การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560
ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2160 (MCS 2106) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน
คําสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคําตอบเดียว

1.ภาษา หมายถึงอะไร
(1) ความคิด
(2) สื่อ
(3) เครื่องมือการสื่อสาร
(4) สิ่งที่ใช้แทนความหมาย
ตอบ 4 หน้า 1 ภาษา ประกอบด้วย สัญญาณ (Signs) สัญลักษณ์ (Symbols) และกฎหรือปทัสถาน ทางสังคมที่เป็นเครื่องกําหนดแบบแผนวิธีการใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ในภาษาเพื่อใช้ในการ สื่อความหมาย ดังนั้นภาษาจึงเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย (Meaning) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ ในการสื่อสารระหว่างกัน

Advertisement

2.การสื่อสาร หมายถึง การส่งสิ่งใดให้ผู้รับสาร
(1) วัตถุสิ่งของ
(2) ภาษา
(3) องค์ประกอบของการสื่อสาร
(4) ความหมาย
ตอบ 4หน้า 1 การสื่อสารเป็นการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนความหมายระหว่างคน 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยฝ่ายหนึ่งคือผู้ส่งสาร อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้รับสาร ซึ่งการส่งและรับความหมายระหว่างกัน จําเป็นต้องใช้เครื่องมือส่งความหมายออกไปให้ผู้รับสารรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส และต้องสามารถเข้าใจความหมายร่วมกันได้ ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

3. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
(1) การขจัดอุปสรรคของการสื่อสาร
(2) เทคโนโลยีการสื่อสาร
(3) การส่งข้อความไปถึงผู้รับ
(4) การเข้าใจความหมายร่วมกัน
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 2. ประกอบ

4.ความหมายจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใดของการสื่อสาร
(1) การเข้ารหัสของผู้ส่งสาร
(2) การถอดรหัสของผู้ส่งสาร
(3) การเข้ารหัสของผู้รับสาร
(4) การถอดรหัสของผู้รับสาร
ตอบ 4 หน้า 7 – 8 (คําบรรยาย) การถอดรหัส (Decoding) หมายถึง การแปลหรือตีความสาร ให้เป็นความหมายสําหรับผู้รับสาร หรือการที่ผู้รับสารทําความเข้าใจความหมายของภาษา ดังนั้นความหมายจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการถอดรหัสของผู้รับสาร เช่น การที่นักศึกษาฟัง และคิดตามเพื่อพยายามทําความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์กําลังบรรยาย ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์ กลไกก็สามารถเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ฯลฯ

5. การที่ผู้ส่งสารจะสามารถใช้ภาษาได้ดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับอะไร
(1) สาร
(2) ช่องทางการสื่อสาร
(3) สนามแห่งประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
(4) สนามแห่งประสบการณ์ของผู้รับสาร
ตอบ 3 หน้า 6, (คําบรรยาย) การที่ผู้ส่งสารจะสามารถใช้ภาษาได้ดีขนาดไหนก็จะขึ้นอยู่กับขอบเขต หรือสนามแห่งประสบการณ์ (Fields of Experience) ของผู้ส่งสารแต่ละคน โดยผู้ส่งสารจะ เข้ารหัสความหมายและเลือกใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ที่อยู่ภายในสนามแห่งประสบการณ์ ของตน ส่วนผู้รับสารจะทําการถอดรหัสความหมายออกมาอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสนามแห่งประสบการณ์ของผู้รับสารเช่นกัน

6.“ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้แทนความหมาย” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 2 หน้า 2, (คําบรรยาย) แนวคิดเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นเครื่องมือ ที่ใช้แทนความหมาย และเป็นกรอบความคิดของมนุษย์ โดยภาษา คือ สิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อ กันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน และปรากฏเป็นหน่วยย่อยที่สามารถ นํามาวิเคราะห์ได้ตามโครงสร้างของภาษา เช่น พยัญชนะ คํา พยางค์ ฯลฯ เมื่อนํามาประกอบ เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ เรียกว่า ไวยากรณ์ ซึ่งเป็นตัวกําหนดหลักเกณฑ์หรือควบคุมการใช้ภาษา

7.“ภาษาไม่ใช่เป็นแค่เครื่องมือที่ใช้แทนความหมาย แต่ยังสร้างความหมายและความจริง”
เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด
(1) วัตถุนิยม
(2) โครงสร้างนิยม
(3) บริโภคนิยม
(4) วัฒนธรรมนิยม
ตอบ 4 หน้า 3 แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็นเพียงการกําหนด คุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่รอบตัวเท่านั้น แต่ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจาก การสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมไปถึง ภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างสรรค์ความจริงทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

8.“ลําไย” หมายถึง รําคาญ เป็นการใช้ภาษาในความหมายแบบใด
(1) Denotation
(2) Connotation
(3) Discourse
(4) Metaphor
ตอบ 2 หน้า 13, (คําบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพอันเป็นสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้ หรือความหมายที่เจ้าของ ภาษารู้และใช้กันทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคําตามที่ปรากฏในพจนานุกรม เช่น คําว่า “ลําไย” หมายถึง ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลกลม รสหวาน เป็นต้น
2. ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมาย โดยตรง เช่น คําว่า “ลําไย” หมายถึง รําคาญ ซึ่งเป็นคําสแลงที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

9.Social World หมายถึงอะไร
(1) โลกตามที่เป็นจริง
(2) สังคมโลก
(3) ความเป็นจริงเกี่ยวกับสังคม
(4) โลกทางสังคม
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

10. ข้อใดเป็นตัวอย่างของบริบททางกายภาพ
(1) ภูมิหลังของผู้ประพันธ์นวนิยาย
(2) แม่การะเกดในละครบุพเพสันนิวาส
(3) รถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์
(4) สาวพริตตี้ในงานมอเตอร์โชว์
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อ เนื้อหาและรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุม, การจัดแสดง แสง สี เสียง หรือสาวพริตตี้ในงานมอเตอร์โชว์, การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงาม เป็นต้น

11. “ปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 2 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดําเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้าแต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

12. “ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร” เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด
(1) กายภาพ
(2) วัฒนธรรม
(3) เวลา
(4) จิตวิทยาสังคม
ตอบ 4 หน้า 10, (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางด้านจิตวิทยาสังคม (The Social- psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วม สื่อสาร บทบาท ตําแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย เกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

13. ข้อใดคือบริบทความเป็นมาของละครเรื่องบุพเพสันนิวาส
(1) วัดไชยวัฒนาราม
(2) เครื่องแต่งกายของการะเกด
(3) ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา
(4) นวนิยาย
ตอบ 3 (คําบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางด้านความเป็นมา (The Historical Context) หมายถึง ความเป็นมาก่อนหน้าของเรื่องที่สื่อสารกัน ซึ่งอาจเป็นประวัติศาสตร์ของเรื่องนั้น ๆ ประวัติความเป็นมาหรือภูมิหลังของแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร เช่น บริบทความเป็นมาของละคร เรื่องบุพเพสันนิวาสก็คือ ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

