การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS2106 (MCS2160) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. ที่กล่าวว่า ภาษาเป็นเครื่องมือของกาวสื่อสาร” หมายความว่าอย่างไร

(1) ภาษาเป็นสื่อ

(2)       ภาษาเป็นช่องทางการสื่อสาร  

(3) ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย 

(4) ภาษาเป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร

ตอบ 3 หน้า 113 ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย ทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารหรือส่งความหมาย ที่อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายรับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน ดังนั้นการศึกษาเรื่องภาษากับการสื่อสารจึงเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจถึงความสำคัญ ในแง่ที่ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร และทำหน้าที่ในการสื่อความหมายเป็นหลัก

2.         การชี้แจงของรัฐบาลเกี่ยวกับกรณี 7 คนไทยในกัมพูชา เป็นการสื่อสารภายใต้บริบทใด

(1) จิตวิทยาสังคม 

(2) กายภาพ          

(3) วัฒนธรรม  

(4) เวลา

ตอบ 1 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การสื่อสารหรือให้สัมภาษณ์ระหว่าง นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งบางครั้งเป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่าย และเกมทางการเมือง เป็นต้น

3.         เกมการเมือง” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด

(1) จิตวิทยาสังคม       

(2) กายภาพ    

(3) วัฒนธรรม  

(4) เวลา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

4.         การปราศรัยของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมที่สะพานมัฆวาน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นการสื่อสารประเภทใด  

(1) การสื่อสารสาธารณะ

(2) การสื่อสารมวลชน (3) การสื่อสารในองค์การ        (4) การสื่อสารระหว่างสถาบัน

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) เป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้รับพังจำนวนมากเพื่อให้ข่าวสาร โน้มน้าวใจ และให้ความบันเทิง โดยผู้ส่งสารและ ผู้รับสารสามารถเห็นหน้าซึ่งกันและกันได้ แต่ไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบกันได้โดยตรง ในทันทีทันใด เช่น การพูดในที่ประชุมขนาดใหญ่การแสดงคอนเสิร์ตการพูดในที่ชุมชนการปราศรัยหาเสียงทางการเมืองการจัด

อภิปรายหรือสัมมนา ฯลฯ

5.         การติดป้ายประชาสัมพันธ์การบรรยายธรรม “Format ชีวิต Delete อารมณ์” ที่หน้าลิฟต์ตึก VPB เป็นการสื่อสารประเภทใด

(1) การสื่อสารกลุ่มเล็ก

(2) การสื่อสารสาธารณะ         (3) การสื่อสารในองค์กร          (4) การสื่อสารระหว่างบุคคล

ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารในองค์กร (Organization Communication) คือการสื่อสารกันภายในกลุ่มที่เป็นทางการเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อมูลข่าวสาร และโน้มน้าวใจ ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่การอบรมข้าราชการใหม่การติดป้ายประชาสัมพันธ์ หรือประกาศในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

6.         การที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะทำความเข้าใจความหมายที่สื่อสารกันได้ถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอะไร

(1)       ผู้ส่งสาร/ผู้รับสาร         (2) ช่องทางการสื่อสาร

(3)       การเข้ารหัส/การถอดรหัส        (4) สิ่งรบกวน/การสื่อสารกลับ

บ 3 หน้า 4-5, (คำบรรยาย) การเข้ารหัส ( Encoding) คือ การที่แหล่งสารหรือผู้ส่งสารทำให้ ความหมายอยู่ในรูปของสัญญาณ/สัญลักษณ์ที่ผู้รับสารสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัส ส่วนการถอดรหัส (Decoding) คือ การที่ผู้รับสารแปลหรือตีความสัญญาณ/สัญลักษณ์ให้ เป็นความหมายตามการรับรู้ของผู้รับสาร ดังนั้นการที่ผู้สงสารแสะผู้รับสารจะทำความเข้าใจ ความหมายที่สื่อสารกันได้ถูกต้อง จึงขึ้นอยู่กับการเข้ารหัสและการถอดรหัส

7.         การขาดทักษะทางภาษา เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด

(1)       Mechanical Noise   (2) Environmental Noise

(3) Semantic Noise   (4) Physical Noise

ตอบ 3 หน้า 6 อุปสรรคด้านภาษา (Semantic Noise) หมายถึง อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดจากการแปล ความหมายของคำและประโยคซึ่งต้องผ่านการตีความหมาย แต่บางครั้งการใช้คำหรือประโยค ไม่ถูกต้องทำให้การเข้าใจความหมายผิดพลาดหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่ต้องการจะสื่อ โดยมัก จะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนต่างกลุ่ม ต่างท้องถิ่น ขาดทักษะทางภาษา จึงให้ความหมายต่อคำ วลี หรือประโยคใดประโยคหนึ่งแตกต่างกัน

8.         ข้อใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึงในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

(1)       ความรวดเร็วและทันสมัยของสื่อ         (2) รูปแบบการสื่อสาร

(3) วิธีการนำเสนอ       (4) ความเข้าใจของผู้รับสาร

ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร คือ จะใช้ภาษาอย่างไร ให้สื่อความหมายได้ตรงกับเจตนาของผู้ส่งสาร ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งสารที่ นอกจากจะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเรื่องราวที่จะสื่อสารแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ ต้องใช้ภาษาให้เหมาะกับความพร้อมและความสามารถในกรเข้าใจความหมายของผู้รับสาร พื่อให้สารที่ส่งไปนั้นเกิดความหมายได้ตรงกับสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ

9.         พริตตี้สาวสวยที่ยืนอยู่ข้างรถยนต์ที่นำมาแสดงในงานมอเตอร์โชว์ เป็นบริบทการสื่อสารข้อใด

(1)       วัฒนธรรม        (2) กายภาพ    (3) จิตวิทยาสังคม       (4) เวลา

ตอบ 2 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อม แสง สี เสียง ที่มองเห็นได้นขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น เช่น สภาพแวดล้อม ในห้องเรียน หอประชุม หรือในงานมอเตอร์โชว์ ฯลฯ ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหาและ รูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร

10.       การที่นักศึกษาพูดคุยกันระหว่างที่อาจารย์บรรยาย เป็นการทำให้เกิดอุปสรรคการสื่อสารข้อใด

(1)       Semantic Noise        (2) Mechanical Noise

(3) Environmental Noise  (4) Ambiguous Noise

ตอบ 3 หน้า 6 อุปสรรคทางด้านสภาพแวดล้อม (Environmental Noise) หมายถึง แหล่งที่มาของเสียง ที่เกิดขึ้นนอกกระบวนการสื่อสาร แต่เข้ามาแทรกทำให้กระบวนการสื่อสารนั้นขัดข้อง ไม่ชัดเจน หรืออาจเป็นสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ทำให้การสื่อสารไม่ราบรื่น เช่น การสนทนาในสถานที่ ที่มีเสียงอึกทึกการรายงานข่าวเหตุการณ์จากสถานที่เกิดเหตุที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายการฟังการบรรยายในห้องเรียนที่มีอากาศร้อนจัดและมีเสียงดัง เป็นต้น

11.       ข้อใดไมใช่องค์ประกอบของการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารมวลชน

(1)       บริบทของการสื่อสาร 

(2) การสื่อสารกลับ       

(3) การเข้ารหัส            

(4) ผู้ส่งสาร

ตอบ 3 หน้า 25 – 26, (คำบรรยาย) ลักษณะของการสื่อสารมวลชนพิจารณาได้จากองค์ประกอบของการสื่อสารดังนี้            

1. ผู้ส่งสาร (Sender) มีลักษณะเป็นสถาบัน

2.         สาร (Message) ต้องเป็นเรื่องสาธารณะ (Public)

3.         ช่องทางการสื่อสาร (Channel) ต้องเป็นสื่อมวลชน (Mass Media)

4.         ผู้รับสาร (Receiver) เป็นมวลชน (Masses) หรือผู้รับชมรับฟัง (Audience)

