หน้าแรก บล็อก

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก 1/2564

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. สาเหตุที่ทําให้เรารู้ว่าหมู่เกาะสปิตส์เบอร์เกนซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณขั้วโลกเหนือมีสภาพอากาศแบบ
กึ่งเมืองร้อนมาก่อน เพราะการขุดพบ
(1) ทองคํา
(2) ซากลาวาภูเขาไฟ
(3) งาช้างโบราณ
(4) ถ่านหินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพลังงานฟอสซิล
ตอบ 4 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียน อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะ สปิตส์เบอร์เกน (Spitsbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ (Norway) ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วย ธารน้ําแข็งนั้น ถือเป็นประจักษ์พยานได้ว่าบริเวณนี้เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ รวมทั้งเคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

2.บริเวณที่ไม่ใช่แหล่งกําเนิดของมนุษย์คือ
(1) ทวีปเอเชีย
(2) ทวีปอเมริกา
(3) ทวีปแอฟริกา
(4) ทวีปยูเรเชีย
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชีย และแอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือบริเวณยูเรเชีย (Eurasia) ซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะสําหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ที่เป็นบรรพบุรุษ ของมนุษย์ ต่อมามนุษย์เหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีป ยุโรปและทวีปอเมริกา

3. ผู้ที่ทําการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์คือ
(1) นักโบราณคดี
(2) นักดาราศาสตร์
(3) นักชาติพันธุ์วิทยา
(4) นักธรณีวิทยา
ตอบ 1 หน้า 7, 9 (H) ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและเรื่องราวของมนุษย์ยุคต้น จําเป็นต้องอาศัยงานค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. นักโบราณคดี คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธ เพื่อให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของมนุษย์
2. นักชาติพันธุ์วิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์
3. นักธรณีวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากพืชและซากสัตว์ที่ตกค้างอยู่ตามชั้นของหิน
4. นักมานุษยวิทยา คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน
5. นักดาราศาสตร์ คือ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวและระบบจักรวาล

4. ประวัติศาสตร์ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 476 สิ่งสําคัญที่ลดบทบาทลงคือ
(1) ศาสนาคริสเตียน
(2) สังคมชนบท
(3) สันตะปาปา
(4) อารยธรรมกรีก-โรมัน
ตอบ 4 หน้า 3 (H), 59 (H), 61 (H) ในปี ค.ศ. 476 เป็นปีที่กรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิ โรมันตะวันตกถูกทําลาย เนื่องจากถูกพวกอนารยชนเยอรมันเข้ายึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่ง การสิ้นสุดยุคโบราณเข้าสู่ยุคกลางตอนต้นหรือยุคมืด (Dark Age) นั่นคือ เป็นยุคที่ความเจริญ ของอารยธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมันได้เสื่อมลง จักรวรรดิโรมันตะวันตกแตกแยก ออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย เปลี่ยนสภาพจากสังคมเมืองเป็นสังคมชนบท การตัดสินลงโทษมักอ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และใช้การต่อสู้หรือสาบานตน และเป็นยุคที่เศรษฐกิจซบเซาอย่างมาก

5. มนุษย์ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Homo Sapiens คือ
(1) Grimaldi
(2) Chancelade
(3) Cro-Magnon
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, 38, 10 (H) โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้น ครั้งแรกในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ ปัจจุบันมากขึ้น และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) หรือคนผิวขาว
2. มนุษย์กริมัลดี (Grimaldi) หรือคนผิวดํา
3. มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade) หรือคนผิวเหลืองหรือสีน้ําตาล

6. สัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์นํามาเลี้ยงในยุคหินกลางคือ
(1) สุนัข
(2) ไก่
(3) หมู
(4) แพะ
ตอบ 1 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินกลาง (Mesolithic) ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นยุคที่เชื่อมต่อระหว่างยุคหินเก่า (ยุคเก็บผลไม้) กับยุคหินใหม่ (ยุคปลูกผลไม้) นอกจากนี้ ยังเป็นยุคที่มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทําอาชีพประมง และเริ่มรู้จัก การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนํามาเลี้ยงคือ สุนัข โดยมีจุดประสงค์แรกในการเลี้ยง ก็เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร

7. ประวัติศาสตร์ยุคกลางสิ้นสุดลงด้วยเหตุการณ์ใด
(1) มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(2) โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่
(3) กรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 2 – 3 (H) เหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 15 ซึ่งนําไปสู่การสิ้นสุดประวัติศาสตร์ยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่มีดังนี้
1. ค.ศ. 1445 เป็นปีที่โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมันประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สําเร็จ
2. ค.ศ. 1453 เป็นปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกถูกพวกออตโตมาน เติร์ก เข้ายึดครอง
3. ค.ศ. 1492 เป็นปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวสเปนได้เดินทางไปค้นพบโลกใหม่

8. โลหะที่สามารถทําให้กลุ่มชนผู้นํามาใช้กลายเป็นมหาอํานาจทางทหาร ได้แก่
(1) ทองแดง
(2) ตะกั่ว
(3) เหล็ก
(4) บรอนซ์
ตอบ 3 หน้า 33 – 34, 14 (H) การเรียนรู้การใช้โลหะของมนุษย์ในอารยธรรมสมัยแรกนั้น มนุษย์ ได้รู้จักวิธีการหลอมทองแดง แล้วนําทองแดงนั้นมาเป็นอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้ง เป็นเครื่องประดับ ต่อมาจึงเริ่มเรียนรู้การนําทองแดงมาผสมกับดีบุกกลายเป็นทองบรอนซ์ ต่อจากนั้นก็เริ่มรู้จักการหลอมเหล็กขึ้นใช้ ซึ่งเหล็กได้เป็นเครื่องมือสําคัญในการขยายอํานาจ ของมนุษย์ในเวลาต่อมา

9. ความสําคัญของวิชาประวัติศาสตร์คือการเรียนรู้เกี่ยวกับ
(1) พืชและสัตว์
(2) เรื่องราวสาเหตุและผลที่เกิดจากการกระทําของมนุษย์
(3) เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคโบราณ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 20 – 21, 37, 12 (H) ประวัติศาสตร์ คือ การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสาเหตุและผล จากการกระทําของมนุษย์ หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ของมนุษย์ ซึ่งน่าจะมีความหมาย เป็น 2 นัย คือ
1. การศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกําเนิดมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน
2. ข้อวิจารณ์หรือบันทึกการค้นคว้าทั้งหลายที่ได้คัดเลือกเอามาเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจ ทั้งนี้จะใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ซากวัสดุ และเรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน

10. หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคําแหง ถือเป็น……ทางประวัติศาสตร์
(1) หลักฐานดั้งเดิม
(2) การวิจารณ์ภายใน
(3) การวิจารณ์ภายนอก
(4) หลักฐานรอง
ตอบ 1หน้า 21, 12 (H), (คําบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Records) คือ การจดบันทึกต่าง ๆ ที่มีขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักการเขียนหนังสือแล้ว ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการศึกษา เรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิมหรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Records) เช่น หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมาย เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล ฯลฯ ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่สําคัญที่สุด ของวิธีการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ในสมัยประวัติศาสตร์
2. หลักฐานรอง (Secondary Records) คือ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม

11. ทฤษฎีที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของการสร้างสมอารยธรรม คือทฤษฎีใด
(1) ภูมิศาสตร์
(2) ภูมิประเทศ
(3) ดินเสื่อม
(4) การเอาชนะสิ่งแวดล้อม
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีที่แสดงถึงปัจจัยของการเกิดอารยธรรม มีดังนี้
1. ทฤษฎีภูมิศาสตร์ คือ การมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม
2. ทฤษฎีภูมิประเทศ เช่น ดินแดนที่อยู่ติดกับทะเลหรือดินแดนที่ไม่ได้อยู่ติดกับทะเล
3. ทฤษฎีเพื่อการเอาชนะธรรมชาติ เช่น การสร้างระบบชลประทาน
4. ทฤษฎีโนแมด คือ การที่ผู้ชนะนําเอาวัฒนธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับใช้
5. ศาสนา คือ สิ่งที่ช่วยทําให้คนป่าเถื่อนเปลี่ยนสภาพมาเป็นอารยชนได้
6. ทฤษฎีดินเสื่อม คือ ทฤษฎีแห่งความเสื่อมของการสร้างสมอารยธรรม ซึ่งเป็นผลมาจาก การตัดไม้ทําลายป่า ทําให้เสียความสมดุลของธรรมชาติ รวมทั้งทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ

12. ผู้ที่เสนอทฤษฎีที่ว่าสิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเลคือ
(1) ชาร์ลส์ ดาร์วิน
(2) เลสลี ไวท์
(3) อีบี ไทเลอร์
(4) อาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี
ตอบ 1 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการ (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสําคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

13. ความสําคัญของแม่น้ําไนล์ต่ออียิปต์คือ
(1) ช่วยป้องกันการรุกรานจากข้าศึก
(2) ช่วยทําให้อียิปต์เกิดความอุดมสมบูรณ์และมั่งคั่งจากการทําเกษตรกรรม
(3) ช่วยทําให้อียิปต์เป็นมหาอํานาจทางทหาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 46 – 47, 17 – 18 (H) ปัจจัยทางธรรมชาติที่ช่วยสร้างสมอารยธรรมของอียิปต์ ได้แก่
1. ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่น้ําไนล์ ทําให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และ มีความมั่งคั่ง
2. มีทะเลทรายช่วยกันให้พ้นจากเขตอากาศร้อนและความกดอากาศต่ํา นอกจากนี้ยังเป็น ปราการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกจนสามารถสร้างสมอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้
3. สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งของอียิปต์ ช่วยรักษาสิ่งที่มีค่าทางอารยธรรม อันได้แก่ สภาพศิลปะและสถาปัตยกรรมไม่ให้เกิดความเสียหายได้
4. กระแสลมจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่พัดลงใต้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยอํานวยความสะดวกต่อการเดินทางค้าขายทางทะเล
5. ถึงแม้อียิปต์จะขาดแคลนป่าไม้ แต่ก็มีดินเหนียว หินแกรนิต หินทราย และหินฝุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างของอียิปต์

14. ความสําคัญของทะเลทรายต่อการสร้างสมอารยธรรมอียิปต์คือ
(1) ทําให้ชาวอียิปต์เกิดความอดทน
(2) เป็นวัสดุก่อสร้างที่สําคัญ
(3) ป้องกันการรุกรานของข้าศึก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15. ความสําคัญของปฏิทินอียิปต์คือ
(1) เป็นผลพลอยได้มาจากการทําระบบชลประทาน
(2) เป็นปฏิทินแบบสุริยคติ
(3) ได้รับแบบอย่างมาจากเมโสโปเตเมีย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 63, 22 (H), (คําบรรยาย) การสร้างปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ในปี 4241 8.C. เป็นผลมาจากการที่ฟาโรห์ได้ส่งคนไปสังเกตการขึ้นลงของระดับน้ําในแม่น้ําไนล์แล้วจดบันทึก วัน เวลา ฤดูกาลเป็นสถิติ เพื่อการทําระบบชลประทาน ซึ่งปฏิทินสุริยคติจะมีประโยชน์อย่างมาก ต่อการทําเกษตรกรรม เพราะทําให้ทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และทําให้รู้ สภาวะการขึ้นลงของแม่น้ําไนล์ได้อย่างแม่นยํา

16. การสร้างพีระมิดของอียิปต์นิยมสร้างในสมัยใด
(1) อาณาจักรเก่า
(2) ขุนนาง
(3) อาณาจักรกลาง
(4) อาณาจักรใหม่
ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 119 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนําความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทําให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของฟาโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ

17. สมัยประชาธิปไตยของอียิปต์เกิดขึ้นเพราะ
(1) ประชาชนช่วยฟาโรห์ยึดอํานาจคืนมาจากพวกขุนนาง
(2) พวกขุนนางยึดอํานาจจากฟาโรห์แล้วจึงมอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน
(3) ฟาโรห์ตอบแทนบุญคุณประชาชนที่ช่วยยึดอํานาจคืนจากพวกขุนนาง โดยยินยอมให้ประชาชนสามารถเข้ารับราชการได้
(4) ถูกข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 55 – 56, 20 (H) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรกลาง (2000 – 1730 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์ทรงยึดอํานาจคืนมาจากพวกขุนนางโดยได้รับความช่วยเหลือจากประชาชน พระองค์จึงทรงตอบแทนประชาชนด้วยการอนุญาตให้สามัญชนเข้ารับราชการได้ ซึ่งถือว่าเป็น สมัยเริ่มต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของอียิปต์ ต่อมาในปี 1730 B.C. อียิปต์ก็ถูก รุกรานเป็นครั้งแรกโดยพวกฮิคโซส (Hyksos) ผ่านทางบริเวณช่องแคบสุเอซ ซึ่งพวกฮิคโซสรู้จักการใช้ม้าและรถศึกในการทําสงคราม จึงทําให้สามารถยึดครองอียิปต์ต่ําบริเวณเดลต้าได้สําเร็จ เป็นเวลานานถึง 150 ปี

18. เมื่อมนุษย์เปลี่ยนสังคมจากเร่ร่อนมาเป็นการตั้งรกราก นั่นคือการที่มนุษย์
(1) เริ่มสร้างสมอารยธรรม
(2) มีการแบ่งงานกันทํา
(3) พยายามเอาชนะสิ่งแวดล้อม (ชลประทาน)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 13 (H), (คําบรรยาย) จุดเริ่มของการสร้างสมอารยธรรมของมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ เปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งรกราก หลังจากนั้นจึงทําให้มีการแบ่งงานกันทํา มีความ พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ (ชลประทาน) มีการประดิษฐ์ตัวอักษร รวมทั้งมีการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ จนส่งผลให้เกิดอารยธรรมหรือความเจริญขึ้น

19. การรับอารยธรรมของผู้แพ้มาปรับใช้ คือทฤษฎีใด
(1) โนแมด
(2) ดินเสื่อม
(3) การเอาชนะสิ่งแวดล้อม
(4) ภูมิประเทศ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

20. อารยธรรมที่ไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ํา คืออารยธรรมใด
(1) อียิปต์
(2) เมโสโปเตเมีย
(3) กรีก
(4) โรมัน
ตอบ 3 หน้า 13 (H), 35 (H), 48 (H) อารยธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่
1. อารยธรรมอียิปต์ ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์
2. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส
3. อารยธรรมจีน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ําฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง
4. อารยธรรมอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ
5. อารยธรรมโรมัน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทเบอร์

21. สิ่งที่พวกฮิคโซสนํามาเผยแพร่ให้แก่ชาวอียิปต์คือ
(1) การใช้ม้าและรถศึก
(2) การก่อสร้าง
(3) การใช้ทองแดง
(4) การทําชลประทาน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22. สิ่งก่อสร้างที่สําคัญในสมัยจักรวรรดิของอียิปต์คือ
(1) เขื่อน
(2) พีระมิด
(3) พระราชวัง
(4) วิหาร
ตอบ 4 หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1580 B.C. – 1090 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอํานาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่ พวกฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สําเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอํานาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอํานาจเด็ดขาด มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้านเอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนจากการสร้าง พีระมิดมาเป็นการสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอํานาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

23. จุดมุ่งหมายสําคัญของการปฏิรูปศาสนาของฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 คือ
(1) เพื่อลดจํานวนเทพเจ้า
(2) เพื่อย้ายเมืองหลวง
(3) เพื่อเป็นการยกย่องดวงจันทร์
(4) เพื่อลดอํานาจของพวกพระ
ตอบ 4 หน้า 58, 21 (H) ฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 (อิคนาเทน) ของอียิปต์ ทรงปฏิรูปศาสนาโดยทรง ให้ยกเลิกการนับถือเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ทั้งหมด แล้วให้ชาวอียิปต์หันมานับถือเทพอาเตน (Aten) เพียงองค์เดียวเท่านั้น รวมทั้งทรงย้ายเมืองหลวงจากทีบีส (Tebes) ไปอยู่ที่เทล เอล อามาร์นา (Tell et Amana) ซึ่งการกระทําดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญเพื่อผลทางการเมือง คือ เป็นการ ลดอํานาจของพวกพระอามอนที่ร่ํารวยขึ้นจากทรัพย์สินที่บรรดาหัวเมืองนํามาถวาย และยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือพระเจ้าองค์เดียว

24. การทํามัมมี่ของพวกอียิปต์มีจุดประสงค์ที่สําคัญคือ
(1) การมองโลกในแง่ร้าย
(2) การรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
(3) ความหวังที่จะกลับมาเกิดใหม่
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, 22 (H) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตหลังความตาย เป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทําเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์ โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร

25. สาเหตุที่ทําให้ชาวเมโสโปเตเมียมีทัศนคติมองโลกในแง่ร้ายเพราะ
(1) บริเวณนี้มีกลุ่มชนหลายกลุ่มอาศัยอยู่จึงเกิดสงครามขึ้นตลอดเวลา
(2) การไหลท่วมของแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีส นําความเดือดร้อนมาให้
(3) เทพเจ้าที่นับถือมีแต่ความดุร้าย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 65 – 68, 23 (H), (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้ชาวเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย ปลงทุกข์ หวาดกลัว จนทําให้ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่อีก มีดังนี้
1. เมโสโปเตเมียเป็นที่อยู่ของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จึงทําให้เกิดการทําสงครามแย่งชิงอํานาจกันอยู่ตลอดเวลา
2. เมโสโปเตเมียไม่มีปราการทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการรุกรานจากภายนอกเหมือนกับอียิปต์ ที่มีทะเลทราย จึงถูกรุกรานได้ง่าย
3. การไหลท่วมล้นฝั่งของแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีสในแต่ละปีมีความรุนแรง จนสร้างความลําบาก และความเสียหายให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ําเป็นอย่างมาก
4. พื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทําให้มีการแย่งชิงอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ

26. กลุ่มชนผู้วางรากฐานทางอารยธรรมไว้ในเมโสโปเตเมียคือ
(1) เปอร์เซียน
(2) สุเมเรียน
(3) อัสสิเรียน
(4) แคลเดียน
ตอบ 2 หน้า 68 – 71, 23 – 24 (H) สุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทาง อารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย มรดกทางอารยธรรมที่สําคัญของชาวสุเมเรียนมีดังนี้
1. มีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม โดยใช้เหล็กแหลมกดลง บนแผ่นดินเหนียวแล้วจึงนําไปตากให้แห้ง เมื่อประมาณ 3500 B.C
2. มีการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. มีการทําปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. มีการนับหน่วย 60, 10 และ 6 ซึ่งมีผลต่อการนับเวลาเพื่อประดิษฐ์นาฬิกาและการคํานวณ ทางเรขาคณิตในปัจจุบัน
5. ใช้กฎหมายที่มีลักษณะสนองตอบ หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เป็นต้น

27. ผลงานที่สําคัญของกษัตริย์ฮัมมูราบีคือ
(1) สิ่งก่อสร้าง
(2) กฎหมาย
(3) ศาสนา
(4) การชลประทาน
ตอบ 2 หน้า 73 – 74, 24 (H) พระเจ้าฮัมมูราบีแห่งจักรวรรดิบาบิโลเนีย ได้ทรงร่างประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ขึ้นมาใช้ โดยจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นหิน ไดโดไรท์สีดําซึ่งสูง 8 ฟุต ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฎหมายที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ของโลก ทั้งนี้ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีจะอาศัยหลักลัทธิสนองตอบ (Lex Tationis) หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน

28. พวกที่นํามาเข้ามาใช้เป็นพวกแรกในดินแดนเมโสโปเตเมีย
(1) สุเมเรียน
(2) แคสไซท์
(3) ฮิคโชส
(4) อัคคาเดียน
ตอบ 2 หน้า 76 – 77, 24 (H) แคลไซท์ เป็นอนารยชนที่เข้ายึดกรุงบาบิโลนจากพวกอะมอไรท์ได้สําเร็จ และเป็นชนกลุ่มแรกที่นํามาเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งส่งผลให้ดินแดน บาบิโลเนียเริ่มมีการใช้ม้าเทียมเข้ากับรถศึกเพื่อใช้ในการรบ และใช้ในงานอื่น ๆ เช่น เป็นพาหนะ และบรรทุกสินค้า ใช้ม้าในการส่งข่าวสารระหว่างเมืองต่าง ๆ ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทําให้สามารถแย่งชิงดินแดนอื่น ๆ มาเป็นของตนได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

29. พวกที่รู้จักวิธีการถลุงเหล็กเป็นพวกแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียคือ
(1) ฮิทไทท์
(2) มีดส์
(3) ลิเดียน
(4) สุเมเรียน
ตอบ 1 หน้า 78 – 79, 25 (H), (คําบรรยาย) ผลงานทางด้านอารยธรรมของฮิทไทท์ มีดังนี้
1. นําเหล็กมาถลุงและหลอมใช้เป็นพวกแรกในดินแดนเมโสโปเตเมีย รวมทั้งรู้จักใช้ม้าและรถศึกในการรบ
2. ปรับปรุงและผสมผสานตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนและตัวอักษร เฮียโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ของอียิปต์ให้ใช้ง่ายขึ้น ซึ่งต่อมาได้ส่งต่อให้กับอารยธรรมโรมัน
3. กฎหมายเลียนแบบกฎหมายฮัมมูราบี แต่จะลงโทษด้วยการชดใช้หรือการลงโทษพอเข็ดหลาบ แทนการแก้แค้นแบบลัทธิสนองตอบ
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่พวกฟรีเจียนและลิเดียน ซึ่งต่อมากลุ่มชนทั้งสองก็ได้ถ่ายทอด วัฒนธรรมต่อให้แก่พวกกรีก ซึ่งได้กลายมาเป็นผู้นําในการวางรากฐานให้แก่อารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

30. ผลงานของกษัตริย์อัสซูร์บานิพลของอัสสิเรียคือ
(1) กฎหมาย
(2) การสร้างห้องสมุด
(3) การถลุงเหล็ก
(4) การทําชลประทาน
ตอบ 2 หน้า 82, 26 (H) ผลงานสําคัญของกษัตริย์อัสซูร์บานพัลแห่งอัสสิเรีย คือ การสร้างห้องสมุด ที่กรุงนิเนอเวห์ โดยทรงให้มีการรวบรวมแผ่นดินเหนียวประมาณ 22,000 แผ่นเข้าด้วยกัน ซึ่งนับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตก และเป็นที่มาของการสร้างห้องสมุดในปัจจุบันโดยแผ่นดินเหนียวเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้บันทึกเพลงสวดสําหรับพิธีทางศาสนาของพวกสุเมเรียน นิยายปรัมปราเกี่ยวกับการสร้างโลกครั้งใหญ่ ตําราไวยากรณ์ และตําราแพทย์

31. ผลงานที่สําคัญของพวกแคลเดียนหรือบาบิโลนใหม่คือ
(1) สวนลอย
(2) โหราศาสตร์และดาราศาสตร์
(3) การกวาดต้อนชาวยิว
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 82 – 34, 26 (H), 29 (H) ผลงานที่สําคัญของพวกแคลเดียนหรือพวกบาบิโลนใหม่ มีดังนี้
1. มีการสร้าง “สวนลอยแห่งนครบาบิโลน” ขึ้นในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ซึ่งชาวกรีกนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
2. มีความเจริญทางด้านโหราศาสตร์ นั่นคือ ชาวแคลเดียนเป็นผู้ริเริ่มการเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
3. มีความเจริญทางด้านดาราศาสตร์ นั่นคือ สามารถคํานวณหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์ หมุนรอบโลก รวมทั้งเวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้อย่างแม่นยํา
4. ในปี 587 B.C. กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ได้ยกกองทัพมาตีกรุงเยรูซาเล็มของอาณาจักรยูดาห์ แล้วกวาดต้อนชาวยิวหรือชาวฮิบรูไปอยู่ที่กรุงบาบิโลน (Babylonian Captivity)

32. ความสําคัญของพวกฟินิเซียนคือ
(1) นักรบผู้เก่งกล้า
(2) ผู้ให้กําเนิดศาสนาคริสเตียน
(3) พ่อค้าทางทะเลและการประดิษฐ์ตัวอักษร
(4) พ่อค้าทางบก
ตอบ 3 หน้า 84 – 85, 27 (H) ความสําคัญของพวกฟินิเซียน มีดังนี้
1. เป็นพ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ในย่านเมดิเตอร์เรเนียนในศตวรรษที่ 11 B.C. เป็นนักต่อเรือ นักเดินเรือ และนักล่าอาณานิคม
2. เป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุง โดยลอกเลียนแบบอย่างการปกครองจากอียิปต์และบาบิโลเนียผ่านทางการค้า
3. รับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์และตัวอักษรคูนิฟอร์มของสุเมเรียนมาดัดแปลง เป็นของตนเอง เพื่อการจดบันทึกทางการค้า ต่อมาตัวอักษรดังกล่าวก็ถูกถ่ายทอดให้แก่ พวกกรีกและพวกโรมัน

33. ความสําคัญของพวกอราเมียนคือ
(1) เป็นพวกพ่อค้าทางบก
(2) ภาษาอราเมียนคือภาษาที่พระเยซูใช้สอนศาสนา
(3) เป็นพวกพ่อค้าทางทะเล
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 86 – 87, 27 (H) ความสําคัญของพวกอราเมียน มีดังนี้
1. ภาษาอาเซียนหรือภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษา ที่พระเยซูและเหล่าสาวกใช้ในการสอนศาสนาในดินแดนปาเลสไตน์
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้” (Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก

34. ความสําคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดียคือ
(1) เก่งในการทําสงคราม
(2) ทําเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้
(3) มั่งคั่งจากการค้าขาย
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 92 – 93, 30 (H) ผลงานที่สําคัญของกษัตริย์ครีซัสแห่งลิเดีย มีดังนี้
1. เป็นกษัตริย์ที่มีความมั่งคั่งมากจากการค้าขายกับดินแดนแถบลุ่มแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีสและ หมู่เกาะอีเจียน
2. มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หรือทําเหรียญทองผสมเงินขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อ ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามน้ําหนักของเหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นมรดกทางอารยธรรมที่ตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน
3. ทําสงครามกับเปอร์เซียจนในที่สุดก็ถูกยึดครองโดยพระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียในปี 546 B…

35. ความสําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์คือ
(1) เป็นศาสนาของพวกเปอร์เซีย
(2) นับถือเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง
(3) ถือว่าแสงสว่างเป็นตัวแทนของความดี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะที่สําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ มีดังนี้
1. เป็นศาสนา ประจําชาติของเปอร์เซีย
2. เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวศาสนาแรกของเอเชียตะวันตก โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
3. มีลักษณะเป็นทวิเทพ คือ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระเจ้า ทั้งความดีและความชั่ว ซึ่งพระเจ้าแห่งความดีคือ พระอายุรา มาสดา เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง และความดี ส่วนพระเจ้าแห่งความชั่วคือ อหริมัน เป็นเทพเจ้าแห่งความมืดและความชั่วร้าย
4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น

36. อารยธรรมเดิมที่มีอยู่ก่อนที่บรรพบุรุษกรีกจะอพยพเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก คืออารยธรรม
(1) เฮเลนิสติก
(2) เฮเลนิก
(3) อีเจียน
(4) อินโด-ยูโรเปียน
ตอบ 3 หน้า 110 – 111, 35 (H), 38 – 39 (H) อารยธรรมอีเจียน (Aegean Civilization) เป็น อารยธรรมที่มีอยู่ก่อนที่บรรพบุรุษของชาวกรีกหรือพวกอินโด-ยูโรเปียนจะอพยพเข้ามาอยู่ บริเวณคาบสมุทรกรีก จัดเป็นอารยธรรมของชนเผ่าเซไมท์ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณรอบ ๆ ทะเลอีเจียน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ อารยธรรมศรีตันหรือไม่นวน, อารยธรรมไมซีเนียน หรืออารยธรรมเฮลลาดึก และอารยธรรมทรอย

37.Iliad หรือสงครามม้าไม้เป็นสงครามระหว่างพวกกรีกกับพวก
(1) คอนอสซุส
(2) ทรอย
(3) ไมเซเน
(4) สปาร์ตา
ตอบ 2 หน้า 111, 113, 35 – 37 (H) มหากาพย์อีเลียด (Iliad) แต่งโดยกวีตาบอดผู้ยิ่งใหญ่ชื่อโฮเมอร์ (Homer) เป็นเรื่องราวของการทําสงครามม้าไม้หรือสงครามเมืองทรอย (Trojan War) ซึ่งเป็น การสู้รบระหว่างเมืองทรอยและนครรัฐสปาร์ตาของกรีก โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงพระนางเฮเลน (Helen) นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเรื่องม้าไม้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักรบผู้ใช้ม้าในการทํา สงครามซึ่งมีชัยเป็นครั้งแรก

38. สาเหตุที่ทําให้พวกกรีกต้องปกครองแบบนครรัฐ เพราะปัญหาทางด้าน
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) ศาสนา
(4) ภูมิศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 110, 112 – 113, 38 (H) สาเหตุที่ทําให้กรีกยุคโบราณมีการปกครองแบบนครรัฐ คือ
1. ปัญหาทางสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากกรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และเป็นเกาะอยู่ติดชายฝั่งทะเลที่เว้า ๆ แหว่ง ๆ พื้นที่ไม่ติดต่อกัน และหาที่ราบยาก จนกลายเป็นพรมแดนที่แบ่งแยกชาวกรีกออกจากกันและเป็นอิสระต่อกัน
2. ชาวกรีกมีนิสัยรักความเป็นอิสระ

39. ชาวกรีกเรียกตัวเองว่า
(1) เฮลลัส
(2) โทรจัน
(3) เฮลเลนส์
(4) ละติน
ตอบ 3 หน้า 117, 38 (H) ชาวกรีกโบราณแม้จะแยกกันอยู่เป็นนครรัฐ แต่ก็รู้ตัวว่าเป็นชาวกรีกเหมือนกัน โดยชาวกรีกมักจะเรียกตัวเองว่า “เฮลเลนส์” (Hellenes) และเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า “เฮลลัส” (Hellas) ส่วนพวกที่ไม่พูดภาษากรีกจะถูกเรียกว่า “พวกป่าเถื่อน” (Barbarians)

40. ผู้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเมื่อชนะเลิศแล้วจะได้รับรางวัลคือ
(1) ช่อมะกอก
(2) เหรียญรางวัล
(3) ที่ดิน
(4) ทองคํา
ตอบ 1 หน้า 115, 39 (H) ชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเทพเจ้ากรีกมักพอใจในการแสดงออกถึงความกล้าหาญ และความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแด่เทพ ซีอุส (Zeus) ซึ่งในการแข่งขันครั้งแรกจะมีเฉพาะกีฬาวิ่งแข่ง โดยผู้ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทําด้วย ก้านมะกอกหรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 776 B.C. โดยเรียก ระยะเวลา 4 ปีระหว่างการแข่งขันแต่ละครั้งว่า “โอลิมเปียด” (Olympiad)

41. พวกทรราชกรีกเป็นพวก………มาก่อน
(1) พระ
(2) ขุนนาง
(3) พ่อค้า
(4) ทหาร
ตอบ 3 หน้า 116 – 117, 40 (H) ทรราชกรีก (Tyrants) คือ ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่อํานาจด้วยการใช้กําลัง ไม่ใช่ด้วยการสืบสายโลหิต ส่วนใหญ่ทรราชจะมาจากพ่อค้าที่อ้างว่าจะปกป้องคนจนจาก พวกขุนนางและข้าราชการ เน้นการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยช่วยส่งเสริมการค้าและเคร่งครัดในการร่างประมวลและการใช้กฎหมาย ซึ่งสามารถแก้ไข ปัญหาได้ดี ต่อมาเมื่อมีการสืบทอดสายโลหิต พวกทรราชคนต่อมาหลงอํานาจและปกครอง แบบกดขี่ จึงถูกประชาชนร่วมมือกันขับไล่ออกจากอํานาจ

42. สาเหตุสําคัญที่ทําให้นครรัฐสปาร์ตาปกครองแบบเผด็จการทหารเพราะ
(1) ปัญหาภูมิประเทศไม่ได้อยู่ติดกับทะเล
(2) ไม่ชอบทําการค้า
(3) เพื่อควบคุมพวกชาวต่างชาติ
(4) ไม่นิยมการปกครองแบบประชาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 118 – 121, 40 (H), (คําบรรยาย) สาเหตุที่ทําให้นครรัฐสปาร์ตาต้องปกครองแบบ เผด็จการทหารหรือแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีดังนี้
1. ชาวสปาร์ตาสืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียน ซึ่งเป็นพวกอินโด-ยุโรปพวกสุดท้ายที่อพยพ เข้ามาอยู่ในคาบสมุทรกรีก
2. มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ กล่าวคือ เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในหุบเขาและไม่ติดชายฝั่งทะเล ทําให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
3. ชาวสปาร์ตาแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการทําสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทําให้มีจํานวน ทาสและเชลยศึกมากกว่าชาวสปาร์ตาแท้ ๆ จึงต้องมีการควบคุมพวกทาสแบบเผด็จการทหาร

43. นครรัฐกรีกที่เป็นแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตยและเป็นแม่แบบของอารยธรรมตะวันตก คือ
(1) สปาร์ตา
(2) มาซิโดเนีย
(3) คอรินส์
(4) เอเธนส์
ตอบ 4 หน้า 127, 130, 40 (H), 42 (H) ในระหว่างสมัยของการปฏิรูปประชาธิปไตย (600 – 500 B.C.) นครรัฐเอเธนส์ได้พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้าไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสมัยของเพริดลิสนั้นถือว่าระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไปถึงจุดสูงสุด จนทําให้สมัยนี้ได้ชื่อว่า เป็น “ยุคทองของเอเธนส์” และทําให้นครรัฐเอเธนส์กลายเป็น “บรมครูของนครรัฐกรีกหรือ ชาวเฮลลัสทั้งมวล” ดังนั้นนครรัฐเอเธนส์จึงถือว่าเป็นต้นกําเนิดและแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและของอารยธรรมตะวันตก

44. จูเลียส ซีซาร์ นําปฏิทินแบบสุริยคติมาจากดินแดนใด
(1) สุเมเรียน
(2) อียิปต์
(3) อราเมียน
(4) เมโสโปเตเมีย
ตอบ 2 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นําเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนํามาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

45. การแย่งชิงอํานาจทางการเมืองภายหลังสมัยสันติสุขโรมัน ทําให้ท้ายที่สุดจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ล่มสลายโดยฝีมือของชาว
(1) ฮั่น
(2) อีทรัสคัน
(3) เติร์ก
(4) เยอรมัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

46. นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาแพทยศาสตร์คือ
(1) พิทากอรัส
(2) เฮโรโดตัส
(3) พิทากอรัส
(4) ฮิปโปเครตีส
ตอบ 4 หน้า 136, 44 (H) ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิชา แพทยศาสตร์” ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า โรคทุกชนิดมีสาเหตุมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่เพราะ พระเจ้าลงโทษ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดจึงควรเป็นการพักผ่อนอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ และ การควบคุมอาหาร นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์ที่มีอุดมคติสูงส่ง ซึ่งปรากฏเป็นหลักปฏิญาณ ของแพทย์ในปัจจุบันที่เรียกว่า “Hippocratic Oath

47. ความสําคัญของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชคือ
(1) สร้างเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์
(2) ทําลายจักรวรรดิเปอร์เซีย
(3) รุกรานอินเดียจนเป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูป
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 144 – 146, 152, 46 – 47 (H) ผลงานของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชของกรีก ได้แก่
1. สร้างเมืองอเล็กซานเดรียขึ้นบริเวณปากแม่น้ําไนล์ในอียิปต์ เพื่อเป็นศูนย์กลางอารยธรรมเฮลเลนิสติก
2. ในปี 334 B.C. ทรงยกกองทัพจากกรีซผ่านเอเชียน้อย ซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ และเมโสโปเตเมีย เข้าทําลายจักรวรรดิเปอร์เซีย และยกกองทัพมารุกรานอินเดียในปี 326 B.C.
3. อิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยแรกในประเทศอินเดีย โดย พระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นจะมีลักษณะคล้ายเทพอพอลโลของกรีก
4. ทรงสร้างศูนย์กลางของอารยธรรมใหม่ นั่นคือ อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างตะวันออกและตะวันตก

48. ก่อนที่ชาวโรมันจะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ชาวโรมันถูกปกครองโดยพวกใด
(1) เปอร์เซีย
(2) อีทรัสคัน
(3) กรีก
(4) คาร์เทจ
ตอบ 2 หน้า 158 – 159, 48 – 49 (H) ในศตวรรษที่ 8 B.C. พวกอีทรัสคัน (Etruscan) ซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้างจากเอเชียน้อยได้เข้ายึดครองภาคเหนือและภาคตะวันตกของแหลมอิตาลี รวมทั้งเข้ายึดครองกรุงโรมและทําการปกครองพวกโรมันด้วยการปกครองในระบอบกษัตริย์ อย่างกดขี่ ต่อมาในปี 509 8.C. ได้ถูกพวกแพทริเซียน (Patricians) ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ชาวโรมันขับไล่ออกจากกรุงโรมและตั้งคณะรัฐบาลของตนเอง เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐและดํารงอยู่ต่อมานานถึงประมาณ 500 ปี

49. อารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งคืออารยธรรม
(1) เฮลเลนิก
(2) เฮลเลนิสติก
(3) ละติน
(4) คลาสสิก
ตอบ 3 หน้า 158, 47 – 48 (H), (คําบรรยาย) อารยธรรมโรมันเป็นอารยธรรมของพวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณ 2000 – 1000 B.C. โดยหนึ่งในบรรดา พวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ําไทเบอร์ (Tiber) ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า ที่ราบละติอุม (Plain of Latium) โดยพวกละตินกลุ่มนี้ได้สร้างกรุงโรม (Rome) ขึ้นบนฝั่งแม่น้ําไทเบอร์เมื่อปี 753 BC. และทําให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน” หรืออารยธรรมโรมันมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อารยธรรมละติน” นั่นเอง

50. สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรมคือ
(1) หมี
(2) สุนัขป่า
(3) แพะ
(4) วัว
ตอบ 2 หน้า 158, 48 (H) ในมหากาพย์อีเนียดของเวอร์จิลได้กล่าวถึงตํานานการสร้างกรุงโรมไว้ว่า โรมิวลุส (Romulus) และเรมุส (Remus) โอรสแฝดของนางซิลเวียกับเทพเจ้ามาร์ส (Mars) เป็นผู้สร้างกรุงโรมขึ้นในปี 753 B.C. โดยได้รอดชีวิตจากการที่ถูกอมูลิอุสจับใส่ตะกร้าลอยน้ํา และได้รับความช่วยเหลือจากหมาใน (หมาป่า) ดังนั้นหมาในจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโรม ด้วยเหตุนี้เองคนอิตาลีที่ไม่ชอบโรมันจึงเรียกพวกโรมันว่า “พวกลูกหมาใน

51. ผู้ปกครองคนสุดท้ายของสาธารณรัฐโรมันคือ
(1) ติตุส
(2) บรูตุส
(3) ซุลลา
(4) จูเลียส ซีซาร์
ตอบ 4 หน้า 167 – 169, 50 – 51 (H) ในระหว่างปี 49 – 44 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้เป็นใหญ่แต่เพียง ผู้เดียวในสาธารณรัฐโรมัน โดยประชาชนถือว่าซีซาร์เป็นสมมุติเทพ และเป็นผู้ปกครองแบบ เผด็จการตลอดชีพ ทั้งนี้หลังจากซีซาร์สิ้นพระชนม์แล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอํานาจซึ่งกันและกัน ในกรุงโรม ในที่สุดออกเตเวียน หลานชายและมีฐานะเป็นบุตรบุญธรรมของซีซาร์ได้รับชัยชนะ และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของโรมัน โดยมีพระนามใหม่ว่า “ออกุสตุสที่ 1” หรือ “ออกุสตุส ซีซาร์” พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐโรมัน มาเป็นจักรวรรดิโรมันในปี 27 B.C.

52. จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันคือ
(1) เวสปาเขียน
(2) เนโร
(3) คอนสแตนติน
(4) ออกุสตุส ซีซาร์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. กลุ่มชนพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์คือ
(1) โรมัน
(2) อีทรัสคัน
(3) กรีก
(4) คาร์เทจ
ตอบ 1 หน้า 176, 178 179, 52 (H) วิศวกรชาวโรมันถือว่าเป็นพวกแรกที่รู้จักการใช้ซีเมนต์ ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น การสร้างถนน การสร้าง สะพาน การทําท่อส่งน้ํา การก่อสร้างแอมพิเธียเตอร์ การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นต้น ทั้งนี้การก่อสร้างของโรมันส่วนใหญ่ได้รับแบบอย่างมาจากกรีก

54.สมัย Pax Romana หรือสมัยสันติสุขโรมัน คือสมัยใด
(1) สาธารณรัฐโรมัน
(2) การปราบปรามพวกคริสเตียน
(3) เจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้านและไม่มีใครมารุกรานเป็นเวลา 200 ปี
(4) ที่โรมันเข้าทําลายพวกยิว
ตอบ 3 หน้า 169 – 171, 51 (H) ความสําคัญของสมัยการปกครองของจักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 มีดังนี้
1. เป็นสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana : 27 B.C. – A.D. 180) ซึ่งเกิดขึ้นจากอานุภาพของ จักรพรรดิออกุสตุสที่ 1 ทําให้ไม่มีกลุ่มชนใดมารุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นเวลาร่วม 200 ปี และมีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน
2. เป็นยุคทองของโรมัน (Roman’s Golden Age)
3. ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคปรินซิเปท” (Principate) นั่นคือ ออกุสตุสทรงพอพระทัยในตําแหน่ง พลเมืองโรมันหมายเลขหนึ่ง (Princeps) มากกว่าตําแหน่งจักรพรรดิ
4. เป็นสมัยที่พระเยซูคริสต์ ประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในมณฑลจูเดียซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน

55. อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาถูกค้นพบและถูกทําลายโดยพวก
(1) สเปน
(2) ดัตช์
(3) ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษ
ตอบ 1 หน้า 188 – 189, 351, 55 (H) อารยธรรมอินเดียนในทวีปอเมริกาหรืออารยธรรมเก่าในโลกใหม่ ถูกค้นพบโดยโคลัมบัส (Columbus) นักเดินเรือชาวสเปนในปี ค.ศ. 1492 แต่ต่อมาอารยธรรม เหล่านี้ก็ถูกทําลายโดยพวกสเปนเช่นเดียวกัน นั่นคือ คอร์เตส (Cortes) ได้เข้าทําลายอารยธรรม ของพวกแอสเทคในเม็กซิโกระหว่างปี ค.ศ. 1519 – 1521 และปิซาโร (Pizarro) ได้เข้าทําลาย อารยธรรมของพวกอินคาในเปรูในปี ค.ศ. 1532

56. ข้อใดไม่ใช่อารยธรรมโบราณในโลกใหม่
(1) อินคา
(2) สุเมเรียน
(3) มายา
(4) แอสเท็ค
ตอบ 2 หน้า 189, 55 (H) อารยธรรมโบราณในโลกใหม่ หมายถึง อารยธรรมโบราณในทวีปอเมริกา ซึ่งมีเพียง 3 พวกที่มีอารยธรรมสูงเทียบเท่ากับอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย ได้แก่
1. มายา (Maya) มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่ในอเมริกากลางและกัวเตมาลา
2. แอสเทค (Aztec) มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่ในเม็กซิโก
3. อินคา (Inca) มีศูนย์กลางอารยธรรมอยู่ในเปรู

57. จักรพรรดิชาวแฟรงก์ผู้ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาในปี ค.ศ. 800 คือ
(1) ชาร์ลส์ มาร์แตล
(2) โคลแตร์
(3) โคลวิส
(4) ชาร์เลอมาญ
ตอบ 4 หน้า 218 – 220, 63 (H) ชาร์เลอมาญมหาราช (Charlemagne the Great) เป็นกษัตริย์ ชาวแฟรงก์ที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของราชวงศ์คาโรแลงเจียน โดยในปี ค.ศ. 800 พระองค์ ได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 (Leo III) เพื่อแสดงอํานาจความยิ่งใหญ่ของ ศาสนจักรเหนืออาณาจักร ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสันตะปาปามิได้มีสิทธิในการแต่งตั้ง จักรพรรดิ และได้ทรงประกาศว่า ชาร์เลอมาญมหาราชเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ของจักรวรรดิ โรมัน ซึ่งเท่ากับเป็นการฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยจักรพรรดิชาวเยอรมัน

58. ภายหลังจากที่กรุงโรมแตกพวกอนารยชนเยอรมันกลุ่มที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในสเปนในสมัยศตวรรษที่ 5 คือ
(1) ลอมบาร์ด
(2) วิสิกอธ
(3) แองโกลและแซกซัน
(4) แฟรงก์
ตอบ 2 หน้า 211, 73 (H) ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในสมัยศตวรรษที่ 5 (ปี ค.ศ. 476) อนารยชนเยอรมันตะวันออกเผ่าวิสิกอธ (Visigoths) ก็ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและ
ปกครองสเปนเป็นระยะเวลาร่วม 300 ปี จนกระทั่งถูกพวกมัวร์ที่นับถือศาสนาอิสลามจาก แอฟริกาเหนือเข้ายึดครองในปี ค.ศ. 711

59. สนธิสัญญาแวร์ดังปี ค.ศ. 843 แบ่งจักรวรรดิแฟรงก์ออกเป็นประเทศอะไรบ้างในปัจจุบัน
(1) อิตาลี – ฝรั่งเศส
(2) เยอรมนี – อิตาลี
(3) อังกฤษ – ฝรั่งเศส
(4) ฝรั่งเศส – เยอรมนี
ตอบ 4 หน้า 220 – 221, 64 (H) ผลของสนธิสัญญาแวร์ดังในปี ค.ศ. 843 เป็นจุดกําเนิดของ ประเทศฝรั่งเศส (France) และเยอรมนี (Germany) ในปัจจุบัน โดยมีการแบ่งจักรวรรดิของ จักรพรรดิชาร์เลอมาญออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. หลุยส์เดอะเยอรมัน (Louis the German) ได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ปัจจุบันคือ ดินแดนทางภาคตะวันตกและตอนกลางของประเทศเยอรมนี
2. ชาร์ลเดอะบอลด์ (Charles the Bald) ได้ครอบครองดินแดนทางตะวันตกของจักรวรรดิ ปัจจุบันคือ ประเทศฝรั่งเศส
3. โลแธร์ (Lothair) ได้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีและตอนกลางของจักรวรรดิ ซึ่งต่อมาคือ แคว้นลอแผน

60. สิ่งที่เป็นเครื่องชี้สถานะทางเศรษฐกิจของคนในยุคศักดินาสวามิภักดิ์หรือยุคกลางคือ
(1) อาชีพ
(2) คุณงามความดี
(3) ที่ดิน
(4) ทองคํา
ตอบ 3 หน้า 223 – 224, 65 (H), (คําบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล(Feudalism/Feudal) เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้า (Lord) ผู้เป็นเจ้าของ ที่ดินซึ่งส่วนใหญ่คือ กษัตริย์หรือขุนนาง กับข้าหรือวัสซัล (Vassal) หรือผู้เช่าที่ดิน โดยมีที่ดิน (Fiefs/Feuda) เป็นพันธะแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกันระหว่างเจ้ากับข้า

61. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตมหาราชประกอบไปด้วยดินแดนของประเทศอะไรบ้างในปัจจุบัน
(1) ฝรั่งเศส – สเปน
(2) สเปน – อิตาลี
(3) เยอรมนี – อิตาลี
(4) อิตาลี – ฝรั่งเศส
ตอบ 3 หน้า 246 – 247, 69 (H) ในปี ค.ศ. 962 พระเจ้าออตโตที่ 1 (Otto I) แห่งแซกโซนีได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ให้ดํารงตําแหน่งเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Foman Empire) เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิชาร์เลอมาญเคยได้รับ โดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิออตโตที่ 1 จะประกอบไปด้วยดินแดนเยอรมนี และอิตาลี ซึ่งทําให้พระองค์มีอํานาจยิ่งใหญ่ในยุโรปในฐานะพระจักรพรรดิผู้ปกครองเยอรมนีและยังได้ดํารงตําแหน่งกษัตริย์แห่งอิตาลีอีกด้วย

62. เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกได้มาจากชื่อของจักรพรรดิโรมันองค์ใด
(1) ธีโอโดซิอุส
(2) ซีซาร์
(3) คอนสแตนติน
(4) ออกุสตุส
ตอบ 3 หน้า 251 – 252, 69 – 76 (H), (คําบรรยาย) “จักรวรรดิโรมันตะวันออก” หรือจักรวรรดิ ไบแซนไทน์ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอนาโตเลีย โดยมีเมืองคอนสแตนติโนเปิลซึ่งได้มาจากชื่อของ จักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นเมืองหลวง ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายกรีก พูดภาษากรีก แต่เรียกตัวเองว่า Roman โดยไม่ถือตนว่าเป็นเฮลเลนส์และนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์

63. โบสถ์เซนต์โซเฟียในจักรวรรดิโรมันตะวันออกสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิ
(1) อาร์คาดิอุส
(2) ฮอโนริอุส
(3) จัสติเนียน
(4) ลีโอ
ตอบ 3 หน้า 252 – 253, 323, 70 (H) จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีผลงานที่สําคัญดังนี้
1. ขยายอาณาเขตออกไปถึงภาคเหนือของแอฟริกา ภาคใต้ของสเปน และอิตาลี
2. สร้างประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Corpus Juris Civilis) ในปี ค.ศ. 529 ซึ่งได้กลายเป็น แบบอย่างของตัวบทกฎหมายในสมัยกลางและยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
3. สร้างโบสถ์เซนต์โซเฟีย (Santa Sophia) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อปี ค.ศ. 537

64. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่นําไปสู่ความเสื่อมของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
(1) การปฏิวัติทางการค้า
(2) การมีอํานาจของพวกขุนนาง
(3) โรคระบาด
(4) สงครามครูเสด
ตอบ 2 หน้า 237, 66 – 67 (H) สาเหตุสําคัญที่ทําให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) เสื่อมลง ได้แก่
1. สงครามครูเสด (Crusades War) ทําให้พวกขุนนางตายไป เป็นจํานวนมาก กษัตริย์จึงมีอํานาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. ความเจริญหรือการปฏิวัติทางการค้า ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของแมเนอร์ลดความสําคัญลง
3. ความสําเร็จในการ ผลิตกระสุนดินปืน (Gunpower) ทําให้บทบาทของขุนนางและอัศวินสวมเกราะลดลง
4. การเกิดโรคระบาดในศตวรรษที่ 14 คือ กาฬโรค (Black Death) ทําให้ประชากรลดลง พวกทาสติดที่ดินจึงหางานทําได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

65. ภายหลังการแตกแยกทางศาสนาในปี ค.ศ. 1054 นิกายตะวันออกคือ
(1) Presbyterian
(2) Protestant
(3) Orthodox
(4) Catholic
ตอบ 3 หน้า 238 – 239, 321, 54 (H), (คําบรรยาย) จากความขัดแย้งทางศาสนาในเรื่องการบูชา รูปเคารพระหว่างจักรวรรดิโรมันตะวันตกและจักรวรรดิโรมันตะวันออกในปี ค.ศ. 1054 ทําให้คริสต์ศาสนาแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดเป็น 2 นิกาย ได้แก่
1. นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีประมุขสูงสุดคือ แพท อาร์ค (Patriarch) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออกและรัสเซีย
2. นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) นับถือกันในจักรวรรดิโรมันตะวันตก มีประมุขสูงสุดคือสันตะปาปา (Pope) มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และ เจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

66. ในปี ค.ศ. 1215 พวกขุนนางอังกฤษบังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสาร Magna Carta ซึ่งมีความสําคัญคือ
(1) ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ
(2) กษัตริย์ถูกลดอํานาจในการตัดสินคดีและการเก็บภาษี
(3) เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบรัฐสภาของอังกฤษ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 275, 75 (H), (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1215 กษัตริย์จอห์นหรือกษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta หรือ The Great Charter) ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมี หลักการที่สําคัญยิ่ง คือ กําหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังลดอํานาจ ของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทําด้วย ความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครอง ในระบอบรัฐสภาของอังกฤษ หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

67. สาวกของพระเยซูผู้นําเอาคริสต์ศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในกรุงโรมคือ
(1) St. Paul
(2) St. Janes
(3) St. Peter
(4) St. John
ตอบ 3 หน้า 185, 238, 53 – 54 (H) เซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) เป็นหนึ่งในบรรดาอัครสาวกของ พระเยซูคนแรกที่ได้นําเอาคําสั่งสอนของพระเยซูออกไปเผยแผ่ยังกรุงโรม แต่ได้ถูกทําร้ายจน เสียชีวิต ต่อมาเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ทรงอนุญาตให้ศาสนาคริสต์เผยแผ่ ในจักรวรรดิโรมันได้อย่างเสรี และในสมัยจักรพรรดิธีโอโดซีอุส (Theodosius) ก็ทรงประกาศ ให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจําชาติของจักรวรรดิโรมัน ทําให้กรุงโรมกลายเป็นศูนย์กลาง ของคริสต์ศาสนา ในเวลาต่อมามหาวิหารในกรุงโรมจึงได้ชื่อว่า มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็น มหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม

68. การต่อสู้กันระหว่างสันตะปาปากับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุคกลาง มีสาเหตุต่อเนื่องมาจาก
(1) แย่งกันเก็บภาษี
(2) การแข่งขันกันเป็นผู้นําเพื่อออกไปทําสงครามกับพวกมุสลิม
(3) พิธีการสวมมงกุฎจักรพรรดิ
(4) การแต่งตั้งขุนนางในตําแหน่งสูง
ตอบ 1 หน้า 300 – 303, 80 – 81 (H) ในช่วงศตวรรษที่ 14 – 15 นั้นได้เกิดการต่อสู้กันระหว่าง สันตะปาปากับจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีสาเหตุอันเนื่องมาจากการที่ จักรพรรดิต้องการเก็บภาษีจากวัดเพื่อนํามาใช้ในการทําสงคราม แต่ก็ถูกสันตะปาปาคัดค้าน ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สําคัญ 2 กรณีที่เกิดขึ้นในช่วงยุคกลางตอนปลาย ได้แก่ เหตุการณ์ การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย และการแตกแยกครั้งใหญ่ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงการเสื่อมอํานาจของศาสนจักร

69. ความสําคัญของยุค Reconquest หรือยุคการยึดดินแดนคืนของพวกคริสเตียนในสเปนคือ การทําสงคราม เพื่อขับไล่พวก…….ออกจากสเปน
(1) มัวร์
(2) เยอรมัน
(3) โรมัน
(4) ฮั่น
ตอบ 1 หน้า 267, 73 (H) ยุคแห่งการยึดอํานาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconguista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวมอาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน นั่นคือ การอภิเษกสมรส ระหว่างพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล กับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอรากอน ซึ่งได้ ร่วมกันปกครองในฐานะเป็นกษัตริย์คาทอลิกทําสงครามกับพวกมัวร์จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั่นเอง

70. การจัดทํา Doomsday Book ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ มีจุดประสงค์ที่สําคัญคือ
(1) เพื่อการเกณฑ์ทหาร
(2) เพื่อการเก็บภาษี
(3) เพื่อการเกณฑ์แรงงาน
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H) ผลจากการที่วิลเลียม ตุ๊กแห่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ได้เข้า ยึดครองอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 มีดังนี้
1. ทําให้กษัตริย์อังกฤษมี 2 สถานภาพ คือ มีฐานะเป็น เจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส เมื่อเข้าไปถือครอง และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากที่ดินในฝรั่งเศส
2. ขุนนางแองโกล-แซกซันถูกกําจัด
3. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเข้าไปปะปนในภาษาอังกฤษ
4. มีการนําระบบแมเนอร์เข้ามาใช้ในอังกฤษ
5. มีการจัดทําทะเบียนราษฎร์อย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1086 ซึ่งเรียกว่า “Doomsday Books” เพื่อการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน

71. วีรสตรีซึ่งมีวีรกรรมดีเด่นในสงครามร้อยปีคือ
(1) อลิซาเบธที่ 1
(2) แมรี่ที่ :
(3) อิซาเบลลาที่ 1
(4) โจน ออฟ อาร์ค
ตอบ 4 หน้า 298 – 299, 79 (H) ในช่วงสงครามร้อยปี ได้เกิดวีรสตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ขึ้น โดยเป็นสตรีที่เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูก อังกฤษจับไปเผาในฐานะเป็นพวกนอกรีต (แม่มด) ซึ่งการตายของโจนได้ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส เกิดความรู้สึกชาตินิยม จนสามารถรวมตัวกันขับไล่อังกฤษออกจากดินแดนฝรั่งเศสได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1453

72. สงครามดอกกุหลาบในอังกฤษ ทําให้……มีอํานาจมากขึ้น
(1) สามัญชน
(2) ขุนนาง
(3) พระ
(4) กษัตริย์
ตอบ 4 หน้า 299, 326, 79 – 80 (14) สงครามดอกกุหลาบ (War of the Roses : ค.ศ. 1455 – 1485) เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแย่งกันขึ้นปกครองอังกฤษระหว่าง ตระกูลแลงคาสเตอร์ (ดอกกุหลาบสีแดง) กับตระกูลยอร์ก (ดอกกุหลาบสีขาว) สงครามจบลง ในปี ค.ศ. 1485 โดยเฮนรี ทิวดอร์ ผู้นําตระกูลแลงคาสเตอร์เป็นผู้ชนะ ซึ่งมีผลติดตามมา ดังนี้
1. ขุนนางเสียชีวิตไปเป็นจํานวนมาก ทําให้กษัตริย์องค์ใหม่มีอํานาจมากขึ้นและสามารถพัฒนา ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
2. เฮนรี ทิวดอร์ ได้สถาปนาราชวงศ์ทิวดอร์ (Tudor Dynasty) ขึ้นปกครองอังกฤษ

73. สงครามครูเสดคือสงครามที่พวกคริสเตียนยกกองทัพไปตีเมือง……กลับคืนจากมุสลิม
(1) คอนสแตนติโนเปิล
(2) ซามาเรีย
(3) นาซาเร็ธ
(4) เยรูซาเล็ม
ตอบ 4 หน้า 279 – 285, 330, 76 – 77 (H) สงครามครูเสด (ค.ศ. 1095 – 1291) ในยุคกลาง ถือเป็น สงครามมหายุทธ์ที่กินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) ซึ่งมีความสําคัญดังนี้
1. เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิม เพื่อแย่งกันเข้าครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม
2. พวกคริสเตียนไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมุสลิมได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลว ที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์”
3. นักรบครูเสดได้นําเอาศิลปวิทยาการของอารยธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมัน
จากภาคตะวันออกกลับเข้ามายังยุโรปตะวันตก จนนําไปสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือ เรอเนสซองส์ (Renaissance) ในยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ เป็นต้น

74. ผลของสงครามครูเสดต่อยุโรปตะวันตกคือ
(1) ทําให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์เสื่อมลง
(2) การฟื้นฟูทางการค้า
(3) การฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 284 – 285, 77 (H) ผลของสงครามครูเสด มีดังนี้
1. ทําให้ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัลเสื่อมลง เพราะพวกขุนนางได้ตายไปเป็นจํานวนมาก
2. เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการค้าในดินแดนยุโรปตะวันตก
3. มีการเปิดเส้นทางการค้าเพื่อนําเอาความเจริญ
4. กษัตริย์มีอํานาจมากขึ้น
5. เมืองต่าง ๆ เริ่มขยายขึ้น เพราะการค้าขยายตัวและสินค้าจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตกในขณะที่ขุนนางเสื่อมอํานาจลง
6. อํานาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น
7. พวกนักรบครูเสดได้นําอารยธรรมกรีก-โรมัน จากภาคตะวันออกเข้ามายังยุโรปตะวันตก เป็นต้น

75. เหตุการณ์การคุมขังแห่งบาบิโลเนียในระหว่างปี ค.ศ. 1305 – 1377 คือ เหตุการณ์ที่สันตะปาปา เสมือนตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ดินแดนใด
(1) บาบิโลน
(2) ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษ
(4) แคลเดีย
ตอบ 2 หน้า 301 – 303, 80 (H) การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทําให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพํานักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

76. อาณาจักรคริสเตียนในคาบสมุทรไอบีเรียที่ถูกรวมกันเข้าเป็นประเทศสเปนในศตวรรษที่ 15 คือ
(1) นาวาร์ – โปรตุเกส
(2) คาสติล – โปรตุเกส
(3) อรากอน – โปรตุเกส
(4) คาสติล – อรากอน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 69. ประกอบ

77. ประเทศโปรตุเกสที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยเจ้าชายอัลฟองโซ เฮนริก ในปี ค.ศ. 1139 เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรใดมาก่อน
(1) เลออง
(2) นาวาร์
(3) คาสติล
(4) อรากอน
ตอบ 3 หน้า 268, 73 (H), (คําบรรยาย) โปรตุเกส เคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสเปนตั้งแต่ยุคโบราณ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยพวกมัวร์ไปพร้อม ๆ กับสเปน แต่ก็ถูกยึดคืนโดยกษัตริย์เฟอร์ดินาน แห่งอาณาจักรคาสติล ต่อมาพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 ทรงมอบดินแดนโปรตุเกสเป็นสินสมรส ให้แก่เจ้าหญิงเทเรซาพระธิดาในการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฮนรีแห่งเบอร์กันดี ต่อมาเมื่อ เจ้าชายอัลฟองโซ เฮนริก พระราชโอรสสามารถรบชนะทั้งคาสติลและพวกมัวร์ จึงทรงประกาศ เอกราชอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงในสนธิสัญญาซาโมรา และแยกตัวออกมาจากการ ปกครองของอาณาจักรคาสติล พร้อมกับสถาปนาอาณาจักรโปรตุเกสขึ้นในปี ค.ศ. 1139

78. ประเทศผู้นําในการออกแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 จนค้นพบอินเดียคือ
(1) ฝรั่งเศส
(2) โปรตุเกส
(3) อังกฤษ
(4) ดัตช์
ตอบ 2 หน้า 336, 351, 90 (H), (คําบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นํา ในการออกแสวงหาเส้นทางเดินเรือเข้ามายังทวีปเอเชียในสมัยศตวรรษที่ 15 โดยมีนักเดินเรือ คนสําคัญ คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาไปถึง อินเดียในปี ค.ศ. 1498 ได้สําเร็จเป็นคนแรก

79. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในดินแดนเยอรมนีก่อให้เกิดผลงานสําคัญคือ
(1) การพิมพ์
(2) งานทางด้านจิตรกรรม
(3) ปรัชญามนุษยนิยม
(4) พิธีกรรมทางศาสนา
ตอบ 1 หน้า 356, 371 – 372, 92 (H), 96 (H) ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ซึ่งเกิดขึ้น ในระหว่างปี ค.ศ. 1300 – 1500 มีความสําคัญดังนี้
1. เป็นยุคของการฟื้นฟูอารยธรรม กรีก-โรมันขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
2. เปลี่ยนจากอํานาจของศาสนจักรที่ครอบงําจากยุคกลาง มาเป็นสมัยแห่งวิทยาศาสตร์ และความเป็นปัจเจกชนนิยม (Individualism) ในยุคใหม่
3. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในอังกฤษ ทําให้เกิดแนวคิดเรื่อง “Utopia” หรือรัฐในอุดมคติ ของเซอร์โทมัส มอร์
4. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในเยอรมนี ทําให้โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก ช่างทองชาวเยอรมันประดิษฐ์แท่นพิมพ์ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1445 เป็นต้น

80. จุดมัวหมองของการปฏิวัติทางการค้าในระหว่างปี ค.ศ. 1500 – 1700 คือ
(1) การสิ้นสุดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์
(2) การหวนกลับมาใช้เงินเหรียญ
(3) การค้าทาส
(4) การเกิดลัทธิทุนนิยม
ตอบ 3 หน้า 339 – 344, 89 (H) ผลของการปฏิวัติทางการค้าระหว่างปี ค.ศ. 1500 – 1700 มีดังนี้
1. กําเนิดระบอบทุนนิยม
2. มีการหวนกลับมาใช้เงินเหรียญและทองคํามากขึ้น
3. เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อความมั่งคั่ง
4. ชนชั้นกลางกลายเป็นพวกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ
5. เกิดการฟื้นฟูการค้าทาสโดยชาวโปรตุเกส ซึ่งถือว่าเป็นจุดมัวหมองของสมัยนี้
6. เป็นการนําทางไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม และทําให้จํานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

81. บุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่าเดินเรือรอบโลกได้สําเร็จเป็นคนแรกคือ
(1) วาสโก ดา กามา
(2) แมกเจลแลน
(3) บัลบัว
(4) โคลัมบัส
ตอบ 2 หน้า 351, 90 (H), (คําบรรยาย) แมกเจลแลน & เดลคาโน เป็นนักสํารวจทางเรือชาวสเปนกลุ่มแรกที่ได้รับการยกย่องว่าแล่นเรือเดินทางรอบโลกได้สําเร็จเป็นครั้งแรกในระหว่างปี
ค.ศ. 1519 – 1522 และถือว่าเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลมเป็นครั้งแรกอีกด้วย

82. สาเหตุปัจจุบันที่นําไปสู่การเกิดการปฏิรูปศาสนาคือ
(1) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์
(2) การขายใบไถ่บาป
(3) ต้องการล้มพิธีกรรมทางศาสนา
(4) สันตะปาปามีอํานาจมากเกินไป
ตอบ 2 หน้า 378 – 379, 98 (H), 133 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ขึ้นในศตวรรษที่ 16 คือ การที่สันตะปาปาลีโอที่ 10 ขายใบไถ่บาปในดินแดนเยอรมนี เพื่อนํา เอาเงินไปบูรณะโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม พระองค์จึงถูกโจมตีจากมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน ซึ่งได้เขียนคําประท้วง 95 ข้อ (95 Theses) ทําให้มีผู้เห็นด้วยว่า ไม่ควรนําเงินเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วง ทางศาสนาและเป็นที่มาของคําว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

83. การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษมีสาเหตุมาจาก
(1) การขายใบไถ่บาป
(2) กษัตริย์ต้องการอภิเษกสมรสใหม่
(3) การล้มอํานาจสันตะปาปา
(4) ต้องการทําให้ศาสนาเกิดความบริสุทธิ์
ตอบ 2 หน้า 383, 99 (H), (คําบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องการหย่าขาดจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับ แอน โบลีน แต่ศาสนจักร (สันตะปาปา) ไม่ยินยอม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงตัดขาดจากองค์กร คริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ Catholic without Pope ซึ่งส่งผลทําให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็นโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่า “นิกายอังกฤษ” (Anglican Church/Church of England)

84. ในสมัยศตวรรษที่ 16 ประเทศฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของ
(1) โปรตุเกส
(2) สเปน
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ดัตช์
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในสมัยศตวรรษที่ 16 (ปี ค.ศ. 1565) ชาวสเปนได้เดินทางเข้าไปสํารวจฟิลิปปินส์
โดยหมู่เกาะฟิลิปปินส์ก่อนการสํารวจของสเปนยังอยู่ในสภาพล้าหลังทางวัฒนธรรมกว่าดินแดน
อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียและจีนแทบจะมาไม่ถึง ทําให้ สเปนสามารถเข้าขยายอํานาจและปกครองได้สะดวก ทั้งนี้สเปนได้ปกครองฟิลิปปินส์นับตั้งแต่ ค.ศ. 1565 – 1898 รวมระยะเวลากว่า 300 ปี หลังจากนั้นฟิลิปปินส์ก็ตกเป็นอาณานิคมของ สหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา

85. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในระหว่างปี ค.ศ. 1300 – 1500 คือ การฟื้นฟูอารยธรรม……ขึ้นมาใหม่
(1) กรีก
(2) โรมัน
(3) ฝรั่งเศส
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

86. ผลงานสําคัญของลีโอนาร์โด ดาวินชี คือ
(1) Mona Lisa
(2) The Last Judgement
(3) The School of Athens
(4) Sistine Madonna
ตอบ 1 หน้า 363 – 364, 94 (H) ลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดาวินชีถือว่าเป็นผู้ที่มี ความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสําคัญของสตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

87.สงครามศาสนาครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนี คือสงคราม
(1) 7 ปี
(2) ดอกกุหลาบ
(3) 30 ปี
(4) อมาร์ดา
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 101 (H) สงคราม 30 ปี (The Thirty Years War : ค.ศ. 1618 – 1648) เป็นสงครามศาสนาครั้งสุดท้ายของยุโรปที่เกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนีหรืออาณาจักรโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นสงครามระหว่างพวกโปรเตสแตนต์กับพวกคาทอลิก โดยมีอังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นผู้นําและเข้าช่วยเหลือพวกโปรเตสแตนต์ สเปนเป็นผู้นําและเข้าช่วยเหลือพวกคาทอลิกในที่สุดสงครามก็จบลงด้วยชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทําให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน ขณะที่ดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลทําให้การรวมเยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปี

88. พระราชวังแวร์ซายส์สร้างในสมัยของพระเจ้า
(1) หลุยส์ที่ 14
(2) หลุยส์ที่ 13
(3) หลุยส์ที่ 15
(4) เฮนรี่ที่ 4
ตอบ 1 หน้า 409, 106 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของราชวงศ์บูร์บองแห่งฝรั่งเศส ทรงสร้างพระราชวังใหม่ขึ้นที่แวร์ซายส์ซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงปารีส โดยมีจุดประสงค์ที่สําคัญคือ เพื่อหลีกหนีชาวปารีสซึ่งมักจะทําตัวเป็นศัตรูกับรัฐบาล และยังทรงต้องการแยกออกมาจาก ขุนนางเก่า ๆ ที่มีอิทธิพลในพระราชวังเดิมเพื่อสร้างพระราชอํานาจใหม่ ทําให้พระราชวังแวร์ซายส์ กลายเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์รวมการปกครองของพระองค์ และเป็นสถานที่ที่ขุนนางคนสําคัญ ของพระองค์มาอาศัยอยู่ ทําให้พระองค์สามารถควบคุมขุนนางได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเป็นการ ประกาศความยิ่งใหญ่และรุ่งเรือง

89. พวกเพียวริตันเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่มีบทบาทสําคัญในรัฐสภาของประเทศ
(1) ฝรั่งเศส
(2) สกอตแลนด์
(3) ดัตช์
(4) อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 411 – 413, 107 (H) ในระหว่างปี ค.ศ. 1642 – 1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ในอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กับรัฐสภาอังกฤษซึ่งตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงินเพื่อไปปราบปราม การก่อกบฏของพวกสกอต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบ เทวสิทธิ์ในอังกฤษ และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

90. ผลการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในปี ค.ศ. 1683 ทําให้อังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบ
(1) สาธารณรัฐ
(2) กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
(3) รัฐสภา
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 417, 108 (H) ผลของการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 มีดังนี้
1. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอังกฤษสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบ รัฐสภา ซึ่งเป็นการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
2. รัฐสภามีอํานาจสูงสุด
3. ฐานะของพวกโปรเตสแตนต์มีความมั่นคงขึ้น
4. กษัตริย์จะประกาศสงคราม จัดกองทัพ หรือแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน

91. สหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชได้สําเร็จโดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ
(1) โปรตุเกส
(2) อังกฤษ
(3) ดัตช์
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 453 – 454, 113 (H), (คําบรรยาย) ในระหว่างปี ค.ศ. 1763 – 1775 สัมพันธภาพ ระหว่างอังกฤษและอาณานิคมทั้ง 13 แห่งใน New England เริ่มตึงเครียดมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ อังกฤษพยายามบังคับให้อาณานิคมต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ชาวอาณานิคมต่อต้าน ไม่ยอมเสียภาษี เพราะถือว่าไม่มีตัวแทนของตนในสภาของอังกฤษ นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายัง ได้รับความช่วยเหลือทางทหารและการเงินจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาสามารถประกาศอิสรภาพจากอังกฤษได้สําเร็จในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งเท่ากับเป็นการสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย (Democratic Republic) และมีประธานาธิบดีคนแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน

92. กลุ่มชนผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีก่อนเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 คือ
(1) พระ
(2) ขุนนาง
(3) สามัญชน
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 459 – 460, 114 (H) ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 นั้น ฝรั่งเศสได้มีการแบ่ง ชนชั้นทางสังคมออกเป็น 5 ชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร ได้แก่
1. ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ พระหรือเจ้าหน้าที่ศาสนา
2. ฐานันดรที่ 2 ได้แก่ เจ้าหรือขุนนาง
3. ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลาง ช่างฝีมือ และชาวนา โดยฐานันดรที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มชนที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคมและไม่ต้องเสียภาษี ส่วนฐานันดรที่ 3 เป็นกลุ่มชนที่ไม่มีอภิสิทธิ์ โดยต้องแบกรับภาระภาษีและภาระทางสังคมของประเทศ

93. การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 มีผลทําให้การปกครองอยู่ภายใต้การกําหนดและชี้นําโดยบุคคลในข้อใด
(1) ประชาชน
(2) กษัตริย์
(3) ขุนนาง
(4) พระ
ตอบ 1 หน้า 455 – 462, 114 – 116 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้ การนําของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเก่า และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง มีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบเก่าไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งผลของการปฏิวัตินั้นทําให้การปกครองของฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การกําหนดและชี้นําของชนชั้นกลางหรือประชาชน โดยถือว่ามีฐานะเท่าเทียมกับพวกขุนนางและพวกพระ อีกทั้งเป็นการยกเลิกระบอบอภิสิทธิ์ของกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม และทําให้กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

94. กษัตริย์รัสเซียผู้พยายามเปิดประเทศและเปลี่ยนแปลงประเทศให้เจริญแบบยุโรปตะวันตกคือ
(1) แคทเทอรีนมหาราชินี
(2) นิโคลัสที่ 2
(3) ปีเตอร์ที่ 3
(4) ปีเตอร์มหาราช
ตอบ 4 หน้า 421, 426, 109 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 หรือปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย (ค.ศ. 1682 – 1725) เป็นผู้เปิดประเทศเพื่อรับอารยธรรมจากยุโรปตะวันตก พระองค์ทรง ประสบความสําเร็จในการขยายอํานาจสู่บอลติก และทรงปฏิรูปรัสเซียให้มีความเป็นสมัยใหม่ มากขึ้น เช่น การออกกฎหมายให้ชาวรัสเซียแต่งกายแบบยุโรป ให้โกนหนวดเครา และสวมเสื้อ แขนสั้นแบบยุโรป ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

95. ประเทศที่มีบทบาทสําคัญในการแบ่งโปแลนด์ในศตวรรษที่ 18 คือ
(1) รัสเซีย
(2) ฝรั่งเศส
(3) ดัตช์
(4) อังกฤษ
ตอบ 1 หน้า 427, 109 (H) ในปี ค.ศ. 1772 รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซียได้ร่วมกันแบ่งแยกโปแลนด์
เป็นครั้งแรก ทําให้รัฐบาลโปแลนด์ต้องออกกฎหมายยกเลิก “Liberum Veto” ในปี ค.ศ. 1791 แต่รัสเซียกับปรัสเซียก็แบ่งแยกโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1793 ทําให้เกิดการจลาจล ในโปแลนด์ซึ่งสร้างความตกใจให้แก่ยุโรปตะวันออกทั้งหมด ในที่สุดทั้ง 3 ประเทศก็ร่วมกัน แบ่งโปแลนด์อีกเป็นครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1795 เป็นผลให้โปแลนด์หายไปจากแผนที่ของยุโรป

96. ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดของโลกคือ
(1) กาลิเลโอ
(2) เซอร์ไอแซค นิวตัน
(3) ชาร์ลส์ ดาร์วิน
(4) โคเปอร์นิคัส
ตอบ 2 หน้า 437 – 439, 111 (H) เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ “กฎแรงโน้มถ่วง” หรือ “กฎแรงดึงดูดของโลก” ซึ่งปรากฏในผลงานเรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และยังมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ย้ําว่า หลักการของ วิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคํานวณ และการทดลอง

97. ความเสื่อมอํานาจของนโปเลียนเกิดขึ้นเมื่อนโปเลียนไปพ่ายแพ้ที่ประเทศ
(1) ฝรั่งเศส
(2) เบลเยียม
(3) สเปน
(4) รัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 470, 117 (H) ในปี ค.ศ. 1810 รัสเซียได้ยกเลิกการเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในการปิดล้อม อังกฤษทางเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดเมืองท่ารับเรืออังกฤษ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่จักรพรรดิ นโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหารทั้งหมด ประมาณ 6 แสนคนบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร และ
กองทัพของรัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมาเหลือทหารเพียงประมาณ 2 หมื่นคน โดยการทํา สงครามกับรัสเซียในครั้งนี้ทําให้นโปเลียนหมดอํานาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

98. การประชุมที่กรุงเวียนนาในระหว่างปี ค.ศ. 1814 – 1815 มีจุดมุ่งหมายที่สําคัญคือ
(1) ปราบปรามพวกอนุรักษนิยม
(2) การสร้างดุลอํานาจขึ้นใหม่ในยุโรป
(3) การสร้างความสํานึกชาตินิยม
(4) ปราบปรามพวกเสรีนิยม
ตอบ 4 หน้า 471 – 472, 117 – 118 (H) การประชุมที่กรุงเวียนนา (Congress of Vienna) ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1814 – 1815 มีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อจัดระเบียบยุโรปขึ้นใหม่ และเพื่อสกัดกั้นการ ขยายตัวของฝรั่งเศส ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีผลติดตามมา ได้แก่
1. มีการร่างแผนที่ยุโรปขึ้นใหม่โดยไม่คํานึงถึงความเป็นชาตินิยม
2. ประเทศมหาอํานาจกลุ่มปฏิกิริยาอนุรักษนิยมพยายามใช้ผลของการประชุมเพื่อเป็นเครื่องมือ
ในการสกัดกั้นการขยายตัวของขบวนการเสรีนิยมและชาตินิยม
3. ทําให้เกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายอนุรักษนิยมในยุโรป

99. ภายหลังการประชุมที่เวียนนายุติลงแล้ว ผู้มีบทบาทสําคัญที่คอยสกัดกั้นการปฏิวัติประชาธิปไตยของ
พวกเสรีนิยมและชาตินิยมคือ
(1) เมตเตอร์นิก
(2) ดุ๊กแห่งเวลลิงตัน
(3) ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1
(4) ตาลเรือรอง
ตอบ 1 หน้า 471 – 473, 118 (H) ยุคเมตเตอร์นิก (Age of Metterrich : ค.ศ. 1815 – 1848) คือ ยุคแห่งการต่อต้านการปฏิวัติของขบวนการเสรีนิยม โดยภายหลังการประชุมที่เวียนนาสิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1815 ยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การชี้นําของเจ้าชายเมตเตอร์นิก เสนาบดีแห่งอาณาจักร ออสเตรีย ซึ่งเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติเสรีนิยมขึ้นในยุโรป เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออาณาจักรออสเตรียซึ่งมี ดินแดนของชนชาติอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย โดยชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ เหล่านี้อาจได้รับแรงกระตุ้นจาก การปฏิวัติของขบวนการเสรีนิยม และอาจก่อการปฏิวัติแยกตัวออกจากการปกครองของออสเตรียได้

100. ขบวนการโรแมนติกเข้าร่วมกับขบวนการเสรีนิยมและชาตินิยมในศตวรรษที่ 18 เป็นขบวนการที่ไม่เน้นถึง เหตุผลเหมือนสมัยประเทืองปัญญา แต่เน้นที่
(1) อารมณ์
(2) ความรู้สึกเพ้อฝัน
(3) ปัจเจกชนหรือตัวบุคคล
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 473 – 474, 489, 119 (H) ขบวนการโรแมนติก (Romanticism) เป็นขบวนการที่ต่อต้าน ข้อจํากัดอย่างแข็งขันของศิลปะนีโอ-คลาสสิก หรือเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดเหตุผลนิยม (Rationalism) ในยุคประเทืองปัญญา แต่จะเน้นที่อารมณ์ ความรู้สึกเพ้อฝันที่ลึกซึ้ง เน้นชีวิต ความเป็นอยู่และความสําคัญของปัจเจกชนหรือตัวบุคคลมากกว่ารัฐ ซึ่งต่อมาขบวนการนี้ได้ เข้าร่วมกับขบวนการชาตินิยมและเสรีนิยมในศตวรรษที่ 18 ลุกฮือขึ้นทั่วยุโรปเพื่อทําการปฏิวัติ

101. ข้อใดไม่ใช่ผลของการปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1848
(1) เกิดการปฏิวัติเสรีนิยมและชาตินิยมติดตามมาในประเทศอื่น ๆ
(2) หลุยส์นโปเลียนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
(3) เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่สาธารณรัฐที่ 2
(4) พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 หมดอํานาจ
ตอบ 4 หน้า 480 – 484, 119 (H) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1848 เกิดขึ้นภายใต้การนําของกลุ่ม กรรมกร เพื่อขับไล่พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปออกจากบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ฝรั่งเศส ได้พัฒนาเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยผลของการปฏิวัติที่สําคัญมี 2 ประการ คือ
1. ทําให้คณะปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝรั่งเศสไปสู่สาธารณรัฐที่ 2 และประธานาธิบดี คนแรกที่ได้รับเลือกตั้งคือ หลุยส์นโปเลียน ซึ่งเป็นหลานของจักรพรรดินโปเลียน
2. เกิดการปฏิวัติของขบวนการเสรีนิยมและชาตินิยมในประเทศอื่น ๆ ตามมา

102. ประเทศที่เป็นแบบอย่างของการปฏิวัติเสรีนิยมในยุโรปในระหว่างศตวรรษที่ 18 – 19 คือ
(1) ดัตช์
(2) ปรัสเซีย
(3) รัสเซีย
(4) ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 481, 119 (H), (คําบรรยาย) ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสทั้งในปี ค.ศ. 1789 และ ค.ศ. 1848 ส่งผลให้ขบวนการเสรีนิยมของชาติต่าง ๆ เช่น เบลเยียม โปแลนด์ และอังกฤษ ได้ถือเป็นแบบอย่างและทําการปฏิวัติเพื่อเรียกร้องเอกราชตาม จนทําให้เกิดวาทะที่ว่า “เมื่อประเทศฝรั่งเศสจาม ยุโรปก็ติดหวัด”

103. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในอังกฤษคือ
(1) การเมืองสงบ
(2) การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
(3) ความเจริญทางเทคโนโลยี
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 496, 123 (H) สาเหตุที่ทําให้อังกฤษเป็นผู้นําในการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นชาติแรก ในศตวรรษที่ 18 มีดังนี้
1. มีความสงบทางการเมืองภายหลังการปฏิวัติอันรุ่งเรืองในปี ค.ศ. 1688
2. มีความมั่นคงทางด้านการเงินและการเมือง จนสามารถจัดตั้งธนาคารชาติได้ในปี ค.ศ. 1694
3. มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรที่ก้าวหน้า
4. มีถ่านหินและเหล็กเป็นจํานวนมาก
5. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า
6. ใช้ลัทธินายทุนและระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมแทนลัทธิพาณิชย์ชาตินิยมซึ่งเป็นการค้าแบบเก่า

104. ลัทธิต่อต้านนายทุนที่เอาเปรียบพวกกรรมกรคือ
(1) ฟาสซิสม์
(2) เสรีนิยม
(3) ชาตินิยม
(4) สังคมนิยม
ตอบ 4 หน้า 500 – 501, 124 (H) ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้น 2 ชนชั้น คือ นายทุนหรือชนชั้นกลางกับกรรมกร ซึ่งนายทุนจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีอิทธิพลทางการเมือง ส่วนกรรมกรในโรงงานซึ่งรวมไปถึงผู้หญิงและเด็กที่อายุเพียง 10 ขวบ หรือน้อยกว่านั้นจะเป็นผู้เสียเปรียบอย่างแท้จริง จากความไม่พอใจในสภาพอันแร้นแค้นของกรรมกรทั้งหญิงและเด็กได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่จะปฏิรูปสังคมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม ได้แก่ ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของนายทุน และเจ้าของที่ดินต่อคนงาน (กรรมกร)

105. รัฐผู้นําในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ
(1) สันตะปาปา
(2) ลอมบาร์ดี
(3) เวนิส
(4) ซาร์ดิเนีย
ตอบ 4 หน้า 512, (คําบรรยาย) รัฐผู้นําในการรวมอิตาลีเข้าด้วยกันคือ อาณาจักรปิเอดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์ซาวอย โดยมีเคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์ เป็นนายกรัฐมนตรี ของซาร์ดิเนียในปี ค.ศ. 1852 ส่วนศัตรูสําคัญที่เป็นอุปสรรคในการรวมอิตาลี คือ ออสเตรีย ทั้งนี้เพราะตามสนธิสัญญาเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ได้ให้ออสเตรียครอบครองดินแดนลอมบาร์ดีและเวเนเทียในแหลมอิตาลีอยู่หลายครั้งซึ่งเป็นผลให้เกิดสงครามระหว่างแคว้นซาร์ดิเนียกับออสเตรีย

106. ออสเตรียเปลี่ยนชื่อเป็นออสเตรีย-ฮังการี ในปี ค.ศ. 1867 ภายหลังแพ้สงครามต่อ
(1) อังกฤษ
(2) ปรัสเซีย
(3) ฝรั่งเศส
(4) รัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 517 – 518, 129 (H) สงครามเจ็ดสัปดาห์ในปี ค.ศ. 1866 เป็นสงครามระหว่างออสเตรีย กับปรัสเซีย ซึ่งผลของสงครามปรากฏว่าออสเตรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อปรัสเซีย ทําให้มีผลตามมา ดังนี้
1. เป็นการตัดอิทธิพลของออสเตรียออกจากดินแดนเยอรมนี
2. รัฐเยอรมันทาง ตอนเหนือยอมเข้ามารวมกับปรัสเซีย โดยมีการจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันทางตอนเหนือขึ้น 3. ออสเตรียได้เปลี่ยนชื่อไปเป็นอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี ในปี ค.ศ. 1867

107. บุคคลสําคัญที่ทําให้อิตาลีรวมประเทศได้สําเร็จคือ
(1) คาวัวร์
(2) พระเจ้าวิกเตอร์ อิมมานูเอลที่ 3
(3) บิสมาร์ก
(4) นโปเลียนที่ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 105. ประกอบ

108. การรวมอิตาลีสําเร็จสมบูรณ์เมื่อรัฐบาลอิตาลียึดกรุงโรมมาจาก……มาเป็นเมืองหลวงได้สําเร็จ
(1) ออสเตรีย
(2) ปรัสเซีย
(3) กองทหารฝรั่งเศส
(4) สันตะปาปา
ตอบ 4 หน้า 515, 126 – 127 (H) หลังจากที่คาวัวร์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1861 การรวมอิตาลีก็ยัง ไม่ประสบความสําเร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะแคว้นเวเนเซียยังอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย และกรุงโรมยังไม่ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1870 ได้เกิดสงครามระหว่าง ฝรั่งเศสกับปรัสเซีย กองกําลังทหารของฝรั่งเศสที่ให้ความคุ้มครองแก่สันตะปาปาในกรุงโรม จึงเดินทางกลับฝรั่งเศส รัฐบาลอิตาลีได้ถือโอกาสเข้ายึดกรุงโรมจากสันตะปาปาได้สําเร็จและ จัดตั้งให้เป็นเมืองหลวงของอิตาลีในปี ค.ศ. 1871 การรวมอิตาลีจึงประสบความสําเร็จโดยสมบูรณ์

109. สงครามที่นําไปสู่การรวมเยอรมนีในระหว่างปี ค.ศ. 1870 – 1871 คือ สงครามที่ปรัสเซียทํากับประเทศใดบ้าง
(1) เดนมาร์ก
(2) ออสเตรีย
(3) ฝรั่งเศส
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 517 – 520, 128 – 129 (H) บิสมาร์ก อัครมหาเสนาบดีของปรัสเซีย ได้ประกาศใช้ นโยบายเลือดและเหล็กในการบริหารประเทศ และใช้ในการดําเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนี เข้าด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นบิสมาร์กจะใช้วิธีการทําสงครามถึง 3 ครั้ง คือ
1. สงครามกับเดนมาร์กเรื่องดินแดนชเลสวิก-โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) ในปี ค.ศ. 1864
2. สงครามกับออสเตรียในปี ค.ศ. 1866
3. สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย (The Franco-Prussian War) ในปี ค.ศ. 1870 – 1871 ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เป็นผลทําให้บิสมาร์กสามารถจัดตั้งประเทศเยอรมนีขึ้นได้สําเร็จ ในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

110. ประเทศที่ไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของใครในสมัยจักรวรรดินิยมยุคใหม่คือ
(1) ญี่ปุ่น
(2) ไลบีเรีย
(3) อินเดีย
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 523, 130 – 131 (H) จักรวรรดินิยมยุคใหม่ คือ ยุคที่ประเทศมหาอํานาจในยุโรปได้ ออกมาแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในระหว่างปี ค.ศ. 1871 – 1914 โดยมี อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาเป็นผู้นํา ทําให้ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียต้องตกไปเป็นอาณานิคมจํานวนมาก โดยในทวีปแอฟริกาเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราชเอาไว้ได้เพียง 2 ประเทศ คือ เอธิโอเปีย และไลบีเรีย ส่วนในทวีปเอเชียเหลือประเทศที่ยังคงรักษาเอกราช เอาไว้ได้ คือ จีน ญี่ปุ่น และไทย

111. สนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1872 เพื่อโดดเดี่ยวประเทศ
(1) ฝรั่งเศส
(2) ดัตช์
(3) อังกฤษ
(4) ออสเตรีย-ฮังการี
ตอบ 1 หน้า 529 ภายหลังการรวมเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871 แล้ว บิสมาร์กได้พยายามโดดเดี่ยวฝรั่งเศส ด้วยการเข้าร่วมจัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ (The Three Emperors League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1872 ซึ่งเป็นการเข้าร่วมภาคีระหว่างจักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟ แห่งออสเตรีย, ไกเซอร์วิลเลียมที่ 1 แห่งเยอรมนี และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของสันนิบาตนี้ก็คือ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย กับออสเตรียในเรื่องผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งส่งผลให้ รัสเซียถอนตัวออกมา ทําให้ความต้องการโดดเดี่ยวฝรั่งเศสไม่ประสบความสําเร็จ

112. ประเทศจักรวรรดินิยมที่ทําสงครามบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วยสงครามฝิ่นในระหว่างปี ค.ศ. 1840 – 1842 คือ
(1) ญี่ปุ่น
(2) ฝรั่งเศส
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อังกฤษ
ตอบ 4 หน้า 527, 132 (H) อังกฤษ เป็นชาติแรกที่ใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศด้วย สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 – 1842) เนื่องจากอังกฤษนําฝิ่นจากอินเดียมาขายในจีน รัฐบาลแมนจู ของจีนไม่ยินยอมจึงทําให้เกิดสงครามขึ้น ผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องลงนาม ในสนธิสัญญานานถึงในปี ค.ศ. 1842 ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้
1. จีนต้องเปิดเมืองท่าเพิ่มอีกคือ เอหนึ่ง ฟูเจ้า นิงโป และเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ชาวต่างชาติ เข้ามาพํานักและค้าขาย
2. จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และต้องชดใช้ค่าเสียหายด้วย
3. จีนต้องยกเลิกภาษีขาเข้า

113. สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในขณะที่บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา กําลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศ
(1) รัสเซีย
(2) เยอรมนี
(3) ตุรกี
(4) ออสเตรีย-ฮังการี
ตอบ 4 หน้า 534 – 535, 133 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นนับตั้งแต่ การที่เซอร์เบียไม่พอใจที่ออสเตรีย-ฮังการีผนวกดินแดนบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา ซึ่งมีประชาชน เป็นชาวสลาฟเช่นเดียวกับเซอร์เบีย อีกทั้งยังเป็นดินแดนที่เซอร์เบียต้องการ จนกระทั่งเมื่อ อาร์ชดรุก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งอาณาจักรออสเตรีย เสด็จไปเยือนเมือง ซาราเจโวซึ่งเป็นเมืองหลวงของบอสเนียในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 พระองค์ทรงถูกลอบ ปลงพระชนม์ โดยนักศึกษาชาวเซิร์บชื่อ กาวริโล ปรินซิป จนเป็นสาเหตุให้ออสเตรีย-ฮังการี และเซอร์เบียใช้กําลังเข้าประหัตประหารกัน จนลุกลามกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด

114. ประเทศที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มประเทศมหาอํานาจกลางเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ออสเตรีย-ฮังการี
(2) อิตาลี
(3) เยอรมนี
(4) บัลแกเรีย
ตอบ 2 หน้า 535, 134 (H) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในปี ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอํานาจ ในยุโรปได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายมหาอํานาจกลาง (The Central Powers) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี และบัลแกเรีย
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (The Allied Powers) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ต่อมา ก็มีประเทศอื่นเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา เซอร์เบีย จีน ญี่ปุ่น และไทย

115. การปฏิวัติรัสเซียซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1917 มีสาเหตุสําคัญเนื่องมาจาก
(1) การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
(2) ความเสียหายจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
(3) ความอดอยากของประชาชน
(4) ประชาชนรังเกียจพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
ตอบ 1 หน้า 537, 136 (H) สาเหตุของการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 มีดังนี้
1. ความไม่พอใจต่อการปกครองที่ไร้ประสิทธิภาพของราชวงศ์โรมานอฟ
2. การขยายอิทธิพลของลัทธิสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในรัสเซีย
3. เป็นผลกระทบมาจากการที่รัสเซียเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1
4. เกิดการจลาจลเนื่องในวันสตรีสากลภายในกรุงเปโดรกราดซึ่งเป็นเมืองหลวง ต่อมาการจลาจล ได้ลุกลามไปทั่วประเทศจนก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นในที่สุด

116. ลัทธิฟาสซิสม์และลัทธินาซีเป็นศัตรูที่สําคัญของ
(1) ลัทธิคอมมิวนิสต์
(2) การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(3) ลัทธินิยมทหาร
(4) ถูกข้อ 1 และ 2
ตอบ 4 หน้า 543, 137 – 138 (H) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ได้เกิดขบวนการชาตินิยม
เพื่อต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์และระบอบเสรีประชาธิปไตยขึ้น 2 ลัทธิ ได้แก่
1. ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) ถือกําเนิดขึ้นในอิตาลีโดยเบนิโต มุสโสลินี เพื่อต่อต้านการขยายตัว
ของลัทธิคอมมิวนิสต์และโลกเสรี
2. ลัทธินาซี (Nazism) ถือกําเนิดขึ้นในเยอรมนีโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ก่อตั้งขึ้น เพื่อยุติการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี โจมตีสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่ลงโทษเยอรมนีอย่างไม่เป็นธรรม และต่อต้านพวกยิว

117. ประเทศใดไม่ได้ถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมันก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ออสเตรีย
(2) เชคโกสโลวะเกีย
(3) เดนมาร์ก
(4) โปแลนด์
ตอบ 3 หน้า 548 – 550, (คําบรรยาย) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ ผู้นําลัทธินาซีใน เยอรมัน ต้องการที่จะขยายดินแดนเพื่อให้เยอรมนีเป็นประเทศมหาอํานาจด้วยการเข้ายึดครอง ออสเตรียในปี ค.ศ. 1938, รวมแคว้นซูเดเทน ของเชคโกสโลวะเกียในปี ค.ศ. 1938 และเข้ายึด แค้วนเมเมลคืนจากลิทัวเนียในปีค.ศ. 1939 นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้โปแลนด์คืนฉนวนโปแลนด์ และเมืองดานซิกให้เยอรมนี จนกระทั่งกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

118. ประเทศที่ดําเนินนโยบายผ่อนปรนต่อฮิตเลอร์ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ
(1) โซเวียตรัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) อังกฤษ
(4) อิตาลี
ตอบ 3 หน้า 545 – 546, 549, (คําบรรยาย) ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายเนวิลล์ แซมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ได้พยายามเจรจาสันติภาพกับฮิตเลอร์ คือ ข้อตกลงมิวนิค (Munich Agreement) ปี ค.ศ. 1933 อันเป็นการดําเนินการตามหลักการของนโยบายผ่อนปรน ซึ่งต่อมา ในปี ค.ศ. 1939 นโยบายนี้ต้องล้มเหลว ทั้งนี้เพราะแทนที่ฮิตเลอร์จะเข้ายึดครองเพียงแค่แคว้น ซูเดเทนของเชคโกสโลวะเกีย แต่ฮิตเลอร์ได้เข้ายึดครองเชคโกสโลวะเกียทั้งประเทศ

119. การปิดล้อมเบอร์ลินในระหว่างปี ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นผลมาจาก
(1) การเกิดสงครามเย็น
(2) ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการเผด็จศึกนาซี
(3) การตามหาตัวฮิตเลอร์
(4) ถูกข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 560 การปิดล้อมเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นผลมาจากวิกฤติการณ์สงครามเย็น โดยสหภาพโซเวียตได้สั่งปิดเบอร์ลินของเยอรมนีซึ่งเป็นเขตยึดครองของตน และอนุญาตให้การขนส่งกระทําได้เฉพาะทางอากาศทั้งนี้เพราะโซเวียตต้องการขับไล่สัมพันธมิตรออกจากเบอร์ลินทั้งหมด ทําให้ฝ่ายสัมพันธมิตรนําโดยสหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การนาโต้ (NATO) ขึ้น เพื่อความร่วมมือทางทหารและปิดล้อมการแพร่ขยายอํานาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ทําให้โซเวียตซึ่งไม่พร้อมทําสงครามยอมยกเลิกการปิดล้อม ยอมให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาช่วยจัดการเปิดการคมนาคมระหว่างเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 1949

120. ปัจจุบันประเทศรัสเซียปกครองในระบอบ
(1) โซเวียต
(2) คอมมิวนิสต์
(3) สมาพันธรัฐเอกราชประชาธิปไตย
(4) เผด็จการทหาร
ตอบ 3 หน้า 563 – 564, (คําบรรยาย) ในช่วงปี ค.ศ. 1922 – 1991 สหภาพโซเวียตได้ตกอยู่ภายใต้ การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จึงได้เปลี่ยนมาใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี หรือระบอบสมาพันธรัฐเอกราช ประชาธิปไตย และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สหพันธรัฐรัสเซีย” (Russian Federation) จนถึงปัจจุบัน

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก s/2563

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.พีระมิด สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
(1) สถานที่เก็บรักษาพระศพของฟาโรห์
(2) สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บูชาเทพเจ้า
(3) พระราชวังที่ประทับของฟาโรห์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 19 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนําความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทําให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของฟาโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ

2.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของสมาคมการค้าในช่วงปลายยุคกลาง
(1) ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนงานให้ดียิ่งขึ้น
(2) ช่วยดูแลครอบครัวของสมาชิกผู้เสียชีวิตจากการทํางาน
(3) กําหนดราคาและคอยดูแลคุณภาพของสินค้า
(4) กําหนดชั่วโมงการทํางานและค่าแรงของคนงาน
ตอบ 1 หน้า 289 – 290, (คําบรรยาย) บทบาทสมาคมการค้าในช่วงปลายยุคกลาง ได้แก่
1. กําหนดชั่วโมงการทํางานและค่าแรงของคนงาน
2. กําหนดราคาที่แน่นอน และควบคุมดูแลคุณภาพและปริมาณของสินค้า
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ภรรยาและบุตรของสมาชิกผู้เสียชีวิตจากการทํางาน
4. จัดให้คนงานได้รับความบันเทิงในวันหยุด เป็นต้น

3. สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย มีความสําคัญอย่างไร
(1) ยอมรับอธิปไตยของราชวงศ์บูร์บองเหนือดินแดนเยอรมัน
(2) ประชาชนไม่ต้องนับถือศาสนาตามผู้ปกครองอีกต่อไป
(3) ยอมรับอํานาจของออสเตรียเหนือดินแดนเยอรมัน
(4) ยอมรับอํานาจอธิปไตยของแต่ละรัฐ
ตอบ 4 หน้า 391, 408, (คําบรรยาย) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 เป็น สัญญายุติสงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) ซึ่งเป็นกึ่งสงครามกลางเมืองเยอรมนีและ สงครามแข่งขันระหว่างตระกูลบูร์บองกับตระกูลแฮปสเบิร์ก ซึ่งนอกจากจะมีผลทําให้การรวม เยอรมนีช้าไปเป็นเวลา 200 ปีแล้ว สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลียยังทําให้มีการยอมรับอํานาจอธิปไตย ของแต่ละรัฐหรือประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์และสวิตเซอร์แลนด์ได้เป็นเอกราช เจ้านครเยอรมัน มีอิสระในรัฐของตนเต็มที่ เป็นต้น

4.ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน
(1) มีชีวิตแบบสังคมชนบท ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
(2) ไม่ใช้กฎหมายเป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินแบบไม่ยุติธรรม
(3) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(4) เกิดการต่อสู้และสงครามระหว่างกลุ่มอนารยชนตลอดเวลา
ตอบ 3 หน้า 214 – 215, 61 (H), (คําบรรยาย) การปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน มีลักษณะที่สําคัญดังนี้
1. แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากกว่าที่จะรวมกันเป็นปึกแผ่น
2. พวกอนารยชนไม่สร้างเมืองเหมือนพวกกรีก-โรมัน มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. พวกอนารยชนมักทําสงครามระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีเวลาพอที่จะทํานุบํารุง ศิลปวัฒนธรรม ทําให้อารยธรรมกรีก-โรมันเสื่อมลง
4. พวกอนารยชนไม่ใช้กฎหมายที่เป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินเป็นแบบ ไม่ยุติธรรม โดยจะขึ้นอยู่กับการใช้อํานาจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวกําหนด เป็นต้น

5. ข้อใดจัดเป็นหลักฐานดั้งเดิม Primary Record
(1) บทความ
(2) จารึก
(3) วารสาร
(4) หนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 21, 12 (H), (คําบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Record) เป็น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สําคัญ ที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิม (Primary Record) เช่น จารึกโบราณ หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ
2. หลักฐานรอง (Secondary Record) ได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม เช่น บทความ วารสาร หนังสือพิมพ์ ตําราอารยธรรมตะวันตก ฯลฯ

6. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) พระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อ และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น
(2) ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้
(3) แนวคิดมนุษยนิยมที่ส่งเสริมให้มนุษย์ใส่ใจกับโลกปัจจุบันมากกว่าโลกหน้า
(4) การค้นพบ “โลกใหม่” อย่างทวีปอเมริกา ทําให้เกิดการตั้งคําถามต่อสิ่งที่เขียนไว้ในไบเบิล
ตอบ 4 หน้า 377, 97 (H), (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา ได้แก่
1. สันตะปาปาหรือพระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือย และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นสําหรับนําไปใช้จ่ายในสํานักวาติกัน
2. ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้ของศาสนา
3. มีการวิพากษ์วิจารณ์การฉ้อฉลและความประพฤติไม่ดีของพระ
4. นักมนุษยนิยมเผยแพร่แนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรใส่ใจกับโลกปัจจุบันมากกว่าโลกหน้า (ชีวิตหลังความตาย) เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นต้น

7. บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) คือข้อใด
(1) Neanderthal
(2) East African Man
(3) Homo Faber
(4) Homo Sapiens
ตอบ 4 หน้า 11 – 12, 38, 10 (H) โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้น ครั้งแรกในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ ปัจจุบันมากขึ้น และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) หรือคนผิวขาว
2. มนุษย์กริมัลดี (Grimaldi) หรือคนผิวดํา
3. มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade) หรือคนผิวเหลืองหรือสีน้ําตาล

8. ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในช่วงสมัยอารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย คือข้อใด
(1) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
(2) คลองสุเอซ
(3) ทะเลสาบแคสเปียน
(4) ทะเลแดง
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในสมัยอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย คือ ในน่านน้ําทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยชาวอียิปต์จะค้าขายทางเรือโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า กับกลุ่มชนในดินแดนเมโสโปเตเมีย อันได้แก่ ปาเลสไตน์ ฟินิเซีย ซีเรีย และเอเชียไมเนอร์

9. ชนกลุ่มใดที่นําระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศสเข้าสู่เกาะอังกฤษ
(1) บริตัน
(2) แซกซอน
(3) วิสิกอธ
(4) นอร์มัน
ตอบ 4 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H), (คําบรรยาย) กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 (William I) แห่งนอร์มัน ทรงนํากองทัพเข้ารุกรานอังกฤษ สามารถรบชนะพวกแองโกลแซกซอน และเข้ายึดครองอังกฤษได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1066 อีกทั้งได้นําเอาระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศส เข้าสู่เกาะอังกฤษ ซึ่งทําให้มีผลตามมาคือ
1. กษัตริย์อังกฤษทรงมี 2 สถานภาพคือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้อง มีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งจากสภาพดังกล่าวได้กลายเป็นชนวน ของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
2. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเป็นภาษาทางการในอังกฤษ
3. การนํารูปแบบแมเนอร์ (Manorial System) เข้ามาใช้ในอังกฤษ เป็นต้น

10. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
(1) สนธิสัญญาที่ร่างขึ้นหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 คือสนธิสัญญาปารีส
(2) การปฏิวัติรัสเซีย มีส่วนสําคัญทําให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่
(3) การสังหารมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรียเป็นชนวนสําคัญที่ทําให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 420, 534 – 535, 109 (H), 136 (H) ข้อความที่ถูกต้อง มีดังนี้
1. สนธิสัญญาที่ยุติสงครามเจ็ดปี (ค.ศ. 1756 – 1763) คือสนธิสัญญาปารีส
2. การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ภายใต้การนําของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นํา ได้ส่งผลให้รัสเซียจําเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1
3. การสังหารมกุฎราชกุมารแห่งอาณาจักรออสเตรียโดยนักศึกษาชาวเซิร์ป เป็นชนวนสําคัญ ที่ทําให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบีย

11. แนวคิดตลาดเสรีหรือนโยบายปล่อยโดยเสรีนั้น เป็นหลักการสําคัญของระบบเศรษฐกิจแบบใด
(1) รัฐนิยม
(2) พาณิชย์ชาตินิยม
(3) ทุนนิยม
(4) สังคมนิยม
ตอบ 3 หน้า 499 – 501, 502 อดัม สมิธ (Adam Smith) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของ เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่” ได้เสนอแนวคิดตลาดเสรีหรือนโยบายปล่อยเสรี (Laissez-Faire) คือ การที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดําเนินการค้าและธุรกิจของนายทุน ซึ่งถือเป็นหลักการสําคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทั้งนี้การเกิดขึ้นของลัทธิทุนนิยมที่นายทุน จะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น ได้ก่อให้เกิดลัทธิสังคมนิยมของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ซึ่งมีหลักการสําคัญเพื่อขจัดการเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ขูดรีด ของระบบทุนนิยม

12. การต่อสู้ระหว่างทาส – สัตว์/ทาส – ทาส เพื่อให้ได้รับความเป็นอิสระ คือข้อใด
(1) Gradiator Combat
(2) Mortal Combat
(3) Circus Maximus
(4) Amphitheater
ตอบ 1 หน้า 177 – 179, 52 (H) ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่นิยมการกีฬาและความบันเทิง ซึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่
1. การแข่งรถศึกเทียมม้าที่ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดูได้ประมาณ 150,000 คน
2. การแข่งขันกีฬากลาดิเอเตอร์ (Gradiator Combat) ที่สนามโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนซึ่งอาจเป็นนักสู้ถืออาวุธ พวกฟรีดแมน หรือทาส กับทาส หรือทาสกับสัตว์ที่ดุร้ายก็ได้ ในกรณีที่เป็นการต่อสู้ของพวกทาส หากชนะก็จะแลก กับการได้รับอิสรภาพ
3. การจัดการแสดงละครที่โรงมหรสพรูปครึ่งวงกลม (Amphitheater) ซึ่งเป็นโรงละครขนาดใหญ่ในกรุงโรม

13. นักคิดคนใดเสนอแนวคิดเรื่องการแบ่งอํานาจเป็น นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
(1) รุสโซ
(2) จอห์น ล็อค
(3) มองเตสกิเออ
(4) โวลแตร์
ตอบ 3 หน้า 447 – 448 มองเตสกิเออ (Montesquieu) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่มีแนวคิดใน ยุคประเทืองปัญญา โดยมองเตสกิเออยกตัวอย่างจากหลายรัฐบาลมาแยกวิเคราะห์ข้อดีและ ข้อบกพร่อง ซึ่งสรุปว่ายังไม่มีรัฐบาลที่ดีจริง ๆ ทั้งนี้รัฐบาลที่ดีต้องเหมาะแก่ภาวะภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และเผ่าพันธุ์ของปวงชนในแหล่งนั้น ๆ และที่สําคัญคือการแบ่งอํานาจออกเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) บริหาร (Executive) และตุลาการ (Judicial)

14. ความสําคัญของทฤษฎีโนแมดทางอารยธรรมเน้นในเรื่องใด
(1) การทําลายอารยธรรม
(2) สภาพภูมิอากาศ
(3) สภาพภูมิศาสตร์
(4) ผู้ชนะรับเอาอารยธรรมของผู้แพ้มาปรับใช้
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอาอารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับใช้ เช่น กรณีที่พวกเซไมท์เข้ายึดครอง ดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับใช้ เป็นต้น

15. ข้อใดคือลักษณะสําคัญของระบอบการปกครองในอังกฤษช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17
(1) กษัตริย์มีอํานาจล้นพ้น ไม่มีผู้ใดขวางได้
(2) แบ่งปันทรัพย์สินให้ขุนนางและและประชาชนได้อย่างเท่าเทียม
(3) ใช้หลักคาทอลิกในการปกครอง
(4) รัฐสภาสามารถคัดค้านความต้องการของกษัตริย์ได้
ตอบ 4 หน้า 411 – 417 ลักษณะสําคัญประการหนึ่งของระบอบการปกครองในอังกฤษช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 17 คือ การที่รัฐสภาสามารถคัดค้านความต้องการของกษัตริย์ได้ เช่น ในสมัย พระเจ้าชาร์ลที่ 1 รัฐสภาได้เสนอการประกาศแห่งสิทธิ (Petition of Right) ค.ศ. 1628 ซึ่งเป็น การจํากัดพระราชอํานาจของกษัตริย์ เช่น การขึ้นภาษี การสั่งให้จําคุกบุคคลใดโดยพลการ เป็นต้น หรือการที่รัฐสภาได้ดําเนินการลดอํานาจกษัตริย์โดยการบังคับให้ทรงลงพระนามใน ประกาศแห่งสิทธิ (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2

16. กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า “พ่อค้าทางบก” คือกลุ่มใด
(1) อราเมียน
(2) อัคคาเดียน
(3) แคลเดียน
(4) ฟินิเชียน
ตอบ 1 หน้า 86 – 87, 27 (H) ความสําคัญของพวกอราเมียน คือ
1. ภาษาอาเซียนเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษาที่พระเยซูและเหล่าสาวกใช้ในการสอนศาสนา
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบก” ที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก

17. สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีป
(1) ยุโรป
(2) อเมริกา
(3) เอเชียและแอฟริกา
(4) ออสเตรเลีย
ตอบ 3 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชียและ แอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือบริเวณยูเรเชีย (Eurasia) ซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะสําหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมา มนุษย์เหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

18. ปรากฏการณ์ในข้อใดที่มีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายยุคกลาง
(1) การเกิดบรรษัทร่วมทุน
(2) การเติบโตของชนชั้นกลาง
(3) การลดภาษีของศาสนจักร
(4) การมีบทบาทของชาวยิว
ตอบ 2 หน้า 285 – 286, 77 (H), (คําบรรยาย) ภายหลังสงครามครูเสดได้เกิดชนชั้นใหม่ คือ ชนชั้นกลางหรือพวก Burghers หรือพวกที่อาศัยอยู่ในเมือง (Burgs) ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เรียกตนเองว่า เสรีชน (Free Man) โดยคนกลุ่มนี้จะดําเนินชีวิตและประกอบอาชีพอิสระ คือ ทําการค้าและอุตสาหกรรม มีการใช้เงินตราแลกเปลี่ยน และปกครองตนเอง จึงเป็น พวกที่มีความมั่งคั่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา และเปลี่ยนสังคมให้นับถือ ความมั่งคั่งจนกลายเป็นชนชั้นกลางในเวลาต่อมา ซึ่งการเติบโตของชนชั้นกลางมีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายยุคกลาง

19. ผู้ที่เรียกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ คือกลุ่มใด
(1) ฮิทไทท์
(2) ฮิบรู
(3) แคลเดียน
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 3 หน้า 82 – 84, 26 (H) ผลงานที่สําคัญของกลุ่มแคลเดียน คือ
1. การสร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลน (Hanging Garden of Babylonia)
2. การเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ
3. การหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราส และคํานวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยํา

20. เครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับกษัตริย์ในยุโรป คือข้อใด
(1) การยกกองทัพไปปราบปราม
(2) การใช้นโยบายทางการทูต
(3) การขับออกจากศาสนา
(4) การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ
ตอบ 3 หน้า 243, 250, 66 (H), (คําบรรยาย) การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นพวกนอกศาสนาหรือการขับออกจากศาสนา ทําให้ ไม่มีใครมาคบด้วยหรือถ้าเป็นกษัตริย์ก็จะถูกต่อต้านจากประชาชน ซึ่งการบัพพาชนียกรรมนี้ ถือว่าเป็นเครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับกษัตริย์ในยุโรป ตัวอย่างเช่น กรณีพิพาทระหว่างสันตะปาปาเกรเกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 เป็นต้น

21. ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือข้อใด
(1) มีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงครามและรูปสลักนูนต่ํา, มีนิสัยดุร้าย
(2) เป็นผู้ถ่ายทอดระบบการใช้ปฏิทินให้กับกรีก-โรมัน
(3) การผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรก, มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพาณิชย์
(4) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ชอบสร้างสรรค์งานศิลปะ
ตอบ 1 หน้า 80 – 82, 25 – 26 (H) ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือ
1. เป็นพวกนักรบที่มีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน และมีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงคราม
2. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ
3. สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ในสมัยพระเจ้า อัสซูร์บานิพัล
4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ชาวโรมันตะวันออก” เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน
5. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมากของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนต่ําซึ่งสะท้อนถึงลักษณะ ที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน เป็นต้น

22. ชนชาติชาวเอเชียที่เข้ามารุกรานในเขตพื้นที่ Chalon ในช่วงปี A.D. 451 คือชนชาติใด
(1) Visigoths
(2) Franks
(3) Vandals
(4) Huns
ตอบ 4 หน้า 212, 60 (H) ฮั่น (Huns) เป็นอนารยชนเผ่ามองโกลที่มาจากทวีปเอเชียที่รุกไล่พวกกอธ (Goths) เข้าไปในจักรวรรดิโรมันและได้เข้าคุกคามยุโรปตะวันตก โดยมีผู้นําคือ อัตติลา (Attila) แต่ในที่สุดก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่เมโรเวกในการรบที่เมืองชาลอง (Chalon) ในปี ค.ศ. 451 (A.D. 451) หลังจากนั้นพวกฮั่นก็หมดอํานาจไปในปี ค.ศ. 454

23. นครรัฐที่ปกครองระบอบเผด็จการทหารในดินแดนกรีก คือข้อใด
(1) ทรอย
(2) อิกทาก้า
(3) สปาร์ตา
(4) เอเธนส์
ตอบ 3 หน้า 118 – 121, 40 – 41 (H) ลักษณะสําคัญของนครรัฐสปาร์ตา คือ
1. เป็นดินแดนที่อยู่ในหุบเขา ไม่ติดชายฝั่งทะเล ทําให้ไม่มีกําแพงธรรมชาติป้องกัน เหมือนนครรัฐอื่น และทําให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
2. แสวงหาความมั่งคั่งโดยการทําสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทําให้มีทาส เชลยศึกเป็นจํานวนมาก
3. ปกครองระบอบเผด็จการทหารหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian Government)
4. ชาวสปาร์ตาเป็นผู้แบกภาระของรัฐไว้หนักที่สุด เพราะต้องเป็นทหารตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี เพื่อควบคุมพวกทาสซึ่งมีจํานวนมากกว่า เป็นต้น

24. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของชาวสุเมเรียน
(1) อักษรคูนิฟอร์ม
(2) ศาสนาโซโรแอสเตอร์
(3) วิหารซิกกูแรต
(4) การนับหน่วย 60
ตอบ 2 หน้า 69 – 71, 23 – 24 (H) อารยธรรมที่สําคัญของชาวสุเมเรียน คือ
1. การประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม โดยใช้ลิ่มหรือวัสดุ ที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนําไปตากแดดหรือเผาไฟให้แห้ง
2. การสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. การทําปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. การนับหน่วย 60 เช่น 1 ชั่วโมง มี 60 นาที, 1 นาที มี 60 วินาที เป็นต้น

25. สงครามใดที่ทําให้นครรัฐกรีกอ่อนแอลง
(1) สงครามกรุงทรอย
(2) สงครามเพลอปอนนิซุส
(3) สงครามเปอร์เซียน
(4) สงครามปูนิก
ตอบ 2 หน้า 144, 46 (H), (คําบรรยาย) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐต่าง ๆ ของกรีก ได้ทําสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพลอปอนนี้เซียน (The Peloponnesian War) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า สงครามเพลอปอนนิซุส (Peloponnesus) ทั้งนี้เนื่องจากเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพลอปอนนิซุสเป็นส่วนใหญ่ ทําให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาสิโดเนีย ยกกองทัพทหารฟาแลงซ์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีก ได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้เป็น ผลสําเร็จในปี 338 B.C.

26. การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มต้นที่ประเทศใด
(1) ฝรั่งเศส
(2) อังกฤษ
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) สเปน
ตอบ 2 หน้า 495 – 496, 562, 123 (H) การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มต้นขึ้นในอังกฤษ ในระหว่าง ปี ค.ศ. 1760 – 1830 โดยเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งเป็น อุตสาหกรรมแรกที่มีการปฏิวัติ หลังจากนั้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงได้แพร่ขยายไปใน ประเทศต่าง ๆ บนภาคพื้นยุโรปสหรัฐอเมริกา และในทวีปเอเชีย

27. การตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่ในรัฐสปาร์ตาเป็นหน้าที่ของใคร
(1) คณะเอเฟอร์
(2) กลุ่มพาริเซียน
(3) คณะตรีบูน
(4) สภาซีเนท
ตอบ 1 หน้า 119 – 120, 122, 41 (H) คณะเอเฟอร์ หรือกลุ่มผู้มีอํานาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตา มีหน้าที่สําคัญดังนี้
1. กําหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ต้องนําไปให้คณะเอเฟอร์ ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรืออ่อนแอก็จะถูกนําไปทิ้งหน้าผา เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม
2. สามารถถอดถอนหรือสั่งประหารกษัตริย์ได้
3. ควบคุมระบบการศึกษา
4. มีอํานาจเหนือกฎหมายและสภา

28. ศาสนาที่มีความเชื่อ คําสอน ว่าทุกสิ่งมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ถือว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผลในยุคโบราณคือศาสนาใด
(1) อิสลาม
(2) โซโรแอสเตอร์
(3) ยูดาย
(4) เอเดรียน
ตอบ 2 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะสําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) คือ
1. เป็นศาสนาประจําชาติของเปอร์เซีย โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
2. สอนว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ซึ่งต่อสู้เอาชนะกันตลอดเวลา โดยมีพระอนุรา มาสดา (Ahura Mazda) เป็นเทพแห่งแสงสว่างและความดี และมีอหริมัน (Aharyman) เป็นเทพแห่งความมืดและความชั่ว
3. เป็นศาสนาแห่งจริยธรรมและเหตุผล โดยเชื่อว่าตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่เคยทําไว้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่
4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น

29. มนุษย์รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารในยุคใด
(1) หินกลาง
(2) หินเก่าตอนต้น
(3) หินเก่า
(4) หินแรก
ตอบ 2 หน้า 8 – 9, 9 – 10 (H) ยุคหินเก่าตอนต้น หรือ “ยุคล่าสัตว์” (The Age of the Hunter) เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักใช้หินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์ อาศัยอยู่ในถ้ํา รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติ มาให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารให้สุก มีร่างกายยึดตรง พูดได้ และมีมันสมองใหญ่ มนุษย์ในสมัยนี้ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในแอฟริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ East African Man

30. ข้อใดเป็นปัจจัยสําคัญในความเสื่อมอํานาจของนโปเลียน
(1) ความไม่พอใจของประชาชนชาวฝรั่งเศสและการจลาจลในประเทศ
(2) การเอาใจออกห่างของขุนนาง
(3) ความพ่ายแพ้ในรัสเซีย และการจลาจลในหลายประเทศของยุโรป
(4) ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
ตอบ 3 หน้า 470, 117 (H) ปัจจัยสําคัญในความเสื่อมอํานาจของนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส คือ การทํา สงครามกับรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 เนื่องจากรัสเซียยกเลิกการเข้าร่วมการปิดล้อมอังกฤษทาง เศรษฐกิจ นโปเลียนจึงเกณฑ์ทหารทั้งหมดประมาณ 6 แสนคนบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อ รัสเซีย จนต้องถอยทัพกลับมาเหลือทหารเพียง 2 หมื่นคน เมื่อเสด็จถึงปารีสก็ต้องเผชิญการ จลาจลในหลายประเทศของยุโรปที่เข้าร่วมกับรัสเซียเพื่อการปลดปล่อย โดยการทําสงคราม กับรัสเซียในครั้งนี้ทําให้นโปเลียนหมดอํานาจจนต้องสละบัลลังก์ไปในปี ค.ศ. 1814 และถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา

31. สงครามครูเสด เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างศาสนาใด
(1) คริสต์ – ยูดาย
(2) ยูดาย – อิสลาม
(3) คาทอลิก – โปรเตสแตนต์
(4) คริสต์ – อิสลาม
ตอบ 4 หน้า 280, 284, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ ที่มีรัฐและฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมสงครามมากมาย ซึ่งกินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียน กับพวกมุสลิมหรือมอสเค็ม เพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงคราม พวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมอสเล็มได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลว ที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จาก พวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก

32. กฎบัตร แมกนา คาร์ตา ของอังกฤษ ในปี 1215 มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) จํากัดอํานาจของกษัตริย์
(2) ให้เสรีภาพทางการค้า
(3) ส่งเสริมอํานาจทางศาสนา
(4) เพิ่มความแข็งแกร่งด้านการทหาร
ตอบ 1หน้า 275, 75 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าจอห์น หรือ “กษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน” (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) หรือ “The Great Charter” ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของอังกฤษ โดยมีหลักการที่สําคัญคือ กําหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังจํากัดอํานาจของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทําด้วยความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

33.อนารยชนชาว Franks ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรของอนารยชนทั่วยุโรปเป็นอาณาจักรใหญ่ มีการปกครองในระบอบกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ใดเป็นราชวงศ์แรก
(1) Capetien
(2) Carolingian
(3) Merovingian
(4) Tudor
ตอบ 3 หน้า 215 – 217, 61 – 62 (H), (คําบรรยาย) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชนที่ สามารถรวบรวมดินแดนยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง ภายหลังจากการล่มสลาย ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นภายใต้การนําของ 2 ราชวงศ์ คือ
1. อาณาจักรเมโรแวงเจียน (Merovingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ กษัตริย์โคลวิส (Cotvis) ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์เมโรแวงเจียนขึ้นเป็นราชวงศ์แรกในปี ค.ศ. 481
2. อาณาจักรคาโรแลงเจียน (Carolingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ เปแปงที่ 3 (Pepin III) ซึ่ง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์คาโรแลงเจียนในปี ค.ศ. 751

34. อารยธรรมเฮลเลนิสติก เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) หลังสงครามคาบสมุทรเพลอปอนนิซุส
(2) หลังสงครามเมืองทรอย
(3) สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(4) สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ตอบ 3 หน้า 146, 38 (H), 47 (H) อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยเฮลเลนิก (Hellenic) เป็นอารยธรรมกรีกแท้ หรือสมัยก่อนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเริ่มตั้งแต่สมัยการอพยพของพวกอินโด-ยุโรป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกรีก
2. สมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) เป็นอารยธรรมผสมระหว่างอารยธรรมกรีกเฮลเลนิก (ตะวันตก) กับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก) ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

35. นักคิดในข้อใดมองว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติแต่กําเนิด หากรัฐละเมิดสิ่งเหล่านี้ มนุษย์มีสิทธิล้มล้างรัฐบาลนั้นได้
(1) มองเตสกิเออ
(2) โทมัส ฮอบส์
(3) จอห์น ล็อค
(4) โวลแตร์
ตอบ 3 หน้า 441, 454, 112 (H), (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค (John Locke) ได้เสนอ “แนวคิดสิทธิ ตามธรรมชาติ” โดยมองว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติแต่กําเนิด รัฐบาลจะต้องไม่กดขี่ สิทธิธรรมชาติของประชาชนและต้องมีสัญญาต่อกัน โดยประชาชนยอมสละสิทธิบางประการ แก่รัฐบาลเพื่อสะดวกต่อการปกครอง หากรัฐบาลปฏิบัติการใดที่ประชาชนไม่พอใจหรือละเมิด สิ่งเหล่านี้ ประชาชนก็มีสิทธิล้มล้างรัฐบาลนั้นได้

36. “A Very Wealthy Person” หมายถึงใคร
(1) K. ดาริอุสมหาราช
(2) K. อัสซูร์บานิพัล
(3) K. ครีซัส
(4) K. ซากอน
ตอบ 3 หน้า 92, 30 (H) กษัตริย์ครีซัส (Croesus) แห่งอาณาจักรลีเดีย มีผลงานที่สําคัญดังนี้
1. เป็นกษัตริย์ที่มั่งคั่งจากการค้า โดยคําว่า Croesus แปลว่า “A Very Wealthy Person
2. การทําเหรียญทองผสมเงินขึ้นไว้ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนตามน้ําหนักของเหรียญซึ่งถือว่าเป็นมรดกแก่โลกปัจจุบันที่สําคัญ

37. นักคิดในข้อใดที่ถูกประณามจากศาสนจักร และถูกบังคับให้สารภาพว่าแนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางนั้นเป็นความคิดที่ผิด
(1) นิวตัน
(2) โคเปอร์นิคัส
(3) กาลิเลโอ
(4) เคปเลอร์
ตอบ 3 หน้า 437, 111 (H), (คําบรรยาย) กาลิเลโอ (Galileo) ชาวอิตาเลียน ซึ่งเป็นทั้งนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ ได้พิสูจน์การหมุนของดวงอาทิตย์ ทําให้ความเชื่อเรื่อง ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลหนักแน่นยิ่งกว่าทฤษฎีโลกคือศูนย์กลางของจักรวาล แต่กลับถูกประณามจากศาสนจักร ซึ่งในปี ค.ศ. 1632 เขาถูกจับขึ้นศาลศาสนา และถูกบังคับ ให้สารภาพว่าแนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางนั้นเป็นความคิดที่ผิด

38. ระบบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่างอนารยชนและโรมัน คือ
(1) เทวสิทธิกษัตริย์
(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ศักดินาสวามิภักดิ์
(4) ประชาธิปไตย
ตอบ 3 หน้า 17, 222 – 223, (คําบรรยาย) ในช่วงยุคกลางของยุโรป (ค.ศ. 500 – 1500) นั้น สภาพบ้านเมืองของยุโรปเสื่อมโทรม กษัตริย์ไม่มีความสามารถ มีพวกอนารยชนเยอรมันเข้า มารุกรานอยู่ตลอดเวลา และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ส่งผลให้ประชาชนได้รับความยากลําบากมาก จนต้องหันไปขอความคุ้มครองจากพวกขุนนางแทน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้เกิดระบอบการเมืองใหม่ ที่เรียกว่า “ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์” หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) ขึ้น ซึ่งเป็นระบอบ การปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่างประเพณีเดิมของทั้งโรมันและอนารยชนเยอรมัน

39. พระนักรบสํานักใดเกิดขึ้นระหว่างสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวาย
อารักขาสันตะปาปา
(1) สํานักเทมปลาร์
(2) สํานักฮอสปิแตร์เลอร์
(3) สํานักเจซูอิท
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 243, 68 (H) สํานักสงฆ์นิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในระหว่างสงครามครูเสด คือ
1. สํานักเทมปลาร์ (Templars) เป็นทั้งพระและนักรบในสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวายอารักขาสันตะปาปา
2. สํานักฮอสปิแตร์เลอร์ (Hospitalers) เป็นพระที่ช่วยรักษาพยาบาลทหารและประชาชน ฝ่ายตนที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ

40. ข้อใดจัดเป็นอารยธรรมกรีกแท้
(1) เฮลเลนิก
(2) โทรจัน
(3) เฮลเลนิสติก
(4) ครีมัน ไมนวน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

41. จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมสมัยแรก คือข้อใด
(1) เพื่อการจัดระบบสังคมในเรื่องวันหยุดและการแบ่งงาน
(2) เพื่อต้องการทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพื่อทําการเกษตร
(3) เพื่อใช้สําหรับวัน เวลา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 14 (H), (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมในสมัยแรก คือ เพื่อต้องการทราบระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และการกําหนดระยะเวลาในแต่ละปี ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทําเกษตรกรรม เช่น ปฏิทินสุริยคติของอียิปต์ เป็นต้น

42. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายสําคัญของแนวคิดสังคมนิยม
(1) ปล่อยทุกอย่างให้ดําเนินไปตามกลไกตลาด
(2) ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบของนายทุนต่อกรรมกร
(3) โค่นล้มอํานาจทุกรูปแบบ
(4) ใช้ศาสนาเป็นเครื่องชี้นําประชาชน
ตอบ 2 หน้า 500, (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายสําคัญของลัทธิสังคมนิยม (Socialism) คือ เพื่อป้องกัน การเอารัดเอาเปรียบของนายทุนและเจ้าของที่ดิน (Landlord) ต่อกรรมกรนั่นเอง

43. ข้อใดไม่ใช่ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง
(1) Mostem Empire
(2) Roman
(3) Byzantine Empire
(4) The Holy Roman Empire
ตอบ 2 หน้า 246, 251, 255, 69 – 70 (H) ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง ได้แก่
1. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire)
2. จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
3. จักรวรรดิมอสเล็ม (Mostem Empire)

44. พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย มีบทบาทสําคัญตามข้อใด
(1) ขยายดินแดนไปจนถึงบริเวณไซบีเรีย
(2) ปฏิรูปรัสเซียให้มีความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น
(3) ใช้นโยบายกระตุ้นทางเศรษฐกิจ
(4) ขยายดินแดนไปจนถึงฝั่งทะเลดํา
ตอบ 2 หน้า 421, 426, 109 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 หรือปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย (ค.ศ. 1682 – 1725) เป็นผู้เปิดประเทศเพื่อรับอารยธรรมจากยุโรปตะวันตก พระองค์ทรง ประสบความสําเร็จในการขยายอํานาจสู่บอลติก และทรงปฏิรูปรัสเซียให้มีความเป็นสมัยใหม่ มากขึ้น เช่น การออกกฎหมายให้ชาวรัสเซียแต่งกายแบบยุโรป ให้โกนหนวดเครา และสวมเสื้อ แขนสั้นแบบยุโรป ตั้งโรงพิมพ์ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

45.ข้อใดคือผลของสงครามระหว่าง Pope Alexander III + สมาคมลอมบาร์ด
(1) เกิดนครรัฐสันตะปาปา
(2) Germany สามารถรวมประเทศได้
(3) เกิดสัญญา Treaty of Verdun
(4) Italy แยกออกจาก Germany
ตอบ 4 หน้า 260 – 261, 71 – 72 (H) จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา (Frederick Barbarossa) ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ มีสาเหตุมาจากการที่จักรพรรดิทรงเน้นว่าอาณาจักรต้อง เป็นฝ่ายปกครองศาสนจักร ทําให้สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Pope Alexander III) ไม่พอใจ จักรพรรดิ จึงร่วมกับกลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดต่อต้านจักรพรรดิ รวมไปถึง ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ ซึ่งผลปรากฏว่า จักรพรรดิเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงมีการทําสนธิสัญญาสันติภาพของสตังซ์ (Peace of Constance) ในปี ค.ศ. 1183 โดยมีผลตามมาคือ
1. แคว้นลอมบาร์ดีเป็นอิสระและได้ปกครองตนเอง
2. สิ้นสุดการรวมกันระหว่างอิตาลี (Italy) และเยอรมนี (Germany) ลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งทําให้ อิตาลีแยกออกจากเยอรมนี
3. ดินแดนเยอรมนีแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

46. นักเดินเรือในข้อใดเป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปยังอินเดียได้
(1) แมเจลแลน
(2) วาสโก ดา กามา
(3) ไดแอซ
(4) โคลัมบัส ตอบ 2 หน้า 336, 351, 90 (H), (คําบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสภายใต้การนํา ของเจ้าชายเฮนรี (Henry) กษัตริย์นักเดินเรือ เป็นผู้เริ่มการสํารวจทางเรือเป็นชาติแรก โดยมีนักเดินเรือที่สําคัญ คือ
1. ไดแอซ (Diaz) เดินทางไปถึงปลายสุดของทวีปแอฟริกา (แหลมกู๊ดโฮป) ในปี ค.ศ. 1487
2. วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) เป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป ไปถึงอินเดียได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1498
3. คาบรัล (Cabral) เดินทางไปถึงบราซิลในปี ค.ศ. 1500

47.1000 B.C. ผู้ที่ปรับปรุงอักษรพยัญชนะ 22 ตัว และถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน คือกลุ่มใด
(1) ฮิทไทท์
(2) แคลเดียน
(3) ฟินิเชียน
(4) ฮิบรู
ตอบ 3 หน้า 84 – 85, 27 (H), (คําบรรยาย) ชาวฟินิเซียน (Phoenicians) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางทะเล” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 11 B.C. หรือประมาณปี 1000 B.C. นอกจากนี้ ชาวฟินิเซียนยังได้ชื่อว่าเป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุงโดยเลียนแบบการปกครองมาจากอียิปต์และบาบิโลเนียผ่านทางการค้าขาย รวมทั้งรับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ และ ตัวอักษรคูนิฟอร์มของสุเมเรียนมาดัดแปลงเป็นของตน เพื่อใช้จดบันทึกทางการค้า โดยปรับปรุง อักษรพยัญชนะ 22 ตัว ซึ่งตัวอักษรดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน

48. การค้นพบถ่านหินที่ใดแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิต
(1) เกาะมาดากัสก้า
(2) เกาะอังกฤษ
(3) หมู่เกาะสปิตเบอร์เกน
(4) เกาะกาลาปากอส
ตอบ 3 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะสปิตเบอร์เกน (Spitbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณ ที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ําแข็งนั้น อันเป็นประจักษ์พยานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

49. พื้นที่ใดภายหลังพัฒนาเป็นนครรัฐสันตะปาปา
(1) Papal States
(2) Byzantium
(3) Constantinople
(4) Latium
ตอบ 1 หน้า 217, 62 – 63 (H) เมื่อเปแบ่งที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแบ่งก็ต้องการการสนับสนุนทาง การเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองค์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักร ทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนําไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของ เปแบ่ง (Donation of Pepin) ต่อมาดินแดนแห่งนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีอํานาจทางการเมืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1870

50. ชนชาติใดที่มีส่วนสําคัญในการทําให้จักรวรรดิโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) ล่มสลายลงในปี 1453
(1) อาหรับ
(2) มองโกล
(3) ออตโตมัน เติร์ก
(4) ฮาน
ตอบ 3 หน้า 255, 54 (H), 70 (H) จักรวรรดิโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1453 เพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก (Ottoman Turks) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลหลังจากนั้นอารยธรรมไบแซนไทน์จึงถูกถ่ายทอดให้แก่รัสเซียทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ปฏิทิน ตัวอักษร และนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย เรียกว่านิกาย Russian Orthodox

51. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน คือข้อใด
(1) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(2) กฎหมายฮัมมูราบี
(3) กฎหมายจัสติเนียน
(4) กฎหมายโซลอน
ตอบ 1 หน้า 161, 49 (H), (คําบรรยาย) ในปี 450 B.C. ได้มีการประกาศใช้ “กฎหมายสิบสองโต๊ะ ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนําไปติดที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรได้ทราบโดยทั่วไป

52. ข้อใดคือผลลัพธ์ของสงครามกลางเมืองในอังกฤษช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 (1642 – 1649)
(1) สถาปนาระบอบกษัตริย์ได้รัฐธรรมนูญ
(2) กษัตริย์ถูกประหารชีวิตและอังกฤษกลายเป็นสาธารณรัฐ
(3) อังกฤษรบชนะสเปนและกลายเป็นเจ้าทะเล
(4) อังกฤษได้กษัตริย์ที่มาจากการเลือกของประชาชน
ตอบ 2 หน้า 411 – 413, 107 (H) ในช่วงปี ค.ศ. 1642 – 1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอังกฤษ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ซึ่งปกครองในระบอบเทวสิทธิ์กับรัฐสภา อังกฤษซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงิน เพื่อไปปราบปรามการก่อกบฏของพวกสกอต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และ พระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครอง ในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษ และเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

53. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของลัทธิพาณิชย์นิยม
(1) ให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาดโดยที่รัฐไม่แทรกแซง
(2) ซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด ส่งออกสินค้าให้มากที่สุด
(3) ผลิตสินค้าเพื่อยังชีพเป็นหลัก
(4) ระบบการค้าอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนส่วนใหญ่
ตอบ 2 หน้า 339 – 340, 88 (H), (คําบรรยาย) ระบบเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลตั้งแต่ปลาย ศตวรรษที่ 15 – 16 ในยุโรปตะวันตก เรียกว่า “ลัทธิพาณิชย์นิยม” (Mercantilism) ซึ่งหมายถึง การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นการผสมกลมกลืนระหว่างลัทธิชาตินิยมกับลัทธินายทุนใหม่ พวกนายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล โดยลัทธินี้มีแนวคิดพื้นฐาน ที่ว่าชาติจะมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อมีการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากชาติอื่นน้อยที่สุด ดังนั้นจึงพยายามที่จะซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด แต่จะพยายามขายหรือส่งออกสินค้าให้ได้มากที่สุด

54. บุคคลในข้อใดเป็นผู้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ําจนแพร่หลายในระบบอุตสาหกรรม
(1) โรเบิร์ต โอเวน
(2) จอห์น เคย์
(3) ไอแซค นิวตัน
(4) เจมส์ วัตต์
ตอบ 4 หน้า 506, (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1769 เจมส์ วัตต์ (James Watt) เป็นผู้พัฒนาเครื่องจักร ไอน้ำของอังกฤษ โดยพัฒนามาจากงานประดิษฐ์ของโทมัส นิวโคมัน (Thomas Newcomen) ในปี ค.ศ. 1708 จนสามารถนํามาใช้และแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมได้ ทั้งนี้จากการที่อังกฤษ สามารถประดิษฐ์เครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้นั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที ทําให้อังกฤษเป็นผู้นําในการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นชาติแรกในศตวรรษที่ 18

55. ข้อใดคือแนวคิดสําคัญในยุคเรืองปัญญา
(1) เชื่อในเหตุผล
(2) เชื่อในเสรีภาพ
(3) เชื่อในวิทยาศาสตร์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 442 – 443, 110 (H), (คําบรรยาย) แนวคิดสําคัญใน “ยุคเรืองปัญญา” หรือยุค ประเทืองปัญญา (The Enlightenment) ในระหว่างปี ค.ศ. 1687 – 1789 มีดังนี้
1. เชื่อในวิทยาศาสตร์ โดยวิทยาศาสตร์เริ่มมีความสําคัญเข้ามาแทนที่วิชาเทววิทยาในการ อธิบายเรื่องของจักรภพ
2. เชื่อในเหตุผล โดยเน้นความสําคัญของเหตุผลของมนุษย์เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้า
3. เชื่อในเสรีภาพ โดยการเทิดทูนสภาวะของปัจเจกชน เน้นความเป็นอิสระ และยึดมั่นใน ส่วนบุคคลทางการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

56. ราชวงศ์ใดที่มีอํานาจปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่าง ค.ศ. 962 – 1024
(1) บาวาเรียน
(2) แซกซอน
(3) แฮปสเบิร์ก
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 270 ราชวงศ์แซกซอน (Saxon Dynasty) เป็นสายตระกูลของอนารยชนเยอรมันที่เข้ายึด ครองแคว้นแซกโซนี และแคว้นต่าง ๆ ในเยอรมนีตอนใต้ พวกแซกซอนบางส่วนได้เข้าไปรุกราน เกาะอังกฤษ ส่วนพวกที่อยู่ในเยอรมนีได้ตั้งราชวงศ์แซกซอนขึ้น และได้ปกครองจักรวรรดิโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) ระหว่างปี ค.ศ. 962 – 1024

57. ข้อใดไม่ใช่วิธีที่สหรัฐอเมริกากับรัสเซียใช้ต่อสู้กันในระยะที่เกิดสงครามเย็น
(1) วิธีทางการทูต
(2) การโฆษณาชวนเชื่อ
(3) สงครามแบบเบ็ดเสร็จ
(4) สงครามตัวแทน
ตอบ 3 หน้า 559 – 561, 139 (H) สงครามเย็น (Cold War) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1945 หลังจากที่ สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ใน โซเวียต-รัสเซียในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งสงครามเย็นมีลักษณะสําคัญ ดังนี้

1. เป็นความขัดแย้ง ทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างสหรัฐอเมริกามหาอํานาจ ผู้นําฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย กับโซเวียต-รัสเซียมหาอํานาจผู้นําฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์

2. ทั้งสองประเทศจะไม่ทําสงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) ต่อกันโดยตรง แต่มักใช้วิธีการ ทําสงครามจิตวิทยาหรือสงครามตัวแทน (Proxy War)

3. แข่งกันหาพันธมิตรโดยใช้วิธี ทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อลัทธิอุดมการณ์

4. มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธและแข่งขันวิทยาการทางด้านอวกาศ

5. การยึดครองยุโรปตะวันออกโดยโซเวียตรัสเซีย

58. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยสําคัญในการทําให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส
(1) ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
(2) ความขัดแย้งกับอังกฤษ
(3) แนวคิดเสรีนิยม
(4) ความเหลื่อมล้ําของสังคมฝรั่งเศส
ตอบ 2 หน้า 455 – 461, 114 – 115 (H), (คําบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เกิดขึ้น ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งปัจจัยสําคัญในการทําให้เกิดการปฏิวัติ ได้แก่
1. ความเหลื่อมล้ำของสังคมฝรั่งเศส โดยพระและขุนนางเป็นชนชั้นที่มีอภิสิทธิ์ทางสังคมเพราะ ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนสามัญชนเป็นชนชั้นที่ต้องเสียภาษีและแบกรับภาระทางสังคมของประเทศ
2. ได้รับการเผยแพร่แนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ (เสรีนิยม) ความเสมอภาค มาจากการปฏิวัติ อเมริกาในปีค.ศ. 1776
3. ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษ
4. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา และมีปัญหาทางด้านการคลัง

59. ข้อใดคือหลักการสําคัญของคําประกาศอิสรภาพของอเมริกาหลังการปฏิวัติอเมริกา ในปี 1776
(1) ความสามัคคีและอ่อนน้อม
(3) ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข
(2) ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ
(4) ให้ประชาชนทุกคนอยู่ดีกินดี
ตอบ 3 หน้า 454, 113 (H) หลังจากการปฏิวัติอเมริกาในปี ค.ศ. 1776 แล้ว ได้มีการร่างคําประกาศ อิสรภาพโดยโทมัส เจฟเฟอร์สัน โดยมีหลักการสําคัญคือ “มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ตั้งแต่เกิด” ในบรรดาสิทธิทั้งมวลก็มี “ชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข” มนุษย์ทุกคน ควรมีโอกาสเท่ากันและควรได้รับความยุติธรรมโดยเท่าเทียมกันซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ พื้นฐานแห่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย

60. ผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย “การบริหารในมือคนส่วนใหญ่” คือใคร
(1) เพริดลิส
(2) คลิสเธนีส
(3) ดราโค
(4) โซลอน
ตอบ 2 หน้า 126 – 127, 43 (H) คลิสเธนีส (Cleisthenes) เป็นผู้ที่วางรากฐานการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์เป็นคนแรก ทําให้ประชาธิปไตยมีความหมายว่า “การบริหารอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่” ซึ่งการปฏิรูปที่สําคัญ ได้แก่
1. กําจัดอิทธิพลของครอบครัวที่มีอํานาจทางการเมือง
2. จัดตั้งสภา 500 แทนสภา 400 ของโซลอน และแบ่งเอเธนส์ออกเป็น 10 เขต แต่ละเขตมีสมาชิก 50 คน
3. นําเอาระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) มาใช้ ซึ่งเป็นการเนรเทศบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาออกจากนครเอเธนส์

61. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับ Magna Carta : The Great Charter
(1) John the Lackland
(2) Charles Martet, The Hammer
(3) กษัตริย์ประเทืองปัญญา
(4) อาณาจักรแฟรงค์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 32. ประกอบ

62. กลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีก่อนการบุกรุกของชาวเยอรมัน คือกลุ่มใด
(1) Etruscan
(2) Greek
(3) Plebeian
(4) Latin
ตอบ 4 หน้า 158 – 159, 48 (H) บรรพบุรุษของชาวโรมันคือ พวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณปี 2000 – 1000 B.C. ก่อนการรุกรานของอนารยชนเยอรมัน โดยหนึ่งในบรรดาพวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ํา ไทเบอร์ (Tiber) และได้สร้างกรุงโรมขึ้นบนฝั่งแม่น้ํานี้เมื่อปี 753 B.C. ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “ที่ราบละติอุม” (Plain of Latium) และทําให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน”

63. ข้อใดไม่ใช่ผลจากแม่น้ำไนล์
(1) การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า
(2) การสังเกตน้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อทําปฏิทิน
(3) การประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
(4) เกษตรกรรมปลูกข้าว
ตอบ 3 หน้า 46 – 47, 53 – 54, 17 – 18 (H) ความสําคัญของแม่น้ําไนล์ที่มีผลต่อการสร้าง อารยธรรมของอียิปต์ มีดังนี้
1. ทําให้อียิปต์เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์
2. การสังเกตน้ำขึ้น-น้ำลงของแม่น้ำไนล์เพื่อทําการชลประทาน และนําไปสู่การประดิษฐ์ปฏิทิน แบบสุริยคติ
3. การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า เพราะเชื่อว่าการที่แม่น้ําไนล์อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นการกระทําของเทพเจ้า
4. การขึ้นลงของแม่น้ําไนล์เกิดขึ้นจากอิทธิพลของฟาโรห์ นั่นคือ เมื่อฟาโรห์ยังทรงมีพระชนม์อยู่ จะมีฐานะเป็นเทพโฮรัส (Horus) โอรสของเทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ําไนล์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอซิริสอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับการ แบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง เป็นต้น

64. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) อักษร Cuneiform มีลักษณะเป็นรูปลิ่ม กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว
(2) Book of the Death คือหนังสือตัดสินความดีหลังจากเสียชีวิตของชาวอียิปต์
(3) การประดิษฐ์ Papyrus ทําจากต้นกก ต้นอ้อ ริมแม่น้ำไนล์
(4) ชาวเมโสโปเตเมียรับวิธีการสร้างปฏิทินจากอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 36, 69 – 70, 23 – 24 (H) ปฏิทินของชาวสุเมเรียน (Sumerians) ในดินแดน เมโสโปเตเมียเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 354 วัน ในขณะที่ปฏิทินแบบสุริยคติของชาวอียิปต์เกิดขึ้นจาก การสังเกตระยะเวลาการขึ้นลงของแม่น้ําไนล์ โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 3654 วัน

65. กระบวนการในข้อใดที่ทําให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองในยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่
(1) ความพยายามรวบอํานาจเข้าสู่ศูนย์กลางของกษัตริย์ในหลายรัฐ
(2) การติดต่อสัมพันธ์กับจีน
(3) ความเสื่อมของระบอบฟิวดัล
(4) การคัดค้านอํานาจของสันตะปาปาและศาสนจักร
ตอบ 3 หน้า 332, 86 (H) พัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐ (National States) ของ ยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของระบอบฟิวดัลและความสํานึกในความเป็นชาติ

66. สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาฉบับใด
(1) สนธิสัญญาแห่งเมืองนังต์
(2) สนธิสัญญาพิเรนิส
(3) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย
(4) สนธิสัญญาอ๊อกซเบิร์ก
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

67. เครื่องมือของคริสตจักรต่อสังคมในข้อใด มีการกําหนดวันเวลายุติการทําสงคราม ตั้งแต่คืนวันพุธถึงเช้าวันจันทร์
(1) Truce of God
(2) Excommunication
(3) Interdict
(4) Peace of God
ตอบ 1 หน้า 231 – 232, 65 – 66 (H) ในยุคกลางมักมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางอยู่บ่อยครั้ง สันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการชั่วคราวใน 2 กรณี คือ
1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า หรือ “Peace of God” คือ ให้การพิทักษ์รักษาแก่บุคคล และสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น โบสถ์ วิหาร สํานักชี และคนของวัด
2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า หรือ “Truce of God” คือ ห้ามทําการรบตั้งแต่ พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธ ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์

68. ข้อใดเป็นลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย
(1) มีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร
(2) มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
(3) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบสุริยคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 65 – 69, 73, 23 – 24 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย มีดังนี้
1. เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีส แต่มักเกิดน้ำท่วมรุนแรง
2. เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่เปิดเผย ไม่มีปราการทางธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากศัตรู
3. มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่รวมกัน
4. มีชาวสุเมเรียนเป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
5. เป็นแหล่งกําเนิดกฎหมายฉบับแรกของโลก คือประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ของพระเจ้าฮัมมูราบี เป็นต้น

69. บทบาทสําคัญของ โจน ออฟ อาร์ค ในช่วงสงคราม 100 ปี คือข้อใด
(1) เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง
(2) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองบริเวณนอร์มังดี
(3) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองเกาะอังกฤษ
(4) เอาชนะอังกฤษได้ที่ก็เยนและยึดดินแดนคืนได้
ตอบ 1 หน้า 298 – 299, 79 (H) ในช่วงสงคราม 100 ปี ได้เกิดวีรสตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ขึ้น โดยเป็นสตรีที่เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูก อังกฤษจับไปเผาในฐานะเป็นพวกนอกรีต (แม่มด) ซึ่งการตายของโจนได้ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส เกิดความรู้สึกชาตินิยมหันกลับมาปรองดองกัน จนสามารถเอาชนะฝ่ายอังกฤษได้ที่ปารีสในปี ค.ศ. 1436 และยึดดินแดนคืนได้ตามลําดับคือ รูอัง นอร์มังดี และก็เยน

70. เหตุใดชาวอียิปต์จึงเป็นคนมองโลกในแง่ดี
(1) มีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย
(2) การดํารงชีวิตอุดมสมบูรณ์
(3) ไม่มีการสู้รบและการทําสงคราม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, 68, 23 (H) ชาวอียิปต์ได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ ทําให้มีการดํารงชีวิตที่สุขสมบูรณ์ ประกอบกับมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ ชีวิตหลัง ความตาย และโลกหน้า ทําให้ชาวอียิปต์เป็น “พวกที่มองโลกในแง่ดี” และหวังจะกลับมาเกิดใหม่ ในโลกหน้า จึงมีการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทํามัมมี่ และมีการสร้างสุสานไว้เก็บศพ นอกจากนี้ดินแดนอียิปต์ยังมีทะเลทรายเป็นปราการทางธรรมชาติที่จะช่วยสกัดกั้นการรุกราน จากศัตรูภายนอก ทําให้ไม่มีการสู้รบและการทําสงคราม

71. สํานักสงฆ์ของนิกายเบเนดิกไตน์ มีบทบาทสําคัญในยุคกลางตรงตามข้อใด
(1) แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจนและคนเจ็บ
(2) ส่งเสริมการค้นคว้าวิทยาการใหม่ ๆ
(3) มุ่งวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตที่หรูหราของสันตะปาปาและพระชั้นสูง
(4) มีส่วนร่วมสําคัญในสงครามครูเสด
ตอบ 1 หน้า 242, 68 (H) สํานักเบเนดิกไตน์ (Benedictines) เป็นคณะสงฆ์ที่ตัดขาดทางโลก โดยมี ผู้นําคือ เซนต์เบเนดิก (St. Benedict) เป็นพวกพระที่เรียกว่า “monk” ซึ่งพระในสํานักสงฆ์นี้ ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในยุคกลางเป็นอย่างมาก เช่น
1. ส่งเสริมการศึกษาด้วยการจัดตั้งโรงเรียน และคัดลอกเอกสารโบราณ
2. แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจน คนเจ็บ เด็กกําพร้าและแม่หม้าย
3. พระจะไถหว่านที่ดินและเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านอื่น ๆ โดยนําเอาวิธีเพาะปลูกที่ได้ผลดี ที่สุดมาใช้ เป็นต้น

72. หลักการสําคัญของแนวคิดแบบอนาธิปไตย คือข้อใด
(1) ให้เสรีภาพในการถือครองทรัพย์สิน
(2) ต่อต้านอํานาจทุกชนิด โดยเฉพาะอํานาจรัฐ
(3) มุ่งปฏิวัติเพื่อสร้างรัฐบาลที่เป็นธรรม
(4) มุ่งปฏิรูปชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ตอบ 2 หน้า 505 – 506, (คําบรรยาย) อนาธิปไตย (Anarchism) เป็นลัทธิต่อต้านระบบนายทุนที่มี แนวความคิดรุนแรงกว่าสังคมนิยมมาก เพราะสังคมนิยมจะเน้นที่การรวมกลุ่ม แต่อนาธิปไตย จะทําลายและต่อต้านอํานาจทุกชนิด โดยเฉพาะอํานาจรัฐ ทั้งในด้านความคิดเรื่องการปกครอง ระเบียบประเพณี และระบบชนชั้นเหล่านี้จะต้องไม่มีเหลืออีกในโลก เนื่องจากลัทธินี้เชื่อว่า ทุกรัฐบาลล้วนกดขี่ โดยนักคิดคนสําคัญของลัทธินี้ ได้แก่ วิลเลียม กอดวิน, ปิแอร์ พรูดอง และไมเคิล บูกานิน

73. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการคือการฟื้นฟูอารยธรรม
(1) ยุคกลาง
(2) อียิปต์
(3) กรีก-โรมัน
(4) เมโสโปเตเมีย
ตอบ 3 หน้า 355 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) ซึ่งคําว่า “Renaissance” แปลตามศัพท์ได้ว่า “การเกิดใหม่” (Rebirth) ซึ่งก็จะหมายถึงการเกิดใหม่ ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน (Greco-Roman) ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสําคัญของมนุษย์ ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลก ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

74. ข้อใดเป็นผลงานของลีโอนาร์โด ดาวินชี
(1) Sistine Madonna
(2) The School of Athens
(3) Mona Lisa
(4) The Last Judgement
ตอบ 3 หน้า 363 – 364, 94 (H) ลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสากลมนุษย์ (Universal Man) ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยดาวินซีถือว่าเป็นผู้ที่มี ความสามารถรอบตัว โดยเป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร ทั้งนี้ ผลงานด้านจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ The Last Supper และ Mona Lisa ซึ่งนับเป็นตัวอย่างอันดีของศิลปะที่เชิดชูความสําคัญของสตรีในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

75.Dark Age (ยุคมืด) ทางอารยธรรมอยู่ในช่วงใด
(1) ยุคกลางอันรุ่งเรือง
(2) ยุคกลางตอนต้น
(3) ยุคกลางตอนกลาง
(4) ยุคกลางตอนปลาย
ตอบ 2 หน้า 205 – 206, 214, 318, 59 (H) ยุคกลางตอนต้น ถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมคลาสสิก หรืออารยธรรมกรีก-โรมัน ได้หยุดชะงัก ลงในดินแดนยุโรปตะวันตก พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ทั้งนี้เพราะถูก อนารยชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามารุกรานอยู่เสมอ ทําให้สภาพบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวาย การค้า ซบเซาเพราะถนนหนทางถูกตัดขาด มีโจรผู้ร้ายออกทําการปล้นสะดมทั่วไป บรรดาช่างฝีมือ กลายเป็นคนว่างงาน ชาวเมืองต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ชนบท ส่งผลทําให้ศิลปวิทยาการ ต่าง ๆ ไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป

76. ศิลปวิทยาของอารยธรรมใดที่ได้รับความสนใจหรือฟื้นฟูขึ้นในอิตาลีช่วงเรอเนสซองส์
(1) ยุคกลาง
(2) กรีก-โรมัน
(3) ไบแซนไทน์
(4) อียิปต์
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

