การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา MKT 2101 หลักการตลาด
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ปัจจุบันมีแนวโน้มการเปิดศูนย์การค้าที่เรียกว่า Community Mall มากขึ้น ซึ่งลักษณะของร้านค้าดังกล่าวจะประกอบด้วย ร้านอาหาร ร้านสรรพาหาร ธนาคาร เป็นต้น ศูนย์การค้า Community Mall จัดอยู่ในตลาดประเภทใด
(1) ตลาดผู้บริโภค
(2) ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม-
(3) ตลาดผู้ขายตอ
(4) ตลาดรัฐบาล
(5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 155 – 156, (คำบรรยาย) ศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall) จัดอยู่ในตลาดผู้ขายต่อ ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ร้านค้าปลีกแบบเปิดขนาดใหญ่ใกล้แหล่งชุมชน ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ ความสะดวกแก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคหรือสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้จะมีร้านค้าปลีกต่าง ๆ อยู่ภายในศูนย์การค้า เช่น ร้านอาหาร ร้านขายยา ร้านสรรพาหาร ธนาคาร เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ประมาณ 3 – 5 ไร่ และสามารถรองรับผู้บริโภคได้ ประมาณ 2,500 – 40,000 คนต่อวัน
2. ในกระบวนการตัดสินใจซื้อ ข้อใดถือเป็นข้อพิจารณาที่ควรเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก
(1) การรับรู้ปัญหา
(2) การค้นหาผู้ขาย
(3) การทบทวนแนวทางปฏิบัติการ
(4) การอธิบายความต้องการ
(5) การเลือกผู้ขาย
ตอบ 1 หน้า 155 กระบวนการซื้อในตลาดผู้ผลิต มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การรับรู้ปัญหา 2. การอธิบายลักษณะความต้องการ 3. การกำหนดลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ 4. การค้นหาผู้ขาย 5. การพัฒนาข้อเสนอของผู้ขาย 6. การเลือกผู้ขาย 7. การเลือกลักษณะเฉพาะของคำสั่งซื้อประจำ 8. การทบทวนแนวทางปฏิบัติการ
3. หากโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการซื้อเครื่องจักร ซึ่งจะมีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องกับการซื้อ บุคคลที่ควรเข้ามาร่วมพิจารณาคือใคร
(1) ผู้จัดการฝ่ายการเงิน
(2) ผู้จัดการฝ่ายบัญชี
(3) ผู้จัดการฝ่ายการตลาด
(4) ผู้จัดการฝ่ายผลิต
(5) ผู้จัดการฝ่ายบุคคล
ตอบ 4 หน้า 153, 602 การซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจะใช้เหตุผลในการซื้อมากกว่าใช้อารมณ์ และ จะมีผู้บริหารจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่น ประธาน ผู้จัดการฝ่ายผลิต วิศวกร ผู้ใช้ ฯลฯ เข้ามาช่วย ในการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรหลักที่มีราคาสูง เพราะจะมีผลต่อกำไร จากการดำเนินงานของธุรกิจ
4. ข้อใดผิด
(1) ผู้ขายต่อพิจารณาราคาและส่วนลดเป็นสำคัญ
(2) ผู้ขายต่อพิจารณาคุณภาพและนโยบายผลิตภัณฑ์ตรายี่ห้อมากกว่าจำนวนสินค้าที่คาดว่าจะขายได้
(3) ตลาดผู้ผลิตมีความต้องการต่อเนื่อง (Derived Demand)
(4) ตลาดผู้ผลิตมีอุปสงค์ที่ยืดหยุ่น (Elastic Demand)
(5) กระบวนการจัดซื้อของตลาดรัฐบาลคือ การประกวดราคาและการทำสัญญาต่อรอง
ตอบ 4 หน้า 152. 157, 160 ตลาดผู้ผลิตมีลักษณะสำคัญ เช่น เป็นความต้องการต่อเนื่อง (Derived Demand) เป็นอุปสงค์ที่ไม่ยืดหยุ่น (Inelastic Demand) ฯลฯ ส่วนผู้ขายต่อจะพิจารณาราคา และส่วนลดเป็นสำคัญ พิจารณาคุณภาพและนโยบายผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อมากกว่าจำนวนสินค้า ที่คาดว่าจะขายได้ ในขณะที่กระบวนการจัดซื้อของตลาดรัฐบาลมี2วิธีคือการประกวดราคา และการทำสัญญาต่อรอง
5. คุณสมบัติเด่นส่วนบุคคลที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการตัดสินใจซื้อคือข้อใด
(1) ความขยัน (2) ความกล้าเลี่ยง (3) ความขี้เกียจ (4) ความต้องการฉวยโอกาส (5) ความกล้าต่อสู้กับศัตรู
