การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2564
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1 มนุษย์พันธุ์อะไรที่เชื่อว่าอาจพูดได้เป็นครั้งแรก
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 4 หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะพูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา
2 ปรมาจารย์ที่ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้
3 ข้อใดเป็นกาลามสูตร
(1) พิธีกรเล่าข่าวบอกได้ยินมาว่า
(2) โบราณบอกว่ามีลูกสาวเหมือนมีส้วมหน้าบ้าน
(3) อย่าเชื่อแม้แต่อาจารย์จเลิศอธิบายก็ตาม
(4) ไข้สูงอย่างนี้น่าจะติดโควิดแล้วนะ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หลักกาลามสูตร 10 ในพุทธศาสนา เป็นหลักการคิดที่มีเหตุมีผลอยู่ในตัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้สติปัญญาไตร่ตรอง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทดลองได้ สามารถตรวจสอบ พิสูจน์ได้ ไม่ใช่ใครมาพูดอะไรก็เชื่อทันที หรือเชื่อตาม ๆ กันมา โดยที่ไม่ได้วิเคราะห์เหตุผลว่า เป็นไปได้หรือไม่ ดังนั้นหลักกาลามสูตรจึงสามารถนํามาปรับใช้กับสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จัก พิจารณาข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดปัญญารู้เท่าทัน
4 อะไรเป็น Verbal Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองแม่น้ําเจ้าพระยา
(4) แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 ถึงฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย) การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) คือ การสื่อสาร ที่มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นภาษาพูด (Verbal) เช่น ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด ฯลฯ
5 อะไรไม่เป็น Nonverbal Communication
(1) ฉันกอดแม่
(2) ฉันบอกแม่ว่า ฉันรักท่านมากที่สุด
(3) แม่ยืนมองแม่น้ําเจ้าพระยา
(4) แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 7, 9, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 4. ประกอบ) การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) คือ การสื่อสารที่มีการใช้ภาษาท่าทางเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งตัวอย่างของการใช้
สัญลักษณ์ที่เป็นกิริยาท่าทาง (Nonverbal) หรือภาษาที่ไม่ออกเสียง เช่น ฉันกอดแม่, แม่ยืน มองแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่นอนคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง ฯลฯ
6 ข้อใดคือการสื่อสารมวลชน
(1) ฉันเรียนออนไลน์
(2) ฉันเล่นไลน์
(3) ฉันจัดรายการวิทยุออนไลน์
(4) ฉันขายของออนไลน์
ตอบ 3 หน้า 14, 19 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) คือ การสื่อสารที่มีความเกี่ยวข้อง กับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ รวมทั้งสื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ ฯลฯ เพื่อสื่อสารกับผู้รับสารจํานวนมากที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือ ทั่วโลก โดยไม่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร และเนื้อหาของสารนั้นก็จะต้อง มีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชนด้วย เช่น การจัดรายการวิทยุออนไลน์ เป็นต้น
ข้อ 7 – 10 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Intrapersonal Communication
(2) Interpersonal Communication
(3) Small Group Communication
(4) Public Communication
7 ฉันนั่งคุยกับเพื่อนเรื่องเด็กอายุ 14 วางแผนให้แฟนหนุ่มอายุ16 ฆ่าแม่และพี่ชายตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 18, 22, 37 – 38, (คําบรรยาย) Interpersonal Communication คือ การสื่อสาร ระหว่างบุคคล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง หรือกับคนอื่นที่มีจํานวนไม่มากนัก ในบางครั้งผู้ส่งสารกับผู้รับสารที่มีความคุ้นเคยกัน เช่น การพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน การสื่อสารกันในงานเลี้ยงสังสรรค์, การพูดคุยและส่ง SMS/MMS กันทางโทรศัพท์, การเขียน จดหมายถึงกัน ฯลฯ หรืออาจจะไม่มีความคุ้นเคยกันก็ได้ เช่น คนแปลกหน้าพูดคุยกันบนถนน บนรถโดยสาร หรือในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ รวมไปถึงการใช้เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนตัวเพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน ก็จัดเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย
8 ฉันนั่งคิดว่า ทําไมเด็กอายุ 14 จึงมีความคิดโหดเหี้ยมอย่างนี้
ตอบ 1 หน้า 18, (คําบรรยาย) Intrapersonal Communication คือ การสื่อสารส่วนบุคคล ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในร่างกายหรือในตัวของเราเอง โดยเรื่องราวหรือเนื้อหาจะประกอบด้วยความคิด และสื่อกลางหรือช่องทางก็คือ ระบบประสาทที่ผ่านความคิดและกระบวนการในสมอง เช่น การพูดเบา ๆ การซ้อมร้องเพลง หรือฝึกซ้อมอ่านคําปราศรัย การนั่งทําสมาธิ และการคิดถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดในใจแล้วพูดรําพึงรําพัน หรือหัวเราะกับตัวเอง ฯลฯ
9 ฉันเข้าเรียนออนไลน์กับอาจารย์จเลิศ เจษฎาวัลย์
ตอบ 3 หน้า 18, (คําบรรยาย) Small Group Communication คือ การสื่อสารกลุ่มย่อยที่เกี่ยวข้อง กับคนจํานวนหนึ่ง ซึ่งจะมีจํานวนจํากัดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 25 คน มาสื่อสารกันเพื่อที่จะพบปะพูดคุย ปรึกษาหารือ หรือแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และตัดสินใจร่วมกัน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มย่อยไม่ควรมีจํานวนมากนัก เพื่อให้เข้าลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ซึ่งคนทุกคนสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ หรือมีโอกาสพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด และแสดงความคิดเห็นกันได้ทั่วถึง เช่น การบรรยายในห้องเรียน การเข้าเรียนออนไลน์ ฯลฯ
10 ฉันฟังการปราศรัยหาเสียงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
ตอบ 4 หน้า 19, 41, (คําบรรยาย) Public Communication คือ การสื่อสารในที่สาธารณะ หรือการพูดในที่สาธารณะ เช่น การปราศรัยหาเสียงผู้ว่ากรุงเทพมหานคร, การชุมนุมครั้งใหญ่ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1 จะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะมากกว่าพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น ในห้องบรรยายขนาดใหญ่ สนามกีฬา ฯลฯ แต่ถ้ามีผู้ฟังมากอาจต้องถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อให้ทุกคน มีโอกาสเข้าฟังพร้อมกัน
