การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2200 การหนังสือพิมพ์เบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         หนังสือพิมพ์บริการชุมชนในรูปแบบใด

(1)       การ์ตูน 

(2) ข่าว            

(3) โฆษณา     

(4) บทความ

ตอบ 3 หน้า 215 การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ (To Advertise and Public Relations) ถือเป็น การบริการชุมชนอย่างหนึ่งของหนังสือพิมพ์ โดยการเป็นสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องราวที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณชน เช่น การอุทิศเนื้อที่เพื่อการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง การรับบริจาคเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุภัยพิบัติ ตลอดจนการตีพิมพ์โฆษณาทั้งโฆษณาในท้องถิ่น โฆษณาย่อย และโฆษณาทั่วไป เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ

2.         ข้อใดไม่สอดคล้องกับความเป็นหนังสือพิมพ์

(1)       มีจ่าหน้าชื่อเดียวกัน     

(2) ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอ

(3) มีการเย็บเล่ม         

(4) พัฒนามาจากสังคมที่เจริญแล้ว

ตอบ 3 หน้า 2-3, (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน (มีชื่อเดียวกัน) และออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม ส่วน Encyclopedia Americana อธิบายว่า หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้เย็บเล่ม ตีพิมพ์เผยแพร่อย่าง สม่ำเสมอ… Collier’s Encyclopedia กล่าวว่า หนังสือพิมพ์พัฒนามาจากสังคมที่เจริญแล้ว…

3.         ข่าวหนัก (Hard News) มีคุณสมบัติอย่างไร

(1)       ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

(2)       ให้คุณค่าแกผู้อ่านในระยะยาว (Delayed Reward)

(3)       ให้คุณค่าแก่ผู้อ่านอย่างรวดเร็ว (Immediate Reward)

(4)       ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน

ตอบ 2 หน้า 441, (คำบรรยาย) ข่าวหนัก (Hard News) คือ ข่าวที่ให้น้ำหนักต่อความสำคัญของเรื่อง มากกว่าอย่างอื่น ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวที่ให้ผลตอบแทนหรือให้คุณค่าแก่ผู้อ่านในระยะยาว (Delayed Reward) ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในการอ่านพอสมควร โดยส่วนใหญ่ มักเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์คุณภาพ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวปัญหาสังคม ฯลฯ

4.         สาเหตุสำคัญที่ทำให้หนังสือพิมพ์มีหลายกรอบ ได้แก่

(1) รักษายอดขายของหนังสือพิมพ์     (2) สนองการทำข่าวตลอด 24 ชั่วโมง

(3) ตีพิมพ์ข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุดได้           (4) เป็นนโยบายของหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ ๆ

ตอบ 3 หน้า 5, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวันโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูง มักจะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาปิดข่าว ซึ่งผู้สื่อข่าวจะต้องเขียนข่าวให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด เพื่อจะได้จัดพิมพ์ให้ทันจำหน่าย ทั้งๆที่เหตุการณ์ของข่าวนั้นยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้นหนังสือพิมพ์จึงอาจตีพิมพ์วันละหลายกรอบเพื่อให้สะดวกต่อการจำหน่าย และสามารถตีพิมพ์ข่าวที่เกิดขึ้นล่าสุดได้ ทำให้เนื้อหาบางส่วนของหนังสือพิมพ์วันเดียวกัน แต่คนละกรอบจึงอาจแตกต่างกันได้

5.         หนังสือพิมพ์ใดนิยมตีพิมพ์วันละหลายกรอบ

(1)       หนังสือพิมพ์ประชานิยม          (2) หนังสือพิมพ์คุณภาพ

(3) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก       (4) หนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

6.         ข่าวประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่(1)       ความสด ความน่าสนใจ ความก้าวหน้า           (2) ข้อเท็จจริง บรรณาธิการ นักข่าว

(3) ความน่าสนใจ ข้อเท็จจริง ผู้อ่าน    (4) บรรณาธิการ นักข่าว ผู้อ่าน

ตอบ 3 หน้า 38 ข่าวประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1.         ความน่าสนใจ (Interest)  2. ข้อเท็จจริง (Facts)         3. ผู้อ่าน (Readers)

7.         ข้อมูลข่าวสารที่สามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้นั้นควรมีลักษณะอย่างไร

(1) ต้องเป็นความจริง  (2) ต้องมีจำนวนมากพอ

(3) ต้องมีความเป็นกลาง         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 29 ข้อมูลข่าวสารที่สามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือดีที่สุดนั้น จะต้องเป็นความจริง มีความเป็นกลาง และมีจำนวนมากพอ แต่ในความเป็นจริงแล้วประชาชน หรือพลเมืองยังมีช่องว่างในการรับรู้และการทำความเข้าใจกับความเป็นจริง ดังนั้นการตัดสินใจ ของคนเราจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลที่มีข้อจำกัด

8.         ข้อใดมีรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างจากข้ออื่น

(1) หนังสือพิมพ์กำแพง           (2) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid)

(3) หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) (4) หนังสือพิมพ์เนื้อหาเฉพาะเรื่อง

ตอบ 1 หน้า 7-8, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์แบ่งตามรูปแบบหรือขนาดรูปเล่มได้ 2 ขนาด ดังนี้

1.         หนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (Standard Size) เป็นหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ทั่วไป หนังสือพิมพ์ประชานิยม หนังสือพิมพ์คุณภาพ หนังสือพิมพ์เฉพาะเรื่อง ฯลฯ

2.         หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก (Tabloid) มีขนาดครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ขนาดมาตรฐาน (ส่วนหนังสือพิมพ์กำแพงจะจัดทำเป็นแผ่นเหมือนโปสเตอร์ปะติดไว้ตามกำแพง)

9.         บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) ของหนังสือพิมพ์ มีผลต่อข้อดมากที่สุด

(1) การไหลของข่าวสารสู่สาธารณชน (2) การบริหารงานของหนังสือพิมพ์

(3) การทำงานของนักข่าว       (4) การทำงานของบรรณาธิการ

ตอบ 1 หน้า 16 บทบาทการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การควบคุมการไหลของข่าวสาร สู่สาธารณชน โดยหนังสือพิมพ์จะมีนายทวารประจำด่านอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น นักข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง/ประเมินคุณค่าเนื้อหา ของข่าวสาร และตัดสินใจว่าจะเลือกทำข่าวอะไรหรือจะคัดเลือกข่าวนั้นๆ เพื่อตีพิมพ์หรือไม่ โดยคำนึงถึงพื้นฐานของความถูกต้องเที่ยงตรงของข่าวสาร

10.       สิ่งใดเป็นเอกสารที่บันทึกประวัติศาสตร์รายวัน

(1) วารสาร      (2) นิตยสาร     (3) ใบปลิว       (4) หนังสือพิมพ์

ตอบ 4 หน้า 1 หนังสือพิมพ์ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ เนื่องจากหนังสือพิมพ์ได้บันทึก เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไว้ บันทึกข้อคิด/ความเห็นต่าง ๆ ในแต่ละยุคสมัย จนกระทังมีผู้กล่าวว่า หนังสือพิมพ์เป็นเอกสารที่บันทึกประวัติศาสตร์รายวัน

ข้อ 11. – 13. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       To Inform          

(2) To Entertain 

(3) To Advertise 

(4) To Give Opinion

11.       คอลัมน์ซุบซิบในหนังสือพิมพ์

ตอบ 2 หน้า 1546, (คำบรรยาย) หน้าที่การให้ความบันเทิง (To Entertain) คือ การนำเสนอเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากเนื้อหาหนัก ๆ ซึ่งเนื้อหาเพื่อความบันเทิงอาจ ปรากฏในรูปแบบของการ์ตูน เรื่องสั้น การนำเรื่องราวของละครโทรทัศน์มาตีพิมพ์ล่วงหน้า คอลัมน์ซุบซิบต่าง ๆ และคอลัมน์พยากรณ์ชะตาชีวิต เป็นต้น

12.       การเดินทางไปอวยพรวันเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรีในต่างประเทศ

ตอบ 1 หน้า 14 หน้าที่การให้ข่าวสาร (To Inform) คือ การสืบเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน และนำเสนอให้ประชาชนได้รับทราบตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ทั้งทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ โดยจะไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ เช่น ข่าว สารคดี ประกาศแจ้งความ หรืออื่น ๆ

13.       การตีพิมพ์คำทำนายชะตาชีวิต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

14.       การเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบใด

(1) รัฐบาลเป็นเจ้าของ (2) เป็นบริษัทมหาชน

(3) เป็นห้างหุ้นส่วน     (4) เอกชนเป็นเจ้าของ/กิจการของครอบครัว

ตอบ 3 หน้า 11 – 12, (คำบรรยาย) การเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบเอกชนเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งอาจจะแบ่งการดำเนินงานออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

1.         เจ้าของเป็นผู้ประกอบการเองหรือเป็นกิจการของครอบครัว ซึ่งรูปแบบนี้เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ

2.         ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ซึ่งหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบนี้กันมาก

