การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 4106 (MCS 4170) การวิจัยสื่อสารมวลชนเบื้องต้น

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

Advertisement

1.         ใครเป็นผู้กล่าวข้อความ ความรู้ทุกแห่งหนในโลกของเรานั้นยังไม่สมบูรณ์…ปัญหาต่าง ๆ ยังรอการแก้ไขอยู่ ” ต่อไปนี้

(1)       Parsons & Shills 

(2) Paul Leedy         

(3) Verstehen    

(4) Reiss

ตอบ 2 หน้า 11-12 Paul Leedy นักวิจัยทางสังคมศาสตร์กล่าวว่า ความรู้ทุกแห่งหนในโลกของเรานั้น ยังไม่สมบูรณ์ และปัญหาต่าง ๆ นั้นยังรอผู้แก้ไขให้ความกระจ่างแจ้งชัดเจนอยู่อีกมาก… บทบาทของการวิจัยก็คือ การตระเตรียมวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งคำตอบเหล่านี้โดยการศึกษา และแสวงหาความจริงในสากลโลก ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

2.         การวิจัยสื่อสารมวลชน มีความหมายอย่างไรดังต่อไปนี้

(1)       การรวบรวมข้อมูลภาคสนามนำมาทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย

(2)       กระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

(3)       การตั้งคำถามเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงตามทฤษฎีสื่อสารมวลชน

(4)       กระบวนการค้นหาข่าวสารด้านสื่อสารมวลชนเพื่อการตีความตามหลักสถิติ

ตอบ 2 หน้า 11 การวิจัยสื่อสารมวลชน (Mass Communication Research) คือ กระบวนการ แสวงหาความรู้ใหม่ทางสื่อมวลชน หรือเป็นการค้นหาคำตอบจากปัญหาสื่อมวลชน โดยใช้ วิธีการหรือระเบียบวิธีการวิจัยแบบต่าง ๆ ภายใต้กระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เข้าดำเนินการวิเคราะห์ค้นหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับหัวข้อหรือปัญหาที่จะทำวิจัย ตามจุดมุ่งหมายของผู้วิจัยนั้นเป็นสำคัญ

3.         การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของวัยรุ่นต่อการชมภาพยนตร์เรื่องเพศและความรุนแรง” นั้น อะไรเป็น ตัวแปรตามต่อไปนี้

(1)       ความพึงพอใจ (2) พฤติกรรมชอบความรุนแรง

(3) ภาพยนตร์เรื่องเพศ            (4) วัยรุ่นที่ชมภาพยนตร์

ตอบ 1 หน้า 84369 ตัวแปรตาม (Dependent Variables : DV) คือ ตัวแปรที่เกิดขึ้นจากผลของตัวแปรด่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันนั้น หรือเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์จาก กลุ่มหรือชุดของตัวแปรอิสระหลาย ๆ ตัวเข้าประกอบกัน เพื่ออธิบายหรือสรุปการทำบาย ตัวแปรตาม (DV) จากตัวแปรอิสระ (IV) ทำให้ในบางครั้งจึงเรียกตัวแปรตามว่า ตัวแปรผล” เพราะเกิดจากผลของตัวแปรอิสระ หรือขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระนั่นเอง เช่น จากหัวข้อวิจัยข้างต้น พบว่า ความพึงพอใจของวัยรุ่นเป็นตัวแปรตาม ส่วนภาพยนตร์เรื่องเพศและความรุนแรงเป็น ตัวแปรอิสระ เป็นต้น

4.         หลักการที่ใช้ Anonymity นั้น เกี่ยวกับเรื่องใดต่อไปนี้

(1) การรวบรวมข้อมูล  (2) การสร้างแบบสอบถาม

(3) การวัดผล   (4) จรรยาบรรณของนักวิจัย

ตอบ 4 หน้า 101 จรรยาบรรณลากลของนักวิจัยสื่อสารมวลชนในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ได้แก่

1.         การไม่เปิดเผยชื่อ (Anonymity) คือ การปกปิดชื่อ – สกุลของผู้ร่วมมือในการวิจัยนั้น ซึ่ง การไม่เปิดเผยชื่อจะยังคงเก็บรักษาไว้ได้ก็ต่อเมื่อผู้วิจัยไม่ได้ทิ้งเอกสารหรือแบบสอบถามใด ๆ ไว้เป็นหลักฐานในการตอบคำถามนั้น และนำมาเก็บไว้ใบสถานที่ที่ไม่เปิดเผย

2.         การปิดเป็นความลับ (Confidentiality) คือ การรับรองว่าผู้เข้าร่วมมือในการวิจัย จะไม่ถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยการตกลงว่าจะปิดเป็นความลับ ฯลฯ

5.         การทำงานของนักวิจัยสื่อสารมวลชนนั้น เริ่มที่เรื่องใดก่อนดังต่อไปนี้

(1)       แหล่งข้อมูล     (2) สมมุติฐาน  (3) ปัญหา       (4) การวิเคราะห์ปัญหา

ตอบ 3 หน้า 27 – 29 วิธีการดำเนินการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนมีอยู่ 9 ขั้นตอน คือ

1.         เริ่มที่ปัญหาหรือคำถาม 2. ข้อมูลข่าวสารสนเทศในเรื่องของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำวิจัย 3.  วิธีการที่จะได้ข้อมูล   4. การวางแผนการวิจัย5. การดำเนินงานวิจัยตามแผนที่วางไว้ 6. กรรมวิธีข้อมูล  7. ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมา        8. สรุปผลงานวิจัย  9. ขั้นรายงานผลวิจัยหรือขั้นเสนอผลงานต่อสื่อมวลชน

6.         ระดับที่ใช้กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ใช้มากที่สุดทางการวิจัยสื่อสารมวลชนนั้น ได้แก่ค่าใดต่อไปนี้

(1)       ระดับ .50        (2) ระดับ .005            (3) ระดับ .01   (4) ระดับ .05

ตอบ 4 หน้า 287292314357 ระดับความมีนัยสำคัญ (α = Alpha) หรือค่านัยสำคัญทางสถิติ (Statistical Significance) ที่นิยมเลือกใช้กันมากที่สุดในการวิจัยทางการสื่อสารมวลชน (โดยเฉพาะการวิจัยแบบสำรวจ) ซึ่งเป็นการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ คือ ระดับ .05 (ยอมให้ผิดพลาด 5%) หรือมีค่าที่หวังได้เท่ากับ 95% นอกจากนี้ยังมีระดับที่นิยมเลือกใช้ รองลงมา คือ ระดับ .01 (ยอมให้ผิดพลาด 1%) หรือมีค่าที่หวังได้เท่ากับ 99% และระดับ .001 (ยอมให้ผิดพลาด 0.1%) หรือมีค่าที่หวังได้เท่ากับ 99.9%

7.         คำว่า วิทยาศาสตร์ (Science) มาจากคำละติน จะมีความหมายว่าอะไรต่อไปนี้

(1) To Learn       (2) To Know       (3) To Study       (4) To Educate

ตอบ 2 หน้า 660325327 คำว่า วิทยาศาสตร์” ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Science มีรากศัพท์ มาจากคำภาษาละติน แปลว่า เพื่อที่จะรู้ (To Know)

8.         เครื่องมือที่สำคัญทางการวิจัยด้านสื่อสารมวลชน ได้แก่อะไรต่อไปนี้

(1) เครื่องวัดระยะเวลาวิจัย     (2) แบบสอบถาม

(3) เครื่องวัดอุณหภูมิ  (4) แบบสำรวจพื้นที่เขตการวิจัย

ตอบ 2 หน้า 191193 การวิจัยด้านสื่อสารมวลชนจะนิยมใช้การวิจัยแบบสำรวจมากที่สุด ซึ่งส่วนมาก มักนิยมใช้เครื่องมือวิจัยสื่อสารมวลชนที่สำคัญ ได้แก่ แบบสอบถาม” (Questionnaires) โดยเฉพาะการสอบถามทางไปรษณีย์ เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หรือประหยัดมากกว่าวิธีอื่น แต่ก็ได้คำตอบกลับมาต่ำโดยเฉลยประมาณ 40% ของแบบสอบถามทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องมี วิธีการล่อใจให้ร่วมมือตอบแบบสอบถามหลาย ๆ วิธี เช่น การให้รางวัลผู้ตอบ การจับสลากชิงโชค ได้ของชำร่วย หรือการให้สิทธิบางอย่าง ฯลฯ

9.         คำว่า Helix ทางการวิจัยสื่อสารมวลชนนั้น มีความหมายถึงเรื่องใด

(1)       การวิจัยเป็นการหาความรู้ใหม่            (2) การวิจัยเป็นระบบหมุนเวียน

(3) การวัดผลโดยวิธีจัดลำดับที่           (4) การเก็บตัวอย่างแบบมีระบบ

ตอบ 2 หน้า 1727 ธรรมชาติของการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้นเป็นระบบหมุนเวียน (Circular /Helix /Spiral) อย่างต่อเนื่องเป็นวงจรเรื่อยไป เพราะโลกของการวิจัย (Research Universe) คือ สำรวจวิเคราะห์สิ่งหนึ่งแล้วสรุปผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมา ก็ย่อมมีสิ่งหนึ่งเกิดปัญหาวิจัยขึ้นใหม่ ต่อไปอีก ดังนั้นการวิจัยจึงสร้างเรื่องหรือปัญหาที่ต้องวิจัยต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น (Research Begets Research)

10.       ผู้ที่เชื่อว่าระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ และมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นการลงทุน ที่ไม่รู้จักจบสิ้นนั้น ได้แก่ใครต่อไปนี้

(1)       Verstehen         (2) Paul Leedy   (3) Karl Popper (4) Kuhn

ตอบ 3 หน้า 27 Karl Popper เชื่อว่า การแสวงหารูปแบบหรือระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ (Elusive) โดยเขามองภาพวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการลงทุนที่ไม่รู้จักจบสิ้น และพัวพันกับความรู้ที่มีเป้าหมาย