2 เป็นการพูดแบบเป็นทางการมากกว่าการพูดในที่ส่วนบุคคล โดยจะต้องมีการวางแผนการพูดไว้ล่วงหน้า
3 เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่มีรูปแบบชัดเจน เช่น ต้องมีการซักถามปัญหาจากผู้ฟังหลังจาก การพูดจบลงแล้ว เป็นต้น
11 “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ของเธอ” คําว่า “ไอแพด” คือ
(1) ผู้ส่งสาร
(2) สาร
(3) ช่องทางการสื่อสาร
(4) ผู้รับสาร
ตอบ 2 หน้า 21 ถ้าหากเรากําลังยืนอยู่ตรงหน้าเพื่อนคนหนึ่ง และพูดว่า “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ ของเธอ” จากการสนทนาธรรมดานี้ เราก็คือ ผู้ส่งสาร (Sender), สาร (Message) ได้แก่ ประโยคที่พูดว่า “ฉันชอบไอแพดรุ่นใหม่ของเธอ” ส่วนบุคคลที่อยู่ตรงหน้าและเป็นเจ้าของ ไอแพดก็คือ ผู้รับสาร (Receiver or Audience) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นตัวอย่างของ การสื่อสารระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร
12 ฉันโพสต์ข้อความว่า ไม่เห็นด้วยที่สื่อมวลชนนําภาพผู้ตายมาเผยแพร่ในสื่อมวลชน สิ่งนี้คือ
(1) Sender
(2) Message
(3) Receiver
(4) Feedback
ตอบ 4 หน้า 21 ปฏิกิริยาโต้ตอบ (Feedback) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้รับสารได้รับสารแล้วส่งสารกลับไปให้ ผู้ส่งสาร เช่น เมื่อฉันเห็นภาพผู้ตายในสื่อมวลชน จึงโพสต์ข้อความว่า ไม่เห็นด้วยที่สื่อมวลชน นําภาพผู้ตายมาเผยแพร่ เป็นต้น
ข้อ 13 – 14 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) One Way Communication
(2) Two Way Communication
13 สถานีโทรทัศน์รายงานข่าวเด็กอายุ 14 ร่วมกับแฟนหนุ่มอายุ 16 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 1 หน้า 26 การสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) คือ การสื่อสารที่ไม่ได้คํานึงถึง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เช่น สถานีโทรทัศน์รายงานข่าวประจําวัน ข่าวรัฐบาลขอความร่วมมือให้งดใช้มือถือขณะขับรถ, ผู้สื่อข่าวรายงานสดจากรัฐสภา ซึ่งผู้ชม ทางบ้านย่อมได้รับผลกระทบจากสารนั้น แต่ไม่สามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบกลับมาได้ทันที ฯลฯ
14 สถานีวิทยุเปิดให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นกรณีเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง
ตอบ 2 หน้า 26 การสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) คือ การสื่อสารที่เน้นในเรื่อง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร ซึ่งถือเป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์ที่สุด เช่น ประชาชนไม่พอใจประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 9%, สถานีวิทยุเปิดให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามา แสดงความคิดเห็นกรณีเด็กอายุ 14 วางแผนฆ่าแม่ตัวเอง, สถานีวิทยุ จ.ส. 100 เปิดสายให้ ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามารายงานข่าวสารจราจรในกรุงเทพฯ หรือสอบถามเส้นทางต่างๆ ฯลฯ
15 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
ข้อ 16 – 18 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) One Step Flow Communication
(2) Two Step Flow Communication
(3) Multi Step Flow Communication
16 ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ได้ชมจากสถานีโทรทัศน์
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย ดังนั้นจึงถือเป็นการสื่อสารในยุคแรกที่ ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน เช่น การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัว อยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.), ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ได้ชมจากสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น
17 ประชาชนได้รับข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิด
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) เป็นการรวมการสื่อสารแบบ ขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสารอาจจะผ่านสื่อหลายชนิด ด้วยกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น ประชาชนได้รับข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิดทั้งจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือผ่านทาง สื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อมวลชนอื่น ๆ, การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัลช่องหนึ่งได้นํา คลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือนําข่าวหน้าหนึ่งจาก นสพ. มาอ่าน ฯลฯ
18 ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ผู้นําชุมชนมาแจ้งให้ทราบ
ตอบ 2 หน้า 46 การสื่อสารแบบสองขั้นตอน (Two Step Flow Communication) หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎีสื่อสาร 2 จังหวะ (Two Step Flow Theory) คือ ข่าวสารไปถึงผู้รับสารในลักษณะของ การส่งต่อกันเป็น 2 ทอด คือ ลําดับแรกข่าวสารไปถึงผู้นําทางความคิด (Opinion Leader) ใน ชุมชนหรือในกลุ่มสังคมก่อน เช่น กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน พระ นายกรัฐมนตรี ฯลฯ หลังจากนั้นจึง ถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นในกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้ข่าวสารจากสื่อมวลชนหรือผู้ส่งสารไม่มีอิทธิพล โดยตรงต่อผู้รับสารส่วนใหญ่ เช่น ประชาชนเชื่อฟังข่าวสารที่ผู้นําชุมชนมาแจ้งให้ทราบ, การดู โฆษณาครีมยี่ห้อ A แล้วจึงถามเพื่อนที่เคยใช้ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อดังกล่าว เป็นต้น
19 มนุษย์ต้องมีการตรวจสอบ ประเมิน และควบคุมสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูล เพียงพอ แนวคิดนี้เป็นไปตามทฤษฎีใด
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 2 หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัสและเข้ารหัส เชื่อว่า มนุษย์ต้องการตรวจสอบ ประเมิน และควบคุมสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการกระทําดังกล่าวนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ เรามีข้อมูลเพียงพอ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องทําการสื่อสารด้วยการถอดรหัสและเข้ารหัสความหมาย ของสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอ
20 สภาวะแวดล้อมหรือบรรยากาศของสังคมเป็นตัวควบคุมการส่งสารของผู้ส่งสาร
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 3 หน้า 48 ทฤษฎีสื่อสารเชิงบริบททางสังคม เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสําคัญ ต่อการสื่อสารของมนุษย์ คือ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม โดยเชื่อกันว่า สภาวะแวดล้อมหรือบรรยากาศทางสังคมเป็นตัวควบคุมการส่งสารของผู้ส่งสาร ดังนั้นการไหล ของกระแสข่าวสารหรือผลของการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยทุกครั้ง
21 สื่อสารมวลชนถูกเน้นว่า เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคม
(1) การสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์
(2) การสื่อสารเชิงพฤติกรรมถอดรหัส – เข้ารหัส
(3) การสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(4) โครงสร้างและหน้าที่การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 48 ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของการสื่อสารมวลชน เชื่อว่า สังคมถือเป็นระบบใหญ่ ระบบหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆ หรือระบบย่อยมีความเกี่ยวพันติดต่อถึงกัน ซึ่งสื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่ง ของระบบและถูกเน้นว่า เป็นตัวเชื่อมเพื่อให้เกิดการรวมตัวกันของระบบย่อยทุกระบบในสังคม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม
22 ความสัมพันธ์ของผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สัมพันธ์กัน เนื่องจากปัจจัยจิตวิทยาและสังคมวิทยา
(1) ทฤษฎีสื่อสารเชิงบริบทสังคม
(2) ทฤษฎีแรงเสริม
(3) ทฤษฎีเชิงปฏิสัมพันธ์
(4) ทฤษฎีการไหลเวียนของข่าวสาร
ตอบ 3 หน้า 47 ทฤษฎีสื่อสารเชิงปฏิสัมพันธ์ จะเป็นทฤษฎีที่มุ่งอธิบายกระบวนการเชื่อมโยง หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลหรือไม่สัมพันธ์กัน เพราะความสัมพันธ์จะถูกกําหนดโดยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาและ สังคมวิทยา เช่น อารมณ์ ทัศนคติ บุคลิกภาพ ระยะทางหรือความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ฯลฯ
23 ผู้กําหนดหน้าที่สื่อมวลชนในการสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 หน้า 50 – 51 Harold Lasswett ได้กําหนดหน้าที่ของสื่อมวลชนเอาไว้ 3 ประการ คือ
1 หน้าที่สังเกตการณ์สภาพแวดล้อมของสังคม
2 หน้าที่ประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ตามสภาพแวดล้อมของสังคม
3 หน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป ซึ่งต่อมา Charles Wright ได้เพิ่มหน้าที่ของสื่อมวลชนประการที่ 4 คือ
4 หน้าที่ในการให้ความบันเทิง
24 ผู้กําหนดหน้าที่ในการประสานสัมพันธ์ส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้รวมกันอยู่ได้ Charles Wright
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ
25 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นต่อไป
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ
26 ผู้กําหนดว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ในการให้ความบันเทิง
(1) Dennis McQuail
(2) Harold Lasswell
(3) Charles Wright
(4) Schramm
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 23 ประกอบ
27 สื่อมวลชนหยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 1 หน้า 52 ทฤษฎีสังคมมวลชน เชื่อว่า สื่อมวลชนเป็นสาเหตุและเป็นสิ่งที่ดํารงสังคมมวลชน โดยสื่อมวลชนได้หยิบยื่นโลกทัศน์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับผู้คนในสังคม และ ช่วยเหลือทางด้านจิตใจให้ดํารงชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาวะที่ยากลําบากซึ่งกําลังเผชิญอยู่ ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงก่อให้เกิดภาพพจน์ของการควบคุม กลั่นกรอง และกําหนดทิศทางของอิทธิพลจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง
28 เนื้อหาในวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง เรื่องราวทางเพศ เป็นแนวคิดของ
(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน
(2) ทฤษฎีหน้าที่นิยม
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีการปลูกฝัง
ตอบ 4 หน้า 54 เกิร์บเนอร์ (Gerbner) และคณะ ได้พัฒนาทฤษฎีการปลูกฝัง ซึ่งมีสมมติฐานว่า ข่าวสารในสื่อมวลชนโดยเฉพาะในวิทยุโทรทัศน์นั้นได้ปลูกฝังปั้นแต่งความคิดของผู้รับสารเกี่ยวกับโลกที่แท้จริง กล่าวคือ เนื้อหาที่อยู่ในวิทยุโทรทัศน์มักจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาชญากรรม ความขัดแย้ง และเรื่องราวทางเพศเสมอ จนทําให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าโลกนี้ เต็มไปด้วยความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน และการดิ้นรนต่อสู้
29 ใครคือผู้กรองสาร (Gate Keeper)
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) โฆษกรัฐบาล
(3) นักข่าว
(4) รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 3 หน้า 55 ผู้เฝ้าประตู (Gate Keeper) หรือผู้กรองสาร หมายถึง บุคคลที่ทําหน้าที่ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสาร ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร จึงเป็นเสมือนกับนายทวารในการรับ ข่าวสารของประชาชน โดยจะควบคุมการไหลของข่าวสารและตัดสินว่าข่าวอะไรควรส่งต่อไป และข่าวอะไรควรจะตัดออกไปทั้งหมด ซึ่งบุคคลที่ทําหน้าที่นี้ ได้แก่ นักข่าวหรือผู้สื่อข่าว ผู้พิมพ์ บรรณาธิการข่าว ผู้เขียนข่าว นักวิจารณ์ ฯลฯ
30 สื่อมวลชนไม่สามารถวิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ
31 ผู้มีสิทธิใช้สื่อมวลชน ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของ
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 62 – 63, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 เริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ คือ เพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อให้ความบันเทิง เพื่อการค้า และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ เพื่อแสวงหาความจริง และเพื่อควบคุมรัฐบาล
3 หน้าที่หลักของสื่อมวลชน คือ เพื่อเปิดเผยความจริง และเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของรัฐบาล
4 การควบคุมสื่อมวลชน คือ สื่อมวลชนควบคุมกันเอง และใช้กระบวนการยุติธรรมของศาล เพื่อทําหน้าที่ตัดสินความถูกผิดของสื่อมวลชนตามกฎหมาย (เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯลฯ)
5 ส่วนใหญ่แล้วเอกชนจะเป็นเจ้าของสื่อมวลชน ฯลฯ
32 สื่อมวลชนเป็นของรัฐ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3 หน้า 64 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน เฮเกล และความคิดของรัสเซีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 สื่อมวลชนจะถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็น เครื่องมือของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้
4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท ฯลฯ
33 การควบคุมสื่อมวลชนทําโดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(3) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 65 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
4 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม ฯลฯ
34 ผู้ริเริ่มใช้อักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform) คือ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 3 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็น เกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน
35 ตัวอักษร Lonion เป็นของ
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 1 หน้า 79 เมื่อประมาณ 500 B.C. ชาวกรีกได้มีการพัฒนาตัวอักษรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมทั้งสระด้วย) ซึ่งการที่ตัวอักษรกรีกมีมาตรฐานนั้นทําให้วัฒนธรรมของกรีกมีความเจริญ มากขึ้น เช่น Athens ได้ผ่านกฎหมายให้ใช้ภาษาที่ใช้ตัวอักษร “Lonion” (The Lonion Alphabet) เป็นภาษาของทางราชการ เป็นต้น
36 ผู้ที่พัฒนากระดาษจากต้น Papyrus ได้แก่
(1) ชาวกรีก
(2) ชาวอียิปต์
(3) ชาวสุเมเรียน
(4) ชาวมายา
ตอบ 2 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nite)
37 กฎหมายของกษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ถูกสลักลงบนก้อนหินขนาดใหญ่ชื่อว่า
(1) Scroll
(2) Parchment
(3) Vellum
(4) Stallae
ตอบ 4 หน้า 81 เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว กษัตริย์ Hammurabi ของบาบิโลเนีย ได้แกะสลัก กฎหมายลงบนก้อนหินขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่า “Stallae” คือ บล็อกหินสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีดํา ขนาด 8 ฟุต ที่ถูกนํามาตั้งไว้ในศูนย์กลางของเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร ซึ่งถือเป็นระบบที่ ยุ่งยากมาก เพราะยังไม่มีการพัฒนานําเอาสื่อที่เคลื่อนย้ายได้มาใช้
38 หนังสือ Books of Kells ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 3 หน้า 83 หนังสือที่พวกพระคัดลอกด้วยลายมือเป็นจํานวนพัน ๆ เล่ม เรียกว่า Manuscripti โดยหนังสือบางฉบับถือเป็นผลงานทางศิลปะที่งดงาม ตกแต่งด้วยตัวอักษรและมีภาพวาดที่มีความประณีตสวยงามมาก จนจัดว่าเป็นหนังสือที่สวยที่สุดที่ได้ผลิตออกมา และมีความพิเศษที่ไม่ธรรมดาเลย คือ หนังสือ Books of Kelts ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานโดยพวกพระเมื่อประมาณ 800 A.D. ปัจจุบันหนังสือ Books of Kells ถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และได้เก็บรักษาไว้อย่างดีที่ Trinity College ในเมือง Dublin
39 ประเทศที่มีการพัฒนาการทํากระดาษเป็นชาติแรกตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 คือ
(1) อียิปต์
(2) สเปน
(3) ไอร์แลนด์
(4) จีน
ตอบ 4 หน้า 85, (คําบรรยาย) ชาวจีนได้พัฒนาการทํากระดาษจากต้นไผ่เป็นชาติแรก ซึ่งใช้กันมาอย่างแพร่หลายเมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 และในช่วงกลางศตวรรษที่ 8 ทหารเปอร์เซียนได้ จับกุมกลุ่มชาวจีนที่ทํากระดาษ และบังคับให้สอนวิธีการทํากระดาษให้กับพวกตน ส่งผลให้ชาวจีนถูกทหารเปอร์เซียนทําทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส
40 ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก คือ
(1) Johanne Fust
(2) William Caxton
(3) Gutenberg
(4) Adolph Von Nassau
ตอบ 3หน้า 86, 95 ในสมัยก่อนเรื่องของการพิมพ์ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก จนกระทั่งมาถึงสมัยของ Gutenberg เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้สําเร็จของโลก ทําให้การพิมพ์เริ่มเป็น ที่รู้จักกันทั่วไป เพราะหลังจากการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก (Gutenberg’s Press) เกิดขึ้นได้ไม่นาน ก็ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการมีหนังสือพิมพ์ที่สามารถส่งไปยังที่ไกล ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
41 หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษเล่มแรก ชื่อว่า
(1) Book of Kells
(2) Scriptoria
(3) 42 – line Bible
(4) Koran
ตอบ 3 หน้า 88 เมื่อ ค.ศ. 1455 Gutenberg ทําหนังสือจากกระดาษเล่มแรกที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ของเขาเองได้สําเร็จ โดยมีชื่อว่า 42 – line Bible ซึ่งเขาออกแบบเอง และพิมพ์เป็นจํานวน 200 ฉบับ จึงถือได้ว่าหนังสือนี้เป็นตัวอย่างของศิลปะการพิมพ์ที่สวยงามที่สุดในโลก
42 ผู้แต่งหนังสือ Uncle Tom’s Cabin คือ
(1) Whitman
(2) Harriet Beecher Stowe
(3) Longfellow
(4) Barlett
ตอบ 2 หน้า 92 Harriet Beecher Stowe เป็นผู้ที่ได้เขียนหนังสือต่อต้านในเรื่องของทาสที่มีชื่อว่า “Uncle Tom’s Cabin” ซึ่งเป็นหนังสือประเภทนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) ที่โด่งดังมากอีกฉบับหนึ่ง
43 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ
(1) News Sheet
(2) Gazette
(3) Coranto
(4) Oxford Gazette
ตอบ 4 หน้า 96 หนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์ที่แท้จริงฉบับแรก คือ Oxford Gazette (ต่อมาภายหลังใช้ชื่อว่า The London Gazette) โดยพิมพ์จําหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1665 ในสมัยของ King Charles II
44 หนังสือพิมพ์อะไรที่ทําให้หนังสือพิมพ์ถูกเรียกขานว่าสุนัขเฝ้ายาม
(1) The Daily Courant
(2) The Boston News – Letter
(3) The New England Courant
(4) Boston Gazette
