การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555
ข้อสอบกระบวบวิชา MCS 1300 (MC 130) หลักการพูดเบื้องต้น
คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)
ข้อ 1. – 10. จงใช้ข้อมูลที่ให้มาดังต่อไปนี้ตอบคำถาม
พระราชดำรัส
(ก)………แก่……..(ข)……..ต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ
……….(ค)………..
(ง)…………โอกาส……………(จ)
(ฉ)………..(ช)…………..สวนจิตรลดา
พระราชวังดุสิต
(ซ)…………(ฌ)………….(ญ)…………….
1. คำตอบของข้อ (ก) คือ
(1) โปรดเกล้าฯ (2) พระราชวินิจฉัย (3) ถวาย (4) พระราชทาน
ตอบ 4 หน้า 40 – 42, (คำบรรยาย) จากข้อมูลที่ให้มาข้างต้น เป็นการร่างแบบฟอร์มการพูด ซึ่งสามารถเขียนให้ถูกต้องได้ ดังนี้
พระราชดำรัส
(ก)พระราชทาน แก่ (ข) คณะบุคคล ต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ
(ค)ถวายชัยมงคล
(ง)เนื่องในโอกาส (จ) วันเฉลิมพระชนมพรรษา
(ฉ) ณ (ช) ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา
พระราชวังดุสิต
(ซ) วันจันทร์ที่ 4 (ฌ) ธันวาคม (ญ) 2538
(คำว่า “พระราชทาน” หมายถึง ให้ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน, “โปรดเกล้าฯ” หมายถึง มีเมตตา พอใจ, “พระราชวินิจฉัย” หมายถึง คำตัดสินชี้ขาด, “ถวาย” หมายถึง มอบให้ใช้กับพระสงฆ์ หรือเจ้านาย)
2. คำตอบของข้อ (ข) คือ
(1) เหล่าขุนนาง (2) พสกนิกร (3) คณะบุคคล (4) ตัวแทนประชาชน
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ (คำว่า “คณะบุคคล” ในที่นี้หมายถึง บุคคลหลายฝ่าย อาจเป็น ข้าราชการ ทหาร หรือพลเรือน)
3. คำตอบของข้อ (ค) คือ
(1) ถวายชัยมงคล (2) ถวายพระพร (3) ถวายความจงรักภักดี (4) ถวายคำสัตย์
ตอบ1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ (คำว่า “ถวายชัยมงคล” หมายถึง อวยพร เป็นคำที่สามัญชนทั่วไปใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน, “ถวายพระพร” หมายถึง อวยพร เป็นคำที่พระสงฆ์ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน, “ถวายความจงรักภักดี” หมายถึง แสดงความจงรักภักดี, “ถวายคำสัตย์” หมายถึง ให้คำสัตย์ ปฏิญาณตน)
4. คำตอบของข้อ (ง) คือ
(1) วาระ (2) เนื่องใน (3) เนื่องด้วย (4) ใน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ (คำว่า “เนื่องใน” ในที่นี้ จะใช้กับโอกาสที่เป็นทางการ แต่ถ้า เป็นโอกาสทั่ว ๆ ไปอาจใช้ “ใน” เพียงอย่างเดียวก็ได้)
5. คำตอบของข้อ (จ) คือ
(1) วันเฉลิมพระขนมพรรษา (2) วันพระราชสมภพ (3) วันประสูติ (4) วับพระราชกำเนิด
ตอบ1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ (คำว่า “วันเฉลิมพระขนมพรรษา” หมายถึง วันคล้ายวันเกิด, “วันพระราชสมภพ” หมายถึง วันเกิด ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน, “วับประสูติ” หมายถึง วันเกิด ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์, “วันพระราชกำเนิด” เป็นการใช้คำราชาศัพท์ผิด)
6. คำตอบของข้อ (ฉ) คือ
(1) เพื่อ (2) โดย (3) ที่ (4) ณ
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ (คำว่า “ณ’’ เป็นคำบุรพบทที่ใช้บอกเวลาหรือสถานที่ มักใช้กับ การเขียนที่เป็นทางการ)
7. คำตอบของข้อ (ช) คือ
(1) พระตำหนักจักรีบงกช (2) พระบรมมหาราชวัง
(3) ท้องพระโรง (4) ศาลาดุสิตดาลัย
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ (ศาลาดุสิตดาลัย เป็นศาลาอเนกประสงค์ในพระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต)
8. คำตอบของข้อ (ช) คือ
(1) วันจันทร์ที่ 4 (2) วันอันเป็นมงคลฤกษ์ (3) วันพระราชสมภพ (4) วันประจำรัชกาล
ตอบ 1 หน้า 41, (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ) ข้อความบรรทัดสุดท้ายก่อนจบส่วนแบบนำการพูด จะเป็นการเขียนวัน เดือน ปีที่พูด และเมื่อจบส่วนแบบนำการพูดแล้ว ผู้ร่างอาจขีดเส้นไต้ ทำเส้นประ ใส่สัญลักษณ์ขององศ์กร หรือใส่รูปเล็ก ๆ คั่นก็ได้
9. คำตอบของข้อ (ฌ) คือ
(1) เดือนสิบสอง (2) ธันวาคม (3) ขึ้น 13 ค่ำ (4) ราศีธนู
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. และ 8. ประกอบ
10. คำตอบของข้อ (ญ) คือ
(1) รัชกาลปัจจุบัน (2) ปีกุน (3) พุทธศักราช (4) 2538
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. และ 8. ประกอบ
ข้อ 11. – 20. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม
(1) วิเคราะห์ตน (2) วิเคราะห์ผู้ฟัง (3) วิเคราะห์เนื้อหา (4) วิเคราะห์สถานการณ์
11. กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งลำดับประเด็นการพูด
ตอบ 3 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการวิเคราะห์สิ่งที่จะนำไปพูด เพื่อให้ได้มาซึ่งลำดับ ประเด็นการพูดและจุดเด่นในการนำเสนอ ซึ่งเมื่อได้ผลผลิตจากกระบวนการนี้แล้ว ขั้นต่อไป ก็คือ การฝึกซ้อมพูด (Rehearsal) เพื่อเตรียมความพร้อมของเนื้อหาและบุคลิกภาพในการพูด
12. พิจารณาจากสภาพสังคมประชากรเป็นพื้นฐาน
ตอบ 2 หน้า 20 – 23, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ผู้ฟัง-ผู้ชม เป็นสิ่งที่วิชาการพูดให้ความสำคัญ
เป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งการวิเคราะห์ผู้ฟัง-ผู้ชมในการพูดแต่ละครั้งจะนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการสื่อสาร โดยพิจารณาจากสภาพสังคมประชากร ประสบการณ์ กรอบอ้างอิง ระบบสังคม และวัฒนธรรม และทัศนคติต่าง ๆ ของผู้ฟังเป็นพื้นฐาน
13. เมื่อได้ผลผลิตจากกระบวนการนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการซ้อม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
14. อยู่นอกเหนือการควบคุมมากที่สุด
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่ จะไปพูด ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมมากที่สุด เพราะสถานการณ์การพูดจะบ่งบอกว่า เนื้อหาที่จะนำไปพูดนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องปรับเปลี่ยนเนื้อหา บางส่วน ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด ตัวอย่างสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมการพูด ได้แก่ เวลา สถานที่ โอกาส และเจ้าภาพ หรือธรรมชาติของหน่วยงานที่เชิญไปพูด เป็นต้น
15. เป็นสิ่งที่วิชาการพูดให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
16. ธรรมชาติของหน่วยงานที่เชิญคุณไปพูดจัดอยู่ในข้อนี้
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ
17. นำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสาร
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ
18. มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาพลักษณ์
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ตน เป็นการวิเคราะห์ตัวผู้พูดเองเพื่อปรับปรุงและสร้างบุคลิกภาพ ในการพูดที่เหมาะสม ซึ่งการวิเคราะห์ตนจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 2 อย่าง ได้แก่ 1. ภาพลักษณ์ คือ สิ่งที่ผู้ฟังรู้สึกกับตัวผู้พูดจากประสบการณ์ จากสิ่งที่รับรู้ หรือจากสิ่งที่เห็นและประเมินค่า
2. ภาพพจน์ คือ การเห็นภาพตามคำพูด ซึ่งผู้ที่พูดเก่งต้องสามารถพูดแล้วทำให้ผู้ฟังเห็นภาพตามได้
19. มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาพพจน์
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ
20. ดำเนินการเพื่อหาจุดเด่นในการนำเสนอ
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ
21. กระบวนการใดของการพูดที่สังคมประชาธิปไตยให้ความสำคัญประกอบกัน
(1) ผู้ส่งสาร+ผู้รับสาร (2) ผู้รับสาร+ช่องทาง (3) ช่องทาง+ผู้ส่งสาร (4) ช่องทาง+เนื้อหา