77. การที่สันตะปาปาพยายามหาหนทางแต่งตั้งพระชั้นสูง และพยายามปรับปรุงระบบภาษีศาสนาให้มั่นคง
เป็นหนึ่งในกระบวนการตามข้อใด
(1) พยายามปรับปรุงความประพฤติของพระ
(2) พยายามขยายอาณาเขตพื้นที่ของรัฐสันตะปาปา
(3) พยายามปลดปล่อยศาสนจักรจากการควบคุมของอาณาจักร
(4) พยายามปรับปรุงศีลธรรมของประชาชน
ตอบ 3 หน้า 278, (คําบรรยาย) ในยุคกลางพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง มนุษย์ และพระคือตัวแทนของพระเจ้าในการชี้นํามนุษย์ ดังนั้นพระสันตะปาปาจึงควรเป็น ผู้นําของทุกสถาบันด้วยการดําเนินการคือ ปลดปล่อยศาสนจักร (วัด) จากการควบคุมของ ฝ่ายอาณาจักรโดยการเรียกร้องให้สันตะปาปาเป็นผู้แต่งตั้งพระชั้นสูง ให้สันตะปาปามีอํานาจสูงสุดในศาสนจักร และปรับปรุงระบบภาษีเพื่อให้สันตะปาปามีฐานะทางการเงินที่มั่น

78.Pharaoh ผู้ปกครองอียิปต์ปกครองภายใต้ระบอบใด
(1) อภิชนาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) อนาธิปไตย
(4) เทวาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 53, 60, 19 (H), (คําบรรยาย) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือ สมัยพีระมิดเป็นแบบเทวาธิปไตย โดยมีฟาโรห์ (Pharaoh) เป็นประมุขสูงสุด และทรงเป็นเท วกษัตริย์ที่มีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re/Ra) โดยทรง ทําหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระ เป็นผู้พิพากษาสูงสุด และเป็นผู้บังคับบัญชา การกองทัพและบัญชาการทางด้านพลเรือนด้วย

79. สงครามครูเสดครั้งใดเป็นการสู้รบระหว่างชาวคริสต์ด้วยกัน
(1) ครั้งที่ 1
(2) ครั้งที่ 3
(3) ครั้งที่ 8
(4) ครั้งที่ 4
ตอบ 4 หน้า 283, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) เป็นสงคราม ระหว่างชาวคริสต์ด้วยกันเอง โดยกองทัพครูเสดภายใต้การนําของสาธารณรัฐเวนิส และการ สนับสนุนของสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ได้เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล แทนที่จะ ยกกองทัพไปยึดกรุงเยรูซาเล็ม

80. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
(1) การแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน
(2) การคิดค้นอาวุธชนิดใหม่
(3) การได้ทองจํานวนมากจาก “โลกใหม่”
(4) การเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส
ตอบ 1 หน้า 267, 73 (H), (คําบรรยาย) ยุคแห่งการยึดอํานาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconguista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวม อาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน นั่นคือ การอภิเษกสมรสระหว่างพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล กับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 แห่งอรากอน ซึ่งได้ร่วมกันปกครองในฐานะเป็นกษัตริย์คาทอลิกทําสงครามกับพวกมัวร์ จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั่นเอง

81. อารยธรรมใดที่ได้รับการขนานนามว่า “ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์”
(1) อารยธรรมอียิปต์
(2) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(3) อารยธรรมโรมัน
(4) อารยธรรมกรีก
ตอบ 1 หน้า 46, 17 (H) เฮโรโดตัส (Herodotus) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่ได้กล่าวไว้ว่า “อียิปต์ คือของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์” (Egypt is a gift of the Niles) ทั้ง (Egypt is a gift of the Nites) ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศของอียิปต์จะล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง และมีฝนตกเฉพาะบริเวณ
เดลต้า แม่น้ําไนล์จึงเป็นหัวใจสําคัญที่หล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่อียิปต์ จนทําให้อียิปต์ เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม และมีความมั่งคั่งจนสามารถ สร้างสมอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้

82. กษัตริย์องค์ใดที่มีบทบาทสําคัญในการทําให้ปรัสเซียเป็นมหาอํานาจในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18
(1) กษัตริย์ออตโต
(2) ซาร์ปีเตอร์มหาราช
(3) กษัตริย์เฟอร์ดินานด์
(4) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช
ตอบ 4 หน้า 419 – 421, 108 – 109 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ทรงมี บทบาทสําคัญในการทําให้ปรัสเซียเป็นมหาอํานาจในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ดังนี้
1. ทรงนําเอาความรู้มาใช้ในการปรับปรุงประเทศ พยายามหาเงินเพื่อสร้างกองทัพที่ได้รับการ ฝึกฝนเป็นอย่างดีและมีอาวุธที่ทันสมัย และสร้างรัฐบาลให้เข้มแข็ง
2. ในระหว่างปี ค.ศ. 1740 – 1748 ทําสงครามกับออสเตรียเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางทหาร ในยุโรปกลาง โดยแย่งชิงดินแดนไซลีเซียจากพระราชินีมาเรีย เธเรซา
3. ในปี ค.ศ. 1772 ทรงร่วมกับพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซียและออสเตรียแบ่งแยก โปแลนด์เป็นครั้งแรก

83. เทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง คือเทพองค์ใด
(1) ไอซิส – โอซิริส
(2) อานูบิส – ซุส
(3) โอซิริส – โฮรัส
(4) ซุส – โพเซดอน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 63. ประกอบ

84. กีฬาโอลิมปิกถูกยกเลิกในสมัยใด
(1) กษัตริย์ธีโอโดซีอุส
(2) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(3) กษัตริย์จัสติเนียน
(4) จูเลียส ซีซาร์
ตอบ 1 หน้า 115, 39 (H), (คําบรรยาย) ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้ามักจะพอใจในการแสดงออกถึง ความกล้าหาญและความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแก่เทพซีอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของกรีก โดย ผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฎที่ทําด้วยก้านมะกอกหรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์ และจะเรียกระยะเวลา 4 ปี ระหว่างการแข่งขันแต่ละครั้งว่า โอลิมเปียด (Olympiad) หรือระยะเวลา 1 โอลิมเปียด กีฬาโอลิมปิกได้มีการจัดขึ้นครั้งแรกในปี 776 B.C. และถูกยกเลิกในสมัยกษัตริย์ธีโอโดซีอุส ในปี ค.ศ. 393

85. สมัยที่อียิปต์เริ่มมีการสั่งสมกองทัพและสร้างวิหาร อยู่ในสมัยใด
(1) สมัยอาณาจักรใหม่
(2) สมัยอาณาจักรเก่า
(3) สมัยขุนนาง
(4) สมัยก่อนราชวงศ์
ตอบ 1 หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1580 – 1090 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอํานาจมากที่สุด เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซส (Hyksos) ออกจากอียิปต์ได้สําเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอํานาจคืนจากพวกขุนนางและพระ
จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและ กองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้านเอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนจาก การสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอํานาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

86.Greco-Buddhist Arts ส่งผลให้กับศิลปะใด
(1) ศิลปะโรมัน
(2) ศิลปะลังกา
(3) ศิลปะอินเดีย
(4) ศิลปะเฮลเลนิสติก
ตอบ 3 หน้า 152, 47 (H), (คําบรรยาย) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก ได้ยกกองทัพขยายอํานาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุในปี 323 BC. ส่งผลให้ ชาวอินเดียในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั่นคือศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบบกรีก (Greco-Buddhist Arts) โดยจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก

87. แม้ฝ่ายคริสต์จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรปตรงกับข้อใด
(1) ได้แบ่งเมืองเยรูซาเล็มมาหนึ่งในห้าส่วน
(2) กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ
(3) ทําให้ศาสนจักรกรีกออร์ธอดอกซ์มีอํานาจมากขึ้น
(4) ทําให้เกิดการแปลงานเขียนของโรมันและกรีกมากขึ้น
ตอบ 2 หน้า 284 – 285, 77 (H), (คําบรรยาย) ฝ่ายคริสต์แม้จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรป คือ
1. เมืองและนครรัฐต่าง ๆ ที่ส่งของช่วยเหลือในสงครามมีอํานาจในการค้าขายมากขึ้น
2. มีการนําเงินและทองเข้ามาในยุโรปมากขึ้น การค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้าก็ค่อย ๆ เลิกไป และหันมาใช้เงินในการซื้อขาย
3. กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ เช่น เครื่องเทศจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น

88. นักคิดในข้อใดที่เห็นว่าการเมืองและศีลธรรมเป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนกันหรือพิจารณารวมกัน
(1) มาเคียเวลลี
(2) โบแดง
(3) โทมัส ฮอบส์
(4) ดังเต้
ตอบ 1 หน้า 334, 94 (H), (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี (Machiavelli) เห็นว่า การเมืองและศีลธรรม เป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนหรือพิจารณารวมกัน โดยผลงานสําคัญของเขาคือ The Prince ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชาธิปไตยหรือรัฐบาลที่มีอํานาจเด็ดขาด และมีความสําคัญ ในแง่ของการเมืองที่ว่า “The end always justifies the means” หรือการทําให้บรรลุ จุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยไม่คํานึงถึงศีลธรรม

89. ใครคือผู้นําคนสําคัญที่เริ่มต้นยุคที่เรียกว่า “สมัยแห่งความหวาดกลัว”
(1) นโปเลียน
(2) โรเบสปิแอร์
(3) มาราต
(4) รุสโซ
ตอบ 2 หน้า 464 – 465, 115 (H) โรเบสปิแอร์ (Robespiere) ได้ทําการยึดอํานาจในฝรั่งเศสและ ปกครองแบบเผด็จการในระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1793 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งมีการประหารศัตรูทางการเมืองไปมากมาย จนได้ชื่อว่าเป็น “สมัยแห่งความหวาดกลัว” (Reign of Terror) ทําให้สมาชิกสภาคอนเวนชั่นกลัวว่าตัวเองจะได้รับอันตรายจึงร่วมมือกัน กําจัดโรเบสปิแอร์ด้วยเครื่องกิโยตินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1794 นั่นเอง

90. “สุเอซ” มีลักษณะสําคัญอย่างไร
(1) จุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ
(2) แม่น้ำสายหลักที่ใช้ในการทําการเกษตรของอารยธรรมอียิปต์
(3) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเล
(4) ต้นกําเนิดของแม่น้ําศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้า
ตอบ 1 หน้า 47 – 48, 18 (H) บริเวณที่เป็นจุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ คือ บริเวณช่องแคบ “สุเอซ” (Suez) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า และเป็นแหล่งเชื่อมความคิด อีกทั้งยังเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์โบราณ

91. อาคารหลังใดที่ถูกประชาชนบุกเข้าทําลายในวันที่ 14 ก.ค. 1789 และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส
(1) พระราชวังลูฟวร์
(2) คุกบาสติล
(3) วิหารนอร์เทอดาร์ม
(4) พระราชวังแวร์ซายส์
ตอบ 2 หน้า 456, 114 – 116 (H), (คําบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติของพวกเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นการปฏิวัติภายใต้การนําของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการยกเลิก ระบอบอภิสิทธิ์ลงในฝรั่งเศส อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลของรัฐธรรมนูญนิยมซึ่งต้องการเลียนแบบ รัฐสภาของอังกฤษ และอิทธิพลของแนวคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) โดยฝูงชนปารีสได้บุก เข้าไปทําลายคุกบาสติลในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส และทําให้วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี กลายเป็นวันชาติของฝรั่งเศสเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

92. ข้อใดเป็นผู้มีบทบาทสําคัญต่อการเกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) ฟรานซิส เบคอน
(2) มาร์ติน ลูเธอร์
(3) กาลิเลโอ
(4) อีรัสมัส
ตอบ 2 หน้า 378 – 379, 98 (H) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่มีบทบาท สําคัญในการเริ่มการปฏิรูปศาสนา ซึ่งได้เขียนคําประท้วง 95 ข้อ ไปติดที่โบสถ์ในแคว้นแซกโซนี ทําให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนําเงินของเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นนับเป็น จุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนา และเป็นที่มาของคําว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

93. สาเหตุสําคัญของสงคราม 100 ปี ในช่วงปลายยุคกลาง คือข้อใด
(1) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งทางศาสนา
(2) กษัตริย์ฝรั่งเศสอ้างสิทธิในบัลลังก์อังกฤษ
(3) กษัตริย์อังกฤษอ้างสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศส
(4) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งด้านการค้า
ตอบ 3 หน้า 296 – 297, 79 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดสงคราม 100 ปี ระหว่างอังกฤษกับ ฝรั่งเศสในช่วงปลายยุคกลาง เนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลง โดยไม่มีรัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอมโดยอ้างกฎหมายที่เรียกว่า “Salic Law” เพื่อตัดสิทธิในราชบัลลังก์ของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดําเนินมาจนถึงปี ค.ศ. 1453

94. ในช่วงปลายยุคกลางบริเวณใดของยุโรปที่ไม่มีกษัตริย์ปกครอง และแยกเป็นนครอิสระต่าง ๆ
(1) คาบสมุทรอิตาลี
(2) โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(3) แถบสแกนดิเนเวีย
(4) คาบสมุทรไอบีเรีย
ตอบ 1 หน้า 293, 78 (H), (คําบรรยาย) ในช่วงปลายยุคกลางนั้น คาบสมุทรอิตาลีไม่มีแม้แต่ตําแหน่ง กษัตริย์ปกครองหรือเป็นสัญลักษณ์ของการรวมประเทศ จะมีเพียงแต่แคว้นต่าง ๆ ที่แยกเป็น นครอิสระปกครองกันไปตามลําพัง เช่น เวนิส มิลาน เจนัว ปิซ่า เป็นต้น

95. จุดประสงค์แรกในการเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์ คือข้อใด
(1) เพื่อใช้เป็นอาหาร
(2) เพื่อเป็นเพื่อน
(3) เพื่อใช้แรงงานทางการเกษตร
(4) เพื่อประกอบพิธีกรรม
ตอบ 1 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินกลาง (Mesolithic) ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นยุคที่เชื่อมต่อระหว่างยุคหินเก่า (ยุคเก็บผลไม้) กับยุคหินใหม่ (ยุคปลูกผลไม้) นอกจากนี้ ยังเป็นยุคที่มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทําอาชีพประมง และเริ่มรู้จัก การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนํามาเลี้ยงคือ สุนัข โดยมีจุดประสงค์แรกในการเลี้ยง ก็เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร

96. ผลงานสําคัญของ ไอแซค นิวตัน คือข้อใด
(1) เสนอกฎของแรงโน้มถ่วง
(2) จัดทําสารานุกรม
(3) ค้นพบว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่โลก
(4) ค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัส
ตอบ 1 หน้า 437 – 439, 111 (H) ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบ “กฎแรงโน้มถ่วงของโลก” หรือ “กฎการดึงดูดของโลก” โดยปรากฏอยู่ในผลงาน เรื่อง “Principia” ในปี ค.ศ. 1687 นอกจากนี้นิวตันยังอธิบายถึงการที่โลกและดาวเคราะห์ โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ที่ย้ําว่าหลักการของวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การคํานวณ และการทดลอง

97. แคว้นใดที่มีบทบาทสําคัญในการรวมชาติเยอรมัน
(1) ออสเตรีย
(2) ฮันโนเวอร์
(3) บาวาเรีย
(4) ปรัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 517 – 520, 128 – 129 (H) ออตโต ฟอน บิสมาร์ก (Otto von Bismarck) ซึ่งเป็น อัครมหาเสนาบดีแห่งปรัสเซีย ได้ประกาศใช้นโยบาย “เลือดและเหล็ก” ในการบริหารประเทศ และใช้ในการดําเนินนโยบายเพื่อรวมเยอรมนีเข้าด้วยกัน โดยในระยะแรกนั้นบิสมาร์กจะใช้ วิธีการทําสงครามถึง 3 ครั้ง คือ
1. สงครามกับเดนมาร์กในเรื่องดินแดนชเลสวิก-โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) ในปี ค.ศ. 1864
2. สงครามกับออสเตรียในปี ค.ศ. 1866
3. สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับปรัสเซีย (The Franco-Prussian War) ในระหว่างปี ค.ศ. 1870 – 1871 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เป็นผลทําให้บิสมาร์กสามารถจัดตั้ง ประเทศเยอรมนีขึ้นได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ประเทศฝรั่งเศส

98. คู่ขัดแย้งสําคัญในสังคมทุนนิยมตามแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ คือข้อใด
(1) ทหาร – ประชาชน
(2) นายทุน – กรรมกร
(3) ชนชั้นสูง – ชนชั้นกลาง
(4) ขุนนาง – นายทุน
ตอบ 2 หน้า 504, (คําบรรยาย) คาร์ล มาร์กซ์ เป็นนักคิดที่อยู่ในกลุ่มสังคมนิยมปฏิวัติ ซึ่งได้รับการ ยกย่องว่าเป็น “ศาสดาพยากรณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ” โดยเขาเห็นว่าระบบทุนนิยมตั้งอยู่บน พื้นฐานของการกดขี่และการเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งจะทําให้เกิดคู่ขัดแย้งสําคัญในสังคมทุนนิยม นั่นคือ การแบ่งแยกสังคมเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นนายทุน และชนชั้นกรรมาชีพ (กรรมกร)

99.ระบบ Feudalism เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้เช่าทรัพย์สิน คําว่า “ทรัพย์สิน”หมายถึงข้อใด
(1) แรงงาน/ทาส
(2) ทอง/โลหะมีค่า
(3) ที่ดิน
(4) ที่อยู่อาศัย
ตอบ 3 หน้า 223 – 224, 64 – 65 (H), (คําบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism/Feudal) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือ ผู้เช่าที่ดินผืนนั้น เจ้าของที่ดินคือกษัตริย์หรือขุนนาง เรียกว่า เจ้า (Lord) ส่วนผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน เรียกว่า ข้า (Vassal) โดยคําว่า Feudalism หรือ Feudal มาจากคําว่า Fiefs หรือ Feuda ซึ่งหมายถึง “ที่ดิน” นั่นเอง

100. ข้อแตกต่างสําคัญในความเชื่อทางศาสนาระหว่างไบแซนไทน์กับโรมันคาทอลิก คือข้อใด
(1) ไบแซนไทน์ปฏิเสธรูปบูชา และทําลายรูปเคารพในวัดทั้งหมด
(2) ไบแซนไทน์ไม่มีการแบ่งลําดับชั้นของพระ
(3) พระของไบแซนไทน์แต่งงานได้
(4) ไบแซนไทน์ไม่มีนักบวชประจําศาสนา
ตอบ 1 หน้า 252 – 253, (คําบรรยาย) ข้อแตกต่างสําคัญในความเชื่อทางศาสนาระหว่างไบแซนไทน์กับ โรมันคาทอลิก คือ การปฏิเสธรูปบูชา (Iconoclastic) โดยจักรพรรดิลีโอที่ 3 ทรงสั่งห้ามบูชารูป รูปปั้นในวัด เพราะเกรงว่าจะไปเหมือนลัทธิเดิม อีกทั้งยังได้โปรดให้ทําลายรูปปั้นและรูปภาพใน วัดทั้งหมด ทําให้ฝ่ายสันตะปาปาและพวกคริสเตียนในจักรวรรดิตะวันตกพากันคัดค้านอย่างรุนแรงจนทั้งสองฝ่ายต้องประกาศแยกออกจากกันเป็นนิกายอิสระในปี ค.ศ. 1054 ส่งผลให้ศาสนาทาง ตะวันออกของจักรวรรดิไบแซนไทน์เปลี่ยนเป็นแบบกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox)ขณะที่ศาสนาทางตะวันตกเป็นแบบโรมันคาทอลิก

101. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ
(1) สันตะปาปาไม่พอใจจักรพรรดิ
(2) ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ
(3) กลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดเพื่อต่อต้านจักรพรรดิ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

102. บทบาทที่สําคัญของ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส คือข้อใด
(1) ค้นพบคุณสมบัติของแสง
(2) เสนอว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่โลก
(3) ค้นพบว่าวงโคจรของดวงดาวเป็นวงรี
(4) ส่งเสริมการปฏิรูปศาสนา
ตอบ 2 หน้า 434, 110 (H) นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) นักวิทยาศาสตร์และ นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ เป็นผู้ที่เชื่อว่าศูนย์กลางของจักรวาลคือดวงอาทิตย์ โดยมีโลก เป็นบริวารดวงหนึ่ง

103. พวกเซไมท์เข้ายึดครองและรับอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาใช้ เป็นลักษณะของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีภูมิศาสตร์
(2) ทฤษฎีโนแมด
(3) ทฤษฎีศาสนา
(4) ทฤษฎีดินเสื่อม
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

104. เพราะเหตุใดศาสนจักรกับอาณาจักรในช่วงยุคกลางจึงมักขัดแย้งกันอยู่เสมอ
(1) มีความขัดแย้งในเรื่องของอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ
(2) มีความขัดแย้งเรื่องพิธีกรรมต่อพระเจ้า
(3) สันตะปาปามักจะมองว่ากษัตริย์บริหารบ้านเมืองไม่ดีพอ
(4) กษัตริย์มักจะมองว่าสันตะปาปามีความประพฤติไม่ถูกต้อง
ตอบ 1 หน้า 243, 68 (H), (คําบรรยาย) ความขัดแย้งในเรื่องการแต่งตั้งตําแหน่งทางศาสนานั้นเป็น เป็นความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาฝ่ายศาสนจักร กับกษัตริย์และพวกขุนนางฝ่ายอาณาจักร เพราะวัดมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์และพวกขุนนางซึ่งมอบที่ดินให้แก่วัด ขณะเดียวกัน วัดก็จะอยู่ภายใต้อํานาจของสันตะปาปา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ศาสนจักรหรืออาณาจักรใครควรมี อํานาจในการแต่งตั้งหัวหน้าพระ ด้วยเหตุนี้เองจึงทําให้ศาสนจักรกับอาณาจักรในช่วงยุคกลาง มีความขัดแย้งในเรื่องอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ

105. ปรัชญามนุษยนิยม “Man is the measure of all things” เป็นแนวคิดของใคร
(1) Socrates
(2) Plato
(3) Sophists
(4) Aristotle
ตอบ 3 หน้า 137, 140, 45 (H), (คําบรรยาย) ปรัชญากรีกจัดเป็นปรัชญามนุษยนิยม ดังที่โปรตากอรัส (Protagoras) นักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ (Sophists) ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์คือเครื่องวัดทุกสิ่ง” (Man is the measure of all things) ซึ่งเท่ากับเป็นการสรุปทัศนคติทั้งหมดของชาวกรีก หรืออาจกล่าวได้ว่ากรีกเป็นนักมนุษยธรรมนิยม (Humanistic)

106. ในยุคหินใหม่ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาถึงขั้นใด
(1) เริ่มรู้จักการเพาะปลูก
(2) เริ่มรู้จักการล่าสัตว์
(3) เริ่มรู้จักการใช้ไฟ
(4) เริ่มตั้งรกรากและสร้างอารยธรรม
ตอบ 4 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินใหม่ (Neolithic/New Stone Age) เป็นยุคที่มนุษย์ รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก รวมทั้งเป็นยุคของการสร้างสมอารยธรรมในระยะแรก ๆ ของโลก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อนเป็นชุมชนรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็น ครั้งแรก มีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งงานกันทํา และเริ่มดํารงชีวิตแบบสังคมเมือง (Urban Life) ซึ่งถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์

107. ข้อใดเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดที่ทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกช่วงต้นสมัยใหม่
(1) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่
(2) การติดต่อกับโลกอาหรับ
(3) การเปิดเส้นทางการค้าใหม่ ๆ
(4) การถกเถียงในศาสนจักร
ตอบ 1 หน้า 359, 372, 3 (H), 96 (H) โจฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทองชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องในการประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1445 ซึ่งการพิมพ์นี้มีผลต่อการปฏิวัติอารยธรรมยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก เพราะทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกต้นสมัยใหม่ ทําให้หนังสือหาอ่านได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศาสนา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนําไปสู่การปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา

108. มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยาที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบ ยุคใด
(1) Mesozoic
(2) Pleistocene
(3) Cenozoic
(4) Archeozoic
ตอบ 2 หน้า 2, 8 (H), (คําบรรยาย) ยุคน้ําแข็ง (Pleistocene) เป็นยุคที่ธารน้ําแข็งปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งเริ่มประมาณ 1 ล้านปีมาแล้ว โดยพบว่ามนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยา ที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบในยุคดังกล่าวนี้ ระยะสุดท้ายคือ ระยะนานที่สุด ประมาณ 150,000 ปี หรืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว

109. ข้อใดเป็นผลสําคัญของการปฏิรูปศาสนา
(1) การเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีของศาสนจักร
(2) การเกิดขึ้นของนิกายฟรานซิสกัน
(3) คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
(4) การสิ้นสุดของคาทอลิกในฐานะศาสนาสากลเพียงหนึ่งเดียวของยุโรป
ตอบ 4 หน้า 383, 386, 101 (H) ผลของการปฏิรูปศาสนาที่สําคัญประการหนึ่ง คือ เป็นการสิ้นสุด ของสภาพศาสนาสากล กล่าวคือ คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิกไม่ใช่นิกายเพียงหนึ่งเดียวของ ยุโรปตะวันตกอีกต่อไป ทั้งนี้เพราะประชาชนสามารถเปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่มี หลายนิกาย เช่น นิกายลูเธอรันนิสม์ (Lutheranism), นิกายศาลแวงในฝรั่งเศส (Calvinism/ Huguenots), นิกายเพรสไบทีเรียนในสกอตแลนด์ (Presbyterian), นิกายแองกลิคันหรือ นิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England) เป็นต้น

110. ข้อใดคือลักษณะสําคัญของศิลปะในสมัยเรอเนสซองส์
(1) เขียนภาพในแนวนามธรรมที่เน้นรูปทรง เส้น สี มากกว่าความสมจริง
(2) มักจะเขียนเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู
(3) เลียนแบบลักษณะการเขียนภาพในยุคกลาง
(4) มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective และสมจริงมากขึ้น
ตอบ 4 หน้า 356 – 357, 363, (คําบรรยาย)
ลักษณะสําคัญของความคิดในสมัยเรอเนสซองส์ (ค.ศ. 1300 – 1500) มีดังนี้
1. เน้นความสําคัญของมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางแห่งจักรภพ
2. ในวรรณคดีจะย้ําความสนใจในเรื่องมนุษยนิยม เพื่อหาหนทางทําความเข้าใจในมนุษย์
3. มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective ทําให้ภาพเป็นธรรมชาติและสมจริงมากขึ้น
4. เน้นถึงเหตุการณ์ที่แสดงออกถึงความคิดของแต่ละคน เป็นต้น

111. ผลของสงครามใดเป็นการเปลี่ยนมหาอํานาจทางทะเลจากสเปนเป็นอังกฤษ
(1) War of the Roses
(2) Hundred Years War
(3) Armada War
(4) World War I
ตอบ 3 หน้า 388 – 389, 87 (H), 100 – 101 (H) สงครามอาร์มาดา (Armada War) ปี ค.ศ. 1588 เป็นสงครามทางทะเลระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน กับพระราชินีเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ และส่งผลให้สเปนหมดอิทธิพลในยุโรป ในขณะ ที่อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจทางทะเลแทนสเปน

112. การปฏิวัติอันรุ่งเรือง ในปี ค.ศ. 1688 นําไปสู่ “ประกาศแห่งสิทธิ” ในปี ค.ศ. 1689 ซึ่งมีหลักการสําคัญ ตรงกับข้อใด
(1) กษัตริย์ต้องสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา
(2) การให้อํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์แก่กษัตริย์เพิ่มจากเดิม
(3) การจํากัดพระราชอํานาจของกษัตริย์ ไม่ให้ใช้อํานาจได้ตามอําเภอใจ
(4) กษัตริย์ต้องให้สิทธิทางการค้าแก่ทุกชนชั้น
ตอบ 3 หน้า 417 การปฏิวัติอันรุ่งเรืองของอังกฤษในปี ค.ศ. 1688 นําไปสู่ “ประกาศแห่งสิทธิ ในปี ค.ศ. 1689 ซึ่งมีหลักการสําคัญดังนี้
1. การจํากัดพระราชอํานาจของกษัตริย์ ไม่ให้ใช้อํานาจได้ตามอําเภอใจ เช่น การออกกฎหมาย การเก็บภาษี หรือการจัดตั้งกองทัพ
2. สมาชิกรัฐสภาต้องได้รับการเลือกตั้งโดยเสรีและมีเสรีภาพที่จะโต้แย้งกันในรัฐสภาได้
3. การตัดสินคดีต่าง ๆ ต้องได้รับการพิจารณาจากลูกขุน เป็นต้น

113. การใช้ลิ่มหรือวัสดุที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นลักษณะของตัวอักษรใด
(1) Hieroglyphics
(2) Book of the Dead
(3) Coffin Texts
(4) Cuneiform
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

114. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกีฬาโอลิมปิก
(1) ภูเขาซีนาย
(2) ช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์
(3) เทพเจ้ากรีก
(4) ระยะเวลา 1 โอลิมเปียด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 84. ประกอบ

115. ชนชั้นใดที่ไม่ได้อยู่ภายใต้โครงสร้างทางสังคมแบบฟิวดัล
(1) ชาวนา
(2) ขุนนาง
(3) พ่อค้า
(4) อัศวิน
ตอบ 3 หน้า 226 – 228, (คําบรรยาย) ชนชั้นที่อยู่ภายใต้โครงสร้างทางสังคมแบบฟิวดัลหรือสังคมศักดินาสวามิภักดิ์ ได้แก่
1. กษัตริย์ (King)
2. ขุนนางชั้นสูง (Vassals)
3. ขุนนางชั้นรองลงมา (Sub vassals)
4. นักรบ (Warriors) หรืออัศวิน
5. ทาสติดที่ดิน (Serfs) หรือชาวนา

116. เทพเจ้าของชาวกรีก-โรมัน มีลักษณะอย่างไร
(1) เชื่อในเรื่องความสมดุล ความมืด-ความสว่าง/ความดี ความชั่ว
(2) ประกอบพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด โดยมีพระเป็นสื่อกลาง
(3) เทพเจ้ามีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์ มีอารมณ์ ความรู้สึก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 115, 39 (H) ชาวกรีก-โรมันมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณและอํานาจลึกลับต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งลึกลับเหล่านั้นก็คือ เทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าจะมีรูปร่างหน้าตา อารมณ์ และความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ ทั้งนี้ชาวโรมันจะรับเอาเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมด แต่มีการ แปลงชื่อใหม่ โดยเทพเจ้าที่สําคัญ เช่น เทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกโรมันเรียกว่า “จูปิเตอร์” (Jupiter), เทพโพไซดอน (Poseidon) เป็นเจ้าแห่งทะเล พวกโรมันเรียกว่า “เนปจูน” (Neptune) เป็นต้น

117. ข้อใดเป็นเหตุผลหลักที่ชาวโปรตุเกสและสเปนถึงพยายามออกเรือเพื่อสํารวจทางทะเล
(1) เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
(2) ค้นหาเส้นทางการเดินทัพใหม่ ๆ
(3) เพราะต้องการเผยแพร่ศาสนา
(4) เพื่อค้นหาเส้นทางการค้าไปยังทวีปเอเชีย
ตอบ 4 หน้า 351, 87 (H) เหตุผลหลักที่ชาวโปรตุเกสและสเปนพยายามออกเรือเพื่อสํารวจทางทะเล คือ ต้องการสํารวจค้นหาเส้นทางการค้าไปยังทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการ สถาปนาประเทศโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1139 จนนําไปสู่การปฏิวัติทางการค้าในที่สุด

118. เหตุการณ์ที่เรียกว่า “การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย” คือเหตุการณ์ตามข้อใด
(1) การที่อาณาจักรบาบิโลนรุกรานชาวยิว
(2) การที่สันตะปาปาถูกคุมขังที่เมืองบาบิโลน
(3) การที่สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อํานาจกษัตริย์อังกฤษ
(4) การที่สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้อํานาจกษัตริย์ฝรั่งเศส
ตอบ 4 หน้า 300 – 303, 80 – 81 (H) เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมอํานาจของศาสนจักร ในศตวรรษที่ 14 – 15 มีดังนี้
1. การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย (Babylonian Captivity : ค.ศ. 1305 – 1377) เกิดขึ้นเพราะ สันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่ที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทําให้ สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาพํานักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลา 70 ปี ส่งผลให้สันตะปาปา ๆ: ตกอยู่ภายใต้อํานาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส และมิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป
2. การแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism : ค.ศ. 1378 – 1417) มีสาเหตุมาจากการแย่งชิง ตําแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้น พร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลี และที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส

119. จูเลียส ซีซาร์ เป็นผู้นําปฏิทินมาประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน เป็นมรดกจากอารยธรรมใด
(1) อารยธรรมอียิปต์
(2) อารยธรรมมายา
(3) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(4) อารยธรรมอินคา
ตอบ 1 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ ได้นําเอาปฏิทินแบบสุริยคติของอียิปต์ มาเผยแพร่และนํามาดัดแปลงใช้ในสาธารณรัฐโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคมหรือ July ก็มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

120. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทําการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ
(1) ไม่พอใจการขายใบไถ่บาปของสันตะปาปา
(2) สันตะปาปาไม่ยอมรับการขึ้นสู่บัลลังก์ของพระองค์
(3) ต้องการหย่าขาดจากมเหสี แต่ศาสนจักรไม่ยอม
(4) ไม่พอใจการปฏิบัติตัวของพระในอังกฤษ
ตอบ 3 หน้า 383, 99 (H), (คําบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องการหย่าขาดจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับ แอน โบลีน แต่ศาสนจักร (สันตะปาปา) ไม่ยินยอม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงตัดขาดจากองค์กร คริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผลทําให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็นโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่า นิกายอังกฤษ (Anglican Church/Church of England)

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก s/2562

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ข้อใดคือการพิจารณาด้วยวิธีทางธรณีวิทยา
(1) พิจารณาชั้นดินชั้นหิน
(2) พิจารณาเอกสารทางประวัติศาสตร์
(3) พิจารณาเครื่องปั้นโบราณ
(4) ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ตอบ 1หน้า 6 – 7, 8 – 9 (1) ธรณีวิทยา คือ การศึกษาซากสิ่งมีชีวิตที่ตกค้างอยู่ตามชั้นดินชั้นหิน ซึ่งประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของโลก แบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่
1. อาร์เคโอโซอิก (Archeozoic) 1,550 – 825 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยของสัตว์เซลล์เดียว
2. โพรเทโรโซอิก (Proterozoic) 825 – 500 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยของสัตว์น้ําโบราณ ไม่มีกระดูกสันหลัง 3. พาเลโอโซอิก (Paleozoic) 500 – 185 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยที่ เริ่มมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
4. เมโซโซอิก (Mesozoic) 185 – 60 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยของ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์ 5. เซโนโซอิก (Cenozoic) 60 ล้านปีมาแล้ว เป็นสมัยการกําเนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2.การค้นพบถ่านหินที่ใดแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิต
(1) เกาะมาดากัสก้า
(2) เกาะกาลาปากอส
(3) หมู่เกาะสปิตเบอร์เกน
(4) เกาะอังกฤษ
ตอบ 3 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะสปิตเบอร์เกน (Spitbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณ ที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ําแข็งนั้น อันเป็นประจักษ์พยานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

3. มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยาที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบ ยุคใด
(1) Archeozoic
(2) Pleistocene
(3) Cenozoic
(4) Mesozoic
ตอบ 2 หน้า 2, 8 (H), (คําบรรยาย) ยุคน้ําแข็ง (Pleistocene) เป็นยุคที่ธารน้ําแข็งปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งเริ่มประมาณ 1 ล้านปีมาแล้ว โดยพบว่ามนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยา ที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบในยุคดังกล่าวนี้ ระยะสุดท้ายคือ ระยะนานที่สุด ประมาณ 150,000 ปี หรืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว

4.บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) คือข้อใด
(1) โฮโม อีเรคตัส
(2) โฮโม เซเปียนส์
(3) โฮโม นีแอนเดอเล
(4) ออสตาโรพิเธคัส
ตอบ 2 หน้า 11 – 12, 38, 1C (H) โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้น ครั้งแรกในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ ปัจจุบันมากขึ้น และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) หรือคนผิวขาว
2. มนุษย์กริมัลดี (Grimaldi) หรือ คนผิวดําา
3. มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade) หรือคนผิวเหลืองหรือสีน้ำตาล

5. ในยุคหินใหม่ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาถึงขั้นใด
(1) เริ่มรู้จักการเพาะปลูก
(2) เริ่มรู้จักการล่าสัตว์
(3) เริ่มรู้จักการใช้ไฟ
(4) เริ่มตั้งรกรากและสร้างอารยธรรม
ตอบ 4 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินใหม่ (Neolithic / New Stone Age) เป็นยุคที่มนุษย์ รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก รวมทั้งเป็นยุคของการสร้างสมอารยธรรมในระยะแรก ๆ ของโลก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อนเป็นชุมชนรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็น ครั้งแรก มีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งงานกันทํา และเริ่มดํารงชีวิตแบบสังคมเมือง (Urban Life) ซึ่งถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม (Civilization) ของมนุษย์

6. จุดประสงค์แรกในการเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์ คือข้อใด
(1) เพื่อใช้แรงงานทางการเกษตร
(2) เพื่อประกอบพิธีกรรม
(3) เพื่อใช้เป็นอาหาร
(4) เพื่อเป็นเพื่อน
ตอบ 3 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินกลาง (Mesolithic) ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นยุคที่เชื่อมต่อระหว่างยุคหินเก่า (ยุคเก็บผลไม้) กับยุคหินใหม่ (ยุคปลูกผลไม้) นอกจากนี้ ยังเป็นยุคที่มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทําอาชีพประมง และเริ่มรู้จัก การเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนํามาเลี้ยงคือ สุนัข โดยมีจุดประสงค์แรกในการเลี้ยง ก็เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร

7.ระบบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่างอนารยชนและโรมัน คือ
(1) เทวสิทธิกษัตริย์
(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ประชาธิปไตย
(4) ศักดินาสวามิภักดิ์
ตอบ 4 หน้า 17, 222 – 223, คําบรรยาย) ในช่วงยุคกลางของยุโรป (ค.ศ. 500 – 1500) สภาพบ้านเมือง ของยุโรปเสื่อมโทรม กษัตริย์ไม่มีความสามารถ มีพวกอนารยชนเยอรมันเข้ามารุกรานอยู่ตลอดเวลา และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ส่งผลให้ประชาชนได้รับความยากลําบากมาก จนต้องหันไปขอความคุ้มครอง จากพวกขุนนางแทน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้เกิดระบอบการเมืองใหม่ที่เรียกว่า ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) ขึ้น ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่าง ประเพณีเดิมของทั้งโรมันและอนารยชนเยอรมัน

8. ข้อใดจัดเป็นหลักฐานดั้งเดิม Primary Record
(1) บทความ
(2) วารสาร
(3) หนังสือพิมพ์
(4) จารึก
ตอบ 4 หน้า 21, 12 (H), (คําบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Record) เป็น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สําคัญ ที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานดั้งเดิม (Primary Record) เช่น จารึกโบราณ หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ
2. หลักฐานรอง (Secondary Record) ได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม เช่น บทความ วารสาร หนังสือพิมพ์ ตําราอารยธรรมตะวันตก ฯลฯ

9.พวกเซไมท์เข้ายึดครองและรับอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาใช้ เป็นลักษณะของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีภูมิศาสตร์
(2) ทฤษฎีโนแมด
(3) ทฤษฎีดินเสื่อม
(4) ทฤษฎีศาสนา
ตอบ 2 หน้า 26 – 27, 13 (-) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอา อารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับใช้ เช่น กรณีที่พวกเซไมท์เข้ายึดครอง ดินแดนของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับใช้ เป็นต้น

10. อารยธรรมใดที่ได้รับการขนานนามว่า “ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์”
(1) อารยธรรมกรีก
(2) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(3) อารยธรรมอียิปต์
(4) อารยธรรมโรมัน
ตอบ 3 หน้า 46, 17 (H) เฮโรโดตัส (Herodotus) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่ได้กล่าวไว้ว่า “อียิปต์คือ ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์” (Egypt is a gift of the Niles) ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศของอียิปต์จะล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้า แม่น้ำไนล์จึงเป็นหัวใจสําคัญที่หล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่อียิปต์ จนทําให้อียิปต์เป็นดินแดน ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม และมีความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสมอารยธรรม อันยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้

11. สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีป
(1) ยุโรป
(2) เอเชียและแอฟริกา
(3) ออสเตรเลีย
(4) อเมริกา
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชียและ แอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือบริเวณยูเรเชีย (Eurasia) ซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะสําหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมา มนุษย์เหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

12. จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมสมัยแรก คือข้อใด
(1) เพื่อการจัดระบบสังคมในเรื่องวันหยุดและการแบ่งงาน
(2) เพื่อต้องการทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพื่อทําการเกษตร
(3) เพื่อใช้สําหรับวัน เวลา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 14 (H), (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมในสมัยแรก คือ เพื่อต้องการทราบระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และการกําหนดระยะเวลาในแต่ละปี ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทําเกษตรกรรม เช่น ปฏิทินสุริยคติของอียิปต์ เป็นต้น

13. จูเลียส ซีซาร์ นําปฏิทินสุริยคติมาประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน ซึ่งเป็นมรดกจากอารยธรรมใด
(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(2) อารยธรรมมายา
(3) อารยธรรมอินคา
(4) อารยธรรมอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นําเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคม หรือ July ก็ได้มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

14. มนุษย์รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารในยุคใด
(1) หินเก่า
(2) หินแรก
(3) หินเก่าตอนต้น
(4) หินกลาง
ตอบ 3 หน้า 8 – 9, 9 – 10 (H) ยุคหินเก่าตอนต้น หรือ “ยุคล่าสัตว์” (The Age of the Hunter) เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักใช้หินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์ อาศัยอยู่ในถ้ํา รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติ มาให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารให้สุก มีร่างกายยึดตรง พูดได้ และมีมันสมองใหญ่ มนุษย์ในสมัยนี้ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในแอฟริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ East African Man

15. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การประดิษฐ์ Papyrus ทําจากต้นกก ต้นอ้อ ริมแม่น้ําไนล์
(2) Book of the Death คือหนังสือตัดสินความดีหลังจากเสียชีวิตของชาวอียิปต์
(3) อักษร Cuneiform มีลักษณะเป็นรูปลิ่ม กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว
(4) ชาวเมโสโปเตเมียรับวิธีการสร้างปฏิทินจากอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 36, 69 – 70, 23 – 24 (H) ปฏิทินของชาวสุเมเรียน (Sumerians) ในดินแดน เมโสโปเตเมียเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 354 วัน ในขณะที่ปฏิทินแบบสุริยคติของชาวอียิปต์เกิดขึ้นจาก การสังเกตระยะเวลาการขึ้นลงของแม่น้ําไนล์ โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน

16. ข้อใดเป็นลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย
(1) เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
(2) มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
(3) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 65 – 69, 73, 23 – 24 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย มีดังนี้
1. เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
2. เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่เปิดเผย ไม่มีปราการทางธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากศัตรู
3. มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่รวมกัน
4. มีชาวสุเมเรียนเป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
5. เป็นแหล่งกําเนิดกฎหมายฉบับแรกของโลก คือประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ของพระเจ้าฮัมมูราบี เป็นต้น

17. กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า “พ่อค้าทางบก” คือกลุ่มใด
(1) อัคคาเดียน
(2) แคลเดียน
(3) อราเมียน
(4) ฟินิเซียน
ตอบ 3 หน้า 86 – 87, 27 (H) ความสําคัญของพวกอราเมียน คือ
1. ภาษาอราเมียนเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษาที่พระเยซูและเหล่าสาวกใช้ในการสอนศาสนา
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบก” ที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก

18.Pharaoh ผู้ปกครองอียิปต์ปกครองภายใต้ระบอบใด
(1) เทวาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) อนาธิปไตย
(4) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 53, 60, 19 (H), (คําบรรยาย) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือ สมัยพีระมิดเป็นแบบเทวาธิปไตย โดยมีฟาโรห์ (Pharaoh) เป็นประมุขสูงสุด และทรงเป็น เทวกษัตริย์ที่มีฐานะเป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re / Ra) โดยทรงทําหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระ เป็นผู้พิพากษาสูงสุด รวมทั้งเป็น ผู้บังคับบัญชาการกองทัพและบัญชาการทางด้านพลเรือนด้วย

19. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของชาวสุเมเรียน
(1) อักษรคูนิฟอร์ม
(2) การนับหน่วย 60
(3) ศาสนาโซโรแอสเตอร์
(4) วิหารซิกกูแรต
ตอบ 3 หน้า 69 – 71, 23 – 24 (H) อารยธรรมที่สําคัญของชาวสุเมเรียน คือ
1. การประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม โดยใช้ลิ่มหรือวัสดุ ที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนําไปตากแดดหรือเผาไฟให้แห้ง
2. การสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. การทําปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. การนับหน่วย 60 เช่น 1 ชั่วโมง มี 60 นาที, 1 นาที มี 60 วินาที เป็นต้น

20. ผู้ที่เรียกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ คือกลุ่มใด
(1) ฟินิเซียน
(2) แคลเดียน
(3) ฮิบรู
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 2 หน้า 82 – 84, 26 (H) ผลงานที่สําคัญของกลุ่มแคลเดียน คือ
1. การสร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลน (Hanging Garden of Babylonia)
2. การเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ
3. การหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราส และคํานวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยํา

21. กลุ่มคนที่ปรับปรุงอักษรพยัญชนะ 22 ตัว และถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน คือกลุ่มใด
(1) ฟินิเซียน
(2) แคลเดียน
(3) ฮิบรู
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 1 หน้า 84 – 85, 27 (H), (คําบรรยาย) ชาวฟินิเซียน (Phoenicians) ได้รับการยกย่องว่าเป็น“พ่อค้าทางทะเล” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 11 B.C. หรือประมาณปี 1000 B.C. นอกจากนี้ ชาวฟินิเซียนยังได้ชื่อว่าเป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุงโดยเลียนแบบการปกครองมาจากอียิปต์และบาบิโลเนียผ่านทางการค้าขาย รวมทั้งรับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ และ ตัวอักษรคูนิฟอร์มของสุเมเรียนมาดัดแปลงเป็นของตน เพื่อใช้จดบันทึกทางการค้า โดยปรับปรุง อักษรพยัญชนะ 22 ตัว ซึ่งต่อมาตัวอักษรดังกล่าวก็ถูกถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน

22. ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือข้อใด
(1) เป็นผู้ถ่ายทอดระบบการใช้ปฏิทินให้กับกรีก-โรมัน
(2) การผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรก, มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพาณิชย์
(3) มีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงครามและรูปสลักนูนต่ํา, มีนิสัยดุร้าย
(4) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ชอบสร้างสรรค์งานศิลปะ
ตอบ 3 หน้า 80 – 82, 25 – 26 (H) ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือ
1. เป็นพวกนักรบที่มีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน และมีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงคราม
2. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ
3. สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ในสมัยพระเจ้า อัสซูร์บานิพัล
4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ชาวโรมันตะวันออก” เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน
5. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมากของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนต่ําซึ่งสะท้อนถึงลักษณะ ที่ดุร้ายของชาวอัสสิเรียน เป็นต้น

23. ข้อใดคือกษัตริย์คนสําคัญของเปอร์เซีย
(1) ซากอน
(2) คริซัส
(3) อัสซูร์บานิพัล
(4) ดาริอุส

ตอบ 4 หน้า 93 – 95, 31 (H) พระเจ้าตาริอุสมหาราช เป็นกษัตริย์คนสําคัญของเปอร์เซีย ทรงมีฉายาว่า “King of Kings” โดยมีผลงานที่สําคัญดังนี้
1. ขยายจักรวรรดิเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง โดยแบ่งเขตปกครองออกเป็น 20 มณฑล
2. สร้างถนนไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ มีชื่อว่า “เส้นทางพระราชา” (The King’s Highway) มีระยะทางประมาณ 1,600 ไมล์
3. มีการวางระบบสื่อสารระหว่างเมืองหลวงถึงมณฑลและการวางกําลังทหารไว้ตาม จุดยุทธศาสตร์สําคัญ ๆ เพื่อการควบคุมเมืองขึ้น
4. มีการเก็บบัญชีภาษีไว้ที่เมืองหลวง เพื่อเป็นการควบคุมการเงิน

24. ศาสนาที่มีความเชื่อ คําสอน ว่าทุกสิ่งมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ถือว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผลในยุคโบราณคือศาสนาใด
(1) อิสลาม
(2) ยูดาย
(3) เอเดรียน
(4) โซโรแอสเตอร์
ตอบ 4 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะสําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) คือ
1. เป็นศาสนาประจําชาติของเปอร์เซีย โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
2. สอนว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ซึ่งต่อสู้เอาชนะกันตลอดเวลา โดยมี พระอนุรา มาสดา (Ahura Mazda) เป็นเทพแห่งแสงสว่างและความดี และมือหริมัน (Aharyman) เป็นเทพแห่งความมืดและความชั่ว
3. เป็นศาสนาแห่งจริยธรรมและเหตุผล โดยเชื่อว่าตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่เคยทําไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่
4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น

25. ข้อใดไม่ใช่ผลจากแม่น้ําไนล์
(1) การสังเกต น้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อทําปฏิทิน
(2) การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า
(3) เกษตรกรรม
(4) การประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
ตอบ 4 หน้า 46 – 47, 53 – 54, 17 – 18 (H) ความสําคัญของแม่น้ําไนล์ที่มีผลต่อการสร้างอารยธรรม ของอียิปต์ มีดังนี้
1. ทําให้อียิปต์เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทํา เกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์
2. การสังเกต น้ำขึ้น-น้ำลงของแม่น้ำไนล์เพื่อทําการชลประทาน ได้นําไปสู่การประดิษฐ์ปฏิทินแบบสุริยคติ
3. การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า เพราะเชื่อว่าการที่แม่น้ําไนล์อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นการกระทําของเทพเจ้า
4. การขึ้นลงของแม่น้ำไนล์เกิดขึ้นจากอิทธิพลของฟาโรห์ นั่นคือ เมื่อฟาโรห์ยังทรงมีพระชนม์อยู่จะมีฐานะเป็นเทพโฮรัส (Horus) โอรสของเทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ําไนล์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอซิริสอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง เป็นต้น

26. ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในช่วงสมัยอารยธรรมอียิปต์-เมโสโปเตเมีย คือข้อใด
(1) ทะเลแดง
(2) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
(3) ทะเลสาบแคสเปียน
(4) คลองสุเอซ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในสมัยอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย คือ ในน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยชาวอียิปต์จะค้าขายทางเรือโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า กับกลุ่มชนในดินแดนเมโสโปเตเมีย อันได้แก่ ปาเลสไตน์ ฟินิเซีย ซีเรีย และเอเชียไมเนอร์

27. การทํามัมมี่ของชาวอียิปต์สัมพันธ์กับความเชื่อในข้อใด
(1) เชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย
(2) บูชาเทพเจ้า
(3) เชื่อว่าจะทําให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 64 – 65, 22 (1) ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและชีวิตหลังความตาย เป็นพวกมองโลกในแง่ดี และคิดหวังจะกลับมาเกิดใหม่ในโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทําเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์ โดยฝังไปพร้อม ๆ กับข้าวของเครื่องใช้และอาหาร

28. การใช้ลิ่มหรือวัสดุที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นลักษณะของตัวอักษรใด
(1) เฮียโรกลิฟิก
(2) ฟินิเซียน
(3) กรีก
(4) คูนิฟอร์ม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

29. บริเวณ “สุเอซ” ของอียิปต์โบราณ มีลักษณะสําคัญอย่างไร
(1) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเล
(2) จุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ
(3) ต้นกําเนิดของแม่น้ําศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้า
(4) แม่น้ำสายหลักที่ใช้ในการทําการเกษตรของอารยธรรมอียิปต์
ตอบ 2 หน้า 47 – 48, 18 (H) บริเวณที่เป็นจุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ คือ บริเวณช่องแคบ “สุเอช” (Suez) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่ บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า และเป็น แหล่งเชื่อมความคิด อีกทั้งยังเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนานของอียิปต์โบราณ

30. เทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง คือเทพองค์ใด
(1) อานูบิส-ซุส
(2) ไอซิส-โอซิริส
(3) โอซิริส-โฮรัส
(4) ซุส-โพเซดอน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

31. สมัยที่อียิปต์เริ่มมีการสั่งสมกองทัพและสร้างวิหาร อยู่ในสมัยใด
(1) สมัยก่อนราชวงศ์
(2) สมัยขุนนาง
(3) สมัยอาณาจักรเก่า
(4) สมัยอาณาจักรใหม่
ตอบ 4หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1580 – 1090 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอํานาจมากที่สุด เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซส (Hyksos) ออกจากอียิปต์ได้สําเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอํานาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและ กองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้านเอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนจาก การสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอํานาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

32. พีระมิด สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
(1) สถานที่เก็บรักษาพระศพของฟาโรห์
(2) สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บูชาเทพเจ้า
(3) พระราชวังที่ประทับของฟาโรห์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 19 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนําความอุดมสมบูรณ์
มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทําให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของฟาโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ

33. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกีฬาโอลิมปิก
(1) เทพเจ้ากรีก
(2) ภูเขาซีนาย
(3) ช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์
(4) ระยะเวลา 1 โอลิมเปียด
ตอบ 2 หน้า 115, 39 (H), (คําบรรยาย) ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้ามักจะพอใจในการแสดงออกถึง ความกล้าหาญและความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ขึ้นทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแก่เทพซีอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของกรีก โดย ผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฏที่ทําด้วยก้านมะกอกหรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์ และจะเรียกระยะเวลา 4 ปี ระหว่างการแข่งขันแต่ละครั้งว่า โอลิมเปียด (Olympiad) หรือระยะเวลา 1 โอลิมเปียด กีฬาโอลิมปิกได้มีการจัดขึ้นครั้งแรกในปี 776 B.C. และถูกยกเลิกในสมัยกษัตริย์ธีโอโดซีอุสในปี ค.ศ. 393

34. อารยธรรมเฮลเลนิสติก เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(2) สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
(3) หลังสงครามเมืองทรอย
(4) หลังสงครามคาบสมุทรเพลอปอนนิซุส
ตอบ 1 หน้า 146, 38 (H), 47 (H) อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยเฮลเลนิก (Hellenic) เป็นอารยธรรมกรีกแท้ หรือสมัยก่อนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช โดยเริ่มตั้งแต่สมัยการอพยพของพวกอินโด-ยุโรป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกรีก
2. สมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) เป็นอารยธรรมผสมระหว่างอารยธรรมกรีกเฮลเลนิก (ตะวันตก) กับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก) ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

35. นครรัฐที่ปกครองระบอบเผด็จการทหารในดินแดนกรีก คือข้อใด
(1) ทรอย
(2) สปาร์ตา
(3) เอเธนส์
(4) อิกทาก้า
ตอบ 2 หน้า 118 – 121, 40 – 41 (H) ลักษณะสําคัญของนครรัฐสปาร์ตา คือ
1. เป็นดินแดนที่อยู่ในหุบเขา ไม่ติดชายฝั่งทะเล ทําให้ไม่มีกําแพงธรรมชาติป้องกัน เหมือนนครรัฐอื่น และทําให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
2. แสวงหาความมั่งคั่งโดยการทําสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทําให้มีทาส เชลยศึกเป็นจํานวนมาก
3. ปกครองระบอบเผด็จการทหารหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian Government)
4. ชาวสปาร์ตาเป็นผู้แบกภาระของรัฐไว้หนักที่สุด เพราะต้องเป็นทหารตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี เพื่อควบคุมพวกทาสซึ่งมีจํานวนมากกว่า เป็นต้น

36. การตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่ในรัฐสปาร์ตาเป็นหน้าที่ของใคร
(1) กลุ่มพาริเชียน
(2) คณะตรีบูน
(3) สภาซีเนท
(4) คณะเอเฟอร์
ตอบ 4 หน้า 119 – 120, 122, 41 (H) คณะเอเฟอร์ หรือกลุ่มผู้มีอํานาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตา มีหน้าที่สําคัญดังนี้
1. กําหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ต้องนําไปให้คณะเอเฟอร์ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรือ อ่อนแอก็จะถูกนําไปทิ้งหน้าผาเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม
2. สามารถถอดถอนหรือ สั่งประหารกษัตริย์ได้
3. ควบคุมระบบการศึกษา
4. มีอํานาจเหนือกฎหมายและสภา

37. กีฬาโอลิมปิกถูกยกเลิกในสมัยใด
(1) จูเลียส ซีซาร์
(2) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(3) กษัตริย์ธีโอโดซีอุส
(4) กษัตริย์จัสติเนียน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

38. Greco-Buddhist Arts ส่งผลให้กับศิลปะใด
(1)ศิลปะอินเดีย
(2) ศิลปะเฮลเลนิสติก
(3) ศิลปะลังกา
(4) ศิลปะโรมัน
ตอบ 1 หน้า 152, 47 (H), (คําบรรยาย) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก
ได้ยกกองทัพขยายอํานาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุ์ในปี 323 BC. ส่งผลให้ ชาวอินเดียในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั่นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบบกรีก (Greco-Buddhist Arts) โดยจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก

39. กลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก่อนการบุกรุกของชาวเยอรมัน คือกลุ่มใด
(1) Plebeian
(2) Latin
(3) Greek
(4) Etruscan
ตอบ 2 หน้า 158 – 159, 48 (1) บรรพบุรุษของชาวโรมันคือ พวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณปี 2000 – 1000 B.C. ก่อนการรุกรานของอนารยชนเยอรมัน โดยหนึ่งในบรรดาพวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ํา ไทเบอร์ (Fiber) และได้สร้างกรุงโรมขึ้นบนฝั่งแม่น้ํานี้เมื่อปี 753 B.C. ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “ที่ราบละติอุม” (Plain of Latium) และทําให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน”

40. ข้อใดจัดเป็นอารยธรรมกรีกแท้
(1) ครีตัน ไมนวน
(2) เฮลเลนิก
(3) เฮลเลนิสติก
(4) โทรจัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

41. เทพเจ้าของชาวกรีก-โรมัน มีลักษณะอย่างไร
(1) เชื่อในเรื่องความสมดุล ความมืด-ความสว่าง / ความดีความชั่ว
(2) ประกอบพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด โดยมีพระเป็นสื่อกลาง
(3) เทพเจ้ามีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์ มีอารมณ์ ความรู้สึก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 115, 39 (H) ชาวกรีก-โรมันมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณและอํานาจลึกลับต่าง ๆ โดยเชื่อว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งลึกลับเหล่านั้นก็คือ เทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าจะมีรูปร่างหน้าตา อารมณ์ และความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ ทั้งนี้ชาวโรมันจะรับเอาเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมด แต่มีการ แปลงชื่อใหม่ โดยเทพเจ้าที่สําคัญ เช่น เทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกโรมันเรียกว่า “จูปิเตอร์” (Jupiter), เทพโพไซดอน (Poseidon) เป็นเจ้าแห่งทะเล พวกโรมันเรียกว่า “เนปจูน” (Neptune) เป็นต้น

42. การต่อสู้ระหว่างทาส-สัตว์ / ทาล-ทาส เพื่อให้ได้รับความเป็นอิสระ คือข้อใด
(1) Gradiator Combat
(2) Mortal Combat
(3) Circus Maximus
(4) Amphitheater
ตอบ 1 หน้า 177 – 179, 52 (H) ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่นิยมการกีฬาและความบันเทิง ซึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่
1. การแข่งรถศึกเทียมม้าที่ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดูได้ประมาณ 150,000 คน
2. การแข่งขันกีฬากลาดิเอเตอร์ (Gradiator Combat) ที่สนามโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนซึ่งอาจเป็นนักสู้ถืออาวุธ พวกฟรีดแมน หรือทาส กับทาส หรือทาสกับสัตว์ที่ดุร้ายก็ได้ ในกรณีที่เป็นการต่อสู้ของพวกทาส หากชนะก็จะแลกกับการได้รับอิสรภาพ
3. การจัดการแสดงละครที่โรงมหรสพรูปครึ่งวงกลม (Amphitheater) ซึ่งเป็นโรงละครขนาดใหญ่ในกรุงโรม

43. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน คือข้อใด
(1) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(2) กฎหมายฮัมมูราบี
(3) กฎหมายโซลอน
(4) กฎหมายจัสติเนียน
ตอบ 1 หน้า 161, 49 (H), (คําบรรยาย) ในปี 450 B.C. ได้มีการประกาศใช้ “กฎหมายสิบสองโต๊ะ” ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนําไปติดที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรได้ทราบโดยทั่วไป

44. ปรัชญามนุษยนิยม “Man is the measure of all things” เป็นแนวคิดของใคร
(1) Sophists
(2) Plato
(3) Aristotte
(4) Socrates
ตอบ 1 หน้า 137, 140, 45 (F), (คําบรรยาย) ปรัชญากรีกจัดเป็นปรัชญามนุษยนิยม ดังที่โปรตากอรัส (Protagoras) นักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ (Sophists) ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์คือเครื่องวัดทุกสิ่ง (Man is the measure of all things) ซึ่งเท่ากับเป็นการสรุปทัศนคติทั้งหมดของชาวกรีก หรือ อาจกล่าวได้ว่ากรีกเป็นนักมนุษยธรรมนิยม (Humanistic)

45. สงครามใดที่ทําให้นครรัฐกรีกอ่อนแอลง
(1) สงครามเปอร์เซียน
(2) สงครามปูนิก
(3) สงครามเพลอบ่อนนิซุส
(4) สงครามกรุงทรอย
ตอบ 3 หน้า 144, 46 (H), (คําบรรยาย) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐต่าง ๆ ของกรีก ได้ทําสงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพลอปอนนี้เซียน (The Peloponnesian War) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า สงครามเพลอปอนนิซุส (Peloponnesus) ทั้งนี้เนื่องจากเกิดขึ้น บนคาบสมุทรเพลอปอนนิซุสเป็นส่วนใหญ่ ทําให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย ยกกองทัพทหารฟาแลงซ์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีก ได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้เป็นผลสําเร็จในปี 338 B.C.

46. ผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย “การบริหารในมือคนส่วนใหญ่” คือใคร
(1) ดราโค
(2) โซลอน
(3) เพริดลิส
(4) คลิสเธนีส
ตอบ 4 หน้า 126 – 127, 43 (H) คลิสเธนีส (Cleisthenes) เป็นผู้ที่วางรากฐานการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยในเอเธนส์เป็นคนแรก ทําให้ประชาธิปไตยมีความหมายว่า
“การบริหารอยู่ในมือของคนส่วนใหญ่” ซึ่งการปฏิรูปที่สําคัญ ได้แก่
1. กําจัดอิทธิพลของครอบครัวที่มีอํานาจทางการเมือง
2. จัดตั้งสภา 500 แทนสภา 400 ของโซลอน และแบ่งเอเธนส์ออกเป็น 10 เขต แต่ละเขตมีสมาชิก 50 คน
3. นําเอาระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) มาใช้ ซึ่งเป็นการเนรเทศบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา ออกจากนครเอเธนส์

47. Dark Age (ยุคมืด) ทางอารยธรรมอยู่ในช่วงใด
(1) ยุคกลางตอนต้น
(2) ยุคกลางตอนกลาง
(3) ยุคกลางอันรุ่งเรือง
(4) ยุคกลางตอนปลาย
ตอบ 1 หน้า 205 – 206, 214, 318, 59 (H) ยุคกลางตอนต้น ถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมคลาสสิก หรืออารยธรรมกรีก-โรมัน ได้หยุดชะงักลง ในดินแดนยุโรปตะวันตก พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ทั้งนี้เพราะถูก อนารยชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามารุกรานอยู่เสมอ ทําให้สภาพบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวาย การค้าซบเซาเพราะถนนหนทางถูกตัดขาด มีโจรผู้ร้ายออกทําการปล้นสะดมทั่วไป บรรดา ช่างฝีมือกลายเป็นคนว่างงาน ชาวเมืองต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ชนบท ส่งผลทําให้ ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป

48. พื้นที่ใดภายหลังพัฒนาเป็นนครรัฐสันตะปาปา
(1) Byzantium
(2) Papal States
(3) Latium
(4) Constantinopte
ตอบ 2 หน้า 217, 62 – 63 (H) เมื่อเปแปงที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ คาโรแลงเจียนของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแบ่งก็ต้องการการสนับสนุนทาง การเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองค์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักร ทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนําไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของ เปแปง (Donation of Pepin) ต่อมาดินแดนแห่งนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีอํานาจทางการเมืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1870

49. ชนชาติชาวเอเชียที่เข้ามารุกรานในเขตพื้นที่ Chaton ในช่วงปี A.D. 451 คือชนชาติใด
(1) Huns
(2) Vandals
(3) Franks
(4) Visigoths
ตอบ 1 หน้า 212, 60 (H) ฮั่น (Huns) เป็นอนารยชนเผ่ามองโกลที่มาจากทวีปเอเชียที่รุกไล่พวกกอธ (Goths) เข้าไปในจักรวรรดิโรมันและได้เข้าคุกคามยุโรปตะวันตก โดยมีผู้นําคือ อัตติลา (Attila) แต่ในที่สุดก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่เมโรเวกในการรบที่เมืองซาลอง (Chalon) ในปี ค.ศ. 451 (A.D. 451) หลังจากนั้นพวกฮั่นก็หมดอํานาจไปในปี ค.ศ. 454

50. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน
(1) มีชีวิตแบบสังคมชนบท ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
(2) ไม่ใช้กฎหมายเป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินแบบไม่ยุติธรรม
(3) เกิดการต่อสู้และสงครามระหว่างกลุ่มอนารยชนตลอดเวลา
(4) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 214 – 215, 61 (H), (คําบรรยาย) การปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน มีลักษณะที่สําคัญดังนี้
1. แตกแยกออกเป็นเคว้นเล็กแคว้นน้อยมากกว่าที่จะรวมกันเป็นปึกแผ่น
2. พวกอนารยชนไม่สร้างเมืองเหมือนพวกกรีก-โรมัน มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบทประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. พวกอนารยชนมักทําสงครามระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีเวลาพอที่จะทํานุบํารุง ศิลปวัฒนธรรม ทําให้อารยธรรมกรีก-โรมันเสื่อมลง
4. พวกอนารยชนไม่ใช้กฎหมายที่เป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินเป็นแบบ ไม่ยุติธรรม โดยจะขึ้นอยู่กับการใช้อํานาจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวกําหนด เป็นต้น

51.ระบบ Feudalism เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้เช่าทรัพย์สิน คําว่า “ทรัพย์สิน” หมายถึงข้อใด
(1) ทอง / โลหะมีค่า
(2) แรงงาน / ทาส
(3) ที่อยู่อาศัย
(4) ที่ดิน
ตอบ 4 หน้า 223 – 224, 64 – 65 (H), (คําบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism / Feudal) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือ ผู้เช่าที่ดินผืนนั้น เจ้าของที่ดินคือกษัตริย์หรือขุนนาง เรียกว่า เจ้า (Lord) ส่วนผู้ใช้ประโยชน์ จากที่ดิน เรียกว่า ข้า (Vassal) โดยคําว่า Feudalism หรือ Feudal มาจากคําว่า Fiefs หรือ Feuda ซึ่งหมายถึง “ที่ดิน” นั่นเอง

52. เครื่องมือของคริสตจักรต่อสังคมในข้อใด มีการกําหนดวันเวลายุติการทําสงคราม ตั้งแต่คืนวันพุธ
ถึงเช้าวันจันทร์
(1) Truce of God
(2) Interdict
(3) Excommunication
(4) Peace of God
ตอบ 1 หน้า 231 – 232, 65 – 66 (H) ในยุคกลางมักมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางอยู่บ่อยครั้ง สันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการชั่วคราวใน 2 กรณี คือ
1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า หรือ Peace of God คือ ให้การพิทักษ์รักษาแก่บุคคล และสถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น โบสถ์ วิหาร สํานักชี และคนของวัด
2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า หรือ Truce of God คือ ห้ามทําการรบตั้งแต่ พระอาทิตย์ตกดินในวันพุธ ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์

53. ข้อใดไม่ใช่ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง
(1) The Holy Roman Empire
(2) Byzantine Empire
(3) Moslem Empire
(4) Roman
ตอบ 4 หน้า 246, 251, 255, 69 – 70 (H) ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง ได้แก่
1. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire)
2. จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
3. จักรวรรดิมอสเล็ม (Mostem Empire)

54. สงครามครูเสด เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างศาสนาใด
(1) คริสต์-ยูดาย
(2) ยูดาย-อิสลาม
(3) คริสต์-อิสลาม
(4) คาทอลิก-โปรเตสแตนต์
ตอบ 3 หน้า 280, 284, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ ที่มีรัฐและฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมสงครามมากมาย ซึ่งกินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียน กับพวกมุสลิมหรือมอสเค็ม เพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงคราม พวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมอสเล็มได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลว ที่ประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จาก พวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก

55. พระนักรบสํานักใดเกิดขึ้นระหว่างสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวายอารักขา
สันตะปาปา
(1) สํานักเทมปลาร์
(2) สํานักฮอสปิแตร์เลอร์
(3) สํานักเจซูอิท
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 243, 68 (H) สํานักสงฆ์นิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในระหว่างสงครามครูเสด คือ
1. สํานักเทมปลาร์ (Templars) เป็นทั้งพระและนักรบในสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวายอารักขาสันตะปาปา
2. สํานักฮอสปิแตร์เลอร์ (Hospitalers) เป็นพระที่ช่วยรักษาพยาบาลทหารและประชาชนฝ่ายตนที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ

56. สงครามครูเสดครั้งใดเป็นการสู้รบระหว่างชาวคริสต์ด้วยกัน
(1) ครั้งที่ 1
(2) ครั้งที่ 3
(3) ครั้งที่ 4
(4) ครั้งที่ 8
ตอบ 3 หน้า 283, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) เป็นสงคราม ระหว่างชาวคริสต์ด้วยกันเอง โดยกองทัพครูเสดภายใต้การนําของสาธารณรัฐเวนิส และการ สนับสนุนของสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ได้เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล แทนที่จะ ยกกองทัพไปยึดกรุงเยรูซาเล็ม

57. ข้อใดคือผลของสงครามระหว่าง Pope Alexander III + สมาคมลอมบาร์ด
(1) Italy แยกออกจาก Germany
(2) เกิดนครรัฐสันตะปาปา
(3) Germany สามารถรวมประเทศได้
(4) เกิดสัญญา Treaty of Verdun
ตอบ 1 หน้า 260 – 261, 71 – 72 (H) จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา (Frederick Barbarossa) ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ มีสาเหตุมาจากการที่จักรพรรดิทรงเน้นว่าอาณาจักรต้อง เป็นฝ่ายปกครองศาสนจักร ทําให้สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Pope Alexander III) ไม่พอใจ จักรพรรดิ จึงร่วมกับกลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดต่อต้านจักรพรรดิ รวมไปถึง ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ ซึ่งผลปรากฏว่า จักรพรรดิเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงมีการทําสนธิสัญญาสันติภาพของสตังซ์ (Peace of Constance) ในปี ค.ศ. 1183 โดยมีผลตามมาคือ
1. แคว้นลอมบาร์ดีเป็นอิสระและได้ปกครองตนเอง
2. สิ้นสุดการรวมกันระหว่างอิตาลี (Italy) และเยอรมนี (Germany) ลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งทําให้ อิตาลีแยกออกจากเยอรมนี
3. ดินแดนเยอรมนีแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

58.อนารยชนชาว Franks ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรของอนารยชนทั่วยุโรปเป็นอาณาจักรใหญ่ มีการปกครองในระบอบกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ใดเป็นราชวงศ์แรก
(1) Merovingian
(2) Carolingian
(3) Capetien
(4) Tudor
ตอบ 1 หน้า 215 – 217, 61 – 62 (H), (คําบรรยาย) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชน ที่สามารถรวบรวมดินแดนยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง ภายหลังจากการล่มสลาย ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นภายใต้การนําของ 2 ราชวงศ์ คือ
1. อาณาจักรเมโรแวงเจียน (Merovingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ กษัตริย์โคลวิส (Colvis) ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์เมโรแวงเจียนขึ้นเป็นราชวงศ์แรกในปี ค.ศ. 481
2. อาณาจักรคาโรแลงเจียน (Carolingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ เปแปงที่ 3 (Pepin III) ซึ่ง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์คาโรแลงเจียนในปี ค.ศ. 751

59. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับ Magna Carta : The Great Charter
(1) John the Lackland
(2) อาณาจักรแฟรงค์
(3) Chartes Martel, The Hammer
(4) กษัตริย์ประเทืองปัญญา
ตอบ 1หน้า 275, 75 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าจอห์น หรือ “กษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน” (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) หรือ “The Great Charter” ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของอังกฤษ โดยมีหลักการที่สําคัญคือ กําหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังจํากัดอํานาจของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทําด้วยความยุติธรรม และมีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภา หรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

60. ผลของสงครามใดเป็นการเปลี่ยนมหาอํานาจทางทะเล จากสเปนเป็นอังกฤษ
(1) World War I
(2) War of the Roses
(3) Armada War
(4) Hundred Years War
ตอบ 3 หน้า 388 – 389, 87 (H), 100 — 101 (H) สงครามอาร์มาดา (Armada War) ในปี ค.ศ. 1588 เป็นสงครามทางทะเลระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน กับพระราชินีเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้สเปนหมดอิทธิพลในยุโรป ในขณะที่อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจทางทะเลแทนสเปน

61. สํานักสงฆ์ของนิกายเบเนดิกไตน์ มีบทบาทสําคัญในยุคกลางตรงตามข้อใด
(1) มีส่วนร่วมสําคัญในสงครามครูเสด
(2) แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจนและคนเจ็บ
(3) มุ่งวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตที่หรูหราของสันตะปาปาและพระชั้นสูง
(4) ส่งเสริมการค้นคว้าวิทยาการใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 242, 68 (H) สํานักเบเนดิกไตน์ (Benedictines) เป็นคณะสงฆ์ที่ตัดขาดทางโลก โดยมีผู้นําคือ เซนต์เบเนดิก (St. Benedict) เป็นพวกพระที่เรียกว่า “monk” ซึ่งพระ ในสํานักสงฆ์นี้ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในยุคกลางเป็นอย่างมาก เช่น
1. ส่งเสริมการศึกษาด้วยการจัดตั้งโรงเรียน และคัดลอกเอกสารโบราณ
2. แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจน คนเจ็บ เด็กกําพร้าและแม่หม้าย
3. พระจะไถหว่านที่ดินและเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านอื่น ๆ โดยนําเอาวิธีเพาะปลูกที่ได้ผลดี ที่สุดมาใช้ เป็นต้น

62. เพราะเหตุใด “ศาสนจักร” กับ “อาณาจักร” ในช่วงยุคกลางจึงมักขัดแย้งกันอยู่เสมอ
(1) สันตะปาปามักจะมองว่ากษัตริย์บริหารบ้านเมืองไม่ดีพอ
(2) กษัตริย์มักจะมองว่าสันตะปาปามีความประพฤติไม่ถูกต้อง
(3) มีความขัดแย้งเรื่องพิธีกรรมต่อพระเจ้า
(4) มีความขัดแย้งในเรื่องของอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ
ตอบ 4 หน้า 243, 68 (H), (คําบรรยาย) ความขัดแย้งในเรื่องการแต่งตั้งตําแหน่งทางศาสนาเป็นความขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาฝ่ายศาสนจักรกับกษัตริย์และพวกขุนนางฝ่ายอาณาจักร ทั้งนี้เพราะวัดมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์และพวกขุนนางซึ่งมอบที่ดินให้แก่วัด ขณะเดียวกันวัดก็อยู่ภายใต้อํานาจของสันตะปาปา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ศาสนจักรหรือ อาณาจักรใครควรมีอํานาจในการแต่งตั้งหัวหน้าพระ ด้วยเหตุนี้เองจึงทําให้ศาสนจักรกับ อาณาจักรในช่วงยุคกลางมีความขัดแย้งในเรื่องอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ

63. เครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับกษัตริย์ในยุโรป คือข้อใด
(1) การขับออกจากศาสนา
(2) การยกกองทัพไปปราบปราม
(3) การใช้นโยบายทางการทูต
(4) การคว่ําบาตรทางเศรษฐกิจ
ตอบ 1 หน้า 243, 250, 66 (H), (คําบรรยาย) การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศขับไล่บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นพวกนอกศาสนา หรือการขับออกจาก ศาสนา ทําให้ไม่มีใครมาคบด้วยหรือถ้าเป็นกษัตริย์ก็จะถูกต่อต้านจากประชาชน ซึ่งการ บัพพาชนียกรรมนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับ กษัตริย์ในยุโรป ตัวอย่างเช่น กรณีพิพาทระหว่างสันตะปาปาเกรเกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิ เฮนรีที่ 4 เป็นต้น

64. ศูนย์กลางของจักรวรรดิไบแซนไทน์คือข้อใด
(1) เอเธนส์
(2) อเล็กซานเดรีย
(3) เยรูซาเล็ม
(4) คอนสแตนติโนเปิล
ตอบ 4 หน้า 251 – 252, 69 -70 (H) จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงตั้งจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ขึ้นในปี ค.ศ. 330 โดยมีเมืองหลวงหรือศูนย์กลางของจักรวรรดิ คือ คอนสแตนติโนเปิล ทั้งนี้ประชากรส่วนใหญ่จะมีเชื้อสายกรีก พูดภาษากรีก และนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์

65. ชนชั้นใดที่ใช้ชีวิตในระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราและจะกลายเป็นชนชั้นกลางในเวลาต่อมา
(1) ขุนนาง
(2) อัศวิน
(3) พ่อค้า
(4) ชาวนา
ตอบ 3 หน้า 285 – 286, 77 (H), (คําบรรยาย) ภายหลังสงครามครูเสดได้เกิดชนชั้นใหม่ คือ ชนชั้นกลางหรือพวก Burghers หรือพวกที่อาศัยอยู่ในเมือง (Burgs) ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เรียกตนเองว่า เสรีชน (Free Man) โดยคนกลุ่มนี้จะดําเนินชีวิตและประกอบอาชีพอิสระ คือ ทําการค้าและอุตสาหกรรม มีการใช้เงินตราแลกเปลี่ยน และปกครองตนเอง จึงเป็น พวกที่มีความมั่งคั่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา และเปลี่ยนสังคมให้นับถือ ความมั่งคั่งจนกลายเป็นชนชั้นกลางในเวลาต่อมา ซึ่งการเติบโตของชนชั้นกลางมีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายยุคกลาง

66. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ
(1) สันตะปาปาไม่พอใจจักรพรรดิ
(2) ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ
(3) กลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดเพื่อต่อต้านจักรพรรดิ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

67. ราชวงศ์แฮปสเบิร์กมีอํานาจปกครองอาณาจักรในข้อใด
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(4) ไบแซนไทน์
ตอบ 3 หน้า 292 – 293, 78 (H) จักรพรรดิชาร์ลที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับประกาศทองในปี ค.ศ. 1356 โดยกําหนดให้เจ้าผู้ครองแคว้นในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เจ้าเยอรมัน) 7 องค์ หรือจัดเป็นคณะผู้เลือกตั้ง 7 คน (7 Electors) เป็นผู้เลือกจักรพรรดิองค์ใหม่ โดยไม่ต้องมีการรับรองจากศาสนจักร ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสิทธิของสันตะปาปาออกจากการเลือกตั้ง จักรพรรดิองค์ใหม่แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1438 เป็นต้นมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์แฮปสเบิร์กแห่งออสเตรียมักจะได้รับการเลือกตั้งเป็นจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

68. ชนกลุ่มใดที่นําระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศสเข้าสู่เกาะอังกฤษ
(1) วิสิกอธ
(2) นอร์มัน
(3) บริตัน
(4) แซกซอน
ตอบ 2 หน้า 271 – 273, 72 (H), 74 (H), (คําบรรยาย) กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 (William I) แห่งนอร์มัน ทรงนํากองทัพเข้ารุกรานอังกฤษ สามารถรบชนะพวกแองโกลแซกซอน และเข้ายึดครองอังกฤษได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1066 อีกทั้งได้นําเอาระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศส เข้าสู่เกาะอังกฤษ ซึ่งทําให้มีผลตามมาคือ
1. กษัตริย์อังกฤษทรงมี 2 สถานภาพคือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้อง มีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งจากสภาพดังกล่าวได้กลายเป็นชนวน ของสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
2. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเป็นภาษาทางการในอังกฤษ
3. การนํารูปแบบแมเนอร์ (Manorial System) เข้ามาใช้ในอังกฤษ เป็นต้น

69. กฎบัตร แมกนา คาร์ตา ของอังกฤษ ในปี 1215 มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) จํากัดอํานาจของกษัตริย์
(2) เพิ่มความแข็งแกร่งด้านการทหาร
(3) ให้เสรีภาพทางการค้า
(4) ส่งเสริมอํานาจทางศาสนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

70. การที่สันตะปาปาพยายามหาหนทางแต่งตั้งพระชั้นสูง และพยายามปรับปรุงระบบภาษีศาสนาให้มั่นคง เป็นหนึ่งในกระบวนการตามข้อใด
(1) พยายามปลดปล่อยศาสนจักรจากการควบคุมของอาณาจักร
(2) พยายามขยายอาณาเขตพื้นที่ของรัฐสันตะปาปา
(3) พยายามปรับปรุงศีลธรรมของประชาชน
(4) พยายามปรับปรุงความประพฤติของพระ
ตอบ 1 หน้า 278, (คําบรรยาย) ในยุคกลางพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง มนุษย์ และพระคือตัวแทนของพระเจ้าในการชี้นํามนุษย์ ดังนั้นพระสันตะปาปาจึงควรเป็น ผู้นําของทุกสถาบันด้วยการดําเนินการคือ ปลดปล่อยศาสนจักร (วัด) จากการควบคุมของ ฝ่ายอาณาจักรโดยการเรียกร้องให้สันตะปาปาเป็นผู้แต่งตั้งพระชั้นสูง ให้สันตะปาปามีอํานาจสูงสุดในศาสนจักร และปรับปรุงระบบภาษีเพื่อให้สันตะปาปามีฐานะทางการเงินที่มั่นคง

71. แม้ฝ่ายคริสต์จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรปตรงกับข้อใด
(1) ได้แบ่งเมืองเยรูซาเล็มมาหนึ่งในห้าส่วน
(2) ทําให้ศาสนจักรกรีกออร์ธอดอกซ์มีอํานาจมากขึ้น
(3) กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ
(4) ทําให้เกิดการแปลงานเขียนของโรมันและกรีกมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 284 – 285, 77 (H), (คําบรรยาย) ฝ่ายคริสต์แม้จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรป คือ
1. เมืองและนครรัฐต่าง ๆ ที่ส่งของช่วยเหลือในสงครามมีอํานาจในการค้าขายมากขึ้น
2. มีการนําเงินและทองเข้ามาในยุโรปมากขึ้น การค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้าก็ค่อย ๆ เลิกไป และหันมาใช้เงินในการซื้อขาย
3. กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ เช่น เครื่องเทศจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น

72. ปรากฏการณ์ในข้อใดที่มีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลายยุคกลาง
(1) การมีบทบาทของชาวยิว
(2) การลดภาษีของศาสนจักร
(3) การเกิดบรรษัทร่วมทุน
(4) การเติบโตของชนชั้นกลาง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 65. ประกอบ

73.ข้อใดคือบทบาทของสมาคมการค้าหรือ “กิลด์” ในช่วงปลายยุคกลาง
(1) กําหนดราคาและคอยดูแลคุณภาพของสินค้า
(2) ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของแรงงาน
(3) มีส่วนในการก่อตั้งสหภาพคนงาน
(4) ดูแลและควบคุมเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ
ตอบ 1 หน้า 289 – 290, (คําบรรยาย) บทบาทสมาคมการค้าหรือ “กิลด์” ในช่วงปลายยุคกลางได้แก่
1. กําหนดชั่วโมงการทํางานและค่าแรงของคนงาน
2. กําหนดราคาที่แน่นอน และคอยดูแลคุณภาพและปริมาณของสินค้า
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ภรรยาและบุตรของสมาชิกผู้เสียชีวิตจากการทํางาน
4. จัดให้คนงานได้รับความบันเทิงในวันหยุด เป็นต้น

74. ในช่วงปลายยุคกลาง บริเวณใดของยุโรปที่เป็นเมืองสําคัญทางการค้า
(1) โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(2) คาบสมุทรอิตาลี
(3) คาบสมุทรไอบีเรีย
(4) แถบสแกนดิเนเวีย
ตอบ 2 หน้า 286, 77 (H), (คําบรรยาย) ในช่วงปลายยุคกลางนั้นเกิดเมืองสําคัญทางการค้าในคาบสมุทรอิตาลี เช่น เวนิส เจนัว และปิซ่า ส่วนแคว้นฟลานเดอร์ (เบลเยียม) คือศูนย์กลาง ทางการค้าระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ และเป็นเมืองรับสินค้าของอังกฤษเข้าสู่ประเทศบนภาคพื้นทวีป

75. สาเหตุสําคัญของสงคราม 100 ปี ในช่วงปลายยุคกลาง คือข้อใด
(1) กษัตริย์ฝรั่งเศสอ้างสิทธิในบัลลังก์อังกฤษ
(2) กษัตริย์อังกฤษอ้างสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งด้านการค้า
(4) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งทางศาสนา
ตอบ 2 หน้า 296 – 297, 79 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดสงคราม 100 ปี ระหว่างอังกฤษกับ ฝรั่งเศสในช่วงปลายยุคกลาง เนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลง โดยไม่มีรัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอมโดยอ้างกฎหมายที่เรียกว่า “Salic Law” เพื่อตัดสิทธิในราชบัลลังก์ของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดําเนินมาจนถึงปี ค.ศ. 1453

76. บทบาทสําคัญของ โจน ออฟ อาร์ค ในช่วงสงคราม 100 ปี คือข้อใด
(1) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองเกาะอังกฤษ
(2) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองบริเวณนอร์มังดี
(3) เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง
(4) เอาชนะอังกฤษได้ที่ก็เยนและยึดดินแดนคืนได้
ตอบ 3 หน้า 298 – 299, 79 (H) ในช่วงสงคราม 100 ปี ได้เกิดวีรสตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ โจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ขึ้น โดยเป็นสตรีที่เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูก อังกฤษจับไปเผาในฐานะเป็นพวกนอกรีต (แม่มด) ซึ่งการตายของโจนได้ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส เกิดความรู้สึกชาตินิยมหันกลับมาปรองดองกัน จนสามารถเอาชนะฝ่ายอังกฤษได้ที่ปารีสในปี ค.ศ. 1436 และยึดดินแดนคืนได้ตามลําดับคือ รูอัง นอร์มังดี และกี่เยน

77. ชนชาติใดที่มีส่วนสําคัญในการทําให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายลงในปี 1453
(1) อาหรับ
(2) ออตโตมัน เติร์ก
(3) ฮาน
(4) มองโกล
ตอบ 2 หน้า 255, 54 (H), 70 (H) จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายลง ในปี ค.ศ. 1453 เพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก (Ottoman Turks) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล หลังจากนั้นอารยธรรมไบแซนไทน์จึงถูกถ่ายทอดให้แก่ รัสเซียทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ปฏิทิน ตัวอักษร และนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ได้ย้ายศูนย์กลาง ไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย เรียกว่านิกาย Russian Orthodox

78. นักคิดในข้อใดที่เห็นว่าการเมืองและศีลธรรมเป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนกันหรือพิจารณารวมกัน
(1) โทมัส ฮอบส์
(2) โบแดง
(3) มาเคียเวลลี
(4) ดังเต้
ตอบ 3 หน้า 334, 94 (H), (คําบรรยาย) มาเคียเวลลี (Machiavelli) เห็นว่า การเมืองและศีลธรรม เป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนหรือพิจารณารวมกัน โดยผลงานสําคัญของเขาคือ The Prince ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชาธิปไตยหรือรัฐบาลที่มีอํานาจเด็ดขาด และมีความสําคัญ ในแง่ของการเมืองที่ว่า “The end always justifies the means” หรือการทําให้บรรลุ จุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยไม่คํานึงถึงศีลธรรม

79. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของลัทธิพาณิชย์นิยม
(1) ให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาดโดยที่รัฐไม่แทรกแซง
(2) ผลิตสินค้าเพื่อยังชีพเป็นหลัก
(3) ซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด ส่งออกสินค้าให้มากที่สุด
(4) ระบบการค้าอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนส่วนใหญ่
ตอบ 3 หน้า 339 – 340, 88 (H), (คําบรรยาย) ระบบเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลตั้งแต่ ปลายศตวรรษที่ 15 – 16 ในยุโรปตะวันตก เรียกว่า “ลัทธิพาณิชย์นิยม” (Mercantilism) ซึ่งหมายถึง การควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นการผสมกลมกลืนระหว่างลัทธิ ชาตินิยมกับลัทธินายทุนใหม่ พวกนายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล โดยลัทธินี้ มีแนวคิดพื้นฐานที่ว่าชาติจะมั่นคงได้ก็ต่อเมื่อมีการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากชาติอื่นน้อยที่สุดดังนั้นจึงพยายามที่จะซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด แต่จะพยายามขายหรือส่งออกสินค้าให้ได้มากที่สุด

80. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
(1) การคิดค้นอาวุธชนิดใหม่
(2) การแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน
(3) การเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส
(4) การได้ทองจํานวนมากจาก “โลกใหม่”
ตอบ 2 หน้า 267, 73 (H), (คําบรรยาย) ยุคแห่งการยึดอํานาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconguista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวม อาณาจักรคริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน นั่นคือ การอภิเษกสมรสระหว่างพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล กับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 แห่งอรากอน ซึ่งได้ร่วมกันปกครองในฐานะเป็นกษัตริย์คาทอลิกทําสงครามกับพวกมัวร์ จนมีชัยชนะในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั่นเอง

81.กระบวนการในข้อใดที่ทําให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐในยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่
(1) ความเสื่อมของระบอบฟิวดัล
(2) การติดต่อสัมพันธ์กับจีน
(3) การคัดค้านอํานาจของสันตะปาปาและศาสนจักร
(4) ความพยายามรวบอํานาจเข้าสู่ศูนย์กลางของกษัตริย์ในหลายรัฐ
ตอบ 1 หน้า 332, 86 (H) พัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐ (National States) ของ ยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของระบอบฟิวดัล และความสํานึกในความเป็นชาติ

82. ข้อใดเป็นเหตุผลหลักที่ชาวโปรตุเกสและสเปนถึงพยายามออกเรือเพื่อสํารวจทางทะเล
(1) เพื่อค้นหาเส้นทางการค้าไปยังทวีปเอเชีย
(2) เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
(3) เพราะต้องการเผยแพร่ศาสนา
(4) ค้นหาเส้นทางการเดินทัพใหม่ ๆ
ตอบ 1 หน้า 351, 87 (H) เหตุผลหลักที่ชาวโปรตุเกสและสเปนพยายามออกเรือเพื่อสํารวจทางทะเล คือ ต้องการสํารวจค้นหาเส้นทางการค้าไปยังทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการ สถาปนาประเทศโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1139 จนนําไปสู่การปฏิวัติทางการค้าในที่สุด

83. ข้อใดเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดที่ทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกช่วงต้นสมัยใหม่
(1) การเปิดเส้นทางการค้าใหม่ ๆ
(2) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่
(3) การติดต่อกับโลกอาหรับ
(4) การถกเถียงในศาสนจักร
ตอบ 2 หน้า 359, 372, 3 (H), 96 (H) โจฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทองชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องในการประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1445 ซึ่งการพิมพ์นี้มีผลต่อการปฏิวัติอารยธรรมยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก เพราะทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกต้นสมัยใหม่ ทําให้หนังสือหาอ่านได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศาสนา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนําไปสู่การปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา

84. นักเดินเรือในข้อใดเป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปยังอินเดียได้
(1) วาสโก ดา กามา
(2) โคลัมบัส
(3) ไดแอซ
(4) แมเจลแลน
ตอบ 1 หน้า 336, 351, 90 (H), (คําบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสภายใต้การนํา ของเจ้าชายเฮนรี (Henry) กษัตริย์นักเดินเรือ เป็นผู้เริ่มการสํารวจทางเรือเป็นชาติแรก โดยมีนักเดินเรือที่สําคัญ คือ
1. ไดแอช (Diaz) เดินทางไปถึงปลายสุดของทวีปแอฟริกา (แหลมกู๊ดโฮป) ในปี ค.ศ. 1487
2. วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) เป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป ไปถึงอินเดียได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1498
3. คาบรัล (Cabral) เดินทางไปถึงบราซิลในปี ค.ศ. 1500

85. ศิลปวิทยาของอารยธรรมใดที่ได้รับความสนใจหรือฟื้นฟูขึ้นในอิตาลีช่วงเรอเนสซองส์
(1) ไบแซนไทน์
(2) กรีก-โรมัน
(3) ยุคกลาง
(4) อียิปต์
ตอบ 2 หน้า 356 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ “เรอเนสซองส์” (Renaissance) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรม กรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสําคัญของมนุษย์ มนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลกปรัชญา ดังนั้นจึงนับว่ามีความแตกต่างจากยุคกลางซึ่งถูกครอบงําจากคริสต์ศาสนาโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

86. ข้อใดคือลักษณะสําคัญของศิลปะในสมัยเรอเนสซองส์
(1) เลียนแบบลักษณะการเขียนภาพในยุคกลาง
(2) มักจะเขียนเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู
(3) มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective และสมจริงมากขึ้น
(4) เขียนภาพในแนวนามธรรมที่เน้นรูปทรง เส้น สี มากกว่าความสมจริง
ตอบ 3 หน้า 356 – 357, 363, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของความคิดในสมัยเรอเนสซองส์ (ค.ศ. 1300 – 1500) มีดังนี้
1. เน้นความสําคัญของมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางแห่งจักรภพ
2. ในวรรณคดีจะย้ําความสนใจในเรื่องมนุษยนิยม เพื่อหาหนทางทําความเข้าใจในมนุษย์
3. มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective ทําให้ภาพเป็นธรรมชาติและสมจริงมากขึ้น
4. เน้นถึงเหตุการณ์ที่แสดงออกถึงความคิดของแต่ละคน เป็นต้น

87. ข้อใดเป็นผู้มีบทบาทสําคัญต่อการเกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) กาลิเลโอ
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) อีรัสมัส
(4) มาร์ติน ลูเธอร์
ตอบ: 4 หน้า 378 – 379, 98 (H) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่มีบทบาท สําคัญในการเริ่มการปฏิรูปศาสนา ซึ่งได้เขียนคําประท้วง 95 ข้อ ไปติดที่โบสถ์ในแคว้นแซกโซนี ทําให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนําเงินของเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นนับเป็น จุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนา และเป็นที่มาของคําว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

88. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) พระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อ และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น
(2) ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้
(3) การไปถึงทวีปอเมริกา ทําให้เกิดการตั้งคําถามต่อสิ่งที่เขียนไว้ในไบเบิล
(4) แนวคิดมนุษยนิยมที่ส่งเสริมให้มนุษย์ใส่ใจกับโลกปัจจุบันมากกว่าโลกหน้า
ตอบ 3 หน้า 377, 97 (H), (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา ได้แก่
1. สันตะปาปาหรือพระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือย และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น
สําหรับนําไปใช้จ่ายในสํานักวาติกัน
2. ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้ของศาสนา
3. มีการวิพากษ์วิจารณ์การฉ้อฉลและความประพฤติไม่ดีของพระ
4. นักมนุษยนิยมเผยแพร่แนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรใส่ใจกับโลกปัจจุบัน มากกว่าโลกหน้า (ชีวิตหลังความตาย) เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นต้น

89. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทําการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ
(1) ไม่พอใจการขายใบไถ่บาปของสันตะปาปา
(2) ต้องการหย่าขาดจากมเหสี แต่ศาสนจักรไม่ยอม
(3) สันตะปาปาไม่ยอมรับการขึ้นสู่บัลลังก์ของพระองค์
(4) ไม่พอใจการปฏิบัติตัวของพระในอังกฤษ
ตอบ 2 หน้า 383, 99 (H), (คําบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องการหย่าขาดจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับ แอน โบลีน แต่ศาสนจักร (สันตะปาปา) ไม่ยินยอม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงตัดขาดจากองค์กร คริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Pope” ซึ่งส่งผลทําให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็นโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่า นิกายอังกฤษ (Anglican Church / Church of England)

90.สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาฉบับใด
(1) สนธิสัญญาอ๊อกซเบิร์ก
(2) สนธิสัญญาแห่งเมืองนังต์
(3) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย
(4) สนธิสัญญาพิเรนิส
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 10: (H) สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) หรือสงครามยุโรป เป็น สงครามศาสนาครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในยุโรปในดินแดนเยอรมนี (อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ซึ่งมีประเทศผู้นําคือ อังกฤษและฝรั่งเศส กับพวกคาทอลิกซึ่งมีประเทศ ผู้นําคือ สเปน สงครามนี้สิ้นสุดลงด้วยการทําสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) โดยเป็นชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทําให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากทําให้การรวมเยอรมนีช้าไป เป็นเวลา 200 ปี

91. แนวคิดข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
(1) เสรีนิยม
(2) มาร์กซิส
(3) ชาตินิยม
(4) รัฐธรรมนูญนิยม
ตอบ 2 หน้า 456, 114 – 116 (H), (คําบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติของ พวกเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นการปฏิวัติภายใต้การนําของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการยกเลิก ระบอบอภิสิทธิ์ลงในฝรั่งเศส อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลของรัฐธรรมนูญนิยมซึ่งต้องการเลียนแบบ รัฐสภาของอังกฤษ และอิทธิพลของแนวคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) โดยฝูงชนปารีสได้บุก เข้าไปทําลายคุกบาสติลในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นที่คุมขังบุคคลที่เป็นศัตรูของรัฐ และเป็นเครื่องหมายของการปกครองระบอบเก่า ได้ทําให้วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี กลายเป็น วันชาติของฝรั่งเศสเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

92. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิวัติอเมริกา ค.ศ. 1776
(1) วันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาคือวันที่ 4 สิงหาคม
(2) กองทัพฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับอังกฤษรบกับกองทัพชาวอาณานิคมอเมริกัน
(3) คําประกาศอิสรภาพได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนักปรัชญาเสรีนิยม เช่น จอห์น ล็อค
(4) รัฐบาลอังกฤษใช้แนวคิดการค้าเสรีในอาณานิคมอเมริกาก่อนสมัยการปฏิวัติ
ตอบ 3 หน้า 454, 113 (H), (คําบรรยาย) จอห์น ล็อค (John Locke) และรุสโซ (Rousseau) เป็น นักปรัชญาเสรีนิยม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขา ได้ไปปรากฏในคําประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เพื่อสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้ร่างคําประกาศอิสรภาพดังกล่าว

93. ใครคือผู้ค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์
(1) โคเปอร์นิคัส
(2) นิวตัน
(3) เคปเลอร์
(4) กาลิเลโอ
ตอบ 4 หน้า 437, 111 (H) ผลงานที่สําคัญของกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ได้แก่
1. เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ส่องดูภูเขาและหุบเขาบนดวงจันทร์ วงแหวนของดาวเสาร์และค้นพบจุดดําหรือจุดดับบนดวงอาทิตย์และพบว่าดวงจันทร์หมุนรอบดาวพฤหัสบดี
2. เป็นผู้พิสูจน์การหมุนของดวงอาทิตย์
3. เป็นผู้พิสูจน์ว่าสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาและหนักนั้นจะตกถึงพื้นในเวลาเดียวกัน ถ้าปราศจากการต้านทานของอากาศ เป็นต้น

94. ใครคืออัครมหาเสนาบดีคู่พระทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13
(1) โวลแตร์
(2) ซุลลี
(3) ริเชอลิเออ
(4) มาซารินี
ตอบ 3 หน้า 404, 407, 106 (H) บาทหลวงเชอลิเออ (ค.ศ. 1624 – 1642) เป็นอัครมหาเสนาบดี คู่พระทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 และเป็นผู้นําฝรั่งเศสซึ่งเป็นคาทอลิกเข้าสู่สงครามสามสิบปี ร่วมกับกษัตริย์กุสตาอุส อดอลฟุส แห่งสวีเดนซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ คือ การมุ่งทําลายล้างราชวงศ์แฮปสเบิร์กที่ปกครองทั้งสเปนและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นการปิดล้อมฝรั่งเศสในขณะนั้นให้ได้ ทําให้ภายหลังสงครามฝรั่งเศสได้กลายมาเป็น มหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน

95. นักคิดคนใดเห็นว่าอํานาจอธิปไตยควรอยู่กับผู้มีอํานาจอย่างสมบูรณ์เพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวาย
(1) ฮอบส์
(2) ล็อค
(3) รุสโซ
(4) มาร์กซ์
ตอบ 1 หน้า 440 – 441, 112 (H), (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs) ชาวอังกฤษ เป็น นักปรัชญาที่เขียนวิเคราะห์สนับสนุนการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) ไว้ในหนังสือ Leviathan โดยเขาเห็นว่า อํานาจอธิปไตยควรอยู่กับกษัตริย์ผู้มีอํานาจอย่างสมบูรณ์ (Absolute Power) เพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวายหรือเกิดลัทธิอนาธิปไตยขึ้นอีก

96. ใครคือผู้ปกครองคนสําคัญของอังกฤษ (ค.ศ. 1653 – 1658) ในสมัยการปกครองแบบคอมมอนเวลท์
(1) พระนางอลิซาเบทที่ 1
(2) โอลิเวอร์ ครอมเวลล์
(3) วิลเลียม พิตต์
(4) จอห์น ล็อค
ตอบ 2 หน้า 414, 107 (H) เมื่ออังกฤษเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐภายใต้ชื่อว่า สาธารณรัฐเพียวริตัน (Puritan Republic) แล้ว อังกฤษก็อยู่ภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (ค.ศ. 1653 – 1658) ซึ่งเป็นการปกครองแบบคอมมอนเวลท์ (Commonwealth)

97. สถาปัตยกรรมในพระราชวังแวร์ซายส์ เป็นศิลปะรูปแบบใด
(1) ศิลปะนีโอคลาสิก
(2) ศิลปะโรมมาเนสก์
(3) ศิลปะบารอค
(4) ศิลปะโรแมนติก
ตอบ 3 หน้า 406, 428, 488 ศิลปะบารอก (The Baroque Style) เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้เนื้อที่มาก และมีเส้นโค้ง เช่น พระราชวังแวร์ซายส์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความเจริญทางด้านดนตรีแบบบารอคซึ่งรุ่งเรืองที่สุดในงานประพันธ์เพลงของ โจฮันน์ ซีบาสเตียน บัค ชาวเยอรมัน โดยผลงานที่มีชื่อเสียงมากก็คือ St. Matthew Passion (ค.ศ. 1729)

98. วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 เกิดเหตุการณ์สําคัญใดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
(1) ทําลายพระราชวังแวร์ซายส์
(2) ทําลายคุกบาสติล
(3) ทําลายพระราชวังลูฟวร์
(4) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

99. อะไรคือวัตถุประสงค์หลักของระบบ “The Continental System” ในสมัยจักรพรรดินโปเลียน
(1) เพื่อสร้างพันธมิตรรัฐต่าง ๆ ในยุโรปเพื่อต่อต้านปรัสเซีย
(2) เพื่อสร้างระบบการค้าร่วมในทวีปยุโรป
(3) เพื่อสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแก่อังกฤษ
(4) พระเจ้านโปเลียนต้องการสงบศึกกับประเทศเพื่อนบ้าน
ตอบ 3 หน้า 469, 117 (H), (คําบรรยาย) ระบบ The Continental System ในสมัยจักรพรรดินโปเลียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแก่อังกฤษ ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศ บนภาคพื้นยุโรปกับอังกฤษ ซึ่งทําให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซีย ต้องเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า

100. ขบวนการโรแมนติกเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดอะไร
(1) แนวคิดเหตุผลนิยมในยุคประเทืองปัญญา
(2) นิกายโรมันคาทอลิก
(3) แนวคิดชาตินิยม
(4) มาร์กซิส
ตอบ 1 หน้า 473 – 474, 119 (H) ขบวนการโรแมนติก (Romanticism) เป็นขบวนการที่ต่อต้าน ข้อจํากัดของศตวรรษที่ 18 หรือเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดเหตุผลนิยม (Rationalism) ในยุคประเทืองปัญญา แต่จะเน้นที่อารมณ์ ความรู้สึก และปัจเจกชน หรือเน้นที่ตัวบุคคล ซึ่งต่อมาขบวนการนี้ได้เข้าร่วมกับขบวนการชาตินิยมและเสรีนิยม ลุกฮือขึ้นทั่วยุโรปเพื่อทําการปฏิวัติ

101. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “ประกาศแห่งสิทธิ” (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในการปฏิวัติอันรุ่งเรือง
(1) พระเจ้าแผ่นดินทรงออกกฎหมายโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามิได้
(2) การร่างรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ
(3) การตัดสินคดีความต้องผ่านการพิจารณาจากลูกขุน
(4) กษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ต้องนับถือนิกายแองกลิคัน
ตอบ 2 หน้า 417 ประกาศแห่งสิทธิ (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในการปฏิวัติอันรุ่งเรือง มีใจความว่า
1. พระเจ้าแผ่นดินจะทรงออกกฎหมาย เก็บภาษี หรือจัดตั้งกองทัพโดยไม่ผ่านความเห็นชอบ ของรัฐสภามิได้
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ โดยไม่ต้องเกรงกลัวต่อการลงโทษ
3. การตัดสินคดีต่าง ๆ ต้องได้รับการพิจารณาจากคณะลูกขุน
4. กษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ต้องนับถือนิกายแองกลิคัน เป็นต้น

102. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะที่โดดเด่นของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช (ค.ศ. 1740 – 1786)
(1) มีกองทัพเข้มแข็ง
(2) ทรงชอบงานเขียนปรัชญาในยุคประเทืองปัญญา
(3) ทรงไม่ชอบดนตรี
(4) ทรงชื่นชมหนังสือ The Prince
ตอบ 3 หน้า 419, 108 (H) คุณลักษณะที่โดดเด่นของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช (ค.ศ. 1740 – 1786) ได้แก่
1. ทรงเป็นกษัตริย์ทรงภูมิธรรมหรือกษัตริย์ประเทืองปัญญา
2. ทรงชื่นชมหนังสือ The Prince ของมาเคียเวลลี
3. ทรงชอบหนังสือดนตรีและงานเขียนปรัชญาในยุคประเทืองปัญญา
4. ทรงพยายามหาเงินเพื่อสร้างกองทัพและรัฐบาลที่เข้มแข็ง เป็นต้น

103. บุคคลใดไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมทอผ้า
(1) จอห์น เคย์
(2) เจมส์ ฮาร์กรีฟ
(3) แซมมวล ครอมป์ตัน
(4) ชาร์ล เทาว์เซนต์
ตอบ 4 หน้า 496 – 497 บุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมทอผ้า ได้แก่
1. จอห์น เคย์ (John Kay) ประดิษฐ์ที่กระตุก
2. เจมส์ ฮาร์กรีฟ (James Hargreaves) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย
3. แซมมวล ครอมป์ตัน (Samuel Crompton) ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย
4. เอดมันด์ คาร์ทไรท์ (Edmund Cartwright) ประดิษฐ์หูกทอผ้า เป็นต้น

104. ใครคือผู้ที่นําสถิติประชากรมาวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์
(1) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(2) เดวิด ริคาร์โด
(3) โทมัส มัลธัส
(4) อดัม สมิธ
ตอบ 3 หน้า 502, (คําบรรยาย) โทมัส มัลธัส (Thomas Malthus) ชาวอังกฤษ เป็นผู้ที่นําสถิติ ประชากรมาวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ และถือว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ใช้วิชาสถิติ มาประยุกต์เข้ากับอัตราการเกิดของประชากร โดยมีงานวิทยานิพนธ์คือ Matthusian Doctrineซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มจํานวนประชากรซึ่งถ้าไม่มีการตรวจสอบแล้วจะมีอัตราเพิ่มขึ้น(ตามหลักเรขาคณิต) มากกว่าหนทางในการดํารงอยู่ (ตามหลักคณิตศาสตร์)

105. ชาร์ลส์ ดาร์วิน มีบทบาทสําคัญต่อแนวคิดเรื่องใด
(1) ปมเอดิปัส
(2) ทฤษฎีสัมพันธภาพ
(3) ทฤษฎีวิวัฒนาการมนุษย์
(4) การค้าเสรี
ตอบ 3 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการ (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสําคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

106. ใครคือนักคิดเศรษฐศาสตร์ที่เสนอนโยบายการค้าเสรี (Laissez-Faire)
(1) รุสโซ
(2) ไอแซค นิวตัน
(3) โทมัส ฮอบส์
(4) อดัม สมิธ
ตอบ 4 หน้า 430, 499 – 500, 502, (คําบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาของเศรษฐศาสตร์ สมัยใหม่ ได้เสนอนโยบายการค้าเสรี (Laissez-Faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี คือ การที่รัฐบาล จะต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยการตั้งข้อจํากัดทางการค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะว่าบุคคลควรมีโอกาสแสวงหากําไรของตนทางเศรษฐกิจโดย ไม่ถูกควบคุมและจํากัดด้วยลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ซึ่งมีลักษณะเป็นการค้าผูกขาดเฉพาะแห่ง

107. ข้อใดไม่ใช่บุคคลที่มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์
(1) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(2) อเลสซานโดร โวลตา
(3) เฟรเดอริก โชแปง
(4) โรเบิร์ต บอยล์
ตอบ 3 หน้า 521 – 522, 133 (H), (คําบรรยาย) บุคคลที่มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
1. ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
2. ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องเพศที่มีผลต่อมนุษย์ทางด้านประสาทและจิตวิทยา
3. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) คิดค้นทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์
4. อเลสซานโดร โวลตา (Alessandro Volta) คิดค้นแบตเตอรี่ไฟฟ้า
5. โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) คิดค้นกฎของบอยล์ เป็นต้น

108. นักคิดคนใดที่มีแนวคิดแบบอนาธิปไตย
(1) ปิแอร์ พรูดอง
(2) คาร์ล มาร์กซ์
(3) อดัม สมิธ
(4) เจเรือมี เบนธัม
ตอบ 1 หน้า 505 – 506 อนาธิปไตย (Anarchism) เป็นลัทธิต่อต้านระบบนายทุนที่มีแนวความคิด รุนแรงกว่าสังคมนิยมมาก เพราะสังคมนิยมจะเน้นที่การรวมกลุ่ม แต่อนาธิปไตยจะทําลาย อํานาจทุกชนิด ทั้งความคิดเรื่องการปกครองโดยรัฐ ระเบียบประเพณี และระบบชนชั้นเหล่านี้ จะต้องไม่มีเหลืออีกในโลก เนื่องจากลัทธินี้เชื่อว่าทุกรัฐบาลล้วนกดขี่ โดยนักคิดคนสําคัญของ ลัทธินี้ได้แก่ วิลเลียม กอดวิน, ปิแอร์ พรูดอง และไมเคิล บูกานิน

109. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์
(1) แนวคิดของมาร์กซ์ได้รับอิทธิพลจากเฮเกล
(2) เป้าหมายทางการเมืองของมาร์กซ์คือสังคมไร้ชนชั้น
(3) มาร์กซ์ยอมรับว่าแนวคิดของตนเองเป็นแบบสังคมยูโทเปีย
(4) เขาเห็นด้วยกับระบบทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 504 สังคมนิยมปฏิวัติ (The Revolutionary Socialism) ของคาร์ล มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพล จากวิภาษวิธี (Dialectic) ของเฮเกล โดยมาร์กซ์ได้ชื่อว่าเป็น “ศาสดาพยากรณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ” แต่ผลงานของเขาทําให้สาวกต่อมานิยมเรียกลัทธิของตนว่า “ลัทธิคอมมิวนิสต์” มากกว่าที่จะเรียกว่า “ลัทธิสังคมนิยม” ทั้งนี้เพื่อต้องการกําหนดลักษณะลัทธิของตนให้ แตกต่างไปจากพวกยูโทเปียและสังคมนิยมคาทอลิกนั่นเอง

110. สาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถทํารัฐประหารได้สําเร็จในปี 1851
(1) พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝรั่งเศสทุกชนชั้น
(2) ชนชั้นกลางต้องการให้พวกโซเชียลิสต์มีอํานาจทางการเมือง
(3) พระองค์เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
(4) พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรให้ทํารัฐประหาร
ตอบ 1 หน้า 510, (คําบรรยาย) จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถทํารัฐประหารได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1851 เพราะพระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝรั่งเศสทุกชนชั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ พระองค์เอาใจประชาชนด้วยการส่งกองทัพไปช่วยพระสันตะปาปาที่โรมใน ค.ศ. 1849 ทรง ดําเนินการปราบปรามฝ่ายนิยมสาธารณรัฐของมาสลินี และช่วยให้พระสันตะปาปาไพอัสที่ 9 ดํารงตําแหน่งอยู่ได้ นอกจากนี้ยังเอาใจกรรมกรด้วยการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการ ทํางานของกรรมกรวันละ 12 ชั่วโมงอีกด้วย

111. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของบิสมาร์ก
(1) สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม
(2) เป็นผู้นําประชาธิปไตย
(3) เป็นนักคิดอนุรักษนิยม
(4) สนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์
ตอบ 3 หน้า 517 – 518, 128 – 129 (H), (คําบรรยาย) บิสมาร์ก (Bismarck) เป็นนักคิดอนุรักษนิยม หรือพวกหัวเก่า ซึ่งต่อต้านฝ่ายเสรีนิยมอย่างรุนแรง โดยเขาประกาศใช้นโยบาย “เลือดและเหล็ก” (Blood and Iron) ในการบริหารประเทศ และดําเนินนโยบายรวมเยอรมนีโดยใช้วิธีการ ทําสงครามถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งสามารถจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

112. แนวคิดใดที่ส่งเสริมความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม
(1) แนวคิดดาร์วิน
(2) แนวคิดเลนิน
(3) แนวคิดมาร์กซิส
(4) แนวคิดจิตวิเคราะห์
ตอบ 2 หน้า 524, (คําบรรยาย) แนวคิดของเลนิน (Lenin) ในเรื่อง “Imperialism The Highest Stage of Capitalism” (1916) นั้นเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเห็นว่า จักรวรรดินิยมนั้นจะปรากฏในฐานะที่เป็นพัฒนาการและการดํารงอยู่ของลักษณะ พื้นฐานของระบบทุนนิยมโดยทั่วไป นั่นคือ ระบบทุนนิยมโดยทั่วไปนั้น เมื่อมีการพัฒนาตนเอง และดํารงอยู่มาจนถึงระดับหนึ่งก็จะกลายเป็นจักรวรรดินิยมขึ้นมา แต่ทุนนิยมจะกลายเป็น จักรวรรดินิยมทุนนิยม (Capitalist Imperialism) ก็ต่อเมื่อมันพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุด

113. อาณานิคมใดไม่ถูกฝรั่งเศสปกครอง
(1) ตูนีเซีย
(2) เวียดนาม
(3) ลาว
(4) พม่า
ตอบ 4 หน้า 525, 132 (H) อาณานิคมที่เคยถูกฝรั่งเศสปกครอง ได้แก่ แอลจีเรีย ตูนีเซีย เวียดนาม ลาว เขมร (กัมพูชา) ฯลฯ

114. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ค.ศ. 1882
(1) รัสเซีย
(2) ออสเตรีย-ฮังการี
(3) เยอรมนี
(4) อิตาลี
ตอบ 1 หน้า 529 – 531, 133 (H) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอํานาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. กลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
2. กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ

115. ประเทศใดอยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente)
(1) สวีเดน
(2) ฝรั่งเศส
(3) เยอรมนี
(4) อิตาลี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ

116. ผู้นําคนใดคือผู้ถูกสังหารจนนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2
(2) ฮิตเลอร์
(3) อาร์ชบุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์
(4) มุสโสลินี
ตอบ 3 หน้า 534 – 535, 562, 133 (H) ชนวนเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเหตุการณ์การลอบปลง พระชนม์ อาร์ชบุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) มงกุฎราชกุมาร ออสเตรีย ที่ซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย ประเทศเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยนักศึกษาชาวเซิร์บชื่อ กาวริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip) ทําให้ออสเตรีย ตัดสินใจยื่นคําขาดต่อเซอร์เบียให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนภายใน 24 ชั่วโมง แต่เซอร์เบียไม่อาจรับได้ ดังนั้นฝ่ายสนับสนุนทั้งสองข้างจึงถูกผลักดันให้ใช้กําลังเข้าประหัตประหารกัน จนลุกลามกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา

117. พรรคใดคือผู้นําในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
(1) พรรคบอลเชวิค
(2) พรรคเป็นเชวิค
(3) พรรคนาซี
(4) พรรคฟาสซิสแห่งชาติ
ตอบ 1 หน้า 537, 134 – 136 (H) การปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ภายใต้การนําของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นํา ได้ส่งผลให้รัสเซียจําเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ ทําให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียต จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1918 เลนินก็ได้ทําสนธิสัญญาสงบศึกเบรสท์-ลิตอฟ (Brest-Litovsk) กับฝ่ายเยอรมนี

118. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง
(1) ความไร้ประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ
(2) เศรษฐกิจของประเทศที่มีอาณานิคมมั่นคง ในขณะที่ประเทศที่ไร้อาณานิคมกลับตกต่ำ
(3) เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
(4) กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ ค.ศ. 1939
ตอบ 2 หน้า 546 – 547, 550, 138 (H) สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) คือ
1. ความอ่อนแอหรือความไร้ประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ
2. ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอํานาจซึ่งไม่มีอาณานิคมเหมือนชาติมหาอํานาจชาติอื่น ๆ
3. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก (The Great Depression) ในปี ค.ศ. 1929
4. กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939
5. ความไม่เป็นธรรมในการทําสนธิสัญญาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้น

119. ข้อใดไม่ใช่ประเทศในฝ่ายอักษะ
(1) อิตาลี
(2) เยอรมนี
(3) จีน
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 3 หน้า 138 (H), (คําบรรยาย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอํานาจ ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น ฯลฯ
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต จีน ฯลฯ

120. ประเทศใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมาชิกถาวรแห่งองค์การสหประชาชาติ
(1) เยอรมนี
(2) ฝรั่งเศส
(3) จีน
(4) สหภาพโซเวียต
ตอบ 1 หน้า 559, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) แห่งองค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวรมี 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
2. สมาชิกไม่ถาวรหรือสมาชิกสมทบมี 10 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สมัชชาใหญ่เป็นผู้เลือกด้วย การลงคะแนนเสียง 2 ใน 3 โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

HIS1001 อารยธรรมตะวันตก s/2561

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1001 อารยธรรมตะวันตก
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. การค้นพบถ่านหินที่ใดแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิต
(1) เกาะมาดากัสก้า
(2) เกาะอังกฤษ
(3) เกาะกาลาปากอส
(4) หมู่เกาะสปิตเบอร์เกน
ตอบ 4 หน้า 2, 7 (H) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะเกิดขึ้นหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาช้านาน ตัวอย่างเช่น การขุดค้นพบแหล่งถ่านหินในบริเวณหมู่เกาะสปิตเบอร์เกน (Spitbergen) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ใกล้กับบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือบริเวณ ที่เส้นขนาน 80 องศาเหนือ ซึ่งปัจจุบันถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ําแข็งนั้น อันเป็นประจักษ์พยานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตป่าไม้และมีอากาศแบบกึ่งเมืองร้อนมาก่อน

2. ความสําคัญของทฤษฎีโนแมดทางอารยธรรมเน้นในเรื่องใด
(1) สภาพภูมิศาสตร์
(2) สภาพภูมิอากาศ
(3) การทําลายอารยธรรม
(4) ผู้ชนะรับเอาอารยธรรมของผู้แพ้มาปรับใช้
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 13 (H) ทฤษฎีโนแมด (Nomad Theory) หมายถึง การที่ผู้ชนะยอมรับเอา อารยธรรมที่เจริญกว่าของผู้แพ้มาเผยแพร่และปรับใช้ เช่น กรณีที่พวกเซไมท์เข้ายึดครองดินแดน ของพวกสุเมเรียน และรับเอาอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาปรับใช้ เป็นต้น

3. มนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยาที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบ ยุคใด
(1) Archeozoic
(2) Pleistocene
(3) Cenozoic
(4) Mesozoic
ตอน 2 หน้า 2, 8 (H), (คําบรรยาย) ยุคน้ําแข็ง (Pleistocene) เป็นยุคที่ธารน้ําแข็งปกคลุมส่วนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งเริ่มประมาณ 1 ล้านปีมาแล้ว โดยพบว่ามนุษย์ถือกําเนิดขึ้นในยุคสมัยทางธรณีวิทยา ที่มีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 4 ครั้งต่อ 1 รอบในยุคดังกล่าวนี้ ระยะสุดท้ายคือ ระยะนานที่สุด ประมาณ 150,000 ปี หรืออย่างน้อยที่สุดประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว

4. บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) คือข้อใด
(1) โฮโม อีเรคตัส
(2) โฮม เซเปียนส์
(3) โฮโม นีแอนเดอร์ล
(4) โฮโม ฟาเบอร์
ตอบ 2 หน้า 11 – 12, 38, 1C (H) โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) หรือมนุษย์ฉลาด เริ่มปรากฏขึ้น ครั้งแรกในยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งถือเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิดและรู้จักการโต้ตอบ มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ ปัจจุบันมากขึ้น และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน (Primate) ซึ่งจะมีอยู่ 3 เผ่าพันธุ์ คือ
1. มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) หรือคนผิวขาว
2. มนุษย์กรมัลดี (Grimaldi) หรือคนผิวดํา
3. มนุษย์ชานเซอเลด (Chancelade) หรือคนผิวเหลืองหรือสีน้ำตาล

5. จุดประสงค์แรกในการเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์ คือข้อใด
(1) เพื่อใช้แรงงานทางการเกษตร
(2) เพื่อประกอบพิธีกรรม
(3) เพื่อใช้เป็นอาหาร
(4) เพื่อเป็นเพื่อน
ตอบ 3 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินกลาง (Mesolithic) ถือว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือเป็นยุคที่เชื่อมต่อระหว่างยุคหินเก่า (ยุคเก็บผลไม้) กับยุคหินใหม่ (ยุคปลูกผลไม้) นอกจากนี้ ยังเป็นยุคที่มนุษย์อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ทําอาชีพประมง และเริ่มรู้จักการ เลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์ชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนํามาเลี้ยงคือ สุนัข โดยมีจุดประสงค์แรกในการเลี้ยงก็เพื่อใช้บริโภคเป็นอาหาร

6. ในยุคหินใหม่ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาถึงขั้นใด
(1) เริ่มรู้จักการเพาะปลูก
(2) เริ่มรู้จักการล่าสัตว์
(3) เริ่มรู้จักการใช้ไฟ
(4) เริ่มตั้งรกรากและสร้างอารยธรรม
ตอบ 4 หน้า 14, 39, 10 (H), (คําบรรยาย) ยุคหินใหม่ (Neolithic / New Stone Age) เป็นยุคที่มนุษย์ รู้จักเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก รวมทั้งเป็นยุคของการสร้างสมอารยธรรมในระยะแรก ๆ ของโลก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนจากชุมชนเร่ร่อนเป็นชุมชนรกราก หรือเป็นยุคที่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็น ครั้งแรก มีหัวหน้าปกครอง มีการแบ่งงานกันทํา และเริ่มดํารงชีวิตแบบสังคมเมือง (Urban Life) ซึ่งถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม(Civilization) ของมนุษย์

7. ข้อใดจัดเป็นหลักฐานดั้งเดิม Primary Record
(1) บทความ
(2) วารสาร
(3) หนังสือพิมพ์
(4) จารึก
ตอบ 4 หน้า 21, 12 (H), (คําบรรยาย) เรื่องราวที่ได้จารึกไว้เป็นหลักฐาน (Written Record) เป็น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่สําคัญ ที่สุดในการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. หลักฐานดั้งเดิม (Primary Record) เช่น จารึกโบราณ หลักศิลาจารึก สนธิสัญญา จดหมายเหตุ เอกสารทางการทูต แถลงการณ์ของรัฐบาล พงศาวดาร ฯลฯ 2. หลักฐานรอง (Secondary Record) ได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงมาจากหลักฐานดั้งเดิม
เช่น บทความ วารสาร หนังสือพิมพ์ ตําราอารยธรรมตะวันตก ฯลฯ

8.ระบบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่างอนารยชนและโรมัน คือ
(1) เทวสิทธิกษัตริย์
(2) สมบูรณาญาสิทธิราชย์
(3) ประชาธิปไตย
(4) ศักดินาสวามิภักดิ์
ตอบ 4 หน้า 17, 222 – 223, (คําบรรยาย) ในช่วงยุคกลางของยุโรป (ค.ศ. 500 – 1500) สภาพบ้านเมือง ของยุโรปเสื่อมโทรม กษัตริย์ไม่มีความสามารถ มีพวกอนารยชนเยอรมันเข้ามารุกรานอยู่ตลอดเวลา และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ส่งผลให้ประชาชนได้รับความยากลําบากมาก จนต้องหันไปขอความคุ้มครอง จากพวกขุนนางแทน ด้วยเหตุนี้จึงทําให้เกิดระบอบการเมืองใหม่ที่เรียกว่า ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) ขึ้น ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ได้รับอิทธิพลผสมระหว่าง ประเพณีเดิมของทั้งโรมันและอนารยชนเยอรมัน

9.พวกเซไมท์เข้ายึดครองและรับอารยธรรมของพวกสุเมเรียนมาใช้ เป็นลักษณะของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีภูมิศาสตร์
(2) ทฤษฎีโนแมด
(3) ทฤษฎีดินเสื่อม
(4) ทฤษฎีศาสนา
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

10. อารยธรรมใดที่ได้รับการขนานนามว่า “ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์”
(1) อารยธรรมกรีก
(2) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(3) อารยธรรมอียิปต์
(4) อารยธรรมโรมัน
ตอบ 3 หน้า 46, 17 (H) เฮโรโดตัส (Herodotus) เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกที่ได้กล่าวไว้ว่า “อียิปต์คือ ของขวัญจากลุ่มแม่น้ําไนล์” (Egypt is a gift of the Nites) ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศของอียิปต์จะล้อมรอบไปด้วยทะเลทราย มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง และมีฝนตกเฉพาะบริเวณเดลต้าแม่น้ำไนล์จึงเป็นหัวใจสําคัญที่หล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่อียิปต์ จนทําให้อียิปต์เป็นดินแดน ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม และมีความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสมอารยธรรม อันยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้

11. สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีป
(1) ยุโรป
(2) เอเชียและแอฟริกา
(3) ออสเตรเลีย
(4) อเมริกา
ตอบ 2 หน้า 1 – 2, 8 (H) นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าแหล่งกําเนิดของมนุษย์อยู่ในทวีปเอเชียและ แอฟริกา รวมทั้งบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียที่อยู่ติดกับยุโรป คือบริเวณยูเรเชีย (Eurasia) ซึ่งมีภูมิอากาศเหมาะสําหรับการพัฒนาของไพรเมท (Primate) ที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ต่อมา มนุษย์เหล่านี้ก็ได้กระจัดกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในที่ต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

12. จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมสมัยแรก คือข้อใด
(1) เพื่อการจัดระบบสังคมในเรื่องวันหยุดและการแบ่งงาน
(2) เพื่อต้องการทราบระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเพื่อทําการเกษตร
(3) เพื่อใช้สําหรับวัน เวลา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 35 – 36, 14 (H) (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการสร้างปฏิทินของอารยธรรมในสมัยแรก คือ เพื่อต้องการทราบระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และการกําหนดระยะเวลาในแต่ละปี ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทําเกษตรกรรม เช่น ปฏิทินสุริยคติของอียิปต์ เป็นต้น

13. จูเลียส ซีซาร์ นําปฏิทินมาประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน ซึ่งเป็นมรดกจากอารยธรรมใด
(1) อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
(2) อารยธรรมมายา
(3) อารยธรรมอินคา
(4) อารยธรรมอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 52, 50 – 51 (H) ในปี 46 B.C. จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้นําเอาปฏิทินแบบสุริยคติ ของอียิปต์มาเผยแพร่และประยุกต์ใช้กับอาณาจักรโรมัน ซึ่งปฏิทินดังกล่าวนี้ยังคงใช้สืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน โดยชื่อเดือนกรกฎาคม หรือ July ก็ได้มาจากชื่อของ Julius Caesar นั่นเอง

14. มนุษย์รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติให้ความอบอุ่น และประกอบอาหารในยุคใด
(1) หินเก่า
(2) หินแรก
(3) หินเก่าตอนต้น
(4) หินกลาง
ตอบ 3 หน้า 8 – 9, 9 – 10 (F) ยุคหินเก่าตอนต้น หรือ “ยุคล่าสัตว์” (The Age of the Hunter) เป็น สมัยที่มนุษย์รู้จักใช้หินเป็นอาวุธในการล่าสัตว์ อาศัยอยู่ในถ้ํา รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากธรรมชาติมาให้ ความอบอุ่น และประกอบอาหารให้สุก มีร่างกายยืดตรง พูดได้ และมีมันสมองใหญ่ มนุษย์ในสมัยนี้ ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในแอฟริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ East African Man

15. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การประดิษฐ์ Papyrus ทําจากต้นกก ต้นอ้อ ริมแม่น้ําไนล์
(2) Book of the Death คือหนังสือตัดสินความดีหลังจากเสียชีวิตของชาวอียิปต์
(3) อักษร Cuneiform มีลักษณะเป็นรูปลิ่ม กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว
(4) ชาวเมโสโปเตเมียรับวิธีการสร้างปฏิทินจากอียิปต์
ตอบ 4 หน้า 36, 69 – 70, 23 – 24 (H) ปฏิทินของชาวสุเมเรียน (Sumerians) ในดินแดนเมโสโปเตเมีย เป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้า โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 354 วัน ในขณะที่ปฏิทินแบบสุริยคติของชาวอียิปต์เกิดขึ้นจากการสังเกตระยะเวลาการขึ้นลงของ แม่น้ำไนล์ โดยกําหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน

16. ข้อใดเป็นลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย
(1) เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
(2) มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
(3) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 65 – 69, 73, 23 – 24 (H), (คําบรรยาย) ลักษณะของดินแดนเมโสโปเตเมีย มีดังนี้
1. เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
2. เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ปิดเผย ไม่มีปราการทางธรรมชาติป้องกันการรุกรานจากศัตรู
3. มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่รวมกัน
4. มีชาวสุเมเรียนเป็นผู้คิดประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
5. เป็นแหล่งกําเนิดกฎหมายฉบับแรกของโลก คือประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ของพระเจ้าฮัมมูราบี เป็นต้น

17. กลุ่มชนที่ได้รับฉายาว่า “พ่อค้าทางบก” คือกลุ่มใด
(1) อัคคาเดียน
(2) แคลเดียน
(3) อราเมียน
(4) ฟินิเซียน
ตอบ 3 หน้า 86 – 87, 27 (H. ความสําคัญของพวกอราเบียน คือ
1. ภาษาอราเมียนเป็นภาษากลางของกลุ่มเอเชียตะวันตก และเป็นภาษาที่พระเยซูและเหล่าสาวก
ใช้ในการสอนศาสนา
2. พวกอราเมียนได้รับฉายาว่าเป็น “พ่อค้าทางบก” ที่ยิ่งใหญ่ในเขตตะวันออกใกล้ (Near East) หรือบริเวณเอเชียตะวันตก

18.Pharaoh ผู้ปกครองอียิปต์ปกครองภายใต้ระบอบใด
(1) เทวาธิปไตย
(2) ประชาธิปไตย
(3) อนาธิปไตย
(4) อภิชนาธิปไตย
ตอบ 1 หน้า 53, 60, 19 (H), (คําบรรยาย) การปกครองของอียิปต์ในสมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิด เป็นแบบเทวาธิปไตย โดยมีฟาโรห์ (Pharaoh) เป็นประมุขสูงสุด และทรงเป็นเทวกษัตริย์ที่มีฐานะ เป็นโอรสของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์คือ สุริยเทพเรหรือรา (Re / Ra) โดยทรงทําหน้าที่เป็นทั้ง หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าพระ เป็นผู้พิพากษาสูงสุด รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาการกองทัพและ บัญชาการทางด้านพลเรือนด้วย

19. ข้อใดไม่ใช่ผลงานของชาวสุเมเรียน
(1) อักษรคูนิฟอร์ม
(2) การนับหน่วย 60
(3) ศาสนาโซโรแอสเตอร์
(4) วิหารซิกกูแรต
ตอบ 3 หน้า 69 – 71, 23 – 24 (H) อารยธรรมที่สําคัญของชาวสุเมเรียน คือ
1. การประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่ม โดยใช้ลิ่มหรือวัสดุที่มี ความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนําไปตากแดดหรือเผาไฟให้แห้ง
2. การสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurats) เพื่อใช้เป็นวิหารของเทพเจ้า
3. การทําปฏิทินแบบจันทรคติขึ้นใช้ โดยหนึ่งปีจะมี 354 วัน
4. การนับหน่วย 60 เช่น 1 ชั่วโมง มี 60 นาที, 1 นาที มี 60 วินาที เป็นต้น

20. ผู้ที่เรียกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ คือกลุ่มใด
(1) ฟินิเซียน
(2) แคลเดียน
(3) ฮิบรู
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 2 หน้า 82 – 84, 26 (H) ผลงานที่สําคัญของกลุ่มแคลเดียน คือ
1. การสร้างสวนลอยแห่งนครบาบิโลน (Hanging Garden of Babylonia)
2. การเรียกชื่อวันต่าง ๆ ทั้ง 7 วันใน 1 สัปดาห์ตามชื่อของดวงดาวในระบบสุริยะ
3. การหาระยะเวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก เวลาที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราส และคํานวณความยาวของปีทั้งหมดได้อย่างแม่นยํา

21. กลุ่มคนที่ปรับปรุงอักษรพยัญชนะ 22 ตัว และถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน คือกลุ่มใด
(1) ฟินิเชียน
(2) แคลเดียน
(3) ฮิบรู
(4) ฮิทไทท์
ตอบ 1 หน้า 84 – 85, 27 (H), (คําบรรยาย) ชาวฟินิเซียน (Phoenicians) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางทะเล” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 11 B.C. หรือประมาณปี 1000 B.C. นอกจากนี้ ชาวฟินเขียนยังได้ชื่อว่าเป็นนักลอกเลียนและนักปรับปรุงโดยเลียนแบบการปกครองมาจากอียิปต์และบาบิโลเนียผ่านทางการค้าขาย รวมทั้งรับรูปแบบตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกของอียิปต์ และ ตัวอักษรคูนิฟอร์มของสุเมเรียนมาดัดแปลงเป็นของตน เพื่อใช้จดบันทึกทางการค้า โดยปรับปรุง อักษรพยัญชนะ 22 ตัว ซึ่งต่อมาตัวอักษรดังกล่าวก็ถูกถ่ายทอดให้กับอักษรกรีก-โรมัน

22. ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือข้อใด
(1) เป็นผู้ถ่ายทอดระบบการใช้ปฏิทินให้กับกรีก-โรมัน
(2) การผลิตเหรียญกษาปณ์ครั้งแรก, มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพาณิชย์
(3) มีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงครามและรูปสลักนูนต่ำ, มีนิสัยดุร้าย
(4) ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ชอบสร้างสรรค์งานศิลปะ
ตอบ 3 หน้า 80 – 82, 25 – 26 (H) ลักษณะโดดเด่นของชาวอัสสิเรียน คือ
1. เป็นพวกนักรบที่มีนิสัยดุร้ายป่าเถื่อน และมีความเชี่ยวชาญในด้านการทําสงคราม
2. เป็นชนชาติแรกที่จัดระเบียบการปกครองจักรวรรดิอย่างมีระบบ
3. สร้างหอสมุดแห่งแรกของเอเชียตะวันตกคือ หอสมุดที่กรุงนิเนอเวห์ในสมัยพระเจ้าอัสซูร์บานิพัล
4. ชาวอัสสิเรียนได้รับฉายาว่าเป็น “ชาวโรมันตะวันออก” เพราะมีลักษณะเหมือนชาวโรมัน
5. ศิลปะที่มีชื่อเสียงมากของอัสสิเรียนคือ การแกะสลักภาพนูนต่ําซึ่งสะท้อนถึงลักษณะที่ดุร้าย ของชาวอัสสิเรียน เป็นต้น

23. ข้อใดคือกษัตริย์คนสําคัญของเปอร์เซีย
(1) ซากอน
(2) ครีซัส
(3) อัสซูร์บานิพัล
(4) ดาริอุส
ตอบ 4 หน้า 93 – 95, 31 (H) พระเจ้าดาริอุสมหาราช เป็นกษัตริย์คนสําคัญของเปอร์เซีย ทรงมีฉายา ว่า “King of Kings” โดยมีผลงานที่สําคัญดังนี้
1. ขยายจักรวรรดิเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง โดยแบ่งเขตปกครองออกเป็น 20 มณฑล
2. สร้างถนนไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วจักรวรรดิ มีชื่อว่า “เส้นทางพระราชา” (The King’s Highway) มีระยะทางประมาณ 1,600 ไมล์
3. มีการวางระบบสื่อสารระหว่างเมืองหลวงถึงมณฑลและการวางกําลังทหารไว้ตามจุด ยุทธศาสตร์สําคัญ ๆ เพื่อการควบคุมเมืองขึ้น
4. มีการเก็บบัญชีภาษีไว้ที่เมืองหลวง เพื่อเป็นการควบคุมการเงิน

24. ศาสนาที่มีความเชื่อ คําสอน ว่าทุกสิ่งมีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ถือว่าเป็นศาสนาแห่งเหตุผลในยุคโบราณคือศาสนาใด
(1) อิสลาม
(2) ยูดาย
(3) เอเดรียน
(4) โซโรแอสเตอร์
ตอบ 4 หน้า 96 – 98, 31 (H) ลักษณะสําคัญของศาสนาโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) คือ
1. เป็นศาสนาประจําชาติของเปอร์เซีย โดยมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา
2. สอนว่าทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง ซึ่งต่อสู้เอาชนะกันตลอดเวลา โดยมีพระอนุรา มาสดา (Ahura Mazda) เป็นเทพแห่งแสงสว่างและความดี และมีอหริมัน (Aharyman) เป็นเทพแห่งความมืดและความชั่ว
3. เป็นศาสนาแห่งจริยธรรมและเหตุผล โดยเชื่อว่าตายไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมที่เคยทําไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่
4. เป็นศาสนาที่ประกาศสัจธรรมเป็นศาสนาแรกของโลกตะวันตก
5. เป็นศาสนาที่มีการบูชาไฟ เป็นต้น

25. ข้อใดไม่ใช่ผลจากแม่น้ําไนล์
(1) การสังเกต น้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อทําปฏิทิน
(2) การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า
(3) เกษตรกรรม
(4) การประดิษฐ์ปฏิทินแบบจันทรคติ
ตอบ 4 หน้า 46 – 47, 53 – 54, 17 – 18 (H) ความสําคัญของแม่น้ำไนล์ที่มีผลต่อการสร้างอารยธรรม
ของอียิปต์ มีดังนี้
1. ทําให้อียิปต์เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์
2. การสังเกต น้ำขึ้น-น้ำลง ของแม่น้ําไนล์เพื่อทําการชลประทาน ได้นําไปสู่การประดิษฐ์ปฏิทิน แบบสุริยคติ
3. การสร้างพีระมิดบูชาเทพเจ้า เพราะเชื่อว่าการที่แม่น้ำไนล์อุดมสมบูรณ์นั้นเป็นการกระทําของเทพเจ้า
4. การขึ้นลงของแม่น้ำไนล์เกิดขึ้นจากอิทธิพลของฟาโรห์ นั่นคือ เมื่อฟาโรห์ยังทรงมีพระชนม์ อยู่จะมีฐานะเป็นเทพโฮรัส (Horus) โอรสของเทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอซิริสอีกครั้ง ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับการ แบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง เป็นต้น

26. ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในช่วงสมัยอารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย คือข้อใด
(1) ทะเลแดง
(2) ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
(3) ทะเลสาบแคสเปียน
(4) คลองสุเอซ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลในสมัยอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย คือ ในน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยชาวอียิปต์จะค้าขายทางเรือโดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า กับกลุ่มชนในดินแดนเมโสโปเตเมีย อันได้แก่ ปาเลสไตน์ ฟินิเซีย ซีเรีย และเอเชียไมเนอร์

27. เหตุใดชาวอียิปต์จึงเป็นคนมองโลกในแง่ดี
(1) มีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย
(2) การดํารงชีวิตอุดมสมบูรณ์
(3) ไม่มีการสู้รบและการทําสงคราม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, 68, 23 (H) ชาวอียิปต์ได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำไนล์ ทําให้มีการดำรงชีวิตที่สุขสมบูรณ์ ประกอบกับมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ ชีวิตหลังความตาย และโลกหน้า ทําให้ชาวอียิปต์เป็น “พวกที่มองโลกในแง่ดี” และหวังจะกลับมาเกิดใหม่ ในโลกหน้า จึงมีการรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทํามัมมี่ และมีการสร้างสุสานไว้เก็บศพ นอกจากนี้ดินแดนอียิปต์ยังมีทะเลทรายเป็นปราการทางธรรมชาติที่จะช่วยสกัดกั้นการรุกรานจากศัตรูภายนอก ทําให้ไม่มีการสู้รบและการทําสงคราม

28. การใช้ลิ่มหรือวัสดุที่มีความแข็ง กดทับลงบนแผ่นดินเหนียว เป็นลักษณะของตัวอักษรใด
(1) เฮียโรกลิฟิก
(2) ฟินีเซียน
(3) กรีก
(4) คูนิฟอร์ม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

29. บริเวณ “สุเอซ” ของอียิปต์โบราณ มีลักษณะสําคัญอย่างไร
(1) ศูนย์กลางการค้าขายทางทะเล
(2) จุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ
(3) ต้นกําเนิดของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้า
(4) แม่น้ำสายหลักที่ใช้ในการทําการเกษตรของอารยธรรมอียิปต์
ตอบ 2 หน้า 47 – 48, 18 (H) บริเวณที่เป็นจุดอ่อนของอียิปต์ทางด้านการป้องกันประเทศ คือ บริเวณช่องแคบ “สุเอซ” (Suez) ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ําไทกริส-ยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นทางเชื่อมหรือสะพานระหว่าง 2 ทวีปและ 2 อารยธรรม เป็นเส้นทางการค้า และเป็น แหล่งเชื่อมความคิด อีกทั้งยังเป็นทางเดินของศัตรูผู้รุกรานตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของอียิปต์โบราณ

30. เทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการแบ่งภาคเป็นฟาโรห์มาปกครอง คือเทพองค์ใด
(1) อานูบิส-ซุส
(2) ไอซิส-โอซิริส
(3) โอซิริส-โฮรัส
(4) ซุส-โพเซดอน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

31. สมัยที่อียิปต์เริ่มมีการสั่งสมกองทัพและสร้างวิหาร อยู่ในสมัยใด
(1) สมัยก่อนราชวงศ์
(2) สมัยขุนนาง
(3) สมัยอาณาจักรเก่า
(4) สมัยอาณาจักรใหม่
ตอบ 4 หน้า 56 – 57, 20 (H) สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิของอียิปต์ (1580) – 1090 B.C.) เป็นสมัยที่ฟาโรห์มีอํานาจมากที่สุด เพราะหลังจากที่ขุนนางอียิปต์สามารถขับไล่พวกฮิคโซส (Hyksos) ออกจากอียิปต์ได้สําเร็จแล้ว ฟาโรห์ได้ทรงดึงอํานาจคืนจากพวกขุนนางและพระ จากนั้นจึงทรงปกครองด้วยอํานาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว มีการสั่งสมกองทัพทั้งกองทัพบกและ กองทัพเรือ เริ่มใช้นโยบายรุกรานเพื่อนบ้านเอาไว้เป็นรัฐกันชน และที่สําคัญก็คือ การเปลี่ยนจาก การสร้างพีระมิดมาเป็นการสร้างวิหารตามไหล่เขาและหน้าผาอย่างใหญ่โตมโหฬาร เพื่อแสดงอํานาจและความมั่งคั่งของฟาโรห์

32.พีระมิด สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
(1) สถานที่เก็บรักษาพระศพของฟาโรห์
(2) สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา บูชาเทพเจ้า
(3) พระราชวังที่ประทับของฟาโรห์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 53 – 54, 64 – 65, 19 (H), 21 (H) การสร้างพีระมิดในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์นั้น เป็นการสร้างเพื่อถวายแก่ฟาโรห์ โดยมีจุดประสงค์สําคัญ 2 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเมื่อฟาโรห์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็จะได้ไปร่วมมือกับเทพเจ้าเพื่อนําความอุดมสมบูรณ์ มาให้แก่อียิปต์เหมือนในสมัยที่ฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่
2. จากความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ทําให้มีการสร้างพีระมิดไว้เก็บรักษา พระศพของฟาโรห์ เพื่อรอการฟื้นคืนพระชนม์ชีพ

33. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับกีฬาโอลิมปิก
(1) เทพเจ้ากรีก
(2) ภูเขาซีนาย
(3) ช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์
(4) ระยะเวลา 1 โอลิมเปียด
ตอบ 2 หน้า 115, 39 (H), (ค่าบรรยาย) ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้ามักจะพอใจในการแสดงออกถึงความ กล้าหาญและความเข้มแข็งของมนุษย์ จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ขึ้น ทุก ๆ 4 ปี เพื่อถวายแก่เทพซีอุส (Zeus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดของกรีก โดยผู้ที่ชนะจะได้รับมงกุฎ ที่ทําด้วยก้านมะกอกหรือช่อมะกอกศักดิ์สิทธิ์ และจะเรียกระยะเวลา 4 ปี ระหว่างการแข่งขัน แต่ละครั้งว่า โอลิมเปียด (Olympiad) หรือระยะเวลา 1 โอลิมเปียด กีฬาโอลิมปิกได้มีการจัด ขึ้นครั้งแรกในปี 776 3.C. และถูกยกเลิกในสมัยกษัตริย์ธีโอโดซีอุส ในปี ค.ศ. 393

34. อารยธรรมเฮลเลนิสติก เกิดขึ้นในสมัยใด
(1) สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(2) สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
(3) หลังสงครามเมืองทรอย
(4) หลังสงครามคาบสมุทรเพลอปอินนิซุส
ตอบ 1 หน้า 146, 38 (H), 4” (H) อารยธรรมกรีกโบราณ แบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยเฮลเลนิก (Helenic) เป็นอารยธรรมกรีกแท้ หรือสมัยก่อนพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยเริ่มตั้งแต่สมัยการอพยพของพวกอินโด-ยุโรป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกรีก
2. สมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) เป็นอารยธรรมผสมระหว่างอารยธรรมกรีกเฮลเลนิก (ตะวันตก) กับอารยธรรมเปอร์เซีย (ตะวันออก) ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

35. นครรัฐที่ปกครองระบอบเผด็จการทหารในดินแดนกรีก คือข้อใด
(1) ทรอย
(2) สปาร์ตา
(3) เอเธนส์
(4) อิกทาก้า
ตอบ 2 หน้า 118 – 121, 40 – 41 (H) ลักษณะสําคัญของนครรัฐสปาร์ตา คือ
1. เป็นดินแดนที่อยู่ในหุบเขา ไม่ติดชายฝั่งทะเล ทําให้ไม่มีกําแพงธรรมชาติป้องกันเหมือน นครรัฐอื่น และทําให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
2. แสวงหาความมั่งคั่งโดยการทําสงครามปราบปรามนครรัฐอื่น ๆ ทําให้มีทาสเชลยศึกเป็นจํานวนมาก
3. ปกครองระบอบเผด็จการทหารหรือเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian Government)
4. ชาวสปาร์ตาเป็นผู้แบกภาระของรัฐไว้หนักที่สุด เพราะต้องเป็นทหารตั้งแต่อายุ 20 – 60 ปี เพื่อควบคุมพวกทาสซึ่งมีจํานวนมากกว่า เป็นต้น

36. การตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของเด็กเกิดใหม่ในรัฐสปาร์ตาเป็นหน้าที่ของใคร
(1) กลุ่มพาริเชียน
(3) สภาซีเนท
(2) คณะตรีบูน
(4) คณะเอเฟอร์
ตอบ 4 หน้า 119 – 120, 122, 41 (H) คณะเอเฟอร์ หรือกลุ่มผู้มีอํานาจสูงสุดในนครรัฐสปาร์ตา มีหน้าที่สําคัญดังนี้
1. กําหนดโชคชะตาของเด็กเกิดใหม่ทุกคน นั่นคือ เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ต้องนําไปให้คณะเอเฟอร์ ตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าเด็กพิการหรืออ่อนแอก็จะถูกนําไปทิ้งหน้าผา เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม
2. สามารถถอดถอนหรือสั่งประหารกษัตริย์ได้
3. ควบคุมระบบการศึกษา
4. มีอํานาจเหนือกฎหมายและสภา

37. กีฬาโอลิมปิกถูกยกเลิกในสมัยใด
(1) จูเลียส ซีซาร์
(2) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
(3) กษัตริย์ธีโอโดซีอุส
(4) กษัตริย์จัสติเนียน
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ

38.Greco-Buddhist Arts ส่งผลให้กับศิลปะใด
(1) ศิลปะอินเดีย
(2) ศิลปะเฮลเลนิสติก
(3) ศิลปะลังกา
(4) ศิลปะโรมัน
ตอบ 1 หน้า 152, 47 (H), (คําบรรยาย) ในสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์ของกรีก ได้ยกกองทัพขยายอํานาจมาถึงชายแดนอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ําสินธุ์ในปี 323 3.C. ส่งผลให้ ชาวอินเดียในแคว้นคันธาระได้รับอิทธิพลทางด้านการปั้นหรือประติมากรรมจากกรีก นั่นคือ ศิลปะการปั้นพระพุทธรูปแบบกรีก (Greco-Buddhist Arts) โดยจะเห็นว่าพระพุทธรูปของอินเดียในระยะแรกนั้นมีลักษณะเหมือนเทพอพอลโลของกรีก

39. กลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก่อนการบุกรุกของชาวเยอรมัน คือกลุ่มใด
(1) Plebeian
(2) Latin
(3) Greek
(4) Etruscan
ตอบ 2 หน้า 158 – 159, 48 (4) บรรพบุรุษของชาวโรมันคือ พวกอินโด-ยุโรป ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในคาบสมุทรอิตาลีเมื่อประมาณปี 2000 – 1000 B.C. ก่อนการรุกรานของอนารยชนเยอรมัน โดยหนึ่งในบรรดาพวกที่อพยพเข้ามาคือ พวกละติน (Latin) ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ํา ไทเบอร์ (Fiber) และได้สร้างกรุงโรมขึ้นบนฝั่งแม่น้ํานี้เมื่อปี 753 B.C. ต่อมาบริเวณนี้จึงได้ชื่อว่า “ที่ราบละติอุม” (Plair of Latium) และทําให้ชาวละตินกลุ่มนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โรมัน”

40. ข้อใดจัดเป็นอารยธรรมกรีกแท้
(1) ศรีตัน ไมนวน
(2) เฮลเลนิก
(3) เฮลเลนิสติก
(4) โทรจัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

41. เทพเจ้าของชาวกรีก-โรมัน มีลักษณะอย่างไร
(1) เชื่อในเรื่องความสมดุล ความมืด-ความสว่าง / ความดี ความชั่ว
(2) ประกอบพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด โดยมีพระเป็นสื่อกลาง
(3) เทพเจ้ามีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์ มีอารมณ์ ความรู้สึก
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 115, 39 (H) ชาวกรีก-โรมันมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณและอํานาจลึกลับต่าง ๆ โดยเชื่อว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งลึกลับเหล่านั้นก็คือ เทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าจะมีรูปร่างหน้าตา อารมณ์ และความรู้สึก เช่นเดียวกับมนุษย์ ทั้งนี้ชาวโรมันจะรับเอาเทพเจ้าของกรีกมาทั้งหมด แต่มีการแปลงชื่อใหม่ โดยเทพเจ้าที่สําคัญ เช่น เทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกโรมันเรียกว่า “จูปีเตอร์” (Jupiter), เทพโพไซดอน (Poseidon) เป็นเจ้าแห่งทะเล พวกโรมันเรียกว่า “เนปจูน” (Neptune) เป็นต้น

42. การต่อสู้ระหว่างทาส-สัตว์ / ทาส ทาส เพื่อให้ได้รับความเป็นอิสระ คือข้อใด
(1) Gradiator Combat
(2) Mortal Combat
(3) Circus Maximus
(4) Amphitheater
ตอบ 1 หน้า 177 – 179, 52 (H) ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่นิยมการกีฬาและความบันเทิง ซึ่งที่ได้รับ ความนิยมมาก ได้แก่
1. การแข่งรถศึกเทียมม้าที่ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามที่จุคนดู ได้ประมาณ 150,000 คน
2. การแข่งขันกีฬากลาดิเอเตอร์ (Gradiator Coimbat) ที่สนามโคลอสเซียม (Colosseum) ในกรุงโรม ซึ่งจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนซึ่งอาจเป็นนักสู้ถืออาวุธ พวกฟรีดแมน หรือทาสกับทาส หรือทาสกับสัตว์ที่ดุร้ายก็ได้ ในกรณีที่เป็นการต่อสู้ของพวก ทาส หากชนะก็จะแลกกับการได้รับอิสรภาพ
3. การจัดการแสดงละครที่โรงมหรสพรูปครึ่ง วงกลม (Amphitheater) ซึ่งเป็นโรงละครขนาดใหญ่ในกรุงโรม

43. กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน คือข้อใด
(1) กฎหมายสิบสองโต๊ะ
(2) กฎหมายฮัมมูราบี
(3) กฎหมายโซลอน
(4) กฎหมายจัสติเนียน
ตอบ 1 หน้า 161, 49 (H), (คําบรรยาย) ในปี 450 B.C. ได้มีการประกาศใช้ “กฎหมายสิบสองโต๊ะ” ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาวโรมัน โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนําไปติดที่ฟอรัมเพื่อประกาศให้ราษฎรได้ทราบโดยทั่วไป

44. ปรัชญามนุษยนิยม “Man is the measure of all things” เป็นแนวคิดของใคร
(1) Sophists
(2) Plato
(3) Aristotle
(4) Socrates
ตอบ 1 หน้า 137, 140, 45 (H), (คําบรรยาย) ปรัชญากรีกจัดเป็นปรัชญามนุษยนิยม ดังที่โปรตากอรัส (Protagoras) นักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ (Sophists) ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์คือเครื่องวัดทุกสิ่ง (Man is the measure of all things) ซึ่งเท่ากับเป็นการสรุปทัศนคติทั้งหมดของชาวกรีก หรือ อาจกล่าวได้ว่ากรีกเป็นนักมนุษยธรรมนิยม (Humanistic)

45. สงครามใดที่ทําให้นครรัฐกรีกอ่อนแอลง
(1) สงครามเปอร์เซียน
(2) สงครามปูนิก
(3) สงครามเพลอปอนนิซุส
(4) สงครามกรุงทรอย
ตอบ 3 หน้า 144, 46 (H), (คําบรรยาย) ในระหว่างปี 431 – 404 B.C. นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกได้ทํา สงครามภายในระหว่างกันเอง เรียกว่า สงครามเพลอปอนนี้เซียน (The Peloponnesian War) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า สงครามเพลอปอนนิซุส (Peloponnesus) ทั้งนี้เนื่องจากเกิดขึ้นบน คาบสมุทรเพลอปอนนี้ซุสเป็นส่วนใหญ่ ทําให้บรรดานครรัฐกรีกอ่อนแอลง จนเปิดโอกาสให้ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย ยกกองทัพทหารฟาแลงซ์ (Phalanx) เข้ายึดครองนครรัฐกรีก ได้ทั้งหมด และสามารถรวบรวมนครรัฐกรีกซึ่งไม่เคยรวมกันเป็นรัฐเดียวเข้าไว้ด้วยกันได้เป็น ผลสําเร็จในปี 338 B.C.

46. ผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย “การบริหารในมือคนส่วนใหญ่” คือใคร
(1) ดราโค
(2) โชลอน
(3) เพริคลิส
(4) คลิสเธนีส
ตอบ 4 หน้า 126 – 127, 43 (H) คลิสเธนีส (Cleisthenes) เป็นผู้ที่วางรากฐานการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในเอเธนส์เป็นคนแรก ทําให้ประชาธิปไตยมีความหมายว่า “การบริหารอยู่ในมือ ของคนส่วนใหญ่” ซึ่งการปฏิรูปที่สําคัญ ได้แก่
1. กําจัดอิทธิพลของครอบครัวที่มีอํานาจทางการเมือง
2. จัดตั้งสภา 500 แทนสภา 400 ของโซลอน และแบ่งเอเธนส์ออกเป็น 10 เขต แต่ละเขตมี สมาชิก 50 คน
3. นําเอาระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) มาใช้ ซึ่งเป็นการเนรเทศบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา ออกจากนครเอเธนส์

47.Dark Age (ยุคมืด) ทางอารยธรรมอยู่ในช่วงใด
(1) ยุคกลางตอนต้น
(2) ยุคกลางตอนกลาง
(3) ยุคกลางอันรุ่งเรือง
(4) ยุคกลางตอนปลาย
ตอบ 1 หน้า 205 – 206, 214 318, 59 (H) ยุคกลางตอนต้น ถูกเรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age) เนื่องจาก ความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมคลาสสิก หรืออารยธรรมกรีก-โรมัน ได้หยุดชะงักลงในดินแดน ยุโรปตะวันตก พร้อมกับการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ทั้งนี้เพราะถูกอนารยชนกลุ่ม ต่าง ๆ เข้ามารุกรานอยู่เสมอ ทําให้สภาพบ้านเมืองเกิดความสับสนวุ่นวาย การค้าซบเขาเพราะถนน หนทางถูกตัดขาด มีโจรผู้ร้ายออกทําการปล้นสะดมทั่วไป บรรดาช่างฝีมือกลายเป็นคนว่างงาน ชาวเมืองต้องอพยพหลบหนีออกไปอยู่ชนบท ส่งผลทําให้ศิลปวิทยาการต่าง ๆ ไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป

48. พื้นที่ใดภายหลังพัฒนาเป็นนครรัฐสันตะปาปา
(1) Byzantium
(2) Papal States
(3) Latium
(4) Constantinople
ตอบ 2 หน้า 217, 62 – 63 (H) เมื่อเปแบ่งที่ 3 (Pepin III) ได้ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์คาโรแลงเจียน ของพวกแฟรงค์ในปี ค.ศ. 752 แล้ว เปแบ่งก็ต้องการการสนับสนุนทางการเมืองจากฝ่ายศาสนจักร ดังนั้นพระองค์จึงเอาใจสันตะปาปาด้วยการยึดครองอาณาจักรทางภาคกลางของพวกลอมบาร์ด และนําไปถวายแก่สันตะปาปา เรียกว่า การบริจาคที่ของเปแบ่ง (Donation of Pepin) ต่อมา ดินแดนแห่งนี้ก็คือ นครรัฐสันตะปาปา (Papal States) ซึ่งมีอํานาจทางการเมืองมาจนถึงปีค.ศ. 1870

49. ชนชาติชาวเอเชียที่เข้ามารุกรานในเขตพื้นที่ Chalon ในช่วงปี A.D, 451 คือชนชาติใด
(1) Huns
(2) Vandals
(3) Franks
(4) Visigoths
ตอบ 1 หน้า 212, 60 (H) ฮั่น (Huns) เป็นอนารยชนเผ่ามองโกลที่มาจากทวีปเอเชียที่รุกไล่พวกกอธ (Goths) เข้าไปในจักรวรรดิโรมันและได้เข้าคุกคามยุโรปตะวันตก โดยมีผู้นําคือ อัตติลา (Attita) แต่ในที่สุดก็ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่เมโรเวกในการรบที่เมืองชาลอง (Chalon) ในปี ค.ศ. 451 (A.D. 451) หลังจากนั้นพวกฮั่นก็หมดอํานาจไปในปี ค.ศ. 454

50. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน
(1) มีชีวิตแบบสังคมชนบท ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
(2) ไม่ใช้กฎหมายเป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินแบบไม่ยุติธรรม
(3) เกิดการต่อสู้และสงครามระหว่างกลุ่มอนารยชนตลอดเวลา
(4) มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 214 – 215, 61 (H), (คําบรรยาย) การปกครองอาณาจักรโรมันโดยพวกอนารยชน มีลักษณะ ที่สําคัญดังนี้
1. แตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากกว่าที่จะรวมกันเป็นปึกแผ่น
2. พวกอนารยชนไม่สร้างเมืองเหมือนพวกกรีก-โรมัน มีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม
3. พวกอนารยชนมักทําสงครามระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีเวลาพอที่จะทํานุ บํารุงศิลปวัฒนธรรม ทําให้อารยธรรมกรีก-โรมันเสื่อมลง
4. พวกอนารยชนไม่ใช้กฎหมายที่ เป็นแบบแผน เน้นความรุนแรง การตัดสินเป็นแบบไม่ยุติธรรม โดยจะขึ้นอยู่กับการใช้อํานาจและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวกําหนด เป็นต้น

51.ระบบ Feudalism เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้เช่าทรัพย์สิน คําว่า “ทรัพย์สิน” หมายถึงข้อใด
(1) ทอง / โลหะมีค่า
(2) แรงงาน / ทาส
(3) ที่อยู่อาศัย
(4) ที่ดิน
ตอบ 4 หน้า 223 – 224, 64 – 65 (H), (คําบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism / Feudal) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินหรือ ผู้เช่าที่ดินผืนนั้น เจ้าของที่ดินคือกษัตริย์หรือขุนนาง เรียกว่า เจ้า (Lord) ส่วนผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน เรียกว่า ข้า (Vassal) โดยคําว่า Feudalism หรือ Feudal มาจากคําว่า Fiefs หรือ Feuda ซึ่งหมายถึง “ที่ดิน” นั่นเอง

52. เครื่องมือของคริสตจักรต่อสังคมในข้อใด มีการกําหนดวันเวลายุติการทําสงคราม ตั้งแต่คืนวันพุธ ถึงเช้าวันจันทร์
(1) Truce of God
(2) Interdict
(3) Excommunication
(4) Peace of God
ตอบ 1 หน้า 231 – 232, 65 – – 66 (H) ในยุคกลางมักมีสงครามแย่งชิงที่ดินระหว่างขุนนางอยู่บ่อยครั้ง สันตะปาปาจึงออกประกาศให้มีการหยุดพักรบเป็นการชั่วคราวใน 2 กรณี คือ
1. ประกาศสันติสุขแห่งพระผู้เป็นเจ้า หรือ Peace of God คือ ให้การพิทักษ์รักษาแก่บุคคลและ สถานที่บางแห่งยามที่มีสงคราม เช่น โบสถ์ วิหาร สํานักชี และคนของวัด
2. ประกาศระยะพักรบเพื่อพระผู้เป็นเจ้า หรือ Truce of God คือ ห้ามทําการรบตั้งแต่พระอาทิตย์ ตกดินในวันพุธ ไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันจันทร์

53. ข้อใดไม่ใช่ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง
(1) The Holy Roman Empire
(2) Byzantine Empire
(3) Mostem Empire
(4) Roman
ตอบ 4 หน้า 246, 251, 255, 69 – 70 (H) ราชอาณาจักรสําคัญในยุคกลาง ได้แก่
1. จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire)
2. จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
3. จักรวรรดิมอสเล็ม (Mostem Empire)

54. สงครามครูเสด เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างศาสนาใด
(1) คริสต์-ยูดาย
(2) ยูดาย-อิสลาม
(3) คริสต์-อิสลาม
(4) คาทอลิก-โปรเตสแตนต์
ตอบ 3 หน้า 280, 284, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดในยุคกลาง ถือเป็นสงครามมหายุทธ์ที่มี รัฐและฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมสงครามมากมาย ซึ่งกินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง) โดยเป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม หรือระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิม หรือมอสเอ็ม เพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็ม และเมื่อสิ้นสุดสงคราม พวกคริสเตียนก็ไม่ สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมอสเล็มได้ จึงถือว่าเป็น “ความล้มเหลวที่ประสบความสําเร็จ มากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก

55. พระนักรบสํานักใดเกิดขึ้นระหว่างสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็นกองกําลังรักษาและถวายอารักขา
สันตะปาปา
(1) สํานักเทมปลาร์
(2) สํานักฮอสปิแตร์เลอร์
(3) สํานักเจซูอิท
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 243, 68 (H) สํานักสงฆ์นิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในระหว่างสงครามครูเสด คือ
1. สํานักเทมปลาร์ (Templars) เป็นทั้งพระและนักรบในสงครามครูเสด ภายหลังมีหน้าที่เป็น กองกําลังรักษาและถวายอารักขาสันตะปาปา
2. สํานักฮอสปิแตร์เลอร์ (Hospitalers) เป็นพระที่ช่วยรักษาพยาบาลทหารและประชาชน ฝ่ายตนที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ

56. สงครามครูเสดครั้งใดเป็นการสู้รบระหว่างชาวคริสต์ด้วยกัน
(1) ครั้งที่ 1
(2) ครั้งที่ 3
(3) ครั้งที่ 4
(4) ครั้งที่ 8
ตอบ 3 หน้า 283, 76 (H), (คําบรรยาย) สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202 – 1204) เป็นสงคราม ระหว่างชาวคริสต์ด้วยกันเอง โดยกองทัพครูเสดภายใต้การนําของสาธารณรัฐเวนิส และการสนับสนุน ของสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ได้เข้ายึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล แทนที่จะยกกองทัพไปยึด กรุงเยรูซาเล็ม

57. ข้อใดคือผลของสงครามระหว่าง Pope Alexander lII + สมาคมลอมบาร์ด
(1) Italy แยกออกจาก Germany
(2) เกิดนครรัฐสันตะปาปา
(3) Germany สามารถรวมประเทศได้
(4) เกิดสัญญา Treaty of Verdun
ตอบ 1 หน้า 260 – 261, 71 – 72 (H) จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา (Frederick Barbarossa) ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ มีสาเหตุมาจากการที่จักรพรรดิทรงเน้นว่าอาณาจักรต้อง เป็นฝ่ายปกครองศาสนจักร ทําให้สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Pope Alexander III) ไม่พอใจ จักรพรรดิ จึงร่วมกับกลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดต่อต้านจักรพรรดิ รวมไปถึง ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ ซึ่งผลปรากฏว่า จักรพรรดิเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงมีการทําสนธิสัญญาสันติภาพคองสตังซ์ (Peace of Constance)ในปี ค.ศ. 1183 โดยมีผลตามมาคือ
1. แคว้นลอมบาร์ดีเป็นอิสระและได้ปกครองตนเอง
2. สิ้นสุดการรวมกันระหว่างอิตาลี (Italy) และเยอรมนี (Germany) ลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งทําให้อิตาลีแยกออกจากเยอรมนี
3. ดินแดนเยอรมนีแตกแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย

58.อนารยชนชาว Franks ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรของอนารยชนทั่วยุโรปเป็นอาณาจักรใหญ่ มีการปกครองในระบอบกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ใดเป็นราชวงศ์แรก
(1) Merovingian
(2) Carolingian
(3) Capetien
(4) Tudor
ตอบ 1 หน้า 215 – 217, 61 – 62 (H), (คําบรรยาย) พวกแฟรงค์ (Franks) เป็นอนารยชนที่สามารถ รวบรวมดินแดนยุโรปตะวันตกให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง ภายหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิ โรมันตะวันตก โดยได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นภายใต้การนําของ 2 ราชวงศ์ คือ
1. อาณาจักรเมโรแวงเจียน (Merovingian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ กษัตริย์โคลวิส (Colvis) ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์เมโรแวงเจียนขึ้นเป็นราชวงศ์แรกในปี ค.ศ. 481
2. อาณาจักรคาโรแลง,จียน (Carolingjian Kingdom) ผู้ก่อตั้งคือ เปแบ่งที่ 3 (Pepin III) ซึ่งได้รับ การสถาปนาขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์คาโรแลงเจียนในปี ค.ศ. 751

59. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับ Magna Carta : The Great Charter
(1) John the Lackland
(2) การปกครองระบอบประชาธิปไตย
(3) Charles Martel, The Haminer
(4) กษัตริย์ประเทืองปัญญา
ตอบ 1 หน้า 275, 75 (H), (คําบรรยาย) พระเจ้าจอห์น หรือ “กษัตริย์ผู้ไร้แผ่นดิน” (John the Lackland) ทรงถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในรัฐธรรมนูญแมกนา คาร์ตา (Magna Carta) หรือ “The Great Charter” ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ โดยมีหลักการ ที่สําคัญคือ กําหนดให้ทุกชนชั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย นอกจากนี้ยังจํากัดอํานาจของกษัตริย์ ให้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่ตัดสินคดีความของเสรีชน การจัดเก็บภาษีต้องทําด้วยความยุติธรรม และ มีการกล่าวถึงตัวบทกฎหมายอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในระบอบรัฐสภาหรือการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษ

60. ผลของสงครามใดเป็นการเปลี่ยนมหาอํานาจทางทะเล จากสเปนเป็นอังกฤษ
(1) World War I
(2) War of the Roses
(3) Armada War
(4) Hundred Years War
ตอบ 3 หน้า 388 – 389, 87 (H), 100 – 101 (H) สงครามอาร์มาดา (Armada War) ในปี ค.ศ. 1588 เป็นสงครามทางทะเลระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน กับพระราชินีเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้สเปนหมดอิทธิพลในยุโรป ในขณะที่อังกฤษกลายเป็นมหาอํานาจทางทะเลแทนสเปน

61. สํานักสงฆ์ของนิกายเบเนดิกไตน์ มีบทบาทสําคัญในยุคกลางตรงตามข้อใด
(1) มีส่วนร่วมสําคัญในสงครามครูเสด
(2) แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจนและคนเจ็บ
(3) มุ่งวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตที่หรูหราของสันตะปาปาและพระชั้นสูง
(4) ส่งเสริมการค้นคว้าวิทยาการใหม่ ๆ
ตอบ 2 หน้า 242, 68 (H) สํานักเบเนดิกไตน์ (Benedictines) เป็นคณะสงฆ์ที่ตัดขาดทางโลก โดยมี ผู้นําคือ เซนต์เบเนดิก (St. Benedict) เป็นพวกพระที่เรียกว่า “monk” ซึ่งพระในสํานักสงฆ์นี้ ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในยุคกลางเป็นอย่างมาก เช่น
1. ส่งเสริมการศึกษาด้วยการ จัดตั้งโรงเรียน และคัดลอกเอกสารโบราณ
2. แจกจ่ายอาหารและให้ที่พักแก่คนยากจน คนเจ็บ เด็กกําพร้าและแม่หม้าย
3. พระจะไถหว่านที่ดินและเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านอื่น ๆ โดยนําเอา วิธีเพาะปลูกที่ได้ผลดีที่สุดมาใช้ เป็นต้น

62. เพราะเหตุใด “ศาสนจักร” กับ “อาณาจักร” ในช่วงยุคกลางจึงมักขัดแย้งกันอยู่เสมอ
(1) สันตะปาปามักจะมองวากษัตริย์บริหารบ้านเมืองไม่ดีพอ
(2) กษัตริย์มักจะมองว่าสันตะปาปามีความประพฤติไม่ถูกต้อง
(3) มีความขัดแย้งเรื่องพิธีกรรมต่อพระเจ้า
(4) มีความขัดแย้งในเรื่องของอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ
ตอบ 4 หน้า 243, 68 (H), (คําบรรยาย) ความขัดแย้งในเรื่องการแต่งตั้งตําแหน่งทางศาสนา เป็นความ ขัดแย้งระหว่างสันตะปาปาฝ่ายศาสนจักร กับกษัตริย์และพวกขุนนางฝ่ายอาณาจักร ทั้งนี้เพราะ วัดมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์และพวกขุนนางซึ่งมอบที่ดินให้แก่วัด ขณะเดียวกันวัดก็ อยู่ภายใต้อํานาจของสันตะปาปา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ศาสนจักรหรืออาณาจักรใครควรมีอํานาจ ในการแต่งตั้งหัวหน้าพระ ด้วยเหตุนี้เองจึงทําให้ศาสนจักรกับอาณาจักรในช่วงยุคกลางมีความ ขัดแย้งในเรื่องอํานาจ และมักจะแทรกแซงกันอยู่เสมอ

63. เครื่องมือสําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับกษัตริย์ในยุโรป คือข้อใด
(1) การขับออกจากศาสนา
(2) การยกกองทัพไปปราบปราม
(3) การใช้นโยบายทางการทูต
(4) การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ
ตอบ : 1 หน้า 243, 250, 66 (H), (คําบรรยาย) การบัพพาชนียกรรม (Excommunication) คือ การประกาศ ขับไล่บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เป็นพวกนอกศาสนา หรือการขับออกจากศาสนา ทําให้ไม่มีใครมาคบ ด้วยหรือถ้าเป็นกษัตริย์ก็จะถูกต่อต้านจากประชาชน ซึ่งการบัพพาชนียกรรมนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือ สําคัญของสันตะปาปาในการจัดการความขัดแย้งกับกษัตริย์ในยุโรป ตัวอย่างเช่น กรณีพิพาทระหว่าง สันตะปาปาเกรเกอรีที่ 7 กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 เป็นต้น

64. ข้อแตกต่างสําคัญในความเชื่อทางศาสนาระหว่างไบแซนไทน์กับโรมันคาทอลิก คือข้อใด
(1) ไบแซนไทน์ไม่มีนักบวชประจําศาสนา
(2) พระของไบแซนไทน์แต่งงานได้
(3) ไบแซนไทน์ไม่มีการแบ่งลําดับชั้นของพระ
(4) ไบแซนไทน์ปฏิเสธรูปบูชา และทําลายรูปเคารพในวัดทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 252 – 253, (คําบรรยาย) ข้อแตกต่างสําคัญในความเชื่อทางศาสนาระหว่างไบแซนไทน์กับ โรมันคาทอลิก คือ การปฏิเสธรูปบูชา (Iconoclastic) โดยจักรพรรดิลีโอที่ 3 ทรงสั่งห้ามบูชารูป รูปปั้นในวัด เพราะเกรงว่าจะไปเหมือนลัทธิเดิม อีกทั้งยังได้โปรดให้ทําลายรูปปั้นและรูปภาพใน วัดทั้งหมด ทําให้ฝ่ายสันตะปาปาและพวกคริสเตียนในจักรวรรดิตะวันตกพากันคัดค้านอย่างรุนแรงจนทั้งสองฝ่ายต้องประกาศแยกออกจากกันเป็นนิกายอิสระในปี ค.ศ. 1054 ส่งผลให้ศาสนาทาง ตะวันออกของจักรวรรดิไบแซนไทน์เปลี่ยนเป็นแบบกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) ขณะที่ศาสนาทางตะวันตกเป็นแบบโรมันคาทอลิก

65. ชนชั้นใดที่ไม่ได้อยู่ภายใต้โครงสร้างทางสังคมแบบฟิวดัล
(1) ขุนนาง
(2) อัศวิน
(3) พ่อค้า
(4) ชาวนา
ตอบ 3 หน้า 226 – 228, (คําบรรยาย) ชนชั้นที่อยู่ภายใต้โครงสร้างทางสังคมแบบฟิวดัลหรือสังคม ศักดินาสวามิภักดิ์ ได้แก่
1. กษัตริย์ (King)
2. ขุนนางชั้นสูง (Vassals)
3. ขุนนางชั้นรองลงมา (Subvassals)
4. นักรบ (Warriors) หรืออัศวิน
5. ทาสติดที่ดิน (Serf.) หรือชาวนา

66. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดิเฟรเดอริก บาร์บารอสซา ไม่สามารถที่จะรวมเยอรมนีได้สําเร็จ
(1) สันตะปาปาไม่พอใจจักรพรรดิ
(2) ขุนนางเยอรมันไม่ต้องการให้จักรพรรดิมีอํานาจแข็งแกร่งเกินไปจึงไม่ช่วยรบ
(3) กลุ่มพ่อค้าและชาวเมืองอิตาลีตั้งสมาคมลอมบาร์ดเพื่อต่อต้านจักรพรรดิ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 57. ประกอบ

67. ราชวงศ์ใดที่มีอํานาจปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ระหว่าง ค.ศ. 962 – 1024
(1) บาวาเรียน
(2) แขกซอน
(3) แฮปสเบิร์ก
(4) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 270 ราชวงศ์แขกซอน (Saxon Dynasty) เป็นสายตระกูลของอนารยชนเยอรมันที่เข้ายึด ครองแคว้นแซกโซนี และแคว้นต่าง ๆ ในเยอรมนีตอนใต้ พวกแซกซอนบางส่วนได้เข้าไปรุกราน ๆ เกาะอังกฤษ ส่วนพวกที่อยู่ในเยอรมนีได้ตั้งราชวงศ์แซกซอนขึ้น และได้ปกครองจักรวรรดิโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมนี) ระหว่าง ค.ศ. 962 – 1024

68. ชนกลุ่มใดที่นําระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศสเข้าสู่เกาะอังกฤษ
(1) วิสิกอธ
(2) นอร์มัน
(3) บริตัน
(4) แซกซอน
ตอบ 2 หน้า 271 – 273, 72 (1), 74 (H), (คําบรรยาย) กษัตริย์วิลเลียมที่ 1 (William I) แห่งนอร์มัน ทรงนํากองทัพเข้ารุกรานอังกฤษ สามารถรบชนะพวกแองโกลแซกซอน และเข้ายึดครองอังกฤษ ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1056 อีกทั้งได้นําเอาระบบฟิวดัลจากฝรั่งเศสเข้าสู่เกาะอังกฤษ ซึ่งทําให้มีผลตามมาคือ
1. กษัตริย์อังกฤษทรงมี 2 สถานภาพคือ มีฐานะเป็นเจ้า (Lord) สูงสุดในอังกฤษ แต่ต้องมีฐานะเป็นข้า (Vassal) ของกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งจากสภาพดังกล่าวได้กลายเป็นชนวนของ สงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
2. ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของชนชั้นสูงและเป็นภาษาทางการในอังกฤษ
3. การนํารูปแบบแมเนอร์ (Manorial System) เข้ามาใช้ในอังกฤษ เป็นต้น

69. กฎบัตร แมกนา คาร์ตา ของอังกฤษ ในปี 1215 มีสาระสําคัญตามข้อใด
(1) จํากัดอํานาจของกษัตริย์
(2) เพิ่มความแข็งแกร่งด้านการทหาร
(3) ให้เสรีภาพทางการค้า
(4) ส่งเสริมอํานาจทางศาสนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

70. ผลจากกรณีที่พระเจ้าจอห์นถูกพวกขุนนางอังกฤษบังคับให้ลงนามในเอกสารแมกนา คาร์ตา ในปี ค.ศ. 1215 นั้น คือข้อใด
(1) ทําให้พวกขุนนางมีอํานาจสูงสุด
(2) ทําให้กษัตริย์มีอํานาจสูงสุด
(3) เป็นการถ่ายโอนอํานาจของพวกพระไปสู่พวกขุนนาง
(4) เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

71. แม้ฝ่ายคริสต์จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ที่สําคัญของยุโรปตรงกับข้อใด
(1) ได้แบ่งเมืองเยรูซาเล็มมาหนึ่งในห้าส่วน
(2) ทําให้ศาสนจักรกรีกออร์ธอดอกซ์มีอํานาจมากขึ้น
(3) กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ
(4) ทําให้เกิดการแปลงานเขียนของโรมันและกรีกมากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 284 – 285, 77 (H), (คําบรรยาย) ฝ่ายคริสต์แม้จะพ่ายแพ้ในสงครามครูเสด แต่ผลพลอยได้ ที่สําคัญของยุโรป คือ
1. เมืองและนครรัฐต่าง ๆ ที่ส่งของช่วยเหลือในสงครามมีอํานาจในการค้าขายมากขึ้น
2. มีการนําเงินและทองเข้ามาในยุโรปมากขึ้น การค้าแบบแลกเปลี่ยนสินค้าก็ค่อย ๆ เลิกไป และหันมาใช้เงินในการซื้อขาย
3. กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างดินแดนมากขึ้น เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ เช่น เครื่องเทศจากภาคตะวันออกไปเผยแพร่ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น

72. ปรากฏการณ์ในข้อใดที่มีบทบาทสําคัญในการทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วง
ปลายยุคกลาง
(1) การมีบทบาทของชาวยิว
(2) การลดภาษีของศาสนจักร
(3) การเกิดบรรษัทร่วมทุน
(4) การเติบโตของชนชั้นกลาง
ตอบ 4 หน้า 285 – 286, 77 (H), (คําบรรยาย) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงปลาย ยุคกลาง มีสาเหตุมาจากการเติบโตของชนชั้นกลาง ผลจากสงครามครูเสดทําให้เกิดเมืองซึ่งเป็น ผลมาจากความเจริญทางการค้า และมีชนชั้นกลางจํานวนมากขึ้น ซึ่งคนพวกนี้ไม่ได้จัดอยู่ในสังคม ฟิวดัล แต่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียกตนเองว่า “เสรีชน” (Free Man) ดําเนินชีวิตเป็นอิสระ ทําการค้า และอุตสาหกรรม ใช้เงินตราแลกเปลี่ยน รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อการป้องกันร่วมกันและมีการปกครองตนเอง

73. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของสมาคมการค้าในช่วงปลายยุคกลาง
(1) ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนงานให้ดียิ่งขึ้น
(2) กําหนดชั่วโมงการทํางานและค่าแรงของคนงาน
(3) ช่วยดูแลครอบครัวของสมาชิกผู้เสียชีวิตจากการทํางาน
(4) กําหนดราคาและคอยดูแลคุณภาพของสินค้า
ตอบ 1 หน้า 289 – 290, (คําบรรยาย) บทบาทสมาคมการค้าในช่วงปลายยุคกลาง ได้แก่
1. กําหนดชั่วโมงการทํางานและค่าแรงของคนงาน
2. กําหนดราคาที่แน่นอน และควบคุมดูแลคุณภาพและปริมาณของสินค้า
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ภรรยาและบุตรของสมาชิกผู้เสียชีวิตจากการทํางาน
4. จัดให้คนงานได้รับความบันเทิงในวันหยุด เป็นต้น

74. ในช่วงปลายยุคกลาง บริเวณใดของยุโรปที่เป็นเมืองสําคัญทางการค้า
(1) โรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(2) คาบสมุทรอิตาลี
(3) คาบสมุทรไอบีเรีย
(4) แถบสแกนดิเนเวีย
ตอบ 2 หน้า 286, 77 (H), (คําบรรยาย) ในช่วงปลายยุคกลางนั้นเกิดเมืองสําคัญทางการค้าในคาบสมุทร อิตาลี เช่น เวนิส เจนัว และปิซ่า ส่วนแคว้นฟลานเดอร์ (เบลเยียม) คือศูนย์กลางทางการค้าระหว่าง ทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ และเป็นเมืองรับสินค้าของอังกฤษเข้าสู่ประเทศบนภาคพื้นทวีป

75. สาเหตุสําคัญของสงคราม 100 ปี ในช่วงปลายยุคกลาง คือข้อใด
(1) กษัตริย์ฝรั่งเศสอ้างสิทธิในบัลลังก์อังกฤษ
(2) กษัตริย์อังกฤษอ้างสิทธิในบัลลังก์ฝรั่งเศส
(3) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งด้านการค้า
(4) อังกฤษและฝรั่งเศสขัดแย้งทางศาสนา
ตอบ 2 หน้า 296 – 297, 79 (H) สาเหตุปัจจุบันที่ทําให้เกิดสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในช่วงปลายยุคกลาง เนื่องจากกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III) แห่งอังกฤษ ทรงเรียกร้อง สิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ลงโดยไม่มีรัชทายาท แต่พวกขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอมโดยอ้างกฎหมายที่เรียกว่า “Salic Law” เพื่อตัดสิทธิในราชบัลลังก์ ของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1337 และสงครามได้ดําเนิน มาจนถึงปี ค.ศ. 1453

76. บทบาทสําคัญของ โจน ออฟ อาร์ค ในช่วงสงคราม 100 ปี คือข้อใด
(1) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองเกาะอังกฤษ
(2) นําทัพฝรั่งเศสเข้ายึดครองบริเวณนอร์มังดี
(3) เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง
(4) เอาชนะอังกฤษได้ที่กี่เยนและยึดดินแดนคืนได้
ตอบ 3 หน้า 298 – 299, 79 (H) ในช่วงสงคราม 100 ปี ได้เกิดวีรสตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ เจน ออฟ อาร์ค (Joan of Arc) ขึ้น โดยเป็นสตรีที่เข้าร่วมสงครามและได้รับชัยชนะหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ถูก อังกฤษจับไปเผาในฐานะเป็นพวกนอกรีต (แม่มด) ซึ่งการตายของโจนได้ส่งผลให้ชาวฝรั่งเศส เกิดความรู้สึกชาตินิยมหันกลับมาปรองดองกัน จนสามารถเอาชนะฝ่ายอังกฤษได้ที่ปารีสในปี ค.ศ. 1436 และยึดดินแดนคืนได้ตามลําดับคือ รูอัง นอร์มังดี และกีเยน

77. ชนชาติใดที่มีส่วนสําคัญในการทําให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลายลงในปี 1453
(1) อาหรับ
(2) ออตโรมัน เติร์ก
(3) ฮาน
(4) มองเกล
ตอบ 2 หน้า 255, 54 (H), 70 (H) จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทนล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1453 เพราะถูกพวกออตโตมัน เติร์ก (Ottoman Turks) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เข้ายึดครอง กรุงคอนสแตนติโนเปิล หลังจากนั้นอารยธรรมไบแซนไทน์จึงถูกถ่ายทอดให้แก่รัสเซียทั้งทางด้าน สถาปัตยกรรม ปฏิทิน ตัวอักษร และนิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ประเทศ รัสเซีย เรียกว่านิกาย Russian Orthodox

78. นักคิดในข้อใดที่เห็นว่าการเมืองและศีลธรรมเป็นคนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนกันหรือพิจารณารวมกัน
(1) โทมัส ฮอบส์
(2) โบแดง
(3) มาเคียเวลลี
(4) ดังเต้
ตอบ 3 หน้า 334, 94 (H), (คํา บรรยาย) มาเคียเวลลี (Machiavelli) เห็นว่า การเมืองและศีลธรรมเป็น คนละส่วน และไม่ควรนํามาปะปนหรือพิจารณารวมกัน โดยผลงานสําคัญของเขาคือ The Prince ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับราชาธิปไตยหรือรัฐบาลที่มีอํานาจเด็ดขาด และมีความสําคัญในแง่ของการเมือง ทีว่า “The end always justifies the means” หรือการทําให้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยไม่คํานึงถึงศีลธรรม

79. ข้อใดเป็นหลักการสําคัญของลัทธิพาณิชย์นิยม
(1) ให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกตลาดโดยที่รัฐไม่แทรกแซง
(2) ผลิตสินค้าเพื่อยังชีพเป็นหลัก
(3) ซื้อสินค้าจากชาติอื่นให้น้อยที่สุด ส่งออกสินค้าให้มากที่สุด
(4) ระบบการค้าอยู่ภายใต้การควบคุมของประชาชนส่วนใหญ่
ตอบ 3 หน้า 339 – 340, 88 (H), (คําบรรยาย) ระบบเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลตั้งแต่ปลายศตวรรษ ที่ 15 – 16 ในยุโรปตะวันตก เรียกว่า “ลัทธิพาณิชย์นิยม” (Mercantilism) ซึ่งหมายถึง การควบคุม เศรษฐกิจโดยรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งเป็นการผสมกลมกลืนระหว่างลัทธิชาตินิยมกับลัทธินายทุนใหม่ พวกนายทุนจะได้รับการส่งเสริมทางการค้าจากรัฐบาล โดยลัทธินี้มีแนวคิดพื้นฐานที่ว่าชาติจะมั่นคง ได้ก็ต่อเมื่อมีการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากชาติอื่นน้อยที่สุด ดังนั้นจึงพยายามที่จะซื้อสินค้าจากชาติอื่น ให้น้อยที่สุด แต่จะพยายามขายหรือส่งออกสินค้าให้ได้มากที่สุด

80. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
(1) การคิดค้นอาวุธชนิดใหม่
(2) การแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน
(3) การเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส
(4) การได้ทองจํานวนมากจาก “โลกใหม่”
ตอบ 2 หน้า 267, 73 (H), (คําบรรยาย) ยุคแห่งการยึดอํานาจคืนของพวกคริสเตียนจากพวกมัวร์ (Moors) ในสเปน เรียกว่ายุค Reconquest หรือ Reconguista โดยยุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีการรวมอาณาจักร คริสเตียน 2 แห่งเข้าด้วยกัน ซึ่งเกิดจากการแต่งงานระหว่างเจ้าคาสติลกับอรากอน นั่นคือ การอภิเษกสมรสระหว่างพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสติล กับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่ง อรากอน ซึ่งได้ร่วมกันปกครองในฐานะเป็นกษัตริย์คาทอลิกทําสงครามกับพวกมัวร์จนมีชัยชนะ ในปี ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้สเปนสามารถรวบรวมดินแดนได้ในคริสต์ศตวรรษ ที 15 นั่นเอง

81. กระบวนการในข้อใดที่ทําให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐในยุโรปช่วงต้นสมัยใหม่
(1) ความเสื่อมของระบอบฟิวดัล
(2) การติดต่อสัมพันธ์กับจีน
(3) การคัดค้านอํานาจของสันตะปาปาและศาสนจักร
(4) ความพยายามรวบอํานาจเข้าสู่ศูนย์กลางของกษัตริย์ในหลายรัฐ
ตอบ 1 หน้า 332, 86 (H) พัฒนาการทางการเมืองหรือการกําเนิดชาติรัฐ (National States) ของยุโรป ช่วงต้นสมัยใหม่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของระบอบฟิวดัล และ ความสํานึกในความเป็นชาติ

82. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้ชาวยุโรปออกมาแสวงหาเส้นทางเดินเรือไปสู่ทวีปเอเชีย
(1) ความต้องการสินค้าจากภาคตะวันออก
(2) การยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยออตโตมัน เติร์ก
(3) ล้มการผูกขาดการค้าจากพ่อค้าชาวอิตาลี
(4) การยึดครองกรุงเยรูซาเล็มโดยเซลจุก เติร์ก
ตอบ 4 หน้า 350 – 351, 89 – 90 (H) สาเหตุสําคัญที่ทําให้ชาวยุโรปออกมาแสวงหาเส้นทางเดินเรือ ไปสู่ทวีปเอเชีย คือ
1. แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ยุคกลางที่กองทัพครูเสดนําเอาความรู้และสินค้าจากเอเชียไป เผยแพร่ในยุโรป
2. กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกพวกออตโตมัน เติร์ก เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1453 ทําให้เส้นทาง การค้าระหว่างยุโรปกับเอเชียถูกตัดขาด
3. มีความต้องการสินค้าจากเอเชียหรือภาคตะวันออก เช่น เครื่องเทศ ผ้าไหม พรม และเครื่องแก้ว
4. ต้องการล้มการผูกขาดการค้าของพวกพ่อค้าชาวอิตาลีที่มั่งคั่งจากการค้า เช่น เวนิส เจนัว
5. มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเรือ มีการประดิษฐ์เรือขนาดใหญ่ เข็มทิศ และมีการทําแผนที่ ที่มีความแน่นอนมากขึ้น เป็นต้น

83. ข้อใดเป็นปัจจัยสําคัญที่สุดที่ทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกต้นสมัยใหม่
(1) การเปิดเส้นทางการค้าใหม่ ๆ
(2) การประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่
(3) การติดต่อกับโลกอาหรับ
(4) การถกเถียงในศาสนจักร
ตอบ 2 หน้า 359, 372, 3 (H) 96 (H) โจฮันน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ช่างทองชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องในการประดิษฐ์แท่นพิมพ์สมัยใหม่ได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1445 ซึ่งการพิมพ์นี้มีผลต่อการปฏิวัติอารยธรรมยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก เพราะทําให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายได้อย่างรวดเร็วในโลกตะวันตกต้นสมัยใหม่ ทําให้หนังสือหาอ่านได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศาสนา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนําไปสู่การปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา

84. นักเดินเรือในข้อใดเป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปยังอินเดียได้
(1) วาสโก ดา กามา
(2) ไดแอซ
(3) โคลัมบัส
(4),แมเจลแลน
ตอบ 1 หน้า 336, 351, 90 (H), (คําบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสภายใต้การนําของเจ้าชาย เฮนรี (Henry) กษัตริย์นักเดินเรือ เป็นผู้เริ่มการสํารวจทางเรือเป็นชาติแรก โดยมีนักเดินเรือที่ สําคัญ คือ
1. ไดแอซ (Diaz) เดินทางไปถึงปลายสุดของทวีปแอฟริกา (แหลมกู๊ดโฮป) ในปี ค.ศ. 1487
2. วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) เป็นคนแรกที่สามารถเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปถึง อินเดียได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1498
3. คาบรัล (Cabrat) เดินทางไปถึงบราซิลในปี ค.ศ. 1500

85. ศิลปวิทยาของอารยธรรมใดที่ได้รับความสนใจหรือฟื้นฟูขึ้นในอิตาลีช่วงเรอเนสซองส์
(1) ไบแซนไทน์
(2) กรีก-โรมัน
(3) ยุคกลาง
(4) อียิปต์
ตอบ 2 หน้า 356 – 358, 92 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ “เรอเนสซองส์” (Renaissance) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือการฟื้นฟูอารยธรรมกรีก-โรมัน ขึ้นมาใหม่ ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการจะเน้นความสําคัญของมนุษย์ ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) รวมทั้งการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลก ดังนั้นจึงนับว่า มีความแตกต่างจากยุคกลางซึ่งถูกครอบงําจากคริสต์ศาสนาโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ในแหลมอิตาลี ก่อนที่จะแพร่ขยายเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ

86. ข้อใดคือลักษณะสําคัญของศิลปะในสมัยเรอเนสซองส์
(1) เลียนแบบลักษณะการเขียนภาพในยุคกลาง
(2) มักจะเขียนเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู
(3) มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective และสมจริงมากขึ้น
(4) เขียนภาพในแนวนามธรรมที่เน้นรูปทรง เส้น สี มากกว่าความสมจริง
ตอบ 3 หน้า 356 – 357, 363, (คําบรรยาย) ลักษณะสําคัญของความคิดในสมัยเรอเนสซองส์ (ค.ศ. 1300 – 1500) มีดังนี้ 1. เน้นความสําคัญของมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางแห่งจักรภพ 2. ในวรรณคดีจะย้ําความสนใจในเรื่องมนุษยนิยม เพื่อหาหนทางทําความเข้าใจในมนุษย์ 3. มีการเขียนงานศิลปะแบบ Perspective ทําให้ภาพเป็นธรรมชาติและสมจริงมากขึ้น 4. เน้นถึงเหตุการณ์ที่แสดงออกถึงความคิดของแต่ละคน เป็นต้น

87. ข้อใดเป็นผู้มีบทบาทสําคัญต่อการเกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) กาลิเลโอ
(2) ฟรานซิส เบคอน
(3) อีรัสมัส
(4) มาร์ติน ลูเธอร์
ตอบ 4 หน้า 378 – 379, 98 (H) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) พระชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่มีบทบาท สําคัญในการเริ่มการปฏิรูปศาสนา ซึ่งได้เขียนคําประท้วง 95 ข้อ ไปติดที่โบสถ์ในแคว้นแซกโซนี ทําให้มีผู้เห็นด้วยว่าไม่ควรนําเงินของเยอรมันไปสร้างวัดในอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นนับเป็น จุดเริ่มต้นของการประท้วงทางศาสนา และเป็นที่มาของคําว่า “Protestant” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1529

88. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
(1) พระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อ และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น
(2) ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้
(3) การไปถึงทวีปอเมริกา ทําให้เกิดการตั้งคําถามต่อสิ่งที่เขียนไว้ในไบเบิล
(4) แนวคิดมนุษยนิยมที่ส่งเสริมให้มนุษย์ใส่ใจกับโลกปัจจุบันมากกว่าโลกหน้า
ตอบ 3 หน้า 377, 97 (H), (คําบรรยาย) ปัจจัยที่ทําให้เกิดการปฏิรูปศาสนา ได้แก่
1. สันตะปาปาหรือ พระชั้นสูงมีความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อและฟุ่มเฟือย และมักเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นสําหรับนําไปใช้จ่าย ในสํานักวาติกัน
2. ศาสนาแบบเดิมใส่ใจเรื่องพิธีกรรมมากกว่าแก่นแท้ของศาสนา
3. มีการ วิพากษ์วิจารณ์การฉ้อฉลและความประพฤติไม่ดีของพระ
4. นักมนุษยนิยมเผยแพร่แนวคิดที่ว่า มนุษย์ควรใส่ใจกับโลกปัจจุบัน มากกว่าโลกหน้า (ชีวิตหลังความตาย) เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นต้น

89. ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทําการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ
(1) ไม่พอใจการขายใบไถ่บาปของสันตะปาปา
(2) ต้องการหย่าขาดจากมเหสี แต่ศาสนจักรไม่ยอม
(3) สันตะปาปาไม่ยอมรับการขึ้นสู่บัลลังก์ของพระองค์
(4) ไม่พอใจการปฏิบัติตัวของพระในอังกฤษ
ตอน 2 หน้า 383, 99 (H), (คําบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษเกิดขึ้นเพราะพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ต้องการหย่าขาดจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่กับ แอน โบลีน แต่ศาสนจักร (สันตะปาปา) ไม่ยินยอม พระเจ้าเฮนรีที่ 8 จึงตัดขาดจากองค์กร คริสตจักรที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy” ในปี ค.ศ. 1534 เพื่อแต่งตั้งให้พระองค์เป็นประมุขทางศาสนาในอังกฤษแทนสันตะปาปา หรือ “Catholic without Popes” ซึ่งส่งผลทําให้อังกฤษเปลี่ยนศาสนาเป็นโปรเตสแตนต์ที่เรียกว่า นิกายอังกฤษ (Anglican Church / Church of England)

90. สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาฉบับใด
(1) สนธิสัญญาอ๊อกซเบิร์ก
(2) สนธิสัญญาแห่งเมืองนังต์
(3) สนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย
(4) สนธิสัญญาพิเรนิส
ตอบ 3 หน้า 390 – 391, 101 (H) สงครามสามสิบปี (ค.ศ. 1618 – 1648) หรือสงครามยุโรป เป็น สงครามศาสนาครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในยุโรปในดินแดนเยอรมนี (อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) ระหว่างพวกโปรเตสแตนต์ซึ่งมีประเทศผู้นําคือ อังกฤษและฝรั่งเศส กับพวกคาทอลิกซึ่งมีประเทศ ผู้นําคือ สเปน สงครามนี้สิ้นสุดลงด้วยการทําสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) โดยเป็นชัยชนะของพวกโปรเตสแตนต์และฝรั่งเศส ทําให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอํานาจในยุโรปแทนที่สเปน และดินแดนเยอรมนีได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากทําให้การรวมเยอรมนีช้าไป เป็นเวลา 200 ปี

91. แนวคิดข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
(1) เสรีนิยม
(2) มาร์กซิส
(3) ชาตินิยม
(4) รัฐธรรมนูญนิยม
ตอบ 2 หน้า 456, 114 – 116 (H), (คําบรรยาย) การปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติของ พวกเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นการปฏิวัติภายใต้การนําของกลุ่มชนชั้นกลางที่ต้องการยกเลิก ระบอบอภิสิทธิ์ลงในฝรั่งเศส อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลของรัฐธรรมนูญนิยมซึ่งต้องการเลียนแบบ รัฐสภาของอังกฤษ และอิทธิพลของแนวคิดแบบชาตินิยม (Nationalism) โดยฝูงชนปารีสได้บุก เข้าไปทําลายคุกบาสติลในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นที่คุมขังบุคคลที่เป็นศัตรูของรัฐ และเป็นเครื่องหมายของการปกครองระบอบเก่า ได้ทําให้วันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี กลายเป็น วันชาติของฝรั่งเศสเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

92. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิวัติอเมริกา ค.ศ. 1776
(1) วันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาคือวันที่ 4 สิงหาคม
(2) กองทัพฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับอังกฤษรบกับกองทัพชาวอาณานิคมอเมริกัน
(3) คําประกาศอิสรภาพได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนักปรัชญาเสรีนิยม เช่น จอห์น ล็อค
(4) รัฐบาลอังกฤษใช้แนวคิดการค้าเสรีในอาณานิคมอเมริกาก่อนสมัยการปฏิวัติ
ตอบ 3 หน้า 454, 113 (H), คําบรรยาย) จอห์น ล็อค (John Locke) และรุสโซ (Rousseau) เป็น นักปรัชญาเสรีนิยม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิวัติอเมริกาปี ค.ศ. 1776 โดยแนวความคิดของพวกเขา ได้ไปปรากฏในคําประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 เพื่อสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น โดยมีโทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้ร่างคําประกาศอิสรภาพดังกล่าว

93. ใครคือผู้ค้นพบจุดดับบนดวงอาทิตย์
(1) โคเปอร์นิคัส
(2) นิวตัน
(3) เคปเลอร์
(4) กาลิเลโอ
ตอบ 4 หน้า 437, 111 (H) ผลงานที่สําคัญของกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) ได้แก่
1. เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ส่องดูภูเขาและหุบเขาบนดวงจันทร์ วงแหวนของดาวเสาร์
และค้นพบจุดดําหรือจุดดับบนดวงอาทิตย์
2. เป็นผู้พิสูจน์การหมุนของดวงอาทิตย์ และพบว่าดวงจันทร์หมุนรอบดาวพฤหัสบดี
3. เป็นผู้พิสูจน์ว่าสิ่งของที่มีน้ำหนักเบาและหนักนั้นจะตกถึงพื้นในเวลาเดียวกัน ถ้าปราศจาก
การต้านทานของอากาศ เป็นต้น

94. ใครคือผู้ค้นพบการโคจรของดวงดาวเป็นรูปวงรี
(1) โคเปอร์นิคัส
(2) บราเฮ
(3) เคปเลอร์
(4) กาลิเลโอ
ตอบ 3 หน้า 437, 111 (H) โจฮัน เคปเลอร์ (Johann Kepler) ชาวเยอรมัน (ลูกศิษย์ของบราเฮ) เป็น ผู้ค้นพบว่าโลกและดวงดาวทั้งปวงโคจรเป็นรูปวงรี และเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะหมุนเร็วขึ้น

95. นักคิดคนใดเห็นว่าอํานาจอธิปไตยควรอยู่กับผู้มีอํานาจอย่างสมบูรณ์เพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวาย
(1) ฮอบส์
(2) ล็อค
(3) รุสโซ
(4) มาร์กซ์
ตอบ 1 หน้า 440 441, 112 (H), (คําบรรยาย) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs) ชาวอังกฤษ เป็น นักปรัชญาที่เขียนวิเคราะห์สนับสนุนการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutism) ไว้ในหนังสือ Leviathan โดยเขาเห็นว่า อํานาจอธิปไตยควรอยู่กับกษัตริย์ผู้มีอํานาจอย่างสมบูรณ์ (Absolute Power) เพื่อไม่ให้สังคมวุ่นวายหรือเกิดลัทธิอนาธิปไตยขึ้นอีก

96. สงครามครั้งสุดท้ายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งกองทัพของพระองค์พ่ายแพ้แก่กองทัพพันธมิตร ที่นําโดยแม่ทัพตุ๊ก เวลลิงตัน เกิดขึ้นที่ใด
(1) ปารีส
(2) วอเตอร์ลู
(3) บรัสเซล
(4) ไลป์ซิก
ตอบ 2 หน้า 470 – 471, 117 (H), (คําบรรยาย) สงครามครั้งสุดท้ายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เกิดขึ้น ในระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน ค.ศ. 1815 โดยกองทัพของพระองค์ประสบความพ่ายแพ้แก่ กองทัพพันธมิตรปรัสเซีย ออสเตรีย รัสเซีย และอังกฤษ ภายใต้การนําของแม่ทัพตุ๊กแห่งเวลลิงตัน ที่สมรภูมิวอเตอร์ลู (Waterloo) ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815

97. ใครคือคนที่มีบทบาทสําคัญที่สุดในสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror)
(1) จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
(2) มองเตสกิเออ
(3) โรเบสปิแอร์
(4) รุสโซ
ตอบ 3 หน้า 464 – 465, 115 (H) โรเบสปิแอร์ (Robespiere) ได้ทําการยึดอํานาจในฝรั่งเศสและ ปกครองแบบเผด็จการในระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1793 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งมีการประหารศัตรูทางการเมืองไปมากมาย จนได้ชื่อว่าเป็น “สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว” (Reign of Terror) ทําให้สมาชิกสภาคอนเวนชั่นกลัวว่าตัวเองจะได้รับอันตรายจึงร่วมมือกัน กําจัดโรเบสปิแอร์ด้วยเครื่องกิโยตินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1794 นั่นเอง

98. วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 เกิดเหตุการณ์สําคัญใดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
(1) ทําลายพระราชวังแวร์ซาย
(2) ทําลายคุกบาสติล
(3) ทําลายพระราชวังลูฟวร์
(4) การปฏิวัติอันรุ่งเรือง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

99. อะไรคือวัตถุประสงค์หลักของระบบ “The Continental System” ในสมัยจักรพรรดินโปเลียน
(1) เพื่อสร้างพันธมิตรรัฐต่าง ๆ ในยุโรปเพื่อต่อต้านปรัสเซีย
(2) เพื่อสร้างระบบการค้าร่วมในทวีปยุโรป
(3) เพื่อสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแก่อังกฤษ
(4) พระเจ้านโปเลียนต้องการสงบศึกกับประเทศเพื่อนบ้าน
ตอบ 3 หน้า 469, 117 (H), (คําบรรยาย) ระบบ The Continental System ในสมัยจักรพรรดินโปเลียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจแก่อังกฤษ ไม่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศ บนภาคพื้นยุโรปกับอังกฤษ ซึ่งทําให้ฝรั่งเศสและประเทศที่เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส เช่น ประเทศรัสเซีย ต้องเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้า

100. ขบวนการโรแมนติกเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดอะไร
(1) แนวคิดเหตุผลนิยมในยุคประเทืองปัญญา
(2) นิกายโรมันคาทอลิก
(3) แนวคิดชาตินิยม
(4) มาร์กซิส
ตอบ 1 หน้า 473 – 474, 119 (H) ขบวนการโรแมนติก (Romanticism) เป็นขบวนการที่ต่อต้านข้อจํากัด ของศตวรรษที่ 18 หรือเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนวคิดเหตุผลนิยม (Rationalism) ในยุคประเทือง ปัญญา แต่จะเน้นที่อารมณ์ ความรู้สึก และปัจเจกชน หรือเน้นที่ตัวบุคคล ซึ่งต่อมาขบวนการนี้ได้ เข้าร่วมกับขบวนการชาตินิยมและเสรีนิยม ลุกฮือขึ้นทั่วยุโรปเพื่อทําการปฏิวัติ

101. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับ “ประกาศแห่งสิทธิ” (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในการปฏิวัติอันรุ่งเรือง
(1) พระเจ้าแผ่นดินทรงออกกฎหมายโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามิได้
(2) การร่างรัฐธรรมนูญที่มีลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ
(3) การตัดสินคดีความต้องผ่านการพิจารณาจากลูกขุน
(4) กษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ต้องนับถือนิกายแองกลิคัน
ตอบ 2 หน้า 417 ประกาศแห่งสิทธิ (Bill of Rights) ค.ศ. 1689 ในการปฏิวัติอันรุ่งเรือง มีใจความว่า
1. พระเจ้าแผ่นดินจะทรงออกกฎหมาย เก็บภาษี หรือจัดตั้งกองทัพโดยไม่ผ่านความเห็นชอบ ของรัฐสภามิได้
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ โดยไม่ต้องเกรงกลัวต่อการลงโทษ
3. การตัดสินคดีต่าง ๆ ต้องได้รับการพิจารณาจากคณะลูกขุน
4. กษัตริย์อังกฤษทุกพระองค์ต้องนับถือนิกายแองกลิคัน เป็นต้น

102. ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจสําคัญของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ค.ศ. 1740 – 1786
(1) การปฏิรูปการทหารให้มีประสิทธิภาพ
(2) ทรงร่วมสงครามสามสิบปี
(3) ทรงใช้การทูตระหว่างสงคราม
(4) ทรงร่วมในการแบ่งแยกโปแลนด์
ตอบ 2 หน้า 419 – 421, 108 – 109 (H), (คําบรรยาย) พระราชกรณียกิจสําคัญของพระเจ้าเฟรเดอริก มหาราชแห่งปรัสเซีย (ค.ศ. 1740 – 1786) มีดังนี้
1. ทรงทําการปฏิรูปการทหารให้มีประสิทธิภาพ โดยสร้างกองทัพที่มีทหารถึง 147,000 คน ซึ่งมีระเบียบวินัยเฉียบขาด ได้รับการฝึกฝนอย่างดีและมีอาวุธที่ทันสมัย
2. ทรงร่วมสงครามเจ็ดปี (ค.ศ. 1756 – 1763) ซึ่งเป็นสงครามสืบเนื่องจากสงครามสืบราชสมบัติ ออสเตรีย
3. ทรงใช้การทูตระหว่างสงคราม และถือเป็นการเปลี่ยนทิศทางการทูต (Diplomatic Revolution) คือ ศัตรูกลับมาเป็นมิตร และมิตรกลายเป็นศัตรู
4. ทรงร่วมกับรัสเซียและออสเตรียในการแบ่งแยกโปแลนด์ เป็นต้น

103. ข้อใดไม่ใช่บุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการรวมประเทศอิตาลี
(1) เคานต์ คามิลโล ดิ คาวัวร์
(2) กษัตริย์วิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2
(3) โจเซฟ การบัลดี
(4) บิสมาร์ก
ตอบ 4 หน้า 512, 125 – 120 (H) บุคคลที่มีบทบาทสําคัญในการรวมประเทศอิตาลี ได้แก่
1. กษัตริย์วิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2
2. เคานต์ คามิลโล ดิ คาร์วัวร์
3. โจเซฟ การบัลดี

104. ใครคือผู้ที่นําสถิติประชากรมาวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์
(1) จอห์น สจ๊วต มิลล์
(2) เดวิด ริคาร์โด
(3) โทมัส มัลธัส
(4) อดัม สมิธ
ตอบ 3 หน้า 502, (คําบรรยาย) โทมัส มัลธัส (Thomas Maithus) ขาวอังกฤษ เป็นผู้ที่นําสถิติประชากร มาวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ และถือว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ใช้วิชาสถิติมาประยุกต์ เข้ากับอัตราการเกิดของประชากร โดยมีงานวิทยานิพนธ์คือ Malthusian Doctrine ซึ่งเป็นเรื่อง เกี่ยวกับการเพิ่มจํานวนประชากรซึ่งถ้าไม่มีการตรวจสอบแล้วจะมีอัตราเพิ่มขึ้น (ตามหลักเรขาคณิต) มากกว่าหนทางในการดํารงอยู่ (ตามหลักคณิตศาสตร์)

105. ชาร์ลส์ ดาร์วิน มีบทบาทสําคัญต่อแนวคิดเรื่องใด
(1) ปมเอดิปัส
(2) ทฤษฎีสัมพันธภาพ
(3) ทฤษฎีวิวัฒนาการมนุษย์
(4) การค้าเสรี
ตอบ 3 หน้า 18 – 19, 11 (H) ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทฤษฎีวิวัฒนาการ (The Theory of Evolution) ซึ่งมีสาระสําคัญคือ
1. สิ่งมีชีวิตถือกําเนิดมาจากสัตว์เซลล์เดียวในทะเล
2. สิ่งมีชีวิตจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามสภาพแวดล้อม
3. สิ่งมีชีวิตย่อมได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากพ่อและแม่
4. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะต้องสูญพันธุ์ไปในที่สุด

106. ระบบเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15 – ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปตะวันตกเรียกว่าระบบอะไร
(1) เสรีนิยม
(2) การค้าเสรี
(3) สังคมนิยม
(4) พาณิชย์นิยม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 79. ประกอบ

107. ข้อใดไม่ใช่นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม
(1) กล้องดูดาว
(2) รถไฟ
(3) หูกทอผ้า
(4) ระบบโรงงาน
ตอบ 1 หน้า 494 – 498, (คําบรรยาย) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่น ระบบโรงงาน การประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย (Spinning Mute) หูกทอผ้า (Power Loom) เครื่องแยกเมล็ดฝ้าย (Cotton Gin) ตะเกียงนิรภัยเพื่อใช้ในเหมืองแร่ เรือไอน้ําหรือเรือกลไฟ หัวรถจักร รถไฟ ฯลฯ

108. นักคิดคนใดที่มีแนวคิดแบบอนาธิปไตย
(1) ปิแอร์ พรูดอง
(2) คาร์ล มาร์กซ์
(3) อดัม สมิธ
(4) เจเรอมี เบนม
ตอบ 1 หน้า 505 – 506 อนาธิปไตย (Anarchism) เป็นลัทธิต่อต้านระบบนายทุนที่มีแนวความคิด รุนแรงกว่าสังคมนิยมมาก เพราะสังคมนิยมจะเน้นที่การรวมกลุ่ม แต่อนาธิปไตยจะทําลายอํานาจ ทุกชนิด ทั้งความคิดเรื่องการปกครองโดยรัฐ ระเบียบประเพณี และระบบชนชั้นเหล่านี้จะต้อง ไม่มีเหลืออีกในโลก เนื่องจากลัทธินี้เชื่อว่าทุกรัฐบาลล้วนกดขี่ โดยนักคิดคนสําคัญของลัทธินี้ได้แก่ วิลเลียม กอดวิน, ปิแอร์ พรูดอง และไมเคิล บูกานิน

109. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์
(1) แนวคิดของมาร์กซ์ได้รับอิทธิพลจากเฮเกล
(2) เป้าหมายทางการเมืองของมาร์กซ์คือสังคมไร้ชนชั้น
(3) มาร์กซ์ยอมรับว่าแนวคิดของตนเองเป็นแบบสังคมยูโทเปีย
(4) เขาเห็นด้วยกับระบบทุนนิยม
ตอบ 1 หน้า 504 สังคมนิยมปฏิวัติ (The Revolutionary Socialism) ของคาร์ล มาร์กซ์ ได้รับอิทธิพล จากวิภาษวิธี (Dialectic) ของเฮเกล โดยมาร์กซ์ได้ชื่อว่าเป็น “ศาสดาพยากรณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ” แต่ผลงานของเขาทําให้สาวกต่อมานิยมเรียกลัทธิของตนว่า “ลัทธิคอมมิวนิสต์” มากกว่าที่จะเรียก ว่า “ลัทธิสังคมนิยม” ทั้งนี้เพื่อต้องการกําหนดลักษณะลัทธิของตนให้แตกต่างไปจากพวกยูโทเปีย และสังคมนิยมคาทอลิกนั่นเอง

110. สาเหตุสําคัญที่ทําให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถทํารัฐประหารได้สําเร็จในปี 1851
(1) พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝรั่งเศสทุกชนชั้น
(2) ชนชั้นกลางต้องการให้พวกโซเชียลิสต์มีอํานาจทางการเมือง
(3) พระองค์เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
(4) พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรให้ทํารัฐประหาร
ตอบ 1 หน้า 510, (คําบรรยาย) จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สามารถทํารัฐประหารได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1851 เพราะพระองค์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนฝรั่งเศสทุกชนชั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่พระองค์ เอาใจประชาชนด้วยการส่งกองทัพไปช่วยพระสันตะปาปาที่โรมใน ค.ศ. 1849 ทรงดําเนินการ ปราบปรามฝ่ายนิยมสาธารณรัฐของมาสสินี และช่วยให้พระสันตะปาปาไพอัสที่ 9 ดํารงตําแหน่งอยู่ได้ นอกจากนี้ยังเอาใจกรรมกรด้วยการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการทํางานของกรรมกร วันละ 12 ชั่วโมงอีกด้วย

111. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมืองของบิสมาร์ก
(1) สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม
(2) เป็นผู้นําประชาธิปไตย
(3) เป็นนักคิดอนุรักษนิยม
(4) สนับสนุนแนวคิดของมาร์กซ์
ตอบ 3 หน้า 517 – 518, 128 – 129 (H), (คําบรรยาย) บิสมาร์ก (Bismarck) เป็นนักคิดอนุรักษนิยม หรือพวกหัวเก่า ซึ่งต่อต้านฝ่ายเสรีนิยมอย่างรุนแรง โดยเขาประกาศใช้นโยบาย “เลือดและเหล็ก” (Blood and Iron) ในการบริหารประเทศ และดําเนินนโยบายรวมเยอรมนีโดยใช้วิธีการทําสงคราม ถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งสามารถจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1871 ที่ห้องกระจกใน พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส

112. แนวคิดใดที่ส่งเสริมความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม
(1) แนวคิดดาร์วิน
(2) แนวคิดเลนิน
(3) แนวคิดมาร์กซิส
(4) แนวคิดจิตวิเคราะห์
ตอบ 2 หน้า 524, (คําบรรยาย) แนวคิดของเลนิน (Lenin) ในเรื่อง “Imperialism The Highest Stage of Capitalism” (1916) นั้นเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมความชอบธรรมของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเห็นว่า จักรวรรดินิยมนั้นจะปรากฏในฐานะที่เป็นพัฒนาการและการดํารงอยู่ของลักษณะพื้นฐานของ ระบบทุนนิยมโดยทั่วไป นั่นคือ ระบบทุนนิยมโดยทั่วไปนั้น เมื่อมีการพัฒนาตนเองและดํารงอยู่มา จนถึงระดับหนึ่ง ก็จะกลายเป็นจักรวรรดินิยมขึ้นมา แต่ทุนนิยมจะกลายเป็นจักรวรรดินิยมทุนนิยม (Capitalist Imperialism) ก็ต่อเมื่อมันพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุด

113. อาณานิคมใดไม่ถูกฝรั่งเศสปกครอง
(1) ตูนีเซีย
(2) เวียดนาม
(3) ลาว
(4) พม่า
ตอบ 4 หน้า 525, 132 (H) อาณานิคมที่เคยถูกฝรั่งเศสปกครอง ได้แก่ แอลจีเรีย ตูนีเซีย เวียดนาม ลาว เขมร (กัมพูชา) ฯลฯ

114. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ค.ศ. 1882
(1) รัสเซีย
(2) ออสเตรีย-ฮังการี
(3) เยอรมนี
(4) อิตาลี
ตอบ 1 หน้า 529 – 531, 133 (H) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอํานาจในยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. กลุ่มไตรพันธไมตรี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
2. กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ

115. ประเทศใดอยู่ในกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Entente)
(1) สวีเดน
(2) ฝรั่งเศส
(3) เยอรมนี
(4) อิตาลี
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 114. ประกอบ

116. ผู้นําคนใดคือผู้ถูกสังหารจนนําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2
(2) ฮิตเลอร์
(3) อาร์ชบุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์
(4) มุสโสลินี
ตอบ 3 หน้า 534 – 535, 562, 133 (H) ชนวนเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือเหตุการณ์การลอบปลง พระชนม์ อาร์ชบุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) มงกุฎราชกุมาร ออสเตรีย ที่ซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย ประเทศเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยนักศึกษาชาวเซิร์บชื่อ กาวริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip) ทําให้ออสเตรียตัดสินใจ ยื่นคําขาดต่อเซอร์เบียให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตนภายใน 24 ชั่วโมง แต่เซอร์เบียไม่อาจรับได้ ดังนั้นฝ่ายสนับสนุนทั้งสองข้างจึงถูกผลักดันให้ใช้กําลังเข้าประหัตประหารกัน จนลุกลามกลายเป็น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในเวลาต่อมา

117. พรรคใดคือผู้นําในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
(1) พรรคบอลเชวิค
(2) พรรคเมนเซวิค
(3) พรรคนาซี
(4) พรรคฟาสซิสแห่งชาติ
ตอบ 1 หน้า 537, 134 – 136 (H) การปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ภายใต้การนําของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นํา ได้ส่งผลให้รัสเซียจําเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และทําให้ รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ และก่อตั้งเป็นสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1918 เลนินก็ได้ทําสนธิสัญญาสงบศึกเบรสท์-ลิตอฟ (Brest-Litovsk) กับฝ่ายเยอรมนี

118. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง
(1) ความไร้ประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ
(2) เศรษฐกิจของประเทศที่มีอาณานิคมมั่นคง ในขณะที่ประเทศที่ไร้อาณานิคมกลับตกต่ำ
(3) เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
(4) กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ ค.ศ. 1939
ตอบ 2 หน้า 546 – 547, 550), 138 (H) สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) คือ
1. ความอ่อนแอหรือความไร้ประสิทธิภาพขององค์การสันนิบาตชาติ
2. ความต้องการขยายดินแดนของประเทศมหาอํานาจซึ่งไม่มีอาณานิคมเหมือนชาติมหาอํานาจชาติอื่น ๆ
3. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วโลก (The Great Depression) ในปี ค.ศ. 1929
4. กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939
5. ความไม่เป็นธรรมในการทําสนธิสัญญาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้น

119. ประเทศใดต่อไปนี้คือฝ่ายอักษะในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ญี่ปุ่น-จีน
(2) อังกฤษ อิตาลี
(3) เยอรมนี-ญี่ปุ่น
(4) อิตาลี-โซเวียต
ตอบ 3 หน้า 138 (H) สงครามโลกครั้งที่ 2 แบ่งพันธมิตรทางทหารออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี ฯลฯ
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต จีน ฯลฯ

120. ประเทศใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมาชิกถาวรแห่งองค์การสหประชาชาติ
(1) เยอรมนี
(2) ฝรั่งเศส
(3) จีน
(4) สหภาพโซเวียต
ตอบ 1 หน้า 559, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) แห่งองค์การสหประชาชาติ ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ
1. สมาชิกถาวรมี 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
2. สมาชิกไม่ถาวรหรือสมาชิกสมทบมี 10 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สมัชชาใหญ่เป็นผู้เลือกด้วย การลงคะแนนเสียง 2 ใน 3 โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

POL2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2302 ระเบียบปฏิบัติราชการ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องโทษวินัยปลดออกมีผลตามข้อใด
(1) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับบําเหน็จ
(2) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับบํานาญ
(3) พ้นจากราชการโดยไม่ได้รับเงินชดเชย
(4) พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จ บํานาญ
(5) พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จ แต่ไม่ได้รับบํานาญ
ตอบ 4 หน้า 267, (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 97 วรรคสี่), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยขั้นปลดออกจากราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่ง ลงโทษทางวินัยขั้นไล่ออกจากราชการ จะไม่มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วย บําเหน็จบํานาญข้าราชการ

2.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการการสรรหาและการเลือกสรร
(1) การสรรหาคือกระบวนการจูงใจและดึงดูดบุคคลทั่วไปให้เข้ามาสมัคร ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีจํานวนมาก แต่ขอให้มีคุณสมบัติตรงตามที่หน่วยงานต้องการ
(2) กระบวนการเลือกสรรเป็นกระบวนการที่ดําเนินต่อจากกระบวนการสรรหา
(3) กระบวนการสรรหา มี 3 รูปแบบ คือ แบบภายใน แบบภายนอก และแบบบูรณาการ
(4) การเลือกสรรบุคลากรเข้ารับราชการ มี 2 วิธี คือ การสอบแข่งขัน และการคัดเลือก
(5) การแย่งตัวบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่องค์การ มักเกิดจากการดึงดูดขององค์การที่ให้ ค่าตอบแทนสูงกว่า สวัสดิการดีกว่า หรือมีความมั่นคงมากกว่า
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การสรรหา (Recruitment) คือ กระบวนการค้นหา จูงใจ และดึงดูดให้บุคคลที่ มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานเข้ามาสมัครงาน ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีจํานวนมาก แต่ขอให้มีคุณสมบัติตรงตามที่หน่วยงานต้องการ โดยวิธีการสรรหา มี 3 รูปแบบ คือ การสรรหาจากภายใน การสรรหาจากภายนอก และการสรรหาแบบบูรณาการ ส่วนการเลือกสรร (Selection) เป็นกระบวนการที่ดําเนินต่อจากกระบวนการสรรหา โดยการ เลือกสรร คือ กระบวนการพิจารณาบุคคลที่ได้สรรหามาแล้ว และคัดเลือกให้ได้บุคคลที่เหมาะสม ที่สุดเอาไว้ โดยยึดหลักการแยกความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอื่น ๆ ซึ่งวิธีการเลือกสรรมี 2 วิธี คือ การสอบแข่งขัน และการคัดเลือก

3.หลักการข้อใดหมายถึง หน่วยงานราชการทุกแห่งจําเป็นต้องมีแบบแผนและมาตรฐานการทํางาน เพื่อให้หน่วยงานทํางานถูกต้อง เหมาะสม ยืดหยุ่น และคล่องตัว
(1) Rules and Regulations
(2) Hierarchy
(3) Uniformity and Standardization
(4) Supervision and Auditing
(5) Superior and Subordinate
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Uniformity and Standardization หมายถึง หน่วยงานราชการทุกแห่ง จําเป็นต้องมีแบบแผนและมาตรฐานการทํางาน เพื่อให้หน่วยงานทํางานถูกต้อง เหมาะสม ยืดหยุ่น และคล่องตัว

4. ใครคือผู้มีอํานาจพิจารณาความผิดและกําหนดโทษของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดทางวินัย
(1) ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
(2) นายกรัฐมนตรี
(3) ผู้พิพากษาศาลปกครอง
(4) สภาผู้แทนราษฎร
(5) เจ้าหน้าที่ตํารวจ
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 96 และมาตรา 97), (คําบรรยาย) ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เป็นผู้มีอํานาจ พิจารณาความผิด กําหนดโทษ และสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทําผิดทางวินัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด

2. กรณีกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่ง กรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

5. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการลงโทษการประพฤติผิดวินัยของข้าราชการ
(1) ผู้บังคับบัญชาชายได้โอบกอด จับมือ และแซวเรื่องรูปร่างของผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นเพศหญิง เป็นประจํา โดยอ้างว่าเป็นการหยอกล้อ ไม่มีเจตนาคุกคามทางเพศ กรณีดังกล่าวจึงสมควรลงโทษ ด้วยการตักเตือนและทําภาคทัณฑ์ไว้ ไม่ถึงขั้นต้องไล่ออก
(2) ข้าราชการสังกัดหน่วยงานแห่งหนึ่งมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนร่วมงาน โดยพูดจาด่าทอด้วยถ้อยคํา หยาบคาย และดูถูกดูแคลน กรณีดังกล่าวนับเป็นการผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง มีผลให้ลงโทษภาคทัณฑ์
(3) ตํารวจเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ขี่รถจักรยานยนต์ผิดกฎจราจร โดยตํารวจบังคับใส่กุญแจมือ
และทําร้ายร่างกายด้วยการต่อย กระทืบ และใช้เท้าเหยียบหัว จนบาดเจ็บสาหัส กรณีดังกล่าวถือว่า ผิดวินัยไม่ร้ายแรง เนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นขัดขืนการจับกุม จึงสมควรลงโทษด้วยการลดเงินเดือนหรือ ตัดเงินเดือน
(4) ข้าราชการสังกัดหน่วยงานหนึ่งมาสายและทํางานผิดพลาดอยู่เป็นประจําติดต่อกันนานถึง 1 สัปดาห์ โดยอ้างว่าต้องดูแลแม่ที่ล้มป่วยกะทันหัน กรณีดังกล่าวนับเป็นความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
เพราะสร้างความเสียหายแก่หน่วยงาน สมควรลงโทษด้วยการปลดออกหรือไล่ออก
(5) ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานหนึ่งทําเรื่องเบิกค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง อันเป็นเท็จมิใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการ กรณีดังกล่าวยังไม่นับเป็นความประพฤติชั่วอย่าง ร้ายแรง เพราะเพิ่งกระทําผิดเป็นครั้งแรก และทําคุณงามความดีมาโดยตลอด จึงสมควรลงโทษด้วยการลดเงินเดือนหรือตัดเงินเดือน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กรณีข้าราชการสังกัดหน่วยงานแห่งหนึ่งมีเรื่องบาดหมางกับเพื่อนร่วมงาน โดยพูดจาด่าทอด้วยถ้อยคําหยาบคาย และดูถูกดูแคลน นับเป็นการผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ในฐานไม่สุภาพเรียบร้อย และไม่รักษาความสามัคคีระหว่างข้าราชการด้วยกัน กรณีดังกล่าว มีผลให้ลงโทษภาคทัณฑ์

6.ข้อใดเป็นหลักการของระบบคุณธรรม
(1) หลักความสามารถ
(2) หลักความเสมอภาค
(3) หลักความเป็นกลางทางการเมือง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 17 – 18 หลักการสําคัญของระบบคุณธรรม (Merit System) ในการบริหารงานบุคคล หรือการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ มี 4 ประการ คือ
1. หลักความเสมอภาค (Equality)
2. หลักความรู้ความสามารถ (Competence)
3. หลักความมั่นคง (Security)
4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality)

7. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) รองปลัดกระทรวง
(3) รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
(4) อธิบดี
(5) ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 15), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง) เป็นประธาน ปลัดกระทรวง เป็นรองประธาน และผู้แทน ก.พ. 1 คน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการ ในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือน ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกระทรวงนั้น จํานวนไม่เกิน 5 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

8.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีกี่คน
(1) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 6 คน
(2) ไม่น้อยกว่า 3 คน
(3) ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
(4) 5 คน
(5) 7 คน

ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และมาตรา 7), (คําบรรยาย) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย
1. กรรมการโดยตําแหน่ง จํานวน 5 คน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย จํานวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยอยู่ในตําแหน่งคราวละ 3 ปี

9.การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับ การรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึง
(1) ความรู้ความสามารถของบุคคล
(2) ความเสมอภาคและความเป็นธรรม
(3) ประโยชน์ของตัวข้าราชการ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42 (1)) การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันในส่วนที่เกี่ยวกับการรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องคํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

10. ข้อใดเป็นลักษณะสําคัญประการหนึ่งของข้าราชการการเมือง
(1) มีวาระในการดํารงตําแหน่ง
(2) ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(3) เน้นเรื่องประสบการณ์
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 391, (คําบรรยาย) ลักษณะของข้าราชการการเมือง มีดังนี้
1. เป็นข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน)
2. มีอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนรายเดือนคงที่ ซึ่งกําหนดตามตําแหน่งและไม่มีขั้นวิ่ง
3. การเข้าดํารงตําแหน่งเป็นไปตามเหตุผลทาง การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์)
4. การออกจากตําแหน่งในกรณีปกติเป็นไปตามวาระหรือมีวาระในการดํารงตําแหน่งหรือเป็นไปตามเหตุผลทางการเมือง
5. ไม่จําเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ฯลฯ

11. หนังสือสั่งการตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) 5 ชนิด
(2) 4 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 2 ชนิด
(5) 6 ชนิด
ตอบ 3 หน้า 403, 416, 422, 428, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 26 – 27), (คําบรรยาย) หนังสือราชการตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไข
เพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 (ฉบับปัจจุบัน) มี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่ คําสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ
3. หนังสือประทับตรา
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทําขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่ หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

12. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่หลักสําคัญของระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้ในระบบราชการปัจจุบัน
(1) หลักความมั่นคง
(2) หลักความรู้ความสามารถ
(3) หลักความเสมอภาค
(4) หลักอาวุโส
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

13. ผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด คือ
(1) ก.พ.
(2) อธิบดี
(3) อ.ก.พ.
(4) อ.ก.พ. จังหวัด
(5) อ.ก.พ. กระทรวง
ตอบ 2 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 55), (คําบรรยาย) กรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ ก.พ. เห็นว่าไม่ต้องดําเนินการสอบแข่งขัน สามารถให้อธิบดี (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) เป็นผู้คัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งได้เป็นรายกรณี (ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเป็นรายบุคคล) เช่น
1. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามที่ ก.พ. กําหนด
2. กรณีบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง หรือทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาวิชาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สําเร็จการศึกษาแล้ว เป็นต้น

14. ระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภททั่วไปตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน มีกี่ระดับ
(1) 2 ระดับ
(2) 3 ระดับ
(3) 4 ระดับ
(4) 5 ระดับ
(5) 6 ระดับ
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 13 – 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 46) ระดับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ มี 2 ระดับ คือ ระดับต้น และระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตําแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชํานาญงาน ระดับอาวุโส และระดับทักษะพิเศษ ทั้งนี้การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.

15. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติบางประการต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง
(2) ไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
(3) ไม่เป็นกรรมการโดยตําแหน่งอยู่แล้ว
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 7 – 8), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 6 วรรคสอง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนต้องไม่เป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง และมิได้เป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งอยู่แล้ว

16. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ปลัดกระทรวง
(2) อธิบดี
(3) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 17 – 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 57 (1) (2) (7)), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีขั้นตอนการบรรจุและแต่งตั้งโดยต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ได้แก่
1. ตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น
2. ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ

17. ระดับทักษะพิเศษเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด
(1) พิเศษ
(2) วิชาการ
(3) บริหาร
(4) อํานวยการ
(5) ทั่วไป
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

18. ข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้แก่
(1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ
(2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์
(3) ข้าราชการครู
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือน มี 2 ประเภท คือ

1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ ซึ่งข้าราชการประเภทนี้ถือเป็น ข้าราชการส่วนใหญ่ที่มีจํานวนมากที่สุดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้

2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา

19. หนังสือราชการชนิดใดต่อไปนี้ไม่ต้องมีคําลงท้ายตามระเบียบงานสารบรรณปัจจุบัน
(1) หนังสือประทับตรา
(2) หนังสือภายใน
(3) หนังสือภายนอก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 410 – 415, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก ใช้สําหรับติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือ จังหวัดเดียวกัน ส่วนหนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้า ส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป ซึ่งหนังสือทั้งสองประเภทนี้จะใช้สําหรับส่วนราชการภายใน ด้วยกันเองจึงไม่ต้องมีคําลงท้าย

20. ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล จะบรรลุผลสําเร็จมากน้อย
เพียงใดส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ
(1) ตัวบทกฎหมาย
(2) ความร่วมมือของภาคเอกชน
(3) ประชาชนโดยส่วนรวม
(4) กระทรวง กรม ในระบบราชการ
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 1, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 1) ในการปฏิบัติราชการเพื่อดําเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลจะบรรลุผลสําเร็จมากน้อยเพียงใดหรือจะบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้หรือไม่นั้น ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคน การจัดองค์การ และวิธีการทํางาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ขึ้นอยู่กับ หน่วยงานต่าง ๆ ในระบบราชการว่ามีประสิทธิภาพในการทํางานหรือไม่

21. หนังสือประชาสัมพันธ์ตามระเบียบงานสารบรรณฉบับปัจจุบันมีกี่ชนิด
(1) ชนิดเดียว
(2) 2 ชนิด
(3) 3 ชนิด
(4) 4 ชนิด
(5) 5 ชนิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 11. ประกอบ

22. ตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) อธิบดี
(3) รองปลัดกระทรวง
(4) ปลัดกระทรวง
(5) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 9), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 17), (คําบรรยาย) อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วย
1. อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมาย 1 คน เป็นรองประธาน
2. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมายที่มิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 3 คน
3. อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการ ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่ง ประเภทบริหารหรือประเภทอํานวยการในกรมนั้น จํานวนไม่เกิน 6 คน
4. เลขานุการ ซึ่ง อ.ก.พ. กรม แต่งตั้ง จํานวน 1 คน

23. การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับใดที่ระเบียบฯ กําหนดให้ต้องนําความกราบบังคมทูลเพื่อ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(1) ประเภทบริหารระดับสูง
(2) ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(3) ประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

24. โทษผิดวินัยตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันมีกี่สถาน
(1) 2 สถาน
(2) 3 สถาน
(3) 4 สถาน
(4) 5 สถาน
(5) 6 สถาน
ตอบ 4 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 22 – 23), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ ทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 การดําเนินการทางวินัย โดยโทษทางวินัยมี 5 สถาน ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. โทษผิดวินัยประเภทไม่ร้ายแรง มี 3 สถาน ได้แก่ ภาคทัณฑ์ (เบาที่สุด) ตัดเงินเดือน และลดเงินเดือน
2. โทษผิดวินัยประเภทร้ายแรง มี 2 สถาน ได้แก่ ปลดออก และไล่ออก (หนักที่สุด)

25. ตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน

(1) เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
(2) เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(3) มีระดับตําแหน่งระดับเดียวกับตําแหน่งปลัดกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารตาม พ.ร.บ. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 2 ระดับ คือ
1. บริหารระดับต้น ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (รองอธิบดี), รองผู้ว่าราชการ จังหวัด, อัครราชทูต เป็นต้น
2. บริหารระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ ปลัดกระทรวง), รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง (รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและ รองปลัดกระทรวง), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (อธิบดี), หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (เช่น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ), ผู้ว่าราชการจังหวัดเอกอัครราชทูต เป็นต้น

26. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งใดต่อไปนี้เป็นตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้นตามระเบียบ
ข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) รองอธิบดี
(2) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รองปลัดกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27. ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(1) เป็นข้าราชการการเมือง
(2) อาจมีหลายคนได้
(3) มีฐานะเท่ากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 หน้า 387, 393 ตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งตําแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีจํานวนเพียง 1 อัตรา

28. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันแบ่งเป็นประเภท
(1) 2 ประเภท
(2) 3 ประเภท
(3) 4 ประเภท
(4) 5 ประเภท
(5) 6 ประเภท
ตอบ 3 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45), (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทบริหาร
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ํากว่าระดับกรม และตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนดเป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการ เช่น หัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัดในราชการส่วนภูมิภาค เป็นต้น
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามที่ ก.พ. กําหนด (ระดับปริญญาตรีขึ้นไป) เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตําแหน่งนั้น 4. ตําแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทตามข้อ 1, 2 และ 3 ทั้งนี้ตามที่ ก.พ. กําหนด

29. ข้อใดเป็นโทษผิดวินัยขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
(1) ไล่ออก
(2) ปลดออก
(3) ให้ออก
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 กับ 2
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 24. ประกอบ

30. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามระเบียบข้าราชกาพลเรือนฉบับปัจจุบันมีจํานวนกี่คน
(1) 5 คน
(2) 6 คน
(3) 7 คน
(4) 8 คน
(5) 9 คน
ตอบ 3 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 24 และมาตรา 29), (คําบรรยาย) คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.” ประกอบด้วยกรรมการจํานวน 7 คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค. โดยตําแหน่ง โดยกรรมการ ก.พ.ค. ต้องทํางาน เต็มเวลา และมีวาระการดํารงตําแหน่ง 6 ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว ดังนั้นกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ก.พ.ค. อีกมิได้ แต่ให้กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการ ก.พ.ค. ใหม่

31. ปัจจุบันการย้าย การโอน การเลื่อนตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นไปตามกฎหมายฉบับใด
(1) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอํานาจ พ.ศ. 2550
(5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ปัจจุบันการย้าย การโอน หรือการเลื่อนตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในหรือต่างกระทรวงหรือกรม พ.ศ. 2564

32. การย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม จากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกย้ายหรือโอนนั้น เป็นไปตามกฎ ก.พ. ในข้อใด
(1) ข้อ 5
(2) ข้อ 6
(3) ข้อ 7
(4) ข้อ &
(5) ข้อ 9
ตอบ 2 (คําบรรยาย) กฎ ก.พ. ข้อ 6 กําหนดให้การย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่
ต่ำกว่าเดิมจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ถูกย้ายหรือโอนนั้น

33. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการย้ายตําแหน่ง
(1) การย้ายไม่จําเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้
(2) การย้ายสามารถย้ายภายในกรมเดียวกัน ประเภทเดียวกัน และสายงานเดียวกัน แต่ไม่สามารถย้าย
ต่างประเภทกัน และต่างสายงานกันได้
(3) การย้ายเป็นกรณีที่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.พ. กําหนดก่อน
แล้วผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจึงจะดําเนินการย้ายได้
(4) การย้ายใน “ระดับที่ต่ํากว่าเดิม” จําเป็นต้องอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้ แต่ไม่จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะย้าย
(5) การย้ายอาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่ในส่วนภูมิภาคก็ได้ แต่ต้องเป็น
ตําแหน่งประเภทเดียวกัน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การย้าย หมายถึง การย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในกรมเดียวกันหรือ กรมเดิม แต่อาจเปลี่ยนไปอยู่ในส่วนราชการในกรมส่วนกลาง หรือไปอยู่ในจังหวัดหรือ อําเภอในส่วนภูมิภาคก็ได้ ซึ่งจะเป็นตําแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้ โดยหลักเกณฑ์ในการย้ายตําแหน่ง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอํานาจสั่งบรรจุที่จะพิจารณาย้ายได้
2. กรณีที่ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.พ. กําหนดก่อน แล้วผู้มีอํานาจสั่งบรรจุจึงจะดําเนินการย้ายได้

34. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
(1) การเลื่อนระดับให้เลื่อนได้ไม่เกิน 2 ระดับ
(2) การโอนให้ไปดํารงตําแหน่งใหม่ อาจอยู่ในกระทรวงเดิมหรือกระทรวงใหม่ก็ได้
(3) ผู้บังคับบัญชามีอํานาจสั่งให้ข้าราชการสับเปลี่ยนหน้าที่หรือย้ายโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่นได้
(4) การเลื่อนระดับ คือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทเดียวกันในระดับ ที่สูงกว่าเดิม
(5) ข้าราชการสามารถข้ามประเภทตําแหน่งจากระดับปฏิบัติงานไประดับปฏิบัติการได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การเลื่อนระดับ คือ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่ง ประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม โดยเลื่อนได้ไม่เกิน 1 ระดับ ดังนั้นในแต่ละประเภท ตําแหน่งจึงสามารถเลื่อนระดับได้ดังนี้
1. ตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น-ระดับสูง
2. ตําแหน่งประเภทอํานวยการ ระดับต้น-ระดับสูง
3. ตําแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ระดับชํานาญการ-ระดับชํานาญการพิเศษ – ระดับเชี่ยวชาญ – ระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ระดับชํานาญงาน – ระดับอาวุโส-ระดับทักษะพิเศษ

35. การเลื่อนระดับของประเภทตําแหน่งอํานวยการ ตําแหน่งที่ต่อจาก “ระดับต้น” คือตําแหน่งใด
(1) ระดับกลาง
(2) ระดับปลาย
(3) ระดับสูง
(4) ระดับพิเศษ
(5) ระดับชํานาญ
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

36. การเลื่อนระดับของประเภทตําแหน่งทั่วไป ตําแหน่งที่ต่อจาก “ระดับปฏิบัติงาน” คือตําแหน่งใด
(1) ระดับเชี่ยวชาญ
(2) ระดับต้น
(3) ระดับชํานาญการ
(4) ระดับปฏิบัติการ
(5) ระดับชํานาญงาน
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

37. ข้อใดคือหลักเกณฑ์ในการประเมินการเลื่อนเงินเดือน
(1) ยึดหลักความถูกต้องและเป็นธรรม
(2) ต้องเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่ ก.พ. กําหนด
(3) ใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานเป็นหลัก
(4) ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานจะเป็นผู้ประเมินผล
(5) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 (คําบรรยาย) การประเมินการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ เป็นการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา ในแต่ละระดับที่ตนสังกัดอยู่ โดยปกติการประเมินการเลื่อนเงินเดือนจะกระทําตามเกณฑ์ โดยยึดหลักความถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่ ก.พ. กําหนด

38. การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญในครั้งที่ 1 หรือการเลื่อนในครึ่งปีแรก คือช่วงเวลาใด

(1) 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน
(2) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม
(3) 1 พฤศจิกายน ถึง 30 เมษายน
(4) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน
(5) 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม
ตอบ 2 หน้า 19, (คําบรรยาย) การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติจะเลื่อน ปีละ 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เป็นการเลื่อนเงินเดือนสําหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
ครั้งที่ 2 เป็นการเลื่อนเงินเดือนสําหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 ตุลาคมของปีถัดไป

39. ข้อใดไม่ใช่หลักการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจ
(1) หน่วยงานดําเนินการให้ข้าราชการมีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(2) ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม
(3) ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้บําเหน็จ คําชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล
(4) การให้ข้าราชการไปฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ
(5) การให้ข้าราชการยืมใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานนอกเวลาราชการเมื่อมีเหตุจําเป็น
ตอบ 5 (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 72 – 77), (คําบรรยาย) หลักการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
มีดังนี้
1. หน่วยงานราชการต้องดําเนินการให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
2. ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรม และเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดํารงตนเป็นข้าราชการที่ดี
3. หากข้าราชการประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัย และปฏิบัติราชการอย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้บําเหน็จ คําชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล
4. ให้ข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ฯลฯ

40. ข้อใดกล่าวถึงหลักการ “Put the right man on the right job” ได้อย่างถูกต้องที่สุด
(1) การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้ถูกที่ถูกเวลา
(2) การสรรหาบุคคลที่มีทักษะความสามารถเข้ามาทํางานด้วยระบบคุณธรรม
(3) การปรับภารกิจของหน่วยงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล
(4) การได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมรรถนะเหมาะสมกับความต้องการของตําแหน่ง
(5) การได้มาซึ่งบุคลากรที่มีทักษะความรู้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บังคับบัญชา
ตอบ 4 (คําบรรยาย) เป้าหมายของการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ มีดังนี้
1. ส่วนราชการได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะเหมาะสมกับ ความต้องการของตําแหน่ง (Put the right man on the right job at the right time)
2. ส่วนราชการสามารถสรรหาและเลือกสรรบุคคลได้อย่างมีมาตรฐานและคล่องตัว

41. ข้อใดคือคุณสมบัติในการแต่งตั้งข้าราชการใน “สายงานปิด”
(1) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง
(2) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาโดยระบุชื่อสาขาวิชาไว้หลายสาขาวิชา
(3) สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาทุกสาขาวิชาเป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สายงานปิด คือ สายงานที่กําหนดคุณวุฒิปริญญาสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่ง เช่น ตําแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการ กําหนดให้มีคุณวุฒิ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
– ได้รับปริญญาตรี/โท/เอก คุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
– ได้รับปริญญาหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. กําหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนี้ได้

42. คุณสมบัติของตําแหน่งนิติกรระดับปฏิบัติการ มักอยู่ในสายงานประเภทใด
(1) สายงานเปิด
(2) สายงานกึ่งปิด
(3) สายงานปิด
(4) สายงานปิดและสายงานเปิด
(5) สายงานกึ่งปิดกึ่งเปิด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43. ข้อใดคือชุดคุณค่าของกรอบแนวคิดจริยธรรมของข้าราชการ
(1) การใช้ทรัพยากรสาธารณะในการควบคุมการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
(2) การปรับบทบาทของรัฐจากระบบอุปถัมภ์เป็นการทํากิจกรรมสาธารณะ
(3) การสร้างความชอบธรรมของข้าราชการด้วยการออกแบบสถาบันในการกํากับควบคุม
(4) การกําหนดมาตรฐานในการคัดสรรคนและประเมินผลงาน
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ชุดคุณค่าของกรอบแนวคิดจริยธรรมและการควบคุมวินัยของข้าราชการ มีดังนี้
1. การใช้ทรัพยากรสาธารณะในการควบคุมการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ
2. บริบทสังคมที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อบทบาทของรัฐในกิจการสาธารณะ
3. การสร้างหลักประกันในการดําเนินการของรัฐด้วยการออกแบบสถาบันในการกํากับควบคุม

44. ข้อใดไม่ใช่ความเคลื่อนไหว (Movement) ด้านจริยธรรมสําหรับการบริหารงานภาครัฐในปลายศตวรรษที่ 19
(1) มุ่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
(2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินงานจาก “สายการบังคับบัญชา” (Hierarchy) สู่ “ข้อตกลง” (Agreement) หรือ “สัญญา” (Contract)
(3) การปฏิรูประบบข้าราชการพลเรือนไปสู่การสร้างระบบการคัดเลือก
(4) การเปลี่ยนจาก “Spoils System” สู่ “Merit System”
(5) การกําหนดมาตรฐานในการประเมินผลงาน และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาทํางาน
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความเคลื่อนไหว (Movement) ด้านจริยธรรมสําหรับการบริหารงานภาครัฐ ในปลายศตวรรษที่ 19 มีดังนี้
1. การมุ่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ
2. การบริหารภาครัฐที่ขาดประสิทธิภาพนําไปสู่ข้อเสนอคุณค่าการบริหาร 3E’s
3. จุดเริ่มต้นของจริยธรรมทางการบริหารและการควบคุม
4. การปฏิรูประบบข้าราชการพลเรือนไปสู่การสร้างระบบการคัดเลือก โดยเปลี่ยนจาก ระบบอุปถัมภ์ (Spoils Systern) ไปสู่ระบบคุณธรรม (Merit System)
5. การกําหนดมาตรฐานในการประเมินผลงาน และคัดสรรคนมีความสามารถเข้ามาทํางาน

45. องค์กรใดเป็นผู้ริเริ่มใช้คําว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance)
(1) World Bank
(2) IMF
(3) OECD
(4) UN
(5) ASEAN
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ธนาคารโลก (World Bank) เป็นองค์กรแรกที่ริเริ่มใช้คําว่า “ธรรมาภิบาล” (Good Governance) ในปี ค.ศ. 1989 เพื่ออธิบายถึงการบริหารจัดการที่จะเป็นมาตรฐานในการกําหนด
เงื่อนไขการรับการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศจากหน่วยงานระหว่างประเทศต่าง ๆ

46. หลักการธรรมาภิบาลในด้าน “Fule of Law” หมายความว่าอย่างไร
(1) ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) การมีความพร้อมรับผิดชอบ
(3) ระบบกฎหมายที่ยุติธรรม ชัดเจน และน่าเชื่อถือ
(4) การดําเนินงานด้วยความโปร่งใส
(5) ภาคประชาสังคมตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ประกอบด้วย
1. ระบบการบริหารภาครัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficient and Effective Public Sector)
2. ระบบกฎหมายที่ยุติธรรม ชัดเจน และน่าเชื่อถือ (Rule of Law)
3. ภาคประชาสังคมตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วม (Active Civil Society and Public
Participation)
4. การดําเนินงานด้วยความโปร่งใส (Transparency)
5. การมีความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)

47. หลักธรรมาภิบาลในด้าน “ความโปร่งใส” หมายความว่าอย่างไร
(1) การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับของสังคม
(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักประกอบวิชาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจําชาติ
(3) ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้
(4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจ
(5) การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจํากัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของ คนในสังคม องค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

48. การปฏิบัติตามวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในหมวดใด
(1) หมวด 4 การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
(2) หมวด 5 การรักษาจรรยาข้าราชการ
(3) หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การปฏิบัติตามวินัยข้าราชการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในหมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย

49. ข้อใดคือความผิดทางวินัย
(1) ข้าราชการไม่เข้าอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพราะเข้าใจกฎระเบียบดีแล้ว
(2) ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงานเร่งด่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม
(3) ข้าราชการให้บริการประชาชนล่าช้า เพราะบุคลากรในหน้าที่เดียวกันลาป่วย จึงมีคนไม่เพียงพอ
(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ตัวอย่างความประพฤติของข้าราชการที่ถือว่าเป็นความผิดทางวินัย มีดังนี้
1. ความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ธุรการมาปฏิบัติงาน เร่งด่วนในวันเสาร์ อาทิตย์ แล้วไม่ปฏิบัติตาม ไม่ลงชื่อมาทํางานและไม่ไปพบผู้อํานวยการ สํานักตามคําสั่งโดยไม่มีเหตุผล ชักสีหน้าและพูดจาไม่สุภาพกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ กล่าวถ้อยคําหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา ทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานในบ้านพักข้าราชการ เป็นต้น

2. ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เช่น ปลอมใบเสร็จ/ใบสําคัญรับเงิน เพื่อเบิกเงินกับหน่วยงาน ต้นสังกัด ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุ อันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทาง ราชการ เป็นต้น

50. ข้อใดคือการลงโทษกรณีวินัยไม่ร้ายแรง
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดเงินเดือน
(4) ถูกเฉพาะข้อ 2 กับ 3
(5) ถูกทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

51. การให้พ้นจากราชการโดยได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ คือการลงโทษทางวินัย
ประเภทใด
(1) ปลดออก
(2) ไล่ออก
(3) พักงาน
(4) ลดตําแหน่ง
(5) ภาคทัณฑ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

52. หลักการในข้อใดแสดงถึงการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณากําหนดโทษอย่างถูกต้อง
(1) การตัดสินด้วยเหตุผลที่รับฟังได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
(2) ในหน่วยงานเดียวกันต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
(3) การใช้ดุลพินิจต้องอยู่ภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
(4) ถูกทุกข้อ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาในการพิจารณากําหนดโทษ มีหลักการดังนี้
1. การใช้ดุลพินิจต้องอยู่ภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
2. การใช้ดุลพินิจจะต้องมีเหตุผลที่รับฟังได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
3. ในหน่วยงานเดียวกันต้องมีการกําหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

53. ข้อใดเรียงลําดับขั้นตอนการกําหนดโทษและการลงโทษได้อย่างถูกต้อง
A. การสอบสวนทางวินัยได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ
B. การพิจารณาความผิดว่าผิดหรือไม่ และผิดมาตราใด
C. การพิจารณากําหนดโทษว่าควรให้โทษสถานใด
D. การสั่งลงโทษ

(1) A.- B. – C. – D.
(2) B. – C. – A. – D.
(3) B. – C.-D. – A.
(4) A. – D – B. – C.
(5) D. – A.- B. – C.
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การกําหนดโทษและการลงโทษ มีลําดับขั้นตอนดังนี้
1. การสอบสวนทางวินัยได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติ
2. การพิจารณาความผิดว่าผิดหรือไม่ และผิดมาตราใด
3. การพิจารณากําหนดโทษว่าควรให้โทษสถานใด
4. การสั่งลงโทษ

54. ความประพฤติของข้าราชการในข้อใดถือว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1) ชักสีหน้าและพูดจาไม่สุภาพกับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
(2) ไม่ลงชื่อมาทํางานและไม่ไปพบผู้อํานวยการสํานักตามคําสั่ง
(3) กล่าวถ้อยคําหยาบคายต่อหน้าผู้บังคับบัญชา
(4) ทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงานในบ้านพักข้าราชการ
(5) ปลอมใบเสร็จ/ใบสําคัญรับเงิน เพื่อเบิกเงินกับหน่วยงานต้นสังกัด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

55. ข้อใดคือข้อกําหนดในด้านวินัยต่อประชาชน
(1) ต้องไม่อาศัยอํานาจหน้าที่ราชการในการหาผลประโยชน์ส่วนตน
(2) ต้องไม่กระทําการล่วงละเมิด/คุกคามทางเพศในที่ทํางาน
(3) ต้องไม่กลั่นแกล้ง กดขี่ ข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
(4) ต้องให้ความเป็นธรรม เต็มใจช่วยเหลือแก่ผู้มาติดต่อราชการ
(5) ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาในหน้าที่ราชการ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ข้อกําหนดในด้านวินัยต่อประชาชน มีดังนี้
1. ต้องต้อนรับ ให้ความเป็นธรรม เต็มใจช่วยเหลือ และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้มาติดต่อราชการ
2. ต้องไม่ชักสีหน้า ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
3. ต้องอํานวยความสะดวกให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีผู้ใดต้องถูกกลั่นแกล้งรังแก
4. ต้องบริการด้วยมาตรฐาน ไม่ล่าช้า จงใจถ่วงเรื่อง ละเลย หรือไม่ชัดเจน

56. ข้าราชการพลเรือนสามัญจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องมีผลการประเมิน
ผลการปฏิบัติราชการในระดับใด
(1) ไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 60
(2) ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง หรือร้อยละ 60
(3) ไม่ต่ำกว่าระดับปานกลาง หรือร้อยละ 70
(4) ไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 70
(5) ไม่ต่ำกว่าระดับดี หรือร้อยละ 80
ตอบ 1 หน้า 19, (คําบรรยาย) หลักเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังนี้
1. การเลื่อนเงินเดือนให้เลื่อนปีละ 2 ครั้ง
2. การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการแต่ละคนในแต่ละครั้งให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคํานวณ และไม่เกินเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กําหนด
3. ข้าราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องมีผลการประเมิน ผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ หรือร้อยละ 60
4. ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการทั้งกรณีบรรจุใหม่และบรรจุกลับต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ ในรอบครึ่งปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน

57. การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานราชการใช้วิธีตามหลักการใด
(1) ระบบคุณธรรม
(2) ระบบอุปถัมภ์
(3) ระบบจริยธรรม
(4) ระบบความเป็นกลาง
(5) ระบบผลสัมฤทธิ์
ตอบ 1(เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 52), (คําบรรยาย) การสรรหาและคัดเลือกบุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคํานึงถึงความรู้ความสามารถพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม

58. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของวินัยราชการ
(1) การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(2) การสร้างความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
(3) การสร้างความผาสุกของประชาชน
(4) การสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ
(5) การสร้างความมั่งคั่งในอาชีพข้าราชการ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) จุดมุ่งหมายของวินัยราชการ มีดังนี้
1. การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การสร้างความเจริญมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ
3. การสร้างความผาสุกของประชาชน
4. การสร้างภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีของทางราชการ

59. เหตุใดจึงต้องมีระบบการประเมินเงินเดือนข้าราชการที่ถูกต้องและเป็นธรรม
(1) เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดโอกาสผิดพลาดในการดําเนินการพิจารณา
(2) เพื่อให้เกิดการคํานวณจัดสรรเงินเดือนแก่ข้าราชการในแต่ละรอบอย่างรวดเร็ว
(3) เพื่อลดความเหลื่อมล้ําในการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ
(4) เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ข้าราชการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เหตุที่ต้องมีระบบการประเมินเงินเดือนข้าราชการที่ถูกต้องและเป็นธรรม มีดังนี้
1. เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนและลดโอกาสผิดพลาดในการดําเนินการพิจารณา
2. เพื่อให้เกิดการคํานวณจัดสรรเงินเดือนแก่ข้าราชการในแต่ละรอบอย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดความเหลื่อมล้ําในการประเมินของหน่วยงานต่าง ๆ
4. เพื่อเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ข้าราชการสร้างผลลัพธ์ของงานและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดียิ่งขึ้น

60. ข้อใดไม่ใช่ข้อกําหนดวินัยต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ
(1) ข้าราชการต้องรักษาความลับของทางราชการ
(2) ข้าราชการต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง
(3) ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(4) ข้าราชการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
(5) ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของทางราชการ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ข้อกําหนดวินัยต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ มีดังนี้
1. ข้าราชการต้องซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
2. ข้าราชการต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
3. ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
4. ข้าราชการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
5. ข้าราชการต้องรักษาความลับของทางราชการ
6. ข้าราชการต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง
7. ข้าราชการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 61. – 100. ข้อใดถูกให้ระบายในช่อง 1 ข้อใดผิดให้ระบายในช่อง 2

61. การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมี พฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

62. การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ ก.พ. รับรอง โดยปกติจะต้อง
ผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิดสอบแข่งขันนั้น
ตอบ 1 หน้า 93 – 95 การบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรจากสถาบันการศึกษา ต่างประเทศที่ ก.พ. รับรองเข้ารับราชการนั้น โดยปกติจะต้องผ่านการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับผู้สําเร็จการศึกษาในประเทศหรือบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งที่เปิด สอบแข่งขันนั้น แต่ต้องเสนอคุณวุฒิให้ ก.พ. พิจารณารับรองเพื่อตีราคาหรือตีค่าคุณวุฒิ และ กําหนดหลักเกณฑ์การบรรจุเป็นราย ๆ ทุกรายไป โดย ก.พ. จะพิจารณาจากหลักสูตรการศึกษา และความน่าเชื่อถือของสถาบันที่ประสาทปริญญาหรือประกาศนียบัตรนั้นด้วย แต่ ก.พ. จะไม่มีอํานาจในการบรรจุและแต่งตั้ง

63.“หนังสือราชการภายนอก” เป็นหนังสือราชการที่ต้องมีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามระเบียบงานสารบรรณ ปัจจุบัน
ตอบ 1 หน้า 404 – 407, (คําบรรยาย) ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการ ที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก ซึ่งหนังสือภายนอกนี้จะต้อง มีคําขึ้นต้นและคําลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คําขึ้นต้น สรรพนาม และ คําลงท้ายที่กําหนดไว้ในภาคผนวก 2

64.ก.พ. มีอํานาจหน้าที่ประการหนึ่ง คือ พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 10 – 11), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 8) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน
2. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนรวมตลอดทั้งกําหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
3. กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น (ตีค่าคุณวุฒิ) เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
4. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ

65. ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ถ้าผู้นั้นมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการพลเรือนบางประการ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้ คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสี่) มติของ ก.พ. ในการยกเว้นลักษณะต้องห้าม (คุณสมบัติข้อห้าม) บางประการสําหรับผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนั้น ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจํานวนกรรมการที่มาประชุม และการลงมติ ให้กระทําโดยลับ ซึ่งในการนี้ ก.พ. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้น ให้เป็นการทั่วไปก็ได้

66. ระเบียบงานสารบรรณ คือ ระเบียบที่กําหนดให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ เพื่อให้ การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นระเบียบ และมีระบบ
ตอบ 2 หน้า 399 ระเบียบงานสารบรรณ คือ ระเบียบที่กําหนดให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับหนังสือราชการดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย เป็นระเบียบ มีระบบ และเป็นหลักในการปฏิบัติงาน

67. ผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36), (คําบรรยาย) ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้าม โดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาบังคับไว้ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้สมัครเข้ารับราชการได้ โดยไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไป มี 4 กรณี ดังนี้
1. เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
2. เป็นบุคคลล้มละลาย
3. เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา
4. เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

68. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกลงโทษปลดออกจากราชการ กฎหมายกําหนดให้มีสิทธิรับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 1. ประกอบ

69. “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะ ไม่ต่ํากว่ากรม

70. กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกมีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศเป็นกฎหมาย
ตอบ 2 หน้า 29 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 เป็นกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 แต่มิได้มีผลใช้บังคับทันทีนับแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 หรืออีกราวปีเศษให้หลัง

71.หลักความสามารถตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะเข้ารับราชการต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทั่วไปทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่ทางราชการต้องการ
ตอบ 2 หน้า 17 หลักความเสมอภาค (Equality) ตามระบบคุณธรรม หมายความว่า สิทธิที่จะ เข้ารับราชการจะต้องเปิดกว้างสําหรับประชาชนทั่วไปทุกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ราชการต้องการหรือตามระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยให้มีโอกาสสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการได้ และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุเกี่ยวกับเหล่ากําเนิด ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ศาสนา และเพศของบุคคล

72. โดยปกติกรรมการ ก.พ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ระเบียบฯ กําหนดคุณสมบัติประการหนึ่งว่าต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

73. การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ระเบียบฯ กําหนดว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการจะต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทุกราย
ตอบ 2 หน้า 99, (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ การบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการไว้ว่า “ถ้าสมัครเข้ารับราชการเมื่อใดทางราชการไม่จําเป็นต้องรับผู้นั้นกลับเข้ารับราชการทันที” นั่นคือ ส่วนราชการไม่ถูกผูกพันให้ต้องบรรจุเหมือนกับกรณีผู้ออกจากราชการเพราะไปรับ ราชการทหาร หรือไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ปล่อยให้ส่วนราชการสามารถ ใช้ดุลยพินิจที่จะเลือกบรรจุหรือไม่ก็ได้

74. การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดีประการหนึ่งคือ ช่วยส่งเสริมการวัดผลโดยการสอบ
ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ตอบ 1 หน้า 19 การบริหารงานบุคคลตามระบบอุปถัมภ์มีข้อดี คือ
1. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลดําเนินไปได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ช่วยส่งเสริมการวัดผลโดยการสอบตามระบบคุณธรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ช่วยให้การบริหารงานบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที

75. คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันประการหนึ่งคือ
ต้องสําเร็จการศึกษาอย่างต่ําชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 4 – 5), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 36) คุณสมบัติทั่วไปของข้าราชการพลเรือน ได้แก่
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ํากว่า 18 ปี
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

76. ระดับทักษะพิเศษเป็นระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

77. ปลัดกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ ก.พ. โดยตําแหน่งตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

78. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันได้กําหนดเรื่องการสอบสวนและการดําเนินการทางวินัยข้าราชการ พลเรือนสามัญไว้ นับได้ว่าเป็นการสอดคล้องกับหลักความเป็นกลางในทางการเมืองตามระบบคุณธรรม
ตอบ 2 หน้า 18, (คําบรรยาย) หลักความมั่นคง (Security) ตามระบบคุณธรรม หมายถึง การให้หลักประกันแก่ข้าราชการที่มีผลงานและความประพฤติดีจะต้องไม่ถูกให้ออกจากงานโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร โดย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเรื่องที่สอดคล้อง กับหลักการนี้ไว้หลายเรื่อง เช่น การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ การสอบสวน และการดําเนินการทางวินัย เป็นต้น

79. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชามีอํานาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

80. การบริหารงานบุคคลในระบบราชการไทยพัฒนาจากระบบคุณธรรมไปสู่ระบบธรรมาภิบาลในปัจจุบันนี้

ตอบ 2 หน้า 25, (เอกสารประกอบการสอน หน้า 3) การบริหารงานบุคคลในระบบราชการของไทย ได้มีการพัฒนามาตามลําดับ โดยพัฒนามาจากรูปแบบที่ไม่เป็นทางการไปสู่รูปแบบที่เป็นทางการ มากขึ้น และจากระบบอุปถัมภ์ไปสู่ระบบคุณธรรม โดยทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้รับบริการ

81. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ทําให้ขาด
คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 59 วรรคสาม), (คําบรรยาย) ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมาก่อนแต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ดังนั้นจึงไม่ทําให้ขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนแต่อย่างใด

82. “บําเหน็จดํารงชีพ” คือ เงินตอบแทนจ่ายให้ผู้มีสิทธิขอรับบําเหน็จบํานาญตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ และจ่ายให้เพื่อดํารงชีพเป็นการชั่วคราว
ตอบ 2 (คําบรรยาย) บําเหน็จดํารงชีพ คือ เงินที่จ่ายให้ข้าราชการบํานาญเพื่อช่วยเหลือการดํารงชีพ
ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราและวิธีการรับบําเหน็จดํารงชีพ พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ไว้ว่า บําเหน็จดํารงชีพให้จ่ายผู้รับบํานาญในอัตรา 15 เท่าของบํานาญ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับดังนี้
1. ผู้รับบํานาญอายุต่ํากว่า 65 ปี รับได้ไม่เกิน 200,000 บาท
2. ผู้รับบํานาญอายุตั้งแต่ 65 ปี แต่ไม่ถึง 70 ปี รับได้ไม่เกิน 400,000 บาท
3. ผู้รับบํานาญที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิรับได้ไม่เกิน 500,000 บาท

83. ตําแหน่งเอกอัครราชทูตเป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการระดับสูงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

84.การจัดประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎ ก.พ.
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 14. ประกอบ

85.กรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ระเบียบฯ กําหนดว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นกรรมการอีกไม่ได้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

86. วินัยของข้าราชการพลเรือนที่ควรคาดหวังจากข้าราชการพลเรือนควรเป็นการรักษาวินัยโดยผู้บังคับบัญชา
ตอบ 2 หน้า 258, (คําบรรยาย) วินัยที่เหมาะสมและควรคาดหวังจากข้าราชการพลเรือนก็คือ การรักษาวินัยด้วยตนเอง (Self-discipline) ซึ่งวินัยที่ปฏิบัติด้วยตนเองนี้จะเป็นที่รู้จักกัน ในหมู่ข้าราชการพลเรือนได้ก็โดยการที่ข้าราชการพลเรือนรู้ว่าองค์การต้องการให้เขาปฏิบัติตัวอย่างไร และองค์การจะต้องส่งเสริมให้เขารับผิดชอบต่อการกระทําของเขาเอง

87. การที่ระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจากราชการเมื่อใด นับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการแสวงหาความเป็นธรรมแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตอบ 2 หน้า 307, (คําบรรยาย) การที่กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกําหนดเรื่องการออกจาก
ราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญไว้เป็นกิจจะลักษณะนั้นนับได้ว่าเป็นมาตรการประการหนึ่ง ในการให้หลักประกันความมั่นคงแก่ข้าราชการตามระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลมิให้ข้าราชการต้องถูกออกจากราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเป็นไปโดยอําเภอใจของผู้บังคับบัญชา

88.กระทรวง กรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และ ความชํานาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการได้ ทั้งนี้ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 15), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 56) กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจําเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประเภท วิชาการระดับชํานาญการ ระดับชํานาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด

89. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ปกติผู้มีอํานาจสั่งย้าย
จะกระทํามิได้
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 18), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 63 วรรคสาม), (คําบรรยาย) การย้ายหรือการโอนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ผู้มีอํานาจสั่งย้ายจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้นั้น ส่วนการย้ายไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในระดับที่สูงกว่าเดิม จะไม่สามารถดําเนินการได้แต่ต้องใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งแทน

90. ปัจจุบันตําแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร ระดับสูงตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 หน้า 387 – 388, 391, (คําบรรยาย) ตําแหน่งข้าราชการการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
2. ตําแหน่งข้าราชการการเมืองตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

91. ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือนในปัจจุบันมีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติ ไว้เป็นการแน่นอนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ตอบ 1 หน้า 15, (คําบรรยาย) ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ในปัจจุบันมีกฎหมายกําหนดวิธีปฏิบัติไว้เป็นการแน่นอนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน โดยกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมีหลายฉบับ ด้วยกัน เช่น ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ระเบียบข้าราชการตุลาการ ระเบียบข้าราชการอัยการ เป็นต้น

92. ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการ ถ้าไม่ใช่ความผิดทางวินัยผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้น ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็ได้
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 20), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 79) ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการอันมิใช่เป็น ความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน นําไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับการพัฒนา

93. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ขอลาออกจากราชการเพื่อไปดํารงตําแหน่งทางการเมืองตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาตการลาออกอาจยับยั้งการลาออกนั้นได้เพื่อประโยชน์
ของทางราชการ
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 24), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 109 วรรคห้า), (คําบรรยาย) ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ เพื่อไปดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)) ตําแหน่งทางการเมือง (เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง, เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง) หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.พ. กําหนด หรือตําแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกําหนดว่าไม่ต้องเป็นข้าราชการ (เช่น นายกสภา มหาวิทยาลัยของรัฐ) หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) สมาชิก สภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (เช่น นายก อบต.) ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจสั่งอนุญาต การลาออก (ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 57) ไม่อาจยับยั้ง การขอลาออกได้ และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก

94. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ได้แก่ อธิบดี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เช่นเดียวกับปลัดกระทรวง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 25. ประกอบ

95. ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทอํานวยการ ได้แก่ ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กําหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ตําแหน่งนั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

96. คําว่า “ปลัดกระทรวง” ในระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ให้หมายความรวมถึงปลัดทบวงด้วย
ตอบ 1 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 6), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 4) คําว่า“ปลัดกระทรวง” ให้หมายความรวมถึงปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและปลัดทบวง

97. ข้าราชการการเมืองเข้าดํารงตําแหน่งโดยให้เป็นไปตามเหตุผลทางการเมืองและตามระเบียบข้าราชการ
การเมืองฉบับปัจจุบันด้วย
ตอบ 1 หน้า 383, 391 ข้าราชการการเมืองได้รับแต่งตั้งเข้าดํารงตําแหน่งโดยเป็นไปตามเหตุผลทาง การเมืองหรือตามระบบอุปถัมภ์ (ไม่เน้นเรื่องคุณวุฒิหรือความรู้ความสามารถ) และตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 (ฉบับปัจจุบัน) กล่าวคือ แต่เดิมข้าราชการการเมือง ถือว่าเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการแยกข้าราชการการเมืองออกจากข้าราชการพลเรือน เพื่อไม่ให้มีการก้าวก่ายหน้าที่ ซึ่งกันและกัน และได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 เพื่อใช้บังคับแก่ข้าราชการการเมืองโดยตรง

98. การโอนข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน
ตอบ 2 มีข้อกําหนดว่าจะต้องให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติก่อนโดยคํานึงถึงประโยชน์ของตัวข้าราชการผู้นั้นเป็นหลัก (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า การโอนพนักงาน ส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญต้องเกิดจากความสมัครใจ ของตัวผู้ขอโอนเอง โดยเมื่อผู้มีอํานาจสั่งบรรจุของทั้ง 2 หน่วยงานตกลงกันได้แล้ว ให้เสนอเรื่อง ไปยัง ก.พ. เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาอนุมัติโดยคํานึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก

99. ตามระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ผู้มีอํานาจกําหนดตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของ
ส่วนราชการระดับกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง
ตอบ 2 (เอกสารประกอบการสอน หน้า 14), (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47) ตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จํานวนเท่าใด และเป็นตําแหน่ง ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กําหนด โดยต้องคํานึงถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ําซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ ก.พ. กําหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกําหนดตําแหน่ง

100. การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชาของระบบราชการ หมายถึง ข้าราชการประจํามีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ตอบ 2 หน้า 2 (คําบรรยาย) การมีลําดับขั้นการบังคับบัญชา (Hierarchy) ของระบบราชการ หมายถึง การที่ข้าราชการประจําแต่ละคนจะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสั่งการและควบคุมการกระทําของเขาตามลําดับ โดยมีการจําแนกอํานาจหน้าที่หรือภารกิจความรับผิดชอบของตําแหน่ง และมีการควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุด คือ ปลัดกระทรวง โดยอาศัยการจัดโครงสร้างแบบพีระมิด

POL2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2301 องค์การและการจัดการในภาครัฐ
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.“การกระจายอํานาจ” คือ
(1) Span of Control
(2) Chain of Command
(3) Division of Work
(4) Centralization
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 168 – 169 การกระจายอํานาจ (Decentralization) หมายถึง ความพยายามที่จะ มอบหมายหน้าที่ไปยังผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ที่รองลงมาโดยให้การตัดสินใจกระทําโดย ผู้บริหารระดับต่ํามากขึ้น หรือให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ในองค์การได้มีโอกาสในการตัดสินใจ ในปัญหาต่าง ๆ ที่มีความสําคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสําคัญต่อบทบาทของผู้บริหาร ระดับรอง ๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

2.Chain of Command คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 139, (คําบรรยาย) สายการบังคับบัญชา (Chain of Command, Line of Authority หรือ Hierarchy) หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลําดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ในแต่ละองค์การ เพื่อแสดงให้ทราบว่าสัมพันธภาพของการติดต่อสื่อข้อความจากผู้บังคับบัญชา ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละองค์การแต่ละหน่วยงานนั้นมีลักษณะการเดินทางอย่างเป็นทางการอย่างไร มีการควบคุมและการรับผิดชอบอย่างไร และมีการบังคับบัญชาที่ระดับ

3.Span of Control คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแล คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาที่ระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 179 ช่วงของการบังคับบัญชา หรือช่วงของการควบคุม (Span of Control, Span of Management หรือ Span of Supervision) หมายถึง จํานวนผู้ใต้บังคับบัญชา (ลูกน้อง) ที่ผู้บังคับบัญชา (หัวหน้า) คนหนึ่ง ๆ จะสามารถควบคุมได้ ซึ่งช่วงการควบคุมนี้เป็นสิ่งที่จะ แสดงให้รู้ว่า ผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ จะมีขอบเขตของการกํากับดูแลหรือการบังคับบัญชา เพียงใด ทั้งนี้คือการพิจารณาว่าควรจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน หรือมีหน่วยงานภายในความ รับผิดชอบที่หน่วยงาน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะทําให้การกํากับดูแลการปฏิบัติงานเป็นไปได้โดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

4.Span of Management คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 3. ประกอบ

5.Division of Work คือ
(1) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีลูกน้องที่ต้องกํากับดูแลกี่คน
(2) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า หัวหน้าคนหนึ่งมีหน่วยงานที่ต้องกํากับดูแลหน่วยงาน
(3) จํานวนที่บอกให้รู้ว่า องค์การแห่งนั้นมีการบังคับบัญชาระดับ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 189 การแบ่งงานกันทําหรือการแบ่งหน้าที่ (Division of Work) หรือการแบ่งแยกแรงงาน (Division of Labor) หรือการแบ่งงานกันทําโดยยึดถือหลักความถนัดและความสามารถหรือ ความชํานาญเฉพาะด้าน (Specialization) หมายถึง การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การ ออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติ เพื่อให้สําเร็จตามเป้าหมายที่องค์การ ได้วางไว้ ซึ่งการแบ่งงานกันทํานี้จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการทํางานซ้ําซ้อนหรือการเหลื่อมล้ํา ในการทํางานในหน้าที่

6.Unity of Command หมายถึง
(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว
(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน
(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 50 – 51, 58, 186 – 187 หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) หมายถึง หลักการที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในองค์การเดียวและจะต้องรับคําสั่งและรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวหรือมีนายเพียงคนเดียว หรือเป็นหลักเกณฑ์ ทางการบริหารที่ต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเสมอว่าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ มีผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าสั่งงานโดยตรงได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยป้องกันมิให้เกิดการสั่งงาน ซ้ําซ้อนหรือเกิดความยุ่งยากในการทํางาน ตลอดจนการบอกปัดความรับผิดชอบ ส่วนข้อเสีย คือ ทําให้สิ้นเปลืองบุคลากรและประสิทธิภาพการทํางานต่ำ

7.Centralization หมายถึง
(1) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์การต้องมีเจ้านายเพียงคนเดียว
(2) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่สนับสนุนกันและกัน
(3) หลักเกณฑ์ที่กําหนดให้ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 168 การรวมอํานาจ (Centralization) หมายถึง สภาวะขององค์การ ซึ่งในระดับสูง ๆ ของสายการบังคับบัญชาได้รวมอํานาจหน้าที่ไว้ ทั้งนี้เพื่อการตัดสินใจส่วนใหญ่จะได้กระทําจาก ระดับสูงนั้น ดังนั้นตามหลักการรวมอํานาจ การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในองค์การส่วนมากแล้ว จะมิได้มอบให้ผู้ปฏิบัติงานตัดสินใจเอง หากแต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจให้

8. ทุกข้อเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ ยกเว้น
(1) ความต้องการเป็นแบบเดียวกันด้านนโยบาย
(2) ปรัชญาการบริหาร
(3) เทคนิคในการควบคุม
(4) ประวัติความเป็นมา
(5) งบประมาณ
ตอบ 5 หน้า 170 – 174, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ และการรวมอํานาจในองค์การ มีดังนี้
1. ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
2. ความต้องการเป็นแบบเดียวกันทางด้านนโยบาย
3. ขนาดขององค์การ
4. ประวัติความเป็นมาของกิจการ
5. ปรัชญาของการบริหาร
6. ความต้องการความเป็นอิสระในการดําเนินงาน
7. จํานวนของผู้บริหารที่มีอยู่ในองค์การ
8. เทคนิคในการควบคุม
9. การกระจายของการปฏิบัติงานที่มีการแบ่งแยกงานไปตามสถานการณ์ที่ต่างออกไป
10. การเปลี่ยนแปลงขององค์การ
11. อิทธิพลของสภาพแวดล้อมองค์การ

9. ข้อใดเป็นลักษณะของสายการบังคับบัญชา
(1) Communication
(2) Authority
(3) Responsibility
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 140 สายการบังคับบัญชา มีลักษณะที่สําคัญซึ่งสามารถแยกออกมาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะของอํานาจหน้าที่ (Authority Aspect)
2. ลักษณะของความรับผิดชอบ (Responsibility Aspect)
3. ลักษณะของการติดต่อสื่อสาร (Communication Aspect)

10. “อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะของสถาบัน” เป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Adhocracy Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 147 กลุ่มทฤษฎีว่าด้วย “อํานาจอย่างเป็นทางการ” (Formal Authority Theory) มีความเชื่อว่า การที่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคําสั่งของตนได้เป็นเพราะ ผู้บังคับบัญชามีอํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (Formal Authority หรือ Legal Authority) หรือเรียกว่า อํานาจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องในลักษณะสถาบัน (Institutionalized Authority) ซึ่งเป็นอํานาจที่ผู้บังคับบัญชาได้รับมาควบคู่กับตําแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการ (Format Position) แต่อํานาจหน้าที่นี้ก็ยังมิใช่อํานาจที่จะใช้บังคับได้โดยเด็ดขาดอย่างไม่มีข้อแม้ใด ๆ เพราะการใช้อํานาจยังขึ้นอยู่กับลักษณะของความถูกต้องของความเป็นมาของอํานาจนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นทางการสามารถนําไปใช้ได้ในองค์การบริหารทุกประเภท เพราะเป็น หลักเกณฑ์ทางการบริหารโดยทั่ว ๆ ไป

11. “อํานาจที่เกิดขึ้นเพราะลูกน้องเห็นว่าการใช้อํานาจนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
การใช้อํานาจลักษณะดังกล่าวเป็นอํานาจในกลุ่มทฤษฎีใด
(1) Formal Authority Theory
(2) Acceptance Theory
(3) Competence Theory
(4) Adhocracy Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 148 Chester L. Barnard ได้ให้ความหมายของอํานาจตามทฤษฎีว่าด้วยการยอมรับ (Acceptance Theory) โดยกล่าวว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับอํานาจของผู้บังคับบัญชา เหนือตนก็ต่อเมื่อ เขาสามารถเข้าใจในคําสั่งและเชื่อว่าการใช้อํานาจนั้น ๆ เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การ การใช้อํานาจดังกล่าวไม่ขัดกับผลประโยชน์ของตน และคําสั่งนั้น เป็นคําสั่งที่เขาสามารถนําไปปฏิบัติได้ ซึ่งทั้งนี้ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เสียก่อนแล้วจึงตัดสินใจว่าจะเชื่อฟังหรือไม่

12.“สํานักงานตํารวจแห่งชาติจัดให้มีสถานีตํารวจ” สถานีตํารวจทั้งหลายเป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด
(1) by Function
(2) by Territory
(3) by Product
(4) by Customer
(5) by Process
ตอบ 2 หน้า 194 การแบ่งงานกันทําโดยยึดอาณาเขต (Territory) หรือภูมิศาสตร์ (Geographical) เป็นวิธีที่ง่าย ๆ ธรรมดาที่มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากมีกิจกรรมอยู่ในอาณาเขตใดต่างหากออกไปแล้ว ก็จัดรวมกิจกรรมในอาณาเขตนั้น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน และจัดให้มีผู้รับผิดชอบในอาณาเขตนั้น ๆ ซึ่งวิธีนี้เหมาะสําหรับองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะงานกระจายหรือกว้างออกไปในอาณาเขต ต่าง ๆ และมีลักษณะของการปฏิบัติงานในสิ่งเดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานีตํารวจ งานราชการในจังหวัดและอําเภอต่าง ๆ เป็นต้น

13. “โรงพยาบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด
(1) by Function
(2) by Territory
(3) by Product
(4) by Customer
(5) by Process
ตอบ 1 หน้า 192 – 193, (คําบรรยาย) การแบ่งงานกันทําโดยยึดหน้าที่การงาน (Function) เป็นวิธี ที่ได้รับการยอมรับและนําไปปฏิบัติกันโดยทั่ว ๆ ไป โดยเริ่มต้นที่การพิจารณาว่าองค์การนั้น ๆ คือองค์การลักษณะใด และจะต้องดําเนินกิจการอะไรบ้างจึงจะครอบคลุมและทําให้องค์การนั้น บรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งองค์การที่แบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์นี้ ได้แก่ โรงพยาบาล เทศบาล เป็นต้น

14.“เทศบาลมีการแบ่งงานภายใน” เป็นการแบ่งงานกันทําโดยยึดเกณฑ์ใด
(1) by Function
(2) by Territory
(3) by Product
(4) by Customer
(5) by Process
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15. หน่วยงานใดเป็น Line Agency
(1) หน่วยนโยบายและแผน
(2) หน่วยการเงินและพัสดุ
(3) หน่วยการเจ้าหน้าที่
(4) หน่วยงบประมาณ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 197 – 201, (คําบรรยาย) ประเภทของหน่วยงานซึ่งแบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงานภายในองค์การ มี 3 ประเภท คือ
1. หน่วยงานหลัก (Line Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลัก ขององค์การ หรือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติงานหลักขององค์การ เช่น กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศของกระทรวงกลาโหม คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยโยธาและ หน่วยสาธารณสุขของเทศบาล เป็นต้น

2. หน่วยงานที่ปรึกษาหรือหน่วยงานสนับสนุน (Staff Agency) หมายถึง หน่วยงานที่มิได้ ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เช่น กองวิชาการ หน่วยนโยบายและแผน หน่วยการเงิน/ งบประมาณ หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยโฆษณาและประชาสัมพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3. หน่วยงานอนุกร (Auxiliary Agency) หรือหน่วยงานแม่บ้าน (House-Keeping Agency) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจรรมลักษณะ ของแม่บ้าน เช่น หน่วยพัสดุ หน่วยอาคารสถานที่ หน่วยสารบรรณ หน่วยสวัสดิการ หน่วยงานด้านความสะอาดหรืองานเทศกิจ เป็นต้น

16. ใน “เทศบาล” หน่วยงานใดเป็น Line Agency
(1) หน่วยโยธา
(2) หน่วยสาธารณสุข
(3) หน่วยนโยบายและแผน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17. ใน “มหาวิทยาลัยรามคําแหง” หน่วยงานใดเป็น Line Agency
(1) คณะรัฐศาสตร์
(2) สํานักหอสมุด
(3) กองแผน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

18. ข้อใดเป็น Auxiliary Agency
(1) งานสารบรรณ
(2) งานสวัสดิการ
(3) งานเทศกิจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

19. ประเภทขององค์การที่พิจารณาจาก “กําเนิด” ได้แก่
(1) Formal Organization
(2) Primary Organization
(3) Private Organization
(4) Local Organization
(5) Profit Organization
ตอบ 2 หน้า 8 ประเภทขององค์การซึ่งพิจารณาจาก “กําเนิด” ขององค์การ แบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (Primary Organization)
2. องค์การถาวรหรือองค์การทุติยภูมิ (Secondary Organization)

20. ใครเป็นผู้เสนอ The Machine Bureaucracy
(1) Mintzberg
(2) Weber
(3) Fayol
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 หน้า 210 – 214 Henry Mintzberg ได้เสนอรูปแบบขององค์การ 5 รูปแบบ ดังนี้
1. องค์การแบบเรียบง่าย (The Simple Structure)
2. องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล (The Machine Bureaucracy)
3. องค์การระบบราชการแบบวิชาชีพ (The Professional Bureaucracy)
4. องค์การแบบสาขา (The Divisionalized Form)
5. องค์การแบบโครงการ (The Adhocracy หรือ The Project Structure)

21. ตัวอย่างของ Staff Officer คือ
(1) ครูผู้สอน
(2) เจ้าหน้าที่การเงิน
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
(3) เจ้าหน้าที่งานบุคคล
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
ตอบ 5 หน้า 198 หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff Agency/Staff Officer) หรือหน่วยงานสนับสนุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านวิชาการ (Technical Staff) เช่น กองวิชาการในกระทรวง
มหาดไทยหรือกระทรวงอื่น ๆ เป็นต้น

2. หน่วยงานที่ปรึกษาทางด้านบริการ (Service Staff) เช่น หน่วยงานทางด้านการบริหารงาน บุคคลหรือหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

22. ข้อใดเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้
(1) ระดับขององค์การ
(2) ประเภทของกิจการ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 5 หน้า 184 185 ปัจจัยที่จะช่วยให้การจัดช่วงการบังคับบัญชากว้างยิ่งขึ้นได้ มีดังนี้
1. การฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคในการมอบหมายอํานาจหน้าที่
3. การวางแผนการปฏิบัติงานไว้ให้พร้อม
4. ลักษณะของงานในองค์การ
5. เทคนิคในการควบคุม
6. เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
7. ความจําเป็นในการติดต่อส่วนตัว

23. ข้อใดปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา
(1) ระดับขององค์การ
(2) ลักษณะของงานในองค์การ
(3) ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
(4) ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา
(5) เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร
ตอบ 1.3 หน้า 181 – 182 ปัจจัยที่กําหนดขนาดของช่วงการบังคับบัญชา มีดังนี้
1. ระดับขององค์การ
2. ประเภทของกิจกรรม
3. ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา
4. ลักษณะขององค์การ
5. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา

24. ข้อใดเป็นปัจจัยที่กําหนดขนาดของการกระจายอํานาจ
(1) ความสําคัญของเรื่องที่ตัดสินใจ
(2) ขนาดขององค์การ
(3) ความเป็นเอกภาพในการบริหาร
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ

ตั้งแต่ข้อ 25 – 29. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Division of Work
(2) Departmentation
(3) Line Agency
(4) Staff Agency
(5) Auxiliary Agency

25. หน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

26. หน่วยงานที่มิได้ดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การโดยตรง แต่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุน
ให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหลัก เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

27. หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาในกิจกรรมลักษณะของแม่บ้าน
เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

28. การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 2 หน้า 191 การจัดแผนกงาน (Departmentation) หมายถึง การพิจารณารวมกลุ่มกิจกรรม ต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแบ่งหน้าที่การงาน เพื่อแบ่งแยกกิจกรรมอันมีอยู่ มากมายในองค์การ มอบหมายให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้แยกกันปฏิบัติตามความสามารถของตนตามหลักเกณฑ์ของความสามารถเฉพาะด้าน

29. การแบ่งแยกภารกิจต่าง ๆ ขององค์การออกเป็นส่วน ๆ และมอบหมายให้สมาชิกรับไปปฏิบัติตามเป้าหมาย ที่องค์การได้วางไว้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 5. ประกอบ

30. วัตถุประสงค์ขององค์การ คืออะไร
(1) คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ
(2) คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ
(3) คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ
(4) คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 129 – 130, (คําบรรยาย) วัตถุประสงค์ขององค์การ มีลักษณะดังนี้
1. คือ เป้าหมายของแนวทางในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในองค์การ
2. คือ จุดอ้างอิงถึงในการพยายามดําเนินงานขององค์การ
3. คือ สิ่งจําเป็นสําหรับความพยายามในการทํางานร่วมกันในองค์การ
4. คือ จุดมุ่งหมายปลายทางที่มีลักษณะของการก้าวหน้า และเร็วตามระยะเวลาที่จะไปถึง
5. ในทุก ๆ องค์การต้องให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลของเหล่าสมาชิกในองค์การให้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับองค์การด้วย
6. จะต้องกําหนดไว้ในเบื้องต้นเมื่อกําเนิดองค์การ ต้องแน่นอนและชัดแจ้งเสมอ รวมทั้ง สามารถที่จะพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้เสมอ ตลอดอายุขัยขององค์การ ฯลฯ

31. วัตถุประสงค์ขององค์การต้องมีลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสม
(1) ต้องมีลักษณะที่แน่นอนและชัดแจ้งเสมอ
(2) ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดอายุองค์การ
(3) วัตถุประสงค์ของสมาชิกและขององค์การจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Identical) เสมอ
(4) หากจะเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องล้มหรือยกเลิกองค์การด้วย
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

32. ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) การที่องค์การได้กําหนดกฎเกณฑ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การ ได้แก่ Formalization
(2) ความพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและ เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ได้แก่ Formalization
(3) การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Centralization
(4) Hierarchy หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Chain of Command
(5) ถูกต้องทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 122 – 123, (คําบรรยาย) การออกแบบองค์การ (Organization Design) หรือการจัด องค์การ (Organizing) คือ การมุ่งหรือพยายามในการจัดโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง องค์การ เพื่อให้มีความเหมาะสมและเอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขององค์การ การออกแบบองค์การนี้จะทําให้เกิดแผนภูมิขององค์การ (Organization Charts)

33. ข้อใดถูกต้อง
(1) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Chain of Command
(2) ในความเป็นจริง อํานาจหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการขาดหายไปเมื่อได้สั่งการให้ปฏิบัติจริง ซึ่งอาจจะมาจากพฤติกรรมของกลุ่ม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority
(3) การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เกี่ยวข้องกับ Delegation of Authority
(4) การให้บุคคลอื่นกระทําหรือไม่กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้มีอํานาจเห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ขององค์การที่ได้ตั้งใจไว้ เกี่ยวข้องกับ Limits of Authority
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 153 การมอบหมายอํานาจหน้าที่ (Delegation of Authority) หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชามักจะมอบหมายอํานาจหน้าที่แก่หัวหน้างานระดับรองลงไป การมอบอํานาจหน้าที่นี้อาจจะมอบแก่บุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้

34. ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
(1) ความพึงพอใจ
(2) ประสิทธิภาพสูงสุด
(3) การมีส่วนร่วมของพนักงาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 25 – 29, 37, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบปิด” ได้แก่
1. เสถียรภาพคงที่ของระบบหรือสมดุลแบบสถิต
2. การแบ่งงานโดยเน้นความชํานาญเฉพาะด้าน
3. การคํานึงถึงสายการบังคับบัญชา กฎ และระเบียบ
4. การมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด
5. การกําหนดมาตรฐานของงาน
6. การกําหนดแผนงานและเป้าหมายที่แน่นอน
7. ความเชื่อในหลัก One Best Way
8. เป็นรูปแบบที่อิงอยู่กับหลักของเหตุและผล (Rational Model)
9. การใช้หลักเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ฯลฯ

35. แนวคิดของ Max Weber ให้ความสําคัญที่ระบบใดขององค์การมากที่สุด
(1) โครงสร้าง
(2) เป้าหมายและวัตถุประสงค์
(3) เทคโนโลยี
(4) สังคมจิตวิทยา
(5) ทักษะการบริหาร
ตอบ 1หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) นักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิก (Classical Organization Theory) เช่น Max Weber, Henri Fayol ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของระบบปิด โดยให้ความสําคัญกับระบบโครงสร้างขององค์การ แต่ละเลยระบบสังคมภายในองค์การหรือ ระบบสังคมจิตวิทยา เช่น ระบบของพฤติกรรมและความต้องการของบุคคลภายในองค์การจึงทําให้แนวคิดของนักทฤษฎีองค์การกลุ่มคลาสสิกประสบปัญหาในทางปฏิบัติและไม่สามารถสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

36. ข้อใดเป็นผลการศึกษาที่สําคัญที่สุดจาก “Hawthorne Experiments
(1) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
(2) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพในการทํางานกับทรัพยากรนําเข้า
(3) พบผลทางบวกที่เกิดเนื่องมาจากความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา
(4) พบอิทธิพลของภาวะผู้นําที่มีต่อผลิตภาพการทํางาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 68 – 70, (คําบรรยาย) George Elton Mayo ได้ทําการวิจัยแบบทดลองที่เรียกว่า Hawthorne Study หรือ Hawthorne Experiments โดยการให้กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป และกลุ่มควบคุมได้รับสภาพแวดล้อมที่คงที่ ซึ่งพบผลการทดลองที่สําคัญ คือ การเกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอันเป็นผลกระทบจากการทดลอง ซึ่งส่งผลให้กลุ่มที่ถูกเฝ้าดูทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมต่างไม่ยอมแพ้กันและกันขยันทํางานจนมีผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักและเรียกกันต่อมาว่า “Hawthorne Effect” หมายถึงผลทางบวกที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอันเนื่องมาจากผู้ปฏิบัติงานได้รับความสนใจและเอาใจใส่ดูแลที่มากขึ้นจากผู้บังคับบัญชานั่นเอง

37. ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y จะต้องใช้การบริหารแบบใด
(1) Participative Management
(2) Management by Objectives
(3) Adhocracy
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 78, (คําบรรยาย) ถ้าเชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y (มองคนในแง่ดี) จะต้องใช้รูปแบบการบริหารดังนี้
1. การบริหารแบบประชาธิปไตย
2. การบริหารแบบเน้นการมีส่วนร่วม (Participative Management)
3. การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) หรือการบริหารที่เหมาะกับ
วัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ (Adhocracy)
4. การทํางานเป็นทีม (Teamwork)
5. การบริหารแบบโครงการ (Project Management)
6. การบริหารแบบ Organic Organization
7. การกระจายอํานาจ (Decentralization)
8. การใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ (Knowledge than Authority) ฯลฯ

38.ข้อใดเป็นองค์ประกอบที่บ่งชี้ถึง “ประสิทธิภาพ” ในการทํางาน
(1) ผลผลิต
(2) ทรัพยากรที่ใช้
(3) แผนที่วางไว้
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คําบรรยาย) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากร (เช่น งบประมาณ ระยะเวลา) หรือความพยายามที่ใช้ในการบริหาร ส่วนประสิทธิผล (Effectiveness) ของการบริหารในช่วงเวลาใด ๆ จะมีค่าเท่ากับการเปรียบเทียบผลผลิตหรือผลงานที่ได้จาก การบริหารกับมาตรฐาน เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กําหนด หรือกับแผนงานหรือประมาณการ ที่ได้วางเอาไว้ ดังนั้นหากองค์การใดสามารถลดการใช้ทรัพยากรการบริหารให้น้อยลงได้ก็แสดงว่า องค์การนั้นมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากองค์การใดสามารถดําเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ได้ก็แสดงว่าองค์การนั้นมีประสิทธิผล

39. ข้อใดเข้าคู่กันไม่ถูกต้อง
(1) Organic Structure – หน่วยผลิตขนาดเล็กที่มีการผลิตเป็นกระบวนการ
(2) Mechanistic Organization – Formal Organization
(3) Organic Structure – องค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง
(4) Fluid Structure – Adhocracy
(5) Mechanistic Structure – Long-run Process Production
ตอบ 5 หน้า 45 – 47, 111 – 112, (คําบรรยาย) จากแนวคิดของ Contingency Theory นั้น Burn และ Stalker สรุปว่า

1. Mechanistic Organization เป็นองค์การแบบเก่าหรือองค์การที่เป็นทางการ (Format Organization) หรือองค์การตามรูปแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model) ที่เน้น โครงสร้างและความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง เช่น เน้นตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority) รวมทั้งมีความเป็นทางการสูง และเน้นการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีสภาพแวดล้อมคงที่ (Static) เช่น หน่วยราชการทุกรูปแบบ

2. Organic Organization หรือที่ Warren Bennis เรียกว่า Adhocracy เป็นโครงสร้าง แบบหลวม (Fluid Structure) ที่เน้นการกระจายอํานาจ ความสัมพันธ์ตามแนวราบ/แนวนอน และการใช้ความรู้มากกว่าอํานาจหน้าที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากนี้ Woodward ยังได้สรุปอีกว่าหน่วยผลิตขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เครื่องจักร เช่น โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีโครงสร้างแบบ Mechanistic Structure ส่วนหน่วยผลิตขนาดเล็ก เช่น องค์การผลิตสินค้าหัตถกรรม และที่ผลิตเป็นกระบวนการ (Long-run Process Production) หรือมีระบบการผลิตหลายขั้นตอน จะต้องมีโครงสร้าง แบบ Organic Structure

40.Barton และ Chappell เรียกสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีว่าเป็น
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 Barton และ Chappell ได้แบ่งสภาพแวดล้อมขององค์การสาธารณะออกเป็น
2 ระดับ คือ

1. สภาพแวดล้อมภายนอก (Outer/Secondary/External Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

2. สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ได้แก่ สาธารณชนโดยทั่วไป ผู้รับบริการและ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ สื่อมวลชน ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้บริหารระดับสูง และกระบวนการยุติธรรม

41. ใครที่เสนอเรื่อง “Time and Motion Study”
(1) Taylor
(2) Cooke
(3) Muristerberg
(4) Gantt
(5) Gilbreths
ตอบ 5 หน้า 42, (คําบรรยาย) Frank และ Lillian Gilbreths เป็นผู้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์หามาตรฐาน ของงานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน (Time and Motion Study) เพื่อนําไปใช้ในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

42. แนวคิดใดที่เชื่อว่า “การควบคุมองค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่วิธีการที่นําไปสู่เป้าหมาย”
(1) Scientific Management
(2) Contingency Theory
(3) Industrial Humanism
(4) The Action Theory
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 112 – 113 Jeffrey Pfeffer เป็นนักทฤษฎีที่ศึกษาองค์การตามแนวทางของ The Action Theory หรือ The Action Approach เสนอว่า “องค์การเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอํานาจ ที่ต่างเข้ามาทํางานร่วมกัน อาจมีความขัดแย้งในเป้าหมายขององค์การ การจัดรูปขององค์การ จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีอํานาจเหล่านี้” และ “การควบคุมองค์การ เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เป็นวิธีการที่จะนําไปสู่เป้าหมาย การจะเข้าใจองค์การต้องศึกษาความต้องการ และความสนใจของผู้มีอํานาจในการตัดสินใจขององค์การในขณะนั้น ๆ โดยให้ความสําคัญไปที่บรรยากาศทางการเมืองในองค์การ

43. ข้อใดที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง
(1) Gantt Chart – สร้างวินัยในการทํางาน
(2) Division of Work – ขยายความสามารถของมนุษย์
(3) Hygiene Factors – ถ้าได้รับจะไม่ยอมทํางาน
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 42, 81 – 82, (PS 252 เลขพิมพ์ 39270 หน้า 19 – 20), (คําบรรยาย) Henry L. Gantt ได้เสนอแนวคิดในการสร้างวินัยในการทํางานและการทํางานเป็นกิจวัตร โดยการใช้ Gantt Chart เป็นแผนภูมิควบคุมเวลาในการทํางาน หรือแผนกํากับหรือติดตามความก้าวหน้าของงาน รวมทั้ง การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และจะเปลี่ยนแปลง ตามอําเภอใจของผู้บริหารไม่ได้ ส่วนการแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor หรือ Specialization) เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงในการช่วยขยาย ความสามารถของมนุษย์ หรือช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานขององค์การ และปัจจัยอนามัย (Hygiene Factors) ของ Frederick Herzberg เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับ การตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน

44. “สิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน” เป็นสิ่งจูงใจที่ริเริ่มนําเสนอโดยนักวิชาการกลุ่มใด
(1) นักบริหารเชิงปริมาณ
(2) นักทฤษฎีการบริหาร
(3) นักทฤษฎีระบบราชการ
(4) กลุ่มนีโอคลาสสิก
(5) กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 26 – 27, 29 – 30, 67 – 82 นักทฤษฎีองค์การกลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) หรือกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism หรือ Industrial Humanism) หรือกลุ่ม มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Approach) หรือกลุ่มนีโอคลาสสิก (Neo-Classical Organization Theory) หรือนักทฤษฎีการบริหารงานสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Management) มีแนวคิดและวิธีศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ดังนี้
1. ศึกษาองค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)
โดยให้ความสําคัญกับระบบสังคมภายในองค์การหรือระบบสังคมจิตวิทยามากที่สุด
2. ริเริ่มนําเสนอสิ่งจูงใจจากปัจจัยภายใน
3. เน้นการบริหารงานที่คํานึงถึงความสุขและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ
ผู้ปฏิบัติงานหรือสมาชิกในองค์การ
4. เน้นศึกษากลุ่มทางสังคม คุณลักษณะของปัจเจกบุคคล (ได้แก่ บุคลิกภาพ จิตภาพ ทัศนคติ และความต้องการของบุคคล) คุณลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์
5. พยายามนําระบบการบริหารแบบเครือญาติ (Paternalism) เข้ามาใช้ในองค์การ
6. นักทฤษฎี (นักวิชาการ) ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Hugo Munsterberg, George Elton Mayo,
Warren Bennis, Chester I. Barnard, A.H. Maslow, Douglas McGregor และ Frederick Herzberg ฯลฯ

45. เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ”
(1) Gilbreths
(2) Emerson
(3) Cooke
(4) Taylor
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 43 Harrington Emerson ได้เขียนตํารา “หลักสิบสองประการในการสร้างประสิทธิภาพ” (The Twelve Principles of Efficiency) ซึ่งประกอบด้วยหลักการสําคัญ เช่น
1. การสร้างวัตถุประสงค์
2. การใช้สามัญสํานึก
3. การปรึกษาหารือ
4. การมีระเบียบวินัย
5. การจัดการที่เป็นธรรม
6. การปฏิบัติงานตลอดเวลาและเชื่อถือได้
7. การกําหนดสายทางเดินของงาน
8. การกําหนดมาตรฐานและระยะเวลาการทํางาน ฯลฯ

46. ทุกข้อเป็นหลักเกณฑ์ที่ Max Weber นําเสนอ ยกเว้น
(1) ความชํานาญเฉพาะด้าน
(2) หลักความสามารถ
(3) แยกการเมืองออกจากการบริหาร
(4) สายการบังคับบัญชา
(5) การกระจายอํานาจ
ตอบ 5 หน้า 44 – 47, 139, 189, (คําบรรยาย) รูปแบบของระบบราชการ (Bureaucratic Model) หรือองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการตามทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory) หรือทฤษฎีองค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization Theory) หรือทฤษฎี องค์การรูปสามเหลี่ยมพีระมิดของ Max Weber นั้น จะประกอบด้วย
1. การกําหนดสายการบังคับบัญชา (Hierarchy, Chain of Command หรือ Line of Authority)
2. การกําหนดตําแหน่งและอํานาจหน้าที่ (Positions and Authority)
3. การกําหนดกฎระเบียบและข้อบังคับที่แน่นอน (Rules and Regulations)
4. การแบ่งงานกันทําตามความชํานาญเฉพาะด้าน (Division of Work, Division of Labor
หรือ Specializaticn) เช่น การแบ่งงานออกเป็นแผนกงานต่าง ๆ
5. การจัดทําคู่มือการทํางาน และคําบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
6. การกําหนดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
7. การคัดเลือกและเลื่อนขั้นโดยอาศัยหลักความสามารถตามระบบคุณธรรม (Merit on
Selection and Promotion)
8. การมีระบบความสัมพันธ์ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Relationship) ตามสายการบังคับบัญชาและอํานาจหน้าที่ หรือตามแนวดิ่ง ฯลฯ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทําให้เกิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร และระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล

47. ในการบริหารงาน คําว่า Red Tape หมายถึง
(1) การคั่งค้างของงาน
(2) การสื่อสารที่ล่าช้า
(3) หัวหน้างาน
(4) โครงสร้างหน่วยงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 49 Red Tape หมายถึง ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากความล่าช้าของการ ติดต่อสื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ในโครงสร้างขององค์การที่จะต้องเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา ที่ยาวและระบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ

48. ตามทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการ “ความต้องการที่จะได้รับชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน
เรียกว่า
(1) Self-Realization Needs
(2) Safety Needs
(3) Social Needs
(4) Ego needs
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 75 – 76 A.H. Maslow ได้เสนอทฤษฎีลําดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ลําดับ จากต่ําสุดไปถึงสูงสุด ดังนี้
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) เช่น อาหาร อากาศ การพักผ่อน
2. ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)
3. ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)
4. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง และเป็นที่ ยอมรับนับถือของผู้ร่วมงาน (Esteem Needs, Ego Needs หรือ Status Needs)
5. ความต้องการที่จะได้รับความสําเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวเองได้ตั้งเอาไว้ (Self-
Realization Needs)

49. ทุกข้อเป็น “Motivator Factors” ตามทฤษฎีของ Herzberg ยกเว้น
(1) เงินเดือน
(2) ความสําเร็จในหน้าที่การงาน
(3) การยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
(4) ลักษณะของงาน
(5) ความรับผิดชอบ
ตอบ 1 หน้า 81 – 82, (คําบรรยาย) ตามทฤษฎีการจูงใจ (Hygiene Theory) ของ Frederick Herzberg นั้น สามารถแบ่งปัจจัยที่มีส่วนช่วยสร้างความพึงพอใจหรือความไม่พึงพอใจให้กับ พนักงานได้ 2 ประการ คือ

1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้นให้คนขยันทํางาน (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงาน ซึ่งเรียงลําดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสําเร็จในหน้าที่การงาน การยอมรับ นับถือจากผู้ร่วมงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการงาน

2. ปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือปัจจัยค้ําจุนให้คนยินยอมทํางาน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะ สร้างให้เกิดความไม่พึงพอใจกับพนักงาน หรือทําให้พนักงานไม่ยอมทํางาน ซึ่งเรียงลําดับ จากมากไปน้อย ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน เทคนิคและการควบคุมงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา และสภาพการทํางาน

50. ข้อใดเป็น “ปัจจัยจูงใจ” ตามทฤษฎีของ Herzberg
(1) เทคนิคและการควบคุมงาน
(2) สภาพการทํางาน
(3) ความก้าวหน้าในการงาน
(4) นโยบายและการบริหาร
(5) ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51.Natural System Model เป็นวิธีการศึกษาของ………….
(1) Scientific Management
(2) Bureaucratic Model
(3) Neo-Classical Organization Theory
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 26 – 27, (คําบรรยาย) ตัวแบบระบบตามธรรมชาติ (Natural System Model) เป็น วิธีการศึกษาของกลุ่มนักทฤษฎีหรือนักวิชาการที่ศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวของ “ระบบเปิด” ซึ่งได้แก่
1. กลุ่ม Behavioral Science หรือ Neo-Classical Organization Theory
2. กลุ่ม A Systems Approach
3. กลุ่ม Contingency Theory we Situational Approach
4. กลุ่ม The Action Theory หรือ The Action Approach (ดูคําอธิบาย ข้อ 44. ประกอบ)

52. การแบ่งประเภทขององค์การ โดย “พิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายใน จัดเป็นการแบ่งประเภทขององค์การโดยยึดเกณฑ์แบบใด
(1) วัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน
(2) กําเนิดขององค์การ
(3) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร
(4) ความเป็นเจ้าของ
(5) ความเป็นทางการ
ตอบ 5 หน้า 9, (คําบรรยาย) การแบ่งประเภทขององค์การโดยพิจารณาจากโครงสร้างขององค์การเป็นการพิจารณาที่สภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ภายในองค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. องค์การที่เป็นทางการหรือองค์การรูปนัย (Format Organization)
2. องค์การที่ไม่เป็นทางการหรือองค์การอรูปนัย (Informal Organization)

53. “การกําหนดเวลาเข้าทํางาน เลิกงาน” ต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป จะเปลี่ยนแปลงตามอําเภอใจ ของผู้บริหารไม่ได้ เป็นข้อเสนอของนักวิชาการใด
(1) Taylor
(2) Gilbreths
(3) Cooke
(4) Weber
(5) Gantt
ตอบ 5 ดูคําอธิบายข้อ 43. ประกอบ

54. การยึดหลัก “เอกภาพในการบังคับบัญชา” มีข้อเสียอะไร
(1) สิ้นเปลืองบุคลากร
(2) เกิดความขัดแย้ง
(3) ประสิทธิภาพต่ำ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 3
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

55. สิ่งที่ ดร.ชุบ กาญจนประกร เสนอเพิ่มจากที่กูลิคเสนอไว้ในเรื่องหน้าที่ของผู้บริหาร ได้แก่
(1) การควบคุมงาน
(2) การประเมินผลงาน
(3) การวางแผนงาน
(4) การประสานงาน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 60 – 62 ดร.ชุบ กาญจนประกร ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารเพิ่มเติมจากแนวคิด POSDCORB ของ Luther Gulick เป็น PA-POSDCORB โดย PA ที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่
P = Policy (การกําหนดนโยบาย) และ A = Authority (การกําหนดอํานาจหน้าที่)

56. ทุกข้อเป็นประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ ยกเว้น
(1) เกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจ
(2) แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
(3) ช่วยสร้างความร่วมมือ
(4) ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว
(5) ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
ตอบ 1 หน้า 63 ประโยชน์ของระบบคณะกรรมการ (Committees) ได้แก่
1. ช่วยแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
2. ช่วยสร้างความร่วมมือ หรือเพิ่มการมีส่วนร่วม
3. ทําให้เกิดการประสานงานที่ดี
4. ช่วยปกป้องความรับผิดชอบของบุคคลเพียงคนเดียว

57. “สภาพแวดล้อมขององค์การที่เปรียบได้กับสภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น……” เรียกว่า
(1) Turbulent Field
(2) Placid Clustered Environment
(3) Placid Randomized Environment
(4) Disturbed-Reactive Environment
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 18, (คําบรรยาย) Emery และ Trist ได้แบ่งระดับของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ กับสภาพแวดล้อมออกเป็น 4 ระดับ คือ
1. Placid Randomized Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่สงบราบเรียบ การติดต่อกับ สังคมภายนอกเป็นไปโดยบังเอิญ ทําให้การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น สภาพแวดล้อมของชาวเขาโบราณ ชาวเขาเร่ร่อน ทารกในครรภ์ เป็นต้น

2. Placid Clustered Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ราบเรียบแต่เริ่มมีการติดต่อกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เช่น สภาพแวดล้อมของเด็กวัยประถมศึกษา เป็นต้น

