RAM1301 (RAM1000) ความรู้คู่คุณธรรม s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1301 (RAM 1000) คุณธรรมคู่ความรู้
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตในการคัดเลือกบุคคล
(2) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(3) การทุจริตในการให้สัมปทาน
(4) การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

2.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
(2) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
(3) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(4) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือก ได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช้กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิดที่สามารถแยกแยะ ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด และไม่กระทําการที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(2) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(3) หลักความรับผิด (Responsibility)
(4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Common – dealing or Contracts
(2) Accepting Benefits
(3) Pork – barreling
(4) Outside Employment or Moonlighting
ตอบ 1(คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s
property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)

5. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(3) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
(4) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ

6.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(2) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(3) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(4) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต

7. การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ รู้รักสามัคคี ไม่โลภ และรู้จักแบ่งปัน ให้ผู้อื่น เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขคุณธรรม
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนได้รับ

8. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร T ในหลัก STRONG คือ
(1) Transparent
(2) Transportation
(3) Transitivity
(4) Triumph
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = K.Nowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

9.การรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือสหกรณ์ในการร่วมแรงร่วมใจในการดําเนินกิจการด้านต่าง ๆ
เป็นทฤษฎีใหม่ชั้นใต
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(2) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่สาม
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
ตอบ 4หน้า 72 – 73 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติตาม หลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การผลิต
2. การตลาด
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. สังคมและศาสนา

10. การที่นักศึกษาลดใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยทําลายสิ่งแวดล้อมให้ น้อยที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูเพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ถูกทําลายไป จึงจะสามารถรักษาสมดุลระหว่าง วัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ได้นาน เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

11. “จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการ ดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอนและต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

12. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและนิติบัญญัติ
(2) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(3) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(4) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

13. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) การตรวจสอบ
(2) ด้านการแข่งขัน
(3) ด้านการเมือง
(4) ด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเกิดจาก ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ด้านสังคม
3. ด้านวัฒนธรรม
4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน

14. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) หลักด้านเทคโนโลยี
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านครอบครัว
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

15. ข้อใดต่อไปนี้คือระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
(1) การทุจริตในวงราชการ และการทุจริตในภาคเอกชน
(2) การทุจริตระดับชาติ และการทุจริตในระดับท้องถิ่น
(3) การทุจริตในประเทศ และการทุจริตนอกประเทศ
(4) การทุจริตส่วนรวม และการทุจริตส่วนบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. การทุจริตระดับชาติ
2. การทุจริตในระดับท้องถิ่น

16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
(4) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

17. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการให้ข้อมูล
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็นระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

18. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(2) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
(3) ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
(4) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่เอื้อหรือสนับสนุนต่อ การเกิดการทุจริต มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ประชากรในประเทศยังคงจําเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก
6. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง

19. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ และการให้
ความร่วมมือสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 69 ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

20. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
ตอบ 4 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1.ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ําฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

21. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนกล้า
(2) รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
(3) มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
(4) มีความสุจริตและความกตัญญู
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

22. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
(3) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(4) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

23. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่

ตอบ 2 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

24. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3หน้า 68. ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

25. การดําเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เงื่อนไขหลักวิชา
(3) เงื่อนไขคุณธรรม
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 2 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก

26. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการเปิดเผย
(1) ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชนได้มีโอกาสควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการต่าง ๆ มากขึ้น (2) ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดหา การให้สัมปทาน การออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
(3) ประชาชนได้เข้ามารับรู้การทํางานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(4) มีการใช้กลุ่มวิชาชีพภายในหน่วยงานเข้ามาร่วมตรวจสอบ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการเปิดเผย ประกอบด้วย
1. ประชาชนได้เข้ามารับรู้การทํางานของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. ประชาชนและสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดหา การให้สัมปทาน การออกกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ
3. ประชาชน สื่อมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้มีโอกาสควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการ ต่าง ๆ มากขึ้น
4. มีการใช้กลุ่มวิชาชีพภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบ

27. การมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรม อันดีงามของชาติให้คงอยู่ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ด้านจิตใจ
(4) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ตอน 4 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยความมีน้ําใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษา และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ โดยหาโอกาสขยายผลงานด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น อีกทั้งจะต้องมีภูมิคุ้มกันในการรับวัฒนธรรมต่างชาติ ด้วยการเลือกรับแต่สิ่งที่เกิดผลดี และสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

28. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดเป็น
(1) คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
(2) คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) คิดไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
(4) คิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดเป็น” มีดังนี้
1. คิดแยกเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
2. คิดแยกเรื่องตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. คิดที่จะไม่นําประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมมาปะปนกัน หรือมาก้าวก่ายกัน
4. คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. คิดที่จะไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
6. คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เครือญาติ และพวกพ้อง

29. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
(2) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(3) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(4) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ

30. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวก
และด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

31. การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมโดยคํานึงถึงระดับความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมายหลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) ความพอประมาณ
(2) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(3) ความไม่ประมาท
(4) ความมีเหตุผล
ตอบ 4 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

32. มีวินัย เป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร (1) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
(2) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(3) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(4) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต โดย ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งจะต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม

33. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้างงบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

34. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงลบ ยกเว้นข้อใด
(1) ต่อต้าน
(2) กดดัน
(3) ตักเตือนชื่นชม
(4) ประท้วง
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

35. การคอร์รัปชั่นตามน้ำ เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) นักการเมือง
(2) นายทุน
(3) ข้าราชการ
(4) พ่อค้า
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ หมายถึง การกระทําที่มีการใช้หน่วยงานราชการเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ มากกว่าประโยชน์ ส่วนรวมของสังคมหรือประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ํา (Corruption with Theft)

36. การที่บุคคลมีการดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการ ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลักคุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เงื่อนไขชีวิต
(3) เป้าประสงค์
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 2 หน้า 66 – 67 เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลัก คุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เพราะสามารถเข้าใจ ชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะร้ายหรือดี

37. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการ ประกอบอาชีพตามที่ถนัด และมีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่ น่าอยู่ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน เป็นการประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับประเทศ
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 70 ความพอเพียงระดับประเทศ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามที่ถนัด และ มีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่น่าอยู่ และมีการ รวมกลุ่มของชุมชนให้เป็นเครือข่ายที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน

38. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม
(1) เขื่อนภูมิพล
(2) คุณสนธิ ลิ้มทองกุล
(3) วัดพนัญเชิงวรวิหาร
(4) ประเพณีสงกรานต์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณี คือ แหล่งเรียนรู้ทางสังคม ที่แสดงถึงความเป็นอยู่ ความเชื่อ และวิถีชีวิตที่สืบทอดต่อกันมา จึงถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็น นามธรรม (จับต้องไม่ได้) ซึ่งควรค่าแก่การรักษาไว้ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ประเพณี สงกรานต์, การทําบุญในวันสําคัญทางศาสนา ฯลฯ

39. ข้อใดหมายถึง เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในปัจจุบัน
(1) มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัดจํานวน
(2) มหาวิทยาลัยตลาดวิชา
(3) ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
(4) มหาวิทยาลัยตลาดวิชา ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
ตอบ 1 หน้าคํานํา, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นมหาวิทยาลัยแบบ ตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัดจํานวน

40. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
ตอบ 1หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

41. ข้อใดกล่าวถึงโลกยุคดิจิทัลกับการเรียนรู้ได้ถูกต้องที่สุด
(1) โลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน
(2) สังคมแห่งฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์
(3) โลกแห่งการติดต่อสื่อสารทางเดียว
(4) โลกแห่งการโดดเดี่ยว
ตอบ 1 (คําบรรยาย) โลกยุคดิจิทัลกับการเรียนรู้ จะเกี่ยวข้องกับโลกแห่งการเรียนรู้ไร้พรมแดน คือ มีโอกาสในการศึกษาเรียนรู้และค้นหาข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเข้าถึงได้จากหลายช่องทาง

42. การใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ เป็นรูปแบบการทุจริต
ในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(3) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามกระบวนการที่ใช้ จะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้ 1. เกิดจากการใช้อํานาจในการกําหนดกฎกติกาพื้นฐาน เช่น การออกกฎหมาย และ กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออํานวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง 2. เกิดจากการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ทําให้เจ้าหน้าที่สามารถ ใช้ความคิดเห็นของตนในทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้

43.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ แหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจากห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

44. การสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) หลักการ
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 4 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล

45. กลุ่มเพื่อนและชุมชน เป็นลักษณะของการก่อให้เกิดคุณธรรมจริยธรรมแบบใด
(1) เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์
(2) เกิดจากการสร้างในตนเอง
(3) เกิดจากมโนธรรม
(4) เกิดจากการเลียนแบบ
ตอบ 4หน้า 47 สาเหตุแรกของการเกิดคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน ได้แก่ การเลียนแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับ และการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ที่แวดล้อมตนอยู่ แล้วนํามาปรับให้เข้ากับตนเอง ดังนั้นกระบวนการนี้จึงจัดเป็นกระบวนการ ที่มีความสําคัญต่อพัฒนาการของเด็ก นิสิต และนักศึกษา ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและชุมชน

46. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้ที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
(1) https://mcoc.chula.ac.th/
(2) https://www.lib.ru.ac.th/
(3) https://www.ieas.ru.ac.th/
(4) https://www.museumthailand.com/th/home
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น https://www.lib.ru.ac.th/ หรือเว็บไซต์สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหง ฯลฯ
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอด ความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

47. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) หลักการ
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) เป้าประสงค์
(4) แนวคิดหลัก
ตอบ 4 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

48. องค์ประกอบของการเรียนรู้ในข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(2) ผู้สอน ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน
(3) ผู้เรียน ผู้สอน แหล่งเรียนรู้
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน คือ แหล่งเรียนรู้ชนิดหนึ่ง
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ตํารา หนังสือ สื่อออนไลน์ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ

49. ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้อ
กับข้อใด
(1) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(2) ความไม่ประมาท
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความพอประมาณ
ตอบ 4 หน้า 65, (คําบรรยาย) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปจนขาดแคลน และไม่มากเกินศักยภาพ โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นความพอดีในการผลิตและการ บริโภคที่พิจารณาแล้วว่าจําเป็นและเหมาะสมกับสถานะของตนเอง สิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่

50. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
(2) การทําวิจัย
(3) พันธุกรรม
(4) ละคร
ตอบ 1หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

51. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) ช่วงเริ่มเข้าโรงเรียน
(2) ก่อนอายุ 6 ขวบ
(3) แรกเกิด
(4) หลังอายุ 15 ปี
ตอบ 2 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง

52. “การประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูล แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบ ที่ต้องการ” จากข้อความข้างต้นหมายถึง
(1) สารสนเทศ
(2) ข้อมูล
(3) แหล่งการเรียนรู้
(4) ความรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียงที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการ ประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่ต้องการ

53. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ตรงกับ พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2565 – 2569
(2) พ.ศ. 2555 – 2559
(3) พ.ศ. 2560 – 2564
(4) พ.ศ. 2550 – 2554
ตอบ 3 หน้า 62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการจัดทําแผนตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จนถึงฉบับที่ 12 เพื่อนําสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

54.ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความคิดถึงส่วนรวม
(2) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(3) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(4) ความรักในสาธารณสมบัติ
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ
เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

55. ปัจจัยภายในใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การประเมินพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม
(2) การตระหนักถึงส่วนรวม
(3) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
(4) การแยกแยะความดี ความชั่ว
ตอบ 3 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

56. ข้อใดคือองค์ประกอบสําคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการของการเรียนรู้
(1) ผู้เรียน แหล่งเรียนรู้ ผู้สอน
(2) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(3) ผู้สอน สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้
(4) ผู้เรียน สิ่งเร้า การตอบสนอง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.Creative Commons หมายถึงข้อใด
(1) สัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์
(2) สัญญาอนุญาตทางการค้า
(3) สัญญาอนุญาตประเภทสื่อ
(4) สัญญาอนุญาตทางการศึกษา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

58. อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน คือ แหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นที่เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การประดิษฐ์หุ่นยนต์เสิร์ฟ อาหาร, การประดิษฐ์อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นต้น

59. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีความรักในชาติ
(2) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(3) มีความพอประมาณ
(4) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
ตอบ 4 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า
ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะจะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้

1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

60. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(2) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(3) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
(4) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
ตอบ 4 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

61. ข้อใดคือการเรียนรู้แบบเปิดสําหรับมหาชน
(1) E-learning
(2) OER
(3) MOOC
(4) E-Testing
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การเรียนรู้แบบเปิดสําหรับมหาชน (Massive Open Online Courseware : MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ ใช้งานฟรี (Open) และรองรับผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตาม ความชอบ โดยการเชื่อมต่อเข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบหรือ แบบฝึกหัด ตลอดจนร่วมสนทนากับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต

62. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(2) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
(3) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(4) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 4 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

63. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) คุณธรรม จริยธรรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

64. องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย หมายถึงแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พัชลีย์กานต์ ยิ้มเมือง ได้จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้ที่สําคัญไว้ประการหนึ่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน คือ บุคคล คณะบุคคล หรือตัวแทน ขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก, คุณสนธิ ลิ้มทองกุล พิธีกรรายการข่าว, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เป็นต้น

65. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายของคุณธรรม คือ
(1) คุณธรรม คือ หลักการพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้ดีงาม
(2) คุณธรรม คือ ธรรมที่มีกรอบปฏิบัติที่ดีงามและถูกต้องชอบธรรม
(3) คุณธรรม คือ ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูงกว่าผู้อื่นที่พบเห็น
(4) คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูลที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์
ตอบ 4 หน้า 41 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คุณธรรม คือ กรรมที่เป็นคุณความดีงาม หรือสภาพที่เกื้อกูลซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้าง คุณสมบัติทางจิตใจให้ดีงาม ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูง ประณีต และประเสริฐแก่ผู้ที่พบเห็นหรือ ได้อยู่ด้วย ประกอบด้วย
1. เมตตา
2. กรุณา
3. มทิตา
4. อุเบกขา
5. จาคะ

66.Course on Demand ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ แหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(2) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(3) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
(4) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Course on Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

67. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การตระหนักถึงส่วนรวม
(2) การฝึกอบรม
(3) การเลียนแบบ
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

68. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรู้
(3) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
(2) ความรัก
(4) ความเป็นธรรมชาติ
ตอบ 3 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของการสร้าง ประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ซึ่ง อาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ความรัก 2. ความรู้ 3. ความเป็นธรรมชาติ

69. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในการทํางาน
(2) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

70. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัย รามคําแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เป็นปีที่เท่าไรของรัชกาลที่ 9
(1) 25
(2) 26
(3) 27
(4) 28
ตอบ 2 หน้า 11 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เป็นปีที่ 26 ของรัชกาล ที่ 9 ซึ่งปรากฏในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514

71. แหล่งเรียนรู้ หมายถึงข้อใด
(1) เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
(2) เป็นแหล่งสารสนเทศให้ความรู้อย่างกว้างขวาง
(3) ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัวที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิชาการที่รวบรวมความรู้ให้แนวคิดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดความรู้และประสบการณ์ เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

72. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สื่อมวลชน
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันศาสนา
ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม

73. ข้อใดคือองค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมของกรมวิชาการ
(1) ด้านความสามารถ
(2) ด้านความรู้
(3) ด้านการกระทํา
(4) ด้านสติปัญญา
ตอบ 2 หน้า 49 กรมวิชาการ ได้จัดทําเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย และสรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความรู้
2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
3. ด้านพฤติกรรม

74. การเบียดเบียนและคดโกงในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม เกิดจากผู้คนขาดสิ่งใด
(1) การขาดความร่วมมือที่ดี
(2) การขาดจริยธรรม
(3) การขาดวินัย
(4) การขาดความรับผิดชอบ
ตอบ 2 หน้า 45 การทุจริต คดโกง และการเบียดเบียนกันในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้สังคม เสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ซึ่งไม่ได้ยึดเอาจริยธรรมเป็น แนวทางในการดําเนินชีวิต

75. เมื่อนักศึกษาถูกนินทาว่าร้าย ควรยึดหลักคุณธรรมข้อใด
(1) วิริยะ
(2) ทาน
(3) จาคะ
(4) ขันติ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ธรรมอันทําให้งาม เป็นคุณธรรมที่ทําให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงามอยู่เสมอในทุกที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่
1. ขันติ คือ ความอดทน ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น อดทนต่อราคะ (ความกําหนัดยินดี) อดทนต่อ โทสะ (การประทุษร้ายผู้อื่น) อดทนต่อโมหะ (ความโง่เขลาเบาปัญญาที่เกิดขึ้น) อดทนต่อ การล่วงเกินหรือคําด่าว่านินทาของผู้อื่น อดทนอดกลั้นต่อความยากลําบาก ฯลฯ
2. โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยมทางกาย วาจา และใจ มีอัธยาศัยงดงาม รักษาอากัปกิริยาให้ เหมาะสมเรียบร้อย

76.EdTechRU Channel คือ แหล่งเรียนรู้ลักษณะใดของสํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(1) รายการวิทยุทางการศึกษา
(2) รายการข่าวของสํานัก
(3) ช่องรายการเฟซบุ๊กของสํานัก
(4) ช่องรายการยูทูบของสํานัก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) EdTechRU Channel คือ ช่องรายการยูทูบของสํานักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อสังคมที่เผยแพร่ข่าวสารของมหาวิทยาลัยผ่านทางช่องยูทูบ เช่น การเพิ่ม-เลิกกระบวนวิชา สําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง (Ep.57), การย้ายคณะ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (Ep.58) เป็นต้น

77. ในฐานะ “นักศึกษา” ท่านจะสามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) เดินขบวนรณรงค์ให้กับประชาชนทั่วไป
(2) เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องในครอบครัว
(3) ไม่ทิ้งขยะในมหาวิทยาลัย
(4) เข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะนักศึกษาสามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเข้าร่วม กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การออกค่ายอาสาพัฒนา และการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ที่ทางกลุ่มเพื่อน ชมรมวิชาการ หรือทางมหาวิทยาลัยจัดให้

78. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันศาสนา
(2) สถาบันครอบครัว
(3) สื่อมวลชน
(4) สถาบันการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานอง คลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

79. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การรู้จักวางตน
(2) การมีตัวตน
(3) การถือว่าตนตัวใหญ่
(4) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ และกระทําการด้วยการปรารถนาตนในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพตน
2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน
3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือเอาความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งเป็น หลักการปกครองที่ดีที่สุด เพราะจะทําให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

80.“การตรงทั้งต่อเวลา พฤติกรรมดีต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรือ มีอคติ ไม่ใช้เล่ห์คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม” ข้อความข้างต้นตรงกับคุณธรรม 8 ประการในข้อใด
(1) ความมีวินัย
(2) ความสามัคคี
(3) ความขยัน
(4) ความซื่อสัตย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึก ลําเอียงหรือมีอคติ ซึ่งผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต คือ ผู้ที่ประพฤติตรงทั้งต่อเวลา มีพฤติกรรมดี ต่อหน้าที่และต่อวิชาชีพ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและ ปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

81. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคําว่า “พลเมือง” ที่ถูกต้อง
(1) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(2) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(3) ประชาชนคนไทยที่ไร้สัญชาติ
(4) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความหมายของคําว่า “พลเมือง” มีอยู่หลายความหมาย ดังนี้
1. คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
2. บุคคลที่เกิดในประเทศนั้น ๆ หรือได้รับสัญชาติและมีความจงรักภักดีต่อรัฐ
3. กลุ่มคนที่มีสิทธิและความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะสมาชิกของสังคม
4. ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน ฯลฯ

82. ข้อใดที่ไม่ใช่คํากล่าว “ขอโทษ” ที่เป็นมารยาททางสังคม
(1) ใช้เมื่อพอใจที่จะกล่าวคําขอโทษ
(2) ใช้เมื่อผู้พูดรู้สึกสํานึกผิดในสิ่งที่ทํา
(3) ใช้เมื่อทําสิ่งที่ผิดหรือผิดพลาด
(4) ใช้เมื่อแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คํากล่าว “ขอโทษ” มักใช้เมื่อทําสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ผิด สิ่งที่ไม่เหมาะสม การรบกวน การขัดจังหวะในขณะที่พูดหรือทํางานเมื่อมีธุระด่วน และการพูดจาหรือแสดงกิริยาที่ไม่ดีหรือ ไม่เหมาะสมต่อบุคคลอื่นทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ทั้งนี้การกล่าวคําขอโทษจะใช้เมื่อผู้พูด รู้สึกสํานึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทํา พูด หรือแสดงออกมา

83. ปัญหาคอร์รัปชันขจัดได้ด้วยคุณธรรมในข้อใด
(1) เพียร อดทน
(2) รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
(3) ซื่อสัตย์สุจริต
(4) ไม่โลภ ไม่ตระหนี่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

84. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาบ้านเมือง ควรให้มีการพัฒนาในด้านใดก่อน
(1) พัฒนาสติปัญญา
(2) พัฒนาจิตใจคน
(3) พัฒนาคุณภาพชีวิต
(4) พัฒนาการศึกษา
ตอบ 2 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ ได้กล่าวว่า การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรือ อย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการ พัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนําจะสูญเปล่า และเกิดผลเสียเป็นอันมาก ทําให้บุคคลลุ่มหลง ในวัตถุและอบายมุข ซึ่งการที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคม ละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ําใจในการดําเนินชีวิต

85. วันสถาปนามหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปี คือ
(1) 27 พฤศจิกายน
(2) 24 พฤศจิกายน
(3) 25 พฤศจิกายน
(4) 26 พฤศจิกายน
ตอบ 4 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

86. ข้อใดคือความหมายของ “มารยาททางสังคม”
(1) บุคคลแต่ละคนมาชุมนุมกันเพื่อทํากิจกรรม โดยมีผลประโยชน์ร่วมกัน
(2) บุคคลผู้มีกิริยาวาจาดี อยู่ร่วมกับหมู่คณะใดก็ได้รับความชื่นชม
(3) บุคคลแต่ละคนมาร่วมกันทํากิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
(4) บุคคลแต่ละคนมาสมาคมกัน ณ จุดนัดพบ โดยมีเป้าหมายในโอกาสต่าง ๆ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) มารยาททางสังคม คือ กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือควรละเว้นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และเพื่อให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข จึงต้องมีกฎกติกากําหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกันเอาไว้ เช่น บุคคลผู้มีกิริยามารยาทดี มีวาจาดี เมื่ออยู่ร่วมกับหมู่คณะใดก็ย่อมได้รับความชื่นชม เป็นต้น

87. ข้อใดเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) เข้าร่วมกิจกรรมของสังคม
(2) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3) เข้าร่วมกิจกรรมภาคสนาม
(4) เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีดังนี้
1. เคารพกฎหมายและกติกาของสังคม
2. เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและของผู้อื่น
3. มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
6. เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม การกล้าเสนอตนเองในการทําหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง ฯลฯ

88.“ธรรมะ” มีความหมายถึงข้อใด
(1) การกระทําที่มีความหมายเป็นนามธรรม
(2) การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม
(3) การกระทําที่แสดงออกมา
(4) การกระทําที่สังคมยอมรับว่ามีศีลธรรม
ตอบ 2 หน้า 40 คําว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มักถูกใช้ควบคู่กันเสมอ แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นคํา 2 คํา ที่แยกออกจากกันและมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ความหมายของคําว่า “คุณ” (คุณะ) หมายถึง ความดี ซึ่งเป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “ธรรม” (ธรรมะ) หมายถึง การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม

89. พลเมืองดี ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน
(2) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ควรทําและกิจที่ต้องทํา
(3) ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองในกิจที่ควรทํา
(4) ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองในกิจที่ต้องทํา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมืองดี” หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้อย่างครบถ้วน ทั้งกิจที่ ต้องทํา และกิจที่ควรทํา ดังนี้
1 กิจที่ต้องทํา เป็นสิ่งที่กําหนดให้ทํา หรือห้ามมิให้กระทํา เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายและ
ระเบียบข้อบังคับของสังคม ฯลฯ
2. กิจที่ควรทํา เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่ควรทํา เช่น การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี, การช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม, การคํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณ เป็นหลัก, การมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว, การมีน้ําใจไมตรีช่วยเหลือต่อผู้ยากไร้ ฯลฯ

90. ข้อใดคือการประพฤติปฏิบัติตนทั้งกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องงดงาม ถูกกาลเทศะจนสังคมยอมรับ
(1) การสมาคม
(2) มารยาท
(3) กิจนิสัย
(4) ธรรมเนียมปฏิบัติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คําว่า “มารยาท” (Etiquette or Good Manners) หมายถึง กิริยาวาจาที่ ถือว่าสุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ หรือการแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติตน ทั้งกาย วาจา ใจ ที่ถูกต้องงดงาม ถูกกาลเทศะจนสังคมยอมรับ

91.ส.ส. จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) นายแคล้ว นรปติ
(2) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(3) นายประมวล กุลมาตย์
(4) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ตอบ 1 หน้า 7 สําหรับชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นชื่อที่นายแคล้ว นรปติ ส.ส. จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้เสนอ โดยให้เหตุผลว่าเป็นพระนามของปฐมกษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นมหาราชองค์แรกของไทย และเป็นการเทิดพระเกียรติ

92. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก คือที่ใด
(1) ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
(2) ณ ตึกไทยคู่ฟ้า
(3) ณ บริเวณลานพระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) ณ บริเวณลานพระรูปทรงม้า
ตอบ 2 หน้า 22 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในฐานะนายก สภามหาวิทยาลัยรามคําแหงคนแรก เป็นประธาน

93. ข้อใดไม่ใช่กิจที่ควรทํา
(1) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(2) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของสังคม
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีน้ำใจไมตรีช่วยเหลือต่อผู้ยากไร้
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 89. ประกอบ (ตัวเลือกข้อ 2 เป็นกิจที่ต้องทํา)

94. สิ่งใดมีความสําคัญที่สุดในการแต่งกายไปร่วมงานต่าง ๆ
(1) แต่งกายให้ทันสมัย
(2) การให้เกียรติเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน
(3) การแต่งกายตามความเหมาะสมกับวัย
(4) แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สิ่งที่สําคัญที่สุดในการแต่งกายไปร่วมงานต่าง ๆ คือ แต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ สถานที่ที่จะไป และความนิยม เช่น ผู้หญิงไปงานศพควรใส่ เสื้อคอปิดสีดําหรือขาว ส่วนผู้ชายใส่ชุดสีเข้มหรือสูท สวมรองเท้าหนังหุ้มส้น ฯลฯ

95. ข้อใดที่ไม่ใช่มารยาทในการขับรถเบื้องต้น
(1) รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง
(2) ปฏิบัติตามกฎจราจร และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง
(3) ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน
(4) การเลี้ยวระยะใกล้ ๆ ไม่ต้องเปิดไฟเลี้ยวก็ได้
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) มารยาทในการขับรถเบื้องต้น ได้แก่
1. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และมีน้ําใจต่อเพื่อนร่วมทาง
2. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว
3. ขับรถช้า/เร็ว ควรอยู่เลนให้ถูก คือ ขับช้าชิดซ้าย ส่วนขับเร็วชิดขวา
4. ไม่ใช้ไฟสูงอย่างพร่ําเพรื่อ
5. ไม่ปาด แทรก เบียดในทุกกรณี
6. ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน
7. รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง ฯลฯ

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) รายได้
(2) พุทธศาสนา
(3) กฎหมาย
(4) สุภาษิตสอนหญิง
ตอบ 1 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1.วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ เช่น พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ฯลฯ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และสุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง เช่น ข้อบังคับ กฎหมาย ระเบียบของบ้านเมือง ฯลฯ

97. ข้อความในข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า ตําบลหัวหมาก
(2) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ เอดี 1
(3) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า ตําบลหัวหมาก อําเภอบางกะปิ
จังหวัดพระนคร
(4) สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงชั่วคราว ได้แก่ บริเวณที่แสดงสินค้า
ตอบ 3 หน้า 15 – 16 สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เป็นมติให้อาศัยสถานที่แสดงสินค้าของทางการที่ตําบล หัวหมาก อําเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นสถานที่ชั่วคราว โดยเป็นการใช้สถานที่ร่วมกัน กับกรมเศรษฐสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่ดูแลสถานที่แสดงสินค้าในขณะนั้น

98. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ทองกวาว
(2) ดาวเรือง
(3) สุพรรณิการ์
(4) กฐินณรงค์
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

99. จังหวัดใดไม่มีชื่ออยู่ในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) จังหวัดสกลนคร ภูเก็ต กระบี่ ตาก
(2) จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สงขลา
(3) จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย
(4) จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคที่ จัดตั้งตามลําดับอยู่ใน 23 จังหวัด ได้แก่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อํานาจเจริญ นครพนม แพร่ นครราชสีมา สุโขทัย ขอนแก่น ศรีสะเกษ ตรัง ลพบุรี หนองบัวลําภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ อุดรธานี กาญจนบุรี สุรินทร์ เชียงราย สงขลา เชียงใหม่ และพังงา

100. หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) ฟังเสียงข้างมาก
(2) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการทางประชาธิปไตยที่สําคัญที่สุด ได้แก่
1. หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักนิติธรรม
4. หลักเหตุผล
5. หลักการถือเสียงข้างมาก
6. หลักการประนีประนอม

101. วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรม ข้อใดไม่ถูก
(1) สอนให้เลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน
(2) สอนให้รู้จักรักนวลสงวนตัว
(3) การพัฒนาบ้านเมือง
(4) รากฐานอันสําคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
ตอบ 2 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ กล่าวถึงความสําคัญและประโยชน์ของจริยธรรมไว้ดังนี้
1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสําคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง
2. การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน
3. จริยธรรมมิได้หมายถึง การถือศีล เข้าวัดฟังธรรม จําศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทําประโยชน์ ให้แก่สังคม แต่จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทํา ความคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ต่อการทําหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์
4. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ฯลฯ

102. ข้อใดถูกต้องที่สุด เมื่อได้ยินเสียงโทรศัพท์
(1) ขณะที่โทรศัพท์ ฟ้าชอบพูดแทรกและขัดจังหวะแดงเสมอ
(2) เจี๊ยบปล่อยให้ดังระยะหนึ่งค่อยรับ เพื่อที่จะรู้ว่าผู้โทรมาต้องการโทรหาเราจริง ๆ
(3) ดาวชอบคุยเรื่องไร้สาระ และเรื่องที่เป็นความลับทางโทรศัพท์
(4) หากมีสายเข้าในขณะที่อยู่ในที่สาธารณะ ให้รับสายและขออนุญาตโทรกลับไปหาใหม่ เนื่องจากไม่สะดวกคุย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทในการรับสายโทรศัพท์ มีดังนี้
1. ยกหูโทรศัพท์ทันที เมื่อมีเสียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้นควรรับสายทันที (ไม่ควรให้ดังเกิน 3 ครั้ง)
2. งดเคี้ยวอาหาร และลดเสียงลงหากมีสายเข้า
3. เริ่มต้นสนทนาด้วยการแนะนําตัวเอง คือ ชื่อบริษัท และบอกชื่อผู้รับสาย
4. เตรียมกระดาษ ดินสอ/ปากกาให้พร้อม เพื่อจดบันทึกข้อความได้ทันที
5. ไม่พูดเรื่องความลับ หรือเรื่องไร้สาระ
6. ควรเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่พูดแทรกและขัดจังหวะคู่สนทนา
7. รับโทรศัพท์และจบการพูดด้วย “สวัสดีครับ/ค่ะ” ทุกครั้ง
8. หากมีสายเข้าในขณะที่อยู่ในที่สาธารณะ ให้รับสายและขออนุญาตโทรกลับไปหาใหม่ เนื่องจากไม่สะดวกคุย ฯลฯ

103. สนธยาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มาเรียนแต่เช้าและเข้าเรียนตรงเวลา แสดงว่าสนธยามีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีมารยาท
(2) มีบุคลิกดี
(3) มีความเป็นสุภาพชน
(4) มีวินัย
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

104. มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนา ยังขาดความรู้ ขาดปัญญา มักมีสิ่งใดเป็นตัวนําพฤติกรรมไปในทางที่ไม่เหมาะสม
(1) ปรัชญา
(2) ปัญหา
(3) จิตใจ
(4) ตัณหา
ตอบ 4 หน้า 49 – 50 พระธรรมปิฎก ได้กล่าวว่า มนุษย์ที่มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึกยินดียินร้ายต่อ อารมณ์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า “ตัณหา” ซึ่งตัณหานี้จะเป็นตัวกําหนดพฤติกรรม เพราะมนุษย์ยัง ไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา ดังนั้นเราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกําหนดหรือตัวนํา พฤติกรรมไม่ได้ มนุษย์จะต้องกําหนดรู้ว่า อะไรเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตตน แล้วทําตาม ความรู้นั้น คือ เอาความรู้เป็นตัวกําหนดนําพฤติกรรม

105. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(2) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
(3) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(4) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

106. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) มีหลักการทางอนาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการ ดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

107. ข้อใดไม่ใช่หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) ด้านการเมือง
(2) ด้านวัฒนธรรมประเพณีและท้องถิ่น
(3) ด้านสังคม
(4) ด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความสําคัญในด้านการเมือง คือ ประชาธิปไตยจะประสบความสําเร็จได้ ประชาชนจะต้อง เป็นพลเมืองดี
2. ความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ คือ เกิดความเป็นธรรมในการผลิต การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ นํามาซึ่งความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม
3. ความสําคัญในด้านสังคม คือ ทําให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความรักและ ความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

108. ข้อใดที่ไม่ใช่การประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(2) ประพฤติตนไม่อยู่ในร่องในรอย
(3) ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม
(4) ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยมีแนวทางการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
1. แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดี
2. ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก
3. ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
4. ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม
5. ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง ฯลฯ

109. ข้อใดเป็นคําขวัญของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
(1) “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”
(2) ความรู้คู่คุณธรรม
(3) “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ”
(4) “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม”
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะ แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527
3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ

110. “คุณะ” มีความหมายถึงข้อใด
(1) ความดี เป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา
(2) ความดี เป็นความหมายของอารมณ์และความรู้สึก
(3) ความดี เป็นความหมายของความถูกต้องชอบธรรม
(4) ความดี เป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 88. ประกอบ

111. ส.ส. จังหวัดชุมพร พรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายประมวล กุลมาตย์
(3) นายแคล้ว นรปติ
(4) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
ตอบ 2 หน้า 2 – 3 ในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทุกภาคของประเทศ ที่สังกัดพรรคสหประชาไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) ได้แก่
1. นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เป็นผู้เริ่มจัดทําร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัย…….. พ.ศ.
2. นายสวัสดิ์ คําประกอบ ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์
3. นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส. จังหวัดอุดรธานี
4. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา
5. นายสุรินทร์ เทพกาญจนา ส.ส. จังหวัดสมุทรสาคร
6. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ ส.ส. จังหวัดกําแพงเพชร
7. นายชื่น ระวิวรรณ ส.ส. จังหวัดหนองคาย และมี ส.ส. ร่วมลงชื่อรับรองอีก 43 คน

112. ข้อใดไม่ใช่การเกิดของคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์
(1) การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
(2) การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม
(3) การเลียนแบบ
(4) การสร้างในตนเอง
ตอบ 1 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. การเลียนแบบ
2. การสร้างในตนเอง
3. การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

113. โคลเบิร์กและเพียเจต์ มีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับพัฒนาการของเรื่องใดต่อไปนี้
(1) พัฒนาการของจริยธรรม
(2) พัฒนาการของทฤษฎีใหม่
(3) พัฒนาการของการมีส่วนร่วม
(4) พัฒนาการของพลเมือง
ตอบ 1 หน้า 50 โคลเบิร์ก (Kohlberg) นักการศึกษาชาวตะวันตก กล่าวว่า การพัฒนาทางสติปัญญา และอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โดยจริยธรรมของมนุษย์จะมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญาเมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น และจริยธรรมยังมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา จะสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget)ซึ่งทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

114. ผู้ริเริ่มให้มีข่าวรามคําแหง
(1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
(2) รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ข่าวรามคําแหงฉบับแรกได้ถือกําเนิดขึ้น โดยมี ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ซึ่งดํารงตําแหน่งรักษาการอธิการบดีในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่มให้มีการ จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้ข่าวรามคําแหงฉบับแรกเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ มีจํานวนหน้าเพียง 4 หน้า

115. ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล
(1) การมีสัมมาคารวะ
(2) ความสุภาพอ่อนน้อม
(3) ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น
(4) รู้จักวิธีการพูดในที่สาธารณะเพื่อให้คนยอมรับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทที่เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคล ได้แก่
1. การมีสัมมาคารวะ
2. ความสุภาพอ่อนน้อม
3. ความมีวินัย และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่น

116. เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษามารยาททางสังคม
(1) เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
(2) เพื่อให้เกิดความเจริญในสังคม
(3) เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
(4) เพราะอยู่ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 86. ประกอบ

117. ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) หลักการ
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 3 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง ซึ่งมีความหมายว่า ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

118. การไหว้พระที่ถูกต้อง ได้แก่
(1) พนมมือระดับอก ปลายนิ้วชี้จรดปลายคาง
(2) หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พนมมือแนบชิดหน้าผาก
(3) หัวแม่มือจรดระหว่างปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว
(4) หัวแม่มือจรดระหว่างปาก ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การไหว้ตามประเพณีไทยมีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะพนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบน
โดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย
2. การไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรง ปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง
3. การไหว้บิดามารดาหรือบุคคลอันเป็นที่เคารพยิ่ง ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรด ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง
4. การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือพนมขึ้นให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดตีนผม พนมมือแนบชิดหน้าผาก พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง

119. คุณลักษณะที่สําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่า เป็นส่วนประกอบที่เป็น 3 ห่วง
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) ความมีวินัย
(4) มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ 1. เงื่อนไขความรู้ 2. เงื่อนไขคุณธรรม

120. เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมีจิตสาธารณะ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจและความคิดอย่างไร
(1) ดิ้นรนต่อสู้เอาชนะปัญหาชีวิตทุกรูปแบบ
(2) เอื้อเฟื้อแก่ผู้ด้อยโอกาส
(3) มีความรู้สึกชาตินิยม
(4) ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
ตอบ 4 หน้า 84 ยุทธนา วรุณปิติกุล กล่าวถึง บุคคลที่มีจิตสาธารณะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. การทุ่มเทและอุทิศตน
2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
4. การลงมือกระทํา

RAM1301 (RAM1000) ความรู้คู่คุณธรรม 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1. ข้อใดเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับความพอเพียง อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) ความไม่ประมาท
(4) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ตอบ 2 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

2. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการ ประกอบอาชีพตามที่ถนัด และมีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่ น่าอยู่ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน เป็นการประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับประเทศ
(2) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1หน้า 70 ความพอเพียงระดับประเทศ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ ที่พึ่งพาตนเองได้ พอมีพอกิน มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามที่ถนัด และ มีคุณธรรมในการดําเนินชีวิต ก็จะมีครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุข มีชุมชนที่น่าอยู่ และมีการ รวมกลุ่มของชุมชนให้เป็นเครือข่ายที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาครัฐในการพัฒนาทุกภาคส่วน

3. ข้อใดที่ไม่ใช่การประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง
(2) ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม
(3) ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ประพฤติตนไม่อยู่ในร่องในรอย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยมีแนวทางการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
1. แสดงความคิดอย่างมีเหตุผล รับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดี
2. ตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก
3. ยึดหลักประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
4. ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม
5. ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมือง ฯลฯ

4.ใครมีหน้าที่ในการออกข้อบังคับระเบียบทางการแพทย์
(1) คุรุสภา
(2) แพทยสภา
(3) คณะครูผู้อาวุโส
(4) สภาผู้แทนราษฎร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แพทยสภา เป็นองค์กรวิชาชีพแพทย์ของไทยในปัจจุบันที่ทําหน้าที่ดูแลควบคุม
ความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม และออกข้อบังคับระเบียบทางการแพทย์ ตลอดจนช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ ให้การศึกษาแก่ ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข

5.เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัยรามคําแหง* (ตราประจํามหาวิทยาลัย) คือ
(1) พระรูปองค์พ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(2) ตรา มร.
(3) แท่นจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 18, (ความรู้ทั่วไป) ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 148 วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2536 (ฉบับพิเศษ หน้า 1 – 3) ระบุว่า เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัย รามคําแหง* (ตราประจํามหาวิทยาลัย) คือ พระรูปพ่อขุนรามคําแหงมหาราช และศิลาจารึก พ่อขุนรามคําแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1)

6. การที่นักศึกษาลดใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 2 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ
การรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยทําลายสิ่งแวดล้อมให้ น้อยที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูเพื่อทดแทนสิ่งเก่าที่ถูกทําลายไป จึงจะสามารถรักษาสมดุลระหว่าง วัตถุกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

7. หลักสูตรของ 4 คณะแรกที่เปิดสอนในปี พ.ศ. 2514
(1) นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
(2) นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์
(3) นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์
(4) นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ตอบ 1 หน้า 12, 25 – 27 ในวาระเริ่มแรก (พ.ศ. 2514) มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้จัดตั้งคณะวิชา 4 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ต่อมามหาวิทยาลัยได้ขอจัดตั้งเพิ่มอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และ คณะเศรษฐศาสตร์ แต่สภาการศึกษาแห่งชาติไม่ให้จัดตั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามโครงการจัดตั้งคณะใหม่ ทําให้ในปีการศึกษา พ.ศ. 2516 มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีคณะวิชาที่จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 7 คณะ

8.จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ละคร
(2) พันธุกรรม
(3) การทําวิจัย
(4) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ตอบ 4 หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

9. ข้อใดหมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) Course Online on Demand
(2) Course on Classroom
(3) Course on Demand
(4) Online on Demand
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Course or Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอน ชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

10. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
(2) การฝึกอบรม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 2 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ
ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

11. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) เงื่อนไขพื้นฐาน
(2) หลักการ
(3) แนวคิดหลัก
(4) เป้าประสงค์
ตอบ 3 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

12. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(2) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(3) เอกลักษณ์แห่งตน
(4) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
ตอบ 3 หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

13. วันสถาปนามหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปี คือ
(1) 25 พฤศจิกายน
(2) 24 พฤศจิกายน
(3) 26 พฤศจิกายน
(4) 27 พฤศจิกายน
ตอบ 3 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

14. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

(1) อนุญาตให้ใช้แต่ต้องไม่ดัดแปลง
(2) ใช้เพื่อการค้า
(3) แสดงที่มา อ้างอิงที่มา
(4) อนุญาตแบบเดียวกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึง ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works – ND) คือ อนุญาตให้ผู้อื่นทําซ้ํา แจกจ่าย หรือแสดงและนําเสนอชิ้นงานดังกล่าวได้ ในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น

15. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับประเทศ
(3) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
ตอบ 3 หน้า 68 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

16. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การถือตนเป็นใหญ่
(2) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
(3) การถือเอาความปรารถนาของตนเป็นใหญ่
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คนที่มีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี ต้องมีหลักอธิปไตย 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ และกระทําการด้วยการปรารถนาตนในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพตน
2. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ เว้นชั่ว ทําดี ด้วยความเคารพเสียงหมู่ชน
3. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ถือเอาความถูกต้อง ดีงาม มีเหตุผล ชอบธรรม ซึ่งเป็น หลักการปกครองที่ดีที่สุด เพราะจะทําให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างแท้จริง

17. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรู้
(2) ความเป็นธรรมชาติ
(3) ความรัก
(4) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของ การสร้างประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย ซึ่งอาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความรัก
2. ความรู้
3. ความเป็นธรรมชาติ

18. หลักคุณธรรมที่ทุกคนต้องมีในเบื้องต้น คือ “หลักธรรมาธิปไตย” หมายถึงข้อใด
(1) การถือศีลเป็นใหญ่
(2) การถือตนเป็นใหญ่
(3) การถือธรรมเป็นใหญ่
(4) การถือใจเป็นใหญ่
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

19. การเสริมสร้างระบบคุณธรรมจริยธรรม คือ
(1) บ่งบอกถึงคุณภาพด้านจิตใจและพฤติกรรมของผู้คนที่แสดงออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม
(2) เป็นดัชนีชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ
(3) เป็นรากฐานของความเข้มแข็งของประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 38 การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นรากฐานของความเข้มแข็งของประชาชน และเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติที่บ่งบอกถึงคุณภาพทางด้านจิตใจและพฤติกรรมของผู้คนที่แสดงออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม

20. การมีจิตใจเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้าต่อปัญหาและปฏิเสธการรับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง มีจิตสํานึกที่ใฝ่ดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 4 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านจิตใจ คือ มีจิตใจเข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้า ต่อปัญหาและปฏิเสธการรับผลประโยชน์ที่ไม่ถูกต้อง มีจิตสํานึกที่ใฝ่ดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีคุณธรรมในการดํารงอยู่ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ตลอดจน ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทําด้วยความใจกว้างและมีเหตุผล

21. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะ และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านจิตใจ
(2) ด้านเศรษฐกิจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 2 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้าง งบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

22. การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตนให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ รู้รักสามัคคี ไม่โลภ และรู้จักแบ่งปัน
ให้ผู้อื่น เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เป้าประสงค์
(2) เงื่อนไขชีวิต
(3) เงื่อนไขคุณธรรม
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 3 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น การที่นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนเองได้รับ เป็นต้น

23. บทเรียนออนไลน์ คือแหล่งเรียนรู้ลักษณะใด
(1) แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
(2) แหล่งเรียนรู้ออฟไลน์
(3) แหล่งเรียนรู้แบบเปิด
(4) แหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
ตอบ 4(คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เช่น สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมต่าง ๆ

24. การเป็นผู้มีมารยาทมีความสําคัญอย่างไร
(1) เป็นที่รักใคร่และยอมรับของสังคม
(2) ก่อให้เกิดความเรียบร้อยในการสื่อสาร
(3) ก่อให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสําคัญของการเป็นผู้มีมารยาท มีดังนี้
1. ทําให้เป็นที่รักใคร่และยอมรับของสังคม
2. ก่อให้เกิดความเรียบร้อยในการสื่อสาร
3. ทําให้ส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพให้งดงามน่าเลื่อมใสได้
4. ก่อให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม ฯลฯ

25. ในฐานะครูอาจารย์ จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(3) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(4) การใช้น้ําอย่างประหยัด
ตอบ 2 หน้า 92 ในฐานะครูอาจารย์ สามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวัน คือ การจัดกิจกรรมให้นักเรียน/นักศึกษาได้ทํางานร่วมกัน การฝึกวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างโครงการจิตสาธารณะหรือกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน โดยการแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจิตสาธารณะลงไปในบทเรียน ฯลฯ

26.ข้อใดคือความหมายของจรรยาบรรณ
(1) ความประพฤติที่พึงปฏิบัติ กิริยาที่ควรปฏิบัติ หรือสิ่งที่ควรปฏิบัติ
(2) ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอาชีพกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริม
เกียรติคุณชื่อเสียง
(3) ความมีจิตสํานึกในสิ่งที่ดีงามและเหตุผล รวมทั้งความรู้ทางทฤษฎีและแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ส่งผลต่อความมีเหตุผลในการทําหน้าที่
(4) หนังสือหรือเอกสาร
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่างได้กําหนดขึ้นมา เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

27. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Tacit Knowledge
(1) นายเอเป็นครูสอนหนังสือ
(2) นายปีเป็นนักเขียนนวนิยาย
(3) นายซีชอบเขียนบทความลงเว็บไซต์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1(คําบรรยาย) ความรู้ 2 ประเภท มีดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด เช่น เชฟทําอาหาร, นักกีฬา ฟุตบอลทีมชาติ, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ

2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถ สัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะถ่ายทอดออกมาในรูปของตํารา หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ภาพวาด รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

28. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Explicit Knowledge
(1) นายที่เป็นนักวาดภาพ
(2) นายซีเป็นนักเขียนข่าว
(3) นายเอเป็นนักเขียน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการเกิดคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์
(1) เกิดจากการศึกษาค้นคว้า
(2) เกิดจากการเลียนแบบ
(3) เกิดจากการสร้างตนเอง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. การเลียนแบบ
2. การสร้างในตนเอง
3. การบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

30. ข้อใดถูกต้องที่สุดในความหมายของหลักคุณธรรมประจําใจ
(1) จริยศาสตร์ 4
(2) อิทธิบาท 4
(3) พรหมวิหาร 4
(4) อริยสัจ 4
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลักคุณธรรม ประจําใจ เพื่อให้ตนดํารงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น “พรหม” ประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม

31. การปฏิบัติตามหลักความพอเพียง ควรเริ่มจากที่ใด
(1) เพื่อน
(2) ครอบครัว
(3) ตนเอง
(4) ประเทศ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนหรือดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจากตนเองก่อน เป็นลําดับแรก เมื่อตนเองสามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นนําไป ประพฤติปฏิบัติตาม จากนั้นจึงเป็นครอบครัว ชุมชน รัฐหรือประเทศชาติ

32. ข้อใดกล่าวถึง Massive Open Online Courseware ได้ถูกต้องที่สุด
(1) บทเรียน E-learning
(2) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่าย
(3) รายวิชาออนไลน์ที่เรียนได้ฟรี
(4) แหล่งเรียนรู้รายบุคคล
ตอบ 3(คําบรรยาย) Massive Open Online Courseware (MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ใช้งานฟรี (Open) และรองรับ ผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความชอบ โดยการเชื่อมต่อ เข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือร่วมสนทนา กับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

33. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
(2) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(4) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
ตอบ 1 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

34. เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
(2) เป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา
(3) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
(4) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด
ตอบ 2 หน้าคํานํา, (คําบรรยาย) เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นมหาวิทยาลัยแบบ
ตลาดวิชาควบคู่แบบจํากัด จํานวน

35.การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในการทํางาน
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 2หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบ ในการดําเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เพราะหากเด็ก ๆ ได้รับรู้ตั้งแต่ต้นจะได้แบบพิมพ์ที่ดีและ ยั่งยืน ส่วนผู้นําในสังคมเองก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบคนดี

36. อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) เป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา
(2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
(3) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด
(4) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ตอบ 2 หน้าคํานํา วัตถุประสงค์ของการเปิดสอนและการศึกษาวิชา RAM 1000 ความรู้คู่คุณธรรม ก็เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่ทําให้สังคมยอมรับ

37. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

38. ถ้านักศึกษาต้องการสั่งซื้อตําราเรียนของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ข้อใดให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.ru.ac.th
(2) www.lib.ru.ac.th
(3) www.rupress.ru.ac.th
(4) www.edu.ru.ac.th
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) การสั่งซื้อตําราเรียนของมหาวิทยาลัยรามคําแหง สามารถซื้อได้โดยตรงที่ อาคารสํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) หรือสั่งซื้อตําราแบบออนไลน์ได้ ที่www.rupress.ru.ac.th

39. นักกฎหมายหรือผู้ปกครองบ้านเมืองควรต้องมี “ทศพิธราชธรรม” หมายถึงข้อใด
(1) คุณธรรมของพระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง
(2) คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง
(3) คุณธรรมของพระมหากษัตริย์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทศพิธราชธรรม คือ คุณธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ หรือ ผู้ปกครองบ้านเมือง มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1. ทานัง (ทาน)
2. สีลัง (ศีล)
3. ปริจจาคัง (ปริจจาคะ)
4. อาชชะวัง (อาชชวะ)
5. มัททะวัง (มัททวะ)
6. ตะปัง (ตปะ)
7. อักโกธัง (อักโกธะ)
8. อวิหิงสัง (อวิหิงสา)
9. ขันติ คือ ความอดทน
10. อะวิโรธนะ คือ มีปฏิบัติคลาดจากธรรม

40.ส.ส. จังหวัดชุมพร พรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นผู้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ (มหาวิทยาลัยรามคําแหง) คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายประมวล กุลมาตย์
(3) นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์
(4) นายแคล้ว นรปติ
ตอบ 2หน้า 2 – 3 ในปี พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากทุกภาคของประเทศ ที่สังกัดพรรคสหประชาไทยได้ร่วมลงชื่อเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยแห่งใหม่
(มหาวิทยาลัยรามคําแหง) ได้แก่
1. นายประมวล กุลมาตย์ ส.ส. จังหวัดชุมพร เป็นผู้เริ่มจัดทําร่างพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัย……….พศ………
2. นายสวัสดิ์ คําประกอบ ส.ส. จังหวัดนครสวรรค์
3. นายญวง เอี่ยมศิลา ส.ส. จังหวัดอุดรธานี
4. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต ส.ส. จังหวัดนครราชสีมา
5. นายสุรินทร์ เทพกาญจนา ส.ส. จังหวัดสมุทรสาคร
6. นายประสิทธิ์ ชูพินิจ ส.ส. จังหวัดกําแพงเพชร
7. นายชื่น ระวิวรรณ ส.ส. จังหวัดหนองคาย และมี ส.ส. ร่วมลงชื่อรับรองอีก 43 คน

41. คุณธรรมสําหรับครู คือข้อใด
(1) มีพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับของสังคม
(2) คุณงามความดีของคนที่เป็นครู
(3) มีความเสียสละ มีความยุติธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณธรรมสําหรับครู คือ คุณงามความดีของบุคคลที่เป็นครู ซึ่งได้กระทําไปด้วย ความสํานึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทําความดี เป็นพฤติกรรมที่ดี เป็นที่ยอมรับ ของสังคม เช่น ครูที่รักเด็กและรักเพื่อนมนุษย์ มีความเสียสละ มีความยุติธรรม มีความเกรงใจ มีน้ําใจงาม มีความเห็นอกเห็นใจลูกศิษย์ และมีมารยาทที่งดงาม ก็ถือเป็นครูที่มีคุณธรรมทั้งสิ้น

42. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี คือข้อใด
(1) การขาดระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
(2) การเห็นแก่ประโยชน์ของเครือญาติ
(3) การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3
(คําบรรยาย) คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี มีดังนี้
1. ความเอื้อเฟื้อ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
3. รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทําชั่ว
6. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
7. ความสามัคคี
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจ ฯลฯ

43. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(3) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการ ดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

44. ผลดีของการมีสติ หมายถึงข้อใด
(1) รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
(2) รู้ว่าใครจะทําอะไร
(3) รู้อดีตชาติของตนเอง
(4) รู้ว่าตนเองกําลังทําอะไร
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สติสัมปชัญญะ หมายถึง การระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอว่ากําลังทํา พูด คิด หรือ มีพฤติกรรมใดอยู่ สามารถฝึกตนให้เป็นคนรู้จักคิดและรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าสิ่งใดควรกระทําและ ไม่ควรกระทํา ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท จึงถือเป็นหลักธรรมที่ตรงข้ามกับความประมาท เลินเล่อ เมื่อจะคิด ทํา หรือพูดสิ่งใดก็ไม่ผิดพลาด

45. การที่นักศึกษามีการวางแผนทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และต้องมีการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะในข้อใด
(1) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(2) ความพอประมาณ
(3) ความมีเหตุผล
(4) ความไม่ประมาท
ตอบ 1 หน้า 65, 82, (คําบรรยาย) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับ ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้น โดยต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้และ ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้สามารถ ปรับตัวและพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น นักศึกษาวางแผนการทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ เป็นต้น

46. สนธยาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มาเรียนแต่เช้าและเข้าเรียนตรงเวลา แสดงว่าสนธยามีคุณสมบัติตามข้อใด
(1) มีมารยาท
(2) มีความเป็นสุภาพชน
(3) มีวินัย
(4) มีบุคลิกดี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4. มีวินัย
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
8. มีน้ำใจ
(มีวินัย เป็นหนึ่งในคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ซึ่งหมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ โดยต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม)

47. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สื่อมวลชน
(2) สถาบันศาสนา
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันครอบครัว
ตอบ 3 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม

48. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(2) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(3) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
(4) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้

1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6.การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

49. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ฝ้ายคราม
(2) สุพรรณคํา
(3) สุพรรณิการ์
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

50. ความรู้ในลักษณะ Soft Skill คือข้อใด
(1) สมหมายเก๋งขับรถยนต์
(2) สมคิดมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นํา
(3) สมควรเรียนหนังสือเก่งมาก
(4) สมหวังเก่งการถ่ายภาพ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ประเภทของความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบของสื่อหรือเอกสาร (Hard Skills) ที่เราถ่ายทอด ปฏิบัติ หรือได้รับ การฝึกฝนมา เช่น การเขียนหนังสือหรือตํารา, การขับรถยนต์เก่ง, การถ่ายภาพสวย ฯลฯ
2. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา (Soft Skills) หรือเรียกว่า “พรสวรรค์” รวมทั้งทักษะในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูล, ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นํา, การจัดการแก้ปัญหา, การมีคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ

51. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงข้อใด
(1) มีความพร้อมที่จะเผชิญต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
(2) กล้าเสี่ยงในการลงทุน
(3) ยอมรับสภาพสังคมได้ทั้งสภาพดีและไม่ดี
(4) ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

52. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(1) หลักการ
(2) เป้าประสงค์
(3) แนวคิดหลัก
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล

53. พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ
(2) แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
(3) แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
(4) แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นชุมชนหรือสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บ้าน วัด แปลงเกษตร ศาสนสถาน ศูนย์ราชการ ศาล พรรคการเมือง รัฐสภา สถานีตํารวจ ศูนย์ฝึกอาชีพ ฯลฯ

54. ข้อใดกล่าวถึง ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
(1) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
(2) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(3) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(4) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้ มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต

3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ

55. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง หมายถึง
(1) การตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พึ่งตนเองให้มากขึ้นในทุกระดับ
(2) พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
(3) ทําทุกอย่างแบบกลาง ๆ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
(4) ความพอดีพอเหมาะ มีความหลากหลาย และกลมกลืน
ตอบ 1 หน้า 62 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญเด่นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เพราะเป็นแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยสามารถเลี้ยงชีพด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ ในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง “ทางสายกลาง และความไม่ประมาท”

56. ในฐานะสมาชิกของสังคม จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร

(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การใช้น้ําอย่างประหยัด
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
ตอบ 2 หน้า 92 ในฐานะสมาชิกของสังคมไทย สามารถนําเอาจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ โดยเริ่มจากตนเองในกิจกรรมเล็ก ๆ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ํา น้ำมัน หรือไฟฟ้าอย่างประหยัด และคุ้มค่า ฯลฯ จนไปถึงกิจกรรมใหญ่ ๆ ในระดับชุมชน ได้แก่ การพัฒนาชุมชน, การรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชน (เช่น การไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลําคลอง) ฯลฯ หรือจนถึงระดับประเทศชาติ เช่น การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ต่าง ๆ ฯลฯ

57. ข้อใดถูกที่สุดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) ปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม การเมือง
(2) พี่น้อง ญาติ เพื่อน ครู
(3) ทางโลก ทางธรรม ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ
(4) กิ๊ก คนรัก คู่หมั้น ชู้รัก
ตอบ 1 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และสุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง

58.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ การเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดการบรรยายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(3) บทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
(4) การสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจากห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

59.ความหมายของคําว่า “พลเมือง” ที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน
(1) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
(2) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(3) ประชาชนคนไทยที่ไร้สัญชาติ
(4) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมือง” ในประเทศไทย น่าจะถูกนํามาใช้ในสมัยหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมาย ของคําว่า “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน

60. หลักอัตตาธิปไตย คือ
(1) การถือว่าตนตัวใหญ่
(2) การมีตัวตน
(3) การถือเอาฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่
(4) การรู้จักวางตน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

61. ผู้ริเริ่มให้มีข่าวรามคําแหง
(1) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
(2) รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ : 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ข่าวรามคําแหงฉบับแรกได้ถือกําเนิดขึ้น โดยมี ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ ซึ่งดํารงตําแหน่งรักษาการอธิการบดีในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่มให้มีการ จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้ข่าวรามคําแหงฉบับแรกเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ มีจํานวนหน้าเพียง 4 หน้า

62. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจึงมี ซึ่งจะส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีให้กับประเทศชาติ
(1) จรรยาบรรณวิชาชีพมัคคุเทศก์
(2) จรรยาบรรณผู้ประกอบอาชีพธุรกิจ
(3) จรรยาบรรณวิชาชีพครู
(4) จรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์แผนไทย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) มัคคุเทศก์หรือไกด์ เป็นอาชีพสําคัญทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่ทําเงินตราให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นมัคคุเทศก์หรือไกด์จึงเป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรมของประเทศที่ต้องคํานึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจึงมี ซึ่งจะส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีให้กับประเทศชาติ (ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ)

63.ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความรักชาติ
(2) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(3) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(4) ความคิดถึงส่วนรวม
ตอบ 3 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

64. ข้อใดไม่ได้อยู่ในแนวการปฏิบัติที่ถูกต้องของจรรยาบรรณสําหรับนักกฎหมาย
(1) กฎหมายเป็นเครื่องมือของความยุติธรรม
(2) ความยุติธรรมไม่ใช่อยู่เหนืออามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ใด ๆ
(3) มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณหรือแนวปฏิบัติที่ดีงามของนักกฎหมาย (เช่น ตุลากร อัยการ และ
ทนายความ ฯลฯ) มีดังนี้
1. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
2. ความยุติธรรมอยู่เหนืออามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ใด ๆ
3. นักกฎหมายทุกคนเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกคนในด้านความยุติธรรม
4. กฎหมายเป็นเครื่องมือของความยุติธรรม มิใช่มาตรการความยุติธรรม
5. ความยุติธรรมเป็นกลางสําหรับทุกคน ฯลฯ

65. การที่บุคคลมีการช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ และการให้
ความร่วมมือสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับชุมชน
(2) ความพอเพียงระดับประเทศ
(3) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1 หน้า 69 ความพอเพียงระดับชุมชน คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย
1. สวัสดิการชุมชน
2. การช่วยกันดูแลความสะอาดและความเป็นระเบียบของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
3. การช่วยกันดูแลความสงบและความปลอดภัย
4. การให้ความร่วมมือสร้างเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

66. มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบ “ตลาดวิชา” จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. ใด
(1) 2512
(2) 2516
(3) 2511
(4) 2514
ตอบ 4 หน้า 11, (คําบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ดําเนินการ แบบตลาดวิชา โดยมีการจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514

67. การมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(2) ความพอเพียงระดับประเทศ
(3) ความพอเพียงระดับชุมชน
(4) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
ตอบ 1หน้า 69, (คําบรรยาย) ความพอเพียงระดับธุรกิจ คือ ธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่สําคัญ ต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ธุรกิจควรมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
2. แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
3. พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือ
4. ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
5. ซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

68. ข้อความที่กล่าวถึงระดับโลกุตรธรรมที่ถูกต้อง คือ
(1) เป็นธรรมชั้นสูง
(2) สภาวะที่พ้นโลก
(3) ผู้บรรลุจริยธรรมจัดเป็นอริยบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 48 การวัดระดับของคุณธรรมจริยธรรมทําได้ 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกียธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของมนุษย์โลก สภาวะเนื่องกับโลก จัดเป็นธรรม ขั้นต้น เช่น ศีล 5 มุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ทําชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
2. ระดับโลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จัดเป็นธรรมชั้นสูง เช่น มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งผู้ที่บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือ ผู้พ้นจากกิเลส

69. ข้อใดถูกต้องที่สุด สมาธิทําให้เกิด
(1) สมาธิ
(2) สติ
(3) ปัญญา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การบริหารจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ จะต้องเริ่มต้นฝึกให้มีสติ (การระลึกได้รู้ได้) ก่อน เป็นลําดับแรก เพราะสติถือเป็นจุดเริ่มต้นของการฝึกสมาธิ และเป็นพลังสําคัญที่ช่วยให้สามารถ คุมจิตไว้ให้ระลึกได้อยู่เสมอ ดังนั้นบุคคลควรฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน ซึ่งเมื่อบุคคลมีสติครองตน ก็จะก่อให้เกิดสมาธิตั้งมั่นแน่วแน่ และเกิดปัญญารู้แจ้งตามลําดับ

70. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) อายุ 7 – 14 ปี
(2) อายุ 3 – 6 ปี
(3) อายุ 2 – 3 ปี
(4) ก่อนอายุ 6 ปี
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 35. ประกอบ

71. องค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมด้านใดสําคัญที่สุดในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
(1) ปัญญา
(2) จิตใจ
(3) ความคิด
(4) พฤติกรรม
ตอบ 1 หน้า 49, 51 แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรม ทั้ง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมนั้น จะเห็นได้ว่า “ปัญญา” ถือเป็นองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุด ซึ่งจะชี้นําจิตใจและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้ดําเนินไปได้อย่างถูกต้องตาม
ครรลองครองธรรม

72.การ Reskill หมายถึงข้อใด
(1) การพัฒนาทักษะจากงานเดิม
(2) การสร้างทักษะใหม่ในการทํางาน
(3) การเสริมทักษะจากงานเดิม
(4) การเพิ่มความสามารถในการทํางาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การ Reskill คือ การสร้างทักษะใหม่ในการทํางานที่แตกต่างไปจากงานเดิม ที่ทําอยู่ เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อนําไปใช้กับบริบทอื่นของตําแหน่งงาน และเพื่อให้ สามารถตอบโจทย์กับการทํางานในยุคที่เทคโนโลยีและดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา (ส่วนการ Upskill คือ การเสริมและพัฒนาทักษะจากงานเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการ ทํางาน และส่วนใหญ่เป็นการนําเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อให้เข้ากับการทํางาน เช่น เรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เมื่อบริษัทนั้นนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทํางานใหม่ เป็นต้น)

73.“ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร” เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) เป้าประสงค์
(2) เงื่อนไขพื้นฐาน
(3) แนวคิดหลัก
(4) หลักการ
ตอบ 4 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมไปถึงความจําเป็นที่เราจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

74. Creative Commons เป็นสัญญาอนุญาตกับสื่อในลักษณะใด
(1) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(2) สื่อเสียง
(3) สื่อโทรทัศน์
(4) สื่อสิ่งพิมพ์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

75. แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
(1) ลาภ ยศ สรรเสริญ
(2) ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม
(3) ความกล้าหาญ ความอุตสาหะ ความขยัน
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

76. เหตุผลที่จําเป็นต้องศึกษามารยาททางสังคม
(1) เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
(2) เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
(3) เพื่อให้เกิดความเจริญในสังคม
(4) เพราะอยู่ในยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) มารยาททางสังคม คือ กรอบหรือระเบียบแบบแผนที่ควรประพฤติปฏิบัติ หรือควรละเว้นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และเพื่อให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข จีงต้องมีกฎกติกา าหนดแบบแผนในการอยู่ร่วมกันเอาไว้

77. Open Educational Resources หมายถึงข้อใด
(1) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด
(2) ระบบการเรียนรู้รายบุคคล
(3) การจัดการศึกษาแบบเปิด
(4) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources : OER) คือ แหล่งการเรียนรู้ด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมการใช้ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสนับสนุน และ มีเป้าหมายใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า ซึ่งผู้นําไปใช้อาจจะเป็นการเรียนรู้เพื่อตนเอง ใช้เป็น เอกสารอ้างอิง หรือเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เช่น สื่อมัลติมีเดียใหม่ ๆ วิดีโอบรรยาย ตําราเรียน ฯลฯ

78. สถานที่ใช้ในการปฐมนิเทศครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหงวันที่ 15 พฤษภาคม 2514
(1) สนามกีฬาธูปะเตมีย์
(2) ตึกเอดี 1
(3) สนามกีฬาศุภชลาศัย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 19 เมื่อเปิดมหาวิทยาลัยรามคําแหงปี พ.ศ. 2514 มีการจัดปฐมนิเทศครั้งแรกในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ณ สนามศุภชลาศัย (สนามกีฬาแห่งชาติ) และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ณ หน้าตึกเอดี 1 หลังจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนขึ้นทะเบียนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนเข้าชั้นเรียนหรือศึกษาด้วยตนเองและสอบไล่ต่อไป

79. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 3 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานองคลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

80. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(4) ทฤษฎีใหม่ชั้นที่หนึ่ง
ตอบ 4 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1. ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ําต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

81. ข้อใดเป็นคําขวัญของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
(1) “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ”
(2) “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม”
(3) “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง”
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
1. “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคําขวัญแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะ แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
2. “เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดเมื่อปี พ.ศ. 2527
3. “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคําขวัญที่ชนะการประกวดคําขวัญเนื่องใน โอกาส 40 ปี รามคําแหง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ฯลฯ

82. ใครมีหน้าที่ในการออกข้อบังคับ ระเบียบประเพณีของครูว่าด้วยจรรยาบรรณครู 10 ประการ
(1) คณะผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
(2) คุรุสภา
(3) สภาผู้แทนราษฎร
(4) คณะครูผู้อาวุโส
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสําหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครู (คุรุสภา) เป็นผู้กําหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนจะต้องถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัด ซึ่งจรรยาบรรณครูฉบับแรก เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยจรรยามารยาทอันดีงาม ตามประเพณีของครู” พ.ศ. 2506 มี 10 ประการ

83. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยทางจิตในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(2) จิตสาธารณะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล
(3) ปัจจัยทางจิตมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยด้านสังคมในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 86 จิตสาธารณะเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่องกันระหว่างปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ดังนั้นการพัฒนาจิตสํานึกสาธารณะจึงต้องกระทําควบคู่กันทั้งปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอก เพราะถ้าหากคน ๆ หนึ่งเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบข้าง มีจิตสาธารณะ แต่ตัวเขาเองขาดปัจจัยภายใน คือ ขาดการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสม เขาก็จะ ไม่นําเอาแบบอย่างที่ดีในสังคมมาปฏิบัติ ในทางตรงกันข้าม หากคน ๆ หนึ่งมีจิตใจที่เสียสละ เพื่อส่วนรวม แต่ปัจจัยภายนอกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสังคมที่เขามักจะถูกเอาเปรียบอยู่เสมอในที่สุดเขาอาจจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวได้

84. จังหวัดใดไม่ได้สังกัดอยู่ในสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) จังหวัดยะลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส
(2) จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย
(3) จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา
(4) จังหวัดนครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สงขลา
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคที่ จัดตั้งตามลําดับอยู่ใน 23 จังหวัด ได้แก่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อํานาจเจริญ นครพนม แพร่ นครราชสีมา สุโขทัย ขอนแก่น ศรีสะเกษ ตรัง ลพบุรี หนองบัวลําภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ อุดรธานี กาญจนบุรี สุรินทร์ เชียงราย สงขลา เชียงใหม่ และพังงา

85.Global Village แสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด
(1) การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
(2) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
(3) กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
(4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
ตอบ. 1 (คําบรรยาย) หมู่บ้านโลก (Global Village) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้สังคมโลก
ไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทําอะไรก็สามารถ รับรู้ได้ทั่วโลก หรือสิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้

86. ในฐานะผู้ปกครอง จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(2) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(3) การใช้น้ำอย่างประหยัด
(4) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง สามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยรักษาวินัยทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ การยกย่องชมเชยหรือให้กําลังใจเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ รวมทั้งแสดงพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการทําเพื่อสังคม ซึ่งนับเป็นการกระทําที่ได้ช่วยเหลือสังคมทางอ้อม เพราะเป็นการ สร้างให้คนมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น

87. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(2) มีความพอประมาณ
(3) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
(4) มีความรักในชาติ
ตอบ 3 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า
ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้
1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

88. ข้อใดที่ไม่ใช่แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม
(1) วรรณคดี
(2) สภาพแวดล้อม
(3) ปรัชญา
(4) ศาสนา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

89. องค์ประกอบหลักตามหลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 จําแนกได้กี่องค์ประกอบ
(1) 3
(2) 5
(3) 4
(4) 2
ตอบ 3 หน้า 63 – 66 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมวล
หลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 โดยจําแนกออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. แนวคิดหลัก
2. เป้าประสงค์
3. หลักการ
4. เงื่อนไขพื้นฐาน

90. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคล
(1) พฤติกรรมเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด
(2) ปัญญาเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด
(3) จิตใจเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 71. ประกอบ

91. สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในกรุงเทพมหานครปัจจุบันมีกี่แห่ง
(1) 3 แห่ง
(2) 1 แห่ง
(3) 23 แห่ง
(4) 2 แห่ง
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรามคําแหงในกรุงเทพมหานครปัจจุบันมี 2 แห่ง ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยรามคําแหงที่หัวหมาก
2. มหาวิทยาลัยรามคําแหง วิทยาเขตบางนา

