การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2106 (MC 216) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         ภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสารอย่างไร

(1)       เป็นบริบทของการสื่อสาร        

(2) เป็นช่องทางการสื่อสาร

(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย 

(4) เป็นวิธีการสื่อสาร

ตอบ 3 หน้า 1 ภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสาร คือ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย ทำให้ มนุษย์สามารถส่งความหมายที่อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้ และเข้าใจความหมายร่วมกัน ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญต่อการสื่อสารของมนุษย์อย่างยิ่ง เพราะหากไม่มีภาษา มนุษย์ย่อมไม่สามารถส่อสารกันได้

2.         แนวคิดวัฒนธรรมนิยม มองว่าภาษาเป็นอย่างไร

(1) เป็นไปตามโครงสร้างที่แน่นอน      

(2) เป็นสิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว

(3) เป็นกรอบความคิดของมนุษย์        

(4) สร้างสรรค์ความจริงทางสังคม

ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Cutturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างสรรค์ ความจริงทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

3.         แนวคิดโครงสร้างนิยม มองว่าภาษาเป็นอย่างไร

(1) ไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว    (2) มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคม

(3) เป็นเสมือนบันทึกทางสังคม           (4) สร้างสรรค์ความจริงทางสังคม

ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการ สืบต่อกันมา โดยมีโครงสร้างที่แน่นอน และมีระบบไวยากรณ์เป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์หรือ ควบคุมการใช้ภาษา ดังนั้นผลผลิตทางด้านภาษาจึงเป็นเสมือนบันทึกทางสังคม และเป็น กรอบความคิดของมนุษย์

4.         ในยุคปัจจุบันการบันทึกความคิดทางสังคมปรากฏอยู่ที่ใด

(1) ในห้องสมุด            (2) ในพิพิธภัณฑ์

(3) ในหอจดหมายเหตุ (4) ในเพลง ภาพยนตร์ ละคร

ตอบ 4 หน้า 20, (คำบรรยาย) การบันทึกความคิดทางสังคมในยุคปัจจุบันจะปรากฏอยู่ทั่วไปในสื่อ สมัยใหม่จำนวนมาก เช่น เพลง ภาพยนตร์ หรือละคร นอกเหนือไปจากสื่อวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ (ส่วนตัวเลือกข้ออื่นเป็นการบันทึกความคิดทางสังคมในยุคอดีต)

5.         การที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารพูดคนละภาษา เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด

(1) Semantic Noise   (2) Mechanical Noise

(3) Environmental Noise  (4) Communication Noise

ตอบ 1 หน้า 6 อุปสรรคด้านภาษา (Semantic Noise) หมายถึง อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดจากการ แปลความหมายของคำและประโยค ซึ่งต้องผ่านการตีความหมาย แต่บางครั้งการใช้คำหรือ ประโยคไม่ถูกต้องทำให้การเข้าใจความหมายผิดพลาดหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่ต้องการจะสื่อ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนต่างกลุ่มต่างท้องถิ่นพูดกันคนละภาษา หรือขาดทักษะทางภาษา จึงให้ความหมายต่อคำ วลี หรือประโยคใดประโยคหนึ่งแตกต่างกัน

6.         การทำความเข้าใจความหมายของ ภาษา” ต้องอาศัยอะไร

(1)       ผู้สงสาร           (2) บริบทของการสื่อสาร         (3) การเข้ารหัส            (4) การสื่อสารกลับ

ตอบ 2 หน้า 710 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อม ที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์จะมีพฤติกรรมการสื่อสารอย่างไร หรือทำความเข้าใจความหมายของภาษาร่วมกันได้เพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยบริบทของการสื่อสารอย่างน้อย 4 มิติ ได้แก่ 1. มิติทางกายภาพ2. มิติทางวัฒนธรรม  3. มิติทางจิตวิทยาสังคม         4. มิติทางด้านเวลา

7.         อวัจนภาษาข้อใดที่เป็นภาษาหลักของสื่อวิทยุโทรทัศน์

(1) ปริภาษา    (2) อาการภาษา          (3) กายภาษา  (4) ภาพ

ตอบ 4 หน้า 106108117 ในการผลิตรายการทางสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น เราจะถือว่าภาพ (Image) เป็นอวัจนภาษาที่เป็นภาษาหลัก ส่วนคำบรรยาย (Narrative or Commentary) เป็นวัจนภาษา ที่เป็นภาษารอง ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชมเมื่อดูภาพอย่างเดียวแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้อวัจนภาษาประเภทอื่น เช่น ดนตรี แสง สี เสียง ขนาด และมุมกล้องจะเป็นตัวช่วยเสริม เพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

8.         การที่สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส เป็นขั้นตอนใดของกระบวนการรับรู้

(1) Sensory Stimulation    (2) Stimulation is Organized

(3) Stimulation is Interpreted  (4) Stimulation is Evaluated

ตอบ 1 หน้า 11 เดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการรับรู้ว่าประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้         1. สิ่งเร้ากระทบกับประสาทสัมผัส (Sensory stimulation)

2.         สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized)

3.         สิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกตีความและประเมินค่า (Sensory Stimulation is Interpreted-Evaluated)

9.         การสื่อสารประเภทใดที่ไม่มีการสื่อสารกลับ

(1) การสื่อสารในตัวบุคคล      (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล

(3) การสื่อสารสาธารณะ         (4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 4 หน้า 5 – 6826 การสื่อสารกลับ (Feedback) หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสาร ที่ปรากฏอยู่ในรูปของสารที่ส่งกลับไปยังแหส่งสาร โดยการสื่อสารกลับสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง การสื่อสารภายในตัวบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารสาธารณะ ยกเว้นในการ สื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นกระบวนการสื่อสารทางเดียว (One-way Process) ที่ไม่มีการสื่อสารกลับ โดยทันที (Immediate Feedback) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสื่อสารกลับภายหลัง (Delayed Feedback) เช่น การส่งจดหมาย อีเมล์ โทรศัพท์ ฯลฯ

10.       การคิดวิเคราะห์ เป็นการสื่อสารประเภทใด

(1)       การสื่อสารภายในตัวบุคคล     (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล

(3) การสื่อสารในองค์กร          (4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 1 หน้า 12 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Communication) เป็นการที่มนุษย์ สื่อสารกับตนเอง ได้แก่ การคิด (Thinking) การใช้เหตุผล (Reason) การคิดวิเคราะห์ (Analyze) และการทบทวนตนเอง (Reflection) เป็นต้น

11.       ความหมายของ Connotation เป็นความหมายแบบใด

(1) ความหมายที่เจ้าของภาษารู้          

(2) ความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป

(3) ความหมายโดยนัย            

(4) ความหมายเชิงวาทกรรม

ตอบ 3 หน้า 13, (คำบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ คือ

1.         ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายที่เข้าใจกันตามตัวอักษร หรือเข้าใจตรงกันโดยส่วนใหญ่ เป็นความหมายที่เจ้าของภาษารู้และใช้กันโดยทั่วไป หรือความหมายของคำตามที่ปรากฏในพจนานุกรม