ตอบ 2 หน้า 153 – 154 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ผลิต มี 4 ประการ คือ
1. ปัจจัยจากสภาวะแวดล้อม เช่น ระดับความต้องการเบื้องต้น สภาวะทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเมืองและกฎหมาย คู่แข่งขัน ฯลฯ
2. ปัจจัยทางด้านองค์กร เช่น จุดประสงค์ นโยบาย โครงสร้างการจัดองค์การ ฯลฯ
3. ปัจจัยของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น อำนาจหน้าที่ สถานภาพ ความเห็นใจ ฯลฯ
4. ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น รายได้ อายุ การศึกษา ตำแหน่งงาน ความกล้าเสี่ยง ฯลฯ โดยความ กล้าเสี่ยงถือเป็นคุณสมบัติเด่นส่วนบุคคลที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการตัดสินใจซื้อ
ข้อ 6. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) ผู้ผลิต –> ผู้บริโภค
(2) Selective Distribution
(3) Intensive Distribution
(4) Physical Distribution
(5) Exclusive Distribution
6. สินค้าประเภทสมัยนิยม ควรเลือกใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใด
ตอบ 3 หน้า 214, 307, 312, 316 การจัดจำหน่ายผ่านคนกลางจำนวนมากราย (Intensive Distribution) หมายถึง ผู้ผลิตจะใช้คนกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าปลีกจำนวนมากรายเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า ของกิจการให้ทั่วถึง ทั้งนี้เพราะสินค้านั้นมีการเลือกหาซื้อบ่อย หากผู้บริโภคมีความต้องการ ก็อาจจะหาซื้อได้ทันที ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพูสระผม ยาสีฟัน ฯลฯ รวมทั้งสินค้า ประเภทสมัยนิยมซึ่งล้าสมัยเร็วทำให้จำเป็นต้องขายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยรีบด่วน
7. ผู้ผลิตยาคูลท์เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายลักษณะใด
ตอบ 1 หน้า 307 ช่องทางการจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง (Direct Distribution หรือ Door to Door Selling) ซึ่งไม่มีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เป็นช่องทางที่ใช้ จัดจำหน่ายสินค้าไม่มากชนิดนัก เพราะเป็นการยากที่จะจำหน่ายให้ถึงผู้บริโภคที่กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคจำนวนมาก เช่น การขายเครื่องสำอาง AVON การขายยาคูลท์ เป็นต้น
8. ยาสีฟันซอลท์ ควรเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
9. ข้อใดมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการแจกจ่ายตัวสินค้า
ตอบ 4 หน้า 318 – 319 การแจกจ่ายตัวสินค้า (Physical Distribution) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ ใบกระบวนการเสริมสร้างความต้องการของธุรกิจตาง ๆ โดยกิจการจะพยายามจัดการตัวสินค้า เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคตามสถานที่ซึ่งมีความต้องการ และใช้วิธีการแจกจ่าย ตัวสินค้าเพื่อเข้ามาช่วยให้การจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ โดยเสียคาใช้จ่าย น้อยที่สุด
10. สินค้าที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูง เช่น เครื่องจักร ผู้ผลิตควรเลือกใช้ช่องทางจำหน่ายแบบใด
ตอบ 1 หน้า 310 – 312 สินค้าที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูง เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ ผู้ผลิตมักเลือกใช้ ช่องทางการจัดจำหน่ายทีสั้น นั่นคือ จากผู้ผลิตถึงผู้ใช้สินค้าโดยตรง (Direct Distribution) แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงก็ตาม ทั้งนี้เพราะสินค้าดังกล่าวจะมีผู้ผลิตน้อยราย และผู้ซื้อต้องการรับบริการพิเศษจากผู้ผลิต เช่น การติดตั้ง การแนะนำการใช้ การบำรุงรักษา เป็นต้น
11. ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเข้าตลาดต่างประเทศ
(1) การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศหรือไม่