3.         บริษัทมหาชน ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ได้ขยายตัวขึ้นมากในปัจจุบัน

ข้อ 15. – 18. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Watchdog    (2) Gatekeeper (3) Informer       (4) Ombudsman

15.       การติดตามข่าวคุณภาพของข้าวที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาล

ตอบ 1 หน้า 17, (คำบรรยาย) บทบาทการเป็นสุนัขยาม (Watchdog) คือ การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชน โดยเฝ้าจับตาดูแลสอดส่อง/ติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ และ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การเลี่ยงภาษี หรือการกระทำอันไม่ถูกต้องต่าง ๆ จึงถือเป็นบทบาทที่มีผลต่อการทำงานของนักข่าวมากที่สุด เพราะต้องทำหน้าที่ เสมือนการเป็นหมาเฝ้าบ้านที่คอยจับตาและส่งเสียงเตือนภัยเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อทำให้สังคมโปร่งใสและสามารถป้องปรามการคอร์รัปชั่นได้

16.       นักข่าวเลือกไปทำข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีแทนที่จะทำข่าวการโยกย้ายตำรวจตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

17.       การรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ตอบ 3 หน้า 17, (คำบรรยาย) บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร (Informer) คือ หนังสือพิมพ์จะเข้าไปในชุมชนต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นข่าว บทความ สารคดี ฯลฯ เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ ประชาชนได้รับรู้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงไปตรงมา และมากพอ จึงถือเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุด ของหนังสือพิมพ์ เพราะเนื้อหาหลักที่มีมากที่สุดในหนังสือพิมพ์ก็คือ ข่าว (News) ดังบั้นการที่ หนังสือพิมพ์แจ้งข่าวสารที่เหมาะสมจะช่วยให้ประชาชนมีความรู้และความคิดเท่าทันโลก

18.       การรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมัน

ตอบ 4 หน้า 18161169 บทบาทการรับเรื่องราวร้องทุกข์ (Ombudsman) ได้แก่

1.         การที่หนังสือพิมพ์ปฏิบัติตนเป็นแหล่งรับแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ จากประชาชนที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนรู้เห็น จากนั้นหนังสือพิมพ์ต้องไปสืบหาข้อมูล แล้วนำมารายงานเป็นข่าว บทความ สารคดี คอลัมน์ตอบจดหมายหรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ ฯลฯ เพื่อทำให้สังคมมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

2.         การรณรงค์ให้สังคมดีขึ้นเมื่อสังคมหรือประเทศชาติประสบปัญหา เช่น การรณรงค์ให้ประชาชน ประหยัดน้ำมัน ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ บริจาคเงิน/สิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฯลฯ

19.       กลุ่มใดมีบทบาทน้อยในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคม

(1)       กลุ่มนักศึกษา (2) กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ    (3) กลุ่มนักการเมือง    (4) กลุ่มข้าราชการประจำ

ตอบ 1 หน้า 192129 กลุ่มคนที่มีบทบาทในการตัดสินใจเชิงนโยบายของสังคมจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ เช่น กลุ่มลูกจ้างรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานกลุ่มเรียกร้องสิทธิผู้บริโภค ฯลฯ          2. กลุ่มนักการเมือง         3. กลุ่มข้าราชการประจำ

20.       ข้อใดเป็นอำนาจเชิงโครงสร้างของหนังสือพิมพ์        

(1) หนังสือพิมพ์เสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา

(2)       หนังสือพิมพ์เข้าถึงมวลชนอันหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว

(3)       หนังสือพิมพ์ขุดคุ้ยเรื่องที่ไม่ยุติธรรมมาตีแผ่   (4) หนังสือพิมพ์มักได้รับความเกรงใจจากคนทุกกลุ่ม

ตอบ 2 หน้า 24 หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีอำนาจในตัวเอง ซึ่งอำนาจนี้แน่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1.         อำนาจเซชิงโครงสร้าง คือ หนังสือพิมพ์มีความเป็นสถาบันสาธารณะ จึงสามารถเข้าถึง มวลชน/ประชาชนที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายได้ในเวลาอันรวดเร็ว

2.         อำนาจเชิงจิตวิทยา คือ หนังสือพิมพ์มีหน้าที่เสนอข่าวสารข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่แอบแฝงอย่างนักการเมือง จึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่านักการเมือง

3.         อำนาจเชิงปทัสถาน คือ หนังสือพิมพ์ถูกมองว่าเป็นผู้สืบเสาะแสวงหาข่าวสารมานำเสนออย่างเป็นกลาง และขุดคุ้ยเรื่องที่ไม่ยุติธรรมมาตีแผ่ จึงได้รับความไว้วางใจจากสังคม

ข้อ 21 – 24. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) บทบรรณาธิการ     (2) บทปริทัศน์ (3) บทวิจารณ์ (4) สารคดี

21.       บทความใดสำคัญที่สุด

ตอบ 1 หน้า 42 – 43168, (คำบรรยาย) บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนขึ้น เพื่อแสดงทัศนะ ความเชื่อ หรือนโยบายของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ มิใช่ความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องลงชื่อผู้เขียนประจำ อีกทั้งยังเป็นบทความที่สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งทำหน้าที่ให้ความรู้และความคิดเห็นในเรื่องสำคัญ ๆ ต่อสาธารณชน เพื่อสะท้อนถึงจุดยืน ของหนังสือพิมพ์ทีมีต่อเรื่องที่เขียน

22.       เป็นการแสดงความเห็นและประเมินคุณค่าของสิ่งที่เขียนถึง

ตอบ 3 หน้า 44, (คำบรรยาย) บทวิจารณ์ (Criticism) หมายถึง งานเขียนที่มีการใช้ความรู้อย่างมีศิลปะ เพื่อการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของชิ้นงานต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องเป็นผู้ที่ มีความรู้ในเรื่องที่จะวิจารณ์เป็นอย่างดี โดยควรวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีจรรยาบรรณ สร้างสรรค์ และควรวิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบ รวมทั้งมีเหตุผลประกอบการแสดงความคิดเห็น เพื่อมุ่งให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง และสามารถพิจารณาข้อดีข้อเสียในชิ้นงานนั้น ๆ ได้

23.       เน้นองค์ประกอบด้าน Human Interest มากกว่าความสด

ตอบ 4 หน้า 45 มาลี บุญศิริพันธ์ อธิบายว่า สารคดี (Features) คือ ข้อเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนาเบื้องต้น เพื่อรายงานเรื่องที่เป็นความจริง มิใช่เกิดจากจินตนาการ เรียบเรียงอย่างสละสลวย โดยเน้น องค์ประกอบด้านความสนใจของมนุษย์ (Human Interest) มากกว่าองค์ประกอบของความสด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสาร ความรู้ และในเวลาเดียวกันก็เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายหายเครียด

24.       เน้นให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายหายเครียด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

ข้อ 25. – 28. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Official Gazette (2) News Letters (3) Pamphlets   (4) News Sheets

25.       เป็นต้นกำเนิดของข่าวเศรษฐกิจและการค้าในหนังสือพิมพ์

ตอบ 2 หน้า 55 จดหมายเหตุการค้า (News Letters) เกิดจากพ่อค้าชาวยิวในสมัยกลางมีความคิดว่า ในการทำการค้านั้นพ่อค้าจะต้องรู้ข่าวสารบ้านเมืองควบคู่กันไป จึงมีการรวบรวมข่าวสารบ้านเมือง และข่าวการค้าขายในรูปแบบจดหมายเหตุการค้าส่งให้แก่กันและกัน โดยเน้นเพื่อประโยชน์ ทางการค้าเป็นหลัก ดังนั้นจึงถือเป็นต้นกำเนิดของข่าวเศรษฐกิจและการค้าในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

26.       เป็นต้นกำเนิดของข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์

ตอบ 1 หน้า 53 – 55, (คำบรรยาย) หนังสือข่าวสารของทางราชการ (Official Gazette) ได้แก่ เอกสารที่รัฐบาลจากส่วนกลางเขียนหรือพิมพ์ขึ้นในลักษณะ ใบบอกข่าว” (Acta Diurna) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารของชนชั้นปกครอง ซึ่งนับเป็นต้นแบบหนังสือพิมพ์ กำแพง (Wall Newspaper) โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าอาณาจักรโรมันและจีน ใช้สื่อประเภทนี้ก่อนใคร ดังนั้นจึงจัดเป็นสื่อที่เกิดขึ้นก่อนสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น ๆ และถือเป็น ต้นกำเนิดของข่าวราชการและข่าวการเมืองในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

27.       เป็นต้นกำเนิดของการโฆษณาในหนังสือพิมพ์

ตอบ 4 หน้า 55 ใบปลิวข่าว (News Sheets) เป็นเรื่องที่ผู้พิมพ์หรือผู้ว่าจ้างเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป จึงต้องการแจ้งข่าวสารให้คนจำนวนมากได้รับรู้ โดยมักจะแจกจ่ายฟรีมากกว่าขาย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการโฆษณาสินค้าในหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

