหนดทางเลือกหลาย ๆ ทางที่เกี่ยวเนื่องกับผลลัพธ์หรือสิ่งที่ได้คาดคะเนไว้

32. การที่กล่าวว่า หากมีปรากฏการณ์สองปรากฏการณ์ คือ A กับ B เกิดขึ้น เราสามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้ มากำหนดว่า หากมี A เกิดขึ้น B จะเกิดขึ้นตามมา
(1) ทฤษฎี
(2) ตัวแปร
(3) สมมุติฐาน
(4) แนวคิด
ตอบ 1 หน้า 21 – 22 ทฤษฎีมีหน้าที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การทํานายหรือคาดคะเน หมายถึง การคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์อย่างน้อย 2 ปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่งทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เช่น เหตุการณ์ A กับ เหตุการณ์ B ทฤษฎีจะช่วยคาดคะเนได้ว่า ในสถานการณ์หนึ่ง ถ้ามี A เกิดขึ้น B ก็จะเกิดขึ้น ตามมา หรือถ้ามี B แล้วจะมี A เป็นต้น

33. จากข้อ 32. นับเป็นการใช้ตามหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) อธิบาย
(2) ทํานาย
(3) คาดคะเน
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34. จากการบรรยายในชั้นเรียนวิชานี้ หากจะต้องให้คําจํากัดความของคําว่า “เจตคติต่อวิทยาศาสตร์”
จะหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) การมีความสนใจวิทยาศาสตร์
(2) การเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 20, (คําบรรยาย) คําว่า “เจตคติต่อวิทยาศาสตร์” สามารถให้คําจํากัดความหรือ คํานิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้
1. คํานิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของ บุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์
2. คํานิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง การมีความสนใจและการเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์

35. จากการบรรยายในชั้นเรียนวิชานี้ หากจะต้องให้คําจํากัดความของคําว่า “เจตคติทางวิทยาศาสตร์”
จะหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) การมีความสนใจวิทยาศาสตร์
(2) การเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 20, (คําบรรยาย) คําว่า “เจตคติทางวิทยาศาสตร์” สามารถให้คําจํากัดความหรือ คํานิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้
1. คํานิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของ บุคคลที่แสดงถึงคุณลักษณะนิสัย อันเกิดจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์
2. คํานิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง ความมีเหตุผล ความสนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ และการเป็น ผู้ที่มีใจกว้าง

36. ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อกําหนดความหมายของตัวแปรแล้ว เราจะวัดตัวแปรเหล่านั้น
ได้ด้วยวิธีการใดต่อไปนี้
(1) สร้างข้อคําถามในการวัด
(2) ใช้สถิติ
(3) ใช้การสมมุติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

37. จากข้อ 36. เราจะต้องทําอย่างไรต่อไปเพื่อให้การศึกษาของเรามีความน่าเชื่อถือและยอมรับได้
ทางวิทยาศาสตร์
(1) ใช้การทดลอง
(2) ใช้สถิติ
(3) ใช้การสังเกต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

38. แบบจําลองมีประโยชน์อย่างไรต่อไปนี้
(1) นํามาใช้อธิบายตัวแปรต่าง ๆ
(2) ทําให้เรื่องยากลดความซับซ้อน
(3) สามารถสร้างความเกี่ยวโยงของตัวแปรที่ศึกษาได้ชัดเจน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 32 ประโยชน์ของแบบจําลอง มีดังนี้
1. นํามาใช้อธิบายตัวแปรต่าง ๆ และสร้างความเกี่ยวโยงกันของตัวแปรที่ศึกษาได้อย่าง
ชัดเจนกว่าการอธิบายทฤษฎีหรือแนวคิดด้วยการเขียนคําอธิบายหรือการใช้คําพูด
2. ทําให้เรื่องยากที่สลับซับซ้อนลดความซับซ้อนลงได้ โดยอาศัยภาพเชิงเส้นจําลอง
เป็นกระบวนการทั้งหมด
3. ทําให้นักวิชาการหรือนักวิจารณ์ในสาขานั้น ๆ ทํางานได้ง่ายขึ้น

39. การกําหนดสมมุติฐานในการวิจัย มักได้มาจากสิ่งใดต่อไปนี้
(1) แนวคิด
(2) ทฤษฎี
(3) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

40. จากตัวอย่างงานวิจัยที่ได้บรรยายในชั้นเรียน สามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา
(1) แนวคิดการเปิดรับสื่อ
(2) ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ
(3) แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 34. และ 35. ประกอบ), (คําบรรยาย) จากตัวอย่างงานวิจัยที่ได้บรรยาย ในชั้นเรียน สามารถใช้แนวคิดและทฤษฎีมาเป็นกรอบในการศึกษา ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของครอบครัว แผนการเรียน ฯลฯ
2. ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือแนวคิดการเปิดรับสื่อ (ในที่นี้ก็คือ การเปิดรับ รายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ ได้แก่ ความถี่ และความตั้งใจในการเปิดรับ)
3. ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับจากสื่อ (ในที่นี้ก็คือ ความพึงพอใจรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ ได้แก่ รูปแบบและเนื้อหารายการ)

41. การอนุมานอย่างมีเหตุผล แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนตามลําดับ ดังนี้คือ
(1) ข้อเท็จจริงหลัก ข้อเท็จจริงรอง ข้อสรุป
(2) ข้อสรุป ข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลัก
(3) ข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลัก ข้อสรุป
(4) ข้อเท็จจริงหลัก ข้อสรุป ข้อเท็จจริงรอง
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้เรา สามารถแบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ข้อเท็จจริงหลัก
2. ข้อเท็จจริงรอง
3. ข้อสรุป

42. นอกจากคําว่า “ทฤษฎี” ยังมีคําศัพท์อื่นที่ใช้แทนกันได้ คําศัพท์นั้นตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Theory
(2) Model
(3) Paradigm
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4
หน้า 20 นอกจากคําว่า “ทฤษฎี” (Theory) ยังมีศัพท์อื่นอีก 2 คํา ที่ใช้สับเปลี่ยนแทนกัน อยู่เสมอ คือ Model และ Paradigm ซึ่งความจริงแล้วทั้ง 3 คํานี้ มีความหมายคล้ายคลึงกัน อย่างมาก แตกต่างกันเฉพาะในสาระปลีกย่อยเท่านั้นเอง

43. ทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการหรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น ตรงกับตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) Theory
(2) Model
(3) Paradigm
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 21 Paradigm หมายถึง แบบจําลองหรือทฤษฎีที่มีการประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการ มาจากศาสตร์หรือวิชาการ (Discipline) ต่างสาขากัน หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น ส่วน Model หมายถึง แบบจําลองหรือทฤษฎีที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการหรือพัฒนามาจากศาสตร์
ภายในสาขาวิชาแขนงเดียวกัน

44. สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการคาดการณ์คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ และประสบการณ์ เรียกว่าอย่างไร
(1) Deduction
(2) Deductive
(3) Induction
(4) Inductive
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

45. เหตุใดจึงมีผู้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกับการวิจัยเป็นของคู่กัน
(1) ทฤษฎีช่วยแนะแนวการวิจัย
(2) ทฤษฎีกําหนดขอบเขตการวิจัย
(3) ผลการวิจัยช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของทฤษฎี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) ร.ศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์ และอาจารย์ดาราวรรณ สุขุมาลชาติได้กล่าวไว้ในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า ทฤษฎีเป็นบรรทัดฐานแนะแนวการวิจัย และยังช่วยกําหนดขอบเขตการวิจัยได้ ส่วนผลการวิจัยก็เป็นสิ่งเกื้อหนุนหรือช่วยส่งเสริมให้ ทฤษฎีก้าวหน้าได้ และขณะเดียวกันการวิจัยก็เป็นสิ่งที่ทําให้ได้มาซึ่งทฤษฎี ดังนั้นทฤษฎีกับ การวิจัยจึงเป็นของคู่กัน

46. ตั้งแต่เกิดจนโต น้ําฟ้าอยู่เมืองไทยมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นจะต้องร้องเพลงชาติไทยได้ จัดเป็นการ อนุมานแบบใดต่อไปนี้
(1) ข้อสรุปถูกต้อง
(2) ข้อเท็จจริงหลักไม่แน่นอนเสมอไป
(3) ข้อเท็จจริงหลักจริงแท้แน่นอน
(4) ข้อสรุปไม่แน่นอนเสมอไป
ตอบ 2 หน้า 27, (ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ) วิธีการอนุมานอย่างมีเหตุผลข้างต้น จําเป็นจะต้อง อาศัยข้อเท็จจริงหลักเป็นสําคัญ เพราะถ้าหากไม่มีข้อเท็จจริงหลัก การได้ความรู้มาด้วยวิธีนี้ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือถ้ามีข้อเท็จจริงหลักแต่ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป การสรุปนั้นก็จะไม่มีความหมาย เช่น คนที่อยู่เมืองไทยต้องพูดภาษาไทยได้ (ข้อเท็จจริงหลัก) ตั้งแต่เกิดจนโต น้ําฟ้าอยู่เมืองไทยมาโดยตลอด (ข้อเท็จจริงรอง) เพราะฉะนั้นจะต้องร้องเพลง ชาติไทยได้ (ข้อสรุป) ในกรณีนี้ข้อสรุปอาจไม่ถูกต้อง เพราะข้อเท็จจริงหลักไม่แน่นอนเสมอไป ว่าจะเป็นจริง เนื่องจากคนที่อยู่เมืองไทยมาโดยตลอดอาจเป็นคนต่างชาติที่พูดภาษาไทยไม่ได้

47. รูปแบบการสื่อสารแบบใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุดสําหรับการสื่อสารมวลชน
(1) รูปแบบการสั่งการ
(2) รูปแบบการบริการ
(3) รูปแบบการเป็นสมาชิก
(4) รูปแบบความพึงพอใจ
ตอบ 2 หน้า 113 – 116 รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. แบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะไม่มีความเสมอภาคกัน
2. แบบการบริการ (Service Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสารจะมีสถานภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสําหรับ กระบวนการสื่อสารมวลชน
3. แบบการเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็น แบบอย่างของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน

48. รูปแบบการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีสถานภาพเท่าเทียมกัน
(1) รูปแบบการสั่งการ
(2) รูปแบบการบริการ
(3) รูปแบบการเป็นสมาชิก
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วมเกิดขึ้นโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) Roger
(2) Miller
(3) Newcomb
(4) Schramm
ตอบ 3 หน้า 201 – 202 ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม (Co – orientation Theory) ที่ใช้กันแพร่หลาย ในวงการวิจัยสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นโดย Newcomb นักจิตวิทยาสังคม ซึ่งตามแนวคิดของเขา บุคคล 2 คน คือ A และ B ถ้าหาก A ชอบ B แต่พบว่าทั้งสองมีทัศนคติเกี่ยวกับวัตถุ X ต่างกัน ดังนั้น A จะต้องทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
1. A เปลี่ยนทัศนคติของตัวเองเกี่ยวกับ B หรือ X
2. A พยายามเปลี่ยนความคิดของ B เกี่ยวกับ X
3. A เลิกติดต่อสื่อสารกับ B หรือการสนับสนุนจากบุคคลอื่น
4. A พยายามบิดเบือนความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง

50. การพยายามบิดเบือนความคิดของตัวเองเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แท้จริง เป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธี
ตามทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่พยายามอธิบายถึงแนวความคิดที่ว่า สังคมคาดหวังที่จะได้รับอะไรบ้างจากกิจกรรม
ของสื่อมวลชน
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 222 – 223 ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชนได้อธิบายแนวคิดที่ว่า สังคมคาดหวัง ที่จะได้รับอะไรบ้างจากกิจกรรมของสื่อมวลชน นั่นคือ การกล่าวถึงภารกิจต่าง ๆ ของสื่อมวลชน ทางด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสื่อมวลชนในแง่ที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหว ภายในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะสงครามหรือในยามวิกฤติ ในสังคมที่กําลังพัฒนา และ ในรัฐสังคมนิยมบางรัฐ

52. ผู้ใดต่อไปนี้ที่บอกว่า สังคมใดต้องการก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลมักไม่สามารถหลีกเลี่ยงวัฒนธรรมมวลชนได้
(1) Bluner
(2) Baumen
(3) Blumer
(4) Bauman
ตอบ 2 หน้า 120 Baumen ได้อธิบายเอาไว้ว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) เป็นผลผลิตที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของกระบวนการที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลของสังคมสมัยใหม่โดยความรุ่งโรจน์ของการตลาด และการประสบความสําเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ ตลอดจน ความหลากหลายของเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ได้สร้างให้เกิดผลิตผลทางวัฒนธรรมขึ้นมา

53. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และเข้ากันได้กับชีวิตประจําวันของประชาชนในท้องถิ่นนั้น (1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 Witensky กล่าวว่า วัฒนธรรมพื้นบ้าน คือ วัฒนธรรมที่เกิดจากประชาชน อาจเกิดขึ้นก่อนหรือไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับสื่อมวลชน โดยวัฒนธรรมพื้นบ้านแท้ ๆ ได้ถูกค้นพบ เมื่อศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีเนื้อหามาจากวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และต้องเข้ากันได้กับชีวิตประจําวัน ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทําให้ในบางครั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านอาจถูกพวกสังคมชั้นสูง รังเกียจว่าเชยหรือล้าสมัย เนื่องจากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและไม่เป็นไปตามสมัยนิยม

54. ข้อใดต่อไปนี้มักเป็นสิ่งที่พวกสังคมชั้นสูงรังเกียจว่าเชยหรือล้าสมัย
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

55. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง มรดกของสังคม เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิตของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และมีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 1 หน้า 119 ในแนวของสังคมศาสตร์ ได้อธิบายไว้ว่า “วัฒนธรรม” หมายถึง มรดกของสังคม เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิตของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีความเจริญตามยุคสมัย

56. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีแบบแผน
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 4 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี
3. เนื้อหาและความหมายของผลผลิต มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

57. ข้อใดต่อไปนี้ที่มีเนื้อหาและความหมายของผลผลิต มีความชัดเจนและมีความเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 56. ประกอบ

58. ข้อใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผลผลิตจะต้องมีมาตรฐานที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค ผลงานอยู่ ภายใต้รูปแบบศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
ตอบ 2 หน้า 119 Wilensky ให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมชั้นสูงมีความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. เป็นผลงานที่อยู่ภายใต้รูปแบบประเพณีทางศิลปะ วรรณคดี หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นหรือภายใต้การกํากับของคนชั้นสูง
2. เป็นผลงานที่ผลิตขึ้นเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยเน้นว่าผลผลิตนั้นจะต้องมีมาตรฐาน ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคด้วย

59.แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ ผู้ส่งสารมักมีจุดมุ่งหมายใดต่อไปนี้
(1) การถ่ายทอดความหมาย
(2) การแสดง
(3) การเปิดเผย การแสดง การประกาศแจ้งความ
(4) ความสนใจ
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ (Attention Model) มีจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร คือ การเปิดเผย การแสดง และการประกาศแจ้งความ ส่วนจุดมุ่งหมายของผู้รับสาร คือ ความสนใจ และการเฝ้าดูเหตุการณ์

60. แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ ผู้รับสารมักมีจุดมุ่งหมายใดต่อไปนี้
(1) กระบวนการสร้างองค์ความรู้
(2) ความพอใจ/การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(3) ความสนใจ การเฝ้าดูเหตุการณ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61. รูปแบบการไหลของข่าวสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะกับสื่อแพร่ภาพและการกระจายเสียง
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
ตอบ 1 หน้า 126 – 128 รูปแบบการไหลของข่าวสาร (Flow of Information) แบ่งได้ 4 ระดับ คือ
1. Allocation คือ การส่งจดหมายตรงจากผู้นําถึงผู้ตาม ซึ่งจะเหมาะกับสื่อการกระจายเสียง และแพร่ภาพของชาติที่มักมีอิทธิพลโดยตรง รวดเร็ว และทันทีทันใดกับผู้รับสาร
2. Consultation คือ การให้คําแนะนําปรึกษาหารือ มักพบในสื่อหนังสือพิมพ์และการสื่อสาร ระหว่างบุคคลที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน แต่มีความผูกพันกัน
3. Conversation คือ การสนทนา ซึ่งผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจมีสถานภาพเท่าเทียมกันหรือ เหนือกว่ากันก็ได้ จึงเป็นการไหลแบบพื้น ๆ ที่มักพบเห็นได้ทั่วไป
4. Registration คือ การจดบันทึกหรือขึ้นทะเบียน

62. รูปแบบการไหลของข่าวสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะกับสื่อหนังสือพิมพ์
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อภารกิจของการเป็นทนายหน้าหอ ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 222 – 229 ภารกิจของสื่อมวลชนตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน มีดังนี้
1. ภารกิจหรือหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนต่อสังคม
2. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อภารกิจของการเป็น “ทนายหน้าหอ”
3. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อภารกิจของตนเอง คือ ผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชน มองบทบาทของเขาในส่วนที่มีความสัมพันธ์ต่อสังคมอย่างไร
4. บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อปัจเจกชน

64. ทฤษฎีใดต่อไปนี้ที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนมองบทบาทของตนเองในส่วนที่มีความสัมพันธ์
ต่อสังคมอย่างไร
(1) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม
(4) ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของสื่อมวลชน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65. ผู้ใดต่อไปนี้ที่มองว่า นักการสื่อสารเป็นเสมือนช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ต้องการพูดกับสาธารณชน ที่บุคคลเหล่านั้นต้องการเข้าถึง โดยมีลักษณะเป็นกลางและไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ
(1) Westley
(2) Maclean
(3) James Carey
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 128 Westley and Maclean กล่าวว่า นักการสื่อสารเป็นเสมือนช่องทางการสื่อสาร ระหว่างผู้ต้องการพูดในสังคม (Acvocates หรือผู้สนับสนุน) กับสาธารณชนที่บุคคลเหล่านั้น ต้องการเข้าถึงหรือพูดด้วย โดยบทบาทของนักสื่อสารมวลชนจะต้องมีลักษณะเป็นกลางและ ไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ
66. ผู้ใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า ปัจเจกชนควรจะได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ได้รับข้อเสนอแนะและ ทางเลือกเกี่ยวกับประเด็นที่จะนําไปสู่การปฏิบัติ ได้รับการเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง ตลอดจน ได้รับการตอบสนองความกระหายใคร่รู้และความสนใจทั่ว ๆ ไป
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) วินดาห์ล
(3) ชแรมม์
(4) ออสกุด
ตอบ 1 หน้า 230 เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เสนอว่า ปัจเจกชนควรได้รับข่าวสารหรือ สารสนเทศจากสื่อมวลชน ดังนี้
1. ได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
2. ได้รับข้อเสนอแนะและทางเลือกเกี่ยวกับประเด็นที่จะนําไปสู่การปฏิบัติ มติหรือการตัดสินใจ
3. ได้รับการตอบสนองความกระหายใคร่รู้และความสนใจทั่ว ๆ ไป
4. ได้รับการเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง
5. ได้รับความมั่นคงจากการสั่งสมประสบการณ์และความรู้

67. ผู้ใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า ปัจเจกชนควรได้รับความบันเทิง ได้ปลดปล่อยอารมณ์ ได้พักผ่อนหย่อนใจ ได้หลีกหนีปัญหาชั่วขณะ ได้ใช้เวลาว่าง และได้ความรู้สึกเป็นเจ้าของวัฒนธรรม
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) วินดาห์ล
(3) ชแรมม์
(4) ออสกุด
ตอบ 1 หน้า 230 – 231 เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เสนอว่า ปัจเจกชนควรจะได้รับ ความบันเทิงจากสื่อมวลชน ดังนี้
1. ทําให้คนเราสามารถหลีกหนีปัญหาได้ชั่วขณะ
2. ได้พักผ่อนหย่อนใจ
3. ได้ใช้เวลาว่าง
4. ได้ปลดปล่อยอารมณ์
5. กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
6. มีความรู้สึกเป็นเจ้าของวัฒนธรรมหรือศิลปกรรม

68. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาสาระของสาร ชนิดของสื่อ
ผู้รับสาร และผลที่เกิดจากการกระทําของการสื่อสาร
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูตและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
ตอบ 4 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswelt) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ระบุว่า วิธีที่สะดวก ที่จะอธิบายการกระทําการสื่อสารก็คือ การวิเคราะห์และตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้
1. ใคร (ผู้ส่งสารหรือแหล่งสาร)
2. กล่าวอะไร (สารหรือเนื้อหาสาระของสาร)
3. ผ่านช่องทางใด (สื่อหรือชนิดของสื่อ)
4. ถึงใคร (ผู้รับสาร)
5. เกิดผลอะไร (ผลที่เกิดจากการกระทําการสื่อสาร)

69. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ไม่สามารถนําไปอธิบายการสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็กในระดับ
สังคมที่ใหญ่โต
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนันและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์
ตอบ 1 หน้า 61 – 63 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ (Newcomb) จัดเป็น แบบจําลองเชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุล หรือเกิดความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และการปรับเปลี่ยนทางด้านพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่าการสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล จึงเป็นแบบจําลองที่ไม่สามารถนําไปอธิบายการสื่อสารของ กลุ่มขนาดเล็กในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้ เพราะสังคมที่ใหญ่โตนั้นมนุษย์ไม่ได้มีความต้องการที่จะให้เหมือนกัน หรือไม่สามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้เหมือนในระดับบุคคล

70. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องกระทําหน้าที่เข้ารหัส
ถอดรหัส และตีความ
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกุดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
ตอบ 3 หน้า 55 – 57 แบบจําลองการสื่อสารของออสกุดและวิลเบอร์ ซแรมม์ ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องกระทํา หน้าที่อย่างเดียวกันในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ(Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของทั้งผู้ส่งสารและ ผู้รับสารจะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันเพียงไรต้องดูที่สนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

71. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้เน้นว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

72. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องมีคุณสมบัติเรื่องทักษะในการ สื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม
(1) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ซแรมม์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี, ลาสเวลล์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 4 หน้า 59 – 61 แบบจําลองการสื่อสาร SMCR ของเดวิด เค. เบอร์โล ได้กล่าวว่า ผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะทําหน้าที่ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้
1. ทักษะในการสื่อสาร
2. ทัศนคติ
3. ความรู้
4. ระบบสังคม
5. ระบบวัฒนธรรม

73. แบบจําลองการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบจําลองเชิงเส้นตรงที่เกิดจากการ
กระทําของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกู๊ดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) แบบจําลองการสื่อสารของแซนนัน (Shannon) และวีเวอร์ (Weaver) เป็นแบบจําลองกระบวนการสื่อสารทางเดียวในเชิงเส้นตรงที่ถือว่า การสื่อสาร เกิดขึ้นจากการกระทําของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว (ไม่สนใจ Feedback ของ ผู้รับสาร) ซึ่งมีองค์ประกอบของการกระทําการสื่อสารอยู่ 6 ประการ ดังนี้
1. แหล่งสารสนเทศ
2. ตัวถ่ายทอด
3. สาร
4. ผู้รับสารหรือเครื่องรับ
5. จุดมุ่งหมายปลายทาง
6. แหล่งเสียงรบกวน

74. การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชน เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) บทบาทของสื่อมวลชน
(2) บทบาทของนักสื่อสารมวลชน
(3) บทบาทของมวลชน
(4) บทบาทของนักวิชาการ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94, 98 – 99 การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะเกี่ยวข้องกับ บทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคม
2. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะ คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสาธารณชนหรือมวลชนผู้รับสารโดยทั่วไปในสังคม

75. สถาบันสื่อสารมวลชนจะมีการทําหน้าที่ในลักษณะใดต่อไปนี้
(1) การผลิตและแพร่กระจายความรู้
(2) เป็นสถาบันที่มีอํานาจในตัวเอง
(3) ไม่เชื่อมโยงกลุ่มคนกับคนอื่น ๆ
(4) เป็นสถาบันที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจ
ตอบ 1 หน้า 91 – 92 สถาบันสื่อสารมวลชน (The Mass Media Institution) มีลักษณะดังนี้
1. มีหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร ความคิด และวัฒนธรรม
2. เป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกับคนอื่น ๆ
3. มีบรรยากาศของความเป็นสาธารณะ
4. การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังในสถาบันสื่อเป็นไปโดยสมัครใจ
5. มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจการตลาดในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน
6. ไม่มีอํานาจในตัวเอง แต่มักจะเกี่ยวข้องกับอํานาจรัฐอยู่เสมอ

76. การศึกษาสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบมีสาเหตุมาจากเรื่องใดต่อไปนี้
(1) กิจการสื่อสารมวลชนโตเร็ว
(2) เทคโนโลยีก้าวหน้ารวดเร็ว
(3) ผู้รับสารมีการศึกษาสูงขึ้น
(4) การเมืองพัฒนาการเร็วมาก
ตอบ 1 หน้า 90 – 91 สาเหตุที่สื่อมวลชนได้รับความสนใจ และได้มีการศึกษาสื่อมวลชนอย่าง เป็นระบบมากขึ้น มีดังนี้
1. กิจการสื่อมวลชนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. สื่อมวลชนมีบทบาทควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ
3. สื่อมวลชนเปิดโอกาสให้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนสภาพการดํารงชีวิตของคนในสังคมมากขึ้น
4. สื่อมวลชนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
5. สื่อมวลชนก่อให้เกิดค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิด และรูปแบบการตัดสินใจของปัจเจกชน

77. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับบทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ
(1) รับข้อมูลจากสถาบันส่งต่อสาธารณชน
(2) สามารถเข้าถึงมวลชนทุกระดับโดยมีค่าใช้จ่ายปานกลาง
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชนขึ้นอยู่กับโอกาส
(4) สื่อมวลชนส่งข่าวถึงประชาชนได้ทัดเทียมกับสถาบันอื่น ๆ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94 บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ มีดังนี้
1. ทําหน้าที่รับข้อมูลจากสถาบันต่าง ๆ ส่งต่อสาธารณชน
2. สามารถเข้าถึงมวลชนทุกระดับได้อย่างเต็มใจและเปิดเผย โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชนมีความพอดีกัน
4. สื่อมวลชนส่งข่าวสารถึงประชาชนจํานวนมากกว่าและในระยะยาวกว่าสถาบันอื่น ๆ

78. สื่อมวลชนในบทบาทของการเป็นสื่อกลางของสาธารณะนั้น สาธารณชนจะมีภาพลักษณ์ต่อสื่ออย่างไร (1) เป็นหน้าต่างที่ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น
(2) สื่อมวลชนกรองข่าวเข้าข้างผู้มีอํานาจทางการเมือง
(3) สื่อทําหน้าที่เพียงบอก 5W1H
(4) สื่อเป็นกระจกสะท้อนภาพของสังคมตามแนวทางของตน
ตอบ 1 หน้า 94 – 96, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของ สาธารณะจะมีภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. เป็นหน้าต่างสู่ประสบการณ์ คือ ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น โดยการบอกให้ ประชาชนทราบอย่างปราศจากอคติว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทําไม
2. เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็น หรือชี้ปมประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของสังคม
3. เป็นเวทีหรือตัวกลางในการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4. เป็นตัวกรองข่าว ซึ่งจะต้องมีการกระทําอย่างตั้งใจ มีหลักเกณฑ์ เป็นระบบ และต้อง มีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. เป็นกระจกสะท้อนภาพของสังคม โดยภาพนี้จะเป็นไปตามที่สังคมต้องการเสมอ ฯลฯ

79. จากโครงร่างการศึกษาความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนนั้น สามารถดูได้จากประเด็นใดต่อไปนี้
(1) ดูที่บทบาทหน้าที่ของความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์
(2) ดูที่บทบาทหน้าที่ของความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ
(3) ดูที่สถาบันต่าง ๆ ในสังคมเป็นผู้มอบเรื่องราวให้กับสื่อมวลชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 – 99, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ) จากโครงร่างของการศึกษา ความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนนั้นจะเห็นว่า สื่อมวลชน (องค์กรสื่อ) อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ปีก ดังต่อไปนี้
1. ปีกบน หมายถึง สถาบันต่าง ๆ ในสังคมที่มีอํานาจไม่อาจเอื้อมถึง ซึ่งมักสร้างเรื่องราวหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ เองให้กับสื่อมวลชน (ตรงกับบทบาทความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ ของสถาบันต่าง ๆ)
2. ปีกล่าง หมายถึง ผู้รับสาร คือ ชุมชน องค์กร สมาคมต่าง ๆ และปัจเจกชนที่คอยดูแล ความเปลี่ยนแปลงในสังคม (ตรงกับบทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ)

80. บทบาทของสื่อมวลชนในข้อใดต่อไปนี้ที่มีหน้าที่ชี้ปมประเด็นปัญหาของสังคม
(1) บทบาทของการเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์
(2) บทบาทของการเป็นสื่อกลางของสาธารณะ
(3) บทบาทของการมอบเรื่องราวต่าง ๆ ให้กับสังคม
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์จักรกลทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลัง
ทรงอํานาจ ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 2 หน้า 279 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม คือ การวิพากษ์วิจารณ์จักรกลทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลังทรงอํานาจ

82. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการแสดงเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาท อนาจาร หยาบคาย ยุยงให้เกิด
ความกระด้างกระเดื่องในยามสงคราม ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 279 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีเสรีนิยมหรือ อิสรภาพนิยม คือ การแสดงเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาท อนาจาร หยาบคาย และยุยงให้เกิด ความกระด้างกระเดื่องในยามสงคราม

83. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่สําคัญของสังคม
ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 3 หน้า 280 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามแนวของทฤษฎี ความรับผิดชอบทางสังคม คือ การละเมิดร้ายแรงต่อสิทธิส่วนบุคคลและต่อผลประโยชน์ที่ สําคัญของสังคม

84. สถาบันสื่อสารมวลชน ตรงกับคําตอบข้อใดต่อไปนี้
(1) The Mass Media Institution
(2) The Mass Communication Institution
(3) The Mass Media Organization
(4) The Mass Communication Organization
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 75. ประกอบ

85. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ
(1) เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสังคมโดยยึดหลักเกณฑ์ของฝ่ายสื่อเอง
(2) สถาบันอื่น ๆ ในสังคมอาจสามารถควบคุมสื่อ หรืออาจอํานวยความสะดวกแก่สื่อในการเสนอข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ
(3) สถาบันสื่อไม่จําเป็นต้องพึ่งพาสถาบันการเงิน
(4) สถาบันด้านกฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเสรีภาพของสื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 99 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ มีดังนี้
1. เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสังคม โดยยึดหลักเกณฑ์ของฝ่ายสื่อเอง
กับฝ่ายสาธารณชน
2. มีความสัมพันธ์กับกฎหมาย ซึ่งจะเป็นตัวกําหนดเสรีภาพของสื่อมวลชน
3. มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันการเงิน
4. มีความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อมวลชนกับสังคม ซึ่งสังคมหรือสถาบันอื่น ๆ ในสังคมอาจจะ สามารถควบคุมสื่อมวลชน หรืออาจอํานวยความสะดวกแก่สื่อมวลชนในการเสนอข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ

86. การที่สื่อมวลชนจะทําหน้าที่เป็นตัวจักรสําคัญในการสร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น ทําให้สังคม มีความคิดอ่านสอดคล้องกัน ควบคุมง่าย จัดเข้าข่ายการกระทําหน้าที่ตามแนวทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Centripetal
(2) Centrifugal
(3) Centrifutat
(4) Centripegal
ตอบ 1 หน้า 103, (คําบรรยาย) ทฤษฎี Centripetal คือ สื่อมวลชนจะทําหน้าที่เป็นตัวจักรในการ สร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น ซึ่งจะมีผลทําให้สังคมนั้นมีความคิดอ่านที่สอดคล้องกัน และสามารถเข้าควบคุมได้ง่าย จึงเหมาะกับรัฐบาลที่ต้องการความมีเสถียรภาพ เพราะสามารถ ควบคุมสื่อและประชาชนได้

87.การที่สื่อมวลชนนําเสนอความก้าวหน้า เสรีภาพ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคม แล้วทําให้ เกิดผลเสียกับสังคมที่แยกกันอยู่ เกิดความไม่สงบในสังคมได้มาก จัดเข้าข่ายการกระทําหน้าที่ตาม แนวทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Centripetal
(2) Centrifugal
(3) Centrifutal
(4) Centripegal
ตอบ 2 หน้า 103, (คําบรรยาย) ทฤษฎี Centrifugal คือ สื่อมวลชนจะทําหน้าที่นําความก้าวหน้า เสรีภาพ และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมที่สื่อมวลชนดําเนินการอยู่ แต่ทําให้เกิด ผลเสียก็คือ สังคมจะแยกกันอยู่หรือห่างเหินกัน มีความเป็นปัจเจกชนสูง ไม่มีการยึดติดกับ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง และอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมได้มาก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถ ควบคุมสื่อและคนในสังคมได้

88. บทบาทหน้าที่ต้องห้ามเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไปจากยุทธวิธีที่กําหนดไว้ปรากฏอยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยม
(2) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(4) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
ตอบ 1 หน้า 280 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามแนวของทฤษฎี เบ็ดเสร็จนิยมหรือทฤษฎีโซเวียต คือ การวิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมายของพรรคที่แตกต่างไป
จากยุทธวิธีที่กําหนดไว้

ข้อ 89 – 92. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(3) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีสื่อสารมวลชนของประชาชน
(5) ทฤษฎีอํานาจนิยม

89. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดาทฤษฎีปทัสถาน
ตอบ 4 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือความมีส่วนร่วมแบบ ประชาธิปไตย หรือทฤษฎีผู้มีความเป็นประชาธิปไตย จัดเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดากลุ่ม ทฤษฎีปทัสถาน และเป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทําความเข้าใจ เนื่องจากเป็นทฤษฎีลูกผสม ระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา ซึ่งทฤษฎีนี้จะเน้นถึง ความสําคัญของทุกคน เน้นการสื่อสารแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและ สังคม จึงเป็นรูปแบบของสื่อมวลชนที่ประชาชนปรารถนาและพึงพอใจมากที่สุด แต่ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในแนวปฏิบัติ

90. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้น ห้ามสื่อมวลชนละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและผลประโยชน์ของสังคม
ตอบ 3 หน้า 281 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามแนวทางของทฤษฎี สื่อสารเพื่อการพัฒนา คือ การที่สื่อมวลชนได้กระทําการละเมิดต่อกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและ ผลประโยชน์ของสังคม

91. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีที่เปิดโอกาสให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีบทบาทร่วมกัน
ตอบ 4 หน้า 277 – 278 หัวใจสําคัญของทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน มีดังนี้
1. การตอบสนองความต้องการ ความสนใจ และความปรารถนาที่ต่างกันของพลเมืองผู้รับสาร แต่ละคนในชุมชนขนาดเล็กและชนกลุ่มน้อย ทั้งในด้านสิทธิการรับรู้และสิทธิในการสื่อสาร
2. การเปิดโอกาสให้ผู้รับสารทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข่าวสาร ความคิดเห็น การศึกษา และการบริหารในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
มีบทบาทร่วมกัน

92. ทฤษฎีใดข้างต้นที่ห้ามสื่อมวลชนใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ตอบ 4 หน้า 281 บทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De – functions) ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชน ของประชาชน หรือสื่อมวลชนประชาธิปไตย คือ การใช้อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ

ข้อ 93 – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(4) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(5) ทฤษฎีการใช้และการตอบสนองความพึงพอใจจากสื่อ

93. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เน้นว่า การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่า แรงจูงใจจากผู้อื่น
ตอบ 2 หน้า 189 ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะจะมีลักษณะที่เสนอแนะได้ ดังนี้
1. การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนนั้นได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่า แรงจูงใจจากผู้อื่น
2. บุคคลผู้ซึ่งจูงใจบุคคลอื่นหรือผู้นําความคิดเห็นตามทฤษฎีนี้เป็นบุคคลที่ชอบเปิดตัวเอง
ในการรับสารจากสื่อมวลชนมากกว่าบุคคลที่เขาทําการจูงใจ

94. ทฤษฎีใดข้างต้นที่มิได้จัดอยู่ในทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบ Effect Approach
ตอบ 5 หน้า 178 – 180 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องประสิทธิผลของสื่อมวลชน (Effect Approach) อิทธิพล หรือผลกระทบจากสื่อ มีดังนี้
1. ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ)
2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
3. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
4. ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
5. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

95. ทฤษฎีใดข้างต้นที่ได้รับอิทธิพลจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยุ การขยายตัวของงานโฆษณาทางการค้าและการโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181 ความเชื่อในเรื่องอิทธิพลของสื่อมวลชนตามแนวทางของทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ) มีสาเหตุสําคัญ 3 อย่าง คือ
1. การกําเนิดและความก้าวหน้าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยุทรานซิสเตอร์ (Transistor Radio)
2. การขยายตัวของงานโฆษณาการค้า (Advertising) ทางสื่อมวลชน
3. การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)

96. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับนักสื่อสารมวลชนว่า มีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นก่อนจะเสนอไปยังผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 195 ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชน มีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งมาจากข้อเขียนของ เค. เลวิน ที่ให้ข้อสังเกตว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยบริเวณประตูที่ซึ่งมีการปล่อยหรือกัก ข่าวสารต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยผู้เฝ้าประตูจะวินิจฉัยว่าข่าวสารใดควรไหลผ่านไปได้ ข่าวสารใดควรส่งไปถึงผู้รับสารช้าหน่อย หรือข่าวสารใดควรตัดออกไปทั้งหมด

97.แนวความคิดของ เค. เลวิน ที่ว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีประตู โดยแต่ละประตูจะมีเกณฑ์ ในการปล่อยหรือกักข่าวสารต่าง ๆ ตามการวินิจฉัยของคนเฝ้าประตู
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98. การที่สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วไป โดยมองว่าการกําหนดดังกล่าว เป็นการแนะประชาชนว่า น่าคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นสาระสําคัญในทฤษฎีใดข้างต้น
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ (Agenda – setting Theory) ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับผู้รับสารว่า ยิ่งสื่อมวลชนเลือกเน้นเสนอประเด็นสําคัญของ หัวข้อหรือปัญหาในการรายงานข่าวใด ๆ แล้ว ผู้รับสารหรือมวลชนก็จะตระหนักถึงสาระสําคัญ ของเรื่องนั้น ๆ มากตามไปด้วย ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นผู้ที่กําหนดหรือวางระเบียบวาระในการ รับรู้เหตุการณ์แก่ประชาชนทั่วไป ดังที่ Cohen ได้สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ไว้ว่า “สื่อสารมวลชน อาจไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรเสมอไปในการเสนอแนะแก่ประชาชนว่าอะไรบ้าง (What) เป็นสิ่งที่น่าคิด แต่สื่อมวลชนมีผลอย่างมหาศาลในการเสนอแนะประชาชนว่า น่าคิดเกี่ยวกับ เรื่องอะไร (What About)”

99. ทฤษฎีใดข้างต้นมีสมมุติฐานที่สําคัญว่า การที่สื่อมวลชนเลือกเน้นประเด็นสําคัญของหัวข้อหรือปัญหา ในการรายงานข่าวสารใด ๆ มวลชนก็จะตระหนักถึงสาระสําคัญดังกล่าวตามไปด้วย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ทฤษฎีใดข้างต้นเกี่ยวข้องกับคําว่า “Need for Cognition
ตอบ 5 หน้า 214 – 215, 222 ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับ จากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่อง การแสวงหาข่าวสาร(Information – seeking) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสารหรือ มวลชนสนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสื่อมวลชน อีกทั้งยังมีการเน้นว่า มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้ (Need for Cognition) ซึ่งจัดเป็น ความต้องการที่จะแสวงหาระเบียบและความเข้าใจในสภาวะแวดล้อมของตนเอง

CDM2103 (MCS1151) ทฤษฎีการสื่อสาร s/2560

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 6. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ออสกูด และชแรมม
(2) ลาสเวลล์
(3) เบอร์โล
(4) นิวคอมบ์

1. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นเป็นแบบจําลองเชิงจิตวิทยา

ตอบ 4 หน้า 61 – 63 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์ (Newcomb) เป็นแบบจําลองเชิง จิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการรักษาความสมดุลหรือความเหมือนกัน ทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เกิดความไม่สมดุลขึ้น มนุษย์ก็จะพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรมเพื่อให้เกิดความสมดุลยิ่งขึ้น หรืออาจเป็นไปเพื่อยืนยันความแตกต่างกัน หรือเพื่อ สร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นก็ได้ ดังนั้นจึ นจึงนับเป็นแบบจําลองที่ไม่สามารถนําไปอธิบาย การสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็กในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้

2.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่กล่าวถึงการตีความหมายของสารว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรอบแห่ง
การอ้างอิง และสนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 1 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของออสกูด (Osgood) และวิลเบอร์ ชแรมม์ (Schramm) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้ เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างมีหน้าที่เหมือนกัน 3 อย่าง คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกันก็มักขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

3. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้อง
มีผลเสมอไป
ตอบ 2 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการ สื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่าผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร ซึ่งกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการ ในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสม แก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ แต่แบบจําลองนี้ก็ยังขาดปัจจัยที่สําคัญในกระบวนการสื่อสาร นั่นก็คือ ผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับที่ เรียกกันว่า “Feedback”

4. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นเรื่องการรักษาความสมดุลทางความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงทางความคิด พฤติกรรม เพื่อสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

5.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นเป็นแบบจําลองการสื่อสารที่ไม่สามารถนําไปอธิบายสังคม
ที่มีขนาดใหญ่โตได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่มีการกล่าวถึงช่องทางที่จะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึก
ทั้งห้าประการของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 57, 61 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (Berto) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ได้กล่าวถึงช่องทางการสื่อสาร (Channel : C) ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ผู้รับสาร โดยทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนําสารไปสู่ประสาทสัมผัส ที่รับความรู้สึกของมนุษย์มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

7.ทฤษฎีตามความหมายของเคอร์ลินเจอร์ หมายถึง กลุ่มความสัมพันธ์ของสิ่งใดต่อไปนี้
(1) สมมุติฐาน
(2) แนวความคิด
(3) คํานิยาม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, 22 เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของ แนวความคิด คํานิยาม (คําจํากัดความ) และสมมุติฐาน (คําตอบล่วงหน้า) ซึ่งแสดงให้เห็น อย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

8. จากค่าจํากัดความทฤษฎีของเคอร์ลินเจอร์ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) มีปัญหาที่ต้องพิสูจน์หรือแสดง
(2) มีสมมุติฐาน
(3) มีตัวแปรและทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) จากคําจํากัดความของทฤษฎีตามที่เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้ให้ไว้นั้น สามารถแยกแยะความหมายย่อยของทฤษฎีได้ 3 อย่าง ดังนี้
1. กลุ่มของข้อความสมมุติหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมมุติฐาน ซึ่งประกอบด้วย คําจํากัดความ และความสัมพันธ์ของแนวความคิด
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเมื่อปฏิบัติลงไปแล้วจะแสดงผลให้เห็นอย่างเป็นระบบ ถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. มีการบอกทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

9.สมมุติฐาน หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือมากกว่านั้น
(2) ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น
(3) ข้อความที่กําลังจะถูกทดสอบว่าถูก หรือน่าเชื่อถือหรือไม่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 20, 26 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ของสองสิ่ง หรือตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น หรือหมายถึงข้อความที่กําลังจะถูกทดสอบว่า ถูก หรือน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าหากข้อมูลนั้นถูกทดสอบแล้ว เป็นที่ยอมรับของทุกคนแล้ว และ ไม่ต้องถูกทดสอบอีก ข้อความนั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นสมมุติฐานอีกต่อไป

10. หากจะศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและความตั้งใจเปิดรับนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
สามารถนําแนวคิดและทฤษฎีใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา
(1) แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสารจากสื่อมวลชน
(2) แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์
(3) แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ
(4) ถูกทุกข้อ ‘
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยข้างต้น สามารถนําแนวคิดทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือทฤษฎีการปลูกฝัง (Cultivation Theory) มาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งมีแนวคิดเรื่อง การเปิดรับสารจากสื่อมวลชนว่า ข่าวสารหรือรายการต่าง ๆ ในสื่อมวลชนได้ปลูกฝังปั้นแต่ง ความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนได้ทําให้ผู้รับสารเกิด พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนมากหรือว่าน้อยจะทําให้ ผลของการอบรมบ่มเพาะแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลให้มีเจตคติหรือทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่แตกต่างกันไปด้วย

11. หากจะตั้งสมมุติฐานว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลแตกต่างกัน ทัศนคติต่อนิตยสาร ซอคเกอร์ฟีเวอร์แตกต่างกัน ตัวแปรตามคือข้อใดต่อไปนี้
(1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
(2) นิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(3) ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 24 – 25, (คําบรรยาย) จากการตั้งสมมุติฐานการวิจัยข้างต้นมีตัวแปรในการวิจัย ดังนี้
1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) อาจเรียกอีกอย่างว่า “ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ” หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยกําหนดให้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น และมีความคงทน ถาวรมากที่สุด ซึ่งในที่นี้คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เรียกอีกอย่างว่า “ตัวแปรผล” หมายถึง ตัวแปรอื่น ที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ (โดยทั่วไปตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้น ก่อนตัวแปรตาม) ซึ่งในที่นี้คือ ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์

12. หากจะตั้งสมมุติฐานว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลแตกต่างกัน ทัศนคติต่อนิตยสาร ซอคเกอร์ฟีเวอร์แตกต่างกัน ตัวแปรอิสระคือข้อใดต่อไปนี้
(1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
(2) นิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(3) ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

13. สังคมข้อมูลข่าวสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Information Social
(2) Information Society
(3) Informations Social
(4) Informations Society
ตอบ 2 หน้า 1 ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก และกว้างขวาง ตลอดจนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่อาจกล่าวได้ว่า สังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมข้อมูล ข่าวสาร (Information Society) นั่นคือ ข่าวสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสําคัญหรือมีบทบาท ในการดํารงชีวิตของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ

14. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ชัดแจ้ง และ แสดงเจตนารมณ์เท่านั้น
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) มิลเลอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) เจอร์เกน รอยซ์ (Jurgen Ruesch) และเกรกอรี เบทสัน (Gregory Bateson) กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย ซึ่งคํานิยามการสื่อสารนี้ยึดหลักที่ว่าการกระทําและเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นการสื่อสาร หากมี ผู้เข้าใจการกระทําและเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น การที่เราเห็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่งและสามารถ ตีความหมายของเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ ก็นับว่ามีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น

15. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) มิลเลอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 4 หน้า 4 เอเวอเร็ต เอ็ม. โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) และเอฟ. ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (F. Floyd Shoemaker) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร

16. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายความเพียงแค่การพูดและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึงดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วอร์เรน ดับเบิลยู. วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 3 หน้า 3 วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์ (Warren W. Weaver) เป็นผู้ที่กล่าวเอาไว้ว่า การสื่อสาร มีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจ ของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงการพูดและเขียนเท่านั้น หากแต่ยัง รวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดงบัลเล่ต์ และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย

17. การสื่อสาร 2 ทาง ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two – way Communication
(2) Two – way Communicate
(3) Two – ways Communication
(4) Two – ways Communicate
ตอบ 1หน้า 4 – 5, 14, 53 – 54 การสื่อสารสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two – way Communication) คือ การสื่อสารที่มีความหมายความรวมไปถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้ว ตอบโต้กลับ และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction) ซึ่งปฏิกิริยาที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย (Meaning) อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลาย ๆ อย่าง

18. การมีปฏิกิริยาต่อกันที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two – way Communication
(2) Two – way Communicate
(3) Two – ways Communication
(4) Two – ways Communicate
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) ความสําคัญต่อการศึกษา
(2) ความสําคัญต่อการเกษตร
(3) ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
(4) ความสําคัญต่อวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

20. วารสารการเงินการธนาคาร ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 2 หน้า 11 เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการสอน วิชาความรู้หรือเรื่องราวที่มีลักษณะเป็นวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ได้แก่ วารสารหรือจุลสารเฉพาะด้าน เช่น วารสารการเงินการธนาคาร วารสารเพื่อสุขภาพ อนามัย เป็นต้น

21. การที่หนังสือพิมพ์รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารมีความต้องการบอกกล่าวหรือ ชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดไปยังผู้รับสาร เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน ฉบับหนึ่งลงตีพิมพ์ข่าวสารเพื่อรายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจําวันไปให้ ประชาชนได้รับทราบ เป็นต้น

22. นวนิยายและการแสดงคอนเสิร์ต ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 3 หน้า 11 เพื่อสร้างความพอใจหรือเพื่อให้ความบันเทิง (Please or Entertain) หมายถึง
ผู้ส่งสารมีความต้องการที่จะทําให้ผู้รับสารเกิดความรื่นเริงบันเทิงใจจากสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาท่าทาง เช่น นวนิยาย เพลง ละคร การ์ตูน เกมโชว์ การแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขัน เป็นต้น

23. การอ่านข่าวเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ตนมีอยู่เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นนั้น ผู้รับสารมีวัตถุประสงค์
ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 1 หน้า 13 เพื่อทราบ (Understand) หมายถึง ผู้รับสารมีความต้องการที่จะทราบเรื่องราวและ ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งหากข่าวสารนั้นเป็นของใหม่ก็จะทําให้ผู้รับสารได้ข่าวสารเพิ่มเติม แต่ถ้าหาก ข่าวสารนั้นเป็นสิ่งที่เคยได้รับทราบมาก่อน ก็จะเป็นการยืนยันความถูกต้องของข่าวสารที่ตน มีอยู่ให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น

24. การที่ผู้รับสารเปิดฟังรายการเพลงนั้น มีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 13 เพื่อหาความพอใจหรือเพื่อหาความบันเทิง (Enjoy) หมายถึง ผู้รับสารต้องการที่จะ แสวงหาสิ่งที่สามารถช่วยสร้างความบันเทิง ความสบายใจ หรือเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจให้แก่ตนเองบ้าง เช่น การเปิดฟังรายการเพลง อ่านหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิง และชมรายการ เกมโชว์ ละคร เป็นต้น

