การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) วิเคราะห์ตนเอง (2) วิเคราะห์ผู้ชม-ผู้ฟัง
(3) วิเคราะห์เนื้อหา (4) วิเคราะห์สถานการณ์
1. พิจารณาถึงแผนผังสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานที่จะไปพูด
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่ จะไปพูด ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมากที่สุด เพราะสถานการณ์การพูดจะบ่งบอกว่า เนื้อหาที่จะนำไปพูดนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วน ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด ตัวอย่างสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมการพูด ได้แก่ เวลา สถานที่ โอกาส และเจ้าภาพ หรือธรรมชาติของหน่วยงานที่เชิญไปพูด เป็นต้น
2. มองให้ออกว่ากลุ่มเป้าหมายชอบหรือไม่ชอบคนพูด
ตอบ 2 หน้า 20 – 23, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ชม-ผู้ฟัง เป็นสิ่งที่วิชาการพูดให้ความสำคัญ เป็นอันดับต้น ๆ เพราะในการพูดแต่ละครั้งผู้พูดจะต้องวิเคราะห์ผู้ชม-ผู้ฟัง โดยพิจารณาจาก 1. ผู้ฟังมีจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด 2. ประกอบด้วยหญิง-ชาย วัยใด มีสัดส่วนเท่าใด
3. ผู้ฟังมาจากกลุ่มสังคม กลุ่มอาชีพใด 4. มีพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์อย่างไร
5. รู้หรือมีประสบการณ์กับหัวข้อที่พูดแค่ไหน
6. มีทัศนคติทางใด สนใจอะไร ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด
7. มุ่งหวังอะไรจากการพูดฯลฯ
3. คุณสุวิมลตัดสินใจที่จะใช้การสาธิตจังหวะเต้นรำโดยเชิญผู้ฟังขึ้นมา
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการวิเคราะห์สิ่งที่จะนำไปพูด เพื่อให้ได้มาซึ่งลำดับ ประเด็นการพูด จุดเด่นหรือกลวิธีในการนำเสนอ และการใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผู้ชม-ผู้ฟังมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น เช่น ใช้การสาธิต แบบจำลองหรือโมเดล แผนภูมิ แผนสถิติ ตลอดจนการให้อ่านเนื้อหามาล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าฟัง การบรรยาย
4. คณะสื่อสารมวลชนเชิญนักแสดงชื่อดังมาบรรยายความรู้ให้นักศึกษาหัวข้อ “ถนนสู่ดวงดาว”
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ตนเอง เป็นการวิเคราะห์ตัวผู้พูดเองเพื่อพัฒนาปรับปรุงและสร้างบุคลิกภาพในการพูดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นในด้านการใช้ภาษา น้ำเสียง ความถนัด และทักษะของผู้พูด ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่จะพูด ตลอดจนสุขภาพอนามัย และความเชื่อมั่น ในตนเองก่อนขึ้นพูด
5. อุตส่าห์เตรียมตัวพูดเรื่องนี้ให้สะใจแบบจัดเต็ม แต่ผู้ประสานงานบอกว่ามีเวลาให้แค่ 20 นาที
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ
6. คุณช่วยแจ้งกับท่านอธิบดีหน่อยว่า ผมคอเจ็บมากไปบรรยายตามคำเชิญไม่ได้แล้ว
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
7. การใช้โมเดลของเขื่อนกักเก็บน้ำประกอบการนำเสนอแผนกู้ภัยแล้งของกรมชลประทาน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
8. ผมตัดสินใจเลือก ดร.นทีลักษณ์ ไปบรรยายแทนผม เพราะเข้ากับชาวบ้านได้ดีมาก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ
9. อาจารย์สอนวิชากายวิภาคเตรียมสั่งให้นักศึกษาอ่านบทเรียนล่วงหน้า
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ
10. คุณเกนหลงต้องเปลี่ยนกระเป๋าก่อนลงจากรถ เพราะไม่แน่ใจว่าแฟนคลับในจังหวัดนี้เป็น NGO พิทักษ์ สิทธิของสัตว์หรือเปล่า
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ
11. วิชาที่ว่าด้วยการเตรียมเนื้อหาการพูดให้กับบุคคลในวาระโอกาสต่าง ๆ เรียกว่า
(1) สารนิพนธ์ (2) บุคคลานิพนธ์ (3) วาทนิพนธ์ (4) บรรณานิพนธ์
ตอบ3(คำบรรยาย) วาทวิทยาหรือวาทนิพนธ์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการเตรียมเนื้อหาการพูดให้กับ บุคคลในวาระโอกาสต่าง ๆ ซึ่งสามารถเตรียมสารได้ 2 กรณี คือ เตรียมสารให้กับตัวเอง และคนอื่นก็ได้ โดยสาระหรือเนื้อหาดังกล่าวจะพิจารณาจากความน่าสนใจในการนำเสนอ และการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายในการสื่อสาร
12. ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกับสำเนียง คือ
(1) เสียงมีความหมาย แต่สำเนียงไม่มีความหมาย
(2) เสียงเป็นการสื่อสารโดยตรง สำเนียงเป็นการสื่อสารทางอ้อม
(3) เสียงไม่สามารถบอกอารมณ์ความรู้สึกได้หากไม่มีสำเนียงมาช่วย
(4) เสียง คือ การพูดโดยตรง ในขณะที่สำเนียงไม่ใช่การพูด
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ใช้เสียงและสำเนียงโต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงเป็นเพียงการเปล่งวาจาออกมา ส่วนสำเนียงจะบอกถึง อากัปกิริยาหรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถบอกอารมณ์ความรู้สึกได้ หากไม่มีสำเนียงมาช่วย
13. ในกระบวนการพูดที่หวังประสิทธิผลนั้น มีองค์ประกอบสำคัญ 3 สิ่ง คือ
(1) การวิเคราะห์เนื้อหา การถ่ายทอดอารมณ์ การสร้างความรู้สึกร่วม
(2) การปรับปรุงตัวผู้พูด การวิเคราะห์ผู้ฟัง การเลือกเรื่อง
(3) การสร้างบุคลิกภาพ การปรับปรุงน้ำเสียง การรักษาเวลา
(4) การมีศิลปะในการถ่ายทอด การเร้าอารมณ์ การมีทักษะในการใช้อุปกรณ์
ตอบ 2 หน้า 11 การพูดที่ดีและมีประสิทธิภาพในกระบวนการพูดที่หวังประสิทธิผลนั้น จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 สิ่ง ดังนี้ 1. การปรับปรุงตัวผู้พูด 2. การวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ) 3. การเลือกเรื่องพูด
14. บุคลิกภาพของผู้พูดในการนำเสนอเรื่องบนเวทีเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและน่าสนใจ ได้แก่
(1) ภาษา ความคิด การสื่อความหมาย (2) การใช้เสียง การเลือกคำที่มีความหมายถูกต้อง รสนิยม
(3) การแต่งกาย น้ำเสียง การปรากฏตน (4) เทคนิคการนำเสนอ การตรงต่อเวลา ความมีวินัย
ตอบ 3 (คำบรรยาย) บุคลิกภาพของผู้พูดในการนำเสนอเรื่องบนเวทีเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและน่าสนใจ ได้แก่ 1. น้ำเสียง (ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา) 2. การแต่งกาย (เสื้อผ้า หน้า ผม ฯลา) 3. การปรากฏตนหรือปรากฏกาย (เช่น มาสาย มาช้า มารยาทในการทักทายคน ฯลฯ)
15. ผู้ฟังกับผู้ชม ต่างกันที่
(1) จำนวน (2) ความสนใจที่มีต่อเนื้อหา
(3) ความรู้สึกที่ให้แก่ผู้พูด (4) สภาพการรับรู้ข่าวสารจากผู้ส่งสาร
ตอบ 4 หน้า 6, (คำบรรยาย) ผู้ชม-ผู้ฟัง (Audience or Listener) มีฐานะเป็นผู้รับสาร (Receiver) และมักเป็นกลุ่มเป้าหมายของการพูดเสมอ โดยผู้ชม-ผู้ฟังต่างกันที่สภาพการรับรู้ข่าวสารจาก ผู้ส่งสารหรือสื่อที่นำเสนอ กล่าวคือ ผู้ชม (Audience) จะรับรู้ข่าวสารจากการดูและฟัง เช่น ผู้ชมโทรทัศน์ ผู้ชมภาพยนตร์ ฯลฯ ส่วนผู้ฟัง (Listener) จะรับรู้ข่าวสารจากการฟังอย่างเดียว เช่น ผู้ฟังวิทยุ ฯลฯ
16. ขั้นตอนต่อจากการวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด คือ
(1) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการพูดให้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
(2) ร่างเนื้อหาสาระของการพูดให้มีความสัมพันธ์กับความสนใจผู้ฟัง
(3) การกำหนดหัวข้อการพูดตามประเด็นต่าง ๆ อย่างละเอียดตามข้อมูลที่มีอยู่
(4) ทำการผสมผสานข้อความเร้าอารมณ์หรือสร้างหัวข้อแปลกใหม่ให้น่าฟัง
ตอบ 1 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) ขั้นตอนต่อจากการวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด คือ การเลือกเรื่องพูดและการเตรียมเนื้อเรื่องโดยผู้พูดจะต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการพูดให้มีความสัมพันธ์กับระบบสังคมและวัฒนธรรมของผู้ฟังกลุ่มเป้าหมายก่อน แล้วจึงกำหนด หัวข้อการพูดตามประเด็นต่าง ๆ อย่างละเอียดตามข้อมูลที่มีอยู่หรือตามที่ได้ทำการค้นคว้า หาข้อเท็จจริงมา จากนั้นจึงร่างเนื้อหาสาระของการพูดให้มีความสัมพันธ์กับความสนใจของผู้ฟัง