92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดเป็น
(1) คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(2) คิดไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
(3) คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
(4) คิดแยกแยะประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดเป็น” มีดังนี้
1. คิดแยกเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกจากกันอย่างชัดเจน
2. คิดแยกเรื่องตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. คิดที่จะไม่นําประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมมาปะปนกัน หรือมาก้าวก่ายกัน
4. คิดที่จะไม่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. คิดที่จะไม่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาตอบแทนบุญคุณส่วนตน
6. คิดเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เครือญาติ และพวกพ้อง

93. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใด ต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
(2) ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
(3) ความอดทน มุ่งมั่น ยึดความเหมาะสมและกาลเทศะ
(4) มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
ตอบ 3
(คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

94. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจและปัญหา
ทางสังคมไทยได้ถูกต้องที่สุด
(1) ยึดหลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
(2) มุ่งประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้บรรลุผลสําเร็จของประโยชน์แห่งรายได้
(3) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคี
(4) ให้ความสําคัญกับการรวมกลุ่มของชาวบ้าน
ตอบ 1 หน้า 62, (คําบรรยาย) คําว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงกับหลักคําสอนของพระพุทธศาสนาเรื่อง “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” (ตนเป็น ที่พึ่งแห่งตน) โดยมุ่งเน้นให้บุคคลรู้จักพึ่งตนเองในการทํามาหาเลี้ยงชีพ สร้างฐานะ และเป็น ที่พึ่งของบุคคลอื่น นอกจากนี้ยังเน้นให้พัฒนาประเทศชาติแบบไม่อิงเศรษฐกิจโลกจนเกินไปเพื่อแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจและปัญหาของสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

95. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดได้
(1) คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการทุจริต
(2) คิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
(3) คิดก่อนทํา
(4) คิดถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้จากการตัดสินใจทํา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการคิดได้ มีดังนี้
1. คิดก่อนทํา (ก่อนกระทําการทุจริต)
2. คิดถึงผลเสียผลกระทบต่อประเทศชาติ (ความเสียหายต่อส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน)
3. คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการกระทําการทุจริต (เอามาเป็นบทเรียน)
4. คิดถึงผลเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (จะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน ถูกลงโทษไล่ออก และติดคุก)

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักแห่งการพึ่งพาตนเอง
(1) หลักด้านกายภาพ
(2) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านเทคโนโลยี
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Outside Information
(2) Accepting Benefits
(3) Outside Employment or Moonlighting
(4) Self – dealing or Contracts
ตอบ 1 (คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)

98. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
(4) มี มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวกและ ด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

99. ข้อใดต่อไปนี้คือระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
(1) การทุจริตส่วนรวม และการทุจริตส่วนบุคคล
(2) การทุจริตในวงราชการ และการทุจริตในภาคเอกชน
(3) การทุจริตในประเทศ และการทุจริตนอกประเทศ
(4) การทุจริตระดับชาติ และการทุจริตในระดับท้องถิ่น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระดับการทุจริตที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. การทุจริตระดับชาติ
2. การทุจริตในระดับท้องถิ่น

100. สาระสําคัญทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)จะเป็นเครื่องมือชี้นําทิศทางการปฏิบัติงานและการบูรณาการด้านต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย
เพื่อเป็นการยกระดับค่า CPI ให้ได้คะแนนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่เท่าใดในปี 2564
(1) 50
(2) 36
(3) 38
(4) 45
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้กําหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” โดยมีการกําหนดยุทธศาสตร์หลักออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ซึ่งสาระสําคัญทั้ง 6 ยุทธศาสตร์นี้จะเป็นเครื่องมือชี้นําทิศทางการปฏิบัติงานและการบูรณาการ ด้านต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย เพื่อเป็นการยกระดับค่า CPI ให้ได้คะแนน 50 คะแนน ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2564

101. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านให้คุณ
(1) มีมาตรฐานเงินเดือนตามเกณฑ์มาตรฐาน
(2) มีค่าตอบแทนพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์
(3) มีค่าตอบแทนเพิ่มสําหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
(4) มีค่าตอบแทนพิเศษในการปฏิบัติงานเป็นผลสําเร็จ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านให้คุณ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีค่าตอบแทนพิเศษในการปฏิบัติงานเป็นผลสําเร็จ
2. มีค่าตอบแทนเพิ่มสําหรับการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
3. มีค่าตอบแทนพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์
4. มีมาตรฐานเงินเดือนสูงพอเพียงกับค่าใช้จ่าย

102. ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่าเมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ ถือเป็น
ความละอายระดับใด
(1) ความละอายระดับสูง
(2) ความละอายระดับภายนอก
(3) ความละอายระดับต่ำ
(4) ความละอายระดับต้น
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่า เมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

103. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก เพราะครอบคลุม มิติ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
(2) มิติด้านเศรษฐกิจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านการดําเนินการ
ตอบ 4(คําบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ เรื่องจิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน

104. การใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ เป็นรูปแบบการทุจริต
ในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(2) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(3) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามกระบวนการที่ใช้มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1. เกิดจากการใช้อํานาจในการกําหนดกฎกติกาพื้นฐาน เช่น การออกกฎหมาย และ กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่ออํานวยประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจของตนหรือพวกพ้อง
2. เกิดจากการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกฎและระเบียบที่ดํารงอยู่ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎและระเบียบเหล่านั้น ทําให้เจ้าหน้าที่สามารถ ใช้ความคิดเห็นของตนในทางที่ผิดหรือไม่ยุติธรรมได้

105. จากหลักการมีส่วนร่วมต่อไปนี้ ข้อใดถือเป็นระดับสูงที่สุด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 4(คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

106. ต่อไปนี้คือองค์ประกอบของสามห่วงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยกเว้นข้อใด
(1) มีภูมิคุ้มกันที่ดี
(2) พอประมาณ
(3) มีเหตุผล
(4) มีความเสียสละ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม

107. การทุจริตโดยนักการเมือง เป็นรูปแบบการทุจริตในลักษณะใด
(1) ทุจริตตามลักษณะรูปธรรม
(2) ทุจริตตามผู้ที่เกี่ยวข้อง
(3) ทุจริตตามกระบวนการที่ใช้
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตที่แบ่งตามผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นรูปแบบการทุจริตในเรื่องของอํานาจและ ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ ระหว่างผู้ที่ให้การอุปถัมภ์ (ผู้ให้การช่วยเหลือ) กับผู้ที่ถูกอุปถัมภ์ (ผู้ได้รับการช่วยเหลือ) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตโดยข้าราชการ
2. การทุจริตโดยนักการเมือง

108. ข้อใดต่อไปนี้ถือเป็นแนวปฏิบัติของความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว ยกเว้นข้อใด
(1) ใฝ่ศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(2) ข่มใจตนเองให้กินอยู่ตามอัตภาพ
(4) ประหยัด ตระหนี่ อดออม
(3) แบ่งปันภายในครอบครัว
หน้า 68, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ) ความพอเพียงระดับบุคคลและ ครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด รู้จักข่มใจตนเอง ให้กินอยู่ตามอัตภาพ เน้นประหยัดแต่ไม่ใช่ตระหนี่ โดยต้องมีการแบ่งปันภายในครอบครัว ชุมชน สังคมรอบข้าง รวมทั้งใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงใน อนาคตและเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด

109. หากเราร่วมกันสร้างสังคมให้เป็นสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตจะส่งผลต่อสังคมตามข้อต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ผู้ที่ทําผิดได้รับบทลงโทษทั้งทางสังคมและทางกฎหมาย
(2) คนที่ทําทุจริตก็จะเกิดความละอายไม่กล้าที่จะทําทุจริต
(3) เกิดกระแสการต่อต้านต่อการกระทําทุจริต
(4) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เมื่อประชาชนในประเทศมีความตื่นตัวที่ว่า “ไม่ทนต่อการทุจริต” แล้ว จะทําให้ เกิดกระแสการต่อต้านต่อการกระทําทุจริต และคนที่ทําทุจริตก็จะเกิดความละอายไม่กล้าที่จะ ทําทุจริตต่อไป เช่น หากพบเห็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น อาจมีการบันทึกเหตุการณ์หรือลักษณะ การกระทํา แล้วแจ้งข้อมูลเหล่านั้นไปยังหน่วยงานหรือสื่อมวลชน เพื่อที่จะร่วมกันตรวจสอบ การกระทําที่เกิดขึ้น เป็นต้น

110. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)
ได้มีการกําหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าอย่างไร
(1) ประเทศไทยก้าวไกล สู่ไทย 4.0
(2) ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต
(3) ประเทศไทยมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
(4) ประเทศไทยพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 100. ประกอบ

111. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความโปร่งใส (Accountability)
(2) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(3) หลักความรับผิด (Responsibility)
(4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
ตอน 3 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

112. ข้อใดต่อไปนี้คือกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) การก้าวล้ํายุคโลกาภิวัตน์
(2) การดํารงอยู่และการปฏิบัติตนตามความพอใจ
(3) การดํารงอยู่และการปฏิบัติตนตาม ทางสายกลาง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

113. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร N ในหลัก STRONG คือ
(1) Knowless
(2) KNockledge
(3) Knowledge
(4) KNowhow
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้)
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = KNowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นสาเหตุของการทุจริต
(1) มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบต่าง ๆ
ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
(2) กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
(3) การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
(4) ความมีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่เข้มแข็ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สาเหตุของการทุจริต ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในต่าง ๆ มีดังนี้
1. แรงขับเคลื่อนที่ทําให้อยากมีรายได้เป็นจํานวนมาก
2. มีสถานการณ์หรือโอกาสที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตได้เป็นจํานวนมาก และมีกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่อาจนําไปสู่การทุจริต
3. การออกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เข้มแข็ง
4. กฎหมายและประมวลจริยธรรมไม่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย
5. ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และเจตจํานงทางการเมืองที่ไม่เข้มแข็ง ฯลฯ

115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นมิติ 4 ด้าน ของเศรษฐกิจพอเพียง
(1) มิติด้านเศรษฐกิจ
(2) มิติด้านจิตใจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 103. ประกอบ

116. ความละอายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คืออะไร
(1) ความละอายระดับต่ำ และความละอายระดับที่สูง
(2) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับที่สูง
(3) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับปลาย
(4) ความละอายระดับภายนอก และความละอายระดับภายใน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 102. ประกอบ

117. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง
(1) ยึดทางสายกลางเป็นแนวทางดําเนินชีวิต ทําอะไรสุดโต่ง เต็มที่
(2) ดําเนินชีวิตอย่างพอเพียง พอมีพอกิน ไม่โลภ
(3) ไม่ยึดวัตถุเป็นที่ตั้ง ไม่หลงตามกระแสนิยม พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ
(4) ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ตอบ 1 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่าง ๆ อาจสรุปได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการดําเนินชีวิตบนทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ จะต้อง มีความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และไม่ประหยัดมัธยัสถ์จนขาดแคลน (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการประยุกต์ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง)

118. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(2) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(4) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
ตอบ 2 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

119. การคอร์รัปชั่นทวนน้ำ เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) พ่อค้า
(2) ข้าราชการ
(3) นักการเมือง
(4) นายทุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ำ (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ำ (Corruption with Theft)

120. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(2) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
(3) การทําสมาธิ
(4) ฝึกการเป็นผู้ให้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ

RAM1301 (RAM1000) ความรู้คู่คุณธรรม s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1.ปัจจุบันราคาค่าหน่วยกิตระบบ Pre Degree ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) 50 บาท
(2) 60 บาท
(3) 40 บาท
(4) 30 บาท
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันราคาค่าลงทะเบียนหน่วยกิตระบบ Pre Degree ของมหาวิทยาลัย รามคําแหง คือ หน่วยกิตละ 50 บาท (จํานวนเงินขึ้นอยู่กับหน่วยกิตที่ลงทะเบียน)

2. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีคุณธรรมอะไรบ้าง
(1) พอเพียง, วินัย, จิตอาสา, ซื่อสัตย์
(2) พอเพียง, วินัย, สุจริต, จิตอาสา
(3) พอเพียง, สามัคคี, จิตอาสา, วินัย
(4) พอเพียง, ซื่อสัตย์, ขยัน, สามัคคี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา ซึ่งเป็นผู้ร่างหลักการนําเสนอ “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1” (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2564) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ได้กําหนดคุณธรรม ที่พึงประสงค์สําหรับสังคมไทย เพื่อนําไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ 4 ประการ ได้แก่
1. พอเพียง
2. วินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา

3.หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
(2) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) ฟังเสียงข้างมาก
ตอบ 1(คําบรรยาย) หลักการทางประชาธิปไตยที่สําคัญที่สุด ได้แก่
1. หลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
2. หลักความเสมอภาค
3. หลักนิติธรรม
4. หลักเหตุผล
5. หลักการถือเสียงข้างมาก
6. หลักการประนีประนอม

4.หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
(1) เข้าร่วมกิจกรรมของสังคม
(2) รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(3) เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีดังนี้
1. เคารพกฎหมายและกติกาของสังคม
2. เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
3. มีเหตุผลและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
6. เข้าร่วมกิจกรรมการเมืองการปกครอง เช่น การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม, การกล้าเสนอตนเองในการทําหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง ฯลฯ

5.สถานที่ตั้งชั่วคราวของมหาวิทยาลัยรามคําแหง เป็นของหน่วยงานใดในขณะนั้น
(1) หน่วยงานของราชการ
(2) หน่วยงานของเอกชน
(3) หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 16 สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในคราวประชุมเมื่อวันที่
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เป็นมติให้อาศัยสถานที่แสดงสินค้าของทางการที่ตําบลหัวหมาก เป็นสถานที่ชั่วคราว โดยเป็นการใช้สถานที่ร่วมกันกับกรมเศรษฐสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่ ดูแลสถานที่แสดงสินค้าในขณะนั้น

6. ข้อใดคือหลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านการเมือง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4(คําบรรยาย) หลักความสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความสําคัญในด้านการเมือง คือ ประชาธิปไตยจะประสบความสําเร็จได้ ประชาชนจะต้อง เป็นพลเมืองดี
2. ความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ คือ เกิดความเป็นธรรมในการผลิต การบริโภค การกระจาย การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ นํามาซึ่งความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม
3. ความสําคัญในด้านสังคม คือ ทําให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความรักและ ความสามัคคีในหมู่คณะ สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

7.ก่อนจะมาเป็นชื่อ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง ร่าง พ.ร.บ. ฉบับแรก ในขณะนั้นมีชื่อว่า
(1) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.
(2) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.
(3) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรัตนาธิเบศร์ พ.ศ.
(4) ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสวรรคโลก พ.ศ.
ตอบ 1 หน้า 7 ในวาระที่ 2 ของการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง มีประเด็นที่สําคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชื่อร่าง พ.ร.บ.” ไม่มีผู้แปรญัตติ แต่มีการแก้ไขโดย คณะกรรมาธิการวิสามัญจากร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย…….พ.ศ……. เป็นร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ…….

8. วันสําคัญของมหาวิทยาลัยที่มีการจัดงานทุกวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี
(1) วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย
(2) วันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(3) วันพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรก ปี พ.ศ. 2518
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

9. สถานที่ที่ใช้เป็นสํานักงานอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรามคําแหงแห่งแรก คือ
(1) LA3
(2) NB5
(3) SO2
(4) AD1
ตอบ 4 หน้า 20 เมื่อกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ประกาศใช้แล้ว คณะกรรมการ เตรียมการฯ ได้ย้ายที่ทําการไปใช้อาคารหอประชุมเดิมของสถานแสดงสินค้า ซึ่งต่อมาจะ เรียกว่า อาคารเอดี 1 (ADI) เป็นที่ตั้งของสํานักงานอธิการบดี โดยชั้นบนเป็นห้องทํางาน ของอธิการบดีและห้องประชุมผู้บริหาร ส่วนชั้นล่างเป็นห้องทํางานของฝ่ายธุรการ

10. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการขับรถ
(1) ขับรถแซงทางโค้ง
(2) ขับรถช้าแต่มาอยู่ในเลนขวาสุด
(3) ขับรถเร็วเกินกําหนดมาตรฐาน
(4) ขับรถจี้กระชั้นชิด
ตอบ 5 (ความรู้ทั่วไป) มารยาทในการขับรถบนท้องถนนที่ควรรู้ ได้แก่
1. ขับรถช้าไม่ควรอยู่ในเลนขวาสุด
2. ไม่ขับรถแซงทางโค้ง
3. ไม่ขับรถจี้กระชั้นชิด หรือไม่ขับทิ้งช่วงห่างระหว่างคันหน้ามากจนเกินไป
4. รักษาเลนของตัวเองเวลาเลี้ยว
5. ไม่ควรเปิดไฟสูงขณะขับรถสวนกัน
6. ขับรถในความเร็วที่ปลอดภัย และขับตามการจํากัดความเร็วที่กฎหมายกําหนด ฯลฯ

11. คําที่ควรใช้ให้ติดปากในการพูด
(1) สวัสดี
(2) ขอบคุณ
(3) ขอโทษ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําที่ควรใช้ให้ติดปากในการพูดเพื่อสร้างทัศนคติที่ดี และถือเป็นมารยาทในการ พูดจา ได้แก่ การฝึกพูดคําว่า “สวัสดี” ซึ่งเป็นคําทักทายของคนไทย โดยจะใช้เมื่อแรกพบกัน หรือเมื่อต้องการบอกลา, “ขอบคุณ” เมื่อมีผู้แสดงคุณต่อตน, “ขอโทษ” เมื่อตนทําพลาดพลั้ง สิ่งใดแก่บุคคลใด และ “ไม่เป็นไร” แสดงถึงการให้อภัย เมื่อมีผู้อื่นทําพลาดพลั้งสิ่งใดแก่ตัวเรา

12. ลักษณะสําคัญของการเป็นพลเมืองดี
(1) เข้าใจระบอบประชาธิปไตย
(2) รับผิดชอบต่อสังคม
(3) ไม่เห็นด้วยกับความแตกต่าง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของการเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. มีความกตัญญูกตเวที
2. มีค่านิยมประชาธิปไตย
3. มีคุณธรรมจริยธรรม
4. มีความขยันหมั่นเพียร
5. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเอง ครอบครัว และสังคม
6. มีความเสียสละทําประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีจิตสาธารณะ
7. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม
8. มีความซื่อสัตย์สุจริต

13. คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ข้อใดปรากฏอยู่ในแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
(1) พอเพียง
(2) ซื่อสัตย์
(3) จิตอาสา
(4) วินัย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
4. มีวินัย
8. มีน้ำใจ
(วินัย เป็นหนึ่งในคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ซึ่งปรากฏอยู่ในแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม
แห่งชาติ ฉบับที่ 1 ด้วย) (ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ)

14. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
(1) ไม่นั่งเท้าคางบนโต๊ะอาหาร
(2) ไม่พูดขณะรับประทานอาหาร
(3) ไม่ใช้ช้อนกลางทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
(4) ไม่เล่าเรื่องที่ไม่เหมาะสมขณะรับประทานอาหาร
ตอบ 3 (คําบรรยาย) มารยาทในการรับประทานอาหารที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การใช้ช้อนกลาง เพื่อตักอาหารหรือกับข้าวที่เป็นของกลางมาใส่จานข้าวของตน ไม่ใช้เครื่องใช้ที่เป็นส่วนของตนเองตักอาหารซึ่งเป็นของกลางเป็นอันขาด โดยประโยชน์จากการใช้ช้อนกลางก็คือ ป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ

15. ข้อใดคือความหมายของ “ธรรมะ”
(1) การกระทําที่แสดงออกมา
(2) การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม
(3) การกระทําที่มีความหมายเป็นนามธรรม
(4) การกระทําที่สังคมยอมรับว่ามีศีลธรรม
ตอบ 2 หน้า 40 คําว่า “คุณธรรมจริยธรรม” มักถูกใช้ควบคู่กันเสมอ แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นคํา 2 คํา ที่แยกออกจากกันและมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ความหมายของคําว่า “คุณ” (คุณะ) หมายถึง ความดี ซึ่งเป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “ธรรม” (ธรรมะ) หมายถึง การกระทําที่มีความหมายเป็นรูปธรรม

16. มหาวิทยาลัยรามคําแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติของต่างประเทศมีกี่ประเทศ
(1) 36 ประเทศ
(2) 32 ประเทศ
(3) 41 ประเทศ
(4) 34 ประเทศ
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ทําการขยายการเรียนการสอนไปสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2546 จนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคําแหงสาขา วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติของต่างประเทศมีอยู่ 32 ประเทศทั่วโลก

17. พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เปรียบเทียบความรู้และคุณธรรมอย่างไร
(1) ความรู้เหมือนเครื่องยนต์ ส่วนคุณธรรมเสมือนหนึ่งกลไกการทํางานของเครื่องยนต์
(2) ความรู้เหมือนสติปัญญา ส่วนคุณธรรมเสมือนหนึ่งสภาพคุณงามความดี
(3) ความรู้เหมือนกลไก ส่วนคุณธรรมเป็นเสมือนหนึ่งระบบของสังคม
(4) ความรู้เหมือนเครื่องยนต์ ส่วนคุณธรรมเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ
ตอบ 4 หน้า 38 พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 ความว่า “ความรู้นั้นเสมือนเครื่องยนต์ที่ทําให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้วเป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัย ที่นําทางให้ยวดยานดําเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์…”

18. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. ใด
(1) พ.ศ. 2559 – 2561
(2) พ.ศ. 2559 – 2563
(3) พ.ศ. 2559 – 2564
(4) พ.ศ. 2559 – 2562
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

19. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการประชุม
(1) ษาจดบันทึกขณะฟังการประชุม
(2) คู่มาประชุมตรงต่อเวลา
(3) แมวยกมือขออนุญาตเพื่อแสดงความคิดเห็น
(4) ดาวส่งไลน์หาเพื่อนในขณะประชุม

ตอบ 4 (คําบรรยาย) มารยาทในการประชุมที่ต้องรักษาไว้ มีดังนี้
1. การตรงต่อเวลาในการประชุม
2. การขออนุญาตที่ประชุมเมื่อเข้าประชุมสาย หรือออกจากห้องประชุมก่อนกําหนด
3. การยกมือขวาขึ้นเพื่อขอแสดงความคิดเห็น หรือต้องการถาม
4. การเป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักอดทนฟังเรื่องราวให้จบ และจดบันทึกขณะฟังการประชุม
5. เคารพกฎกติกาและเคารพมติของที่ประชุม
6. ไม่พูดแทรกหรือตัดบทไม่ให้พูดขณะที่ผู้อื่นกําลังแสดงความคิดเห็น
7. ไม่คุยเรื่องส่วนตัว คุยเสียงดัง หรือวิพากษ์วิจารณ์ นินทาผู้อื่นในขณะประชุม ฯลฯ

20. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(2) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พลเมืองดีของสังคมมีลักษณะดังนี้
1. การคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
2. มีวินัย
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
4. มีความอดทน
5. ประหยัดและอดออม ใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
7. มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ไม่มีอคติ
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย

21. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) ขยายสถานที่เรียนที่กําลังขาดแคลนในขณะนั้น
(2) ขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้แก่ประชาชน
(3) ขยายเวลาให้ผู้สนใจสมัครเรียนได้มีโอกาสเข้ามาเรียนได้มากขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 1 – 2 จากปัญหาสั่งสมเรื่องนักเรียนตกค้างไม่มีที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐเรื่อยมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ทําให้กลุ่มนักการเมืองที่เป็น ส.ส. พรรคสหประชาไทย โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค และมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2511 ซึ่งสมาชิกใน กลุ่มนี้หลายคนเป็นผู้ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) มาก่อน จึงได้ร่วมกันปรึกษาริเริ่มให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยรามคําแหง) เพื่อขยายสถานที่เรียนที่กําลังขาดแคลนในขณะนั้น อันเป็นการแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่มีที่เล่าเรียนจะได้หมดสิ้นไป

22. พลเมืองดีของสังคมข้อใดถูกที่สุด
(1) มีน้ำใจต่อคนในครอบครัว
(2) มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว
(3) คํานึงถึงพ่อแม่ผู้มีพระคุณเป็นหลัก
(4) มีวินัย มีความอดทน ประหยัด อดออม และอยู่อย่างพอเพียง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20. ประกอบ

23. ข้อใดไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องของ “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย”
(1) ไม่เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คําบรรยาย) พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะสําคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

24. สถานที่ใช้ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(2) สนามกีฬาศุภชลาศรัย
(3) ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล
(4) สนามกีฬาหัวหมาก
ตอบ 3 หน้า 22 วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2514 เป็นวันประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคําแหงครั้งแรก ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในฐานะนายก สภามหาวิทยาลัยรามคําแหงคนแรก เป็นประธาน

25. คุณสมบัติของพลเมืองดี
(1) มีจิตสาธารณะ
(2) มีหลักคุณธรรมประจําใจ
(3) ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 12. ประกอบ

26. คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ข้อใดถูกต้อง
(1) อดทน, มีน้ำใจ, มีวินัย
(2) สามัคคี, ประหยัด, มีวินัย
(3) สามัคคี, สุภาพ, ไม่เห็นแก่ตัว
(4) รับผิดชอบ, สามัคคี, ตรงต่อเวลา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

27. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ให้ความหมายของคุณธรรม คือ
(1) คุณธรรม คือ ธรรมที่มีกรอบปฏิบัติที่ดีงามและถูกต้องชอบธรรม
(2) คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูลที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์
(3) คุณธรรม คือ ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูงกว่าผู้อื่นที่พบเห็น
(4) คุณธรรม คือ หลักการพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมให้ดีงาม
ตอบ 2 หน้า 41 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวไว้ว่า คุณธรรม คือ ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม หรือสภาพที่เกื้อกูลซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เพื่อเสริมสร้าง คุณสมบัติทางจิตใจให้ดีงาม ทําให้เป็นผู้มีจิตใจที่สูง ประณีต และประเสริฐแก่ผู้ที่พบเห็นหรือ ได้อยู่ด้วย ประกอบด้วย 1. เมตตา 2. กรุณา 3. มุทิตา 4. อุเบกขา 5. จาคะ

28. ข้อใดเป็นการแต่งกายที่เหมาะสมกับการไปงานมากที่สุด
(1) แต่งชุดดําไปงานแต่งงาน
(2) แต่งชุดสีแดงไปงานศพ
(3) แต่งชุดเปิดร่องอกไปดูหนังกับแฟน
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4(คําบรรยาย) วิธีการพัฒนาบุคลิกภายนอกด้านบุคลิกภาพการแต่งกายที่ดี มีดังนี้
1. วิเคราะห์บุคลิกและรูปลักษณ์เป็นรายบุคคล เพื่อการเลือกสรรเสื้อผ้าและรองเท้า ที่มีความเหมาะสมกับงานที่จะไป
2. ใช้ความรู้พื้นฐานในเรื่องลายเส้นและแบบที่เหมาะสมกับรูปร่าง
3. แต่งกายให้สุภาพ เหมาะสมกับสถานภาพ วัย และกาลเทศะ
4. แต่งกายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ

29. “คุณะ” มีความหมายตรงตามข้อใด
(1) ความดี เป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา
(2) ความดี เป็นความหมายของความถูกต้องชอบธรรม
(3) ความดี เป็นความหมายทางนามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ
(4) ความดี เป็นความหมายของอารมณ์และความรู้สึก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

30. หัวใจสําคัญของหลักประชาธิปไตย ข้อใดถูกต้องมากที่สุด
(1) ฟังเสียงข้างมาก
(2) อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
(3) มีเสรีภาพ
(4) การปกครองเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

31. พลเมืองดี หมายถึง
(1) ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน
(2) ทั้งกิจที่ต้องทํา
(3) กิจที่ควรทํา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมืองดี” หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้อย่างครบถ้วน ทั้งกิจที่ ต้องทําและกิจที่ควรทํา

32. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
(1) การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
(2) การขาดระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
(3) การเห็นแก่ประโยชน์ครอบครัวตนเอง
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1(คําบรรยาย) คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี มีดังนี้
1. ความเอื้อเฟื้อ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
3. รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทําชั่ว
6. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
7. ความสามัคคี
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจ ฯลฯ

33. สิ่งที่ไม่ควรถามเมื่อเจอกับเพื่อนหรือคนรู้จัก
(1) สวัสดีค่ะ ทานข้าวมาหรือยังคะ
(2) สวัสดีค่ะ ไม่สบายหรือเปล่าดูซูบไปนะคะ
(3) สวัสดีค่ะ วันนี้ว่างไปทานข้าวด้วยกันไม้คะ
(4) สวัสดีค่ะ สบายดีนะคะ
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ) การทักทายของคนไทยนั้นมักจะเริ่มต้นด้วยการ กล่าวคําปฏิสันถารว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” และกล่าวต่อไปว่า “สบายดีหรือคะ/ครับ” หรือพูดถึง เรื่องทั่วไปในชีวิตประจําวัน เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ ถามถึงสารทุกข์สุขดิบ หรือการทํามาหากิน แต่ไม่ควรพูดเกี่ยวกับรูปร่าง หน้าตา หรือสีผิวของคู่สนทนา ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี

34. คําว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” หมายถึง
(1) ไม่เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา
(2) ไม่มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดํารงชีวิต
(3) ไม่จําเป็นต้องปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดํารงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 23. ประกอบ

35. พลเมือง หมายถึงข้อใด
(1) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(2) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(3) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมือง” ในประเทศไทย น่าจะถูกนํามาใช้ในสมัยหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมาย ของคําว่า “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน

36. วันสําคัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการได้จัดงานรัฐพิธีขึ้นพร้อมกันทุกปี
(1) วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย
(2) วันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี
(3) วันพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรก พ.ศ. 2518
(4) วันปฐมนิเทศนักศึกษารุ่นแรก
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยได้มีมติอนุมัติและประกาศให้ วันที่ 17 มกราคมของทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทั้งนี้เพราะเป็นวันที่รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงเป็นครั้งแรกในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376 ดังนั้นจึงถือว่าเป็นวันสําคัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการได้จัดงานรัฐพิธีขึ้นพร้อมกันทุกปี

37. หน้าที่ของพลเมือง หมายถึงข้อใด
(1) เคารพกฎหมาย
(2) เสียภาษี
(3) ยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อชาติบ้านเมือง ได้แก่ การป้องกันประเทศและรักษา ผลประโยชน์ของชาติ, การเข้ารับราชการทหาร, การเสียภาษีอากร, การปฏิบัติตนให้อยู่ใน ศีลธรรมตามหลักของศาสนา, การเคารพกฎหมาย, การยึดมั่นในชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ฯลฯ

38. ถ้านักศึกษาต้องการสําเนาสื่อคําบรรยายกระบวนวิชา แหล่งเรียนรู้ใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.techno.ru.ac.th/new
(2) www.computer.ru.ac.th
(3) www.e-learning.ru.ac.th
(4) www.ram2.ru.ac.th
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สํานัก เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการผลิต พัฒนา และบริการสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทุกแขนงวิชา ดังนั้นสํานักเทคโนโลยีการศึกษา จึงถือเป็นแหล่งรวมของสื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปี ผ่านทาง www.techno.ru.ac.th/new/ เช่น บริการสําเนาสื่อคําบรรยายกระบวนวิชาต่าง ๆ ด้วย DVD และ Flash Drive, บริการยืมสื่อการศึกษา ฯลฯ

39. องค์ประกอบของคุณธรรมจริยธรรมของกรมวิชาการ คือ
(1) ด้านการกระทํา
(2) ด้านความสามารถ
(3) ด้านความรู้
(4) ด้านสติปัญญา
ตอบ 3 หน้า 49 กรมวิชาการ ได้จัดทําเอกสารการประชุมเกี่ยวกับจริยธรรมไทย และสรุปว่า คุณธรรมจริยธรรมของบุคคลมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ด้านความรู้
2. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
3. ด้านพฤติกรรม

40. สี่องค์ประกอบหลักของแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เท่าไร
(1) ฉบับที่ 8
(2) ฉบับที่ 10
(3) ฉบับที่ 12
(4) ฉบับที่ 15
ตอบ 2 – หน้า 63 – 66 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมวล
หลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 โดยจําแนกออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. แนวคิดหลัก
2. เป้าประสงค์
3. หลักการ
4. เงื่อนไขพื้นฐาน

41. ความรู้ในลักษณะ Soft Skill คือข้อใด
(1) สมคิดมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้นํา
(2) สมหวังเก่งการถ่ายภาพ
(3) สมหมายเก๋งขับรถยนต์
(4) สมควรเรียนหนังสือเก่งมาก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ประเภทของความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบของสื่อหรือเอกสาร (Hard Skills) ที่เราถ่ายทอด ปฏิบัติ หรือได้รับ การฝึกฝนมา เช่น การเขียนหนังสือหรือตํารา, การขับรถยนต์เก่ง, การถ่ายภาพสวย ฯลฯ
2. ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา (Soft Skills) หรือเรียกว่า “พรสวรรค์” รวมทั้งทักษะในด้าน ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน เช่น ทักษะด้านการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูล, ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นํา, การจัดการแก้ปัญหา, การมีคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ

42. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักวิชา
(1) ติวหนังสือให้เพื่อน
(2) ขยันทบทวนบทเรียนจนสอบผ่าน
(3) ไม่ทุจริตในการสอบ
(4) วางแผนการจ่ายเงินโดยใช้ความรู้ด้านบัญชี
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก เช่น วางแผนการใช้จ่ายเงินโดย มีความรู้ด้านบัญชีพื้นฐาน, วางแผนการออมและการลงทุนโดยใช้ความรู้ด้านการเงิน เป็นต้น

43. การรักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในสังคมระดับใด
(1) ระดับธุรกิจ
(2) ระดับชุมชน
(3) ระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 68 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสง่างาม เหมาะสมกับที่จะเป็นต้นแบบให้สมาชิกคนอื่น ๆ ได้เลียนแบบ และปฏิบัติตาม โดยหัวหน้าครอบครัวจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม
8. อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

44. ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหงเดิมแรกเริ่มทําด้วย
(1) เหล็ก
(2) ไม้
(3) ผ้า
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง เมื่อแรกเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2514 ทําด้วยหินแกรนิต (Granite) หรือหินแกรไนท์ สีน้ําเงินเกล็ดมุก และตัวอักษรที่ประดับป้าย คําว่า “มหาวิทยาลัยรามคําแหง” ด้านหน้าทํามาจากโลหะสีทองบรอนซ์ ส่วนด้านหลังป้าย มีคําว่า “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุนฯ สนองคุณชาติ” ซึ่งเป็นคําขวัญแรกที่คิดขึ้นโดย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

45.Global Village แสดงถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้องในเรื่องใด
(1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
(2) สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
(3) กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
(4) การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หมู่บ้านโลก (Global Village) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม โดยเฉพาะการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ทําให้สังคมโลก
ไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทําอะไรก็สามารถ รับรู้ได้ทั่วโลก หรือสิ่งใดที่มากระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่น ๆ ไปด้วยอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยงได้

46. ระดับของคุณธรรมและจริยธรรม มีอะไรบ้าง
(1) ศีลธรรมและคําสอนของศาสนา
(2) โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม
(3) การเลียนแบบและการสร้างด้วยตนเอง
(4) สติปัญญาและความรู้สึก
ตอบ 2 หน้า 48, (คําบรรยาย) การวัดระดับของคุณธรรมจริยธรรมทําได้ 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโลกิยธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของมนุษย์โลก สภาวะเนื่องกับโลก จัดเป็นธรรม ขั้นต้น เช่น ศีล 5 ได้แก่ ห้ามฆ่าสัตว์, ห้ามลักขโมย, ห้ามประพฤติผิดในกาม, ห้ามพูดปด และห้ามดื่มน้ําเมา เป็นต้น โดยมุ่งให้บุคคลอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่ทําชั่ว ไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน สร้างแต่คุณงามความดี และทําจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

2. ระดับโลกุตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก จัดเป็นธรรมชั้นสูง เช่น มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งผู้ที่บรรลุจริยธรรมระดับนี้จัดเป็นอริยบุคคล คือ ผู้พ้นจากกิเลส

47. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Explicit Knowledge
(1) นายเอเป็นนักเขียน
(2) นายบีเป็นนักวาดภาพ
(3) นายซีเป็นนักเขียนข่าว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความรู้ 2 ประเภท มีดังนี้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ที่ซ่อนเร้นไม่เปิดเผย (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ ในตัวคนหรืออยู่ในสมองของคน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของบุคคลที่สั่งสมมาอย่าง ยาวนาน จึงเป็นความรู้ติดตัวที่เรียนรู้จากการสั่งสมประสบการณ์การทํางานต่าง ๆ รวมทั้ง ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด เช่น เซฟทําอาหาร, นักกีฬา ฟุตบอลทีมชาติ, ครูสอนหนังสือ ฯลฯ

