การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2106 (MCS 2160) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
1. อะไรคือสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิดของมนุษย์
(1) หัวใจ
(2) ร่างกาย
(3) สายตา
(4) ภาษา
ตอบ 4 หน้า 1 การสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องใช้ภาษา เพราะภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย เป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางความคิดของมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์สามารถส่งความหมายที่อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งให้รับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน
2. ข้อใดถูกต้องที่สุด
(1) การสื่อสารทำให้มนุษย์มาอยู่รวมกัน
(2) ภาษาเป็นวิธีการสื่อสารของมนุษย์
(3) ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย
(4) ภาษาและความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
3. องค์ประกอบของการสื่อสารข้อใดที่หมายถึงการแปรความหมายให้อยู่ในรูปของสาร
(1) ช่องทางการสื่อสาร
(2) ผู้ส่งสาร
(3) การถอดรหัส
(4) การเข้ารหัส
ตอบ 4 หน้า 4 การเข้ารหัสสาร (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปรความคิดของตนหรือแปรความหมายให้อยู่ในรูปของสารที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้ โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อนำสารมาสู่ผู้รับสาร เช่น เมื่อแหล่งสารต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง สมองของเขาจะทำงานร่วมกับอวัยวะในการเปล่งเสียง เพื่อคิดคำพูดและเปล่งเสียงออกมาเป็น คำพูด ประโยค และบทสนทนา ฯลฯ
4. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ทำหน้าที่ใดในกระบวนการสื่อสาร
(1) ผู้ส่งสาร (2) ผู้เข้ารหัส (3) ผู้รับสาร (4) ผู้ถอดรหัส
ตอบ 4 หน้า 4-5 การถอดรหัสสาร (Decoding) ประกอบด้วยกิจกรรมของการแปลหรือตีความสาร ที่ปรากฏออกมาทางกายภาพให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสำหรับผู้รับสาร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือเครื่องยนต์กลไกก็ล้วนเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ทำหน้าที่เป็น ผู้ถอดรหัสจากสัญญาณคลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อส่งเข้ามา ทางโสตประสาทที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ ฯลฯ
5. การสื่อสารประเภทใดที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอยู่คนละสถานที่และคนละเวลา
(1) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (2) การสื่อสารองค์การ
(3) การสื่อสารสาธารณะ (4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ในบางสถานการณ์ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจอยู่ในสถานการณ์หรือปรากฏอยู่ในที่เดียวกัน เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในสถานที่ และเวลาเดียวกัน ฯลฯ แต่บางสถานการณ์ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจถูกแยกจากกันด้วยปัจจัย เรื่องของสถานที่ (Space) และเวลา (Time) เช่น การสื่อสารมวลชน (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร) ที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอยู่คนละสถานที่และคนละเวลา ฯลฯ
6. ข้อใดหมายถึง “สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์”
(1) Environmental Noise (2) Communication Context
(3) Communicative Competence (4) Communication Content
ตอบ 2 หน้า 7, 10 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่
1. มิติทางกายภาพ 2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา
7. ข้อใดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร
(1) การจูงใจ (2)ทัศนคติ (3)ค่านิยม (4) การรับรู้
ตอบ4 หน้า 11 การรับรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้รับสารตระหนักรู้ต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาทางประสาทสัมผัสมีอิทธิพลต่อสิ่งเร้าหรือสารที่ผู้รับสารได้รับ และต่อการที่ผู้รับสารให้ความหมายต่อสิ่งเร้าหรือ สารนั้น ดังนั้นการรับรู้จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร เพราะความหมายของการกระทำ ระหว่างกันจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้ที่ได้รับสิ่งเร้านั้น
