การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวบวิชา MCS 2106 (MC 216) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         มนุษย์ใช้อะไรเป็นสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิด

(1)       ท่าทาง 

(2) ร่างกาย      

(3) วัตถุสิ่งของ            

(4) ภาษาพูด

ตอบ 4 หน้า 1 การสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องใช้ภาษา เพราะภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย เป็นสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิดของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาเรื่องภาษาเพื่อการสื่อสาร จึงเป็นการทำความเข้าใจถึงความสำคัญของภาษาในแง่ที่เป็นเครื่องมือของการสื่อสาร และ การทำหน้าที่ของภาษาในการสื่อความหมายเป็นหลัก

2.         ข้อดถูกต้องที่สุด

(1)       การสื่อสารทำให้มนุษย์มาอยู่รวมกัน   

(2) ภาษาเป็นเครื่องมือการสื่อสาร

(3) ภาษาหมายถึงคำพูดและถ้อยคำ  

(4) ภาษาและความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         การทำให้สารเป็นความหมาย ต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารข้อใด

(1)       ช่องทางการสื่อสาร      

(2) ผู้ส่งสาร    

(3) การถอดรหัส          

(4) การเข้ารหัส

ตอบ 3 หน้า 4-5 กระบวนการถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสารให้เป็น ความหมายสำหรับผู้รับสาร เช่น การที่นักศึกษาฟังและคิดตามเพื่อพยายามทำความเข้าใจ สิ่งที่อาจารย์กำลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ

4.         เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ทำหน้าที่ใดในกระบวนการสื่อสาร

(1)       แหล่งสาร        (2) เข้ารหัส      (3) ช่องทางการสื่อสาร            (4) ถอดรหัส

ตอบ 2 หน้า 4, (คำบรรยาย) กระบวนการเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปลความคิดของตนให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส(Senses) เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อนำสารมาสู่ผู้รับสาร เช่น การที่ผู้พูดเข้ารหัสเป็นคำพูดในการ สื่อสารแบบเผชิญหน้า ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้เข้ารหัสได้ เช่น เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ

5.         การสื่อสารประเภทใดที่เป็นการสื่อสารทางเดียว       

(1) การประชาสัมพันธ์

(2)       การสื่อสารในองค์การ (3) การสื่อสารสาธารณะ         (4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 4 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้ 1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะ

เป็นสถาบัน     2. เนื้อหาของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)

3. ผู้รับสารเป็นมวลชน หรือผู้รับชมรับฟังจำนวนมากที่เป็นใครก็ได้    4. กระบวบการ

สื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว       5. ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม

6.         ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

6.         ข้อใดหมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์

(1)       Environmental Noise       (2) Communication Context

(3)       Communicative Competence (4) Communication Content

ตอบ 2 หน้า 710 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อม ที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่

1.         มิติทางกายภาพ 2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา

7.         คำว่า “Communication” มีรากศัพท์มาจากคำว่าอะไร

(1)       Communist      (2) Community (3) Common      (4) Municate

ตอบ 3 หน้า 2 คำว่า การสื่อสาร (Communication) มีรากศัพท์มาจากคำว่า Common ซึ่งหมายถึง ร่วมกัน เหมือนกัน

8.         บริบททางจิตวิทยาสังคม เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

(1) อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม      (2) ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติส่วนบุคคล

(3) สถานภาพ ตำแหน่งหน้าที่ (4) กระแสแฟชั่น วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน

ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมทีทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

9.         เกมการเมือง” เป็นบริบทของการสื่อสารมิติใด

(1) กายภาพ    (2) จิตวิทยาสังคม       (3) วัฒนธรรม  (4) เวลา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

10.       หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง เป็นการสื่อสารประเภทใด

(1) การสื่อสารสาธารณะ         (2) การสื่อสารมวลชน

(3) การสื่อสารในองค์กร          (4) การสื่อสารระหว่างบุคคล

ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารในองค์กร (Organization Communication) คือการสื่อสารกันภายในกลุ่มที่เป็นทางการเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อมูลข่าวสาร และโน้มน้าวใจ ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่การอบรมข้าราชการใหม่การออกหนังสือพิมพ์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประกาศ หรือเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

11.       รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย เป็นอวัจนภาษาข้อใด

(1) วัตถุภาษา  

(2) อาการภาษา          

(3) ปริภาษา    

(4) กายภาษา

ตอบ 4 หน้า 15, (คำบรรยาย) ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจากลักษณะ หรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่าง การแต่งกาย เครื่องประดับ หรือเสือผ้า หน้า ผม ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้

12.       สถานที่ ช่องว่าง ระยะห่าง เป็นอวัจนภาษาข้อใด

(1) กายภาษา  

(2) วัตถุภาษา  

(3) ปริภาษา    

(4) เทศภาษา

ตอบ 4 หน้า 16 ช่องว่างหรือระยะห่าง (เทศภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาเรื่องช่องว่างและระยะห่าง ของคู่สนทนา เช่น ระยะห่างระหว่างหญิงกับหญิงและหญิงกับชายย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้รวมถึงเทศภาษาที่เกิดจากความเคารพในสถานที่แต่ละแห่งด้วย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ที่บุคคลให้ความสำคัญมากกว่าสถานที่ธรรมดา

13.       ก่อนยุคการพิมพ์ ภาษาทางการที่ใช้ในภาคพื้นยุโรปเป็นภาษาใด

(1)       อังกฤษ            

(2) ฝรั่งเศส      

(3) เยอรมัน      

(4) ละติน

ตอบ 4 หน้า 22 ก่อนยุคการพิมพ์นั้น ในภาคพื้นยุโรปมีการคัดลอกหนังสือด้วยการใช้ภาษาทางการ คือ ภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาของโบสถ์คาทอลิก แต่เมื่อมีระบบการพิมพ์เกิดขึ้น ผู้พิมพ์ยุคเริ่มแรก ตระหนักว่าตลาดของหนังสือมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความรู้สึกผูกพันกับบ้านมากกว่าโบสถ์ จึงพิมพ์หนังสือเป็นภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และภาษาท้องถิ่นมากกว่าที่จะใช้ภาษา ของคริสตจักร

