ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2108 (MCS 2390) ชุดที่ 1
เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะ และทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ หมายถึง
(1) วิทยาศาสตร์
(2) เทคโนโลยี
(3) วิทยาการ
(4) กระบวนการ
(5) ภูมิปัญญา
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 2) พจนานุกรมเว็บสเตอร์ (Webster)ได้ให้ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยี” (Technology) ไว้ประการหนึ่งว่า หมายถึง องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะ และทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
2. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์
(1) วิทยาศาสตร์เกิดจากพื้นฐานทางเทคโนโลยีรองรับ
(2) เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการผลิตของมนุษยชาติ
(3) วิทยาศาสตร์เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี เพื่อก่อประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
(4) เทคโนโลยีแท้จริงแล้ว คือ วิทยาศาสตร์
(5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 2) เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น กล่าวคือ เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานหรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์รองรับ หรืออาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยี เป็นการประยุกต์หรือนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการผลิต และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษยชาติ
3. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของเทคโนโลยีในกระบวนการทำงาน
(1) ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ
(2) ช่วยให้เกิดประสิทธิผล
(3) ช่วยให้เกิดความทันสมัย
(4) ช่วยประหยัดเวลา
(5) ช่วยประหยัดแรงงาน
ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 3) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน หรือการพัฒนางานสาขาใด สาขาหนึ่ง รวมทั้งด้านการสื่อสารนั้น มีประโยชน์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1. ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) 2. ช่วยให้เกิดประสิทธิผล (Productivity)
3. ช่วยให้ประหยัด (Economical) ทั้งเวลาและแรงงาน
4. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ไม่ถูกต้อง
(1) ภาษามีความสำคัญในฐานะ “ตัวทำการเปลี่ยนแปลง” ต่อรูปแบบการสื่อสารของมนุษย์
(2) ภาษาถือเป็นสัญญาณทางการสื่อสาร
(3) ภาษาพูดเป็นสัญญาณทางการสื่อสารที่เกิดขึ้นก่อนภาษาเขียน
(4) ภาษาเขียนเป็นสัญญาณทางการสื่อสารที่เกิดขึ้นก่อนภาษาพูด
(5) ภาษาพูดจัดเป็นวัจนภาษา
ตอบ4 (ส่วนที่ 1 หน้า 4 – 5), (คำบรรยาย) ภาษาถือเป็นสัญญาณทางการสื่อสาร
(Communication Code) กล่าวคือ ภาษามีความสำคัญในฐานะ “ตัวทำการเปลี่ยนแปลง” (Agents of Change) ต่อรูปแบบการสื่อสารของมนุษยชาติ โดยภาษาพูด (Spoken Language) เป็นสัญญาณทางการสื่อสารที่เกิดขึ้นก่อนภาษาเขียน (Written Language) ซึ่งทั้งภาษาพูด และภาษาเขียนนี้จัดเป็นวัจนภาษา (Verbal Language) หรือภาษาที่ใช้ถ้อยคำ
5. สื่อออนไลน์เป็นผลจากการนำ…………….มาใช้พัฒนารูปแบบการสื่อสารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีแห่งการสื่อสารของมนุษย์ในสังคมอย่างยิ่งยวด (จงเติมคำในช่องว่าง)
(1) วิทยาศาสตร์
(2) วิทยาการ (3) เทคนิค (4) เทคโนโลยี (5) องค์ความรู้
ตอบ 4 (ส่วนที่ 1 หน้า 6), (คำบรรยาย) สื่อใหม่ (New Media) คือ การนำเอาภาษาระบบตัวเลขหรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรียกว่า การทำให้เป็นระบบตัวเลข (Digitization) มาใช้พัฒนารูปแบบการสื่อสาร จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีแห่งการสื่อสารของมบุษยชาติ ส่งผลให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่หรือสื่อใหม่ขึ้น ได้แก่ การสื่อสารระบบ World Wide Web (เช่น เว็บบอร์ดพันทิบ), สื่อออนไลน์ (เช่น วิทยุออนไลน์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ นิตยสารออนไลน์ ฯลฯ), ภาพถ่ายดิจิตอล, กราฟิก, คอมพิวเตอร์เกม เป็นต้น
6 ……………. เป็นสื่อที่คนรุ่นเก่าไม่คุ้นเคย เพราะเห็นว่าเป็นสื่อที่มีความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยีเกินกว่าจะเช้าถึง
(1) สื่อพื้นบ้าน
(2) สื่อเฉพาะกิจ (3) สื่อดั้งเดิม (4) สื่อใหม่ (5) สื่อโบราณ