3. Disturbed-Reactive Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลของ การติดต่อเป็นผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพขึ้นได้ เช่น สภาพแวดล้อมของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

4. Turbulent Field เป็นสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น สภาพของระบบสังคมและเศรษฐกิจของไทย เป็นต้น

58. ในการทดลองของ Mayo กลุ่มทดลองได้รับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ผลการตรวจสอบผลงานของกลุ่มทั้งสองเป็นดังนี้
(1) ผลงานลดลงทั้งสองกลุ่ม
(3) กลุ่มทดลองมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(2) ผลงานเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม
(4) กลุ่มควบคุมมีผลงานเพิ่มขึ้นมากกว่า
(5) ผลงานของทั้งสองกลุ่มเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทิศทาง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 36. ประกอบ

59.”……ระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชน ด้วยกันเองและระหว่างรัฐกับประชาชน” จัดเป็นสภาพแวดล้อมประเภทใดตามทัศนะ Barton และ Chappell
(1) Political Environment
(2) Primary Environment
(3) Inner Environment
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14 – 17 กระบวนการยุติธรรม (Judiciary) เป็นระบบของสังคมที่ทําหน้าที่สร้าง ความเป็นธรรมให้กับประชาชนทั้งในระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกันเอง และระหว่างรัฐ กับประชาชน ซึ่งจัดเป็นสภาพแวดล้อมทางการเมือง (Political/Primary/Inner Environment) ประเภทหนึ่งตามทัศนะของ Barton และ Chappell (ดูคําอธิบายข้อ 40. ประกอบ)

60. ทฤษฎีองค์การในช่วง 1960 – 1975 เป็นยุคของทฤษฎีองค์การกลุ่มใด
(1) Situational Approach
(2) Contingency Theory
(3) The Action Approach
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 113 – 114, (คําบรรยาย) Stephen P. Robbins ได้เสนอพัฒนาการของทฤษฎีองค์การ ไว้ 4 ช่วงเวลา ดังนี้

ค.ศ. 1900-1930 = Classical Organization Theory sa Classical Theory of Organization ได้แก่ Scientific Management, Bureaucratic Model และ Administrative Theorists

ค.ศ.1930 – 1960 = Behavioral Science หรือ Humanism หรือ Industrial Humanism หรือ Human Relations Approach a Neo-Classical Organization Theory หรือ Neo-Classical Theory of Management

ค.ศ.1960 – 1975 = A Systems Approach และ Contingency Theory หรือ Situational Approach

ค.ศ.1975 – ปัจจุบัน = The Action Theory หรือ The Action Approach

61. จากหน้าที่ของนักบริหารที่ Henri Fayol เสนอไว้ 5 ประการเป็น POCCC C ทั้งสาม ได้แก่
(1) Commanding Controlling Correcting
(2) Controlling Correcting Coordinating
(3) Coordinating Concepting Correcting
(4) Commanding Coordinating Controlling
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 หน้า 28 – 29, 55, (คําบรรยาย) Henri Fayol ได้เสนอกิจกรรมการบริหารหรือหน้าที่ ของนักบริหารไว้ 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า POCCC Model ประกอบด้วย
1. P = Planning (การวางแผน)
2. O = Organizing (การจัดรูปงาน)
3. C = Commanding (การสั่งการ)
4. C = Coordinating (การประสานงาน)
5. C = Controlling (การควบคุมบังคับบัญชา)

62. ข้อใดต่อไปนี้ที่ Kaufman ถือเป็น Pure Internal Management
(1) การตัดสินใจ
(2) การหาข่าวสาร
(3) การจูงใจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 5 หน้า 14, (คําบรรยาย) Herbert Kaufman เห็นว่า ผู้บริหารจะใช้เวลาของตนให้กับ
ภารกิจ 2 ลักษณะ คือ
1. Pure Internal Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารใช้เวลาน้อยเพียงร้อยละ 10 – 20 ของเวลาทั้งหมด ได้แก่ ภารกิจด้านการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจ และภารกิจในด้านการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์การเกิดการดําเนินงานตามภาระหน้าที่

2. External Management เป็นภารกิจที่ผู้บริหารต้องใช้เวลามากถึงร้อยละ 85 – 90 ของเวลา ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นภารกิจด้านการเป็นตัวแทนขององค์การในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 25 – 30 ของเวลาทั้งหมด และภารกิจด้านการรับและกรองข้อมูลข่าวสาร หรือการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจากสังคมประมาณร้อยละ 50 – 60 ของเวลาทั้งหมด

63. การจําแนกประเภทของระบบในทัศนะของ Kenneth Boulding ระดับที่เริ่มจัดเป็นระดับของ ระบบทางกายภาพ ได้แก่ระดับใด
(1) ระดับที่ 4
(2) ระดับที่ 5
(3) ระดับที่ 6
(4) ระดับที่ 7
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 88 – 89 Kenneth Boulding จําแนกประเภทของระบบออกเป็น 9 ระดับ โดยระดับที่ 1 – 3 เป็นระบบทางกายภาพ ระดับที่ 4 – 6 เป็นระบบทางชีวภาพหรือ 6 ระบบของพฤติกรรมศาสตร์ และระดับที่ 7 – 9 เป็นระบบทางสังคม

64.Warren Bennis เสนอให้เปลี่ยน “ตัวแบบระบบราชการ” เป็น
(1) ระบบบริหารที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น
(2) เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอน
(3) เน้นการรวมอํานาจ
(4) ทั้งข้อ 1 และ 2
(5) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 72, (คําบรรยาย) Warren Bennis ได้เสนอให้เปลี่ยน “Ideal Bureaucracy” (ตัวแบบระบบราชการ) ของ Max Weber เป็น “Flexible Adhocracies” ซึ่งเป็นองค์การ ที่มีลักษณะดังนี้
1. มีการจัดโครงสร้างให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ หรือเป็นองค์การ ที่เน้นการทํางานแบบเฉพาะกิจ
2. เน้นการกระจายอํานาจและเป็นแบบประชาธิปไตย
3. มีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น
4. เน้นการใช้ความรู้ (Knowledge) หรือระบบผู้เชี่ยวชาญมากกว่าการใช้อํานาจหน้าที่ (Authority)
5. เน้นการใช้ความสัมพันธ์ในแนวนอนและไม่เป็นทางการ ฯลฯ

65.Management Science หมายถึง
(1) วิชาที่เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของสังคม
(2) วิชาที่มุ่งค้นคว้าเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนําไปใช้ในการบริหารงาน
(3) วิชาที่เน้นการทดลองประยุกต์ เพื่อคาดทํานายพฤติกรรมการทํางานในองค์การ
(4) ทั้งข้อ 1, 2 และ 3
(5) ทั้งข้อ 2 และ 3
ตอบ 2 หน้า 83 – 84 การบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Science) แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ
1. วิทยาการบริหาร (Management Science : MS) เป็นวิชาที่มุ่งค้นคว้าและเผยแพร่ วิชาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการบริหารงาน
2. การวิจัยดําเนินงาน (Operation Research : OR) เป็นวิชาที่เน้นการทดลองและประยุกต์ เพื่อให้เราสามารถสังเกต เข้าใจ และคาดทํานายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทํางานในองค์การ

66. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การในลักษณะของ “ระบบ”
(1) Maximized Efficiency
(2) Negative Entropy
(3) Flexible Boundaries
(4) Dynamic Equilibrium
(5) Growth Through Internal Elaboration
ตอบ 1 หน้า 98 – 106, (คําบรรยาย) ลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการ ตามแนวทางของ “ระบบ (ระบบเปิด)” ได้แก่
1. การวางแผนและจัดการ (Contrived)
2. ความยืดหยุ่นของขอบเขต (Flexible Boundaries)
3. การอยู่รอด (Negative Entropy)
4. การรักษาเสถียรภาพของระบบให้มีความสมดุลแบบพลวัตหรือมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)
5. กลไกการให้ข้อมูลข่าวสาร (Feedback Mechanism)
6. กลไกในการปรับตัวและรักษาสถานภาพของระบบ (Adaptive and Maintenance Mechanism)
7. การเจริญเติบโตภายในองค์การ (Growth Through Internal Elaboration)
8. การแบ่งงานในลักษณะยืดหยุ่น ฯลฯ (ส่วนการมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด (Maximized Efficiency) เป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดจากการศึกษาองค์การและการจัดการตามแนวทางของ “ระบบปิด”)

67. ใครเป็นผู้เสนอ “Piece Rate System
(1) Weber
(2) Munsterberg
(3) Gilbreths
(4) Gantt
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 5 หน้า 38 – 42, (คําบรรยาย) Frederick W. Taylor เป็นนักวิชาการกลุ่มการจัดการแบบ วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีแนวคิดและผลงานที่สําคัญดังนี้
1. เป็นผู้สร้างทฤษฎีการจัดการโดยอาศัย หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
2. ริเริ่มแนวคิดการบริหารที่ คํานึงถึงผลิตภาพหรือประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการปฏิบัติงานขององค์การเป็นหลัก
3. เสนอให้ใช้ระบบค่าจ้างต่อชิ้น (Piece Rate System) ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจภายนอกที่จะทําให้ มนุษย์ทํางานมากยิ่งขึ้น
4. เสนอให้มีผู้เชี่ยวชาญงานพิเศษ (Functional Foremen) เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบงานและเร่งรัดประสิทธิภาพของงานในขั้นตอนต่าง ๆ

68.“เป็นวิธีการที่กําหนดเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะดําเนินการในเรื่องหนึ่ง ๆ” ข้อความนี้เป็นนิยามของสิ่งใด
(1) นโยบายสาธารณะ
(2) แผน
(3) การจัดองค์การ
(4) การนํา
(5) การควบคุม
ตอบ 2 หน้า 219 แผน (Plan) เป็นวิธีการที่กําหนดเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อที่จะดําเนินการในเรื่องหนึ่ง ๆ หรือเป็นกระบวนการของการตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทําอะไร และทําอย่างไร ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าวประกอบด้วย การเลือกวัตถุประสงค์ การกําหนดนโยบายเพื่อให้บรรลุ และการเขียนรายละเอียดของแผน

69. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการวางแผน
(1) แผนมีลักษณะของความเป็นนามธรรมมากกว่านโยบาย
(2) วิสัยทัศน์เป็นการตอบคําถามถึงสิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น
(3) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การมักใช้เทคนิค SWOT Analysis
(4) การวางแผนต้องเกี่ยวกับอนาคต
(5) การวางแผนต้องเกี่ยวกับการที่จะมีการดําเนินการเฉพาะใด ๆ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แผนมีลักษณะของความเป็นนามธรรมน้อยกว่านโยบาย โดยระดับชั้นของแผนสามารถเรียงลําดับจากลักษณะที่เป็นนามธรรมไปหาลักษณะที่เป็นรูปธรรมได้ดังนี้
นโยบาย (Policy)-แผน (Plan) – แผนงาน (Program) – โครงการ (Project)-มาตรการ (Procedure)

70. ข้อใดเป็นการตอบคําถาม “สิ่งที่ต้องการจะเป็น
(1) Vision
(2) Mission
(3) Goals
(4) Program Structure
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 หน้า 220, (คําบรรยาย) วิสัยทัศน์ (Vision) คือ สิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น ตัวอย่างเช่น

-วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ เป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

– วิสัยทัศน์ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ด้านรัฐศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนการสอนและบริการวิชาการสู่ความเป็นเลิศ

71. “สนับสนุนและส่งเสริมกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ในลักษณะการศึกษาเพื่อปวงชน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม” ข้อความนี้ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามคําแหง ถือเป็นสิ่งใด
(1) วิสัยทัศน์
(2) พันธกิจ
(3) ค่านิยมองค์กร
(4) วัฒนธรรมองค์การ
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 220, (คําบรรยาย) พันธกิจ (Mission) หมายถึง กิจที่องค์การจะต้องกระทํา เช่น พันธกิจของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ สนับสนุนและส่งเสริมกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบในลักษณะการศึกษาเพื่อปวงชน ให้มีความรู้คู่คุณธรรม

72. ข้อใดเป็นการแบ่งแผนตามลักษณะของแผน
(1) แผนระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว
(2) แผนใช้ครั้งเดียว แผนประจํา
(3) แผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ
(4) แผนแม่บท
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 หน้า 219 แผนในองค์การอาจแบ่งได้เป็นหลายลักษณะ เช่น แบ่งตามระยะเวลาของแผน เป็นแผนระยะสั้น แผนระยะปานกลาง และแผนระยะยาว หรือแบ่งตามลักษณะของแผน เป็นแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 73 – 77. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Strengths
(2) Weaknesses
(3) Opportunities
(4) Threats
(5) Problems

73. กรมยุทธบริการทหาร “ขาดหน่วยงานหรือบุคคลที่ทําหน้าที่บูรณาการงานภายในระหว่างหน่วยขึ้นตรง” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 2 หน้า 220, (คําบรรยาย) การวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis นั้น จะประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ (Internal Factor) ได้แก่
-S = Strengths คือ จุดแข็ง ศักยภาพ หรือความสามารถขององค์การที่มีอยู่จริง เช่น การมีงบประมาณจํานวนมาก การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความสามัคคีในการปฏิบัติงาน การมีการวางแผนในระดับหน่วยงาน อย่างเป็นระบบ การมีประสบการณ์ในการดําเนินงาน เป็นต้น

– W = Weaknesses คือ จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ขององค์การ เช่น บุคลากร ขาดความรู้ความสามารถ บุคลากรมีจํานวนน้อยไม่สัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่การงาน งบประมาณมีไม่เพียงพอ มีการจัดทําแผนแต่ขาดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพขาดการสนับสนุนให้มีการทํางานเป็นทีม เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ (External Factor) ได้แก่

O = Opportunities คือ โอกาสขององค์การ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีขึ้นทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประเทศไทย เป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วไทย การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

T = Threats คือ ภัยคุกคามที่มีผลต่อการดําเนินงานขององค์การ เช่น การที่คู่แข่ง เริ่มนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ลูกค้าขาดความรู้ และทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ต รัฐบาลไม่สนับสนุนเงินลงทุน เป็นต้น

74. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ “รูปแบบการก่ออาชญากรรมมีความสลับซับซ้อนจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีแนวโน้มเป็นอาชญากรรมข้ามชาติมากขึ้น” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย “องค์กรมีประสบการณ์ในการดําเนินงานในระดับท้องถิ่น” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

76. โรงเรียนคลองฉนวนวิทยา “หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนกิจกรรมของ โรงเรียน” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

77. บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) “ธุรกิจน้ํามันและก๊าซเป็นธุรกิจหลักของ ปตท. ซึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกทดแทน ด้วยธุรกิจพลังงานทดแทนประเภทอื่นในอนาคต ทําให้ ปตท. ต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน” ข้อความดังกล่าวถือเป็นสิ่งใด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 73. ประกอบ

78. “การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะให้มีการกระทํา ในลักษณะเฉพาะใด ๆ” ข้อความดังกล่าวเป็นนิยามของสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Leading
(4) Controlling
(5) Decision Making
ตอบ 5 หน้า 228 การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง การพิจารณาตกลงใจชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางเลือกขึ้นไปในอันที่จะให้มีการกระทําในลักษณะเฉพาะใด ๆ หรือหมายถึง
การตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียงโดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการ พิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว

79. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ
(1) คือการตกลงใจที่จะยุติข้อขัดแย้ง ข้อถกเถียง โดยให้มีการกระทําไปในทางหนึ่งทางใด
(2) การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะแตกต่างกับการตัดสินใจของบุคคล
(3) การตัดสินใจก็คือการบริหาร
(4) การตัดสินใจเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญต่อทุกขั้นตอนของการบริหาร
(5) การตัดสินใจที่ดีจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข่าวสารที่เพียงพอ
ตอบ 2 หน้า 229 การตัดสินใจในองค์การมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการตัดสินใจของบุคคล ทั้งนี้ เพราะการตัดสินใจในองค์การเป็นการกระทําโดยปัจเจกบุคคลในองค์การ ผู้อํานวยการหรือ ผู้จัดการอาจตัดสินใจโดยยึดถือวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นหลัก

ตั้งแต่ข้อ 80 – 84. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) International Level
(2) Operational Level
(3) Coordinative Level
(4) Strategic Level
(5) ไม่มีข้อใดถูก

80. Programmed Decision เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจระดับใดมากที่สุด
ตอบ 2 หน้า 229 – 230, (คําบรรยาย) การตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ (Operational Level) เป็นการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบทั้งหลายให้เกิดเป็นสินค้าและบริการตามเป้าหมาย ขององค์การ การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบ การตัดสินใจ เช่น อาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการควบคุมการดําเนินงานโดยจัด ให้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า (Programmed Decision) และเป็นการตัดสินใจที่เหมาะกับ สภาพแวดล้อมแบบปิด ผู้บริหารที่ใช้การตัดสินใจระดับนี้ เช่น หัวหน้างาน (Supervisor), หัวหน้าคนงาน (Foreman) เป็นต้น

81. การวางแผนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับใดมากที่สุด
ตอบ 4 หน้า 229, 231 – 232 การตัดสินใจมีบทบาทอยู่ในทุก ๆ ส่วนของกระบวนการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดรูปองค์การ และการควบคุมองค์การ โดยการวางแผนและการจัดรูปองค์การจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับการกําหนดนโยบายและเป้าหมาย ขององค์การหรือระดับการกําหนดกลยุทธ์ (Strategic Level) ส่วนการควบคุมองค์การ จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับของการประสานงาน (Coordinative Level) และ การปฏิบัติการ (Operational Level)

82. การตัดสินใจในระดับนี้จะเป็นไปชั่วระยะเวลาอันสั้น มีการใช้เทคนิคประกอบการตัดสินใจ
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

83. ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ (สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 229 การตัดสินใจระดับประสานงาน (Coordinative Level) เป็นการตัดสินใจที่ เกี่ยวข้องกับความพยายามในอันที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจระดับสูงกับการดําเนินงานในระดับการปฏิบัติการ การตัดสินใจในระดับนี้มีทั้งในลักษณะ “ทันทีทันใด”
และ “การพิจารณาในระยะยาว” ผู้บริหารในระดับนี้จะต้องทําหน้าที่ตัดสินใจเพื่อให้เกิดการประสานกันระหว่างการปฏิบัติงานในองค์การกับการนําเอาปัจจัยภายนอกองค์การ(สภาพแวดล้อม) เข้ามาในองค์การ

84. การจัดรูปองค์การเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับใดมากที่สุด
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 81. ประกอบ

85. “….เป็นตัวเชื่อมโยงที่จะได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล อาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใด ซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้” ข้อความนี้หมายถึงสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Controlling
(4) Decision Making
(5) Communication
ตอบ 5 หน้า 243 การสื่อข้อความหรือการสื่อความเข้าใจ (Communication) เป็นตัวเชื่อมโยง ที่จะทําให้ได้มาซึ่งข่าวสารข้อมูล โดยอาจเป็นไปในรูปของคําพูด จดหมาย หรือวิธีการอื่นใด ซึ่งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ความเห็น หรือประสบการณ์ของบุคคลขึ้นได้

86.“….เป็นความพยายามใด ๆ เกี่ยวกับการออกกฎเกณฑ์ การออกคําสั่ง การใช้อํานาจหน้าที่ การตรวจสอบ เปรียบเทียบตลอดจนกรรมวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้องค์การสามารถดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายหลัก ที่ได้ตั้งเอาไว้” ข้อความนี้หมายถึงสิ่งใด
(1) Planning
(2) Organizing
(3) Controlling
(4) Decision Making
(5) Communication
ตอบ 3 หน้า 258 – 259 การควบคุมองค์การ (Controlling) เป็นความพยายามใด ๆ เกี่ยวกับ การออกกฎเกณฑ์ การออกคําสั่ง การใช้อํานาจหน้าที่ การตรวจสอบเปรียบเทียบตลอดจน กรรมวิธีอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้องค์การสามารถดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายหลักที่ได้ตั้งเอาไว้

87. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการควบคุมองค์การ
(1) เป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่งการประสานงานที่ดีภายในองค์การ
(2) คือการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ
(3) หมายถึงการตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด
(4) หมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้
(5) การควบคุมองค์การจะทําให้อัตราการลาออกของบุคลากรสูง
ตอบ 5 หน้า 258 – 259 การควบคุมองค์การ หมายถึง การตรวจสอบผลการดําเนินงานว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด หรือหมายถึงการตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามกฎ ระเบียบ และขั้นตอนในการปฏิบัติงานเพียงใด หรือหมายถึงการตรวจสอบเปรียบเทียบผลงานกับแผนงาน หรือมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้ การควบคุมองค์การนั้นถือเป็นวิธีการที่สําคัญในการที่จะได้มาซึ่ง การประสานงานที่ดีภายในองค์การ นักวิชาการบางคนกล่าวไว้ว่า “การควบคุมองค์การก็คือ การสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นภายในองค์การ” นั่นเอง

88. บุคคลใดเป็นบิดาของนักจิตวิทยาอเมริกัน ซึ่งสนใจศึกษาและให้ความสําคัญกับเรื่ององค์ประกอบของ การจูงใจที่เป็นสัญชาตญาณ (Instinct) และการจูงใจจากจิตไร้สํานึก (Unconscious Motivation)
(1) Adam Smith
(2) Elton Mayo
(3) William James
(4) Frederick Herzberg
(5) J. Stacy Adams
ตอบ 3 หน้า 272 William James เป็นบิดาของนักจิตวิทยาอเมริกันซึ่งสนใจศึกษาและให้ความสําคัญ กับเรื่ององค์ประกอบของการจูงใจที่เป็นสัญชาตญาณ (Instinct) และการจูงใจจากจิตไร้สํานึก (Unconscious Motivation)

89. ทฤษฎีการจูงใจของบุคคลใดจัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory)
(1) Abraham Maslow
(2) J. Stacy Adams
(3) Victor H. Vroom
(4) Edward L. Thorndike
(5) B. F. Skinner
ตอบ 1 หน้า 272, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการจูงใจ (Theory of Motivation) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มทฤษฎีของกระบวนการ (Process Theory) จะพยายามอธิบายว่าพฤติกรรมของ มนุษย์จะถูกกระตุ้นได้อย่างไร จะถูกชี้นําไปยังทิศทางใด และจะทําให้หยุดลงได้อย่างไร ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Victor H. Vroom, J. Stacy Adams เป็นต้น

2. กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยเนื้อหา (Content Theory) จะเน้นถึงความต้องการภายใน โดยจะศึกษา ว่า “อะไร” เป็นตัวทําให้พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นในลักษณะนั้น ๆ ซึ่งนักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ Abraham Maslow, Clayton Alderfer, Frederick Herzberg, Douglas McGregor David C. McClellard เป็นต้น

90. บุคคลในข้อใดสามารถอธิบายแรงจูงใจด้วยทฤษฎี Equity Theory ของ J. Stacy Adams ได้ดีที่สุด
(1) เชษฐามีแรงจูงใจในการทํางานเพราะได้เงินเดือนสูง
(2) ชัชวาลย์มีแรงจูงใจในการทํางานเพราะงานนั้นจะทําให้มีโอกาสเลื่อนตําแหน่ง
(3) ชาติณรงค์ขาดแรงจูงใจในการทํางานเพราะสภาพแวดล้อมในการทํางานไม่ดี
(4) ชลธิชาขาดแรงจูงใจในการทํางานเพราะทราบว่าเพื่อนร่วมงานที่ไม่ตั้งใจทํางานได้เงินเดือนสูงกว่า
(5) ชาลิสามีแรงจูงใจในการทํางานเพราะมีผู้บังคับบัญชาที่คอยกระตุ้นและให้กําลังใจเสมอ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory) ของ J. Stacy Adams อธิบายว่า บุคคลมักจะเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นว่ามีความเสมอภาคเท่าเทียมกันหรือไม่ ดังนั้นในการ ทํางานบุคคลจึงเปรียบเทียบตนเองกับพนักงานคนอื่นที่ทํางานประเภทเดียวกันโดยพิจารณาจาก ปัจจัยป้อนเข้า (Input) อันได้แก่ ความรู้ความสามารถ ความพยายาม ประสบการณ์ เป็นต้น กับผลลัพธ์ (Outcornes) ที่ได้รับ อันได้แก่ ค่าจ้างค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย การเลื่อน ตําแหน่ง เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบแล้วบุคคลจะพอใจและมีแรงจูงใจในการทํางานตราบเท่าที่เขายังรับรู้ว่ามีความเสมอภาคเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานคนอื่น แต่ถ้าเขาพบว่าผู้ที่ทํางานในระดับเดียวกันได้รับผลตอบแทนสูงกว่าหรือได้รับผลตอบแทนเท่ากันแต่ทํางานน้อยกว่า
ความพอใจและแรงจูงใจในการทํางานจะน้อยลง ตัวอย่างที่อธิบายตามทฤษฎีนี้ เช่น ชลธิชาขาดแรงจูงใจในการทํางานเพราะทราบว่าเพื่อนร่วมงานที่ไม่ตั้งใจทํางานได้เงินเดือนสูงกว่าเป็นต้น

91.“Motivation = E x I x V” เป็นคําอธิบายของทฤษฎีใด
(1) Expectation Theory
(2) Equity Theory
(3) Law of Effect Theory
(4) Reinforcement Theory
(5) Hierarchy of Needs Theory
ตอบ 1 (คําบรรยาย) “Motivation = E x I x V” เป็นคําอธิบายของทฤษฎีความคาดหวัง (Expectation Theory) ของ Victor H. Vroom โดย
-E (Expectation) = ความคาดหวัง คือ การเชื่อว่าความพยายามจะนําไปสู่ผลงาน
-I (Instrumentality) = ความเป็นเครื่องมือ คือ การเชื่อว่าผลงานจะนําไปสู่การได้รับรางวัล
-V (Valance) = คุณค่าของรางวัล คือ รางวัลนั้นมีคุณค่ากับเรา

92. จากสมการในข้อ 91. “V” หมายถึงสิ่งใด
(1) คุณค่าของรางวัล
(2) ความเป็นเครื่องมือ
(3) ความพยายาม
(4) ปัจจัยสุขวิทยา
(5) อํานาจ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93. วิธีการจูงใจบุคคลแบบใดที่ถูกวิจารณ์ว่ามองคนแบบทฤษฎี X
(1) วิธีการใช้ความดี
(2) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(3) วิธีการแข่งขัน
(4) การทําให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความสําคัญของงาน
(5) วิธีการแบบเด็ดขาด
ตอบ 5 หน้า 277 วิธีการแบบเด็ดขาด (be strong approach) เป็นวิธีการบังคับคนให้ปฏิบัติงาน โดยการขู่ต่าง ๆ เช่น ขู่ว่าจะหักเงินค่าจ้าง ขู่ว่าจะไล่ออก หากไม่ปฏิบัติตาม เป็นต้น โดยวิธีการนี้ ถูกวิจารณ์ว่ามองคนตามแบบทฤษฎี X ของ McGregor โดยเห็นว่าคนนั้นโดยธรรมชาติจะ เกียจคร้าน ไม่ชอบทํางาน จึงต้องใช้วิธีบังคับให้ทําและต้องมีการควบคุมการทํางานอย่างใกล้ชิด

94. การจูงใจบุคคลแบบใดที่มีพื้นฐานความคิดว่า “หากพนักงานได้รับเงินเดือนสูง ๆ ได้รับสวัสดิการที่ดี มีสภาพการทํางานที่ดีแล้วก็จะทําให้พนักงานมีขวัญดีขึ้น ทํางานด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้น”
(1) การใช้ความดีแบบพ่อกับลูก
(2) การใช้ความดีแบบการให้ปัจจัยค้ำจุน
(3) การใช้การต่อรองที่เด่นชัด
(4) วิธีการแข่งขัน
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 หน้า 278 279 วิธีการจูงใจโดยใช้ความดีแบบการให้ปัจจัยค้ําจุน (Hygienic Management) เป็นวิธีการกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานโดยมีพื้นฐานอยู่กับความคิดที่ว่าหากพนักงานได้รับ เงินเดือนสูง ๆ ได้รับสวัสดิการที่ดี มีสภาพการทํางานที่ดีแล้ว ก็จะทําให้พนักงานเป็นบุคคล ที่มีขวัญดีขึ้น ทํางานด้วยความขยันขันแข็งมากขึ้น

ตั้งแต่ข้อ 95 – 98. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Trait Theories
(2) Behavioral Theories
(3) Contingency Theories
(4) Transformational Leader
(5) Reinforcement Theories

95. ศึกษาวิถีทางเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จในความเป็นผู้นํา เช่น การได้อํานาจที่จะมีอิทธิพลต่อผู้อื่น และใช้อํานาจที่มีอยู่เพื่อนําไปสู่เป้าหมายที่ตนต้องการ
ตอบ 2 หน้า 287, 289 ทฤษฎีพฤติกรรมของผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเรื่องวิถีทางเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จในความเป็นผู้นํา เช่น การได้อํานาจที่จะมีอิทธิพลต่อผู้อื่น และใช้อํานาจที่มีอยู่เพื่อนําไปสู่เป้าหมายที่ตนต้องการ

96. ศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้นํา
ตอบ 1 หน้า 287 – 288 ทฤษฎีเชิงคุณลักษณะ (Trait Theories) คือ ทฤษฎีที่ศึกษาคุณลักษณะ
และคุณสมบัติของผู้นําซึ่งการศึกษากระทําโดยการแยกประเภทของผู้นําเป็นผู้นําที่ประสบความสําเร็จกับผู้นําที่ไม่ประสบความสําเร็จแล้วจึงรวบรวมคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของผู้นํา ทั้งสองประเภทว่ามีลักษณะใดบ้างที่เป็นปัจจัยให้ผู้นําเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพ โดยนักทฤษฎี ในกลุ่มนี้ ได้แก่ T. Carlyle, R.M. Stogdill, Edwin Ghiselli และ Keith Davis

97. พิจารณาว่าไม่มีรูปแบบของผู้นําที่ดีที่สุดโดยไม่ขึ้นกับสถานการณ์
ตอบ 3 หน้า 294 (คําบรรยาย) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) คือ ทฤษฎีที่ศึกษาภาวะผู้นําโดยมองความสําคัญของสถานการณ์เป็นหลัก ทฤษฎีนี้ เชื่อว่า สถานการณ์เป็นตัวกําหนดว่าผู้นําแบบใดจะมีประสิทธิผลมากกว่ากัน ไม่มีรูปแบบของ ผู้นําที่ดีที่สุดโดยไม่ขึ้นกับสถานการณ์ ซึ่งนักทฤษฎีในกลุ่มนี้ ได้แก่ R.M. Stogdill, B.M. Bass, A.C. Pilley, R.J. House as Fred Fiedler

98. การศึกษาค้นคว้าที่มหาวิทยาลัยไอโอวา นําโดย Ronald Lippitt & Ralph White ซึ่งใช้วิธีการแบบ Experimental Approach ควบคุมโดย Kert Lewin ในปี 1940 จัดอยู่ในกลุ่มทฤษฎีใด
ตอบ 2 หน้า 287, 289 การศึกษาค้นคว้าเรื่องภาวะผู้นําที่มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa Studies) โดย Ronald Lippitt และ Ralph White ที่ใช้วิธีการแบบ Experimental Approach และควบคุมโดย Kert Lewin ในปี ค.ศ. 1940 เป็นการศึกษาของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมของ ผู้นํา (Leadership Behavior) หรือทฤษฎีเชิงพฤติกรรม (Behavioral Theories) ซึ่งผลจาก การศึกษาได้ค้นพบความแตกต่างของผู้นํา 3 แบบ คือ
1. แบบเผด็จการ (Autocratic Leadership)
2. แบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)
3. แบบปล่อยเสรี (Laissez-Faire Leadership)

99. ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับ Contingency Theories มากที่สุด
(1) Great Man Theory
(2) ทฤษฎีของ Keith Davis
(3) ทฤษฎีของ Fred E. Fiedler
(4) ทฤษฎีของ Frederick W. Taylor
(5) การศึกษาค้นคว้าของมหาวิทยาลัยไอโอวาในปี 1940
ตอบ 3 หน้า 287, 294 – 295 Fred E. Fiedler ได้เสนอทฤษฎีเชิงสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) โดยเห็นว่า การเป็นผู้นําที่มีประสิทธิภาพต้องมีพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่เอื้อต่อภาวะผู้นําเป็นผลมาจากตัวแปร 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นําและสมาชิก (Leader-Member Relationship)
2. โครงสร้างของงาน (Task Structure)
3. อํานาจในตําแหน่งของผู้นํา (Position Power)

100. นายชัชพลมีลูกน้องที่มีความสามารถ (Ability) และมีความเต็มใจในการทํางาน (Willing) หากนายชัชพล เชื่อในแนวคิดของ Hersey & Blanchard จะต้องเป็นผู้นําแบบใด
(1) Selling
(2) Consideration
(3) Participating
(4) Delegating
(5) Telling
ตอบ 4 หน้า 287, (คําบรรยาย) แนวความคิดของนายชัชพลนั้นสอดคล้องกับทฤษฎีภาวะผู้นํา ทางด้านสถานการณ์ (Contingency Theories หรือ Situational Theories) โดยเฉพาะ แนวความคิดของ Hersey & Blanchard ซึ่งมองว่า ไม่มีแบบของพฤติกรรมผู้นําแบบใด ที่ดีที่สุด การเป็นผู้นําที่ประสบความสําเร็จหรือมีประสิทธิภาพนั้นต้องมีแบบของพฤติกรรม ผู้นําที่สอดคล้องกับความพร้อมของผู้ตาม (ลูกน้อง) ใน 2 ด้าน คือ ความสามารถ (Ability) และความเต็มใจในการทํางาน (Willing) ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ผู้ตามไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบสั่งการ (Telling)
2. ผู้ตามไม่มีความสามารถ แต่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบขายความคิด (Selling)
3. ผู้ตามมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบมีส่วนร่วม (Participating)
4. ผู้ตามมีความสามารถ และมีความเต็มใจในการทํางาน ต้องเป็นผู้นําแบบ มอบหมายงาน (Delegating)

POL2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2200 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับขอบข่ายของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น
(2) เศรษฐกิจระหว่างประเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(3) ปัจเจกบุคคลไม่ถือเป็นขอบข่ายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องของสงครามมากกว่าสันติภาพ
(5) สังคมระหว่างประเทศไม่อยู่ในขอบข่ายเพราะเป็นเรื่องสมมติมากกว่าเรื่องจริง
ตอบ 2 หน้า 13 – 15, (คําบรรยาย) ขอบข่ายของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การเมืองระหว่างประเทศ
2. เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. สังคมระหว่างประเทศ
4. กฎหมายระหว่างประเทศ
5. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.คําว่า “อนาธิปไตย” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) สภาวะความวุ่นวายและไร้ระเบียบตลอดเวลา
(2) สภาวะของการปราศจากการใช้กฎหมาย
(3) สภาวะของการไร้ซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
(4) สภาวะของการพัฒนาทางอารยธรรม
(5) สภาวะของการปราศจากซึ่งอํานาจสูงสุด
ตอบ 5 หน้า 196 – 197, (คําบรรยาย) อนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่สังคมระหว่างประเทศ ปราศจากซึ่งอํานาจปกครองสูงสุด (An Absent of Supreme Power) ไม่มีศูนย์กลางทางอํานาจ หรือไม่มีรัฐบาลกลางหรือองค์กรกลางที่จะรักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้ง ดูแลปกป้องรัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศ จึงทําให้รัฐหรือตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคมระหว่างประเทศจะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เมื่อเกิดความขัดแย้ง

3.คําว่า “Anarchy” เป็นคําที่ตรงข้ามกับคําใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Anarchism
(2) Hierarchy
(3) Supreme Power
(4) Superpower
(5) Unipolarity
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คําว่า “Anarchy” หรือ “อนาธิปไตย” คือ การปราศจากอํานาจสูงสุด เป็นคํา ที่ตรงข้ามกับคําว่า “Supreme Power” หรือ “การมีอํานาจสูงสุด”

4.สภาวะของความเป็น “รัฐชาติสมัยใหม่” (Modern Nation-State) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศถูกอนุมานว่าเริ่มต้นขึ้นในช่วงใดมากที่สุด
(1) ยุคกรีก-โรมันโบราณ
(2) ยุคอาณาจักรไบแซนไทน์
(3) ยุคหลังสงครามสามสิบปี
(4) ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
(5) ยุคสงครามเย็น
ตอบ 3 หน้า 79, (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ (Modern Nation-State) ถูกอนุมานว่าเริ่มต้นขึ้น ในยุคหลังสงครามสามสิบปี โดยเริ่มต้นขึ้นภายหลังจากการทําสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี ค.ศ. 1648 ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวทําให้สงครามศาสนา 30 ปีสิ้นสุดลง และก่อให้เกิดรัฐชาติสมัยใหม่ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดนหรืออาณาเขต (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty)

5. สนธิสัญญาในข้อใดที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็น “รัฐชาติสมัยใหม่”
(1) Treaty of Perpetual Peace
(2) Treaty of Westminster
(3) Treaty of Versailles
(4) Treaty of Westphalia
(5) Treaty of Windsor :
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คุณลักษณะที่สําคัญของ “รัฐชาติสมัยใหม่”
(1) สันปันน้ำ
(2) ร่องน้ำลึก
(3) ดินแดนร่วมกัน
(4) การปักปันเขตแดน
(5) ทุกข้อเป็นคุณลักษณะสําคัญของรัฐชาติสมัยใหม่
ตอบ 3 (คําบรรยาย) คุณลักษณะสําคัญของ “รัฐชาติสมัยใหม่” คือ มีการแบ่งเขตแดนหรือ ปักปันเขตแดนระหว่างรัฐที่ชัดเจนโดยใช้สันปันน้ำ ร่องน้ำลึก หรือสภาพธรรมชาติอื่น ๆ เป็นแนวเส้นเขตแดน ทําให้แต่ละรัฐมีดินแดนที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจาก “รัฐโบราณ” ที่มีดินแดนร่วมกัน (Common Land) หรือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างรัฐ ทําให้แต่ละรัฐ ไม่มีดินแดนที่แน่นอน

7.“ฮ่องกง” ถือเป็นรัฐชาติสมัยใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด
(1) เป็น เพราะฮ่องกงมีดินแดนและประชากรเชิงประจักษ์
(2) เป็น เพราะฮ่องกงมีการเลือกตั้งผู้นําประเทศ
(3) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีรัฐบาลเป็นของตนเอง
(4) ไม่เป็น เพราะฮ่องกงไม่มีอํานาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
(5) ไม่มีข้อใดให้เหตุผลถูกต้อง
ตอบ 4 หน้า 20 – 21 (คําบรรยาย) รัฐชาติสมัยใหม่ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นอย่างถาวร ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองที่อาศัยในดินแดนที่แน่นอน มีอํานาจอธิปไตยในการจัดการปกครอง เป็นอิสระและปราศจากการควบคุมของรัฐอื่น ทั้งนี้การที่จะเรียกว่าเป็นรัฐโดยสมบูรณ์ได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ประชากร (Population), ดินแดน (Territory), รัฐบาล (Government) และอํานาจอธิปไตย (Sovereignty) ดังนั้น “ฮ่องกง” ไม่ถือว่าเป็น รัฐชาติสมัยใหม่ เพราะฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ไม่มีอํานาจอธิปไตย เป็นของตนเอง

8. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors)
(1) Vatican
(2) WIPO
(3) United Nations
(4) International Monetary Fund
(5) League of Nations
ตอบ 1 หน้า 19 – 22, (คําบรรยาย) ผู้แสดง (ตัวแสดง) บทบาทในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ผู้แสดงบทบาทที่เป็นรัฐ (State Actors) นับเป็นตัวแสดงที่สําคัญที่สุด ได้แก่ รัฐต่าง ๆ เช่น นครรัฐวาติกัน (Vatican City) สวิตเซอร์แลนด์ อิรัก อิหร่าน ยูเครน ยูกันดา มาดากัสการ์ ฟิจิ มัลดีฟส์ และผู้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐหรือในนามของรัฐ เช่น ผู้นํารัฐบาล รัฐมนตรี ต่างประเทศ ทูต เอกอัครราชทูต ผู้ช่วยทูต และเจ้าหน้าที่ทูต) กงสุล (กงสุลใหญ่ รองกงสุล เจ้าหน้าที่กงสุล และกงสุลกิตติมศักดิ์) เป็นต้น

2. ผู้แสดงบทบาทที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actors) ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค เช่น สันนิบาตชาติ (League of Nations : LN) สหประชาชาติ (United Nations : UN) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (UN Children’s Fund : UNICEF) องค์การ ทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization : WIPO) อาเซียน (ASEAN), องค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) เช่น กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) องค์การออกแฟม (Oxfam), บรรษัทข้ามชาติ (MNCs) เช่น บริษัท Unilever บริษัท Pepsi บริษัท Google บริษัท Toyota, ขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม IS หรือ ISIS กลุ่ม Al Qaeda กลุ่ม Jihad กลุ่ม PLC, ปัจเจกบุคคล เช่น นางอองซาน ซูจี เป็นต้น

9.ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นตัวแสดงประเภท Multi-National Corporation
(1) Oxfam
(2) Jihad
(3) PLO
(4) Testa
(5) UNICEF
ตอบ 4 หน้า 22 (คําบรรยาย) บรรษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporation : MNCs) เป็นองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ หรือให้บริการในประเทศต่าง ๆ เช่น Microsoft, Google, Esso, Royal Dutch Shell, Chevron, Starbucks, Toyota, Testa, Tata, Samsung, Alibaba, McDonald, Nestle, Red Bulls, Coca Cola, Pepsi, Unilever เป็นต้น (ดูคําอธิบายข้อ 8. ประกอบ)

10. นักวิชาการในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนใดที่เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ”
(1) Hans Morgenthau
(2) E. H. Carr
(3) Karl Polanyi
(4) Karl Popper
(5) Robert Gilpin
ตอบ 5 (คําบรรยาย) โรเบิร์ต ศิลปิน (Robert Gilpin) นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชาวอเมริกัน เสนอว่า “เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เป็นโจทย์ที่สําคัญที่สุดในการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอํานาจ

11. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง “ปัจจัยพื้นฐาน” ที่นําไปสู่ความแตกต่างระหว่างการเมืองภายในประเทศและ การเมืองระหว่างประเทศได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
(1) การเมืองภายในประเทศเป็นสภาวะที่ปราศจากอํานาจสูงสุด
(2) การเมืองภายในประเทศเป็นสภาวะอนาธิปไตย
(3) ตัวแสดงในการเมืองระหว่างประเทศไม่จําเป็นต้องดูแลปกป้องตนเอง
(4) การเมืองระหว่างประเทศเป็นสภาวะที่ปราศจากกลไกอํานาจกลาง
(5) ไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจนเพราะการเมืองทั้งสองระดับเป็นเรื่องเดียวกัน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การเมืองระหว่างประเทศ (International Politics) เป็นสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) คือ สภาวะที่ปราศจากกลไกอํานาจกลางหรือปราศจากอํานาจสูงสุด ทําให้รัฐ หรือตัวแสดงต่าง ๆ จําเป็นต้องดูแลปกป้องตนเอง ซึ่งแตกต่างจากการเมืองภายในประเทศ (Domestic Politics) ที่มีกลไกอํานาจกลางและอํานาจสูงสุดในการดูแลปกป้องประชาชน

12. ข้อใดต่อไปนี้เป็น “เงื่อนไข” ที่ก่อให้เกิดสภาวะ “การแข่งขันที่ไม่สิ้นสุด” ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(1) Supreme Power
(2) Endless Competition
(3) Anarchy
(4) Domestic Politics
(5) Problems in IR
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ถือเป็น “เงื่อนไข” ที่ก่อให้เกิดสภาวะ “การแข่งขัน ที่ไม่สิ้นสุด” (Endless Competition) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

13. ตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้ที่มีความสําคัญที่สุดสําหรับ “การดูแลปกป้องตนเอง” ในความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ
(1) Natural Resources
(2) Power
(3) Wealth
(4) International Trade
(5) Competition
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ภายใต้สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) รัฐต่าง ๆ จะต้องดูแลปกป้องตนเอง (Self-Help) เพราะในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่มีองค์รัฏฐาธิปัตย์หรือผู้มีอํานาจสูงสุด มาทําหน้าที่ดูแลคุ้มครอง โดยสิ่งที่รัฐต่าง ๆ ใช้ในการดูแลปกป้องตนเองนั้นมี 2 ประการ คือ ความมั่นคง (Power) และความมั่งคั่ง (Wealth) โดยความมั่นคง (Power) ถือว่ามีความสําคัญ ที่สุด เพราะเป็นสิ่งประกันความอยู่รอดปลอดภัยของรัฐ

14. สภาวะที่การสร้างความมั่นคงของประเทศหนึ่งได้ส่งผลให้อีกประเทศหนึ่งเกิดความไม่มั่นคงเป็นสภาวะ
ที่มีชื่อเรียกว่าอะไร
(1) Self-Help
(2) Security Dilemma
(3) Interdependence
(4) Spiral Effect
(5) Wealth
ตอบ 2
(คําบรรยาย) ความลักลั่นทางความมั่นคง (Security Dilemma) คือ สภาวะที่การสร้าง ความมั่นคงของประเทศหนึ่งได้ส่งผลให้อีกประเทศหนึ่งเกิดความไม่มั่นคง เช่น การที่ประเทศ A ได้สร้างความมั่นคงให้กับตนเองโดยการซื้อเครื่องบินรบได้ส่งผลให้ประเทศ B ซึ่งไม่มีเครื่องบินรบ
เกิดความไม่มั่นคง เป็นต้น

15. “การที่ประเทศไทยซื้อเรือดําน้ําอันเนื่องมาจากว่าประเทศอื่นในอาเซียนมีเรือดําน้ำส่งผลให้กองทัพไทย เกิดความไม่มั่นคง” สภาวะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
(1) Self-Help
(2) Security Dilemma
(3) Interdependence
(4) Spiral Effect
(5) Power
ตอบ 3(คําบรรยาย) สภาวะลูกโซ่ทางความมั่นคง (Interdependence) คือ สภาวะที่การสร้างความ มั่นคงของประเทศหนึ่งได้ส่งผลให้อีกประเทศหนึ่งเกิดความไม่มั่นคง และเมื่ออีกประเทศหนึ่ง ได้สร้างความมั่นคงให้กับประเทศตนเองแล้วกลับส่งผลให้ประเทศที่เหลืออื่น ๆ เกิดความรู้สึก ไม่มั่นคง ประเทศเหล่านั้นจึงจําเป็นต้องสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง ซึ่งสภาวะลูกโซ่ทางความ มั่นคงนี้เป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ตนเองเป็นทอด ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ เช่น การที่ประเทศไทย ซื้อเรือดําน้ำอันเนื่องมาจากว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนมีเรือดําน้ําส่งผลให้กองทัพไทยเกิดความ ไม่มั่นคง เป็นต้น

ตั้งแต่ข้อ 16. – 21. ให้นักศึกษาใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Liberalism
(2) Realism
(3) Neo-Realism
(4) Neoliberal Institutionalism
(5) English School

16. นักวิชาการที่ชื่อว่า Robert Kechane สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Robert Keohane ผู้สร้างทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบัน (Neoliberal Institutionalism) เห็นว่า รัฐต่าง ๆ ควรสร้างสถาบันกลางหรือองค์การระหว่างประเทศขึ้น โดยองค์การระหว่างประเทศนี้จะทําหน้าที่ในฐานะศูนย์รวมของหลักการ กฎระเบียบ ข้อห้าม และกระบวนการตัดสินใจที่เอื้อให้รัฐต่าง ๆ เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันและมีผลลัพธ์ของ ปฏิสัมพันธ์ออกมาลงตัวสําหรับทุกฝ่ายมากที่สุด หรือที่เรียกว่า Optimal Choice

17. “แนวคิดในเรื่อง Lust for Power” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด (คําบรรยาย) ทฤษฎีสัจนิยม (Realism) มีแนวคิดดังนี้
ตอบ 2
1. เชื่อว่า มนุษย์เป็นตัวแสดงที่ชั่วร้ายและกระหายสงครามตลอดเวลา
2. ปฏิเสธหลักการประสานประโยชน์ที่ลงตัว (Harmony of Interest) ดังนั้นเมื่อมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจะนําไปสู่สงครามเสมอ ดังนั้นทุกประเทศต้องแสวงหาอํานาจให้มากที่สุด (Lust for Power) ฯลฯ

18. “แนวคิดดุลยภาพแห่งอํานาจ (Balance of Power)” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Kenneth Waltz ผู้สร้างทฤษฎีสัจนิยมใหม่ (Neo-Realism) เห็นว่า โครงสร้าง และระบบระหว่างประเทศได้ก่อให้เกิด “ประเทศมหาอํานาจ VS ประเทศเล็ก” ซึ่งเป็นผลพวง ที่เกิดขึ้นจากการกระจายขีดความสามารถที่ต่างกัน (Distribution of Capabilities) ดังนั้นประเทศเล็กจึงจําเป็นต้องหาทางคานอํานาจกับประเทศมหาอํานาจโดยการรวมกลุ่มกัน เพื่อถ่วงดุลและสร้างดุลยภาพแห่งอํานาจ (Balance of Power) ให้เกิดขึ้น

19. นักปรัชญาที่ชื่อว่า Immanuel Kant สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Immanuel Kant นักปรัชญาสํานักเสรีนิยม (Liberalism) ได้เสนอแนวคิด “สันติภาพที่ถาวร” (Perpetual Peace) ซึ่งแนวคิดของ Kant นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อ แนวความคิดของ Woodrow Wilson ในการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

20.จากวลีที่ว่า “สันติภาพที่ถาวร” เป็นสภาวะที่สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21. ข้อเสนอที่ว่า “มนุษย์เป็นตัวแสดงที่ชั่วร้ายและกระหายสงครามตลอดเวลา” สอดคล้องกับตัวเลือก ในข้อใดมากที่สุด
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22.“The strong do what they can, the weak suffer what they must” สอดคล้องกับสงคราม ในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) Cyberwarfare
(2) Vietnam War
(3) Peloponnesian War
(4) The Cold War
(5) The Great War
ตอบ 3 (คําบรรยาย) “The Strong do what they can, the weak suffer what they must หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “ผู้ที่แข็งแรงย่อมทําอะไรก็ได้ตามอํานาจที่เขามี ส่วนผู้ที่อ่อนแอ ก็ต้องยอมรับตามที่เขาจําต้องยอมรับ” เป็นวลีของธูซิดิดิส (Thucydides) ซึ่งใช้อธิบาย สงครามเพโลพอนนี้เซียน (Peloponnesian War)

23. ตามข้อเสนอของนักคิดในตระกูลเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบัน ข้อใดต่อไปนี้คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดํารงอยู่ขององค์การระหว่างประเทศ
(1) Balance of Power
(2) Optimal Choice
(3) Perpetual Peace
(4) Mutual Understanding
(5) War
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 16. ประกอบ

24. สําหรับ Kenneth Waltz โครงสร้างและระบบระหว่างประเทศที่ก่อให้เกิด “ประเทศมหาอํานาจ VS ประเทศเล็ก” นั้น เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) การกระจายขีดความสามารถที่ต่างกัน
(2) ความล้มเหลวของกลไกป้องกันสงคราม
(3) การเกิดขึ้นของตุลยภาพแห่งอํานาจ
(4) ความล้มเหลวของกติกากลาง
(5) สภาวะที่ตายตัวของสงครามและสันติภาพ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 18. ประกอบ

25. คําว่า “National Self-Determination” สอดคล้องกับตัวเลือกในข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด
(1) กองทัพอิสราเอลยิงจรวดขีปนาวุธข้ามฝั่งไปยังดินแดนปาเลสไตน์
(2) สงครามตัวแทนในยุคสงครามเย็น
(3) ชาวคาตาลันทําประชามติเชิงสัญลักษณ์เพื่อแยกตัวออกจากสเปน
(4) การลงคะแนนเสียงของประเทศสมาชิกในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
(5) กองทัพรัสเซียเคลื่อนกําลังข้ามฝั่งไปยังดินแดนของยูเครน
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการกําหนดใจตนเองแห่งชาติ (National Self-Determination) คือ หลักการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตัดสินใจทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมได้ด้วยตนเอง ตัวอย่างที่สอดคล้องกับหลักการนี้ เช่น ชาวคาตาลันทําประชามติเชิงสัญลักษณ์เพื่อแยกตัวออกจากสเปน เป็นต้น

26. สงครามเพโลพอนนี้เซียน (Peloponnesian) เป็นผลงานของใคร
(1) Plato
(2) Thucydides
(3) Aristotle
(4) Socrates
(5) Hobbes
ตอบ 2 หน้า 76 – 77 ซูซิดิดิส (Thucydides) ได้อธิบายถึงสงครามเพโลพอนนี้เซียน (Peloponnesian) ซึ่งเกิดขึ้นในยุคกรีกโบราณระหว่างปี 431 – 404 ก่อนคริสตกาล เป็นสงครามระหว่างนครรัฐกรีก ด้วยกัน คือ เอเธนส์ซึ่งมีอิทธิพลทางทะเล และสปาร์ตาซึ่งมีอิทธิพลทางบก โดยสาเหตุของ สงครามเกิดจากความไม่สมดุลของอํานาจระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา ซึ่งสปาร์ตาหวาดระแวงว่า
ในระยะยาวเอเธนส์จะมีอํานาจเหนือกว่าตน และมีความเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีและทําให้ สปาร์ตาพ่ายแพ้ ดังนั้นสปาร์ตาจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้น สปาร์ตาจึงต้องโจมตีเอเธนส์ก่อน การอธิบายนี้ได้สร้างทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศที่มีผลถึงทุกวันนี้

27. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศใดและเริ่มต้นจากสิ่งประดิษฐ์ประเภทใด
(1) อังกฤษ – รถจักรไอน้ำ
(2) อังกฤษ – เครื่องปั่นด้าย
(3) ฝรั่งเศส – เข็มหมุด
(4) ฝรั่งเศส – รถจักรไอน้ำ
(5) สหรัฐอเมริกา – รถจักรไอน้ำ

ตอบ 2 หน้า 79 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากเครื่องปั่นด้ายที่ชื่อว่า Spinning Jenny ของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves)

28.“หลัก 14 ประการ” ที่ถูกนํามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพและจัดระเบียบโลกในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สัมพันธ์กับผู้นําคนใดต่อไปนี้
(1) George Washington
(2) Abraham Lincoln
(3) Woodrow Wilson
(4) Harry Truman
(5) Franklin D. Roosevelt
ตอบ 3 หน้า 84 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศ “หลัก 14 ประการ” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพและจัดระเบียบโลก ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสําคัญ เช่น หลักการที่ 1 การเจรจาทางการทูต ต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ หลักการที่ 3 ยกเลิกกําแพงภาษีเพื่อสร้างความเท่าเทียม ให้แก่การค้าระหว่างประเทศ หลักการที่ 14 ให้มีการจัดตั้งสมาคมร่วมกันของรัฐต่าง ๆ เพื่อประกันอิสรภาพทางการเมืองและบูรณภาพแห่งดินแดน เป็นต้น

29. ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ส่วนให้แก่ประเทศต่าง ๆ ครอบครอง อย่างไรก็ดี ประเทศใดต่อไปนี้ไม่ได้รับส่วนแบ่ง ในการแบ่งแยกดินแดนครั้งนี้
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) อิตาลี
(5) สหภาพโซเวียต
ตอบ 4 หน้า 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศเยอรมนีในฐานะผู้แพ้สงคราม ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนและถูกครอบครองโดยมหาอํานาจที่ร่วมสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

30. ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “การทูตปิงปอง” (Ping Pong Diplomacy) ตรงกับประธานาธิบดีสหรัฐคนใด
(1) Richard Nixon
(2) Dwight Eisenhower
(3) Lyndon B. Johnson
(4) Jimmy Carter
(5) John F. Kennedy
ตอบ 1 หน้า 89, (คําบรรยาย) การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy) เกิดขึ้นในช่วง 1970s เป็นการปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับจีนโดยใช้กีฬาปิงปองหรือเทเบิลเทนนิส เป็นเครื่องมือ ซึ่งในขณะนั้นตรงกับสมัยริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา และโจวเอินไหลเป็นนายกรัฐมนตรีของจีน โดยจีนตระหนักว่าสหภาพโซเวียต เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสหรัฐอเมริกา จึงพยายามหาทางคานอํานาจกับสหภาพโซเวียตโดยการเชิญสหรัฐอเมริกามาร่วมแข่งขันปิงปองซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงปักกิ่ง

31. รัฐใดต่อไปนี้ไม่ได้เกิดจากการแตกตัวออกมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
(1) Armenia
(2) Azerbaijan.
(3) Uzbekistan
(4) Latvia
(5) Yugoslavia
ตอบ 5 หน้า 90 รัฐที่เกิดจากการแตกตัวออกมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 มี 15 รัฐ ได้แก่ อาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan), เบลารุส (Belarus), เอสโตเนีย (Estonia), จอร์เจีย (Georgia), คาซัคสถาน (Kazakhstan), คีร์กีซสถาน (Kyrgyzstan), ลัตเวีย (Latvia), ลิทัวเนีย (Lithuania), มอลโดวา (Moldova), รัสเซีย (Russia), ทาจิกิสถาน (Tajikistan), เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan), ยูเครน (Ukraine) และอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)

ตั้งแต่ข้อ 32 – 50. ให้นักศึกษาเลือกตัวเลือกที่ผิดหรือไม่สัมพันธ์กับคําหรือวลีในแต่ละข้อ

32.สงคราม Peloponnesian
(1) สงครามระหว่างนครรัฐกรีกกับดินแดนป่าเถื่อน
(2) สงครามระหว่างนครรัฐกรีกด้วยกัน
(3) สงครามระหว่างสองกลุ่มพันธมิตร
(4) เอเธนส์มีอิทธิพลทางทะเล
(5) สปาร์ตามีอิทธิพลทางบก
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 26. ประกอบ

33. ยุคมืดหรือยุคกลาง
(1) ศาสนาคริสต์มีอิทธิพล
(2). ศูนย์กลางศาสนาอยู่ที่กรุงโรม
(3) พระสันตะปาปาเป็นประมุขศาสนา
(4) พระราชาได้อํานาจจากการเลือกของขุนนาง
(5) ขุนนางเป็นเจ้าของที่ดินและมีบริวาร
ตอบ 4 หน้า 78, (คําบรรยาย) ยุคมืดหรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นยุคที่ศาสนาคริสต์มีอํานาจ และอิทธิพลเหนือสถาบันทางการเมือง โดยมีศูนย์กลางศาสนาอยู่ที่กรุงโรม และพระสันตะปาปา เป็นประมุขศาสนา ในยุคนี้มีความเชื่อว่าพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมเป็นผู้แทนบนโลกของ พระผู้เป็นเจ้า พระราชาได้รับอํานาจจากพระผู้เป็นเจ้าผ่านพระสันตะปาปา นอกจากนี้ยุโรป ยังตกอยู่ภายในระบบศักดินานิยมที่อํานาจทางการเมืองอยู่ในมือของขุนนางเจ้านาย (Lord) ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและมีบริวารในสังกัด

34. สงครามครูเสด (Crusade)
(1) ปกป้องดินแดนเยรูซาเล็ม
(2) ต่อสู้กับชาวมุสลิม
(3) ยุโรปชนะและยึดคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ์
(4) ชาวยุโรปเริ่มรู้จักเครื่องเทศ
(5) เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1096 – 1270
ตอบ 3 หน้า 78 สงครามครูเสด (Crusade) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1096 – 1270 เป็นการทําสงคราม ระหว่างพวกเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลามและพวกยุโรปตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยสาเหตุเกิดจากพวกเติร์กต้องการแย่งชิงเยรูซาเล็มซึ่งเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์จากพวกยุโรป ตะวันตก ทําให้พวกยุโรปตะวันตกต้องต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนเยรูซาเล็ม ผลคือพวกเติร์กชนะและยึดครองเยรูซาเล็มได้สําเร็จ ส่วนพวกยุโรปตะวันตกต้องยกทัพกลับไปเพราะพ่ายแพ้ผลจากสงครามในครั้งนี้ทําให้ชาวยุโรปรู้จักการใช้เครื่องเทศในการถนอมและปรุงรสอาหารรวมทั้งได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันออกที่แตกต่างจากตน

35. การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation)
(1) ความขัดแย้งศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม
(2) อํานาจของพระสันตะปาปาเสื่อมลง
(3) กลายเป็นสงครามศาสนา
(4) ต้นเหตุสงคราม 30 ปี
(5) เกิดเป็น 2 นิกายหลัก
ตอบ 1 หน้า 79, (คําบรรยาย) การปฏิรูปทางศาสนา (Reformation) เกิดขึ้นจากอํานาจของพระสันตะปาปาเสื่อมลงและเกิดความขัดแย้งในคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งผลจากการปฏิรูป ทําให้เกิดเป็น 2 นิกายหลัก คือ นิกายคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ และนําไปสู่สงคราม ศาสนาที่ยืดเยื้อในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1618 – 1648 หรือที่เรียกว่า สงคราม 30 ปี

36. การประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna)
(1) ประชุมเมื่อ ค.ศ. 1815
(2) เพื่อต่อต้านการแผ่ขยายอํานาจของฝรั่งเศส
(3) ผู้นําฝรั่งเศสขณะนั้นคือบิสมาร์ก
(4) ประชุมเพื่อสันติภาพ
(5) ผนึกกําลัง 5 รัฐยุโรป
ตอบ 3 หน้า 82 หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสจักรพรรดินโปเลียนซึ่งเป็นผู้นําฝรั่งเศสในขณะนั้นได้ทําสงคราม
ขยายดินแดนไปทั่วยุโรป รัฐในยุโรปจึงร่วมมือกันปราบปรามนโปเลียนได้สําเร็จในปี ค.ศ. 1815

และจัดระเบียบรักษาสันติภาพในยุโรปด้วยการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ในปี เดียวกัน นําไปสู่การผนึกกําลังระหว่างรัฐมหาอํานาจ 5 รัฐในยุโรป คือ ออสเตรีย อังกฤษ ปรัสเซีย ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งรวมเรียกว่า “วงอํานาจแห่งยุโรป” (Concert of Europe)

37. สงครามโลกครั้งที่ 1
(1) ออสเตรียประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย
(2) รัสเซียประกาศสงครามต่อฝรั่งเศส
(3) รัสเซียระดมพลช่วยเหลือเซอร์เบีย
(4) อังกฤษประกาศสงครามต่อเยอรมนี
(5) เยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 82 – 83, (คําบรรยาย) สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1914 – ค.ศ. 1918 โดยเริ่มต้นจากออสเตรียประกาศสงครามต่อเซอร์เบียร์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และตามมาด้วยการประกาศสงครามของประเทศพันธมิตรต่าง ๆ อันได้แก่ เยอรมนี ๆ ประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศส และอังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี

38. จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นเป็นผู้นําเยอรมนี
(2) เยอรมนีเข้ายึดครองโปแลนด์
(3) มุโสลินีก้าวขึ้นเป็นผู้นําฝรั่งเศส
(4) อังกฤษยอมให้เยอรมนียึดครองแคว้นสุเดเตน
(5) เยอรมนีเข้ายึดครองแคว้นสุเอเตน
ตอบ 3 หน้า 85 จุดเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นเป็นผู้นําเยอรมนี ส่วนมุโสลินีก้าวขึ้นเป็นผู้นําอิตาลี
2. ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียเข้ากับเยอรมนีและส่งทหารเข้ายึดครองแคว้นสุเดเป็นของ เชโกสโลวาเกีย อังกฤษเจรจากับเยอรมนีโดยยอมให้เยอรมนียึดครองแคว้นสุเอเตน ถ้าเยอรมนีรับรองว่าจะไม่เรียกร้องดินแดนอะไรจากเชโกสโลวาเกียอีก
3. เยอรมนีส่งทหารเข้ายึดครองโปแลนด์ อังกฤษกับฝรั่งเศสตอบโต้โดยยื่นคําขาดให้เยอรมนี ถอนทหารจากโปแลนด์แต่เยอรมนีไม่ปฏิบัติตาม อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงคราม ต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มขึ้น

39. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) เริ่ม ค.ศ. 1939
(2) สิ้นสุด ค.ศ. 1945
(3) คู่ต่อสู้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย
(4) อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี
(5) อิตาลีประกาศสงครามต่อเยอรมนี
ตอบ 5 หน้า 85, (ดูคําอธิบายข้อ 38. ประกอบ) สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1939 และ สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 โดยคู่ต่อสู้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Powers) ประกอบด้วย 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ฝรั่งเศส จีน และสหรัฐอเมริกา
2. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ประกอบด้วย 3 ประเทศหลัก ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

40. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied)
(1) อิตาลี
(2) สหภาพโซเวียต
(3) จีน
(4) ฝรั่งเศส
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41. การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) กองกําลังสหรัฐและอังกฤษขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี
(2) เยอรมนีประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข
(3) สหรัฐอเมริกาทิ้งปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945
(4) สหรัฐอเมริกาทิ้งปรมาณูที่เมืองนางาซากิในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945
(5) ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม
ตอบ 4 หน้า 86 การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

1. สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีในฝรั่งเศสนําไปสู่ชัยชนะในยุโรป โดยเยอรมนียอมแพ้โดยปราศจากเงื่อนไขในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และฮิตเลอร์ยิงตัวตาย

2. สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และทิ้งระเบิด ปรมาณูที่เมืองนางาซากิในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงยุติ

42. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
(1) จัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
(2) เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน
(3) ผู้ครอบครองเยอรมนีคือผู้ชนะสงคราม
(4) มีการลงโทษอาชญากรสงคราม
(5) มีการเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิยุโรป
ตอบ 1 หน้า 86 – 87 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
1. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อเป็นกลไกสําคัญสําหรับการเจรจาโดยสันติวิธี เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ
2. เยอรมนีถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนและถูกครอบครองโดยประเทศผู้ชนะสงคราม 4 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
3. มีการลงโทษอาชญากรสงคราม นาซีเยอรมันและญี่ปุ่นหลายคนถูกตัดสินประหารชีวิต
4. มีการเรียกร้องเอกราชจากจักรวรรดิยุโรป ทําให้มีประเทศใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจํานวนมาก เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า อินโดนีเซีย เป็นต้น

43. สาเหตุของสงครามเย็น
(1) ความแตกต่างทางอุดมการณ์การเมือง
(2) สหภาพโซเวียตนําฝ่ายคอมมิวนิสต์
(3) ความแตกต่างทางอุดมการณ์เศรษฐกิจ
(4) ทั้งสองฝ่ายทําการสู้รบทางทหารโดยตรง
(5) สหรัฐอเมริกานําฝ่ายเสรีประชาธิปไตย
ตอบ 4 หน้า 87, (คําบรรยาย) สงครามเย็น (Cold War) เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเสรี ประชาธิปไตยนําโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายคอมมิวนิสต์นําโดยสหภาพโซเวียต โดยมีสาเหตุ มาจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจ โดยลักษณะสงครามไม่ได้มีการใช้กองกําลังทหารเข้าสู้รบกันโดยตรง แต่เป็นการสู้กันโดยการแข่งขันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ 3 และการทําสงครามตัวแทน

44.แผนการมาร์แชล (Marshall Plan)
(1) แผนการของสหรัฐอเมริกา
(2) ช่วยเหลือเอเชียโดยเฉพาะ
(3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
(4) เสนอแนะโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจอร์จ ซี. มาร์แซล
(5) เพื่อขัดขวางการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์
ตอบ 2 หน้า 88 แผนการมาร์แชล (Marshall Plan) เสนอแนะโดยรัฐมนตรีต่างประเทศจอร์จ ซี. มาร์แซล (George C. Marshall) เป็นแผนการของสหรัฐอเมริกาในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่ประเทศยุโรป สร้างเสถียรภาพทางการเมืองและขัดขวางการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์

45. พันธมิตรทางทหารของสหรัฐอเมริกาในยุโรปและเอเชีย
(1) NATO
(2) CENTO
(3) SEATO
(4) Warsaw Pact
(5) ข้อ 1, 2 และ 3
ตอบ 4 หน้า 88 พันธมิตรทางทหารของสหรัฐอเมริกาในยุโรปและเอเชีย มีดังนี้
1. NATO (The North Atlantic Treaty Organization) ในยุโรป
2. CENTO (The Central Treaty Organization) ในเอเชียตะวันตก
3. SEATO (Southeast Asia Treaty Organization) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

46. วิกฤติการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis)
(1) เกิดจากสหภาพโซเวียตวางแผนส่งขีปนาวุธติดตั้งในคิวบา
(2) สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธไปยังเรือรบของสหภาพโซเวียต
(3) เหตุการณ์เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1962
(4)สหรัฐอเมริกาดําเนินมาตรการปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบา
(5) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นคือ ประธานาธิบดีเคนเนดี้ (John F. Kennedy)
ตอบ 2 หน้า 26, 89, (คําบรรยาย) วิกฤติการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เนื่องจากสหภาพโซเวียตวางแผนส่งขีปนาวุธไปติดตั้งในคิวบา ทําให้สหรัฐอเมริกาเกิดความหวาดกลัวว่าการติดตั้งขีปนาวุธจะมี ผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเคนเนดี้ (John F. Kennedy) ของ สหรัฐอเมริกาจึงได้ดําเนินมาตรการปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบาและยื่นคําขาดให้สหภาพโซเวียต ถอนขีปนาวุธออกจากคิวบามิฉะนั้นจะบุกคิวบาและทําลายขีปนาวุธเสียเอง วิกฤติการณ์ครั้งนี้ สิ้นสุดลงโดยการเจรจาขององค์การสหประชาชาติ ทําให้สหภาพโซเวียตยอมถอนขีปนาวุธออกจากคิวบาโดยสันติ

47. การทูตปิงปอง (Ping Pong Diplomacy)
(1) การปรับความสัมพันธ์สหภาพโซเวียตกับจีน
(2) การปรับความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกากับจีน
(3) การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง
(4) เกิดขึ้นในช่วง 1970s
(5) ใช้กีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 30. ประกอบ

48. นโยบายอยู่ร่วมโดยสันติ (Peaceful Coexistence)
(1) ท่าทีประนีประนอมของจีนต่อสหรัฐอเมริกา
(2) ประธานาธิบดีนิกสัน (Richard M. Nixon) แห่งสหรัฐฯ ตอบรับ
(3) ตัวแทนสหรัฐฯ ผู้เดินทางไปเจรจากับจีนคือ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger)
(4) ประธานาธิบดีนิกสันเดินทางเยือนต่อจากคิสซิงเจอร์
(5) มีการลงนาม “แถลงการณ์ร่วมปักกิ่ง” (Beijing Communique)
ตอบ 5 หน้า 89 ในช่วง 1970s จีนได้แสดงท่าทีประนีประนอมกับสหรัฐอเมริกาด้วยการเสนอ นโยบายอยู่ร่วมโดยสันติ (Peaceful Coexistence) โดยจีนได้เสนอให้สหรัฐอเมริกาส่งผู้แทน ที่มีอํานาจมาเจรจาเกี่ยวกับการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาให้เป็นปกติ ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้สูงที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง ดร.เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) ไปเจรจากับจีนอย่างลับ ๆ ในปี ค.ศ. 1971 ต่อมาจีนได้เชิญประธานาธิบดีนิกสัน (Richard ๆ M. Nixon) ไปเยือนในปี ค.ศ. 1972 และนําไปสู่การลงนามใน “แถลงการณ์ร่วมเซี่ยงไฮ้”
(Shanghai Communique) ซึ่งการปรับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกานั้นถือเป็น จุดเปลี่ยนที่สําคัญในการเมืองโลกในยุคสงครามเย็น

49. การเปลี่ยนแปลงของสหภาพโซเวียตก่อนสิ้นสุดสงครามเย็น
(1) นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
(2) ใช้นโยบายเปิดกว้าง (Glasnost)
(3) ใช้นโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้าง (Perestroika)
(4) นโยบายของกอร์บาชอฟทําให้อํานาจของพรรคคอมมิวนิสต์เบ็ดเสร็จมากขึ้น
(5) การเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ตอบ 4 หน้า 90 การเปลี่ยนแปลงของสหภาพโซเวียตก่อนสิ้นสุดสงครามเย็นที่สําคัญก็คือ การที่ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ขึ้นดํารงตําแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ โดยกอร์บาชอฟตัดสินใจปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพโซเวียตด้วยนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) คือ เปิดประเทศให้กว้างขึ้น ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยให้ประชาชนมีอิสระ ในการแสดงความคิดเห็นของตน และนโยบายปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ (Perestroika) คือ การปรับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพโซเวียตให้คลายจากความชะงักงัน เพื่อยกระดับ มาตรฐานการครองชีพของประชาชนชาวโซเวียตให้ดีขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อํานาจของพรรค คอมมิวนิสต์ที่เคยควบคุมเบ็ดเสร็จลดลง รัฐต่าง ๆ ซึ่งรวมกันเป็นสหภาพโซเวียตได้ตัดสินใจ แยกตัวเป็นอิสระ นําไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991

50. รัฐที่แยกออกมาจากสหภาพโซเวียต
(1) Moldova
(2) Russia
(3) Ukraine
(4) Yugoslavia
(5) Latvia
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 31. ประกอบ

51. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง
(1) การทูต
(2) องค์การระหว่างประเทศ
(3) กฎหมายระหว่างประเทศ
(4) พันธมิตร
(5) โฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) เครื่องมือทางการเมือง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. การทูต 2. องค์การระหว่างประเทศ 3. กฎหมายระหว่างประเทศ 4. พันธมิตร

52.กระแส K-Waveของเกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงความสําเร็จในการใช้เครื่องมือประเภทใดมากที่สุด
(1) การเมือง
(2) เศรษฐกิจ
(3) ข้อมูลข่าวสาร
(4) ทหาร
(5) การเจรจา
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การทูตสาธารณะ ถือเป็นเครื่องมือด้านข้อมูลข่าวสารประเภทหนึ่ง โดยการทูตสาธารณะเป็นการสื่อสารโดยรัฐที่มุ่งเป้าหมายหลักไปที่ปัจเจกบุคคลและเอกชน เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศของตน โดยสามารถทําได้ผ่านวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่การ ให้ข้อมูล การเผยแพร่วัฒนธรรม และการศึกษา ตัวอย่างของการทูตสาธารณะ เช่น กระแส K-Wave ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีใต้ออกไปทั่วโลก โดยผ่านสื่อบันเทิง เช่น เพลง ภาพยนตร์ เป็นต้น

53. “รัฐ A ส่งออกสินค้าของตนไปยังรัฐ B โดยที่ราคาส่งออกนั้นต่ำกว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกัน ที่จําหน่ายเพื่อการบริโภคภายในรัฐ A” รัฐ A ดําเนินมาตรการทางเศรษฐกิจแบบใด
(1) Tariff
(2) Subsidy
(3) Quota
(4) Dumping
(5) Boycott
ตอบ 4 หน้า 55, (คําบรรยาย) การทุ่มสินค้า/การทุ่มตลาด (Dumping) คือ การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศในราคาที่ต่ํากว่าขายภายในประเทศ หรือขายในราคาต่ํากว่าต้นทุนการผลิต เช่น รัฐ A
ส่งออกสินค้าของตนไปยังรัฐ B โดยที่ราคาส่งออกนั้นต่ํากว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกัน ที่จําหน่ายเพื่อการบริโภคภายในรัฐ A เป็นต้น ทั้งนี้การทุ่มตลาดมีเป้าหมายหลายประการ เช่น ทําให้สินค้าที่ตกค้างอยู่สามารถขายยังต่างประเทศได้ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศตนเอง แนะนํา สินค้าใหม่ให้เป็นที่รู้จัก ทําให้คู่แข่งขันอ่อนแอลงจนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด เป็นต้น

54. ข้อใดกล่าวถึงการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ได้ถูกต้อง
(1) เป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของประเทศกําลังพัฒนา
(2) เป็นสิทธิพิเศษทางศุลกากรแบบต่างตอบแทน
(3) สิทธิ GSP เป็นการให้แบบมีเงื่อนไข
(4) เป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของสมาชิก WTO
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) GSP (Generalized System of Preference) เป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษี ศุลกากรของประเทศพัฒนาแล้วแก่ประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยเป็นการลดภาษีสินค้านําเข้าให้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สินค้าจากประเทศกําลังพัฒนาและด้อยพัฒนาสามารถแข่งขันกับ สินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วได้ โดยสิทธิ GSP นี้ถือเป็นการให้ฝ่ายเดียว (Unilateral) กล่าวคือ ประเทศที่ให้สิทธิ GSP นั้นไม่ได้เรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ ตอบแทนจากประเทศผู้รับ แต่การ ให้สิทธิ GSP นี้ก็เป็นการให้แบบมีเงื่อนไข กล่าวคือประเทศผู้รับจะต้องมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไข ต่าง ๆ ตามที่ประเทศผู้ให้สิทธิกําหนด

55. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือทางการทหารในยามสันติ
(1) การดําเนินยุทธวิธี
(2) การซ้อมรบร่วม
(3) การเดินสวนสนาม
(4) การทูตทหาร
(5) การบรรเทาภัยพิบัติ
ตอบ 1(คําบรรยาย) เครื่องมือทางการทหารในยามสันติ ได้แก่
1. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้แก่ การแทรกแซงด้านมนุษยธรรม การบรรเทา ภัยพิบัติ การสร้างสันติภาพ และการรักษาสันติภาพ
2. การประจําการและการรับประกันความมั่นคงปลอดภัย เช่น การลาดตระเวน การเดิน สวนสนาม การซ้อมรบภายใน เป็นต้น
3. การทูตทหาร ได้แก่ การให้รับการฝึกซ้อม การซ้อมรบร่วม และการซื้อขายอาวุธ
4. การสนับสนุนเครื่องมือของรัฐอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องมือทางการทหาร เช่น การใช้เครื่องมือ ด้านการทหารเพื่อข่มขู่หรือสร้างความตกใจให้แก่เป้าหมาย เป็นต้น

56. “การส่งกองกําลังสหประชาชาติเข้าไปดูแลเฝ้าระวังและ/หรือป้องกันสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามบานปลาย
เป็นการใช้เครื่องมือทางการทหารในการช่วยเหลือเรื่องใด
(1) Disaster Relief
(2) Peacemaking
(3) Peacekeeping
(4) Peacebuilding
(5) Peace Enforcement
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การรักษาสันติภาพ (Peacekeeping) เป็นการส่งกองกําลังสหประชาชาติ เข้าไปดูแลเฝ้าระวังและ/หรือป้องกันสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามบานปลาย

57. รัฐต้องคํานึงถึงสิ่งใดบ้างในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเภท
(1) ต้นทุน
(2) ความเสี่ยง
(3) ประสิทธิผล
(4) จังหวะเวลา
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 (คําบรรยาย) สิ่งที่รัฐต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละประเภทในการดําเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ต้นทุน (Cost)
2. ความเสี่ยง (Risk)
3. ประสิทธิผล (Effectiveness)
4. ลําดับในการเลือกใช้เครื่องมือ (Sequence)
5. จังหวะเวลาในการใช้เครื่องมือ (Timing)

58. ข้อใดคือสถานะของประเทศสมาชิก WTO ที่ได้รับอัตราภาษีนําเข้าที่ดีที่สุดจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ
(1) MSN
(2) GSP
(3) MFN
(4) PCT
(5) MMS
ตอบ 3 (คําบรรยาย) การให้สถานะประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation : MFN) เป็นการให้สถานะแก่ประเทศสมาชิก WTO ในการได้รับอัตราภาษีนําเข้าที่ดีที่สุดจาก ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ของ WTO

59. ข้อใดถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
(1) การลดค่าเงินเยนของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980
(2) ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในช่วง 1652 – 1654
(3) สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วงทศวรรษที่ 1980
(4) ข้อพิพาทเขาพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา
(5) การรุกรานของเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ 1930
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีปัจจัยมาจากประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม
เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากประเด็นดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เช่น ความขัดแย้งระหว่างเผ่า Tutsi กับ Hutu ในรวันดา ระหว่างปี ค.ศ. 1994 – 1997 เป็นต้น
2. ความแตกต่างทางด้านศาสนาและความเชื่อ เช่น สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่านในช่วง ทศวรรษที่ 1980 อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาอิสลามต่างนิกาย เป็นต้น
3. ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น สหราชอาณาจักรงดการนําเข้ามะพร้าว จากไทยเพื่อตอบโต้การที่ไทยใช้แรงงานสัตว์ (ลิง) ในการเก็บมะพร้าว เป็นต้น

60. ข้อใดเรียงลําดับพัฒนาการของความสัมพันธ์จากปกติไปสู่สงครามได้ถูกต้อง
(1) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์สงคราม
(2) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์สงคราม
(3) ความสัมพันธ์แบบปกติ ความตึงเครียด-วิกฤติการณ์ความขัดแย้ง-สงคราม
(4) ความสัมพันธ์แบบปกติ-วิกฤติการณ์ ความตึงเครียด-ความขัดแย้ง-สงคราม
(5) ความสัมพันธ์แบบปกติ-ความขัดแย้ง-วิกฤติการณ์-ความตึงเครียด-สงคราม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) พัฒนาการของความสัมพันธ์ของรัฐจากปกติไปสู่สงคราม สามารถเรียงลําดับ ได้ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์แบบปกติ 2. ความขัดแย้ง 3. ความตึงเครียด 4. วิกฤติการณ์ 5. สงคราม

61. สงครามครั้งใดเป็นสงครามแบบเบ็ดเสร็จ
(1) สงครามเวียดนาม
(2) สงครามโลกครั้งที่ 1, 2
(3) สงครามเกาหลี
(4) สงครามอิรัก-อิหร่าน
(5) สงครามเย็น
ตอบ 2 หน้า 49 สงครามแบบเบ็ดเสร็จ (Total War) เป็นสงครามที่มีการต่อสู้ในอาณาเขตที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยไม่มีการจํากัดจุดประสงค์ในการต่อสู้ ไม่มีการจํากัดจํานวนทหาร และชนิดหรือจํานวนของอาวุธที่นํามาใช้ในการต่อสู้ รัฐต่าง ๆ ทั่วโลกอาจจะเข้าร่วมใน สงครามชนิดนี้ ยกเว้นรัฐที่เป็นกลางตามกฎหมาย เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ตัวอย่างของสงคราม ชนิดนี้ ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

62. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการทําสงครามข้อมูลข่าวสาร
(1) การติดแฮชแท็ก #GodSaveTheQueen และ #Thanks Friends
(2) การรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตในสงครามน้อยกว่าตัวเลขจริง
(3) การเผยแพร่ภาพอาวุธของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกทําลาย
(4) การนํารายชื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรงข้ามขึ้นบัญชีดํา
(5) การส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าไปทําลายข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การทําสงครามข้อมูลข่าวสาร (Information Warfare) คือ การใช้เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารมาใช้ในการควบคุม บ่อนทําลาย การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยวิธีการล้วงข้อมูล บิดเบือนข้อมูล หรือทําลายข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม เช่น การรายงานจํานวนผู้เสียชีวิตในสงคราม น้อยกว่าตัวเลขจริง การเผยแพร่ภาพอาวุธของฝ่ายตรงข้ามที่ถูกทําลาย การนํารายชื่อเจ้าหน้าที่ ฝ่ายตรงข้ามขึ้นบัญชีดํา การส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าไปทําลายข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น

63. การก่อเหตุวินาศกรรมบนสะพานเวสต์มินสเตอร์กลางกรุงลอนดอนในปี 2017 เป็นการก่อการร้ายประเภทใด
(1) Lone Terrorism
(2) Insurrectionary Terrorism
(3) Nationalist Terrorism
(4) Global Terrorism
(5) Cyber Terrorism
ตอบ 1(คําบรรยาย) การก่อการร้ายเดี่ยว (Lone Terrorism) เป็นการก่อการร้ายที่มีผู้ก่อการเพียงคนเดียว ซึ่งเป้าหมายของการก่อการร้ายอาจจะเป็นการต่อต้านประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทางการเมืองก็ได้ เช่น เหตุการณ์โจมตีอาคารสหพันธ์อัลเฟรด เมอร์ ในเมืองโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกาในปี 1995 การก่อเหตุวินาศกรรมบนสะพานเวสต์มินสเตอร์กลางกรุงลอนดอน ในปี 2017 เป็นต้น

64. ข้อใดคือ “สํานักข่าวกรองแห่งชาติ” ของไทยที่ทําหน้าที่กําหนดมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
(1) CIA
(2) FBI
(3) SIS
(4) DSI
(5) NIA
ตอบ 5 (คําบรรยาย) หน่วยข่าวกรอง ซึ่งทําหน้าที่กําหนดมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศ ต่าง ๆ มีดังนี้ 1. สํานักงานข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency : CIA) ของ สหรัฐอเมริกา 2. หน่วยข่าวกรองลับ (Secret Intelligence Service : SIS) ของอังกฤษ 3. สํานักข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Agency : NIA) ของไทย ฯลฯ

65. การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่อํานวยความสะดวกเพื่อให้ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากันและประเทศที่สามเข้าร่วมในการเจรจาด้วย เป็นลักษณะของวิธีการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีแบบใด
(1) Third Party
(2) Mediation
(3) Arbitration
(4) Adjudication
(5) UNSC
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การไกล่เกลี่ย (Mediation) คือ การเสนอตัวของประเทศที่สามในการทําหน้าที่ อํานวยความสะดวกเพื่อให้ประเทศคู่ขัดแย้งได้เจรจากันและประเทศที่สามเข้าร่วมในการเจรจาด้วย

66. ขบวนการไรซ์สบัวร์เกอร์ (Reichsbuerger) ในเยอรมนีถือว่าเป็นการก่อการร้ายประเภทใด
(1) Lone Terrorism
(2) Insurrectionary Terrorism
(3) Nationalist Terrorism
(4) Global Terrorism
(5) Cyber Terrorism
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การก่อการร้ายเพื่อล้มอํานาจ (Insurrectionary Terrorism) เป็นการก่อการร้าย ของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาลเพื่อโค่นล้มหรือแย่งชิงอํานาจรัฐบาล เช่น ขบวนการไรซ์สบัวร์เกอร์(Reichsbuerger) ในเยอรมนี เป็นต้น

67. “เอกสิทธิ์ทางการทูต” เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากแหล่งกําเนิดใด
(1) Self-Generating Cooperation
(2) Institutions
(3) Hegemonic Power
(4) Interdependence
(5) Integration
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Self-Generating Cooperation เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกิดจาก ความยินยอมพร้อมใจ เกิดจากการที่ตัวแสดงเห็นว่าหากมาร่วมมือกันจะนํามาซึ่งผลประโยชน์ ร่วมกัน ความร่วมมือในลักษณะนี้อยู่ภายใต้หลักการต่างตอบแทน เช่น การให้เอกสิทธิ์ ทางการทูต เป็นต้น

68. ข้อใดไม่ใช่ระบอบระหว่างประเทศ
(1) ระบอบการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์
(2) ระบอบปิตาธิปไตย
(3) ระบอบการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ
(4) ระบอบอนุรักษ์แอนตาร์กติก
(5) ระบอบอนุรักษ์แม่น้ําไรน์
ตอบ 2 หน้า 122, (คําบรรยาย) ตัวอย่างของระบอบระหว่างประเทศ ได้แก่
1. ระบอบด้านการค้าระหว่างประเทศ
2. ระบอบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ
3. ระบอบการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์
4. ระบอบการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ
5. ระบอบอนุรักษ์แม่น้ําไรน์
6. ระบอบอนุรักษ์แอนตาร์กติก

69. “การรวมตัวทางการเมืองตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปเป็นสหพันธรัฐโดยสนับสนุนการบูรณาการที่มีสถาบันเหนือรัฐ หรือรัฐยอมมอบอํานาจอธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลาง” เป็นข้อเสนอของแนวคิดใด
(1) Federalism
(2) Functionalism
(3) Neo-Functionalism
(4) Transnationalism
(5) Regionalism
ตอบ 1 (คําบรรยาย) แนวคิดสหพันธรัฐนิยม (Federalism) คือ การรวมตัวทางการเมืองตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปเป็นสหพันธรัฐ โดยสนับสนุนการบูรณาการที่มีสถาบันเหนือรัฐ หรือรัฐยอมมอบ อํานาจอธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลกลาง ซึ่งแนวคิดนี้เคยถูกเสนอโดยอัลติเอโร สปีเนลลี (Altiero Spinelli) ในการรวมกลุ่มแบบก้าวกระโดดเพื่อจัดตั้งสหพันธรัฐแห่งยุโรปในช่วงแรก แต่แนวคิดดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม

70. ข้อใดเรียงลําดับการบูรณาการเศรษฐกิจ 5 ขั้นได้ถูกต้อง
(1) เขตการค้าเสรี-ตลาดร่วม-สหภาพศุลกากร-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
(2) สหภาพศุลกากร เขตการค้าเสรี-ตลาดร่วม-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
(3) สหภาพเหนือรัฐ-สหภาพทางเศรษฐกิจ-ตลาดร่วม-สหภาพศุลกากร เขตการค้าเสรี
(4) เขตการค้าเสรี-สหภาพศุลกากร-ตลาดร่วม-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
(5) ตลาดร่วม-เขตการค้าเสรี-สหภาพศุลกากร-สหภาพทางเศรษฐกิจ-สหภาพเหนือรัฐ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) การบูรณาการทางเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (Customs Union)
1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area)
2. สหภาพศุลกากร
3. ตลาดร่วม (Common/Single Market)
4. สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union)
5. สหภาพเหนือรัฐ (Supranational Union)

71. “เน้นความร่วมมือระหว่างรัฐในภารกิจหรือประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกันโดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกลาง เพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” เป็นข้อเสนอของแนวคิดใด
(1) Federalism
(2) Functionalism
(3) Neo-Functionalism
(4) Transnationalism
(5) Regionalism
ตอบ 3 (คําบรรยาย) แนวคิดภารกิจนิยมใหม่ (Neo-Functionalism) เป็นแนวคิดที่ปรับปรุงมาจาก แนวคิดภารกิจนิยม (Functionalism) โดยเน้นความร่วมมือระหว่างรัฐในภารกิจหรือประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกันโดยให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

72. องค์กรใดในสหภาพยุโรปที่ทําหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
(1) คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
(2) สภายุโรป
(3) ศาลยุติธรรมยุโรป
(4) ธนาคารกลางยุโรป
(5) คณะกรรมาธิการยุโรป
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่ เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป โดยรับผิดชอบการออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป รวมไปถึงดําเนินกิจการต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย

73. วัตถุประสงค์อันเป็นหลักการในการก่อตั้งองค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) คืออะไร
(1) Collective Defense
(2) Collective Action
(3) Complex Interdependence
(4) Collective Security
(5) Security Dilemma
ตอบ 1 หน้า 222, (คําบรรยาย) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อสร้างความร่วมมือทางทหารของประเทศสองฝั่งแอตแลนติก มีวัตถุประสงค์ เพื่อการป้องกันร่วม (Collective Defense) และถ่วงดุลอํานาจกับประเทศคอมมิวนิสต์ โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

74. อาเซียนใช้ระบบใดในการลงมติ
(1) ระบบเสียงข้างมาก
(2) ระบบเสียง 2 ใน 3
(3) ระบบเสียง 3 ใน 4
(4) ระบบฉันทามติ
(5) ขึ้นอยู่กับรัฐสมาชิกตกลงกันในแต่ละครั้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) อาเซียน (ASEAN) ใช้ระบบฉันทามติ (Consensus) ในการลงมติหรือตัดสินใจ ในญัตติต่าง ๆ ของอาเซียน โดยอาศัยความเห็นชอบของผู้แทนรัฐสมาชิกทั้งหมดเป็นฉันทานุมัติ

75. ประเทศใดไม่ใช่ประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1) มาเลเซีย
(2) เวียดนาม
(3) สิงคโปร์
(4) อินโดนีเซีย
(5) ฟิลิปปินส์
ตอบ 2 หน้า 180 – 181, (ค่าบรรยาย) สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 โดยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ของประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบัน (ค.ศ. 2024) อาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมา (พม่า) และกัมพูชา

76. ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด
(1) UNSC, CSCAP, ISEAS, CSIS
(2) Greenpeace, Human Rights Watch, FIFA, WaterAid
(3) WEF, Amnesty International, Oxfam, UNESCO
(4) YMCA, WTO, Mercy Corps, RAND Corporation
(5) IISS, CSCAP, LMC, Humanists International
ตอบ 2 (คําบรรยาย) องค์กรระหว่างประเทศ หมายถึง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีการ จัดตั้งขึ้นมาโดยสมาชิกไม่ใช่รัฐ แต่สมาชิกอาจเป็นบุคคล เอกชน บริษัท หรือภาคประชาสังคม Greenpeace, Human Rights Watch, World Economic Forum (WEF), Amnesty International, Oxam, IISS, FIFA, WaterAid เป็นต้น

77. องค์การระหว่างประเทศองค์การแรกของโลกที่จัดตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1815 คือ
(1) Congress of Vienna
(2) League of Nations
(3) Schmalkaldic League
(4) Hague Convention
(5) Central Commission for the Navigation of the Rhine
ตอบ 5 (คําบรรยาย) คณะกรรมการกลางว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ําไรน์ (Central Commission for the Navigation of the Rhine : CCNR) เป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรก ของโลก ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1815 ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม

78. ข้อใดต่อไปนี้เป็น Functionalis: International Organizations ทั้งหมด
(1) GMS, ACMECS, IMT-GT, ACD
(2) ICJ, ICC, PCA, ICTY
(3) ARF, EU, AU, ECOWAS
(4) ICAO, WHO, UPU, WMO
(5) ECSC, EEC, EURATOM, ECJ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) องค์การระหว่างประเทศเฉพาะหน้าที่ (Functionalist International Organizations) คือ องค์การระหว่างประเทศที่ทําหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น องค์การการบิน พลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO), องค์การอนามัยโลก (WHO), สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU), องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO), องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), คณะกรรมการกลางว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ำไรน์ (CCNR) เป็นต้น
ทั้งหมด

79. ข้อใดต่อไปนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) ทั้งหมด
(1) Dialogue Partner System, ASEAN + 3, East Asia Summit, ASEAN Outlook on Indo-Pacific
(2) ASEAN Defense Ministerial Meeting Plus, ASEAN Regional Forum, ASEAN Ministerial Meeting, ASEAN + 6
(3) Regional Comprehensive Economic Partnership, Trans-Pacific Partnership, Greater Mekong Subregion, ASEAN Summit
(4) ASEAN + 1, ASEAN + 8, ASEAN Minus, Asia-Europe Meeting
(5) ASEAN Charter, Treaty cf Amity and Cooperation, ASEAN Troika, Zone of Peace, Freedom and Neutrality
ตอบ 1 (คําบรรยาย) สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) มีดังนี้
1. ระบบคู่เจรจา (Dialogue Partner System)
2. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF)
3. การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS)
4. ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP)
5. มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on Indo-Pacific : AOIP) 6. อาเซียน + 3 (ASEAN + 3) ฯลฯ

80. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปัจจุบัน
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(3) สหราชอาณาจักร
(4) สาธารณรัฐจีน
(5) สหพันธรัฐรัสเซีย
ตอบ 4 หน้า 146, 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย สมาชิกทั้งหมด 15 ประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สมาชิกถาวร (Permanent Members) ประกอบด้วยประเทศผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ฝรั่งเศส รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมาชิกประเภทนี้จะมีสิทธิพิเศษในการยับยั้งหรือวีโต้ (Veto) มติใด ๆ ก็ได้ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

2. สมาชิกหมุนเวียนหรือสมาชิกไม่ถาวร (Non-Permanent Members) มี 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอยู่ในตําแหน่งคราวละ 2 ปี

81. หน่วยงานใดของสหประชาชาติที่ไม่มีการดําเนินการแล้วในปัจจุบัน
(1) United Nations General Assembly
(2) Secretariat
(3) International Court of Justice
(4) Economic and Social Council
(5) Trusteeship Council
ตอบ 5 หน้า 166 – 167, (คําบรรยาย) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) แห่ง สหประชาชาติ เป็นหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลดินแดนที่ยังไม่ได้รับเอกราชภายใต้ระบบของ สหประชาชาติ แต่ปัจจุบันได้ยุติการดําเนินการลงแล้ว โดยหยุดการดําเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1994 และจะประชุมเฉพาะเรื่องพิเศษในคราวจําเป็นเท่านั้น

82. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดเป็น Atrocity Crimes
(1) Genocide
(2) Ethnic Cleansing
(3) War Crimes
(4) Crimes against Humanity
(5) Crimes of Aggression
ตอบ 5(คําบรรยาย) อาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติ (Atrocity Crimes) มี 4 ประเภท คือ
1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)
2. การชําระล้างชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing)
3. อาชญากรรมสงคราม (War Crimes)
4. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes against Humanity)

83. ข้อใดต่อไปนี้จับคู่หลักการกับกลไกระหว่างประเทศในการจัดการสันติภาพผิด
(1) Cuius Regio, Elus Religic ของ Peace of Westphalia
(2) Balance of Terror ของ Congress of Vienna
(3) Collective Security ของ League of Nations
(4) Collective Responsibility ของ United Nations
(5) ไม่มีข้อใดผิด
ตอบ 2 (คําบรรยาย) หลักการหรือกลไกระหว่างประเทศในการจัดการสันติภาพ มีดังนี้
1. หลักการ Cuius Regio, Elus Religio ของ Peace of Westphalia
2. หลักการถ่วงดุลอํานาจ (Balance of Power) ของ Congress of Vienna
3. หลักความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security) ของ League of Nations
4. หลักความรับผิดชอบร่วมกัน (Collective Responsibility) ของ United Nations

84.SAARC คือสมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคใด
(1) แอฟริกา
(2) เอเชีย
(3) เอเชียเหนือ
(4) เอเชียใต้
(5) แอฟริกาตะวันออก
ตอบ 4(คําบรรยาย) สมาคมความร่วมมือส่วนภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian Association for Regional Cooperation : SAARC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1985 เป็นองค์กรความร่วมมือองค์กรแรก ในภูมิภาคเอเชียใต้ ปัจจุบัน (ค.ศ. 2024) ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา โดยมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล

85.BIMSTEC เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุทวีป มีสมาชิก……ประเทศ
(1) 5
(2) 8
(3) 4
(4) 6
(5) 7
ตอบ 5 หน้า 223 ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ และเศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการและเศรษฐกิจในอ่าวเบงกอล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย

86. ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคใดบ้างมีศาลยุติธรรมเป็นของตนเอง
(1) EU และ ASEAN
(2) ASEAN และ SAARC
(3) SAARC และ MERCOSUR
(4) MERCOSUR และ AU
(5) AU และ EU
ตอบ 5 หน้า 178 – 179, (คําบรรยาย) ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศส่วนภูมิภาคที่มีศาลยุติธรรม เป็นของตนเอง ได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union : EU) และสหภาพแอฟริกา (African
Union : AU)

87. ประเทศใดต่อไปนี้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในช่วงสงครามเย็นทั้งหมด
(1) ไทย, ลาว, ฟิลิปปินส์
(2) ไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย
(3) อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไนดารุสซาลาม
(4) สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เมียนมา
(5) มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม
ตอบ 3 หน้า 181, (คําบรรยาย) การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. ในช่วงสงครามเย็น (ค.ศ. 1947 – ค.ศ. 1991) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ไทย และบรูไนดารุสซาลาม
2. ในช่วงหลังสงครามเย็น (หลัง ค.ศ. 1991) ได้แก่ เวียดนาม ลาว เมียนมา และกัมพูชา

88. ต้นธารความคิดของการจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ASEAN + 3 คือ
(1) SWAP Arrangement
(2) East Asia Economic Group
(3) Asian Monetary Fund
(4) Preferential Trading Arrangement
(5) Free Trade Area
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การจัดตั้งกรอบความร่วมมือ ASEAN + 3 เกิดจากแนวคิด East Asia Economic Group ในปี ค.ศ. 1991 ของมหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โดย ASEAN + 3 เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศจากเอเชีย ตะวันออกอีก 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

89. ข้อใดคือเป้าหมาย 3 ขั้นของ ASEAN Regional Forum
(1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง, ประชาคมเศรษฐกิจ, ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
(2) มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ, การทูตเชิงป้องกัน, กลไกในการจัดการความขัดแย้ง
(3) ส่งเสริมประชาธิปไตย, ปกป้องสิทธิมนุษยชน, ต่อต้านการคอร์รัปชั่น
(4) สร้างตลาดเดียว, สร้างความสามารถทางการแข่งขัน, เป็นภูมิภาคที่มีพลวัต
(5) ไม่แทรกแซงกิจการภายใน, ฉันทามติ, แก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
ตอบ 2 (คําบรรยาย) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) เป็นการประชุมเพื่อหารือระหว่างประเทศ สมาชิกในประเด็นทางการเมืองและความมั่นคงที่มีความสนใจและความกังวลร่วมกันเพื่อ เสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการประชุม ARF นี้มีเป้าหมาย 3 ขั้น คือ
1. มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measure)
2. การทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy)
3. กลไกในการจัดการความขัดแย้ง (Conflict Resolution Mechanism)

90. ข้อใดไม่ใช่หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) ตามฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ค.ศ. 1989
(1) Liberalization
(2) Privatization
(3) Democratization
(4) Deregulation
(5) Stabilization
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักการของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) ตามฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus) ค.ศ. 1989 มี 4 ประการ คือ
1. Liberalization
2. Deregulation
3. Privatization
4. Stabilization

91. สงครามประเภทใดใช้อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction)
(1) สงครามเคมี
(2) สงครามเย็น
(3) สงครามตัวแทน
(4) สงครามโจมตีก่อน
(5) สงครามป้องกันตัวเอง
ตอบ 1(คําบรรยาย) อาวุธที่มีการทําลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction) คือ อาวุธที่สามารถ สังหารมนุษย์ สัตว์หรือพืชในจํานวนมาก และอาจทําลายสภาพแวดล้อมของโลกอย่างมหาศาล โดยสงครามที่ใช้อาวุธประเภทนี้ ได้แก่ สงครามนิวเคลียร์ สงครามเคมี และสงครามชีวภาพ

92. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์
(1) Non-Proliferation Treaty
(2) Nuclear Security Summits
(3) Convention on Nuclear Safety
(4) Strategic Arms Reduction Talk
(5) Strategic Arms Limitation Talk

ตอบ 3 (คําบรรยาย) กลไกที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ มีดังนี้
1. Nuclear Non-Proliferation Treaty
2. Nuclear Security Summits
3. Intermediate-Range Nuclear Force Treaty
4. Strategic Arms Limitation Talk
5. Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty
6. Anti-Ballistic Missile Treaty
7. Strategic Arms Reduction Talk ฯลฯ

93. ข้อใดเป็นผลของเศรษฐกิจแบบลัทธิเสรีนิยมคลาสสิก
(1) การพัฒนาประชาธิปไตย
(2) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
(3) การปลดแอกจากเจ้าอาณานิคม
(4) ลัทธิชาตินิยม
(5) การล่าอาณานิคม
ตอบ 5(คําบรรยาย) ลัทธิเสรีนิยมคลาสสิก (Classical Liberalism) เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจของ อดัม สมิธ (Adam Smith) ซึ่งเสนอให้ใช้กลไกตลาดเป็นตัวนําในการพัฒนาโดยรัฐเข้าแทรกแซง เศรษฐกิจให้น้อยที่สุด ซึ่งผลของเศรษฐกิจแบบลัทธิเสรีนิยมคลาสสิกนี้จะทําให้เกิดระบอบ ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ นั่นคือ “ระบอบอาณานิคม” ขึ้นมา

94. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวกับเสรีนิยมฝังราก (Embedded Liberalism)
(1) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(3) มาตรฐานทองคํา
(4) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(5) แนวทางเศรษฐกิจแบบเคนส์เซียน (Keynesian Economy)
ตอบ 1 (คําบรรยาย) เสรีนิยมฝังราก (Embedded Liberalism) คือ แนวทางเศรษฐกิจแบบ เคนส์เซียน (Keynesian Economy) ตามแนวคิดของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ซึ่งผลของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมฝังรากทําให้เกิด
1. ระบบ Bretton Woods
2. มาตรฐานทองคํา
3. ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD)
4. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ

95. กรอบความร่วมมือใดไม่มีจีนเป็นประเทศสมาชิก
(1) RCEP
(2) CPTPP
(3) EAS
(4) SCO
(5) BRICS
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ความตกลงแบบครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้น
แปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership : CPTPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างสมาชิก ทั้งในประเด็นคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม และกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาล และนักลงทุนต่างชาติ โดยมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม

96. จากข้อมูลของ Federation of American Scientists (FAS) หัวข้อ “Estimated Global Nuclear Warhead Inventories” ในปี ค.ศ. 2023 ประเทศใดมีขีดความสามารถทางด้านอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด
(1) สหพันธรัฐรัสเซีย
(2) สหรัฐอเมริกา
(3) สหราชอาณาจักร
(4) สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(5) ไม่สามารถระบุได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) จากข้อมูลของ Federation of American Scientists (FAS) หัวข้อ “Estimated Global Nuclear Warhead Inventories” ในปี ค.ศ. 2023 ประเทศที่มีขีดความสามารถ ทางด้านอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด คือ สหพันธรัฐรัสเซีย รองลงมาตามลําดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร

97. ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในการประชุม COP28 ในปี ค.ศ. 2023
(1) สหราชอาณาจักร
(2) สาธารณรัฐเกาหลี
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(5) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ตอบ 4(คําบรรยาย) การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 (COP28) ในปี ค.ศ. 2023 จัดขึ้นที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งประเด็นไปที่การหารือเกี่ยวกับมาตรการเพื่อรักษาไม่ให้อุณหภูมิ พื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5°C พร้อมเรียกร้องข้อตกลงให้ทุกประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นต้นตอสําคัญที่สร้างผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน

98. ประเทศใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มบริคส์ (BRICS)
(1) อินเดีย
(2) รัสเซีย
(3) จีน
(4) บราซิล
(5) สิงคโปร์
ตอบ 5 (คําบรรยาย) BRICS เป็นคําศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยนายจิม โอนีลล์ (Jim O’Neil) หัวหน้าทีมวิจัย เศรษฐกิจโลกจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เพื่อใช้เรียกกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา ที่มีเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ เป็นศูนย์อํานาจใหม่แทนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G-7 โดยประเทศในกลุ่ม BRICS นั้น ประกอบด้วย บราซิล (Brazil), รัสเซีย (Russia), อินเดีย (India), จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa)

99. ในปี ค.ศ. 2025 ราชอาณาจักรไทยจะเป็นตัวแทนของอาเซียนในการเจรจากับประเทศคู่เจรจาใด
(1) สาธารณรัฐเกาหลี
(2) ประเทศญี่ปุ่น
(3) สหรัฐอเมริกา
(4) ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์
(5) สหราชอาณาจักร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 2025 ราชอาณาจักรไทยจะเป็นตัวแทนของอาเซียนในการเจรจากับ
สาธารณรัฐเกาหลี

100. ข้อใดต่อไปนี้เป็นงานที่จัดขึ้นโดย International Institute for Strategic Studies (IISS)
(1) World Economic Forum
(2) Pacific Forum
(3) Shangri-La Dialogue
(4) Conference of the Parties
(5) East Asia Forum
ตอบ 3(คําบรรยาย) Shangri-La Dialogue จัดขึ้นโดย International Institute for Strategic Studies (IISS) เป็นการประชุมที่รวมรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศมาจากทั่วโลก เพื่อหารือกันถึงความมั่นคงและสันติภาพในเอเชีย โดยการประชุมนี้จัดขึ้นที่สิงคโปร์เป็นประจําตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002

POL2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา POL 2102 หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
คําสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 3 ข้อ ให้นักศึกษาเลือกทํา 2 ข้อเท่านั้น

ข้อ 1. ให้นักศึกษาอธิบายศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบคําอธิบาย
1.1 Authority

แนวคําตอบ

Authority (อํานาจหน้าที่) เป็นหนึ่งในสามของอํานาจอธิปไตย เป็นอํานาจที่ใช้โดยฝ่ายตุลาการ (Judicial) การที่อํานาจของฝ่ายตุลาการเป็นอํานาจหน้าที่นั้นก็เพราะว่าผู้พิพากษาจะตัดสินคดีต่าง ๆ ไปตามตัวบท กฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วนั่นเอง ซึ่ง Authority นี้จะแตกต่างจาก Power ซึ่งเป็นการใช้อํานาจโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) และฝ่ายบริหาร (Executive) โดย Power เป็นอํานาจริเริ่มและตัดสินใจสุดท้าย ซึ่งจะใช้ความคิด ของตนเองในการใช้อํานาจ

1.2 Uprising

แนวคําตอบ

Uprising (การจลาจลทางการเมือง) หมายถึง การที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้าน (Standing up against) ผู้ปกครอง/ผู้ใช้อํานาจรัฐ หรือรัฐธรรมนูญในเวลานั้น โดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา เกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของอุดมการณ์เท่านั้น ซึ่งจะนําโดยกลุ่มปัญญาชน นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ จากนั้น ประชาชนบางกลุ่มก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในอุดมการณ์นั้น และเมื่อรัฐบาลยอมทําตามอุดมการณ์ที่กลุ่มต้องการแล้วก็จะยุติการจลาจลลง

ตัวอย่างเหตุการณ์การจลาจลทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมี 2 ครั้ง คือ

– เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “วันมหาวิปโยค”
– เหตุการณ์วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ในสมัยพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกว่า “พฤษภาทมิฬ”

1.3 Jury

แนวคำตอบ

Jury (คณะลูกขุน) หมายถึง ประชาชนทั่วไป บุคคลธรรมดา หรือชาวบ้านธรรมดาที่ไม่จําเป็นต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย แต่เป็นวิญญูชนที่มีความคิดเป็นปกติแบบคนทั่วไป ซึ่งได้รับคัดเลือกเพื่อเข้ามาเป็น คณะลูกขุนพิจารณาคดีความ โดยใช้สามัญสํานึกหรือความรู้สึกในการพิจารณา ดังนั้นคณะลูกขุนจึงอาจเป็นวิศวกร กรรมกร นักศึกษา หรือใครก็ได้ การตัดสินคดีความโดยใช้คณะลูกขุนนี้เป็นวิธีการทางศาลของกรีกโบราณที่ใช้ใน นครรัฐเอเธนส์ ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศที่ใช้คณะลูกขุนตัดสินคดี เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สกอตแลนด์ เป็นต้น

กรณีสหรัฐอเมริกา จะมีการใช้คณะลูกขุนตัดสินคดีความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยจะมี การจัดทําบัญชีรายชื่อคณะลูกขุนจากผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อมีคดีขึ้นสู่ศาลก็จะมีการคัดเลือกคณะลูกขุนจาก
บัญชีรายชื่อที่จัดทําไว้ ซึ่งจํานวนของคณะลูกขุนจะถูกกําหนดตามกฎหมายของแต่ละมลรัฐ โดยส่วนใหญ่จะมีจํานวน 12 คน และเมื่อคัดเลือกคณะลูกขุนได้แล้ว คณะลูกขุนทั้งหมดก็จะถูกเก็บตัวทันที ห้ามติดต่อกับโลกภายนอกโดยรัฐบาลจะจัดสถานที่พักให้จนกว่าจะพิจารณาคดีเสร็จสิ้นหรือจนกว่าคดีจะสิ้นสุด

เมื่อได้คณะลูกขุนครบถ้วนแล้วจะมีการพิจารณาคดีสืบพยานทันที หลังจากสืบพยานทั้ง 2 ฝ่าย
เรียบร้อยแล้ว คณะลูกขุนจะมีการประชุมลับเพื่อลงมติตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิดโดยไม่มีการให้เหตุผลใด ๆ ซึ่งจะใช้ เสียงข้างมากเป็นเอกฉันท์ การตัดสินของคณะลูกขุนถือว่าเป็นกฎหมาย เว้นแต่เป็นกรณีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อย่างชัดเจน อาจมีการกลับคําตัดสินชี้ขาดได้โดยการร้องขออุทธรณ์

1.4 Kingcom

แนวคําตอบ

Kingdom (ราชอาณาจักร) หมายถึง ประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น พระราชินี หรือเป็นพระจักรพรรดิ เช่น ไทย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวีเดน เป็นต้น ซึ่งในอดีตการเกิด เป็นประเทศที่เรียกว่า ราชอาณาจักร เกิดจากแม่ทัพในขณะนั้นปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ คือ แม่ทัพไปรบกับรัฐอื่น ๆ จนได้รับชัยชนะแล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสถาปนาตนเองขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ปราบดาภิเษก ต่อมาเมื่อกษัตริย์พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ พระโอรสก็จะต้องขึ้น ครองราชย์แทน การที่พระโอรสขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แทนพระบิดาที่สิ้นพระชนม์ เรียกว่า ราชาภิเษก

1.5 Coup d’e’tat

แนวค่าตอบ

Coup d’e’tat (การรัฐประหาร) หมายถึง การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จ โดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปราศจากการมีส่วนร่วมจากประชาชน เป็นการเปลี่ยนมือผู้ใช้อํานาจรัฐหรือผู้ใช้อํานาจปกครองหรือเปลี่ยน ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ระบบเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าขาดหลักความชอบธรรม (Legitimacy)

จะเห็นได้ว่าประเทศกําลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยและประเทศด้อยพัฒนา ผู้นําของประเทศ นิยมแย่งชิงอํานาจกันเองด้วยวิธีการทํารัฐประหาร โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย ผู้ยึดอํานาจ มักเป็นทหาร และภายหลังยึดอํานาจเสร็จแล้ว ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ตลอดจนอุดมการณ์ทาง การเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ใช้อํานาจรัฐเท่านั้น

กรณีประเทศไทย นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า มีการยึดอํานาจรัฐด้วยกําลังบ่อยครั้ง ซึ่งมีทั้งกระทําสําเร็จและไม่สําเร็จ การยึดอํานาจรัฐได้สําเร็จของไทยเกือบ ทุกครั้งเรียกว่า “รัฐประหาร” เพราะเป็นการแย่งชิงอํานาจกันเองในหมู่ผู้ปกครอง แต่ผู้ยึดอํานาจจะเรียกตัวเองว่า “คณะปฏิวัติ”

อนึ่ง ประเทศไทยมีการทํารัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยการทํารัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอํานาจรัฐบาลรักษาการของนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล และประกาศ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550

 

ข้อ 2. ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” นั้น นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “อํานาจ อธิปไตย” Sovereignty) อย่างไร ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

แนวคําตอบ

อํานาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อํานาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้นสิ่งอื่นใด จะมีอํานาจยิ่งกว่าหรือจะมาขัดต่ออํานาจอธิปไตยไม่ได้

อํานาจอธิปไตยถือเป็นองค์ประกอบที่สําคัญองค์ประกอบหนึ่งของรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย ประชากร ดินแดน และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอํานาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ รัฐนั้น ต้องเป็นรัฐที่สามารถมีอํานาจสูงสุด (อํานาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า “รัฐ” ได้

อํานาจอธิปไตยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง เช่น ถ้าเป็นการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง ประเทศ โดยผ่านตัวแทน คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํานาจอธิปไตยจะเป็นของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และ เป็นผู้เดียวที่ใช้อํานาจดังกล่าว

ลักษณะสําคัญของอํานาจอธิปไตย มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) หมายถึง มีอํานาจครอบคลุมทั่วทั้งรัฐ และ อยู่เหนือทุก ๆ อํานาจ

2. มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) หมายถึง อํานาจอธิปไตยเป็นอํานาจสูงสุดภายในรัฐ จะไม่มีอํานาจอื่นใดภายในรัฐที่อยู่เหนือกว่าอํานาจอธิปไตย

3. มีความถาวร (Permanence) หมายถึง อํานาจอธิปไตยจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงอยู่

4. แบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) หมายถึง ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอํานาจอธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว จะมีการแบ่งแยกอํานาจอธิปไตยไปให้ส่วนต่าง ๆ ภายในรัฐมิได้

อํานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ทําหน้าที่ในการตรากฎหมายขึ้นมาใช้ภายในประเทศ

2. ฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาล ทําหน้าที่ในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามกฎหมาย

3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทําหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ในสังคม เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพของทุก ๆ คนภายในรัฐ รวมทั้งทําหน้าที่ในการ ควบคุมทุก ๆ อํานาจให้อยู่ภายใต้กฎหมาย

กรณีประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” จากบทบัญญัตินี้หมายความว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐทรงใช้อํานาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล กล่าวคือ

1. ทรงใช้อํานาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจ ในการออกกฎหมายตามคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา เมื่อรัฐสภาร่างกฎหมายขึ้นแล้วจะทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ

2. ทรงใช้อํานาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีดําเนินการไปนั้นถือว่ากระทําไปในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ เพราะบรรดาพระราชบัญญัติ พระราชกําหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบทั้งสิ้น โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องกราบบังคมทูล
และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชอํานาจทางด้านบริหารของพระมหากษัตริย์ดังกล่าว ได้แก่ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดต่อกฎหมาย การประกาศใช้และเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงครามเมื่อได้รับ ความเห็นชอบของรัฐสภา การทําสนธิสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก หรือสนธิสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือ กับองค์การระหว่างประเทศ และการพระราชทานอภัยโทษ

3. ทรงใช้อํานาจตุลาการทางศาล หมายถึง ศาลเป็นผู้พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมาหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจ ในการแต่งตั้งและการพ้นจากตําแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการจะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์

 

ข้อ 3. จงอธิบายว่าหลักการในการปกครองระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นอธิบายเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของระบบรัฐสภาและประธานาธิบดี โดยยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

แนวคําตอบ

การปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System)

ระบบรัฐสภาเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่อังกฤษเป็นแม่แบบที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภาคลาสสิก” ซึ่งในการปกครองระบบนี้จะถือว่ารัฐสภาเป็นองค์กรการเมืองที่มีความสําคัญกว่า องค์กรอื่น ๆ ในแง่ที่ว่าเป็นองค์กรที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน ฉะนั้นโดยหลักการแล้วรัฐบาลที่ปกครอง และบริหารประเทศจะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา หรือเป็นรัฐบาลที่บริหารงานด้วยความ รับผิดชอบต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรผู้แทนจากประชาชนนั่นเอง

หลักการสําคัญของการปกครองระบบรัฐสภา มีดังนี้

1. อํานาจอธิปไตยแยกตามหน้าที่ กล่าวคือ อํานาจรัฐไม่ได้รวมไว้ในองค์กรเดียว แต่มี การแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อํานาจ ได้แก่ อํานาจบริหารใช้โดยรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี อํานาจนิติบัญญัติ ใช้โดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา และอํานาจตุลาการใช้โดยผู้พิพากษาในศาล

2. การแยกอํานาจไม่แยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ อํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐจะถูกแจกจ่าย ให้องค์กรต่าง ๆ กัน โดยองค์กรเหล่านี้ไม่แยกกันโดยเด็ดขาด

3. อํานาจที่แบ่งแยกนี้จะมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ องค์กรที่ใช้อํานาจรัฐเหล่านี้ มีลักษณะควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สามารถเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะได้ หรือนายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ เป็นต้น

วิธีการของการปกครองระบบรัฐสภา มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะแยกกัน เช่น ประมุขของรัฐเรียกว่าพระมหากษัตริย์ อย่างเช่น อังกฤษ ไทย หรือเรียกว่า พระจักรพรรดิ อย่างเช่น ญี่ปุ่น หรือเรียกว่าประธานาธิบดี อย่างเช่น อินเดีย สิงคโปร์ เยอรมนี ส่วนตําแหน่ง ประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาลจะเรียกว่านายกรัฐมนตรี เป็นต้น

2. ประมุขของรัฐมีสถานะเป็นกลางทางการเมือง หรือไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง (The King can do no wrong) ซึ่งแสดงออกโดยการที่ประมุขของรัฐไม่อาจถูกถอดถอนออกจากตําแหน่ง จากการที่ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองนี้เองที่ทําให้กิจกรรมใด ๆ ของประมุขของรัฐต้องมีการลงนามกํากับหรือ ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของทุกกิจกรรมเสมอ เพื่อให้ผู้ลงนามรับรองเป็นผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ
ต่อสภาผู้แทนราษฎร

3. ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลก่อนจะเข้าบริหารงานปกครองประเทศนั้น จะต้องเสนอนโยบายเพื่อขอความไว้วางใจหรือขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จึงจะบริหารงานได้

4. ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาทําหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมการทํางานของฝ่ายบริหารโดย
1) การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
2) การตั้งกระทู้ถาม
3) การอนุมัติงบประมาณประจําปี 4) การตั้งคณะกรรมาธิการ

5. ฝ่ายบริหารมีอํานาจยุบสภาผู้แทนราษฎรได้

6. ฝ่ายบริหารมีสิทธิเสนอกฎหมายเช่นเดียวกับฝ่ายนิติบัญญัติ

7. ฝ่ายบริหารมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกับฝ่ายนิติบัญญัติ

8. ฝ่ายตุลาการ (ศาล) และผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี

การปกครองระบบประธานาธิบดี (Presidential System)

ระบบประธานาธิบดีเป็นรูปแบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบที่เรียกว่า “ระบบประธานาธิบดีคลาสสิก” ซึ่งเกิดมาจากความคิดของผู้เริ่มก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการจะกําหนดรูปแบบการปกครองของประเทศให้เหมาะสมกับประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญในสมัยแรกเริ่มก่อตั้งประเทศ

หลักการสําคัญของการปกครองระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1. อํานาจอธิปไตยหรืออํานาจหน้าที่ต่าง ๆ ของรัฐถูกมอบหมายให้แต่ละองค์กรนําไปปฏิบัติ โดยไม่รวมอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเพียงองค์กรเดียว กล่าวคือ อํานาจบริหารจะใช้โดยฝ่ายบริหารที่เรียกว่าประธานาธิบดีหรือคณะรัฐบาล อํานาจนิติบัญญัติจะใช้โดยฝ่ายรัฐสภา และอํานาจตุลาการจะใช้โดยฝ่ายศาล

2. การแยกอํานาจแยกโดยเด็ดขาด กล่าวคือ องค์กรต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายอํานาจหน้าที่ ของรัฐไปปฏิบัติจะเป็นอิสระต่อกันโดยเด็ดขาด แต่ละองค์กรจะทําหน้าที่ของแต่ละฝ่ายโดยไม่ก้าวก่ายตรวจสอบ หรือควบคุมซึ่งกันและกัน

3. ฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่จะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ เช่น ประธานาธิบดีมีวาระ 4 ปี ก็จะอยู่จนครบ 4 ปี หรือฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็จะอยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

วิธีการของการปกครองระบบประธานาธิบดี มีดังนี้

1. ประมุขของรัฐ (Head of State) และประมุขฝ่ายบริหารหรือประมุขรัฐบาล (Head of Government) จะเป็นบุคคลเดียวกัน และมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยตําแหน่งดังกล่าวนี้เรียกว่าประธานาธิบดี

2. ประธานาธิบดีตั้งรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร

3. สภาผู้แทนราษฎรจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีไม่ได้

4. ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอํานาจติเตียนฝ่ายบริหารหรือตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหาร

5. ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจเริ่มเสนอกฎหมาย การเสนอกฎหมายเป็นอํานาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

6. ฝ่ายบริหารหรือประธานาธิบดีไม่มีอํานาจยุบสภา

7. ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจเรียกประชุมรัฐสภา

8. ฝ่ายตุลาการมีหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษา

9. ทุกฝ่ายจะอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ประธานาธิบดีมีวาระ 4 ปี ก็อยู่จนครบ 4 ปี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 2 ปี ก็อยู่จนครบ 2 ปี เป็นต้น

การปกครองระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

ระบบรัฐสภา
-การแยกอํานาจไม่แยกโดยเด็ดขาด
– ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารแยกจากกัน
– ฝ่ายนิติบัญญัติมีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– ฝ่ายนิติบัญญัติมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม
– ฝ่ายบริหารมีอํานาจยุบสภา
– ฝ่ายบริหารมีสิทธิเสนอกฎหมายได้
-ไม่มีหลักประกันการปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระ

ระบบประธานาธิบดี
-การแยกอํานาจแยกโดยเด็ดขาด
– ประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารเป็นบุคคลเดียวกัน
– ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีสิทธิตั้งกระทู้ถาม
– ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจยุบสภา
– ฝ่ายบริหารไม่มีสิทธิเสนอกฎหมาย
– ทุกฝ่ายอยู่ในตําแหน่งจนครบวาระ

ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของระบบรัฐสภาและประธานาธิบดี

ระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีการแยกอํานาจกันแบบไม่เด็ดขาด โดยการใช้ อํานาจของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีความสัมพันธ์กันอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า “การเชื่อมโยงอํานาจ” (Fusion of Power) เนื่องจากฝ่ายรัฐบาลมีที่มาจากฝ่ายรัฐสภา การทํางานจึงต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ในเบื้องต้นหลังจาก เข้ารับตําแหน่งจะต้องมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อทํางานไปแล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถตรวจสอบถ่วงดุลโดยการตั้งกระทู้ถามหรือยืนอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลหรือยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายคนได้ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็มีอํานาจในการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้หากมีเหตุผลอันควรโดยเฉพาะเกิดความ ขัดแย้งขึ้นในฝ่ายรัฐบาลด้วยกันเองหรือเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายรัฐสภาจนไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ ซึ่งการยุบสภาก็จะส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดสิ้นสุดลงไปด้วย

ระบบประธานาธิบดี ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมีการแยกอํานาจกันเด็ดขาดบนหลักการ แบ่งแยกอํานาจ (Separation of Power) โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ของประชาชน ดังนั้นการทํางานของฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติจึงแยกอิสระจากกัน แต่ละฝ่ายไม่ก้าวก่าย ตรวจสอบหรือควบคุมซึ่งกันและกัน เช่น ฝ่ายบริหารไม่มีอํานาจในการยุบสภา ขณะเดียวกันฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ไม่มีอํานาจในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร เป็นต้น

ในระบบประธานาธิบดี แม้ในหลักการจะไม่ก้าวก่ายและตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกัน แต่ในทางปฏิบัติก็อาจมีการผ่อนคลายบ้างในกรณีเกิดปัญหาวิกฤติในการเมืองการปกครอง เช่น การให้ประธานาธิบดี มีอํานาจยับยั้งกฎหมาย (Veto) ที่ออกมาจากฝ่ายรัฐสภา หรือการให้อํานาจฝ่ายนิติบัญญัติทําหน้าที่กล่าวหาประธานาธิบดีในกรณีที่มีการกระทําที่ไม่เหมาะสมที่จะนําไปสู่ความเสื่อมเสียแก่เกียรติภูมิของประเทศหรือเสื่อมเสียกับตําแหน่งประธานาธิบดีที่เรียกว่า Impeachment

LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4108 (LAW4008) กฎหมายที่ดิน
คําแนะนํา ข้อสอบกระบวนวิชานี้เป็นข้อสอบอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายอาทิตย์ได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน ทางราชการออกใบจองให้ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ในระหว่างที่ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดิน นายอาทิตย์ได้อยู่กินกับนางสาวทับทิมโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมา พ.ศ. 2564 นายอาทิตย์ถึงแก่ความตาย นางสาวทับทิมได้ครอบครอง และทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมา ในพ.ศ. 2565 นางสาวทับทิมได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการ ขณะที่นางสาวทับทิมต้องการจะขายที่ดินนั้นให้แก่นายศุกร์

ดังนี้ อยากทราบว่านางสาวทับทิมจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคห้า “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์ สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครอง เป็นที่ดินที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

ภายในสิบปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ บุคคลตามวรรคสอง (3) ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชําระหนี้โดยได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนสหกรณ์”

พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง “ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจอง แต่ยัง ไม่ได้รับคํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไปไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทาง
มรดก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอาทิตย์ได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดิน โดยทางราชการออกใบจองให้ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งที่ดินที่มีใบจองนี้เป็นที่ดินที่ยังไม่ได้คํารับรองจากนายอําเภอว่าได้ทําประโยชน์แล้ว นายอาทิตย์ผู้ครอบครองจึงโอนให้แก่บุคคลใดไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการตกทอดทางมรดกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างที่นายอาทิตย์ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดิน นายอาทิตย์ ได้อยู่กินกับนางสาวทับทิมโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และต่อมา พ.ศ. 2564 นายอาทิตย์ได้ถึงแก่ความตาย นางสาวทับทิมได้ครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมานั้น ไม่ถือว่าเป็นการตกทอดโดยทางมรดก
เพราะนางสาวทับทิมมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของนายอาทิตย์ ดังนั้น แม้ทางนางสาวทับทิมจะได้ครอบครอง และทําประโยชน์ต่อเนื่องมาจากนายอาทิตย์ ก็ไม่ทําให้นางสาวทับทิมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวล กฎหมายที่ดินแต่อย่างใด แต่ให้ถือว่านางสาวทับทิมได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยพลการ ภายหลัง วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2497)

ในปี พ.ศ. 2565 การที่นางสาวทับทิมได้รับโฉนดที่ดินจากทางราชการนั้น ย่อมถือว่าเป็นกรณี ที่นางสาวทับทิมเป็นผู้ได้รับโฉนดที่ดินเนื่องจากเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับโดยไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ํา หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วย การจัดที่ดินเพื่อการครอบครองชีพตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) นางสางทับทิมจึงอยู่ ในบังคับห้ามโอนที่ดินแปลงดังกล่าวภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า

ดังนั้น ขณะที่นางสาวทับทิมต้องการจะขายที่ดินนั้นให้แก่นายศุกร์ นางสาวทับทิมจึงไม่สามารถ จดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นายศุกร์ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เนื่องจากเป็นการโอนภายในกําหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดิน อีกทั้งเป็นกรณีที่ไม่เข้าข้อยกเว้นของ กฎหมายตามมาตรา 58 ทวิ วรรคห้าตอนท้ายแต่อย่างใด

สรุป นางสาวทับทิมจะจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นายศุกร์ไม่ได้

 

ข้อ 2. นายเพชรขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ให้แก่นายทอง โดยทําหนังสือสัญญาซื้อขาย กันเองและส่งมอบที่ดินให้นายทองครอบครองตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ขณะนี้ได้มีประกาศของทางราชการ เพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน นายทองต้องการจะออกโฉนดที่ดินจึงไปปรึกษานายเงินซึ่งเป็น ผู้ใหญ่บ้าน นายเงินแนะนําว่าที่ดินมีหนังสือรับรองการทําประโยชน์มีเพียงสิทธิครอบครอง การโอนให้แก่กันโดยส่งมอบที่ดินก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว นายทองผู้รับฝากจึงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้น
ดังนี้ อยากทราบว่า นายทองจะนําที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ “นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับการโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”

มาตรา 58 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม “เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจังหวัด ที่จะทําการสํารวจรังวัดทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์สําหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศ กําหนดไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการได้จําแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดท้องที่และวันเริ่มต้น ของการเดินสํารวจรังวัดในท้องที่นั้น โดยปิดประกาศไว้ ณ สํานักงานที่ดิน ที่ว่าการอําเภอ ที่ว่าการกิ่งอําเภอ ที่ทําการกํานัน และที่ทําการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสํารวจไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว นําพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย เพื่อทําการสํารวจรังวัด ทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย”

มาตรา 58 ทวิ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “เมื่อได้สํารวจรังวัดทําแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวนการ ทําประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทําประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเพชรซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายทองโดยทําหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้นายทองครอบครองโดย
มิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการโอนที่ไม่ทําตามประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา 4 ทวิ ที่กําหนดว่า “การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ต้องทําเป็นหนังสือและต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” การขายที่ดินให้นายทองดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลให้นายทองเป็นเพียงผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้ บังคับ (โดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน) และโดยไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และถ้าหากมี ประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 นายทองซึ่งเป็น บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) ย่อมสามารถนําที่ดินแปลงดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดินได้

และเมื่อได้ความว่า ในขณะนี้ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสํารวจออกโฉนดที่ดิน อันถือว่า เป็นการออกโฉนดแบบทั้งตําบลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น นายทอง จึงสามารถนําที่ดินแปลงนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้ โดยมานําพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่
มอบหมายเพื่อทําการสํารวจรังวัดทําแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทําประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลา ที่พนักงานเจ้าหน้าที่นัดหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 วรรคสาม และนายทองจะได้รับโฉนดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3)

สรุป นายทองจะนําที่ดินแปลงนี้มาขอออกโฉนดที่ดินได้

 

ข้อ 3. นายเอกมีโฉนดที่ดินอยู่จังหวัดขอนแก่น ต่อมานายเอกถึงแก่ความตาย นายโทซึ่งเป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายของนายเอกซึ่งมีภูมิลําเนาและมาทํางานอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ นายโทจึงไปยื่น คําขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนรับมรดกที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินสมุทรปราการปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนรับมรดกที่ดินแก่นายโท

ดังนี้ อยากทราบว่า เพราะเหตุใด และการปฏิเสธของเจ้าพนักงานที่ดินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 72 “ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้คู่กรณีนําหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71

การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง สําหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หรือ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ คู่กรณีอาจยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน หรือสํานักงานที่ดิน แห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ดําเนินการจดทะเบียนให้ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ต้อง
มีการประกาศหรือต้องมีการรังวัด”

มาตรา 81 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง “การขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก ให้ผู้ได้รับมรดกนําหลักฐานสําหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานใน การได้รับมรดกมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ถ้าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวนั้นได้

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนพยานหลักฐาน และเชื่อได้ว่าผู้ขอเป็นทายาทแล้ว ให้ประกาศโดย ทําเป็นหนังสือปิดไว้ในที่เปิดเผยมีกําหนดสามสิบวัน ณ สํานักงานที่ดิน เขตหรือที่ว่าการอําเภอ หรือกิ่งอําเภอ สํานักงานเทศบาล ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล ที่ทําการแขวงหรือที่ทําการกํานันท้องที่ ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และ บริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือส่งประกาศดังกล่าวให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็น ทายาททุกคนทราบเท่าที่สามารถจะทําได้ หากไม่มีทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกโต้แย้งภายในกําหนดเวลาที่ประกาศ และมีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ขอมีสิทธิได้รับมรดกแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจดทะเบียนให้ตามที่ ผู้ขอแสดงหลักฐานการมีสิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

วินิจฉัย

ผู้ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ นอกจากจะมายื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แล้ว บทบัญญัติมาตรา 72 วรรคสอง ยังให้สิทธิคู่กรณีอาจจะมายื่นคําขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินหรือสํานักงานที่ดินแห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1. ที่ดินที่จะต้องจดทะเบียนนั้นจะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หรือหนังสือรับรอง การทําประโยชน์ กล่าวคือ ถ้ามีเอกสารอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาจะยื่นคําขอไม่ได้

2. การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการประกาศก่อน กล่าวคือ กรณีใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะต้องทําเรื่องประกาศก่อนที่จะมีการจดทะเบียนจะมาใช้มาตรา 72 วรรคสองไม่ได้

3. การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการรังวัดก่อน

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกมีโฉนดที่ดินอยู่จังหวัดขอนแก่น ต่อมานายเอกถึงแก่ความตาย นายโทซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายเอกซึ่งมีภูมิลําเนาและมาทํางานอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการนั้น หาก
นายโทมีความประสงค์จะจดทะเบียนรับมรดกในที่ดินแปลงดังกล่าว นายโทจะต้องนําหลักฐานสําหรับที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานในการรับมรดกมายื่นคําขอเพื่อขอจดทะเบียนรับมรดกในที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 กล่าวคือ ต้องยื่นคําขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดิน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นสํานักงานที่ดินซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ จะไปยื่นคําขอให้เจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดิน จังหวัดสมุทรปราการจดทะเบียนให้ไม่ได้ (ตามมาตรา 81 วรรคหนึ่ง)

และกรณีดังกล่าว นายโทจะยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้รับเรื่องและส่งเรื่องไปที่สํานักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้สํานักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่นดําเนินการ จดทะเบียนให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 วรรคสองก็ไม่ได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 วรรคสอง เนื่องจากการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกนั้น จะต้องมีการประกาศเป็นหนังสือก่อนมีกําหนด 30 วัน ดังนั้น การที่นายโทได้ไปยื่นคําขอให้เจ้าพนักงานที่ดิน จดทะเบียนรับมรดกที่ดิน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ แต่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการไม่ยอมรับ จดทะเบียนรับมรดกที่ดินให้แก่นายโท การปฏิเสธของเจ้าพนักงานที่ดินจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การปฏิเสธของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการที่ไม่ยอมรับจดทะเบียนรับมรดกที่ดิน ให้แก่นายโทชอบด้วยกฎหมาย

 

LAW3111 (LAW3011) กฎหมายลักษณะพยาน 1/2566

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2566
ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3111 (LAW 3011) กฎหมายลักษณะพยาน
ข้อแนะนํา ข้อสอบนี้เป็นข้อสอบอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายธนดลต้องการซื้อห้องชุดไว้เป็นที่พักอาศัยและออกกําลังกายมูลค่า 3,000,000 บาท นายธนดล จึงได้ไปติดต่อนางสาวแพรวาพนักงานขายเพื่อทําสัญญาซื้อขาย โดยนางสาวแพรวาได้มอบแผ่นพับ โฆษณาห้องชุดซึ่งระบุว่า มีสวนน้ำลอยฟ้าและมีลู่วิ่งไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด 20 ลู่วิ่ง สร้างเสร็จแล้ว พร้อมส่งมอบ นายธนดลสนใจอย่างมากจึงได้ไปกู้ยืมเงินจากนายสุข นายสุขเห็นว่านายธนดล สะสมพระเครื่องจึงขอให้นายธนดลเอาพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะทองคํามูลค่า 3,000,000 บาท มาจํานําเป็นประกันหนี้กู้ยืม นายธนดลตกลง และส่งมอบพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะทองคําเรียบร้อย ต่อหน้านางสาวแพรวา นายสุขจึงได้โอนเงิน 3,000,000 บาท ชําระค่าห้องชุดแทนนายธนดล

จงวินิจฉัย

(ก) นายสุขเห็นว่านายธนดลไม่เคยผ่อนใช้เงินกู้ยืมคืนเลย จึงฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับชําระเงิน กู้ยืมคืน 3,000,000 บาท นายธนดลให้การรับว่ากู้จริงแต่ได้นําพระเครื่องที่ใช้หนี้ไปแล้วนั้น ฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์

(ข) หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่า นายธนดลชําระเงินกู้ยืมครบถ้วนแล้ว นายธนดลฟ้องนายสุข ขอให้ส่งมอบพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะทองคําที่จํานําไว้คืน โดยอ้างว่านางสาวแพรวาเป็นพยานรู้เห็นขณะส่งมอบพระเครื่อง นายสุขให้การต่อสู้ว่านายธนดลฟ้องคดีโดยไม่มีเอกสารสัญญา จํานํามาแสดง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่สามารถอ้างนางสาวแพรวาเป็นพยานแทนพยาน เอกสารได้ ข้อต่อสู้ของนายสุขฟังขึ้นหรือไม่

(ค) ภายหลังจากที่นายธนดลเข้าพักที่ห้องชุดแล้วปรากฏว่า อาคารห้องชุดดังกล่าวไม่มีสวนน้ํา ลอยฟ้า และไม่มีลู่วิ่งไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด 20 ลู่วิ่ง ตามที่โฆษณา คงมีเพียงบ่อปลาบนดาดฟ้า และลู่วิ่งไฟฟ้ารุ่นเก่าเพียง 4 คู่เท่านั้น นายธนดลสอบถามไปหลายครั้งก็ได้คําตอบเพียงว่า ไม่มีงบ รอดําเนินการอยู่ นายธนดลจึงฟ้องนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าวว่าผิดสัญญาซื้อขาย ไม่สร้างสิ่งอํานวยความสะดวกตามที่โฆษณา โดยอ้างสัญญาซื้อขาย ซึ่งนิติบุคคลอาคารชุด ต่อสู้ว่าในสัญญาไม่มีข้อความใดระบุเรื่องสิ่งอํานวยความสะดวก นายธนดลอ้างแผ่นพับโฆษณาห้องชุดเป็นพยานต่อศาลได้หรือไม่ และนายธนดลจะอ้างนางสาวแพรวาพนักงานขาย เป็นพยานเพื่อพิสูจน์ว่านิติบุคคลอาคารชุดเป็นเจ้าของแผ่นพับโฆษณา ได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 84 “การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทําโดยอาศัยพยานหลักฐานใน สํานวนคดีนั้น เว้นแต่
(3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล”

มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตนให้คู่ความฝ่ายนั้น มีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏ
จากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”

มาตรา 85 “คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนําสืบข้อเท็จจริง ย่อมมีสิทธิที่จะนําพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน”

มาตรา 94 “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี
(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง
(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมี ข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และ มิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสารที่ แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”

มาตรา 177 วรรคสอง “ให้จําเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคําให้การว่า จําเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น”

มาตรา 183 วรรคหนึ่ง “ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจคําคู่ความและ คําแถลงของคู่ความ แล้วนําข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในคําคู่ความและคําแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถาม คู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้น อย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คําคู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคําคู่ความให้ศาลกําหนดไว้ เป็นประเด็นข้อพิพาท และกําหนดให้คู่ความฝ่ายใดนําพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) คําว่า “ประเด็นข้อพิพาท” หมายถึง ข้ออ้างข้อเถียงในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างในคําคู่ความ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ดังนั้นปัญหาข้อใดที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (3), มาตรา 177 วรรคสอง และมาตรา 183 วรรคหนึ่ง)

สําหรับภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบนั้น ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ ไว้ว่า ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีหน้าที่นําสืบ (มีภาระการพิสูจน์)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสุขเป็นโจทก์ฟ้องนายธนดลเป็นจําเลย โดยอ้างว่านายธนดล กู้เงินจากนายสุขไปเป็นจํานวนเงิน 3,000,000 บาท แต่ไม่เคยใช้เงินกู้ยืมคืนเลย ขอให้ศาลบังคับให้นายธนดล ชําระเงินกู้ยืมคืน 3,000,000 บาท นายธนดลให้การว่าได้กู้ยืมเงินจริงแต่ได้นําพระเครื่องที่ใช้หนี้ไปแล้วนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่านายธนดลกู้เงินจากนายสุขจริงหรือไม่ ย่อมเป็นอันยุติตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84 (3) เนื่องจากเป็น ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับ จึงไม่ต้องมีการสืบพยานเพราะมิใช่เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี แต่การที่นายธนดลให้การว่า ได้ชําระหนี้ให้นายสุขแล้วโดยการนําพระเครื่องที่ใช้หนี้ไปแล้วนั้น ถือเป็นข้อเท็จจริงที่นายธนดลกล่าวอ้างขึ้นใหม่

และเป็นข้อเท็จจริงที่นายสุขไม่รับ กรณีเช่นนี้จึงเกิดประเด็นข้อพิพาทว่านายธนดลได้ชําระหนี้ให้แก่นายสุขโดย การนําทรัพย์สินอื่นที่ใช้หนี้แล้วจริงหรือไม่ เมื่อนายธนดลเป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ดังนั้น ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่ นําสืบจึงตกอยู่กับนายธนดล ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1

(ข) หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่า นายธนดลได้ชําระหนี้กู้ยืมครบถ้วนแล้ว นายธนดลจึงฟ้องคดี ต่อศาลเพื่อบังคับให้นายสุขส่งมอบพระเครื่องหลวงปู่โต๊ะทองคําที่จํานําไว้คืน โดยอ้างนางสาวแพรวาเป็นพยาน เพราะนางสาวแพรวารู้เห็นขณะที่มีการส่งมอบพระเครื่องนั้น นายธนดลย่อมสามารถอ้างนางสาวแพรวาเป็น พยานได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 85 เนื่องจากไม่ใช่เป็นการนําพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารอันเป็นการ ต้องห้ามตามนัยของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 54 (ก) ที่กําหนดว่า เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีที่เป็นการขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําพยานเอกสารมาแสดงแต่อย่างใด เพราะการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับสัญญาจํานํานั้นมิใช่เป็นกรณีที่กฎหมาย บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ดังนั้น การที่นายสุขให้การต่อสู้ว่านายธนดลฟ้องคดีโดยไม่มีเอกสาร สัญญาจํานํามาแสดงนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่สามารถอ้างนางสาวแพรวาเป็นพยานแทนพยานเอกสารได้ ข้อต่อสู้ของนายสุขจึงฟังไม่ขึ้น

(ค) การที่นายธนดลได้ฟ้องนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าวว่าผิดสัญญาซื้อขาย ไม่สร้างสิ่งอํานวย ความสะดวกตามที่โฆษณา โดยอ้างสัญญาซื้อขาย แต่นิติบุคคลอาคารชุดต่อสู้ว่าในสัญญาไม่มีข้อความใดระบุเรื่อง สิ่งอํานวยความสะดวก นายธนดลจึงอ้างแผ่นพับโฆษณาห้องชุดเป็นพยานต่อศาลนั้น กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นกรณี ที่คู่ความขอสืบพยานเอกสาร (แผ่นพับโฆษณาห้องชุด) ประกอบข้ออ้างเมื่อได้นําเอกสาร (สัญญาซื้อขาย) มาแสดงเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร (สัญญาซื้อขาย) ซึ่งนายธนดลย่อมสามารถอ้างแผ่นพับ โฆษณาห้องชุดเป็นพยานต่อศาลได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 (ข) ทั้งนี้เพราะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 (ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังเฉพาะพยานบุคคลเท่านั้น ไม่รวมถึงการรับฟังพยานเอกสารและพยานวัตถุคู่ความจึงมีสิทธิขอสืบพยานเอกสารหรือพยานวัตถุเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสารได้ (เทียบเคียงคําพาพากษาฎีกาที่ 7055/2537)

อีกทั้งการที่นานธนดลจะอ้างนางสาวแพรวาพนักงานขายเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ว่านิติบุคคล อาคารชุดเป็นเจ้าของแผ่นพับโฆษณานั้น ก็ย่อมสามารถกระทําได้เช่นกัน เพราะเป็นการนําสืบพยานบุคคล ประกอบพยานเอกสาร (แผ่นพับโฆษณา) ซึ่งเป็นการนําสืบเพื่อเพิ่มน้ําหนักในการอ้างอิงถึงแหล่งที่มา และเพิ่ม ความน่าเชื่อถือของพยานเอกสาร (แผ่นพับโฆษณา) ซึ่งเป็นพยานเอกสารประกอบพยานเอกสาร (สัญญาซื้อขาย) เท่านั้น มิใช่เป็นการนําพยานบุคคลมาสืบเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสาร (สัญญาซื้อขาย) ที่นํามาแสดง ตามนัยของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 (ข) แต่อย่างใด

สรุป
(ก) ประเด็นข้อพิพาทว่านายธนดลได้ชําระหนี้ให้แก่นายสุข โดยการนําทรัพย์สินอื่นที่ใช้หนี้ แล้วจริงหรือไม่ ฝ่ายจําเลยคือนายธนดลมีภาระการพิสูจน์
(ข) ข้อต่อสู้ของนายสุขดังกล่าวฟังไม่ขึ้น
(ค) นายธนดลสามารถอ้างแผ่นพับโฆษณาห้องชุดเป็นพยานต่อศาลได้ และสามารถอ้างนางสาวแพรวาเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ว่านิติบุคคลอาคารชุดเป็นเจ้าของแผ่นพับโฆษณาได้

ข้อ 2. พยานบุคคลที่ศาลรับฟังมีคุณสมบัติอย่างไร และศาลต้องเชื่อคําเบิกความเสมอไปหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 95 “ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น
(1) สามารถเข้าใจและตอบคําถามได้ และ
(2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตัวเองโดยตรง……”

มาตรา 104 วรรคหนึ่ง “ให้ศาลมีอํานาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความ นํามาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอ ให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 226 “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจําเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคํามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน”

มาตรา 227 วรรคหนึ่ง “ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษา ลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทําผิดจริงและจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดนั้น”

อธิบาย

1. คุณสมบัติของพยานบุคคลที่ศาลรับฟัง

เมื่อพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 95 วรรคหนึ่งแล้วจะเห็นได้ว่า พยานบุคคลที่ศาลจะรับฟังนั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้คือ

(1) จะต้องเป็นบุคลที่สามารถเข้าใจและตอบคําถามได้ หมายถึง จะต้องเข้าใจในสิ่งที่ถามและตอบคําถามได้ และ

(2) จะต้องเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็น พยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง กล่าวคือ แม้บุคคลนั้นจะสามารถเข้าใจและตอบคําถามได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นพยานได้ทุกคน แต่บุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็น พยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงด้วย โดยอาจเห็นเพียงอย่างเดียว หรืออาจได้ยินเพียงอย่างเดียวก็ได้ หรือถึงแม้ ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยิน เช่นพยานเป็นคนตาบอดและหูหนวก แต่พยานทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็น
พยานนั้นด้วยการใช้ประสาทสัมผัสก็เป็นพยานได้

สําหรับคดีอาญานั้น พยานบุคคลที่ศาลจะรับฟังก็จะต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับคดีแพ่ง กล่าวคือ จะต้องเป็นบุคคลที่สามารถเข้าใจและตอบคําถามได้ และจะต้องเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ

เกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงด้วย (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 95 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15) เพียงแต่ในคดีอาญานั้น ได้เพิ่มคุณสมบัติอีกประการหนึ่งไว้ด้วยว่า พยานบุคคลที่ศาลจะ รับฟังนั้นจะต้องเป็นพยานซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจําเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ด้วยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญามาตรา 226

2. ศาลจะต้องเชื่อคําเบิกความของพยานบุคคลเสมอไปหรือไม่

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 104 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าให้ศาลมีอํานาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนํามาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติหรือไม่ แล้วพิพากษา ไปตามนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าคําเบิกความของพยานบุคคลนั้นศาลไม่จําเป็นต้องเชื่อเสมอไป ศาลจะเชื่อหรือไม่ ให้เป็นดุลพินิจของศาล เช่นเดียวกับคดีอาญาซึ่งได้บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญา มาตรา 227 วรรคหนึ่งว่า ให้ศาล ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทําผิดจริง และจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดนั้น

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6836/2541 คําเบิกความพยานในชั้นศาลนั้น ไม่ใช่ว่าพยานเบิกความอย่างไรแล้ว ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามคําเบิกความของพยานเสมอไป จะฟังได้หรือไม่ เพียงใดสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป

ซึ่งคําเบิกความของพยานบุคคลตอนวินิจฉัยคดีนั้น ศาลจะเชื่อหรือไม่ โดยหลักแล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ประกอบด้วย

(1) ตัวพยานเอง ในเรื่องอายุ ความบกพร่องของร่างกายและจิตใจ การศึกษาอบรม อุปนิสัยใจคอ ความสนใจในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ประสบการณ์ และมีความลําเอียงหรือไม่

(2) ฐานะและประวัติของพยาน ในเรื่องมีชื่อเสียงดีไม่ด่างพร้อย มีความซื่อสัตย์สุจริต มีใจเป็นธรรม และวางตัวเป็นกลางหรือไม่

(3) เหตุแวดล้อมอื่น ๆ ในเรื่องของปัจจัยในการรับรู้ข้อเท็จจริงในการที่มาเบิกความ ปัจจัยแห่งการจดจําในการที่มาเบิกความ ปัจจัยที่เกี่ยวกับมูลเหตุจูงใจในการที่มาเบิกความ และปัจจัยที่เกี่ยวกับ ความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้พบเห็นมา

(4) ลักษณะของคําเบิกความ ในเรื่องการตอบคําถามตรงไปตรงมาด้วยความมั่นใจ ยืนยันในข้อเท็จจริงหนักแน่นหรือไม่ เบิกความเป็นกลางมีเหตุผลกลมกลืนกับเหตุการณ์แวดล้อม ขัดแย้งกันเอง ในสาระสําคัญหรือไม่ ตลอดจนเบิกความสั้น ๆ โดยไม่มีรายละเอียดหรือไม่

(5) ลักษณะท่าทางของพยาน เพราะสีหน้าท่าทางของพยานในขณะเบิกความนั้นจะ แสดงให้เห็นได้ว่าพยานเบิกความตามความเป็นจริงหรือไม่

ข้อ 3. หากต้นฉบับเอกสารชิ้นหนึ่งที่โจทก์ต้องการอ้างในชั้นศาลอยู่กับบุคคลภายนอก การส่งสําเนาเอกสาร ให้กับศาลหรือคู่ความฝ่ายอื่นยังคงต้องหาอยู่หรือไม่ อย่างไร หรือมีวิธีการใดจึงจะสามารถอ้างเอกสารชิ้นดังกล่าวได้ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 88 “เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจํานงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใด… เพื่อเป็นพยานหลักฐาน
สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน………”

มาตรา 90 วรรคหนึ่ง วรรคสาม และวรรคท้าย “ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยาน หลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่น ซึ่งสําเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสําเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสําเนาเอกสาร
ให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีดังต่อไปนี้

(2) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อยู่ในความครอบครองของ คู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก

กรณีตาม (2) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้ศาลมีคําสั่งเรียกเอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครอง ตามมาตรา 123 โดยต้องยื่นคําร้องต่อศาลภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้
คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมาภายในเวลาที่ศาลกําหนด”

มาตรา 93 “การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้นเว้นแต่

(2) ถ้าต้นฉบับเอกสารนํามาไม่ได้ เพราะถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือไม่สามารถ นํามาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ หรือเมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจําเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสําเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นํามา
ไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นําสําเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้

มาตรา 123 “ถ้าต้นฉบับเอกสารซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานนั้นอยู่ในความ ครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่ายที่อ้างจะยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาลขอให้สั่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ส่งต้นฉบับเอกสารแทนการที่ตนจะต้องส่งสําเนาเอกสารนั้นก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสําคัญและคําร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยืนต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายในเวลาอันสมควรแล้วแต่ศาลจะกําหนด…….

ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก หรือในครอบครองของทางราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ซึ่งคู่ความที่อ้างไม่อาจร้องขอโดยตรงให้ส่งเอกสารนั้นมาได้ ให้นําบทบัญญัติในวรรคก่อน ว่าด้วยการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารยื่นคําขอ และการที่ศาลมีคําสั่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ฝ่ายที่อ้าง ต้องส่งคําสั่งศาลแก่ผู้ครอบครองเอกสารนั้นล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวัน ถ้าไม่ได้เอกสารนั้นมาสืบตามกําหนด เมื่อศาลเห็นสมควรก็ให้ศาลสืบพยานต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 93 (2)”

อธิบาย

โดยหลักแล้ว คู่ความฝ่ายใดมีความจํานงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดเพื่อเป็นพยานหลักฐานในการ สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 88) และให้ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสําเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90 วรรคหนึ่ง)

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต้นฉบับเอกสารที่โจทก์ต้องการอ้างในชั้นศาลนั้นอยู่กับบุคคลภายนอก (ซึ่งมิใช่คู่ความ) โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายอ้างอิงพยานหลักฐาน (ต้นฉบับเอกสาร) ก็ไม่ต้องยื่นสําเนาเอกสารต่อศาล และ ไม่ต้องส่งสําเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่น (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90 วรรคสาม (2)) และถ้าโจทก์ฝ่ายที่อ้างอิง พยานหลักกฐานนั้นประสงค์จะอ้างเอกสารดังกล่าว โจทก์ก็สามารถทําได้โดยการปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่ง มาตรา 90 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 123 กล่าวคือ โจทก์จะต้องยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล ขอให้ศาลสั่งให้บุคคลภายนอกผู้ครอบครองเอกสารส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวแทนการที่โจทก์จะต้องส่งสําเนา เอกสารนั้น และถ้าศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสําคัญและคําร้องของโจทก์นั้นฟังได้ ให้ศาลมีคําสั่ง ให้บุคคลภายนอกนั้นยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายในเวลาอันสมควรแล้วแต่ศาลจะกําหนด แต่โจทก์จะต้องส่ง คําสั่งศาลให้แก่บุคคลภายนอกผู้ครอบครองเอกสารนั้นล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

ถ้าโจทก์ทําตามวิธีการดังกล่าวแล้ว แต่บุคคลภายนอกปฏิเสธในการส่งเอกสารมายังศาล ย่อมถือว่า เป็นกรณีที่นําต้นฉบับเอกสารมาไม่ได้ เพราะสูญหายหรือไม่สามารถนํามาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจาก พฤติการณ์ที่โจทก์ผู้อ้างอิงเอกสารต้องรับผิดชอบตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 93 (2) และเมื่อไม่ได้เอกสารนั้นมาสืบ ตามกําหนด เมื่อศาลเห็นสมควรก็ให้ศาลสืบพยานต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 93 (2) (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 123 วรรคสอง) กล่าวคือ ศาลจะสืบพยานต่อไปโดยอนุญาตให้นําสําเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้

WordPress Ads
error: Content is protected !!