5.         การสื่อสารกลับ (Feedback) ไม่เกิดขึ้นทันทีในขณะที่สื่อสาร (No Feedback) จึงมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว (One Way Process)

6.         บริบท (Context) ของการสื่อสาร โดยเฉพาะบริบททางสังคมมีอิทธิพลต่อการสื่อสา

12.       ใครเป็นคนแรกที่คิดค้นระบบการพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนได้

(1)       มาร์โคนี           

(2) เฮิรตซ์        

(3) กูเต็นเบิร์ก 

(4) หมอบรัดเลย์

ตอบ 3 หน้า 22, (คำบรรยาย) โยฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมนี เป็นผู้คิดค้น และพัฒนาระบบการพิมพ์แบบกด (Printing Press) หรือระบบเล็ตเตอร์เพรส (Letter Press) ที่ใช้ แม่พิมพ์ทำด้วยโลหะแบบถอดเปลี่ยนได้ (Movable Type) นอกจากนี้เขายังได้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล เมื่อปี ค.ศ. 1453 หลังจากนั้นระบบการพิมพ์แบบใหม่นี้ก็แพรหลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

13.       ข้อใดไมใช่ลักษณะของการสื่อสารมวลชน

(1)       ผู้ส่งสารเป็นปัจเจกชน 

(2) ช่องทางการสื่อสารต้องเป็นสื่อมวลชน

(3) สารต้องเป็นเรื่องสาธารณะ           

(4) ต้องคำนึงถึงบริบท

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

14. การที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ใส่ราษฎรไทย เป็นการทำหน้าที่ข้อใด

(1)       การตีความ     (2) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม

(3) ส่งผ่านค่านิยม       (4) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม

ตอบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสอดส่องดูแลความเป็นไป

ในสังคม (Surveillance) คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

15.       ผู้ส่งสารที่ดีต้องคำนึงถึงข้อใดมากที่สุด         

(1)       เทคโนโลยีการสื่อสาร

(2)       ความสามารถของผู้ส่งสาร          (3)   ความสามารถของผู้รับสาร      (4)       สภาวะแวดล้อมทางสังคม

ตอบ 3 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้  1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์

ที่ชัดเจนในการสื่อสาร 2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อส

3. ต้องเข้าใจหรือคำนึงถึงความสามารถและความต้องการของผู้รับสาร

16.       กายภาษา หมายถึงข้อใด       (1) การเคลื่อนไหวร่างกาย

(2)       ภาษากาย        (3)       เสื้อผ้า หน้า ผม            (4)       ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ

ตอบ 3 หน้า 15, (คำบรรยาย) ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจากลักษณะ หรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่าง การแต่งกาย เครื่องประดับ หรือเสื้อผ้า หน้า ผม ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้

17.       Communicative Competence หมายถึงอะไร

(1)       ปฏิกิริยาที่มีต่อการสื่อสาร       (2) บริบทของการสื่อสาร

(3)       องค์ประกอบของการสื่อสาร   (4) ความรู้ที่มีต่อมิติทางสังคมของการสื่อสาร

ตอบ 4 หน้า 7 Communicative Competence หมายถึง ความรู้ที่บุคคลนั้นมีต่อมิติทางสังคมของ การสื่อสาร ซึ่งเป็นความเข้าใจถึงความสำคัญและอิทธิพลของบริบทที่มีต่อเนื้อหาและรูปแบบของสาร

18.       ประสิทธิผลของการสื่อสารขึ้นอยู่กับอะไร

(1)       สภาพสังคม     (2) เทคโนโลยีการสื่อสาร

(3)       ลักษณะทางวัฒนธรรม           (4) ความรวดเร็วของการสื่อสาร

ตอบ 3 หน้า 38, (คำบรรยาย) ประสิทธิผลของการสื่อสาร คือ การที่ผู้รับสารเข้าใจความหมายตรงกับสิ่งที่ ผู้ส่งสารต้องการ ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับขอบเขตแห่งประสบการณ์ของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับ ลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละวัฒนธรรมด้วย เพราะสิ่งที่แสดงถึงประสิทธิผลของการสื่อสาร ในวัฒนธรรมหนึ่งอาจแสดงถึงความไร้ประสิทธิผลของการสื่อสารในอีกวัฒนธรรมหนึ่งก็เป็นได้

19.       ชนชาติใดที่พัฒนาภาษาเขียนซึ่งใช้อักษรเป็นสัญลักษณ์แทนเสียง

(1)       ชาวจีน (2) ชาวอียิปต์  (3) ชาวฟีนีเชียน          (4) ชาวสุเมเรียน

ตอบ 3 หน้า 19 ชาวฟีนีเชียน (The Phoenicians) เป็นนักค้าขายทางทะเล ถือเป็นชนชาติแรกที่ พัฒนาระบบภาษาเขียนที่มีพื้นฐานมาจากเสียง ซึ่งจะใช้กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า พยัญชนะ (Alphabet) เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงและนำเสียงมารวมกันขึ้นเป็นคำ โดยภาษาที่พวกเขา ประดิษฐ์ขึ้นได้แพร่หลายอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนมาถึงประเทศกรีซ ที่ซึ่งมีการ พัฒนาพยัญชนะพื้นฐาน 24 ตัวอักษรขึ้น

20.       ชนชาติใดที่พัฒนากระดาษขึ้นใช้เป็นชาติแรก

(1)       ชาวจีน (2)       ชาวอียิปต์        (3)       ชาวฟีนีเชียน    (4) ชาวสุเมเรียน

ตอบ 1 หน้า 1921 – 22 จีนเป็นชนชาติแรกที่คิดประดิษฐ์กระดาษขึ้นใช้เมื่อราว ค.ศ. 100และเป็นผู้พัฒนาการพิมพ์แบบบล็อกขึ้นเป็นชาติแรก ซึ่งงานพิมพ์แบบบล็อกที่เก่าแกที่สุด และยังมีหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ คือ หนังสือที่พิมพ์ขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 868 นอกจากนี้จีนยังได้คิดค้นระบบการพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ ที่ทำจากดินเผาและไม้สำหรับตัวอักษรแต่ละตัวอีกด้วย

21.       ชนชาติใดที่พัฒนาการพิมพ์แบบบล็อกขึ้นเป็นชาติแรก

(1)       ชาวจีน 

(2)       ชาวอียิปต์        

(3)       ชาวเกาหลี       

(4) ชาวเยอรมัน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

22.       หนังสือพิมพ์ที่เกิดจากระบบการพิมพ์เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงใด

(1) ต้นศตวรรษที่ 15    

(2) ต้นศตวรรษที่ 16    

(3) ต้นศตวรรษที่ 17    

(4) ต้นศตวรรษที่ 18

ตอบ 3 หน้า 24 หนังสือพิมพ์ที่เกิดจากระบบการพิมพ์เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป ประมาณช่วงต้น ศตวรรษที่ 17 ซึ่งหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นเน้นสาระเกี่ยวกับข่าวต่างประเทศ แต่ไมนานก็หันมา เน้นข่าวสารภายในประเทศ โดยบางครั้งมีการนำเสนอเรื่องราวที่เป็นการตรวจสอบการทำงาน ของรัฐบาลหรือผู้ปกครอง ดังนั้นฝ่ายการเมืองและรัฐบาลจึงพยายามที่จะควบคุมและตรวจสอบ การทำงานของหนังสือพิมพ์ จนทำให้เกิดการประกาศปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอิสระของ สื่อมวลชนจากการควบคุมโดยรัฐบาล

23.       เหตุการณ์ใดทำให้เกิดการประกาศปฏิญญาว่าด้วยความอิสระของสื่อมวลชนจากการควบคุมโดยรัฐบาล

(1)       การตีพิมพ์หนังสือในศตวรรษที่ 16

(2)       การที่หนังสือพิมพ์ในยุโรปตรวจสอบการทำงานของฝ่ายปกครอง

(3)       การที่หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกานำสนอข่าวการประกาศอิสรภาพ

(4)       การที่หนังสือพิมพ์เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

24.       ผู้ผลิตรายการในยุคปัจจุบัน มองผู้รับสารในฐานะอะไร

(1)       เจ้านาย            (2) มวลชน       (3) ตลาด         (4) ปัจเจกชน

ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ธีโอดอร์ อดอร์โน (Theodor Adorno) กล่าวไว้ว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ วัฒนธรรมถูกทำให้เป็นสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพลงหรืองานวรรณกรรมก็เริ่มถูกนำเสนอ ด้วกระบวนการทางการตลาดมากขึ้น ทำให้แนวโน้มที่รายการต่าง ๆ จะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ให้แคบลงกว่ามวลชนคนรับสารทั่วไปก็มีมากขึ้น เพราะผู้ผลิตหรือเจ้าของรายการทางสื่อมวลชน มองผู้รับสารในฐานะตลาด (Market)

25.       หน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างว่าอะไร

(1)       Transformation        (2) Globalization       (3) Socialization        (4) Transmission

ตอบ 3 หน้า 28, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่นำปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนำเสนอ ค่านิยมต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม และจากการที่ประชาชนได้ดู ฟัง และอ่านก็ทำให้ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน เช่น ละครโทรทัศน์เรื่อง มงกุฎดอกส้ม ที่นำเสนอเนื้อหาภายใต้ค่านิยมที่ว่าผู้ชายเป็นใหญ่ หรือค่า

นิยมอันตรายที่ว่า โกงก็ไม่เป็นไรขอให้มีผลงาน ฯลฯ

26.       ใหม่ สูตรดีที่สุดของซันซิล” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ   (2) พาดหัวข่าว

(3) เป็นคำสั่ง   (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 2 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบพาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

27.       ใช้ซิตร้าทั่วเรือนร่าง เพื่อผิวดูกระจ่างใสทุกมุมมอง” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ   (2) พาดหัวข่าว

(3) เป็นคำสั่ง   (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 1 หน้า 47 การกล่าวเน้นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) เป็นการพาดหัวโฆษณา ที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งการพาดหัวโฆษณาวิธีนี้ จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ใน

ความสนใจ ของผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเขียนพาดหัวโฆษณาแบบนี้คือ ข้อเสนอนั้น ควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้

28.       อยากสดใส อยากดูดี… นี่แหละผู้หญิง” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1)       เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ        (2) พาดหัวข่าว

(3) เป็นคำสั่ง   (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 4 หน้า 47 การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Prospect Selection) เป็นการพาดหัวโฆษณาโดยสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจว่าข้อความนั้นเจาะจงไปที่คนกลุ่มใด จึงมีการใช้ถ้อยคำที่ทำให้ กลุ่มเป้าหมายทราบได้ทันทีว่าข้อความนั้นเจาะจงที่จะสื่อสารกับตนเองโดยตรง ไม่ใช่การสื่อสารกับ ผู้อ่านทั่ว ๆ ไป เช่น แอร์โร่สัญลักษณ์ของเอกบุรุษอยากสดใส อยากดูดี… นี่แหละผู้หญิง ฯลฯ

29.       การวิเคราะห์วาทกรรมมีประโยชน์อย่างไร     

(1) ทำให้ผู้รับสารเข้าใจกิจกรรมการพูด

(2)       ทำให้ผู้ส่งสารเลือกกำหนดกิจกรรมการสื่อสารต่าง ๆ ได้หลากหลาย

(3)       ทำให้ผู้ส่งสารสามารถเลือกสื่อได้อย่างเหมาะสม      (4) ทำให้ผู้รับสารเข้าถึงความหมายที่แท้จริง

ตอบ 4 หน้า 14 การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) หมายถึง การที่ผู้รับสารสามารถมองเข้าไปที่สารและวิเคราะห์ได้ว่าสารนั้นถูกผลิตขึ้น ถูกใช้ และผู้ผลิตสารพยายามทำให้ ผู้รับสารเข้าใจอย่างไร ซึ่งจะมีประโยชน์ในการทำให้ผู้รับสารสามารถทราบถึงวิธีการที่จะ เข้าถึงความหมายที่แท้จริงผ่านสารที่ปรากฏออกมาได้

30.       ข้อใดเป็นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการตีความหมาย    

(1) รายการเล่าข่าว

(2)       การถ่ายทอดสดการชุมนุม       (3) การถ่ายทอดสด ณ สถานที่เกิดเหตุ           (4) รายการเกมโชว์

ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการตีความหมาย (Interpretation)คือ การนำเสนอเรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการ ของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าว ในลักษณะของการเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ฯลฯ

31.       ละครโทรทัศน์เรื่อง มงกุฎดอกส้ม ส่งผ่านค่านิยมลักษณะใด

(1)       อุดมการณ์ชาตินิยม    

(2) บริโภคนิยม            

(3) สังคมนิยม 

(4) ผู้ชายเป็นใหญ่

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

32.       ข้อใดต่อไปนี้ที่สื่อมวลชนเรียกว่า ค่านิยมอันตราย”         

(1) วัยรุ่นชอบเสี่ยง

(2)       โกงก็ไม่เป็นไรขอให้มีผลงาน  

(3) รักร่วมเพศ 

(4) งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

33.       ข้อใดเป็นตัวอย่างของการที่สื่อมวลชนทำหน้าที่ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม

(1) รายการคันปาก

(2)       รายการร่วมด้วยช่วยกัน           

(3) รายการก่อนบ่ายคลายเครียด       

(4) ละครเป็นต่อ

ตอบ 2 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือการเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่าน เวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน) เช่น เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญ ที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่เชื่อมประสานกลุ่มคนที่มี ความสนใจอย่างเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางท่านเรียกบทบาทหน้าที่ด้านนี้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ ของการสร้างกลุ่มสาธารณชน เช่น กลุ่มสมาชิกร่วมด้วยช่วยกัน ฯลฯ

34.       ความจริงทางสังคมเกิดขึ้นจากอะไร

(1) ความจริงทางกายภาพ      (2) การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

(3)       การกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม (4) การลงมติของสมาชิกในสังคม

ตอน 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality)เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม หรือโลกที่เกิดจากการรับรู้ของแต่ละคน เกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งแม้ว่าคน 2 คนจะอยู่ในโลกกายภาพเดียวกัน แต่การรับรู้ หรือเข้าใจความจริงต่อโลกนั้นอาจมีลักษณะแตกต่างกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการได้รับการกลอมเกลา ทางสังคมของแต่ละคนนั่นเอง

35.       การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

(1) การโน้มน้าวใจ       (2) แจ้งข่าวสาร           (3) การสร้างความเข้าใจ         (4) ให้ควมบันเทิง

ตอบ 1 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior)ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

36.       กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้ามีลำดับขั้นตอนอย่างไร

(1)       การเขียนข้อความโฆษณา การกำหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง

(2)       การกำหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล

(3)       การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณา และนำเสนอ

(4)       การวิเคราะห์จุดเด่นของสินค้า การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า

ตอบ 3 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนเริ่มจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อควมโฆษณา และนำเสนอ แนวคิดดังกล่าวไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37.       ข้อใดหมายถึงข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อ ตรึงความสนใจของผู้บริโภค

(1) Brand Name         (2) Caption        (3) Advertising Concept (4) Jingle

ตอบ 3 หน้า 4150, (คำบรรยาย) แนวคิดหลักเกี่ยวกับการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ ของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์ เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่ คำขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

38.       “Advertising Concept” จะปรากฏอยู่ที่ใด

(1) คำบรรยายใต้ภาพ (2) คำขวัญโฆษณา

(3)       ดนตรีประกอบโฆษณา            (4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39.       การพูดอภิปราย เป็นการพูดที่มีวัตถุประสงค์อะไร