14.       ข้อใดเป็นลักษณะผู้ส่งสารของการสื่อสารมวลชน

(1)       เป็นบุคคลสำคัญ         (2) เป็นสถาบัน            (3) เป็นคนเก่ง (4) เป็นใครก็ได้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

15.       เนื้อหาทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นอย่างไร

(1)       เป็นเรื่องส่วนตัว           (2) เป็นเรื่องที่ชวนสงสัย

(3) เป็นสาธารณะ       (4) เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

16.       การที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับคนหาย เป็นการทำหน้าที่ข้อใด

(1)       สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม     (2) ตีความหมาย

(3) ประสาบส่วนต่าง ๆ ในสังคม         (4) ส่งผ่านค่านิยม

ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสอดส่องดูแลความเป็นไป

ในสังคม (Surveillance) คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

17.       การที่หนังสือพิมพ์รายวันนำเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนำ เป็นการทำหน้าที่ข้อใด

(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม            (2) ตีความหมาย

(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม         (4) ส่งผ่านค่านิยม

ตอบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนำเสนอเรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการ ของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าว ในลักษณะของการเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ การนำเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนำ ของหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

18.       บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

(1)       Social Relations       (2) Socialization        (3) Integration  (4) Modernization

ตอบ 2 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสังคมบ่ระกิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่ นำปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนำเสนอ ค่านิยมต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม และจากการที่บ่ระชาชนได้ดู ฟ้ง และอ่านก็ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน

19.       หากจะเขียนบทวิจารณ์ ควรมีความรู้ระดับใด

(1)       ระดับที่ 2         (2) ระดับที่ 3   (3) ระดับที่ 4   (4) ระดับที่ 5

ตอบ 4 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1.         หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย)

ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน

2.         หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3

3.         หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรืองนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4

4.         หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทำเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้องหรือ ไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

20.       หากจะเขียนข่าว ควรมีความรู้ระดับใด

(1) ระดับที่ 1   (2) ระดับที่ 2   (3) ระดับที่ 3   (4) ระดับที่ 4

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 19. บ่ระกอบ

21.       เนื้อหาที่ปรากฏทางสื่อมวลชนโทรทัศน์มีลักษณะเป็นอย่างไร

(1)       เป็นเรื่องทั่วไปที่เหมาะสำหรับทุกคน

(2)       เป็นสิ่งสะท้อนความเป็นจริงในสังคม โลกความจริงเป็นเช่นไรในสื่อก็เป็นเช่นนั้น

(3)       ไม่เป็นแบบฉบับตายตัว ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว

(4)       ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วน เป็นภาพแบบฉบับตายตัว

ตอบ 4 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ ในเนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture)ของสมาชิกในสังคม โดยเนื้อหาที่นำเสนอทางโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

22.       โลกทางสังคม เกิดจากอะไร

(1) สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ  

(2) โลกที่อยู่รอบตัว

(3) การขัดเกลาทางสังคม       

(4) ความเป็นจริงที่แท้จริง

ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality)เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคน จึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจาก การรับรู้ เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

23.       การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1)       แจ้งข่าวสาร    (2) ให้ความรู้   (3) ให้ความบันเทิง      (4) โน้มน้าวใจ

ตอบ 4 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Altitude) และพฤติกรรม (Behavior)ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือความคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

24.       ภาพและชื่อยี่ห้อสินค้าที่ปรากฏในโฆษณาทางโทรทัศน์มีลักษณะอย่างไร   

(1) เป็นภาพนิ่ง

(2)       เป็นภาพเคลื่อนไหว    (3) เป็นภาพระยะใกล้ (4) เป็นภาพระยะปานกลาง

ตอบ 2 หน้า 51108, (คำบรรยาย) ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ จะทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจและตรึงผู้รับสารให้ใส่ใจต่อขึ้นงานโฆษณา โดยภาพและชื่อยี่ห้อสินค้าที่นำเสนอนั้นส่วนใหญ่ จะเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงและตัวอักษรประกอบ จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้าได้ง่าย และยังมีอิทธิพลในการชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น

25.       การใช้ภาษาในการโฆษณาต้องคำนึงถึงข้อใดเป็นหลัก        

(1) กระแสสังคม

(2)       ความต้องการของผู้ส่งสาร      (3) ความต้องการของสื่อ         (4) ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 4 หน้า 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน ข้อความโฆษณาไม่ควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษา ที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้ภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

26.       Advertising Concept หมายถึงอะไร         

(1) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา

(2)       ข้อความที่ใช้พาดหัวโฆษณา   (3) คำขวัญโฆษณา     (4) ความหมายของการโฆษณา

ตอบ 1 หน้า 4150, (คำบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept)หมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์ เพื่อตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลัก ของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่คำขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

27.       การขาดทักษะทางภาษา เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด        

(1) Mechanical Noise

(2)       Environmental Noise       (3) Semantic Noise   (4) Physical Noise

ตอบ 3 หน้า 6 อุปสรรคด้านภาษา (Semantic Noise) หมายถึง อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดจาก การแปลความหมายของคำและประโยคซึ่งต้องผ่านการตีความหมาย แต่บางครั้งการใช้คำ หรือประโยคไม่ถูกต้องทำให้การเข้าใจความหมายผิดพลาดหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่ต้องการ จะสื่อ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนต่างกลุ่มต่างท้องถิ่นขาดทักษะทางภาษา จึงให้ความหมาย ต่อคำ วลี หรือประโยคใดประโยคหนึ่งแตกต่างกัน

28.       วิถีการดำเนินชีวิต เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด

(1) กายภาพ    (2) วัฒนธรรม  (3) เวลา           (4) จิตวิทยาสังคม

ตอบ 2 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้า แต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

29.       ภาษาใดที่เป็นระบบ Sign Writing

(1) ภาษาเยอรมัน        (2) ภาษาจีน    (3) ภาษาอินเดีย          (4) ภาษาไทย

ตอบ 2 หน้า 19 ภาษาภาพ เป็นการใช้ระบบสัญลักษณ์เขียนเป็นสัญญาณ (Sign Writing) โดยแต่ละสัญลักษณ์มีพื้นฐานมาจากรูปภาพที่เป็นตัวแทนสิ่งของ ซึ่งภาษาในลักษณะนี้ได้รับการ พัฒนาในอาณาจักรสุเมเรียน (ประเทศอิรักใบปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนรูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งเริ่มใช้ เมื่อประมาณ 2,000 – 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

30.       อาณาจักรใดต่อไปนี้ที่พัฒนาภาษาระบบ Sign Writing

(1) ฟีนีเชียน     (2)       สุเมเรียน          (3)       กรีก     (4)       โรมัน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.       รูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ภาษาใด

(1) อียิปต์โบราณ         

(2)       จีน       

(3)       เกาหลี 

(4)       ละติน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

32.       ภาษาของชนชาติใดที่เป็นพื้นฐานของภาษาอังกฤษในปัจจุบัน

(1) สุเมเรียน    

(2)       กรีก     

(3)       อียิปต์โบราณ  

(4)       ฟีนีเชียน

ตอบ 2 หน้า 19 ชาวฟีนีเชียนเป็นชนชาติแรกที่พัฒนาระบบภาษาที่มีพื้นฐานมาจากเสียง ได้แก่กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า พยัญชนะ (Alphabet) ต่อมาชาวกรีกได้พัฒนาพยัญชนะพื้นฐาน 24 ตัวอักษรขึ้น หลังจากนั้นชาวโรมันจึงได้ปรับปรุงพยัญชนะของชาวกรีกเป็น 26 ตัวอักษร ซึ่งเป็นอักษรพื้นฐานของภาษาอังกฤษในปัจจุบัน

33.       Cultivation Theory พัฒนาจากงานวิจัยของใคร

(1) ลาสเวลส์   (2)       จอร์จ    เกิร์บเนอร์ (3) ธีโอดอร์ อดอร์โน           (4)       ซูซาน ลางเกอร์

ตอบ 2 หน้า 32, (คำ.บรรยาย) ทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะ (Cultivation Theory) เป็นทฤษฎีทีพัฒนา มาจากงานวิจัยของจอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำหน้าที่ อบรมบ่มเพาะ (Cultivation) ของโทรทัศน์ โดยใช้เวลาในการวิจัยนานถึง 10 ปี เพื่อศึกษาถึง บทบาทด้านวัฒนธรรมในการปลูกฝังสมาชิกในสังคมอเมริกัน

34.       หอสมุดแห่งอเล็กซานเดรียก่อตั้งขึ้นในอาณาจักรใด

(1) เมโสโปเตเมีย        (2) กรีกโบราณ            (3) โรมันโบราณ          (4) เปอร์เซีย

ตอบ 2 หน้า 20 ในอาณาจักรกรีกโบราณ ได้มีการก่อตั้งหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (The Great Library at Alexandria) เมื่อประมาณ 311 ปี

ก่อนคริสตกาล ซึ่งในหอสมุดได้เก็บรวบรวม ม้วนเอกสารกว่าครึ่งล้านม้วน ทำให้นักวิชาการจากทั่วโลกในยุคนั้นหลั่งไหลมาที่หอสมุดแห่งนี้ เพื่อการค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงาน และเก็บรวบรวมความรู้ของตนไว้ที่นี่เพิ่มขึ้น

35.       เหตุใดนักสื่อสารมวลชนจึงต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร

(1)       เพื่อทำความเข้าใจลักษณะที่เป็นสิ่งกำหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร

(2)       เพื่อสามารถประเมินผลระดับความรู้ความเข้าใจของผู้รับสาร

(3)       เพื่อสามารถสรุปความคิดเห็นของมวลชนทั้งหมดเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน

(4)       เพื่อทำความเข้าใจลักษณะของมวลชนทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อทำความเข้าใจลักษณะร่วมบางประการ ที่เป็นสิ่งกำหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร เพื่อที่จะสามารถออกแบบสารได้ อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับสารมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งแนวทางวิเคราะห์ผู้รับสารที่นิยม ใช้กันมากในการสื่อสารมวลชน ได้แก่ การวิเคราะห์ผู้รับสารตามลักษณะทางทะเบียนภูมิหลัง และลักษณะทางจิตวิทยา

36.       แนวทางวิเคราะห์ผู้รับสารที่นิยมใช้กันมากในการสื่อสารมวลชน ได้แก่ข้อใด

(1)       ถิ่นที่อยู่และภูมิลำเนา

(2)       ลักษณะทางทะเบียนภูมิหลัง และลักษณะทางจิตวิทยา

(3)       อัตลักษณ์และลักษณะที่เป็นตัวตนของแต่ละคน

(4)       ขนบธรรมเนียมและวิถีปฏิบัติของมวลชนทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37.       Mass Culture หมายถึงอะไร

(1)       รูปแบบการดำรงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน หรือเหมือนกัน

(2)       รูปแบบการดำรงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือ เหมือนกัน

(3)       รูปแบบการดำรงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคมที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกันหรือ ไม่เหมือนกัน

(4)       รูปแบบการดำรงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคมเดียวกันที่มีลักษณะเป็นแบบต่างกัน หรือไม่เหมือนกัน

ตอบ 2 หน้า 32 เมื่อมีการสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) และวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) ซึ่งหมายถึง รูปแบบการดำรงชีวิตและสิ่งอันเป็น ที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน

38.       เหตุการณ์ใดทำให้เกิดการประกาศปฏิญญาว่าด้วยความอิสระของสื่อมวลชนจากการควบคุมโดยรัฐบาล

(1)       การตีพิมพ์หนังสือในศตวรรษที่ 16

(2)       การที่หนังสือพิมพ์ในยุโรปตรวจสอบการทำงานของฝ่ายปกครอง

(3)       การที่หนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกานำเสนอข่าวการประกาศอิสรภาพ

(4)       การที่หนังสือพิมพ์เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6

ตอบ 2 หน้า 24 ใบช่วงต้นของศตวรรษที่ 17 หนังสือพิมพ์ในยุโรปได้หันมาเน้นข่าวสารภายในประทศ ทำให้บางครั้งมีการนำเสนอเรื่องราวที่เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครอง ส่งผลให้ฝ่ายปกครองพยายามควบคุมและตรวจสอบการทำงานของหนังสือพิมพ์ตลอดมา จนทำให้ เกิดการประกาศปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอิสระของสื่อมวลชนจากการควบคุมโดยรัฐบาล

39.       หนึ่งหยดมหัศจรรย์ ผิวเต่งตึง ขาวใส สู่วัยเยาว์” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ   (2) พาดหัวขาว

(3)       เป็นคำสั่ง         (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 1 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) เป็นการพาดหัวที่แสดงถึง ข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของ ผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่ควร คำนึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณา ส่วนอื่น ๆ ต้องเป็นการให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว

40.       อยากสดใส อยากดูดี… นี่แหละผู้หญิง” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1)       เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ        (2) พาดหัวข่าว

(3)       เป็นคำสั่ง         (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 4 หน้า 47 การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Prospect Selection) เป็นการพาดหัวโฆษณาทีสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจว่าข้อความนั้นเจาะจงไปที่คนกลุ่มใด จึงมีการใช้ถ้อยคำที่ทำให้ กลุ่มเป้าหมายทราบได้ทันทีว่าข้อความนั้นเจาะจงที่จะสื่อสารกับตนเองโดยตรง ไมใช่การสื่อสาร กับผู้อ่านทั่ว ๆ ไป เช่น แอร์โร่สัญลักษณ์ของเอกบุรุษอยากสดใสอยากดูดี…นี่แหละผู้หญิง ฯลฯ

41.       ละครโทรทัศน์เรื่องธรณีนี่นี้ใครครอง มีจุดมุ่งหมายการสื่อสารข้อใด

(1) ความรู้

(2)       สร้างค่านิยม   

(3) ความบันเทิง          

(4) ความบันเทิง ความรู้ และสร้างค่านิยม

ตอบ 3 หน้า 29 จุดมุ่งหมายของการสื่อสารมวลชน ประกอบด้วย

1.         การแจ้งข่าวสาร (To Inform) เช่น การนำเสนอรายการข่าว หรือเล่าข่าว

2.         การให้ความรู้ (To Educate) เช่น การนำเสนอรายการสารคดี รายการสอนประเภทต่าง ๆ

3.         การให้ความบันเทิง (To Entertain) เช่น การนำเสนอรายการละคร เกมโชว์ และการแข่งขันกีฬา

4.         การโน้มน้าวใจ (To Persuade) เช่น การนำเสนอโฆษณา การรณรงค์ต่าง ๆ

42.       เนื้อหาสื่อมวลชนข้อใดเป็นการทำหน้าที่ในการดีความหมาย

(1) รายการข่าว

(2)       โฆษณา          

(3) การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา    

(4) บทบรรณาธิการหนังลือพิมพ์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

43.       เนื้อหาของโฆษณาทางโทรทัศน์ในปัจจุบันเน้นข้อใด

(1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า  

(2) ข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า

(3)       ราคาและสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า    

(4) ภาพลักษณ์ และบุคลิกตราสินค้า

ตอบ 4 หน้า 40 เนื้อหาของโฆษณาทางโทรทัศน์นปัจจุบัน เป็นการโฆษณาที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ (Image) และบุคลิกตราสินค้า (Brand Personality) โดยการใช้ภาพ คำพูด บุคคล สี และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้าไปกระตุ้นและชักจูงจิตใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ให้ยึดมั่นกับสินค้าและบริษัทที่เป็นผู้โฆษณา

44.       การใช้ภาษาในการโฆษณาต้องคำนึงถึงอะไรเป็นหลัก

(1) ค่าคะแนนความนิยมรายการ         (2) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

(3)       นโยบายของบริษัท      (4) งบประมาณการโฆษณา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

45.       “Advertising Concept” จะปรากฏอยู่ที่ใด

(1) คำบรรยายใต้ภาพ (2) คำขวัญโฆษณา

(3)       ดนตรีประกอบโฆษณา            (4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

46.       ทุกคนในองค์การมีโอกาสใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ประเภทใด

(1) การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ    (2) บรรยายสรุป

(3)       ประชุมโต๊ะกลม           (4) อภิปราย

ตอบ 1 หน้า 67, (คำบรรยาย) การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง ระหว่างเจ้าหน้าที่พนักงานทุกคนในองค์การ หรือการทักทายกับประชาชนที่มาติดต่อ ซึ่งถือเป็น วิธีสื่อสารที่ได้ผลดีที่สุด และจะได้ผลดียิ่งขึ้นในกรณีที่พนักงานมีความภักดีและเชื่อมั่นศรัทธา ในองค์การ เพราะจะทำให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การอย่างอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลให้ประชาชนที่มาติดต่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การในที่สุด

47.       ลีลาการนำเสนอโฆษณา Pond Age Miracle เรื่องล่าสุด เป็นวิธีการนำเสนอโฆษณาแบบใด

(1) Vignette       (2) Presenter     (3) Personality Symbol (4) Testimonial

ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนำเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น โฆษณา Pond Age Miracle เรื่องล่าสุดที่นำเอาผู้ใช้สินค้าที่มีอายุ 30 – 45 ปี มากล่าว 

