MCS3181 การพูดสำหรับผู้นำ เตรียมสอบปี 2557 ชุด2

1.         Order-Giving การออกคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำที่มีประสิทธิภาพ จัดว่าเป็น…….ของการพูด

Advertisement

1)         ความสามารถของผู้นำ            

2) ศิลปะอย่างหนึ่ง

3) การพูดที่มีประสิทธิภาพ      

4) การติดต่อสื่อสารที่ดี

ตอบ 2. การออกคำสั่งหรือการพูดสั่งการ (Order-Giving) จัดว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการพูด ซึ่งผู้ที่จะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำควรเรียนรู้วิธีพูดสั่งการที่มีประสิทธิภาพเพื่อว่าที่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาจะได้นำไปปฏิบัติตาม

2.         Mob คืออะไร

1)         กลุ่มชน            

2) ฝูงชนที่บ้าคลั่ง

3) ฝูงชนที่ถูกกดดันหรือผลักดันจากเหตุการณ์ 

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. คำว่า Mob ตามพจนานุกรม แปลว่า ฝูงชนหรือกลุ่มชนที่ไม่มีระเบียบ เนื่องจากฝูงชนถูกกดดันหรือผลักดันจากเหตุการณ์หนึ่ง (สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยภาวะกดดันร่วม) ซึ่ง อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถจะยับยั้งได้

3.         นายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ด้วยสีหน้ายิ้ม แย้มแจ่มใส ทำให้ที่ประชุมมีบรรยากาศสดชื่น และในการยิ้มแย้มของนายกรัฐมนตรีช่วยสร้างอะไร

1)         สร้างบรรยากาศในการประชุม            2) สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

3) สร้างอารมณ์ในการประชุม 4) สร้างความเป็นกันเอง

ตอบ 2. ผู้นำควรมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ โดยมีผู้กล่าวไว้ว่า การยิ้มแย้มแจ่มใสของคนหนึ่งมีอิทธิพลทำ ให้คนอื่นยิ้มตอบเหมือนกับโรคติดต่อ ซึ่งมีผลทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน เช่น เมื่อผู้นำเข้าไปใน ห้องประชุมด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสที่ประชุมนั้นจะมีบรรยากาศสดชื่นและเป็นกันเอง เพราะการยิ้มแย้ม แจ่มใสของผู้นำจะช่วยสร้างมนุษย์สัมพนธ์ที่ดีต่อกัน เป็นต้น

4.         ผู้ที่จะเป็นผู้นำจะแสดงออกถึงรสนิยมที่ดีอย่างไร

1)         ถือกระเป๋า Brand Name         2) ผู้ที่ร่ำรวยเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศ

3)         มียศถาบรรดาศักดิ์

4)         นายชาตรีชื้อรถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA ด้วยเงินที่สะสมส่วนตัวทำให้เกิดความภูมิใจ มีฐานะดี

ตอบ 4. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรแสดงออกถึงการมีรสนิยมที่ดี (Good Taste) เช่น ถ้าเรามีฐานะที่จะซื้อรถยนต์ดี ๆ สักคันหนึ่ง ผู้ที่มีรสนิยมดีก็ควรชื้อรถที่ทำให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และเกิดความเลื่อมใส เพราะเมื่อมีฐานะ ดีพอแล้วก็ควรแสดงออกถึงรสนิยมที่ถูกต้องด้วยนอกจากนี้รสนิยมยังหมายถึง การเลือกให้เหมาะสมกับโอกาส และสถานที่ เช่น การแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับโอกาส และสถานที่ แสดงถึงรสนิยมที่ดีมากกว่าเครื่องแต่ง กายราคาแพงแต่ไม่สุภาพ เป็นต้น

5.         Active ความคล่องแคล่ว ว่องไว เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับภาวะผู้นำ

1)         ความล่าช้าเป็นอุปสรรคในการทำงาน

2)         ความคล่องตัวในการทำงานให้ผู้อื่นเลื่อมใสศรัทธาและชื่นชมผู้นำที่มีบารมี

3)         ผู้นำที่พลุกพล่านหรือหลุกหลิกจนน่ารำคาญ

4)         เป็นบุคลิกภาพอย่างหนึ่งของผู้นำที่ควรจะมี

ตอบ 3. ผู้นำควรมีความคล่องแคล่วว่องไว (Active) ซึ่งมักจะมีการทำงานคล่องแคล่วมากกว่าที่ผู้ที่มีจังหวะจะโคน ไม่ใช่หลุกหลิกหรือพลุกพล่าม เพราะจะไม่ได้ผลดีแต่กลับทำให้น่ารำคาญมากยิ่งขึ้น

6.         ผู้นำที่จะเป็นผู้พูดที่ดี มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตนอย่างไร

1)         รักษาอารมณ์ให้คงที่    2) มีการพักผ่อน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

3) รู้จักการควบคุมสติปัญญา มีไหวพริบ         4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ผู้นำที่จะเป็นผู้พูดที่ดี มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้ 1. รักษาอารมณ์ให้ปกติ          2.พักผ่อนร่างกายอย่างเพียงพอ 3. รับประทานอาหารให้พอดี 4. รักษาสัดส่วนของร่างกายให้พอดี 5. ออกกำลังกายให้พอสมควรและสม่ำเสมอ 6. รักษาอวัยวะต่างๆ ที่ปากให้ปกติ เช่นไม่เจ็บคอ ไม่ไอ ปากไม่เป็น แผล ไม่ปวดฟัน ฯลฯ 7. รักษาอวัยวะบริเวณจมูกและศีรษะให้อยู่ในสภาพปกติ เช่น ไม่เป็นหวัด ไม่ปวดหู ฯลฯ

7.         ในความเฉลียวฉลาด มีคุณภาพทางสมอง มีเหตุผลดีในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน ในลักษณะของผู้นำ ดังกล่าว นักศึกษามีความคิดอย่างไร

1)         ในการทำงานต้องอาศัยความคิดอย่างไร         2) ผู้นำในลักษณะอาศัยภาวะผู้นำเป็นหลักปฏิบัติงาน

3) ผู้นำที่ดีต้องมีเหตุผล           4) ในการทำงานต้องอาศัยทักษะการเรียนรู้

ตอบ 1. ในการทำงานต้องอาศัยภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นหลักปฏิบัติงาน โดยผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. เฉลียวฉลาด มีคุณภาพทางสมอง 2. มีการศึกษาอบรมดี 3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 4. มีเหตุผล ดี 5. มีประสบการณ์ในการปกครองเป็นอย่างดี 6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี 7. สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะ ไต้เป็นอย่างดี 8. สามารถเผชิญเหตุการณ์หรือปัญหาเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ฯลฯ

8.         ผู้นำควรมีคุณสมบัติอย่างไร

1)         มีคนนับถือ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพล        2) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3) มีอายุมาก ไม่มีประสบการณ์ทำงาน           4) เป็นนักเลงหัวโจก

ตอบ 2. ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9.         Dissatisfaction หมายถึงอะไร

1) ความพอใจในการร้องทุกข์  2) ความพอใจในการกินอยู่

3) ความพอใจในสถานที่         4) ความไม่พอใจ

ตอบ 4. ความไม่พอใจ (Dissatisfaction) หมายถึง ความไม่พอใจหรือความไม่สบายใจเป็นคำพูดที่ต้องเสียเวลาค้นหาเครื่องมือเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือนายช่างไม่พอใจ ที่เงินเดือนออกล่าช้าเกินกำหนด เป็นต้น

10.       Grievance เป็นคำร้องทุกข์ที่แสดงออกอย่างไร

1)         เป็นความไม่พอใจที่แสดงทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชา

2)         ความพอใจในการเสนอต่อผู้บังคับบัญชา

3)         หลักการที่หัวหน้างานหรือผู้นำควรปฏิบัติ

4)         การติดตามผลของผู้นำ

ตอบ 1. คำร้องทุกข์ (Grievance) เป็นความไม่พอใจอย่างหนึ่งที่แสดงออกทางวาจาหรือลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งคำร้องทุกข์อาจเกี่ยวกับความไม่พอใจ เกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน หรือเกี่ยวกับปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ได้ เช่น เครื่องมือมีไม่พร้อมต้องเสียเวลาเดินหานาน เพื่อนร่วมงานทำเสียงดังรบกวน หรือเพื่อน ร่วมงานไม่ช่วยกันรักษาความสะอาดของเครื่องมือ เป็นต้น

11.       เครื่องมือในการสื่อความหมายในกระบวนการพูดที่นำสามารถเลือกใช้ได้คือ

1)         กระบวนการสื่อสารตั้งแต่ต้นจนจบ

2)         บทบาททางสังคมที่ผู้พูดกับผู้ฟังมีต่อกันและกัน

3)         อุปกรณ์ตลอดจนเครื่องมือทางการสื่อสารที่ทำให้การพูดชัดเจน

4)         อะไรก็ตามที่สามารถทำให้การพูดนั้นสามารถถ่ายทอดความหมายได้

ตอบ 4. เครื่องมือในการสื่อความหมายในกระบวนการพูด (Communication Channel) หมายถึง สิ่งที่เป็น ช่องทางช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้นำไปให้ผู้ฟัง เช่น เสียง ภาษา สีหน้า อากัปกิริยาทำทาง และอาจ รวมไปถึงโสตทัศนูปกรณ์อื่น ๆ อีกด้วย

12.       ในกระบวนการพูดที่หวังประสิทธิผลของผู้นำ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ

1)         การวิเคราะห์เนื้อหา การถ่ายทอดอารมณ์ การสร้างความรู้สึกร่วม

2)         บุคลิกภาพ การวิเคราะห์ผู้ฟังตามสถานการณ์ การเลือกประเด็นที่จะสื่อสาร

3)         การสร้างบุคลิกภาพ การปรับปรุงน้ำเสียง การใช้อารมณ์ให้ถูกจังหวะ

4)         การมีศิลปะในการถ่ายทอด การเร้าอารมณ์ การมีทักษะในการใช้อุปกรณ์

ตอบ 2. การพูดที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 สิ่ง ดังนี้

1.         บุคลิกภาพหรือการปรับปรุงตัวผู้พูด

2.         การวิเคราะห์ผู้ฟังตามสถานการณ์และกาลเทศะ

3.         การเลือกเรื่องหรือประเด็นที่จะพูดหรือสื่อสาร

13.       เนื้อหาของการพูดโดยทั่วไปของผู้นำมาจาก

1) ความคิดที่ไตร่ตรองแล้ว      2) ข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด

3) ภาษาที่นิยมใช้        4) ผลงานที่เคยดำเนินการ

ตอบ 1. เนื้อหาหรือเนื้อเรื่องที่จะพูด (Speech) หมายถึง สาระของการพูด โดยทั่วไปจะมาจากเนื้อหาหรือ สาระที่ผ่านกระบวนการเรียนจากความคิดของผู้พูดซึ่งต้องมีการตระเตรียม การลำดับ และการดำเนินเรื่องที่ดี และถูกต้องตามกฎเกณฑ์ เช่น มีบทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป

14.       การพูดที่มีประสิทธิผลของผู้นำนั้น ผู้ฟังจะเป็น……..เสมอ

1) กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การสื่อสาร            2) สาธารณชนทั่วไป

3) ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย 4) ผู้มีความคิดเห็นและทัศนคติคล้อยตาม

ตอบ 1. ในการพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้พูดควรจะมีการเตรียมตัวที่ดี กล่าวคือ ผู้พูดจะต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการพูดก่อน เพราะการพูดชนิดเดียวกันอาจจะเหมาะกับชนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับชนอีกกลุ่มหนึ่ง ด้งนั้นจึงจำเป็นที่ผู้พูดต้องมีการวิเคราะห์ผู้ฟัง หรือศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล

15.       พฤติกรรมการแสดงออกของผู้นำ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ

1)         บุคลิกภาพโดยรวม      2) การปรากฏต่อสาธารณชน

3) การเลือกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ       4) การจัดเตรียมเรื่องที่จะแถลง

ตอบ 1. บุคลิกภาพ (Personality) คือ ลักษณะส่วนรวมของบุคคลแต่ละคนหรือเรียกว่า บุคลิกภาพโดยรวม ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมแสดงออกที่หลากหลายของบุคคลนั้น ทั้งยังเป็นส่วนที่บุคคลภายนอกสังเกตได้ง่าย เช่น รูปร่างหน้าตา กริยาท่าทาง น้ำเสียง คำพูด ฯลฯ และบุคลิกภาพภายในที่สังเกตได้ยาก เช่น ความรู้สึก เจตคติหรือทัศนคติ ค่านิยม ฯลฯ

16.       Negative Leadership มีความสัมพันธ์กับข้อใด

1) ใช้การบริหารเป็นเครื่องมือ  2) ใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นเครื่องมือ

3) ใช้ผู้บังคับบัญชาเป็นเครื่องมือ       4) ใช้อำนาจที่มีอยู่เป็นเครื่องมือ

ตอบ 4. ผู้นำประเภทนิเสธ (Negative Leadership) หมายถึง ผู้นำที่ใช้วิธีการบริหารในทางที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานเกิดความเกรงกลัวจนต้องปฏิบัติตามแนวทางของผู้นำโดยผู้นำจะอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) ที่มีอยู่เป็นเครื่องมือ ซึ่งผู้นำประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นเผด็จการหรือรวมอำนาจมากที่สุด

17. ผู้นำแบบ พระเดช” หมายถึง

1) ใช้การข่มขู่ให้กลัว   2) ใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นประจำ

3) ใช้การบริหารจัดการเป็นหลัก          4) ใช้อำนาจตามตัวบทกฎหมาย

ตอบ 4. ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) หมายถึง ผู้นำหรือหัวหน้าซึ่งได้อำนาจมาตราตัวบท กฎหมาย ปฏิบัติการโดยใช้อำนาจตามตัวบทกฎหมายเป็นหลัก มีระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง และการปฏิบัติงานปราศจากความยืนหยุ่น (Flexibility) ดังนั้น จึงมักจะพิจาณาผู้ใต้บังคับบัญชาไปในทาง Negative เสมอ

18.       เหตุใดผู้นำต้องมีความเฉลียวฉลาด

1) เพื่อการยอมรับในความสามารถ     2) เพื่อการเป็นแบบอย่างดี

3) เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ           4) เพื่อการเป็นตัวแทนกลุ่ม

ตอบ 3. ผู้นำควรเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด รอบรู้ในเรื่องราวต่าง ๆ มากกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งความเฉลียว ฉลาดถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้นำสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ นั้นคือ สามารถมองเห็นปัญหา มองเห็นสาเหตุและวิธีแก้ปัญหา และสามารถแก้ปัญหาได้ถูกที่ นอกจากนี้ความเฉลียวฉลาดยังทำให้โน้มน้าวใจผู้อื่นให้ปฏิบัติตามได้ง่ายอีกด้วย

19.       Positive Leadership มีความสัมพันธ์กับข้อใด

1) ให้ข้อมูลที่ครบถ้วน 2) รักษาประโยชน์

3) การโน้มน้าวจิตใจ    4) รับรู้ความต้องการของผู้ตาม

ตอบ 4. ผู้นำประเภทปฏิธาน (Positive Leadership) หมายถึง ผู้นำที่ใช้วิธีการบริหารโดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ตามร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้รับรู้ความต้องการของผู้ตามซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้นำที่มีความเป็น ประชาธิปไตย กล่าวคือ ให้เสรีภาพเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงาน โดยผู้นำประเภทนี้จะใช้ อำนาจในลักษณะของการสร้างบารมี (Power) หรือใช้บารมีเป็นเครื่องมือ

20.       สมรรถภาพในการพูดของผู้นำพิจารณาได้จาก

1)         ความนิยม        2) ประสิทธิผล

3) ช่วงเวลาอยู่ในตำแหน่ง       4) ลูกน้อง

ตอบ 2 ผู้นำต้องมีสมรรถภาพ (Competence) ครบทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้านจิตวิทยาของผู้ตาม ความรู้ความชำนาญในเทคนิคเฉพาะที่ปฏิบัติงานอยู่ โดยผู้นำที่ดีต้องมีสมรรถภาพจะพิจารณาได้จากประสิทธิภาพของงาน สมรรถภาพในการพูดของผู้นำก็พิจารณาได้จากประสิทธิผลของการพูดนั่นเอง

21.       ข้อพิจารณาของสื่อสารโดยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและเป็นตัวแปรร่วมกับการเตรียมสารเพื่อการพูดของผู้นำคือ

1) กาลเทศะ    

2) โอกาส และข้อกำหนดทางสังคม

3) วินัย และความใกล้ชิด        

4) กฎระเบียบ และทัศนคติ

ตอบ 1. การพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้พูดควรจะมีการเตรียมตัวที่ดี เพียงใด มีอายุ เพศ อาชีพอะไร มีจำนวนเท่าไร พูดที่ไหน และเวลาพูดนานเท่าไร ทั้งนี้เพื่อจะได้เตรียมเรื่องให้ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ฟัง

22.       การร่วมใจ (Empathy) ของผู้นำหมายถึง

1) ใช้ภาษาให้ถูกต้องกับรสนิยม         

2) ทำตัวตามสมัยนิยม

3) เอาใจเขามาใส่ใจเรา           

4)แสดงความรู้สึกตามใจผู้ตาม

ตอบ 3. การร่วมใจ (Empathy) ของผู้นำ หมายถึง การเอาใจเขามาใส่ใจเราโดยผู้นำจะต้องรับฟังและแสดง ความคิดเห็นอย่างเต็มใจต่อผู้ร่วมงาน ต้องแสดงตัวว่าเป็นพวกเดียวกับพวกเขา รู้ถึงความต้องการทางอารมณ์ หรือแสดงตัวเป็นผู้แทนในความรู้สึกนึกคิด ความเดือดร้อน และผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ร่วมงาน

23.       Feedback คือ

1.         ปาหินถามทาง 2) เสียงบ่นของบริวาร

3. พูดไปสองไพเบี้ย     4) ไกลปีนเที่ยง

ตอบ 2. Feedback คือ ข้อมูลย้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสาร (ผู้ฟัง) ต่อผู้ส่งสาร (ผู้พูด) หรือ สาร มีทั้งที่เห็นชัดเจนจากคำพูด (เสียงบ่น) สีหน้า กิริยาท่าทาง ฯลฯล และพฤติกรรมที่ปกปิดซ่อนเร้นภายใน จิตใจ ซึ่งผู้พูดสามารถตรวจสอบและทราบผลการพูดของตนเองได้จาก Feedback ของผู้ฟัง

24.       ความเป็นพิธีการของการสื่อสารพิจารณาจาก

1) ระเบียบแบบแผน   2) ความคุ้นเคย

3) สายการบังคับบัญชา          4) เอกสารสั่งการ

ตอบ 1. การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ (Formal Communication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารที่มีระเบียบแบบแผน และมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น การติดต่อสื่อสารในวงราชการซึ่งต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ และธรรมเนียมของการบริหารราชการ เป็นต้น

25.       การพูดเป็น….