(1) เพื่อความบันเทิง    (2) เพื่อโต้แย้งแสดงเหตุผล

(3)       เพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด   (4) เพื่อแจ้งข่าวสาร

ตอบ 3 หน้า 59 – 6066 – 67, (คำบรรยาย) การพูดอภิปราย (Discussion) เป็นการพูดที่มีวัตถุปรค์เพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด ซึ่งมีทั้งการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ที่จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และเสนอทัศนะความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้ฟัง และการอกิปราย ถามตอบปัญหา (Question-Answer Discussion) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามปัญหาที่สงสัย หรือไม่เข้าใจทำให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น

40.       หากเปิดให้ประชาชนมาเยี่ยมชมกิจการขององค์กรหรือสถาบัน ต้องใช้การพูดประเภทใด

(1)       ประชุมชี้แจงอย่างเป็นทางการ           (2) บรรยายสรุป (3) ประชุมโต๊ะกลม  (4) อภิปราย

ตอบ 2 หน้า 67 – 68 การประชุมบรรยายสรุป (Brief Session) เป็นการสื่อสารด้วยวาจ

ในรูปแบบของการประชุม เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจในสาระสำคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ กว้างขวางซับซ้อนให้แกผู้ฟังภายในเวลาอันจำกัด ดังนั้นจึงมักนิยมใช้เมื่อหน่วยงานจัดให้ ประชาชนเข้าเยี่ยมชมกิจการ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ผู้เยี่ยมชม เช่น การบรยายสรุป ของโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฯลฯ

41.       การบรรยายประกอบการสาธิต ควรใช้ในโอกาสใด  

(1) แถลงข่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่

(2)       ประชุมพนักงาน         

(3) การอภิปราย          

(4) การจัดประชุมโต๊ะกลม

ตอบ 1 หน้า 67, (คำบรรยาย) การพูดแบบสาธิต (Demonstration) เป็นการบรรยายประกอบการสาธิตซึ่งมักนิยมกระทำต่อเนื่องกันหลังจากเสร็จสิ้นการชี้แจงอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะใช้ในโอกาส การจัดนิทรรศการ การเปิดให้เยี่ยมชมกิจการ การแถลงข่าวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เป็นต้น

42.       ลีลาการนำเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้มากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด

(1) Vignette       

(2) Presenter     

(3) Personality Symbol 

(4) Testimonial

ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนำเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น การโฆษณาชองธนาคารไทยพาณิชย์ที่นำเอาลูกค้าที่มาใช้บริการของธนาคารมากล่าวยืนยัน ถึงประสบการณ์และความประทับใจที่ได้รับ เป็นต้น

43.       ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ    

(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม

(3)       สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก   

(4) การใช้เหตุผล

ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และเขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคำนึงถึงปัจจัย ทางค้านจิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44.       การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา ม่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม ได้แก่ข้อใด

(1) Soft Sell        (2) Hard Sell      (3) Slice of Life  (4) Lifestyle

ตอบ 2 หน้า 45 น้ำเสียงที่ใช้ในการนำเสนอสารโฆษณา มี 2 ลักษณะคือ 1. น้ำเสียงที่มุ่งขยสินค้า อย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขยสินค้า อย่างไม่อ้อมค้อม 2. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาที่ เน้นการสร้างอารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้าโดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรง อีกทั้งเน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

45.       การสร้างความรู้สึกว่าองค์กรที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่เคารพกฎหมาย เป็นการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1)       เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่            (2) เพื่อให้ประชาชนยอมรับ

(3)       เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด          (4) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการตลาด

ตอบ 2 หน้า 59 การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนยอมรับ คือการสร้างความรู้สึกว่าองค์กรที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ ต่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่เคารพกฎหมาย ซึ่งประชาชนจะยอมรับ ชื่อเสียงขององค์กรในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับข่าวสารและประสบการณที่ประชาชนได้รับจาก องค์กรหรือสถาบันนั้น

46.       การประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์กร รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึก แห่งการเป็นเจ้าขององค์กร/สถาบัน เป็นการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด

(1)       ผู้นำความคิดเห็น         (2) ผู้ถือหุ้น      (3) ลูกค้า         (4) พนักงานภายในองค์กร

ตอบ 4 หน้า 60 – 61 กลุ่มเป้าหมายภายใน (Internal Public) หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง และ บุคลากรทุกระดับภายในองค์กร/สถาบัน ซึ่งการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจากการทำให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์กร/สถาบัน รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึกแห่งการเป็นเจ้าขององค์กร/สถาบัน

47.       ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาจากอะไร

(1) รูปร่าง หน้าตา        (2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด

(3)       สนุกสนานร่าเริงไม่น่าเบื่อ        (4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง

ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก           1. เป็นบุคคลสำคัญในองค์การ   2.     เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด  3. เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการตัดสินระดับความลับของเรื่องที่พูด      4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด        5.      เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาท่าทางเป็นธรรมชาติ        6.       เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร

48.       การพิจารณาเนื้อหาก่อนส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลักอะไรเป็นเกณฑ์การพิจารณา

(1) Source, Message, Channel, Receiver (2) Cognitive, Affective, Behavior

(3) Credibility, Context, Content, Clarity, Continuity & Consistency, Channels,

Capability of Audience   (4) Attention, Interest, Desire, Action

ตอบ 3 หน้า 74 – 75, (คำบรรยาย) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหาและตรวจสอบการใช้ภาษาก่อน ส่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ต้องใช้หลัก 7ของการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย

1.         ความน่าเชื่อถือ (Credibility)     2. บริบท (Context)

3.         เนื้อหาสาระ (Content)    4. ความชัดเจน (Clarity)

5.         ความต่อเนื่องและความแน่นอน (Continuity & Consistency)

6.         ช่องทางการสื่อสาร (Channels)

7.         ความสามารถของผู้รับสาร (Capability of Audience)

49.       การเขียนบทความที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) ความเด่น ความแปลก สำนวนโวหารที่เร้าใจ         (2) ข้อมูล ข่าวสาร และความคิดเห็น

(3) ตัวผู้เขียน เรื่องที่เขียน ความน่าสนใจ        (4) มีเอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ

ตอบ 4 หน้า 89 การเขียนบทความหรือบทบรรณาธิการที่ดีต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ

1.         มีเอกภาพ คือ มุ่งสู่ประเด็นหลักของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

2.         มีสัมพันธภาพ คือ ในแต่ละประเด็นย่อยมีการเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน เพื่อโยงเข้าสู่แกนกลางของเรื่องได้อย่างสอดคล้องกัน   3. มีสารัตถภาพ คือ เน้นประเด็นสำคัญให้เห็นอย่งเด่นชัดเพื่อให้ผู้รับสารเห็นไปในทิศทางที่ผู้เขียนต้องการ

50.       สืบเนื่องจากกรณีนายสุทิน นพเกตุ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อเดือน เม.ย. 2550 ให้เพิกถอน กสม. 8 คน ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ใช้ระบบพวกพ้อง และละเมิดสิทธิมนุษยชน” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Background Lead (2) Colorful Lead (3) Punch Lead      (4) Contrast Lead

ตอบ 1 หน้า 84 ความนำแบบให้ภูมิหลัง (Background Lead) คือ การเขียนความนำข่าวที่เหมาะสำหรับ เหตุการณ์ที่เป็นความคืบหน้าของเหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวไปแล้ว เพื่อให้ผู้อ่านที่มิได้ติดตามข่าว ก่อนหน้านั้นได้ทราบภูมิหลังของข่าวก่อนที่จะรายงานความคืบหน้าต่อไป

51.       ข้องใจปมดับเดวิด ฆ่าปิดปากฝีมือองค์กรใต้ดิน” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาต่างประเทศในการพาดหัวข่าว     