ยืนยันถึงความประทับใจที่มีคนชมว่าหน้าเด็ก หรือดูอ่อนเยาว์กว่าอายุจริง

48.       ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

(1) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  (2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม

(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก          (4) การใช้เหตุผล

ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า และเขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคำนึงถึงปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

49.       การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม ได้แก่ข้อใด

(1) Soft Sell        (2) Hard Sell      (3) Slice of Life  (4) Lifestyle

ตอบ 2 หน้า 45 น้ำเสียงที่ใช้นำเสนอสารโฆษณา มี 2 ลักษณะคือ

1.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม

2.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้างอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงหรือมุ่งเสนอขายตัวสินค้าโดยตรง แต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

50.       การสร้างความรู้สึกว่าองค์กรที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่เคารพกฎหมาย เป็นการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1) เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่       (2) เพื่อให้ประชาชนยอมรับ

(3) เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด    (4) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการตลาด

ตอบ 2 หน้า 59 การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนยอมรับ คือการสร้างความรู้สึกว่าองค์กรที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์ ต่อสาธารณะ เป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่เคารพกฎหมาย ซึ่งประชาชนจะยอมรับ ชื่อเสียงขององค์กรในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับข่าวสารและประสบการณ์ที่ประชาชนได้รับจาก องค์กรหรือสถาบันนั้น

51.       การประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์กร รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึก แห่งการเป็นเจ้าขององค์กร/สถาบัน เป็นการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด

(1) ผู้นำความคิดเห็น   

(2) ผู้ถือหุ้น      

(3) ลูกค้า         

(4) พนักงานภายในองค์ก

ตอบ 4 หน้า 60-61 กลุ่มเป้าหมายภายใน (Internal Public) หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร/สถาบัน ซึ่งการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจากการทำให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์กร/สถาบัน รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึกแห่งการเป็นเจ้าขององค์กร/สถาบัน

52.       ข้อพิจารณาในการเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาจากอะไร

(1) เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง        

(2) เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง

(3) เป็นคนสนุกสนานร่าเริงไม่น่าเบื่อ  

(4) บุคลิกดี มั่นใจในตนเอง

ตอบ 2 หน้า 62 – 63 การเลือกผู้พูดที่จะเป็นตัวแทนขององค์กร/สถาบันในการใช้การพูด เพื่อการประชาสัมพันธ์ พิจารณาได้จาก           

1. เป็นบุคคลสำคัญในองค์การ

2. เป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่พูด        

3. เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการตัดสินระดับความลับของเรื่องที่พูด      

4. เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูด

5.         เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ มีกิริยาทำทางเป็นธรรมชาติ

6.         เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร

53.       จับแล้ว 2 ฝรั่งผู้ดี แก๊งลากตู้เอทีเอ็มแบงก์กรุงศรีฯ 2 ครั้งซ้อน แต่ไม่ได้เงิน สารภาพอยู่เมืองไทย 10 ปี ไม่มีงานทำ ส่วนคนร้ายที่ก่อเหตุโจรกรรมตู้กดเงินแบงก์กรุงเทพครั้งแรกยังลอยนวล” เป็นการเขียน ความนำแบบใด

(1) Background Lead (2) Colorful Lead (3) Punch Lead      (4) Contrast Lead

ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนำ ที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นที่ขัดแย้งกัน นำมาสรุปเข้าด้วยกัน ในการเขียนความนำ

54.       รวบพ่อเตะก้านคอลูกดับ เผยเคยเป็นนักมวยไทย” พาดหัวข่าวนี้มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาต่างประเทศในการพาดหัวข่าว     (2) ใช้คำชวนสงสัย

(3) ละประธานของประโยค    (4) ใช้คำ Slang

ตอบ 3 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจขึ้นต้นด้วยคำกริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น รวบพ่อเตะก้านคอลูกดับ เผยเคยเป็นนักมวยไทย (ประธานของประโยคในที่นี้คือ ตำรวจ)

55.       บัลแกเรียเขื่อนแตก ยุโรปตาย 420 เซ่นภัยหนาว ปินส์ดินไหวดับ 43” พาดหัวข่าวนี้มี ลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร           

(1) ใช้สำนวนโวหาร

(2)       ตัดคำสั้น          (3) ละประธานของประโยค    (4) ใช้คำชวนสงสัย

ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคำให้สั้นลงเนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด ทำให้ผู้เขียนพาดหัวข่าวนอกจากจะต้อง เขียนให้ได้ใจความสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงจำนวนตัวอักษรที่ใช้ไม่ให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ บางครั้งจึงจำเป็นต้องตัดคำให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ปินส์ 

(ฟิลิปปินส์)ดินไหว(แผ่นดินไหว) ฯลฯ

56.       เสียงประกอบมีบทบาทอย่างไรในรายการโทรทัศน์

(1)       เป็นส่วนที่ไม่จำเป็น จะมีหรือไม่มีก็ได้

(2)       เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศให้สอดคล้องกับคำพูด

(3)       เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ภาพสื่อความหมายได้

(4)       เป็นสิ่งที่ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตอบ 4 หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงประกอบ (Sound Effect/SFX) ในรายการโทรทัศน์ ได้แก่ เสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงสัตว์ร้อง เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตรายการจึงควรพิถีพิถันในการบันทึกเสียง ประกอบด้วย เพื่อให้ได้เสียงประกอบที่สมบูรณ์และในระดับความดังที่พอเหมาะ โดยมิให้ ดังกลบเสียงสนทนาหรือเสียงบรรยาย

57.       หากเคลื่อนกล้องขนานไปกับวัตถุที่ถ่าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2) ดอลลี่         (3)       อาร์ค    (4)       ทรัค

