การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2563
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1150 (MCS 1100) การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1 มนุษย์เผ่าอะไรที่สื่อสารด้วยภาษาท่าทาง
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro-Magnon
ตอบ 3 หน้า 1 มนุษย์พวก Neanderthal (Homo Sapiens Neanderthalensis) ที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ สมัยโบราณเมื่อประมาณ 150,000 – 125,000 ปีมาแล้ว จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกาย และใช้เสียงเท่าที่จะสามารถเปล่งออกมาได้เท่านั้น

Advertisement

2 มนุษย์เผ่าอะไรที่เชื่อว่าพูดได้เป็นพวกแรก
(1) Australopithecus
(2) Homo Habilis
(3) Neanderthal
(4) Cro – Magnon
ตอบ 4หน้า 1 มนุษย์ Cro – Magnon (Homo Sapiens Sapiens) ถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพราะจะมีกล่องเสียง ลิ้น และโครงสร้างของริมฝีปากที่สามารถควบคุมเสียง ให้เปล่งออกมาได้เหมือนกับมนุษย์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่มนุษย์พวกนี้อาจจะพูดได้เป็นพวกแรก จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อมาจนกลายเป็นภาษา

3 ปรมาจารย์ที่ศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร คือ
(1) เพลโต
(2) อริสโตเติล
(3) โซเครติส
(4) ธาลิส
ตอบ 2 หน้า 3 อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นปรมาจารย์ที่ได้ศึกษาในเรื่องของ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นผู้ที่มองเห็นความสําคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นช่องทางที่ทําให้มนุษย์เราสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการได้

4 สื่อใดไม่เป็นสื่อมวลชน
(1) หนังสือพิมพ์
(2) กล้องถ่ายรูป
(3) โทรทัศน์
(4) นิตยสาร
ตอบ 2 หน้า 37 – 38 สื่อมวลชนที่สําคัญ มีดังนี้
1 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นปลิวโฆษณา ฯลฯ
2 ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์โฆษณา ฯลฯ
3 สื่อการกระจายเสียงหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิดีโอคาสเซ็ท ฯลฯ
4 สื่อสังคมออนไลน์ เช่น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วิทยุอินเทอร์เน็ต ฯลฯ

ข้อ 5. – 7. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว
(3) การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน
(2) การสื่อสารแบบสองขั้นตอน
(4) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม

5 การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.)
ตอบ 1 หน้า 46 การสื่อสารแบบขั้นตอนเดียว (One Step Flow Communication) หรือเรียกว่า ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic Needle Theory) คือ ข่าวสารที่ได้รับมาจากสื่อโดยตรงนั้น มีอิทธิพลมากต่อผู้รับสาร ซึ่งองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสารจะเป็นผู้มีอํานาจและมีบทบาทสําคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ที่กําหนดข่าวสารและวิธีการส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยสามารถคาดคะเนได้ว่า จะเกิดผลเป็นอย่างไร คล้ายกับหมอที่ฉีดยาให้คนป่วย ดังนั้นจึงถือเป็นการสื่อสารในยุคแรกที่ ถูกนํามาใช้มากในการสื่อสารมวลชน เช่น การที่คนในชุมชน B ที่กลับจากกรุงเทพฯ แล้วกักตัว อยู่บ้าน 14 วัน ตามคําแนะนําของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ (ส.ค.) เป็นต้น

6 การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัลช่องหนึ่งนําคลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือ นําข่าวหน้าหนึ่งจากหนังสือพิมพ์มาอ่าน
ตอบ 3 หน้า 46 – 47 การสื่อสารแบบหลายขั้นตอน (Multi Step Flow Communication) หรือ เรียกว่า ทฤษฎีกําหนดระเบียบวาระ (Agenda Setting Theory) เป็นการรวมการสื่อสารแบบ ขั้นตอนเดียวและสองขั้นตอนเข้าด้วยกัน คือ ข่าวสารที่ไปถึงผู้รับสารอาจจะผ่านสื่อหลายชนิด ด้วยกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ผู้รับสารสามารถตรวจสอบแหล่งข่าวสารได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น ผู้รับสารอาจได้รับข่าวสารทั้งจากการอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ และชมโทรทัศน์ หรือได้รับ ข่าวสารโดยผ่านสื่อบุคคล สื่อใหม่ และสื่อมวลชนอื่น ๆ, การที่ข่าว COVID-19 ในช่องทีวีดิจิทัล ช่องหนึ่งได้นําคลิปที่เป็นกระแสจากเฟซบุ๊กแฟนเพจมานําเสนอ หรือนําข่าวหน้าหนึ่งจาก นสพ. มาอ่าน, การที่นักศึกษาไม่ตื่นตระหนกจากข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากดูคลิปการ แนะนําในการปฏิบัติตัวของคุณหมอท่านหนึ่ง เป็นต้น

7 การที่นักศึกษาไม่ตื่นตระหนกจากข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนา เนื่องจากดูคลิปการแนะนําในการปฏิบัติ
ตัวของคุณหมอท่านหนึ่ง
ตอบ 3
ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

8 ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารตัดสินใจเปิดรับสื่อเพื่อตอบสนองความพึงพอใจ คือปัจจัยใด
(1) ความต้องการ
(2) ความคาดหวัง
(3) ความพึงพอใจ
(4) สภาพจิตใจในขณะนั้น
หน้า 55 – 56, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Approach) มองว่า ปัจจัยแรกที่ทําให้ผู้รับสารเลือกเปิดรับสื่อเพื่อตอบสนอง ความพึงพอใจจะมาจาก “ความต้องการ” (Need) ของแต่ละคน

9 ข้อใดไม่ใช่สํานึกร่วมของผู้รับสารที่ถูกปลูกฝังจากโทรทัศน์
(1) เด็กที่โตมาจากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ก็สามารถโตมาเป็นคนดีได้
(2) สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่ไม่ปลอดภัย
(3) ผิวขาวมีคุณค่ามากกว่าผิวดํา
(4) คนอีสานมีคุณค่าด้อยกว่าคนภาคอื่น
ตอบ 1 หน้า 54, (คําบรรยาย) สํานึกร่วมของผู้รับสารที่ถูกปลูกฝังจากโทรทัศน์ตามทฤษฎีการปลูกฝัง
ความเป็นจริง (Cultivation Theory) ได้แก่
1 ชีวิตนี้เป็นทุกข์
2 ชีวิตเป็นเรื่องชั่วคราวและระยะสั้น จึงควรหาความสุขใส่ตัวให้มากที่สุด

3 สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่ไม่ปลอดภัย
4 ความเป็นหญิงมีคุณค่าที่ด้อยกว่าความเป็นชาย
5 คนอีสานมีคุณค่าด้อยกว่าคนภาคอื่น ๆ
6 คนพูดเสียงเหน่อคุณค่าน้อยกว่าคนพูดภาษากลาง
7 ผิวขาวมีคุณค่าสูงกว่าคนผิวดํา

10 การที่ประชาชนที่ต่อต้านอํานาจรัฐจะเงียบเสียงลงในท้ายที่สุด เนื่องจากสื่อมวลชนไม่ให้ความสําคัญกับ
ความคิดเห็นของพวกเขา เป็นไปตามหลักการของทฤษฎีใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีผู้กรองสาร
(3) ทฤษฎีการครอบงํา
(4) ทฤษฎีสังคมนิยม
ตอบ 3 หน้า 53 – 54, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการครอบงํา มีสาระสําคัญประการหนึ่ง คือ ประชาชน ที่ต่อต้านท้าทายอํานาจรัฐและแสดงออกด้วยการประท้วง หรือการแสดงความคิดเห็นขัดแย้งมักจะเงียบเสียงลงในท้ายที่สุด เนื่องจากสื่อมวลชนขนาดใหญ่เสนอข่าวสารของเขาในทางลบหรือไม่ให้ความสําคัญกับความคิดเห็นของพวกเขา

ข้อ 11 – 14 จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) A ดูซีรีย์ในยูทูบเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากข่าวการระบาดของเชื้อโรค COVID-19
(2) B ดูเฟซบุ๊กของเพื่อนที่มีแฟนแล้วรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
(3) C ติดตามข่าวการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ทุกชั่วโมงจากนิวส์ฟีดเฟซบุ๊ก
(4) เหตุการณ์อาหรับสปริง

11ข้อใดคือการไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม
ตอบ 2 หน้า 53, (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functional Theory) มองว่า การไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ของสื่อมวลชนนั้น สามารถประยุกต์ได้กับสถานการณ์ในยุค ปัจจุบันที่คนจํานวนมากมักเชื่อรูปภาพ/ข้อความที่ปรากฏในเฟซบุ๊ก หรือในอินสตาแกรมของ คนอื่นว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นความจริง และนํามาเปรียบเทียบกับชีวิตตนเอง ส่งผลให้ตนเองรู้สึก ด้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วชีวิตของคน ๆ นั้นก็ไม่ได้มีอะไรที่แย่ลง