(2) ใช้คำชวนสงสัย

(3) ละประธานของประโยค    

(4) ใช้คำ Slang

ตรม 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจขึ้นต้นด้วยคำกริยา เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น หักดิบไทยลีก ส.บอลจัดเอง,ข้องใจปมดับเดวิด ฆ่าปิดปากฝีมือองค์กรใต้ดิน ฯลฯ

52.       เฒ่า 62 รักคุดบ้าเลือด ฉุดสาว 16 ปาดคอแล้วฆ่าตัว” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ตัวเลขในการพาดหัวข่าว           

(2) ใช้คำ Vivid

(3) ละประธานของประโยค    

(4) ใช้คำ Slang

ตอบ 4 หน้า 82, (คำบรรยาย) การใช้คำสแลง (Slang) หรือคำภาษาตลาดในการเขียนพาดหัวข่าว ซึ่งมักเป็นถ้อยคำและสำนวนที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภษาที่ ยอมรับกันว่าถูกต้อง เช่น  กิ๊ก เฒ่าหัวงู รักคุด สวยเริ่ด แอ๊บแบ๊ว ฯลฯ

53.       นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวให้สัมภาษณ์ ก่อนประชุม ครม. ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวลือว่าอาจมีการทำปฏิวัติ” ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) The Who Lead (2) The What Lead (3) The Why Lead (4) The How Lead

ตอบ 1 หน้า 83 ความนำแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้

1.         The Who Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์กร หรือสถาบันที่เป็นข่าว

2.         The What Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น

3.         The Where Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ

4.         The When Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ

5.         The Why Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ

6.         The How Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่งเหตุการณ์ ที่เป็นข่าว

54.       เยาวชนบ้านกรุณาแย่งยาเส้นสูบ ยกพวกตะลุมบอนกันโกลาหลกลายเป็นจลาจลย่อม ๆ บาดเจ็บ หัวร้างข้างแตกกว่า 100 คน ลำเลียงส่งรักษาหลายโรงพยาบาล ชนวนเหตุลูกพี่ใหญ่ของ 2 ก๊ก ไม่พอใจเรื่องการแบ่งยาเส้นไมลงตัว ฉวยโอกาสหลังกินข้าวปาถาดหลุมเข้าใส่กันอุตลุดจนเกิดเหลุ อลเวง ต้องระดมกำลังตำรวจกว่า 200 นาย เข้าระงับเหตุ” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Background Lead (2) Colorful Lead (3) Summary Lead (4) Contrast Lead

ตอบ 2 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือการเขียนความนำด้วยการแสวงหาถ้อยคำมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพี่อทำให้ผู้อ่านมองเห็น ภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนว่าได้เห็นมาด้วยตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีสีสัน มีความเคลื่อนไหว จึงมักใช้เขียนข่าวประเภท Human Interest ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ฯลฯ

55.       การเขียนบทสำหรับรายการข่าวทางวิทยุกระจายเสียงมีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร

(1)       เขียนประโยคสั้น ๆ      (2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง

(3) ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ          (4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว

ตอบ 1 หน้า 103, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงประเภทรายการข่าว มีดังนี้

1.         เขียนประโยคสั้น ๆ แต่ละประโยคมีแนวคิดเดียว        2. ไมเขียนคำย่อ

3.         การยกคำพูดผู้อื่นมากล่าวอ้างต้องเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยอ้างถึงคำพูดของแหล่งข่าว

แต่เปลี่ยนคำสรรพนามเป็นบุรุษที่ 3    4. ศัพท์เฉพาะหรือคำอ่านยากต้องวงเล็บคำอ่านไว้

5. กรณีที่เป็นตัวเลขจำนวนมากต้องเขียนด้วยตัวหนังสือ

56.       บริบทของการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ต้องมีลักษณะอย่างไร

(1)       ภูมิฐาน โอ่อ่า   (2) ส่งเสริมเนื้อหาที่นำเสนอ

(3) สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง           (4) สบาย ๆ ไม่เป็นทางการ

ตอบ 2 หน้า 74 บริบท (Context) หมายถึง สภาพแวดส้อมในการสื่อสาร ซึ่งบริบทของการสื่อสาร- ประชาสัมพันธ์ต้องเป็นบริบทที่ส่งเสริมและไมขัดแย้งกับเนื้อหาที่นำเสนอ เพราะการสื่อสาร- ประชาสัมพันธ์จะสัมฤทธิผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดส้อมทางสังคมที่สนับสนุนด้วย

57.       ปัจจัยอะไรบ้างที่เที่ยวข้องกับความสามารถของผู้รับสาร

(1)       ความสนใจ ความพึงพอใจ ความต้องการ ทักษะการสื่อสาร

(2)       การรับรู้ การเรียนรู้ ความต้องการ ความพึงพอใจ

(3)       ความสะดวกในการรับ นิสัยการรับสื่อ ความสามารถในการอ่าน ความรู้

(4)       ถิ่นที่อยู่ เชื้อชาติ อายุ ระดับการศึกษา

ตอบ 3 หน้า 75 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของผู้รับสาร มีดังนี้

1.         ความสะดวกในการรับ (Availability)    2. นิสัยการรับสื่อ (Habits)

3. ความสามารถในการอ่าน (Reading Ability) 4. ระดับความรู้ของผู้รับสาร (Knowledge)

58.       ข้อใดเป็นหลักการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์

(1)       ให้ความสำคัญกับตัวผู้พูดเป็นหลัก

(2)       ความสำเร็จของการพูดขึ้นอยู่กับวาทศิลป์ของผู้พูด

(3)       สามารถปรับวัตถุประสงค์ได้ตามความต้องการของผู้ฟัง

(4)       มุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก

ตอบ 3 หน้า 64 – 65, (คำบรรยาย) หลักการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ประการหนึ่ง คือ ผู้พูดต้อง ปรบวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้พัง และสถานการณ์ที่ เกี่ยวข้อง โดยนักประชาสัมพันธ์ควรรู้ว่าจะพูดเรื่องใดในโอกาสใด อีกทั้งต้องเข้าใจความรู้สึก และความพร้อมของผู้ฟังด้วย

59.       ผู้ส่งสารจะรักษาความแน่นอนของเนื้อหาได้อย่างไร

(1)       การใช้ภาษาหลากหลาย         (2) เสนอเนื้อหาหลาย ๆ ประเด็น

(3) เสนอเรื่องราวที่ซับซ้อน      (4) ไม่เบี่ยงเบนไปจากแนวทางที่กำหนดไว้

ตอบ 4 หน้า 74 การสื่อสารประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง (Continuity) ซึ่งบางครั้งต้องมีการเน้นย้ำเพื่อให้ผู้รับสารได้รับทั้งข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็น นอกจากนี้ผู้ส่งสารยังจำเป็นต้องรักษาความแน่นอน (Consistency) ของเนื้อหาไม่ให้เบี่ยงเบน ไปจากแนวทางที่กำหนดไว้

60.       Variety หมายถึงรายการประเภทใด

(1) ข่าว            (2) สารคดี       (3) เกมโชว์      (4) บันเทิง

ตอบ 4 หน้า 98 รายการปกิณกะ (Variety) คือ รายการที่มุ่งเน้นความบันเทิงหลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ รูปแบบ ในทำนองเรื่องเบ็ดเตล็ด เบาสมอง ฟังแล้วไม่ต้องคิดอะไรมาก เกิดความสบายใจ ซึ่งบางคนเรียกรายการลักษณะนี้ว่าปกิณกะบันเทิง

61.       บทวิทยุกระจายเสียงมีประโยชน์อย่างไร

(1) ทำให้รายการน่าเชื่อถือ      

(2) ทำให้รายการมีการใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ

(3) ช่วยให้ผู้พูดพูดในประเด็น 

(4) ทำให้รายการนั้นนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง

ตอบ 3 หน้า 105 ประโยชน์ของบทวิทยุกระจายเสียง คือ ช่วยให้ผู้พูดพูดในประเด็นที่ต้องการ ไมพูดจาสับสนวกวน ดังนั้นแม้ว่าผู้ดำเนินรายการจะเป็นผู้มีความชำนาญเพียงใดก็ควรมี การเตรียมบทพูดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นบทคร่าว ๆ (Run-down Sheet) บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) หรือบทสมบูรณ์ (Complete Script) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของรายการ

62.       ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการบรรยายสดทางโทรทัศน์

(1) อธิบายสิ่งที่ผู้ชมเห็นและเข้าใจได้จากภาพ           

(2) อ่านตามบทที่เตรียมไว้โดยใช้ลีลาภาษาพูด

(3) บรรยายให้เกิดภาพพจน์    

(4) บรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่ปรากฏ

ตอบ 4 หน้า 107, (คำบรรยาย) การบรรยายสด (Live) ในขณะที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ผู้บรรยายจะไมอ่านจากบทที่เตรียมไว้ แต่จะบรรยายตามเหตุการณ์ที่ปรากฏในภาพ หรือบรรยายข้อมูล และเรื่องราวให้สัมพันธ์กับภาพที่ปรากฏ ซึ่งผู้บรรยายจะต้องเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ที่ถ่ายทอดสด โดยรู้กำหนดการหรือขั้นตอนของเหตุการณ์นั้น รวมทั้งใช้ปฏิภาณไหวพริบในการ แก้สถานการณ์หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นในขณะที่ทำการถ่ายทอด เช่น รายการถ่ายทอดสด พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฯลฯ

63.       Fill Light หมายถึงอะไร

(1) แสงไฟหลัก            (2) แสงไฟที่เติมเข้าไปในฉากเพื่อเพิ่มความสว่าง

(3) แสงไฟที่ใช้ลบเงา  (4) แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง

ตอบ3 หน้า 115 แสงประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ จะต้องประกอบด้วยไฟมาตรฐาน อย่างน้อย 3 ดวง ได้แก่   1. แสงไฟหลัก (Key Light)

2.         แสงไฟลบเงา (Fill Light)  3. แสงไฟส่องที่ฉากหลัง (Back Light)

64.      ฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอนมักใช้เทคนิคใด

(1) Freeze Frame (2) Superimpose    (3) Split Screen (4) Fast Motion

ตอบ 1 หน้า 114, (คำบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

65.       ในรายการโทรทัศน์ อวัจนภาษาข้อใดที่บ่งบอกถึงความสงบ การฉุกคิด

(1) เสียงดนตรี (2)       เสียงประกอบ  (3)       แสง     (4) ความเงียบ

ตอบ 4 หน้า 116 – 117 ในบางครั้งรายการโทรทัศน์จะใช้ความเงียบ (Silence) ซึ่งเป็นอวัจนภาษา เพื่อสะกดอารมณ์หรือปลุกเร้าความสนใจของผู้ชมให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ปรากฏบนจอภาพ โดยมักนิยมใช้กับเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้ชมช่วยลุ้น และเรื่องราวที่ต้องการบ่งบอกถึงความสงบ หรือการฉุกคิด

66.       ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการ

(1) Producer      (2)       Director   (3)       Host (4)       Announcer

ตอบ 3 หน้า 96, (คำบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการ หรือผู้ดำเนินรายการสนทนา

(ส่วนคำว่า “Producer” หมายถึง ผู้ผลิตรายการ, “Director” หมายถึง ผู้กำกับรายการ, “Announcer” หมายถึง ผู้ประกาศ)

67.       หากต้องการนำเสนอภาพมุมต่ำ ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2)       ดอลลี่  (3)       ทิลท์     (4) ทรัค

ตอบ 3 หน้า 112 ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกด้องโดยการเงยหรือก้มกล้องในลักษณะ แนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ำได้มากขึ้น

68.       การถ่ายทำสารคดีท่องเที่ยวหากถ่ายภาพภูเขา ควรใช้ภาพลักษณะใด

(1)       Extreme Close Up    (2) Close up Shot

(3) Medium Shot       (4) Extreme Long Shot

ตอบ 4 หน้า 109, (คำบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทำรายการสารคดีทองเที่ยว เป็นต้น

69.       ภาพ Knees Shot เรียกอีกอย่างว่าอะไร

(1) Close Up

(2)       Medium Shot (3) Medium Long Shot      (4) Long Shot

ตอบ 3 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่ายในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพมากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพระยะนี้ว่า Knees Shot

70.       ไล่กันสนั่นเมืองมหาชัยเหมือนในหนังฮอลลีวูด หนุ่มมีประวัติพร้อมพวกนัดคู่กรณีมาเจรจาปัญหา

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำประเภทใด   

(1) Background Lead

(2)       Colorful Lead   (3) Summary Lead    (4) Contrast Lead

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

71.       บทความต่อไปนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นระดับใด

ถ้ารัฐบาลปัจจุบันไม่สามารถฟื้นฟูหรือสร้างคุณภาพชีวิตให้ประชาชนรอดพ้นจากสารพิษหรือความเสื่อม อย่าหวังว่านักการเมืองและนายทุนธุรกิจจะมีใจช่วยเหลือเอื้ออาทรในบรรยากาศทุนนิยมได้

(1) ให้ข้อมูล     

(2) อธิบายความ          

(3) วิพากษ์วิจารณ์       

(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา

ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) วัตตุประสงค์ของการแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้

1.         ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา

2.         ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไมเห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ

3.         ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้รับผิดชอบ จึงเป็นการเขียนเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

72.       ในระหว่างนี้กระทรวงศึกษาธิการควรจะมีคำอธิบายให้กับผู้ที่สอบรอบแรกไม่ได้ว่าจะต้องทำอย่างไร และที่สำคัญก็คือ การสร้างความรับรู้กับนักเรียนที่สอบไม่ติดว่าความสำเร็จในชีวิตไมได้ขึ้นกับการเอ็นทรานซ์ติดสถาบันดัง ๆ” เป็นส่วนลงท้ายของบทบรรณาธิการประเภทใด

(1) ให้ข่าวสาร  

(2) อธิบายความ          

(3)       สนับสนุน         

(4)       ให้ข้อเสนอแนะ

ตอบ 4 หน้า 91 – 93, (คำบรรยาย) บทบรรณาธิการประเภทให้ข้อเสนอแนะ (Suggest) เป็น บทบรรณาธิการที่ผู้เขียนได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูก ซึ่งเป้าหมายของบทบรรณาธิการประเภทนี้อาจจะไม่รุนแรงถึงกับ เรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น แต่เป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้แกผู้อ่านและผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาเลือกปฏิบัติ (วิธีดูว่าบทบรรณาธิการเป็นประเภทไหน ดูได้จากส่วนลงท้ายหรือส่วนสรุปของบทบรรณาธิการนั้น ๆ)

73.       หากต้องการสื่อความหมายถึงความเป็นการเป็นงานควรใช้สีใดเป็นหลัก

(1) สีดำ           

(2) สีน้ำเงิน      

(3)       สีเขียว  

(4)       สีน้ำตาล

ตอบ 2 หน้า 53 สี (Color) สามารถสร้างผลกระทบทางด้านอารมณ์ได้ดังนี้

1.         สีน้ำเงิน หมายถึง ความเศร้า ความเยือกเย็น ความจริง ความบริสุทธิ์ ความเป็นการเป็นงาน

2.         สีเหลือง หมายถึง ความร่าเริง ฤดูใบไม้ผลิ ความไม่ซื่อสัตย์ แสงสว่าง ความเบิกบาน สดใส

3.         สีดำ หมายถึง ความลึกลับ ความตาย ความหนัก ความหรูหรา .