(2) การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดแห่งใด
(3) การตัดสินใจในการวางแผนการทางการตลาด
(4) การประเมินสภาวะแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศ
(5) การตัดสินใจการจัดองค์การทางการตลาด
ตอบ 4 หน้า 553 – 554 ขั้นตอนในการพิจารณาตัดสินใจเข้าตลาดต่างประเทศ มี 6 ประการ ดังนี้
1. การประเมินสภาวะแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศ
2. การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศหรือไม่
3. การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศแห่งใด
4. การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศอย่างไร
5. การตัดสินใจในการวางแผนการทางการตลาด
6. การตัดสินใจการจัดองค์การทางการตลาด
12. การร่วมลงทุนกับกิจการในตลาดต่างประเทศ (Joint Venture) เป็นการเข้าตลาดต่างประเทศ ยกเว้นข้อใด
(1) Licensing
(2) Export
(3)Contract Manufacturing
(4) Management Contracting
(5) Joint-Ownership Venture
ตอบ 2 หน้า 562 – 563 การร่วมลงทุนกับกิจการในต่างประเทศ (Joint Venture) มี 4 วิธี ได้แก่
1. การให้สิทธิการผลิตและจัดจำหน่ายแก่ผู้ผลิตในตลาดต่างประเทศ (Licensing)
2. การจ้างโรงงานผลิตสินค้าให้ในตลาดต่างประเทศ (Contract Manufacturing)
3. การทำสัญญาร่วมลงทุนทางด้านการบริหาร (Management Contracting) เพื่อให้ส่งพนักงานระดับบริหารเข้ามาร่วมบริหารงานของกิจการ
4. การเป็นเจ้าของร่วมลงทุนกับกิจการในตลาดต่างประเทศ (Joint-Ownership Venture)
13. สินค้าที่จะส่งไปขายในตลาดต่างประเทศ อาจ‘ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมของตลาดต่างประเทศข้อพิจารณาทางวัฒนธรรมคือข้อใด
(1) อำนาจซื้อส่วนบุคคล
(2) อัตราการว่างงาน
(3) ลักษณะอาหารที่บริโภค
(4)ความมั่นคงของรัฐบาล
(5) นโยบายการส่งออกของประเทศ
ตอบ 3 หน้า 558 – 559 ข้อพิจารณาทางด้านวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศ คือ มีผลต่อความพอใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า และมีผลต่อการเสนอขายสินค้าของ นักการตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม เช่น ลักษณะอาหารที่บริโภค สภาพความเป็นอยู่ รสนิยมการแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น
14. ข้อใดกล่าวถึงการตลาดระหว่างประเทศไม่ถูกต้อง
(1) ทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากภาษีส่งออกและนำเข้า
(2) ทำให้การผลิตขยายตัว
(3) ทำให้สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตไม่ได้ในประเทศ
(4) ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความสัมพันธ์กันซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการเมือง
(5) ทำให้คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น
ตอบ 1 หน้า 552 – 553 การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อประเทศ ดังนี้
1. ทำให้การผลิตขยายตัว คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้เกิดการอยู่ดีกินดี
2. สามารถเลือกซื้อสินค้าต่างประเทศที่ผลิตไม่ได้ในประเทศ
3. ทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีการส่งออกและนำเข้ามากขึ้น
4. ถ้าส่งสินค้าออกมากจะทำให้ได้เปรียบดุลการค้า
5. ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
15. ข้อใดมีใช่เหตุผลที่กิจการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
(1) เพื่อปรับขนาดตลาดให้แคบลง (2) เพื่อหวังผลกำไร
(3) เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
(4) เพื่อสนองนโยบายของประเทศพัฒนาที่ลดอัตราภาษี
(5) เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ต่อสู้การแข่งขัน
ตอบ 1 หน้า 553 เหตุผลที่กิจการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ 1. ต้องการแสวงหาผลกำไร 2. เพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มที่ 3. ช่วยขยายตลาดให้มีมากแห่งยิ่งขึ้น