17. ภาพพจน์ของผู้พูด หมายถึง
(1) เห็นดี (2) เห็นได้ (3) ชื่นชม (4) เชื่อถือ
ตอบ 2 หน้า 12, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ตน (ตัวผู้พูดเอง) จะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 2 อย่าง ได้แก่
1. ภาพลักษณ์ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวผู้พูดจากประสบการณ์ จากสิ่งที่รับรู้ หรือจากสิ่งที่เห็น และประเมินค่า
2. ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคำพูด ซึ่งผู้ที่พูดเก่งต้องสามารถพูดแล้วทำให้ผู้ฟังเห็นภาพ ตามได้
18. ข้อด้อยที่สุดของการซ้อมพูดกับคนคุ้นเคย คือ
(1) การละเลยความผิดพลาดอันเป็นผลมาจากความเคยชิน
(2) ไม่สามารถบอกความจริงที่เกิดขึ้นได้เลย
(3) หาข้อผิดพลาดได้ยากเพราะรู้จักกันดี
(4) มีความเกรงใจตามลักษณะคนไทยที่ไม่กล้าบอกความจริงมากเกินไป
ตอบ 3 หน้า 52, (คำบรรยาย) วิธีฝึกซ้อมพูดกับคนคุ้นเคย เช่น เพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องในครอบครัว มีข้อดีคือ คนคุ้นเคยจะรู้บุคลิกลักษณะของเราเป็นอย่างดี ทำให้บอกข้อดี-ข้อเสียของเราได้ แต่ก็อาจมีความเกรงใจจนไม่กล้าบอกความจริงมากเกินไป และที่เป็นข้อด้อยที่สุดก็คือ หาข้อผิดพลาดของเราได้ยากเพราะรู้จักกันดีจนชาชินกับการรับรู้
19. ข้อใดเป็นแนวคิดพื้นฐานของวิชาการพูด
(1) การพูดเป็นพรสวรรค์ (2) คนปกติพูดได้แต่อาจไม่ดีเท่ากัน
(3) การพูดเป็นทักษะที่ไม่อาจพัฒนาได้ (4) การพูดไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้
ตอบ 2 (คำบรรยาย) แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาการพูด มีดังนี้
1. ทุกคนพูดได้แต่อาจจะพูดดีไม่เท่ากัน 2. การจะพูดดีไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์เสมอไป 3. การพูดมีส่วนที่เป็นศาสตร์และศิลป์ประกอบกันเสมอ 4. การพูดเป็นวัจนภาษาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้อวัจนภาษา 5. การพูดสามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้
20. สิ่งเร้าในการพูดที่นอกเหนือจากผู้พูดและผู้ฟัง จัดเป็น
(1) ช่องทางการสื่อสาร (2) ผลกระทบที่ได้จากการพูด
(3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง (4) สิ่งแวดล้อม
ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของการพูด คือ สถานการณ์หรือสิ่งที่จะส่งผลต่อการพูด จัดเป็นสิ่งเร้าในการพูดที่นอกเหนือจากผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบสังคมวัฒนธรรม เช่น ศาสนา จารีตประเพณี แนวทางปฏิบัติของครอบครัว ฯลฯ
2. กฎระเบียบ อำนาจหน้าที่ 3. กระแสสาธารณมติ 4. นโยบาย แผนงาบ และโครงการ
21. สาระที่เหมาะสมในการพูด มีพื้นฐานมาจาก
(1) ความคิดที่มีการกลั่นกรอง (2) ประสบการณ์และกรอบอ้างอิง
(3) สื่อ หรือโสตทัศนูปกรณ์ที่ดีพอ (4) การฝึกฝนด้วยตนเอง
ตอบ 1 (คำบรรยาย) สาระเนื้อหาหรือข้อมูลข่าวสารที่เหมาะสมในการพูดนั้น มีพื้นฐานมาจากความคิดและการกลั่นกรองโดยอาศัยสติปัญญาของผู้พูด ซึ่งการพูดจะประสบความสำเร็จได้ต้องมาจาก ความคิดและการแสดงออกที่สอดคล้องกัน
22. การประสานสายตากับผู้ฟัง มีวิธีการอย่างไร
(1) จ้องที่คนแถวหน้าสลับกับประธานหรือเจ้าภาพ
(2) มองเป็นจุด ๆ อย่างเป็นระบบ แล้วทวนกลับไปใหม่
(3) มองจากหลังมาหน้า ซ้ายไปขวา แล้วสุ่มมองทั่วห้องเป็นระยะ ๆ
(4) สบตากับคนที่สนใจฟัง หรือผู้ที่เป็นจุดเด่นในห้อง
ตอบ 3 หน้า 16, 54, (คำบรรยาย) วิธีการใช้สายตาหรือการประสานสายตากับผู้ฟังในขณะที่พูด มีดังนี้
1. สายตาจะต้องจับอยู่ที่ใบหน้าของผู้ฟัง
2. ควรมองผู้ฟังให้ทั่วถึง อย่าหยุดที่จุดใดจุดหนึ่งนานเกินควร
3. พยายามมองผู้ฟังที่อยู่ข้างหลังมาข้างหน้า และมองจากทางซ้ายไปทางขวา แล้วสุ่มมอง ทั่วห้องเป็นระยะ ๆ
4. อย่ามองข้ามศีรษะผู้ฟัง และอย่ามองเพดาน มองไฟ มองนอกหน้าต่าง มองพื้น ฯลฯ
23. การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านประสบการณ์และกรอบอ้างอิง มีส่วนสำคัญในการเตรียมสารเรื่องใด
(1) ระคับความยาก-ง่ายของการใช้ภาษา
(2) การแบ่งหัวข้อตามระดับความสนใจ
(3) การให้ข้อมูลเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือความเชื่อ
(4) สาระที่น่าสนใจและการยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ชม-ผู้ฟังด้านประสบการณ์และกรอบอ้างอิง จะมีส่วนสำคัญใน การเตรียมสาระที่น่าสนใจ และการยกคัวอย่างประกอบการอธิบาย หรือการกล่าวเปรียบเทียบ ให้เห็นจริง เพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์และกรอบอ้างอิงของผู้รับสาร
24. จุดเริ่มต้นของการเป็นนักพูดที่ดีเริ่มจาก
(1) การวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม (2) การวิเคราะห์ตนเองและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
(3) การวิเคราะห์เนื้อหาและสาระการพูด (4) การวิเคราะห์ผู้ฟัง-ผู้ชม
ตอบ 2 (คำบรรยาย) การเป็นนักพูดที่ดีจะต้องรู้จักวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เรียงตามลำคับต่อไปนี้
1. วิเคราะห์ตนเอง และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 2. วิเคราะห์ผู้ชม-ผู้ฟัง
3. วิเคราะห์เนื้อหาและสาระการพูด 4. วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม
25. การเลือกเรื่องที่พูดต้องพิจารณาถึงอะไรเป็นอันดับแรก
(1) ความน่าสนใจในการนำเสนอ (2) กรอบแนวคิด และความเชื่อด้านต่าง ๆ ของผู้ฟัง
(3) ข้อมูลที่มีอยู่หรือสามารถหามาได้ (4) ความยาก-ง่ายของภาษาหรือสำนวนที่ต้องการใช้
ตอบ 1 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) การเลือกเรื่องที่พูดพิจารณาได้ ดังนี้
1. เลือกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ หรือเป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจในการนำเสนอ
2. สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมานำเสนอได้
3. เป็นประโยชน์ ควรค่าแก่การรับรู้ และง่ายต่อการทำความเข้าใจ
4. ปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง
26. ลำดับของการนำเสนอสาระข้อมูลในการพูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย
(1) ให้ความรู้ ชักจูงใจ เข้าถึงอารมณ์ (2) ให้ความรู้ เข้าถึงอารมณ์ ชักจูงใจ
(3) เข้าถึงอารมณ์ ชักจูงใจ ให้ความรู้ (4) ชักจูงใจ ให้ความรู้ เข้าถึงอารมณ์
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ลำคับหรือขั้นตอนการนำเสนอสาระข้อมูลในการพูด ได้แก่
1. การให้ความรู้ เป็นการบอกข้อมูลความจริงที่ผ่านมาแล้ว
2. การเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งจะกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจ ติดตาม และจดจำข้อมูลข่าวสาร ที่ได้รับง่ายขึ้น
3. การชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ เพื่อให้ผู้ฟังเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรมอะไรบางอย่าง
27. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความเชื่อและทัศนคติ มีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูลในการพูด แต่ละครั้ง
(1) เพื่อสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นำเสนอ
(2) เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม
(3) เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้-เสียของผู้ฟัง
(4) เพื่อกำหนดวาระรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ชม-ผู้ฟังเพื่อตรวจสอบความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติ จะทำให้ผู้พูดทราบถึงแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้-เสียของผู้ฟัง เพื่อให้ผู้พูด สามารถเตรียมข้อมูลในการพูดแต่ละครั้งได้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ฟังเชื่อและยึดถือ ไม่ไปขัดแย้ง หรือดูถูกความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติที่ผู้ฟังมีอยู่แต่เติม
28. การเริ่มต้นเนื้อหาของการพูด ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงเนื้อหาในข้อใด