14. โครงสร้างของภาษา เช่น พยัญชนะ คํา พยางค์ ฯลฯ เมื่อนํามาประกอบเข้าด้วยกันอย่างมีระบบ
เรียกว่าอะไร
(1) สาร
(2) ไวยากรณ์
(3) วัฒนธรรม
(4) โครงสร้าง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 6. ประกอบ

15. การเขียนแบบ Sign Writing พัฒนาขึ้นโดยชนชาติใด
(1) สุเมเรียน
(2) ฟินิเซียน
(3) กรีก
(4) โรมัน
ตอบ 1 หน้า 19 ภาษาภาพ เป็นการใช้ระบบสัญลักษณ์เขียนเป็นสัญญาณ (Sign Writing) โดยที่แต่ละ สัญลักษณ์มีพื้นฐานมาจากรูปภาพที่เป็นตัวแทนสิ่งของ ซึ่งภาษาในลักษณะนี้ได้รับการพัฒนา ในอาณาจักรสุเมเรียน (ประเทศอิรักในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล เช่น ภาษาไฮโรกลิฟิก(Hieroglyphics) ของอียิปต์โบราณ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2 – 3 ร้อยปี ภายหลังชาวสุเมเรียน ส่วนรูปแบบของภาษาภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งเริ่มใช้เมื่อประมาณ 2,000 – 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

16. การเขียนในระบบพยัญชนะริเริ่มโดยชนชาติใด
(1) สุเมเรียน
(2) ฟินิเซียน
(3) กรีก
(4) โรมัน
ตอบ 2 หน้า 19 กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า “พยัญชนะ” (Alphabet) ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง และนําเสียงมารวมกันเป็นคํา ถือกําเนิดขึ้นโดยชาวฟินิเซียน (The Phoenicians) เป็นชนชาติแรก ที่พัฒนาภาษาลักษณะนี้ หลังจากนั้นจึงพัฒนามาเป็นภาษากรีกโบราณที่มี 24 ตัวอักษร และ กลายเป็นต้นกําเนิดของตัวอักษรภาษาอื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย เป็นต้น

17. กูเตนเบิร์กพัฒนาระบบการพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบการพิมพ์แบบใด
(1) แบบพื้นนูน
(2) แบบพื้นราบ
(3) แบบร่องลึก
(4) แบบบล็อก
ตอบ 1 หน้า 22 (คําบรรยาย) โยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่คิดค้น และพัฒนาระบบการพิมพ์แบบกด (Printing Press) หรือระบบเล็ตเตอร์เพรส (Letter Press) ซึ่งเป็นระบบการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้ตัวพิมพ์ทําด้วยโลหะแบบถอดเปลี่ยนได้ (Movable Type) และต่อมาเขาก็ได้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิลขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1453 หลังจากนั้นระบบการพิมพ์แบบใหม่นี้ ก็แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

18. ตําราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ในปัจจุบันใช้การพิมพ์ระบบใด
(1) แบบพื้นนูน
(2) แบบพื้นราบ
(3) แบบร่องลึก
(4) แบบบล็อก
ตอบ 2 (คําบรรยาย) ในปัจจุบันงานพิมพ์ส่วนใหญ่จะใช้การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) ซึ่งเป็น ระบบการพิมพ์แบบพื้นราบที่ใช้หลักการน้ํากับน้ํามันไม่รวมตัวกัน โดยผิวของแม่พิมพ์ชนิดนี้จะ เสมอกันหมด ทําให้มีความสะดวกและคล่องตัวในการผลิต สามารถผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพ สูงจนถึงสูงมาก เช่น ตําราเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร แผ่นพับ ใบปลิว ฯลฯ

19. ข้อใดที่ถือว่าเป็นรุ่งอรุณของการสื่อสารมวลชน
(1) การคิดค้นภาษาเขียน
(2) การค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(3) การพิมพ์
(4) การส่งวิทยุข้ามทวีป
ตอบ 3 หน้า 22 – 24 การคิดค้นระบบการพิมพ์ของโยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) ทําให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ดังนี้
1. ทําให้มีการพัฒนาภาษาอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ในภาคพื้นยุโรป
2. มีบทบาทสําคัญในการเปลี่ยนแปลงศาสนาที่เกิดขึ้นในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16
3. ช่วยเผยแพร่รายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้แพร่หลาย
4. ช่วยเผยแพร่ผลงานการสํารวจพบสิ่งใหม่ ๆ
5. ทําให้การศึกษาหาความรู้เจริญก้าวหน้าและเข้าถึงคนมากขึ้น
6. ทําให้เกิดการพัฒนาข่าวและการรายงานข่าว เพราะการสื่อสารมวลชนเกิดขึ้นได้จาก
กําเนิดของการพิมพ์ ดังนั้นการพิมพ์จึงถือว่าเป็นรุ่งอรุณของการสื่อสารมวลชน

20. ภาษาพูดและภาษาเขียน ช่วยให้มนุษย์พัฒนาการคิดลักษณะใด
(1) การคิดเชิงกายภาพ
(2) การคิดเป็นรูปธรรม
(3) การคิดเชิงมโนทัศน์
(4) การคิดเป็นตัวอักษร
ตอบ 3 หน้า 18 ภาษาเป็นปัจจัยหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก เพราะ ภาษาพูดและภาษาเขียนช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) และทําให้มนุษย์สามารถมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังทําให้สามารถถ่ายทอด วัฒนธรรม และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้

21. หากจะเขียนข่าว ผู้เขียนต้องมีความรู้ระดับใดเป็นอย่างน้อย
(1) ระดับที่ 1
(2) ระดับที่ 2
(3) ระดับที่ 3
(4) ระดับที่ 4
ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสําหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย) ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน
2. หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3
3. หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4
4. หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทําเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

22. “ความสุขที่คุณดื่มได้” เป็นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายลักษณะใด
(1) ความหมายโดยอรรถ
(2) ความหมายโดยตรง
(3) ความหมายโดยนัย
(4) ความหมายเชิงวาทกรรม
ตอบ 4 หน้า 14, (คําบรรยาย) ความหมายเชิงวาทกรรม (Discourse Meaning) หมายถึง ความหมาย ที่คิดหรือประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสร้างเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ หรือให้ความสําคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน สังคม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อํานาจ หรือตัวตน เช่น ข้อความ “ความสุขที่คุณดื่มได้”หรือ “แค่ขาวก็ชนะ” เป็นความหมายเชิงวาทกรรมในการโฆษณา เป็นต้น

23. ในภาคพื้นยุโรป การพัฒนาภาษาอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากประดิษฐกรรมข้อใด
(1) การพูด
(2) การเขียน
(3) การพิมพ์
(4) บริบทของการสื่อสาร
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 19. ประกอบ

