LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก s/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤาษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแต่งขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 2. ในพระอัยการลักษณะตัวเมีย ในกฎหมายตราสามดวง มีบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขการ
สมรสในกรณีใดบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

ตามพระอัยการลักษณะตัวเมียในกฎหมายตราสามดวงนั้น ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ดังนั้นสังคมไทยจึงเป็นสังคมแบบ Polygamy แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายก็ไม่อนุญาตให้หญิง มีสามีได้หลายคนในเวลาเดียวกัน หากหญิงมีสามีอยู่ก่อนแล้วจะสมรสกับชายอื่นอีกไม่ได้ จนกว่าสามีจะตายและ
เผาศพสามีเรียบร้อยแล้ว หรือหย่าขาดจากสามีแล้ว

เมื่อชายสามารถมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ในพระอัยการลักษณะตัวเมียจึงมีบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขการสมรสไว้ดังนี้

เงื่อนไขการสมรส

เงื่อนไขการสมรส หมายความถึง คุณสมบัติที่ผู้จะสมรสต้องมีหรือต้องไม่มี เพื่อให้การสมรสมีผล สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ในพระอัยการลักษณะตัวเมียจะไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรส ทํานองเดียวกันกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาแล้ว บทบัญญัติดังต่อไปนี้น่าจะถือว่า เป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามพระอัยการลักษณะตัวเมียได้

1. หญิงต้องไม่ใช่ภรรยาของชายอื่นอยู่ก่อนแล้ว จริงอยู่กฎหมายยินยอมให้ผู้ชายมีภรรยาได้ หลายคนในเวลาเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้อนุญาตให้ผู้หญิงมีสามีได้หลายคนในเวลาเดียวกัน หากหญิงมีสามีอยู่ก่อนแล้ว และไปได้เสียกับชายอื่น กฎหมายถือว่าชายนั้นเป็นเพียงชายชู้เท่านั้น จะต้องเอาหญิงนั้นส่งคืนสามีของเขา

2. ชายต้องไม่เป็นพระภิกษุ กฎหมายห้ามไว้โดยชัดแจ้งไม่ให้พระภิกษุสามเณรมีภรรยา ถ้าพระภิกษุสามเณรผิดเมียผู้อื่นถึงชําเรา ได้ชื่อว่าปาราชิกให้สึกออก และให้ปรับไหมด้วย

3. ชายหญิงต้องไม่เป็นญาติกัน ทั้งนี้เชื่อกันว่าหากชายหญิงที่เป็นญาติกันสมรสกัน จะทําให้ เกิดสิ่งอัปมงคลแก่บ้านเมือง

4. หญิงหม้ายที่สามีตายจะสมรสใหม่ได้จะต้องเผาศพสามีเดิมให้เรียบร้อยเสียก่อน ทั้งนี้ กฎหมายบัญญัติไว้ในลักษณะที่ทําให้เห็นว่า หากหญิงยังไม่เผาศพสามีที่ตายไปแล้ว การสมรสยังไม่ขาดจากกัน หากหญิงชักนําเอาชายอื่นมาหลับนอนด้วย ชายนั้นมีฐานะเป็นชายชู้ กฎหมายให้ปรับไหมชายนั้นฐานทําด้วย
ภรรยาของผู้อื่น

5. กําหนดอายุ พระอัยการลักษณะตัวเมียไม่ได้กําหนดอายุขั้นต่ําของชายหญิงที่จะทําการสมรสได้ไว้ แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่าฝ่ายชายต้องได้บวชเรียนเรียบร้อยแล้ว และฝ่ายหญิงก็คงจะต้องเติบโตพอจนออก เรือนได้แล้ว จึงจะทําการสมรสกัน

การสมรส

การสมรสตามพระอัยการลักษณะผัวเมียนั้น จะไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันดังเช่นในปัจจุบัน แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าชายหญิงได้เสียกันแล้วจะเป็นสามีภริยากันเสมอไปก็หาไม่ การที่ชายหญิงจะมีสามีภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1. ชายหญิงทั้งสองฝ่ายได้กินอยู่หลับนอนด้วยกันโดยมีเจตนาเป็นสามีภรรยากัน

2. บิดามารดาหรือผู้เป็นอิสระแก่หญิง (ผู้มีอํานาจปกครอง) ยินยอมยกหญิงให้เป็นภรรยาชาย
โดยหญิงนั้นยินยอมด้วย

 

ข้อ 3. จงอธิบายระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ปัจจุบันมีบางประเทศที่นําเอาคําสอนของพระผู้เป็นเจ้า มาบัญญัติเป็นกฎหมาย จึงกล่าวกันว่าศาสนาเป็นที่มาของบ่อเกิดของกฎหมาย มี 3 กลุ่ม คือ

(1) ศาสนาอิสลาม ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ซาอุดิอาระเบีย คําสอนของพระเจ้า คือ อัลลอฮ์ ปรากฏอยู่ในกฎหมาย เช่น กฎหมายครอบครัวและมรดก เป็นต้น

(2) ศาสนาคริสต์ แนวความคิดของศาสนาคริสต์ ใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของประเทศ ที่นับถือคริสต์ศาสนา เช่น ข้อกําหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกําเนิด การห้ามทําแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน (Bigamy) เป็นต้น

(3) ศาสนาฮินดู ต้นกําเนิดประเทศแรกอยู่ในประเทศอินเดีย ตัวอย่างปรากฏอยู่ในตํารากฎหมาย
คือ พระธรรมศาสตร์ หรือของไทยเรียกคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์

ส่วนประเพณีนิยม เกิดจากคําสอนของนักปราชญ์ มิใช่พระผู้เป็นเจ้า เช่น ชาวจีนในสมัยขงจื้อ ที่นําเอาความเชื่อของนักปราชญ์ท่านนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในชีวิตประจําวัน หรือลัทธิชินโตของประเทศญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อการจัดทํากฎหมายของญี่ปุ่นเช่นกัน

 

ข้อ 4. ข้อแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายสังคมนิยม กับระบบกฎหมายชีวิลลอว์ มีกี่ประการ อะไรบ้าง จงอธิบายโดยยกมาให้ดูเป็นข้อ ๆ

ธงคําตอบ

ข้อแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายสังคมนิยม กับระบบกฎหมายชีวิลลอว์ มี 4 ประการ คือ

(1) ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ พัฒนามาเป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษ การออกกฎหมายต้อง อาศัยหลักการ เหตุผลและเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นพื้นฐานรองรับ แต่ในระบบกฎหมายสังคมนิยมอาศัยการเมือง เป็นจักรกลสําคัญในการออกกฎหมาย ดังนั้นจึงมีผลให้หลักการสําคัญของกฎหมายหลายเรื่องแตกต่างกัน เช่น กฎหมายอาญาของประเทศสังคมนิยม ไม่ต้องตีความโดยเคร่งครัด โดยอาจจะลงโทษผู้กระทําความผิดโดยอาศัย การเทียบเคียงความผิด (Crime by Aralogy) และออกกฎหมายย้อนหลังลงโทษผู้กระทําความผิดได้