(1) ปัญหาที่ส่วนใหญ่ทุกคนรู้แล้ว (2) เรื่องขำขันของบางคน
(3) ประเด็นข่าวที่สะเทือนใจ (4) ข่าวลือของบุคคลที่ทุกคนรู้จัก
ตอบ 4 หน้า 35 – 36, (คำบรรยาย) ในการพูดนั้น จะต้องมีคำนำเพื่อเป็นการเกริ่นหรือเสนอที่มา ของเรื่องที่จะพูด อีกทั้งยังเป็นการเรียกความสนใจเบื้องต้นของผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดที่ฉลาดจึงต้อง ระมัดระวังในเรื่องคำนำหรืออารัมภบทเป็นอย่างมาก ถ้าคำนำดี ผู้ฟังจะเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ทำให้ตั้งใจฟังมากขึ้น แต่ถ้าคำนำไปกระทบเรื่องส่วนตัวของผู้ใดหรือพูดเรื่องส่วนตัวของตนเอง ผู้ฟังก็จะขาดความศรัทธาในตัวผู้พูด ซึ่งก็จะส่งผลให้การพูดไม่ประสบผลสำเร็จ
29. สิ่งเร้าจากตัวผู้พูดที่ปรากฏระหว่างการสื่อสาร คือ
(1) บุคลิกภาพและน้ำเสียง (2) ความรู้สึกนึกคิด
(3) ระดับการศึกษา (4) ความเชื่อและทัศนคติ
ตอบ 1 หน้า 7, (คำบรรยาย) สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูด แบ่งออกเป็น
1. สิ่งเร้าภายในตัวผู้พูด ได้แก่ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและสุขภาพของผู้พูด เช่น ความรู้สึกหิว โกรธ เกลียด ปวดท้อง คลื่นไส้ไม่สบาย ฯลฯ ตลอดจนระดับการศึกษา ความเชื่อ และ ทัศนคติที่อยู่ภายในตัวผู้พูด
2. สิ่งเร้าภายนอกตัวผู้พูด ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เจ้าภาพ และผู้ชม-ผู้ฟังทั้งหลาย เช่น อุณหภูมิ ในห้องบรรยาย เวลาที่ให้กับผู้พูด ทัศนคติของเจ้าภาพ ความสนใจของผู้ชม-ผู้ฟัง ฯลฯ รวมทั้งสิ่งเร้าภายนอกที่เกิดจากตัวผู้พูด ซึ่งปรากฏระหว่างการสื่อสาร เช่น บุคลิกภาพ และน้ำเสียงที่ผู้พูดได้แสดงออกมา
30. ข้อใดเป็นสิ่งเร้าที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
(1) กระแสสาธารณมติ (2) อคติของผู้พูดที่มีต่อสถานที่จัดงาน
(3) ความสนใจของผู้ฟังที่มีต่อเนื้อหา (4) เพศและระดับการศึกษาของผู้รับสาร
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ
31. ในขั้นตอนของการริเริ่มกำหนดเค้าโครงของเรื่องราวที่จะพูด อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด
(1) การตกลงใจที่จะเลือกใช้ข้อมูล
(2) ความกล้าที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหลักหรือเนื้อหาที่จะพูด
(3) การหาหลักฐานอ้างอิง
(4) การพิจารณาถึงองค์ประกอบของกลุ่มผู้ฟัง
ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในขั้นตอนของการริเริ่มกำหนดหรือวางเค้าโครงเรื่องราวที่จะพูดนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้พูดต้องกล้าที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหลักหรือเนื้อหาที่จะพูด และเมื่อเลือกเนื้อหาที่จะพูดได้แล้ว ผู้พูดต้องวางแผนสร้างสรรค์เนื้อหา ซึ่งประกอบด้วย การเชื่อมโยงความเกี่ยวข้องของข้อมูลต่าง ๆ และการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ข้อมูล
32. เหตุใดผู้พูดจึงต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อการนำเสนอ และมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ
(1) เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด (2) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้ง
(3) เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ (4) เพื่อให้การสะสมข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น
ตอบ 3 หน้า 32, (คำบรรยาย) ในการพูดนั้นจำเป็นที่จะต้องมีตัวอย่างข้ออ้างอิง รวมทั้งข้อความของผู้อื่นที่สนับสนุนความคิดเห็นของผู้พูด โดยมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็น การแสดงให้เห็นถึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนำเสนอ
33. ทำไมผู้เตรียมสารจึงต้องมีการเขียนเค้าโครงเรื่อง
(1) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม (2) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มา
(3) เพื่อป้องกันความสับสน (4) เพื่อให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลที่มากพอ
ตอบ 3 หน้า 31 – 32, (คำบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลำดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทำให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดำเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจำไปพูด
34. การพูดที่มีศัพท์ทางวิชาการมาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาการนำเสนอนั้น
(1) ไม่สามารถทำได้ หากการพูดนั้นไม่ใช่การวิจารณ์ทางวิชาการ
(2) ไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ฟังที่มีความรู้ในระดับต่ำ
(3) สามารถทำได้ หากมีแหล่งอ้างอิง หรือบุคคลยืนยัน
(4) สามารถทำได้ โดยต้องมีคำอธิบายประกอบที่คนนอกวงการเข้าใจได้
ตอบ 4 หน้า 93, (คำบรรยาย) การพูดที่มีศัพท์ทางเทคนิค ศัพท์ทางวิชาการ หรือศัพท์ภาษาอังกฤษ มาเกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้น สามารถทำได้โดยผู้พูดจะต้องแปลหรืออธิบายความประกอบ ให้กลุ่มผู้ฟังเป้าหมายเข้าใจได้ ซึ่งเนื้อหาที่มักมีศัพท์ทางเทคนิคก็คือ เนื้อหาประเภทแนวคิด ทฤษฎี เป็นต้น
35. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับการปรับปรุงตัวผู้พูดที่สุด
(1) การพูดแสดงออกบนเวที (2) การพัฒนาบุคลิกภาพ
(3) การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียงให้เป็นประโยชน์ (4) การเข้าถึงความรู้สึกของผู้ฟัง
ตอบ 2 หน้า 11, (คำบรรยาย) การปรับปรุงตัวผู้พูด หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนำเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้ภาษา น้ำเสียง การยืน การแต่งกาย การใช้สายตา กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตัวให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมายเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ
36. ไม่ว่าจะพูดขึ้นต้นด้วยประเด็นใดก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดต้องกระทำก็คือ
(1) พูดนำเสนอต้องตื่นเต้นเร้าใจตามมา
(2) กล่าวถึงแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ หรือบุคคลที่ไปรับข้อมูลมา
(3) บอกถึงข้อมูลสนับสนุนที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ
(4) ย้อนกลับไปกล่าวคำทักทายผู้ฟัง
ตอบ 3 หน้า 35, (ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ) การขึ้นต้นคำนำมีหลายวิธีและหลายแบบ ซึ่งผู้พูด อาจขึ้นต้นคำนำด้วยคำจำกัดความ คำถาม สุภาษิต คำคม อารมณ์ขัน ความประหลาดใจ ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะขึ้นต้นด้วยประเด็นใดก็ตาม คำนำนั้น ๆ จะต้องบอกถึงข้อมูลสนับสนุนที่สอดคล้อง กับเนื้อเรื่อง (Main Body) ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป
37. การขยายเนื้อเรื่องด้วยการเปรียบเทียบ หมายถึง
(1) อธิบายถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งอย่างให้เห็นชัดเจน
(2) ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญของการพูด
(3) การนำสิ่งต่าง ๆ มาแจกแจงจนทำให้ข้อความที่จะพูดยาวขึ้น
(4) พูดถึงสิ่งที่เป็นผลกระทบของประเด็นที่จะนำเสนอด้วยข้อมูลที่มีความละเอียด
ตอบ 3 หน้า 37, (คำบรรยาย) การขยายความเนื้อเรื่องด้วยการเปรียบเทียบ หมายถึง การนำสิ่งต่าง ๆ มาเปรียบเทียบหรือแจกแจงคุณลักษณะจนทำให้ข้อความที่จะพูดยาวขึ้น โดยทั่วไปมักจะ เปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายคลึง ซึ่งทำให้เข้าใจง่ายกว่าการอธิบายด้วยคำพูด
38. การกำหนดเป้าหมายการพูด พิจารณาจาก
(1) สังคมและวัฒนธรรมของผู้ฟัง (2) ระยะเวลาในการนำเสนอ
(3) การแบ่งหัวข้อเป็นประเด็นต่าง ๆ (4) ประเด็นหลักและข้อมูลสนับสนุน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ
39. น้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกันโดยตลอด สร้างปัญหาให้แก่ผู้ฟังด้านใดมากที่สุด
(1) ไม่เข้าใจเนื้อหาที่ผู้พูดถ่ายทอด