2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ชัดแจ้งที่สามารถ สัมผัสหรือจับต้องได้ ซึ่งจะถ่ายทอดออกมาในรูปของตํารา หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ภาพวาด รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ

48. บทเรียนออนไลน์ คือแหล่งเรียนรู้ลักษณะใด
(1) แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
(2) แหล่งเรียนรู้ออฟไลน์
(3) แหล่งเรียนรู้แบบเปิด
(4) แหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เช่น สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมต่าง ๆ

49.การ Reskill หมายถึงข้อใด
(1) การเพิ่มความสามารถในการทํางาน
(2) การพัฒนาทักษะจากงานเดิม
(3) การเสริมทักษะจากงานเดิม
(4) การสร้างทักษะใหม่ในการทํางาน
ตอบ 4(คําบรรยาย) การ Reskill คือ การสร้างทักษะใหม่ในการทํางานที่แตกต่างไปจากงานเดิม ที่ทําอยู่ เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อนําไปใช้กับบริบทอื่นของตําแหน่งงาน และเพื่อให้ สามารถตอบโจทย์กับการทํางานในยุคที่เทคโนโลยีและดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา (ส่วนการ Upskill คือ การเสริมและพัฒนาทักษะจากงานเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการ ทํางาน และส่วนใหญ่เป็นการนําเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อให้เข้ากับการทํางาน เช่น เรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เมื่อบริษัทนั้นนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทํางานใหม่ เป็นต้น)

50. แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม คือข้อใด
(1) การเลียนแบบ
(2) การจินตนาการ
(3) สร้างในตนเองได้
(4) ปรัชญา
ตอบ 4 หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และ สุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง

51. สุภาษิตของไทยในข้อใดที่มีความสอดคล้องกับเรื่องของเงื่อนไขชีวิตของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
(2) ดินพอกหางหมู
(3) ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
(4) ตําน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ตอบ 1 หน้า 66 – 67 เงื่อนไขชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติและปัญญา แก้ไขปัญหาและบริหารจัดการชีวิต โดยใช้หลักวิชาและหลัก คุณธรรมเป็นหลักพื้นฐาน ย่อมส่งผลให้ชีวิตมีคุณภาพและมีความสุข เพราะสามารถเข้าใจ ชีวิตและทําให้รับได้กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาไม่ว่าจะร้ายหรือดี ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตของไทยที่ว่า “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” (เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสําเร็จผล)

52. การเกิดคุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากลักษณะใด
(1) ศาสนา
(2) วรรณคดี
(3) สังคม
(4) การเลียนแบบ
ตอบ 4 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. เกิดจากการเลียนแบบ
2. เกิดจากการสร้างในตนเอง
3. เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

53. เหตุการณ์ใดดังต่อไปนี้ที่ทําให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงถูกกล่าวถึง และถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการใช้ ชีวิตให้ดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์
(1) การแพร่ระบาดไข้หวัดนก
(2) สึนามิภาคใต้
(3) วิกฤติต้มยํากุ้ง
(4) พฤษภาทมิฬ
ตอบ 3 หน้า 59 – 60 เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําหรือวิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 เรียกว่า “วิกฤติต้มยํากุ้ง” เป็นช่วงเวลาที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญอย่างเด่นชัดและถูกนํามาพิจารณาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตให้สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์

54. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะของความพอเพียง
(1) ความมีเหตุผล
(2) ความเมตตา
(3) ความพอประมาณ
(4) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
ตอบ 2 หน้า 65 ความพอเพียงประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
1. ความพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง

55. “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะกับประเทศ แต่เป็นประโยชน์กับทุกประเทศ
ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” ใครเป็นผู้กล่าวข้อความนี้
(1) ประเวศ วะสี
(2) โคฟี อันนัน
(3) พระธรรมปิฎก
(4) มหาตมะ คานธี
ตอบ 2 หน้า 62 นายโคฟี อันนั้น ซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะกับประเทศ แต่เป็นประโยชน์กับทุกประเทศที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน”

56. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเรียนรู้
(1) ผู้สอน
(2) แหล่งเรียนรู้
(3) ผู้เรียน
(4) สภาพแวดล้อม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน คือ แหล่งเรียนรู้ชนิดหนึ่ง
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น ตํารา หนังสือ สื่อออนไลน์ สถานที่ต่าง ๆ ฯลฯ

57. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริของในหลวงรัชกาลที่ 9
(1) ควรมีสถานศึกษาในชุมชนในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2
(2) ควรแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1
(3) ควรหาธนาคารที่จะสนับสนุนการเงินในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
(4) ควรหาหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
ตอบ 2 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1. ขุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

58. การไม่ทุจริตในการสอบ ถือว่านักศึกษามีความพอเพียงในเงื่อนไขใด
(1) เงื่อนไขชีวิต
(2) เงื่อนไขคุณธรรม
(3) เงื่อนไขพื้นฐาน
(4) เงื่อนไขหลักวิชา
ตอบ 2 หน้า 66 เงื่อนไขคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของตน ให้เป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น เช่น การที่นักศึกษาแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อน ไม่ทุจริตในการสอบ และพึงพอใจในผลสอบที่ตนเองได้รับ เป็นต้น

59. พฤติกรรมการเลียนแบบ มีความสําคัญต่อการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในสังคมระดับใดมากที่สุด (1) ระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ระดับธุรกิจ
(3) ระดับประเทศ
(4) ระดับชุมชน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

60. การไม่ลักขโมยสิ่งของคนอื่นมาเป็นของตน คือ ระดับของคุณธรรมจริยธรรมข้อใด
(1) โลกายธรรม
(2) ศีล 5
(3) โลกุตรธรรม
(4) โลกิยธรรม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 46. ประกอบ

61. เมื่อนักศึกษายินดีกับความสําเร็จของบุคคลอื่น ไม่อิจฉาริษยา นักศึกษามีคุณธรรมข้อใด
(1) อุเบกขา
(2) กรุณา
(3) มุทิตา
(4) เมตตา
ตอบ 3 หน้า 41, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกกันว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลักธรรม ประจําใจ เพื่อให้ตนดํารงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น “พรหม” ซึ่งประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม

62. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความพอเพียง
(1) ทุกครอบครัวต้องทอเสื้อผ้าใส่เอง
(2) ผลิตอาหารแล้วนําไปขายภายในหมู่บ้าน
(3) ใช้ของหรูหราได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 60 รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแก่พสกนิกรไทยตอนหนึ่ง ความว่า “ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้อง ทอเสื้อผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้อง เสียค่าขนส่งมากนัก….พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียน คนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ…”

63. ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจน เรียกว่าอะไร
(1) ทฤษฎีเงื่อนไข
(2) ทฤษฎีใหม่
(3) ทฤษฎีความพอเพียง
(4) ทฤษฎีทางสายกลาง
ตอบ 2 หน้า 71, (คําบรรยาย) ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน และให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ที่ประสบปัญหาจากการผันแปรของธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อการเกษตรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

64. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายเกี่ยวกับหลักของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องที่สุด
(1) ความพอเพียงต้องอาศัยเงื่อนไข 3 ประการ คือ เงื่อนไขคุณธรรม เงื่อนไขหลักวิชา และเงื่อนไขเหตุผล (2) ความพอประมาณ คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
(3) การลดละเลิกอบายมุข ปฏิบัติได้ตั้งแต่ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

65. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 หน่วยงานใดเป็นผู้ร่างหลักการขึ้นมา
(1) กระทรวงวัฒนธรรม
(2) กระทรวงมหาดไทย
(3) กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สํานักพระพุทธศาสนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

66. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้ที่ขาดภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(1) สมชายชวนเพื่อนมาปาร์ตี้ที่บ้านทุกวันศุกร์
(2) ตะวันหมั่นทบทวนบทเรียนสม่ำเสมอ
(3) มานั่งดเดินทางไปต่างหวัดในช่วงโควิดระบาด
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1หน้า 65, 82, (คําบรรยาย) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับ ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่จะเกิดขึ้น โดยต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้และ ประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ล่วงหน้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อให้สามารถ ปรับตัวและพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพด้วยเวลาที่เหมาะสม เช่น ตะวันวางแผนการทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และดูแลสุขภาพร่างกายของ ตัวเองให้แข็งแรงเพื่อความพร้อมในการเข้าสอบ, มานั่งดไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อน และงดการ เดินทางไปต่างหวัดในช่วงโควิดระบาด เป็นต้น

67. ข้อใดต่อไปนี้คือ หลักที่ควรคํานึงถึงของความมีเหตุผลตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) หลักวิชาการ
(2) หลักกฎหมาย
(3) หลักจริยธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับ ความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

68. เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากอะไร
(1) พัฒนาการของมนุษย์มีสภาวะหยุดนิ่ง ไม่มีความต่อเนื่อง
(2) ความสามารถของมนุษย์เองที่จะเรียนรู้
(3) มนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงและจากสังคมด้วยเช่นกัน
(4) การปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 50 เพียเจต์ (Piaget) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้าง สมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาพแวดล้อมที่จะทําให้มนุษย์ดํารงชีวิตอยู่ โดยพัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ

69. แหล่งเรียนรู้มีความสําคัญอย่างไร
(1) ช่วยพัฒนาสถาบันการศึกษา
(2) แสดงถึงความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม
(3) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดความรู้แบบต่าง ๆ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอดความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

70. ตัวอย่างความหมายของ “จริยธรรม” คือ
(1) ข้อประพฤติปฏิบัติอันดีงาม ตามหลักคําสอนของแต่ละศาสนา
(2) ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักศีลธรรม กฎศีลธรรม และรวมถึงกฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์
(3) ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม สภาพคุณงามความดีที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติต่อกัน
(4) ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ศีลธรรมอันดีในสังคม
ตอบ 2 หน้า 42 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2538 ให้ความหมายของ “จริยธรรม” คือ ข้อประพฤติปฏิบัติตามหลักศีลธรรม กฎศีลธรรม และรวมถึงกฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ ที่เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมาจากหลักการที่มีเหตุมีผล ทําให้ผู้เข้าใจมีมโนธรรม และรู้จัก แยกแยะความถูก/ผิด ควรไม่ควร ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องกับการดําเนินชีวิต

71. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร (1) Self – sufficiency of Thailand
(2) Self – Economy
(3) Self – sufficiency
(4) Self – sufficiency of Economy
ตอบ 4 หน้า 61 รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงแก่พสกนิกรไทยตอนหนึ่ง ความว่า “เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทําเป็น Self – sufficiency มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ ฉันคิด ที่ฉันคิดคือ เป็น Self – sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวีก็ควรให้เขา มีดู ไม่ใช่ไปจํากัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือน คนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป….”

72. ข้อใดคือ รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะ Tacit Knowledge
(1) นายเอเป็นครูสอนหนังสือ
(2) นายที่เป็นนักเขียนนวนิยาย
(3) นายชอบเขียนบทความลงเว็บไซต์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

73. การที่เราไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด ถือได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในด้านใด
(1) ด้านสิ่งแวดล้อม
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านเศรษฐกิจ
(4) ด้านจิตใจ
ตอบ 3 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้าง งบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

74. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดได้
(1) คิดก่อนทํา
(2) คิดถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้จากการตัดสินใจทํา
(3) คิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม
(4) คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการทุจริต
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของการคิดได้ มีดังนี้
1. คิดก่อนทํา (ก่อนกระทําการทุจริต)
2. คิดถึงผลเสียผลกระทบต่อประเทศชาติ (ความเสียหายต่อส่วนรวมในทุก ๆ ด้าน)
3. คิดถึงผู้ที่ได้รับบทลงโทษจากการกระทําการทุจริต (เอามาเป็นบทเรียน)
4. คิดถึงผลเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง (จะต้องอยู่กับความเสี่ยงที่จะถูกร้องเรียน ถูกลงโทษไล่ออก และติดคุก)

75. ข้อใดไม่ใช่ความเสี่ยงที่พบเป็นประจําของเกษตรกรไทย
(1) ภาวะโรคระบาดและศัตรูพืช
(2) แรงงานล้นตลาด
(3) สภาพดินไม่เหมาะสม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 71 ความเสี่ยงที่เกษตรกรไทยมักพบอยู่เป็นประจํา ได้แก่
1. การขาดแคลนน้ํา ฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง
2. ราคาสินค้าเกษตรตกต่ํา
3. สภาพดินที่ไม่เหมาะสม
4. โรคระบาดและศัตรูพืช
5. การพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศที่มีราคาสูง
6. การขาดแคลนแรงงาน
7. มีหนี้สินจนต้องสูญเสียที่ดินท่ากิน

76.ความอดทน ถือเป็นเงื่อนไขใดของหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) เงื่อนไขหลักวิชา
(2) เงื่อนไขสังคม
(3) เงื่อนไขชีวิต
(4) เงื่อนไขคุณธรรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

77. พระราชนิพนธ์เรื่องใดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ถือว่ามีความสอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตในปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
(1) คุณทองแดง
(2) พระมหาชนก
(3) นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2(คําบรรยาย) คุณธรรมหรือแง่คิดสําคัญที่สุดจากเรื่อง “พระมหาชนก” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ 9 คือ ความเพียรพยายามที่บริสุทธิ์ หมายถึง ความเพียรพยายามอย่างเต็มที่และ ชอบธรรมเพื่อปลดเปลื้องทุกข์ ดังนั้นจึงมีความสอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตในปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง (ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ)

78. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน อะไรบ้าง
(1) คุณธรรม, จริยธรรม, จรรยาบรรณ
(2) สติปัญญา, จิตใจ, พฤติกรรม
(3) ความรู้, ความสามารถ, การกระทํา
(4) กาย, วาจา, ใจ
ตอบ 2 หน้า 49, 51 การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สติปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะเห็นได้ว่า “ปัญญา” ถือเป็นองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุด ซึ่งจะชี้นําจิตใจและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ให้ดําเนินไปได้อย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม

79. ข้อใดกล่าวถึง ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
(1) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
(2) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(3) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้ มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่ความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ

80. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) ฝึกการเป็นผู้ให้
(2) การทําสมาธิ
(3) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(4) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ

81. Open Educational Resources หมายถึงข้อใด
(1) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
(2) คลังทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด
(3) การจัดการศึกษาแบบเปิด
(4) ระบบการเรียนรู้รายบุคคล
ตอบ 2 (คําบรรยาย) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources : OER) คือ แหล่งการเรียนรู้ด้านการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมการใช้ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสนับสนุน และ มีเป้าหมายใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้า ซึ่งผู้นําไปใช้อาจจะเป็นการเรียนรู้เพื่อตนเอง ใช้เป็น เอกสารอ้างอิง หรือเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เช่น สื่อมัลติมีเดียใหม่ ๆ วิดีโอบรรยาย ตําราเรียน ฯลฯ

82. ถ้านักศึกษาต้องการค้นคว้าข้อค้นพบจากผลการวิจัย แหล่งเรียนรู้ใดของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
ให้ประโยชน์มากที่สุด
(1) www.ru.ac.th
(2) www.lib.ru.ac.th
(3) www.rupress.ru.ac.th
(4) www.edu.ru.ac.th
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ห้องสมุด ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ประโยชน์ในการค้นคว้าเพื่อการศึกษาและวิจัย มากที่สุด เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งเก็บรวบรวมผลงานวิจัยมากมาย เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับการ ค้นคว้าและแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ โดยนักศึกษาสามารถสืบค้นผ่านเว็บไซต์สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ที่ www.lib.ru.ac.th

83. หลักการปฏิบัติตนตามแนวทางของความพอเพียงของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้ประมวล หลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแสดงให้ประชาชนได้เห็นมาโดยตลอดได้ 10 ข้อ ข้อใด ต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ในหลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท
(1) มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
(2) มีความสุจริตและมีความจริงใจ
(3) รักประชาชน
(4) การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลัก 10 ประการ ตามรอยพระยุคลบาท มีดังนี้
1. ทํางานอย่างผู้รู้จริง และมีผลเป็นที่ประจักษ์
2. มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง
3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
4. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดที่แตกต่าง
6. มีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร
7. มีความสุจริตและความกตัญญู
8. พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
9. รักประชาชน
10. การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

84. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สื่อมวลชน
(3) สถาบันการศึกษา
(4) สถาบันศาสนา
ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานอง คลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

85. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

(1) แสดงที่มา/อ้างอิงที่มา
(2) ใช้เพื่อการค้า
(3) อนุญาตแบบเดียวกัน
(4) อนุญาตให้ใช้แต่ต้องไม่ดัดแปลง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึง ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works – ND) คือ อนุญาตให้ผู้อื่นทําซ้ํา แจกจ่าย หรือแสดงและนําเสนอชิ้นงานดังกล่าวได้ ในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น

86.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ การเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) การถ่ายทอดสดการบรรยายผ่านอินเทอร์เน็ต
(2) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจาก ห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

87. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) หลักด้านครอบครัว
(3) หลักด้านจิตใจ
(4) หลักด้านเทคโนโลยี

ตอบ 2(คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

88. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) การตรวจสอบ
(2) ด้านเศรษฐกิจ
(3) ด้านการเมือง
(4) ด้านการแข่งขัน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเกิดจาก ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคม 3. ด้านวัฒนธรรม

4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน

89. ประเทศไทยได้รับการประเมินค่า CPI ประจําปี 2563 อยู่ที่ระดับคะแนนเท่าใดจากคะแนนเต็ม 100 และอยู่อันดับที่เท่าใดจาก 180 ประเทศทั่วโลก
(1) 35 คะแนน อันดับ 104
(2) 36 คะแนน อันดับ 101
(3) 36 คะแนน อันดับ 99
(4) 36 คะแนน อันดับ 104
ตอบ 4(คําบรรยาย) องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ทําการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจําปี 2563 พบว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และอยู่อันดับที่ 104 จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศ ซึ่งค่า CPI จะมีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชั่นมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชั่นน้อยที่สุด)

90. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยจิตพอเพียง
(1) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ
(2) ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
(3) ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน
(4) ภูมิคุ้มกันทางสังคม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การสร้างภูมิคุ้มกันสังคมไทยด้วยจิตพอเพียงมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันทางสังคม
2. ภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ
3. ภูมิคุ้มกันผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ

91. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
(2) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(3) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(4) เห็นประโยชน์เครือญาติสําคัญกว่าประโยชน์พวกพ้อง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ

92. มีวินัยเป็นคุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ซึ่งหมายความว่าอะไร

(1) ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตา ทําให้เกิด ความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
(2) การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม
(3) ความตั้งใจเพียรพยายามทําหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสําเร็จตามความมุ่งหมาย
(4) ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลําเอียงหรืออคติ
ตอบ 2 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ) คุณธรรม 8 ประการ ที่บุคคลทั่วไปควรปฏิบัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต ข้อ 4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และ ข้อปฏิบัติ ซึ่งต้องมีวินัยในตนเองและมีวินัยต่อสังคม

93. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(3) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
(4) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ําที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

94. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความเป็นธรรมชาติ
(2) ความรัก
(3) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
(4) ความรู้
ตอบ 3 หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของ การสร้างประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย ซึ่งอาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความรัก
2. ความรู้
3. ความเป็นธรรมชาติ

95. ข้อใดหมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) Course on Demand
(2) Online on Demand
(3) Course Online on Demand
(4) Course on Classroom
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Course on Demand หมายถึง การเรียกดูบทเรียนย้อนหลังของมหาวิทยาลัย รามคําแหง หรือวิดีโอคําบรรยายย้อนหลังจากห้องเรียน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอน ชนิดหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคําแหง และถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) คือ การเรียนแบบต่างเวลา (Anytime) ต่างสถานที่ (Anywhere) โดยผู้เรียนจะเรียนเมื่อใดและที่ไหนก็ได้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี
(1) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
(2) การสร้างความสามารถในการอยู่รอด
(3) ความมั่นคง
(4) การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ ได้วางกรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ คือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และ เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีคติพจน์ ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. ความมั่นคง
2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. การปรับสมดุลและพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ

97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแบบของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
(1) Common – dealing or Contracts
(2) Accepting Benefits
(3) Pork – barreling
(4) Outside Employment or Moonlighting
ตอบ 1 (คําบรรยาย) John Langford และ Kenneth Kernaghan ได้จําแนกรูปแบบของการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. การรับผลประโยชน์ต่าง ๆ (Accepting Benefits)
2. การทําธุรกิจกับตนเอง (Self – dealing) หรือเป็นคู่สัญญา (Contracts)
3. การทํางานหลังออกจากตําแหน่งหน้าที่สาธารณะหรือหลังเกษียณ (Post – employment)
4. การทํางานพิเศษ (Outside Employment or Moonlighting)
5. การรู้ข้อมูลภายใน (Inside Information)
6. การใช้ทรัพย์สินของราชการเพื่อประโยชน์ธุรกิจส่วนตัว (Using your Employer’s property for Private Advantage)
7. การนําโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ทางการเมือง (Pork – barreling)

98. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความโปร่งใสด้านการให้โทษ
(1) มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
(2) มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างรุนแรง
(3) มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ
(4) มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความโปร่งใสด้านการให้โทษ ประกอบด้วยพฤติการณ์ต่อไปนี้
1. มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
2. มีวิธีการพิจารณาลงโทษผู้ทําผิดอย่างยุติธรรม
3. มีการลงโทษจริงจัง หนักเบาตามเหตุแห่งการกระทําผิด
4. มีระบบการฟ้องร้องผู้กระทําผิดที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ

99. ข้อใดกล่าวถึง Massive Open Online Courseware ได้ถูกต้องที่สุด
(1) แหล่งเรียนรู้รายบุคคล
(2) บทเรียน E-learning
(3) รายวิชาออนไลน์ที่เรียนได้ฟรี
(4) แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่าย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Massive Open Online Courseware (MOOC) คือ หลักสูตร (Course) หรือรายวิชาที่เรียนออนไลน์ (Online) จากระบบที่เปิดให้ใช้งานฟรี (Open) และรองรับ ผู้เรียนจํานวนมาก (Massive) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความชอบ โดยการเชื่อมต่อ เข้าไปดูวิดีโอการบรรยาย เข้าไปฝึกปฏิบัติ ทําแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือร่วมสนทนา กับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้แบบไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

100. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(2) คุณธรรม จริยธรรม
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) เอกลักษณ์แห่งตน
ตอบ 1 หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน, การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

101. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

(1) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า
(2) ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
(3) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
(4) ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลง โดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว เป็นการกําหนดสัญญาอนุญาตโดยการ ระบุเงื่อนไขร่วมกัน ได้แก่ Attribution CC – BY – NC – ND หมายถึง อนุญาตให้เผยแพร่ได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า

102. พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
(2) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ
(3) แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ
(4) แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นชุมชนหรือสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ บ้าน วัด แปลงเกษตร ศาสนสถาน ศูนย์ราชการ ศาล พรรคการเมือง รัฐสภา สถานีตํารวจ ศูนย์ฝึกอาชีพ ฯลฯ

103. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคม ของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(1) หลักความรับผิด (Responsibility)
(2) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
(3) หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
(4) หลักความโปร่งใส (Accountability)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรมตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2. หลักคุณธรรม (Morality)
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

104. ต่อไปนี้เป็นการลงโทษทางสังคมเชิงบวก ยกเว้นข้อใด
(1) ให้การสนับสนุน
(2) ให้รางวัล
(3) ชื่นชมตักเตือน
(4) สร้างแรงจูงใจ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) คือ มีทั้งด้านบวกและ ด้านลบอยู่ภายในความหมายของตัวเอง ดังนี้
1. การลงโทษทางสังคมเชิงบวก ได้แก่ ให้การสนับสนุน, สร้างแรงจูงใจ และให้รางวัล
2. การลงโทษทางสังคมเชิงลบ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน, การกดดันและบีบบังคับ และการต่อต้าน ประท้วง

105. ขันติเป็นหนึ่งในฆราวาสธรรม 4 ประการ หมายถึงตามข้อใด
(1) การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

(2) อดทน คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทนไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย มั่นคงในจุดหมาย
(3) ความจริง คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจได้
(4) เสียสละ คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงาน กับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิต ให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย
1. สัจจะ (ความจริง) คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไร ก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
2. ทมะ (การข่มใจ) คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้า ดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
3. ขันติ (อดทน) คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ (เสียสละ) คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน

106. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริอยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก เพราะครอบคลุม มิติ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต
(2) มิติด้านการดําเนินการ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ เรื่องจิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน

107. บทเรียนแบบ MOOC สนับสนุนการเรียนรู้ลักษณะใด
(1) เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
(2) ไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน
(3) ทุกคนสามารถเรียนได้ตามความชอบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 99. ประกอบ

108. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(2) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(4) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
ตอบ 2 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

109. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักความเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐธรรมนูญ
(2) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(3) หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
(4) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

110. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) อายุ 2 – 3 ปี
(2) ก่อนอายุ 6 ปี
(3) อายุ 3 – 6 ปี
(4) อายุ 7 – 14 ปี
ตอบ 2 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบ ในการดําเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เพราะหากเด็ก ๆ ได้รับรู้ตั้งแต่ต้นจะได้แบบพิมพ์ที่ดีและ ยั่งยืน ส่วนผู้นําในสังคมเองก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบคนดี

111. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ประสบการณ์ในการทํางาน
(4) การฝึกอบรม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 110. ประกอบ

112. การลงโทษทางสังคมมีคุณลักษณะวิภาษ (Dialectic) หมายความถึงตามข้อใด
(1) มีทั้งด้านส่วนตัวและด้านส่วนรวมอยู่ภายในความหมาย
(2) มีทั้งด้านภายในและด้านภายนอกอยู่ภายในความหมาย
(3) มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ภายในความหมาย
(4) มีทั้งด้านดีและด้านร้ายอยู่ภายในความหมาย
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 104. ประกอบ

113. การสร้างฐานคิดจิตพอเพียงต่อต้านการทุจริตให้เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานความคิดของปัจเจกบุคคล โดยมีการ ประยุกต์หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยตัวอักษร G ในหลัก STRONG คืออะไร
(1) Generosity
(2) Genocide
(3) Geography
(4) Generality
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย
1. S = Sufficient (ความพอเพียง)
2. T = Transparent (ความโปร่งใส)
3. R = Realize (ความตื่นรู้
4. O = Onward (การมุ่งไปข้างหน้า)
5. N = Knowledge (ความรู้)
6. G = Generosity (ความเอื้ออาทร)

114. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรับ
(2) ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
(3) ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
(4) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต

115. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) ละคร
(2) พันธุกรรม
(3) การทําวิจัย
(4) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ตอบ 4 หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

116. Creative Commons เป็นสัญญาอนุญาตกับสื่อในลักษณะใด
(1) สื่อสิ่งพิมพ์
(2) สื่อโทรทัศน์
(3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001 ทั้งนี้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการเผยแพร่สื่อทั้งภาพ เสียง ข้อมูล งานศิลปะ หรือสารสนเทศต่าง ๆ ทุกรูปแบบ โดยแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกเพื่อการ แจกจ่ายและใช้ข้อมูลด้วยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

117. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวคิดของระบบคิด “ฐานสอง Digital”
(1) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือกได้เพียง 2 ทางเท่านั้น
(2) สามารถแยกประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์พวกพ้องได้อย่างเด็ดขาด
(3) เป็นระบบที่มีค่าตัวเลข คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง)
(4) มีโอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสอง (Digital) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเลือก ได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือ 0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) และอาจหมายถึง โอกาสที่จะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ใช่กับไม่ใช่, เท็จกับจริง, ทําได้กับทําไม่ได้ ฯลฯ จึงเป็นระบบคิดที่สามารถแยกแยะ ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างเด็ดขาด และไม่กระทําการที่เป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

118. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) เอกลักษณ์แห่งตน
(2) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
(3) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(4) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 100. ประกอบ

119. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(2) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
(3) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(4) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชั่น
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

120. ความละอายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คืออะไร
(1) ความละอายระดับต่ํา และความละอายระดับที่สูง
(2) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับที่สูง
(3) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับปลาย
(4) ความละอายระดับภายนอก และความละอายระดับภายใน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เนื่องจากกลัวว่า เมื่อตนเองได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนเองได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนเองจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

RAM1301 (RAM1000) ความรู้คู่คุณธรรม 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา RAM 1000 (RU 100) ความรู้คู่คุณธรรม
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
ในกรณีที่ไม่มีตัวเลือกใดถูกต้องให้นักศึกษาตอบตัวเลือกที่ 5 (แต่ละข้อมี 4 ตัวเลือก)

1.“อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” คล้องจองกับสุภาษิตข้อใด
(1) ตนเป็นที่พึ่งของคนอื่น
(3) ตนเป็นที่พึ่งของตน
(2) ตนเป็นที่พึ่งของพ่อแม่
(4) คนอื่นเป็นที่พึ่งของเรา
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) คําขวัญมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย
1. รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ
จวบจนปัจจุบัน ตามลําดับดังนี้
2. เปลวเทียนให้แสง รามคําแหงให้ทาง
3. สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม
4. ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน (อัตตาหิ อัตตโน นาโถ) ฯลฯ

2.วันที่ 17 มกราคม เป็นวันสําคัญของมหาวิทยาลัยรามคําแหง ที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการได้จัด งานรัฐพิธีขึ้นพร้อมกันทุกปี ได้แก่
(1) วันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(2) วันสถาปนามหาวิทยาลัย
(3) วันพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราช
(4) วันรพี
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 รัฐบาลไทยได้มีมติอนุมัติและประกาศให้ วันที่ 17 มกราคมของทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทั้งนี้เพราะเป็นวันที่รัชกาลที่ 4 ทรงค้นพบหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376

3. วันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคําแหงได้จัดขึ้นทุกปีในวันใด
(1) 17 มกราคมของทุกปี
(2) 17 กรกฎาคมของทุกปี
(3) 26 พฤศจิกายนของทุกปี
(4) 7 สิงหาคมของทุกปี
ตอบ 3 หน้า 32 รัชกาลที่ 9 และสมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคําแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง (หัวหมาก) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตรุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นเวลารวม 2 วัน ได้แก่ วันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ดังนั้นในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยรามคําแหงจึงได้ถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

4.สีประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) แดง
(2) เหลือง
(3) สีน้ำเงิน – ทอง
(4) ฟ้า
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) สีประจําคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง มีดังนี้
1. คณะนิติศาสตร์ (สีขาว)
2. คณะบริหารธุรกิจ (สีฟ้า)
3. คณะมนุษยศาสตร์ (สีแสด)
4. คณะศึกษาศาสตร์ (สีชมพู)
5. คณะวิทยาศาสตร์ (สีเหลือง)
6. คณะรัฐศาสตร์ (สีแดงเข้ม) ฯลฯ

5. สุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจํามหาวิทยาลัยใด
(1) ศรีนครินทรวิโรฒ
(2) รามคําแหง
(3) ธรรมศาสตร์
(4) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคํา เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคําแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542

6.อักษรย่อ (ภาษาไทย) ของมหาวิทยาลัยรามคําแหงที่เขียนถูกต้องที่สุด
(1) มร.
(2) ม.รามคําแหง
(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(4) ม.ร.
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) อักษรย่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ มร.