12 ข้อใดคือการทําหน้าที่ (Function) ของสื่อมวลชนตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม
ตอบ 3 หน้า 50 – 51, 53, (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functional Theory) มองว่า การทําหน้าที่ (Function) ของสื่อมวลชน ได้แก่
1 เพื่อรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2 เพื่อประสานความขัดแย้งของกลุ่มต่าง ๆ
3 เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
4 เพื่อความบันเทิง (ถือเป็นหน้าที่หลักเพื่อตอบสนองระบบทุนนิยม)

13 ข้อใดคือการทําหน้าที่เพื่อเติมเต็มของสื่อมวลชน (Functional Equivalence) ตามหลักการของทฤษฎี
หน้าที่นิยม
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การทําหน้าที่เพื่อเติมเต็มของสื่อมวลชน (Functional Equivalence) ตามหลักการของทฤษฎีหน้าที่นิยม มีดังนี้
1 สื่อมวลชนพาผู้คนหลบหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ละครประเภทซินเดอเรลล่า ละครเรื่องดาวพระศุกร์ ฯลฯ
2 สื่อมวลชนทําหน้าที่ผ่อนคลายความตึงเครียด
3 สื่อมวลชนทําหน้าที่ชดเชยหรือทดแทน เช่น รายการคนค้นคน รายการไมค์ปลดหนี้ ฯลฯ

14 ข้อใดเป็นการแสดงออกถึงความคับข้องใจของมวลชนตามหลักการไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction)
ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีหน้าที่นิยม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Daniel Lerner ได้กล่าวถึงการที่สื่อมวลชนไม่ทําหน้าที่ (Dysfunction) ตามทฤษฎีหน้าที่นิยมว่า เมื่อมวลชนมีความเชื่อแปรเปลี่ยนไป และความคาดหวังใหม่ได้เกิดขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งความเป็นจริงยังไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และความต้องการ ดังนั้นจึงส่งผลให้มวลชนแสดงออกซึ่งความคับข้องใจในรูปแบบของ การปฏิวัติ เช่น การจลาจลในตะวันออกกลาง หรืออาหรับสปริง เป็นต้น

15 ข้อใดคือตัวอย่างของการเลือกใช้สื่อของผู้รับสารเพื่อยกระดับรสนิยมของตนเอง
(1) การกดไลก์ หรือติดตามแฟนเพจที่ตนเองสนใจ
(2) การฟังรายการธรรมะจากยูทูบเวลามีเรื่องทุกข์ใจ
(3) การเล่นสมาร์ตโฟนเวลาที่ไม่ต้องการพูดคุยกับคนในครอบครัว
(4) การดูรายการเดอะเฟซไทยแลนด์ เพื่อจะได้เลือกเสื้อผ้าที่เข้ากับตนเอง
ตอบ 4 หน้า 55 – 57, (คําบรรยาย) ทฤษฎีการใช้สื่อเพื่อประโยชน์และความพึงพอใจ (Uses and Gratification Approach) มองว่า การเลือกใช้สื่อมวลชนของผู้รับสารเป็นไปเพื่อต ความพึงพอใจของตน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านจิตใจและสังคม ดังนี้
1 เพื่อการติดต่อสื่อสารกับบุคคลรอบข้าง หรือใช้เป็นหัวข้อในการสนทนา
2 เพื่อแสวงหาความมั่นคงทางจิตใจ
3 เพื่อแสวงหาความหมายและทําความเข้าใจ
4 เพื่อสร้างอัตลักษณ์/เอกลักษณ์ของตนเองหรือกลุ่มที่ตนสังกัด
5 เพื่อยกระดับรสนิยมของตนเองให้สูงขึ้น หรือปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้ดีขึ้น

16 ข้อใดคือการถอดรหัสสาร (Decoding) แบบต่อรองความหมายของผู้รับสาร ตามแนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้ารหัส & ถอดรหัสสาร
(1) ผู้รับสารเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(2) ผู้รับสารไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(3) ผู้รับสารเมินเฉยต่อสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
(4) ผู้รับสารเห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้างกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอ
ตอบ 4 หน้า 47, (คําบรรยาย) รูปแบบการถอดรหัสสาร (Decoding) ของผู้รับสารตามแนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเข้ารหัสและถอดรหัส (Encoding & Decoding Concept) มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1 ยอมรับ คือ ผู้รับสารเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด
2 ต่อรอง คือ ผู้รับสารเห็นด้วยเพียงบางส่วนกับข้อมูลที่ได้รับ และปรับส่วนที่ไม่เห็นด้วย ให้เข้ากับความคิดของตน
3 โต้แย้ง คือ ผู้รับสารไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ส่งสารนําเสนอมาทั้งหมด

17 ข้อใดคือสมญานามของสื่อมวลชนเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
(1) ทนายหน้าหอ
(2) ฐานันดรที่ 4
(3) ผู้ชี้ทางสว่าง
(4) สุนัขเฝ้าบ้าน
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สมญานามที่สื่อมวลชนได้รับจากการคาดหวังของประชาชน คือ การทําหน้าที่ เป็น “ฐานันดรที่ 4” ซึ่งสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างอิสระ และเป็นเวทีของการ อภิปรายแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี รวมทั้งการที่สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็น “สุนัขเฝ้าบ้าน” เพื่อติดตามผลงานของรัฐบาล และดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน

18 “ตลาดเสรีทางความคิด” เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 62 ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยมถือว่า สื่อมวลชนไม่ได้เป็น เครื่องมือของรัฐบาล แต่เป็นเครื่องมือในการแสดงหลักฐานและข้อโต้แย้งต่าง ๆ ที่ประชาชน จะใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบหรือควบคุมรัฐบาล และตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นจึงต้องมีการแสดงออกอย่างเสรีหรือต้องมี “ตลาดเสรี” ของความคิดเห็นและข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มน้อย คนกลุ่มใหญ่ และคนที่มีอํานาจหรือคนที่ ปราศจากอํานาจจะต้องมีโอกาสเข้าถึงสื่อมวลชนได้อย่างเท่าเทียมกัน

19 การที่รัฐบาลใช้การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อชี้นําให้ประชาชนเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก สิ่งถูกเป็นสิ่งผิด เกิดขึ้นใน
ยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 2 หน้า 63 – 64, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์ มีลักษณะดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
2 มีแนวคิดมาจากลัทธิมาร์กซ์ เลนิน สตาลิน และเฮเกล ตลอดจนความคิดของรัสเซียในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19
3 ผู้นําในบางประเทศอาจใช้การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ของสังคม เช่น กลยุทธ์การใช้สื่อของ Adolf Hitler ซึ่งชี้นําให้ประชาชนเห็นสิ่งผิดเป็นสิ่งถูก และเห็นสิ่งถูกเป็นสิ่งผิด เป็นต้น 4 รัฐเป็นเจ้าของสื่อมวลชนทุกประเภท
5 สื่อมวลชนถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะสื่อมวลชนถือเป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ ซึ่งไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐได้ ฯลฯ

20 ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า รัฐมีสิทธิ์เข้าแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2)ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 หน้า 64 – 65, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้
1 ทฤษฎีนี้เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 20
2 เน้นการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปกับการมีเสรีภาพ
3 มีวัตถุประสงค์ที่สําคัญที่สุด คือ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยสื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
4 การควบคุมสื่อมวลชนสามารถกระทําได้โดยใช้ความคิดเห็นของชุมชน ปฏิกิริยาของผู้อ่าน และผู้ฟัง รวมทั้งจริยธรรมของวิชาชีพสื่อสารมวลชน
5 เอกชนสามารถเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้ แต่รัฐบาลก็สามารถเข้ามาดําเนินการแทนได้ ถ้าเห็นว่าเอกชนดําเนินการไม่เหมาะสม
6 ในบางสถานการณ์ สังคมหรือรัฐอาจมีสิทธิ์เข้ามาแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนได้ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ

21 ข้อใดไม่ใช่ “บรรทัดฐาน” ในการทํางานของสื่อมวลชน
(1) จริยธรรมสื่อมวลชน
(2) กฎหมายสื่อมวลชน
(3) วัฒนธรรมของหน่วยงาน
(4) จรรยาบรรณวิชาชีพ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) ตามหลักการของทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อมวลชน มองว่า สาเหตุที่สื่อมวลชน จําเป็นต้องมี “บรรทัดฐาน” ในการทํางาน คือ เพื่อคอยเหนี่ยวรั้งมิให้การทํางานของสื่อมวลชน ตกต่ำ หรือเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อ การกํากับดูแล และ จรรยาบรรณของสื่อ เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพ และจริยธรรมสื่อมวลชน

22 ทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใดที่ระบุว่า สื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุกกลุ่มในสังคม
(1) ทฤษฎีอิสรภาพนิยมหรือเสรีนิยม
(2) ทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 20 ประกอบ

23 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายของรัฐ แต่รัฐไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของสื่อ เกิดขึ้นใน
ยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 1 หน้า 60 – 61, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอํานาจนิยม มีลักษณะสําคัญดังนี้
1 มีวิวัฒนาการเริ่มต้นที่ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17
2 มีรากฐานมาจากลัทธิเผด็จการ โดยมีที่มาจากปรัชญาของระบบอํานาจเด็ดขาดของกษัตริย์ หรือปรัชญาที่เกี่ยวกับอํานาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของกษัตริย์
3 วัตถุประสงค์หลักที่สําคัญของสื่อมวลชน คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐ หรือผู้ปกครองที่กําลังมีอํานาจอยู่ และเพื่อรับใช้รัฐ
4 ข้อห้ามสําหรับสื่อมวลชน คือ ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กลไกทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ปกครองที่กําลังมีอํานาจ
5 สื่อมวลชนทําหน้าที่เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนเสมอไป ฯลฯ

24 การที่สื่อมวลชนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียงก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศพัฒนาแล้ว เกิดขึ้นในยุคทฤษฎีสื่อสารมวลชนแบบใด
(1) ทฤษฎีอํานาจนิยม
(2) ทฤษฎีโซเวียตคอมมิวนิสต์
(3) ทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา
(4) ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตอบ 3หน้า 67, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา มีดังนี้
1 สื่อมวลชนทําหน้าที่และปฏิบัติงานด้านการพัฒนาให้สอดคล้องกับนโยบายของชาติ
2 สื่อมวลชนควรให้ความสําคัญต่อเนื้อหาด้านวัฒนธรรมและภาษาของชาติเป็นลําดับแรก
3 ข่าวสารที่นําเสนอต้องให้ความสนใจกับประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่ข้างเคียงก่อนนําเสนอข่าวสารที่มาจากประเทศตะวันตกหรือประเทศพัฒนาแล้ว
4 เสรีภาพของสื่อมวลชนสามารถควบคุมได้
5 รัฐมีสิทธิแทรกแซงหรือจํากัดการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วยวิธีการเซ็นเซอร์ การให้เงินอุดหนุน และการควบคุมสื่อมวลชนโดยตรงจึงเป็นวิธีการที่มีเหตุผล

25 ปรากฏการณ์โตเกิดขึ้นในยุคระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วม
แบบประชาธิปไตย
(1) เริ่มมีกระบวนการตรวจสอบกันเองขององค์กรสื่อ
(2) การเกิดขึ้นของสื่อชุมชนขนาดเล็กที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
(3) ยึดหลักเสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมในการทํางาน
(4) มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น
ตอบ 2 หน้า 67 – 68, (คําบรรยาย) ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีสื่อมวลชนที่ประชาชนเป็นผู้มี ส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย จะสนับสนุนสื่อมวลชนที่มีความหลากหลาย สื่อที่มีขนาดเล็ก และเน้นการพัฒนาสื่อชุมชน เช่น วิทยุชุมชน สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ ให้กระจายไปตามท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

26 อักษรภาพที่ชาวสุเมเรียนใช้ในการสื่อสาร มีชื่อว่าอะไร
(1) คิวนิฟอร์ม
(2) เฮียโรกลิฟิก
(3) ไทม์นิวโรมัน
(4) ไทกริสยูเฟรติส
ตอบ 1 หน้า 78 – 79 ระบบเสียงของภาษาเขียนเริ่มเกิดขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียน (Sumerians) ซึ่งเป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ระหว่าง 3,000 – 1,700 B.C. ภายใต้ดินแดนที่เรียกว่า Fertile Crescent (ดินแดนที่รวมเอาส่วนหนึ่งของ Iraq อยู่ด้วย) ได้นําตัวอักษรมาแก้ไขปรับปรุง และเป็นผู้ที่เริ่ม ใช้การเขียนตัวอักษรคิวนิฟอร์ม (Cuneiform Writing) ไว้ในแผ่นดินเหนียว (Clay Tablet) ซึ่งนํามาใช้เป็นสื่อกลางได้ดีกว่าถ้าจะเปรียบเทียบกับแผ่นหิน

27 อักษรภาพที่ชาวอียิปต์โบราณใช้ในการวาดภาพสื่อเรื่องราวต่าง ๆ มีชื่อว่าอะไร
(1) คิวนิฟอร์ม
(2) เฮียโรกลิฟิก
(3) ไทม์นิวโรมัน
(4) ไทกริสยูเฟรติส
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย) ชาวอียิปต์โบราณถือเป็นพวกที่มีอํานาจมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุค เดียวกัน เพราะพวกเขาได้คิดตัวอักษรภาพที่มีชื่อว่า “เฮียโรกลิฟิก” (Hieroglyphics) เพื่อใช้ ในการวาดภาพแสดงความหมายหรือสื่อเรื่องราวต่าง ๆ

28 หนังสือสนุกนี้นึก มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) ปรัชญา
(2) กฎหมาย
(3) ดาราศาสตร์
(4) นวนิยาย
ตอบ 4 (คําบรรยาย) สนุกนี้นึก นับเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของไทย นิพนธ์โดยกรมหลวงพิชิตปรีชากร ในลักษณะเลียนแบบสํานวนหนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งเริ่มแรกตั้งใจจะทดลองแต่งเป็นเรื่องยาว แบบนวนิยาย โดยมีเนื้อหาเป็นบทสนทนาของพระในวัดบวรนิเวศ 4 รูป ถกเถียงกันถึงการที่พระรูปหนึ่งจะสึกออกไปแต่งงาน แต่ตีพิมพ์ครั้งแรกได้เพียงตอนเดียว (ตอนแรก) ในหนังสือ วชิรญาณวิเศษก็ต้องยุติไป เพราะถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหากระทบกระเทียบต่อศาสนาในสมัยนั้น

29 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกาเหนือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
(1) ปรัชญา
(2) กฎหมาย
(3) ดาราศาสตร์
(4) ศาสนาคริสต์
ตอบ 4 หน้า 90 – 91, (คําบรรยาย) ก่อน ค.ศ. 1800 หนังสือในยุคแรกเริ่มของชาวอเมริกาเหนือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์ ต่อมาใน ค.ศ. 1855 นอกจากหนังสือที่ เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาแล้ว ยังมีการพิมพ์หนังสือนวนิยายออกมาเผยแพร่อย่างมากมาย

30 การเกิดขึ้นของเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดเป็นอย่างแรกในสังคมยุโรป
(1) เริ่มมีการพิมพ์หนังสือทางโลกนอกเหนือจากเรื่องราวของศาสนาคริสต์มากขึ้น
(2) พระคัมภีร์ไบเบิลถูกพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น
(3) เกิดวรรณกรรมพื้นบ้านมากขึ้น
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คําบรรยาย) หลังจากเครื่องพิมพ์ของกูเตนเบิร์กแพร่หลาย ได้มีการพิมพ์ พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส สเปน และอิตาเลียน (จากเดิมที่มีแต่ภาษาละติน) ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงประการแรก ในสังคมยุโรป

31 ในยุคหนึ่งหนังสือเคยเป็น “สื่อของชนชั้นอภิสิทธิ์” หมายถึง ผู้อ่านต้องมีคุณสมบัติเช่นใด
(1) มีฐานะ
(2) มีการศึกษา
(3) มีเส้นสาย
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 76, (คําบรรยาย) ในยุคหนึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้ไม่รู้หนังสือ แม้แต่ผู้ปกครองเมือง ที่มีอํานาจบางคนก็ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ดังนั้นหนังสือในยุคนั้น จึงเป็น “สื่อของชนชั้นอภิสิทธิ์” หมายถึง ผู้อ่านต้องอ่านออกเขียนได้หรือมีการศึกษานั่นเอง

32 ปัจจัยใดช่วยให้คนในอเมริกาเหนือสนใจในการอ่านและการเขียนหนังสือมากขึ้น
(1) ศาสนาคริสต์
(2) ระบอบประชาธิปไตย
(3) ระบบทุนนิยม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 2 หน้า 92, (คําบรรยาย) ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้กระตุ้นให้ประชาชนที่อยู่
ในอเมริกาเหนือสนใจในการอ่านและการเขียนหนังสือมากขึ้น เพราะระบอบการเมืองใหม่นี้ ต้องการให้พลเมืองที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงมีความรู้และสามารถอ่านหนังสือได้ เพื่อที่จะได้รู้ เรื่องราวที่เกี่ยวกับผู้สมัคร และปัญหาต่าง ๆ ที่มีข้อโต้แย้งกันอยู่

33 คําว่า Paper ที่แปลว่า กระดาษ มีต้นกําเนิดมาจากประเทศใด
(1) อียิปต์
(2) เมโสโปเตเมีย
(3) อิสราเอล
(4) กรีก – โรมัน
ตอบ 1 หน้า 79 ในยุค 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สามารถผลิตกระดาษได้สําเร็จเป็นชาติแรก โดยได้พัฒนาวิธีการทํากระดาษมาจากต้น Papyrus (หรือปัจจุบันเรียกว่า Paper) ซึ่งเป็นต้นไม้ จําพวกต้นกกหรือหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีน้ําเฉอะแฉะริมฝั่งแม่น้ําไนล์ (The Nile)

34 ข้อใดไม่ใช่บุคลิกภาพของคนที่ชอบอยู่กับสื่อหนังสือ
(1) มีความเป็นปัจเจก
(2) อิน (Involve) กับสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย
(3) มีเหตุมีผล
(4) มีจินตนาการ
ตอบ 2(คําบรรยาย) บุคลิกภาพของคนที่ชอบอยู่กับสื่อหนังสือ มีดังนี้
1 แยกตัวอย่างโดดเดี่ยว (Isolate)
2 รักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับเรื่องที่อ่าน (Non – involving)
3 ส่งเสริมวิธีคิดแบบมีเหตุมีผล (Rational Culture)
4 ชอบจินตนาการ (Imagine)
5 ส่งเสริมทัศนคติแบบปัจเจกบุคคล (Individualism)

35 สื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 มีชื่อว่าอะไร
(1) คู่สร้างคู่สม
(2) ขวัญเรือน
(3) บ้านเมือง
(4) M2F

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 บริษัท บางกอก โพสต์ จํากัด (มหาชน) ได้ตัดสินใจปิดตัวหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (มีอายุ 16 ปี) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน และหนังสือพิมพ์ M2F (มีอายุ 7 ปี) เป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรีขนาดแทบลอยด์ 24 หน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการลดค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของโพสต์ทูเดย์ดิจิทัล (ออนไลน์) ยังคง เปิดดําเนินการตามปกติ

36 ข้อใดคือการปรับตัวของร้านหนังสือในยุคปัจจุบันที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด
(1) มีพื้นที่สําหรับทํากิจกรรมอื่น ๆ มากกว่าแค่เข้าไปอ่าน ซื้อหนังสือเพียงอย่างเดียว
(2) ขยายสาขาของร้านตามห้างสรรพสินค้าชื่อดัง
(3) วางจําหน่ายเฉพาะหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปรับตัวของร้านหนังสือในยุคปัจจุบัน มีดังนี้
1 เพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสาร โดยผู้สนใจสามารถสั่งซื้อและติดตามเนื้อหาคร่าว ๆ ผ่านทาง ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของร้าน (เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด)
2 จัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือหรือแยกประเภทตามรูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style)ที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
3 จัดทําระบบฐานข้อมูลของผู้บริโภคเพื่อนํามาวิเคราะห์
4 จัดกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น
5 มีพื้นที่ส่วนกลางสําหรับทํากิจกรรมอื่น ๆ มากกว่าแค่เข้าไปอ่าน ซื้อหนังสือเพียงอย่างเดียว

37 ร้านหนังสือในยุคปัจจุบันนิยมจัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือตามหลักเกณฑ์ใด
(1) Life Style ที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
(2) ความต้องการของสาขาร้านหนังสือ
(3) ยอดหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 36 ประกอบ

38 หนังสือพิมพ์ถือกําเนิดมาโดยได้รับมอบหมายให้มีภารกิจด้านใด
(1) การนําเสนอข่าวสาร
(2) การรับใช้สถาบันรัฐ
(3) ต่อต้านอํานาจผู้ปกครองที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ถือกําเนิดมาโดยได้รับมอบหมายให้เป็นสื่อที่มีภารกิจในการเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน/ต่อต้านอํานาจผู้ปกครองและความไม่ถูกต้องชอบธรรมต่าง ๆ

39 ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ด้านคุณค่าข่าวในการคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ
(1) ความแปลก
(2) เทคโนโลยีและความก้าวหน้า
(3) ความมีเงื่อนงํา
(4) ความยุติธรรม
ตอบ 4 (คําบรรยาย) คุณค่าเชิงข่าวในการคัดเลือกข่าวเพื่อนําเสนอ ได้แก่
1 ความใหม่สด/รวดเร็ว
2 ความใกล้ชิด
3 ความต่อเนื่อง/ผลกระทบ
4 เรื่องที่คนสนใจ เรื่องส่วนบุคคล
5 ความก้าวหน้า
6 ความเด่น
7 ความแปลก
8 ความขัดแย้ง
9 ความมีเงื่อนงํา
10 ความเร้าอารมณ์ทางเพศ
11 เทคโนโลยี/ความก้าวหน้า

40 หนังสือพิมพ์ในอาณานิคมอเมริกันเน้นการนําเสนอข่าวสารในลักษณะใด
(1) เชิดชูระบบทุนนิยม
(2) ต่อต้านคอมมิวนิสต์
(3) โจมตีประเทศเจ้าอาณานิคม
(4) สวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) ลักษณะของหนังสือพิมพ์ในอาณานิคมอเมริกัน มีดังนี้
1 เน้นการนําเสนอเนื้อหาโจมตีรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมในขณะนั้น เน้นข่าวการเดินเรือ และโฆษณา
2 มีการจับตัวช่างพิมพ์
3 หนังสือพิมพ์ในยุคนั้นไม่ได้รับความสนใจมากนัก

41 ยุคใดของหนังสือพิมพ์ไทยที่ปราศจากการแทรกแซงจากรัฐบาล
(1) ยุคประชาธิปไตยระยะแรก
(2) ยุคเริ่มต้นเสรีภาพ
(3) ยุคสําลักเสรีภาพ
(4) ยุคมืด
ตอบ 3 หน้า 103 – 104, (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ยุคสําลักเสรีภาพ (พ.ศ. 2516 – 2519) นับว่า เป็นยุคแรกของนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นยุคที่หนังสือพิมพ์ไทยปราศจากการ แทรกแซงจากรัฐบาล เพราะหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จบลง หนังสือพิมพ์ เริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น และได้บัญญัติกฎหมายในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เช่น ห้ามปิดหนังสือพิมพ์ด้วยเหตุผลทางการเมือง, ห้ามตรวจข่าวหนังสือพิมพ์ก่อนการตีพิมพ์ ยกเว้นในภาวะสงคราม ภาวะฉุกเฉิน หรือภาวะประกาศใช้กฎอัยการศึก ฯลฯ

42 ข้อใดคือ หนังสือพิมพ์แบบประชานิยม
(1) บางกอกโพสต์
(2) กรุงเทพธุรกิจ
(3) เดลินิวส์
(4) เนชั่นสุดสัปดาห์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (Popular Newspaper) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ที่เน้นนําเสนอแต่ข่าวเบา เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับ ความพอใจจากการอ่านอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเสนอเรื่องเพื่อให้ความบันเทิงมากกว่าให้ความรู้ และเน้นนําเสนอภาพข่าวพาดหัวที่วาบหวิว ดึงดูด เร้าอารมณ์ ตัวอย่างหนังสือพิมพ์ประเภท ประชานิยม เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก เป็นต้น

43 หนังสือพิมพ์ในไทยส่วนมากใช้วิธีการใดในการป้องกันตนเองจากการถูกปิด ถูกเซ็นเซอร์ และถูกกวาดล้างจากภาครัฐ
(1) ลุกขึ้นมาโจมตีรัฐบาลอย่างเปิดเผย
(2) เขียนคอลัมน์ร้องทุกข์
(3) หยุดการผลิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง
(4) นําเสนอเนื้อหาข่าวแนวไสยศาสตร์
ตอบ 4 หน้า 102 – 103, 105, (คําบรรยาย) ในช่วงที่ไทยมีการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล หนังสือพิมพ์ ในยุคนั้นถูกจํากัดสิทธิเสรีภาพด้านการเสนอข่าวความขัดแย้งทางการเมือง ทําให้เนื้อหาของ หนังสือพิมพ์เริ่มยึดแนวปลอดภัยไว้ก่อน เช่น นําเสนอข่าวเบาสมอง ข่าวบันเทิง อาชญากรรม เรื่องราวทางเพศ ข่าวสารที่แปลกประหลาด ข่าวไสยศาสตร์ ฯลฯ เพื่อป้องกันตนเองจากการ ถูกปิด ถูกเซ็นเซอร์ และถูกกวาดล้างจากภาครัฐ ซึ่งได้ส่งผลต่อมาในอนาคต คือ หนังสือพิมพ์ เคยชินต่อการเสนอเนื้อหาข่าวแบบเบาสมอง ข่าวบันเทิง อาชญากรรม ฯลฯ มากกว่าเนื้อหาทางด้านการเมือง

44 ข้อใดคือคุณสมบัติของหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ
(1) เน้นนําเสนอภาพพาดหัวที่วาบหวิว ดึงดูด เร้าอารมณ์
(2) มีความสลับซับซ้อนของการนําเสนอเนื้อหา
(3) เนื้อหาอยู่ในบริบทของสังคม
(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 (คําบรรยาย) หนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ (Quality Newspaper) มีคุณสมบัติดังนี้
1 ให้ความสําคัญกับข่าวหนัก
2 เป็นข่าวที่มีการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์
3 มีความสลับซับซ้อนของการนําเสนอเนื้อหา
4 มีกูรูในด้านนั้น ๆ มาแสดงการวิเคราะห์หรือให้ความเห็น
5 เนื้อหาอยู่ในบริบทของการเมือง เศรษฐกิจ
6 มีจํานวนจําหน่ายที่จํากัด และตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม

45 ข้อใดคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence)
(1) องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อ และเนื้อหาที่หลากหลาย
(2) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(3) กองบรรณาธิการของแต่ละสื่อแยกส่วนกันทํางาน
(4) เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าวของแต่ละสถานี มีความแตกต่างกันมากขึ้น
ตอบ 1 (คําบรรยาย) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) มีดังนี้
1 สื่อดั้งเดิมล้วนพัฒนาสู่ระบบดิจิทัล ออนไลน์ และแพลตฟอร์ม
2 เนื้อหา รูปแบบ ลีลา วิธีการนําเสนอข่าว มีความแตกต่างกันน้อยลง
3 พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมีการนําเสนอรูปแบบการสื่อสารใหม่ ๆ
4 องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมมีการขยายรูปแบบสื่อ เช่น รูปแบบออนไลน์ ทีวีดิจิทัล ฯลฯ และเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น มีละคร รายการเพลง ท่องเที่ยว ฯลฯ

46 ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของนักข่าวคอนเวอร์เจนซ์
(1) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสื่อใดสื่อหนึ่ง
(2) มีความสามารถในการทํากราฟิกดีไซน์
(3) ใช้สื่อใหม่ควบคู่ในการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม
(4) รายงานข่าวผ่านหลากหลายช่องทางสื่อได้
ตอบ 1 (คําบรรยาย) คุณสมบัติของนักข่าวคอนเวอร์เจนซ์ (Convergence) มีดังนี้
1 รายงานข่าวผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย
2 ใช้สื่อใหม่ควบคู่ในการนําเสนอเนื้อหาข่าวสาร เช่น ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ ฯลฯ
3 มีความสามารถในการทํากราฟิกดีไซน์ ตัดต่อภาพ ทําวิดีโอ และถ่ายภาพนิ่ง
4 มีทักษะการสื่อข่าวหลายด้าน ฯลฯ

47 ข้อใดไม่ใช่การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัลที่เห็นได้ชัดเจน
(1) ช่องดิจิทัลที่พัฒนามาจากธุรกิจสื่อประเภทอื่น มีเนื้อหารายการที่หลากหลาย
(2) เพิ่มหน้าแบบพิมพ์สีในหนังสือพิมพ์มากขึ้น
(3) การเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy)
(4) เพิ่มพื้นที่การโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์
ตอบ 1 (คําบรรยาย) วิธีการปรับตัวของหนังสือพิมพ์ในยุคดิจิทัล มีดังนี้
1 เปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy) โดยมีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ ต้องการรายได้จากการลงโฆษณา
2 เพิ่มหน้าแบบพิมพ์ 4 สี ในหนังสือพิมพ์มากขึ้น เพื่อให้เข้ากับคนยุคใหม่
3 เพิ่มพื้นที่การโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เจาะกลุ่มคนวัยทํางานและวัยเรียน
4 เน้นข่าวสดใหม่ พิมพ์วันต่อวัน ฯลฯ

48 จุดมุ่งหมายสําคัญของการเกิดขึ้นของหนังสือพิมพ์แบบแจกฟรี (Free Copy) ในยุคปัจจุบัน คือข้อใด
(1) ต้องการเพิ่มปริมาณการพิมพ์เล่ม
(2) ต้องการเจาะกลุ่มวัยทํางานที่ชอบอ่านเนื้อหาแบบกระชับ หลากหลาย เข้าใจง่าย
(3) ต้องการให้คนมีงานทํามากขึ้น
(4) ต้องการรายได้จากการลงโฆษณา
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 47 ประกอบ

49 นิตยสารในสหรัฐอเมริกาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะเหตุใด
(1) การปลดแอกอาณานิคม
(2) การพบดินแดนใหม่
(3) ผู้คนมีการศึกษามากขึ้น
(4) มีผู้คนอพยพเข้ามามากขึ้น
ตอบ 3 หน้า 111, 116 วิวัฒนาการของนิตยสารในสหรัฐอเมริกา มีดังนี้
1 มีการผลิตช้ามากในสหรัฐอเมริกา
2 สภาพสังคมไม่เอื้อต่อการผลิตนิตยสาร
3 ในศตวรรษที่ 19 สภาพสังคมเริ่มเจริญขึ้น ผู้คนมีการศึกษามากขึ้น การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีการพิมพ์ดีขึ้น
4 นิตยสารหลายฉบับจึงเริ่มถือกําเนิดขึ้น และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จนทําให้นิตยสารบางฉบับประสบผลสําเร็จอย่างมาก

50 ข้อใดคือหัวข้อสําคัญในการนําเสนอของนิตยสารในยุคแรก
(1) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิง
(2) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการทหารและการเมือง
(3) นําเสนอเนื้อหาด้านการค้นพบทวีปอเมริกาเหนือ
(4) นําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์
ตอบ 2 หน้า 111 นิตยสารถือกําเนิดขึ้นในช่วงปลายปี 1500 ซึ่งนิตยสารในยุคแรกนั้นได้บรรจุหัวข้อ สําคัญ ๆ ที่มีความแตกต่างกัน โดยปกติแล้วจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทหาร เป็นเรื่องราวภายในกองทัพ และการเมือง

51 นิตยสารสําหรับผู้หญิงอย่างแท้จริงฉบับแรกของไทย มีชื่อว่าอะไร
(1) สกุลไทย
(2) นารีรมย์
(3) ขวัญเรือน
(4) กุลสตรี
ตอบ 4 หน้า 129 – 130) (คําบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดนิตยสารที่มีชื่อว่า “กุลสตรี” ขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2449 ซึ่งถือว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงอย่างแท้จริงฉบับแรกของไทย โดยเป็นนิตยสาร รายเดือน และมีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องอ่านเล่น เรื่องความรู้ทั่วไป เช่น การปกครองของจีน การเขียนหนังสือ และหน้าที่ของสตรีไทย

52 นิตยสารฉบับใดในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ในระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตย
(1) ดุสิตธานี
(2) ปราโมทย์นคร
(3) หลักเมืองวันอาทิตย์

(4) ดุสิตสมิตรายสัปดาห์
ตอบ 4 หน้า 130 – 131 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการทางด้านนิตยสารนับว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาก จนอาจเรียกได้ว่า “ยุคทองของนิตยสารไทย” โดยมีนิตยสารออกถึง 127 ฉบับ ซึ่งฉบับสําคัญ ที่รัชกาลที่ 6 ทรงออกเพื่อให้ความรู้เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ นิตยสารที่มี ชื่อว่า “ดุสิตสมิตรายสัปดาห์”

53 งบประมาณโฆษณาในปัจจุบันย้ายจากสื่อสิ่งพิมพ์ไปยังสื่อใด
(1) สื่อโทรทัศน์
(2) สื่อวิทยุ
(3) สื่อสังคมออนไลน์
(4) สื่อภาพยนตร์

ตอบ 3 (คําบรรยาย) จากการประเมินงบประมาณสื่อโฆษณาในปี พ.ศ. 2560 ในช่วง 11 เดือน โดย Media Intelligence พบว่า มีมูลค่า 78,755 ล้านบาท ลดลง 13.9% ซึ่งกลุ่มที่เติบโต สูงสุด คือ สื่อสังคมออนไลน์ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ สื่อนิตยสารที่มีการลดลงถึง 44% หรือ มีสัดส่วน 2% จากงบโฆษณาทั้งหมด

54 ข้อใดคือการปรับตัวของนิตยสารในยุคปัจจุบันที่เห็นได้ชัด
(1) ใช้ช่องทางออนไลน์และทีวีดิจิทัล นําเสนอข่าวสารควบคู่กับสื่อสิ่งพิมพ์
(2) จัดกิจกรรมโรดโชว์ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนํา
(3) เนื้อหาในเล่มต้องแตกต่างจากข่าวสารทั่วไปที่หาได้ในอินเทอร์เน็ต
(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 3
ตอบ 1 (คําบรรยาย) การปรับตัวของสื่อนิตยสารในยุคปัจจุบัน ได้แก่
1 ใช้ช่องทางออนไลน์และทีวีดิจิทัล นําเสนอข่าวสารควบคู่กับสื่อสิ่งพิมพ์
2 นําเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบโจทย์ Life Style ของคนเมือง
3 ขยายกลุ่มเป้าหมายมายังกลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น ได้แก่ นิตยสารสําหรับผู้หญิงมีการขยาย การผลิตที่ตอบสนอง Life Style ของผู้ชายมากขึ้น เช่น นิตยสาร Elle Men ฯลฯ

55 ข้อใดไม่ใช่สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นิตยสารคู่สร้างคู่สมต้องปิดตัวลง
(1) คอลัมน์การดูดวงในนิตยสารถูกคัดลอกลงสื่อสังคมออนไลน์
(2) ผู้ผลิตต้องการพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับครอบครัว
(3) ผู้ผลิตไม่ต้องการปรับตัวไปนําเสนอเนื้อหาในสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์
(4) สมาชิกนิตยสารเขียนจดหมายเข้ามาลดน้อยลง
ตอบ 3 (คําบรรยาย) สาเหตุหลักที่ส่งผลให้นิตยสารคู่สร้างคู่สมต้องปิดตัวลง มีดังนี้
1 คอลัมน์การดูดวงในนิตยสารถูกคัดลอกลงสื่อสังคมออนไลน์ ทําให้สูญเสียผู้อ่านไป
2 มีสมาชิกนิตยสารลดน้อยลง ไม่คุ้มที่จะผลิตต่อ
3 ผู้ผลิตต้องการวางมือเพื่อพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