24. การพิจารณาว่าคํา ๆ หนึ่งใช้ในความหมายลักษณะใดนั้น พิจารณาจากอะไร
(1) พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
(2) ผู้ส่งสาร
(3) ระดับเสียง
(4) การโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 9 – 10, 13, (คําบรรยาย) ภาษาจะประกอบไปด้วยความหมายทั้งในลักษณะที่เป็น ความหมายโดยตรง (Denotation) และความหมายโดยนัย (Connotation) ซึ่งการที่เราจะ รู้ได้ว่าคํา ๆ หนึ่งใช้ในความหมายลักษณะใดนั้น จะต้องพิจารณาจากบริบทของการสื่อสาร (Communication Context) ซึ่งมีอิทธิพลกํากับความหมายที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่ทําการสื่อสาร

25.แนวคิดวัฒนธรรมนิยม มองภาษาว่าอย่างไร
(1) ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ (2) ภาษาเป็นสิ่งที่หยุดนิ่งตายตัว การใช้ภาษาต้องเป็นไปตามแบบแผน
(3) ภาษาเป็นสิ่งที่สังคมผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบความคิดและเป็นเครื่องมือสําหรับการบันทึกทางสังคม
(4) ภาษา คือ สิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อกันมา ภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีโครงสร้างที่แน่นอน
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 7. ประกอบ

26. K-POP เป็นตัวอย่างของอะไร
(1) Public Communication
(2) Propaganda
(3) Population.
(4) Popular Culture
ตอบ 4 หน้า 32, (คําบรรยาย) คําว่า “วัฒนธรรมประชานิยม” (Popular Culture) หรือเรียกว่า “วัฒนธรรมมวลชน” (Mass Culture) หมายถึง รูปแบบการดํารงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยม ชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ จะมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือน ๆ กัน ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลงสมัยใหม่ เช่น การนิยมวัฒนธรรมแบบ K-POP และ J-POP ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

27. ข้อใดเป็นตัวอย่างภาษาเขียนระบบ Sign Writing
(1) ภาษาละติน
(2) ภาษากรีกโบราณ
(3) ภาษาอียิปต์โบราณ
(4) ภาษาพราหมี
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 15. ประกอบ

28. การโฆษณา เป็นการสื่อสารประเภทใด
(1) การสื่อสารการตลาด
(2) การสื่อสารองค์กร
(3) การสื่อสารสาธารณะ
(4) การสื่อสารมวลชน
ตอบ 4 หน้า 38 การโฆษณา เป็นกิจกรรมทางการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ ผู้รับสารให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมในทิศทางที่ผู้โฆษณาต้องการ

29. “ผู้ส่งสารของการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นสถาบัน” หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นกลุ่มบุคคล
(2) เป็นผู้แทนองค์กรหรือสถาบัน
(3) เป็นสถาบันสังคม
(4) เป็นหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้
1. แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบันที่สําคัญสถาบันหนึ่งในสังคม
2. ลักษณะของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public) คือ
ทุกคนสามารถเข้าถึงสารนั้นได้
3. ผู้รับสารเป็นมวลชน (The Masses) หรือผู้รับชม – รับฟัง (Audience) จํานวนมาก คือ ผู้รับสารที่มีมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
4. กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว
5. การสื่อสารมวลชนได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม
6. ใช้สื่อมวลชน (Mass Media) เป็นช่องทางการสื่อสาร

30. “ลักษณะของสารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)”
หมายความว่าอย่างไร
(1) เป็นเรื่องราวที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
(2) ทุกคนสามารถเข้าถึงสารนั้นได้
(3) เป็นข่าวสารสําหรับองค์กร/สถาบัน
(4) เป็นสารที่ส่งออกมาจากองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31. “ผู้รับสาร คือ มวลชน (Mass)” หมายความว่าอย่างไร
(1) ผู้รับสารที่มีจํานวนมากและมีความสนใจในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
(2) ผู้รับสารจํานวนมากที่มีลักษณะร่วมกันบางประการ
(3) กลุ่มผู้รับสารที่มีลักษณะร่วมกันบางประการเป็นลักษณะที่ใช้อ้างอิง
(4) ผู้รับสารที่มีมากและไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

32. การสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นอย่างไร
(1) เป็นการสื่อสารสองทาง
(2) เป็นการสื่อสารทางเดียว
(3) เป็นการสื่อสารสองจังหวะ
(4) เป็นการสื่อสารเฉพาะเรื่อง
ตอบ 2 ดูคําอธิบายข้อ 29. ประกอบ

33. คนเขียนบทความและบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ทําหน้าที่ในข้อใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) เป็นผู้มีความหมาย
(3) เชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม
(4) ส่งผ่านค่านิยม
ตอบ 2 หน้า 27, (คําบรรยาย! บทบาทหน้าที่ในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนําเสนอ เรื่องราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นําเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าวในลักษณะของการ เล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลจาก มุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น การนําเสนอบทความ บทบรรณาธิการหรือบทนํา และบทวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์, รายการเล่าข่าวทางโทรทัศน์ ช่องต่าง ๆ เป็นต้น

34. บทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance) ได้แก่ข้อใด
(1) แจ้งข่าวสาร
(2) แสดงความคิดเห็น
(3) วิพากษ์วิจารณ์
(4) ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม
ตอบ 1 หน้า 27, (คําบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance) คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมไปถึงตรวจสอบการ ทํางานของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็น เสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตราย ต่อสังคม เช่น การรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

35. การโฆษณามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
(1) การโน้มน้าวใจ
(2) แจ้งข่าวสาร
(3) การสร้างความเข้าใจ
(4) ให้ความบันเทิง
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 28. ประกอบ

36. กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า มีลําดับขั้นตอนอย่างไร
(1) การเขียนข้อความโฆษณา การกําหนดสื่อ การลงโฆษณา การวัดปฏิกิริยาตอบสนอง
(2) การกําหนดตัวผู้โฆษณา การเขียนข้อความ การส่งสารผ่านสื่อ การประเมินผล
(3) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย แนะนําสินค้า เขียนข้อความโฆษณา นําเสนอซ้ำๆ
(4) การกําหนดกลุ่มเป้าหมาย กําหนดแนวคิดหลัก เขียนข้อความโฆษณา นําเสนอซ้ํา ๆ
ตอบ 4 หน้า 40 กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
ซึ่งมีลําดับขั้นตอนเริ่มจากการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
การกําหนดแนวคิดหลัก การสร้างสารโฆษณาหรือสร้างสรรค์ข้อความโฆษณา และนําเสนอ แนวคิดดังกล่าวซ้ำ ๆ ไปยังผู้บริโภคอย่างได้ผล