7. มหาวิทยาลัยรามคําแหงก่อตั้งและเปิดการเรียนการสอนขึ้นในปี พ.ศ.
(1) 2514
(2) 2515
(3) 2516
(4) 2517
ตอบ 1 หน้า 11, 31, (คําบรรยาย) มหาวิทยาลัยรามคําแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ดําเนินการ แบบตลาดวิชา โดยมีการก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง พ.ศ. 2514 และได้เปิด การเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2514

8.อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) รศ.สุขุม นวลสกุล
(2) รศ.รังสรรค์ แสงสุข
(3) ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(4) รศ.คิม ไชยแสนสุข
ตอบ 3 หน้า 2. 21 – 22, 116 ประวัติของศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ มีดังนี้
1. สําเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ก่อนที่จะไป ศึกษาปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ
2. เคยดํารงตําแหน่งทางการบริหารโดยเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ทํางานด้านการเมืองในตําแหน่งรองโฆษกรัฐบาลในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
4. เป็นประธานกรรมการเตรียมการเปิดมหาวิทยาลัยรามคําแหง
5. ดํารงตําแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคําแหง

9. บุคคลสี่เหล่า เปรียบเหมือนดอกไม้ชนิดใด
(1) ดอกเบญจมาศ
(2) ดอกดาวเรือง
(3) ดอกบัว
(4) ดอกลั่นทม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พระพุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาของบุคคลไว้กับดอกบัว 4 เหล่า ดังนี้
1.ดอกบัวโผล่พ้นน้ําพร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนฉลาดมาก
2. ดอกบัวที่กําลังโผล่พ้นน้ํา เปรียบได้กับคนฉลาดปานกลาง
3. ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ํา เปรียบได้กับคนฉลาดน้อย
4. ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนโง่ทึบ ไม่สามารถพัฒนาได้

10. “กินน้ำในบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” เป็นข้อความที่แสดงถึงคุณธรรมในข้อใด
(1) อุเบกขา
(2) มุทิตา
(3) กตัญญูกตเวทิตา
(4) เมตตาปราณี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “กตัญญู” แปลว่า รู้คุณท่าน รู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตน โดยเป็นความรู้สึก ในการอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อเรา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของความเป็นคนดี จึงมักใช้คู่กับคําว่า “กตเวที” (กตเวทิตา) แปลว่า สนองคุณท่านหรือการแสดงออกและรู้จัก ตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณนั้น ดังสํานวนไทยที่กล่าวว่า “กินน้ําในบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” (ให้มีความกตัญญูกตเวทิตา อย่าลืมผู้ที่เลี้ยงดูเรามา)

11. ข้อใดที่เป็นธรรมะในพรหมวิหาร 4
(1) เมตตา กรุณา
(2) สติสัมปชัญญะ
(3) สัจจะบารมี
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 41, (คําบรรยาย) พรหมวิหาร 4 หรือเรียกกันว่า “พรหมวิหารธรรม” ถือเป็นหลักธรรม ประจําใจ เพื่อให้ตนดํารงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น “พรหม” ซึ่งประกอบด้วย
1. เมตตา คือ ความรักปรารถนาดีเป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นพบความสุข
2. กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสําเร็จให้มีความสุข ไม่คิดอิจฉาริษยาในความดีของผู้อื่น
4. อุเบกขา คือ การวางตัว การวางใจเป็นกลางเพื่อรักษาธรรม

12. ข้อใดเป็นเป้าหมายที่ให้คุณค่าของจิตสํานึกน้อยที่สุด
(1) เรียนเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่เพื่อนําไปพัฒนา
(2) เรียนเพื่อไปประกอบอาชีพ
(3) เรียนเพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดา
(4) เรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เป้าหมายการเรียนที่มีคุณค่าของการรู้สํานึกนั้น มิใช่เรียนเพื่อให้ได้ปริญญาหรือ วิทยฐานะเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการเรียนให้ได้องค์ความรู้ใหม่เพื่อนําไปพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถทางด้านต่าง ๆ ที่จะดํารงชีพและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข และ ที่สําคัญ คือ การเรียนเพื่อพ่อแม่ผู้มีอุปการคุณที่ได้ส่งเสียและเลี้ยงดูเรามา อันเป็นการแสดงถึง ความกตัญญูกตเวที

13. อวิชชา มีความหมายสมบูรณ์ตามข้อใด
(1) ได้ทั้ง 2 ทาง คือ รู้กับไม่รู้
(2) ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้
(3) รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้
(4) ไม่ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้แจ้ง ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยถูกต้อง และแจ่มแจ้ง ความไม่รู้ในอริยสัจ หรือความไม่รู้สึกตัวทั่วพร้อมโดยสมบูรณ์ในความเป็นจริงของ สิ่งต่าง ๆ ในขณะที่กําลังเผชิญหน้ากับมัน นอกจากนี้อดีตอธิการบดี รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข ได้ให้ความหมายว่า อวิชชาแปลได้ทั้ง 2 ทาง คือ รู้และไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ แล้วไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้นั่นเอง เรียกว่า รู้ไม่ถูกทาง

14. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ หมายถึงข้อใด
(1) จริยธรรม
(2) ศีลธรรม
(3) คุณธรรม
(4) เมตตาธรรม
ตอบ 1 หน้า 42, (คําบรรยาย) คําว่า “จริยธรรม” ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม

15. แหล่งที่มาของคุณธรรมจริยธรรม คือข้อใด
(1) วิชาปรัชญา เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง, ศาสนา, วรรณคดี
(2) พันธสัญญาประชาคม
(3) เกิดจากการสร้างตนเอง
(4) โลก Online
ตอบ 1 – หน้า 46 – 47 แหล่งที่มาของคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่
1. วิชาปรัชญา คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง
2. ศาสนาต่าง ๆ
3. วรรณคดี ซึ่งจะมีแนวคิดคําสอนที่เป็นแนวปฏิบัติได้ เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ และ สุภาษิตสอนหญิง
4. สังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. การเมืองการปกครอง

16. “ใช้เงินเป็นเบี้ย” สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) ใช้เงินของเพื่อน
(2) ใช้เงินฟุ่มเฟือย
(3) ใช้เงินอย่างประหยัด
(4) ใช้เงินอย่างอดทน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) “ใช้เงินเป็นเบี้ย” หมายถึง จับจ่ายใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่รู้คุณค่าของเงิน

17. ข้อใดคือความหมายของจรรยาบรรณ
(1) การประพฤติดี ประพฤติชอบในสายอาชีพของตน
(2) การพัฒนาคนในวิชาชีพของตน
(3) การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งด้วยการกําหนดหลักความประพฤติเพื่อใช้ในชุมชนของตน
(4) ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละแห่งกําหนด เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติ
ในวิชาชีพของตน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน แต่ละอย่างได้กําหนดขึ้นมา เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก ในวิชาชีพของตน ซึ่งอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

18. สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) “สีน้ําเงิน – ทอง
(2) “สีทองน้ำเงิน”
(3) “สีน้ําเงิน – เหลืองทอง”
(4) “สีฟ้าน้ําเงินทอง”
ตอบ 1 หน้า 18 (ความรู้ทั่วไป) สีประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ “สีน้ําเงิน – ทอง

19. ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) สํานักบริการข้อมูลและสารสนเทศ
(2) สํานักหอสมุดกลาง
(3) สํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(4) สํานักบริการการศึกษาสื่อการเรียนรู้
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ศูนย์กลางแหล่งสืบค้นข้อมูลแห่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สํานัก เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการผลิต พัฒนา และบริการสื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยทุกแขนงวิชา ดังนั้นสํานักเทคโนโลยีการศึกษา จึงถือเป็นแหล่งรวมสื่อการศึกษาที่มีความหลากหลายในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปี

20. พลเมือง หมายถึงข้อใด
(1) คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง
(2) ประชาชนที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน
(3) ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “พลเมือง” ในประเทศไทย น่าจะถูกนํามาใช้ในสมัยหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมาย ของคําว่า “พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน

21. ความหมายของจรรยาบรรณและวิชาชีพสําหรับนักกฎหมาย ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ความยุติธรรม และรับใช้สังคม
(2) รักศักดิ์ศรีของความเป็นนักกฎหมาย
(3) มีความเชื่อมั่นต่อตนเอง
(4) ส่งเสริมคนดีไม่ให้โกงประเทศชาติ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง ประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบ อาชีพจะต้องประพฤติปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบอาชีพปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยจรรยาบรรณและวิชาชีพสําหรับนักกฎหมายที่สําคัญที่สุด คือ ความยุติธรรมและการรับใช้สังคมส่วนรวม

22. ปัจจุบันตําราวิชาความรู้คู่คุณธรรม ราคาเล่มละเท่าไร
(1) 26 บาท
(2) 25 บาท
(3) 23 บาท
(4) 24 บาท
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) ปัจจุบันตําราวิชาความรู้คู่คุณธรรม (RAM 1000) ราคาเล่มละ 23 บาท

23. ผู้มีหน้าที่ออกข้อบังคับด้านจรรยาบรรณของครู 10 ประการ
(1) สภาผู้แทนราษฎร
(2) คุรุสภา
(3) คณะผู้แทนองค์กรวิชาชีพครู
(4) คณะครูอาวุโส
ตอบ 2 (คําบรรยาย) จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสําหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครู (คุรุสภา) เป็นผู้กําหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนจะต้องถือปฏิบัติ โดยเคร่งครัด ซึ่งจรรยาบรรณครูฉบับแรก เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยจรรยามารยาทอันดีงาม ตามประเพณีของครู” พ.ศ. 2506 มี 10 ประการ

24. ความหมายของจรรยาบรรณและวิชาชีพสําหรับนักกฎหมาย ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) ส่งเสริมคนดีไม่ให้โกงประเทศชาติ
(2) รักศักดิ์ศรีของความเป็นนักกฎหมาย
(3) มีความเชื่อมั่นต่อตนเอง
(4) ความยุติธรรม และรับใช้สังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 21. ประกอบ

25. ต้นไม้สัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) สุพรรณิการ์
(2) ฝ้ายคํา
(3) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

26. มนุษย์ควรมีการพัฒนาตนเองโดยต้องได้รับการศึกษาอย่างไร
(1) ศึกษาอย่างต่อเนื่องและตลอดชีพ
(3) ศึกษาสาขาวิชาที่ต้องการเรียนรู้
(2) ศึกษาตามอัธยาศัย
(4) พื้นฐานและอุดมศึกษา
ตอบ 2 หน้า 38 – 39 การศึกษาที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศมีหลักการพื้นฐานว่า มนุษย์ที่มีคุณภาพต้องได้รับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต

27. ข้อใดคือการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมในมนุษย์
(1) เกิดจากการพึ่งพาผู้อื่น
(2) เกิดจากการเลียนแบบ
(3) เกิดจากการกระทํา
(4) เกิดได้ทุกเวลา
ตอบ 2 หน้า 47 คุณธรรมจริยธรรมในมนุษย์แต่ละคน อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. เกิดจากการเลียนแบบ
2. เกิดจากการสร้างในตนเอง
3. เกิดจากการบําเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (Utility and Social Contract)

28. คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่
(1) สามัคคี ประหยัด ซื่อสัตย์
(2) รับผิดชอบ มีน้ําใจ มีวินัย
(3) รับผิดชอบ สามัคคี ตรงต่อเวลา
(4) สามัคคี สุภาพ ตรงต่อเวลา
ตอบ 1 (คําบรรยาย) กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ให้แก่ เยาวชนไทย โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนี้
1. ขยัน
2. ประหยัด
3. ซื่อสัตย์
4. มีวินัย
5. สุภาพ
6. สะอาด
7. สามัคคี
8. มีน้ำใจ

29. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีคุณธรรมสําคัญนําสังคมไทยในข้อใด
(1) พอเพียง, วินัย, สุจริต, จิตอาสา
(3) พอเพียง, ซื่อสัตย์, ขยัน, สามัคคี
(2) พอเพียง, วินัย, จิตอาสา, ซื่อสัตย์
(4) พอเพียง, สามัคคี, จิตอาสา, วินัย
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา ซึ่งเป็นผู้ร่างหลักการนําเสนอ “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1” (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2564) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ได้กําหนดคุณธรรม ที่พึงประสงค์สําหรับสังคมไทย เพื่อนําไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ 4 ประการ ได้แก่
1. พอเพียง
2. วินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา

30. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 หน่วยงานใดเป็นผู้ร่างหลักการขึ้นมา
(1) กระทรวงวัฒนธรรม
(2) สํานักพระพุทธศาสนา
(3) กระทรวงมหาดไทย
(4) กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม เพราะเกิดสิ่งใด
(1) ความต้องการ
(2) ตัณหา
(3) โลกธรรม 8
(4) ความหลง
ตอบ 2 หน้า 51 เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเราย่อมอ่อนไหวผันแปรได้ง่าย หากไม่มี ปัญญาเป็นตัวกํากับ อาจมีสิ่งจูงใจให้จิตใจอ่อนไหวไปตามโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ และเมื่อจิตใจผันผวนปรวนแปร พฤติกรรมของคนก็จะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเกิดตัณหา เป็นตัวนําจิตใจ

32. แหล่งที่มาของคุณธรรม มาจากที่ใด
(1) ศาสนา
(2) การเลียนแบบ
(3) การดําเนินชีวิต
(4) การจินตนาการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

33. ข้อใดเป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวนักศึกษาในขณะนี้
(1) แหล่งท่องเที่ยวในประเทศ
(2) ชุมชนชาวดอยภาคเหนือ
(3) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
(4) การชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ตามมาตรา 25 ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ (เช่น มหาวิทยาลัยรามคําแหง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวนักศึกษาในขณะนี้

34. การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาบ้านเมือง ควรให้มีการพัฒนาในด้านใดก่อน
(1) พัฒนาจิตใจคน
(2) พัฒนาการศึกษา
(3) พัฒนาสติปัญญา
(4) พัฒนาคุณภาพชีวิต
ตอบ 1 หน้า 44 – 45 วศิน อินทสระ ได้กล่าวว่า การพัฒนาบ้านเมืองต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรือ อย่างน้อยก็ให้พร้อม ๆ ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ เพราะการ พัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนําจะสูญเปล่า และเกิดผลเสียเป็นอันมาก ทําให้บุคคลลุ่มหลง ในวัตถุและอบายมุข ซึ่งการที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคม ละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ําใจในการดําเนินชีวิต

35. ข้อใดคือความหมายของจิตสาธารณะ
(1) ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม
(2) ความคิดถึงส่วนรวม
(3) การคํานึงถึงความต้องการของส่วนรวม
(4) ความรักชาติ
ตอบ 1 หน้า 79 – 81, 93 จิตสาธารณะ (Public Mind) คือ ความรู้สึกตระหนักถึงส่วนรวม หรือ เป็นการตระหนักรู้ตนที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้นจึงเป็นคําที่ มีความหมายตรงข้ามกับคําว่า “เห็นแก่ตัว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

36. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องเกี่ยวกับความสําคัญของจิตสาธารณะ
(1) จิตสาธารณะจะช่วยลดปัญหาทางสังคม
(2) จิตสาธารณะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(3) จิตสาธารณะจะช่วยทําให้ครอบครัวประหยัด
(4) ผู้ที่มีจิตสาธารณะ สังคมจะชื่นชม
ตอบ 1 หน้า 77, 81 จิตสาธารณะมีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อสังคม เมื่อบุคคลมีจิตสาธารณะ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป

37. ปัจจัยภายในใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การแยกแยะความดี ความชั่ว
(2) การประเมินพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 4 หน้า 85 – 86 ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจน กล่าวถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะไว้ดังนี้
1. ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคม ซึ่งเป็นภาวะที่ลึกซึ้งกว่าภาวะทางกายภาพเพียงประการเดียว เป็นภาวะที่ได้รับการฝึกอบรม กล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ที่ละน้อย
2. ปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและ ความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ

38. ปัจจัยภายนอกใดที่ทําให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) การเลียนแบบ
(2) การฝึกอบรม
(3) การตระหนักถึงส่วนรวม
(4) การคิดวิเคราะห์ พิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39. แนวคิดใดเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) แนวคิดการพัฒนาคุณธรรม
(2) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) แนวคิดการพัฒนาจริยธรรม
(4) เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริ
ตอบ 2 หน้า 77, 81 แนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตสาธารณะที่ดีที่สุด คือ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติตนเองของผู้มีจิตสาธารณะอย่างแท้จริง

40. การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําในวัยใด
(1) ก่อนอายุ 6 ปี
(2) อายุ 2 – 3 ปี
(3 อายุ 3 – 6 ปี
(4) อายุ 7 – 14 ปี

ตอบ 1 หน้า 85 การปลูกฝังจิตสาธารณะควรเริ่มทําก่อนอายุ 6 ปี เพราะตามหลักการทางจิตวิทยา การเกิดจิตสํานึกของเด็กจะถูกพัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดูในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่การเลี้ยงดูเด็กได้ผลอย่างสูง โดยพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวจะเป็นตัวแบบ ในการดําเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม เพราะหากเด็ก ๆ ได้รับรู้ตั้งแต่ต้นจะได้แบบพิมพ์ที่ดีและยั่งยืน ส่วนผู้นําในสังคมเองก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนเลียนแบบคนดี

41. การเกิดจิตสํานึก ตามหลักการทางจิตวิทยาจะถูกพัฒนามาจากสิ่งใด
(1) การฝึกอบรม
(2) ประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อน
(3) การอบรมเลี้ยงดู
(4) ประสบการณ์ในการทํางาน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ

42. ข้อใดคือปัจจัยทางจิตที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(2) เอกลักษณ์แห่งตน
(3) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(4) การเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
ตอบ 2 หน้า 86 เรียม นมรักษ์ ได้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้
1. ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน, ลักษณะการมุ่งอนาคต, การสนับสนุนจากประชาชน การรับรู้ความสามารถของตน, การคล้อยตามผู้อื่น, คุณธรรม จริยธรรม, ความตระหนักใน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู, สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน กับเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

43. ข้อใดคือปัจจัยทางสังคมที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ
(1) ความสัมพันธ์ในครอบครัว
(2) เอกลักษณ์แห่งตน
(3) ความสัมพันธ์กับเพื่อน
(4) คุณธรรม จริยธรรม
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44. ข้อใดไม่ใช่กลยุทธ์ในการปลูกฝังจิตสาธารณะ โดยประเวศ วะสี
(1) ความรัก
(2) ความรู้
(3) ความเป็นธรรมชาติ
(4) ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตอบ 4หน้า 87 นายประเวศ วะสี ได้เสนอกลยุทธ์ในการปลูกจิตสาธารณะ โดยใช้หลักของ การสร้างประชาคม เพราะประชาคมต้องขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือร่วมใจเชื่อมโยง เป็นเครือข่าย ซึ่งอาศัยเทคนิค 3 ปัจจัย ได้แก่
1. ความรัก
2. ความรู้
3. ความเป็นธรรมชาติ

45. จิตสาธารณะเกิดจากสิ่งใด
(1) พันธุกรรม
(2) ประสบการณ์ในวัยเด็ก
(3) การทําวิจัย
(4) ละคร
ตอบ 1 หน้า 87 จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ในวัยเด็ก และจะพัฒนา ไปอย่างช้า ๆ ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเกิดจากการสั่งสอนฝึกฝนจากบุคคล สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้นการพัฒนาจิตสาธารณะจึงจําเป็นต้องอาศัยกิจกรรมการ เรียนรู้ร่วมกันในสังคม

46. การพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้อยู่ในความถูกต้อง เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนา
จิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 3 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) สถาบันศาสนา ถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมาก ต่อการปลูกฝังและพัฒนาจิตสาธารณะให้กับผู้คนในสังคม ซึ่งสถาบันศาสนาอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของบุคคลในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ในความถูกต้องตามทํานองคลองธรรม โดยเฉพาะวัดนับว่ามีอิทธิพลสูงต่อการอบรมขัดเกลานิสัยใจคอให้คนมีความรักใน ชุมชน รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเอง

47. การพัฒนาจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 2 หน้า 88, (คําบรรยาย) สถาบันการศึกษา เป็นรากฐานของการพัฒนาจิตสาธารณะให้กับสังคม โดยจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสํานึกความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก ภายใน อันเป็นการพัฒนาจิตใจที่เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งเน้นไปที่การพัฒนา จริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ มากกว่าการพัฒนาเพื่อความสําเร็จในวิชาชีพโดยปราศจากพื้นฐานทางด้านจริยธรรม

48. การยกย่องชมเชยแก่เด็กและเยาวชนที่เป็นตัวอย่างในด้านต่าง ๆ เป็นบทบาทของสถาบันใดในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(1) สถาบันครอบครัว
(2) สถาบันการศึกษา
(3) สถาบันศาสนา
(4) สื่อมวลชน
ตอบ 4 หน้า 89 – 90 บทบาทของสถาบันสื่อมวลชนในการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กและเยาวชน ได้แก่ สื่อควรส่งเสริมและเพิ่มการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ โดยสร้างสื่อการ์ตูนที่เป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมรายการเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น มีรายการบันเทิงที่แฝงไปด้วยสาระความรู้ มีเวทีให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความสามารถอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนมีเวทีให้รางวัลหรือยกย่อง ชมเชยแก่เด็กและเยาวชนที่เป็นตัวอย่างในด้านต่าง ๆ

49. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
(1) ปัจจัยทางจิตมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยด้านสังคมในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(2) ปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยทางจิตในการพัฒนาจิตสาธารณะ
(3) จิตสาธารณะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล
(4) ผิดทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 86 จิตสาธารณะเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่องกันระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ดังนั้นการพัฒนาจิตสํานึกสาธารณะจึงต้องกระทําควบคู่กันทั้งปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอก เพราะถ้าหากคน ๆ หนึ่งเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบข้าง มีจิตสาธารณะ แต่ตัวเขาเองขาดปัจจัยภายใน คือ ขาดการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสม เขาก็จะ ไม่นําเอาแบบอย่างที่ดีในสังคมมาปฏิบัติ ในทางตรงกันข้าม หากคน ๆ หนึ่งมีจิตใจที่เสียสละ เพื่อส่วนรวม แต่ปัจจัยภายนอกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในสังคมที่เขามักจะถูกเอาเปรียบอยู่เสมอในที่สุดเขาอาจจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัวได้

50. ข้อใดคือคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
(2) มีความรักในชาติ
(3) มีประชาคมคอยช่วยเหลือ
(4) มีความพอประมาณ

ตอบ 1 หน้า 83 – 84 วิรัตน์ คําศรีจันทร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคมภาคประชาชน พบว่า ผู้ที่มีจิตสํานึกสาธารณะมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้
1. มีความรัก ความเอื้ออาทร
2. มีความเชื่อใจ ไว้ใจผู้อื่น
3. มีการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. สามารถยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5. มีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

51. ในฐานะนักศึกษา จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 1 หน้า 92 ในฐานะนักศึกษา สามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การออก ค่ายอาสาพัฒนา การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และการเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ที่ทางกลุ่มเพื่อน ชมรมวิชาการ หรือทางมหาวิทยาลัยจัดให้ เช่น กิจกรรมการรณรงค์ “รวมพลังชาวรามคําแหงงดใช้ งดให้ งดรับถุงพลาสติก” เป็นต้น

52. ในฐานะผู้ปกครอง จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 2 หน้า 92 ในฐานะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง สามารถนําจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน โดยรักษาวินัยทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ การยกย่องชมเชยหรือให้กําลังใจเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ รวมทั้งแสดงพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการทําเพื่อสังคม ซึ่งนับเป็นการกระทําที่ได้ช่วยเหลือสังคมทางอ้อม เพราะเป็นการ สร้างให้คนมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น

53. ในฐานะครูอาจารย์ จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร
(1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 3 หน้า 92 ในฐานะครูอาจารย์ สามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวัน คือ การจัดกิจกรรมให้นักเรียน/นักศึกษาได้ทํางานร่วมกัน การฝึกวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างโครงการจิตสาธารณะหรือกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน โดยการแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจิตสาธารณะลงไปในบทเรียน ฯลฯ

54. ในฐานะสมาชิกของสังคม จะสามารถนําเอาหลักการของจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร (1) การเข้าร่วมกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์
(2) การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลาน
(3) การจัดโครงการจิตสาธารณะ
(4) การใช้น้ำอย่างประหยัด
ตอบ 4 หน้า 92 ในฐานะสมาชิกของสังคมไทย สามารถนําเอาจิตสาธารณะไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ โดยเริ่มจากตนเองในกิจกรรมเล็ก ๆ ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ํา น้ำมัน หรือไฟฟ้าอย่างประหยัด และคุ้มค่า ฯลฯ จนไปถึงกิจกรรมใหญ่ ๆ ในระดับชุมชน ได้แก่ การพัฒนาชุมชน, การรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชน (เช่น การไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลําคลอง) ฯลฯ หรือจนถึงระดับประเทศชาติ เช่น การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ต่าง ๆ ฯลฯ

55. วิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยที่เรียกว่า วิกฤติต้มยํากุ้ง เกิดขึ้นเมื่อใด
(1) พ.ศ. 2539
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2542
(4) พ.ศ. 2543
ตอบ 2 หน้า 59 – 60 เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําหรือวิกฤติการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 เรียกว่า “วิกฤติต้มยํากุ้ง” เป็นช่วงเวลาที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญอย่างเด่นชัดและถูกนํามาพิจารณาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตให้สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์

56. ปัจจุบันประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใด
(1) ฉบับที่ 9
(2) ฉบับที่ 10
(3) ฉบับที่ 11
(4) ฉบับที่ 12
ตอบ 4 หน้า 62 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการจัดทําแผน ตั้งแต่ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) จนถึงฉบับที่ 12 เพื่อนําสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

57. องค์ประกอบหลักตามหลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 จําแนกได้กี่องค์ประกอบ
(1) 2
(2) 3
(3) 4
(4) 5
ตอบ 3 หน้า 63 – 66 สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประมวล
หลักแนวคิดการพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 โดยจําแนกออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. แนวคิดหลัก
2. เป้าประสงค์
3. หลักการ
4. เงื่อนไขพื้นฐาน

58. การปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินการ
ไปในทางสายกลาง เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตาม 1 หน้า 63, 67 แนวคิดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทางสายกลาง หมายความว่า แนวทางการดํารงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดําเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

59. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมดุลในการรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม
สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 64 เป้าประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยเป้าประสงค์ในการพัฒนาตนเองต้องสามารถสร้างความสมดุล ให้เกิดขึ้นในวิถีของการพัฒนาได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ เช่น เมื่อนักศึกษามีความสามารถใน การหารายได้ด้วยตนเองจากงานพิเศษก็ต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล

60. ความสามารถในการหารายได้ด้วยตนเอง รู้จักเก็บออมและจัดสรรทั้งเงินและเวลาให้สมดุล เกี่ยวกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61.”พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร” เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 3 หน้า 64 หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมไปถึงความจําเป็นที่เราจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

62. ข้อใดเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับความพอเพียง อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
(1) ความพอประมาณ
(2) ความมีเหตุผล
(3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
(4) ความไม่ประมาท
ตอบ 2 หน้า 65 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยคํานึงถึงระดับความพอเพียงอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องตระหนักถึงผลที่ จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการดังกล่าวอย่างรอบคอบ

63. การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการ ดําเนินการทุกขั้นตอน และการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) แนวคิดหลัก
(2) เป้าประสงค์
(3) หลักการ
(4) เงื่อนไขพื้นฐาน
ตอบ 4 หน้า 66 เงื่อนไขพื้นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนําวิชาการต่าง ๆ มาใช้วางแผนและดําเนินการทุกขั้นตอนและต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีจิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดําเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

64. การดําเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการ
ตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวข้องกับข้อใด
(1) เงื่อนไขคุณธรรม
(2) เป้าประสงค์
(3) เงื่อนไขหลักวิชา
(4) เงื่อนไขชีวิต
ตอบ 3 หน้า 66 เงื่อนไขหลักวิชาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดําเนินกิจกรรมใดต้องอาศัยความรอบรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาวางแผนและปฏิบัติการตามแผนด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดําเนินการ เพราะ การวางแผนที่อาศัยความรู้ที่เป็นหลักวิชาย่อมมีโอกาสประสบความสําเร็จสูง และถ้าได้ปฏิบัติ ตามแผนอย่างระมัดระวัง โอกาสผิดพลาดก็จะเกิดขึ้นน้อยมาก

65. การที่บุคคลมีความรับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต บริหารรายรับและรายจ่ายให้เกิด ความสมดุล รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างมีคุณค่า เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับชุมชน
(3) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ

ตอบ 1 หน้า 68 ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว คือ ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของ สังคม แต่เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุดในการสร้างคนที่มีคุณภาพ ดังนั้นหัวหน้าครอบครัวจึงต้อง มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. รับผิดชอบดูแลครอบครัวด้วยการประกอบอาชีพสุจริต
2. บริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้เกิดความสมดุล
3. รู้จักประหยัดด้วยการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
4. มีการออมเงิน แต่ไม่ตระหนี่
5. มีการแบ่งปันตามสมควร
6. ลดละเลิกอบายมุข
7. รักษาวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ฯลฯ

66. การมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
(2) ความพอเพียงระดับชุมชน
(3) ความพอเพียงระดับธุรกิจ
(4) ความพอเพียงระดับประเทศ
ตอบ 3 หน้า 69, (คําบรรยาย) ความพอเพียงระดับธุรกิจ คือ ธุรกิจเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่สําคัญ ต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องคํานึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ธุรกิจควรมองถึงผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
2. แสวงหาผลกําไรบนพื้นฐานของการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
3. พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างคุณค่าตราสินค้าให้มีความน่าเชื่อถือ
4. ต้องรู้จักลูกค้า รู้จักตลาด รู้จักคู่แข่ง และรู้จักตัวเอง
5. ซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

67. การสร้างงบประมาณให้สมดุล ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผน ด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และสามารถรับได้ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 1 หน้า 70, (คําบรรยาย) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การสร้าง งบประมาณให้สมดุล สร้างลักษณะนิสัยอุปโภคบริโภคแต่พอควร ไม่ใช้จ่ายเกินตัวเกินฐานะ ไม่ลงทุนเกินขนาด มีความรู้ในการบริหารจัดการ วางแผนด้วยความรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันในตัว ที่ดีด้านการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถรับได้

68. การมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรม อันดีงามของชาติให้คงอยู่ เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านจิตใจ
(3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม
(4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 70 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การอยู่ร่วมกัน ในสังคมด้วยความมีน้ำใจต่อกัน รู้รักสามัคคี ช่วยเหลือแบ่งปันตามความเหมาะสม ช่วยกันรักษาและสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยให้คงอยู่ โดยหาโอกาสขยายผลงานด้านวัฒนธรรม และภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น อีกทั้งจะต้องมีภูมิคุ้มกันในการรับวัฒนธรรมต่างชาติ ด้วยการเลือกรับแต่สิ่งที่เกิดผลดี และสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย

69. การบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ร้อยละ 10 ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 1 หน้า 72 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 1 คือ การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ด้วยอัตรา 30 : 30 : 30 : 10 โดยมีการบริหารจัดการดังนี้
1. ชุดเป็นสระสําหรับใช้เก็บกักน้ําฝนในฤดูฝน เพื่อใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง รวมทั้งเลี้ยงปลาและ พืชน้ำต่าง ๆ 30%
2. ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
3. ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ 30%
4. ปลูกเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ) ถนน ทางเดิน และโรงเรือนอื่น ๆ 10%

70. การตระหนักถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภายนอกชุมชน ด้วยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถ สนับสนุนด้านการลงทุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นใด
(1) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง
(3) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
(2) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
(4) ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สี่
ตอบ 3 หน้า 73 – 74 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 3 คือ การตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือจากภายนอกชุมชน โดยการติดต่อหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนด้านการลงทุนและ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ได้แก่
1. หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง
2. ธนาคารที่จะให้การสนับสนุนเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงเกินไปนัก
3. บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง

71. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทางสายกลาง หมายถึง
(1) พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง
(2) ทําทุกอย่างแบบกลาง ๆ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
(3) ความพอดีพอเหมาะ มีความหลากหลาย และกลมกลืน
(4) การตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พึ่งตนเองให้มากขึ้นในทุกระดับ
ตอบ 4 หน้า 62 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสําคัญเด่นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เพราะเป็นแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยสามารถเลี้ยงชีพด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ ในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง “ทางสายกลาง และความไม่ประมาท

72. การศึกษาแบบเปิด หมายถึงข้อใด
(1) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(2) การขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและความรู้แก่ทุกคน
(3) การจัดศึกษาแบบสหวิทยาการ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การศึกษาแบบเปิด (Open Education) หมายถึง การขยายโอกาสการเข้าถึง การศึกษาและความรู้แก่ทุกคน โดยไม่มีข้อกําหนดเรื่องการรับเข้าศึกษาตามระบบการศึกษา แบบดั้งเดิมหรือแบบที่เป็นทางการ ทั้งนี้จะมีการพัฒนาและเข้าใช้แหล่งทรัพยากรการศึกษา แบบเปิด (Open Educational Resources : OER) ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาและ ความรู้ที่ต้องการได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

73. การปฏิบัติตามหลักความพอเพียง ควรเริ่มจากที่ใด
(1) ตนเอง
(2) เพื่อน
(3) ครอบครัว
(4) ประเทศ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนหรือดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มจากตนเองก่อน เป็นลําดับแรก เมื่อตนเองสามารถยืนหยัดอยู่ได้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นนําไป ประพฤติปฏิบัติตาม จากนั้นจึงเป็นครอบครัว ชุมชน รัฐหรือประเทศชาติ

74. แหล่งเรียนรู้ หมายถึงข้อใด
(1) เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ
(2) เป็นแหล่งสารสนเทศให้ความรู้อย่างกว้างขวาง
(3) เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาชาวบ้านให้ศึกษาค้นคว้า
(4) เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้

75. องค์ประกอบของการเรียนรู้ในข้อใดถูกต้อง
(1) ผู้เรียน ผู้สอน แหล่งเรียนรู้
(2) ผู้เรียน สภาพแวดล้อม ผู้สอน
(3) ผู้สอน ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) องค์ประกอบของการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน
2. ผู้เรียน
3. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

76. ข้อใดคือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
(1) ห้องสมุด
(2) พิพิธภัณฑ์
(3) บทเรียนออนไลน์
(4) อาจารย์ที่ปรึกษา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ เช่น สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมต่าง ๆ

77. ข้อใดไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) คณะวิทยาศาสตร์
(2) สํานักเทคโนโลยีการศึกษา
(3) สถาบันคอมพิวเตอร์
(4) คณะเทคนิคทางการแพทย์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยรามคําแหง นอกจากจะประกอบไปด้วยคณะ ต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ในแต่ละสาขาวิชา เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ยังมีแหล่งความรู้อื่น ๆ อีก เช่น สถาบันวิจัยและ พัฒนา สํานักหอสมุดกลาง สถาบันคอมพิวเตอร์ สํานักเทคโนโลยีการศึกษา ฯลฯ

78. “การประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ ในรูปแบบที่ต้องการ” จากข้อความข้างต้นหมายถึง
(1) ความรู้
(2) แหล่งการเรียนรู้
(3) ข้อมูล
(4) สารสนเทศ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นตัวอักษร รูปภาพ สัญลักษณ์ หรือเสียงที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการ ประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่ต้องการ

79. แหล่งเรียนรู้มีความสําคัญอย่างไร
(1) แสดงถึงความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม
(2) ช่วยพัฒนาสถาบันการศึกษา
(4) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของมนุษย์
(3) สามารถถ่ายทอดความรู้แบบวิธีต่าง ๆ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ มีดังนี้
1. เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นแหล่งที่ใช้สร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการ และประสบการณ์ ผ่านการถ่ายทอด ความรู้ในแบบวิธีต่าง ๆ
5. เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

80. ข้อใดคือการเรียนรู้แบบออฟไลน์
(1) การเรียนผ่านเว็บไซต์
(2) การสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์
(3) การลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต
(4) การฟังบรรยายในชั้นเรียน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเรียนรู้แบบออฟไลน์ หมายถึง การเรียนรู้ที่ไม่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามา มีส่วนร่วม เช่น การฟังบรรยายในห้องเรียน, การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน การเรียนจากหนังสือ, การหาข้อมูลจากห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้, การฝึกงาน ฯลฯ

81. ข้อใดเป็นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
(1) นายเอไปอ่านหนังสือคู่มือชีววิทยาที่ศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์
(2) นายปีไปเรียนวิธีทําขนมไทยจากกลุ่มแม่บ้าน
(3) นายซีและเพื่อนไปศูนย์สารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลมาทํารายงาน
(4) นายดีไปศึกษาค้นคว้าเรื่องประโยชน์ของพืชสมุนไพรที่สวนสมุนไพรของโรงเรียน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นหรือชุมชน จะครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคล ซึ่งอาจอยู่ในชุมชนใกล้เคียงโรงเรียน และชุมชนที่โรงเรียนพานักเรียนไปศึกษาหาความรู้ เช่น นายบีไปเรียนวิธีทําขนมไทยจากกลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น

82. พรรคการเมือง เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด
(1) แหล่งเรียนรู้ประเภทสื่อ
(2) แหล่งเรียนรู้ประเภทสถานที่
(3) แหล่งเรียนรู้ประเภทกิจกรรม
(4) แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล
ตอบ 2(คําบรรยาย) แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ เช่น โรงเรียน ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล สถานประกอบการ แปลงเกษตร ศาสนสถาน ศูนย์ราชการ ศาล พรรคการเมือง รัฐสภา สถานีตํารวจ ศูนย์ฝึกอาชีพ ฯลฯ

83. การนําแหล่งเรียนรู้มาใช้เป็นสื่อการสอน จะต้องพิจารณาเลือกจากข้อใดเป็นหลัก
(1) วัตถุประสงค์บทเรียน
(2) ผู้เรียน
(3) ผู้สอน
(4) งบประมาณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การนําแหล่งเรียนรู้มาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาเลือกใช้หรือ สร้างสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในขั้นต้น โดยพิจารณาจากเป้าหมายของ วัตถุประสงค์บทเรียนเป็นหลัก และวิเคราะห์เนื้อหาของวัตถุประสงค์นั้น ๆ ว่า มีจุดสําคัญอะไร และควรสื่อความหมายในลักษณะใด

84. ข้อใดกล่าวถึงความสําคัญของแหล่งเรียนรู้ได้ถูกต้อง
(1) แสดงถึงวิวัฒนาการการเรียนรู้
(2) ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
(3) บ่งบอกถึงวัฒนธรรมการดําเนินชีวิตของมนุษย์
(4) สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างรอบด้าน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พันธ์ประภา พูนสิน ได้กล่าวว่า ในการดําเนินชีวิตปัจจุบันนั้น แหล่งการเรียนรู้ มีความสําคัญสําหรับผู้เรียน ดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพชีวิตจริง สามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว และท้องถิ่น
2. ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายต่อชีวิต
3. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสุความรู้สากล
4. ผู้เรียนเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย สร้างเสริมประสบการณ์ในการลงมือ ปฏิบัติจริง ทําให้เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ฯลฯ

85. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

(1) ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา
(2) ต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน
(3) ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน
(4) ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว เป็นการกําหนดสัญญาอนุญาตโดยการ ระบุเงื่อนไขร่วมกัน คือ Attribution CC – BY – ND หมายถึง ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา
แต่ห้ามดัดแปลง

86. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่ไม่ได้ให้ความรู้ข้อมูลเฉพาะวิชา คือข้อใด
(1) แปลงปลูกผักในโรงเรียน
(2) ศูนย์คอมพิวเตอร์
(3) ศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์
(4) ห้องสมุดโรงเรียน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เดิมจะมีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นหลัก คือ ห้องเรียน ห้องสมุด และครูอาจารย์ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการเฉพาะวิชาต่าง ๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ทางภาษา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ฯลฯ ตลอดจนการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่น แปลงปลูกผัก สวนดอกไม้ สวนสมุนไพร ห้องอาหาร ฯลฯ (ส่วนห้องสมุดโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ที่ให้ข้อมูลความรู้ทุกสาขาวิชา)

87.Creative Commons หมายถึงข้อใด
(1) สัญญาอนุญาตประเภทสื่อ
(2) สัญญาอนุญาตทางการค้า
(3) สัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์
(4) สัญญาอนุญาตทางการศึกษา

ตอบ 3 (คําบรรยาย) สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License : CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรในสหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001

88. เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึงข้อใด

 

(1) แสดงที่มา/อ้างอิงที่มา
(2) ไม่ใช้เพื่อการค้า
(3) อนุญาตแบบเดียวกัน
(4) อนุญาตให้ดัดแปลง
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เครื่องหมายสัญญาอนุญาต CC ดังกล่าว หมายถึง ไม่ใช้เพื่อการค้า (Non Commercial – NC) คือ อนุญาตให้ผู้อื่นทําซ้ํา แจกจ่าย หรือแสดงและนําเสนอชิ้นงาน ดังกล่าว ตลอดจนสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่ไม่นําไปใช้ในทาง การค้าเท่านั้น

89. การใช้บทเรียนแบบ MOOC เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในด้านใด