(2) ทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก
(3) หมดศรัทธา ไม่มีความน่าเชื่อถือในตัวผู้พูด
(4) เสี่ยงต่อความเบื่อหน่าย และการสนใจติดตามประเด็น
ตอบ 4 หน้า 14, (คำบรรยาย) หลักการใช้เสียงพูดที่ดีข้อหนึ่ง คือ ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียง เนือย ๆ หรือน้ำเสียงที่เป็นระดับเดียวกัน (ไม่มีเสียงสูงต่ำ) โดยตลอด เพราะจะทำให้ผู้พูดพูดโดยขาดความมีชีวิตชีวา และผู้ฟังก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย รำคาญ หรือไม่สนใจติดตามประเด็น
40. เมื่อเข้า ณ ที่พูดแล้ว ผู้พูดควรจะ……….เป็นอันดับแรก
(1) ยิ้ม (2) ดื่มน้ำ (3) ตรวจเอกสาร (4) ทดสอบไมโครโฟน
ตอบ 1 หน้า 17, 53, (คำบรรยาย) เมื่อปรากฏตัวหรือเข้าสู่ ณ สถานที่พูด ผู้พูดควรจะยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นอันดับแรก เพราะการยิ้มแย้มจะช่วยเรียกความสนใจจากผู้ฟัง ทำให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด และช่วยสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ทั้งนี้การแสดงสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสยังเป็น การแสดงออกทางใบหน้าที่ใช้ได้ดีในทุกสถานการณ์การพูดอีกด้วย
41. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่เกิดจาก
(1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม
(2) ความตั้งใจที่มีมากจนเกินไป
(3) การเตรียมตัวไม่ดีหรือไม่พร้อม
(4) อุปกรณ์และเครื่องมือบนเวทีบกพร่อง หรือไม่สามารถใช้งานได้
ตอบ 3 หน้า 54 – 55, (คำบรรยาย) ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่ จะเกิดจาก การเตรียมตัวที่ไม่ดีหรือไม่พร้อม ซึ่งทำให้ผู้พูดเกิดอาการตื่นเวที ดังนั้นวิธีแก้ไขประการแรกที่สุด ก็คือ ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องพูดและซ้อมพูดมาอย่างดี เพราะถ้าหากเตรียมตัวพร้อม มีความเข้าใจ ในเรื่องที่พูดอย่างดี ก็จะมีความมั่นใจในตัวเอง เวลาพูดก็จะไม่เกิดความกลัว ความเครียดและ วิตกกังวลอีก
42. ตัวแปรที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูดที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายทอดตามความต้องการ ในขณะที่ผู้พูด มีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้วคือ
(1) เจ้าภาพ (2) ผู้ร่วมเวทีและพิธีกร
(3) สถานที่ที่ได้รับเชิญไป (4) การจัดรูปแบบของเวที
ตอบ 1 (คำบรรยาย) เจ้าภาพ เป็นตัวแปรหรือปัจจัยสำคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิดของเนื้อเรื่องที่จะพูด แม้ว่าผู้พูดจะเตรียมเนื้อหาและเตรียมตัวมาพร้อมแล้วสำหรับการพูด แต่ถ้าเนื้อหา (หัวข้อหรือประเด็น) ที่เตรียมมาไม่ตรงกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ ผู้พูดก็ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดหรือสื่อสารออกไปได้
43. หลักการที่ว่า “สายตาเป็นสิ่งที่บอกเป้าหมายของการสื่อสารได้” มีพื้นฐานจากสิ่งใด
1) แววตา และน้ำตา (2) การเอี้ยวและหมุนได้ของลำคอ
(3) การกะพริบตา รวมทั้งการหรี่ตา (4) ตาดำ-ตาขาว
ตอบ 4 (คำบรรยาย) หลักการใช้สายตา มีดังนี้
1. สายตาเป็นสิ่งสะท้อนบุคลิกภาพ 2. สายตาเป็นสิ่งเร้าที่จะสร้างอารมณ์ความรู้สึก
3. สายตาเป็นตัวประสานความรู้สึกร่วมระหว่างบุคคล
4. สายตาสามารถบอกเป้าหมายเชิงกายภาพของการสื่อสารได้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการตัดกัน อย่างชัดเจนระหว่างตาดำกับตาขาว ทำให้มนุษย์รู้ทิศทางการมองได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น
44. หากพิจารณาในเชิงจิตวิทยาแล้ว เหตุใดมนุษย์จึงชอบพูดมากกว่าฟัง
(1) เพราะสามารถสร้างความได้เปรียบในความถูกต้องได้มากกว่า
(2) เพราะการพูดสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองได้มากกว่า
(3) เพราะการพูดเป็นช่องทางเลือกรับข้อมูลได้มากกว่า
(4) เพราะการพูดรับปฏิกิริยาตอบกลับได้มากกว่า
ตอบ 2 หน้า 69 โดยปกติแล้วคนเราชอบพูดมากกว่าชอบฟัง เพราะในขณะที่พูดนั้นผู้พูดจะสร้าง ความมั่นใจและมีความรู้สึกว่าตนมีความเชื่อมั่นในตนเอง ตนได้แสดงความคิดเห็น และได้รับ ความสนใจจากผู้ฟัง
45. ข้อใดเกี่ยวข้องกับการเดินเพื่อขึ้นพูด
(1) ทำตามที่ตกลงไว้กับเจ้าภาพ (2) มาก่อนเวลาเพื่อทดสอบคิว
(3) ประมาณจังหวะให้ดี (4) ไม่ผูกขาดเอาไว้คนเดียว
ตอบ 3 หน้า 16, (คำบรรยาย) การเดินเมื่อขึ้นพูดบนเวที เป็นการปรากฏกายที่สะดุดตาหรือเป็นการ สร้างความสนใจในการติดตามเนื้อหาของผู้ฟัง ซึ่งวิธีการเดินที่ดีนั้นควรประมาณจังหวะให้ดี อย่าเดินเร็วหรือช้าเกินไป ต้องทรงตัวให้สง่างาม ไม่เดินหลังโก่งหรือยืดหน้าอก และขณะที่เดิน ให้แกว่งแขนตามสบาย ฯลฯ
46. การเดินในวิชาการพูด มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การเคลื่อนไหว การไม่หยุดนิ่ง การไม่สำรวม (2) การปรากฏกาย การติดตามเนื้อหา การทรงตัว
(3) การแสดงออก การนำเสนอ การเคลื่อนที่ (4) การนำเสนอ การติความ การสร้างจุดสนใจ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ
47. การฟังเพื่อเก็บสาระ พิจารณาจาก
(1) ลำดับการนำเสนอ (2) ความสัมพันธ์กับหัวเรื่อง
(3) ประเด็นสำคัญตามจุดมุ่งหมาย (4) ข้อสรุปในบททิ้งท้าย
ตอบ 3 หน้า 69 การฟังเพื่อเก็บสาระสำคัญ (Message Cues) เป็นการฟังที่ผู้ฟังจะต้องเข้าใจ จุดประสงค์ของตนเองว่าตนเองต้องการรับอะไรจากผู้พูด ในขณะเดียวกับก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ผู้พูดต้องการจะให้อะไรแก่ผู้ฟัง เมื่อผู้ฟังสามารถรู้หรืออ่านแนวความคิดของผู้พูดได้แล้ว ผู้ฟังก็จะตั้งใจฟังเพื่อเก็บประเด็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการฟัง
48. ข้อใดเป็นความต้องการรู้ของผู้ฟัง ตามทัศนะของอริสโตเติล
(1) ความฉลาดของผู้พูด (2) ทักษะของผู้พูด
(3) แรงบันดาลใจของผู้พูด (4) ผลประโยชน์ของผู้พูด
ตอบ 1 หน้า 70, (คำบรรยาย) ความต้องการที่จะรู้ของอริสโตเติล (Aristotle) คือ สิ่งที่ผู้ฟัง ต้องการเห็นหรือต้องการรู้เกี่ยวกับตัวผู้พูด มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1. ความฉลาดหรือสติปัญญาของผู้พูด 2. บุคลิกลักษณะ ท่วงที หรือลีลาในการนำเสนอ
3. ข้อคิดหรือสาระดี ๆ ที่ได้จากการพูด (Goodwill)
49. การแก้ปัญหาการพูดในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจะเตรียมการพูดล่วงหน้าได้ สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญ นอกเหนือจาก “สติ” คือ
(1) ข้อมูลส่วนตัว (2) แนวความคิดที่ใช้เป็นประจำ
(3) ภาพลักษณ์ที่สร้างมา (4) การฝึกซ้อมตอบคำถาม
ตอบ 4 หน้า 89, (คำบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกัน,การตอบปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ ไม่ต้องรีบตอบ
2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด
3. พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด 4. ฝึกซ้อมตอบคำถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้
5. พูดหรือตอบคำถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น และมีความหมายชัดเจน หากไม่แน่ใจในประเด็นคำถามก็อาจขอให้ผู้ถามทวนคำถามเพื่อความแน่นอน หรือนัดหมายให้กลับมาถามใหม่ หากไม่สามารถตอบคำถามนั้นได้
50. การตอบคำถามในการพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้า ควรมีลักษณะ
(1) ชี้แจงรายละเอียดและให้ข้อมูลมากที่สุด
(2) บอกปัดและถ่ายโอนไปให้ผู้ที่รู้มากกว่า หรือน่าจะรับผิดชอบแทนได้
(3) สั้น กระชับ มีประเด็น และความหมายชัดเจน
(4) นำสถิติและข้อมูลทางเทคนิคมาประกอบการทำความเข้าใจ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
51. ในกรณีที่ถูกซักถามในคำตอบที่ไม่ได้มีการเตรียมมา และไม่สามารถตอบคำถามนั้นได้วิธีการแก้ปัญหา ที่ดีที่สุด คือ
(1) นัดหมายให้กลับมาถามใหม่ (2) ขอโทษที่ทำให้ผิดหวัง
(3) แก้ตัวว่าไม่พร้อม (4) ย้อนถามว่าคุณรู้มาจากไหน
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
52. ข้อใดเป็นการแบ่งการพูดตามจุดมุ่งหมาย
