LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก s/2555

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย
ที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. ตามที่ได้ศึกษาระบบกฎหมายหลัก อยากทราบว่ากฎหมายของต่างประเทศมีอิทธิพลต่อกฎหมายไทย ในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 บรรพ จํานวน 1,755 มาตรา เมื่อ พิจารณาถึงมาตราต่าง ๆ ในแต่ละบรรพ (Books) จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการร่างกฎหมายได้อาศัยกฎหมายของ ประเทศทางตะวันตกเป็นส่วนมากในการจัดทําประมวลกฎหมายฉบับนี้ ดังจะเห็นได้จากบรรพ 1 หลักทั่วไป และบรรพ 2 ได้ลอกเลียนแบบมาจากกฎหมายแพ่งของเยอรมันและกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานมาจาก กฎหมายโรมัน โดยเฉพาะในบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ในเรื่องวางทรัพย์ บางมาตราเมื่อเทียบตัวบทแล้วแทบจะเรียกได้ว่า เหมือนกันแทบทุกคําก็ว่าได้

ส่วนในบรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ได้นํากฎหมายหลายประเทศมาพิจารณา เช่น กฎหมายแพ่ง ของฝรั่งเศส กฎหมายแพ่งของสวิส นอกเหนือจากกฎหมายแพ่งของเยอรมันและญี่ปุ่น แต่เมื่อพิจารณาอย่าง ละเอียดรอบคอบแล้ว ได้ยึดถือพระราชบัญญัติซื้อขายสินค้า (The Sale of Goods Act, 1893) ของประเทศ อังกฤษเป็นหลัก ดังปรากฏในมาตราต่าง ๆ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วย ซื้อขายซึ่งมีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกับกฎหมายซื้อขายของประเทศอังกฤษ

สําหรับกฎหมายตั๋วเงินในบรรพ 3 ลักษณะ 21 ก็ได้นําเอาบทบัญญัติส่วนใหญ่ของ เดอะบิลล์ ออฟเอ็กซ์เชนจ์แอคท์ ค.ศ. 1882 (The Bill of Exchange Act, 1882) ของอังกฤษมาเป็นรากฐานในการร่าง นอกจากนี้กฎหมายอังกฤษก็ยังเป็นต้นแบบแนวความคิดในการร่างกฎหมายลักษณะบริษัทจํากัดอีกด้วย

ในกฎหมายล้มละลายคือพระราชบัญญัติล้มละลาย ร.ศ. 127 ก็เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลมาจาก กฎหมายของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายของอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้มีการตรากฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และฉบับปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2542

ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ก็เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ผู้ร่างได้ นําเอาหลักกฎหมายอังกฤษมาบัญญัติไว้คือ เรื่องเฮบีอัสคอร์พัส (Habeas Corpus) ซึ่งเป็นกฎหมายสําคัญใน การให้หลักกฎหมายทางเสรีภาพแก่ประชาชนอังกฤษมาใช้ ตามกฎหมายอังกฤษถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนหมายเรียก เฮบีอัลคอร์พัส ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล ผลคือศาลลงโทษได้ทันที หลักกฎหมายนี้ได้นํามาบัญญัติไว้ ในมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนชาวไทยได้รับความ คุ้มครองเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างในอังกฤษ

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งปัจจุบันดํารงตําแหน่งองคมนตรี ได้กล่าว แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกฎหมายต่างประเทศในระบบกฎหมายไทยว่า “ระบบกฎหมายไทยในปัจจุบันนั้น เมื่อพิจารณาถึงแบบแห่งกฎหมาย ย่อมถือได้ว่าเป็นระบบกฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมาย แต่ถ้าจะ พิจารณาถึงเนื้อหาสาระแห่งบทกฎหมายโดยตรงแล้วน่าจะกล่าวได้ว่า กฎหมายไทยมีรากเหง้ามาจากแหล่งต่าง ๆ รวม 3 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรก ได้แก่ ระบบกฎหมายไทยดั้งเดิม ซึ่งมีที่มาจากพระคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของอินเดีย ส่วนหนึ่ง และมาจากวิวัฒนาการของกฎหมายไทยเราเอง ในการสังคายนาประมวลกฎหมายของแผ่นดินในสมัย ต่าง ๆ จนกระทั่งถึงกฎหมายตราสามดวงอีกส่วนหนึ่ง กฎหมายไทยในปัจจุบันที่ยังถือตามกฎหมายไทยดั้งเดิม เป็นบางส่วนก็มี เช่น กฎหมายลักษณะครอบครัว และลักษณะมรดก ฯลฯ อีกแหล่งหนึ่งซึ่งเป็นที่มาของกฎหมายไทย ในปัจจุบันคือ กฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวล เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส เยอรมัน สวิส บราซิล และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติต่าง ๆ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายลักษณะ อื่น ๆ ของเราในปัจจุบัน และแหล่งสุดท้ายอันเป็นที่มาของกฎหมายไทยก็คือ ระบบกฎหมายอังกฤษ

 

ข้อ 4. ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ แตกต่างกันอย่างไร จงยกมาให้ดูเป็นข้อ ๆ

ธงคําตอบ

ข้อแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ มีดังนี้
(1) ที่มาของกฎหมาย
(2) วิธีพิจารณาคดี
(3) การจําแนกประเภทกฎหมาย
(4) ผลของคําพิพากษา
(5) การศึกษากฎหมาย
(นักศึกษาต้องตอบรายละเอียดแต่ละข้อในตําราหน้า 175 – 178 พอสังเขป)

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 2/2555

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่อ มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. ในมังรายศาสตร์หรือกฎหมายพระเจ้ามังราย มีการแบ่งแยกทรัพย์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ซึ่งต่างกับการแบ่งแยกประเภทของทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

1. ทรัพย์มีวิญญาณ (วิญญาณกทรัพย์) ซึ่งได้แก่ ข้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ ฯลฯ ประเด็นที่น่าสนใจ คนที่เป็นลูกหรือเมียของผู้อื่น ข้าทาส ถือว่าเป็นทรัพย์หรือไม่ ในลักษณะหนี้ของกฎหมายพระเจ้ามังรายบัญญัติ เกี่ยวกับการที่ไพร่คนประจําหอกหรือเครื่อง (อาวุธ) เป็นหนี้ค้างชําระดอกเบี้ยมากมาย ถ้าไม่มีเงินใช้ และมีลูกให้ ขายลูกใช้หนี้หรือให้ขายตัวลูกเมียใช้หนี้ หรือที่อีกบทหนึ่งบัญญัติว่า “หากเป็นของมีวิญญาณ เช่น คน และงัวควาย ถ้าผู้ร้ายลักไปขายยังตลาด” หรือผู้ที่เป็นข้าทาส ผู้เป็นนายเงินย่อมจะขายได้ ดังนั้นบางครั้งคนก็จัดว่าเป็นทรัพย์ ประเภททรัพย์มีวิญญาณได้เหมือนกัน แต่คนในฐานะที่เป็นทรัพย์มีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์มีวิญญาณอื่น เช่น พวกสัตว์ต่าง ๆ ที่บางครั้งคนก็เป็นทรัพย์บางครั้งก็ไม่เป็นทรัพย์ หากคนนั้นไม่ได้อยู่ในอํานาจอิสระ (อํานาจปกครอง) ของใครหรือเป็นไทแก่ตนเองในขณะที่สัตว์ต่าง ๆ จะเป็นทรัพย์ตลอดกาล ไม่มีการเปลี่ยนสถานะ

2. ทรัพย์ไม่มีวิญญาณ (อวิญญาณกทรัพย์) ได้แก่ แก้ว แหวน เงิน ทอง ผ้าผ่อนแพรพรรณ ใน ลักษณะซ่อน อํา และลัก มีกฎหมายอยู่บทหนึ่งบัญญัติว่า “ของไม่มีวิญญาณ เช่น เงินและทองตกหาย…” หรือ “…ผู้ยืมของไม่มีวิญญาณ เช่น ผ้าเสื้อไปนุ่งห่ม แล้วเสียหายไปให้ผู้ยืมใช้…ผีเสื้อผ้าขาดหรือไฟไหม้ ให้ผู้ยืมชดใช้ ค่าทั้งสิ้น แล้วมอบเสื้อผ้าให้ผู้ยืมไป” ดังนั้นทรัพย์ไม่มีวิญญาณ คือ ทรัพย์ที่ไม่ใช่คนหรือสัตว์ชนิดต่าง ๆ นั่นเอง

การแบ่งทรัพย์เป็นทรัพย์มีวิญญาณและทรัพย์ไม่มีวิญญาณ ไม่มีผลอย่างไรในกฎหมายพระเจ้ามังราย ซึ่งแตกต่างจากการแบ่งประเภทของทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นทรัพย์มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง โดยทรัพย์มีรูปร่างเป็นทรัพย์ที่ลักได้ ส่วนทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างนั้นลักไม่ได้ และการแบ่งทรัพย์

ออกเป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ มีผลว่า ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ส่วนการซื้อขายสังหาริทรัพย์ทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่ต้องทําเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือแพ สัตว์พาหนะ เป็นต้น

 

ข้อ 3. ระบบกฎหมายหลักมีกระบบ อะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละระบบโดยย่อ

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายหลักของโลก มี 4 ระบบ คือ

(1) ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค โรมาโนเป็นภาษาของชนเผ่าอีทรัสคัน หมายความว่า กรุงโรม เมืองหลวงของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นต้นกําเนิดของประมวลกฎหมายแพ่ง

เยอรมันนิค หมายความว่า ชื่อชนเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันคือชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่นําเอา ประมวลกฎหมายแพ่งไปใช้กับชนเผ่าของตน

เนื่องจากกฎหมายโรมันเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Written Law การที่กฎหมายโรมันจัดทําเป็นประมวลกฎหมาย จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Code Law ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายนี้คือ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน สวิส ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ

(2) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศาลนําเอา จารีตประเพณีมาใช้ในการตัดสินคดี ต้นกําเนิดหรือแม่แบบเกิดขึ้นในประเทศแรกคือ อังกฤษ ระยะแรกมีชนเผ่า ต่าง ๆ ที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ ศาลท้องถิ่นได้นําเอาจารีตประเพณีของชนเผ่ามาตัดสิน ทําให้ผล ของคําพิพากษาแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน จนกระทั่งชนเผ่าสุดท้ายคือพวกนอร์แมนพิชิตเกาะอังกฤษ ในสมัย พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 จึงส่งศาลเคลื่อนที่ออกไปวางหลักเกณฑ์ ทําให้จารีตประเพณีเหมือนกันทุกท้องถิ่น มีลักษณะ เป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป จึงเรียกว่า คอมมอนลอว์ ตัวอย่างเช่น แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ เป็นต้น

(3) ระบบกฎหมายสังคมนิยม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบบกฎหมายคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นใน ประเทศแรกคือ รัสเซีย หลังจากมีการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ. 1917 โดยนําเอาแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน ซึ่งถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อให้การปกครองของประเทศยึดหลักผลประโยชน์ ของส่วนรวมหรือของชุมชนหรือสังคม ประเทศใดที่มีการปกครองในระบอบสังคมนิยมตามแนวคิดของนักปราชญ์ ทั้งสอง ประเทศนั้นจัดอยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม เช่น เวียดนาม ลาว เกาหลีเหนือ จีนแผ่นดินใหญ่ เป็นต้น

(4) ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ในปัจจุบันมีบางประเทศที่ได้นําเอาคําสอนของ พระผู้เป็นเจ้ามาบัญญัติเป็นกฎหมาย จึงกล่าวกันว่าศาสนาเป็นที่มาของบ่อเกิดของกฎหมาย มี 3 กลุ่ม คือ

(ก) ศาสนาอิสลาม ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย คําสอนของพระเจ้า คือ อัลลอฮ์ ปรากฏอยู่ในกฎหมาย เช่น กฎหมายครอบครัวและมรดก เป็นต้น

(ข) ศาสนาคริสต์ แนวความคิดของศาสนาคริสต์ ใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของ ประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนา เช่น ข้อกําหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกําเนิด การห้ามทําแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน (Bigamy) เป็นต้น