ตอบ 4 (ส่วนที่ 1 หน้า 6-7, ส่วนที่ 2 หน้า 3, 17) คุณลักษณะสำคัญของสื่อใหม่ (New Media) ได้แก่
1. ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี
2. เป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ (Interactive) หรือการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งเน้นปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้รับสารไปยังผู้ส่งสาร ในลักษณะการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)
3. เป็นสื่อที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและเนื้อที่หรือพื้นที่
4. มีความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยี และต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้การใช้สื่อและการเข้าถึงสื่อ จึงทำให้คนรุ่นเก่าไม่คุ้นเคย และอาจไม่ยอมเปิดรับหรือเข้าไม่ถึงสื่อใหม่ เพราะประเมินว่า ตนเองไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดีเท่ากับคนรุ่นใหม่
7. สื่อใดต่อไปนี้เป็นสื่อที่ผู้รับสารในสังคมมีความคุ้นเคย เนื่องจากมีระยะเวลาในการพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน
(1) สื่อพื้นบ้าน
(2) สื่อเฉพาะกิจ (3) สื่อดั้งเดิม (4) สื่อใหม่ (5) สื่อโบราณ
ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 6 – 7), (คำบรรยาย) คุณลักษณะสำคัญของสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แก่
1. ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Receiver คือ ผู้รับสารมีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และจะได้รับข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนำเสนอหรือส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร มาสู่ผู้รับสารเท่านั้น
2. เป็นสื่อที่มีข้อจำกัดทางด้านเวลาและเนื้อที่หรือพื้นที่ เช่น สื่อหนังสือพิมพ์เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารในช่วงเช้าของแต่ละวัน (มีข้อจำกัดด้านเวลา) ด้วยปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่จำกัดอยู่ในจำนวนหน้าของสิ่งพิมพ์ที่จัดสรรให้ (มีข้อจำกัดด้านพื้นที่) เป็นต้น
3. เป็นสื่อที่ประชาชนหรือผู้รับสารในสังคมมีความคุ้นเคย เนื่องจากมีระยะเวลาในการ พัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน
4. เป็นสื่อที่ไม่เน้นปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้รับสาร ซึ่งเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)
8. ข้อใดต่อไปนี้จัดอยู่ในประเภทสื่อใหม่ (New Media)
(1) หนังสือพิมพ์หัวสี
(2) หนังสือพิมพ์แทบลอยด์ (3) หนังสือพิมพ์ออนไลน์
(4) หนังสือพิมพ์บรอดชีท (5) หนังสือพิมพ์รายวัน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ
9. ข้อใดต่อไปนี้คือ นิยามของสื่อดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) สื่อที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีแบบโบราณ
(2) สื่อที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีท้องถิ่น
(3) สื่อที่เกิดขึ้นอับเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารในช่วง 6,000 – 30,000 ปีก่อน
(4) สื่อที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีจากแรงงานคน (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 6), (คำบรรยาย) สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) คือ สื่อที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารในช่วง 6,000 – 30,000 ปีก่อน ได้แก่ สื่อสิงพิมพ์ (เช่น มติชนสุดสัปดาห์ นิตยสารโลกไอที ฯลฯ), สื่อวิทยุกระจายเสียง (เช่น คลื่นวิทยุ สวพ. 91), สื่อภาพยนตร์, สื่อวิทยุโทรทัศน์ (เช่น รายการ “รู้เท่าทัน 4G” ทางสถานีโทรทัศน์ TNN) เป็นต้น
10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในประเภทสื่อดั้งเดิม (Traditional Media)
(1) คลื่นวิทยุ สวพ. 91 (2) ผู้จัดการออนไลน์ (3) มติชนสุดสัปดาห์ (4) นิตยสารโลกไอที
(5) รายการ “รู้เท่ากัน 4G” ทางสถานีโทรทัศน์ TNN
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. และ 9. ประกอบ
11. สื่อประเภทใดที่ผู้รับสารจะได้รับข้อมูลข่าวสาร ก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารส่งสารผ่านช่องทางการสื่อสารมาสู่ผู้รับสารเท่านั้น
(1) สื่อพื้นบ้าน
(2) สื่อเฉพาะกิจ
(3) สื่อดั้งเดิม
(4) สื่อใหม่
(5) สื่อโบราณ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
12. ผู้รับสารที่มีลักษณะ Active Seeker มีความหมายตรงกับข้อใด