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การพูดในสังคมประชาธิปไตย เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยตรงระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ดังนั้นจึงเป็นการพูดที่ให้ความสำคัญกับผู้ส่งสาร +ผู้รับสารประกอบกัน ส่วนการพูดที่เน้นสายการบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพจะเน้นในเรื่อง ช่องทาง+เนื้อหาที่มีประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายในการสื่อสารตามที่ต้องการ
22. กระบวนการพูดที่เน้นสายการบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ จะเน้นปัจจัยข้อใด
(1) ผู้ส่งสาร+ผู้รับสาร (2) ผู้รับสาร+ช่องทาง (3) ช่องทาง+ผู้ส่งสาร (4) ช่องทาง+เนื้อหา
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ
23. เสียงและสำเนียงในวิชาการพูดนั้น
(1) ไม่แตกต่างกันเลย (2) ใช้แทนกันได้
(3) มีความคล้ายกันมาก (4) ต้องสื่อสารประกอบกันเสมอ
ตอบ 4 (คำบรรยาย) การพูด เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารที่ต้องใช้เสียงและสำเนียงโต้ตอบประกอบ กันเสมอ โดยเสียงเป็นเพียงการเปล่งวาจาออกมา ส่วนสำเนียงจะบอกถึงอากัปกิริยาหรืออารมณ์ ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถบอกอารมณ์ความรู้สึกได้หากไม่มีสำเนียงมาช่วย
24. อวัจนภาษา หมายถึง
(1) ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (2) ภาษาท่าทาง (3) ภาษาเขียน (4) ภาษากาย
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสื่อสารของมนุษย์นั้นหากพิจารณาโดยใช้ภาษาเป็นเกณฑ์แล้ว สามารถแบ่งออก ได้ดังนี้ 1. การสื่อสารที่ใช้ถ้อยคำ หรือวัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน 2. การสื่อสารที่ไม่ใช้ถ้อยคำ หรืออวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ) ได้แก่ อากัปกิริยาท่าทาง สีหน้า สายตา การแต่งกาย การเดิน น้ำเสียง ฯลฯ
25. ข้อใดคือสิ่งเร้าภายในของผู้พูด
(1) เกลียดคนฟังชุดสีน้ำตาลเข้มที่นั่งอยู่ด้านซ้ายติดหน้าต่างช่องที่สอง
(2) ผู้ฟังชุดสีฟ้าเข้มหงุดหงิดที่เห็นจอภาพ LCD ไม่ชัด ซึ่งเคยเตือนคนพูดมาแล้ว
(3) เบื่อเรื่องที่พูดไม่เข้าท่า เพราะสปอนเซอร์มีผลประโยชน์กดดันคนพูด
(4) อากาศร้อนมาก แต่วิทยากรไมใส่ใจเลยเพราะชินกับเรื่องแบบนี้
ตอบ 1 หน้า 7, (คำบรรยาย) สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูด คือ สิ่งที่ผู้ฟังได้ยินและได้เห็น ซึ่งพิจารณาได้จาก
1. สิ่งเร้าภายในตัวผู้พูด ได้แก่ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและสุขภาพของผู้พูด เช่น ความรู้สึกหิว โกรธ เกลียด ปวดท้อง คลื่นไส้ ไม่สบาย ฯลฯ
2. สิ่งเร้าภายนอกตัวผู้พูด ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เจ้าภาพ และผู้ชม-ผู้ฟังทั้งหลาย เช่น อุณหภูมิ ในห้องบรรยาย เวลาที่ให้กับผู้พูด ทัศนคติของเจ้าภาพ ความสนใจของผู้ชม-ผู้ฟัง ฯลฯ
26. การพูดเป็นการแสดง
(1) ตน+วาจา (2) วาจา+ลีลา (3) ลีลา+บุคลิกภาพ (4) บุคลิกภาพ+รสนิยม
ตอบ1 (คำบรรยาย) การพูดเป็นการแสดงใน 2 ส่วน คือ การแสดงตน+วาจา ซึ่งการแสดงตน หมายถึง การแสดงบุคลิกภาพ ลีลา หรืออากัปกิริยาท่าทางในระหว่างพูด ส่วนการแสดงวาจา หมายถึง การแสดงเนื้อหาที่จะพูด ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องเนื้อหาและบุคลิกภาพ ไปพร้อม ๆ กัน
27. หลักการใช้ภาษาพูดในการสัมภาษณ์งานควรเป็นอย่างไร
(1) ภาษาถิ่นที่สุภาพ (2) ภาษาราชการ (3) ภาษาสนทนาที่สุภาพ (4) ภาษากึ่งพิธีการ
ตอบ 3 หน้า 12, 255 – 256, 259 หลักการใช้ภาษาพูดในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ แบบตัวต่อตัวในลักษณะที่เป็นพิธีการ ทั้งผู้สัมภาษณ์แสะผู้ให้สัมภาษณ์ควรใช้ภาษาสนทนา ที่สุภาพ มิใช่ภาษาเขียนหรือภาษาราชการ นอกจากนี้ยังต้องใช้คำพูดที่ง่ายแก่การเข้าใจ และกินความหมายครอบคลุมเนื้อเรื่องที่จะถามหรือตอบ
28. ข้อใดที่การพูดทำได้ยากที่สุด
(1) เปลี่ยนพฤติกรรม (2) เปลี่ยนทัศนคติ (3) เปลี่ยนภาพลักษณ์ (4) เปลี่ยนข้อมูล
ตอบ 2 หน้า 94 – 96, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจมีความแตกต่างจากการพูดจาตามปกติ ในเรื่องของการกำหนดเป้าหมายและวิธีการ เนื่องจากเป้าหมายของการพูดเพื่อชักจูงใจคือ การชักจูงให้เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนการกระทำ หรือเปลี่ยนความเชื่อและทัศนคติ (เป็นสิ่งที่การพูดทำได้ยากที่สุด) โดยคำนึงถึงเงื่อนไขของการให้ข้อมูลเพื่อการโน้มน้าวใจ ได้แก่
1. การสร้างความเลื่อมใสศรัทธา 2. นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ
3. ปลุกเร้าให้เกิดการกระทำ
29. คุณชไมพรจะไปพูดในการประชุมผู้นำชาวบ้าน คุณจะแนะนำวิธีเลือกเรื่องพูดอย่างไร
(1) เลือกเรื่องที่ผู้พูดสามารถหาข้อมูลได้ และผู้ฟังน่าจะให้ความสนใจ
(2) เลือกเรื่องที่ผู้พูดสนใจสามารถนำเสนอได้ ส่วนผู้ฟังอาจจะสนใจหรือไม่ก็ได้
(3) เลือกเรื่องทันสมัยที่ผู้พูดชอบเป็นการส่วนตัว และผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์
(4) เลือกเรื่องยากพอประมาณซึ่งเป็นสาระแก่ชีวิต ส่วนผู้ฟังก็ใช้ประโยชน์ได้
ตอบ 1 หน้า 23, (คำบรรยาย) ในการเลือกเรื่องไปพูดนั้น ผู้พูดต้องพยายามเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง สนใจเป็นอับดับแรก ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัดหรือมีความรู้และสามารถหาข้อมูลมานำเสนอได้ ก็จะทำให้พูดได้ดี และถ้าเรื่องนั้นผู้ฟังสนใจด้วยก็ดูเหมือนว่าผู้พูดได้ประสบความสำเร็จขั้นต้น ในการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดนั้นก็จะล้มเหลว
30. โครงร่าง (Outline) มีประโยชน์ต่อการเตรียมเรื่องพูดอย่างไร
(1) ทำให้เนื้อหาไม่หลุดกรอบแนวคิดหลัก (2) ทำให้เนื้อหาไม่ขาดตอน
(3) ทำให้เนื้อหาน่าติดตาม (4) ทำให้เนื้อหาน่าเชื่อถือ
ตอบ1 หน้า 31 – 32, (คำบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
1. ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง
2. ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลำดับ (Order) เรื่องที่จะพูด
3. ช่วยทำให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง
4. ช่วยให้การดำเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจำไปพูด
31. ข้อใดไมใช่การขยายความเนื้อเรื่อง
(1) พูดเปรียบเทียบกับสำนวน สุภาษิต (2) พูดถึงเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
(3) พูดเพื่อให้ผู้ฟังคิดเอง (4) พูดโดยฉายสไลด์ประกอบการพูด
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 การขยายความเนื้อเรื่อง ทำได้ดังนี้
1. การให้คำจำกัดความ 2. การยกตัวอย่าง ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
3. การเปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายคลึง 4. การแสดงหรือชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่าง
5. การหยิบยกข้ออ้างอิง สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพย
6. การเล่าเรื่องประกอบเพื่อให้ผู้ฟังคิดเอาเอง 7. การถาม-ตอบ
8. การใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การฉายสไลด์ การใช้แผนที่ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ
32. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการสื่อความหมายของผู้พูด
(1) ความเชื่อและทัศนคติ (2) วิทยากรรับเชิญ
(3) โสตทัศนูปกรณ์ (4) หมอกควันเปิดตัวทอล์กโชว์