(1) เร้าอารมณ์ สร้างจุดสนใจ (2) ให้ความบันเทิง เล่าความจริง
(3) บอกเล่า กล่าวความจริง (4) ท่องจำ กล่าวตามหัวข้อ
ตอบ 2 หน้า 92 – 95 การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เช่น การพูดในโอกาสพบปะลังสรรค์ หรือในงานรื่นเริง ฯลฯ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การพูดแนะนำ วิธีการใช้ยาหรือสมุนไพร ฯลฯ
3. การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า การพูดหาเสียงเลือกตั้ง การพูดเชิญชวนให้บริจาคโลหิต ฯลฯ
53. การเตรียมสาร ผู้เตรียมสามารถจัดทำได้ใน…….กรณี คือ
(1) กรณีเดียว คือ ของตัวเองเท่านั้น (2) 2 กรณี คือ ตัวเอง และคนอื่น
(3) 3 กรณี คือ ตัวเอง ผู้ฟัง และผู้เกี่ยวข้อง
(4) ไม่จำกัดกรณี เนื่องจากการพูดโดยปกติไม่สามารถจำกัดคนพูดได้
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
54. ในการพูดเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร มีอะไรเป็นสาระสำคัญ
(1) ความรู้ (2) บรรยากาศ
(3) อารมณ์ความรู้สึก (4) ความจริงที่เกิดขึ้น
ตอบ 1 หน้า 93 – 94, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง (ให้ข้อมูลข่าวสาร)มีจุดมุ่งหมายหรือสาระสำคัญ คือ เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ฟัง โดยจะบอกหรือ นำเสนอข้อมูลความจริงที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งผู้ฟังจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้
55. เป้าหมายของการพูดเพื่อชักจูงใจ คือ
(1) เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรม (2) การทำตามคำสั่ง
(3) สร้างภาวะทางอารมณ์กดดัน (4) ให้ตีความหมายข่าวสาร
ตอบ 1 หน้า 94 – 96, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจมีความแตกต่างจากการพูดจาตามปกติ ในเรื่องของการกำหนดเป้าหมายและวิธีการ เนื่องจากเป้าหมายของการพูดเพื่อชักจูงใจ คือ การชักจูงให้เปลี่ยน/ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนการกระทำ หรือเปลี่ยนความเชื่อและทัศนคติ (เป็นสิ่งที่การพูดทำได้ยากที่สุด) โดยคำนึงถึงเงื่อนไขของการให้ข้อมูลเพื่อการโน้มน้าวใจ ได้แก่
1. การสร้างความเลื่อมใสศรัทธา 2. นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ 3. ปลุกเร้าให้เกิดการกระทำ
56. การเตรียมเนื้อหาของรายงานที่จะพูดนั้น ไม่ควรที่จะ
(1) มีหัวข้อที่สั้น กระชับ ชัดเจน (2) ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้มีความเด่น ง่ายต่อการอ่าน
(3) บรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป (4) จัดทำอย่างประณีตด้วยความรอบคอบ
ตอบ 3 หน้า 139, (คำบรรยาย) หลักการเตรียมเนื้อหาของรายงานที่จะพูด มีดังนี้
1. เรียบเรียงเนื้อหาด้วยความประณีตและรอบคอบ
2. ใจความสำคัญของเนื้อหาต้องสั้น กระชับ ชัดเจน พร้อมทั้งมีข้อมูลทางสถิติ
3. ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้มีความเด่น ง่ายต่อการอ่าน โดยมีการใส่หมึกไฮไลต์ขีดทับ
4. ไม่ควรบรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป
5. เขียนบันทึกย่อประเด็นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ในการพูดไว้ท้ายกระดาษ
6. ใช้ข้อความที่ประกอบด้วยคำพูดเพื่อแสดงให้รู้ว่าจบเนื้อหาของเรื่องที่พูดตอนหนึ่ง ๆ แล้ว ฯลฯ
57. การเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น สิ่งใดเป็นตัวแปรที่เกิดจากเจ้าภาพได้มากที่สุด
(1) ความเชื่อ ทัศนคติของผู้ฟัง (2) ความสนใจที่มีต่อหัวข้อ
(3) เวลาที่ให้กับการพูด (4) บรรยากาศการประชุม
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ
58. การพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์มีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากการพูดประเภทอื่น ๆ อย่างไร
(1) เนื้อหาที่จะพูดต้องเป็นข้อเท็จจริงเสมอ (2) ต้องมีการนำเสนอโดยใช้เหตุผลประกอบ
(3) ต้องมีการจัดสมดุลของเนื้อหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่กล่าวอ้าง
(4) ต้องมีการใช้กติกา ข้อกำหนด หรือตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มาเป็นเกณฑ์
ตอบ 2 หน้า 169 การพูดวิจารณ์ หมายถึง การพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล และถูกหลักการวิจารณ์ ซึ่งลักษณะเฉพาะหรือจุดเด่นของการพูดวิพากษ์วิจารณ์ที่แตกต่างจาก การพูดชนิดอื่น ๆ คือ เป็นการพูดที่ต้องใช้หลักทางตรรกวิทยา (Logic) หรือใช้หลักทางเหตุผล มาประกอบ โดยจะไม่เอาอารมณ์ของผู้พูดเข้ามาเกี่ยวข้อง
59. ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมารยาทในการพูด
(1) กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (2) คิดให้ดีและรอบคอบ
(3) การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ (4) การรู้จักระเบียบแบบแผนทางสังคม
ตอบ 2 หน้า 65, (คำบรรยาย) มารยาทในการพูดและฟัง ถือเป็นกฎเกณฑ์พื้นฐานของการรักษาไว้ ซึ่งบรรยากาศของการสื่อสารอย่างเห็นหน้าตากัน โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมารยาทใน การพูด คือ การรู้จักคิดให้ดีและรอบคอบก่อนพูด ซึ่งเป็นมารยาทในการพูดข้อแรกที่วิชาวาทวิทยาให้ความสำคัญมากที่สุด
60. คำนำ หมายถึง
(1) การนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง
(2) กลวิธีนำเสนอ (3) การทักทายผู้ฟัง (4) ความคิดรวบยอดของเรื่อง
ตอบ 1 หน้า 34 – 40, (คำบรรยาย) โครงสร้างของการพูด ประกอบด้วย
1. คำปฏิสันถาร หมายถึง คำทักทายผู้ฟัง
2. คำนำ หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง หรือการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง
3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูลหลักของการนำเสนอ หรือกลวิธีนำเสนอ
4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง
5. คำลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้ายเพื่อความประทับใจ
(ในส่วนของสรุปและคำลงท้ายอาจสลับที่กันได้ ซึ่งจะทำเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญ พอสมควร)
61. ในโครงสร้างของการพูดส่วนที่เป็นเนื้อหานั้น ประเด็นหลักตามหัวข้อต่าง ๆ จะต้องถูกขยายความหรือ อธิบายตามด้วย
(1) ส่วนเสริมอื่น ๆ (2) ข้อมูลในประเด็นถัดไป
(3) ข้อคิดเห็นของผู้พูด (4) ข้อมูลสนับสนุนแต่ละประเด็น
ตอบ 4 (คำบรรยาย) โครงสร้างเนื้อหาของการพูด ประกอบด้วย 1. ประเด็นหลัก
2. ข้อมูลสนับสนุนแต่ละประเด็น (อธิบายหรือขยายความประเด็นหลัก)
3. ส่วนเสริมอื่น ๆ (เช่น แทรกมุขตลก ใช้สื่อประกอบการนำเสนอ ฯลฯ)
62. หากพิจารณาตามแบบธรรมเนียมแล้ว การปฏิสันถารแบ่งเป็น
(1) ภายนอก ภายใน
(2) พิธีการ ไม่เป็นพิธีการ (3) ส่วนตัว ส่วนรวม (4) เพื่อเจ้าภาพ เพื่อผู้รับเชิญ
ตอบ 2 หน้า 34, (คำบรรยาย) การกล่าวคำปฏิสันถารหรือคำทักทาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. คำปฏิสันถารที่เป็นพิธีการ คือ การกล่าวคำทักทายที่มีแบบแผน ขั้นตอน รูปแบบ และ ลำดับ ซึ่งมักจะใช้ในงานรัฐพิธี งานศาสนพิธี และงานพิธีต่าง ๆ
2. คำปฏิสันถารที่ไม่เป็นพิธีการ คือ การกล่าวคำทักทายที่ไม่มีแบบแผน ขั้นตอน รูปแบบ และลำดับ ซึ่งมักจะใช้ในการพูดอภิปราย ปาฐกถา หรือการกล่าวคำปราศรัยของ นักการเมือง นักปกครอง ดารา ฯลฯ
63. การพูดที่ส่งเสริมประชาธิปไตย พิจารณาจาก
(1) ความเห็นที่ถูกต้อง
(2) สมดุลในการสื่อสาร (3) มติที่ได้จากการลงคะแนน (4) ความเป็นผู้นำ-ผู้ตาม
ตอบ 2 หน้า 67, (คำบรรยาย) การพูดที่ส่งเสริมประชาธิปไตยจะพิจารณาจากความสมดุลในการสื่อสารเป็นสำคัญ โดยผู้พูดไม่ควรผูกขาดการพูดแต่เพียงคนเดียว ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นพูดและ แสดงความคิดเห็นบ้าง อันเป็นการแสดงออกถึงมารยาทที่ดีงามในการพูด
64. Rehearsal หมายถึง
(1) พูดซ้ำ ๆ จนชำนาญ
(2) ฟังความคิดเห็น (3) ซักซ้อมและปรับปรุง (4) ทบทวนสาระในการพูด