2.         ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง การให้ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง เป็นความหมายทางอ้อมที่เกิดจากข้อตกลงของกลุ่ม หรือเกิดจากประสบการณ์เฉพาะของบุคคล

12.       ความสุขที่คุณดื่มได้” เป็นการใช้ภาษาในความหมายแบบใด

(1) ความหมายโดยตรง           

(2) ความหมายโดยนัย

(3) ความหมายเพิ่มเติม           

(4) ความหมายเชิงวาทกรรม

ตอบ 4 หน้า 14, (คำบรรยาย) ความหมายเชิงวาทกรรม (Discourse Meaning) หมายถึง ความหมายที่คิด หรือประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสร้างเอกลักษณ์/อัตลักษณ์ หรือให้ความสำคัญกับสิงใดสิงหนึ่งในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อำนาจ หรือตัวตน เช่น ข้อความที่ว่า ความสุขที่คุณดื่มได้” เป็นความหมายเชิงวาทกรรมในโฆษณา เป็นต้น

13.       การกล่าวคำปฏิญาณของตัวแทนบัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ใช้ภาษาระดับใด

(1) Frozen style (2) Formal Style

(3) Consultative Style        (4) Casual Style

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ลีลาเยือกเย็น (Frozen Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่มีแบบแผนตายตัว มีลักษณะเป็นทางการมากที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงภูมิปัญญา และแสดงความศักดิ์สิทธิ์/ ความขลัง เช่น ภาษาที่ใช้เขียนในร่างกฎหมายต่าง ๆ หรือการกล่าวคำปฏิญาณของตัวแทนบัณฑิต ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งจะมีแบบฟอร์มการพูดที่ตายตัว เป็นต้น

14.       การใช้ภาษาของดีเจรายการเพลงทางวิทยุ เป็นการใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1) Frozen Style          (2) Formal Style

(3) Consultative style        (4) Casual Style

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ลีลาลำลอง (Casual Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ใช้พูดกันโดยทั่วไป ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือภาษาที่ใช้ในการลื่อสารมวลชน เช่น รายการสนทนา เกมโชว์ รายการเพลงทางวิทยุ เป็นต้น

15.       ปริภาษา เป็นอวัจนภาษาในข้อใด

(1) ลักษณะทางกายภาพ        (2) ระยะห่าง   (3) น้ำเสียง      (4) การสัมผัส

ตอบ3 หน้า 15 ปริภาษา เป็นอวัจนภาษาเรื่องการเปล่งเสียง ได้แก่ น้ำเสียง ระดับเสียง ความดัง ความถี่ ความหนักแน่น และคุณภาพของเสียง ซึ่งจะประกอบไปกับวัจนภาษา ทำให้วัจนภาษานั้น ๆ มีความหมายที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีเสียงในธรรมชาติและเสียงที่ประดิษฐ์ขึ้นแล้วมีความหมาย เช่น เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงไซเรนรถพยาบาล รถดับเพลง เสียงระฆังบอกเวลา เป็นต้น

16.       เครื่องหมายสถาบันการศึกษา เป็นอวัจนภาษาข้อใด

(1) กายภาษา  (2) อาการภาษา          (3) เทศภาษา   (4) วัสดุภาษา

ตอบ4 หน้า 16 วัสดุภาษาอื่น ๆ เป็นอวัจนภาษาที่สามารถบอกความหมายได้เช่นกันได้แก่ สัญลักษณ์ เครื่องหมายของสถาบันการศึกษา เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า รถยนต์ เป็นต้น

17.       Communication Context หมายถึงอะไร

(1) ปฏิกิริยาที่มีต่อการสื่อสาร (2) บริบทของการสื่อสาร

(3) วัฒนธรรมการสื่อสาร         (4) ความรู้ที่มีต่อมิติทางสังคมของการสื่อสาร

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

18.       ประสิทธิผลของการสื่อสารขึ้นอยู่กับอะไร

(1) สภาพสังคม           (2) เทคโนโลยีการสื่อสาร

(3) ลักษณะทางวัฒนธรรม      (4) ความรวดเร็วของการสื่อสาร

ตอบ 3 หน้า 38, (คำบรรยาย) ประสิทธิผลของการสื่อสาร คือ การที่ผู้รับสารเข้าใจความหมายตรงกับ สิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ ซึ่งอกจากจะขึ้นอยู่กับขอบเขตแห่งประสบการณ์ของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละวัฒนธรรมด้วย เพราะสิ่งที่แสดงถึงประสิทธิผลของ การสื่อสารในวัฒนธรรมหนึ่งอาจแสดงถึงความไร้ประสิทธิผลของการสื่อสารในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ก็เป็นได้

19.       ชนชาติใดที่พัฒนาภาษาเขียนซึ่งใช้อักษรเป็นสัญลักษณ์แทนเสียง

(1) ชาวจีน       (2) ชาวอียิปต์  (3) ชาวฟีนีเชียน          (4) ชาวสุเมเรียน

ตอบ 3 หน้า 19 ชาวฟีนีเชียน (The Phoenicians) เป็นนักค้าขายทางทะเล ถือเป็นชนชาติแรกที่ พัฒนาระบบภาษาเขียนที่มีพื้นฐานมาจากเสียง ซึ่งจะใช้กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า พยัญชนะ (Alphabet) เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงและนำเสียงมารวมกันขึ้นเป็นคำ โดยภาษาที่พวกเขา ประดิษฐ์ขึ้นได้แพร่หลายอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนมาถึงประเทศกรีซ ที่ซึ่งมีการ พัฒนาพยัญชนะพื้นฐาน 24 ตัวอักษรขึ้น

20.       ชนชาติใดที่พัฒนากระดาษขึ้นใช้เป็นชาติแรก

(1) ชาวจีน       (2) ชาวอียิปต์  (3) ขาวฟีนีเชียน          (4) ชาวสุเมเรียน

ตอบ 1 หน้า 1921 – 22 ชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่คิดพัฒนากระดาษขึ้นใช้เมื่อราว ค.ศ. 100 และเป็นผู้พัฒนาการพิมพ์แบบบล็อกขึ้นเป็นชาติแรก ซึ่งงานพิมพ์แบบบล็อกที่เก่าแก่ที่สุด และยังมีหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ คือ หนังสือที่พิมพ์ขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 868 นอกจากนี้ ชาวจีนยังเป็นชาติแรกที่คิดค้นระบบการพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ ที่ทำจากดินเผาและไม้สำหรับตัวอักษรแต่ละตัวอีกด้วย

21.       ชนชาติใดที่พัฒนาการพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนได้ขึ้นเป็นชาติแรก

(1) ขาวจีน       

(2) ชาวอียิปต์  

(3) ชาวเกาหลี 

(4) ชาวเยอรมัน

ตอบ1  ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

22.       หนังสือพิมพ์ที่เกิดจากระบบการพิมพ์เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงใด

(1) ต้นศตวรรษที่ 15    

(2) ต้นศตวรรษที่ 16    

(3) ต้นศตวรรษที่ 17    

(4) ต้นศตวรรษที่ 18

ตอบ 3 หน้า 24 หนังสือพิมพ์ที่เกิดจากระบบการพิมพ์เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป เมื่อประมาณช่วงต้น ศตวรรษที่ 17 ซึ่งหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นเน้นสาระเกี่ยวกับข่าวต่างประเทศ แต่ไม่นานก็หันมา เน้นข่าวสารภายในประเทศ ทำให้ในบางครั้งมีการนำเสนอเรื่องราวที่เป็นการตรวจสอบการทำงาน ของรัฐบาลหรือผู้ปกครอง ดังนั้นฝ่ายการเมืองและรัฐบาลจึงพยายามที่จะควบคุมและตรวจสอบ การทำงานของหนังสือพิมพ์ จนทำให้เกิดการประกาศปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอิสระของ สื่อมวลชนจากการควบคุมโดยรัฐบาล

23.       เหตุการณ์ใดทำให้เกิดการประกาศปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอิสระของสื่อมวลชนจากการควบคุมโดยรัฐบาล

(1)       การตีพิมพ์หนังสือในศตวรรษที่ 16

(2)       การที่หนังสือพิมพ์ในยุโรปตรวจสอบการทำงานของฝ่ายปกครอง

(3)       การที่หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกานำเสนอข่าวการประกาศอิสรภาพ

(4)       การที่หนังสือพิมพ์เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24.       ผู้ผลิตรายการในยุคปัจจุบัน มองผู้รับสารในฐานะอะไร

(1) เจ้านาย      (2) มวลชน       (3) ตลาด         (4) ปัจเจกชน

ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ธีโอดอร์ อดอร์โน (Theodor Adorno) กล่าวไว้ว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ วัฒนธรรมถูกทำให้เป็นสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพลงหรืองานวรรณกรรมก็เริ่มถูกนำเสนอ ด้วยกระบวนการทางการตลาดมากขึ้น ทำให้แนวโน้มที่รายการต่าง ๆ จะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ให้แคบลงกว่ามวลชนคนรับสารทั่วไปก็มีมากขึ้น เพราะผู้ผลิตหรือเจ้าของรายการทางสื่อมวลชน มองผู้รับสารในฐานะตลาด (Market)

25.       หน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างว่าอะไร

(1) Transformation   (2) Globalization       (3) Socialization        (4) Transmission

ตอบ 3 หน้า 28, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวบการสังคมประกิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่นำปัจเจกชน มาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนำเสนอค่านิยมต่าง ๆ ของ คบบางกลุ่ม และจากการที่ประชาชนได้ดู ฟัง และอ่านก็ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตน และสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน เช่น ละครโทรทัศน์เรื่อง แรงเงา” ที่นำเสนอเนื้อหาภายใต้ค่านิยมที่ว่าผู้ชายเป็นใหญ่ หรือค่านิยมอันตรายที่ว่า โกงก็ไม่เป็นไรขอให้มีผลงาน ฯลฯ

26.       ธุรกิจใหม่ โปรโมชั่นพิเศษสุด ค้นกำไรให้ผู้บริโภค” พาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ   (2) พาดหัวข่าว

(3) เป็นคำสั่ง   (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ2 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบพาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสำคัญ ซึ่งเป็นจุดพี่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

27.       ต้นกำเนิดผิวที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลพี่อ่อนโยน” พาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ   (2) พาดหัวข่าว

(3) เป็นคำสั่ง   (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ3  (คำบรรยาย) การพาดหัวในลักษณะที่เป็นคำสั่ง เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาพี่เน้นถึงสถานการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์เมื่อปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นข้อแนะนำในข้อความโฆษณานั้นโดยมักจะเขียน ในรูปของคำสั่ง บางครั้งอาจมีคำว่า อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทำหรือสั่งให้ทำก็ได้

28.       ผิวเรียบเนียนกระจ่างใส เปล่งประกายออร่า” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1)       เน้นประโยชน์พี่ผู้บริโภคจะได้รับ        (2) พาดหัวข่าว

(3) เป็นคำสั่ง   (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 1 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) เป็นข้อความพาดหัว- โฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูด ความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และ สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอพี่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้โดย ข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องเป็นการให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว

29.       การวิเคราะห์วาทกรรมมีประโยชน์อย่างไร     

(1) ทำให้ผู้รับสารเข้าใจกิจกรรมการพูด

(2)       ทำให้ผู้ส่งสารเลือกกำหนดกิจกรรมการสื่อสารต่าง ๆ ได้หลากหลาย

(3)       ทำให้ผู้ส่งสารสามารถเลือกสื่อได้อย่างเหมาะสม      (4) ทำให้ผู้รับสารเข้าถึงความหมายที่แท้จริง

ตอบ 4 หน้า 14 การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) หมายถึง การที่ผู้รับสารสามารถมองเข้าไปที่สารและวิเคราะห์ได้ว่าสารนั้นถูกผลิตขึ้น ถูกใช้ และผู้ผลิตสารพยายามทำให้ ผู้รับสารเข้าใจอย่างไร ซึ่งจะมีประโยชน์ในการทำให้ผู้รับสารสามารถทราบถึงวิธีการที่จะ เข้าถึงความหมายที่แท้จริงผ่านสารที่ปรากฏออกมาได้

30.       ข้อใดเป็นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการตีความหมาย

(1) รายการเล่าข่าว      (2) การถ่ายทอดสดการชุมนุม

(3) การถ่ายทอดสด ณ สถานที่เกิดเหตุ           (4) รายการเกมโชว์

ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนำเสนอ เรื่องราวพี่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าวในลักษณะของ การเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล จากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าว ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ฯลฯ

31.       ละครโทรทัศน์เรื่อง แรงเงา ส่งผ่านค่านิยมลักษณะใด

(1) อุดมการณ์ชาตินิยม           

(2) บริโภคนิยม            

(3) สังคมนิยม 

(4) ผู้ชายเป็นใหญ่

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

32.       ข้อใดต่อนี้นี้ที่สื่อมวลชนเรียกว่า ค่านิยมอันตราย

(1)       วัยรุ่นชอบเสี่ยง            

(2) โกงก็ไม่เป็นไรขอให้มีผลงาน

(3) รักร่วมเพศ 

(4) งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

33.       ข้อใดเป็นตัวอย่างของการที่สื่อมวลชนทำหน้าที่ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม

(1)       รายการคันปาก           

(2) รายการร่วมด้วยช่วยกัน

(3) รายการก่อนบ่ายคลายเครียด       

(4) ละครเป็นต่อ

ตอบ 2 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือ การเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่านเวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน) เช่น เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่เชื่อมประสานกลุ่มคนที่มีความสนใจอย่างเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการ บางท่านเรียกบทบาทหน้าที่ด้านนี้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ของการสร้างกลุ่มสาธารณชน เช่น กลุ่มสมาชิกรายการร่วมด้วยช่วยกัน ฯลฯ