11.       พระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้เสนอวิธีการแสวงหาความรู้รูปแบบใด ดังต่อไปนี้

(1)       Authority 

(2) Intuition       

(3) Rationalism 

(4) Mysticalism

ตอบ 2 หน้า 24, (คำบรรยาย) การได้ความรู้แบบ Intuition คือ ความรู้ที่ได้จากการรู้แจ้งขึ้นเองอย่าง พระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นจากการเก็บรวบรวมสะสมความรู้นั้นไว้อย่างมีระบบและมีเหตุมีผล ที่เป็นจริงเกิดขึ้นในสมองของพระองค์ แล้วเกิดระบบความคิดฉับพลันที่ลงตัวมองเห็นทาง แก้ปัญหาขึ้นทันที (Sudden Insight) อย่างที่พุทธมามกะเรียกว่า ตรัสรู้ (Insight) ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าได้แสดงวิธีดำเนินการค้นหาความจริงตามลำดับขึ้นตอน ได้แก่ 1. ตั้งปัญหา2. หาเหตุปัญหา 3. ทดลอง 4. รู้วิธีแก้ 5. พบแนวทางแก้ปัญหา

12.       การได้ความรู้แบบ Rationalism ได้มาโดยผ่านกระบวนการใดต่อไปนี้

(1)       Induction          

(2) Deduction   

(3) Insight 

(4) Logic

ตอบ 2 หน้า 23 การได้ความรู้แบบ Rationalism ได้มาโดยผ่านกระบวบการอนุมาน (Deduction) คือ การสืบสาวหาเหตุผลทางตรรกวิทยาจากข้อสันนิษฐานและความรู้เก่า ๆ ที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว ในโลกรอบตัวเรา โดยใช้เหตุและผลที่มีอยู่จากประสบการณ์ความรู้ของตน อ้างเหตุซึ่งเป็นผล ที่น่าจะยอมรับขึ้นอย่างน้อย 2 เหตุผล แล้วสรุปผลจากสิ่งที่อ้างนั้น เช่น มนุษย์เกิดมาแล้ว —> ต้องเจ็บป่วยทุกคน —–ในที่สุดก็ต้องตาย ——-จึงสรุปได้ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย

13.       ใครแนะว่านักวิทยาศาสตร์ทางสังคมนั้นควรจะยอมรับว่าผู้คนทั้งหลายอยู่ในฐานะที่เป็นวัตถุมนุษย์ (Human Subjects) ดังต่อไปนี้

(1)       Leedy        

(2) Solomon      

(3) Verstehen    

(4) Kuhn

ตอบ 3 หน้า 25 Verstehen ชาวเยอรมัน แนะว่า นักวิทยาศาสตร์ทางสังคมควรจะยอมรับว่าตัวเอง และผู้คนทั้งหลายอยู่ในฐานะที่เป็นวัตถุมนุษย์ (Human Subjects) ผู้ซึ่งเป็นคล้ายสสารอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาศึกษาวิจัยได้ โดยเมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจมนุษย์แล้ว สิ่งนี้จะ เป็นตัวแยกความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์สังคมออกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้ในที่สุด

14.       ตัวแปร (Variables) ในการวิจัยนั้น คืออะไร

(1)       สิ่งแปรเปลี่ยนที่วัดไม่ได้ แต่เกิดค่าใหม่ขึ้นมา 2 ค่าตามธรรมชาติ

(2)       สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปแต่วัดได้ และเกิดค่าใหม่อย่างน้อย 2 ค่า

(3)       ตัวที่แปรไปจากค่าเดิม และสามารถสัมพันธ์กับค่าคงที่ 2 ชนิด

(4)       ตัวที่แปรเปลี่ยน และทำให้ค่าเดิมมีค่าเฉพาะ 2 ค่าในตัวของมันเอง

ตอบ 2 หน้า 83 – 84392 ตัวแปร (Variables) คือ ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วเกิดค่าใหม่ขึ้นอย่างน้อย 2 ค่าหรือมากกวา 2 ค่าขึ้นไป ซึ่งสามารถจะถูกนำมาวัดได้ หรือนำมาจัดการค้นหาความสัมพันธ์ได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ เป็นต้น

15.       ระบบการจัดจำแนกที่เอื้อต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่เรื่องใด

(1) Proposal       (2) Proposition (3) Taxonomies (4) Theories

ตอบ 3 หน้า 71 Persons & Shills ได้ให้แนวคิดที่จะเข้าสู่ทฤษฎีไว้ 4 ระดับ ซึ่งในระดับที่ 2 คือ Taxonomies เป็นขั้นของระบบการจัดจำแนกที่เอื้อต่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มต่าง ๆ ที่ได้รับมาเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนหน้าที่ 2 ประการ คือ

1.         ช่วยระบุเอกลักษณ์ของสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ และช่วยบ่งบอกหรืออธิบายสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร

2.         ช่วยวางรากฐานทางการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาต่อไปในอนาคตด้วย

16.       คำจำกัดความในการวิจัยที่อยู่ในขั้นการปฏิบัติการนั้น เรียกว่าคำจำกัดความประเภทใด

(1) Conceptual Definition          (2) Ostensive Definition

(3) Conceptual Operation         (4) Operation Definition

ตอบ 4 หน้า 69 – 70, (คำบรรยาย) Operation Definition หมายถึง คำจำกัดความเชิงปฏิบัติที่อยู่ ระหว่างขั้นทฤษฎีมโนทัศน์และขั้นการสังเกตทดลอง จึงเป็นคำจำกัดความในการวิจัยที่ใช้ในขั้น ของการปฏิบัติการ ซึ่งสามารถนำผลมาใช้ปฏิบัติได้จริง หรืออธิบายในลักษณะที่วัดได้หรือสังเกตได้ โดยจะบอกว่าอะไรที่จะต้องทำ เพื่อจะได้สังเกตตัวอย่างที่มองเห็นได้ตามมโนทัศน์นั้น และเพื่อ จะได้ใช้ประโยชน์ในการสังเกตทดลอง โดยไม่ได้เชื่อตามทฤษฎีเสียทั้งหมด

17.       Concept หรือมโนทัศน์นั้น มีความหมายถูกต้องที่สุดในเรื่องใดต่อไปนี้

(1) นามธรรมที่เป็นความคิดรวบยอดของมนุษย์          (2) นามธรรมที่สามารถค้นหาความจริงได้

(3) รูปธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้จากสิ่งของต่าง ๆ (4) รูปธรรมที่เป็นความคิดสรุปของมนุษย์ ตอบ 1 หน้า 67 – 68328367 มโนทัศน์ (Concept) หมายถึง ความคิดรวบยอดของมนุษย์ที่มีต่อ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความคิดนามธรรมที่ได้จากประสบการณ์ความรู้ของตนเอง โดยจะเป็น ตัวเอื้ออำนวยต่อหน้าที่ที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1.         การสื่อความหมายและความคิด

2.         การสร้างหรือกำหนดขอบเขตของการสังเกตปรากฏการณ์ทางด้านการทดลองค้นคว้าวิจัย

3.         ความสะดวกในการจัดจำแนกและการอ้างอิงเรื่องทั่ว ๆ ไป

4.         การสร้างกรอบแนวคิดหรือขอบข่ายทางด้านทฤษฎี

18.       ผู้ที่คิดว่าจะต้องมีทฤษฎีเกิดขึ้นก่อนแล้ววิจัยนั้น ได้แก่ใครต่อไปนี้

(1) Verstehen    (2) Karl Popper (3) Reiss    (4) Comb

ตอบ 2 หน้า 72 Karl Popper ได้พัฒนาแนวความคิดทฤษฎีแล้ววิจัยไว้อย่างเป็นระบบ กล่าวคือ เขาเริ่มร้างทฤษฎีหรือ Models ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ดำเนินงานจนได้กฎแห่งความสัมพันธ์ หรือบทพิสูจน์ แล้วจึงวางแผนการวิจัยเพื่อทดสอบพิสูจน์หรือวิเคราะห์ และหาผลสรุปว่า จะยอมรับหรือปฏิเสธบทพิสูจน์นั้นภายหลัง

19.       แบบจำลองหรือที่เรียกว่า Model ช่วยสนับสนุนการวิจัยเรื่องใด

(1)       มองภาพแห่งความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น  (2) จัดคนช่วยวิจัยในการค้นหาข้อมูล

(3) จัดวิธีการทำงานวิจัยทางสื่อสารมวลชน    (4) มองเห็นรูปแบบการวิจัยสื่อสารมวลชน

ตอบ 1 หน้า 7277 – 78330 Model คือ แบบจำลองหรือตัวแทนของความจริงที่มองเห็นได้ ซึ่งจะช่วยผู้วิจัยให้สามารถจัดหรือมองภาพแห่งความเป็นจริงได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วย สนับสนุนจุดมุ่งหมายของการจัดระเบียบวิธี และช่วยจัดลำดับการทำงานในสภาพความเป็นจริง ของเราเอง ดังนั้น Model จึงเป็นการลอกเลียบแบบอย่างหรือการจัดทำตัวแทนแม่แบบของความเป็นจริง

20.       ผลการวิจัยทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นเสมอนั้น ได้แก่สิ่งใดต่อไปนี้

(1)       ข้อบกพร่องใหม่           (2) ปัญหาใหม่

(3) ระเบียบวิธีใหม่      (4) หลักฐาน ข้อสนเทศใหม่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

21.       ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) คืออะไร

(1)       ตัวแปรที่เกิดจากค่าที่เปลี่ยนไปอย่างน้อย 2 ค่า

2) ตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของตัวแปรตาม

(3)       ตัวแปรธรรมชาติที่สัมพันธ์กันทำให้เกิดผลเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่ง

(4)       ตัวแปรตามธรรมชาติที่เปลี่ยนค่าใหม่ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ นั้น