(ค) ศาสนาฮินดู ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศอินเดีย ตัวอย่างปรากฏอยู่ในตํารา กฎหมาย คือ พระธรรมศาสตร์ หรือของไทยเรียกคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์

ส่วนประเพณีนิยม เกิดจากคําสอนของนักปราชญ์ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า เช่น ชาวจีนในสมัย ขงจื้อที่นําเอาความเชื่อของนักปราชญ์ท่านนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในชีวิตประจําวัน หรือลัทธิชินโตของประเทศญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อการจัดทํากฎหมายของญี่ปุ่นเช่นกัน

หมายเหตุ คําตอบของนักศึกษาถ้าอยู่ในหน้า 91 ถึง 101 ก็ให้คะแนน

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ และชีวิลลอว์ มีความแตกต่างในเรื่องการแยกประเภทกฎหมายอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ไม่นิยมแบ่งแยกประเภทกฎหมายออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น กฎหมายเอกชน กฎหมายมหาชน แต่มีการแบ่งแยกออกเป็นกฎหมายคอมมอนลอว์ และหลักความยุติธรรม (Equity) คดีที่เกิดขึ้นตามกฎหมายคอมมอนลอว์ ก็นํามาฟ้องยังศาลคอมมอนลอว์ ส่วนคดีที่จําเป็นต้องใช้หลัก ความยุติธรรมจะต้องขึ้นศาลที่มีเขตอํานาจโดยเฉพาะ เช่น Chancery Court ในประเทศอังกฤษ ฯลฯ (ในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ศาลทั้งหมดของอังกฤษสามารถใช้กฎหมายคอมมอนลอว์ควบคู่ไปกับหลักความยุติธรรมได้)

ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายชีวิลลอว์ ได้มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายออกเป็น กฎหมายเอกชน (Private Law) และกฎหมายมหาชน (Public Law) คดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน เช่น คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตามกฎหมายปกครองจะต้องขึ้นศาลที่มีเขตอํานาจ พิจารณาคดีประเภทนี้โดยเฉพาะ คือ ศาลปกครอง ส่วนคดีธรรมดาก็ฟ้องยังศาลที่มีขอบอํานาจในการพิจารณา คดีทั่ว ๆ ไป

ระบบกฎหมายอังกฤษหรือคอมมอนลอว์ ไม่มีศาลปกครอง เนื่องจากวิวัฒนาการระบบกฎหมาย คอมมอนลอว์ ไม่แบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนออกจากกัน ดังนั้น ไม่ว่าคดีธรรมดาระหว่าง เอกชนกับเอกชนด้วยกันที่เรียกว่า คดีแพ่ง หรือคดีที่ฟ้องเป็นคดีอาญา หรือแม้เป็นคดีปกครอง ก็อยู่ในอํานาจ ของศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียว ไม่แยกศาล ดังที่นักกฎหมายของอังกฤษชื่อ อัลเบิร์ตเวนน์ ไดซีย์ กล่าวไว้ว่า “บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และศาลเดียวกันเป็นผู้พิจารณาพิพากษา” จึงมีผู้เรียกศาลของอังกฤษว่า “ระบบศาลเดี่ยว” คือ ศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียวพิจารณาคดีได้ทุกประเภท ไม่ว่าคดีข้อพิพาทระหว่างราษฎร กับเจ้าพนักงานของรัฐหรือฝ่ายปกครองที่เรียกว่าคดีปกครองก็ต้องขึ้นศาลยุติธรรม เมื่อไม่แบ่งแยกประเภท กฎหมาย จึงไม่แยกศาล ซึ่งต่างกับระบบกฎหมายซีวิลลอว์ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน มีการแยกประเภทกฎหมาย ออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ดังนั้น ข้อพิพาทระหว่างราษฎรกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตามกฎหมายปกครองจะต้องขึ้นศาลที่มีเขตอํานาจพิจารณาคดีประเภทนี้โดยเฉพาะ คือ ศาลปกครอง ส่วน คดีธรรมดา คือ คดีแพ่ง หรือคดีอาญา ก็ฟ้องไปยังศาลที่มีขอบอํานาจในการพิจารณาคดีทั่วไป คือ ศาลยุติธรรม จึงมีผู้กล่าวว่าศาลในประเทศฝรั่งเศสเป็น “ระบบศาลคู่” มีทั้งศาลยุติธรรมและศาลปกครองนั่นเอง

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 1/2555

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแต่งขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. จงอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดกฎหมายสิบสองโต๊ะ

ธงคําตอบ

การแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 พวก คือ แพทริเชียน (Patricians) และเพลเบียน (Plebeians) ทําให้ เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เสมอภาคทางสังคมและทางการเมือง พวกชนชั้นสูงหรือแพทริเซียนมีสิทธิเหนือกว่า ชนชั้นกลางหรือสามัญชนคือพวกเพลเบียน เช่น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิแต่งงาน (Conubium) การแต่งงานที่ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างชนชั้นสูง จะมีผลทําให้บุตรที่เกิดจากคู่สมรสอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวที่บิดา
สังกัดอยู่ การแต่งงานระหว่างพวกเพลเบียนและแพทริเซียนจึงเป็นของต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ส่วนบุตรที่เกิดจาก การอยู่กินกันระหว่างพวกแพทริเซียนกับเพลเบียนจะอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวของเพลเบียนนั้นต่อไปไม่เปลี่ยนสภาพกลายเป็นแพทริเชียน

สิทธิทางการเมืองในการดํารงตําแหน่ง เช่น ประมุขในการบริหารหรือปกครองที่เรียกว่ากงสุล ซึ่ง ถือว่าเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด (Imperium) จํากัดเฉพาะพวกแพทริเซียน ส่วนตําแหน่งต่าง ๆ รองลงไปก็จํากัด เฉพาะพวก พวกชนชั้นสูงเท่านั้น พวกเพลเขียนไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ทางการเมืองแต่อย่างใด

นอกจากนี้ในการออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการชี้ขาดตัดสินคดี เป็นอํานาจของ พวกแพทริเซียนทั้งสิ้น เช่น พวกเพลเบียนที่เป็นลูกหนี้พวกแพทริเซียน แล้วไม่ยอมชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ อาจนําไปสู่ความเป็นทาส หรือความตายของลูกหนี้และครอบครัวได้ เพราะผู้พิพากษาซึ่งทําหน้าที่บังคับชําระหนี้ ก็เป็นพวกเดียวกันกับพวกแพทริเชียน ความยุติธรรมจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้เองทําให้เกิดความไม่พอใจ แก่พวกเพลเบียนเป็นอย่างมาก เพราะพวกนี้ไม่มีทางทราบได้เลยว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไร จึงได้มีการเรียกร้องให้นํากฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

สรุป กําเนิดของกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้น 2 พวก คือ แพทริเชียน และเพลเบียนนั่นเอง

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ เกิดขึ้นได้อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

คอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นเกิดจากเกาะอังกฤษแต่เดิมจะมีชนเผ่าดั้งเดิม ซึ่งทําไร่ ไถนา เพาะปลูก เรียกว่า Briton แต่ถูกรุกรานจากชนเผ่าต่าง ๆ เช่น พวกไอบีเรียน (Iberian), พวกกาล (Gael) และ พวกเซลท์ (Celt) ที่มาจากสเปน โปรตุเกส และเยอรมัน เช่น เผ่าที่มีชื่อเรียกว่า แองโกลหรือแองเจิล (Anglo หรือ Angles) เป็นนักรบ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นไปบนเกาะอังกฤษ เมื่อชนเผ่าดั้งเดิมสู้ไม่ได้จึงถูกยึดครอง อีกพวก คือพวกแซกซอน (Saxons) และมีอีกเผ่าหนึ่งที่เรียกว่า พวกจุ๊ทส์ (Jutes) ที่เข้าไปยึดครองเกาะอังกฤษ จะเห็น ได้ว่าเดิมนั้นเกาะอังกฤษจะหลากหลายด้วยชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีจารีตประเพณีของตนเองจนมีผู้กล่าวว่า “ถ้าขี่ม้าข้ามทุ่งนาต้องผ่านจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนับเป็นสิบ ๆ อย่าง” และชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษ ของคนอังกฤษคือ ชาวนอร์แมน (Norman) นอกจากนี้ในสมัยที่กรุงโรมเรืองอํานาจ กรุงโรมได้ส่งกองทัพเรือ ยึดเกาะอังกฤษหลายร้อยปี จน ค.ศ. 1066 ชาวนอร์แมนมาจากแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ยุโรปคือ ประเทศนอร์เวย์ บุกขึ้นเกาะอังกฤษแล้วตั้งราชวงศ์ มีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความ เนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทําให้ผลของคําพิพากษาตรงกันข้ามกันในแต่ละศาล อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่าเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย คําพิพากษาของศาลท้องถิ่นที่ตัดสินตาม จารีตประเพณีนั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ใช้ วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ดังนั้นราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงมาร้องเรียนต่อ พระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) ส่งผู้พิพากษานั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยศาลหลวง ไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาลท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ทําให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าศาลหลวงให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงได้วางหลักเกณฑ์ที่ มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้กฎหมาย Common Law เริ่มเกิดขึ้นในประเทศ อังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

LAW3101 (LAW3001) กฎหมายอาญา 3 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3101 (LAW 3001) กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. เอคนร้ายเดินผ่านบ้านที่เห็นประตูเปิดอยู่จึงแอบเข้าไปเพื่อจะลักทรัพย์ เมื่อเข้าไปในห้องเห็นปี นั่งฟุบอยู่ที่โต๊ะทํางานเข้าใจว่ามีหลับเกรงว่าจะตื่นมาขัดขวางตน เอจึงคว้าแจกันดอกไม้ตีศีรษะบีเพื่อให้หมดสติ แต่ความจริงที่หัวใจวายถึงแก่ความตายก่อนหน้าที่เอจะเข้ามาลักทรัพย์นานกว่า 2 ชั่วโมงแล้ว ดังนี้ เอจะมีความผิดต่อชีวิตและร่างกายฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 295 “ผู้ใดทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้น กระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

ความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้คือ
1. ทําร้าย
2. ผู้อื่น
3. จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น
4. โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอได้ใช้แจกันตีศีรษะของบีโดยมีเจตนาทําร้ายปีนั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ในขณะที่เอทําร้ายปีนั้น ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วนานกว่า 2 ชั่วโมง การกระทําความผิดฐาน ทําร้ายร่างกายของเอจึงขาดองค์ประกอบของความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่นตามมาตรา 295 เนื่องจากไม่มี “ผู้อื่น” ที่จะถูกทําร้าย ดังนั้น เอจึงไม่มีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

สรุป เอไม่มีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

 

ข้อ 2. นางเดือนมอบให้นายอาทิตย์เป็นนายหน้าหาคนมาซื้อที่ดินโดยตกลงจะให้ค่านายหน้าร้อยละ 3 ของราคาที่ดินที่ขายได้ ต่อมานายอาทิตย์ได้พานางจันทร์มาติดต่อซื้อที่ดินจากนางเดือน หลังจาก ที่ได้จดทะเบียนซื้อขายและชําระราคาที่ดินกันแล้วนายอาทิตย์ได้มาขอรับค่านายหน้า แต่นางเดือน บ่ายเบี่ยงเรื่อยมาด้วยเจตนา จะไม่จ่ายค่านายหน้า วันเกิดเหตุนายอาทิตย์ได้จับตัวนางเดือน ไปกักขังไว้แล้วเรียกให้สามีของนางเดือนนําเงินไปให้ตามจํานวนค่านายหน้าที่ตกลงกัน สามีของ นางเดือนยังไม่ได้มอบเงินตามที่นายอาทิตย์เรียกร้อง นายอาทิตย์ก็ถูกจับดําเนินคดีเสียก่อน ดังนี้

อยากทราบว่าการกระทําของนายอาทิตย์เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 313 “ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

(1) เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(2) เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไปโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กําลังประทุษร้าย ใช้อํานาจ ครอบงําผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือ
(3) หน่วงเหนี่ยว หรือกักขังบุคคลใด ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานเอา ตัวบุคคลไปหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามมาตรา
313 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบด้วย

1. หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ใด
2. โดยเจตนา
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