(2) ระบบกฎหมายชีวิลลอว์ มักถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การออกกฎหมายใด ๆ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่ในระบบกฎหมายสังคมนิยมจะคํานึงถึงเป้าหมาย นั่นคือ การสร้างความ เท่าเทียมกันในสังคมมากกว่าวิธีการ ดังนั้นแม้จะต้องออกกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ได้ผ่านขั้นตอน ของรัฐสภาก็อาจจะใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

(3) ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ในระบบ กฎหมายสังคมนิยมถือว่ารัฐมีอํานาจในการจํากัดการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์

(4) ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ให้ความสําคัญแก่กฎหมายเอกชนมากกว่ากฎหมายมหาชน แต่ ในระบบกฎหมายสังคมนิยมจะให้ความสําคัญแก่กฎหมายมหาชนมากกว่ากฎหมายเอกชน เนื่องจากความจําเป็น ทางด้านการเมือง และถือว่านิติสัมพันธ์ของประชาชนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมหาชน เช่น การได้มาหรือ สิ้นไปของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตลอดจนความสัมพันธ์ในครอบครัว

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤาษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแดง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

ข้อ 3. ระบบกฎหมายหลักมีระบบ อะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละระบบโดยย่อ

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายหลักของโลก มี 4 ระบบ คือ

(1) ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค โรมาโนเป็นภาษาของชนเผ่าอีทรัสคัน หมายความว่า กรุงโรม เมืองหลวงของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นต้นกําเนิดของประมวลกฎหมายแพ่ง

เยอรมันนิค หมายความว่า ชื่อชนเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันคือชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่นําเอา ประมวลกฎหมายแพ่งไปใช้กับชนเผ่าของตน

เนื่องจากกฎหมายโรมันเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Written Law การที่กฎหมายโรมันจัดทําเป็นประมวลกฎหมาย จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Code Law ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายนี้คือ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน สวิส ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ

(2) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศาลนําเอา จารีตประเพณีมาใช้ในการตัดสินคดี ต้นกําเนิดหรือแม่แบบเกิดขึ้นในประเทศแรกคือ อังกฤษ ระยะแรกมีชนเผ่า ต่าง ๆ ที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ ศาลท้องถิ่นได้นําเอาจารีตประเพณีของชนเผ่ามาตัดสิน ทําให้ผล ของคําพิพากษาแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน จนกระทั่งชนเผ่าสุดท้ายคือพวกนอร์แมนพิชิตเกาะอังกฤษ ในสมัย พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 จึงส่งศาลเคลื่อนที่ออกไปวางหลักเกณฑ์ ทําให้จารีตประเพณีเหมือนกันทุกท้องถิ่น มีลักษณะ เป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป จึงเรียกว่า คอมมอนลอว์ ตัวอย่างเช่น แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ เป็นต้น

(3) ระบบกฎหมายสังคมนิยม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบบกฎหมายคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นใน ประเทศแรกคือ รัสเซีย หลังจากมีการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ. 1917 โดยนําเอาแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน ซึ่งถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อให้การปกครองของประเทศยึดหลักผลประโยชน์ ของส่วนรวมหรือของชุมชนหรือสังคม ประเทศใดที่มีการปกครองในระบอบสังคมนิยมตามแนวคิดของนักปราชญ์ ทั้งสอง ประเทศนั้นจัดอยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม เช่น เวียดนาม ลาว เกาหลีเหนือ จีนแผ่นดินใหญ่ เป็นต้น

(4) ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ในปัจจุบันมีบางประเทศที่ได้นําเอาคําสอนของ พระผู้เป็นเจ้ามาบัญญัติเป็นกฎหมาย จึงกล่าวกันว่าศาสนาเป็นที่มาของบ่อเกิดของกฎหมาย มี 3 กลุ่ม คือ

(ก) ศาสนาอิสลาม ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย คําสอนของพระเจ้า
คือ อัลลอฮ์ ปรากฏอยู่ในกฎหมาย เช่น กฎหมายครอบครัวและมรดก เป็นต้น

(ข) ศาสนาคริสต์ แนวความคิดของศาสนาคริสต์ ใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของ ประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนา เช่น ข้อกําหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกําเนิด การห้ามทําแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน Bigamy) เป็นต้น

(ค) ศาสนาฮินดู ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศอินเดีย ตัวอย่างปรากฏอยู่ในตํารา กฎหมาย คือ พระธรรมศาสตร์ หรือของไทยเรียกคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์

ส่วนประเพณีนิยม เกิดจากคําสอนของนักปราชญ์ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า เช่น ชาวจีนในสมัย ขงจื้อที่นําเอาความเชื่อของนักปราชญ์ท่านนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในชีวิตประจําวัน หรือลัทธิชินโตของประเทศญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อการจัดทํากฎหมายของญี่ปุ่นเช่นกัน

หมายเหตุ คําตอบของนักศึกษาถ้าอยู่ในหน้า 91 ถึง 101 ก็ให้คะแนน

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ และชีวิลลอว์ แตกต่างในเรื่องผลของคําพิพากษาอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น เป็นการพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดี และผู้พิพากษาได้กําหนดหลักเกณฑ์อันเป็นบรรทัดฐานหรือแบบอย่าง (Precedent) ขึ้นจากข้อเท็จจริงในคดีนั้น เป็นการพิจารณาคดีจากข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องมาสู่หลักเกณฑ์ทั่วไป

เมื่อศาลได้พิพากษาและกําหนดแบบอย่างอันเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายแล้ว
ศาลต่อ ๆ มาต้องผูกพันที่จะพิพากษาไปในแนวทางเดียวกัน

แต่ในระบบกฎหมายซีวิวลอว์นั้น คํานึงถึงตัวบทกฎหมายเป็นสําคัญ การพิจารณาคดีของศาลเป็น การนําเอาตัวบทกฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปมาปรับกับคดีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลได้มีคําพิพากษา
ไปแล้ว คําพิพากษาของศาลไม่ถือว่าเป็นบรรทัดฐานหรือแบบอย่างที่ศาลต่อมาจําเป็นต้องพิพากษาไปในแนว เดียวกัน ศาลต่อ ๆ มา ไม่จําต้องผูกพันที่จะพิพากษาตามคําพิพากษาของศาลก่อน ๆ แม้ศาลล่าง เช่น ศาลชั้นต้น ก็ไม่จําต้องยึดแนวคําพิพากษาของศาลสูง เช่น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลของตน แต่อย่างไรก็ตาม คําพิพากษาของศาลสูงแม้จะไม่ใช่กฎหมาย แต่ก็ได้รับความเคารพเชื่อถือในแง่ที่ว่า ศาลสูงได้ ใคร่ครวญและกลั่นกรองคําพิพากษาของศาลชั้นต้นมาแล้ว อีกทั้งถ้าศาลล่างมีคําพิพากษาแตกต่างไปจากศาลสูง คําพิพากษานั้นอาจจะถูกกลับได้ แนวคําวินิจฉัยของศาลสูงจึงมีบทบาทสําคัญในการพัฒนากฎหมาย นักศึกษากฎหมายจําเป็นต้องเอาใจใส่ศึกษาไม่น้อยกว่าตัวบทกฎหมาย