ตอบ 3 หน้า 84120 – 121374 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables : IV) หรือตัวแปรทำนาย คือ ตัวแปรที่นักวิจัยกำหนดให้เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น โดยเมื่อตัวแปรอิสระ เปลี่ยนแปลงไปตามระบบที่ผู้วิจัยประสงค์ ก็จะทำให้ตัวแปรอื่นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกว่า ตัวแปรเหตุหรือตัวแปรธรรมชาติที่เมื่อสัมพันธ์กันแล้วจะทำให้เกิดผล เป็นตัวแปรใหม่ตามมาอีกตัวหนึ่ง หรือตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตามเสมอ

22.       นักวิจัยสื่อสารมวลชนชื่อ Reiss ทำวิจัยด้านใดต่อไปนี้

(1)       อิทธิพลของผู้มีอำนาจยังฝังใจอยู่ในการตอบคำถาม

(2)       ความเชื่อฟังคล้อยตามของสื่อมวลชนในการตอบคำถาม

(3)       ความถูกต้องของการตัดสินใจจากสื่อในการตอบคำถาม

(4)       ความถูกต้องของข้อมูลที่เสนอโดยสื่อในการตอบคำถาม

ตอบ 1 หน้า 99104 ผู้วิจัยที่ได้ศึกษาเรื่องศีลธรรมและจรรยาบรรณในการทำวิจัย โดยเน้นถึงอิทธิพล ต่าง ๆที่คุกคามผู้ถูกวิจัยการหลอกลวงและอันตรายต่าง ๆได้แก่กลุ่มนักวิจัย Milgram ซึ่งได้ศึกษาเรื่องการเชื่อผู้มีอำนาจ ส่วน Reiss ได้ศึกษาเรื่องอิทธิพลของผู้มีอำนาจที่ยังคงฝังใจ อยู่ในการตอบคำถามของผู้ถูกวิจัย เช่น พฤติกรรมของตำรวจ ผู้มีอิทธิพล และนักเลงอันธพาล

23.       หน่วยของการวิเคราะห์ (Units of Analysis) ทางการวิจัยสื่อสารมวลชน คืออะไรต่อไปนี้

(1)       หน่วยต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยศึกษานำมาเปรียบเทียบร่วมกันนั้น

(2)       หน่วยทั้งหมดที่พิสูจน์ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด

(3)       สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการตัวแทนหรือสุ่มตัวอย่างมาศึกษานั้น

(4)       ผู้ที่ถูกนำมาศึกษาหรือได้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนนั้น

ตอบ 4 หน้า 8388331 หน่วยของการวิเคราะห์ (Units of Analysis) คือ หน่วยข้อมูลที่ได้มาแล้ว ควรสนองตอบต่อมโนทัศน์ การวัดผล และการสังเกตค้นคว้าของเราได้ ดังนั้นหน่วยของการวิเคราะห์จึงเป็นเกือบทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งต่าง ๆ บุคคล หรือเหตุการณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่จะทำการศึกษาวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น เช่น ในการวิจัย แบบสำรวจ ผู้ที่ถูกนำมาศึกษาหรือได้ตอบแบบสอบถามแต่ละคนก็คือ หน่วยของการวิเคราะห์ นั่นเอง โดยผู้ที่ตอบแบบสอบถาม 1 คน จะนับเป็น 1 หน่วย

24.       บทคัดย่อของการวิจัย (Abstract) จะหาไม่พบในบรรณานุกรมและพจนานุกรม แต่จะพบในวิทยานิพนธ์ เพราะบทคัดย่อจะมีลักษณะเป็นการเขียนอย่างไร

(1)       การคัดย่อเนื้อหาหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ค้นคว้ามาทำวิจัย

(2)       การย่อความผลวิจัยที่อยู่ในสาขาสื่อมวลชนนั้น

(3)       การคัดย่อจากวรรณกรรมต่าง ๆ จากผลการวิจัย

(4)       การเขียนสรุปรายงานของการทำงานวิจัยนั้น

ตอบ 4 หน้า 318793332 บทคัดย่อของการวิจัย (Abstract) จะหาไม่พบในบรรณานุกรม ปทานุกรม พจนานุกรม รวมทั้งในภาคผนวกหรือในดัชนีต่าง ๆ แต่จะพบในวิทยานิพนธ์ ซึ่งสามารถค้นหา ได้ที่ห้องสมุดหรือค้นได้จาก Internet ทั้งนี้เพราะบทคัดย่อเป็นการเขียนสรุปรายงานสั้น ๆ ของการทำงานวิจัยนั้น

25.       ความสัมพันธ์ของตัวแปรในทางบวก (Positive) ได้แก่เรื่องใดต่อไปนี้

(1) อายุมากขึ้นหัวใจเต้นเร็วขึ้น           (2) อายุมากขึ้นการเต้นของหัวใจช้าลง

(3) อายุมากขึ้นน้ำหนักลดลง  (4) อายุมากขึ้นกระดูกจะหดตัวลงมาก

ตอบ 1 หน้า 8591332 ความสัมพันธ์ของตัวแปร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1.         ทางบวก (Positive) คือ ความสัมพันธ์ที่ตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มหรือลดตัวแปรอีกตัวก็จะเปลี่ยนไปใบทางเพิ่มหรือลดตามกัน เช่น อายุมากขึ้นหัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น

2.         ทางลบ (Negative) คือ ความสัมพันธ์ที่ตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่ม แต่ค่าของ ตัวแปรอีกตัวที่สัมพันธ์กันนั้นจะเปลี่ยนไปในทางลด หรือในทางกลับกันตัวแปรเดิมลดลง แต่ตัวแปรตามเพิ่มขึ้น เช่น อายุมากขึ้นการเต้นของหัวใจช้าลง น้ำหนักลดลง และกระดูก จะหดตัวลงมาก

26.       ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องที่สุดในการทำงานวิจัยทางการสื่อสารมวลชน

(1) ตัวแปรต่อเนื่องจะเกิดก่อนตัวแปรอิสระเสมอ        (2) ตัวแปรคงที่เพิ่มก่อนตัวแปรอิสระเสมอ

(3) ตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นหลังตัวแปรตามเสมอ         (4) ตัวแปรอิสระจะเกิดขึ้นก่อนตัวแปรตามเสมอ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

27.       การไม่เปิดเผยชื่อของผู้ถูกวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น เรียกว่าอะไร

(1) Un-opening (2) Privacy          (3) Anonymity  (4) Confidentiality

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

28.       การออกแบบวิจัยวิธีดั้งเดิม (Classical Design) นั้น กลุ่มเปรียบเทียบกันเรียกว่าอะไร

(1) กลุ่มทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง         (2) กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง

(3) กลุ่มทดลองกับกลุ่มตัวแทน           (4) กลุ่มตัวแทนกับกลุ่มควบคุม

ตอบ 2 หน้า 115120 ในการออกแบบวิจัยวิธีดั้งเดิม (The Classic Experimental Design) นั้น การปฏิบัติการวิจัยจะเริ่มแบ่งผู้ถูกวิจัยออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน คือ

1.         กลุ่มควบคุม (Control Group : CG) 2. กลุ่มทดลอง (Experiment Group : EG)

29.       การออกแบบวิจัย (Research Design) มีความหมายถึงเรื่องใดต่อไปนี้

(1) การตั้งสมมุติฐานจากการรวบรวมข้อมูลมาได้นั้น (2) การจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการวิจัย (3) การวางแผนการทำงานของการวิจัย      (4) การวางเป้าหมายของการดำเนินการวิจัย

ตอบ 3 หน้า 115120 การออกแบบวิจัย (Research Design) คือ การสร้างแผนงานเพื่อการ- เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การตีความข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยสามารถวินิจฉัยข้อมูล ที่เป็นจริง และให้คำจำกัดความต่อการสรุปความเห็นนั้นจนเป็นที่ทราบกับโดยทั่วไปได้ ดังนั้นการออกแบบวิจัยสื่อสารมวลชนจึงเป็นงานวางแผนการทำงานวิจัยสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ต้นจบสรุปและรายงานการวิจัย

30.       โดยปกติการออกแบบวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น มีวิธีใดดีที่สุดต่อไปนี้

(1) Classical Design   (2) Semi-experimental Design

(3) Quasi-experimental Design          (4) Combined Design

ตอบ 4 หน้า 136138 การออกแบบวิจัยทางการสื่อสารมวลชนจะไม่มีวิธีใดที่เหมาะสมที่สุดวิธีเดียว เสมอไป เพราะการวิจัยทุกวิธีจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้การออกแบบวิธีร่วมกัน (Combined Design) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดตามหลักสากล เพราะได้ผสมผสานเนื้อหาของ การออกแบบวิจัยอย่างน้อย 2 วิธีในการศึกษาเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ และเกิดความถูกต้องมากที่สุด

31.       สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บข้อมูลมาใช้ได้อย่างถูกต้องในการวิจัยนั้น ได้แก่อะไรต่อไปนี้

(1)       ตัวแปรที่นำมาประกอบการเลือกเฟ้นในการสุ่มตัวอย่าง

(2)       ตัวอย่างที่สุ่มมาได้อย่างถูกวิธีในการสุ่มตัวอย่าง

(3)       ความสมบูรณ์ทางวุฒิภาวะของหน่วยของการวิเคราะห์

(4)       ความมีประวิตอย่างชัดเจนและสามารถพิสูจน์ได้

ตอบ 3 หน้า 117 สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บข้อมูลที่นำมาใช้ได้ (Internal Validity) อย่างถูกต้อง ในการวิจัย มีดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์  2. ความสมบูรณ์ทางวุฒิภาวะของหน่วยของการวิเคราะห์ 3. ความสูญหายจากการทดลอง 4. การใช้เครื่องมือวัดค่าต่าง ๆ 5.การทดสอบก่อนการทดลอง   6. การถดถอยทางสถิติ  7. การปฏิบัติการภายในกับการเลือกเฟ้น