ตอบ 1 หน้า 7, (คำบรรยาย) เครื่องมือในการสื่อความหมายในกระบวนการพูด คือ อะไรก็ตาม ที่ผู้พูดใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการนำเสนอเพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจได้อย่างเต็มที่ จนสามารถทำให้การพูดนั้นถ่ายทอดความหมายออกมาได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. อวัจนภาษา หรือภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น กิริยาท่าทาง สีหน้า การแต่งกาย ฯลฯ
2. โสตทัศนูปกรณ์ เช่น ไมโครโฟน อุปกรณ์ประกอบฉาก เทคนิคในการเปิดตัว ฯลฯ
3. บุคคลและวัตถุพยาน เช่น วิทยากรรับเชิญ หลักฐานที่เป็นเอกสารต่าง ๆ ฯลฯ
33. สิ่งใดควรกระทำเมื่อขึ้นเวทีพูด
(1) ใช้มือเคาะไมโครโฟน (2) กระแอมก่อนพูด
(3) พูดช้า ๆ ในนาทีแรกที่เริ่มพูด (4) พูดขออภัยในความล่าช้าของตัวเอง
ตอบ 3 หน้า 52 – 53, (คำ,บรรยาย) ข้อควรปฏิบัติเมื่อขึ้นเวทีพูด มีดังนี้ 1. ในระหว่างการเดินเข้า ณ ตำแหน่งที่พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้องทำความเคารพหรือทักทาย ใครอีกแล้ว 2. ในนาทีแรกที่เริ่มพูดนั้นควรพูดช้า ๆ 3. หลังจากกล่าวคำปฏิสันถารแล้วผู้พูดจะต้องไม่ออกตัวหรือขอโทษ/ขออภัยในความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องของตนเอง 4.ควรหลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด การใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า “ฮัลโหล ๆ” 5.เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจหรือไม่พอใจขึ้นมา ผู้พูดควรหยุดพูดเป็นอันดับแรก จนเมื่อเสียง แสดงความพอใจหรือไม่พอใจนั้น ๆ จบหรือซาลงจึงเริ่มพูดต่อไป ฯลฯ
34. เมื่อผู้ฟังแสดงความไม่พอใจขึ้นมาอย่างไม่คาดคิด ผู้พูดควรปฏิบัติอย่างไรเป็นอันดับแรก
(1) พูดสลายอารมณ์ผู้ฟังด้วยเหตุผลและคำขอโทษ
(2) ยกมือให้สัญญาณแก่ผู้จัดงาน และรอจนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาจัดการกลุ่มผู้ฟัง
(3) หยุดพูด จนเมื่อการแสดงความไม่พอใจจบลงจึงเริ่มพูดต่อ
(4) เดินไปให้ชิดด้านหน้าเวทีเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผู้ฟังในเหตุการณ์ที่เกิด
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ
35. วิธีทำให้ความตื่นเวทีลดน้อยลงได้แก่
(1) ดื่มเบียร์หรือสุราเล็กน้อย (2) เดินทางมาถึงก่อนเวลาพอสมควร
(3) ยิ้มและพูดคุยกับผู้ฟังเป็นครั้งคราว (4) ฝึกซ้อมพูดระหว่างเดินทาง
ตอบ 4 หน้า 54 – 55 วิธีแก้หรือทำให้ความตื่นเวทีและความกังวลลดน้อยลงประการแรกที่สุดก็คือ ผู้พูดจะต้องเตรียมเรื่องพูดให้พร้อม และฝึกซ้อมพูดบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไป เพราะถ้า เตรียมสองประการนี้ไม่ดีก็เท่ากับประสบความล้มเหลวก่อนขึ้นเวทีเสียแล้ว
36. ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการฟัง (ส่วนใหญ่) มาจากสาเหตุใด
(1) ชอบพูดมากกว่าขอบฟัง (2) มีความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ
(3) ชอบหลับ (4) สนใจบุคลิกของผู้พูดมากเกินไป
ตอบ2 หน้า 69, (คำบรรยาย) ลักษณะของการฟังที่ดีประการหนึ่ง คือ ผู้ฟังจะต้องตัดความกังวลใจต่าง ๆ เพราะถ้าผู้ฟังมีความกังวลใจแล้วย่อมจะไม่มีสมาธิในการรับฟัง ซึ่งถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการฟัง ดังนั้นวิธีที่ดีคือ ควรทำจิตใจให้หายกังวลแล้วตั้งใจรับฟัง เรื่องที่ผู้พูดพูด เมื่อตั้งใจฟังและเกิดความสนใจที่จะฟังแล้วก็จะเกิดความเข้าใจขึ้นมาได้
37. การที่ครูฝึกชมเชยทหารใหม่ว่าเป็นผู้มีความอดทนและเสียสละ เป็นการกระตุ้นทางใด
(1) ทางร่างกาย (2) ทางจิตใจ (3) ทางนิสัย (4) ทางสังคม
ตอบ 2 หน้า 96 การพูดกระตุ้นทางจิตใจ เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องพูดให้ผู้ฟังมีความรู้สึกภาคภูมิใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความอดทน เสียสละ และมีความสามารถ ฯลฯ
38. การพูดให้สัปเหร่อมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีเกียรติเช่นเดียวกับคนอาชีพอื่น ๆ ควรพูดกระตุ้นในทางใด
(1) ทางร่างกาย (2) ทางจิตใจ (3) ทางสังคม (4) ทางนิสัย
ตอบ3 หน้า 96 การพูดกระตุ้นทางสังคม ผู้พูดจะต้องพูดให้ได้ผลออกมาในรูปที่ว่า ผู้ฟังเป็นคนที่ กว้างขวาง มีเกียรติ เป็นที่รู้จักในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่มิสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคมเหมือนกัน
39. ในการพูดชักจูงใจ สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ฟังเชื่อถือในตัวผู้พูดคืออะไร
(1) พยาน หลักฐาน และข้อมูล (2) ถ้อยคำที่มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ
(3) ความมีชีวิตชีวาและท่าทางของผู้พูด (4) น้ำเสียง ท่าทาง และคำพูด
.ตอบ 1 หน้า 95 ในการพูดแบบชักจูงใจ สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือเชื่อมั่นในตัวผู้พูดก็คือ ผู้พูดจะต้องยกตัวอย่าง ยกเหตุผลข้อเท็จจริง ข้อมูล หลักฐาน พยาน และข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นมาอ้างอิง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นด้วย
40. คุณสิริมาเป็นผู้บรรยายในหัวข้อการป้องกันตนจากภัยธรรมชาติ และต้องการแจกเอกสารประกอบแก่ผู้ฟัง เขาควรแจกเมื่อใด
(1) เมื่อถูกทวงถาม (2) หลังการพูดบรรยาย
(3) ในขณะที่บรรยายไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว (4) เมื่อผู้ฟังง่วงนอน
ตอบ 2 หน้า 122 ในการพูดสาธิตที่เน้นการเรียนการสอน หรือการปฏิบัติของบุคคลนั้น
อาจมีเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการอธิบาย เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร ฯลฯ ซึ่งวิธีที่ดีก็คือ บรรยายหรืออธิบายในเรื่องนั้น ๆ ให้จบเสียก่อน แล้วจึงแจกหนังสือ คู่มือ และเอกสารให้แก่ ผู้ฟังภายหลังการพูดบรรยายจบแล้ว (แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องให้ตัดสินใจ หรือการลงมติ ควรแจก ก่อนการบรรยาย)
41. การพูดเกี่ยวกับการวิจัยหลังจากผู้วิจัยเดินทางสำรวจพื้นที่ชุ่มน้ำในบึงหนองหานต่อคณะกรรมการยูเนสโก เพื่อขออนุมัติงบประมาณ เป็นการพูดรายงานแบบใด
(1) แบบประสบการณ (2) แบบแถลงข้อเท็จจริง
(3) แบบความก้าวหน้าและผลสำเร็จ (4) แบบสรุปผล
ตอบ 2 หน้า 140, (คำบรรยาย) การพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง เป็นการเสนอข้อเท็จจริงหลักฐาน ข้อมูล วัตถุประสงค์ หลักการ และสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้จากการสังเกต การทดลอง การสำรวจ และการศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ตัวอย่างของการพูดรายงานแบบนี้ คือ การพูดให้ความ (ให้การ) ในชั้นศาล การรายงานถึงโครงการหรือนโยบายที่จะกระทำ หรือ ที่กำลังกระทำอยู่ เช่น โครงการกู้เงินตราต่างประเทศ โครงการศูนย์การค้าไทยในต่างประเทศ โครงการขออนุมัติงบประมาณ เป็นต้น
42. ในการพูดรายงานแบบสรุปผล หากต้องพูดเกี่ยวกับรายงานการทดลอง รายงานนั้นควรประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ยกเว้นข้อใด
(1) ประสบการณ์ผู้ทดลอง
(2) ความมุ่งหมาย (3) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง (4) สรุปผลการทดลอง
ตอบ 1 หน้า 141- 142 การพูดรายงานแบบสรุปผล ในกรณีที่เกี่ยวกับการรายงานการทดลองหรือปฏิบัติการนั้น ควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1. ความมุ่งหมาย 2.เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 3. สรุปผลของการทดลอง
43. คุณเดชาวุฒิเป็นนักลงทุนที่ต้องพูดรายงานในที่ประชุม เขาควรยึดหลักอะไร
(1) มีเนื้อหาสั้น ชัดเจน พร้อมมีข้อมูลทางสถิติเตรียมไว้นำเสนอ
(2) มีเนื้อหาสมบูรณ์ชัดเจนพร้อมทั้งข้อมูลทางสถิติที่จำเป็น
(3) มีเนื้อหาละเอียดสมบูรณ์ทุกด้าน พร้อมทั้งข้อมูลทางสถิติ และตัวเลขค่าตอบแทบ
(4) มีเนื้อหาสมบูรณ์ ละเอียดชัดเจน พร้อมทั้งข้อมูลการศึกษาวิจัยที่กระทำมาก่อนนี้
