LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายหน่อไม้เป็นโจทก์ฟ้องว่า นายตะขบจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายมะละกอ บุตรชายของตนตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4) (โจทก์บรรยายฟ้อง ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) เมื่อศาลได้ตรวจคําฟ้องของนายหน่อไม้แล้วเห็นว่า นายหน่อไม้ ยื่นฟ้องถูกต้องตามเขตอํานาจศาล และทําคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งไม่ปรากฏว่านายหน่อไม้ยื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือ เอาเปรียบจําเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึ่งได้โดยชอบ รวมถึงไม่ปรากฏว่า นายหน่อไม้เคยจงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร จึงสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่นายหน่อไม้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง

ระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง นายตะขบมาศาล ศาลมิได้สอบถามว่านายตะขบมีทนายความและต้องการทนายความหรือไม่ แต่ศาลเห็นว่านายตะขบไม่มีทนายความจึงมีคําสั่งแต่งตั้งให้นายดีเลิศเป็น ทนายความแก้ต่างให้

ดังนี้ การที่ศาลตั้งทนายความให้นายตะขบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 “ผู้ใด

(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องระวางโทษประหารชีวิต”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 165/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จําเลยมีอายุ ไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ในการไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา 165 ถ้าจําเลยมาศาลเมื่อใด และจําเลย ไม่มีทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ในการไต่สวนมูลฟ้องตามมาตรา 165 ถ้าจําเลยมาศาลเมื่อใดให้ศาล ถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหน่อไม้เป็นโจทก์ฟ้องว่า นายตะขบจําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายมะละกอ บุตรชายของตนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4) ซึ่งมีระวางโทษ ประหารชีวิต และศาลได้สั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่นายหน่อไม้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้อง นายตะขบมาศาลและศาลมิได้สอบถามว่านายตะขบมีทนายความและต้องการทนายความ หรือไม่ แต่ศาลเห็นว่านายตะขบไม่มีทนายความ จึงมีคําสั่งแต่งตั้งให้นายดีเลิศเป็นทนายความแก้ต่างให้นายตะขบนั้น การที่ศาลตั้งทนายความให้นายตะขบย่อมชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 165/1 วรรคหนึ่ง เนื่องจาก คดีที่นายตะขบถูกฟ้องนั้นเป็นคดีที่มีโทษประหารชีวิต ดังนั้น เมื่อจําเลยมาศาลในวันไต่สวนมูลฟ้อง และศาลเห็นว่า จําเลยไม่มีทนายความ ศาลย่อมมีอํานาจแต่งตั้งทนายความให้จําเลยได้โดยไม่จําต้องถามจําเลยก่อน

สรุป การที่ศาลตั้งทนายความให้นายตะขบชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 72 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ในวันที่นัดพิจารณาโจทก์จําเลยมาศาล ก่อนเริ่มพิจารณาศาลได้ถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จําเลยตอบว่ามีทนายความแล้ว โดยทนายความของจําเลยมาศาลในวันนี้ด้วย ศาลชั้นต้นจึงได้ อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังแล้วศาลได้ถามคําให้การจําเลย จําเลยแถลงให้การรับสารภาพ ตามฟ้อง โดยโจทก์และจําเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน

ดังนี้ หากศาลพิพากษาลงโทษจําเลย โดยที่โจทก์ไม่สืบพยานหลักฐานประกอบคํารับสารภาพ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 72 “ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทํา ความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

มาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปี ถึงยี่สิบปี”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนด อัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะ
พอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อาญา มาตรา 288 และมาตรา 72 แม้ความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 จะมีระวางโทษตามที่กฎหมาย กําหนดให้ประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปี แต่เมื่อคําฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จําเลยกระทําโดยบันดาลโทสะตาม ป.อาญา มาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจําเลยน้อยกว่าที่กฎหมายได้กําหนดไว้ สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้นั้น ย่อมมีผลให้ความผิดตามฟ้องของโจทก์ไม่มีอัตราโทษจําคุกอย่างต่ํา จึงมิใช่ เป็นคดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลจะต้อง ฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คดีนี้เมื่อจําเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได้โดยไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป

การที่ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในคดีนี้โดยโจทก์ไม่สืบพยานหลักฐานประกอบคํารับสารภาพจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป หากศาลพิพากษาลงโทษจําเลยโดยที่โจทก์ไม่สืบพยานหลักฐานประกอบคํารับสารภาพนั้นชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. ในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่านายศีล จึงใช้อาวุธปืนยิงเล็งตรงไปที่นายศีล กระสุนปืนถูกนายศีลได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษฐาน พยายามฆ่านายศีลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ทุกประการ) หากทางพิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องว่า แท้จริงแล้วจําเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผล ที่จะฆ่านายบุญ จึงใช้อาวุธปืนยังเล็งตรงไปที่นายบุญ แต่กระสุนปืนที่จําเลยยิงนั้นไม่ถูกนายบุญ แต่พลาดไปถูกนายศีลได้รับอันตรายสาหัส และจําเลยนําสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลจึงพิพากษา ลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายบุญตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และ ฐานพยายามฆ่านายศีลโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 60 อีกบทหนึ่ง ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าคําพิพากษาของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ
หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่ โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่านายศีล จึงใช้อาวุธปืน ยิ่งเล็งตรงไปที่นายศีล กระสุนปืนถูกนายศีลได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่านายศีล ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 30 แต่ในทางพิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องว่าจําเลยมีเจตนาประสงค์ ต่อผลที่จะฆ่านายบุญ จึงใช้อาวุธปืนยิงเล็งตรงไปที่นายบุญ แต่กระสุนปืนที่จําเลยยิงนั้นไม่ถูกนายบุญ แต่พลาดไป ถูกนายศีลได้รับอันตรายสาหัสนั้น ถือว่าการกระทําของจําเลยต่อนายศีลระหว่างข้อเท็จจริงตามฟ้องกับข้อเท็จจริง ที่ปรากฏในทางพิจารณา เป็นข้อแตกต่างที่ไม่ใช่สาระสําคัญระหว่างเจตนาประสงค์ต่อผลและเจตนาโดยพลาด และเมื่อจําเลยนําสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ จึงถือว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจําเลย ฐานพยายามฆ่านายศีลโดยพลาด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 60 ได้ ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 192 วรรคสอง คําพิพากษาในส่วนนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนคําพิพากษาของศาลที่ให้ลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายบุญ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการกระทําของจําเลยต่อนายบุญนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ กล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ต้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบวรรคสี่

สรุป คําพิพากษาของศาลให้ลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายศีลโดยพลาดชอบด้วยกฎหมายส่วนคําพิพากษาให้ลงโทษจําเลยฐานพยายามฆ่านายบุญไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายเมตตาบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยใช้อาวุธมีดทําร้ายร่างกายเด็กหญิงกรุณาบุตรสาวของตนเป็นเหตุให้เด็กหญิงกรุณาได้รับอันตรายสาหัสหน้าเสียโฉมอย่างติดตัว ขอให้ศาล พิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทําร้ายได้รับอันตรายสาหัส ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง จนเสร็จสํานวนแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิด คดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง นายเมตตายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นว่าพยานหลักฐาน ที่ตนนําสืบสามารถรับฟังได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิด คดีมีมูล ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งประทับรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 170 วรรคหนึ่ง “คําสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คําสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอํานาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา”

มาตรา 193 วรรคหนึ่ง “คดีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมาย หรือกฎหมายอื่น”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 170 วรรคหนึ่ง คําสั่งศาลที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอํานาจอุทธรณ์ฎีกา ต่อไปได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา และคดีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น (ป.วิ.อาญา มาตรา 193 วรรคหนึ่ง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมตตาบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยใช้อาวุธมีด ทําร้ายเด็กหญิงกรุณาบุตรสาวของตน เป็นเหตุให้เด็กหญิงกรุณาได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษ จําเลยฐานทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทําร้ายได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 200,000 บาท เมื่อศาลชั้นต้น

ไต่สวนมูลฟ้องจนเสร็จสํานวนแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นํามาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิด คดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้องนั้น การที่นายเมตตายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นว่าพยานหลักฐานที่ตน นําสืบสามารถรับฟังได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิด คดีมีมูล ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งประทับรับฟ้องของโจทก์ ไว้พิจารณา ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน จึงเป็นการอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องนั้นเป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จําคุกเกิน 3 ปี และปรับเกิน 6 หมื่นบาท กรณีนี้จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 193 ทวิ นายเมตตาจึงสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ตามมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 170 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ได้

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ได้

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายโหระพาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ดําเนินคดีกับนายเทาให้ถึงที่สุดในข้อหาลักทรัพย์
ซึ่งเป็นคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แต่พนักงานสอบสวนดําเนินคดีล่าช้า นายโหระพาจึง เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเทาต่อศาลด้วยตนเอง ขอให้ลงโทษนายเทาฐานลักทรัพย์ ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 334 (คดีที่นายโหระพาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ทุกประการ) เมื่อศาลได้ตรวจคําฟ้องของนายโหระพาแล้วเห็นว่านายโหระพายื่นฟ้องถูกต้องตามเขตอํานาจศาลและทําคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งไม่ปรากฏว่านายโหระพายื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจําเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ รวมถึงไม่ปรากฏว่านายโหระพาเคยจงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรจึงสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่นายโหระพาเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง

หากปรากฏว่าในวันไต่สวนมูลฟ้อง นายโหระพาโจทก์ซึ่งทราบนัดของศาลโดยชอบแล้ว แต่ทั้งนายโหระพาและทนายความไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องของนายโหระพา

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า หลังจากที่ศาลพิพากษายกฟ้องแล้ว หากการสอบสวนคดีที่นายโหระพา ร้องทุกข์เสร็จแล้ว พนักงานอัยการจะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มายื่นฟ้องนายเทาเป็นคดีใหม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 166 “ถ้าโจทก์ไม่มาตามกําหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร จึงมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวัน นับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดยแสดง ให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่

ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 166 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดหน้าที่ของโจทก์ไว้ว่า ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์จะต้องมาตามนัด มิฉะนั้นก็ให้ศาลยกฟ้องเสีย เว้นแต่จะมีเหตุสมควรศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ การที่นายโหระพาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเทาต่อศาลในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และศาลได้มีคําสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องนั้น เมื่อนายโหระพาโจทก์ได้ทราบกําหนดนัดของศาลโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาศาลตามกําหนดนัด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันไต่สวนมูลฟ้อง นายโหระพาโจทก์และ ทนายความของโจทก์ไม่มาศาล ดังนั้น ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสีย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง

และตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคสาม ได้กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ศาลได้ยกฟ้องตามวรรคหนึ่ง ดังกล่าวแล้วจะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องในคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ย่อม ไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น ตามอุทาหรณ์เมื่อศาล ได้ยกฟ้องคดีที่นายโหระพาเป็นโจทก์ และความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 นั้น ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว ย่อมไม่ตัดอํานาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นอีก ดังนั้น พนักงานอัยการ จึงสามารถนําคดีเรื่องเดียวกันนี้ มายื่นฟ้องนายเทาเป็นคดีใหม่ได้

สรุป พนักงานอัยการสามารถนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มายื่นฟ้องนายเทาเป็นคดีใหม่ได้

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 จําเลยให้การปฏิเสธ หลังจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ศาลชั้นต้น นัดสืบพยานจําเลย เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจําเลย ทนายจําเลยมาศาล ส่วนโจทก์และจําเลยไม่มา ทนายจําเลยยื่นคําแถลงว่า จําเลยไม่มาศาลโดยไม่ทราบสาเหตุจึงไม่มีพยานมาศาล แต่โจทก์ก็ ไม่มาศาลด้วย ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ให้ยก คําแถลงของทนายจําเลย และมีคําสั่งว่าจําเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ถือว่าจําเลยไม่ติดใจสืบพยาน ให้งดสืบพยานจําเลย และนัดฟังคําพิพากษา

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคําแถลงของทนายจําเลย และที่ถือว่าจําเลยไม่ติดใจสืบพยาน ให้งดสืบพยานจําเลย และนัดฟังคําพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 166 “ถ้าโจทก์ไม่มาตามกําหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร จึงมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้…”

มาตรา 172 วรรคหนึ่ง “การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 181 “ให้นําบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคําแถลงของทนายจําเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

กรณีนี้เห็นว่า ในวันนัดสืบพยานจําเลยนั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติอย่างใดต่อศาล การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจําเลย โจทก์ก็เพียงแต่เสียสิทธิในการซักค้านพยานจําเลยเท่านั้น มิใช่เป็น กรณีที่ทําให้ศาลต้องยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุโจทก์ไม่มาศาลตามกําหนดนัด (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง

ซึ่งมาตรา 181 ให้นํามาบังคับใช้แก่การพิจารณาโดยอนุโลม) ดังนั้น การที่ทนายจําเลยยื่นคําแถลงว่า จําเลยไม่มาศาล โดยไม่ทราบสาเหตุจึงไม่มีพยานมาศาล แต่โจทก์ก็ไม่มาศาลด้วยและขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ให้ยกคําแถลงของทนายจําเลยนั้น คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

2. คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าจําเลยไม่ติดใจสืบพยาน ให้งดสืบพยานจําเลย และนัดฟัง
คําพิพากษาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง การพิจารณาและการสืบพยานในศาลจะต้องกระทํา โดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย โดยไม่จํากัดว่าจะเป็นการพิจารณาและสืบพยานของคู่ความฝ่ายใด ซึ่งไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาและสืบพยานในศาลของโจทก์หรือของจําเลยย่อมตกอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เช่นกัน การที่จําเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจําเลย เมื่อศาลเห็นว่าจําเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ศาลก็ชอบที่จะ ออกหมายจับจําเลย แล้วเลื่อนคดีไปเพื่อให้ได้ตัวจําเลยมาศาลเพื่อทําการพิจารณาและสืบพยานตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า จําเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ถือว่าจําเลยไม่ติดใจสืบพยาน ให้งดสืบพยาน และนัดฟังคําพิพากษา ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่ได้กระทํา ต่อหน้าจําเลย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคําแถลงของทนายจําเลยชอบด้วยกฎหมาย แต่คําสั่งที่ถือว่า จําเลยไม่ติดใจสืบพยาน ให้งดสืบพยานจําเลย และนัดฟังคําพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่านายสมศรีจําเลยฆ่านายสมชายตาย ขอให้ลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 288 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ)

(ก) ทางพิจารณาฟังได้ว่าจําเลยเป็นคนฆ่านายสมชายผู้ตายจริง แต่พยานหลักฐานโจทก์ปรากฏว่า จําเลยชื่อนางสมศรี หาใช่นายสมศรี ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องไม่ และไม่ปรากฏว่าการที่ ฟ้องโจทก์ระบุเพศของจําเลยผิดไปนั้น เป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้กรณีหนึ่ง

