LAW3105 (LAW3005) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายปรัชยื่นฟ้องนายสืบเนื่องจากนายสืบเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในเช็ค ดังกล่าว ขอให้นายสืบรับผิด ในระหว่างพิจารณานายสืบยื่นคําร้องต่อศาลกล่าวว่า นายสืบได้สั่งจ่ายเช็คให้กับนายวิทไปและนายวิทได้สลักหลังต่อในเช็คดังกล่าวไปให้แก่นายปรัชจึงขอเรียกตัวนายวิทเข้ามาเป็นคู่ความในคดี อีกทั้งเช็คฉบับดังกล่าวได้มีการลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายร่วมกัน 2 คน คือตนกับนายมาร์ค จึงขอเรียกนายมาร์คเข้ามาในคดีด้วย

ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจะเรียกนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 57 “บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้อง แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหาก ศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคําสั่งของศาล เมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือศาลเห็นจําเป็นที่จะเรียก บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม….”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) (ก) บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการ ร้องสอดด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้องแสดงเหตุผลว่าตน อาจฟ้องบุคคลภายนอกหรือถูกบุคคลภายนอกพ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าศาลพิจารณา
ให้ตนแพ้คดี

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายปรัชยื่นฟ้องนายสืบเนื่องจากนายสืบเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว จึงขอให้นายสืบรับผิด ในระหว่างการพิจารณานายสืบยื่นคําร้องต่อศาลว่า นายสืบได้สั่งจ่ายเช็คให้กับนายวิทไปและนายวิทได้สลักหลังเช็คต่อไปให้แก่นายปรัช อีกทั้งเช็คฉบับดังกล่าว ได้มีการลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกัน 2 คน คือตนกับนายมาร์ค จึงขอเรียกตัวนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็น คู่ความในคดีด้วยนั้น ศาลจะเรียกนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่นั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายวิท การที่นายวิทได้สลักหลังโอนเช็คให้แก่นายปรัชนั้น หากศาลพิพากษาให้นายสืบ จําเลยชําระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่นายปรัช นายสืบซึ่งลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายก็ไม่มีสิทธิที่จะไป ไล่เบี้ยเอาจากนายวิทผู้สลักหลัง ดังนั้น ศาลจะเรียกนายวิทบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคําขอของ นายสืบตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) ไม่ได้

กรณีของนายมาร์ค แม้นายมาร์คจะได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่ายร่วมกับนายสืบ นายมาร์คก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับนายสืบเท่านั้น หากศาลพิพากษาให้นายสืบลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งชําระหนี้

นายสืบก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิไปเอาคืนจากนายมาร์คลูกหนี้ร่วมอีกคนหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) ซึ่งมิใช่เป็น การไล่เบี้ยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจะเรียกนายมาร์คบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคําขอของนายสืบตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (3) ไม่ได้

สรุป ศาลจะเรียกนายวิทและนายมาร์คเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ได้

 

ข้อ 2. นายสมบูรณ์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดแพร่ ได้ทําสัญญากู้เงินกับนายส่องแสง ซึ่งมี ภูมิลําเนาอยู่ที่เขตอํานาจศาลจังหวัดน่าน โดยทําสัญญากู้กันมูลค่า 500,000 บาท ที่บ้านของ นายส่องแสง โดยหนี้ดังกล่าวมีนายสินนําที่ดินมาจํานองเป็นประกันเงินกู้ โดยที่ดินรวมถึงภูมิลําเนา ของนายสินนั้นอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดฝาง ต่อมาเมื่อครบสัญญา นายสมบูรณ์ไม่ชําระเงินกู้ นายส่องแสงจึงทําหนังสือบอกกล่าวทวงถาม และบอกกล่าวว่าจะบังคับจํานองไปยังนายสมบูรณ์ และนายสิน ในกรณีดังกล่าวนี้ ถ้าลูกหนี้ไม่ชําระแล้วนายส่องแสงต้องการฟ้องบังคับจํานอง ศาลจังหวัดฝางจะมีอํานาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 4 ทวิ “คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหา ริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่ หรือต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิ ได้วางหลักไว้ว่า คําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่จําเลย มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาล

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมบูรณ์มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดแพร่ ได้ทําสัญญากู้เงิน กับนายส่องแสงซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่เขตอํานาจศาลจังหวัดน่านโดยทําสัญญากู้กันที่บ้านของนายส่องแสง โดยมี นายสินนําที่ดินมาจํานองเป็นประกันเงินกู้โดยที่ดินรวมถึงภูมิลําเนาของนายสินนั้นอยู่ในเขตอํานาจศาลจังหวัดฝาง ต่อมาเมื่อครบสัญญา นายสมบูรณ์ไม่ชําระเงินกู้ นายส่องแสงจึงทําหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกกล่าวว่า จะบังคับจํานองไปยังนายสมบูรณ์และนายสินนั้น กรณีดังกล่าวนี้ ถ้าหากลูกหนี้ไม่ชําระหนี้และนายส่องแสง ต้องการบังคับจํานองเอากับที่ดินที่นายสินนํามาจํานองเป็นประกันเงินกู้นั้น เมื่อการฟ้องขอให้บังคับจํานองแก่ ที่ดินที่จํานอง เป็นคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เพราะต้องมีการบังคับแก่ตัวทรัพย์สินนั้น ดังนั้น นายส่องแสง จึงมีสิทธิเสนอคําฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในเขตศาลหรือศาลจังหวัดฝางได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิศาลจังหวัดฝางจึงมีอํานาจพิจารณาคดีนี้

สรุป ศาลจังหวัดฝางมีอํานาจพิจารณาคดีนี้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 ทวิ

 

ข้อ 3. นายมิตรยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนเอกโทตรี เป็นจําเลยที่ 1 และนายเขียว เป็นจําเลยที่ 2 โดยบรรยาย ฟ้องว่า นายเขียวเป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนเอกโทตรี ขับรถในทางการที่จ้างด้วยความประมาท ชนนายมิตรเสียหาย ทําให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด 500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ต่อมาในระหว่างพิจารณานายมิตรยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องก่อนวันชี้สองสถานว่า ขอแก้ไขชื่อจากห้างหุ้นส่วนเอกโทตรีเป็น นายเอก (ในฐานะบุคคลธรรมดา) เพราะห้างฯ ดังกล่าว มิได้จดทะเบียน อีกทั้งขอแก้ไขชื่อนายเขียวเป็นนายเขียวขจี เนื่องจากนายเขียวได้ไปเปลี่ยนชื่อมา ให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องของนายมิตรได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 179 “โจทก์หรือจําเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคําฟ้อง หรือคําให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้

การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้

(1) เพิ่ม หรือลด จํานวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ

(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคําฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคําฟ้อง เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลัง
ที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณา และชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

มาตรา 180 “การแก้ไขคําฟ้องหรือคําให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทําเป็นคําร้องยื่น ต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุ อันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่นายมิตรยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนเอกโทตรีเป็นจําเลยที่ 1 แล้วต่อมาในระหว่างพิจารณา นายมิตรได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องก่อนวันชี้สองสถานว่า ขอแก้ไขชื่อจากห้างหุ้นส่วนเอกโทตรีเป็นนายเอก (ในฐานะบุคคลธรรมดา) เพราะห้างฯ ดังกล่าวมิได้จดทะเบียนนั้น แม้นายมิตรจะได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม คําฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180 ก็ตาม แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องของนายมิตรดังกล่าวนั้น มิใช่เป็นการแก้ไขโดยการเพิ่มหรือลดจํานวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาใน ฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 แต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้อง โดยเปลี่ยนตัวจําเลย การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม นายมิตรจึงไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติม

คําฟ้องกรณีดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสาม

2. การที่นายมิตรยื่นฟ้องนายเขียวเป็นจําเลยที่ 2 แล้วต่อมาในระหว่างพิจารณานายมิตรได้ยื่น คําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องก่อนวันที่สองสถานว่าขอแก้ไขชื่อนายเขียวเป็นนายเขียวขจี เนื่องจากนายเขียว ได้ไปเปลี่ยนชื่อมานั้น ถือเป็นการแก้ไขฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสอง (2) ประกอบ มาตรา 180 ดังนั้น นายมิตรจึงสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องในกรณีนี้ได้

สรุป ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องของนายมิตรกรณีขอแก้ไขชื่อจากห้างหุ้นส่วนเอกโทตรี เป็นนายเอก (ในฐานะบุคคลธรรมดา) ไม่ได้ แต่อนุญาตให้นายมิตรขอแก้ไขชื่อนายเขียวเป็นนายเขียวขจีได้

 

ข้อ 4. โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้จําเลยชําระหนี้เงินกู้เป็นคดีดําที่ 123/2563 ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ภายหลัง จากจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์มายื่นคําร้องขอถอนฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดเขตอํานาจศาล จําเลย คัดค้านการถอนฟ้องดังกล่าว แต่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง จําเลยไม่พอใจจึงโต้แย้งว่า กรณีนี้ จําเลยคัดค้านแล้ว การที่ศาลอนุญาตนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ยื่นอุทธรณ์และศาลรับอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษา โจทก์ก็ได้นําคดีเรื่องดังกล่าวไปฟ้องต่อศาลจังหวัดแม่สะเรียง เป็นคดีดําที่ 112/2563

ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่โจทก์ นําคดีไปฟ้องเป็นคดีดําที่ 112/2563 นั้น จะสามารถทําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ….

มาตรา 175 “ก่อนจําเลยยื่นคําให้การ โจทก์อาจถอนคําฟ้องได้โดยยื่นคําบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล

ภายหลังจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคําฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจําเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่โจทก์ยื่นคําฟ้องขอให้ชําระหนี้เงินกู้เป็นคดีดําที่ 123/2563 ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังจากจําเลยยื่นคําให้การแล้ว โจทก์มายื่นคําร้องขอถอนฟ้องเนื่องจากฟ้องผิดเขตอํานาจศาล และจําเลย ได้คัดค้านการถอนฟ้องดังกล่าว แต่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องนั้น คําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาลย่อม ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสองนั้น กฎหมายได้กําหนดไว้ว่า ภายหลังที่จําเลยยื่น คําให้การแล้ว ถ้าหากโจทก์ยื่นคําร้องขอถอนฟ้อง ถ้าศาลจะอนุญาตจะต้องฟังจําเลยก่อนเท่านั้น มิได้หมายความว่า ถ้าจําเลยคัดค้านแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้ เพราะการที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 175 วรรคสองนั้น เป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้น เมื่อศาลได้ฟังจําเลยแล้ว แม้จําเลยจะคัดค้านก็เป็น ดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องได้

2. การที่จําเลยไม่พอใจคําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาล จึงได้ยื่นอุทธรณ์และศาลรับอุทธรณ์ ไว้แล้วนั้น เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์นําคดีนี้ไปฟ้องต่อศาลจังหวัดแม่สะเรียง เป็นคดีดําที่ 112/2563 อีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

สรุป คําสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์นําคดีเรื่องเดิมไปฟ้อง เป็นคดีดําที่ 112/2563 นั้น โจทก์ไม่สามารถทําได้เพราะจะเป็นฟ้องซ้อน

LAW3105 (LAW3005) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง1 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3005 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

1. ที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือตั้งอยู่ติดต่อกับลําคลองขนาดใหญ่ซึ่งโจทก์และประชาชนทั่วไปนิยม
ใช้ลําคลองเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ําได้เป็นอย่างดี และส่วนที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้ตั้งอยู่ติดกับ ทางถนนพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ซึ่งโจทก์ใช้สัญจรนาน ๆ ครั้งแต่ไม่นิยมสัญจรบ่อย เพราะมีวัชพืชปกคลุมอย่างหนาแน่นบนทางถนนพิพาทนั้น ต่อมาจําเลยเข้ายึดถือครอบครองถนนพิพาทโดยทําการไถทางแล้วปลูกต้นสักในเส้นทางถนนดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอันเนื่องมาจากการกระทําของจําเลย ขอให้ จําเลยหยุดการไถทางถนนและปลูกต้นสักในเส้นทางถนนพิพาทดังกล่าว จําเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ถนนพิพาท และโจทก์มีลําคลองใหญ่เป็น เส้นทางสัญจรได้เป็นอย่างดีอยู่แล้วจึงไม่เสียหาย อีกทั้งทางถนนพิพาทประชาชนไม่นิยมสัญจรแล้ว จําเลยขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง

ให้ท่านวินิจฉัยว่าคําให้การของจําเลยฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 55 “เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือ บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอํานาจได้ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 บุคคลผู้ที่อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่และจะเสนอคดีต่อศาล ส่วนแพ่งที่มีเขตอํานาจได้นั้น จะต้องปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นได้ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่อย่างแท้จริงด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือตั้งอยู่ติดต่อกับลําคลองขนาดใหญ่ซึ่งโจทก์
และประชาชนทั่วไปนิยมใช้ลําคลองเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ําได้เป็นอย่างดี และส่วนที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้ ตั้งอยู่ติดกับทางถนนพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ซึ่งโจทก์ใช้สัญจรนาน ๆ ครั้งแต่ไม่นิยมสัญจรบ่อยเพราะมี วัชพืชปกคลุมอย่างหนาแน่นบนทางถนนพิพาทนั้น การที่จําเลยเข้ายึดถือครอบครองถนนพิพาทโดยทําการไถทาง แล้วปลูกต้นสักในเส้นทางถนนดังกล่าว ย่อมถือว่าเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในการใช้เส้นทางสาธารณะ ประโยชน์ อันถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และ 1337 แล้ว โดยไม่ต้องคํานึง ว่าโจทก์จะมีเส้นทางอื่นออกสู่สาธารณะหรือไม่ ทั้งไม่ต้องคํานึงว่าประชาชนไม่นิยมใช้เป็นเส้นทางสัญจรหรือเลิกใช้เส้นทางดังกล่าวแล้ว เพราะตราบใดที่ยังไม่มีประกาศยกเลิกโดยทางการก็ยังคงสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์อยู่ ดังนั้น การกระทําของจําเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามนัย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอํานาจฟ้อง จําเลยเพื่อให้หยุดการไถทางถนนและปลูกต้นสักในเส้นทางถนนพิพาทดังกล่าวได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 9183/2551) และเมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องจําเลยดังกล่าวแล้ว การที่จําเลยได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่ เจ้าของกรรมสิทธิ์ถนนพิพาท และโจทก์มีลําคลองใหญ่เป็นเส้นทางสัญจรได้เป็นอย่างดีอยู่แล้วจึงไม่เสียหาย อีกทั้งทางถนนพิพาทประชาชนไม่นิยมสัญจรแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้องนั้น คําให้การดังกล่าวของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น