(1) ผู้รับสารที่มีความคล่องตัวสูง ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
(2) ผู้รับสารที่มีความกระตือรือร้นตลอดเวลา
(3) ผู้รับสารที่ไม่หยุดอยู่นิ่ง ชอบการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
(4) ผู้รับสารที่แสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็น
(5) ผู้รับสารที่เปิดรับข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อมีการนำเสนอสารผ่านสื่อเท่านั้น
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
13 สื่อข้อใดต่อไปนี้ที่ผู้รับสารมีลักษณะเป็น Active Seeker
(1) หอกระจายข่าว
(2) เว็บบอร์ดพันทิบ
(3) วิทยุชุมชน
(4) ภาพยนตร์ระบบสามมิติ
(5) หนังสือพิมพ์รายสามวัน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. และ 6. ประกอบ
14. ผู้รับสารที่มีลักษณะ Passive Receiver มีความหมายว่าอย่างไร
(1) ผู้รับสารที่เปิดรับข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อมีการนำเสนอผ่านสื่อเท่านั้น
(2) ผู้รับสารที่ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบด้าน (3) ผู้รับสารที่มีลักษณะเหงาหงอย เซื่องซึม
(4) ผู้รับสารที่ขาดทักษะทางด้านการอ่านออกเขียนได้ (5) ผู้รับสารที่มีทัศนคติทางลบต่อเทคโนโลยี
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ
15. สื่อใหม่เป็นสื่อที่เปิดช่องทางให้เกิดการสื่อสารในลักษณะ Interactive ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร คำว่า Interactive หมายถึง(1) การสื่อสารที่มุ่งเน้นปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้รับสารไปยังผู้ส่งสาร
(2) การสื่อสารที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(3) การสื่อสารที่มุ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนทางความคิดระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร
(4) การสื่อสารที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ทางบวกระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
16 ………….ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและเนื้อที่ เหมือนอย่างเคยเป็นข้อจำกัดของ…………(จงเติมคำในช่องว่างทั้งสองแห่งตามลำดับ)
(1) สื่อใหม่/สื่อดั้งเดิม (2) สื่อดั้งเดิม/สื่อใหม่
(3) สื่อมวลชน/สื่อท้องถิ่น (4) สื่อท้องถิ่น/สื่อมวลขน (5) สื่อใหม่/สื่อเฉพาะกิจ
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 6. และ 7. ประกอบ
17. สื่อหนังสือพิมพ์ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อผู้อ่านในสังคม แม้ว่าจะมีสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและได้รับความสนใจจากผู้คนมากขึ้นก็ตาม เพราะ
(1) สื่อหนังสือพิมพ์จัดทำรูปเล่ม สีสัน ได้น่าอ่านมากกว่า
(2) สื่อหนังสือพิมพ์มีความนำเชื่อถือ และอ้างอิงได้
(3) สื่อหนังสือพิมพ์เปิดช่องทางให้ผู้รับสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกับได้
(4) สื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีความคงทนต่ำ (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 6,16), (คำบรรยาย) สื่อหนังสือพิมพ์กระดาษ (Newspaper) จัดเป็นสื่อสารมวลชน สื่อแรกของโลกที่ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อผู้อ่านในสังคม แม้ว่าจะมีสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคมมากขึ้นก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะ สื่อหนังสือพิมพ์กระดาษมีความคงทนสูง (ผู้รับสารเปิดรับข้อมูลข่าวสารซ้ำได้โดยไม่จำกัดเวลา) มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้อ้างอิงได้
18. เหตุผลข้อใดที่ทำให้คนรุ่นเก่าไม่นิยมเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อใหม่
(1) เพราะเป็นสื่อที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยี
(2) เพราะเป็นสื่อที่ต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้ในการใช้
(3) เพราะเป็นสื่อที่ต้องอาศัยทักษะในการเข้าถึงสื่อ
(4) เพราะเป็นสื่อที่คนรุ่นเก่าไม่คุ้นเคย (5) ถูกทุกข้อ
ตอบ 5 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ
19. สารสนเทศ (Information) กับข้อมูล (Data) มีความสัมพันธ์กับอย่างไร
(1) สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการจัดระเบียบและพร้อมถูกนำมาใช้งาน
(2) ข้อมูล คือ สารสนเทศที่มีการจัดระเบียบและพร้อมถูกนำมาใช้งาน
(3) ทั้งสารสนเทศและข้อมูลมีความหมายเหมือนกัน เพียงแต่เขียนไม่เหมือนกัน