28.       เป็นต้นกำเนิดของบทความและบทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์

ตอบ 3 หน้า 55 จุลสาร (Pamphlets) เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาสาระเน้นหนักในด้านการวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครองและการนับถือศาสนา โดยผู้เขียนบทความส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีความรู้ จึงถือเป็นต้นกำเนิดของการเซียนบทความ ได้แก่ บทบรรณาธิการ (Editorial) และบทวิจารณ์ (Criticism) ใบหนังสือพิมพ์ปัจจุบัน

ข้อ 29. – 31. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) John Waiter I (2) john Wilkes        (3) Rupert Murdoch (4) William Carter

29.       คนแรกในประวัติคาสตร์หนังสือพิมพ์อังกฤษที่ถูกแขวนคอเพราะใช้หนังสือพิมพ์ต่อต้านรัฐบาล

ตอบ 4 หน้า 57 ในปี ค.ศ. 1584 วิลเลี่ยม คาร์เตอร์ (William Carter) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้ออกจุลสารต่อต้านทางราชการในยุคอำนาจนิยมได้ถูกฝ่ายบ้านเมืองลงโทษด้วยการแขวนคอ ในข้อหาตีพิมพ์จุลสารสนับสนุนนิกายต้องห้าม ดังนั้นจึงนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หนังสือพิมพ์ของอังกฤษที่มีนักหนังสือพิมพ์ถูกสังเวยชีวิตเพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

30.       เป็นผู้เรียกร้องให้นักหนังสือพิมพ์เข้าไปรายงานข่าวการประชุมรัฐสภาได้สำเร็จ

ตอบ 2 หน้า 59 – 60 ในปี ค.ศ. 1762 จอห์น วิลค์ส (John Wilkes) ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์นอร์ธ โบรตัน (North Briton) ได้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ โดยขอให้รัฐบาลอังกฤษยินยอมให้ นักหนังสือพิมพ์เข้าไปฟัง (รายงาน) ข่าวการประชุมรัฐสภาเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน ซึ่งต่อมารัฐสภาอังกฤษต้องยินยอมทำตามข้อเรียกร้องนี้ในปี ค.ศ. 1771 จึงทำให้เขาได้รับ การยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์ของนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพของหนังสือพิมพ์

31.       เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ The Times

ตอบ 1 หน้า 61, (คำบรรยาย) จอห์น วอลเตอร์ที่ 1 (John Walter I) คือ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “The Times” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันคุณภาพที่เก่าแก่ที่สุด และได้รับความเชื่อมันศรัทธา จากประชาชนผู้อ่านทั่วโลกไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย ทั้งนี้เพราะการประกาศนโยบายเป็นกลาง ไม่เป็นแนวร่วมกับกลุ่มการเมืองใด ทำให้ The Times ก้าวมายืนในตำแหน่งผู้นำของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ เป็นสัญลักษณ์ของความมีจริยธรรม พร้อมกับได้รับการสรรเสริญว่า “ เป็นแบบอย่างที่แท้จริง ของสิ่งที่เป็นหรือจะเป็นประชามติของชาวอังกฤษ

32.       ข้อความว่า ถ้าหากการรายงานข่าวนั้นเป็นความจริง และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนแล้ว ไม่ถือว่าหมิ่นประมาท” สำคัญอย่างไร

(1)       เป็นคดีตัวอย่างเกี่ยวกับการทำงานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาล

(2)       เป็นเนื้อหาสำคัญของกฎหมายหมิ่นประมาท

(3)       เป็นก้าวแรกของการทำงานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 73 ข้อความข้างต้นเป็นหลักการที่แอนดรูว์ แฮมิลตัน ทนายความชื่อดังจากฟิลาเดลเฟีย ใช้ต่อสู้คดีให้กับจอห์น ปีเตอร์ แซงเออร์ นักหนังสือพิมพ์ที่เขียนบทความโจมตีรัฐบาลอังกฤษ และถูกจับกุมตัวไปดำเนินคดีในศาล จนได้รับชัยชนะ และตั้งแต่นั้นมาการต่อสู้ในคดีตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำงานของหนังสือพิมพ์ที่ขัดแย้งกับรัฐบาลดังกล่าวก็กลายเป็นเนื้อหาสำคัญของกฎหมายลักษณะหมิ่นประมาทที่หนังสือพิมพ์มักประสบปัญหาอยู่เสมอ และนับเป็นก้าวแรก ที่สำคัญในการทำงานอย่างมีเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อเมริกัน

33.       Join or Die คืออะไร

(1)       ภาพการ์ตูนการเมือง

(2)       บทความต่อต้านรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองชาวอเมริกัน

(3)       หัวข้อข่าวที่มีชื่อเสียงในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองของอเมริกา     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 74 – 75168 – 169 ในปี ,ศ. 1754 หนังสือพิมพ์ Pennsylvania Gazette ของ เบนจามีน แฟรงคลิน ได้ตีพิมพ์ภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมืองภาพแรก เป็นภาพงูที่มีลำตัวแยกเป็น 8 ชิ้น แต่ละชิ้นหมายถึงอาณานิคมแต่ละรัฐของอเมริกา และมีคำบรรยายเขียนว่า Join or Die ซึ่งเป็นการรณรงค์เรียกร้องให้ชาวอาณานิคมร่วมมือกันต่อต้านอังกฤษที่ปกครองชาวอเมริกัน และต้องการให้รวมอาณานิคมทั้ง 8 เข้าด้วยกัน เพื่อการปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา

34.       Yellow Journalism คืออะไร

(1)       บทความการเมืองที่มีชื่อเสียงในหนังสือพิมพ์อเมริกัน (2) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ

(3) การ์ตูนล้อเลียนการเมือง   (4) การรับสินบนของหนังสือพิมพ์

ตอบ 2 หน้า 8183, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์ยุคขาดจรรยาบรรณ (Yellow Journalism) หมายถึง การที่หนังสือพิมพ์ดำเนินการโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม เกิดขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกาเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้คำว่า Yellow Journalism ยังคงใช้ต่อมาในปัจจุบัน กับหนังสือพิมพ์ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

35.       หนังสือพิมพ์เครือข่ายเกิดขึ้นสมัยใด

(1)       ยุคปลายศตวรรษที่ 18            (2) ยุคปลายศตวรรษที่ 19

(3) ยุคปลายศตวรรษที่ 20      (4) ยุคปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา

ตอบ 3 หน้า 84 ในช่วงปลายของยุค Yellow Journalism (ยุคปลายศตวรรษที่ 19) หนังสือพิมพ์ ก็ได้เข้าสู่ยุคหนังสือพิมพ์ลูกโซ่หรือหนังสือพิมพ์เครือข่าย ได้แก่ การเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ หลาย ๆ ฉบับในขณะเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะของหนังสือพิมพ์ในศตวรรษที่ 20 โดยบุคคลแรก ที่ริเริ่มกิจการหนังสือพิมพ์เครือข่าย คือ สองพี่น้องตระกูล Scripps

36.       The Big Three of Japan คืออะไร

(1)       ความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาของญี่ปุ่น

(2)       นโยบายการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น 3 ประการ

(3)       หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง 3 ฉบับในญี่ปุ่น

(4)       นโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ 3 ประเภท ได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา

ตอบ 3 หน้า 89 The Big Three of Japan คือ หนังสือพิมพ์ขนาดยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง 3 ฉบับในญี่ปุ่น ซึ่งได้แก่ อาซารี (Asahi), ไมนิชิ (Mainichi) และโยมิอุริ (Yomiuri)

ข้อ 37. – 40. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

37.       เทียนวรรณ และ ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นนักหนังสือพิมพ์ในสมัยใด

ตอบ 2 หน้า 104 – 105 นักหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญว่ามีความคิด ก้าวหน้า (หัวสมัยใหม่) ฝีปากคม กล้าพูด ตรงไปตรงมา โดยไม่เกรงกลัวผู้ใด มี 2 คน คือ

1.         ต.ว.ส.วัณณาโภ มีนามปากกาว่าเทียนวรรณ เจ้าของหนังสือพิมพ์ตุลยวิภาคพจนกิจ

2.         ก.ศ.ร.กุหลาบ เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ

38.       สิ่งพิมพ์ด้านนิตยสารเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

ตอบ 2 หน้า 105 – 106 กิจการหนังสือเล่มที่เรียกว่า นิตยสาร” (Magazine) เริ่มมีขึ้นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิตยสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้น ได้แก่ จดหมายเหตุแสงอรุณ ยุทธโกฐิ ธรรมจักษุ ธรรมศาสตร์วินิจฉัย นารีรมย์ วิทยาจารย์ และเทศาภิบาล

39.       การเขียนข่าวแบบสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยเริ่มขึ้นในสมัยใด

ตอบ 4 หน้า 110 – 111 วิวัฒนาการของกิจการหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีดังนี้ 1. มีหนังสือพิมพ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า แทบลอยด์ (Tabloid)      2. มีการพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าแรก 3. มีการเขียนวรรคนำ (Lead)  4. เริ่มมีภาพประกอบทั้งภาพถ่าย ภาพล้อและการ์ตูน            5. มีการสัมภาษณ์เพื่อนำมาเขียนข่าวเป็นครั้งแรกของหนังสือพิมพ์ไทย