สรุป คําให้การของจําเลยฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. นายสมควรมีอาชีพขายวัสดุก่อสร้างอยู่ที่อําเภอหัวหิน (ในเขตอํานาจศาลจังหวัดหัวหิน) นายบังอาจ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมีทะเบียนบ้านอยู่ที่จังหวัดชลบุรี (ในเขตอํานาจศาลจังหวัดชลบุรี) ได้ไป รับเหมาก่อสร้างที่จังหวัดเพชรบุรี (ในเขตอํานาจศาลจังหวัดเพชรบุรี) จึงได้ไปซื้อสินค้าจาก นายสมควรที่ร้านค้าของนายสมควรโดยนายสมควรตกลงว่าจะไปส่งให้นายบังอาจที่จังหวัดเพชรบุรีโดยที่นายบังอาจยังไม่ได้มีการชําระราคาสินค้านั้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วนายบังอาจได้ย้ายภูมิลําเนา ไปอยู่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี และไม่ได้ชําระราคาค่าอุปกรณ์ก่อสร้างให้นายสมควร กรณีเช่นนี้ นายสมควรจะสามารถฟ้องนายบังอาจได้ยังเขตอํานาจศาลใดได้บ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 3 “เพื่อประโยชน์ในการเสนอคําฟ้อง

(1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอํานาจ

(2) ในกรณีที่จําเลยไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร

(ก) ถ้าจําเลยเคยมีภูมิลําเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกําหนดสองปีก่อนวันที่มีการเสนอคําฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลําเนาของจําเลย
…”

มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น

(1) คําฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นใน เขตศาลไม่ว่าจําเลยจะมีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายบังอาจซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมีทะเบียนบ้านอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ได้ไปซื้อสินค้าจากนายสมควรที่ร้านค้าของนายสมควรซึ่งมีอาชีพขายวัสดุก่อสร้างอยู่ที่อําเภอหัวหิน (ในเขตอํานาจ ศาลจังหวัดหัวหิน) นั้น แม้นายสมควรจะได้ตกลงว่าจะนําสินค้าไปส่งให้นายบังอาจที่จังหวัดเพชรบุรีก็ตาม กรณี ดังกล่าวนี้ย่อมถือว่ามูลคดีหรือต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทําให้เกิดอํานาจฟ้องนั้นเกิดขึ้นที่สถานที่ ที่มีการทําสัญญาซื้อขายกันคือที่อําเภอหัวหิน ดังนั้น เมื่อนายบังอาจไม่ชําระราคาค่าอุปกรณ์ก่อสร้างให้นายสมควร นายสมควรย่อมสามารถฟ้องนายบังอาจได้ที่ศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลที่จําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลหรือ นายสมควรจะฟ้องนายบังอาจที่ศาลจังหวัดหัวหินซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1)

และแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าต่อมานายบังอาจได้ย้ายภูมิลําเนาไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็ถือว่านายบังอาจเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในประเทศไทยมาก่อน คือเคยมีภูมิลําเนาอยู่ที่ จังหวัดชลบุรีมาก่อนภายใน 2 ปีก่อนที่จะมีการเสนอคําฟ้อง ดังนั้น นายสมควรจึงสามารถยื่นฟ้องนายบังอาจต่อศาลจังหวัดชลบุรีที่นายบังอาจเคยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ประกอบมาตรา 3 (2) (ก)

สรุป นายสมควรสามารถฟ้องนายบังอาจได้ที่ศาลจังหวัดชลบุรีหรือศาลจังหวัดหัวหินศาลใดศาลหนึ่งก็ได้

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องจําเลยว่าจําเลยทําสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์โดยไม่ได้ชําระค่าเช่ามาเป็นเวลา 5 เดือน คือ เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2562 จึงขอให้ขับไล่จําเลยออกไปจากที่ดิน ต่อมาภายหลังจากที่จําเลยยื่นคําให้การและมีการสืบพยานไปบ้างแล้วโจทก์เห็นว่าตนไม่ได้เรียกเงินค่าเช่ามาในคําขอท้ายฟ้องซึ่งสามารถเรียกได้ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 100,000 บาท เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน รวมมูลค่า 500,000 บาท กรณีเช่นนี้โจทก์จะยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอให้จําเลย ชําระเงิน 500,000 บาท หรือโจทก์จะสามารถนําคดีไปฟ้องใหม่เพื่อให้จําเลยชําระค่าเช่าจํานวน 500,000 บาทได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น…”

มาตรา 179 “โจทก์หรือจําเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคําฟ้อง หรือคําให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้

การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้

(1) เพิ่ม หรือลด จํานวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ

(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคําฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคําฟ้อง เพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง หรือ

(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคําฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลัง
ที่ได้ยื่นคําฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คําฟ้องเดิมและคําฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณา และชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้”

มาตรา 180 “การแก้ไขคําฟ้องหรือคําให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้ว ให้ทําเป็นคําร้องยื่นต่อ ศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุ อันสมควรที่ไม่อาจยื่นคําร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 โจทก์จะยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงิน 500,000 บาทได้หรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจําเลยว่าจําเลยทําสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์โดยไม่ได้ชําระค่าเช่ามาเป็นเวลา 5 เดือน
คือเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2562 จึงขอให้จําเลยออกไปจากที่ดิน แต่ต่อมาภายหลังจากที่จําเลยยื่น คําให้การและมีการสืบพยานไปบ้างแล้ว โจทก์เห็นว่าตนไม่ได้เรียกเงินค่าเช่ามาในคําขอท้ายฟ้องซึ่งสามารถเรียกได้

ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 100,000 บาท เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน รวมมูลค่า 500,000 บาท โจทก์จึงยื่นคําร้อง ขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงิน 500,000 บาทนั้น จะเห็นได้ว่าคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องที่ยื่น ในภายหลังกับคําฟ้องเดิมนั้นมีความเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสาม อีกทั้งคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องดังกล่าวเป็นการเพิ่มเติมคําฟ้องเดิม ให้บริบูรณ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสอง (2) ดังนั้น โดยหลักแล้วโจทก์ย่อมสามารถยื่นคําร้องขอแก้ไข เพิ่มเติมคําฟ้องเดิมในกรณีนี้ได้

แต่อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องนั้น ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180 ได้กําหนดไว้ว่า โจทก์จะต้องทําเป็นคําร้องยื่นต่อศาลก่อนวันเริ่มต้นสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องภายหลังจากได้มีการสืบพยานไปบ้างแล้ว อีกทั้งกรณีดังกล่าวก็ไม่เข้า ข้อยกเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180 ดังนั้น โจทก์จึงไม่สามารถยื่นคําร้องขอ แก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องกรณีนี้ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180

ประเด็นที่ 2 โจทก์จะสามารถนําคดีไปฟ้องใหม่เพื่อให้จําเลยชําระค่าเช่าจํานวน 500,000 บาทได้หรือไม่
ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ได้กําหนดไว้ว่า ถ้าคดีเดิมอยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ ในคดีเดิมจะยื่นฟ้องจําเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตาม
กฎหมาย และตามอุทาหรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคดีที่โจทก์ฟ้องจําเลยว่าจําเลยทําสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์แล้ว ไม่ได้ชําระค่าเช่ามาเป็นเวลา 5 เดือนนั้นยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแล้วโจทก์คนเดิมจะฟ้องจําเลยคนเดิม เป็นคดีใหม่โดยให้จําเลยชําระค่าเช่าที่ค้างชําระ 5 เดือน เป็นเงิน 500,000 บาทนั้น ถือว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหาในคดีก่อนกับคดีหลังเป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้น โจทก์จึงไม่สามารถนําคดีไปฟ้องเป็นคดีใหม่เพื่อให้จําเลยชําระ ค่าเช่าจํานวน 500,000 บาทได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

สรุป โจทก์จะยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องขอให้จําเลยชําระเงิน 500,000 บาทไม่ได้ หรือ จะนําคดีไปฟ้องเป็นคดีใหม่เพื่อให้จําเลยชําระค่าเช่าจํานวน 500,000 บาทไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะจะเป็นฟ้องซ้อน

 

ข้อ 4. นายยิ่งยวดเป็นโจทก์ฟ้องนางหนึ่งเป็นจําเลยต่อศาล ขอให้ศาลพิพากษาให้นางหนึ่งรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากทําละเมิดจํานวน 7 แสนบาท นางหนึ่งยื่นคําให้การต่อสู้คดีว่านางหนึ่ง ไม่ได้ทําละเมิดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในวันนัดสืบพยานนัดแรก นายยิ่งยวดมาศาล แต่นางหนึ่งไม่มาศาล ศาลจึงสืบพยานของนายยิ่งยวดไปฝ่ายเดียว ต่อมาในวันสืบพยานนัดที่สอง นายยิ่งยวดและนางหนึ่งมาศาลโดยนางหนึ่งได้ยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาล

ให้วินิจฉัยว่านางหนึ่งมีสิทธิยื่นคําขอพิจารณาคดีใหม่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 200 วรรคหนึ่ง “ภายใต้บังคับมาตรา 198 ทวิ และมาตรา 198 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา”

มาตรา 204 “ถ้าจําเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว”

มาตรา 206 วรรคสาม “ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามาศาลภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้วและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดําเนินคดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และศาลไม่เคยมีคําสั่งให้พิจารณาตามคําขอของคู่ความฝ่ายนั้นมาก่อนตามมาตรา 199 ตรี ซึ่งให้นํามาใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณาตาม มาตรา 207 ด้วย ให้ศาลมีคําสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่…”

มาตรา 207 “เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ให้นําบทบัญญัติมาตรา 199 และคู่ความฝ่ายนั้นอาจมีคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ทั้งนี้ให้นําบทบัญญัติมาตรา 199 ตรี… มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายยิ่งยวดเป็นโจทก์ฟ้องนางหนึ่งเป็นจําเลยต่อศาล ขอให้ศาลพิพากษา ให้นางหนึ่งรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทําละเมิด 7 แสนบาท นางหนึ่งยื่นคําให้การต่อสู้คดีว่านางหนึ่ง ไม่ได้ทําละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น เมื่อปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานนัดแรกซึ่งเป็นวันเริ่มต้น สืบพยานนั้น นายยิ่งยวดโจทก์มาศาล แต่นางหนึ่งจําเลยไม่มาศาลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ย่อมถือว่า นางหนึ่งจําเลยขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 200 วรรคหนึ่งและจะมีผลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 204 คือให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว

เมื่อศาลได้สืบพยานของนายยิ่งยวดโจทก์ไปฝ่ายเดียว แล้วต่อมาในวันสืบพยานนัดที่สอง นายยิ่งยวด โจทก์และนางหนึ่งจําเลยมาศาลโดยนางหนึ่งได้ยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลนั้น กรณีดังกล่าวเมื่อคดีนี้ ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาฝ่ายเดียวโดยศาลยังไม่ได้พิพากษาให้นางหนึ่งจําเลยที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ดังนั้น ถ้าหากนางหนึ่งจะขอให้พิจารณาคดีใหม่จึงต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 206 วรรคสาม กล่าวคือ นางหนึ่ง จะต้องแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดําเนินคดี และเมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณาของนางหนึ่งนั้น มิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และศาลไม่เคยมีคําสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคําขอของนางหนึ่งมาก่อน ก็ให้ศาลมีคําสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่

สรุป นางหนึ่งมีสิทธิยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้โดยต้องดําเนินการตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 206 วรรคสาม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

 

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3106 (LAW 3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายกระทิงออกเช็คชําระหนี้ให้นายกระทงจํานวน 300,000 บาท นายกระทงนําเช็คไปขึ้นเงินที่ ธนาคารเมื่อเช็คถึงกําหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย นายกระทง จึงนําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ จึงขอแจ้งความ ไว้เป็นหลักฐาน” เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ ลงโทษนายกระทิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ระหว่างศาลชั้นต้น พิจารณาคดี นายกระทงยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยคดีของพนักงานอัยการและคําร้องของนายกระทงอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 30 “คดีอาญา ซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ “

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกระทิงออกเช็คชําระหนี้ให้นายกระทง และเมื่อเช็คถึงกําหนด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้น เมื่อนายกระทงเป็นผู้ทรงเช็คในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน นายกระทงจึง เป็นผู้เสียหายในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) แต่การที่นายกระทงนําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ จึงขอ แจ้งความไว้เป็นหลักฐาน” ถือว่านายกระทงยังไม่มีเจตนาให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ ถ้อยคําที่แจ้งจึงไม่เป็น คําร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 62/2521)

ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อไม่มี
คําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ทําให้การสอบสวน ของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ

เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการแล้วจึงไม่มีคําฟ้องอยู่ในศาล นายกระทงแม้จะ เป็นผู้เสียหายก็ไม่สามารถเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 ได้ ดังนั้น ศาลจึงต้องสั่ง
ยกคําร้องของนายกระทงเช่นเดียวกัน

สรุป ศาลต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และต้องมีคําสั่งยกคําร้องของนายกระทง

 