8. การเรียนการสอนวิชาภาษาเพี่อการสื่อสารมวลชนในกลุ่มผู้เรียนไม่เกิน 10 คน ผู้สอนใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) Frozen Style (2) Formal Style (3) Consultative Style (4) Intimate Style
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาภาษาที่ใช้โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างเป็นทางการ ได้แก่ รูปแบบของภาษาที่ใช้ ในการประชุม วิพากษ์วิจารณ์ การสัมมนา และการสื่อสารกลุ่มเล็ก ฯลฯ
9. รูปร่างหน้าตาการแต่งกาย เป็นอวัจนภาษาข้อใด
(1) วัตถุภาษา (2) อาการภาษา (3) ปริภาษา (4) ทายภาษา
ตอบ 4 หน้า 15, (คำบรรยาย) ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจาก ลักษณะหรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย เครื่องประดับ หรือเสื้อผ้า หน้า ผม ฯลฯ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้
10. สถานที่ ช่องว่าง ระยะห่าง เป็นอวัจนภาษาข้อใด
(1) กายภาษา (2) วัตถุภาษา (3) ปริภาษา (4) เทศภาษา
ตอบ 4 หน้า 16 ช่องว่างหรือระยะห่าง (เทศภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาเรื่องช่องว่างและระยะห่างของคู่สนทนา เช่น ระยะห่างระหว่างหญิงกับหญิงและหญิงกับชายย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้รวมถึงเทศภาษาที่เกิดจากความเคารพในสถานที่แต่ละแห่งด้วย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ที่บุคคลให้ความสำคัญมากกว่าสถานที่ธรรมดา
11. ก่อนยุคการพิมพ์ ภาษาทางการที่ใช้ในภาคพื้นยุโรป เป็นภาษาใด
(1) อังกฤษ
(2) ฝรั่งเศส
(3) เยอรมัน
(4) ละติน
ตอบ 4 หน้า 22 ก่อนยุคการพิมพ์นั้นในภาคพื้นยุโรปมีการคัดลอกหนังสือด้วยการใช้ภาษาทางการคือ ภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาของโบสถ์คาทอลิก แต่เมื่อมีระบบการพิมพ์เกิดขึ้น ผู้พิมพ์ยุดเริ่มแรก ตระหนักว่าตลาดของหนังสือมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความรู้สึกผูกพันกับบ้านมากกว่าโบสถ์ จึงพิมพ์หนังสือเป็นภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และภาษาท้องถิ่นมากกว่าที่จะใช้ภาษา ของคริสตจักร
12. ข้อใดเป็นลักษณะผู้ส่งสารของการสื่อสารมวลชน
(1) เป็นบุคคลสำคัญ
(2) เป็นสถาบัน
(3) เป็นคนเก่ง
(4) เป็นใครก็ได้
ตอบ 2 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน
2. สารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)
3. ผู้รับสารเป็นมวลชนหรือผู้รับชมรับฟังจำนวนมากที่เป็นใครก็ได้
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม 6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร
13. เนื้อหาทางสื่อมวลชนไม่เหมาะสำหรับผู้รับสารข้อใด
(1) คนทั่วไป (2) ผู้บริโภค (3) สาธารณชน (4) ปัจเจกชน
ตอบ 4 หน้า 25 เนื่องจากสื่อมวลชนมีผู้รับสารจำนวนมากซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใครและอยู่ที่ไหนบ้างทำให้เนื้อหาที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะที่เหมาะสำหรับผู้รับสารกลุ่มใดก็ได้หรือสำหรับ ผู้รับสารที่มีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป ดังนั้นปัจเจกชนที่มีลักษณะเป็นปัจเจกสูงมากหรือมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนมาตรฐานทั่วไปของคนในสังคมจึงไม่ใช่ผู้รับสารของสื่อมวลชน
14. การที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการทำหน้าที่ข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (2) ตีความหมาย
(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม (4) ส่งผ่านค่านิยม
ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในลังคม (Surveillance) คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม
15. การที่หนังสือพิมพ์รายวันนำเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนำ เป็นการทำหน้าที่ข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (2) ตีความหมาย
(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม (4) ส่งผ่านค่านิยม
ครบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนำเสนอเรืองราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการ ของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าว ในลักษณะของการเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ การนำเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนำ ของหนังสือพิมพ์ ฯลฯ
16. การที่ครอบครัวข่าว 3 นำถุงยังชีพไปแจกจ่ายประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นการทำหน้าที่ตามบทบาท สื่อมวลชนข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (2) ตีความหมาย
(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม (4) ผิดทุกข้อเพราะทำเกินหน้าที่
ตอบ 3 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือการเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่าน เวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน) เช่น เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญ ที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่เชื่อมประสานกลุ่มคนที่มี ความสนใจอย่างเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางท่านเรียกบทบาทหน้าที่ด้านนี้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ ของการสร้างกลุ่มสาธารณชน เช่น กลุ่มสมาชิกร่วมด้วยช่วยกัน ฯลฯ
17. บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
(1) Social Relations (2) Socialization (3) Integration (4) Modernization
ตอบ 2 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลซนในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสังคมประทิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่ นำปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนำเสนอ ค่านิยมต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม และจากการที่ประชาชนได้ดู ฟัง และอ่านก็ท่าให้ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน
18. ใครเป็นผู้คิดค้นระบบการพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนได้
(1) ลาสเวลล์ (2) เจมส์ โลว์ (3) กูเต็นเบิร์ก (4) หมอบรัดเลย์
ตอบ 3 หน้า 22, (คำบรรยาย) โยฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้คิดค้น และพัฒนาระบบการพิมพ์แบบกด (Printing Press) หรือระบบเล็ตเตอร์เพรส (Letter Press) ที่ใช้ตัวพิมพ์ทำด้วยโลหะแบบถอดเปลี่ยนได้ (Movable Type) และต่อมาเขาก็ได้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1453 หลังจากนั้นระบบการพิมพ์แบบใหม่นี้ก็แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว
19. หากจะเขียนบทสารคดี ควรมีความรู้ระดับใดเป็นอย่างน้อย
(1) ระดับที่ 2 (2) ระดับที่ 3 (3) ระดับที่ 4 (4) ระดับที่ 5
ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย)ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน
2. หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3
3. หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4
4. หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระท่าเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้องหรือ ไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5
20. เหตุใดนักสื่อสารมวลชนจึงต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร
(1) เพื่อเข้าใจลักษณะเฉพาะตัวของผู้รับสารแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน
(2) เพื่อเข้าใจว่าผู้รับสารเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
(3) เพื่อเข้าใจกำลังซื้อของผู้รับสารซึ่งแตกต่างกันตามฐานะทางสังคม
(4) เพื่อเข้าใจลักษณะร่วมบางประการที่กำหนดความพร้อมของผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อทำความเข้ๆใจลักษณะร่วม
บางประการที่เป็นสิ่งกำหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร เพื่อที่จะสามารถ ออกแบบสารได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับสารมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
21. เนื้อหาที่ปรากฏทางสื่อมวลชนโทรทัศน์มีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เป็นเรื่องทั่วไปที่เหมาะสำหรับทุกคน
(2) เป็นสิ่งสะท้อนความเป็นจริงในสังคม โลกความจริงเป็นเช่นไรในสื่อก็เป็นเช่นนั้น
(3) ไม่เป็นแบบฉบับตายตัว ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว
(4) ผ่านเลือกสรรมาเพียงบางส่วน เป็นภาพแบบฉบับตายตัว
ตอบ 4 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ ในเนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิกในสังคม โดยเนื้อหาที่นำเสนอทางโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์
22. โลกทางสังคม เกิดจากอะไร
(1) สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
(2) โลกที่อยู่รอบตัว
(3) การขัดเกลาทางสังคม
(4) ความเป็นจริงที่แท้จริง
ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality)เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางลังคม ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคน จึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจาก การรับรู้ เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน
23. ภาพยนตร์โฆษณา “Silence of Love” มีวัตถุประสงค์ข้อใด
(1) Awareness (2) Knowledge (3) Preference (4) Conviction
ตอบ 3 หน้า 39 ความพึงพอใจ (Preference) หมายถึง การที่ผู้บริโภครู้สึกชอบสินค้าหรือบริการยี่ห้อที่โฆษณามากกว่าของคู่แข่ง และหากจะตัดสินใจซื้อก็พึงพอใจที่จะเลือกสินค้าหรือบริการ ของยี่ห้อที่โฆษณามากกว่ายี่ห้ออื่น (แม้ว่ายี่ห้อที่โฆษณาจะแพงกว่าก็ตาม)
24. ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ควรมีลักษณะอย่างไร
(1) เป็นภาพมุมสูง
(2) เป็นภาพเคลื่อนไหว (3) เป็นภาพระยะใกล้ (4) เป็นภาพระยะปานกลาง
ตอบ2 หน้า 51, 107, (คำบรรยาย) ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ จะทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ และตรึงผู้รับสารให้ใส่ใจต่อชิ้นงานโฆษณา โดยภาพที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่มีเสียงและตัวอักษรประกอบ จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้าได้ง่าย และยังมีอิทธิพลในการ ชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น
25. การใช้ภาษาในการโฆษณาต้องคำนึงถึงข้อใดเป็นหลัก
(1) กระแสสังคม (2) ความต้องการของผู้ส่งสาร
(3) ความต้องการของสื่อ (4) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ตอบ 4 หน้า 41 การใช้ภาษา ในการโฆษณาจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษา ของกลุ่มเป้าหมายหรือภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ
26. Advertising Concept หมายถึงอะไร
(1) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา
(2) ข้อความที่ใช้พาดหัวโฆษณา (3) คำขวัญโฆษณา (4) ความหมายของการโฆษณา
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คำบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept)หมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์ เพี่อตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลัก ของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่คำขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา
27. โทรทัศน์มีบทบาทด้านวัฒนธรรมอย่างไร
(1) สร้างลักษณะวัฒนธรรมการเรียนรู้ (2) สร้างวัฒนธรรมเน้นปัญญา
(3) สร้างวัฒนธรรมร่วมที่เป็นแบบฉบับตายตัว (4) อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
28. “อ้างประชานิยมเจ๋ง ไม่ผลาญชาติ” จากพาดหัวข่าวนี้ ข้อความที่ขีดเส้นใต้หมายความว่าอย่างไร
(1) นโยบายที่ใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนจน
(2) นโยบายที่ได้รับความนิยมจากประชาชน (3) นโยบายที่เอาใจประชาชนส่วนใหญ่
(4) นโยบายที่กำหนดขึ้นตามความต้องการของประชาชน
ตอบ 1 (คำบรรยาย) คำว่า “ประชานิยม” (Populist) หมายถึง นโยบายการบริหารงานทางด้านการเมืองที่สนองความต้องการของประชาชนทั่วไปหรือชนชั้นล่าง หรือเป็นนโยบายที่สนับสนุนประชาชน คนยากจนเป็นหลัก โดยจะใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนจน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังความนิยมทางการเมืองโดยไม่จำเป็นต้องมีความสมเหตุสมผล หรือมีเป้าหมายทาง เศรษฐศาสตร์มหภาคมารองรับ
29. การโฆษณาเนสกาแฟ 3 in 1 เรื่องล่าสุดใช้ลีลาใด
(1) Slice—of—life (2) Life Style (3) Fantasy (4) Testimonial