34.       ความจริงทางสังคมเกิดขึ้นจากอะไร

(1) ความจริงทางกายภาพ      (2) การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

(3) การกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม       (4) การลงมติของสมาชิกในสังคม

ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality)เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจาก สิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ เพราะ การที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

35.       การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

(1) การโน้มน้าวใจ       (2) แจ้งข่าวสาร

(3) การสร้างความเข้าใจ         (4) ให้ความบันเทิง

ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

 36.       กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลำดับขั้นตอนอย่างไร

(1)       การเขียนข้อความโฆษณา การกำหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง

(2)       การกำหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล

(3)       การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณา และนำเสนอ

(4)       การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า

ตอบ 3 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนเริ่มจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนำเสนอ แนวคิดดังกล่าวไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37.       ข้อใดหมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ ของผู้บริโภค

(1) Brand Name (2) Caption       (3) Advertising Concept   (4) Jingle

ตอบ 3 หน้า 4150, (คำบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ ของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่ คำขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

38.       “Advertising Concept” จะปรากฏอยู่ที่ใด

(1) คำบรรยายใต้ภาพ (2) คำขวัญโฆษณา

(3) ดนตรีประกอบโฆษณา      (4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39.       การพูดอภิปราย เป็นการพูดที่มีวัตถุประสงค์อะไร

(1) เพื่อความบันเทิง    (2) เพื่อโต้แย้งแสดงเหตุผล

(3) เพื่อฟ้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด         (4) เพื่อแจ้งข่าวสาร

ตอบ 3 หน้า 59 – 6066 – 67, (คำบรรยาย) การพูดอภิปราย (Discussion) ในการประชาสัมพันธ์ เป็นการพูดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด ซึ่งมีทั้งการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และเสนอทัศนะความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้ฟ้ง และการอภิปรายถามตอบปัญหา (Question-Answer Discussion) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังถาม ปัญหาที่สงสัยหรือไม่เข้าใจเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ทำให้ เกิดทัศนะหรือแนวคิดใหม่ ๆ

40.       หากเปิดให้ประชาชนมาเยี่ยมชมกิจการขององค์กรหรือสถาบัน ต้องใช้การพูดประเภทใด

(1) ประชุมชี้แจงอย่างเป็นทางการ      (2) บรรยายสรุป

(3) ประชุมโต๊ะกลม     (4) อภิปราย

ตอบ 2 หน้า 67 – 68 การประชุมบรรยายสรุป (Brief Session) เป็นการสื่อสารด้วยวาจา ในรูปแบบของการประชุม เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในสาระสำคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ กว้างขวางซับซ้อนให้แก่ผู้ฟังภายในเวลาอันจำกัด ดังนั้นจึงมักนิยมใช้เมื่อหน่วยงานเปิดให้ ประชาชนเข้าเยี่ยมชมกิจการ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เยี่ยมชม เช่น การบรรยายสรุป ของโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐให้กับคณะนักศึกษาที่มาเยี่ยมชมกิจการ ฯลฯ

41.       การบรรยายประกอบการสาธิต ควรใช้ในโอกาสใด

(1) แถลงข่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่  

(2) ประชุมพนักงาน

(3) การอภิปราย          

(4) การจัดประชุมโต๊ะกลม

ตอบ 1 หน้า 67, (คำบรรยาย) การพูดแบบสาธิต (Demonstration) เป็นการบรรยายประกอบ การสาธิต ซึ่งมักนิยมกระทำต่อเนื่องกับหลังจากเสร็จสิ้นการชี้แจงอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะใช้ในโอกาสการจัดนิทรรศการ การเปิดให้เยี่ยมชมกิจการ การแถลงข่าวเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เป็นต้น

42.       ลีลาการนำเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยัน เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด

(1)       Vignette  

(2) Presenter     

(3) Personality Symbol 

(4) Testimonial

ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนำเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นำเอาผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันถึงประสบการณ์ ที่ได้รับหลังจากการใช้สินค้า เป็นต้น

43.       ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

(1) ชี้ให้เห็นถึงประยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ    (2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม

(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก          (4) การใช้เหตุผล

ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และเขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภคโดยคำนึงถึงปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44.       การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา มุ่งสูการขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม ได้แก่ข้อใด

(1) Soft Sell        (2) Hard Sell      (3) Slice of Life  (4) Life Style

ตอบ 2 หน้า 45 น้ำเสียงที่ใช้นำเสนอสารโฆษณา มี 2 ลักษณะคือ

1.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม

2.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้างอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงหรือมุ่งเสนอขายตัวสินค้าโดยตรง แต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45.       การสร้างความรู้สึกว่าองค์กรที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่เคารพกฎหมาย เป็นการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1) เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่       (2) เพื่อให้ประชาชนยอมรับ

(3) เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด    (4) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการตลาด

ตอบ 2 หน้า 59 การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนยอมรับ คือการสร้างความรู้สึกว่าองค์กรที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์กรทีทำประโยชน์ ต่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่เคารพกฎหมาย ซึ่งประชาชนจะยอมรับ ชื่อเสียงขององค์กรในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับข่าวสารและประสบการณ์ที่ประชาชนได้รับจาก องค์กรหรือสถาบันนั้น

46.       การประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์กร รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึก แห่งการเป็นเจ้าขององค์กร/สถาบัน เป็นการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด

(1) ผู้นำความคิดเห็น   (2) ผู้ถือหุ้น      (3) ลูกค้า         (4) พนักงานภายในองค์กร

ตอบ 4 หน้า 60-61 กลุ่มเป้าหมายภายใน (Internal Public) หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง และ บุคลากรทุกระดับภายในองค์กร/สถาบัน ซึ่งการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจากการทำให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์กร/สถาบัน รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึกแห่งการเป็นเจ้าขององค์กร/สถาบัน

47.       ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาจากอะไร

(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง        (2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด

(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริงไมน่าเบื่อ  (4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง

ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก           1. เป็นบุคคลสำคัญในองค์กร

2.         เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด   3. เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการ

ตัดสินระดับความลับของเรื่องที่พูด     4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด

5.         เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ

6.         เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร

48.       การพิจารณาเนื้อหาก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลักอะไรเป็นเกณฑ์การพิจารณา

(1) Source, Message, Channel, Receiver (2) Cognitive, Affective, Behavior

(3) หลัก 7 c   (4) Attention, Interest, Desire, Action

ตอบ 3 หน้า 74 – 75, (คำบรรยาย) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบการใช้ภาษาก่อน ส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลัก 7 C ของการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย

1.         ความน่าเชื่อถือ (Credibility)    2. บริบท (Context)         3. เนื้อหาสาระ (Content)

4. ความชัดเจน (Clarity) 5. ความต่อเนื่องและความแน่นอน (Continuity & Consistency) 6. ช่องทางการสื่อสาร (Channels)        7. ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience)