37. ข้อใดหมายถึงความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
(1) Personality
(2) Empathy
(3) Public Relations
(4) Stereotype.
ตอบ 2 หน้า 41 คุณสมบัติประการหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาโฆษณาควรจะมี คือ การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เพราะการที่นักโฆษณา สามารถเข้าถึงจิตใจของกลุ่มเป้าหมายได้ ก็จะทําให้เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจสําคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และควรสื่อสาร อย่างไรที่จะเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านั้นได้

38. “Advertising Concept” หมายถึงอะไร
(1) ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(2) ข้อความสั้น ๆ ง่ายแก่การจดจําที่มักนําเสนอในชิ้นงานโฆษณาคู่กับชื่อสินค้า
(3) ข้อความพาดหัวที่ใช้ดึงดูดใจผู้อ่านให้สนใจชิ้นงานโฆษณา
(4) เพลงโฆษณาที่มีเนื้อร้อง
ตอบ 1 หน้า 41, 50, (คําบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept) หมายถึง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานําเสนออย่างสร้างสรรค์เพื่อตรึงความสนใจ
ของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับ สินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สํานึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลักของการโฆษณามักจะปรากฏอยู่ที่ คําขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

39. เรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ มีส่วนสร้างความเป็นจริงลักษณะใด
(1) ตรงตามสภาพความจริง
(2) เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป
(3) เป็นภาพแบบฉบับตายตัว
(4) ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว
ตอบ 3 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏใน เนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทําหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิกในสังคม โดยเรื่องราวที่นําเสนอผ่านรายการโทรทัศน์นั้นได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียง บางส่วนเสี้ยวของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่ บิดเบี้ยวไปจากโลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

40. การที่สื่อมวลชนมีบทบาทในการสร้างกลุ่มสาธารณชน (Public Making) เป็นการทําหน้าที่ใด
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) ตีความ
(3) เชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม
(4) ส่งผ่านค่านิยม
ตอบ 3 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือ การเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่านเวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน)

ได้แก่ เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญที่ประสงค์จะช่วยเหลือ ผู้อื่น เช่น การนําเสนอข่าวสภากาชาดไทยรับบริจาคโลหิตเนื่องจากขาดแคลนเลือด เป็นต้น นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทําหน้าที่ในการเชื่อมประสานกลุ่มคนที่มีความสนใจอย่างเดียวกันซึ่งนักวิชาการบางท่านได้เรียกบทบาทหน้าที่ในด้านนี้ว่า “เป็นบทบาทหน้าที่ของการสร้าง กลุ่มสาธารณชน” (Public Making) เช่น กลุ่มสมาชิกรายการร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น

41. การใช้ภาษาในการโฆษณาต้องคํานึงถึงอะไร
(1) จุดมุ่งหมายการโฆษณา
(2) สภาพการแข่งขัน
(3) งบประมาณการโฆษณา
(4) ระยะเวลาการโฆษณา
ตอบ 1 หน้า 40 – 41 การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องคํานึงถึงจุดมุ่งหมายการโฆษณาแต่ละครั้งว่า เน้นการสร้างผลกระทบในด้านใด เช่น หากเป็นการโฆษณาที่มีจุดหมายเชิงพฤติกรรม ลักษณะ ของภาษาที่ใช้จะเป็นการเร่งเร้าให้เกิดการกระทํา เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ภาษาในการโฆษณา ยังต้องคํานึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยภาษาที่ใช้ต้องเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก

42. การโฆษณาโดยให้ผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า ได้แก่ข้อใด
(1) Vignette
(2) Presenter
(3) Personality Symbol
(4) Testimonial
ตอบ 4 หน้า 44 ลีลาการอ้างพยาน (Testimonial) เป็นลีลาการนําเสนอโฆษณาโดยใช้บุคคลที่มี ประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้า หรือผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นําเอาผู้ที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันถึงประสบการณ์ที่ได้รับหลังจากการใช้สินค้า เป็นต้น

43. ข้อความโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
(1) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(2) แปลก ตลก ใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม
(3) สั้น เรียบง่าย ไม่ต้องคิดมาก
(4) การใช้เหตุผล
ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความโฆษณาที่ดีควรชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า
และเขียนขึ้นจากความเข้าใจถึงความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค โดยคํานึงถึงปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ

44. เหตุใดโลกทางสังคมของเราแต่ละคนจึงแตกต่างกัน
(1) เพราะอยู่ต่างถิ่นต่างที่
(2) เพราะคนเราไม่เข้าใจกัน
(3) เพราะระบบการรับรู้แตกต่างกัน
(4) เพราะมีความสนใจแตกต่างกัน
ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน ศาสนา สื่อมวลชน ฯลฯ ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคนจึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจาก สิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ ทั้งนี้เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

45. “ใหม่ จุดจบของรังแค กลิ่นซากุระสดชื่นยาวนาน” เป็นข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 1 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบ พาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสําคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

46. “รสดีเมนูลาบ สูตรใหม่ ต้องลอง” เป็นข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. “เมื่อมีอาการแพ้ตามผิวหนัง ทาคาลาดริล” เป็นข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 3 หน้า 47, (คําบรรยาย) การให้คําแนะนํา (Advice) หรือใช้คําสั่ง คือ การเขียนข้อความพาดหัว โฆษณาด้วยการแนะนําให้ผู้อ่านกระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคํามั่นสัญญาเกี่ยวกับผลที่ ได้รับจากการทําตามคําแนะนํานั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจงลงไป ที่การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกําลังประสบอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจเขียน ในรูปของคําสั่งโดยมีคําว่า “อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทําหรือสั่งให้ทําก็ได้

48. การโฆษณาของ Cute Press ชุดล่าสุดที่ญาญ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์ ใช้ลีลานําเสนอข้อใด

(1) Life Style ตอบ 3
(2) The Musical
(3) Fantasy
(4) Testimonial
หน้า 44 ลีลาจินตนาการ (Fantasy) เป็นลีลาการนําเสนอโฆษณาที่เกิดจากจินตนาการ โดยใช้ ภาพที่เกิดจากเทคนิคสร้างสรรค์เพื่อแสดงถึงความคิด อุดมการณ์ ความมุ่งหวัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ สินค้า บริการ หรือแนวคิดที่ผู้โฆษณาต้องการนําเสนอ เช่น โฆษณาของ Cute Press ชุดล่าสุด ที่ญาญ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์ เป็นต้น

49.“สุดยอดความอร่อยระดับ 5 ดาว เต็มอิ่มในราคาเบา ๆ” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด (1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึงก็คือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

50. “ต้องซ่า ต้องกล้า ต้องโค้ก” เป็นตัวอย่างข้อความพาดหัวที่ใช้วิธีเขียนแบบใด
(1) พาดหัวข่าว
(2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ
(3) ให้คําแนะนํา
(4) ชวนให้สนใจใคร่รู้
ตอบ 3. ดูคําอธิบายข้อ 47. ประกอบ