ตอบ 1 หน้า 139, (คำบรรยาย) หลักการเตรียมเนื้อหาของรายงานที่จะพูด มีดังนี้
1. เรียบเรียงเนื้อหาด้วยความประณีตและรอบคอบ
2. ใจความสำคัญของเนื้อหาต้องสั้น กระชับ ชัดเจน พร้อมทั้งมีข้อมูลทางสถิติ
3. ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้มีความเด่น ง่ายต่อการอ่าน โดยมีการใส่หมึกไฮไลต์ขีดทับ
4. ไม่ควรบรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป
5. เขียนบันทึกย่อประเด็นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ในการพูดไว้ท้ายกระดาษ
6. ใช้ข้อความที่ประกอบด้วยคำพูดเพื่อแสดงให้รู้ว่าจบเนื้อหาของเรื่องที่พูดตอนหนึ่ง ๆ แล้ว ฯลฯ
44. ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องตามหลักการพูดวิจารณ์
(1) ยำไข่เค็มอร่อยมากแต่ก็แพงเอาเรื่อง (2) เธอนิสัยดีแถมใจเย็นมาก
(3) ละครเรื่องนี้ลงทุนน้อยมีกำไรมาก (4) นางเอก “จันดารา” สวยมาก
ตอบ 1 หน้า 169 การพูดวิจารณ์ หมายถึง การพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล และถูกหลักการวิจารณ์ ซึ่งลักษณะเฉพาะหรือจุดเด่นของการพูดวิพากษ์วิจารณ์ที่แตกต่างจาก การพูดชนิดอื่น ๆ คือ เป็นการพูดที่ต้องใช้หลักทางตรรกวิทยา (Logic) หรือใช้หลักทางเหตุผล มาประกอบ โดยจะไม่เอาอารมณ์ของผู้พูดเข้ามาเกี่ยวข้อง
45. การพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์มีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากการพูดประเภทอื่น ๆ อย่างไร
(1) เนื้อหาที่จะพูดต้องเป็นข้อเท็จจริงเสมอ
(2) ต้องมีการนำเสนอโดยใช้เหตุผลประกอบ
(3) ต้องมีการใช้กติกา ข้อกำหนด หรือตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มาใช้เป็นเกณฑ์
(4) ต้องมีการจัดสมดุลของเนื้อหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่กล่าวอ้าง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ
46. ประธานในที่ประชุมควรเสนอความคิดเห็นของตนอย่างไรจึงเหมาะสมที่สุด
(1) เป็นคนสุดท้าย (2) ตลอดเวลา (3) ครั้งที่เปลี่ยนวาระ (4) เป็นคนแรก
ตอบ 1 หน้า 205 หน้าที่ของประธานในที่ประชุมประการหนึ่ง คือ ประธานจะต้องเปิดโอกาสและ ช่วยให้ผู้เข้าประชุมได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มความสามารก โดยประธานไม่ควร เสนอความคิดเห็นของตนเป็นคนแรก แต่ควรเสนอความคิดเห็นเป็นคนสุดท้าย
47. ถ้านายเยี่ยมยอดไร้ที่ติ ไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุม (ที่ครบองค์ประชุม) เขาต้องทำอย่างไร
(1) ไม่ต้องปฏิบัติตาม (2) ต้องปฏิบัติตาม
(3) ขอแปรญัตติต่อประธาน (4) ขอให้มีการทบทวนมติ
ตอบ 2 หน้า 203 มติ คือ ข้อตกลงของที่ประชุมในญัตติต่าง ๆ ที่มีผู้เสนอ ซี่งมติของที่ประชุม (ที่ครบองค์ประชุม)ให้ถือเป็นข้อยุติที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามถึงแม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม
48. ดร.รสสุคนธ์เป็น ส.ส. และต้องการขอแปรญัตติในที่ประชุม เขาควรทำอย่างไร
(1) เสนอด้วยวาจาต่อประธาน (2) เสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธาน
(3) เสนอด้วยวาจาต่อเลขาฯ (4) เสนอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเลขาฯ
ตอบ 2 หน้า 203, (คำบรรยาย) แปรญัตติ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นซ้อนขึ้นในญัตติ หรือการเสนอขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมญัตตินั้น ๆ โดย ส.ส./ส.ว. ที่ต้องการขอแปรญัตติ ในที่ประชุมจะต้องเสนอคำขอแปรญัตติของตนเป็นหนังสือ (เป็นลายลักษณ์อักษร) ต่อประธาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด และคำแปรญัตติต้องมี ส.ส./ส.ว. อื่นรับรองเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภา
49. การพูดให้ความรู้เชิงอุปมาอุปไมยและเปรียบเทียบ มักใช้กับการพูดชนิดใด
(1) การรายงาน (2) การวิจารณ์ (3) การเล่าเรื่อง (4) การอภิปราย
ตอบ 3 หน้า 217 การเล่าเรื่อง เป็นการสอนหรือนำเสนอข้อมูลในเชิงอุปมาอุปไมยและเปรียบเทียบ รวมทั้งยังเป็นการสอนในแง่ความคิดต่าง ๆ ในด้านปรัชญาและคติธรรม
50. การแทรกบทตลกในการนำเสนอเรื่องเล่า ทำไปด้วยเหตุผลใด
(1) เพื่อเรียกเสียงหัวเราะ (2) เพื่อให้เกิดอารมณ์สนุก
(3) เพื่อดึงดูดความน่าสนใจ (4) เพื่อให้ครบอรรถรสในการนำเสนอ
ตอบ 3 หน้า 218 – 219 ในการเล่าเรื่องประเภทนิทานนั้น เมื่อมีตอนใดที่สามารถจะแทรกบทตลกได้ ก็ควรจะเล่าเรื่องให้ตลก เพราะบทตลกจะดึงดูดความน่าสนใจของผู้ฟังได้ดี นอกจากนี้ในเนื้อเรื่อง ที่ใช้เล่านิทานก็ควรจะใช้บทพูด (Dialogue) ประมาณ 80% หรือควรจะใช้พรรณนาโวหาร ให้น้อยกว่าบทพูด
51. การเตรียมตัวเพื่อพูดให้คำปรึกษา ควรมีกระบวนการอย่างไร
(1) รู้จุดหมาย เปิดโอกาสให้ซักถาม และมีข้อสรุป
(2) รู้จุดหมาย เตรียมเนื้อหา และเปิดโอกาสให้ซักถาม
(3) รู้ปัญหา รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร และหาทางออกร่วมกัน
(4) รู้ข้อสรุป รู้วิธีอธิบาย และเปิดโอกาสให้ซักถาม
ตอบ 3 หน้า 244, (คำบรรยาย) หลักการเตรียมตัวเพื่อพูดให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหา มีดังนี้
1. รู้ปัญหาว่าคืออะไร 2. รู้ว่าควรจะแก้ไขอะไรบ้าง
3. รู้วิธีแก้บัญหาที่ดีที่สุดว่าคือวิธีใด และหาทางออกร่วมกัน
52. ผู้สื่อข่าวจะสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่ไม่อาจคาดเดาบุคลิกภาพได้จะต้องใช้วิธีการใด
(1) วิธีสะท้อนความรู้สึก (2) วิธีให้ความร่วมมือ
(3) วิธีกดดันให้แสดงตัวตน (4) วิธียืดหยุ่นไปตามสถานการณ์
ตอบ 1 หน้า 248, 250, (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่ไม่อาจคาดเดาบุคลิกภาพได้อาจต้องใช้วิธีเดียวกับการพูดให้คำปรึกษา ได้แก่ วิธีสะท้อนความรู้สึก (The Method of Reflected Feelings) คือ การทำตัวสนิทสนมกับแหล่งข่าว เพื่อสร้างบรรยากาศให้มี ความอิสรเสรี ความเข้าใจ ความไว้วางใจกัน ซึ่งจะส่งผลให้แหล่งข่าวเต็มใจที่จะแสดงตัวตน ออกมาในที่สุด
53. การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสำคัญในเชิงการสื่อสารอย่างไร
(1) ทำให้รู้ซึ้งถึงข้อมูลเชิงลึก (2) ทำให้มีการทบทวนเหตุการณ์
(3) ทำให้ความจริงถูกเปิดเผย (4) ทำให้มีการจัดระเบียบข่าวสาร
ตอบ 1 (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวนการพูดคุยโดยมีเป้าประสงค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรง ผ่านบุคคลที่มีการ เลือกสรรแล้ว ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความเฉพาะเจาะจงตามเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ และตามสถานการณ์ขณะนั้น
54. ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นคนค่อนข้างลึกลับ ท่านจะมีวิธีทำให้เขาพูดตอบคำถามได้อย่างไร
(1) ชี้แจงให้เห็นข้อเท็จจริง
(2) พูดปลอบ พร้อมทั้งขอให้ความช่วยเหลือ
(3) พูดปลอบและขอร้องให้ไว้วางใจ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือ
(4) พูดให้เกิดความไว้วางใจ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือ
ตอบ 4 หน้า 262, 264 กลวิธีที่จะให้คนประเภทลึกลับตอบคำถามก็คือ การสร้างความสัมพันธ์กับ ผู้ให้สัมภาษณ์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและพยายามพูดหว่านล้อมให้เห็นว่าการตอบคำถาม เป็นนโยบายที่ดีที่สุด โดยถ้าเขาบอกหรือเล่าเรื่องราวให้เราฟังแล้ว เราจะช่วยเหลือและ ให้ความปลอดภัยแก่เขา ซึ่งสิ่งสำคัญคือ เราจะต้องปฏิบัติและรักษาคำพูดของเราด้วย
55. ถ้าคุณได้รับมอบหมายให้สัมภาษณ์รัฐมนตรีท่านหนึ่ง ตอนหนึ่งของการสัมภาษณ์ท่านรัฐมนตรีทำท่า ไม่อยากตอบ ควรทำอย่างไรเป็นอันดับแรก