4.         สีเขียว หมายถึง ความสงบ ชุ่มชื้น ฤดูใบไม้ผลิ วัยหนุ่มสาว ธรรมชาติ

5.         สีแดง หมายถึง ความโกรธ ความรัก ความร้อนแรงทันสมัย ความตื่นเต้น

6.         สีขาว หมายถึง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความไม่มีมลทิน ความมีคุณธรรม ความดี ฯลฯ

74.       ชุดราตรีสีดำ สื่อความหมายถึงอะไร

(1) ความเศร้า  (2) อารมณ์หดหู่           (3) ความหรูหรา           (4) ความเคร่งขรึม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75.       เรื่องที่กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หยิบยกขึ้นมาเขียนบทบรรณาธิการ ได้แก่เรื่องราวประเภทใด

(1) เรื่องที่กองบรรณาธิการต้องการชี้นำสังคม            (2) เรื่องที่ผู้สนับสนุนโฆษณาเสนอแนะ

(3)       เรื่องที่อยู่ในกระแสข่าว            (4) เรื่องที่กองบรรณาธิการต้องการกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจ

ตอบ 3 หน้า 92 หัวข้อเรื่องที่กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หยิบยกขึ้นมาเขียนเป็นบทบรรณาธิการ ได้แก่ 1. เรื่องราวที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์       2. เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกระแสขาวในช่วงนั้น

76.       การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร      

(1) เป็นกันเอง

(2)       ภาษาปาก       (3) กึ่งทางการ (4) มีแบบแผนเป็นทางการ

ตอบ 4 หน้า 88 การเขียนบทความและบทวิเคราะห์ในหนังสือพิมพ์มีแนวทางการใช้ภาษาดังนี้

1.         เขียนอย่างมีแบบแผนเป็นทางการ เพื่อให้ความคิดเห็นนั้น ๆ มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

2.         เขียนแบบมีลีลาเฉพาะตัว ดังเช่นนักเขียนคอลัมน์หรือที่เรียกกันว่าคอลัมนิสต์ ซึ่งมีการใช้สำนวนภาษาคมคาย            3. เขียนในลักษณะทีเล่นทีจริง เพื่อมิให้การวิพากษ์วิจารณ์แรงเกินไป

77.       การเขียนบทความระดับใดที่เขียนยากที่สุด  

(1) อธิบายความ

(2)       วิพากษ์วิจารณ์            (3) แสดงความคิดเห็น (4) เสนอทางแก้ปัญหา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

78.       ผู้เขียนควรยึดหลักการเขียนอย่างไรเพื่อให้ข้อเขียนนั้นมีสัมพันธภาพ

(1)       มุ่งประเด็นหลักของเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ

(2)       มีการเชื่อมร้อยแต่ละประเด็นย่อยเข้าด้วยกัน

(3)       มีการเน้นประเด็นสำคัญให้เห็นเด่นชัดในแต่ละย่อหน้า

(4)       ไม่เขียนออกนอกเรื่อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

79.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการสัมภาษณ์ ควรเขียนแบบใด  

(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ

(2)       ประเภทกึ่งสมบูรณ์     (3) ประเภทสมบูรณ์    (4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 2 หน้า 105, (คำบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.         บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลำดับเนื้อหาหรือ ลำดับการทำงานไว้สำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง

2.         บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ

3.         บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกำหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ)

80.       Ad-lib หมายถึงอะไร         

(1) การพูดตามบท

(2)       การพูดโดยไม่มีบท     (3) การอ่านออกเสียง  (4) การประกาศ

ตอบ 2 หน้า 9699, (คำบรรยาย) Ad-lib หมายถึง การพูดโดยไม่มีบท หรือการพูดสดออกอากาศ โดยไม่มีสคริปต์ เป็นการพูดปากเปล่าโดยที่ผู้พูดไมมีการตระเตรียมมาก่อน เพียงแต่กำหนด ประเด็นที่จะพูดไว้ในแต่ละครั้งเท่านั้น ซึ่งมีข้อดีคือ ให้ความเป็นธรรมชาติมากกว่าการอ่านแต่บท เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่มักใช้ในรายการเพลงและรายการสนทนา

81.       ข้อใดคือแนวทางการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1) ใช้ภาษาเขียนที่เป็นทางการ           

(2) ใช้ภาษาพูดที่เป็นทางการ

(3)       ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ           

(4) ใช้ภาษาสำหรับผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม

ตอบ 3 หน้า 104 – 105 หลักการใช้ภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้    1. ใช้ประโยคสั้น ๆง่าย ๆ พูดแล้วไม่ต้องให้คิดนาน        2. การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายในแง่เดียว3.  ใช้ภาษาสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง อย่าใช้ภาษาที่แสดงภูมิอวดผู้ฟัง เช่น ใช้คำยาก คำแปลก ๆ 4.         ใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง 5. ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ หรือญาติมิตรมาพูดคุยในรายการ      6. ไม่ใช้คำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม ไมพูดคำหยาบ และคำผวน ฯลฯ

82.       ข้อใดเป็นข้อควรปฏิบัติในการอ่านข่าวโทรทัศน์

(1) อ่านด้วยลีลาการพูด          

(2) เพ่งความสนใจไปที่คำอ่านเท่านั้น

(3)       นั่งตัวตรงในขณะที่อ่านข่าว    

(4) ไม่ควรทำตนให้เป็นกันเองกับผู้ชม

ตอบ 1 หน้า 107, (คำบรรยาย) ผู้อ่านหรือผู้ประกาศ (Announcer) ทางโทรทัศน์ควรยึดหลักปฏิบัติ ดังนี้       1. หากเกิดความไม่แน่ใจต่อคำอ่านว่าออกเสียงอย่างไร ก็ควรเปิดพจนานุกรมดู 2. ระลึกอยู่เสมอว่าผู้อ่านกำลัง พูด” มิใช่ อ่านโดยควรอ่านด้วยลีลาการพูด ซึ่งจะช่วยให้คำอ่านเป็นธรรมชาติ  3. ทำใจให้เป็นกลาง ไม่อคติกับบุคคลในข่าว   4.            ทำตนให้เป็นกันเองกับผู้ชม รวมทั้งพยายามสบตาผู้ชมทางบ้าน (ผ่านทางกล้อง) ด้วย ไมใช่เพ่งความสนใจไปที่คำอ่านตามบทเท่านั้น

83.       ข้อใดเป็นภาษาหลักของรายการโทรทัศน์

(1) คำสนทนา  

(2) คำบรรยาย 

(3) คำอ่าน       

(4) ภาพ

ตอบ 4 หน้า 106108117 ภาพ (Image) ถือเป็น (อวัจน) ภาษาหลักที่สำคัญในการสื่อความหมาย ของรายการทางวิทยุโทรทัศน์ ส่วนคำบรรยายเป็น (วัจน) ภาษารองที่ช่วยเสริมความเข้าใจให้ผู้ชม เมื่อดูภาพอย่างเดียวแล้วไม่สามารถเข้าใจได้ รวมถึงอวัจนภาษาประเภทดนตรี แสง สี เสียง ขนาด มุมกล้องก็เป็นเพียงตัวช่วยเสริมเพื่อสื่อเรื่องราวในภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

84.       Cut เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เกี่ยวกับขั้นตอนใด

(1)       การถ่ายภาพ   (2)       การลำดับภาพ (3)       การบันทึกเสียง           (4)       กำกับการแสดง

ตอบ 2 หน้า 114 การคัต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอน การลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

85.       ข้อใดเป็นหลักการพูดทางวิทยุกระจายเสียง 

(1) การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายแง่เดียว

(2)       เลือกใช้คำแปลก ๆ      (3) ไม่ควรพูดตามบทเพราะไม่เป็นธรรมชาติ

(4)       ควรสร้างความเป็นกันเองด้วยการพูดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของผู้พูด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

86.       หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ควรใช้ภาพขนาดใด

(1) MLS      (2)       LS     (3)       ELS   (4)       SLS

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

87.       คำสนทนาที่มีผู้พูดเพียงคนเดียวเรียกว่าอะไร

(1) Narration     (2)       Announcement        (3) Monologue (4)       Dialogue

ตอบ 3 หน้า 106, (คำบรรยาย) คำสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. Monologue คือ คำสนทนาที่ป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียว ในลักษณะที่เป็นการสื่อสารกับผู้ชมรายการ โดยตรง       2. Dialogue คือ คำสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปซึ่งมักพบในรายการสัมภาษณ์ ละคร ฯลฯ