“ค่าไถ่” หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของ ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขัง (ป.อาญา มาตรา 1 (13))

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ได้จับตัวนางเดือนไปกักขังไว้แล้วเรียกให้สามีของนางเดือน นําเงินไปให้ตามจํานวนค่านายหน้าที่ตกลงกันนั้น ถือเป็นการเจตนาเอาตัวบุคคลไปเพื่อหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้ว
แต่อย่างไรก็ตามการกระทําของนายอาทิตย์มิได้มีเจตนาเพื่อที่จะให้ได้มาซื้อค่าไถ่ เพราะเงินที่นายอาทิตย์ เรียกเอานั้นเป็นเงินที่นายอาทิตย์มีสิทธิที่จะได้เงินดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นค่าไถ่ตามกฎหมาย ดังนั้น นายอาทิตย์ จึงไม่มีความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313

สรุป การกระทําของนายอาทิตย์ไม่เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313

 

ข้อ 3. (ก) แดงขอยืมรถจักรยานยนต์ของขาวขี่เพื่อไปเยี่ยมพ่อของแดงที่นอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
แต่ความจริงพ่อของแดงสบายดีและอยู่ในประเทศลาว ขาวมอบรถจักรยานยนต์ให้แดงยืม แดงขับรถจักรยานยนต์ไปขายให้กับเขียวทันที หลังจากนั้นแดงกลับมาบอกขาวว่ารถถูกขโมย
ดังนี้ แดงมีความผิดตามกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ต่อขาวฐานใด จงวินิจฉัย

(ข) นายอาทิตย์ลักเอารถจักรยานยนต์ของนายอังคารไป แล้วนายอาทิตย์เรียกเอาเงินจํานวน 10,000 บาท จากนายอังคารเพื่อแลกกับการนํารถกลับมาคืน นายอังคารจึงจ่ายเงินให้กับ นายอาทิตย์ตามข้อตกลง หลังจากนั้นมีการนัดหมายวันเวลาที่จะนํารถมาคืน เมื่อถึงเวลานัด นายอาทิตย์ทราบว่านายอังคารนําตํารวจมาดักซุ่มคอยจับกุมอยู่จึงไม่นํารถจักรยานยนต์มาคืนให้กับนายอังคาร ให้วินิจฉัยว่านายอาทิตย์มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานฉ้อโกงหรือไม่

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทํา ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ….”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย
1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้น ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ (ตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แดงไปขอยืมรถจักรยานยนต์ของขาวขี่เพื่อไปเยี่ยมพ่อของแดงที่นอนป่วย อยู่ที่โรงพยาบาล แต่ความจริงพ่อของแดงสบายดีและอยู่ในประเทศลาวนั้น การกระทําของแดงเป็นเพียงการใช้ กลอุบายเพื่อเอารถจักรยานยนต์ของขาวไปเท่านั้น ดังนั้น สัญญายืมย่อมไม่เกิดขึ้น และการที่ขาวได้ส่งมอบ การครอบครองรถจักรยานยนต์ให้แก่แดงจึงมิใช่การส่งมอบตามสัญญายืมที่จะทําให้การครอบครองรถจักรยานยนต์ตกไปอยู่กับแดง แต่เป็นการส่งมอบให้เพราะถูกหลอกลวง กรณีดังกล่าว จึงถือว่าเป็นกรณีที่แดงได้แย่งการ ครอบครองรถจักรยานยนต์ไปจากขาวซึ่งเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น และเมื่อเป็นการเอาไปโดยเจตนา และโดยทุจริต จึงครบองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ทุกประการ ดังนั้น แดงจึงมี ความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 และเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย

สรุป แดงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบด้วย

1. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการ
(ก) แสดงข้อความเป็นเท็จ หรือ
(ข) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

2. โดยการหลอกลวงนั้น
(ก) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือ
(ข) ทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ

3. โดยเจตนา

4. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ลักเอารถจักรยานยนต์ของนายอังคารไป แล้วนายอาทิตย์ เรียกเอาเงินจํานวน 10,000 บาท จากนายยังคารเพื่อแลกกับการนํารถกลับมาคืน นายอังคารจึงจ่ายเงินให้กับ นายอาทิตย์ตามข้อตกลง หลังจากนั้นมีการนัดหมายวันเวลาที่จะนํารถมาคืน เมื่อถึงเวลานัดนายอาทิตย์ทราบว่า นายอังคารนําตํารวจมาดักซุ่มคอยจับกุมอยู่ จึงไม่นํารถจักรยานยนต์มาคืนให้กับนายอังคารนั้น การที่นายอาทิตย์ ไม่นํารถจักรยานยนต์มาคืนนั้นเกิดจากการที่นายอังคารนําตํารวจมาดักซุ่มคอยจับกุมอยู่ในขณะที่นายอาทิตย์ จะนํารถมาคืนให้ จึงถือว่านายอาทิตย์มิได้มีเจตนาที่จะหลอกลวงนายอังคารมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น นายอาทิตย์จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341

สรุป นายอาทิตย์ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341

 

LAW3101 (LAW3001) กฎหมายอาญา 3 s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3101 (LAW 3001) กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายแก้วโกรธแค้นนายก้อนจึงนําอาวุธปืนมาดักซุ่มยิง เมื่อนายก้อนเดินผ่านมานายแก้วได้ใช้อาวุธปืน ยิงใส่หลายนัด แต่กระสุนถูกบริเวณหน้าท้องของนายก้อนเพียง 1 นัด ขณะที่นายแก้ววิ่งหลบหนี ได้ยินเสียงนายก้อนร้องขอความช่วยเหลือ นายแก้วจึงย้อนกลับไปหานายก้อนแล้วใช้ไม้ไผ่ซึ่ง วางอยู่บริเวณนั้นทุบตีนายก้อนจนตาย และขณะที่นายแก้วกําลังมองหาที่ซุกซ่อนศพของนายก้อน นายก้านขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาเห็นเหตุการณ์โดยบังเอิญ นายแก้วได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่นายก้านจนรถจักรยานยนต์ล้ม นายก้านศีรษะกระแทกพื้นถึงแก่ความตาย ให้วินิจฉัยว่า นายแก้วมีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 289 “ผู้ใด

(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

(7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทําความผิดอื่น เพื่อ ปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทําไว้

ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนาตามมาตรา 288 ประกอบด้วย
1. ฆ่า
2. ผู้อื่น
3. โดยเจตนา

การกระทําที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 288 นั้น นอกจากจะมีการกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการฆ่าบุคคลอื่นแล้ว ผู้กระทํายังต้องมีเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในด้วยอาจจะเป็นเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ได้

และถ้าผู้กระทําความผิดตามมาตรา 288 นั้น ได้กระทําการด้วยประการใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 289 ผู้กระทําก็จะต้องมีความผิดและต้องรับโทษฐานฆ่าคนตายในเหตุฉกรรจ์นั้นด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแก้วโกรธแค้นนายก้อน จึงนําอาวุธปืนมาดักซุ่มยิง และเมื่อนายก้อน เดินผ่านมา นายแก้วได้ใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงทําให้ถึงแก่ความตายได้ ยิงใส่นายก้อนหลายนัดและ กระสุนถูกบริเวณหน้าท้องซึ่งเป็นอวัยวะสําคัญของนายก้อน 1 นัด ย่อมถือว่านายแก้วมีเจตนาฆ่านายก้อนแล้ว และการที่นายแก้วรู้ว่านายก้อนยังไม่ถึงแก่ความตาย จึงย้อนกลับไปใช้ไม้ไผ่ซึ่งวางอยู่บริเวณนั้นทุบตีจนนายก้อน ถึงแก่ความตายนั้น ก็ด้วยเจตนาเดียวกันคือเจตนาฆ่านายก้อน จึงเป็นการกระทํากรรมเดียวกัน การกระทําของ นายแก้วจึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และเมื่อนายแก้วนําอาวุธปืนมาดักซุ่มยิงนายก้อน ดังนั้น การกระทําของ นายแก้วจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามมาตรา 289 (4)

ส่วนการที่นายแก้วได้ใช้อาวุธปืนซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงทําให้ถึงแก่ความตายได้ ยิงใส่นายก้านนั้นย่อมถือว่านายแก้วมีเจตนาฆ่านายก้านเช่นเดียวกันและการที่รถจักรยานยนต์ของนายก้านล้มลงจนศีรษะกระแทกพื้นถึงแก่ความตายนั้น ถือว่าความตายของนายก้านเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการใช้อาวุธปืนยิงของนายแก้ว การกระทําของนายแก้ว จึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และเมื่อเหตุเกิดจากการที่นายก้านขับรถจักรยานยนต์ ผ่านมาเห็นเหตุการณ์โดยบังเอิญ การที่นายแก้วมีเจตนาฆ่านายก้าน จึงเป็นการฆ่าเพื่อปกปิดความผิดฐานฆ่า นายก้อนอันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่น ที่ตนได้กระทําไว้ตามมาตรา 289 (7) ดังนั้น การกระทําของนายแก้วกรณีนี้จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 289 (7)

สรุป นายแก้วมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4) และมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่น ที่ตนได้กระทําไว้ตามมาตรา 289 (7)

 

ข้อ 2. นางสายมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับนางส้มซึ่งเป็นเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจํา สาเหตุมาจากบ้านของ นางส้มเปิดขายอาหารตามสั่งทําให้กลิ่นควันของอาหารลอยเข้ามาในบ้านของนางสาย ด้วยความโมโห นางสายได้โพสต์ข้อความลงในกลุ่มไลน์หมู่บ้านสวัสดีซึ่งมีสมาชิกจํานวน 100 คน และจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการแจ้งหรือไขข่าวไปยังสมาชิกที่เป็นลูกบ้าน มีข้อความว่า “ร้านตามสั่งที่เยื้อง กับป้อมยามหมู่บ้าน ขายอาหารบังหน้า แต่เบื้องหลังปล่อยยาบ้า” ซึ่งปรากฏว่าในหมู่บ้านสวัสดี มีร้านอาหารตามสั่งของนางส้มเพียงร้านเดียว และตั้งอยู่เยื้องกับป้อมยามด้วย

ให้วินิจฉัยว่า นางสายมีความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียงฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 328 “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทําโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทําให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทําโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทําการป่าวประกาศ ด้วยวิธีอื่น ผู้กระทําต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ประกอบด้วย
1. ใส่ความผู้อื่น
2. ต่อบุคคลที่สาม
3. โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
4. โดยเจตนา

คําว่า “ใส่ความ” ตามนัยมาตรา 326 หมายความว่า พูดหาเหตุร้ายหรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย โดยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งกระทําต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสายได้โพสต์ข้อความว่า “ร้านตามสั่งที่เยื้องกับป้อมยามหมู่บ้าน ขายอาหารบังหน้า แต่เบื้องหลังปล่อยยาบ้า” ซึ่งปรากฏว่าในหมู่บ้านสวัสดีมีร้านอาหารตามสั่งของนางส้มเพียง ร้านเดียวและตั้งอยู่เยื้องกับป้อมยามด้วยนั้น บุคคลที่อ่านข้อความดังกล่าวย่อมทราบและเข้าใจได้ทันทีว่า ร้านอาหารตามสั่งของนางส้มจําหน่ายยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ข้อความดังกล่าวที่นางสายได้โพสต์ลงใน กลุ่มไลน์หมู่บ้านสวัสดีซึ่งมีสมาชิกจํานวน 100 คน จึงเป็นการใส่ความนางส้มต่อบุคคลที่สาม ทําให้นางส้มเสื่อมเสีย ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การกระทําของนางสายจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

ส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 นั้น ผู้กระทําต้องเผยแพร่ข้อความ อันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การที่นางสายโพสต์ข้อความลงในกลุ่มไลน์ หมู่บ้านสวัสดีซึ่งมีสมาชิกจํานวน 100 คน และการจัดตั้งขึ้นมีลักษณะเพื่อเป็นช่องทางในการแจ้งหรือไขข่าว ไปยังเฉพาะสมาชิกที่เป็นลูกบ้านซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทําของนางสายจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 328

สรุป นางสายมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326

 