(ข) ทางพิจารณาฟังได้ว่าจําเลยฆ่านางสมชายซึ่งเป็นบุคคลคนละคนกับนายสมชายตามโจทก์ บรรยายมาในฟ้อง อีกกรณีหนึ่ง

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ทั้งสองกรณีตามข้อ (ก) และ (ข) ศาลมีอํานาจลงโทษจําเลยตามฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคําขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริง อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่านายสมศรีจําเลยฆ่านายสมชายตาย แต่ทางพิจารณา ฟังได้ว่าจําเลยเป็นคนฆ่านายสมชายผู้ตายจริง แต่จากพยานหลักฐานโจทก์ปรากฏว่าจําเลยชื่อนางสมศรีหาใช่ ชื่อนายสมศรีตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องไม่นั้น แสดงว่าผู้กระทําความผิดตามฟ้องและตามที่ปรากฏในทาง พิจารณาเป็นคนเดียวกัน หาได้ผิดตัวผิดคนไม่ เพียงแต่โจทก์ระบุเพศของจําเลยผิดไปเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงที่ ปรากฏในทางพิจารณาที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญ และการที่โจทก์บรรยาย ฟ้องผิดไปก็มิได้เป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจลงโทษจําเลยตามฟ้องได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

(ข) การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายสมชาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยฆ่านางสมชายซึ่งเป็นบุคคลคนละคนกับนายสมชายตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องนั้น ถือว่าเป็นกรณี ที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกฆ่าซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทําอันเป็นองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกัน จึงถือเป็น ข้อแตกต่างที่เป็นข้อสาระสําคัญ ดังนั้น ศาลต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ศาลไม่มีอํานาจลงโทษจําเลย

สรุป
กรณีตามข้อ (ก) ศาลมีอํานาจลงโทษจําเลยตามฟ้อง
ส่วนกรณีตามข้อ (ข) ศาลไม่มีอํานาจลงโทษจําเลย ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

 

ข้อ 4. พนักงานงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับ ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธว่า ตนมิได้กระทําผิดตามโจทก์ฟ้อง ในระหว่างการพิจารณาของศาล โจทก์ยื่นคําร้องขอระบุพยาน เพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง โดยโจทก์มิได้ดําเนินการโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์และจําเลยเสร็จสิ้นแล้ว เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบ ยังรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิดจึงพิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่า พยานหลักฐานที่ ตนนําสืบสามารถรับฟังได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิดขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพียงใด จงอธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193 วรรคหนึ่ง “คดีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้…”

มาตรา 196 “คําสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทําให้คดีเสร็จสํานวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นจนกว่า จะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในประเด็นสําคัญและมีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิด ฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) จําเลยให้การปฏิเสธว่าตนมิได้กระทําผิด ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์และจําเลยเสร็จสิ้นแล้ว เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบ ยังรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิด จึงพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่าพยาน หลักฐานที่ตนนํามาสืบสามารถรับฟังได้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิด ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้องนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งถือเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท จึงเป็นกรณีที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จําคุกเกิน 3 ปี หรือปรับเกิน 60,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนั้น โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้ตาม มาตรา 193 วรรคหนึ่ง

ส่วนกรณีที่โจทก์ยื่นคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างการพิจารณาของศาล แต่ศาลชั้นต้น มีคําสั่งยกคําร้องโดยโจทก์มิได้ดําเนินการโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แต่อย่างใด และต่อมาโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คําสั่ง ศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการอุทธรณ์คําสั่งระหว่างพิจารณานั้น เมื่อศาลได้มีคำพิพากษา ในประเด็นที่สําคัญ และโจทก์ได้อุทธรณ์คําพิพากษานั้นด้วย ดังนั้นโจทก์จึงสามารถอุทธรณ์คําสั่งระหว่างพิจารณา ดังกล่าวได้ตาม มาตรา 196 แม้โจทก์จะมิได้ดําเนินการโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม

สรุป ศาลจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาได้ ทั้งในส่วนของการอุทธรณ์คําสั่งของ ศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และการอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้น

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 เวลา กลางวัน จําเลยได้เอารถยนต์คันหมายเลยทะเบียน กขค 123 กรุงเทพมหานคร ไปโดยเจตนาทุจริต เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 (โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่ารถยนต์คันที่จําเลยลักเป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย) โดยรายการตามฟ้องอื่นในคดีสํานวนดังกล่าว นอกจากนี้โจทก์บรรยายฟ้อง มาถูกต้องครบถ้วน

ให้วินิจฉัยในประเด็นต่อไปนี้

(ก) โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่คําฟ้องของโจทก์บกพร่อง

ในกรณีเช่นนี้โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ โดยบรรยายฟ้องให้
ถูกต้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้ (4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจข้อหาได้ดี”

วินิจฉัย

ในการฟ้องคดีอาญา นอกจากคําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือแล้ว โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงการ กระทําทั้งหลายที่โจทก์กล่าวหาว่าจําเลยกระทําผิดด้วย กล่าวคือ จะต้องบรรยายถึงการกระทําผิดไว้ให้ชัดเจน ครบถ้วนขององค์ประกอบแห่งความผิดนั้น มิฉะนั้นแล้ว คําฟ้องของโจทก์จะกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย กฎหมาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 เวลากลางวัน จําเลยได้เอารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน กขค 123 กรุงเทพมหานคร ไปโดยเจตนา ทุจริตนั้น แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งการกระทํานั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คําฟ้องของโจทก์จึงเป็นคําฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 จึงเป็นคําฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)

(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่โจทก์ฟ้องขาดองค์ประกอบของ ความผิดตาม (ก) ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่ศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นเหตุให้สิทธิ นําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) ดังนั้น โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลย เป็นคดีใหม่ไม่ได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้ําซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

สรุป (ก) โจทก์บรรยายฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มายื่นฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ไม่ได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้ำ

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหาความผิดฐานทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็นในหรือริมทาง สาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 396 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท (โจทก์ บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ในวันนัดพิจารณาโจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจําเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงให้นัดฟังคําพิพากษา

หากความปรากฏว่า จําเลยไม่มีทนายความและศาลชั้นต้นก็มิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความ
ก่อนอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง

ดังนี้ การพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 173 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จําเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักไว้ว่า ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือ ในคดีที่จําเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

แต่ถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก (ไม่ว่าจะเป็นโทษจําคุกที่มีกําหนดเวลาหรือเป็นโทษจําคุก ตลอดชีวิต) ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหาความผิดฐานทิ้งซากสัตว์ซึ่ง เน่าเหม็นในหรือริมทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 396 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท และในวันนัดพิจารณาโจทก์และจําเลยมาศาล ศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาไปโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง โดยก่อนเริ่มพิจารณานั้นจําเลยไม่มีทนายความและศาลชั้นต้นก็มิได้สอบถามจําเลยในเรื่องทนายความเลยนั้น เมื่อคดีที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนั้นเป็นคดีที่มีระวางโทษปรับสถานเดียว มิใช่คดีที่มีอัตราโทษประหาร ชีวิตหรือคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ที่ ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคหนึ่งและวรรคสองบัญญัติว่า “ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความ หรือไม่” ดังนั้น กรณีนี้ แม้จําเลยไม่มีทนายความและศาลชั้นต้นมิได้สอบถาม จําเลยในเรื่องทนายความก่อนอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังก็ตาม การพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมชอบด้วย กฎหมายและไม่เป็นการฝ่าฝืนตอบทบัญญัติ ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคหนึ่งและวรรคสองแต่อย่างใด

สรุป การพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายโควิดซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทาง
อยู่บริเวณป้ายจอดถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 (ฟ้อง ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ทางพิจารณาได้ความแตกต่างจากฟ้องว่า จําเลยเจตนาขับรถพุ่งชน นายโคล่าแต่พลาดไปชนนายโควิดซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทางอยู่บริเวณป้ายจอดถึงแก่ความตาย ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่เพียงใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย
ประกอบ

หมายเหตุ

มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปี ถึงยี่สิบปี

มาตรา 291 ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวาง โทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ
หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะ
ปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่
โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้นๆ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายโควิด ซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทางอยู่บริเวณป้ายจอดจนถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า จําเลยเจตนาขับรถพุ่งชนนายโคล่าแต่พลาด ไปชนนายโควิดซึ่งยืนรอรถโดยสารประจําทางอยู่บริเวณป้ายจอดถึงแก่ความตาย การกระทําของจําเลยจึงเป็น ความผิดฐานพยายามฆ่านายโคล่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 บทหนึ่ง และมีความผิดฐานฆ่า นายโควิดตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 60 อีกบทหนึ่งนั้น ศาลจะลงโทษ จําเลยได้หรือไม่ เพียงใด แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. ความผิดบทแรกซึ่งเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายโคล่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 80 นั้น แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจะได้ความเช่นนั้นก็ตาม แต่ศาลก็จะพิพากษา ลงโทษจําเลยในความผิดบทนี้ไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง และมิได้มีคําขอให้ลงโทษเกี่ยวกับการกระทําต่อนายโคล่าด้วย เนื่องจากคําฟ้องของโจทก์ บรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําต่อนายโควิดเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจําเลยตาม ป.วิ.อาญามาตรา 192 วรรคสี่

2. ความผิดบทหลังซึ่งเป็นความผิดฐานฆ่านายโควิดตายโดยเจตนาโดยพลาด ตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 288 และมาตรา 60 นั้น แม้คําฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจําเลยกระทําให้นายโควิดถึงแก่ความตาย โดยประมาท และขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งแตกต่างกันก็ตาม แต่การต่างกัน ระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาทนั้นเป็นข้อแตกต่างที่เป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อวัตถุแห่ง การกระทําตามฟ้องกับทางพิจารณาคือนายโควิดซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192

วรรคสาม บัญญัติว่ามิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่อง เกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ และเมื่อไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายโควิดตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 ตามที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษ ตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 ซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป ศาลจะลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายโควิดตายโดยเจตนาโดยพลาดตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 288 และมาตรา 60 ได้ แต่จะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกําหนดไว้ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 291 ไม่ได้ ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่านายโคล่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (ฟ้องถูกต้อง ตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่ามิได้กระทําผิด ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยาน โจทก์และจําเลยเสร็จสิ้นแล้ว พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 295 ลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี

(ก) โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยไม่รอการลงโทษ

(ข) จําเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง อ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบมาฟังลงโทษจําเลยไม่ได้

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ได้บัญญัติเอาไว้ว่า ถ้าเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมาย กําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คําพิพากษา ศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามมาตรา 193 ทวิ (1) (2) (3) และ (4)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับนั้น ถือว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 และลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี โดยโทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปีนั้น

(ก) การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยไม่รอการลงโทษนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการกําหนดโทษจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์

(ข) การที่จําเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่ นําสืบมาฟังลงโทษจําเลยไม่ได้นั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นการอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศาลได้พิพากษาให้ลงโทษจําคุกจําเลยแต่ศาลให้รอการลงโทษไว้ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (2) ที่จําเลยสามารถอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณา

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ แต่จะรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณา

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานหมิ่นประมาท โดยบรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลากลางวัน จําเลยได้บังอาจหมิ่นประมาท ใส่ความนายเขียวต่อนายม่วงบุคคลที่สาม โดยจําเลย ได้กล่าวว่า “นายเขียวซึ่งเป็นเจ้าพนักงานรับสินบนจากนายเทา เพื่อช่วยเหลือให้นายเทาชนะการประมูลงานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ” โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าโดยประการที่น่าจะ ทําให้นายเขียวเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง เหตุเกิดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

หากปรากฏว่า รายการตามฟ้องอื่นนอกจากนี้โจทก์บรรยายฟ้องมาถูกต้องครบถ้วน ให้วินิจฉัย ในประเด็นต่อไปนี้

(ก) โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่คําฟ้องของโจทก์บกพร่องในกรณี เช่นนี้ โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ โดยบรรยายฟ้องให้ถูกต้องได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการ ที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจข้อหาได้ดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานหมิ่นประมาท โดยบรรยายฟ้องเพียงว่าจําเลยได้บังอาจ หมิ่นประมาทใส่ความนายเขียวต่อนายม่วงบุคคลที่สาม โดยจําเลยได้กล่าวว่า “นายเขียวซึ่งเป็นเจ้าพนักงานรับสินบน จากนายเทา เพื่อช่วยเหลือให้นายเท่าชนะการประมูลงานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ” โดยมิได้บรรยายฟ้อง ให้ปรากฏว่าโดยประการที่น่าจะทําให้นายเขียวเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังด้วยแต่ประการใด ย่อมถือว่า คําฟ้องของโจทก์บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)

(ข) การที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์บรรยายฟ้องขาดองค์ประกอบ
ของความผิดนั้น ย่อมถือว่าศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และมีผลทําให้สิทธิการนํา คดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) ดังนั้น โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลย เป็นคดีใหม่โดยบรรยายฟ้องให้ถูกต้องอีกไม่ได้เพราะจะเป็นฟ้องซ้ําซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

สรุป (ก) โจทก์บรรยายฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์ โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลย
เป็นคดีใหม่ไม่ได้

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่น รับอันตรายสาหัส เนื่องจากผู้เสียหายประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งกฎหมายกําหนดต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ในนัดพิจารณา โจทก์ จําเลยและทนายความจําเลยมาศาล ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังแล้ว จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง นางจันทร์มารดา ผู้เสียหายซึ่งมาศาลแถลงว่า ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่สามารถไปทํางานได้ตามปกติเจ็ดวันและหยุดพักผ่อนกว่าจะยอมไปทํางานก็เป็นเวลากว่ายี่สิบวัน ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้มีการสืบพยาน หลักฐาน โจทก์สืบพยานเสร็จโดยจําเลยไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทํา ของจําเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 แต่คดีขาดอายุความ จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์

โจทก์อุทธรณ์ว่า คดีนี้จําเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจะต้องมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยไปตาม ฟ้องโจทก์ จะทําการสืบพยานหลักฐานใด ๆ อีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 และถึงแม้ศาลชั้นต้นจะให้สืบพยานหลักฐานโดยจําเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นก็จะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยไปตามที่พิจารณาได้ความว่า การกระทําของจําเลยเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ไม่อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะคดีขาดอายุความอีกได้ คําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ

ให้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง”