ตอบ 3 หน้า 51-52, (คำบรรยาย) การฝึกซ้อมพูด (Rehearsal.) ในเชิงวาทวิทยา คือ การทดสอบตัวเองโดยอาศัยแนวคิดการฟังตนและคนอื่น เพื่อเตรียมความพร้อมของเนื้อหาและบุคลิกภาพ ในการพูด ซึ่งการซ้อมพูดมีความสำคัญในฐานะเป็นกระบวนการสำรวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในระหว่างการพูด เพื่อปรับปรุงแก้ไขสิ่งผิดพลาดและกำจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไปให้หมด แล้วจึงสำรวจสิ่งที่จำเป็นในการนำเสนอเพิ่มเติม
65. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ประธานในการประชุม
(1) รักษาเวลาการประชุม (2) จดบันทึกรายงานการประชุม
(3) เปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็น (4) ชักชวนให้ประชุมอย่างสงบ
ตอบ 2 หน้า 204 – 206 ประธานที่ประชุมมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. รักษาเวลาการประชุม
2. เปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็น 3. ชักชวนให้ประชุมอย่างสงบ ฯลฯ
(ส่วนการจดบันทึกรายงานการประชุม เป็นหน้าที่ของเลขานุการ)
66. การพูดเพื่อรายงานการประชุม มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) พูดเพื่อชักจูงใจ (2) พูดเพื่อให้เกิดความรู้สึกสมานฉันท์
(3) พูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า (4) พูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้
ตอบ 4 หน้า 90, 207 การพูดรายงานการประชุมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพูดรายงานชนิดอื่น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การพูดรายงานการประชุมก็คือ การอ่านรายงานการประชุมที่เขียนเสร็จ เรียบร้อยแล้ว หรือเป็นการพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้นั่นเอง
67. ข้อใดไม่ใช่การสรุปการพูดที่พึงประสงค์
(1) ย่อความ (2) รวมความ (3) ทิ้งคำถาม (4) ทวนแนวคิด
ตอบ 1 หน้า 38, (คำบรรยาย) เทคนิคหรือวิธีการสรุปการพูด ได้แก่
1. การรวมความ หรือทวนแนวคิดสำคัญ (การสรุปไม่ใช่การย่อความ)
2. การทิ้งประเด็น 3. การถามผู้ฟัง (ทิ้งคำถาม) 4. การฝากกลับไปคิด ฯลฯ
68. หลักการแสดงออกทางใบหน้าที่ใช้ได้ดีในทุกสถานการณ์การพูด คือ
(1) ยิ้มแย้มเข้าไว้ (2) จริงจังและจริงไจ
(3) จ้องหน้าอย่ากะพริบตา (4) เปลี่ยนเรื่อง-เปลี่ยนสีหน้า
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ
69. ข้อใด คือ ต้นฉบับที่พึงประสงค์โดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพในการนำไปใช้งาน
(1) สวยงามเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ผู้จัดงานหรือผู้นำไปใช้
(2) พอดีกับเวลาที่มีโดยมีเนื้อหาเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
(3) โดดเด่นโดยมีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของผู้พูดหรือลักษณะงาน
(4) ไม่มีร่องรอยแก้ไขเพราะเป็นการแสดงออกถึงความมีวินัยและรอบคอบในการทำงาน
ตอบ 2 หน้า 40, (คำบรรยาย) ลักษณะของต้นฉบับที่พึงประสงค์ มีดังนี้ 1. ใช้ภาษาที่สุภาพ
2. มีเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามโครงสร้างของการพูดแบบสากล
3. ลำดับความคิดน่าติดตาม (ฟังแล้วไม่สับสน) 4. สอดคล้องหรือพอดีกับเวลาที่มี ฯลฯ
70. เมื่อจัดทำต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือ
(1) เก็บไว้ในที่ซึ่งมิดชิด ป้องกับการสูญหายหรือถูกโจรกรรม
(2) จัดวางไว้ที่ผู้พูดจะต้องขึ้นพูด เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ลดขั้นตอนทำงาน
(3) ทำสำเนาอีกอย่างน้อย 1 ชุด ให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสำรองไว้
(4) นำไปเย็บเข้าเล่มให้เรียบร้อย เพื่อเป็นหลักฐานการทำงาน
ตอบ 3 หน้า 40, (คำบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดต้องปฏิบัติหรือดำเนินการเมื่อจัดทำต้นฉบับเสร็จเรียบร้อย แล้ว มีดังนี้ 1. ตรวจทานและแก้ไขอย่างรอบคอบ
2. ซ้อมก่อนพูดหรือก่อนนำต้นฉบับไปใช้เสมอ 3. กำจัดสิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป
4. ทำสำเนาเก็บไว้อย่างน้อย 1 ชุด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องประสานงานเก็บสำรองไว้ ฯลฯ
71. ก่อนจะนำต้นฉบับไปใช้ ผู้พูดต้อง……….ก่อนเสมอ
(1) อ่านทบทวน (2) บันทึกเลขลำดับ (3) เก็บใส่ซอง (4) ซ้อม
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ
72. ข้อใดไม่ใช่หลักการใช้กิริยาท่าทางในการพูดที่มีประสิทธิภาพ
(1) นิ่งสยบความเคลื่อนไหว (2) เน้นย้ำสิ่งใดให้ทำท่าประกอบ
(3) ท่าทางสนับสนุนท่าที (4) จัดระเบียบร่างกายให้สัมพันธ์กับพื้นที่
ตอบ 1 หน้า 18, (คำบรรยาย) หลักการแสดงกิริยาท่าทางในการพูด ได้แก่
1. เป็นการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง สร้างประสิทธิภาพการสื่อสาร
2. จำไว้ว่าคนเราสนใจภาพเคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง
3. แสดงท่าทางประกอบเมื่อต้องการอธิบายหรือเน้นข้อความ
4. กิริยาท่าทางต้องสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิด
5. ต้องเหมาะกับโอกาสและเรื่องที่จะพูด
6. เรียบร้อย สุภาพ 7. ไม่ซ้ำซาก มีชีวิตจิตใจ
73. เรื่องสำคัญที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ อาศัยหลักการใดในการพูด
(1) ตอกย้ำแต่ไม่ซ้ำซาก (2) ย้ำคิดย้ำทำ (3) สั่งสอนให้สำนึก (4) บอกใบ้ให้ทายใจ
ตอบ 1 (คำบรรยาย) ผู้พูดควรกล่าวย้ำหรือตอกย้ำในเรื่องสำคัญที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้เรื่องที่พูดมีความชัดเจน น่าสนใจ และยังทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำเรื่องนั้น ๆ ได้มากขึ้น แต่ ต้องระวังไม่ไปตอกย้ำจนเกิดความซ้ำซาก หรือย้ำคิดย้ำทำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ฟัง เกิดความเบื่อหน่าย และเรื่องที่เน้นก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญไป
74. บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์
(1) ผู้นำองค์กร (2) ผู้มีอำนาจตัดสินใจ
(3) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น (4) ผู้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 257 – 258, (คำบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) เรียงตามลำดับ ความสำคัญของบุคคลได้ ดังนี้ 1. เป็นผู้รู้ (สำคัญที่สุด) 2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น หรืออยู่ในเหตุการณ์ 3. เป็นผู้นำ ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสำคัญ 4. เป็นผู้มีประสบการณ์ 5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ 6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง
75. ข้อใดเป็นมารยาทสำคัญของการสัมภาษณ์แบบเป็นพิธีการ
(1) ต้องสัมภาษณ์อย่างกระชับ ชัดเจน ใช้เวลาน้อยที่สุด
(2) เลือกหัวข้อสัมภาษณ์ตรงตามภาระหน้าที่ของผู้สัมภาษณ์
(3) มีการบันทึกเทป และออกอากาศตรงเวลาตามที่ตกลงกันไว้
(4) มีการนัดเวลา และกำหนดโครงสร้างของแบบสัมภาษณ์
ตอบ 4 หน้า 256 การสัมภาษณ์แบบที่เป็นพิธีการ (Formal Interview) คือ การที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องตระเตรียมและแจ้งเรื่องที่จะสัมภาษณ์ กำหนดโครงสร้างของแบบสัมภาษณ์ นัดวัน เวลา และ สถานที่ที่จะสัมภาษณ์ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า เพื่อว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะได้มีเวลาเตรียมตัว ซึ่งการสัมภาษณ์ชนิดนี้มักจะเป็นการสัมภาษณ์บุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน เช่น บุคคลในวงการเมือง เชื้อพระวงศ์ ผู้บริหารประเทศ ฯลฯ
76. ในการพูดที่ต้องอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ประกอบการพูดนั้น ความเป็นจริงที่ผู้พูดจะต้องระลึกไว้ตลอดเวลา คือ
(1) อุปกรณ์ทุกอย่างสามารถใช้แทนคำพูดได้
(2) อย่าใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอมาทดแทนการให้ความรู้ในทุกเรื่อง
(3) จับจ้องมองอุปกรณ์ตลอดเวลาที่ผู้ฟังมองมายังผู้พูด
(4) อุปกรณ์ คือ ตัวแทนผู้พูดที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด
ตอบ 2 หน้า 122, (คำบรรยาย) หลักการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ประกอบการพูดเชิงสาธิต มีดังนี้ 1. อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือสิ่งที่ใช้ประกอบต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับเนื้อหา ของการพูด 2. ผู้พูดสำคัญที่สุดในการถ่ายทอด ส่วนเครื่องมือเป็นเพียงส่วนเสริม จึงไม่มีอุปกรณ์ใด ๆ จะดีที่สุดในทุกกรณี 3. เครื่องมือไมใช่การพูด อย่าใช้เครื่องมือโดยไม่จำเป็น 4. ขณะใช้สื่อเป็นเครื่องมือ ผู้พูดอย่าขัดจังหวะหรือดึงความสนใจออกจากผู้ชม/ผู้ฟัง
77. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสำคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) ทำให้รู้ซึ้งถึงข้อมูลเชิงลึก (2) ทำให้มีการทบทวนเหตุการณ์
(3) ทำให้ความจริงถูกเปิดเผย (4) ทำให้มีการจัดระเบียบข่าวสาร
ตอบ 1 หน้า 33, 255, (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวบการพูดคุยโดยมี เป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรง ผ่านบุคคล ที่มีการเลือกสรรแล้ว ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจง ตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์และสถานการณ์ขณะนั้น
78. มารยาทในการสัมภาษณ์มีความเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
(1) การให้เกียรติ (2) ข้อมูลสำคัญ (3) ผลตอบแทน (4) เวลา
ตอบ 1 หน้า 259, 263 มารยาทที่ดีของผู้สัมภาษณ์ย่อมทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความร่วมมือ ซึ่งการที่ ผู้สัมภาษณ์จะแสดงมารยาทที่ดีได้นั้นก็ต่อเมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ให้สัมภาษณ์ และที่สำคัญ ต้องรู้จักให้เกียรติผู้ให้สัมภาษณ์ด้วยการรักษาความลับส่วนบุคคลของผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย
79. มนุษยสัมพันธ์ในการสัมภาษณ์ เป็นผลมาจากการรู้จัก
(1) พัฒนาตน
(2) นำเหตุผลมาใช้ (3) ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ (4) ถาม
ตอบ 3 หน้า 258, (คำบรรยาย) คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ประการหนึ่ง คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคลทุกคน หรือไม่ทำลายบรรยากาศการพูดคุย จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น
80. หากคุณเป็นผู้ประสานงานในการจัดสัมมนา คุณควรจัด……..ให้กับวิทยากร
(1) น้ำชาอุ่น ๆ (2) น้ำเย็นพร้อมด้วยน้ำแข็ง
(3) น้ำที่อุณหภูมิห้อง (4) น้ำส้มหรือน้ำผลไม้ตามฤดูกาล
ตอบ 3 (คำบรรยาย) ในการจัดสัมมนา ผู้ประสานงานควรจัดเตรียมน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้องให้กับ วิทยากรที่ขึ้นพูด ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยรักษาน้ำเสียงให้แจ่มใส กังวานชัดเจน
81. ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเตรียมเนื้อเรื่องโดยตรง
(1) ผู้ฟังเป็นใคร (2) ใครเป็นเจ้าภาพ (3) เวลามีอยู่เท่าใด (4) พิธีกรคนไหน
ตอบ 4 หน้า 31, (คำบรรยาย) หลักการเตรียมเนื้อเรื่อง มีข้อควรพิจารณา ดังนี้
1. ต้องวิเคราะห์ผู้ฟังว่าเป็นใคร มีอายุ ระดับการศึกษา เพศ อาชีพ ฯลฯ อย่างไร
2. พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ 3. ตรวจสอบว่ามีเวลาในการพูดเท่าไร
4. ปรับให้เหมาะกับสถานที่ และเจ้าภาพ
82. ประธานในที่ประชุมควรเสนอความคิดเห็นของตนอย่างไรจึงเหมาะสมที่สุด
(1) เป็นคนสุดท้าย (2) ตลอดเวลา (3) ครั้งที่เปลี่ยนวาระ (4) เป็นคนแรก
ตอบ 1 หน้า 205 หน้าที่ของประธานในที่ประชุมประการหนึ่ง คือ ประธานจะต้องเปิดโอกาส และช่วยให้ผู้เข้าประชุมได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มความสามารถ โดยประธาน ไม่ควรเสนอความคิดเห็นของตนเป็นคนแรก แต่ควรเสนอความคิดเห็นเป็นคนสุดท้าย
83. ถ้านายเยี่ยมยอดไร้ที่ติ ไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุม (ที่ครบองค์ประชุม) เขาต้องทำอย่างไร
(1) ไม่ต้องปฏิบัติตาม (2) ต้องปฏิบัติตาม
(3) ขอแปรญัตติต่อประธาน (4) ขอให้มีการทบทวนมติ
ตอบ 2 หน้า 203 มติ คือ ข้อตกลงของที่ประชุมในญัตติต่าง ๆ ที่มีผู้เสนอ ซึ่งมติของที่ประชุม (ที่ครบองค์ประชุม)ให้ถือเป็นข้อยุติที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามถึงแม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม
84. ดร.รสสุคนธ์เป็น ส.ส. และต้องการขอแปรญัตติในที่ประชุม เขาควรทำอย่างไร
(1) เสนอด้วยวาจาต่อประธาน (2) เสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธาน
(3) เสนอด้วยวาจาต่อเลขาฯ (4) เสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเลขาฯ
ตอบ 2 หน้า 203, (คำบรรยาย) แปรญัตติ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นซ้อนขึ้นในญัตติ หรือการเสนอขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมญัตตินั้น ๆ โดย ส.ส./ส.ว. ที่ต้องการขอแปรญัตติ ในที่ประชุมจะต้องเสนอคำขอแปรญัตติของตนเป็นหนังสือ (เป็นลายลักษณ์อักษร) ต่อประธาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด และคำแปรญัตติต้องมี ส.ส./ส.ว. อื่นรับรองเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภา
85. ข้อใดไม่ใช่ประเด็นพิจารณาสำหรับการเริ่มคิด
(1) ใช้สื่ออะไรดี (2) เกี่ยวกับอะไร
(3) มีข้อมูลหรือเปล่า (4) มั่นใจที่จะพูดหรือไม่
ตอบ 1 หน้า 31, (คำบรรยาย) ขั้นตอนการเริ่มคิดในการเตรียมเนื้อเรื่องมีข้อควรพิจารณา ดังนี้ 1. เรื่องที่พูดเกี่ยวกับอะไร 2. มีข้อมูลหรือเปล่า 3. มั่นใจที่จะพูดหรือไม่
86. การจัดลำดับของเนื้อเรื่องที่จะพูด ไม่ควรอาศัยกฎเกณฑ์ใด
(1) ความสำคัญของปัญหา (2) ปริมาณของผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(3) พื้นที่และขอบเขตทางภูมิศาสตร์ (4) ประสบการณ์รับรู้ของผู้เตรียมสาร
ตอบ 4 หน้า 36 – 37, (คำบรรยาย) การเรียงประเด็นหรือจัดลำดับเนื้อเรื่องของการพูดมีวิธีการดังนี้
1. เรียงตามลำดับเวลา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการนำเสนอและทำให้สับสนน้อยที่สุด
2. เรียงตามสถานที่เกิดเหตุ หรือพื้นที่และขอบเขตทางภูมิศาสตร์
3. เรียงตามคำจำกัดความ 4. เรียงตามหมวดหมู่
5. เรียงตามเหตุผล 6. เรียงตามแนวคิด ทฤษฎี
7. เรียงตามผลกระทบที่เกิดขึ้น 8. เรียงตามความสำคัญของปัญหา (เนื้อเรื่อง)
87. การเรียงประเด็นหรือเนื้อหาของการพูดที่ง่ายต่อการนำเสนอที่สุด และทำให้เกิดความสับสนน้อยที่สุด คือ
(1) เรียงตามลำดับตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
(2) เรียงตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หรือตำแหน่งที่เป็นสากล
(3) เรียงตามลำดับเวลาก่อนหลังของเหตุการณ์
(4) เรียงตามลักษณะของผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้น
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ
88. เมื่อคุณนึกหรือคิดเนื้อหาที่จะพูดในลำดับต่อไปไม่ออก วิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา คือ
(1) หาเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่พูดอยู่มาแทรกแล้วพูดต่อเนื่องไป
(2) หยุดการพูด ขอพักชั่วคราว และรีบค้นต้นฉบับหรือบันทึกย่อที่เตรียมมาโดยด่วน
(3) ส่งต่อการพูดไปยังพิธีกรหรือผู้ร่วมสัมมนา แล้วค่อย ๆ เรียบเรียงการพูดขึ้นใหม่
(4) กลบเกลื่อนโดยการสนทนาร่วมกับเจ้าภาพ หรือผู้ดำเนินการอภิปราย
ตอบ 1 หน้า 54 ในบางครั้งการตื่นเวทีจะทำให้ผู้พูดลืมเรื่องที่เตรียมมาพูดได้ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ผู้พูด ควรจะคิดหาเรืองอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเด็นหรือเรืองที่พูดมาแทรกแล้วพูดต่อเนื่องไป แต่ถ้าคิดไม่ทันก็ควรข้ามไปพูดหัวข้อตอนใหม่แทน ทั้งนี้ผู้พูดไม่ควรหยุดนึกหรือมองเพดาน เพราะจะยิ่งทำให้อึดอัดใจและเสียกำลังใจมากขึ้น
89. หากนักศึกษาได้รับคำสบประมาทว่า ไม่สามารถพัฒนาการพูดของตนเองได้มากไปกว่านี้ นักศึกษาควรจะทำอย่างไรในฐานะผู้ที่เรียนวิชาการพูดหรือวาทวิทยามาแล้ว
(1) ไม่ต้องสนใจ เพราะจะมีกี่คนที่เรียนการพูดมาโดยตรง เปล่าประโยชน์ที่จะฟัง