4. สนองนโยบายของประเทศที่ต้องการลดอัตราภาษี
5. ต้องการลดต้นทุบการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
16. หน้าที่สำคัญของการตลาดสินค้าเกษตรกรรม คือ
(1) การซื้อ (2) การเก็บรักษาสินค้า (3) การกำหนดมาตรฐานสินค้า
(4) การขาย (5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 หน้า 593 – 596 หน้าที่สำคัญของการตลาดสินค้าเกษตรกรรม มีดังนี้ 1. การซื้อและการขาย โดยพิจารณาจากการหาความต้องการของการซื้อ แหล่งที่มาของสินค้าเกษตร เพราะแหล่งผลิต ที่ต่างกันคุณภาพสินค้าอาจไม่เหมือนกัน ความเหมาะสมของสินค้าเกษตร และเงื่อนไขในการซื้อ 2. การขนส่ง 3. การเก็บรักษาสินค้า 4. การเสี่ยงภัย 5. การกำหนดมาตรฐานสินค้าและการจัดขนาดของสินค้า 6. การเงิน 7. ข่าวสารทางการตลาด
17. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสินค้าเกษตร
(1) ปริมาณและคุณภาพต่างกันตามฤดูกาล
(2) ความต้องการสูญเสียได้ง่าย (3) เน่าเปื่อยเสียหายง่าย
(4) มีน้ำหนัก กินเนื้อที่ (5) ต้องอาศัยสถานที่เก็บสินค้า
ตอบ 2 หน้า 589 ลักษณะสำคัญของสินค้าเกษตร มีดังนี้
1. เป็นการผลิตขนาดย่อม 2. แหล่งผลิตกระจายกันอยู่ทั่วไป
3. ผลิตได้ตามฤดูกาล แต่การบริโภคมีต่อเนื่องตลอดปี ทำให้ต้องมีการจัดเก็บผลผลิตไว้ เพื่อบริโภคในอนาคต ส่งผลให้เกิดกิจกรรมการเก็บรักษาและการคลังสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง
4.ปริมาณและคุณภาพแตกต่างกันตามฤดูกาลและสภาพของดินฟ้าอากาศ
5.เน่าเปื่อยเสียหายได้ง่าย เกษตรกรจึงไม่สามารถเก็บสินค้าเกษตรเอาไว้ได้นาน ทำให้ต้อง อาศัยสถานที่เก็บสินค้าที่เหมาะสม
6.มีน้ำหนัก กินเนื้อที่ ทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง การเคลื่อนย้าย การรวบรวม และการเก็บรักษาต้องเสียค่าใช้จ่ายสู
18. สินค้าเกษตรชนิดใดของไทยที่ส่งออกขายยังตลาดต่างประเทศมากที่สุด
(1) ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (2) ข้าว (3) ชิ้นส่วนรถยนต์
(4) ยางพารา (5) กุ้งแช่แข็ง
ตอบ 4 (ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) มูลค่าสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2556 – 2557) 5 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา ข้าวและผลิตภัณฑ์ ปลาและ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมันสำปะหลัง ผลไม้และผลิตภัณฑ์
19. หากจะทำการส่งเสริมทางการตลาดกับสินค้าเกษตร ควรทำในช่วงใด
(1) ผู้ผลิต (2) ผู้บริโภคคนสุดท้าย (3) ร้านขายปลีก (4) การขนส่ง (5) เกษตรกร
ตอบ 3 หน้า 592 ปกติการส่งเสริมทางการตลาดจะไม่สามารถนำมาใช้กับตลาดสินค้าเกษตรได้โดยเฉพาะในระดับผู้ผลิตหรือระดับเกษตรกรแทบจะไม่มีเลย เพราะสินค้าของเกษตรกรทุกราย มีลักษณะเหมือนกัน แต่จะพบการส่งเสริมการตลาดบ้างในระดับของอุตสาหกรรมการเกษตร หรือคนกลางที่เป็นร้านค้าปลีกบางราย
20. จากข้อความ “สินค้าเกษตรต้องพิจารณาที่มาของสินค้า” มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
(1) แหล่งผลิตที่ต่างกันคุณภาพสินค้าอาจไม่เหมือนกัน
(2) แหล่งผลิตที่ต่างกัน ราคาสินค้าอาจไม่เหมือนกัน
(3) สภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ราคาสินค้าอาจไม่เหมือนกัน
(4) สภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ค่าขนส่งอาจไม่เหมือนกัน
(5) สภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ต้องเผชิญกับการเสี่ยงภัยด้านการขนส่งที่ไม่เหมือนกัน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ
21. การวางแผนผลิตภัณฑ์หมายถึงอะไร
(1) การกำหนดราคา
(2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์
(3) การโฆษณาผลิตภัณฑ์
(4) การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์
(5) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์