32.       การออกแบบวิจัยการสื่อสารมวลชนโดยแบ่งผู้ถูกวิจัยเป็น 4 กลุ่มนั้น เรียกว่าแบบใด

(1) Posttest Only Control Group Design 

(2) Solomon Four Group

(3) Classical Design

(4) Factorial Design

ตอบ 2 หน้า 119 Solomon Four Group จะแบ่งผู้ถูกวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แบ่งเป็นกลุ่มคล้ายกับแบบดั้งเดิม คือ มีกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง แต่จะเพิ่มเข้ามาอีก 2 กลุ่ม ซึ่งก็จะแบ่งเป็น กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเช่นกัน โดยผู้ถูกวิจัยที่เพิ่มขึ้น 2 กลุ่มหลังนั้นไม่ต้องมีการทดสอบก่อน (Pretest) และผู้วิจัยจะวัดผลของความรู้สึกต่อการทดสอบด้วย จากนั้นก็จะทำการทดสอบหลัง (Posttest) ทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อนำผลของข้อมูลมาวิเคราะห์

33.       เครื่องมือที่ใช้วัดค่าการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น ต้องมีค่าอะไรจึงจะดีที่สุดต่อไปนี้

(1) ค่าความเชื่อ (Belief)    (2) ค่าความเชื่อได้ (Reliability)

(3) ค่าความจริง (Facts)     (4) ค่าความเป็นไปได้ (Probability)

ตอบ 2 หน้า 159164 – 166386 ค่าความเชื่อได้ (Reliability) คือ ค่าความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรง ไว้ใจได้จากการวัดของเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงสูง หมายถึง เมื่อนำเครื่องมือนี้ไปวัดครั้งใด ที่ไหน ต่างสถานที่ และวัดในเวลาเดียวกันนั้นจะได้ค่าคงที่เท่าเดิม หรือได้ค่าเหมือนเดิมเสมอ

34.       การออกแบบวิจัยซึ่งไม่มีการทดสอบกลุ่มควบคุมก่อนนั้น ได้แก่วิธีใดต่อไปนี้

(1) Factorial Design  (2) Posttest Only Control Group Design

(3) Time-series Design       (4) Control-series Design

ตอบ 2 หน้า 119 The Posttest Only Control Group Design จะไม่มีการทดสอบก่อนศึกษา (Pretest) ในหมู่ของผู้ถูกวิจัยหรือสิ่งที่นำมาวิจัยทั้งหมด แต่จะเพ่งเล็งและให้ความมั่นใจ กับข้อสันนิษฐานที่ตั้งขึ้นไว้โดยการลุ่มว่าการทดลองจะเป็นไปได้ แล้วจะทดสอบหลังศึกษา (Posttest) เฉพาะกลุ่มที่ควบคุมไว้ เพื่อดูความมีนัยสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่อไป

35.       การวัดผลที่ได้ค่า A>B>C>D นั้น เป็นการวัดระดับใด

(1) Nominal       (2) Ordinal         (3) Interval         (4) Ratio

ตอบ 2 หน้า 161 – 162 Ordinal Measure เป็นการวัดสิ่งต่าง ๆ เพื่อหาขนาด จำนวน และตำแหน่ง ของสิ่งที่จะทำการวัด แล้วจัดลำดับตำแหน่งที่ (Rank Order) ดังนั้นจึงเป็นการวัดที่ละเอียดกว่า แบบ Nominal เพราะจะบอกให้รู้ว่าตำแหน่งใดอยู่สูงกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากันในจำนวนตัวแปร ที่ถูกวัดนั้น เช่น A > B, A < B, A = B, A > B > c > D เป็นต้น

37.       การวัดผลที่ได้ค่า A + B : C + D = 25 นั้น เป็นการวัดระดับใด

(1)       Nominal  (2) Ordinal         (3) Interval         (4) Ratio

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38.       การวัดผลที่ได้ค่า A = 5, B = 8 และ C = 10 นั้น เราเรียกว่าเป็นการวัดระดับใด

(1)       Nominal  (2) Ordinal         (3) Interval         (4) Ratio

ตอบ1 หน้า 161 Nominal Measure เป็นการวัดสิ่งต่าง ๆ อย่างหยาบที่สุด เนื่องจากเป็นเพียง การกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุสิ่งของหรือเป็นข้อมูลแทนวัตถุเท่านั้น ซึ่งตัวเลขที่เป็นข้อมูลนี้ จะไม่มีความหมายอะไรในตัว และจะนำมาใช้คำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ อะไรไม่ได้ เช่น A = 5, B = 8, C = 10 เป็นต้น

39.       The Paralleled-forms เป็นวิธีประเมินค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือโดยวิธีใดต่อไปนี้

(1)       ใช้แบบทดสอบ 2 ชุด ยากง่ายใกล้เคียงกัน ทดสอบกับผู้ถูกวิจัยพร้อมกัน

(2)       ใช้แบบทดสอบ 2 ชุด ยากง่ายต่างกัน ทดสอบกับผู้ถูกวิจัยพร้อมกัน

(3)       ใช้แบบทดสอบมาตรฐาน ทดสอบที่ละกลุ่มสองครั้งพร้อมกัน

(4)       ใช้แบบทดสอบมาตรฐาน ทดสอบกับผู้ถูกวิจัยทุกกลุ่มพร้อมกัน

ตอบ 1 หน้า 165, (คำบรรยาย) The Paralleled-forms เป็นวิธีประเมินค่าความเชื่อได้ หรือใช้วัด ค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยใช้ข้อทดสอบ 2 ชุดที่ต่างฟอร์มกันมาทดสอบกับผู้ถูกวิจัยพร้อมกัน แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบ ทั้งนี้ข้อทดสอบนั้นจะต้องมีมาตรฐานการออกแบบ ความยากง่ายใกล้เคียงกัน เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ค่าความเชื่อได้ (Reliability) ออกมา

40.       ตัวแปรที่สามารถวัดได้ในระดับ Ordinal จะสามารถวัดได้ในระดับใด

(1) Normative   (2) Internal        (3) Ratio    (4) Nominal

ตอบ 4 หน้า 161163169343 การกระทำการวัดในระดับสูงกับตัวแปรใด ๆ ก็ตาม จะสามารถ กระทำได้กับการวัดในระดับที่ต่ำลงไปได้ทั้งหมด หรือผลของการวัดในระดับต่ำนั้นมาจากการวัด ในระดับที่สูงกว่าขึ้นไปนั่นเอง เช่น ตัวแปรที่สามารถวัดได้ในระดับ Ordinal ก็สามารถวัดได้ ใบระดับ Nominal ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำลงไปได้ด้วย เป็นต้น (ระดับการวัดจากต่ำไปสูง คือ Nominal, Ordinal, Interval และ Ratio)

41.       การทดสอบแบบ Test-retest ทำให้เกิดสิ่งใดต่อไปนี้

(1) ค่าความเป็นไปได้  

(2) การมีประสิทธิผล

(3) ค่าความจริง           

(4) ค่าความเชื่อได้

ตอบ 4 หน้า 165 The Test-retest เป็นวิธีวัด 2 ครั้งในเวลาต่างกันโดยใช้ข้อทดสอบเดียวกัน ซึ่งถ้าผลของครั้งหลังเป็นเช่นเดียวกับครั้งแรกก็จะเกิด ค่าความเชื่อได้” (Reliability) ในการวัดนั้น

42.       การสุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีสุ่มจากพื้นที่ทั้งหมดลงมาเป็นพื้นที่ย่อย ๆ เพื่อหาตัวแทนจากพื้นที่ทั้งหมดนั้น เป็นวิธีใด

(1) แบบง่าย (Simple Random Sampling) 

(2) แบบมีระบบ (Systematic Sampling)

(3) แบบสัดส่วน (Stratified Sampling)      

(4) แบบอาศัยพื้นที่ (Cluster Sampling)

ตอบ4 หน้า 179 – 180367 การสุ่มแบบอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Cluster Sampling)เป็นการสุ่มตัวอย่างจากประชากรกลุ่มใหญ่ครั้งแรก (Primary Sampling Units : PSU’s)ในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งปกติก็จะเป็นตำบล เขต หรือเมืองใหญ่ ๆ แล้วแยกเขตการสุ่มลงมาเป็น พื้นที่ย่อย ๆ จนได้ตัวแทนหรือประชากรที่ต้องการในพื้นที่ทั้งหมดที่กำหนดไว้ในการวิจัยนั้น

43.       การสุ่มตัวอย่างโดยหาค่าที่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสุ่มนั้น ได้แก่การสุ่มแบบใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 42.)

ตอบ 2 หน้า 179 – 180390 การสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างในลักษณะ Random โดยการเลือกสุ่มจากค่าคงที่หรือจำนวนคงที่ (จำนวนที่กำหนดไว้ คือ ค่าที่ K) ของประชากรผู้ถูกวิจัย เช่น สมมุติแบ่งประชากรเป็นขนาดกลุ่ม 4,000 คน ผู้วิจัยจะเลือกเฉพาะ คนที่ สมมุติ K = 10 นับคือ ทุก ๆ 10 คน จะมีผู้ถูกเลือก 1 คน ดังนั้นในกลุ่มตัวอย่างนี้ จะมีผู้ถูกเลือกได้ 400 คน เป็นต้น

44.       การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยการจับฉลาก (Lottery) เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 42.)