ตอบ 4 หน้า 113, (คำบรรยาย) ทรัค (Truck) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องอย่างช้าในลักษณะ เดียวกับดอลลื่ (Dolly) แต่เป็นการเคลื่อนกล้องขนานไปกับวัตถุที่ถ่ายไปทางซ้ายหรือขวา

58.       ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง

(1) Cut        (2) Wipe    (3)       Freeze Frame  (4)       split Screen

ตอบ 3 หน้า 114, (คำบรรยาย) พ่รีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

59.       ข้อใดเป็นวิธีการลำดับภาพโดยใช้ภาพจางซ้อน

(1) Cut        (2) Wipe    (3)       Dissolve   (4)       Split Screen

ตอบ 3 หน้า 114 ดิสซอลว์ (Dissolve) คือ เทคนิคการตัดต่อลำดับภาพเพื่อทำภาพผสมให้จางซ้อนกัน โดยที่ภาพ ๆ หนึ่งค่อย ๆ จางหายไป ในขณะที่ภาพอีกภาพหนึ่งขึ้นมาแทนที่

60.       ความเข้มของแสง ทำให้เกิดสิ่งใด

(1) ความร้อน/เย็น        (2) ความนุ่มนวล/แข็งกระด้าง

(3)       ความสดใส/ความสลัว (4) ความทึบ/โปร่งแสง

ตอบ 2 หน้า 115 ความเข้มของแสงคือการจัดแสงในฉากนั้นๆให้มีความมืดหรือความสว่างมากน้อยเพียงใดในฉากเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีส่วนที่สว่างมากและสว่างน้อยแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ความเข้มของแสงสามารถบอกเรื่องราวและอารมณ์ของเรื่องได้ และยังมีผลต่อการเกิด ความนุ่มนวลหรือความแข็งกระด้างของภาพที่ปรากฏอีกด้วย

61.       อ.เมืองฯ จ.สงขลา” หากเป็นส่วนหนึ่งของข่าววิทยุ ต้องอ่านอย่างไร

(1)       ออเมือง จอสงขลา       

(2) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

(3) อำเภอเมืองไปยาลน้อย จังหวัดสงขลา      

(4) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ตอบ 4 หน้า 100, (คำบรรยาย) การอ่านบทและการพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้อ่านหรือผู้พูด จะต้องออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะเสียงตัว ร ล ที่เป็นเสียงควบกล้ำ และไม่ออกเสียง เพี้ยนแปร่ง นอกจากนี้คำในภาษาเขียนที่เป็นคำย่อ เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคำเต็มให้ครบและ ถูกต้อง เช่น อ.เมืองฯ จ.สงขลา อ่านว่า อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นต้น

62.       ข้อใดหมายถึงรายการที่มุ่งให้ความรู้ในรูปแบบละครผสมสารคดี

(1) Documentary       

(2) Editorial       

(3) Soap Opera 

(4) Docu-drama

ตอบ 4 หน้า 98 รายการสาระละคร (Docu-drama) คือ รายการที่มุ่งให้ความรู้และความบันเทิง ไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้รูปแบบของละครผสมกับสารคดี กล่าวคือ ส่วนที่ทำเป็นรูปแบบละคร ก็เพื่อให้เข้าใจง่าย เกิดภาพตามไปได้ชัดเจน และเกิดความเพลิดเพลิน ส่วนที่เป็นสารคดี ก็มักเป็นส่วนที่มุ่งในเชิงวิชาการ

63.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการข่าว ควรเขียนแบบใด

(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ           (2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์ (3) ประเภทสมบูรณ์  (4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 3 หน้า 105, (คำบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.         บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลำดับเนื้อหาหรือ ลำดับการทำงานไว้สำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง

2.         บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ

3.         บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกำหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

64.       Ad-lib หมายถึงอะไร

(1) การพูดตามบท       (2) การพูดโดยไม่มีบท (3) การอ่านออกเสียง  (4) การประกาศ

ตอบ 2 หน้า 9699, (คำบรรยาย) Ad-lib หมายถึง การพูดโดยไม่มีบท หรือการพูดสดออกอากาศ โดยไม่มีสคริปต์ เป็นการพูดปากเปล่าโดยที่ผู้พูดไม่มีการตระเตรียมมาก่อน เพียงแต่กำหนด ประเด็นที่จะพูดไว้ในแต่ละครั้งเท่านั้นซึ่งมีข้อดีคือ ให้ความเป็นธรรมชาติมากกว่าการอ่านแต่บท เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่มักใช้ในรายการเพลงและรายการสนทนา

ข้อ 65. – 61. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Host      (2) Disc Jockey  (3) Announcer  (4) Producer

65.       ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการ

ตอบ 1 หน้า 96, (คำบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการ หรือผู้ดำเนินรยการสนทนา มีหน้าทีกล่าวเปิดรายการ นำเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนำผู้รวมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจคอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสำคัญของการสนทนา อีกครั้งหนึ่ง

66.       ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศ

ตอบ 3 หน้า 107, (คำบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชมผู้ฟ้ง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐาน การศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี

67.       ข้อใดหมายถึงผู้ผลิตรายการ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) Producer หมายถึง ผู้ผลิตรายการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตรายการอำนวยการ และประสานงานกับบุคลากรในการผลิตรายการทุกส่วนตามแผนการผลิตรายการ ที่ได้กำหนดไว้

68.       หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ควรใช้ภาพขนาดใด

(1)       MLS (2) LS (3) ELS        (4) SLS

ตอบ 3 หน้า 109, (คำบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด เช่น การถ่ายทำรายการสารคดีท่องเทียว เป็นต้น

69.       คำสนทนาที่มีผู้พูดเพียงคนเดียว เรียกว่าอะไร

(1) Narration     (2) Announcement   (3) Monologue (4) Dialogue

ตอบ 3 หน้า 106, (คำบรรยาย) คำสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. Monologue คือ คำสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียว ในลักษณะที่เป็นการสื่อสารกับผู้ชมรายการ โดยตรง       2. Dialogue คือ คำสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปซึ่งมักพบในรายการสัมภาษณ์ ละคร ฯล