51. “ที่รักคะ พริมต้องรีบออกไปทํางานก่อน คุณทานบัตเตอร์เค้กกับกาแฟที่พริมเตรียมไว้ให้ก่อนนะคะ”
ข้อความนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด
(1) เขียนแบบเขียนข่าวมุ่งขายสินค้าโดยตรง
(2) เล่าเรื่อง
(3) บทพูด
(4) มุ่งให้เกิดการกระทํา
ตอบ 3 หน้า 49 การใช้บทพูดหรือบทสนทนา เป็นวิธีเขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องในลักษณะ บทพูด ซึ่งอาจเป็นบทพูดของคนคนเดียว (Monologue) ที่พูดถึงความรู้สึกของเขาต่อสินค้าหรือ บริการ หรือเป็นบทสนทนา (Dialogue) ระหว่างคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่สนทนากันเกี่ยวกับ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงมักใช้กับลีลาการโฆษณา แบบอ้างพยาน (Testimonial) โดยใช้บุคคลที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ

ข้อ 52 – 54. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) คอลัมน์

52. เนื้อหาประเภทใดเป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ใหม่ สด มีผลกระทบต่อสังคม เป็นความก้าวหน้า ความเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ
ตอบ 1 หน้า 77, (คําบรรยาย) ข่าว (News) คือ การรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ประชาชน ได้รับทราบ โดยข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ใหม่ สด มีผลกระทบต่อ สังคม เป็นความก้าวหน้า ความเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ ซึ่งประกอบด้วย ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ข่าวต่างประเทศ ฯลฯ

53. เนื้อหาประเภทใดเป็นการทําหน้าที่ในการตีความผ่านข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็นในทํานองโต้แย้งแสดงเหตุผล
ตอบ 2 หน้า 78, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 33. ประกอบ) บทความ (Article) คือ ความเรียง ประเภทร้อยแก้วในหนังสือพิมพ์ที่นําเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชน ในวงกว้าง ในลักษณะข้อเขียนขนาดสั้น กระชับ และมีพื้นฐานอยู่บนการโต้แย้งแสดงเหตุผล ประกอบด้วย บทความกึ่งวิชาการ บทความประเภทปัญหาโต้แย้ง บทความเชิงสัมภาษณ์ ฯลฯ

54. เนื้อหาประเภทใดเป็นการนําเสนอสาระความรู้และถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรม
ตอน 3 หน้า 78, (คําบรรยาย) สารคดี (Feature) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้วในหนังสือพิมพ์ที่ เขียนขึ้นจากเรื่องจริง (Non-fiction) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนําเสนอสาระความรู้ ถ่ายทอด ศิลปะและวัฒนธรรมแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

55. ข้อใดที่จัดเป็นข่าวประเภท Hard News
(1) ข่าวอาชญากรรม
(2) ข่าวอุบัติเหตุ
(3) ข่าวเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ
(4) ข่าวการศึกษา
ตอบ 4 หน้า 76 – 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นําเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นําเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการ (เนื้อข่าวหน้าใน) และกึ่งทางการ (พาดหัวข่าว) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

56. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายหลักของหนังสือพิมพ์
(1) โฆษณา
(2) ให้ความบันเทิง
(3) การแจ้งข่าว
(4) การตีความ
ตอบ 3 หน้า 29, 77 หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการบอกข่าวหรือแจ้งข่าวสาร (To Inform) คือ การสื่อสารเพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทําไม และอย่างไร

57. ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
(1) ใช้สํานวนโวหาร
(2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ
(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ
(4) ใช้คําหรูหราฟังไพเราะ
ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสําหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้
1. ใช้ภาษาให้ถูกต้อง
2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม
3. เรียงคําในประโยคอย่างเหมาะสม
4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ
5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย
6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย
7. เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์
8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

58. คําว่า “Image” ในภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(3) ภาพโฆษณา
(4) ภาพ
ตอบ 1หน้า 58 – 59 ในบทที่ 5 เรื่องการใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ ซึ่งเป็นภาพในใจอันเกิดจากการได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรืออาจเป็น ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อตัวเป็นทัศนคติ ความเชื่อ และการให้คุณค่า (Value) ต่อสิ่งนั้น ดังนั้นองค์กรและสถาบันที่มีภาพลักษณ์ที่ดีย่อมมีคุณค่าในสายตาของสาธารณชน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับองค์กรหรือสถาบันใด ๆ ที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีมักจะถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับ การยอมรับจากสาธารณชน

59. คําว่า “Image” ในภาษาโทรทัศน์ หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(3) ภาพโฆษณา
(4) ภาพ
ตอบ 4 หน้า 106, 108 ในบทที่ 9 เรื่องการใช้ภาษาทางวิทยุโทรทัศน์ คําว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลําดับต่อเนื่องกัน จนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่า “ฮอต” (Shot) และเมื่อเรานําภาพแต่ละซอดมาลําดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลําดับเรื่องราวตามต้องการ

60. คําว่า “Editing” ในภาษาหนังสือพิมพ์ หมายถึงอะไร
(1) การตัดต่อ
(2) การตัดต่อลําดับภาพ
(3) บรรณาธิการ
(4) การบรรณาธิกรณ์
ตอบ 4 หน้า 76, 79, 106, 111 ในบทที่ 6 เรื่องภาษาหนังสือพิมพ์ คําว่า “Editing” จะหมายถึง การบรรณาธิกรณ์เพื่อปรับปรุงข่าวก่อนส่งพิมพ์ ส่วนในบทที่ 9 เรื่องการใช้ภาษาทางวิทยุ โทรทัศน์นั้น คําว่า “Editing” หมายถึง การตัดต่อลําดับภาพ ซึ่งสามารถทําได้ทั้งรายการ ที่บันทึกเทปและรายการที่ออกอากาศ โดยใช้อุปกรณ์ตัดต่อ (Editing Suite)

61.“เหะหะพาที โดยซูม” เป็นตัวอย่างเนื้อหาประเภทใดของหนังสือพิมพ์
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) คอลัมน์
ตอบ 4 หน้า 78, 88 คอลัมน์ (Column) เป็นข้อเขียนหรือเนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจําในหนังสือพิมพ์ อาจเป็นข้อเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย วิจารณ์กีฬา ภาพยนตร์ ดนตรี ข่าวสังคมซุบซิบ คอลัมน์เด็กและเยาวชน ฯลฯ ซึ่งรับผิดชอบ โดยคอลัมนิสต์ หรือนักเขียนประจําคอลัมน์ที่เป็นผู้กําหนดเนื้อหา เช่น “เหะหะพาที โดยซูม ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นคอลัมน์ที่เขียนแบบมีลีลาเฉพาะตัวและใช้สํานวนคมคาย เป็นต้น

62. ข้อใดเป็น Media Genre
(1) หนังสือพิมพ์
(2) นิตยสาร
(3) โทรทัศน์
(4) ข่าว
ตอบ 4 หน้า 80 ภาษาหนังสือพิมพ์จะปรากฏอยู่ในรูปแบบของการสื่อสาร (Media Genre) ในรูปของ ข่าว บทความ และสารคดีเป็นหลัก