ตอบ 2 หน้า 213 การวางแผนผลิตภัณฑ์ หมายถึง การตัดสินใจอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมทั้งหมดในการพัฒนาและการบริหารผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ ซึ่งการที่ธุรกิจมีกระบวนการวางแผน ผลิตภัณฑ์ที่ดี ย่อมทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก กล่าวคือ ทำให้มีการพัฒนา แผนงานทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม มีการประสาบงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถ ประเมินตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ และทำให้มีการลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่พึงปรารถนาได้ดีขึ้น
22. สินค้าประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้บริโภคไม่ต้องมีการวางแผนซื้อ
(1) ข้าวสาร
(2) ยารักษาโรค
(3) สินค้าทีซื้อเมื่อพบเห็น
(4) สินค้าทีซื้อเมื่อจำเป็น
(5) ที่กล่าวมาทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 214 – 215 สินค้าซื้อฉับพลัน เป็นการซื้อที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า แต่เป็นสินค้าที่ ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเมื่อได้มองเห็นสินค้าและเกิดความต้องการ เช่น ขณะที่เดินไปตามท้องถนน และได้เห็นไอศกรีมแท่งก็ซื้อทันที เป็นต้น
23. ลักษณะสำคัญของสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่อะไร
(1) ตลาดจะมีผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก (2) ความต้องการจะผันแปรตามราคา (3) จะซื้อด้วยความมีเหตุผลเป็นหลัก
(4) จะตัดสินใจซื้อโดยคน ๆ เดียว (5) ที่กล่าวมาทั้งหมด
ตอบ 3 หน้า 152, 220 – 221, 602 – 605 ลักษณะสำคัญของสินค้าอุตสาหกรรม มีดังนี้
1. มีผู้ซื้อจำนวนน้อยราย แต่ซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมาก
2. มีความต้องการสินค้าหรืออุปสงค์ที่ไม่ยืดหยุ่น
3. ความต้องการมีลักษณะผกผัน และเป็นความต้องการที่ต่อเนืองมาจากความต้องการ ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค
4. เป็นสินค้าทีใช้เหตุผลในการซื้อมากกว่าใช้อารมณ์ ซึ่งจะมีผู้บริหารจากหลาย ๆ ฝ่าย เข้ามาช่วยพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ
5. คุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ซื้อโดยตรงจกผู้ผลิต ซื้อแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย และขอเช่าแทนการซื้อ
24. สินค้าในข้อใดที่จัดว่าเป็นกลุ่มสายผลิตภัณฑ์
(1) ดินสอ เสื้อผ้า แชมพู (2) โทรทัศน์ กระดาษ เสื้อผ้า (3) แชมพู สบู่ กรรไกร
(4) เสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า (5) ขนมหวาน กระดาษ ปากกา
ตอบ 4 หน้า 228 ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1. สายผลิตภัณฑ์ (Product Line) คือ กลุ่มของรายการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เช่น สายผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยเสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น
2. รายการผลิตภัณฑ์ (Product Item) คือ ตัวแบบ ตราสินค้า หรือขนาดของผลิตภัณฑ์ ที่ธุรกิจขายอยู่
25. สินค้าประเภทใดต่อไปนี้ที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต
(1) กล้องถ่ายรูปดิจิตอล (2) สบู่ (3) ปากกา (4) เสื้อผ้า (5) โทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 236 – 237 ขั้นตอนในช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ช่วงดังนี้
1. ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Introduction) เป็นขั้นที่นักการตลาดต้องการเข้าหาผู้บริโภค ที่ยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ในขั้นนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้นและยังไม่มีคู่แข่งขัน