1)         การสื่อสารหน่วยย่อยที่สุดเพื่อพิจารณาตามปริมาณสื่อที่ใช้

2)         ผลรวมของสิ่งเร้ากับสิ่งแวดล้อมที่ใช้นำเสนอข้อมูลข่าวสาร

3)         รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารแบบวัจนภาษา

4)         การสื่อสารระหว่างเครือข่ายที่สื่อสารมวลชนใช้อยู่

ตอบ 3. การพูด (Speech) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารแบบวัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เช่น ภาษา พูด ภาษาเขียน ฯลฯ แต่การพูดก็ต้องอาศัยการสื่อสารแบบอวัจนภา คือ ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ เช่น น้ำเสียง สำเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า ฯลฯ เข้าร่วมกับวัจนภาษาด้วยดังนั้นการพูดจึงเป็นการสื่อสารที่ไม่สามารถแยก จากอวัจนภาษาอย่างเด็ดขาด

26.       ประโยชน์ของการสื่อสารในแง่การวิจัยสั่งการพิจารณาจาก

1)         การยอมรับในอำนาจ   2) ความถูกต้อง รวดเร็ว

3) ถ่ายโอนนวัตกรรมได้มากขึ้น           4) ลดปริมาณข่าวสารลง

ตอบ 2. ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสารสำหรับผู้นำหรือหัวหน้างาน มีดังนี้

1.         ช่วยทำให้การวินิจฉัยสั่งการไปอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องยิ่งขึ้น

2.         ช่วยทำให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาหรือช่วยให้ ทำงานสอดคล้องกัน ไม่ทำงานซ้อนหรือก้าวก่ายกัน

3.         ช่วยท่าให้การควบคุมงานตามสายการบังคับบัญชามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4.         ช่วยก่อให้เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน เกิดขวัญในการทำงาน และทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจในหน่วยงานดีขึ้น

27.       ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของผู้นำในฐานะนักพูดที่ดี

1)         ตรงเวลาเพื่อจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ต่อหน้าลูกน้อง

2)         มาก่อนเวลาเพื่อตระเตรียมสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

3)         ทำทุกอย่างเอง เพื่อความสมบูรณ์แบบในการพูด

4)         ตรวจบันทึกข้อมูลการพูดที่ผ่านมา แล้วแจ้งให้ลูกน้องทราบด้วยเอกสาร

ตอบ 2. การพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้พูดจะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อตระเตรียม ต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น สำรวจเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคยและไม่ให้เกิด ความผิดพลาดในการพูด

28.       ขณะที่ผู้นำพูดไปควรแสดงท่าทางอย่างไร

1)         ปล่อยตัวตามสบาย โดยพิจารณาการแสดงออกจากผู้ฟังเป็นสำคัญ

2)         ยิ้ม หัวเราะ แสดงออกทางอารมณ์ตามที่เตรียมมา

3)         รักษาตำแหน่งของมืออย่างให้เกะกะ หรือสูงต่ำเกินไป

4)         กอดอกแสดงความภาคภูมิใจในความเป็นผู้นำความคิดตลอดเวลาที่พูด

ตอบ 4. การแสดงท่าทางการประกอบการพูด เป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง และทำให้การพูดมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้พูดควรจะแสดงท่าทางประกอบการพูดต่อเมื่อต้องการอธิบายหรือเน้นข้อความที่พูด แต่ที่ สำคัญก็คือ ในขณะที่ยืนพูดจะต้องไม่ยืนกอดอกเอามือท้าวสะเอว เอามือใส่กระเป๋า หรือเอามือไขว้หลังเป็นอันขาด

29.       การประเมินผลการพูด ผู้นำต้องไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอะไร

1)         สร้างประเด็นและความน่าสนใจในการนำเสนอครั้งต่อไป

2)         สำรวจกรอบแนวคิด และความเชื่อด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นภัยต่อสังคม

3)         พิจารณาปฏิกิริยาตอบกลับด้านต่าง ๆ ที่มีเกี่ยวกับประเด็นสาระของการสื่อสาร

4)         กำหนดประเด็นที่สื่อมวลชนควรรับรู้และนำเสนอในรูปของเอกสารเผยแพร่

ตอบ 1. ประโยชน์ของการประเมินผล (Evaluation) การพูด คือ

1.         นำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการสร้างประเด็นและความนำสนใจในการนำเสนอครั้งต่อไป

2.         ช่วยในการปรับปรุงบุคลิกภาพผู้พูด

3.         ช่วยยกระดับจิตใจผ่านการฟังและการหาเหตุผล .

4. เพื่อสร้างเสริมสติปัญญา

30.       การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความเชื่อและทัศนคติมีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูลในการพูด แต่ละครั้งของผู้นำ

1)         เพื่อสร้างรูปแบบสื่อสารและระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นำเสนอ

2)         เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม

3)         เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้เสียของผู้ฟัง

4)         เพื่อกำหนดวาระรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา

ตอบ 3. การวิเคราะห์ผู้ฟังเพื่อตรวจสอบความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติ แจะทำให้ผู้พูดทราบถึงแนวโน้ม การตัดสินใจเรื่องที่จะเป็นส่วนได้-เสียของผู้ฟัง เพื่อให้ผู้พูดสามารถเตรียมข้อมูลในการพูดและครั้งได้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ฟังเชื่อและยึดถือ ไม่ไปขัดแย้งหรือดูถูกความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติของผู้ฟังที่มีอยู่แต่เติม

31.       การมีคู่ครองที่เหมาะสมมีส่วนสนับสนุนผู้นำด้านใด

1)         อรรถประโยชน์            

2) ผลประโยชน์           

3) ภาพพจน์     

4) ภาพลักษณ์

ตอบ 4. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรเลือกคู่ครองหรือคู่ชีวิตที่เหมาะสมและมีบุคลิกที่ดีพอสมควร เพราะในการไปปรากฏตัวในที่ชุมชนนั้น บางครั้งคู่ชีวิตของผู้นำจะต้องปรากฏตัวด้วย ถ้าคู่ชีวิตมีบุคลิกภาพดี มีมรรยาทงดงาม ก็จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนภาพลักษณ์ของผู้นำให้ดียิ่งขึ้น

32.       บุคลิกภาพของผู้นำ….

1) เปลี่ยนแปลงได้                   

2) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

3) คงที่และตายตัว                

4) เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ

ตอบ 1. บุคลิกภาพ (Personality) เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไข ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงกันได้ ผู้ที่อยากจะมีบุคลิกภาพที่ดีจึงต้องมีความนั้นเพียร เอาใจใส่ในการฝึกฝน มีความอดทนและมีความรักที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง (ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ)

33.       การเริ่มต้นเนื้อหาของการพูด ผู้นำควรหลีกเลี่ยงเนื้อหาในลักษณะใด

1)         สภาพการจราจรที่รายงานผ่าน สวพ. 91

2)         หัวข่าวหนังลือพิมพ์ฉบับเช้า

3)         ฝาท่อระบายน้ำที่เจ้าหน้าที่เผลอเปิดเอาไว้หน้าสำนักงาน

4)         เรื่องส่วนตัวของลูกน้องที่กำลังตกเป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์

ตอบ 4. ในการเริ่มต้นเนื้อหาของการพูดนั้น จะต้องมีคำนำเพื่อเป็นการเกริ่นหรือเสนอที่มาของเรื่องที่จะพูดก่อน ซึ่งเป็นการเรียกความสนใจเบื้องต้นของผู้ฟัง ทั้งนี้ผู้พูดที่ฉลาดจะต้องระมิดระวังในเรื่องคำนำหรือ อารัมภบทเป็นอย่างมาก ถ้าคำนำดี ผู้ฟังจะเกิดความเสื่อมใสศรัทธา ทำให้ตั้งใจฟังมากขึ้น แต่ถ้าคำนำไปกระทบเรื่องส่วนตัวของผู้ใดหรือพูดเรื่องส่วนตัวของตนเอง ผู้ฟังก็จะขาดความศรัทธาในตัวผู้พูด ซึ่งก็จะส่งผลให้การพูดไม่ประสบผลสำเร็จ

34.       การตรวจสอบง่าย ๆ ว่าขณะพูดผู้ฟังได้ยินหรือเปล่า พิจารณาจาก

1)         ความสนใจฟังของผู้ฟัง            2) เครื่องแต่งกายของผู้ฟัง

3) คำทักทายของผู้ฟัง 4) สีหน้าของผู้ฟัง

ตอบ 4. หลักการพูดสำหรับผู้นำข้อหนึ่งคือ ตามอง (ผู้ฟัง) ปากพูด ซึ่งขณะที่พูดนั้นผู้พูดสามารถตรวจสอบ ได้ง่าย ๆ ว่าผู้ฟังได้ยินเสียงที่พูดหรือเปล่า จากการสังเกตหรือสีหน้ากิริยาทำทางของผู้ฟัง ถ้าผู้ฟังแสดงสีหน้า ไม่ยินดีหรือทำเงี่ยหูฟัง ผู้พูดก็ควรถามก่อนที่จะพูดเรื่องที่เตรียมมาว่า ผู้ฟังได้ยินหรือไม่ (ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ)

35.       สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูดมีผลเชิงรูปธรรมกับผู้ฟัง คือ

1)         บุคลิกภาพและน้ำเสียง           2) ความรู้สึกนึกคิด

3) ระดับการศึกษา      4) ความเชื่อและทัศนคติ

ตอบ 1. สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูดที่มีผลเชิงรูปธรรมกับผู้ฟัง คือ สิ่งที่ผู้ได้เห็นและได้ยิน เช่น น้ำเสียง เรื่องที่ นำมาพูด การแต่งกาย ท่าทาง การเคลื่อนไหวและบุคลิกภาพของผู้พูด

36.       คำพูดที่มาจากใจ มีความสัมพันธ์อย่างไรในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความประทับใจ

1)         มนุษย์ใช้เหตุผลเป็นสิ่งเชื่อมโยงสถานการณ์มากกว่าอารมณ์

2)         เหตุผลเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่มนุษย์โต้ตอบสิ่งเร้า

3)         มนุษย์รับรู้อารมณ์ความรู้สึกก่อนใช้ความคิดตัดสินเหตุผล

4)         การเลือกที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารใด ๆ สมองเป็นผู้สั่งการอย่างมีเหตุผล

