การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2200 (MCS 1250) การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. ข้อใดเป็นจุดเด่นของหนังสือพิมพ์ดิจิทัล
(1) ได้รับความนิยมสูง
(2) ประหยัดกระดาษ
(3) อ่านได้ทุกที่ทุกเวลา
(4) เปลี่ยนข่าวได้รวดเร็ว
ตอบ 2 หน้า 9 – 10, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์หรือหนังสือพิมพ์ดิจิทัล จัดเป็นสื่อใหม่ ที่เผยแพร่ฝานจอคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสื่อประเภทนี้เกิดจากการบรรจบกันของเทคโนโลยีสื่อ (Convergence) คือ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีการกระจายเสียง-ภาพ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในเครื่องมือเดียวกันได้ ทั้งนี้จุดเด่นที่สำคัญของ หนังสือพิมพ์ดิจิทัลคือ ประหยัดกระดาษ ผู้อ่านอ่านฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จะเปลี่ยนข่าว ได้ช้า ผู้อ่านไม่สามารถนำไปอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา และผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์กันได้ยาก
2. หนังสือพิมพ์ดิจิทัลเกิดจากการบรรจบกัน (Convergence) ของสิ่งใด
(1) เทคโนโลยีดาวเทียม การกระจายเสียงและภาพ คอมพิวเตอร์
(2) เทคโนโลยีดาวเทียม การกระจายเสียงและภาพ การถ่ายภาพ
(3) เทคโนโลยีการพิมพ์ การกระจายเสียงและภาพ การถ่ายภาพ
(4) เทคโนโลยีการพิมพ์ การกระจายเสียงและภาพ คอมพิวเตอร์
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. เจมส์ถ่ายภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวและเขียนเล่าเรื่องราวประกอบ ส่งเผยแพร่ทางเฟซบุ๊กของตนเอง
(1) เจมส์เป็นนักข่าวพลเมือง (2) เจมส์เป็นนักข่าวสมัครเล่น
(3) เจมส์อยู่ในยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร (4) เจมส์อยู่ในยุคสังคมอุดมปัญญา
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การพัฒนาของหนังสือพิมพ์ดิจิทัลไต้นำไปสู่ปรากฏการณ์ของนักข่าวภาคประชาชนหรือนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) คือ บทบาทของผู้รับข่าวสารจากสื่อที่สามารถปรับเปลี่ยน ไปเป็นผู้ส่งสารเสียเอง โดยการถ่ายภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ และเขียนเล่าเรื่องราวประกอบ ส่งเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของสังคมยุคใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วม
4. ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลขึ้นเวทีปราศรัยเชิญชวนให้ประชาชนไปร่วมชุมนุมด้วย
(1) To Inform (2) To Entertain (3) To Advertise (4) To Give Opinion
ตอบ 4 หน้า 14, 161 – 162 หน้าที่การให้ความคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะ (To Give Opinion) คือ การวิเคราะห์และแปลความออกมาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือให้ความเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการให้คุณค่าของข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาจเป็นความคิดเห็นของคน ในกองบรรณาธิการหรือคนนอกก็ได้ เช่น ข่าวสัมภาษณ์ความคิดเห็นของบุคคลต่าง ๆ บทบรรณาธิการ บทวิจารณ์ บทความ คอลัมน์จดหมายจากผู้อ่านหรือจดหมายถึงบรรณาธิการ คอลัมน์ตอบปัญหาชีวิต ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการชุมนุมหรือปราศรัยแสดงความคิดเห็น ทางการเมือง
ข้อ 5. – 7. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) Informer (2) Gatekeeper (3) Watchdog (4) Ombudsman
5. ประชาชนติดตามเรื่องราวความเป็นไป คดีนายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนผิดกรณีรับจำนำข้าว
ตอบ 3 หน้า 17, (คำบรรยาย) บทบาทการเป็นสุนัขยาม (Watchdog) คือ การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชน โดยเฝ้าจับตาดูแลสอดส่อง/ติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ และ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี หรือการกระทำ อันไม่ถูกต้องต่าง ๆ จึงถือเป็นบทบาทที่มีผลต่อการทำงานของนักข่าวมากที่สุด เพราะต้อง ทำหน้าที่เสมือนการเป็นหมาเฝ้าบ้านที่คอยจับตาและส่งเสียงเตือนภัยเมื่อมีเหตุการถ!ผิดปกติ เกิดขึ้น เพื่อทำให้สังคมโปร่งใสและสามารถป้องปรามการคอร์รัปชั่นได้
6. หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ข่าวสาร บทความ เรียกร้องให้คนไทยสามัคคี
ตอบ 4 หน้า 18, 161, 169 บทบาทการรับเรื่องราวร้องทุกข์ (Ombudsman) ได้แก่
1. การที่หนังสือพิมพ์ปฏิบัติตนเป็นแหล่งรับแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนที่ได้รับ การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนรู้เห็น จากนั้นหนังสือพิมพ์ต้องไป สืบหาข้อมูล แล้วนำมารายงานเป็นข่าว บทความ สารคดี คอลัมน์ตอบจดหมายหรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ ฯลฯ เพื่อทำให้สังคมมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
2. การรณรงค์ให้สังคมดีขึ้นเมื่อสังคมหรือประเทศชาติประสบปัญหา เช่น การรณรงค์ให้ประชาชน ประหยัดน้ำมัน, การรณรงค์ให้ช่วยบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย, การตีพิมพ์ข่าวสาร บทความ เรียกร้องให้คนไทยสามัคคี ฯลฯ
7. บรรณาธิการตรวจข่าวอย่างเข้มงวด ก่อนให้นำเสนอเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของข่าวสาร สู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจำด่านอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง ประเมินคุณค่า และตรวจเนื้อหาของข่าวสาร ก่อนให้นำเสนอเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ ตัดสินใจว่าจะเลือกทำข่าวอะไร หรือจะคัดเลือกข่าวนั้น ๆ เพื่อตีพิมพ์หรือไม่ โดยคำนึงถึง พื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร
8. กลุ่มใดมีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบาย
(1) กลุ่มข้าราชการ (2) กลุ่มประชาชน (3) กลุ่มพ่อค้า (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 19, 21, 29 กลุ่มคนที่มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคม จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ เช่น กลุ่มลูกจ้างรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน, กลุ่มเรียกร้องสิทธิผู้บริโภค ฯลฯ 2. กลุ่มนักการเมือง 3. กลุ่มข้าราชการประจำ
9. ผู้ใดใช้คำว่าหนังสือพิมพ์เป็นท่านแรก
(1) รัชกาลที่ 3 (2) รัชกาลที่ 4 (3) รัชกาลที่ 5 (4) รัชกาลที่ 6
ตอบ 2 หน้า 2 ในสมัยก่อนคนไทยมักจะเรียกหนังสือพิมพ์ว่า “หนังสือข่าว” ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหา ในหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอหรือบอกข่าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงใช้ คำว่า “หนังสือพิมพ์” แทนคำว่าหนังสือข่าวเป็นพระองค์แรก และหลังจากนั้นคำว่าหนังสือพิมพ์ จึงใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
10. กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้บัญญัติศัพท์ Journalism เป็นภาษาไทยว่า
(1) การหนังสือพิมพ์ (2) สื่อสิงพิมพ์ (3) วารสารศาสตร์ (4) นิตยสาร
ตอบ 3 (คำ-บรรยาย) คำว่า Journalism แปลตรงตัวว่า ความรู้ที่เกี่ยวกับสารที่ออกตามวาระโดยพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้บัญญัติศัพท์ของ Journalism เป็นภาษาไทยว่า “วารสารคาสตร์” ซึ่งสอดคล้องตามความหมายดั้งเดิมที่หมายถึง วิชาการ หรืองานที่เกี่ยวกับการจัดทำหนังสือพิมพ์และนิตยสาร อันเป็นสื่อมวลชนที่มีกำเนิดก่อน สื่อมวลชนอื่น ๆ ทั้งหมด
11. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของหนังสือพิมพ์ตาม พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550
(1) ออกในระยะเวลาสั้น ๆ
(2) พิมพ์บนกระดาษขนาดใหญ่
(3) เสนอข่าวสารความรู้
(4) ใช้ชื่อเหมือนกันทุกฉบับ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ตาม พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน (มีชื่อเดียวกัน หรือเหมือนกันทุกฉบับ) และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลา หรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงนิตยสาร วารสาร หรือสิงพิมพ์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นทำนองเดียวกัน
12. โยฮัน กูเต็นเบอร์ก สำคัญอย่างไร
(1) เสนอข่าวการเมืองเป็นท่านแรก
(2) ค้นพบวิธีการพิมพ์แบบ Movable Type