40.       กฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกของไทยถูกตราขึ้นในสมัยใด

ตอบ 3 หน้า 109112 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้ตรา พ.ร.บ.ว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2465 ขึ้นเป็น พ.ร.บ. การพิมพ์หรือกฎหมายการพิมพ์ฉบับแรกของไทย ทั้งนี้เพราะสมัยนั้น มีหนังสือพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการควบคุมดูแล โดยบางฉบับตีพิมพ์ข่าวรุนแรงเกินกว่าเหตุแต่ไม่สามารถหาตัวบรรณาธิการได้ ดังนั้นจึงนับว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้สามารถควบคุม ดูแลหนังสือพิมพ์ได้ในระดับหนึ่ง

41.       หนังสือพิมพ์ไทยยุคใดที่ถูกรัฐบาลสั่งห้ามการตีพิมพ์เป็นเวลา 5 วัน

(1) ยุคมืด 2501 – 2512          

(2) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

(3) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ  

(4) ยุคสำลักเสรีภาพ

ตอบ 2 หน้า 117, (คำบรรยาย) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 นับได้ว่าเป็นยุคมืดของวงการหนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะมีคำสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับ เป็นเวลา 5 วัน โดยให้เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไปขอใบอนุญาตประกอบการจาก เจ้าพนักงานการพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์ที่เป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองเอาไว้

42.       ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์

(1) บรรณาธิการใหญ่  

(2) เจ้าของผู้ลงทุน    

(3) บรรณาธิการบริหาร 

(4) หุ้นส่วนผู้ลงทุน

ตอบ 1 หน้า 120127 บรรณาธิการใหญ่ (Editor-in-Chief) เป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของ องค์กรหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะรับผิดชอบดูแลด้านนโยบาย วางแผนด้านธุรกิจ กำหนดทิศทาง ของหนังสือพิมพ์ และมีอำนาจหน้าที่สั่งการควบคุมทุกหน่วยงานในองค์กรหนังสือพิมพ์ ให้สามารถอยู่รอดทางด้านธุรกิจ โดยที่ยังคงสามารถนำเสนอเนื้อหาที่ดีได้

43.       ตามสายการเดินทางของข่าวต่างประเทศ ขั้นตอนสุดท้ายของงานคืออะไร

(1) ประชุมกองบรรณาธิการ    (2) จัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์

(3) จัดหน้าหนังสือพิมพ์           (4) พาดหัวข่าว

ตอบ 2 หน้า 132135 ตามสายการเดินทางของข่าวต่างประเทศ จะมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ 1. บรรณาธิการรับข่าวมาจากผู้สื่อข่าว สำนักข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์/นิตยสาร/ วารสารต่างประเทศ และสำนักข่าวไทย2. ส่งให้บรรณาธิการข่าวต่างประเทศคัดเลือก รวบรวม เรียบเรียงข่าว            3. แปลข่าว      4. ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว  5. บรรณาธิการจัดหน้า            6. ฝ่ายผลิต     7. ฝ่ายจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์

44.       ตามสายการเดินทางของข่าวกีฬา ขั้นตอนแรกของงานได้แก่

(1) ประชุมกองบรรณาธิการ    (2) บ.ก. รับข่าวจากผู้สื่อข่าว

(3) การออกไปสื่อข่าว  (4) พาดหัวข่าว

ตอบ3 หน้า 132136 – 137 ตามสายการเดินทางของข่าวอื่น ๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวสังคม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ฯลฯ จะมีขั้นตอนการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้

1.         ผู้สื่อข่าวออกไปสื่อข่าว หรือบรรณาธิการรับข่าวจากผู้สื่อข่าว สำนักข่าว หรือจากสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

2.         บรรณาธิการข่าวนั้น ๆ คัดเลือก รวบรวม เรียบเรียงข่าว ฯลฯ 3. ประชุมข่าว บรรณาธิกรณ์ข่าว

4. บรรณาธิการจัดหน้า            5. ฝ่ายผลิต 6. ฝ่ายจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์

ข้อ 45. – 49. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) สารคดี โฆษณา     (2) บทความ จดหมายจากผู้อ่าน

(3) การ์ตูนล้อการเมือง เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น        (4) ภาพข่าว โฆษณา

45.       ข้อใดควรจัดไว้หน้า 1

ตอบ 4 หน้า 145 – 148 หน้าแรกหรือหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ (เปรียบเสมือนปก) ถือเป็น หน้าสำคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1. ชื่อหนังสือพิมพ์     2. ส่วนข้างหัวหนังสือพิมพ์ (Ears)   3. ข่าว (ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด) 4. ภาพข่าว 5. สารบัญข่าว 6. โฆษณา 7. คอลัมน์ประจำ (อาจมี หรือไม่มีก็ได้) เช่น จดหมายเปิดผนึก ตอบปัญหา หรือคอลัมน์ส่วนตัวของบรรณาธิการ

46.       ข้อใดควรจัดไว้หน้าบรรณาธิการ

ตอบ 3 หน้า 167 – 170 หน้าบรรณาธิการ มักจะสะท้อนถึงนโยบายของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด

ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1. บทบรรณาธิการ        2. ภาพล้อ (Editorial Cartoon) เช่น ภาพการ์ตูนล้อการเมือง ฯลฯ 3. จดหมายถึงบรรณาธิการ     4. เสียงจากหนังสือพิมพ์อื่น(Press Digest) 5. องค์ประกอบเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข่าว โคลงกลอน ตลกขำขัน การ์ตูนที่ เป็นเรื่องสั้น ๆ (Comic Strips) โฆษณา และบทความแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เป็นต้น

47.       ข้อใดควรจัดไว้หน้าตรงข้ามบรรณาธิการ

ตอบ 2 หน้า 161171 หน้าพิมพ์ที่อยู่ตรงข้ามหน้าบรรณาธิการ เรียกว่า Op-ed (Opposite Editorial Page) จะเป็นหน้าซ้ำที่มีลักษณะเหมือนกับหน้าบรรณาธิการทุกประการ ดังนั้นข้อเขียนที่ ควรจัดไว้ในหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าที่เกี่ยวกับเวทีทัศนะ ได้แก่ บทความ และจดหมายจากผู้อ่าน ที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

48.       ข้อใดควรจัดไว้หน้าใน

ตอบ 1 หน้า 159 – 162 องค์ประกอบของหน้าในมีดังนี้          1.โฆษณา 2.ภาพ 3.หัวเรื่อง 4. คอลัมน์ต่าง ๆ เช่น คอลัมน์วิเคราะห์ข่าว บทความ สารคดี แนะนำ ขำขัน ข่าวสังคม ฯลฯ

49.       ข้อใดมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์มากที่สุด

ตอบ 4 ตูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

50.       ธุรกิจหนังสือพิมพ์แตกต่างจากธุรกิจอื่นในข้อใด

(1) หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ธุรกิจขายสินค้า (2) หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม (3) หนังสือพิมพ์ต้องมีความเป็นกลาง  (4) หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อผู้อ่าน

ตอบ 1 หน้า 119 หนังสือพิมพ์เป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆโดยทั่วไป ในด้านของตัวสินค้าที่เสนอขายแก่ประชาชน คือ หนังสือพิมพ์มุ่งขายข่าวสาร ส่วนธุรกิจจะ มุ่งขายสินค้า ทั้งนี้เพราะการที่ผู้อ่านหรือลูกค้าซื้อหนังสือพิมพ์ก็เพื่อรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ทั้ง ข่าว บทความ สารคดี บทวิจารณ์ ฯลฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้รับสาร ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

51.       คอลัมน์ คืออะไร

(1) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวนอน         

(2) การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง

(3) การจัดภาพลงบนพื้นที่ที่กำหนด   

(4) การจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กำหนด

ตอบ 2 หน้า 139 – 140, (คำบรรยาย) คอลัมน์ คือ การแบ่งพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ตามแนวตั้ง โดยจะแบ่งข้อความออกเป็นช่วง ๆ ซึ่งแต่ละช่วงจะกว้างเท่าใดนั้นขึ้นอยูกับความเหมาะสม ที่คิดจากความสะดวกในการอ่านและการจัดหน้าเป็นหลัก ดังนั้นคอลัมน์จึงมีความสำคัญ ตรงที่ทำให้หนังสือพิมพ์สามารถจัดเรื่องลงบนพื้นที่ที่กำหนดได้ง่ายขึ้น

52.       ข้อใดไม่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบรรณาธิการ

(1) การจัดหน้า           

(2)       การเรียงพิมพ์ 

(3)       การพาดหัวข่าว           

(4)       การพิสูจน์อักษร

ตอบ 2 หน้า 120 – 121124 – 125 ฝ่ายบรรณาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องราวสำหรับอ่าน ซึ่งปรากฏตีพิมพ์บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ นอกจากนี้ยังดูแลการใช้ภาพ การถ่ายภาพข่าว การใช้ขนาดและแบบของตัวอักษร การพาดหัวข่าว การพิสูจน์อักษรหรือตรวจปรู๊ฟ การจัดหน้า และการออกระเบียบการทำงานของผู้สื่อข่าว ซึ่งเมื่อฝ่ายบรรณาธิการเตรียมต้นฉบับเสร็จแล้ว ก็จะส่งให้กับฝ่ายผลิตเพื่อดำเนินการเรียงพิมพ์และจัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือพิมพ์ จากนั้น ฝ่ายจัดการจะรับผิดชอบด้านธุรกิจในการจัดจำหน่ายต่อไป

53.       ข้อใดไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องข่าว

(1) โต๊ะข่าวกีฬา          

(2)       ห้องบรรณาธิการ        

(3)       ห้องภาพ         

(4)       ห้องสมุด

ตอบ 4 หน้า 124 – 125, (คำบรรยาย) ห้องข่าว (News Room) หรือฝ่ายข่าว เป็นห้องที่เตรียมข่าวสาร และมีกิจกรรมการสื่อข่าวทุกประเภท มีการพิมพ์งาน ตลอดจนการติดต่อสื่อสารและรับข่าวจาก ผู้ที่ไปสือข่าวภายนอก ประกอบด้วย โต๊ะข่าวต่าง ๆ (Copydesk) ห้องบรรณาธิการ (Editorial Room) และห้องภาพ (Picture Division) ร่วมประสานงานอย่างใกล้ชิดภายในห้องเดียวกัน (ส่วนห้องสมุดจะเป็นสถานที่เก็บข่าวหรือหลักฐานที่ใช้แล้ว ซึ่งแยกออกไปอย่างเอกเทศ)

54.       ผู้ใดไม่จำเป็นต้องประชุมกองบรรณาธิการ

(1) บรรณาธิการบริหาร          

(2)       บรรณาธิการข่าว        

(3)       บรรณาธิการโต๊ะข่าว  

(4)       ผู้สื่อข่าว

ตอบ 1 หน้า 137, (คำบรรยาย) การประชุมข่าวหรือการประชุมกองบรรณาธิการ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่สุดตามสายการเดินทางของข่าวทุกประเภท ซึ่งจะประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ เป็นประธานโดยหน้าที่ พร้อมด้วยบรรณาธิการข่าว บรรณาธิการโต๊ะข่าวต่าง ๆ บรรณาธิการภาพ และผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมเพื่อคัดเสือกข่าวสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์คือ

1.         คัดเลือกข่าวหน้าหนึ่ง (ถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการประชุมกองบรรณาธิการ)

2.         พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของข่าว

3.         วิเคราะห์แง่มุม ประเด็นข่าว และเสนอแนะให้แง่คิดในการติดตามข่าว

4.         พิจารณาเรื่องการเขียนบทบรรณาธิการ 

55.       โต๊ะข่าวใดมีขนาดใหญ่ที่สุด

(1) โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ  

(2) โต๊ะข่าวการเมือง   

(3) โต๊ะข่าวกีฬา          

(4) โต๊ะข่าวในประเทศ

ตอบ 4 หน้า 127134 หนังสือพิมพ์จะให้ความสำคัญต่อโต๊ะข่าวในประเทศหรือโต๊ะข่าวหน้า 1 มากที่สุด กล่าวคือ เมื่อโต๊ะข่าวต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ มีข่าวใดซึ่งกำลังได้รับความสนใจ จากประชาชนมากที่สุด ก็จะส่งมายังโต๊ะข่าวในประเทศเพื่อประชุมข่าวและพิจารณาตีพิมพ์ต่อไป ดังนั้นจึงถือว่าโต๊ะข่าวในประเทศมีความสำคัญมากที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด

56.       งานใดมิได้อยู่ในฝ่ายจัดการ

(1) การจัดจำหน่ายหนังสือพิมพ์         

(2) การรับงานพิมพ์จากภายนอก

(3) การขอโฆษณา      

(4) การออกระเบียบการทำงานของผู้สื่อข่าว

ตอบ 4 หน้า 123 งานที่สำคัญของฝ่ายจัดการมี 2 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่

1.         งานด้านบริหาร-ธุรการ เช่น งานบริหารบุคลากร งานการเงิน-บัญขี งานพัสดุ ฯลฯ

2.         งาบด้านธุรกิจ เช่น งานจัดจำหน่ายและงานโฆษณา (ถือเป็นงานหลักของฝ่ายจัดการ)

รวมทั้งงานการพิมพ์ซึ่งเป็นการรับงานพิมพ์จากภายนอกในช่วงที่เครื่องพิมพ์ว่างจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์ ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ)

ข้อ 57. – 61. จงใข้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม     

(1) การจัดหน้าแนวนอน       

(2) การจัดหน้าสมดุลแตกต่าง

(3) การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ      

(4) การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบ

57.       จัดหน้าง่ายที่สุด

ตอบ 1 หน้า 149 – 150 การจัดหน้าแบบแนวนอน (Horizontal) เป็นการจัดวางหัวข่าวให้ยาวตลอดหน้า หรือหลายคอลัมน์ตามขวางของหน้า ซึ่งมีประโยชน์หลายประการ เช่น จัดหน้าได้ง่ายที่สุด สามารถพาดหัวข่าวที่ดึงดูดใจผู้อ่าน ใช้ตัวอักษรด้วยขนาดและแบบต่าง ๆ กันได้หลายแบบ หลายขนาด นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญ คือ สามารถจัดระดับข่าวและองค์ประกอบต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า การจัดหน้าแบบแนวดิ่ง

58.       นิยมใช้ในการจัดหน้ามากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 150 การจัดหน้าแบบสมดุลแตกต่าง (Informal Balance) เป็นวิธีการจัดหน้าที่ นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถเน้นความแตกต่างในสาระสำคัญของข่าวได้อย่างชัดเจน ทำให้หนังสือพิมพ์ดูมีชีวิตชีวา น่าตื่นเต้น มีความหลากหลายในการเสนอข่าว และสามารถ เร้าความสนใจได้มากกว่าการจัดหน้าแบบสมดุลแท้จริงซึ่งจะดูเรียบเกินไป

59.       ใช้จัดหน้ากรณีมีข่าวโดดเด่นมาก ๆ เพียงข่าวเดียว

ตอบ 3 หน้า 150 – 151 การจัดหน้าแบบเน้นจุดสนใจ (Brace หรือ Focus) มักใช้ในกรณีมีข่าวใหญ่ ที่ต้องการเน้นเป็พิเศษ หรือข่าวใดข่าวหนึ่งมีความสำคัญและโดดเด่นมากกว่าข่าวอื่น ๆในหน้าเดียวกัน ซึ่งควรกำหนดวางหัวข่าวใหญ่ไว้ที่มุมบนขวามือหรือมุมบนซ้ายมือ เพื่อดึงดูด ความสนใจและเน้นความสำคัญของข่าว จากนั้นจึงเสริมด้วยภาพหรือข่าวอื่นซึ่งมีความสำคัญ น้อยลงมา โดยจัดวางตำแหน่งของข่าวให้ลดหลั่นลงมาในรูปแบบขั้นบันไดตามแนวเส้นทแยงมุม

60.       ใช้จัดหน้ากรณีมีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว

ตอบ 4 หน้า 151 การจัดหน้าแบบไร้ระเบียบหรือแบบละครสัตว์ (Broken หรือ Circus) เป็น การจัดหน้าที่ค่อนข้างตามสบาย ไม่มีรูปแบบกฎเกณฑ์ตายตัว ใช้ลักษณะการพาดหัวข่าว และจัดคอลัมน์ไห้มีความหลากหลายในหน้าเดียวกัน ซึ่งอาจสับสนบ้างแต่ก็ดึงดูดความสนใจ จากผู้อ่านได้มาก ทั้งนี้มักใช้ในกรณีที่มีข่าวโดดเด่นหลาย ๆ ข่าว โดยถือว่าข่าวทุกข่าวนั้น มีความสำคัญเท่าเทียมกัน

61.       ใช้ตัวอักษรได้หลายแบบหลายขนาด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

62.       ผู้ใดทำหน้าที่ตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว

(1) Editor   

(2) Copy Reader 

(3) Proof Reader 

(4) Reporter

ตอบ 2 หน้า 124 – 125132 ผู้ตรวจข่าว (Copy Reader) หรือบรรณาธิการต้นฉบับ จะทำหน้าที่ เป็นผู้ตรวจทานข่าวต่อจากบรรณาธิการข่าวอีกครั้งหนึ่ง โดยตรวจทานการใช้คำ การใช้ภาษา และตัวสะกดให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สืบค้นและตรวจความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าว ตกแต่งต้นฉบับ และเขียนพาดหัวข่าวประกอบข่าวทุกข่าวที่จะตีพิมพ์ ฯลฯ

63.       หน่วยงานใดมีบุคลากรในกองบรรณาธิการน้อยที่สุด

(1) หนังสือพิมพ์รายสัปดาหั    (2) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก

(3)       หนังสือพิมพ์เฉพาะประเภท    (4) หนังสือพิมพ์ฝึกหัดสถาบันการศึกษา

ตอบ 1 หน้า 126, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ถือเป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรใน กองบรรณาธิการน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก รวมทั้งหนังสือพิมพ์เฉพาะประเภท และหนังสือพิมพ์ฝึกหัดของสถาบันการศึกษา ทั้งนี้เพราะหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์มีบุคลากรเพียงผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว (อาจมีเพียงคนเดียวหรือสองคน) เท่านั้น

64.       หลักการใดไม่ใช่การจัดหน้าในของหนังสือพิมพ์

(1) การจัดแบบพีระมิดซีกขวา (2) การจัดแบบพีระมิดซีกซ้าย

(3) การจัดแบบ well หน้าเดี่ยว        (4) การจัดแบบ well สองหน้าคู่

ตอบ 2 หน้า 164 – 167, (คำบรรยาย) หลักการจัดหน้าในหรือการจัดหน้าโฆษณาของหนังสือพิมพ์ มีดังนี้   1. แบบพีระมิดครึ่งซีกด้านขวา (Pyramided to the Right)

2. แบบ Well หน้าเดี่ยว 3. แบบ Well สองหน้าคู่ 4. แบบ Island (แบบเกาะ)

5.         แบบแนวบอนล่าง        6. แบบพีระมิดสองด้านหรือสองซีก (Double Pyramid)

65.       หลักการจัดหน้าบรรณาธิการข้อใดสำคัญที่สุด

(1) ความสวยงาม        (2) ความสมดุล           (3) ความเด่น   (4) ความหลากหลาย

ตอบ 2 หน้า 171 – 172 รูปแบบการจัดหน้าบรรณาธิการควรใช้หลักการทางศิลปะควบคู่กับ หลักการทางวารสารศาสตร์เช่นเดียวกับการจัดหน้าอื่น ๆ คือ

1.         การใช้หลักความสมดุล ซึ่งนิยมให้หน้าพิมพ์สมดุลแบบไม่เท่ากัน (Informal Balance)

2.         การลำดับความสำคัญของเรื่อง 

66.       ฝ่ายใดเป็นผู้จัดชิ้นโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์

(1) ฝ่ายบรรณาธิการ   (2) ฝ่ายศิลป็    (3) ฝ่ายผลิต    (4) ฝ่ายจัดการ

ตอบ 4 หน้า 123163, (ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ) การจัดวางชิ้นงานโฆษณาลงบนหน้าพิมพ์ จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายโฆษณาซึ่งอยู่ในส่วนของฝ่ายจัดการ มากกว่าจะเป็นหน้าที่ของฝ่าย บรรณาธิการโดยตรง ทั้งนี้ฝ่ายโฆษณามักจะจัดหน้าในส่วนของโฆษณาให้มีเนื้อที่เหมาะสม สำหรับตีพิมพ์ข่าวอยู่แล้ว แต่หากจำเป็นต้องมีการปรับ บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้าจะเป็น ผู้ประสานงานกับฝ่ายโฆษณาต่อไป

67.       หน้าใดไม่นิยมให้มีโฆษณา

(1) หน้าบรรณาธิการ   (2) หน้ากลาง  (3) หน้าใน       (4) หน้าสุดท้าย

ตอบ 1 หน้า 171 หนังสือพิมพ์ไม่นิยมให้มีโฆษณาในหน้าบรรณาธิการ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีก็ควรจัดตำแหน่งให้อยู่ครึ่งล่างของหน้าพิมพ์ โดยควรหลีกเลี่ยงโฆษณาขนาดใหญ่ที่มีความเด่นมาก ๆ และควรเป็นโฆษณาที่ปราศจากภาพถ่ายหรือภาพเขียนที่มีความเข้มหรือดำจัด ทั้งนี้เพื่อมิให้ โฆษณาเด่นกว่าข้อความอื่นๆ ของหน้า

68.       โต๊ะข่าวใดมีความสำคัญมากที่สุด

(1) โต๊ะข่าวการเมือง    (2) โต๊ะข่าวสังคม        (3) โต๊ะข่าวเครษฐกิจ   (4) โต๊ะข่าวในประเทศ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

69.       Size คีออะไร

(1) แบบของพาดหัวข่าว          (2) ขนาดของพื้นที่สำหรับหัวข่าว

(3) ขนาดของตัวอักษร (4) ขนาดของคอลัมน์

ตอบ 3 หน้า 176 – 177 Size คือ ขนาดของตัวอักษร ซี่งมีหน่วยวัดเป็นพอยท์หรือปอยท์ (Point) โดยการวัดพื้นที่ของตัวพิมพ์จะวัดจากด้านบนถึงฐาน (ความสูงของตัวพิมพ์) ซึ่ง 1 พอยท์ จะมีค่าเท่ากับ 1/72 นิ้ว ดังนั้นตัวอักษรขนาด 72 พอยท์ จึงสูง 1 นิ้ว (2.54 ซม.)

70.       ข้อใดไม่ใช่แบบของตัวอักษร

(1) ตัวหนา       (2) ตัวเอียง      (3) ตัวยก         (4) ตัวธรรมดา

ตอบ 3 หน้า 175179, (คำบรรยาย) แบบของตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ (Font) ได้แก่ รูปร่างลักษณะของตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบ อาจมีรูปร่างกลม ป้อม สูงยาว กว้างแคบ หรือคล้ายตัวเขียน ซึ่งปัจจุบันหนังสือพิมพ์มักนิยมจัดหน้าโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมบรรจุแบบของตัวอักษร ที่มีอยู่มากมายหลายแบบและตั้งชื่อไว้ต่าง ๆ กัน เช่น Angsana UPC, Cordia UPC ฯลฯ

71.       ข้อใดเป็นหน่วยวัดขนาดของตัวอักษร

(1) ไพก้า (Pica)      (2) พอยท์ (Point)

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

72.       งานหลักของ Rewriter คือข้อใด

(1) ช่วยบรรณาธิการตรวจข่าว และเรียบเรียงข่าวใหม่

(2) เขียนพาดหัวข่าว

(3) เขียนข่าวที่มีผู้ส่งมาจากภายบอกสำนักงาน         

(4) ถูกทุกข้อ 

ตอบ 3 หน้า 131 ผู้เรียบเรียงข่าว (Rewriter) คือ ผู้ที่อยู่ประจำสำนักพิมพ์เพื่อทำหน้าที่เรียบเรียงข่าว ที่ส่งเข้ามาจากภายนอกสำนักงาน โดยจะเขียนข่าวให้อยู่ในรูปแบบของข่าวก่อนส่งไปพิมพ์ ทั้งนี้ผู้เรียบเรียงข่าวมักจะเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการสื่อข่าวมาก่อน จึงทำให้สามารถจับประเด็นข่าวได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

73.       โดยทั่วไปการจัดหน้าในของหนังสือพิมพ์ นิยมวางภาพโฆษณาไว้ที่ตำแหน่งใด

(1) ด้านซ้ายบนของหน้าพิมพ์ (2) ด้านซ้ายล่างของหน้าพิมพ์

(3) วางไว้บริเวณกลาง ๆ ของหน้าพิมพ์           (4) ด้านขวาล่างของหน้าพิมพ์

ตอบ 4 หน้า 160, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์ทั่วไปมักจัดหน้าในโดยวางภาพไว้ตรงมุมซ้ายและขวา ของหน้า เพราะถือว่าบริเวณนี้มีความสำคัญที่สุด โดยภาพซึ่งวางตรงมุมซ้ายด้านบนจะเป็นสิ่งที่มาถ่วงน้ำหนักกับภาพโฆษณาที่นิยมวางอยู่ด้านขวาล่างของหน้าพิมพ์นั้น แต่บางครั้งอาจวางภาพ ไว้ตรงส่วนล่างของหน้าก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีโฆษณาจำนวนน้อย (เพียง 2 หรือ 3 ชิ้น)

74.       การจัดวางภาพไว้ส่วนล่างของหน้าพิมพ์ มีประโยชน์อย่างไร

(1) จัดหน้าง่าย            (2) เปิดโอกาสให้วางโฆษณาบริเวณส่วนบนของหน้าพิมพ์ได้

(3) เป็นการเฉลี่ยความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์   (4) เหมาะกับการจัดหน้าซึ่งมีภาพจำนวนน้อย

ตอบ 3 หน้า 160 การจัดวางภาพไว้ตรงส่วนล่างของหน้าพิมพ์จะทำให้เกิดความสมดุล เป็นการเฉลี่ย ความสนใจไปทั่วหน้าพิมพ์ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงโฆษณาอีกด้วย เพราะภาพจะช่วย ดึงสายตาของผู้อ่านไปยังโฆษณาหรือบริเวณใกล้เคียงกับโฆษณาตรงส่วนล่างได้เป็นอย่างดี

75.       คอลัมน์แบบเปิดมีประโยชน์อย่างไร

(1) แบ่งข้อความได้อย่างเป็นสัดส่วน   (2) จัดข้อความเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมได้ง่าย