ตอบ 3. ในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความประทับใจนั้น ผู้พูดควรใช้ถ้อยคำอย่างมีความจริงใจ น้ำเสียงที่พูดออกมาแสดงว่าได้พูดออกมาจากใจจริง คำพูดเป็นอย่างไรก็มีความรู้สึกอย่างไร ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์มักจะ รับรู้อารมณ์ความรู้สึกก่อนใช้ความคิดตัดสินใจเหตุผล

37.       ในการวางโครงเรื่องพูด หากมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในทางเลวร้าย อะไรคือสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบที่สุด

1) การตกลงใจที่จะเลือกใช้ข้อมูล       2) ความกล้าที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่จะพูด

3) ปฏิกิริยาของผู้ฟังที่จะแสดงกลับมา 4) องค์ประกอบของกลุ่มผู้ฟัง

ตอบ 2. การเริ่มคิด เป็นขั้นตอนของการริเริ่มที่จะวางเค้าโครงเรื่องที่จะพูดว่า ผู้พูดจะพูดเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คือ ผู้พูดจะต้องมีความสำคัญที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่ จะพูด โดยเฉพาะหากมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในทางเลวร้าย แต่ถ้าไม่เชื่อในความคิดของตนเอง ก็อาจถามผู้ที่รู้จักเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แล้วก็จะได้หัวข้อที่คิดจะนำไปพูดมากขึ้น

38.       ทำไมผู้เตรียมการจึงต้องมีการเขียนเค้าโครงเรื่อง

1) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม           2) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาของข้อมูล

3) เพื่อประมวลสาระข้อมูลและจัดลำดับ 4) เพื่อให้ผู้ฟังได้รับการตอบสนองข้อมูลที่มากพอ ตอบ 3. ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่างหรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ ก็เพื่อประมวลสาระข้อมูลอันเป็นการเขียนแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไร โดยโครงร่างหรือโครงเรื่องนี้ จะช่วยเป็นแนวทางการจัดเรียงเรื่องที่จะพูด ทำให้เนื้อหามีเอกภาพ ไม่สับสน และง่ายแก่การจดจำไปพูด

39.       เหตุใดผู้พูดจึงต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อการนำเสนอ และมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ

1)         เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2)         เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งตรงความสนใจของผู้ฟัง

3)         เพื่อแสดงออกถึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ เป็นการเคารพแหล่งที่มาก่อนหน้านี้

4)         เพื่อให้การแบ่งหัวข้อ และหาข้อมูลสนับสนุนเป็นไปอย่างราบรื่น

ตอบ 3. การค้นคว้า (Research) ข้อมูลเพื่อนำเสนอเป็นขั้นตอนหลังจากการเขียนโครงเรื่อง ซึ่งวิธีการ ค้นคว้าข้อมูลอาจทำได้ด้วยการอ่านหนังสือ (ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ) การสนทนากับบุคคลอื่น การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญหรือจากประสบการณ์ของผู้พูดเอง โดยมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อแสดงออกถึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และเป็นการเคารพแหล่งที่มาก่อนหน้านี้

40.       มรรยาททางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ…..ที่ผู้นำจะต้องขึ้นกล่าวอย่างแยกกันไม่ออก

1) ระบบการสื่อสารมวลชน     2) วัฒนธรรม และแบบปฏิบัติ

3) พัฒนาการทางความคิด      4) ประวัติความเป็นมา

ตอบ 2. มรรยาททางสังคม คือ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีควรพูดอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งการ รู้จักมารยาทของสังคมจะช่วยส่งเสริมให้ผู้นำมีบุคลิกภาพดีขึ้น และทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใสศรัทธา

41.       ไม่ว่าจะขึ้นคำด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้นำจะต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างในการพูดทุกครั้งคือ

1)         ต้องตื่นเต้นเร้าใจเสมอ    

2) กล่าวถึงแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

3) สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่จะกล่าวในลำดับถัดไป 

4) ต้องทักทายผู้ฟังไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก่อนเสมอ

ตอบ 3. คำนำ (Introduction) ในการพูด เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะชักจูงให้ผู้ฟังสนใจฟังต่อไป ซึ่งผู้พูดอาจ ขึ้นต้นด้วยคำจำกัดความ คำถาม สุภาษิต คำคม อารมณ์ขัน ความประหลาดใจ ฯลฯ โดยคำนั้น ๆ จะต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง (Main Body) ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

42.       รสนิยมของผู้นำ หมายถึง

1) การปรากฏตนที่โดดเด่น     

2) ความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำหน้า

3) การเลือกให้เหมาะสมกับโอกาส     

4) ความพอเพียง

ตอบ 3. ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

43.       ความคล่องแคล่ว คือ

1) ว่องไวอย่างมีจังหวะจะโคน             2) เร่งรีบทำให้เสร็จทันกาล

3) พยายามให้เหมาะสมกับโอกาส      4) ทำให้เห็นว่าเร็วเท่าที่จะทำได้

ตอบ 1. ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

44.       ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวสับ สติ” ในการพูด

1) คิดให้มาก   2) ทำทุกอย่างให้สงบ

3) ควบคุมตนให้ได้      4) บังคับให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

ตอบ 3. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรมีสติหรือรู้จักควบคุมตนเองห้ได้ ผู้ที่ขาดการควบคุมตัวเองจะทำให้เสียบุคลิกภาพทันที ผู้นำที่ดีจึงต้องครองสติอยู่เสมอ ไม่ปล่อยตนเองให้เป็นทาสทางอารมณ์ เช่น ด่าทอพนักงาน ภารโรง คนขับรถ ฯลฯ และไม่เป็นทาสของมึนเมาหรือยาเสพติด

45.       เมื่อผู้ฟังปรบมืออย่างกึกก้องด้วยความชื่นชม ผู้พูดควรจะ

1)         หยุดพูด จนเมื่อการแสดงความพอใจหมดจบจึงเริ่มพูดต่อ

2)         ยกมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะแล้วโบกไปมา

3)         กล่าวคำว่าขอบคุณแล้วแสดงความเคารพ

4)         เดินลงจากเวทีเพื่อไปสัมผัสมือกับผู้ฟัง

ตอบ 1. ในขณะที่พูด ถ้าผู้ฟังแสดงความพอใจด้วยการหัวเราะหรือปรบมือ ผู้พูดจะต้องหยุดพูดเพื่อรอให้เสียงเหล่านั้นซาหรือจบลงแล้วจึงพูดต่อไปอย่าพูดแข่งกับเสียงต่าง ๆ

46.       ปัญหาความวิตกกังวลของผู้พูดต่อการปรากฏตัวต่อสาธารณะ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก

1)         เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม

2)         มาถึงเวลาที่พูดนานมากจนเกินไป

3)         เกรงว่าภาษาที่ใช้ไม่เหมาะกับผู้ฟัง

4)         การไม่รู้จักเจ้าภาพเป็นการส่วนตัว

ตอบ 3. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่ จะเกิดจากการเตรียมตัวที่ไม่ดีหรือไม่พร้อม จึงทำให้เกรงว่าภาษาที่ใช้จะไม่เหมาะสมกับผู้ฟัง ซึ่งทำให้ผู้พูดเกิดอาการตื่นเวที โดยวิธีแก้ไขประการแรก คือ ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องพูดและซ้อมพูดมาอย่างดี เพราะถ้าหากเตรียมตัวพร้อม มีความเข้าใจในเรื่องที่พูดอย่างดีก็จะมีความมั่นใจในตัวเอง เวลาพูดก็จะไม่เกิดความกลัว ความเครียดและวิตกกังวลอีก

47.       ในวิชาการพูดนั้น การพูดกินใจคน” หมายถึง

1) การกล่าวยกยอปอปั้น        2) คำพูดที่เกินความจริง

3) คำหยาบที่ทำให้โกรธทันที   4) การพูดถึงปมด้อย

ตอบ 4. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่กินใจคน นั่นคือ หลีกเลี่ยงการพูดถึงปมด้อยหรือ ข้อบกพร่องทั้งทางร่างกายและจิตใจของคนอื่น ซึ่งถือเป็นถ้อยคำที่แสลงใจคนเช่น คำว่า ร่ำรวยหลายแสนหลายล้าน” สำหรับคนหัวล้าน หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย” สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ เป็นต้น

48.       ตัวแปรด้านลบที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูดที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายทอดตามความต้องการในขณะที่ผู้พูดมีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว คือ

1) อารมณ์       2) บรรยากาศรวมทั้งสิ่งแวดล้อม

3) สถานที่ที่ได้รับเชิญไป         4) การจัดรูปแบบของเวที

ตอบ 2. บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีและที่ดีเกินไปย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพูด ทำให้ผลของการพูดไม่ตรงตามจุดมุ่งหมาย และถือเป็นตัวแปรด้านลบที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูดที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายทอดตามความต้องการได้ ถึงแม้ผู้พูดจะมีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

49.       การพูดเรื่องส่วนตัวของผู้นำเองมากเกินไปเป็นการผิดมารยาทในการพูดด้านใด

1) ความไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหา           2) ใช้อำนาจไม่ถูกเวลา

3) ไม่ให้เกียรติผู้ฟังเท่าที่ควร   4) ไม่วิเคราะห์ผู้ฟังก่อน

ตอบ 3. ในการพูดนั้น ผู้พูดไม่ควรพูดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องภายในครอบครัว และไม่ควรพูดอวดตน อวดภูมิ ข่ม หรือถือว่าตนเองดีกว่าผู้ฟัง เพราะนอกจากจะไม่สุภาพแล้ว ยิ่งเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟังอีกด้วย

50.       หากพิจารณาในเชิงจิตวิทยาแล้ว เหตุใดมนุษย์จึงชอบพูดมากกว่าฟัง

1)         เพราะสามารถสร้างความได้เปรียบในความถูกต้องได้มากกว่า

2)         เพราะการพูดสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองได้มากกว่า

3)         เพราะการพูดเป็นช่องทางเลือกข้อมูลได้มากกว่า

4)         เพราะการพูดรับปฏิกิริยาตอบกลับได้มากกว่า

ตอบ 2. โดยปกติแล้วคนเราชอบพูดมากกว่าชอบฟัง เพราะในขณะที่พูดนั้นผู้พูดจะสร้างความมั่นใจและมีความรู้สึกว่าตนมีความเชื่อมั่นในตนเอง ตนได้แสดงความคิดเห็นและได้รับความสนใจจากผู้ฟัง

51.       การพูดเกินเวลาที่กำหนด เป็นการผิดมรรยาทข้อใดมากที่สุด

1)         ไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ          

2) ขาดการรับฟังความคิดเห็น

3) ไม่นับถือประธานในพิธี       

4) ไม่เคารพสิทธิของผู้ฟัง

ตอบ 4. ในการพูดนั้น ผู้พูดควรพูดให้เหมาะสมกับเวลา อย่าพูดเกินเวลาที่กำหนดเพราะเป็นการแสดงว่าผู้พูดไม่ได้เคารพและไม่ได้รักษาสิทธิที่พึงมีของผู้ฟังเหมือนกับของตนเอง

52.       หากพิจารณาในเชิงพฤติกรรมการสื่อสารแล้ว เหตุใดจึงไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว

1)         เพราะโครงสร้างของกลุ่มเป้าหมายจะมีการเปลี่ยนแปลง

2)         เพราะจะทำให้การตีความหมายของคำพูดเกิดการบิดเบือน

3)         เพราะจะเกิดสภาพการเลือกทิ้งและตีความข่าวสารในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์

4)         เพราะไม่เกิดความสมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

ตอบ 2. ในการพูดนั้น ผู้พูดจะต้องไม่ผูกขาดการพูดแต่เพียงคนเดียวควรจะเปิดโอกาสการตรวจสอบว่าผู้ฟังตีความหมายของข่าวสารได้ตรงกับผู้พูดหรือไม่ เพื่อไม่ทำให้การตีความหมายของข่าวสารเกิดความบิดเบือน

53.       การแก้ปัญหาการพูดในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจะเตรียมการพูดล่วงหน้าได้ สิ่งที่น่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญ นอกเหนือจาก สติ” คือ

1) ข้อมูลและสถิติเท่าที่จำได้   2) การใช้ภาษาที่สละสลวย

3) ภาพลักษณ์ของบุคคล        4) โครงสร้างการพูดที่จำลองล่วงหน้า

ตอบ 4 การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ 1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ (ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด) 2. ใช้ปัญญาปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด 3. พยายาม นึกถึงโครงสร้างของการพูด 4. ฝึกพูดในใจในเรื่องที่เตรียมได้ 5. พูดหรือตอบคำถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น และมีความหมายชัดเจน อีกทั้งควรเลี่ยงการตอบคำถามที่คลุมเครือ

54.       กิจกรรมในข้อใดต้องใช้คำปฏิสันถารแบบเป็นพิธีการเต็มรูปแบบ

1)         รัฐพิธี   2) ทำบุญผ้าป่า

3) ต้อนรับคุณครูคนใหม่          4) งานเลี้ยงพระบ้านคุณป้า

ตอบ 1. การกล่าวคำปฏิสันถารแบบเป็นพิธีการเต็มรูปแบบ มักใช้ในงานรัฐพิธี เช่น งานวันเฉลิมพระชนม์ พรรษา วันปิยะมหาราช ฯลฯ ซึ่งเป็นงานที่มีคนหลายอาชีพมาชุมชน และมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ นายอำเภอเป็นประธานกล่าวคำถวายพระพร โดยควรกล่าวคำปฏิสันถารว่า ท่านแขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย

55.       ข้อใดทำให้การปรากฏตัวของผู้นำไม่งามสง่า

1) ก้าวย่างอย่างมั่นใจ 2) ขยับแว่น

3)         ปรับไมโครโฟนพอเหมาะกับส่วนสูง   4) กวาดตามองอย่างทั่วถึง

ตอบ 2. ผู้นำควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้ปรากฏตัวไม่สง่างาม ดังนี้

1.         อย่าจับจมูก ทำจมูกฟุดฟิด หรือสูดน้ำมูก

2.         อย่าพะวงมองดูบัตรจดหัวข้อเรื่อง

3.         อย่ายืนพิงโต๊ะที่ยืนพูด

4)         อย่าจับแว่น เอามือเสยผม เกาศีรษะ ขยับกางเกง เลียริมฝีปาก หรือดึงคอเสื้อ ฯลฯ

56.       การตอบคำถามในการพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้า ผู้นำควรกล่าวในลักษณะใด

1)         ชี้แจงรายละเอียด และให้ข้อมูลตามประสบการณ์

2)         บอกปัดและถ่ายโอนไปให้ผู้ที่รู้มากกว่า หรือน่าจะรับผิดชอบแทนได้

3)         มีประเด็นและความหมายชัดเจน เลี่ยงคำตอบในคำถามที่คลุมเครือ

4)         ใช้สถิติ และข้อมูลทางวิชาการเพื่อสร้างความมั่นใจในการตอบ

ตอบ 3. ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ

57.       การพูดโดยมีจุดมุ่งหมายด้านการชักจูงใจต้องอาศัย……เป็นแนวทาง

1)         แผ่นจดข้อความแบบย่อ

2)         การซักซ้อมโดยเน้นลำดับการนำเสนอ

3)         การสร้างความประทับใจจากข้อมูลที่นำเสนอ

4)         ขยายข้อมูลสาระที่มากพอต่อการตัดสินใจ

ตอบ 3 การพูดเพื่อการชักจูงใจต้องอาศัยวิธีการดำเนินการดังนี้

1.         พูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเสื่อมใสศรัทธาในตัวผู้พูด

2.         พูดเพื่อให้เกิดความสนใจจากผู้ฟัง

3.         สร้างความพอใจให้แก่ผู้ฟัง

4.         สร้างความไว้วางใจหรือความประทับใจจากข้อมูลที่นำเสนอให้แก่ผู้ฟัง

5.         สร้างความเชื่อมั่น

6.         พูดอย่างมีชีวิตจิตใจ

7.         พูดเร้าหรือกระตุ้นเพื่อให้ผู้ฟังลงมือกระทำ

58.       การเตรียมเอกสาร ผู้เตรียมสามารถจัดทำได้ใน 2 กรณี คือ

1) ผู้พูด ผู้ฟัง    2) ตนเอง คนอื่น

3) เจ้าภาพ ประธานในพิธี       4) ผู้ฟัง ผู้สังเกตการณ์

ตอบ 2. ในการเตรียมเอกสารหรือเรื่องพูดนั้น ควรเตรียมให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพและแนวความคิดของผู้พูด โดยสามารถจัดทำการเตรียมหรือเรื่องพูดได้ 2 กรณี คือ 1. เตรียมตัวด้วยตนเอง ซึ่งคนเราย่อมค้นคว้าและ เขียนเฉพาะเรื่องที่ถูกกับนิสัยหรือบุคลิกของตนเองเท่านั้น 2. ให้คนอื่นเตรียมให้ เนื่องจากผู้พูดไม่มีเวลา ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่คุ้นเคยจนรู้นิสัยใจคอและความคิดเห็นของผู้ที่คุ้นเคยจนรู้นิสัยในของผู้พูดเป็นอย่างดี และผู้พูดต้องแนะแนวเรื่องไว้ก่อนด้วย

59.       ข้อใดเป็นการแบ่งการพูดตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1)         เร้าอารมณ์ สร้างจุดสนใจ        2) ให้ความบันเทิง ชักจูงใจ

3) บอกเล่า กล่าวความจริง     4) ท่องจำ กล่าวตามหัวข้อ

ตอบ 2. การพูดตามจุดมุ่งหมายหรือตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. การ พูดเพื่อให้ความบันเทิง (The Entertaining Speech) 2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง (The Informative or Instructive Speech) 3. การพูดเพื่อชักจูงใจ (The Persuasive of Influenced Speech)

60.       การเตรียมเนื้อหาของรายงานที่จะพูดนั้น ไม่ควรที่จะ….

1) มีหัวข้อที่สั้น กระชับ ชัดเจน            2) ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้ง่ายต่อการอ่าน

3) บรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป          4) จัดทำอย่างประณีตด้วยความรอบคอบ

ตอบ 3. การเตรียมเรื่องหรือเนื้อหาของรายงานที่จะพูดนั้น ควรเรียบเรียงขึ้นด้วยข้อย่อย ๆ ให้โดดเด่น ง่ายต่อการอ่าน แต่ไม่ควรบรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไปเพราะจะทำให้มีเนื้อหาและข้อปลีกย่อยมากมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ฟังจำสับสน เกิดความเบื่อและทำให้เสียเวลา

61.       ในการพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง มีอะไรเป็นเนื้อหาสำคัญ

1) สิ่งเร้า          

2) บรรยากาศ  

3) อารมณ์ความรู้สึก 

4) ความต้องการ

ตอบ 3. จุดมุ่งหมายของการพูดเพื่อความบันเทิงก็คือ เพื่อให้ความบันเทิงรื่นเริงสนุกสนานแก่ผู้ฟัง ดังนั้น อารมณ์ขันและความรู้สึกจึงนับว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญของการพูดชนิดนี้

62.       ผลที่ได้จากการพูดชักจูงใจ คือ

1) เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรม      

2) การทำตามคำสั่ง

3) สร้างภาวะทางอารมณ์กดดัน          

4) ให้ตีความหมายข่าวสาร

ตอบ 1. การพูดเพื่อชักจูงใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อชักจูงให้เห็นด้วยเพื่อให้เปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรม และเพื่อชักจูงให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผลที่ได้คือ ผู้ฟังเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรมตามความประสงค์ที่ผู้พูดได้ตั้งไว้