63. ข่าวหนังสือพิมพ์ทําหน้าที่อะไร
(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม
(2) ตีความ
(3) สร้างกระแสประชามติ
(4) แสดงความคิดเห็น
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 34. ประกอบ

64. บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ใช้ภาษาระดับลีลาใด
(1) ลีลาเยือกเย็น
(2) ลีลาทางการ
(3) ลีลาปรึกษาหารือ
(4) ลีลากันเอง
ตอบ 2 หน้า 15, 90, 92, (คําบรรยาย) ลีลาทางการ (Formal Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ บทความทางวิชาการ บทวิเคราะห์ การปาฐกถา บรรยาย ฯลฯ

65. หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน ได้แก่ หนังสือพิมพ์
ประเภทใด
(1) เชิงคุณภาพ
(2) เชิงปริมาณ
(3) แท็บลอยด์
(4) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
ตอบ 2 หน้า 77, 79 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ เสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน โดยข่าวที่นําเสนอจะมี ลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้และความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจ เรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

66. หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ นําเสนอข่าวประเภทใด
(1) ข่าวหนัก
(2) ข่าวเบา
(3) ข่าวกีฬา
(4) ข่าวอาชญากรรม
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 55. ประกอบ

67. บทความประเภทใดที่ไม่อยู่ในหนังสือพิมพ์
(1) บทความวิชาการ
(2) บทความกึ่งวิชาการ
(3) บทความประเภทปัญหาโต้แย้ง
(4) บทความเชิงสัมภาษณ์
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 53. ประกอบ

68. การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เขียนในรูปแบบใด
(1) พีระมิดหัวตั้ง
(2) พีระมิดหัวกลับ
(3) แบบผสม
(4) แบบสารคดีเชิงข่าว
ตอบ 2 หน้า 80, (คําบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสําคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์
2. แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสําคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ
3. แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสําคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนชาวประชาสัมพันธ์

69.การเขียนข่าวแบบผสม เหมาะสําหรับข่าวประเภทใด
(1) ข่าวหน้าหนึ่ง
(2) ข่าวอาชญากรรม
(3) ข่าวการเมือง
(4) ข่าวประชาสัมพันธ์
ตอบ 4 ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70. ข้อใดเป็นหลักการจัดลําดับความสําคัญของเนื้อข่าว
(1) เขียนตามลําดับเหตุการณ์
(2) เขียนตามลําดับความเป็นจริง
(3) เขียนสิ่งที่สําคัญที่สุดก่อน
(4) เขียนสิ่งที่สําคัญน้อยที่สุดก่อน
ตอบ 3 หน้า 80 หลักการจัดลําดับความสําคัญของเนื้อข่าว คือ การเขียนสิ่งที่สําคัญที่สุดก่อนไปหา ที่สําคัญน้อย ซึ่งจะสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการรู้สิ่งใหม่ หรือประเด็นสําคัญที่สุด ของเรื่องก่อนที่จะรู้รายละเอียดที่สําคัญน้อยลงไป ดังนั้นจึงตรงกับการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (ดูคําอธิบายข้อ 68. ประกอบ)

71. “ส่วนที่บอกใจความสําคัญที่สุดของข่าว ใช้ภาษาปาก ใช้คําให้สีสัน ละประธานของประโยค ตัดคําสั้น ใช้คําย่อ” เป็นคําอธิบายการใช้ภาษาในส่วนใดของข่าวหนังสือพิมพ์
(1) พาดหัวข่าว
(2) วรรคนา
(3) เนื้อเรื่อง
(4) ส่วนสรุป
ตอบ 1 หน้า 80 – 82 พาดหัวข่าว (Headline) คือ การนําประเด็นหรือใจความสําคัญที่สุดของข่าว มาพาดหัว เพื่อบอกให้ผู้อ่านได้ทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างในวันนั้น ซึ่งลักษณะของ การใช้ภาษาพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
1. การตัดคําให้สั้นลง
2. การละประธานของประโยค
3. ใช้คํากริยาที่มีชีวิตชีวา หรือใช้คําที่สร้างสีสัน (Vivid)
4. การใช้คําย่อ
5. ใช้คําสแลง คําภาษาปากหรือภาษาตลาด ฯลฯ

72.รายการสาระละคร เป็นรายการที่มีจุดมุ่งหมายอะไร
(1) ให้ข่าวสารและความบันเทิง
(2) ให้ความรู้
(3) ให้ข่าวสารและความรู้
(4) ให้ความรู้และความบันเทิง
ตอบ 4 หน้า 98 รายการสาระละคร (Docu-drama) คือ รายการที่มุ่งให้ความรู้และความบันเทิง ไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้รูปแบบของละครผสมกับสารคดี กล่าวคือ ส่วนที่ทําเป็นรูปแบบละครก็เพื่อให้เข้าใจง่าย เกิดภาพตามไปได้ชัดเจน และเกิดความเพลิดเพลิน ส่วนที่เป็นสารคดีก็มัก เป็นส่วนที่มุ่งในเชิงวิชาการ

73. การใช้ภาษาหนังสือพิมพ์มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอะไร
(1) ขนาดของหนังสือพิมพ์
(2) องค์ประกอบของข่าว
(3) สไตล์ของผู้เขียน
(4) ประเภทของเนื้อหา
ตอบ 4 หน้า 78 – 79, (คําบรรยาย) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ
ซึ่งอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป มีดังนี้
1. ประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์
2. กําหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่
3. คุณภาพเนื้อหาและการแข่งขันกันดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

ข้อ 74 – 76. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Straight Talk
(2) Conversational Programme
(3) Interview Programme
(4) Commentary on the Spot

74. รายการรูปแบบใดที่ผู้ดําเนินรายการพูดคุยกับผู้ฟังรายการ
ตอบ 1หน้า 96 รายการพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรง (Straight Talk) คือ รายการวิทยุที่มีผู้ดําเนินรายการ หรือผู้ประกาศเป็นผู้พูดเพียงคนเดียว ในลักษณะพูดคุยกับผู้ฟังรายการโดยตรง ทั้งนี้ผู้ดําเนิน รายการจะต้องพูดเสมือนคุยกับผู้ฟัง และต้องไม่ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นการอ่านบท

75. รายการรูปแบบใดที่หมายถึงการบรรยายถ่ายทอดสด ณ ที่เกิดเหตุ
ตอบ 4 หน้า 97 รายการบรรยายถ่ายทอดเหตุการณ์ ณ ที่เกิดเหตุ (Commentary on the Spot) คือ รายการวิทยุที่บรรยายถ่ายทอดสด ณ ที่เกิดเหตุ ในขณะที่กําลังเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ อยู่ โดยผู้บรรยายจะทําหน้าที่รายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ฟังสามารถนึกเป็นภาพตามไปด้วย เช่น การบรรยายถ่ายทอดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น