ตอบ2 หน้า 43 – 44 ลีลารูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) เป็นการนำเสนอภาพและคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เป็นคนที่ชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง เป็นนักกีฬา เป็นวัยรุ่นที่ชอบสรวลเสเฮฮา เป็นคนทำงานที่ชอบดื่มกาแฟ ฯลฯ
30. การโฆษณาที่มุ่งเสนอขายสินค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นการใช้น้ำเสียงในการโฆษณาแบบใด
(1) Hard Sell (2) Soft Sell (3) Emotional (4) Logical
ตอบ 1 หน้า 45 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนำเสนอสารโฆษณา มี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม
2. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรง อีกทั้งเน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า
31. การโฆษณา 7 Amazing ของการท่องเทียวแห่งประเทศไทย เป็นการโฆษณาลีลาใด
(1) Slice—of—life
(2) Life Style
(3) Fantasy
(4) Testimonial
ตอบ 3 หน้า 44 ลีลาจินตนาการ (Fantasy) เป็นการนำเสนอภาพที่เกิดจากจินตนาการ เช่น ใช้ภาพที่เกิดจากเทคนิคสร้างสรรค์ เพี่อแสดงถึงความคิด อุดมการณ์ ความมุ่งหวัง ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า/บริการหรือแนวความคิดที่ผู้โฆษณาต้องการนำเสนอ
32. “จิบไว้…สลายพุง” เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) เป็นคำสั่ง
(3) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 3 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) เป็นการพาดหัว ที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งการพาดหัววิธีนี้ จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจ ของผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องเป็นการให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์ หรือสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว
33. การโฆษณาผู้ใหญ่ลีของธนาคารกรุงไทย เป็นการโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ
(1) อารมณ์ขัน (2) ความกลัว (3) ความอยากรู้อยากเห็น (4) ความกล้าหาญ
ตอบ 1 หน้า 49 การใช้อารมณ์ขัน (Humor) เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาโดยสอดแทรกความบันเทิง ไปพร้อมกับการนำเสนอสิ่งดึงดูดใจ (Appeal) เพื่อขายสินค้า และข้อควรคำนึงสำหรับ การเขียนข้อความโฆษณาแบบนี้คือ จุดมุ่งหมายของการโฆษณามิใช่เพื่อมุ่งความบันเทิงเท่านั้น แด่ต้องสามารถสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการขายสินค้า
34. ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา
(1) ข้อความที่เสนอขายสินค้า ควรเขียนไว้ที่ส่วนท้ายของข้อความโฆษณา
(2) สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ
(3) ระบุชื่อสินค้าในข้อความพาดหัว (4) มุ่งขายสินค้ามากกว่าการใช้สำนวนโวหาร ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความพาดหัวโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ควรขายสินค้าได้ 2. ดึงดูดใจผู้อ่านด้วยการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
3. สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า 4. ควรระบุชื่อสินค้าไว้ในข้อความพาดหัว
5. ควรเชิญชวนให้อ่านข้อความในส่วนอื่น ๆ ชองสิ่งโฆษณา
6. ควรให้ความสำคัญกับการขายสินค้ามากกว่าการเล่นคำ ฯลฯ
35. ข้อใดคือหน้าที่สำคัญของข้อความพาดหัวโฆษณา
(1) ทำให้รู้จักชื่อสินค้า (2) แสดงถึงเอกลักษณ์ของสินค้า
(3) ดึงดูดความสนใจและขายสินค้า (4) ช่วยสร้างความหมาย ให้ภาพประกอบ
ตอบ 3 หน้า 47 ข้อความพาดหัวโฆษณา (Headline) คือ ข้อความส่วนที่ทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ ผู้รับสารด้วยการกล่าวถึงข้อเสนอเพื่อการขายสินค้า ดังนั้นจึงถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ของข้อความโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ เพราะหากข้อความพาดหัวไม่มีพลังพอก็ไม่อาจจะทำให้ผู้รับสาร สนใจอ่านข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ได้
36. “ผิวของคุณมีจุดด่างดำซ่อนอยู่รึเปล่า” เป็นการเขียนพาดหัวแบบใด
(1) พาดหัวข่าว (2) เป็นคำสั่ง
(3) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 4 หน้า 47 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) เป็นการพาดหัวโฆษณาด้วยการทำให้ผู้รับสาร เกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาคำตอบหรือแก้ข้อสงสัยนั้นด้วยการ อ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ
37. “ผบ.ทบ. ข้องใจนิติเรดกำลังจะทำอะไร ฮึ่มทั้ง 2 ฝ่ายหยุดทำให้เกิดความขัดแย้ง “ปู” กำหนดท่าทียุส่ง แก้ ม.112 อ้างเสรีภาพทางวิชาการ” เป็นการเขียนความนำแบบใด
(1) Punch Lead (2) Background Lead (3) Colorful Lead (4) Contrast Lead
ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนำ ที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นซึ่งมีข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกัน นำมาสรุป เข้าด้วยกันในการเขียนความนำ
38. “ศึกชักฟอกนโยบายรัฐบาลยังคึก ฝ่ายค้าน ส.ว. ถล่มยับนโยบายแก้บน ซัดกันเดือดหลังสาทิตย์ อัด พท.-เสื้อแดงบาป” เป็นการเขียนความนำแบบใด
(1) Punch Lead (2) Background Lead (3) Colorful Lead (4) Contrast Lead
ตอบ 1 หน้า 83 ความนำแบบกระแทกอารมณ์ (Punch Lead) คือ การเขียนความนำในการรายงานข่าวที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงมีลักษณะ ขึงขัง มีพลัง และผู้เขียนมักใช้คำที่มี ลักษณะเป็น Strong Words
39. ในการจัดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด ใครควรเป็นผู้พูด
(1) นักประชาสัมพันธ์
(2) โฆษก (3) ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้รับผิดชอบโดยตรง (4) ผู้มีวาทศิลป์
ตอบ 3 หน้า 62, (คำบรรยาย) สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือการพิจารณาว่าผู้ใดเหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนขององค์กรในการพูด โดยจะต้องพิจารณาถึง โอกาสและเนื้อหาของการพูด เช่น ในการจัดประชุมแถลงนโยบายขององค์กร หรือจัดแถลงข่าว เพื่อชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด ผู้พูดควรเป็นผู้บริหารสูงสุดหรือบุคคลสำคัญที่รับผิดชอบ โดยตรง แต่ถ้าเป็นการกล่าวต้อนรับและการบรรยายสรุปให้นักศึกษาที่เข้าเยี่ยมชมกิจการฟัง ผู้พูดควรเป็นนักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
40. ข้อใดเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดเรื่องที่พูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) เป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ
(2) เป็นเรื่องที่อยู่ในกระแส
(3) เป็นเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์ โอกาส และความสามารถของผู้พูด
(4) เป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อน
ตอบ 3 หน้า 63 ผู้พูดควรกำหนดเรื่องที่จะพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับโอกาสสถานการณ์ที่ไปพูด และความรู้ความสามารถของตน โดยมีหลักสำคัญคือ การเตรียมเรื่อง ที่จะพูดให้พร้อม ซึ่งได้แก่ 1. ศึกษาหัวข้อเรื่องที่พูด 2. กำหนดโครงเรื่อง
3. ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม 4. คาดการณ์เรื่องที่ผู้พังจะซักถามและเตรียมคำตอบล่วงหน้า
5. เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูด
41. Appeal หมายถึงอะไร
(1) ข้อเสนอเพื่อขายสินค้า
(2) ลีลาการโฆษณา
(3) น้ำเสียงหรือแนวทางการนำเสนอสาร
(4) สิ่งที่ใช้เรียกร้องความสนใจ
ตอบ 4 หน้า 45 สิ่งดึงดูดใจ (Appeal) หมายถึง สิ่งที่ทำให้สินค้าในงานโฆษณานั้น ๆ น่าสนใจ ต่อผู้บริโภค หรือหมายถึง แนวทางที่ใช้ในการเรียกร้องความสนใจของผู้บริโภค และ/หรือ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นต่อสินค้าหรือบริการ จึงเปรียบเสมือนสิ่งผลักดัน ผู้บริโภคหรือสิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค
42. การจัดแถลงข่าว เป็นการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในข้อใด
(1) การชี้แจงอย่างเป็นทางการ
(2) การประชุมโต๊ะกลม
(3) การอภิปรายกลุ่ม
(4) การบรรยายสรุป
ตอบ 1 หน้า 66, (คำบรรยาย) การพูดชี้แจงอย่างเป็นทางการ เป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดีในการสร้าง ความประทับใจและเผยแพร่กระจายข่าวสารไปสู่กลุ่มผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำได้ใน รูปของการอธิบายถึงนโยบาย จุดมุ่งหมายของการดำเนินงาน ชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด และ ให้คำแนะน้าแก่บรรดาพนักงานของบริษัท โดยมักใช้ในการจัดแถลงข่าว การจัดประชุมผู้สื่อข่าว การกล่าวเปิดและปิดงาน ฯลฯ