63.       เนื้อหาประเด็นใดที่ไม่จำเป็นต้องพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง

1)         ประเด็นที่วัยรุ่นให้ความสนใจและสนทนาในเครือข่ายออนไลน์

2)         สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ

3)         ปัญหาวิกฤติของประเทศที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีการศึกษาค้นคว้า

4)         สถิติ ข้อมูล สาระของแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใหม่

ตอบ 1. การพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง เป็นการเสนอข้อเท็จจริง หลักฐานข้อมูล/สถิติ วัตถุประสงค์ หลักการ และสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นการรายงานถึงโครงการหรือนโยบาย ที่จะกระทำ หรือที่กำลังกระทำอยู่

64.       ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เริ่มเข้าทำงาน มิได้หมายถึง

1) ผู้ที่เข้าทำงานเป็นครั้งแรก   2) ผู้ที่มาทำงานเป็นวันแรก

3) ผู้ที่ถูกโอนย้ายมาจากหน่วยงานอื่น 4) ผู้ที่ถูกบรรจุใหม่ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

ตอบ 2. ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เริ่มทำงาน หมายถึง ผู้ที่ทำงานใหม่เป็นครั้งแรกผู้ที่สอบแข่งขันได้หรือถูกบรรจุ ใหม่แล้วเข้ารายงานตัวเพื่อทำงาน รวมถึงผู้ที่ถูกแต่งตั้งหรือโอนย้ายมาจากหน่วยงานอื่น

65.       ข้อมูลใดที่ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายงานให้กับพนักงานได้อย่างเหมาะสม

1)         เกียรติบัตรรับรองความสามารถ          2) ใบผ่านงาน

3) คำอธิบายงานในหน้าที่       4) ทรานสคริปต์

ตอบ 3. ผู้บังคับบัญชาควรเตรียมหาคำอธิบายในหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงาน จะทำ เพื่อว่าผู้บังคับบัญชาจะใช้อธิบายพูดคุย และมอบหมายงานให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

66.       การพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์มีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากการพูดประเภทอื่น ๆ อย่างไร

1)         เนื้อหาที่จะพูดต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

2)         ต้องมีการนำเสนอด้วยหลักการติเพื่อก่อ ชมเพื่อให้กำลังใจ

3)         ต้องมีการจัดสมดุลของเนื้อหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่กล่าวอ้าง

4)         ต้องมีการใช้กติกา ข้อกำหนด หรือตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มาใช้เป็นเกณฑ์

ตอบ 2. การพูดวิจารณ์ หมายถึง การพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและถูกหลักวิธีการวิจารณ์ เป็นการพูดที่ต้องใช้หลักการตรรกวิทยา (Logic) หรือหลักทางเหตุผล โดยจะไม่เอาอารมณ์ของ ผู้พูดมาเกี่ยวข้องด้วย

67.       หน้าที่ของผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่มีต่อองค์กรเมื่อมีบุคคลใหม่ คือ

1)         แจ้งให้หน่วยงานทราบ            2) พาเดินชมที่ทำงาน

3) พิมพ์นามบัตร          4) เลี้ยงรับรอง

ตอบ 1. หน้าที่โดยตรงของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อองค์กรเมื่อมีพนักงานหรือบุคคลากรใหม่ คือ ประกาศคือแจ้งให้ หน่วยงานและพนักงานทุกคนทราบล่วงหน้า โดยอาจส่งอีเมล์ทำจดหมายเวียน หรือติดประกาศที่บอร์ด ประชาสัมพันธ์

68.       มารยาทของรุ่นพี่ที่มีต่อพนักงานใหม่ หลังจากได้รับการแนะนำ คือ

1)         ชวนเลี้ยงฉลอง            2) มอบของที่ระลึก

3) มอบหมายงานพร้อมแบบประเมิน  4) ปรบมือต้อนรับ

ตอบ 4. ในหน่วยงานบางแห่งเมื่อมีการประชุม ผู้บังคับบัญชาแนะนำผู้เริ่มเข้าทำงานใหม่ให้สมาชิกทั้งหมด ทราบอีกครั้ง ซึ่งหลังจากได้รับการแนะนำ ผู้เริ่มเข้าทำงานใหม่จะยืนขึ้นแล้วก้มศีรษะหรือไหว้สมาชิกที่ประชุม และสมาชิกในหน่วยงานก็จะปรบมือต้อนรับ

69.       เพื่อประสานงาน และลดความตึงเครียดในการทำงานช่วงแรกของเจ้าหน้าที่คนใหม่ผู้บังคับบัญชาควรที่จะ……

1) รัดงานเลี้ยงรับน้องใหม่       2) ให้เลขานุการรับส่งถึงบ้าน

3) แนะนำต่อหัวหน้างานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง     4) มอบหมายให้ประชุมแทน

ตอบ 3. ผู้บังคับบัญชาควรแนะนำผู้เริ่มเข้าทำงานใหม่ให้รู้จักกับหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทำการติดต่อประสานงานกันได้ถูกต้องและรวดเร็วหรือเพื่อลดความตึงเครียดในการทำงานช่วงแรกของผู้เริ่มทำงานใหม่

70.       อำนาจในการออกคำสั่งขึ้นอยู่กับ

1)         การมอบหมายหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบซึ่งหน่วยงานนั้นสร้างขึ้นและถือปฏิบัติ

2)         ความสามารถในการพิจารณาโดยอาศัยกฎระเบียบที่มีอยู่

3)         มติของที่ประชุมในการวินิจฉัยสั่งการ

4)         การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้-เสียต่อการตัดสินใจ

ตอบ 4. อำนาจในการออกคำสั่งขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับกัญชาหรือผู้มีส่วนได้เสียต่อการ ตัดสินใจออกคำสั่ง ดังนั้นก่อนที่ผู้บังคับบัญชาจะออกคำสั่งควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่า คำสั่งมีเหตุผลและ ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจะปฏิบัติได้หรือไม่เพราะคำสั่งออกไปนั้นย่อมเป็นเครื่องวัดความสามารถของผู้บังคับบัญชาด้วย

71.       การออกคำสั่ง หมายถึง

1)         การควบคุมงานให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

2)         การบังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามด้วยความชอบธรรม

3)         การวินิจฉัยบุคคลตามที่กำหนดในระเบียบ

4)         การสั่งการตามอำนาจหน้าที่

ตอบ 2. การออกคำสั่ง หมายถึง การบังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามด้วยความชอบธรรม โดยผู้ที่จะเป็นผู้นำควรเรียนรู้วิธีพูดสั่งการที่มีประสิทธิภาพเพื่อว่าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาจะได้นำไปปฏิบัติตาม ซึ่งการลงมือปฏิบัติ (Action) นั้นถือเป็นจุดต่างของการสื่อสารโดยการออกคำสั่งจากการสื่อสารในลักษณะอื่น

72.       คำสั่งแบบใดมีความเด็ดขาดสูงสุด

1) ขอร้องให้ทำ            

2)น่าจะ            

3)ต้อง     

4)เสนอให้ทำ

ตอบ 2. วิธีออกคำสั่งประเภทสั่งให้ทำ เป็นคำสั่งที่มีความเด็ดขาดสูงสุดโดยผู้ที่ออกคำสั่งมักเป็นผู้ที่ค่อนข้างอยู่ในระเบียบวินัย เช่น ทหาร หรือผู้บังคับบัญชาที่ไม่คำนึงถึงมนุษย์สัมพันธ์มากนัก ซึ่งผู้สั่งมักจะออกคำสั่ง โดยตรงและคำสั่งนั้นมักสัมพันธ์กับคำว่า ต้อง” เช่น “(ต้อง)” เช็ดโต๊ะตัวนี้” (ต้อง) ไปเอาแฟ้มนั้นมา” หรือ “(ต้อง) ไปตามนายแก้วมาเดี๋ยวนี้” ฯลฯ

73.       ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการสั่งให้ทำ

1) ควรจะ         2)น่าจะ            3)ต้อง     4)เลือกเอาว่า

ตอบ 3. ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74.       ข้อมูลพื้นฐานของคำสั่งในการสื่อสารประกอบด้วย

1) Head Line      2)S  M C  R + F   3)5W1H     4)News

ตอบ 3. การวางแผนงานออกคำสั่ง มุ่งที่จะทำให้คำสั่งสมบูรณ์ (Complete) ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานของคำสั่งใน การสื่อสารประกอบด้วย 5W1คือ คำสั่งนั้นต้องการให้ทำอะไร (What) ทำไมต้อง (Why) จะให้ใครเป็นผู้ทำ (Who) ทำเมื่อไหร่ (When) ทำที่ไหน (Where) และทำอย่างไร (How) รวมทั้งต้องการจำนวนเท่าใดและ คุณภาพขนาดไหน (Quantity and Quality)

75.       การสื่อสารโดยคำสั่ง มีจุดต่างจากการสื่อสารในลักษณะอื่นในประเด็นใด

1) การลงมือปฏิบัติ     2) การประเมินผล

3) ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน    4) มีการวิเคราะห์ผู้รับสาร

ตอบ 1. ดูคำอธิบายข้อ 90 ประกอบ

76.       การออกคำสั่งแตกต่างจากการพูดอื่น ๆ อย่างไร

1) ต้องมีการตระเตรียม           2) ต้องมีศิลปะ

3) ต้องมีการติดตามผลงาน     4) ต้องมีรายละเอียด

ตอบ 3. การออกคำสั่งแตกต่างจากการพูดอื่น ๆ คือ จะต้องมีการติดตามผลงานเพื่อให้ทราบว่าคำสั่งนั้น ๆ มีผลมากน้อยเพียงใด โดยประสิทธิภาพของผู้บังคับบัญชานั้นอาจวัดด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง คำสั่งและการปฏิบัติตามคำสั่ง

