LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3107 (LAW 3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าจําเลยได้อาศัยที่ดินดังกล่าวของมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์เสียชีวิต โจทก์ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวมา และไม่ประสงค์จะให้จําเลยอาศัยอีกต่อไป โจทก์ได้บอกกล่าวให้จําเลยขนย้ายออกจากที่ดินพิพาท แต่จําเลยเพิกเฉยไม่ยอมขนย้าย ซึ่งที่ดิน พิพาทหากนําออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท ขอให้ศาลบังคับจําเลยให้ขนย้ายออกจาก ที่ดินพิพาทและชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันบอกกล่าวให้ขนย้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 200,000 บาท จําเลยให้การต่อสู้ว่าจําเลยเป็นน้าชายโจทก์ จําเลยไม่ได้อาศัย แต่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว จําเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ปรปักษ์ โจทก์ไม่เสียหาย ขอให้ศาลยกฟ้อง

ระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดี คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความ โดยจําเลยยอมขนย้าย ออกจากที่ดินพิพาทภายใน 2 เดือน นับแต่ศาลมีคําพิพากษาตามยอม ส่วนโจทก์ไม่ติดใจเรียก ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม หลังจากศาลมีคําพิพากษาตามยอมได้ 6 สัปดาห์ จําเลย จึงทราบโดยมีหลักฐานว่า ทนายจําเลยได้ร่วมมือกับฝ่ายโจทก์หลอกลวงจําเลยให้ทําสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าว จําเลยประสงค์จะอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคําพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น

ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์เช่นว่านี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 138 “ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้ มีการถอนคําฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาล จดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น

ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้

(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(2) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วย
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(3) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ”

มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”
มาตรา 229 “การอุทธรณ์นั้นให้ทําเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคําพิพากษาหรือมีคําสั่ง ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น…..”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในคดีที่มีคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ของคู่ความแล้ว จะอุทธรณ์ต่อไปไม่ได้ เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้นอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง
มาตรา 138 วรรคสอง กล่าวคือ

1) เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

2) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

3) เมื่อคําพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ

กรณีตามอุทาหรณ์ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เห็นว่า จําเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคําพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น อ้างว่า ทนายจําเลยได้ร่วมมือ กับฝ่ายโจทก์หลอกลวงจําเลยให้ทําสัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ เท่ากับกล่าวอ้างว่าสัญญา ประนีประนอมเกิดขึ้นจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1) ดังนั้น จําเลยชอบที่จะอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 223

แต่อย่างไรก็ตาม ในการอุทธรณ์นั้นจะต้องอุทธรณ์ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 229 แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า จําเลยได้ทราบถึง การหลอกลวงนั้นหลังจากที่ศาลได้มีคําพิพากษาแล้วถึง 6 สัปดาห์ ดังนั้น จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนคําพิพากษาตามยอมนั้นได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนคําพิพากษาตามยอมนั้นไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยให้ชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวนห้าแสนบาท และยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่ง อายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษา จําเลยขาดนัดยื่น คําให้การ โจทก์ยื่นคําขอให้ศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด ต่อมาศาลมีคําสั่งอายัดเงิน ในบัญชีธนาคารของจําเลย จําเลยอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวทันที หลังจากนั้นศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ต่อมาจําเลยยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าจําเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลไต่สวนและมีคําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้วินิจฉัยว่า

(ก) จําเลยอุทธรณ์คําสั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยในระหว่างพิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) โจทก์อุทธรณ์คําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ “คําสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาล มีคําสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้ คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด”

มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวลกฎหมาย หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง
พิจารณา”

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(2) มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือ มีคําสั่งอันเกี่ยวด้วยคําขอเพื่อจะบังคับคดีตามคําพิพากษาต่อไป หรือ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่โจทก์ฟ้องให้จําเลยชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจํานวน 5 แสนบาท และยื่นคําขอให้ศาล มีคําสั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษา จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ โจทก์ยื่นคําขอให้ศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด และต่อมาศาลมีคําสั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยนั้น คําสั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษา ถือเป็นคําสั่งอัน เกี่ยวด้วยคําขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (2) จึงไม่ใช่ คําสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 จําเลยจึงสามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้ทันทีภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง หรืออาจอุทธรณ์ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันมีคําพิพากษาก็ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 ดังนั้น จําเลยจึงสามารถอุทธรณ์คําสั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยในระหว่างพิจารณาได้

(ข) หลังจากศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง และต่อมาจําเลยได้ยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าจําเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคําให้การ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้ว และมีคําสั่งให้พิจารณาคดีใหม่นั้น คําสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ คําสั่งดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 223 ดังนั้น โจทก์จึงจะ อุทธรณ์คําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้

สรุป (ก) จําเลยสามารถอุทธรณ์คําสั่งอายัดเงินในบัญชีธนาคารของจําเลยในระหว่างพิจารณาได้

(ข) โจทก์จะอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้

 

ข้อ 3. จงตอบคําถามดังต่อไปนี้

(1) โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงินกู้ 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย พร้อมทั้งยื่นคําขอ คุ้มครองชั่วคราวให้มีการยึดรถยนต์เลขทะเบียน 1234 ของจําเลย เนื่องจากจําเลยกําลังจะ ขายรถยนต์คันนั้น กรณีเช่นนี้จะทําได้หรือไม่

(2) โจทก์ยื่นคําฟ้องให้จําเลยโอนที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 จังหวัดเชียงใหม่ มูลค่า 500,000 บาท ของจําเลยให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งยื่นคําขอคุ้มครองชั่วคราวให้ยึดที่ดินไว้ชั่วคราว เนื่องจาก จําเลยกําลังจะขายที่ดินดังกล่าว กรณีเช่นนี้หากศาลจะไต่สวนคําร้อง ศาลจะเรียกจําเลยมา ไต่สวนด้วยได้หรือไม่

(3) การจะขอให้ศาลจับกุมกักขังจําเลยไว้ชั่วคราวก่อนศาลพิพากษานั้น จะสามารถขอได้ด้วยเหตุอะไรบ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 21 “เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคําขอหรือคําแถลงต่อศาล

(3) ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่า คําขออันใดอาจทําได้แต่ฝ่ายเดียวแล้ว ให้ศาลมีอํานาจ ที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคําสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้ เว้นแต่ในกรณีที่คําขอนั้นเป็นเรื่อง
ขอหมายเรียกให้ให้การ หรือเพื่อยึดหรือเพื่ออายัดทรัพย์สินก่อนคําพิพากษา…”

มาตรา 189 “คดีมโนสาเร่ คือ

(1) คดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือ ไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย (4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

มาตรา 255 “ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจของ ศาลว่า คําฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนําวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(4) ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา 254 (4) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เพื่อที่จะ ประวิงหรือขัดขวางต่อการพิจารณาคดีหรือการบังคับตามคําบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จําเลย หรือเพื่อจะทําให้โจทก์เสียเปรียบ

(ก) จําเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคําสั่งของศาล

(ข) จําเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอํานาจศาลหรือซุกซ่อนเอกสารใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าจะใช้ เป็นพยานหลักฐานยันจําเลยในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณา หรือทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเป็นที่เกรงว่าจําเลยจะจําหน่ายหรือทําลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ

(ค) ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จําเลยประกอบการงานหรือการค้าของตนว่าจําเลยจะหลีกหนี หรือพอเห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้พ้นอํานาจศาล”

วินิจฉัย

(1) ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอให้ศาลมีคําสั่ง กําหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา หากโจทก์เห็นว่าโจทก์จะได้รับ ความเสียหายจากการกระทําของจําเลย โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ แต่การร้องขอตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น จะต้องมิใช่คดีมโนสาเร่

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงินกู้ 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งถือเป็นคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 189 (1) ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคําขอคุ้มครองชั่วคราวให้มีการยึดรถยนต์เลขทะเบียน 1234 ของจําเลย เนื่องจากจําเลยกําลังจะขายรถยนต์คันนั้น ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) นั้น โจทก์จึงไม่อาจขอให้
ศาลมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวได้

(2) การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องให้จําเลยโอนที่ดินมีโฉนดเลขที่ 1234 จังหวัดเชียงใหม่มูลค่า 500,000 บาท ของจําเลยให้แก่โจทก์พร้อมทั้งยื่นคําขอคุ้มครองชั่วคราวให้ยึดที่ดินไว้ชั่วคราว เนื่องจากจําเลย กําลังจะขายที่ดินดังกล่าวนั้น คําขอให้ศาลยึดที่ดินไว้ชั่วคราวนั้นเป็นคําขอฝ่ายเดียวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) และเป็นการขอคุ้มครองชั่วคราวเด็ดขาดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 21 (3) ดังนั้น เมื่อศาลจะไต่สวนคําร้อง ศาลจึง ไม่สามารถเรียกจําเลยมาไต่สวนด้วยได้

(3) การขอคุ้มครองชั่วคราวโดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (4) นั้น ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 255 (4) ได้กําหนดไว้ว่า ในการพิจารณาอนุญาตตามคําขอ ที่ยื่นไว้ ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า คําฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนําวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ กล่าวคือ ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เพื่อที่จะประวิงหรือขัดขวางต่อการพิจารณาคดี หรือการบังคับตาม คําบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จําเลย หรือเพื่อจะทําให้โจทก์เสียเปรียบ

(ก) จําเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคําสั่งของศาล

(ข) จําเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอํานาจศาลหรือซุกซ่อนเอกสารใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าจะใช้ เป็นพยานหลักฐานยันจําเลยในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณา หรือทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเป็นที่เกรงว่าจําเลยจะจําหน่ายหรือทําลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ

(ค) ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จําเลยประกอบการงานหรือการค้าของตนว่าจําเลยจะหลีกหนี หรือพอเห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้พ้นอํานาจศาล”

สรุป
(1) โจทก์จะยื่นคําขอคุ้มครองชั่วคราวให้มีการยึดรถยนต์เลขทะเบียน 1234 ของจําเลยไม่ได้
(2) หากศาลจะไต่สวนคําร้อง ศาลจะเรียกจําเลยมาไต่สวนด้วยไม่ได้
(3) การจะขอให้ศาลจับกุมกักขังจําเลยไว้ชั่วคราวก่อนศาลพิพากษานั้น จะสามารถขอได้ด้วยเหตุตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 255 (4)

 

ข้อ 4. นางหงส์เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายห่านซึ่งเป็นจําเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมานางหงส์และนายห่าน
ได้ตกลงทําสัญญายอมกันต่อศาลโดยนายห่านยินยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นของนางหงส์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีข้อตกลงกันว่าให้นายท่านไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินให้แก่นางหงส์
ด้วย แต่นางหงส์ก็เพิกเฉยไม่ได้ขอให้บังคับคดีภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือ คําสั่ง สิทธิของนางหงส์ที่ได้ที่ดินพิพาทต้องเสียไปหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้
(เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดําเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้ มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ มีคำพิพากษาหรือคําสั่ง ซึ่งคําว่า “นับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง” ตามมาตรา 274 ดังกล่าว หมายความว่า นับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลในชั้นที่สุดในคดีนั้น และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้
ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางหงส์เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่นายห่านซึ่งเป็นจําเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมานางหงส์และนายท่านได้ตกลงทําสัญญายอมกันต่อศาล โดยนายท่านยินยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นของนางหงส์
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีข้อตกลงกันว่าให้นายห่านไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินให้แก่นางหงส์ ด้วยนั้น เป็นกรณีที่นางหงส์ซึ่งเป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีภายในกําหนด 10 ปีนับแต่ วันที่ศาลมีคําพิพากษาตามยอม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางหงส์ได้ เพิกเฉยไม่ได้ขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ย่อมทําให้นางหงส์เสียสิทธิตามคําพิพากษา ดังนั้น สิทธิของนางหงส์ที่จะได้ที่ดินพิพาทจึงเสียไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง

สรุป สิทธิของนางหงส์ที่จะได้ที่ดินพิพาทย่อมเสียไป

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3107 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องอ้างว่า จําเลยทําสัญญากู้เงินจากโจทก์จํานวน 100,000 บาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลย ชําระหนี้คืนแก่โจทก์จํานวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจําเลยจะชําระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า จําเลยชําระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาได้ข้อเท็จจริงว่า จําเลยมีหลักฐานการชําระหนี้คืนแก่โจทก์ที่จําเลยหามาแสดงต่อศาลได้เป็นจํานวน 50,000 บาท จึงมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจาก วันฟ้องจนกว่าจําเลยจะชําระแก่โจทก์เสร็จสิ้น จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงต้องการ ยื่นอุทธรณ์ว่า หนี้ตามคําพิพากษาจํานวน 50,000 บาทนั้น โจทก์ได้มีหนังสือปลดหนี้ให้แก่จําเลย ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ จึงรวมถึงดอกเบี้ยตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ จําเลยไม่มีหน้าที่ต้องชําระหนี้ตามคําพิพากษาของศาล ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น โดยมีนายหมอกผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า จําเลยทําสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์จํานวน 100,000 บาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้คืนแก่โจทก์จํานวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจาก วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจําเลยจะชําระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า จําเลยชําระหนี้เงินกู้คืน

แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาได้ความว่า จําเลยมีหลักฐานการชําระหนี้ คืนโจทก์ที่จําเลยหามาแสดงต่อศาลได้เป็นจํานวน 50,000 บาท จึงพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้แก่โจทก์จํานวน 50,000 บาทนั้น การที่จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงต้องการยื่นอุทธรณ์ว่า หนี้ตามคําพิพากษา 50,000 บาท โจทก์มีหนังสือปลดหนี้ให้แก่จําเลยตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะมาฟ้องนั้น คดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ซึ่ง ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจําเลยไม่เกิน 50,000 บาท แต่เมื่อนายหมอกผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ได้รับรองว่า มีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ดังนั้น โดยหลักแล้วจําเลยย่อมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ตามมาตรา 224

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จําเลยอุทธรณ์ คือ หนี้ตามคําพิพากษา 50,000 บาท โจทก์มีหนังสือปลดหนี้ให้แก่จําเลยนั้น เป็นประเด็นที่จําเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น อีกทั้งไม่ใช่ปัญหา เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 225 ดังนั้น จําเลยจึงอุทธรณ์ไม่ได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทําละเมิดจํานวน 1 ล้านบาท จําเลยยื่น คําให้การว่าจําเลยไม่ได้ทําละเมิดและโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องคดี ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่น คําร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกนายขนุนเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ศาลไต่สวนและมีคําสั่งยกคําร้อง ดังกล่าว โจทก์ยื่นอุทธรณ์คําสั่งยกคําร้องทันที ต่อมาจําเลยยื่นคําขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ในปัญหาเรื่องโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามคําฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องจริง ศาลจึงมีคําสั่งงดสืบพยานโจทก์จําเลยและพิพากษายกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า

(1) โจทก์ยื่นอุทธรณ์คําสั่งยกคําร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกนายขนุนเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมทันที ในระหว่างพิจารณาคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(2) โจทก์ยื่นอุทธรณ์คําสั่งวินิจฉัยเรื่องโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 24 วรรคหนึ่ง “เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่งถ้าหากได้วินิจฉัย ให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสําคัญแห่งคดีบางข้อ หรือถึงแม้จะดําเนินการพิจารณาประเด็นข้อสําคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทําให้ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ให้ศาลมีอํานาจที่จะมีคําสั่งให้มีผลว่าก่อนดําเนินการพิจารณาต่อไป
ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้น”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง
พิจารณา”

มาตรา 227 “คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือคําสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณา และให้อยู่ ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี”

มาตรา 229 “การอุทธรณ์นั้นให้ทําเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น…..”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทธรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่โจทก์ฟ้องให้จําเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทําละมิดจํานวน 1 ล้านบาท จําเลยยื่นคําให้การว่าจําเลยไม่ได้ทําละเมิด และโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องคดี ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคําร้อง ขอให้ศาลออกหมายเรียกนายขนุนเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ศาลไต่สวนและมีคําสั่งยกคําร้องดังกล่าวนั้น คําสั่งยกคําร้อง ขอให้ศาลออกหมายเรียกนายขนุนเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมนั้น ถือเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา เพราะเป็นคําสั่ง ของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินคดี และเมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล และไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 227 และ 228 ดังนั้น โจทก์จะยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวทันทีในระหว่างพิจารณาคดีไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 226

(2) การที่จําเลยยื่นคําขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาเรื่องโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้อง และศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องจริง ศาลจึงมีคําสั่งงดสืบพยานโจทก์จําเลย
และพิพากษายกฟ้อง คําสั่งวินิจฉัยเรื่องโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องนั้นถือเป็นคําสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหา ข้อกฎหมายตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง จึงมิให้ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา ดังนั้น โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งตามมาตรา 227 และมาตรา 229

สรุป (1) โจทก์จะยื่นอุทธรณ์คําสั่งยกคําร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกนายขนุนเข้ามาเป็น โจทก์ร่วมทันทีในระหว่างพิจารณาคดีไม่ได้

(2) โจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งวินิจฉัยเรื่องโจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องได้ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําสั่ง

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องโดยมีคําขอบังคับให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายอ้างว่า
โจทก์อนุญาตให้จําเลยอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ บัดนี้โจทก์ประสงค์ใช้ประโยชน์ในที่ดินเอง แต่จําเลยไม่ยอมคืนที่ดินให้แก่โจทก์ จําเลยให้การว่า จําเลยครอบครองที่ดินของโจทก์โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเวลากว่าสิบปี ไม่เคยขออนุญาตจากโจทก์ ที่ดินตามฟ้องจึงเป็น กรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จําเลยและเรียกค่าเสียหาย จากจําเลย ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาทเป็นเงิน 400,000 บาท ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคําร้องต่อศาลว่า โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ ทั้งจําเลยได้ปิดประกาศขายหน้าดินเพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลา ขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามมิให้จําเลยกระทําการดังกล่าว ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคําร้องของโจทก์ไปฝ่ายเดียว แล้วมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของโจทก์ จําเลยยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนคําสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวว่า

(1) ศาลชั้นต้นไต่สวนคําร้องของโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยมิได้ฟังคําคัดค้านของจําเลยก่อนเป็นการไม่ชอบ และ

(2) คําสั่งศาลชั้นต้นที่ห้ามมิให้จําเลยประกาศขายหน้าดินไม่ชอบ เพราะไม่เกี่ยวกับคําขอบังคับท้ายคําฟ้องของโจทก์

ให้วินิจฉัยว่า คําร้องของจําเลยที่ขอให้เพิกถอนคําสั่งศาลชั้นต้นตาม (1) และ (2) ในแต่ละกรณี ฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้องหรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา
รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการ ผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”
มาตรา 256 “ในกรณีที่ยื่นคําขอให้ศาลมีคําสั่งตามมาตรา 254 (2) หรือ (3) ถ้าศาลเห็นว่าหาก ให้โอกาสจําเลยคัดค้านก่อนจะไม่เสียหายแก่โจทก์ ก็ให้ศาลแจ้งกําหนดวันนั่งพิจารณาพร้อมทั้งส่งสําเนาคําขอ ให้แก่จําเลยโดยทางเจ้าพนักงานศาล จําเลยจะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่งพิจารณาคําขอนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน จําเลยให้การต่อสู้ว่า จําเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดย การครอบครองปรปักษ์ จึงเป็นคดีที่คู่ความพิพาทกันเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งหากคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่าย ชนะคดีก็ย่อมได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินจึงเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในคดี คําร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคําสั่ง ห้ามมิให้จําเลยประกาศขายหน้าดินเพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลา จึงถือได้ว่าเป็นคําร้องที่โจทก์ขอให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําการใดเพื่อให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทตาม มาตรา 254 (2) ซึ่งคําขอตามมาตรา 254 (2) นั้น กฎหมายกําหนดให้โจทก์ยื่นคําขอฝ่ายเดียวแต่มิใช่คําขอฝ่ายเดียว โดยเคร่งครัด และตามมาตรา 256 ได้กําหนดแต่เพียงว่าให้ศาลฟังข้อคัดค้านของจําเลยก่อน ถ้าศาลเห็นว่าจะ ไม่เป็นที่เสียหายแก่โจทก์ จึงถือเป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคําร้องของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยมิได้ฟังคําคัดค้านของจําเลยก่อน แล้วมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของโจทก์นั้น จึงชอบด้วยกฎหมาย คําร้อง ของจําเลยที่ว่าคําสั่งของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นการไม่ชอบ จึงฟังไม่ขึ้น

(2) ข้ออ้างของจําเลยที่ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ห้ามมิให้จําเลยประกาศขายหน้าดินเพราะไม่เกี่ยวกับ คําขอท้ายคําฟ้องของโจทก์นั้นฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะการประกาศขายหน้าดินของจําเลยเพื่อทําบ่อเลี้ยงปลานั้นย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่พิพาทและเสียหายแก่โจทก์ หากในที่สุดโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ดังนั้น คําสั่งศาลชั้นต้นที่ห้ามมิให้จําเลยปิดประกาศขายหน้าดินของที่ดิน พิพาทจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับคําขอบังคับท้ายคําฟ้องของโจทก์และเป็นคําสั่งที่ชอบแล้ว

สรุป คําร้องของจําเลยที่ขอให้เพิกถอนคําสั่งของศาลชั้นต้นตาม (1) และ (2) ฟังไม่ขึ้นทั้ง 2 กรณี

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 111 และให้จําเลยชําระ ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์จํานวน 50,000 บาท จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง

(1) นายสมานยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งว่า โจทก์ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 111 ให้แก่นายสมานโดยได้ จดทะเบียนซื้อขายกันตามกฎหมายแล้ว ขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้นายสมานเข้าสวมสิทธิเป็น
เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน

(2) นายรวยยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งว่า นายรวยเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาของโจทก์ในอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์ชําระเงินแก่นายรวย 30,000 บาท แต่โจทก์ไม่ชําระหนี้แก่นายรวย และไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ทําให้นายรวยเสียประโยชน์ ขอให้ ศาลมีคําสั่งให้นายรวยใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จําเลยให้ชําระเงิน 30,000 บาท แก่นายรวย

ให้วินิจฉัยว่า ศาลแพ่งจะรับคําร้องตาม (1) และ (2) แต่ละกรณีของนายสมานและนายรวยไว้ พิจารณาหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาล มีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือ คําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิ เรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง…

ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดีตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(1) การที่ศาลแพ่งพิพากษาให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 111 และให้ จําเลยชําระค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์จํานวน 50,000 บาท จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้น การที่นายสมานยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งว่า โจทก์ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 111 ให้แก่นายสมานโดย ได้จดทะเบียนซื้อขายกันตามกฎหมายแล้ว ขอให้ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้นายสมานเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตาม คําพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีขับไล่จําเลยออกจากที่ดินนั้น เมื่อหนี้ที่จําเลยต้องปฏิบัติตามคําพิพากษานั้น เป็นการบังคับคดีที่ให้ขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาท มิใช่เป็นการบังคับคดีให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบ ทรัพย์เฉพาะสิ่ง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 274 วรรคสาม ซึ่งได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งรับโอนสิทธิตามคําพิพากษานั้น สามารถยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปได้ นายสมานจึงไม่มีอํานาจยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน

ดังนั้น กรณีนี้ศาลแพ่งจะรับคําร้องขอของนายสมานไว้พิจารณาไม่ได้

(2) การที่นายรวยได้ยื่นคําร้องต่อศาลแพ่งว่า นายรวยเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาของโจทก์ใน อีกคดีหนึ่งซึ่งศาลมีคําพิพากษาให้โจทก์ชําระเงินแก่นายรวย 30,000 บาท แต่โจทก์ไม่ชําระหนี้แก่นายรวย และ ไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องบังคับคดีแก่จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ทําให้นายรวยเสียประโยชน์ ขอให้ศาลมีคําสั่งให้นายรวย ใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จําเลยให้ชําระเงิน 30,000 บาทแก่นายรวยนั้น ตามมาตรา 274 วรรคสาม ได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งรับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือตามคําสั่งเท่านั้นที่มีสิทธิยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป แต่นายรวยเป็นเพียงเจ้าหนี้ของโจทก์ซึ่งไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง บังคับคดีเอาแก่จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาของตนเท่านั้น มิใช่เป็นบุคคลซึ่งรับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาของโจทก์ จึงไม่มีสิทธิยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาแทนโจทก์ได้ ดังนั้น กรณีนี้ศาลแพ่งจะรับคําร้องของนายรวยไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป ศาลแพ่งจะรับคําร้องขอตาม (1) และ (2) ของนายสมานและนายรวยไว้พิจารณาไม่ได้

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ระบบที่ใช้ในการอุทธรณ์ของคดีแพ่งในประเทศไทยนั้นคือระบบอะไร มาตราใดที่ให้ใช้ระบบเช่นนั้น
และระบบนั้นมีหลักการอย่างไร โดยระบบที่ใช้ในการอุทธรณ์แตกต่างจากระบบที่ใช้ในการฎีกา ในคดีแพ่งหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 223 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 138, 168, 188 และ 222 และในลักษณะนี้ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด”

มาตรา 247 วรรคหนึ่ง “การฎีกาคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้กระทําได้เมื่อได้รับ อนุญาตจากศาลฎีกา”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติใน ป.วิ.แพ่ง 223 มาตรา 223 จะเห็นได้ว่า ระบบที่ใช้ในการอุทธรณ์ของคดีแพ่ง ในประเทศไทยนั้น คือ “ระบบสิทธิ” โดยมาตรา 223 ได้กําหนดไว้ว่า การอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของ ศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น จะได้บัญญัติว่าให้ถึงที่สุด คือ ห้ามอุทธรณ์ ดังนั้น คดีทุกคดีที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา คู่ความย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ ได้ทั้งหมด หากไม่มีกฎหมายห้ามมิให้อุทธรณ์