ข้อ 3. ขณะที่ น.ส.เอ กําลังเดินอยู่ในซอยคนเดียว นายดําได้เดินเข้ามาทางด้านหลังของ น.ส.เอ แล้วพูด ขึ้นว่ากระเป๋าสวยดี จากนั้นนายดําเข้าไปประชิดตัว น.ส.เอ พร้อมทั้งทําท่าจะล้วงเอาอาวุธจาก ขอบกางเกงด้านหลัง แล้วใช้มือข้างหนึ่งจับกระเป๋าสะพายที่คล้องอยู่ที่ไหล่ของ น.ส.เอ เอาไว้ แต่ น.ส.เอ ไม่ยอมจึงเกิดการฉุดกระชากกันขึ้น ระหว่างนั้นนายดําสังเกตเห็นว่า น.ส.เอ มีหน้าตาดีจึงเปลี่ยนใจปล่อยมือจากกระเป๋าสะพายแล้วเข้าปลุกปล้ําเพื่อหวังข่มขืนกระทําชําเราแทน ขณะที่ น.ส.เอ อ่อนแรงจากการต่อสู้ขัดขืนจนสลบไป นายดําเหลือบไปเห็นว่า น.ส.เอ มีสร้อยคอ ทองคําสวมอยู่ที่คอ นายดําจึงปลดเอาสร้อยคอทองคําของ น.ส.เอ แล้วลุกหนีไป ให้วินิจฉัยว่า นายดํามีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 80 “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้วแต่การ กระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด

ผู้ใดพยายามกระทําความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกําหนดไว้
สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้น กระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 339 “ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อ

(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม

ผู้นั้นกระทําความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย
1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การกระทําของนายดําเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่นั้น เห็นว่า การที่นายดําได้เดินเข้ามาทางด้านหลังของ น.ส.เอ แล้วพูดขึ้นว่ากระเป๋าสวยดี จากนั้นนายดําเข้าไปประชิดตัว น.ส.เอ พร้อมทั้งทําท่าจะล้วงเอาอาวุธจากขอบกางเกงด้านหลังนั้น ถือเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัง ประทุษร้ายแล้ว เมื่อนายดําใช้มือข้างหนึ่งจับกระเป๋าสะพายที่คล้องอยู่ที่ไหล่ของ น.ส.เอ เอาไว้ แต่ น.ส.เอ ไม่ยอม จึงเกิดการฉุดกระชากกันขึ้น จึงเป็นการลงมือลักทรัพย์โดยขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัประทุษร้ายเพื่อให้สะดวกแก่การลักทรัพย์ แต่เมื่อนายดํายังไม่ได้กระเป๋าสะพายซึ่งเป็นตัวทรัพย์มาไว้ในความครอบครอง จึงเป็นการลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด ดังนั้น นายดําจึงมีความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ประกอบมาตรา 80

ส่วนการที่นายดําเปลี่ยนใจปล่อยมือจากกระเป๋าสะพายแล้วเข้าไปปลุกปล้ําเพื่อหวังข่มขืนกระทํา ชําเราแทน จึงมิใช่เป็นการใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อมุ่งประสงค์ต่อตัวทรัพย์ที่เป็นสร้อยคอทองคําของ น.ส.เอ ตั้งแต่ต้น แต่การที่นายดําเหลือบไปเห็นว่า น.ส.เอ มีสร้อยคอทองคําสวมอยู่ที่คอ นายดําจึงปลดเอาสร้อยคอทองคํา ของ น.ส.เอ แล้วลุกหนีไปนั้น เป็นเจตนาทุจริตที่เกิดขึ้นภายหลัง การลักทรัพย์จึงแยกต่างหากจากการใช้กําลัง ประทุษร้าย การกระทําของนายดําจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์สําเร็จตา
มาตรา 334

สรุป การกระทําของนายดําเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานพยายามชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ประกอบมาตรา 80 และฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

 

ข้อ 4. นายหนึ่งได้แอบอ้างว่าตนเองเป็นแพทย์แล้วเสนอขายวัคซีนต้านโควิดให้กับนายสามและนายสี่
ในราคาเข็มละ 2,000 บาท ขณะเดียวกันนางสองซึ่งเป็นภรรยาของนายหนึ่งก็ได้พูดสนับสนุนชักจูงให้นายสามและนายสี่ซื้อวัคซีนดังกล่าวโดยอ้างว่าตนเองและครอบครัวรวมถึงญาติพี่น้องก็ฉีดวัคซีนดังกล่าวและปลอดภัยดีทุกคน จนนายสามและนายสี่ตกลงซื้อวัคซีนจากนายหนึ่งคนละ 2 เข็ม นายหนึ่งจึงฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับบุคคลทั้งสองโดยมีนางสองเป็นผู้ช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์ ให้นายหนึ่ง หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว นายสามจ่ายเงินเป็นค่าวัคซีนเข็มแรกจํานวน 2,000 บาท ให้แก่นายหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีก 2,000 บาท จะจ่ายเมื่อได้รับการฉีดเข็มที่สองแล้ว ส่วนนายสี่จะ จ่ายครั้งเดียว 4,000 บาท หลังจากได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว ระหว่างนั้นนายหนึ่งและนางสอง ถูกตรวจพบว่าสิ่งที่ฉีดให้กับนายสามและนายสี่เป็นเพียงเกลือแร่เท่านั้น ไม่ใช่วัคซีนต้านโควิดตามที่แอบอ้าง

ให้วินิจฉัยว่า นายหนึ่งและนางสองมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 80 “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้วแต่การ กระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด

ผู้ใดพยายามกระทําความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกําหนดไว้
สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทําของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วม กระทําความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิด ข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง
ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบด้วย

1. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการ
(ก) แสดงข้อความเป็นเท็จ หรือ
(ข) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

2. โดยการหลอกลวงนั้น
(ก) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือ
(ข) ทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ

3. โดยเจตนา

4. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งได้แอบอ้างว่าตนเองเป็นแพทย์แล้วเสนอขายวัคซีนต้านโควิด ให้กับนายสามและนายสี่ในราคาเข็มละ 2,000 บาท และได้ฉีดเข็มแรกให้กับบุคคลทั้งสอง ทั้งที่ความจริงแล้ว เป็นเพียงเกลือแร่ไม่ใช่วัคซีนต้านโควิด แต่นายหนึ่งกลับหลอกลวงว่าเป็นวัคซีนต้านโควิดนั้น การกระทําของ
นายหนึ่งจึงเป็นการกระทําโดยทุจริตหลอกลวงนายสามและนายสี่ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิด ข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงของนายหนึ่งนั้นทําให้นายหนึ่งได้ไปซึ่งเงินจํานวน 2,000 บาท จากนายสาม ดังนั้น การกระทําของนายหนึ่งต่อนายสามจึงครบองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 นายหนึ่งจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341

ส่วนการกระทําของนายหนึ่งต่อนายสี่ เป็นกรณีที่นายหนึ่งได้ลงมือกระทําความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว
แต่การกระทํานั้นยังไม่บรรลุผล เนื่องจากนายที่ยังไม่ได้ชําระเงินให้แก่นายหนึ่ง ทําให้นายหนึ่งยังไม่ได้ไปซึ่ง ทรัพย์สินจากนายสี่ผู้ถูกหลอกลวง ดังนั้น การกระทําของนายหนึ่งต่อนายสี่จึงเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80

ส่วนนางสองซึ่งเป็นภรรยาของนายหนึ่งได้พูดสนับสนุนชักจูงให้นายสามและนายสี่ซื้อวัคซีนจาก นายหนึ่ง และยังคอยช่วยเหลือนายหนึ่งในการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ การกระทําของนางสองถือว่ามีเจตนา ร่วมกับนายหนึ่งในการกระทําความผิดเพียงแต่แบ่งหน้าที่กันทํากับนายหนึ่ง จึงถือว่านางสองเป็นตัวการร่วมกัน
กับนายหนึ่งในการหลอกลวงนายสามและนายสี่ ดังนั้น นางสองจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และมีความผิดฐานพยายามฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 83

สรุป นายหนึ่งและนางสองมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80 และ มีความผิดฐานพยายามฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 83

LAW3101 (LAW3001) กฎหมายอาญา 3 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หนึ่งให้สองยืมเงิน 5,000 บาท หนี้ถึงกําหนดชําระแต่สองไม่ชําระหนี้ ถูกทวงถามหลายครั้งก็ยัง บิดพลิ้วไม่ยอมชําระ ทําให้หนึ่งโกรธชกสองล้มลง บังเอิญเท้าข้างซ้ายของสองถูกเศษแก้วบาด เลือดไหล แต่เนื่องจากสองป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วแผลรักษาไม่หายจนแพทย์ต้องตัดเท้า ข้างซ้ายออกเพื่อรักษาชีวิต ดังนี้ หนึ่งจะมีความผิดต่อร่างกายฐานใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 63 “ถ้าผลของการกระทําความผิดใดทําให้ผู้กระทําต้องรับโทษหนักขึ้น ผลของการ กระทําความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้”

มาตรา 295 “ผู้ใดทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้น กระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 297 “ผู้ใดกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ…

อันตรายสาหัสนั้น คือ

(3) เสียแขน ขา มือ เท้า ยิ้มหรืออวัยวะอื่นใด”

วินิจฉัย

ความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 มีองค์ประกอบความผิดดังนี้ คือ
1. ทําร้าย
2. ผู้อื่น
3. จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น
4. โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่หนึ่งชกสองล้มลง บังเอิญเท้าข้างซ้ายของสองถูกเศษแก้วบาดเลือดไหล โดยเจตนานั้น การกระทําของหนึ่งครบองค์ประกอบของความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 แล้ว ดังนั้น หนึ่งจึงมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295

ส่วนความผิดฐานทําร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 297 ซึ่งผู้กระทํา จะต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น ผลของการกระทําที่ทําให้ผู้ถูกกระทําร้ายได้รับอันตรายสาหัสนั้น จะต้องเป็นผลที่ตาม ธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตามมาตรา 63 แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่แพทย์ต้องตัดเท้าข้างซ้ายของสองออกนั้น เป็นเพราะสองป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วทําให้แผลรักษาไม่หาย ไม่ใช่เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการถูกทําร้ายโดนเศษแก้วบาดที่เท้าแต่อย่างใด ดังนั้น แม้สองจะถูกหนึ่งทําร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส หนึ่งก็มีความผิดฐานทําร้ายร่ายกายตามมาตรา 295 เท่านั้น ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 297

สรุป หนึ่งมีความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 297

 

ข้อ 2. นายเอกอยู่กินกับนางสาวจันทร์เป็นเวลา 3 ปี นางสาวจันทร์มีอาชีพเป็นหมอนวดในสถานบริการ อาบอบนวดแห่งหนึ่งและบางครั้งก็ขายบริการทางเพศด้วยเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งนายเอกก็ทราบดีและยอมรับมาโดยตลอด ต่อมานายเอกขอเลิกกับนางสาวจันทร์โดยไปเช่าบ้าน อยู่ที่อื่น วันหนึ่งนางสาวจันทร์ได้ไปหานายเอก ณ ที่ทํางานและขอร้องให้นายเอกกลับไปคืนดีกับตน แต่นายเอกไม่ยอม โดยไม่ให้นางสาวจันทร์ออกจากที่ทํางานพร้อมกับพูดด้วยเสียงอันดังต่อหน้า พนักงานคนอื่นในที่ทํางานว่า “กูไม่อยากมีเมียเป็นหญิงโสเภณี ถึงอย่ามาหากูอีก” ดังนี้ถ้านายเอก ถูกดําเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท อยากทราบว่านายเอกจะขอพิสูจน์ความจริงได้หรือไม่ และ นายเอกมีความผิดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ…

มาตรา 330 “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทําความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าหมิ่น ประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ประกอบด้วย
1. ใส่ความผู้อื่น
2. ต่อบุคคลที่สาม
3. โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
4. โดยเจตนา