49.       การเขียนบทความที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) ความเด่น ความแปลก สำนวนโวหารที่เร้าใจ         (2) ข้อมูล ข่าวสาร และความคิดเห็น

(3) ตัวผู้เขียน เรื่องที่เขียน ความน่าสนใจ        (4) มีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ

ตอบ 4 หน้า 89 การเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการที่ดี ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ 1. มีเอกภาพ คือ มุ่งสู่ประเด็นหลักของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

2.         มีสัมพันธภาพ คือ ในแต่ละประเด็นย่อยมีการเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน เพื่อโยงเข้าสู่แกนกลาง ของเรื่องได้อย่างสอดคล้องกัน 3. มีสารัตถภาพ คือ เน้นประเด็นสำคัญให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อให้ผู้รับสารเห็นไปในทิศทางที่ผู้เขียนต้องการ

50.       เมียไปขายกระทงในหมู่บ้าน ผัวหึงโหดตบตีพ่อตา ฆ่าแม่ยายน้องเมียยกครัว” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) The Who Lead (2) The What Lead (3) The Why Lead (4) The How Lead

ตอบ 3 หน้า 83, (คำบรรยาย) The Why Lead ได้แก่ ความนำแบบสรุปที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุที่เป็นเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ หรือแรงจูงใจของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน

51.       ข้องใจปมดับเดวิด ฆ่าปิดปากฝีมือองค์กรใต้ดิน” พาดหัวข่าวนี้ใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาต่างประเทศในการพาดหัวข่าว     

(2) ใช้คำชวนสงสัย

(3) ละประธานของประโยค    

(4) ใช้คำ Slang

ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจขึ้นต้นด้วย คำกริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ข้องใจปมดับเดวิด ฆ่าปิดปาก- ฝีมือองค์กรใต้ดินพลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มีเจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น ฯลฯ

52.       ปปช. รับไม้ต่อ ถอดถอน-สอบโกง” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1)       ใช้ตัวเลขในพาดหัวข่าว           

(2) ใช้สำนวนเพื่อสร้างความรู้สึก

(3) ละประธานของประโยค    

(4) ใช้คำคะนอง

ตอบ 2 หน้า 82 การใช้สำนวนเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้อ่านคล้อยตาม เช่น ปปช. รับไม้ต่อ ถอดถอน-สอบโกง (รับไม้ต่อ เป็นการใช้สำนวนในความว่า รับหน้าที่มาทำต่อ)

53.       ขี้เมาฟัดกับบางแก้ว ลามทะเลาะเจ้าของ สู้ไม่ได้ชักมีดแทงดับ หมาเห็นเจ้านายโดนทำร้ายโดดช่วยถูกแทงสาหัส” ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำประเภทใด

(1) Background Lead (2) Colorful Lead (3) Summary Lead (4) Contrast Lead

ตอบ 2 หน้า 83(คำบรรยาย) ความนำแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือ การเขียนความนำด้วยการแสวงหาถ้อยคำมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้ผู้อ่าน มองเห็นภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนว่าได้เห็นมาด้วยตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วย ชีวิตชีวา มีสีสัน มีความเคลื่อนไหว จึงมักใช้เขียนข่าวประเภท Human Interest ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ฯลฯ

54.       ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการบรรยายสดทางโทรทัศน์

(1)       อธิบายสิ่งที่ผู้ชมเห็นและเข้าใจได้จากภาพ

(2)       อ่านหรือประกาศจากเอกสารข้อมูลโดยใช้สีลาภาษาพูด

(3)       อ่านตามบทที่เรียบเรียงไว้ล่วงหน้า

(4)       บรรยายเหตุการณ์ตามภาพที่ปรากฏ

ตอบ 4 หน้า 107, (คำบรรยาย) การบรรยายสด (Live) ในขณะที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ผู้บรรยาย จะไม่อ่านจากบทที่เตรียมไว้ แต่จะบรรยายเหตุการณ์ตามภาพที่ปรากฏ หรือบรรยายข้อมูล และเรื่องราวให้สัมพันธ์กับภาพ ซึ่งผู้บรรยายจะต้องเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ ถ่ายทอดสด โดยรู้กำหนดการหรือขั้นตอนของเหตุการณ์นั้น รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบในการ แก้สถานการณ์หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นในขณะที่ทำการถ่ายทอดสด เช่น รายการถ่ายทอดสด พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฯลฯ

55.       ภาพในลักษณะ Knees Shot จะมีลักษณะเป็นอย่างไร

(1) ภาพระยะใกล้       (2) ภาพระยะปานกลางคอนข้างใกล้

(3) ภาพระยะปานกลาง          (4) ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล

ตอบ4 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพ ระยะนี้ว่า Knees Shot

56.       เสียงประกอบมีบทบาทอย่างไรในรายการโทรทัศน์

(1)       เป็นส่วนที่ไม่จำเป็น จะมีหรือไม่มีก็ได้

(2)       เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศให้สอดคล้องกับคำพูด

(3)       เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ภาพสื่อความหมายได้

(4)       เป็นสิ่งที่ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตอบ 4 หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงประกอบ (Sound Effect : SFX) ในรายการโทรทัศน์ ได้แก่ เสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงสัตว์ร้อง เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตรายการจึงควรพิถีพิถันในการบันทึกเสียง ประกอบด้วย เพื่อให้ได้เสียงประกอบที่สมบูรณ์และในระดับความดังที่พอเหมาะ โดยมิให้ ดังกลบเสียงสนทนาหรือเสียงบรรยาย

57.       หากต้องการนำเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้างโดยการหันกล้องจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2)       ดอลลี่  (3)       ซูม       (4)       ทรัค

ตอบ 1 หน้า 112 แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะแนวนอนจากขวามาซ้าย หรือซ้ายมาขวา เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น

58.       ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง

(1) Cut        (2)       Wipe         (3)       Freeze      Frame       (4)       Split Screen

ตอบ 3 หน้า 114, (คำบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

59.       ข้อใดเป็นวิธีการลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

(1) Cut        (2)       Wipe         (3)       Freeze      Frame       (4)       Split Screen

ตอบ 1 หน้า 114 การคัต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ ลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

60.       ความเข้มของแสง ทำให้เกิดสิ่งใด

(1) ความร้อน/เย็น        (2) ความนุ่มนวล/แข็งกระด้าง

(3) ความสดใส/ความสลัว       (4) ความทึบ/โปร่งแสง

ตอบ 2 หน้า115 ความเข้มของแสงคือการจัดแสงในฉากนั้นๆให้มีความมืดหรือความสว่างมากน้อย เพียงใดในฉากเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีส่วนที่สว่างมากและสว่างน้อยแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ความเข้ม ของแสงสามารถบอกเรื่องราวและอารมณ์ของเรื่องได้ และยังมีผลต่อการเกิดความนุ่มนวล หรือความแข็งกระด้างของภาพที่ปรากฏอีกด้วย