2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth) เป็นขั้นที่ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลาดเริ่มมีลักษณะเป็น มวลชน และเริ่มมีคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดบ้างแล้ว เช่น สินค้าประเภทกล้องถ่ายรูปดิจิตอล โทรศัพท์ประเภท Smart Phone เป็นต้น
3. ขั้นตลาดอิ่มตัว (Maturity) เป็นขั้นที่ยอดขายคงที่หรือเพิ่มขึ้นใบอัตราที่ลดลง คู่แข่งขัน มีจำนวนมาก และกำไรเริ่มลดลง
4. ขั้นยอดขายลดลง (Decline) เป็นขั้นที่ยอดขายลดลง คู่แข่งขันลดลง และกำไรลดลงอย่างมาก
26. เหตุใดนักการตลาดจึงต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่
(1) เพื่อเพิ่มยอดขาย (2) เพื่อลดความเสียง (3) เพื่อสร้างจินตภาพ
(4) เพื่อเป็นการใช้วัสดุให้คุ้มค่า (5) ที่กล่าวมาทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 245 – 246 ความสำคัญของผลิตภัณฑ์ใหม่ มีดังนี้ 1. ช่วยเพิ่มยอดขาย
2. ช่วยเพิ่มกำไร 3. ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ 4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้
กับช่องทางการจัดจำหน่ายเดิม 5. ช่วยให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการ นำวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ 6. ช่วยสร้างจินตภาพให้กับธุรกิจ
27. เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ประสบความสำเร็จได้แก่ข้อใด
(1) ขนาดค่อนข้างใหญ่ (2) อายุการใช้งานนานเกินไป
(3) มีข้อบกพร่องในตัวผลิตภัณฑ์ (4) กำหนดราคาหลายระดับ (5) ต้นทุนในการผลิตต่ำเกินไป
ตอบ 3 หน้า 247 สาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ล้มเหลว มีดังนี้ 1. การวิเคราะห์ตลาดไม่เพียงพอ 2. ผลิตภัณฑ์มีข้อบกพร่อง 3. มุ่งเน้นทางการผลิตมากเกินไป 4. ไม่มีการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีพอ 5. ต้นทุนในการพัฒนา การผลิต และการตลาดสูงเกินไป
6. ขาดการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกกิจการ 7. ผลิตภัณฑ์มีช่วงชีวิตค่อนข้างสั้น 8. คู่แข่งขัน 9. ขาดความร่วมมือในช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น
28. ทำไมนักการตลาดจึงต้องใช้การทดสอบตลาด
(1) เพื่อความสมบูรณ์ของขั้นตอน
(2) เพื่อศึกษาความเป็นไปในตลาด (3) เพื่อเอาใจลูกค้า
(4) เพื่อให้พนักงานขายปรับตัว (5) เพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ตอบ 2 หน้า 252 – 253 เมื่อผลิตภัณฑ์ได้พัฒนาและผ่านการทดสอบจากผู้บริโภคแล้ว ก็มาถึง
ขั้นตอนของการทดสอบตลาด ซึ่งเป็นเรื่องของการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดที่คัดเลือกไว้ เพื่อต้องการทราบความเป็นไปของยอดขายและกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะทางด้าน กลยุทธ์ทางการตลาดก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดรวมทั้งหมด
29. กรณีใดที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่อิ่มตัว
(1) มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปได้
(2) ขนาดของตลาดค่อนข้างเล็ก (3) คู่แข่งขันมีความเข้มแข็ง
(4) ผลิตภัณฑ์ไม่มีความจำเป็น (5) กำไรค่อนข้างน้อย
ตอบ 1 หน้า 258 – 259 ปัจจัยที่ทำให้นักการตลาดตัดสินใจว่าควรมีการขยายช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ ในขั้นอิ่มตัว มีดังนี้ 1. ตลาดต้องมีขนาดใหญ่พอ 2. ผลิตภัณฑ์มีความจำเป็นต่อผู้บริโภค 3. มีส่วนแบ่งตลาดที่ยังเข้าไม่ถึง 4. คู่แข่งขันมีความเข้มแข็งน้อย
5. มีโอกาสที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ 6. ผลิตภัณฑ์มีกำไรขั้นต้นสูง
7. คนกลางให้ความร่วมมือในการช่วยกระจายผลิตภัณฑ์
8. ผลิตภัณฑ์มีจินตภาพดี 9. ธุรกิจมีความสามารถในการจัดการ
30. ทำไมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในท้องตลาดจึงมีขนาดของบรรจุภัณฑ์เฉพาะของตัวเอง
(1) เป็นความพอใจของนักการตลาด (2) ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยการบริโภค
(3) ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร (4) ขึ้นอยู่กับอัตราการขาย (5) ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า
ตอบ 2 หน้า 266 การกำหนดขนาดของการหีบห่อ (บรรจุภัณฑ์) มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ คือ 1. ขนาดของหน่วยที่ใช้บริโภค 2. อัตราการบริโภค
31. ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการตลาดมากที่สุด
(1) การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
(2) การลงทุนอย่างประหยัด
(3) การขายสินค้าตามที่ลูกค้าพอใจ
(4) การจัดการบุคลากรอย่างเหมาะสม
(5) การบันทึกข้อมูลอย่างมีระบบ
ตอบ 3 หน้า 4-5 การตลาด หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าและหรือบริการจากผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภคคนสุดท้ายโดยผ่านคนกลางหรือไม่ก็ได้ เพื่อมุ่งตอบสนองความพอใจและความ ต้องการของลูกค้า โดยอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาด ในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้านั้น จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือลักษณะของสินค้า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ทางการตลาดแต่ประการใด แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องการนำสินค้าออกสู่ตลาดโดยผ่านขั้นตอน ของกิจกรรมการตลาด ก็ถือว่าเป็นเรื่องของการตลาด
32. บทบาทสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบธุรกิจได้แก่ข้อใด
(1) ช่วยให้ฝ่ายการตลาดเจริญเติบโต
(2) ช่วยให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพ
(3) ช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ
(4) ช่วยให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ที่กล่าวมาทั้งหมด
ตอบ 4 หน้า 4-6, (ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ) ในปัจจุบันการตลาดจะทำให้เกิดการซื้อขาย แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างแหล่งเสนอขายกับความต้องการ โดยจะผ่านคนกลางหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการตลาดจึงช่วยให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกิจกรรม ทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยส่วนประสมทางการตลาด (การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา ช่องทางการตลาด แสะการส่งเสริมการตลาด) การวิจัยตลาด และอื่น ๆ
33. ข้อใดที่เป็นเรื่องของการตลาดที่มุ่งหรือให้ความสำคัญแก่สังคม
(1) การใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างประหยัด (2) การให้เงินช่วยเหลือแก่สังคม
(3) การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในการใช้ (4) การละเว้นการทำลายสภาพแวดล้อม
(5) ที่กล่าวมาทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 17 แนวความคิดการตลาดมุ่งสังคมมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพื่อตอบสนองความพอใจของผู้บริโภค
2. เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพของชีวิต
3. เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย
4. เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
5. เพื่อตอบสนองความพอใจของสังคม
34. การตลาดทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกได้แก่ข้อใด
(1) การจัดมาตรฐานของสินค้า (2) การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
(3) การลดขั้นตอนการทำงาน (4) การเพิ่มคนกลางในอนาคต
(5) การวิจัยหาข้อมูลในตลาด
ตอบ 1 หน้า8-9, 11 หน้าที่ทางการตลาดในด้านการอำนวยความสะดวกประกอบด้วย หน้าที่ในการจัดมาตรฐานของสินค้า ข้อมูลข่าวสาร การเสี่ยงภัย และการเงิน
35. แนวความคิดทางผลิตภัณฑ์จะมุ่งเน้นในประเด็นใด
(1) ความพอใจของผู้บริโภค
(2) ความต้องการของผู้บริโภค (3) การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