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 1/2558

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าขายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อําานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย
ที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทระดาบสจึงได้ละเพศฤาษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายต่างประเทศมีประโยชน์อย่างไร จงยกมาให้ดูเป็นข้อ ๆ

ธงคําตอบ

ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายต่างประเทศ มีดังนี้

(1) ทําให้สามารถล่วงรู้ถึงกฎหมายและหลักการในกฎหมายเก่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษา หรือการจัดทําและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายใหม่

(2) ทําให้มีความเข้าใจกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ดีขึ้นว่ากฎหมายดังกล่าวนี้มีที่มาอย่างไร มีความหมายและขอบเขตเพียงใด โดยเปรียบเทียบกับบทบัญญัติในกฎหมายเก่า

(3) ทําให้เข้าใจความเป็นมาและระบบกฎหมายของประเทศต่างๆ และอาจนํามาเปรียบเทียบ กับความเป็นมาและระบบกฎหมายของประเทศตน

(4) ทําให้มีความรู้และความเข้าใจในวัฒนธรรมทางกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ในอดีต และในระยะต่อมา

 

ข้อ 4. ระบบกฎหมายสังคมนิยม และระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายสังคมนิยมและระบบกฎหมายซีวิลลอว์ มีความแตกต่างกัน 4 ประการ คือ

(1) กฎหมายอาญา

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม การตีความกฎหมายอาญาไม่เคร่งครัด อาจจะ
ลงโทษผู้กระทําความผิดโดยอาศัยเทียบเคียงความผิด (Crime by Analogy) แต่ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมาย ซีวิลลอว์ การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด

(2) กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยมคํานึงถึงเป้าหมาย คือ การสร้างความเท่าเทียมกัน
ในสังคมมากกว่าวิธีการ ดังนั้นแม้จะต้องออกกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ได้ผ่านขั้นตอนของรัฐสภาก็อาจ ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การออกกฎหมายใด ๆ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(3) กรรมสิทธิ์

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยมถือว่ารัฐมีอํานาจในการจํากัดการมีกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินของเอกชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ แต่ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ จะให้
เสรีภาพแต่เอกชนในการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

(4) ความสําคัญของกฎหมาย

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม จะให้ความสําคัญกับกฎหมายมหาชนมากกว่า กฎหมายเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องการได้มาและสิ้นไปของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ในระบบกฎหมายชีวิลลอว์ จะอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเอกชน

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ.1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. ในพระอัยการลักษณะโจร และพระอัยการลักษณะวิวาทด่าตีกัน มีการบัญญัติกฎหมายที่มีการ ยกเว้นโทษแก่ผู้กระทําความผิดอาญากรณีใดบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

พระอัยการลักษณะวิวาทด่าตีกัน มีการยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระทําความผิดในกรณี ดังนี้
1. ลักทรัพย์ระหว่างเครือญาติ
2. ทําร้ายร่างกายไม่ถึงอันตรายสาหัสระหว่างเครือญาติ
3. เด็กอายุไม่เกิน 7 ขวบ และคนแก่เกินกว่า 70 ปีขึ้นไป ที่กระทําความผิด ไม่ต้องรับโทษ
4. ยกเว้นโทษให้แก่คนวิกลจริต
5. หมิ่นประมาท ว่า พ่อ แม่ ลูก ทําชู้กัน และเป็นจริงตามที่หมิ่นประมาท

 

ข้อ 3. กฎหมายของต่างประเทศมีอิทธิพลต่อกฎหมายไทยในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 บรรพ จํานวน 1,755 มาตรา เมื่อ พิจารณาถึงมาตราต่าง ๆ ในแต่ละบรรพ (Books) จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการร่างกฎหมายได้อาศัยกฎหมายของ ประเทศทางตะวันตกเป็นส่วนมากในการจัดทําประมวลกฎหมายฉบับนี้ ดังจะเห็นได้จากบรรพ 1 หลักทั่วไป และบรรพ 2 ได้ลอกเลียนแบบมาจากกฎหมายแพ่งของเยอรมันและกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานมาจาก กฎหมายโรมัน โดยเฉพาะในบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ในเรื่องวางทรัพย์ บางมาตราเมื่อเทียบตัวบทแล้วแทบจะเรียกได้ว่า เหมือนกันแทบทุกคําก็ว่าได้

ส่วนในบรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ได้นํากฎหมายหลายประเทศมาพิจารณา เช่น กฎหมายแพ่ง ของฝรั่งเศส กฎหมายแพ่งของสวิส นอกเหนือจากกฎหมายแพ่งของเยอรมันและญี่ปุ่น แต่เมื่อพิจารณาอย่าง ละเอียดรอบคอบแล้ว ได้ยึดถือพระราชบัญญัติซื้อขายสินค้า (The Sale of Goods Act, 1893) ของประเทศ อังกฤษเป็นหลัก ดังปรากฏในมาตราต่าง ๆ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วย ซื้อขายซึ่งมีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกับกฎหมายซื้อขายของประเทศอังกฤษ

สําหรับกฎหมายตั๋วเงินในบรรพ 3 ลักษณะ 21 ก็ได้นําเอาบทบัญญัติส่วนใหญ่ของ เดอะบิลล์ ออฟเอ็กซ์เชนจ์แอคท์ ค.ศ. 1882 (The Bill of Exchange Act, 1882) ของอังกฤษมาเป็นรากฐานในการร่าง นอกจากนี้กฎหมายอังกฤษก็ยังเป็นต้นแบบแนวความคิดในการร่างกฎหมายลักษณะบริษัทจํากัดอีกด้วย

ในกฎหมายล้มละลายคือพระราชบัญญัติล้มละลาย ร.ศ. 127 ก็เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลมาจาก กฎหมายของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายของอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้มีการตรากฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และฉบับปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2542

ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ก็เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ผู้ร่างได้ นําเอาหลักกฎหมายอังกฤษมาบัญญัติไว้คือ เรื่องเฮบีอัสคอร์พัส (Habeas Corpus) ซึ่งเป็นกฎหมายสําคัญใน การให้หลักกฎหมายทางเสรีภาพแก่ประชาชนอังกฤษมาใช้ ตามกฎหมายอังกฤษถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนหมายเรียก เฮบีอัสคอร์พัส ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล ผลคือศาลลงโทษได้ทันที หลักกฎหมายนี้ได้นํามาบัญญัติไว้ ในมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนชาวไทยได้รับความ คุ้มครองเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างในอังกฤษ