ระบบที่ใช้ในการอุทธรณ์ดังกล่าวจะแตกต่างจากระบบฎีกาในปัจจุบัน เพราะระบบฎีกาในปัจจุบัน จะใช้ “ระบบอนุญาต” ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 247 วรรคหนึ่ง ซึ่งกําหนดว่า การฎีกา คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์นั้น จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาแล้วเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ฎีกาแล้ว จะถือว่าคดีถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์

สรุป ระบบที่ใช้ในการอุทธรณ์คดีแพ่งคือระบบสิทธิซึ่งจะแตกต่างจากระบบที่ใช้ในการฎีกาที่ใช้ระบบอนุญาต

 

ข้อ 2. โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงินจากการที่โจทก์ก่อสร้างถนนให้กับจําเลยโดยมีรายการตาม
คําขอให้ชําระเงินจากสัญญาดังต่อไปนี้

ก. สัญญาเช่ารถทําถนนมีอัตราค่าเช่าทั้งสิ้น 50,000 บาท
ข. สัญญาซื้อขายอุปกรณ์ในการทําถนนมีราคารวมทั้งสิ้น 120,000 บาท
ค. สัญญาจ้างทําของเป็นค่าจ้างทําถนนมีอัตราค่าจ้าง 30,000 บาท
ง. ขอให้ชําระเงินรวมทั้งสิ้น 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

จําเลยยื่นคําให้การว่าจําเลยชําระหนี้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาว่าจําเลยยังมิได้ ชําระเงินทั้งหมด ให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย หากจําเลยไม่พอใจคําพิพากษา ของศาลชั้นต้นและต้องการยื่นอุทธรณ์ว่าจําเลยชําระหนี้โจทก์ทั้งหมดแล้ว ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคําพิพากษาของศาลชั้นต้น ในกรณีเช่นนี้ศาลจะสามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงินจากการที่โจทก์ก่อสร้างถนนให้กับ จําเลย โดยมีรายการตามคําขอให้ชําระเงินจากสัญญาดังต่อไปนี้

ก. สัญญาเช่ารถทําถนนมีอัตราค่าเช่าทั้งสิ้น 50,000 บาท
ข. สัญญาซื้อขายอุปกรณ์ในการทําถนนมีราคารวมทั้งสิ้น 120,000 บาท
ค. สัญญาจ้างทําของเป็นค่าจ้างทําถนนมีอัตราค่าจ้าง 30,000 บาท
ง. ขอให้ชําระเงินรวมทั้งสิ้น 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

จําเลยยื่นคําให้การว่าจําเลยชําระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาว่าจําเลย ยังมิได้ชําระเงินทั้งหมด จึงให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยนั้น หากจําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของ ศาลชั้นต้น และต้องการยื่นอุทธรณ์ว่าจําเลยชําระหนี้โจทก์ทั้งหมดแล้ว ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคําพิพากษาของ ศาลชั้นต้นนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริง ดังนั้น ในกรณีดังกล่าว ศาลจะสามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงทุนทรัพย์ ของสัญญาแต่ละสัญญาแยกจากกันเป็นรายสัญญา โดยในสัญญาเช่ารถทําถนนมีทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท และสัญญาจ้างทําของเป็นค่าจ้างทําถนนมีทุนทรัพย์เพียง 30,000 บาท กรณีทั้ง 2 สัญญาจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 เพราะทุนทรัพย์ของสัญญาแต่ละสัญญาไม่เกิน 50,000 บาท

ส่วนสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ในการทําถนนที่มีราคารวมทั้งสิ้น 120,000 บาท จึงเป็นสัญญาที่มี ทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง 224 ดังนั้น ศาลจึงสามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยในกรณีนี้ได้

สรุป ศาลสามารถรับอุทธรณ์ของจําเลยได้เฉพาะคดีเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ในการทําถนน ซึ่งมีราคารวมทั้งสิ้น 120,000 บาทเท่านั้น ส่วนคดีเกี่ยวกับสัญญาเช่ารถทําถนนซึ่งมีค่าเช่าทั้งสิ้น 50,000 บาท และสัญญาจ้างทําของเป็นค่าจ้างทําถนนซึ่งมีค่าจ้าง 30,000 บาทนั้น ศาลจะรับอุทธรณ์ของจําเลยไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นคําฟ้องจําเลยว่า “โจทก์และจําเลยเป็นทายาทของนายยิ่งรวยซึ่งเดิมเป็นเจ้าของโรงแรม สุดขอบฟ้าที่ตั้งอยู่ที่อําเภอหัวหิน เมื่อนายยิ่งรวยตายโรงแรมดังกล่าวย่อมตกแก่ทายาท แต่จําเลย ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนายยิ่งรวยมิได้แบ่งสิทธิทั้งกรรมสิทธิ์ในโรงแรมและสิทธิในการบริหารโรงแรมให้กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายยิ่งรวยคนหนึ่ง จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จําเลยแบ่งสิทธิ ทั้งกรรมสิทธิ์ในโรงแรมและสิทธิในการบริหารโรงแรมให้กับโจทก์” เมื่อยื่นคําฟ้องมาแล้วโจทก์ได้ยื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว โดยโจทก์อ้างว่าโรงแรมพิพาทมีรายได้ตลอดในช่วงที่คดี อยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์เห็นว่าจําเลยจะนําไปใช้ไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอให้ตั้งผู้จัดการเข้าเก็บ รายได้ของโรงแรมมาสู่ศาลเก็บไว้ในระหว่างพิจารณา ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราว เป็นกรณีฉุกเฉินหรือเป็นกรณีปกติได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา
รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิด สัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับ ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สิน ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับ ตามคําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง
ของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

มาตรา 266 “ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเมื่อโจทก์ยื่นคําขอตามมาตรา 254 โจทก์จะยื่นคําร้องรวมไปด้วย เพื่อให้ศาลมีคําสั่งหรือออกหมายตามที่ขอโดยไม่ชักช้าก็ได้ …..”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยว่า “โจทก์และจําเลยเป็นทายาทของนายยิ่งรวย ซึ่งเดิมเป็นเจ้าของโรงแรมสุดขอบฟ้าที่ตั้งอยู่ที่อําเภอหัวหิน เมื่อนายยิ่งรวยตาย โรงแรมดังกล่าวย่อมตกแก่ทายาท
แต่จําเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของนายยิ่งรวยมิได้แบ่งสิทธิทั้งกรรมสิทธิ์ในโรงแรมและสิทธิในการบริหารโรงแรมให้กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายยิ่งรวยคนหนึ่ง จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จําเลยแบ่งสิทธิทั้งกรรมสิทธิ์ในโรงแรม และสิทธิในการบริหารโรงแรมให้กับโจทก์” และเมื่อได้ยื่นคําฟ้องมาแล้ว โจทก์ก็ได้ยื่นคําร้องขอคุ้มครอง ประโยชน์ชั่วคราว โดยโจทก์อ้างว่าโรงแรมพิพาทมีรายได้ตลอดในช่วงที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์เห็นว่า จําเลยนําไปใช้ไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอให้ตั้งผู้จัดการเข้าเก็บรายได้ของโรงแรมมาสู่ศาลเก็บไว้ในระหว่างพิจารณานั้น

มิใช่คําร้องขอให้ศาลกําหนดวิธีการคุ้มครองภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 แต่อย่างใด แต่เป็นคําขอให้ศาลกําหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ซึ่งให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขอได้

แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลกําหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการ พิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 นั้น โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินไม่ได้ เพราะการขอ คุ้มครองประโยชน์เป็นกรณีฉุกเฉิน ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 266 นั้น จะขอได้เฉพาะเมื่อโจทก์ได้ยื่นคําขอคุ้มครอง ประโยชน์ชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 เท่านั้น

สรุป โจทก์สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีปกติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 ได้ แต่จะขอ คุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉินตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 266 ไม่ได้

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้รวมทั้งสิ้น 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลจึงให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการ สืบพยาน ศาลพิพากษาและออกคําบังคับในวันที่ 20 สิงหาคม 2561 โดยในคําบังคับระบุให้ จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 15 วัน และศาลได้ส่งคําบังคับไปให้แก่จําเลยในวันที่ 2 กันยายน 2561 จําเลยมิได้อุทธรณ์ คําพิพากษาจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 ในกรณี เช่นนี้ หากโจทก์จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีจะสามารถยื่นคําร้องต่อศาลได้ในวันที่เท่าไหร่และระยะในการบังคับคดีจะสิ้นสุดเมื่อใด ต่อมาหากมีการออกหมายบังคับคดีแล้วหากโจทก์ต้องการจะโอนสิทธิในการบังคับคดีทั้งหมดไปให้นายสมชายจะสามารถทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 272 “ถ้าศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ก็ให้ศาลออกคําบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้วในวันนั้น

ในคดีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาขาดนัดยื่นคําให้การหรือขาดนัดพิจารณา และลูกหนี้ตามคําพิพากษา ทนายความหรือผู้รับมอบฉันทะจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าว ให้มาฟังคําพิพากษาหรือคําสั่ง มิได้อยู่ในศาลใน เวลาที่ออกคําบังคับ ให้บังคับมาตรา 199 ทวิ หรือมาตรา 207 แล้วแต่กรณี”

มาตรา 274 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาล มีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือ คําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้องหรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง….

ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดีตามความในหมวด 2 การบังคับคดี ในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดย การร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ยืม แต่จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลจึง ให้โจทก์ยื่นส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน เมื่อศาลพิพากษาและออกคําบังคับในวันที่ 20 สิงหาคม 2561
โดยในคําบังคับระบุให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 15 วันนั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ขาดนัดยื่นคําให้การตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 272 วรรคสอง จึงต้องมีการส่งคําบังคับไปให้แก่จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามคําพิพากษาเสียก่อน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 ทวิ) ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ศาลได้ส่งคําบังคับไปให้ จําเลยในวันที่ 2 กันยายน 2561 ระยะเวลาตามคําบังคับจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2561 และเมื่อ ศาลกําหนดให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 15 วัน จึงครบกําหนดระยะเวลาในวันที่ 17 กันยายน 2561 ดังนั้น หากโจทก์จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี (ถ้าจําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ ที่ออกโดยคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง) โจทก์ย่อมสามารถยื่นคําร้องต่อศาลได้ในวันที่ 18 กันยายน 2561

2. เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ยื่นคําฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้รวมทั้งสิ้น 500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป และศาลได้พิพากษาและออกคําบังคับให้ตามคําขอของโจทก์ จึงถือว่าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษานั้นเป็นการให้ชําระเงินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม ดังนั้น หากโจทก์ต้องการจะโอนสิทธิในการบังคับคดีทั้งหมดไปให้นายสมชายซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น โจทก์
ย่อมสามารถทําได้

สรุป โจทก์สามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ในวันที่ 18 กันยายน 2561 และหากศาลได้ ออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์สามารถโอนสิทธิในการบังคับคดีทั้งหมดไปให้นายสมชายได้

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเมฆผู้ตายซึ่งเป็นบิดาของโจทก์ โดยเขียน ข้อความให้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 200,000 บาทให้จําเลย จึงขอให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรม ที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยปลอมพินัยกรรมขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่น อุทธรณ์ว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเมฆ ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาว่าพินัยกรรม ที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ

ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยปลอมพินัยกรรมของนายเมฆผู้ตายซึ่งเป็น บิดาของโจทก์ โดยเขียนข้อความให้ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 123 ราคา 200,000 บาทให้จําเลย จึงขอให้ศาลแสดงว่า พินัยกรรมที่จําเลยอ้างเป็นโมฆะ และจําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยปลอมพินัยกรรมขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องนั้น แสดงว่าในขณะที่โจทก์ฟ้อง พินัยกรรมยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมจึงไม่ใช่ของโจทย์ การที่โจทก์ ฟ้องให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์สินคืนมาเป็นมรดกเพื่อเป็นประโยชน์ แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์จึงต้องคิดตามราคาทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ต้องการอุทธรณ์ว่าจําเลยปลอมพินัยกรรม ถือเป็นการอุทธรณ์ในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาล ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เท่ากับ 200,000 บาท ซึ่งเกิน 50,000 บาท ดังนั้น โจทย์จึงสามารถอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

สรุป โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. นางพิกุลฟ้องขอให้นางราตรีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจํานวนห้าแสนบาท นางราตรียื่นคําให้การว่า นางราตรีไม่ได้ทําละเมิดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในวันสืบพยาน นางราตรียื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การ ศาลเห็นว่าพ้นกําหนดระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้ยื่นคําร้อง ขอแก้ไขคําให้การแล้ว จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การ นางราตรีไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าว ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางราตรีใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางพิกุลจํานวนห้าแสนบาทตามฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า

(ก) นางราตรียื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ศาลพิพากษา ยกฟ้อง เช่นนี้ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของนางราตรีไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) นางราตรียื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และ ฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา”

มาตรา 228 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคท้าย “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป

ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คําสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อ
ศาลพิพากษาคดีแล้วตามความในมาตรา 223