61.       ข้อใดเป็นตัวอย่างของการอ่านเพี้ยนพยัญชนะ

(1) ศาสตราจารย์ อ่านเป็น ศาสดาจารย์         

(2) สวัสดีค่ะ อ่านเป็น สวัสดีค่า

(3) น้ำ อ่านเป็น น่ำ      

(4) ได้ค่ะ อ่านเป็น ไดค่ะ

ตอบ 1 หน้า 100 ตัวอย่างการอ่านออกเสียงเพี้ยนแปร่ง มีดังนี้

1.         เพี้ยนพยัญชนะ เช่น ความ อ่านเป็น ฟามศาสตราจารย์ อ่านเป็น ศาสดาจารย์ ฯลฯ

2.         เพี้ยนสระ เช่น แจ้ง อ่านเป็น เจ้งไป อ่านเป็น ปายค่ะ อ่านเป็น ค่า ฯลฯ

3.         เพี้ยนวรรณยุกต์ เช่น ได้ อ่านเป็น ได๋น้ำ อ่านเป็น น่ำ ฯลฯ

62.       ข้อใดหมายถึงรายการที่มุ่งให้ความรู้ในรูปแบบละครผสมสารคดี

(1) Documentary 

(2) Editorial   

(3) Soap Opera 

(4) Docu-drama

ตอบ 4 หน้า 98 รายการสาระละคร (Docu-drama) คือ รายการที่มุ่งให้ความรู้และความบันเทิง ไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้รูปแบบของละครผสมกับสารคดี กล่าวคือ ส่วนที่ทำเป็นรูปแบบละคร ก็เพื่อให้เข้าใจง่าย เกิดภาพตามไปได้ชัดเจน และเกิดความเพลิดเพลิน ส่วนที่เป็นสารคดี ก็มักเป็นส่วนที่มุ่งในเชิงวิชาการ

63.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการสัมภาษณ์ ควรเขียนแบบใด

(1)       วางโครงร่างคร่าว ๆ     (2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์

(3) ประเภทสมบูรณ์    (4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 2 หน้า 105, (คำบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.         บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลำดับเนื้อหาหรือลำดับการทำงาน ไว้สำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง

2.         บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ

3.         บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกำหนดไว้ชัดเจน มักใช้กับ รายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

64.       ข้อใดเป็นแนวทางการใช้ภาษาสำหรับรายการบันเทิง

(1) เขียนประโยคสั้น ๆ แต่ละประโยคมีแนวคิดเดียว (2) ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ (3) ใช้การบรรยายให้เห็นภาพ            (4) ใช้ภาษาเหมือนการพูดคุยตามธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 103 – 104 แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับ รายการบันเทิง มีดังนี้

1.         ใช้ภาษาให้เหมือนกับการพูดคุยกันตามธรรมชาติ

2.         เลือกใช้คำให้เหมาะสมเพื่อช่วยสร้างบุคลิกของผู้แสดงด้วยคำพูด

3.         บทที่ต้องการแสดงอารมณ์ต้องวงเล็บอารมณ์เหล่านั้นกำกับไว้ด้วย

4.         ไมใช้คำศัพท์ที่ยาก หรือศัพท์วิชาการ ฯลฯ

65.       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อ่านว่าอะไร

(1)       สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี

(2)       สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ตะ-นะ-ราด-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี

(3)       สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ราด-ชะ-สุ-ดา-สะ-หยาม-บา-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี

(4)       สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด-ตะ-นะ-ราด-ชะ-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี ตอบ 1 หน้า 100, (คำบรรยาย) ใบการอ่านหรือพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้พูดต้องออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การออกเสียงภาษาไทย โดยต้องพยายามศึกษาค้นคว้า หลักภาษา และการออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี เช่น สำนักราชเลขาธิการกำหนดให้พระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-เทบ-พะ-รัด- ราด-สุ-ดา-สะ-หยาม-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-กุ-มา-รี

66.       ข้อใดคือแนวทางการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1) ใช้ภาษาเขียนที่เป็นทางการ           (2) ใช้ภาษาพูดที่เป็นทางการ

(3) ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ      (4) ใช้ภาษาสำหรับผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 104 – 105 แนวทางหรือหลักการใช้ภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้

1.         ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ พูดแล้วไม่ต้องให้คิดนาน

2.         การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายในแง่เดียว ไม่มีการขัดแย้งกันเอง

3.         ใช้ภาษาสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง อย่าใช้ภาษาที่แสดงภูมิอวดผู้ฟัง เช่น ใช้คำยาก คำแปลก ๆ

4.         ใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟ้ง

5.         ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ หรือญาติมิตรมาพูดคุยในรายการ

6.         ไม่ใช้คำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม ไม่พูดคำหยาบ และคำผวน ฯลฯ

67.       คำบรรยายสารคดีทางโทรทัศน์มีลักษณะเป็นอย่างไร

(1) เป็นการประกาศให้ทราบความเป็นไปของรายการ (2) เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (3) เป็นการอ่านเช่นเดียวกับการอ่านข่าว         (4) เป็นการพูดเพื่อการโน้มน้าวใจ

ตอบ 2 หน้า 107 คำบรรยายรายการสารคดีทางโทรทัศน์จะมีลักษณะเป็นคำบรรยายยาว ๆ เพื่อเล่า เรื่องราวที่นำเสนอ ซึ่งคำบรรยายมักจะเป็นเสียงอ่าน (Commentary) ที่ได้บันทึกเสียงไว้ล่วงหน้า (Voice Over) โดยผู้อ่านจะต้องพยายามนำเสนอตามบทโทรทัศน์ที่ได้เรียบเรียงไว้ล่วงหน้าให้ ปรากฏต่อการรับรู้ของผู้ฟังเสมือนเป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

68.       ข้อใดเป็นข้อควรปฏิบัติในการอ่านข่าวโทรทัศน์

(1) อ่านด้วยลีลาการพูด          (2) เพ่งความสนใจไปที่คำอ่านเท่านั้น

(3) นั่งตัวตรงในขณะที่อ่านข่าว           (4) ไม่ควรทำตนให้เป็นกันเองกับผู้ชม

ตอบ 1 หน้า 107, (คำบรรยาย) ผู้อ่านหรือผู้ประกาศ (Announcer) ทางโทรทัศน์ควรยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้

1.         หากเกิดความไม่แน่ใจต่อคำอ่านว่าออกเสียงอย่างไร ก็ควรเปิดพจนานุกรมดู

2.         ระลึกอยู่เสมอว่าผู้อ่านกำลัง พูด” มิใช่ อ่าน” โดยควรอ่านด้วยลีลาการพูด

ซึ่งจะช่วยให้คำอ่านเป็นธรรมชาติ        3. ทำใจให้เป็นกลาง ไม่อคติกับบุคคลในข่าว

4.         ทำตนให้เป็นกันเองกับผู้ชม รวมทั้งพยายามสบตาผู้ชมทางบ้าน (ผ่านทางกล้อง) ด้วย ไม่ใช่เพ่งความสนใจไปที่คำอ่านตามบทเท่านั้น