(1) เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
(2) ไม่จํากัดเวลาและสถานที่เรียน
(3) ทุกคนสามารถเรียนได้ตามความชอบ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) MOOC (Massive Open Online Courses) คือ การเรียนคอร์สออนไลน์กับ มหาวิทยาลัยทั่วโลก เพียงปลายนิ้วคลิก ซึ่งมีความต่างจากบทเรียน E-learning เพราะมีข้อดี ตรงที่เรียนฟรี ไม่จํากัดเพศ วัย การศึกษา สามารถรองรับผู้เรียนได้เป็นจํานวนมาก มีเนื้อหา วิชาที่หลากหลาย ทุกคนสามารถเรียนได้ตามความชอบ และยังเป็นการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านทางสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์

90.RU. Cyber Classroom ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือแหล่งเรียนรู้ในลักษณะใด
(1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
(2) การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
(3) การเรียกดูบทเรียนย้อนหลัง
(4) การถ่ายทอดบทเรียนผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) RU. Cyber Classroom หมายถึง การถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจาก ห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าฟังการบรรยายผ่าน www.ru.ac.th โดยเข้าไปที่สื่อการเรียนการสอน

91. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักแห่งการพึ่งพาตนเอง
(1) หลักด้านจิตใจ
(2) หลักด้านเกษตรกรรม
(3) หลักด้านเทคโนโลยี
(4) หลักด้านเศรษฐกิจ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการพึ่งตนเองต้องมีความพอดี 5 ประการ ได้แก่
1. ความพอดีด้านจิตใจ
2. ความพอดีด้านสังคม
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ

92. ข้อใดต่อไปนี้คือแนวทางการดําเนินการในหลักแห่งการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ
(1) เพิ่มรายได้ รักษารายจ่าย
(2) เพิ่มรายได้ กําจัดรายจ่าย
(3) เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
(4) ลดรายได้ ลดรายจ่าย
ตอบ 3 (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ) ความพอดีด้านเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดํารงชีวิตอย่างพอควร พออยู่พอกิน สมควรตามอัตภาพ โดยแต่ละคนจะต้องทําตามฐานะของตนเอง

93. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) สร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
(2) สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
(3) สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
(4) สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การมุ่งสร้างความก้าวหน้า สมดุล มัน มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกด้านทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

94. หลักสัปปุริสธรรม 7 ข้อใดสอดคล้องกับความมีภูมิคุ้มกันที่ดีของหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(1) รู้เหตุ รู้ผล
(2) รู้ตน รู้ประมาณ
(3) รู้กาล รู้บุคคล
(4) รู้ชุมชน รู้ประมาณ
ตอบ 3(คําบรรยาย) การวิเคราะห์หลักความพอเพียงโดยใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 มีดังนี้
1. หลักของความมีเหตุผล ได้แก่ รู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) และรู้จักผล (อัตถัญญุตา)
2. หลักของความพอประมาณ ได้แก่ รู้จักตนเอง (อัตตัญญุตา) และรู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
3. หลักของความมีภูมิคุ้มกันที่ดี ได้แก่ รู้จักกาล (กาลัญญุตา), รู้จักบุคคล (บุคคลัญญุตา) และ รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา)

95. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นมิติ 4 ด้าน ของเศรษฐกิจพอเพียง
(1) มิติด้านเศรษฐกิจ
(2) มิติด้านจิตใจ
(3) มิติด้านสังคม
(4) มิติด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ อยู่เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กําไร ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ เรื่องจิตใจอันเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะครอบคลุมมิติ 4 ด้าน ดังนี้
1. มิติด้านเศรษฐกิจ
2. มิติด้านจิตใจ
3. มิติด้านสังคม
4. มิติด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต (Way of Life) ของประชาชน

96. การรวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อทําการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ถือเป็นหลักการทฤษฎีใหม่ขั้นที่เท่าใด
(1) ขั้นที่ 1
(2) ขั้นที่ 2
(3) ขั้นที่ 3
(4) ขั้นที่ 4
ตอบ 2 หน้า 72 – 73 ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริขั้นที่ 2 หลังจากที่เกษตรกรได้ปฏิบัติตาม หลักการในขั้นที่ 1 จนได้ผลแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาไปสู่ขั้นของการรวมพลังเกษตรกรในชุมชน ให้เป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันดําเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ ได้แก่

1. การผลิต
2. การตลาด หรือการจัดการจําหน่ายผลผลิต
3. ความเป็นอยู่ของครอบครัว
4. สวัสดิการชุมชน
5. การศึกษา
6. การพัฒนาสังคม และศาสนา

97. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดํารงชีพอย่างจริงจัง
(2) ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดํารงชีพ
(3) ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขาย เลิกประกอบอาชีพแบบต่อสู้กัน
(4) หยุดที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้
1. ยึดความประหยัด ด้วยการตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดํารงชีพ
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องสุจริต
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ ไม่แข่งขันกันในทางการค้าขาย ไม่ประกอบอาชีพแบบ ต่อสู้กันอย่างรุนแรง
4. ขวนขวายใฝ่หาความรู้ ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ ความลําบาก
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้น

98. ข้อใดต่อไปนี้ถือเป็นแนวปฏิบัติของความพอเพียงระดับธุรกิจเอกชน ยกเว้นข้อใด
(1) ทําธุรกิจหวังประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
(2) ไม่ลงทุนธุรกิจเกินตัว
(3) รู้จักลูกค้า ศึกษาคู่แข่ง
(4) ซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 66. ประกอบ

99. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา เป็นรูปแบบการทุจริตที่กระทําโดยใคร
(1) พ่อค้า
(2) ข้าราชการ
(3) นักการเมือง
(4) นายทุน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การทุจริตโดยข้าราชการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การคอร์รัปชั่นตามน้ํา (Corruption without Theft)
2. การคอร์รัปชั่นทวนน้ํา (Corruption with Theft)

100. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเภทของรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นที่กําหนดโดยคณะกรรมการวิสามัญพิจารณา สอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา
(1) การทุจริตเชิงปฏิบัติการ
(2) การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(3) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
(4) การทุจริตในการให้สัมปทาน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต ของวุฒิสภา ได้แบ่งรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. การทุจริตเชิงนโยบาย
2. การทุจริตต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
3. การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
4. การทุจริตในการให้สัมปทาน
5. การทุจริตโดยการทําลายระบบตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ

101. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้ จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทยของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านคุณธรรม
(4) ด้านการเมือง

ตอบ 3 (คําบรรยาย) จากการศึกษาวิจัยโครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย ของเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ได้ระบุถึงเงื่อนไข/สาเหตุที่ทําให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเกิดจาก
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ด้านสังคม
3. ด้านวัฒนธรรม
4. ด้านการเมือง
5. ด้านระบบราชการ
6. กฎหมายและระเบียบ
7. การตรวจสอบ
8. สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ อิทธิพลของภรรยาหรือผู้หญิง และการพนัน

102. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตรงกับคําในภาษาอังกฤษว่าอะไร
(1) Conflict of Common
(2) Conflict of Personal
(3) Conflict of Advantage
(4) Conflict of Interest
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม หรือที่เรียกว่า “Conflict of Interest” นั้น จะมีลักษณะทํานองเดียวกันกับกฎศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หลักคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือ การกระทําใด ๆ ที่เป็นการขัดกันระหว่าง ประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรจะกระทํา แต่บุคคล แต่ละคน แต่ละกลุ่มสังคมอาจเห็นว่า เรื่องใดเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับ ประโยชน์ส่วนรวมแตกต่างกันออกไป

103. ต่อไปนี้คือลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
(1) ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
(2) เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณองค์กร
(3) เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
(4) เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของคนที่มีระบบความคิดที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ไม่สามารถแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
2. ไม่แยกแยะตําแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน
3. เอาประโยชน์ส่วนรวมไปตอบแทนบุญคุณส่วนตน
4. เอาประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นประโยชน์ส่วนตน
5. เห็นประโยชน์ส่วนตนสําคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์เครือญาติพวกพ้อง สําคัญกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ

104. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นการคิดแบบ Analog
(1) ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเกิดประโยชน์
(2) ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะไม่ทําให้ใครเสียหาย
(3) ติดสินบนเพื่อนําเงินเข้ารัฐ
(4) เห็นประโยชน์ส่วนตนมาหลังประโยชน์ส่วนรวม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ระบบคิดฐานสิบ (Analog) เป็นระบบการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่มีตัวเลขหลายตัว หรือโอกาสที่จะเลือกได้หลายทาง จึงเป็นระบบการคิดที่แยกประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมออกจากกันไม่ได้ โดยมีลักษณะการคิดดังนี้
1. ยอมรับกับคําพูดที่ว่า “ทุจริตบ้างไม่เป็นไร ถ้าเราได้ประโยชน์”
2. ยอมรับการมีผลประโยชน์ทับซ้อน การติดสินบน และการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ยอมรับระบบอุปถัมภ์ ชอบนําความสัมพันธ์ส่วนตัวมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
4. เห็นประโยชน์ส่วนตนมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

105. ดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือ CPI ซึ่งย่อมาจากคําว่าอะไร
(1) Corruption Period Indicator
(2) Corruption Perceptions Index
(3) Corruption Perceptions Indicator
(4) Cooperation Perceptions Index
ตอบ 2(คําบรรยาย) องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ทําการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ประจําปี 2562 พบว่า ประเทศไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และอยู่อันดับที่ 101 จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศ ซึ่งค่า CPI จะมีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชั่นมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด)

106. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของการคิดดี
(1) คิดแบบพอเพียงไม่เบียดเบียนผู้อื่น
(2) คิดอย่างรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่
(3) ยึดหลักคุณธรรม “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นตามสนอง
(4) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ลักษณะของการ “คิดดี” มีดังนี้
1. คิดแบบพอเพียงไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และประเทศชาติ
2. คิดอย่างรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ และกฎระเบียบ
3. คิดตามคุณธรรมว่า “ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว”, “กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นตาม

107. พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 361 – 362) ได้ให้ความหมายของคําว่า “Social Sanctions” เป็นภาษาไทยว่าอะไร
(1) สิทธานุมัติทางสังคม
(2) ฉันทานุมัติทางสังคม
(3) อนุมัติทางสังคม
(4) ประชานุมัติทางสังคม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532 : 361 – 362) ให้ความหมายของคําว่า “Social Sanctions” เป็นภาษาไทยว่า “สิทธานุมัติทางสังคม” หมายถึง การขู่ว่าจะลงโทษหรือการสัญญาว่าจะให้รางวัลตามที่กลุ่มกําหนดไว้สําหรับการ ประพฤติปฏิบัติของสมาชิก เพื่อชักนําให้สมาชิกกระทําตามข้อบังคับและกฎเกณฑ์

108. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักการทํางานของ ป.ป.ช. ภาคประชาชน
(1) มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอาสาเข้ามาทํางานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
(2) การเฝ้าระวังพื้นที่ที่เห็นว่าสุ่มเสี่ยงต่อการแสวงหาผลประโยชน์
(3) ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่อง
(4) ส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าไปต่อต้านการเลือกตั้งทุกระดับ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักการทํางานของ ป.ป.ช. ภาคประชาชน มีดังนี้
1. มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอาสาเข้ามาทํางานเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
2. ติดอาวุธทางปัญญาให้กับตัวเอง
3. ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. การเฝ้าระวังพื้นที่ที่เห็นว่าสุ่มเสี่ยงต่อการแสวงหาผลประโยชน์
5. ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่างต่อเนื่องในชุมชน
6. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีบทบาทในการป้องกันการทุจริตการเลือกตั้งทุกระดับ ฯลฯ

109. ความละอายสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คืออะไร
(1) ความละอายระดับต่ำ และความละอายระดับที่สูง
(2) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับที่สูง
(3) ความละอายระดับต้น และความละอายระดับปลาย
(4) ความละอายระดับภายนอก และความละอายระดับภายใน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ลักษณะของความละอายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่
1. ความละอายระดับต้น หมายถึง ความละอายไม่กล้าที่จะทําในสิ่งที่ผิด เพราะกลัวว่า เมื่อตนได้ทําลงไปแล้วจะมีคนรับรู้ หากถูกจับได้จะได้รับการลงโทษ
2. ความละอายระดับที่สูง หมายถึง แม้ว่าจะไม่มีใครรับรู้หรือเห็นในสิ่งที่ตนได้ทําลงไป ก็ไม่กล้าที่จะทําผิด เพราะนอกจากตนจะได้รับผลกระทบแล้ว ครอบครัว สังคมก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

110. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
(1) คําว่า “คุณ” แปลว่า ความเหมาะ เป็นคําที่มีความหมายทางนามธรรม
(2) คําว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติทางกิริยาที่ควรประพฤติ เป็นคําที่มีความหมายทางนามธรรม
(3) คําว่า “คุณ” แปลว่า ความเหมาะสม เป็นคําที่มีความหมายทางรูปธรรม
(4) คําว่า “จริย” แปลว่า ความประพฤติทางกิริยาที่ควรประพฤติ เป็นคําที่มีความหมายทางรูปธรรม
ตอบ 4 หน้า 40, 42 – 43 (คําบรรยาย) คําว่า “คุณ” (คณะ) แปลว่า ความดี เป็นความหมายทาง นามธรรมและเป็นเรื่องของจิตใจ ส่วนคําว่า “จริย” (จริยะ) แปลว่า ข้อกําหนดเพื่อบ่งบอกถึง ลักษณะความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ ซึ่งเป็นความหมายทางรูปธรรมและเป็นเรื่องของ การแสดงออกให้เห็นเป็นประจักษ์ อันเป็นพฤติกรรมภายนอก

111. สัจจะเป็นหนึ่งในฆราวาสธรรม 4 ประการ หมายถึงตามข้อใด
(1) ความจริง คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจได้
(2) การข่มใจ คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ (3) อดทน คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทนไม่หวั่นไหว ไม่ท้อถอย มั่นคงในจุดหมาย
(4) เสียสละ คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับ ผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักคุณธรรมสําหรับฆราวาส หรือหลักการครองชีวิต ให้มีความสุข ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย
1. สัจจะ (ความจริง) คือ ดํารงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทําจริง จะทําอะไร ก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
2. ทมะ (การข่มใจ) คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้า ดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
3. ขันติ (อดทน) คือ มุ่งหน้าทําหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง อดทน ไม่หวั่นไหว มั่นคงในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
4. จาคะ (เสียสละ) คือ มีน้ําใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บําเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับผู้อื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน

112. ข้อใดไม่ใช่การฝึกตนให้มีความพอเพียง ซึ่งถือเป็นวิธีการพัฒนาตนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูง
(1) การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน
(2) การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ
(3) การทําสมาธิ
(4) ฝึกการเป็นผู้ให้
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การฝึกตนให้มีความพอเพียง เป็นวิธีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้วยตนเองขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย
1. การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ฯลฯ
2. การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน
3. การทําสมาธิ
4. ฝึกการเป็นผู้ให้ เช่น การรู้จักให้อภัย รู้จักการแบ่งปันความรู้ ฯลฯ

113. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหนึ่งใน 7 หลักการของหลักนิติธรรม
(1) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
(2) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
(3) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(4) หลัก “มีความผิด และมีโทษโดยตามกฎหมาย”
ตอบ 4 (คําบรรยาย) หลักนิติธรรม (The Rule of Law) ประกอบด้วย 7 หลักการ ได้แก่
1. หลักการแบ่งแยกอํานาจ
2. หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
3. หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง
4. หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา
5. หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
6. หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย”
7. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

114. หลักการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วยหลักการสําคัญ 4 หลักการต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
(1) ระดับการให้ข้อมูล
(2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน
(3) ระดับการวางแผนของผู้บริหาร และการตัดสินใจ
(4) ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) ประกอบด้วย 4 หลักการสําคัญ ดังนี้
1. ระดับการให้ข้อมูล เป็นระดับต่ำที่สุดและเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดของการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้วางแผนโครงการกับประชาชน
2. ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าระดับแรก
3. ระดับการวางแผนร่วมกัน และการตัดสินใจ เป็นระดับขั้นที่สูงกว่าการปรึกษาหารือ
4. ระดับการพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชน จัดเป็น ระดับขั้นสูงที่สุดของการมีส่วนร่วม

115. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักในการพึ่งตนเอง 5 ประการ สําหรับประชาชนทั่วไป
(1) หลักด้านจิตใจ
(2) หลักด้านครอบครัว
(3) หลักด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4) หลักด้านเทคโนโลยี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

116. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นหลักการย่อยของหลักความรับผิดชอบ
(1) การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
(2) การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) การจัดการพฤติกรรมที่เอื้อต่อการทํางานอย่างไม่หยุดยั้ง
(4) การติดตามและประเมินผลการทํางาน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) ประกอบด้วยหลักการย่อย ดังนี้ 1. การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันจากเป้าหมายที่ได้กําหนดเอาไว้
3. การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การจัดการพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการทํางานอย่างไม่หยุดยั้ง
5. การมีแผนการสํารอง
6. การติดตามและประเมินผลการทํางาน

117. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็น 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3
(พ.ศ. 2560 – 2564)
(1) สร้างสังคมที่ทนต่อการทุจริต
(2) ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
(3) สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
(4) พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) กําหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต” (Zero Tolerance & Clean Thailand) แบ่งออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้น กระบวนการปรับสภาพทางสังคมให้เกิดภาวะ “ไม่ทนต่อการทุจริต” ได้แก่
1. สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
2. ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
3. สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
4. พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
5. ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
6. ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต

118. คุณลักษณะที่สําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถือว่า เป็นส่วนประกอบที่เป็น 3 ห่วง
(1) ความพอประมาณ
(3) ความมีวินัย
(2) ความมีเหตุผล
(4) มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอเพียง
จะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (3 ห่วง) ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง นอกจากนี้การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องอาศัย 2 เงื่อนไข คือ
1. เงื่อนไขความรู้
2. เงื่อนไขคุณธรรม

119. นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสําเร็จสูงสุด ด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อเทิด พระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันเดือนปีใด
(1) 26 พฤษภาคม 2549
(3) 26 พฤษภาคม 2550
(2) 5 ธันวาคม 2550
(4) 5 ธันวาคม 2549
ตอบ 1 หน้า 62 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 นายโคฟี อันนั้น ซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การ สหประชาชาติ (UN) ในขณะนั้น ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัลความสําเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP : The Human Development Lifetime Achievement Award) แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเทิดพระเกียรติเป็นกรณีพิเศษในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

120. คุณธรรมพื้นฐานที่ป้องกันมิให้กระทําการเบียดเบียนที่สําคัญในทางพุทธศาสนา คือ หิริโอตตัปปะ อยากทราบว่า คําว่า “หิริ” มีความหมายว่าอย่างไร
(1) ความกล้าที่จะทําความดี
(2) ความละอายต่อบาปทุกชนิด
(3) ความเกรงกลัวต่อผลของบาป
(4) ความยินดีต่อผลของการกระทํา
ตอบ 2 (คําบรรยาย) โลกบาลธรรม หรือธรรมโลกบาล คือ คุณธรรมสําหรับคุ้มครองโลก หรือทําให้ โลกดํารงอยู่ได้ เพราะจะเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยควบคุมจิตใจของมนุษย์ให้อยู่ในความดี ทําให้ มนุษย์ดําเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุข มีระเบียบไม่สับสน และไม่กระทําการ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ดังนั้นหากคนในสังคมใดขาดหลักธรรมนี้จะสามารถทําชั่วได้ทุกอย่าง ซึ่งย่อมส่งผลเสียหายต่อสังคมมากที่สุด ได้แก่
1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจต่อการที่จะทําความชั่วหรือบาปทุกชนิด เมื่อคิดจะทํา ความชั่วแล้วไม่กล้าทํา
2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลของบาป เกรงกลัวต่อผลจากการทําชั่ว

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก s/2564

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย ทั้งในส่วนกฎหมายไทยและกฎหมายสากล คืออะไร

ธงคําตอบ

เหตุที่ต้องเรียนประวัติศาสตร์กฎหมายก็เพราะวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายเป็นองค์ประกอบสําคัญของวิชานิติศาสตร์เช่นเดียวกันกับร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ หากขาดอวัยวะที่ไม่สําคัญ บางอย่างไป ชีวิตก็ยังคงดํารงอยู่ได้ แต่หากขาดอวัยวะที่สําคัญไป ชีวิตก็ไม่อาจดํารงอยู่ได้ วิชาประวัติศาสตร์ กฎหมายก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน หากไม่เรียน ไม่ศึกษา ก็สามารถประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้ และถ้าหาก ได้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายก็จะทําให้เข้าใจกฎหมายได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทําให้เข้าใจวิวัฒนาการของกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ดีขึ้น

1. กล่าวกันว่ากฎหมายเป็นเรื่องของประสบการณ์ บางครั้งบทบัญญัติของกฎหมายก็ไม่ได้ เป็นไปตามหลักตรรกวิทยา บางครั้งต้องอาศัยประวัติศาสตร์มาอธิบายถึงที่มาของบทบัญญัติกฎหมาย จึงจะ เข้าใจถึงเหตุผลของกฎหมาย เช่น ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ศาลทั้งหลายเป็นองค์กรอิสระ แต่ศาลยุติธรรม ของไทยกลับเคยสังกัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นองค์กรของฝ่ายบริหาร ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการจะทราบว่า เพราะเหตุใดศาลยุติธรรมของไทยเคยสังกัดกระทรวงยุติธรรม เราก็ต้องไปศึกษาในประกาศจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) หรือเพราะเหตุใดศาลหลวง (Royal Court) ของประเทศอังกฤษจึงมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ตัวอย่างต่าง ๆ เหล่านี้คงต้องนําประวัติศาสตร์มาอธิบายจึงจะสามารถตอบคําถามต่าง ๆ ข้างต้นได้ ณ จุดนี้ประวัติศาสตร์หนึ่งหน้าย่อมมีค่ามากกว่าตรรกวิทยาหนึ่งเล่ม

2. ทําให้เราทราบถึงที่มาแห่งหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของกฎหมาย เช่น ทําให้เราทราบว่าประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยแบ่งทรัพย์ออกเป็น ทรัพย์มีรูปร่าง และทรัพย์ไม่มีรูปร่าง โดยแบ่งออกเป็นอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ตามแบบอย่างกฎหมายโรมัน ในขณะที่กฎหมายไทยแต่เดิมเคยแบ่งทรัพย์ ออกเป็น ทรัพย์มีวิญญาณ (วิญญาณกทรัพย์) และทรัพย์ไม่มีวิญญาณ (อวิญญาณกทรัพย์) เป็นต้น

3. ทําให้เราทราบเจตนารมณ์และขอบเขตของกฎหมาย ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายย่อม ทราบถึงเจตนารมณ์และขอบเขตของกฎหมายเป็นอย่างดี การรู้เจตนารมณ์และขอบเขตของกฎหมายทําให้สามารถ
ใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตีความกฎหมายตามตัวอักษรขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเราต้องถือตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นสําคัญยิ่งกว่าความหมายของกฎหมายตามลายลักษณ์อักษร

4. ทําให้เราทราบถึงที่มาของรูปแบบการปกครองของประเทศต่าง ๆ ตลอดจนความเชื่อมั่น และความมุ่งมั่นในการพัฒนาของแต่ละประเทศ

5. ทําให้เราทราบถึงวิธีการต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมในกาลเวลาและสถานที่แตกต่างกัน

6. ประวัติศาสตร์กฎหมายนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโลก การศึกษาประวัติศาสตร์ กฎหมายย่อมทําให้เราได้ศึกษาอารยธรรมโลกโดยปริยาย

 

ข้อ 2. หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญ มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดและอิทธิพลใดในประวัติศาสตร์ของกฎหมาย

ธงคําตอบ

หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญนั้น มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดแบบ “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวราชา” (Divine Right of King) ซึ่งเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แนวคิดตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดชาติขึ้นมา ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เพราะได้รับมอบอํานาจมาจากพระเจ้าโดยตรง

ส่วนแนวคิดตามทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เชื่อว่า อํานาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิด ความมั่นคงและสันติภาพ ซึ่งนักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สําคัญ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาด เป็นแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยมที่ยังคงสนับสนุนให้อํานาจเด็ดขาด อยู่กับพระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนข้ออ้างจากพระเจ้ามาเป็นความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน ซึ่งทฤษฎี สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น นอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่ระบบกษัตริย์แล้ว ยังเน้นการรวมศูนย์ยิ่งกว่าทฤษฎี เทวสิทธิ์ ซึ่งโทมัส ฮอปส์ ยังได้กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอํานาจศูนย์กลางที่ทําให้ทุกคนเกรงกลัว เป็น สภาพสงครามที่ทุกคนต้องต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน ไม่มีความมั่นคง มนุษย์จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ทําสัญญาตั้งองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจเด็ดขาดบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา องค์อธิปัตย์จึงทําหน้าที่ตรวจตรา ดูแลและลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม โดยองค์อธิปัตย์จะอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆต่อองค์อธิปัตย์ อํานาจขององค์อธิปัตย์จึงเด็ดขาดสูงสุด

แนวคิดและหลักความเชื่อดังกล่าวที่ว่าพระเจ้าทรงมอบอํานาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอํานาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา และเมื่อมีการ ขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา

และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง
ของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์สจ๊วตในบริเตน และคริสต์ศาสนาปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ ผู้มีอิทธิพลและมีตําแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ

ในยุคสมัยของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจในการบริหารราชการ ทุกประเภทรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ผู้ดํารงฐานะเป็นประมุขของรัฐ จึงทําให้เข้าใจว่ากษัตริย์เป็นแหล่งกําเนิด อํานาจอธิปไตย อํานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์เป็นผู้ตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายโดยพระองค์เอง อํานาจต่าง ๆ ในทางการปกครองรวมทั้งการชําระคดีความล้วนมีที่มาหรือได้รับมอบหมายมาจากกษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กษัตริย์จึงไม่อาจมีความรับผิดใด ๆ ได้ เพราะกษัตริย์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้อํานาจอธิปไตย เสียเอง จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้อํานาจของตนเองได้อย่างไร จึงมีหลักความคุ้มครองไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ ต่อกษัตริย์ที่เรียกว่า “The King Can Do No Wrong” เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย Common Law ของอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป

ภายหลังจากที่หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย แต่ละประเทศอาจจะเลือกการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็น
ประมุขโดยตรง ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประวัติศาสตร์ความผูกพันและทัศนคติหรือมุมมองที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

สําหรับประเทศไทย ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติรับรองหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจ อธิปไตย จึงเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ บริหารราชการแผ่นดิน เพียงแต่พระองค์ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐบาลจึงไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ อัน เกิดจากการกระทําของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องนําหลัก “The King Can Do No Wrong มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และนอร์เวย์

 

ข้อ 3. กฎหมายศาสนาอิสลามเกิดจากอะไร และมีอิทธิพลอะไรยังไงต่อกฎหมายไทยในยุคปัจจุบัน

ธงคําตอบ

ศาสนาอิสลามมีหลักการสอนให้มีความเชื่อว่า อัลลอฮ์ เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวในสากล จักรวาล เป็นผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมอยู่ใต้อํานาจบันดาลของพระองค์ทั้งสิ้น ท่านนบีมู มัด เป็นศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาอิสลามและเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ให้มาประกาศสั่งสอนหลักธรรมแก่มนุษย์โลก ดังที่ปรากฏข้อความในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญสูงสุดและเป็นที่มาอันดับแรกของกฎหมายอิสลาม

กฎหมายอิสลามมีแหล่งกําเนิดที่นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในสมัยที่ท่านนบีมูฮ์มัดได้ทรง ประกาศศาสนาและเป็นผู้ปกครองประเทศ ต่อมาได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ที่มีมุสลิมซึ่งถือหลักในการ พิจารณากระบวนการยุติธรรม อันเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของครอบครัว ผัวเมีย และการแบ่งปันมรดกของชนชาวมุสลิม

ท่านอาจารย์เด่น โต๊ะมีนา ได้อธิบายว่า กฎหมายอิสลามมีที่มาจากหลักฐานทางศาสนาที่สําคัญอยู่ 4 ประการ คือ

1) พระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน ถือว่าเป็นพระอธิเทวราชโองการของอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า ที่ทรงประทานลงมาให้แก่ท่านนบีมูฮัมัด ต่างกรรมต่างวาระที่พระองค์เห็นสมควร ปรากฏว่าภายหลังจากที่ท่าน นบีมูฮ์มัดได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จึงได้มีการรวบรวมจากที่กระจัดกระจายอยู่ตามบันทึกที่มีการจดเป็นตัวอักษร ไว้ในใบปาล์มบ้าง หนังสัตว์บ้าง ตลอดถึงการจดจําของบรรดาผู้ใกล้ชิด และผู้เป็นสาวกนํามาเรียงลําดับก่อนหลัง จนครบถ้วนบริบูรณ์ รวมทั้งสิ้น 30 ภาค มี 114 บท จํานวน 6,000 กว่าโองการ จึงนับได้ว่าเป็นที่มาของกฎหมาย อิสลามอันดับแรกที่สําคัญที่สุด

2) พระคัมภีร์อัล-หะดีษ คือ ข้อบัญญัติจากการกระทําหรือปฏิบัติการต่าง ๆ และพระวัจนพจน์ ตลอดถึงการวินิจฉัยข้อปัญหากฎหมายบางเรื่องบางอย่าง รวมทั้งการดําเนินตามวิถีทางความเป็นอยู่ทุกอิริยาบถ
ของท่านนบีมูฮ์มัด ซึ่งได้มีการบันทึกและจดจําโดยผู้ใกล้ชิดและบรรดาสาวกทั้งหลาย เก็บรักษาไว้เป็นหลักการ ทางศาสนาและปฏิบัติกันตลอดมาที่เรียกว่า “ซุนนะห์

3) อัล-อิจญ์มาร์ คือ มติธรรมของปวงปราชญ์ ซึ่งเป็นความเห็นอันเกี่ยวกับปัญหาทางกฎหมาย อิสลามที่สอดคล้องต้องกันของนักนิติศาสตร์ฝ่ายศาสนาอิสลาม ผู้ซึ่งเป็นสาวกของท่านนบีมูฮัมัด ในกรณีที่ไม่มี ข้อความอันใดปรากฏในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน หรืออัล-หะดีษ ที่จะยกมาปรับกับปัญหาที่มีขึ้น

4) อัล-กิยาส คือ การเปรียบเทียบโดยอาศัยเหตุผลที่ต่อเนื่องด้วยหลักการแห่งที่มาของกฎหมาย อิสลามทั้ง 3 ประการดังกล่าวข้างต้นนั้น แต่ยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการของสังคมมุสลิม จึงจําเป็นต้องใช้ วิธีการให้เหตุผลโดยอาศัยการเปรียบเทียบกับตัวบทกฎหมายที่ใกล้เคียง และไม่ขัดกับหลักการอันเป็นที่มาของกฎหมายอิสลามทั้ง 3 ข้อที่กล่าวแล้วด้วย หรือถ้าหากยังไม่สามารถกระทําได้ก็ให้ดําเนินการวินิจฉัยตามหลักธรรม การปฏิบัติศาสนกิจหรือตามประเพณีนิยม (อัล-อุรฟุ) ทั่วไปที่ไม่ขัดกับหลักธรรมหรือจริยธรรมของอิสลาม เช่น หลักกฎหมายอิสลามที่ใช้บังคับกับศาลชั้นต้นในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สตูล ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส โดยคู่กรณีต้องเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดดังกล่าว และต้องเป็นประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายครอบครัวหรือมรดกเท่านั้น เนื่องจากหากมีการใช้มวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับครอบครัว และมรดกบังคับใช้กับประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามที่อยู่ในเขตจังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก เพราะเนื้อหาของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับครอบครัวและมรดกนั้น มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับหลักกฎหมายอิสลาม

 

ข้อ 4. โปรดประเมินผลกระทบทางกฎหมายของมหากฎบัตร (Magna Carta) ที่ส่งผลต่อพัฒนาการทาง กฎหมาย และผลกระทบนั้นมีผลเฉพาะกับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เพียงอย่างเดียว ประเทศไทยจึงไม่ได้รับอิทธิพลของมหากฎบัตรไปด้วย จริงหรือไม่

ธงคําตอบ

กฎหมายของมหากฎบัตร (Magna Carta) เป็นกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นในยุคก่อตัวของ Common Law (ค.ศ. 1066 – 1485) สมัยของพระเจ้าจอห์น (King John) มีการลงพระนามเมื่อปี ค.ศ. 1215 ซึ่งเกิดการ แย่งชิงอํานาจระหว่างกษัตริย์กับพวกขุนนาง มีทั้งหมด 63 ข้อ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ลิดรอนอํานาจและขจัดการ กระทําที่ไม่ชอบของพระเจ้าจอห์น และถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ นอกจากนี้ ากนี้ยังเป็น
กฎหมายที่มีผลกระทบต่อระบบกฎหมายและศาลหลวงด้วย

สําหรับวัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ก็คือ ขจัดการกระทําที่ไม่ชอบของพระเจ้าจอห์น กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ลิดรอนอํานาจของพระองค์เอง แม็กนาคาร์ต้าจึงเป็นหลักประกันว่ากษัตริย์จะต้องอยู่ภายใต้ กฎหมายและจะไม่ปฏิบัติการใด ๆ โดยไม่มีกฎหมายให้อํานาจ และถือเป็นกฎหมายที่วางหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

มหากฎบัตร (Magna Carta) ที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ พลเมืองอังกฤษในสาระสําคัญ 3 ประการ คือ

1. ปฏิรูปมหาสภา (Magnum Concilium) ให้มีโครงสร้างประกอบด้วยขุนนางผู้ครองเมือง หรือเจ้าของที่ดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีหมายเรียกเป็นการเฉพาะบุคคล นอกจากนี้ให้เชิญขุนนางตําแหน่งอัศวินจากแต่ละเมืองเข้าร่วมประชุมมหาสภาด้วย นับเป็นครั้งแรกที่ให้สิทธิ์แก่ขุนนางระดับล่างให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

2. คุ้มครองเสรีภาพของเสรีชนในอันที่จะไม่ถูกจับกุมคุมขังหรือปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

3. ให้สิทธิแก่ขุนนางในการเลือกตัวแทนมาทําหน้าที่กํากับดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อกําหนด ในแม็กนาคาร์ต้า และให้สิทธิแก่ขุนนางทัดทานการกระทําที่ไม่ชอบธรรม และหากปรากฏว่ามีการใช้อํานาจ ปกครองด้วยความไม่ชอบธรรม หรือละเมิดต่อกฎหมาย หรือข้อตกลงที่ได้กําหนดไว้แล้ว ขุนนางมีสิทธิ์จัดตั้งสภา เพื่อพิจารณาการกระทําของผู้ใช้อํานาจปกครอง

สําหรับผลกระทบนั้น ไม่มีผลแต่เฉพาะกับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เพียงอย่างเดียว ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลของมหากฎบัตรไปด้วย จากการที่ความมุ่งหมาย และคําอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการอ้างถึง ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยว่าเป็นหมวดที่มีความสําคัญที่สุดหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มีการบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และบัญญัติไว้เรื่อยมาในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ในทางหลักการแล้วหมวดนี้บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับ แนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐเพื่อที่จะสามารถรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ได้ โดยห้ามมิให้ รัฐใช้อํานาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือเกินจําเป็น ซึ่งหลักการสําคัญนี้ปรากฏในมหากฎบัตรแม็กนาคาร์ต้า (Magna Carta) ดังนั้น คํากล่าวข้างต้นจึงไม่จริง

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 2/2564

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ให้นักศึกษาตอบคําถามดังนี้

(ก) กฎหมาย “ตราสามดวง” เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นในยุคใด มีมูลเหตุจากเรื่องใด

(ข) จากการที่ท่านได้ศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย “ศาสนา” มีอิทธิต่อกฎหมายไทยอย่างไรบ้าง

ธงคําตอบ

(ก) กฎหมาย “ตราสามดวง” คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงให้บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้ปกครองบ้านเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2347 (จุลศักราช 1166)

สาเหตุที่มีการประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้น ก็เนื่องมาจากการร้องทุกข์ของนายบุญศรีช่างเหล็กหลวง ความว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลว่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ เนื่องจากอําแดงป้อมภรรยานายบุญศรีฟ้องหย่านายบุญศรีนายบุญศรีให้การแก่พระเกษมว่าอําแดงป้อมนอกใจทําด้วยนายราชาอรรถแล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรี ไม่ยอมหย่า พระเกษมหาได้พิจารณาตามคําให้การของนายบุญศรีไม่ พระเกษมพูดจาแทะโลมอําแดงป้อม และพิจารณาไม่เป็นสัจไม่เป็นธรรมเข้าด้วยอําแดงป้อมแล้วคัดข้อความมาให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงปรึกษาว่า เป็นหญิงหย่าชาย ให้อําแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากผัวเมียกันตามกฎหมาย

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาตรัสว่าหญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหาเป็นยุติธรรมไม่ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เจ้าพระยาพระคลังเอา กฎหมาย ณ ศาลหลวงมาสอบกับฉบับหอหลวง ฉบับข้างที่ ได้ความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็น หญิงหย่าชาย หย่าได้ ถูกต้องตรงกัน ทั้ง 3 ฉบับ จึงทรงเห็นว่าทางฝ่ายศาสนาจักรนั้นพระไตรปิฎกฟันเฟือนวิปริต ก็ยังอาจอาราธนาพระราชาคณะทั้งปวงให้ทําสังคายนาชําระพระไตรปิฎกให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติได้ ดังนั้น ทางฝ่ายราชอาณาจักรเมื่อกฎหมายฟั่นเฟือนวิปริต จึงควรที่จะชําระให้ถูกต้อง พระองค์จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง ประกอบด้วย อาลักษณ์ 4 ลูกขุน 3 ราชบัณฑิต 4 จัดการ ชําระบทกฎหมายตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นไป มิให้เนื้อความผิดเพี้ยนซ้ํากัน จัดเป็นหมวดหมู่เข้าไว้ ดัดแปลง บทกฎหมายที่วิปลาสให้ถูกต้องตามความยุติธรรม เมื่อชําระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงให้อาลักษณ์เขียนเป็นฉบับหลวง จํานวน 3 ชุด ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้ว อันเป็นตราประจําตําแหน่งสมุหนายก สมุหพระกลาโหม และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ (ซึ่งทําให้เรียกกันในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง) ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความถูกต้องแท้จริงของกฎหมาย และแสดงให้เห็นว่ากฎหมายนั้นมีอํานาจใช้บังคับตลอดทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งมีบทห้ามมิให้ลูกขุนเชื่อฟังกฎหมายอื่นที่มิได้มีตราทั้งสามนี้ประทับอยู่ กฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้เก็บไว้ที่ ห้องเครื่อง 1 ชุด หอหลวง 1 ชุด และที่ศาลหลวง 1 ชุด

กฎหมายตราสามดวงนั้น ถือว่าเป็นรากฐานสําคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย อีกเรื่องหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นกฎหมายก่อนหน้านั้น และบางเรื่องที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงยังมีปรากฏในกฎหมายไทยในระยะหลังอีกด้วย

(ข) กฎหมายกับศาสนามีความเหมือนกันตรงที่มีแบบแผนในการกําหนดความประพฤติปฏิบัติที่แน่นอน เป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นกฎหมายก็จะมีประมวลกฎหมายบัญญัติกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เอาไว้ ส่วนถ้า เป็นหลักศาสนาก็จะมีคัมภีร์ต่าง ๆ ที่เขียนถึงแนวคิดหรือหลักธรรมคําสอนต่าง ๆ ของศาสดาของแต่ละศาสนา ๆ เอาไว้อย่างชัดเจน ในกฎหมายไทยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธ ปรากฏเป็นหลักการสําคัญในการนํามาบัญญัติเป็นกฎหมาย เช่น หลักในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ที่มาจากพราหมณ์ที่มีคําสอนเรื่องหลักอินทภาษ หรือในศาสนาพุทธที่มีการนําคติเรื่องนรกภูมิมากําหนดเป็นบทลงโทษเพื่อให้คนเกิดความเกรงกลัว เป็นต้น

 

ข้อ 2. หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญ มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดและอิทธิพลใดในประวัติศาสตร์ของกฎหมาย

ธงคําตอบ

หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญนั้น มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดแบบ “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวราชา” (Divine Right of King) ซึ่งเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แนวคิดตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดชาติขึ้นมา ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เพราะได้รับมอบอํานาจมาจากพระเจ้าโดยตรง

ส่วนแนวคิดตามทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เชื่อว่า อํานาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิด ความมั่นคงและสันติภาพ ซึ่งนักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สําคัญ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาด เป็นแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยมที่ยังคงสนับสนุนให้อํานาจเด็ดขาด อยู่กับพระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนข้ออ้างจากพระเจ้ามาเป็นความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน ซึ่งทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น นอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่ระบบกษัตริย์แล้ว ยังเน้นการรวมศูนย์ยิ่งกว่าทฤษฎี เทวสิทธิ์ ซึ่งโทมัส ฮอบส์ ยังได้กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอํานาจศูนย์กลางที่ทําให้ทุกคนเกรงกลัว เป็น สภาพสงครามที่ทุกคนต้องต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน ไม่มีความมั่นคง มนุษย์จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ทําสัญญาตั้งองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจเด็ดขาดบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา องค์อธิปัตย์จึงทําหน้าที่ตรวจตรา ดูแลและลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม โดยองค์อธิปัตย์จะอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ ต่อองค์อธิปัตย์ อํานาจขององค์อธิปัตย์จึงเด็ดขาดสูงสุด

แนวคิดและหลักความเชื่อดังกล่าวที่ว่าพระเจ้าทรงมอบอํานาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอํานาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา และเมื่อมีการ ขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา

และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์ สจ๊วตในบริเตน และคริสต์ศาสนาปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ ผู้มีอิทธิพลและมีตําแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ

ในยุคสมัยของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจในการบริหารราชการ ทุกประเภทรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ผู้ดํารงฐานะเป็นประมุขของรัฐ จึงทําให้เข้าใจว่ากษัตริย์เป็นแหล่งกําเนิด อํานาจอธิปไตย อํานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์เป็นผู้ตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายโดยพระองค์เอง อํานาจต่าง ๆ ในทางการปกครองรวมทั้งการชําระคดีความล้วนมีที่มาหรือได้รับมอบหมายมาจากกษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กษัตริย์จึงไม่อาจมีความรับผิดใด ๆ ได้ เพราะกษัตริย์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้อํานาจอธิปไตย เสียเอง จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้อํานาจของตนเองได้อย่างไร จึงมีหลักความคุ้มครองไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ ต่อกษัตริย์ที่เรียกว่า “The King Car Do No Wrong” เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย Common Law ของอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป

ภายหลังจากที่หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย แต่ละประเทศอาจจะเลือกการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็น
ประมุขโดยตรง ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประวัติศาสตร์ความผูกพันและทัศนคติหรือมุมมองที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

สําหรับประเทศไทย ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติรับรองหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตย จึงเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ บริหารราชการแผ่นดิน เพียงแต่พระองค์ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐบาลจึงไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ อัน เกิดจากการกระทําของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องนําหลัก “The King Can Do No Wrong” มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และนอร์เวย์

 

ข้อ 3. แหล่งที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law กับระบบ Socialist Law มีความเหมือนกัน และแตกต่างกันอย่างไร

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ เป็นระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบกฎหมาย ที่ศาลได้นําเอาจารีตประเพณีมาใช้ในการตัดสินคดี โดยมีต้นกําเนิดจากประเทศอังกฤษ เนื่องจากในระยะแรก ได้มีชนเผ่าต่าง ๆ ที่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ และศาลของท้องถิ่นได้นําเอาจารีตประเพณีของชนเผ่า มาตัดสินคดี ทําให้ผลของคําพิพากษาแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน จนกระทั่งเมื่อชนเผ่าสุดท้าย คือ พวกนอร์แมน พิชิตเกาะอังกฤษ ในสมัยของพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 จึงได้ส่งศาลเคลื่อนที่ออกไปวางหลักเกณฑ์ ทําให้จารีตประเพณี เหมือนกันทุกท้องถิ่นมีลักษณะเป็นสามัญ และใช้บังคับกันได้ทั่วไป ทําให้มีการเรียกชื่อว่า คอนมอนลอว์ และ ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

ส่วนระบบกฎหมายสังคมนิยม (Socialist Law) เป็นระบบกฎหมายที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศรัสเซียหลังจากการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1917 โดยได้นําเอาแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และเลนิน (Lenin) โดยทั้ง 2 ท่าน มีแนวความคิดว่า กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือ เพื่อใช้ปกครองประเทศโดยยึดหลักผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชุมชนหรือสังคม ประเทศที่ใช้ระบบ กฎหมายสังคมนิยมนี้ ได้แก่ จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว เป็นต้น

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์กับระบบกฎหมายสังคมนิยมนั้น จะมีแหล่งที่มาเหมือนกัน คือ บ่อเกิดของกฎหมายมาจากจารีตประเพณี โดยประเทศอังกฤษเป็นต้นกําเนิดของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
ส่วนประเทศรัสเซียเป็นต้นกําเนิดของระบบกฎหมายสังคมนิยม

ส่วนที่แตกต่างกัน คือ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น กฎหมายจะมาจากคําพิพากษาของศาล และมาจากความยุติธรรม แต่ระบบกฎหมายสังคมนิยมนั้น กฎหมายมาจากแนวความคิดของนักปราชญ์ 2 ท่าน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน

 

ข้อ 4. อธิบายความแตกต่างหรือความคล้ายคลึงกันระหว่างกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ธงคําตอบ

(ก) Common Law กับ ศาลพระมหากษัตริย์

(ข) Civil Law กับ กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

(ก) Common Law คือ ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อยู่ในรูปของแนวปฏิบัติที่ เรียกว่า “จารีตประเพณี” ซึ่งต้นกําเนิดหรือแม่แบบของ Common Law คือ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศ ที่มีลักษณะเป็นเกาะ โดยระยะแรกนั้นได้มีชนเผ่าต่าง ๆ อพยพไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะอังกฤษ ก่อนที่ชาวนอร์แมน ซึ่งเป็นชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษของคนอังกฤษจะเข้ายึดครองเกาะอังกฤษได้สําเร็จ และตั้งราชวงศ์มีกษัตริย์ปกครองนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความ

เนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่นซึ่งไม่เหมือนกัน ทําให้ผลของคําพิพากษา แตกต่างกันในแต่ละศาล อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่ายังเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย ทําให้ ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ยังใช้วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงได้มีการเข้าร้องเรียนต่อพระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้ จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) และส่งผู้พิพากษา นั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยจะไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาล ท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ซึ่งทําให้ประชาชนทั่วไป

เห็นว่าศาลหลวงสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงก็ได้วางหลักเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็น สามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้ระบบกฎหมาย Common Law หรือ “คอมมอนลอว์” ได้เริ่มเกิดขึ้น ในประเทศอังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

(ข) Civil Law คือ ระบบกฎหมายที่มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร มีต้นกําเนิดจากอาณาจักรโรมัน โดยระบบกฎหมายนี้จะมีการรวบรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่าง ๆ มาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และ
จัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งอยู่ในรูปประมวลกฎหมาย

เหตุที่เรียกชื่อระบบกฎหมายนี้ว่า Civil Law เพราะต้องการที่จะยกย่องและให้เกียรติกฎหมายโรมัน ซึ่งมีคุณค่าสูงกว่ากฎหมายของชนชาติใด ๆ ในสมัยนั้น เนื่องจากคําว่า “Jus Civile” หรือ “Civil Law” หมายถึง กฎหมายที่ใช้กับชาวโรมัน หรือต้นกําเนิดของกฎหมายโรมันแท้ ๆ และคําว่า “Civil Law” นี้ ต่อมาก็ได้กลายเป็น ชื่อระบบกฎหมายซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเมื่อพิจารณากฎหมายโรมันซึ่งได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์ อักษร จึงมีผู้เรียกระบบกฎหมายนี้อีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือ “Written Law” นั่นเอง

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก ซ่อม 1/2563

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พระอัยการลักษณะตัวเมีย ในกฎหมายตราสามดวง มีบทบัญญัติในลักษณะทํานองใด

ธงคําตอบ

ตามพระอัยการลักษณะตัวเมีย ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน สังคมไทยจึง เป็นสังคมแบบ Polygamy แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายก็ไม่อนุญาตให้หญิงมีสามีได้หลายคนในเวลาเดียวกัน หากหญิงมีสามีอยู่ก่อนแล้วจะสมรสกับชายอื่นอีกไม่ได้ จนกว่าสามีจะตายและเผาศพสามีเรียบร้อยแล้ว หรือ
หย่าขาดจากสามีแล้ว

เมื่อชายสามารถมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ในพระอัยการลักษณะตัวเมียจึงจัดลําดับชั้น
ของภรรยาไว้ดังนี้

1. เมียกลางเมือง หญิงอันบิดามารดากุมมือให้เป็นเมียชาย ได้ชื่อว่าเป็นเมียกลางเมือง

2. เมียกลางนอก ชายขอหญิงมาเลี้ยงเป็นอนุภรรยาหลั่นเมียหลวงลงมา

3. เมียกลางทาสี หญิงใดมีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเห็นหมดหน้าเลี้ยงเป็นเมีย ได้ชื่อว่าเมียกลางทาสีหรือเมียทาส

คําว่า เมียกลางเมือง เมียกลางนอก และเมียกลางทาสี เป็นคําในกฎหมาย โดยคนทั่วไปมักเรียก เมียกลางเมืองว่า เมียหลวง เมียกลางนอกว่า เมียน้อย และเมียกลางทาสีว่า ทาสภรรยา ซึ่งการที่กฎหมายกําหนด ลําดับชั้นของภรรยาไว้ เพื่อเหตุดังนี้

1. เพื่อกําหนดส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของภรรยาเมื่อผู้เป็นสามีถึงแก่ความตาย

2. เพื่อกําหนดเบี้ยปรับชายชู้

3. เพื่อกําหนดความรับผิดชอบของสามีทางหนี้สิน

ในพระอัยการลักษณะมรดกยังมีภรรยาอีก 2 ชั้น ได้แก่

1. ภรรยาอันทรงพระกรุณาพระราชทานให้

2. ภรรยาอันทูลขอพระราชทานให้

สําหรับภรรยาอันทรงพระราชทานให้นั้นจะเป็นใหญ่กว่าภรรยาทั้งปวง ส่วนภรรยาอันทูลขอ
พระราชทานให้นั้นมีศักดิ์เท่ากับภรรยาน้อย

อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายทุกคนจะต้องมีภรรยาหลายคน บางคนอาจจะมีภรรยาเพียงคนเดียวก็ได้

เงื่อนไขการสมรส

เงื่อนไขการสมรส หมายความถึง คุณสมบัติที่ผู้จะสมรสต้องมีหรือต้องไม่มี เพื่อให้การสมรสมีผล สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ในพระอัยการลักษณะตัวเมียจะไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรส ทํานองเดียวกันกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาแล้ว บทบัญญัติดังต่อไปนี้น่าจะถือ ว่าเป็นเงื่อนไขแห่งการสมรสตามพระอัยการลักษณะตัวเมียได้

1. หญิงต้องไม่ใช่ภรรยาของชายอื่นอยู่ก่อนแล้ว จริงอยู่กฎหมายยินยอมให้ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้อนุญาตให้ผู้หญิงมีสามีได้หลายคนในเวลาเดียวกัน หากหญิงมีสามีอยู่ก่อนแล้ว และไปได้เสียกับชายอื่น กฎหมายถือว่าชายนั้นเป็นเพียงชายชู้เท่านั้น จะต้องเอาหญิงนั้นส่งคืนสามีของเขา

2. ชายต้องไม่เป็นพระภิกษุ กฎหมายห้ามไว้โดยชัดแจ้งไม่ให้พระภิกษุสามเณรมีภรรยา ถ้าพระภิกษุสามเณรผิดเมียผู้อื่นถึงชําเรา ได้ชื่อว่าปาราชิกให้สึกออก และให้ปรับไหมด้วย

3. ชายหญิงต้องไม่เป็นญาติกัน ทั้งนี้เชื่อกันว่าหากชายหญิงที่เป็นญาติกันสมรสกัน จะทําให้เกิดสิ่งอัปมงคลแก่บ้านเมือง

4. หญิงหม้ายที่สามีตายจะสมรสใหม่ได้จะต้องเผาศพสามีเดิมให้เรียบร้อยเสียก่อน ทั้งนี้ กฎหมายบัญญัติไว้ในลักษณะที่ทําให้เห็นว่า หากหญิงยังไม่เผาศพสามีที่ตายไปแล้ว การสมรสยังไม่ขาดจากกัน หากหญิงชักนําเอาชายอื่นมาหลับนอนด้วย ชายนั้นมีฐานะเป็นชายชู้ กฎหมายให้ปรับไหมชายนั้นฐานทําด้วยภรรยาของผู้อื่น

5. กําหนดอายุ พระอัยการลักษณะตัวเมียไม่ได้กําหนดอายุขั้นต่ําของชายหญิงที่จะทําการสมรสได้ไว้ แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่าฝ่ายชายต้องได้บวชเรียนเรียบร้อยแล้ว และฝ่ายหญิงก็คงจะต้องเติบโตพอจนออก เรือนได้แล้ว จึงจะทําการสมรสกัน

การสมรส

การสมรสตามพระอัยการลักษณะผัวเมียนั้น จะไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันดังเช่นในปัจจุบัน แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าชายหญิงได้เสียกันแล้วจะเป็นสามีภริยากันเสมอไปก็หาไม่ การที่ชายหญิงจะมีสามีภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1. ชายหญิงทั้งสองฝ่ายได้กินอยู่หลับนอนด้วยกันโดยมีเจตนาเป็นสามีภรรยากัน

2. บิดามารดาหรือผู้เป็นอิสระแก่หญิง (ผู้มีอํานาจปกครอง) ยินยอมยกหญิงให้เป็นภรรยาชาย
โดยหญิงนั้นยินยอมด้วย

 

ข้อ 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 6 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้…” แสดงให้เห็นถึงการแสดงหลักการที่สําคัญทาง ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานว่าด้วยหลักการ “The King Can Do No Wrong” หรือหลักการที่ องค์พระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย แต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉะนั้น ในฐานะที่ท่านได้ศึกษา วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ขอให้ท่านอธิบายหลักการดังกล่าวว่ามีภูมิหลังของหลักการอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญนั้น มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดแบบ “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวราชา” (Divine Right of King) ซึ่งเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แนวคิดตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดชาติขึ้นมา ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เพราะได้รับมอบอํานาจมาจากพระเจ้า
โดยตรง

ส่วนแนวคิดตามทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เชื่อว่า อํานาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิดความมั่นคงและสันติภาพ ซึ่งนักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สําคัญ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาด เป็นแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยมที่ยังคงสนับสนุนให้อํานาจเด็ดขาด อยู่กับพระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนข้ออ้างจากพระเจ้ามาเป็นความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน ซึ่งทฤษฎี สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น นอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่ระบบกษัตริย์แล้ว ยังเน้นการรวมศูนย์ยิ่งกว่าทฤษฎี เทวสิทธิ์ ซึ่งโทมัส ฮอบส์ ยังได้กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอํานาจศูนย์กลางที่ทําให้ทุกคนเกรงกลัว เป็น สภาพสงครามที่ทุกคนต้องต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน ไม่มีความมั่นคง มนุษย์จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ทําสัญญาตั้งองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจเด็ดขาดบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา องค์อธิปัตย์จึงทําหน้าที่ตรวจตรา ดูแลและลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม โดยองค์อธิปัตย์จะอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใดต่อองค์อธิปัตย์ อํานาจขององค์อธิปัตย์จึงเด็ดขาดสูงสุด

แนวคิดและหลักความเชื่อดังกล่าวที่ว่าพระเจ้าทรงมอบอํานาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอํานาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา และเมื่อมีการ ขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา

และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์สจ๊วตในบริเตน และคริสต์ศาสนาปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ ผู้มีอิทธิพลและมีตําแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ

ในยุคสมัยของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจในการบริหารราชการ ทุกประเภทรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ผู้ดํารงฐานะเป็นประมุขของรัฐ จึงทําให้เข้าใจว่ากษัตริย์เป็นแหล่งกําเนิด อํานาจอธิปไตย อํานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์เป็นผู้ตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายโดยพระองค์เอง อํานาจต่าง ๆ ในทางการปกครองรวมทั้งการชําระคดีความล้วนมีที่มาหรือได้รับมอบหมายมาจากกษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กษัตริย์จึงไม่อาจมีความรับผิดใด ๆ ได้ เพราะกษัตริย์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้อํานาจอธิปไตย เสียเอง จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้อํานาจของตนเองได้อย่างไร จึงมีหลักความคุ้มครองไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ ต่อกษัตริย์ที่เรียกว่า “The King Can Do No Wrong” เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย Common Law ของอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป

ภายหลังจากที่หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย แต่ละประเทศอาจจะเลือกการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็น ประมุขโดยตรง ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประวัติศาสตร์ความผูกพันและทัศนคติหรือมุมมองที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

สําหรับประเทศไทย ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติรับรองหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจ อธิปไตย จึงเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ บริหารราชการแผ่นดิน เพียงแต่พระองค์ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐบาลจึงไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ อัน เกิดจากการกระทําของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องนําหลัก “The King Can Do No Wrong มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และนอร์เวย์

 

ข้อ 3. ประมวลกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียนเกิดขึ้นเมื่อใด เพราะเหตุใด และประกอบไปด้วยเรื่อง
ใดบ้าง จงอธิบาย

ธงคําตอบ

เนื่องจากกฎหมายสิบสองโต๊ะได้มีการพัฒนาโดยพวกเพรเตอร์และนักกฎหมายหลายสํานัก ต่างคนก็ต่างความเห็น และมีจักรพรรดิหลายพระองค์ทรงกําหนดให้อ้างอิงความเห็นของนักกฎหมาย 5 คน จึงจะเป็นความเห็นที่เชื่อถือได้ ถ้าความเห็นของนักกฎหมายเป็นไปในทางเดียวกันทั้ง 5 คน ศาลหรือผู้พิพากษา จะต้องตัดสินความตามนั้น แต่ถ้าความเห็นของนักกฎหมายไม่ตรงกัน ผู้พิพากษาจะพิจารณาตามความเห็น ของใครก็ได้ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาชั่วคราว ถ้าเห็นพ้องต้องกันก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าความเห็นของ นักกฎหมายไม่ตรงกันทั้ง 5 คน การใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาในการตัดสินย่อมเป็นไปตามความคิดเห็นของใครก็ได้ จึงกลายเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน

ความเป็นมาของประมวลกฎหมายจัสติเนียน (The Justinian Code) จากความไม่แน่นอนดังกล่าว ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 528 ภายหลังที่ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันได้เพียง 1 ปี จัสติเนียนได้แต่งตั้ง กรรมการขึ้นคณะหนึ่งจํานวน 10 คน มีทริโบเนียน (Tribonian) ซึ่งเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นเป็น ประธานให้มีหน้าที่รวบรวมและจัดทํากฎหมายขึ้นใหม่ จนในที่สุดสามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 529

ในปี ค.ศ. 530 จัสติเนียนได้มอบหมายให้ทริโบเนียนจัดทํากฎหมายขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่งให้มี ลักษณะกว้างขวางสามารถใช้บังคับได้ทั่วไป ในครั้งนี้ทริโบเนียนได้เลือกบุคคลอื่น ๆ มาร่วมงานด้วย 16 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น และในจํานวนนั้น มี 4 คน ที่เป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมาย ซึ่งกรรมการชุดนี้ใช้เวลา 3 ปี ในการจัดทํากฎหมาย และได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 533

ประมวลกฎหมายของจักรพรรดิจัสติเนียน มีชื่อเรียกโดยรวมว่า Corpus Juris Civilis ประกอบด้วย

1. Institutes : คําอธิบายกฎหมายเบื้องต้น

จักรพรรดิจัสติเนียนได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ทริโบเนียน และ
ศาสตราจารย์ทางกฎหมายอีก 2 คน ให้เรียบเรียงตํารากฎหมายขึ้นมาเล่มหนึ่งไว้เพื่อที่จะแนะนําให้ผู้ศึกษา กฎหมาย และเนื้อหาสาระของกฎหมายชีวิลลอว์ โดยจะกล่าวถึงสาระสําคัญของกฎหมายทั้งหมดให้เป็นระบบ เพื่อสะดวกแก่การศึกษา ตํารากฎหมายฉบับนี้เรียบเรียงมาจากตําราของไกอุส (Gaius) โดยให้ตัดทอนสิ่งที่ ล้าสมัยในตําราของไกอุสออก และให้จัดทําเป็นตําราคําอธิบายกฎหมายเบื้องต้นซึ่งจัดพิมพ์ในปี
ค.ศ. 533

2. Digest หรือ Pandest : วรรณกรรมทางกฎหมาย

ในปี ค.ศ. 530 จักรพรรดิจัสติเนียนได้แต่งตั้งทริโบเนียนเป็นหัวหน้าคณะกรรมการชุดหนึ่ง จํานวน 16 คน ซึ่งประกอบด้วยศาสตราจารย์ทางกฎหมายและทนายความ หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ คือ การศึกษาข้อเขียนของเหล่าบรรดานักกฎหมายที่ทรงคุณวุฒิจากหนังสือจํานวน 2,000 เล่ม คณะกรรมการนี้ได้ ตัดทอนเอาเฉพาะสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดไว้ และให้ตัดสิ่งที่ซ้ําซ้อนหรือขัดแย้งกันทิ้งเสีย และให้ดัดแปลงข้อความ ต่าง ๆ ให้เข้ากับกฎหมายของยุคจักรพรรดิจัสติเนียน โดยผลงานชิ้นนี้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือจํานวน 50 เล่ม จัดเรียงเป็นลักษณะต่าง ๆ และผลงานนี้ทําสําเร็จภายใน 3 ปี ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อปี ค.ศ. 533

จักรพรรดิจัสติเนียนให้ถือเอา Digest ใช้แทนหนังสือเก่า ๆ ทั้งหมด และห้ามมิให้ค้นคว้าหรืออ้างอิงกฎหมายตามหนังสือเก่าโดยเด็ดขาด

3. Code : ตัวบทกฎหมาย

จักรพรรดิจัสติเนียนได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งจํานวน 10 คน ซึ่งประกอบด้วย นักกฎหมายชั้นนําและศาสตราจารย์ทางกฎหมายจัดการรวบรวมกฤษฎีกาของจักรพรรดิต่าง ๆ โดยให้ตัดทอน สิ่งที่เห็นว่าล้าสมัยและเลิกใช้ไปแล้ว ตลอดจนสิ่งที่เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องก็ให้ตัดทิ้งไป ผลงานนี้เรียกว่า Code หรือ ประมวลพระราชบัญญัติ ทําสําเร็จภายในเวลาเพียง 1 ปี และประกาศใช้เป็นกฎหมายในปี ค.ศ. 529 หลังจาก ประกาศใช้ไปได้เพียง 5 ปี ก็มีความจําเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่เพราะว่าล้าสมัย ประมวลกฎหมายฉบับที่ 2 นี้ มีชื่อเรียกว่า Justinian Code of The Resumed Reading

4. Novels : การแก้ไขเพิ่มเติม ที่มาที่ไปของประมวลกฎหมายนี้

หลังจากที่มีการจัดทําประมวลกฎหมายในข้อ 1, 2 และ 3 แล้ว จักรพรรดิจัสติเนียนยังให้ รวบรวมกฎหมายใหม่ ๆ ที่จักรพรรดิตราขึ้นมา รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย แต่ทําไม่สําเร็จก็เสียชีวิตเสียก่อน ต่อมาก็มีเอกชนผู้อื่นได้จัดการรวบรวมสืบต่อมา เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่จักรพรรดิจัสติเนียน จึงให้นับเนื่องส่วนที่ 4 นี้ เป็นส่วนหนึ่งของผลงานของจักรพรรดิจัสติเนียนด้วย

 

ข้อ 4. จงอธิบายกฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน

ธงคําตอบ

กฎหมายอาญาในสมัยบาบิโลน คือ ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบียึดหลักการแก้แค้น ตอบแทนที่รุนแรงมาก หลักการดังกล่าวนี้เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมที่เรียกว่า “Lex Tationis” หรือ ที่มีคํากล่าวกันว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” (An eye for an eye, and a tooth for a tooth) เห็นได้จากข้อความ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ดังนี้คือ

(1) ถ้าบุคคลใดทําลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทําลายเช่นกัน

(2) ถ้าชายคนหนึ่งเป็นเหตุให้ขายอีกคนสูญเสียลูกนัยน์ตา ลูกนัยน์ตาของชายคนนั้นต้องถูกควักออกมา

(3) บุคคลใดทําให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

(4) ถ้าบ้านพังตกลงมาทับเจ้าของบ้านตาย ผู้สร้างต้องรับผิดชดใช้ด้วยชีวิต

(5) ช่างก่อสร้างบ้านเรือนที่ทําให้บุตรของเจ้าของบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาท บุตรของตนจะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน

(6) เจ้าหนี้ทําให้บุตรของลูกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็นผู้ขัดหนี้ (Mancipium) ถึงแก่ความตาย บุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

เมื่อพิจารณาหลักการลงโทษดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นการลงโทษแก่บุตรหรือธิดาของผู้กระทําผิด ซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทําความผิด อันเป็นวิธีการลงโทษที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทําความผิด วิธีการลงโทษดังกล่าวจึงแตกต่างกับกฎหมายอาญาในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในประมวลกฎหมายนี้ไม่มีการลงโทษจําคุกแก่ผู้กระทําผิด เพราะโทษที่ลงแก่ ผู้กระทําผิดร้ายแรงที่ผู้กระทําผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือ โทษประหารชีวิต แต่ความผิด อื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้กระทําความผิดได้รับ คือ โทษปรับ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องถูกลงโทษ ประหารชีวิต แต่ถ้าจําเลยสาบานว่าฆ่าคนจริงแต่ไม่เจตนา โทษที่จําเลยได้รับ คือ โทษปรับ โดยคํานึงถึงชั้น
วรรณะของผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเป็นหลัก

นอกจากนี้ลูกทําร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ตัดมือทิ้งเสีย

วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้นําภรรยาไปโยนลงในแม่น้ํา ถ้าลอยน้ำถือว่าบริสุทธิ์ ถ้าจมน้ำถือว่ามีความผิด

 

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก 1/2563

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. หลักการ “The King Can Do No Wrong” ซึ่งปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 6 แสดงให้เห็นถึงหลักการที่สําคัญว่า “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ กฎหมาย แต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ในฐานะที่ท่านเป็นนักประวัติศาสตร์ด้านกฎหมาย ขอให้ อธิบายหลักการดังกล่าวมีภูมิหลัง บ่อเกิด และความหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักการว่าด้วยกษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมาย (The King Can Do No Wrong) ดังที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญนั้น มีวิวัฒนาการและภูมิหลังมาจากแนวคิดแบบ “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวราชา” (Divine Right of King) ซึ่งเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แนวคิดตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างรัฐหรือเป็นผู้ก่อให้เกิดชาติขึ้นมา ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงมีความชอบธรรมที่จะปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เพราะได้รับมอบอํานาจมาจากพระเจ้า
โดยตรง

ส่วนแนวคิดตามทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เชื่อว่า อํานาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิด ความมั่นคงและสันติภาพ ซึ่งนักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สําคัญ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) สนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอํานาจเด็ดขาด เป็นแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยมที่ยังคงสนับสนุนให้อํานาจเด็ดขาด อยู่กับพระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนข้ออ้างจากพระเจ้ามาเป็นความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน ซึ่งทฤษฎี สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น นอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่ระบบกษัตริย์แล้ว ยังเน้นการรวมศูนย์ยิ่งกว่าทฤษฎี เทวสิทธิ์ ซึ่งโทมัส ฮอบส์ ยังได้กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอํานาจศูนย์กลางที่ทําให้ทุกคนเกรงกลัว เป็น สภาพสงครามที่ทุกคนต้องต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน ไม่มีความมั่นคง มนุษย์จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย ทําสัญญาตั้งองค์อธิปัตย์ที่มีอํานาจเด็ดขาดบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา องค์อธิปัตย์จึงทําหน้าที่ตรวจตรา ดูแลและลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม โดยองค์อธิปัตย์จะอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆต่อองค์อธิปัตย์ อํานาจขององค์อธิปัตย์จึงเด็ดขาดสูงสุด

แนวคิดและหลักความเชื่อดังกล่าวที่ว่าพระเจ้าทรงมอบอํานาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอํานาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา และเมื่อมีการ ขยายตัวของรัฐอิสระต่าง ๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็ กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งใน
ด้านการเมืองและทางด้านศาสนา

และความเชื่อดังกล่าวนี้ได้แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการปกครองของราชวงศ์ทิวดอร์และต้นราชวงศ์สจ๊วตในบริเตน และคริสต์ศาสนาปรัชญาของกลุ่มนักปรัชญาคาโรไลน์ ผู้มีอิทธิพลและมีตําแหน่งหน้าที่สูงในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระเจ้าชาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ

ในยุคสมัยของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจในการบริหารราชการ ทุกประเภทรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ผู้ดํารงฐานะเป็นประมุขของรัฐ จึงทําให้เข้าใจว่ากษัตริย์เป็นแหล่งกําเนิด อํานาจอธิปไตย อํานาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์เป็นผู้ตรากฎหมายและบังคับใช้กฎหมายโดยพระองค์เอง อํานาจต่าง ๆ ในทางการปกครองรวมทั้งการชําระคดีความล้วนมีที่มาหรือได้รับมอบหมายมาจากกษัตริย์ทั้งสิ้น ดังนั้นองค์กษัตริย์จึงไม่อาจมีความรับผิดใด ๆ ได้ เพราะกษัตริย์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้อํานาจอธิปไตย เสียเอง จะถูกบังคับให้อยู่ภายใต้อํานาจของตนเองได้อย่างไร จึงมีหลักความคุ้มครองไม่ให้ฟ้องร้องดําเนินคดีใด ๆ ต่อกษัตริย์ที่เรียกว่า “The King Can Do No Wrong” เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย Common Law ของอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ประเทศในทวีปยุโรป

ภายหลังจากที่หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย แต่ละประเทศอาจจะเลือกการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีเป็น ประมุขโดยตรง ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ประวัติศาสตร์ความผูกพันและทัศนคติหรือมุมมองที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

สําหรับประเทศไทย ได้เลือกระบอบประชาธิปไตยที่คงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ได้บัญญัติรับรองหลักการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้ว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจ อธิปไตย จึงเท่ากับว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยแทนประชาชน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ บริหารราชการแผ่นดิน เพียงแต่พระองค์ทรงทําตามคําแนะนําของรัฐบาลจึงไม่ต้องมีความรับผิดชอบใด ๆ อัน เกิดจากการกระทําของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องนําหลัก “The King Can Do No Wrong มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 6 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้” ซึ่งหลักการนี้ได้รับการยอมรับ ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ เช่น เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และนอร์เวย์

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อํานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทธระดาบสจึงได้ละเพศฤๅษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแต่งจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. จงอธิบายถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างกฎหมายของ Draco กับกฎหมายของ Solon และจงอธิบายว่ากฎหมายดังกล่าวของทั้งสองมีอิทธิพลต่อกฎหมายโรมันอย่างไร

ธงคําตอบ

สืบเนื่องจากในตอนกลางของศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ (Athens) ปกครองโดยกษัตริย์ ประชาชนในสมัยนั้นแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ ขุนนางกับพ่อค้า ได้แก่ เจ้าของที่ดินหรือพ่อค้าชาวเมืองที่เป็น ชนชั้นกลาง หรือชาวนาที่มีที่ดินแปลงเล็ก ๆ เป็นของตนเอง ต่อมาสมัยศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช สภาขุนนาง ได้ลดอํานาจของกษัตริย์ลง เนื่องจากเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งจากการทําเกษตรเริ่มมีอํานาจมากขึ้น แต่ชาวนารายย่อย ที่ทําการเกษตรไม่ได้ผล ต้องกู้ยืมเงินจากผู้มั่งคั่งจนดอกเบี้ยเพิ่มพูนมากขึ้น เมื่อไม่สามารถชําระดอกเบี้ยได้ก็ต้อง ยอมเอาที่ดินของตนไปจํานอง โดยหวังว่าจะไถ่คืนได้ในอนาคต แต่ก็ไม่สามารถไถ่คืนได้ พวกนี้จึงได้กลายเป็นทาส ในที่สุด นอกจากนี้เกษตรกรที่ไม่มีที่นาเป็นของตนเอง แต่รับจ้างแรงงานในที่นาของผู้อื่นโดยได้รับค่าจ้างเพียง หนึ่งส่วนหกของผลผลิตที่ได้จากแรงงานของตน มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง ทําให้ปัญหาระหว่างพวกคนยากจน กับพวกคนรวยทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งได้มีการจํากัดสิทธิผู้ซึ่งเข้าประจําการในกองทหารอาวุธหนักคือ พลเมืองที่มั่งคั่งเท่านั้น เพราะทหารเหล่านี้ต้องจัดหาอาวุธด้วยตนเอง สามัญชนจึงเรียกร้องให้มีการสร้างกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