มาตรา 185 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งกฎหมายได้กําหนดให้ระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี มิใช่เป็นคดีที่ กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านั้น ซึ่งถึงแม้จําเลย จะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งตอนท้าย ก็บัญญัติให้ศาลต้องสืบพยานโจทก์ จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง แต่เป็นกรณีที่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ตอนต้น ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่าศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ และคําว่า “ก็ได้” ดังกล่าวแสดงว่า เป็นบทกฎหมายให้เป็นดุลพินิจของศาล มิใช่เป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคําพิพากษาโดยไม่ต้องมีการสืบพยานหลักฐาน แต่อย่างใด ดังนั้น คดีนี้เมื่อนางจันทร์มารดาของผู้เสียหายซึ่งมาศาลแถลงว่า ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บไม่สามารถ ไปทํางานได้ตามปกติเพียง 7 วัน ไม่ใช่เกินกว่า 20 วันตามฟ้องโจทก์ จึงมีเหตุอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจ ให้ทําการสืบพยานหลักฐานต่อไปได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นจะต้องมีคําพิพากษาลงโทษจําเลยไปตามฟ้องโจทก์ จะทําการสืบพยานหลักฐานใดอีกไม่ได้นั้นจึงฟังไม่ขึ้น

และเมื่อตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นํามาสืบนั้น ศาลชั้นต้นเห็นว่าการกระทําของจําเลยเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และคดีขาดอายุความแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้ศาลยกฟ้องปล่อยจําเลยไป ดังนั้น คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ คําพิพากษา ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การกระทําของจําเลยเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ศาลไม่อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะคดีขาดอายุความอีกได้ คําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบนั้น จึงฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน

สรุป อุทธรณ์ของโจทก์ทั้ง 2 กรณีฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 3. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยว่าจ้างนายหินให้ฆ่านายละมุดและนายหินได้ฆ่านายละมุดตาย ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) มาตรา 84 (โจทก์บรรยายฟ้อง ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) แต่ทางพิจารณาฟังได้ความว่าจําเลยเป็นคนยิงนายละมุดตาย ด้วยตนเอง โดยจําเลยมิได้หลงต่อสู้

ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยในการกระทําตามที่พิจารณาได้ความหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยว่าจ้างนายหินให้ฆ่านายละมุด และนายหินได้ฆ่านายละมุดตาย ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) มาตรา 84 แต่ในทางพิจารณาฟังได้ความว่าจําเลยเป็นคนยิงนายละมุดตายด้วยตนเองนั้น ถือเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง กล่าวคือเป็นกรณีฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้ใช้แต่ในทาง พิจารณาปรากฏว่าจําเลยเป็นผู้กระทําผิดเสียเอง ดังนี้ถือว่าข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสําคัญแต่อย่างใด และเมื่อจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยในการกระทําตามข้อเท็จจริงที่พิจารณา ได้ความได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

สรุป ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยในการกระทําตามที่พิจารณาได้ความได้

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจําเลยฐานใช้อาวุธปืนตีศีรษะนายสําออยได้รับอันตรายสาหัสประกอบ กรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 จําเลย ให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุเนื่องจากนายสําออยได้เข้ามาทําร้ายตนก่อน จึงใช้ปืนตีศีรษะนายสําออย 3 ครั้งเพื่อป้องกันตน ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลย มีเจตนาทําร้ายนายสําออยจึงใช้อาวุธปืนตีศีรษะนายสําออยขณะที่ยืนพูดคุยกับผู้อื่นเป็นเหตุให้นายสําออยได้รับอันตรายสาหัสประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน จึงพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ลงโทษจําคุก 3 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ ลงโทษจําคุกจําเลยให้หนักขึ้น และจําเลยอุทธรณ์อ้างว่าการกระทําของตนเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุเนื่องจากนายสําออยได้เข้ามาทําร้ายตนก่อนจึงใช้อาวุธปืนตีศีรษะนายสําออย 3 ครั้งเพื่อป้องกันตน ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลยได้กระทําความผิดจริงตามฟ้อง

โดยจําเลยเป็นฝ่ายใช้อาวุธปืนตีศีรษะนายสําออยได้รับอันตรายสาหัสประกอบกรณียกิจตามปกติ ไม่ได้เกินกว่า 20 วัน จึงพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 5 ปี เมื่อพ้นโทษแล้วให้กักกันภายหลังพ้นโทษ เป็นเวลา 3 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้น จําเลยยังคงฎีกาอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนเพราะนายสําออยทําร้ายจําเลยก่อน จําเลยจึงใช้ปืนตีศีรษะนายสําออย 3 ครั้งเพื่อป้องกันตนไม่เป็นความผิด ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์และจําเลย

ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของโจทก์และจําเลย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และ ให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุกจําเลย
เกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”

มาตรา 219 ทวิ วรรคสอง “ในการนับกําหนดโทษจําคุกตามความในมาตรา 218 และ 219 นั้น ห้ามมิให้คํานวณกําหนดเวลาที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมเข้าด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 297 ลงโทษ จําคุก 3 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจําเลยได้กระทําผิดจริงตามฟ้อง ให้ลงโทษจําคุกจําเลย 5 ปี และเมื่อ พ้นโทษแล้วให้กักกันจําเลยภายหลังพ้นโทษเป็นเวลา 3 ปีนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคําพิพากษาศาลชั้นต้น เฉพาะโทษที่ลงแก่จําเลยจากจําคุก 3 ปี เป็นจําคุก 5 ปี โดยมิได้แก้บทมาตราด้วย ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และแม้ว่าศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งให้กักกันจําเลยหลังพ้นโทษอีกเป็นเวลา 3 ปี แต่กักกันนั้นมิใช่โทษเป็นเพียง วิธีการเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น และตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 ทวิ วรรคสอง ก็ได้บัญญัติห้ามมิให้คํานวณ กําหนดเวลาที่ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมกับโทษจําคุกตามคําพิพากษา ดังนั้น คดีนี้ ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้นนั้น เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกําหนดโทษ ของศาลอุทธรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาและศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์ คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

ส่วนการที่จําเลยฎีกาโดยอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนเพราะโจทก์ทําร้าย จําเลยก่อน จําเลยจึงใช้ปืนตีศีรษะนายสําออย 3 ครั้งเพื่อป้องกันตนนั้น เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จําเลยฎีกา และศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับฎีกาของจําเลย คําสั่งของศาล ชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของโจทก์และจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3008 (LA 308) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายดําใช้ไม้ตีที่หน้านายเขียวเป็นเหตุให้นายเขียวได้รับอันตรายแก่กาย และทําให้แว่นตาที่นายเขียวใส่ได้รับความเสียหาย ต่อมานายเขียวได้ยื่นฟ้องนายดําในข้อหาทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุ ให้นายเขียวเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 (ความผิดข้อหาทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เป็นความผิดที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว) และข้อหาทําให้เสียทรัพย์แว่นตาของนายเขียว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 (ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 58 เป็นความผิดต่อส่วนตัว) นายเขียวบรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ทุกประการ ศาลตรวจคําฟ้องแล้วพบว่าฟ้องถูกต้องจึงมีคําสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น. นายเขียวทราบกําหนดนัดของศาลโดยชอบ ก่อนวันนัดไต่สวน มูลฟ้อง นายดําเดินทางไปหานายเขียวเพื่อขอโทษนายเขียวและตกลงจะจ่ายเงินให้นายเขียวจน นายเขียวพอใจ เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนายเขียวและทนายความของนายเขียวไม่ไปศาลตาม กําหนดนัด ศาลจึงมีคําพิพากษายกฟ้อง ต่อมาหลังจากศาลยกฟ้อง พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายดํา ในความผิดเรื่องเดียวกันและข้อหาเดียวกันต่อศาลอีก ศาลมีคําสั่งไม่รับฟ้องทุกฐานความผิด ดังนี้ คําสั่งไม่รับฟ้องของศาลชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 166 “ถ้าโจทก์ไม่มาตามกําหนดนัด ให้ศาลยกฟ้องเสีย แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุสมควร จึงมาไม่ได้ จะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้

คดีที่ศาลได้ยกฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าโจทก์มาร้องภายในสิบห้าวัน นับแต่วันศาลยกฟ้องนั้น โดยแสดง ให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ก็ให้ศาลยกคดีนั้นขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่

ในคดีที่ศาลยกฟ้องดังกล่าวแล้ว จะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องเช่นนี้ ในคดีซึ่งราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ ไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 166 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดหน้าที่ของโจทก์ไว้ว่า ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์จะต้องมาตามนัด มิฉะนั้นก็ให้ศาลยกฟ้องเสีย เว้นแต่จะมีเหตุสมควรศาลจะสั่งเลื่อนคดีไปก็ได้ ดังนั้นตาม อุทาหรณ์ การที่นายเขียวเป็นโจทก์ฟ้องนายดําในข้อหาทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้นายเขียวเกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และข้อหาทําให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และศาลมีคําสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น. เมื่อโจทก์ทราบ กําหนดนัดของศาลโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องไปศาลตามกําหนดนัด เมื่อโจทก์และทนายความของโจทก์ ไม่ไปศาล การที่ศาลมีคําพิพากษายกฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่ง

และตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 166 วรรคสาม ได้กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ศาลได้ยกฟ้องตามวรรคหนึ่ง ดังกล่าวแล้วจะฟ้องจําเลยในเรื่องเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ แต่ถ้าศาลยกฟ้องในคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ย่อม ไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นอีก เว้นแต่จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น ตามอุทาหรณ์เมื่อศาลได้ ยกฟ้องคดีที่นายเขียวเป็นโจทก์ และต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายดําในความผิดเรื่องเดียวกันและข้อหาเดียวกันต่อศาลอีกและศาลมีคําสั่งไม่รับฟ้องทุกฐานความผิดนั้น คําสั่งไม่รับฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. กรณีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เป็นความผิดที่มิใช่ ความผิดต่อส่วนตัว เมื่อศาลยกฟ้องในคดีที่นายเขียวเป็นโจทก์ย่อมไม่ตัดอํานาจพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีนั้นอีก
และเมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายดําในคดีนี้อีก แต่ศาลมีคําสั่งไม่รับฟ้องในฐานความผิดนี้ ดังนั้น คําสั่ง ของศาลกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2. กรณีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 เป็นความผิดต่อ ส่วนตัว เมื่อศาลยกฟ้องคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมไม่มีอํานาจฟ้องนายดําอีก และเมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องนายดําในคดีนี้อีก แต่ศาลมีคําสั่งไม่รับฟ้องในฐานความผิดนี้ ดังนั้น คําสั่งของศาลกรณีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งไม่รับฟ้องของศาลในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ส่วนคําสั่งไม่รับฟ้องของศาลในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหาลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามประมวลกฎหมายทุกประการ) ก่อนเริ่มพิจารณา ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จําเลยตอบว่ามีทนายความแล้ว หลังจากนั้นศาลชั้นต้น ได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจําเลยแถลง ไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงให้นัดฟังคําพิพากษา

ความปรากฏตามฟ้องว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความ แต่เนื่องจากจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ทั้งมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีจึงต้องลงโทษจําเลยไปตามคํารับสารภาพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจําเลยไปตามคํารับสารภาพชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334. “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของ รวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง”

มาตรา 185 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหาลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 นั้น เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจําเลยไม่ติดใจสืบพยาน เมื่อคดีดังกล่าวมิใช่คดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจําเลยโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฟ้องว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว และแม้จําเลย จะให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความก็ตาม ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ และ ปล่อยตัวจําเลยไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยด้วยเหตุที่จําเลย ให้การรับสารภาพตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลย เนื่องจากจําเลยให้การรับสารภาพดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยไปตามคํารับสารภาพไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ร่วมกันลักรถยนต์ของกลางหมายเลขทะเบียน กรุงเทพมหานคร 2141 ของนายดําไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยทั้ง 3 ให้การปฏิเสธ ศาลพิจารณาแล้ว ฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวเป็นคนลักรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวของนายดํา ส่วนจําเลยที่ 2 ช่วยรับซื้อรถยนต์ของกลางจากจําเลยที่ 1 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่จําเลยที่ 1 ได้มา โดยการกระทําผิด การกระทําของจําเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ส่วนการกระทําของจําเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ส่วนจําเลยที่ 3 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําผิดแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จําเลยทั้ง 3 มิได้หลงต่อสู้

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เพียงใด
จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 185 วรรคหนึ่ง “ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทําผิดก็ดี การกระทําของจําเลยไม่เป็น ความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุตามกฎหมายที่จําเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจําเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจําเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิดหรือ ต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทําให้ เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่า ข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่า

การที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เพียงใด
แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีจําเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 และจําเลยที่ 3 ร่วมกันลักรถยนต์ ของกลางหมายเลขทะเบียนกรุงเทพมหานคร 2141 ของนายดําไปโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดที่ร่วมกันกระทําผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 อยู่ในตัว จําเลยทั้ง 3 ให้การปฏิเสธ เมื่อศาลพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวเป็นคนลักรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวของ นายดําอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ดังนั้น ศาลจึงพิพากษาลงโทษ จําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก

กรณีจําเลยที่ 2 แม้โจทก์จะฟ้องว่าจําเลยที่ 2 ร่วมกับจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 3 ร่วมกันลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) แต่ในทางพิจารณาข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลยที่ 2 กระทําความผิด ฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 นั้น ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาซึ่งแตกต่างจาก ที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องนั้นเป็นเพียงรายละเอียด และเมื่อจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงสามารถพิพากษาลงโทษ จําเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสองประกอบวรรคสาม

กรณีจําเลยที่ 3 เมื่อในทางพิจารณาปรากฏข้อเท็จจริงว่า จําเลยที่ 3 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การกระทําความผิดแต่อย่างใด ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยตัวจําเลยที่ 3 ไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเป็นกรณีที่จําเลยมิได้กระทําผิด

สรุป ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 334 และพิพากษา ลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานรับของโจรตาม ป.อาญา มาตรา 357 ส่วนจําเลยที่ 3 ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนไม่ได้กระทําผิด ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ และจําเลยเสร็จสิ้นแล้ว พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจําเลยหนักขึ้น จําเลยอุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทําความผิด ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คําพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่าให้ลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี และปรับ 40,000 บาท โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 1 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจําคุกจําเลยตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษ จําเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับฎีกาของ โจทก์และจําเลย ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าคําสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 219 “ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจําเลยไม่เกินกําหนดที่ว่ามานี้ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จําเลยในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจําเลย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้น พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 336 ลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี และศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้คําพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่าให้จําคุกจําเลย 1 ปี และปรับ 40,000 บาท โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขในเรื่องรอการลงโทษถือเป็นการแก้ไขมาก อย่างไรก็ดี แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจําเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจําคุกไว้โทษที่จําเลยได้รับตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จําเลยจะต้องรับตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น คําพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมิได้เป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลยแต่ อย่างใด คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 4419/2540)

ตามข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจําคุกจําเลยตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษ ถือเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 ดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนจําเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทําความผิด ฐานวิ่งราวทรัพย์ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จําเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 เช่นกัน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตอนท้าย เนื่องจากแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขในเรื่องการรอการลงโทษ ซึ่งเป็นการแก้ไขมาก แต่ผลของคําพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ส่งผลเป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลย ดังนั้น คําสั่งของ ศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของโจทก์และจําเลยจึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามนัย ป.วิ.อาญา มาตรา 219

สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของโจทก์และจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3109 (LAW 3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน LAW 3009 มี 4 ข้อ
*** ส่วน LAW 3109 มี 3 ข้อ (ข้อ 1, 3 และ 4)

1 ข้อ 1. นายขาวอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนางสาวชมพูโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จนนางสาวชมพูมีบุตร
ที่เกิดกับนายขาวคนหนึ่งคือเด็กหญิงเทา นายขาวได้ให้การเลี้ยงดูส่งเสียเล่าเรียนและให้เด็กหญิงเทาใช้นามสกุลของตน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่นายแดงได้ขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาทชนนายขาวถึงแก่ความตาย เด็กหญิงเท่าได้ฟ้องนายแดงต่อศาลเรียกให้นายแดงชดใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่ตนเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด ดังนี้

(1) ค่าปลงศพของนายขาวผู้เป็นบิดา และ
(2) ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เนื่องจากเหตุที่นายขาวตายลงนั้น ทําให้เด็กหญิงเทาต้อง ขาดไร้อุปการะจากนายขาว

ให้นักศึกษาวินิจฉัยว่า เด็กหญิงเทาควรมีสิทธิตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 443 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ในกรณีทําให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอย่างอื่น ๆ อีกด้วย

ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้น ทําให้บุคคลคนหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่า บุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง “บิดามารดาจําต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวอยู่กินกันฉันสามีภริยากับนางสาวชมพูโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จนนางสาวชมพูมีบุตรที่เกิดกับนายขาวคนหนึ่งคือเด็กหญิงเท่านั้น เด็กหญิงเทาย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของนางสาวชมพู่ แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของนายขาว การที่นายขาวได้ให้การเลี้ยงดู ส่งเสียเล่าเรียน และให้ เด็กหญิงเทาใช้นามสกุลของตนนั้น ถือว่านายขาวได้รับรองโดยพฤตินัยว่าเด็กหญิงเทาเป็นบุตรของตน จึงมีผลทําให้เด็กหญิงเทามีฐานะเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิรับมรดกของนายขาว ในฐานะผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

การที่นายแดงได้ขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาทชนนายขาวถึงแก่ความตาย เด็กหญิงเทาจะมีสิทธิ ฟ้องนายแดงต่อศาลเรียกให้นายแดงชดใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่ตนเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดได้หรือไม่
เพียงใด แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) กรณีค่าปลงศพ สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 443 วรรคหนึ่ง ได้แก่ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอย่างอื่นนั้น ผู้มีสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวได้จะต้องเป็นทายาทของ ผู้ตายและเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายด้วย ดังนั้น เมื่อเด็กหญิงเทาเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายขาว ผู้ตาย เด็กหญิงเทาจึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้นายแดงชดใช้เงินค่าปลงศพของนายขาวผู้เป็นบิดาได้

(2) กรณีค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย สิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ตามมาตรา 443 วรรคสามนั้น ผู้มีสิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ขาดไร้อุปการะตาม กฎหมายครอบครัวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อนายขาวมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กหญิงเทา นายขาวจึงไม่มีหน้าที่ ต้องอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงเทาในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตามมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง เด็กหญิงเทาจึงไม่สามารถ ฟ้องให้นายแดงชดใช้เงินค่าขาดไร้อุปการะได้ เนื่องจากการที่นายขาวตายนั้น ไม่ทําให้เด็กหญิงเทาต้องขาดไร้อุปการะจากนายขาวแต่อย่างใด

สรุป เด็กหญิงเทาสามารถฟ้องให้นายแดงชดใช้เงินค่าปลงศพได้ แต่จะฟ้องค่าขาดไร้อุปการะไม่ได้

 

ข้อ 2. นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางฝนมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือนายลม นายลมมีนางสาวเดือนเป็น บุตรนอกกฎหมายที่นายลมให้ใช้นามสกุล ส่วนนางสาวเดือนจดทะเบียนรับเด็กหญิงฟ้ามาเป็นบุตรบุญธรรม นางสาวเดือนเดินทางไปต่างจังหวัดประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต นายเมฆเดินทางไปรับศพ ของนางสาวเดือน แล้วได้เจอกับนางสาวเนปจูน นายเมฆมีความสัมพันธ์กับนางสาวเนปจูนจน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กชายพายุ ซึ่งนายเมฆให้เด็กชายพายุใช้นามสกุล พอนางฝนทราบข่าว จึงเกิดความโมโหเอาปืนมายิงนายเมฆถึงแก่ความตาย พอนายลมทราบข่าวก็เสียใจมากจึงล้มป่วย และถึงแก่ความตาย นายลมมีมรดกเป็นเงินสดในธนาคารจํานวน 3 ล้านบาท จงแบ่งมรดกของนายลม

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มีให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดก
แทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็น ทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายลมเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มรดกของนายลมคือเงินสดในธนาคาร จํานวน 3 ล้านบาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมคือนายเมฆและนางฝนซึ่งเป็นบิดามารดาในฐานะทายาท โดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) ประกอบมาตรา 1630 วรรคสอง และนางสาวเดือนซึ่งเป็นผู้สืบสันดานในฐานะ ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ส่วนเด็กชายพายุซึ่งเป็นน้องชายร่วมบิดาเดียวกัน ของนายลมและเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) นั้น เมื่อนายลมเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลําดับก่อน ตามมาตรา 1629 ดังนั้น เด็กชายพายุซึ่งเป็นทายาทที่อยู่ในลําดับถัดลงไปจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายลม ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเมฆและนางสาวเดือนได้ถึงแก่ความตายก่อนนายลมเจ้ามรดกตาย
นายเมฆและนางสาวเดือนจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น นายเมฆและนางสาวเดือน จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายลมตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่นายเมฆและนางสาวเดือนตามมาตรา 1639

กรณีของนายเมฆ เมื่อนายเมฆเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (2) และถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย แม้นายเมฆจะมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือเด็กชายพายุตามมาตรา 1643 เด็กชายพายุก็ไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่ นายเมฆได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1639 ซึ่งกําหนดให้แต่เฉพาะบุคคลซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) เท่านั้นที่เมื่อถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดาน รับมรดกแทนที่

กรณีของนางสาวเดือน แม้นางสาวเดือนจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ที่ถึงแก่ความตาย ก่อนเจ้ามรดกตาย และนางสาวเดือนมีผู้สืบสันดานคือเด็กหญิงฟ้า แต่เมื่อเด็กหญิงฟ้าเป็นเพียงบุตรบุญธรรม ของนางสาวเดือน มิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง เด็กหญิงฟ้าจึงไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นางสาวเดือนตาม
มาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

ส่วนการที่นางฝนใช้ปืนยิงนายเมฆถึงแก่ความตายนั้น ไม่ถือว่าเป็นการกระทําให้เจ้ามรดกหรือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยเจตนา เนื่องจากนายเมฆและนางฝนเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ นายลมในฐานะทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกัน นางฝนจึงไม่ถูกจํากัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตาม มาตรา 1606 (1) ดังนั้น นางฝนจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายลมในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) และเมื่อนายลมมีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวคือนางฝน นางฝนจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายลมจํานวน 3 ล้านบาทแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายลมจํานวน 3 ล้านบาท ตกได้แก่นางฝนแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3. นายแก้วกับนางกิ่งเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมายมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อนายนิด ต่อมานายแก้ว จดทะเบียนรับนายหนุ่มเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย นายหนุ่มจดทะเบียนสมรสกับ นางสาวสวยมีบุตร 1 คน ชื่อนายแสง นายนิดมีนิสัยเกเร ลักทรัพย์และทําร้ายบิดามารดาเป็นประจํา นายแก้วจึงทําหนังสือตัดมิให้นายนิดรับมรดกของตนและมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางรักหลังจากนั้นนายหนุ่มป่วยและถึงแก่ความตาย นายแก้วทําหนังสือมอบแก่ผู้อํานวยการเขตบางรักขอถอนหนังสือตัดมิให้นายนิดรับมรดก แต่นายนิดน้อยใจบิดาจึงทําหนังสือขอสละมรดกของนายแก้ว ให้ไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางรักเช่นเดียวกัน ต่อมาอีก 6 เดือน นายแก้วถึงแก่ความตายโดยมี ทรัพย์มรดกเป็นเงิน 3 ล้านบาท นายแก้วมิได้ทําพินัยกรรมไว้ บิดามารดาถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ให้วินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกของนายแก้วตกได้แก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ แต่ ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1609 “การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้

ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทําโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้าการตัด มิให้รับมรดกได้ทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทําตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผล บังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายแก้วถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายแก้วคือ เงินจํานวน 3 ล้านบาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง และทายาทโดยธรรมซึ่ง มีสิทธิได้รับมรดกของนายแก้ว ได้แก่

1. นางกิ่ง ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วและเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรส ตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับมรดกในส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2. นายนิด ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วและเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะ ผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) และแม้ว่าก่อนที่นายแก้วจะตาย นายแก้วได้ทําหนังสือตัดมิให้นายนิดรับมรดก ของตนและมอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางรักก็ตาม แต่ต่อมานายแก้วได้ทําหนังสือมอบแก่ผู้อํานวยการเขตบางรัก ถอนหนังสือตัดมิให้นายนิดรับมรดก ซึ่งเป็นการถอนโดยถูกต้องตามมาตรา 1609 ประกอบมาตรา 1608 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นายนิดจึงไม่เสียสิทธิในการรับมรดกของนายแก้ว

และการที่นายนิดน้อยใจบิดาจึงได้ทําหนังสือขอสละมรดกของนายแก้วให้ไว้แก่ผู้อํานวยการ เขตบางรักนั้น แม้การสละมรดกจะได้ทําถูกต้องตามมาตรา 1612 ก็ตาม แต่เมื่อเป็นการสละสิทธิอันจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกของนายแก้วที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น ถือเป็นการแสดงเจตนาที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1619 การสละมรดกของนายนิดจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ดังนั้น นายนิดจึงยังคงมีสิทธิในการรับมรดกของนายแก้ว

3. นายหนุ่ม ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายแก้ว และมีสิทธิรับมรดกของนายแก้วในฐานะ ผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อปรากฏว่านายหนุ่มได้ถึงแก่ความตายก่อน เจ้ามรดกตาย นายหนุ่มจึงไม่อาจรับมรดกของนายแก้วได้เพราะไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกตายตาม มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อนายหนุ่มมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายแสง ดังนั้น นายแสงจึงเข้ารับมรดกของ นายแก้วแทนที่นายหนุ่มได้ตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

ดังนั้น มรดกของนายแก้วเป็นเงินจํานวน 3 ล้านบาท จึงตกได้แก่ นางกิ่ง นายนิด และนายแสง
โดยทั้ง 3 คน จะได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ล้านบาท ตามมาตรา 1633

สรุป ทรัพย์มรดกของนายแก้ว จึงตกได้แก่ นางกิ่ง นายนิด และนายแสง คนละ 1 ล้านบาท

 

ข้อ 4. นายขาวมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายชื่อนายดํา นายขาวจดทะเบียนสมรสกับนางเขียวมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือนายฟ้า นายขาวและนางเขียวได้จดทะเบียนรับนายน้ําเงินซึ่งเป็นหลานชายเป็นบุตรบุญธรรม ตามกฎหมาย และนายน้ําเงินมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายชื่อนางชมพูมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กหญิงแดง นายฟ้าทะเลาะกับนายน้ําเงินอย่างรุนแรง นายฟ้าได้ใช้ปืนยิงนายน้ําเงินถึงแก่ความตาย นายฟ้าต้องคําพิพากษาถึงที่สุดฐานฆ่านายน้ําเงินตายโดยเจตนา ต่อมานางเขียวหัวใจวายตาย หลังจากนั้นนายขาวถึงแก่ความตาย นายขาวมีทรัพย์มรดก 120,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายขาว

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิ
ได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดก
แทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกก้าจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายขาวถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของนายขาวจํานวน 120,000 บาท ย่อมตกแก่ทายาทโดยธรรม และทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายขาวได้แก่ นายดํา นายฟ้า และนายน้ําเงิน ส่วนนางเขียวซึ่งเป็นภริยาของนายขาวย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกเนื่องจากนางเขียวได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนที่ นายขาวเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่อยู่ในฐานะคู่สมรสที่จะรับมรดกของนายขาวตามมาตรา 1629 วรรคสอง

กรณีของนายดํา ซึ่งเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายขาว จึงมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาท โดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) ประกอบมาตรา 1630 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็น ทายาทชั้นบุตร

กรณีของนายฟ้า ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายขาว จึงมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) และกรณีที่นายฟ้าทะเลาะกับนายน้ําเงินซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายขาว จึงได้ ใช้ปืนยิงนายน้ําเงินจนถึงแก่ความตาย และนายฟ้าต้องคําพิพากษาถึงที่สุดฐานฆ่านายน้ำเงินตายโดยเจตนานั้น นายฟ้าย่อมไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) เนื่องจากนายฟ้ามิได้กระทําให้ เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายแต่อย่างใด

กรณีของนายน้ำเงิน ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายขาว จึงมีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และถือเป็นทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันกับนายฟ้า แต่เมื่อ นายน้ำเงินได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายน้ําเงินจึงไม่อาจรับมรดกของนายขาวได้ แต่เมื่อนายน้ําเงิน มีผู้สืบสันดานและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงคือเด็กหญิงแดง ดังนั้น เด็กหญิงแดงจึงมีสิทธิ์เข้ารับมรดกแทนที่ นายน้ำเงินในส่วนที่นายน้ําเงินจะได้รับตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1643

ส่วนนางชมพูเป็นภริยาของนายน้ําเงินมิใช่ผู้สืบสันดานของนายน้ําเงิน จึงเข้ารับมรดกแทนที่นายน้ำเงินไม่ได้

เมื่อผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายขาวมี 3 คน คือ นายดํา นายฟ้า และเด็กหญิงแดง และมีสิทธิ ได้รับมรดกในลําดับเดียวกัน ดังนั้น นายดํา นายฟ้า และเด็กหญิงแดง จึงได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือ คนละ 40,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายขาวจึงตกได้แก่ นายดํา นายฟ้า และเด็กหญิงแดง คนละ 40,000 บาท

 

LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3109 (LAW 3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายหนึ่งมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายคือนางสอง มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ พระภิกษุเอ นายบี และเด็กหญิงซี ก่อนที่นายหนึ่งจะสมรสกับนางสอง นายหนึ่งมีลูกติดมาคนหนึ่งชื่อนางสาวชมพู แต่นายหนึ่งไม่ได้เลี้ยงดูนางสาวชมพู เพราะนายหนึ่งได้เสียกับนางสาวแดง (มารดานางสาวชมพู) ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ในขณะนั้นยังไม่มีรายได้ที่จะส่งเสียนางสาวชมพู อย่างไรก็ดีนายหนึ่งได้แจ้ง ในใบสูติบัตรว่าตนเองเป็นบิดาและให้นางสาวชมพูใช้นามสกุล หากปรากฏว่านายหนึ่งได้เสียชีวิตลง นายหนึ่งมีทรัพย์มรดกทั้งหมด 15,000,000 บาท และได้ทําพินัยกรรมระบุให้นางสาวแดงได้ ทรัพย์มรดก 5,000,000 บาท

ให้ท่านวินิจฉัยว่า ใครเป็นทายาทของนายหนึ่งบ้างและเป็นทายาทประเภทใด และได้ทรัพย์มรดก คนละเท่าไหร่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1603 “กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”

มาตรา 1620 วรรคสอง “ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทําพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจําหน่ายทรัพย์ หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จําหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรม ไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกทั้งหมด 15 ล้านบาท ได้ทําพินัยกรรม ระบุให้นางสาวแดงได้ทรัพย์มรดก 5 ล้านบาทนั้น นางสาวแดงย่อมถือเป็นทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรมซึ่งเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรมตามมาตรา 1603 และมีสิทธิในทรัพย์มรดกของนายหนึ่งจํานวน 5 ล้านบาท ส่วนทรัพย์มรดกของ นายหนึ่งอีก 10 ล้านบาท ซึ่งนายหนึ่งมิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมว่าจะยกให้แก่ผู้ใดนั้น ต้องนํามาแบ่งปันให้แก่ทายาท โดยธรรมของนายหนึ่งต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคสอง ซึ่งผู้มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่ นางสองซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง พระภิกษุเอ นายบี และเด็กหญิงซี ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) โดยพระภิกษุเอนั้น แม้จะเป็นพระภิกษุก็ตาม แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามหรือถูกจํากัดสิทธิในการรับมรดกในฐานะเป็นทายาทโดยธรรม แต่อย่างใด เพียงแต่มาตรา 1622 ได้กําหนดไว้ว่า พระภิกษุนั้นจะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาท โดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกําหนดอายุความตามมาตรา 1754 เท่านั้น

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนที่นายหนึ่งจะสมรสกับนางสองนั้น นายหนึ่งมีลูกติดคนหนึ่งชื่อ นางสาวชมพู ซึ่งแม้ว่านายหนึ่งจะไม่ได้เลี้ยงดูนางสาวชมพู แต่นายหนึ่งได้แจ้งในสูติบัตรว่าตนเป็นบิดา และ ให้นางสาวชมพูใช้นามสกุล ย่อมถือว่านางสาวชมพูเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายหนึ่งบิดาได้รับรองแล้วโดยพฤตินัย ดังนั้น นางสาวชมพูย่อมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627

เมื่อผู้มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งในฐานะทายาทโดยธรรมมี 5 คน คือ นางสอง พระภิกษุเอ นายบี เด็กหญิงซี และนางสาวชมพู โดยนางสองซึ่งเป็นภริยาของนายหนึ่งนั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็น ทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้น นางสอง พระภิกษุเอ นายบี เด็กหญิง และนางสาวชมพู จึงได้รับ มรดกในส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 2 ล้านบาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกทั้งหมดของนายหนึ่งจํานวน 15 ล้านบาท จะตกได้แก่นางสาวแดงตามพินัยกรรม 5 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 10 ล้านบาท จะตกได้แก่ทายาทโดยธรรมคือ นางสอง พระภิกษุเอ นายบี เด็กหญิงซี และนางสาวชมพู คนละ 2 ล้านบาท

 

ข้อ 2. นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางฝน มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหมอกและนายลม นายหมอก อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับนางสาวเดือน หลังจากอยู่กินกันได้ 2 เดือน นายหมอกก็เดินทาง ไปทํางานที่ต่างประเทศ นางสาวเดือนไปหาหมอก็พบว่าตัวเองตั้งครรภ์ได้ 3 อาทิตย์ ส่วนนายลม จดทะเบียนรับ ด.ญ.ฟ้า มาเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานายลมเดินทางไปหานายหมอกที่ต่างประเทศ นายหมอกและนายลมประสบอุบัติเหตุในต่างประเทศและถึงแก่ความตาย พอนายเมฆทราบข่าว ก็หัวใจวายถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนางสาวเดือนคลอดบุตรออกมาชื่อ ด.ญ.ดาว ภายใน 310 วัน นับแต่เวลาที่นายหมอกถึงแก่ความตาย นายเมฆมีมรดกเป็นเงินสดจํานวน 1 ล้านบาท จงแบ่งมรดกของนายเมฆ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน
เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางฝน และมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายหมอกและนายลมนั้น เมื่อนายเมฆได้ถึงแก่ความตาย โดยหลักแล้วมรดกของนายเมฆจํานวน 1 ล้านบาท ย่อมตกแก่ผู้เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งได้แก่ นางฝนภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆในฐานะคู่สมรสตาม มาตรา 1629 วรรคสอง และนายหมอกกับนายลมซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตาม
มาตรา 1629 (1)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายหมอกและนายลมซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายหมอกและนายลมจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่นายเมฆเจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย นายหมอกและนายลมจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายเมฆตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จึงต้อง พิจารณาถึงการรับมรดกแทนที่ กล่าวคือ ถ้านายหมอกและนายลมมีผู้สืบสันดานและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ก็ให้ผู้สืบสันดานนั้นเข้ารับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643
กรณีของนายหมอก การที่นายหมอกได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับนางสาวเดือน และต่อมา นางสาวเดือนได้คลอดบุตรออกมาชื่อ ด.ญ.ดาว ภายใน 310 วันนับแต่เวลาที่นายหมอกถึงแก่ความตาย แต่เมื่อ ไม่ปรากฏว่านายหมอกได้รับรอง ด.ญ.ดาว ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายตามมาตรา 1627 แต่อย่างใด ด.ญ.ดาว จึงมิใช่ผู้สืบสันดานของนายหมอกตามมาตรา 1639 ดังนั้น ด.ญ.ดาวจึงไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายหมอก

กรณีของนายลม การที่นายลมได้จดทะเบียนรับ ด.ญ.ฟ้ามาเป็นบุตรบุญธรรม แม้ ด.ญ.ฟ้าจะเป็น ผู้สืบสันดานของนายลมตามมาตรา 1639 ประกอบมาตรา 1627 ก็ตาม แต่เมื่อ ด.ญ.ฟ้ามิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง ของนายลม ดังนั้น ด.ญ.ฟ้าจึงไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายลมตามมาตรา 1643

ส่วนนางสาวเดือนมิใช่ทายาทโดยธรรมของนายเมฆตามมาตรา 1629 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของ
นายเมฆ ดังนั้น มรดกทั้งหมดของนายเมฆจํานวน 1 ล้านบาท จึงตกแก่นางฝนแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายเมฆทั้งหมดจํานวน 1 ล้านบาท ตกแก่นางฝนแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3. นายมนัสกับนางมณีเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย มีบุตร 2 คน คือ นายมิ่งและนายมิตร บิดา มารดาถึงแก่ความตายแล้ว นายมิ่งมีนางแดงเป็นภริยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คน คือ เด็กหญิงสวย ซึ่งนายมิ่งให้ใช้นามสกุลและส่งเสียเลี้ยงดูให้การศึกษาตลอดมา นายมิตรติดการพนัน นายมนัสจึงประกาศด้วยวาจาต่อญาติทุกคนว่าขอตัดนายมิตรมิให้รับมรดกของตน ต่อมานายมิ่ง ใช้อาวุธปืนยิงนายมนัสโดยเจตนาฆ่าเนื่องจากไม่พอใจที่ขอเงินแล้วนายมนัสปฏิเสธ แต่นายมนัส ไม่ถึงแก่ความตาย ศาลพิพากษาลงโทษจําคุกนายมิ่งในความผิดฐานพยายามฆ่านายมนัส คดี ถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้น 3 ปี นายมนัสป่วยและถึงแก่ความตาย โดยมีทรัพย์มรดกเป็นเงินสด 6,000,000 บาท ดังนี้ จงแบ่งมรดกของนายมนัส

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ

(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิ
ได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมนัสกับนางมณีเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย และมีบุตร 2 คน คือ นายมิ่งและนายมิตร เมื่อนายมนัสถึงแก่ความตาย มรดกของนายมนัสซึ่งเป็นเงินสดจํานวน 6 ล้านบาท ย่อมตกแก่ ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ได้แก่นายมิ่งและนายมิตรบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) และนางมณีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยนางมณีมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้น นางมณี นายมิ่งและนายมิตร จะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1633 คือได้รับคนละ 2 ล้านบาท

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายมิ่งใช้อาวุธปืนยิงนายมนัสเจ้ามรดกโดยเจตนาฆ่า แต่นายมนัส ไม่ถึงแก่ความตาย และศาลได้พิพากษาลงโทษจําคุกนายมิ่งในความผิดฐานพยายามฆ่านายมนัส คดีถึงที่สุดแล้ว นายมิ่งจึงถูกกําจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1606 (1) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายมิ่งถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตาย แต่นายมิ่งมีผู้สืบสันดาน คือ เด็กหญิงสวย ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่นายมิ่งบิดาให้การรับรอง โดยพฤตินัยแล้ว ด้วยการให้ใช้นามสกุลและส่งเสียเลี้ยงดูให้การศึกษาตลอดมาตามมาตรา 1627 เด็กหญิงสวยจึง เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายมิ่ง ดังนั้น เด็กหญิงสวยจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายมิ่งได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 คือ จะได้รับมรดกของนายมนัสจํานวน 2 ล้านบาท

ส่วนนายมิตรนั้น แม้นายมนัสจะประกาศตัดมิให้นายมิตรได้รับมรดกของนายมนัส แต่การตัดมิให้ นายมิตรได้รับมรดกนั้น นายมนัสได้พูดด้วยวาจามิได้แสดงเจตนาชัดแจ้งโดยพินัยกรรม หรือโดยทําเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1608 การตัดมิให้นายมิตรรับมรดกของนายมนัสจึงไม่มีผลเป็นการตัด มิให้รับมรดก นายมิตรจึงยังคงมีสิทธิได้รับมรดกของนางมนัสจํานวน 2 ล้านบาทเช่นเดิม

สําหรับนางแดง มิใช่ทายาทโดยธรรมของนายมนัสเจ้ามรดกตามมาตรา 1629 จึงไม่มีสิทธิได้รับ
มรดกของนายมนัส

สรุป มรดกของนายมนัสจํานวน 6 ล้านบาท จะตกแก่ นางมณี เด็กหญิงสวย และนายมิตร คนละ 2 ล้านบาท

 

ข้อ 4. นายเสือและนางแมวมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายสิงห์ นายสิงห์จดทะเบียนสมรสกับ นางหนู มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นายเป็ด ต่อมานายสิงห์และนางหนูทะเลาะกันอย่างรุนแรง ทั้งสอง จึงจดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมาย หลังจากนั้นนายสิงห์ได้จดทะเบียนรับนางเจี๊ยบหลานสาวมาเป็น บุตรบุญธรรมตามกฎหมาย นางเจี๊ยบมีบุตรชาย 1 คน ชื่อ ด.ช.ไก่ ต่อมานางเจี๊ยบประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายสิงห์ทําพินัยกรรมยกที่ดิน 1 แปลง มูลค่า 600,000 บาท ให้กับ นายเป็ด ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ ไม่ได้ทําพินัยกรรมยกให้ใคร นายสิงห์ถึงแก่ความตาย โดยมี ทรัพย์มรดกคือ ที่ดิน 1 แปลงตามพินัยกรรม และมีเงินสด 300,000 บาท นายเป็ดพบพินัยกรรม ของนายสิงห์ นายเป็ดได้แก้ข้อความในพินัยกรรมเป็นว่านายสิงห์ยกที่ดินและเงินสดทั้งหมด ให้แก่ตนแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ ให้ท่านแบ่งมรดกของนายสิงห์

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ (5) ผู้ที่ปลอม ทําลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผล บังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ
มรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า เป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1699 “ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกําหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผล ด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายสิงห์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายสิงห์มีทรัพย์มรดกคือที่ดิน 1 แปลง มูลค่า 600,000 บาท ที่นายสิงห์ได้ทําพินัยกรรมยกให้แก่นายเป็ด และเงินสดจํานวน 300,000 บาทนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายเปิดได้ปลอมพินัยกรรมโดยแก้ไขข้อความในพินัยกรรมเป็นว่า นายสิงห์ได้ยกที่ดิน
และเงินสดทั้งหมดให้แก่ตนแต่เพียงผู้เดียวนั้น นายเป็ดย่อมถูกกําจัดมิให้รับมรดกทั้งหมดของนายสิงห์ฐานเป็น ผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (5) ดังนั้น ข้อกําหนดในพินัยกรรมที่ยกที่ดิน 1 แปลง มูลค่า 600,000 บาท ให้แก่ นายเป็ดจึงไม่มีผลบังคับ จึงต้องนําที่ดินมูลค่า 600,000 บาท และทรัพย์นอกพินัยกรรมคือ เงินสดจํานวน 300,000 บาท ไปแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมของนางสิงห์ต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1699 และทายาทโดยธรรมของนายสิงห์ที่มีสิทธิได้รับมรดกของนายสิงห์ ได้แก่ นางเจี๊ยบบุตรบุญธรรมในฐานะ ผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 และนายเสือกับนางแมวซึ่งเป็นบิดามารดาตามมาตรา 1629 (2) เนื่องจากตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่งนั้นจะไม่ใช้บังคับในกรณีที่เจ้ามรดกมีทายาทตามมาตรา 1629 (1) คือผู้สืบสันดานยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ และบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนี้ให้บิดามารดา ได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร (มาตรา 1630 วรรคสอง) ดังนั้น ทรัพย์มรดกของนายสิงห์ทั้งหมด 900,000 บาท จึงตกแก่นางเจี๊ยบ นายเสือ และนางแมว คนละ 300,000 บาท ส่วนนางหนูซึ่งได้จดทะเบียนหย่ากับนายสิงห์แล้ว จึงไม่มีสิทธิรับมรดก

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่านางเจี๊ยบซึ่งเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) ได้ถึงแก่ความตาย ก่อนเจ้ามรดกตาย เมื่อนางเจี๊ยบมีบุตรคือ ด.ช.ไก่ ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง ดังนั้น ด.ช.ไก่ จึงมีสิทธิเข้ารับมรดก แทนที่นางเจี๊ยบในส่วนที่นางเจี๊ยบจะได้รับคือ 300,000 บาทได้ ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