 

ข้อ 4. การเรียนกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ มีความแตกต่างจากระบบซีวิลลอว์ อย่างไร

ธงคําตอบ

การศึกษากฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น นักศึกษากฎหมายจําเป็นต้องศึกษาจาก คําพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐาน ดังนั้น นักศึกษาจึงได้รับการฝึกหัดให้วิเคราะห์คําพิพากษาจาก ข้อเท็จจริงในคดีที่เกิดขึ้นเพื่อแยกเอาหลักเกณฑ์ที่ถือเป็นบรรทัดฐานของคําพิพากษาที่จะนําไปใช้เป็นแบบอย่าง สําหรับคดีต่อ ๆ มา ตํารากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จึงมีลักษณะเป็นการรวบรวม เอาคําพิพากษาที่สําคัญ ๆ ที่ได้ตัดสินไปแล้ว นํามาวิเคราะห์ (Analyse) โดยจะมุ่งแสดงให้เห็นถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในคําพิพากษาเหล่านั้น มีการจําแนกออกเป็นเรื่อง ๆ เพื่อสะดวกแก่การศึกษา

ส่วนประเทศที่ใช้ระบบชีวิลลอว์ ความสําคัญอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้แก่ ประมวล กฎหมายต่าง ๆ นั่นเอง นักศึกษาจึงต้องศึกษาจากตัวบทกฎหมายเหล่านั้น หรือค้นคว้าจากคําอธิบาย เพื่อให้ เข้าใจความหมายของตัวบทกฎหมายดังกล่าว ตํารากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ จึงมีลักษณะ ที่เป็นการอธิบายความหมายของตัวบทกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแนวคิดของนักนิติศาสตร์ หรือนักปราชญ์ทางกฎหมาย ตลอดจนคําพิพากษาของศาลสูง ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้กฎหมายอีกด้วย

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก s/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจขายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อําานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤาษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. กฎหมายไทยในปัจจุบันมีรากเหง้ามาจากแหล่งต่าง ๆ จงอธิบายแหล่งที่มาของกฎหมายไทย

ธงคําตอบ

กฎหมายไทยในปัจจุบันมีรากเหง้ามาจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่ง ดังนี้คือ

1. กฎหมายไทยดั้งเดิม เช่น คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ กฎหมายไทยในสมัยต่าง ๆ และกฎหมาย
ตราสามดวง

2. กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย เช่น กฎหมายแพ่งเยอรมัน ฝรั่งเศส สวิส บราซิล ญี่ปุ่น เป็นต้น

3. กฎหมายอังกฤษ

 

ข้อ 4. จงอธิบายกําเนิดของกฎหมายสิบสองโต๊ะว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร

ธงคําตอบ

การแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 พวก คือ แพทริเชียน (Patricians) และเพลเบียน (Plebeians) ทําให้ เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เสมอภาคทางสังคมและทางการเมือง พวกชนชั้นสูงหรือแพทริเซียนมีสิทธิเหนือกว่า ชนชั้นกลางหรือสามัญชนคือพวกเพลเบียน เช่น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิแต่งงาน (Conubium) การแต่งงานที่ ชอบด้วยกฎหมายระหว่างชนชั้นสูง จะมีผลทําให้บุตรที่เกิดจากคู่สมรสอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวที่บิดา
สังกัดอยู่ การแต่งงานระหว่างพวกเพลเบียนและแพทริเซียนจึงเป็นของต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ส่วนบุตรที่เกิดจาก การอยู่กินกันระหว่างพวกแพทริเซียนกับเพลเบียนจะอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวของเพลเบียนนั้นต่อไปไม่เปลี่ยนสภาพกลายเป็นแพทริเชียน

สิทธิทางการเมืองในการดํารงตําแหน่ง เช่น ประมุขในการบริหารหรือปกครองที่เรียกว่ากงสุล ซึ่ง ถือว่าเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด (Imperiurn) จํากัดเฉพาะพวกแพทริเซียน ส่วนตําแหน่งต่าง ๆ รองลงไปก็จํากัด เฉพาะพวกชนชั้นสูงเท่านั้น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ทางการเมืองแต่อย่างใด

นอกจากนี้ในการออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการชี้ขาดตัดสินคดี เป็นอํานาจของ พวกแพทริเขียนทั้งสิ้น เช่น พวกเพลเบียนที่เป็นลูกหนี้พวกแพทริเซียน แล้วไม่ยอมชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ อาจนําไปสู่ความเป็นทาส หรือความตายของลูกหนี้และครอบครัวได้ เพราะผู้พิพากษาซึ่งทําหน้าที่บังคับชําระหนี้ ก็เป็นพวกเดียวกันกับพวกแพทริเชียน ความยุติธรรมจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้เองทําให้เกิดความไม่พอใจ แก่พวกเพลเบียนเป็นอย่างมาก เพราะพวกนี้ไม่มีทางทราบได้เลยว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไร จึงได้มีการเรียกร้องให้นํากฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

สรุป กําเนิดของกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้น 2 พวก คือ แพทริเชียน และเพลเบียนนั่นเอง

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก ซ่อม 1/2257

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วยโดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 2. ตามประมวลกฎหมายตราสามดวง ความเป็นญาติมีผลทางอาญาและทางแพ่งอย่างไรบ้าง ให้ นักศึกษาอธิบายผลทางอาญามา 2 กรณี และผลในทางแพ่งมา 2 กรณี

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายตราสามดวง ความเป็นญาติมีผลทางอาญาและทางแพ่งตามพระอัยการ
ลักษณะต่าง ๆ ในประมวลกฎหมายตราสามดวง ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

1. ทางแพ่ง
(1) ห้ามมิให้มีการสมรสกันในระหว่างเครือญาติ (พระอัยการลักษณะตัวเมีย)
(2) มีสิทธิรับมรดก (พระอัยการลักษณะมรดก)

2. ทางอาญา
(1) ไม่ต้องรับโทษทางอาญาในความผิดฐานลักทรัพย์ (พระอัยการลักษณะโจร)
(2) ไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานทําร้ายร่างกาย มีถึงอันตรายสาหัส (พระอัยการลักษณะวิวาทด่าตีกัน)

 

ข้อ 3. คอมมอนลอว์เกิดขึ้นได้อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

คอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นเกิดจากเกาะอังกฤษแต่เดิมจะมีชนเผ่าดั้งเดิม ซึ่งทําไร่ ไถนา เพาะปลูก เรียกว่า Briton แต่ถูกรุกรานจากชนเผ่าต่าง ๆ เช่น พวกไอบีเรียน (Iberian), พวกกาล (Gael) และ พวกเซลท์ (Celt) ที่มาจากสเปน โปรตุเกส และเยอรมัน เช่น เผ่าที่มีชื่อเรียกว่า แองโกลหรือแองเจิล (Anglo หรือ Angles) เป็นนักรบ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นไปบนเกาะอังกฤษ เมื่อชนเผ่าดั้งเดิมสู้ไม่ได้จึงถูกยึดครอง อีกพวก คือพวกแซกซอน (Saxons) และมีอีกเผ่าหนึ่งที่เรียกว่า พวกจุ๊ทส์ (Jutes) ที่เข้าไปยึดครองเกาะอังกฤษ จะเห็น ได้ว่าเดิมนั้นเกาะอังกฤษจะหลากหลายด้วยชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีจารีตประเพณีของตนเองจนมีผู้กล่าวว่า “ถ้าขี่ม้าข้ามทุ่งนาต้องผ่านจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนับเป็นสิบ ๆ อย่าง” และชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษ ของคนอังกฤษคือ ชาวนอร์แมน (Norman) นอกจากนี้ในสมัยที่กรุงโรมเรืองอํานาจ กรุงโรมได้ส่งกองทัพเรือ ยึดเกาะอังกฤษหลายร้อยปี จน ค.ศ. 1066 ชาวนอร์แมนมาจากแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ยุโรปคือ ประเทศนอร์เวย์ บุกขึ้นเกาะอังกฤษแล้วตั้งราชวงศ์ มีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความ เนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทําให้ผลของคําพิพากษาตรงกันข้ามกันในแต่ละศาล อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่าเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย คําพิพากษาของศาลท้องถิ่นที่ตัดสินตาม จารีตประเพณีนั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ใช้ วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ดังนั้นราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงมาร้องเรียนต่อ

พระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) ส่งผู้พิพากษานั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยศาลหลวง ไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาลท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ทําให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าศาลหลวงให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงได้วางหลักเกณฑ์ที่ มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้กฎหมาย Common Law เริ่มเกิดขึ้นในประเทศ อังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายรายละเอียดพอสังเขป และยกมาให้ดู มาเป็นข้อ ๆ

ธงคําตอบ

ข้อแตกต่างระหว่างคอมมอนลอว์ และชีวิลลอว์ มี 5 ประการ ดังนี้คือ
(1) ที่มาของกฎหมาย
(2) วิธีพิจารณาคดี
(3) การจําแนกประเภทกฎหมาย
(4) ผลของคําพิพากษา
(5) การศึกษากฎหมาย

หมายเหตุ นักศึกษาต้องตอบรายละเอียดแต่ละข้อในตําราหน้า 175 ถึง 178 พอสังเขปด้วย

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2547 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย
ที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤาษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ขายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น จําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. จงอธิบายว่ากฎหมายของต่างประเทศมีอิทธิพลต่อกฎหมายไทยในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 บรรพ จํานวน 1,755 มาตรา เมื่อ พิจารณาถึงมาตราต่าง ๆ ในแต่ละบรรพ (Books) จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการร่างกฎหมายได้อาศัยกฎหมายของ ประเทศทางตะวันตกเป็นส่วนมากในการจัดทําประมวลกฎหมายฉบับนี้ ดังจะเห็นได้จากบรรพ 1 หลักทั่วไป และบรรพ 2 ได้ลอกเลียนแบบมาจากกฎหมายแพ่งของเยอรมันและกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานมาจาก กฎหมายโรมัน โดยเฉพาะในบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ในเรื่องวางทรัพย์ บางมาตราเมื่อเทียบตัวบทแล้วแทบจะเรียกได้ว่า เหมือนกันแทบทุกคําก็ว่าได้

ส่วนในบรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ได้นํากฎหมายหลายประเทศมาพิจารณา เช่น กฎหมายแพ่ง ของฝรั่งเศส กฎหมายแพ่งของสวิส นอกเหนือจากกฎหมายแพ่งของเยอรมันและญี่ปุ่น แต่เมื่อพิจารณาอย่าง ละเอียดรอบคอบแล้ว ได้ยึดถือพระราชบัญญัติซื้อขายสินค้า (The Sale of Goods Act, 1893) ของประเทศ อังกฤษเป็นหลัก ดังปรากฏในมาตราต่าง ๆ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 1 ว่าด้วย ซื้อขายซึ่งมีบทบัญญัติที่คล้ายคลึงกับกฎหมายซื้อขายของประเทศอังกฤษ

สําหรับกฎหมายตั๋วเงินในบรรพ 3 ลักษณะ 21 ก็ได้นําเอาบทบัญญัติส่วนใหญ่ของ เดอะบิลล์ ออฟเอ็กซ์เชนจ์แอคท์ ค.ศ. 1882 (The Bill of Exchange Act, 1882) ของอังกฤษมาเป็นรากฐานในการร่าง นอกจากนี้กฎหมายอังกฤษก็ยังเป็นต้นแบบแนวความคิดในการร่างกฎหมายลักษณะบริษัทจํากัดอีกด้วย

ในกฎหมายล้มละลายคือพระราชบัญญัติล้มละลาย ร.ศ. 127 ก็เป็นกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลมาจาก กฎหมายของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายของอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้มีการตรากฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และฉบับปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2542

ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ก็เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ผู้ร่างได้ นําเอาหลักกฎหมายอังกฤษมาบัญญัติไว้คือ เรื่องเฮบีอัสคอร์พัส (Habeas Corpus) ซึ่งเป็นกฎหมายสําคัญใน การให้หลักกฎหมายทางเสรีภาพแก่ประชาชนอังกฤษมาใช้ ตามกฎหมายอังกฤษถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนหมายเรียก เฮบีอัสคอร์พัส ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล ผลคือศาลลงโทษได้ทันที หลักกฎหมายนี้ได้นํามาบัญญัติไว้ ในมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนชาวไทยได้รับความ คุ้มครองเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างในอังกฤษ

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ แตกต่างกันในเรื่องที่มาของกฎหมายอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ มีที่มาจากจารีตประเพณี ซึ่งใช้บังคับเป็นกฎหมายแต่โบราณ สําหรับคําพิพากษาของศาลก็ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายอย่างหนึ่ง เพราะคําพิพากษาของศาลที่ตัดสินคดีต่าง ๆ
ถือเป็นบรรทัดฐานหรือแบบอย่างที่ศาลต่อมาจะต้องยึดถือและพิพากษาตามเมื่อมีกรณีอย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้จึงมีคํากล่าวที่ว่า “ศาลสร้างกฎหมายขึ้นมา” (Judge made Law)

นอกจากคําพิพากษาของศาลแล้ว หลักความยุติธรรม (Equity) ก็ถือได้ว่าเป็นที่มาของกฎหมาย ที่ศาลนํามาใช้ให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม

ในปัจจุบัน รัฐสภาอังกฤษได้บัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) ขึ้นใช้บังคับแก่ กรณีต่าง ๆ มากมาย กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ถือเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษ เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่อง ยกเว้นหลักทั่ว ๆ ไป และถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายอย่างหนึ่งด้วย