56 นิตยสารคู่สร้างคู่สมเคยเผยแพร่เนื้อหาผ่านสื่อมวลชนใดบ้างนอกเหนือจากนิตยสาร
(1) เฟซบุ๊ก
(2) หนังสือพิมพ์
(3) โทรทัศน์
(4) ไม่เคยเผยแพร่ผ่านสื่อใด
ตอบ 3 (ความรู้ทั่วไป) นิตยสารคู่สร้างคู่สม ก่อตั้งโดยคุณดํารง พุฒตาล เมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยมี จุดเริ่มต้นมาจากการที่คุณดํารง พุฒตาล จัดรายการโทรทัศน์ประเภทสนทนาชื่อ “คู่สร้าง คู่สม” ทางช่อง 5 และได้รับความนิยมอย่างมาก เขาจึงหันมาจัดทํานิตยสารคู่สร้างคู่สมขึ้น มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับชีวิตรักของหนุ่มสาว และสามีภรรยา ซึ่งก็ประสบความสําเร็จเช่นกัน จนในปี พ.ศ. 2548 นิตยสารคู่สร้างคู่สมตระหนักถึงความสําคัญของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จึงจัดทําเว็บไซต์ www.koosangkoosom.com เพื่อเผยแพร่เรื่องราวจากแฟน ๆ ที่เขียนส่ง มายังคู่สร้างคู่สมอย่างต่อเนื่อง

57 ยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือบริษัทใด
(1) โพสต์ พับลิชชิ่ง
(2) บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
(3) จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
(4) อมรินทร์พริ้นติ้ง

ตอบ 4 (คําบรรยาย) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ถือว่าเป็นเจ้าของนิตยสารหัวในของประเทศไทย คือ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 โดยออก นิตยสารเล่มแรก คือ บ้านและสวน ปัจจุบันอมรินทร์มีนิตยสาร Life Style ในเครือมากที่สุด ในประเทศ เช่น บ้านและสวน, แพรว, สุดสัปดาห์, ชีวจิต, Health & Cuisine ฯลฯ

58 นิตยสารในยุคปัจจุบันมักผลิตโดยคํานึงถึงสิ่งใด
(1) Life Style ที่แตกต่างกันของผู้บริโภค
(2) ความต้องการของสาขาร้านหนังสือ
(3) ยอดหนังสือขายดี (Best Seller)
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 (คําบรรยาย) นิตยสารที่ตอบโจทย์ Life Style มีลักษณะดังนี้
1 นิตยสารปัจจุบันเน้นผลิตเพื่อให้ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิต (Life Style) ที่แตกต่างกัน ของผู้บริโภค เช่น บางกลุ่มสนใจเรื่องรูปร่าง การแต่งตัว อาหารการกิน เป็นต้น
2 มีการคัดเลือกเฉพาะส่วนที่ดีของผู้ชาย/ผู้หญิงที่มีชื่อเสียงของสังคม มารวมกันทั้งหน้าตา รูปร่าง และการแต่งกาย
3 ใช้ดาราที่เป็นตัวแทนในด้านนั้น ๆ มาขึ้นหน้าปก เช่น ดาราที่หุ่นดีกล้ามสวย หรือดาราที่ แต่งตัวเนี้ยบ เรียกว่า “การนําเสนอภาพตัวแทน” (Representation)

59 ข้อใดคือหน้าที่ของนิตยสารที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
(1) ให้ความรู้
(2) สืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
(3) ประสานความสัมพันธ์ในสังคม
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 134 (คําบรรยาย) หน้าที่ “ด้านการเมือง” และ “การให้ความบันเทิง” ถือว่าเป็น หน้าที่หลักของนิตยสารที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

60 Visual Lag or Visual Delay คือ
(1) การมองเห็นภาพด้วยความเร็วสูง
(2) กระบวนการมองเห็นภาพช้า
(3) การสร้างภาพยนตร์
(4) การหมุนภาพเพื่อส่องดูภาพเคลื่อนไหว
ตอบ 2 หน้า 139 กระบวนการที่มองเห็นภาพช้า (Visual Lag or Visual Delay) คือ ช่วงเวลาของ การมองเห็นในการส่งภาพออกไปและการรับภาพกลับมา จะช้าไปเพียงเสี้ยวของวินาทีเท่านั้น จนสังเกตได้ไม่ทัน จึงทําให้เรามองเห็นภาพได้อย่างต่อเนื่อง (Visual Persistence)

61 นักวิทยาศาสตร์คนใดเป็นผู้คิดค้น “Cinematographe”
(1) Auguste Lumiere – Louis Lumiere
(2) Eadweard Muybride
(3) Edison
(4) Georege Eastman
ตอบ 1 หน้า 142, (คําบรรยาย) ในปี ค.ศ. 1895 พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ชาวฝรั่งเศส คือ Auguste Lumiere และ Louis Lumiere ได้ออกแบบกล้อง “ซิเนมาโตกราฟ” (Cinematographe) ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ในตัวเดียวกัน ดังนั้นจึงนับเป็นครั้งแรกที่ทั้งคู่ทดลองนําภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกได้จากกล้องดังกล่าวมาฉายเป็นหนังทดลองลงบนจอภาพขนาดใหญ่ได้สําเร็จ และทําให้ความหมายของคําว่า “ภาพยนตร์” สมบูรณ์ขึ้น

62 Edison ใช้อุปกรณ์ใดแสดงภาพเคลื่อนไหว โดยวิธีการหมุนเครื่องเพื่อส่องดู
(1) Cinematographe
(2) Kinetoscopes
(3) Kinetograph
(4) Phenakistiscope

ตอบ 2 หน้า 143 Edison ได้จัดแสดงภาพเคลื่อนไหวของเขาด้วยเครื่องมือที่ใช้ส่องดูภาพ (Peep show Device) หรือที่เรียกกันว่า “Kinetoscopes” โดยใช้วิธีการหมุนเครื่องไปแล้วส่องดู ก็จะเห็นภาพยนตร์สั้น ๆ บนจอภาพขนาดเล็ก แต่เครื่องดูภาพแบบนี้สามารถดูภาพได้ทีละคน เท่านั้น และผู้ดูจะจ่ายค่าดูเพียง 1 เซ็นต์

63 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้นํากฎระเบียบสําหรับการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์เข้ามาใช้ ก่อนที่จะนําภาพยนตร์
ออกฉายในปีใด
(1) ปี 1930
(2) ปี 1932
(3) ปี 1935
(4) ปี 1936
ตอบ 1 หน้า 149 ในปี ค.ศ. 1930 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาได้หันมาสร้างภาพยนตร์ ที่มีความสุภาพมากขึ้น โดยมีการนําเอากฎระเบียบสําหรับการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์มาใช้ ก่อนที่จะนําภาพยนตร์ออกฉายให้ประชาชนได้ชม

64 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย โดยมีนักแสดงคนไทยทั้งเรื่อง คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 2 หน้า 152 – 153 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ เรื่องนางสาวสุวรรณ ซึ่งบริษัท Universal เป็นผู้สร้าง และมีผู้กํากับเป็นชาวต่างชาติ คือ นาย Henry McRay แต่หนังเรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย ออกฉายในกรุงสยามครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466

65 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทําในเมืองไทย โดยผู้กํากับต่างชาติ คือ
(1) พระเจ้าช้างเผือก
(2) นางสาวสุวรรณ
(3) ช้าง
(4) โชคสองชั้น
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 64 ประกอบ

66 การแสดงจําอวดและการแสดงเดี่ยวซอสามสาย เกิดขึ้นจากการถ่ายทําของใคร
(1) พระยาภูมิเสวิน
(2) พี่น้องวสุวัต
(3) นายทิ้ง มาฬมงคล
(4) นายอบ บุญติด
ตอบ 2 หน้า 153 – 154 พี่น้องวสุวัตได้ถ่ายทําภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยยืมอุปกรณ์จากบริษัท ฟ็อกซ์ มาถ่ายทําภาพยนตร์เสียงขนาดสั้น 2 เรื่อง คือ ภาพยนตร์บันทึกการแสดงจําอวด และการแสดงเดี่ยวซอสามสายและจะเข้ ต่อมาได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกที่พี่น้องวสุวัตถ่ายทํา ด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นเอง คือ ภาพยนตร์ข่าวสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี เสด็จนิวัตพระนครในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474

67 บริษัท ไทยฟิล์ม ก่อตั้งขึ้นโดยผู้ใด
(1) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล
(2) นายพจน์ สารสิน
(3) นายประสาท สุขุม และกลุ่มของอดีตนักเรียนต่างประเทศ
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 หน้า 155 บริษัท ไทยฟิล์ม ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2481 จากการรวมกลุ่มของอดีตนักเรียน ต่างประเทศที่มีความรักในภาพยนตร์ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล, นายพจน์ สารสิน และนายประสาท สุขุม โดยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก คือ ถ่านไฟเก่า และตามมาอีก 2 เรื่อง คือ แม่สื่อสาว (พ.ศ. 2481) และวันเพ็ญ (พ.ศ. 2482)

68 คลื่น Hertz ถูกค้นพบโดยผู้ใด
(1) Heinrich Rudolf Hertz
(2) Guglielmo Marconi
(3) David Sarnoff
(4) James Clerk Maxwell

ตอบ 1 หน้า 159 Heinrich Rudolf Hertz ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ทดลองทําให้เกิด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ซึ่งเรียกกันแบบธรรมดาว่า “คลื่นวิทยุ หรือ Radio Wave”) และรับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกไปนั้นได้เป็นคนแรกของโลก ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง Hertz ที่ประชุมนานาชาติจึงมีมติให้เรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าว่า “Hertzian Wave” และให้ใช้คําว่า “เฮิรตซ์” (Hertz ใช้สัญลักษณ์คือ Hz) เป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ

69 David Sarnoff ได้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัทใด
(1) KDKA
(2) FCC
(3) RCA
(4) BCC
ตอบ 3 หน้า 162 – 163, (คําบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2473 – 2483 เดวิด ซานอฟ (David Sarnoff) เป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุในอเมริกาโดยทํางานให้บริษัท RCA และเขายังเป็นผู้พัฒนากิจการ เครื่องรับส่งวิทยุ โดยให้ความสําคัญกับวิทยุในฐานะให้ความบันเทิง เพราะจะทําเงินได้มาก

70 KDKA คือ สถานีวิทยุฯ แห่งแรกของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 1 หน้า 164 – 165 ใน ค.ศ. 1920 Dr. Frank Conrad ได้สร้างสถานีวิทยุ KDKA ขึ้นในเมือง Pittsburgh ซึ่งถือเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังคงดําเนินการออกอากาศตามปกติต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

71 กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ BBC เป็นของประเทศใด
(1) สหรัฐอเมริกา
(2) อังกฤษ
(3) เยอรมนี
(4) ญี่ปุ่น
ตอบ 2 (คําบรรยาย) อังกฤษมีแนวคิดที่แตกต่างจากอเมริกาในการกระจายเสียงวิทยุ ซึ่งรูปแบบวิทยุ ในอังกฤษจะเรียกว่า “กิจการวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ” (Public Service Broadcasting) หรือ BBC ก่อตั้งโดยจอห์น รีธ เป็นผู้ดํารงตําแหน่งผู้จัดการใหญ่คนแรก ทั้งนี้ BBC จะมีหน้าที่แจ้งข่าวสาร ให้การศึกษา และให้ความบันเทิง ทําการออกอากาศแบบไม่มีโฆษณา โดยได้เงิน จากค่าภาษีเครื่องรับ มีบอร์ดบริหารที่เป็นอิสระจากรัฐและเอกชน

72 การจัดผังรายการวิทยุรูปแบบวงกลมหรือแบบนาฬิกา (Clock) ใช้ระยะเวลาเท่าใด
(1) 30 นาที
(2) 45 นาที
(3) 1 ชั่วโมง
(4) 24 ชั่วโมง
ตอบ 3(คําบรรยาย) การจัดตารางการกระจายเสียงวิทยุรูปแบบวงกลมหรือแบบนาฬิกา (Clock) เป็นผังการจัดรายการวิทยุในระยะเวลา 1 ชั่วโมง โดยกําหนดว่ารายการที่จะนําเสนอในช่วง 1 ชั่วโมงนั้นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ข่าวต้นชั่วโมง เพลง สปอต และความรู้สลับกันไป ตลอดชั่วโมง เป็นต้น

73 พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย คือ
(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(3) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(4) พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ตอบ 4 หน้า 169, (คําบรรยาย) ใน พ.ศ. 2469 พลเอกพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
ทรงมีความสนพระทัยในงานด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น พระองค์จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุทดลองขนาดเล็กขึ้นในวังบ้านดอกไม้ เพื่อใช้ค้นคว้า เป็นการส่วนพระองค์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าพระองค์เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจการวิทยุกระจายเสียง ขึ้นเป็นคนแรกในประเทศไทย จนได้รับการยกย่องว่า “พระบิดาวิทยุกระจายเสียงไทย”

74 วันวิทยุกระจายเสียงไทย ตรงกับวันที่
(1) 25 กุมภาพันธ์
(2) 1 เมษายน
(3) 1 กรกฎาคม
(4) 5 มิถุนายน
ตอบ 1 หน้า 169, (คําบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทยจะมีชื่อว่า “สถานีกรุงเทพที่พญาไท” โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7 ดังนั้นทางราชการจึงได้กําหนดให้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวิทยุกระจายเสียงไทย

75 นักฟังเพลงสามารถฟังเพลงรูปแบบ Digital Radio กับอุปกรณ์ประเภทใดบ้าง
(1) คอมพิวเตอร์
(2) สมาร์ตโฟน
(3) แท็บเล็ต
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (คําบรรยาย) Digital Radio หรือวิทยุดิจิทัล เป็นสื่อที่มียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักฟังเพลงผ่านวิทยุเริ่มหันมาใช้งานวิทยุดิจิทัลกันมากขึ้นบนอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ อย่าง กว้างขวางทั้งจากคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ รถยนต์ ตลอดไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

76 บริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด เปิดทําการเมื่อวันที่
(1) 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
(2) 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513
(3) 14 มิถุนายน พ.ศ. 2498
(4) 9 มีนาคม พ.ศ. 2528
ตอบ 1 หน้า 186, 188, 190 กําเนิดโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็น วันชาติในสมัยนั้น โดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จํากัด ได้จัดตั้งและทําพิธีเปิดสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพ ออกอากาศรายการต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เช่น รายการรําเบิกโรง รายการภาพปริศนา รายการดนตรี รายการข่าว ฯลฯ

77 จอห์น แบร์ด คิดค้นโทรทัศน์ระบบใดขึ้นมา
(1) ระบบกลไก
(2) โทรทัศน์จอสี
(3) โทรทัศน์อิเล็กทรอนิกส์
(4) โทรทัศน์แบบสีและเสียง
ตอบ 1(คําบรรยาย) จอห์น แบร์ด เป็นนักประดิษฐ์ชาวสก๊อต ได้นําแนวคิดของพอล นิพโกว ซึ่งเป็น นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน มาพัฒนาต่อจนประสบความสําเร็จ เรียกว่า “โทรทัศน์ระบบกลไก โดยได้จัดสาธิตให้สาธารณชนดูที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ภาพขาวดําภาพแรกที่เขา สามารถส่งสัญญาณข้ามห้องทดลองของเขาได้ คือ ภาพ Stooky Bilt

78 โทรทัศน์ช่องแรกของไทย คือช่องใด
(1) ช่อง 3
(2) ช่อง 4
(3) ช่อง 5
(4) ช่อง 7
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 76 ประกอบ

79 สถานีโทรทัศน์สาธารณะในประเทศไทย คือ
(1) สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์
(2) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(3) สถานีโทรทัศน์ ETV กระทรวงศึกษาธิการ
(4) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ 2 (คําบรรยาย) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
เพื่อให้เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะหรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มการ แพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับสัมปทาน การใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

80 Facebook จัดอยู่ในหมวดใดของ Social Media
(1) Communication
(2) Collaboration
(3) Reviews and Opinions
(4) Entertainment
ตอบ 1 หน้า 204, (คําบรรยาย) Facebook เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking ที่จัดอยู่ ในหมวดการสื่อสาร (Communication) ของ Social Media มีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่มุ่งเน้น การสร้างความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนที่คบกันมานาน ก่อตั้งโดย Mark Zuckerberg ซึ่งเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ในขณะนั้นด้วยวัยเพียง 22 ปี

81 Collaboration มีลักษณะการทํางานอย่างไรบน Social Network
(1) เป็นกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน
(2) เป็นการรวมตัวกัน โดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน
(3) เป็นลักษณะการจําลองโลกเสมือน
(4) เป็นการแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตนเอง
ตอบ 1 หน้า 200 – 201, (คําบรรยาย) หมวดหมู่หรือประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในบทบาท ของ Social Network ในอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 แบ่งออกได้ดังนี้
1 Identity Network คือ การแสดงตัวตนและภาพลักษณ์ของตน เช่น Facebook, Twitter
2 Interested Network คือ การรวมตัวกันโดยอาศัยความสนใจที่ตรงกัน เช่น Digg, Zickr,
del.icio.us, duocore.tv
3 Collaboration Network คือ กลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกันทํางาน โดยเปิดให้สมาชิกทุกคน ในกลุ่มนําเสนอข้อมูลหรือต่อยอดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ เช่น Wikipedia, Google Earth
4 Gaming/Virtual Reality หรือโลกเสมือน ซึ่งมีลักษณะเป็นการสวมบทบาทของผู้เล่นใน ชีวิตจริงกับตัวละครในเกม เช่น Ragnarok, Pangya, Second Life, World of Warcraft
5 Professional Network ซึ่งใช้งานในอาชีพ เช่น LinkedIn
6 Creative Network คือ การสร้างและประกาศผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ เพลง โดยจะเน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น YouTube, Flickr, Multiply เป็นต้น

82 Milgram ใช้สารประเภทใดในการทดลอง Six Degrees of Separation
(1) เอกสาร (จดหมาย)
(2) การบอกเล่าปากต่อปาก
(3) ส่งข้อความผ่าน Inbox Facebook
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 1 หน้า 196 – 197 ในปี ค.ศ. 1967 Stanley Milgram นักจิตวิทยาสังคมแห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ได้นําแนวคิด Six Degrees of Separation มาศึกษาอย่างจริงจัง และได้ทดลอง โดยการสุ่มคนจากรัฐแคนซัสและเนบราสก้าประมาณ 300 คน เพื่อให้คนกลุ่มนี้ส่งเอกสาร (จดหมาย) ไปถึงเป้าหมายที่เป็นคนเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยชาวเมืองแคนซัสและ เนบราสก้าผู้ได้รับโจทย์ดังกล่าวจะใช้วิธีส่งต่อเอกสาร (จดหมาย) ไปยังผู้ที่ตนคาดว่าจะรู้จัก กับเป้าหมายต่อกันไปเป็นทอด ๆ

83 Six Degrees of Separation คือ ทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์
(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล
(2) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
(3) การสื่อสารเครือข่ายทางสังคม
(4) การสื่อสารภายในองค์การ
ตอบ 3 หน้า 193, 196 ทฤษฎีที่อธิบายการสื่อสารเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) และ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้ดีทฤษฎีหนึ่ง คือ ทฤษฎีระยะห่างหกชั้น (Six Degrees of Separation) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “ทุกคนบนโลกจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ภายในระยะห่าง ไม่เกิน 6 ช่วงคน” โดยทฤษฎีนี้มีที่มาดั้งเดิมจากนักเขียนชาวฮังการีชื่อว่า Frigyes Karinthy

84 Page Facebook มีไว้เพื่ออะไร
(1) ยืนยันตัวตนสําหรับแบรนด์ ธุรกิจ องค์กร และบุคคลสาธารณะ
(2) เป็นโปรไฟล์บุคคลเพื่อแสดงตัวตน
(3) เป็นโปรไฟล์ของเพื่อนใน Facebook
(4) แสดงความเคลื่อนไหวของเพื่อน
ตอบ 1 (ความรู้ทั่วไป) Facebook แบ่งพื้นที่ให้ใช้งานตามวัตถุประสงค์หลาย ๆ รูปแบบ ดังนี้
1 เฟซบุ๊กส่วนตัว (Facebook Profile) ประกอบด้วย หน้าฟีดข่าวที่เห็นความเคลื่อนไหวของ เพื่อน เพจที่กดติดตาม และโพสต์ที่เกิดจากหน้าโปรไฟล์ของบุคคล ซึ่งผู้ที่จะเห็นข้อมูลที่เรา โพสต์ต้องเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊ก จึงเหมาะสําหรับแชร์เรื่องราวกับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว
2 เพจ (Facebook Page) มีไว้เพื่อใช้งานในเชิงธุรกิจ เช่น แบรนด์ ธุรกิจ องค์กร หรือบุคคล สาธารณะ เพื่อยืนยันตัวตนบนเฟซบุ๊ก ซึ่งเพจสามารถเพิ่มผู้ดูแลเพื่อช่วยในการแก้ไขข้อมูล อัปเดตข่าวสาร โดยไม่จํากัดจํานวนเพื่อน เพราะเป็นการกดถูกใจ กดติดตาม ทําให้โอกาส ที่คนจะเข้ามาพบเห็นโพสต์ของเราก็จะมีมากขึ้น

85 ผู้ก่อตั้ง Facebook คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 80. ประกอบ

86 การใช้ Hashtag (แฮชแท็ก) เปรียบเสมือนสิ่งใดในโลกโซเชียลมีเดีย
(1) คําค้นหาหลัก
(2) การขายของ
(3) การแสดงความเห็น
(4) สัญลักษณ์อักษร
ตอบ 1 (คําบรรยาย) Hashtag (แฮชแท็ก) หรือเครื่องหมาย # เปรียบเสมือนเป็นคําค้นหาหลัก หรือ เรียกว่า “คีย์เวิร์ด” (Keyword) ในโลกโซเชียลมีเดีย ใช้เพื่อค้นหากลุ่มคน กลุ่มเพื่อนที่อาจจะไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่มีความสนใจเหมือนกันในเรื่องเดียวกัน มีความรู้สึกเหมือนกัน อารมณ์ เดียวกัน หรือตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน สถานที่เดียวกัน ฯลฯ ดังนั้นการใช้แฮชแท็กจึงอาจ ทําให้เราได้เพื่อนใหม่ หรือผู้ติดตามใหม่ ๆ ที่สนใจเรื่องเดียวกับเรา โดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

87 ผู้ก่อตั้ง Google คือ
(1) Mark Zuckerberg
(2) Bill Gates
(3) Ray Tomlinson
(4) Sergey Brin & Larry Page
ตอบ 4 หน้า 210 – 211 กูเกิล (Google Inc.) เป็นบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสําหรับดุษฎีนิพนธ์ของเซอร์เกย์ บริน และ แลร์รี เพจ (Sergey Brin & Larry Page) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งต่อมากูเกิลมีผู้ใช้งานค้นหาคํามากกว่า 18 ล้านคําต่อวัน และกลายเป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543

88 เว็บไซต์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) www.ru.or.th
(2) www.ru.ac.th
(3) www.ru.go.th
(4) www.ru.org
ตอบ 2 (คําบรรยาย) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ www.ru.ac.th

89 Facebook กลุ่มวิชานี้ คือ
(1) MCS 1150
(2) MCS 1150 (MCS 1100)
(3) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง
(4) MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนภูมิภาค
ตอบ 3 (คําบรรยาย) Facebook ของกลุ่มวิชานี้ คือ MCS 1150 (MCS 1100) ส่วนกลาง

90 Facebook ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 2 (คําบรรยาย) Facebook ที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ PR Ramkhamhaeng University

91 สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง คือ
(1) PR RAM
(2) PR Ramkhamhaeng University
(3) MC Club
(4) RU Easy Radio
ตอบ 4 (คําบรรยาย) RU Easy Radio คือ สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคําแหง ซึ่งจะ ออกอากาศทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 16.00 – 19.00 น. โดยสามารถเข้าไปรับฟังได้ที่ www.masscomradio.com

92 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. อะไร
(1) พ.ศ. 2530
(2) พ.ศ. 2540
(3) พ.ศ. 2550
(4) พ.ศ. 2560
ตอบ 4(คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้บังคับเมื่อพ้น กําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

93 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใครเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้
(1) นายกรัฐมนตรี
(2) ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
(3) รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(4) รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ระบุว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้…

94 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรําคาญ จะมีความผิดถูกลงโทษอย่างไร
(1) ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 วรรค 2 ระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ ตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

95 นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท

ตอบ 2 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามข้อ (1) (2) (3) หรือ (4)…

96 ผู้ที่นําข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14 ต้องระวางโทษอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97 ถ้าใครส่งภาพไม่เหมาะสมให้นักศึกษาแล้วนักศึกษาแชร์ต่อให้เพื่อน จะมีความผิดอย่างไร
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 95 ประกอบ

98 เลิกกับแฟนเก่าแล้วเอาภาพส่วนตัวมาตัดต่อแล้วโพสต์ลง Facebook ทําให้แฟนเก่าเสื่อมเสียชื่อเสียง
ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
(1) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(2) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) จําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
(4) จําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
ตอบ 3 (คําบรรยาย) พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 ระบุว่า ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

99 ในยุคโซเชียลมีเดีย Fake News เข้ามามีบทบาทในด้านใดบ้าง
(1) เสียดสีหรือล้อเลียน
(2) ข่าวที่ทําให้เข้าใจผิด
(3) ลวงผู้รับสาร
(4) ถูกทุกข้อ
ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) First Draft News ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับ Fake News หรือ ข่าวปลอม ร่วมกับ Social Media และ Publisher อีกกว่า 30 ราย รวมไปถึง Facebook, Twitter, New York Times หรือ BuzzFeed ได้ให้นิยามของข่าวปลอมไว้ 7 รูปแบบ ดังนี้
1 Satire or Parody คือ ข่าวเสียดสีหรือล้อเลียนให้เกิดความตลก
2 False Connection คือ ข่าวที่เชื่อมโยงข้อมูลมั่ว โดยพาดหัวข่าว ภาพประกอบ แคปชัน ไม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาของข่าวดังกล่าวเลย
3 Misleading Content คือ ข่าวที่ทําให้เข้าใจผิดทั้งประเด็นหรือตัวบุคคล
4 False Context คือ ข่าวที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ผิดบริบท โดยการเอาข้อมูลที่เกิดขึ้นในบริบท หนึ่ง ๆ มาใส่ในอีกบริบทหนึ่ง เช่น เอาเหตุการณ์ในที่หนึ่งมาใส่ในอีกที่หนึ่ง เป็นต้น
5 Imposter Content คือ อ้างแหล่งที่มามั่ว ๆ
6 Manipulated Content คือ การตัดต่อ ดัดแปลง แต่มีข้อเท็จจริงอยู่บ้าง เพื่อวัตถุประสงค์ ในการลวงผู้รับสาร
7 Fabricated Content คือ ข่าวปลอม 100% โดยไม่มีมูลใด ๆ ทั้งสิ้นเลย ถือเป็นขั้นที่รุนแรง ที่สุดของ Fake News

100 ข่าวที่เชื่อมโยงข้อมูลมั่ว พาดหัวข่าว ภาพประกอบ ไม่เชื่อมโยงกับเนื้อหาของข่าวดังกล่าวเลย คือ
Fake News ประเภทใด
(1) Misteading Content
(2) False Connection
(3) Fabricated Content
(4) Imposter Content
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 99 ประกอบ

Advertisement