ดังนั้น มรดกของนายสิงห์คือ ที่ดิน 1 แปลง มูลค่า 600,000 บาท และเงินสดจํานวน 300,000 บาท จึงตกได้แก่นายเสือ นางแมว และ ด.ช.ไก่ คนละ 300,000 บาท

สรุป มรดกทั้งหมดของนางสิงห์จึงตกแก่ นายเสือ นางแมว และ ด.ช.ไก่ คนละ 300,000 บาท

LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเมฆจดทะเบียนสมรสกับนางฝน มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ น.ส.ดาว และ น.ส.เดือน นายเมฆ ให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหล่อบนที่ดินโฉนดเลขที่ 123 เป็นเวลา 3 ปี และให้ น.ส.สวยเช่าซื้อ รถยนต์ 1 คัน ราคา 1,000,000 บาท ชําระค่าเช่าซื้อทั้งหมด 10 งวด ต่อมานายเมฆได้ออกบวช เป็นพระที่วัดเทพลีลา ได้เงินมาในระหว่างบวช 300,000 บาท หลังจากนั้นนายเมฆก็ลาสิขาบท และถึงแก่ความตาย นายเมฆมีเงินสดอยู่ในธนาคารก่อนบวชจํานวน 3,000,000 บาท เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของนายเมฆ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

มาตรา 1623 “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จําหน่ายไป
ในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเมฆถึงแก่ความตาย มรดกของนายเมฆตามมาตรา 1600 ซึ่งจะตกแก่ ทายาทโดยธรรม มีดังนี้

1. ที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ที่นายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายหล่อ ซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินจะ ไม่ระงับสิ้นไปด้วยความตายของนายเมฆผู้ให้สิทธิ นายหล่อจึงสามารถใช้สิทธิเหนือพื้นดินนั้นได้ต่อไปจนกว่า จะครบ 3 ปีตามสัญญา

2. เงินค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับจาก น.ส.สวย ที่นายเมฆให้ น.ส.สวยเช่าซื้อ ซึ่งตามกฎหมายนั้น สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อจะไม่ระงับสิ้นไปด้วยความตายของผู้เช่าซื้อหรือผู้ให้เช่าซื้อ

3. เงินที่ได้มาระหว่างบวชจํานวน 300,000 บาท เพราะแม้เงินจํานวนดังกล่าวนี้จะเป็น ทรัพย์สินที่นายเมฆได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศก็ตาม แต่นายเมฆไม่ได้ถึงแก่มรณภาพในขณะเป็น พระภิกษุ จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะทําให้เงินจํานวน 300,000 บาทดังกล่าว ตกเป็นสมบัติของวัดเทพลีลาตามมาตรา 1623 ดังนั้น เมื่อนายเมฆถึงแก่ความตาย เงินจํานวน 300,000 บาท จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของนายเมฆ

4. เงินจํานวน 3,000,000 บาท ที่ฝากอยู่ในธนาคาร
สําหรับทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดของนายเมฆ ได้แก่ นางฝน ซึ่งเป็นภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่า ตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) น.ส.ดาว และ น.ส.เดือน ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆ ในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) โดยทั้งสามคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายเมฆ คือ ที่ดิน เงินค่าเช่าซื้อรถยนต์ เงินที่ได้มาระหว่างบวช 300,000 บาท และเงินฝากธนาคาร 3,000,000 บาท จะตกได้แก่นางฝน น.ส.ดาว และ น.ส.เดือน คนละเท่า ๆ กัน

 

ข้อ 2. นางสาวดาวและนางสาวเดือน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆและนางจันทร์ ทั้งคู่ ประสงค์จะมีบุตรชายจึงไปขอรับนายหมอกมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย นายหมอก มีภริยาที่อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรชายชื่อเด็กชายดิน โดยนายหมอกยินยอม ให้เด็กชายดินใช้นามสกุลและรับเลี้ยงดูมาโดยตลอด จนกระทั้งหนึ่งปีต่อมา นายหมอกติดเชื้อไวรัส COVID-19 เสียชีวิต นายเมฆเสียใจมากจึงล้มป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา นายเมฆเสียชีวิต โดยมีเงินฝากธนาคาร 2,000,000 บาท
เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของนายเมฆ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเมฆถึงแก่ความตาย มรดกของนายเมฆซึ่งเป็นเงินที่ฝากอยู่ในธนาคาร จํานวน 2,000,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม และบุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของนายเมฆได้แก่ บุคคลใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. นางจันทร์ ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆ มีสิทธิรับมรดกของนายเมฆในฐานะ คู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย และจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2. นางสาวดาว และนางสาวเดือน ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆ มีสิทธิรับมรดก ของนายเมฆในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

3. นายหมอก ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนายเมฆ ย่อมมีสิทธิรับมรดกของ นายเมฆในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อนายหมอกได้ถึงแก่ความตาย ก่อนเจ้ามรดก นายหมอกจึงไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายหมอกจึงไม่อาจรับมรดกของ นายเมฆได้ตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายหมอกมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือเด็กชายดิน ซึ่งแม้ เด็กชายดินจะเป็นบุตรนอกกฎหมายของนายหมอก แต่ก็เป็นบุตรที่นายหมอกได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627 เพราะนายหมอกได้ให้เด็กชายดินใช้นามสกุลและรับเลี้ยงมาโดยตลอด ดังนั้น เด็กชายดินจึงมีสิทธิเข้ารับมรดก แทนที่นายหมอกได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

ดังนั้น มรดกของนายเมฆจํานวน 2,000,000 บาท จึงตกได้แก่นางจันทร์ นางสาวดาว นางสาวเดือน และเด็กชายดิน ซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นายหมอก โดยทั้ง 4 คนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 500,000 บาท
ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายเมฆตกได้แก่นางจันทร์ นางสาวดาว นางสาวเดือน และเด็กชายดิน คนละ 500,000 บาท

 

ข้อ 3. นายนกจดทะเบียนสมรสกับนางน้อยมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวใหญ่และนายเล็ก นางสาวใหญ่ มีสามีอยู่กินกันไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรสาวชื่อเด็กหญิงจิ๋ว ส่วนนายเล็กทําตัวเป็นนักเลงและชอบเที่ยวเตร่ไม่รู้จักทํามาหากิน นายนกจึงทําพินัยกรรมตัดนายเล็กไม่ให้รับมรดกของตนไว้กับนางน้อย ด้วยความรักลูกชายนางน้อยจึงได้ว่ากล่าวตักเตือนให้นายเล็กเลิกพฤติกรรมดังกล่าว

ต่อมานายเล็กประพฤติตนเป็นคนดีขึ้น นายนกจึงได้ทําหนังสือถอนการตัดนายเล็กโดยมอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนอกเวลาราชการ ต่อมานางสาวใหญ่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย พอนายนกทราบข่าวจึงล้มป่วยลงและติดเชื้อในกระแสเลือดตายในเวลาต่อมา นายนกมีมรดกเป็น เงินสดจํานวน 5,000,000 บาท

เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของนายนก

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ แต่
ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1609 “การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้

ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทําโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น…”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”
มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกัน เช่นนี้ไปจนหมดสาย

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายนักถึงแก่ความตาย มรดกซึ่งเป็นเงินสดจํานวน 5,000,000 บาท ของนายนกย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม และบุคคลที่มีสิทธิรับมรดกของนายนกได้แก่บุคคลใดบ้างนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. นางน้อย ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายนก มีสิทธิรับมรดกของนายนกในฐานะ คู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคท้าย

2. นางสาวใหญ่ ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายนก โดยหลักแล้วย่อมมีสิทธิรับมรดก ของนายนกในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) แต่เมื่อปรากฏว่า นางสาวใหญ่ได้ถึงแก่ความตายก่อน เจ้ามรดก ดังนั้น นางสาวใหญ่จึงไม่อาจรับมรดกของนายนกได้ เพราะนางสาวใหญ่ไม่มีสถานภาพบุคคลในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นางสาวใหญ่มีบุตรคือเด็กหญิงจิ๋ว ถึงแม้ว่า เด็กหญิงจิ๋วจะเกิดจากนางสาวใหญ่ที่ไม่ได้มีการสมรสกับสามี ก็ถือว่าเด็กหญิงจิ๋วเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและ เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางสาวใหญ่ตามมาตรา 1546 ดังนั้น เด็กหญิงจิ๋วจึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่นางสาวใหญ่
ในการรับมรดกของนายนกได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643

3. นายเล็ก ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายนกนั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายนกในฐานะ ผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ทั้งนี้เพราะนายนกเจ้ามรดกได้ทําพินัยกรรมตัดไม่ให้นายเล็กรับมรดกโดย ถูกต้องตามมาตรา 1608 แล้ว และแม้ว่าภายหลังนายนกจะได้ทําหนังสือถอนการตัดไม่ให้รับมรดกนั้นมอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การถอนดังกล่าวกระทําไม่ถูกต้องตามมาตรา 1609 คือไม่ได้ถอนโดยพินัยกรรม
ดังนั้น จึงยังถือว่านายเล็กถูกตัดไม่ให้รับมรดกเช่นเดิม

ดังนั้น มรดกของนายนกซึ่งเป็นเงินสดจํานวน 5,000,000 บาท จึงตกได้แก่นางน้อยคู่สมรส ของเจ้ามรดก และเด็กหญิงจิ๋วซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นางสาวใหญ่ โดยนางน้อยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้น นางน้อยและเด็กหญิงจิ๋วจึงได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กันคือคนละ
2,500,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายนกตกได้แก่นางน้อยและเด็กหญิงจิ๋วคนละ 2,500,000 บาท

 

ข้อ 4. นายดําและนางขาวเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเทาและนายน้ําเงิน นายเทาอยู่กินกับนางชมพูโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิงฟ้า โดยนายเทาให้การอุปการะเด็กหญิงฟ้ามาตั้งแต่เกิด ต่อมานายดําทําพินัยกรรมยกรถยนต์ 1 คัน ราคา 600,000 บาท ให้กับนายน้ําเงิน หลังจากนั้นนายดําหัวใจวายตาย นายดํามีมรดก คือ รถยนต์ 1 คัน ตามที่ได้ระบุในพินัยกรรม และเงินสด 1,200,000 บาท นายน้ําเงินได้เอาเงินมรดกจํานวน 500,000 บาท ไปเป็นของตนโดยฉ้อฉล ต่อมานายเทาสละมรดกของนายดําโดยทําเป็นหนังสือ มอบไว้แก่ผู้อํานวยการเขตบางพลัด

เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของนายดํา

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้น โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทําให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกําจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะ
ส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง
ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 1615 วรรคสอง “เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของ ผู้สืบสันดานนั้น”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน
เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ๆ ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทขั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดําเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายดํามีมรดก คือ รถยนต์ 1 คัน ตามที่ ระบุไว้ในพินัยกรรม และเงินสด 1,200,000 บาท ดังนี้ ทรัพย์มรดกของนายดําจะตกได้แก่ใครบ้าง แยกพิจารณา ได้ดังนี้คือ

กรณีเงินสด 1,200,000 บาท ที่นายดําไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรม
ของนายดํา ซึ่งได้แก่

1. นายเทาและนายน้ำเงิน ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

2. นางขาว ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับมรดกในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1) ดังนั้นนายเทา นายน้ำเงิน และนางขาว
จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน คือคนละ 400,000 บาท ตามมาตรา 1633

สําหรับนายน้ำเงินนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายได้เอาเงินมรดกไปเป็นของตนโดยทุจริตจํานวน 500,000 บาท ถือเป็นการยักย้ายทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ ดังนั้นนายน้ําเงินจึงต้องถูกกําจัดไม่ให้รับมรดกของ นายดําในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1605 วรรคหนึ่ง และเงินมรดกที่นายน้ําเงินถูกกําจัดไม่ให้ได้รับ จํานวน 400,000 บาทนั้น จะต้องนําคืนกองมรดกแล้วนําไปแบ่งให้แก่นายเท่าและนางขาวคนละ 200,000 บาท ดังนั้น นายเทาและนางขาวจะได้รับมรดกของนายดําคนละ 600,000 บาท

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายเทาได้ทําหนังสือสละมรดกทั้งหมดของนายดําแล้วมอบไว้แก่ ผู้อํานวยการเขตบางพลัด ซึ่งเป็นการสละมรดกที่ได้ทําถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา 1612 ดังนั้น เด็กหญิงฟ้า ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629
(1) จึงมีสิทธิสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนที่นายเทาผู้สละมรดก จะได้รับคือ 600,000 บาท ตามมาตรา 1615 วรรคสอง

สําหรับรถยนต์ 1 คัน ราคา 600,000 บาท ถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างที่นายดําทําพินัยกรรม ยกให้กับนายน้ําเงินโดยเฉพาะ จึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1605 วรรคสอง คือ รถยนต์จะตกได้แก่นายน้ําเงิน ในฐานะผู้รับพินัยกรรม โดยนายน้ําเงินจะไม่ถูกกําจัดไม่ให้รับมรดกในส่วนนี้

สรุป มรดกของนายดําที่เป็นเงินสด 1,200,000 บาท ตกได้แก่นางขาวและเด็กหญิงฟ้าคนละ 600,000 บาท ส่วนรถยนต์ 1 คัน ราคา 600,000 บาท ตกได้แก่นายน้ำเงินตามพินัยกรรม

LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 1 คน คือ นายโท นายเอกให้นายหนึ่งเช่าที่ดินแปลงหนึ่ง เพื่อปลูกอาคารพาณิชย์เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งนายหนึ่งตกลงว่าหากครบกําหนดตามสัญญาเช่า จะยอมให้อาคารพาณิชย์หลังนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเอก นอกจากนี้นายเอกยังให้นายสอง ยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 4 ปี หลังจากที่นายหนึ่งเช่าที่ดินและนายสองยืมรถยนต์แล้วเป็นเวลา 2 ปี นายหนึ่งและนายเอาเดินทางไปต่างประเทศด้วยกัน และเครื่องบินตกเสียชีวิตทั้งคู่

ดังนี้ นายโทจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่ง และจะเรียกรถยนต์คืนจากนายสองได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600) ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท

กรณีตามอุทาหรณ์ นายโทจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งและจะเรียกรถยนต์คืนจาก นายสองได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. การที่นายเอกให้นายหนึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกอาคารพาณิชย์เป็นเวลา 15 ปี การที่นายเอกให้นายหนึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกอาคารพาณิชย์ดังกล่าวนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายหนึ่งตกลงว่าจะยอมให้อาคารพาณิชย์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเอกเมื่อครบกําหนดตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ ตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิและ หน้าที่ตามสัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของนายหนึ่ง ดังนั้น นายโทจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งไม่ได้

2. การที่นายเอกให้นายสองยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 4 ปี
การที่นายเอกให้นายสองยืมรถยนต์ไปใช้เป็นเวลา 4 ปีนั้น เป็นสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งตาม กฎหมายสัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อผู้ยืมตาย (ป.พ.พ. มาตรา 648) แต่จะไม่ระงับไปในกรณีที่ผู้ให้ยืมตาย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากทําสัญญากับนายสองแล้วเป็นเวลา 2 ปี นายเอกผู้ให้ยืมถึงแก่ความตาย