(1) ถามคำถามอื่นต่อไป (2) ป้อนคำถามให้ตรงจุดมากขึ้น
(3) ถามย้ำในคำถามนั้นอีกหลาย ๆ ครั้ง (4) ชวนคุยเรื่องอื่นแล้วค่อยถามคำถามเดิม
ตอบ 1 หน้า 264 ในกรณีที่ถามคำถามแล้ว ผู้ให้สัมภาษณ์มีความรู้สึกอึดอัดไม่อยากจะตอบ
ผู้สัมภาษณ์ก็ควรจะเลี่ยงถามคำถามอื่นต่อไป หรือถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยง อย่างฉลาด ผู้สัมภาษณ์ก็จะต้องมีความอดทนซักถามต่อไปเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ต้องการ
56. ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ที่มีวิธีตอบเลี่ยงอย่างฉลาด ผู้สัมภาษณ์ควรทำอย่างไร
(1) แทรกบทตลกเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ (2) ขอร้องให้ตอบให้ตรงคำถาม
(3) จะต้องอดทนซักถามต่อไป (4) ควรแนะนำคำตอบ หรืออธิบายคำถาม
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ
57. นักปั่นจักรยานเหรียญทองโอลิมปิกเดินทางมาประเทศไทย และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ ท่านรู้หรือไม่ว่าเป็นการสัมภาษณ์แบบใด
(1) In-depth Interview (2) Mass Communication Interview
(3) Press Conference (4) Executive Conference
ตอบ 3 หน้า 257 การเปิดให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์รวม (Press Conference) เป็นการสัมภาษณ์ที่ บุคคลสำคัญ ๆ เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวของสื่อมวลชนต่าง ๆ ทำการสัมภาษณ์รวม เพื่อซักถาม ข้อข้องใจอย่างเป็นพิธีการ
58. ในการแลดงปาฐกถา ทำไมจึงต้องแนะนำองค์ปาฐก ข้อใดไม่ถูกต้อง
(1) เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูด (2) เพื่อให้เกียรติแก่ผู้พูด
(3) เพื่อยกย่ององค์ปาฐกให้พอใจ (4).เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟัง
ตอบ 3 หน้า 310 จุดม่งหมายของการแนะนำองค์ปาฐกก็คือ 1. เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักผู้พูดหรือ
องค์ปาฐกว่าเป็นใคร ทำอะไร และมีความสำคัญอย่างไร 2. เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้พูด
3. เพื่อเรียกร้องหรือสร้างความสนใจให้แก่ผู้ฟัง เพราะเมื่อผู้ฟังรู้จักผู้พูดแล้วก็จะเกิดความกระตือรือร้นและสนใจที่จะฟัง 4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังกับผู้พูด
59. ถ้าท่านได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แนะนำวิทยากรที่จะมาแสดงปาฐกถา ท่านจะหาข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร มาพูดอย่างไร
(1) ถามประธาน (2) ถามผู้สื่อข่าว (3) ถามผู้เชิญ (4) ถามวิทยากร
ตอบ 4 หน้า 311, (คำบรรยาย) ถ้าผู้แนะนำไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากร (องค์ปาฐก)ที่จะมาแสดงปาฐกถา ก็ควรติดต่อหรือถามวิทยากรว่าจะให้ตนแนะนำอย่างไร โดยต้อง ติดต่อกันก่อนวันแนะนำจริง
60. องค์ปาฐกควรพูดตอนที่เป็นบทสรุปในตอนท้ายสุดอย่างไร
(1) พูดถ่อมตัวว่าการพูดของตนยังมีข้อบกพร่อง แต่จะพยายามให้ดีในโอกาสต่อไป
(2) ขอบคุณและขอโทษผู้ฟังในกรณีที่มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการพูด
(3) ขอบคุณผู้ฟังที่ได้เสียสละเวลามาฟังการพูดของตน
(4) ให้ข้อคิดความเห็นที่น่าสนใจและน่าจดจำ
ตอบ 4 หน้า 40, 309 ผู้แสดงปาฐกถา (องค์ปาฐก) ควรจะสรุปการพูดทั้งหมดให้ผู้ฟังได้ข้อคิดความเห็น ที่น่าสนใจ โดยการกล่าวสรุปที่ดีนั้นควรจะสั้น มีน้ำหนัก และเป็นที่น่าจดจำ ซึ่งอาจสรุปด้วย การเรียกร้องให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด สรุปด้วยบทกลอน สุภาษิต สรุปด้วยเรื่องที่สนุกสนาน ชื่นบานใจ หรือสรุปด้วยคำถามก็ได้
61. การกล่าวขอบคุณองค์ปาฐก ควรเป็นอย่างไร
(1)ขอบคุณและเชิญชวนให้มาพูดอีก (2)ขอบคุณและเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐก
(3) ขอบคุณและสรุปเนื้อหาสาระของปาฐกถา (4) ขอบคุณ สรุปเนื้อหา และวิจารณ์ปาฐกถา
ตอบ 2 หน้า 312 หลังจากที่องค์ปาฐกได้จบปาฐกถาลงแล้ว พิธีกรจะต้องลุกขึ้นไปกล่าวขอบคุณ องค์ปาฐกและผู้ฟัง โดยมักจะกล่าวขอบคุณเป็นข้อความสั้น ๆ หรือบางครั้งก็อาจจะกล่าว ขอบคุณและเชิญชวนผู้ฟังปรบมือให้องค์ปาฐกด้วยก็ได้
62. ในการแสดงปาฐกถานั้น ผู้พูดควรพูดอย่างไรเพื่อให้เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
(1) พูดบทตลกตลอดเวลา (2) พูดในเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน
(3) พูดพาดพิงถึงบุคคลอื่นอย่างสนุกสนาน (4) พูดระบายความคับแค้นน้อยเนื้อต่ำใจของตนเอง
ตอบ 2 หน้า 308 – 309, (คำบรรยาย) ในการแสดงปาฐกถานั้น ผู้พูดควรพูดในเรื่องที่น่าสนใจ สำหรับผู้ฟัง หรอเรื่องที่ให้ความรู้ และควรจะเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ยกเว้นเรื่องที่ เป็นความลับหรือเรืองส่วนตัวของผู้อื่น นอกจากนี้ผู้พูดอาจแทรกบทตลกได้เท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายและไม่สนใจ จากนั้นจึงดึงประเด็นเข้าสู่ สาระหลักที่จะพูดต่อไป
63. หลักการพิจารณาเรื่องราวและข้อมูลที่จะนำไปพูดอภิปราย ควรเป็นอย่างไร
(1) เป็นเรื่องราวและข้อมูลที่ดี เป็นจริงและสามารถนำไปปฏิบัติได้
(2) เป็นเรื่องราวและข้อมูลที่มีรายละเอียด มีการอ้างอิงและน่าสนใจ
(3) เป็นเรื่องราวและข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการและทฤษฎี
(4) เป็นเรื่องราวและข้อมูลที่น่าสนใจ ดีและมีเหตุผล
ตอบ 1 หน้า 344 หลักการพิจารณาเรื่องราวและข้อมูลที่จะนำไปพูดอภิปรายนั้น ผู้อภิปรายจะต้อง พิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้จากการค้นคว้าว่าเป็นข้อมูลที่ดี มีเหตุผล เป็นจริง มีทัศนคติที่ดี และสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้
64. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการอภิปราย
(1) เป็นการปรึกษาหารือ (2) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้
(3) เป็นการพูดเพื่อชักชวน (4) เป็นการโต้แย้งหาข้อหักล้าง
ตอบ 4 หน้า 337 ลักษณะของการอภิปรายแบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ
1. ต้องมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเสนอรายละเอียดและแก้ปัญหา
2. เป็นการปรึกษาหารือของคนกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่การพูดของคนเพียงคนเดียว
3. เป็นการพูดเพื่อชักชวนให้คนคิดหาเหตุผลไมใช่อารมณ์
4. เป็นการสื่อความหมายด้วยคำพูดโดยตรง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติ และประสบการณ์
65. ผู้อภิปรายที่ต้องการพูดเพิ่มเติมข้อคิดเห็นเมื่อยังไม่ถึงลำดับของตน ควรทำอย่างไร
(1) เมื่อมีจังหวะที่จะพูดแทรกได้ก็ให้พูดทันที
(2) รอให้ผู้อภิปรายทุกคนพูดจบก่อนจึงพูดเพิ่มเติม
(3) ขออนุญาตจากผู้ดำเนินการอภิปรายก่อนแล้วจึงพูด
(4) เมื่อผู้อภิปรายทุกคนพูดจบและผู้ดำเนินการอภิปรายสรุปแล้วจึงพูด
ตอบ3 หน้า 345, (คำบรรยาย) ในกรณีที่ผู้อภิปรายต้องการจะพูดเพิ่มเติมหรือแทรกข้อคิดเห็น (เมื่อยังไม่ถึงลำดับที่ตนจะพูด) จะต้องให้สัญญาณด้วยการยกมือขึ้นและขออนุญาตจาก ผู้ดำเนินการอภิปรายก่อน เมื่อผู้ดำเนินการอภิปรายอนุญาตแล้วจึงจะพูดได้
66. ข้อใดไม่ใช่สิ่งแวดล้อมของการพูด
(1) อายุของคนพูด (2) แผนงานที่ผู้พูดปฏิบัติ
(3) กระแสสาธารณมติ (4) ศาสนาที่ผู้ฟังส่วนใหญ่ในห้องประชุมนับถือ
ตอบ 1 หน้า 7, (คำบรรยาย) สิ่งแวดล้อมของการพูด คือ สถานการณ์หรือสิ่งที่จะส่งผลต่อการพูด ที่นอกเหนือจากผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระบบสังคมวัฒนธรรม เช่น คาสนา จารีตประเพณี แนวทางปฏิบัติของครอบครัว ฯลฯ 2. กฎระเบียบ อำนาจหน้าที่ 3. กระแสสาธารณมติ 4. นโยบาย แผนงาน และโครงการ