วินิจฉัย

กรณีตามอุทธรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นางพิกุลฟ้องขอให้นางราตรีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจํานวน 5 แสนบาท นางราตรี ยื่นคําให้การว่านางราตรีไม่ได้ทําละเมิดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาเมื่อ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นางราตรีใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางพิกุลจํานวน 5 แสนบาทตามฟ้องนั้น การที่ นางราตรียื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าคดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการ
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นข้อที่นางราตรีไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จึงต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง อีกทั้งข้อที่นางราตรีจะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์นั้น ก็มิใช่ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่นางราตรีจะมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ตามมาตรา 225 วรรคสอง ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของนางราตรีไว้พิจารณาไม่ได้

(ข) ในวันสืบพยาน การที่นางราตรียื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การ แต่ศาลเห็นว่าพ้นกําหนดระยะเวลา ที่กฎหมายกําหนดให้ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําให้การแล้ว จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การ และนางราตรี ไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวนั้น เมื่อคําให้การถือเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) การที่ศาลมีคําสั่ง ไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การ จึงถือเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้คดีเสร็จ ไปทั้งเรื่อง หากแต่เสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ จึงเป็นคําสั่งตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ใช่คําสั่ง ระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ที่คู่ความจะต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์ คําสั่งนั้นได้ ดังนั้น นางราตรีจึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การภายหลังศาล มีคําพิพากษาได้ แม้นางราตรีจะมิได้โต้แย้งคัดค้านคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อนก็ตาม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคท้าย

สรุป (ก) ศาลชั้นต้น จะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของนางราตรีไว้พิจารณาไม่ได้
(ข) นางราตรีสามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําให้การได้

 

ข้อ 3. (ก) โจทก์ฟ้องว่า จําเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินแทนโจทก์ ขอให้บังคับจําเลย ไปจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ ที่ดินพิพาทมีราคา 500,000 บาท จําเลยให้การ ต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย จําเลยไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยตัดฟันต้นไม้ยืนต้น ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จําเลยยื่นคําคัดค้าน

(ข) โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินพิพาทโดยเสน่หาจากจําเลยซึ่งเป็นบุตร โดยอ้างว่าจําเลยประพฤติเหตุเนรคุณไม่ยอมให้สิ่งของแก่โจทก์ในเวลาที่ยากไร้และจําเลยยัง สามารถจะให้ได้ จําเลยให้การต่อสู่ว่าโจทก์ให้อภัยแก่จําเลยแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างการ พิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้จะเลยนําเงินที่ได้จากการขายผลไม้ ที่เก็บได้จากที่ดินพิพาทมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด จําเลยยื่นคําคัดค้าน ให้วินิจฉัยว่า แต่ละกรณีตาม (ก) และ (ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของโจทก์หรือไม่

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิด สัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับ ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สิน ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

วินิจฉัย

ตามอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า จําเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ แต่ จําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย จําเลยไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์นั้น คําฟ้องของโจทก์เป็นการ เรียกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์จากจําเลยให้ส่งคืนแก่โจทก์ ไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเมื่อจําเลย มิได้กล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น จึงถือเป็นส่วนควบของที่ดิน ซึ่งหากฝ่ายใดชนะคดีเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทก็จะได้ไป ซึ่งส่วนควบนั้นด้วย ดังนั้น จึงถือได้ว่าไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พิพาท และเมื่อคดีนี้ไม่ใช่ คดีมโนสาเร่ โจทก์จึงชอบที่จะขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาให้มีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยตัดฟันไม้ยืนต้น ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท อันเป็นการป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดี จะถึงที่สุดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (2) ได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องขอของโจทก์

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิด สัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับ ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สิน ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคําขอ ต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตาม คําพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินพิพาทโดยเสน่หาจากจําเลย ซึ่งเป็นบุตร โดยอ้างว่าจําเลยประพฤติเหตุเนรคุณไม่ยอมให้สิ่งของแก่โจทก์ในเวลาที่ยากไร้และจําเลยยังสามารถ จะให้ได้ จําเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จําเลยแล้ว ขอให้ยกฟ้องนั้น หากศาลฟังได้ว่าจําเลยประพฤติ เนรคุณ และมีคําพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ตามฟ้อง ที่ดินพิพาทก็จะกลับมาเป็นของโจทก์นับแต่วันที่ศาลมี คําพิพากษาเป็นต้นไป และตราบใดที่ยังมิได้มีคําพิพากษาที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของจําเลย ดังนั้น ก่อนที่ศาลจะ มีคําพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ จําเลยซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ย่อมมีสิทธิใช้สอยและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์โดย ขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลยนําเงินที่ได้จากการขายผลไม้ที่เก็บได้จากที่ดินพิพาทมาวางศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 264 อีกทั้งคําร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ก็มิใช่เป็นคําขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่ง เงื่อนไขตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 254 แต่อย่างใด ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบที่จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องขอของโจทก์

สรุป กรณีตาม (ก) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของโจทก์ กรณีตาม (ข) ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งไม่อนุญาตตามคําร้องของโจทก์

 

ข้อ 4. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 ศาลพิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันชําระเงิน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ จําเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาของศาลแพ่ง ศาลชั้นต้นออกหมาย บังคับคดีตามคําขอของโจทก์ ชั้นบังคับคดีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 โจทก์ยื่นคําแถลงขอให้ เจ้าหนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจําเลยที่ 2 ที่มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท นําโชค จํากัด เดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบชําระตามคําพิพากษา บริษัท นําโชค จํากัด ได้ส่งเงินเดือน ของจําเลยที่ 2 ตามคําสั่งอายัดของเข้าพนักงานบังคับคดี เดือนละ 3,000 บาท ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2555 ตลอดมา ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดรถยนต์ราคาประมาณ 500,000 บาท ของจําเลยที่ 1 เจ้าหนักงานบังคับคดีมีคําสั่งไม่ดําเนินการ ยึดให้ และจําเลยที่ 2 ยื่นคําแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนคําสั่งอายัดเงินเดือนของจําเลย ที่ 2 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีและจําเลยที่ 2 อ้างว่า โจทก์มิได้บังคับคดีหรือบังคับคดีให้เสร็จสิ้น ภายใน 10 ปี จึงหมดสิทธิบังคับคดีแล้ว

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ตามคําแถลงของโจทก์ และข้ออ้างของจําเลยที่ 2 ขอให้ถอนคําสั่งอายัดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่ง “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษา หรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล ทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้ หรือได้ดําเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดี โดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มี การบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มี คําพิพากษาหรือคําสั่ง ซึ่งคําว่า “นับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง” ตามมาตรา 274 ดังกล่าว หมายความว่า นับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลในชั้นที่สุดในคดีนั้น และถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาได้ร้องขอให้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้
ดําเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของจําเลยที่ 1 คดีนี้ศาลแพ่งได้มีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปีนับแต่ วันที่มีคําพิพากษาของศาลแพ่ง ซึ่งกําหนดระยะเวลาในการบังคับคดีจะครบกําหนดในวันที่ 19 มีนาคม 2562

การที่โจทก์แถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็น การยื่นคําร้องขอภายหลังเมื่อล่วงพ้นกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาของศาลแพ่งแล้ว โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีคําสั่งไม่ดําเนินการยึดให้ คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ตามคําแถลง ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

กรณีของจําเลยที่ 2 การที่โจทก์ได้ยื่นคําแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของ จําเลยที่ 2 ที่มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท นําโชค จํากัด เดือนละ 15,000 บาท ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ซึ่งอยู่ ภายในกําหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคําพิพากษานั้น เมื่อปรากฏว่า บริษัท นําโชค จํากัด ได้ส่งเงินเดือนของ จําเลยที่ 2 ตามคําสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเดือนละ 3,000 บาท ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2555 ตลอดมา ซึ่งยังไม่ครบจํานวนหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดําเนินการบังคับคดีแก่สิทธิเรียกร้องตามที่อายัดไว้นั้น ต่อไปจนแล้วเสร็จหรือครบถ้วนตามจํานวนหนี้ตามคําพิพากษาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่งตอนท้าย ดังนั้น การที่จําเลยที่ 2 ยื่นคําแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนคําสั่งอายัดเงินเดือนของจําเลยที่ 2 โดยอ้างว่า โจทก์มิได้บังคับคดีหรือบังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปี จึงหมดสิทธิบังคับคดีแล้วนั้น ข้ออ้างของจําเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดรถยนต์ของจําเลยที่ 1 ตามคําแถลงของโจทก์
ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนข้ออ้างของจําเลยที่ 2 ที่ขอให้ถอนอายัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายยิ่งยื่นฟ้องนายมูเป็นจําเลยที่ 1 และนายสีเป็นจําเลยที่ 2 ว่า นายมูเป็นลูกหนี้ของนายจึงรู้ว่า นายจึงจะฟ้องนายมู จึงโอนรถยนต์ป้ายทะเบียน 1234 กทม. ให้แก่นายสี โดยนายสีรู้ว่าการโอน ดังกล่าวนี้จะทําให้นายซึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในนิติกรรมเพื่อให้รถยนต์กลับมาเป็นของนายมู โดยรถยนต์คันดังกล่าวมีมูลค่า 350,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาว่า การโอนรถยนต์ระหว่างนายมูและนายสีไม่ใช่เป็นการฉ้อฉลยกฟ้องโจทก์ นายจึงจึงอุทธรณ์ว่า นิติกรรมที่โอนรถยนต์จากนายมูไปยังนายสีเป็นการฉ้อฉล ขอให้ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับคําพิพากษาของศาลชั้นต้นเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะสามารถรับอุทธรณ์ของนายจึงได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่ พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจึงฟ้องนายมูเป็นจําเลยที่ 1 และนายสีเป็นจําเลยที่ 2 ว่า นายมู เป็นลูกหนี้ของนายยิ่งรู้ว่านายจึงจะฟ้องนายมู จึงโอนรถยนต์ป้ายทะเบียน 1234 กทม. ให้แก่นายสี โดยนายสี รู้ว่าการโอนดังกล่าวนี้จะทําให้นายขิงซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในนิติกรรมเพื่อให้รถยนต์ กลับมาเป็นของนายมูนั้น กรณีเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ถ้าศาลมีคําพิพากษาให้เพิกถอนแล้วรถยนต์พิพาทกันนี้ก็จะ กลับไปเป็นของนายมู โดยนายขิงซึ่งเป็นโจทก์จะไม่ได้รับทรัพย์สินใดจากการฟ้องเลย ดังนั้น คดีที่นายขิงฟ้อง ดังกล่าวจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

และเมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาว่าการโอนรถยนต์ระหว่างนายมูและนายสีไม่ใช่เป็นการฉ้อฉล จึงยกฟ้องโจทก์ นายจึงจึงอุทธรณ์ว่า นิติกรรมการโอนรถยนต์จากนายมูไปยังนายสีเป็นการฉ้อฉล ถือเป็นการอุทธรณ์ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ นายจึงโจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น ศาลชั้นต้น จึงสามารถรับอุทธรณ์ของนายจึงได้

สรุป ศาลชั้นต้นสามารถรับอุทธรณ์ของนายของได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยให้จําเลยชําระเงินกู้ จําเลยยื่นคําให้การว่าสัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญากู้ปลอม จําเลย ไม่เคยกู้เงินโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาโจทก์มาขอยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง ศาลมีคําสั่ง ไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง ไม่รับคําร้องดังกล่าว โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ต่อมาโจทก์มายื่น คําร้องขอถอนฟ้อง ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องไม่รับคําร้องดังกล่าว สุดท้ายศาลมีคําพิพากษายกฟ้อง โจทก์ ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ (500,000 บาท) อีกทั้งอุทธรณ์คําสั่งไม่อนุญาต ให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องและคําสั่งไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจะรับอุทธรณ์คําสั่ง ไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง และคําสั่งไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และ ฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง
พิจารณา”

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี
2. เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป
3. ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งไว้ก่อน จึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226 (2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยให้ชําระเงินกู้ จําเลยยื่นคําให้การว่าสัญญากู้ดังกล่าว เป็นสัญญากู้ปลอม จําเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมาโจทก์มาขอยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องและไม่รับคําร้องดังกล่าวซึ่งโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ต่อมาโจทก์ มายื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องและไม่รับคําร้องดังกล่าว สุดท้ายศาลมีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ และต่อมาโจทก์อุทธรณ์ขอให้จําเลยชําระเงินกู้ อีกทั้งอุทธรณ์คําสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง และคําสั่ง ไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ดังนี้ ศาลจะรับอุทธรณ์คําสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง และคําสั่งไม่อนุญาตให้ ถอนฟ้องได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. คําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง เมื่อคําฟ้องถือเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) การที่ศาลมีคําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องโดยการไม่รับคําร้องของโจทก์ จึงเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่เสร็จไปเฉพาะประเด็น บางข้อ จึงเป็นคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิ อุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องได้ แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า โจทก์จะมิได้โต้แย้งคัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อนก็ตาม

2. คําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ถือเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา เพราะเป็นคําสั่งของศาล ที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินคดี และเมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล และไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 และมาตรา 228 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อน จึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์คําสั่งนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226