ข้อ 2. ในระหว่างศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานลักทรัพย์
นายเติมผู้เสียหายยื่นคําร้องต่อศาลขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลอนุญาต ในระหว่างการสืบพยานโจทก์ นายเติมยื่นคําร้องต่อศาลขอถอนคําร้องที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ด้วยเหตุผลว่า ความคิดเห็นไม่ตรงกันหลายประการและเกรงว่าจะทําให้คดีเสียหาย ศาลอนุญาต ในวันรุ่งขึ้นนายเติมกลับมายื่นคําร้องต่อศาลขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการอีกครั้ง โดย ระบุว่าเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป ดังนี้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 36 “คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนํามาฟ้องอีกหาได้ไม่…..”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นายเติมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ใน ครั้งแรกตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่านายเติมเป็นผู้เสียหาย สามารถดําเนินคดีแก่จําเลย โดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการได้ เสมือนนายเติมเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ดังนั้น การที่นายเติมได้ยื่น
คําร้องต่อศาลขอถอนคําร้องที่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในระหว่างการสืบพยานโจทก์และศาล
อนุญาต จึงมีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ผู้เสียหายแล้ว

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายเติมได้ยื่นคําร้องต่อศาลขอถอนฟ้องจากการเป็นโจทก์ร่วม โดย ให้เหตุผลว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกับพนักงานอัยการหลายประการและเกรงว่าจะทําให้คดีเสียหายนั้น ไม่ปรากฏว่า นายเติมจะไปดําเนินการอะไรอีก ย่อมถือว่านายเติมไม่ประสงค์จะดําเนินคดีแก่จําเลยอีกต่อไป นายเติมจะไป ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36 (ฎีกาที่ 7241/2544) ดังนั้น ศาลจะไม่อนุญาต ให้นายเติมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการอีกครั้ง

สรุป ศาลจะไม่อนุญาตให้นายเติมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

 

ข้อ 3. นายดําอยู่กินฉันสามีภริยากับนางขาวและมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือเด็กหญิงฟ้า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ขณะที่เด็กหญิงฟ้าอายุ 14 ปี 8 เดือน นายเหลืองกระทําชําเราเด็กหญิงฟ้า ต่อมาเด็กหญิงฟ้าได้ เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้นายดําฟัง นายดําจึงเดินทางไปพบพนักงานสอบสวน และได้กล่าวหาต่อ พนักงานสอบสวนว่านายเหลืองกระทําชําเราเด็กหญิงฟ้า โดยมีเจตนาจะให้นายเหลืองได้รับโทษ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวนคดีนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทําต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 121 “พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง

แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวน เว้นแต่จะมีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เด็กหญิงฟ้าอายุ 14 ปี 8 เดือน ถูกนายเหลืองกระทําชําเรา และต่อมา เด็กหญิงฟ้าได้เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้นายดําซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กหญิงฟ้าฟังนั้น เมื่อนายดํา ไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กหญิงฟ้า นายดําจึงไม่มีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและไม่สามารถจัดการ แทนเด็กหญิงฟ้าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (1) ได้ แม้เด็กหญิงฟ้าจะเป็นผู้เยาว์ก็ตาม และนายดําก็ไม่สามารถ จัดการแทนเด็กหญิงฟ้าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ได้เช่นกัน เพราะแม้นายดําจะเป็นผู้บุพการีของเด็กหญิงฟ้า แต่การที่เด็กหญิงฟ้าถูกนายเหลืองกระทําชําเรานั้น ไม่ปรากฏว่าเด็กหญิงฟ้าถูกทําร้ายได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถ จัดการเองได้แต่อย่างใด ดังนั้น นายดํา จึงไม่ใช่บุคคลอื่นผู้มีอํานาจจัดการแทนได้ อันจะถือว่าเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) นายดําจึงไม่อาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนทําการสอบสวน คดีนี้ได้ การร้องทุกข์ของนายดําจึงไม่เป็นคําร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7)

แต่อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 นั้น เป็นความผิดที่ยอมความกันไม่ได้ หรือเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้น แม้จะไม่มี คําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอํานาจสอบสวนคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง”

สรุป พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวนคดีนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคหนึ่ง

หมายเหตุ ในปัจจุบันความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นนั้น เป็นความผิดที่ยอมความกันไม่ได้ (ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป)

 

ข้อ 4. ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมเห็นนายตะขบยกปืนขึ้นเล็งไปที่นายมะละกอ โดยทั้งนายตะขบและนายมะละกอ
ยืนอยู่ตรงทางสาธารณะ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมแจ้งแก่นายตะขบว่าต้องถูกจับและจะเข้าทําการจับ นายตะขบ แต่นายตะขบวิ่งหนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายตะขบ ซึ่งนายตะขบก็พักอาศัยอยู่ใน บ้านหลังนี้ด้วย ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงตามเข้าไปจับนายตะขบในบ้านมารดาของนายตะขบทันทีโดยที่ไม่มีหมายจับและหมายค้น

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือพบ ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตามบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทําความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้น ควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้จับนายตะขบในบ้านของมารดานายตะขบนั้น ถือเป็น การจับในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับโดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ ทําการจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย และต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วย การค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจการค้นโดยมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย

การที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมเห็นนายตะขบยกปืนขึ้นเล็งไปที่นายมะละกอ โดยทั้งนายตะขบและ นายมะละกอยืนอยู่ตรงทางสาธารณะนั้น การกระทําของนายตะขบเป็นการกระทําความผิดฐานพยายามฆ่า นายมะละกอตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าประเภทความผิดซึ่งหน้า อย่างแท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจ ในการจับนายตะขบได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ

และเมื่อ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้แจ้งแก่นายตะขบว่าต้องถูกจับและจะเข้าทําการจับนายตะขบ แต่ นายตะขบวิ่งหนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายตะขบ ซึ่งนายตะขบก็พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ด้วย ร.ต.ต.ยอดเยี่ยม จึงตามเข้าไปจับนายตะขบในบ้านมารดาของนายตะขบทันทีนั้น ถือว่าเป็นการจับในที่รโหฐาน และเมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้ทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันว่าด้วย การค้นในที่รโหฐานตามมาตรา 92 (3) แล้ว เนื่องจากเป็นกรณีที่นายตะขบได้กระทําความผิดซึ่งหน้าขณะที่ถูก ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมไล่จับและได้หนีเข้าไปในบ้านมารดาของนายตะขบซึ่งเป็นที่รโหฐาน ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจ เข้าไปจับนายตะขบในบ้านมารดาของนายตะขบได้ทันที ดังนั้น การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1), มาตรา 80 วรรคหนึ่ง, มาตรา 81 และมาตรา 92 (3)

สรุป การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมาย

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3106 (LAW 3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายลักษณ์กับนางปรายอยู่กินกันฉันสามีภริยาและมีบุตรชายคือนายช้างอายุยี่สิบปี ต่อมานายคทายักยอกเงินของนายลักษณ์ไปจํานวนหนึ่งล้านบาท นายลักษณ์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดําเนินคดีกับนายคทาในข้อหายักยอกทรัพย์ และวันรุ่งขึ้นนายลักษณ์เป็นโจทก์ฟ้องนายคทา เป็นจําเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ หลังจากนั้นหนึ่งเดือนพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จ จึงส่งสํานวนพร้อมความเห็นให้พนักงานอัยการ และพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายคทาในข้อหายักยอกทรัพย์อีกคดีหนึ่ง ต่อมานายลักษณ์เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งให้วินิจฉัยว่า

(ก) นายปรายสามารถดําเนินคดีแทนนายลักษณ์ในคดีที่นายลักษณ์เป็นโจทก์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) นายช้างยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 29 วรรคหนึ่ง “เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา จะดําเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดําเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้นั้น

คําว่า “ผู้เสียหาย” หมายความถึงผู้เสียหายที่แท้จริง (ตามมาตรา 2 (4)) เท่านั้นที่ยื่นฟ้องคดีไว้ แล้วตายลง ไม่รวมถึงผู้มีอํานาจจัดการแทน
คําว่า “ยื่นฟ้อง” หมายความถึงได้ยื่นฟ้องคดี และให้หมายความรวมถึงการยื่นคําร้องขอเข้าร่วม เป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30 ด้วย

คําว่า “ผู้บุพการี” และ “ผู้สืบสันดาน” นั้น กฎหมายให้ถือตามความเป็นจริง แม้จะไม่ใช่บิดา หรือบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิดําเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ ส่วนสามีหรือภริยานั้นจะต้องเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายคทาได้ยักยอกเงินนายลักษณ์ไปจํานวน 1 ล้านบาท นายลักษณ์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย จึงได้เป็นโจทก์ฟ้องนายคฑาเป็นจําเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ และต่อมานายลักษณ์ได้ตายลงนั้น เมื่อปรากฏว่า นางปรายไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายลักษณ์ ดังนั้น นางปรายจึงไม่สามารถดําเนินคดีแทน นายลักษณ์ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง

(ข) การที่นายลักษณ์ได้ตายลงเพราะโรคมะเร็งนั้น มิใช่เป็นกรณีที่ผู้เสียหายได้ถูกทําร้ายถึงตายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ดังนั้น นายช้างผู้สืบสันดานของนายลักษณ์จึงไม่มีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหาย และการที่นายลักษณ์ผู้เสียหายได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายคทาในข้อหายักยอกทรัพย์
ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายคฑาในคดียักยอกทรัพย์อีกคดีหนึ่งนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนตายนายลักษณ์ ผู้เสียหายได้ยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30 ไว้ แต่อย่างใด

ดังนั้น นายช้างจึงไม่สามารถดําเนินคดีต่างผู้ตายโดยการยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่งได้

สรุป (ก) นางปรายไม่สามารถดําเนินคดีแทนนายลักษณ์ในคดีที่นายลักษณ์เป็นโจทก์ได้ (ข) นายช้างจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการไม่ได้

 

ข้อ 2. นายมะม่วงจอดรถขวางหน้าบ้านของนายตําลึงจึงเกิดการโต้เถียงกัน และนายตําลึงชกนายมะม่วงหนึ่งครั้งเป็นรอยช้ําที่โหนกแก้ม นายมะม่วงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายตําลึง ในข้อหาทําร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 พนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการ ทําร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จึงกําหนดค่าปรับสามพันบาท และนายตําลึงจ่ายค่าปรับเรียบร้อยแล้ว สามวันต่อมา นายมะม่วงจอดรถขวางหน้าบ้านของนายตําลึงเช่นเดิม นายตําลึงโมโหจึงใช้ท่อนไม้ทุบรถของนายมะม่วงจนกระจกหน้ารถแตก นายมะม่วงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายตําลึง ในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ พนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จจึงส่งสํานวนพร้อมความเห็นให้ พนักงานอัยการ และพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายตําลึงในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ ต่อมานายมะม่วงยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตให้นายมะม่วงเป็นโจทก์ร่วมหลังจากนั้นหนึ่งเดือนนายมะม่วงยื่นฟ้องนายตําลึงในข้อหาทําร้ายร่างกายและข้อหาทําให้เสียทรัพย์อีกคดีหนึ่ง

ให้วินิจฉัยว่า นายมะม่วงฟ้องนายตําลึงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 37 “คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่น ที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทเมื่อผู้ต้องหาชําระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว”

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(3) คดีเลิกกันตามมาตรา 37”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

คดีที่ 1 การที่นายมะม่วงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายตําลึงในข้อหาทําร้าย ร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการทําร้ายร่างกายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ซึ่งถือเป็นความผิด ลหุโทษ จึงกําหนดค่าปรับ 3,000 บาท และนายตําลึงจ่ายค่าปรับเรียบร้อยแล้วนั้น ย่อมมีผลทําให้คดีอาญาเลิกกัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 37 (2) ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (3) ดังนั้น นายมะม่วงจะยื่นฟ้องนายตําลึงในข้อหาทําร้ายร่างกายไม่ได้

คดีที่ 2 การที่นายมะม่วงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายตําลึงในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ พนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จจึงส่งสํานวนพร้อมความเห็นให้พนักงานอัยการ และพนักงาน
อัยการยื่นฟ้องนายตําลึงในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ ต่อมานายมะม่วงยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และศาลมีคําสั่งอนุญาตให้นายมะม่วงเป็นโจทก์ร่วมนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน ดังนั้น นายมะม่วงจะยื่นฟ้องนายตําลึงในข้อหาทําให้เสียทรัพย์อีกไม่ได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15

สรุป นายมะม่วงจะยื่นฟ้องนายตําลึงในข้อหาทําร้ายร่างกายไม่ได้ และจะยื่นฟ้องข้อหาทําให้ เสียทรัพย์อีกคดีหนึ่งก็ไม่ได้

 

ข้อ 3. พ.ต.ต.กล้าหาญ เห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายโหระพา โดยทั้งนายเทาและนายโหระพา ยืนอยู่ตรงทางสาธารณะ พ.ต.ต.กล้าหาญ จึงแจ้งนายเทาว่าต้องถูกจับและทําการจับนายเทาทันที โดยที่ไม่มีหมายจับ

ดังนี้ การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 ได้วางหลักไว้ว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มี หมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย เช่น เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําผิดซึ่งหน้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 80 เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญ เห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายโหระพา ทั้งนายเทา และนายโหระพายืนอยู่ตรงทางสาธารณะนั้น การกระทําของนายเทาเป็นการกระทําความผิดฐานพยายามฆ่า นายโหระพาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าประเภท ความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง ดังนั้น พ.ต.ต.กล้าหาญ จึงมีอํานาจในการจับนายเทาได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญ จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง

สรุป การจับของ พ.ต.ต.กล้าหาญชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายลองกองร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่นายกะเพราโดยกล่าวหาว่า วันเกิดเหตุ
ขณะที่นายลองกองยืนอยู่บริเวณหน้าบ้านของนายลองกอง นายกะเพราเดินเข้ามาทําร้ายนายลองกอง และเอาสร้อยคอทองคําหนัก 1 บาทของนายลองกองไป ต่อมาเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมนายกะเพรา ได้ตามหมายจับและแจ้งข้อหาชิงทรัพย์กับแจ้งสิทธิตามกฎหมายชั้นจับกุมให้นายกะเพราทราบ นายกะเพรารับสารภาพและแจ้งว่าได้เก็บสร้อยคอทองคําของนายลองกองไว้ในตู้เสื้อผ้าภายในบ้าน ของนายกะเพรา เจ้าพนักงานตํารวจบันทึกคําให้การของนายกะเพราไว้ในบันทึกการจับกุมและ ยึดสร้อยคอทองคําเป็นของกลาง

ชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนได้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่านายกะเพรากระทําผิด หลังจากนั้น จึงแจ้งข้อหาชิงทรัพย์ และถามคําให้การนายกะเพรา (ก่อนเริ่มถามคําให้การ พนักงานสอบสวน ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 – 134/4 ครบถ้วนทุกประการ) จากการสอบสวนได้ความว่า นอกจากนายกะเพราแล้วยังมีนายตะไคร้และ นายชะพลูร่วมกระทําความผิดด้วย แต่นายตะไคร้และนายชะพลูหลบหนีไปได้ เมื่อพนักงานสอบสวน ทําการสอบสวนเสร็จแล้ว มีความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องนายกะเพราฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ ต่อมา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายกะเพราในความผิดฐานดังกล่าว

นายกะเพราให้การปฏิเสธ โดยต่อสู้ว่า ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน เจ้าพนักงานมิได้แจ้งข้อหา ร่วมกันปล้นทรัพย์ให้นายกะเพราทราบมาก่อน เป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอํานาจ ฟ้องนายกะเพราในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 ขอให้ยกฟ้อง

ดังนี้ ข้อต่อสู้ของนายกะเพราฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 134 “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียกหรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่า ผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทําผิด แล้วจึงแจ้งข้อหา ให้ทราบ…”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นการสอบสวนถือเป็นเพียงการรวบรวมหลักฐานและ ดําเนินการทั้งหลายตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบ ข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อเอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ และการแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134 ก็ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดแม้เดิมเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อการสอบสวนปรากฏว่าการกระทํา ของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นมาแล้วแต่แรก

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ แม้ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่นายกะเพราฐานชิงทรัพย์ แต่เมื่อพนักงานอัยการโจทก์เห็นว่าการกระทําความผิดของนายกะเพราเข้าองค์ประกอบความผิด
ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ตามความเห็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้องนายกะเพราใน ความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 เพราะถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย มาแล้วแต่แรกนั่นเอง ดังนั้น ข้อต่อสู้ของนายกะเพราจึงฟังไม่ขึ้น (เทียบคําพิพากษาฎีกาที่ 256/2553)

สรุป ข้อต่อสู้ของนายกะเพราฟังไม่ขึ้น

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3106 (LAW 3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายชิตขับรถจักรยานยนต์อยู่บนขอบทางตามรถกระบะของนายชัยด้วยความเร็วสูงในขณะที่
ฝนตกหนักฟ้ามืดและถนนลื่น ทําให้ไม่อาจหยุดรถหรือสามารถหักเลี้ยวหลบรถกระบะของนายชัย
ซึ่งเลี้ยวซ้ายเข้ามาในช่องขอบทางด้านซ้ายแล้วหยุดรถอย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้รถเกิดการชนกัน นายชิตมีบาดแผลสมองฉีกขาดจนทุพพลภาพตลอดชีวิต ต่อมาพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายชัย เป็นจําเลยต่อศาล ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ในข้อหาความผิดกระทํา โดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

ให้วินิจฉัยว่า คดีนี้นายชอบบิดาของนายชิตมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ผู้ที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาได้นั้น จะต้องเป็นผู้เสียหาย ตามความใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง หรืออาจเป็นผู้มีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 4, 5 และ 6 ก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายชิตขับรถจักรยานยนต์อยู่บนขอบทางตามรถกระบะของนายชัย ด้วยความเร็วสูงในขณะที่ฝนตกหนักฟ้ามืดและถนนลื่น ทําให้ไม่สามารถหยุดรถหรือสามารถหักเลี้ยวหลบรถกระบะ
ของนายชัยซึ่งเลี้ยวซ้ายเข้ามาในช่องขอบทางด้านซ้ายแล้วหยุดรถอย่างกะทันหัน เป็นเหตุให้รถเกิดการชนกันนั้น ถือว่านายชิตมีส่วนประมาทด้วย นายชิตจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)

เมื่อนายชิตไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย นายชอบบิดาของนายชิตจึงไม่มีอํานาจจัดการแทนตาม
ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) ประกอบมาตรา 3 ดังนั้น คดีนี้นายชอบบิดาของนายชิตจึงไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 30

สรุป คดีนี้นายชอบบิดาของนายชิตไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

 

ข้อ 2. ในงานเลี้ยงฉลองปีใหม่ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรแม่สาย จังหวัดเชียงราย นายดํา มีปากเสียงทะเลาะกับนายขาวจึงใช้อาวุธมีดแทงนายขาวหลายครั้ง พนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรแม่สายได้รับแจ้ง จึงรุดเข้าระงับเหตุ นายดําวิ่งหลบหนีไปได้

นายขาวถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงราย นายดําได้ติดตามไปที่โรงพยาบาลจะเข้าไปใช้กําลังทําร้ายนายขาว แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจจับกุมได้ก่อนที่หน้าโรงพยาบาล ต่อมาอีกสามวันนายขาวถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกแทงที่โรงพยาบาลดังกล่าว

ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนท้องที่ใดมีหน้าที่รับผิดชอบชันสูตรพลิกศพนายขาว และ พนักงานสอบสวนท้องที่ใดมีอํานาจสอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดําเนินคดี
กับนายดา

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอําเภอ และข้าราชการตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตํารวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตํารวจตรีขึ้นไป มีอํานาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอํานาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอํานาจของตนได้

ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขต อํานาจของพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดําเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจําเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่ง ท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการสอบสวน”

มาตรา 19 “ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทําผิดอาญาได้กระทําในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่
(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทําในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทําต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทําลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน

พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้

ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ก) ถ้าจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอํานาจ”

มาตรา 150 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่จะมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาทําการชันสูตรพลิกศพ
โดยเร็ว…

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําใช้อาวุธมีดแทงนายขาวหลายครั้งในงานฉลองปีใหม่ซึ่งอยู่ในเขต ท้องที่สถานีตํารวจภูธรแม่สาย จังหวัดเชียงราย และนายขาวถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลในเขตท้องที่สถานี ตํารวจภูธรเมืองเชียงราย และต่อมาอีก 3 วัน นายขาวได้ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลดังกล่าวนั้น พนักงาน สอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงรายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ จึงเป็นพนักงานสอบสวนที่มี หน้าที่รับผิดชอบชันสูตรพลิกศพนายขาว ร่วมกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคหนึ่ง

การที่นายขาวถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกนายดําแทงในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรแม่สาย
ซึ่งเป็นท้องที่เกิดเหตุ พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรแม่สายซึ่งความผิดได้เกิดภายในเขตอํานาจจึงเป็น พนักงานสอบสวนที่มีอํานาจสอบสวนดําเนินคดีกับนายดํา ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

การที่นายดำถูกจับได้ที่หน้าโรงพยาบาลซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงรายนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีความผิดเกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 เพราะนายดําได้กระทําผิด สําเร็จไปแล้วในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรแม่สายก่อนถูกจับ และยังไม่ได้กระทําผิดใด ๆ ในเขตท้องที่สถานี ตํารวจภูธรเมืองเชียงราย ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรแม่สาย จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคสาม

สรุป
พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงรายมีหน้าที่รับผิดชอบชันสูตรพลิกศพนายขาว
พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรแม่สายมีอํานาจสอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดําเนินคดีกับนายดํา

 

ข้อ 3.นายบอลโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่านายปิงปองและนายเทนนิสร่วมกันหลอกลวงและฉ้อโกงเงิน
ของนายบอลไปจํานวนห้าแสนบาท นายปิงปองได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดี กับนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาท เมื่อพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จจึงส่งสํานวนคดีให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาท ศาลพิจารณาและ พิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว หลังจากนั้นนายเทนนิสจึงยื่นฟ้องนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาทอีกคดีหนึ่ง แต่นายบอลยื่นคําให้การว่าคดีที่นายเทนนิสเป็นโจทก์นั้นเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์

ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ตามคําให้การของนายบอลฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดจึงได้ฟ้อง”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 173 วรรคสอง “นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคําฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา และผลแห่งการนี้

(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ…”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จ เด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน
2. การกระทําของจําเลยเป็นการกระทํากรรมเดียวกัน
3. ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายบอลโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่านายปิงปองและนายเทนนิสร่วมกัน หลอกลวงและฉ้อโกงเงินของนายบอลไปจํานวน 500,000 บาท นายปิงปองได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ดําเนินคดีกับนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาท เมื่อพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จจึงส่งสํานวนคดี
ให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาท ศาลพิจารณาและพิพากษา ยกฟ้องคดีดังกล่าว และหลังจากนั้นนายเทนนิสจึงได้ยื่นฟ้องนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาทอีกคดีหนึ่ง แต่นายบอล ยื่นคําให้การว่าคดีที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ฟ้องนั้นเป็นฟ้องซ้อนและฟ้องซ้ำกับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์นั้น ข้อต่อสู้ตามคําให้การของนายบอลฟังขึ้นหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1. คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาทไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดี ที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 เนื่องจากเป็น โจทก์คนละคนกัน ดังนั้นข้อต่อสู้ตามคําให้การของนายบอลว่าคดีที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ฟ้องนั้นเป็นฟ้องซ้อนกับ คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ จึงฟังไม่ขึ้น

2. การที่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถือเป็นกรณีที่ศาลมีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) การที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ฟ้องนายบอลในข้อหาหมิ่นประมาทอีกจึงถือเป็นฟ้องซ้ำ ดังนั้น ข้อต่อสู้ตามคําให้การ ของนายบอลว่าคดีที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ฟ้องนั้นเป็นฟ้องซ้ํากับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงฟังขึ้น

สรุป ข้อต่อสู้ตามคําให้การของนายบอลว่าคดีที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ฟ้องนั้นเป็นฟ้องซ้อนฟังไม่ขึ้น
แต่ข้อต่อสู้ว่าคดีที่นายเทนนิสเป็นโจทก์ฟ้องซ้ำนั้นฟังขึ้น

 

ข้อ 4. พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมมีหลักฐานตามสมควรว่านายตะขบได้ทําร้ายร่างกายนายลองกอง จนเป็น เหตุให้นายลองกองได้รับอันตรายสาหัส ขณะที่ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมกําลังจะเดินทางจากที่ทําการ ของพนักงานสอบสวนไปที่ศาล เพื่อขอให้ศาลออกหมายจับนายตะขบ พ.ต.ต.เก่งกล้าได้รายงานให้ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมทราบว่านายตะขบกําลังจะหลบหนีออกนอกประเทศ

พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมเห็นว่าหากเดินทางไปศาล นายตะขบน่าจะขับรถออกนอกประเทศไทย ไปก่อน และคงยากแก่การติดตามจับกุม พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงร้องขอหมายจับต่อศาลทางโทรศัพท์ โดยศาลได้สอบถามจนปรากฏว่ามีเหตุที่จะออกหมายจับตามมาตรา 66 จึงมีคําสั่งออกหมายจับแล้วจัดส่งสําเนาหมายจับไปยัง พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมทางโทรสาร

พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงนําสําเนาหมายจับที่ได้รับทางโทรสารไปจับนายตะขบได้ก่อนที่นายตะขบ จะหลบหนีออกนอกประเทศ หลังจากที่มีการจับนายตะขบ ศาลซึ่งออกหมายจับได้ดําเนินการให้พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมมาพบศาลเพื่อสาบานตัวโดยไม่ชักช้า โดยได้จดบันทึกถ้อยคําของ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยม และลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมายไว้

ดังนี้ การที่ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมนําสําเนาหมายจับที่ได้รับทางโทรสารไปจับนายตะขบขอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(9) “หมายอาญา” หมายความถึงหนังสือบงการที่ออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทําการจับ ขัง จําคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนา หมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสําเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77

มาตรา 59 “ศาลจะออกคําสั่งหรือหมายจับ หมายค้น หรือหมายขัง ตามที่ศาลเห็นสมควรหรือมีผู้ร้องขอก็ได้

ในกรณีที่ผู้ร้องขอเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ ต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองตั้งแต่ระดับสาม
หรือตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป

ในกรณีที่จําเป็นเร่งด่วนซึ่งมีเหตุอันควรโดยผู้ร้องขอไม่อาจไปพบศาลได้ ผู้ร้องขออาจร้องขอ ต่อศาลทางโทรศัพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นที่เหมาะสม เพื่อขอให้ ศาลออกหมายจับหรือหมายค้นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลสอบถามจนปรากฏว่ามีเหตุที่จะออกหมายจับ หรือหมายค้นได้ตามมาตรา 59/1 และมีคําสั่งให้ออกหมายนั้นแล้ว ให้จัดส่งสําเนาหมายเช่นว่านี้ไปยังผู้ร้องขอ โดยทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กําหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

เมื่อได้มีการออกหมายตามวรรคสามแล้ว ให้ศาลดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอหมายมาพบศาล
เพื่อสาบานตัวโดยไม่ชักช้า โดยจดบันทึกถ้อยคําของบุคคลดังกล่าวและลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมายไว้ หรือ จะใช้เครื่องบันทึกเสียงก็ได้โดยจัดให้มีการถอดเสียงเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมาย บันทึกที่มีการลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าวแล้ว ให้เก็บไว้ในสารบบของศาล หากความปรากฏต่อศาลในภายหลังว่าได้มี การออกหมายไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ศาลอาจมีคําสั่งให้เพิกถอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมาย เช่นว่านั้นได้ ทั้งนี้ ศาลจะมีคําสั่งให้ผู้ร้องขอจัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามที่เห็นสมควรก็ได้”