67. สิ่งแรกที่ผู้วิจารณ์การพูดจะพิจารณาถึงความประหม่าของผู้พูด คืออะไร
(1) ภาษา (2) การประมวลเรื่อง
(3) ความคิดและเนื้อหาสาระ (4) ท่าทีและการปรับตัวโดยทั่วไป
ตอบ 4 หน้า 486 หลักเกณฑ์ในการวิจารณ์หรือการประเมินผลการพูดทั่ว ๆ ไปข้อแรกคือการวิจารณ์ท่าทีและการปรับตัวโดยทั่วไป ซึ่งผู้วิจารณ์ต้องเริ่มพิจารณาจากการปรากฏตัว ของผู้พูดว่ามีความประหม่าหรือไม่ มีความมั่นใจในตนเองหรือไม่ ตลอดจนมีลักษณะที่แจ่มใส คล่องแคล่ว เป็นธรรมชาติ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศทั่ว ๆ ไปได้หรือไม่
68. การพากย์กีฬาเรือยาว เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจำ (2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม (4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
ตอบ 3 หน้า 89 การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่นการพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาว, การตอบปัญหาบางประการ, การกล่าวทักทาย เมื่อเผอิญได้พบกัน ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1. พยายามควบคุมสติอารมณ์ให้สงบ พยายามอย่าให้ตื่นเต้น ประหม่าหรือตื่นเวที
2. คิดและรวบรวมความรู้ประสบการณ์ของตนเองให้ได้อย่างรวดเร็ว
3. ลำดับความคิดเห็นหรือเรื่องให้ตรงกับประเด็นที่จะพูดยกตัวอย่าง
4. พูดให้สั้น กระชับ และมีความหมายชัดเจน
69. การรายงานข่าวพยากรณ์อากาศ เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดโดยการท่องจำ (2) การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ
(3) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียม (4) การพูดปากเปล่าโดยมีการฝึกซ้อม
ตอบ 2 หน้า 90 การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดที่อ่านจากโน้ตที่ได้เตรียมไว้โดยไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเลย จึงเป็นการอ่านมากกว่าการพูด ซึ่งมักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ เช่น สุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ การอ่านข่าว การอ่านบทความ การกล่าวคำปราศรัยเนื่องใน โอกาสต่าง ๆ คำแถลงการณ์ของรัฐบาล/คณะปฏิวัติ การอ่านรายงาน เปิดกิจการ ฯลฯ
70. นักพูดหน้าใหม่ที่มีประสบการณ์น้อย ควรฝึกซ้อมการพูดอย่างไรจึงจะดีที่สุด
(1) ฝึกซ้อมพูดกับวิทยากรการพูด (2) ฝึกซ้อมพูดหน้าเสาธง
(3) ฝึกซ้อมพูดกับเพื่อนที่คุ้นเคย (4) ฝึกซ้อมพูดกับสัตว์เลี้ยง
ตอบ 1 หน้า.52, (คำบรรยาย) วิธีฝึกซ้อมพูดกับผู้เชี่ยวชาญ คือ มีนักพูดผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรการพูด หรือครูอาจารย์ดี ๆ คอยแนะนำให้เป็นการส่วนตัว จึงถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับนักพูดหน้าใหม่ ที่มีประสบการณ์น้อย เพราะจะทำให้ทราบว่าตนเองบกพร่องในเรื่องใดและควรแก้ไขในข้อใด ซึ่งโดยปกติแล้วในการพูดนั้นจะฝึกซ้อมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับการพูดโดยตรง 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ผู้เชี่ยวชาญในด้านบุคลิกภาพและวิธีการนำเสนอ 2. ผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหา
71. สิ่งใดเป็นวิธีช่วยแก้ความตื่นเวทีได้
(1) คิดไปว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และเขาก็อยากฟังเราพูด
(2) รีบ ๆ พูดให้เร็ว ๆ ซะ จะได้จบเกมกันเสียที
(3) ดื่มน้ำเข้าไปเยอะ ๆ ทดแทนการเสียเหงื่อ
(4) ใส่เสื้อผ้ารัด ๆ ฟิต ๆ ให้ดูเท่เข้าไว้ จะได้เพิ่มความมั่นใจ
ตอบ 1 หน้า 54 – 55 วิธีแก้ความตื่นเวที มีดังนี้
1. หายใจเข้าปอดลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ ประมาณ 4 – 5 ครั้ง
2. เมื่อเริ่มพูด ถ้ารู้สึกว่าเสียงสั่นและยังประหม่ามากให้พูดช้า ๆ พยายามหลีกเลี่ยงการพูดเร็ว
3. พยายามคิดว่าไม่มีอะไรน่ากลัว และคิดว่าผู้ฟังที่มองตานั้นเขามองด้วยความศรัทธา ให้กำลังใจ และอยากฟังเราพูด
4. ควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายที่ตึง รัด และเป็นอุปสรรคต่อการพูด ฯลฯ
72. ข้อใดแตกต่างจากข้ออื่นหากพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการพูดเป็นสำคัญ
(1) พูดโฆษณาเพื่อขายสินค้า (2) พูดหาเสียงเลือกตั้ง
(3) พูดแนะนำการใช้สมุนไพร (4) พูดเชิญชวนบริจาคโลหิต
ตอบ 3 หน้า 92 – 95 การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการพูด ได้แก่
1. การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เช่น การพูดในโอกาสพบปะสังสรรค์ หรือในงานรื่นเริง ฯลฯ
2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การพูดแนะนำการใช้ยาหรือสมุนไพร ฯลฯ 3. การพูดเพื่อชักจูงใจ เช่น การโฆษณาขายสินค้า การพูดหาเสียงเลือกตั้ง การพูดเชิญชวนให้บริจาคโลหิต ฯลฯ
73. ข้อใดไม่สามารถกระทำได้
(1) การพูดวิจารณ์หลักการบริหารราชการแผ่นดิน
(2) การพูดวิจารณ์ผู้นำทางการเมือง
(3) การพูดวิจารณ์การถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
(4) การพูดวิจารณ์กระบวนการยุติธรรม
ตอบ 4 หน้า 169, (คำบรรยาย) ในสังคมประชาธิปไตย การพูดวิจารณ์เป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการพูด เพื่อจะให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องราวได้ทราบข้อเท็จจริง ได้รู้ว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี ซึ่งจะเป็นแนวทางในการ ตัดสินใจต่อไป ยกเว้นในบางเรื่อง เช่น การพูดวิจารณ์กระบวนการยุติธรรม หรือคำพิพากษาของศาล ซึ่งทุกคนด้องเคารพในคำคัดสิน ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้
74. การพูดให้ความในชั้นศาล เป็นการพูดชนิดใด
(1) การพูดรายงานแบบสรุปผล (2) การพูดรายงานแบบความก้าวหน้าและผลสำเร็จ
(3) การพูดรายงานแบบประสบการณ์ (4) การพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ
75. การพูดเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองในการสัมภาษณ์เข้าทำงาน มีอะไรเป็นสาระสำคัญ
(1) ความรู้ (2) บรรยากาศ (3) อารมณ์ความรู้สึก (4) ความจริงที่เกิดขึ้น
ตอบ 4 (คำบรรยาย) สาระสำคัญของการพูดเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองในการสัมภาษณ์เข้าทำงาน คือ ความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งการพูดจากความเป็นจริง หมายถึง การพูดในสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อน เป็นข้อมูลระดับพื้นฐานที่มีอยู่จริง หรือที่ปรากฏออกมาให้เห็น
76. การพูดเพื่อชักจูงใจต่างจากการพูดจาตามปกติอย่างไร
(1) สร้างภาวะทางอารมณ์กดดัน (2) การสร้างภาพลักษณ์
(3) การกำหนดเป้าหมายและวิธีการ (4) การตีความหมายข่าวสาร
ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ
77. คำนำ หมายถึง(1) การนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง (2) กลวิธีนำเสนอ
(3) การทักทายผู้ฟัง (4) ความคิดรวบยอดของเรื่อง
ตอบ 1 หน้า 34 – 40, (คำบรรยาย) โครงสร้างของการพูด ประกอบด้วย 1. คำปฏิสันถารหมายถึง คำทักทายผู้ฟัง 2. คำนำ หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง หรือการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง 3.เนื้อเรื่อง หมายถึง ข้อมูลหลักของการนำเสนอ หรอกลวิธีนำเสนอ 4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง 5. คำลงท้าย หมายถึง ข้อความทิ้งท้ายเพื่อความประทับใจ (ในส่วนของสรุปและคำลงท้ายอาจสลับที่กันได้ หากผู้พูดมีความเชี่ยวชาญพอสมควร)
78. สรุป หมายถึง
(1) การนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง (2) กลวิธีนำเสนอ
(3) การทักทายผู้ฟัง (4) ความคิดรวบยอดของเรื่อง