สิทธิและหน้าที่ตามสัญญายืมซึ่งตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย (ผู้ให้ยืม) จึงไม่ระงับไปด้วย แต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ดังนั้น นายโทจึงต้องให้นายสองใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมคือรถยนต์ต่อไปอีก 2 ปี จะเรียกรถยนต์คืนจากนายสองไม่ได้

สรุป นายโทจะเรียกที่ดินคืนจากทายาทของนายหนึ่งและจะเรียกรถยนต์คืนจากนายสองไม่ได้

 

ข้อ 2. นายกลมอยู่กินกับนางมณีมีบุตรคือนายดําซึ่งนายกลมได้แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ต่อมานางมณีป่วยตาย นายกลมจึงไปอยู่กินกับนางแก้วมีบุตรคือนายกระทิงซึ่งนายกลมให้นายกระทิง ใช้นามสกุล โดยนายกระทิงจดทะเบียนสมรสกับนางอรนุชมีบุตรคือนางฤดี ซึ่งต่อมานางฤดีได้อยู่กิน กับนายสมชัยซึ่งนายสมชัยมีบุตรติดจากการสมรสครั้งก่อนคือ ด.ช.ปรีชา นางฤดีและนายสมชัย มีบุตรด้วยกันคือ ด.ญ.มานี ซึ่งนายสมชัยได้ให้ ด.ญ.มานี้ใช้นามสกุล ต่อมานางฤดีได้จดทะเบียนรับ ด.ช.ปรีชามาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของนางฤดี หลังจากนายกระทิงป่วยและ ถึงแก่ความตาย ต่อมานางฤดีประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายดําป่วยและตาย เช่นนี้ จงพิจารณาการตกทอดแห่งทรัพย์มรดกของนายดําซึ่งมีเงินสดอยู่ในธนาคาร 240,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง “เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี”

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน
เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน”

มาตรา 1634 “ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่ง ๆ ตามบทบัญญัติ
ในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดังนี้

(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

มาตรา 1644 “ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายดําถึงแก่ความตาย มรดกของนายดําซึ่งเป็นเงินสดในธนาคารจํานวน 240,000 บาท จะตกได้แก่ใครนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. นายกลม ซึ่งเป็นบิดาของนายดํา แต่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายดํา เพราะ ขณะที่นายดําเกิดนั้น นายกลมกับนางมณีเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น นายกลมจึงไม่มีสิทธิ รับมรดกของนายดํา เพราะตามมาตรา 1629 (2) ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้น จะต้องเป็นบิดาและมารดา โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

2. นางมณี ซึ่งเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายดํา เพราะบุคคลที่เกิดจากหญิงที่มิได้ สมรสกับชาย กฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นตามมาตรา 1546 นางมณีจึงมีฐานะเป็น ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (2) แต่เมื่อในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น นางมณีไม่มีสภาพบุคคล อยู่ในเวลานั้น เพราะได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ดังนั้น นางมณีจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดําตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

3. นายกระทิง เป็นบุตรที่เกิดจากนายกลมและนางแก้ว จึงเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกันกับ นายดําและเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) ประกอบมาตรา 1627 แต่การที่นายกระทิงตายก่อนเจ้ามรดก นายกระทิงจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น นายกระทิงจึงไม่มีสิทธิรับมรดก ของนายดําตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาการเข้ารับมรดกแทนที่นายกระทิงตามมาตรา 1639

การที่นายกระทิงได้จดทะเบียนสมรสกับนางอรนุชและมีบุตรคือนางฤดี นางฤดีจึงเป็นบุตร โดยชอบด้วย
กฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายกระทิงตามมาตรา 1536 ประกอบมาตรา 1643 แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางฤดีได้ถึงแก่ความตายก่อนนายดําด้วย ดังนั้น นางฤดีจึงไม่มีสิทธิบริบูรณ์ ในการรับมรดกแทนที่นายกระทิงตามมาตรา 1644 ประกอบมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาการเข้ารับ มรดกแทนที่นางฤดีต่อไปตามมาตรา 1639 และเมื่อปรากฏว่านางฤดีมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ญ.มานี และเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางฤดีตามมาตรา 1536 ประกอบมาตรา 1643 ดังนั้น ด.ญ.มานี้จึงเข้ารับมรดก แทนที่นางฤดีในการรับมรดกของนายดําได้ ส่วน ด.ช.ปรีชาซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนางฤดีนั้น จะเข้ารับมรดก แทนที่นางฤดีไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนางฤดี จึงต้องห้ามมิให้รับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1643

ดังนั้น ทรัพย์มรดกของนายดํา คือเงินฝากในธนาคารจํานวน 240,000 บาท จึงตกได้แก่ ด.ญ.มานี
แต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1634 (3)

สรุป มรดกของนายดําซึ่งเป็นเงินสดในธนาคารจํานวน 240,000 บาท ตกได้แก่ ด.ญ.มานี โดย การเข้ามารับมรดกแทนที่นางฤดีแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 3. นายดําอยู่กินกับนางแดง มีบุตรคือ นายเอ บี และซี ซึ่งนายดําได้อุปการะทั้งสามเป็นอย่างดี นายเอ จดทะเบียนสมรสกับนางเล็ก มีบุตรคือนายไก่ ส่วนนายปีจดทะเบียนรับนายดินมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนนายซีอยู่กินกับนางใหญ่โดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรคือนายอึ่ง ซึ่งนายซีได้ให้ใช้นามสกุล ต่อมานายดําทําพินัยกรรมตัดนายเอมิให้รับมรดกและทําพินัยกรรม ยกเงินสดให้นายปี 120,000 บาท ต่อมานางแดงได้ขอร้องให้นายดําถอนการตัดนายเอ นายดํา จึงทําหนังสือถอนการตัดนายเอต่อนายอําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี หลังจากนั้น นายบีทําหนังสือ สละมรดกของนายดํามอบแก่นายอําเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ต่อมานายดําป่วยและถึงแก่ความตาย เช่นนี้จงแบ่งมรดกคือ เงินสดนอกพินัยกรรมอยู่ในธนาคาร 240,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง “เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้ แต่ด้วย
แสดงเจตนาชัดแจ้ง

(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 1609 “การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้

ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทําโดยพินัยกรรม จะถอนเสียก็ได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น…”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําอยู่กินกับนางแดงและมีบุตร 3 คน คือ นายเอ นายบี และนายซี โดยนายดําได้อุปการะทั้งสามเป็นอย่างดีนั้น เมื่อนายดําได้ถึงแก่ความตาย บุตรทั้งสามของนายดําย่อมถือว่าเป็น ทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดานของนายดําและมีสิทธิรับมรดกของนายดําตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 ส่วนนางแดงเมื่อมิได้จดทะเบียนสมรสกับนายดําจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมในฐานะคู่สมรสของนายดํา ตามมาตรา 1629 วรรคสอง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายดํา

และเมื่อนายดําถึงแก่ความตายนั้น นายดํามีมรดกคือเงินตามพินัยกรรมที่ระบุยกให้นายบีจํานวน 120,000 บาท และเงินนอกพินัยกรรมอยู่ในธนาคารอีกจํานวน 240,000 บาทนั้น บุตรทั้งสามคนของนายดํา จะเสียสิทธิหรือมีสิทธิรับมรดกดังกล่าวหรือไม่เพียงใด แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายเอ การที่นายดําเจ้ามรดกทําพินัยกรรมตัดนายเอมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1608 วรรคหนึ่ง (1) นั้น เป็นการตัดมิให้รับมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าจะมีการถอนก็จะต้อง แสดงเจตนาแต่โดยพินัยกรรมเท่านั้นตามมาตรา 1609 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายดําได้ทําหนังสือถอนการตัด นายเอมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจึงไม่ถูกต้องตามมาตรา 1609 ดังนั้นจึงถือว่านายเอยังคงเสียสิทธิ ในการรับมรดกของนายดํา

และเมื่อนายเอถูกตัดมิให้รับมรดก แม้นายเอจะมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายไก่ นายไก่ก็ไม่มีสิทธิ ที่จะรับมรดกแทนที่นายเอได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1639 คือมิใช่เป็นกรณีที่นายเอได้ถึงแก่
ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตายแต่อย่างใด

กรณีของนายบี การที่นายปีได้ทําหนังสือสละมรดกของนายดํามอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ การสละมรดกของนายที่จะได้ทําถูกต้องตามมาตรา 1612 ก็ตาม แต่การสละมรดกของนายบีถือเป็นการสละสิทธิ อันจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกของนายดําที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น เป็นการแสดงเจตนาที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 1619 การสละมรดกของนายบีจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ดังนั้น นายบีจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายดํา คือยังมีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม 120,000 บาท และมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมในเงิน นอกพินัยกรรมอีกจํานวน 240,000 บาท

กรณีของนายซี จะมีสิทธิรับมรดกของนายดําเฉพาะในเงินนอกพินัยกรรมจํานวน 240,000 บาทเท่านั้น

ดังนั้น มรดกของนายดํา คือเงินตามพินัยกรรมจํานวน 120,000 บาท จะตกได้แก่นายบี ส่วนเงิน นอกพินัยกรรมจะตกได้แก่นายปีและนายซีในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 โดยนายบีและนายซีจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กันคือคนละ 120,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกของนายดําคือเงินตามพินัยกรรมจํานวน 120,000 บาท ตกได้แก่นายปี ส่วนเงิน นอกพินัยกรรมจํานวน 240,000 บาท ตกได้แก่นายปีและนายซีคนละ 120,000 บาท

 

ข้อ 4. นายหนึ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ นายสอง นายสามและนายสี่ นายสามจุด ทะเบียนสมรสกับนางส้ม มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเอกและนายโท นายสองและนายสาม ทะเลาะกันอย่างรุนแรง นายสองใช้ปืนยิงนายสามถึงแก่ความตาย นายสองต้องคําพิพากษาถึงที่สุด ว่าฆ่านายสามตายโดยเจตนา ต่อมานายสี่ได้ขอเงินนายหนึ่งไปเป็นทุนในการค้าขาย นายหนึ่ง มอบเงินจํานวนหนึ่งให้นายไปเป็นทุนโดยนายสี่ได้ทําหนังสือมอบไว้แก่นายหนึ่งว่าจะขอสละมรดก ของนายหนึ่งทั้งหมด หลังจากนั้น นายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรม นายหนึ่งมีมรดก คือเงินสด 900,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่ามรดกของนายหนึ่งจะตกได้แก่ใคร เท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1606 “บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกําจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
(1) ผู้ที่ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทํา หรือพยายามกระทําให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิ ได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะสละหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผล บังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้
ผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายหนึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ มรดกของนายหนึ่ง คือเงินสด 900,000 บาท ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง และทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง ได้แก่ นายสอง นายสาม และนายสี่ ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันตาม มาตรา 1629 (3) โดยทั้งสามคนจะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 300,000 บาท ตามมาตรา 1633

การที่นายสองใช้ปืนยิงนายสามถึงแก่ความตาย และต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าฆ่านายสามตาย โดยเจตนานั้น นายสองก็ไม่ถูกกําจัดมิให้รับมรดกของนายหนึ่งฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606 (1) แต่อย่างใด เพราะมิได้ฆ่าผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตาย เนื่องจากนายสองและนายสามเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดก ของนายหนึ่งในฐานะทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกัน ดังนั้น นายสองจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง

และเมื่อนายสามได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายสามมีผู้สืบสันดานโดยตรงคือนายเอกและนายโท ดังนั้น นายเอกและนายโทจึงเข้ารับมรดกของนายหนึ่งแทนที่นายสามได้ตามมาตรา 1639 และ มาตรา 1643 โดยนายเอกและนายโทจะได้รับส่วนแบ่งคนละ 150,000 บาท ตามมาตรา 1633

ส่วนนายสี่ซึ่งได้ทําหนังสือมอบไว้นายหนึ่งว่าจะขอสละมรดกของนายหนึ่งทั้งหมดนั้น ถือเป็นการสละสิทธิอันจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกของนายหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น เป็นการแสดงเจตนาที่ฝ่าฝืนต่อ บทบัญญัติมาตรา 1619 การสละมรดกของนายสี่จึงไม่มีผลตามกฎหมาย ดังนั้น นายสี่จึงยังคงมีสิทธิรับมรดก ของนายหนึ่งในจํานวน 300,000 บาท

สรุป มรดกของนายหนึ่งจํานวน 900,000 บาท ตกได้แก่นายสองและนายสี่คนละ 300,000 บาท และตกได้แก่นายเอกและนายโทซึ่งเข้ารับมรดกแทนที่นายสามคนละ 150,000 บาท

LAW3109 (LAW3009) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3009 (LA 309) กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเมฆมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือ น.ส.ฟ้า และ น.ส.ฝน นายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดิน ในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี นอกจากนี้ นายเมฆให้สิทธิเก็บกินในที่ดิน โฉนดเลขที่ 456 แก่นางหญิงเป็นเวลา 10 ปี ต่อมานายเมฆทําพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ให้ น.ส.ฟ้า และยกที่ดินโฉนดเลขที่ 456 ให้ น.ส.ฝน หลังจากให้สิทธิแก่นายชายและนางหญิงแล้ว เป็นเวลา 4 ปี นายเมฆป่วยเป็นมะเร็งและถึงแก่ความตาย

ดังนี้ น.ส.ฟ้า และ น.ส.ฝน จะเรียกที่ดินคืนจากนายชายและนางหญิงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

วินิจฉัย

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600 ได้บัญญัติไว้ว่า มรดกซึ่งจะตกทอดแก่ผู้เป็นทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จะไม่ตกทอดไปยังทายาท กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. กรณีนายเมฆให้สิทธิเหนือพื้นดินแก่นายชายเป็นเวลา 10 ปี

สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทรัพยสิทธิที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินให้สิทธิแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีสิทธิเป็น เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น โดยจะเสียค่าเช่าหรือไม่ก็ได้ ซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินนั้นถ้าไม่ได้กําหนดไว้ เป็นอย่างอื่น ย่อมสามารถโอนกันได้และรับมรดกกันได้ ดังนั้น ไม่ว่าผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธิตาย สิทธิเหนือพื้นดินไม่ระงับและจะตกทอดแก่ทายาท

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆได้ให้สิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินโฉนดเลขที่ 123 แก่นายชาย เป็นเวลา 10 ปีนั้น เมื่อสิทธิเหนือพื้นดินตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ดังนั้น เมื่อ นายเมฆผู้ให้สิทธิถึงแก่ความตาย หน้าที่ที่จะต้องให้ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินต่อไปนั้น ย่อมไม่ระงับแต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท น.ส.ฟ้าทายาทของนายเมฆจึงไม่สามารถเรียกที่ดินคืนจาก นายชายได้ จะต้องให้นายชายใช้ประโยชน์เหนือพื้นดินนั้นต่อไปจนครบ 10 ปี