สรุป ศาลจะรับอุทธรณ์คําสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องได้ แต่จะรับอุทธรณ์คําสั่ง ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ยื่นคําฟ้องให้จําเลยชําระหนี้ โดยโจทก์เป็นชาวต่างชาติที่มาประกอบธุรกิจอยู่ในราชอาณาจักรไทยแต่ปัจจุบันได้ปิดกิจการไปแล้วเพราะเกิดโรคระบาดโดยโจทก์ไม่มีภูมิลําเนาในราชอาณาจักร แต่มี คอนโดมิเนียมอยู่ที่ซอยทองหล่อ 1 ห้อง ในระหว่างพิจารณา จําเลยมายื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ ชั่วคราวให้โจทก์วางค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาล กรณีเช่นนี้ศาลจะสั่งให้โจทก์วางได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 253 วรรคหนึ่ง “ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักรและ ไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยง ไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง กรณีที่จําเลยจะยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ

1. โจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูก บังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ

2. เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องให้จําเลยชําระหนี้นั้น โจทก์ ไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร แต่โจทก์มีคอนโดมิเนียมอยู่ที่ซอยทองหล่อ 1 ห้อง ซึ่งถือว่าโจทก์มีทรัพย์สิน ที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร อีกทั้งในระหว่างพิจารณา เมื่อจําเลยมายื่นคําร้องขอคุ้มครองประโยชน์ ชั่วคราวโดยให้โจทก์วางค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาล จําเลยก็มิได้แสดงให้ศาลเชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยง ไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ศาลจะสั่งให้โจทก์วางค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลตามที่จําเลยร้องขอไม่ได้

สรุป ศาลจะสั่งให้โจทก์วางค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลไม่ได้

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ จําเลยยื่นคําให้การว่าหนี้เป็นโมฆะขอให้ศาลยกฟ้อง ต่อมา ในวันแรกของการสืบพยาน โจทก์และจําเลยมาศาล แต่ในวันอื่นหลังจากนั้นที่มีการสืบพยาน จําเลยไม่มาศาล รวมถึงวันที่ศาลมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ จําเลยก็มิได้มาศาล ศาลออกคําบังคับให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ภายใน 15 วัน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ มาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อไปยึดทรัพย์จําเลย จําเลยคัดค้านว่า คําบังคับดังกล่าวไม่ส่งให้จําเลยจะถือว่าจําเลยทราบระยะเวลาตามคําบังคับไม่ได้ต้องแจ้งให้จําเลยทราบก่อนจึงถือว่าจําเลยมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับไม่ได้

4.1 ข้ออ้างของจําเลยนี้ฟังขึ้นหรือไม่

4.2 หากโจทก์ต้องการโอนหนี้การชําระเงินกู้ดังกล่าวไปให้คนอื่นบังคับคดี จะสามารถทําได้
หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 272 “ถ้าศาลได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งอย่างใดซึ่งต้องมีการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคําพิพากษา ก็ให้ศาลออกคําบังคับทันทีที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น และให้ถือว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ทราบคําบังคับแล้วในวันนั้น

ในคดีที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษาขาดนัดยื่นคําให้การหรือขาดนัดพิจารณา และลูกหนี้ตามคําพิพากษา ทนายความ หรือผู้รับมอบฉันทะจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งดังกล่าวให้มาฟังคําพิพากษาหรือคําสั่ง มิได้อยู่ในศาล ในเวลาที่ออกคําบังคับ ให้บังคับตามมาตรา 199 ทวิ หรือมาตรา 207 แล้วแต่กรณี”

มาตรา 274 วรรคสาม “ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดี ตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบ ทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

4.1 การที่โจทก์ยื่นฟ้องให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้ จําเลยยื่นคําให้การว่าหนี้เป็นโมฆะขอให้ศาล ยกฟ้อง ต่อมาในวันแรกของการสืบพยาน โจทก์และจําเลยมาศาล แต่ในวันอื่นหลังจากนั้นที่มีการสืบพยาน จําเลยไม่มาศาล รวมถึงวันที่ศาลมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ จําเลยก็มิได้มาศาลนั้น กรณีนี้ ไม่ถือว่า จําเลย (ลูกหนี้) ขาดนัดยื่นคําให้การหรือขาดนัดพิจารณาแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 272 วรรคสอง ที่ศาลจะต้องส่งคําบังคับให้แก่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การหรือขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 ทวิ แต่อย่างใด

ดังนั้น เมื่อศาลออกคําบังคับให้จําเลยชําระหนี้โจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษา ย่อมถือว่าจําเลยได้ทราบคําบังคับแล้วในวันนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา ดังกล่าว จําเลยไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงมาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อไปยึดทรัพย์จําเลยนั้น การที่ จําเลยคัดค้านว่า คําบังคับดังกล่าวไม่ส่งให้จําเลยจะถือว่าจําเลยทราบระยะเวลาตามคําบังคับไม่ได้ และจะถือว่า จําเลยมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับไม่ได้นั้น ข้ออ้างของจําเลยย่อมฟังไม่ขึ้น

4.2 ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม ที่บัญญัติไว้ว่า “ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือ คําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษา หรือคําสั่งนั้น มีอํานาจบังคับคดีตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน…” นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ในกรณีเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือคําสั่งชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่นเพื่อบังคับคดีต่อไปได้

ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิเรียกร้องให้จําเลยชําระหนี้ เงินกู้ โจทก์ย่อมสามารถโอนหนี้การชําระเงินกู้ดังกล่าวไปให้คนอื่นบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม

สรุป 4.1 ข้ออ้างของจําเลยฟังไม่ขึ้น

4.2 โจทก์สามารถโอนหนี้การชําระเงินกู้ดังกล่าวไปให้คนอื่นบังคับคดีได้

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยครอบครองรถยนต์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจ ซึ่งรถยนต์คันนี้มีราคา 1,000,000 บาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า จําเลยเช่าซื้อรถยนต์คันนี้มาจากพี่ชายของโจทก์ แต่ยังชําระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน จําเลยกับพี่ชายของโจทก์ตกลงกันให้จําเลยครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวได้ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงต้องการยื่นอุทธรณ์ว่า จําเลยได้ครอบครองรถยนต์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจ ขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับให้จําเลยมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์

ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ใน

ข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควร อุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคําฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ในการห้ามคู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีดังต่อไปนี้ คือ

1. คดีที่ราคาทรัพย์ที่พิพาทหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท
หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

2. คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้อง ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยครอบครองรถยนต์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจ ซึ่งรถยนต์คันนี้มีราคา 1,000,000 บาท ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ และจําเลยยื่นคําให้การ อ้างว่า จําเลยเช่าซื้อรถยนต์คันนี้มาจากพี่ชายของโจทก์ แต่ยังชําระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน จําเลยกับพี่ชาย ของโจทก์ตกลงกันให้จําเลยครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวได้ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลชั้นต้น มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงต้องการยื่นอุทธรณ์ว่า จําเลยได้ครอบครอง

รถยนต์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจนั้น การอุทธรณ์ของโจทก์ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ของศาลซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนี้ โจทก์ก็ย่อมสามารถอุทธรณ์ได้ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้อง อ้างว่าจําเลยครอบครองรถยนต์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจ แต่จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าจําเลยได้ครอบครอง รถยนต์พิพาทเนื่องจากจําเลยเช่าซื้อรถยนต์จากพี่ชายของโจทก์ จึงไม่ถือว่าจําเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง

สรุป โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. นางสาวสองฟ้องนายศานให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นจํานวนเก้าแสนบาท นายศานยื่นคําให้การต่อสู้คดีว่านายศานไม่ได้ผิดสัญญาหมั้นจึงไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่านายศานผิดสัญญาหมั้นและให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางสาวสองตามฟ้อง นายศานยื่นอุทธรณ์ว่าคําฟ้องของนางสาวสองเป็นฟ้องเคลือบคลุม ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของนายศานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้ โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดี
อันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในการยื่นอุทธรณ์นั้น

1. ต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์

2. ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และ

3. อุทธรณ์นั้นไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นจะต้อง เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

เว้นแต่ จะต้องด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น ก็ยังมีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ได้ คือ

1. เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ

2. เป็นปัญหาที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือ

3. เพราะเหตุเป็นเรื่องศาลชั้นต้นที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวสองฟ้องนายศานให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการผิด สัญญาหมั้นจํานวนเก้าแสนบาท นายศานยื่นคําให้การต่อสู้คดีว่านายศานไม่ได้ผิดสัญญาหมั้นจึงไม่ต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาว่านายศานผิดสัญญาหมั้นและให้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางสาวสองตามฟ้องนั้น การที่นายศานยื่นอุทธรณ์ว่าคําฟ้องของนางสาวสองเป็นฟ้องเคลือบคลุมนั้น เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นข้อที่นายศานไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง อีกทั้งข้อที่นายศ ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่ออุทธรณ์นั้น ก็มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่นายศานจะมีสิทธิ ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 225 วรรคสอง ดังนั้น อุทธรณ์ของนายศานจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป อุทธรณ์ของนายศานไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. ผู้ร้องยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายมรณะผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่น คําคัดค้านขอให้ยกคําร้องของผู้ร้องและขอให้มีคําสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคําสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและให้ยกคําคัดค้านของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้คัดค้านยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้มีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของผู้คัดค้านและทายาทอื่นของผู้ตาย เนื่องจากผู้ร้องตั้งใจจะจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยให้ผู้ร้องทําบัญชีทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครอง ของผู้ร้องส่งต่อศาล ผู้ร้องได้รับสําเนาคําร้องของผู้คัดค้านแล้วไม่ยื่นคําคัดค้าน

ให้วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิยื่นคําร้องดังกล่าวหรือไม่ และศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของผู้คัดค้านหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษารวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ําหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิด สัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับ ต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่ายซึ่งทรัพย์สิน ที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สิน ดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาล จะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว”

มาตรา 264 “นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 และมาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่น คําขอต่อศาล เพื่อให้มีคําสั่งกําหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เช่น ให้นําทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการ หรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทําการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครอง
ของบุคคลภายนอก

คําขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และมาตรา 262”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่ผู้คัดค้านยื่นคําร้องต่อศาลอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของผู้คัดค้านและทายาทอื่นของผู้ตาย โดยให้ผู้ร้องทําบัญชีทรัพย์มรดกที่อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องส่งต่อศาลนั้น มิใช่คําร้องขอให้ศาลกําหนดวิธีการคุ้มครองภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไข ตามที่กําหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) แต่อย่างใด จึงมิใช่คําขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลอุทธรณ์มีคําพิพากษาตามมาตรา 254 วรรคหนึ่ง แต่เป็นคําขอให้ศาลอุทธรณ์ กําหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ซึ่งให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขอได้ เมื่อผู้คัดค้านยื่นคําคัดค้านมาตั้งแต่ ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่ความที่มีสิทธิยื่นคําร้องดังกล่าวได้

แต่อย่างไรก็ดี การขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามมาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการร้องขอให้ ศาลกําหนดวิธีการอย่างใด ๆ เพื่อให้สิทธิ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ขอที่พิพาทกันในคดีนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองไว้ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง เมื่อคดีนี้มีประเด็นที่ คู่ความพิพาทกันเพียงว่า ใครสมควรเป็นผู้จัดการมรดก มิได้มีประเด็นพิพาทกันในเรื่องทรัพย์มรดกของผู้ตาย ที่จะนํามาแบ่งปันในระหว่างทายาท ผู้คัดค้านจะขอให้ศาลอุทธรณ์มีคําสั่งให้ผู้ร้องทําบัญชีทรัพย์มรดกที่อยู่ใน ความครอบครองของผู้ร้องส่งต่อศาลไม่ได้ เพราะมิใช่เรื่องที่ผู้คัดค้านขอให้ศาลกําหนดวิธีการอย่างใด ๆ เพื่อให้สิทธิทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ขอที่พิพาทกันในคดีให้ได้รับความคุ้มครองไว้ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของผู้คัดค้านไม่ได้

สรุป ผู้คัดค้านมีสิทธิยื่นคําร้องดังกล่าวได้ แต่ศาลอุทธรณ์จะมีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องของ
ผู้คัดค้านไม่ได้

 

ข้อ 4. ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวาร กับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้าย ทรัพย์สินของจําเลยออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ ให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 40,000 บาท และเดือนละ 2,000 บาท ไปจนกว่าจําเลยและบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาท โดยในวัน อ่านคําพิพากษา ทนายโจทก์และผู้รับมอบฉันทะจากทนายจําเลยมาฟังคําพิพากษาและศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้ออกคําบังคับแก่จําเลยให้ปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคําพิพากษา
ในระหว่างนั้นโจทก์ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้นายฟ้าและทําหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง ในหนี้ตามคําพิพากษาที่ให้ขับไล่จําเลยและบริวารกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินของจําเลยออกไปจากที่ดินพิพาท โดยลงลายมือชื่อของโจทก์ฝ่ายเดียวในฐานะผู้โอนให้นายฟ้าไว้เป็น หลักฐาน และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามคําบังคับแล้ว จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษา ให้วินิจฉัยว่า นายฟ้าจะร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคําพิพากษาแก่จําเลยได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 274 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาล มีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษาหรือ คําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้องหรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่ง….

ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นมีอํานาจบังคับคดีตามความในหมวด 2 การบังคับคดี
ในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไป”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้ขับไล่จําเลยและบริวาร กับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและ ขนย้ายทรัพย์สินของจําเลยออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์นั้น มิใช่สิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง เป็นการให้ชําระเงิน ส่งคืน หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม
ซึ่งได้บัญญัติให้บุคคลซึ่งรับโอนสิทธิตามคําพิพากษานั้นสามารถยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น แม้นายฟ้าจะได้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามคําพิพากษาในหนี้ดังกล่าวโดยชอบจาก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาก็ตาม นายฟ้าก็ไม่มีอํานาจยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ ตามคําพิพากษาเพื่อบังคับคดีแก่จําเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคสาม

2. สําหรับหนี้ตามคําพิพากษาในส่วนที่ให้จําเลยชําระเป็นเงินค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เมื่อจําเลย ซึ่งเป็นคู่ความและเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคําพิพากษาและระยะเวลาที่กําหนดไว้เพื่อให้ลูกหนี้ ปฏิบัติตามคําบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความ และเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเท่านั้นที่มีอํานาจในการร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคําพิพากษาแก่จําเลยได้ ดังนั้น เมื่อนายฟ้ามิใช่คู่ความในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา นายฟ้าจึงไม่มีอํานาจที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคําพิพากษาแก่จําเลยได้

สรุป นายฟ้าจะร้องขอให้มีการบังคับคดีตามคําพิพากษาแก่จําเลยไม่ได้

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์นําที่ดินไปขายฝากไว้กับจําเลยในราคา 50,000 บาท มีกําหนด ไถ่ถอนเป็นเวลา 4 เดือน โจทก์ไปขอไถ่ถอนก่อนครบกําหนด แต่จําเลยบ่ายเบี่ยงเรื่อยมาจนเกิน กําหนดเวลาที่โจทก์จะไถ่ถอนที่ดินคืนได้ ขอให้ศาลบังคับจําเลยคืนที่ดินตามสัญญาขายฝาก ให้แก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่เคยมาขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจําเลยจนล่วงเลยเวลา ที่โจทก์จะไถ่ถอนได้ จึงขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นคําอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จําเลย คืนที่ดินตามสัญญาขายฝากแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์นําที่ดินไปขายฝากไว้กับจําเลยในราคา 50,000 บาท มีกําหนดไถ่ถอนเป็นเวลา 4 เดือน โจทก์ไปขอไถ่ถอนก่อนครบกําหนด แต่จําเลยบ่ายเบี่ยงเรื่อยมา จนเกินกําหนดเวลาที่โจทก์จะไถ่ถอนที่ดินคืนได้ ขอให้ศาลบังคับจําเลยคืนที่ดินตามสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ และต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นอุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จําเลยคืนที่ดินตามสัญญาขายฝากแก่โจทก์นั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือคดีนี้โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่

กรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าคดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่สามารถที่จะอุทธรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะสัญญาขายฝากนั้นเป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปเป็นของ ผู้ซื้อฝากคือจําเลยแล้วเพียงแต่ผู้ขายฝาก คือโจทก์มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกําหนดเวลาที่ได้ตกลงกัน
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายฝากยื่นฟ้องเรียกทรัพย์สินตามสัญญาขายฝากคืนถือว่าในขณะที่ฟ้องนั้นทรัพย์สินจึงไม่ใช่ของโจทก์ คดีที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และเมื่อราคาทรัพย์สินที่ขายฝากมีราคาเพียง 50,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

สรุป โจทก์จะอุทธรณ์ไม่ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยคืนทรัพย์สิน ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขาดนัดพิจารณาและจําเลยขอให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป ศาลจึงสืบพยานจําเลยฝ่ายเดียวและนัดฟังคําพิพากษาในอีก 4 เดือนข้างหน้า โจทก์ยื่นคําร้อง ก่อนศาลพิพากษาขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ต่อมาศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์นําคดีขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่จําเลยไม่พอใจคําสั่งของศาลจึงยื่นอุทธรณ์ คําสั่งศาลทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งศาลมาก่อน ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา
(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใต้โต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่าง
พิจารณา”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

1. จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี
2. เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป
3. ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 และเมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งนั้นทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้าน คําสั่งนั้นไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา หรือ คําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้ จําเลยคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่าไม่เคยผิดสัญญาเช่าซื้อขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ขาดนัดพิจารณาและจําเลยขอให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปศาลจึงสืบพยานจําเลยฝ่ายเดียวและนัดฟังคําพิพากษาในอีก 4 เดือนข้างหน้านั้น เมื่อโจทก์ยื่นคําร้องก่อนศาลพิพากษาขอให้ศาลพิจารณา คดีใหม่โดยอ้างว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ย่อมถือว่าคดีนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้น เมื่อต่อมาศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์นําคดีขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่ คําสั่งของศาลดังกล่าวเป็นคําสั่งในระหว่าง การพิจารณาคดีและไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล จึงถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจําเลยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน จําเลยจึงไม่สามารถอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตของศาลได้

สรุป จําเลยจะอุทธรณ์คําสั่งอนุญาตของศาลดังกล่าวไม่ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยกู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 200,000 บาท หนี้เงินกู้ถึงกําหนดชําระ จําเลยไม่ชําระหนี้ขอให้ศาลบังคับให้ชําระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมายในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวขอให้ศาลมีคําสั่ง อายัดเงินในธนาคารจํานวน 100,000 บาทของจําเลย ศาลไต่สวนคําร้องของโจทก์และมีคําสั่งให้ อายัดเงินในธนาคารของจําเลย ดังนี้ คําสั่งของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 189 “คดีมโนสาเร่ คือ

(1) คดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการขอให้ศาลมีคําสั่งกําหนด วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา หากโจทก์เห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหาย จากการกระทําของจําเลย โจทก์ก็ชอบที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 ได้ แต่การร้องขอ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น จะต้องมิใช่คดีมโนสาเร่

ตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่าจําเลยกู้ยืมเงินโจทก์จํานวน 200,000 บาท หนี้เงินกู้ ถึงกําหนดชําระจําเลยไม่ชําระหนี้ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์ และจําเลยยื่นคําให้การแก้คดีตามกฎหมายนั้น จะเห็นได้ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่มีคําขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคํานวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งถือเป็นคดีมโนสาเร่ การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) คือขอให้ศาลมีคําสั่งอายัดเงินในธนาคารจํานวน 100,000 บาทของจําเลยนั้น โจทก์จึงไม่อาจ ใช้สิทธิขอให้ศาลมีคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว เมื่อศาลได้ไต่สวนคําร้องของโจทก์และได้มีคําสั่งให้อายัดเงินในธนาคารของจําเลย คําสั่งของศาลดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งของศาลที่ให้อายัดเงินในธนาคารของจําเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จํานวน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลจังหวัด เชียงใหม่จึงยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ต่อศาลอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําสั่งพิพากษายกคําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ และส่งสํานวนไปให้ศาลจังหวัดฝางพิจารณาคดีใหม่ ต่อมาศาลจังหวัดฝางมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ ดังนี้ ถ้าโจทก์ต้องการจะบังคับคดี โจทก์ต้องออกหมายบังคับคดีที่ศาลใด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการ บังคับคดีตามมาตรา 276 และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี ตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในขั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์ หรือฎีกานั้น เพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243 (2) และ (3) ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่นั้น เป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี เว้นแต่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี จะได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคําพิพากษาให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้แก่โจทก์จํานวน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จําเลยไม่พอใจคําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่จึงยื่น อุทธรณ์คําพิพากษาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ต่อศาลอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคําสั่งพิพากษายกคําพิพากษาของ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และส่งสํานวนไปให้ศาลจังหวัดฝางพิจารณาคดีใหม่ และต่อมาศาลจังหวัดฝางมีคําพิพากษาให้ จําเลยชําระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์นั้น กรณีดังกล่าวถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มี คําพิพากษาหรือคําสั่งที่อุทธรณ์นั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243 (2) กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคสอง กล่าวคือ ให้ศาลที่มีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่ ซึ่งคือศาลจังหวัดฝางนั้น เป็นศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดี ดังนั้น ถ้าโจทก์ต้องการจะบังคับคดี โจทก์ต้องออกหมายบังคับคดีที่ศาลจังหวัดฝาง

สรุป โจทก์ต้องขอออกหมายบังคับคดีที่ศาลจังหวัดฝาง

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่งตั้งแต่มาตรา 271 เป็นต้นไป ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมใหม่หลายครั้ง จนถึงปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
ข้อแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลากลางวัน จําเลยได้พาอาวุธมีด ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต (โดยโจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจําเลย พาอาวุธมีดไปโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วย) เหตุเกิดที่ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า

(ก) โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่คําฟ้องของโจทก์บกพร่อง ในกรณี เช่นนี้ โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลยเป็นคดีใหม่ โดยบรรยายฟ้องให้ถูกต้องได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจ
ข้อหาได้ดี”

วินิจฉัย

ในการฟ้องคดีอาญา นอกจากคําฟ้องต้องทําเป็นหนังสือแล้ว โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงการ กระทําทั้งหลายที่โจทก์กล่าวหาว่าจําเลยกระทําผิดด้วย กล่าวคือ จะต้องบรรยายถึงการกระทําผิดไว้ให้ชัดเจน ครบถ้วนขององค์ประกอบแห่งความผิดนั้น มิฉะนั้นแล้ว คําฟ้องของโจทก์จะกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจําเลย โดยบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลากลางวัน จําเลยได้พาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยโจทก์ ไม่ได้บรรยายในฟ้องว่าจําเลยพาอาวุธมีดไปโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วยนั้น คําฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวจึงเป็นคําฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ดังนั้นฟ้องของโจทก์จึงเป็นคําฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158 (5)

(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งยกฟ้องโจทก์ เพราะเหตุที่โจทก์ฟ้องขาดองค์ประกอบของ ความผิดตาม (ก) ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่ศาลได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นเหตุให้สิทธิ นําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) ดังนั้น โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มาฟ้องจําเลย เป็นคดีใหม่ไม่ได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้ําซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

สรุป (ก) โจทก์บรรยายฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

(ข) หากศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์จะนําคดีเรื่องเดียวกันนี้มายื่นฟ้อง
จําเลยเป็นคดีใหม่ไม่ได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้ำ

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานทําร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และ 72 ในวันนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้อง ให้จําเลยฟัง จําเลยแถลงขอต่อสู้คดีและแถลงว่าจําเลยไม่มีทนายความและต้องการทนายความ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า “แม้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 มีระวางโทษตามที่ กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ตาม ฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจําเลยกระทําความผิดโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้ศาลย่อมมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ถึงโทษจําคุกก็ได้ จึงตั้งทนายความให้จําเลยไม่ได้” ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จําเลยแถลงไม่ขอต่อสู้คดีและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วศาลชั้นต้นให้โจทก์นําพยานตามบัญชีพยานโจทก์เข้ามาสืบจนเสร็จ จําเลยแถลงขอสืบพยาน ตามบัญชีพยานจําเลย ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่าจําเลยให้การรับสารภาพ จําเลยย่อมไม่มีสิทธิสืบพยาน จึงไม่อนุญาต คดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคําพิพากษา

ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ตั้งทนายความให้จําเลย และคําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จําเลย สืบพยาน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคสอง “เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจําเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาล เชื่อว่าเป็นจําเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และถามว่าได้กระทําผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้ อย่างไรบ้าง คําให้การของจําเลยให้จดไว้ ถ้าจําเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดําเนินการพิจารณาต่อไป”

มาตรา 173 วรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่า มีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

โดยหลัก ในการพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษจําคุกนั้น ก่อนที่ศาลจะเริ่มทําการพิจารณาคดี ศาล ต้องถามจําเลยก่อนว่ามีทนายความหรือไม่ ซึ่งถ้าจําเลยไม่มีและต้องการทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้ มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นนั้นจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง) ซึ่งคําว่า ก่อนเริ่มพิจารณา หมายความว่า ก่อนที่ศาลจะเริ่มพิจารณาโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังและสอบถาม คําให้การจําเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคสองนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานทําร้าย ร่างกายโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบมาตรา 72 ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษ จําคุกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนการพิจารณาคดีคือ ก่อนที่ศาลจะเริ่มอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง และสอบถามคําให้การของจําเลยในคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลไม่ได้ถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ อีกทั้ง เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยแถลงขอต่อสู้คดีและแถลงว่าจําเลยไม่มีทนายความ และต้องการทนายความ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ตั้งทนายความให้จําเลย จึงเป็นกรณีที่ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า “แม้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 มีระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้คือจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่ตามฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจําเลยที่กระทําความผิดโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ศาลย่อมมีอํานาจ พิพากษาลงโทษจําเลยไม่ถึงจําคุกก็ได้ จึงตั้งทนายความให้จําเลยไม่ได้” นั้น คําสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสองที่ว่า “ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก” นั้น หมายความถึง อัตราโทษตามคดีที่โจทก์ฟ้อง ไม่ได้หมายถึงโทษที่ศาลจะลงแต่อย่างใด