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ
79. การเตรียมเนื้อเรื่องที่จะพูดนั้น สิ่งใดเป็นตัวแปรที่เกิดจากเจ้าภาพได้มากที่สุด
(1) ความเชื่อ ทัศนคติของผู้ฟัง (2) ความสนใจที่มีต่อหัวข้อ
(3) เวลาที่ให้กับการพูด (4) บรรยากาศการประชุม
ตอบ 2 (คำบรรยาย) เจ้าภาพ เป็นตัวแปรหรือปัจจัยสำคัญในการจัดทิศทางหรือแนวความคิดของเนื้อเรื่องที่จะพูด แม้ว่าผู้พูดจะเตรียมเนื้อหาและเตรียมตัวมาพร้อมแล้วสำหรับการพูด แต่ถ้าเนื้อหา (หัวข้อหรือประเด็น) ที่เตรียมมาไม่ตรงกับความต้องการหรือความสนใจของเจ้าภาพ การพูดนั้นก็ไม่อาจประสบผลสำเร็จได้
80. ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนายคำพูด เมื่อพูดจบคำพูดจะเป็นนายคุณ ข้อคิดนี้มีความสัมพันธ์กับข้อใด
(1) การพูดอวดความเก่งกาจของตนเอง
(2) การพูดตามยถากรรม และปล่อยวางทุกสิ่ง
(3) การพูดโดยไม่ยั้งคิด ขาดความรอบคอบ
(4) การพูดในลักษณะเห็นแก่ตัว ต้องการการครอบงำผู้ฟัง
ตอบ 3 หน้า 65, (คำบรรยาย) มารยาทที่ดีในการพูดประการหนึ่ง คือ ควรคิดให้รอบคอบก่อนจะพูด โดยพิจารณาถึงถ้อยคำที่จะนำมาใช้ว่าเหมาะสมกับผู้ฟังหรือไม่ หากพูดโดยไม่ยั้งคิด และขาด ความรอบคอบในการไตร่ตรองเนื้อหาก่อนที่จะพูด อาจส่งผลเสียต่อผู้พูดในภายหลัง ดังคำกล่าว ที่ว่า “ก่อนที่จะพูดคุณเป็นนายคำพูด เมื่อพูดจบคำพูดจะเป็นนายคุณ”
81. การพูดให้เป็นตามธรรมชาติ หมายถึง
(1) พูดตามลักษณะพื้นฐานภูมิลำเนา
(2) พูดออกเสียงคล้ายเสียงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งคนส่วนใหญ่คุ้นเคย
(3) พูดแบบการสนทนาตามการใช้ชีวิตปกติประจำวัน
(4) พูดโดยการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมหรือนิสัยของผู้ฟัง
ตอบ 3 หน้า 53, (คำบรรยาย) ในขณะที่กำลังพูดอยู่นั้น ผู้พูดต้องพยายามพูดให้เป็นตามธรรมชาติที่สุด (Complete Spontaneity) หมายถึง พูดแบบการสนทนาตามการใช้ชีวิตปกติประจำวัน อย่าท่องจำมาพูด หรือพูดตะกุกตะกักเหมือนคนติดอ่าง และควรหลีกเลี่ยงการขึ้นต้น แต่ละครั้งด้วยคำว่า “เอ่อ… อ้า… อืม… ประมาณว่า…”
82. ข้อใดถูก
(1) ท่านนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ฯพณฯ รัฐมนตรี
(2) ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
(3) สวัสดีท่านอาจารย์ และนักศึกษาที่เคารพ
(4) ท่านรัฐมนตรีว่าการ ปลัดกระทรวง และพระคุณเจ้าในที่นี้
ตอบ 3 หน้า 34 – 35, (คำบรรยาย) คำปฏิสันถารกับผู้ฟัง หรือคำทักทาย ถือเป็นส่วนแรกของ การเริ่มต้นเนื้อหาการพูด ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่นิยมกันในการกล่าวคำปฏิสันถาร มีดังนี้
1. การทักทายในการเริ่มพูดโดยปกติแล้ว ควรกล่าวไม่เกิน 3 กลุ่มผู้ฟัง
2. คำปฏิสันถารมีทั้งแบบเป็นพิธีการ ไม่เป็นพิธีการ และกึ่งพิธีการ
3. ควรเริ่มต้นจากการทักประธานในพิธี หรือผู้ที่มีศักดิ์และตำแหน่งสูงสุดในการรับฟังก่อน แล้วจึงทักผู้ที่มีตำแหน่งรองลงไปจากใหญ่ไปเล็ก แต่ถ้าหากมีพระภิกษุ นักบวช และผู้ทรงศีล ต้องทักก่อนเป็นลำดับแรก
4. เวลาทักใครแล้วต้องหันหน้าไปหาด้วย ฯลฯ
83. ข้อใดไม่ควรพูดปิดท้าย
(1) ผมขอฝากข้อคิดเหล่านี้ให้ท่านนำกลับไปพิจารณาครับ
(2) สรุปความโดยทั้งหมดแล้ว ปัญหานี้เกิดจากคน ซึ่งก็รวมถึงท่านผู้ฟังทุกคนด้วย
(3) ขอบคุณท่านทุกคนที่ฟังผมมาจนจบ ความจริงแล้วผมก็ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไร แต่ที่มาพบท่าน ก็เพราะเป็นหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาซึ่งยากที่จะหลีกพ้น
(4) ท่านทั้งหลายครับ ขอให้กลับบ้านอย่างปลอดภัยทุกคน โอกาสหน้าเราจะพบกันใหม่ในแบบที่ท่าน จะประทับใจ
ตอบ 3 หน้า 38 – 40, 53 – 54, (คำบรรยาย) ข้อบกพร่องในการสรุปและพูดปิดท้าย คือ ผู้พูดควร หลีกเลี่ยงการจบแบบยุติเอาดื้อ ๆ อย่าจบเพราะหมดเวลา หรืออย่าขอโทษ/ขออภัยที่ต้องจบ นอกจากนี้ผู้พูดไม่ควรถ่อมตัวว่าตนไม่มีความรู้ในเรื่องที่พูด หรือมาพูดเพราะเหตุจำเป็น เนื่องจากเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง และยังแสดงถึงความไม่มั่นใจในตัวผู้พูดอีกด้วย
84. ระหว่างการเดินเข้า ณ ตำแหน่งที่พูดหลังจากพิธีกรเชิญท่าน
(1) ขอบคุณพิธีกร (2) สบตากับประธานในพิธีตลอดทางเดิน
(3) ยิ้มอย่างเปิดเผยเมื่อเห็นคนคุ่นเคย (4) ไม่ต้องทักทายใครแล้ว
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ
85. ข้อห้ามในการแสดงท่าทางประกอบ ได้แก่ข้อใด
(1) ทำอย่างหลากหลาย (2) ทำเป็นระบบจนผู้ฟังคุ้นเคย
(3) ทำตามเนื้อหาที่เตรียม (4) ทำให้เห็นชัด ๆ
ตอบ 2 หน้า 18, 54, (คำบรรยาย) ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบการพูดเมื่อต้องการอธิบาย เน้นข้อความ หรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่พูด โดยการแสดงท่าทางจะต้องสอดคล้องกับ ความรู้สึกนึกคิดที่กำลังนำเสนอ มีความสุภาพเรียบร้อยเหมาะกับโอกาส เนื้อหาที่เตรียมมา และรูปแบบกิจกรรม ซึ่งที่สำคัญคือ ควรทำให้เห็นเด่นชัด มีความหลากหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจ และอย่าทำเป็นระบบจนผู้ฟังคุ้นเคย หรือเดาทางออก
86. การปรับปรุงตัวผู้พูดมีความหมายในการพูดอย่างไร
(1) การพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับการนำเสนอ
(2) การสร้างภาพลักษณ์ทางสังคมเพื่อให้การพูดได้รับความเชื่อมั่นศรัทธา
(3) การกำหนดบทบาท หน้าที่ และกิจกรรมให้สัมพันธ์กับเรื่องที่พูด
(4) การปรับปรุงความสามารถในการนำเสนอ เช่น อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
ตอบ 1 หน้า 11, (คำบรรยาย) การปรับปรุงตัวผู้พูด หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับ การนำเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้ภาษา น้ำเสียง การยืน การแต่งกาย การใช้สายตา กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตัว ให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมายเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ
87. หลักการเบื้องต้นในการใช้ภาษาพูดเพื่อการเข้าสมาคม
(1) ใช้อย่างมีรสนิยม เป็นไปตามลักษณะหน้าที่การงานและพื้นฐานสังคม
(2) เน้นสุนทรียภาพในการใช้ถ้อยคำ เข้าถึงความถูกต้องของไวยากรณ์
(3) เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ บุคคล สถานะ และโอกาส
(4) แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชัดเจน
ตอบ 3 หน้า 11-12, (คำบรรยาย) หลักการเบื้องต้นในการใช้ภาษาพูดเพื่อการเข้าสมาคม มีดังนี้
1. เลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ บุคคล สถานะ และโอกาส
2. ใช้ภาษาพูดที่สุภาพ และนิยมใช้ในการสนทนา
3. ใช้คำและประโยคที่สั้น กระชับ และเข้าใจง่าย
4. หลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำบ่อย ๆ
5. ใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดอารมณ์ หรือเห็นภาพพจน์
88. น้ำเสียงในการพูดของพิธีกรภาคสนามไม่ควรเป็นเช่นไร
(1) สนุกสนานร่าเริงในลักษณะชวนสนทนา
(2) มีแก้วเสียงดังกังวานคมชัดขณะสัมภาษณ์แหล่งข่าว
(3) ใช้เสียงทุ้มและเสียงแหลมสลับไปมาตามสถานการณ์ข่าวเพื่อให้ได้บรรยากาศ
(4) เน้นระดับเสียงระดับเดียวอย่างสมาเสมอเพื่อความเป็นเอกลักษณ์
ตอบ4 หน้า 13-14, (คำบรรยาย) น้ำเสียงในการพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น ประกอบด้วย
1. ความดังที่พอเหมาะพอควร
2. มีความแจ่มใสในน้ำเสียง หรือแก้วเสียงมีความชัดเจนและกังวาน
3. เสียงพูดต้องสอดคล้องกับกาลเทศะ เหมาะสมกับอารมณ์และสถานการณ์
4. ต้องไม่เป็นเสียงที่ราบเรียบระดับเดียวกันโดยตลอด ควรมีเสียงสูงต่ำ เน้นหนักเบา เหมือนกับการสนทนากันอย่างมีชีวิตชีวา
5. การออกเสียงต้องถูกต้องชัดเจน