(3) จัดง่ายกว่าคอลัมน์แบบปิด           (4) ดูโปร่ง สบายตา น่าอ่าน

ตอบ 4 หน้า 149, (คำบรรยาย) การจัดรูปแบบคอลัมน์ แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

1.         คอลัมน์แบบเปิด (Open Format) คือ การใข้พื้นที่ว่างสีขาว (ช่องไฟหรือเนื้อที่ข่าว)เป็นแนวกั้นหรือแยกระหว่างคอลัมน์โดยไม่มีเส้นคั่น ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้ดูโปร่ง สบายตา และน่าอ่าน ส่วนข้อเสียคือ การจัดเนื้อที่ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้จัดหน้าได้ยาก และ อาจทำให้ผู้อ่านหลงข่าวได้

2.         คอลัมน์แบบปิด (Close Format) คือ การใช้เส้นตรงบาง ๆ เป็นแนวกั้นระหว่างคอลัมน์ ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้แบ่งข้อความได้อย่างเป็นสัดส่วน จึงจัดหน้าได้ง่ายกว่า ส่วนข้อเสียคือ จะดูแน่นและรกตา จึงมักใช้กับเนื้อความสั้น ๆ ที่ไม่ละเอียดมากนัก

76.       ข้อใดสามารถสร้างเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุด

(1) วิธีการจัดหน้า        (2) ขนาดของหนังสือพิมพ์

(3) คำขวัญของหนังสือพิมพ์    (4) ชื่อหนังสือพิมพ์

ตอบ 1 หน้า 141 เอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์จะเกิดขึ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏบนหน้าพิมพ์ เพื่อให้ ผู้อ่านเคยชินและจำหนังสือพิมพ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องดูชื่อหนังสือพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของหนังสือพิมพ์ (มีผลต่อเอกลักษณ์ของหนังลือพิมพ์น้อยที่สุด) จำนวนหน้ารูปแบบของตัวอักษร สี แนวของภาพ ที่เสนอ แนวของถ้อยคำที่ใข้พาดหัวข่าว และที่สำคัญคือ รูปแบบหรือวิธีการจัดหน้า ซึ่งสามารถ สร้างเอกลักษณ์ได้ดีที่สุด เพราะหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับนั้นจะมีแนวการจัดหน้าของตนเองโดยเฉพาะ

77.       หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง แบ่งหนัาพิมพ์เป็นกี่คอลัมน์

(1) 5 คอลัมน์   (2) 6 คอลัมน์   (3) 7 คอลัมน์   (4) 8 คอลัมน์

ตอบ 2 หน้า 139, (คำบรรยาย) หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก CTabloid) จะมีจำนวนคอลัมน์น้อย (4-8 คอลัมน์) เช่น หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอาร์ยูบิวส์ (RU News) และหนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง แบ่งหน้าพิมพ์ เป็น 6 คอลัมน์ ฯลฯ ส่วนหนังสือขนาดใหญ่ (Full Size) หรือหนังสือพิมพ์มาตรฐาน (Standard Size) จะมีจำนวนคอลัมน์มาก (8 – 12 คอลัมน์) เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แบ่งหน้าพิมพ์เป็น 12 คอลัมน์ ฯลฯ

78.       ข้อใดจัดวางตำแหน่งชื่อของหนังสือพิมพ์แบบคงที่

(1) ไทยรัฐ        (2) มติชน         (3) สยามรัฐ     (4) เดลินิวส์

ตอบ 3 หน้า 146, (คำบรรยาย) ชื่อหนังสือพิมพ์ (Name Plate) เบ่รืยบเสมือนเครื่องหมายการค้า ซึ่งต้องการให้เป็นที่รู้จัก จดจำ และสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ โดยสามารถจัดได้ 2 รูปแบบ คือ           1. แบบคงที่ เป็นการวางชื่อหนังสือพิมพ์ที่เดิมทุกวัน ๆ เช่น หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ไทยโพสต์ โพสต์ทูเดย์ ฯลฯ 2. แบบไม่คงที่ เป็นการเปลี่ยนที่วางชื่อหนังสือพิมพ์ ไปทุกวัน เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มติชน ข่าวสด เดลินิวส์ คมชัดลึก ฯลฯ

79.       การจัดแบ่งส่วนเนื้อหา (Section) ของหนังสือพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร

(1) หนังสือพิมพ์มีความหนามากขึ้น    (2) จัดเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ได้ง่าย

(3) ราคาจำหน่ายสูงขึ้น           (4) หนังสือพิมพ์มีความน่าสนใจมากขึ้น

ตอบ 2 หน้า 31-32 การที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ขยายตัวและมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับผู้บริโภค ต้องการข่าวสารมากขึ้น ทำให้หนังสือพิมพ์มีเนื้อหาและมีความหนามากเกินไป จึงมีการจัดแบ่ง ส่วนเนื้อหา (Section) ของหนังสือพิมพ์ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้สามารถจัดเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ ได้ง่าย ทำให้อ่านง่ายไม่สับสน และรู้สึกว่าหนังสือพิมพ์มีจำนวนหน้ามากขึ้นจนคุ้มค่าต่อการ ซื้อหามาอ่าน

80.       ช่องคอลัมน์ใหญ่ (กว้าง) มีประโยชน์อย่างไร 

(1) จัดหน้าง่าย

(2)       หนังลือพิมพ์มีความสวยงามกว่าการจัดแบบช่องคอลัมน์เล็ก (แคบ)

(3)       เหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหาสั้น   

(4) เหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหายาว

ตอบ 4 หน้า 141, (คำบรรยาย) การแบ่งจำนวนคอลัมน์น้อยจะทำให้ช่องคอลัมน์ใหญ่ (กว้าง) ขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับเรื่องที่มีเนื้อหายาว แต่ไม่สามารถลงข่าวที่หลากหลาย และการจัดควบหรือ จัดแทรกจะทำได้ยาก ในขณะที่การแบ่งจำนวนคอลัมน์มากจะทำให้ช่องคอลัมน์เล็ก (แคบ) ขึ้น ซึ่งจะทำให้บรรจุเรืองราวที่สั้น ๆ ได้หลายเรื่อง และแทรกเนื้อหาได้ง่าย แต่ก็จะอ่านยากกว่า

81.       พระราชบัญญัติการพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบัน คือฉบับใด

(1) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2540        

(2) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2545

(3) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2550        

(4) พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2551

ตอบ 3 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. เกี่ยวกับการพิมพ์ฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2550 หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ซึ่งถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับ การพิมพ์ฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

82.       พระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับที่ใช้ปัจจุบัน เนื้อหาใดยังยึดเป็นหลักการเดิม

(1) ด้านการเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์   

(2) ด้านการอนุญาตให้ทำหนังสือพิมพ์

(3) ด้านการจัดจำหน่าย           

(4) ด้านการกำหนดราคาหนังสือพิมพ์

ตอบ 1 (คำบรรยาย) เนื้อหาที่ยังคงยึดเป็นหลักการเดิมของ พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับปัจจุบัน คือ

ด้านการเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดย พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ค. 2550 มาตรา 15 ระบุว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณาต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนื้         

1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ)

2.         มีสัญาติทย 

3. มีถิ่นที่อยู่ประจำในราชอาณาจักร

4.         ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

5.         ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือเป็นความผิดโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

83.       ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ข้อใดจะเป็นนิติบุคคลไม่ได้

(1) ผู้พิมพ์        (2) ผู้โฆษณา   (3) เจ้าของหนังสือพิมพ์ (4) บรรณาธิการ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีนิติบุคคล เป็นผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลนั้น ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย และมาตรา 16 ระบุว่า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ที่เป็นนิติบุคคลต้องมีบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมด และต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเป็นผู้มีสัญชาติไทยด้วย (ส่วนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องเป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นนิติบุคคลไม่ได้)

84.       พระราชบัญญัติการพิมพ์ไมใช้บังคับสิ่งพิมพ์ใด

(1) ใบเสร็จรับเงิน        (2) แผนที่         (3) แผ่นเสียง แผ่นชีดี  (4) บทเพลง

ตอบ 1 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ค. 2550 มาตรา 5 ระบุว่า พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนื้ คือ

1.         สิ่งพิมพ์ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

2.         บัตร บัตรอวยพร ตราสาร แบบพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วนตัว การสังคม การเมือง การค้า หรือสิ่งพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับหรือแผนโฆษณา ใบเสร็จรับเงิน

3.         สมุดบันทึก สมุดแบบฝึกหัด หรือสมุดภาพระบายสี

4.         วิทยานิพนธ์ เอกสารคำบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอน หรือสิ่งพิมพ์อื่นทำนองเดียวกัน ที่เผยแพร่ในสถานศึกษา

85.       ผู้ใดมีอำนาจสั่งระงับการนำสิ่งพิมพ์เข้ามาในราชอาณาจักร

(1) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ        (2) อธิบดีกรมราชทัณฑ์

(3) ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ       (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 10 ระบุว่า ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจออกคำสั่งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ ในราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์…