76. รายการรูปแบบใดที่ผู้ดําเนินรายการพูดน้อยกว่าผู้ร่วมรายการ
ตอบ 2 หน้า 96, (คําบรรยาย) รายการสนทนา (Conversational Programme) คือ รายการวิทยุที่ พูดคุยหรือสนทนาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างผู้ดําเนินรายการหรือผู้จัดรายการสนทนา (Host) กับผู้ร่วมรายการหรือแขกรับเชิญ (Guest) ให้ผู้ฟังทางบ้านฟัง ซึ่งมีข้อควรระวังก็คือ ผู้ดําเนินรายการจะต้องพูดน้อยกว่าผู้ร่วมรายการ โดยทําหน้าที่เพียงเป็นคนกล่าวเปิดรายการ นําเข้าสู่ประเด็น แนะนําผู้ร่วมสนทนา พูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และคอยสรุป ใจความสําคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

77. “ใช้ภาษาสื่อความหมาย ให้ภาพพจน์” คําว่า “ภาพพจน์” ในที่นี้หมายถึงอะไร
(1) ภาพลักษณ์
(2) ภาพประทับใจ
(3) ภาพที่เกิดจากคําพูด
(4) ภาพที่เกิดจากการประชาสัมพันธ์
ตอบ 3หน้า 104 ภาษาที่ใช้ทางวิทยุกระจายเสียงต้องเป็นภาษาที่สื่อความหมายชัดเจน ทําให้ผู้ฟัง เกิดภาพพจน์ (Figure of Speech) ซึ่งในที่นี้หมายถึง ภาพที่เกิดจากคําพูด โดยต้องเป็นภาษา ที่เหมาะสมกับเนื้อหา รูปแบบรายการ และเหมาะสมกับผู้ฟัง เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้อง เป็นภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน

78. การใช้ภาษาวิทยุกระจายเสียง ลีลาและจังหวะความเร็วในการพูด/อ่าน ขึ้นอยู่กับอะไร
(1) คลื่นความถี่
(2) ประเภทและรูปแบบรายการ
(3) กลุ่มผู้ฟัง
(4) นโยบายของทางสถานี
ตอบ 2 หน้า 99 ความเร็วในการอ่านบทหรือการพูดทางวิทยุกระจายเสียงจะขึ้นอยู่กับประเภทและ รูปแบบรายการ ดังนี้
1. การอ่านข่าว ต้องอ่านคล่องแคล่วทันใจ ไม่จําเป็นต้องทอดจังหวะ
2. การอ่านบทความหรือสารคดี ต้องมีจังหวะจะโคน เน้นคํา เน้นความมากกว่าการอ่านข่าว
3. การอ่านคําประกาศและโฆษณา จะต้องอ่านเร็ว มีการเน้นย้ํา ลงน้ําหนักคํา ฯลฯ

79. สื่อมวลชนประเภทใดที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว
(1) หนังสือพิมพ์
(2) นิตยสาร
(3) วิทยุกระจายเสียง
(4) วิทยุโทรทัศน์
ตอบ 3 (คําบรรยาย) วิทยุกระจายเสียง ถือเป็นสื่อมวลชนที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ทั้งนี้เพราะวิทยุ มีราคาถูก ทําให้ทุกคนสามารถมีวิทยุเป็นสื่อส่วนตัว และเปิดรับฟังรายการตามที่แต่ละคนสนใจ ในเวลาใดก็ได้

80. การเปล่งเสียงเป็นธรรมชาติ หมายถึงอะไร
(1) การพูดโดยไม่มีบท
(2) การพูดตามธรรมชาติของแต่ละคน
(3) การพูดโดยใช้เสียงแท้
(4) การพูดเหมือนแสดงละคร
ตอบ 3 หน้า 99 – 100 หลักการพูดหรืออ่านทางวิทยุกระจายเสียงประการหนึ่ง คือ
ต้องมีการเปล่งเสียงที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่
1. เป็นเสียงพูดที่แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก
2. เป็นเสียงที่ฟังรื่นหู ไม่แข็งกระด้างหรือเน้นเสียงจนเกินไป
3. เป็นเสียงแท้ของผู้อ่าน โดยฝึกการเปล่งเสียงจากช่องท้อง ไม่ควรตัดเสียงหรือบีบเค้นเสียง แต่ควรมีน้ำหนักเสียงสูง – ต่ําตามธรรมชาติ
4. ในกรณีที่เป็นการอ่านบท ผู้อ่านต้องเข้าใจและตีบทให้แตกก่อนอ่าน

81. ข้อใดเป็นแนวปฏิบัติของการรายงานข่าววิทยุ ณ สถานที่เกิดเหตุ
(1) รายงานด้วยอาการตื่นเต้นเหมือนเป็นผู้ประสบเหตุด้วยตนเอง
(2) รายงานข้อเท็จจริงที่คนฟังอยากรู้ว่าใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทําไม อย่างไร
(3) การนําเหตุการณ์ที่เป็นข่าวมาวิพากษ์วิจารณ์ หรืออธิบายตามความคิดเห็นของนักข่าว
(4) บรรยายเหตุการณ์ตามสิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างจนผู้ฟังเห็นเป็นภาพ
ตอบ 2 หน้า 97 การรายงานข่าววิทยุ (News Reporting) คือ การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสด ๆ ในสถานที่เกิดเหตุ โดยเป็นการรายงานข้อเท็จจริงของผู้สื่อข่าวในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนรู้ว่า ใคร ทําอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทําไม และอย่างไร

ข้อ 82 – 84. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Host
(2) Interviewer
(3) Announcer
(4) Interviewee

82. ข้อใดหมายถึงผู้จัดรายการสนทนา
ตอบ 1 ดูคําอธิบายข้อ 76. ประกอบ

83. ข้อใดหมายถึงผู้ประกาศหรืออ่านข่าว
ตอบ 3 หน้า 107, (คําบรรยาย) Announcer หมายถึง ผู้ประกาศ ผู้อ่าน หรือโฆษก มีหน้าที่อ่าน หรือประกาศข่าวสารเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ชม ผู้ฟัง ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ประกาศจะต้องมีพื้นฐานการศึกษา ประสบการณ์ และการฝึกฝนมาอย่างดี

84. ข้อใดหมายถึงผู้สัมภาษณ์
ตอบ 2 หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่ ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1. รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Format Interview)
2. รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview)
3. การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

85. หากต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรใช้ภาพขนาดใด
(1) MS
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
ตอบ 4 4 หน้า 109, (คําบรรยาย) ภาพระยะไกลมาก (Extreme Long Shot : ELS) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะไกลมาก ได้แก่ ภาพวิว หรือภาพทิวทัศน์ที่แสดงทัศนียภาพขององค์ประกอบทั้งหมด
เช่น การถ่ายทํารายการสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น