89. ข้อใดสอดคล้องกับการประสานสายตาระหว่างการพูดต่อสาธารณชน
(1) ตามองตาสายตาก็จ้องมองกัน
(2) ดวงตาเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจ
(3) ยามมาคุณจ้องที่ตาฉัน ยามจากกันฉันจ้องที่ตาเธอ
(4) เธอจ้องอย่างนี้ฉันอายเต็มที มองดี ๆ ซิเธอ
ตอบ 2 หน้า 16, (คำบรรยาย) การประสานสายตาในระหว่างการพูดสามารถสร้างความสัมพันธ์ และ ถ่ายทอดความรู้สึกของผู้พูดไปสู่ผู้ฟังได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ดวงตาเปรียบเสมือนหน้าต่างของหัวใจ” ซึ่งวิธีใช้สายตาที่ดี คือ พยายามมองผู้ฟังอยู่ตลอดเวลา โดยค่อย ๆ กวาดสายตาไปยังผู้ฟังจาก ซ้ายไปขวา จากหลังห้องมาหน้าห้อง มองผู้ฟังให้ทั่วถึงกัน แต่อย่าจ้องผู้ฟังจนเกินไป
90. การเดินของผู้พูดมีผลด้านใดต่อผู้ฟังโดยตรง
(1) การรับรู้ เข้าใจ และเรียนรู้เสาระการพูด
(2) สร้างความสัมพันธ์ ความเป็นกันเอง ส่งเสริมบรรยากาศระหว่างกัน
(3) สร้างกระบวนการรับรู้สนใจติดตามเนื้อหา และการประเมินท่าทีเบื้องต้น
(4) ทราบถึงทัศนคติ ความเชื่อ และความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพูด
ตอบ 3 หน้า 16, (คำบรรยาย) การเดินของผู้พูดมีผลโดยตรงต่อผู้ฟัง คือ การเดินเป็นการสร้าง
กระบวนการรับรู้สนใจติดตามเนื้อหา และการประเมินท่าทีเบื้องต้นของผู้พูด ดังนั้นในการพูด จึงควรให้ผู้พูดมีการเดินสักช่วงหนึ่งจึงจะเหมาะสม เพราะการเดินเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาหรือ เป็นจุดสนใจของผู้ฟัง และนับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพด้วย
91. การทรงตัวในวิชาการด้านวาทวิทยา หมายถึง
(1) การเดินในลักษณะที่สง่างาม มีการเคลื่อนที่อย่างมั่นใจ
(2) การใช้ท่าทางในระหว่างการพูด รวมทั้งความสามารถในการใช้อุปกรณ์ประกอบ
(3) การยืนในระหว่างการนำเสนอ รวมทั้งการเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
(4) ท่วงท่าการนำเสนอ การแต่งกาย และบุคลิกภาพโดยรวม
ตอบ 3 หน้า 17, (คำบรรยาย) ในวิชาการด้านวาทวิทยา “การทรงตัว” หมายถึง การยืนในระหว่าง การนำเสนอ รวมทั้งการเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ซึ่งหลักการที่ถูกต้องของการทรงตัว ก็คือ จัดระเบียบ มีสมดุล และเคลื่อนไหวอย่างสง่างาม โดยควรยืนให้น้ำหนักของรางกายตกอยู่ ตอนหน้าของเท้า หลังตรง และรู้จักเก็บหน้าท้อง
92. หลักการที่ถูกต้องของการทรงตัว คือ
(1) จัดระเบียบ มีสมดุล เคลื่อนไหวอย่างสง่างาม
(2) มั่นคง เที่ยงตรง แสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
(3) อ่อนไหวไปตามสถานการณ์ ยึดมั่นการครองใจผู้ชม/ผู้ฟัง
(4) เป็นจุดเด่น เน้นสีสัน หมั่นเจรจา กล้าแสดงออก
ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ
93. แนวทางการแสดงออกทางใบหน้าที่ผู้พูดควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก
(1) สดสวย สดใส ใส่ใจทุกรายละเอียด (2) ยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง
(3) ตีหน้าเศร้าเล่าเรื่องโกหกได้เมื่อจำเป็น (4) เก็บความรู้สึกไว้อย่าให้ใครเห็น หรือคาดเดาเราได้
ตอบ 2 หน้า 17 – 18, (คำบรรยาย) การแสดงออกทางใบหน้าถือเป็นเรื่องสำคัญมากพอ ๆ กับ การใช้สายตา เพราะสีหน้าและแววตาจะเป็นสิ่งสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกระหว่างกันและกัน รวมทั้งสามารถบ่งบอกบรรยากาศของการพูดได้ ซึ่งแนวทางการแสดงออกทางใบหน้าที่ผู้พูด ควรยึดถือปฏิบัติเป็นประการแรก คือ ยิ้มแย้มดีกว่าบึ้งตึง เพื่อให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด และผู้พูดกับผู้ฟังมีความคุ้นเคย หรือเป็นมิตรต่อกัน
94. เหตุใดการแสดงออกทางใบหน้าจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
(1) เพราะผู้ฟังโดยทั่วไปจะตัดสินความน่าจะเป็นของเนื้อหาจากสีหน้า
(2) เพราะในการสนทนานั้น มนุษย์จะต้องมองหน้ากันเป็นปกติ
(3) เพราะอวัยวะในการออกเสียงและรับสัมผัสของมนุษย์อยู่ด้านหน้าของร่างกาย
(4) เพราะสีหน้าและแววตาจะเป็นสิ่งสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกระหว่างกันและกัน
ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ
95. เมื่อจะต้องเน้นข้อความ หรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่พูดเรามักจะ
(1) หลบสายตา (2) แสดงท่าทางประกอบ (3) ใช้ระดับเสียงที่ต่ำลง (4) วางไมโครโฟนลง
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ
96. แนวทางปฏิบัติเพื่อไปพูดของผู้ที่ได้รับเกียรติจากเจ้าภาพในโอกาสต่าง ๆ คือ
(1) โดดเด่น (2) มีรสนิยมดี (3) เป็นตัวเองให้มากที่สุด (4) เหมาะสม
ตอบ 4 (คำบรรยาย) แนวทางปฏิบัติเพื่อไปพูดของผู้ที่ได้รับเกียรติจากเจ้าภาพในโอกาสต่าง ๆ คือ ความเหมาะสม ทั้งในเรื่องของบุคลิกลักษณะในการแต่งกาย การปรากฏตัว การเตรียมเนื้อหา และคำปฏิสันถาร ฯลฯ ซึ่งต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับเจ้าภาพและลักษณะของงาน
97. การแต่งกายของผู้พูดในโอกาสต่าง ๆ แสดงออกถึง
(1) ระดับการศึกษา (2) คุณภาพการบ่มเพาะทางสังคม
(3) การเข้าได้กับการสมาคม (4) สัมพันธภาพระหว่างกัน
ตอบ 2 หน้า 19, (คำบรรยาย) การแต่งกายของผู้พูดเมื่อได้รับเชิญไปพูดในโอกาสต่าง ๆ จะแสดงออกถึง รสนิยม และคุณภาพการบ่มเพาะทางสังคมที่ผู้พูดได้รับการอบรมสั่งสอนมา ซึ่งผู้พูดจะสามารถ ทราบได้ว่าตนควรแต่งกายแบบใดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงาน โดยพิจารณาจาก บัตรเชิญของเจ้าภาพ เช่น โปรดแต่งกายสุภาพ แต่งกายตามสากลนิยม ฯลฯ
98. เมื่อท่านได้รับเชิญไปในงานแสดงปาฐกถาของนักวิชาการผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศระดับสากล โดยมีผู้แทนพระองค์เป็นประธานในพิธี ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าจะแต่งกายในแบบใดจึงจะถูกต้องเหมาะสมที่สุด
(1) ถามจากเพื่อน (2) ดูจากบัตรเชิญ
(3) ค้นจากอินเทอร์เน็ต (4) โทรศัพท์ถามท่านประธาน
ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 97. ประกอบ
99. ถ้าท่านเป็นผู้แนะนำองค์ปาฐก ท่านจะแนะนำ นายแพทย์อรรถพล สุวรรณนวปิติ อย่างไร ในเมื่อบุคคลผู้นี้ ดำรงยศพลโท และเป็นศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาด้วย
(1) ศาสตราจารย์ พลโท นายแพทย์อรรถพล สุวรรณนวปิติ
(2) พลโท ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถพล สุวรรณนวปิติ
(3) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พลโทอรรถพล สุวรรณนวปิติ
(4) พลโท นายแพทย์ ศาสตราจารย์อรรถพล สุวรรณนวปิติ
ตอบ 2 หน้า 310 – 311, 444, (คำบรรยาย) การกล่าวแนะนำองค์ปาฐก ในกรณีที่ผู้พูดมีคำนำหน้านาม ให้เรียงลำดับ ดังนี้ 1. ยศทหาร 2. ตำแหน่งทางวิชาการ 3. ระดับการศึกษา 4. คำนำหน้าวิขาชีพ 5. ฐานันดรศักดิ์
100. ในการพูดแต่ละครั้ง สิ่งที่จำเป็นซึ่งจะต้องกระทำก่อนข้ออื่นคือ
(1) การเรียบเรียงเนื้อหาให้มีความถูกต้องสมบูรณ์
(2) การเตรียมโสตทัศนูปกรณ์เพื่อช่วยในการนำเสนอ
(3) การวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด
(4) การกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการพูด
ตอบ 3 หน้า 20 – 23, (คำบรรยาย) ในการพูดแต่ละครั้ง สิ่งที่ผู้พูดต้องกระทำก่อนเป็นลำดับแรกคือ การวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด เพราะการพูดชนิดเดียวกันอาจจะเหมาะสำหรับ ชนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสำหรับชนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ผู้ฟังหรือศึกษาถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม เพื่อจะได้จัดเตรียมเนื้อหา ได้ถูกต้องและเหมาะสม