ตอบ 1 หน้า 179, (คำบรรยาย) การสุ่มแบบง่าย ๆ (Simple Random Sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่าง ที่รวมถึงประชากรทั้งหมดที่เป็นเป้าหมายการสุ่ม แล้วเลือกสุ่มโดยวิธีใช้ตารางตัวเลขเบ็ดเสร็จ หรือตารางเลขสุ่ม (Random Number Table) หรืออาจใช้วิธีจับฉลาก (Lottery) เลือกตัวอย่าง ออกจากกลุ่มประชากร เพื่อให้ได้จำนวนครบตามที่ผู้วิจัยตั้งเป้าหมายไว้ จึงเป็นวิธีที่ง่ายและ สะดวกในความรู้สึก แต่ก็ไม่สะดวกต่อการนำมาใช้กับประชากรกสุ่มใหญ่มาก

45.       การสุ่มตัวอย่างโดยใช้สัดส่วนของกลุ่มเป็นแนวทางการดึงตัวแทนของกลุ่มนั้น เป็นการสุ่มแบบใด (ใช้ตัวเลือกข้อ 42.)

ตอบ 3 หน้า 179 – 180389 การสุ่มแบบเชิงชั้นหรือแบบลัดส่วน (Stratified Sampling)เป็นการสุ่มตัวอย่างที่เลือกตามสัดส่วนหรือชั้นของกลุ่มประชากร หลังจากที่ประชากรได้ถูก แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ เป็นชั้นของประชากร หรือแบ่งเป็นพวก ๆ แล้ว ซึ่งบางครั้งอาจใช้วิธีสุ่ม เอาจากแต่ละกลุ่มตามอัตราส่วนที่ต้องการ (Proportionate) หรือสุ่มเอาจากกลุ่มที่ต้องการ จำนวนเพิ่มขึ้นในการวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ละเอียดขึ้นไปอีก (Disproportionate)

46.       ค่าที่วัดได้จากตัวอย่าง (Sample) เรียกว่าอะไร

(1) Sampling      (2) Parameter   (3) Statistic        (4) Random

ตอบ 3 หน้า 180 – 181 การทำงานวิจัยทางการสื่อสารมวลชนจะมีค่าที่วัดและคำนวณได้ ดังนี้

1.         ค่าที่วัดและคำนวณได้จากข้อมูลของ Sample (กลุ่มตัวอย่าง) เรียกว่า Statistic

2.         ค่าที่วัดและคำนวณได้จากข้อมูลของ Population (ประชากรทั้งหมด) เรียกว่า Parameter

47.       การวัดเพื่อค้นหาว่าเครื่องมือนั้นมีความถูกต้องใช้ได้หรือไม่นั้น ได้แก่การวัดค่าอะไร

(1) Statistic         (2) Parameter   (3) Reliability    (4) Validity

ตอบ 4 หน้า 159166391 ค่าความถูกต้องใช้ได้ (Validity) คือ ค่าความถูกต้องเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของการวัดที่แท้จริงว่าอะไรที่ต้องการวัด เช่น ถ้าจะวัดน้ำหนักทอง ก็ต้องใช้เครื่องชั่งทองมาวัดจึงจะได้ค่าที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอาตาชั่งหมูมาชั่งทองจะใช้ไม่ได้ เพราะว่าได้ค่าที่ไม่ถูกต้องนั้นเอง

48.       อะไรเป็นเหตุผลสำคัญในบางสภาพที่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างแบบ Non-probability ต่อไปนี้

(1) ความรวดเร็วและความมีโอกาส     (2) ความรวดเร็วและเวลาจำกัด

(3) ความบังเอิญและการควบคุม        (4) ความสะดวกและประหยัด

ตอบ 4 หน้า 178 – 179184345 การสุ่มที่เป็นไปไม่ได้ (Non-probability) เป็นการสุ่มตัวอย่าง ชนิดที่ผู้วิจัยไม่สามารถเดาโอกาสของกรณีแต่ละอย่างที่ถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างได้ถูกต้อง จึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าการสุ่มที่เป็นไปได้ (Probability) แต่บางครั้งก็มีเหตุผลที่สำคัญ ในบางสภาพ คือ ความสะดวกสบายและสภาพเศรษฐกิจบางอย่าง (เช่น ความประหยัด ฯลฯ) ที่จำเป็นต้องใช้การสุ่มแบบนี้ด้วยเหมือนกัน

49.       การตั้งคำถามหาข้อมูลเรื่องอายุ เพศ ศาสนานั้น เป็นการตั้งคำถามชนิดค้นหาเรื่องใด

(1) ค้นหาข้อมูลทั่วไป   (2) ค้นหาความจริง

(3) ถามหาความคิดเห็น           (4) ถามหาข้อมูลด้านทัศนคติ

ตอบ 2 หน้า 225227, (คำบรรยาย) การออกแบบสอบถามให้ครอบคลุมปัญหาวิจัยต้องตั้งคำถาม ใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1.         Factual Questions เป็นคำถามที่มุ่งค้นหาความจริง (Facts) ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา ศาสนา ฯลฯ เช่น ท่านนับถือศาสนาใด ?

2.         Opinion Questions เป็นคำถามที่มุ่งค้นหาความคิดเห็น (Opinion) เช่น คุณคิดอย่างไร (What do you think ?)

3.         Attitude Questions เป็นคำถามหาข้อมูลด้านทัศนคติ (Attitude) ความเชื่อ ความคิด และความรู้สึก เช่น คุณรู้สึกอย่างไร (How do you feel ?)

50.       การตั้งคำถามโดยใช้วัดค่าจากคำคุณศัพท์ที่ตรงข้ามกันโดยแบ่งเป็น 7 ช่องนั้น เรียกว่าอะไร

(1) Rating Scale (2) Card Sort     (3) Matching (4) Semantic Differential

ตอบ 4 หน้า 229 The Semantic Differential เป็นการออกแบบคำถามที่ผู้ตอบจะต้องตอบคำถาม เพื่อประเมินค่าของวัตถุหรือสิ่งของบนคำคุณศัพท์ที่ให้ไว้ คือ ใช้คำคุณศัพท์ที่มีความหมาย ตรงข้ามกันตีค่าของคำถาม โดยในแบบคำตอบจะตีตารางเป็นสเกลไว้ 7 ระดับ (หรือแบ่งเป็น 7 ช่อง) เรียกว่า Seven-point Scale

51.       การตั้งคำถาม What do you think ? เป็นการตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบเรื่องใด

(1) Facts     

(2) Opinion        

(3) Knowledge  

(4) Attitude

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

52.       คำถามปลายเปิด (Open-ended Questions) มีลักษณะดีอย่างไร

(1) สร้างคำถามได้ง่าย            

(2) ยืดหยุ่นได้มาก

(3) ผู้ตอบต้องตอบในกรอบ     

(4) วิเคราะห์คำตอบง่าย

ตอบ 2 หน้า 228256351 คำถามแบบปลายเปิด (Open-ended Questions) มีลักษณะดีดังนี้ 

1. สร้างคำถามไต้ด้วยตัวผู้วิจัยเอง      

2. ยืดหยุ่นได้มาก ค้นหาปัญหาได้ง่าย  

3.ผู้ตอบตอบตามกรอบความคิดเห็นของตนเองได้     

4.คำตอบที่ได้จะละเอียดและมีเหตุผลใช้ได้ จึงวิเคราะห์คำตอบด้วยการสังเกตได้ดี        

5.วิเคราะห์คำตอบได้ทุกเวลา เพราะข้อมูลไม่ล้าสมัย ฯลฯ

53.       การตั้งคำถามโดยใช้ช่องว่างเลือกตอบ 5 ระดับ โดยแบ่งเป็น 5 ช่องให้ตอบนั้น เรียกว่าอะไร

(1) Semantic Differential  

(2) Rating Scale

(3) Card Sort      

(4) Matching

ตอบ 2 หน้า 228 – 229 Rating Scale คือ การถามความเห็นขอองผู้ตอบว่าอยู่ในขั้นความรู้สึกต่อสิ่งที่ถามในระดับใดระดับหนึ่ง โดยจะตั้งคำถามแบบใช้ระบบคำตอบ 5 ระดับ และแบ่งช่องว่าง ให้เลือกตอบเป็น 5 ช่อง เช่น1. เห็นด้วยอย่างมาก       2. เห็นด้วย       3. ไม่มีความเห็น      4. ไม่เห็นด้วย       5. ไม่เห็นด้วยอย่างมาก

54.       การตั้งคำถามเพื่อหาข้อมูลทางด้านความเชื่อนั้น เป็นคำถามชนิดใด

(1) Facts     (2) Opinion        (3) Knowledge  (4) Attitude

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

55.       การวิจัยแบบสำรวจนั้นใช้วิธีสำรวจข้อมูลโดยวิธีต่าง ๆ อยากทราบว่าวิธีใดมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หรือ ประหยัดมากกว่า ดังต่อไปนี้

(1) ทางไปรษณีย์         (2) ทางโทรศัพท์          (3) สัมภาษณ์ส่วนตัว   (4) สัมภาษณ์เป็นกลุ่ม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

56.       สมุดรหัส (Codebook) มีประโยชน์อย่างไร

(1)       ทำให้เติมตัวแปรลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่าย

(2)       ทำให้เติมจำนวนข้อความลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น

(3)       ทำให้สะดวกในการป้อนข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์

(4)       ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถส่งเพิ่มเติมข้อมูลได้มากขึ้น

ตอบ 3 หน้า 353 ประโยชน์ของสมุดรหัส (Codebook) มีดังนี้    1 ทำให้ติดตามผู้ตอบที่ส่ง

แบบสอบถามกลับคืนมาโดยกรอกข้อความไม่สมบูรณ์ให้ตอบใหม่ได้เพราะมีรหัสที่อยู่ 2. สะดวกต่อการตรวจสอบการส่งกลับคืนแบบสอบถาม 2 ชุดที่คู่กัน  3. สะดวกต่อการป้อนข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์  4. ทำให้ทราบตัวแปรหรือข้อมูลที่หายไป  5.ช่วยในการจัดแยก การสังเกต และการอธิบาย ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระบบสถิติ

57.       คำถามปลายปิด (Close-ended Questions) มีประโยชน์ยกเว้นข้อใด

(1) วิเคราะห์ได้ทุกเวลา           (2) วิเคราะห์ได้ตรงจุด

(3) สร้างคำถามได้ง่าย            (4) สร้างตัวเลือกได้ง่าย

ตอบ 1 หน้า 227 – 228256351 คำถามแบบปลายปิด (Close-ended Questions) มีประโยชน์ดังนี้   1. สร้างคำถามและตอบคำถามได้ง่าย ตรงจุดตรงประเด็น   2. สามารถวิเคราะห์ได้ตรงจุด       3. สร้างตัวเลือกและค้นหาได้ง่าย   4.มีลักษณะหรือรูปแบบสำหรับคำตอบที่บันทึกไว้แน่นอน ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ)

58.       ประชากร (Population) ที่ไม่ต้องสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้

(1) นักศึกษารามคำแหงทั้งประเทศ     (2) นักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพฯ

(3) ผู้จัดการบริษัททั่วภูมิภาค  (4) ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ

ตอบ4  หน้า 177182 ในการทำวิจัยทั่ว ๆ ไปโดยเฉพาะการวิจัยแบบสำรวจนั้น ถือว่าการสุ่มตัวอย่างมีความจำเป็นมาก เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะนำประชากร (Population) ทั้งหมดมาศึกษาได้ ยกเว้นในกรณีที่ขนาดของประชากรที่จะศึกษามีลักษณะเฉพาะเจาะจงและมีจำนวนน้อยที่สามารถ ตรวจสอบได้แน่นอน จึงไม่จำเป็นที่จะต้องสุ่มตัวอย่างเพื่อหาตัวแทนประชากรอีก เช่น จำนวนผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศจำนวนอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นต้น

59.       อุปกรณ์ที่เรียกว่าเป็น Input ได้แก่อะไรต่อไปนี้     

(1) ลำโพง (Loudspeaker)

(2)       แฟกซ์ (Facsimile)         (3) เม้าส์ (Mouse) (4) เครื่องพิมพ์ (Printer)

ตอบ 3 หน้า 275 Input และ Output หรือเรียกสั้น ๆ ว่า I/O จะมีหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่องและสร้างผลลัพธ์ออกมาหลายรูปแบบ ซึ่งจะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้

1.         อุปกรณ์ที่เป็น Input ได้แก่ Keyboard, Mouse, Scanner, Microphone, TV Camera, Digital Camera, Modem ฯลฯ

2.         อุปกรณ์ที่เป็น Output ได้แก่ Monitor, Printer, Loudspeaker, Fax/Facsimile, Screen, Digital Projector ฯลฯ

60.       การทำงานวิจัยนั้น อุปกรณ์ที่เรียกว่าเป็น Output ได้แก่อะไรต่อไปนี้      

(1) แป้น,พิมพ์ (Keyboard)

(2)       โมเด็ม (Modem) (3) เครื่องพิมพ์ (Printer)   (4) เม้าส์ (Mouse)

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61.       เมื่อส่งข้อมูลให้กับผู้อื่นโดยระบบ Internet นั้น ผู้รับและผู้ส่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ตัวใด

(1) Scanner        

(2) Modem        

(3) Monitor       

(4) Loudspeaker

ตอบ 2 หน้า 267378, (คำบรรยาย) Modem เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถจะแปลงสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์มาเป็นสัญญาณที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ และสัญญาณ จากสายโทรศัพท์ก็จะแปลงมาเป็นสัญญาณที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน จึงทำให้ สามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านดาวเทียมไปทั่วโลกได้รวดเร็วมาก เช่น ระบบ Internet เป็นต้น

62.       การสุ่มตัวอย่างแบบใช้ตารางเลขสุ่ม (Random Number Table) ได้แก่การสุ่มวิธีใด

(1) Stratified Sampling      

(2) Cluster Sampling

(3)       Systematic Sampling        

(4) Simple Random Sampling

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

63.       การสร้างคำถามวิธี Ranking นั้น ผู้วิจัยจะกำหนดให้ผู้ตอบคำถามเลือกอย่างไร

(1) จัดขนาดของเรื่องจากมากไปหาน้อย         (2) จัดลำดับความสำคัญของคำตอบ

(3)       จัดคำถามให้มีความคิดอย่างต่อเนื่อง  (4) จัดให้เกิดระดับความคิดอย่างต่อเนื่อง

ตอบ 2 หน้า 230 การสร้างคำถามแบบ Ranking จะกำหนดให้ผู้ตอบคำถามจัดลำดับตัวเลือก ที่ต้องการตอบด้วยตนเอง คือ จัดลำดับความสำคัญของคำตอบให้ชัดเจนตามความพอใจ ลงในกรอบหรือบริเวณที่จัดไว้ให้ในแบบสอบถามนั้น

64.       ผู้ใช้ Terminal สามารถส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ โดยผ่านทางระบบอะไรต่อไปนี้

(1) เครื่องโทรเลข         (2)โทรศัพท์

(3) มอนิเตอร์ (Monitor)  (4) พริ้นเตอร์ (Printer)

ตอบ2  หน้า 283355 หน้าที่ของ Modem (Modulator – Demodulator : ตัวกล้ำ-แยกสัญญาณ) คือ ผู้ใช้ Terminal สามารถติดต่อ (Call up) หรือส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้ โดยผ่านทางระบบโทรศัพท์ (ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ)

65.       การสำรวจโดยวิธีสัมภาษณ์ส่วนตัว มีข้อเสียอย่างไร

(1) มีความลำเอียงมาก           (2) ปกปิดชื่อผู้ตอบได้ง่าย

(3) ค่าใช้จ่ายลดลงมาก           (4) ไม่สามารถหาคำตอบเพิ่มเติมได้

ตอบ 1 หน้า 194 – 195 ข้อเสียของการสำรวจโดยวิธีสัมภาษณ์ส่วนตัว มีดังนี้ 1. มีค่าใช้จ่ายสูง2 .มีความเป็นไปได้ที่จะมีความลำเอียงในการสัมภาษณ์         3. ขาดความเป็น Anonymity ของผู้ถูกสัมภาษณ์ คือ ไม่สามารถที่จะปกปิดชื่อของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้

66.       การสัมภาษณ์ผู้ถูกวิจัยนั้น นักวิจัยควรใช้วิธี Probing หมายถึงวิธีการใด

(1) ขณะพูดคุยให้มองหน้าผู้ตอบเสมอ           (2) ขณะพูดคุยนึกถึงคำถาม How และ When

(3) ขณะสัมภาษณ์ให้คิดหาคำถามต่อไป        (4) ขณะสัมภาษณ์นึกถึงคำถาม What และ Where

ตอบ 2 หน้า 195 – 196 หลักการสัมภาษณ์ประการหนึ่ง คือ ควรใช้วิธี Probing ซึ่งเป็นเทคนิคที่สำคัญ ที่สุดในการถาม กล่าวคือ ระหว่างการสัมภาษณ์หรือพูดคุยจะต้องไม่ลืมประเด็นคำถาม How และ When เพื่อที่จะล้วงเอาข้อมูลที่ผู้ตอบเผลอตอบออกมาโดยเต็มใจอยากจะบอกเพิ่มเติมอีก (Further Information) และตอบได้อย่างชัดเจน (Clarification)

67.       การสำรวจข้อมูลทางโทรศัพท์ มีข้อดีอย่างไร

(1)       ทำให้มองปัญหาการสำรวจได้รวดเร็วมากขึ้น

(2)       ทำให้ติดตามผลของข้อมูลที่ขาดหายได้รวดเร็วดี

(3)       ได้ผลสรุปที่ถูกต้องและวิเคราะห์ได้รวดเร็วทันที

(4)       ได้คำตอบทันทีและได้รับข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ได้รวดเร็ว

ตอบ 4 หน้า 196 ข้อดีของการสำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ มีดังนี้

1.         เป็นวิธีทีประหยัดและราคาถูกกว่าการสัมภาษณ์ส่วนตัวมาก

2.         มีข้อดีที่สุดในเรื่องของการได้คำตอบทันทีและได้รับข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว

3.         มีอัตราการตอบรับสูงและยังได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงกว่าการสำรวจทางไปรษณีย์มาก

4.         ได้ประชากรที่มีความแตกต่างหรือหลากหลาย ฯลฯ

68.       ผู้มีจรรยาบรรณทางการวิจัยนั้นต้องมีการทำ Confidentiality หมายความว่าอะไร

(1)       ความเชื่อมั่นในการค้นหาข้อมูลที่เป็นจริงได้

(2)       การเชื่อข้อมูลที่เป็นเรื่องเฉพาะส่วนตัวของผู้ถูกวิจัย

(3)       ปกปิดชื่อ ข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ถูกวิจัย

(4)       ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือปิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ถูกวิจัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

69.       ข้อสอบแบบ Multiple Choice Questions เป็นข้อสอบแบบใดต่อไปนี้

(1) ข้อสอบลักษณะแบบคำถามเปิด   (2) คำถามมีหลายรูปแบบ

(3) คำถามมีตัวเลือกตอบหลายข้อ      (4) ข้อสอบเป็นลักษณะเติมคำในตัวข้อสอบ

ตอบ 3 หน้า 232 – 233, (คำบรรยาย) Multiple Choice Questions คือ แบบสอบถามชนิดที่คำถาม มีตัวเลือกตอบมาก ซึ่งเป็นลักษณะของคำถามแบบปลายปิด (Close-ended Questions)ที่ให้ผู้ตอบเลือกตอบข้อที่ถูกต้อง โดยให้วงกลมหรือกากบาทลงในข้อที่เลือกของแบบคำถามปรนัย ดังที่นักศึกษาเคยเห็นมาแล้ว

70.       การให้รหัสข้อมูล (Coding) ในการทำงานวิจัยสื่อสารมวลชน มีจุดหมายอะไร

(1)       เพื่อทำให้รหัสต่าง ๆ ตีความหมายออกมาเป็นคำอธิบายได้

(2)       เพื่อแปลข้อมูลให้อยู่ในรูปที่จะดำเนินการผ่านคอมพิวเตอร์ได้

(3)       เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลออกมาถูกต้องตามสมมุติฐาน