ตอบ 3 หน้า 98 เมื่อ ค.ศ. 1721 James Franklin (พี่ชายของ Benjamin Franklin) ได้เริ่มทํา หนังสือพิมพ์อาณานิคมที่ถูกเรียกขานในฐานะสุนัขเฝ้ายาม (The Press as Watchdog) ซึ่งมีชื่อว่า “The New England Courant” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของอาณานิคมที่ ประสบความสําเร็จและมีความอวดดี ฝีปากกล้า กล้าวิจารณ์คนนั้นคนนี้ และสุดท้ายก็ไป โจมตีผู้ว่าการรัฐ จนส่งผลให้ James Franklin ถูกจับเข้าคุกเป็นเดือนและถูกห้ามพิมพ์
45 ผู้ให้กําเนิด The Penny Press คือ
(1) Benjamin Harris
(2) James Franklin
(3) Benjamin Franklin
(4) Benjamin Day
ตอบ 4 หน้า 100 The Penny Press หมายถึง หนังสือพิมพ์ราคาถูก ซึ่งเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1830 และจําหน่ายในราคาถูกเพียงฉบับละ 1 เซ็นต์เท่านั้น โดยผู้ที่ให้กําเนิด The Penny Press คือ Benjamin Day ได้ผลิตหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “The New York Sun” เมื่อ ค.ศ. 1833 และเขาได้ประกาศเอาไว้ว่าวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ก็คือ การตีแผ่เรื่องราวต่าง ๆ เพื่อสาธารณะในราคาที่ไม่แพง เฉลี่ยแล้วเหมาะสําหรับทุกคน และยังเป็นสื่อที่ให้ประโยชน์สําหรับการโฆษณาอีกด้วย
46 หมอบรัดเลย์เป็นผู้ริเริ่มหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) ดุสิตสมิต
(4) บางกอกรีคอร์เดอร์
ตอบ 4 หน้า 101 – 102, 126 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคราชสํานัก จะเริ่มนับจากการที่หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้เริ่มดําเนินการพิมพ์หนังสือพิมพ์ฉบับแรก ที่มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) ออกมาให้คนไทยในสมัยนั้นได้อ่าน (แต่นักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า บางกอกรีคอร์เดอร์มีลักษณะเป็นนิตยสาร มิใช่เป็นหนังสือพิมพ์)
47 เทียนวรรณ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 1หน้า 101 – 102 หนังสือพิมพ์ในยุคราชสํานัก ได้ปรากฏมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ อีกหลายฉบับ ซึ่งฉบับที่สําคัญ ได้แก่
1 สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ดําเนินการโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ
2 ตุลยวิภาคพจนกิจ ดําเนินการโดย เทียนวรรณ
48 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกหนังสือพิมพ์ฉบับใด
(1) ตุลยวิภาคพจนกิจ
(2) สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ
(3) บางกอกรีคอร์เดอร์
(4) ดุสิตสมิต
ตอบ 4 หน้า 102 ในตอนปลายยุคราชสํานัก รัชกาลที่ 6 ทรงออกหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อว่า “ดุสิตสมิต”
และทรงนิพนธ์บทความลงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับในพระนามแฝง เช่น ศรีอยุธยา รามจิตติ อัศวพาหุ พันแหลม น้อยลา สุครีพ นายแก้ว นายขวัญ พระขรรค์เพชร เป็นต้น
49 หนังสือพิมพ์ไทยในยุคมืด มีการออกกฎหมายประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17 เป็นยุคของ
(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
(3) จอมพลถนอม กิติขจร
(4) พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ตอบ 2 หน้า 103 หนังสือพิมพ์ยุคมืด (พ.ศ. 2501 – 2512) เป็นยุคที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้อํานาจเข้าควบคุมและบังคับไม่ให้หนังสือพิมพ์แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี โดยการออก กฎหมายเป็น “ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 17” นอกจากนี้ยังใช้กําลังคุกคามสิทธิเสรีภาพของ นักหนังสือพิมพ์โดยการจับกุมและตั้งข้อหาว่ามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์
50 นายกรัฐมนตรีท่านใดในยุคหนังสือพิมพ์สําลักเสรีภาพที่เสนอว่าจะให้ตั้งสภาการหนังสือพิมพ์
(1) นายสัญญา ธรรมศักดิ์
(2) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
(3) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
(4) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ตอบ 3 หน้า 103 – 104 หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับเป็นยุคแรกของ นักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยเมื่อรัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เข้ามาเป็น นายกรัฐมนตรี ก็มีการร่าง พ.ร.บ. การพิมพ์ฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เสรีภาพแก่หนังสือพิมพ์ ในการควบคุมกันเอง และจัดตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ (Press Council) แต่ร่าง พ.ร.บ. ยังไม่ทันได้รับการพิจารณา รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็หมดอํานาจไปเสียก่อน
51 คําสั่ง ป.ร. 42 ออกมาในยุคหนังสือพิมพ์ยุคใด
(1) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(2) ยุคสําลักเสรีภาพ
(3) ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 105 หนังสือพิมพ์ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 นับเป็นยุคมืดของวงการ หนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะได้มีคําสั่งห้ามการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ทุกฉบับเป็น เวลา 5 วัน และออกประกาศเป็นคําสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 (ป.ร. 42) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพื่อมาควบคุมการปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์โดยตรง
52 นิตยสารเริ่มต้นครั้งแรกที่ประเทศ
(1) อียิปต์
(2) ฮอลแลนด์
(3) อังกฤษ
(4) สหรัฐอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 111 – 113 ประวัติศาสตร์ของนิตยสารเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยมีการลงพิมพ์เรื่องราวต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในวารสารที่ชื่อว่า “The Review ซึ่งถือเป็นนิตยสารฉบับแรกที่ก่อตั้งโดย Daniel Defoe (ผู้เขียนเรื่อง Robinson Crusoe)
53 นิตยสารฉบับแรก ชื่อว่า
(1) The Tatler
(2) The Spectator
(3) The Review
(4) The Economist
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 52 ประกอบ
54 นิตยสารโดยคนไทยฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว
ตอบ 2 หน้า 127 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์หมายประกาศที่ชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา มีความหมายว่า หนังสือเพ่งดูราชกิจ ออกเผยแพร่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 โดยไม่มีกําหนดระยะเวลาแน่นอน เพื่อออกประกาศของทางราชการ กฎหมายและข้อบังคับ ต่าง ๆ แจกจ่ายไปตามหน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงถือเป็นนิตยสารที่ออกโดยคนไทยฉบับแรก