ส่วนระบบชีวิลลอว์ กฎหมายส่วนมากเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และประมวลกฎหมายต่าง ๆ จารีตประเพณีและหลักกฎหมายทั่วไปได้นํามาใช้ในบางกรณี และถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายได้อีกทางหนึ่ง

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก s/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. หลักอินทภาษคืออะไร มีหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามหลักอินทภาษมีผลต่อ ตุลาการอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักอินทภาษ คือ คําสั่งของพระอินทร์ที่มีต่อบุรุษผู้หนึ่งซึ่งมีหน้าที่เป็นตุลาการว่าการจะเป็น ตุลาการที่ดีจะต้องไม่มีอคติ 4 ประการ คือ ฉันทาคติ (รัก), โทสาคติ (โกรธ), ภยาคติ (กลัว), โมหาคติ (หลง) และต้องตัดสินความตามพระธรรมศาสตร์โดยคลองธรรมอันเป็นจัตุรัส ซึ่งหมายความว่าพลิกยากไม่ใช่เป็นไปตาม
อารมณ์ของตุลาการ

ที่ว่าให้ผู้พิพากษาปราศจากฉันทาคตินั้น หมายถึง ให้ทําจิตใจให้ปราศจากความโลภ อย่าเห็นแก่ อามิสสินจ้าง อย่าเข้าด้วยโจทก์หรือจําเลย เพราะเหตุจะได้ทรัพย์จากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แม้ว่าผู้ต้องคดีจะเป็นบิดา
มารดาก็ต้องทําใจให้เป็นกลาง

การทําใจให้ปราศจากโทสาคติ หมายความว่า อย่าตัดสินความโดยความโกรธและอาฆาตพยาบาท
เพราะเห็นผู้นั้นเป็นปฏิปักษ์กับตน

การพิจารณาคดีโดยปราศจากภยาคติ หมายความว่า ให้ผู้พิพากษาทําจิตใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว กลัวฝ่ายโจทก์หรือจําเลย เพราะเป็นผู้มีอํานาจราชศักดิ์หรือเป็นผู้มีกําลังพวกพ้องมาก

การตัดสินคดีโดยปราศจากโมหาคติ หมายความว่า จะต้องตัดสินคดีด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ คดีใด ควรแพ้ก็ต้องให้แพ้ คดีใดควรชนะก็ให้ชนะ จะต้องเป็นผู้รอบรู้ในพระธรรมศาสตร์ จะต้องไม่ตัดสินคดีโดยความหลง

การตัดสินคดีโดยมีอคติ 4 ประการนี้ นับว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง กล่าวว่าถึงแม้จะฆ่าสิ่งมีชีวิตไปเป็นพันเป็นหมื่น บาปกรรมนั้นก็ไม่เท่ากับบุคคลที่บังคับคดีไม่เที่ยงตรง

การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามคําสอนนี้มีผลต่อตุลาการผู้นั้น คือ ถ้าตัดสินความโดยปราศจากอคติ 4 ประการดังกล่าวแล้ว อิสริยยศและบริวารยศแห่งบุคคลผู้นั้นก็จะเจริญรุ่งเรือง เปรียบประดุจเดือนข้างขึ้น ถ้าผู้ใดตัดสินโดยมีอคติ 4 ประการดังกล่าว อิสริยยศและบริวารยศก็จะเสื่อมสูญไป เปรียบประดุจเดือนข้างแรม

 

ข้อ 3. จงอธิบายระบบกฎหมายสังคมนิยมมาพอสังเขป

ธงคำตอบ

ระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law)

คําว่า “สังคมนิยม” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายความหมายว่า ทฤษฎีเศรษฐกิจ และการเมืองที่มีหลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจนการจําแนกแจกจ่ายและวาง
ระเบียบการบริโภคผลผลิต

คําว่าสังคมนิยมมักนําไปใช้ในเรื่องทางการเมืองการปกครอง ซึ่งการปกครองในระบอบสังคมนิยม มีต้นกําเนิดในรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2460 หรือ ค.ศ. 1917 แต่เดิมรัสเซียมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปีดังกล่าวได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นสังคมนิยมซึ่งเป็นการปกครองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทําให้สังคมกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในที่สุด

คําว่าคอมมิวนิสต์ หมายความว่า ลัทธิเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมที่ยึดหลักว่าการรวมกันของ บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายเป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด เอกชนจะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้

แนวความคิดในเรื่องสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ เกิดจากแนวความคิดหรือทฤษฎีทางเศรษฐกิจ ของนักปราชญ์ 2 ท่านคือ คาร์ล มาร์กซ์ (Kart Marx) และเลนิน (Lenin) ทั้ง 2 เชื่อว่าต้องสร้างผลประโยชน์ ของส่วนรวมขึ้น โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ ทําให้สังคมเป็นคอมมิวนิสต์ โดยที่ทรัพยากรและผลผลิตต่าง ๆ ย่อมตกเป็นของชุมชน และจะไม่มีสิ่งใดเป็นของเอกชนเลย แต่การที่จะบรรลุ ถึงอุดมการณ์เช่นนั้นได้ต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ เพื่อบีบบังคับเอามาเป็นของชุมชน เนื่องจากมนุษย์โดย ธรรมชาติย่อมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของชุมชน

สืบเนื่องจากแนวความคิดดังกล่าว นักกฎหมายสังคมนิยมจึงแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสังคมนิยมกับกฎหมายที่ไม่ใช่สังคมนิยม โดยกฎหมายที่ไม่ใช่สังคมนิยม ได้แก่ กฎหมายที่ปกป้อง ผลประโยชน์ของเอกชน ซึ่งการปกป้องผลประโยชน์ของเอกชนย่อมทําลายผลประโยชน์ของชุมชน

ดังนั้น แนวความคิดของมาร์กซ์และเลนิน จึงถือว่าเป็นบ่อเกิดหรือเป็นที่มาของกฎหมายในระบบ กฎหมายสังคมนิยม นอกจากแนวความคิดของนักปราชญ์ทั้งสองแล้ว ที่มาของกฎหมายอีกแหล่งหนึ่ง คือ รัฐสภา ในรัสเซียก็มีฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งทําหน้าที่ออกกฎหมายลายลักษณ์อักษร รวมทั้งรัสเซียเองก็มีจารีตประเพณีของ ตนเอง จึงถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายได้อีกทางหนึ่งด้วย ในเมื่อไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง

ในปัจจุบันถึงแม้ว่าลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จะล่มสลายในรัสเซียไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีอีก
หลายประเทศที่มีการปกครองระบอบสังคมนิยม เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นต้น แต่นักกฎหมายสังคมนิยมเห็นว่าประเทศของตนไม่ใช่ทุนนิยม จึงไม่อาจจัดอยู่ในระบบ กฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิคได้ เพราะเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบกฎหมาย จึงย่อมไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เกิดระบบกฎหมายใหม่ขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง

 

ข้อ 4. กฎหมายสิบสองโต๊ะว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

การแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 พวก คือ แพทริเชียน (Patricians) และเพลเบียน (Plebeians) ทําให้ เกิดความเหลื่อมล้ําและไม่เสมอภาคทางสังคมและทางการเมือง พวกชนชั้นสูงหรือแพทริเชียนมีสิทธิเหนือกว่า ชนชั้นกลางหรือสามัญชนคือพวกเพลเบียน เช่น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิแต่งงาน (Conubium) การแต่งงานที่ ขอบด้วยกฎหมายระหว่างชนชั้นสูง จะมีผลทําให้บุตรที่เกิดจากคู่สมรสอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวที่บิดา
สังกัดอยู่ การแต่งงานระหว่างพวกเพลเบียนและแพทริเซียนจึงเป็นของต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ส่วนบุตรที่เกิดจาก การอยู่กินกันระหว่างพวกแพทริเซียนกับเพลเบียนจะอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัวของเพลเบียนนั้นต่อไปไม่เปลี่ยนสภาพกลายเป็นแพทริเชียน

สิทธิทางการเมืองในการดํารงตําแหน่ง เช่น ประมุขในการบริหารหรือปกครองที่เรียกว่ากงสุล ซึ่ง ถือว่าเป็นผู้มีอํานาจสูงสุด (Imperium) จํากัดเฉพาะพวกแพทริเซียน ส่วนตําแหน่งต่าง ๆ รองลงไปก็จํากัด เฉพาะพวกชนชั้นสูงเท่านั้น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งต่าง ๆ ทางการเมืองแต่อย่างใด

นอกจากนี้ในการออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการชี้ขาดตัดสินคดี เป็นอํานาจของ พวกแพทริเซียนทั้งสิ้น เช่น พวกเพลเขียนที่เป็นลูกหนี้พวกแพทริเซียน แล้วไม่ยอมชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้ อาจนําไปสู่ความเป็นทาส หรือความตายของลูกหนี้และครอบครัวได้ เพราะผู้พิพากษาซึ่งทําหน้าที่บังคับชําระหนี้ ก็เป็นพวกเดียวกันกับพวกแพทริเชียน ความยุติธรรมจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้เองทําให้เกิดความไม่พอใจ แก่พวกเพลเบียนเป็นอย่างมาก เพราะพวกนี้ไม่มีทางทราบได้เลยว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไร จึงได้มีการเรียกร้องให้นํากฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

สรุป กําเนิดของกฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชั้น 2 พวก คือ แพทริเซียน และเพลเบียนนั่นเอง

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ
ซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤาษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. ศาสตราจารย์เรเน่ ดาวิด ได้แบ่งระบบกฎหมายออกเป็นระบบ อะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละระบบโดยย่อ

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายหลักของโลก มี 4 ระบบ คือ

(1) ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค โรมาโนเป็นภาษาของชนเผ่าอีทรัสคัน หมายความว่า กรุงโรม เมืองหลวงของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นต้นกําเนิดของประมวลกฎหมายแพ่ง

เยอรมันนิค หมายความว่า ชื่อชนเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันคือชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นชนเผ่าที่นําเอา ประมวลกฎหมายแพ่งไปใช้กับชนเผ่าของตน

เนื่องจากกฎหมายโรมันเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Written Law
การที่กฎหมายโรมันจัดทําเป็นประมวลกฎหมาย จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Code Law
ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายนี้คือ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน สวิส ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ

(2) ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ศาลนําเอา จารีตประเพณีมาใช้ในการตัดสินคดี ต้นกําเนิดหรือแม่แบบเกิดขึ้นในประเทศแรกคือ อังกฤษ ระยะแรกมีชนเผ่า ต่าง ๆ ที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ ศาลท้องถิ่นได้นําเอาจารีตประเพณีของชนเผ่ามาตัดสิน ทําให้ผล ของคําพิพากษาแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน จนกระทั่งชนเผ่าสุดท้ายคือพวกนอร์แมนพิชิตเกาะอังกฤษ ในสมัย พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 จึงส่งศาลเคลื่อนที่ออกไปวางหลักเกณฑ์ ทําให้จารีตประเพณีเหมือนกันทุกท้องถิ่น มีลักษณะ เป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป จึงเรียกว่า คอมมอนลอว์ ตัวอย่างเช่น แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ เป็นต้น

(3) ระบบกฎหมายสังคมนิยม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบบกฎหมายคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นใน ประเทศแรกคือ รัสเซีย หลังจากมีการปฏิวัติเมื่อ ค.ศ. 1917 โดยนําเอาแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน ซึ่งถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อให้การปกครองของประเทศยึดหลักผลประโยชน์ ของส่วนรวมหรือของชุมชนหรือสังคม ประเทศใดที่มีการปกครองในระบอบสังคมนิยมตามแนวคิดของนักปราชญ์ ทั้งสอง ประเทศนั้นจัดอยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม เช่น เวียดนาม ลาว เกาหลีเหนือ จีนแผ่นดินใหญ่ เป็นต้น

(4) ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม ในปัจจุบันมีบางประเทศที่ได้นําเอาคําสอนของ พระผู้เป็นเจ้ามาบัญญัติเป็นกฎหมาย จึงกล่าวกันว่าศาสนาเป็นที่มาของบ่อเกิดของกฎหมาย มี 3 กลุ่ม คือ

(ก) ศาสนาอิสลาม ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย คําสอนของพระเจ้า
คือ อัลลอฮ์ ปรากฏอยู่ในกฎหมาย เช่น กฎหมายครอบครัวและมรดก เป็นต้น

(ข) ศาสนาคริสต์ แนวความคิดของศาสนาคริสต์ ใช้เป็นแนวทางในการร่างกฎหมายของ ประเทศที่นับถือคริสต์ศาสนา เช่น ข้อกําหนดห้ามหย่า การห้ามคุมกําเนิด การห้ามทําแท้ง และการห้ามสมรสซ้อน (Bigamy) เป็นต้น

(ค) ศาสนาฮินดู ต้นกําเนิดประเทศแรกคือ ประเทศอินเดีย ตัวอย่างปรากฏอยู่ในตํารา กฎหมาย คือ พระธรรมศาสตร์ หรือของไทยเรียกคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์

ส่วนประเพณีนิยม เกิดจากคําสอนของนักปราชญ์ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า เช่น ชาวจีนในสมัย ซื้อที่นําเอาความเชื่อของนักปราชญ์ท่านนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในชีวิตประจําวัน หรือลัทธิชินโตของประเทศญี่ปุ่นก็มีอิทธิพลต่อการจัดทํากฎหมายของญี่ปุ่นเช่นกัน

หมายเหตุ คําตอบของนักศึกษาถ้าอยู่ในหน้า 91 ถึง 101 ก็ให้คะแนน

 

ข้อ 4. วิธีพิจารณาคดีของศาลในระบบคอมมอนลอว์ แตกต่างกับระบบชีวิลลอว์ อย่างไร จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคําตอบ

การพิจารณาคดีของศาลในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ มีลูกขุน (Jury) ทําหน้าที่วินิฉัยชี้ขาด ปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนผู้พิพากษา (Judge) จะทําหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย การพิจารณา คดีอาญาที่มีโทษอุกฉกรรจ์มักมีการพิจารณาต่อหน้าผู้พิพากษาและลูกขุน ส่วนคดีอาญาที่มีโทษเล็กน้อยมักมีการพิจารณาโดยรวบรัดต่อหน้าผู้พิพากษาเท่านั้น ในขณะที่การพิจารณาคดีแพ่งต่อหน้าลูกขุนในปัจจุบันมีน้อยมาก

การพิจารณาคดีของศาลในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณาด้วยวาจา (Oral Hearing) โดยศาลจะเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้คดีกันอย่างเต็มที่ โดยคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างมีหน้าที่ต้องนํา พยานหลักฐานมานําสืบให้ศาลเชื่อตามที่กล่าวอ้าง ศาลจะทําหน้าที่คล้ายกับกรรมการคอยควบคุมให้การต่อสู้คดี อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ จึงมีผู้เรียกการพิจารณาคดีในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ว่าการพิจารณาคดี ระบบปรปักษ์ (Adversary System)

ส่วนการพิจารณาคดีของศาลในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายชีวิลลอว์นั้น จะมีผู้พิพากษาทําหน้าที่ วินิจฉัยชี้ขาดทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น จะไม่มีลูกขุน โดยการพิจารณาคดีในประเทศ ที่ใช้ระบบนี้จะมีทั้งที่ใช้ระบบเสาะหาข้อเท็จจริง (Inquisitorial System) หรือระบบไต่สวนที่ให้อํานาจศาลค้นหา ความจริงในคดีว่าเป็นอย่างไร และระบบกล่าวหา (Accusatorial System) ที่คล้ายคลึงกับระบบปรปักษ์ที่กําหนด ให้ฝ่ายที่กล่าวอ้างประเด็นแห่งคดีนําพยานหลักฐานมานําสืบให้ศาลเชื่อตามที่กล่าวอ้างนั้น

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 1/2556

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าชายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมา ฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. จงอธิบายกฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน

ธงคําตอบ

กฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน คือ ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบี ที่ได้จัดทําขึ้นเป็นลายลักษณ์ อักษร ในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและกฎหมายว่าด้วยโทษนั้น ยึดหลักการแก้แค้นตอบที่รุนแรงมาก หลักการดังกล่าวนี้เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมที่เรียกว่า “Lex Tationis” หรือที่มีคํากล่าวกันว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” (An eye for an eye, and a tooth for a tooth) จะเห็นได้จากข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ดังนี้คือ

(1) ถ้าบุคคลใดทําลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทําลายเช่นกัน

(2) ถ้าขายคนหนึ่งเป็นเหตุให้ชายอีกคนสูญเสียลูกนัยน์ตา ลูกนัยน์ตาของชายคนนั้นต้องถูกควักออกมา

(3) บุคคลใดทําให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

(4) ถ้าบ้านพังตกลงมาทับเจ้าของบ้านตาย ผู้สร้างต้องรับผิดชดใช้ด้วยชีวิต

(5) ช่างก่อสร้างบ้านเรือนที่ทําให้บุตรของเจ้าของบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาท บุตรของตน จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน

(6) เจ้าหนี้ทําให้บุตรของลูกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็นผู้ขัดหนี้ (Mancipium) ถึงแก่ความตาย บุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

เมื่อพิจารณาหลักการลงโทษดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นการลงโทษแก่บุตรหรือธิดาของผู้กระทําผิด ซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทําความผิด อันเป็นวิธีการลงโทษที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทําความผิด วิธีการลงโทษดังกล่าวจึงแตกต่างกับกฎหมายอาญาในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในประมวลกฎหมายนี้ไม่มีการลงโทษจําคุกแก่ผู้กระทําผิด เพราะโทษที่ลงแก่ ผู้กระทําผิดร้ายแรงที่ผู้กระทําผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือ โทษประหารชีวิต แต่ความผิด อื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้กระทําความผิดได้รับ คือ โทษปรับ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องถูกลงโทษ ประหารชีวิต แต่ถ้าจําเลยสาบานว่าฆ่าคนจริงแต่ไม่เจตนา โทษที่จําเลยได้รับ คือ โทษปรับ โดยคํานึงถึงชั้น
วรรณะของผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเป็นหลัก

นอกจากนี้ลูกทําร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ตัดมือทิ้งเสีย

วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้นําภรรยาไปโยนลงในแม่น้ำ ถ้าลอยน้ำถือว่าบริสุทธิ์ ถ้าจมน้ำถือว่ามีความผิด

 

ข้อ 4. การเรียนกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ มีความแตกต่างจากระบบชีวิลลอว์ อย่างไร

ธงคําตอบ

การศึกษากฎหมายในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น นักศึกษากฎหมายจําเป็นต้องศึกษาจากคําพิพากษาที่ศาลได้ตัดสินไว้เป็นบรรทัดฐาน ดังนั้นนักศึกษาจึงได้รับการฝึกหัดให้วิเคราะห์คําพิพากษาจากข้อเท็จจริงในคดีที่เกิดขึ้นเพื่อแยกแยะเอาหลักเกณฑ์ที่ถือเป็นบรรทัดฐานของคําพิพากษาที่จะนําไปใช้เป็น แบบอย่างสําหรับคดีต่อ ๆ มา ตํารากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จึงมีลักษณะเป็นการ รวบรวมเอาจากคําพิพากษาที่สําคัญ ๆ ที่ได้ตัดสินไปแล้ว นํามาวิเคราะห์ (Analyse) โดยจะมุ่งแสดงให้เห็นถึง หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในคําพิพากษาเหล่านั้น มีการจําแนกออกเป็นเรื่อง ๆ เพื่อสะดวกแก่การศึกษา

ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ความสําคัญอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้แก่ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ นั่นเอง นักศึกษาจึงต้องศึกษาจากตัวบทกฎหมายเหล่านั้น หรือค้นคว้าจากคําอธิบาย เพื่อให้เข้าใจความหมายของตัวบทกฎหมายดังกล่าว ตํารากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ จึงมีลักษณะที่เป็นการอธิบายความหมายของตัวบทกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแนวคิด ของนักนิติศาสตร์หรือนักปราชญ์ทางกฎหมาย ตลอดจนคําพิพากษาของศาลสูงซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของ
การใช้กฎหมายอีกด้วย

WordPress Ads
error: Content is protected !!