86. ข้อใดหมายถึงบทพูดสําหรับพูดคนเดียว
(1) Narration
(2) Announcement
(3) Monologue
(4) Dialogue
ตอบ 3 หน้า 106, (คําบรรยาย), (ดูคําอธิบายข้อ 51. ประกอบ) คําสนทนามีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. Monologue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดของผู้พูดเพียงคนเดียวในลักษณะที่เป็นการสื่อสาร กับผู้ชมรายการโดยตรง
2. Dialogue คือ คําสนทนาที่เป็นบทพูดโต้ตอบกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบใน รายการสัมภาษณ์ ละครโทรทัศน์ ฯลฯ

87. ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร
(1) Frame
(2) Iriage
(3) Shot
(4) Photo
ตอบ 3 ดูคําอธิบายข้อ 59. ประกอบ

88. ข้อใดหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระยะของภาพโดยการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์
(1) Zoom
(2) Dolly
(3) Boom
(4) Pan
ตอบ 1 หน้า 113, (คําบรรยาย) ซูม (Zoom) หมายถึง เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยน ความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้ยาวขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ทําให้ได้ภาพโตขึ้นตามลําดับ (Zoom In) หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้สั้นเข้า เพื่อเปลี่ยนแปลงระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูห่างไกลออกไป ทําให้ได้ภาพเล็กลงตามลําดับ (Zoom Out)

89.Knees Shot หมายถึงภาพขนาดใด
(1) MS
(2) MLS
(3) LS
(4) ELS
ตอบ 2 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงมีการเรียก ภาพระยะนี้ว่า Knees Shot

90. การซ้อนภาพคําบรรยายชื่อและตําแหน่งบุคคล หมายถึงข้อใด
(1) Title
(2) Superimpose
(3) Split Screen
(4) Freeze Frame
ตอบ 2 หน้า 106 – 107, 114, (คําบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทําคําบรรยายที่เป็น ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว ได้แก่
1. การทําไตเติ้ลรายการ คือ คําบรรยายที่บอกชื่อรายการ ชื่อผู้แสดงหรือผู้ที่ร่วมรายการ ผู้กํากับรายการ ช่างกล้อง ช่างแสง ฯลฯ โดยมักใช้ตอนเริ่มรายการและตอนจบรายการ
2. Sub-title คือ คําบรรยายสั้น ๆ ที่บอกชื่อและตําแหน่งบุคคลในรายการโทรทัศน์ โดยใช้ ตัวอักษรวิ่งสีขาวที่ด้านล่างของจอ หรือใช้ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพ มักใช้ในรายการข่าว สนทนา สัมภาษณ์ อภิปราย หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีคําบรรยายภาษาไทย

91. ขณะที่ถ่ายทําละครนอกสถานที่ แผ่นโฟมที่วางรับแสงอาทิตย์สะท้อนเข้าสู่ผู้แสดง ทําหน้าที่แทนอะไร
(1) แสงไฟหลัก
(2) ไฟลบเงา
(3) ไฟส่องฉากหลัง
(4) แผ่นกรองแสง
ตอบ 2 หน้า 115 ในขณะที่ถ่ายทําละครนอกสถานที่ หากถ่ายภาพช่วงเที่ยงตรง แสงจากดวงอาทิตย์ จะส่องเหนือศีรษะของผู้แสดง ทําให้ดูนัยน์ตาของผู้แสดงลึกโบ๋ ดังนั้นหากถ่ายทําในช่วงเวลา ดังกล่าวจึงควรใช้แผ่นโฟมสะท้อนแสง (Reflex) เพื่อทําหน้าที่แทนแสงไฟลบเงา (Fill Light)ในห้องส่งโทรทัศน์

92. หากต้องการนําเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้าง โดยการหันกล้องซึ่งติดตั้ง อยู่บนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด
(1) แพน
(2) ดอลลี่
(3) ทังค์
(4) บูม
ตอบ 3 หน้า 112 ทั้งค์ (Tongue) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการหันกล้องซึ่งติดตั้งอยู่บน ปั้นจั่นหรือบนเครนจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย ในขณะที่ระดับสูงต่ําของกล้องยังอยู่ใน ระดับเติมเพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพในมุมกว้างได้มากขึ้น

ข้อ 93 – 95. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) Cut
(2) Wipe
(3) Freeze Frame
(4) Split Screen

93. ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง
ตอบ 3 หน้า 114, (คําบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์ ในแต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น
94. ข้อใดเป็นวิธีการลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด
ตอบ 1 หน้า 114 การคัด (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งถือเป็นวิธีการ ลําดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

95. ข้อใดเป็นเทคนิคที่นํามาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพการถ่ายทอดฟุตบอลพร้อมกับโฆษณา
ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ให้ออกเป็น ส่วน ๆ เพื่อนําเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในหน้าจอเดียวกัน เช่น การเสนอภาพถ่ายทอดสด ฟุตบอลและโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

ข้อ 96. – 98.
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคําถาม
(1) ทังค์
(2) บูม
(3) ทิลท์
(4) อาร์ค

96. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งรอบตัวผู้แสดง
ตอบ 4 หน้า 113, (คําบรรยาย) อาร์ค (Arc) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องอย่างช้าในแบบเดียวกับ ดอลลี่ (Dolly) แต่เป็นการเคลื่อนกล้องเป็นแนวโค้งในลักษณะครึ่งวงกลม ทั้งนี้เพื่อนําเสนอ ภาพเคลื่อนไหวรอบตัวผู้แสดง

97. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น – ลงบนเครน
ตอม 2 หน้า 112, (คําบรรยาย) บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องขึ้น – ลงในแนวตั้งบน ฐานกล้องแบบปั้นจั่นหรือกล้องอยู่บนเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ํา

98. ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเงยหรือก้มกล้องในแนวตั้ง
ตอบ 3 หน้า 112, (คําบรรยาย) ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยกล้อง (Titt Up) หรือก้มกล้อง (Tilt Down) ในลักษณะแนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ํา ได้มากขึ้น เช่น การนําเสนอภาพตึกสูงในแนวตั้งโดยการเงยกล้อง (Tilt Up) เพื่อให้ผู้ชมได้เห็น ภาพของตึกไล่ขึ้นไปจนถึงยอดตึก เป็นต้น

99.Commentator หมายถึงอะไร
(1) ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
(2) ผู้อ่านบทโฆษณา
(3) ผู้บรรยาย
(4) ผู้กํากับรายการโทรทัศน์
ตอบ 3 หน้า 97, (คําบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์ หรือผู้วิจารณ์ใน รายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจของ สังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

100. Run-down Sheet ควรใช้สําหรับรายการประเภทใด
(1) ข่าว
(2) บทความ
(3) สารคดี
(4) เพลง
ตอบ 4 หน้า 105, (คําบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลําดับเนื้อหาหรือลําดับ ในการทํางานไว้สําหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง
2. บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละเอาไว้ บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ
3. บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกําหนดไว้ชัดเจน มักใช้กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

Advertisement