คําว่า “ใส่ความ” ตามนัยมาตรา 326 หมายความว่า พูดหาเหตุร้าย หรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย โดยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งกระทําต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกอยู่กินกับนางสาวจันทร์เป็นเวลา 3 ปี นางสาวจันทร์มีอาชีพ เป็นหมอนวดในสถานบริการอาบอบนวดแห่งหนึ่งและบางครั้งก็ขายบริการทางเพศด้วยเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งนายเอกก็ทราบดีและยอมรับมาโดยตลอด ต่อมานายเอกขอเลิกกับนางสาวจันทร์โดยไปเช่าบ้าน อยู่ที่อื่น วันหนึ่งนางสาวจันทร์ได้ไปหานายเอก ณ ที่ทํางานและขอร้องให้นายเอกกลับไปคืนดีกับตน แต่นายเอก ไม่ยอม โดยไม่ให้นางสาวจันทร์ออกจากที่ทํางานพร้อมกับพูดด้วยเสียงอันดังต่อหน้าพนักงานคนอื่นในที่ทํางานว่า “กูไม่อยากมีเมียเป็นหญิงโสเภณี ถึงอย่ามาหากูอีก” การที่นายเอกพูดด้วยเสียงอันดังต่อหน้าพนักงานคนอื่น ในที่ทํางานด้วยข้อความดังกล่าวนั้น ถือเป็นการใส่ความนางสาวจันทร์ต่อบุคคลที่สามแล้ว และข้อความที่พูด ก็น่าจะทําให้นางสาวจันทร์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนั้น นายเอกจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

และถ้านายเอกถูกดําเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท และจะขอพิสูจน์ความจริงได้หรือไม่นั้น กรณีนี้ ถือว่าเข้าข้อห้ามพิสูจน์ตามมาตรา 330 วรรคสอง เพราะข้อหาที่ว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่อง ส่วนตัว และการพิสูจน์นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ดังนั้น นายเอกจึงขอพิสูจน์ความจริงไม่ได้

สรุป นายเอกมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 336 และจะขอพิสูจน์ความจริงไม่ได้

 

ข้อ 3. ขณะที่แดงกําลังเข้าคิวเพื่อซื้อตั๋วผ่านประตูเข้าชมฟุตบอลนัดสําคัญ ขาวได้ฝากเงินให้แดงซื้อตั๋ว ให้ด้วยเพราะคนเข้าคิวซื้อบัตรผ่านประตูเป็นจํานวนมาก ขาวมอบเงินให้แดง 2,000 บาท และได้ ยืนรอเอาบัตรผ่านประตูจากแดงอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นเอง แดงซื้อบัตรผ่านประตูเฉพาะของแดง และรีบเข้าประตูสนามฟุตบอลเข้าชมฟุตบอลทันที แต่แดงไม่ได้ซื้อตั๋วให้ขาว แดงเอาเงิน 2,000 บาท ที่ขาวมอบให้ไปใช้เสียเอง ดังนี้ แดงมีความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใด จงวินิจฉัย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้น กระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย
1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้นไปได้ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ โดยอาจจะเป็นการครอบครองเพราะเจ้าของส่งมอบการครอบครองให้โดยชอบหรือ เพราะเจ้าของส่งมอบให้โดยสําคัญผิด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้เอาไปนั้นเก็บได้ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สินหายแล้วแต่กรณีตามมาตรา 352

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ขาวได้ฝากเงินให้แดงซื้อตั๋วให้โดยมอบเงินให้แดง 2,000 บาท และได้ ยืนรอเอาบัตรผ่านประตูจากแดงอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้น แต่แดงซื้อบัตรผ่านประตูเฉพาะของแดงและรีบเข้าประตู สนามฟุตบอลโดยไม่ได้ซื้อตั๋วให้ขาว และแดงได้เอาเงิน 2,000 บาท ที่ขาวมอบให้ไปใช้เสียเองนั้น การกระทํา ของแดงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 เพราะการที่ขาวส่งมอบเงินให้แดง 2,000 บาท เพื่อให้แดง ซื้อตั๋วให้นั้น ถือว่าเงินนั้นยังคงอยู่ในความครอบครองของขาวอยู่โดยขาวไม่ได้เจตนาสละการครอบครองเมื่อแดงได้เอาเงินที่ขาวมอบให้ไปใช้เสียเอง จึงเป็นการแย่งการครอบครองโดยพาเอาทรัพย์เคลื่อนที่ไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ครบองค์ประกอบ ความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ดังนั้น แดงจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

สรุป แดงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

 

ข้อ 4. นายหนึ่งซื้อที่ดินจากนายสองในราคา 1,000,000 บาท โดยให้นายสามเป็นผู้ทําสัญญาซื้อขายและ จดทะเบียนใส่ชื่อนายสามเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนนายหนึ่ง โดยนายหนึ่งให้ค่าตอบแทน แก่นายสามเป็นเงินจํานวน 10,000 บาท แล้วนายหนึ่งทําการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ลงในที่ดิน แปลงดังกล่าวโดยที่นายสามไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ต่อมานายสามร่วมกับนายสองทําสัญญา และจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวในราคา 500,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก นายหนึ่ง แล้วนายสามเอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินไป ให้วินิจฉัยว่า นายสามและนายสองมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 352 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ….”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
1. ครอบครอง
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม
4. โดยเจตนา
5. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งซื้อที่ดินจากนายสองในราคา 1,000,000 บาท โดยให้นายสาม เป็นผู้ทําสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนใส่ชื่อนายสามเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนนายหนึ่ง โดยนายหนึ่งให้ ค่าตอบแทนแก่นายสามเป็นเงินจํานวน 10,000 บาท แล้วนายหนึ่งทําการปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ลงในที่ดิน แปลงดังกล่าวโดยที่นายสามไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดนั้น เมื่อนายสามเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน พิพาทแทนนายหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริง โดยไม่ปรากฏว่านายสามเข้าไปเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินแต่อย่างใด จึงไม่ถือว่านายสามเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 352 ดังนั้น แม้นายสามกับนายสองจะร่วมกันทําสัญญาจดทะเบียนโอนขายที่ดินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายหนึ่งและนายสามได้เอาเงินที่ได้จากการขายที่ดินพิพาทไป การกระทําของนายสามและนายสองก็ไม่เป็นความผิดฐาน ยักยอกตามมาตรา 352

สรุป นายสามและนายสองไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352

LAW3101 (LAW3001) กฎหมายอาญา 3 s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นายเอกกับนายโททะเลาะวิวาทกันจนแยกย้ายกันไปแล้ว แต่ระหว่างที่ทั้งสองคนจะกลับบ้าน นายเอกพูดว่า “จะไปเอาคืน” จากนั้นนายเอกชักชวนนายตรีให้ไปดักรอทําร้ายนายโทโดยที่นายตรี ไม่ทราบว่านายเอกพกอาวุธมีดติดตัวมาด้วย เมื่อนายโทขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา นายเอกกับ นายตรีก็วิ่งเข้าไปไล่ทําร้ายชกต่อยนายโทพร้อมกัน แต่ระหว่างนั้นนายเอกชักอาวุธมีดออกมาจ้วงแทง เข้าที่หน้าอกของนายโทจํานวน 3 ครั้ง จนนายโทล้มลงกองกับพื้นและเสียชีวิตทันที หลังเกิดเหตุนายเอกกับนายตรีได้วิ่งหลบหนีไปด้วยกัน

ให้วินิจฉัยว่านายตรีมีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 289 “ผู้ใด

(4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน”

มาตรา 290 “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ…

ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ผู้กระทําต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

1. ทําร้ายผู้อื่น
2. เป็นเหตุให้ผู้ถูกทําร้ายถึงแก่ความตาย
3. โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกชักชวนนายตรีให้ไปดักรอทําร้ายนายโทโดยที่นายตรีไม่ทราบว่า นายเอกพกอาวุธมีดติดตัวมาด้วยนั้น นายตรีย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่านายเอกจะใช้อาวุธมีดแทงทําร้ายนายโท จนเสียชีวิต ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่านายตรีมีเจตนาฆ่านายโท แต่การที่นายตรีร่วมเดินทางไปกับนายเอกเพื่อดักรอทําร้าย นายโท แล้วเข้าทําร้ายชกต่อยนายโทพร้อมกัน และหลังเกิดเหตุได้วิ่งหลบหนีไปด้วยกันนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า นายตรีมีเจตนาที่จะร่วมทําร้ายนายโทโดยมีการคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว จึงฟังได้ว่านายตรีมีเจตนาเพียงต้องการทําร้ายนายโทโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเท่านั้น

เมื่อนายตรีร่วมทําร้ายนายโทและร่วมอยู่ในเหตุการณ์ที่นายเอกใช้อาวุธมีดแทงทําร้ายนายโทจนเสียชีวิต นายตรีจึงต้องยอมรับผลแห่งการกระทําคือความตายของนายโทด้วย ดังนั้น การกระทําของนายตรี จึงเป็นความผิดฐานทําร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเมื่อความผิดนั้น มีลักษณะเป็นการทําร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน นายตรีจึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289 (4)

สรุป นายตรีมีความผิดฐานทําร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นถึงแก่ความตาย
ตามมาตรา 290 ประกอบมาตรา 289 (4)

 

ข้อ 2. นายหนึ่งซื้อรถยนต์มือสองจากนายสามแล้วนําไปขายต่อจนได้กําไรถึง 50,000 บาท สืบเนื่องจาก นายสองเป็นผู้แนะนําให้นายหนึ่งกับนายสามได้รู้จักกัน แต่นายสองกําลังเจรจาจะซื้อรถยนต์ คันดังกล่าวจากนายสาม เช่นกัน ซึ่งหากนายหนึ่งไม่ชิงตัดหน้าซื้อรถยนต์คันนี้ไปก่อน นายสอง จะเป็นฝ่ายที่ได้กําไรจากการขายรถยนต์ นายสองเชื่อว่านายหนึ่งเป็นฝ่ายโกงตนเองจึงจับตัว นายหนึ่งมากักขังไว้แล้วเรียกเงินจํานวน 50,000 บาท จากภริยาของนายหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัว

ให้วินิจฉัยว่านายสองมีความผิดฐานเรียกค่าไถ่หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 313 “ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

(1) เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(2) เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไปโดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กําลังประทุษร้าย ใช้อํานาจ ครอบงําผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือ
(3) หน่วงเหนียว หรือกักขังบุคคลใด
ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานเอาตัวบุคคลไปหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามมาตรา
313 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบด้วย

1. หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ใด
2. โดยเจตนา
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

“ค่าไถ่” หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขัง (ป.อาญา มาตรา 1 (13))

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่งซื้อรถยนต์มือสองแล้วนําไปขายต่อจนได้กําไรถึง 50,000 บาทนั้น แม้จะสืบเนื่องมาจากนายสองเป็นผู้แนะนําให้นายหนึ่งกับนายสามรู้จักกัน ซึ่งหากนายหนึ่งไม่ชิงตัดหน้าซื้อรถยนต์ คันนี้ไปก่อน นายสองจะเป็นฝ่ายที่ได้กําไรจากการขายรถยนต์ก็ตาม ก็ไม่ทําให้การซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายหนึ่ง กับนายสามเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญาต่อนายสอง อันจะเป็นเหตุให้นายหนึ่งเป็นหนี้นายสอง ดังนั้น ถึงแม้ว่า นายสองจะเชื่อว่านายหนึ่งโกงตนเอง ย่อมเป็นเพียงความเชื่อของนายสอง ไม่เป็นเหตุให้นายหนึ่งเป็นหนี้นายสอง แต่อย่างใด ดังนั้น เงิน 50,000 บาทที่นายสองเรียกร้องจากภริยาของนายหนึ่งนั้น มิใช่เงินที่นายสองมีสิทธิที่จะได้ แต่เป็นเงินที่ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวนายหนึ่ง จึงเป็นค่าไถ่ตามนัยของมาตรา 1 (13)

ดังนั้น เมื่อนายสองนําตัวนายหนึ่งมาหน่วงเหนี่ยวกักขังเอาไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ และได้กระทํา
โดยเจตนา การกระทําของนายสองจึงเป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313

สรุป นายสองมีความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313

 