(3) เป็นชาวฝรั่งเศสที่รณรงค์เรื่องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 1, 54 ใบปี ค.ศ. 1450 โยฮัน กูเต็นเบอร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน ได้คิดค้น วิธีพิมพ์โดยประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะมาเรียงต่อกันแบบที่เรียกว่า Movable Type Printing ขึ้น เป็นคนแรกในยุโรป (แต่ได้รับแนวคิดด้านวิธีพิมพ์แบบนี้มาจากจีน) ทำให้เขาได้รับยกย่อง ว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ยุคปัจจุบัน เนื่องจากแท่นพิมพ์ของเขาสามารถพิมพ์เอกสารได้เป็น จำนวนมากและรวดเร็ว จนทำให้มีการพิมพ์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
13. ข้อใดเป็นหนังสือพิมพ์ Tabloid
(1) หนังสือพิมพ์อาร์ยูนิวส์
(2) เดลินิวส์ (3) สยามรัฐรายสัปดาห์ (4) เดอะเนชั่น
ตอบ 1 หน้า 8, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid) จะมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของ หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ คือ ประมาณ 11 X 15 นิ้ว ซึ่งมีข้อได้เปรียบหลายประการ ได้แก่ ขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาสะดวก อ่านง่าย จัดหน้าเป็นส่วน ๆ ได้ง่าย มีจำนวนหน้าและ ความหนามากกว่าหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ จึงให้ความรู้สึกว่ามีราคาไม่แพง เช่น หนังสือพิมพ์ อาร์ยูนิวส์ (R.u. News), เอ็กไซต์ไทยโพสต์, Student Weekly และข่าวรามคำแหง ฯลฯ
14. หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ออกจำหน่ายรายวันเนื่องจาก
(1) เทคโนโลยีการพิมพ์ทันสมัย (2) ถูกแรงกดดันจากสื่อดิจิทัล
(3) หนังสือพิมพ์มีการแข่งขันสูง (4) หนังสือพิมพ์ต้องการเสนอข่าวอย่างทันเหตุการณ์
ตอบ 4 หน้า 5. (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นหนังสือพิมพ์ที่ออกจำหน่ายเป็นประจำทุกวันอายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น ดังนั้นเมื่อหมดวัน หนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันทีและ มีฉบับใหม่ออกมาแทนที่ โดยหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มักออกจำหน่ายรายวัน เนื่องจาก หนังสือพิมพ์รายวันมีจุดเด่น คือ ความรวดเร็ว และความสดในการเสนอข่าวได้อย่างทันเหตุการณ์
15. หนังสือพิมพ์ประเภทใดมีจำนวนพิมพ์สูงสุด
(1) General Newspaper (2) Quality Newspaper
(3) Popular Newspaper (4) Specialized Newspaper
ตอบ 3 หน้า 4, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประชานิยม (Popular Newspaper) หรือเรียกว่าหนังสือพิมพ์ปริมาณ จะมีเนื้อหาเป็นข่าวเร้าอารมณ์ (Sensational News) ซึ่งมักเป็นข่าวที่ให้ผลตอบสนอง ทางอารมณ์ได้ทันที และเป็นข่าวที่คนทั่วไปสนใจตามปุถุชนวิสัย (Human Interest) ดังนั้น จึงมีจำนวนพิมพ์สูงสุดและมียอดจำหน่ายที่ค่อนข้างสูงกว่าหนังสือพิมพ์ประเภทอื่น เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ข่าวสด, เดลินิวส์ ฯลฯ
ข้อ 16. – 17. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) หนังสือพิมพ์เป็นที่รวบรวมของคบมืออาชีพ (2) หนังสือพิมพ์ต้องรับใช้สังคม
(3) หนังสือพิมพ์เป็นทั้งธุรกิจและสถาบันสาธารณะ (4) หนังสือพิมพ์เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล
16. ข้อใดเป็นคำนิยามของหนังสือพิมพ์ในประเทศเสรีนิยม
ตอบ 3 หน้า 3, 11, 195 ปณิธานหรือคำนิยามของหนังสือพิมพ์ในประเทศตะวันตกหรือประเทศเสรีนิยม จะให้ความสำคัญแก่หนังสือพิมพ์ในระบบเศรษฐกิจเสรีว่าเป็นธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็เป็น สถาบันสาธารณะที่รับใช้สังคมด้วย ดังนั้นจึงต้องมีอิสระ มีเสรีภาพที่จะวิพากษ์วิจารณ์ และ ตรวจสอบรัฐบาลได้
17. ข้อใดเป็นคำนิยามของหนังสือพิมพ์ในประเทศสังคมนิยม
ตอบ 4 หน้า 3, (คำบรรยาย) ปณิธานหรือคำนิยามของหนังสือพิมพ์ในประเทศสังคมนิยม คือ หนังสือพิมพ์ จะต้องเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ของพรรค หรือหนังสือพิมพ์ต้อง สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล
18. โดยปกติหนังสือพิมพ์มีรายได้หลักจากสิ่งใด
(1) เงินอุดหนุนของรัฐบาล (2) เงินค่าสมาชิกจากผู้อ่านประจำ
(3) เงินค่าขายหนังสือพิมพ์จากลูกค้าทั่วไป (4) เงินรายได้จากการโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 15, 46, 159 – 160 ในแง่ของธุรกิจ หนังสือพิมพ์ส่วนมากถือว่าโฆษณามีความสำคัญ จึงให้เนื้อที่สำหรับลงตีพิมพ์โฆษณามากกว่าเนื้อหาอย่างอื่น เพราะโฆษณาถือเป็นแหล่งรายได้หลัก ที่มีผลต่อรายได้ของหนังสือพิมพ์มากที่สุดโดยเฉลี่ยแล้วหนังสือพิมพ์จะมีรายไต้จากค่าขายเนื้อที่ ลงโฆษณาประมาณ 2 ใน 3 หรือในอัตราส่วนร้อยละ 75 – 80 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนนี้ถือเป็น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หนังสือพิมพ์ดำเนินธุรกิจอยู่ได้โดยขายหนังสือพิมพ์ในราคาไม่แพง
19. ข่าวเบา (Soft News) มีลักษณะสำคัญคือ
(1) มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน (2) มีความสำคัญและน่าสนใจ
(3) มีองค์ประกอบของความน่าสนใจมากกว่าความสำคัญ (4) ให้ข้อคิดสำหรับผู้อ่าน
ตอบ 3 หน้า 41 ข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่มีองค์ประกอบของความน่าสนใจมากกว่าองค์ประกอบ อย่างอื่น ซึ่งมักจะสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่านมากกว่าที่จะมีสาระสำคัญจนมีผลกระทบ ต่อสังคม เช่น ข่าวการประกวดนางงาม ข่าวบันเทิง ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวสังคมทั่วไป ฯลฯ
20. ข้อใดไมใช่ลักษณะของสารคดี
(1) เกิดจากจินตนาการ
(2) ให้ความรู้แก่ผู้อ่าน (3) เน้นองค์ประกอบด้านความน่าสนใจ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 45 มาลี บุญคิริพันธ์ อธิบายว่า สารคดี (Features) คือ ข้อเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนาเบื้องต้น เพื่อรายงานเรื่องที่เน้นความจริง มิใช่เกิดจากจินตนาการ เรียบเรียงอย่างสละสลวย โดยเน้น องค์ประกอบด้านความสนใจของมนุษย์ (Human Interest) มากกว่าองค์ประกอบของความสด ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสาร ให้ความรู้ และในเวลาเดียวกับก็เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด
21. บทบรรณาธิการสำคัญอย่างไร
(1) ประเด็นที่เขียนมักจะน่าสนใจ
(2) มักเขียนโดยมีความเป็นกลาง
(3) มักเขียนโดยผู้รอบรู้ในเรื่องนั้น
(4) มักแสดงถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์
ตอบ4 หน้า 42 – 43, 168, (คำบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ มิใช่ความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจำ อีกทั้งยังเป็นบทความที่สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำหน้าที่ให้ความรู้และความคิดเห็นในเรื่องสำคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืน ของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องที่เขียน
22. ปัจจัยใดมีผลต่อเนื้อหาของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
(1) ทุน
(2) นโยบายของหนังสือพิมพ์
(3) ความสนใจของผู้อ่าน
(4) ลักษณะของการเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์
ตอบ 2 หน้า 48 – 50 ปัจจัยที่มีผลต่อเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ ได้แก่ 1. นโยบายของหนังสือพิมพ์ 2. ปัจจัยด้านบุคลากร คือ ความรู้ ความสามารถ และความถนัดของบุคลากรในฝ่ายบรรณาธิการ เช่น ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ คนเขียนข่าว ฯลฯ 3. ปัจจัยด้านเวลา 4. ปัจจัยด้านธุรกิจ 5.ปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม รวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น สถานการณ์ ทางการเมือง เศรษฐกิจ กระแสสังคม ฯลฯ
23. การพิมพ์ในปัจจุบันพัฒนามาจากการประดิษฐ์ตัวพิมพ์ของ
(1) หมอบรัดเลย์ (2) ร.อ.เจมส์โลว์ (3) หมอสมิธ (4) กูเต็นเบอร์ก
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
24. การเสนอข่าวทางการเมืองของหนังสือพิมพ์ปัจจุบันมีต้นกำเนิดมาจาก
(1) Official Gazette (2) News Letter (3) Pamphlet (4) News Sheets
ตอบ 1 หน้า 53 – 55, (คำบรรยาย) หนังสือข่าวสารของทางราชการ (Official Gazette) ได้แก่ เอกสารที่รัฐบาลจากส่วนกลางเขียนหรือพิมพ์ขึ้นในลักษณะ “ใบบอกข่าว” (Acta Diurna) เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารของชนชั้นปกครอง ซึ่งนับเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์กำแพง (Wall Newspaper) โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าอาณาจักรโรมันและจีนใช้สื่อ ประเภทนี้ก่อนใคร ดังนั้นจึงจัดเป็นสื่อที่เกิดขึ้นก่อนสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น ๆ และถือเป็นต้นกำเนิด ของข่าวราชการและข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน
25. การต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ในประเทศใดที่นำไปสู่สงครามกลางเมือง
(1) อังกฤษ (2) สหรัฐอเมริกา (3) ญี่ปุ่น (4) ประเทศไทย
ตอบ 2 หน้า 79 – 81, (คำบรรยาย) ในช่วงศตวรรษที่ 19 หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาได้แบ่งออก เป็นฝักฝ่ายเพื่อต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพ จนนำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมือง (Civil War) ระหว่างรัฐฝ่ายเหนือที่เรียกร้องให้มีการเลิกทาสกับรัฐฝ่ายใต้ที่สนับสนุนให้มีทาส ซึ่งเมื่อ สงครามจบลงผลปรากฏว่ารัฐฝ่ายเหนือเป็นผู้ชนะ ด้งนั้นจึงนับได้ว่าหนังสือพิมพ์มีบทบาท อย่างมากในการเรียกร้องให้มีการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา
26. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับหนังสือพิมพ์อังกฤษยุคแรก อยู่ในแนวคิดทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีอำนาจนิยม (2) ทฤษฎีเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม (4) ทฤษฎีคอมมิวนิสต์โซเวียต
ตอบ 1 หน้า 56 – 57, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับหนังสือพิมพ์อังกฤษยุคแรก อยู่ในแนวคิดทฤษฎีอำนาจนิยม (Authoritarian Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นมาในราว ศตวรรษที่ 16 ถึงปลายศตวรรษที่ 17 พร้อม ๆ กับการก่อร่างขึ้นมาของหนังสือพิมพ์อังกฤษ โดยมีแนวคิดว่าสื่อมวลชนควรจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนและผลักดันนโยบายของรัฐ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ดังนั้นการควบคุมหนังสือพิมพ์จึงเป็นไปอย่างเข้มงวด เช่น มีการออกใบอนุญาตการพิมพ์ ควบคุมโดยวิธีเซ็นเซอร์ เป็นต้น
27. Yellow Journalism หมายถึงอะไร
(1) หนังสือพิมพ์ที่เรียกร้องเสรีภาพ (2) หนังสือพิมพ์คุณภาพ
(3) หนังสือพิมพ์แนว Penny Paper (4) หนังสือพิมพ์ที่ขาดความรับผิดชอบ
ตอบ 4 หน้า 81, 83, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ (Yellow Journalism) หมายถึง การที่หนังสือพิมพ์ดำเนินการโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้คำว่า Yellow Journalism ยังคงใช้ต่อมาในปัจจุบันกับหนังสือพิมพ์ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
28. ประเทศใดใช้พระราชบัญญัติอากรแสตมป์กับหนังสือพิมพ์
(1) อังกฤษ (2) ฝรั่งเศส (3) อเมริกา (4) ทั้ง 3 ประเทศ
ตอบ 1 หน้า 59 ในปี ค.ศ. 1721 รัฐบาลประเทศอังกฤษได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. อากรแสตมป์ (Stamp Act) เพื่อเรียกเก็บภาษีกับหนังสือพิมพ์ที่ออกจำหน่ายขณะนั้นในอัตราที่สูงมาก โดยหวังที่จะจำกัดหนังสือพิมพ์ไม่ให้แพร่หลาย ดังนั้นผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับภาษีนี้จึงพากัน ตั้งสมญานามเรียก พ.ร.บ. อากรแสตมป์เสียใหม่ว่า พ.ร.บ. ภาษีความรู้
ข้อ 29. – 32. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) รัชกาลที่ 4 (2) รัชกาลที่ 5 (3) รัชกาลที่ 6 (4) รัชกาลที่ 7
29. เทียนวรรณ เขียนบทความเสนอให้เลิกทาส
ตอบ 2 หน้า 104 – 105 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ต.ว.ส.วัณณาโภ หรือมีนามปากกาว่า “เทียนวรรณ”ได้ออกหนังสือพิมพ์ตุลยวิภาคพจนกิจ เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนเมื่อ พ.ศ. 2433 โดยมีเนื้อหา ไม่เน้นความสด แต่จะเน้นบทความแสดงความคิดเห็นและการเสนอแนะ เช่น เสนอแนะให้มี กฎหมายควบคุมการพนัน เสนอกฎหมายกำหนดให้ชายมีภรรยาเพียงคบเดียว เสนอให้มีการเลิกทาส ฯลฯ
30. สิ่งพิมพ์ด้านนิตยสารเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด
ตอบ 2 หน้า 105 – 106 กิจการหนังสือเล่มที่เรียกว่า “นิตยสาร” (Magazine) เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิตยสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้น ได้แก่ จดหมายเหตุแสงอรุณ ยุทธโกฐิ ธรรมจักษุ ธรรมศาสตร์วินิจฉัย นารีรมย์ วิทยาจารย์ และเทศาภิบาล
31. มีการเขียนข่าวแบบสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์
ตอบ 4 หน้า 110 – 111 วิวัฒนาการของกิจการหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีดังนี้
1. มีหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า แทบลอยด์ (Tabloid) 2. มีการพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าแรก 3. มีการเขียนวรรคนำ (Lead) 4. เริ่มมีภาพประกอบทั้งภาพถ่าย ภาพล้อและการ์ตูน 5. มีการสัมภาษณ์เพื่อนำมาเขียนข่าวเป็นครั้งแรกของหนังสือพิมพ์ไทย
32. กำเนิดหนังสือพิมพ์ชื่อ ราชกิจจานุเบกษา
ตอบ 1 หน้า 102 – 103 ในปี พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้มีการออกหนังสือพิมพ์ของ คนไทยฉบับแรกชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ทีตีพิมพ์แจกจ่ายใน วงราชการและราษฎร โดยพระองค์ทรงเป็นบรรณาธิการเอง แต่ออกได้แค่ปีเดียวก็ต้องเลิกไป และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำซ้ำขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2417 โดยให้ออกเป็นรายสัปดาห์
33. สำนักข่าวเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
(1) มีข่าวต่างประเทศมากขึ้น
(2) เป็นธุรกิจที่มีกำไรดี
(3) หนังสือพิมพ์หลายฉบับร่วมกันก่อตั้ง
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 62 – 63 ในศตวรรษที่ 18 ข่าวที่หามาเสนอได้ยาก แต่เป็นที่สนใจของประชาชน คือ ข่าวต่างประเทศ แต่เนื่องจากหนังสือพิมพ์ไม่กล้ารับภาระส่งผู้สื่อข่าวไปประจำในต่างประเทศ เพื่อสื่อข่าวเพราะมีค่าใช้จ่ายสูง จึงทำให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับร่วมกันก่อตั้งธุรกิจสำนักข่าว (News Agencies) ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข่าวต่างประเทศที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้น
34. ผู้ใดจะได้รับมอบหมายให้ทำข่าวการต่อสู้คดีเขาพระวิหารที่ศาลโลก
(1) ผู้สื่อข่าวทั่วไป (2) ผู้สื่อข่าวประจำ (3) ผู้สื่อข่าวพิเศษ (4) ผู้เรียบเรียงข่าว
ตอบ 3 หน้า 131 ผู้สื่อข่าวพิเศษ (Special Assignment Reporter หมายถึง ผู้สื่อข่าวเฉพาะ ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความชำนาญสูง และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือมีความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมักจะได้รับมอบหมายให้สื่อข่าวเฉพาะเรื่อง ซึ่งหนังสือพิมพ์เห็นว่ามีความสำคัญที่อาจจะต้องสื่อข่าวประเภทวิเคราะห์เจาะลึก หรือสื่อข่าว ที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์มาก เช่น ข่าวการเมือง, ข่าวต่างประเทศ, ข่าวเศรษฐกิจ, ข่าวกีฬา, ข่าวสังคม สตรี และวัฒนธรรม ฯลา
35. ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์
(1) บรรณาธิการใหญ่ (2) เจ้าของ, ผู้ลงทุน (3) บรรณาธิการบริหาร (4) หุ้นส่วน, ผู้ลงทุน
ตอบ 1 หน้า 120, 127 บรรณาธิการใหญ่ (Editor-in-Chief) เป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของ องค์กรหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะรับผิดชอบดูแลด้านนโยบาย วางแผนด้านธุรกิจ กำหนดทิศทาง ของหนังสือพิมพ์ และมีอำนาจหน้าที่สังการควบคุมทุกหน่วยงานในองค์กรหนังสือพิมพ์ ให้สามารถอยู่รอดทางด้านธุรกิจ โดยที่ยังคงสามารถนำเสนอเนื้อหาที่ดีได้
36. ตามสายการเดินทางของข่าวการเมือง ขั้นตอนสุดท้ายของงานคืออะไร
(1) ประชุมกองบรรณาธิการ (2) จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์
(3) จัดหน้าหนังสือพิมพ์ (4) พาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 132, 136 – 137 ตามสายการเดินทางของข่าวอื่น ๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ฯลฯ จะมีขั้นตอนการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
1. ผู้สื่อข่าวออกไปสื่อข่าว หรือบรรณาธิการรับข่าวจากผู้สื่อข่าว สำนักข่าว หรือจากสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
2. บรรณาธิการข่าวนั้น ๆ คัดเลือก รวบรวม เรียบเรียงข่าว ฯลฯ 3. ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว
4. บรรณาธิการจัดหน้า 5. ฝ่ายผลิต 6. ฝ่ายจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์