25. การที่ผู้รับสารอ่านสารเกี่ยวกับวิชาความรู้ มักจะอยู่ในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 2 หน้า 13 เพื่อเรียนรู้ (Learn) หมายถึง ผู้รับสารแสวงหาความรู้โดยการอ่านสารที่มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับวิชาความรู้และวิชาการ เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม และเป็นการทําความเข้าใจกับเนื้อหา ในการสอนของผู้ส่งสาร เช่น การชมรายการสอนภาษาอังกฤษ รายการทําอาหาร เป็นต้น

26. ปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกัน ตรงกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้
(1) Feedback
(2) Interaction
(3) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

27. ทฤษฎีตามความหมาย Kerlinger สามารถแยกความหมายย่อยของทฤษฎีได้ 3 อย่าง ยกเว้นข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อความที่ใช้อธิบายการทํางานสิ่งต่าง ๆ โดยมีการจัดระเบียบให้มีความหมายขึ้นมา
(2) มีกลุ่มของข้อความหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง
(3) การมีสมมุติฐาน ซึ่งประกอบด้วย คําจํากัดความ และความสัมพันธ์ของแนวความคิด
(4) การมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร ทําให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

28. ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ เขียนหนังสือชื่อว่า Four Theories of the Press ในปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1955
(3) 1956
(4) 1957
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซีเบอร์ต (Siebert) ปีเตอร์สัน (Peterson) และชแรมม์ (Schramm) ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Four Theories of the Press หรือ หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ซึ่งแปลโดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

29. หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน แปลโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) ดร.สมควร กวียะ
(2) ดร.เสรี วงษ์มณฑา
(3) ดร.บุญเลิศ ศุภดิลก
(4) ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30. หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน บรรยายเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) แนวคิดในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และการควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ
(2) การสื่อสารมวลชนของประเทศใดย่อมจะต้องมีบทบาทหน้าที่ตามเงื่อนไขทางการเมืองและ
เศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ
(3) สื่อมวลชนย่อมต้องเดินตามแนวความคิด ทฤษฎี หรือกรอบแห่งบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้ ในประเทศนั้น ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 16 หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ได้บรรยายเปรียบเทียบทฤษฎีหรือแนวความคิด ในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และการควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน ดังนั้นจึงนับได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่พยายามชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารมวลชนของประเทศใดย่อมจะต้องมีบทบาทหน้าที่ตามเงื่อนไขทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ หรือสื่อมวลชนอยู่ในประเทศใดย่อมต้องเดินตามแนวความคิด ทฤษฎี หรือกรอบแห่งบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้ในประเทศนั้น ๆ

31. มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สิ่งที่ซีเบอร์ด ปีเตอร์สัน และชแรมม์ บรรยายเปรียบเทียบไว้ไม่น่าจะใช่ทฤษฎี เพราะเหตุผลในข้อใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีต้องเป็นหลักการที่แน่นอนและพิสูจน์แล้วว่า ถ้าเกิดข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งขึ้น จะต้องเกิดข้อเท็จจริงอีกอย่างขึ้นอย่างแน่นอน
(2) ต้องเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
(3) ต้องเป็นทฤษฎีที่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
(4) ต้องเป็นหลักการที่แน่นอนเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 16 เหตุผลที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์กันว่า สิ่งที่ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ ได้บรรยาย เปรียบเทียบไว้ไม่น่าจะใช่ทฤษฎี เพราะทฤษฎีย่อมหมายถึง หลักการที่แน่นอนและพิสูจน์กัน แล้วว่า ถ้าเกิดข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อย่างหนึ่งขึ้นมาแล้ว ก็จะต้องเกิดข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งขึ้นอย่างแน่นอน

32. การแสดงทัศนะว่าสื่อมวลชนเป็นอย่างไร หรือคาดหมายว่าควรจะทําอย่างไร ปฏิบัติบทบาทหน้าที่อย่างไร ภายในกรอบของเงื่อนไข ค่านิยม หรือกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ผู้ใดต่อไปนี้ที่เรียกกลุ่มทฤษฎีเหล่านี้ ว่าเป็นทฤษฎีปทัสถาน
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) ดอยซ์
(3) บานลุนด์
(4) ฮาร์ดเกรฟ
ตอบ 1 หน้า 18 จากข้อความข้างต้น เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เรียกกลุ่มทฤษฎีเหล่านี้ ว่าเป็น “ทฤษฎีปทัสถาน” (Normative Theories) ที่ฟังดูแล้วค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นทฤษฎี มากกว่าคําว่า “ทฤษฎีสื่อสารมวลชน” ซึ่งในปัจจุบันมักจะหมายความรวมถึง แนวความคิด ทฤษฎีทุกเรื่องทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน

33. ทฤษฎีที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยองค์ประกอบที่ประการ
(1) 4 ประการ
(2) 5 ประการ
(3) 6 ประการ
(4) 7 ประการ
ตอบ 3 หน้า 19 – 20 ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญ คือ การบรรยายและแยกประเภท
(Description and Classification)
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญ คือ การวิเคราะห์ (Analysis)
3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญ คือ ความหมายและการวัด (Meaning and Measurement)
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญ คือ เหตุผลและการทดสอบ
(Plausibility and Testability)
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ โดยองค์ประกอบที่เพิ่มเติม
เข้ามาอีก 2 ประการ ได้แก่
1. การจัดลําดับแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญ คือ การกําจัดความซ้ําซ้อน
(Elimination of Tautology)
2. การจัดลําดับสมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญ คือ การกําจัดความไม่คงที่ (Elimination of Inconsistency)

34. การวิเคราะห์ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ความสําคัญเกี่ยวกับเหตุผลและการทดสอบ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

36. ความสําคัญเกี่ยวกับความหมายและการวัด เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

37. ความสําคัญเกี่ยวกับการแยกประเภท เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

38. ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Model ในความหมายใดต่อไปนี้
(1) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการสาขาเดียวกัน
(2) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น
(3) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้
(4) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาเดียวกัน
ตอบ 1 หน้า 21 ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Model เมื่อหมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่ประดิษฐ์คิดค้น และวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการ (Discipline) สาขาเดียวกัน (ศาสตร์แขนงเดียวกัน) ส่วน Paradigm นิยมใช้เมื่อหมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการหรือยืมมาจาก สาขาวิชาอื่น (ศาสตร์หรือวิชาการต่างสาขากัน)

39. ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Paracism ในความหมายใดต่อไปนี้
(1) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการสาขาเดียวกัน
(2) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น
(3) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้
(4) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาเดียวกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. ทฤษฎีต่าง ๆ ทางด้านสื่อสารมวลชน ส่วนใหญ่ได้มาจากสาขาวิชาด้านอื่น ๆ ยกเว้นสาขาใดต่อไปนี้
(1) Sociology Psychology
(2) Political Science
(3) Linguistics
(4) Pure Science
ตอบ 4 หน้า 21 ทฤษฎีต่าง ๆ ส่วนมากทางด้านสื่อสารมวลชน ได้วิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาการ ในด้านอื่น ๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sociology Psychology (Social Psychology),Political Science, Linguistics, Economics, Anthropology as Mathematics

41. โดยทั่วไปทฤษฎีมีหน้าที่ตามตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Explanation
(2) Reinforcement
(3) Prediction
(4) Explanation and Prediction
ตอบ 4 หน้า 21 ทฤษฎีโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สําคัญ 2 ประการ คือ
1. การอธิบาย (Explanation)
2. การทํานายหรือคาดคะเน (Prediction)

42. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า การวิจัยกับทฤษฎีเป็นของคู่กัน
(1) รศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์
(2) อ.ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ
(3) รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี
(4) รศ.ดร.พีระ จีระโสภณ
ตอบ 1, 2 หน้า 22, (คําบรรยาย) รศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์ และอาจารย์ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ กล่าวในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า ทฤษฎีเป็นบรรทัดฐานในการแนะแนวการวิจัย และยังช่วยกําหนดขอบเขตการวิจัยได้ ส่วนผลการวิจัยก็เป็นสิ่งเกื้อหนุนหรือช่วยส่งเสริมให้ทฤษฎีก้าวหน้าได้ และขณะเดียวกันการวิจัยก็เป็นสิ่งที่ทําให้ได้มาซึ่งทฤษฎี ดังนั้นทฤษฎีกับการวิจัยจึงเป็นของคู่กัน

43. ตัวแปรอิสระ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

44. ตัวแปรตาม ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

45. ตัวแปรเหตุ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

46.ตัวแปรผล ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

47. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
(1) ตัวแปรต้น
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 3หน้า 25 ตัวแปรแทรก คือ ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม เช่น ผู้มีการศึกษาสูงโดยเฉลี่ยแล้วจะมีบุตรน้อยกว่าผู้มีการศึกษาต่ํา โดยตัวแปรที่เข้ามาแทรก ระหว่างการศึกษา (ตัวแปรอิสระ) กับการมีบุตรนั้น (ตัวแปรตาม) ก็คือ การคุมกําเนิด ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นตัวแปรแทรก

48. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี
(1) ตัวแปรต้น
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 4 หน้า 25 – 26 (คําบรรยาย) ตัวแปรกด คือ ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มี ความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี แต่ถูกตัวแปรกดกดเอาไว้ หรือเป็นตัวแปรที่ทําให้ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเบี่ยงเบนไปจากเดิม ต่อเมื่อเราได้ควบคุมตัวแปรกดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจึงจะเกิดขึ้น

49. ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของ 2 สิ่ง หรือตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่านั้น
(1) กระบวนทัศน์
(2) ทฤษฎี
(3) แบบจําลอง
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

50. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะของสมมุติฐาน
(1) สามารถที่จะทดสอบได้หรือไม่ก็ได้
(2) บอกถึงข้อความสมมุติในการวิจัย
(3) กําหนดขอบเขตและแนวทางของการวิจัย
(4) แนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
ตอบ 1 หน้า 26 คุณลักษณะของสมมุติฐาน มีดังนี้
1. สามารถที่จะทดสอบได้ และนําไปสู่การสร้างทฤษฎี
2. บอกถึงข้อความสมมุติในการวิจัย
3. กําหนดขอบเขตและแนวทางของการวิจัย
4. สามารถแนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจและขั้นตอนของ
กระบวนการทางสถิติแล้ว

51. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าหมายถึง ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูปของ
ทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) สเวน วินดาห์ล และเดนิส แม็คเกวล
ตอบ 3 หน้า 28 บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ (Bill and Hardgrave) ได้ให้คําจํากัดความของแบบจําลองว่า
“ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูปของทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ”

52. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าหมายถึง คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน รูปความเป็นจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) วินดาห์ล และแม็คเควล
ตอบ 4 หน้า 29 เดนิส แม็คเควล และสเวน วินดาห์ล (Danis McQuail and Sven Windahl) ให้คําจํากัดความของแบบจําลองว่า “คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน รูปความจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย”

53. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าเป็นความพยายามสร้างหรือทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือแรงดันที่กําลังศึกษาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือภาพ หรือสิ่งที่มีตัวตนมองเห็นได้
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) วินดาห์ล และแม็คเควล
ตอบ 2 หน้า 29 ดีน ซี. บานลุนด์ (Dean C. Barnlund) เป็นนักทฤษฎีสื่อสารภายในตัวบุคคล ได้ให้คําจํากัดความของแบบจําลองเอาไว้ว่า “เป็นความพยายามสร้างหรือทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือแรงดันที่กําลังศึกษาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือภาพ หรือ สิ่งที่มีตัวตนมองเห็นได้”

54. แบบจําลองของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ดัดแปลงมาจากแบบจําลองของ Heider เกี่ยวข้องกับ
ตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Newcomb
(2) แบบจําลอง ABX
(3) Co – orientation Model
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 37, 40 – 41 แบบจําลองของการสื่อสารระหว่างบุคคล (ABX Model) ของ Newcomb นักจิตวิทยาสังคม ได้ดัดแปลงมาจากแบบจําลองของการสื่อสารภายในตัวบุคคลของ Heider ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาสังคมเหมือนกัน แต่ Newcomb ได้เรียกแบบการสื่อสารของเขาเองว่า “Co – orientation Model” (แบบของความคิดโน้มเอียงร่วม) คือ ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยบุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีความคิดหรือทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายตรงกันข้าม และ เกี่ยวกับวัตถุ (Object) หรือปัญหา (Issue) เดียวกัน

55. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า “การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัว” จะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสอง
เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล
(1) เบอร์โล
(2) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) ลาสเวลล์
(4) นิวคอมบ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

56. แบบจําลองข้อใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า “ในสถานการณ์หนึ่งที่ประกอบด้วยบุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีความคิด หรือทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม และเกี่ยวกับวัตถุหรือปัญหาเดียวกัน”
(1) ABX Model
(2) Co – orientation Model
(3) แบบจําลองของความคิดโน้มเอียงร่วม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

57. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นนักจิตวิทยาสังคม
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

58. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอทฤษฎีหรือแบบของความคิด Cognitive Model
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 2หน้า 37 Heider เป็นผู้ที่คิดค้นแบบของการสื่อสารภายในตัวบุคคลที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยอาศัยทฤษฎีหรือแบบของความคิด Cognitive Model จากสาขาจิตวิทยา และเขาได้เสนอ แบบของความคิด (Cognitive Configurations) ซึ่งประกอบด้วยบุคคล (P) ที่มีทัศนคติหรือ ความคิดเกี่ยวกับบุคคลอื่น (S) และปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง (I)

59. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้ค้นคว้าวิจัยเรื่อง Symbolic Interaction
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37 George Herbert Mead เป็นผู้นําในการค้นคว้าวิจัยทางสังคมวิทยาที่เกี่ยวกับเรื่อง “Symbolic Interaction” (ปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอาศัยสัญลักษณ์) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงการศึกษา Intrapersonal Communication เป็นอย่างมาก

60. ตามทัศนะของผู้ใดต่อไปนี้ที่บอกว่า การสื่อสารภายในตัวบุคคลเป็นเสมือนสะพานเชื่อมพฤติกรรมของ บุคคลและสิ่งแวดล้อม บุคคลจะไม่สามารถเรียนรู้และเข้าใจทัศนคติของบุคคลอื่นหรือส่วนรวมได้ จนกว่า เขาจะสามารถพิจารณาและเข้าใจตัวเอง และสามารถตอบสนองต่อการกระทําของตนเอง เหมือนเช่นที่ เขาคาดจะได้รับสนองตอบจากคนอื่น
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37, (ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ) จากข้อความข้างต้นเป็นทัศนะของ George Herbert Mead ที่ได้ให้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1934

61. ผลการศึกษาวิจัยของผู้ใดต่อไปนี้ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา Intrapersonal Communication
เป็นอย่างมาก
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

62. โดยทั่วไปแล้วการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความนึกคิด
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Large Group Communication
(4) Public Communication
ตอบ 1 หน้า 36 – 37 โดยทั่วไปแล้วจะถือกันว่า การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความนึกคิด (Cognitive Structure) เพราะการสื่อสารประเภทนี้มีขอบเขตครอบคลุมไปถึงโครงสร้างของความคิด การพัฒนาทางด้านสติปัญญา การรับรู้ การเรียนรู้ การแปลข่าวสาร การรับรอง ตลอดจน กระบวนการทางจิตวิทยาอย่างอื่น

63. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน
แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธรรม
(1) Intercultural Communication
(2) International Communication
(3) Development Communication
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 45 – 46 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการ สื่อสารระดับชาติระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน (รัฐกับรัฐ) แต่มีความเป็น ทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธรรมในแง่ที่ว่า ผู้ที่ทําการสื่อสารนั้นทําหน้าที่เป็นตัวแทน ของประเทศ ได้แก่ นักการทูต ตัวแทนของรัฐบาล (เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ฯลฯ) และข้าราชการ รวมทั้งการประชุมของคณะผู้แทน ประเทศต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

64. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ International Communication เกิดขึ้นภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน
(1) อินเดีย
(2) มาเลเซีย
(3) เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
(4) คนผิวขาวและคนผิวดํา
ตอบ 3 หน้า 47 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการสื่อสารที่ อาจเกิดขึ้นได้ภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน คือ ในกรณีที่ประชาชนมีขนบประเพณีเหมือน หรือคล้ายคลึงกัน แต่ถูกแบ่งแยกโดยดินแดนหรือแยกกันอยู่คนละประเทศ เช่น เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้, เยอรมนีตะวันตกและตะวันออก เป็นต้น

65. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของแชนนั้น และวีเวอร์เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 2 หน้า 48 – 51, (คําบรรยาย) แชนนั้น (C. Shannon) และวีเวอร์ (W. Weaver) ได้สร้าง
แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ซึ่งรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในวงการสื่อสารยุคเริ่มต้นในชื่อว่า “แบบจําลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์” เพราะได้ เอาวิชาการหรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาอธิบายถึงกระบวนการทางการสื่อสาร โดยเน้นเรื่อง ช่องทางการสื่อสารที่จะสามารถส่งสารจากแหล่งสารสนเทศไปสู่จุดหมายปลายทางได้มากที่สุดและเกิดอุปสรรคระหว่างการสื่อสารน้อยที่สุด

66. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

67. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

68. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเดวิด เค. เบอร์โล เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

69. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและ
การโน้มน้าวใจ
(1) แซนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

70. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ขาดปัจจัยสําคัญเรื่องปฏิกิริยาตอบกลับ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

71. การเข้ารหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

72. การถอดรหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

73. การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่ วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย นับเป็นกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด สื่อหรือช่องทาง การสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย

74. ผู้ทําหน้าที่แปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 2 หน้า 58, (คําบรรยาย) ผู้เข้ารหัส (Encoder) หมายถึง ผู้ทําหน้าที่แปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ที่ ทําหน้าที่เข้ารหัสก็คือ ผู้ส่งสารนั่นเอง

75. การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมาย ออกมา นับเป็นกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษา กลับเป็นสาร (ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสกัดเอาความหมายที่ผู้ส่งสารส่งมา หรือต้องการสื่อความหมายมา

76. ผู้ทําหน้าที่แปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมา ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 4 หน้า 58, (คําบรรยาย) ผู้ถอดรหัส (Decoder) หมายถึง ผู้ที่ทําหน้าที่แปลรหัสหรือภาษา กลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมา ซึ่งผู้ที่ทําหน้าที่ถอดรหัส ก็คือ ผู้รับสารนั่นเอง

77. การตีความสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Frame of Experience
(2) Frame of Reference
(3) Field of Reference
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

78. การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ในการสื่อสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) รหัสสาร
(2) เนื้อหาสาร
(3) การจัดสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 การจัดสาร (Treatment) ตามความคิดของเบอร์โลนั้น คือ วิธีการที่ผู้ส่งสาร เลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ และศัพท์ในการสื่อสาร รวมไปถึงคําถาม คําอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดีจะทําให้เกิดการรับรู้ ความหมายในตัวผู้รับสารได้

79. เฟสติงเจอร์ สร้างทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิดเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1955
(3) 1956
(4) 1957
ตอบ 4 หน้า 63 – 64 เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) เมื่อปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยเขาเป็นผู้ค้นพบว่าการตัดสินใจ ทางเลือก และข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องหรือ ความไม่เหมือนกันทางความคิด ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความยุ่งยากใจ อันเป็นความรู้สึกทาง จิตวิทยา จนนําไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพื่อที่จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ หรือการเลือกทางเลือกที่ได้ตัดสินใจกระทําลงไป

80. ความไม่เหมือนกันทางความคิด ทําให้เกิดความยุ่งยากใจ และนําไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นกระบวนการที่อยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Cognitive Theory
(2) Cognition Dissonance Theory
(3) Cognitive Dissonance Theory
(4) Cognition Theory
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 94 ความคิด ความเชื่อ และข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น สาธารณชน สามารถรับรู้ได้จากสื่อมวลชนทั้งหลาย แม้ว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมจะมีความคิดและ ความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคล แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้รับข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลหรือสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทําให้ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้

82. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ ผู้ส่งสารทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
(1) การสื่อสารภายในองค์การ
(2) การสื่อสารมวลชน
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารสาธารณะ
ตอบ 4 หน้า 42 – 43, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการสื่อสารกลุ่มใหญ่ หรือการสื่อสาร สาธารณะ (Large Group Communication or Public Communication) มีดังนี้
1. ผู้รับสารเป็นคนจํานวนมากที่มาอยู่รวมในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
2. ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งสาร
และใครเป็นผู้รับสาร
3. ผู้ส่งสารทําหน้าที่สงสารในฐานะที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
4. ปฏิกิริยาตอบกลับจะเกิดขึ้นค่อนข้างยาก
5. ผู้รับสารจะมีคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน ฯลฯ

83. การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การรับรู้
(3) การแปลความหมาย
(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

84. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นการแบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) การสื่อสารมวลชน
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(4) การสื่อสารในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร
และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
3. การสื่อสารระหว่างประเทศ

85. มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สาเหตุที่สําคัญที่สุด
น่าจะเป็นข้อใดต่อไปนี้
(1) มนุษย์มีการใช้อาณัติสัญญาณต่าง ๆ
(2) มนุษย์อยู่ลําพังคนเดียวไม่ได้
(3) มนุษย์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารตั้งแต่เกิดจนตาย
(4) มนุษย์มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ตอบ 4 หน้า 1 การติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมายของมนุษย์ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการใช้อาณัติ สัญญาณต่าง ๆ เช่น เสียงกลอง ควันไฟ ฯลฯ เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร จากนั้นจึงเริ่มรู้จัก ขีดเขียนภาพบนผนังถ้ํา และต่อมาก็มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้ในลักษณะของการ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนี้เองที่เป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

86. ผู้ใดต่อไปนี้ค้นพบทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด
(1) เฟสติงเจอร์
(2) เทสติงเกอร์
(3) เฟสลิงเตอร์
(4) เฟสติงเยอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

87. การอ่านทวนจดหมายที่เราเขียนขึ้นเองก่อนส่งไปให้เพื่อนเรา สามารถเรียกว่าการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(3) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 2หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัย ระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน คือ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงฟังคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ) การคิดคํานวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และอาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

88. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจน
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

89. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาร
(1) รหัสสารเชิงวัฒนะ
(2) รหัสสารเชิงอวัจนะ
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษากาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 60 – 61, 68 ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้
1. รหัสของสาร (Message Code) ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทางหรือภาษากาย หรือรหัสอื่น ๆ เช่น รหัสสารเชิงวัจนะ (ใช้คําพูด) และรหัสสารเชิงอวัจนะ (ไม่ใช้คําพูด)
2. เนื้อหา (Content)
3. การจัดสาร (Treatment)

90. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่สลับกันในเวลาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
ตอบ 2 หน้า 41 – 42, 75, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยน
ข่าวสารกันได้โดยตรง สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้รวดเร็ว ทันที ซึ่งอาจเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือการสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็ ทําหน้าที่เข้ารหัส ตีความ และถอดรหัสโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในเวลาที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเล่าความฝันให้เพื่อนฟัง ฯลฯ หรืออาจจะเป็นการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การพูดคุยและส่ง SMS ทางโทรศัพท์ การอ่านจดหมายที่เพื่อนส่งมาให้ การส่ง E-mail และ การสนทนาโต้ตอบกันหรือ Chat ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

91. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีความคงทนมากที่สุด
(1) ตัวแปรอิสระ
(2) ตัวแปรกด
(3) ตัวแปรตาม
(4) ตัวแปรแทรก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

92. “ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ตา หู จมูก ลิ้น กาย
(2) วิทยุและโทรทัศน์
(3) หนังสือพิมพ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1หน้า 72 คําว่า “ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึง ทางที่ทําให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารติดต่อกันได้ ซึ่งก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ส่วนคําว่า “สื่อ” หมายถึง สื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แสง เสียง ตลอดจนอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารไปถึงกันและกัน

93. อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน เป็นความหมายของข้อใดต่อไปนี้
(1) ช่องทาง
(2) พาหนะ
(3) สื่อ
(4) เครื่องมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94.อาจารย์ใช้แผ่นใส วิดีโอ และการเขียนไวท์บอร์ดสอนนักศึกษาขณะบรรยายในชั้นเรียน ถือว่าอาจารย์ ใช้สื่อประเภทใดต่อไปนี้ ถ้าดูจากจํานวนการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) สื่อมวลชน
(2) สื่อเฉพาะกิจ
(3) สื่อประสม
(4) สื่อระหว่างบุคคล
ตอบ 4 หน้า 73 – 74 สื่อระหว่างบุคคล เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ไกลกัน จนไม่อาจจะติดต่อกันโดยที่ไม่ผ่านสื่อหรือไม่มีสื่อได้ จึงจัดเป็นสื่อที่ใช้เฉพาะบุคคล มีลักษณะ เป็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในขณะนั้น ๆ เช่น จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ภาพถ่ายในครอบครัว บันทึกช่วยจํา อนุทิน ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องมืออุปกรณ์ บางชนิดที่จัดว่าเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย การเรียน การสอน ซึ่งจําเป็นจะต้องใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หนังสือ เอกสาร แผ่นใส วิดีโอ กระดานดํา ไวท์บอร์ด ฯลฯ