69.       ข้อใดเป็นภาษาหลักของรายการโทรทัศน์

(1) คำสนทนา  (2)       คำบรรยาย      (3)       คำอ่าน (4)       ภาพ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

70.       Cut เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เกี่ยวกับขั้นตอนใด

(1) การถ่ายภาพ          (2)       การลำดับภาพ (3)       การบันทึกเสียง           (4)       กำกับการแสดง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 59.       ประกอบ

ข้อ 71. – 73. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Host      (2)       Disc Jockey       (3)       Announcer       (4)       Producer

71.       ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการ

ตอบ 1 หน้า 96, (คำบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการ หรือผู้ดำเนินรายการสนทนา มีหน้าที่ กล่าวเปิดรายการ นำเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนำผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสำกัญของการสนทนา อีกครั้งหนึ่ง

72.       ข้อดหมายถึงผู้ประกาศ

ตอบ 3 หน้า 107, (คำบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชมผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐาน การศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

73.       ข้อใดหมายถึงผู้ผลิตรายการ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) Producer หมายถึง ผู้ผลิตรายการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตรายการ อำนวยการ และประสาบงานกับบุคลากรในการผลิตรายการทุกส่วนตามแผนการผลิตรายการ ที่ได้กำหนดไว้

74.       ข้อใดเป็นหลักการพูดทางวิทยุกระจายเสียง 

(1) การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายแง่เดียว

(2)       เลือกใช้คำแปลก ๆ      (3) ไม่ควรพูดตามบทเพราะไม่เป็นธรรมชาติ

(4)       ควรสร้างความเป็นกันเองด้วยการพูดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของผู้พูด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

75.       หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ควรใช้ภาพขนาดใด

(1) MLS      (2) LS (3) ELS        (4) SLS

ตอบ 3 หน้า 109, (คำบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทำรายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

76.       คำสนทนาที่มีผู้พูดเพียงคนเดียว เรียกว่าอะไร

(1) Narration     (2) Announcement   (3) Monologue (4) Dialogue

ตอบ 3 หน้า 106, (คำบรรยาย) คำสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.         Monologue คือ คำสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียว ในลักษณะที่เป็นการสื่อสาร กับผู้ชมรายการโดยตรง

2.         Dialogue คือ คำสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมักพบในรายการ สัมภาษณ์ ละคร ฯลฯ

77.       ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร

(1) Frame  (2) Image  (3) Shot     (4) Photo

ตอบ 3 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คำว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลำดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพนี้จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานำภาพแต่ละชอตนี้มาลำดับให้ถูกช่วงถูกตอน ตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลำดับเรื่องราวตามต้องการ

78.       ข้อใดหมายถึงการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลงระยะของกล้อง

(1) Zoom   (2) Dolly    (3) Boom   (4) Pan

ตอบ 2 หน้า 113, (คำบรรยาย) ดอลลี่ (Dolly) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลงระยะของกล้อง หากเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่จะทำให้ได้ภาพโตขึ้น (Dolly In) แต่ถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายจะทำให้ได้ภาพเล็กลง (Dolly Out)

79.       ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ข้อใด

(1) ผังรายการ (2) เอกสารคู่มือรายการ

(3)       บทวิทยุกระจายเสียง  (4) บัญชีรายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ

ตอบ 3 หน้า 102, (คำบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุ- กระจายเสียง โดยจะมีหน้าที่บอกลำดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริ่มต้นจบกระทั่งจบรายการ เพื่อให้รายการดำเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของรายการที่วางไว้

80.       การเขียนบทสำหรับรายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร

(1) เขียนประโยคสั้น ๆ            (2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง

(3) ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ          (4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว

ตอบ 4 หน้า 103 แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการการศึกษา เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ ฯลฯ มีดังนี้       1. เขียนให้เหมือนการพูดแบบตัวต่อตัว

2.         ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ 3. อธิบายหรือบรรยายให้เห็นภาพ 4. เขียนให้สัมพันธ์กับ ประเด็นของเรื่อง และเนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลาที่นำเสนอรายการ

81.       ข้อใดคือหลักการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1) มีข้อความที่แสดงความคิดเห็น      

(2) ใช้ภาษาปาก

(3) เลือกใช้คำแปลก ๆ เพื่อดึงดูดใจ   

(4) ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ผู้ฟังไม่ต้องคิดนาน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

82.       เมื่อมีประชาชนหรือนักศึกษามาเยี่ยมชมกิจการ ควรใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อใด

(1) การชี้แจงอย่างเป็นทางการ           

(2) การประชุมโต๊ะกลม

(3) การอภิปรายกลุ่ม   

(4) การบรรยายสรุป

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ

83.       การใช้การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการในการประชาสัมพันธ์จะได้ผลดีในกรณีใด

(1) มีการวางแผนที่ดี   

(2) พนักงานเชื่อมั่นและภักดีต่อองค์กร

(3) นักประชาสัมพันธ์มีวาทศิลป์         

(4) มีการแบ่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

ตอบ 2 หน้า 67, (คำบรรยาย) การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง ระหว่างเจ้าหน้าที่พนักงานในองค์กร หรือการทักทายกับประชาชนที่มาติดต่อ ซึ่งถือเป็นวิธี- สื่อสารที่ได้ผลดีที่สุดในการประชาสัมพันธ์ และจะได้ผลดียิ่งขึ้นในกรณีที่พนักงานมีความภักดี และเชื่อมั่นศรัทธาต่อองค์กร เพราะจะทำให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ต่อองค์กรอย่างอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลให้ประชาชนที่มาติดต่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรในที่สุด

84.       ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

(1) ใช้สำนวนโวหาร     (2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ

(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ   (4) ใช้คำหรูหราฟังไพเราะ

ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสำหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้ 1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง  2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม

3.         เรียงคำในประโยคอย่างเหมาะสม     4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ

5.         เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย      6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย

7.         เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์       8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

85.       หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด

(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ         (2) ข่าวหนัก     (3) ข่าวเบา      (4) ข่าวที่มีคุณภาพ

ตอบ2 หน้า 76 – 7779 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นำเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นำเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการและกึ่งทางการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

86.       บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นความเรียงประเภทใด

(1) ร้อยแก้ว     (2) ร้อยกรอง   (3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง   (4) สารคดี

ตอบ1 หน้า 77 – 7889 บทบรรณาธิการหรือบทนำ (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสำคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของ หนังสือพิมพ์ทั้งฉบับที่มีต่อสถานการณ์ซึ่งกำลังอยู่ในกระแสลังคม

87.       บทบรรณาธิการมีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น

(2)       เป็นการนำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ

(3)       แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม

(4)       แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88.       หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก    (2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ

(3) ใช้ภาษาปาก          (4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก

ตอบ 4 หน้า 7779 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ เสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน โดยข่าวที่นำเสนอจะมี ลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจ เรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