37. ตามสายการเดินทางของข่าวต่างประเทศ ขั้นตอนแรกของงานได้แก่
(1) ประชุมกองบรรณาธิการ (2) บ.ก. รับข่าวจากผู้สื่อข่าว
(3) แปลข่าว (4) พาดหัวข่าว
ตอบ 2 หน้า 132, 135 ตามสายการเดินทางของข่าวต่างประเทศจะมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
1. บรรณาธิการรับข่าวจากผู้สื่อข่าว สำนักข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์/นิตยสาร/
วารสารต่างประเทศ และสำนักข่าวไทย
2. ส่งให้บรรณาธิการข่าวต่างประเทศคัดเลือก รวบรวม เรียบเรียงข่าว
3. แปลข่าว 4. ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว 5. บรรณาธิการจัดหน้า
6. ฝ่ายผลิต 7. ฝ่ายจัดจำหน่ายหนังลือพิมพ์
ข้อ 38. – 43. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) สารคดี โฆษณา (2) บทความ จดหมายจากผู้อ่าน
(3) การ์ตูนล้อการเมือง เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น (4) ภาพข่าว โฆษณา
38. ข้อใดควรจัดไว้หน้า 1
ตอบ 4 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก) ถือเป็นหน้าสำคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. ขอหนังสือพิมพ์ 2. ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)
3. ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด) 4. ภาพข่าว 5. สารบัญข่าว 6. โฆษณา
7. คอลัมน์ประจำ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา หรือคอลัมน์ส่วนตัว ของบรรณาธิการ
39. ข้อใดควรจัดไว้หน้าบรรณาธิการ
ตอบ 3 หน้า 167 – 170 หน้าบรรณาธิการ มักจะสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1. บทบรรณาธิการ
2. ภาพล้อ (Editorial Cartoon) เช่น ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฯลฯ
3. จดหมายถึงบรรณาธิการ 4. เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น (Press Digest)
5. องค์ประกอบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข่าว โคลงกลอน ตลกขำขัน การ์ตูนที่เป็นเรื่องสั้น ๆ (Comic Strips) โฆษณา และบทความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น
40. ข้อใดควรจัดไว้หน้าตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ
ตอบ 2 หน้า 161, 171 หน้าพิมพ์ที่อยู่ตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ เรียกว่า Op-ed (Opposite Editorial Page) จะเป็นหน้าซ้ำที่มีลักษณะเหมือนกับหน้าบรรณาธิการทุกประการ ดังนั้นข้อเขียนที่ควร จัดไว้ในหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับเวทีทัศนะ ได้แก่ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
41. ข้อใดควรจัดไว้หน้าใน
ตอบ 1 หน้า 159 – 162 องค์ประกอบของหน้าใน มีดังนี้
1. โฆษณา 2. ภาพ 3. หัวเรื่อง 4.คอลัมน์ต่าง ๆ เช่น คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว บทความ สารคดี แนะนำ ขำขัน ข่าวสังคม ฯลฯ
42. ข้อใดมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
43. ข้อใดสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ
44. ธุรกิจหนังสือพิมพ์แตกต่างจากธุรกิจอื่นในข้อใด
(1) หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ธุรกิจขายสินค้า
(2) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม
(3) หนังสือพิมพ์ต้องมีความเป็นกลาง
(4) หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อผู้อ่าน
ตอบ 1 หน้า 119 หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆโดยทั่วไป ในด้านของตัวสินค้าที่เสนอขายแก่ประชาชน คือ หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ส่วนธุรกิจ จะมุ่งขายสินค้า ทั้งนี้เพราะการที่ผู้อ่านหรือลูกค้าซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพื่อรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ทั้งข่าว บทความ สารคดี บทวิจารณ์ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้รับสาร ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
45. คอลัมน์ คืออะไร
(1) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวนอน (2) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง
(3) การจัดภาพลงบนพื้นที่ที่กำหนด (4) การจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กำหนด
ตอบ 2 หน้า 139 – 140, (คำบรรยาย) คอลัมน์ คือ การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง โดยจะแบ่งข้อความออกเป็นช่วง ๆ ซึ่งแต่ละช่วงจะกว้างเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ที่คิดจากความสะดวกในการอ่านและการจัดหน้าเป็นหลัก ดังนั้นคอลัมน์จึงมีความสำคัญ ตรงที่ทำให้หนังสือพิมพ์สามารถจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
46. ข้อใดไม่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบรรณาธิการ
(1) การจัดหน้า (2) การเรียงพิมพ์ (3) การพาดหัวข่าว (4) การพิสูจน์อักษร
ตอบ 2 หน้า 120 – 121, 124 – 125 ฝ่ายบรรณาธิการมิหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องราวสำหรับอ่าน ซึ่งปรากฏตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ นอกจากนี้ยังดูแลการใช้ภาพ การถ่ายภาพข่าว การใช้ขนาดและแบบของตัวอักษร การพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษรหรือตรวจปรู๊ฟ การจัดหน้า และการออกระเบียบการทำงานของผู้สื่อข่าว ฯลฯ ซึ่งเมื่อฝ่ายบรรณาธิการเตรียมต้นฉบับ เสร็จแล้วก็จะส่งให้กับฝ่ายผลิตเพื่อดำเนินการเรียงพิมพ์และจัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือพิมพ์ จากนั้นฝ่ายจัดการจะรับผิดชอบด้านธุรกิจในการจัดจำหน่ายต่อไป
47. ข้อใดไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องข่าว
(1) โต๊ะข่าวกีฬา (2) ห้องบรรณาธิการ (3) ห้องภาพ (4) ห้องสมุด
ตอบ 4 หน้า 124 – 125, (คำบรรยาย) ห้องข่าว (News Room) หรือฝ่ายข่าว เป็นห้องที่เตรียมข่าวสาร และมีกิจกรรมการสื่อข่าวทุกประเภท มีการพิมพ์งาน ตลอดจนการติดต่อสื่อสารและรับข่าวจาก ผู้ที่ไปสื่อข่าวภายนอก ประกอบด้วย โต๊ะข่าวต่าง ๆ (Copydesk) ห้องบรรณาธิการ (Editorial Room) และห้องภาพ (Picture Division) ร่วมประสานงานอย่างใกล้ชิดภายในห้องเดียวกัน (ส่วนห้องสมุดจะเป็นสถานที่เก็บข่าวหรือหลักฐานที่ใช้แล้ว ซึ่งแยกออกไปอย่างเอกเทศ)
48. ผู้ใดไม่จำเป็นต้องประชุมกองบรรณาธิการ
(1) บรรณาธิการบริหาร (2) บรรณาธิการข่าว (3) บรรณาธิการโต๊ะขาว (4) บรรณาธิการภาพ
ตอบ 1 หน้า 137, (คำบรรยาย) การประชุมข่าวหรือการประชุมกองบรรณาธิการ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดตามสายการเดินทางของข่าวทุกประเภท ซึ่งจะประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ เป็นประธานโดยหน้าที่ พร้อมด้วยบรรณาธิการข่าว บรรณาธิการโต๊ะข่าวต่าง ๆ บรรณาธิการภาพ และผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมเพื่อคัดเลือกข่าวสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. คัดเลือกข่าวหน้าหนึ่ง (ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการประชุม)
2. พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของข่าว 3. วิเคราะห์แง่มุม ประเด็นข่าว และเสนอแนะให้แง่คิดในการติดตามข่าว 4. พิจารณาเรื่องการเขียนบทบรรณาธิการ
49. โต๊ะข่าวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ
(1) โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ (2) โต๊ะข่าวการเมือง (3) โต๊ะข่าวกีฬา (4) โต๊ะข่าวในประเทศ
ตอบ 4 หน้า 127, 134 หนังสือพิมพ์จะให้ความสำคัญต่อโต๊ะข่าวในประเทศหรือโต๊ะข่าวหน้า 1 มากที่สุด กล่าวคือ เมื่อโต๊ะข่าวต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ฯลฯ มีข่าวใดที่กำลังได้รับ ความสนใจจากประชาชนมากที่สุด ก็จะส่งมายังโต๊ะข่าวในประเทศเพื่อประชุมข่าวและพิจารณา ตีพิมพ์ต่อไป ดังนั้นจึงถือว่าโต๊ะข่าวในประเทศมีความสำคัญมากที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด
50. งานใดมิได้อยู่ในฝ่ายจัดการ
(1) การจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ (2) การรับงานพิมพ์จากภายนอก
(3) การขอโฆษณา (4) การออกระเบียบการทำงานของผู้สื่อข่าว
ตอบ 4 หน้า 123 งานที่สำคัญของฝ่ายจัดการมี 2 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่
1. งานด้านบริหาร-ธุรการ เช่น งานบริหารบุคลากร งาบการเงิน-บัญชี งานพัสดุ ฯลฯ
2. งานด้านธุรกิจ เช่น งานจัดจำหน่ายและงานโฆษณา (ถือเป็นงานหลักของฝ่ายจัดการ)
รวมทั้งงานการพิมพ์ ซึ่งเป็นการรับงานพิมพ์จากภายนอกในช่วงที่เครื่องพิมพ์ว่างจาก การพิมพ์หนังลือพิมพ์ ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ)