ความผิดฐานทําร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 72 นั้น ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้ จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านั้น ดังนั้น เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลชั้นต้น ให้โจทก์นําพยานเข้าสืบ เท่ากับศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจให้มีการสืบพยานหลักฐาน และเมื่อกฎหมายไม่ได้บัญญัติ ให้สืบแต่พยานหลักฐานของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นอํานาจของจําเลยที่จะนําสืบพยานได้ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ นําพยานเข้าสืบจนเสร็จ จําเลยแถลงขอสืบพยานตามบัญชีพยานจําเลย ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า จําเลยให้การ รับสารภาพ จําเลยย่อมไม่มีสิทธิสืบพยาน จึงไม่อนุญาตนั้น คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จําเลยสืบพยานจึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป คําสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ตั้งทนายความให้จําเลย และคําสั่งที่ไม่อนุญาตให้จําเลยสืบพยานไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนนายดํา เป็นเหตุให้นายดําถึงแก่ความตาย
ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 291 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ข้อเท็จจริงจากการ สืบพยานได้ความว่า จําเลยขับรถยนต์พุ่งชนนายดําโดยเจตนาฆ่า เป็นเหตุให้นายดําถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 โดยจําเลยไม่หลงต่อสู้ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่

หมายเหตุ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม “ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและ ทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้น ไม่ใช่ในข้อสาระสําคัญและจําเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจําเลยขับรถโดยประมาทชนนายดํา เป็นเหตุให้ นายดําถึงแก่ความตาย ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 แต่ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานได้ความว่า จําเลยขับรถยนต์พุ่งชนนายดํา โดยเจตนาฆ่า เป็นเหตุให้นายดําถึงแก่ความตายนั้น ข้อแตกต่างกันระหว่างการกระทําโดยเจตนากับประมาท ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าข้อแตกต่างเช่นว่านี้เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ให้ถือว่าต่างกันใน สาระสําคัญ เมื่อไม่ปรากฏว่าจําเลยหลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอํานาจตามมาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสอง ที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยฐานฆ่านายดําตายโดยเจตนาตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ แต่ทั้งนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม

สรุป ศาลมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยได้ แต่จะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมาย กําหนดไว้สําหรับความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้องไม่ได้

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจําเลยฐานใช้อาวุธมีดแทงนายซวยได้รับบาดเจ็บ ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์ และจําเลยของดสืบพยาน และศาลมีคําพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ลงโทษจําคุก 1 ปี โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี เนื่องจากจําเลยได้ กระทําความผิดครั้งแรกและรู้สํานึกในความผิดแห่งตน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยไม่รอการลงโทษ และจําเลยอุทธรณ์อ้างว่าการกระทําของตนเป็นการป้องกัน พอสมควรแก่เหตุ เนื่องจากนายซวยได้เข้ามาทําร้ายตนก่อนจึงใช้อาวุธมีดแทงนายซวย 1 ครั้ง เพื่อป้องกันตน ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ
แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย…”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ได้บัญญัติเอาไว้ว่า ถ้าเป็นคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมาย กําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คําพิพากษา ศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามมาตรา 193 ทวี (1) (2) (3) และ (4)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐาน ทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับนั้น ถือว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด ฐานทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 และลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี โดยโทษจําคุกให้รอการ ลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยโดยไม่รอการลงโทษนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลในการกําหนดโทษ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้

ส่วนกรณีของจําเลยที่อุทธรณ์ว่าการกระทําของตนเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เนื่องจาก นายซวยได้เข้ามาทําร้ายตนก่อน จึงใช้อาวุธมีดแทงนายซวย 1 ครั้ง เพื่อป้องกันตน ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้องนั้น โดยหลักแล้วจําเลยย่อมอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทําของ จําเลยที่เกิดขึ้นในคดี ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 139 ทวิ (2) แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออุทาหรณ์ของจําเลย ดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริงที่จําเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่สามารถที่จะรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาได้

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และของจําเลยไม่ได้

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3108 (LAW 3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายโหระพาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า นายชะอมชิงทรัพย์ของตน ขอให้ดําเนินคดีแก่ นายชะอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 พนักงานสอบสวนทําการสอบสวนแล้ว สรุปสํานวนพร้อมความเห็นส่งไปให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการเห็นว่าความผิดที่นายชะอม กระทําเป็นความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 มิใช่ความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามที่นายโหระพามาร้องทุกข์ พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องนายชะอมในข้อหากรรโชก ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 (พนักงานอัยการบรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ทุกประการ) เมื่อศาลได้ตรวจคําฟ้องของพนักงานอัยการแล้วเห็นว่ายื่นฟ้องถูกต้องตามเขต อํานาจศาล และทําคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติจึงประทับฟ้องไว้พิจารณา

ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นกําลังพิจารณาคดีของพนักงานอัยการ นายโหระพาซึ่งไม่เห็นด้วยกับ พนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องนายชะอมในข้อหากรรโชก นายโหระพาจึงนําคดีมายื่นฟ้องนายชะอม ในข้อหาชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (นายโหระพาบรรยายฟ้อง ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) นายดีเยี่ยมผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้พิพากษาเวรรับฟ้องได้ตรวจคําฟ้องของนายโหระพาแล้วเห็นว่ายื่นฟ้องถูกต้องตามเขตอํานาจศาล และทําคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งไม่ปรากฏว่านายโหระพายื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจําเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้ โดยชอบ รวมถึงไม่ปรากฏว่านายโหระพาเคยจงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และมีความเห็นว่า คดีนี้พนักงานอัยการ ได้ยื่นฟ้องนายชะอมเป็นจําเลยด้วยแล้ว จึงสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องก่อน ดังนี้ การสั่งประทับฟ้องดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลยโดย ข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)

(2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้

ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ได้วางหลักไว้ว่า ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ให้ศาลไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้น พนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ก็ให้จัดการตามอนุมาตรา (2) กล่าวคือ ศาลไม่จําเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้องนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายชะอมในข้อหากรรโชกตาม ป.อาญา มาตรา
337 แต่นายโหระพาไม่เห็นด้วยกับพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องนายชะอมในข้อหากรรโชก นายโหระพาจึงนําคดี มายื่นฟ้องนายชะอมในข้อหาชิงทรัพย์ตาม ป.อาญา มาตรา 339 นั้น การยื่นฟ้องของพนักงานอัยการและของ นายโหระพาจึงเป็นการยื่นฟ้องคนละข้อหา กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ที่ ศาลจะสั่งให้จัดการตามมาตรา 162 (2) ได้ กรณีนี้ ศาลจึงอยู่ในบังคับที่จะต้องไต่สวนมูลฟ้องคดีที่นายโหระพา ยื่นฟ้องนายชะอมในข้อหาชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 339 โดยจะสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ไต่สวน มูลฟ้องก่อนไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลสั่งประทับฟ้องในคดีที่นายโหระพายื่นฟ้องนายชะอมโดยไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1)

สรุป การสั่งประทับฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหาพยายามชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบมาตรา 80 (โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ทุกประการ) ก่อนเริ่มพิจารณา ศาลได้ถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จําเลยตอบว่ามีทนายความ แล้ว หลังจากนั้นศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังและถามคําให้การจําเลย จําเลยให้การ รับสารภาพตามฟ้อง ทั้งโจทก์และจําเลยต่างไม่ขอสืบพยาน

ดังนี้ ศาลจะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์ใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อ….
ผู้นั้นกระทําความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท
ถึงสองแสนบาท

มาตรา 80 วรรคสอง ผู้ใดพยายามกระทําความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษ ที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนด อัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะ
พอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยข้อหาพยายามชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษตาม ป.อาญา มาตรา 339 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งมีระวางโทษสองในสามส่วนของโทษจําคุกตั้งแต่ 5 ปี

ถึง 10 ปีนั้น จึงมิใช่คดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง ดังนั้น เมื่อคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องดังกล่าว เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอํานาจที่จะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

สรุป ศาลจะพิพากษาคดีนี้โดยไม่สืบพยานหลักฐานได้

 

ข้อ 3. ในคดีอาญาเรื่องหนึ่งนายไมโลเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยลักเอาเงินของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไปจํานวน 100,000 บาท ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์นายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนมิได้กระทําผิด ศาลพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่านายไมโลโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ใช้ให้จําเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไปรับเงินจากลูกค้า จํานวน 100,000 บาท แต่จําเลยกลับเอาเงินไปใช้ส่วนตัวไม่ส่งมอบให้โจทก์ การกระทําของจําเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตามฟ้อง แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 352

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด จงอธิบายพร้อมยกหลัก กฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม “ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและ ทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิดหรือ ต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และ ทําให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะ
ปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้น มิใช่ในข้อสาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณา
ได้ความนั้นก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายไมโลเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยลักเอาเงินของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไป จํานวน 100,000 บาท ขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์นายจ้างตาม ป.อาญา มาตรา 335 (11) จําเลยให้การปฏิเสธ อ้างว่าตนมิได้กระทําผิด และเมื่อศาลพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า นายไมโลโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ใช้ให้จําเลย ซึ่งเป็นลูกจ้างไปรับเงินจากลูกค้าจํานวน 100,000 บาท แต่จําเลยกลับเอาเงินไปใช้ส่วนตัว ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตามฟ้อง แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อาญามาตรา 352 นั้น ถือเป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามฟ้องกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกันในรายละเอียด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม และเมื่อจําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนมิได้กระทําผิด จึงเป็นกรณีที่จําเลย มิได้หลงต่อสู้ ดังนั้น ศาลย่อมมีอํานาจพิพากษาลงโทษจําเลยฐานยักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ตามข้อเท็จจริง ที่พิจารณาได้ความนั้นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสองประกอบวรรคสาม

สรุป ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยฐานยักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ได้

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง ในระหว่างพิจารณาจําเลยยื่นคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคําสั่งยกคําร้อง จําเลยมิได้ ดําเนินการโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้แต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเสร็จสิ้นการพิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงตาม ทางพิจารณารับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ลงโทษจําคุก 1 ปี โทษจําคุกรอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยโดยไม่รอการลงโทษ จําเลยอุทธรณ์คําสั่ง ศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้”

มาตรา 196 “คําสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทําให้คดีเสร็จสํานวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นจนกว่า จะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในประเด็นสําคัญและมีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณา
ได้หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

อุทธรณ์ในส่วนของโจทก์

ตามข้อเท็จจริง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจําเลยโดยไม่รอการลงโทษนั้น
ถือเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกําหนดโทษจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในข้อหายักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จึงต้องห้ามอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ

อุทธรณ์ในส่วนของจําเลย

ตามข้อเท็จจริง การที่จําเลยอุทธรณ์ว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้องนั้น ถือเป็นการโต้แย้งดุลพินิจ ของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐานจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้อง และลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี โทษจําคุกรอการลงโทษไว้มีกําหนด 2 ปี จําเลยจึงสามารถอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (2)

และเมื่อมีอุทธรณ์ในเนื้อหาคําพิพากษา จําเลยจึงอุทธรณ์คําสั่งยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม ซึ่งเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 196 แม้จําเลยจะมิได้โต้แย้งคําสั่งระหว่างพิจารณาไว้ก็ตาม เนื่องจากการอุทธรณ์คําสั่งระหว่างพิจารณาในคดีอาญา คู่ความไม่จําต้องโต้แย้งคําสั่งดังกล่าวเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ในภายหลังอย่างเช่นในคดีแพ่ง (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226)

สรุป ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ แต่สามารถรับอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นของจําเลยไว้พิจารณาได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (2) และสามารถรับอุทธรณ์ในส่วนของการอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคําร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมไว้พิจารณาได้
ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 196

LAW3108 (LAW3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา2 1/2564

การสอบไล่ ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3108 (LAW 3008) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเขียวเป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายดําข้อหาลักทรัพย์นายเขียว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 (นายเขียวบรรยายฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้ว เห็นว่านายเขียวยื่นฟ้องถูกเขตอ้านาจศาลและทําคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้ง ไม่ปรากฏว่านายเขียวยื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือ เอาเปรียบจําเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ รวมถึงไม่ปรากฏว่า นายเขียวเคยจงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร จึงสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่นายเขียวเป็นโจทย์ยื่นฟ้อง หลังจากศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีนี้มีมูลจึงให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา

เมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จแล้วจึงนัดอ่านคําพิพากษาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 แต่เมื่อถึงกําหนด นัดอ่านคําพิพากษานายดําไม่มาศาล ศาลเห็นว่านายดําจงใจไม่มาฟังคําพิพากษาจึงออกหมายจับ หลังจากออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวนายดํามาภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกหมายจับ ศาลจึงอ่าน คําพิพากษาลับหลังนายดําในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 โดยพิพากษาจําคุกนายดํา 3 ปี และปรับ 60,000 บาท เมื่อครบกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งให้คู่ความฟัง ไม่มีการยื่นอุทธรณ์คดีจึงถึงที่สุด

หลังจากนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2564 นายดําซึ่งกําลังหลบหนีได้มอบให้ทนายความมายื่นฟ้อง นายเขียวต่อศาล ข้อหาหมิ่นประมาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 (โจทก์บรรยายฟ้องชอบด้วยกฎหมายทุกประการ) ศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้วเห็นว่านายดํา ยื่นฟ้องถูกเขตอํานาจศาลและคําฟ้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบัญญัติ แต่นายดําเคยจงใจฝ่าฝืน คําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นจึงยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง

ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีนี้โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 161/1 “ในคดีราษฎรเป็นโจทย์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาล เรียกมาว่าโจทย์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจําเลยหรือโดย มุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก

การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงการที่โจทย์จงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือ
คําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายดําข้อหาลักทรัพย์นายเขียว ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคําฟ้องแล้วเห็นว่าคดีนี้มีมูลจึงให้ประทับฟ้อง ไว้พิจารณา และเมื่อศาลพิจารณาคดีเสร็จแล้วจึงนัดอ่านคําพิพากษา แต่เมื่อถึงกําหนดนัดอ่านคําพิพากษา นายดําไม่มาศาล ศาลเห็นว่านายดําจงใจไม่มาฟังคําพิพากษาจึงออกหมายจับ หลังออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวนายดํา ภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกหมายจับ ศาลจึงอ่านคําพิพากษาลับหลังนายดํา โดยพิพากษาจําคุกนายดํา 3 ปี และปรับ 60,000 บาท และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น

ต่อมาการที่นายดําซึ่งกําลังหลบหนีได้มอบให้ทนายความมายื่นฟ้องนายเขียวต่อศาลข้อหาหมิ่นประมาท ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายดํา จงใจฝ่าฝืนคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรคดีที่นายดํา มอบให้ทนายความยื่นฟ้องนายเขียวในข้อหาหมิ่นประมาท จึงถือว่าเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ศาลชั้นต้น จึงมีอํานาจที่จะยกฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 161/1 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้น ยกฟ้องคดีนี้โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีนี้โดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องขอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสองในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 336 (ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท) ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลยทั้งสอง และทนายจําเลยทั้งสองมาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบาย ฟ้องให้จําเลยทั้งสองฟัง จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ ในวันนัด สืบพยานโจทก์ โจทก์และจําเลยที่ 1 มาศาล ส่วนจําเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดี โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้น ขอนําสิบตํารวจโทสมาน เจ้าพนักงานตํารวจผู้ร่วมจับกุมจําเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวแก่จําเลยที่ 2 ที่มาศาล เข้าสืบเป็นพยานโจทก์ปากแรก ศาลชั้นต้นสอบจําเลยที่ 1 แล้วแถลงว่าไม่ทราบสาเหตุที่ทนายจําเลย ที่ 1 ไม่มาศาล และไม่ค้านที่โจทก์ขอนําพยานเข้าสืบ ศาลชั้นต้นจึงให้โจทก์นําสิบตํารวจโทสมาน เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์จนแล้วเสร็จ และได้ความจากคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานว่า สิบตํารวจโทสมานจับกุมจําเลยที่ 1 ได้ ส่วนจําเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปในเวลา เดียวกันกับที่จับจําเลยที่ 1 ได้ ให้วินิจฉัยว่า

(ก) การสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยจําเลยที่ 1 ไม่มีทนายความมาศาลชอบหรือไม่

(ข) ศาลจะรับฟังคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานประกอบคดีของจําเลยที่ 2 ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 172 วรรคหนึ่ง “การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 172 ทวิ “ภายหลังที่ศาลได้ดําเนินการตามมาตรา 172 วรรคสองแล้ว เมื่อศาลเห็น เป็นการสมควร เพื่อให้การดําเนินการพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอํานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลัง จําเลยได้ในกรณีดังต่อไปนี้”

(2) ในคดีที่มีจําเลยหลายคน ถ้าศาลพอใจตามคําแถลงของโจทก์ว่า การพิจารณาและการสืบ พยานตามที่โจทก์ขอให้กระทําไม่เกี่ยวแก่จําเลยคนใด ศาลจะพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยคนนั้นก็ได้

ในคดีที่ศาลพิจารณาและสืบพยานตาม (2) หรือ (3) ลับหลังจําเลยคนใด ไม่ว่ากรณีจะเป็น ประการใด ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณาและการสืบพยานที่กระทําลับหลังนั้นเป็นผลเสียหายแก่จําเลยคนนั้น”

มาตรา 174 วรรคหนึ่ง “ก่อนนําพยานเข้าสืบ โจทก์มีอํานาจเปิดคดีเพื่อให้ศาลทราบคดีโจทก์ คือแถลงถึงลักษณะของฟ้อง อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะนําสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลย เสร็จแล้วให้โจทก์
นําพยานเข้าสืบ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ การพิจารณาและการสืบพยานในศาล ให้ทําโดยเปิดเผยต่อหน้าจําเลย และตามมาตรา 174 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อํานาจแก่โจทก์ที่จะแถลงเปิดคดี เสร็จแล้วให้โจทก์นําพยานเข้าสืบโดยมิได้บัญญัติว่า การพิจารณาและการสืบพยานในศาลนั้นจะต้องมี ทนายจําเลยมาศาลด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น การที่ทนายจําเลยที่ 1 ไม่มาศาล โดยจําเลยที่ 1 ไม่ทราบสาเหตุ และจําเลยที่ 1 ไม่คัดค้านที่โจทก์จะขอนําพยานเข้าสืบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะทําการสืบพยานโจทก์ไปได้ การสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

(ข) แม้ศาลชั้นต้นจะมีอํานาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจําเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 172 ทวิวรรคหนึ่ง (2) ก็ตาม แต่ตามมาตรา 72 ทวิวรรคสอง ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจารณาและการสืบพยาน ที่กระทําลับหลังจําเลยที่ 2 นั้น เป็นผลเสียหายแก่จําเลยที่ 2 ดังนั้น เมื่อคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานที่ ศาลชั้นต้นกระทําลับหลังจําเลยที่ 2 ที่ได้ความว่า จําเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปในเวลาเดียวกันกับที่ จับจําเลยที่ 1 ได้ ซึ่งเป็นคําเบิกความที่เกี่ยวแก่จําเลยที่ 2 และเป็นผลเสียหายแก่จําเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ศาล รับฟังคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานประกอบคดีของจําเลยที่ 2

สรุป (ก) การสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยจําเลยที่ 1 ไม่มีทนายความมาศาล
ชอบด้วยกฎหมาย

(ข) ศาลจะรับฟังคําเบิกความของสิบตํารวจโทสมานประกอบคดีของจําเลยที่ 2 ไม่ได้

 

ข้อ 3. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยชิงทรัพย์รถยนต์ของกลางคันหมายเลขทะเบียน วจ 2244 กรุงเทพมหานคร ของนางสาวกะรัตผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยบรรยายฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืน
ตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บเพื่อให้นางสาวกะรัตส่งมอบรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวให้ ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (ฟ้องถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ) จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนมิได้กระทําผิด ทางพิจารณาฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางมิใช่เป็นของนางสาวกะรัต แต่เป็นของจําเลยที่นางสาวกะรัตยืมไปใช้แล้วไม่ยอมส่งคืน จําเลยทวงถามให้ นางสาวกะรัตคืนรถยนต์หลายครั้ง แต่นางสาวกะรัตเพิกเฉย ทําให้จําเลยโกรธ ในวันเกิดเหตุ จําเลย จึงใช้อาวุธปืนตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บสาหัส ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่จําเลยมีความผิดฐานทําร้าย ร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8)

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลพิพากษาลงโทษจําเลยได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดังกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่ โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลลงโทษจําเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยชิงทรัพย์รถยนต์ของกลางของ นางสาวกะรัตผู้เสียหายไปโดยทุจริต โดยบรรยายฟ้องว่าจําเลยใช้อาวุธปืนตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้นางสาวกะรัตส่งมอบรถยนต์ของกลางคันดังกล่าวให้ ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าตนมิได้กระทําผิดนั้น ความผิดตามฟ้องฐานชิงทรัพย์ที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง รวมการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และการทําร้ายร่างกาย (ประทุษร้าย) เพื่อให้ได้ทรัพย์นั้นเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 อยู่ในตัว

เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า รถยนต์ของกลางมิใช่เป็นของนางสาวกะรัตแต่เป็นของ
จําเลยที่นางสาวกะรัตยืมไปใช้แล้วไม่ยอมส่งคืน จําเลยทวงถามให้นางสาวกะรัตคืนรถยนต์หลายครั้ง แต่นางสาวกะรัต เพิกเฉย จําเลยโกรธ ในวันเกิดเหตุจําเลยจึงใช้อาวุธปืนตีศีรษะนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บสาหัส ประกอบกรณียกิจ ตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน การกระทําของจําเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่จําเลยมีความผิดฐาน ทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา 297 (8) ศาลจึงไม่สามารถ พิพากษาลงโทษจําเลยฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ แต่สามารถพิพากษาลงโทษจําเลยฐานทําร้ายร่างกายตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 295 ได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก อย่างไรก็ตาม ศาลไม่อาจพิพากษาลงโทษ จําเลยฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) เนื่องจากการที่จําเลยทําร้ายร่างกายนางสาวกะรัตได้รับบาดเจ็บสาหัส ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้ลงโทษเกินคําขอตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่

สรุป ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยได้ในความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 295 ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. โจทก์ฟ้องว่าจําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ร่วมกันถีบประตูบ้านผู้เสียหายพัง และบุกรุกเข้าไปในบ้าน
อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข โดยร่วมกระทําผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการกระทํากรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ขอให้ลงโทษฐานทําให้ เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี บทหนึ่ง และ เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 ซึ่งมี

อัตราโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี อีกบทหนึ่ง จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ส่วนจําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จําเลยที่ 1 เพียงลําพังคนเดียวกระทําผิด ฐานบุกรุกเพียงบทเดียว หาได้ถีบประตูบ้านผู้เสียหายพัง อันเป็นความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ อีกบทหนึ่งไม่ ส่วนจําเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทําผิดกับจําเลยที่ 1 ด้วย จึงมีคําพิพากษาว่าจําเลยที่ 1 มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี โดยให้ลงโทษจําคุก 1 เดือน ต่อหาความผิดอื่นสําหรับจําเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง และให้ยกฟ้องโจทก์ สําหรับจําเลยที่ 2

(ก) โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์มีน้ําหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจําเลยทั้ง 2 ร่วมกันกระทําผิด
จริง ขอให้ลงโทษจําเลยทั้ง 2 ตามฟ้อง

(ข) จําเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า จําเลยที่ 1 มิได้กระทําผิด ขอให้ศาลยกฟ้องโดยผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณาและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ตามข้อ (ก) และสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ตาม ข้อ (ข) ไว้พิจารณาหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่ กรณีต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก
(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ
(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้
พิจารณาต่อไป”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) สําหรับอุทธรณ์ของโจทก์ตาม (ก) นั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ร่วมกัน บุกรุกโดยร่วมกันกระทําความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี แม้ทางพิจารณาจะฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 กระทําผิดโดยลําพังคนเดียว จําเลยที่ 2 มิได้ร่วมกระทํา ผิดด้วยจึงพิพากษาลงโทษจําเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 262 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวีก็ตาม แต่การพิจารณา อัตราโทษต้องห้ามอุทธรณ์ ตามมาตรา 193 ทวีนั้น ต้องพิจารณาจากอัตราโทษในความผิดที่โจทก์ฟ้อง หาใช่พิจารณาจากอัตราโทษในความผิดที่พิจารณาได้ความไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจําเลยทั้ง 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งมีอัตราโทษจําคุกเกิน 3 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 93 ทวี

ส่วนข้อหาความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น แม้จะมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่า เป็นการกระทํากรรมเดียวกับความผิด ฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทหนักที่มีอัตราโทษไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นบทเบาก็พลอยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงไปด้วย ดังนั้น แม้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ําหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจําเลยทั้ง 2 ร่วมกันกระทําความผิดจริงอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจะเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม อุทธรณ์ของโจทก์ก็ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลจึงต้องสั่งรับอุทธรณ์
ของโจทก์ไว้พิจารณา

(ข) ส่วนอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 นั้น แม้ไม่เข้าเกณฑ์ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวีก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีนี้จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง การที่จําเลยที่ 1 กลับ อุทธรณ์ว่าจําเลยที่ 1 มิได้กระทําผิด อุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นขึ้นกล่าวอ้างในการอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 และแม้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรี ซึ่งระบุให้มีการอนุญาตหรือ รับรองให้อุทธรณ์ได้เฉพาะแต่ในคดีซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิเท่านั้น ถ้าเป็นคดีซึ่ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติมาตราอื่นนอกจากมาตรา 193 ทวิ จะมีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ไม่ได้ ดังนั้น ศาลจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป ศาลมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ตามข้อ (ก) ไว้พิจารณาได้ แต่จะสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยที่ 1 ตามข้อ (ข) ไว้พิจารณาไม่ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!