70.       ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร

(1) Frame  (2) Image  (3) Shot     (4) Photo

ตอบ 3 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คำว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์ จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลำดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพ แต่ละภาพนี้จะเรียกว่า ชอต (Shot) และเมื่อเรานำภาพแต่ละชอตนี้มาลำดับให้ถูกช่วงถูกตอน ตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลำดับเรื่องราวตามต้องการ

71.       ข้อใดหมายถึงการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลงระยะของกล้อง

(1) Zoom   

(2) Dolly    

(3) Boom   

(4) Pan

ตอบ 2 หน้า 113, (คำบรรยาย) ดอลลี่ (Dolly) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนแปลง ระยะของกล้อง หากเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่จะทำให้ได้ภาพโตขึ้น(Dolly in) แต่ถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายจะทำให้ได้ภาพเล็กลง (Dolly Out)

72.       ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ข้อใด

(1) ผังรายการ 

(2) เอกสารคู่มือรายการ

(3) บทวิทยุกระจายเสียง         

(4) บัญชีรายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ

ตอบ 3 หน้า 102, (คำบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการ วิทยุกระจายเสียง โดยจะมีหน้าที่บอกลำดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริมต้น จนกระทั่งจบรายการ เพื่อให้รายการดำเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและ รูปแบบของรายการที่วางไว้

73.       คำบรรยายชื่อและตำแหน่งบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ ได้แก่ข้อใด

(1) Title      (2) Superimpose        (3) Split Screen (4) Sub-title

ตอบ 4 หน้า 106 – 107, (คำบรรยาย) Sub-title คือ คำบรรยายที่บอกชื่อและตำแหน่งของบุคคล ในรายการโทรทัศน์ โดยจะใช้ตัวอักษรวิ่งสีขาวที่ด้านล่างของจอ หรือใช้ตัวอักษรซ้อน (Superimpose) ลงบนภาพของผู้ร่วมรายการ จึงเป็นคำบรรยายสั้น ๆ ที่มักปรากฏใน รายการข่าว สนทนา สัมภาษณ์ อภิปราย หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีคำบรรยายภาษาไทย

74.       หากต้องการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นควรใช้แสงสีอะไร

(1) เหลือง        (2) ฟ้า  (3) ชมพู           (4) น้ำเงิน

ตอบ 1 หน้า 115-116,(คำบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเข้า จึงมักใช้ ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้านสีน้ำเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

75.       หากต้องการนำเสนอภาพทิวทัศน์โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2) ดอลลี่         (3) ทองค์         (4) บูม

ตอบ 3 หน้า 112 ทองค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่ บนเครนหรือปั้นจั่นจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ำของกล้องยังอยู่ใน ระดับเดิม เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในทางกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 76. – 78. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Cut        (2) Wipe    (3) Freeze Frame       (4) Split Screen

76.       ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 58. ประกอบ

77.       ข้อใดเป็นวิธีการลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

ตอบ 1 หน้า 114 การคัต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ ลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

78.       ข้อใดเป็นเทคนิคที่นำมาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพการถ่ายทอดฟุตบอลพร้อมกับโฆษณา

ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในกรอบเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสดฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 79. – 81. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Pan       (2) Tilt        (3) Pedestal       (4) Boom

79.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง

ตอบ 3 หน้า 112 พีเดสตอล (Pedestal) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง แบบ Studio Pedestal โดยใช้คันบังคับ

80.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่น

ตอบ 4 หน้า 112 บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่น ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ำ

81.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเงยหรือก้มกล้องในแนวตั้ง

ตอบ 2 หน้า 112 ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยหรือก้มกล้องในลักษณะ แนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ำได้มากขึ้น

82.       Commentator หมายถึงอะไร

(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์       

(2) ผู้อ่านบทโฆษณา

(3) ผู้บรรยาย   

(4) ผู้กำกับรายการโทรทัศน์

ตอบ 3 หน้า 97, (คำบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย หรือผู้วิจารณ์ในรายการวิจารณ์ข่าว มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือ แสดงความคิดเห็น

83.       คำย่อ SFX หมายถึงอะไร

(1) เสียงดนตรี 

(2) เสียงประกอบ        

(3) ผู้ประกาศ  

(4) ความเงียบ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

84.       ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

(1) ใช้สำนวนโวหาร     (2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ

(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ   (4) ใช้คำหรูหราฟังไพเราะ

ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสำหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

1.         ใช้ภาษาให้ถูกต้อง       2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม

3.         เรียงคำในประโยคอย่างเหมาะสม 4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงจ 5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย          6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย

7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์  8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

85.       หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด

(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ         (2) ข่าวหนัก     (3) ข่าวเบา      (4) ข่าวที่มีคุณภาพ

ตอบ 2 หน้า 76 – 7779 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นำเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นำเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการและกึ่งทางกา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

86.       บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด

(1) ร้อยแก้ว     (2) ร้อยกรอง   (3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง   (4) สารคดี

ตอบ 1 หน้า 77 – 7889 บทบรรณาธิการหรือบทนำ (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดงถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสำคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับที่มีต่อสถานการณ์ซึ่งกำลังอยู่ในกระแสสังคม

87.       บทบรรณาธิการมีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น

(2)       เป็นการนำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ

(3)       แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม

(4)       แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88.       หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก    (2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ

(3) ใช้ภาษาปาก          (4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก

ตอบ 4 หน้า 7779 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่เสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน โดยข่าวที่นำเสนอ จะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจ เรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

89.       การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์นิยมใช้รูปแบบการเขียนแบบใด

(1) Inverted Pyramid          (2) Upright Pyramid

(3) Combination        (4) Article

ตอบ 1 หน้า 80, (คำบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้

1.         แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสำคัญของข่าวก่อนรายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์