77.       เหตุใดผู้นำควรหลีกเลี่ยงการออกคำสั่งในลักษณะ ห้ามกระทำ

1) เพราะพฤติกรรมอยากลอง 2) เพราะพฤติกรรมการมีส่วนร่วม

3) เพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบน  4) เพราะพฤติกรรมชิงดีชิงเด่น

ตอบ 1. ข้อควรหลีกเลี่ยงในการออกคำสั่งมีลักษณะดังนี้

1.         อย่าออกคำสั่งในลักษณะของการห้ามกระทำ เพราะจะทำให้ผู้รับคำสั่งมีพฤติกรรมอยากลอง

2.         อย่าออกคำสั่งที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากเกินไป

3.         อย่าออกคำสั่งที่ขัดแย้งกันเอง

4.         อย่าสั่งงานแบบก้าวร้าวไว้อำนาจหรือใช้อำนาจบังคับ

5.         อย่าออกคำสั่งใช้ระบบวินัยและระบบทำโทษขึ้นมาอ้าง ฯลฯ

78.       ข้อควรระวังที่สุดสำหรับการพูดเพื่อเล่าประวัติศาสตร์หรือชีวประวัติ ได้แก่

1) ข้อมูลที่ละเอียด      2) ข้อโต้แย้งที่หาข้อสรุปไม่ได้

3) ชื่อที่ถูกต้องของบุคคลสำกัญ         4) ต้นฉบับจากหลายแหล่งอ้างอิง

ตอบ 3. การเล่าประวัติศาสตร์หรือชีวประวัตินั้น ควรระวังเรื่องชื่อที่ถูกต้องของบุคคลสำกัญมากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องระวังข้อผิดพลาดต่าง ๆ อีก เช่น 1. ไม่ควรที่จะกล่าวถึงชีวิตส่วนตัวของเจ้าของชีวประวัติ มากเกินไป เพราะจะเป็นการแสดงถึงความไม่นับถือ 2. ควรเล่าเฉพาะเหตุการณ์ที่ผู้อื่นยังไม่รู้ 3. ควรจะอยู่ ในขอบเขตที่เหมาะสม และสุภาพ ไม่ยกย่องจนเกินไป

79.       การพูดเพื่อให้คำปรึกษาลูกน้องที่ดี ผู้นำควรมีเป้าหมายในทิศทางใด

1) กล่าวถึงความจริงทุกอย่างให้รู้       2) บอกหนทางแสวงหาผลประโยชน์

3) สร้างความเป็นกันเองฉันท์พี่น้อง    4) เสนอทางออกที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด

ตอบ 4. การพูดเพื่อให้คำปรึกษาที่ดีควรอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมเป็นหลัก โดยวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพที่ควรจะใช้ในการพูดปรึกษาก็คือการสะท้อนความรู้สึกร่วม ซึ่งมีประโยชน์มากในการให้คำแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเชิงพฤติกรรมและระเบียบวินัยของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อสร้างบรรยากาศให้มีความอิสรเสรี ความเข้าใจ ความไว้วางใจกัน อันจะเป็นทางนำไปสู่ที่มาของปัญหา และมีเป้าหมายการแก้ปัญหาไปในทิศทางการ เสนอทางออกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

80.       การแก้ปัญหาเชิงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใต้บังคับบัญชานั้น ผู้นำองค์กรจะอาศัยการพูดด้วยวิธีการ

1) สะท้อนความรู้สึกร่วม          2) สร้างภาวะกดดันต่อปัญหา

3) สั่งสอนอบรมให้รู้สึกนึก       4) แยกตนเองออกจากปัญหา

ตอบ 1. ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81.       กระบวนการเจรจากับ Mob ควรเริ่มต้นที่

1)         การนำเสนอเหตุผลและข้อต่อรองที่เป็นไปได้มากที่สุด

2)         ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเข้ามาร่วมเจรจาทนที

3)         มอบหมายผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้นนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง

4)         การขจัดอารมณ์และความรู้สึกที่เกลียดชังออกไป

ตอบ 4. เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Mob ในช่วงเวลาวิกฤตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้พูดควรเริ่มต้นกระบวนการเจรจาด้วย การรักษาอารมณ์ให้ปกติ หรือขจัดอารมณ์และความรู้สึกเกลียดชังออกไป รวมถึงควรใช้คำพูดที่สุภาพ มี เหตุผล และที่สำคัญที่สุดคือการให้เกียรติ ซึ่งถือเป็นมรรยาทในการเจรจากับตัวแทน Mob

82.       พฤติกรรมของ Mob มีสาเหตุมาจาก

1) การสูญเสียผลประโยชน์    

2) ความไม่เข้าใจข้อมูลที่แท้จริง

3) วาระซ่อนเร้นของการสื่อสาร           

4) สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยภาวะกดดันร่วม

ตอบ 4. ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

83.       ข้อไดแสดงออกถึงความรู้สึกร่วมที่มีต่อ Mob

1)         พวกคุณจะมาทำไม ไม่มีอะไรทำกันแล้วหรือ

2)         ข้อมูลที่เรียกร้องมา ผมยังไม่ได้รับรางวัลจากต้นสังกัด รอไปก่อนก็แล้วกัน

3)         ในฐานะผู้รับผิดชอบหน่วยงานนี้ เห็นใจคุณอย่างมาก และเข้าใจการกระทำเหล่านี้

4)         จะอยู่กันอีกนานไหม จะได้เกณฑ์รถสุขา ต่อน้ำไปให้พวกคุณ

ตอบ 3. เมื่อต้องการเผชิญหน้ากับ Mob ผู้พูดต้องแสดงความรู้สึกร่วม คือ พยายามใช้คำพูดที่แสดงว่าผู้พูด เป็นฝ่ายเดียวกับ Mob และมีความตั้งใจจะช่วยเหลือและให้ความร่วมมือ   เช่น ผมเข้าใจพวกคุณดีครับ” “ผมพยายามหาหนทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด”“ตอนนี้กำลังเจรจากับ ฝ่าย…..อยู่คะ” ฯลฯ

84.       หาก Mob เข้าสู่กระบวนการเจรจาอยู่อย่างสงบแล้ว สาระที่ควรจะพูดจากันคือ

1)         ทางออก ทางเลือก ข้อเสนอที่เป็นไปได้

2)         การสร้างข้อตกลงร่วมที่จะไปเอาผิดหลังสลายการชุมชน

3)         เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามข้อเสนอที่ฝ่ายฝูงชนเรียกร้อง

4)         นัดเวลา และกำหนดการที่กลับมาชุมนุมหากข้อตกลงไม่เป็นที่ยอมรับ

ตอบ 1. เมื่อ Mob ถูกยับยั้งหรือเข้าสู่กระบวนการเจรจาอย่างสงบแล้ว สิ่งที่ควรจะทำต่อไป คือ ช่วยพกเขาคิดหาทางออก ทางเลือก หรือข้อเสนอแนะให้พวกเขาใช้วิธีอื่นที่เป็นไปได้

85.       มรรยาทในการเจรจากับตัวแทน Mob ข้อใดสำคัญที่สุด

1) การให้เกียรติ           2) ข้อมูลสำคัญ           3) ผลการตอบแทน      4) เวลา

ตอบ 1. ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

86.       การขอความช่วยเหลือจาก หน่วยเหนือ” ของผู้บังคับบัญชาระดับต้นทำไปด้วยเหตุผลใด

1.         ต้องการลงโทษ            2) ทำงานให้สมเกียรติ

3) มีสิ่งที่อยู่เกินอำนาจตัดสินใจ          4) เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ตอบ 3. ผู้บังคับบัญชาระดับต้นจะพูดปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจาก หน่วยเหนือ” หรือผู้บังคับบัญชา ระดับเหนือขึ้นไป เนื่องจากได้พยายามพูดแนะและปฏิบัติด้วยความเยือกเย็นก็ยังประพฤติปฏิบัติตนเช่นเดิม จนเกินอำนาจการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาระดับต้น ทั้งนี้ควรให้ผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไปตัดสินใจเองว่าจะทำอย่างไร

87.       เมื่อ Mob คาดคั้นเรื่องระยะเวลาที่จะให้คำตอบ ผู้นำควรตอบอย่างไร

1) จะพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง        2) ขอเวลา 3 วัน

3) จะพิจารณาโดยเร็วที่สุด      4) ขอหารือผู้บริหารก่อน

ตอบ 3. ในกรณีที่ Mob มุ่งหวังจะให้ได้คำตอบอย่างรวดเร็วจนถึงกับกำหนดเวลาไว้ด้วยนั้น ผู้นำควรหาทางออกอย่างสุขุมและละมุนละม่อม ซึ่งอาจจะทำได้โดยการออกแถลงการณ์ หรือ ให้คำมั่นสัญญาว่าได้รับข้อเรียกร้อง และจะเรียกประชุมผู้บริหารทั้งหมดเพื่อพิจารณาปัญหาโดยด่วน หรืออาจพูดไปในแนวที่ว่า จะพิจารณาให้คำตอบโดยเร็วที่สุด

88.       ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่องการสนทนาแบบสองต่อสอง

1) เป็นช่องทางให้สำนึกผิด     2) กล่าวสนับสนุนการกระทำ

3) รายงานข้อผิดพลาดที่น่าอับอาย     4) ทำให้กล้าที่จะพูดความจริง

ตอบ 4. การพูดกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง คือ การสนทนาแบบสองต่อสองระหว่าง ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้ทั้งสองฝ่ายกล้าที่จะพูดความจริงต่อกัน โดยผู้บังคับบัญชาจะพูดเน้นถึงหน้าที่ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบแล้วชี้แจงให้ทราบข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องในหน้าที่ และรับฟังการให้เหตุผลของผู้ใต้บังคับบัญชา