(4) การขยายตัวของกิจการ (5) การเก็บข้อมูลทางการผลิต
ตอบ 3 หน้า 14 แนวความคิดทางผลิตภัณฑ์จะมุ่งเน้นที่การบริหาร โดยสมมุติว่าผู้บริโภคพอใจ ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา ดังนั้นธุรกิจจึงสนใจที่จะปรับปรุงคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก
36. ลักษณะทางประชากรที่สำคัญของผู้บริโภคได้แก่ข้อใด
(1) สถานะการแต่งงาน (2) อาชีพของผู้บริโภค (3) แหล่งที่อยู่อาศัย
(4) การศึกษาของผู้บริโภค (5) ที่กล่าวมาทั้งหมด
ตอบ 5 หน้า 127, 129 – 131 ลักษณะทางประชากรของตลาดผู้บริโภคที่สำคัญ ได้แก่ จำนวน
ประชากร แหล่งที่พักอาลัย การเคลื่อนย้ายประชากร รายได้และรายจ่ายของผู้บริโภค อาชีพ การศึกษา และสถานะการแต่งงาน
37. นักการตลาดมองการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคออกมาในลักษณะใด
(1) ความประหยัด (2) ความพอใจ (3) ความสวยงาม
(4) ราคาถูก (5) ผิดทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 132 – 133 นักการตลาดได้ตั้งข้อสมมุติฐานว่าผู้บริโภคเป็นบุคคลที่คำนึงถึงความพอใจ โดยเลือกที่จะซื้อสินค้าในรูปของต้นทุนที่เสียไปและผลได้ที่ได้รับ เพื่อต้องการอรรถประโยชน์ หรือความพึงพอใจให้มากที่สุด ในขณะที่ได้ใช้จ่ายเงินและเวลาที่มีอย่างจำกัด ดังนั้นนักการตลาด จะเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ประชากรเมื่อต้องการคาดคะเนพฤติกรรมผู้บริโภค
38. ปัญหาของผู้บริโภคที่จะต้องแก้ไขนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร
(1) การเรียนรู้ (2) การยอมรับ (3) ความเสี่ยง
(4) การตอบสนองความต้องการ (5) สภาพแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 133 – 134 ผู้บริโภค คือ ผู้ที่แก้ปัญหาซึ่งได้รับการกระตุ้นจากความต้องการหรือ แรงขับ ซึ่งความต้องการที่ไม่สามารถตอบสนองความพอใจได้จะนำไปสู่ความตึงเครียด และปรารถนาที่จะแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้บริโภคจะใช้กระบวนการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน เพื่อหาทางที่จะตอบสนองความต้องการของตน
39. แรงจูงใจทางด้านอารมณ์ในการซื้อรถยนต์ได้แก่ข้อใด
(1) การให้บริการหลังการขาย (2) การลดราคาสินค้า (3) การประหยัดน้ำมัน
(4) รูปแบบสวยงาม (5) อายุการใช้งานนาน
ตอบ 4 หน้า 140 – 141 แรงจูงใจทางด้านอารมณ์ มีลักษณะดังนี้
1. การสร้างความพอใจให้กับความรู้สึกของประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การซื้อรถยนต์โดยพิจารณา จากรูปแบบ สี สไตล์ ฯลฯ 2. การรักษาสถานภาพ 3. ความกลัว
4. ความเพลิดเพลินหรือการพักผ่อน 5. ความภูมิใจ 6. การเลียนแบบผู้มีชื่อเสียง
7. การเข้าสังคม 8. การดิ้นรน 9. ความอยากรู้อยากเห็น
(ส่วนการให้บริการหลังการขาย อายุการใช้งาน การประหยัดน้ำมัน และราคา ถือว่าเป็นแรงจูงใจ ทางด้านเหตุผล)
40. ข้อใดที่เป็นเรื่องของอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม
(1) การซื้อสินค้าราคาถูก
(2) การซื้อสินค้าตามเพื่อน (3) การซื้อสินค้าตามค่านิยม
(4) การซื้อสินค้าตามความพอใจ (5) การซื้อสินค้าตามความสะดวก
ตอบ 3 หน้า 142 – 145 ปัจจัยทางสังคมที่มิอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้แก่
1. ครอบครัว ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากที่สุด 2. กลุ่มอ้างอิง 3. ผู้นำทางความคิด 4. ชั้นสังคม 5.วัฒนธรรม ประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม และ
ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น อาคารบ้านเรือน รูปแบบของสินค้า ฯลๆ ส่วนวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม เช่น คาสนา ลัทธิต่าง ๆ ฯลฯ
41. ข้อใดหมายถึงพ่อค้าคนกลาง
(1) Reseller Middlemen
(2) Merchant Middlemen
(3) Agent Middlemen
(4) Direct Middlemen
(5) Facilitators