มาตรา 59/1 “ก่อนออกหมาย จะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควรที่ทําให้ศาลเชื่อได้ว่า มีเหตุที่จะออกหมายตามมาตรา 66 มาตรา 69 หรือมาตรา 71

คําสั่งศาลให้ออกหมายหรือยกคําร้อง จะต้องระบุเหตุผลของคําสั่งนั้นด้วย

หลักเกณฑ์ในการยื่นคําร้องขอ การพิจารณา รวมทั้งการออกคําสั่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ วิธีการที่กําหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา”

มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจําคุก อย่างสูงเกินสามปี หรือ

(2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อ ว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น

ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร
ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ขณะที่ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยม กําลังจะเดินทางจากที่ทําการของพนักงานสอบสวน ไปยังที่ศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายจับนายตะขบผู้ซึ่งทําร้ายร่างกายนายลองกอง จนเป็นเหตุให้นายลองกอง ได้รับอันตรายสาหัสนั้น พ.ต.ต.เก่งกล้าได้รายงานให้ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมทราบว่านายตะขบกําลังจะหลบหนีออก นอกประเทศ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมเห็นว่าหากเดินทางไปศาล นายตะขบน่าจะขับรถออกนอกประเทศไทยไปก่อน
และคงยากแก่การติดตามจับกุม ย่อมถือว่าเป็นกรณีจําเป็นเร่งด่วนซึ่งมีเหตุอันควร พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงร้องขอ หมายจับต่อศาลทางโทรศัพท์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 59 วรรคสาม เมื่อศาลสอบถามจนปรากฏว่ามีเหตุที่จะออก หมายจับตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 66 จึงมีคําสั่งให้ออกหมายจับ แล้วได้จัดส่งสําเนาหมายจับไปยัง พ.ต.อ.ยอดเยี่ยม ทางโทรสาร พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงนําสําเนาหมายจับที่ได้รับทางโทรสารอันเป็นหมายอาญาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (9) ไปจับนายตะขบได้ โดยหลังจากที่มีการจับ ศาลซึ่งออกหมายจับได้ดําเนินการให้ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมมาพบศาลเพื่อ สาบานตนโดยไม่ชักช้า โดยได้จดบันทึกถ้อยคําของ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยม และลงลายมือชื่อของศาลผู้ออกหมายจับไว้ จึงเป็นการดําเนินการตามที่ ป.วิ.อาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น การที่ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมนําสําเนา หมายจับที่ได้รับทางโทรสารไปจับนายตะขบจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การที่ พ.ต.อ.ยอดเยี่ยมนําสําเนาหมายจับที่ได้รับทางโทรสารไปจับนายตะขบชอบด้วยกฎหมาย

 

 

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3106 (LAW 3006) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจําเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคําสั่งศาล โดยเป็น ผู้พิทักษ์ของนางแฉล้มศรีคนเสมือนไร้ความสามารถและได้รับอนุญาตจากศาลให้ทํานิติกรรมของนางแฉล้มศรีแทนนางแฉล้มศรีให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสาร จําเลยครอบครองเงินสดของนางแฉล้มศรีซึ่งได้มาจากการขายที่ดินแล้วเบียดบังยักยอกเอาเงินขายที่ดินดังกล่าวไปเป็นของจําเลย ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 และให้จําเลยคืนเงินแก่กองมรดกของนางแฉล้มศรี จําเลยให้การปฏิเสธ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าขณะที่จําเลยขายที่ดินของนางแฉล้มศรี ที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และได้ยักยอกเงินไปนั้น นางแฉล้มศรียังมีชีวิตอยู่ แต่เป็นอัมพาตเดินไม่ได้และยังไม่ได้ดําเนินคดีแก่จําเลย ต่อมานางแฉล้มศรีถึงแก่ความตาย ศาลมี คําสั่งตั้งนายพิษณุโลกบุตรของนางแฉล้มศรีเป็นผู้จัดการมรดก นายพิษณุโลกตรวจสอบทรัพย์สินของนางแฉล้มศรีทราบว่าจําเลยเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินของนางแฉล้มศรีไปเป็นประโยชน์ ส่วนตัว จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่จําเลย พนักงานสอบสวนได้ ทําการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้

จงวินิจฉัยว่า นายพิษณุโลกมีอํานาจร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวน และพนักงาน อัยการมีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงยกหลักกฎหมายประกอบมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใด ฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(1) ร้องทุกข์”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมีคําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลักการแล้วพนักงานอัยการเป็นบุคคลผู้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อาญามาตรา 28 (1) แต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน (ป.วิ.อาญา มาตรา 120) และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ ตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ตามคําสั่งศาล โดยเป็นผู้พิทักษ์ของนางแฉล้มศรีคนเสมือนไร้ความสามารถและได้รับอนุญาตจากศาลให้ทํานิติกรรม
ของนางแฉล้มศรีแทนนางแฉล้มศรีให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสาร จําเลยครอบครองเงินสดของนางแฉล้มศรีซึ่งได้มา จากการขายที่ดินแล้วเบียดบังยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของจําเลย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 และให้จําเลยคืนเงินแก่กองมรดกของนางแฉล้มศรีนั้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยคือพนักงานอัยการ มีอํานาจฟ้องคดีนี้หรือไม่

คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า ขณะที่จําเลยขายที่ดินของนางแฉล้มศรีตามที่ ได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวกลางแล้วยักยอกเงินไปนั้น นางแฉล้มศรียังมีชีวิตอยู่เพียงแต่เป็น อัมพาตเดินไม่ได้และยังไม่ได้ดําเนินคดีแก่จําเลย ต่อมานางแฉล้มศรีถึงแก่ความตาย ศาลมีคําสั่งตั้งนายพิษณุโลก บุตรของนางแฉล้มศรีเป็นผู้จัดการมรดก และเมื่อนายพิษณุโลกตรวจสอบทรัพย์สินของนางแฉล้มศรีจึงทราบว่าจําเลยเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินของนางแฉล้มศรีไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีแก่จําเลย เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนแล้วพนักงานอัยการจึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้นั้น เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า การที่จําเลยได้ทําการเบียดบังยักยอกเอาเงินจากการขายที่ดินของนางแฉล้มศรีไปนั้น ผู้เสียหายซึ่งมีอํานาจร้องทุกข์ในคดีนี้คือนางแฉล้มศรีมิใช่นายพิษณุโลก เพราะความผิดเกิดขึ้นในขณะที่นางแฉล้มศรียังมีชีวิตอยู่ และแม้ว่านางแฉล้มศรีจะเป็นอัมพาตแต่ก็มิใช่กรณีที่นางแฉล้มศรีซึ่งเป็นผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) อันจะทําให้นายพิษณุโลกสามารถจัดการแทนผู้เสียหายได้ ดังนั้น นายพิษณุโลกจึงไม่มีอํานาจ ร้องทุกข์แทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) และ (7) ประกอบมาตรา 5 (2)

เมื่อข้อเท็จจริงของคดีนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว และผู้เสียหายคือนางแฉล้มศรีมิได้ร้องทุกข์ไว้ ย่อมมีผลทําให้พนักงานสอบสวนไม่มีอํานาจสอบสวน และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอํานาจฟ้องคดีนี้เช่นเดียวกัน ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ประกอบมาตรา 120

สรุป นายพิษณุโลกไม่มีอํานาจร้องทุกข์ พนักสอบสวนไม่มีอํานาจสอบสวน และพนักงานอัยการ ไม่มีอํานาจจะฟ้องคดีนี้

 

ข้อ 2. นายขาฉ้อโกงเงินจากนางซึ่งเป็นจํานวนห้าแสนบาท นางขิงจึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
ให้ดําเนินคดีกับนายว่า หลังจากพนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนเสร็จจึงสรุปสํานวนพร้อม ความเห็นส่งให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายว่าเป็นจําเลยในข้อหาฉ้อโกง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกสองปี จําเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ นางจึงยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์

ให้วินิจฉัยว่า นางยิ่งมีสิทธิยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์หรือไม่ เพราะเหตุใด และศาลอุทธรณ์
ต้องดําเนินการอย่างไรต่อไป

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคําร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย”

มาตรา 126 วรรคหนึ่ง “ผู้ร้องทุกข์จะแก้คําร้องทุกข์ระยะใดหรือจะถอนคําร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้”

วินิจฉัย

ในคดีอาญานั้น เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว ผู้เสียหายจะถอนคําร้องทุกข์นั้นเสียเมื่อใดก็ได้ ก่อนคดีถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง และในกรณีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้มีการ ถอนคําร้องทุกข์แล้ว สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางจึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับนายข่าในความผิด ฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว หลังจากพนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนเสร็จจึงสรุปสํานวนพร้อม ความเห็นส่งให้พนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายว่าเป็นจําเลยในข้อหาฉ้อโกงนั้น ถือเป็นอํานาจฟ้องของพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (2) มาตรา 120 และมาตรา 121

ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 2 ปี จําเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง และในระหว่างพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ นางจึงได้ยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์นั้น ถือเป็น กรณีที่ผู้เสียหายได้ขอถอนคําร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 126 วรรคหนึ่ง ดังนั้น นางขิงจึงมีสิทธิยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์ได้ และเมื่อได้มีการถอนคําร้องทุกข์แล้วย่อมมีผล ทําให้สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (2) และมีผลทําให้คําพิพากษาของศาลชั้นต้น ระงับไปด้วยในตัว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดีโดยไม่ต้องมีคําสั่งยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นอีก

สรุป นางจึงมีสิทธิยื่นคําร้องขอถอนคําร้องทุกข์ได้ และศาลอุทธรณ์ต้องมีคําสั่งจําหน่ายคดี โดยไม่ต้องมีคําสั่งยกคําพิพากษาของศาลชั้นต้นอีก

 

ข้อ 3. หลังจากที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม นําหมายจับของศาลอาญาไปจับนายตะขบที่ถนนสาธารณะ ระหว่างที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม นํานายตะขบไปที่ทําการของพนักงานสอบสวนเพื่อส่งมอบตัวนายตะขบให้ พนักงานสอบสวน นายตะขบได้หลบหนีไปจากรถยนต์ที่ใช้ในการควบคุมตัว หลังจากนายตะขบ ได้หลบหนีการควบคุมไปสองวัน ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ซึ่งกําลังติดตามจับกุม ได้พบนายตะขบกําลังรอ ขึ้นเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม จึงเดินเข้าไปหานายตะขบและแจ้งว่าต้องถูกจับ ทั้งแจ้งข้อหากับแจ้งสิทธิตามกฎหมาย จากนั้นได้จับนายตะขบนําส่งพนักงานสอบสวน ดังนี้ การจับของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงค้าตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 65 “ถ้าบุคคลที่ถูกจับตามหมายหลบหนีหรือมีผู้ช่วยให้หลบหนีไปได้ เจ้าพนักงานผู้จับ มีอํานาจติดตามจับกุมผู้นั้นโดยไม่ต้องมีหมายอีก”

มาตรา 68 “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือศาลที่ออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าหมายจับที่ศาลออกเพื่อให้จับนายตะขบนั้นจะใช้ไม่ได้แล้วเนื่องจาก ได้มีการจับนายตะขบตามหมายจับได้แล้ว ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า “หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่า จะจับได้….” แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม เป็นเจ้าพนักงานผู้จับ เนื่องจากเป็นผู้นําหมายจับไปจับนายตะขบ และเมื่อนายตะขบซึ่งถูกจับตามหมายจับได้หลบหนีไป ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจในการติดตามจับกุมนายตะขบ ได้โดยไม่ต้องมีหมายอีก ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 65 ดังนั้น การที่ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม ซึ่งกําลังติดตามจับกุม ได้พบ นายตะขบและได้จับนายตะขบในขณะกําลังรอขึ้นเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ การจับของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยม จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามป.วิ.อาญา มาตรา 65 และมาตรา 68

สรุป การจับของ ร.ต.อ.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายเทากับพวกมีเรื่องวิวาทที่แทงทําร้ายนายหน่อไม้กับพวกในร้านอาหาร นายหน่อไม้ถูกแทง ด้วยมีดปลายแหลมได้รับอันตรายสาหัส ต่อมานายเทาถูกจับตามหมายจับ พนักงานสอบสวน ได้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่านายเทากระทําผิด หลังจากนั้นจึงแจ้งข้อหาแก่นายเทา ว่าทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส และถามคําให้การนายเทาแล้วได้ทําการสอบสวน (โดยก่อนเริ่มถามคําให้การพนักงานสอบสวนได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 – 134/4 ครบถ้วนทุกประการ) ครั้นพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนแล้ว ทางสอบสวนได้ความว่า นายเทาเป็นคนใช้มีดปลายแหลมแทง นายหน่อไม้โดยมีเจตนาฆ่า จึงสรุปสํานวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นและพนักงานอัยการยื่นฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น

ดังนี้ พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั่นก่อน”

มาตรา 134 “เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียกหรือส่งตัวมาหรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือปรากฏว่า ผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทําผิด แล้วจึง
แจ้งข้อหาให้ทราบ…”

วินิจฉัย

ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นการสอบสวนถือเป็นเพียงการรวบรวมหลักฐานและ ดําเนินการทั้งหลายตามที่กฎหมายกําหนด ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะ ราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อเอาตัวผู้กระทําผิดมาฟ้องลงโทษ และการแจ้งข้อกล่าวหาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134 ก็ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าจะถูกสอบสวน ในคดีอาญาเรื่องใด แม้เดิมเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อการสอบสวน ปรากฏว่าการกระทําของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นมาแล้วแต่แรก

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ แม้ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหาแก่นายเทาว่า ทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น แต่เมื่อพนักสอบสวน ได้ทําการสอบสวนแล้วได้ความว่า การกระทําของนายเทาเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ก็เรียกได้ว่า มีการสอบสวนในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการจึงมีอํานาจฟ้องนายเทาในความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 (คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2548)