86 บุคคลที่มิสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย หมายถึง

(1) บุคคลธรรมดา       (2) นิติบุคคล   (3) นายกรัฐมนตรี        (4) รัฐมนตรี

ตอบ1 (คำบรรยาย) บุคคลธรรมดา” หมายถึง บุคคลที่มิสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ส่วน นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย โดยกฎหมายรับรอง ให้มิสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

87 บุคคลที่ถูกสมมุติขึ้นตามกฎหมาย หมายถึง

(1) บุคคลธรรมดา       (2) นิติบุคคล   (3) นายกรัฐมนตรี        (4) รัฐมนตรี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88  ข้อมูลข่าวสารใดที่รัฐต้องเป็ดเผย

(1) แผนงานและงบประมาณประจำปี            (2) สัมปทานที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน

(3) ผลการพิจารณาคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการประมูลโครงการ   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 188190 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องเปิดเผย ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้

ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 มีดังนี้

1.         ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน (เช่น ผลการประมูลโครงการ)

2.         แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี

3. คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ

4. สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ       

5. มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ฯลฯ

89.       ข้อใดอยู่ใน พ.ร.บ. การพิมพ์

(1) การตีพิมพ์จุลสารต้องขออนุญาต  (2) การขายแผ่นเสียงหรือซีดีต้องได้รับลิขสิทธิ์

(3) การรับโฆษณาสินค้าใดต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด           (4) ต้องส่งสงพิมพ์ให้หอสมุดแห่งชาติ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ระบุว่า ให้ผู้พิมพ์ส่งสิ่งพิมพ์ ตามมาตรา 8 จำนวน 2 ฉบับให้หอสมุดแห่งชาติภายใน 30 วันนับแต่วันเผยแพร่

90.       การพิจารณาคดีโดยใช้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มีข้อดีอย่างไร

(1) พิจารณาโดยผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์ (2) พิจารณาโดยลดโทษกึ่งหนึ่งเสมอ

(3) ใช้หลักการพิทักษ์เด็กซึ่งกระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 213, (คำบรรยาย) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ได้ให้เหตุผล ที่ต้องแยกการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกจากการพิจารณาคดีทั่ว ๆ ไปว่า เพื่อเป็น การพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนมิให้ถูกรังเกียจ มีปมด้อย หรือถูกตราหน้าว่าได้กระทำ ความผิดทางอาญา และเพื่อให้การช่วยเหลือสังเคราะห์เด็กและเยาวชนที่อาจกระทำความผิด เนื่องจากยังไม่เจริญด้วยวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับ หรือด้วยความจำเป็นบางประการ

91.       ข้อใดไม่อยู่ในบทบัญญัติของกฎหมาย

(1)       ห้ามบันทึกภาพของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด

(2)       ห้ามโฆษณาชื่อตัว ชื่อสกุลของเยาวชนนั้น

(3)       ให้พิจารณาคดีในห้องพิเศษที่ไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา

(4)       ให้พิจารณาคดีโดยรวดเร็ว เพื่อพิทักษ์เด็กและเยาวชน 

ตอบ 4 หน้า 214 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 72 ระบุว่า การพิจารณา คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ให้กระทำในห้องที่มิใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา… และ มาตรา 93 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของ เด็กหรือเยาวชน ซึ่งตัองหาว่ากระทำความผิด หรือโฆษณาข้อความที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว ชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิด หรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานที่ศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น

92.       เด็ก ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว คือบุคคลกลุ่มใด

(1)0-6ปี           

(2) 7-14ปี        

(3) 15-17ปี     

(4) 18-20ปี

ตอบ 2 หน้า 213 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระบุว่า เด็ก” หมายถึง บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ เยาวชน” หมายถึง บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

93.       ท่านใดร่าง ประมวลจรรยามรรยาทของนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

(1) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (2) พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

(3) รัชกาลที่ 5  (4) รัชกาลที่ 6

ตอบ 2 หน้า 217 – 218 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และนักหนังสือพิมพ์ ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น นายเฉลิม วุฒิโฆสิตนายสถิตย์ เสมานิลนายมาลัย ชูพินิจนายเสลา เลขะรุจิ ฯลฯ ได้ร่วมกันยกร่าง ประมวลจรรยามรรยาทของนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2486

94.       จริยธรรมคืออะไร

(1) หลักแห่งความประพฤติของนักหนังสือพิมพ์         (2) แนวการปฏิบัติของคนในวงวิชาชีพ

(3) หลักปฏิบัติที่ตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 217, (คำบรรยาย) สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ความหมายว่า จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรือพฤติกรรมอันตั้งไว้ชอบ หรือความประพฤติอันถูกธรรมหรือ ความประพฤติที่เป็นธรรมของนักหนังสือพิมพ์ ส่วนฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา อธิบายไว้ว่า จริยธรรมเน้นที่จิตสำนึกของบุคคลในการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร

ข้อ 95. – 96. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย        (2) สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

(3) สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย   (4) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

95.       จริยธรรมของนักวิชาชีพที่มีความเป็นสากลที่สุด

ตอบ 4 หน้า 229, (คำบรรยาย) สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ถือเป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องจริยธรรม และจรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรม แห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2541 ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้ตราขึ้นนั้น ได้รับยกย่อง ว่ามีความครอบคลุมและเป็นสากลมากที่สุด

96.       จริยธรรมของสมาคมใดใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา

ตอบ 3 หน้า 227 สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2510 โดยใช้หลักการเดียวกับพุทธศาสนา ดังนี้

1. ความรับผิดชอบ (กิจญาณ)            2. ความมีเสรีภาพ (ปวารณา หรือธรรมาธิปไตย)

3.         ความเป็นไท (ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)        4. ความจริงใจ (สัจจะ)

5.         ความเที่ยงธรรม (ความไม่มีอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ)

6.         ความมีใจเป็นนักกีฬา (สุปฏินัติ)        7. ความมีมารยาท (โสเจยยะ หรืออาจารสมบัติ)

97.       ข้อใดไม่ใช่จริยธรรมของหนังสือพิมพ์

(1) ไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว           (2) ไม่ลอกข่าวจากหนังสือพิมพ์อืน

(3) เปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ชี้แจงประเด็นข่าว         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 229 – 230 ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ค. 2541 ของ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ข้อ 9 ระบุว่า หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็น ลงในข่าวข้อ 10 ระบุว่า เมื่อคัดลอกข้อความใดจากหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือแหล่งข้อมูล อื่น ๆ ต้องบอกที่มาของข้อความนั้น และข้อ 11 ระบุว่า การเสนอข่าวที่มีการพาดพิงอันอาจ เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ต้องแสดงถึงความพยายามในการเปิดโอกาสให้ ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริงด้วย

98.       เหตุใดนักหนังสือพิมพ์จึงต้องมีจริยธรรม

(1)       ควรจะต้องควบคุมกันเอง       (2) มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยขน์ของสังคมมาก

(3) มีหลายแห่งทำให้ยากต่อการควบคุม         (4) เป็นวิชาชีพอิสระ

ตอบ 2 หน้า 232 ผู้ที่ประกอบวิขาชีพหนังสือพิมพ์ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยขน์ของสังคมมาก ดังนั้นนักหนังสือพิมพ์จึงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติและกำกับการทำงาน ของสมาชิก โดยเมื่อมีการประพฤติผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณก็จะมีหลักเกณฑ์การลงโทษ ซึ่งเป็นโทษทางสังคมมากกว่าโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้เพราะจริยธรรมเป็นเรื่องของจิตใจ

99.       ท่านใดเริ่มแนวคิดการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์     

(1) นายชวน หลีกภัย

(2)       ม.ร.ว.คึกฤทธิ๋ ปราโมช (3) รัขกาลที่ 6  (4) นายอานันท์ ปัญยารชุน

ตอบ 2 หน้า 116 เมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2518 ก็ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่หนังสือพิมพ์จะต้องมีเสรีภาพควบคู่ไปกับความรับผิดชอบ จึงได้ร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ ฉบับใหมขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ในการควบคุมกันเองมากขึ้น ซึ่งร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ ดังกล่าวได้เริ่มเสนอแนวคิดให้มีการจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) ขึ้นมา

100.    ข้อใดเป็น อกุศลมูล

(1) ใช้ภาษาและภาพที่หยาบโลน        (2) รายงานข่าวด้วยความลำเอียง

(3)       รายงานข่าวโดยรับอามิสสินจัาง          (4) รายงานข่าวโดยไม่ถือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

ตอบ 3 หน้า 227, (ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ) ความเป็นไท ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใคร ทั้งกายและจิตใจ จะโดยอามิสสินจ้างอื่นใด ซึ่งตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่ตก เป็นทาสของ อกุศลมูล” (คำว่า อกุศลมูล” หมายถึง การตกเป็นทาสของสิ่งใดทั้งร่างกาย และจิตใจ เช่น การรายงานข่าวโดยรับอามิสสินจ้างอันมีค่าหรือผลประโยชน์อื่นใด)

Advertisement