(2) แสดงความรู้สึกให้เห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้น คุณเป็นใคร มีสิทธิอะไรมาวิจารณ์
(3) ฟังด้วยจิตใจสงบ หันมาสำรวจตนเอง ยอมรับและแก้ไขข้อผิดพลาด
(4) ฟังแล้วก็ผ่านไป ใครก็พูดกันได้ทั้งนั้น คุณก็ไม่ต่างกับฉันซักเท่าไร
ตอบ 3 หน้า 486 ผู้ถูกวิจารณ์ไม่ควรท้อถอยเมื่อรู้ว่าการพูดของตนนั้นจะถูกนำไปวิจารณ์แต่ควรยึดถือข้อแนะนำ ดังนี้ 1. ต้องเป็นผู้มีมารยาทในการฟัง โดยฟังด้วยจิตใจที่สงบ ทำใจให้เป็นกลาง ยอมรับฟังข้อติของผู้อื่น โดยจะต้องไม่โกรธและถกเถียงกัน 2. นำข้อติและข้อแนะนำมาสำรวจตนเอง พร้อมทั้งปรับปรุงการพูดของตนให้ดีขึ้น
90. สิ่งแรกที่ผู้พูดถูกจับตาจากผู้ชม-ผู้ฟัง คือ
(1) ภาษาที่ใช้ว่ามีรสนิยมหรือสอดคล้องกับความเคยชินของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่
(2) การประมวลเรื่องจะเป็นการแสดงว่ามีการเตรียมตัวดีพอหรือไม่
(3) ความคิดที่สอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกันกับประเด็นที่จะถ่ายทอด
(4) ท่าทีและการปรับตัวโดยทั่วไป โดยเฉพาะบุคลิกภาพที่กลมกลืนกับงานนั้น
ตอบ 4 หน้า 486 หลักเกณฑ์ประการแรกในการวิจารณ์หรือการประเมินผลการพูดทั่ว ๆ ไป คือการวิจารณ์ท่าทีและการปรับตัวโดยทั่วไป โดยเฉพาะบุคลิกภาพที่กลมกลืนกับงานนั้น เพราะ เป็นสิ่งแรกที่ผู้พูดจะถูกจับตาจากผู้ชม-ผู้ฟัง ซึ่งผู้วิจารณ์ต้องเริ่มพิจารณาจากการปรากฏตัว ของผู้พูดว่ามีความประหม่าหรือไม่ มีความมั่นใจในตนเองหรือไม่ ตลอดจนมีลักษณะที่แจ่มใส คล่องแคล่ว เป็นธรรมชาติ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศทั่ว ๆ ไปได้หรือไม่
91. การพากย์กีฬาเรือยาว เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจำ (2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม (4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ
92. ข่าวหลังละครช่วงดึก เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจำ (2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม (4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
ตอบ 2 หน้า 90 การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดที่อ่านจากโน้ตที่ได้เตรียมไว้โดยไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเลย จึงเป็นการอ่านมากกว่าการพูด ซึ่งมักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ เช่น สุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ การอ่านข่าว การอ่านบทความ การกล่าวคำปราศรัย เนื่องในโอกาลต่าง ๆ คำแถลงการณ์ของรัฐบาล/คณะปฏิวัติ การอ่านรายงาน เปิดกิจการ ฯลฯ
93. นักพูดหน้าใหม่ที่มีประสบการณ์น้อย ควรฝึกซ้อมการพูดอย่างไรจึงจะดีที่สุด
(1) ฝึกซ้อมพูดกลางถนน ท่ามกลางคนที่เดินผ่านไปมา
(2) ฝึกซ้อมพูดกับรูปปั้นในสวนซึ่งเงียบสงบ ได้บรรยากาศที่ดี
(3) ฝึกซ้อมพูดหน้ากระจกในห้องคนเดียว เนื่องจากมีอยู่แทบทุกบ้าน
(4) ฝึกซ้อมพูดกับนักพูดเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้เร็วยิ่งขึ้น
ตอบ 4 หน้า 52, (คำบรรยาย) วิธีฝึกซ้อมพูดกับผู้เชี่ยวชาญ คือ มีนักพูดผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรการพูด หรือครูอาจารย์ดี ๆ คอยแนะนำให้เป็นการส่วนตัว จึงถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับนักพูดหน้าใหม่ ที่มีประสบการณ์น้อย เพราะจะทำให้ทราบว่าตนเองบกพร่องในเรื่องใดและควรแก้ไขในข้อใด ซึ่งโดยปกติแล้วในการพูดนั้นจะฝึกซ้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับการพูดโดยตรง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านบุคลิกภาพและวิธีการนำเสนอ 2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา
94. สิ่งใดเป็นวิธีช่วยแก้ความตื่นเวทีได้
(1) คิดไปว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และเขาก็อยากฟังเราพูด
(2) รีบ ๆ พูดให้เร็ว ๆ ซะ จะได้จบเกมกันเสียที
(3) ดื่มน้ำเข้าไปเยอะ ๆ ทดแทนการเสียเหงื่อ
(4) ใส่เสื้อผ้ารัด ๆ ฟิต ๆ ให้ดูเท่เข้าไว้ จะได้เพิ่มความมั่นใจ
ตอบ 1 หน้า 54 – 55 วิธีแก้ความตื่นเวที มีดังนี้
1. หายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ ประมาณ 4 – 5 ครั้ง
2. เมื่อเริ่มพูด ถ้ารู้สึกว่าเสียงสั่นและยังประหม่ามากให้พูดช้า ๆ พยายามหลีกเลี่ยงการพูดเร็ว
3. พยายามคิดว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และคิดว่าผู้ฟังที่มองตานั้นเขามองด้วยความศรัทรา ให้กำลังใจ และอยากฟังเราพูด
4. ควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายที่ตึง รัด และเป็นอุปสรรคต่อการพูด ฯลฯ
95. มารยาทที่ดีงามในการพูด คือข้อใด
(1) พูดอวดความเก่งกาจของตนเอง
(2) พูดอย่างเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
(3) แสดงพฤติกรรมตามยถากรรม และปล่อยวางทุกสิ่ง
(4) ใช้วาจารุนแรงในการโน้มน้าวใจ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ
96. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
(1) พูดโฆษณาขายกาแฟลดความอ้วน โดยบรรยายคุณภาพสินค้า
(2) พูดหาเสียงเลือกตั้ง โดยนำเสนอสัญญาว่าจะทำอะไรในอนาคตให้กับชุมชน
(3) พูดวิธีการใช้สมุนไพรในครัวเรือนอย่างถูกวิธี ประหยัด ปลอดภัย
(4) พูดเชิญชวนบริจาคโลหิตด้วยการบอกบุญและประโยชน์สาธารณะ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ
97. การพูดให้ความในขั้นศาล เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดรายงานแบบสรุปผล (2) การพูดรายงานแบบความก้าวหน้าและผลสำเร็จ
(3) การพูดรายงานแบบประสบการณ์ (4) การพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง
ตอบ 4 หน้า 140, (คำบรรยาย) การพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง เป็นการเสนอข้อเท็จจริงหลักฐาน ข้อมูล วัตถุประสงค์ หลักการ และสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้จากการสังเกต การทดลอง การสำรวจ และการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ตัวอย่างของการพูดรายงานแบบนี้ คือ การพูดให้ความ (ให้การ) ในขั้นศาล การรายงานถึงโครงการหรือนโยบายที่จะกระทำ หรือที่ กำลังกระทำอยู่ เช่น โครงการกู้เงินตราต่างประเทศ โครงการศูนย์การค้าไทยในต่างประเทศ โครงการขออนุมัติงบประมาณ เป็นต้น
98. การเตรียมเนื้อหาของนักศึกษาที่จะนำไปพูดเพื่อนำเสนอรายงานให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
(1) ทำเป็นหัวข้อที่สั้น ๆ หรือเป็นบันทึกย่อ แล้วพูดโดยใช้ประสบการณ์
(2) ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้มีความเด่น ง่ายต่อการอ่าน โดยมีการใส่หมึกไฮไลต์ขีดทับ
(3) บรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
(4) ทำเป็นบันทึกย่อประเด็นสำคัญแยกให้กับทุกคนที่ต้องพูดนำเสนอ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ
99. การที่วิทยากรที่มาจากหน่วยงานซึ่งมีชื่อเสียงพูดชมนักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าแต่งกายเรียบร้อย มีระเบียบ สมวัย เป็นการกระตุ้นทางใด
(1) ทางร่างกาย (2) ทางจิตใจ (3) ทางนิสัย (4) ทางสังคม
ตอบ 3 หน้า 96, (คำบรรยาย) การพูดกระตุ้นทางนิสัย เป็นการพูดในสิ่งที่ดีงามของผู้ฟัง เช่น กล่าวชมผู้ฟังว่าเป็นคนตรงต่อเวลา ทำงานดี เป็นผู้ที่มีรสนิยมดี น่ารัก แต่งกายเรียบร้อย มีระเบียบ สมวัย มีงานอดิเรกหรือมีความสนใจในสิ่งแวดล้อมดี เป็นต้น
100. การพูดให้พนักงานร้านสะดวกซื้อที่เข้ามามีฝึกอบรมที่กระทรวงพาณิชย์มีความรู้สึกว่า ตนเอง เป็นคนมีเกียรติเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ในสังคม ควรพูดกระตุ้นในทางใด
(1) ทางร่างกาย (2) ทางจิตใจ (3) ทางสังคม (4) ทางนิสัย
ตอบ 3 หน้า 96 การพูดกระตุ้นทางสังคม ผู้พูดจะต้องพูดให้ได้ผลออกมาในรูปที่ว่า ผู้ฟังเป็นคนที่ กว้างขวาง มีเกียรติ เป็นที่รู้จักในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่มีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคมเหมือนกัน