ข้อสอบชุดที่1
1. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของการโฆษณา
(1) เป็นการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
(2) ต้องระบุผู้อุปถัมภ์
(3) เป็นการสื่อสารผ่านสื่อบุคคล
(4) เป็นการส่งเสริมสินค้า บริการ หรือความคิด
ตอบ 3 ลักษณะสำคัญของการโฆษณามีดังนี้
1. เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นส่วนบุคคลไม่เจาะจงเป็นรายบุคคล และไม่เป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารแต่จะเป็นการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนที่มุ่งตรงไปยังบุคคลจำนวนมากใน คราวเดียวกัน
2. เป็นการส่งเสริมสินค้า บริการ หรือความคิด
3. มีการระบุผู้อปถัมภ์หรือผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโฆษณา
4. ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าเวลาและค่าเนื้อที่ในสื่อโฆษณา
5. เป็นข่าวสารหรือเป็นการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
2. การโฆษณามีความสัมพันธ์กับกิจกรรมใดมากที่สุด
(1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์
(2) การกำหนดราคาสินค้า
(3) การจัดจำหน่ายสินค้า
(4) การส่งเสริมการตลาด
ตอบ 4 หน้า 7,14-16 การโฆษณาจะมีความสัมพันธ์หรือมีบทบาทโดยตรงในฐานะเป็นกิจกรรมหนึ่งของการ ส่งเสริมการตลาดหรือการสื่อสารการตลาด กล่าวคือ การโฆษณาจะเป็นกิจกรรมการสื่อสารเพื่อส่งข่าวสารที่ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเพื่อแจ้งให้ทราบและโน้มน้าวใจให้มีพฤติกรรมอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น การซื้อสินค้า หรือใช้บริการ เป็นต้น ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคาสินค้า และการจด จำหน่าย ถือเป็น บทบาทอื่น ๆของการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการตลาด
3. ข้อใดเป็นหน้าที่สำคัญของการโฆษณา
(1) การแจ้งข่าวสาร (2) การส่งเสริมการขาย
(3) การประชาสัมพันธ์สินค้า (4) การสร้างความภักดีในตราสินค้า
ตอบ 4 หน้า 5-6 หน้าที่สำคัญของการโฆษณา มีดังนี้
1. เพื่อสารข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
2. เพื่อบอกถึงความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ที่โฆษณากับคู่แข่งขัน
3. เพื่อกระตุ้นให้ใช้ผลิตภัณฑ์
4. เพื่อช่วยให้มีการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
5. เพื่อเพิ่มความชอบและสร้างความภักดีในตราสินค้า โดยบอกเหตุผลที่ผู้บริโภคควรเลือกใช้สินค้ายี่ห้อ ของเราตลอดไป
6. เพื่อช่วยลดต้นทุนรวมต้านการขาย
4. การส่งเสริมการตลาดประกอบด้วยกิจกรรมอะไรบ้าง
(1) การประชาสัมพันธ์การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย การขายตรง
(2) การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การใช้พนักงานขาย การตลาดแบบเจาะจง การส่งเสริมรายการ
(3) การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย การตลาดแบบเจาะจง การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
(4) การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การตลาดแบบเจาะจง การใช้พนักงานขาย การประชาสัมพันธ์
ตอบ 4 หน้า 7 การส่งเสริมการตลาดหรือการสื่อสารการตลาด (Promotion or Marketing Communication) จะ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การส่งเสริมการขายการขายโดยใช้ พนักงานขายและการตลาดแบบเจาะจง
5. ข้อใดเป็นการตลาดแบบเจาะตรง
(1) การโฆษณาส่งทางไปรษณีย์ (2) การขายตรง
(3) ป้ายโฆษณาริมทางเท้า (4) การโฆษณาทางสมุดหน้าเหลือง
ตอบ 1,2 หน้า 8,132 การตลาดแบบเจาะจง (Direct Marketing or Direct-response Marketing) หมายถึง การ สื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการตอบสนองและหรือก่อให้เกิดการซื้อขาย แลกเปลี่ยนขึ้น โดยการตลาดแบบเจาะตรง จะได้แก่ การขายตรง (Direct Selling) การขายทางโทรศัพท์หรือ โทรสาร (Telemarketing) และการโฆษณาแบบตอบรับทันที (Direct Response Ads) เช่น การโฆษณาส่งตรงทาง ไปรษณีย์ เป็นต้น
6. การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ จัดเป็นการโฆษณาประเภทใด
(1) โฆษณาผลิตภัณฑ์ (2) โฆษณาแนวความคิด
(3) โฆษณาสถาบัน (4) โฆษณาชวนเชื่อ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การโฆษณาสถาบัน (Institutional Advertising หรือ Corporate Advertising) หรือการโฆษณา เพื่อการประชาสัมพันธ์ Public Relation Advertising) จะหมายถึง การโฆษณาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างจินตภาพ หรือภาพลักษณ์ (Image) ที่ดีให้กับสถาบันหรือองค์การที่เป็นผู้โฆษณา
ข้อ 7-9 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) การประชาสัมพันธ์ (2) การใช้พนักงานขาย
(3) การส่งเสริมการขาย (4) การตลาดแบบเจาะจง
7. การขายทางโทรศัพท์ เป็นกิจกรรมใด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
8. การจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสินค้า จัดเป็นกิจกรรมใด
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) คือ ความพยายามอันมีแผนงานล่วงหน้าที่จะสร้าง อิทธิพลเหนือจิตใจของสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการประชาสัมพันธ์จะถูกนำมาใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
1. ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ หรือสร้างผลกระทบด้านภาพลักษณ์ที่ผู้บริโภคมีต่อบริษัท
2. ต้องการให้ความรู้หรือวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น การจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสินค้า ฯลฯ และ
3. เมื่อสินค้าของบริษัทเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว เราอาจใช้กิจกรรมประชาสัมพันธ์ เช่น งานชุมชนสัมพันธ์ งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ มาสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบริษัทกับบุคคลฝ่ายต่างๆ หรือเพื่อสนับสมุน ร่วมมือในระยะยาวได้
9. การจัดรายการชิงโชค ชิงรางวัล เป็นกิจกรรมใด
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) คือ การจูงใจให้เกิดการซื้สนค้าโดยฉับพลัน ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การส่งเสริมการขาย ต่อผู้ขายปลีก เช่น การให้ส่วนลดต่างๆ เป็นต้น
2. การส่งเสริมการขายต่อพนักงานขาย เช่น การประชุมการขาย การฝึกอบรม หรือการแข่งขันทางการขาย เป็นต้น
3. การส่งเสริมการขายต่อผู้บริโภค เช่น การจัดรายการชิงโชค ชิงรางวัล หรือการลด แลก แจก แถม เป็นต้น
10. การโฆษณาสถาบัน จัดเป็นโฆษณาประเภทใด
(1) การโฆษณาส่งเสริมการขาย (2) การโฆษณาแนวความคิด
(3) การโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ (4) การโฆษณาระดับนานาชาติ
ตอบ 3 คูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
11. การโฆษณาระดับชาติส่วนใหญ่จะเป็นการโฆษณาประเภทใด
(1) การโฆษณาชื่อยี่ห้อ
(2) การโฆษณาโดยผู้ค้าส่ง
(3) การโฆษณาโดยผู้ค้าปลีก
(4) การโฆษณาโดยปัจเจกชน
ตอบ 1 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า การโฆษณาชื่อยี่ห้อ (Brand Advertising) โดยการโฆษณาทางสื่อมวลชนส่วนใหญ่จะเป็นการโฆษณาระดับชาติที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมักเป็นการโฆษณาภายใต้ชื่อยี่ห้อหรือตราสินค้าโดยผู้อุปถัมภ์ที่เป็นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวของ สินค้ายี่ห้อนั้น
12. ในปัจจุบันสื่อมวลชนมองผู้รับสารในฐานะอะไร
(1) มวลชน
(2) สาธารณชน
(3) กลุ่มสังคม
(4) ตลาด
ตอบ 4 ในปัจจุบันสื่อมวลชนจะมองผู้รับสารในฐานะตลาด (Market) หรือกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ซึ่งจะมี ความสำคัญสำหรับผู้ส่งสาร 2 ประเภท คือ
1. เป็นผู้บริโภคของผลผลิตที่จะขาย
2. เป็นผู้รับสารจากโฆษณา ซึ่งเป็นรายได้หลักของสื่อมวลชน
13. แบบจำลองลำดับขั้นของการตอบสนองสาร ข้อใดที่พัฒนามาจากแบบจำลองกระบวนการขายโดยใช้พนักงานขาย
(1) AIDA Model (2) Hierarchy of Effects Model
(3) Innovation Adoption Model (4) Information-processing Model
ตอบ 1
14. ข้อใดคือกระบวนการตอบสนองตามแบบจำลอง Hierarchy of Effects Model
(1) ความใส่ใจ ความสนใจ ความต้องการ การกระทำ
(2) การรู้จัก ความรู้ ความชอบ ความพึงพอใจ ความมั่นใจ การซื้อ
(3) ความใส่ใจ การรู้จัก ความรู้ ความชอบ ความมั่นใจ การซื้อ
(4) การรู้จัก ความเข้าใจ การยอมรับ ความมั่นใจ การเกิดพฤติกรรม
ตอบ 2 แบบจำลองลำดับขั้นของผลกระทบ (Hierarchy of Effects Model) จะเสนอว่าการตัดสินใจซื้อ
15. กระบวนการตอบสนองสารขั้นใดที่สำคัญที่สุดสำหรับการโฆษณา
(1) การนำเสนอ (2) ความสนใจ
(3) ความใส่ใจ (4) การจดทำ
ตอบ 4 ขั้นการจดจำ (Retention) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริโภคสามารถจดจำข้อมูลข่าวสารที่เขาเข้าใจได้และเป็น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับการโฆษณา เพราะแผนงานรณรงค์ทารงการโฆษณาส่วนใหญ่ไม่สามารถทำให้ผู้บริโภค มาซื้อสินค้าได้ในทันที แต่การโฆษณามุ่งหวังที่จะนำเสนอข่าวสารข้อมูลซึ่งผู้บริโภคจะนำมาใช้ประกอบการ ตัดสินใจได้ภายหลังหรือเมื่อใดก็ตามที่เขาจะซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
16. ลีลาการสื่อสาร มีความสำคัญอย่างไร
(1) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการสื่อสาร
(2) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับสาร
(3) ใช้บอกความหมายของเนื้อหาเรื่องราวที่สื่อสาร
(4) เป็นสิ่งที่มาเสริมให้ผู้รับสารรับสารได้สะดวกขึ้น
ตอบ 2 ลีลาในการสื่อสาร (Communication Style) ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกรับสาร ของมวลชน กล่าวคือ การเป็นผู้รับสารของเรานั้นส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับลีลาในการสื่อสารของเรา คือ ความชอบ หรือไม่ชอบสื่อบางประเภท ดังนั้นบางคนจึงชอบฟังวิทยุบางคนชอบดูโทรทัศน์ บางคนชอบอ่านหนังสือพิมพ์ฯลฯ อย่างเช่น วัยรุ่นในกรุงเทพฯ ชอบที่จะฟังวิทยุมากกว่าการใช้สื่อมวลชนประเภทอื่น เป็นต้น
17. การที่นักศึกษาเลือกที่จะฟังรายการวิทยุมากกว่าชมรายการโทรทัศน์ เป็นกระบวนการเลือกรับสารขั้นใด
(1) การเลือกใส่ใจ (2) การเลือกรับรู้
(3) การเลือกเปิดรับ (4) การเลือกที่จะจดจำ
ตอบ 3 การเลือกเปิดรับ (Selective Exposure) เป็นพฤติกรรมการเลือกรับสารของประชาชนที่อาจมีความพอใจ หรือไม่พอใจที่จะรับสารจากแต่ละสื่อแตกต่างคันไป เช่น การเลือกฟังรายการวิทยุมากกว่าชมรายการโทรทัศน์ โดยปกติแล้วเราจะเลือกเปิดรับและจดจำสารที่มีเนื้อหาสอดคล้องคับรสนิยม ทัศนคติ ความคิด ความชอบ ความเชื่อ ค่านิยมที่มีอยู่ตลอดจนประสบการณ์เดิมของตน และการมองตนเอง (Selfl-concept)
18. ท่านคิดว่าข้อความใดถูกต้องที่สุด
(1) เนื้อหาในสื่อมวลชนจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้โฆษณา
(2) สื่อมวลชนปัจจุบันมีโฆษณามากจนกระทั่งผู้รับสารไม่สนใจ
(3) การโฆษณาทำให้ประชาชนมีรสนิยมต่ำ
(4) สื่อมวลชนในปัจจุบันมีโฆษณาน้อยเกินไป
ตอบ 2 ในปัจจุบันสื่อมวลชนจะมีข่าวสารการโฆษณาที่ปรากฏอยู่ในรูปของชิ้นงานโฆษณาหรือสิ่งโฆษณา (Advertisement) ที่ได้เห็น ได้ยิน (ฟัง) ได้อ่านจากสื่อมวลชนหรือสื่อโฆษณาต่างๆ เป็นจำนวนมากจนกระทั่งผู้รับ สารไม่ให้ความสนใจ โดยจะมีโฆษณาเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น ที่ผู้รับสารจะรับและจดจำได้ หรือสิ่งโฆษณาที่ปรากฏทางสื่อมวลชนนั้นไม่ความน่าสนใจหรือไร้รสนิยม ก็จะยิ่งทำให้ผู้ชมหรือผู้ฟังมองว่าเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ และรู้สึก ไม่ดีต่อสินค้าที่โฆษณาได้
19. การสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า จะต้องทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้อย่างไร
(1) รับรู้ตามความเป็นจริง
(2) รับรู้ว่าสินค้ามีค่ากว่าที่เป็นจริง
(3) รับรู้เกี่ยวกับราคาสินค้า
(4) รับรู้อย่างไรก็ได้ขึ้นอยู่กับการตีความ
ตอบ 2 เนื่องจากการรับรู้ของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญมาก นักการตลาดจึงมักตั้งนิยามของสินค้าว่า “สินค้าหรือสิ่งที่ ผู้บริโภคมองว่ามันเป็น” ดังนั้นการโฆษณาที่ดีต้องสามารถสร้างคุณค่าเพิ่ม (Added Value) ให้กับผลิตภัณฑ์ หรือ สร้างภาพลักษณ์ของสินค้าให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ว่าสินค้านั้นมีค่ามากกว่าที่เป็นอยู่จริง (Consumer’s Surplus)และจะต้องไม่ให้ผู้บริโภคมองว่าสินค้านั้นมีค่าน้อยกว่าที่เป็นอยู่จริง (Consumer’s Deficit) ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ต่อการกำหนดราคาสินค้านั่นเอง
20. มนุษย์เลือกรับและจดจำสารที่มีเนื้อหาอย่างไร
(1) ง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก (2) สอดคล้องกับความชอบและค่านิยมที่มีอยู่
(3) ซับซ้อน เข้าใจยาก (4) แปลกใหม่ ขัดแย้งกับค่านิยมที่มีอยู่
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ
21. การศึกษาคุณสมบัติทางภายภาพของสินค้า เป็นการศึกษาวิเคราะห์อะไรบ้าง
(1) หน่วยการจำหน่าย ขนาดการจำหน่าย
(2) ราคา การจัดจำหน่าย
(3) ชื่อเสียง และประสบการณ์ของบริษัท
(4) ส่วนผสม องค์ประกอบ สี ขนาด
ตอบ 4 หน้า 99 การศึกษาคุณลักษณะหรือคุณสมบัติทางกายภาพของสินค้า เป็นการศึกษาถึงลักษณะที่มีอยู่ใน ตัวสินค้าทั้งหมด เช่น คุณสมบัติของสินค้า ส่วนผสม องค์ประกอบ สี ขนาด คุณภาพ ราคา ชื่อยี่ห้อ ประโยชน์ใช้ สอย ฯลฯ ซึ่งการศึกษาถึงลักษณะของสินค้านี้ จะช่วยให้ผู้โฆษณาสามารถวิเคราะห์ถึงจุดเด่นและจุดด้อยของสินค้า ที่โฆษณาไค้ และทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดเพื่อเสริมลักษณะเด่นของสินค้าให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น
22. Brand Advertising เป็นการโฆษณาโดยผู้โฆษณาประเภทใด
(1) ผู้ผลิต
(2) ผู้จัดจำหน่าย
(3) สถาบัน
(4) ปัจเจกชน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
23. การที่นักศึกษาอ่านชีทสรุปและข้อสอบเก่าแทนการอ่านหนังสือ เนื่องจากปัจจัยใด
(1) ความต้องการ (2) ทัศนคติและค่านิยม
(3) ประสบการณ์และนิสัย (4) ความสามารถ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ความสามารถ (Capability) เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกรับ สารของคนเรา เพราะความสามารถของเราเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความสามารถด้านการเรือนรู้ ด้านการรับรู้ และด้านภาษา ฯลฯ มีอิทธิพลต่อเราในการที่จะเลือกรับข่าวสาร เลือกดีความหมายของข่าวสาร และเลือกเก็บเนื้อหา ของข่าวสารนั้นไว้เช่น นักศึกษารามคำแหงจำนวนมากที่อ่านชีทสรุปและข้อสอบเก่าแทนการอ่านหนังสือเรียนที่มี เนื้อหาโดยละเอียดเป็นต้น
24. “4As” หมายถึงอะไร
(1) ตัวแทนการโฆษณา (2) ตัวแทนโฆษณาอิสระ
(3) ตัวแทนโฆษณา (4) สมาคมตัวแทนโฆษณาแห่งสหรัฐอเมริกา
ตอบ 4 สมาคมตัว.แทนโฆษราแห่งสหรัฐอเมริกา (American Association of Advertising Agencies หรือ AAAA หรือ 4As ได้ให้นิยามว่า “ตัวแทนการโฆษณา หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระ ประกอบด้วย บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างสรรค์และทางด้านธุรกิจซึ่งทำหน้าที่พัฒนา ตระเตรียม และลงโฆษณาในสื่อโฆษณา โดยทำหน้าที่แทนผู้โฆษณาซึ่งต้องการโฆษณาไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายสำหรับสินค้าและบริการของตน”
25. หน่วยงานใดในบริษัทตัวแทนโฆษณาที่ทำหน้าที่ประสานงานกับบริษัทผู้โฆษณา
(1) ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (2) ฝ่ายบริหารงานลูกค้า
(3) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป (4) ฝ่ายการตลาด
ตอบ 2 หน้าที่ของฝ่ายบริหารงานลูกค้า (Account Service Department) บริษัท (ตัวแทน ) โฆษณา จะมี ดังต่อไปนี้
1. ติดต่อ บริการ และประสานงานกับลูกค้าหรือบริษัทผู้โฆษณาอย่างใกล้ชิด
2. กำหนดกลยุทธ์การโฆษณาเบื้องด้นสำหรับบริษัทโฆษณา
3. นำเสนอแผนงานทั้งหมดให้ลูกค้าพิจารณาให้ความเห็นชอบ
4. ติดตามดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ว่าเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่ เป็นต้น
26. การศึกษากลุ่มเป้าหมายก่อนการทำโฆษณา ได้แก่การศึกษาในเรื่องใดบ้าง
(1) องค์ประกอบของตลาด ส่วนแบ่งการตลาด
(2) ลักษณะของสินค้า คุณภาพของสินค้า ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย
(3) ค่านิยม ทัศนคติ แรงจูงใจ รูปแบบการดำเนินชีวิต
(4) ผลการวิจัยทางด้านสื่อโฆษณา ผลการวิเคราะห์ค่าความนิยมของรายการ
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การศึกษาวิจัย (Research) ก่อนการทำโฆษณา จะเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษาวิจัยทางการตลาด ได้แก่เรื่อง องค์ประกอบของตลาด ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ
2. การศึกษาวิจัยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่เรื่อง ความสนใจทัศนคติ ค่านิยม แรงจูงใจ รูปแบบการดำเนินชีวิต ฯลฯ
3. การศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ได้แก่เรื่อง ลักษณะของสินค้า คุณภาพของสินค้า ราคา การจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย ฯลฯ
4. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสื่อโฆษณา ได้แก่เรื่องผลการวิจัยด้านสื่อโฆษณา หรือผลการวิเคราะห์ค่าความ นิยมของรายการ ฯลฯ
27. หากจะโฆษณาบริการเสริมความงามและลดความอ้วน ค่าบริการคอร์สละ 60,000 บาท ควรจะกำหนด กลุ่มเป้าหมายใด
(1) A-B (2) B-C
(3) C-D (4) D-E
ตอบ 1 การแบ่งส่วนตลาดโดยการพิจารณาจากรายได้อาชีพ และการศึกษา หรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic Status ะ SES) จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1. A คือ กลุ่มคนที่มีรายได้สูง การศึกษาสูง และมีอาชีพเป็นที่ยกย่อง
2. B คือ กลุ่มคนที่มีรายสูง แค่อาจมีการศึกษาตา บางทีเรียกว่าพวกเศรษฐีใหม่
3. C คือ เจ้าของกิจการรายย่อย มีธุรกิจเป็นของตนเอง มีการศึกษาปานกลาง
4. D คือ กลุ่มคนที่มีรายได้ไม่สูงนัก มีอาชีพไม่เป็นที่ยกย่อง เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย
5. E คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ไม่มีทักษะ มีรายได้ต่ำ ขาดการศึกษา
28. ฝ่ายใดที่รับผิดชอบกำกับดูแลการทำงานของ Production House
(1) ฝ่ายผลิตในบริษัทผู้โฆษณา
(2) ฝ่ายโฆษณาในบริษัทผู้โฆษณา
(3) ฝ่ายสร้างสรรค์งานโฆษณาในบริษัทตัวแทนโฆษณา
(4) ฝ่ายสื่อโฆษณาในบริษัทตัวแทนโฆษณา
ตอบ 3 ฝ่ายสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative Department) จะมีหน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งาน โฆษณา กำหนดแนวความคิด สร้างและผลิตสิ่งโฆษณาทั้งหมดเพื่อให้ได้ผลงานที่สามารถสื่อความหมายเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการได้ดีที่สูด นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รับผิดชอบและกำหนดดูแลการทำงานของบริษัทหรือโปรดักชั่น เฮาส์ (Production House) ที่รับจ้างผลิตภาพยนตร์หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นสิ่งโฆษณา
29. ข้อใดหมายถึงผังโฆษณาของภาพยนตร์โฆษณา
(1) Layout (2) Dummy
(3) Storyboard (4) Artwork
ตอบ 3 (คำบรรยาย) Storyboard หมายถึง ผังโฆษณาของชิ้นงานโฆษณาทางโทรทัศน์ โดยจะแสดงให้เห็นถึง ลำดับภาพของภาพยนตร์โฆษณา (ส่วน Layout หมายถึง ผังโฆษณาของสิ่งโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์เช่น หนังสือพิมพ์นิตยสาร ฯลฯ, Dummy หมายถึง การวางผังโฆษณาโดยตรงและการโฆษณา ณ จุดซื้อและ Artwork หมายถึง ต้นฉบับสำหรับชิ้นงานโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์)
30. ข้อใดคือลักษณะสำคัญของผู้เขียนข้อความโฆษณา
(1) มีมนุษยสัมพันธ์กับทุกฝ่าย
(2) มีความสามารถในการเจรจาต่อรอง
(3) มีความคิดสร้างสรรค์และรับผิดชอบ
(4) มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สนใจความคิดของผู้อื่น
ตอบ 3 ผู้เขียนข้อความโฆษณา (Copy Writer) จะเป็นผู้ทำหน้าที่คิดและเขียนข้อความโฆษณาโดยเลือกใช้ถ้อยคำ ภาษาที่ดึงดูดความสนใจ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ รวมทั้งจะต้องพยายามสร้างความประทับใจให้ ผู้อ่านหรือได้ยินข้อความโฆษณานั้นสามารถจดจำได้ดังนั้นลักษณะที่สำคัญของผู้เขียนข้อความโฆษณา ก็คือ จะต้อง มีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษา มีความคิดสร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น
31. ข่าวสารการโฆษณาปรากฏอยู่ในรูปใด
(1) ข้อความ
(2) สื่อโฆษณา
(3) ชิ้นงานโฆษณา
(4) คำพูดและรูปภาพ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ
32. เหตุใดการจ้างบริษัทโฆษณาอิสระ จึงเป็นการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่า
(1) สามารถควบคุมการโฆษณาได้ทุกชิ้นงาน
(2) สามารถแน่ใจได้ว่าดำเนินงานภายใต้จุดมุ่งหมายขององค์การ
(3) มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
(4) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ
33. ฝ่ายใดที่รับผิดชอบควบคุมการซื้อสื่อให้ได้ผลคุ้มค่ามากที่สูด
(1) ฝ่ายโฆษณา (2) ฝ่ายบริหารงานลูกค้า
(3) ฝ่ายสื่อโฆษณา (4) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
ตอบ 3 หน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายสื่อโฆษณา (Media Department) มีดังนี้
1. เป็นผู้วางแผนเกี่ยวกับการใช้และการซื้อสื่อโฆษณา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. วางกลยุทธ์ในการใช้สื่อโฆษณา
3. ติดต่อจองเนื้อที่โฆษณา และซื้อเนื้อที่โฆษณาให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้วางไว้
4. ควบคุมการซื้อสื่อโฆษณาให้ได้ผลคุ้มค่ามากที่สูด
5. จัดสรรและควบคุมการใช้งบประมาณ รวมทั้งติดตามการใช้สื่อของคู่แข่งขัน ฯลฯ
34. ข้อใดเป็นผู้เขียนหรือสร้างสรรค์ภาพโฆษณา
(1) Visualizer (2) Copy Writer
(3) Managing Director (4) Traffic Co-ordinater
ตอบ 1 Visualizer คือ ผู้รับหน้าที่ถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับสิ่งโฆษณาให้ปรากฏออกมาเป็นภาพ โดยการวาดภาพ ลายเส้น การทำระบายสี หรือการทำภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์จนได้ผลงานเป็นผังโฆษณา (Layout) ของสิ่ง โฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ และ Storyboard ที่แสดงให้เห็นการลำดับภาพของภาพยนตร์โฆษณา
35. กระบวนการรับของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไร
(1) ปัจจัยภายใน เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้
(2) ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
(3) ปัจจัยภายใน เช่น ความเชื่อ ประสบการณ์ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ลักษณะของสิ่งเร้า
(4) เป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละคนไม่เกี่ยวกับปัจจัยใด ๆ
ตอบ 3 “การรับรู้” เป็นกระบวนการที่บุคคลรับ เลือก จัดการ และตีความข่าวสารเพื่อทำให้เกิดภาพที่มีความหมาย ขึ้น โดยกระบวนการรับรู้ของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของบุคคลคนนั้น เช่น ความเชื่อ ประสบการณ์ ความ ต้องการ อารมณ์และความคาดหวัง รวมทั้งปัจจัยภายนอก ได้แก่ คุณลักษณะของสิ่งเร้า เช่น ขนาด สี และความเข้ม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่ข่าวสารนั้นถูกเห็นหรือได้ยินด้วย
36. กรอบของการอ้างอิง (Frame of Reference) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(1) กฎ ระเบียบ บรรทัดฐานทางสังคม
(2) ความมีระเบียบวินัย
(3) จิตสำนึกของแต่ละคน
(4) การเรียนรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และภาพลักษณ์ต่อตนเอง
ตอบ 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกรอบของการอ้างอิง (Frame of Reference) ประกอบด้วย การเรียนรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และภาพลักษณ์ต่อตนเอง (Self-image)
37. รูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย พิจารณาจากอะไร
(1) การเป็นคนชั้นสูง ชั้นกลาง หรือชั้นต่ำ
(2) การเป็นคนชอบอยู่นอกบ้านหรือในบ้าน
(3) การเป็นคนเปิดเผยหรือปิดบัง
(4) ความภักดีต่อยี่ห้อสินค้า
ตอบ 2 รูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) หมายถึง รูปแบบการใช้ชีวิตของบุคคลซึ่งแสดงออกผ่านกิจกรรม ต่างๆ ของเขา.เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่บุคคลนั้น ๆ จัดการกับชีวิตของตนเอง เช่น การแบ่งเวลา การใช้ พลังงาน การใช้เงิน ฯลฯ รูปแบบการดำเนินชีวิต และค่านิยมจะอธิบายถึงความสนใจ ความคิดเห็น ความเชื่อ ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลได้
38. การกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะทางทะเบียนภูมิหลังมีประโยชน์ต่อการโฆษณาอย่างไร
(1) ช่วยให้การโฆษณาเป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
(2) ช่วยให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
(3) ช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
(4) ช่วยให้วางแผนการรณรงค์ทางการโฆษณาได้อย่างสมบูรณ์
ตอบ 2 การแบ่งส่วนตลาดตามลักษณะทางทะเบียนภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ สถานภาพ ครอบครัวการศึกษา อาชีพ และรายได้ จะมีประโยชน์ต่อการโฆษณา เพราะช่วยให้เข้าใจ กลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น เช่น หากนักโฆษณาทราบ ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นเพศใด จะทำให้สามารถสร้างสรรค์สิ่งโฆษณาให้สอดคล้องกับการรับรู้และความสนใจของ ผู้บริโภคได้ ฯลฯ
39. สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (SES) พิจารณาจากอะไร
(1) เพศ การศึกษา ฐานะทางสังคม (2) รายได้ศึกษา อาชีพ
(3) เพศอายุการศึกษา (4) สถานภาพสมรส ถิ่นที่อยู่อาชีพ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ
40. การโฆษณาที่ดีควรทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ที่เกี่ยวกับสินค้าในลักษณะใด
(1) Consumer’s Plus (2) Consumer’s Surplus
(3) Consumer’s Deficit (4) Consumer’s Utility
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ
41. Consumer’s Profile หมายถึงอะไร
(1) พฤติกรรมของผู้บริโภค
(2) กระบวนการตัดสินใจชื้อของผู้บริโภค
(3) พฤติกรรมการชื้อและใช้สินค้า
(4) ลักษณะร่วมของกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 4 Consumer’s Profile หมายถึง ลักษณะร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราสามารถอธิบายลักษณะร่วมของกลุ่มเป้าหมายหรือลักษณะของกลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะเป็นผู้สนใจข่าวสารการโฆษณาของเราอย่างจริงจังได้โดยอาศัยลักษณะทางทะเบียนภูมิหลังและลักษณะทางจิตวิทยาประกอบกัน
42. ธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์เป็นอย่างไร
(1) จัดการสิ่งที่รับรู้ให้มีความซับซ้อนขึ้น
(2) เพ่งความสนใจไปที่สิ่งเร้าทั้งหมดพร้อมกัน
(3) แยกแยะสิ่งที่อยู่ใกล้กันออกจากกัน
(4) มักจะเติมสิ่งที่ขาดหายไป