89.       การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์นิยมใช้รูปแบบการเขียนแบบใด

(1) Inverted Pyramid (2) Upright Pyramid (3) Combination (4) Article

ตอบ 1 หน้า 80, (คำบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้

1.         แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสำคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์

2.         แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสำคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ

3.         แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสำคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

90.       พลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มีเจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ละประธานของประโยค    (2) ตัดคำสั้น

(3) ใช้คำย่อ     (4) ใช้คำที่ชวนงสัย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

ข้อ 91. – 93. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

เห็นได้ชัดว่ากระบวบการตรวจสอบไม่ได้เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่พึงกระทำเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของ รัฐบาลเช่นกันที่จะต้องนำข้อมูลที่ได้นี้ไปสานต่อเพื่อกระชากตัวผู้ที่มีส่วนร่วมในขบวนการทุจริตคอร์รัปชั่น มาลงโทษให้ได้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติไม่ให้ย่อยยับจากการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่แทรกซึมไปในทุกวงการด้วยวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่สื่อมวลชนเองก็ควรย้อนกลับมาทบทวน บทบาทหน้าที่ของสื่อที่ดีใหม่ ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านเพียงกลุ่มเดียว

(ที่มา  คม ชัด ลึก 30 พฤศจิกายน 2555)

91.       บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด

(1) เสนอแนะ   

(2) อธิบายความ

(3) วิพากษ์วิจารณ์       

(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา

ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้

1.         ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา

2.         ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ

3.         ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

92.       บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1) ลีลาเยือกเย็น         

(2) ลีลาทางการ           

(3) ลีลาปรึกษาหารือ   

(4) ลีลากันเอง

ตอบ 2 หน้า 14889092, (คำบรรยาย) ลีลาทางการ (Formal Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ เป็นพิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคน ที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียนบทบรรณาธิการ บทความทางวิชาการ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

93.       บทความนี้เป็นบทบรรณาธิการประเภทใด

(1) ให้ข่าวสาร  (2) อธิบายความ          (3) แนะนำ       (4) เรียกร้องให้กระทำ

ตอบ 3 หน้า 91 – 92 บทบรรณาธิการประเภทเสนอแนะ (Suggest) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียน ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูก ซึ่งการเสนอแนะจะเป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้แก่ผู้อ่านและผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณา เลือกปฏิบัติ โดยอาจชี้ให้กระทำ ไม่กระทำ หรือเลือกกระทำตามแต่กรณี แต่จะไม่รุนแรงถึงกับ เรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น

 ข้อ 94. – 95. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

การยื่นถอดถอน 6 ส.ส. ฝ่ายค้านต่อประธานวุฒิสภาเป็นช่องทางหนึ่งเพราะวุฒิสภามีอำนาจ ถอดถอน ส.ส. แต่เนื่องจากเรื่องนี้เป็นการขอให้ถอดถอนในข้อหาฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ น่าจะเป็นอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญมากกว่า เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเด็ดขาดที่จะวินิจฉัยว่าอะไรขัดต่อรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญที่สุดจะต้องยึดหลักเสรีภาพในการพูดตามรัฐธรรมนูญ

(ที่มา  ไทยรัฐ 1 ธันวาคม 2555)

94.       ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด

(1) ให้ข่าวสาร  (2) อธิบายความ          (3) แนะนำ       (4) เรียกร้องให้กระทำ

ตอบ 1 หน้า 91 บทบรรณาธิการประเภทให้ข่าวสารและคำอธิบาย (Inform and Interpret) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนต้องการให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านในเรื่องที่เป็นข่าว หรือเป็น เรื่องที่สัมพันธ์กับข่าวซึ่งมีแง่มุมซับซ้อนเข้าใจยาก โดยจะมุ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับอธิบายลำดับและชี้ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์เท่านั้น แต่ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะให้ผู้อ่านเกิดปฏิกิริยาหรือกระตุ้นความคิดแต่อย่างใด

95.       บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด

(1) อธิบายความ          (2) วิพากษ์วิจารณ์       (3) วิเคราะห์    (4) ให้คำแนะนำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

96.       ยอดรถกระบะคุณภาพอันดับ 1 ของคนไทย ไฮลักซ์ วีโก้” เป็นข้อความพาดหัวประเภทใด

(1) พาดหัวข่าว            (2) กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ

(3) ให้คำแนะนำ          (4) ชวนให้สนใจใคร่รู้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

ข้อ 97. – 98. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

ใคร ๆ ก็ชอบทักแป้งว่า ผิวสวยใสดูมีออร่า กระจ่างใส ดูอ่อนกว่าวัยสุด ๆ เคล็ดลับการดูแลผิวของแป้ง ก็คือ กลูต้า-เอ็กซ์นี่แหละค่ะ แป้งทานมานานแล้ว ประทับใจมาก ยิ่งช่วงก่อนวันงานมีเรื่องต้องเตรียมตัวมากมาย กลูต้า-เอ็กซ์เป็นผู้ช่วยดูแลผิวพรรณที่ง่าย ปลอดภัย และเห็นผลดีที่สุดค่ะ

97.       ข้อความข้างต้นใช้ลีลาการโฆษณาแบบใด

(1) Life Style       (2) Fantasy         (3) Presenter     (4) Testimonial

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

98.       ข้อความข้างต้นใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) Direct-selling News (2) Dialogue (3) Monologue (4) Humor

ตอบ 3 หน้า 49 การใช้บทพูดหรือบทสนทนา เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาในลักษณะบทพูดซึ่งอาจเป็นบทพูดของคนคนเดียว (Monologue) ที่พูดถึงความรู้สึกของเขาต่อสินค้าหรือบริการ หรือเป็นบทสนทนา (Dialogue) ระหว่างคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่สนทนากันเกี่ยวกับความรู้สึก และประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงมักใช้กับลีลาการโฆษณาแบบการอ้างพยาน (ดูคำอธิบายข้อ 42. และ 76. ประกอบ)

99.       วิถีการดำเนินชีวิต เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด

(1) กายภาพ    (2) วัฒนธรรม  (3) เวลา           (4) จิตวิทยาสังคม

ตอบ 2 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ คำนิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจาก คนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้อง พูดกับคนแปลกหน้า แต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่ พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

100.    ลำดับวิวัฒนาการของภาษาเป็นไปตามข้อใด

(1) ภาษาลีลา ภาษาท่าทาง ภาษาพูด (2) ภาษาพูด ภาษาท่าทาง ภาษาเขียน

(3) ภาษาลีลา ภาษาพูด ภาษาเขียน   (4) ภาษาท่าทาง ภาษาพูด ภาษาเขียน

ตอบ 4 หน้า 18 – 19 ภาษาของมนุษย์มีประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน โดยประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์มีลำดับวิวัฒนาการของภาษาตามลำดับขั้นตอน คือ ภาษาท่าทาง ภาษาพูด และภาษาเขียน

Advertisement