95. การสื่อสารที่เน้น Interaction ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร สามารถเรียกได้อย่างไรต่อไปนี้
(1) One – way Communication
(2) Two – way Communication
(3) Mass Communication
(4) Public Communication
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

96. การสื่อสารที่ครอบคลุมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ และปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสาร
และผู้รับสาร สามารถนําไปสู่กระบวนการใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การเข้ารหัส
(3) การเข้าใจความหมายร่วมกัน
(4) การเข้ารหัส – ถอดรหัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

97. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความการสื่อสารว่า เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งส่งสิ่งเร้าเพื่อเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของบุคคลอื่น
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) เจอร์เกน รอยซ์
(3) คาร์ล ไอ, โฮฟแลนด์
(4) วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์ (Cart I. Hoveland) และคณะ ให้ความเห็นว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (โดยปกติจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอื่น ๆ (ผู้รับสาร)

98. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “ทฤษฎีกับการวิจัยเป็นของคู่กัน”
(1) อ.ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ
(2) รศ.ดร.สมควร กวียะ
(3) ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

99. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความแบบจําลองว่าหมายถึง คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน
รูปความจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(3) สเวน วินดาห์ล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

100. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความแบบจําลองว่าหมายถึง ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริง
ในรูปของทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(3) สเวน วินดาห์ล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

101. หากผู้วิจัยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อน เป็นตัวกําหนดสมมุติฐาน สามารถเรียกการตั้งสมมุติฐานลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไรต่อไปนี้
(1) การตั้งสมมุติฐานแบบนิรนัย
(2) การตั้งสมมุติฐานแบบอุปนัย
(3) การตั้งสมมุติฐานโดยวิธีพฤตินัย
(4) การตั้งสมมุติฐานแบบพฤตินัย
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานการ วิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถ แบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ข้อเท็จจริงหลัก
2. ข้อเท็จจริงรอง
3. ข้อสรุป

102. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาเดียวกัน
(2) Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาวิชาเดียวกัน หรือต่างสาขากันก็ได้
(3) Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์แขนงเดียวกัน
(4) Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์ต่างสาขากัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

103. ตัวแปรตาม สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไรต่อไปนี้
(1) ตัวแปรผล
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

104. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ ผู้ส่งสารทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
(1) การสื่อสารภายในองค์การ
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

105. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(1) วารสาร
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) คอมพิวเตอร์
ตอบ 4 หน้า 73 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้คุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์มี 5 ประเภท คือ
1. สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
2. สื่อมนุษย์ ได้แก่ โฆษก ตัวแทนการเจรจาปัญหาต่าง ๆ ผู้ทําการสื่อสาร ฯลฯ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร ใบประกาศ โปสเตอร์ โฟลเดอร์ (ใบโฆษณาที่เป็นกระดาษแข็งพับ) ฯลฯ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ วิดีโอเทป เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ (เช่น เว็บไซต์ฝ้ายคําของ ม.รามคําแหง) ฯลฯ
5. สื่อระคน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กําแพง วัตถุจารึก (ศิลาจารึก) สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ

106. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารในสังคมกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
(1) วิทยุและโทรทัศน์
(2) หนังสือพิมพ์
(3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 94 – 95 สถาบันสื่อมวลชนนับว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้รับสาร (สาธารณชนหรือมวลชน) กับสถาบันอื่น ๆ หรือระหว่างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมด้วยกันเอง จึงมีการเปรียบสื่อมวลชนว่า เป็นเสมือนสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมหรือในโลก เพราะไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ณ แห่งหนตําบลใด หรือในซีกโลกใด สื่อมวลชนก็สามารถ นํามาเสนอสู่สายตาของสาธารณชนได้

107. การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การรับรู้
(3) การแปลความหมาย
(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

108. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

109. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสอง
เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล
(1) Heider
(2) Herbert Mead
(3) Newcomb
(4) Herbert Blumer
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

110. แบบจําลองการสื่อสารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
(1) แบบจําลองที่แสดงโครงสร้าง และแบบจําลองตัวแปร
(2) แบบจําลองแสดงหน้าที่และแบบจําลองแสดงเหตุการณ์
(3) แบบจําลองแสดงโครงสร้างและแบบจําลองแสดงหน้าที่
(4) แบบจําลองจัดระเบียบและแบบจําลองแสดงหน้าที่
ตอบ 3 หน้า 29 – 30 แบบจําลองการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบจําลองที่แสดงโครงสร้างหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการย่อส่วนหรือจําลองของจริง เช่น แบบจําลองบ้านจัดสรรของโครงการ หมู่บ้านต่าง ๆ
2. แบบจําลองที่แสดงหน้าที่หรือการทํางานของระบบ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น ภาพเชิงเส้นแสดงระบบการทํางาน เช่น แบบจําลองระบบการทํางานของสมองมนุษย์

111. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนของสมมุติฐาน มีหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) กําจัดความซับซ้อน
(4) กําจัดความไม่คงที่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

112. แบบจําลองใดต่อไปนี้ที่เหมาะสมแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของลาสเวลล์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูด
(3) แบบจําลองการสื่อสารของเอ็ดเวิร์ด สะเพียร์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของคาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

113. สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้นําวิธีนี้มาใช้
(1) Aristotte
(2) Fransis Bacon
(3) Francis Bacom
(4) Francis Bacon
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 101. ประกอบ

114. การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์
ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อเชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย เป็นการให้ความหมายของการสื่อสารโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(3) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
(4) วิลเบอร์ ซแรมม
ตอบ 3 หน้า 4 ชาร์ลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า “ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย”

115. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่มีทั้งสารประเภทข้อเท็จจริง สารประเภทข้อคิดเห็น สารประเภทความรู้สึก
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารในองค์การ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 69 – 71 การสื่อสารมวลชนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จะมีเนื้อหาของสารทั้ง 3 ประเภทปรากฏอยู่ ได้แก่
1. สารประเภทข้อเท็จจริง ได้แก่ สารที่เป็นความจริง และสามารถตรวจสอบได้
2. สารประเภทข้อคิดเห็น ได้แก่ สารที่เป็นความรู้สึก แนวคิด และความเชื่อที่ ไม่สามารถตรวจสอบความจริงได้
3. สารประเภทความรู้สึก ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ

116. ผู้รับสารในกระบวนการสื่อสารต้องมีบทบาทหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การรับรู้ความหมายตามที่ผู้ส่งสารส่งมา
(2) การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร
(3) การถอดรหัสและการเข้ารหัส
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 75 ในกระบวนการสื่อสารนั้น ผู้รับสารมีบทบาทหน้าที่ขั้นพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1. การรับรู้ความหมายตามเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงตน
2. การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร

117. จุดมุ่งหมายของการสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วย ทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นคือข้อใดต่อไปนี้
(1) ตัวแทน
(2) ตัวแปร
(3) แบบจําลอง
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 2 หน้า 22 จุดมุ่งหมายสําคัญในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาก็เพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิด อะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ตัวแปรนั่นเอง

118. ใครเป็นผู้ให้ความหมายของการสื่อสารว่า “การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”
(1) Carl I. Hoveland
(2) Warren W. Weaver
(3) George A. Miller
(4) Jurgen Ruesch
ตอบ 3 หน้า 3 จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) ได้กล่าวเอาไว้ว่า การสื่อสาร หมายถึง
การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

119. สื่อในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามคุณลักษณะของสื่อ
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) สื่อมวลชน
(3) สือเฉพาะกิจ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

120. Communication Breakdown เกิดจากสาเหตุอะไรต่อไปนี้
(1) สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน
(2) ประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน
(3) วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 10, 14, (คําบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอาจมีสิ่งรบกวน ซึ่งเรียกว่า “Noise” ทําให้การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร และ เกิดความล้มเหลวในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน และประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน ฯลฯ

CDM2103 (MCS1151) ทฤษฎีการสื่อสาร s/2559

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

ข้อ 1. – 6. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ออสกูด และชแรมม
(2) ลาสเวลล์
(3) เบอร์โล
(4) นิวคอมบ์

1.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นเป็นแบบจําลองเชิงจิตวิทยา
ตอบ 4 หน้า 61 – 63 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์ (Newcomb) เป็นแบบจําลอง เชิงจิตวิทยาที่เน้นว่าการสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการรักษาความสมดุลหรือความเหมือนกัน ทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่าการสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล แต่เมื่อใดก็ตาม ที่เกิดความไม่สมดุลขึ้น มนุษย์ก็จะพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางความคิด ทัศนคติ และ พฤติกรรมเพื่อให้เกิดความสมดุลยิ่งขึ้น หรืออาจเป็นไปเพื่อยืนยันความแตกต่างกัน หรือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นแบบจําลองที่ไม่สามารถนําไปอธิบาย การสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็กในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้

2. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่กล่าวถึงการตีความหมายของสารว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรอบแห่ง
การอ้างอิง และสนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 1 หน้า 55, 57 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของออสกูด (Osgood) และวิลเบอร์ ชแรมม์ (Schramm) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้ เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างมีหน้าที่เหมือนกัน 3 อย่าง คือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะตรงกันหรือแตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

3. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปจะต้อง
มีผลเสมอไป
ตอบ 2 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Lasswell) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ได้ระบุว่า การที่จะเข้าใจกระบวนการสื่อสารได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องตอบคําถามให้ได้ก่อนว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร ดังนั้นจึงถือเป็นตัวแทนของแบบจําลองการสื่อสารในระยะแรกที่มองว่า ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะ
มีอิทธิพลเหนือผู้รับสาร โดยกระบวนการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นกระบวนการในเชิงโน้มน้าวใจ และถือว่าสารที่ส่งไปนั้นจะต้องมีผลเสมอไป จึงส่งผลให้แบบจําลองนี้เหมาะสมแก่การใช้ วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ แต่แบบจําลองนี้ขาดปัจจัยสําคัญ ในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ ผลสะท้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback)

4.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่เน้นเรื่องการรักษาความสมดุลทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงทางความคิด พฤติกรรม เพื่อสร้างสัมพันธภาพใหม่ ๆ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

5.แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นเป็นแบบจําลองการสื่อสารที่ไม่สามารถนําไปอธิบายสังคม
ที่มีขนาดใหญ่โตได้
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

6. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดข้างต้นที่มีการกล่าวถึงช่องทางที่จะนําสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้งห้า
ประการของมนุษย์
ตอบ 3 หน้า 57, 61 แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานตามแนวคิดของเดวิด เค. เบอร์โล (Berto) ที่เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ได้กล่าวถึงช่องทางการสื่อสาร (Channel : C) ซึ่งเป็นพาหนะนําสารไปสู่ผู้รับสาร โดยทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนําสารไปสู่ประสาทสัมผัส ที่รับความรู้สึกของมนุษย์มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. การเห็น (ตา)
2. การได้ยิน (หู)
3. การสัมผัส (กาย)
4. การได้กลิ่น (จมูก)
5. การลิ้มรส (ลิ้น)

7.ทฤษฎีตามความหมายของเคอร์ลินเจอร์ หมายถึง กลุ่มความสัมพันธ์ของสิ่งใดต่อไปนี้
(1) สมมุติฐาน
(2) แนวความคิด
(3) คํานิยาม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, 22 เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของ แนวความคิด คํานิยาม (คําจํากัดความ) และสมมุติฐาน (คําตอบล่วงหน้า) ซึ่งแสดงให้เห็น อย่างเป็นระบบถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

8.จากคําจํากัดความทฤษฎีของเคอร์ลินเจอร์ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) มีปัญหาที่ต้องพิสูจน์หรือแสดง
(2) มีสมมุติฐาน
(3) มีตัวแปรและทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) จากคําจํากัดความของทฤษฎีตามที่เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้ให้ไว้นั้น สามารถแยกแยะความหมายย่อยของทฤษฎีได้ 3 อย่าง ดังนี้
1. กลุ่มของข้อความสมมุติหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมมุติฐาน ซึ่งประกอบด้วย คําจํากัดความ และความสัมพันธ์ของแนวความคิด
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเมื่อปฏิบัติลงไปแล้วจะแสดงผลให้เห็นอย่างเป็นระบบ ถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. มีการบอกทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

9. สมมุติฐาน หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่ง หรือมากกว่านั้น
(2) ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น
(3) ข้อความที่กําลังจะถูกทดสอบว่าถูก หรือน่าเชื่อถือหรือไม่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 20, 26 สมมุติฐาน (Hypothesis) คือ ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ของสองสิ่ง หรือตัวแปรสองตัว หรือมากกว่านั้น หรือหมายถึงข้อความที่กําลังจะถูกทดสอบว่า ถูก หรือน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าหากข้อมูลนั้นถูกทดสอบแล้ว เป็นที่ยอมรับของทุกคนแล้ว และ ไม่ต้องถูกทดสอบอีก ข้อความนั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นสมมุติฐานอีกต่อไป

10. หากจะศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและความตั้งใจเปิดรับนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
สามารถนําแนวคิดและทฤษฎีใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา
(1) แนวคิดเกี่ยวกับการเปิดรับสารจากสื่อมวลชน
(2) แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์
(3) แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยข้างต้น สามารถนําแนวคิดทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือทฤษฎีการปลูกฝัง (Cultivation Theory) มาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งมีแนวคิดเกี่ยวกับ การเปิดรับสารจากสื่อมวลชนว่า ข่าวสารหรือรายการต่าง ๆ ในสื่อมวลชนได้ปลูกฝังปั้นแต่ง ความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง โดยอิทธิพลของสื่อมวลชนได้ทําให้ผู้รับสารเกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และการเปิดรับสารจากสื่อมวลชนมากหรือน้อยจะทําให้ผลของการอบรมบ่มเพาะแตกต่างกันซึ่งจะส่งผลให้มีเจตคติหรือทัศนคติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แตกต่างกันไปด้วย

11. หากจะตั้งสมมุติฐานว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลแตกต่างกัน ทัศนคติต่อนิตยสาร ซอคเกอร์ฟีเวอร์แตกต่างกัน ตัวแปรตามคือข้อใดต่อไปนี้
(1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
(2) นิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(3) ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 24 – 25, (คําบรรยาย) จากการตั้งสมมุติฐานการวิจัยข้างต้นมีตัวแปรในการวิจัย ดังนี้
1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) อาจเรียกอีกอย่างว่า “ตัวแปรต้นหรือตัวแปรเหตุ หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยกําหนดให้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น และมีความ คงทนถาวรมากที่สุด ซึ่งในที่นี้คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) อาจเรียกอีกอย่างว่า “ตัวแปรผล” หมายถึง ตัวแปรอื่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ (โดยทั่วไปตัวแปรอิสระ จะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตาม) ซึ่งในที่นี้คือ ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์

12. หากจะตั้งสมมุติฐานว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลแตกต่างกัน ทัศนคติต่อนิตยสาร ซอคเกอร์ฟีเวอร์แตกต่างกัน ตัวแปรอิสระคือข้อใดต่อไปนี้
(1) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอล
(2) นิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(3) ทัศนคติต่อนิตยสารซอคเกอร์ฟีเวอร์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

13. สังคมข้อมูลข่าวสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Information Social
(2) Information Society
(3) Informations Social
(4) Informations Society
ตอบ 2 หน้า 1 ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวก และกว้างขวาง ตลอดจนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่อาจกล่าวได้ว่าสังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร (Information Society) นั่นคือ ข่าวสารต่าง ๆ เข้ามามีส่วนสําคัญหรือมีบทบาทในการ ดํารงชีวิตของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ

14. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ชัดแจ้ง
และแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) มิลเลอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 1 หน้า 3, (คําบรรยาย) เจอร์เกน รอยซ์ (Jurgen Ruesch) และเกรกอรี แบทสัน (Gregory Bateson) กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายถึงการถ่ายทอดสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนที่ ชัดแจ้งและแสดงเจตนารมณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงกระบวนการทั้งหลายที่คนมีอิทธิพลต่อกันด้วย
ซึ่งคํานิยามการสื่อสารนี้ยึดหลักที่ว่าการกระทําและเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นการสื่อสาร หากมี ผู้เข้าใจการกระทําและเหตุการณ์เหล่านั้น เช่น การที่เราเห็นเหตุการณ์ ๆ หนึ่งและสามารถ ตีความหมายของเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ ก็นับว่ามีการสื่อสารเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น

15. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โอฟแลนด์
(3) มิลเลอร์
(4) โรเจอร์ส และชูเมคเกอร์
ตอบ 4 หน้า 4 เอเวอเร็ต เอ็ม. โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) และเอฟ. ฟลอยด์ ชูเมคเกอร์ (F. Floyd Shoemaker) กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร

16. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า การสื่อสารไม่ได้หมายความเพียงแค่การพูดและการเขียนเท่านั้น แต่รวมถึงดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย
(1) รอยซ์ และเบทสัน
(2) โฮฟแลนด์
(3) วีเวอร์
(4) โรเจอร์ส และซูเมคเกอร์
ตอบ 3 หน้า 3 วอร์เรน ดับเบิลยู, วีเวอร์ (Warren W. Weaver) กล่าวว่า การสื่อสารมีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงกระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคน ๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่ได้หมายความแต่เพียงการพูดและเขียนเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงดนตรี ภาพ การแสดงบัลเล่ต์ และพฤติกรรมทุกพฤติกรรมของมนุษย์อีกด้วย

17. การสื่อสาร 2 ทาง ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two-way Communication
(2) Two-way Communicate
(3) Two-ways Communication
(4) Two-ways Communicate
ตอบ 1 หน้า 4 – 5, 14, 53 – – 54 การสื่อสารแบบสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two-way Communication) คือ การสื่อสารที่หมายความรวมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วตอบโต้กลับ และ อันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction) ซึ่งปฏิกิริยา ที่มีต่อกันนี้จะเป็นตัวนําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย (Meaning) อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลาย ๆ อย่าง

18. การมีปฏิกิริยาต่อกันที่นําไปสู่ความรู้ความเข้าใจร่วมกันในเรื่องของความหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Two-way Communication
(2) Two-way Communicate
(3) Two-ways Communication
(4) Two-ways Communicate
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19. ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) ความสําคัญต่อการศึกษา
(2) ความสําคัญต่อการเกษตร
(3) ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
(4) ความสําคัญต่อวัฒนธรรม
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสําคัญต่อชีวิตประจําวัน
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

20. วารสารการเงินการธนาคาร ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 2 หน้า 11 เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการสอน วิชาความรู้หรือเรื่องราวที่มีลักษณะเป็นวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม ได้แก่ วารสารหรือจุลสารเฉพาะด้าน เช่น วารสารเพื่อสุขภาพอนามัย วารสารการเงินการธนาคาร เป็นต้น

21. การที่หนังสือพิมพ์รายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 1 หน้า 11 – 12 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการบอกกล่าวหรือชี้แจง ข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดไปยังผู้รับสาร เช่น หนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง ลงตีพิมพ์ข่าวสารเพื่อรายงานข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจําวันไปให้ประชาชนได้รับทราบ เป็นต้น

22. นวนิยายและการแสดงคอนเสิร์ต ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) ให้การศึกษา
(3) ให้ความบันเทิง
(4) เพื่อชักจูงใจ
ตอบ 3 หน้า 11 เพื่อสร้างความพอใจหรือเพื่อให้ความบันเทิง (Please or Entertain) หมายถึง
ผู้ส่งสารต้องการที่จะทําให้ผู้รับสารเกิดความรื่นเริงบันเทิงใจจากสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาท่าทาง เช่น นวนิยาย เพลง ละคร การ์ตูน เกมโชว์ การแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขัน เป็นต้น

23. การอ่านข่าวเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ตนมีอยู่เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นนั้น ผู้รับสารมีวัตถุประสงค์
ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 1 หน้า 13 เพื่อทราบ (Understand) หมายถึง ผู้รับสารต้องการที่จะทราบเรื่องราว ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งหากข่าวสารนั้นเป็นของใหม่ก็จะทําให้ผู้รับสารได้ข่าวสารเพิ่มเติม แต่ถ้าหากข่าวสารนั้นเป็นสิ่งที่เคยได้รับทราบมาก่อน ก็จะเป็นการยืนยันความถูกต้องของข่าวสารที่ตนมีอยู่ให้เกิด ความมั่นใจยิ่งขึ้น

24. การที่ผู้รับสารเปิดฟังรายการเพลงนั้น มีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 3 หน้า 13 เพื่อหาความพอใจหรือเพื่อหาความบันเทิง (Enjoy) หมายถึง ผู้รับสารต้องการที่จะ แสวงหาสิ่งที่สามารถช่วยสร้างความบันเทิง ช่วยสร้างความสบายใจหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ให้แก่ตนเองบ้าง เช่น การเปิดฟังรายการเพลง ชมรายการเกมโชว์ ละคร และอ่านหนังสือพิมพ์ หน้าบันเทิง เป็นต้น

25. การที่ผู้รับสารอ่านสารเกี่ยวกับวิชาความรู้ มักจะอยู่ในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อเรียนรู้
(3) เพื่อหาความบันเทิง
(4) เพื่อการตัดสินใจ
ตอบ 2 หน้า 13 เพื่อเรียนรู้ (Learn) หมายถึง ผู้รับสารแสวงหาความรู้โดยการอ่านสารที่มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับวิชาความรู้และวิชาการ เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมและทําความเข้าใจกับเนื้อหาสาระ ในการสอนของผู้ส่งสาร เช่น การชมรายการสอนภาษาอังกฤษ รายการทําอาหาร เป็นต้น

26. ปฏิกิริยาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีต่อกัน ตรงกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้
(1) Feedback
(2) Interaction
(3) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

27. ทฤษฎีตามความหมาย Keringer สามารถแยกความหมายย่อยของทฤษฎีได้ 3 อย่าง ยกเว้นข้อใดต่อไปนี้
(1) ข้อความที่ใช้อธิบายการทํางานสิ่งต่าง ๆ โดยมีการจัดระเบียบให้มีความหมายขึ้นมา
(2) มีกลุ่มของข้อความหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง
(3) การมีสมมุติฐาน ซึ่งประกอบด้วย คําจํากัดความ และความสัมพันธ์ของแนวความคิด
(4) การมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร ทําให้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

28. ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ เขียนหนังสือชื่อว่า Four Theories of the Press ในปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1955
(3) 1956
(4) 1957
ตอบ 3หน้า 15 – 16 ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซีเบอร์ต (Siebert) ปีเตอร์สัน (Peterson) และชแรมม์ (Schramim) ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Four Theories of the Press หรือ หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ซึ่งแปลโดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

29. หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน แปลโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) ดร.สมควร กวียะ
(2) ดร.เสรี วงษ์มณฑา
(3) ดร.บุญเลิศ ศุภดิลก
(4) ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30. หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน บรรยายเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) แนวคิดในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และการควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ
(2) การสื่อสารมวลชนของประเทศใดย่อมจะต้องมีบทบาทหน้าที่ตามเงื่อนไขทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ของประเทศนั้น
(3) สื่อมวลชนย่อมต้องเดินตามแนวความคิด ทฤษฎี หรือกรอบแห่งบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้ในประเทศนั้น ๆ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 16 หนังสือทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ได้บรรยายเปรียบเทียบทฤษฎีหรือแนวคิดในเชิง ปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และการควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ ที่มีระบบการเมือง และเศรษฐกิจแตกต่างกัน จึงนับเป็นหนังสือเล่มแรกที่ชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารมวลชนของประเทศใด ย่อมจะต้องมีบทบาทหน้าที่ตามเงื่อนไขทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศนั้น สื่อมวลชนย่อมต้องเดินตามแนวความคิด ทฤษฎี หรือกรอบแห่งบทบาทหน้าที่ที่กําหนดไว้ใน ประเทศนั้น ๆ หรือ

31. มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สิ่งที่ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ บรรยายเปรียบเทียบไว้ไม่น่าจะใช่ทฤษฎี เพราะเหตุผลในข้อใดต่อไปนี้
(1) ทฤษฎีต้องเป็นหลักการที่แน่นอนและพิสูจน์แล้วว่า ถ้าเกิดข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งขึ้น จะต้องเกิด ข้อเท็จจริงอีกอย่างขึ้นอย่างแน่นอน
(2) ต้องเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
(3) ต้องเป็นทฤษฎีที่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
(4) ต้องเป็นหลักการที่แน่นอนเท่านั้น
ตอบ 1 หน้า 16 เหตุผลที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สิ่งที่ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ บรรยาย เปรียบเทียบไว้ไม่น่าจะใช่ทฤษฎี เพราะทฤษฎีย่อมจะต้องหมายถึง หลักการที่แน่นอนและ พิสูจน์กันแล้วว่า ถ้าเกิดข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อย่างหนึ่งขึ้นแล้ว ก็จะต้องเกิดข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์อีกอย่างขึ้นอย่างแน่นอน

32. การแสดงทัศนะว่าสื่อมวลชนเป็นอย่างไร หรือคาดหมายว่าควรจะทําอย่างไร ปฏิบัติบทบาทหน้าที่อย่างไร ภายในกรอบของเงื่อนไข ค่านิยม หรือกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ผู้ใดต่อไปนี้ที่เรียกกลุ่มทฤษฎีเหล่านี้ว่าเป็นทฤษฎีปทัสถาน
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) ดอยซ์
(3) บานลุนด์
(4) ฮาร์ดเกรฟ
ตอบ 1 หน้า 18 จากข้อความข้างต้น เดนิส แม็คเควล (Danis McQuail) ได้เรียกกลุ่มทฤษฎีเหล่านี้ว่า “ทฤษฎีปทัสถาน” (Normative Theories) ที่ฟังดูแล้วค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นทฤษฎีมากกว่า คําว่า “ทฤษฎีสื่อสารมวลชน” ซึ่งในปัจจุบันมักจะหมายความรวมถึง แนวความคิดทฤษฎี ทุกเรื่องทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน

33. ทฤษฎีที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยองค์ประกอบที่ประการ
(1) 4 ประการ
(2) 5 ประการ
(3) 6 ประการ ๆ
(4) 7 ประการ
ตอบ 3 หน้า 19 – 20 ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท (Description and Classification)
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ (Analysis)
3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องความหมายและการวัด (Meaning and Measurement)
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (Plausibility and
Testability)
ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ โดยองค์ประกอบที่เพิ่มเติม
เข้ามาอีก 2 ประการ คือ
1. การจัดลําดับแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความซ้ําซ้อน (Elimination of Tautology)
2. การจัดลําดับสมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการกําจัดความไม่คงที่ (Elimination of Inconsistency)

34. การวิเคราะห์ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35. ความสําคัญเกี่ยวกับเหตุผลและการทดสอบ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

36. ความสําคัญเกี่ยวกับความหมายและการวัด เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

37. ความสําคัญเกี่ยวกับการแยกประเภท เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของทฤษฎีในข้อใดต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) ความเชื่อม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

38. ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Model ในความหมายใดต่อไปนี้
(1) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการสาขาเดียวกัน
(2) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น
(3) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้
(4) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาเดียวกัน
ตอบ 1 หน้า 21 ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Model เมื่อหมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่ประดิษฐ์คิดค้น และวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการ (Discipline) สาขาเดียวกัน (ศาสตร์แขนงเดียวกัน) ส่วน Paradigm นิยมใช้เมื่อหมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการหรือยืมมาจาก สาขาวิชาอื่น (ศาสตร์หรือวิชาการต่างสาขากัน)

39. ในทางปฏิบัติทั่วไปนิยมใช้ Paradigm ในความหมายใดต่อไปนี้
(1) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากภายในวิชาการสาขาเดียวกัน
(2) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น
(3) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้
(4) แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการมาจาก หรือยืมมาจากสาขาวิชาเดียวกัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40. ทฤษฎีต่าง ๆ ทางด้านสื่อสารมวลชน ส่วนใหญ่ได้มาจากสาขาวิชาด้านอื่น ๆ ยกเว้นสาขาใดต่อไปนี้
(1) Sociology Psychology
(2) Political Science
(3) Linguistics
(4) Pure Science
ตอบ 4 หน้า 21 ทฤษฎีต่าง ๆ ส่วนมากทางด้านสื่อสารมวลชน ได้วิวัฒนาการมาจากสาขาวิชาการ ด้านอื่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sociology Psychology (Social Psychology),
Political Science, Linguistics, Economics, Anthropology ba Mathematics

41. โดยทั่วไปทฤษฎีมีหน้าที่ตามตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Explanation
(2) Reinforcement
(3) Prediction
(4) Explanation and Prediction.
ตอบ 4 หน้า 21 ทฤษฎีโดยทั่วไปแล้วมีหน้าที่สําคัญ 2 ประการ คือ
1. การอธิบาย (Explanation)
2. การทํานายหรือคาดคะเน (Prediction)

42. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า การวิจัยกับทฤษฎีเป็นของคู่กัน
(1) รศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์
(2) รศ.ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ
(3) รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี
(4) รศ.ดร.พีระ จีระโสภณ
ตอบ 1หน้า 22 (คําบรรยาย) รศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์ และอาจารย์ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ กล่าวไว้ ในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า ทฤษฎีเป็นบรรทัดฐานในการแนะแนวการวิจัยและยังช่วย กําหนดขอบเขตการวิจัยได้ ส่วนผลการวิจัยก็เป็นสิ่งเกื้อหนุนหรือช่วยส่งเสริมให้ทฤษฎีก้าวหน้าได้
และขณะเดียวกันการวิจัยก็เป็นสิ่งที่ทําให้ได้มาซึ่งทฤษฎี ดังนั้นทฤษฎีกับการวิจัยจึงเป็นของคู่กัน

43. ตัวแปรอิสระ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

44. ตัวแปรตาม ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

45. ตัวแปรเหตุ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

46. ตัวแปรผล ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Dependent Variable
(2) Independent Variable
(3) Dependent Variables
(4) Independent Variables
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

47. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
(1) ตัวแปรต้น
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 3หน้า 25 ตัวแปรแทรก หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและ ตัวแปรตาม เช่น ผู้มีการศึกษาสูงโดยเฉลี่ยแล้วจะมีบุตรน้อยกว่าผู้มีการศึกษาต่ํา โดยตัวแปรที่ เข้ามาแทรกระหว่างการศึกษา (ตัวแปรอิสระ) กับการมีบุตรนั้น (ตัวแปรตาม) ก็คือ การคุมกําเนิด ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นตัวแปรแทรก

48. ตัวแปรใดต่อไปนี้ที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี
(1) ตัวแปรต้น
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 4 หน้า 25 – 26, (คําบรรยาย) ตัวแปรกด หมายถึง ตัวแปรที่ทําให้ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรจะมี แต่ถูกตัวแปรกดกดเอาไว้ หรือเป็นตัวแปรที่ ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามเบี่ยงเบนไปจากเดิม ต่อเมื่อเราควบคุม
ตัวแปรกดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจึงจะเกิดขึ้น

49. ข้อความเฉพาะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างของ 2 สิ่ง หรือตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่านั้น
(1) กระบวนทัศน์
(2) ทฤษฎี
(3) แบบจําลอง
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 9. ประกอบ

50. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะของสมมุติฐาน
(1) สามารถที่จะทดสอบได้หรือไม่ก็ได้
(2) บอกถึงข้อความสมมุติในการวิจัย
(3) กําหนดขอบเขตและแนวทางของการวิจัย
(4) แนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
ตอบ 1 หน้า 26 คุณลักษณะของสมมุติฐาน มีดังนี้
1. สามารถที่จะทดสอบได้ และนําไปสู่การสร้างทฤษฎี
2. บอกถึงข้อความสมมุติในการวิจัย
3. กําหนดขอบเขตและแนวทางของการวิจัย
4. แนะแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจและขั้นตอนของกระบวนการทางสถิติแล้ว

51. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าหมายถึง ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูปของ
ทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) สเวน วินดาห์ล และเดนิส แม็คเควล
ตอบ 3 หน้า 28 บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ (Bill and Hardgrave) ได้ให้คําจํากัดความของแบบจําลองว่า “ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูปของทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ”

52. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าหมายถึง คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน
รูปความเป็นจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) วินดาห์ล และแม็คเควล
ตอบ 4 หน้า 29 เดนิส แม็คเควล และสเวน วินดาห์ล (Danis McQuail and Sven Windahl) ได้ให้คําจํากัดความของแบบจําลองว่า “คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน รูปความจริง หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย

53. ผู้ใดให้คําจํากัดความ “แบบจําลอง” ว่าเป็นความพยายามสร้างหรือทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือแรงดันที่กําลังศึกษาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือภาพ หรือสิ่งที่มีตัวตนมองเห็นได้
(1) ดอยซ์
(2) ดีน ซี. บานลุนด์
(3) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(4) วินดาห์ล และแม็คเควล
ตอบ 2 หน้า 29 ดีน ซี. บานลุนด์ (Dean C. Barnlund) นักทฤษฎีสื่อสารภายในตัวบุคคล ให้ความหมาย ของแบบจําลองว่า “เป็นความพยายามสร้างหรือทําให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือแรงดันที่กําลังศึกษาอยู่ในรูปของสัญลักษณ์หรือภาพ หรือสิ่งที่มีตัวตนมองเห็นได้

54. แบบจําลองของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ดัดแปลงมาจากแบบจําลองของ Heider เกี่ยวข้องกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Newcomb
(2) แบบจําลอง ABX
(3) Co-orientation Model
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 37, 40 – 41 แบบจําลองของการสื่อสารระหว่างบุคคล (ABX Model) ของ Newcornb นักจิตวิทยาสังคม ได้ดัดแปลงมาจากแบบจําลองของการสื่อสารภายในตัวบุคคลของ Heider ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาสังคมเหมือนกัน แต่ Newcomb ได้เรียกแบบการสื่อสารของเขาว่า “Co-orientation Model” (แบบของความคิดโน้มเอียงร่วม) คือ ในสถานการณ์หนึ่ง จะประกอบด้วยบุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีความคิดหรือทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม และ เกี่ยวกับวัตถุ (Objece) หรือปัญหา (Issue) เดียวกัน

55. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า “การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัว” จะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสอง
เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล
(1) เบอร์โล
(2) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์
(3) ลาสเวลล์
(4) นิวคอมบ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

56. แบบจําลองข้อใดต่อไปนี้ที่เสนอว่า “ในสถานการณ์หนึ่งที่ประกอบด้วยบุคคล 2 คน ซึ่งต่างก็มีความคิด หรือทัศนคติเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม และเกี่ยวกับวัตถุหรือปัญหาเดียวกัน”
(1) ABX Model
(2) Co-orientation Model
(3) แบบจําลองของความคิดโน้มเอียงร่วม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

57. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นนักจิตวิทยาสังคม
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 54. ประกอบ

58. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอทฤษฎีหรือแบบของความคิด Cognitive Model
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 2 หน้า 37 Heider เป็นผู้คิดค้นแบบของการสื่อสารภายในตัวบุคคลที่นิยมแพร่หลาย โดยอาศัย ทฤษฎีหรือแบบของความคิด Cognitive Model จากสาขาจิตวิทยา และเขาได้เสนอแบบของ ความคิด (Cognitive Configurations) ซึ่งประกอบด้วยบุคคล (P) ที่มีทัศนคติหรือความคิด เกี่ยวกับบุคคลอื่น (S) และปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง (I)

59. ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้ค้นคว้าวิจัยเรื่อง Symbolic Interaction
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37 George Herbert Mead เป็นผู้นําในการค้นคว้าวิจัยทางสังคมวิทยาที่เกี่ยวกับเรื่อง “Symbolic Interaction” (ปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอาศัยสัญลักษณ์) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงการศึกษา Intrapersonal Communication เป็นอย่างมาก

60. ตามทัศนะของผู้ใดต่อไปนี้ที่บอกว่า การสื่อสารภายในตัวบุคคลเป็นเสมือนสะพานเชื่อมพฤติกรรมของ บุคคลและสิ่งแวดล้อม บุคคลจะไม่สามารถเรียนรู้และเข้าใจทัศนคติของบุคคลอื่นหรือส่วนรวมได้ จนกว่า เขาจะสามารถพิจารณาและเข้าใจตัวเอง และสามารถตอบสนองต่อการกระทําของตนเอง เหมือนเช่นที่ เขาคาดจะได้รับสนองตอบจากคนอื่น
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 หน้า 37, (ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ) จากข้อความข้างต้นเป็นทัศนะของ George Herbert Mead ที่ได้ให้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1934

61. ผลการศึกษาวิจัยของผู้ใดต่อไปนี้ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา Intrapersonal Communication เป็นอย่างมาก
(1) Newcomb
(2) Heider
(3) George Herbert Mead
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

62. โดยทั่วไปแล้วการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความนึกคิด
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Large Group Communication
(4) Public Communication

ตอบ 1 หน้า 36 – 37 โดยทั่วไปแล้วถือว่าการสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางความนึกคิด (Cognitive Structure) เพราะ การสื่อสารประเภทนี้มีขอบเขตครอบคลุมไปถึงโครงสร้างของความคิด การพัฒนาด้านสติปัญญา การรับรู้ การเรียนรู้ การแปลข่าวสาร การรับรอง และกระบวนการทางจิตวิทยาอย่างอื่น

63. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน
แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธ
(1) Intercultural Communication
(2) International Communication
(3) Development Communication
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 45 – 46 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการ สื่อสารระดับชาติระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน (รัฐกับรัฐ) แต่มีความเป็นทางการมากกว่าการสื่อสารวัฒนธรรมในแง่ที่ว่าผู้ที่ทําการสื่อสารนั้นจะทําหน้าที่เป็นตัวแทน ของประเทศ ได้แก่ นักการทูต ตัวแทนของรัฐบาล (เช่น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ฯลฯ) และข้าราชการ รวมทั้งการประชุมของคณะผู้แทน ประเทศต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

64. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ International Communication เกิดขึ้นภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน
(1) อินเดีย
(2) มาเลเซีย
(3) เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
(4) คนผิวขาวและคนผิวดํา
ตอบ 3 หน้า 47 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) อาจเกิดขึ้นได้ ภายในระบบวัฒนธรรมเดียวกัน คือ ในกรณีที่ประชาชนมีขนบประเพณีเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แต่ถูกแบ่งแยกโดยดินแดนหรือแยกกันอยู่คนละประเทศ เช่น เยอรมนีตะวันตกและตะวันออก เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เป็นต้น

65. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของแชนนั้น และวีเวอร์เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 2 หน้า 48 – 51, (คําบรรยาย) แชนนั้น (C. Shannon) และวีเวอร์ (W. Weaver) ได้สร้าง แบบจําลองการสื่อสารขั้นพื้นฐานขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ซึ่งรู้จักกันแพร่หลาย ในวงการสื่อสารยุคเริ่มต้นในชื่อว่า “แบบจําลองการสื่อสารเชิงทฤษฎีคณิตศาสตร์” เพราะได้เอาวิชาการหรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์มาอธิบายถึงกระบวนการทางการสื่อสาร โดยเน้นเรื่องช่องทางการสื่อสารที่จะสามารถส่งสารจากแหล่งสารสนเทศไปสู่จุดหมายปลายทางได้มากที่สุด และเกิดอุปสรรคระหว่างการสื่อสารน้อยที่สุด

66. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

67. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม์ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

68. แบบจําลองการสื่อสารตามแนวความคิดของเดวิด เค. เบอร์โล เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1948
(2) 1949
(3) 1954
(4) 1960
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

69. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและ
การโน้มน้าวใจ
(1) แชนนัน และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ชแรมม
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

70. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ขาดปัจจัยสําคัญเรื่องปฏิกิริยาตอบกลับ
(1) แชนนั้น และวีเวอร์
(2) ฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(3) ออสกูด และวิลเบอร์ ซแรมม์
(4) เดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

71. การเข้ารหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

72. การถอดรหัส ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

73. การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่ วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย นับเป็นกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 1 หน้า 55 – 56 การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารทําการแปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด สื่อหรือช่องทาง การสื่อสาร และเหมาะกับผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย

74. ผู้ทําหน้าที่แปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 2 หน้า 58, (คําบรรยาย) ผู้เข้ารหัส (Encoder) หมายถึง ผู้ทําหน้าที่แปลสารจากข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ให้เป็นภาษาหรือรหัสอื่น ๆ ที่เหมาะสมแก่วิธีถ่ายทอด และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ที่ ทําหน้าที่เข้ารหัสก็คือ ผู้ส่งสารนั่นเอง

75. การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมานับเป็นกระบวนการใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 3 หน้า 55 – 56 การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การที่ผู้รับสารทําการแปลรหัสหรือภาษา กลับเป็นสาร (ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสกัดเอาความหมายที่ผู้ส่งสารส่งมา หรือต้องการสื่อความหมายมา

76. ผู้ทําหน้าที่แปลรหัสหรือภาษากลับเป็นข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมา ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Encoding
(2) Encoder
(3) Decoding
(4) Decoder
ตอบ 4 หน้า 58, (คําบรรยาย) ผู้ถอดรหัส (Decoder) หมายถึง ผู้ทําหน้าที่แปลรหัสหรือภาษากลับเป็น ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก เพื่อสกัดเอาความหมายออกมา ซึ่งผู้ที่ทําหน้าที่ถอดรหัสก็คือ ผู้รับสารนั่นเอง

77. การตีความสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Frame of Experience
(2) Frame of Reference
(3) Field of Reference
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

78. การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ในการสื่อสาร ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) รหัสสาร
(2) เนื้อหาสาร
(3) การจัดสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 60 – 61 การจัดสาร (Treatment) ตามความคิดของเบอร์โลนั้น คือ วิธีการที่ผู้ส่งสาร เลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การเลือกใช้ภาษา ไวยากรณ์ และศัพท์ในการสื่อสาร รวมไปถึงคําถาม คําอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งสารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดีจะทําให้เกิดการรับรู้ ความหมายในตัวผู้รับสารได้

79. เฟสติงเจอร์ สร้างทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิดเมื่อปี ค.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 1954
(2) 1955
(3) 1956
(4) 1957
ตอบ 4 หน้า 63 – 64 เฟสติงเจอร์ เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory) เมื่อปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยเขาเป็นผู้ค้นพบว่าการตัดสินใจ ทางเลือก และข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องหรือ ความไม่เหมือนกันทางความคิด ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความยุ่งยากใจ อันเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา จนนําไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ หรือการเลือกทางเลือกที่ได้ตัดสินใจกระทําลงไป

80. ความไม่เหมือนกันทางความคิด ทําให้เกิดความยุ่งยากใจ และนําไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุน การตัดสินใจ เป็นกระบวนการที่อยู่ในทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Cognitive Theory
(2) Cognition Dissonance Theory
(3) Cognitive Dissonance Theory
(4) Cognition Theory
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 94 ความคิด ความเชื่อ และข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น สาธารณชนสามารถ รับรู้ได้จากสื่อมวลชนทั้งหลาย แม้ว่ากลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมจะมีความคิดและความเชื่อที่เป็น เอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคล แต่ถ้าบุคคลเหล่านี้ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูล หรือสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ ก็จะทําให้ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้

82. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ผู้ส่งสารทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
(1) การสื่อสารภายในองค์การ
(2) การสื่อสารมวลชน
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารสาธารณะ
ตอบ 4 หน้า 42 – 43 (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของการสื่อสารกลุ่มใหญ่ หรือการสื่อสารสาธารณะ
(Large Group Communication or Public Communication)
1. ผู้รับสารเป็นคนจํานวนมากที่มาอยู่รวมในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
2. ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งสาร และ ใครเป็นผู้รับสาร
3. ผู้ส่งสารทําหน้าที่ส่งสารในฐานะที่เป็นตัวแทนของสถาบันและเป็นตัวแทนของตัวเอง
4. ปฏิกิริยาตอบกลับจะเกิดขึ้นค่อนข้างยาก
5. ผู้รับสารจะมีคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน ฯลฯ

83. การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การรับรู้
(3) การแปลความหมาย
(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

84. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่เป็นการแบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) การสื่อสารมวลชน
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(4) การสื่อสารในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยดูจากความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
3. การสื่อสารระหว่างประเทศ

85. มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สาเหตุที่สําคัญที่สุด
น่าจะเป็นข้อใดต่อไปนี้
(1) มนุษย์มีการใช้อาณัติสัญญาณต่าง ๆ
(2) มนุษย์อยู่ลําพังคนเดียวไม่ได้
(3) มนุษย์เกี่ยวข้องกับการสื่อสารตั้งแต่เกิดจนตาย
(4) มนุษย์มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ตอบ 4 หน้า 1 การติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมายของมนุษย์ในสมัยก่อนจะเริ่มจากการใช้ อาณัติสัญญาณต่าง ๆ เช่น เสียงกลอง ควันไฟ ฯลฯ เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร จากนั้น จึงเริ่มรู้จักขีดเขียนภาพบนผนังถ้ํา และต่อมาก็มีการประดิษฐ์คิดค้นตัวอักษรขึ้นใช้ในลักษณะ ของการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนี้เองที่เป็นสาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

86. ผู้ใดต่อไปนี้ค้นพบทฤษฎีความไม่สอดคล้องทางความคิด
(1) เฟสติงเจอร์
(2) เฟสติงเกอร์
(3) เฟสลิงเตอร์
(4) เฟสติงเยอร์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

87. การอ่านทวนจดหมายที่เราเขียนขึ้นเองก่อนส่งไปให้เพื่อนเรา สามารถเรียกว่าการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(3) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 2 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัยระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน คือ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงฟังคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ) การคิดคํานวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

88. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแยกหน้าที่กันได้อย่างชัดเจน
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

89. ข้อใดต่อไปนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาร
(1) รหัสสารเชิงวัจนะ
(2) รหัสสารเชิงอวัจนะ
(3) ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษากาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 60 – 61, 68 ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้
1. รหัสของสาร (Message Code) ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทางหรือภาษากาย หรือรหัสอื่น ๆ เช่น รหัสสารเชิงวัจนะ (ใช้คําพูด) และรหัสสารเชิงอวัจนะ (ไม่ใช้คําพูด)
2. เนื้อหา (Content
3. การจัดสาร (Treatment)

90. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารทําหน้าที่สลับกันในเวลาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
(1) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(3) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่
ตอบ 2 หน้า 41 – 42, 75, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) คือ การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในลักษณะที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยน ข่าวสารกันได้โดยตรง สามารถสังเกตกิริยาท่าทางของฝ่ายตรงข้าม และมีผลตอบกลับได้รวดเร็ว ทันที ซึ่งอาจเป็นการสื่อสารตัวต่อตัวหรือการสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็ ทําหน้าที่เข้ารหัส ตีความ และถอดรหัสโดยสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในเวลาที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเล่าความฝันให้เพื่อนฟัง ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้าก็ได้ เช่น การพูดคุย และส่ง SMS ทางโทรศัพท์ การอ่านจดหมายที่เพื่อนส่งมาให้ การส่ง E-mail และการสนทนา โต้ตอบกันหรือ Chat ทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

91. ตัวแปรใดต่อไปนี้มีความคงทนมากที่สุด
(1) ตัวแปรอิสระ
(2) ตัวแปรกด
(3) ตัวแปรตาม
(4) ตัวแปรแทรก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

92. “ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ตา หู จมูก ลิ้น กาย
(2) วิทยุและโทรทัศน์
(3) หนังสือพิมพ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 72 คําว่า “ช่องทางการสื่อสาร” หมายถึง ทางที่ทําให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารติดต่อกันได้ ซึ่งก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ส่วนคําว่า “สื่อ”
หมายถึง สื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แสง เสียง ตลอดจนอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารไปถึงกันและกัน

93. อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน เป็นความหมายของข้อใดต่อไปนี้
(1) ช่องทาง
(2) พาหนะ
(3) สื่อ
(4) เครื่องมือ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 92. ประกอบ

94. อาจารย์ใช้แผ่นใส วิดีโอ และการเขียนไวท์บอร์ดสอนนักศึกษาขณะบรรยายในชั้นเรียน ถือว่าอาจารย์ ใช้สื่อประเภทใดต่อไปนี้ ถ้าดูจากจํานวนการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์
(1) สื่อมวลชน
(3) สื่อประสม
(2) สื่อเฉพาะกิจ
(4) สื่อระหว่างบุคคล
ตอบ 4 หน้า 73 – 74 สื่อระหว่างบุคคล เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน จนไม่อาจจะติดต่อกันโดยไม่ผ่านสื่อหรือไม่มีสื่อได้ จึงจัดเป็นสื่อที่ใช้เฉพาะบุคคล มีลักษณะ เป็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในขณะนั้น ๆ เช่น จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ภาพถ่ายในครอบครัว บันทึกช่วยจํา อนุทิน เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องมือ อุปกรณ์บางชนิดที่จัดว่าเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย การเรียนการสอน ซึ่งจําเป็นจะต้องใช้สื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หนังสือ เอกสาร แผ่นใส วิดีโอ กระดานดํา/ไวท์บอร์ด เป็นต้น

95. การสื่อสารที่เน้น Interaction ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร สามารถเรียกได้อย่างไรต่อไปนี้
(1) One-way Communication
(2) Two-way Communication
(3) Mass Communication
(4) Public Communication
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

96. การสื่อสารที่ครอบคลุมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ และปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและ
ผู้รับสาร สามารถนําไปสู่กระบวนการใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การเข้ารหัส
(3) การเข้าใจความหมายร่วมกัน
(4) การเข้ารหัส-ถอดรหัส
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

97. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความการสื่อสารว่า เป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งส่งสิ่งเร้าเพื่อเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของบุคคลอื่น
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) เจอร์เกน รอยซ์
(3) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(4) วอร์เรน ดับเบิลยู. วีเวอร์
ตอบ 3 หน้า 3 คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์ (Cart I. Hoveland) และคณะ ให้ความเห็นว่า การสื่อสาร
คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ส่งสิ่งเร้า (โดยปกติจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอื่น ๆ (ผู้รับสาร)

98. ผู้ใดต่อไปนี้ที่กล่าวว่า “ทฤษฎีกับการวิจัยเป็นของคู่กัน”
(1) อ.ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ
(2) รศ.ดร.สมควร กวียะ
(3) ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

99. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความแบบจําลองว่าหมายถึง คําอธิบายแบบง่าย ๆ ในรูปของการเขียน รูปความจริง
หรือข้อเท็จจริงที่ต้องการอธิบาย
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(3) สเวน วินดาห์ล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

100. ผู้ใดต่อไปนี้ให้คําจํากัดความแบบจําลองว่าหมายถึง ตัวแทนหรือคําอธิบายของโลกแห่งความจริงในรูป
ของทฤษฎี และทําให้ง่ายแก่ความเข้าใจ
(1) เดนิส แม็คเควล
(2) บิลล์ และฮาร์ดเกรฟ
(3) สเวน วินดาห์ล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

101. หากผู้วิจัยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ หรือผลงานวิจัยที่มีมาก่อน เป็นตัวกําหนดสมมุติฐาน สามารถเรียก การตั้งสมมุติฐานลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไรต่อไปนี้
(1) การตั้งสมมุติฐานแบบนิรนัย
(2) การตั้งสมมุติฐานแบบอุปนัย
(3) การตั้งสมมุติฐานโดยวิธีพฤตินัย
(4) การตั้งสมมุติฐานแบบพฤตินัย
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถ แบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ข้อเท็จจริงหลัก 2. ข้อเท็จจริงรอง 3. ข้อสรุป

102. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาวิชาเดียวกัน
(2) Paradigm หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์สาขาเดียวกันหรือต่างสาขากันก็ได้
(3) Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์แขนงเดียวกัน
(4) Model หมายถึง แบบหรือทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการจากศาสตร์ต่างสาขากัน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ

103. ตัวแปรตาม สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไรต่อไปนี้
(1) ตัวแปรผล
(2) ตัวแปรเหตุ
(3) ตัวแปรแทรก
(4) ตัวแปรกด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

104. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ ผู้ส่งสารทําหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบัน และเป็นตัวแทนของตัวเอง
(1) การสื่อสารภายในองค์การ
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 82. ประกอบ

105. ข้อใดต่อไปนี้เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(1) วารสาร
(2) หนังสือพิมพ์
(3) นิตยสาร
(4) คอมพิวเตอร์
ตอบ 4 หน้า 73 การแบ่งประเภทของสื่อโดยใช้คุณลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์มี 5 ประเภท คือ
1. สื่อธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศรอบตัวมนุษย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
2. สื่อมนุษย์ ได้แก่ โฆษก ตัวแทนการเจรจาปัญหาต่าง ๆ ผู้ทําการสื่อสาร ฯลฯ
3. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร วารสาร ใบประกาศ โปสเตอร์ โฟลเดอร์
(ใบโฆษณาที่เป็นกระดาษแข็งพับ) ฯลฯ
4. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์ วิดีโอเทป เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ (เช่น เว็บไซต์ฝ้ายคําของ ม.รามคําแหง) ฯลฯ
5. สื่อระคน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กําแพง วัตถุจารึก (ศิลาจารึก) สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ

106. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารในสังคมกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม (1) วิทยุและโทรทัศน์
(2) หนังสือพิมพ์
(3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 94 – 95 สถาบันสื่อมวลชนนับว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้รับสาร (สาธารณชนหรือมวลชน) กับสถาบันอื่น ๆ หรือระหว่างสถาบันต่าง ๆ ในสังคมด้วยกันเอง จึงมีการเปรียบสื่อมวลชนว่า เป็นเสมือนสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้รับสารกับความเป็นจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมหรือในโลก เพราะไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ณ แห่งหนตําบลใด หรือในซีกโลกใด สื่อมวลชนก็สามารถ นํามาเสนอสู่สายตาของสาธารณชนได้

107. การตีความหมายสารของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะตรงกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดต่อไปนี้
(1) การถอดรหัส
(2) การรับรู้
(3) การแปลความหมาย
(4) สนามแห่งประสบการณ์ร่วม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

108. บุคคลที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ จะทําให้เกิดเหตุการณ์ใดต่อไปนี้
(1) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปสามารถคล้ายกันได้
(2) ความคิดและความเชื่อโดยทั่วไปไม่สามารถคล้ายกันได้
(3) ความคิดและความเชื่อยังคงเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

109. ผู้ใดต่อไปนี้เสนอว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันอยู่ในสภาพสมดุล
(1) Heider
(2) Herbert Mead
(3) Newcomb
(4) Herbert Blumer
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

110. แบบจําลองการสื่อสารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
(1) แบบจําลองที่แสดงโครงสร้างและแบบจําลองตัวแปร
(2) แบบจําลองแสดงหน้าที่และแบบจําลองแสดงเหตุการณ์
(3) แบบจําลองแสดงโครงสร้างและแบบจําลองแสดงหน้าที่
(4) แบบจําลองจัดระเบียบและแบบจําลองแสดงหน้าที่
ตอบ 3 หน้า 29 – 30 แบบจําลองการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. แบบจําลองที่แสดงโครงสร้างหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็น การย่อส่วนหรือจําลองของจริง เช่น แบบจําลองบ้านจัดสรรของโครงการหมู่บ้านต่าง ๆ
2. แบบจําลองที่แสดงหน้าที่หรือการทํางานของระบบ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น ภาพเชิงเส้นแสดงระบบการทํางาน เช่น แบบจําลองระบบการทํางานของสมองมนุษย์

111. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนของสมมุติฐาน มีหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) กําจัดความซับซ้อน
(4) กําจัดความไม่คงที่
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

112. แบบจําลองใดต่อไปนี้ที่เหมาะสมแก่การใช้วิเคราะห์การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองและการโน้มน้าวใจ
(1) แบบจําลองการสื่อสารของลาสเวลล์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูด
(3) แบบจําลองการสื่อสารของเอ็ดเวิร์ด สะเพียร์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของคาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

113. สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) ผู้ใดต่อไปนี้เป็นผู้นําวิธีนี้มาใช้
(1) Aristotle
(2) Fransis Bacon
(3) Francis Bacom
(4) Francis Bacon
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 101. ประกอบ

114. การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อเชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย เป็นการให้ความหมายของการสื่อสารโดยผู้ใดต่อไปนี้
(1) จอร์จ เอ. มิลเลอร์
(2) คาร์ล ไอ. โฮฟแลนด์
(3) ชาร์ลส์ อี. ออสกูด
(4) วิลเบอร์ ซแรมม
ตอบ 3 หน้า 4 ชาร์ลส์ อี. ออสกูด (Charles E. Osgood) กล่าวว่า “ความหมายโดยทั่วไป การสื่อสารจะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ส่งสาร มีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่าง 2 ฝ่าย

115. การสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้ที่มีทั้งสารประเภทข้อเท็จจริง สารประเภทข้อคิดเห็น สารประเภทความรู้สึก
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารสาธารณะ
(3) การสื่อสารในองค์การ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4หน้า 69 – 71 การสื่อสารมวลชนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จะมีเนื้อหาของสารทั้ง 3 ประเภทปรากฏอยู่ ได้แก่
1. สารประเภทข้อเท็จจริง ได้แก่ สารที่เป็นความจริง และสามารถตรวจสอบได้
2. สารประเภทข้อคิดเห็น ได้แก่ สารที่เป็นความรู้สึก แนวคิด และความเชื่อที่ไม่สามารถ ตรวจสอบความจริงได้
3. สารประเภทความรู้สึก ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ

116. ผู้รับสารในกระบวนการสื่อสารต้องมีบทบาทหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) การรับรู้ความหมายตามที่ผู้ส่งสารส่งมา
(2) การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร
(3) การถอดรหัสและการเข้ารหัส
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 75 ในกระบวนการสื่อสารนั้น ผู้รับสารมีบทบาทหน้าที่ขั้นพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1. การรับรู้ความหมายตามเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งผ่านสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงตน
2. การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสาร

117. จุดมุ่งหมายของการสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วย ทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นคือข้อใดต่อไปนี้
(1) ตัวแทน
(2) ตัวแปร
(3) แบบจําลอง
(4) สมมุติฐาน
ตอบ 2 หน้า 22 จุดมุ่งหมายสําคัญในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาก็เพื่อทําให้สามารถอธิบายได้ว่าเหตุการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะอะไร และยังช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก ทั้งนี้ โดยอาศัยสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งในการช่วยทํานายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ตัวแปรนั่นเอง

118. ใครเป็นผู้ให้ความหมายของการสื่อสารว่า “การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง”
(1) Cart I. Hoveland
(2) Warren W. Weaver
(3) George A. Miller
(4) Jurgen Ruesch
ตอบ 3 หน้า 3 จอร์จ เอ. มิลเลอร์ (George A. Miller) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอด ข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

119. สื่อในข้อใดต่อไปนี้เป็นการเรียกตามคุณลักษณะของสื่อ
(1) สื่อระหว่างบุคคล
(2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(3) สือเฉพาะกิจ
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

120. Communication Breakdown เกิดจากสาเหตุอะไรต่อไปนี้
(1) สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน
(2) ประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน
(3) วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 10, 14, (คําบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารกันอาจมีสิ่งรบกวนที่เรียกว่า “Noise” ทําให้ การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย หรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร และเกิดความล้มเหลว ในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่ตรงกัน สารที่ใช้ในการส่งถึงกันไม่ชัดเจน และประสบการณ์หรือภูมิหลังของแต่ละคนต่างกัน ฯลฯ

CDM2103 (MCS1151) ทฤษฎีการสื่อสาร 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1151 (MCS 1101) ทฤษฎีการสื่อสาร
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์
(1) สําคัญต่อการเป็นสังคม
(2) สําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
(3) สําคัญต่อวัด วัง บ้าน
(4) สําคัญต่อการดําเนินธุรกิจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 6 – 8 ความสําคัญของการสื่อสารที่มีต่อมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
1. ความสําคัญต่อความเป็นสังคม
2. ความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน
3. ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
4. ความสําคัญต่อการปกครอง
5. ความสําคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

2.อวัจนภาษา ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Verbal Message Codes
(3) Nonverbal Message Codes
(4) Nonverbal Communication.
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 2, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ใช่คําพูดหรืออวัจนภาษา (Nonverbal Language) เช่น ตํารวจจราจรคอยให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดตามสี่แยกบนท้องถนน, การที่คนสองคนได้พบหน้ากันแล้วต่างก็ยิ้มและพยักหน้าให้แก่กันโดยไม่มีการกล่าววาจาทักทาย การที่น้ำกับปุยฝ้ายยืนอยู่คนละฝั่งถนนแล้ว พยายามกวักมือเรียกปุยฝ้ายให้เดินข้ามถนนมาหาตน เป็นต้น

3.การสื่อสารเชิงวัจนะ ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Verbal Message Codes
(3) Nonverbal Message Codes
(4) Nonverbal Communication
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 2, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication ) คือ การสื่อสารที่มี การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งเป็นภาษาที่เป็นคําพูดหรือวัจนภาษา (Verbal Language) เช่น แดงพูดกับคําว่า “ทําไมมาสาย”, ส้มเขียนจดหมายถึงแฟนที่อยู่ต่างประเทศ เป็นต้น

4 การสื่อสารเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ภายใน-ภายนอก ตรงกับความสําคัญของการสื่อสารในข้อใดต่อไปนี้
(1) สําคัญต่อสังคมและธุรกิจ
(2) สําคัญต่อชีวิตประจําวันและธุรกิจ
(3) สําคัญต่อการเมืองและธุรกิจ
(4) สําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ความสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ คือ วงการอุตสาหกรรมและธุรกิจในปัจจุบันจําเป็นต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถตรวจสอบประชามติ หรือความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีต่อองค์กร โดยใช้วิธีการสื่อสารที่เรียกว่า “การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์” ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

5. นาย ก นั่งอยู่กับนาย ข แล้วพูดกับนาย ข ว่าเมื่อคืนมีขโมยมางัดประตูบ้าน จัดเป็นการสื่อสารประเภทใด ต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(3) การสื่อสารปัจเจกบุคคล
(4) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 39 – 42, (คําบรรยาย) การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) หรืออาจเรียกว่า การสื่อสารปัจเจกบุคคล, การสื่อสารตัวต่อตัว (Person-to-person) และการสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face-to-face) หมายถึง กระบวนการของการติดต่อสื่อสาร หรือการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่านั้นขึ้นไป อาจเป็น 3 คน เป็นการสื่อสารกลุ่มย่อยหรือกลุ่มเล็ก (Small Group) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจํานวนคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ในแต่ละสถานการณ์ โดยที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรงผ่านสื่อ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือสื่อที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาก็ได้

6. การสื่อสารของมนุษย์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งใดต่อไปนี้
(1) ความสัมพันธ์พื้นฐานทางสังคม
(2) หลักความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
(4) หลักความสัมพันธ์ระหว่างคู่การสื่อสาร
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 4 จากคําจํากัดความของ “การสื่อสาร” ทั้งหมด สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งหนึ่งที่ ความหมายเหล่านี้มีร่วมกัน คือ การสื่อสารของมนุษย์จะต้องตั้งอยู่บนหลักของความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน

7. สัญลักษณ์ หรือท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) รหัสสารเชิงวัฒนะ
(2) รหัสสารเชิงอวัจนะ
(3) การสื่อสารเชิงวัจนะ
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 68, (คําบรรยาย) รหัสสารเชิงอวัจนะ หรือรหัสของสารที่ไม่ใช้คําพูด (Nonverbal Message Codes) ได้แก่ ระบบสัญลักษณ์ สัญญาณ เครื่องหมาย หรือท่าทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร และไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ถ้อยคํา ซึ่งองค์ประกอบของรหัสสารเชิงอวัจนะ ได้แก่ เวลา, พื้นที่ เนื้อที่ และระยะห่าง, อากัปกิริยา (เช่น ภาษากาย ภาษาใบ้), สิ่งของ, ลักษณะทางร่างกาย (เช่น รูปร่าง สีหน้า สีผิว และส่วนสูง) และปริภาษา (สิ่งที่เกิดขึ้นแนบเนื่องกับภาษาพูดและ ภาษาเขียน เช่น การพูดเร็ว/พูดช้า ลายมือบรรจง/ลายมือหวัด ฯลฯ)

8.การสื่อสารสองทางตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Two-way Communicate
(2) Two-step Flow Communicate
(3) Two-way Communication
(4) Two-step Flow Communication
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 4- 5, 14, 53 – 54 การสื่อสารแบบสองทาง หรือการสื่อสารที่เป็นกระบวนการ 2 วิถี (Two-way Communication) คือ การสื่อสารที่หมายความรวมถึงการรับสาร ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หรือผลย้อนกลับที่เกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วตอบโต้กลับ และอันตรกิริยาหรือปฏิกิริยาที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร (Interaction)

9.จากเหตุการณ์ระเบิดที่ศาลพระพรหมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ บรรดานักข่าวพบนายกฯ ที่ทําเนียบรัฐบาล จึงพากันสอบถามนายกฯ ว่า มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ เหตุการณ์นี้เป็นการสื่อสารแบบใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(2) การสื่อสารกลุ่มเล็ก
(3) การสื่อสารปัจเจกบุคคล
(4) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10. ขณะที่เราหลับแล้วฝันว่าถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง จัดเป็นการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารภายในตัวบุคคล
(3) การสื่อสารเชิงวัจนะ
(4) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 7, 36, 38 – 39 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในระบบประสาทและความนึกคิดของบุคคล โดยอาศัย ระบบประสาทส่วนกลาง 2 ส่วน คือ Motor Skills ทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และ Sensory Skills ทําหน้าที่เป็นผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารกับตัวเองนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบรู้สึกตัว เช่น การพูดกับตัวเองการร้องเพลงคนเดียว การเล่นเกม (ในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ) การคิดคํานวณ การนึก การอ่านทวนจดหมายที่ตัวเองเขียนก่อนส่ง ฯลฯ และแบบไม่รู้สึกตัว เช่น การฝัน การละเมอ ฯลฯ

11. ตํารวจจราจรคอยให้สัญญาณมือและเป่านกหวีดตามสี่แยกบนท้องถนน การกระทําเช่นนี้ตรงกับคําตอบ
ข้อใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Message Codes
(4) Nonverbal Message Codes
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

12. One-way Communication ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) การดู ชม ฟัง อ่าน สื่อมวลชน
(2) กรเล่นไลน์
(3) การวิดีโอคอล
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (MCS 1150 (MCS 1100) เลขพิมพ์ 54110 หน้า 26) การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) คือ การสื่อสารที่เกิดจากผู้ส่งสารได้พูดบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสาร และ ส่งไปยังผู้รับสาร เมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น โดยไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับ (Feedback) เช่น การที่ผู้รับสารดู ชม ฟัง อ่าน สื่อมวลชนต่าง ๆ ในลักษณะที่ไม่ได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร เป็นต้น

13. การสื่อสารที่ไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาจมีสาเหตุมาจาก
สิ่งใดต่อไปนี้
(1) กรอบแห่งการอ้างอิงต่างกัน
(2) กรอบแห่งการอ้างอิงและประสบการณ์ร่วมต่างกัน
(3) การมีประสบการณ์ร่วมเดียวกัน
(4) การมีประสบการณ์ร่วมต่างกัน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 10, 14, 57, (คําบรรยาย) ในการติดต่อสื่อสารกันอาจมีสิ่งรบกวน (Noise) ที่ทําให้
การสื่อสารไม่บรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามเจตนารมณ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ทําให้เกิด ความล้มเหลวในการสื่อสารขึ้น (Communication Breakdown) เช่น วัตถุประสงค์ของ ผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ตรงกัน, สารที่ใช้ในการสื่อสารไม่ชัดเจน, กรอบแห่งการอ้างอิงและ ประสบการณ์ร่วมหรือภูมิหลังที่แตกต่างกัน ฯลฯ

14. การที่บุคคลอยากหาซื้อสินค้าแล้วเข้าไปเปิดอ่านโฆษณาจากเพจขายสินค้าในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ถือว่ามีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) เพื่อทราบ
(2) เพื่อการตัดสินใจ
(3) เพื่อความบันเทิง
(4) เพื่อความรู้
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 13 – 14 วัตถุประสงค์ของผู้รับสารประการหนึ่ง คือ เพื่อใช้ในการตัดสินใจหรือกระทํา สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Decide or Dispose) หมายถึง ผู้รับสารศึกษาทางเลือกต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจ หรือกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การที่ผู้รับสารดู ซม ฟัง อ่านโฆษณาเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้า หรือไม่ซื้อ, การฟังผู้สมัครรับเลือกตั้งปราศรัยหาเสียง ฯลฯ

15. การบอกกล่าวเรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไปยังประชาชนผู้รับสาร ตรงกับวัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสารในตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) แจ้งให้ทราบ
(2) เพื่อทราบ
(3) เพื่อให้การศึกษา
(4) เพื่อศึกษา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 10 – 11 วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารประการหนึ่ง คือ เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) หมายถึง ผู้ส่งสารต้องการบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดที่เกิดขึ้น ในสังคมไปยังประชาชนผู้รับสารให้ได้รับทราบหรือเกิดความเข้าใจ เช่น รายการข่าว วิเคราะห์ข่าว สนทนาเหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ

16. การสื่อสารจะประสบความสําเร็จมักมีองค์ประกอบหลายประการ แต่ข้อใดต่อไปนี้ที่ยกเว้น
(1) ปฏิกิริยาตอบกลับ
(2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
(3) การรับรู้ความหมายร่วมกันได้
(4) ความคุ้นเคย
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 4 – 5, 14, (คําบรรยาย) องค์ประกอบที่ทําให้การสื่อสารประสบความสําเร็จ มีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารสอดคล้องตรงกัน
2. การมีปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback)
3. ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
4. การรับรู้ความหมายร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย
5. กรอบแห่งการอ้างอิงและประสบการณ์ร่วมหรือภูมิหลังที่คล้ายคลึงกัน ฯลฯ

17. การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ตรงกับตัวเลือกใดต่อไปนี้
(1) Verbal Communication
(2) Nonverbal Communication
(3) Verbal Communicate
(4) Nonverbal Communicate
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

18. การที่คนสองคนได้พบหน้ากันแล้วต่างก็ยิ้มและพยักหน้าให้แก่กันโดยไม่มีการกล่าววาจาทักทาย การกระทํา ดังกล่าวนี้ถือเป็นการสื่อสารในรูปแบบใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(3) การสื่อสารปัจเจกบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19. การที่น้ํากับปุยฝ้ายยืนอยู่คนละฝั่งถนนแล้วน้ําพยายามกวักมือเรียกปุยฝ้ายให้เดินข้ามถนนมาหาตน
พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการสื่อสารในรูปแบบใด
(1) การสื่อสารเชิงวัฒนะ
(2) การสื่อสารเชิงวัจนะและอวัจนะ
(3) การสื่อสารเชิงอวัจนะ
(4) การสื่อสารกึ่งอวัจนะ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

20. การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีภาษาพูดที่แตกต่างกันแล้วมาคุยกัน หากคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ส่ง และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ นับเป็นการสื่อสารประเภทใดต่อไปนี้
(1) การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(2) การสื่อสารแบบตัวต่อตัว
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(4) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 44 – 45 ทฤษฎีการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่แบ่งโดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (Interracial Communication)
2. การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Cross-cultural or Intercultural Communication)
3. การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication)

21. ซีเบอร์ต ปีเตอร์สัน และชแรมม์ ได้เขียนหนังสือชื่อ Four Theories of the Press ไว้ในปี พ.ศ. ใดต่อไปนี้
(1) 2496
(2) 2497
(3) 2498
(4) 2499
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 15 – 16 ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ซีเบอร์ต (Siebert), ปีเตอร์สัน (Peterson) และชแรมม์ (Schramm) ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า Four Theories of the Press ซึ่งหนังสือ เล่มนี้ได้บรรยายเปรียบเทียบทฤษฎีหรือแนวคิดในเชิงปรัชญาการเมืองเกี่ยวกับการใช้และ การควบคุมสื่อมวลชนในประเทศต่าง ๆ ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างกัน

22. ผู้ที่แนะนําวิธีแสวงหาความรู้แบบ “อุปมานอย่างมีเหตุผล” คือผู้ใดต่อไปนี้
(1) อริสโตเติล
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) อริสโตเติล เบคอน
(4) ฟรานซิส อริสโตเติล
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นผู้คิดค้นวิธีตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดย วิธีอุปนัย (Induction) หรือการอุปมานอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เขียนขึ้นโดยที่ผู้วิจัย หรือผู้สํารวจขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ หรือเรื่องนั้นไม่เคยมีผู้ใดทําการวิจัยมาก่อน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องใช้วิธีการวิจัยขั้นสํารวจมาช่วยเพื่อให้สามารถสร้างสมมุติฐานขึ้นมาเองได้ ทั้งนี้ ถือเป็นวิธีการที่ได้ความรู้โดยการศึกษาคุณลักษณะของข้อมูลทีละหน่วย (Unit) หลาย ๆ หน่วย

23. องค์ประกอบหลัก ๆ ของทฤษฎีมีกี่ประการ
(1) 4 ประการ
(2) 5 ประการ
(3) 6 ประการ
(4) 7 ประการ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 19 – 20 (คําบรรยาย) ทฤษฎีมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่เป็นพื้นฐานสําคัญ 4 ประการ คือ
1. ชื่อแนวความคิด มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการบรรยายและแยกประเภท
2. สมมุติฐาน มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ในการวิจัย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบในการสร้างคําตอบล่วงหน้า หรือกําหนดสมมุติฐานในการวิจัย เป็นต้น
3. นิยาม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่อง ความหมายและการวัด เช่น การกําหนดความหมายของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นต้น
4. ความเชื่อม มีหน้าที่และความสําคัญในเรื่องเหตุผลและการทดสอบ (ทั้งนี้ทฤษฎีที่สมบูรณ์จริง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ประการ)

24. จากความหมายของทฤษฎีที่เคอร์ลินเจอร์กล่าวไว้ สามารถแยกเป็นความหมายย่อย ๆ ในข้อใดต่อไปนี้ (1) มีปัญหาที่ต้องพิสูจน์หรือแสดง
(2) มีข้อความสมมุติ
(3) มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 15, (คําบรรยาย) จากคําจํากัดความของทฤษฎีตามที่เคอร์ลินเจอร์ (Kerlinger) ได้กล่าวไว้นั้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประการ ดังนี้
1. กลุ่มของข้อความสมมุติหรือปัญหาที่จะต้องพิสูจน์หรือแสดง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสมมุติฐาน
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งเมื่อปฏิบัติลงไปแล้วจะแสดงผลให้เห็นอย่างเป็นระบบ ถีงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. มีการบอกทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

25. ในกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี จะต้องเริ่มต้นจากสิ่งใดต่อไปนี้
(1) มีปัญหา
(2) มีแนวคิด ทฤษฎี
(3) มีวัตถุประสงค์
(4) มีสมมุติฐาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 22 (คําบรรยาย) ในกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งทฤษฎี จะต้องเริ่มต้นที่ปัญหาของ การวิจัยที่ต้องการค้นหาคําตอบ แล้วจึงพิสูจน์ทดลอง วิเคราะห์ผล วัดผล จนเริ่มมีแนวคิดที่จะ อธิบายออกมาเป็นทฤษฎี โดยอาศัยการสังเกตค้นคว้าจากแนวการดําเนินงานอย่างมีระบบ ตามระเบียบวิธีวิจัย

26. การสร้างคําตอบล่วงหน้าในการวิจัย สามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการสร้าง
(1) แนวคิดและทฤษฎี
(2) วัตถุประสงค์ในการวิจัย
(3) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

27. ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ สิ่งที่ค้นพบจะเป็นที่ยอมรับได้ หรือมีความเป็นวิทยาศาสตร์ จะต้อง
อาศัยสิ่งใดต่อไปนี้
(1) ระเบียบวิธีวิจัย
(2) สถิติ
(3) แนวคิดและทฤษฎี
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ), (คําบรรยาย) ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อนิยามหรือ กําหนดความหมายของตัวแปรแล้ว เราจะวัดตัวแปรเหล่านั้นเพื่อให้สิ่งที่ค้นพบเป็นที่ยอมรับได้ และมีความน่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยสิ่งต่าง ๆ ดัง ดังนี้
1. ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology)
2. การใช้สถิติ
3. การสร้างข้อคําถามในการวัด
4. การใช้ข้อความสมมุติ (การตั้งสมมุติฐาน)
5. ใช้การสังเกตและทดลอง

28. องค์ประกอบของทฤษฎีในส่วนของความเชื่อม มีความสําคัญต่อสิ่งใดต่อไปนี้
(1) บรรยายและแยกประเภท
(2) วิเคราะห์
(3) เหตุผลและการทดสอบ
(4) ความหมายและการวัด
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

29. การกําหนดความหมายของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย นับเป็นองค์ประกอบของทฤษฎีในตัวเลือกใด
ต่อไปนี้
(1) ชื่อแนวคิด
(2) สมมุติฐาน
(3) นิยาม
(4) การจัดลําดับสมมุติฐาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

30. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของแบบจําลอง
(1) หน้าที่ในการจัดระเบียบ
(2) หน้าที่ในการทํานายหรือคาดการณ์
(3) หน้าที่ในการเป็นเครื่องมือที่แสดงภาพรวมทั้งหมด
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 30 – 31 หน้าที่ของแบบจําลองมี 4 ประการด้วยกัน คือ
1. จัดระเบียบและเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน
2. ทํานายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ
3. เป็นเครื่องมือแสดงภาพรวมทั้งหมดที่สลับซับซ้อนให้เป็นภาพหรือรูปที่ง่ายแก่การเข้าใจ
4. ทําให้ผู้ทํานายกําหนดทางเลือกหลาย ๆ ทางที่เกี่ยวเนื่องกับผลลัพธ์หรือสิ่งที่ได้คาดคะเนไว้

31. การที่กล่าวว่า หากมีปรากฏการณ์สองปรากฏการณ์ คือ A กับ B เกิดขึ้น เราสามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้ มากำหนดว่า หากมี A เกิดขึ้น B จะเกิดขึ้นตามมา
(1) ทฤษฎี
(2) ตัวแปร
(3) สมมุติฐาน
(4) แนวคิด
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 21 – 22 ทฤษฎีจะมีหน้าที่สําคัญประการหนึ่ง ได้แก่ การทํานายหรือคาดคะเน หมายถึง การคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์อย่างน้อย 2 ปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่งทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น เหตุการณ์ A กับ เหตุการณ์ 8 ทฤษฎีจะช่วยคาดคะเนได้ว่า ในสถานการณ์หนึ่ง ถ้ามี A เกิดขึ้น B ก็จะเกิดขึ้น ตามมา หรือถ้ามี B แล้วจะมี A เป็นต้น

32. จากข้อ 31. นับเป็นการใช้ตามหน้าที่ใดต่อไปนี้
(1) อธิบาย
(2) ทํานาย
(3) คาดคะเน
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33. จากการบรรยายในชั้นเรียนวิชานี้ หากจะต้องให้คําจํากัดความของคําว่า เจตคติต่อวิทยาศาสตร์
จะหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) การมีความสนใจวิทยาศาสตร์
(2) การเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 20, (คําบรรยาย) คําว่า “เจตคติต่อวิทยาศาสตร์” สามารถให้คําจํากัดความหรือ คํานิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้
1. คํานิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของ บุคคลที่มีต่อวิทยาศาสตร์
2. คํานิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง การมีความสนใจและการเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์

34. จากการบรรยายในชั้นเรียนวิชานี้ หากจะต้องให้คําจํากัดความของคําว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์
จะหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) การมีความสนใจวิทยาศาสตร์
(2) การเห็นความสําคัญของวิทยาศาสตร์
(3) ความมีเหตุผล
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 20, (คําบรรยาย) คําว่า “เจตคติทางวิทยาศาสตร์” สามารถให้คําจํากัดความหรือ คํานิยามตามองค์ประกอบของทฤษฎีได้ ดังนี้
1. คํานิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น และแนวโน้มการแสดงออกของบุคคลที่ แสดงถึงคุณลักษณะนิสัย อันเกิดจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. คํานิยามเชิงปฏิบัติ หมายถึง ความมีเหตุผล ความสนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ และความมีใจกว้าง

35. ในกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อกําหนดความหมายของตัวแปรแล้ว เราจะวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ด้วย
วิธีการใดต่อไปนี้
(1) สร้างข้อคําถามในการวัด
(2) ใช้สถิติ
(3) ใช้การสมมุติ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

36. จากข้อ 35. เราจะต้องทําอย่างไรต่อไปเพื่อให้การศึกษาของเรามีความน่าเชื่อถือและยอมรับได้
ทางวิทยาศาสตร์
(1) ใช้การทดลอง
(2) ใช้สถิติ
(3) ใช้การสังเกต
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

37. แบบจําลองมีประโยชน์อย่างไรต่อไปนี้
(1) นํามาใช้อธิบายตัวแปรต่าง ๆ
(2) ทําให้เรื่องยากลดความซับซ้อน
(3) สามารถสร้างความเกี่ยวโยงของตัวแปรที่ศึกษาได้ชัดเจน
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 32 ประโยชน์ของแบบจําลอง มีดังนี้
1. นํามาใช้อธิบายตัวแปรต่าง ๆ และสร้างความเกี่ยวโยงกันของตัวแปรที่ศึกษาได้อย่าง
ชัดเจนกว่าการอธิบายทฤษฎีหรือแนวคิดด้วยการเขียนคําอธิบายหรือการใช้คําพูด
2. ทําให้เรื่องยากที่สลับซับซ้อนลดความซับซ้อนลงได้ โดยอาศัยภาพเชิงเส้นจําลองเป็น
กระบวนการทั้งหมด
3. ทําให้นักวิชาการหรือนักวิจารณ์ในสาขานั้น ๆ ทํางานได้ง่ายขึ้น

38. การกําหนดสมมุติฐานในการวิจัย มักได้มาจากสิ่งใดต่อไปนี้
(1) แนวคิด
(2) ทฤษฎี
(3) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

39. จากตัวอย่างงานวิจัยที่ได้บรรยายในชั้นเรียน สามารถใช้สิ่งใดต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษา
(1) แนวคิดการเปิดรับสื่อ
(2) ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ
(3) แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (ดูคําอธิบายข้อ 33. และ 34. ประกอบ), (คําบรรยาย) จากตัวอย่างงานวิจัยที่ได้บรรยายใน ชั้นเรียน สามารถใช้แนวคิดและทฤษฎีมาเป็นกรอบในการศึกษา ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของ ครอบครัว แผนการเรียน ฯลฯ
2. ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ หรือแนวคิดการเปิดรับสื่อ (ในที่นี้คือ การเปิดรับรายการ วิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ ได้แก่ ความถี่ และความตั้งใจในการเปิดรับ)
3. ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับจากสื่อ (ในที่นี้คือ ความพึงพอใจรายการวิทยาศาสตร์ทางโทรทัศน์ ได้แก่ รูปแบบและเนื้อหารายการ)

40. อริสโตเติล กล่าวถึง การอนุมานอย่างมีเหตุผลว่า แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนตามลําดับอะไรบ้าง
(1) ข้อเท็จจริงหลัก ข้อเท็จจริงรอง ข้อสรุป
(2) ข้อสรุป ข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลัก
(3) ข้อเท็จจริงรอง ข้อเท็จจริงหลัก ข้อสรุป
(4) ข้อเท็จจริงหลัก ข้อสรุป ข้อเท็จจริงรอง
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 27 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้คิดค้นและนําวิธีการตั้งสมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยนิรนัย (Deduction) หรือการอนุมานอย่างมีเหตุผลมาใช้ ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลงาน การวิจัยที่มีมาก่อน หรือจากสามัญสํานึก หรือเป็นสมมุติฐานที่นิรนัยมาจากทฤษฎี ทั้งนี้สามารถ แบ่งวิธีอนุมานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. ข้อเท็จจริงหลัก 2. ข้อเท็จจริงรอง 3. ข้อสรุป

41.นอกจากคําว่า ทฤษฎี ยังมีคําศัพท์อื่นที่ใช้แทนกันได้ คําศัพท์นั้นตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) Theory
(2) Model
(3) Paradigm
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 20 นอกจากคําว่า “ทฤษฎี” (Theory) แล้ว ยังมีศัพท์อื่นอีก 2 คํา ที่ใช้สับเปลี่ยน คํา ที่
แทนกันอยู่เสมอ คือ Model และ Paradigm ซึ่งความจริงแล้วทั้ง 3 คํา มีความหมายที่ คล้ายคลึงกันมาก แตกต่างกันเฉพาะในสาระปลีกย่อยเท่านั้นเอง

42. ทฤษฎีที่คิดค้นและวิวัฒนาการหรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น ตรงกับตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้
(1) Theory
(2) Model
(3) Paradigm
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 21 Paradigm หมายถึง แบบจําลองหรือทฤษฎีที่ประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการ มาจากศาสตร์หรือวิชาการ (Discipline) ต่างสาขากัน หรือยืมมาจากสาขาวิชาอื่น ส่วน Model หมายถึง แบบจําลองหรือทฤษฎีที่ประดิษฐ์คิดค้นและวิวัฒนาการหรือพัฒนา มาจากศาสตร์ภายในสาขาวิชาแขนงเดียวกัน

43. สมมุติฐานที่เกิดขึ้นโดยการคาดการณ์คําตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ และประสบการณ์ เรียกว่าอย่างไร
(1) Deduction
(2) Deductive
(3) Induction
(4) Inductive
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

44. เหตุใดจึงมีผู้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกับการวิจัยเป็นของคู่กัน
(1) ทฤษฎีช่วยแนะแนวการวิจัย
(2) ทฤษฎีกําหนดขอบเขตการวิจัย
(3) ผลการวิจัยช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของทฤษฎี
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 22, (คําบรรยาย) ร.ศ.อรนุช เลิศจรรยารักษ์ และอาจารย์ดาราวรรณ สุขุมาลชาติ กล่าวไว้ ในหนังสือทฤษฎีการสื่อสารเบื้องต้นว่า ทฤษฎีเป็นบรรทัดฐานในการแนะแนวการวิจัยและยังช่วย กําหนดขอบเขตการวิจัยได้ ส่วนผลการวิจัยก็เป็นสิ่งเกื้อหนุนหรือช่วยส่งเสริมให้ทฤษฎีก้าวหน้าได้
และขณะเดียวกันการวิจัยก็เป็นสิ่งที่ทําให้ได้มาซึ่งทฤษฎี ดังนั้นทฤษฎีกับการวิจัยจึงเป็นของคู่กัน

45. ตั้งแต่เกิดจนโต ฟ้าอยู่เมืองไทยมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นจะต้องร้องเพลงชาติไทยได้ จัดเป็นการอนุมาน แบบใดต่อไปนี้
(1) ข้อสรุปถูกต้อง
(2) ข้อเท็จจริงหลักไม่แน่นอนเสมอไป
(3) จริงแท้แน่นอน
(4) หลักจริงแท้แน่นอน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 27, (ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ) วิธีการอนุมานอย่างมีเหตุผลข้างต้น จําเป็นต้องอาศัย ข้อเท็จจริงหลักเป็นสําคัญ เพราะถ้าไม่มีข้อเท็จจริงหลัก การได้ความรู้ด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถ เกิดขึ้นได้ หรือถ้ามีข้อเท็จจริงหลักแต่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป การสรุปก็จะไม่มี ความหมาย เช่น คนที่อยู่เมืองไทยต้องพูดภาษาไทยได้ (ข้อเท็จจริงหลัก) ตั้งแต่เกิดจนโต ฟ้าอยู่เมืองไทยมาโดยตลอด (ข้อเท็จจริงรอง) เพราะฉะนั้นจะต้องร้องเพลงชาติไทยได้ (ข้อสรุป) ในกรณีนี้ข้อสรุปอาจไม่ถูกต้อง เพราะข้อเท็จจริงหลักไม่แน่นอนเสมอไปว่าจะเป็นจริง เนื่องจากคนที่อยู่เมืองไทยมาโดยตลอดอาจเป็นคนต่างชาติที่พูดภาษาไทยไม่ได้

46. รูปแบบการสื่อสารแบบใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุดสําหรับการสื่อสารมวลชน
(1) รูปแบบการสั่งการ
(2) รูปแบบการบริการ
(3) รูปแบบการเป็นสมาชิก
(4) รูปแบบความพึงพอใจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 113 – 116 รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. แบบการสั่งการ (Command Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร จะไม่มีความเสนอภาคกัน
2. แบบการบริการ (Service Mode) คือ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารจะมี สถานภาพเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสําหรับกระบวนการสื่อสารมวลชน
3. แบบการเป็นสมาชิก (Association Mode) คือ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็นแบบอย่าง ของความผูกพันหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน

47. รูปแบบการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีสถานภาพเท่าเทียมกัน
(1) รูปแบบการสั่งการ
(2) รูปแบบการบริการ
(3) รูปแบบการเป็นสมาชิก
(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48. รูปแบบการสื่อสารแบบบริการ เกี่ยวข้องกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Audience Behavior
(2) Media Audience Link
(3) Mass Society
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 117 รูปแบบของการสื่อสารแบบการบริการ (Service Mode) ตรงกับประเด็นของ ทฤษฎีสื่อสารมวลชน ดังนี้
1. Commercialization (การค้าการพาณิชย์)
2. Audience Behavior (พฤติกรรมของผู้รับสาร)
3. Communication Market (ตลาดการสื่อสาร) 4. Information Society (สังคมข้อมูลข่าวสาร)

49. รูปแบบการสื่อสารแบบการสั่งการ เกี่ยวข้องกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Audience Behavior
(2) Media Audience Link
(3) Mass Society
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3
หน้า 117 รูปแบบของการสื่อสารแบบการสั่งการ (Command Mode) ตรงกับประเด็น ของทฤษฎีสื่อสารมวลชน ดังนี้
1. Propaganda (การโฆษณาชวนเชื่อ)
2. Manipulation (การจัดการ)
3. Mass Society (สังคมมวลชน)
4. Class Dominance (การมีอิทธิพลเหนือกว่าด้านชนชั้น)

50. รูปแบบการสื่อสารแบบการเป็นสมาชิก เกี่ยวข้องกับสิ่งใดต่อไปนี้
(1) Audience Behavior
(2) Media Audience Link
(3) Mass Society
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 117 รูปแบบของการสื่อสารแบบการเป็นสมาชิก (Association Mode) ตรงกับประเด็น
ของทฤษฎีสื่อสารมวลชน ดังนี้
1. Participation and Interaction (การมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์)
2. Social Fragmentation (การแบ่งแยกทางสังคม)
3. Normative Media Theory (ทฤษฎีสื่อปทัสถาน)
4. Media Audience Link (ความเกี่ยวข้องของผู้รับสารกับสื่อ)

51. ผู้ใดต่อไปนี้บอกว่าสังคมใดต้องการก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลมักไม่สามารถหลีกเลี่ยงวัฒนธรรมมวลชนได้
(1) Bluner
(2) Baumer
(3) Blumer(4) Bauman(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 120 Baumen ได้อธิบายว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) เป็นผลผลิตที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของกระบวนการที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลของสังคมสมัยใหม่ โดยความรุ่งโรจน์ของการตลาด การประสบความสําเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ และ ความหลากหลายของเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ได้สร้างให้เกิดผลิตผลทางวัฒนธรรมขึ้นมา

52.ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และเข้ากันได้กับชีวิตประจําวันของประชาชนในท้องถิ่นนั้น
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 119 – 120 Wilensky กล่าวว่า วัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้แก่ วัฒนธรรมที่เกิดจากประชาชน อาจเกิดขึ้นก่อนหรือไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับสื่อมวลชน โดยวัฒนธรรมพื้นบ้านแท้ ๆ ได้ถูก ค้นพบเมื่อประมาณศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีเนื้อหามาจากวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และต้องเข้ากันได้กับ ชีวิตประจําวันของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทําให้ในบางครั้งวัฒนธรรมพื้นบ้านอาจถูก พวกสังคมชั้นสูงรังเกียจว่าเชยหรือล้าสมัย
เพราะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและไม่เป็นไปตามสมัยนิยม

53. ข้อใดต่อไปนี้มักเป็นสิ่งที่พวกสังคมชั้นสูงรังเกียจว่าเชยหรือล้าสมัย
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง มรดกของสังคม เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิตของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 119 ในแนวของสังคมศาสตร์ อธิบายว่า “วัฒนธรรม” หมายถึง มรดกของสังคม เป็นลักษณะเฉพาะในการดํารงชีวิตของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย

55. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีแบบแผน
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 121 – 122 วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ชนิดของสถาบัน จะขึ้นอยู่กับสื่อและตลาด
2. ชนิดขององค์กรเพื่อการผลิต จะผลิตขึ้นจํานวนมากเพื่อตลาดขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีแบบแผนและการจัดการเป็นอย่างดี
3. เนื้อหาและความหมายของผลผลิต มีลักษณะผิวเผิน ชัดเจนเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
4. ผู้รับสาร จะเป็นคนทุกคนที่มีความหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้บริโภค
5. วัตถุประสงค์ของการใช้และประสิทธิผล เพื่อความพอใจอย่างฉับพลันหรือความเพลิดเพลิน

56. ข้อใดต่อไปนี้ที่มีเนื้อหาและความหมายของผลผลิต มีความชัดเจนและมีความเป็นสากล แต่ไม่ยั่งยืน
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมขั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57. ข้อใดต่อไปนี้ที่เน้นว่าผลผลิตจะต้องมีมาตรฐานที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค ผลงาน
อยู่ภายใต้รูปแบบศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์
(1) วัฒนธรรม
(2) วัฒนธรรมชั้นสูง
(3) วัฒนธรรมพื้นบ้าน
(4) วัฒนธรรมมวลชน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 119 Wilensky ให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมชั้นสูงมีความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นผลงานที่อยู่ภายใต้รูปแบบประเพณีทางศิลปะ วรรณคดี หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้น 2. เป็นผลงานที่ผลิตขึ้นเพื่อตลาดขนาดใหญ่หรือภายใต้การกํากับของคนชั้นสูงโดยเน้นว่าผลผลิตนั้นจะต้องมีมาตรฐานที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคด้วย

58. แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ ผู้ส่งสารมักมีจุดมุ่งหมายใดต่อไปนี้
(1) การถ่ายทอดความหมาย
(2) การแสดง
(3) การเปิดเผย การแสดง การประกาศแจ้งความ
(4) ความสนใจ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ (Attention Model) มีจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร คือ การเปิดเผย การแสดง และการประกาศแจ้งความ ส่วนจุดมุ่งหมายของผู้รับสาร คือ ความสนใจ และการเฝ้าดูเหตุการณ์

59. แบบจําลองการสื่อสารของการรวบรวมและมอบความใส่ใจ ผู้รับสารมักมีจุดมุ่งหมายใดต่อไปนี้
(1) กระบวนการสร้างองค์ความรู้
(2) ความพอใจ/การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
(3) ความสนใจ การเฝ้าดูเหตุการณ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60. รูปแบบการไหลของข่าวสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะกับสื่อแพร่ภาพและการกระจายเสียง
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
(5) Command Mode
ตอบ 1 หน้า 126 – 128 รูปแบบการไหลของข่าวสาร (Flow of Information) แบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. Allocation คือ การส่งจดหมายตรงจากผู้นําถึงผู้ตาม ซึ่งจะเหมาะกับสื่อการกระจายเสียง และแพร่ภาพของชาติที่มักมีอิทธิพลโดยตรง รวดเร็ว และทันทีทันใดกับผู้รับสาร
2. Consultation คือ การให้คําแนะนําปรึกษาหารือ มักพบในสื่อหนังสือพิมพ์และการสื่อสาร ระหว่างบุคคลที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน แต่มีความผูกพันกัน
3. Conversation คือ การสนทนา ซึ่งผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจมีสถานภาพเท่าเทียมกันหรือ เหนือกว่ากันก็ได้ จึงเป็นการไหลแบบพื้น ๆ ที่มักพบเห็นได้ทั่วไป
4. Registration คือ การจดบันทึกหรือขึ้นทะเบียน

61. รูปแบบการไหลของข่าวสารใดต่อไปนี้ที่เหมาะกับสื่อหนังสือพิมพ์
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
(5) Command Mode
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

62. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการไหลของข่าวสารที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีสถานภาพไม่เท่าเทียมกัน
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
(5) Command Mode
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

63. ผู้ส่งสารอาจมีสถานภาพเท่าเทียมกันหรือเหนือกว่าผู้รับสารก็ได้ ตรงกับรูปแบบของการสื่อสารใดต่อไปนี้
(1) Allocution
(2) Consultation
(3) Conversation
(4) Service Mode
(5) Command Mode
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ

64. ผู้ใดต่อไปนี้มองว่านักการสื่อสารเป็นเสมือนช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้ต้องการพูดกับสาธารณชนที่ บุคคลเหล่านั้นต้องการเข้าถึง โดยมีลักษณะเป็นกลางและไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ
(1) Westley
(2) Maclean ·
(3) James Carey
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 128 Westley and Maclean กล่าวว่า นักการสื่อสารเป็นเสมือนช่องทางการสื่อสาร ระหว่างผู้ต้องการพูดในสังคม (Acvocates หรือผู้สนับสนุน) กับสาธารณชนที่บุคคลเหล่านั้น ต้องการเข้าถึงหรือพูดด้วย โดยบทบาทของนักสื่อสารมวลชนจะต้องมีลักษณะเป็นกลางและ ไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ

65. การเก็บรวบรวมข่าวสารแบบศูนย์กลาง เกี่ยวข้องกับการไหลของข่าวสารรูปแบบใดต่อไปนี้
(1) Allocution
(2) Conversation
(3) Registration
(4) Consultation
(5) ถูกทั้งข้อ 1 และ 4
ตอบ 5หน้า 125, (ดูคําอธิบายข้อ 60. ประกอบ) การเก็บรวบรวมข่าวสาร (Information Store) แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
1. แบบศูนย์กลาง (Central) จะเกี่ยวข้องกับการไหลของข่าวสารแบบ Allocation และ
Consultation
2. แบบส่วนบุคคล (Individual) จะเกี่ยวข้องกับการไหลของข่าวสารแบบ Registration
และ Conversation

66. การเก็บรวบรวมข่าวสารแบบส่วนบุคคล เกี่ยวข้องกับการไหลของข่าวสารในข้อใดต่อไปนี้
(1) Allocution
(2) Conversation
(3) Registration
(4) Consultation
(5) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

67. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาสาระของสาร ชนิดของสื่อ ผู้รับสารและผลที่เกิดจากการกระทําของการสื่อสาร
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(5) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 4 หน้า 51 – 53 แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ระบุว่า วิธีที่สะดวก ที่จะอธิบายการกระทําการสื่อสารก็คือ การวิเคราะห์และตอบคําถามต่าง ๆ ดังนี้
1. ใคร (ผู้ส่งสารหรือแหล่งสาร)
2. กล่าวอะไร (สารหรือเนื้อหาสาระของสาร)
3. ผ่านช่องทางใด (สื่อหรือชนิดของสื่อ)
4. ถึงใคร (ผู้รับสาร)
5. เกิดผลอะไร (ผลที่เกิดจากการกระทําการสื่อสาร)

68. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่ไม่สามารถนําไปอธิบายการสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็กในระดับ
สังคมที่ใหญ่โต
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ซแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(5) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 1 หน้า 61 – 63 แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของธีโอดอร์ นิวคอมบ์ (Newcomb) จัดเป็น แบบจําลองเชิงจิตวิทยาที่เน้นว่า การสื่อสารเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการให้เกิดความสมดุล หรือเกิดความเหมือนกันทางความคิด ทัศนคติ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมองว่า การสื่อสารระหว่างตัวต่อตัวจะทําให้ความคิดหรือทัศนคติของบุคคลทั้งสองเกี่ยวกับเรื่องเดียวกัน อยู่ในสภาพสมดุล จึงเป็นแบบจําลองที่ไม่สามารถนําไปอธิบายการสื่อสารของกลุ่มขนาดเล็ก ในระดับสังคมที่ใหญ่โตได้ เพราะสังคมที่ใหญ่นั้นมนุษย์มิได้มีความต้องการที่จะให้เหมือนกันหรือไม่สามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้เหมือนในระดับบุคคล

69. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องกระทําหน้าที่เข้ารหัส
ถอดรหัส และตีความ
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(5) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 3 หน้า 55 – 57 แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ซแรมม์ ซึ่งได้เสนอไว้เมื่อปี พ.ศ. 2497 จะมีลักษณะเป็นวงกลมที่เน้นให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องกระทําหน้าที่ อย่างเดียวกันในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือ การเข้ารหัส (Encoding) การถอดรหัส (Decoding) และการตีความ (Interpreting) ซึ่งการตีความหมายสารของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารจะคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันเพียงไรต้องดูที่สนามแห่งประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) และ กรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of Reference) ของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสําคัญ

70. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้เน้นว่า ใคร กล่าวอะไร ผ่านช่องทางใด ถึงใคร และเกิดผลอย่างไร
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(5) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 67. ประกอบ

71. แบบจําลองการสื่อสารของผู้ใดต่อไปนี้ที่เน้นว่า ผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างต้องมีคุณสมบัติเรื่องทักษะ ในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(5) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 5 หน้า 59 – 61 แบบจําลองการสื่อสาร SMCR ของเดวิด เค. เบอร์โล ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ส่งสาร และผู้รับสารจะทําหน้าที่ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ คือ
1. ทักษะในการสื่อสาร
2. ทัศนคติ
3. ความรู้
4. ระบบสังคม
5. ระบบวัฒนธรรม

72. แบบจําลองการสื่อสารใดต่อไปนี้ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบจําลองเชิงเส้นตรงที่เกิดจากการกระทํา ของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว
(1) แบบจําลองการสื่อสาร ABX ของนิวคอมบ์
(2) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้นและวีเวอร์
(3) แบบจําลองการสื่อสารของออสกูดและวิลเบอร์ ชแรมม์
(4) แบบจําลองการสื่อสารของฮาโรลด์ ดี. ลาสเวลล์
(5) แบบจําลองการสื่อสารของเดวิด เค. เบอร์โล
ตอบ 2 หน้า 48 – 49, (คําบรรยาย) แบบจําลองการสื่อสารของแชนนั้น (Shannon) และวีเวอร์ (Weaver) เป็นแบบจําลองกระบวนการสื่อสารทางเดียวในเชิงเส้นตรงที่ถือว่า การสื่อสาร เกิดขึ้นจากการกระทําของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพียงฝ่ายเดียว (ไม่สนใจ Feedback ของ ผู้รับสาร) ซึ่งมีองค์ประกอบของการกระทําการสื่อสารอยู่ 6 ประการ ดังนี้
1. แหล่งสารสนเทศ
2. ตัวถ่ายทอด
3. สาร
4. ผู้รับสารหรือเครื่องรับ
5. จุดมุ่งหมายปลายทาง
6. แหล่งเสียงรบกวน

73. การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชน เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้
(1) บทบาทของสื่อมวลชน
(2) บทบาทของนักสื่อสารมวลชน
(3) บทบาทของมวลชน
(4) บทบาทของนักวิชาการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94, 98 – 99 การศึกษาโครงร่างความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะมีความเกี่ยวข้อง กับบทบาทหน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในสังคม คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ ในสังคม
2. บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณชนหรือสาธารณะ คือ ลักษณะความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสาธารณชนหรือมวลชนผู้รับสารโดยทั่วไปในสังคม

74. สถาบันสื่อสารมวลชนจะมีการทําหน้าที่ในลักษณะใดต่อไปนี้
(1) การผลิตและแพร่กระจายความรู้
(2) เป็นสถาบันที่ไม่มีอํานาจในตัวเอง
(3) เชื่อมโยงกลุ่มคนกับคนอื่น ๆ
(4) เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5หน้า 91 – 92 สถาบันสื่อสารมวลชน (The Mass Media Institution) มีลักษณะดังนี้
1. มีหน้าที่ผลิตและแพร่กระจายความรู้ในรูปข่าวสาร ความคิด และวัฒนธรรม
2. เป็นช่องทางเชื่อมโยงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกับคนอื่น ๆ
3. มีบรรยากาศของความเป็นสาธารณะ
4. การมีส่วนร่วมของผู้ชม ผู้ฟังในสถาบันสื่อเป็นไปโดยสมัครใจ
5. มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและธุรกิจการตลาดในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน
6. ไม่มีอํานาจในตัวเอง แต่มักจะเกี่ยวข้องกับอํานาจรัฐอยู่เสมอ

75. การศึกษาสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบมีสาเหตุมาจากเรื่องใดต่อไปนี้
(1) กิจการสื่อสารมวลชนโตเร็ว
(2) เทคโนโลยีก้าวหน้ารวดเร็ว
(3) ผู้รับสารมีการศึกษาสูงขึ้น
(4) การเมืองพัฒนาการเร็วมาก
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 90 – 91 สาเหตุที่สื่อมวลชนได้รับความสนใจ และมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีดังนี้
1. กิจการสื่อมวลชนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. สื่อมวลชนมีบทบาทควบคุมการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ
3. สื่อมวลชนเปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสภาพการดํารงชีวิตของคนในสังคมมากขึ้น
4. สื่อมวลชนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
5. สื่อมวลชนก่อให้เกิดค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิด และรูปแบบการตัดสินใจของปัจเจกชน

76. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับบทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ
(1) รับข้อมูลจากสถาบันส่งต่อสาธารณชน
(2) สามารถเข้าถึงมวลชนทุกระดับโดยมีค่าใช้จ่ายปานกลาง
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชนขึ้นอยู่กับโอกาส
(4) สื่อมวลชนส่งข่าวถึงประชาชนได้ทัดเทียมกับสถาบันอื่น ๆ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 93 – 94 บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ต่าง ๆ มีดังนี้
1. ทําหน้าที่รับข้อมูลจากสถาบันต่าง ๆ ส่งต่อสาธารณชน
2. สามารถเข้าถึงมวลชนทุกระดับได้ อย่างเต็มใจและเปิดเผย โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับมวลชนมีความพอดีกัน
4. สื่อมวลชนส่งข่าวสารถึงประชาชนจํานวนมากกว่าและในระยะยาวกว่าสถาบันอื่น ๆ

77. สื่อมวลชนในบทบาทของการเป็นสื่อกลางของสาธารณะนั้น สาธารณชนจะมีภาพลักษณ์ต่อสื่ออย่างไรต่อไปนี้
(1) เป็นหน้าต่างที่ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น
(2) สื่อมวลชนกรองข่าวเข้าข้างผู้มีอํานาจทางการเมือง
(3) สื่อทําหน้าที่เพียงบอก 5W1H
(4) สื่อเป็นกระจกสะท้อนภาพของสังคมตามแนวทางของตน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 94 – 96, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสื่อกลางของสาธารณะ จะมีภาพลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. เป็นหน้าต่างสู่ประสบการณ์ คือ ทําให้ผู้รับสารมีโลกทัศน์ที่ กว้างขึ้น โดยการบอกให้ประชาชนทราบอย่างปราศจากอคติว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทําไม
2. เป็นผู้ให้ความกระจ่างแจ้งกับประเด็นหรือชี้ปมปัญหาของเหตุการณ์ต่าง ๆ
3. เป็นเวทีหรือตัวกลางในการปะทะสังสรรค์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4. เป็นตัวกรองข่าว ซึ่งจะต้องกระทําอย่างตั้งใจ มีหลักเกณฑ์เป็นระบบ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. เป็นกระจกสะท้อนภาพของสังคม โดยภาพนี้จะเป็นไปตามที่สังคมต้องการเสมอ ฯลฯ

78. จากโครงร่างการศึกษาความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนนั้นได้มีการแบ่งเป็นปีกบนและปีกล่าง คําทั้งสองหมายถึงข้อใดต่อไปนี้
(1) ปีกบน หมายถึง บทบาทความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์
ปีกล่าง หมายถึง บทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ
(2) ปีกบน หมายถึง บทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ
ปีกล่าง หมายถึง บทบาทความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์
(3) ปีกบน หมายถึง ชุมชน องค์กร สมาคม
ปีกล่าง หมายถึง เรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
(4) ปีกบน หมายถึง สถาบันต่าง ๆ
ปีกล่าง หมายถึง เรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 96 – 99, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ) จากโครงร่างของการศึกษา ความเป็นสื่อกลางของสื่อมวลชนจะเห็นว่า สื่อมวลชน (องค์กรสื่อ) อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 ปีก คือ
1. ปีกบน หมายถึง สถาบันต่าง ๆ ที่มีอํานาจไม่อาจเอื้อมถึง ซึ่งสร้างเรื่องราวเหตุการณ์ ต่าง ๆ เอง (ตรงกับบทบาทความเป็นสื่อกลางของความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ)
2. ปีกล่าง หมายถึง ผู้รับสาร คือ ชุมชน องค์กร สมาคมต่าง ๆ และปัจเจกชนที่คอยดูแล ความเปลี่ยนแปลงในสังคม (ตรงกับบทบาทความเป็นสื่อกลางของสาธารณะ)

79. หนังสือพิมพ์เพื่อการค้า ตรงกับคําในข้อใดต่อไปนี้
(1) The Commercian Paper
(2) The Commercial Newspaper
(3) The Commerce Paper
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 82 ในศตวรรษที่ 17 การผลิตหนังสือพิมพ์ได้เริ่มมีผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และมีการผลิต หนังสือพิมพ์เพื่อการค้า (The Commercial Newspaper) มากขึ้น ในขณะที่สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ของทางราชการยังคงมีลักษณะเป็นกระบอกเสียงของผู้มีอํานาจและเป็นเครื่องมือของรัฐ

80 The Rise of Broadcasting มีความหมายตรงกับข้อใดต่อไปนี้
(1) ยุคของสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ
(2) ยุคทองของสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ
(3) ความเจริญของสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 83 ยุคทองของหนังสือพิมพ์ดูเหมือนว่าจะสะดุดลง เมื่อถึงยุคของสื่อกระจายเสียงและ แพร่ภาพ (The Rise of Broadcasting) คือ เริ่มมีสื่อวิทยุและสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมา

81. การศึกษาถึงลักษณะการเติบโตของการอ่านหนังสือพิมพ์ ต้องคํานึงถึงสิ่งใดต่อไปนี้
(1) ต้องดูตลาดหนังสือพิมพ์ในฐานะสื่อของการโฆษณาและความบันเทิง
(2) ต้องดูตลาดของการอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อเนื้อหาสาระด้านการเมือง
(3) ต้องแยกแยะระหว่างข้อ 1 และข้อ 2 ให้เห็นเด่นชัด
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 83 การศึกษาถึงลักษณะการเติบโตของการอ่านหนังสือพิมพ์ เราจําเป็นต้องดูและแยกแยะ ให้เห็นเด่นชัดระหว่างตลาดของหนังสือพิมพ์เพื่อการค้า ซึ่งกําลังเติบโตขึ้นในฐานะสื่อของ
การโฆษณาและความบันเทิง กับตลาดของการอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อเนื้อหาสาระในด้านการเมือง

82. ผู้ใดต่อไปนี้กล่าวว่า วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แตกต่างจากสื่อมวลชนอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ คือ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อส่งและรับข้อมูลโดยกระบวนการที่
ซับซ้อนกว่าเดิม
(1) Raymond Williams
(2) Raymond William.
(3) Raymon Williams
(4) Raymon William
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 88 คํากล่าวข้างต้นเป็นของ Raymond Willams ซึ่งเขาได้กล่าวไว้เมื่อ ค.ศ. 1975 โดยมองไปที่ประเด็นวิทยุและโทรทัศน์ว่า เป็นเพียงสื่อหรือระบบที่จะทําให้เกิดการส่งและ รับข้อมูล แต่ไม่ได้เน้นการตอบสนองในด้านเนื้อหา

83. สถาบันสื่อสารมวลชน ตรงกับคําตอบข้อใดต่อไปนี้
(1) The Mass Media Institution
(2) The Mass Communication Institution
(3) The Mass Media Organization
(4) The Mass Communication Organization
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 74. ประกอบ

84. ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ
(1) เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสังคมโดยยึดหลักเกณฑ์ของฝ่ายสื่อเอง
(2) สถาบันอื่น ๆ ในสังคมอาจสามารถควบคุมสื่อ หรืออาจอํานวยความสะดวกแก่สื่อมวลชนในการ
เสนอข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
(3) สถาบันสื่อไม่จําเป็นต้องพึ่งพาสถาบันการเงิน
(4) สถาบันด้านกฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเสรีภาพของสื่อมวลชน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 99 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันอื่น ๆ มีดังนี้
1. เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสังคม โดยยึดหลักเกณฑ์ของ
ฝ่ายสื่อเองกับฝ่ายสาธารณชน
2. มีความสัมพันธ์กับกฎหมาย ซึ่งจะเป็นตัวกําหนดเสรีภาพของสื่อมวลชน
3. มีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสื่อมวลชนกับสถาบันการเงิน
4. มีความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อมวลชนกับสังคม ซึ่งสังคมหรือสถาบันอื่น ๆ ในสังคม อาจสามารถควบคุมสื่อมวลชน หรืออาจอํานวยความสะดวกแก่สื่อมวลชนในการ เสนอข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ

85. การที่สื่อมวลชนจะทําหน้าที่เป็นตัวจักรสําคัญในการสร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น ทําให้สังคม มีความคิดอ่านสอดคล้องกัน ควบคุมง่าย จัดเข้าข่ายการกระทําหน้าที่ตามแนวทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Centripetal
(2) Centrifugal
(3) Centrifutal
(4) Centripegal
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 103, (คําบรรยาย) ทฤษฎี Centripetal คือ สื่อมวลชนจะทําหน้าที่เป็นตัวจักรในการ สร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น ซึ่งจะมีผลทําให้สังคมนั้นมีความคิดอ่านที่สอดคล้องกัน และสามารถเข้าควบคุมได้ง่าย จึงเหมาะกับรัฐบาลที่ต้องการความมีเสถียรภาพ เพราะสามารถ ควบคุมสื่อและประชาชนได้

86.การที่สื่อมวลชนนําเสนอความก้าวหน้า เสรีภาพ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคม แล้วทําให้เกิดผลเสีย กับสังคมที่แยกกันอยู่ เกิดความไม่สงบในสังคมได้มาก จัดเข้าข่ายการกระทําหน้าที่ตามแนวทฤษฎีใดต่อไปนี้
(1) Centripetal
(2) Centrifugal
(3) Centrifutat
(4) Centripegal
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 103, (คําบรรยาย) ทฤษฎี Centrifugal คือ สื่อมวลชนจะทําหน้าที่นําความก้าวหน้า เสรีภาพ และการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมที่สื่อมวลชนดําเนินการอยู่ แต่จะเกิดผลเสีย ก็คือ สังคมจะแยกกันอยู่หรือห่างเหินกัน มีความเป็นปัจเจกชนสูง ไม่มีการยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และอาจจะก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมได้มาก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสื่อและคนในสังคมได้

ตัวเลือกต่อไปนี้ใช้สําหรับตอบคําถามข้อ 87. – 91.
(1) ทฤษฎีเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม
(3) ทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีสื่อสารมวลชนของประชาชน
(5) ทฤษฎีอํานาจนิยม

87. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดาทฤษฎีปทัสถาน
ตอบ 4 หน้า 276 – 277, (คําบรรยาย) ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน หรือความมีส่วนร่วมแบบ ประชาธิปไตย หรือทฤษฎีผู้มีความเป็นประชาธิปไตย เป็นทฤษฎีใหม่ล่าสุดในบรรดากลุ่ม ทฤษฎีปทัสถาน และเป็นทฤษฎีที่ยากที่สุดในการทําความเข้าใจ เพราะเป็นทฤษฎีลูกผสม ระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมกับทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา โดยจะเน้นถึง ความสําคัญของทุกคน เน้นการสื่อสารแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและสังคม จึงเป็นรูปแบบของสื่อมวลชนที่ประชาชนปรารถนาและพึงพอใจมากที่สุด แต่ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในแนวปฏิบัติ

88. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีปทัสถานที่ทําความเข้าใจได้ยากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

89. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นลูกผสมระหว่างทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมและทฤษฎีสื่อสาร
เพื่อการพัฒนา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 87. ประกอบ

90. ทฤษฎีสื่อสารมวลชนใดข้างต้นเป็นทฤษฎีที่เปิดโอกาสให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีบทบาทร่วมกัน
ตอบ 4 หน้า 277 – 278 หัวใจสําคัญของทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน มีดังนี้
1. การตอบสนองความต้องการ ความสนใจ และความปรารถนาที่ต่างกันของพลเมือง ผู้รับสารแต่ละคนในชุมชนขนาดเล็กและชนกลุ่มน้อย ทั้งในด้านสิทธิการรับรู้และสิทธิในการสื่อสาร
2. การเปิดโอกาสให้ผู้รับสารทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข่าวสาร ความคิดเห็น การศึกษา และการบริหารในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีบทบาทร่วมกัน

91. ทฤษฎีใดข้างต้นที่ห้ามสื่อมวลชนแสดงเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาท อนาจาร หยาบคาย และยุยง
ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในยามสงคราม
ตอบ 1 หน้า 279 ทฤษฎีเสรีนิยม (อิสรภาพนิยม) มีบทบาทหน้าที่ (Functions) คือ แจ้งข่าวสาร ให้ความบันเทิง ส่งเสริมการค้า และการโฆษณาสินค้า แต่ที่สําคัญที่สุดจะต้องเป็นตลาดเสรี ของความคิดเห็นส่วนบุคคล เพื่อช่วยในการแสวงหาให้พบสัจจะและควบคุมรัฐบาล ส่วนบทบาทหน้าที่ต้องห้าม (De-functions) คือ แสดงเนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาท อนาจาร หยาบคาย และยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในยามสงคราม

ตัวเลือกต่อไปนี้ใช้สําหรับตอบคําถามข้อ 92. – 100,
(1) ทฤษฎีเข็มฉีดยา
(2) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
(3) ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
(4) ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ
(5) ทฤษฎีการใช้และการตอบสนองความพึงพอใจ

92. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เน้นว่า ผู้ส่งสารพยายามโน้มน้าวให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมในทางที่ผู้ส่งสารต้องการ
ตอบ 2 หน้า 182 – 183, 194, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ (Two-step Flow Theory) จะเกี่ยวข้องกับผู้นําความคิดเห็น (Opinion Leaders) หรือผู้นําทางความคิด คือ ระดับที่ บุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถมีอิทธิพลโดยวิธีที่ไม่เป็นทางการต่อทัศนคติหรือพฤติกรรมอย่างเปิดเผยของบุคคลอื่นตามที่บุคคลนั้นต้องการ และมีอิทธิพลเช่นนี้ได้ค่อนข้างบ่อย จึงเป็นทฤษฎีที่ถูกใช้เพื่อชักจูงใจให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมหรือความคิดเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่ผู้ส่งข่าวสาร (ผู้นําความคิดเห็น) ต้องการ

93. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เน้นว่า การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่า แรงจูงใจจากผู้อื่น
ตอบ 2 หน้า 189 ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะจะมีลักษณะที่เสนอแนะได้ ดังนี้
1. การตัดสินใจของบุคคลแต่ละคนได้รับแรงจูงใจโดยตรงจากสื่อมวลชนน้อยกว่าแรงจูงใจจากผู้อื่น
2. บุคคลผู้ซึ่งจูงใจบุคคลอื่นหรือผู้นําความคิดเห็นตามทฤษฎีนี้ เป็นบุคคลที่ชอบเปิดตัวเอง ในการรับสารจากสื่อมวลชนมากกว่าบุคคลที่เขาทําการจูงใจ

94. ทฤษฎีใดข้างต้นมิได้จัดอยู่ในทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบ Effect Approach
ตอบ 5 หน้า 178 – 180 ตัวอย่างกลุ่มทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่ศึกษาเรื่องประสิทธิผลสื่อมวลชน (Effect Approach) อิทธิพลหรือผลกระทบจากสื่อ มีดังนี้ คือ
1. ทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ)
2. ทฤษฎีการสื่อสารสองจังหวะ
3. ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร
4. ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ
5. ทฤษฎีความโน้มเอียงร่วม

95. ทฤษฎีใดข้างต้นที่ได้รับอิทธิพลจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยุ การขยายตัวของงานโฆษณาทางการค้าและการโฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 1 หน้า 180 – 181 ความเชื่อเรื่องอิทธิพลของสื่อมวลชนตามแนวทางของทฤษฎีเข็มฉีดยา (ทฤษฎีการสื่อสารจังหวะเดียว หรือทฤษฎีการสื่อสารเล็งผลเลิศ) มีสาเหตุสําคัญ 3 อย่าง คือ
1. การกําเนิดและความก้าวหน้าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทวิทยุ โดยเฉพาะวิทยุทรานซิสเตอร์
(Transistor Radio)
2. การขยายตัวของงานโฆษณาการค้า (Advertising) ทางสื่อมวลชน
3. การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)

96. ทฤษฎีใดข้างต้นที่เกี่ยวข้องกับนักสื่อสารมวลชนว่ามีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจะเสนอไปยังผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 195 ทฤษฎีผู้ปิดและเปิดประตูสาร (Gatekeeper Theory) คือ การที่นักสื่อสารมวลชน มีหน้าที่เลือกสรร ตกแต่งเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสนอไปยังผู้รับสาร หรือทําหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตู (Gatekeeper) ซึ่งมาจากข้อเขียนของ เค. เลวิน ที่ได้ให้ข้อสังเกตว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยบริเวณประตูที่ซึ่งมีการปล่อยหรือกัก ข่าวสารต่าง ๆ ตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยผู้เฝ้าประตูจะวินิจฉัยว่าข่าวสารใดควรไหลผ่านไปได้ ข่าวสารใดควรส่งไปถึงผู้รับสารช้าหน่อย หรือข่าวสารใดควรตัดออกไปทั้งหมด

97.แนวความคิดของ เค. เลวิน ที่ว่า ข่าวสารมักจะไหลผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีประตู โดยแต่ละประตู จะมีเกณฑ์ในการปล่อยหรือกักข่าวสารต่าง ๆ ตามการวินิจฉัยของคนเฝ้าประตู
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98. การที่สื่อมวลชนเป็นผู้กําหนดการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วไป โดยมองว่าการกําหนดดังกล่าวนั้น เป็นการแนะประชาชนว่าน่าคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นสาระสําคัญในทฤษฎีใดข้างต้น
ตอบ 4 หน้า 200 – 201 ทฤษฎีการกําหนดระเบียบวาระ (Agenda-setting Theory) ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับผู้รับสารว่า ยิ่งสื่อมวลชนเลือกเน้นเสนอประเด็นสําคัญของ หัวข้อหรือปัญหาในการรายงานข่าวใดแล้ว ผู้รับสารหรือมวลชนก็จะตระหนักถึงสาระสําคัญ ของเรื่องนั้น ๆ มากตามไปด้วย ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นผู้กําหนดหรือวางระเบียบวาระในการ รับรู้เหตุการณ์แก่ประชาชนทั่วไป ดังที่ Cohen ได้สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีนี้เอาไว้ว่า “สื่อสารมวลชน อาจไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรเสมอไปในการเสนอแนะแก่ประชาชนว่าอะไรบ้าง (What) เป็นสิ่งที่น่าคิด แต่สื่อมวลชนมีผลอย่างมหาศาลในการแนะประชาชนว่าน่าคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร (What About)”

99. ทฤษฎีใดข้างต้นมีสมมุติฐานสําคัญว่า การที่สื่อมวลชนเลือกเน้นประเด็นสําคัญของหัวข้อหรือปัญหา ในการรายงานข่าวสารใด ๆ มวลชนก็จะตระหนักถึงสาระสําคัญดังกล่าวตามไปด้วย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ

100. ทฤษฎีใดข้างต้นเกี่ยวข้องกับคําว่า Information-seeking
ตอบ 5 หน้า 214 – 215, 222 ทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจที่ได้รับ จากสื่อ หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของผู้บริโภค (Uses and Gratifications) จะเน้นเรื่อง การแสวงหาข่าวสาร (Information-seeking) ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่ผู้รับสารหรือ มวลชนสนใจใคร่ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และแสวงหาข่าวสารนั้นจากสื่อสารมวลชน อีกทั้งยังมีการเน้นว่า มนุษย์มีความต้องการอยากจะรู้ (Need for Cognition) ซึ่งจัดเป็น ความต้องการที่จะแสวงหาระเบียบและความเข้าใจในสภาวะแวดล้อมของตนเอง

WordPress Ads
error: Content is protected !!