2.         แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสำคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บท

บรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ

3.         แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสำคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อ 90. – 92. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

เราได้เพียงแต่หวังว่าการชุมนุมจะไม่เลือกการก่อความรุนแรง เผาบ้าน เผาเมือง วินาศกรรม เป็นวิธีแตกหักของมวลชนเสื้อแดงภายใต้การบงการของแกนนำและเครือข่ายทักษิณ เพื่อหวังใช้เป็นการ ต่อรองและเจรจา เปิดทางให้ตัวเองหวนคืนสู่อำนาจและหลุดจากคดีอาญาจากพฤติกรรมทุจริตตามที่ ได้พิสูจน์ในศาล รัฐบาลต้องใช้กฎหมายเพื่อรักษาบ้านเมืองอย่างจริงจังเพื่อให้พ้นจากวิกฤติ

90.       บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด      

(1) เสนอแนะ

(2)       อธิบายความ   (3) วิพากษ์วิจารณ์       (4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา

ตอบ 4 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้

1.         ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา

2.         ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไมดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ

3.         ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

91.       บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1) ลีลาเยือกเย็น         

(2) ลีลาทางการ           

(3) ลีลาปรึกษาหารือ   

(4) ลีลากันเอง

ตอบ 2 หน้า 8892, (คำบรรยาย) ภาษาระดับลีลาทางการ (Formal style) จะมีลักษณะภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน จึงเป็นลีลาของภาษาที่มุ่งสื่อสาร ไปยังกลุ่มคนที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้ในการเขียนข่าว บทบรรณาธิการ บทความทางวิชาการ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

92.       ข้อความที่ยกมาน่าจะเป็นส่วนใดของบทความ

(1) คำนำ         

(2) ย่อหน้าที่ 2 

(3) ส่วนเชื่อม

(4) ย่อหน้าสุดท้าย

ตอบ 4 หน้า 92 – 93, (คำบรรยาย) โครงสร้างของการเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับดังนี้       1. ชื่อเรื่อง คือ ชื่อที่เขียนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจ

ของผู้อ่าน        2. ความนำ คือ ส่วนแรกของเนื้อหา ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำนำหรืออารัมภบท

3. เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่ดำเนินเรื่องราว   4. สรุป คือ ส่วนสุดท้ายหรือย่อหน้าสุดท้าย

อาจเป็นข้อเสนอแนะ หรือข้อความที่ย้ำถึงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นบัญหาที่กล่าวถึง

ข้อ 93. – 94. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

แต่ถึงจะทำได้หรือทำไม่ได้ก็ตาม นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะต้องรักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ ต่อประชาชนในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งเพื่อสร้างศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ระบบของรัฐสภา และนักการเมือง ตามคำเรียกร้องของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าทำไม่ได้จริง ๆ ควรจะยอมรับความจริง ต่อประชาชนย่อมจะได้รับความเห็นใจดีกว่าให้สัญญาแบบลม ๆ แล้ง ๆ

93.       ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด

(1) ให้ข่าวสาร  (2) อธิบายความ          (3) แนะนำ       (4) เรียกร้องให้กระทำ

ตอบ 1 หน้า 91 บทบรรณาธิการประเภทให้ข่าวสารและคำอธิบาย (Inform and Interpret)เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนต้องการให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านในเรื่องที่เป็นข่าว หรือเป็น เรื่องที่สัมพันธ์กับข่าวซึ่งมีแง่มุมซับซ้อนเข้าใจยาก โดยจะมุ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับอธิบายลำดับและชี้ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์เท่านั้น แต่ไม่ได้ มีเป้าหมายที่จะให้ผู้อ่านเกิดปฏิกิริยาหรือกระตุ้นความคิดแต่อย่างใด

94.       บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด

(1) อธิบายความ          (2) วิพากษ์วิจารณ์       (3) วิเคราะห์    (4) ให้คำแนะนำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

95.       แสงออร่ารอบตัวเธอมาจากไหน” เป็นข้อความพาดหัวประเภทใด

(1) พาดหัวข่าว            (2) กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ

(3)       ให้คำแนะนำ    (4) ชวนให้สนใจใคร่รู้

ตอบ 4 หน้า 47 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) เป็นการพาดหัวโฆษณาด้วยการทำให้ผู้รับสาร เกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาคำตอบหรือแก้ข้อสงสัยนั้นด้วยการ อ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ

96.       คำว่า Rating เมื่อใช้กับรายการโทรทัศน์หมายถึงอะไร

(1) การคิดอัตราค่าโฆษณา     (2) การจัดอันดับคุณภาพของรายการ

(3) ความนิยมรายการ (4) การกำหนดเนื้อหาของสื่อ

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) เรตติ้ง (Rating) หมายถึง ค่าแสดงความนิยมรายการของผู้ชมที่มีต่อรายการโทรทัศน์หนึ่ง ๆ

97.       Social World หมายถึงอะไร

(1) โลกตามความเป็นจริง       (2) โลกทางกายภาพ

(3) โลกที่แท้จริง           (4) โลกที่เกิดจากการรับรู้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 22. ประกอบ

98.       Stereotyped หมายถึงอะไร

(1) ชนิดของเครื่องเสียง           (2) เครื่องมือการสื่อสาร

(3) ลักษณะที่เป็นแบบฉบับตายตัว    (4) ความจริงที่ปรากฏ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

99.       คำว่า “Image” เมื่อพูดถึงภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร

(1) ภาพลักษณ์           (2) ภาพพจน์   (3) ภาพ           (4) จินตภาพ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

100.    การเขียนบทสำหรับรายการบทความทางวิทยุกระจายเสียง เป็นบทประเภทใด

(1) ร่างคร่าว ๆ (2) กึ่งสมบูรณ์ (3) สมบูรณ์     (4) บทอ่าน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

Advertisement