(4)       เพื่อให้ข้อมูลสามารถปิดเป็นความลับได้

ตอบ 2 หน้า 264280354 เป้าหมายสำคัญของการให้รหัสข้อมูล (Coding) คือ จัดทำการดำเนินงาน ข้อมูลให้ง่ายขึ้นโดยแบ่งหรือจำแนกออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่สะดวกต่อการจัดการ เพื่อที่จะแปลข้อมูลให้อยู่ในรูปที่สามารถดำเนินการผ่านคอมพิวเตอร์ได้นั่นเอง

71.       การทำวิจัยนั้น ระบบ CPU เป็นส่วนใดของเครื่องคอมพิวเตอร์

(1) หน่วยความจำและเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์      

(2) หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์

(3) หน่วยคำนวณจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไป        

(4) เป็นหน่วยแสดงผลรวมข้อมูลของคอมพิวเตอร์

ตอบ 2 หน้า 266366 Central Processing Unit (CPU) คือ หน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นหัวใจของระบบคอมพิวเตอร์ที่จะควบคุมกระบวนการข้อมูลและการปฏิบัติการ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด รวมตลอดทั้งหน้าที่บริหารจัดการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งหมดด้วย

72.       กรรมวิธีข้อมูลของการใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Interactive มีวิธีอย่างไร

(1) ผู้วิจัยสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้    

(2) สามารถรวบรวมข้อมูลเป็นกลุ่มได้

(3) คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้            

(4) คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลได้รวดเร็ว

ตอบ 1 หน้า 263267 การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive Processing) เป็นวิธีคำนวณ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สะดวกมากที่สุดและเร็วที่สุด กล่าวคือ ผู้ใช้เครื่องจะใส่ขุดคำสั่ง (Commands) ไว้ในคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์สามารถจะสื่อสารกับผู้ใช้เครื่องได้ จึงเป็นกรรมวิธีข้อมูลที่ผู้ทำวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้ไว้ให้มากที่สุด

73.       การส่งแบบสอบถามให้ผู้ถูกวิจัยเพื่อกรอกคำตอบนั้น ต้องมีเรื่องใดต่อไปนี้

(1)       วิธีที่ผู้ตอบจะไต้รับรางวัลการตอบคำถามเมื่อส่งแบบสอบถามกลับ

(2)       หนังสือนำเพื่อบอกเหตุสำคัญที่ส่งแบบสอบถามมาและแนะนำวิธีการตอบ

(3)       บอกวิธีการส่ง หรือแนบตัวอย่างที่จะส่งไปทางไปรษณีย์

(4)       ส่งคำแนะนำวิธีการตอบแบบสอบถามที่เหมาะสมกับผู้ตอบ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

74.       กรรมวิธีข้อมูล (Data Processing) เป็นขั้นวิจัยการสื่อสารมวลชนระหว่างขั้นตอนใด

(1) ระหว่างการรวบรวมข้อมูลกับการวิเคราะห์            (2) ขั้นดำเนินตามแผนกับขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

(3) ขั้นตีความข้อมูลกับขั้นตอนวางแผนการทำงาน (4) ระหว่างหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูล

ตอบ 1 หน้า 264280354 กรรมวิธีข้อมูล (Data Processing) คือ กระบวบการที่เชื่อมต่อกัน ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยขั้นแรกในกระบวบการข้อมูล คือ การพัฒนาระบบในการให้รหัสข้อมูล (Coding Data) ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดแยกและการสังเกต เพื่อจุดประสงค์ของการอธิบายและการวิเคราะห์ทางสถิติ

75.       โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น นิยมใช้โปรแกรมใดต่อไปนี้

(1) โปรแกรม Page Maker       (2) โปรแกรม BMDP

(3) โปรแกรม PowerPoint        (4) โปรแกรม SPSS

ตอบ 4 หน้า 253277 โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีชื่อใหม่ ๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะใช้ทำงานใด และต้องการผลทางสถิติใด เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ในวงการวิจัยทางสังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน ได้แก่ โปรแกรม SPSS ส่วนในทางธุรกิจ ก็มีโปรแกรม BMDP ในทางการพิมพ์ก็มี Page Maker หรือการใช้สถิติเพื่อการวิจัยทั่วไป ก็มีโปรแกรม stat View ซึ่งจะพัฒนาไปเร็วมาก เป็นต้น

77.       การทำรหัสข้อมูลนั้น หากเป็นคำถามแบบปิดควรจะ Code โดยวิธีใด

(1) แบบ Deductive เข้ารหัสก่อน            (2) แบบ Inductive เข้ารหัสหลัง

(3) แบบ Deductive เข้ารหัสหลัง            (4) แบบ Inductive เข้ารหัสก่อน

ตอบ 1 หน้า 265268 การทำรหัสข้อมูล (Coding) ไว้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของ คำถาม กล่าวคือ หากคำถามเป็นแบบปลายปิดควรจะ Code ด้วยวิธี Deductive คือ เข้ารหัสข้อมูลก่อนการเก็บรวบรวม แต่ถ้าคำถามเป็นแบบปลายเปิดควรจะ Code ด้วยวิธี Inductive คือ เข้ารหัสข้อมูลหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้ว

78.       ค่าเฉลี่ย Mode ของคะแนนชุด 3581051012610310 และ 16 ได้แก่ค่าใด

(1) เท่ากับ 6    (2) เท่ากับ 8    (3) เท่ากับ 10  (4) เท่ากับ 16

ตอบ 3 หน้า 248 ค่าฐานนิยม (Mode) คือ ค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในจำนวนข้อมูล ทั้งหมด ดังนั้นจากโจทย์ข้างต้นจึงหาค่าเฉลี่ย Mode = 10 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ซ้ำกันหรือมีความถี่ มากที่สุด

79.       การทดสอบสมมุติฐานทางสถิตินั้น มักจะทดสอบสมมุติฐานใดต่อไปนี้

(1) Alternative Hypothesis        (2) Null Hypothesis

(3) Research Hypothesis   (4) Research Assumption

ตอบ 2 หน้า 289, (คำบรรยาย) ในการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนจะนิยมใช้วิธีการทางสถิติอ้างอิง เพื่อทดสอบสมมุติฐาน เช่น T-Test, F-Test, Chi-square Test ฯลฯ โดยมักจะทดสอบ สมมุติฐานทางสถิติ คือ Null Hypothesis (HQ) ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่มีข้อความตรงข้ามกับสมมุติฐานที่ควรจะเป็น คือ Alternative Hypothesis (Hi) และต้องเป็นข้อความที่ระบุว่า ไม่มีความส้มพันธ์ใด ๆ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่จะถูกค้นพบได้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้

80.       การป้อนข้อมูลวิจัยทางการสื่อสารมวลชน โดยปกติคอลัมน์ใน Card Image ของคอมพิวเตอร์จะมีอยู่กี่คอลัมน์

(1) มี 60 คอลัมน์         (2) มี 70 คอลัมน์         (3) มี 80 คอลัมน์         (4) มี 90 คอลัมน์

ตอบ 3 หน้า 263266268 ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของระบบ โดยปัจจุบันจะเก็บไว้ในรูปรหัสที่เรียกว่า Card Image ซึ่งปกติแต่ละบรรทัดของข้อมูล จะประกอบด้วยคอลัมน์ 80 คอลัมน์ หรือน้อยกว่าเล็กน้อย

81.       การใช้สถิติทดสอบสมมุติฐานในการวิจัยทางการสื่อสารมวลชนนั้น นิยมใช้วิธีใดต่อไปนี้

(1) Ink-Test         

(2)       RU-Test    

(3) Pretest-Posttest 

(4)         Chi-square Test

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

82.       ระดับความมีนัยสำคัญ (α) ในการทำการวิจัยทางการสื่อสารมวลชน นิยมใช้ที่ระดับใด

(1) ระดับ .001            

(2)       ระดับ .01        

(3) ระดับ .03   

(4)       ระดับ .05

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

84.       ค่าเฉลี่ย Median ของคะแนนชุด 36810161718 และ 22 มีค่าเท่าไร

(1) เท่ากับ 6    

(2)       เท่ากับ 9          

(3) เท่ากับ 11  

(4)       เท่ากับ 13

ตอบ. 4 หน้า 248, (คำบรรยาย) ค่ามัธยฐาน (Median) คือ ค่าเฉลี่ยที่ได้จากข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง เมื่อเรียงลำดับข้อมูลจากค่าน้อยไปสู่ข้อมูลที่มีค่ามาก แต่ถ้าในกรณีที่ตรงกลางมี 2 ข้อมูล ให้นำข้อมูลทั้งสองมาบวกกันแล้วหารด้วย 2

85.       ค่าของคะแนน .05 นั้น คือค่าใดที่หวังได้ดังต่อไปนี้

(1) หวังได้เท่ากับ 85% (2) หวังได้เท่ากับ 95% (3) หวังได้เท่ากับ 90% (4) หวังได้เท่ากับ 15% ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

86.       ปัญหาวิจัย วัยรุ่นที่นิยมชมภาพยนตร์ที่มีการต่อสู้รุนแรงจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว จงตั้งสมมุติฐาน Null Hypothesis ต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง

(1) วัยรุ่นที่ไม่นิยมชมภาพยนตร์ต่อสู้รุนแรงมีปัญหาเรื่องความก้าวร้าว

(2) วัยรุ่นที่ไม่นิยมชมภาพยนตร์ต่อสู้รุนแรงจะไม่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว

(3) วัยรุ่นที่นิยมชมภาพยนตร์ต่อสู้รุนแรงจะไม่มีปัญหาก้าวร้าว

(4) วัยรุ่นที่นิยมชมภาพยนตร์ที่มีการต่อสู้รุนแรงจะไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว 