55 นิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรก คือ
(1) บางกอกรีคอร์เดอร์
(2) ราชกิจจานุเบกษา
(3) ดุสิตสมิต
(4) ไทยเขษมรวมข่าว
ตอบ 1 หน้า 124 – 126 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดนิตยสารโดยชาวต่างชาติฉบับแรกของกรุงสยาม มีชื่อว่า “บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือจดหมายเหตุอย่างสั้น ดําเนินการ โดยหมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ซึ่งเขาได้พิมพ์นิตยสารฉบับนี้เป็นภาษาไทย และ เรียกสิ่งพิมพ์ที่ตนจัดทําขึ้นมาว่า Journal หมายถึง นิตยสาร
56 ในรัชสมัยใดที่กิจการด้านนิตยสารเจริญรุ่งเรืองมากจนเรียกว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย”
(1) รัชกาลที่ 4
(2) รัชกาลที่ 5
(3) รัชกาลที่ 6
(4) รัชกาลที่ 7
ตอบ 3 หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการด้านนิตยสารมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย” ส่งผลให้ในยุคนี้มีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ และ มีหนังสือพิมพ์รายวันออกถึง 24 ฉบับ เนื่องจากได้รับเสรีภาพอย่างเต็มที่ ตลอดจนการศึกษา ที่รุดหน้า และการที่นิตยสารเข้ามาสู่แวดวงของสามัญชนอย่างแท้จริง จึงทําให้วงการนิตยสาร เจริญเติบโตไปมาก
57 ยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือบริษัทใด
(1) โพสต์ พับลิชชิ่ง
(2) บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(3) จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(4) อมรินทร์พริ้นติ้ง
ตอบ 4 (คําบรรยาย) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ถือว่าเป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 โดยออก นิตยสารเล่มแรก คือ บ้านและสวน ปัจจุบันอมรินทร์มีนิตยสาร Life Style ในเครือมากที่สุด ในประเทศ เช่น บ้านและสวน, แพรว, สุดสัปดาห์, ชีวจิต, Health & Cuisine ฯลฯ
58 ผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนเป็นภาพเคลื่อนไหว คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 3 หน้า 139 ในปี ค.ศ. 1824 Dr. Peter Mark Roget เป็นผู้ค้นพบวิธีการทําให้ภาพต่อเนื่อง จนมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งต่อมาวิธีการนี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
59 ผู้มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 4 หน้า 138 ในปี ค.ศ. 1880 George Eastman เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการถ่ายภาพ และ มีส่วนสําคัญในการผลิตฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากพัฒนาการของ Eastman และตลาดของ ฟิล์มที่ทําจากวัสดุใส – เซลลูลอยด์ (Celluloid) ได้ทําให้การถ่ายภาพประสบความสําเร็จ และการใช้ประโยชน์จากฟิล์มยังทําให้เทคนิคภาพยนตร์สามารถพัฒนาไปได้
60 ผู้ผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ คือ
(1) Louis Dagguerree
(2) Thomas Alva Edison
(3) Dr. Peter Mark Roget
(4) George Eastman
ตอบ 2 หน้า 142 Thomas Alva Edison และหุ้นส่วนของเขาได้เริ่มการผลิตเครื่องฉายภาพยนตร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “Vitascope” และ Edison ยังได้สร้างห้องส่งสําหรับผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้น ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่ก็มาจากการแสดงละครที่ Vaudeville
61 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลกคือเรื่องใด
(1) A Trip to The Moon
(2) The Great Train Robbery
(3) The Jazz Singer
(4) Life of an American Fireman
ตอบ 3 หน้า 148 ในระหว่างปี ค.ศ. 1927 – 1928 บริษัท Warner Brothers ได้ผลิตภาพยนตร์ที่ มีบทพูดเป็นเรื่องแรก คือ เรื่อง The Jazz Singer นําแสดงโดย AL Jason ซึ่งเป็นภาพยนตร์ ที่มีเสียงเพียงบางช่วงเพราะระบบเสียงยังไม่สามารถทํางานได้เต็มระบบ โดยใส่เสียงได้เพียง 2 – 3 เพลง และมีบทพูดอีก 2 – 3 นาที ส่วนที่เหลือก็เป็นภาพยนตร์เงียบหรือไม่มีเสียง
62 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตโดยชาวอเมริกัน แต่ถ่ายทําในประเทศสยาม โดยมีนักแสดงเป็นชาวสยามทั้งเรื่อง ได้แก่ข้อใด
(1) โชคสองชั้น
(2) วันเพ็ญ
(3) แม่สื่อสาว
(4) นางสาวสุวรรณ
ตอบ 4 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และมีผู้กํากับเป็นชาวอเมริกัน คือ นาย Henry McRay โดยหนังเรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466
63 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ผลิตโดยผู้สร้างชาวสยาม และมีนักแสดงเป็นชาวสยาม ได้แก่ข้อใด
(1) โชคสองชั้น
(2) วันเพ็ญ
(3) แม่สื่อสาว
(4) นางสาวสุวรรณ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรก คือ โชคสองชั้น (Double Lucky) ซึ่งพี่น้องวสุวัตถ่ายทําขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 มีลักษณะเป็นหนังเงียบ ถ่ายทําด้วยฟิล์มขาว – ดํา ขนาด 35 มม. และมีนักแสดงเป็นคนไทย
64 ใครเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เสียงเป็นคนแรกของไทย
(1) นายประสาท สุขุม
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายปรีดี พนมยงค์
(4) พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
ตอบ 2 หน้า 153 – 154 พี่น้องวสุวัตได้ถ่ายทําภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย โดยยืมอุปกรณ์จาก บริษัทฟ็อกซ์ มาถ่ายทําภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น 2 เรื่อง คือ ภาพยนตร์บันทึกการแสดงจําอวด และการแสดงเดี่ยวซอสามสายและจะเข้ หลังจากนั้นจึงได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้อง วสุวัตถ่ายทําด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง ได้แก่ ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474
65 คลื่นวิทยุ ถูกค้นพบโดยผู้ใด
(1) Heinrich Rudolf Hert
(2) Guglielmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell
ตอบ 1 หน้า 159 Heinrich Rudolf Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองทําให้เกิด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งเรียกกันแบบธรรมดาว่า “คลื่นวิทยุ หรือ Radio Wave”) และรับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกไปนั้นได้เป็นคนแรกของโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง Hertz ที่ประชุมนานาชาติจึงมีมติให้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า “Hertzian Wave” และให้ใช้คําว่า “เฮิรตซ์” (Hertz ใช้สัญลักษณ์คือ Hz) เป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ
66 บุคคลใดได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการวิทยุ
(1) Heinrich Rudolf Hert
(2) Guglietmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell
ตอบ 2 หน้า 159 – 160, (คําบรรยาย) ใน ค.ศ. 1901 Guglielmo Marconi ชายชาวอิตาเลียน ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่มีกําลังส่งมากขึ้นได้สําเร็จเป็นคนแรก นอกจากนี้ เขายังประสบความสําเร็จในการส่งสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จนได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก”
67 บิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
(3) จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นเป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”
68 วันวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) วันที่ 1 มกราคม
(2) วันที่ 25 กุมภาพันธ์
(3) วันที่ 1 เมษายน
(4) วันที่ 3 พฤษภาคม
ตอบ 2 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย
69 David Sarnoff ได้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัทใด
(1) KDKA
(2) FCC
(3) RCA
(4) BCC
ตอบ 3 หน้า 162 – 163, (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2473 – 2483 เดวิด ซานอฟ (David Sarnoff) เป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัท RCA และเขายังเป็นผู้พัฒนากิจการ เครื่องรับส่งวิทยุ โดยให้ความสําคัญกับวิทยุในฐานะให้ความบันเทิง เพราะจะทําเงินได้มาก
70 KDKA คือ สถานีวิทยุฯ แห่งแรกของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้ง ยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
71 ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสําคัญของวิทยุกระจายเสียง
(1) สามารถกระจายเสียงโดยไม่ใช้สาย
(2) เข้าถึงผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม
(3) นําเสนอความจริงได้ทันทีทันใด
(4) มีผลกระทบต่อสังคมน้อย
ตอบ 4 หน้า 172 – 173 ลักษณะสําคัญของวิทยุกระจายเสียง สรุปได้ดังนี้
1 สามารถกระจายเสียงโดยไม่ใช้สาย
2 เข้าถึงผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม
3 สามารถฟังได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
4 นําเสนอเสียงจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ฟังได้โดยตรงและทันทีทันใด
5 มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างกว้างขวาง
72 กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ BBC เป็นของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อังกฤษมีแนวคิดที่แตกต่างจากอเมริกาในการกระจายเสียงวิทยุ ซึ่งรูปแบบวิทยุ ในอังกฤษจะเรียกว่า “กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ” (Public Service Broadcasting) หรือ BBC ก่อตั้งโดยจอห์น รีธ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการใหญ่คนแรก ทั้งนี้ BBC จะมีหน้าที่แจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา และให้ความบันเทิง ทําการออกอากาศแบบไม่มีโฆษณา โดยได้เงิน จากค่าภาษีเครื่องรับ มีบอร์ดบริหารที่เป็นอิสระจากรัฐและเอกชน
73 โทรทัศน์ช่องแรกของไทย คือช่องใด
(1) ช่อง 4
(2) ช่อง 5
(3) ช่อง 7
(4) ช่อง 9
ตอบ 1 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการ ดนตรี รายการข่าว ฯลฯ
74 ในปี พ.ศ. 2479 อังกฤษออกอากาศโทรทัศน์ในรูปแบบทีวีสาธารณะ ภายใต้ชื่อสถานีว่าอะไร
(1) BBC
(2) PBS
(3) EBC
(4) NBC
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2479 อังกฤษออกอากาศรายการโทรทัศน์ครั้งแรกในรูปแบบของ ทีวีสาธารณะ ภายใต้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์บีบีซี” (BBC : British Broadcating Corporation)
75 สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของญี่ปุ่น มีชื่อว่าอะไร
(1) JBC
(2) NHK
(3) PBC
(4) AKB
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1953 ประเทศญี่ปุ่นได้ตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรก เพื่อแพร่ภาพ ออกอากาศอย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์เอ็นเอชเค” (NHK : Nippon Hoso Kyokai)
76 เหตุใดระบบการออกอากาศ NTSC แบบอเมริกาจึงไม่เหมาะกับการออกอากาศในประเทศไทย
(1) อุณหภูมิในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยสูง
(2) ประเทศไทยมีฝนตกชุก
(3) ความถี่ของระบบไฟฟ้ากระแสสลับในประเทศไทย คือ 50 Hz
(4) การสนับสนุนของรัฐบาลในสมัยนั้นที่มีความขัดแย้งกับอเมริกา
ตอบ 3 หน้า 188, (คําบรรยาย) สาเหตุประการหนึ่งที่ระบบการออกอากาศ NTSC แบบอเมริกา ไม่เหมาะสมกับการออกอากาศในประเทศไทย คือ ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบไฟฟ้า กระแสสลับความถี่ 60 Hz ในขณะที่ประเทศไทยใช้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับความถี่ 50 Hz ดังนั้นสถานีวิทยุโทรทัศน์จึงต้องจัดหาเครื่องแปลงความถี่มาใช้ ซึ่งมีราคาแพงมาก นับว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จําเป็น
77 เมื่อไม่สามารถออกอากาศในระบบ NTSC ได้ ประเทศไทยจึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบใด
(1) HD
(2) DIGITAL
(3) SECAM
(4) PAL
ตอบ 4 หน้า 189, (คําบรรยาย) เมื่อไม่สามารถออกอากาศในระบบ NTSC แบบอเมริกาได้ ประเทศ ไทยจึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบ PAL สัญญาณภาพ 625 เส้น และส่งเป็นภาพสี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513
78 สถานีโทรทัศน์ที่ได้ชื่อว่า Public Service
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
(2) สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
(3) สถานีโทรทัศน์รัฐสภา
(4) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Public Service Broadcasting) หรือทีวีสาธารณะ แห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มการแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงาน ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
79 ช่องใดไม่ได้ส่งสัญญาณภาพในระบบ HD
(1) ไทยพีบีเอส (หมายเลข 3)
(2) เวิร์คพอยท์ ทีวี (หมายเลข 23)
(3) ช่องวัน (หมายเลข 31)
(4) ไทยรัฐ ทีวี (หมายเลข 32)
ตอบ 2 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ดิจิทัลที่เป็นระบบ HD ความคมชัดสูง ได้แก่ ช่อง CH5,