สรุป พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องนายเทาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายชายเป็นจําเลยว่านายชายใช้ปืนยิงนายชอบโดยบันดาลโทสะ
เป็นเหตุให้นายชอบได้รับบาดเจ็บ และกระสุนปืนดังกล่าวยังพลาดไปโดนนายชาญที่บริเวณหน้าอก เป็นเหตุให้นายชาญถึงแก่ความตายทันที ระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น นายชอบและนางแช่มซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายชาญต่างยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งคําร้องของนายชอบและนางแซ่มอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6”

มาตรา 3 “บุคคลดังระบุในมาตรา 4, 5 และ 6 มีอํานาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไข ที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ”

มาตรา 5 “บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทําร้าย ถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ผู้ที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีอาญาได้นั้น จะต้องเป็นผู้เสียหาย ตามความใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) ซึ่งอาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง หรืออาจเป็นผู้มีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 4, 5 และ 6 ก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายชายเป็นจําเลยว่านายชายใช้ปืนยิง นายชอบโดยบันดาลโทสะเป็นเหตุให้นายชอบได้รับบาดเจ็บ และกระสุนปืนดังกล่าวยังพลาดไปโดนนายชาญที่ บริเวณหน้าอกเป็นเหตุให้นายชาญถึงแก่ความตายทันที และระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น นายชอบและ
นางแจ่มซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายชาญต่างยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
ดังนี้ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องของนายชอบและนางแช่มอย่างไรนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายชอบ การที่นายชอบได้รับบาดเจ็บจากการกระทําของนายชาย นายชอบจึงเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้เสียหายที่แท้จริงตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4) แล้ว นายชอบจึงสามารถยื่นคําร้อง ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ได้ ดังนั้น กรณีของนายชอบ ศาลชั้นต้นจึงต้องมีคําสั่งรับคําร้อง
ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนายชอบ

กรณีของนางแช่ม เมื่อนางแช่มเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายชาญจึงไม่ถือว่าเป็นภริยา
ของนายชาญตามกฎหมาย นางแช่มจึงไม่มีอํานาจจัดการแทนนายชาญผู้ตายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5 (2) และ ไม่มีอํานาจที่จะยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 3 (2) และมาตรา 30 ได้

ดังนั้น กรณีของนางแช่ม ศาลชั้นต้นจะต้องมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนางแช่ม

สรุป ศาลชั้น ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับคําร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนายชอบ แต่มีคําสั่งไม่รับคําร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนางแซ่ม

 

ข้อ 2. พันตํารวจโทดําพนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนคดีอาญาที่มีนายแดงเป็นผู้ต้องหาในข้อหา
ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยทําความเห็นสั่งฟ้องนายแดงผู้ต้องหา
และของดการสอบสวนแล้วส่งสํานวนพร้อมด้วยความเห็นไปยังพนักงานอัยการ แต่ไม่ได้ส่งตัว นายแดงผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการด้วยเนื่องจากนายแดงผู้ต้องหาได้รับบาดเจ็บสาหัส สมองกระทบกระเทือนอย่างแรงและมีเลือดออกในสมอง ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารกับผู้อื่นโดยวิธีใดได้ตลอดไป

ดังนี้ พนักงานอัยการจะรับสํานวนการสอบสวนดังกล่าวไว้เพื่อพิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 14 “ในระหว่างทําการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหา หรือจําเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงาน
แพทย์ตรวจผู้นั้นเสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคําหรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด

ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริต หรือสามารถจะต่อสู้คดีได้…”

มาตรา 140 “เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(1) ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทําผิด…
(2) ถ้ารู้ตัวผู้กระทําผิด ให้ใช้บทบัญญัติในมาตราต่อไปนี้

มาตรา 142 “ถ้ารู้ตัวผู้กระทําผิดและผู้นั้นถูกควบคุมหรือขังอยู่ หรือปล่อยชั่วคราว หรือเชื่อว่า คงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก ให้พนักงานสอบสวนทําความเห็นตามท้องสํานวนการสอบสวนว่าควรสั่งฟ้องหรือ
สั่งไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมสํานวน…..”

วินิจฉัย

โดยหลักในคดีอาญานั้น เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว และเป็นกรณีที่รู้ตัวผู้กระทําผิดและผู้นั้นถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้พนักงานสอบสวนทําความเห็นตาม ท้องสํานวนการสอบสวนว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมสํานวน เพื่อให้พนักงานอัยการ พิจารณาต่อไป (ป.วิ.อาญา มาตรา 140 (2) ประกอบมาตรา 142)

แต่ตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า นายแดงผู้ต้องหาในคดีนี้ได้รับบาดเจ็บสาหัส สมองกระทบกระเทือน อย่างแรงและมีเลือดออกในสมอง ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารกับผู้อื่นโดยวิธีใดได้ตลอดไป จึงถือว่าเป็นกรณีที่ ผู้ต้องหาเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ในระหว่างทําการสอบสวนตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 14
วรรคหนึ่ง และตามมาตรา 14 วรรคสองได้กําหนดให้พนักงานสอบสวนต้องงดการสอบสวนทันทีจนกว่านายแดง ซึ่งเป็นผู้ต้องหานั้นจะหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ และเป็นอํานาจของพนักงานสอบสวนที่จะ
ดําเนินการดังกล่าวได้โดยไม่จําต้องเสนอความเห็นและส่งสํานวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อสั่งการอย่างใด
อย่างหนึ่งเสียก่อน และไม่ถือว่าการสอบสวนได้เสร็จสิ้นแล้ว อันจะต้องส่งสํานวนการสอบสวนไปยังพนักงาน อัยการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 140 (2) และมาตรา 142 แต่อย่างใด ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์พนักงานอัยการ จะรับสํานวนการสอบสวนดังกล่าวไว้เพื่อพิจารณาไม่ได้

สรุป พนักงานอัยการจะรับสํานวนการสอบสวนดังกล่าวไว้เพื่อพิจารณาไม่ได้

 

ข้อ 3. นายดําใช้ปืนยิงนายขาวโดยเจตนาฆ่าในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน นายขาวถูกยิงได้รับ บาดเจ็บและถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลในจังหวัดลําพูนซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน ต่อมาวันรุ่งขึ้นนายขาวถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่และถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลแห่งนั้นซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนท้องที่ใดมีอํานาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานสอบสวนท้องที่ใด มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพนายขาว

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 18 วรรคหนึ่ง “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่าย ปกครองหรือตํารวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอําเภอ และข้าราชการตํารวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตํารวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตํารวจตรีขึ้นไป มีอํานาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอํานาจ ของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอํานาจของตนได้”

มาตรา 150 วรรคหนึ่ง “ในกรณีที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา ทําการชันสูตร พลิกศพโดยเร็ว ถ้าแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจําโรงพยาบาล ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ประจําโรงพยาบาลของรัฐไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้แพทย์ประจําสํานักงาน สาธารณสุขจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ประจําสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้แพทย์ประจําโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่ และในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้แพทย์ประจําโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

ทั้งนี้ ให้พนักงานสอบสวนและแพทย์ดังกล่าวทําบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพทันที และให้แพทย์ดังกล่าวทํารายงานแนบท้ายบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพด้วยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเรื่องถ้ามีความจําเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและ ความจําเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสํานวนชันสูตรพลิกศพ รายงานดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ สํานวนชันสูตรพลิกศพ และในกรณีที่ความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทําผิดอาญา ให้พนักงานสอบสวนส่งสํานวน ชันสูตรพลิกศพไปยังพนักงานอัยการเมื่อเสร็จสิ้นการชันสูตรพลิกศพโดยเร็ว และให้พนักงานอัยการดําเนินการต่อไปตามมาตรา 156

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1. การที่นายดําใช้ปืนยิงนายขาวโดยเจตนาฆ่าในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน นายขาว ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลในจังหวัดลําพูนซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน ดังนี้ แม้ต่อมาวันรุ่งขึ้นนายขาวจะถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่และถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลแห่งนั้นซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ก็ตาม แต่กรณีนี้ถือว่าความผิดอาญา ได้เกิดขึ้นในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูน จึงมีอํานาจสอบสวนความผิดอาญาในคดีนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

2. เมื่อนายขาวได้ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นท้องที่ที่ศพนั้นอยู่จึงมีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ นายขาว โดยร่วมกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาทําการ ชันสูตรพลิกศพตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคหนึ่ง

สรุป พนักงานสอบสวนท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองลําพูนมีอํานาจสอบสวนคดีนี้และพนักงานสอบสวนท้องที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพนายขาว

 

ข้อ 4. พ.ต.ต. ดีเยี่ยมได้ยินเสียงคนร้องด้วยความเจ็บปวดจึงรีบวิ่งไปบริเวณที่ได้ยินเสียงนั้น เมื่อไปถึง บริเวณที่ได้ยินเสียง พ.ต.ต. ดีเยี่ยมเห็นนายโหระพานอนจมกองเลือดอยู่ริมถนนสาธารณะ โดยมี บาดแผลถูกอาวุธมีดแทง และพบนายตะขบถืออาวุธมีดเปื้อนเลือดนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ที่จอด อยู่ข้างตัวนายโหระพา พ.ต.ต. ดีเยี่ยมจึงแจ้งแก่นายตะขบว่าต้องถูกจับและทําการจับนายตะขบทันทีโดยไม่มีหมายจับ

ดังนี้ การจับของ พ.ต.ต. ดีเยี่ยมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือ พบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 ได้วางหลักไว้ว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มี หมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย เช่น เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําผิดซึ่งหน้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 80 เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต. ดีเยี่ยมได้ยินเสียงคนร้องด้วยความเจ็บปวด จึงรีบวิ่งไปยังบริเวณ ที่ได้ยินเสียง เมื่อไปถึงบริเวณที่ได้ยินเสียง พ.ต.ต.ดีเยี่ยมเห็นนายโหระพานอนจมกองเลือดอยู่ริมถนนสาธารณะ โดยมีบาดแผลถูกอาวุธมีดแทง และพบนายตะขบถืออาวุธมีดเปื้อนเลือดนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ที่จอดอยู่ข้างตัว นายโหระพานั้น แม้ พ.ต.ต. ดีเยี่ยมจะไม่เห็นนายตะขบใช้มีดแทงนายโหระพา แต่ถือเป็นกรณีที่ พ.ต.ต. ดีเยี่ยม พบในอาการใดซึ่งแทบไม่มีความสงสัยเลยว่า นายตะขบได้กระทําความผิดมาแล้วสด ๆ ดังนั้น พ.ต.ต. ดีเยี่ยม จึงมีอํานาจในการจับนายตะขบได้โดยไม่ต้องมีหมายจับเพราะเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง การจับของ พ.ต.ต. ดีเยี่ยมจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การจับของ พ.ต.ต. ดีเยี่ยมชอบด้วยกฎหมาย

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายมหากระทิงออกเช็คชําระหนี้ให้นายศรีลจํานวน 300,000 บาท นายศรีลนําเช็คไปขึ้นเงิน ที่ธนาคาร เมื่อเช็คถึงกําหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย นายศรีล จึงนําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ จึงขอแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน” เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ ลงโทษนายมหากระทิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ระหว่างศาลชั้นต้น พิจารณาคดี นายศรีลยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยคดีของพนักงานอัยการและคําร้องของนายศรีลอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี คําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลักการแล้วพนักงานอัยการเป็นบุคคลผู้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อาญามาตรา 28 (1) แต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน (ป.วิ.อาญา มาตรา 120) และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ ตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง)

ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คือผู้ทรงเช็คในขณะที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมหากระทิงออกเช็คชําระหนี้ให้นายศรีลจํานวน 300,000 บาท
นายศรีลนําเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเมื่อเช็คถึงกําหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย ดังนั้นจึงถือว่า นายศรีลเป็นผู้เสียหายตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)

แต่การที่นายศรีลได้นําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ
จึงขอแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน” นั้น ไม่ถือว่าเป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดําเนินการตามกฎหมาย คือ ไม่มีเจตนาที่จะให้นายมหากระทิงผู้กระทําความผิดได้รับโทษ ดังนั้น การแจ้งความของนายศรีลดังกล่าวจึงไม่ถือว่า เป็นการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) และเมื่อความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อไม่มีคําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ดังนั้น การสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดําเนินการไปจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และเป็นผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และเมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการแล้ว จึงถือว่าไม่มีคําฟ้องของพนักงานอัยการอยู่ในศาล นายศรีลจึงมิอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 30) ดังนั้น ศาลจึงต้องยกคําร้องการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนายศรีล

สรุป ศาลต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และสั่งยกคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของนายศรีล

 

ข้อ 2. นายอํานวยข่มขืนกระทําชําเรานางไลลา นางไลลาจึงแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้หมายเรียกนายอํานวยมาพบเพื่อรับทราบข้อหาและทําการสวบสวน ก่อนเริ่มถามคําให้การ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาข่มขืนกระทําชําเรา (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท) และแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้นายอํานวยทราบ พร้อมกับถามว่านายอํานวยมีทนายความหรือไม่ นายอํานวยตอบว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความ หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนจึงเริ่มถามคําให้การ นายอํานวยโดยไม่มีทนายความ นายอํานวยให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนจึงจดบันทึก คําให้การดังกล่าวไว้

ให้วินิจฉัยว่าคําให้การของนายอํานวยในชั้นสอบสวนสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ความผิดของนายอํานวยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 134/1 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหา มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ หรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้”

มาตรา 134/2 “ให้นําบทบัญญัติในมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวน ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี”

มาตรา 134/3 “ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้”

มาตรา 134/4 “ในการถามคําให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคําที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้ เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคําตนได้

เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคําให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้