ตอบ. 4 หน้า 289, (ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ) จากปัญหาวิจัย หรือสมมุติฐานที่ควรจะเป็น เราสามารถตั้งสมมุติฐานที่เป็นไปไม่ได้ และไม่มีความสัมพันธ์กับระหว่าง วัยรุ่นที่นิยมชมภาพยนตร์ที่มีการต่อสู้รุนแรง” กับ พฤติกรรมก้าวร้าว” ซึ่งเป็นตัวแปรที่สัมพันธ์กันได้ดังนี้ คือ วัยรุ่นที่นิยมชมภาพยนตร์ ที่มีการต่อสู้รุนแรงจะไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว

87.       การวัดค่าระดับ Interval จะอยู่ในรูปใดต่อไปนี้

(1) A = 25     (2) A >B      (3) A + B = c + D    (4) 2A = 5B

ตอบ 3 หน้า 162 Interval Measure เป็นการวัดสิ่งต่าง ๆ เพื่อหาจำนวน ขนาด และช่วงที่เท่ากัน หรือระยะห่าง (Interval) ระหว่างหน่วยที่ติดกัน ซึ่งจะสามารถกำหนดหรือตัดสินใจได้ว่า หน่วยใด ช่วงใดมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน เช่น A-B>C-D, A-B<C-D, A-B = C-D,A + B = C + D,A + B>C + D เป็นต้น

88.       การวัดอุณหภูมิแบบใดที่มีค่า Absolute Zero Point ดังต่อไปนี้

(1) Celsius (2) Fahrenheit  (3) Kelvin  (4) Rohmer

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

89.       ค่าความเชื่อได้ (Reliability) ของแบบสอบถามหลายชุดมีค่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ควรเลือกชุดใดนำมาเป็นเครื่องมือในการวิจัย

(1) ชุดที่มีค่า r = .03  (2) ชุดที่มีค่า r = .96  (3)       ชุดที่มีค่า r = .04       (4) ชุดที่มีค่า X = .69

ตอบ 2 หน้า 166, (ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ) การหาค่าความเชื่อได้ (Reliability : r)ทางสถิตินั้น ถ้าค่าของ เข้าใกล้ 1 ก็น่าจะมีความเชื่อได้สูงสุด หรืออย่างน้อย .96 ก็เชื่อมั่นได้ ทั้งนี้ค่าความเชื่อได้ทางสถิติของเครื่องมือวิจัยสื่อสารมวลชนที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ X = .75 ขึ้นไป

90.       นักศึกษาได้ศึกษางานวิจัยของ Paul Leedy ถามว่าเขาเป็นนักวิจัยสาขาใด

(1) สื่อสารมวลชน        (2) มนุษยศาสตร์         (3)       สังคมศาสตร์   (4)       วิทยาศาสตร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

91.       การสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic จากประขากร 4,000 คน เลือกสุ่มตัวอย่างมา 400 คนนั้น อยากทราบว่า ค่าที่ เท่ากับเท่าไร

(1) มีค่าเท่ากับ 5         

(2) มีค่าเท่ากับ 10       

(3) มีค่าเท่ากับ 15       

(4)มีค่าเท่ากับ 20

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

92.       คำถามของผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นนักวิจัยทางการสื่อสารมวลชนได้นั้น น่าจะมีคำกล่าวที่สันนิษฐาน ตามข้อใดต่อไปนี้

(1)       ท่านจะไปชมภาพยนตร์ที่ไหนผมอยากไปด้วย

(2)       เขาว่ารายการโทรทัศน์เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่อันตราย

(3)       ฉันว่าเขาค้นหาข้อมูลจากนิตยสารมามากพอแล้ว

(4)       ฉับประหลาดใจว่าทำไมพิธีกรคนนี้จึงเป็นเช่นนั้นได้

ตอบ 4 หน้า 14 ทุกคนที่จะทำการวิจัยนั้นจะต้องเกิดข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน หรือเกิดปัญหาขึ้นในใจตนเองทั้งสิ้น เช่น ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ อะไรเป็นสาเหตุ ฯลฯ ซึ่งคำถามในลักษณะ ทำไม” (Why) นี้ จะทำให้เราคุ้นเคยกับแนวทางที่จะนำไปสู่การวิจัยต่อไปได้ จึงเรียกว่า ปัญหาวิจัยก็คือ คำถามของผู้วิจัยนั่นเอง

93.       การใช้สถิติวิเคราะห์ Chi-square Test นั้น เป็นสถิติอะไรต่อไปนี้

(1) สถิติวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)        (2) สถิติตีความ (Interpretative Statistics)

(3) สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics)      (4) สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)

ตอบ 3 หน้า 248320 – 321, (คำบรรยาย) สถิติวิเคราะห์จะประกอบด้วยขอบเขต 2 ประการ คือ

1.         สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) เป็นการอธิบายลักษณะข้อมูล เช่น ค่าเฉลี่ยทางสถิต Mean Median Mode, รูปร่างการกระจายของคะแนน ฯลฯ

2.         สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) เป็นการที่ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์โดยการใช้ T-Test, F-Test, Chi-square Test, ANOVA ฯลฯ และสรุปผลเกี่ยวกับประชากรทั้งหมด

94.       การวิจัยทางการสื่อสารมวลชนโดยทั่วไปนั้น พบว่าการวิจัยเป็นเรื่องใดต่อไปนี้

(1) เป็นกระบวนการทางสังคม            (2) เป็นระบบหมุนเวียน

(3) เป็นการค้นหาตัวแปร         (4) เป็นการทบทวนความรู้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

95.       การหาค่าเฉลี่ยทางสถิติ เช่น ค่า Mean, Median, Mode นั้น เรียกว่าสถิติอะไร

(1) สถิติวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)        (2) สถิติตีความ (Interpretative Statistics)

(3) สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics)      (4) สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

96.       ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่อง การเชื่อผู้มีอำนาจนั้น ได้แก่ใครต่อไปนี้

(1) Milgram        (2) Karl Popper

(3) Verstehen    (4) Paul Leedy

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

97.       หากพบปัญหาว่า ไฟดับ จงตั้งสมมุติฐานจากข้อมูลที่ว่า ไฟลัดวงจรเมื่อเดือนก่อน หลอดไฟอายุ 200 ชั่วโมงแล้ว สายไฟอายุพร้อมกับบ้าน 25 ปี เมื่อวานใช้ไฟมาก ฯลฯ ข้อใดถูกต้องที่สุดต่อไปนี้

(1) ไฟช้อตอีกกระมัง   (2) สะพานไฟขาดหรือไม่

(3) หลอดไฟขาดหรือเปล่า       (4) หลอดไฟขาด

ตอบ 4 หน้า 16 การตั้งสมมุติฐานจะต้องเขียนเป็นประโยคบอกเล่า ส่วนการตั้งปัญหาย่อยจะเขียน เป็นประโยคคำถาม โดยในการทำวิจัยนั้นจะเลือกตั้งเป็นคำถามย่อยหรือตั้งเป็นสมมุติฐานก็ได้ เพื่อเป็นแนวทางค้นหาคำตอบ หรือเป็นแนวทางพิสูจน์ ทดสอบสมมุติฐาน แล้วจึงสรุปผล การวิจัยดังที่ได้วางแผนไว้แล้ว (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการตั้งปัญหาย่อย)

98.       การวัดค่าความร้อน 25° Celsius อธิบายได้ว่าขณะนี้ร้อนกี่องคา Kelvin

(1) ร้อน 298°K         (2) ร้อน 205°K

(3) ร้อน 303°K         (4) ร้อน 308°K

ตอบ 1 หน้า 162 – 163245, (ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ) ในสเกลของ Kelvin จุดที่เป็นศูนย์ โดยสมบูรณ์เด็ดขาดจริง ๆ (Arbitrary Zero Point) คือ ระดับ 273°ดังนั้นหากเรา กลับการวัดแบบ Celsius เป็นการวัดแบบ Kelvin ซึ่งเป็นคาความร้อนที่สมบูรณ์จริง ก็จะ วัดค่าความร้อนที่ 25°ได้ร้อนจริง ๆ ที่ 273° + 25° = 298°K

99.       จรรยาบรรณของนักวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้

(1)       นักวิจัยไม่จำเป็นต้องมีพี้นความรู้ในเรื่องที่ทำวิจัยนั้น

(2)       นักวิจัยต้องเคารพสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

(3)       นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อวิธีการทางวิทยาคาสตร์

(4)       นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

ตอบ 4 หน้า 102 – 103 จรรยาบรรณนักวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติมี 9 ประการ ดังนี้

1.         นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ

2.         นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัยตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุน การวิจัยและต่อหน่วยงาน

3.         นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย

4.         นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย

5.         นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย

6.         นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิดโดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย

7.         นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ

8.         นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น

9.         นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

100.    ถ้าค่าไค-สแควร์ (Chi-square Test) ที่คำนวณได้ มีค่ามากกว่าค่าไค-สแควร์ที่อ่านได้จากตาราง (Critical Value) จะต้องสรุปผลการทดสอบสมมุติฐานอย่างไรต่อไปนี้

(1) ปฏิเสธ Null Hypothesis (Ho)   (2) ปฏิเสธ Alternative Hypothesis (H1)

(3) ยอมรับ Null Hypothesis (Ho)    (4) ยอมรับ Statistical Hypothesis

ตอบ 1 หน้า 317 – 318358404, (คำบรรยาย) การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ Chi-square Test, T-Test, Z-Test และ F-Test ถ้าค่าที่คำนวณได้ (Obtained Value) มีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ ค่าที่อ่านได้จากตาราง (Critical Value) นักวิจัยจะต้องสรุปผลการทดสอบสมมุติฐานว่าปฏิเสธ Null Hypothesis (Ho) แต่ถ้าค่าที่คำนวณได้มีค่าน้อยกว่าค่าที่อ่านได้จากตาราง จะต้องสรุปผลการทดสอบสมมุติฐานว่า ยอมรับ Null Hypothesis (Ho)

 

Advertisement