ข้อ 3. นายเด่นแสดงตัวต่อนางเดือนว่าตนเองเป็นเจ้าพนักงานตํารวจและสอบถามนางเดือนว่าเสพยาเสพติด มาหรือไม่ แล้วขอตรวจค้นตัวนางเดือนก่อนที่นายเด่นจะล้วงเอาบุหรี่ 1 ซองของนางเดือนไป จากนั้น นายเด่นบอกกับนางเดือนว่าจะพาไปตรวจปัสสาวะ โดยหากไม่พบสารเสพติดก็จะปล่อยตัวไป แต่นางเดือนอาศัยจังหวะที่นายเด่นเผลอวิ่งหลบหนีไปเสียก่อน

ให้วินิจฉัยว่านายเด่นมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทํา ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ

มาตรา 339 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อ

(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม

ผู้นั้นกระทําความผิดฐานชิงทรัพย์”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย

1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

องค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

1. ลักทรัพย์
2. โดยใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้าย
3. โดยเจตนา
4. เจตนาพิเศษ เพื่อ

(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเด่นแสดงตัวต่อนางเดือนว่าตนเองเป็นเจ้าพนักงานตํารวจและ สอบถามนางเดือนว่าเสพยาเสพติดมาหรือไม่ แล้วขอตรวจค้นตัวนางเดือนก่อนที่นายเด่นจะล้วงเอาบุหรี่ 1 ซอง ของนางเดือนไปนั้น พฤติการณ์ที่นายเด่นล้วงเอาบุหรี่ 1 ซองของนางเดือนไป ถือเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป โดยเจตนาและโดยทุจริตแล้ว การกระทําของนายเด่นจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

แต่อย่างไรก็ดี การที่นายเด่นได้แสดงตัวต่อนางเดือนดังกล่าว และบอกกับนางเดือนว่าจะพาไป ตรวจปัสสาวะโดยหากไม่พบสารเสพติดก็จะปล่อยตัวไปนั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใช้กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้ายแต่อย่างใด การกระทําของนายเด่นจึงไม่เข้าองค์ประกอบของความผิดฐาน ชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ดังนั้น นายเดนจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์

สรุป นายเด่นมีความผิดแต่เพียงฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

 

ข้อ 4. นางสร้อยสั่งหน้ากากอนามัยจากนายสนจํานวน 1,000 ชิ้น เพื่อนําไปจําหน่าย โดยมีข้อตกลงว่า นางสร้อยต้องนําเงินมาชําระค่าหน้ากากอนามัยให้แก่นายสนภายใน 1 เดือนนับแต่วันได้รับสินค้า เมื่อได้รับหน้ากากอนามัยแล้ว นางสร้อยนําไปจําหน่ายและรับเงินมาจากลูกค้า แต่นางสร้อยมิได้ นําเงินดังกล่าวไปชําระคืนให้กับนายสน

ให้วินิจฉัยว่านางสร้อยมีความผิดฐานยักยอกหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 352 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
1. ครอบครอง
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย 3. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม
4. โดยเจตนา
5. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสร้อยสั่งหน้ากากอนามัยจากนายสนจํานวน 1,000 ชิ้น เพื่อนําไป จําหน่าย โดยมีข้อตกลงว่านางสร้อยต้องนําเงินมาชําระค่าหน้ากากอนามัยให้แก่นายสนภายใน 1 เดือนนับแต่ วันที่ได้รับสินค้านั้น ถือว่าเป็นการตกลงในการทําสัญญาซื้อเชื่อหน้ากากอนามัยกัน มีผลทําให้กรรมสิทธิ์ในสินค้า ดังกล่าวได้โอนไปเป็นของนางสร้อยแล้ว มิใช่เป็นกรณีที่นางสร้อยได้รับไว้ในฐานะตัวแทนของนายสนแต่อย่างใด

เมื่อนางสร้อยได้นําหน้ากากอนามัยไปจําหน่ายให้แก่ลูกค้าและรับเงินมาจากลูกค้า เงินที่นางสร้อย ได้รับมาจากลูกค้าย่อมมิใช่รับไว้ในฐานะตัวแทนของนายสน แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของนางสร้อย จึงไม่ถือว่าเป็นกรณี ที่นางสร้อยได้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ดังนั้น การที่นางสร้อยมิได้นําเงิน จากการขายหน้ากากอนามัยดังกล่าวไปชําระคืนให้กับนายสน จึงมิใช่เป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็น ของตนโดยทุจริต นางสร้อยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง เพียงแต่เป็นการผิดสัญญา ในทางแพ่งเท่านั้น

สรุป นางสร้อยไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352

LAW3101 (LAW3001) กฎหมายอาญา 3 1/2562

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. เอขับรถมาด้วยความเร็วสูงพุ่งชนบีซึ่งกําลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลายเนื่องจากไม่สามารถหยุดรถได้ทัน ที่ถูกนําตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์ต้องตัดขาข้างซ้ายของปีเพื่อช่วยชีวิต บีรู้สึก เสียใจมากที่ต้องสูญเสียขาจึงใช้เชือกผูกคอตนเองจนถึงแก่ความตาย ดังนี้ เอจะมีความผิดต่อชีวิตหรือร่างกายฐานใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคสี่ “กระทําโดยประมาท ได้แก่ กระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทํา โดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”

มาตรา 300 “ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
ต้องระวางโทษ…”
ประกอบด้วย

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 300
1. กระทําด้วยประการใด ๆ
2. โดยประมาท
3. เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอขับรถมาด้วยความเร็วสูงพุ่งชนบีซึ่งกําลังเดินข้ามถนนบนทางม้าลาย เนื่องจากไม่สามารถหยุดรถได้ทัน และถูกนําตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์ต้องตัดขาข้างซ้ายของบีเพื่อช่วยชีวิตนั้น การกระทําของเอถือเป็นการกระทําโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ กล่าวคือเป็นการกระทําโดยปราศจาก ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ ดังนั้น เมื่อปีได้รับอันตรายสาหัส เอจึงมีความผิดต่อร่างกายฐานกระทํา โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 300

ส่วนกรณีที่มีรู้สึกเสียใจมากที่ต้องสูญเสียขาจึงใช้เชือกผูกคอตนเองจนถึงแก่ความตายนั้น เอไม่ต้องรับผิดในความตายของปี เพราะความตายของปีนั้นเกิดจากการที่บีฆ่าตนเองซึ่งเป็นเหตุแทรกแซงที่ ไม่อาจคาดหมายได้

สรุป เอมีความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 300

 

ข้อ 2. นายเสือจับตัวนางทับทิมไปเพื่อเรียกค่าไถ่โดยนําตัวนางทับทิมไปขังไว้ที่บ้านพักแถบชานเมือง แล้วตัวนายเสือก็กลับเข้าไปในเมืองเพื่อจัดหาอาหารโดยตั้งใจว่าจะทําการเรียกค่าไถ่จากครอบครัวของนางทับทิม หลังจากนั้นขณะที่กําลังเดินอยู่ในตลาดนายเสือก็ถูกเจ้าพนักงานตํารวจจับกุมตัวนายเสือจึงต้องยอมพาเจ้าพนักงานตํารวจไปปล่อยตัวนางทับทิมโดยนายเสือยังไม่ได้ทําการเรียกค่าไถ่และนางทับทิมก็ไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่านายเสือมีความผิดฐานเรียกค่าไถ่หรือไม่ และจะได้รับการลดโทษให้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 313 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่
(3) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใด
ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 316 “ถ้าผู้กระทําความผิดตามมาตรา 313 มาตรา 314 หรือมาตรา 315 จัดให้ผู้ถูก เอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัส หรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานเอาตัวบุคคลไปหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามมาตรา
313 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบด้วย

1. หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ใด
2. โดยเจตนา
3. เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเสือจับตัวนางทับทิมไปเพื่อเรียกค่าไถ่โดยนําตัวนางทับทิมไปขังไว้ที่ บ้านพักแถบชานเมือง และได้กระทําโดยเจตนานั้น ถึงแม้ว่านายเสือจะยังไม่ได้เรียกค่าไถ่เนื่องจากถูกเจ้าพนักงาน ตํารวจจับกุมตัวได้ก่อนก็ตาม แต่เมื่อนายเสือได้กระทําโดยมีเจตนาพิเศษคือเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ การกระทําของ นายเสือจึงครบองค์ประกอบของความผิดตามมาตรา 313 วรรคหนึ่ง (3) และเป็นความผิดสําเร็จแล้ว ดังนั้น นายเสือจึงมีความผิดฐานเอาตัวบุคคลไปหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามมาตรา 313 วรรคหนึ่ง (3)

ส่วนการที่นายเสือได้พาเจ้าพนักงานตํารวจไปปล่อยตัวนางทับทิมออกมา โดยนางทับทิมไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใดนั้น ถือเป็นกรณีที่นายเสือได้จัดให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังได้รับเสรีภาพก่อนที่ ศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต จึงเป็นเหตุ ให้ศาลลดโทษ คือ ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้ได้ แต่ต้องลงโทษไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งสําหรับความผิดนั้นตามมาตรา 316

สรุป นายเสือมีความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามมาตรา 313 แต่ศาลลดโทษให้ตามมาตรา 316

 

ข้อ 3. นายดําเข้าไปเปิดไฟฟ้า และแอร์คอดิชั่นในบ้านของนายแดงใช้โดยมิได้รับอนุญาตเป็นเวลาถึง 7 วัน โดยนายแดงต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าถึง 2,000 บาท ดังนี้การกระทําของนายดํา จะมีความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่ จงวินิจฉัย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทํา
ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย
1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

คําว่า “เอาไป” หมายความว่า เอาไปจากการครอบครองของผู้อื่นจะด้วยวิธีการใดก็ได้ แต่ต้องเป็น การทําให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ไปจากที่เดิมในลักษณะที่จะพาเอาไปได้ โดยเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์
มิใช่เป็นการเอาไปชั่วคราว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําเข้าไปเปิดไฟฟ้าและแอร์คอดิชั่นในบ้านของนายแดงใช้โดยมิได้ รับอนุญาตเป็นเวลาถึง 7 วัน โดยนายแดงต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าถึง 2,000 บาทนั้น นายดําย่อม ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเป็นการกระทําที่ขาดองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ของคําว่า “เอาไป” เนื่องจากการกระทําของนายดํานั้น นายดําเพียงแต่เปิดใช้ไฟฟ้าเท่านั้นไม่มีการครอบครอง ทรัพย์คือกระแสไฟฟ้าและไม่มีการทําให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ไปจากที่เดิมแต่อย่างใด

สรุป นายดําไม่มีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์

 

ข้อ 4. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 นายดําทําสัญญากู้ยืมเงินจากนางแดงจํานวน 100,000 บาท กําหนด ชําระคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันทําสัญญา ครั้นถึงกําหนดชําระหนี้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 นายดํา นําสําเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 1234 ของตนเองมาแสดงต่อนางแดงเพื่อขอขยายระยะเวลาชําระหนี้ ออกไปอีก 1 ปี และขอใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นหลักประกันในการชําระหนี้ต่อไป แต่ปรากฏว่าความจริงแล้ว นายดําโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 ให้แก่บุคคลอื่นไปตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 นางแดงไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยินยอมขยายระยะเวลาชําระหนี้ตามสัญญากู้ออกไปอีก 1 ปี ตามที่นายดําร้องขอโดยยึดถือเอาสําเนาโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้เป็นหลักประกัน ให้วินิจฉัยว่านายดํา มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ต้อง
ระวางโทษ..”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบด้วย

1. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการ
(ก) แสดงข้อความเป็นเท็จ หรือ
(ข) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

2. โดยการหลอกลวงนั้น
(ก) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือ
(ข) ทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ

3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดําได้ทําสัญญากู้ยืมเงินจากนางแดงจํานวน 100,000 บาท และเมื่อ ถึงกําหนดชําระหนี้ นายดําได้นําสําเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 1234 ของตนเองมาแสดงต่อนางแดงเพื่อขอขยายระยะเวลา ชําระหนี้ออกไปอีก 1 ปี และขอใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นหลักประกันในการชําระหนี้ต่อไป แต่ปรากฏว่าความจริงแล้ว นายดําไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวเพราะนายดําได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 ให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว โดยนางแดงไม่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยอมขยายระยะเวลาชําระหนี้ตามสัญญากู้ออกไปอีก 1 ปีตามที่นายดําร้องขอโดยยึดถือเอาสําเนาโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันนั้น การกระทําของนายดํา ถือเป็นกระทําโดยทุจริตหลอกลวงนางแดงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแล้ว