ถ้อยคําใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดําเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และมาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ของผู้นั้นไม่ได้”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่คํานึงว่าในขณะกระทําความผิดจะมีอายุเท่าใดก็ตาม) ก่อนเริ่มถามคําให้การ ให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ กรณีนี้เป็นบทบังคับ เด็ดขาดหากผู้ต้องหาไม่มีทนายความและแม้จะไม่ต้องการก็ต้องจัดหาทนายความให้เสมอ (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง)

ในส่วนคดีที่มีอัตราโทษจําคุก (ไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี) ก่อนเริ่มถามคําให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหา ต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้ แต่ถ้าหากผู้ต้องหาไม่ต้องการ ก็ไม่จําต้องจัดหาให้แต่ประการใด (ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานสอบสวนได้หมายเรียกนายอํานวยมาพบเพื่อรับทราบข้อหาและ ทําการสวบสวน ซึ่งก่อนเริ่มถามคําให้การพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้นายอํานวย ทราบแล้วตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/4 และได้ถามนายอํานวยว่ามีทนายความหรือไม่ ซึ่งนายอํานวยตอบว่าไม่มี และไม่ต้องการทนายความ ดังนี้เมื่อข้อหาข่มขืนกระทําชําเรานั้น เป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุกและพนักงานสอบสวน ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 134/1 วรรคสองแล้ว คือได้ถามนายอํานวยว่ามีทนายความหรือไม่ ซึ่งนายอํานวย ตอบว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความนั้น พนักงานสอบสวนจึงไม่ต้องจัดหาทนายความให้นายอํานวย

และเมื่อพนักงานสอบสวนได้เริ่มถามคําให้การนายอํานวยโดยไม่มีทนายความ นายอํานวยให้การ รับสารภาพ พนักงานสอบสวนจึงได้จดบันทึกคําให้การของนายอํานวยดังกล่าวไว้ ดังนี้ คําให้การของนายอํานวย ในชั้นสอบสวนจึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของนายอํานวยได้

สรุป คําให้การของนายอํานวยในชั้นสอบสวนสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์
ความผิดของนายอํานวยได้

 

ข้อ 3. นายสับปะรดร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหานายชะอมว่านายชะอมทําร้ายนายสับปะรดจนเป็นเหตุให้นายสับปะรดเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ขอให้ดําเนินคดีแก่นายชะอมตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 295 ระหว่างที่พนักงานสอบสวนสอบสวนคดี นายสับปะรดได้ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้ลงโทษนายชะอมข้อหานายชะอมทําร้ายนายสับปะรดจนเป็นเหตุให้นายสับปะรดเกิดอันตราย แก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้ ต่อมาเมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายชะอมต่อศาลข้อหานายชะอมทําร้ายนายสับปะรดจนเป็นเหตุให้นายสับปะรดเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เข้ามาอีกคดีหนึ่ง

นายชะอมให้การต่อสู้ว่าคดีของพนักงานอัยการเป็นการฟ้องซ้ําตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 39 (4)

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของนายชะอมถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 39 “สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(4) เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) กรณีที่สิทธิการนําคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาด ในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้น ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1. จําเลยในคดีแรกและคดีที่นํามาฟ้องใหม่เป็นคนเดียวกัน

2. การกระทําของจําเลยเป็นการกระทํากรรมเดียวกัน

3. ศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสับปะรดได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหานายชะอมว่านายชะอมทําร้ายนายสับปะรดจนเป็นเหตุให้นายสับปะรดเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจขอให้ดําเนินคดีแก่นายชะอมตาม ป.อาญา มาตรา 295 และในระหว่างที่พนักงานสอบสวนสอบสวนคดีอยู่นั้น นายสับปะรดได้ยืน ฟ้องต่อศาลขอให้ลงโทษนายชะอมในข้อหาทําร้ายนายสับปะรดจนเป็นเหตุให้นายสับปะรดเกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจตาม ป.อาญา มาตรา 295 และคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น

ต่อมาเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนเสร็จสิ้น การที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายชะอม ต่อศาลในข้อหาทําร้ายนายสับปะรดจนเป็นเหตุให้นายสับปะรดเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อาญา มาตรา 295 เข้ามาอีกคดีหนึ่งนั้น แม้คดีที่พนักงานอัยการฟ้องกับคดีที่นายสับปะรดผู้เสียหายได้ฟ้องในคดีแรก จะเป็นจําเลยคนเดียวกันและเป็นการกระทํากรรมเดียวกันก็ตาม แต่คดีแรกที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้นั้น ศาลชั้นต้น ยังมิได้มีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง การที่พนักงานอัยการได้นําคดีเรื่องนี้มาฟ้องอีกจึงไม่เป็น ฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) ดังนั้นข้อต่อสู้ของนายชะอมที่ว่าฟ้องของพนักงานอัยการเป็นฟ้องซ้ำจึงไม่ถูกต้อง

สรุป ข้อต่อสู้ของนายจะอมไม่ถูกต้อง

 

ข้อ 4. ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้ยินเสียงคนร้องด้วยความเจ็บปวด จึงรีบวิ่งไปบริเวณที่ได้ยินเสียงนั้น เมื่อไปถึง
บริเวณที่ได้ยินเสียง ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมเห็นนายหน่อไม้นอนจมกองเลือดและพบนายเท่ายืนถือมีดซึ่งมีเลือดติดอยู่ยืนอยู่ข้างตัวนายหน่อไม้ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงแจ้งแก่นายเทาว่าต้องถูกจับและทําการจับนายเท่าทันทีโดยไม่มีหมายจับ

ดังนี้ การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือพบ ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 ได้วางหลักไว้ว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มี หมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย เช่น เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําผิดซึ่งหน้า ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 80 เป็นต้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมได้ยินเสียงคนร้องด้วยความเจ็บปวด จึงรีบวิ่งไปยังบริเวณ ที่ได้ยินเสียง เมื่อไปถึงบริเวณที่ได้ยินเสียง ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมเห็นนายหน่อไม้นอนจมกองเลือดและพบนายเทา ยืนถือมีดซึ่งมีเลือดติดอยู่ยืนอยู่ข้างตัวนายหน่อไม้นั้น แม้ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจะไม่เห็นนายเทาใช้มีดแทงนายหน่อไม้ แต่ถือเป็นกรณีที่ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมพบในอาการใดซึ่งแทบไม่มีความสงสัยเลยว่า นายเทาได้กระทําความผิดมาแล้ว สด ๆ ดังนั้น ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงมีอํานาจในการจับนายเทาได้โดยไม่ต้องมีหมายจับเพราะเป็นความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การจับของ ร.ต.ต.ยอดเยี่ยมชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3106 (LAW3006) กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา1 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3006 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายมหากระทิงออกเช็คชําระหนี้ให้นายศรีลจํานวน 300,000 บาท นายศรีลนําเช็คไปขึ้นเงิน ที่ธนาคารเมื่อเช็คถึงกําหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย นายศรีล จึงนําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ จึงขอแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน” เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลขอให้ ลงโทษนายมหากระทิงตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ระหว่างศาลชั้นต้น พิจารณาคดี นายศรีลยื่นคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยคดีของพนักงานอัยการและคําร้องของนายศรีลอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 2 “ในประมวลกฎหมายนี้

(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6

(7) “คําร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทําความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทําความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 30 “คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคําร้องขอเข้าร่วม
เป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 121 วรรคสอง “แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะมี
คําร้องทุกข์ตามระเบียบ”

วินิจฉัย

โดยหลักการแล้วพนักงานอัยการเป็นบุคคลผู้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อาญา
มาตรา 28 (1) แต่ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน (ป.วิ.อาญา มาตรา 120) และถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทําการสอบสวนเว้นแต่จะได้มีคําร้องทุกข์ ตามระเบียบ (ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง)

ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คือผู้ทรงเช็คในขณะที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ดังนั้น กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายมหากระทิงออกเช็คชําระหนี้ให้นายศรีลจํานวน 300,000 บาท
นายศรีลนําเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเมื่อเช็คถึงกําหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีมีไม่พอจ่าย ดังนั้นจึงถือว่า นายศรีลเป็นผู้เสียหายตามนัยของ ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)

แต่การที่นายศรีลได้นําเช็คไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนว่า “ผู้แจ้งเกรงว่าคดีจะขาดอายุความ
จึงขอแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน” นั้น ไม่ถือว่าเป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดําเนินการตามกฎหมาย คือ ไม่มีเจตนาที่จะให้นายมหากระทิงผู้กระทําความผิดได้รับโทษ ดังนั้น การแจ้งความของนายศรีลดังกล่าวจึงไม่ถือว่า เป็นการร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (7) และเมื่อความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อไม่มีคําร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอํานาจสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 121 วรรคสอง ดังนั้น การสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดําเนินการไปจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และเป็นผลให้พนักงานอัยการไม่มีอํานาจฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ประกอบมาตรา 28 ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และเมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการแล้ว จึงถือว่าไม่มีคําฟ้องของพนักงานอัยการอยู่ในศาล นายศรีลจึงมิอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 30) ดังนั้น ศาลจึงต้องยกคําร้องการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของนายศรีล

สรุป ศาลต้องพิพากษายกฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และสั่งยกคําร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของนายศรีล

 

ข้อ 2. นายแดงมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบสถานีตํารวจภูธรเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท นายแดง หลอกนางสาวดําจากบ้านพักซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบสถานีตํารวจภูธรโคกตูม จังหวัดลพบุรี ไปค้างคืน บ้านหลังหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบสถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี โดยมุ่งหมาย จะข่มขืนกระทําชําเรานางสาวดํา แต่ปรากฏว่านายแดงถูกตํารวจของสถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรีจับดําเนินคดีในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 เสียก่อน ให้วินิจฉัยว่า

(ก) พนักงานสอบสวนท้องที่ใดมีอํานาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานสอบสวนท้องที่ใดเป็น
ผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีนี้ เพราะเหตุใด

(ข) หากคดีนี้มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว แต่ปรากฏว่าการจับนายแดง ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 19 “ในกรณีดังต่อไปนี้
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทําต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอํานาจสอบสวนได้

ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ก) ถ้าจับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอํานาจ”

มาตรา 28 “บุคคลเหล่านี้มีอํานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(1) พนักงานอัยการ

(2) ผู้เสียหาย”

มาตรา 120 “ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายแดงมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบสถานีตํารวจภูธรเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ได้หลอกลวงนางสาวดําจากบ้านพักซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบสถานีตํารวจภูธรโคกตูม จังหวัดลพบุรี ไปค้างคืนที่ บ้านหลังหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบสถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี โดยมุ่งหมายจะข่มขืนกระทําชําเรา นางสาวดํา แต่ปรากฏว่านายแดงถูกตํารวจของสถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรีจับดําเนินคดีในความผิดฐานพาหญิงไป เพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 เสียก่อนนั้น เมื่อความผิดฐาน พาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทําต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใด คือพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธร โคกตูม จังหวัดลพบุรี และพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ย่อมมีอํานาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสอง และเมื่อนายแดงถูกจับได้ที่อําเภอเมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับนายแดงได้ จึงเป็น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 19 วรรคสาม (ก)

(ข) หากคดีนี้มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว แต่ปรากฏว่าการจับนายแดง ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น พนักงานอัยการย่อมมีอํานาจฟ้องนายแดงได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 28 (1) ประกอบมาตรา 120 ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ในการจับกุมของเจ้าพนักงานตํารวจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก และเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวน ไม่มีผลกระทบไปถึง การสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอํานาจในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ (คําพิพากษาฎีกาที่ 1493/2550)

สรุป
(ก) พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรโคกตูม จังหวัดลพบุรี และพนักงานสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี มีอํานาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีนี้

(ข) พนักงานอัยการมีอํานาจฟ้องคดีนี้

 

ข้อ 3. ร.ต.อ.เก่งนําหมายจับไปทําการจับกุมนายหนึ่งและนายสองในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์แต่ระหว่างที่
ร.ต.อ.เก่งควบคุมตัวนายหนึ่งและนายสองส่งพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน นายหนึ่งมีปากเสียงกับ นายสองต่อว่านายสองเป็นต้นเหตุให้ถูกจับแล้วผลักนายสองตกบันไดทางขึ้น สน.ปทุมวัน นายสอง หมดสติและถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลของรัฐในเขตท้องที่ สน.พญาไท ต่อมานายสองถึงแก่ความตาย ที่โรงพยาบาล พนักงานสอบสวน สน.พญาไท ร่วมกับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ประจําโรงพยาบาล ของรัฐดังกล่าว ทําการชันสูตรพลิกศพนายสองได้ความว่านายสองกะโหลกศีรษะแตกถึงแก่ความตาย แล้วส่งสํานวนชันสูตรพลิกศพไปให้พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ท้องที่เกิดเหตุดําเนินคดีกับ ผู้ที่ทําให้ตาย พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน สอบสวนดําเนินคดีกับนายหนึ่งแล้วสรุปสํานวน สอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องนายหนึ่งผู้ต้องหาฐานทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ส่งพนักงานอัยการพิจารณา

ให้วินิจฉัยว่า การชันสูตรพลิกศพนายสองและการทําสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน สน. ปทุมวัน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 150 วรรคหนึ่งและวรรคสาม “ในกรณีที่จะมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาทําการชันสูตรพลิกศพโดยเร็ว….

ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือ
ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและ พนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่ง และให้นําบทบัญญัติในวรรคสองมาใช้บังคับ”

มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง “การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทําของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ
ตามหน้าที่ หรือในกรณีที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงาน สอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่ร.ต.อ.เก่งได้นําหมายจับไปทําการจับกุมนายหนึ่งและนายสองในข้อหาลักทรัพย์
แต่ในระหว่างที่ ร.ต.อ.เก่งควบคุมตัวนายหนึ่งและนายสองส่งพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน นายหนึ่งมีปากเสียง กับนายสองต่อว่านายสองเป็นต้นเหตุให้ถูกจับแล้วผลักนายสองตกบันไดทางขึ้น สน.ปทุมวัน นายสองหมดสติและ ถูกนําส่งโรงพยาบาลของรัฐในเขตท้องที่ สน.พญาไท ต่อมานายสองถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลนั้น ถือเป็นกรณี ที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ซึ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคหนึ่งและวรรคสามได้กําหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ใน ความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงาน

สอบสวนและแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การชันสูตรพลิกศพนายสองนั้นมีเพียงพนักงาน สอบสวน สน.พญาไท กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ประจําโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้นโดยไม่มีพนักงานอัยการและ พนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ศพนั้นอยู่ร่วมชันสูตร พลิกศพด้วย ดังนั้น การชันสูตรพลิกศพนายสองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 150 วรรคสาม

ส่วนกรณีการทําสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันนั้น ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดไว้ว่า การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ในความควบคุมของ เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงาน สอบสวนในการทําสํานวนสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ทําการสอบสวน ดําเนินคดีนายหนึ่งฐานทําร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย โดยทําสํานวนสอบสวนแต่ฝ่ายเดียวแล้วส่งสํานวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องนายหนึ่งไปยังพนักงานอัยการโดยไม่แจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับ พนักงานสอบสวนในการทําสํานวนสอบสวนแต่อย่างใด ดังนั้น การทําสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 155/1 วรรคหนึ่ง

สรุป การชันสูตรพลิกศพนายสอง และการทําสํานวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 4. นายหน่อไม้เจ้าของบ้านได้เชิญ พ.ต.ต.กล้าหาญให้เข้าไปรับประทานอาหารในบ้านของนายหน่อไม้ ขณะที่ พ.ต.ต.กล้าหาญอยู่ในบ้านของนายหน่อไม้ พ.ต.ต.กล้าหาญเห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่ นายลองกอง พ.ต.ต.กล้าหาญจึงแจ้งนายเทาว่าต้องถูกจับและเข้าจับกุมนายเทาทันทีโดยที่ไม่มี หมายจับและหมายค้น

ดังนี้ การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญเข้าจับกุมนายเทาในบ้านของนายหน่อไม้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 78 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคําสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทําความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80”

มาตรา 80 วรรคหนึ่ง “ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกําลังกระทําหรือพบ ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทําผิดมาแล้วสด ๆ”

มาตรา 81 “ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทําตามบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน”

มาตรา 92 “ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคําสั่งของศาล เว้นแต่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นผู้ค้นและในกรณีดังต่อไปนี้

(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากําลังกระทําลงในที่รโหฐาน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญได้จับนายเทาในบ้านของนายหน่อไม้นั้น ถือเป็นการจับ ในที่รโหฐาน ซึ่งการที่จะเข้าไปจับได้จะต้องมีอํานาจในการจับโดยมีหมายจับหรืออํานาจที่กฎหมายให้ทําการจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายและต้องทําตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่ รโหฐาน คือ มีอํานาจการค้นโดยมีหมายค้นหรือมีอํานาจที่กฎหมายให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย

ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญเห็นนายเทายกปืนขึ้นเล็งไปที่นายลองกองนั้น การกระทําของนายเทาถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายลองกองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และถือเป็นความผิดซึ่งหน้าอย่างแท้จริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง ดังนั้น พ.ต.ต.กล้าหาญจึงมีอํานาจในการจับนายเทาแม้จะไม่มีหมายจับ และเมื่อเป็นกรณีที่นายเทา ได้กระทําผิดซึ่งหน้าในบ้านของนายหน่อไม้ซึ่งเป็นที่รโหฐาน จึงถือว่า พ.ต.ต.กล้าหาญได้ทําตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน คือ มีอํานาจในการค้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 81 ประกอบมาตรา 92 (2) แล้ว อีกทั้งการที่ พ.ต.ต.กล้าหาญได้เข้าไปในบ้านของนายหน่อไม้ซึ่งเป็นที่ รโหฐานอันถือเสมือนเป็นการค้นในที่รโหฐานนั้น ก็เป็นการเข้าไปโดยชอบเนื่องจากนายหน่อไม้เจ้าของผู้ครอบครอง ที่รโหฐานได้เชื้อเชิญเข้าไป พ.ต.ต.กล้าหาญจึงไม่ต้องขอหมายค้นของศาลเพื่อเข้าไปค้นบ้านที่ตนอยู่ในบ้าน โดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญจับกุมนายเทาในบ้านของนายหน่อไม้จึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การที่ พ.ต.ต.กล้าหาญเข้าจับกุมนายเทาในบ้านของนายหน่อไม้ชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3107 (LAW3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง2 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3107 (LAW 3007) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายคําฟ้องให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจํานวนสี่แสนบาท นายเขียวยื่นคําให้การว่า นายเขียวชําระเงินคืนให้นายดําครบถ้วนแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาคดี นายดํา ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําฟ้อง ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องดังกล่าวนายดําจึงยื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน ต่อมาศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจํานวนสี่แสนบาทให้แก่นายดํา นายเขียวยื่นอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ํา ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง

ให้วินิจฉัยว่า

(ก) นายดํายื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องในระหว่างพิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
(ข) นายเขียวยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ําได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ

มาตรา 18 วรรคห้า “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ ให้อุทธรณ์และ ฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้น หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ ไม่เปิดช่องให้กระทําได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ชอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น
เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา”
มาตรา 228 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป

ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คําสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความในมาตรา 223

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) การที่นายดำฟ้องให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจํานวนสี่แสนบาท นายเขียวยื่น คําให้การว่านายเขียวชําระเงินคืนให้นายดําครบถ้วนแล้ว ขอให้ศาลยกฟ้อง และในระหว่างพิจารณาคดี นายดํา ยื่นคําร้องขอแก้ไขคําฟ้อง ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องดังกล่าว นายดําจึงยื่น อุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อนนั้น เมื่อคําฟ้องถือเป็น คําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) การที่ศาลมีคําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องจึงเป็นคําสั่ง ไม่รับคําคู่ความตามมาตรา 18 ซึ่งไม่ได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่เสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ จึงเป็น คําสั่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 ดังนั้น นายดําจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องได้ทันที แม้ไม่ได้โต้แย้งคําสั่งดังกล่าวไว้ก่อน โดยอุทธรณ์ภายในกําหนด 1 เดือนนับแต่วันที่มีคําสั่ง หรืออุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่มีคําพิพากษาก็ได้
ตามมาตรา 228

(ข) การที่นายคําฟ้องให้นายเขียวชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และนายเขียวยื่นคําให้การว่า นายเขียวชําระเงินคืนให้นายดําครบถ้วนแล้ว และเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้นายเขียวชําระหนี้ ตามสัญญากู้ยืม นายเขียวยื่นอุทธรณ์ว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ํานั้น ถือเป็นการอุทธรณ์ข้อกฎหมายซึ่งเป็นข้อที่นายเขียว ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งโดยหลักแล้ว ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ห้ามไม่ให้นายเขียวอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปัญหาว่าเป็นฟ้องซ้ําหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ที่แม้ว่านายเขียวจะ ไม่ได้ยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น นายเขียวก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ดังนั้น นายเขียวจึงสามารถยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำได้

สรุป
(ก) นายดํายื่นอุทธรณ์คําสั่งไม่รับคําร้องขอแก้ไขคําฟ้องในระหว่างพิจารณาได้
(ข) นายเขียวยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินที่จําเลยเช่าจากโจทก์และเรียกค่าเช่าที่ค้างชําระก่อนฟ้อง 30,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 3,000 บาท จนกว่าจําเลยและบริวารจะ ออกไปจากที่ดินที่เช่า จําเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอํานาจฟ้อง และจําเลยไม่เคย ค้างชําระค่าเช่าแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างการพิจารณา จําเลยยื่นคําร้องว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของ ที่ดิน หากโจทก์แพ้คดีแล้ว โจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ขอให้ศาล สั่งให้โจทก์นําเงินมาวางศาลเพื่อประกันการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย โจทก์ยื่นคําคัดค้าน ว่า (1) คดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และเป็นคดีฟ้องขับไล่ จําเลยไม่มีสิทธิขอให้นําวิธีการชั่วคราวมาใช้ บังคับ (2) โจทก์ให้จําเลยเช่าที่ดินโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน โจทก์ใช้สิทธิโดยสุจริต ขอให้ยกคําร้อง

ให้วินิจฉัยว่า คําคัดค้านของโจทก์ตาม (1) และ (2) แต่ละข้อฟังขึ้นหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 253 วรรคหนึ่ง “ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักรและ ไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยง ไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จําเลยอาจยื่นคําร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาล มีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้”

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือ ในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใดๆ ….”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 วรรคหนึ่ง กรณีที่จําเลยจะยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชําระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ คือ

1. โจทก์ไม่ได้มีภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจ ถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร หรือ

2. เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินที่จําเลยเช่าจากโจทก์และเรียกค่าเช่า ที่ค้างชําระก่อนฟ้อง 30,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปเดือนละ 3,000 บาท จนกว่าจําเลยและ บริวารจะออกไปจากที่ดินที่เช่า จําเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอํานาจฟ้อง และจําเลยไม่เคยค้างชําระ ค่าเช่าแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้องนั้น

(1) ระหว่างการพิจารณา การที่จําเลยยื่นคําร้องว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน หากโจทก์แพ้คดีแล้ว โจทก์จะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ขอให้ศาลสั่งให้โจทก์นําเงินมาวางศาลเพื่อประกันการชําระ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายนั้น เป็นกรณีที่จําเลยยื่นคําร้องต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยื่นคําร้องเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254

ดังนั้น แม้คดีนี้จะเป็นคดีมโนสาเร่ (คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท หรือคดีฟ้องขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท) ซึ่งต้องห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคําร้องเพื่อขอคุ้มครอง ชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 แต่เมื่อคดีนี้เป็นการขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 253 จําเลยจึง ร้องขอเพื่อคุ้มครองชั่วคราวได้ ไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคําคัดค้านว่า คดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และ เป็นคดีฟ้องขับไล่ จําเลยไม่มีสิทธิขอให้นําวิธีการชั่วคราวมาใช้บังคับนั้น คําคัดค้านของโจทก์ในกรณีนี้จึงฟังไม่ขึ้น

(2) การที่โจทก์คัดค้านว่า โจทก์ให้จําเลยเช่าที่ดินโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินนั้น โจทก์ใช้สิทธิโดยสุจริต คําคัดค้านของโจทก์กรณีนี้ฟังขึ้น ทั้งนี้เพราะสัญญาเช่าเป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่ายินยอมส่งมอบ การครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จะให้เช่าแก่ผู้เช่า ไม่ใช่สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ ฉะนั้นผู้ให้เช่าหาจําต้อง เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะให้เช่าไม่ เพียงแต่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ที่ให้เช่าก็เพียงพอแล้ว (ฎีกาที่ 688/2559) และเมื่อจําเลยได้ทําสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้ให้เช่าตามสัญญาและ จําเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าที่ทําไว้กับโจทก์ เมื่อจําเลยไม่ชําระค่าเช่าอันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงมีอํานาจ ฟ้องคดีนี้ (ฎีกาที่ 5387/2549)

สรุป
คําคัดค้านของโจทก์ตาม (1) ฟังไม่ขึ้น แต่คําคัดค้านของโจทก์ตาม (2) ฟังขึ้น

 

ข้อ 3. ศาลแพ่งธนบุรีมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยกับค่า ฤชาธรรมเนียม โดยได้ออกคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลยไม่ปฏิบัติตามคําบังคับ โจทก์ซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่สืบทราบว่าจําเลยมีที่ดินแปลงหนึ่งโฉนดเลขที่ 991 ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงได้ยื่นคําขอให้บังคับคดีต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ว่าจําเลยเป็นหนี้โจทก์ ตามคําพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีจํานวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยกับค่าฤชาธรรมเนียม และยังไม่เคยชําระหนี้ให้แก่โจทก์เลย ขอให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดที่ดินของจําเลย โฉนดเลขที่ 991 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอํานาจของศาลนี้

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 วรรคหนึ่ง “ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดีตาม มาตรา 276 และมีอํานาจทําคําวินิจฉัยชี้ขาดหรือทําคําสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคําพิพากษา หรือคําสั่ง คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ”

มาตรา 275 วรรคหนึ่ง “ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้มีการบังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียว ต่อศาลให้บังคับคดีโดยระบุให้ชัดแจ้งซึ่ง

(1) หนี้ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ
(2) วิธีการที่ขอให้ศาลบังคับคดีนั้น”

มาตรา 276 วรรคหนึ่ง “เมื่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาขอให้บังคับคดี ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ตาม คําพิพากษาได้ทราบหรือถือว่าได้ทราบคําบังคับแล้ว ทั้งระยะเวลาที่กําหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคําบังคับนั้น ได้ล่วงพ้นไปแล้ว และคําขอได้ระบุข้อความไว้ครบถ้วน ให้ศาลกําหนดวิธีการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายนี้และตามมาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

(1) ถ้าการบังคับคดีต้องทําโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงาน บังคับคดีและแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบเพื่อดําเนินการต่อไปตามที่กําหนดไว้ในหมายนั้น”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 วรรคหนึ่ง ได้กําหนดให้ศาลที่มีอํานาจในการบังคับคดีซึ่งมีอํานาจกําหนด วิธีการบังคับคดีตามมาตรา 276 คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น หรือตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแพ่งธนบุรีมีคําพิพากษาให้จําเลยชําระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยกับค่าฤชาธรรมเนียม จึงถือว่าศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น และเป็นศาลที่มีอํานาจกําหนดวิธีการบังคับคดี และเมื่อการบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงินนั้น เป็นการบังคับคดีที่ ต้องทําโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 276 (1) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจึงชอบที่ จะต้องยื่นคําขอต่อศาลแพ่งธนบุรีเพื่อให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 275 ไม่ใช่ยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่อันเป็นศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ดังนั้น ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้

สรุป ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคําขอของโจทก์ไม่ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!