ผู้ซึ่งมีบทบาทในการร่างประมวลกฎหมาย และพัฒนารูปแบบการปกครองประชาธิปไตย คือ

1. ดราโค (Draco)

ดราโคเป็นผู้ซึ่งมีบทบาทอยู่ในช่วงราวปีที่ 620 ก่อนคริสต์ศักราช ดราโคได้ทําการรวบรวม กฎหมายและตราให้เป็นระเบียบหมวดหมู่ เขาเป็นเจ้าของประมวลกฎหมายที่เข้มงวดมาก จนทําให้เกิดคําว่า “Draconic” หมายความว่า รุนแรงหรือเข้มงวด จนมีคํากล่าวว่ากฎหมายของเขาเขียนด้วยเลือด ไม่ใช่ด้วยหมึก เช่น ผู้ซึ่งเป็นหนี้คนอื่นแล้วไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนดจะต้องตกเป็นทาสของเจ้าหนี้ หรือใครขโมย กะหล่ําปลีจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต กฎหมายฉบับนี้แม้จะให้ความยุติธรรม แต่การลงโทษที่รุนแรงเกินไป ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ผู้มั่งคั่งยังร่ํารวยจนเหลือล้น ในขณะที่คนจนก็ยังยากจนอย่าง แสนสาหัส พวกขุนนางยังคงตัดสินคดีเข้าข้างตนเอง ความเข้มงวดของกฎหมายนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยาก จนถึงขั้นจลาจลวุ่นวายขึ้นในปี 600 ก่อนคริสต์ศักราช อนึ่งประมวลกฎหมายของตราโคนั้นถือว่าเป็นกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรีก ผลดีของกฎหมายฉบับนี้มีเพียงประการเดียว คือ ทําให้ประชาชนมีโอกาส รู้กฎหมายบ้านเมือง ไม่ใช่ปล่อยให้ขุนนางเป็นผู้ตัดสินคดีตามใจตั้งแ

2. โซลอน (Solon)

โซลอนเป็นพ่อค้า ซึ่งเป็นชนชั้นที่มั่งคั่งที่สุดในนครรัฐเอเธนส์ โซลอนได้เข้ามาปฏิรูป การปกครอง ในราวปี 584 ก่อนคริสต์ศักราช เขาได้รับแต่งตั้งเป็นอาร์คอน มีอํานาจพิเศษในการตรากฎหมาย เมื่อเข้ามารับตําแหน่งแล้ว ได้ยกเลิกกฎหมายของดราโค โซลอนได้พยายามเลิกทาส และยกฐานะของบุคคลให้ เสมอภาคกัน ผลงานที่สําคัญ คือ

(ก) ประกาศยกเลิกบรรดาทรัพย์สินที่จํานอง และห้ามการจํานองที่ดิน

(ข) ยกเลิกหนี้สินต่าง ๆ ที่ลูกหนี้มีอยู่ รวมทั้งให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องกลายเป็นทาส เนื่องมาจากการติดหนี้สิน และห้ามการขายตัวเพื่อชดใช้หนี้สิน

(ค) จัดตั้งสภาสี่ร้อย (The Council of Four Hundred) เพื่อเตรียมงานด้านนิติบัญญัติ มีสมาชิก 400 คน เลือกมาจากพลเมืองทั้งสี่เผ่าพันธุ์ที่ประกอบเป็นชาวนครรัฐเอเธนส์ เผ่าพันธุ์ละ 100 คน โดย ให้สิทธิชนชั้นกลางและชนชั้นต่ําเข้าเป็นสมาชิกด้วย จุดมุ่งหมายของการจัดตั้งสภานี้ ก็เพื่อให้เกิดความสมดุล ทางการเมือง กล่าวคือ คนทั้ง 4 เผ่าพันธุ์ ต่างก็มีส่วนในการปกครองเท่า ๆ กัน ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในทางนิติบัญญัติและในสภา

(ง) จัดตั้งศาลยุติธรรม มีคณะผู้พิพากษาเรียกว่า เฮเลีย (Heliaca) เรียกศาลนี้ว่าศาลเฮเลีย ในระยะแรกศาลนี้ทําหน้าที่พิจารณาคดีเบื้องต้น โดยที่อํานาจผู้พิพากษาสูงสุดยังคงอยู่กับอาร์คอน ต่อมาภายหลัง ศาลเฮเลียทําหน้าที่เป็นทั้งศาลเบื้องต้นและศาลสูงสุด คณะผู้พิพากษาประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป นอกจาก อํานาจในการพิจารณาคดีแล้ว ศาลนี้ยังมีอํานาจซักฟอกผู้บริหารงานที่ถูกกล่าวหาและถูกเชิญตัวมาในศาลด้วย

(จ) จัดให้มีการควบคุมเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนคนใดมีที่ดินมากเกินไป

 

ข้อ 4. คอมมอนลอว์เกิดขึ้นได้อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

คอมมอนลอว์ (Common Law) นั้นเกิดจากเกาะอังกฤษแต่เดิมจะมีชนเผ่าดั้งเดิม ซึ่งทําไร่ ไถนา เพาะปลูก เรียกว่า Briton แต่ถูกรุกรานจากชนเผ่าต่าง ๆ เช่น พวกไอบีเรียน (Iberian), พวกกาล (Gael) และ พวกเซลท์ (Celt) ที่มาจากสเปน โปรตุเกส และเยอรมัน เช่น เผ่าที่มีชื่อเรียกว่า แองโกลหรือแองเจิล (Anglo หรือ Angles) เป็นนักรบ ได้ยกกองทัพเรือขึ้นไปบนเกาะอังกฤษ เมื่อชนเผ่าดั้งเดิมสู้ไม่ได้จึงถูกยึดครอง อีกพวก คือพวกแซกซอน (Saxons) และมีอีกเผ่าหนึ่งที่เรียกว่า พวกจุ๊ทส์ (Jutes) ที่เข้าไปยึดครองเกาะอังกฤษ จะเห็น ได้ว่าเดิมนั้นเกาะอังกฤษจะหลากหลายด้วยชนเผ่า แต่ละชนเผ่าก็จะมีจารีตประเพณีของตนเองจนมีผู้กล่าวว่า

“ถ้าขี่ม้าข้ามทุ่งนาต้องผ่านจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นนับเป็นสิบ ๆ อย่าง” และชนเผ่าสุดท้ายที่เป็นบรรพบุรุษ ของคนอังกฤษคือ ชาวนอร์แมน (Norman) นอกจากนี้ในสมัยที่กรุงโรมเรืองอํานาจ กรุงโรมได้ส่งกองทัพเรือ ยึดเกาะอังกฤษหลายร้อยปี จน ค.ศ. 1066 ชาวนอร์แมนมาจากแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ยุโรปคือ ประเทศนอร์เวย์ บุกขึ้นเกาะอังกฤษแล้วตั้งราชวงศ์ มีกษัตริย์ปกครองทรงพระนามว่าพระเจ้าวิลเลียม แต่พระองค์ก็ประสบปัญหาในการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคดีความเนื่องจากศาลท้องถิ่นได้ ตัดสินคดีโดยใช้จารีตประเพณีที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงทําให้ผลของคําพิพากษาตรงกันข้ามกันในแต่ละศาล

อีกทั้งจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นของบางชนเผ่าเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย คําพิพากษาของศาลท้องถิ่นที่ตัดสินตาม จารีตประเพณีนั้นเป็นเหตุให้ฝ่ายที่แพ้คดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริงก็ใช้ วิธีการดั้งเดิม เช่น การพิสูจน์น้ํา พิสูจน์ไฟ หรือให้คู่ความต่อสู้กันเอง ดังนั้นราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงมาร้องเรียนต่อ พระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King’s Court) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) ส่งผู้พิพากษานั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียนออกไปพิจารณาคดี โดยศาลหลวง ไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างศาลท้องถิ่น แต่ใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ทําให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าศาลหลวงให้ความเป็นธรรมแก่ตนได้ จนในที่สุดศาลหลวงได้วางหลักเกณฑ์ที่ มีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วไป ทําให้กฎหมาย Common Law เริ่มเกิดขึ้นในประเทศ อังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1106 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายกฎหมายบาบิโลนในเรื่องราวความรับผิดชอบทางอาญา และกฎหมายว่าด้วยโทษ

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบี (กฎหมายบาบิโลน) ซึ่งได้จัดทําขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรในส่วน ที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาและกฎหมายว่าด้วยโทษนั้น ยึดหลักการแก้แค้นตอบแทนที่รุนแรงมาก หลักการ ดังกล่าวนี้เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมที่เรียกว่า “Lex Tationis” หรือที่มีคํากล่าวกันว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” (An eye for an eye, and a tooth for a tooth) จะเห็นได้จากข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ดังนี้คือ

(1) ถ้าบุคคลใดทําลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทําลายเช่นกัน
(2) ถ้าชายคนหนึ่งเป็นเหตุให้ชายอีกคนสูญเสียลูกนัยน์ตา ลูกนัยน์ตาของชายคนนั้นต้องถูกควักออกมา
(3) บุคคลใดทําให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ ความตายด้วย
(4) ถ้าบ้านพังตกลงมาทับเจ้าของบ้านตาย ผู้สร้างต้องรับผิดชดใช้ด้วยชีวิต
(5) ช่างก่อสร้างบ้านเรือนที่ทําให้บุตรของเจ้าของบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาท บุตรของตน จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน
(6) เจ้าหนี้ทําให้บุตรของลูกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็นผู้จัดหนี้ (Mancipium) ถึงแก่ความตาย บุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย

เมื่อพิจารณาหลักการลงโทษดังกล่าว จะเห็นว่าเป็นการลงโทษแก่บุตรหรือธิดาของผู้กระทําผิด ซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทําความผิด อันเป็นวิธีการลงโทษที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทําความผิด วิธีการลงโทษดังกล่าวจึงแตกต่างกับกฎหมายอาญาในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในประมวลกฎหมายนี้ไม่มีการลงโทษจําคุกแก่ผู้กระทําผิด เพราะโทษที่ลงแก่ ผู้กระทําผิดร้ายแรงที่ผู้กระทําผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือ โทษประหารชีวิต แต่ความผิด อื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้กระทําความผิดได้รับ คือ โทษปรับ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องถูกลงโทษ ประหารชีวิต แต่ถ้าจําเลยสาบานว่าฆ่าคนจริงแต่ไม่เจตนา โทษที่จําเลยได้รับ คือ โทษปรับ โดยคํานึงถึงชั้น
วรรณะของผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเป็นหลัก

นอกจากนี้ลูกทําร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ติดมือทิ้งเสีย

วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้นําภรรยาไปโยนลงในแม่น้ํา ถ้าลอยน้ําถือว่าบริสุทธิ์ ถ้าจมน้ำถือว่ามีความผิด

 

ข้อ 2. อธิบายความแตกต่างหรือคล้ายคลึงกันระหว่างกฎหมาย ดังต่อไปนี้

กฎหมาย 12 โต๊ะ กับศาลพระมหากษัตริย์

Civil Law กับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

ธงคําตอบ

กฎหมาย 12 โต๊ะ กับศาลพระมหากษัตริย์

กฎหมาย 12 โต๊ะ มีต้นกําเนิดมาจากความไม่เสมอภาคทางสังคมและทางการเมืองในยุคนั้น ซึ่ง กรุงโรมได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นสูงหรือแพทริเชียน (Patricians) และชนชั้นกลางหรือเพลเบียน (Plebeians) เนื่องจากกฎหมายในสมัยนั้น ยังไม่มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาล พวกแพทริเซียนซึ่งรู้กฎหมายก็มักเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนพวกเพลเบียนที่ไม่มีทางทราบได้เลยว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไรก็ต้องแพ้คดีไป จึงได้มีการเรียกร้องให้นํากฎหมายมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งสิทธิ ในการเข้าถึงความยุติธรรมก็ไม่เท่าเทียมกัน การออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย หรือการชี้ขาดตัดสินคดี ล้วนแต่เป็นอํานาจของพวกแพทริเซียนทั้งสิ้น เช่น คดีที่พวกเพลเบียนเป็นลูกหนี้พวกแพทริเซียนแล้วไม่ยอม ชําระหนี้ การบังคับชําระหนี้อาจนําไปสู่การเป็นทาสหรือความตายของลูกหนี้และครอบครัวได้ เพราะผู้พิพากษา ซึ่งทําหน้าที่บังคับชําระหนี้นั้นเป็นพวกเดียวกันกับพวกแพทริเซียน ความยุติธรรมจึงยากที่จะเกิดขึ้นมาได้

และยังมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซึ่งพวกแพทริเชียนมีสิทธิเหนือกว่าพวกเพลเบียน เช่น พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิแต่งงาน การแต่งงานระหว่างพวกเพลเบียนและแพทริเซียนนั้นเป็นเรื่องต้องห้ามอย่าง
เด็ดขาด โดยบุตรที่เกิดจากการอยู่กินระหว่างพวกแพทริเซียนกับเพลเบียนจะอยู่ในอํานาจปกครองของครอบครัว เพลเบียนนั้นต่อไป ไม่เปลี่ยนสภาพไปเป็นแพทริเซียนแต่อย่างใด นอกจากนี้สิทธิทางการเมืองในการดํารงตําแหน่ง ต่าง ๆ เช่น ประมุขในการบริหารที่เรียกว่า “กงสุล” ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอํานาจสูงสุดก็จํากัดเฉพาะพวกแพทริเซียน ๆ ส่วนตําแหน่งอื่น ๆ รองลงไป ก็จํากัดเฉพาะพวกชนชั้นสูงเช่นกัน โดยที่พวกเพลเบียนไม่มีสิทธิดํารงตําแหน่งต่าง ๆในทางการเมืองแต่อย่างใด

จากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ทําให้เกิดความไม่พอใจแก่พวกเพลเบียนเป็นอย่างมาก จึงได้มีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดทํากฎหมายขึ้น โดยจารึกไว้บนแผ่นทองบรอนซ์ รูปร่างคล้ายโต๊ะจํานวน 12 แผ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อว่า “กฎหมาย 12 โต๊ะ” นั่นเอง

ศาลพระมหากษัตริย์ (King Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นในยุคเริ่มแรกของระบบกฎหมาย Common Law ที่กําเนิดขึ้นบนเกาะอังกฤษ โดยสืบเนื่องจากปัญหาในการปกครอง เนื่องจากอังกฤษนั้น หลากหลายด้วยจารีตประเพณี และศาลท้องถิ่นก็ได้นําเอาจารีตประเพณีมาใช้ตัดสินคดี โดยแต่ละท้องถิ่นต่างมี จารีตประเพณีของตนเอง ทําให้ผลของคําพิพากษาแตกต่างกันไปในแต่ละศาล อีกทั้งจารีตประเพณีของบางชนเผ่า ยังเป็นจารีตประเพณีที่ล้าสมัย ราษฎรฝ่ายที่แพ้คดีจึงเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งวิธีการพิสูจน์ความจริง ก็ยังใช้วิธีการแบบดั้งเดิมคือ การพิสูจน์ด้วยไฟหรือน้ํา รวมทั้งการให้คู่ความต่อสู้กันเอง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเข้า ร้องเรียนต่อพระเจ้าวิลเลียม พระองค์จึงได้จัดตั้งศาลพระมหากษัตริย์ (King Court) ขึ้นเพื่อเป็นศาลส่วนกลาง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาลหลวง (Royal Court) และมีผู้พิพากษานั่งรถม้าจากส่วนกลางเป็นศาลเคลื่อนที่หมุนเวียน ออกไปพิจารณาคดี โดยจะไม่ใช้วิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างในศาลท้องถิ่น แต่จะใช้วิธีการไต่สวนจากบุคคลที่รู้เห็น เหตุการณ์แทนการพิจารณาแบบดั้งเดิม ซึ่งทําให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าศาลหลวงสามารถให้ความเป็นธรรม แก่ตนได้ และในที่สุดศาลหลวงก็ได้วางหลักเกณฑ์อันมีลักษณะเป็นสามัญ (Common) และใช้กันทั่วประเทศ จึงทําให้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ได้เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา

Civil Law กับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

Civil Law คือ ระบบกฎหมายที่มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร มีต้นกําเนิดจากอาณาจักรโรมัน โดยระบบกฎหมายนี้จะมีการรวบรวมเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายต่าง ๆ มาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และ
จัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งอยู่ในรูปประมวลกฎหมาย

เหตุที่เรียกชื่อระบบกฎหมายนี้ว่า Civil Law เพราะต้องการที่จะยกย่องและให้เกียรติกฎหมาย โรมัน ซึ่งมีคุณค่าสูงกว่ากฎหมายของชนชาติใด ๆ ในสมัยนั้น เนื่องจากคําว่า “Jus Civile” หรือ “Civil Law หมายถึง กฎหมายที่ใช้กับชาวโรมัน หรือต้นกําเนิดของกฎหมายโรมันแท้ ๆ และคําว่า “Civil Law” นี้ ต่อมาก็ ได้กลายเป็นชื่อระบบกฎหมายซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลาย และเมื่อพิจารณากฎหมายโรมันซึ่งได้มีการบัญญัติไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร จึงมีผู้เรียกระบบกฎหมายนี้อีกชื่อหนึ่งว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Written Law) นั่นเอง

 

ข้อ 3. การพิจารณาคดีที่กษัตริย์นอร์แมนนํามาใช้มีหลายวิธี จงอธิบายและยกตัวอย่าง

ธงคําตอบ

การพิจารณาคดีที่กษัตริย์นอร์แมนนํามาใช้มีหลายวิธี ดังนี้คือ

1. การสาบานตัวว่าจําเลยเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ (Compurgation) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวลเจอร์ออฟลอว์ (Wager of Law) เป็นวิธีที่จําเลยจะต้องนําบุคคลฝ่ายตนมาศาล (โดยทั่วไปจะมีจํานวน 12 คน หรือจํานวนมากน้อยกว่านั้นแล้วแต่ศาลกําหนดตามแต่พฤติการณ์ความหนักเบาแห่งคดี แต่อย่างมากที่สุดไม่เกิน 48 คน) และเป็นผู้สาบานตัวต่อศาลว่าจําเลยเป็นผู้บริสุทธิ์หรือจําเลยเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้นั่นเอง ไม่ได้สาบานว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นเป็นไปตามที่จําเลยกล่าวอ้าง หากจําเลยไม่สามารถหาตัวบุคคลที่จะมาสาบานตัวต่อศาล ในฐานะเป็นคอมเพอร์เกเตอร์ (Compurgators) หรือโอชเฮลเปอร์ (Oath Helpers) ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จําเลยก็ต้องแพ้คดีไป

ในบางกรณี ศาลอาจจะกําหนดให้จําเลยเป็นผู้สาบานว่าตนไม่ผิดแต่ผู้เดียว ถ้าหากจําเลย สาบานได้ก็จะชนะคดีพ้นข้อหาไป แต่อย่างไรก็ตามสําหรับคนสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเชื่อคําสาบาน เชื่อถือ
อย่างจริงจังว่า หากสาบานว่าอย่างไรแล้วจะต้องเป็นไปอย่างนั้น ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้วถ้าจําเลยผิดจริงจะไม่กล้า สาบานว่าตนไม่ผิดเป็นอันขาด และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ คําสาบานนั้นต้องว่าตามแบบฉบับของศาล ผู้สาบาน ต้องว่าให้ถูกต้องและไม่ติดขัด ถ้าคําสาบานที่กล่าวนั้นผิดพลาดในถ้อยคําแม้เพียงคําเดียว หรือออกเสียงเป็นวิบัติไป ตลอดจนกล่าวตะกุกตะกักไม่ชัดเจน ก็ถือว่าผู้สาบานนั้นไม่สามารถสาบานได้ก็ต้องแพ้คดีไป

2. การพิสูจน์ด้วยไฟหรือน้ำโดยวิธีทรมาน (Ordeal of fire or water) ซึ่งใช้สําหรับคดี อุฉกรรจ์มหันตโทษ เป็นการพิสูจน์ความจริงโดยอาศัยผีสางเทวดาเป็นผู้วินิจฉัย เพราะเกินกําลังความเข้าใจ ของมนุษย์ เป็นการยกให้เป็นภาระของพระผู้เป็นเจ้าที่จะต้องแสดงความผิดหรือความบริสุทธิ์ของคนให้ประจักษ์ ซึ่งมีหลายแบบด้วยกันคือ

(ก) วิธีการใช้เหล็กเผาไฟร้อนแดง แล้วให้จําเลยถือเหล็กที่เผาไฟร้อนแดงนั้นเดินหรือวิ่งเป็นระยะทาง 9 ฟุต เมื่อวางเหล็กนั้นแล้วจะมีการเอาผ้าพันมือของจําเลยที่ได้ถือเหล็กนั้น แล้วประทับตราไว้ เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน หลังจากนั้นก็จะแก้เอาผ้าที่พ้นออก หากปรากฏว่ามือจําเลยไม่มีบาดแผลที่ถูกไฟลวก แต่ประการใดก็ถือว่าพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ได้ปกป้องจําเลยผู้บริสุทธิ์แล้ว ตรงกันข้ามหากว่ามือจําเลยมีบาดแผล หรือว่ามีร่องรอยของการที่ถือเหล็กไฟแดงนั้นก็ถือว่าจําเลยได้กระทําความผิดตามที่ถูกกล่าวหานั้น

(ข) วิธีการเอามือจําเลยจุ่มลงไปในกระทะน้ําเดือดเพื่อเอาหินที่อยู่ก้นกระทะนั้นขึ้นมา หลังจากที่จําเลยได้เอามือจุ่มลงไปในน้ําเดือดมาแล้ว 3 วัน ถ้าหากปรากฏว่าไม่มีร่องรอยของการถูกน้ําเดือดลวก แต่ประการใด จําเลยก็จะเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถ้าหากว่ามีร่องรอยของการถูกน้ําเดือดลวก ก็ถือว่าจําเลยเป็น ผู้กระทําผิดจริงตามฟ้อง

(ค) วิธีน้ำเย็น โดยเอาตัวจําเลยโยนลงไปในน้ํา ถ้าจมก็บริสุทธิ์ แต่ถ้าลอยก็มีความผิด เพราะมีเทวดามาอุ้มไว้ไม่ให้จม จึงเห็นได้ประจักษ์ว่าจําเลยผิดจริง

(ง) วิธีกลืนอาหาร โดยเอาขนมปังหรือเนยแข็งมีน้ําหนักหนึ่งเอานซ์ให้แก่จําเลย แล้ว สาปแช่งให้ขนมปังหรือเนยแข็งชิ้นนั้นติดคอ ถ้าหากจําเลยผิดอย่าให้กลืนลงคอได้ แล้วให้จําเลยกลืนอาหารชิ้นนั้น เข้าไป ถ้าหากกลืนคล่องคอไม่ติดขัด แสดงว่าบริสุทธิ์

3. การให้โจทก์จําเลยต่อสู้กันด้วยกําลังกาย วิธีการนี้เป็นวิธีการพิสูจน์ความจริงทั้งในคดีแพ่ง และคดีอาญา ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมากในยุโรปประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10 และพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ได้นําเอา วิธีการพิสูจน์แบบนี้มาใช้ในเกาะอังกฤษด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ได้ทรงกําหนดให้คู่ความ มีสิทธิปฏิเสธวิธีการพิสูจน์ความผิดโดยการต่อสู้กันด้วยกําลังกาย หากคู่ความไม่มีความชํานาญในการใช้อาวุธ และให้ใช้วิธีพิจารณาโดยวิธีการหาคนมาร่วมสาบานแทนวิธีการต่อสู้ได้

 

ข้อ 4. ในฐานะที่ท่านได้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ท่านคิดว่าประเทศไทยในยุคปัจจุบันควร กลับไปใช้วิธีการลงโทษเหมือนในยุคกรุงสุโขทัยของพ่อขุนรามคําแหงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ในฐานะที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ข้าพเจ้าคิดว่าประเทศไทยในยุคปัจจุบัน ไม่ควรกลับไปใช้วิธีการลงโทษเหมือนในยุคกรุงสุโขทัยของพ่อขุนรามคําแหง ทั้งนี้เพราะ

ในสมัยกรุงสุโขทัยของพ่อขุนรามคําแหงนั้น วิธีการลงโทษตามที่ปรากฏในกฎหมายซึ่งเรียกกันว่า “กฎหมายลักษณะโจร” ที่จารึกไว้ในแผ่นศิลาเป็นหินชนวนสีเขียว ซึ่งพบที่ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมือง จังหวัด สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2473 และที่เรียกว่ากฎหมายลักษณะโจร เพราะเหตุว่า เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการ กระทําความผิดทางอาญา ซึ่งในสมัยโบราณนั้นผู้กระทําความผิดอาญาล้วนเรียกว่าโจร เช่น โจรปล้น โจรฆ่าคน
เป็นต้น

กฎหมายลักษณะโจรในสมัยสุโขทัย (ศิลาจารึกหลักที่ 38) ถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่แท้จริง เพราะเป็นบทบัญญัติที่มาจากองค์อธิปัตย์ คือเป็นกฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระบรมราชโองการให้บัญญัติขึ้นมา เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการที่ข้าคนรับใช้หรือภรรยาของผู้อื่นหนีมาอยู่ด้วย แล้วไม่ส่งคืนเจ้าของภายใน 3 วัน มีความผิดต้องถูกปรับไหมตามที่กําหนดไว้ในพระราชศาสตร์ พระธรรมศาสตร์ นอกจากนั้นยังมีบทบัญญัติการให้ รางวัลแก่ผู้จับขโมย หรือนําของที่ถูกลักขโมยไปคืนให้แก่เจ้าของ การไม่ช่วยจับโจรเพราะโจรเป็นญาติพี่น้องก็ดี โจรเป็นข้าของผู้ใหญ่หรือรับเงินจากโจรแล้วปล่อยตัวไปก็ดี ต้องรับโทษเสมือนกับลักคนหรือลักทรัพย์ของผู้อื่น ผู้ช่วยจับกุมผู้กระทําความผิดให้ได้รับรางวัลจากเงินค่าปรับไหม กับทั้งของถูกโจรแย่งชิงไปเท่าใดให้ผู้นั้นใช้จนครบ

จะเห็นได้ว่า ในส่วนที่เป็นบทบังคับของกฎหมายฉบับนี้ คือการปรับไหมผู้กระทําความผิด เป็นสินไหมให้แก่ผู้เสียหาย และการปรับไหมก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในพระราชศาสตร์ พระธรรมศาสตร์ และ แม้ว่าโทษที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 38 กล่าวกันว่า นอกจากจะมีโทษปรับไหมแล้ว ยังมีโทษสัก และโทษโบย แต่ก็ถือว่าเป็นโทษที่ไม่หนักเท่าใดเมื่อเปรียบเทียบกับโทษทางอาญาที่มีในยุคปัจจุบัน ที่นอกจากจะมีโทษปรับแล้ว ยังมีโทษกักขัง จําคุก และโทษประหารชีวิต

เมื่อโทษในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีเพียงโทษปรับไหม รวมทั้งโทษสักและโทษโบย ซึ่งถือว่าเป็นโทษที่ ไม่หนัก รวมทั้งเป็นโทษที่ใช้ในสมัยโบราณที่ไม่นิยมวิธีการลงโทษที่รุนแรง หากนํามาใช้กับประเทศไทยในยุค ปัจจุบันที่มีประชาชนจํานวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจตลอดเวลา มีการกระทําความผิด ในลักษณะร้ายแรงเป็นประจําและเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามไม่ให้มีการกระทํา ความผิดโดยเฉพาะความผิดที่ร้ายแรงที่เป็นภยันตรายทั้งต่อประชาชน ต่อสังคม และต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงจําเป็นต้องใช้บทลงโทษที่หนักแก่ผู้กระทําความผิด เพราะหากใช้บทลงโทษที่ไม่หนักหรือโทษที่ค่อนข้างเบาเหมือนในยุคสุโขทัยแล้ว ย่อมไม่อาจจะทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันและการปราบปรามการกระทําความผิด บรรลุผลสําเร็จลงอย่างแน่นอน เพราะถึงแม้จะมีการลงโทษผู้กระทําความผิดด้วยบทลงโทษตามกฎหมายปัจจุบัน เช่น การประหารชีวิต การจําคุก (ทั้งตลอดชีวิตหรือมีกําหนดเวลา) รวมทั้งการกักขัง หรือปรับ การกระทําความผิด ทางอาญาก็หาได้ลดลงแต่อย่างใดไม่

LAW1106 (LAW4062) ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก ซ่อม1/2558

การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2558
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2032 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก
คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. กฎหมายตราสามดวงคืออะไร เพราะเหตุใดจึงมีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมา จงอธิบาย

ธงคําตอบ

กฎหมายตราสามดวง คือ กฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงให้บัญญัติมา เพื่อใช้ปกครองบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2347 (จ.ศ. 1166) เหตุที่มีการบัญญัติกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาก็เนื่องจาก มีการร้องทุกข์ของนายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ว่าภรรยาของตนเองซึ่งมีชื่อว่าอําแดงป้อม ไปทําชู้กับราชาอรรถ แล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่ศาลตัดรับให้หย่ากันได้ เพราะตามกฎหมายในขณะนั้น บัญญัติว่า เป็นหญิงหย่าขายหย่าได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษาให้หย่ากันนั้นหายุติธรรมไม่ จึงทรงให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งรวม 11 คน ให้ จัดการชําระบทกฎหมายทั้งหมด ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์เป็นต้นมาให้ถูกต้องตามความยุติธรรม และให้อาลักษณ์ เขียนเป็นฉบับหลวงจํานวน 3 ชุด ประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว อันตราของสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และเจ้าพระยาพระคลังไว้เป็นสําคัญ จึงได้เรียกในภายหลังว่ากฎหมายตราสามดวง

 

ข้อ 2. คัมภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร ในประมวลกฎหมายตราสามดวงได้มีการกล่าวถึงการกําเนิดของคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่าอย่างไร อธิบาย

ธงคําตอบ

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คือ คัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้มีอํานาจเหนือบุคคลธรรมดาแต่ง เรียบเรียงขึ้น เป็นชุมนุมข้อบังคับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามความยุติธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง ดังนั้น จึงย่อมใช้แก่มนุษย์ทั้งหลายที่อยู่ใต้อําานาจการปกครองของกษัตริย์ และกษัตริย์เองก็อยู่ภายใต้กฎหมาย ของพระธรรมศาสตร์ด้วย โดยลักษณะเช่นนี้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงมีศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งกษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยได้นําเอาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์มาจากมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย
ที่เรียกว่าพระราชศาสตร์มาตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้กล่าวถึงกําเนิดของพระคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ไว้ว่า เกิดจากการที่มีท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งชื่อ พรหมเทวะ จุติจากพรหมโลกแล้วมาปฏิสนธิกําเนิดในตระกูลมหาอํามาตย์ซึ่งเป็นข้าบาท พระเจ้ามหาสมมุติราช ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็เข้าแทนที่บิดา ต่อมาเห็นสัตว์โลกทั้งหลายได้รับความทุกข์ยากต่าง ๆ จึงมีความปรารถนาที่จะให้พระเจ้าสมมุติราชตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงถวายบังคมลาออกไปบวชเป็นฤาษีอยู่ใน ป่าหิมพานต์ ต่อมาพระเทวฤๅษีได้เสียเป็นผัวเมียกับกินรีนางหนึ่งจนเกิดบุตร 2 คน คนแรกชื่อ ภัทธระกุมาร คนที่ 2 ชื่อ มโนสารกุมาร เมื่อบุตรทั้ง 2 เจริญเติบโต บิดาก็ให้บวชเป็นฤๅษีจําศีลภาวนา และรับใช้ปรนนิบัติบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาได้ตายจากไป ภัทระดาบสจึงได้ละเพศฤาษีไปรับราชการเป็นปุโรหิตสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช ส่วนมโนสารฤๅษีก็ตามพี่ชายออกไปทําราชการด้วย พระเจ้าสมมุติราชจึงตั้งมโนสารให้เป็นผู้พิพากษา

ครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีชาย 2 คน ทําไร่แตงใกล้กัน เมื่อปลูกแล้วเอาดินมาปูเป็นถนนกั้นกลาง เถาแตง จึงเลื้อยพาดผ่านข้ามถนนพันจนเป็นต้นเดียวกัน เมื่อแตงเป็นผล ชายทั้งสองต่างก็มาเก็บแตงจึงเกิดการทะเลาะวิวาท ด้วยต่างอ้างเป็นเจ้าของผลแตง ชายทั้งสองจึงพากันมาหาพระมโนสารให้เป็นผู้ชี้ขาด พระมโนสารตัดสินว่า แตงอยู่ในไร่ผู้ใดผู้นั้นเป็นเจ้าของผลแตง ชายผู้หนึ่งไม่พอใจในคําตัดสินของพระมโนสาร จึงอุทธรณ์คําตัดสิน ไปยังพระเจ้าสมมุติราช พระองค์จึงตรัสใช้อํามาตย์ผู้หนึ่งให้ไปพิจารณาคดีใหม่ อํามาตย์ผู้นั้นจึงเลิกต้นแตงขึ้นดู ตามปลายยอด เอายอดแตงกลับมาไว้ตามต้น ชายทั้งสองต่างพอใจในคําตัดสินของอํามาตย์ผู้นี้ และประชาชน ทั้งหลายต่างพากันตําหนิว่าพระมโนสารตัดสินคดีไม่เป็นธรรม พระมโนสารมีความเสียใจจึงหนีไปออกบวชเป็น ฤๅษีจําเริญภาวนาได้อภิญญา 5 และอรรฐสมบัติ 8 แล้วมีความประสงค์จะให้พระเจ้าสมมุติราชทรงไว้ด้วย ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จึงเหาะไปยังกําแพงจักรวาลเห็นบาลีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ในกําแพงจักรวาลมีปริมณฑลเท่ากายคชสาร พระมโนสารก็จดจําและนํามาแต่งเรียบเรียงขึ้นเป็นคัมภีร์ พระธรรมศาสตร์ เพื่อมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช

 

ข้อ 3. การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายต่างประเทศมีประโยชน์อย่างไร จงยกมาให้ดูเป็นข้อ ๆ

ธงคําตอบ

ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายต่างประเทศ มีดังนี้

(1) ทําให้สามารถล่วงรู้ถึงกฎหมายและหลักการในกฎหมายเก่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษา หรือการจัดทําและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายใหม่

(2) ทําให้มีความเข้าใจกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ดีขึ้นว่ากฎหมายดังกล่าวนี้มีที่มาอย่างไร มีความหมายและขอบเขตเพียงใด โดยเปรียบเทียบกับบทบัญญัติในกฎหมายเก่า

(3) ทําให้เข้าใจความเป็นมาและระบบกฎหมายของประเทศต่างๆ และอาจนํามาเปรียบเทียบ กับความเป็นมาและระบบกฎหมายของประเทศตน

(4) ทําให้มีความรู้และความเข้าใจในวัฒนธรรมทางกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ในอดีต และในระยะต่อมา

 

ข้อ 4. ระบบกฎหมายสังคมนิยม และระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ระบบกฎหมายสังคมนิยมและระบบกฎหมายซีวิลลอว์ มีความแตกต่างกัน 4 ประการ คือ

(1) กฎหมายอาญา

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม การตีความกฎหมายอาญาไม่เคร่งครัด อาจจะ
ลงโทษผู้กระทําความผิดโดยอาศัยเทียบเคียงความผิด (Crime by Analogy) แต่ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมาย ซีวิลลอว์ การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด

(2) กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยมคํานึงถึงเป้าหมาย คือ การสร้างความเท่าเทียมกัน
ในสังคมมากกว่าวิธีการ ดังนั้นแม้จะต้องออกกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ได้ผ่านขั้นตอนของรัฐสภาก็อาจ ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การออกกฎหมายใด ๆ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

(3) กรรมสิทธิ์

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยมถือว่ารัฐมีอํานาจในการจํากัดการมีกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินของเอกชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ แต่ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ จะให้
เสรีภาพแต่เอกชนในการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

(4) ความสําคัญของกฎหมาย

ประเทศที่อยู่ในระบบกฎหมายสังคมนิยม จะให้ความสําคัญกับกฎหมายมหาชนมากกว่า กฎหมายเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องการได้มาและสิ้นไปของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ในระบบกฎหมายชีวิลลอว์ จะอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเอกชน

WordPress Ads
error: Content is protected !!