แต่อย่างไรก็ดี จากการหลอกลวงของนายดํานั้น ไม่ปรากฏว่านายดําได้รับทรัพย์สินอะไรเพิ่มเติม จากนางแดงแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงทําให้นางแดงขยายระยะเวลาการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่นายดํา เท่านั้น และไม่ได้ทําให้นางแดงผู้ถูกหลอกลวงทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทํา ของนายดําจึงไม่ครบองค์ประกอบของความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 นายดําจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานฉ้อโกง

สรุป นายดําไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใด

LAW3101 (LAW3001) กฎหมายอาญา 3 s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001 กฎหมายอาญา 3
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หนึ่งขับรถมาด้วยความเร็วสูงเห็นคนกําลังข้ามถนนก็มิได้ลดความเร็วลงเพียงแต่ขับเบี่ยงหลบแต่หลบไม่พ้นจึงเฉี่ยวชนสองซึ่งกําลังข้ามถนนล้มลงได้รับอันตรายสาหัส ขณะเกิดเหตุนางสมศรี มารดาของสองยืนรอสองอยู่อีกฝั่งถนน เห็นเหตุการณ์โดยตลอด ตกใจกลัวลูกตายจนตนเองช็อค หมดสติและถึงแก่ความตาย ดังนี้หนึ่งจะต้องรับผิดในความตายของนางสมศรีหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 59 วรรคสี่ “กระทําโดยประมาท ได้แก่ กระทําความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทํา โดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”

มาตรา 60 “ผู้ใดเจตนาที่จะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทําเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดย พลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําโดยเจตนาแก่บุคคลซึ่งได้รับผลร้ายจากการกระทํานั้น แต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทํากับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นํากฎหมายนั้นมาใช้บังคับ เพื่อลงโทษผู้กระทําให้หนักขึ้น”

มาตรา 291 “ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษ…”

มาตรา 300 “ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 300 ประกอบด้วย

1. กระทําด้วยประการใด ๆ
2. โดยประมาท
3. เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่หนึ่งขับรถมาด้วยความเร็วสูงเห็นคนกําลังข้ามถนนก็มิได้ลดความเร็วลงเพียงแต่ขับเบี่ยงหลบแต่หลบไม่ทันจึงเฉี่ยวชนสองซึ่งกําลังข้ามถนนล้มลงได้รับอันตรายสาหัสนั้น การกระทําของสองถือว่าเป็นการกระทําโดยประมาท กล่าวคือเป็นการกระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคล ในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ ให้เพียงพอไม่ตามมาตรา 59 วรรคสี่ เมื่อรถที่หนึ่งขับมาเฉียวชนสองล้มลงได้รับอันตรายสาหัส หนึ่งจึงมีความผิด ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตามมาตรา 300

ส่วนกรณีที่นางสมศรีมารดาของสองซึ่งยืนรอสองอยู่อีกฝั่งถนนเห็นเหตุการณ์โดยตลอดทําให้ตกใจกลัวลูกตายจนตนเองช็อคหมดสติและถึงแก่ความตายนั้น จะถือว่าเป็นการกระทําโดยประมาทของหนึ่งด้วย
ไม่ได้เพราะเป็นผลที่เกิดขึ้นห่างไกลเกินเหตุ ซึ่งตามปกติแล้วการที่เห็นผู้อื่นถูกรถชนนั้นไม่น่าจะทําให้คนตกใจช็อคหมดสติและถึงแก่ความตายได้ ดังนั้นจึงถือว่าความตายของนางสมศรีมารดาของสองไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทําของหนึ่ง หนึ่งจึงไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นนั้น อีกทั้งการกระทําของหนึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทํา โดยพลาดตามมาตรา 60 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกรณีที่หนึ่งเจตนากระทําต่อสองแล้วไปเกิดผลร้ายแก่นางสมศรี มารดาของสองแต่อย่างใด ดังนั้น หนึ่งจึงไม่มีความผิดฐานกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามมาตรา 291

สรุป หนึ่งไม่ต้องรับผิดในความตายของนางสมศรี

 

ข้อ 2. นายอาทิตย์ อายุ 21 ปี ได้คบหาเป็นคู่รักอยู่กับนางสาวพลอย อายุ 17 ปีเศษ แต่บิดามารดาของนางสาวพลอยคอยกีดกันเพราะเห็นว่านางสาวพลอยยังมีอายุน้อยและกําลังเรียนหนังสือ วันหนึ่ง นายอาทิตย์มีตารางสอบที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งนายอาทิตย์จึงชวนนางสาวพลอยไปเป็นเพื่อนโดยไม่ได้ขออนุญาตบิดามารดาของนางสาวพลอย ขณะที่ทําการสอบนางสาวพลอยก็นั่งรออยู่ชั้นล่างของตึก หลังจากสอบเสร็จแล้วนายอาทิตย์ก็พานางสาวพลอยไปเดินเที่ยวต่อที่ห้างสรรพสินค้าแล้วจึงพานางสาวพลอยมาส่งที่ปากทางเข้าบ้าน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวให้วินิจฉัยว่า การกระทํา ของนายอาทิตย์เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 319 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากําไร หรือเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

1. พรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปีแต่ยังไม่เกิน 18 ปี
2. ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล
3. โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย
4. โดยเจตนา
5. เพื่อหากําไร หรือเพื่อการอนาจาร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ได้ชวนนางสาวพลอยอายุ 17 ปีเศษไปเป็นเพื่อนโดยนางสาวพลอย เต็มใจไปด้วยแต่ไม่ได้ขออนุญาตบิดามารดาของนางสาวพลอยนั้น ถือว่าเป็นการพรากผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 15 ปีแต่ยัง ไม่เกิน 18 ปีไปเสียจากบิดามารดาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากสอบเสร็จ นายอาทิตย์ ได้พานางสาวพลอยไปเดินเที่ยวต่อที่ห้างสรรพสินค้าแล้วจึงพานางสาวพลอยมาส่งที่ปากทางเข้าบ้าน ซึ่งการกระทําของนายอาทิตย์ดังกล่าวนั้น นายอาทิตย์ไม่มีเจตนาพรากนางสาวพลอยไปเพื่อหากําไรหรือเพื่ออนาจารแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทําของนายอาทิตย์จึงไม่เป็นความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 วรรคหนึ่ง

สรุป การกระทําของนายอาทิตย์ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์

 

ข้อ 3. แดงเบิกเงินจากธนาคาร 100,000 บาท แต่แดงลืมนําเงินกลับบ้านแดงถือแต่ร่มกลับไปโดยลืม เงินของตนไว้บนเก้าอี้ในธนาคารนั้นเอง ขณะนั้นดํานั่งอยู่ข้าง ๆ ดํารีบหยิบเงินของแดงที่บรรจุ อยู่ในซองออกไปจากธนาคารทันที หลังจากนั้นอีกประมาณ 15 นาทีแดงกลับมาไม่พบเงินที่ตน ลืมวางไว้ แดงถามเขียวซึ่งยังไม่ออกไปจากธนาคาร เขียวบอกแดงว่าเห็นดําถือของวางอยู่ที่เก้าอี้ ที่ติดกันกับตนนั่งอยู่ออกไปจากธนาคารแล้ว ให้วินิจฉัยว่า ดํามีความผิดอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทํา ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 352 “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบัง เอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ…

ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทําความผิดเพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสําคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทําความผิดเก็บได้ ผู้กระทําต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย

1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง
ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้นไม่ได้ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ โดยอาจจะเป็นการครอบครองเพราะเจ้าของส่งมอบการครอบครองให้โดยชอบ หรือเพราะเจ้าของส่งมอบให้โดยสําคัญผิด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้เอาไปนั้นเก็บได้ ย่อมไม่เป็นความผิดฐาน ลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สินหายแล้วแต่กรณีตามมาตรา 352

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่แดงเบิกเงินจากธนาคาร 100,000 บาท แต่แดงลืมนําเงินกลับบ้านโดยลืม เงินของตนไว้บนเก้าอี้ในธนาคารนั้นเอง หลังจากนั้นอีกประมาณ 15 นาทีแดงกลับมาแต่ไม่พบเงินที่ตนลืมวางไว้นั้น ถือว่าแดงยังมีการครอบครองเงินนั้นอยู่ยังไม่ได้สละการครอบครอง เงินดังกล่าวจึงไม่เป็นทรัพย์สินหาย ดังนั้น การที่ได้หยิบเงินของแดงที่บรรจุอยู่ในซองออกไปจากธนาคารทันทีนั้น การกระทําของดําย่อมเป็นการกระทํา โดยรู้อยู่แล้วหรือควรรู้ว่าทรัพย์นั้นเจ้าของกําลังติดตามเอาทรัพย์นั้นคืนอยู่ การกระทําของดําจึงเป็นการเอาทรัพย์ ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ดําจึงมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 มิใช่ความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหายตามมาตรา 352 วรรคสอง

สรุป ดํามีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

 

ข้อ 4. นายดี นายเด่น และนายดังตกลงเข้ากันทําธุรกิจโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยวมาพักอาศัย โดยนายดี เป็นผู้ลงทุนที่ดิน ส่วนนายเด่นและนายดังลงทุนเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างคนละ 1 ล้านบาท และตกลงว่าจะแบ่งรายได้กันคนละครึ่ง นอกจากนี้บุคคลทั้งสามยังพักอาศัยอยู่ในโฮมสเตย์คนละ 1 หลังอีกด้วย ต่อมานายดีมีปัญหาเรื่องส่วนแบ่งรายได้กับนายเด่นและนายดัง บุคคลทั้งสอง จึงร่วมกันใช้อาวุธปืนบังคับข่มขืนใจให้นายดีออกจากโฮมสเตย์ไปแล้วนายเด่นกับนายดังร่วมกันเข้าครอบครองทําประโยชน์ในโฮมสเตย์ดังกล่าวแต่เพียงสองคน ให้วินิจฉัยว่า นายเด่นและนายดัง มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใด หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทํา ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ…”

มาตรา 352 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ…”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย

1. เอาไป
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. โดยเจตนา
4. โดยทุจริต

องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
1. ครอบครอง
2. ทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
3. เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม
4. โดยเจตนา
5. โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง
ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้นครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ (ตามมาตรา352 วรรคหนึ่ง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดี นายเด่น และนายดังตกลงเข้ากันทําธุรกิจโฮมสเตย์ให้นักท่องเที่ยว มาพักอาศัย โดยนายที่เป็นผู้ลงทุนที่ดิน ส่วนนายเด่นและนายดังลงทุนเป็นเงินคนละ 1 ล้านบาท และตกลงว่า จะแบ่งรายได้กันคนละครึ่ง โดยบุคคลทั้งสามยังพักอาศัยอยู่ในโฮมสเตย์คนละ 1 หลังอีกด้วยนั้น ถือว่าบุคคล ทั้งสามต่างครอบครองทรัพย์ซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย พฤติการณ์ที่นายเด่นและนายดังร่วมกันใช้อาวุธปืนบังคับข่มขืนใจให้นายดีออกจากโฮมสเตย์ไปแล้วเข้าครอบครองทําประโยชน์ในโฮมสเตย์ดังกล่าวแต่เพียงสองคนย่อมเป็นเหตุให้นายดีไม่สามารถครอบครองใช้ประโยชน์ในโฮมสเตย์ดังกล่าว และไม่อาจรับผลประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินจากโฮมสเตย์นั้นได้อีก ถือว่าการกระทําของบุคคลทั้งสองเป็นการร่วมกันเบียดบังเอาทรัพย์ที่ นายที่เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเป็นของตนเองโดยทุจริต ดังนั้น การกระทําของนายเด่นและนายดังจึงเป็นความผิด ทางอาญาฐานร่วมกันยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง

สรุป นายเด่นและนายดังมีความผิดฐานร่วมกันยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคหนึ่ง

LAW3102 (LAW3002) กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วน 1/2565

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2565
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3102 (LAW 3002) ป.พ.พ.ว่าด้วยหุ้นส่วน บริษัท ฯลฯ
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. จงตอบคําถามต่อไปนี้