51. ผู้ใดทำหน้าที่ตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว
(1) Editor
(2) Copy Reader
(3) Proof Reader
(4) Reporter
ตอบ 2 หน้า 124 – 125, 132 ผู้ตรวจข่าว (Copy Reader) หรือบรรณาธิการต้นฉบับ จะทำหน้าที่ เป็นผู้ตรวจทานข่าวต่อจากบรรณาธิการข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยตรวจทานการใช้คำ การใช้ภาษา และตัวสะกดให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สืบค้นและตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว ตกแต่งต้นฉบับ และเขียนพาดหัวข่าวประกอบข่าวทุกข่าวที่จะตีพิมพ์ ฯลฯ
52. หน่วยงานใดมีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด
(1) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
(2) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก
(3) หนังสือพิมพ์เฉพาะประเภท
(4) หนังสือพิมพ์ฝึกหัดของสถาบันการศึกษา
ตอบ 1 หน้า 126, (ดำบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ถือเป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก รวมทั้งหนังสือพิมพ์เฉพาะประเภท และหนังสือพิมพ์ฝึกหัดของสถาบันการศึกษา เพราะหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์มีบุคลากรเพียงแค่ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว (อาจมีเพียงคนเดียวหรือสองคน) เท่านั้น
53. หลักการใดไมใช่การจัดหน้าในของหนังสือพิมพ์
(1) การจัดแบบพีระมิดซีกขวา (2) การจัดแบบพีระมิดซีกซ้าย
(3) การจัดแบบ Well หน้าเดี่ยว (4) การจัดแบบ Well สองหน้าคู่
ตอบ 2 หน้า 164 – 167, (ดำบรรยาย) หลักการจัดหน้าในหรือการจัดหน้าโฆษณาของหนังสือพิมพ์ มีดังนี้ 1. แบบพีระมิดครึ่งซีกด้านขวา (Pyramided to the Right) 2. แบบ Well หน้าเดี่ยว 3.แบบ Well สองหน้าคู่ 4. แบบ Island (แบบเกาะ) 5. แบบแนวนอนล่าง 6.แบบพีระมิดสองด้านหรือสองซีก (Double Pyramid)
54. หลักการจัดหน้าบรรณาธิการข้อใดสำคัญที่สุด
(1) ความสวยงาม (2) ความสมดุล (3) ความเด่น (4) ความหลากหลาย
ตอบ 2 หน้า 171 – 172 รูปแบบการจัดหน้าบรรณาธิการควรใช้หลักการทางศิลปะควบคู่กับหลักการ ทางวารสารศาสตร์เช่นเดียวกับการจัดหน้าอื่น ๆ คือ1. การใช้หลักความสมดุล ซึ่งนิยมให้หน้าพิมพ์สมดุลแบบไม่เท่ากัน (Informal Balance) 2. การลำดับความสำคัญของเรื่อง
55. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดชิ้นโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์
(1) ฝ่ายบรรณาธิการ (2) ฝ่ายศิลป์ (3) ฝ่ายผลิต (4) ฝ่ายจัดการ
ตอบ 4 หน้า 123, 163, (ดูดำอธิบายข้อ 50. ประกอบ) การจัดวางชิ้นงานโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายโฆษณา ซึ่งอยู่ในส่วนของฝ่ายจัดการมากกว่าจะเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายบรรณาธิการโดยตรง ทั้งนี้ฝ่ายโฆษณามักจะจัดหน้าในส่วนของโฆษณาให้มีเนื้อที่เหมาะสม สำหรับตีพิมพ์ข่าวอยู่แล้ว แต่หากจำเป็นต้องมีการปรับ บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าจะเป็น ผู้ประสานงานกับฝ่ายโฆษณาต่อไป
56. หน้าใดไม่นิยมให้มีโฆษณา
(1) หน้าบรรณาธิการ (2) หน้ากลาง (3) หน้าใน (4) หน้าสุดท้าย
ตอบ 1 หน้า 171 หนังสือพิมพ์ไม่นิยมให้มีโฆษณาในหน้าบรรณาธิการ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีก็ควรจัดตำแหนงให้อยู่ครึ่งล่างของหน้าพิมพ์ โดยควรหลีกเลี่ยงโฆษณาขนาดใหญ่ที่มีความเด่นมาก ๆ และควรเป็นโฆษณาที่ปราศจากภาพถ่ายหรือภาพเขียนที่มีความเข้มหรือดำจัด ทั้งนี้เพื่อมิให้ โฆษณาเด่นกว่าข้อความอื่น ๆ ของหน้า
57. ข้อควรระวังสำหรับการจัดโฆษณาแบบพีระมิดครึ่งซีกขวา คืออะไร
(1) ยอดพีระมิดทางขวามือไม่ควรอยู่สูงเกินไป (2) ยอดพีระมิดทางซ้ายมือควรให้มีระดับต่ำ ๆ
(3) ไม่ควรมีโฆษณาซ้อนกันเกิน 2 ชิ้น (4) ควรให้โฆษณาชิ้นใหญ่ซ้อนบนชิ้นเล็ก
ตอบ 1 หน้า 164 – 165 ข้อควรระวังสำหรับการจัดโฆษณาแบบพีระมิดครึ่งซีกด้านขวา คือ ยอดพีระมิดทางขวามือไม่ควรอยู่สูงเกินไป เนื่องจากจะมีเนื้อที่ของข่าวทางด้านขวาบน และดูเหมือนมีโฆษณาจำนวนมากจนเนื้อหาอื่น ๆ มีน้อย
58. Dead Copy คืออะไร
(1) แบบของพาดหัวข่าว (2) ชิ้นข่าวที่เคยใช้แล้ว เก็บไว้ใช้อีก
(3) ข่าวเกี่ยวกับการตายของบุคคลสำคัญ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ. 2 หน้า 125 Dead Copy คือ ชิ้นข่าวหรือหลักฐานที่เคยใช้แล้ว ซึ่งจะถูกเก็บรวบรวมไว้ใน ห้องสมุด เพื่อเป็นข้อมูลที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกในภายหลังเมื่อมีการอ้างอิงถึง หรือต้องนำมาประกอบการเขียนเป็นภูมิหลังให้กับข่าวหรือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
59. Size คือ ขนาดของตัวอักษรมีหน่วยวัดเป็นอะไร
(1) เซนติเมตร (Centimetre) (2) นิ้ว (Inch)
(3) พอยท์ (Point) (4) ไพก้า (Pica)
ตอบ ….3 หน้า 176 – 177 Size คือ ขนาดของตัวอักษร ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นพอยท์หรือปอยท์ (Point) โดยการวัดพื้นที่ของตัวพิมพ์จะวัดจากด้านบนถึงฐาน (ความสูงของตัวพิมพ์) ซึ่ง 1 พอยท์จะมีค่าเท่ากับ 1/72 นิ้ว ดังนั้นตัวอักษรขนาด 72 พอยท์ จึงสูง 1 นิ้ว (หรือเท่ากับ 2.54 เซนติเมตร)
60. อัตราค่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์ชิ้นอยู่กับปัจจัยใดมากที่สุด
(1) ขนาดของเนื้อที่ที่ใช้โฆษณา (2) การเลือกหน้าพิมพ์โฆษณา
(3) ตำแหน่งที่วางชิ้นงานโฆษณา (4) จำนวนจำหน่ายของหนังสือพิมพ์
ตอน 4 หน้า 160, (คำบรรยาย) อัตราค่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์นอกจากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยในตัวเลือกข้อ 1-3 แล้ว ยังขึ้นอยู่กับจำนวนจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ มากที่สุด เนื่องจากหนังสือพิมพ์ที่มีจำนวนจำหน่ายสูงก็มักจะมีอัตราค่าโฆษณาที่สูงตามไปด้วย และบริษัทร้านค้าก็ยินดีจะจ่ายค่าโฆษณาสูง ๆ เพื่อลงโฆษณาสินค้าของตน เพราะคาดหวังว่า เมื่อลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ แล้วจะขายสินค้าได้มากขึ้น
ข้อ 61. – 67. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) การจัดหน้าแบบแนวตั้ง (Vertical)
(2) การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบ (Broken หรือ Circus)
(3) การจัดหน้าแบบแนวนอน (Horizontal)
(4) การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ (Brace หรือ Focus)
61. ถือว่าทุกข่าวมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ตอบ 2 หน้า 151 การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบหรือแบบละครสัตว์ (Broken หรือ Circus) เป็นการจัดหน้าที่ค่อนข้างตามสบาย ไม่มีรูปแบบกฎเกณฑ์ตายตัว ใช้ลักษณะการพาดหัวข่าวและจัดคอลัมน์ ให้มีความหลากหลายในหน้าเดียวกัน ซึ่งอาจสับสนบ้างแต่ก็ดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านได้มาก ทั้งนี้มักใช้ในกรณีที่มีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว โดยถือว่าข่าวทุกข่าวนั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
62. อาจทำให้ผู้อ่านสับสน แต่ดึงดูดความสนใจได้ดี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ
63. จัดหน้าง่าย สามารถใช้ตัวอักษรได้หลายแบบหลายขนาด
ตอบ 3 หน้า 149 – 150 การจัดหน้าแบบแนวนอน (Horizontal) เป็นการจัดวางหัวข่าวให้ยาวตลอดหน้า หรือหลายคอลัมน์ตามขวางของหน้า ซึ่งมีประโยชน์หลายประการ เช่น จัดหน้าได้ง่ายที่สุด สามารถพาดหัวข่าวที่ดึงดูดใจผู้อ่าน ใช้ตัวอักษรด้วยขนาดและแบบต่าง ๆ กันได้หลายแบบ หลายขนาด นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญ คือ สามารถจัดระดับข่าวและองค์ประกอบต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า การจัดหน้าแบบแนวดิ่ง
64. มักใช้ช่องว่างระหว่างคอลัมน์ในการแยกข่าวที่มาชิดติดกัน
ตอบ 1 หน้า 149, (คำบรรยาย) การจัดหน้าแบบแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical) จะเน้นลักษณะการวางข่าวในคอลัมน์เดี่ยวตามความยาวใต้หัวข่าวเป็นแนวลึกตลอดคอลัมน์ ซึ่งทำให้มีโอกาส ที่ข่าว 2 ข่าวจะมาชิดติดกัน (Tombstone) ได้ง่าย ดังนั้นจึงมักป้องกันความสับสนโดยใช้พื้นที่ หรือช่องว่างระหว่างคอลัมน์ในการแยกข่าวที่มาชิดติดกัน และใช้ความแตกต่างในเรื่องของ ขนาดตัวอักษรพาดหัวข่าว
65. สามารถเน้นความแตกต่างในสาระสำคัญของข่าวได้ชัดเจน
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก หน้า 150 การจัดหน้าแบบสมดุลแตกต่าง (Informal Balance) เป็นวิธีการจัดหน้า ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถเน้นความแตกต่างในสาระสำคัญของข่าวได้อย่างชัดเจน ทำให้หนังสือพิมพ์ดูมีชีวิตชีวา น่าตื่นเต้น มีความหลากหลายในการนำเสนอข่าว และสามารถ เร้าความสนใจได้มากกว่าการจัดหน้าแบบสมดุลแท้จริง ซึ่งจะดูเรียบเกินไป
66. ใช้เพื่อเน้นความเด่นให้แก่ข่าวใดข่าวหนึ่งเป็นพิเศษ
ตอบ 4 หน้า 150 – 151 การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ (Brace หรือ Focus) มักใช้ในกรณีมีข่าวใหญ่ ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ หรือข่าวใดข่าวหนึ่งมีความสำคัญและโดดเด่นมากกว่าข่าวอื่นๆ ในหน้าเดียวกัน ซึ่งควรกำหนดวางหัวข่าวใหญ่ไว้ที่มุมบนขวามือหรือมุมบนซ้ายมือ เพื่อดึงดูด ความสนใจและเน้นความสำคัญของข่าว จากนั้นจึงเสริมด้วยภาพหรือข่าวอื่นที่มีความสำคัญ น้อยลงมาโดยจัดวางตำแหน่งของข่าวให้ลดหลั่นลงมาในรูปแบนขั้นบันไดตามแนวเส้นทแยงมุม
67. จัดโดยวางตำแหน่งของข่าวต่าง ๆ ให้ลดหลั่นแบบขั้นบันไดตามแนวเส้นทแยงมุม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ
68. จุดที่สำคัญน้อยที่สุดบนหน้าพิมพ์คู่ คืออะไร
(1) ส่วนบนด้านขวาของหน้าขวา (2) ส่วนบนด้านขวาของหน้าซ้าย
(3) กลางหน้ากระดาษหน้าซ้าย (4) ส่วนล่างสุดของหน้าขวา
ตอบ 4 หน้า 143 – 145 ตำแหน่งที่น่าสนใจที่สุดของการจัดหน้าพิมพ์คู่นั้นได้แก่ มุมขอบบนด้านริมสุดของแต่ละหน้า (มุมบนขวาของหน้าพิมพ์ด้านขวา และมุมบนซ้ายของหน้าพิมพ์ด้านซ้าย) โดยความสนใจนี้จะค่อย ๆ สำคัญน้อยลงไปตามลำดับเมื่อตำแหน่งเลื่อนต่ำลงมาด้านล่างของ แต่ละหน้า และเลื่อนไปตรงรอยพับกลางเล่มของหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นจุดที่เรียกความสนใจได้ น้อยที่สุด
69. สิ่งพิมพ์ที่มีรูปลักษณ์อย่างหนังสือพิมพ์เรียกว่า Coranto แปลว่าอะไร
(1) News Sheets (2) News Letters (3) News and Feature (4) Current of News
ตอบ4 หน้า 55 สิ่งพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีรูปลักษณ์อย่างหนังสือพิมพ์ แต่ยังมิได้ใช้คำศัพท์ว่า หนังสือพิมพ์ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เรียกว่าโครับโต้ (Coranto) แปลว่า กระแสข่าว (Current of News) ซึ่งโครันโต้ 1 ฉบับจะมีเนื้อหาสาระประเภทข่าวทั้งข่าวสารราชการ ข่าวการค้า และ ข้อเขียนอื่น ๆ โดยแสดงเจตนาว่าจะออกหนังสือเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
70. หนังสือพิมพ์ The Times เกิดขึ้นในยุคใด
(1) ยุคอำนาจนิยม (2) ยุคเรียกร้องเสรีภาพ
(3) ยุคประชานิยม (4) ยุคปลายศตวรรษที่ 20
ตอบ-2 หน้า 58, 61 ในยุคเรียกร้องเสรีภาพของสหราชอาณาจักร นักธุรกิจชาวอังกฤษชื่อว่าจอห์น วอสเตอร์ที่ 1 (John Walter I) ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ Daily Universal Register ขึ้นในปี ค.ศ. 1785 แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1788 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือพิมพ์ The Times ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์รายวันคุณภาพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
71. หลักการที่ว่า “ถ้าการรายงานข่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน การรายงานข่าวนั้น ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท” เกิดจากกรณีใด
(1) โจเซฟ พูลิตเซอร์ บริจาคเงินเพื่อการเรียนการสอนด้านวารสารศาสตร์
(2) จอห์น ปีเตอร์ แซงเออร์ เขียนบทความโจมตีรัฐบาล แต่มีทนายความช่วยแก้คดีให้
(3) ประชาชนเรียกร้องให้ปฏิรูปสิ่งพิมพ์ หลังจากยุคหนังสือพิมพ์ขาดจรรยาบรรณ
(4) การลดอิทธิพลชองหนังสือพิมพ์บราฟด้า หลังการล่มสลายของอำนาจคอมมิวนิสต์ในรัสเซีย
ตอบ 2 หน้า 73 ข้อความข้างต้นเป็นหลักการที่แอบดรูว์ แฮมิลตัน ทนายความชื่อดังจากฟิลาเดลเฟีย ใช้ต่อสู้คดีให้กับจอห์น ปีเตอร์ แซงเออร์ นักหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความโจมตีรัฐบาลอังกฤษ .และถูกจับกุมตัวไปดำเนินคดีในศาล จนได้รับชัยชนะในที่สุด และตั้งแต่นั้นมาการต่อสู้ในคดี ตัวอย่างเกี่ยวกับการทำงานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาลดังกล่าวก็กลายเป็นเนื้อหาสำคัญ ของกฎหมายลักษณะหมิ่นประมาทที่หนังสือพิมพ์มักประสบปัญหาอยู่เสมอ และนับเป็นก้าวแรก ที่สำคัญในการทำงานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน
72. การจัดคอลัมน์แบบเปิด คืออะไร
(1) คอลัมน์ที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้อ่าน
(2) การจัดหน้าที่ใช้สีพื้นต่างกันเพื่อแยกคอลัมน์
(3) การจัดหน้าที่ใช้ช่องไฟ (เนื้อที่ข่าว) เพื่อแยกคอลัมน์
(4) การจัดหน้าที่ใช้การตีเส้น เพื่อแบ่งแยกคอลัมน์
ตอบ 3 หน้า 149, (คำบรรยาย) การจัดรูปแบบคอลัมน์ แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. คอลัมน์แบบเปิด (Open Format) คือ การใช้พื้นที่ว่างสีขาว (ช่องไฟหรือเนื้อที่ข่าว)เป็นแนวกั้นหรือแยกระหว่างคอลัมน์โดยไม่มีเส้นคั่น ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ดูโปร่ง สบายตา และน่าอ่าน ส่วนข้อเสียคือ การจัดเนื้อที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้จัดหน้าได้ยาก และ อาจทำให้ผู้อ่านหลงข่าวได้
2. คอลัมน์แบบปิด (Close Format) คือ การใช้เส้นตรงบาง ๆ เป็นแนวกั้นระหว่างคอลัมน์ ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้แบ่งข้อความได้อย่างเป็นลัดส่วน จึงจัดหน้าได้ง่ายกว่า ส่วนข้อเสียคือ จะดูแน่นและรกตา จึงมักใช้กับเนื้อความสั้น ๆ ที่ไม่ละเอียดมากนัก
73. คอลัมน์ประจำ คืออะไร
(1) ข้อเขียนที่มีผู้รับผิดชอบประจำ (2) ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกวัน
(3) ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกสัปดาห์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 47, 147, 161 คอลัมน์ประจำ คือ ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ทุกวัน หรือตีพิมพ์เป็นประจำในบางวัน ของสัปดาห์ก็ได้ เช่น ทุกวันอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งข้อเขียนประเภทนี้มักจะมีชื่อผู้เขียนหรือผู้รับผิดชอบ ประจำ โดยอาจใช้นามจริงหรือนามแฝงก็ได้ เช่น คอลัมน์จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา ฯลฯ
74. การกลับบล็อก คืออะไร
(1) การทำตัวหนังสือเป็นสีเทาบนพื้นดำ (2) การทำตัวหนังสือเป็นสีเทาบนพื้นขาว
(3) การทำตัวหนังสือเป็นสีขาวบนพื้นเทา (4) การทำตัวหนังสือเป็นสีขาวบนพื้นดำ
ตอบ 4 หน้า 163, (คำบรรยาย) ปกติหนังสือพิมพ์ทั่วไปมักจะใช้ตัวพิมพ์สีดำบนพื้นขาว แต่บางครั้ง เมื่อมีการจัดข่าวติดกันหรือต้องการให้หัวเรื่องนั้น ๆ แตกต่างไปจากหัวเรื่องธรรมดาก็สามารถ ใช้วิธีการกลับบล็อกได้ คือ การทำตัวหนังสือเป็นสีขาวบนพื้นดำ เพื่อให้หัวข่าวมีความแตกต่างกัน
75. Ears คืออะไร
(1) เนื้อที่ส่วนข้างของชื่อหนังสือพิมพ์ (2) เนื้อที่สำหรับตีพิมพ์ Logo ของหนังสือพิมพ์
(3) เนื้อที่สำหรับตีพิมพ์ Slogan ของหนังสือพิมพ์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 146, 155, (ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ) ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears) หมายถึงส่วนประกอบหรือเนื้อที่ที่วางอยู่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของชื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อช่วยให้ จัดหน้าได้ง่าย โดยสาระของ Ears ประกอบด้วย ข่าวสั้น รายงานอากาศ ประกาศ ข้อความ รณรงค์หรือส่งเสริมกิจการหนังสือพิมพ์ และโฆษณา
76. การ Screen หมายถึงอะไร
(1) การล้อมกรอบข้อความเพื่อให้เด่น (2) การรับงานโฆษณาที่ต้องออกแบบให้ลูกค้าด้วย
(3) การแบ่งเนื้อที่ให้เป็นสัดส่วนก่อนพิมพ์ข้อความ (4) การทำพื้นให้เป็นสีเทาก่อนพิมพ์ข้อความ
ตอบ 4 หน้า 180, 182 – 183, (คำบรรยาย) การสกรีน (Screen) หมายถึง เทคนิคการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ โดยการลงสีเทาบนพื้นกระดาษขาวก่อนพิมพ์ข้อความ ซึ่งจะคิดระดับความเข้ม ของการสกรีนออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ จึงมีประโยชน์ต่อการจัดหน้าพิมพ์เพื่อให้น่าสนใจ และมีความแตกต่างจากข้อความอื่น (ไม่ทำให้สับสน)
77. พ.ร.บ. เกี่ยวกับการพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบัน คือฉบับใด
(1) พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 (2) พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2540
(3) พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2550 (4) พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2552
ตอบ 3 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. เกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับที่ทันสมัยที่สุดและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2550 หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ซึ่งถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับส่าสุดทีประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
78. ตาม พ.ร.บ. การพิมพ์ ข้อใดทำให้เป็นบรรณาธิการไม่ได้
(1) เป็นหญิงแต่งงานกับชาวต่างชาติ (2) ถูกลงโทษในคดีความฐานลหุโทษ
(3) มีสัญชาติต่างประเทศที่มีสนธิสัญญาร่วมกับ (4) ไม่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ระบุว่า บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ 1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2. มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติแห่งประเทศที่มีสนธิสัญญากับประเทศไทย
3. มีถิ่นที่อยู่ประจำในราชอาณาจักร 4. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 5. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือเป็นความผิดโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
79. เหตุผลสำคัญที่แสดงถึงความทันสมัยของ พ.ร.บ. การพิมพ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ
(1) ต้องส่งหนังสือพิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติ
(2) เป็นการรวมสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน ไม่ได้แยกส่วนของหนังสือพิมพ์ออกมาโดยเฉพาะ
(3) เจ้าพนักงานต้องจดแจ้งการพิมพ์ให้ทุกราย
(4) สามารถมีหุ้นส่วนเป็นชาวต่างชาติได้
ตอบ 4 (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความทันสมัยของ พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ที่ใช้กันอยู่ ในปัจจุบัน และถือเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา คือ การให้ชาวต่างชาติมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของ หนังสือพิมพ์ได้ ดังที่มาตรา 16 ระบุว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ที่เป็นนิติบุคคล ต้องมีบุคคล ซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมด และต้องมีกรรมการผู้มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
80. เมื่อหนังสือพิมพ์ลงข่าวของปัจเจกชนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ใน พ.ร.บ. การพิมพ์ กำหนดให้ ปัจเจกชนทำอย่างไร
(1) แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อร้องทุกข์และจับกุม (2) ทำหนังสือขอให้บรรณาธิการแก้ข่าว
(3) ให้ทนายความดำเนินการฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 204 พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ใดโฆษณาเรื่องเกี่ยวกับบุคคลใดคลาดเคลื่อนจากความจริงและอาจจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้น อาจแจ้งเป็นหนังสือขอให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้นแก้เอง หรือลงพิมพ์หนังสือซึ่งแก้หรือ ปฏิเสธเรื่องนั้น
81. การเรียกร้องตามข้อ 80. จะต้องกระทำภายในระยะเวลาเท่าใด
(1) 2 เดือน นับจากวันที่ลงข่าวคลาดเคลื่อน
(2) 4 เดือน นับจากวันที่ลงข่าวคลาดเคลื่อน
(3) 6 เดือน นับจากวันที่ลงข่าวคลาดเคลื่อน
(4) 8 เดือน นับจากวันที่ลงข่าวคลาดเคลื่อน
ตอบ 3 หน้า 205 พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 43 วรรค 4 ระบุว่า สิทธิขอให้แก้หรือลงหนังสือที่แก้หรือปฏิเสธตามมาตรา 41 นั้น เป็นอันระงับลงภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันที่ หนังสือพิมพ์นั้นออกโฆษณาหรือลงข่าวคลาดเคลื่อน
82. การเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์จะสิ้นสุดลงในกรณีใด
(1) เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน แต่มิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็นเวลา 30 วัน
(2) เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ แต่มิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็นเวลา 4 ครั้ง (1 เดือน)
(3) เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ แต่มิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็นเวลา 4 ครั้ง (2 เดือน)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 6, 205 พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ระบุว่า หนังสือพิมพ์รายวันถ้ามิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 30 วัน หรือหนังสือพิมพ์รายคาบ (ซึ่งก็คือ หนังสือพิมพ์ที่ไมใช่รายวัน แต่ละคาบอาจเป็น 7 วัน (รายสัปดาห์), 15 วัน (รายปักษ์) ฯลฯ) ถ้ามิได้ออกโฆษณาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 4 คราวหรือเกินกว่า 2 ปี การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
83. เหตุผลในการยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 คือข้อใด
(1) เป็นกฎหมายที่ล้าสมัยไม่เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน
(2) เป็นกฎหมายที่ออกโดยคณะปฏิวัติ ควรยกเลิกโดยเร็ว
(3) มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา
(4) ขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ยากต่อการใช้งานจริง
ตอบ 3 หน้า 118, (คำบรรยาย) เหตุผลในการประกาศพระราชกำหนดยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 (ปร. 42) คือ ปร. 42 มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ ในการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณาที่ไม่เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน (ในขณะนั้น)ซึ่งมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าว จึงเป็นเหตุ ให้มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพเป็นอย่างมาก
84. เหตุผลที่แยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไป คือ
(1) ถือว่าเด็กและเยาวชนยังขาดวุฒิภาวะ มักจะกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
(2) การพิจารณาคดีจะใช้หลักเมตตาธรรม
(3) เพื่อป้องกันการติดตามเสนอข่าวของสื่อมวลชน
(4) เด็กและเยาวชนมักทำความผิดที่ไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่
ตอบ 1 หน้า 213, (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ค. 2534 ได้ให้เหตุผล ที่ต้องแยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไปว่า เพื่อเป็น การพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนมิให้ถูกรังเกียจ มีปมด้อย หรือถูกตราหน้าว่าได้กระทำ ความผิดทางอาญา และเพื่อให้การช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กและเยาวชนที่อาจกระทำความผิด เนื่องจากยังไม่เจริญด้วยวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับ หรือด้วยความจำเป็นบางประการ
85. ข้อใดบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว
(1) ห้ามเปิดเผยสถานที่อยู่ของเยาวชนที่กระทำความผิด
(2) ห้ามเปิดเผยชื่อสถานศึกษาของเยาวชนที่กระทำความผิด
(3) ห้ามตีพิมพ์รูปภาพของเยาวชนที่กระทำความผิด
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 214 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 93 ระบุว่า ห้ามมิให้ ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่า กระทำความผิด หรือโฆษณาข้อความที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุลของเด็กหรือ เยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิด สถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานที่ศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น
86. หลักการสำคัญของ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว คืออะไร
(1) ให้เด็กและเยาวชนได้รับโทษสถานเบา (2) เปิดโอกาสให้เติบโดโดยไม่มีปมด้อย
(3) ไม่ให้เด็กและเยาวชนรับโทษเหมือนผู้ใหญ่ (4) ส่งเสริมการศึกษาสำหรับเยาวชนที่ทำผิดกฎหมาย
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ
87. คำว่าเด็ก หมายถึงอะไร
(1) บุคคลที่มีอายุเกิน 3 ปี แต่ไม่ถึง 7 ปี (2) บุคคลที่มีอายุเกิน 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี
(3) บุคคลที่มีอายุเกิน 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี (4) บุคคลที่มีอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี
ตอบ 3 หน้า 213 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระบุว่า “เด็ก” หมายถึง บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ “เยาวชน” หมายถึง บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
88. คำว่าเยาวชน หมายถึงอะไร
(1) บุคคลที่มีอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี (2) บุคคลที่มีอายุเกิน 12 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี
(3) บุคคลที่มีอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี (4) บุคคลที่มีอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่ถึง 19 ปี
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ
89. จริยธรรม หมายถึงอะไร
(1) ความประพฤติที่ถูกธรรม (2) ความประพฤติตามวัฒนธรรม
(3) การทำงานด้วยความมีเมตตา (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 217 สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ความหมายของคำว่า “จริยธรรม” ว่าหมายถึง หลักแห่งความประพฤติของนักหนังสือพิมพ์ หรือพฤติกรรมอันตั้งไว้ชอบ หรือความประพฤติที่ถูกธรรม หรือความประพฤติที่เป็นธรรม
90. จริยธรรม แตกต่างจากกฎหมายในข้อใด
(1) กฎหมายเข้มงวดกว่าจริยธรรม (2) จริยธรรมเข้มงวดกว่ากฎหมาย
(3) กฎหมายมีบทลงโทษ แต่จริยธรรมไม่มี (4) กฎหมายเน้นระเบียบของฝ่ายปกครองบ้านเมือง
ตอบ 3 หน้า 195, 217, 232, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์จะต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องกำกับและมีกฎหมายเป็นเครื่องควบคุม โดยจริยธรรมและกฎหมายมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. จริยธรรมอยู่สูงกว่ากฎหมาย เพราะความประพฤติบางอย่างไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม
2. จริยธรรมไม่มีบทลงโทษที่ระบุไว้อย่างเด่นชัดเหมือนกฎหมาย ดังนั้นความรับผิดชอบทาง จริยธรรมจึ่งขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและความสมัครใจในการที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้
ข้อ 91. – 92. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) จริยธรรมมีคุณค่ามากกว่าจรรยาบรรณ
(2) จริยธรรมมีความหมายเหมือนจรรยาบรรณ
(3) จริยธรรมเน้นที่จิตสำนึก จรรยาบรรณเน้นที่ข้อกำหนด ซึ่งตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(4) จริยธรรมเน้นการปฏิบัติรายบุคคล จรรยาบรรณเน้นการปฏิบัติของกลุ่ม
91. จริยธรรมเหมือนกับจรรยาบรรณในข้อใด
ตอบ 2 หน้า 217, (คำบรรยาย) ฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา อธิบายไว้ว่า ความหมายของจริยธรรมและ จรรยาบรรณไม่แตกต่างกัน แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่จริยธรรมจะเน้นที่จิตสำนึกของบุคคล ในการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร ส่วนจรรยาบรรณจะเน้นหลักปฏิบัติ ซึ่งกำหนดเอาไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นข้อบังคับหรือข้อเตือนใจของบุคคล
92. จริยธรรมต่างจากจรรยาบรรณในข้อใด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ
93. สมาคมวิชาชีพใดที่ใช้หลักของพุทธคาสนามากำหนดจริยธรรมของคนในวิชาชีพ
(1) สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
(2) สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย
(3) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
(4) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ตอบ 4 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ค. 2510 โดยใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา ดังนี้
1. ความรับผิดชอบ (กิจญาณ)
2. ความมีเสรีภาพ (ปวารณา หรือธรรมาธิปไตย)
3. ความเป็นไท (ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
4. ความจริงใจ (สัจจะ)
5. ความเที่ยงธรรม (ความไม่มีอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ)
6. ความมีใจเป็นนักกีฬา (สุปฏิบัติ)
7. ความมีมารยาท (โสเจยยะ หรืออาจารสมบัติ)
94. ความจริงใจ ตรงกับธรรมปฏิบัติข้อใด
(1) สุปฏิบัติ (2) สัจจะ (3) อกุศลมูล (4) กิจญาณ
ตอบ 2 หน้า 227, (ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ) ความจริงใจ ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน เมื่อผิดพลาดต้องรีบแก้ไข ซึ่งตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ “สัจจะ”
95. การแสดงตนว่าเป็นผู้สื่อข่าวเพื่อเข้าชมการแสดงโดยไม่ซื้อบัตรเช้าชม เป็นการผิดจรรยาบรรณข้อใด
(1) การประพฤติตนเสื่อมศักดิ์ศรี (2) การเรียกร้องผลประโยชน์โดยมิชอบ
(3) การรับอามิสสินจ้าง (4) การรับอภิสิทธิ์
ตอบ 2 หน้า 228 – 229, 231 จรรยาบรรณของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 5. ระบุว่า ผู้สื่อข่าวจักต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยมุ่งหวังต่อสาธารณประโยชน์ ไม่ใช้ตำแหน่ง หน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะใด ๆ โดยไม่ชอบธรรม ส่วนข้อบังคับว่าด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2541 ข้อ 21. ระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ต้องไม่อวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือ ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบธรรม
96. การไม่ยอมตีพิมพ์ข้อความเพื่อแก้ข่าวที่เคยลงตีพิมพ์ผิดพลาด ผิดจรรยาบรรณข้อใด
(1) โทสาคติ (2) โมหาคติ (3) ภยาคติ (4) สัจจะ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ
97. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นจรรยาบรรณ
(1) การลงข่าวเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
(2) การส่งเสริมเกียรติคุณและชื่อเสียงของหนังสือพิมพ์
(3) การสัญญาว่าจะนำเรื่องที่ตีพิมพ์แล้วไปให้เพื่อเป็นอภินันทนาการ
(4) การนำเรื่องตีพิมพ์แก้ข่าว กรณีที่เคยตีพิมพ์ผิดพลาด
ตอบ 3 หน้า 226, 229 – 230 จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2507 ข้อ 7. ระบุว่า ต้องรักษาส่งเสริมเกียรติคุณและชื่อเสียงแห่งความเป็นนักหนังสือพิมพ์ ไว้เป็นอย่างดี ส่วนข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ของสภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ. 2541 ข้อ 5. ระบุว่า หนังสือพิมพ์ต้องนำเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ และ ข้อ 12. ระบุว่า ในกรณีที่มีการเสนอข่าวผิดพลาด หนังสือพิมพ์ต้องลงพิมพ์แก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวโดยไม่ชักช้า
98. การตรวจข่าวก่อนตีพิมพ์ (เซ็นเซอร์) ทำได้ในกรณีใด
(1) เมื่อประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม (2) เมื่อมีการตีพิมพ์เรื่องที่อาจจะขัดต่อศีลธรรมอันดี
(3) เมื่อตีพิมพ์เรื่องที่เป็นความลับของทางราชการ (4) ห้ามเซ็นเซอร์ไม่ว่ากรณีใด ๆ
ตอบ 1 รัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 มาตรา 45 วรรคห้า ระบุว่า การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น (Censor) จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม แต่ทั้งนี้จะต้อง กระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง
99. ผู้ใดต้องรับผิดชอบกรณีตีพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่ไม่พึงประสงค์
(1) เจ้าของบทประพันธ์ (2) บรรณาธิการ (3) ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา (4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 หน้า 127, (คำบรรยาย) บรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จะทำหน้าที่รับผิดชอบในด้าน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการหนังสือพิมพ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 27 ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามมาตรา 10 (ว่าด้วยการ ห้ามสั่งเข้า นำเข้า หรือตีพิมพ์สิ่งพิมพ์ที่ไม่พึงประสงค์) มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
100. ปัจจุบันสถาบันใดดูแลจรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด
(1) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ (2) สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
(3) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (4) สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวอาเซียน
ตอบ 3 หน้า 229, (คำบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ถือเป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่ง วิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้ตราขึ้นนั้น ได้รับยกย่องว่า มีความครอบคลุมและเป็นสากลมากที่สุด