NBT, Thai PBS, MCOT, ONE, Thairath TV, 3 HD, Amarin TV, BBTV CH7 และ PPTV (ส่วนช่อง Workpoint TV เป็นระบบ SD ความคมชัดระดับปกติ)
80 ปัจจุบันช่องใดที่ไม่ได้ทําการออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว
(1) ททบ.5 (หมายเลข 5)
(2) TRUE 4U (หมายเลข 24)
(3) ช่อง 3 SD (หมายเลข 28)
(4) MCOT HD (หมายเลข 30)
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 บริษัท บีอีซี – มัลติมีเดีย จํากัด แจ้งว่า บริษัทฯ เตรียมยุติการออกอากาศช่อง 3 แฟมิลี่ (หมายเลข 13) และช่อง 3 SD (หมายเลข 28) เนื่องจากบริษัทฯ ได้คืนใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินฯ ทั้ง 2 ช่องแล้ว โดยจะ ทําการออกอากาศในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นวันสุดท้าย
81 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกผ่านเครือข่ายชื่อว่า
(1) ARPANET
(2) DAPANET
(3) SERCNET
(4) JANET
ตอบ 1 หน้า 193 – 194 การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในโลกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ผ่านเครือข่ายที่ชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) และมีการพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การทําให้ คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กันได้ จนเกิดระบบ World Wide Web ที่ใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์
82 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy
83 ผู้รับสารที่กลายเป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า
(1) UGC
(2) UCG
(3) UGGC
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การที่สื่อใหม่เปิดโอกาสให้ทุกคนทําหน้าที่เป็นผู้ส่งสารบนพื้นที่ของตนเองสู่พื้นที่ สาธารณะบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้รับสารกลายเป็นผู้ส่งสาร เรียกว่า “User Generate Content” (UGC) คือ ผู้ใช้งานสื่อเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง แบ่งปันเนื้อหาให้กัน และมีส่วนร่วมระหว่างกันบนพื้นที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น YouTube, Flickr, Blog ฯลฯ
84 บิดาแห่งเว็บ (Web) คือ
(1) บิลเกต
(2) ซัคเกอร์เบิร์ก
(3) ทีม เบอร์เนอร์ส ลี
(4) สตีฟ จ๊อบส์
ตอบ 3 หน้า 194, (คําบรรยาย) Sir Timothy John Berners – Lee หรือทิม เบอร์เนอร์ส ลี เป็นชาวอังกฤษที่ได้คิดค้นและประดิษฐ์ World Wide Web สําเร็จเป็นคนแรกของโลก ทําให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมากมายในปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งเว็บ”
85 Facebook เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Interested Network
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr,del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น
86 Wikipedia เป็น Social Network ประเภท
(1) Identity Network
(2) Bill Gates
(3) Collaboration Network
(4) Gaming/Virtual Reality
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 85 ประกอบ
87 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Interested Network
(3) Sergey Brin & Larry Page
(4) Ray Tomlinson
ตอบ 1 หน้า 204 Mark Zuckerberg เป็นผู้ที่ก่อตั้ง Facebook ซึ่งถือว่าเป็นเว็บชุมชนออนไลน์ (Social – networking Site) ที่กําลังได้รับความนิยมอย่างสุดขีดในขณะนี้ โดยเขาได้ก่อตั้ง เว็บไซต์ Facebook ขึ้นขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ด้วยวัยเพียง 22 ปี
88 Twitter ส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกินกี่ตัวอักษร
(1) 100 อักษร
(2) 110 อักษร
(3) 120 อักษร
(4) 140 อักษร
ตอบ 4 หน้า 204 – 205 Twitter คือ บริการสําหรับบุคคลที่ต้องการจะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้อย่างรวดเร็วผ่านคําถามง่าย ๆ ที่มักใช้ถามกันบ่อย ๆ ว่า “คุณกําลังทําอะไรอยู่ ?” โดยมี ข้อกําหนดว่าส่งข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร และด้วยเหตุที่เขียนข้อความได้จํากัด จึงเกิดคําเรียกอีกคําว่า “Micro Blogging” ส่วนข้อความที่ส่งถึงกันมีศัพท์เรียกว่า “Tweets ซึ่งเปรียบเหมือนเสียงนกร้องอยู่ตลอดเวลา (ต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 Twitter ประกาศขยาย ทวีตเป็น 280 ตัวอักษร อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีผลกับผู้ใช้เกือบทั่วโลก)
89 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Sergey Brin & Larry Page
(4) Ray Tomlinson
ตอบ 3 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543
90 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th
91 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) RAM Talk
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Today
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
PR Ramkhamhaeng University
92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 4 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้…
94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อ
(1) (2) (3) หรือ (4)…
96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ
ข้อ 97 – 100
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) หนังสือพิมพ์รายวัน
(2) สื่อมวลชน
(3) สื่อบุคคล
(4) Social Media
97 ไทยรัฐ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์รายวัน (Daily Newspaper) คือ หนังสือพิมพ์ที่ออกจําหน่ายเป็น ประจําทุกวัน อายุของหนังสือพิมพ์จึงสั้น เมื่อหมดวันหนังสือพิมพ์ฉบับเดิมจะล้าสมัยลงทันที และมีฉบับใหม่ออกมาแทนที่ ตัวอย่างของหนังสือพิมพ์รายวัน เช่น ไทยรัฐ, เดลินิวส์, คมชัดลึก, ไทยโพสต์ เป็นต้น
98 ทวิตเตอร์
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกนํามาใช้เป็น
เครื่องมือในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกับสาธารณชนผ่านทาง อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการ Social Media รายใหญ่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Facebook, YouTube, Instagram, TikTok และ Twitter (ดูคําอธิบายข้อ 88 ประกอบ)
99 Thai PBS
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 15 และ 78 ประกอบ
100 TikTok.
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 98. ประกอบ