ตั้งแต่ข้อ 88. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Interviewer  (2) Interviewee (3) Announcer  (4) Producer

88.       ข้อใดหมายถึงผู้ดำเนินรายการสัมภาษณ์

ตอบ 1 หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่ายโดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซักถามหรือผู้ดำเนินรายการสัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งเรื่องที่สัมภาษณ์หรือซักถามมักเป็นปัญหาที่อยู่ใน ความสนใจของคนในสังคม

89.       ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศ

ตอบ 3 ดูดำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

90.       ข้อใดหมายถึงผู้ผลิตรายการ

ตอบ 4 ดูดำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

91.       หากใช้เทคนิคโครมาคีย์ ห้ามผู้แสดงแต่งกายสีอะไร

(1)       เหลือง  

(2) เขียว          

(3) แดง            

(4) ฟ้า

ตอบ 4 หน้า 114, (ดำบรรยาย) โครมาคีย์ (Chroma Key) คือ เทคนิคการซ้อนภาพกับฉากหลัง โดยใช้กล้อง 2 กล้อง กล้องหนึ่งจับภาพบุคคลหรือวัตถุที่อยู่หน้าฉากหลังที่เป็นสีฟ้า (แต่บุคคล หรือวัตถุห้ามเป็นสีฟ้า) ส่วนอีกกล้องหนึ่งจับภาพฉากหลังอีกฉากหนึ่ง (ภาพกราฟิก) จากนั้น ลบฉากหลังสีฟ้าของภาพบุคคลหรือวัตถุออก แล้วผสมภาพซ้อนกับฉากหลังที่เป็นภาพกราฟิก ซึ่งภาพที่ปรากฏจะมีความคมชัดและแนบเนียน เช่น การอ่านข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ ฯลฯ

92.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงรายการบันเทิง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ประโยคสั้น ๆ

(2)       ใช้ศัพท์วิชาการ ศัพท์เทคนิค   

(3) ใช้ภาษาให้เกิดภาพพจน์   

(4) เร้าอารมณ์ สร้างความรู้สึก

ตอบ 4 หน้า 103 – 104, (คำบรรยาย) เทคนิคการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงประเภทรายการบันเทิง มีดังนี้

1.         ใช้ภาษาให้เหมือนกับการพูดคุยตามธรรมชาติ โดยจินตนาการว่ากำลังพูดกับผู้ฟังตัวต่อตัว

2.         เลือกใช้คำให้เหมาะสม เพื่อช่วยสร้างบุคลิกผู้แสดงด้วยคำพูด

3.         บทที่ต้องการแสดงอารมณ์ ต้องวงเล็บอารมณ์เหล่านั้นกำกับไว้ด้วย

4.         บทจะต้องเร้าอารมณ์ผู้ฟัง สร้างภาพ สร้างความรู้สึก ด้วยการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม

5.         ไม่ใช้คำศัพท์ที่ยาก หรือศัพท์วิชาการ

6.         ใช้เสียงดนตรีและเสียงประกอบช่วยเพื่อสร้างอารมณ์ตามเนื้อเรื่อง

93.       ลักษณะภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียงเป็นอย่างไร 

(1) ภาษาทางการ

(2) ภาษาพรรณนาโวหาร         

(3) สุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง         

(4) แสดงถึงภูมิความรู้ของผู้พูด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

94.       บทวิทยุกระจายเสียงมีประโยชน์อย่างไร

(1)       ทำให้รายการนั้นมีน้ำเสียงเป็นทางการมากขึ้น

(2)       ทำให้รู้ว่ามีฝ่ายใดเกี่ยวข้องกับการผลิตรายการบ้าง

(3)       เป็นแผนงานการผลิตรายการที่ต้องใช้ประกอบการติดต่อเช่าเวลาจากทางสถานี

(4)       ช่วยให้ผู้พูดพูดในประเด็นที่ต้องการ ไม่สับสนวกวน

ตอบ 4 ดูดำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

95.      รายการเพลงมักใช้บทวิทยุกระจายเสียงแบบใด

(1) Run-down Sheet (2) Semi Script (3) Fully Script   (4) Complete Script

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

96. การพูดกับผู้รับสารที่เป็นกลุ่มคนวัยชรา ควรเน้นเรื่องได

(1) ความรัก     (2) การเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

(3)       เรื่องแปลกชวนพิศวง   (4) เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย

ตอบ 4 หน้า 84 ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มคนวัยชราจะมีประสบการณ์สูง มีความคิดอนุรักษนิยม มีความระมัดระวังสูง ยึดถือการปฏิบัติ และยึดติดกับความเชื่อเดิม ๆ ทำให้โอกาสที่จะ ถูกชักจูงใจมีน้อย ดังนั้นการพูดกับคนวัยนี้จึงควรพูดเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน การรักษาพยาบาล สวัสดิภาพของครอบครัว และเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ

97.       คำย่อ SFX หมายถึงอะไร

(1) เสียงดนตรี (2) เสียงประกอบ        (3) ผู้ประกาศ  (4) ความเงียบ

ตอบ 2 หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงประกอบ (Sound Effect/SFX) ในรายการโทรทัศน์ ได้แก่ เสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงสัตว์ร้อง เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตรายการจึงควรพิถีพิถันในการบันทึกเสียง ประกอบด้วย เพื่อให้ได้เสียงประกอบที่สมบูรณ์และในระดับความดังที่พอเหมาะ โดยมิให้ ดังกลบเสียงสนทนาหรือเสียงบรรยาย

98.       ข้อใดเป็นแนวทางปฏิบัติในการสัมภาษณ์สดทางโทรทัศน์

(1) ผู้สัมภาษณ์ควรจดจ่ออยู่กับคำถามข้อต่อไป         (2) ผู้สัมภาษณ์ควรเตรียมคำถามทุกคำถามไว้ล่วงหน้า

(3)       ผู้สัมภาษณ์ควศึกษาข้อมูลก่อนการสัมภาษณ์          (4) ผู้สัมภาษณ์ควรปล่อยให้ผู้ให้สัมภาษณ์พูดฝ่ายเดียว

ตอบ 3 (คำบรรยาย) แนวทางปฏิบัติในการสัมภาษณ์สดทางโทรทัศน์ประการหนึ่ง คือ ผู้สัมภาษณ์ ควรศึกษาข้อมูลก่อนการสัมภาษณ์ โดยควรศึกษาภูมิหลังของบุคคลที่จะไปสัมภาษณ์ล่วงหน้า ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรศึกษาภูมิหลังรายละเอียดของเรื่องราวที่ตั้งใจจะไปสัมภาษณ์ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน

99.       คำอ่าน (Announcement) ปรากฏในรายการประเภทใด

(1) ข่าว            (2)       เกมโชว์            (3) สารคดี       (4)       วาไรตี้

ตอบ 1 หน้า 107, (คำบรรยาย) คำอ่าน (Announcement) หมายถึง ข้อเขียนที่มีผู้ทำหน้าที่อ่าน หรือประกาศด้วยลีลาภาษาพูด ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประาศต้องเข้าใจในข้อความที่เขียน รวมถึง สามารถตีความและอ่านเว้นจังหวะวรรคตอนได้ถูกต้อง จึงจะทำให้ข่าวสารที่อ่านถ่ายทอด ไปยังผู้ชมมีประสิทธิภาพ เช่น รายการข่าว พยากรณ์อากาศ ประกาศต่าง ๆ ฯลฯ

100.    การอ่านข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ใช้เทคนิคอะไร

(1) ซุปเปอร์อิมโพส      (2)       สปลิตสกรีน     (3) โครมาคีย์   (4)       ดิสโซล์ฟ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

Advertisement