89.       การเรียกชื่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถูกกล่าวตักเตือน มีผลทางการสื่อสารอย่างไร

1) สร้างจิตสำนึกที่ดี    2) ให้รับรู้ว่ามีสถานะเช่นไร

3) แบ่งแยกและจัดลำดับชั้น   4) ยังให้เกียรติและเป็นพวกเดียวกันอยู่

ตอบ 4. ข้อแนะนำสำหรับผู้นำหรือผู้บังคับบัญชาในขณะที่พูดกับผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ 1. ควรเรียกชื่อผู้ใต้บังคับบัญชา หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า แกลื้อ,   เพื่อแสดงว่าดังให้เกียรติและเป็นพวกเดียวดันอยู่ 2. ควรมีความอดกลั้น มีอารมณ์เยือกเย็น และให้ความเป็นกันเอง 3. ควรมีความยุติธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ 4. ควรแสดงความปรารถนาดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

90.       ข้อใดคือหลักการเสนอเนื้อหาในการบรรยายสรุป

1) อยากจะบอกอะไรก็บอกมา            2) เรื่องเล็กเรื่องใหญ่สำคัญหมด

3) ไม่มีอะไรในกอไผ่    4) อะไรควรรู้ต้องได้รู้

ตอบ 4. การพูดบรรยายสรุป (Briefing) ผู้พูดต้องเสนอข้อมูลและเนื้อหาที่สำคัญของเรื่องที่จะพูด โดยเสนอ ส่วนประกอบที่สำคัญของเรื่องราวในแบบของการพูดมิใช่การย่อหรือสรุปความ ทั้งนี้ในการเตรียมตัวพูดบรรยายสรุปนั้น ผู้พูดควรระลึกไว้เสมอว่าผู้ฟังต้องการทั้งเนื้อหาที่ครบและเนื้อหาที่มีสาระสมควรจะรู้ หรือยึดหลักการ นำเสนอเนื้อหาที่ว่าอะไรควรรู้ต้องได้รับรู้

91.       ข้อใดมิใช่องค์ประกอบที่สำคัญของการบรรยายสรุป

1) มีประเด็นสารครบถ้วน        

2) รวดเร็วทันเหตุการณ์

3) กระชับ ชัดเจน        

4) มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

ตอบ 2. องค์ประกอบที่สำคัญของการพูดบรรยายสรุป คือ 1. ต้องได้เนื้อความหรือประเด็นสาระครบ 2. ต้องมีการเสนอที่กระจ่างชัดเจน 3. ต้องได้เนื้อความที่สั้นและกระชับ 4. ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นไต้

92.       แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการตอบข้อซักถามข้องใจ คือ

1) เพิ่มเติม       

2) บอกเป็นนัย 

3) ให้ความจริง            

4) เน้นย้ำ

ตอบ 4. แนวคิดหรือวัตถุประสงค์ของการตอบข้อซักถามข้องใจ คือ

1.         ให้โอกาสผู้พูดเน้นย้ำเนื้อหาสาระสำคัญของเรื่องที่พูดอีกครั้งหนึ่ง

2.         ให้โอกาสผู้ฟังซักถามข้อสงสัยหรือความข้องใจต่าง ๆ ให้หมดไป

3.         ให้โอกาสผู้ฟังเสนอข้อคิดเห็นที่แตกต่างหรือขัดแย้งกับผู้พูด

4.         เปิดโอกาสให้ผู้พูดแสดงความสามารถในการพูด เพื่อเพิ่มความศรัทธา ความเชื่อถือ และความไว้วางใจของผู้ฟังที่มีต่อผู้พูด

5.         เป็นการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง (ผลพลอยได้)

93.       การใช้เครื่องมือประกอบการนำเสนอนั้น

1)         เตรียมมาให้มากเท่าที่จะทำได้ แล้วเลือกใช้ตามสถานการณ์

2)         เน้นที่คุณภาพ สมจริง ก้าวให้ทันตามเทคโนโลยี

3)         ให้พิจารณาจากวัตถุประสงค์และความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

4)         ถือเสมือนว่า ทำหน้าที่ให้บุคคลได้ทุกกรณี

ตอบ 3. การใช้เครื่องมือโสตทัศนะประกอบการนำเสนอเนื้อหาเน้นให้พิจารณาจากวัตถุประสงค์และความสนใจ ของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ซึ่งชนิดเครื่องมือโสดทัศนะที่ใช้มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. เครื่องมือจริง 2. เครื่องมือบุคคล 3. เครื่องมือเทียม (แผ่นแสดงภาพหรือแผนภูมิกระดานดำแผ่นปลิวภาพนิ่งเครื่องขยายเสียง ฯลฯ)

94.       สิ่งใดเป็นผลพลอยได้จากการตอบข้อซักถามข้องใจ

1) ความกระจ่าง          2) มนุษย์สัมพันธ์         3) ข้อแนะนำ    4) รู้เท่าทันสื่อ

ตอบ 2. ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

95.       คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ตอบซักถามข้องใจในด้านการสร้างบรรยากาศการสนทนา คือ

1) มีบุคลิกภาพดี ทำตนสง่างาม         2) ต้องไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย

3) รู้จักลูกล่อลูกชนในการโต้ตอบ        4) มีความรู้เฉพาะด้าน

ตอบ 2. คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ตอบข้อซักถามข้องใจในด้านการสร้างบรรยากาศการสนทนา คือ แสดง ความเต็มใจที่จะตอบข้อซักถาม ไม่แสดงทำทางเบื่อหน่ายเหนื่อย หรือรำคาญ เช่น เอามือเท้าคาง เกาศีรษะ ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด หาว ฯลฯ

96.       สาเหตุของความทุกข์ในกระบวนการสื่อสาร คือ

1)         ความไม่พอใจจากสิ่งใดก็ตามที่รับรู้อยู่

2)         การรับรู้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ

3)         การไม่สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา

4)         การกระทำที่ขัดต่อความรู้สึกและอารมณ์ของบุคคล

ตอบ 1. สาเหตุของความทุกข์ คือ ความไม่พอใจจากสิ่งใดก็ตามที่รับรู้อยู่ ซึ่งหน้าที่ๆสำคัญที่สุดประการหนึ่งของผู้นำหรือผู้บังคับบัญชาก็คือ การบำบัดความทุกข์หรือข้อข้องใจในการปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา(ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ)

97.       การบำบัดความทุกข์มีเงื่อนไขสำคัญร่วมกันในทุกรณีคือ

1)         ต้องเขียนหรือปันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักฐาน

2)         ต้องสามารถระบุได้ว่าความไม่พอใจมีสาเหตุมาจากสิ่งใดกันแน่

3)         ต้องหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ได้

4)         ต้องเปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและสื่อสารออกมาด้วยช่องทางที่มีอยู่

ตอบ 4. การแก้หรือวิธีบำบัดความทุกข์หรือข้อข้องใจมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีแต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะปฏิบัติตาม ขั้นตอนหรือมีเงื่อนไขสำคัญร่วมกันในกรณีทุกกรณี คือ เปิดโอกาสให้ผู้ร้องทุกข์เข้าพบ เพื่อจะได้แสดงออกและสื่อสารออกมาด้วยช่องทางที่มีอยู่ ไม่ควรขัดขวางไม่พอใจหรือยังไม่สามารถแก้ไขคำร้องทุกข์ขึ้นได้ ก็จะต้องเสนอเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชาสูงสุดต่อไป

98.       ถ้าจะพูดให้ฝูงชนยอม ไม่ควรหลีกเลี่ยงการพูดแบบไหน

1) การพูดทักทาย        2) การพูดอย่างมีเหตุผล

3) การพูดให้รู้สึกว่าเราเห็นใจเขา        4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3. ลักษณะการพูดที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเผชิญหน้ากับฝูงซน (Mob) คือ การพูดอย่างมี เหตุผลการพูดขัดหรือแสดงความไม่เห็นชอบด้วย และการพูดท้าทายซึ่งการพูดที่ดีที่สุด นั่นคือ พยายามพูด ให้ฝูงชนรู้สึกว่าเราเห็นใจเขา

99.       อิทธิพลของหลักธรรมในพุทธศาสนา เกี่ยวข้องอย่างไรกับภาวะผู้นำ

1)         หลักธรรมของศาสนาพุทธเป็นปรัชญาสำคัญในการดำรงชีวิดของคนไทย

2)         ประชาชนคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่นับถือหลักธรรมะ

3)         พุทธศาสนา เป็นแรงผลักดันให้คนไทยมีความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้สำเร็จลงได้

4)         ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. อิทธิพลของหลักธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ คือ หลักธรรมของศาสนาพุทธเป็น ปรัชญาสำคัญในการดำรงชีวิตของคนไทย เมื่อประชาชนคนไทยส่วนใหญ่เชื่อและนับถือในหลักธรรมแล้ว พุทธศาสนาจึงเป็นแรงผลักดันในจิตใจของคนไทยซึ่งในด้านความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้สำเร็จลงได้ และเป็นแรงผลักดันให้ยอมรับพฤติกรรมของคนบางคนในสังคม

100.    ผู้ที่มีอิทธิพลในสังคมไทยตามการศึกษาของ Blanchard คือคนกลุ่มใด

1) ข้าราชการ   2) นักการเมืองและทหาร

3) พระสงฆ์และครู      4) เชื้อพระวงศ์

ตอบ 4. Blanchard เห็นว่า ในสังคมไทยนั้นผู้ที่เป็นเชื้อพระวงศ์หรือผู้ทำงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทจะเป็น ที่ยอมรับนับถือมากที่สุด และรองลงมาคือ นักการเมืองชั้นสูง นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการและครู ลดหลั่นกันลงมาตามลำดับจนถึงพ่อค้าและกรรมกร

 

Advertisement