(4) สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการคัดกรองและตรวจสอบแล้ว
(5) ข้อมูล คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคัดกรองและตรวจสอบแล้ว
ตอบ 1 (ส่วนที่ 1 หน้า 10), (คำบรรยาย) คำว่า “สารสนเทศ” (Information) กับ “ข้อมูล” (Data)มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวบการจัดการ หรือมีการจัดระเบียบและพร้อมถูกนำมาใช้งาน ทำให้สารสนเทศกับข้อมูลมีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด คือ ข้อมูล (Data) เป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้ จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงข้อมูลออกมาใช้ในรูปแบบ ของสารสนเทศ
20. ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (PAPA)
(1) Information Property (2) Information Privilege (3) Information Accuracy
(4) Information Privacy (5) Data Accessibility
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 10) จริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (PAPA)
มีอยู่ 4 ประเด็น คือ
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
21. การลักลอบเข้าไปอ่านข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น ขัดกับจริยธรรม ด้านเทคโนโลยีการลื่อสารข้อใด
(1) ความถูกต้อง
(2) ความเป็นส่วนตัว
(3) ความเป็นเจ้าของ
(4) การเข้าถึงข้อมูล
(5) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 10) ตัวอย่างการละเมิดความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) มีดังนี้
1. การเข้าไปดูหรืออ่านข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น
2. การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นใหม่แล้วนำไปขายให้บริษัทอื่น
22. ประเด็นที่พิจารณาเกี่ยวกับปัญหาความผิดพลาดของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ทางสื่อคอมพิวเตอร์ คือข้อใด
(1) ข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นด้วยความจงใจหรือไม่
(2) ควรมีมาตรการลงโทษต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด
(3) ใครจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
(4) ข้อ 1 และ 3 (5) ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 4 (ส่วนที่ 1 หน้า 11), (ส่วนที่ 2 หน้า 23) ประเด็นที่พิจารณาเกี่ยวกับความถูกต้อง (Information Accuracy) ในปัญหาความผิดพลาดของข้อมูลและสารสนเทศที่จัดเก็บและเผยแพร่ทาง สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สื่อออนไลน์ไม่มีผู้ทำหน้าที่ “ผู้เฝ้าประตูข่าวสาร” คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสารก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร มีดังนี้
1. ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
2. จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความจงใจหรือไม่
23. ข้อใดต่อไปนี้ที่เข้าข่ายการกระทำที่ขัดกับประเด็นจริยธรรม Information Property
(1) การซื้อฐานข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายธุรกิจ
(2) การทำสำเนาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เพื่อนำไปขายให้ลูกค้าในราคาถูก
(3) การใช้กล้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตรวจจับดูการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัท
(4) การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเพื่อสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่แล้วขายให้บริษัทอื่น
(5) การพยายามเข้าไปยังฐานข้อมูลของผู้อื่นผ่านโปรแกรมการสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 11), (คำบรรยาย) ประเด็นที่พิจารณาเกี่ยวกับการกระทำที่ขัดกับ
ความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ
1. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เช่น การทำสำเนาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เพื่อนำไปขายให้ลูกค้า ในราคาถูก ซึ่งซอฟต์แวร์มีหลายลักษณะ ได้แก่ Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิ์ใช้, Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อน ที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งให้ใช้ในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น และ Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพรให้ผู้อื่นได้ เป็นต้น
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ที่ให้ความคุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์
24. ซอฟต์แวร์ในลักษณะ Shareware หมายถึง
(1) ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้
(2) ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
(3) ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิ์ใช้
(4) ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิ์ใช้ในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น
(5) ซอฟต์แวร์ที่จัดทำขึ้นเพื่อแบ่งปันกันใช้งานอย่างเสรี
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
25. ‘‘ข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเข้าฐานข้อมูล” เป็นข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมข้อใด
(1) Information Accuracy (2) Information Privacy
(3) Data Accessibility (4) Information Property (5) Information Society
ตอบ 1 (ส่วนที่ 1 หน้า 11) ข้อเสนอแนะหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับประเด็นความถูกต้อง
(Information Accuracy) มีดังนี้
1. ข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเข้าฐานข้อมูล และควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2. ควรให้สิทธิ์แก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลของเว็บไซต์
26. Hacker เป็นกลุ่มผู้กระทำการที่มีพฤติกรรมขัดกับประเด็นจริยธรรมข้อใด
(1) Information Accuracy (2) Information Privacy (3) Data Accessibility
(4) Information Property (5) Information Society
ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 12), (คำบรรยาย) กลุ่มบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด จริยธรรมด้านการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ได้แก่
1. Hacker คือ บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านการสื่อสารบนเครือข่าย โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเข้าไปอ่าน คัดลอก ลบ หรือทำความเสียหายแก่ข้อมูล
2. Cracker คือ บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ
3. Hacktivist or Cyber Terrorist คือ บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เพื่อส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองไปยังบุคคลอื่น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 27 – 30
(1) จริยธรรมผู้จัดทำสื่อ (2) จริยธรรมผู้ใช้สื่อ (3) Cyber Crime (4) Hacker
27. การกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 12), (คำบรรยาย) ปัญหาด้านจริยธรรมที่ขัดกับประเด็นการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ได้แก่ ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime or Cyber Crime) คือ การกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือ ความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการก่อกวนโดยกลุ่ม Hacker, Cracker, Hacktivist or Cyber Terrorist ฯลฯ
28. การตระหนักถึงความเหมาะสมของการเผยแพร่เนื้อหาและภาพในสื่อออนไลน์
ตอบ 1 (ส่วนที่ 1 หน้า 12), (คำบรรยาย) จริยธรรมของผู้จัดทำสื่อ คือ การตระหนักถึงความเหมาะสม และไม่เหมาะสมของการเผยแพร่เนื้อหาและภาพในสื่อออนไลน์ (เช่น ในเว็บไซต์ เกม หรือ สื่อบันเทิงอื่น ๆ) โดยควรระวังการเผยแพรเนื้อหา ดังนี้ 1. เนื้อหาหรือภาพลามกอนาจาร
2. เนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท 3. เนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ยุยง ปลุกปั่นให้เกิด ความแตกแยก 4. เนื้อหาที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกรุนแรง ก้าวร้าว
29. บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านการสื่อสารบนเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเข้าไป ทำความเสียหายแก่ข้อมูล
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ
30. ประเด็นปัญหาการใช้โปรแกรมการสื่อสารสองทางออนไลน์เพื่อล่อลวงทางเพศ
ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 12) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ/ผู้บริโภค คือ การใช้สื่อในทางที่ไม่ถูกไม่ควร หรือผิดไปจากวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำสื่อ เช่น ปัญหาการใช้โปรแกรม Camfrog เพื่อโชว์หรือ แสดงภาพลามกอนาจาร ปัญหาการใช้โปรแกรมการสื่อสารสองทางออนไลน์เพื่อล่อลวงทาง เพศ/อาชญากรรม เป็นต้น
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 31. – 33.
(1) Copyright
(2) Freeware
(3) Shareware
31. ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพรให้ผู้อื่นได้
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
32. ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
33. Software License
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ
34. ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของ Computer Mediated Communication (CMC) ที่ถูกต้องที่สุด
(1) การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์
(2) การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง
(3) การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นจุดศูนย์กลาง
(4). การสื่อสารด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์
(5) การสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 3 – 4), (คำบรรยาย) การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง หรือการสื่อสาร ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ (Computer Mediated Communication : CMC) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. เป็นสื่อที่ใช้เมื่อไหร่หรือพื้นที่ใดก็ได้ไม่ติดเงื่อนไขเรื่องเวลาและสถานที่ในการนำเสนอเนื้อหา
2. เป็นสื่อที่เปิดโอกาสกับผู้รับสารในการกระทำการใด ๆ กับเนื้อหาสารก็ได้
3. เป็นสื่อที่มีส่วนผสมทางเทคโนโลยีหลายอย่างอยู่ในตัวเอง
4. เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ส่งสารในลักษณะ Interactive
5. เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะสากล (Universal Medium) ในตัวเอง
6. เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
35. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ CMC
(1) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทีมีลักษณะสากล
(2) เป็นสื่อที่ใช้เมื่อใดก็ได้ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องพื้นที่ในการนำเสนอสาร
(3) เป็นสื่อที่เปิดโอกาสกับผู้รับสารในการกระทำการใด ๆ ก็ได้กับเนื้อหาสาร
(4) เป็นสื่อที่มีส่วนผสมของเทคโนโลยีหลายอย่างในตัวเอง
(5) เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ส่งสารในลักษณะ Interactive ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ
36. ในยุคแรกเริ่มของการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์เป็นการสื่อสารด้วย…………
(1) สัญลักษณ์
(2) เสียง (3) ข้อความ (4) ภาพ (5) แสง
ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 4) ในยุคแรกเริ่มของการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์เป็นการสื่อสารด้วยข้อความ โดยปราศจากภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวอย่างในปัจจุบัน แต่เมื่อ World Wide Web (WWW) ได้ถูกคิดค้นขึ้นก็ทำให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครือข่ายในการสื่อสารได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และพัฒนาไปสู่ความเป็นปฏิสัมพันธ์
37. ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อได้เปรียบของ CMC
(1) เป็นสื่อที่ผู้กระทำการสื่อสารสามารถปิดบังตัวตนที่แท้จริง
(2) มีการสนองตอบระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ตลอดเวลา ภายในเวลารวดเร็ว
(3) เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลผ่านจอสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก
(4) เป็นสื่อที่ใช้ไฟฟ้า หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(5) เป็นสื่อที่ผู้รับสารไม่อาจรับรู้อวัจนภาษาของผู้ส่งสาร
ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 4-5) ข้อได้เปรียบของการสื่อสารในลักษณะ CMC มีดังนี้
1. ความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และข้อจำกัด คือ ไม่สามารถจำกัดสิ่งใดได้ ปราศจากผู้ผูกขาดใด ๆ
2. ขอบเขตของการสื่อสาร คือ สามารถส่งผ่านเนื้อหาได้หลายลักษณะทั้งข้อความ ภาพ และเสียง
3. การสนองตอบและการปฏิสัมพันธ์ คือ มีการสนองตอบระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ ตลอดเวลา ภายในเวลาอันรวดเร็ว
4. การติดต่ออย่างเป็นเครือข่าย คือ มีการติดต่อสื่อสารกันในลักษณะเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
38. การสื่อสารด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน
(2) การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน
(4) การสื่อสารแบบไม่พร้อมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(5) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลพร้อมกับทันทีทันใด
ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 5, 7) รูปแบบของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน เช่น การสื่อสารด้วยจดหมายหรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
2. การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน เช่น การเขียนข้อความทิ้งไว้ใน Blog ของเว็บไซต์ hi5 หรือ Facebook
3. การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด เช่น การสนทนาออนไลน์แบบห้องสนทนา (Chat Room) หรือผ่านโปรแกรม Messenger (MSN)
4. การสื่อสารแบบไม่พร้อมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การให้บริการข้อมูลข่าวสาร ในเว็บไซต์ต่าง ๆ
39. การเขียนข้อความไว้ในเว็บไซต์ Facebook เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบใด
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน
(2) การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด
(3) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน
(4) การสื่อสารแบบไม่พร้อมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
(5) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลพร้อมกันทันทีทันใด
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ
40. คำกล่าวในข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ถูกต้องที่สุด
(1) ผู้กระทำการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มีบทบาทเป็นผู้รับสารเท่านั้น
(2) ผู้กระทำการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มีบทบาทเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสาร
(3) การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะจากบนลงล่าง
(4) การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะจากล่างสู่บน
(5) ผู้ส่งสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสร้างและเผยแพร่สารสู่ผู้รับสาร
ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 12), (คำบรรยาย) การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ (CMC) ช่วยลดบทบาท การสื่อสารที่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง จนก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน เพราะการสื่อสารในลักษณะ CMC จะมีทั้งผู้นำและผู้ตาม แต่ไม่มีผู้นำที่มีบทบาท เป็นผู้นำถาวร และไม่มีผู้ตามที่มีบทบาทตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการสื่อสาร ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันในแนวราบหรือแนวระนาบ (Horizontal Link) ที่ทุกคนมีความ เท่าเทียมกันทางด้านการสื่อสาร ระหว่างบุคคล คือ ทุกคนมีบทบาทเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสาร ได้อย่างเสมอภาคกัน
41. เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า CMC เป็นการสื่อสารที่ ‘’เลือกที่รัก มักที่ชัง”
(1) ผู้สื่อสารสามารถคัดสรรทั้งข้อความที่ต้องการสื่อและอวัจนภาษาไปยังผู้รับสาร
(2) ผู้สื่อสารสามารถคัดสรรเฉพาะข้อความที่ต้องการสื่อ โดยผู้รับสารไม่อาจรับรู้อวัจนภาษาอื่นใดได้
(3) ผู้ลื่อสารสามารถคัดสรรข้อความที่ต้องการสื่อ โดยไม่ต้องแสดงอวัจนภาษาไปยังผู้รับสาร
(4) ผู้สื่อสารสามารถเลือกที่จะสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ผู้สื่อสารสามารถเลือกที่จะสื่อสารกับบุคคลที่รัก หรือเลือกที่จะไม่สื่อสารกับคนที่ชังอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 8), (คำบรรยาย) การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ (CMC) เป็นสื่อที่ถูกใช้ในการสื่อสารแบบเลือกที่รัก มักที่ชัง (Selective) ค่อนข้างมาก กล่าวคือ ผู้สื่อสารสามารถเลือกหรือ คัดสรรเฉพาะคำ ข้อความ หรือภาพที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้รับสาร โดยที่ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่อาจรับรู้อวัจนภาษาอื่นใดได้ ซึ่งทำให้กระบวนการลำเลียงข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์พร้อมด้วยความหมาย
42. ผู้ใช้การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางมีลักษณะ Impersonal คำนี้หมายถึงข้อใด
(1) ไม่มีตัวตน
(2) ไม่ปรากฏตัวตนที่แท้จริง
(3) ไม่มีความเป็นบุคคล
(4) เสมือนไร้ตัวตน
(5) ไม่มีข้อใดถูก