2. กรณีนายเมฆให้สิทธิเก็บกินแก่นางหญิงเป็นเวลา 10
สิทธิเก็บกิน เป็นทรัพยสิทธิที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาประโยชน์ใน อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นโดยต้องเสียค่าเช่าหรือไม่ก็ได้ ซึ่งสิทธิเก็บกินนั้นเป็นการเฉพาะตัวของผู้รับสิทธิโดยแท้ ดังนั้น ถ้าผู้รับสิทธิถึงแก่ความตายสิทธิเก็บกินย่อมระงับไปไม่ตกทอดแก่ผู้เป็นทายาท แต่ถ้าผู้ให้สิทธิตาย สิทธิเก็บกินย่อมไม่ระงับ

ตามอุทาหรณ์ การที่นายเมฆได้ให้สิทธิเก็บกินในที่ดินโฉนดเลขที่ 456 แก่นางหญิงเป็นเวลา 10 ปีนั้น เมื่อกฎหมายถือว่าสิทธิเก็บกินเป็นการเฉพาะตัวของผู้รับสิทธิโดยแท้ แต่ไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ให้สิทธิ ดังนั้น เมื่อนายเมฆผู้ให้สิทธิถึงแก่ความตาย หน้าที่ที่จะต้องให้ผู้รับสิทธิมีสิทธิเก็บกินในที่ดินแปลงดังกล่าวต่อไป จึงไม่ระงับแต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท น.ส.ฝนทายาทของนายเมฆจึงไม่สามารถเรียกที่ดินคืนจากนางหญิงได้ จะต้องให้นางหญิงมีสิทธิเก็บกินในที่ดินแปลงดังกล่าวต่อไปจนครบ 10 ปี

สรุป น.ส.ฟ้า และ น.ส.ฝน จะเรียกที่ดินคืนจากนายชายและนางหญิงไม่ได้

 

ข้อ 2. นายดําจดทะเบียนสมรสกับนางสมรซึ่งนางสมรมีบุตรติดจากการสมรสเดิมคือนายมืด นายดําและ นางสมรมีบุตรด้วยกันคือนางมณีซึ่งอยู่กินกับนายพจน์มีบุตรคือนายมุนินซึ่งนายพจน์แยกทางกับนางมณีก่อนนายมุนินจะเกิด ต่อมานายดําไปจดทะเบียนรับนายโรมมาเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายโดยนายโรมอยู่กินกับนางยุพินมีบุตรคือนายทรัม ซึ่งนายโรมให้ใช้นามสกุล นายดํา มีป้าคือนางฤดีซึ่งทําพินัยกรรมยกที่ดินมีมูลค่า 1,200,000 บาทให้นายดํา ต่อมานางฤดีตาย นายดํา จึงบวชให้นางฤดีที่วัดไผ่โรงวัว หลังจากบวชพระดําได้ดําเนินการโอนที่ดินตามพินัยกรรมใส่ชื่อตน ต่อมานางมณีป่วยตาย หลังจากนั้นนายโรมประสบอุบัติเหตุตาย ต่อมาพระภิกษุดํามรณภาพ เช่นนี้ จงแบ่งมรดกของพระภิกษุดําที่มีเงินสดในธนาคารที่มีอยู่ก่อนบวชจํานวน 2,400,000 บาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1623 “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้น ถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลําเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จําหน่ายไปใน
ระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

มาตรา 1624 “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็น สมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจําหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1633 “ทายาทโดยธรรมในลําดับเดียวกันในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลําดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งทั้งหมด”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับ ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

เมื่อพระภิกษุดําถึงแก่มรณภาพ มรดกของพระภิกษุดําซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ
พระภิกษุดํานั้น ได้แก่

1. เงินสดในธนาคารที่มีอยู่ก่อนบวชจํานวน 2,400,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่นายดํามีอยู่ ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามมาตรา 1624

2. ที่ดินซึ่งมีมูลค่า 1,200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่นายดําได้รับมาโดยพินัยกรรมของ นางฤดีซึ่งเป็นป้าของนายดํา และเป็นทรัพย์สินที่นายดําได้รับมาก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ แม้ว่าพระดําจะได้ ดําเนินการโอนที่ดินตามพินัยกรรมมาใส่ชื่อตนเมื่อได้อุปสมบทแล้วก็ตาม ดังนั้นที่ดินแปลงดังกล่าวจึงไม่ตกเป็น สมบัติของวัดไผ่โรงวัว แต่จะตกเป็นมรดกแก่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุดําตามมาตรา 1623 และ 1624

และบุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของพระภิกษุดําในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่

1. นางสมร ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายดํา (พระภิกษุดํา) และเป็นทายาท โดยธรรมในฐานะคู่สมรสตามมาตรา 1629 วรรคสอง โดยจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 (1)

2. นางมณี ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพระภิกษุดํา และเป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา 1629 (1) แต่เมื่อนางมณีได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นางมณีจึงไม่อาจรับมรดกของพระภิกษุดําได้ เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม มือปรากฏว่านางมณีมีนายมุนิน ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา 1546 และเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนางมณี ดังนั้น นายมุนินจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นางมณี ในการรับมรดกของพระภิกษุดําได้ตามมาตรา 1639 และ 1643

3. นายโรม ซึ่งเป็นไตรบุญธรรมของพระภิกษุดํา และมีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1627 แต่เมื่อนายโรมได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก นายโรมจึงไม่อาจรับมรดกของพระภิกษุดําได้ เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายโรมมีบุตรคือนายทรัม ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายโรมได้รับรองแล้ว ตามมาตรา 1627 และเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายโรม ดังนั้น นายทรัมจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายโรมได้
ตามมาตรา 1639 และ 1643

ส่วนนายมืดซึ่งเป็นบุตรติดจากการสมรสเดิมของนางสมร มิใช่ผู้สืบสันดานของพระภิกษุดําจึงไม่มีสิทธิ
รับมรดกของพระภิกษุดําในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1)

ดังนั้น มรดกทั้งหมดของพระภิกษุดําจํานวน 3,600,000 บาท (ที่ดินมูลค่า 1,200,000 บาท และ เงินสดในธนาคารจํานวน 2,400,000 บาท) จึงตกได้แก่ นางสมร นายมุนิน และนายทรัม โดยทั้งสามจะได้รับ ส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 1,200,000 บาท ตามมาตรา 1633

สรุป มรดกทั้งหมดของพระภิกษุดํา จะตกได้แก่ นางสมร นายมุนิน และนายทรัม คนละ 1,200,000 บาท

 

ข้อ 3. นายเพิ่มอยู่กินฉันสามีภริยากับนางพรมีบุตรด้วยกันชื่อ นายหนึ่งกับนายสอง นายเพิ่มให้บุตรทั้งสอง ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูตลอดมา ต่อมานางพรเลิกรากับนายเพิ่มแล้วจดทะเบียนรับ นายเอกเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้น 3 ปี นางพรถึงแก่ความตาย นายหนึ่ง หมั้นกับนางสาวงาม กําหนดจัดงานสมรสในอีก 6 เดือน แต่ก่อนถึงวันงานนายหนึ่งถึงแก่ความตาย จากอุบัติเหตุรถคว่ํา โดยมีทรัพย์มรดกเป็นเงิน 2,000,000 บาท นายหนึ่งไม่ได้ทําพินัยกรรม ยกให้แก่ผู้ใด ภายหลังนายหนึ่งถึงแก่ความตาย นายสองทําหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า มรดกของนายหนึ่งที่ตกได้แก่ตนนั้นขอรับไว้เพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งขอมอบให้นายเพิ่มผู้เป็นบิดา

ให้วินิจฉัยพร้อมให้เหตุผลว่า ทรัพย์มรดกของนายหนึ่งตกได้แก่ผู้ใด เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1613 วรรคหนึ่ง “การสละมรดกนั้น จะทําแต่เพียงบางส่วน หรือทําโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผล บังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1620 ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มีให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดก
แทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทขั้นบุตร”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในขณะที่นายหนึ่งเจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น นายหนึ่งไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้ ดังนั้น ทรัพย์มรดกของนายหนึ่งคือเงิน 2,000,000 บาท จึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายหนึ่งตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทโดยธรรมของนายหนึ่งนั้น เมื่อนายหนึ่งไม่มีทายาทโดยธรรมในลําดับที่ 1 ตามมาตรา 1629 (1) คือผู้สืบสันดาน และไม่มีทายาทโดยธรรมในลําดับที่ 2 ตามมาตรา 1629 (2) คือบิดามารดา เพราะแม้นายหนึ่ง จะมีนายเพิ่มเป็นบิดาแต่ก็มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้นายเพิ่มจะได้รับรองว่านายหนึ่งเป็นบุตรโดยให้นายหนึ่ง ใช้นามสกุลและให้การอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา 1627 ก็ไม่ทําให้นายเพิ่มเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะบิดาของ นายหนึ่งตามนัยของมาตรา 1629 (2) แต่อย่างใด อีกทั้งนางพรซึ่งเป็นมารดาชอบด้วยกฎหมายของนายหนึ่ง ก็ถึงแก่ความตายก่อนนายหนึ่ง ดังนั้น ทรัพย์มรดกทั้งหมดของนายหนึ่งจํานวน 2,000,000 บาท จึงตกได้แก่นายสอง ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 1629 (3) ประกอบมาตรา 1630

ส่วนนายเอกซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนางพรนั้นมิใช่ทายาทโดยธรรมของนายหนึ่งเพราะมิใช่น้องร่วมบิดามารดาหรือน้องร่วมมารดาเดียวกันกับนายหนึ่ง และนางสาวงามก็เป็นเพียงคู่หมั้นของนายหนึ่งมิใช่คู่สมรสของนายหนึ่ง ดังนั้นทั้งนายเอกและนางสาวงามจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่ง

สําหรับกรณีที่นายสองได้ทําหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า มรดกของนายหนึ่งที่ตกได้แก่ คนนั้นขอรับไว้เพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งขอมอบให้นายเพิ่มผู้เป็นบิดานั้น ถือเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และเป็นการสละมรดกแต่เพียงบางส่วน ซึ่งจะกระทํามิได้ตามมาตรา 1613 วรรคหนึ่ง เมื่อนายสองได้สละมรดก ที่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 16.3 วรรคหนึ่ง จึงถือว่านายสองมิได้สละมรดกแต่อย่างใด ดังนั้น นายสอง จึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายหนึ่งทั้งหมดในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (3)

สรุป มรดกทั้งหมดจํานวน 2,000,000 บาท ตกได้แก่นายสองแต่เพียงผู้เดียว

 

ข้อ 4. นางขาวมีบุตรชาย 1 คน ชื่อนายใหญ่ นายใหญ่มีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือนางเล็ก ทั้งสอง มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนายเอกและนายโท นายเอกจดทะเบียนสมรสกับนางอ้น มีบุตรชาย 1 คน คือ ด.ช.หนึ่ง นายเอกและนางอ้นอยากมีบุตรสาวจึงไปรับ ด.ญ.สองมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย นายโทขอเงินนายใหญ่เพื่อไปเป็นเงินทุนในการเปิดกิจการ ร้านอาหาร โดยบอกว่าจะไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ ของนายใหญ่อีก นายโทได้ทําหนังสือ มอบไว้แก่นางเล็ก มีข้อความว่าถ้านายใหญ่ถึงแก่ความตาย นายโทจะขอสละมรดกทั้งหมดของ นายใหญ่ ต่อมานายเอกถึงแก่ความตาย หลังจากนั้นนายใหญ่หัวใจวายตาย นายใหญ่ไม่ได้ทํา พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับใคร นายใหญ่มีทรัพย์มรดกทั้งสิ้น 120,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านแบ่งมรดกของนายใหญ่

ธงค่าตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1604 วรรคหนึ่ง “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

มาตรา 1612 “การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทําเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

มาตรา 1619 “ผู้ใดจะและหรือจําหน่ายจ่ายโอนโดยประการใด ซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้”

มาตรา 1620 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมไว้หรือทําพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผล บังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย”

มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลําดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลําดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”

มาตรา 1630 “ตราบใดที่ทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ในลําดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1620) ทายาทผู้ที่อยู่ในลําดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

แต่ความในวรรคก่อนนี้มีให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็น ทายาทขั้นบุตร”

มาตรา 1635 “ลําดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรส ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร”

มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดาน คนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกําจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้น รับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย”

มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายใหญ่ได้ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้กับใคร มรดกของนายใหญ่จํานวน 120,000 บาท ย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของนายใหญ่ตามมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง ซึ่งทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ ได้แก่

1. นางขาว ซึ่งเป็นมารดาของนายใหญ่มีสิทธิรับมรดกและจะได้รับส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็น ทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1629 (2) ประกอบมาตรา 1630

2. นางเล็ก ซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายในฐานะคู่สมรสมีสิทธิรับมรดกและจะได้รับส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1629 วรรคสองประกอบมาตรา 1635 (1)

3. นายเอกและนายโท ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ในฐานะ ผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1)

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเอกได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายเอกจึงไม่อาจรับมรดก ของนายใหญ่ได้ เพราะไม่มีสภาพบุคคลในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไร ก็ตาม เมื่อนายเอกมีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายคือ ด.ช.หนึ่ง และ ด.ช.หนึ่งเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเอก ดังนั้น ด.ช.หนึ่งจึงมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายเอกได้ตามมาตรา 1639 และมาตรา 1643 ส่วน ด.ญ.สองเป็นเพียง บุตรบุญธรรมของนายเอกมิใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของนายเอก ด.ญ.สองจึงไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่นายเอก

ส่วนนายโทซึ่งได้ทําหนังสือมอบไว้แก่นางเล็กโดยมีข้อความว่าถ้านายใหญ่ถึงแก่ความตาย นายโท
จะขอสละมรดกทั้งหมดของนายใหญ่นั้น ถือเป็นการสละสิทธิอันจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกของนายใหญ่ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น เป็นการแสดงเจตนาที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1619 การสละมรดกของนายโทจึง ไม่มีผลตามกฎหมาย ดังนั้นนายโทจึงยังคง ดังนั้นนายโทจึงยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่

ดังนั้น ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของนายใหญ่ ได้แก่ นางขาว นางเล็ก ด.ช.หนึ่ง และนายโท โดยทั้งสี่จะได้รับส่วนแบ่งเท่า ๆ กัน คือคนละ 30,000 บาท

สรุป ทรัพย์มรดกของนายใหญ่จํานวน 120,000 บาท จะตกได้แก่ นางขาว นางเล็ก ด.ช.หนึ่ง และนายโท คนละ 30,000 บาท

WordPress Ads
error: Content is protected !!