1.1 เอก โท และตรี ตกลงเข้าหุ้นกันโดยออกเงินคนละ 10 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งใน ราคา 30 ล้านบาท โดยมีเจตนาจะนําที่ดินนั้นมาทําการจัดสรรขาย โดยแบ่งเป็นแปลง ๆ ละ 150 ตารางวา เมื่อซื้อมาแล้วก็เกิดการระบาดของโรคโควิด ทําให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ดี ทั้งสามคนจึงเลิกล้มโครงการจัดสรรที่ดิน และตกลงขายที่ดินดังกล่าวไปในราคา 60 ล้านบาท โดยเอกรับเงินจากผู้ซื้อที่ดินไปทั้งหมดและไม่ยอมแบ่งให้โทและตรี ดังนี้ ถ้าโทและตรีจะ เรียกร้องให้เอกแบ่งเงินให้จะต้องฟ้องในฐานะเป็นหุ้นส่วนกัน หรือฟ้องในฐานะกรรมสิทธิ์รวม

1.2 การเข้าหุ้นโดยนําที่ดินและอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินมาให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ห้างหุ้นส่วน
จําเป็นต้องทําหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ หรือจะต้องทําอย่างไร เพื่อให้ที่ดินและอาคารนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ห้างหุ้นส่วน

ธงคําตอบ

1.1 หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1012 “อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อกระทํากิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกําไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทํานั้น”

มาตรา 1356 “ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง “การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทําโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน”

วินิจฉัย

กรณีที่จะถือว่าเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 1012 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สําคัญ ดังนี้คือ

1. จะต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
2. จะต้องมีการตกลงเข้าทุนกัน
3. จะต้องมีการกระทํากิจการร่วมกัน
4. จะต้องมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันกําไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทํานั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอก โท และตรี ตกลงเข้าหุ้นกันโดยออกเงินคนละ 10 ล้านบาท เพื่อซื้อ ที่ดินแปลงหนึ่งในราคา 30 ล้านบาท โดยมีเจตนาจะนําที่ดินนั้นมาทําการจัดสรรขาย โดยแบ่งเป็นแปลง ๆ ละ 150 ตารางวานั้น แม้ในตอนแรกเอก โท และตรี จะมีเจตนาเข้าหุ้นกันเพื่อกระทํากิจการร่วมกันก็ตาม แต่เมื่อ

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อทั้งสามได้ซื้อที่ดินมาแล้วก็เกิดการกระบาดของโรคโควิด ทําให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ดี ทั้งสามคนจึงเลิกล้มโครงการจัดสรรที่ดิน และตกลงขายที่ดินดังกล่าวไปในราคา 60 ล้านบาทนั้น จึงขาดหลักเกณฑ์ ของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนประการที่ 3 เพราะมิได้มีการกระทํากิจการร่วมกัน เงิน 60 ล้านบาท ที่ได้มาจาก การขายที่ดินแปลงดังกล่าว จึงไม่ใช่กําไรที่เกิดจากการทํากิจการของห้างหุ้นส่วนแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการออกเงิน ของเอก โท และตรี เพื่อซื้อที่ดิน ไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 1012 การที่เอกรับเงินจากผู้ซื้อที่ดิน ไปทั้งหมดและไม่ยอมแบ่งให้โทและตรี โทและตรีจะเรียกร้องให้เอกแบ่งเงินให้โดยจะฟ้องในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนจึงไม่อาจทําได้

แต่อย่างไรก็ตาม การที่เอก โท และตรีได้ร่วมกันออกเงินเพื่อซื้อที่ดินดังกล่าวนั้น ย่อมถือว่าเอก โท และตรี เป็นเจ้าของรวมในที่ดินแปลงนั้นร่วมกันตามมาตรา 1356 เมื่อมีการขายที่ดินไปแล้วและเอกรับเงินจากผู้ซื้อที่ดินไปทั้งหมดโดยไม่ยอมแบ่งให้โทและตรี ดังนี้ ถ้าโทและตรีจะเรียกร้องให้เอกแบ่งเงินให้ โทและตรี จึงสามารถฟ้องเอกได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364 วรรคหนึ่ง

สรุป โทและตรีสามารถฟ้องให้เอกแบ่งเงินให้แก่ตนได้ แต่ต้องฟ้องในฐานะกรรมสิทธิ์รวม จะฟ้อง ในฐานะการเป็นหุ้นส่วนกันไม่ได้ เพราะเอก โท และตรีไม่ได้อยู่ในฐานะของการเป็นหุ้นส่วนกัน

1.2 หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1030 “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งเป็นการลงหุ้นด้วยไซร้
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบและซ่อมแซมก็ดี ความรับผิดเพื่อชํารุดบกพร่องก็ดี ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิก็ดี ข้อยกเว้นความรับผิดก็ดี ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ ว่าด้วยซื้อขาย”

อธิบาย

ตามบทบัญญัติมาตรา 1030 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้เอาทรัพย์สินมาลงหุ้นโดยให้ทรัพย์สินนั้น ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ห้างหุ้นส่วน ซึ่งกฎหมายให้นําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับในเรื่องการส่งมอบและ ซ่อมแซม ความรับผิดเพื่อชํารุดบกพร่อง ความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ และข้อยกเว้นความรับผิดเท่านั้น แต่ไม่ได้ กําหนดให้นําบทบัญญัติในเรื่องแบบของสัญญาซื้อขายตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับแต่อย่างใด

ดังนั้น การเข้าหุ้นเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการนําที่ดินและอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งเป็น อสังหาริมทรัพย์มาให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ห้างหุ้นส่วน จึงไม่ต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาตรา 456 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ กล่าวคือ ไม่ต้องมีการทําหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด แต่จะต้องนํา มาตรา 462 เรื่องการส่งมอบมาใช้บังคับ กล่าวคือ จะต้องมีการส่งมอบที่ดินและอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ให้ห้างฯ เข้าครอบครอง ซึ่งเมื่อได้ปฏิบัติดังกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าที่ดินและอาคารดังกล่าวก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของห้างหุ้นส่วนทันที

 

ข้อ 2. ผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจํากัด จะต้องรับผิดโดยไม่จํากัดจํานวน ในหนี้สินของห้างฯ ในกรณีใดบ้าง

ธงคําตอบ

โดยหลักแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจํากัด ย่อมต้องรับผิดเพื่อหนี้ ของห้างหุ้นส่วนจํากัดโดยจํากัดเพียงเฉพาะจํานวนเงินที่ตนรับว่าจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น (มาตรา 1077)
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดอาจจะต้องรับผิดโดยไม่จํากัดจํานวนในหนี้สินของห้างฯ ก็ได้ หากเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้คือ

1. กรณีที่ห้างหุ้นส่วนจํากัดยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และได้ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นก่อนที่ ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นจะได้จดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดหรือ ไม่จํากัดความรับผิดก็ต้องรับผิดในหนี้นั้นโดยไม่จํากัดจํานวน ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1079 “อันห้าง หุ้นส่วนจํากัดนั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ท่านให้ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดย่อมต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จํากัดจํานวนจนกว่าจะได้จดทะเบียน”

2. กรณีที่หุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดยินยอมให้ใช้ชื่อของตนเรียกขานระคนเป็นชื่อ ห้างหุ้นส่วนจํากัด

มาตรา 1082 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดคนใดยินยอมโดย แสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างไซร้ ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดต่อ บุคคลภายนอกเสมือนดังว่าเป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิดฉะนั้น”

3. กรณีที่หุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดแสดงให้บุคคลภายนอกทราบว่าตนได้ลงหุ้นไว้ มากกว่าจํานวนซึ่งได้จดทะเบียน (ซึ่งจะต้องรับผิดเท่ากับจํานวนซึ่งตนได้แสดงไว้)

มาตรา 1085 “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดได้แสดงด้วยจดหมายหรือใบแจ้งความหรือด้วยวิธีอย่างอื่นให้บุคคลภายนอกทราบว่าตนได้ลงหุ้นไว้มากกว่าจํานวนซึ่งได้จดทะเบียนเพียงใด ท่านว่าผู้นั้น
จะต้องรับผิดเท่าถึงจํานวนเพียงนั้น”

4. กรณีที่หุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจํากัด มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้อง จัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จํากัดจํานวน”

 

ข้อ 3. คณะกรรมการบริษัท สามสหาย จํากัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 13 คน อันประกอบด้วย แดง ดํา และ ขาว ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มีจํานวนหุ้นรวมกันเกิน 50% ของจํานวนหุ้นทั้งหมด และมีผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ อีก 10 คน โดยมีแดงเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท แต่แดงไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่อง ปล่อยปละละเลย ไม่ติดต่อทวงถามหนี้จากลูกหนี้รายหนึ่งของบริษัท เนื่องจากลูกหนี้รายนี้เป็นญาติ ของแดง จนหนี้ดังกล่าวขาดอายุความฟ้องร้อง ดําและขาวเห็นว่าการกระทําของแดงทําให้บริษัท ได้รับความเสียหาย และเป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลลดลง ดําและขาวจึงยื่นฟ้องแดงเพื่อเรียกเอาค่าเสียหายจากแดงเป็นการส่วนตัว โดยไม่ได้ฟ้องเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ดังนี้ ถามว่า ดําและขาวจะฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1168 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม “ในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทนั้น กรรมการ ต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง

อนึ่งท่านห้ามมิให้ผู้เป็นกรรมการประกอบการค้าขายใด ๆ อันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็น การแข่งขันกับการค้าขายของบริษัทนั้น ไม่ว่าทําเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าหุ้นส่วน ไม่จํากัดความรับผิดในห้างค้าขายอื่นซึ่งประกอบกิจการมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของ บริษัท โดยมิได้รับความยินยอมของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น”

มาตรา 1169 “ถ้ากรรมการทําให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้

อนึ่ง การเรียกร้องเช่นนี้ เจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับก็ได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 1168 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั้น กฎหมายได้กําหนดให้เป็นหน้าที่และ ความรับผิดเฉพาะตัวของผู้เป็นกรรมการบริษัท ซึ่งหากกรรมการบริษัทผู้ใดฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว บริษัท ย่อมสามารถฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนจากกรรมการคนนั้นได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้น
คนใดคนหนึ่งจะฟ้องร้องกรรมการคนนั้นก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท สามสหาย จํากัด มีผู้ถือหุ้น 13 คน มีคณะกรรมการประกอบด้วย แดง ดํา และขาวซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มีจํานวนหุ้นรวมกันเกิน 50% ของจํานวนหุ้นทั้งหมด และมีผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ อีก 10 คน โดยมีแดงเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท แต่แดงไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่อง ปล่อยปละละเลย ไม่ติดต่อทวงถามหนี้จากลูกหนี้รายหนึ่งของบริษัทเนื่องจากลูกหนี้รายนี้เป็นญาติของแดง จนหนี้ดังกล่าวขาดอายุ ความฟ้องร้องนั้น ย่อมถือว่าแดงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1168 วรรคหนึ่งแล้ว กล่าวคือ แดงไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อ สอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง จนทําให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บริษัทย่อม สามารถฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากแดงได้ตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ปรากฏว่าบริษัทฯ มีกรรมการอีก 2 คน คือ ดําและขาว ดังนั้น ดําและขาวย่อมมีสิทธิฟ้องร้องแดงแทนบริษัทได้

แต่อย่างไรก็ตาม การที่ดําและขาวจะฟ้องร้องแดงเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 1169 นั้น นอกจากจะฟ้องร้องแทนบริษัทแล้ว จะต้องเป็นการฟ้องร้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทด้วย จะฟ้องร้องเพื่อเรียก เอาค่าเสียหายเป็นการส่วนตัวไม่ได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าดําและขาวจะยื่นฟ้องแดงเพื่อเรียกเอา ค่าเสียหายจากแดงเป็นการส่วนตัว โดยไม่ได้ฟ้องเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ดําและขาวจึงไม่อาจฟ้องได้

สรุป ดําและขาวจะฟ้องแดงเพื่อเรียกเอาค่าเสียหายจากแดงเป็นการส่วนตัว โดยไม่ได้ฟ้อง เรียกร้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทไม่ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!